เบิกฟ้า ฉบับที่ # 19

Page 1

free copy

ฉบับที่ 19 เดือนธันวาคม พ.ศ.2556

ออกแบบปก : ชุติมา ประสานทรัพย์ www.facebook/petch chutima

ไร้DMรGreadute ากเสมือนไร้เรา ระวั ง ! เป็ น ขโมย ก.เอ๋ย ก.ไก่

ผูแ้ ทน ในระบอบ ประชาธิปไตย Around Me!


02 Editor Talk

มูลนิธิ​ด�ำรง​ชัย​ธรรม ก่อ​ตั้ง​ขึ้น​เมื่อ​ปี พ.ศ. 2542 โดย​คุณ​ไพบูลย์ ด�ำรง​ชัย​ธรรม มูลนิธิ​ได้​มอบ​โอกาส​ทาง การ​ศึกษา​ให้​กับ​เยาวชน อีก​ทั้ง​ยัง​ส่ง​เสริม​ให้​เยาวชน​ได้​ ท�ำ​กิจกรรม​ต่างๆ เพื่อ​พัฒนา​ตนเอง​ตามศักยภาพ อาทิ กิจกรรม​โครงการ​สถานี​อาสา โครงการ​ยอ่ ​โลก​ทงั้ ​ใบ​ให้​เด็ก ​ไทย​ได้​รู้จัก และ​วารสาร​เบิก​ฟ้า บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ปราโมช รัฐวินิจ (กรรมการและผู้อ�ำนวยการมูลนิธิ) ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิ : ไพบูลย์ ด�ำรงชัยธรรม กรรมการและเลขานุการ : ฟ้าใหม่ ด�ำรงชัยธรรม กรรมการและเหรัญญิก : สุวิมล จึงโชติกะพิศิฐ กรรมการ : อรุณ วัชระสวัสดิ์ มานิจ โมฬีชาติ จิราภรณ์ วิญญรัตน์ ทอรุ้ง จรุงกิจอนันต์ สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา บุษบา ดาวเรือง ไชย ณ ศิลวันต์ ประภาวดี ธานีรนานนท์ ระฟ้า ด�ำรงชัยธรรม ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมมูลนิธิ : ไศล วาระวรรณ์

บทเรียนเรื่อง คนท�ำความสะอาด เมื่อฉันเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ 2 เดือน อาจารย์ให้เราท�ำ แบบทดสอบอันหนึ่ง ฉันเป็นนักเรียนที่ตั้งใจเรียน จึงตอบค�ำถาม ได้อย่างสบาย จนมาถึงค�ำถามข้อสุดท้าย ค�ำถามถามว่า “สุภาพ สตรีที่ท�ำความสะอาดโรงเรียนชื่ออะไร” ต้องเป็นเรื่องตลกอะไร สักอย่างแน่ ฉันเคยเจอคนท�ำความสะอาดหลายครัง้ เธอเป็นคน ตัวสูง ผมด�ำ อายุ50 กว่าๆ แต่ฉันจะรู้ชื่อเธอได้อย่างไร ฉันส่ง กระดาษค�ำตอบโดยไม่ได้ตอบข้อสุดท้าย ก่อนหมดคาบเรียน นักศึกษาคนหนึ่งถามอาจารย์ว่าค�ำถามข้อสุดท้ายจะถูกคิดรวม ในคะแนนของผลการเรียนด้วยหรือไม่ อาจารย์ตอบว่าแน่นอน “เมือ่ เธอเข้าท�ำงาน เธอจะต้องพบคนมากมาย ซึง่ ทุกคนมีความ ส�ำคัญพอที่สมควรจะได้รับความสนใจและเอาใจใส่ แม้ว่าพวก เธอจะท�ำได้แค่ยิ้มหรือกล่าวสวัสดีก็ตาม พี่อ่านพบเรื่องนี้ใน www.oknation.net เลยน�ำมาฝากต่อ เชื่อว่าบทเรียนเรื่อง คนท�ำความสะอาด น่าจะพาให้เราได้ฉุกคิด อะไรต่อได้บ้าง น�ำมาฝากนะคะ

โชค​ดี​นะ​คะ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ ณัฏฐา ทับทอง กองบรรณาธิการ ทีมงานมูลนิธิด�ำรงชัยธรรม

วารสารเบิกฟ้า ผลิตโดยมูลนิธิด�ำรงชัยธรรม ส�ำนักงาน เลขที่ 50 อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 02-669-9611-7, 02-669-9711-8 โทรสาร : 02-669-9614 E-mail : damrongchaitham@damrongchaitham.com Website : www.damrongchaitham.com Facebook : www.facebook.com/DMfoundation.dm จัดพิมพ์โดย บริษัท วงตะวัน จ�ำกัด 555 ถนนประชาอุทิศ แขวง ดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 02-981-1333 โทรสาร : 02-981-1340

พี่​เจี๊ยบ (ณัฏฐา ทับทอง)

หัวหน้ากองบรรณาธิการ www.facebook.com/berkfaa Natha_tub@damrongchaitham.com


CONTENTS :

Art Appreciation

4

English for Fun

5

ก.เอ๋ย ก.ไก่

6

Hi! Japanese

7

DMGraduate

8

เมื่อกางปีกแล้ว...ก็ต้องบิน Preposition ในการบอกเวลา ระวัง! เป็นขโมย #ภาคสอง อาหารแนะน�ำประจ�ำฤดู ไร้รากก็เสมือนไร้เรา

18 Guidance

18

Life Coaching

20

Help for Health

21

Scitech

22

Wow! Asean

23

กฏหมายน่ารู้ กับ ธ.ธนา

24

Math Unlimited

25

Around Me!

26

เวทีคนเก่ง

30

มองชีวิตคิดต่าง

31

ปากคนปากกา

ระหว่างที่เราออกไปข้างนอก แพ้ยา หรือ อาการข้างเคียง

8 Thinking Talking

12

Experience

14

A-R-T

16

นักศึกษา กับ การเมือง ระบ�ำคะจัก

เล่าประวัติศาสตร์ผ่านศิลปะ

แม๊กซ์

การเมืองในอาเซียน ทองเนื้อเก้า

ล�ำดับเรขาคณิตในชีวิตประจ�ำวัน • โลกเกษตร โลกอาเซียน #ภาคสอง • ผู้แทนในระบอบประชาธิปไตย ความลงตัวของเทคโนโลยีและศิลปะ

16

กางเกงยีนส์ขาด

MY COLUMNIST : คอลัมน์นิสต์ รับเชิญพิเศษ : มองชีวิตคิดดี โดย ดร.ศิริวรรณ เกษมศานต์กิดาการ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • Life Coaching, Art Appreciation โดย ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจ�ำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Guidance โดย รอยฝัน (คุณสุรวิทย์ อัสพันธุ์) • Thinking Talking โดย คุณเมธา มาสขาว คอลัมน์นิสต์ กลุ่มบัณฑิตทุนมูลนิธิด�ำรงชัยธรรม : English for Fun โดย จิรวัฒน์ มหาสาร บัณฑิตทุนรุ่นที่ 7 : เจ้าหน้าที่ประสานงานเอกสิทธิ์ทางการฑูต ณ สถานทูตอเมริกาประจ�ำประเทศไทย • ก.เอ๋ย ก.ไก่ โดย ยามเย็น (สนธยา สุขอิ่ม) บัณฑิตทุนรุ่นที่ 6 : อาจารย์ประจ�ำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ลพบุรี • Hi! Japanese โดย ครูหนาว (มานิต วงศ์มูล) บัณฑิตทุนรุ่นที่ 6 : ครูสอนภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนอุตรดิตถ์ • Experience โดย กุ้งนาง (อนิจธิยา นิ ล บรรหาร) บั ณ ฑิ ต ทุ น รุ ่ น ที่ 4 : นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท ศิ ล ปศาสตร์ ม หาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าภาษาศาสตร์ ป ระยุ ก ต์ ด้ า นการสอนภาษาอั ง กฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี • A-R-T โดย MR.BOM (สุริยน แก้ววังสัน) บัณฑิตทุนรุ่นที่ 11 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น • Help for Health โดย ภญ.บุษบงก์ ธรรมมาสถิตย์กุล บัณฑิตทุนรุ่นที่ 11 : เภสัชกรประจ�ำโรงพยาบาลต�ำรวจ • Scitech โดย Spocky (ปรัชญา มณีทักษิณ) นักเรียนทุนรุ่นที่ 9 : นักศึกษาชั้นปีที่4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุ รี • Wow! Asean โดย สุ วิ ม ล จิ น ะมู ล บั ณ ฑิ ต ทุ น รุ ่ น ที่ 6 : ผู ้ สื่ อ ข่ า ว TNN24 • กฏหมายน่ า รู ้ กั บ ธ.ธนา โดย ธนา ภั ท รภาษิ ต บัณฑิตทุนรุ่นที่ 11 : นายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน พล.ปตอ. • Math Unlimited โดย อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช บัณฑิตทุนรุ่นที่ 3 : อาจารย์ภาควิชา คณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต • Around Me! โดย นายกรวิทย์ ไชยสุ บัณฑิตทุนรุ่น 7 : นักศึกษา ปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหาร คณะเกษตรเขตร้อน มหาวิทยาลัยแห่งชาติผิงตง ประเทศใต้หวัน และ นายศราวุฒิ มาเฉลิม บัณฑิตทุน รุ่นที่ 8 : นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ


04 Art Appreciation

เมื่อกางปีกแล้ว...

ก็ต้องบิน โดย blue

ปะการัง เป็นนามปากกา ของนักเขียน/นักแต่งเพลง รุน่ ใหญ่อกี คนของวงการวรรณกรรมบ้านเรา หลังจากห่างหาย ไปศึกษาต่อและท�ำงานอยู่ต่างประเทศเสียนาน เขาก็ย้อนกลับมา สู่แวดวงอีกครั้ง งานเขียนของเขาในช่วงหลังปรากฎอยู่ในงาน เขี ย นคอลั ม น์ เป็ น รู ป ของความเรี ย งถ่ า ยทอดมุ ม มองและ ประสบการณ์ชีวิต จาก ‘นกทุกตัวมีฟ้าให้บิน’ ‘ความสุขผลิใบในทุกเช้า’ และ ‘เรา ทุกคนมีวันฝนตก’ จนถึง ‘เมื่อกาง ปีกแล้ว...ก็ต้องบิน’ ผลึกความคิด ของปะการังแวววาวและคมชัดมาก ยิ่ ง ขึ้ น ด้ ว ยประสบการณ์ ชี วิ ต ใน ต่างแดนมากกว่า 16 ปี เขาได้มอง ย้อน และกลับไปใคร่ครวญในราย ละเอียดสิ่งละอันพันละน้อยว่าด้วย สิ่งได้เรียนรู้จากผู้คนรอบตัว เรื่องเล่าของเขาเรียบง่าย เล่า เรือ่ งด้วยภาษาสัน้ กระชับ บางจังหวะ ผู้เขียนจบเรื่องราวที่หยิบยกมาเล่า ประกอบด้วยการตัง้ ข้อสังเกต ค�ำถาม

ชวนคิดชวนมอง และบ่อยครัง้ ชวนให้ เราหวนค�ำนึงถึงเพือ่ นหรือใครบางคน ที่เราเคยพบพาน แต่กลับมองผ่าน บางแง่มุมของเขาและเธอไป ปะการัง เลือกใช้วลีสั้นๆ ตั้ง เป็ น ชื่ อ ความเรี ย ง ซึ่ ง ล้ ว นแต่ ส ละ สลวยด้วยท่าทีของบทกวี เช่น ข้ามให้ พ้นตนเอง เราทุกคนต่างต้องการใคร สักคน ทะเลไม่กลัวฝน เมื่อตัวเรา เบา...เราบินได้ ฯลฯ แค่เพียงชื่อเรื่อง ก็คงพอท�ำให้ผู้อ่านสัมผัสได้ถึงมุม มองที่อ่อนโยน และภาษาที่ละเมียด ละไม

ในวันที่โลกหมุนเร็ว และขณะ ที่วงวรรณกรรมเต็มไปด้วยงานเขียน ร่ ว มสมั ย ที่ เ น้ น ภาษาพู ด หวื อ หวา เรือ่ งเล่าสลับซับซ้อน และมุมมองเชิง วิ พ ากษ์ การอ่ า นความเรี ย งของ ปะการัง ช่วยยื้อยุดสติและอารมณ์ ความรู ้ สึ ก ของเราให้ ส งบเย็ น จาก ภายใน ทบทวนถึงวันเวลาที่ผ่านมา และพร้อมรับวันใหม่ด้วยสายตาที่ เข้าอกเข้าใจมากยิ่งขึ้น


English for Fun 05

ฉบับที่แล้วเราพูดถึงเรื่องค�ำบุพบทกับพาหนะกันไปแล้ว ฉบับนี้เรามา ต่อกันด้วยการใช้ค�ำบุพบทกับเวลากันบ้าง การกล่าวถึงช่วงเวลาจะมีหลาย ลักษณะเช่นเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นปีเป็นต้น และการกล่าวถึงช่วงเวลา ดังกล่าวจ�ำเป็นจะต้องมีคำ� บุพบทหรือ Preposition มาท�ำหน้าทีเ่ ชือ่ มค�ำเหล่านัน้ กับประโยค ค�ำบุพบทที่ใช้กับเวลามีอยู่หลักๆสามตัวคือ at, on และ in การใช้ จะมีความต่างกันอย่างไรนั้นเรามาดูกันครับ

PREPOSITION ในการบอกเวลา

โดย Jirawat

AT ON IN

at จะใช้กับ เวลา เวลาตามเข็มนาฬิกา หรือ เวลาใดเวลาหนึ่งของวัน เช่น at 6 o' clock, at 10.30, at noon, at night, at lunchtime, at the moment ตัวอย่างประโยค: I wake up at 6 o’ clock every day. on ใช้กับ วัน วันที่ตามปฏิทิน หรือวันสำ�คัญต่างๆ เช่น on Monday, on Mother’s day, on the 12th of November, on 25 December 2013 ตัวอย่างประโยค: I have been invited to the birthday party on 26 November. in ใช้กับ ช่วงเวลาที่นานๆ เช่น เดือน ปี ฤดู ศตวรรษ หรือ ช่วงเวลาของ วัน เช่น in December, in 2013, in summer, in nineteen century, in the morning, in the afternoon, in the evening ตัวอย่างประโยค: Somchai was born in Bangkok in 1986. จะเห็นว่าการใช้ preposition จะมีความหลากหลายและอาจไม่ตายตัวดังนัน้ การฝึกอ่าน ฟัง และพูดบ่อยๆ จึงจำ�เป็นในการเรียนรู้และการจดจำ� ลองฝึกบ่อยๆ นะครับ ภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด เจอกันฉบับหน้าฉบับนี้สวัสดีครับ


06 ก.เอ๋ย ก.ไก่

ฉบับที่แล้ว ก เอ๋ย ก ไก่ ได้แนะน�ำวิธีการเขียนบรรณานุกรมอ้างอิงแหล่งของข้อมูลที่น�ำมาใช้ประกอบงาน เขียนวิชาการ ส�ำหรับฉบับนี้จะขอแนะน�ำเกี่ยวกับการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อมูลและให้ เกียรติเจ้าของผลงาน โดยใช้ รูปแบบตาม ระบบนาม-ปี ที่ได้รับความนิยม ซึ่งระบุข้อมูลเพียงชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าที่ใช้อ้างอิง

ระวัง! เป็นขโมย # ภาคสอง

โดย ยามเย็น

ดังตัวอย่าง...

รูปแบบที่ 1 กรณีชื่อผู้แต่งอยู่ในวงเล็บ

(เขียนไว้หลังข้อความที่ต้องการอ้างอิง)

รูปแบบที่ 2 กรณีชื่อผู้แต่งอยู่นอกวงเล็บ

(เขียนไว้หน้าข้อความที่ต้องการอ้างอิง)

(ชื่อ/ชื่อสกุล,/ปีที่พิมพ์/หน้า/เลขหน้า)

ชื่อ/ชื่อสกุล/(ปีที่พิมพ์/หน้า/เลขหน้า)

ตัวอย่าง เยาวชน คือ “บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์แต่ยัง ไม่ถงึ 18 ปีบริบรู ณ์” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 915)

ตัวอย่าง ราชบัณฑิตยสถาน (2556, หน้า 915) ให้ความ หมายของเยาวชนไว้ว่า “บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์แต่ ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์”

ทั้งนี้ ข้อความที่คัดลอกมาไม่เกิน 4 บรรทัด ให้พิมพ์ต่อเนื่องไปแล้วใส่ เครื่องหมายอัญประกาศ “…” กำ�กับข้อความ ถ้าเกิน 4 บรรทัดให้ขึ้น บรรทัด ใหม่แล้วย่อหน้าประมาณ3 ช่วงตัวอักษรทั้งซ้ายและขวาของทุกบรรทัดและไม่ ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ ตัวอย่าง สารคดี หมายถึง วรรณกรรมที่ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายจะกล่าวถึงเรื่องราว เกี่ยวกับบุคคลที่มีตัวตนจริง เหตุการณ์จริง สภาวะ หรือกรณีต่างๆ ที่ผู้เขียน เชื่อว่าจริง ตลอดจนข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เขียนเชื่อว่าถูกต้องและเป็นจริงเช่นนั้น สารคดีจึงไม่ใช่วรรณกรรมสมจริงที่เกิดจากจินตนาการของผู้เขียนดังเช่น เรื่องบันเทิงคดี อนึ่ง แม้สารคดีจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็เป็นเพียงความจริงตาม สายตาของนักเขียน… (ราชบัณฑิตสถาน, 2552,หน้า 508) แม้ว่าการเขียนอ้างอิงจะทำ�ให้การเขียนต้องมีกฎเกณฑ์มากขึ้น แต่ก็ แสดงให้เห็นความซือ่ สัตย์ของผูเ้ ขียนทีไ่ ม่นำ�ผลงานของผูอ้ นื่ มาเขียนเป็นผลงาน ของตนเอง และทำ�ให้งานเขียนน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น อีกด้วย ฝากน้องๆ และ ผูอ้ า่ นนำ�หลักเกณฑ์นไี้ ปใช้ในงานเขียนเชิงวิชาการของตนเองด้วยนะครับจะได้ ไม่ถูกตำ�รวจจับข้อหาโจรกรรมข้อมูล

หมายเหตุ : 1. ใช้รปู แบบการอ้างอิงของ The Publication Manual of the American Psychological Association หรือ APA style 2. วิ ธี ก ารเขี ย นอ้ า งอิ ง มี ห ลายรู ป แบบ ขึ้ น อยู ่ กั บ สถาบันหรือหน่วยงานจะเลือกใช้รูปแบบใด เช่น บางสถาบัน ใช้ตัวย่อ “น.” แทนค�ำว่า “หน้า” เป็นต้น 3. เครื่องหมาย (/) แทนเว้นวรรคหนึ่งตัวอักษร

บรรณนานุกรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. สาขาวิชาภาษาไทย. (2556). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟ วิ่ง. ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน. (2546). พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ.2542. กรุ ง เทพฯ: นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น . ___________. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ไทย ฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน กรุ ง เทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.


Hi! Japanese 07

มาแล้วครับกับ Hi Japanese ถึงจะไม่ค่อยได้พูดภาษาญี่ปุ่นกัน สักเท่าไหร่ในช่วงนี้คงไม่ว่ากัน ครูขอพาให้ทุกคนไปรู้จักกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นมาและค�ำศัพท์บางค�ำก่อนนะครับ ก่อนที่เราจะลุยพูด ประโยคสนทนากันในอนาคต มารู้เขารู้เราก่อน ว่าเขามีอะไร แล้วเรามีอะไร ลองติดตามกันนะครับ

อาหารแนะน�ำประจ�ำฤดู โดย ครูหนาว

ส�ำหรับเดือนนี้ครูจะพาไปรู้จักอาหารการกินของ คนญี่ปุ่นที่นิยมกินกันตามฤดูกาล อย่างที่เคยบอกนะครับ ว่า ประเทศญี่ปุ่นมี 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง はる、なつ、あき、ふゆ (ฮะรุ นัทสึ อะคิ ฟุย)ุ แล้วเดือนนีก้ ต็ รงกับฤดูใบไม้รว่ ง หรือ ใบไม้เปลี่ยนสีนั่นเอง เริ่ ม ตั้ ง แต่ เ ดื อ นกั น ยายนถึ ง เดื อ นพฤศจิ ก ายน มองทางไหนก็แลดูสวยงาม เพราะเต็มไปด้วยใบเมเปิ้ล และต้นไม้อื่นๆ ที่ก�ำลังเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีอื่น ความ สวยงามเกิดจากธรรมชาติได้แต่งแต้มทั้งสิ้น ส่วนอาหาร การกินญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีฤดูกาลชัดเจนโดยเฉพาะฤดู ของอาหารการกินไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ กุ้ง หอย ปู ปลา ล้วนเป็นอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อาหารประจ�ำฤดูใบไม้ร่วงก็ได้แก่ 1. เผือก หรือ 里芋 (สะโต้ยโมะ) ในช่วงนี้จะมีออกมาหลายชนิดหลาย พันธุ์ แต่ที่อร่อยต้องจาก Ishikawaimo ที่จะเก็บในช่วง ต้นฤดูใบไม้รว่ ง แล้วเก็บไว้ทำ� อาหารส�ำหรับเทศกาลปีใหม่ 2. เกาลัด หรือ 栗 (คุริ) เป็นถั่วประเภทหนึ่งที่เนื้อแน่น

รสหวาน เกาลัดที่อร่อยจะออกในช่วงเดือนตุลาคม ชาว บ้านนิยมน�ำมาหุงกับข้าว เรียก 栗ご飯 (คุริโกฮัง) หรือ ข้าวเกาลัด 3. ปลาซันมะ (秋刀魚 ซันมะ หรือ Pacific Saury) ปลาชนิดนี้จับได้ในเขตโทโกกุ ในเกาะฮอกไกโด วิธีปรุงให้อร่อยคือน�ำมาย่าง กินในฤดูใบไม้ร่วง 4. ปลา แซลมอน หรือ 鮭 (ซะเกะ) ในฤดูใบไม้ร่วง ปลาแซลมอน จะถูกจับก่อนว่ายทวนน�้ำขึ้นไปวางไข่ และ 5. เห็ด きの こ (คิ โ นะโคะ) ที่ เ ป็ น สุ ด ยอดของเห็ ด ในฤดู นี้ คื อ เห็ ด Matsutake และต้องมาจากเมืองทัมบะ ชาวบ้านจะเก็บ เห็ดในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนตุลาคม หรือก่อนวันที่ 10 จะได้เห็ดที่สดมีความชุ่มชื่น รสดี จะน�ำมาย่างหรืออบใน หม้อดิน พูดไปก็อยากกินขึน้ มาทันที แต่ชว่ งนีเ้ มืองไทยเราก็ มีของดีเหมือนกันนะเลือกหาได้ทุกภาคของไทย ส�ำคัญ อากาศก็เริม่ เปลีย่ นแปลง ฝนบ้าง หนาวบ้าง ท�ำให้ไม่สบาย ได้ ดังนั้นต้องดูแลทั้งด้านร่างกาย อาหารการกิน การนอน หลับพักผ่อน การออกก�ำลังกาย หรือด้านจิตใจก็ควรดูแล จิตใจให้สดชื่นอยู่เสมอ เพื่อสู้กับสภาพอากาศกันนะครับ


08 DM Graduate

ไร้รากก็เสมือน ไร้เรา สุพรรณนิกา ใจใหญ่

ชื่อ : น.ส.สุพรรณิกา ใจใหญ่ (ก้อย) บัณฑิตทุน : รุ่นที่ 6/2550 ของมูลนิธิด�ำรงชัยธรรม การศึกษา : สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร การท�ำงาน : เจ้าหน้าที่ดูแลนักเรียนทุน มูลนิธิด�ำรงชัยธรรม

ปู๋สาดหลบขี้หมา

หมายถึง กระท�ำความดีเพือ่ กลบเกลือ่ น ความผิดของตนเอง

ปี้ฮู้สอง น้องฮู้นึ่ง

หมายถึง คนโตย่อมรู้กว่าคนที่มีอายุ น้อยกว่า

กิ๋นบ่จ่างก็เป็นหนี้ ขี้บ่จ่างก็เป็นทุกข์

หมายถึง ไม่รู้จักประมาณ

หล๊วกบ่มีไผเต่าง่าว บ่มีไผเปียง หมายถึง อวดรู้

เผื่อฮู้คิง น�้ำปิงปอแห้ง

หมายถึง กว่าจะรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว

เคร่งนักมักปุด

หมายถึ ง ท� ำ อะไรให้ พ อเหมาะพอดี ไม่หย่อนหรือตึงเกินไป


09

สุ ภ าษิ ต ค� ำ เมื อ งข้ า งต้ น เป็นตัวอย่างค�ำสอนที่เจ้าของ เรื่องราวในวันนี้บอกเล่าให้เรา ฟังว่าเป็นสิ่งที่ได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่ ในบ้านพูดสอนมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และส่วนหนึ่งด้วย เพราะค�ำกล่าวค�ำสอนเหล่านี้ที่ช่วยประคองชีวิตเด็กสาว จาก อ.ป่าซาง จ.ล�ำพูน ให้เข้มแข็งและเดินทางมาจนถึง วันที่มีการงานมั่นคงท�ำ งานในต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแล นักเรียนทุน มูลนิธดิ ำ� รงชัยธรรม ชีวติ ในเมืองกรุงทีใ่ หญ่โต ทันสมัยยิง่ ท�ำให้เธอได้หวนคิดถึงภาพชีวติ ชนบททีค่ นุ้ เคย คิดถึงอาหารพื้นบ้าน คิดถึงดนตรีล้านนา ผ้าซิ่นเสื้อฝ้ายที่ เคยใส่ บรรยากาศตักบาตรงานวัดปีใหม่ ความชุ่มฉ�่ำของ สายน�้ำในงานสงกรานต์ของหมู่บ้าน เพราะสิ่งทั้งหมดที่ นึกถึงนี้คือรากของเธอ นางสาวสุ พ รรณนิ ก า ใจใหญ่ หรื อ พี่ ก ้ อ ย บรรยายถึงชีวิตของตนเองช่วง ม.6 ว่าเธอเป็นครอบครัว ที่ไม่สมบูรณ์นักแต่ก็มีความรักพอเพียง แม่แต่งงานใหม่ เธออาศัยอยู่กับป้า และพ่อที่ อ.ป่าซาง จ.ล�ำพูน ความ ล�ำบากของครอบครัวมีพอประมาณให้ได้ฝกึ ความเข้มแข็ง และการรับทุนการศึกษาจากมูลนิธิด�ำรงชัยธรรมท�ำให้ มี โ อกาสเป็ น บั ณ ฑิ ต จากสาขาจิ ต วิ ท ยาอุ ต สาหกรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วันนี้ก้อยได้ มีโอกาสกลับมาดูแลเป็นทีป่ รึกษาให้กบั เด็กๆ นักเรียนทุน ที่มีเส้นทางชีวิตและความฝันไม่ต่างไปจากเธอ

งานในการดูแ ลนักเรียนทุนที่ก้อยรับผิดชอบอยู่ นอกจากการดูแลเรื่องเงินทุนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้ น้องๆ แล้ว การเป็นที่ปรึกษาที่คอยปลูกฝังวิธีคิดทัศนคติ ในเรื่องต่างๆ ที่วัยรุ่นควรจะได้เรียนรู้ ก็เป็นงานที่ก้อยต้อง รับผิดชอบด้วยและหนึ่งในหัวข้อที่เธอมักจะถ่ายทอดด้วย ประสบการณ์ตรงให้กับน้องๆ ทุกครั้งที่มีโอกาสก็คือ เรื่อง ของรากเหง้าในตัวเอง “หมู่บ้านที่เกิดและอยู่ตั้งแต่เด็ก เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ใน อ.ป่าซาง จ.ล�ำพูน อยู่ห่างจากตัว จังหวัดประมาณ 40 กิโล การอยูใ่ นชุมชนทีย่ งั คงความเป็น ชนบท มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ได้รับอิทธิพลจากความเป็น เมืองมากนัก ท�ำให้สมัยทีย่ งั เป็นเด็กเราได้สมั ผัสสิง่ ทีเ่ รียก ว่าวัฒนธรรมอย่างเต็มรูปแบบ อาหารการกินแบบพืน้ เมือง ทางเหนือก็มีวัฒนธรรมการกินอีกแบบ น�้ำพริกหนุ่ม น�้ำ พริกอ่อง ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ไปวัดในวันพระหรือในเทศกาลส�ำคัญ การแต่งตัวแบบพื้นบ้าน ผ้าทอมือ ผ้าซิ่น หม้อฮ่อม งาน ฝีมือของทางเหนือที่ขึ้นชื่อว่าสวยงาม จิตรกรรมฝาผนังที่ วัด ตุงที่ติดในงานเทศกาลต่างๆ ที่ถือว่าเป็นสัญญลักษณ์ แห่งชัยชนะ ประเพณีลอยกระทง บายศรีรปู ทรงสวยๆทีบ่ ง่ บอกความเป็นล้านนา เสียงดนตรีที่มีเอกลักษณ์อย่างวง สะล้อ ซอ ซึง ประกอบการร�ำฟ้อนฟ้อนเล็บ ฟ้อนเงี้ยว ร�ำ สาวไหม ก็เป็นความไพเราะ สวยงามทีซ่ บึ ซับโดยธรรมชาติ จากท้องถิ่นของเรา “จนกระทัง่ วันหนึง่ เมือ่ เริม่ ออกจากบ้าน มาเข้าเรียน ในระดับอุดมศึกษา การเข้ามาเรียนในตัวเมืองท�ำให้มีข้อ สังเกตว่า เราไม่ค่อยเห็นสิ่งต่างๆ ที่เคยเห็น ไม่ได้ด�ำเนิน ชี วิ ต ในวิ ถี แ บบเดิ ม ๆ แม้ ว ่ า จะมี ก ารรวมตั ว ของกลุ ่ ม นักศึกษาแต่ละจังหวัด แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นแค่การเข้ามา รู้จักกันช่วยเหลือกันในเรื่องการเรียน ไม่เคยมีใครพูดคุย


10

ชีวิตในเมืองกรุงที่ใหญ่โตทันสมัยยิ่งท�ำให้ เธอได้หวนคิดถึงภาพชีวิตชนบทที่คุ้นเคย คิดถึงอาหารพื้นบ้าน คิดถึงดนตรีล้านนา ผ้าซิ่นเสื้อฝ้ายที่เคยใส่ บรรยากาศตักบาตร งานวัดปีใหม่ ความชุ่มฉ�่ำของสายน�้ำ ในงานสงกรานต์ของหมู่บ้าน เพราะ สิ่งทั้งหมดที่นึกถึงนี้คือรากของเธอ เรือ่ งวัฒนธรรมพืน้ บ้านนัก ตอนนัน้ ก็ไม่ได้คดิ ว่าท�ำไมรูส้ กึ เหมือนว่าวัฒนธรรมพืน้ บ้านมันค่อยๆ เริม่ ห่างหายไปจาก เรา จุดที่ท�ำให้รู้สึกฉุกคิดเรื่องนี้มากๆ ก็คือ ช่วงที่เรียนปี 2 แล้วได้กลับบ้านแล้วพบว่าน้องๆ รุ่นหลังๆ ที่โรงเรียนเก่า ได้มีการเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาล้านนา ก็เลยสนใจ เพราะตัวเองไม่เคยได้เรียนรู้เรื่องภาษาล้านนามาก่อน และอยากเรียนรูบ้ า้ ง จึงไปขอหนังสือจากอาจารย์มาศึกษา เอง รู้สึกว่าการเป็นคนล้านนา เราต้องรู้จักภาษาของเราสิ มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว พอเราเริ่มอ่านภาษาล้านนา ได้บ้าง ก็ท�ำให้ได้รู้ราวเกี่ยวกับที่มาที่ไปของตัวเองจาก หนังสือที่ได้อ่านเพิ่มเติม” “ถามว่าท�ำไมถึงคิดว่าวัฒนธรรมส�ำคัญ นั่นเพราะ รู้สึกว่าภาษา เครื่องแต่งกาย ดนตรี อาหาร ที่อยู่อาศัย เหล่านีเ้ ป็นสิง่ พืน้ ฐานทีบ่ ง่ บอกความเป็นเรา พืน้ ฐานตัวตน ของเรา มันคือเอกลักษณ์ ทีท่ ำ� ให้เราภาคภูมใิ จว่านีค่ อื พวก พ้องของเรา แม้วา่ ล้านนาจะมีในหลายจังหวัด แต่ในพืน้ ที่ ต่างๆ ก็มีที่มาที่ไปแตกต่างกัน เชียงใหม่ ล�ำพูน ล�ำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ กลุ่มนี้คือ กลุ่มล้านนาแต่ดั้งเดิม แต่ก็

แตกต่างกัน เช่น ล�ำพูน คือ ชนพื้นเมืองยอง เป็นพื้นที่แรก ที่อพยพมาจากลพบุรี เชียงใหม่ ก็มีเชื้อสายมาจากลั๊วะ เป็นต้น แพร่และน่าน ก็เป็นกลุม่ ล้านนาทีม่ เี อกลักษณ์คอ่ น ข้างชัดเจนและแข็งแรง อย่างอุตรดิตถ์ก็จะมีวัฒนธรรม คล้ายคลึงกับทางภาคอิสาน” และความเชื่อว่าการเข้าใจในวัฒนธรรมที่มาที่ไป ของตัวเราเองเป็นเรือ่ งส�ำคัญแรกๆ การท�ำงานทีต่ อ้ งอยูก่ บั เด็กๆ จ�ำนวนมากทีม่ คี วามแตกต่างหลากหลาย ทัง้ ชาวเขา ชาวพื้นราบภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ อิสลาม ไทย เชือ้ สายจีน ทีท่ กุ กลุม่ ทุกแห่งก็ตา่ งมีเอกลักษณ์ของตัวเอง การได้ลงพืน้ ทีเ่ ห็นสภาพความเป็นอยูว่ ถิ ชี วี ติ ท�ำให้ทกุ ครัง้ ที่มีโอกาส พี่ก้อยของน้องๆ ก็จะแลกเปลี่ยนมุมมองที่ เกี่ยวกับวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน แม้จะเป็นมุมมอง เล็กๆ แต่เธอก็บอกว่าดีกว่าเราไม่พดู คุยอะไรในเรือ่ งนีเ้ ลย “เด็กวัยรุ่นที่เป็นชาวเขาหลายคนที่อายไม่มั่นใจในการ บอกใครๆ ว่าเป็นกะเหรีย่ ง หลีกเลีย่ งใส่ชดุ แต่งกายประจ�ำ เผ่า ในอีกมุมหนึง่ เด็กชาวเขาอีกหลายคนก็ภมู ใิ จในความ เป็นชนกลุม่ น้อยเผ่าม้งของตัวเอง พูดคุยทักทายเป็นภาษา

เมื่อหัวใจยังเต้น เส้นเอ็นยังกระตุก ตราบนั้นทุกข์ยังมี … กลอนภาษาล้านนา โดย อาจารย์แสวง ใจรังสี (โรงเรียนน�้ำดิบวิทยาคม อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน)


11

ถิ่น มีงานอดิเรกกับการบรรจงปักผ้าลายพื้นเมือง การได้ เห็นเด็กอิสลาม 2-3 คนพยายามที่จะเล่าอธิบายพิธีกรรม การละหมาดให้เพื่อนอีสานฟังว่าส�ำคัญกับตัวเขาอย่างไร ท�ำไมต้องท�ำ สิ่งที่เราเห็นแบบนี้ท�ำให้เราคิดว่าเยาวชน เป็นกลุ่มคนส�ำคัญมากๆ ในการที่จะสืบสานความเป็น วัฒนธรรมของแต่ละแห่งทีล่ ะกลุม่ เอาไว้ หน้าทีข่ องผูใ้ หญ่ คือปลูกฝัง ถ่ายทอด กระตุ้นให้ความเป็นเอกลักษณ์เหล่า นี้คงอยู่ และบอกให้รู้ว่ามันคือรากของเรา” เมือ่ เดือนตุลาคมทีผ่ า่ นมา ได้มโี อกาสอ่านใบสมัคร จากเยาวชนที่ขอรับทุนจากมูลนิธิด�ำรงชัยธรรม นักเรียน หญิงคนหนึง่ อายุ 15 ส่งมาจาก อ.ลี้ จังหวัดล�ำพูน นักเรียน คนนี้แต่งกลอนสดทางภาคเหนือที่เรียกว่า “ค่าวฮ�่ำ” มี เนื้อความบอกเล่าถึงความจ�ำเป็นในการขอรับทุน จาก ประสบการณ์ท�ำงานของตัวเองใน 2 ปีที่ผ่านมา เห็น ลักษณะแบบนี้เยอะมาก คือเด็กๆ เมื่อยังอยู่ในชุมชนท้อง ถิ่นของตนเองก็ยังมีความภาคภูมิใจ ถ่ายทอดเอกลักษณ์ ของตัวเองออกมาในรูปแบบ งานเขียน ภาษา ดนตรี แต่ เมือ่ โตขึน้ ออกจากชุมชน เปลีย่ นทีเ่ รียน เข้าไปในสังคมใหม่ วิถีวัฒนธรรมที่มีติดตัวมา ก็จะค่อยๆ หายไป เคยคุยกับ น้ อ งคนหนึ่ ง เป็ น เด็ ก ผู ้ ช ายจาก จ.นครปฐม ที่ มี ค วาม สามารถในการเล่นดนตรีฆ้องวงใหญ่ เล่นมาตั้งแต่ชั้น ประถมตอนต้นจนถึงระดับมัธยมปลาย แต่พอเรียนระดับ มหาวิทยาลัยก็แทบไม่ได้เล่นดนตรีไทยอีกเลย กลับกลาย เป็นว่าระบบการศึกษาทีส่ งู ขึน้ กว้างขวางขึน้ กลับยิง่ ท�ำให้ เราห่างออกจากวิถีวัฒนธรรมเดิมของเรา ความเห็นส่วน ตัวต่อเรือ่ งนีค้ ดิ ว่า ผูม้ อี ำ� นาจในการบริหารจัดการเกีย่ วกับ

วัฒนธรรมของชาติอาจต้องจริงจังในเรือ่ งนีม้ ากกว่านีห้ รือ ไม่ ก่อนที่สิ่งที่เราเรียกกันว่า วัฒนธรรม อาจจะสูญหาย ส�ำหรับตัวเองคนตัวเล็กๆ คนหนึง่ ทีอ่ ยูใ่ นวัฒนธรรม ครึ่งๆ กลางๆ สิ่งที่ท�ำได้ด้วยตัวเองก็คือ เรื่องของภาษา ล้านนาทีย่ งั สนใจอยูม่ าก ก็แบ่งเวลามาหัดอ่าน หัดพูด หัด เขียน ใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ฟังจาก youtube เพราะทุกวันนี้มีหลายช่องทางให้เราหาความรู้มาศึกษา มีความฝันเล็กๆ ส�ำหรับตัวเองว่า ในอนาคตใกล้ๆ นี้อาจ จะได้กลับไปอยู่บ้าน ก็อาจจะจัดกลุ่มเล็กๆ ชวนเด็กๆ ใน ชุมชนมาเรียนภาษาล้านนา เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะล้านนา เท่าทีพ่ อจะมีผเู้ ฒ่าผูแ้ ก่ในชุมชนมาสอนถ่ายทอด การบอก เล่าเรือ่ งราวจากคนรุน่ หนึง่ สูร่ นุ่ หนึง่ น่าจะเป็นการถ่ายทอด วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เหมือนอย่างค�ำสอนผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ว่า “ของกิ๋นบ่อฮู้เน่า ของเล่าบ่อฮู้ลืม” ท่ามกลางความเจริญในเรื่องต่างๆ มากมาย เรา ติดต่อ สืบค้น พัฒนาไปไกลแสนไกล แต่สุดท้ายนั้นอาจ จะแทบไม่มีประโยชน์เลย หากเราไม่สามารถจะตอบ ค�ำถามได้ว่า เราคือใคร มีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อที่เราจะ ไปสู่ทางไหนแบบไม่หลงทาง ...แล้วคุณล่ะเป็นใคร?


12 Thinking Talking

ภายหลังจากรัฐบาลได้ออกกฎหมายการนิรโทษกรรมนัน้ เกิดการชุมนุมของประชาชนหลายกลุม่ เพือ่ คัดค้าน กฎหมายดังกล่าว รวมถึงกลุ่มคนเสื้อแดงเองบางส่วนด้วย ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะนิรโทษกรรมทุกฝ่ายโดยที่ กระบวนการยุ ติ ธ รรมยั ง ไม่ ไ ด้ ท� ำ งาน ท� ำ ให้ นึ ก ถึ ง ค� ำ พู ด ของประธานาธิ บ ดี ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด คนหนึ่ ง ของ สหรัฐอเมริกา ทอมัส เจฟเฟอร์สัน เขากล่าวว่า “เมื่อความอยุติธรรมกลายเป็นกฎหมาย การลุกฮือต่อต้าน จะกลายเป็นหน้าที่” (When injustice becomes law, resistance becomes duty) จากเหตุ ก ารณ์ ที่ ป ระชาชนได้ ลุ ก ออกมาคั ด ค้ า น กฎหมายดั ง กล่ า ว ภายใต้ ค วามรู ้ สึ ก ที่ ว ่ า ไม่ มี รั ฐ บาล ประชาธิปไตยที่ไหน ที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง ท�ำให้ภายหลังวุฒิสภาจึงลงมติไม่รับหลักการของกฎหมาย ดังกล่าวเพือ่ ให้กฎหมายตกไป และรัฐบาลได้ประกาศว่า จะ ไม่น�ำกฎหมายดังกล่าวกลับมาพิจารณาอีกต่อไป น่าสนใจว่าในเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ ได้มีนิสิต นักศึกษาได้ออกมาร่วมชุมนุม เดินขบวนรณรงค์และร่วมจัด กิจกรรมคัดค้านจ�ำนวนมาก รวมถึงสถาบันการศึกษาและ มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ออกมาประกาศตัวชัดเจนทีจ่ ะคัดค้าน อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้น�ำนิสิตเดินขบวนจาก มหาวิทยาลัยมายังหอศิลปวัฒธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หลายพันคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จดั เดินรณรงค์ออก จากท่าพระจันทร์หลายพันคนโดยมีนักศึกษาและศิษย์เก่า เข้าร่วมจ�ำนวนมาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัย มหิดลได้ออกประกาศให้นกั ศึกษาออกมาแสดงพลังคัดค้าน อย่างพร้อมเพรียงกัน ขณะที่มหาวิทยาลัยรังสิต ถึงขนาด ประกาศหยุดการเรียนการสอน 1 วัน เพือ่ ให้นกั ศึกษาเข้าร่วม การชุมนุมทางการเมือง ปรากฏการณ์การแสดงออกทางการเมืองของนิสิต นั ก ศึ ก ษา เยาวชน คนหนุ ่ ม สาว มี ม าอย่ า งยาวนานใน ประวัติศาสตร์การเมืองไทยและการเมืองโลก อาจจะเป็น เพราะพวกเขาต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองและต้องการ แสดงออกโดยตรง ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นักศึกษาและเยาวชน คนหนุ่มสาว มีบทบาทอย่างส�ำคัญในกระบวนการพัฒนา ประชาธิ ป ไตยและการพั ฒ นาสั ง คม เกิ ด การมี ส ่ ว นร่ ว ม ทางการเมืองอย่างกว้างขวาง เพราะการเมืองเป็นตัวก�ำหนด ระบบเศรษฐกิจเพื่อให้มีความเป็นธรรม และวิถีจากความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเหล่านั้นเป็นตัวก�ำหนดสังคมและ วัฒนธรรมต่อมา แม้ในวันนี้อาจดูเหมือนว่า ระบบเศรษฐกิจ แบบทุ น นิ ย มซึ่ ง เติ บ โตมาอย่ างยาวนาน ได้ ก ลั บ เป็ น ตั ว ก�ำหนดการเมืองไปแทบทั้งหมดแล้ว จนดูเหมือนว่า ชนชั้น น�ำทางเศรษฐกิจเป็นตัวก�ำหนดการเมืองทีแ่ ท้จริง เพราะพวก เขาอยู่เบื้องหลังนักการเมือง

นักศึกษา กับ อย่างไรก็ตาม คนหนุม่ สาวในยุคแรกในประวัตศิ าสตร์ การเมืองไทยสมัยใหม่ นักเรียนกฎหมายฝรั่งเศสกลุ่มนาย ปรีดี พนมยงค์ แกนน�ำคณะราษฎร ที่สนใจการเมืองตั้งแต่ ยังวัยหนุ่มสาว ได้จัดการประชุมกันเพียง 7 คน เพื่อวางแผน เปลีย่ นแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้ท�ำให้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติประชาธิปไตยขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในเวลาต่อมา เมื่ อ เผด็ จ การทหารได้ ยึ ด ครองมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ในปี 2494 ภายหลังการปราบปรามกบฏแมนฮัต ตัน จากนัน้ ในวันที่ 11 ตุลาคม 2494 นักศึกษามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ 3,000 คน เดินขบวนไปยังรัฐสภาเพือ่ เรียกร้อง มหาวิทยาลัยคืน ภายใต้คำ� ขวัญของ นายทวีป วรดิลก ทีว่ า่ "รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย" และเกิดบทกวีของนาย เปลื้ อ ง วรรณศรี ที่ เ ป็ น วรรคทองทางวรรณกรรมของ มหาวิทยาลัยมาจนทุกวันนี้ที่ว่า ..“ถ้าขาดโดมเจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ ก็เหมือนขาดสัญลักษณ์พทิ กั ษ์ธรรม"


13 การลุกขึน้ ต่อสูอ้ ำ� นาจเผด็จการของนักเรียนนักศึกษา มีมาอย่างต่อเนือ่ ง แม้ภาวะทีค่ วามสนใจการเมืองน้อยในยุค สายลม-แสงแดด ทีเ่ กิดบทกวีของนายวิทยากร เชียงกุล ทีล่ กุ ขึ้นตั้งค�ำถามต่อการศึกษากับสังคมว่า “ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวังเก็บอะไรไป มากมาย แต่สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว”.. ภายหลังจากนัน้ มา ได้เกิดขบวนการเรียนรูส้ งั คมขนานใหญ่ จนเกิดเหตุการณ์ปฏิวตั ขิ องคนหนุม่ สาวครัง้ ใหญ่ของโลก ใน

บ การเมือง

จนเกิดการรัฐประหารขึน้ ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นัน้ ล้วน มีมลู เหตุสำ� คัญมาจากการผูกขาดทางการเมืองของกลุม่ ทุน และชนชั้นน�ำทั้งสิ้น พวกเขาแย่งชิงอ�ำนาจกันโดยละเลยว่า อ�ำนาจนั้นไม่ใช่เป็นของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่อ�ำนาจนั้น เป็นของประชาชนต่างหาก

โดย เมธา มาสขาว

เหตุการณ์ปฏิวตั ปิ ระชาชนเมือ่ วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ทีท่ ำ� ให้ ทัว่ โลกตกตะลึงและยกย่องบทบาทของคนหนุม่ สาวในเมือง ไทย ทีส่ นใจปัญหาบ้านเมืองและลุกขึน้ มาต่อสูเ้ พือ่ ความเป็น ธรรมทางสังคม ขณะที่ภาวะทุนนิยมท�ำให้สถาบันการศึกษา เปรียบ เสมือนโรงเลี้ยงเด็กของชนชั้นกลาง หรือกระทั่งเป็นโรงเรียน เตรียมกรรมกรของผู้ยากไร้ ชาวไร่ ชาวนา ด้วยหวังว่า พวก เขามีจะหน้าที่การงานที่ดีขึ้น ท�ำให้คนรุ่นใหม่ของสังคมไทย ละเลยที่จะสนใจการเมือง อันเป็นต้นเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิด โครงสร้างความไม่เป็นธรรมในมิติต่างๆ ขึ้นจึงไม่แปลกที่ การเมืองไทยในระบบประชาธิปไตยทุนนิยม หรือเสรีนิยม ประชาธิปไตย จะตกอยูใ่ นอ�ำนาจของกลุม่ ทุนทีเ่ ข้ามาผูกขาด ทางการเมือง เพื่อเอื้ออ�ำนวยผลประโยชน์ต่างตอบแทนจน เกิดธุรกิจการเมืองขึ้น การก� ำ เนิ ด ขึ้ น ใหม่ ข องเผด็ จ การพรรคการเมื อ ง เผด็จการรัฐสภา หรือกระทัง่ ความขัดแย้งทีไ่ ม่สามารถเจรจา

เป็นโจทย์ของสังคมไทยของเยาวชนคนหนุม่ สาวและ นิสติ นักศึกษา ในวันนีว้ า่ จะตีความปัญหาและความขัดแย้ง ทางการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไร และจะเดิน เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ แต่ไม่น่าจะเกิน เลยภูมปิ ญ ั ญาของคนรุน่ ใหม่สมัยนี้ ทีเ่ สพข้อมูลข่าวสารและ เข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าคนรุ่นก่อนๆ ซึ่ง ได้สร้างประวัติศาสตร์มากมายขึ้นในโลกอันกว้างใหญ่นี้ ชีวติ ของพวกเขาล้วนถูกจารึกเกียรติประวัตแิ ละ คุณค่า ตัง้ แต่วยั หนุม่ สาวทัง้ สิน้ อาจเป็นเพราะวัยหนุม่ สาว วัยนักศึกษา คือวัยทีบ่ ริสทุ ธิแ์ ละจริงใจทีส่ ดุ เพราะปราศจาก ผลประโยชน์ทางการเมืองโดยตรง และความเป็น “ปัญญา ชน” ทีแ่ ท้จริงเหล่านัน้ คือ การลุกขึน้ มาใช้ปญ ั ญาแก้ไขปัญหา การเมืองและสังคมร่วมกันโดยไม่เดินหนีหน้าอย่างเห็น แก่ตัว เหมือนดังบทกวีที่ว่า “ในโลกที่มีคนสองชนชั้น หนึ่งในนั้นยากแค้น หนักหนา หากเราเดินผ่านเลยอย่างเฉยชา เท่ากับว่า เราอยู่ข้างผู้ย�่ำยี”


14 Experience

ฉบั บ นี้ ยั ง อยู ่ ที่ บ าหลี กั น นอกจาก ทานาล็ อ ต วิ ห ารงู ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ บ นผาหิ น ริ ม ทะเลแล้ว ถัดไปทางทิศตะวันตกยังมี วั ด บาตูโบลอง (Batu Bolong Temple) วัด ขนาดย่ อ มๆ ตั้ ง บนผาหิ น เช่ น เดี ย วกั บ ทานาล็อต แต่ที่สะดุดตาคือ ช่องโหว่ขนาด ใหญ่ตรงกลางหน้าผาที่เกิดจากการกัดเซาะ ของน�้ำทะเลก็ดูแปลกตาดี ชมพระอาทิตย์ อัสดงไป ฟังเสียงคลื่นกระทบกับผาหินไป เหมือนดัง่ ทีเ่ ขาว่ากันว่า บาหลี ดินแดนในฝัน สวรรค์บนดินจริงๆ ขอเสริมการเข้าชมวัด ของบาหลี เพื่ อ แสดงถึ ง ความเคารพใน สถานที่เราต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย นุ่งสั้น แขนกุด ห้ามเด็ดขาด แต่อากาศร้อนๆ ของ บาหลีจะให้ใส่เสื้อแขนยาว กระโปรงยาวก็ กระไรอยู่ ดังนัน้ ถ้าใส่กางเกงหรือกระโปรงสัน้


15

ระบ�ำคะจัก โดย กุ้งนาง

มาก็สามารถนุ่งโสร่งทับและใช้ผ้าคาดเอวเวลาที่ เข้าไปชมวัด และถ้าเข้าไปในวัดขณะที่ชาวบาหลี ก� ำ ลั ง ท� ำ พิ ธี ก รรมอยู ่ อ ย่ า ไปยืน ค�้ำ หัว หรือยืน ใกล้ แท่นบูชา ส่วนผู้หญิงถ้ามีประจ�ำเดือนก็ห้ามเข้าวัด เด็ ด ขาด เพราะชาวบาหลี ถื อ ว่ า วั ด เป็ น สถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ห้ามไม่ให้มีรอยเลือดหรือการเปื้อนเลือด ใดๆ นอกจากวัดต่างๆ แล้วบาหลียังมีการแสดง ทางนาฏศิลป์ที่ตรึงใจนักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกหลาย อย่าง เช่น ระบ�ำคะจัก (Kecak Dance) ซึ่งเป็นการ แสดงนาฎลีลาที่มีจังหวะสนุก คึกคัก และมีชีวิตชีวา น่าติดตาม ทัง้ ๆ ทีไ่ ม่มกี ารใช้เครือ่ งดนตรีชว่ ยบรรเลง แม้แต่ชิ้นเดียว ระบ�ำคะจักเป็นระบ�ำที่ปรับมาจาก การร่ายร�ำแบบดัง้ เดิมของบาหลีทชี่ อื่ ว่า ระบ�ำลุยไฟ (Sanghyang Fire Dance) โดยผูส้ ร้างสรร คือ วายัน ลิมบัก (Wayan Limbak) เขาได้คิดค้นและปรับปรุง การระบ�ำนี้ร่วมกับ Mr.Walter Spies นักจิตรกรชาว เยอรมัน ในปี พ.ศ. 2473 คะจักเป็นการร่ายร�ำที่มี การใช้ไฟมาประกอบและเดินเรื่องด้วยวรรณกรรม รามเกียรติ์ โดยระบ�ำคะจักจะแสดงตอนที่พระราม ตามไปช่วยนางสีดาจากทศกัณฐ์ โดยที่ผู้แสดงหลัก จะมีนางสีดา พระลักษณ์ พระราม ทศกัณฑ์ หนุมาน และเหล่าพลวานร ซึง่ พลวานรจะแสดงโดยนักแสดง ชายจ�ำนวนกว่าร้อยคนนั่งล้อมเป็นวงกลมซ้อนกัน หลายชั้น นุ่งโสร่งลายหมากรุกขาวด�ำไม่ใส่เสื้อ ที่หู ด้านขวาทัดด้วยดอกไม้สีแดง ส่วนนักแสดงหลักจะ อยู่ตรงกลางวงกลม เมื่อการแสดงเริ่มพลวานรก็จะ

เปล่งเสียงเหมือนลิงเป็นจังหวะสูงต�ำ่ สลับกันไปว่า คะจัก คะจัก คะจัก ตลอดการแสดง แทนเครื่องดนตรีประกอบกับยกแขน โยกสลับไปมา ค�ำว่า คะจัก (Kecak) ก็เป็นเสียงเลียนแบบลิง หรือ ที่คนไทยเลียนเสียงลิงว่า เจี๊ยกๆ นั่นเอง สถานที่ชมระบ�ำ คะจักที่นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมก็จะมีอยู่สองที่ ที่แรกจะเป็น ที่ วัดอูลวู าตู (Uluwatu) ซึง่ ตัง้ อยูท่ างใต้ของเกาะ และอีกทีหนึง่ ส�ำหรับนักท่องเทีย่ วทีม่ าเยืย่ มชมทานาล็อตอยากชมระบ�ำคะจัก แต่ไม่อยากเสียเวลาไปทีว่ ดั อูลวู าตู ก็คอื สวนวัฒนธรรมซูเรีย มันดาลา (Surya Mandala Cultural Park) ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นบริเวณ เดียวกับทานาล็อต ทางสวนวัฒนธรรมเปิดแสดงระบ�ำคะจัก ทุกวัน เวลา 18:30 น. ค่าเข้าชมประมาณ 200 บาท ต่อท่าน เสียงของพลวานรกว่าร้อยคนและการร่ายร�ำของนักแสดง เต็มไปด้วยความขลัง มีกลิ่นอายของคาถาอาคม เวทมนตร์ และอ�ำนาจเร้นลับ สะกดทุกสายตาด้วยเปลวไฟจริงสัมผัสได้ ถึงความร้อนของไฟที่ลุกโชน เครื่องแต่งกายสีแดงเข้ม ท่า ร่ า ยร� ำ ที่ ดู ไ ม่ ซั บ ซ้ อ นแต่ แ ฝงความดุ ดั น ถ้ า มี โ อกาสได้ ไ ป ดินแดนสวรรค์นี้ อย่าพลาดชมการระบ�ำนี้นะคะ เมือ่ มองไปยังพระอาทิตย์อสั ดงสุดขอบฟ้า ทีม่ ผี าหินกล้า แกร่งและท้องน�ำ้ ทะเลที่คลื่นกระทบฝั่งเป็นระยะๆ ท�ำให้อดคิด ไม่ได้วา่ บางทีคนเราถ้ากล้าแกร่งเหมือนหินผาก็ไม่ดนี กั เพราะ สักวันน�้ำทะเลก็กัดเซาะให้เป็นร่องรอย เป็นช่องโหว่ ถ้าเรา ท�ำตัวเหมือนน�ำ้ ทะเล สงบบ้าง มีคลืน่ บ้าง ปรับตัวให้สอดคล้อง กับสภาพแวดล้อม ก็ไม่มีความแข็งใดมาท�ำลายน�้ำได้ แล้วพบกันฉบับหน้าค่ะ


16 A-R-T

เมื่ อ พู ด ถึ ง เรื่ อ งราวในอดี ต เหตุ ก ารณ์ คน สิง่ ของ หรือวัฒนธรรม ใดๆก็แล้วแต่ มักจะต้อง มีการอ้างอิงข้อมูลประกอบเพือ่ ให้เห็นเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งแหล่งอ้างอิงดังกล่าวที่ว่าเป็นได้ทั้งคน สัตว์และ สิ่งของ ทั้งจากการประสบเองของตัวผู้กล่าวถึง ประวัติศาสตร์ หรือจากเอกสารวิชาการ สมุดจด บันทึกของนักเดินทาง ต่างๆเหล่านี้ท�ำให้เราได้รู้จัก อดีต เป็นประโยชน์ต่อปัจจุบันและอนาคต แน่นอนว่า ถ้าหากไม่มีการเก็บบันทึกเมื่อตอนนั้น วันนี้เราก็อาจ ไม่รู้ได้ ดังนั้นสิ่งที่เผยให้เห็นอดีตเหล่านั้นจึงส�ำคัญ อย่างยิ่ง หนึ่งในหลายๆ เครื่องมือของการ บั น ทึ ก เรื่ อ งราวในอดี ต จนกลายเป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ใ ห้ เ ราได้ ศึ ก ษากั น คื อ ศิลปะ ศิลปะอยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ครั้ง อดีตกาล มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ว่าในยุคสมัยนั้นๆ คนเราก็มี ศิลปะ ทัง้ ภาพเขียน บทกวี ดนตรี ภาพถ่าย สถาปัตยกรรม หรือละคร สิง่ เหล่านีศ้ ลิ ปิน ผู้สร้างได้บันทึกเหตุการณ์ในอดีตลงไป ในผลงาน จึงท�ำให้ภาพและอารมณ์ของ เหตุการณ์เด่นชัดยิ่งขึ้น ยิ่งใช้ประกอบกับ หลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ก็จะท�ำให้ เข้าใจประวัติศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น ได้มุม มองและแนวคิดที่กว้างออกไปอีก เป็นไปได้ว่าสังคมหรือเหตุการณ์ ในช่วงขณะนั้นเป็นแรงบันดาลใจหรือส่ง อิทธิพลให้เหล่าศิลปินต้องผลิตงานศิลปะ ออกมา ไม่ว่าจะด้วยอารมณ์ปิติ โศกเศร้า โกรธเคือง หดหู่ สนุกสนาน ประทับใจ เสียดสีหรืออะไรก็แล้วแต่ เมื่อศิลปะเป็น เครื่องมือในการสื่อสารที่ทุกคนมีพื้นฐาน อยู่ในตัว ศิลปินผู้ถูกกระทบจากสังคมจึง ตัดสินใจเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้แล้วบอก ผ่านงานศิลปะ ท�ำให้เรื่องเล่าน่าสนใจ มากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าผลงานศิลปะทุกชิ้นจะ บอกเล่าเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา อาจ

จะมีการดัดแปลงให้ผู้เสพได้ตีความเอง เนื้อหาในผลงานมีทั้ง ความงาม รสนิยม เหตุการณ์ วัฒนธรรม ค่านิยมในสมัยนั้น รูป แบบของศิลปะที่ออกมาจึงมีทั้งที่รับรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและ นามธรรม ตัวอย่างผลงานทางศิลปะที่บอกเล่าเรื่องราวในยุคสมัย ที่ผลงานถือก�ำเนิด ผลงานแรกเป็นผลงานภาพวาดสีน�้ำมันบน ผ้าใบชื่อ A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte ปี ค.ศ.1884–1886 ของ Georges-Pierre Seurat จิตรกร ชาวฝรั่งเศส ใช้เวลาในการวาดภาพนี้นานถึง 2 ปีที่ริมสวน สาธารณะแห่งหนึ่งในกรุงปารีส ที่เมื่อครั้งศิลปินได้วาดภาพ

เล่าประวัต

ภาพ A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte ปี ค.ศ.1884–1886 ของ Georges-Pierre Seurat ขอบคุณภาพจาก (Wikipedia.com)

ทีแ่ ห่งนีเ้ ป็นสวนทีเ่ งียบสงบห่างไกลจากเมือง แต่ปจั จุบนั ได้กลายเป็นสวน สาธารณะและที่พักอาศัยของคนเมือง นอกจากความงามที่มองเห็นได้ ด้วยตา เราอาจรู้ได้ถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สภาพอากาศ ภูมิประเทศ ค่านิยมของคนที่นั่นในอดีต และอารมณ์ของศิลปินที่ต้องการ จะบอกเล่าให้เหมือนๆ กับที่เขารู้สึก และแต่ละคนก็อาจจะตีความได้ หลากหลายยิ่งกว่านั้น


17

ตัวอย่างถัดมาเป็นงานพระนิพนธ์ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ ตอน เห่ชมเรือ หลายคนคงเคยเห็นในบทเรียนมาแล้วบ้าง หรืออาจจะได้เรียนมาแล้ว ด้วย เป็นอีกหนึง่ ผลงานทีเ่ รือ่ งราวส�ำคัญทีถ่ กู ถ่ายทอดผ่านบทกวี เมือ่ ครัง้ ทีพ่ ระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ (สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย) เสด็จพระราชด�ำเนินโดยทางชลมารคเพื่อไป นมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ได้ประทับบนเรือต้นในการเดินทาง พร้อมด้วย ขบวนเรือติดตามเป็นแถวแน่น ประกอบด้วยเรือที่หัวเรือเป็นรูปสัตว์หลายชนิด สะท้อน วัฒนธรรมประเพณีเมื่อครั้งในอดีตที่ยังคงสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ติศาสตร์ผ่านศิลปะ ปางเสด็จประเวศด้าว ทรงรัตนพิมานไชย พรั่งพร้อมพวกพลไกร เรือกระบวนต้นแพร้ว พระเสด็จโดยแดนชล กิ่งเเก้วแพร้วพรรณราย นาวาแน่นเป็นขนัด เรือริ้วทิวธงสลอน เรือครุฑยุดนาคหิ้ว พลพายกรายพายทอง สรมุขมุขสี่ด้าน ม่านกรองทองรจนา สมรรถชัยไกรกาบแก้ว เรียบเรียงเคียงคู่จร สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย เพียงหงส์ทรงพรมมินทร์

ชลาไลย กิ่งแก้ว แหนแห่ เพลิศพริ้งพายทอง ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย พายอ่อนหยับจับงามงอน ล้วนรูปสัตว์แสนยากร สาครลั่นครั่นครื้นฟอง ลิ่วลอยมาพาผันผยอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา เพียงพิมานผ่านเมฆา หลังคาแดงแย่งมังกร แสงแวววับจับสาคร ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม

โดย MR.BOM

พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ ขอบคุณที่มาจาก หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

จะเห็นแล้วว่าศิลปะอยูค่ กู่ บั สังคมทุกยุคทุกสมัย สังคมก่อก�ำเนิดศิลปะ และศิลปะ เองก็หล่อเลีย้ งสังคม ทัง้ สองอย่างต่างเกือ้ หนุนกัน ปัจจุบนั ศิลปะอาจแตกต่างจากในอดีต มาก แต่ทว่าเนื้อหาหรือเจตนารมณ์ของผู้สร้างสรรค์ไม่เคยจะแตกต่างกันเลย เหตุการณ์ ส�ำคัญในปัจจุบันที่เราพบเจอ มากกว่าการปล่อยผ่านไป เราลองบันทึกเป็นผลงานศิลปะ ดูบ้าง เผื่ออดีตนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างมากในอนาคต


18 Guidance

ปากคนปา

กกา

ครั้ง จะมาแนะน ที่แล้วที่รอยฝันก็ได จากหมาย �ำสาขาที่เรียนแล้วจ ้ไปท�ำตัวเป็นเด็กแน ว ควา เลขที่ท่านเรียก) ะได้เป็นนักเขียนกัน เป็นนักเขียนไปแล โดย รอย ฝัน ส ม ว ้ ำ � น เ ป ห ะ จ ็ น ร ะ ๊ จ ับสาขานั้น ริงแล้วก็ไ ม า และฝึกฝน ฉ บ บ ั นี้พ คือ ......... ม่ม .... (ไม่มีเส ี่รอยฝันก็ หลายๆ ค มาเป็นอย่างดี แล ีสาขาไหนเฉพาะที่เ ียงตอบรับ ร นได้บอกว ่า นักเขียน ะการที่จะเป็นนักเขีย ียนแล้วจะมาเป็นนัก ที่ดีเริ่มต้น เ น จากการเป ที่ดีได้นั้นก็ต้องอ่า ขียน ขอแค่ให้อยา กเข นเ ็นนักอ่านท ี่ดีเสียก่อน ยอะๆ อย่างที่นักเ ียน ขียน


19

การเป็ น นั ก อ่ า นช่ ว ยนั ก เขี ย นได้ ห ลายประการ อาทิ ช่วยให้เราได้เรียนรู้ลีลาการเขียนของนักเขียนชั้นน�ำ ต่างๆ รวมถึงซึมซับเอาลีลาเหล่านั้นมารวมเป็นลีลาการ เขียนของตัวเอง มาถึงจุดนี้พี่รอยฝันก็อยากจะบอกน้องๆ เลยว่า การที่จะเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการคือ 1. ใช้ภาษาดี กับ 2. ต้องมีเรื่องเล่า เขียนดีแต่ ไม่รจู้ ะเขียนอะไรก็คงท�ำหนังสือดีๆ ออกมาไม่ได้ ส่วนคนที่ รูจ้ ะเขียนอะไร แต่กไ็ ม่รจู้ ะเขียนอย่างไรดี ก็มปี ญ ั หาไม่แพ้ กัน ซึ่งดูเหมือนว่า ทั้ง 2 อย่างนี้จะมีสอนใน มหาวิทยาลัย ส�ำหรับด้านการเขียน ถ้าอยากเขียนเป็นภาษาไทย ก็วิชาเอกภาษาไทย ซึ่งก็จะมีอยู่ในหลายมหาวิทยาลัย บางมหาวิทยาลัยก็ต้องใช้การเลือกสาขาวิชาเมื่อจบ ปี 1 เช่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ ม.ศิลปากร ส่วนใน บางมหาวิทยาลัยก็จะเลือกตั้งแต่ตอน Admission หรือ สอบตรงเลย เช่น คณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอก ภาษาและ วรรณคดีไทย มศว. ซึ่งก็เข้าได้ไม่ยากเลย เพราะคะแนน จะต�่ำกว่าวิชาเอกยอดนิยม อย่างภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นถ้ า เราจะไปเรียนรู้ภ าษาไทยที่ ได้รับรองว่าไม่ยาก มีสิทธิ์แน่นอน รวมถึงมหาวิทยาลัย รามค� ำ แหง และมหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าชก็ มี เปิดสอนในสาขาวิชานี้อย่างไม่จ�ำกัดจ�ำนวนด้วย

เรื่องที่จะเอามาเขียนก็ส�ำคัญ หากน้องๆ คิดว่า ทักษะการเขียนฝึกเองได้ พี่แนะน�ำเลยว่า คณะไหนใน มหาวิทยาลัยก็มเี รือ่ งมาเขียน อย่างถ้าคณะแพทย์ ก็เขียน เรื่อง หมอๆ สุขภาพ คนไข้ อย่างคณะวิศวะฯ ก็เขียนอย่าง เรือ่ งตึก เรือ่ งเครือ่ งบิน เรือ่ งคอมพิวเตอร์ คณะครุฯ ศึกษาฯ ก็เขียนเรื่อง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง แต่ถ้าจะเอาแบบเจ๋งๆ มีเรือ่ งเขียนเยอะๆ พีแ่ นะน�ำเลยว่าต้องเรียน สาขาปรัชญา เพราะสาขาปรัชญาเป็นพ่อทุกสถาบัน ทุกสาขาวิชาล้วน เริ่มต้นจากวิชาปรัชญาทั้งสิ้น และวิชาปรัชญาเป็นสาขา วิชาที่กว้าง การเข้าเรียนก็ไม่ยากเลยเพราะเป็นคณะที่ คะแนนไม่สูงมาก แต่ถ้าน้องยังคิดว่า ปรัชญายังกว้างไม่พอ อยากได้ กว้างกว่านี้ ก็แนะน�ำให้เรียน สาขาวิชา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ รับรองว่าน้องๆ จะรู้กว้างจริงๆ เพราะรู้ ไปหมดทุกเรือ่ ง สาขา ปรัชญา การเมือง และ เศรษฐศาสตร์ (มีชื่อเท่ห์ เป็นภาษาอังกฤษว่า (Philosophy, Politic and Economic : PPE) เรียกได้ว่าเป็น 3 องค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ แห่งยุคสมัยใหม่ (3 Modern Great) ดังนั้นคนจบสาขานี้ ก็จะเท่หไ์ ม่หยอกเลยทีเดียว อ้อ! สาขาวิชานีม้ สี อนในเมือง ไทย ที่วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เรี ย นที่ ท ่ า พระจั น ทร์ ) ที่ เ ดี ย วนะจ๊ ะ แต่ ถ ้ า อย่ า งเท่ ห ์ กว่านั้น อาจจะต้องบินไปเรียนที่มหาวิทยาลัยคอกวัว (Oxford University) แบบคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ได้ สาขาวิชาทีเ่ ล่าๆ นัน้ แค่พอจะท�ำให้การเป็นนักเขียน ง่ายขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจบสาขาเหล่านี้มาแล้วจะเป็น นักเขียนได้ เพราะสาขาเหล่านี้ไม่ได้ตั้งใจจะปั้นคนให้เป็น นักเขียนโดยตรง แต่อาจจะปั้นคนให้เป็นผู้ใช้ภาษาที่ดี หรือเป็นนักคิด หรือนักอื่นๆ ที่ไม่ใช่นักเขียน มากกว่า ดังนัน้ สรุปเลยว่าถ้าอยากเป็นนักเขียน จงเขียน และเขียน แค่นั้น ขอให้วา่ ทีน่ กั เขียนน้อยทุกคนสนุกกับการขีดๆ เขียนๆ นะจ๊ะ พบกันฉบับหน้าจ้า


20 Life Coaching

กลับจากการเดินทางไกลมาได้สามสัปดาห์ มาถึงก็ สาละวนกับการท�ำงานชดเชยวันที่หายไป เผลอแป็ปเดียวช่วง เวลาช้าๆ ระหว่างที่ได้หยุดพักก็กลายเป็นภาพความทรงจ�ำ ไปเสียแล้ว เย็นวันนี้ขณะที่ภาระงานสามอาทิตย์รวดถาโถม และอุณหภูมิการเมืองในบ้านเราร้อนแรง ผมลงนั่งเงียบๆ อยู่ ในห้องท�ำงาน หลับตา และจินตนาการถึงช่วงเวลาสงบงาม ที่ได้เดินทางล�ำพัง

ระหว่างที่

เราออกไปข้างนอก โดย อรรถพล อนันตวรสกุล

ผมยังจดจ�ำได้ดีถึงการเป็นคนแปลกหน้า ในดิ น แดนที่ ไ ม่ รู ้ จั ก ใช้ เ วลาอ้ อ ยอิ่ ง ล� ำ พั ง ใน การเดิ น ชมสถานที่ ที่ น ่ า สนใจ สถาปั ต ยกรรม งานศิลปะ ตึกรามบ้านช่อง และผู้คน ค�่ำคืนหนึ่ง อากาศเย็นสบายก�ำลังดี ผมนั่งลงบนทางเท้าที่ สะพานเวคคิ โ อ เพื่ อ หยุ ด ฟั ง นั ก กี ต าร์ พ เนจร บรรเลงบทเพลงไพเราะด้วยปลายนิว้ ณ เวลานัน้ ผมเป็นเพียงแค่คนพเนจรที่อาศัยพื้นที่เล็กๆ บน ทางเท้าเป็นที่พักพิง มีเสียงเพลงขับกล่อมใต้แสง จันทร์ มีเสียงแม่น�้ำจากแม่น�้ำอาร์โนไหลผ่านให้ ได้ยินไกลๆ มีผู้คนเดินสัญจนผ่านไปมามากมาย แม้ในยามค�่ำคืน แต่ภายในของผมกลับเงียบงัน และหูก็ได้เพียงเสียงบรรเลงเพลงกีตาร์เท่านั้น

และผมนึ ก ถึ ง ค�่ ำ คื น สุ ด ท้ า ยที่ ห มู ่ บ ้ า น ชาวประมงชายฝั่งทะเล ไม่ไกลนักจากสนามบิน เป็นหมู่บ้านที่อยู่นอกแผนที่การท่องเที่ยว และ ไม่ได้มีจุดขาย หรือจุดชมวิว มีเพียงหน้าหาดที่ กัน้ ด้วยก�ำแพงหินกันคลืน่ กัดเซาะ ไม่ได้สวยงาม เป็นพิเศษแต่อย่างใด ทว่าส�ำหรับผม การได้นั่ง นิ่งๆ ฟังเสียงคลื่นล�ำพัง ชมพระอาทิตย์ลดระดับ ลงจนลับขอบฟ้า ได้เดินย�่ำผืนทรายยามค�่ำคืน ใต้ท้องฟ้าเกลื่อนดาว ล้วนเป็นรางวัลพิเศษสุด ของชีวิต

ผมนึกถึงการตื่นนอนขึ้นมาในเมืองที่เรา ไม่รู้จักใคร ทุกๆ เช้าคือการเดินออกไปบนถนน หนทางสายใหม่ที่ชวนให้เรากระตือรือร้นอยาก ก้าวเท้ายาวๆ ไปข้างหน้า นึกถึงชั่วขณะที่ได้เดิน ขึ้นหอสูงไปยังหลังคาโดมแห่งมหาวิหารดูโอโม

ภาพความทรงจ� ำ หลั่ ง ไหลเข้ า มาและ ย�้ำเตือนกับผมว่าระหว่างที่เราเดินทางออกไป ข้างนอก เราควรหมั่นส�ำรวจตรวจสอบเสมอว่า แล้วการเดินทางข้างในตัวเราเล่า เราเดินทาง เข้าไปได้ไกลเพียงใดแล้ว

มองลงมาเห็นนครฟลอเรนซ์สงบงามราวหยุด เวลาเอาไว้เนิ่นนาน


Help for Health 21

แพ้ยา หรือ อาการข้างเคียง โดย ภญ.บุษบงก์ ธรรมมาสถิตย์กุล

“แพ้ยาอะไรไหมคะ/ครับ?” เป็นค�ำถามที่เวลาคนไปโรงพยาบาล ต้องได้ยนิ อย่างน้อย 1 ครัง้ หรือแม้แต่คลินกิ ร้านยาก็ตาม คนส่วนใหญ่ ไม่มอี าการผิดปกติใดๆ หลังจากรับประทานยาก็จะตอบตามสัญชาตญาณ ไปว่า “ไม่แพ้” แต่ถ้าเคยคลื่นไส้อาเจียนหลังจากรับประทานยาล่ะ จะ ตอบว่า “แพ้ยา” ได้รึเปล่านะ หลายคนยังสับสนระหว่างแพ้ยากับอาการ ข้างเคียง การแพ้ยา คือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันของ ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านยาที่รับประทานเข้าไป เพราะร่างกายคิดว่ายานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม ท�ำให้ เกิดอาการต่างๆ เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ ปากบวม ตาบวม หากรุ น แรงก็ อ าจท� ำ ให้ เ กิ ด อาการแน่ น หน้าอก หายใจไม่ออก มีไข้ เจ็บปาก เจ็บคอ ผิวหนัง หลุดลอก ปากไหม้ ตาแฉะ อย่างที่หลายๆ คนอาจ ได้ยินข่าวเรื่องคุณดอกรักที่แพ้ยาจนท�ำให้ตาบอด บางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนอาการข้างเคียงของยาสามารถท�ำนาย ได้ว่าจะเกิดอาการอะไรบ้างหลังจากรับประทานยา โดยอธิบายได้จากกลไกการออกฤทธิ์ของยา เช่น ยา แก้ปวดลดอักเสบกลุ่ม NSAIDs (เอ็น-เสด) ที่กลไก ของยามี ผ ลลดการสร้ า งและหลั่ ง สารเมื อ กที่ ม า ปกป้องกระเพาะ ซึ่งสารเมือกดังกล่าวถือเป็นเกราะ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ก รดที่ ส ร้ า งจากกระเพาะกลั บ มา กัดกร่อนเนื้อเยื่อตัวเอง และโดยตัวยาเองมีสมบัติ เป็ น กรด จึ ง มี อ าการข้ า งเคี ย งท� ำ ให้ ร ะคายเคื อ ง กระเพาะอาหาร เป็ น ที่ ม าของค� ำ แนะน� ำ ว่ า ให้ รับประทานยาหลังอาหารทันที หรือยาบางตัวเมื่อยา เคลือ่ นลงไปสูก่ ระเพาะ อาจไปกระตุน้ การตอบสนอง เกี่ยวกับการอาเจียน ท�ำให้รู้สึกไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อยากอาเจียนหลังรับประทานยา หรือยาบางชนิด

มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดท�ำให้ปวดหัวเมื่อรับประทานยาได้ หรือที่พบ ได้บ่อยคือ ยาแก้แพ้ที่มีกลไกไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ยับยั้ง สารสื่อประสาทที่ควบคุมเกี่ยวกับการนอนหลับจึงท�ำให้ง่วงนอน อาการ เหล่านี้ “ไม่ใช่การแพ้ยา” แต่เป็นอาการข้างเคียงซึ่งบางอย่างสามารถ จัดการ หรือป้องกันได้ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว กลุม่ ยาทีเ่ กิดการแพ้ยาได้บอ่ ย เช่น ยากลุม่ NSAIDs, ยาปฏิชวี นะ หรือยาฆ่าเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเม็ดแคปซูลสีต่างๆ ที่คนทั่วไปมักเรียกว่า “ยาแก้อักเสบ” แต่จริงๆ แล้วยาฆ่าเชื้อสามารถแก้อักเสบกรณีที่เกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่อาจน�ำมาเล่าให้ฟัง ในฉบับต่อไป การแพ้ยาบางชนิดมีความสัมพันธ์กับสารพันธุกรรมด้วย เช่น ยาลดกรดยูริกในเลือด (รักษาโรคเก๊าต์) ชื่อว่า Allopurinol สามารถ ตรวจยีนส์ HLA-B 5801 ก่อนเริ่มยาเพื่อคัดกรองว่ามีความเสี่ยงในการ แพ้ยาแบบรุนแรง (Stevens Johnson Syndrome) หรือไม่ ซึง่ หากพ่อแม่ บรรพบุรุษมียีนส์แพ้ยาดังกล่าวก็จะตกทอดมายังลูกหลาน ท�ำให้มี ความเสี่ยงในการแพ้ยามากขึ้น และเป็นที่สังเกตว่า ผู้ที่แพ้ยาเพียง หนึ่งชนิดก็อาจจะแพ้ยาชนิดอื่นๆ ได้ หัวข้อที่เปรียบเทียบ อุบัติการณ์ กลไก

แพ้ยา

อาการข้างเคียง

ท�ำนายไม่ได้ เกิดขึ้นกับใครก็ได้ ยาชนิดใดก็ได้

พบได้บ่อย รู้ล่วงหน้า ท�ำนายได้

ร่างกายคิดว่ายาเป็นสิ่งแปลกปลอม อธิบายได้จากคุณสมบัติ และกลไก เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน การออกฤทธิ์ของยาชนิดนั้นๆ

การป้องกัน

อาจป้องกันได้ โดยตรวจยีนส์ก่อนเริ่มยา โดยท�ำได้กับยาบางชนิดเท่านั้น

อาการข้างเคียงบางอย่าง สามารถป้องกันได้

ตัวอย่าง อาการแสดง

ผื่นคัน ปากบวม ตาบวม แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก

คลื่นไส้อาเจียน ไม่สบายท้อง แสบท้อง ปวดศีรษะ ง่วงนอน


22 Scitech

แก้ปัญหาที่เย็บกระดาษไส้หมดด้วยดีไซน์ 2 สไตล์ ฉบับนีผ้ มจะน�ำเสนอเรือ่ งราวเล็กๆ น้อยๆ ทีท่ กุ คนต้องเคยพบเจอมาก่อน แต่ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหายังไง เคยสังเกตไหมครับว่า ปัญหาของการใช้ที่เย็บ กระดาษหรือที่เรียกติดปากว่ากันว่า แม็กซ์​คือเย็บจนลวดเย็บกระดาษหมดราง และต้องคอยเปลี่ยนไส้อยู่บ่อยครั้ง หรืออีกปัญหาที่น่าหงุดหงิดคือเย็บไปครั้ง สองครั้งแล้วลวดหมดราง ซึ่งบางทีเราเร่งรีบมากๆ และต้องเสียเวลากับเรื่อง เหล่านี้ วันนีผ้ มจะน�ำเสนอทีเ่ ย็บกระดาษ 2 แบบ ทีแ่ ก้ปญ ั หาให้ใช้งานโดยไม่สะดุด

แม๊กซ์ โดย Spocky

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.portfolios.net

แบบแรก 'Alert Staples' โดย ทีมดีไซน์เนอร์ Wei-Ling Hsu, YuRen Lai และ Cyuan-Yi You แก้ ปัญหาลวดเย็บหมดด้วยการ 'แจ้ง เตือน' โดยใช้สแี ดงทาลงบนจุดสิน้ สุด ของลวดเย็บกระดาษเป็นสัญลักษณ์ เตื อ นผู ้ ใ ช้ เมื่ อ เย็ บ มาถึ ง ลวดเย็ บ สีแดงห้าเส้นสุดท้ายก็จะต้องเตรียม เปลี่ ย นลวด แม้ ว ่ า จะเป็ น งาน ออกแบบทีไ่ ม่ได้สร้างนวัตกรรมสุดล�ำ้ แต่เป็นการแก้ปญ ั หาง่ายๆ ทีใ่ ช้ได้ผล

และแบบที่ 2 'Moby Stapler' จาก Monky Bussiness โดยดีไซน์เนอร์ Hagai Zakai เป็นที่เย็บกระดาษซึ่งแก้ปัญหาให้ กั บ ผู ้ ใ ช้ ที่ ขี้ เ กี ย จเปลี่ ย นลวดเย็ บ บ่ อ ยๆ ด้วยการออกแบบทีเ่ ย็บกระดาษให้ใส่ลวด เย็บได้ถึง 20 แถว นอกจากความสะดวก มากๆ ส�ำหรับผู้ใช้แล้วยังเพิ่มความน่าใช้มากขึ้นด้วยรูปปลาวาฬ ที่เย็บกระดาษ ทั้ง 2 ดีไซน์ที่สร้างสรรค์ออกมา เป็นงานออกแบบที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดและตรงใจ แม้จะเป็นเรือ่ งเล็กน้อยแต่กเ็ ติมเต็มให้สมบูรณ์มากยิง่ ขึน้ ลองหามาใช้กนั ดูนะครับ


Wow! Asean 23

การเมือง ในอาเซียน

โดย สุวิมล จินะมูล

ปี้ดดดดดด.... เสียงนี้คงกลายเป็นเสียงที่คุ้นหู กันไปแล้วในช่วงนี้ ทั้งที่อยู่ในกรุงเทพ และคนที่ได้ ติดตามข่าวสารบ้านเมืองบ้าง เพราะตลอดทั้งเดือน พฤศจิกายนทีผ่ า่ นมานีม้ กี ารชุมนุมของผูท้ ไี่ ม่เห็นด้วย กับ การเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมแบบสุดซอย จนท้ายที่สุดรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร ต้อง ออกมาประกาศยุติการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ไป แล้ว แต่การชุมนุมก็ยกระดับกลายเป็นการขับไล่ รัฐบาล เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองไทยเสียใหม่ ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลก็มี ความเห็นต่างนั้นถือ เป็นเรื่องปกติของคนหมู่มาก ในบ้านเราการออกมา ชุมนุมคัดค้านต่อต้านรัฐบาลเป็นเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ บ่อยใน ช่วงเกือบ 10 ปี มานี้ ส่วนเพื่อนบ้านเราในอาเซียนก็มีให้เห็นเหมือน กัน อย่างในพม่าการชุมนุมครัง้ ใหญ่เกิดขึน้ เมือ่ ปี 2550 ทั้ ง พระสงฆ์ แ ละชาวเมื อ งออกมาชุ ม นุ ม ประท้ ว ง รัฐบาลทหารสมัยนั้นที่ขึ้นราคาน�้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น

เท่าตัว รวมถึงราคา แก๊สหุงต้ม ถึง 5 เท่าอย่างไม่เป็นธรรม ส�ำหรับในกัมพูชา เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2556 นี้ล่าสุด ที่กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านในกรุงพนมเปญเรียกร้อง ให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบการทุจริต เลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งท�ำให้สมเด็จฮุน เซน ได้บริหารประเทศต่อไปหลังจากครองอ�ำนาจมาเกือบ 30 ปี เหตุผลของผูช้ มุ นุมทีพ่ นมเปญไม่ตา่ งกับการออกมา ชุมนุมของชาวมาเลเซียในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมือ่ ช่วงเดือน มิ ถุ น ายน 2556 เรี ย กร้ อ งให้ ค ณะกรรมการเลื อ กตั้ ง พิ จ ารณาผลการเลื อ กใหม่ อี ก ครั้ ง เพราะเชื่ อ ว่ า คณะ กรรมการเลือกตั้งมีความคิดเห็นแบบอคติ ท�ำให้พรรค รัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งบริหารประเทศมากว่า 56 ปี ได้รับ ชัยชนะอีกครั้งในการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญหรือกฏ หมายสูงสุดของประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้ถือว่าการออก มารวมตัวกันของมวลชนเพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เป็นสิทธิของพลเมือง หากไม่ ละเมิดสิทธิของผูอ้ นื่ และเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจาก อาวุธ ติดตามการเมืองในบ้านเราและในอาเชียนกัน ต่อไป


24 กฏหมายน่ารู้ กับ ธ.ธนา

ทองเนือ้ เก้า โดย ธนา ภัทรภาษิต

บทประพันธ์ของ “โบตั๋น” สุภา สิริสิงห์ มีเรื่องราวเกี่ยวกับ ล�ำยอง ตัวละครผู้หญิงขี้เมา ส�ำส่อน ขี้เกียจ และ วันเฉลิม ลูกชายของล�ำยองที่ เปรียบเสมือนทองเนื้อแท้ที่ไม่ว่าจะอยู่ใน ที่ แ ห่ง หนใดก็ ยั ง สามารถคงคุณงาม ความดีได้เสมอ แต่การที่วันเฉลิมต้อง เติบโตในสภาพการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง และต้องอดทนต่อความยากล�ำบากทั้ง หลายที่ล�ำยองยัดเยียดให้ ...ผู้ชมทาง บ้านอย่างเราสามารถช่วยเหลือวันเฉลิม หรือเด็กที่เราพบเจอในชีวิตจริงซึ่งตก อยูใ่ นสถานการณ์เดียวกันกับวันเฉลิมได้ ดังนี้

ในปัจจุบันนี้ มี “พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖” ซึ่งเป็น กฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก มีเนื้อหาสาระที่ก�ำหนดให้บิดามาร ดาต้องปฎิบัติต่อเด็กผู้เป็นบุตรอย่างเหมาะสมกับวัย และมีบทบัญญัติ คุ้มครองเด็กที่ถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสม แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ นี้ ไม่ใช่กฎหมายเพื่อลงโทษผู้ปกครอง แต่มีเจตนาสนับสนุนให้ผู้ปกครอง เลี้ยงดูบุตร ให้เติบโตอย่างเต็ม ศักยภาพและปลอดภัย อีกทั้งกฎหมายยัง ก�ำหนดให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ หรือเพื่อนบ้านที่ดี มีหน้าที่แจ้งเหตุให้เจ้า พนักงานตามพระราชบัญญัตทิ ราบเพือ่ เข้าคุม้ ครองเด็ก (พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตสิ ว่ นใหญ่คอื เจ้าหน้าทีข่ องกระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมัน่ คงของมนุษย์ หรือพัฒนาสังคมจังหวัด) ซึง่ มีอยูป่ ระจ�ำทุกจังหวัด หรือแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือต�ำรวจโดยเร็ว หรือจะโทร ๑๕๐๗ ศูนย์ ช่วยเหลือเร่งด่วนตลอด ๒๔ ชั่วโมงก็ได้ ส่ ว นคุ ณ พ่ อ สั น ต์ ผู ้ น ่ า สงสารนั้ น แม้ มิ ไ ด้ เ ป็ น บิ ด าโดยชอบด้ ว ย กฎหมาย คือไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาเด็ก ท�ำให้เด็กเป็นบุตรนอก สมรส และส่งผลให้อ�ำนาจปกครองบุตรอยู่กับมารดาเด็กแต่ฝ่ายเดียว สามารถไปจดทะเบียนรับรองบุตร เพื่อให้บุตรกลายเป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของตนได้ ซึง่ ส่งผลให้อำ� นาจปกครองบุตรแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ บิดา กับมารดา เท่านีก้ ม็ สี ทิ ธิเอาวันเฉลิมไปเลีย้ งเองแล้ว ถ้ามารดาไม่ยอม ทั้งที่ท�ำพฤติกรรมไม่เหมาะสม คุณสันต์ก็สามารถไปฟ้องเพิกถอนอ�ำนาจ ปกครองของมารดาเด็ก แล้วขออ�ำนาจปกครองเด็กเพียงผู้เดียวก็ได้

**หมายเหตุ ปัญหาเด็กทีพ่ อ่ แม่อปุ การะเลีย้ งดูโดยไม่เหมาะสม ท�ำร้ายร่างกายจิตใจ หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก เราสามารถช่วยเหลือ แก้ไขได้ และเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ใจดีทั้งหลายร่วมด้วยช่วยกัน แล้วพบกันฉบับหน้าครับ


Math Unlimited 25

ล�ในชีำวดัิตประจ� บเรขาคณิ ต ำวัน

จากปัญหาทีว่ า่ จะน�ำเสนอเนือ้ หา เรื่ อ งล� ำ ดั บ เรขาคณิ ต อย่ า งไรที่ จ ะ แสดงให้น้องๆเห็นว่าเนื้อหาข้างต้น เกีย่ วกับข้องกับชีวติ ประจ�ำวันของเรา

โดย อ.อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช

ให้น้องๆ พิจาณาจากการทดลองของนักชีววิทยาใน ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการขยายพันธ์ของเชื้อแบคทีเรีย ชนิดหนึ่ง ในการแบ่งตัวของเซลล์ของแบคทีเรีย ในแต่ละ วินาทีจะขยายพันธุโ์ ดยการแบ่งเซลล์จากหนึง่ เซลล์เป็นสอง เซลล์ ทุ ก ๆ หนึ่ ง วิ น าที ไ ปเรื่ อ ยๆ ดั ง นั้ น ถ้ า เดิ ม มี เ ซลล์ แบคทีเรีย 1 เซลล์ สามารถเขียนเป็นแผนผังแสดงจ�ำนวน แบคทีเรียในแต่ละวินาทีได้ดังนี้ วินาที ที่ 1

จ�ำนวน 1 เซลล์

วินาที ที่ 2

จ�ำนวน 2 เซลล์

วินาที ที่ 3

จ�ำนวน 4 เซลล์

วินาที ที่ 4

จ�ำนวน 8 เซลล์

จากแผนผัง จะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเวลาเป็น วินาทีกับจ�ำนวนเซลล์ของแบคทีเรียในแต่ละวินาที จากที่ มี 1 เซลล์ เพิ่มเป็น 2 เซลล์ เพิ่มเป็น 4 เซลล์ เพิ่มเป็น 8 เซลล์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นล�ำดับ คือ 1, 2, 4, 8, … จะ เห็นว่า 2/1, 4/2, 8/4 มีค่าเท่ากับ 2 ซึ่งเกิดจากการน�ำพจน์ หลังหารด้วยพจน์หน้า และจะมีคา่ เท่ากันในแต่ละพจน์ของ ล�ำดับ ซึ่งเราเรียกว่า อัตราส่วนร่วม ดังนั้นล�ำดับดังกล่าว จะเรียกว่า ล�ำดับเรขาคณิต (Geometric sequence) ล�ำดับเรขาคณิตสามารถพบได้ในการคิดดอกเบี้ย แบบทบต้น เช่น นายหนุ่มน�ำเงินไปฝากธนาคาร 10,000 บาท ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 10 ต่อปี ถ้านายหนุ่ม ฝากธนาคารไว้ครบ 5 ปี โดยไม่เคยถอนเลย เขาจะมีเงินใน ธนาคารเป็นล�ำดับเรขาคณิต โดย

เริ่มต้นเงินฝากในธนาคาร = 10,000 บาท ถ้าสิ้นปีที่ 1 จะมีเงินฝากในธนาคาร 10 (10,000) = 11,000 บาท = 10,000 + 100 ถ้าสิ้นปีที่ 2 จะมีเงินฝากในธนาคาร 10 (11,000) = 12,100 บาท = 11,000 + 100 ถ้าสิ้นปีที่ 3 จะมีเงินฝากในธนาคาร 10 (12,100) = 13,310 บาท = 12,100 + 100 ถ้าสิ้นปีที่ 4 จะมีเงินฝากในธนาคาร 10 (13,310) = 14,641 บาท = 13,310 + 100

ถ้าสิ้นปีที่ 5 จะมีเงินฝากในธนาคาร 10 (14,641) = 16,105.10 บาท = 14,641 + 100 จากตัวอย่างจะเห็นว่าจ�ำนวนเงินฝากในบัญชีจะเป็น ล�ำดับเรขาคณิต โดยมีอตั ราส่วนร่วมเท่ากับ 1.1 ซึง่ สามารถ ใช้สตู รของล�ำดับเรขาคณิตเพือ่ หาจ�ำนวนเงินในบัญชีได้โดย

an = a1 r n-1 เมื่อ

an a1 r n

แทนจ�ำนวนเงินเมื่อเวลาผ่านไป n ปี แทนจ�ำนวนเงินที่ฝากครั้งแรก แทนอัตราการเพิ่มขึ้นของเงิน หาได้จากผลบวกของหนึ่งกับอัตราดอกเบี้ย แทนจ�ำนวนปีที่ฝากเงิน

นอกจากนีย้ งั สามารถพบล�ำดับเรขาคณิตในการ ประมาณค่าจ�ำนวนประชากร การประเมินราคารถยนต์ ซึ่งมีค่าเสื่อมราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง การเติบโตของเชื้อ แบคทีเรีย การหามวลของสารกัมมันตรังสีแบบครึ่ง ชีวิต


26 Around Me!

มาแล้วครับ ฉบับที่สอง ของโลกเกษตร โลกอาเซียน ทีผ่ า่ นมาเราได้เรียนรูเ้ กีย่ วกับนิยาม และความหมายของ ค�ำว่า “นวั ต กรรมภู มิ ปัญญาเศรษกิจพอเพียง” และสาขาต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง ไปแล้ว ฉบับนี้ จะขอน�ำเสนอในส่วน ของประเทศเพื่อนบ้านครับ นั่นก็คือ องค์ความรู้ ทางด้านการเกษตรของประเทศเวียดนาม ประเทศเวี ย ดนาม มี ชื่ อ อย่ า งเป็ น ทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของ คาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศ เหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือ ในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (เวียดนาม: เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากร มากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด เป็นอันดับ 13 ของโลก

ลักษณะทางธรรมชาติ

ภู มิ ป ระเทศ เวี ย ดนามเป็ น ประเทศที่ ตั้ ง อยู ่ บ น คาบสมุทรอินโดจีนด้านตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้ มี ภูมปิ ระเทศหลัก เป็นเทือกเขาสูงและชายฝัง่ โดยเทือกเขาสูง จะอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันออกเป็นเทือก เขาสูงทีแ่ ยกออกมาจากยูนนานนอต ซึง่ การวางตัวท�ำให้เป็น แนวปะทะ ลมพายุที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก และ มีที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำของแม่น�้ำโขง ทาง ตอนใต้ของประเทศ ภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 แบบ เขตร้อน-ชื้น ตลอดปีอยู่ ในเขตชายฝั่งด้านตะวันออก ซึ่งเป็นเขตด้านหน้าเขาของ เทือกเขาอันนัม เขตร้อน-ชื้นสลับแล้ง อยู่ในเขตพื้นที่ตอนใน

ของพื้นที่ตอนใต้ แถบเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ เขตกึ่งร้อน-ฝนชุก ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูร้อนอบอุ่นถึงร้อน อยู่ในเขตพื้นที่ ตอนกลาง และตอนเหนือของประเทศ ด้านเกษตรกรรม ลักษณะเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของ เวียดนามอยู่บนพื้นฐานของเกษตรกรรม พืชที่ส�ำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ สุกร ปลา ด้านอุตสาหกรรม ทีป่ รากฏโดยรวมเป็นอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน เช่น อุตสาหกรรม แปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร ส่วนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงใช้เงินลงทุนมากมักเป็นของชาวต่าง ประเทศ ทีย่ า้ ยฐานการผลิตมาตัง้ อยูใ่ นเวียดนาม ใช้แรงงาน คนเวียดนาม ทั้งที่ราคาถูกและขยัน ในอนาคตเวียดนาม จะเป็นคู่แข่งทางการเกษตร และอุตสาหกรรมของไทย ด้าน การค้าระหว่างประเทศ สินค้าส่งออก ได้แก่ น�ำ้ มันดิบ เสือ้ ผ้า สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล รองเท้า และเครื่องหนัง ข้าว ยางพารา กาแฟ

เกษตรกรรม

มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การ ประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่ส�ำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สิงคโปร์


27

การเกษตรคือเสาหลัก ของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2012

ปี 2012 แม้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจประสบความยาก ล�ำบากมากมายแต่ภาคเกษตรยังคงเป็นหนึ่งในจุดเด่นและ ท�ำให้เวียดนามเป็นผูส้ ง่ ออกข้าวและกาแฟแถวหน้าของโลก ดังนัน้ ภาคการเกษตรจึงมีบทบาทส�ำคัญในการพยุงเศรษฐกิจ ของประเทศฟันฝ่าความยากล�ำบาก ผลกระทบจากวิกฤติ เศรษฐกิจโลกได้ท�ำให้ตลาดส่งออกและราคาสินค้าส่งออก หลายชนิดลดลงแต่ภาคการเกษตรยังคงสามารถรักษาอัตรา การเติบโตในระดับสูงและมีส่วนร่วมส�ำคัญส�ำหรับการส่ง ออกของประเทศโดยมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 27,550 ล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับปี 2011 ใน ขณะที่มูลค่าการน�ำเข้าวัตถุดิบเกษตรและปุ๋ยอยู่ที่ 16,940 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 5 ได้เปรียบดุลย์การค้าด้าน การเกษตร 10,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการส่งออก สินค้าเกษตร 7 ประเภทคือข้าว กาแฟ ยางพารา เครื่อง เฟอร์นเิ จอร์ มันส�ำปะหลังและสัตว์นำ�้ แปรรูปอยูท่ ี่ 1,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะ การส่งออกข้าวได้ 8,100,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ซึ่งท�ำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก นักวิชาการกรมเพาะปลูกแห่งกระทรวงเกษตรและ พัฒนาชนบทกล่าวว่า“พวกเรามียุทธศาสตร์พัฒนาตลาด และมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นโครงสร้ า งพั น ธุ ์ ข ้ า วเพื่ อ ยกระดั บ คุณภาพจึงสามารถตอบสนองความต้องการของ ตลาด โลกได้” ปี 2012 นับเป็นปีแห่งการบุกเบิก โดยเฉพาะการ พัฒนาทุ่งนาขนาดใหญ่ของกระทรวงเกษตรและพัฒนา ชนบท กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้ปฏิบัติโครงการ ฝึกสอนอาชีพให้แก่เกษตรกรทีร่ ฐั บาลได้วางไว้ตงั้ แต่ปี 2010 โดยมีเป้าหมายฝึกสอนอาชีพให้แก่เกษตรกร 1 ล้านคนต่อปี ซึง่ ได้มสี ว่ นร่วมผลักดันการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตร

อย่ า งยั่ ง ยื น รั ฐ มนตรี ก ระทรวงเกษตรและพั ฒ นาชนบท เวียดนามได้กล่าวว่า ในสภาวการณ์ทเี่ ศรษฐกิจยังคงประสบ ความยากล�ำบาก การเข้มงวดในด้านสินเชื่อ ความผันผวน ของตลาด ราคาสินค้าเกษตรลดลง และเกิดภัยธรรมชาติ ผล ส�ำเร็จของภาคการเกษตรมีส่วนร่วมส�ำคัญในการควบคุม เงินเฟ้อ เวี ย ดนามเป็ น ประเทศที่ มี ศั ก ยภาพสู ง ด้ า น เกษตรกรรม ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้อต่อ การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลายประเภท ประกอบกับรัฐบาล มีนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรกรรมอย่างจริงจัง และมีการ ปฏิรปู ภาคเกษตรกรรมอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้เวียดนามสามารถ ก้าวขึน้ เป็นประเทศผูผ้ ลิตและส่งออกผลผลิตทางการ เกษตร รายใหญ่ของโลกได้หลายรายการ โอกาสในการลงทุนใน อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปโดยเฉพาะในธุรกิจผลไม้แปรรูป ในเวียดนามยังเปิดกว้างอยูม่ าก นักลงทุน ไทยทีม่ ศี กั ยภาพ ด้านการแปรรูปผลไม้สามารถเข้าไปลงทุนในเวียดนามได้ทงั้ รูปแบบเป็นเจ้าของ กิจการทั้งหมดและกิจการร่วมทุน โดย สามารถลงทุนได้แบบครบวงจรทั้งห่วงโซ่การผลิต นอกจาก นี้ การก้าวสู่ AEC ในปี 2558 จะท�ำให้นักลงทุนไทยได้ ประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากไทยไปเวียดนาม โดยไม่ต้องเสียภาษี อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากการที่ เวียดนามได้สิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลียซึ่งเป็นแต้มต่อส�ำคัญที่นักลงทุนไทยได้เปรียบ เหนือประเทศคู่แข่งอีกด้วย

แหล่งที่มา : • http://61.19.202.164/works/smtpweb52/C01/vietnam.html • http://www.exim.go.th/eximenews/enews_mar2013/enews_ mar2013_AEC.html • http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศเวียดนาม • http://vovworld.vn/thTH/


28 Around Me!

ผู้แทน

ในระบอบประชาธิปไตย

โดย ศราวุฒิ มาเฉลิม

ท่ามกลางการชุมนุมทางการ เมืองคัดค้านการท�ำหน้าทีข่ องรัฐสภา ไทย จากกรณี ร่ า งพ.ร.บ.นิ ร โทษ กรรม ทีผ่ า่ นมา อาจเป็นสถานการณ์ ที่ช่วยในการตอกย�้ำความเชื่อที่ว่า ผู้แทนหรือนักการเมืองที่มาจากการ เลือกตั้งนั้นหาได้มองประโยชน์ของ บ้านเมืองเป็นหลัก ความเบื่อหน่าย ต่ อ นั ก การเมื อ งและรวมไปถึ ง ต่ อ ระบบการเมื อ งที่ ค งมี อ ยู ่ แ ล้ ว อาจ เพิ่มทวีขึ้น แต่หากประเทศไทยยังมี รูปแบบการปกครองตามระบอบ ประธิ ป ไตยทางอ้ อ ม (Indirect Democracy) หรือ ประชาธิปไตย แบบตั ว แทน (Representative) ผู้แทนราษฏรก็ยังเป็นผู้ที่มีบทบาท

ส� ำ คั ญ ในการปกครองและบริ ห ารประเทศแบบที่ ไ ม่ อาจปฏิเสธได้ และโดยส่วนใหญ่แล้วผู้แทนในระบอบ ประชาธิ ป ไตยในปั จ จุ บั น ก็ มั ก จะมาจากการเลื อ กตั้ ง โดยตรงของประชาชนเป็นหลัก หรืออาจจะมาจากการ แต่ ง ตั้ ง บ้ า ง (ซึ่ ง จะไม่ ค ่ อ ยนิ ย มในประเทศที่ พั ฒ นา แล้ว) ซึ่งอาจแบ่งตามพื้นที่หรืออาชีพ ตามแต่จะก�ำหนด ประเทศไทยมีผู้แทนสองระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ประกอบ ด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 480 คน ซึ่งมาจากการ เลือกตั้งทั้งหมด และสมาชิกวุฒิสภา 150 คน ซึ่งมาจาก การเลือกตัง้ โดยตรงของประชาชน 76 คน และการแต่งตัง้ ผู้แทนวิชาชีพ 74 คน ส่วนระดับท้องถิ่นนั้นผู้แทนไม่ว่าจะ เป็นผู้บริหารท้องถิ่น หรือ สมาชิกสภาท้องถิ่น ล้วนมาจาก การเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง


29

การที่ ผู ้ แ ทนราษฏรที่ ไ ด้ ม าจากการเลื อ กตั้ ง ไม่ สามารถจะวาดฝันได้ว่าผู้แทนเหล่านั้นจะเป็นคนดี มี คุณธรรม คงไม่สามารถจะการันตีและพิสูจน์เชิงประจักษ์ ได้ แต่ประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญ ต้องการให้ได้ผู้แทนที่ท�ำงานตอบสนองประชาชน อย่างแท้จริง ซึ่งการจะท�ำให้ผู้แทนเหล่านี้เป็นเช่นนั้นได้ คงอาศัยคุณธรรมและจริยธรรมเป็นตัวหลักไม่ได้ เนื่อง จากคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเพียงตัวเสริมในการท�ำงาน ของผู้แทนที่ดีเท่นั้น แต่ปัจจัยของการที่จะท�ำให้ผู้แทน ท�ำงานตอบสนองประชาชนได้อย่างแท้จริงนัน้ ต้องอาศัย การเลือกตั้งและการตรวจสอบของประชาชน เพราะการ จะมีผู้แทนที่ดีตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องอาศัย ประชาชนเป็นหลักในการที่จะก�ำหนดพฤติกรรมผู้แทน ให้ท�ำงานให้แก่ส่วนร่วมได้ หากประชาชนไทยยังอาศัย การเลือกตั้งผ่านการอุปถัมภ์ การรับสินบน และขาดการ ตรวจสอบการใช้อ�ำนาจของผู้แทนแล้วอย่างที่เคยเป็น มาแล้ว จึงนับว่าเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะเปิดโอกาสให้ผู้แทน เหล่ า นั้ น จะท� ำ งานเพื่ อ ประโยชน์ ต นเองและพวกพ้ อ ง และท้ายที่สุดก็มาถึงกรณีเหตุการณ์สุดซอยที่พร�่ำบ่นว่า นักการเมืองแย่ คดโกง ไร้สามัญส�ำนึก และใช้ภาษาธรรมะ ว่า “ปลง”

ในความคิดเห็นของผูเ้ ขียน เหตุการณ์ทปี่ ระชาชน จ�ำนวนมากออกมากชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการตื่นตัวในการตรวจสอบ การท�ำงานของผู้แทนของท่านที่ท่านเลือกเข้ามาได้ ดีพอสมควร แต่ผู้เขียนก็หวังว่าอย่าให้การตรวจสอบ ครั้ ง นี้ จ ะไม่ เ ป็ น เพี ย งความนิ ย มทางสั ง คมหรื อ การ ต่อต้านเฉพาะตัวบุคคล แล้วสุดท้ายก็เงียบหายไป ในที่สุด นั่นเพราะการเลือกตั้ง และการตรวจสอบของ ประชาชนจะเป็นปัจจัยหลักในการก�ำหนดแบบแผน พฤติกรรมทางการเมืองของผูแ้ ทนได้ดกี ว่า การภาวนา ให้มีคนดี คนเก่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องวาดฝันมากกว่า จะปฏบัติได้จริง เพราะระบอบประชาธิปไตยนั้นให้ ความรับผิดชอบกับประชาชนสูงกว่าระบอบอื่นได้ หากประชาชนยังนิ่งเฉยกับการปกครองและบริหาร ประเทศ เราก็ อ าจจะเห็ น ภาพการออกมาชุ ม นุ ม ขับไล่นักการเมืองที่โกงกินอยู่ร�่ำไป ท้ายที่สุดก็จะไป ไม่ถึงไหน ขอให้ใช้อ�ำนาจในมือ ใช้สิทธิเสรีภาพที่พึงมี ใช้ความรับผิดชอบต่อระบอบการปกครองที่เราเชื่อว่า มีข้อเสียน้อยที่สุด คือ “ประชาธิปไตย” ให้เต็มไม้ เต็มมือกันนะครับ


30 เวทีคนเก่ง

เวทีคนเก่ง :

นายปรัชญา มณีทักษิณ (อาร์ท) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพ (นักเรียนทุนมูลนิธิด�ำรงชัยธรรมรุ่นที่ 9/2550)

ความสนใจในงานด้านศิลปะ และเทคโนโลยี มีจุด เริ่มต้นมาจากพ่อที่คอยสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องของการ วาดภาพ ระบายสี งานศิลปะต่างๆ มีงานแข่งขันประกวด ที่ไหนพ่อจะเป็นคนพาไปเสมอ ได้รางวัลบ้าง ไม่ได้บ้าง พ่อ บอกว่าไม่เป็นไรอย่างน้อยก็ได้ประสบการณ์ “ผมพบว่าตัวเองชอบเรื่องของสีสันเป็นพิเศษ สีสัน ช่วยท�ำให้ผมมีจินตนการที่สดใส ส่วนเรื่องของเทคโนโลยีที่ เอามาผสมผสานให้ลงตัวกับศิลปะอย่างไรนั้น ผมเริ่มรู้สึก ว่าตัวเราชอบเกี่ยวกับเทคโนโลยีตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ชั้น ประถมตอนปลาย ผมได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนไปแข่งขัน การท�ำ Website แล้วคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีก็ตอบ

ความลงตัว ของเทคโนโลยี และศิลปะ

โจทย์ในเรือ่ งของการท�ำงานออกแบบศิลปะได้อย่างดี ผมมี สีสวยๆ ใหม่ๆ ในคอมพิวเตอร์ และเริม่ ให้ความสนใจหันมา ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง” เมื่ อ ค้ น พบตั ว เองเจอ การตั ด สิ น ใจเรี ย นคณะ เทคโนโลยีสารสนเทศยิ่งตอกย�้ำ และตอบโจทย์ในชีวิตของ ตนเองมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันอาร์ทได้ร่วมงานกับ บริษัทTThai Trade Development Co.,Ltd ในต�ำแหน่ง Personal Assistant อาร์ทน�ำความรูจ้ ากการเรียนมาใช้ประโยชน์ในการ สร้างอาชีพให้กับตัวเองอย่างเต็มตัว เป็นเส้นทางชีวิตที่เขา เลือกเดินด้วยตัวเองอย่างแท้จริง “การท�ำงานในเส้นทางนีจ้ ะเกิดขึน้ ไม่ได้หากผมไม่ได้ รับโอกาส ปัจจุบนั ผมแบ่งปันความรูด้ า้ นเทคโนโลยีโดยเป็น คอลัมนิสต์ให้กับวารสารเบิกฟ้า วารสารแจกฟรีส�ำหรับ เยาวชนของมูลนิธิด�ำรงชัยธรรม และออกแบบหนังสือ อนุสรณ์ VTR แนะน�ำมูลนิธิฯ นอกจากนี้ผมยังมีโอกาสได้ เข้าไปท�ำงานออกแบบให้กับหลายๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นการ ออกแบบ Website ออกแบบสือ่ สิง่ พิมพ์ตา่ งๆ เช่น โครงการ Young Professional Retailer ของบริษัท Central Retail Corperation , บริษัท ทีไทย แสน็ค ฟู๊ดส์ จ�ำกัด , บริษัท โท เทิ่ล โซลูชั่นแมเนจเมนท์ จ�ำกัด , สถาบันกวดวิชา Bengility Academy จ.เชียงใหม่ , ร้าน Tonkra Thai Restaurant ที่เมือง Melbourne ประเทศ Australia” คนอาจจะมองว่าศิลปะเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง และ เทคโนโลยีกเ็ ป็นศาสตร์อกี แขนงหนึง่ แต่สำ� หรับอาร์ท กลับ มองว่า 2 ศาสตร์นี้เป็นศาสตร์ที่เกิดมาคู่กัน และสามารถ ผสมผสานเข้ากันได้อย่างลงตัว เกิดเป็นผลงานใหม่ๆ ที่มี คุณค่า เพราะต่างช่วยตอบโจทย์ ตอบสนองการด�ำเนินชีวติ ของคนในยุคปัจจุบันได้ดีทีเดียว


มองชีวิตคิดดี 31

ด า ข ์ ส น ี ย ง ก เ ง กา โดย ดร.ศิริวรรณ เกษมศานต์กิดากา

สวัสดีค่ะหลานๆ ที่คิดถึง

หลานมีกางเกงยีนส์ขาดหรือเปล่าคะ ขาดมาก เก่ามาก เปื่อยมากแค่ไหนคะ ค่แฟชั่น แต่มันคือกบฏค่ะ รู้หรือเปล่าว่ากางเกงยีนส์ขาดไม่ใช่แ คใส่ยีนส์ขาดๆเพื่อต่อต้านอ�ำนาจ ยุค 90 ช่วง 1970 นักดนตรีพั๊งและร็อ บเรามากที่สุดคือพ่อแม่ อ�ำนาจที่บงการชีวิตเราและใกล้ชิดกั นายที่ท�ำงาน มาจนถึงอ�ำนาจรัฐ พอโตเข้าโรงเรียนก็คือครู ต่อมาก็เจ้า โดยเฉพาะอารมณ์กับเหตุผล มนุษย์ทุกคนมีความขัดแย้งอยู่ภายใน ะค่ะ วัยรุ่นมีมากที่สุด ก็พวกหลานๆนี่แหล งความคิดกับพ่อแม่ ครูฯ เป็นธรรมดานะคะที่หลานจะขัดแย้งทา ้องตัดผมสั้น ท�ำไมเราต้องใส่เครื่องแบบ ท�ำไมเราต ็นคนอยู่ในระเบียบ ป้าเองตอนอยู่มหาวิทยาลัย แม้จะเป อบกบฏเล็กๆ ต่อต้านอ�ำนาจ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมจารีต แต่ก็แ ีนส์ขาด ให้สาแก่ใจ ด้วยการไปมีแฟนผมยาว ใส่กางเกงย ัวเองเพื่อน�ำไปสู่สมดุล การต่อต้านอ�ำนาจเป็นความขัดแย้งในต 4 ปีในมหาวิทยาลัย ลูกศิษย์คนนึงใส่รองเท้าแตะคีบตลอด ่รองเท้าแตะ ผลคือ เท้าแกบานมาก ไม่เคยเข้าห้องสมุด เพราะเขาห้ามใส ำงานเลยต้องไปตัดรองเท้าคัชชู จนเมื่อเหตุผลชนะอารมณ์ เวลาไปท� ไม่ได้ เพราะนิ้วเท้าแกบานจนหาซื้อรองเท้า หลานคะ ไม่ต้องกลัวความขัดแย้ง ได้ ที่สุด มันก็พัฒนาไปสู่ความสมดุลจน แค่คิดดี พูดดี ท�ำดี เท่านั้นเอง ป้า​เอง


“ไม่ใช่แค่ให้ โตได้ แต่อยากให้ โตดี”


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.