Newsletter 114 July 2014

Page 1


 

      

ค.ฅน ชวนคิด : เยาวชนคือ ผู้มีพลังชีวิต 3 วันนี้ ที่นี่ ตรงนี้: จิตตาภิบาลเยาวชน ผู้ประสานงานเยาวชน สังฆมณฑลเชียงใหม่ คุณพ่อเอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร 4 คุณสิริ เจริญธรรม 6 คุณยุทธชัย เงินหล้า 8 คุณไชยวัฒน์ ออเปะ 10 พระวาจาทรงชีวิต : ความรักทาให้รู้จักการตื่นตัว 12 เก็บเบี้ยริมทาง: พื้นที่ของความวางใจ 14 IDEA CAN DO 17 ปัน ปัน By นู๋นุ้ย : การประชุมจิตตาภิบาลเยาวชนเอเชีย 18 ข่าวจากองค์กรสมาชิก แผนกเยาวชน สังฆมณฑลเชียงใหม่ 20 วิธีเพาะทานตะวันงอก ปลูกกินเอง ง่ายและถูก 23 The 6th Asian Youth Day : Theme Song 28

CONTACT US : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตชนฆราวาส แผนกเยาวชน 122/11 ซ.นนทรี 14 ถ.นนทรี 14 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร 02-681-3900 ต่อ 1504-1505 E-mail: cyctforever@gmail.com / youth@cbct.net

2


เยาวชนคือผู้ที่มีพลังชีวิต เค้าว่ากันอย่างนั้น พลังที่ว่า คือแรงที่ผลักดันเราไปสู่บางสิ่งที่ดี พลังที่ผลักดันเราไปสู่สิ่งที่ไม่ดี เราไม่เรียกว่า พลังชีวิต เพราะสิ่งที่ไม่ดที ี่พลังนั้นผลักดันเราเข้าไปสู่ จะน่ามาซึ่งความตกต่​่าของชีวิต ในชีวิตของคนเราจึงมีพลังสองด้าน คล้ายกับเหรียญที่มีสองหน้า ในขณะที่เรามีพลังและความตั้งใจ พร้อมที่จะมุ่งไปสู่สิ่งดีดีในชีวิต แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีอีกพลังที่น่าเราไปสู่สิ่งตรงข้ามเช่นกัน ท่าไมบางคนติดตาเสพติด แต่บางคนกลับไม่ติด ทั้งที่ท้ังสองรู้ว่ายาเสพติดไม่ดี บางคนร้องไห้ฟูมฟาย ขณะที่บางคนยังยิ้มได้ ทั้ง ๆ ที่ท้งั สองก็ผิดหวังในเรื่องคล้าย ๆ กัน

เยาวชนทีร่ กั พลังชีวิตและพลังแห่งความตายมีอยู่ในตัวของเราทุกคน ขึ้นอยู่กับเราในแต่ละการตัดสินใจของแต่ละคน ตัวของเราจะเข้ากับพลังฝ่ายไหน จะยอมให้พลังฝ่ายไหน หรือว่าจะเอาพลังด้านไหนมาใช้ได้มากกว่ากัน ก็คงขึ้นอยู่ที่เราแล้วละเนอะ!!! 3


หากจะถาม ว่า เหตุใด ผมซึ่งเป็น ซาเลเซียนถึงมาทางานอยู่ ในสังฆมณฑลเชียงใหม่ได้ ผมก็คงต้องบอกว่า ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ผมคิดว่าคงเป็น นาพระทัยของพระที่โปรดให้ผมโชคดี ได้มามีโอกาสเรียนรู้จักเยาวชนและชาวบ้าน ในสังฆมณฑลเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสังฆมณฑลที่มีพืนที่กว้างกินบริเวณ 8 จังหวัดใน ภาคเหนือตอนบนทังหมด แถมเป็นสังฆมณฑลซึ่งรวยด้วยความหลากหลายของกลุ่ม ชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม ตัวผมเองได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้ใหญ่ของคณะ ซาเลเซียนให้มาประจาอยู่ในสังฆมณฑลเชียงใหม่ ตังแต่ปี 2008 ซึ่งในเวลานันอยู่ใน สมัยของพระคุณเจ้ายอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ทันทีเมื่อผมมาถึง ท่านสังวาลย์ก็ได้ มอบหน้าที่ให้ผมเป็นเจ้าอาวาส ดูแลงานคาสอนของสังฆมณฑลและเป็นจิตตาภิบาล เยาวชนตังแต่นันเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ด้วยความเป็นซาเลเซียน ทาให้ผมได้คลุกคลีอยู่กับเยาวชนอยู่แล้วตังแต่ก่อนจะ มาทางานในสังฆมณฑลเชียงใหม่ จะว่าไปแล้วผมได้มีโอกาสรู้จักและร่วมงานกับ สภาเยาวชนคาทอลิกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 1999 ในงาน Asian Youth Day ครั้งที่ 1 ที่หัวหิน ซึ่งบุคคลที่ร่วมงานกันตอนนั้น ปัจจุบันก็ยังคงทางานในสภา เยาวชนด้วยความเข้มแข็งจนถึงทุกวันนี้ น่าชมจริงๆ

4


การอยู่กับเยาวชนทาให้ผมเรียนรูห้ ลายอย่างเหมือนที่พ่อบอสโกบอกว่า จาเป็นที่ เราต้องเป็นทังพ่อ (อันนียิ่งเป็น สว อายุเพิ่มมากขึน ยิ่งเข้าใจหัวใจของคนเป็นพ่อ) เป็น ครู เป็นพี่ และเป็นเพื่อน ผมรู้สึกสุขใจทุกครั้งที่ได้ช่วยเด็กสักคนแม้ในเรื่อง เล็กๆน้อยๆ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่หลายคนมองว่าดื้อ เด็กเหล่านี้มีหัวใจที่งดงาม จริงๆ ถ้าเราเปิดหัวใจเขาได้ สิ่งที่อยากจะบอกกับเยาวชน ก็คงเป็นคาซึ่งผมประทับใจในคาพูดของ พระสันตะปาปาฟรังซิสที่วา่ “ขอให้เยาวชนเป็นคริสตชน 24 ชั่วโมง!!!” คุณพ่อเอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร (จิตตาภิบาลเยาวชนเชียงใหม่)

5


ตังแต่ ปี พ.ศ.2539 คุณพ่อดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ จิตตาภิบาลเยาวชนสังฆมณฑลเชียงใหม่ขณะนัน ได้มาเรียกผมให้มาช่วยงานที่ศูนย์เยาวชน ผมจึงตัดสินใจไปทันทีและทางานจนถึงปัจจุบัน

ผมอยู่ตรงนี ต้องอยู่กับเยาวชน เป็นทั้งพี่ เป็นทั้งเพื่อน ต้องรับฟังเขา คอยเป็นที่ปรึกษาให้เขา และเรียนรู้จากเขาด้วยเช่นกัน วันอาทิตย์เราไปเข้าวัดด้วยกันไม่ว่าจะไปตรงไหนก็มี เยาวชนอยู่ทุกที่ รู้สกึ ว่าอยู่กับเยาวชนแล้วมีความสุข มีพลัง มีกาลังใจ มีความหวังและ มีอนาคต นี่เป็นแรงบันดาลใจอย่างยิ่งในการทางานกับเยาวชนจนถึงทุกวันนี แต่ถึง อย่างไรชีวิตเรา ก็ต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้ดขี ึนทุก ๆ วัน

6


อยากจะฝากไปถึงเยาวชนทุกคน ว่า เยาวชนในโลกดิจติ อล ยุคไอที เยาวชนมี ทางเลือกมากกว่า 2 ทาง แต่ในวันนีผม อยากจะให้เยาวชนได้มีทางเลือกแค่ 2 ทาง ในทางที่ดี และมีประโยชน์ต่อสังคม และอีก ทางผมไม่อยากให้เลือกเพราะทางที่ไม่ดี ซึ่งไป ทาลายชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม ปัจจุบันเยาวชนเปลี่ยนไปเร็วมาก สิ่งที่ ไม่เคยรู้ ได้รทู้ ุกสิ่ง สิ่งที่ไม่เคยกินได้กินทุก อย่าง สิ่งที่ไม่เคยเห็นได้เห็นได้สัมผัสทุกอย่าง ดังนันเยาวชนยุคนีเป็นคนฉลาด เก่ง และมี ความรูร้ อบด้าน ผมมั่นใจว่า ถ้าเอาจริง เยาวชนทาได้อยู่แล้ว และอย่าลืมสิ่งที่สาคัญ ที่สุดที่นาพาชีวติ ของเยาวชนให้อยู่รอดได้นัน เยาวชนต้องมีศาสนา คือต้องมีความเชื่อ เยาวชนต้องมีวัฒนธรรมที่ดีงามที่สืบทอดมา จากบรรพบุรุษ อย่าลืมวัฒนธรรมและอย่าขี เกียจในการทางาน แล้วเยาวชนจะอยู่ที่ไหนก็ อยู่ได้ สุดท้ายนี้ ขอให้เยาวชนได้รู้ว่า “ชีวติ คือการให้ รักและรับใช้ผู้อื่น ต้องพยายาม ทาต่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่วางไว้ โดยอาศัยความช่วยเหลือจากแม่พระและ พระเยซูเจ้า” 9 ก.ค.2014 สิริ เจริญธรรม

เยาวชนต้องมีศาสนา คือต้องมีความเชือ่ เยาวชนต้องมี วัฒนธรรมทีด่ งี าม ทีส่ ืบทอดมา จากบรรพบุรษุ อย่าลืมวัฒนธรรม และ อย่าขีเ้ กียจ ในการทางาน แล้วเยาวชน จะอยูท่ ไี่ หนก็อยูไ่ ด้

7


แรงจูงใจ... ที่ทางานกับเด็กและเยาวชน “เยาวชน คือผู้ท่จี ะมาทาหน้าที่แทนผู้ใหญ่ใน วันข้างหน้า เยาวชนเป็นอนาคตของชาติและ พระศาสนจักร ผู้ท่ีจะสานงานและภารกิจของพระ เจ้าต่อไปในอนาคตโดยอาศัยการเอาใจใส่ การให้ กาลังใจและปฏิบัติต่อกันที่ดีในปัจจุบัน” เยาวชนมีพลังที่ยิ่งใหญ่ บางครังอาจใช้พลังนัน ในทางที่ถูกต้อง บางครังใช้พลังนันในทางที่ผิด ในฐานะ ที่ทางานกับเยาวชน ได้เห็นคุณค่าและความสาคัญกับ เยาวชน สาหรับการทางานและการพบปะกับเยาวชน นันถึงแม้ว่าเราจะพบเจอกับเยาวชนแค่กลุ่มๆหนึ่ง แต่ก็ ยังมีอกี หลายกลุ่มที่เรายังเข้าไปหาไม่ถึง การทางานกับ เยาวชนเป็นการอบรม การให้แนวทางชีวติ การแบ่งปัน การพบปะ การไปเยี่ยม การให้กาลังใจ การกระตุ้นให้ เยาวชนนันให้มีพลังและบางครังเยาวชนเองก็ได้ ให้บทเรียนและได้เรียนรู้ไปด้วยกัน เป็นเหมือน การเติมเต็มให้แก่กันและกัน ในการเข้าหา เยาวชนกิจกรรมเป็นสิ่งสาคัญที่สุด ในการเชื่อมความสัมพันธ์ต่อกัน เป็นการละลายพฤติกรรม การเปิดประตูเข้าหากัน ทาให้ได้รู้จักตัวตนของกัน และกัน

8


สิ่งที่ฝากบอกกับเยาวชน.... “อย่าลืมรากเหง้าของตนเองมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจและมีเป้าหมายในชีวิต” มี 3 ประเด็นที่เกี่ยวข้อง กัน ได้แก่ เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทัง 3 ข้อนีต้องไปด้วยกัน หมายความว่า เยาวชน ต้องตระหนัก ออกแรง และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง พ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ สนับสนุน ให้เวลาและให้ความสาคัญกับเยาวชน โดยเฉพาะ เยาวชนที่หลงไปในทางที่ผิดหรือทาตัวไม่น่ารัก จาเป็น ที่ตอ้ งเอาใจใส่เป็นพิเศษ ให้โอกาส รับฟัง พูดคุยและ ต้องใช้เวลา สาหรับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความกระตือรือล้น โดยเฉพาะเยาวชนที่อยู่กันเป็น กลุ่มใหญ่และเยาวชนที่ถูกละเลยเราไม่ควรมองข้าม แม้ปัญหาเล็กน้อย สิ่งที่อยากไว้ฝากกับเยาวชนคือ

“เรามีความสาคัญและมีคุณค่าต่อสังคมโลก เราต้องเข้มแข็ง รู้จักรับผิดชอบ ต่อหน้าทีข่ องตนเอง เชื่อฟังคาสัง่ สอนของผู้ใหญ่ และอยู่ใกล้ชดิ กับศาสนา เพราะว่า...ความดี คนดี ชนะทุกสิ่งทุกอย่าง”

9


“แม้ข้าพเจ้าจะประกาศพระวาจา เข้าใจธรรมล้าลึกทุกข้อและมีความรู้ทุกอย่าง หรือมีความเชื่อพอที่จะเคลื่อนภูเขาได้ ถ้าไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่ส้าคัญแต่อย่างใด” (1 คร 13:2)

10

หากย้อนกลับไปในอดีต ราวสิบกว่าปี มันเป็นช่วงเวลาที่ผม เริ่ม ออกจากบ้านเพื่อ ไปศึกษาเล่า เรีย นต่อ ที่อ่ืน สิ่ง ที่ผมจาได้อ ยู่ เสมอคือ ผมเป็นเด็กหอพักที่ศูนย์อบรมเด็กชาวไทยภูเขาแม่ปอน ที่ นั่นคุณพ่อและซิสเตอร์ เป็นผู้ดูแล ผมเริ่ม รู้คาสอนครังแรกที่นั่ น และผมเริ่มเข้ามาเป็นคริสตชนเต็มตัว และได้รับศีลล้างบาปและ ศีลกาลังในคราเดียวกัน ตอนอายุ 13 ปี หลังจากจบที่แม่ปอน ผมย้ายไปเรียนต่อมัธยมต้นที่โรงเรียน ศีลรวี อ.เชียงดาวและเป็นเด็กหอที่นั่นเป็นครังที่ 2 ในขนาดนัน มี คุณพ่อลอเรนโซ่จากประเทศอิตาลีและมาเซอร์คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ ต ร เป็ น ผู้ ดู แ ล เป็ น ครั งแรกที่ ผ มผมเริ่ ม รู้ จั ก โลกภายนอก เรียนรู้ทังวิชาการในโรงเรียนและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ เด็กหอที่พวกเรามาจากหลายชนเผ่าและต่างภาษาแต่เราอยู่ด้วยกัน ที่นั่น ผมเริ่มมีความคิดเป็นของตนเองและอยากเดินในทางที่ตนเอง ชอบ มีสิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจและรักคุณพ่อลอเรนโซ่มากคือ การให้อภัยของคุณพ่อที่ไม่มสี ิ้นสุด คุณพ่อรักเด็กๆมาก ผมยัง จาได้ว่าแม้พวกเราทาผิดกี่ครั้งกี่หน คุณพ่อก็ยังให้โอกาสแก้ ตัวและอภัยพวกเราเสมอ นั่นเป็นสิ่งที่จุดประกายชีวิตผมครังแรก และทาให้ผมอยากเป็นพระสงฆ์ เมื่อเรียนจบมัธยม 3 ผมตัดสินใจขอคุณพ่อ ลอเรนโซ่ เข้า บ้า นเณรของสัง ฆมณฑล คุ ณ พ่อ จึง ส่ งผมเข้า บ้ านเณรพร้ อมกั บ เพื่อนอีกสองคนที่บ้านเณรยอแซฟ สามพราน เมื่อผมเข้าอบรมที่ บ้านเณรได้สักระยะหนึ่ง ผมก็เริ่มเห็นว่านี่ไม่ใช่ทางที่ผมต้องการ ที่สุด ผมจึงตัดสินใจเปลี่ยนกระแสเรียกเพื่ออยากจะเรียนต่อใน มหาวิทยาลัยเหมือนคนทั่วไป


แต่เมื่อผมกลับมาไตร่ตรองคิดดูอีกที ถ้าหากไม่ใช่เพราะความรักที่พระเจ้าทรงมอบให้ ผม อาจจะไม่มีวันนีก็เป็นได้ พระองค์ทรงอยู่กับผมเสมอ นับตังแต่วินาทีแรกที่ผมออกจากบ้าน จนถึงทุก วันนี โดยผ่านทางบรรดาคุณพ่อ ซิสเตอร์และทุกๆคน ที่ให้โอกาสดีๆและให้ความรักที่ไม่อาจทดแทน หมด ใครจะคิดว่าวันหนึ่งผมจะมาทางานตรงนีและ ณ หน้าที่ตรงนีได้ หากวันนัน ผมดือไม่ยอมฟัง พ่อกับแม่ที่ก่ึงบังคับให้ผมย้ายโรงเรียน ตอนนีผมอาจจะเกเร ติดยา แต่งงาน หรืออยู่ที่ไหนแล้วก็ไม่รู้ สิ่งที่เล่ามาทังหมดนันมันคือจุดเริ่มต้น สิ่งเหล่านันเป็นแรงผลักดันที่ค่อยๆสะสมเรื่อยๆ จนกลายเป็น แรงบันดาลใจที่ทาให้ผมอยากมาทางานกับเด็กและเยาวชน เพราะผมเองก็คือเยาวชนคนหนึ่ง ที่ได้รับ โอกาสและสิ่งดีๆในชีวิต ผมอยากแบ่งปันสิ่งดีๆเหล่านันให้กับรุ่นน้องเยาวชนต่อไป นี่เป็นปีแรกที่ผมเริ่มเข้ามาทางานอย่างเต็มตัวในแผนกเยาวชนของสังฆมณฑลเชียงใหม่ ผมมี ความสุขทุกครังที่ได้ออกเยี่ยมหรือพบปะกับเยาวชน ผมเห็นความสดใสความร่าเริงและพลังในตัวพวก เขา ผมเป็นคนหลงใหลในรอยยิมแต่ไม่ชอบความขัดแย้ง ในเมื่อสังฆมณฑลเชียงใหม่มีบุญคุณอัน ยิ่งใหญ่ต่อผม ผมก็อยากจะทาอะไรบางอย่างที่ผมสามารถทาได้ ถึงแม้อาจจะไม่ได้มากก็ตาม และ อีกสิ่งหนึ่งที่คอยประคองผมในยามท้อแท้หรือประสบปัญหา คือกาลังใจจากครอบครัว ผู้ใหญ่ พี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ เยาวชน สุดท้าย ผมอยากจะฝากถึงน้องๆเยาวชนทุกคนว่า สิ่งที่สาคัญที่สุดในชีวิต คือ การรู้ว่า ตัวเราคือใคร กาลังทาอะไร อะไรคือเป้าหมายของชีวิต เพราะนั่นคือคาตอบทั้งหมดที่ทุก คนต้องการ เพราะหลายครังที่ผมมักจะพบเจอบ่อยคือ เยาวชนไม่รู้ว่าเป้าหมายชีวติ ของตนเองคืออะไร อยากเป็นอะไรในอนาคต บางทีคล้ายกับว่า อยู่ไปวันๆโดยไร้จุดหมาย และอีกประการหนึ่ง อยากจะฝากให้น้องๆหมั่นรักษาสุขภาพทังกายและใจ อยู่เสมอ เพราะเมื่อสุขภาพกายใจของเราแข็งแรง สิ่งที่เราทาก็จะออกมาดีดว้ ย “หากสิ่งใด ที่เราคิดว่าดีก็อย่าอายที่จะทา แต่ตรงกันข้าม ถ้าคิดว่าสิ่งนั้นไม่ดีก็ไม่ควรจะทา”

Taj Bluv Dof Mav พี่เก้เออะ เจ้าหน้าที่แผนกเยาวชนสังฆมณฑลเชียงใหม่ 09 กรกฎาคม 2014

11


วิสัยทัศน์ (Vision) เด็กและเยาวชนลูกพระเจ้า รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว พัฒนาชีวิต ติดตามพระเยซูคริสต์ ร่วมสร้างสรรค์พระอาณาจักรในสังคม

พันธกิจ (Mission) แผนกเยาวชนสังฆมณฑลเชียงใหม่ มุ่งฟื้นฟูและส่งเสริมชีวิตของเด็กและ เยาวชนตามกระแสเรียกของตน ให้ใกล้ชิดพระเยซูคริสตเจ้าให้มากขึ้น อาศัย พระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ อุทิศตนรักและรับใช้เพื่อนมนุษย์ทุกคน มีชีวิตเป็น ประจักษ์พยาน เรียนรู้และแบ่งปันคุณค่าแห่งพระอาณาจักรในสถานการณ์ ของโลกปัจจุบนั เสวนาฉันพี่น้องกับผู้มีความเชื่ออืน่ สร้างปฏิสัมพันธ์กับ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างสอดคล้อง และกลมกลืนกับวัฒนธรรมประเพณีใน ท้องถิ่น

12


13


เก็บเบียริมทางฉบับนี ยังคงเป็นเรื่องราวของประสบการณ์และ คุณค่าของการไปเยี่ยมผู้ต้องขังเหมือนฉบับที่ผ่านมาค่ะ ครังนี ขอนาเสนอจากประสบการณ์ของ ทราย – สิริมาศ สกุลกันย์ จาก ศูนย์ประสานงานนิสิตนักศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยที่ได้มโี อกาส ไปเยี่ยมผู้ต้องขังชาวต่างชาติในประเทศไทย ในโครงการสงเคราะห์ ผู้ต้องขัง ที่ดูแลโดยมูลนิธิคณะสงฆ์พระเยซูเจ้า บันทึกต่อไปนีคือสิ่งที่ ทรายได้ไตร่ตรองและปรารถนาจะแบ่งปันกับเยาวชนทุกคนค่ะ

พื้นที่ของความวางใจ… เมื่อเราพูดคาว่า “ผู้ต้องขัง” ความคิดหรือความรู้สกึ แรกของ เรานึกถึงอะไร ทรายเชื่อว่า หลายคนคงรู้สกึ กลัวและมีทัศนคติทาง ลบกับบรรดาผู้ต้องขังเป็นแน่... เคยมีอยู่ครังหนึ่ง ที่ทรายได้ไป ประกาศและเชิญชวนให้คนไปร่วมรณรงค์ เพื่อยกเลิกโทษประหาร ชีวติ ให้เป็นการจาคุกตลอดชีวิตแทน หลายคนออกมาคัดค้านการ กระทาดังกล่าว เพราะมองว่า ถ้าหากบรรดานักโทษได้รับการลดโทษ จากการถูกประหารเป็นการจาคุกตลอดชีวิต ก็อาจมีความเป็นไปได้ ว่า วันหนึ่งบรรดาผูต้ อ้ งขังเหล่านันอาจจะได้รับอภัยโทษ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินนี าถ และสามารถที่จะกลับมาใช้ชวี ติ อยูร่ ่วมกับบุคคล ทั่วไปในสังคมได้ บรรดาเพื่อนๆ และน้องๆ ที่รู้จักบางคนบอกว่ารับไม่ได้ทจี่ ะเห็นคน ที่เคยทาผิดในคดีร้ายแรงกลับมาใช้ ชีวติ อยูก่ ับพวกเราได้อีก แน่นอน ว่าความวางใจต่อบรรดาคนเหล่านี สูญเสียไปนับตังแต่วันที่เขาได้กระทา ผิดแล้ว และยากเหลือเกินที่บรรดา ผู้ต้องขังจะกอบกู้ความวางใจเหล่านัน กลับมาได้อีก ยอมรับเลยว่า แม้แต่ ตัวทรายเอง ยังมีความรู้สกึ กลัวเล็กๆ

14


เกิดขึนในใจ และตื่นเต้นไม่นอ้ ยเพราะไม่รู้ว่าจะพูดคุยกับผู้ต้องขังอย่างไร แม้ว่าเราจะมีทัศนคติที่ดี กับบรรดาผู้ต้องขัง แต่ลกึ ๆ แล้วก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า เขาเคยเป็นหรือถูกตัดสินว่าเป็นผู้กระทาผิดมา เราจะไว้ใจเขาได้มากแค่ไหนกัน ทรายจึงพยายามปรับหัวใจของตนเองว่า การไปเยี่ยมผู้ต้องขังของ ทรายในครังนี ทรายจะพยายามไปเพื่ออยูเ่ ป็น “เพื่อน” กับเขาให้ได้มากที่สุด และความตังใจนีเอง ที่ช่วยให้การพูดคุยระหว่างผู้ตอ้ งขังและทรายราบรื่น แต่ส่งิ ที่ยิ่งกว่านันคือ เมื่อเราได้พูดคุยกับ บรรดาผู้ต้องขังอย่างจริงใจแล้ว ก็ทาให้ภาพลักษณ์ทางลบทังหลายที่สังคมตีตราผู้ต้องขัง ไม่วา่ จะ เป็นความคิดทานองว่า คนคุกเป็นคนที่ไม่น่าไว้ใจ เชื่อถือไม่ได้ น่ากลัว อันตราย โหดร้าย ฯลฯ ถูก ทาลายลง เพราะจากการพูดคุยอย่างจริงใจนีเอง ที่ทาให้เราได้เห็นมุมมองความน่ารักของผู้ต้องขัง ที่มีให้กับเรา ใจของทรายกลับผูกกับใจของนักโทษ ความรูส้ ึกเวลาทีเ่ ราได้พดู คุยกับผู้ต้องขัง ไม่ แตกต่างอะไรจากการได้พดู คุยกับเพื่อน พี่ น้อง กับพ่อ กับลุง หรือ กับป้า กับน้า เลย แม้ จะเพิง่ พูดคุยกับผู้ต้องขังแต่ละคนเป็นครัง้ แรก เรากลับอยากยืดเวลาพูดคุยกับเขาให้ได้ นานทีส่ ุด เคยมีอยู่ครังหนึ่งที่ฉันรู้สกึ เสียดายมากว่า ได้พูดคุยกับผู้ตอ้ งขังคน นึงเพียงไม่กี่นาที ยัง ไม่ทันสินเสียงพูดของเขา สายโทรศัพท์ระหว่างเราสองคนก็ถูกตัดลง ที่เรือนจาแห่งหนึ่งให้บทเรียน กับทรายว่า ทุกเวลามีคา่ สาหรับการพบเจอแต่ละครัง เพราะเรือนจาบางแห่งกาหนดเวลาไว้เพียง เล็กน้อย ภาพที่เห็นที่นั่น จึงเป็นภาพของผู้เยี่ยมหลายคนที่วิ่งจากจุดที่รับเอกสารเพื่อเยี่ยมไปยังจุด ที่จะได้พูดคุยกับผู้ต้องขัง บางคนนับวันรอที่จะมีคนมาเยี่ยม แม้วา่ คนมาเยี่ยมจะไม่ใช่ญาติของเขา ก็ตาม ผู้ต้องขังหญิงบางคนบอกขอบคุณพวกเราที่มาเยี่ยมเขา เขารู้สึกดีใจมากๆ เลย และนั่น ทาให้ตวั เองรูว้ ่า แม้การกระทาเพียงเล็กน้อยในสายตาเราเช่นนี้ กลับกลายเป็นสิง่ ที่มี คุณค่ามากมายสาหรับชีวิตของเขา

15


ความรักและความรู้สกึ ฉันญาติมติ รนี่เองที่เชื่อมโยงให้ทรายได้ตะลึงงันกับประสบการณ์การ พูดคุยกับผู้ตอ้ งขังคนหนึ่ง เขาถามทรายว่า ทรายเคยไปเที่ยวผับไหม ทรายว่าไม่เคย เขาก็ตอบว่า “ดีมากเลยนะที่คุณไม่ได้ไปสถานที่แบบนัน คุณดูไร้เดียงสามากเลย คุณรูไ้ หมว่า บางทีการไร้ เดียงสาเกินไปก็ไม่ดี อย่างเวลาที่คุณเข้ามาในสถานที่อย่างเรือนจาแบบนี ก็ไม่ใช่วา่ คุณจะสามารถ ไว้ใจคนทุกคนได้หรอกนะ” ทรายถึงกับอึง เพราะความจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องสาคัญอะไรสักนิดที่ ผู้ต้องขังจะต้องมาใส่ใจถึงชีวิตของเรา หรือเตือนเราว่า เราไม่สามารถที่จะไว้ใจใครทุกคนที่น่ไี ด้ ณ จุดนันเองที่เราตังคาถามในใจว่า แล้วเราจะวางใจเขาได้ไหม จึงได้ถามพี่เขากลับไปว่า “ทราย วางใจพีไ่ ด้ใช่ไหม” พี่เขาก็อึงไป และดูราวกับว่ามีนาตาซึมออกมาเล็กน้อย จริงๆ แล้วก็ไม่รหู้ รอก ว่า ตอนนั้นพี่เขาจะคิดอะไรอยู่ จะรู้ก็เพียงแต่วา่ การทีม่ ใี ครสักคนหนึ่งหันกลับมาวางใจ และเชื่อใจเรานัน้ คงเป็นประสบการณ์ที่ตนื้ ตันไม่น้อยเลยทีเดียว จริงอยู่ ที่ว่าพืนที่ของความวางใจของบรรดาผู้ต้องขังเคยถูกทาลายลงแล้วจากการทาผิด กฎหมายในครังเก่าก่อน อีกทังยังถูกตีตราในทางลบมากมาย แต่ด้วยความรักของพระเจ้าและการ เปิดเผยความจริงใจและความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ช่วยกอบกู้และเติมเต็มความวางใจ เหล่านันขึนมาใหม่ เราคงไม่สามารถที่จะพูดได้เต็มปากว่า เราวางใจผู้ต้องขังเหล่านันได้ร้อย เปอร์เซ็นต์ แต่จากประสบการณ์ของการไปเยี่ยมผู้ต้องขังเหล่านี ที่ทาให้ทรายได้เห็นความจริงใจ และความห่วงใยที่พ่อๆ แม่ๆ และพี่ๆ ที่นั่นมอบให้กับเราระหว่างบทสนทนา สิ่งเหล่านี้ทาให้ทราย ได้เห็นความเป็นมนุษย์ของเขาและในทีส่ ุด ก็ได้กลับ เป็นเพื่อนของเขาจริงๆ และยิง่ กว่านัน้ บางครั้ง เขากลับเป็นครูให้กับชีวิตของเราด้วย ---------------------------แล้วพบกับ “เก็บเบี้ยริมทาง” ได้ใหม่ในโอกาสหน้านะคะ น้องๆ นักศึกษาคนใดที่สนใจอยากมี ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.carefor.org/student หรือที่ Facebook Page: The Catholic Student Network of Thailand ค่ะ

16


17


วัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน ในฉบับนี้ ปัน ปัน by นู๋นุ้ย ยังพาทุกท่าน เกาะติ ด งานวั น เยาวชนเอเชี ย ครั้ ง ที่ 6 ที่ จั ด ขึ้ น ณ สั ง ฆมณฑล เตจอน ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 10 – 21 สิงหาคม 2014 ค่ะ ในงานนี้นอกจากจะเป็นงานชุมนุมเยาวชนกว่า 6,000 คนทั่วเอเชีย แล้ว พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ทรงมี พระประสงค์จ ะเข้า ร่ วมงานนี้ เพื่อ พบปะกั บ เยาวชนเอเชีย, เป็นประธานพิธีแต่งตั้งบุญราศีชาวเกาหลี 124 ท่าน และที่สาคัญ ที่สุดคือ ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและการคืนดี ในช่วงท้าย ๆ ของงานวันเยาวชนเอเชีย ครั้งที่ 6 จะมีการประชุมจิตตาภิบาล เยาวชนเอเชีย ในวันที่ 18 – 21 สิงหาคม 2014 โดยมีผู้แทนประเทศละ 4 ท่าน ทั่วเอเซีย ประกอบด้วยบรรดาพระสังฆราชที่ดูแลงานอภิบาลเยาวชน พระสงฆ์จิตตาภิบาลเยาวชน ผู้ประสานงานเยาวชน และผู้นาเยาวชน ซึ่งผู้แทนจากประเทศไทย ประกอบด้วย พระสังฆราชสิริพงษ์ จรัสศรี ประธานคณะกรรมการฯเพื่อคริสตชนฆราวาส คุณพ่อพรชัย แก้วแหวน ในนามจิตตาภิบาลเยาวชนระดับชาติ คุณพัชรา ชนวัฒน์ ผู้ทางานเยาวชน คุณมนทิรา ฮกเจริญ ผู้ทางานเยาวชน ในหัวข้อ “บรรดาผู้ทางาน อภิบาลเยาวชนเอเชีย จงตื่นเถิด...” ภายใต้พระวาจา “ถ้าผู้ใดอยากติดตามเรา ก็ให้เขาเลิกนึกถึงตนเอง ให้แบกไม้กางเขนของตน และติดตามเรา” (มก. 8 : 34)

18


โดยมีเป้ าหมาย “เพื่อพั ฒนาฟื้นฟูจิ ตวิญญาณแห่งการประกาศข่าวดีใน รูปแบบใหม่ กับบรรดาผู้ทางานอภิบาลเยาวชน” โดยมีจุดประสงค์ เพื่อค้นหาความเชื่อและกระแสเรียกของตนในงานอภิบาล เยาวชน ฟื้นพลังในพันธกิจงานอภิบาลเยาวชน เสริมสร้างความเข็มแข็งในหมู่คณะ และเครือ ข่ายในกลุ่มผู้ ทางานอภิบาลเยาวชนเอเซีย เสริม สร้างศักยภาพในการ ประกาศข่ า วดี ข องพระคริ ส ตเจ้ า ในรู ป แบบใหม่ ๆ สู่ เ ยาวชน เพื่ อ ให้ ต รงกั บ สถานการณ์เยาวชนในปัจจุบัน และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ จึงจัดให้มีการ บรรยายให้ เนื้ อ หาเกี่ ย วกั บการประกาศข่า วดีในรู ปแบบใหม่ ที่ทัน สมั ยเหมาะกับ เยาวชน, การฝึกปฎิ บัติใน Workshop เพื่อนาทักษะในใช้ในงานอภิบาลเยาวชน, การไตร่ต รองอย่ า งลึ ก ซึ้ ง และการวิ เ คราะห์ ผ ลการด าเนิ น งานอภิบ าลเด็ กและ เยาวชนในประเทศของตน และที่สาคัญจะมีการเตรียมการประชุมครั้งใหญ่เกี่ยวกับ งานอภิบาลเยาวชน “BILA on youth 2015” งานอภิบาลเด็กและเยาวชนไม่ใช่เรื่องงานอีกต่อไป ที่จะทางานอภิบาลเพื่อ ตอบสนองและทันสถานการณ์ปัจจุบัน คาตอบว่าจะทางานอภิบาลอย่างไร? คง ไม่มีเป็นสูตรสาเร็จ และหากพระศาสนจักรจะทางานอภิบาลฝ่ายเดียวก็คงไม่ใช่ งานอภิบ าลต้องร่ วมมือ กันทุก ฝ่ายแบบครบวงจร ทั้ ง ฝ่ า ยผู้ ถวายตน, ฝ่ า ยพี่ น้องคริสตชน, และที่สาคัญที่สุดคือตัวเยาวชนเอง การดาเนินชีวิตแบบหยั่งรากลึก ลงในความเชื่อ ในกรอบศีลธรรม ดาเนินชีวิตให้สมกับเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า ต่างหาก ที่จะมัดใจเขาให้ชิดสนิทกับพระองค์...

19


...ข่าวเยาวชน “สังฆมณฑลเชียงใหม่” เยี่ยมศูนย์พันธกิจแห่งรัก อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20-23 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่แผนกเยาวชนคาทอลิกสังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้ ไปเยี่ยมศูนย์พันธกิจแห่งรัก แห่งนี้เป็นครั้งแรกเพราะที่ ผ่านมาได้ไปเยี่ยมศูนย์ที่อื่นมากกว่า ซึ่งก่อนหน้านี้ซิสเตอร์ ได้เชิญให้มารอบหนึ่ง มาช่วยจัดกิจกรรมก่อนเปิด การศึกษาแต่ครั้งนั้นได้ปฏิเสธไปเพราะติดธุระ สาหรับ น้องๆที่นี่ มีสมาชิกทั้งหมด 41 คน ซิสเตอร์ 2 ท่าน โนวิส 1 ท่านและพนักงาน 1 ท่าน มีทั้งชนเผ่าปกาเกอะญาสกอ ปกาเกอะญอโผ่ลง โม้ง และอาข่า ซึ่งทั้งหมดนี้แยกเด็ก นักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม เพราะพวกเขาเรียนอยู่ใน 4 สถาบันโรงเรียน มีโรงเรียนจอมทอง โรงเรียนสบเตี๊ยะและ ที่วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง วัตถุประสงค์ที่มาอยู่ร่วมกันที่นี่ถือว่า เป็นการมา สัมผัสและมาเยี่ยมน้องๆที่นี่และได้ฝากข้อคิดว่า “เราเป็น เยาวชนต้องเป็นเยาวชนและคริสตชน 24 ชั่วโมง” จากพระสันตะปาปาฟรังซิส และพวกเยาวชนทุกคนมี ความสาคัญต่อสังคมไทยและสังคมโลก เพราะฉะนั้นให้ พวกเราทาหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดช่วงที่อยู่ร่วมกันที่นี่

20


เยี่ยมและอบรมเยาวชนศูนย์เด็กชาวไทยภูเขาแม่ปอน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ แผนกเยาวชนคาทอลิกสังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้ ไปเยี่ยมอบรมและจัดกิจกรรมให้กับน้องเยาวชนที่ศูนย์แม่ ปอน โดยใช้หัวข้อการอบรม เรื่อง “ปีผู้รับพระพรแห่ง ความเชื่อ (พระพรแห่งการดาเนินชีวิตคริสตชน ใน สังคมดิจิตอล)” ปัจจุบัน มีเยาวชนในระดับประถมศึกษาชั้นป.1ป.6 จานวนทั้งหมด 174 คนและนักเรียนภาคเรียนพิเศษ เรียนภาษาปกาเกอะญอ คาสอนและวิชาอื่นๆจานวน 32 คน ซึ่งมีคุณพ่อสุธน คีรีวัฒนสกุล(SCJ) เจ้าอาวาสวัด แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แม่ปอน ได้ให้การต้อนรับ อย่างอบอุ่นและเป็นอย่างดี ต้องขอขอบคุณคุณพ่อ คณะ ซิสเตอร์ ครูคาสอน บราเดอร์และน้องๆทุกคนสาหรับการ มาเจอกันในครั้งนี้

21


เยี่ยมและอบรมเยาวชน ศูนย์คาทอลิกแม่พระประตูสวรรค์ เขตวัดแจ้ห่ม เมื่อวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2014 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ แผนกเยาวชนสังฆมณฑลเชียงใหม่นาโดย นายยุทธชัย เงินหล้า นายไชยวัฒน์ ออเปะและบราเดอร์ อภินันท์ สมศักดิ์ เดินทางไป เยี่ยมและอบรมเยาวชน ณ ศูนย์คาทอลิกแม่พระประตูสวรรค์ เขตวัดแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง มีเยาวชนทั้งสิ้น 47 คน พี่เลี้ยง 4 คน ทุกคนเป็นชนเผ่าปกาเกอะญอ หัวข้อในการอบรมครั้งนี้ คือ “เยาวชนกับจิตตารมณ์วิถี ชุมชนวัด” โดยจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 3 ช่วง ก่อนเริ่มกิจกรรมแต่ ละช่วงจะมีกิจกรรมสันทนาการ เพื่อกระตุ้นและเตรียมความ พร้อมให้เยาวชนก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาใน ภาคเช้า เริ่มด้วย กิจกรรมที่ 1 คือ พระวาจาประจาชีวิต จุดประสงค์ก็เพื่อให้ เยาวชนรู้จักเปิดอ่านพระคัมภีร์ และนาพระวาจาที่ประทับใจมา ไตร่ตรองและนาไปดาเนินในชีวิต กิจกรรมที่ 2 บทบาทหน้าที่ เยาวชน เพื่อให้เยาวชนรู้จักบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนมากขึ้นรู้ ว่าตนเองอยู่ในสถานะอะไรและกาลังทาอะไร ภาคบ่าย กิจกรรม ที่ 3 เพราะเราเป็นเพื่อนกัน กิจกรรมนี้ได้นาเอาทฤษฎี หน้าต่างโจฮารี มาประยุกต์ใช้ในการทากิจกรรม โดยให้คาจากัด ความว่า เพื่อนคือกระจกปานหนึ่งของเรา กิจกรรมนี้เพื่อให้ เยาวชนได้รู้จักตนเองมากขึ้น รู้จักและยอมรับตนเอง ทั้ง ข้อดี และข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุง หลังจบกิจกรรมทั้งหมด พวกเราร่วมเล่นฟุตบอลด้วยกัน อย่างสนุกสนาน เยาวชนทุกคนให้ความร่วมมืออย่างดีมาก เรียก ได้ว่าได้รับทั้งความสนุกสนานและเนื้อหาสาระไปพร้อมกัน

22


เราอาจจะเคยได้ยิน หรือรู้จักผักออร์แกนิกที่มาจากการเพาะเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ จนได้ ต้นอ่อน เช่น ข้าวกล้องงอกจากการเพาะข้าวกล้อง ถั่วงอกจากการเพาะเมล็ดถั่วเขียว ถั่วงอก หัวโตจากการเพาะเมล็ดถั่วเหลือง หรือผักโต้วเหมี่ยวจากการเพาะเมล็ดถั่วลันเตา เป็นต้น ซึง่ ต้นอ่อนจากธัญพืชเหล่านี้กาลังเป็นที่นิยมสาหรับผู้ที่รักสุขภาพ เป็นผักอนามัยไร้สารพิษ แถม ยังอร่อยอีกด้วย และในวันนี้เราจะพามารู้จักกับต้นอ่อนจากธัญพืชอีกชนิดหนึ่งคือ ทานตะวันงอก หรือ ต้นอ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprout) จากการเพาะเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นผัก ทางเลือกใหม่ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทีเดียว มีโปรตีนสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ มีวิตามินหลายชนิด ทั้ง วิตามินเอ วิตามินอี ที่สามารถช่วยบารุงสายตา และผิวพรรณ วิตามินบี 1 บี 6 บี 12 ที่ ช่วยบารุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมด้วย ทานตะวันงอกจะมีกลิ่นหอม กรอบ และมีรสชาติหวาน สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือ จะนาไปปรุงอาหารเป็นเมนูอร่อย ๆ ได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ใส่ในสลัดหรือยาแซบ ๆ จะ นาไปผัดเป็นเมนูทานตะวันงอกผัดน้ามันหอย ทาอาหารประเภทต้มและแกง จับใส่ลงในแกงจืด แกงส้ม แกงเลียง หรือใส่ในก๋วยเตี๋ยว แทนถั่วงอกก็อร่อย หรือจะนาไป ทาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพก็ได้ด้วย

โพสต์เมื่อ : 25 มีนาคม 2557 เวลา 14:13:30 ที่มา : http://cooking.kapook.com/view85003.html เกริ่นนาโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ จาก คุณหมูน้อย พ่ะน่ะ สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

23


อิอิ กระทู้นี้หมูน้อยคนจน สิพาเฮ็ดเพาะเมล็ดทานตะวันงอก ไว้กินเองเด้อพี่น้อง ไปซื้อ เขากินแพงโพด ๆ ปลูกเองโลดงั้น ที่เขาขายกันก็ 150-300 บาทต่อกิโลกรัม จ๊าก! แพงอิหลี งั้นมาประหยัดเพาะกินกันเองดีกว่าเนาะ ๆ

อุปกรณ์ 1.

เมล็ดทานตะวันสีดา (Black Oil Sunflower Seeds) สีดา ๆ ที่ร้านขายอาหาร นก หรือร้านอาหารสัตว์ เอาพันธุ์สีดา ถ้าพันธุ์เมล็ดสีลายๆ ขาวดาไม่เอาเด้อ อัตราการ งอกมันน้อย มันงอกยาก 2. ถาดหรือกระบะทึบแสง 2 อัน (หมูน้อยคนจน ซื้อถาดถ่ายน้ามันเครื่องพลาสติก มัน ถูกดี ฮ่า ๆ ๆ ประยุกต์เอา มีอะไรก็เอาอันนั้นแหละ) 3. สเปรย์สาหรับฉีดน้าเปล่า

24


วิธีเพาะเมล็ดทานตะวันงอก แช่เมล็ดทานตะวันในน้าไว้หนึ่งคืน ใช้เมล็ดสัก 1/2-1 ถ้วยก็พอ เตรียมถาด 2 ใบ ไม่ต้องเจาะรู ระบายน้าหรือถ้ามีรูก็ไม่เป็นไร จากนั้น ใส่ดินลงไปสูง 1/2 นิ้วถึง 1 นิ้ว ฉีด สเปรย์น้าให้ทั่วดินพอชุ่ม ๆ ห้ามแฉะมาก โรยเมล็ดทานตะวันที่แช่น้าแล้ว กระจายให้ทั่วในกระบะ ฉีดสเปรย์น้าอีก ครั้งให้ทั่ว แล้วใช้กระบะอีกใบคว่าปิดทับ ด้านบน เปิดกระบะออก รดน้าด้วยสเปรย์วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังรดน้าแล้วปิดกระบะไว้ เช่นเดิมเพื่อเก็บความชื้น เมล็ดทานตะวันจะได้งอกไว ๆ พ่ะน่ะ ค่อย ๆ มีรากโผล่ออกมาให้เห็น มีขนสี ขาว ๆ ที่รากเต็มไปหมด สัก 3-4 วัน จะสูงขึ้นประมาณ 1 นิ้ว พอเริ่มผลิใบออก 1 คู่ ให้หงาย กระบะวางทับไว้ดา้ นบน เพื่อบังคับให้ต้น ทานตะวันงอก ในระดับเดียวกัน จากนั้น ฉีดสเปรย์รดน้าเช้า-เย็น แล้วก็วางกระบะ ทับไว้ด้านบนเช่นเดิม 2-3 วัน

25


ผ่านไป 2-3 วัน ตอนนี้ลาต้นสูงประมาณ 2-3 นิ้ว เอากระบะที่วางทับไว้ออกได้ จะ เห็นใบมีสีเหลืองเนื่องจากไม่โดนแสง ให้เอาถาดวางไว้ในที่รม่ ห้ามโดนแสงแดด ไม่กี่ชั่วโมงใบ ทานตะวันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว ฉีดสเปรย์รดน้าเช้า-เย็น

วันที่ 7-11 สามารถเก็บเกี่ยวมากินได้ตามความชอบ (ถ้าปล่อยไว้นานจะเริ่มมีใบเลี้ยงคู่ที่ สองออกมา รสชาติจะไม่ค่อยอร่อย) จวนจะได้เวลากินแหล่ว เหอๆๆ เวลาตัดรากก็ใช้ กรรไกรตัดโลด รวบมาเป็นกา ๆ แล้วก็ตัดฉับ ๆ แล้วล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งสะเด็ดน้า พอแห้งแล้วก็แบ่งเก็บใส่ถุงเข้าตู้เย็น แจกเพื่อนบ้าน แจกญาติ ๆ แจกไปโลด สุขภาพดี ถ้วนหน้าในราคาประหยัด พ่ะน่ะ

26


หมูน้อยซื้อเมล็ดทานตะวันยกถุง 240 บาท ได้ 2.7 กิโลกรัม ปลูกได้ 10 กว่าครั้ง (ครั้งละ 2-3 กระบะ) เฉลี่ยลงทุน 20 กว่าบาทต่อครั้ง มีทานตะวันงอกกินได้ตลอดใน ราคาถูกแสนถูก ไม่ใช้ปุ๋ยเร่งหรือปุ๋ยผสมน้าอะไรเลยเด้อ ดินสวนธรรมดา รดน้าก็น้าเปล่านี่ แหละ ผลผลิตล้นตู้เย็นกินไม่ทันเลยเด้ ฮ่า ๆ ตอนแรกก็ห้าวปลูกทุกอาทิตย์ ห้าวโพด ๆ หลายโพด ๆ กินบ่ทันจ้อยแม๋ะ ตอนนี้ปลูกอาทิตย์เว้นอาทิตย์สลับกับถั่วงอกจะได้มีกิน หมุนเวียนทั้งเดือน.... ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก Pantip.com

เมนูอาหาร แนะนา

27



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.