Cdd2015

Page 1


กรมการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยราชการระดับกรมของ กระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2505 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมฉบับที่ 10 พ.ศ. 2505 โดยโอนกิจการบริหารของส่วนพัฒนาการท้องถิ่น กรมมหาดไทยเดิม เป็นกิจการบริหารของกรมการพัฒนาชุมชน ในขณะที่กิจการบริหาร ของกรมมหาดไทย ได้โอนเป็นกรมการปกครอง ปัจจุบัน นายขวัญชัย วงศ์นิติกร ดำ�รงตำ�แหน่ง อธิบดี กรมการพัฒนาชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ (พ.ศ. 2555 - 2559) 1. สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข 2. เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน 3. ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4. เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความมั่นคงของทุนชุมชน 5. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง

วิสัยทัศน์ (พ.ศ. 2555 - 2559) ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง พันธกิจ (พ.ศ. 2555 – 2559) 1. พัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมการมีสว่ นร่วมและการเรียนรู้ ของชุมชน 2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน 3. ส่งเสริมการพัฒนาระบบกลไกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. พัฒนาสมรรถนะองค์กรในการทำ�งานเชิงบูรณาการ 2 กรมการพัฒนาชุมชน จากวันวานสู่ยุค 2015

ความหมายของโลโก้กรมการพัฒนาชุมชน วงกลมภายใน เป็นรูปโครงสร้างของบ้านชนบท มีตัวอักษร พช. อยู่ใต้รูปบ้าน มีลายกนก แบบเครื่องหมาย 6 และ 9 บนตัว อักษร พ. และอักษร ช. ขอบวงกลมล้อมรอบวงกลมภายในมี 4 สี 4 ช่วง หมายถึงหลักการทำ�งาน 4 ป. วงกลมภายนอก ขอบสีขาว หมายถึง ประชาชน ขอบสีแดง หมายถึง ประชาธิปไตย ขอบสีเทา หมายถึง ประสานงาน ขอบสีน้ำ�เงิน หมายถึง ประหยัด


ผลงานรอบ 6 เดือน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

ปรัชญาพัฒนาชุมชน หลักความเป็นจริงแห่งชีวิต ที่นักพัฒนาชุมชนยึดถือเป็น สรณะ คือ “ความเชื่อมั่นและศรัทธาในมนุษยชาติ” ว่ามนุษย์ทุก ชีวิตมีคุณค่าและมีความหมาย มีศักดิ์ศรี และมีศักยภาพ หลักการพัฒนาชุมชน หลักการพัฒนาชุมชนที่แท้จริง คือ หลักประชาชน 1. เริ่มต้นที่ประชาชน ยืนจุดเดียวกับประชาชน มองโลก มองชีวิต มองปัญหา จากทัศนะของประชาชน เพื่อให้เข้าใจปัญหา ความต้องการของประชาชน เพื่อให้เข้าถึงชีวิต จิตใจของประชาชน 2. ทำ�งานร่วมกับประชาชน (ไม่ใช่ทำ�งานให้กับประชาชน เพราะจะทำ �ให้ เ กิ ด ความคิ ด มาทวงบุ ญ ทวงคุ ณ กั บ ประชาชนใน ภายหลัง) การที่จะทำ�ให้ประชาชนเข้าใจปัญหาของตนเอง และมี กำ�ลังใจลุกขึ้นต่อสู้กับปัญหา ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหานั้น ย่อมมีหนทางที่จะกระทำ�ได้โดยไม่ยากหากเข้าใจปัญหาและเข้าถึง จิตใจประชาชน 3. ยึดประชาชนเป็นพระเอก ประชาชนต้องเป็นผูก้ ระทำ�การ พัฒนาด้วยตนเอง ไม่ใช่เป็นผู้ถูกกระทำ�หรือฝ่ายรองรับข้างเดียว เพราะผลของการพัฒนานั้น ตกอยู่ที่ประชาชนโดยตรง ประชาชน เป็นผูร้ บั โชค หรือเคราะห์จากการพัฒนานัน้ ดังนัน้ การพัฒนาชุมชน จึงมีหลักการที่มีจุดหมาย 3 เชิงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และชุมชนมนุษย์ ดังนี้ 1. จุดหมาย เชิงกระบวนการ (Process Goal) เป็น กระบวนการต่อเนื่องในการพัฒนาความคิด จิตใจมนุษย์ ให้คิด พึ่งตนเอง และมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 2. จุดหมาย เชิงสัมพันธภาพ (Relationship Goal) เป็นการ ทำ�ให้มนุษย์มคี วามสัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กัน ร่วมมือร่วมใจกันทำ�งานเพือ่ กัน และกัน คือ เพื่อกลุ่ม 3. จุดมุ่งหมาย เชิงการงาน (Task Goal) เป็นการทำ�งาน พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข

การส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เป็ น หลั ก ปรั ช ญาที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานแก่คนไทย ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2517 กระทรวง มหาดไทย ได้น้อมนำ�หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลัก ในการพัฒนาหมู่บ้าน และมอบให้กรมการพัฒนาชุมชน ดำ�เนินการ ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งให้มีการ คัดเลือกหมูบ่ า้ นทีม่ ผี ลการพัฒนาดีเด่น เป็นตัวอย่างทีด่ ี เข้ารับรางวัล จังหวัดละ 1 หมูบ่ า้ น โดยกระทรวงมหาดไทยได้น�ำ ความกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทาน โล่รางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข” ตั้งแต่ ปี 2549 มาจนถึงปัจจุบัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 กรมการพัฒนาชุมชน สนับสนุน งบประมาณในการขยายผลหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำ�นวน 878 หมู่บ้าน และกระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม ให้ดำ�เนินการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพิ่มขึ้นอีก 1,000 หมู่บ้าน ผลการดำ�เนินงาน u หมู่ บ้ า นได้ รั บ การพั ฒ นาเป็ น หมู่ บ้ า นเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ต้นแบบ จนถึงปีพ.ศ. 2557 จำ�นวน 5,427 หมู่บ้าน u มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับพระราชทานโล่รางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข” จำ�นวน 767 หมู่บ้าน u มีแกนนำ�หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่ผ่านการ พัฒนา อย่างน้อย 16,281 คน u มีครัวเรือนทีเ่ ป็นต้นแบบในการพัฒนา อย่างน้อย 162,810 ครัวเรือน u หมูบ ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำ�นวน 5,427 หมูบ่ า้ น จัดระดับการพัฒนา ดังนี้ ระดับ พออยู่ พอกิน จำ�นวน 3,493 หมู่บ้าน ระดับ อยู่ดี กินดี จำ�นวน 1,238 หมู่บ้าน ระดับ มั่งมี ศรีสุข จำ�นวน 696 หมู่บ้าน u การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ด้วยการ วัดความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness : GVH) ปี 2557 มีค่าคะแนนเฉลี่ย 87.86

กรมการพัฒนาชุมชน จากวันวานสู่ยุค 2015

3


กองทุนแม่ของแผ่นดิน กองทุนแม่ของแผ่นดิน เกิดขึ้นจากแนวพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยต่อปัญหา ยาเสพติดทีแ่ พร่ระบาดในสังคมไทยและทวีความรุนแรงมากขึน้ เรือ่ ยๆ และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับเลขาธิการ ป.ป.ส. เพือ่ นำ�ไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ กับประชาชนอย่างยั่งยืน โดยสำ�นักงาน ป.ป.ส. ได้นำ�พระราชทรัพย์ ดังกล่าวสมทบกับงบประมาณของสำ�นักงาน ป.ป.ส. จัดตั้งเป็น “กองทุนแม่ของแผ่นดิน” เพื่อมอบเงินให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นเงิน ประเดิมหรือ “เงินขวัญถุงพระราชทาน” เริม่ ต้นกองทุนละ 8,000 บาท โดยมี พิ ธี พ ระราชทานเงิ น กองทุ น แม่ ข องแผ่ น ดิ น ครั้ ง แรกในปี พ.ศ. 2547 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกรมการปกครอง ได้ดำ�เนินงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 25472553 รวมทั้งสิ้นจำ�นวน 11,583 กองทุน ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 กรมการพัฒนาชุมชนได้ รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย ให้รับผิดชอบดำ�เนินงานเสริม สร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดินแบบบูรณาการ ระดม ความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายในการขจัดปัญหา ยาเสพติดให้ได้ผลอย่างยัง่ ยืนด้วยพลังสามัคคีของประชาชนให้พงึ่ พา ตนเองบนพื้นฐานของทุนทางสังคมที่มีอยู่ และต่อยอดไปสู่การแก้ไข ปัญหาที่ยั่งยืนด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้ดำ�เนินงาน อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผลการดำ�เนินงาน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีการเสริมสร้างความเข้มแข็ง กองทุนแม่ของแผ่นดิน (พ.ศ. 2547-2555) จำ�นวน 16,014 กองทุน โดยใช้การตรวจสุขภาพกองทุนแม่ฯ เป็นเครื่องมือที่สำ�คัญ มีการ สร้างและพัฒนากลไกหลักและเครือข่ายที่สำ�คัญๆ ในการขับเคลื่อน 4 กรมการพัฒนาชุมชน จากวันวานสู่ยุค 2015

กองทุนแม่ของแผ่นดิน เช่น พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน แม่ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายกองทุนแม่ฯ ระดับจังหวัดและระดับ อำ�เภอ รวม 954 เครือข่าย และการสร้างวิทยากรชุมชนสร้างความ เข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำ�นวน 532 คน มีศนู ย์เรียนรูก้ องทุน แม่ของแผ่นดิน ที่เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในแต่ละจังหวัดรวมทัง้ สิน้ 2,522 ศูนย์ และมีการขยายผลการดำ�เนิน กองทุนแม่ฯ โดยการจัดตั้งต้นกล้ากองทุนฯ (พ.ศ. 2557-2558) รวม 2,447 แห่ง ซึ่งมีแผนที่จะได้รับพระราชทานเงินขวัญถุงกองทุนแม่ ของแผ่นดินต่อไป กองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นการระดมทุนแห่งศรัทธาและทุน ปัญญา มีการนำ�ไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบนวิถีชีวิตแห่งความ พอเพียง อาทิเช่น การป้องกันยาเสพติด การแก้ไขยาเสพติด การ บำ�บัดรักษาของผูเ้ สพยา การสนับสนุนกิจกรรมเยาวชน การส่งเสริม อาชีพ การคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ เป็นต้น จนกล่าวได้ว่า กองทุน แม่ของแผ่นดิน คือ กองทุนที่รวมจิตใจของผู้คน เพื่อช่วยเหลือผู้คน ที่ตกทุกข์ได้ยาก นับเป็นทุนเริ่มต้นแห่งความดีงาม


อีกทั้งมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน (พ.ศ. 2547-2556) จำ�นวน 16,014 กองทุน โดยใช้การตรวจสุขภาพ กองทุนแม่ฯ เป็นเครื่องมือที่สำ�คัญ มีการสร้างและพัฒนากลไกหลัก และเครือข่ายที่สำ�คัญในการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดิน เช่น พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนแม่ การพัฒนาศักยภาพเครือ ข่ายกองทุนแม่ฯ ระดับจังหวัดและระดับอำ�เภอ รวม 954 เครือข่าย และการสร้ า งวิ ท ยากรชุ ม ชนสร้ า งความเข้ ม แข็ ง กองทุ น แม่ ข อง แผ่นดิน จำ�นวน 532 คน มีศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในแต่ละจังหวัด รวมทั้งสิ้น 2,522 ศูนย์ มีการขยายผลการดำ�เนินกองทุนแม่ฯ โดย การจัดตัง้ ต้นกล้ากองทุนฯ (พ.ศ. 2557-2558 ) รวม 2,447 แห่ง ซึ่งมี แผนที่จะได้รับพระราชทานเงินขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินต่อไป

การส่งเสริมสินค้า OTOP รั ฐ บาลมี นโยบายสำ � คั ญ ด้ า นเศรษฐกิ จ และการลดความ เหลื่ อ มล้ำ � ของสั ง คม และสร้ า งโอกาสการเข้ า ถึ ง บริ ก ารของรั ฐ กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน ดำ�เนินการ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารจั ด การโครงการหนึ่ ง ตำ � บล หนึ่ ง ผลิตภัณฑ์ OTOP เพือ่ ให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชน และมุ่งเน้นการพัฒนาช่องทางการตลาดเชิงรุกทุกรูปแบบ รวมทั้ง เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดในประเทศและต่างประเทศ จากเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ “เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้” จึงได้กำ�หนดกลยุทธ์ ดังนี้ 1. ส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน 2. ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ 3. พัฒนาฐานข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน 4. ส่งเสริมการจัดการความรู้ด้านเศรษฐกิจชุมชน

ผลการดำ�เนินงาน ยอดจำ�หน่ายรวมทั้งสิ้น 1,085,786,718 บาท ดังนี้ m การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ โดยการดำ�เนินโครงการ “จัดแสดงและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP สานสัมพันธ์สองแผ่นดิน” เพือ่ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นทีย่ อมรับ ในระดับสากล และเพิ่มช่องทางการจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ใน ประเทศเพือ่ นบ้าน รวมถึงสนับสนุนให้เครือข่ายผูผ้ ลิต/ผูป้ ระกอบการ OTOP ได้เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการและการตลาดกับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายการดำ�เนิน งาน 30 จังหวัด งบประมาณดำ�เนินการ 18,000,000 บาท มีผลการ ดำ�เนินงานแล้ว 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ (ราชอาณาจักร กัมพูชา) จังหวัดเลย, อุตรดิตถ์ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว) จังหวัดตราด (ราชอาณาจักรกัมพูชา) จังหวัดนครพนม (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) จังหวัดสุรินทร์, บุรีรัมย์ (ราชอาณาจักรกัมพูชา) จังหวัดน่าน (สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว) จังหวัดอุทัยธานี (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์) จังหวัดอุบลราชธานี, อำ�นาจเจริญ (สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว) จังหวัดจันทบุรี (ราชอาณาจักรกัมพูชา) จังหวัดตาก (สาธารณรั ฐ แห่ งสหภาพเมียนมาร์ ) จังหวัดยะลา (สหพัน ธรั ฐ มาเลเซีย) และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาร์) ใช้งบประมาณดำ�เนินการจังหวัดละ 600,000 บาท รวม เป็นเงิน 9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน) สรุปผลการดำ�เนินงาน ดังนี้

กรมการพัฒนาชุมชน จากวันวานสู่ยุค 2015

5


จำ�นวนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ที่เข้าร่วมจำ�หน่าย จำ�นวน 1,023 ราย จำ�นวนผู้เข้าชมงาน จำ�นวน 167,453 คน ยอดรายได้ จ ากการจำ � หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ OTOP จำ � นวน 32,525,018 บาท m การจัดงาน OTOP ภูมิภาค เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาใน การพัฒนาสินค้า เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาสินค้า OTOP รวมถึงสร้างโอกาสและช่องทางการตลาดสินค้า OTOP โดย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายดำ�เนินงาน 10 จังหวัด งบ ประมาณดำ�เนินการทั้งสิ้น 78,900,000 บาท มีผลการดำ�เนินงาน แล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง, ระยอง, กำ�แพงเพชร, อุดรธานี และภูเก็ต มียอดจำ�หน่ายรวม 207,062,383 บาท m การจัดศูนย์แสดง จำ�หน่ายและกระจายสินค้า OTOP บริเวณใต้ทางด่วนในกรุงเทพมหานคร เพือ่ เพิม่ ช่องทางการจำ�หน่าย และกระจายสินค้า OTOP โดยได้มีการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการ จัดจำ�หน่าย ดำ�เนินงานในพื้นที่ใต้ทางด่วน 3 จุด มียอดจำ�หน่าย สินค้า 6 เดือนที่ผ่านมา จำ�นวน 16,206,383 บาท จำ�แนกตามพื้นที่ ดังนี้ s ศู น ย์ ฯ ใต้ ท างด่ ว นเพลิ น จิ ต เป็ น การจำ � หน่ า ยสิ น ค้ า ลักษณะแกลเลอรี ซึ่งเดิมจะมีลูกค้าเข้าไปชมสินค้าน้อย จึงเริ่มนำ� อาหารชวนชิมมาให้บริการและจำ�หน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ ยอดจำ�หน่าย 3,285,906 บาท

s ศูนย์ ใต้ทางด่วนรามอินทรา มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม การขาย เช่น จัดกิจกรรมประกวดลูกทุง่ คอนเทสต์ กิจกรรมคอนเสิรต์ วงดนตรีที่มีชื่อเสียง ยอดจำ�หน่าย 8,543,601 บาท s ศูนย์ฯ ใต้ทางด่วนสีลม จัดกิจกรรมนาทีทองส่งเสริม การขาย จัดตลาดนัดสุขภาพ จำ�หน่ายอาหาร ผัก และผลไม้ ยอด จำ�หน่าย 4,376,876 บาท m โครงการ OTOP CITY 2014 ภูมิปัญญาผ้าไทย และ เทศกาลของขวัญของฝาก ดำ�เนินการระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2557 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี งบประมาณ ดำ�เนินการ 86,735,000 บาท มีผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตสินค้า OTOP ร่วมจำ�หน่าย 2,352 บูธ มีผู้เข้าชมงาน 486,931 คน มียอด การจำ�หน่ายทั้งสิ้น 1,004,530,299 บาท โครงการตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ : รัฐบาลมีนโยบายสำ�คัญด้านเศรษฐกิจและการลดความเหลือ่ มล้�ำ ของสังคม และสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ จึงได้มอบหมาย ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดำ�เนินโครงการ ตลาดนั ด ชุ ม ชน ไทยช่ ว ยไทย คนไทยยิ้ ม ได้ เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ประกอบอาชีพการเกษตร ผู้ผลิตสินค้าชุมชนสินค้า OTOP ที่ ประสบปัญหาการจำ�หน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่มีช่อง ทางการจำ�หน่ายสินค้าไปสูผ่ บู้ ริโภคโดยตรง จึงจัดให้มตี ลาดนัดชุมชน

6 กรมการพัฒนาชุมชน จากวันวานสู่ยุค 2015


เป็นแหล่งจำ�หน่ายสินค้าเกษตร สินค้าชุมชน และสินค้าอุปโภค บริโภคจากผูผ้ ลิตในราคาทีถ่ กู กว่าท้องตลาด เพือ่ ให้ผผู้ ลิตและผูบ้ ริโภค ได้มาพบกันโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยให้ทุกจังหวัด บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด อาทิ เกษตร จังหวัด พาณิชย์จังหวัด (สินค้าธงฟ้า) สหกรณ์การเกษตร องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานทหารในพื้นที่ ร่วมกันกำ�หนด สถานที่จำ�หน่ายสินค้าที่มีระยะเวลาการจัดที่แน่นอน จัดเป็นประจำ� ไม่ใช่จดั ในลักษณะ Event เพือ่ ให้ประชาชนได้น�ำ สินค้ามาจำ�หน่ายเอง จากการติดตามผลการดำ�เนินงานที่ผ่านมา พบว่า มีผลการ ดำ�เนินงานเป็นที่น่าพอใจ เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีพื้นที่จัดตลาด นัดชุมชนทุกจังหวัดรวมถึง 2,063 แห่ง จำ�แนกเป็น สถานที่ของ ราชการ ร้อยละ 22.86 สถานที่สาธารณะ ร้อยละ 46.92 สถานที่ ของเอกชนและแหล่งท่องเทีย่ ว ร้อยละ 38.69 มีผรู้ ว่ มจำ�หน่ายสินค้า รวมถึง 90,030 ราย จำ�แนกเป็น เกษตรกร ร้อยละ 35.98 ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ร้อยละ 18.94 ส่วนราชการ ร้อยละ 0.69 และภาคเอกชน ร้อยละ 44.77 โดยมีผู้บริโภคร่วมกิจกรรมรวม 7,488,525 ราย มียอดจำ�หน่ายที่ผ่านมาถึง 1,548,485,063 บาท ทั้งนี้ จำ�แนกเป็นตลาดนัดชุมชนในลักษณะถนนคนเดิน 62 แห่ง ดำ�เนินการในพื้นที่ 33 จังหวัด

กระทรวงมหาดไทย ได้อนุมตั งิ บประมาณโครงการพัฒนาและ แก้ไขปัญหาของประชาชน ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ดำ�เนินงานโครงการ “ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้” เพือ่ เร่งยกระดับมาตรฐานของตลาดนัดชุมชน ให้เป็นทีน่ า่ เชือ่ ถือและ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน โดยการคัดสรรสินค้าดีมีคุณภาพ และราคายุติธรรมจากชุมชนมาจำ�หน่าย รวมถึงส่งเสริมการจัด กิจกรรมเสริม เพือ่ ให้บริการและสร้างความบันเทิงแก่พนี่ อ้ งประชาชน อาทิ กิจกรรมส่งเสริมการขาย การแสดงดนตรีศิลปวัฒนธรรม พืน้ บ้าน กิจกรรมสาธิต นิทรรศการ สวนสนุก บริการ ตัดผมฟรี การ ตรวจสารปนเปื้อน และให้ความรู้เรื่องสุขลักษณะของตลาดนัดแก่ ผู้จำ�หน่าย โดยกระทรวงมหาดไทยได้เชิญชวนบริษทั ห้างร้านต่างๆ ได้น�ำ สินค้ามาร่วมจำ�หน่าย และเชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทย ได้มา ร่วมกันอุดหนุนสินค้าที่ผลิตและจำ�หน่ายโดยคนในชุมชนไทย ทั้งนี้ เพื่อสร้างรายได้ กระจายโอกาส เป็นการลดความเหลื่อมล้ำ� แบ่งปัน ความสุขให้เกิดขึ้นในสังคม

“กรมการพัฒนาชุมชน ภูมิใจที่มีส่วนสนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง”

กรมการพัฒนาชุมชน จากวันวานสู่ยุค 2015

7



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.