งานแพร

Page 1

1


อาจารย์วัชรินทร์ จงกลสถิต อาจารย์ประจ�ำวิชาทันตกรรมชุมชน

2


สวัสดีฉันชื่อ “แพร” ฉันเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยรังสิต เรื่องราวต่อจากนี้เป็นประสบการณ์ในช่วงที่ฉันเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ระดับชั้น ปีที่ 4 ซึ่งได้จากมุมมองความคิดและน�ำมาเรียบเรียงเป็นตัวอักษร ในขณะนั้นฉันมีโอกาสไป ลงพื้นที่ ที่โรงเรียนบ�ำรุงรวิวรรณวิทยา หลายท่านอาจจะสงสัยว่าการลงพื้นที่ของนักศึกษา ทันตแพทย์คืออะไร ใช่การไปตรวจรักษาคนไข้หรือไม่ การลงพื้นที่ของนักศึกษาทันตแพทย์ นัน้ จุดมุง่ หมายคือการเข้าไปพัฒนาชุมชนดังกล่าวอย่างยัง่ ยืน ดังค�ำพูดทีอ่ าจารย์ประจ�ำวิชา ได้กล่าวไว้ว่า “การพัฒนาของพวกเรา จะต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งหมายถึงในวันที่เรา เข้าไปพัฒนา เราได้ท�ำสิ่งหนึ่งไว้ และในวันที่เราเดินกลับออกมา สิ่งดีดีสิ่งนั้นจะต้องยังคง อยู่ ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านพ้นไปนานเท่าใดก็ตาม” เดี๋ยวเราตามไปชมกันค่ะ 3


ในเช้าวันแรกของการเปิดภาคเรียน ฉันได้ก้าวสู่การเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 อย่างเต็มตัว วันนี้เป็นคาบเรียนของวิชา ทันตกรรมชุมชน (Community dentistry) ซึ่งแน่นอนว่า ความคิดแรกของฉัน วิชาทันตกรรมชุมชนนี้คือ การออกไปให้ การรักษาทางทันตกรรมตามชุมชนนอกพื้นที่คลินิก ส�ำหรับ นักศึกษาทันตแพทย์ปีที่ 4 ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์การรักษา คนไข้อย่างฉัน วิชานี้ท�ำให้ฉันรู้สึกตื่นเต้นจนรอให้ถึงเวลาเรียน แทบไม่ไหว “นักศึกษาทัง้ หมดท�ำความเคารพ” เสียงหัวหน้าชัน้ ดังขึน้ เมื่ออาจารย์ประจ�ำวิชาทันตกรรมชุมชน อาจารย์วัชรินทร์ จงกลสถิต หรือ อาจารย์อมั้ ได้เดินก้าวเข้ามาให้หอ้ งเรียน“สวัสดี ค่ะ/ครับ” นักศึกษาทัง้ ชัน้ ต่างกล่าวค�ำสวัสดีอย่างพร้อมเพรียง หลังจากอาจารย์อั้มได้อธิบายการเรียนของวิชาเรียนทันตกรรม 4


ชุมชนแล้ว พร้อมกับแจ้งว่าปีนี้พวกเราจะไปออกหน่วย (Field work) ที่ โรงเรียนบ�ำรุง รวิวรรณวิทยา ซึง่ เป็นโรงเรียนระดับชัน้ ประถมศึกษา หรือทีส่ ถาบันส่งเสริมสุภาพสตรีทดี่ แู ล สตรีที่ติดเชื้อ HIV โดยอาจารย์แจ้งว่าอาจารย์นั้นได้แบ่งกลุ่มเอาไว้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ความคิดในใจของฉันตอนนั้น ฉันอยากถูกเลือกไปที่โรงเรียนบ�ำรุงรวิวรรณวิทยา มากกว่า เนื่องจากหากพูดถึงผู้ติดเชื้อ HIV แล้วนั้นเป็นใครก็ต้องรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที รวม ถึงฉันเองชอบเล่นกับเด็กอยู่แล้ว ฉันจึงคาดหวังว่าจะได้ไปออกหน่วยกับเด็กๆ มากกว่า และในที่สุดฉันก็ได้อยู่ในกลุ่มที่ถูกเลือกไป โรงเรียนบ�ำรุงรวิวรรณวิทยา ตามที่ คาดหวังและยังได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นเด็กโต ซึ่งน่า จะพูดคุยสื่อสารและเข้าใจกันได้ง่าย แต่ก็รู้สึกเสียใจที่ในกลุ่มไม่มีเพื่อนสนิทแม้แต่คนเดียว อยู่ในกลุ่มนี้เลย นอกจากเพื่อนร่วมรุ่นที่ไม่ค่อยสนิทกันแล้ว ยังมีรุ่นพี่ที่ดูน่ากลัวอีกด้วย ฉัน ก็ได้แต่คิดและบอกกับตัวเองว่า “ตัวฉันจะสามารถเข้ากับเพื่อนคนอื่นในกลุ่มได้ไหมนะ” และท�ำไมอาจารย์ถึงไม่อนุญาตให้จัดกลุ่มกันเอง แบบนี้เวลาท�ำงานต้องมีปัญหาแน่ๆ เลย เพราะต่างคนก็ต่างไม่สนิทกัน ไม่รู้ใจกัน และแต่คนละก็คงมีความคิดที่แตกต่างกันไป 5


10

19

35

37

43

57

58

Chapter 1 : สวัสดีน้องๆ พี่หมอมาแล้ว

Chapter 6 : ความขัดแย้ง

Chapter 12 : ค�ำตอบ

6

Chapter 2 : การผิดแผนที่คุ้มค่า

Chapter 7 : Chapter 8 : ความเข้าใจผิดในการดูแล กากเพชร สุขภาพช่องปากของน้องๆ

บทส่งท้าย


27

29

31

45

49

55

Chapter 3 : การวางแผน

Chapter 9 : เครื่องบินหัก

Chapter 4 : การตรวจฟันครั้งแรก ของน้องๆ

Chapter 10 : You’re what you eat

Chapter 5 : มุมกิจกรรม

Chapter 11 : กระดาษแผ่นเล็ก

7


ก่อนอื่นเรามาเริ่มท�ำความรู้จัก สมาชิกในกลุ่มกันก่อนดีกว่า

แพร.. นี่คือฉันเอง

เอมมี่.. หัวหน้ากลุ่ม

8

พี่เบส

พี่อั๋น


พี่พรีม

เอย

แนท

กัน

ตุ๊กตุ่น

น�้ำ

น�้ำผึ้ง

บอย

หลา 9


Chapter 1 :

สวัสดีน้องๆ พี่หมอมาแล้ว

10


11


“ครบแล้วครับ ออกรถได้” เสียงของ เอมมี่ หัวหน้ากลุ่มดังขึ้นบอกกับคนขับรถตู้ เพื่อ ขับรถออกไปโรงเรียนบ�ำรุงรวิวรรณวิทยา ในใจ ของฉันขณะอยู่บนรถ มีความคิดมากมายผุดขึ้น มา “โรงเรียนจะเป็นอย่างไรนะ”, “เด็กๆ จะซน ไหม” หรือ “น้องๆ จะยอมให้ตรวจฟันไหมนะ” ฉันนั่งคิดเรื่อยเปื่อยจนกระทั่งรถมาได้เข้าจอดใน โรงเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ความคิ ด แรกที่ เข้ า มาในหั ว ของฉั น เมื่ อ มาถึงโรงเรียนบ�ำรุงรวิวรรณวิทยาก็คือ ท�ำไม โรงเรียนถึงได้ใหญ่กว่าที่ฉันคิดไว้มากขนาดนี้ และเพียงไม่นานความสงสัยและความอยากรู้ อยากเห็นก็ตามมา หลังจากนั้นพวกเราก็เริ่มเดิน ส�ำรวจโรงเรียน อาคารเรียนของทีน่ มี่ จี ำ� นวนหลาย ตึก และมีสนามฟุตบอลขนาดใหญ่อยู่กึ่งกลาง โรงเรียน นอกจากจะมีสนามฟุตบอลที่ใหญ่สะดุด ตาแล้วยังมีลานกีฬาในร่มที่สะดุดตาไม่แพ้กัน ลานกีฬาในร่มนี้ปูด้วยพื้นยางสีฟ้า และรอบๆ รายล้อมไปด้วยพุ่มไม้ สร้างบรรยากาศร่มรื่น ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นภายในโรงเรียนยังมี ห้องสมุด ซึ่งเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้กับ เด็กๆ อีกด้วย เมื่อเดินส�ำรวจบรรยากาศภายใน โรงเรียนโดยรอบแล้วสิ่งที่เราจะขาดส�ำรวจไม่ได้ อีกอย่างก็คือ ต�ำแหน่งที่ตั้งของห้องน�้ำและก๊อก น�้ำ ซึ่งมีอยู่ทุกชั้นเรียน และถือว่าเพียงพอต่อ ความต้องการเลยทีเดียว ต่อมา คุณครูได้พาพวกเราเดินส�ำรวจ โรงเรียนเพิ่มเติมพร้อมกับอธิบายเรื่องเกี่ยวกับ เด็กในโรงเรียนพวกเราฟังคร่าวๆ ท�ำให้ฉันได้รู้ 12


13


14


ว่าส่วนใหญ่เด็กที่มาเรียนที่นี่คุณพ่อคุณแม่จะรับราชการ หรือไม่ก็เป็นลูกหลานของคนใน ตลาด ระหว่างที่ฟังคุณครูพูด ฉันก็เข้าไปในห้องเรียนต่างๆ มองเห็นเด็กๆ มากมาย เห็นได้ ชัดว่าน้องๆ มีความตื่นเต้นต่อการมาที่นี่ของพวกเรา บางคนวิ่งมาตรงประตูหน้าห้องเพื่อ มาดูว่าพวกเราเป็นใครและมาท�ำอะไร แต่ก็มีน้องบางคนที่ดูเหมือนจะเป็นคนขี้อาย น้องจะ ไปแอบหลังคุณครู ฉันมองภาพเหล่านั้นด้วยความตื่นเต้นและกังวลใจกับสิ่งที่จะต้องเจอใน อีกไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ และแล้วเราก็มาถึงเป้าหมายของพวกเรา ซึ่งก็คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉันและเพื่อนๆ รู้สึกตื่นเต้นและประหม่ามากๆ สิ่งที่สังเกตได้คือ น้องๆ มีหลากหลาย บุคลิก บางคนคุยเก่งกล้าแสดงออก บางคนดูเงียบๆ ขี้อาย แต่รวมๆ แล้วบรรยากาศภายใน ห้องเรียนมีความคึกคักและวุ่นวายมาก คุณครูได้ให้เวลาพวกเราท�ำความรู้จักกับน้องๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ความคิดก่อนหน้านี้ที่ฉันคิดว่าการสื่อสารกับเด็กประถมศึกษาปี 15


ที่ 6 คงไม่ใช่เรื่องยากเพราะน้องๆ ค่อนข้างโต กันหมดแล้ว น่าจะท�ำให้การสื่อสารเป็นเรื่องที่ ง่าย แต่น้องๆ ก็ท�ำให้ฉันได้รู้ว่าความคิดของฉัน ช่างผิดมหันต์ น้องๆ ไม่ฟังที่พวกเราพูดเลย เขา เริ่มพูดคุยกัน เล่นกัน ส่งเสียงดัง มีเพียงบางคน ส่วนน้อยที่ฟังพวกเราบ้าง พวกเราจึงปรึกษา หาทางแก้ปัญหาด้วยการจะแยกย้ายกันถามชื่อ น้องๆ ในห้องเพื่อเป็นการเข้าหาน้องๆ อย่างทั่ว ถึง ทันใดนั้นฉันรีบตรงดิ่งเข้าหาน้องผู้หญิงก่อน เลย เนื่องจากคิดว่าเป็นผู้หญิงเหมือนกัน น่าจะ เข้าหากันได้ง่ายกว่า การพูดคุยเริ่มต้นอย่างเรียบ ง่าย เช่น การถามชื่อ อายุ ขนมที่น้องชอบกิน ตัว การ์ตูนที่น้องชื่นชอบ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกัน น้องคนแรกที่ฉันเดินเข้าไปท�ำความรู้จัก ชื่อว่า “น้องเชอร์รี่” น้องเชอร์รี่เป็นเด็กผู้หญิงตัว เล็ก สูงเพียงแค่ไหล่ของฉัน ผิวแทน และหน้าตา น่ารักจิ้มลิ้ม ร่าเริง ฉันสามารถตีสนิทกับน้องเชอ ร์รี่ได้อย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพราะความเฮฮา ช่าง คุยของน้องก็เป็นได้ ท�ำให้ฉันรู้สึกคลายความ กังวลและความตื่นเต้นลงไปบ้าง 16


17


18


Chapter 2 :

19


หลังจากที่ได้ไปเดินส�ำรวจพื้นที่กลับมา แล้ว กลุ่มเรามีความมั่นใจและตั้งใจเต็มร้อย ใน การวางแผน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งตัว จิตใจ และอุปกรณ์เพื่อน�ำไปให้ความรู้ น้องๆอย่างถูกต้องในเรื่องของการรักษาสุขภาพ ช่องปาก นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมแสนสนุกเพื่อ ช่วยเสริมความเข้าใจให้กลับน้องๆอีกด้วย แต่แล้วทุกสิ่งที่เตรียมมาก็ต้องเลื่อนวัน ออกไป เนื่องจากน้องๆ ติดกีฬาสีที่โรงเรียน ท�ำให้พวกเราต้องเปลี่ยนไปช่วยเพื่อนๆ กลุ่มอื่น ที่ ไปสถาบั น ส่ ง เสริ ม สุ ภาพสตรีที่ดูแลสตรีที่ติด เชื้อ HIV และคุณแม่วัยรุ่นแทน เมื่อรู้ดังนั้น ความ คิดแรกของฉันที่คือ ฉันไม่อยากไปเลย มันต้อง เป็นสถานที่บรรยากาศไม่ดี วังเวงและหม่นหมอง มากแน่ๆ เพราะมีแต่คนป่วยนอนอยู่เต็มไปหมด แต่จะท�ำอย่างไรได้ เพราะอย่างไรก็ต้องไปอยู่ดี และแล้ ว ก็ ถึ ง วั น ที่ พ วกเราต้ อ งออกเดิ น ทาง ฉันขึ้นรถตู้ไปพร้อมกับเพื่อนๆ ด้วยจิตใจที่ เป็นกังวลและหวาดกลัว เพียง 30 นาทีผ่านไป รถตู้ของพวกเราได้จอดลงที่ลานซีเมนต์ท่ามกลาง กลางแดดร้อนจัดในเวลาเที่ยงวัน ทุกคนรีบเดิน ลงจากรถ และขนของเข้าไปในอาคารสีขาว ซึ่ง เป็นสถานที่ที่พวกเราจะท�ำกิจกรรมในวันนี้ เมือ่ เดินเข้าไปภายในอาคารฉันพบว่ามีผรู้ อ ร่วมกิจกรรมอยู่แล้ว ตั้งแต่เด็กน้อยที่ยังเดินไม่ได้ จนถึงรุ่นคุณป้าและคุณยายประมาณ 30 คน ทุก คนยิ้มต้อนรับพวกเราด้วยรอยยิ้มที่สดใส ต่างกับ ที่ฉันคิดไว้ก่อนหน้าโดยสิ้นเชิง เพราะพวกเขาดูไม่ เหมือนคนป่วยเลยสักนิด เพราะหากไปเดินข้างนอก 20


21


22


ฉันเองก็คงไม่สามารถรู้ได้ว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ติด เชื้อ HIV ผู้ดูแลที่นี่ได้อธิบายให้พวกเราฟังว่า ผู้ ป่วยที่ติดเชื้อ HIV นั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ทุกคน เข้าใจ และการติดเชื้อ HIV ไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นเอดส์ทุกคน หากรับประทานยาตามที่ แพทย์สั่ง ก็จะสามารถควบคุมโรคได้และพวกเขา ก็สามารถใช้ชีวิตประจ�ำวันได้ตามปกติเหมือนคน ทั่วไป และเชื้อ HIV นั้น ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เพราะ ฉะนั้นไม่ต้องกลัว เพราะหลายๆคนที่อยู่ที่นี่น่า สงสารมาก บางคนติดเชื้อจากสามี ซึ่งสามีไป ติดมาจากที่อื่น หรือเด็กบางคนติดเชื้อเนื่องจาก คลอดมาจากมารดาที่มีเชื้อ การลงพื้นที่ครั้งนี้ ฉันรับหน้าที่เป็นฝ่าย สวัสดิการ งานของฉันนั้นไม่มีอะไรมาก มีเพียง การแจกแปรงสีฟัน และช่วยยกของเก็บของ เท่านั้น ท�ำให้ฉันได้มีโอกาสมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น รอบด้านได้อย่างชัดเจน หลังจากตรวจสุขภาพ ช่องปากเสร็จแล้ว ก็เป็นกิจกรรมสันทนาการ เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน โดยมีการแบ่งกลุ่ม เพื่อง่ายต่อการจัดกิจกรรม โดยหนึ่งกลุ่มจะมีการ คละอายุกันตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และมีพวก เรานักศึกษาทันตแพทย์เข้าไปร่วมอยู่ด้วยกลุ่มละ 2 คน เพื่อสร้างความคุ้นเคย ฉันมีโอกาสได้เข้าไป ร่วมกับกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งให้ “ป้าศรี” สมาชิก อาวุโสผู้ร่าเริงเป็นหัวหน้ากลุ่ม การเข้าไปร่วมอยู่ ในกลุ่มท�ำให้ฉันได้มีโอกาสสัมผัสและพูดคุยกับ คนในกลุ่มอย่างใกล้ชิด ท�ำให้ฉันรู้ว่าคนเหล่านี้ ล้วนเคยผ่านอดีตทีโ่ หดร้ายกันมาทัง้ นัน้ คนเหล่านี้ เคยใช้ชวี ติ อยูด่ ว้ ยความเจ็บปวดและหมดความหวัง 23


มีหลายคนที่เคยพยายามฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา มีหลายคนรู้สึกหมดคุณค่า แต่หลังจากที่พวก เขาได้เข้ามาอยู่ในสถาบันส่งเสริมสุภาพสตรี ได้ มีการรวมกลุ่มเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ได้รับ ก�ำลังใจจากคนที่เข้าใจ คนที่ผ่านเรื่องราวเลวร้าย มาเหมือนกัน ได้แบ่งปันความสุขและความทุกข์ ร่วมกัน ท�ำให้พวกเขาเปลี่ยนความคิด และลุกขึ้น ต่อสู้กับชะตาชีวิตและมีความหวังที่จะกลับมามี จุดยืนในสังคมอีกครั้ง รวมถึงตอนท้ายของกิจกรรม มีคุณป้า ท่านหนึ่งชื่อ “ป้าเปีย” ป้าเปียได้ออกมากล่าว ขอบคุณทั้งน�้ำตา สิ่งนี้ท�ำให้ฉันรู้ว่าพวกเขามี ความรู้สึกตื้นตันขนาดไหนในวันนี้ และแล้ว กิจกรรมของพวกเราก็จบลงด้วยดีและสนุกสนาน ระหว่างทางนั่งรถกลับมาที่คณะ ฉันคิดว่าการ มาลงชุมชนในครั้งนี้ฉันได้เรียนรู้หลายอย่าง จาก ที่ฉันเคยมีความคิดว่าการไปลงชุมชนนั้น ฉันไป เป็นผู้ให้ แต่แล้วในวันนี้ฉันเองก็กลับเป็นผู้รับ เช่นกัน ฉันได้เรียนรู้ว่าหลายคนที่เรามองว่าเขา มีความสุขดี ดูเข้มแข็ง เขาเองก็อาจจะเคยผ่าน ประสบการณ์ ชี วิ ต ที่ สุ ด แสนจะทรมานมาแล้ ว เรื่องบางเรื่องที่ผ่านมาฉันเคยร้องไห้ เคยหมด หวังกับปัญหาต่างๆ ในชีวิต ในวันนั้นฉันคิดว่ามัน เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก แต่วันนี้ฉันได้รู้แล้วว่ามัน เทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นเคยเจอมา พวกเขาสอนให้ฉันได้รู้ว่าไม่ว่าชีวิตจะต้องเจอกับ อะไร ปัญหาหนักหนาแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่เราควรมี เสมอนั้นก็คือ “ความหวัง” 24


25


26


Chapter 3 : การวางแผน

“ต่อไปมาเป็นเวลาของเราแล้วสินะ ทีโ่ รงเรียนบ�ำรุงรวิวรรณวิทยา” ฉันนึกในใจระหว่างเดินไปประชุม เพื่อวางแผนการลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับ เพื่อนในกลุ่ม ทั น ตกรรมชุ ม ชนไม่ ใช่ เ ป็ น เพี ย งการไปตรวจฟั น นอกสถานที่ เท่านั้น แต่เป็นการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล หาจุดเด่น จุดด้อย ของชุมชน เพื่อให้ได้ซึ่งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อน�ำ ไปสู่การวางแผนพัฒนาสุขภาพช่องปากของคนในชุมชนนั้นๆอย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการบริหารงบประมาณ และจัดสรรทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างจ�ำกัด ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เข้ากับชุมชนและเกิดประโยชน์มากที่สุด สิง่ ทีพ่ วกเราต้องค�ำนึงก่อนทีจ่ ะเข้าไปให้ความรูใ้ นชุมชนคือ“ชุมชน นั้นมีปัญหาอะไร” กลุ่มของเราจึงได้จัดท�ำแบบสอบถามเพื่อประเมิน ความรู้ ทัศนคติทางสุภาพช่องปาก และพฤติกรรมทางทันตสุขภาพตาม “KAP Model” (Knowledge-Attritudes-Preactices) เพื่อจะได้ รับรู้ถึงปัญหาและน�ำผลประเมินที่ได้ไปวางแผนหาแนวทางในการพัฒนา โดยเริ่มจากการให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อมีความเข้าใจย่อม น�ำไปสู่การปรับทัศนคติที่มีต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและส่งผลให้เกิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในท้ายที่สุด

27


28


Chapter 4 :

การตรวจฟันครั้งแรกของน้องๆ และแล้ววันที่ฉันจะได้ลงมือปฏิบัติจริงก็มาถึง วันนี้พวกเราจะไป ตรวจฟันน้องๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กัน โดยแบ่งน้องๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 เป็นน้องห้อง ป.6/1 และ ป.6/2 ซึ่งจะได้รับการตรวจ ฟันก่อน ส่วนอีกกลุ่มคือ ป.6/3 และ ป.6/4 จะลงไปท�ำกิจกรรมที่ลาน ข้างล่าง ฉันรับผิดชอบเป็นผู้ช่วยทันตแพทย์ หรือ Assistant หรือเรียก สั้นๆ ว่า “แต๊นท์” ซึ่งมีหน้าที่ในการติดผ้ากันเปื้อน ส่องไฟฉายเพื่อ ให้ทันตแพทย์ผู้ตรวจมีแสงสว่างเพียงพอ รวมถึงการจดบันทึกข้อมูล ต่างๆ การตรวจฟันน้องๆ ผ่านไปอย่างราบรื่น เนื่องจากพวกเราได้มี ประสบการณ์มาจากการไปช่วยตรวจฟันที่สถาบันส่งเสริมสุภาพสตรีมา ก่อนแล้ว ผลการตรวจช่องปากโดยรวมของน้องๆ ไม่ค่อยดีนัก นอกจากนั้น เรายังพบว่าเด็กเกือบร้อยละ 80 กลัวหมอฟัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ท�ำให้เด็กๆ ส่วนมากมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ค่อยดี บางคนถึงขึ้นฟันผุ หายไปครึ่งซี่ บางคนย้อมคราบจุลินทรีย์แล้วพบว่ามีคราบจุลินทรีย์ใน ปริมาณมาก มีฟันผุและฟันที่ถูกถอนออกไปเยอะ แต่กลับไม่ค่อยพบวัสดุ อุดฟัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในการดูแลสุขภาพช่องปาก

29


30


Chapter 5 :

31


32


เรามาดูฝั่งกิจกรรมกันบ้าง ผู้น�ำกิจกรรมในวันนี้คือ เอมมี่ หัวหน้ากลุ่ม และ บอย ผู้เป็นที่รักของน้องๆ ทั้งสองคนได้พาน้องๆไปท�ำกิจกรรมที่ลานกีฬาสีฟ้าในร่ม โดยพวกเรา วางแผนจะให้น้องๆ เรียนรู้เกี่ยวกับ “โรคฟันผุ” แต่ถ้าพูดเฉยๆ คงไม่มีใครสนใจอยากจะ ฟัง กลุ่มเราจึงได้จัดเตรียมฟันผุของจริงใส่กล่องใส เพื่อให้น้องๆ ได้เห็นว่าฟันผุมีหน้าตา เป็นอย่างไร พร้อมอธิบายสาเหตุของการเกิดฟันผุ เพื่อให้น้องๆ กลับไปสังเกตดูฟันของตัว เอง และป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุหรือป้องกันไม่ให้ฟันผุลุกลาม จากการสังเกตการณ์พบว่าน้องๆ ต่างให้ความสนใจกับเจ้ากล่องฟันผุกันอย่างมาก นอกจากให้ความรู้เรื่องโรคฝันผุกับน้องๆ แล้ว พวกเรายังมีกิจกรรมแสนสนุก เช่น การเล่น วิ่งไล่จับ ข้าพเจ้าเองก็ได้เล่นวิ่งไล่จับกับน้องๆ ด้วย ท�ำให้นึกถึงเพลงพี่เสกโลโซขึ้นมาเลย เพราะเหมือนย้อนกลับไปอายุ 14 อีกครั้ง 33


34


Chapter 6 : ความขัดแย้ง

การตรวจในช่วงแรกผ่านไปอย่างราบรืน่ เนือ่ งจากทุกคนมีประสบการณ์ ในการตรวจฟันมาจากการไปช่วยตรวจกลุ่มสถาบันส่งเสริมสุภาพสตรี มาแล้ว แต่ในช่วงหลังๆ เริ่มมีการเร่งรีบและกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้น “อย่าเพิ่งพาน้องเข้ามา คนเมื่อกี้ยังตรวจไม่เสร็จเลย” “แปรงสีฟันไม่พอ มีคนอื่นมาขอไป” “อ้าว ให้ไปท�ำไม แล้วเราจะท�ำยังไง” “อย่าเร่งได้มั้ย เราก็รีบอยู่” ทุกคนในกลุม่ ต่างคุยกันด้วยน�ำ้ เสียงทีห่ งุดหงิดและใบหน้าทีข่ นุ่ เคือง การตรวจผ่านไปอย่างตึงเครียด หลายคนรวมถึงตัวฉันเองก็รู้สึกหงุดหงิด จน “น�้ำ” เหรัญญิกตัวน้อยผู้ใจเย็นของกลุ่มได้เตือนสติทุกคนให้ใจเย็นๆ มีอะไรค่อยๆคุยกัน ตอนนี้เราก�ำลังตรวจฟันอยู่ พวกเราต้องท�ำหน้าที่ ของเราให้ดีที่สุด ทุกคนจึงกลับมามีสติ ตั้งใจท�ำงานจนการตรวจวันนี้ผ่าน พ้นไปได้ด้วยดี เมื่อย้อนกลับมาคิด ฉันเองก็ได้อะไรหลายๆ อย่างจากการลง พื้นที่ในวันนี้ นั่นก็คือ การท�ำงานร่วมกับผู้อื่น การรับฟังความคิดของ กันและกันซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญ นอกจากนั้นเราควรมีสติในทุกๆ ช่วงเวลา ของชีวิต อย่าปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล

35


36


Chapter 7 :

37


หลั ง จากที่ ไ ด้ ผ ลการประเมิ น การตรวจ สุขภาพช่องปากมาแล้วพบว่า มีน้องบางส่วน เข้าใจว่าฟันผุเกิดจากการที่แมงกินฟัน และการ แปรงฟันนานๆ ท�ำให้ฟันสะอาด หรือแม้แต่การ บ้วนปากเพียงอย่างเดียวก็ท�ำให้ฟันสะอาดแล้ว ท�ำให้มีน้องๆ หลายคนไม่แปรงฟันก่อนนอนและ หลังตื่นนอน ยิ่งไปกว่านั้นเรายังพบว่าน้องๆ ส่วน มากชอบรับประทานขนมขบเคี้ยว ลูกอม และ ท๊อฟฟี่อีกด้วย เนื่องจากมีร้านค้ารถเข็นมากมาย ขายอยู่รอบๆ รั้วโรงเรียน จากปัญหาเหล่านี้ท�ำให้กลุ่มเราตัดสินใจ วางแผนกันว่าพวกเราจะเริม่ จากการปรับทัศนคติ น้องๆ เนื่องจากการจะเข้าไปเปลี่ยนพฤติกรรม ของคนคนหนึ่งนั้น ต้องเริ่มจากการมีทัศนคติที่ ดีเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง จนท้ายที่สุดน�ำ ไปสู่การปฏิบัติที่ถูกวิธี เราจึงวางแผนที่จะสร้าง ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากให้น้องๆ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้พื้นฐานที่ถูกต้อง เช่น การเลือกแปรงสีฟัน การแปรงฟัน รวมไปถึงการ ใช้ไหมขัดฟัน นอกจากนี้กลุ่มของเรายังคิดว่าการ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการก็เป็นเรื่องส�ำคัญ เนื่อง จากน้องๆ อยูใ่ นสถานทีท่ สี่ ามารถเข้าถึงขนมต่างๆ ได้โดยง่าย แต่ใช่ว่าการรับประทานขนมนั้นจะ ท�ำให้ฟันผุเสมอไป หากรู้วิธีรับประทานก็สามารถ ป้องกันโรคฟันผุได้เหมือนกันนะ ทุกคนต่างช่วยกันเสนอความคิดมากมาย วันนี้ท�ำให้ฉันรู้ว่าเพื่อนๆ ในกลุ่มช่างมีจินตนาการ สร้างสรรค์กนั จริงๆ ในทีส่ ดุ กลุม่ เราก็ได้ขอ้ สรุปจาก การเอาความคิดของทุกคนมารวมกัน โดยเราคิด 38


39


ว่าการใช้สื่อช่วยในการสื่อสารน่าจะเป็นวิธีที่สามารถท�ำให้น้องๆเข้าใจได้มากที่สุด เริ่มจากปัญหาแรก คือ การแปรงฟัน ทุกคนคงทราบดีว่าการท�ำความสะอาดฟันที่ ดีที่สุดก็คือ การแปรงฟัน แต่การแปรงฟันที่ดีนั้นไม่ใช่เพียงการถูไปถูมา มันมีขั้นตอนและ 40


วิธีแปรงที่ผ่านการทดลองมาแล้วว่าเป็นวิธีที่ช่วย ให้ฟันสะอาดที่สุด แล้วเราจะสอนน้องๆ ยังไง ล่ะ น้องมีเกือบร้อยคน ในขณะที่เรามีกันแค่สิบ คน เราจึงสร้างโมเดลฟันและแปรงสีฟันยักษ์ขึ้น มาเพื่ อ ใช้ ใ นการสาธิ ต วิ ธี แ ปรงฟั น ที่ ถู ก ต้ อ งให้ น้องๆ ได้เห็นกันอย่างทั่วถึง นอกจากการแปรง ฟันแล้วการเลือกแปรงสีฟันก็เป็นสิ่งส�ำคัญ เรา ได้ท�ำแปรงสีฟันยักษ์ที่มีขนแปรงแบบต่างๆ ทั้ง แบบแข็ง ปานกลางและนุ่ม ซึ่งท�ำมาจากวัสดุ เหลือใช้ในบ้านเรานี่เอง แต่พี่อั๋นก็ได้เสนอขึ้นมา ว่า เราไปสอนน้องกันแค่ไม่กี่ครั้งเองนะ แล้วถ้า น้องลืมขึ้นมา น้องจะไปถามจากใคร จากปัญหา นี้ท�ำให้พวกเราฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า เราควรท�ำอะไร สักอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยสอนน้องๆ แทนเราได้ เราจึงตัดสินใจท�ำหนังสือนิทานโดยตั้งชื่อ ว่า “คัมภีร์สุขภาพช่องปาก” เล่มยักษ์ โดยใน หนังสือนิทานเล่มนี้เราท�ำให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้ สามารถอ่านได้หลายคนและน่าสนใจ เนื้อหาข้าง ในประกอบไปด้วยฟันผุเกิดขึ้นได้อย่างไร? จะ ป้องกันได้อย่างไร? รวมไปถึงวิธีการแปรงฟันที่ ถูกต้อง นอกจากนั้นยังมี “โมเดลฟันสวย” ที่อัด เสียงช่วยอธิบายความรู้ต่างๆ ให้ฟังอีกด้วย มาถึงปัญหาที่สอง คือเรื่องโภชนาการ กลุ่มเราได้ปรึกษากับกลุ่มอื่น ซึ่งมีความเห็นตรง กันว่าเรื่องโภชนาการเป็นเรื่องส�ำคัญ โดยเพื่อน กลุ่มที่ได้น้องๆ ป.3 ได้ท�ำวงล้อโภชนาการเพื่อ ให้ความรู้ในการบริโภคอาหารให้กับน้องๆ เราจึง วางแผนร่วมกันว่าจะขอยืมสื่อของกันและกันไป สอนน้องๆ ฉันคิดว่าเป็นความคิดที่ดีมากเลย 41


42


Chapter 8 : กากเพชร

หลังจากเราวางแผนกันเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาสร้างสิ่งที่คิดให้ เป็นจริง แต่การท�ำงานร่วมกันไม่ง่ายอย่างที่คิด ต่างคนต่างมีความคิด ของตัวเอง มีหลายๆ ครั้งที่ความคิดของเราไปขัดแย้งกับความคิดของคน อื่นแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นเรื่อง กากเพชร หลา เป็นคนที่ชอบสีชมพู และชอบอะไรๆ ที่มีความมีประกาย มาก จึงไม่แปลกที่หลาบอกให้ใส่กากเพชรลงไปเกือบทุกส่วนของชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นหน้าปก ในเล่ม หรือแม้แต่หมวกของโมเดลฟันน้อยๆ ซึ่งสิ่ง นั้นท�ำให้ฉันที่ไม่ชอบ ความหวานแบบนี้ ฉันรู้สึกขัดตาเป็นอย่างมาก จนพูดแขวะหลา ไปหลายที แต่เมื่อย้อนกลับมานั่งคิด มันช่างน่าตลกเสียจริงที่เก็บเรื่อง เล็กน้อยเหล่านี้มาคิดและทะเลาะกันเอง พวกเราใช้เวลาหลังเลิกเรียนคลินิกรวมกลุ่มกัน เราค่อยๆ สร้าง ชิ้นส่วนขึ้นมาทีละชิ้นๆ ตั้งแต่ไปเดินเลือกซื้ออุปกรณ์ แกะสลักโฟม ลง สี วาดรูป รวมไปถึงเปเปอร์มาเช่ แล้วน�ำทุกชิ้นมาประกอบกันขึ้นมา จนเป็นรูปเป็นร่าง หลังจากที่พวกเราสู้ตรากตร�ำ อดหลับอดนอนกันมา เกือบ 1 อาทิตย์ สื่อการเรียนการสอนของเราก็ส�ำเร็จจนเป็นที่น่าภาค ภูมิใจจนทุกคนลืมเรื่องที่เคยทะเลาะกันระหว่างท�ำงานไปจนหมด สิ่งหนึ่งที่ฉันได้จากกการท�ำงานกลุ่มในครั้งนี้คือ ทุกคนต้องการ ให้งานออกมาดีที่สุด หลายๆ ครั้งเราต้องลดความเป็นตัวเราลง เพื่อ รับฟังความคิดของผู้อื่น

43


44


Chapter 9 : เครื่องบินหัก

เช้านี้ฉันเด้งตัวออกจากที่นอนด้วยความรู้สึกตื่นเต้นอย่างบอก ไม่ถูก “วันนี้แล้วสินะ สื่อที่เราตั้งใจท�ำมา วันนี้จะได้ใช้เสียที” เมื่อไปถึง โรงเรียน น้องๆ รออยู่ในห้องอยู่แล้ว เราได้แบ่งน้องๆ เป็นกลุ่ม 8 คน โดยให้น้องนับ 1-8 ฉันได้รับหน้าที่ให้ดูแลน้องกลุ่มที่ 7 มีน้องตองเป็น หัวหน้ากลุ่ม และน้องปาย เป็นรองหัวหน้ากลุ่ม กลุ่มของฉันน้องๆ ผู้ชาย ค่อนข้างซน แต่เมื่อพูดบอกก็จะเชื่อฟังและให้ความสนใจ ส่วนน้องผู้หญิง เรียบร้อยและกล้าแสดงออก การสาธิตวิธีการแปรงฟันด�ำเนินไปตามวิธี “TELL SHOW DO” นั่นก็คือ Tell บอกและอธิบายให้ฟัง จากนั้น Show ให้ดูว่าท�ำอย่างไร และ ให้ทดลอง Do หรือท�ำว่าสามารถท�ำได้หรือไม่ ผลการลงพื้นที่วันนี้ผ่านไป อย่างราบรื่นและเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ น้องๆ ส่วนใหญ่สามารถเลือก แปรงสีฟนั ได้ถกู ต้อง และทดลองแปรงฟันกับโมเดลฟันอันเล็กได้อย่างถูกวิธี ในตอนแรกมีน้องหลายคนไปดูงานที่อื่น ท�ำให้จ�ำนวนคนน้อย แต่ ประมาณบ่าย 2 ครึ่งน้องๆ กลุ่มดังกล่าวก็กลับมา ท�ำให้ห้องดูแน่นขึ้น อย่างมาก ในกลุ่มน้องที่มาใหม่มีน้องผู้ชายคนหนึ่งชื่อ “น้องบอส” ได้น�ำ เครื่องบินโฟม ซึ่งได้จากงานที่ไปดู น�ำมาเล่นในห้อง เพื่อนๆ คนอื่นก็อยาก เล่นด้วย และน�ำไปเล่นกัน แต่แล้วปีกของเครื่องบินก็ได้หักลง น้องบอส ร้องไห้ ทั้งด่าว่าและตีเพื่อนที่ท�ำหัก แต่คนอื่นๆ กลับหัวเราะชอบใจ ใน ตอนแรกฉันรู้สึกตกใจและท�ำอะไรไม่ถูก จะว่าก็กลัวโดนน้องเกลียด แต่จะ ไม่ท�ำอะไรเลย น้องก็ร้องไห้ จึงตัดสินใจบอกกับน้องที่ท�ำหักว่า “เอาไป ซ่อมให้เพื่อนนะครับ” และได้บอกน้องบอสไปว่า “นี่ไงกลายเป็นจรวด แล้ว เร็วกว่าเครื่องบินอีกนะ” ท�ำให้น้องกลับมาหัวเราะได้ และเล่นต่อ ไป แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ฉันก็รู้สึกภูมิใจที่สามารถจัดการปัญหานี้ได้ และฉันคิดว่าฉันจัดการกับมันได้ดีทีเดียว 45


46


47


48


Chapter 10 :

You’re What You Eat.

49


จากความประทับใจในการลงพื้นที่ครั้ง ที่แล้ว ท�ำให้ฉันรอการลงพื้นที่ครั้งต่อไปแทบ ไม่ไหว จนในที่สุด… วันนี้กลุ่มของเราได้น�ำวงล้อโภชนาการที่ ยืมอุปกรณ์ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มาใช้เป็น สื่อในการเรียนรู้ โดยวงล้อจะมีอาหารหลายๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ดี มีประโยชน์ และ เป็นโทษกับร่างกาย โดยจะเลือกน้องๆ ออกมาให้ หมุนวงล้อและตอบค�ำถาม รวมถึงยังได้น�ำความ รู้เรื่องอาหารที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุมาสอน เพราะ เราเล็งเห็นว่า อาหารที่ท�ำให้ฟันผุมักมีรสชาติ อร่อย หวาน เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน การจะ เลือกรับประทานเฉพาะอาหารที่ไม่ทำ� ให้ฟันผุนั้น ก็เป็นเรื่องที่ยาก แต่จะรับประทานอาหารที่ก่อ ให้เกิดโรคฟันผุเรื่อยๆ จนฟันผุก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารทั้ง 2 อย่างร่วม กัน เช่น การกินคุกกี้ช็อกโกแลตชิพซึ่งเป็นอาหาร ที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ กับนมซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรค ฟันผุ และเพิ่มแคลเซียมให้แก่ฟัน หรือการดื่มน�้ำ เปล่าตามหลังจากที่ดื่มนมรสหวาน เป็นต้น ในส่วนของฉันนั้นได้รับหน้าที่ดูแลน้อง กลุ่ม 7 หรือกลุ่มสีเหลืองจีวรเนื่องจากป้าย ชื่อเป็นสีเหลืองเหมือนจีวรของพระนั่นเอง ใน สัปดาห์นี้มีน้องมาเพิ่มหนึ่งคน ซึ่งน้องคนนี้ฉัน เป็นคนไปขอเอมมีม่ าเป็นกรณีพิเศษ เพราะเห็น ว่าสนิทกับน้องในกลุ่มคนหนึ่งที่เงียบๆไม่ค่อยคุย ฉันคาดหวังว่าจะช่วยน้องให้กล้าร่วมท�ำกิจกรรม มากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ค่อนข้างเป็นไปตามที่คาด 50


51


52


ไว้ นั่นคือน้องมีอารมณ์ร่วมกับกิจกรรมมากขึ้น แต่วันนี้น้องๆ ไม่สนใจฟังเอมมี่ซึ่งเป็นผู้ ด�ำเนินกิจกรรมเลย คุยกันเสียงดัง เล่นกันวุ่นวาย และมีน้องคนหนึ่งพูดกับฉันว่า “พี่ เมื่อไหร่เกมส์ จะจบ น่าเบื่อมาก” ส่วนอีกคนพูดว่า “ที่พวก พี่มาสอนอ่ะ รู้หมดแล้ว แต่แค่ไม่อยากตอบ” เมื่อฉันได้ยินดังนั้นก็ถึงกับผงะไปเล็กน้อย และ บอกน้องๆ ให้ช่วยกันตอบ นอกจากนั้นยังมีน้อง หลายๆ คนที่เริ่มไม่เกรงใจ พูดจาล้อเลียน เช่น น้องปาย พูดว่า “พี่หน้าเหมือนหมูเลย” และบอก น�้ำผึ้ง ว่า “พี่หน้าเหมือนปลากระโห้โต้คลื่น” ท�ำ ให้ฉันไม่แน่ใจว่าเพราะความคุ้นเคยหรือความ สนิทสนมมากเกินไป หรือเพราะความน่าเบื่อ ของเกมส์ที่ท�ำให้น้องๆ ไม่สนใจ จน พี่เบส ถึง กับทนไม่ไหวต้องออกมาตักเตือนและให้น้องนั่ง สมาธิ ทบทวนสิ่งที่น้องได้ท�ำไป น้องหลายคนถึง กับน�้ำตาซึม และสิ่งที่ฉันไม่คาดคิดคือ น้องผู้ชาย กลุ่มที่พูดจาไม่ดีกับฉันและน�้ำผึ้งได้เดินเข้ามา ขอโทษส�ำหรับสิ่งที่พวกเขาท�ำ ระหว่างทางนัง่ รถกลับคณะ ภาพหลายๆ อย่างในวันนี้ได้วนเวียนเข้ามาในความคิดของ ฉัน หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในวันนี้อาจไม่ได้ดู สวยงามจนท�ำให้ฉันรู้สึกแย่ในตอนแรก แต่สิ่ง ที่ส�ำคัญคือ เราได้อะไรจากวันวันหนึ่งที่ผ่าน ไปมากกว่า ตัวน้องๆ เองก็คงได้เรียนรู้อะไรไป มากมายเหมือนอย่างที่ฉันได้เรียนรู้มาในวันนี้ เช่นกัน 53


54


Chapter 11 : กระดาษแผ่นเล็ก

“สุดท้ายงานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา” คงเป็นค�ำที่เหมาะสมที่สุดกับวันวันนี้ เนื่องจากเป็นวันสุดท้ายที่จะได้เจอน้องๆ สัปดาห์นี้ และเป็นสัปดาห์การประเมิน น้องๆ ว่าสิ่งที่เราสอนไป ทั้งความรู้ ทัศนคติ นั้นสามารถน�ำไปปรับใช้ในชีวิต ประจ�ำวันได้หรือไม่ โดยจะประเมินจากแบบทดสอบและการปฏิบัติ ในวันนี้ฉัน รับหน้าที่เป็น checker หรือคนคอยตรวจการแปรงฟัน ซึ่งส่วนมากน้องสามารถ แปรงฟันได้ถูกวิธี แต่สิ่งที่พบคือ มีน้องหลายคนยังไม่แปรงลิ้น หรือแปรงเพียง เล็กน้อย มีน้องบางคนตลกมาก พอถามว่า “อ้าว น้องแปรงฟันเสร็จแล้วเหรอ” น้องคงคิดว่าแปรงเร็วไป จึงเดินไปบีบยาสีฟันแล้วมาแปรงอีกรอบ น้องบางคนก็ แปรงนานมาก ท�ำให้ฉันตระหนักได้ว่าเวลาเพียงไม่กี่อาทิตย์ และการพบกันเพียง อาทิตย์ละครั้งนั้นน้อยมากในการเปลี่ยนแปลง หรือกระตุ้นให้เกิดการแปรงฟันที่ ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามฉันก็รู้สึกดีใจ ที่อย่างน้อยก็มีส่วนได้กระตุ้นให้น้องอยาก แปรงฟันได้อย่างถูกวิธี บางทีเวลาน้องเห็นแปรงสีฟันแจกไป อาจจะฉุกคิดขึ้นมา ได้บ้างว่าควรจะแปรงฟันอย่างไรให้ถูกต้อง หลังจากแปรงฟันกันเสร็จแล้ว น้องๆได้เขียนความรู้สึกลงไปในกระดาษ ฉันได้มีโอกาสอ่านหลายๆ ใบ ก็รู้สึกดีใจและตื้นตันใจเป็นอย่างมาก หลายคน บอกว่า “ดีใจที่พวกพี่มา อยากให้มาอีก” “รู้สึกฟันสะอาดขึ้น” “กลิ่นปากลดลง” ถึงบางคนจะบอกว่า “ดีใจจัง พี่มาแล้วไม่ต้องเรียน” แต่กระดาษใบเล็กๆ เหล่านีก้ เ็ ป็นเชือ้ เพลิงชัน้ ดีทเี่ ติมก�ำลังใจให้ฉนั และ เพือ่ นๆ ในกลุ่ม ตัวฉันเองก็อยากขอบคุณน้องๆ รวมถึงโรงเรียนและครู อาจารย์ทุกท่านที่ให้โอกาสนักศึกษาทันตแพทย์ตัวน้อยๆ ที่ไม่มีประสบกาณ์ อะไรเลย ได้เข้ามามีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเล็กๆ ที่อบอุ่นเช่นนี้ 55


56


Chapter 12 : ค�ำตอบ

ค�ำตอบของค�ำถามในบทน�ำ หลายคนอาจจะรู้แล้วว่า วิชาทันตกรรม ชุมชนนั้นคือการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งวิธีที่จะท�ำให้ยั่งยืน เราต้องเข้าใจวัฒนธรรม และธรรมชาติของชุมชนนั้นๆ เป็นอย่างดี รวมถึงเข้าใจปัญหาของชุมชนนั้น เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ปลูกฝัง จิตส�ำนึก จนน�ำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้ว่าทันตแพทย์จะมีหน้าที่ในการให้ ความรู้และดูแลสุขภาพช่องปาก แต่ก็ไม่ใช่เพียงทันตแพทย์ที่จะสามารถให้ความ รู้ได้ หากคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ หรือแม้แต่ตัว เด็กๆ เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว ก็ยังสามารถน�ำความรู้ที่ได้รับไปอธิบายและส่งมอบต่อ ผู้อื่นได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คนในชุมชนจะเป็นผู้มีส่วนร่วมด้วยช่วยกันในการ พัฒนาและส่งเสริมทันตสุขภาพ ช่วยกันขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปข้างหน้าได้ อย่างยั่งยืน ดังนั้นการลงชุมชนจึงไม่ได้มุ่งศึกษาแต่เพียงกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น แต่เป็นการศึกษาสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั้นควบคู่กันไปอีกด้วย

57


บ ท ส่ ง ท้ า ย ในวันนี้ที่ฉันกำ�ลังนั่งพิมพ์บทความนี้อยู่ ปี 2016 ก็กำ�ลังจะหมดไป ในไม่กี่วันนี้แล้ว ฉันนั่งฟังเพลงคริสต์มาสในร้านกาแฟร้านประจำ�ที่รายล้อมไป ด้วยผู้คนมากมาย ฉันปล่อยตัวเองให้จมดิ่งลงไปในความทรงจำ�หลายๆ อย่างที่ ผ่านเข้ามาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แล้วฉันก็พบว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น มากมายเหลือเกิน มีบางคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และยังคงอยู่ในชีวิต แต่ก็มีอีก หลายคนที่ผ่านเข้ามา แล้วเดินออกไปไม่ว่าฉันจะต้องการหรือไม่ก็ตาม มีหลาย เรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้น หลายเรื่องให้ความสุข หลายเรื่องให้ประสบการณ์ และ ก็มีบางเรื่องที่ให้บทเรียน รวมถึงบางความทรงจำ�เลือนหายไปตามกาลเวลา แต่ บางเรื่องแม้ผ่านไปนานแค่ไหนแต่ก็ยังคงชัดเจนเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน เคย มีคนคนหนึ่งบอกกับฉันว่า “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ดีเสมอ” เมื่อก่อนฉันเองไม่เคย เข้าใจความหมายของประโยคนี้ จนวันนี้ที่ฉันได้มีโอกาสนั่งคิดทบทวนหลายๆ อย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และตอนนี้ฉันเองก็เชื่อเช่นนั้น สำ�หรับตัวฉันแล้ว การลงชุมชนในครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี และน่าจดจำ� แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่มีหลายสิ่งหลายอย่าง เกิดขึ้น นับตั้งแต่ความตื่นเต้นในวันแรกที่ได้รู้จักกับวิชานี้ ความอึดอัดจากการ ต้องทำ�งานกับคนที่ไม่คุ้นเคย การทะเลาะกับเพื่อนในกลุ่มเล็กๆ น้อยๆ ความ ปลื้มใจจากการเห็นความร่วมมือของน้องๆ หลายความรู้สึก ฉันคงไม่สามารถที่จะบรรยายเป็นตัวหนังสือได้อย่าง ครบถ้วน แต่ทุกๆ ความทรงจำ�ยังคงชัดเจนและทำ�ให้อบอุ่นหัวใจทุกครั้งที่ คิดถึง หนังสือเล่มนี้อาจไม่ใช่หนังสือที่ให้ความรู้หรือสาระทางวิชาการได้ มากมาย แต่เปรียบเสมือนบันทึกความทรงจำ�ของฉันซึ่งมีทั้งเรื่องที่ดีและ เรื่องที่ร้าย แต่ฉันก็หวังว่าทุกๆ เรื่องราวที่ฉันถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร นั้น จะนำ�มาซึ่งผู้อ่านเกิดความอบอุ่นใจเหมือนอย่างที่ฉันสัมผัสได้ทุกครั้ง ที่นึกถึงเรื่องราวต่างๆ สุดท้ายนี้ “เมอร์รี่คริสต์มาส แอนด์ แฮปปี้นิวเยียร์” สวัสดีปีใหม่ค่ะทุกคน 58


59


60


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.