Jour aug sep57

Page 1

- ปกหน้า -

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

1


บทบรรณาธิการ

“ วาร สารพั ฒ นาชุ ม ชนฯ ประจํ า เดื อ น สิงหาคม – กันยายน ๒๕๕๗ คอลัมน์แรกพบกับ “สูตรสําเร็จนักพัฒนาชุมชน” ของท่านรองพิสันติ์ฯ ×เครื่องมือดักจับความรู้ : แลหน้า เหลียวหลัง× กถาพัฒนากร เรื่อง “ยอดดอยเสียดฟ้า มาตามฝัน ตอนจบ”× ...หนึ่งวัน หนึ่งความคิด..×หัวโค้ง : ตํารวจมีอํานาจยึดใบขับขี่ฯ...×รู้ด้วยกันงาน กจ. : ชีวิตราชการ...×วาทะเด่น...๙ ผู้นําที่ยิ่งใหญ่ × “นวั ต กรรมการขั บ เคลื่ อ นยุ ท ธศาสตร์ ก รมการ พัฒนาชุมชน” : ถากถางทางสร้างสรรค์... × “We (vv) Stand For Women คอลัมน์กองทุนพัฒนา บทบาทสตรี ×สาระน่ารู้ : ติดตามต่อกับผล การศึกษาของนักบริ หารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เรื่อง แผนชุมชนและพัฒนากรในทศวรรษหน้า...” ×ภาพกิจกรรมกรมการพัฒนาชุมชน...×ปิดท้าย ภาษาอาเซี ยนพื้ นฐานน่ ารู้ :ภาษาพม่ า(ตอนที่ ๑) พบกันใหม่ฉบับต่อไปนะครับ...

ทรงพล วิชัยขัทคะ บรรณาธิการ

แลหน้า เหลียวหลัง กถาพัฒนากร หนึ่งวัน หนึ่งความคิด หัวโค้ง รู้ด้วยกันงาน กจ. วาทะเด่น ถางทางสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ปกิณกะ ภาพกิจกรรม สาระน่ารู้ ภาษาอาเซียนพื้นฐานน่ารู้

5 8 11 12 15 20 21 25 26 30 36 44

วารสารพัฒนาชุมชน ประจําเดือนสิงหาคม – กันยายน ๒๕๕๗ ประธานกรรมการอํานวยการ นายขวัญชัย วงศ์นิติกร ที่ปรึกษา นายพิสันติ์ ประทานชวโน ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ออกแบบปก ออกแบบรูปเล่ม/พิสูจน์อักษร

นายมนตรี นาคสมบูรณ์ นายอรรถพร สิงหวิชัย นางรักใจ กาญจนะวีระ นางสาวชณัทสรณ์ โพธิปิ่น นางสาวฉัตรประอร นิยม นางสาวเยาวนิจ กลั่นนุรักษ์ นายสรฤทธ จันสุข นางสาวนวพร พิมพา นางสาวนิภาภร บุญประสิทธิ์ นายพีระ คําศรีจันทร์ นายธนชล คูณสวัสดิ์ นายจรูญศักดิ์ เขียวสุคนธ์ นางสาวกฤติยา สวัสดิ์เมือง นางสาวยอดขวัญ ว่านเครือ นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์ นางสาวศิริพร พรหมมา

กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0 2141 6271, 0 2141 6328 โทรสาร 0 2143 8922 บทความหรือข้อเขียนในวารสารพัฒนาชุมชนเป็นความเห็นส่วนบุคคล กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ผูกพันกับกรมการพัฒนาชุมชนแต่อย่างใด

“ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 2 “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”


“สูตรสําเร็จนักพัฒนา” ในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ กรมการพัฒนาชุมชน มีข้าราชการเกษียณ จํานวนทั้งสิ้น ๙๐ ท่าน ซึ่ ง ตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี ที่ ทุ ก ท่ า นได้ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ภ ารกิ จ ด้ ว ยความมุ่ ง มั่ น ทุ่ ม เท เสี ย สละเพื่ อ ส่ ว นรวม และทําคุณประโยชน์ให้แก่ชุมชน ถือว่าทุกท่าน คือ บุคลากรที่ทรงคุณค่าของกรมการพัฒนา

ชุมชน ที่จะถูกตราตรึงไว้ตลอดกาล

และหนึ่ ง คุ ณ ค่ า ที่ ป ระทั บ ตราตรึ ง ใจนั ก พั ฒ นา นั่ น คื อ “ท่ า นรองอธิ บ ดี ก รมการพั ฒ นาชุ ม ชน นายพิสันติ์ ประทานชวโน” ซึ่งท่านได้ให้เกียรติแก่กองบรรณาธิการวารสารพัฒนาชุมชนฯ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ เพื่อให้สัมภาษณ์ในประเด็น “สูตรสําเร็จนักพัฒนา” คําว่า “สูตรสําเร็จนักพัฒนา” เมื่อท่านรองฯ ได้ยิน เช่นนั้น ท่านก็ได้กล่าวด้วยน้ําเสียง และท่าทีที่อมยิ้ม ว่า “แท้ที่จริงแล้วสูตรสําเร็จมันไม่มีหรอกนะ”... เพราะการพัฒนาจะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชน ซึ่งประชาชนแต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่ย่อมมีปัญหา มีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน และในความไม่เหมือนกัน เราจึงไม่ สามารถทําสูตรสําเร็จได้ การพัฒนาที่จะตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ เราจะต้องอาศัยแนวคิดและ หลักการ ซึ่งหลักการพัฒนาชุมชน จะใช้หลักการพึ่งตนเอง ไม่ว่าจะกลุ่มไหน หรือประชาชนมีปัญหาอะไรแบบไหน ก็ยึดหลักแบบนี้ได้ ไม่เรียกว่าเป็นสูตร เรียกว่า “หลักการ” หรือปรัชญาความเชื่อต่อมนุษย์ ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ทุก คนพัฒนาได้ เราก็สามารถทํางานกับคนได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่ม ซึ่งไม่ได้เลือกปฏิบัติ เพราะไม่ว่าจะเป็นคนรวย คนจน ถ้าเขาเป็นคนนะ “เราเชื่อว่าพัฒนาได้” “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

3


“เพราะฉะนั้นในการพัฒนาก่อนอื่นต้องเริ่มที่ความเชื่อก่อน” เมื่อเรามีความเชื่อว่าคนเราพัฒนาได้จริง และมีความเชื่อแบบสนิทใจว่าคนทุกคนพัฒนาได้ พร้อมทั้งถ้าเราให้โอกาสกับเขาเมื่อไหร่ ศักยภาพของเขาก็จะ สามารถดึงออกมาพัฒนาได้ และถ้าได้รับโอกาสไปเรื่อย ๆ เขาก็จะพัฒนาต่อยอดไปได้อีก เราจะเห็นว่าแนวคิดตรง นี้เป็นแนวคิดเชิงปรัชญาหรือความเชื่อ เป็นหัวใจหลัก ไม่ได้เรียกว่า “สูตร” นะ แต่เป็นหัวใจของการพัฒนา และ นักพัฒนาที่แท้จริง จะเริ่มที่ตัวเราเอง เพราะจะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตัวเองก่อน เราจะต้องมีแรงบันดาลใจใน การพัฒนาตนเองก่อนเกิดอุดมการณ์ เพราะถ้าเกิดจากแรงขับภายในมันจะมีพลัง เกิดความรู้สึกปลื้มปิติ เข้าถึง วิญญาณของนักพัฒนา ได้อย่างแท้จริง

หลักการพัฒนาโดยทั่ว ๆ ไป ไม่มีมนุษย์หน้าไหน บันดาลให้ใครพัฒนาใครได้ เราได้แค่บอกกล่าว แต่ถ้า เขาไม่สนใจในสิ่งที่เราบอกกล่าว ก็ไม่มีกฎหมายใดบังคับ เพราะการพัฒนาไม่สามารถบังคับได้ คนจะพัฒนา หาก เริ่มที่ตัวเขาเอง เขาถึงจะเรียนรู้ และสะสมประสบการณ์ สุดท้ายเขาก็จะพึ่งตนเองได้ในที่สุด และคนที่ประสบ ความสําเร็จในชีวิต เขาจะใช้หลักพึ่งตนเอง เขาจะเป็นนักแก้ปัญหา ใช้ปัญญา คิดเอง ทําเอง ทําได้ ชีวิตเขาก็ ประสบความสําเร็จ นั่นคือ “การพึ่งตนเองได้ในที่สุด”

ดังนั้น สังคมที่พัฒนาแล้ว ก็คือ สังคมที่พึ่งตนเองได้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่ว่าจะมีปัญหาภายใน หรือปัญหาภายนอก ก็สามารถที่จะจัดการปัญหาได้ ซึ่งถ้าจะเรียกว่าเป็น “สูตรสําเร็จนักพัฒนา” นั้นก็ไม่เชิง เรียกว่าเป็นหัวใจของนักพัฒนาจะดีกว่า เพราะหัวใจที่สําคัญจะนําพาไปสู่ซึ่งการพัฒนาที่สําเร็จได้...ในที่สุด

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

4


โดย...กระท่อมน้อย ๔ ป.

เครื่องมือดักจับความรู ้ : Knowledge Capture Tool กรมการพัฒนาชุมชนมักถูกกล่าวถึงอยู่เสมอว่าเป็นองค์กรที่สามารถใช้เครื่องมือการดักจับความรู้ (Knowledge Capture Tool) เพื่อจับภาพความรู้ที่ชัดเจนและสามารถเรียนรู้วิธี และพัฒนาเทคนิคการ รวบรวมความรู้ กลั่นความรู้ รวมทั้ง ประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเผยแพร่ความรู้ ในรูปแบบที่ช่วยให้นํากลับมาใช้ได้ในเวลาที่เหมาะสม

เครื่องมือดักจับความรูมีมากมายหลายแบบ แตที่นํามาใชบอยๆ เชน แผนที่ความคิด (Mind Map)

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

5


สําหรับการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR) ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถนํามาใช้ ดักจับความรู้ได้ด้วยคําถามง่ายๆ ๔ คําถาม ซึ่งจะขอแนะนําให้ผู้ทสี่ นใจจะนําไปใช้ได้อย่างง่ายๆ

AAR เป็นขั้นตอนในการทบทวนวิธีการทํางานเพื่อทําให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การ ทํางาน ทั้งด้านความสําเร็จ และปัญหาที่เกิดขึ้น และR ถือว่าเป็นเครื่องมือดักจับความรู้ในการทํางาน โดยการใช้ประเด็นคําถาม ๔ ข้อ ประกอบด้วย ๑. สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทํางานคืออะไร ๒. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร ๓. สิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดเช่นนั้นคืออะไร ๔. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการที่จะไม่ให้เกิดเช่นนั้นคืออะไร และมีขั้นตอนการทบทวนหลังปฏิบัติ (After action review: AAR) ๗ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. ต้องทํา AAR ทันทีทันใด หรือหลังจากจบงานนั้น เพื่อให้จําเหตุการณ์ได้ และสังเคราะห์หาบทเรียน ที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ทันที ๒. บรรยากาศที่ทํา AAR ต้องมีความเป็นกันเอง ไว้ใจ เชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ทุกคนมีความเสมอภาคในการ แสดงความคิดเห็น / พูดคุย ๓. มี ผู้อํานวยความสะดวก (Facilitator) ช่วยกระตุ้น ตั้ งคํ า ถามให้ ทุกคนได้ แสดงความคิ ดเห็น ข้อเสนอแนะพร้อมทั้งช่วยให้ทีมได้เรียนรู้ ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน ๔. ต้องทบทวนให้สมาชิกเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ที่ชัดเจน เพื่อกําหนดสิ่งที่คาดหวังร่วมกัน ๕. พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามสิ่งที่คาดหวังหรือไม่ หากไม่ใช่ต้องทบทวนว่าเป็นเพราะสาเหตุใด แล้วหาแนวทางว่าครั้งต่อไปจะทําอย่างไร ๖. จดบันทึกไว้ว่าวิธีการใดที่เคยนํามาแก้ปัญหาแล้ว มีผลเป็นประการใดและบันทึกผลในประเด็น ที่สําคัญสําหรับการเรียนรู้ร่วมกันของทีม ๗. แบ่งปันการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในทีม หรือระหว่างผู้ทํางานในเรื่องเดียวกัน

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

6


การทํา AAR สามารถสรุปเป็นแผนภาพซึง่ แสดงให้เห็นตามภาพรูปแบบการทํา AAR ต่อไปนี้

ทุกข์ – ปัญหา คืออะไร?

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

7


Âo´´oÂeÊÕ´¿ Ò...ÁÒµÒÁ½ ¹ (µo¹·Õè 2) e´ç¡´o ÁÊ 76

...สวัสดีครับพี่หมาน...ฉันยกมือไหว ..พี่หมานจําผมไดไหม ผมเคยมาดูงานปที่แลวกับคณะกระทรวงตางประเทศนะครับ..ฉันบอกขอมูลเพิ่มเติม แตดูเหมือนจะยังงง ที่ฉันรูจักชื่อแก แตแกคงนึกไมออกหรอกวาใคร เพราะคงมีคณะดูงานมากมายมาที่นี่ ..ครับ...แกรับคําอยางายๆ กอนที่คนอื่นๆ จะแนะนําตัวเองใหแกรูจัก เราบอกเหตุผลของการเดินทางมาในวันนี้ ใหแกรู ...มาทางนี้เลยครับ ผมจะพาไปดูวิธีการทํางาน...พี่สมาน เจาหนาที่ผูรับผิดชอบดูแลโรงผลิตไฟฟาพลังน้ําแหงนี้ เดินนําหนาไปกอน..สารพัดคําถามที่พรั่งพรูดวยความอยากรู อยากเห็นของพวกเรา ออกมาเปนชุด ฉันเดินฟง ไปพลาง ถายรูปเก็บรายละเอียดไปพลาง พี่โยธินถามบาง ชิบาง ไมตรีบางอยางกระหายใครรู จนแทบทุก รายละเอียดและเกร็ดอื่นๆ รวมทั้งปญหาตางๆ ที่เราอยากรูอยางกับวาเราจะกลับไปทําวันพรุงนี้ อยางนั้นแหละ ... และเราทัง้ หมดมาหยุดลงตรงบอซีเมนตขนาด 4 เมตร คูณ 3 เมตรที่กอ ไลระดับลงมา สี่บอและรับน้ําจากทอที่ ผานการปนกระแสไฟฟาออกมาแลวกับเงาดําๆ จํานวนมากในบอ ..ปลาเทราสครับ..พี่สมานแกไมรอใหเราถาม เพราะคงเดาไดวาคงอยากรูกนั เต็มที่ ..เลี้ยงหกเดือนก็จับไปขายไดแลว แตตองเลี้ยงในน้าํ ไหลเทานั้น ถาน้าํ นิง่ ๆในบอปกติเขาจะไมโต... แกอธิบายตอ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

8


...ถาอยากชิม ไปที่รานอาหารนั่นเลย..พี่สมานแกชีม้ ือไปที่รานอาหาร ที่ตั้งอยูแทบจะติดกับบอเลี้ยงปลานี่เลย กอนที่แกจะขอตัวกลับไปดูแลงานในความรับผิดชอบ เรากลาวขอบคุณแกดวยความดีใจที่ไดความรูมากมาย กอนแกจะเดินจากไป พี่โยธินเดินมายิ้มๆ แตแกรูอยูวาฉันไมกนิ ปลาทุกชนิด ..พี่โย ลองไม..ฉันเอยถาม ..แลวแตหัวหนาครับ...แกตอบ ...ไมตองเสียเวลา ไดเวลามือ้ เย็นพอดี ตกลงกินขาวเย็นที่นี่เลยดีกวานะ...ฉันบอก ...ปลาเทราสรมควัน สองตัว ขาวผัดปูจานใหญหนึ่งจาน ยําสามกรอบจานนึง เบียรสงิ หสอง...

ใชเวลาไมนานอาหารที่สั่งก็มาเต็มโตะ..พรอมแลวลุยกันเลย..ทั้งสามคนจัดการกับปลารมควันอยางเอร็ดอรอย สวนฉันขาวผัดกับยําก็เพียงพอแลว จัดการกับอาหารจนหมดพรอมกับน้ํามีฟองสองขวด

ฉันจัดการจาย

คาอาหารเสร็จเรียบรอยแลวก็ไดเวลาไปหาที่พัก ตามที่เจาหนาที่แนะนําไวแลว โดยไมลืมหาเสบียงไปเตรียมไว ในค่ําคืนนี้...

...ไอหมอกลอยเรี่ยดินรอบๆ เต็นทที่พัก หนาวยะเยือก ฉันลุกออกมาขางนอก กอนที่ทุกคนจะทะยอยลุกออกมา ลางหนาลางตา เก็บสัมภาระโยนใสรถคูชีพ กอนจะเดินทางมุงหนาสูยอดดอยอินทนนท อุณหภูมิวันนี้เหลือ เพียง 10 องศา สัมผัสความหนาวกันจนตัวชาแลวก็ไดเวลามุงหนากลับดอยที่จากมา ตลอดทางคือการวาดฝน วางแผนการ และตั้งเข็มมุงเพื่อไปสูจุดหมายในการจัดการพลังงานในชุมชนของเราโดยใชศักยภาพที่ชุมชนมี กอนที่จะรองขอใหใครตอใครยื่นมือมาชวย

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

9


เราตั้งใจจะใชเงิน SML เปนเครื่องมือในการจัดการเพื่อใหทุกครัวเรือนไดมีไฟฟาใชอยางทั่วถึงแมจะเปนการ เริ่มตนที่เรายังไมมั่นใจเลยวาจะประสบความสําเร็จก็ตาม..เพราะถาเอาเงินนําหนาการพัฒนาจะลาหลัง.. แตหากเอาปญญานําหนา การพัฒนาจะยั่งยืน..นั่นคือปณิธานของเรา ....

...หัวหนาเมื่อไหรจะขึ้นไปดูผลงานเสียทีละครับ...พี่โยธิน

ที่วันนี้เปนสารวัตรกํานันหมาดๆ แวะมาหาที่

สํานักงานฯ ในวันประชุมกํานัน ผูใหญบานประจําเดือนคราวหนึ่ง มาชวนใหขึ้นไปดูไฟฟาพลังน้ําที่วันนี้แสง สวางอันเกิดจากความพยายามของพี่นองไดเกิดผลสําเร็จขึ้นแลว ดวยน้ําพัก น้ําแรงและความทุมเท ความ รวมมือของพี่นองทุกคน...วันนี้หวยฮี้จึงสวางไสวดวยแสงแหงความหวังจากพลังแหงความตั้งใจของชุมชน โดย ชุมชน เพื่อชุมชน อยางยั่งยืน....

โปรดติดตาม...ฉบับหนา>>>ครับ

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

10


243. Be happy every time when you work. มีความสุขทุกครั้งที่ทาํ งาน ¤¹·u¡¤¹µ o§·íÒ§Ò¹ äÁ ÁÕã¤Ã·Õeè ¡i´ÁÒæÅ ÇäÁ µo §·íÒ§Ò¹ eÁืèo·íÒ§Ò¹µ o§·íÒ´ ÇÂËaÇã¨oa¹eºi¡ºÒ¹ ·íÒ§Ò¹´ ÇÂ㨠·íÒæÅ ÇÁÕ¤ÇÒÁÊu¢ äÁ 㪠·íÒo ҧ«a§¡aµÒÂãË ¼ Ò¹¾ ¹ä»Ça¹ æ o´ÂäÁ ÁoÕ aäÃe» ¹æ¡ ¹ÊÒÃËÃืoäÁ ÁÕoaäÃe» ¹ªi¹é e» ¹oa¹ ÁÕ¤ÇÒÁÊu¢·u¡ ¤Ãa駷Õè·íÒ§Ò¹ äÁ Ç Ò§Ò¹¹a¹é e» ¹§Ò¹ÂÒ¡ËÃืo§Ò¹§ Ò äÁ Ç Ò§Ò¹¹aé¹e» ¹§Ò¹·Õèµo §ãª ¤ÇÒÁÃÙ ¤ÇÒÁÊÒÁÒöÁÒ¡¹ oÂe¾Õ§㴠äÁ Ç Ò§Ò¹ ¹a鹨aµ o§ãª ¤ÇÒÁo´·¹ 㪠¤ÇÒÁÁu§ Áa¹è ËÃืo㪠¤ÇÒÁ¾ÂÒÂÒÁÁÒ¡¹ oÂe¾Õ§㴡çµÒÁ ËÒ¡eÃÒ·íÒ§Ò¹o ҧÁÕ¤ÇÒÁÊu¢ ¼Å§Ò¹·Õoè o¡ÁÒ¡ç¨aÁÕ¤u³ÀÒ¾ ÁÕ»ÃaÊi·¸iÀÒ¾æÅa»ÃaÊi·¸i¼Å e¡i´»Ãaoª¹ µ oo§¤ ¡Ã ªuÁª¹ æÅaÊa§¤Á »Ãa¡ÒÃÊíÒ¤a­ ä´ Ãaº¡ÒÃÂoÁÃaº¨Ò¡¼Ù ºa§¤aººa­ªÒ ·ÕÁ§Ò¹ æÅa»ÃaªÒª¹ o ҧÁiÃÙ ÅืÁ µÅo´ä» 244. There can be always miracles if you believe and faith. ปาฏิหาริย์เกิดขึน้ ได้เสมอถ้ามีความ เชื่อมั่นและศรัทธา ÁÕËÅÒ¤Ãaé§ËÅÒ¤ÃÒ·ÕèeÃÒoÂÒ¡ãË »Ò¯iËÒÃi e¡i´¢ึé¹ æµ »Ò¯iËÒÃi ¡çäÁ ÊÒÁÒöe¡i´¢ึ¹é ä´ ¶ ÒeÃÒä´ e¾ÕÂ§æµ Ão...Ão...Ão...æÅaÃoo ҧe´ÕÂÇ o´ÂäÁ ·íÒoaäÃeÅ »Ò¯iËÒÃi e¡i´¢ึ¹é ä´ eÊÁo¶ ÒÁÕ¤ÇÒÁeªืoè Áaè¹æÅaÈÃa·¸Òo ҧæç¡Å Ò ¾Ã oÁ·a§é ŧÁืo·íÒµÒÁ ¤ÇÒÁeªืoè Áa¹è æÅaÈÃa·¸Òo ҧ¨Ãi§¨a§æÅa¨Ãi§ã¨ µaÇo ҧ»Ò¯iËÒÃi ·Õèe¡i´¢ึ¹é ÁÕãË eËç¹ÁÒ¡ÁÒ µaé§æµ o´Õµ¨¹¶ึ§» ¨¨uºa¹ äÁ Ç Ò¨ae» ¹eÃืoè §oaäà äÁ Ç Ò¨aoÂÙæ Ë §Ë¹µíÒºÅã´¡çµÒÁ »Ò¯iËÒÃi äÁ ä´ e¡i´¢ึ鹨ҡ¡Òà o o¹Ço¹ º¹ºÒ¹ÈÒÅ¡Å ÒÇ ËÃืo¨Ò¡¡Òý ¹ÅÁ æ æÅ § æ æµ e¡i´¨Ò¡¤ÇÒÁeªืoè Áa¹è æÅaÈÃa·¸Òã¹eÃืèo§¹a¹é æ eÊÕ¡ o¹ æÅ ÇŧÁืo·íÒo ҧµ oe¹ืèo§ ËÒ¡·íÒä´ ´a§·Õè¡Å ÒÇÁÒ¹Õé »Ò¯iËÒÃi ¨aµ o§e¡i´¢ึ¹é oÂ Ò§æ¹ ¹o¹ *************************************************************************** ขอขอบคุณ Mr.Kim Robertson และ Mrs.Mary Robertson,Missionaries ชาวนิวซีแลนด์ ประจําจังหวัดสุพรรณบุรี ทีใ่ ห้ข้อคิดและคําแนะนําที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง (อ่านต่อฉบับหน้า)

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

11


“ตํารวจมีอํานาจยึดใบขับขี”่ ซึ่งเป็นทรัพย์สินได้หรือไม่

ปกติเมื่อผู้ขับขี่รถที่ใช้เครื่องยนต์ทุกประเภท ทําผิดกฎจราจร ตํารวจจราจรมักยึดใบขับขี่แล้วให้ไปจ่าย ค่าปรับที่สถานีตํารวจ แต่ก็มีหลายความเห็นว่า ตํารวจไม่มีอํานาจยึด เพราะใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน การยึดใบขับขี่จึง เป็ น ความผิด ฐานลั ก ทรั พ ย์ หากต่ อ ไปตํ ารวจยึ ดใบขั บ ขี่ ก็ ใ ห้ แ จ้ ง ความกลับ ว่า ตํา รวจลัก ทรั พ ย์ เมื่ อ แรกเห็ น ความเห็นนี้ ก็น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ตํารวจมีอํานาจยึดใบขับขี่หรือไม่ ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ปกติคนอื่นเอาทรัพย์สินเราไปโดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดในฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๔ ได้ ซึ่งวางหลักว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ โดย การเอาไปในที่นี้ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอํานาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิ หรืออํานาจตามกฎหมาย ผู้เอาไปยอมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ที่แพ้คดีแพ่งในศาล และไม่ยอมชําระ เงินตามคําพิพากษา ต่อมาศาลออกคําสั่งยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่เจ้า พนักงานบังคับคดีก็มีอํานาจตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์ได้ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ก็จะไปแจ้งความว่าเจ้าพนักงานบังคับ คดีลักทรัพย์ก็ไม่ได้ แต่น่าคิดที่ว่า ตํารวจจราจรมีอํานาจในการยึดใบขับขี่หรือไม่ ซึ่งพิจารณาเป็นลําดับได้ดังนี้ ประการแรก ในระบบกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอํานาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการ จําหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมถึงทําลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า “มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจําหน่ายทรัพย์สินของ ตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะ ยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” ประการที่สอง อํานาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่ว่านี้ หากมีกฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ นั้น ขึ้นต้นด้วยถ้อยคําว่า "ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย จําหน่ายทรัพย์สิน...." ซึ่งหมายความว่า หากมีกฎหมายอื่นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายนั้น ย่อมริดรอนสิทธิหรืออํานาจแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

12


ตัวอย่างเช่น หากเราเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในดินสอหนึ่งแท่ง วันหนึ่งเราอาจหักดินสอ เช่นนี้ เราก็สามารถทําได้ เพราะเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ อีกทั้งไม่มีกฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของต้นไม้สักทองที่เราปลูกขึ้นมาเองกับมือบนที่ดินที่เราเป็นเจ้าของ เมื่อเราต้องการตัดต้นไม้ สักทองที่เราปลูก ตามปกติด้วยอํานาจแห่งกรรมสิทธิ์เราย่อมมีสิทธิตัดได้ โดยไม่ต้องไปขออนุญาตใคร เพราะเรา เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ แต่ในกรณีนี้หาทําได้โดยพลการไม่ เพราะมีกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๖ และมาตรา ๔ กําหนดไว้ว่า ไม่ว่าไม้สักทองจะขึ้นในที่ดินของบุคคลใด เวลา จะตัดจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หากไม่แจ้งย่อมมีความผิด ตัวอย่างที่ยกมานี้ เพื่อแสดงว่า กรรมสิทธิ์ของเราที่มีอยู่ อาจมีกฎหมายกําหนดให้คนอื่นมีสิทธิในกรรมสิทธิ์นั้นได้ หรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์นั้นได้ ทั้งนี้ ต้องอาศัยอํานาจแห่งกฎหมาย ประการทีส่ าม ตํารวจจราจรจะมีอํานาจยึดใบขับขี่หรือไม่ จากที่กล่าวมาทั้ง ๒ ประการข้างต้น จะเห็นว่า ใบขับขี่ เป็นกรรมสิทธิข์ องเรา คนอื่นจะมายึดมายุ่งโดยไม่มีอํานาจตามกฎหมายไม่ได้ ดังนั้น หากตํารวจจะยึดใบขับขี่ในกรณีที่เราทําผิดกฎจราจรได้ ก็ต้องพิจารณาว่าตํารวจอาศัยอํานาจตาม บทบัญญัติใดแห่งกฎหมายที่จะยึดใบขับขี่ ทั้งนี้เพราะหลักกฎหมายทั่วไปมีว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อํานาจ กระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอํานาจที่กฎหมายบัญญัติไว้” ซึ่งหมายความว่าหากไม่มี กฎหมายให้อํานาจไว้ ตํารวจก็จะยึดใบขับขี่ไม่ได้ หากยึดไปโดยไม่มีกฎหมายให้อํานาจก็อาจจะเป็นความผิดฐาน ลักทรัพย์ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อค้นคว้าตัวบทกฎหมายก็พบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติไว้ว่า “มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสัง่ ให้ผู้ขับขี่ ชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย สําหรับความผิดที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทําการเปรียบเทียบ ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้า พนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนําใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายใน แปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

13


ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทําการเปรียบเทียบ ปรับและผู้ขับขี่ได้ชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือ ผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทําผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่ การกําหนดจํานวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทอี่ ธิบดีกําหนด ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทําตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกําหนด” ดัง นั้ น จะเห็ น ได้ว่า จากบทบัญ ญั ติข องมาตรา ๑๔๐ นี้ ได้ใ ห้อํา นาจแก่เจ้า พนัก งานซึ่ ง หมายถึ ง ตํารวจจราจรที่จะยึดใบอนุญาตขับขี่ได้เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎจราจร จึงทําให้ แม้ผู้เป็นเจ้าของใบขับขี่มีอํานาจ แห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ แต่ตํารวจจราจรก็มีอํานาจตามกฎหมาย เฉพาะที่จะยึดใบขับขี่ได้ เช่นนี้แล้วเมื่อตํารวจจราจรมีอํานาจตามกฎหมายในการยึดใบขี่ การที่ตํารวจจราจร เอาใบขับขี่ของเราไป เราก็จะไปแจ้งความว่าตํารวจมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะการเอาไปของตํารวจ เป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินโดยมีอํานาจตามกฎหมาย ปล. คําว่า "ยึด" ตามทีบ่ ุคคลทั่วไปเข้าใจ หมายถึง "เอาไปเก็บไว้" มิใช่การยึดเพือ่ ไม่ให้ใช้ใบขับขีน่ ั้น ตลอดไป และตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ นี้ “ยึด” หมายถึง “เอาไปเก็บไว้ชั่วคราว”

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลดีๆ จาก Credit: http://www.vcharkarn.com/vblog/39697 พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดี...

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

14


“ชีวิตราชการ...” หกสิบปีผ่านพ้น ระเบียบกฎเกษียณตรา กอปรกิจเนิน่ นานมา ถึงฝั่งดั่งฝันได้

อําลา แต่งไว้ สืบเนื่อง แซ่ซ้อง สดุดี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่าน ฉบับนี้ตรงกับช่วงเกษียณอายุราชการ จึงขออนุญาตนํา โคลงที่เกี่ยวข้องกันมาโปรยหัวเริ่มต้นก่อนนะครับ หยิบยกมาจากเว็บไซต์ exteen.com ซึ่งมิได้ปรากฏนามผู้ แต่ง แต่เห็นว่าแต่งได้ดีแบบคลาสสิคๆ ก็เลยเอามาฝากกัน ผู้ที่เกษียณอายุปีนี้มีจํานวน 90 ท่าน รวมถึงระดับผู้บริหาร เช่น รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนคือ อาจารย์พิสันติ์ ประทานชวโน ท่านพัฒนาการจังหวัดคือ หัวหน้าเพ็ญสุภา ศิริสวัสดิ์ (ขอนแก่น) หัวหน้าฉลอง ประดับสุข (อุบลราชธานี) หัวหน้าสมควร ช่อมาลี (เชียงใหม่) หัวหน้าเสน่ห์ พรหมโคตร (ศรีสะเกษ) หัวหน้า ยุทธศาสตร์ วิยาภรณ์(ประจวบคีรีขันธ์) หัวหน้าสําราญ จิตมานะ (ปัตตานี) หัวหน้าจรัญ ฟูเต็มวงศ์ (ลพบุรี) หัวหน้าโกมล มั่นคง (ปราจีนบุรี)และหัวหน้ากุศล เกษประสิทธิ์ (อุตรดิตถ์) บรรดาท่ า นที่ เ กษี ย ณฯ มี ทั้ ง ท่ า นที่ เ คยเป็ น อาจารย์ ฝึ ก อบรมผู้ เ ขี ย นตอนเป็ น พั ฒ นากรก่ อ น ประจําการ ท่านที่เคยทํางานร่วมกันมาในฐานะหัวหน้ากับลูกน้อง และท่านที่เคยให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ เกื้อกูลอํานวยความสะดวกในการทํางานที่ผ่านมาในโอกาสต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังมีหัวหน้าและรุ่นพี่ๆ ที่เคารพนับถือ อีกหลายท่านที่มิได้เอ่ยนามซึ่งเคยมีโอกาสร่วมงานกันตามวาระต่างๆ ซึ่งต้องขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงใน น้ําใจไมตรีและต่อสิ่งที่เคยอนุเคราะห์เกี้อกูลกันมาในครั้งอดีตมา ณ ที่นี้ด้วยครับ และขอกุศลแห่งคุณงามความดี ที่ท่านทั้งหลายเหล่านี้ได้กระทํามาโดยตลอดทั้งในเรื่องการทํางานและชีวิตส่วนตัว ได้นําพาความผาสุกร่มเย็น ความสุขทั้งกายใจ และความเจริญงอกงามในสิ่งอันประเสริฐที่ทุกท่านปรารถนา จงบังเกิดแด่ท่านและครอบครัว ตลอดจนบุคคลอันเป็นที่รักตลอดไปครับ พูดถึงเรื่องเกษียณฯ ก็อดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตราชการช่างผ่านไปไวจริงๆ ตอนทํางานเป็นพัฒนากร ใหม่ๆ ยังคิดว่าอีกหลายปีกว่าจะเกษียณฯ ทํางานที่โน่นที่นี่ย้ายไปมา อ้าว! นี่อีกไม่ถึงสิบปีก็เกษียณฯ แล้วเรา และที่นึกถึงมากๆ เลยก็ท่านหัวหน้าวิศิษฐ์ ปวรางกูร อดีตหัวหน้าฝ่ายแผนงานและโครงการ สํานักงานพัฒนา ชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ให้ข้อคิดก่อนท่านเกษียณฯ ว่า “อย่าเป็นอย่างหัวหน้านะ จะเกษียณฯ แล้วก็ยังไม่มี บ้านเป็นของตัวเองเลย เช่าเขามาตลอด หลงเพลินสนุกกับงานจนลืมนึกถึงครอบครัว ฝากให้พยายามหาบ้านอยู่ “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

15


อาศั ย ที่ มั่ น คงเป็น ของตนเองตั้งแต่ ยังรุ่ นหนุ่ ม รุ่น สาวนะ เกษีย ณฯ ไปจะได้ไม่ ลํ า บากอย่างหั วหน้ า” ทําให้ กระตือรือร้นในเรื่องการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตแต่เนิ่นๆ ในชีวิตราชการหรือแม้กระทั่งชีวิตส่วนตัวนั้น เป็นธรรมดาที่ต้องเจอทั้งเรื่องชอบใจและไม่ชอบใจ เรื่องที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา เรื่องหนักๆ เรื่องเบาๆ ฯลฯ สารพัดอย่าง แต่ท่านทั้งหลายที่อดทนฟัน ฝ่า ยืนหยัดต่อสู้อุปสรรคนานาประการจนผ่านพ้นวิกฤติปัญหาต่างๆ เหล่านั้นมาได้จนถึงวัยครบเกษียณอายุ ราชการนี้ นับได้ว่าเป็นความยอดเยี่ยมในการดําเนินชีวิตและควรค่าแก่การคารวะอย่างยิ่ง สําหรับท่านที่ยังต้องอยู่และใช้ชีวิตการทํางานในราชการต่อไป ก็อย่าได้ท้อถอยในระยะเวลาช่วง เปลี่ยนผ่านของระบบราชการซึ่งจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอีกหลายสิ่งหลายอย่างให้เข้ากับบริบท แวดล้อมของสังคมและโลกยุคปัจจุบัน รวมทั้งความจําเป็นที่ต้องบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ เช่น งบประมาณ ที่มีอยู่อย่างจํากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรม เราๆ ท่านๆ จึงต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมรองรับการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเช่นว่านั้น จะได้ก้าวทันโลกและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การเตรียมพร้อมรับมือไว้ก่อน ไม่ว่าเจอสถานการณ์ใดเราย่อมฝ่าฟันไปได้เสมอ และไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินเหตุนะครับ ขอยืมคําที่ Robin Sharma นักเขียนคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “Your "I CAN" is more important than your IQ.” หมายถึงว่า ทัศนคติที่ดีและเชื่อมั่นว่า “เราทําได้” เป็นสิ่งที่สําคัญกว่าระดับสติปัญญาของเรา และนั่นจะพาเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ได้ ขอให้กําลังใจทุกท่านครับ มีบางท่านขุ่นข้องขัดใจเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ที่อาจต้องรอไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2558 ก็โปรดอย่าได้ “เสีย Self, Fail Heart” กันเลยนะครับ คงได้ปรับขึ้นแน่นอนเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะทาง เศรษฐกิจที่ข้าวปลาอาหารของกินของใช้ดาหน้าขึ้นราคาไปรออยู่ก่อนแล้ว ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกัน ไว้ให้ดีเถิดครับ จะช่วยให้เรามีสติและผ่านพ้นภาวะวิกฤติไปได้แน่นอน สําหรับบางท่านที่บ่นน้อยอกน้อยใจใน เรื่องความก้าวหน้าและระบบราชการ ก็ลองฟังเรื่องจริงเรื่องนี้ดูเผื่อว่าจะได้ความรู้สึกดีๆ ในการที่ได้ เป็ น ข้าราชการของแผ่นดินนะครับ เมื่อไม่นานมานี้มี ข้าราชการรุ่นน้องผู้ หนึ่งซึ่งเคยเป็นข้าราชการในสั งกัดกรมการพัฒนาชุมชน ปัจจุบันได้โอนไปสังกัดหน่วยงานหนี่งในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ได้เดินขึ้นมาที่กองการเจ้าหน้าที่ กรมการพัฒนา ชุมชน ด้วยสภาพร่างกายที่ดําคล้ําแต่ซีดเซียว เหมือนคนผิวดําแล้วทาด้วยเครื่องสําอางยี่ห้อ “กวนอิม” เลยครับ ถามไถ่ดู เขาบอกว่าเพิ่งหายป่วย โดยลาป่วยไปพักรักษาตัวเป็นเวลารวมประมาณ 4 เดือนเศษ หมดเงินไป 500,000 กว่าบาท หมอบอกว่าเป็นหลายโรค ทั้งปอดติดเชื้อ ตับและไตอักเสบ ม้ามไม่ทํางาน ฯลฯ สรุปคือ เครื่องเคราภายในตัวเขาชํารุดเกือบหมดสภาพ นอนหลับไป 3 วันติดต่อกัน นึกว่าจะ “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้น ไม่มี” ซะแล้ว ช่วงเวลาที่หลับไปเหมือนถูกพัดลมสีดําๆ ดูดเข้าไปๆ แต่ฉับพลันก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาหลังนอนป่วยที่ โรงพยาบาลไม่ได้สติมา 3 วัน หลังจากนั้นต้องทนทรมานกับการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์ผ่านช่องจมูก รู้สึก เจ็บปวดมากเหมือนถูกดูดอวัยวะภายในออกมายังไงยังงั้น ใจก็เหมือนจะขาดรอนๆ พอรอดมาได้รู้สึกเหมือนได้ เกิดใหม่ ระหว่างนั้นแม่และพี่ๆ น้องๆ ก็ช่วยเหลือดูแลกัน ทําให้รู้สึกอบอุ่นมาก ทั้งๆ ที่ปกติจะรู้สึกห่างเหินกัน “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

16


มาเข้าอกเข้าใจกันก็ตอนเจ็บไข้ได้ป่วยนี่เอง และเมื่อหายแล้วก็คิดอะไรได้หลายๆ อย่าง เมื่อกลับมาทํางานก็เดิน เข้าหาบรรดาผู้ที่เคยมีปัญหาทะเลาะเบาแว้ง ไม่พอใจกัน เพื่อขอโทษขออภัยกัน ก็ได้พี่ได้เพื่อนกลับคืนมา เหมือนเดิม แต่ที่เขาภูมิใจสุดๆ ก็คือ เขารอดมาได้เพราะความเป็นข้าราชการ ที่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล 500,000 กว่าบาทนั้นได้ทั้งหมด เขาบอกว่าถ้าเขาไม่ได้เป็นข้าราชการ คนที่ฐานะอย่างเขาคงต้องตายไปเพราะ ตัวเลขหนี้ 500,000 กว่าบาทนั้นแน่นอน และนี่เป็นสวัสดิการที่แฝงอยู่เบื้องหลังอันวิเศษสุดที่ระบบราชการมีให้ เขาจริงๆ เขาถึงรอดมาได้อย่างเป็นสุข อีกอย่างที่เขาพูดไว้ก็คือ อยากกลับมาอยู่ที่กรมการพัฒนาชุมชนเหลือเกิน อยู่ที่อื่นไม่สุขใจและอบอุ่นในความเป็นพี่เป็นน้องเท่ากรมฯ เลย และจะขอโอนกลับกรมฯ ให้ช่วยรับโอนเขา กลับมาด้วย เห็นบอกว่าถ้ากลับมาได้ คงจะได้มองหาศรีภรรยาที่ทํางานในสังกัดกรมฯ ด้วยนะครับ ก็ฝากน้องคน นี้ไว้ในอ้อมใจสาวๆ พช. ล่วงหน้าก็แล้วกันนะครับ (ไปตามสืบกันเองนะครับว่าใคร) อีกเรื่องหนึ่งที่อยากพูดถึงในแวดวงชีวิตราชการ คิดว่าทุกท่านคงได้สัมผัสและพบเห็นการแข่งขันชิง ดีชิงเด่นกัน บ้าง ซึ่งถ้าเป็นการแข่งกันสร้างสรรค์ผลงานก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่ใช่ก็อยากจะฝากบทกลอนนี้ซึ่งไม่ ทราบนามผู้แต่ง ไว้เป็นอุทาหรณ์ข้อคิดสะกิดใจกันนะครับ ตากับตีน อยู่กันมา แสนผาสุก

จะนั่งลุก ยืนเดิน เพลินหนักหนา

มาวันหนึ่ง ตีนทะลึ่ง เอ่ยปรัชญา

ว่าตีนมี คุณแก่ตา เสียจริงๆ

ตีนช่วยพา ตาไป ที่ต่างๆ

ตาจึงได้ ชมนาง และสรรพสิ่ง

เพราะฉะนั้น ดวงตา จงประวิง

ว่าตีนนี้ เป็นสิ่ง ควรบูชา

ตาได้ฟัง ตีนคุยโม้ ก็หมั่นไส้

จึงร้องบอก ออกไป ด้วยโทสา

ว่าที่ตีน เดินไปได้ ก็เพราะตา

ดูมรรคา เศษแก้วหนาม ไม่ตําตีน

เพราะฉะนั้น ตาจึง สําคัญกว่า

ตีนไม่ควร จะมา คิดดูหมิ่น

สรุปแล้ว ตามีค่า สูงกว่าตีน

ทั่วธานินทร์ ตีนไปได้ ก็เพราะตา

ตีนได้ฟัง ให้คั่งแค้น แสนจะโกรธ

วิ่งกระโดด โลดไป ใกล้หน้าผา

เพราะอวดดี คุยเบ่ง เก่งกว่าตา

ดวงชีวา จะดับไป ไม่รู้เลย

ตาเห็นตีน ทําเก่ง เร่งกระโดด

ก็พิโรธ แกล้งระงับ หลับตาเฉย

ตีนพาตา ถลาล้ม ทั้งก้มเงย

ตกแล้วเหวย หน้าผา ทั้งตาตีน…

เรื่องต่อไป ขอนําคําพูดของคุณเป็ด – อภิชาติ นรเศรษฐาภรณ์ เมคอัพอาร์ติสท์ชื่อดังของไทย ที่ เพิ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 และคําแนะนําของท่าน ว.วชิรเมธี ที่มีต่อคุณเป็ด ใน “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

17


นิตยสาร Secret คอลัมน์ This is life มาเสนอ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ที่สามารถนํามาปรับใช้กับการดําเนิน ชีวิตในแวดวงราชการได้ ดังนี้ครับ คุณเป็ด : “ในการใช้ชีวิต บางครั้งเราต้องพบเจอกับคนที่อาจไม่ถูกชะตากันหรือไม่ชอบการกระทํา ของเขา เมื่อเป็ดต้องประสบพบเจอกับคนเหล่านี้ก็มักจะเลี่ยง ไม่คุย ไม่ยุ่ง แต่เรื่องของใจนี่สิ บางครั้งก็พานขุ่น มัวไปด้วย เมื่อเก็บความสงสัยเรื่องนี้ไว้ไม่ไหว ก็ต้องขอให้ท่าน ว.วชิรเมธี ช่วยชี้แนะแนวทางให้ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้แนะนําเป็ดว่า “ชีวิตคนเราสั้นนัก จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า ถ้าเรา ใช้เวลาแสนสั้นนี้ไปมัวหลับๆ ตื่นๆ อยู่ในความรัก โลภ โกรธ หลง หมั่นไส้คนนั้น ปลาบปลื้มคนนี้ ริษยาเจ้านาย ใส่ไคล้ลูกน้อง คิดดูว่าชีวิตเราจะขาดทุนขนาดไหน คนเราไม่ควรพร่าเวลาอันสูงค่าด้วยการปล่อยตัวปล่อยใจให้ ตกเป็นทาสของความชอบ ความชังมากนัก เพราะถ้าเราวิ่งตามกิเลส กิเลสก็จะพาเราวิ่งทําสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่อไปไม่รู้ จบ กิเลสไม่เคยเหนื่อย แต่ใจคนเราสิจะเหนื่อย ควรคิดเสียใหม่ว่า เราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะชอบหรือไม่ชอบใคร หรือเพื่อที่จะให้ใครมาชอบหรือมาชัง แต่เราเกิดมาสู่โลกนี้เพื่อทําสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์คนหนึ่งควรจะทํา เอาเวลาที่ รู้สึกแย่ๆกับคนอื่นหันกลับมามองตัวเองดีกว่า” ฟังท่าน ว. วชิรเมธี พูดแล้ว เป็ดเริ่มเห็นคล้อยตาม เพราะเป็นความจริงว่า บางทีคนที่ลอบมอง ลอบรู้สึกไม่ดีกับเขาคนนั้น เขาไม่รู้สึกอะไรกับเราเลย เราเผาตัวเองอยู่ฝ่ายเดียวด้วยความหงุดหงิด ขัดเคือง และ อารมณ์ วันแล้ววันเล่า สภาพจิตใจแบบนี้ไม่เคยทําให้ใครมีชีวิตดีขึ้นมาได้เลย วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือ “กลับมาอยู่ กับตัวเอง” คือถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ แทนที่จะปล่อยใจให้อยู่กับความรู้สึกแย่ๆ ไปตลอด ก็ ควรหันกลับมามอง “ด้านใน” แก้ไขที่ตัวเอง อย่ามุ่งแก้ไขที่คนอื่น เพราะยิ่งพยายามแก้ไขคนอื่น ก็ยิ่งยุ่งเหมือน ลิงทอดแห ยิ่งเราให้ความสําคัญกับคนที่เราเกลียดมากเท่าใด สภาพจิตใจก็ยิ่งแย่ลงมากเท่านั้น” และเรื่องสุดท้ายสําหรับฉบับนี้ ขอเติมพลังให้ทุกท่านที่ต้องอยู่ในวิถีชีวิตราชการกันต่อไป ด้วย ธรรมะจากพระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ตามนี้ครับ ธรรมะหมวดหนึ่ง ที่เป็นพลังที่จะทําให้ดําเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นไหวย่อท้อต่ออุปสรรค ทุกอย่าง นั่นก็คือ พละ หมายถึง ธรรมอันเป็นกําลัง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ 4 ประการ คือ 1) กําลังปัญญา 2) กําลังความเพียร 3) กําลังการงานอันไม่มีโทษ 4) กําลังการสงเคราะห์ 1. กําลัง คือ ปัญญา ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อันเกิดจากการศึกษาการฟัง การอ่าน การคิดค้นคว้า จนสามารถที่จะแยกแยะความดีความชั่วออกจากกันได้ โดยเฉพาะด้านอาชีพการงาน จะต้อง แยกแยะได้ว่า การงานใดบ้างที่ดี มีประโยชน์ ควรทํา การงานใดบ้างที่มีโทษ ไร้ประโยชน์ ไม่ควรทํา แล้วรู้จักที่ จะใช้ปัญญาจัดการทํางานนั้นๆ ให้สําเร็จตามเหตุตามผล 2. กําลัง คือ ความเพียร ได้แก่ ความบากบั่น มีความเพียร มีความขยัน เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน หมั่นประกอบการงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

18


3. กําลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ เป็นกําลังสุจริต หรือกําลังความบริสุทธิ์ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ เช่น มีความประพฤติ และหน้าที่การงานสุจริต ไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย พูดจริง มีเหตุผล มุ่งดี ไม่รุกรานให้ร้ายใคร ทําการด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบอาชีพ หน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยทํา พูด และคิดอันไม่มีโทษ สามารถที่จะดําเนินงานให้โดยไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย มีเหตุมีผล ทําการงานด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่เบียดเบียนรุกรานคนอื่น 4. กําลัง คือ การสงเคราะห์ ได้แก่ การเกื้อกูลกันด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ คือ ทาน การให้ การ ช่วยเหลือกันในด้านปัจจัยเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และแนะนําความรู้ให้จนสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ ปิยวาจา การพูดด้วยความหวังดี พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทําให้คนอื่นเกิดความเชื่อถือและนับถือ อัตถจริยา การบําเพ็ญ ประโยชน์ มุ่งช่วยเหลือรับใช้สังคม ทํางานด้วยความสร้างสรรค์ สมานัตตตา การวางตนให้มีความเสมอภาคกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น พลธรรม คือ ธรรมอันเป็นกําลัง 4 ประการนี้ นับว่า เป็นหลักในการดําเนินชีวิตอีกประการหนึ่ง ผู้ ที่ประพฤติตามธรรมะทั้ง 4 ประการนี้ สามารถที่จะดําเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ เพราะเป็นผู้ที่เรียกได้ว่า มีพลัง หรือ กําลังในตนเอง และสามารถที่จะนําชีวิตให้ผ่านพ้นภัย 5 อย่าง คือ ภัยเกี่ยวกับการครองชีพ ภัยคือความ เสียชื่อเสียง ภัยคือความเก้อเขินในที่ชุมชน ภัยคือความตาย และภัยคือทุคติได้ ดังนั้น ผู้ที่มีกําลังในตนเอง ย่อม สามารถที่จะดําเนินชีวิตให้มีแต่ความเจริญก้าวหน้า มีความรุ่งเรืองต่อไปได้โดยสวัสดี… มีความสุขทุกท่าน แล้ว พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

19


9 ¼Ù ¹íÒ·ÕèÂiè§ãË­

¼Ù ¹íÒ·ÕèÂiè§ãË­ ¤i´ÂÒÇä¡Å æÅaã½ ÊÙ§ Áo§¡Ç Ò§¾Ã oÁªa¡¨Ù§ ¼Ù µÒÁe´i¹Ë¹·Ò§´Õ 1. ãÊ ã¨µaÇeo§¡ o¹

Êu¢ÀÒ¾o o¹¨a¡eÊืèoÁÈÃÕ

2. eËç¹æ¡ ¼oÙ ¹ืè ÁÕ

äÁµÃÕ¨µi ¤i´eÁµµÒ

3. Èึ¡ÉÒoÂÙ eÊÁo

¤ÇÒÁÃÙ eÅoeÅiÈÅéíÒ¤ Ò

4. e» ¹¹a¡¿ §ÇÒ¨Ò

¢o§¼Ù oืè¹´ ǵaé§ã¨

5. e» ¹¤¹ÁÕ¸ÃÃÁa

Ë Ç§Á¹aÃÙ ¨¡a ã½

6. ÁÕÇÒ·ÈiÅ» ãª

o¹ Á㨪¹·Ò§ªoº¡ÒÃ

7. ʹã¨ÃÒÂÅaeoÕ´

äÁ eºÕ¹eºÕ´¤i´»ÃaÊÒ¹

8. ¶ oÁµ¹ ¶ oÁ´Ç§ÁÒ¹

¤i´ÊืºÊÒ¹§Ò¹eªi´ªÙ

9. ÂoÁÃaºã¹¤ÇÒÁ¨Ãi§

·u¡o ҧÂiè§äÁ źËÅÙ

´aè§e¾ªÃoa¹µÃÒµÃÙ

9 ËaÇã¨ã½ ÊÙ§eoÂ.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

20


¹Çaµ¡ÃÃÁ¡Òâaºe¤Åืèo¹Âu·¸ÈÒʵà ¡ÃÁ¡Òþa²¹ÒªuÁª¹ ´Ã.ÊÃÄ·¸ ¨a¹Êu¢ กรมการพัฒนาชุมชน ได้คัดเลือกหน่วยงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดีเด่น ในระดับกลุ่มจังหวัดจํานวน 18 หน่วยงาน และกลุ่มหน่วยงานส่วนกลาง 3 หน่วยงาน ทั้งหมด ๒๑ หน่วยงานนี้ จะต้องนําเสนอผลงานนวัตกรรม การดํ า เนิ น งานที่ ทํ า ให้ ยุ ท ธศาสตร์ ข องกรมการพั ฒ นาชุ ม ชนบรรลุ เ ป้ า หมาย เพื่ อ คั ด เลื อ กหน่ ว ยงานผลงาน นวัตกรรมดีเด่น ชิงเงินรางวัล ๓ ล้านบาท มีการเปิดให้บุคลากรเข้าชมผลงาน มีคณะกรรมการคัดเลือกหน่วยงาน ผลงานนวัตกรรมดีเด่น ประกอบด้วย อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นประธาน มีรองอธิบดีทุกท่าน หัวหน้าผู้ตรวจ ราชการกรม รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินงานด้านนวัตกรรม เป็นกรรมการ และผู้อํานวยการกองแผนงาน เป็นเลขานุการ ซึ่งการคัดเลือก ได้เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้การ สร้างนวัตกรรมงานพัฒนาชุมชน ให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการและองค์ความรู้ใหม่เพื่อสร้างคุณค่างาน พัฒนาชุมชน มีเกณฑ์การให้คะแนน ๕ ด้าน ดังนี้ ๑) คุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรม 2) การก่อเกิดนวัตกรรม 3) คุณประโยชน์ เน้นความสามารถในการแก้ปัญหา การพัฒนา และประโยชน์ต่อหน่วยงาน และองค์การ 4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) การนําองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนา 6) การประชาสัมพันธ์นวัตกรรม ๗) การนําเสนอผลงาน พิจารณาจากผู้นําเสนอและวิธีการนําเสนอ ทั้ง ๒๑ หน่วยงาน ได้ มีรูปแบบการนําเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ เพื่อสื่อสารสร้างความเข้ าใจ รูปแบบของนวัตกรรมให้ชัดเจนจนได้ “หน่วยงานผลงานนวัตกรรมดีเด่น” ๕ หน่วยงาน ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ คือ สํานักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กับนวัตกรรมโครงการ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบ (SMART SAVING GROUP : SSG)

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

21


รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ คือ สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา กับนวัตกรรมโครงการ KORAT MODEL 3++ 3 นําชุมชนเข้มแข็ง

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

22


รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ คือ สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย กับนวัตกรรมโครงการทุนชุมชน พัฒนาเชียงราย ก้าวไกลสู่อาเซียน Chiangrai Ready to ASEAN

รางวัลชมเชย ๓ รางวัล ได้แก่ สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส กับนวัตกรรมโครงการ ๑ : ๑๐ นักพัฒนากีตอร์ ญาฆอ กําปง (นักพัฒนาภาคประชาชน คนจัดการชุมชน) สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เพชรบุรี กับนวัตกรรมโครงการ เพชรน้ํางาม อาสาใจ ขยายผลโครงการพ่อตามแนวพระราชดําริ และ สํานักงาน พัฒนาชุมชนจังหวัดอุดรธานี กับนวัตกรรมโครงการ Excellence Village (EV) จังหวัดอุดรธานี

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

23


ขอแสดงความยินดีกับหน่วยงานที่ได้รับรางวัลหน่วยงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดีเด่น ๒๑ หน่วยงาน และรางวัลหน่วยงานผลงานนวัตกรรมดีเด่น ๖ หน่วยงาน และขอให้กําลังใจกับหน่วยงานที่ไม่ได้รับรางวัล ถึงแม้ว่า เราจะยังไม่ได้โดดเด่น แต่ความมุ่งมั่นและความตั้งใจในการพัฒนาชุมชนให้บรรลุสู่ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานราก มั่นคง พวกเราทุกคน ก็ยังทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มกําลังความสามารถ วันพรุ่งนี้ชัยชนะจะเป็นของเรา สู้ต่อไป พวกเรา พช.

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

24


“โครงการ We (vv) Stand For Women 12 Smart Lady Thailand เรงสานฝนใหเปนจริง” เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาท สตรีแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองผอ.สกพส. เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ We (vv) Stand For Women จังหวัดอุดรธานี ในงานนี้มีกิจกรรมสร้างสีสันการเรียนรู้ ละคร.. เพื่อการเรียนรู้ เรื่องความรุนแรง “วัยระเริง” The day of Non-violence วันที่ปราศจากความ รุนแรง” และการเสวนา หัวข้อ "ร่วมสร้างสังคม ปลอดภัย หยุดใช้ความรุนแรง" โดย อัยการจังหวัด/ สํานักคุมประพฤติ/พัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ กิจกรรมสาธิตงานอาชีพ 5 อาชีพ โดยวิทยากรจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดอุดรธานี We (vv) Stand For Women

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

25


ชีวิตพัฒนากร… จากวันนั้นถึงวันนี้ ..และปีต่อไป *** สันติ เทีย่ งธรรม

วันหนึ่งเมื่อ ๓๖ ปีที่แล้ว ผมทราบจากเพื่อนๆ ที่เรียนวิทยาลัยครูด้วยกันว่ากรมการพัฒนาชุมชน เปิ ด รั บ สมั ค รสอบบุ ค คลเข้ า เป็ น “พั ฒ นากร” เพื่ อ นผมหลายคนชวนกั น ไปสมั ค รสอบ ผมก็ เ ป็ น อี ก คนหนึ่ ง ที่ไปด้วย ตอนนั้นยังไม่รู้เลยว่า พัฒนากร คือใคร ทําหน้าที่อะไร แต่ถูกลูกยุจากเพื่อนๆ ก็เลยไปลองสอบดูผล ปรากฏว่า “สอบได้” ลําดับที่ ๓๐๐ กว่าๆ… พูดไปก็จะหาว่าโม้ ผมเรียนครูม า ผมก็ไปสอบบรรจุค รูเหมือนกันและก็สอบได้ อีก ผมได้รับ หนั ง สื อ แจ้ ง ผลการสอบ พั ฒ นากร จากกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน และผลสอบครู ที่ จั ง หวั ด ชั ย นาท มาถึ ง ผม อาทิ ต ย์ เ ดี ย วกั น ๒ ฉบั บ แหม...มั น เป็ น อะไรที่ น่ า ภาคภู มิ ใ จและดี ใ จเอามากๆ สมั ย ก่ อ นโน้ น ...การสื่ อ สาร ยังไม่ทันสมัยเหมือนตอนนี้ ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนเอาจดหมายมาให้ ทําให้ทั้งหมู่บ้านรู้ข่าวกันหมดว่าผมสอบได้ ๒ แห่ง ในเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากจะดีใจแล้ว พ่อแม่ผมดีใจยิ่งกว่าอีก แกหน้าบานเชียว

และแล้ ว ก็ ม าถึ ง ช่ ว งเวลาแห่ ง การตั ด สิ น ใจ ผมจะเลื อ กตั ด สิ น อนาคตของตนเองอย่ า งไร ผมมีทางเลือก ๓ ทาง คือ เรียนต่อ ป.กศ.สูง (เกรดคัดเรียน นะครับ) หรือจะเลือกทํางานเป็นครู หรือ พัฒนากร ผมตัดสินใจเลือกทํางาน แต่จะทํางานอะไร? พัฒนากรหรือครู อาชีพครู แน่นอนสอนหนังสือเด็ก แต่พัฒนากรล่ะ ทํางานแบบไหน?ไม่รู้เลยและไม่เคยเห็นตัวอย่าง เพราะบ้านผมไม่มีพัฒนากรในที่สุดผมตัดสินใจเลือกเป็นพัฒนากร เพราะรู้สึกท้าทายดี อะไรไม่เคยเห็นอยากลอง ขอบอก...ตอนนั้นอายุ ๑๘ ปี กว่าๆ อิอิ...เด็กมากเลย

วั น แรกที่ ผ มไปรายงานตั ว กรมฯ ส่ ง ผมไปเข้ า รับ การอบรมก่อ นประจํ า การที่ ศู น ย์ ฝึก อบรม กรมการพัฒนาชุมชนแหลมฉบัง อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผมอยู่ที่นั่นรู้สึกว่าจะ ๓ เดือนหรือ ๒ เดือน ไม่ แน่ใจ เพราะมันนานมาแล้ว แต่การที่ได้มาเรียนรู้งานพัฒนาชุมชนก็ได้จาก “ตักศิลา” แห่งนี้แหละที่ทําให้ผมได้ เรียนรู้ว่างานพัฒนาชุมชน คืออะไร? ผมจําได้ว่าก่อนจะไปทํางานจริง กรมฯ ส่งผมและเพื่อนๆ ไปฝึกงานภาคสนาม ที่อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อีก ๑ เดือน เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก สนุกมากๆกับการเรียนรู้งานพัฒนา ชุมชน ผมและเพื่อนๆได้เรียนรู้งานพัฒนาชุมชนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ขอขอบคุณปรมาจารย์ที่ถ่ายทอด วิทยายุทธ์ให้แก่ผม ที่ผมจําได้ไม่เคยลืมเลือน เช่น อาจารย์เสมอ จันทร์พุฒ อาจารย์รัตน์ ยังนันทวัฒนา อาจารย์ บุญเอื้อ โพชนุกูล เป็นต้น “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

26


เวลา ๓-๔ เดื อ น ทํ า ให้ ผ มแข็ ง แกร่ ง ขึ้ น มั่ น ใจยิ่ ง ขึ้ น ผมไม่ รู้ ว่ า อุ ด มการณ์ ง านพั ฒ นาชุ ม ชน เข้ามาสิงสู่ในร่างผมตั้งแต่เมื่อไหร่ รู้แต่ว่า ผมอยากจะทํางานพัฒนาชุมชน อยากใช้วิทยายุทธ์ที่ผมร่ําเรียนมา เข้าไปทํางานกับผู้นําชุมชน และประชาชนในชนบท และวันนั้นก็มาถึง....พวกเรา (พัฒนาชุมชน รุ่นที่ ๑๒) ตื่นเต้นมาก ว่าใครจะได้ไปบรรจุที่ไหน ผลปรากฏว่า ผมได้ไปบรรจุที่อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตอนนั้นใจหายเหมือนกัน ไม่รู้ว่า ศรีสะเกษ อยู่ตรงไหนของประเทศ รู้แต่ว่าอยู่ภาคอีสาน กรมฯ ให้ไปอยู่ไหนก็ไปเราคนไม่มีเส้น แล้วแต่วาสนา จะพาไป บอก ตรงๆ น่ะ...ผมคิดแบบว่า “โลกสวย” มองแต่แง่ดีๆ ไม่คิดมากและไม่อยากคิด วั น ที่ ต้ อ งไปรายงานตั ว จั ง หวั ด ศรี ส ะเกษ ผมตั ด สิ น ใจเลื อ กเดิ น ทางโดยรถยนต์ (๒ ประตู ๒๐ หน้าต่าง) จากนครสวรรค์ ไปนครราชสีมา และต่อรถประจําทางไปศรีสะเกษ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เดินทางไกล โดยลําพัง ระหว่างนั่งในรถก็ได้แต่จินตนาการไปเรื่อยๆ ว่าจังหวัดศรีสะเกษจะมีสภาพเป็นอย่างไรนะ และแล้วก็ มาถึงศรีสะเกษจนได้ ผมได้ไปรายงานตัวกับพัฒนาการจังหวัด ท่านชื่อ จรัส ส่งสกุล วันนั้นดีใจที่รู้ว่า พัฒนากรรุ่น เดียวกันแต่อบรมอยู่ศูนย์อื่น แต่เป็นคนนครสวรรค์ มาบรรจุที่ศรีสะเกษเหมือนกันหลายคน ทําให้มีเพื่อนไม่เหงา อย่างที่คิด ชีวิตการเป็นพัฒนากรเริ่มต้นที่อําเภอเมืองศรีสะเกษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ท่านพัฒนาการอําเภอ ออกคําสั่งให้รับผิดชอบตําบลน้ําคํา ซึ่งเป็นตําบลอยู่ติดที่ว่าการอําเภอ แต่ขอบอก...พอเข้าเขตตําบลเป็นถนนลูกรัง กับถนนดินแค่นั้น ทางลาดยางไม่มีครับท่าน ออกพื้นที่แต่ละครั้ง หัวแดงกลับมา อยากบอกว่าการเป็นพัฒนากร เมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว มันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเราเป็นพัฒนากรที่มีแต่สมองและสองมือ เราไม่มีเครื่องมืออะไรติดตัว ไป เพราะพวกเราถูก “ติดอาวุธทางปัญญา” เข้าไป ทุกคนมีแต่อุดมการณ์ “รักชนบท อดทน ประสานงาน” ซึ่ง เป็นคําขวัญของท่าน อพช. ท่านหนึ่งว่าไว้ พัฒนากรสมัยนั้น “ติดดิน”ทุกคน และเป็นความโชคดีของพวกเรา ที่มี รุ่นพี่ที่น่ารัก คอยดูแลและให้คําแนะนําในการทํางานเป็นอย่างดียิ่ง ผมต้องขอกราบคารวะรุ่นพี่ที่เป็นทั้งครูเป็นทั้ง เพื่อนร่วมงานที่ดี ช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการทํางานพัฒนาชุมชนให้ผม ผมขอสดุดีในความดีของพัฒนากรรุ่นพี่ๆ ที่บุกเบิกทํางานสั่งสมบารมี แล้วสร้างศรัทธาต่อประชาชน ทําให้พวกเราทํางานได้ง่ายขึ้น ถ้าไม่มีพัฒนากรรุ่นพี่ดีๆ เช่นนี้ กรมการพัฒนาชุมชน คงไม่มีวันนี้...พวกเราเป็นหนี้บุญคุณของเขาเหล่านั้น ต้องบอกว่า พวกเรา “กินบุญ เก่า” ที่พี่ๆสร้างไว้. และต่อจากนี้เป็นภาระหน้าที่ของพวกเราชาว พช. ทุกคนที่จะต้องร่วมมือร่วมใจสร้างกรมการ พัฒนาชุมชนให้ยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับของส่วนราชการและประชาชน...แต่จะทําอย่างไร? นี่คือโจทย์ใหญ่ ที่คน พช. ทุกคนต้องช่วยกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันปฏิบัติงานตามภารกิจที่ทําไว้ ให้บรรลุเป้าหมายให้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ในภาวะข้อจํากัดของกรมการพัฒนาชุมชนขณะนี้ ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ฝันว่า อยากเห็นกรมการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างนี้

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

27


๑. รวมใจคน พช. ให้เป็นหนึ่งเดียว น่าจะเป็นภารกิจแรกที่ควรกระทํา ผมทํางาน พช. มานาน น้อยครั้งที่กรมการพัฒนาชุมชน จะเห็นความสําคั ญและจัดให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับ ได้พบกัน อย่างน้อยปี ล ะ ๑ ครั้งก็ยังดี พบกัน เพื่ออะไร? คําตอบคือ เราต้องมาทบทวนการทํางานที่ผ่านมา ว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง จะแก้ไขอย่างไร? งานปีต่อไปจะวางแผนทําอะไร? จะได้มีเวทีพูดคุย แบบพี่กับน้อง เราต้องเหลียวหลังบ้าง จะแลหน้าอย่างเดียว ได้อย่างไร? คนไม่ใช่เครื่องจักร เพราะ “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ถ้าใจพร้อม กายพร้อม งานก็จะออกมาดี เราเคยชินกับการออกคําสั่ง ผมคิดว่า การทํางานยุคนี้สมัยนี้ ต้องยึดการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นนะครับ ทํางานมาทั้งปี ต้องทบทวนการทํางานบ้าง และในโอกาสนี้ควรให้พี่น้องชาว พช. ได้พบปะสังสรรค์กันบ้าง พวกเราไม่มีโอกาสพบ หน้ากันเลย ทําแต่งาน แต่งาน ไม่เคยมีเวลาพักผ่อนเลย ถ้าพวกเรารวมใจกันเป็นหนึ่งเดียวได้ ไม่มีใครสู้ พช.ได้ เพราะเรามี ต้นทุนวัฒนธรรมองค์กรสูงกว่าหน่วยงานอื่น อย่าให้เวลาเป็นช่องว่างระหว่างคนยุค BABY BOOM, GEN. X, GEN. Y ของคน พช. เลยครับ

๒. สร้างองค์การ พช. ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ คน พช. รุ่นเก่า เก่งและดีมีวิทยายุทธ์สูงส่ง แต่ไม่ได้มีการจัดการความรู้ (KM)ทําให้วิทยายุทธ์ ขั้นสูงเหล่านั้น ขาดการถ่ายทอด และสูญหายไป พัฒนากรรุ่นใหม่ๆ ของกรมการพัฒนาชุมชนไม่มีองค์ความรู้ ในงาน พช. อย่างพอเพียง ทําให้ไม่สามารถรับไม้ต่อจากรุ่นพี่ๆ ได้ ทําให้งานขาดความต่อเนื่องและล้มเหลวในที่สุด ปัญหาคือ เราจะทําอย่างไรให้ กรมการพัฒนาชุมชน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Leaning Organization) ให้ได้ คนในองค์กรต้องรู้งานพัฒนาชุมชนทุกเรื่อง ใครจะย้าย ใครจะเกษียณ ก็ไม่มีผลต่องานที่ได้ทําไปแล้ว เพราะทุกคน รู้งาน รู้ขั้นตอนงาน พช. ทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น พช. รุ่นเก่า กลางเก่ากลางใหม่ หรือรุ่นใหม่ ถ้ามีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันแหละกัน แบบพี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อน รับรองงาน พช. ไปไกลแน่

๓. สร้างทีมงานและเครือข่ายในงาน พช.ให้เข้มแข็งทุกระดับ สมัยนี้ ข้าราชการกรมฯ พช. อัตรากําลังลดลงแต่ภาระงานมากขึ้น เมื่อ ๒๐-๓๐ ปีที่แล้ว ผมเป็นพัฒนากรทํางานกันมา มีอยู่ไม่กี่แผนงาน งานไม่มากเหมือนสมัยนี้ การที่จะรับมืองานในปัจจุบันได้ต้อง สร้างทีมงาน ให้เข้มแข็ง ทํางานทดแทนกันได้อย่างรู้ใจ ใครไม่อยู่ก็สามารถทํางานทดแทนกันได้ ไม่มีสะดุด แค่นี้ยัง ไม่พอต้องมีการสร้างเครือข่ายคนในงาน พช. เข้ามาช่วยทํางาน พช. เช่น ผู้นํา อช. หรือผู้นําองค์กรอื่นๆเหมือนที่ จังหวัดอุตรดิตถ์มีโครงการ The buddy : คู่ซี้ พช. ก็นําผู้นํา อช. มาจับมือกับ พัฒนากร ทํางานพัฒนาชุมชน ก็สามารถช่วยงานพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

28


๔. ต้องสร้างขวัญและกําลังใจในการทํางาน ขวัญและกําลังใจเป็นสิ่งสําคัญที่สุดในการทํางาน หากกรมฯ พช. มีระบบการสร้างขวัญและ กําลังใจ ที่ชัดเจน บริสุทธิ์ ยุติธรรม ผมเชื่อว่าทุกคนจะมีความสุขกับการทํางาน และมีความเชื่อมั่นและศรัทธาใน องค์การพช. หลายปีมานี้ ระบบคุณธรรมของ กรมฯ พช. ถูกละเมิดและถูกท้าทายโดยผู้มีอํานาจรัฐ อย่างชัดเจน ข้าราชการสูญเสีย ความรัก ความเชื่อมั่น ความศรัทธา ต่อองค์กร สิ่งที่มนุษย์ทุกคนยอมรับไม่ได้ คือ การไม่ได้รับ ความยุติธรรม เพราะฉะนั้น กรมฯ พช. จะต้องมีระบบการสร้างขวัญและกําลังใจ แก่บุคลากรในกรมฯพช. ให้มี ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องที่ต้องหาคําตอบ และต้องมีความชัดเจน เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อการทํางานของคน พช. ทุกคน ในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์มีการสร้างขวัญและกําลังใจให้แก่ พัฒนากรและผู้นํา อช. ตามโครงการ The Buddy : คู่ซี้ พช. โครงการมอบแหวนทองคําฝังเพชร แก่คู่ Buddy ที่มี ผลงานดีเด่นคนละ ๑ วง

๕. ภาพเป้าหมายการทํางานของกรมฯ พช. ต้องชัดเจน การกําหนดเป้าหมายการทํางานต้องเป็นภาพที่ชัดเจน ไม่พร่ามัว และมีการกําหนดวิธีการทําให้ ไปถึงเป้าหมายได้อย่างชัดเจน คน พช. มีสิทธิ์รู้ว่าเรารบกับใคร? จะมีวิธีเอาชนะข้าศึกได้อย่างไร? ผู้นําองค์กรต้อง เข้มแข็ง อยู่ในแถวหน้าทหาร มีการวางแผนที่ดีโดยฝ่ายเสนาธิการ กําลังพลต้องพร้อมสรรพ เสบียงกรังต้องพร้อม อาวุธยุทธ์โทปกรณ์ต้องพร้อม กองหนุนต้องพร้อม จึงมีโอกาสชนะในการรบ หากกรมฯ พช. เปลี่ยนเป้าหมายการ ทํางานบ่อยๆ หรือมีภารกิจที่เป็นงานฝาก งานจร มากๆ รับรองว่า เราทํางานไม่บรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน เพราะกําลังพลเราอ่อนล้าเกินไป ผมรับราชการกรมการพัฒนาชุมชนมานาน ผมเป็นส่วนหนึ่งของกรมพช. ผมรักและศรัทธาในงาน พัฒนาชุมชน ผมย่อมมีสิทธิ์ที่จะฝันเห็น กรมฯ พช. เป็นหน่วยงานที่มีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน และเป็นที่ ยอมรั บ เชื่ อ ถื อ ศรั ท ธาจากประชาชน และคน พช. ทั่ ว ทั้ ง องค์ ก ร แต่ โ จทย์ ใ หญ่ คื อ คน พช. มองปัญหานี้อย่างไร? เรายอมรับว่าเป็นปัญหาขององค์การหรือไม่? ถ้าใช่! แล้วจะทําอย่างไรกับปัญหาเหล่านี้ ผมเองก็ตอบไม่ได้ครับท่าน....

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

29


วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายขวัญชัย วงศ์นิติกร) มอบหมายให้นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เข้าเฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดศูนย์เรียนรู้ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านหนองแก ตําบลหนองไฮ อําเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ภาพกิจกรรม “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

30


วันที่ ๒๓ ก.ย.๕๗ เวลา ๑๕.๓๐ น. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงมหาดไทยพร้อมคณะผู้บริหารระดับสูง ของ กระทรวงมหาดไทย เดินทางมาตรวจเยี่ยม รับฟังบรรยายสรุปผลการดําเนินงาน กรมการพัฒนาชุมชน พร้อมให้โอวาท แก่คณะผู้บริหารกรมฯ พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องจัดแสดงผลิตภัณฑ์ OTOP และชมนิทรรศการ "มหกรรมคืนความสุขให้ชุมชน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท" ณ ลานเอนกประสงค์ ชั้น ๒ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กทม.

ภาพกิจกรรม “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

31


วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗ นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานมอบรางวัลเชิดชูเกียรติฯ ในงานมหกรรมคืนความสุขให้ชุมชน ด้วยหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ผู้บริหาร พี่น้องชาว พช.ร่วมแสดงความยินดี.. ทุกคนมีความสุข

ภาพกิจกรรม “วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

32


วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ น. อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายขวัญชัย วงศ์นิติกร) มอบหมายให้นายพิสันติ์ ประทานชวโน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานการประชุม และมอบหมายภารกิจคณะกรรมการ ๕ ชุด (ตามประเภทผลิตภัณฑ์) ในการประกวดแผนธุรกิจ OTOP ระดับประเทศ จาก ๗๖ จังหวัด ๑๕๒ กลุ่ม ณ กองอํานวยการการประกวดฯ ลานเอนกประสงค์ ชั้น ๒ อาคาร B ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กทม.

ภาพกิจกรรม

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

33


เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายขวัญชัย วงศ์นิติกร) มอบหมายให้นายมนตรี นาคสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ปาถกฐาพิเศษและกล่าวเปิดการเสวนา หัวข้อ “พัฒนาหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวอย่างไร ให้โดนใจนักท่องเที่ยว” ณ ห้องราชวดี โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ อําเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการประชาสัมพันธ์สุดยอดเส้นทางการท่องเที่ยว ในหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว: ภาคกลาง “สืบสานไททรงดํา” (บ้านบางแม่หม้าย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี, บ้านหนองจิก อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี, บ้านหัวเขาจีน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี)

ภาพกิจกรรม

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

34


วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายขวัญชัย วงศ์นิติกร) มอบหมายให้นายอรรถพร สิงหวิชัย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตร"One Tambon One Product (OTOP) Training in Thailand in for OVOP Kenya " แก่เจ้าหน้าประเทศเคนย่า จากกระทรวงอุตสาหกรรมและการพัฒนาผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าทีจ่ ากหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง กับการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็ก โดยกองแผนงานร่วมกับองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศญี่ปุ่น ประจําประเทศเคนย่า ณ ห้องปิ่นเกล้า ชั้น ๓ โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพฯ

ภาพกิจกรรม

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

35


สาระนารู 

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

36


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

37


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

38


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

39


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

40


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

41


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

42


ที่มา : ผลการศึกษาของข้าราชการ ตามโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ ๗ ภายใต้การฝึกสอนของท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายขวัญชัย วงศ์นิติกร และขอขอบคุณข้อมูลของท่าน ดร.ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และท่าน ดร.รัฐ ธนาดิเรก

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

43


ภาษาอาเซียนพื้นฐานน่ารู้

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

44


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

45


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

46


“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

47


ปกหลัง

“วารสารพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”

48


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.