May june2014

Page 1

- ปกหน้า -

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

1


บทบรรณาธิการ

“พบกันวารสารพัฒนาชุมชน ประจําเดือน เมษายน – พฤษภาคม ๒๕๕๗ ต้อนรับฉบับนี้ด้วย บทความพิเศษผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน : เปิด ใจโครงการ OTOP กับสื่อดินแดนอาทิตย์อุทัย (Japan)×แลหน้า เหลียวหลัง...เรียนแล้วมาเล่า ภาษาเวียดนาม×เสน่ห์ชุมชน นําเสนอเรื่องเสน่ห์ ของการสื่ อ สารชุ ม ชน โดยชุ ม ชนเพื่ อ ชุ ม ชน × กถาพัฒนากร เรื่อง “ยอดดอยเสียดฟ้า มาตามฝัน” × ...หนึ่งวัน หนึ่งความคิ ด... ×...หัวโค้ง เรื่อง อาชีพเสริม... × รู้ด้วยกันงาน กจ. : การใช้ “รักษาราชการแทน” กับ “รักษาการในตําแหน่ง” ×วาทะเด่น... × “การบริหารยุทธศาสตร์ด้วย ระบบงบประมาณรายจ่ายประจําปี” ใน ถากถาง ทางสร้างสรรค์... ×ข่าวประชาสัมพันธ์จากกองทุน พั ฒนาบทบาทสตรี ×สาระน่ า รู้ : Latte Factor”...แล้วปิดท้ายด้วยภาพกิจกรรมกรมการ พัฒนาชุมชน... ×พบกันใหม่ฉบับต่อไปนะครับ...

ทรงพล วิชัยขัทคะ บรรณาธิการ

บทความพิเศษ แลหน้า เหลียวหลัง เสน่ห์ชุมชน กถาพัฒนากร หนึ่งวัน หนึ่งความคิด หัวโค้ง รู้ด้วยกันงาน กจ. วาทะเด่น ถางทางสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สาระน่ารู้ ภาพกิจกรรม

3 9 10 15 17 18 20 28 29 31 32 38

วารสารพัฒนาชุมชน ประจําเดือนเมษายน – พฤษภาคม ๒๕๕๗ ประธานกรรมการอํานวยการ นายขวัญชัย วงศ์นิติกร ที่ปรึกษา นายพิสันติ์ ประทานชวโน

ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ออกแบบปก ออกแบบรูปเล่ม/พิสูจน์อักษร

นายมนตรี นาคสมบูรณ์ นายอรรถพร สิงหวิชัย นางรักใจ กาญจนะวีระ นางสาวชณัทสรณ์ โพธิปิ่น นางสาวฉัตรประอร นิยม นางสาวเยาวนิจ กลั่นนุรักษ์ นายสรฤทธ จันสุข นางสาวนวพร พิมพา นางสาวนิภาภร บุญประสิทธิ์ นายพีระ คําศรีจันทร์ นายธนชล คูณสวัสดิ์ นายจรูญศักดิ์ เขียวสุคนธ์ นางสาวกฤติยา สวัสดิ์เมือง นางสาวยอดขวัญ ว่านเครือ นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์ นางสาวศิริพร พรหมมา

กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0 2141 6271, 0 2141 6328 โทรสาร 0 2143 8922 บทความหรือข้อเขียนในวารสารพัฒนาชุมชนเป็นความเห็นส่วนบุคคล กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ผูกพันกับกรมการพัฒนาชุมชนแต่อย่างใด

“ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 2 “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”


“เปิดใจโครงการ OTOP กับสื่อดินแดนอาทิตย์อุทัย (Japan)” “กระแสนิยมไทย คนไทยต้องใช้ของไทย” …การสร้ า งสิ น ค้ า ทางวั ฒ นธรรม และ ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ดึ ง ดู ด ชาวต่ า งชาติ ใ ห้ ส น ใ จ ใ น อ า ห า ร ไ ท ย วั ฒ น ธ ร ร ม ไ ท ย เสื้อผ้าไทย นี่เป็นเป้าหมายของเราที่จะดําเนินการ ต่อไป...”

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายขวัญชัย วงศ์นิติกร) ให้สัมภาษณ์ประเด็นเกี่ยวกับโครงการจัดตั้งศูนย์แสดง จําหน่ายและกระจายสินค้า OTOP ใต้ทางด่วนกรุงเทพฯ กับหนังสือพิมพ์ Nishinippon Shimbun ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องปฏิบัติงานอธิบดีฯ

จุดเริ่มต้นของโครงการ OTOP มีความเป็นมาอย่างไร? “...โครงการ OTOP ของเรา ไดดําเนินการมา 11 ปกวา นับตั้งแตป 2544 ซึ่งครบหนึ่งทศวรรษแลว ทางรัฐบาลไทยไดพยายามแกปญหาความยากจน ตองการเพิ่มรายได ลดรายจาย และขยายโอกาส ในการทํา มาหากินของพี่นองประชาชนโดยเฉพาะคนในชนบท” โดยอาศัยภูมิปญญาของพี่นองที่ตอยอดจากผลิตภัณฑ ทางการเกษตรในทองถิ่น ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้นก็ไดนําเสนอแนวทางจากโครงการ OVOP (One Village One Product) ของประเทศญี่ปุนมาเปนตนแบบ และไดเชิญผูวาเมืองโออิตะ คุณโมริฮิโกะ ฮิรามัทซึ มาบรรยาย เพื่อคาดการณใหกับประเทศไทย จากนั้นก็ดําเนินการจัดระบบระเบียบทางกฎหมายวาดวยการบริหารจัดการ สินคา OTOP เปนระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี กําหนดรูปแบบการบริหารสงเสริมการคาขายสินคา OTOP ใหกับประชาชน โดยเริ่มตนจากการลงทะเบียนจากผูที่มีสินคาภูมิปญญาในทองถิ่นในตําบล เริ่มตนตั้งแตป 2545 ตอนนั้นก็มีประมาณ 5,000 ผูประกอบการ/สินคา แบงผลิตภัณฑเปน 5 ประเภท เปน อาหาร เครื่องดื่ม ผ า และเครื่ อ งแต ง กาย ของใช ของตกแต ง ของที่ ร ะลึ ก และสมุ น ไพรที่ ไ ม ใ ช อ าหาร ใน 5 ประเภทนี้ เราก็ดําเนินการและกําหนดรูปแบบการบริหาร การบูรณาการ กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวของใน 6 กระทรวง “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

3


โดยมีกระทรวงพาณิชยทําเรื่องการตลาด อุตสาหกรรมทําเรื่องการขยายกําลังการผลิต ทองเที่ยวก็ทําเรื่องของ หมูบาน แหลงบงชี้ทางภูมิปญญา กระทรวงมหาดไทยก็มีหนาที่รวบรวมจดทะเบียนผูประกอบการทั้งหมด แลวนําสินคาไปพัฒนา โดยกําหนดเปนระดับ 1-5 ดาว กระทรวงสาธารณสุขดูเรื่องมาตรฐานของสินคา วาตองปลอดภัยตอชีวิตและสิ่งแวดลอม”

ความ คิดเกี่ยวกับเรื่อง OTOP ที่เปิดใต้ทางด่วนทั้ง 3 แห่ง?

ตลอดระยะเวลา 10 ป ที่ผานมา เรามีการประเมินผล เมื่อป 2556 พบวามีสินคา 70,000 กวาผลิตภัณฑที่ ลงทะเบียน OTOP

มียอดจําหนายตอนนี้ กวา

91,000 ลานบาท จากยอดจําหนายเดิม 4,500 ลาน บาท ถื อ เป น การก า วกระโดดถึ ง 20 เท า ตั ว แต ก็ ยั ง พบป ญ หา ที่ ผ า นมาของโครงการ OTOP ปญหาแรก คือ เรื่อ งการควบคุ ม สิ น ค า ทั้ง คุณ ภาพ และปริมาณที่ยังไมสม่ําเสมอ เพราะเวลามีการสั่งสินคาเยอะๆ ทําใหเขาไมได ปญหาที่สอง คือ เรื่องชองทาง การจัดจําหนายไมเพียงพอ ผลิตไดก็ไมรูจะเอาไปขายที่ไหน สวนใหญจะเปนสินคาชนบทก็จะขายกันอยูแคนั้น โอกาสที่จะแพรหลายก็ยาก ซึ่งก็เปนปญหาอยางหนึ่งที่เปนความพยายาม โดยการหาชองทางในการจัด จําหนายใหมากขึ้น นําไปขึ้นหางสรรพสินคามากขึ้น เขาสนามบิน รานสะดวกซื้อใหมากขึ้น และปญหาที่สาม คือ เรื่องการขาดแหลงเงินทุนสนับสนุนในการขยายกิจการ เนื่องจากผูผลิต OTOP จะเปนคนที่ไมมีเงินทุน มากมาย เขาไมถึงระบบธนาคาร สถาบันการเงิน สําหรับปญหา 3 ประเด็นนี้ เราก็ไดกําหนดแนวทางแกไขไวแลวในทศวรรตที่ 2 โดยปญหาที่หนึ่ง เรื่ อ งการควบคุ ม สิ น ค า ทั้ ง คุ ณ ภาพและปริ ม าณ เราก็ นํ า แบบอย า งจากประเทศญี่ ปุ น ก็ คื อ ให 1 จั ง หวั ด ตอ 1 มหาวิทยาลัยที่อยูในภูมิภาคนั้น จัดหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑของผูประกอบการ OTOP ทําแผนธุรกิจ ใชนวัตกรรมปรับปรุงคุณภาพสินคาใหมีมาตรฐาน เปนที่ตองการของประชาชนมากขึ้น โดยนํา องคความรูจากมหาวิทยาลัยเขาไปชวยเหลือสนับสนุน เพื่อเปนการเพิ่มองคความรูใหแกผูประกอบการ OTOP ปญหาที่สอง คือ เรื่องชองทางการจัดจําหนาย เราแบงหนาที่กันอยางชัดเจน โดยใหกระทรวงพาณิชย กับกระทรวงการตางประเทศนําสินคา OTOP สงออกตางประเทศใหไดอยางนอยปหนึ่ง 1,200 ผลิตภัณฑ “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

4


ภายใต บ ริ บ ท ครั ว ไทยสู ค รั ว โลก สปาไทยสปาโลก อี ก ทางหนึ่ ง คื อ เน น นํ า สิ น ค า วางจํ า หน า ยตาม หางสรรพสินคาใหมากที่สุด จําหนายตามรานสะดวกซื้อใหมากที่สุด และก็เพิ่มชองทางการจัดจําหนายในเขต เมืองใหญ ๆ เชน กรุงเทพฯ ภูเก็ต หาดใหญ เชียงใหม ใหมีสินคาโอทอปขายทั้งป ตลอดจนโครงการที่เปดใต ทางดวนฯ ก็ไดรวมมือกับการทางพิเศษแหงประเทศไทย ไดยกพื้นที่ใตทางดวนใหเราปรับปรุงเปนสถานที่ จํ า หน า ยสิ น ค า โอทอปให ช าวบ า นและคนชนบทได นํ า ผลิ ต ภั ณ ฑ OTOP หมุ น เวี ย นกั น เข า มาจํ า หน า ย ซึ่ ง ได ฤ กษ เ ป ด โครงการจั ด ตั้ ง ศู น ย แ สดง จํ า หน า ย และกระจายสิ น ค า OTOP

บริ เ วณใต ท างด ว น

ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 3 แหง คือ ใตทางดวนรามอินทรา-เพลินจิต-สีลม อยางเปนทางการเรียบรอยแลว ปญหาที่สาม เรื่องเงินทุนสนับสนุน เราได ทํา MOU กับธนาคารของรัฐ เชน ออมสิน กรุงไทย ธ.ก.ส เพื่อรองรับและสนับสนุนการขยายตัวของโอทอปในแตละจังหวัด อําเภอ พรอมชวยเหลือสนับสนุนใหเงินทุน ในการกูยืมเพื่อไปขยายผลิตภัณฑโอทอปใหมากขึ้น เพราะผูประกอบการจะตองผลิตสินคาจําหนายทั้งปใหได ไมใชผลิตเพื่อจําหนายแคเฉพาะชวงฤดูกาล เป็นความคิ ดที่ดีและน่าสนับสนุนมากแต่ในทางกลับกันที่มีหลายคนบอกว่าสินค้า OTOP มีมาก

ซึ่งมีทั้งคุณภาพดีและไม่ดี ส่วนสําหรับกลุ่มที่ทําแล้วคุณภาพไม่ค่อยดี พวกเขาก็ลําบากใช่ไหม? สินคา OTOP ที่ยังขาดคุณภาพนั้นอาจเปนเพราะเพิ่งจะเริ่มเขามา ซึ่งเขาตองมาผานกระบวนการใน การพัฒนา โดยเราตั้งเปาไว 5 แนวทาง 1. สินคา OTOP จะตองมีนวัตกรรม (Innovation) 2. สินคา OTOP จะตองมีการบอกเลาประวัติของสินคาเพื่อสืบสานถึงภูมิปญญาทองถิ่น (Story to tell) 3. สินคา OTOP จะตอง มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อจะบอกถึงคุณคาของสินคา (R & D) 4. สินคา OTOP จะตองมีความโดเดน ไมเหมือนใคร (Positioning) และ 5. สินคาตองมีการทําการตลาด (Marketing) มีวิธีการสงเสริมการขายใหได มากๆ ขายเปนกลุมมากๆ ไมอยางนั้นก็เพิ่มยอดขายไมได และตองเพิ่มมูลคาของสินคาตลอดเวลา

ในหมู่บ้านที ่เทคโนโลยียังไม่พัฒนา ภูมิปญั ญาที่เขาทําเองก็อาจจะรู้สึกลําบาก และที่การพั ฒนายังไปไม่ถึง ท่านมีแนวทางอย่างไร? เราให เ ขานํา ผลิ ตภัณฑที่เ ขา กระบวนการองคความรูกอ นทั้งหมด ประเด็ นแรกสิ น คา จะตอ งผา น มาตรฐาน อาทิ มาตรฐานอาหารและยา มาตรฐานผลิตภัณฑชุมชน มาตรฐาน Clean food Good test มาตรฐานผลิตภัณฑทางการเกษตร เพราะวาผลิตภัณฑที่จะเปนสินคา OTOP ไดนั้นก็ตองผานมาตรฐาน และ ตองมีความพรอมพอสมควร เมื่อไดมาตรฐานแลวถึงจะเขากระบวนการเพิ่มคุณคาทางผลิตภัณฑ เชน มา “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

5


เรียนรูการทําแผนธุรกิจ การตั้งราคา การบรรจุหีบหอ การมาฝกทดลองขายในภูมิภาคในงานใหญๆในระดับ จังหวัด จึงตองมีกระบวนการในการพัฒนา เดี๋ยวนี้ไมยากแลว เขามีกลุมในการบริหาร OTOP ดวยกันเอง ในแตละจังหวัด แตละอําเภอ เปนเครือขายในการแลกเปลี่ยนเรียนรูซึ่งกันและกัน เมื่อ 10 ปที่แลวอาจจะลําบาก แตปจจุบันนี้ไมลําบากแลว เพราะวาลูกหลานของเขาเปนคนรุนใหม สมัยใหม สามารถสื่อสารทางเทคโนโลยี ทางอินเตอรเน็ต ทางสื่อ IT ไดหมดแลว อะไรที่ดีที่หนึ่งก็จะเห็นกันได ทุก ที่ และเขาสามารถดูรูปแบบจากตา งประเทศได อีกทั้ง ยัง มีมหาวิ ท ยาลัยแตละจังหวัดคอยเปน พี่เลี้ย ง ชวยเหลืออยูจึงไมนาเปนหวง ที่เป็นคนต่างชาติ และต้องการจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องผลิตภัณฑ์ OTOP ในฐานะ

แต่ว่า…

เวลาจะไปดู OTOP จะหายากมากเลย จะไปดูที่ไหน? เราไม มี ห า งสรรพสิ น ค า ที่ ว า ด ว ย OTOP โดยตรง เ นื่ อ ง จ า ก ศั ก ย ภ า พ ข อ ง ผู ผ ลิ ต สิ น ค า OTOP ไมสามารถทําอยางนั้นได สิ่งที่ทําไดก็คือเอาไปฝากหางตางๆ ขาย หรือก็ปหนึ่งอาจจะมีงานที่ทางราชการจัดให 3 ครั้ง เชน งาน OTOP CITY งาน OTOP MIDYEAR และงาน OTOP ศิล ปาชีพ ซึ่งจะเชิญผูประกอบการมากวา 4,000

รายมาขาย

พรอมๆกัน เปน OTOP อยางเดียว แตก็เปนชวงเวลาสั้นๆ 9-10 วัน ยังไมมีใครที่มาลงทุนเปดราน OTOP โดยเฉพาะ แตตอนนี้ มีโครงการจัดตั้งศูนยแสดง จําหนาย และกระจายสินคา OTOP บริเวณใตทางดวน 3 แหง คือ ใตทางดวนรามอินทรา-เพลินจิตสีลม มีสินคา OTOP โดยเฉพาะ ซึ่งมีผูประกอบการสินคา OTOP ประมาน 400 ร า นค า ผลั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นกั น มา จําหนายที่ใตทางดวน โดยนําผลิตภัณฑ OTOP ที่มีคุณภาพ 3-5

ดาว มาจัดแสดงและจําหนาย

สําหรับศูนยฯ OTOP

ใตทางดวนเพลินจิตจัดทําในรูปแบบ “OTOP THE GALLERY” เนนกลุมเปาหมาย คือ นักธุรกิจ นักทองเที่ยว ชาวตางชาติ

พนักงานบริเวณเพลินจิต ปทุมวัน สุขุมวิท

เนนสินคาประเภทของที่ระลึก สินคาหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของแตละภาค ศูนยฯ OTOP ใตทางดวนสีลม “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

6


ดําเนินการในรูปแบบ “ THE WALKING STREET ” มีการจัดคูหาสําหรับการจัดแสดง และจําหนายประเภท สินคาตางๆ จํานวน 100 คูหา เนนกลุมเปาหมาย คือ นักธุรกิจ นักทองเที่ยว ชาวตางชาติ พนักงานบริษัท บริเวณสีลม สุรวงศ สาธร บางรัก และศูนยฯ OTOP ใตทางดวนรามอินทรา ดําเนินการในรูปแบบ “The Avenue” มีการจัดคูหาสําหรับจัดแสดง และจําหนายสินคา OTOP ประเภทตางๆจํานวน 100 คูหา รวมทั้ง รถเข็น คีออส จํานวน 40 ชุด และรานอาหาร OTOP ชวนชิม จํานวน 60 รานคา เนนกลุมเปาหมายครอบครัว และประชาชนในเขตบางเขน ลาดพราว รามอินทรา วัชรพล สายไหม มีนบุรี โดยเปดจําหนายทุกวันระหวาง เวลา 10.00-22.00 น. นอกจากนั้นหนวยงานที่เกี่ยวของยังไดรวมสนับสนุนการดําเนินงานศูนยแสดงจําหนาย และกระจายสินคาบริเวณใตทางดวนในกรุงเทพมหานคร ทั้งภาครัฐและเอกชน ไดแก การทางพิเศษแหง ประเทศไทย การไฟฟานครหลวง การประปานครหลวง กรุงเทพมหานคร และเจาหนาที่ตํารวจ รวมทั้งเครือขาย ผูประกอบการ OTOP ทุกประเภทผลิตภัณฑ และที่สนามบินก็มีสินคา OTOP แตเปนจุดกระจายสินคาเล็กๆ ซึ่งสินคาอาจจะยังมีนอย ซึ่งทุกสนามบินตอนนี้มีหมดแลว เชน สนามบินจังหวัดภูเก็ต สนามบินจังหวัดกระบี่ สนามบินจังหวัดเชียงใหม สนามบินจังหวัดอุดรธานี สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง

แลนด์มาร์ค ของ

OTOP ได้รับความเชือ่ ถืออย่างมากใช่ไหม?

ใชครับ...เพราะวาเราควบคุมคุณภาพ จะเปนสินคา OTOP ไดนั้นตองมีมาตรฐาน โดยมีหนวยงาน คอยตรวจสอบเรื่องมาตรฐาน และการเปดพื้นที่แลนดมารคสินคา OTOP เปนการเปดโอกาสใหสินคาที่ผลิต จากภูมิปญญาจริง ทําจากชาวบานจริง ใชทรัพยากรในทองถิ่นจริง ไมไดใชเครื่องจักร ถาใชเครื่องจักรก็จะเปน SME ไมใช OTOP

รัฐบาลมีงบสนับสนุนอย่างไร? ใน 1 ป ทางรัฐบาลจะมีงบสนับสนุนประมาณ 2,000 กวาลานบาท แตงบประมาณจํานวนนี้ใชบริหาร

รวมกันทัง้ 6 กระทรวง จาก 7 - 8 กรม ทัง้ กระทรวงพานิชย กระทรวงอุตสาหรรม และกระทรวงมหาดไทย

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

7


ชาวบ้ านที่เขาได้รบั การสนับสนุน เขาสะท้อนอย่างไร? สําหรับชาวบานที่ไดรับการสนับสนุน เขาก็ชอบใจ คือพอเขาจําหนายสินคาได ก็ชวยใหระบบเศรษฐกิจ ฐานรากเดินตอไปได ซึ่งแตเดิมอาชีพของเขาคือเปนเกษตรกร และเมื่อเขาพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรมา เปนสินคาOTOP ก็สามารถเพิ่มมูลคาได คุณภาพชีวิตเขาก็ไมตองเสี่ยงรอแตน้ําฝนที่จะผลิตสินคาเกษตรอยาง เดียว ชาวบานก็เริ่มคาขายเปน มีโอกาส มีรายไดเพิ่มมากขึ้นจากสินคาทางการเกษตร แลวนําเงินเหลานี้มา สงเสียใหลูกหลานไดเรียนหนังสือ มาพัฒนาคุณภาพชีวิต มีที่อยูอาศัยที่ดีขึ้นมียารักษาโรค มีเสื้อผาที่ทันสมัย มีพาหนะใชในการทํามาหากิน มีรายไดดี มีอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ถือเปนเศรษฐกิจฐานรากที่แทจริง

สิ ่งนีท้ ําให้ชาวบ้านสามารถทําการค้าขายเป็นใช่ไหม? ใชๆ เพราะวาคนสมัยกอนก็ไดแคทํานา ทําไร เดี๋ยวนี้ก็มกี ารจักสานขาย ทอผาขาย แปรรูปขาวทําเปน ขาวไรซเบอรี่ ทําน้ํายาสระผมขาย ขายของไดทุกอยาง ผลไมก็นํามาแกะสลักขาย แปรรูปไดทุกอยางเปนอาชีพ เปนรายได และเปาหมายสุดทายที่กรมการพัฒนาชุมชนอยากจะพัฒนาผลิตภัณฑโอทอป ก็คือในป 58 เราเปด AEC เราทําพันธะสัญญากับรัฐบาลไว วาจะทํายอดขายของ OTOP ใหได 100,000 ลานบาท ประเด็นที่สอง เราจะสรางกระแสนิยมไทยใหคนไทยใชของไทย แลวเราจะสรางสินคาทางวัฒนธรรม และภูมิปญญาทองถิ่น เพื่อขายกับชาวตางชาติ เชนอาหารไทย วัฒนธรรมไทย เสื้อผาแบบไทย นีเ่ ปนเปาหมายของกรมการพัฒนา ชุมชนที่จะดําเนินการ เรียบเรียงโดย : กองประชาสัมพันธ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

8


“ราชการ

เรียนแลวมาเลา : ภาษาเวียดนาม (ตอนที่ ๓) โดย...กระท่อมน้อย ๔ ป.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

9


เสนหของการสื่อสารชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เมื่อป พ.ศ. 2526 องคการสหประชาชาติไดประกาศใหเปนปการสื่อสารโลก ทั้งนี้เพื่อใหแตละประเทศ ไดพิจารณาและตรวจสอบอยางลึกซึ้งถึงระบบการสื่อสารในประเทศของตนในทุกระดับ เพื่อจะไดทําการ ปรับปรุงแกไขใหสอดคลองกับสภาพแวดลอมและความตองการของตนในอันที่จะใชการสื่อสารเพื่อประโยชน ในการพัฒนาประเทศและสังคมโดยสวนรวม ซึ่งในโอกาสเดียวกันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ รัชกาลที่ 9 ไดพระราชทานพระบรมราโชวาท ความตอนหนึ่งวา (คณะนิเทศศาสตร จุฬาฯ:2526) “การสื่อสารเปนปจจัยสําคัญอยางหนึ่งในการพัฒนาสรางสรรคความเจริญกาวหนา รวมทั้งรักษาความมัน่ คงและปลอดภัยของประเทศ ซึ่งในสมัยปจจุบัน สถานการณของ โลกเปลี่ยนแปลงอยูทุกขณะ การติดตอสื่อสารที่รวดเร็วทันตอเหตุการณ ยอมมีความ สําคัญมากเปนพิเศษ ทุกฝายและทุกหนวยงานที่เกี่ยวของกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรไดรวมมือกันดําเนินงานและประสานผลงานกันอยางใกลชิดและสอดคลอง สําคัญที่สุดควรจะไดพยายามคนควาวิชาการอันทันสมัยใหลกึ ซึ้งและกวางขวาง แลว พิจารณาเลือกเฟนสวนที่ดีมีประสิทธิภาพแนนอนมาปรับปรุงใชดวยความฉลาดริเริ่มให พอเหมาะพอสมกับฐานะและสภาพบานเมืองของเรา เพื่อใหกิจการสื่อสารของชาติมี โอกาสไดพัฒนาอยางเต็มที่ และสามารถอํานวยประโยชนแกการสรางเสริมเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนเสถียรภาพของบานเมืองไดอยางสมบูรณแทจริง” ในกระบวนการพัฒนาใดๆ ก็ตามจําเปนตองมีการติดตอสื่อสารเพื่อแจงขาวสารที่เปนประโยชนตอ สมาชิก เพราะการสื่อสารเปนเครื่องมือที่มีความสําคัญเปนอยางมากในการดําเนินงานพัฒนาชุมชนทุกสาขา การ สื่อสารที่ดียอมทําใหงานพัฒนาชุมชนบรรลุไดอยางรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเปนวิธีการที่จะใหขอมูล ขาวสารที่เปนประโยชนกอใหเกิดความรูความเขาใจสรางทัศนคติใหมๆ โนมนาวใหสมาชิกในชุมชนเกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันจะนําไปสูปฏิบัติการในชุมชน เพื่อการแกไขปญหาและพัฒนาชีวิตความเปนอยูของ ชาวบานและชุมชนใหดีขึ้น (คมสัน หุตะแพทย : 2535) “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

10


มาเริ่มตนทําความรูจักกับเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาชุมชนกัน...สักนิด เสนหชุมชนฉบับนี้หลบหลีกบรรยากาศรอนระอุทั้งอากาศและความรอนแรงของบานเมือง ดวยแนว เขียนเชิงวิชาการนิดๆ วากันไปพอใหทราบโดยสังเขปถึงความสําคัญของ “ประเด็นการสื่อสารเปนเครื่องมือ ของการพัฒนา”(ไดอยางไร?) เพราะในทุกกิจกรรมขั้นตอนตางๆ ลวนแลวแตใชการสื่อสารเปนเครื่องมือใน การเชื่อมโยงชุมชนเขาไวดวยกันซึ่งในที่นี้สามารถจําแนกกิจกรรมพัฒนาชุมชนที่สอดคลองกับปญหาและความ ตองการของสมาชิกในชุมชนไดดังนี้ (กรมการพัฒนาชุมชน : 2550) 1. กิจกรรมที่ทาํ ใหประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข 2. กิจกรรมที่ทาํ ใหชุมชนมีภมู ิคุมกันทางสังคม 3.กิจกรรมที่ทาํ ใหชุมชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มาถึงบรรทัดนี้คุณผูอานที่เปนนักพัฒนาชุมชนคงวิตก-กังวล หรือไมก็พาลเครียดไปเลยเมื่อนึกถึง “การ สื่อสาร” ดวยคิดวาคงจะตองมีงบประมาณมากมายหรือปลาว? ถึงจะทําได แต....ปลาวเลยคะ สื่อและสารที่เรา กําลังกลาวถึงกันอยูในขณะนี้ก็คือสื่อเล็กๆ ที่มีอยูในชุมชนสามารถจับตองได เสียคาใชจายนอย และ-หรือ อาจ ไมมีคาใชจายเลยก็เปนได (หากเรารูจักวิธีการนําไปใชอยางถูกตอง) ดังที่ผลการวิจัยของ รองศาสตราจารยดร. กาญจนา แกวเทพ (2552) อาจารยนักวิชาการดานการสื่อสารเพื่อการพัฒนาพบวา “สื่อยิ่งมีขนาดเล็กและอยูใน อํานาจรัศมีการใชของชุมชน เชน สื่อบุคคล สื่อพื้นบาน สื่อเฉพาะกิจ ก็ยิ่งมีคุณูปการตอการพัฒนาชุมชน อัน เปนทวงทํานองแบบ เล็กนั้นงาม จิ๋วแตแจว (Small is beautiful)” ในขณะที่สื่อเล็กๆ เหลานี้แสดงบทบาทในการ พัฒนาอยางไดผลดี หากแตในแวดวงของการพัฒนายังมีการใหความรูถึงวิธีการใชสื่อเหลานี้อยางจํากัด มีการนํา สื่อเล็กๆ ไปใชอยูเพียงไมกี่ประเภท จึงทําใหวิธีการใชพลอยคับแคบไปดวย หากเราเปดใจใหกวางเพื่อทําความรูจักกับคําวา “สื่อ” อยางแทจริงจะพบวาสื่อเล็กๆ ที่นาสนใจในการ นํามาใชในงานพัฒนานั้นมีจํานวนมากมายอยางไมนาเชื่อ เรียกวาไมวาจะเปนอะไร ก็สามารถแปลงรางเปนสื่อ ไดทั้งสิ้นถาเรา (นักพัฒนาชุมชน) รูจักวิธีการเสก แตอยางไรก็ตามกอนที่เราจะไปทําความรูจักใหถองแทถึงคําวา “การสื่อสารชุมชน” หรือ “สื่อชุมชน” นั้น สิ่งที่นักพัฒนาควรจะคํานึงถึงเปนอันดับแรกคือ สื่อชุมชนควรเปนสื่อที่มีอยูในชุมชนจริงๆ ใชงานจริงอยาง ที่ควรจะเปน ไมใชสื่อชุมชนที่มีอยูแตในตําราที่เขียนกันไว หากเขาใจไดเชนนี้จะทําใหงานพัฒนาของทานขยับ เขาใกลความสําเร็จมากยิ่งขึ้น สื่อชุมชน...สื่อที่มีอยู และใชจริงในชุมชน

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

11


เกริ่นกันมาเสียยืดยาว มารูจักกันเสียทีกับสื่อเล็กๆ ซึ่งเปนสื่อของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน หรืออาจ กลาวไดวาเปนสื่อแบบประชาธิปไตยตัวจริงเสียงจริง และในที่นี้ผูเขียนแบงประเภทของสื่อชุมชนออกเปน 4 ประเภทตามมาตรฐานของทุกชุมชนที่เราทุกคนสามารถมองเห็นและสัมผัสสื่อเหลานี้ไดจริง ดังนี้

1.สื่อบุคคล สื่อบุคคลมีวิธีการใชหลายชองทาง อาทิ การพูดคุย บอกตอแบบปากตอปาก, แบบผานโทรศัพทมือถือ, หรือผานหอกระจายขาวในชุมชนที่มีอยูทุกชุมชน ผานการจัดกลุม หรือการจัดประชาคม และสุดทายคือผานสื่อ เฉพาะกิจอยางเอกสาร หรือจดหมายขาวดวยวัฒนธรรมการสื่อสารของสมาชิกในชุมชนชนบทมักคุนเคยกับการ สื่อสารดวยปากมากกวาการสื่อสารดวยวิธีการอื่นๆ สื่อบุคคลกับการเดินทางไปหาเยี่ยมเยียนกันโดยมีวัตถุประสงคเพื่อสงขาวสารตอกันเปนวิธีการที่บง บอกถึงวัฒนธรรมอันดีที่กอใหเกิดความรัก ความผูกพัน มีความเปนกันเองของชุมชนชนบทสงผลทําใหเกิด ความรูสึกเปนพวกเดียวกัน นํามาซึ่งการมีสวนรวมในกิจกรรมตางๆ ของชุมชนเปนอยางดี สื่อบุคคลเปนสื่อที่ไดชื่อวาทรงอิทธิพลมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากที่สุด “แต” ขอควรระวังที่เกิด จากการเลือกใชสื่อชนิดนี้คือ “คุณภาพของผูสงสาร” ที่อาจจะทําใหการบอกตอขาวสารไมสมบูรณ ขาวสารตก หลน บางครั้งก็มีการเพิ่มขอความเขาไป ทําใหเกิดการเขาใจความหมายของสารผิดไปจากเดิม ดังนั้นการเลือกใชสื่อบุคคลใหถูก จึงมีความสําคัญและจําเปนอยางมากตอการดําเนินงาน สื่อบุคคลจึง ควรเปนผูที่เชื่อถือได เปนผูที่สมาชิกในชุมชนมีความรัก มีความศรัทธา และใหความเคารพ ซึ่งคุณสมบัติเหลานี้ สงผลตอความเชื่อมั่น การยอมรับ ความเขาใจ ทั้งจากบุคคลและหนวยงานภาคีเครือขายทั้งภายในและ ภายนอกชุมชน(นภัทร ภัทรธรเอก : 2557)

2. สื่อประเพณีพื้นบาน สื่อประเพณีพื้นบานเปนสื่อที่มีอยูในทุกชุมชน ทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทยเปนสื่อที่เกิดขึ้นมาพรอมกับ มนุษย โดยการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษรุนกอนๆ จนมาถึงลูกหลานรุนปจจุบัน เปนสื่อที่มีความใกลชิดผูรับ สารซึ่งเปนสมาชิกในชุมชน อาทิ การละเลนรองรําทําเพลงอยางเพลงฉอย หรือลําตัด หนังตะลุง การทําขวัญนาค การบวชการไปมาลาไหว การยิ้มแยมทักทายโอภาปราศรัย (เกศินี จุฑาวิจิตร : 2542)ในปจจุบันสื่อชนิดนี้นับวา เปนสื่อที่มีประสิทธิภาพ มีความนาเชื่อถือ มีความสําคัญตองานพัฒนาในเชิงสรางสรรคเปนอยางยิ่ง และเมื่อ กลาวถึงสื่อพื้นบานเรามักจะนึกถึงแตในแงมุมของการอนุรักษไวเทานั้น แตกลับไมมีการทบทวนหรือตรวจสอบ วาเราจะอนุรักษหรือนํามาใชประโยชนเพื่อการพัฒนาชุมชนทองถิ่นอยางจริงจังไดอยางไร? ทั้งที่บทบาทของสื่อ พื้นบานกอใหเกิดประโยชนอยางมากมายตองานพัฒนาชุมชน อาทิ(ศรีปาน รัตติกาลชลากร : 2537)

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

12


-บทบาทในการเสริมสรางความมั่นคงทางดานจิตใจ และรักษาความสัมพันธทางเครือญาติภายในชุมชน -บทบาทในการสรางความสามัคคีภายในกลุม ทําใหเกิดความภาคภูมิใจในชุมชนและชาติ -บทบาทในการอบรมสั่งสอนดานคุณธรรม จริยธรรม คานิยมความประพฤติใหแกบคุ คล -บทบาทในการสงเสริมใหเกิดการทองเที่ยวเรียนรูว ิถีชีวติ ของแตละชุมชน อันนํามาซึ่งการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรมและรายไดเขามายังชุมชน

3. สื่อหอกระจายขาว หอกระจายขาวเปนสื่อทางเสียงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดชนิดหนึ่ง มีอยูในชุมชนเกือบทุกแหงทั่ว ประเทศ เปนสื่อที่สมาชิกในชุมชนใชกันเองภายในหมูบาน ซึ่งทั้งผูสงสารและผูรับสารตางก็เปนสมาชิกใน ชุมชนเดียวกันมีอุปสรรคและปญหาในการดําเนินชีวิตใกลเ คียงกัน อยูในสังคมและวั ฒนธรรมเดียวกัน มี ความคุนเคยกัน ซึ่งถือเปนคุณสมบัติที่สําคัญประการหนึ่งของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการสื่อสาร ดวยหอกระจายขาวจึงเปนการสื่อสารกับคนเฉพาะกลุมที่สามารถกําหนด เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ฯ ได และดวยลักษณะดังที่กลาวมาหอกระจายขาวจึงถือเปนเครื่องมือที่จะใชสื่อสารเพื่อตอบสนองความตองการ ภายในชุมชนในดานการใหขอมูลขาวสารไดมากที่สุดสื่อหนึ่ง (ดวงพร คํานูนวัฒน: 2547) ข อ ดี ข องสื่ อ หอกระจายข าวคือ สะดวกเพราะเป น สื่ อชุ ม ชนที่ มีป ระจํ า อยูทุ ก หมู บ า น เสี ย เวลาและ คาใชจายนอย สามารถรับทราบขอมูลขาวสารไดอยางสม่ําเสมอเปนประจําตามวันเวลาที่ไดกําหนดไว ขอเสีย คือไดยินไมชัดทุกบาน บานหลังไหนอยูใกลก็ไดยินชัดเจน บานหลังไหนอยูไกลจากจุดที่ติดตั้งลําโพงออกไปก็ ไดยินไมชัด รวมทั้งคุณภาพของหอกระจายขาวที่ติดตั้งไมดีพอทําใหบางครั้งขอมูลขาวสารที่ออกมาทางหอ กระจายขาวเกิดความไมชัดเจน (นภัทรภัทรธรเอก : 2557)

4. สื่อเฉพาะกิจ การแจงขาวสารผานสื่อเฉพาะกิจ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ เชน เอกสารแจง หรือจดหมายขาว เปนวิธีการ หลักวิธีหนึ่งที่ถูกนํามาใชเพื่อสื่อสารกับกลุมเปาหมาย และมีคาใชจายถูกไมจําเปนตองใชงบประมาณมาก กระบวนการผลิตและวิธีใชก็ไมยุงยากซับซอน ที่สําคัญเมื่อสื่อสิ่งพิมพถูกกระจายสงไปยังกลุมเปาหมายแลวจะ ยังคงอยูกับผูรับสื่อทําใหหยิบมาอานไดโดยไมมีขอจํากัดเรื่องของเวลาและสถานที่ เนื้อหาควรมีความกระชับ ชัดเจน และไมยาวนัก มีการจัดวางรูปแบบใหนาสนใจ เชนการใชสี หรือขนาดตัวอักษร ที่สําคัญที่สุดมีการ แจกจายใหทั่วถึงและตรงกับกลุมเปาหมาย ในการนําสื่อสิ่งพิมพมาใชก็ควรไดพิจารณาถึงปจจัยอื่นประกอบดวยเหตุวาทักษะในการอาน-เขียนของ สมาชิกในชุมชนนั้นมักมีขอจํากัด แตทั้งนี้จากผลการวิจัยของฝายเผยแพรและสื่อสาร และฝายโภชนาการ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

13


สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กลับพบวา การสงเอกสารประเภทจดหมายขาวนั้นไดผลดีเกินคาด เพราะถึงแมผูรับจะอานหนังสือไมคลองนัก แตก็สามารถนําไปใหผูที่ใกลชิดอยางคนในครอบครัว เชน ลูก หลานหรือเพื่อนบานชวยอานใหฟงได และนอกจากนี้ บางทานที่อานหนังสือไมคลองทําใหเกิดการฝกอานไป ในตัว เปนการฝกทักษะทางดานการอานพรอมกับไดรับความรูไปดวย เอกสารแจง หรือจดหมายขาวนี้เจาหนาที่อาจเปนผูนําสงดวยตนเอง หรือดูเบื้องตนวาอยูใกลบานใครก็ ฝากตอกันไป ในอดีตอาจมีการฝากที่ทําการไปรษณียนําไปสงตามหมูบาน แตเอกสารแจงขาวสารไมถึงผูรับที่ เปนสมาชิก และถึงลาชาไปมากในบางครั้งเกิดการตกหลน เกิดฝนตกหลนระหวางทางที่ไปรษณียนําไปสงทํา ใหเอกสารที่เปนจดหมายขาว หรือเอกสารแจงขาวสารเกิดความเสียหาย (นภัทรภัทรธรเอก : 2557) เปนยังงัยบางคะกับคอลัมนเสนหชุมชนฉบับนี้ บางทานเขาใจ บางทานอาจยัง งงๆ อยูบาง หวังเปน อยางยิ่งวาคอลัมนเสนหชุมชนฉบับนี้จะจุดประกายในการคนหาถึงวิธีการในการใชเครื่องมือสําคัญเพื่อการ พัฒนาชุมคือ “การสื่อสาร” เพิ่มเติม ซึ่งจะเกิดประโยชนตอคุณผูอานทุกทานที่โดยมากเปนนักพัฒนาชุมชนไม มากก็นอยอีกทั้งการสื่อสารคือหนึ่งในสี่เสาแหงกระบวนการพัฒนาชุมชน ดังคํากลาวของ ดร.นิรันดร จงวุฒิ เวศย อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน(กรมการพัฒนาชุมชน : 2550) ที่กลาววา พัฒนากรจําเปนตองสรางเสา ขึ้นมาเพื่อค้ําจุนกระบวนการพัฒนาใหคงอยู เริ่มตั้งแตการสรางความสัมพันธที่ดี และการรวมกันกําหนดปญหา ความตองการของสมาชิกในชุมชน, การติดตอสื่อสารเพื่อทําความเขาใจกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรูซึ่งกันและ กันภายใตบรรยากาศที่ดีแหงการมีสวนรวมของสมาชิกในชุมชนเพื่อกําหนดทิศทางชีวิตของตนเอง แลวพบกันตอฉบับหนาคะ... ขอขอบคุณแหล่งที่มา ... ☺กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2550). กถาพัฒนากร. กรุงเทพฯ : บริษัทิรําไทยเพรส จํากัด. ☺กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อเล็กๆ ที่น่าใช้ในงานพัฒนา. โครงการเมธีวิจัยอาวุโสฝ่ายวิชาการ. สํ านักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์. ☺เกศิ นี จุฑาวิจิตร. (2542). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม. สถาบันราชภัฏนครปฐม. ☺คมสัน หุตะแพทย์. (2535). การสื่อสารเพื่องานพัมนาชุมชน. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม : สยามศิลป์การพิมพ์. ☺จุ ฬาลงกรณ์,มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์. วิวัฒนาการสื่อมวลชนไทย. กรุงเทพฯ : พุทธบูชาการพิมพ์, 2556. ☺ดวงพร คํานูณวัฒน์, วาสนา จันทร์สว่าง และมณฑา โมฬี. (2547). การดําเนินงานหอกระจายข่าวสารที่สนองตอบ ความต้ องการของชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ☺นภัทรภัทร์ธรเอก. “การสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนสถาบันการเงินชุมชนตําบลหนองโสน” วิทยานิพนธ์ ศิ ลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. ☺ศรี ปาน รัตติกาลชลากร. บทบาทของสื่อพื้นบ้านในวัฒนธรรมมอญในอําเภอพระประแดง. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

14


“ยอดดอยเสียดฟ้า...มาตามฝัน” (ตอนที่ ๑) เด็กดอย มส 76

“พี่โยธิน พรอมหรือยัง?” ...ฉันแกลงตะโกนดังๆ ใหแกไดยิน ทั้งๆ

ที่นัดหมายกันไวอยางดีแลว

ตั้งแตเมื่อวาน “เขามาบานกอนครับหัวหนา”..แกตะโกนตอบมาเชนเดียวกัน

ฉันเดาวาแกคงอยูบนบานเตรียม

สัมภาระสําหรับเดินทางแนๆ แตเปลาเลย แกหิ้วถังเดินมาจากหลังบาน ดวยชุดกางเกงขาสั้นเกาๆ รองเทาแตะ กับเสื้อยืดที่เคยเห็นเปนปกติของแก “ไปทําอะไรมานะพีโ่ ย”...ฉันถาม “ไปใหขาวหมูมานะครับ เออ หวหนามาดูนี่”...แกบอกดวยน้ําเสียงตื่นเตน พรอมกับวางถังไวแถวนั้น กอนจะเดินนําหนาฉันไปหลังบาน ที่ปลูกเปนเพิงไมแนนหนาขนาดไมกวางมากนักราว ๆ สองเมตรเทานั้นสูง เพียงกมศรีษะนิดหนอย คอกหมูนั่นเอง “มันเพิ่งออกเมื่อหาวันที่แลวครับ เปนตัวเมียสามตัว ตัวผูตัวเดียว”...แกบอกขณะที่ฉนั จองเจาตัวเล็ก สี่ตัวนัน่ “หมูปานีน่ าพี่โย” ...ฉันวา ขณะที่หนั ไปหาแก แกยืนอมยิม้ อยูนาน “ครับ ผมก็แปลกใจ วาทําไมลูกมันถึงออกมาเปนหมูปา ทั้งๆ ที่แมมันเปนหมูดอยธรรมดานี่เอง”..แก อธิบายดวยความดีใจระคนตื่นเตน เจาลูกหมูสี่ตัวนั่น วิ่งหยอกลอกันสนุกสนานกัดหู แทะหางกันเลน สักครูก็ หันไปดูดนมแมที่นอนเอนอยูอยางสบายอารมณ.. “แถวบานเรานี่เคยมีใครเจอหมูปาบางไหมพีโ่ ย”..ฉันถาม “ปะเลอะ”...แกตอบเปนคําเมืองที่แปลวามีมาก “สงสัยจะเจอเนื้อคูในปาละมั้งครับพี่โย ถึงออกมาเปนหมูปาแบบนี้”...ฉันตั้งขอสัณนิษฐาน “นาจะเปนอยางหัวหนาวานะ”..แกเห็นคลอยอยางฉันวา ขอสังเกตุวา เปนหมูปาหรือไมนั้นใหดูที่ขมุ ขน หมูสายพันธุอนื่ ๆ นัน้ แตละขุมขนจะมีเพียงเสนเดียว แตหมูปาแตละขุมขนจะขนมีสามเสน .. “ชิกับไมตรีละครับ”...ฉันถาม “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

15


“รออยูที่บานครับ เดี๋ยวเราไปรับแลวออกเดินทางกันเลย”...พี่โยธินบอก ... “ครับ”...ฉันรับคํา แกหิ้วเปเกาๆ โยนไวเบาะหลังของเจาคาริเบี้ยนคูชีพของฉันอยางคุนเคย

กอนจะแวะรับไมตรี

กับชิ ที่บาน เมื่อทุกคนพรอมแลว เราสี่คนก็เดินทางผานหุบผา ปากวางออกจากบานหวยฮี้ จุดหมายปลายทาง ของเราคือโครงการหลวงขุนกลาง ดอยอินทนนท จังหวัดเชียงใหม เมื่อหลายเดือนกอน..บนพื้นฟาก ที่เรานั่งจิบน้ําชาคุยกัน หลังจากกินขาวเย็นเรียบรอยแลว พอหลวง มาบือ กวางทู ผูใหญบาน พรอม พี่โยธิน ไพรประเสริฐยิ่ง ส.อบต. และชาวบานอีกราวยี่สิบคนตางนั่งลอมวงจุด ตะเกียงคุยกัน ดวยเรื่องปากทองเปนหลัก หลังจากที่เราเลิกประชุมเตรียมพัฒนาเปนหมูบานเศรษฐกิจพอเพียง ตนแบบ ระดับพออยู พอกินของอําเภอ ที่เราบูรณาการรวมกับสํานักงานเกษตรจังหวัด เปนหมูบานเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง โดยบูรณาการในสวนของกิจกรรมและครัวเรือนตนแบบ ... “บานเราไมมีไฟฟาใช จะทํายังไงดีครับหัวหนา”..พอหลวงมาบือเปรยขึ้นมาทามกลางเสียงจอกแจก ของวงสนทนา “เราใชตะเกียงกับโซลารเซลนี่ไมดีหรือครับ”...ฉันถาม ทั้งๆ ที่รูดีอยูแกใจ หลังจากที่ไปเปนวิทยากร ใหกับ UN JOINT หนวยงานของสหประชาติในพื้นที่ ที่ทํางานพัฒนาดานพลังงานทดแทนมาหลายครั้ง “ผมวาเรานาจะมีทางออกนะครับ” แตถาจะใหดี เพื่อใหพี่นองมัน่ ใจวามันทําไดจริง ผมจะพาไปเทีย่ ว ดอยอินทนนทสักวันสองวัน..ฉันเสนอ “ไปทําไมครับหัวหนา”..ไมตรีถามขึ้น “ไมตรีไปกับพี่ไหม จะไดเห็นกับตา”....ฉันถาม “ไปครับ”...ไมตรีรับคําอยางงายๆ ทั้งๆ ที่ยังไมรูรายละเอียดเลยสักนิด แตดวยความคุนเคย ความเชื่อ ใจที่ทํางานดวยกันในหมูบาน ตั้งแตแกปญหาธนาคารขาว ชวยกันวางระบบการทองเที่ยวเชิงนิเวศนในหมูบาน จนกระทั่งเราเชื่อมือกันเปนอยางดี ฉันอธิบายรายละเอียดกิจกรรมโครงการหลวงดอยอินทนนทและจุดหมายที่ เราจะไปดู นัดหมายวันเวลา กับคนที่จะไปแลวก็เปนอันวา ไดงานแลว...น้ําชาแกวสุดทายขางกองไฟหมดลง แลว เราตางแยกยายกันไปนอน ฉันเดินตามพอหลวงกลับไปที่บานแก ซึ่งฉันมานอนพักหลายครั้งจนกลายเปน พี่นอง ลูกหลานของคนที่นี่ไปเสียนานแลว...

โปรดติดตามตอนตอไป...ฉบับหนา>>>ครับ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

16


239. You will never walk alone, if you work with group.

คุณจะไมมีวันโดดเดี่ยวถาหากทํางานเปนกลุม การทํางานเป็นกลุ่มเป็นการทํางานแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในกลุ่มที่เริม่ ตั้งแต่การคิด ตัดสินใจ วางแผน จนกระทั่งลงมือดําเนินการ ติดตามประเมินผล และรับผลประโยชน์รว่ มกัน คุณจะไม่มีวันโดดเดี่ยวถ้าหากทํางานเป็นกลุ่ม เพราะทุกคนจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นอกเห็นใจ และช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคขวากหนามทั้งหลายให้หมดสิ้นไป ถ้าหากมีการทํางานเป็นกลุ่มอย่างแท้จริง สมาชิกจะมีความผูกพันมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อสมาชิกมีความผูกพันกันมากขึ้น คุณจะไม่มีวันโดดเดี่ยวเดียวดายอย่างแน่นอน 240. Don’t stop learning if you want to change your life.

อยาหยุดเรียนรูถาตองการเปลี่ยนแปลงชีวิต โดยปกติคนทุกคนต้องเรียนรู้อยู่เสมอ แต่ยังมีคนจํานวนไม่น้อยไม่ชอบเรียนรู้และไม่ยอมเรียนรู้ อะไรเลย ปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้คา่ โดยไม่คดิ ที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เลย อย่าหยุดเรียนรู้ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิต เพราะการเรียนรู้ทําให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ ดีกว่า ในโลกนี้มีคนจํานวนไม่น้อยชอบคิดและทําอะไรแบบเดิม ๆ โดยไม่เปลี่ยนแปลง คนที่มีเป้าหมาย ในชีวิตอย่างชัดเจน จะประสบผลสําเร็จในชีวิตมากกว่าคนที่อยู่ไปวัน ๆ โดยไม่มีเป้าหมายอะไรเลยใน ชีวิต การเรียนรู้อยูเ่ สมอ นอกจากจะทําให้ตวั เราดีขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อส่วนรวม ทําให้คนที่อยู่รอบตัว เรา ครอบครัวของเรา ทีมงานของเรา องค์กรของเรา ชุมชนของเรา และสังคมของเราดีขึ้นอีกด้วย ................................................................................................................ ขอขอบคุณ Mr.Kim Robertson และ Mrs.Mary Robertson,Missionaries ชาวนิวซีแลนด์ ประจําจังหวัดสุพรรณบุรี ทีใ่ ห้ข้อคิดและคําแนะนําที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง (อ่านต่อฉบับหน้า)

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

17


“อาชีพเสริม” “ประกัน” ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.25452 เป็นคํ ากิริยา หมายถึง “รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น,รับรองว่าจะมีหรือไม่มีเหตุการณ์นั้นๆ” ถ้าเป็นคํานาม หมายถึง “หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง” เมื่อนํามารวมกับคําอื่นๆ ก็ยังมีความหมายในลักษณะเดิมแต่ใช้แตกต่างกัน ไป เช่น “สินค้าชิ้นนี้รับประกัน 3 เดือน” หมายความถึง ใช้สินค้านี้แล้วถ้าหากเสียหายหรือเกิดเกเร ภายใน ระยะเวลา 3 เดือน จะเปลี่ยนตัวสินค้าให้ใหม่ หรือ ซ่อมให้ฟรีไม่เสียตังส์ เกิน 3 เดือนไม่รับประกัน แต่หากนําไป รวมกับคําว่า “ค้ํา” ก็จะกลายเป็นคําว่า “ค้ําประกัน” หมายถึงชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ํา ประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น ซึ่งหากถึงเวลานั้นก็คงต้องเรียกเป็น คําว่า “ค้ําคอ” ที่หมายถึง ทําให้อยู่ในฐานะจําใจต้องทํา... สําหรับกรณีหลังข้าราชการที่เป็นสมาชิกสหกรณ์.....ของ หน่วยงาน...คงรู้ดี เพราะเกือบร้อยเปอร์เซ็น ตกอยู่ในฐานะ ผู้ค้ําประกัน สําหรับครั้งนี้จะกล่าวถึงคําว่า “นายประกัน” แปลกแต่จริงไม่เคยเห็นคําว่า “นางประกัน” หรือ “นางหน้า” มีแต่ “นายหน้า” รวมถึงมีแต่คําเรียกหมอผู้ชายว่า “นายแพทย์” แต่ถ้าเป็นผู้หญิงกลับไม่ใช้คําว่า “นางแพทย์” ไปใช้คําว่า “แพทย์หญิง” แทน พยาบาลยังใช้คําว่า “นางพยาบาล” ได้ ยิ่งคิดยิ่งแปลก ผู้ที่ตกเป็ นผู้ต้องหาในคดี อาญาที่ ทุกคนทราบดี แ ละกลั วก็คือมี โทษจําคุก ที่ ทุกคนกลัวกั นจนเรียกว่า “ปอด”(ปอด เป็นคํานาม หมายถึง อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกายของคนหรือสัตว์ที่มี กระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก แต่ถ้าเป็นคําวิเศษณ์หรือคุณศัพท์ หมายถึง กลัวจนไม่กล้าทําอะไร ที่เรียกว่า “ปอด แ..ก” แต่ถ้ารวมกับ คําว่า “กระเส่า”ที่แปลว่า “สั่นเครือและเบา”กลายเป็น “ปอดกระเส่า คงหมายถึง “กลัวจนปอดสั่นเบาๆ” คิดว่า หลายท่านอ่านแล้วคงเข้าใจคําๆนี้ คือกลัวจนปอดกระเส่า) ถ้าเป็นคดีเล็กน้อย ข้อหาไม่ร้ายแรง ก็มีสิทธิไม่ต้องติด คุก คือมีโอกาสให้มีการประกันตัวในระหว่างที่พนักงานสอบสวนทําคดีเพื่อส่งฟ้อง ได้นอนที่บ้านมีมุ้งลวดกันยุง ไม่ใ ช่มุ้งสายบัวเหล็ก อาจทําได้ โดยใช้หลักทรัพย์ วางเป็นประกัน หรือมีบุคคลมาค้ําประกัน ที่เรียกว่ า “นาย ประกัน” มีคดีตัวอย่างที่หลวมตัวเป็นนายประกันแล้วเดือดร้อนเหมือน ผู้ค้ําประกัน นั่นแหละ คําพิพากษาฎีกา ที่ 3618/2551 นางสาวเชอร์รี่ (นามสมมุติ) ประกันตัวนายหลบหลีก(นามสมมุติ เหมือนกัน) ในคดีอาญาที่ยอมความได้ ออกจากห้องขัง โดยถือโฉนดที่ดินไปค้ําประกัน โดยเจ้าพนักงาน ตีค่าประกันตัวตามข้อหามีมูลค่าเกือบ 300,000 บาท และนัดให้นางสาวเชอร์รี่ นําตัวนายหลบหลีก มาส่ง สน. เพื่อดําเนินการตามขั้นตอนต่อไป เมื่อถึงวันนัด นางสาวเชอร์รี่ มาลําพังเพียงผู้เดียว นายหลบหลีก ทําสมชื่อคือหลบหลีกหายไป โดยนางสาวเชอร์รี่อ้างว่า ขอผลัด การส่งตัวไปคราวหน้า เจ้าพนักงานจึงนัดใหม่ ถึงวันนัดหนที่สองก็เหมือนเดิมอีก นายหลบหลีกหายศรีษะไปเลย เจ้าพนักงานจึงหันมา สั่งบ่อย เชคบิลล์ นางสาวเชอร์รี่ โดยทําสํานวนเป็นคดีใหม่อีกคดีให้นางสาวเชอร์รี่ตกเป็น “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

18


จําเลย และส่งให้อัยการฟ้องเป็นคดีแพ่ง เรียกให้จ่ายเงินตามสัญญาประกัน (ประกันตัวผู้ต้องหา) อยู่ดีๆ จากนาย ประกันกลายเป็นจําเลย นางสาวเชอร์รี่จึงจ้างทนายสู้คดี เพราะคิดว่ายังไงๆ ชนะแน่ เนื่องจากคดีของนายหลบ หลีก จบแค่ สน.แล้วเพราะคู่กรณีถอนคําร้องทุกข์ ถึงพนักงานสอบสวนไม่ได้ตัวนายหลบหลีกก็ไม่เห็นเป็นอะไร ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นเห็นด้วย ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ โดยถือว่า แม้นายหลบหลีกจะพ้นคดีเพราะคู่กรณีถอนคําร้อง ทุกข์ แต่จําเลยคือนางสาวเชอร์รี่ก็ผิดสัญญาประกัน ให้จ่ายเงินตามสัญญาประกันแต่ให้จ่ายเหมือนที่ดาราโฆษณา รถกระบะยี่ห้อหนึ่งว่ากินน้ํามัน “จิ๊บๆ” เพียง สองหมื่นกว่าบาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง โจทก์เห็นว่า ยังไม่พอเดี๋ยวไม่มีผลงาน จึงฎีกาจะเอาค่าปรับเต็มจํานวนตามสัญญาประกันพร้อมดอกเบี้ย นับแต่วันฟ้อง ศาลฎีกา พิจารณาเห็นว่า นับแต่วันที่นางสาวเชอร์รี่ทําสัญญาประกันตัวผู้ต้องคดี จนกระทําตนเองถูกฟ้อง ในคดีแพ่ง ไม่เคยนําตัวตัวนายหลบหลีกมาส่ง สน.เลย แม้ภายหลังคู่กรณีถอนคําร้องทุกข์ทําให้นายหลบหลีกพ้นคดี ก็มีผลแค่นายหลบหลีกไม่โดนคดีเท่านั้น การที่นางสาวเชอร์รี่ ผิดสัญญาประกัน ทําให้การดําเนินคดีของโจทก์ต่อ ผู้ต้องหาหยุดชะงักลง ไม่อาจดําเนินการได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว นางสาวเชอร์รี่จึงต้องจ่ายตามสัญญาประกัน แต่ศาลอุทธรณ์สั่งปรับน้อยไปหน่อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ปรับเป็น ครึ่งหนึ่งของสัญญา คือ 150,000 บาท ส่วน ดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เมื่อไรนั้น ในสัญญาไม่ได้มีการระบุว่าเมื่อมีการผิดสัญญาประกันเมื่อไรก็ผิดนัดทันที การจะถือว่า ผิดนัดจึงต้องมีการทวงถามให้ชําระหนี้ภายในกี่วัน เมื่อไม่ชําระภายในกําหนดที่ทวงถามจึงถือว่าผิดนัด จึงเรียก ดอกเบี้ยได้ ไม่ใช่กรณีไม่ส่งตัวผู้ต้องหาแล้วถือว่าผิดนัดทันทีและฟ้องโดยไม่ทวงถามให้ชําระหนี้ก่อน การที่ศาล อุทธรณ์คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงชอบแล้ว เห็นได้ว่าการประกันตัวผู้ต้องหา หรือเป็นผู้ค้ําประกัน เป็นการหาเหาใส่หัวหาทุกข์ใส่ตัว เว้นแต่คุณจะรวย จนไม่รู้จะเอาเงินไปทําอะไรดีจึงชอบช่วยเหลือผู้อื่น หรือมีอาชีพเป็นนายประกันโดยตรง (แบบนี้มีคนรู้จักหลายคน มีอาชีพด้านนี้เป็นอาชีพเสริม ยังไม่มีใครรวยจริงๆสักคน) แต่เขามีวิธีป้องกันโดยเอาญาติของผู้ต้องหามาค้ําประกัน หรือเอาทรัพย์เช่น โฉนดที่ดินหรือบ้านมาค้ําประกันเพื่อป้องกันการหลบหนี หนีอยู่ในประเทศยังพอหาตัวเจอ หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศยิ่งเป็นประเทศเพื่อบ้านติดกัน ถึงรู้ที่อยู่แต่ตามจับตัวไม่ได้ เจ็บทั้งตัวเจ็บทั้งใจ ใครคิดจะ เป็นนายประกัน หรือค้ําประกันใคร ก็คิดให้ดีๆก่อน ชดใช้ไปก่อนแล้วมาไล่เบี้ยที่หลัง บอกได้คําเดียวว่า เหนื่อย.... ชิ.... พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดี...

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

19


การใช “รักษาราชการแทน” กับ “รักษาการในตําแหนง” สวัสดีครับทานผูอานที่เคารพรักทุกทาน มีผูสงสัยเกี่ยวกับการใชคําวา “รักษาราชการแทน” กับ “รักษาการในตําแหนง” มีค วามแตกตา งกันอยางไร จะใช กับใครไดบาง โดยเฉพาะเจาหนาที่ ที่ รับผิดชอบในการจัดทําคําสั่งแตงตั้งโยกยายตางๆ ผูเขียนจึงขออธิบายขยายความจากที่ไดศึกษาหาความรู ในเรื่องนี้มาตอบขอสงสัยดังกลาว ดังตอไปนี้ การ “รักษาราชการแทน” ใชใ นกรณี ที่ตํ าแหนงในราชการวา งลงหรือผูดํารงตํ าแหน งไม สามารถปฏิบัติหนาที่ราชการได จึงตองมีการแตงตั้งผูรักษาราชการแทนเพื่อปฏิบัติราชการตามอํานาจหนาที่ ของตําแหนงนั้ นๆ เพื่อที่จะทําใหการบริหารและปฏิบัติราชการมีความตอเนื่อง ไมเกิดผลเสียหายตองาน ราชการ โดยมีบทบัญญัติไวในมาตรา 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47, 48, 49, 50, 56 และ 64 แหง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 ที่บัญญัติเรื่องการแตงตั้งผูรักษาราชการแทนใน ตําแหนงตางๆ ซึ่งสวนใหญเปนตําแหนงระดับหัวหนาสวนราชการ (พูดแบบไมเปนทางการก็คือ ระดับหัวๆ) ได แ ก นายกรั ฐ มนตรี (มาตรา 41) รั ฐ มนตรี (มาตรา 42) เลขานุ ก ารรั ฐ มนตรี (มาตรา 43) ปลัดกระทรวงและรองปลัดกระทรวง (มาตรา 44) ปลัดทบวงและรองปลัดทบวง (มาตรา 45) อธิบดีและ รองอธิบดี (มาตรา 46) เลขานุการกรมและหัวหนาสวนราชการตามมาตรา 33 วรรคสอง ก็คือหัวหนา สวนราชการระดับตางๆ ของกรม ตามกฎกระทรวงแบงสวนราชการกรมนั่นเอง (มาตรา 47) ผูวาราชการ จังหวัด (มาตรา 56) และนายอําเภอ (มาตรา 64) สวนมาตรา 48 นั้น เปนการบัญญัติอํานาจหนาที่ของผูรักษาราชการแทน โดยใหผูรักษา ราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้มีอํานาจหนาที่เชนเดียวกับผูซึ่งตนแทน ทั้งนี้ในกรณีที่มีกฎหมาย อื่นแตงตั้งใหผูดํารงตําแหนงใดเปนกรรมการหรือใหมีอํานาจหนาที่อยางใด ก็ใหผูรักษาราชการแทนหรือผู ปฏิบัติราชการแทนมีอํานาจหนาที่เปนกรรมการหรือมีอํานาจหนาที่เชนเดียวกับผูดํารงตําแหนงนั้นในการ รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนดวย แลวแตกรณี และในกรณีที่ผูดํารงตําแหนงใดหรือผูรักษา ราชการแทนผูดํารงตําแหนงนั้นมอบหมายหรือมอบอํานาจใหผูดํารงตําแหนงอื่นปฏิบัติราชการแทน ใหผู ปฏิบัติราชการแทนมีอํานาจหนาที่เชนเดียวกับผูซึ่งมอบหมายหรือมอบอํานาจ ก็หมายความวาหากผู ดํารงตําแหนงมีอํานาจหนาที่เชนใด ก็ใหผูรักษาราชการแทนมีอํานาจและหนาที่เชนนั้นเทากันทุก ประการ เสมือนเปนผูดํารงตําแหนงนั้นๆ เอง “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

20


(ส ว นมาตรา 49 บั ญ ญั ติ ไ ว ว า การเป น ผู รั ก ษาราชการแทนตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ไ ม กระทบกระเทือนอํานาจนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจาสังกัด ปลัดกระทรวง หรือผูดํารงตําแหนงเทียบเทา ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือผูดํารงตําแหนงเทียบเทาอธิบดี ซึ่งเปนผูบังคับบัญชาที่จะแตงตัง้ ขาราชการ อื่นเปนผูรักษาราชการแทนตามอํานาจหนาที่ที่มีอยูตามกฎหมาย โดยกรณีที่มีการแตงตั้งขาราชการอื่น เปนผูรักษาราชการแทน ใหผูดํารงตําแหนงรองหรือผูชวยพนจากความเปนผูรักษาราชการแทนนับแตเวลา ที่ผูไดรับแตงตั้งตามวรรคหนึ่งเขารับหนาที่ นอกจากนี้ในมาตรา 50 บัญญัติวาความในหมวดนี้ (การรักษา ราชการแทน) มิใหใชบังคับแกราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร) สําหรับการ “รักษาการในตําแหนง” นั้น มีบัญญัติไวในมาตรา 68 แหงพระราชบัญญัติ ระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งบัญญัติไววา ในกรณีที่ตําแหนงขาราชการพลเรือนสามัญ วางลง หรือ ผูดํารงตําแหนงไมสามารถปฏิบัติหนาที่ราชการได และเปนกรณีที่มิไดบัญญัติไวใน กฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการแผนดิน ใหผูบังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มี อํานาจสั่งใหขาราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตําแหนงนั้นได โดยใหผูรักษาการในตําแหนงมี อํานาจหนาที่ตามตําแหนงที่รักษาการนั้น และในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ขอบังคับ มติของ คณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคําสั่งผูบังคับบัญชา แตงตั้งใหผูดํารงตําแหนงนั้น ๆ เปน กรรมการ หรือใหมีอํานาจหนาที่อยางใด ก็ใหผูรักษาการในตําแหนงทําหนาที่กรรมการ หรือมีอํานาจหนาที่ อยางนั้นในระหวางที่รักษาการในตําแหนงแลวแตกรณี ก็หมายถึงวา หากผูดํารงตําแหนงมีอํานาจหนาที่ เชนใด ก็ใหผูรักษาการในตําแหนงมีอํานาจและหนาที่เชนนั้นเทากันทุกประการ เสมือนเปนผูดํารง ตําแหนงนั้นๆ เอง เชนเดียวกับกรณีการรักษาราชการแทน ดั ง นั้ น กล า วโดยสรุ ป ข อ สั ง เกตที่ สํ า คั ญ ของการใช คํ า ว า “รั ก ษาราชการแทน” กั บ “รักษาการในตําแหนง” ก็คือในกรณีที่ไมมีผูดํารงตําแหนงหรือผูดํารงตําแหนงไมสามารถปฏิบัติหนาที่ ราชการได หากไมใชตําแหนงที่กําหนดใหใชคําวา “รักษาราชการแทน” ตามที่บัญญัติไวในพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47, 56 และ 64 แลว ตําแหนงอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็ใหใชคําวา “รักษาการในตําแหนง” ตามมาตรา 68 แหงพระราชบัญญัติ ระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ทั้งสิ้น ที่ผานมาเรื่องที่มักจะเปนที่ถกเถียงกันมากก็คือ กรณีหัวหนาสวนราชการระดับจังหวัดและ อําเภอ (เชน ตําแหนงพัฒนาการจังหวัดและตําแหนงพัฒนาการอําเภอ) วางลง (ไมมีผูดํารงตําแหนง) หรือ ผูดํารงตําแหนงไมอาจปฏิบัติหนาที่ราชการได การแตงตั้งขาราชการใหปฏิบัติหนาที่ราชการแทนใน ตําแหนงดังกลาวจะใชคําวาอะไรระหวาง “รักษาราชการแทน” กับ “รักษาการในตําแหนง” คําตอบใน เรื่องนี้ก็ตองกลับไปพิจารณากอนวาตําแหนงพัฒนาการจังหวัดและพัฒนาการอําเภอเปนไปตามบทบัญญัติ “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

21


ของกฎหมายใดระหวางพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 กับพระราชบัญญัติ ระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามมาตราตางๆ ที่ไดหยิบยกขึ้นมาอธิบายแลวขางตน เริ่มจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน จะพบวาในมาตรา 47 ไดบัญญัติไววา “ในกรณีที่ไมมีผูดํารงตําแหนงเลขานุการกรมตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง หรือหัวหนาสวนราชการตาม มาตรา 33 วรรคสอง หรือมีแตไมอาจปฏิบัติราชการได ใหอธิบดีแตงตั้งขาราชการในกรมคนหนึ่งซึ่งดํารง ตําแหนงไมต่ํากวาหัวหนากองหรือเทียบเทา เปนผูรักษาราชการแทน” คําถามตอไปก็คือ แลวหัวหนาสวน ราชการตามมาตรา 33 คือใครบาง ในมาตรา 33 บัญญัติไววา “มาตรา 33 สํานักงานเลขานุการกรมมีอํานาจหนาที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม และ ราชการที่มิไดแยกใหเปนหนาที่ของกองหรือสวนราชการใดโดยเฉพาะ มีเลขานุการกรมเปนผูบังคับบัญชา ขาราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานเลขานุการกรม สวนราชการตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง (2) และสวนราชการตามมาตรา 31 วรรคสอง ใหมี อํานาจหนาที่ตามที่ไดกําหนดไวใหเปนหนาที่ของสวนราชการนั้น ๆ โดยใหมีผูอํานวยการกอง หัวหนากอง หรือหัวหนาสวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่นที่เทียบเทาผูอํานวยการกอง หรือหัวหนากอง หรือหัวหนาสวน ราชการตามมาตรา 31 วรรคสอง เปนผูบังคับบัญชาขาราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ในมาตรา 33 วรรคสอง ก็ไปอางอิงกับมาตรา 31 อีกดวย ก็ตองตามไปดูวาสวนราชการตาม มาตรา 31 วรรคหนึ่ง (2) และสวนราชการตามมาตรา 31 วรรคสอง มีอะไรบาง มาตรา 31 บัญญัติไวดังนี้ “มาตรา 31 กรมซึ่งสังกัดหรือไมสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อาจแบง สวนราชการดังนี้ (1) สํานักงานเลขานุการกรม (2) กองหรือสวนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เวนแตบางกรมเห็นวาไมมีความจําเปนจะ ไมแยกสวนราชการตั้งขึ้นเปนกองก็ได กรมใดมีความจําเปน จะแบงสวนราชการโดยใหมีสวนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได สําหรับกรมตํารวจและสํานักงานอัยการสูงสุด จะแบงสวนราชการใหเหมาะสมกับราชการของ ตํารวจหรือราชการของอัยการก็ได” “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

22


จากมาตรา 31 การแบงสวนราชการของกรมในปจจุบันเปนไปตามบทบัญญัติในมาตรา 8 ฉ แหงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผนดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 ที่ไดระบุไววา “การแบงสวนราชการภายใน สํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี กรม หรือสวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่นและมีฐานะเปนกรม ใหออกเปน กฎกระทรวงและระบุอํานาจหนาที่ของแตละสวนราชการไวในกฎกระทรวงดวย...” โดยกฎกระทรวงแบง สวนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2552 ซึ่งใชบังคับอยูในปจจุบัน ไดแบงสวน ราชการของกรมการพัฒนาชุมชนไว ดังนี้ “ขอ 3 ใหแบงสวนราชการกรมการพัฒนาชุมชน ดังตอไปนี้ ก. ราชการบริหารสวนกลาง

(1) สํานักงานเลขานุการกรม (2) กองการเจาหนาที่ (3) กองคลัง (4) กองแผนงาน (5) ศูนยสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (6) สถาบันการพัฒนาชุมชน

(7) สํานักพัฒนาทุนและองคกรการเงินชุมชน (8) สํานักสงเสริมภูมิปญญาทองถิ่นและวิสาหกิจชุมชน (9) สํานักเสริมสรางความเขมแข็งชุมชน ข. ราชการบริหารสวนภูมิภาค

(1) สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด (2) สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ”

นั่นแสดงวา สวนราชการตามขอ 3 ของกฎกระทรวงแบงสวนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2552 ซึ่งรวมถึงสํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและสํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

23


เปนสวนราชการตามความในมาตรา 31 และมาตรา33 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผนดิน ดังนั้นหัวหนาสวนราชการตามมาตรา 33 ของพระราชบัญญัตินี้ในสวนของกรมการพัฒนา ชุ มชนจึ งได แก เลขานุ การกรม ผู อํ า นวยการสํ า นั ก /กอง/ศู น ย ส ารสนเทศฯ/สถาบั น การพั ฒ นาชุ ม ชน พัฒนาการจังหวัด และพัฒนาการอําเภอ ดั ง นั้ น กรณี ที่ ตํ า แหน ง หั ว หน า ส ว นราชการระดั บ จั ง หวั ด และอํ า เภอว า งลง (ไม มี ผู ดํ า รง ตํา แหนง) หรื อผูดํ า รงตํ า แหนงไมอ าจปฏิ บัติห นา ที่ร าชการได (เช น ตํ า แหนงพัฒ นาการจัง หวัด และ ตําแหนงพัฒนาการอําเภอ) จึงตองใชคําวา “รักษาราชการแทน” ในการแตงตั้งขาราชการใหปฏิบัติหนาที่ ราชการในตําแหนงดังกลาวในระหวางรอการแตงตั้งผูดํารงตําแหนงตัวจริงเขาสูตําแหนงหรือรอผูดํารง ตําแหนงตัวจริงกลับมาปฏิบัติหนาที่ราชการ ซึ่งเปนไปตามบทบัญญัติในมาตรา 47 แหงพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผนดินนั่นเอง และเนื่องจากในมาตรา 47 ไดบัญญัติใหอธิบดีแตงตั้งขาราชการในกรมคนหนึ่งซึ่งดํารงตําแหนงไมต่ํากวา หัวหนากองหรือเทียบเทา เปนผูรักษาราชการแทน อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนจึงตองมอบอํานาจใหผูวา ราชการจังหวัดเปนผูปฏิบัติราชการแทนในการแตงตั้งผูรักษาราชการแทนทั้งตําแหนงพัฒนาการจังหวัด และตําแหนงพัฒนาการอําเภอ (คําสั่งกรมการพัฒนาชุมชน ที่ 516/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) ปญหายังมีอีกประการหนึ่งคือมาตรา 47 บัญญัติใหอธิบดีแตงตั้งขาราชการซึ่งดํารงตําแหนง ไมต่ํากวาหัวหนากองหรือเทียบเทา เปนผูรักษาราชการแทน แตในพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 มิไดมีการเทียบตําแหนงไววาตําแหนงใดคือตําแหนงหัวหนากองหรือเทียบเทา (ตาง จากพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ที่มีบัญญัติไวในมาตรา 42) ดังนั้น สํานักงาน ก.พ.ร. จึงไดมีหนังสือที่ นร 1200/ว 33 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 แจงเวียนกระทรวง กรม และ จังหวัดใหทราบความเห็นของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปญหา กฎหมายในการบริหารราชการแผนดินวา การแตงตั้งผูรักษาราชการแทนตามมาตรา 47 ดังกลาว อธิบดี จะตองแตงตั้งขาราชการในกรมเทานั้น อธิบดีจะแตงตั้งขาราชการจากกรมอื่นหาไดไม และคําวา “ขาราชการในกรมคนหนึ่งซึ่งดํารงตําแหนงไมต่ํากวาหัวหนากองหรือเทียบเทา” นั้น หมายความถึง ขาราชการในกรมทุกประเภทที่ดํารงตําแหนงไมต่ํากวาหัวหนากองหรือเทียบเทา มิไดหมายความเฉพาะ ขาราชการที่ดํารงตําแหนงบริหารไมต่ํากวาหัวหนากองหรือเทียบเทาเทานั้น ประกอบกับปจจุบัน สํานักงาน ก.พ. ไดมีหนังสือ ที่ นร 1001/ว 23 ลงวันที่ 18 กันยายน 2552 เรื่องหลักเกณฑเกี่ยวกับการกําหนด ตําแหนงบังคับบัญชาขาราชการพลเรือน โดยไดกําหนดตําแหนงที่ผูบังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 57 กําหนดใหบังคับบัญชาขาราชการพลเรือนในสวนราชการหรือหนวยงานใด ในฐานะใดซึ่ง ก.พ.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

24


ไดกําหนดใหเปนตําแหนงประเภททั่วไป ระดับชํานาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการระดับชํานาญการขึ้นไป หรือประเภทอํานวยการ บังคับบัญชาในฐานะผูอํานวยการกอง หรือหัวหนากอง ดังนั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปญหา กฎหมายในการบริหารราชการแผนดิน จึงเห็นวา การแตงตั้งผูรักษาราชการแทนตามมาตรา 47 แหงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 และที่แกไขเพิ่มเติม อธิบดีสามารถ แตงตั้งขาราชการในกรมคนหนึ่งซึ่งดํารงตําแหนงใดตําแหนงหนึ่ง ดังตอไปนี้ เปนผูรักษาราชการ แทนได คือ 1. ตําแหนงประเภทบริหาร ไดแก ระดับตนหรือระดับสูง 2. ตําแหนงประเภทอํานวยการ ไดแก ระดับตนหรือระดับสูง 3. ตําแหนงประเภทวิชาการ ไดแก ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับ เชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือ 4. ตําแหนงประเภททั่วไป ไดแก ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษ อาจมีผูสงสัย อีกว า แลวตําแหนงผูอํานวยการกลุมตรวจสอบภายใน ผูอํานวยการกลุม พัฒนาระบบบริหาร และตําแหนงผูอํานวยการกองที่กรมจัดตั้งขึ้นเปนสวนราชการภายใน เชน ผูอํานวยการกองประชาสัมพันธ เปนตน จะใชคําวาแตงตั้งผูรักษาราชการแทน หรือแตงตั้งผูรักษาการใน ตําแหนง คําตอบคือตําแหนงเหลานี้ไมถือวาเปนสวนราชการตามนัยของมาตรา 31 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 31 วรรคสอง และมาตรา 33 วรรคสอง แมวาตําแหนงผูอํานวยการกลุมตรวจสอบภายในและ ผูอํานวยการกลุมพัฒนาระบบบริหารจะปรากฏในกฎกระทรวงแบงสวนราชการของกรมตามขอ 4 และขอ 5 ก็ตาม โดยมีเพียงสถานะเปนกลุมงานที่ขึ้นตรงตออธิบดีเทานั้น ไมไดมีสถานะเปนสวนราชการตามขอ 3 ในกฎกระทรวงแบงสวนราชการกรมฯ สวนกองประชาสัมพันธก็มิใชสวนราชการที่ปรากฏในกฎกระทรวง แบ ง ส ว นราชการกรมฯ ดั ง นั้ น จึ ง ต อ งใช คํ า ว า “รั ก ษาการในตํ า แหน ง ” ตามมาตรา 68 แห ง พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ผูเขียนขอสรุปเปนตารางใหงายตอการเขาใจและสะดวกในการจดจําเพื่อนําไปใชประโยชนใน การแตงตั้งผูรักษาราชการแทนและแตงตั้งผูรักษาการในตําแหนงตางๆ ของกรมการพัฒนาชุมชน ดังนื้ “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

25


มาตรา46, 47 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534

(1) ตําแหนงที่ใชคําวา (2) ขาราชการที่จะแตงตั้ง “รักษาราชการแทน”(รกท.) ไป “รักษาราชการแทน” 1. อธิบดีและรองอธิบดี (ม.46) 2. ผอ.สํานักทุกสํานัก 3. ผอ.สถาบันการพัฒนาชุมชน 4. ผอ.ศูนยสารสนเทศฯ 5. เลขานุการกรม 6. ผอ.กองทุกกอง 7. พัฒนาการจังหวัด 8. พัฒนาการอําเภอ

เปนขาราชการที่ดํารงตําแหนง ดังตอไปนี้ 1. ประเภทบริหาร ไดแก ระดับตนหรือสูง (S1/S2) 2. ประเภทอํานวยการ ไดแก ระดับตนหรือสูง (M1/M2) 3. ประเภทวิชาการ ไดแก ระดับชํานาญการ (K2) ขึ้นไป 4. ประเภททั่วไป ไดแก

มาตรา 68 พ.ร.บ.ระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(3) ตําแหนงที่ใชคําวา “รักษาการในตําแหนง” (รกน.)

(4) ขาราชการที่จะแตงตั้ง ไป “รักษาการในตําแหนง”

ตําแหนงอื่นๆ นอกเหนือจากตําแหนง ตาม (1) ไดแก -ผูตรวจราชการกรม, -ผูเชี่ยวชาญ (ชช.), -ผอ.กองที่ตั้งเปนการภายใน, -ผอ.กลุม /กลุมงาน, -หัวหนากลุมงาน, -ตําแหนงขาราชการอื่นๆ ในสังกัด กรมการพัฒนาชุมชน

ใหผูบังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุตามมาตรา 57 มี อํานาจสั่งใหขาราชการพลเรือน ที่เห็นสมควรรักษาการใน ตําแหนงนั้นได

ระดับชํานาญงาน (O2) ขึ้นไป

-ปลัดกระทรวงเปนคนแตงตั้ง ผูรักษาราชการแทนอธิบดี -อธิบดีเปนคนแตงตั้งผูรักษา ราชการแทน รองอธิบดี/ ผอ.สํานัก/ผอ. สถาบัน/ผอ.ศูนย/ เลขานุการกรม/ ผอ.กอง/ พัฒนาการจังหวัด/ พัฒนาการอําเภอ -อธิบดีมอบอํานาจใหผูวาราชการ จังหวัดปฏิบัติราชการแทนใน การแตงตั้งผูรักษาราชการแทน พัฒนาการจังหวัด/พัฒนาการ อําเภอ

-อธิบดีเปนคนแตงตั้งผูรักษา การในตําแหนงตาม (3) -ผูวาราชการจังหวัดเปนคน แตงตั้งขาราชการของกรมใน สังกัดจังหวัดเปนผูรักษาการ ในตําแหนงที่สังกัดสํานักงาน พัฒนาชุมชนจังหวัดและ สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ (ยกเวนตําแหนงพัฒนาการ จังหวัดและพัฒนาการอําเภอ ที่ตองใหอธิบดีมอบอํานาจให ผูวาฯ ปฏิบัติราชการแทน) -ทั้งนี้เปนไปตามมาตรา 57 และ 68 ของ พ.ร.บ.ระเบียบ ขาราชการพลเรือน พ.ศ.2551

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

26


หวังวาทั้งหมดที่อธิบายมานี้ คงจะชวยสรางความกระจางและเปนประโยชนสําหรับการทํางาน ในสวนที่เกี่ยวของไดตามสมควรนะครับ สุดทายกอนจากฝากขอคิดคําคมที่สรรหามากํานัลใหกันอีกเชน เคยครับ… “อยารินน้ําใหเต็มถวย ถาเต็มถวยก็เกินความพอดี (ความไมรูจักพอ) ในลาภ ยศ สรรเสริญ” ขอคิดจากเรื่องอิมซังอก ยอดพอคาหัวใจทระนง ที่เคยฉายทางไทยทีวีสีชอง 3 ขอคุณความดีอันบริสุทธิ์และจิตเจตนาอันเปนกุศลที่ทานผูอานทุกทานไดกระทําไวมาโดย ตลอด ไดนําพาความรมเย็นผาสุก ความสําเร็จ และความเจริญงอกงามในชีวิต ใหบังเกิดแดทานผูอานและ ครอบครัว ตลอดจนบุคคลอันเปนที่รักและเคารพทุกทานตลอดไป พบกันใหมฉบับหนา สวัสดีครับ….. ……………………….

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

27


เพื่อขวัญและกําลังใจ…พัฒนากร... พัฒนากร คือ ทัพหนา ผูทายทา งาน พช. รวมจิตมิตรเกิดกอ ไมยอทอ แตใดมา เพื่อขวัญกําลังใจ กอเกิดในมวลผูกลา เสนอแนวคิดมา พัฒนา ๔ ระดับเอย...

พัฒนากรยุทธการ คือ พัฒนากรผูมีอายุงานตั้งแตเริม่ บรรจุ(ปฏิบัติการ) จนถึงกอนเขาสูชํานาญการ ตองเรียนรูประสบการณปรับเขากับความรูความสามารถสมัยใหม เหมือนตองผานสนามรบ “ยุทธการ” พัฒนากรชํานาญการ คือ พัฒนากรตั้งแตระดับชํานาญการเรื่อยมา แตอายุราชการยังยาวนานมากกวา ๑๐ ป และยังสอบ พอ.ไมได พัฒนากรอาวุโส คือ พัฒนากรอายุงานเหลือไมถึง ๑๐ ป และสอบ พอ. ไมติด (มีความรู ความสามารถ แต ขาดปจจัยบางอยาง) ทํานองแกมากดวยประสบการณ พัฒนากรพิเศษ คือ พัฒนากรที่สอบเขาสูตําแหนงพัฒนาการอําเภอไดและรอการบรรจุแตงตั้ง ของฝากพัฒนากร ไมใหญคอมผูใหญ พึ่งบุญ ไมใหญชว ยนําหนุน ทานดวย ไมใหญอยาสถุล ทําเปรียบ ไมใหญอยูอยางกลวย ประโยชนลวนสารพัน

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

28


การบริหารยุทธศาสตร์ด้วยระบบงบประมาณรายจ่ายประจําปี ดร.สรฤทธ จันสุข การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนจะสําเร็จได้คงไม่ได้เป็นเพียงมีบุคลากรที่มี ประสิทธิภาพ และมีเครือข่ายการทํางานที่เข้มแข็ง พร้อมกับหัวใจอันพรั่งพร้อมที่ทํางานให้สําเร็จ การ สื่อสารถ่ายทอดเป้าประสงค์ลงสู่ผู้ปฏิบัติงาน และการสร้างสรรค์โครงการ นวัตกรรมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่หากงบประมาณไม่มีหรือมีไม่เพียงพอที่จะทําให้เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย การ สําเร็จผลตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์คงเกิดขึ้นได้ยาก เพราะงบประมาณเป็นปัจจัยสําคัญในการจ่ายเงิน ค่าตอบแทนบุคลากรให้มีปัจจัยในการดํารงชีวิต เป็นค่าใช้สอยสําหรับการปฏิบัติหน้าที่ เป็นค่าใช้จ่ายในการจัด กิจกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เป็นปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนตามเป้าประสงค์ทั้ง ๕ ยุทธศาสตร์ ฉบับนี้จึง ขอเสนอขั้นตอนการบริหารยุทธศาสตร์ด้วยงบประมาณรายจ่ายประจําปี เพื่อให้บุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชน ได้ทราบกระบวนการของบประมาณเพื่อให้ได้เงินสําหรับการบริหารราชการกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อวางแผนการ บริหารงบประมาณในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 หน่วยงานดําเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี เมื่ อ หน่ ว ยงานได้ รั บ แจ้ ง แผนการปฏิ บั ติ ง านและการใช้ จ่ า ยงบประมาณแล้ ว ให้ ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งศึ ก ษาและจั ด ทํ า แผนปฏิบัติการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณของกรม ซึ่งหน่วยงาน จะต้องเสนอขออนุมัติโครงการต่ออธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนออกเลขที่โครงการเพื่อให้เป็นหลักฐานอ้างอิง และ ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หากเกิดกรณีที่หน่วยหน่วยใดไม่สามารถดําเนินงานได้ตาม แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ให้จัดทําบันทึกขออนุมัติปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการ ใช้จ่ายงบประมาณ จะต้องเสนอต่ออธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน โดยผ่านผู้อํานวยการกองแผนงาน เพื่อวิเคราะห์ รายละเอียดในประเด็นสําคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีที่มีการปรับแผน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของโครงการเดิม และเสนอผ่านรองอธิบดีผู้กํากับดูแลหน่วยงานเพื่อให้ความเห็นชอบและรับทราบการ ปรับแผน หลังจากนั้นจึงให้ส่งบันทึกเสนอที่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนอนุมัติให้ปรับแผนได้ ส่งคืนให้หน่วยงาน เจ้าของเรื่องดําเนินการ พร้อมทั้งสําเนาแจ้งกองคลังเพื่อทราบและดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ขั้นตอนที่ 2 สรุปรายงานผลการดําเนินงาน ต้องดําเนินการใน 2 ลักษณะ คือ สรุปเชิงวิชาการ และ สรุ ปค่ าใช้ จ่ ายในการดําเนิ นโครงการ นําเสนอต่ ออธิ บดี กรมการพัฒนาชุมชนเพื่อโปรดทราบ หรือสั่งการต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สิ่งสําคัญที่ไม่ควรลืมจะต้องสําเนาสรุปรายงานผลการดําเนินงาน เมื่อเสร็จสิ้นการนําเสนอต่อ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนแจ้งให้กองแผนงานดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และจะได้นําข้อมูลผลการดําเนินงาน

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

29


ไปบันทึกผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปี ในระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณและการบริหาร โครงการ (BPM) ทันที ที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลงบประมาณเหลือจ่าย โดยการตรวจสอบข้อมูลจากกอง คลัง ซึ่งกองแผนงานจะสําเนาแจ้งกลุ่มงานประเมินผลเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลผลการดําเนินงานในภาพรวมของกรม ในการใช้จัดทํารายงานผลการดําเนินงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลงบประมาณ ในส่วนที่เหลือจ่ายจากการดําเนินงาน พร้อมกับแจ้งกองคลังเก็บเงินเหลือจ่ายในภาพรวม นําเสนออธิบดีกรมการ พัฒนาชุมชนเพื่อโปรดทราบ ซึ่งมีการจัดทําภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน ขั้นตอนที่ 4 การจัดทําโครงการตามนโยบายผู้บริหาร หากกรณีหน่วยงานใดมีความประสงค์ที่จะเสนอ โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมให้สําเร็จผลอย่างสร้างสรรค์ หรือมีโครงการที่ยังไม่ได้ดําเนินการแต่ส่งผลต่อการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพั ฒนาชุม ชน ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์ดังกล่าวจัดทําร่างโครงการพร้อม รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดําเนินโครงการ เพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติการดําเนินงาน โดยเสนออธิบดี กรมการพัฒนาชุมชน ผ่านผู้อํานวยการกองแผนงาน และรองอธิบดีที่กํากับหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบวงเงินงบกลางของผู้บริหารสําหรับสนับสนุนการดําเนินโครงการ โดยการ วิเคราะห์รายละเอียดโครงการและกิจกรรม ว่าสามารถส่งผลต่อการขับเคลื่อนเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของ กรมการพัฒนาชุมชนหรือนโยบายกระทรวง นโยบายรัฐบาลที่สําคัญหรือไม่ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของ รายละเอียดค่าใช้จ่ายของโครงการและกิจกรรม พร้อมกับตรวจสอบวงเงินงบกลางของผู้บริหาร สําหรับสนับสนุน การดําเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว จึงจัดทําบันทึกนําเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่ออนุมัติ งบประมาณและโครงการ พร้อมส่งบันทึกที่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนอนุมัติงบประมาณและโครงการแล้ว คืนให้ หน่วยงานเจ้าของเรื่อง และสําเนาแจ้งกองคลังเพื่อทราบและดําเนินการจัดทําโครงการในระบบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อไป ถ้าเราบริหารงบประมาณได้ตามแนวทางปฏิบัตินี้ รับรองว่าเงินงบประมาณที่ใช้ในการบริหารของกรมการ พัฒนาชุมชนจะมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถขับเคลื่อนเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของกรมการ พัฒนาชุมชนสู่ ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง อย่างแน่นอน แล้วพบกับถางทางสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในฉบับ หน้าครับ *****************

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

30


ขอเชิญชวนบุคลากรหรือผู้ที่สนใจ ในหลักสูตรสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศกึ ษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ระดับปริญญาโท (เรียนนอกเวลาราชการ)

หลักสูตรภาคฤดูรอน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-613-2860 E-mail:wmtu56@gmail.com Facebook : http://www.facebook.com/wgssp

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

31


สาระนารู 

โดย...นัฐวรรณ เทียนสิทธิ์

“ทําไมโรงเรียนถึงไม่เตรียมพร้อมพวกเราให้รู้เรื่องเงินกันนะ? ทั้งๆ ที่เงินเป็นเรื่องใหญ่มากใน ชีวิต เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเงินกับจิตใต้สํานึกคือเรื่องเดียวกัน เราไม่เคยบันทึกรายได้ – รายจ่าย เรายังไม่เข้าใจว่าก่อนซื้อของเราต้องแยกแยะให้ได้ระหว่าง อยากได้ กับ จําเป็น” (มณฑานี ตันติสุข หนังสือ : เงินเรื่องใหญ่ที่โรงเรียนไม่เคยสอน) บทสรุปจากปกหลังของหนังสือ : เงินเรื่องใหญ่ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ที่ได้ยกมานี้คงสะกิดต่อม จ่ายเงินของหลายคนที่ตระหนักดีถึงความสําคัญในการจับจ่ายใช้เงินให้เพียงพอกับรายได้หรือให้มีเหลือเก็บ ให้ สะดุ้งสะเทือนกันบ้าง ถือเป็นความโชคดีอีกครั้งหนึ่งในความโชคดีหลายครั้งของการทําหน้าที่ผู้ช่วยที่ปรึกษา อธิบดีฯ (ดร.ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์) ซึ่งได้ติดตามท่านไปเข้าร่วมการประชุมสามัญประจําปีของสหกรณ์ ออมทรัพย์กรมการพัฒนาชุมชน (สอ.พช) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาทําให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการ บริหารเงิน เนื่องจากในการประชุมครั้งนี้คณะกรรมการดําเนินการ สอ.พช ได้เชิญวิทยากรจากสถาบันที่ ปรึกษาการเงินมาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “อิสรภาพการเงิน สัมผัสความสงบสุขทางใจที่ทุกคนไปถึงได้” ด้วยเจตนารมณ์ที่ปรารถนาดีต่อสมาชิก สอ.พช โดยส่งผ่านผู้แทนสมาชิกให้มีความรู้ในการบริหารเงินและ ขยายผลไปสู่สมาชิก ด้วยเหตุว่าสมาชิกส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการเพิ่มยอดเงินกู้ตามสิทธิสูงสุดที่จะกู้ได้ แต่การ เพิ่มเงินหุ้น อันเป็นเงินออมสําหรับอนาคตกลับใช้อัตราขั้นต่ําสุด ซึ่งสะท้อนถึงอนาคตที่ไม่มั่นคงทางการเงิน ทั้งของสมาชิก และ สอ.พช เพราะ สอ.พช จะต้องหาเงินกู้จากแหล่งอื่น เพื่อนํามาให้สมาชิกกู้ เนื่องจาก เงินหุ้นของสมาชิกที่ สอ.พช มีไม่เพียงพอ วิทยากรเริ่มต้นด้วยคําถามว่า “ใครมีบัตรเครดิตบ้าง คนที่มีบัตรเครดิตวันนี้ใครทราบบ้างว่ายอด ใช้จ่ายบัตรเครดิตถึงตอนนี้เท่าไหร่??” “สินค้าที่ซื้อส่วนใหญ่เกินความจําเป็นหรือไม่” “เคยสํารวจเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าทั้งหมดหรือไม่ว่าใช้จริงกี่ % โดยเฉพาะคุณผู้หญิง” วิทยากรอธิบายว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ คิดถึงรายละเอียดความจําเป็นของการใช้จ่ายเงิน ดังนั้น ไม่แปลกที่สัดส่วนระหว่างคนจนจะมีมากกว่าคนมี ฐานะดี – ร่ํารวย เช่น โครงการรถยนต์คันแรก คนแห่ซื้อเป็นจํานวนมากเพราะคนซื้อไม่ได้คํานึงถึงค่าใช้จ่าย ที่แท้จริงจากการซื้อรถยนต์ 1 คัน ดังนี้

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

32


ค่าใช้จ่ายตามความคิดของคนซื้อรถยนต์ส่วน ใหญ่ นาย ก เงินเดือนๆ ละ 20,000 บาท ผ่อนต่องวด 7,000 บาท ค่าน้ํามัน 4,000 บาท รวม 11,000 บาท เงินเหลือ 9,000 บาท

ค่าใช้จ่ายแท้จริงขั้นต่ําที่เกิดขึ้นต่อเดือน สําหรับ รถยนต์ ผ่อนต่องวด 7,000 บาท ค่าน้ํามัน 4,000 บาท ค่าบํารุงรักษา 2,000 บาท ค่าประกัน,พ.ร.บ.ภาษี 2,000 บาท ค่าทางด่วน 1,000 บาท รวม 16,000 บาท

นอกจากค่าใช้จ่ายแท้จริงขั้นต่ําที่เกิดขึ้นจากการซื้อรถยนต์แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ อีก เพราะการมีรถยนต์ทําให้ท่านออกจากบ้านง่ายขึ้น ไปไกลได้มากขึ้น และการออกจากบ้านส่วนใหญ่ก็จะมี กิจกรรมให้เสียเงิน เช่นเวลาไม่มีรถยนต์วันหยุดท่านอาจไม่อยากออกไปไหนเพราะแดดร้อนหรือฝนตก แต่ เมื่อมีรถยนต์จะทําให้ท่านออกนอกบ้านไปทานอาหารร้านหรู ดูหนัง ฟังเพลงกับเพื่อนๆ หรือไปต่างจังหวัด ได้ง่ายขึ้น และคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คํานึงถึงด้วยไม่เคยใส่ใจกับการใช้จ่ายเงินของตัวเองอย่างละเอียด และไม่รู้ สถานการณ์การเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร วิทยากรให้เราวิเคราะห์สถานการณ์การเงินของตัวเองว่าเป็น แบบไหนใน 4 แบบ และบอกแนวทางที่ต้องทําให้เหมาะกับสถานการณ์ เพื่อความมั่นคงทางการเงินของ ชีวิต มีหนี้สิน รายได้ต่ําเกินไป ไม่สามารถลดรายจ่าย มีความสามารถในการทํางาน มีหนี้สิน รายได้พอเพียง ใช้เงินไม่เหมาะสม ลดรายจ่ายได้อีก มีความสามารถในการทํางาน

บริหารโครงสร้างหนี้ บันทึกค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่าย ทํางบประมาณรายจ่าย ่ บริหารโครงสร้างหนี้ บันทึกค่าใช้จ่าย ทํางบประมาณรายจ่าย

เพิ่มรายได้ เตรียมเงินฉุกเฉิน บริหารความเสี่ยง 12 เดือน

ลดค่าใช้จ่าย เตรียมเงินฉุกเฉิน บริหารความเสี่ยง 12 เดือน

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

33


สถานการณ์ที่ 1 และ 2 จะมีสภาพการเงินที่เกือบไม่แตกต่างกันนัก และเป็นสถานการณ์ของคนส่วนใหญ่ ซึ่ง มีส ถานภาพทางการเงิ นที่ ไม่ มั่น คงทั้ งในปั จจุ บัน และอนาคต และการเปลี่ ย นสถานะจากสถานการณ์ที่ 2 เป็นสถานการณ์ที่ 1 ก็ง่ายมาก เพราะหากใช้ชีวิตโดยใช้เงินไม่เหมาะสมต่อไปเรื่อยๆ จะทําให้เกิดหนี้สินจนมีรายได้ ต่ําไม่เพียงพอ และเป็นความคิดความเชื่อที่ผิดมากที่คิดว่าตัวเองมีรายได้น้อย ตัวเองจึงไม่ได้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทุกครั้งที่ใช้ จ่าย คือ ความจํ าเป็นทั้งสิ้น หากลองได้พิจารณาว่าหนี้สินที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร จํ าเป็นจริงหรือไม่ คําตอบท่านรู้อยู่แก่ใจ หากคําตอบที่ได้ คือ หนี้สินเกิดขึ้นเพราะจําเป็น แต่ไม่ว่าคําตอบจะจําเป็นแท้หรือจําเป็น เทียม (อารมณ์อยากได้จริงๆ แต่ไม่จําเป็นต้องมีก็ได้) ให้ท่านทําตารางบันทึกหนี้สินทั้งหมดที่ท่านมีอยู่ โดยช่องแรก เขียนจํานวนเงินที่เป็นหนี้ ช่องที่ 2 ชื่อเจ้าหนี้ ช่องที่ 3 อัตราดอกเบี้ย ช่องที่ 4 จํานวนที่ต้องผ่อนชําระ ช่องที่ 5 กําหนดที่ต้องชําระ และช่องที่ 6 ระยะเวลาที่จะหมดหนี้ จากนั้นท่านลองพิจารณาดูรายจ่ายของท่านอย่างละเอียด ว่าแต่ละวันท่านจ่ายไปกับอะไร ขอให้บันทึกอย่างละเอียดจริงๆ เช่น หากท่านตั้งไว้ว่าค่าอาหาร 3 มื้อๆ ละ 50 บาท (รวมน้ําดื่มแล้ว) ท่านจะใช้เงินสําหรับค่าอาหารวันละ 150 บาท แต่หากท่านซื้อขนมเครื่องดื่มต่างหากก็ให้ บันทึกแยกออกไปว่าขนม อาหาร หรือเครื่องดื่มที่ซื้อนอกเหนือจาก 150 บาท เป็นอะไรบ้าง หรืออย่างค่ารถ เมื่อท่าน คํานวณแล้วค่าใช้จ่ายในการเดินทางเส้นทางปกติไป – กลับวันละ 50 บาท หากท่านมีเหตุต้องนั่งรถ taxi ก็ให้ บันทึกแยกออกไปว่าท่านจ่ายไปเท่าไหร่ ขอให้ท่านจดบันทึกค่าใช้จ่ายเป็นรายวันอย่างต่อเนื่อง ควรจดบันทึกรับ – จ่ายทุกวัน ไม่ควรทิ้งไว้นานแล้ว มาจดย้อนหลังเกิน 2 วัน เพราะจะทําให้ท่านลืม และแต่ละสัปดาห์ให้สรุปแยกว่า ในสัปดาห์ ที่ ผ่ านมา ท่ านจ่ ายค่ าอะไรไปเท่ าไหร่ ค่าเดิ นทาง ค่ าอาหาร ค่ าน้ําดื่ม ค่ าเครื่ องดื่ม ค่ าโทรศัพท์บ้ าน ค่าโทรศั พท์มือถื อ ค่ าน้ํ ามัน ค่ าของขวัญ/ของฝาก ค่ ากตัญ ญู (เลี้ ยงดู พ่อแม่ ) ค่ าสังสรรค์ ค่าทําบุญ ค่ าเสื้อผ้า ค่าเครื่องประดับ ค่าบุหรี่ ค่าตัดผม ค่าเครื่องสําอางค์ ค่าของใช้ประจํา (สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอกฯลฯ) ค่าน้ํา ค่าไฟ ค่าเช่า ฯลฯ ขอเชิญชวนให้ท่านได้ลองทําบัญชีรับ – จ่ายของท่าน สักหนึ่งสัปดาห์จะทําให้ท่านได้เห็นช่องทางการมี เงินเพิ่มขึ้น จริงๆ ท่านจะต้องทําตลอดทั้งปี เพื่อจะได้ทําแผนการเงินสําหรับอนาคตได้ ลองทําดูมันไม่ได้ยุ่งยาก อะไร หาสมุดจดเล่มเล็กขนาดเท่านามบัตรไว้สักเล่มสําหรับพกพาได้สะดวก หรือจะวางไว้ใกล้บนที่นอนสําหรับคุณ ผู้ชายที่ไม่ได้มีกระเป๋าสัมภาระหิ้วไปมา ณ วันนี้ท่านยังมีกําลังความสามารถในการทํางานในการหาเลี้ยงตัวเอง แต่หากวันหนึ่งเกิดอะไรขึ้นกับท่านทําให้ไม่สามารถทํางานได้หรือแก่ตัวไป ไม่มีรายได้อะไรนอกจากเบี้ยผู้สูงอายุ ท่านจะอยู่อย่างไรนี่คือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับท่านอย่างฉับพลันและเกิดแน่ในอนาคต ท่านมีแผนรับมือกับมัน หรือยัง? มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล

ไม่มีหนี้ รายได้มากพอ ใช้เงินไม่ถูกต้อง ไม่มีเงินออม มีความสามารถในการทํางาน

อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดรันทดใจ

บันทึกค่าใช้จ่าย ทํางบประมาณรายจ่าย เตรียมเงินฉุกเฉิน บริหารความเสี่ยง

บัญชีเงินออมระยะกลาง วางแผนภาษี

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

6 เดือน

34


ไม่มีหนี้ รายได้มากพอ มีเงินออม ต้องการบริหารเงิน มีความสามารถในการทํางาน

บริหารความเสี่ยง บัญชีเงินออมระยะกลาง วางแผนภาษี

บัญชีเงินออมระยะยาว จัดพอร์ตการลงทุน 3 เดือน

แม้สถานการณ์ที่ 3 จะดีกว่าสถานการณ์ที่ 1 และ 2 ตรงที่ไม่มีหนี้ มีรายได้มากพอ แต่ก็ยังไม่มีเงิน ออมเพราะการใช้จ่ายเงินที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้แปลว่าท่านจะมีสถานะทางการเงินมั่นคงเพียงพอสําหรับอนาคต เพราะค่ า เงิ น นั บ วั น จะมี แ ต่ ล ดค่ า ลง หากท่ า นมี ส ถานการณ์ ก ารเงิ น แบบนี้ แ สดงว่ า ท่ า นยั ง คงใช้ ชี วิ ต อย่างประมาท ท่านเองก็รู้แจ้งแก่ใจตัวเองจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวัน เงิน 100 บาท เมื่อสิบปีก่อน อาจจะอยู่ได้ 2 วัน แต่ปัจจุบันยังไม่เพียงพอสําหรับค่าอาหารหรือค่ารถประจําทาง อย่างค่าอาหาร สมัยปู่ย่า ตายาย ยั ง หนุ่ ม สาว พ่ อ แม่ เ รายั ง เป็ น เด็ ก ๆ อาหารคาวหวานถ้ ว ยละชามละไม่ กี่ ส ตางค์ อ่ า นไม่ ผิ ด !! พิมพ์ไม่ผิด!! หน่วยคือสตางค์ หรืออย่างค่าโดยสารรถประจําทางสําหรับใครที่อาศัยอยู่กรุงเทพฯ และ จังหวัดใกล้เคียงน่าจะพอทราบดี เมื่อก่อนรถเมล์ (ร้อน) 2 บาทตลอดสาย ปัจจุบัน 8 – 9 บาท หรือราคา ตามระยะทางขึ้นต่ําอยู่ที่ 10 บาท หลักคิดในการมีเงินออมทําได้ง่ายมาก เพียงแต่ใช้เงินรายได้ที่ท่านได้มา แต่ละครั้งให้เหลือ จะเหลือมากหรือน้อยขอให้เหลือสะสมไว้ก่อน สมมติแต่ละเดือนท่านมีเงินเหลือเดือนละ 100 บาท เมื่อครบปีท่านจะมีเงิน 1,200 บาท สําหรับผู้มีรายได้ประจําอย่างข้าราชการ แต่ละปีที่ท่านได้รับ เงินเดือนเพิ่มขึ้นท่านควรเพิ่มเงินออมของท่านด้วย หรือแบ่งเงินโบนัสหรือเงินปันผลที่ได้เป็นเงินออม สัดส่วน“ขั้นต่ําสุด” สําหรับเงินออม คือ 5% ของเงินรายได้ เมื่อท่านทําบัญชีรับ – จ่าย สักระยะหนึ่ง และ ตั้งใจจะปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นจะทําให้ท่านมีนิสัยในการใช้เงินดีขึ้น ท่านควรจะเพิ่มเงินออมเป็น 10 – 20% ของรายได้ หรือ 5% สําหรับรายได้ประจํา 10 – 20% สําหรับรายได้พิเศษ แต่หลายๆ ท่านยัง อาจไม่เห็นด้วยว่าทําไมต้องประหยัดด้วยมันจะสําคัญอะไรแค่ไหน เงิน 20 – 30 บาท ลองดูตารางตัวเลข ค่ าเครื่ องดื่ มสุ ดฮิ ต อย่ างกาแฟเย็ น ชานม ทํ า ให้ ท่ า นสู ญ เสี ย ความมั่ น คงทางการเงิ น อย่ า งไร ค่ า กาแฟ 30 บาท x 7 วัน = 210 บาท x 52 สัปดาห์ (1ปี) = 10,920 บาท x 15 ปี = 163,800 บาท หากท่านนํา เงินจํานวนนี้ไปออม และมีผลตอบแทน 6% ต่อปีท่านจะมีรายได้ เป็นเงิน 269,424.01 บาท ถ้าไม่เชื่อว่า จะเป็นจริง ดูตัวเลขเงินออมที่ท่านสูญเสียหากยังจ่ายสุรุ่ยสุร่ายอีลุ่ยฉุยแฉกแบบไม่คิดกันต่อไปในตารางนี้

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

35


ปีที่ เงินออมต่อ ผลตอบแทนต่อปี 6% ปี 1 10,920 655.20 2 10,920 1,349.71 3 10,920 2,085.89 4 10,920 2,866.25 10 10,920 8,636.06 15 10,920 15,250.42

รวมเงินออมสะสม+ ผลตอบแทน 11,575.20 23,844.91 36,850.81 50,637.06 152,570.34 269,424.01

นักการเงินมืออาชีพจะเรียกค่าใช้จ่ายประเภทนี้ว่า “ลาเต้แฟ็คเตอร์”

**ตัวอย่างค่าใช้จ่ายประเภท Latte Factor** รายการ

ประหยัดต่อเดือน (บาท)

กาแฟ 1 แก้ว โทรศัพท์มือถือวันละ 10 นาที น้ํามันรถยนต์ 1 ถัง อาหารมื้อเย็นนอกบ้าน 2 คน รวม

200 280 1,500 2,000 3,980

มูลค่าหลังจากนี้อีก 30 ปี (บาท) 200,903 281,264 281,264 2,009,030 2,772,461

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

36


ท่านเคยพิจารณาจริงจังหรือไม่ว่าท่านจําเป็นต้องจ่ายค่าความพอใจหรือความบันเทิงมากขนาดไหน กับประโยชน์ที่ได้รับอย่างไม่คุ้มค่า ยิ่งยุคสมัยนี้นักการตลาดฝีมือขั้นพระกาฬสามารถทําให้เราท่านจ่ายๆๆๆ อย่างลืมคิดกันเลยเชียว โดยเฉพาะค่าโทรศัพท์มือถือที่มีใช้กันเกือบทุกคนทั้งค่าใช้บริการรายเดือนและ เครื่องโทรศัพท์แสนแพง เพราะซื้อมาสมรรถนะเครื่องสูง แต่ระบบสัญญาณต่ําและความต้องการในการใช้ งานของเราแค่โทรออก รับสาย และเข้า website ดูข้อมูลความบันเทิงเสียส่วนใหญ่ ประกอบกับนิสัยพื้นเพ ของ คนไทยมักจะหน้าใหญ่ใจโต มีเงินนับเป็นน้องมีทองนับเป็นพี่ด้วยแล้ว การสะสมทรัพย์อันไร้ประโยชน์ เพื่อให้ตัวเองดูดีมีฐานะ ซึ่งจริงๆ อาจมีรายได้ไม่ชนเดือน ต้องหยิบยืมเสียดอกเบี้ย ต้องใช้บริการบัตรเครดิต และ ไม่รู้เท่าเล่ห์กลนักการเงินที่หาประโยชน์จากคุณที่คิดไม่ทัน ตัวอย่างประโยชน์จากการลดค่าใช้จ่ายที่ ประสบด้วยตัวเอง คือ ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ติดกาแฟเย็นและเครื่องดื่มประเภทหวานเย็น โดยเฉพาะกาแฟ ต้องดื่มทุกวัน 1 – 2 แก้ว ราคาขั้นต่ําจะอยู่ที่ 30 บาทขึ้นไป ผู้เขียนเริ่มทําบัญชีรับ–จ่าย ด้วยเหตุอยากรู้ว่า เดือนๆ หนึ่งเราจ่ายค่าอะไรบ้าง จะหาเงินจากยอดรายจ่ายไหนเป็นเงินเก็บได้บ้าง จากการจดบันทึก 1 เดือน พบว่าตัวเองมีค่าใช้จ่ายประเภทเครื่องดื่มหวานเย็นเดือนละ 1,000 – 1,200 บาท จากความคิดที่ ต้องการมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเพื่อจะเอาไว้ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน เอาไว้ลงทุน หรือสํารองไว้เผื่อจําเป็นในอนาคต หลังจากปรับลดค่าใช้จ่ายประเภทเครื่องดื่มลง ทดแทนด้วยการดื่มกาแฟร้อนชงเองแทน นอกจากมีเงิน พอใช้เหลือเก็บเพิ่มขึ้น ผลพลอยได้คือ ผลการตรวจสุขภาพพบว่ามีคลอเรทเตอรอลลดลง จากเดิมที่สูงเกิน เกณฑ์ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นคนรูปร่างอ้วน และอาหารที่ทานไม่ชอบทานแป้ง ไขมัน หรืออื่นๆ ตามที่แพทย์สั่ง ห้ามเลย วิเคราะห์พฤติกรรมแล้วน่าจะเป็นเพราะเครื่องดื่มประเภทนี้แน่ สําหรับคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่ 4 ไม่มีอะไรน่าห่วง เพราะคุณคงมีพื้นฐานที่ดีในการใช้จ่ายแล้ว แต่ที่ต้องระวังคือ ความโลภของตัวเองอย่าให้มี มากจนเกินไป จนตกหลุมลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่ทําให้คุณหัวคะมําจากเศรษฐี กลายเป็นคนเคยรวยได้ง่ายๆ

หยุด !! อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองทําไม่ได้ ลองเริ่มทําดูก่อนจากการจดบันทึกรายจ่ายอย่างละเอียด การเปลี่ยนพฤติกรรม (นิสัย) มันไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนกันได้ง่ายนัก แต่ก็ปรับเปลี่ยนกันได้แน่ๆ เพราะกว่า เราจะเป็นนักจ่ายทําร้ายตัวเองขนาดนี้ เราก็บ่มเพาะนิสัยความฟุ่มเฟือยมานาน ค่อยๆ เปลี่ยนนิสัยของ เราอย่างต่อเนื่อง ขอเพียงวันนี้ได้เริ่มต้น และพยายามทําอย่างต่อเนื่องคุณก็จะมีฐานะการเงินดีขึ้นแน่นอน ทุกครั้งที่จะจ่ายเงินซื้ออะไรขอให้ถามตัวเองสักหน่อยว่า “อยากได้” หรือ “จําเป็น” “คุ้มค่าหรือไม่” “มี อะไรทดแทนกันได้และจ่ายน้อยกว่านี้” ทุกครั้งที่ได้เงินมาขอให้จัดสรรสําหรับเป็นเงินออมไว้สัก 10 – 20% คุณจะเปลี่ยนจากลูกทาส เอ๊ย!! “ทาส” กลายเป็น “นาย” ของเงิน ในชาตินี้แน่นอน และโปรดบอกตัวเอง เสมอ “การไม่มีหนี้สิน เป็นลาภอันประเสริฐ และการมีเงินออมสําหรับอนาคตนั้นประเสริฐเลิศสุดๆ” “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

37


ภาพกิจกรรม

การทํางาน” วันที่ 25 เมษายน 2557 เวลา 10.30 น. นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะ ผอ.สกพส. เป็นประธานพิธีเปิด "โครงการ Smart Lady Thailand คลื่นลูกใหม่ผู้สืบสานงาน OTOP" มีผู้เข้าอบรม จํานวน 132 คน โดยมีพัฒนาการจังหวัดในเขตตรวจฯที่ 13 4 จังหวัด(อุบลฯ ศรีสะเกษ อํานาจเจริญ ยโสธร) นําโดยนายฉลอง ประดับสุข พจ.อุบลฯ กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์การจัดงาน ในงานนี้มี ท่านผู้ตรวจฯทวีป บุตรโพธิ์ ท่านที่ปรึกษา อพช. รอง ผอ.สกพส. (ดร.ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์) จังหวัด ทั้ง 4 จังหวัด ร่วมให้การต้อนรับ และคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ยม จังหวัดอุบลราชธานี ณ อารยารีสอร์ท อําเภอโขงเจี

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

38


ภาพกิจกรรม

วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ นายพิสันติ์ ประทานชวโน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และคณะ ตรวจเยี่ยมให้กําลังใจผู้จําหน่ายสินค้า OTOP ในงานเทศกาลไทย ๒๐๑๔ ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภคชาวจีนเป็นอันมาก ในการนี้ ได้ติดตามผลการเจรจาธุรกิจของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายเดิมที่เดินทางมาร่วมในงานเจรจาธุรกิจในครั้งนี้อีกด้วย (ภาพข่าว : พัชรินทร์ สมหอม)

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

39


ภาพกิจกรรม

วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายขวัญชัย วงศ์นิติกร) มอบหมายให้ นายมนตรี นาคสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดพร้อมบรรยายพิเศษ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลโครงการเผยแพร่ผลการจัดเวทีประชาหาทางออกประเทศไทย ดร.อัจฉราวรรณ มณีขัติย์ ผอ.สํานักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กล่าวรายงาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พัฒนาการอําเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด พัฒนากร รวม ๗๖ คน จัดระหว่าง ๓๐ เมษายน - ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมไมด้า ซิตี้ กรุงเทพฯ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

40


ภาพกิจกรรม

วันที่ ๔ – ๕ เมษายน ๒๕๕๗ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายขวัญชัย วงศ์นิติกร) มอบหมายให้นายอรรถพร สิงหวิชัย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนายทวีป บุตรโพธิ์ ผู้ตรวจราชการกรม นายสนิท ขาวสอาด รอง ผวจ.ศรีสะเกษ นายเสน่ห์ พรหมโครต พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ นายไพโรจน์ อินทร์แก้ว นายอําเภอภูสิงห์ จนท.กองแผนงาน ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนา หมู่บ้านนําร่องพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ดีมีสุข บนถนนหมายเลข ๖๗ (สะงํา-อันลองเวง-เสียมราช) บ้านโอกีกันดาล ตําบลลุมโตง อําเภออันลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักกัมพูชาโดยมี MR.LIAM SODA (เหลียม โสดา) รอง ผวจ.อุดรมีชัย นายยึม พันนา นอภ.อันลองเวง ให้การต้อนรับและนําเยี่ยมชมครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง นายโท ลน อดีต ผญบ.โอกีกันดาล

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

41


ภาพกิจกรรม

วันที่ 1 เม.ย.57 เวลา 9.00 น. นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานพิธีทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนาเด็กชนบท ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีท่านรองอธิบดีฯ คณะผู้บริหาร ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน และหน่วยงานราชการในศูนย์ราชการฯ ร่วมพิธี ณ ลานเอนกประสงค์ ชั้น2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

42


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

43


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

44


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.