Jouroct sep2014

Page 1

- ปกหน้า -

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

1


บทบรรณาธิการ

“ วาร สารพั ฒ นาชุ ม ชนฯ ประจํ า เดื อ น ตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ประเดิมฉบับแรก ของปี ง บประมาณอาจล่ า ช้ า ไปหน่ อ ยแต่ ยั ง คง คอลัมน์ที่มาพร้อมคุณภาพเพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ ผู้อ่าน พบกับ...คอลัมน์แรก แลหน้า เหลียวหลัง : “มาแบ่งปันความรู้กันดีกว่า” × หนึ่งวัน หนึ่ง ความคิด..×หัวโค้ง : ความซื่อ ความจน จนตรอก (ติดคุก)...×รู้ด้วยกันงาน กจ. : สมาชิก กบข.จะ ออกหรือไม่ออกดี...×วาทะเด่น...ความเรียบง่าย... × “ผลประโยชน์และปัจจัยความสําเร็จของกลุ่ม จังหวัดฯ” : ถากถางทางสร้างสรรค์... × ภาพ กิจกรรมกรมการพัฒนาชุมชน...×ปิดท้ายภาษา อาเซียนพื้นฐานน่ารู้:ภาษาพม่า(ตอนที่ ๒) พบกัน ใหม่ฉบับต่อไปนะครับ...

ประจําเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ประธานกรรมการอํานวยการ นายขวัญชัย วงศ์นิติกร ที่ปรึกษา นายมนตรี นาคสมบูรณ์

วารสารพัฒนาชุมชน

ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ทรงพล วิชัยขัทคะ บรรณาธิการ

แลหน้า เหลียวหลัง

3

หนึ่งวัน หนึ่งความคิด

7

หัวโค้ง

8

รู้ด้วยกันงาน กจ.

11

วาทะเด่น

16

ถางทางสร้างสรรค์

17

ภาพกิจกรรม

20

ภาษาอาเซียนพื้นฐานน่ารู้

24

ออกแบบปก ออกแบบรูปเล่ม/พิสูจน์อักษร

นายอรรถพร สิงหวิชัย นางสายพิรุณ น้อยศิริ นางรักใจ กาญจนะวีระ นางสาวชณัทสรณ์ โพธิปิ่น นายอดุลย์ เนียมบุญนํา นางสาวฉัตรประอร นิยม นายพัลลภ ตันจริยภรณ์ นายวรงค์ แสงเมือง นางสาวเยาวนิจ กลั่นนุรักษ์ นายสรฤทธ จันสุข นางสาวนวพร พิมพา นายสุทธิพร สมแก้ว นายพีระ คําศรีจันทร์ นางสาวยอดขวัญ ว่านเครือ นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์ นายธนชล คูณสวัสดิ์ นายจรูญศักดิ์ เขียวสุคนธ์ นางสาวกฤติยา สวัสดิ์เมือง นางสาวศิริพร พรหมมา

กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0 2141 6271, 0 2141 6328 โทรสาร 0 2143 8922 บทความหรือข้อเขียนในวารสารพัฒนาชุมชนเป็นความเห็นส่วนบุคคล กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ผูกพันกับกรมการพัฒนาชุมชนแต่อย่างใด

“ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

2


โดย...กระท่อมน้อย ๔ ป.

“มาแบ่งปันความรู้กันดีกว่า” หากมองย้อนกลับไปนานๆ เลยตั้งแต่รุ่นบุกเบิกกรมการพัฒนาชุมชน (พ.ศ.2505) จะเห็นว่าการ จั ด การความรู้ ใ นยุค นั้ นยั ง เป็นรู ป แบบการเรี ย นรู้ที่ ยั งไม่มีแ บบแผน เป็ น รูป แบบการจั ด การกั บ บทเรี ย นหรื อ ความสําเร็จต่างๆ ผ่านการเล่าเรื่อง (Story Telling) การถ่ายทอดทบทวนผลการทํางาน การประชุมระดมความคิด การเรียนรู้ในลักษณะแบบพี่สอนน้อง มาปี พ.ศ. 2546 ระบบราชการมีการปรับระบบราชการ โดยเฉพาะ มาตรา 11 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งกําหนดให้ทุกส่วนราชการมีหน้าที่ในการ พัฒนาองค์ความรู้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ สํานักงานพัฒนาระบบ ราชการ (ก.พ.ร) จึงกําหนดให้การจัดการความรู้เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการดําเนินงานตามคํารับรองการปฏิบัติราชการของ ทุกหน่วยงาน ความสําคัญของการจัดการความรู้ของกรมฯ คือการใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา บุคลากรของกรมฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อไปพัฒนางานตามภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็งมีเศรษฐกิจฐานรากมั่นคงโดยเน้นการสร้างบุคลากรของกรมฯ ให้เป็นนักจัดการความรู้เพื่อเป็นกลไกใน การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และการตัดสินใจเพื่อนําไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็งร่วมกัน

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

3


กรมฯ ได้สร้างและพัฒนาทีมวิทยากรด้านการจัดการความรู้ทั้งหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารทางวิ ช าการด้ า นการจั ด การความรู้ แ ก่ ห น่ ว ยงานทั้ ง ภายในและภายนอก สํ า หรั บ ชุ ม ชน กรมฯ ได้ส่งเสริมและสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้นํากลุ่ม องค์กร เครือข่าย และชุมชน ผ่านการฝึกอบรมและ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง OTOP ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มอาชีพ และ กองทุนต่างๆ รวมทั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีผู้ถอดเก็บความรู้ไว้มากมาย แต่ประเด็นสําคัญ อยู่ที่กระบวนการจัดการและส่งต่อความรู้เหล่านี้ไปใช้เป็นประโยชน์ยังไม่มากพอ

อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ที่ผ่านมาของกรมฯ มีทั้งอุปสรรคและความสวยงามที่ก่อเกิดขึ้นภายใต้ การเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกและจากการปฏิบัติ (Action Learning) อย่างแท้จริง วันนี้เราสรุปบทเรียนแล้ว พบว่ายังต้องพัฒนาตนเองในการนํากระบวนการจัดการความรู้และระบบการบริหารองค์ความรู้มาสร้างผลสําเร็จ ของงานให้มากและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเดียวที่เรายึดมั่นมาโดยตลอดคือ “นํา KM มาเป็นเครื่องมือในการ สร้างคน สร้างงาน และสร้างองค์กร” สิ่งสําคัญ คือ พัฒนาการของการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชน หากพิ จ ารณาตามธรรมชาติ ข องการทํ า งานที่ เ ปรี ย บเสมื อ นวั ฒ นธรรมองค์ ก รของคนกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน คือ การสอนงาน การพูดคุยเรียนรู้ข้อดีและข้อปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาหน้างานเมื่อภารกิจเสร็จสิ้น (กรมการพัฒนา ชุมชน,๒๕๕๗:เส้นทางและบทเรียน)

กรมฯให้ความสําคัญต่อการแบ่งปันความรู้ทั้งในด้าน

• • • • •

การแบ่งปันข่าวสาร (news sharing) การแบ่งปันข้อมูล (data sharing) การแบ่งปันสารสนเทศ (information sharing) การแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing) การแบ่งปันความคิด (idea/concept sharing)

เนื่องจาก กรมฯ ตระหนักว่า “การแบ่งปันความรู้ คือ พลังอันยิ่งใหญ่” (Sharing Knowledge is Power) ดังนั้น สิ่งที่ก รมฯ ทําคือ การสร้ างแรงบั นดาลใจและความตระหนั ก แก่ ผู้ปฏิบัติงานถึ งคุณค่าของการแบ่ งปั น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาของการแบ่งปันความรู้ คือ การจัดเก็บความรู้ เนื่องจากความรู้ใ นงานพัฒนาชุมชนมีมากมาย หลากหลาย และกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ชุมชนทั่วประเทศ ดังนั้นจึงจําเป็นที่กรมฯ จะต้องจัดฝึกอบรมหรือ ทบทวนการใช้เครื่องมือจัดการความรู้ที่ดี เหมาะสมกับการจัดเก็บความรู้ที่ต้องการจัดเก็บ รวมทั้ง บุคคล และ สถานที่ ที่จัดเก็บ แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเครื่องมือดังกล่าว ได้แก่

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

4


๑. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practise : CoP) ๒. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Story Telling) ๓. เวทีเสวนาหรือสุนทรียสนทนา (Dialogue) ๔. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer) ๕. เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) ๖. การศึกษาดูงาน (Study Tour) ๗. การสอนงาน (Coaching) ๘. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ๙. เวทีถาม-ตอบ (Forum) ๑๐. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือถอดบทเรียน (After Action Review : AAR) ๑๑. การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสําเร็จ (Retrospect) เครื่องมือดังกล่าวข้างต้นมักถูกนํามาใช้บ่อย แต่เครื่องมือการทบทวนหลังปฏิบัติการหรือถอดบทเรียน (After Action Review : AAR) และเครื่องมือการเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสําเร็จ (Retrospect) มักถูกใช้อย่าง สับสน ทีนี้ลองมาดูการใช้ AAR ซึ่งสรุปให้เห็นเป็นภาพง่ายๆ ตามนี้

AAR

ผลที่ได้

สิ่งทีท่ ําต่อ

Best Practice (บทเรียนที่ดี)

- ทํา KM - หาเทคนิค - วิธีการ - ข้อพึงระวัง - ปัจจัยความสําเร็จ

คู่มือการปฏิบัติ

คาดหวังอะไร

สิ่งที่เกิดขึ้นจริง

ทําไมเปนเชนนั้น

ครั้งตอไปจะ แกไขปรับปรุง อยางไร

ข้อมูลดิบ (Data)

Gap (บทเรียนเชิงลบ)

- หาแนวทางปิดGap - แนวทางการพัฒนา

สารสนเทศ (Information)

ความรู้ (Knowledge)

การใช้เครื่องมือ AAR เป็นการทบทวนหลังปฏิบัติงานซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอน / วิธีการการทํางาน ทั้งด้าน ความสําเร็จ และปัญหาที่เกิดขึ้นทําให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างทํางาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทํางาน แก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น เรียนรู้และใช้วิธีการที่ดีอยู่แล้วในการปฏิบัติงานในครั้งต่อ ๆ ไป “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

5


หัวใจสําคัญของการทํา AAR คือ การใช้ ๔ คําถาม ดังนี้ ๑. สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการทํางานในครั้งนั้นคืออะไร ๒. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร ๓. ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น ๔. หากจะทําครั้งต่อไปต้องแก้ไข ปรับปรุง อย่างไร

การทํา AAR ต้องทําทันทีหลังจากจบงานนั้นๆ เพื่อให้จําเหตุการณ์ได้ และสามารถนําบทเรียนที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ได้ทันที บรรยากาศต้องเป็นกันเองไม่มีความเป็นผู้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ไม่มีการกล่าวโทษกัน ต้องมี ผู้ทําหน้าที่ Facilitator เพื่อช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน โดยต้องมีการ ทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าสิ่งที่คาดหวังในการปฏิบัติงานในครั้งนั้น ๆ คือ อะไร แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร แตกต่างจากสิ่งที่คาดหวังหรือไม่ อย่างไร ทําไมจึงมีความแตกต่างกัน ข้อสําคัญ ได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้น หากจะต้องทําใหม่จะทําอย่างไร มีวิธีการแก้ไขปรับปรุง หรือจะทําให้ดีกว่าเดิม ที่ทําไว้อย่างไร อย่าลืมจดบันทึกผลในประเด็นการเรียนรู้ว่าวิธีการใดที่ดี ทําแล้วได้ผลที่ดี วิธีการไหนมีปัญหา และส่งต่อแบ่งปันความรู้กัน

ฉบับนี้ เล่าถึงการใช้เครื่องมือการทบทวนหลังปฏิบัติการหรือถอดบทเรียน (After Action Review: AAR) ฉบับต่อไปจะเล่าถึง การใช้เครื่องมือการเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสําเร็จ (Retrospect) แล้วค่อยชี้ประเด็นความ แตกต่างของการใช้เครื่องมือทั้งสอง แล้วพบกันใหม่ค่ะ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

6


245. Leaders must have an ideology for the public.

“ผู้นําต้องมีอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม” ËÒ¡¤i´¨ae» ¹¼Ù¹ Òí ¨aµ o§e»ÅÕÂè ¹¤ÇÒÁ¤i´eÊÕÂãËÁ ÇÒ ¼Ù¹ Òí µ o§ÁÕo´u Á¡Òó e¾ืoè Ê Ç¹ÃÇÁ äÁ 㪠¤i´æººe´iÁ æ ·Õè¤i´æµ ¨aÁÕoíÒ¹Ò¨ ÁÕoi·¸i¾Å æÊǧËҼŻÃaoª¹ e¾ืoè µ¹eo§æÅa¾Ç¡¾ o§ ¼Ù¹ Òí ·ÕÁè oÕ ´u Á¡Òó e¾ืoè Ê Ç¹ÃÇÁ ¨a¤i´¶ึ§Ê ǹÃÇÁe» ¹ËÅa¡ ¨aÁo§o¹Ò¤µ¢o§ÅÙ¡ËÅÒ¹eËŹµ oä»eÃืoè Âæ äÁ eËç¹æ¡ µÇa æµ ¨a·u Áe·eÊÕÂÊÅae¾ืèoÊ Ç¹ÃÇÁe» ¹ËÅa¡ äÁ ¤i´·Õè¨a·u¨ÃiµæÅa»Ãa¾ÄµiÁiªoº äÁ ¤i´·Õè¨aeoÒe»ÃÕº ¤¹oืè¹ æÅa¨aæ¹a¹íÒ·ÕÁ§Ò¹ãË e» ¹¤¹´ÕÁ¤Õ u³¸ÃÃÁ ¶ Òo§¤ ¡Ã ªuÁª¹ æÅaÊa§¤ÁÁÕ¼¹Ù Òí ·ÕÁè oÕ ´u Á¡Òó e¾ืoè Ê Ç¹ÃÇÁ¨íҹǹÁÒ¡ o§¤ ¡Ã ªuÁª¹ æÅaÊa§¤Á¡ç ¨ae¨Ãi­¡ ÒÇ˹ Òo ҧÃÇ´eÃçÇ »ÃaªÒª¹¡ç¨aÁÕ¤³ u ÀÒ¾ªÕǵi ´Õ¢¹ึé Êa§¤Á¡ç¨aÁÕæµ ¤ÇÒÁʧºÃ ÁeÂç¹µÅo´ä»

246. Always be disciplinary.

“มีระเบียบวินัยอยู่เสมอ” ËÒ¡Áo§Êa§¤Á·Õ¾è a²¹ÒæÅ ÇÇ Ò ¤¹ã¹Êa§¤Á¹a¹é Áa¡¨aÁÕÃaeºÕºÇi¹Âa ã¹¢³a·Õèʧa ¤Á ´ o¾a²¹Ò ËÃืoÊa§¤Á¡íÒÅa§¾a²¹Ò ¤¹ã¹Êa§¤ÁÁa¡¨aäÁ ¤o ÂÁÕÃaeºÕºÇi¹Âa ·íÒäÁ¨ึ§e» ¹eª ¹¹a¹é ¤ÇÒÁ¨Ãi§æŠǤ¹·u¡¤¹µ o§ÁÕÃaeºÕºÇi¹Âa oÂÙe ÊÁo äÁ ÇÒ ¨ae¡i´ÁÒã¹Êa§¤Áã´¡çµÒÁ e¾ÃÒa¡ÒÃÁÕÃaeºÕºÇi¹Âa e» ¹¾ื¹é °Ò¹¢o§¡Òþa²¹Ò ¨aµ o§»ÅÙ¡½ §ãË ¡ºa ·u¡¤¹µa§é æµ ÅÁื µÒ´ÙoÅ¡ äÁ Ç Ò¨ae» ¹eÃืoè §¡ÒÃÃa¡ÉÒ¤ÇÒÁÊaoÒ´ ¡Òõçµ oeÇÅÒ ¡ÒÃe¢ Òæ¶ÇµÒÁÅíÒ´aº¡ o¹ËÅa§ ¡Òû¯iºaµiµÒÁÃaeºÕº ¡®ËÁÒ e» ¹µ ¹ ¶ Ò·u¡¤¹ã¹o§¤ ¡Ã ªuÁª¹ æÅaÊa§¤ÁÁÕÃaeºÕºÇi¹Âa ¡Òþa²¹Ò¡ç¨a´Õ¢¹ึé ¨Ò¡Ë¹ ÒÁืo e» ¹ËÅa§Áืo ¨ae»ÅÕÂè ¹¨Ò¡Êa§¤Á·Õ´è o ¾a²¹ÒËÃืo¡íÒÅa§¾a²¹Òe» ¹Êa§¤Á¾a²¹Òo ҧÃÇ´eÃçÇ *************************************************************************** ขอขอบคุณ Mr.Kim Robertson และ Mrs.Mary Robertson,Missionaries ชาวนิวซีแลนด์ ประจําจังหวัดสุพรรณบุรี ทีใ่ ห้ข้อคิดและคําแนะนําที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง (อ่านต่อฉบับหน้า) “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

7


“ความซือ่ ความจน จนตรอก (ติดคุก)”

ผ่านไปไม่นานกับเรื่องราวของพนักงานเก็บขยะของ กทม.เก็บแผ่นซีดีเก่า ซึ่งเป็นซีดีภาพยนตร์แล้วนํามา วางขายถูกจับ ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยความซื่อรับสารภาพว่าทําไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ศาลสั่งปรับสองแสนกว่า รับสารภาพลดครึ่งราคาเหลือแสนกว่า ไม่มคี ่าปรับก็ต้องติดคุกแทนค่าปรับจนกว่าจะครบ แต่ได้ทราบข่าวว่ามี หลายฝ่ายเข้าให้การช่วยเหลือหาเงินจ่ายค่าปรับให้ หลายท่านคงเกิดความสงสัยว่าเห็นมีแหล่งจําหน่ายหลายสถานที่เปิดร้ายขายแผ่น ซีดี ดีวีดี ภาพยนตร์ และเพลง ละเมิดลิขสิทธิ์ขายกันอย่างโจ่งครึ่มเป็นล่ําเป็นสัน ทุกวันนี้ก็ยังขายกันอยู่และคงมีอยู่ตลอดไปคู่ฟ้า เมืองไทย ต้องบอกว่าพวกเขาเหล่านั้นทํากันเป็นขบวนการ มีนายทุน มีเส้นมีสาย....และมีเงิน ถึงอยู่กันมาได้ (มีวิธีเอาตัวรอด ซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่รู้) ก็ ว่ากั นไป ยังมีอีกคดีตัวอย่างสําหรับคนที่มีฐ านะหาเช้ากินค่ําที่ ตกเป็น ผู้ต้องหาแล้วไม่รอดนอนคุก ได้แก่ คดีติดคุก 15 ปี เพราะเก็บเห็ด

จริงหรือ “ติดคุก 15 ปี” เพราะเก็บเห็ด จากกรณีที่ 2 ตายาย นางแดง ศิริสอน วัย 48 ปี และ นายอุดม ศิริสอน วัย 51 ปี ชาวบ้าน ต.โนน สะอาด อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ เข้าไปในป่าเพื่อเก็บเห็ด ต่อมาถูกดําเนินคดีในข้อหาบุกรุกและตัดไม้ในพื้นที่เขตป่า สงวนแห่งชาติ เนื่องจากเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2553 ทั้งคู่ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปในพื้นที่อุทยานป่าสงวนดงระแนง จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเก็บเห็ดป่า ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มลักลอบตัดไม้ในบริเวณดังกล่าวด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจึงได้ เข้าตรวจพื้นที่แล้วพบเห็นพอดี จึงได้ขอเข้าจับกุม ซึ่งกลุ่มที่ลักลอบตัดไม้ได้หลบหนีไป ส่วนทั้งสองกลัวว่าจะถูก จับกุมจึงได้หลบหนีไปด้วย กระทั่งถูกจับและดําเนินคดีตามหมายเรียกในที่สุด โดยทั้งคู่ถูกศาลชั้นต้นตัดสินให้จําคุก 30 ปี ขณะสารภาพลดโทษ เป็นจําคุก 15 ปี ขณะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนระหว่างฎีกาในข้อหาบุกรุกและ ลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ข่าวที่ลงผ่านสื่อต่างๆ ระบุว่า ตายายติดคุก 15 ปี เพราะเก็บเห็ด ทําให้ เกิดเสียงวิพากษ์วิจารกันให้แซดว่าความยุติธรรมในเมืองไทยอยู่ที่ไหน

“ตายาย” โดยจําคุก เพราะคดี เก็บเห็ดจริงหรือ? คําถาม : ข้อหาเก็บเห็ดในป่าสงวนมีหรือไม่ คําตอบ : ไม่มี มีแต่ข้อหาบุกรุกและตัดไม้แผ้วถางป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ตามข้อหาที่โจทก์ฟ้อง) “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

8


คําถาม : ข้อหาบุกรุกและตัดไม้ในเขตป่าสงวน ทําไมต้องลงโทษจําคุก ๑๕ ปี คําตอบ : ศาลลงโทษจําเลยคนอื่น ๓๐ ปี รับสารภาพแล้วลดเหลือ ๑๕ ปีทุกคน จะหาเหตุผลใดมาลงโทษจําเลย ทั้งสองต่างจากคนอื่น

คําถาม : เอาสถานะความเป็น “ตายาย” มาลงโทษเบากว่าคนอื่นหรือไม่ คําตอบ : ข้อเท็จจริงที่อยู่ต่อหน้าศาล มีเพียงว่า นางแดง ศิริสอน อายุ 48 ปี และ นายอุดม ศิริสอน อายุ 51 ปี คงไม่มีใครคิดว่าจะเป็นตายาย

คําถาม : สมมุติว่าศาลหยิบเรื่องอายุ (48 และ 51 ) ของจําเลยมาวินิจฉัยว่าเป็น “ตายาย” แล้วรอการลงโทษหรือลงโทษกว่าคนอื่น ได้หรือไม่ คําตอบ : ได้ แต่คนที่ติดคุกคือศาล ไม่ใช่ตายาย

คําถาม : ศาลหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ว่าเป็นตายายหรือเป็นคนหาเช้ากินค่าํ คําตอบ : อาจมีช่องทางหนึ่งคือ การสืบเสาะและพินิจจําเลยก่อนพิพากษา แต่วิธีการนี้ศาลจะใช้เมือ่ มีกรณีศาลก่ํา กึ่งว่าจะรอการลงโทษได้หรือไม่ ไม่ใช่ใช้กับกรณีลงโทษหนักเหมือนเช่นคดีนี้

คําถาม : ทําไมบางคดีศาลลงโทษน้อย แต่บางคดีศาลลงโทษหนัก ทั้งที่เป็นข้อหาตัดไม้ป่าสงวน เหมือนกัน คําตอบ : ข้อหาเหมือนกันก็จริง แต่คดีป่าสงวน ศาลดูจํานวนเนื้อหาที่จําเลยก่อให้เกิดความเสียหาย หากเสียหาย ๒ ไร่ จะลงโทษเท่ากับคนตัดไม้เสียหาย ๕๐ ไร่ไม่ได้ คดีนสี้ ภาพการกระทําผิดมีการทําลายป่าเป็นวงกว้าง

คําถาม : สมมุติว่า จําเลยไปรับจ้างนายทุนเข้าไปดายหญ้าในป่าสงวน จะมีความผิดหรือไม่ คําตอบ : มีความผิด ตามฎีกาที่ 2914/2524 *** อ้างอิงฎีกาที่ 2914/2524 การดายหญ้าในเขตป่าสงวนแห่งชาติคือการก่นสร้างหรือแผ้วถางใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้จําเลยจะกระทําโดยรับจ้างหรือถูกใช้ให้กระทําก็ต้องถือว่าจําเลยเป็นตัวการในการกระทํา ความผิด นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่จะถือว่าผู้รับจ้างไม่มีเจตนาที่จะแผ้วถางป่าไม้ อนึ่ง ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้รอการลงโทษจําคุกจําเลยที่ 1 ไว้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องตามที่โจทก์ฎีกา ว่า การทําลายป่าสงวนแห่งชาติเป็นความผิดที่ร้ายแรงทําให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ซึ่งไม่ควรรอการลงโทษให้จําเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น ***ข้อหาที่ทั้งสองถูกดําเนินคดีไม่ใช่ข้อหาเก็บของป่า (เก็บเห็ด) แต่ถูกดําเนินคดีในข้อหาร่วมกันบุกรุก และทําไม้หวงห้าม โดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากบุคคลทั้งสองอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุและมีการวิ่งหลบหนีการ จับกุมไปพร้อมกับกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันตัดไม้สัก 700 ต้น (จึงถูกตั้งข้อหาว่าเป็นตัวการร่วมกับขบวนการตัดไม้) ซึ่งความผิดฐานบุกรุกป่าสงวน มีระวางโทษจําคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสน ห้าหมื่นบาท และความผิดฐานทําไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยัง

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

9


มิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรารัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพัน บาทถึงสองแสนบาท เป็นการกระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษทุกกระทงความผิด ตามคําพิพากษา การกระทําที่จําเลยทั้งสองรับสารภาพนั้น เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวน ตาม พรบ. ป่าสงวนฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง (ระวางโทษจําคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) และความผิดฐานทําไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยัง มิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรารัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พรบ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง,54 วรรคหนึ่ง 69 วรรคสอง 72 ตรี วรรคสอง 73 วรรคสอง (ระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาท ถึงสองแสนบาท เป็นการกระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงลงโทษทุกกระทงความผิด ข้อหาบุกรุก ศาล ลงโทษจําคุก 11 ปี ส่วนข้อหาตัดไม้ ลงโทษจําคุก 19 ปี รวมจําคุก 30 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษ คงเหลือ 15 ปี **ในชั้นอุทธรณ์ จําเลยอุทธรณ์ให้ศาลรอการลงโทษ โดยอ้างว่า รับสารภาพไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (แต่เนื่องจากการกลับคํารับสารภาพ ตามแนวฎีกาที่ 3127/2550) ถือว่าเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้น อุทธรณ์ซึ่งขัดกับคําให้การรับสารภาพของจําเลยที่รับว่าจําเลยได้กระทําความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกา ของจําเลยเพียงว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษจําเลยหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายืน จากการถามตอบเบื้องต้น อาจพอทําให้หลายๆคน เริ่มจะพอเข้าใจได้บ้างนะครับว่า ตายาย ไม่ได้ติดคุก เพราะคดีเก็บเห็ดแต่อย่างใด สองคดีนี้เป็นคดีตัวอย่างของบุคคลที่เรียกได้เต็มปากว่าคนจน เป็นคดีที่สังคมสามารถเสาะแสวงหาเพื่อให้ ทราบเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนคดีที่เป็นเรื่องของคนที่มีฐานะดีจนถึงขั้นดีมาก หากไม่เป็นที่รู้จักของสังคมนัก ส่วนมากมักจะค่อยๆเลือนหายไปจนลืมว่าเคยมีเรื่องนี้อยู่ ดังนั้น การดําเนินชีวิตควรอยู่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่อย่าซื่อจนทําให้ตนเองต้องเดือดร้อน

(ขอบคุณข้อมูลจากหลักและคําพิพากษา/กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจากบทความจากเว็บไซด์ ทางอินเตอร์เน็ต)

พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดี...

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

10


สมาชิก กบข. จะออกหรือไม่ออกดี? สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่าน ช่วงนี้ได้ยินได้ฟังหลายๆ ท่านคุยกันถกกันเกี่ยวกับเรื่อง ที่ว่าจะลาออกหรือไม่ลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือ กบข. ว่าอันไหนจะ ดีกว่ากัน ก็เลยอยากเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ท่านที่เป็นสมาชิก กบข. ได้นําไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจกันว่า ควรจะเลือกทางไหนดีที่เหมาะสมและน่าจะเกิดประโยชน์ต่อตัวท่านและครอบครัวในระยะยาวมากที่สุด เพื่อให้มองเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบเป็น 3 กรณี ให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ท่านจะได้รับจากการอยู่เป็นสมาชิก กบข. ต่อไปกับการลาออกไปเพื่อรับ บําเหน็จบํานาญในระบบเดิมตาม พ.ร.บ.บําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 โดยสมมุติตัวเลขว่าในวันที่ท่าน จะเกษียณอายุราชการ (อายุ 60 ปี) ท่านยังดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ และมีอายุราชการ 33 ปี ก็แล้วกันนะครับ สูตรคํานวณเงินบํานาญต่อเดือนตามระบบ กบข. คือ เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ 50

(แต่ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) สูตรคํานวณเงินบํานาญต่อเดือนตามระบบเดิม คือ เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ 50

กรณีตัว อย่ า งแรก หาก ณ วั น ที่ท่า นเกษี ยณ ท่ า นได้รับ เงิน เดือนเต็ มเพดานขั้ น สูงของระดั บ ชํานาญการ คือเงินเดือน 39,630 บาท มาแล้ว 5 ปี หรือ 60 เดือน เมื่อคํานวณตามสูตรข้างต้น เงินบํานาญที่ “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

11


ท่านจะได้รับตามระบบ กบข. จะเท่ากับเงินบํานาญที่ท่านจะได้รับในระบบเดิม คือประมาณ 26,155 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายจะเท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายพอดี กรณีเช่นนี้หากยังเป็นสมาชิก กบข. นอกจากจะได้เงินบํานาญรายเดือนเท่ากันกับระบบเดิมแล้ว ท่านยังจะได้รับเงินก้อนอีกส่วนหนึ่งครบทุกประเภท (จากเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินทุกประเภทดังกล่าว) ไว้ ลงทุนทําอาชีพอื่นหลังเกษียณหรืออาจนําไปฝากกินดอกเบี้ยกับธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์กรมฯ หรือลงทุน กับกองทุนการเงินต่างๆ หรือจะฝากลงทุนต่อไปกับ กบข. ก็ได้ เป็นต้น (คือให้เงินทํางานแทนเราบ้าง) ส่วนท่าน ที่เลือกลาออกจาก กบข. ไปสู่ระบบเดิม ก็จะได้รับเงินก้อนเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินสะสมของท่านเองและ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสมเท่านั้นนะครับ กรณีตัวอย่างที่สอง หาก ณ วันที่ท่านเกษียณ ท่านได้รับเงินเดือนเต็มเพดานขั้นสูงของระดับ ชํานาญการ คือเงินเดือน 39,630 บาท มาแล้ว 2 ปีครึ่ง หรือ 30 เดือน เมื่อคํานวณตามสูตรข้างต้น เงินบํานาญ ที่ท่านจะได้รับตามระบบ กบข. กับเงินบํานาญที่ท่านจะได้รับในระบบเดิม จะแตกต่างกันดังนี้ครับ ระบบ กบข. เงินเดือน 1 ต.ค. 55 = 33,800 x 6 เดือน = 202,800 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 59 = 39,630 x 6 เดือน = 237,780 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 56 = 34,790 x 6 เดือน = 208,740 บาท

เงินเดือน 1 ต.ค. 59 = 39,630 x 6 เดือน = 237,780 บาท

เงินเดือน 1 ต.ค. 56 = 35,850 x 6 เดือน = 215,100 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 60 = 39,630 x 5 เดือน = 198,150 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 57 = 36,960 x 6 เดือน = 221,760 บาท

เงินเดือน 30 ก.ย. 60 = 39,630 x 1 เดือน =

เงินเดือน 1 ต.ค. 57 = 38,250 x 6 เดือน = 229,500 บาท

39,630 บาท

รวม 60 เดือน เป็นเงิน = 2,266,800 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 58 = 39,630 x 6 เดือน = 237,780 บาท

เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย = 2,266,800 หารด้วย 60 = 37,780 บาท

เงินเดือน 1 ต.ค. 58 = 39,630 x 6 เดือน = 237,780 บาท

เมื่อคํานวณตามสูตรของระบบ กบข. ท่านจะได้รับเงินบํานาญต่อเดือน จํานวน 24,934 บาท ดังนี้ 37780 x 33 เท่ากับ 24,934 บาท 50

(ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสดท้าย คือไม่เกิน 26,446 บาท) และหากคํานวณตามสูตรของระบบเดิม ท่านจะได้รับเงินบํานาญต่อเดือน จํานวน 26,155 บาท ดังนี้ 39,630 x 33 เท่ากับ 26,155 บาท 50 “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

12


จากผลการคํานวณข้างต้น จะเห็นว่าเงินบํานาญต่อเดือนตามระบบ กบข. ในกรณีตัวอย่างที่สองนี้จะน้อยกว่าเงิน บํานาญต่อเดือนตามระบบเดิม จํานวน 1,221 บาท (คือ 26,155 – 24,934) ส่วนการได้รับเงินก้อนจาก กบข. ก็เป็นเช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างแรก กรณีตัวอย่างที่สาม หาก ณ วันที่ท่านเกษียณ ท่านยังเงินเดือนไม่เต็มเพดานขั้นสูงของระดับ ชํานาญการ เมื่อคํานวณตามสูตรข้างต้น เงินบํานาญที่ท่านจะได้รับตามระบบ กบข. กับเงินบํานาญที่ท่านจะ ได้รับในระบบเดิม จะแตกต่างกันดังนี้ครับ ระบบ กบข. เงินเดือน 1 ต.ค. 55 = 27,240 x 6 เดือน = 163,440 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 59 = 34,790 x 6 เดือน = 208,740 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 56 = 28,330 x 6 เดือน = 169,980 บาท

เงินเดือน 1 ต.ค. 59 = 35,850 x 6 เดือน = 215,100 บาท

เงินเดือน 1 ต.ค. 56 = 29,450 x 6 เดือน = 176,700 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 60 = 36,960 x 5 เดือน = 184,800 บาท

เงินเดือน 1 เม.ย. 57 = 30,560 x 6 เดือน = 183,360 บาท

เงินเดือน 30 ก.ย. 60 = 38,250 x 1 เดือน =

เงินเดือน 1 ต.ค. 57 = 31,600 x 6 เดือน = 189,600 บาท เงินเดือน 1 เม.ย. 58 = 32,710 x 6 เดือน = 196,260 บาท

38,250 บาท

รวม 60 เดือน เป็นเงิน = 1,929,030 บาท เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย = 1,929,030 หารด้วย 60

เงินเดือน 1 ต.ค. 58 = 33,800 x 6 เดือน = 202,800 บาท

= 32,150 บาท

เมื่อคํานวณตามสูตรของระบบ กบข. ท่านจะได้รับเงินบํานาญต่อเดือน จํานวน 21,219 บาท ดังนี้ 32,150 x 33 เท่ากับ 21,219 บาท 50 (ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือไม่เกิน 22,505 บาท) และหากคํานวณตามสูตรของระบบเดิม ท่านจะได้รับเงินบํานาญต่อเดือน จํานวน 25,245 บาท ดังนี้ 38,250 x 33 เท่ากับ 25,245 บาท 50 จากผลการคํานวณข้างต้น จะเห็นว่าเงินบํานาญต่อเดือนตามระบบ กบข. ในกรณีตัวอย่างที่สามนี้จะน้อยกว่า เงินบํานาญต่อเดือนตามระบบเดิม จํานวน 4,026 บาท (คือ 25,245 – 21,219) ส่วนการได้รับเงินก้อนจาก กบข. ก็เป็นเช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างแรก

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

13


นอกจากนี้ เ พื่ อ ให้ ท่ า นมี ข้ อ มู ล ประกอบการตั ด สิ น ใจมากยิ่ ง ขึ้ น ยั ง มี ข้ อ มู ล ที่ น่ า สนใจซึ่ ง คณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทําการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเพียงพอของรายได้ จากการออมและลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ เป็นกรณีศึกษาสําหรับสมาชิก กบข. และได้พิมพ์เผยแพร่อยู่ใน วารสารกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ที่ท่านจะได้ ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของ กบข. เพื่อนํามาศึกษาก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะลาออกหรือไม่ลาออกดี (สําหรับ ผู้เขียนแล้วขอแนะนําแต่เพียงว่า ไม่ว่าท่านจะเลือกแบบไหนก็ตาม ขอให้ท่านเลือกรับเป็นบํานาญก็แล้วกันนะ ครับ อย่างน้อยก็มีเกราะคุ้มกันความเสี่ยงไปตลอดชีวิต ซึ่งไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในวันข้างหน้า แต่ทําให้ สบายใจอย่างหนึ่งว่าจะมีเงินก้อนเล็กๆ และสวัสดิการที่หล่อเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระใครให้มากเกินไป) สําหรับบทความนี้ผู้เขียนขอหยิบยกข้อมูลมาบางส่วน ให้พอเหมาะสมกับพื้นที่ในการเขียนก็แล้วกันนะครับ ลองดูว่าเมื่ออายุครบ 60 ปี ท่านจะได้รับเงินก้อนระบบ กบข. เท่าใดกันบ้าง ตารางประเมินมูลค่าเงินลงทุนกับ กบข. เมื่อข้าราชการอายุครบ 60 ปี อายุปัจจุบนั (ปี)

เงินเดือนเฉลีย่ (บาท)

ปัจจุบันมีเงินลงทุนกับ กบข. (บาท)

มูลค่าเงินลงทุน เมื่ออายุครบ 60 ปี (บาท) **

21 - 25

10,760

13,226

3,872,000

26 – 30

13,310

29,411

3,184,000

31 - 35

14,970

49,097

2,347,000

36 – 40

18,420

151,842

2,132,000

41 – 45

24,800

328,248

2,131,000

46 – 50

28,880

430,897

1,630,000

51 – 55

35,135

560,713

1,244,000

56 - 60

39,265

760,578

952,000

** หมายเหตุ : เงินสะสม 3% ของเงินเดือน (และที่รัฐสมทบ) โดยเลือกลงทุนตามแผนหลักของ กบข. ที่มา: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเพียงพอของรายได้จากการออมและลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ: กรณีศึกษา สําหรับสมาชิก กบข. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

14


จากทั้งหมดที่กล่าวมา ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาตัดสินใจของท่านที่เป็นสมาชิก กบข. บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายก่อนจากกันขอฝา กเป็นบทเพลงที่มีเนื้อหาไพเราะกินใจจากรายการ “หอมแผ่นดิน” ที่ผู้เขียนฟังแล้วเห็นว่าน่าจะให้ข้อคิดดีๆ อะไรบางอย่างต่อการดําเนินชีวิตของทุกๆ ท่านได้เป็น อย่างดี คําร้องและทํานองแต่งโดยคุณศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ขับร้องโดยคุณอารีรัตน์ สุกใส และคุณธนกฤต อยู่สุข หาชมหาฟังกันได้ในรายการฯ ทุกวันอาทิตย์หรือจากเว็บไซต์ของ Youtube ก็ได้นะครับ ตามนี้เลยครับ เพลงหอมแผ่นดิน “สายน้ําไม่เคยหยุดไหล แผ่นดินหัวใจ ยังคงหอมกรุ่น ยังมีความรัก น้ําใจ รอยยิ้มละมุน พ่อแม่พี่น้องไออุ่น ฟูมฟักรากเหง้าฝากฝัง ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว ฟ้ายังมีดาว มีตะวันแสงทองส่องหวัง พึ่งภูมิปัญญา เรือกสวนไร่นา สร้างทําถากถาง กี่คนหอบฝันทวนทาง หวนคืนมาซบแผ่นดิน แผ่นดินถิ่นฐานบ้านเกิด ไม่เคยระเหิด ห่างไกลใจยังได้กลิ่น อู่ข้าวอู่น้ํา วิถีงดงามพออยู่พอกิน บทเพลงพฤกษ์ไพร กล่อมดวงใจ ยังแว่วแผ่วยิน หอมเอย หอมกลิ่นแผ่นดิน ทุ่งรวงทอง ท้องนาบ้านเรา.........” “ความฝัน... พาให้หลายชีวิตออกเดินทาง... แต่... สําหรับบางคน การได้ยืนอยู่บนแผ่นดินของตนเอง ด้วยวิถีทางใหม่ คือความฝันที่เป็นจริงได้... อย่างมั่นคง......................” ขอคุณงามความดีที่ทุกท่านได้กระทํามาโดยตลอดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ได้เป็นพล ปัจจัยให้ทุกท่าน ครอบครัว และบุคคลอันเป็นที่รัก มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า ความสําเร็จ ความเบิกบาน สราญใจ และสมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาที่ดีงามจงทุกประการ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

15


¤ÇÒÁeÃÕº§ ÒÂ

“เรียบง่าย คือ ที่สุดแห่งซับซ้อน”

S&P S = Simplify P = Practical

ไม่ยอกย้อน-ธรรมดาเป็นรากฐาน ทําให้ง่าย-ทําได้จริง เป็นหลักการ ประสานงาน ประสานกิจ ประสิทธิ์แล

เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงประชา คือ มรรคา “ความเรียบง่าย” ในทุกหมู่ พอประมาณการทั้งหลายได้เชิดชู พอเพียงอยู่ พอเพียงใช้ ใน “สายกลาง”

ยิ่งจ่าย-ยิ่งสุข กินง่าย ถ่ายง่าย และนอนง่าย สามเรื่องอยู่สบายไปทุกอย่าง ยิ่งง่าย-ยิ่งสุขทุกหนทาง เป็นชีวิตเสริมสร้าง “เรียบง่าย” เอย. “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

16


ผลประโยชน์และปัจจัยความสําเร็จ ของกลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนา ´Ã.ÊÃÄ·¸ ¨a¹Êu¢

กลุ่มจังหวัดเป็นเป้าหมายรองจากระดับภูมิภาคที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาประเทศ กรมการพัฒนาชุมชน จึงส่งเสริมให้มีการบริหารงานการพัฒนาชุมชนระดับกลุ่มจังหวัดโดยจัดตั้งหัวหน้ากลุ่มจังหวัดด้านการ พัฒนาชุมชน และให้กลุ่มจังหวัดร่วมกันจัดทํายุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชนรองรับประชาคม อาเซียน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ ยุทธศาสตร์ประเทศ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด มีแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและแนว ทางการพัฒนากลุ่มจังหวัด ตามความเหมาะสม เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชน มีความสมบูรณ์ และได้ข้อมูลย้อนกลับนําไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารงานกลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชนมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาชุมชนในพื้นที่ของจังหวัด ได้มีการกระจายอํานาจให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถ วางแผนพัฒนาชุมชน และขับเคลื่อนกิจกรรมตามความเหมาะสม หากมีการส่งเสริมการดําเนินงานตามแผน ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชน ย่อมเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและพื้นที่อย่างแท้จริง กรมการ พัฒนาชุมชนจึงเห็นว่าเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต จึงได้จัดทําโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้าน การพัฒนาชุมชน เพื่อให้กลุ่มจังหวัดมีการดําเนินงานกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนา ชุมชน และเพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชน ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ประเทศ แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ตามความเหมาะสมของพื้นที่

กิจกรรมที่สําคัญของโครงการ คือ การขับเคลื่อนกิจกรรมตามวิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัดด้านการ พัฒนาชุมชน ที่มุ่งหวังให้พื้นที่ดําเนินการได้ตามความถนัด และสอดคล้องกับพื้นที่ โดยได้จัดประชุมชี้แจงจังหวัด กลุ่มจังหวัด ในการเสนอโครงการ ผ่านระบบ VDO Conference ให้กลุ่มจังหวัดเสนอร่างโครงการกิจกรรมขอรับ งบประมาณ จัดประชุมวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะร่างโครงการกิจกรรม อนุมัติให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัด ดําเนินการตามกิจกรรมของโครงการ ติดตามการดําเนินงานโดยผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน และให้ จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทําสรุปผลการดําเนินงานรายงานกรมการพัฒนาชุมชน

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

17


การเสนอโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ทั้ง ๑๘ กลุ่มจังหวัด มีชื่อโครงการ ดังนี้ กลุ่มจังหวัด ๑. ภาคกลางตอนบน ๑ ๒. ภาคกลางตอนบน ๒ ๓. เบญจบูรพาสุวรรณภูมิ ๔. ภาคกลางตอนล่าง ๑ ๕. ภาคกลางตอนล่าง ๒ ๖. ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ๗. ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ๘. ภาคใต้ชายแดน ๙. ภาคตะวันออก ๑๐. ภาคอีสานตอนบน ๑ ๑๑. สนุก ๑๒. ร้อยแก่นสารสินธุ์ ๑๓. อํานาจธานีศรีโสธร ๑๔. นครชัยบุรินทร์ ๑๕. ภาคเหนือตอนบน ๑ ๑๖. ภาคเหนือตอนบน ๒ ๑๗. ภาคเหนือตอนล่าง ๑ ๑๘. ภาคเหนือตอนล่าง ๒

โครงการ การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐานสากล การจัดตั้งและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP ส่งเสริมช่องทางการตลาด ROAD SHOW OTOP มหัศจรรย์ ภูมปิ ัญญา ทวารวดี OTOP ครัวไทยก้าวไกลสู่อาเซียน ส่งเสริมการขาย OTOP สู่นานาชาติ (Event OTOP on Smui beach) อันดามันโปรดักต์ เฟสติวัล (Andaman Products Festival) สร้างผู้เชี่ยวชาญด้านฮาลาลรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พัฒนา เพิ่มมูลค่า OTOP กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก สุดยอด OTOP สบายดีสู่อาเซียน OTOP กลุ่มสนุก รุกไกลสู่สากล หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบสู่อาเซียน Smart Lady Smart OTOP : คลื่นลูกใหม่แห่งการพัฒนาสู่ OTOP ส่งเสริม “ไหมนครชัยบุรินทร์” สูส่ ากล การจัดแสดง Road Show หมู่บ้านวัฒนธรรมล้านนาเพื่อการท่องเที่ยว OTOP ถิ่นฟ้าล้านนาตะวันออก ผลิตภัณฑ์คณ ุ ภาพสูม่ าตรฐานสากล การจัดตั้งและพัฒนาเครือข่าย OTOP การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายกลุ่มผูผ้ ลิต/ผูป้ ระกอบการ แปรรูปข้าว ด้านการ บริหารจัดการ

ผลการดําเนินงานตามโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชน จาก ข้อมูลการประเมินผลโครงการมีการปฏิบัติงานมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนและนโยบาย ของรัฐ ทํางานแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กําหนด ร้อยละ ๙๑.๔ และแล้วเสร็จก่อนกําหนด ร้อยละ ๘.๖ เป็นไปตาม แนวทางขั้นตอนการดําเนินงาน ร้อยละ ๑๐๐ มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ร้อยละ ๙๑.๔ มีการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่ทําให้งานมีประสิทธิภาพ ร้อยละ ๘๒.๙ ผลประโยชน์ทเี่ กิดขึ้นต่อประชาชนและประเทศชาติ แยกออกเป็นด้าน ได้ดงั นี้ ๑. การพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการผลิต และด้านการตลาด มีการ เปลี่ยนแปลงต่ํากว่าเป้าหมายที่กําหนด (ร้อยละ ๓๘.๓) แต่ก็มีการจัดทําและปรับปรุงแผนธุรกิจของกลุ่มให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการสํารวจความต้องการของลูกค้า ศึกษาช่องทางการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งจัดทํา แผนการตลาดรองรับทิศทางการดําเนินงานในอนาคต ๒. การพัฒนาเครือข่าย มีสมาชิกเครือข่าย OTOP เพิ่มขึ้น จํานวน ๙๗ กลุ่ม สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมที่ เครือข่ายดําเนินการขับเคลื่อน จํานวน ๘ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย OTOP กิจกรรม การจัดแสดงและจําหน่ายสินค้า OTOP และกิจกรรมการจัดตั้งศูนย์แสดงและจําหน่ายสินค้า OTOP ส่งผลให้ เครือข่าย OTOP มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีช่องทางจําหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น สินค้าเป็นที่รู้จักของ ประชาชนอย่างกว้างขวาง และมียอดการจําหน่ายสินค้าที่เพิ่มขึ้น “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

18


๓. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP สามารถขอรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้ถึง ๓๔ ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารและยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ฮาลาล และ GAP มีการต่อยอดและพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพ สม่ําเสมอ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเพิ่มขึ้น เก็บง่ายเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เหมาะสมกับประเภทของสินค้า และสถานที่จําหน่าย และมีผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า จํานวน ๒๓ ผลิตภัณฑ์ มูลค่าที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๘๒ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น คือ ชาผักหวาน ไม้กวาด และข้าวกล้อง ของจังหวัดมุกดาหาร มูลค่าเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ ๑๐๐ ๔. การจําหน่ายสินค้า OTOP การดําเนินงานมีมูลค่าการสั่งจองสินค้า จํานวน ๖,๙๒๗,๓๘๓ บาท มีผู้มา ติดต่อเจรจาทางธุรกิจ จํานวน ๒๔๕ ราย และมีช่องทางจําหน่ายสินค้า ๗ ช่องทาง โดยจัดแสดงและจําหน่ายสินค้า ผ่านเว็บไซต์ ตลาด OTOP ที่สถานีวิทยุ ตลาดนัด ศูนย์แสดงและจําหน่ายสินค้า OTOP ทางไปรษณีย์ และ จําหน่าย ณ ที่ทําการกลุ่ม รายได้จากการจําหน่ายสินค้าคิดเป็น ๑.๙๗ เท่าของต้นทุน ๕. การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ผลที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการชุมชนที่ เหมาะสมต่อการเป็นต้นแบบอาเซียน โดยมีระเบียบ กฎเกณฑ์การอาศัยอยู่ร่วมกัน แบ่งความรับผิดชอบของ สมาชิกในชุมชน มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอต่อความจําเป็นของคนในชุมชน มีการรวบรวมองค์ความรู้ชุมชน มี แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน มีการถ่ายทอดความรู้ของชุมชน มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม มีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีการ ส่งเสริมสุขภาพแก่สมาชิกในชุมชน ในรอบปีที่ผ่านมาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ๔ หมู่บ้าน ได้ต้อนรับคณะศึกษาดู งานจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ จํานวน ๑๕ คณะ ๑๖ ครั้ง รวมทั้งสิ้น ๓๑๘ คน ปัจจัยแห่งความสําเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดด้านการพัฒนาชุมชน มีดังนี้ ๑. บุ คลากร ได้ แก่ การมี เจ้ าหน้ าที่ผู้รับผิดชอบมีความรู้ ความเข้าใจเรื่ องยุท ธศาสตร์กลุ่มจังหวัด มีประสบการณ์ในการบริหารงานโครงการกลุ่มจังหวัด สามารถถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการ ทํางานเป็นทีม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีความพร้อมและต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และผู้บริหารกลุ่มจังหวัดให้ความสําคัญในการดําเนินโครงการอย่างเป็นระบบ ๒. งบประมาณ ได้แก่ การจัดสรรงบให้กลุ่มจังหวัดอย่างต่อเนื่อง นํางบมาบูรณาการในภาพของกลุ่ม จังหวัดและจังหวัดได้ และการบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ๓. กฎระเบียบ ได้แก่ การมีระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม และมีแนวทางการดําเนินงานที่ชัดเจน ๔. เทคโนโลยี ได้แก่ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร ผ่านสื่อ ทําให้จังหวัดในกลุ่มจังหวัดได้ ทราบข้อมูลโครงการอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ติดต่อสื่อสารทันสมัย และการพัฒนาและจัดทําระบบ สารสนเทศหมู่บ้านเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ได้รวดเร็ว ๕. ด้านองค์ความรู้ ได้แก่ บุคลากรมีความรู้และมีการบริหารจัดการองค์ความรู้ในการพัฒนาต่อยอด งานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างจังหวัดภายในกลุ่มจังหวัดอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง หน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และมีวิทยากรชุมชนถ่ายทอดความรู้ ณ จุด เรียนรู้ของหมู่บ้าน ๖. การมีส่วนร่วมของกลุ่มจังหวัด ได้แก่ การได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายและภาคีในพื้นที่ จังหวัด ในกลุ่มจังหวัดมีส่วนร่วมดําเนินการตั้งแต่เริ่มต้น มีการติดต่อสื่อสารทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ และ กลุ่ม จังหวัดมีการวางแผนการทํางานในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายการทํางานร่วมกัน ๗. อื่นๆ ได้แก่ ความคุ้นเคยและความสามัคคีของบุคลากรในกลุ่มจังหวัด และการให้ความสําคัญใน การดําเนินงานของผู้บริหารระดับจังหวัด “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

19


ภาพกิจกรรม

วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายขวัญชัย วงศนิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พรอมดวยผูบริหารจาก ๖ หนวยงาน นางภัทรพร สิทธิวนิช ผอ.ฝายสงเสริมสินคาการทองเที่ยวแหงประเทศไทย นายฉัตรชัย บุญรัตน รองประธานหอการคาไทย นายเอกพล วันอุดมเดชาชัย สมาคมโรงแรมไทย น.ส.สุมิตรา มัทธุรนนท นายกสมาคมทองเที่ยวเชิงอนุรักษและผจญภัย นายสมชาติ อังกาบสี เลขาธิการสมาคมมัคคุเทศกอาชีพแหงประเทศไทย นายสุเทพ อารมณรักษ นายกสมาคมสงเสริมธุรกิจการทองเที่ยวแหงประเทศไทย ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการสนับสนุนโครงการประชาสัมพันธ์ สุดยอดเส้นทางการท่องเที่ยวในหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

20


ภาพกิจกรรม

วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ นายขวัญชัย วงศนิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให นายมนตรี นาคสมบูรณ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เขารับรางวัลความเปนเลิศประเภทพัฒนาการ และขยายผล การบริหารราชการแบบมีสวนรวม ประจําป 2557 จัดโดย สํานักงาน ก.พ.ร. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เปนประธานมอบรางวัล โดยมี นายธงชัย บุตรนุชิต ผูอํานวยการสํานักพัฒนาทุนและองคกรการเงินชุมชน และ นางสาวพจนา สุจํานงค ผูอํานวยการกลุมพัฒนาระบบบริหาร รวมใหการตอนรับและแสดงความยินดี โอกาสนี้ กลุม ออมทรัพยเพื่อการผลิต บานขาม อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ และหมูบานเศรษฐกิจพอเพียง บานหางสูง ต.บานดอน อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ เขารับรางวัลเครือขายเขมแข็ง โครงการโรงเรียนกลุมออมทรัพยเพื่อการผลิตดวย ณ หอประชุมกองทัพเรือ “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

21


ภาพกิจกรรม วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ นายขวัญชัย วงศนิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให นายอรรถพร สิงหวิชัย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปนประธานปดหลักสูตร “การพัฒนาชุมชนและการจัดการอยางยั่งยืน” และมอบประกาศนียบัตรใหคณะผูเขาอบรมและศึกษาดูงานจากสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว จํานวน ๗ คน โดยกรมการพัฒนาชุมชนรวมกับสํานักงานความรวมมือเพื่อการ พัฒนาระหวางประเทศ ระยะเวลาการอบรม ๒๑ วัน วัตถุประสงคเพื่อใหผูรับทุนไดเรียนรูเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในการทําการพัฒนาชุมชน และการจัดการอยางยั่งยืน พรอมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณระหวางไทย – ลาว ในการพัฒนาชุมชน และการจัดการอยางยั่งยืนที่ประสบผลสําเร็จในประเทศไทย ณ โรงแรมเซ็นทราศูนยราชการ แจงวัฒนะ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

22


ภาพกิจกรรม

วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายขวัญชัย วงศนิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให นางสายพิรุณ นอยศิริ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พรอมดวยผูนําหมูบาน OVC รวมสนทนาในรายการ "บายนี้มคี ําตอบ" ประเด็นแนวทางการสงเสริมการดําเนินงานหมูบาน OTOP เพื่อการทองเที่ยว ทางสถานีโทรทัศนโมเดิลไนน ชอง ๙ อ.ส.ม.ท.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

23


ÀÒÉÒ¾Á Ò (µo¹·Õè 2)

ภาษาอาเซียนพื้นฐานน่ารู้

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

24


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

25


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

26


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

27


ปกหลัง

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

28


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.