สารวลัยลักษณ์ ประจำเดือน เมษายน 2559

Page 1

วิสัยทัศน์ เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล


NEWS Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

ม.วลัยลักษณ์ จัดงานเนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 24

2

เมือ่ อังคารที่ 29 มีนาคม 2559 ศาสตราจารย์ ดร.วิจติ ร ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานใน กิจกรรมเนือ่ งในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่24 (29 มีนาคม 2559) โดยมี ผศ.ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนอธิการบดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยา ลัยฯ พร้อมด้วยคณะผูบ้ ริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าทีแ่ ละนักศึกษา มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ ตลอดจนแขกผู ้ มี เ กี ย รติ ใ นจั ง หวั ด นครศรีธรรมราชและประชาชนรายรอบ มหาวิทยาลัยร่วมงาน กิจกรรมเนื่องในโอกาสดังกล่าว ประกอบด้วย กิจกรรม “เดิน - วิง่ - ปัน่ จักรยาน สร้างสุข” โดย สโมสรวลัยลักษณ์ ชมรม จักรยานและชมรมจักรยานนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สมาคมศิษย์เก่า และชมรมจักรยานจังหวัดนครศรีธรรมราช กิ จ กรรมท� ำ บุ ญ ตั ก บาตรข้ า วสาร/อาหารแห้ ง บริ เวณลาน เพลินตา อาคารไทยบุรี พิธีเปิดนิทรรศการ โดย นายกสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ โถงกลางชั้นล่าง อาคารไทยบุรี จาก นั้นเป็นกิจกรรม ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี ชมการแสดง “รวมพลังสานสายใจ มวล.” โดย บุคลากรและนักศึกษา กิจกรรม Show & Share : สิง่ ดีๆ ทีภ่ มู ใิ จ ผลงานทีเ่ ป็นความส�ำเร็จ/ทีภ่ าค ภูมิใจ ของหน่วยงานวิชาการและหน่วยงานสนับสนุน ศิษย์เก่า และนักศึกษา โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายก สภามหาวิทยาลัย เป็นประธานมอบโล่เชิดชูเกียรติผู้ที่มีผลงานดี เด่นในด้านการวิจยั ด้านการท�ำนุบำ� รุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้าน การบริการวิชาการ รางวัลหน่วยงานบริการเด่น รางวัลนักปฏิบตั ิ ดีเด่น รางวัลนักสร้างสุของค์กรดีเด่น และให้เกียรติเยี่ยมชมและ เลือกรับประทานอาหารกลางวัน จากซุ้มอาหารของหน่วยงาน ต่างๆ กว่า 40 ซุ้ม บริเวณลานน�้ำพุ อาคารไทยบุรี ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ยังมีกจิ กรรม เปิดม่าน Unseen WU : ความงามทีป่ ระทับใจ โดย ผศ.ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการ แทนอธิการบดี และ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพงค์ โชติพนั ธุ์

จากนัน้ ผูร้ ว่ มกิจกรรมรับฟังการปาฐกถาพิเศษ “ธรรมัตตาภิบาล : รากฐานของมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กิจกรรม มอบรางวัลนิทรรศการยอดนิยม หน่วยงานวิชาการได้แก่ส�ำนัก วิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ หน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ส่วนประชาสัมพันธ์ รางวัลผู้ร่วมลงคะแนน รางวัลการ ประกวดคลิปกิจกรรมนักศึกษาโดยรางวัลชนะเลิศได้แก่ชมรม นักวิทยุสมัครเล่นม.วลัยลักษณ์ ต่อจากนั้นนายกสภามหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมและรับฟังรายงานความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างศูนย์ การแพทย์ จากนายปรีดา วันธนาภรณ์ ที่ปรึกษาควบคุมงาน บริษัท นิติบุคคลร่วมท�ำงาน พีคิวทีเอส จ�ำกัด โครงการก่อสร้าง ศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และให้เกียรติเป็น ประธานเปิดการแข่งขันฟุตซอล เชือ่ มความสามัคคี มวล. ครบปีที่ 24 ระหว่าง ศิษย์เก่า VS ศิษย์ปัจจุบัน, บุคลากรสายปฏิบัติการ VS บุคลากรสายวิชาการและประชาคมจังหวัดนครศรีธรรมราช VS สื่อมวลชน นอกจากนี้เพื่อร่วมฉลองเนื่องในโอกาสดังกล่าว นายก สภามหาวิทยาลัย คณะผู้บริหาร กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติใน จังหวัดนครศรีธรรมราช เยี่ยมชมโครงการ Big Cleaning Day และร่วมปลูกต้นประดูป่ า่ ต้นไม้ประจ�ำมหาวิทยาลัย จ�ำนวน 300 ต้น ณ บริเวณหอพักนักศึกษา อีกด้วย


Walailak University Newsletter

NEWS

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ปาฐกถาพิเศษ “ธรรมัตตาภิบาลรากฐานของมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ” ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายก สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปาฐกถา พิเศษ “ธรรมัตตาภิบาลรากฐานของ มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ” เนือ่ งใน โอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 24 วันที่ 29 มี นาคม 2559 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี ศ.ดร.วิจิตร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทาง วิช าการระดั บ สู ง ให้ก ารศึก ษาระดับอุดมศึก ษาตั้ ง แต่ ร ะดั บ ปริญญาตรีถงึ ปริญญาเอก และประกาศนียบัตรเฉพาะเรือ่ ง ดังนัน้ ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องใช้ความรู้ทางวิชาการในการปฏิบัติงาน ขณะ เดียวกันผู้ที่ท�ำงานสายสนับสนุนก็จ�ำเป็นต้องเข้าใจด้านวิชาการ เช่นกัน ทัง้ นี้ ในส่วนของนักศึกษาก็มคี วามคาดหวังทีจ่ ะได้เรียนรู้ ทางวิชาการในสาขาวิชาชีพทีช่ อบเพือ่ จบเป็นบัณฑิตทางวิชาชีพ สายนัน้ ๆ ซึง่ งานขององค์กรจะประสบความส�ำเร็จได้อยูท่ ตี่ วั จักร ส�ำคัญ คือ “คน” นั่นเอง สถานภาพของมหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ ใ นฐานะ มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ในก�ำกับ คือ เป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในก�ำกับของรัฐ ไม่ เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งตามพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 36 ก�ำหนดให้มหาวิทยาลัย ของรัฐ เป็นนิติบุคคลในก�ำกับของรัฐ ด�ำเนินการได้โดยอิสระ ภายในกรอบของพันธกิจและอ�ำนาจหน้าที่ของมหาวิทยาลัย และมีเสรีภาพทางวิชาการ ซึง่ เป็นดัชนีชวี้ ดั ความเป็นนักวิชาการ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการทีเ่ ป็นของตนเอง เช่น การแบ่งส่วนงานภายในองค์กร การออกกฎระเบียบการปฏิบัติ งานตามความจ�ำเป็น เป็นต้น และอยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของ สภาสถานศึกษา ซึง่ ก็คอื “สภามหาวิทยาลัย” โดยพนักงานปฏิบตั ิ

งานภายใต้ระเบียบที่สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ออก ในฐานะทีเ่ ป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ การควบคุม ดู แ ลระดั บ สถาบั น ด� ำ เนิ น การโดยสภามหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง โดย ทั่วไปและโดยเฉพาะ หากเป็นระดับชาติเป็นการก�ำกับดูแลโดย รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของมหาวิทยาลัยใน 4 ภารกิจ คือ การเรียนการสอน การวิจยั การ บริการวิชาการ และท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม การด�ำเนินการให้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีทเี่ กีย่ วกับ มหาวิทยาลัย ซึง่ ตามปกติจะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับการของบประมาณ การแต่งตั้งอธิการบดี การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น ในกรณีทมี่ ปี ญ ั หาข้อขัดแย้งซึง่ อาจเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม ให้รัฐมนตรีพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา มหาวิทยาลัย ต้องปฏิบัติตามค�ำวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยทุกแห่งมีปณิธานที่มุ่งความเป็นเลิศ โดยเป็นเลิศทัง้ ทางด้านวิชาการและภารกิจทัง้ 4 ด้าน โดยใช้หลัก การบริหารจัดการที่ดี “ธรรมัตตาภิบาล” เป็นรากฐานของการ บริหารมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ” ค�ำว่า “ธรรมัตตาภิบาล” มาจากค�ำว่า “ธรรมาภิบาล + อัตตาภิบาล” ซึง่ หลักธรรมาภิบาล มุง่ เน้นใน 6 หลักการ คือ หลักนิตธิ รรม หลักคุณธรรม หลักความ โปร่งใสตรวจสอบได้ หลักความคุม้ ค่า หลักความรับผิดชอบ และ หลักการมีส่วนร่วม ส่วนหลักอัตตาภิบาลมุ่งเน้นใน 3 หลักการ คือ ความเป็นอิสระ เสรีภาพทางวิชาการ และความรับผิดชอบ ต่อสังคม ศ.ดร.วิจติ ร ศรีสอ้าน กล่าวในตอนท้ายว่า “หากด�ำเนิน การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐโดยยึดหลักธรรมา ภิบาลและหลักอัตตาภิบาลแล้ว ผลได้คือ การบริหารจัดการให้ บรรลุความเป็นเลิศอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลได้ รวดเร็วขึ้น”

www.wu.ac.th

3


NEWS

Walailak University Newsletter

ผูบ้ ริหารม.วลัยลักษณ์แจงกรณีตดั ต้นประดูท่ ยี่ นื ต้นตาย ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.วั ล ลา ตันตโยทัย ในฐานะรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวถึงกรณีมีเสียง วิพากษ์วจิ ารณ์กรณีตดั ต้นประดูบ่ ริเวณทาง เข้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่า ต้องขอ ขอบคุณประชาคมทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัย ตลอดจนศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันทุกคนที่ได้แสดงความ ห่วงใยในเรือ่ งการตัดต้นประดู่ ทัง้ นีข้ อยอมรับและขออภัยในความผิด พลาดในการตัดต้นประดูค่ รัง้ นีท้ ไี่ ม่ได้มกี ารชีแ้ จงให้เป็นทีร่ บั ทราบโดย ทัว่ กันก่อน แต่ขอยืนยันว่ามหาวิทยาลัยให้ความส�ำคัญกับต้นประดูซ่ งึ่ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันแห่งนี้ โดยสาเหตุหลักของการตัดในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากต้นประดู่ดังกล่าวปลูกชิดแนวถนนและยืนต้นตายจ�ำนวน มาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรไปมาของนักศึกษาและ ผูค้ นทัว่ ไปจึงจ�ำเป็นต้องตัด โดยมหาวิทยาลัยมีแผนในการปลูกต้นไม้ และปรับปรุงภูมิทศั น์ในบริเวณของมหาวิทยาลัยทัง้ หมด ซึง่ เมือ่ วันที่ 29 มีนาคม 2559 เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยครบ 24 ปี คณะผูบ้ ริหาร คณาจารย์และนักศึกษาได้รว่ มกันปลูกต้นประดูจ่ ำ� นวน 300 ต้น เพื่อปลูกทดแทนต้นที่ตายไปด้วย “ขอยืนยันว่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้ความส�ำคัญกับต้นไม้ โดยเฉพาะต้นประดู่ซึ่ง เป็นต้นไม้ประจ�ำมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามต้น ที่ตายไปจะต้องปลูกต้นประดู่ใหม่ทดแทนอย่าง แน่นอน และหลังจากนี้จะมีการแต่งตั้งคณะ กรรมการในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อดูแลในเรื่อง ต้นไม้ของมหาวิทยาลัย โดยจะเชิญบุคคลทั้ง หน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมา

ร่วมกันวางแผนในระยะยาวอีกด้วย”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา กล่าว ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา อาจารย์ประจ�ำ ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ม.วลัยลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน โรคพืช บอกว่า การยืนต้นตายของต้นประดู่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก พื้นที่ ไม่เฉพาะในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สาเหตุเกิดจากศัตรูพืช 2 ชนิด คือ มอดรูเข็ม และด้วงหนวดยาวประดู่ โดยตัวการส�ำคัญ เกิดขึน้ จากด้วงหนวดยาวประดู่ ทีม่ ลี ำ� ตัวขนาด 3-5 เซนติเมตร มีวงจร ชีวิตนานถึง 8 เดือน ด้วงชนิดนี้จะท�ำการวางไข่กระจายทั่วทั้งล�ำต้น ของต้นประดู่ และมีการฟักเป็นตัวก็จะท�ำการเจาะล�ำต้นของประดู่ จนระบบการล�ำเลียงอาหารถูกตัดขาด ส่งผลให้กิ่งก้านเริ่มตายก่อน หลังจากนั้นก็จะมีการยืนต้นตายอย่างที่เห็น อย่างไรก็ตามจากปัญหาดังกล่าวทางส�ำนักวิชาเทคโนโลยี การเกษตร จะมีการวางแผนเพื่อท�ำการศึกษาหาแนวทางป้องกัน และแก้ไข ให้ต้นประดู่ที่จะปลูกใหม่ให้อยู่อย่างยั่งยืนและเคียงคู่กับ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ตลอดจนเพือ่ เป็นความรูน้ ำ� ไปถ่ายทอดให้กบั พืน้ ที่ ปลูกประดูอ่ นื่ ๆต่อไป ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา กล่าวในตอนท้าย

รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบ�ำรุง : รางวัลผลงานวิจยั เด่นด้านพืน้ ทีแ่ ละชุมชน “รูปแบบการแก้ปญ ั หาโรคไข้เลือดออกอย่างยัง่ ยืน”

www.wu.ac.th

4

รองศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุ ว รรณบ� ำ รุ ง อาจารย์ ป ระจ� ำ ส� ำ นั ก วิ ช า สหเวชศาสตร์ แ ละสาธารณสุ ข ศาสตร์ และหัวหน้าหน่วยวิจัยและบริการวิชาการ โรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ รับโล่เกียรติยศจาก พล.อ.อ.ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี จากผลงานวิจัยเด่นด้าน พืน้ ทีแ่ ละชุมชน ประจ�ำปี 2558 เรือ่ ง “รูปแบบการแก้ปญั หาโรคไข้เลือดออก อย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงต�่ำและเสี่ยงสูงของจังหวัดนครศรีธรรมราช” ซึง่ จัดโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) รองศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุวรรณบ�ำรุง กับความพยายาม ในการแก้ปญ ั หาผูป้ ว่ ยโรคไข้เลือดออกทัง้ ในด้านการรักษาในโรงพยาบาล และการป้องกันในชุมชน มามากกว่า 27 ปี เล่าว่า โรคไข้เลือดออกเป็น หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ส�ำคัญของประเทศไทยและภาคใต้ โดยในช่วง 12 ปี ทีผ่ า่ นมาได้ดำ� เนินการในการป้องกันโรคในพืน้ ทีช่ มุ ชนของจังหวัด

นครศรีธรรมราช ซึง่ มีความรุนแรงและมีความเสีย่ งซ�ำ้ ซากเป็นจังหวัดอัน ดับต้นๆ ของภาคใต้ ทัง้ นีป้ จั จัยสาเหตุการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีหลากหลาย ได้แก่ ประเภทและความรุนแรง การก�ำจัดยุงลายตัวแก่ดว้ ยสารเคมีขาด ประสิทธิภาพ การเปลีย่ นแปลงของสิง่ แวดล้อมทีม่ ผี ลต่อวงจรชีวติ ยุง และ ปัจจัยทางด้านสังคม ขณะที่ยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค มีเพียงการรักษา ตามอาการ ส่วนวัคซีนยังอยู่ในระยะของการพัฒนา ดังนั้น การป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงเป็นกลยุทธ์ที่ส�ำคัญของการแก้ไขปัญหา โรคไข้เลือดออกของชุมชน ทัง้ การด�ำเนินการในกลุม่ นักเรียนเกีย่ วกับรูป แบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน การด�ำเนินการ สร้างสมรรถนะชุมชน การส�ำรวจและท�ำลายแหล่งเพาะพันธุย์ งุ ทีใ่ ห้ความ ส�ำคัญกับค่าดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลาย ในการบ่งชีค้ วามเสีย่ งต่อการระบาดของโรค ไข้เลือดออก ประกอบกับชุมชนยังให้ความส�ำคัญในการส�ำรวจดัชนีลกู น�ำ้ ยุง ลายน้อยมาก ขาดความต่อเนือ่ งในการด�ำเนินการ ขาดระบบในการด�ำเนิน การเฝ้าระวัง การบันทึก การน�ำผลการส�ำรวจไปใช้ปอ้ งกันโรค รวมถึงไม่มี


Walailak University Newsletter

การจัดการดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลายในต�ำบลเสีย่ งสูงของ 2 อ�ำเภอ คือ ต�ำบลก�ำโลน อ�ำเภอลานสกา และ ต�ำบลสีข่ ดี อ�ำเภอสิชล ด�ำเนินการผ่าน รพ.สต. ทีด่ แู ล พืน้ ทีซ่ งึ่ ต่อมาได้ขยายผลครอบคลุมพืน้ ทีท่ งั้ อ�ำเภอลานสกาและสิชล สรุปรูปแบบการแก้ปญ ั หาโรคไข้เลือดออกอย่างยัง่ ยืน ประกอบ ด้วยโมเดลระดับอ�ำเภอ “ลานสกาโมเดล” จุดเด่น คือ กระบวนการมีสว่ น ร่วมของผูท้ เี่ กีย่ วข้องครอบคลุมทัง้ พืน้ ที่ ได้รบั ความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก นายอ�ำเภอ สาธารณสุขอ�ำเภอ (สสอ.) เทศบาลลานสกา รพ.ลานสกา และ รพ.สต. โดยทุก รพ.สต. มีการรวบรวมผลการส�ำรวจดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลายและ น�ำข้อมูลใช้ประโยชน์ในการติดตามเพือ่ เฝ้าระวังทุกเดือน เป็นต้นแบบโมเดล ระดับอ�ำเภอทีส่ ามารถประยุกต์ใช้ได้กบั อ�ำเภออืน่ ๆ โมเดลระดับต�ำบล “สี่ขีดโมเดล” จุดเด่น คือ การสนับสนุน จาก อบต. สีข่ ดี ทีเ่ ป็นจุดร่วมของกิจกรรม รวมทัง้ สนับสนุนงบประมาณที่ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในการแก้ปญ ั หาโรคไข้เลือดออก และ ยังมีภาคีรว่ มอย่างดีจาก รพ.สต. บ้านสีข่ ดี รพ.สต. บ้านเกล็ดแรด ก�ำนัน ผูใ้ หญ่บา้ นจาก 13 หมูบ่ า้ น อสม. และ 4 โรงเรียนประถมศึกษา โดยมีการ บูรณาการกิจกรรมในโครงการวิจยั เป็นส่วนหนึง่ ของนโยบายการด�ำเนินการ ของต�ำบล เช่น การประชุมเครือข่ายการแก้ปญ ั หาโรคไข้เลือดออกของต�ำบล สีข่ ดี การอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารให้ความรูค้ รูและ อสม. ทีด่ แู ลพืน้ ทีโ่ รงเรียน การใช้ผลการส�ำรวจดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลาย การสนับสนุนงบประมาณแก่ รพ.สต. ในการด�ำเนินการต่อยอด โมเดลระดับ รพ.สต. “ย่านยาวโมเดล” จุดเด่น คือ เจ้าหน้าทีแ่ ละ ผู้อ�ำนวยการ รพ.สต. มีความมุ่งมั่นในการด�ำเนินกิจกรรมป้องกันโรค ไข้เลือดออก จัดกิจกรรมที่บูรณาการกับโครงการวิจัย สอนทักษะและ ความรูใ้ ห้แก่ อสม. อย่างต่อเนือ่ ง ติดตามผลการส�ำรวจดัชนีลกู น�ำ้ ทุกเดือน และใช้ข้อมูลผลการส�ำรวจมาสื่อสารและสร้างความตระหนักในการ เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก มีการประสานงานและงบประมาณจาก อบต. ก�ำโลน ในการด�ำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โมเดลระดับหมูบ่ า้ น “หมูท่ ี่ 3 โมเดล” จุดเด่น คือ การมีสว่ น ร่วมของผูใ้ หญ่บา้ น สมาชิก อบต. อสม. ทุกคนให้ความร่วมมือและตืน่ ตัว ในการด�ำเนินการ โครงการย่อยทีด่ ำ� เนินการคือ 1) การตรวจเยีย่ มบ้านน่าอยู่ ที่ อสม. แต่ละคนจะดูแลบ้านให้ปลอดยุงลาย ปลูกสมุนไพรไล่ยงุ และ 2) ธนาคารปลา เป้าหมายคือการเลี้ยงปลาในอ่างบัวทุกครัวเรือน เป็นการ ล่อให้ยงุ วางไข่เพือ่ ให้ปลากินลูกน�ำ้ และยุงจะตายเองเมือ่ ครบช่วงอายุ 3) การส�ำรวจดัชนีลกู น�ำ้ และการท�ำลายแหล่งเพาะพันธุอ์ ย่างครอบคลุมและ ส�ำรวจอย่างจริงจังทุกเดือน 4) อสม. ทุกคนเข้าร่วมประชุมประจ�ำเดือน เพือ่ พัฒนาความรูแ้ ละทักษะ และ 5) สือ่ สารข้อมูลในการประชุมหมูบ่ า้ น ทัง้ นี้ ขณะด�ำเนินการและเมือ่ เสร็จสิน้ โครงการวิจยั ค่าดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลาย ลดลงในระดับหมูบ่ า้ น รพ.สต. ต�ำบล และอ�ำเภอ ซึง่ แสดงถึงความเสีย่ ง ของพืน้ ทีต่ อ่ การระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลง และอัตราการป่วยลดลง ในตอนท้าย รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบ�ำรุง กล่าว ด้วยความภาคภูมใิ จว่า รูปแบบการแก้ปญ ั หาโรคไข้เลือดออกอย่างยัง่ ยืน สามารถเป็นตัวอย่างของการด�ำเนินการในระดับอ�ำเภอทีม่ คี วามเข้มแข็ง อย่างต่อเนือ่ งหลังการด�ำเนินการวิจยั คือ “ลานสกาโมเดล” ทีม่ รี ปู แบบ มีระบบเฝ้าระวังดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลายจากระดับครัวเรือนถึงระดับอ�ำเภอผ่าน โปรแกรมค�ำนวณดัชนีลกู น�ำ ้ http://lim.wu.ac.th มีการลดลงของอัตรา การป่วยในพื้นที่ และการตื่นตัวของพื้นที่ในการเข้าร่วมการวิจัยเพื่อแก้ ปัญหาโรคไข้เลือดออกของพืน้ ที่ ท�ำให้ได้รบั รางวัลผลงานวิจยั เด่นด้านพืน้ ที่ และชุมชน ประจ�ำปี 2558 จากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

www.wu.ac.th

ระบบการวิเคราะห์ขอ้ มูล จากสถานการณ์ปัญหาและปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้อง หน่วย วิจยั และบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึง่ รอง ศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุวรรณบ�ำรุง เป็นหัวหน้าหน่วยฯ เห็นว่า การ ประเมินชุมชนอย่างเฉพาะเจาะจงจะช่วยในการตัดสินใจเพือ่ แก้ปญ ั หาไข้ เลือดออกได้อย่างเหมาะสม โดยเชือ่ ว่าพืน้ ทีเ่ สีย่ งสูงและต�ำ่ ต่อการระบาด ของโรคไข้เลือดออกมีความแตกต่างกันทัง้ สถานการณ์ ปัจจัย และรูปแบบ ในการแก้ปญ ั หา พร้อมทัง้ เน้นการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ ารมีสว่ นร่วมของชุมชนใน การประเมินสถานการณ์ความเสีย่ งต่อการระบาดโรคไข้เลือดออก พัฒนารูป แบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และพัฒนาระบบ เฝ้าระวังดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลายเพือ่ ป้องกันโรคไข้เลือดออกทีค่ รอบคลุมพืน้ ทีท่ งั้ อ�ำเภอ ของอ�ำเภอลานสกา อ�ำเภอสิชล และอ�ำเภอท่าศาลา ตลอดถึงการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสอู่ ำ� เภออืน่ ๆ ในภาคใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.จรวย เล่าถึงรูปแบบการแก้ปญ ั หาโรคไข้ เลือดออกในพืน้ ทีเ่ สีย่ งสูงและเสีย่ งต�ำ ่ ว่า ในพืน้ ทีเ่ สีย่ งต�ำ ่ มีระบบเฝ้าระวัง ดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลาย ซึง่ สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ในระดับหนึง่ โดยโมเดล มาตรฐานทีไ่ ด้จากการวิจยั มี 2 โมเดล ได้แก่ โมเดลการแก้ปญ ั หาในพืน้ ที่ เสีย่ งต�ำ ่ “Standard practice model” ประกอบด้วย (1) ระบบเฝ้าระวัง ดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลายเพือ่ ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยเริม่ จาก อสม. ท�ำการ ส�ำรวจดัชนีลูกน�้ำยุงลายพร้อมกับเจ้าของบ้านทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน รวบรวมข้อมูลการส�ำรวจ อสม.>หัวหน้ากลุม่ บ้าน (โซน) >ประธานหมูบ่ า้ น> รพ.สต. เพือ่ ลงข้อมูลในโปรแกรม http://lim.wu.ac.th (ลิขสิทธิข์ อง รอง ศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบ�ำรุง และสุภาพร ทองจันทร์) รายงานค่า ดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลายเปรียบเทียบกับค่าประมาณความชุกของยุงลายต่อพืน้ ที่ หนึง่ ตารางกิโลเมตร เปรียบเทียบค่าดัชนีลกู น�ำ ้ ราย รพ.สต. หมูบ่ า้ น และ รายเดือน ข้อมูลจะถูกใช้ในการประชุมประจ�ำเดือนของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ของอ�ำเภอ และ รพ.สต. ท�ำการประชุม อสม. และส่งข้อมูลให้โรงเรียนและ อบต. ในการเฝ้าระวังโรค (2) การป้องกันและควบคุมโรคโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐาน ด�ำเนินการในโรงเรียนประถมศึกษา 9 โรงเรียน โดยปัจจัยความส�ำเร็จ ขึน้ อยูก่ บั บทบาทของผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียน ครูอนามัย และนักเรียนแกนน�ำ อสม. และ รพ.สต. ตลอดจนการสนับสนุนของ อบต. โมเดลโรงเรียนทีเ่ ป็น ตัวอย่าง คือ “วัดจันทร์โมเดล” และ “ช่องเขาหมากโมเดล” ซึง่ มีกจิ กรรม การป้องกันไข้เลือดออกอย่างต่อเนือ่ ง เช่น ส�ำรวจและก�ำจัดเศษขยะ แหล่ง เพาะพันธุย์ งุ ลาย ทีโ่ รงเรียน ทุก 7 วัน ส�ำรวจและก�ำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ลูกน�ำ้ ยุงลายทีบ่ า้ นร่วมกับพ่อแม่ ทุก 7 วัน มีการติดตามผลทุกเดือน มอบ หมายให้นกั เรียนแกนน�ำอ่านข่าวและจัดนิทรรศการโรคไข้เลือดออกอย่าง ต่อเนือ่ ง ท�ำให้นกั เรียนมีความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับโรคไข้เลือดออกสูงขึน้ กว่า ก่อนด�ำเนินการ ส่วนโมเดลการแก้ปญ ั หาโรคไข้เลือดออกในพืน้ ทีเ่ สีย่ งสูง (Best practice model) รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย เล่าว่า โมเดลต้นแบบ ของการด�ำเนินการคือ “ก�ำแพงเซาโมเดล” ซึง่ มีการด�ำเนินการวิจยั ถึง 6 ปี ส่วนการด�ำเนินการในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอลานสกาและสิชลใช้เวลาเพียง 2 ปี โดยรูปแบบการด�ำเนินการถือว่าเป็นโมเดลการปฏิบตั ทิ ดี่ ี (Best practice model) ประกอบด้วย การด�ำเนินการของระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน�้ำยุง ลาย และรูปแบบการด�ำเนินการในโรงเรียนประถมศึกษาเป็นการปฏิบัติ มาตรฐาน (Standard practice model) ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว ร่วมกับ มาตรการ หรือการด�ำเนินการอื่นๆ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่บ้าน โดยโมเดลต้นแบบ (Best practice model) เป็นผลจากการพัฒนารูปแบบ

NEWS

5


NEWS

Walailak University Newsletter

นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร คว้า 2 รางวัล จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC2016) รอบคัดเลือกภาคใต้

นั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รวิ ศ วกรรมคอมพิ ว เตอร์ ส� ำ นั ก วิ ช า วิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัล จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC2016)

รอบคัดเลือกภาคใต้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 นอกจากนี้ยัง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับภาคใต้ จากโครงงาน “Drone ส�ำรวจถ่าย ภาพ บินอัตโนมัติด้วย GPS สั่งงานผ่านทาง Smartphone” จากประเภท Internet of Things โดย นายชาญชัย ชัยชาญ และนายเสกสรร มั่นคง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้รับเงินสนับสนุนรอบที่สองจ�ำนวน 9,000 บาท ซึ่งมี อาจารย์กรกต สุวรรณรัตน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา อนึง่ การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC2016) ครั้ ง ที่ 18 จั ด โดย ศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งจัดการแข่งขัน 3 รอบ คือ รอบที่ 1 เป็นการคัดเลือกจากข้อเสนอโครงการ ระดับภาค รอบ ที่ 2 เป็นการแสดงผลงานเพื่อคัดเลือกตัวแทนระดับภาคไปแข่งขันในรอบ ที่ 3 คือการรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ไทย ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2559 ณ กรุงเทพมหานคร

ท่องเที่ยวฯ ม.วลัยลักษณ์คว้า 3 รางวัล แข่งทักษะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว

นักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ คว้า 3 รางวัล ซึ่งมี ดร.สุขุมาล กล�่ำแสงใส อาจารย์ประจ�ำ หลักสูตรดังกล่าวเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากเวทีการประกวดแข่งขัน ทักษะวิชาชีพทางด้านการท่องเทีย่ ว ซึง่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ จัดขึ้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา โดยมีนักศึกษา ประมาณ 200 คนจาก 30 สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วม รางวัลการแข่งขันทักษะวิชาชีพมัคคุเทศก์ภาษาไทย ในหัวข้อ “การน�ำชมพระบรมมหาราชวังและพระศรีรัตนศาสดาราม” นายทินกร ชาวโพธิ์ ได้ รั บ รางวั ล รองชนะเลิ ศ อั น ดั บ 2 และนางสาวชนกพร ศรี วิ โรจน์ ได้ รั บ รางวั ล ชมเชย โดยได้ รั บ เงิ น รางวั ล จ� ำ นวน 2,000 และ 1,000 บาท ตามล� ำ ดั บ พร้ อ มเกี ย รติ บั ต ร

นอกจากนี้ นายอุ ด มศั ก ดิ์ รวยทอง และ นางสาววนิ ด า พรประสิ ท ธิ์ ยั ง ได้ รั บ รางวั ล ชมเชยจากการแข่ ง ขั น ทั ก ษะการเขี ย น และน� ำ เสนอรายการน� ำ เที่ ย ว 3 วั น 2 คื น “สั ม ผั ส มนต์ เ สน่ ห ์ ชุ ม พร กับบริษัท ไข่มุก แทรเวล” โดยได้รับเงินรางวัล จ�ำ นวน 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรอีกด้วย

www.wu.ac.th

นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลชมเชย การแข่งขันให้ค�ำปรึกษาทางยาระดับประเทศ ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ

6

ส� ำ นั ก วิ ช าเภสัช ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลัก ษณ์ ได้ จั ด ส่ ง นศภ.ชนกนาถ ตปนียะพงศ์ นศภ.ธันธิชา โต๊ะทอง นศภ.เพชรลักษณ์ ตันติดนุนนั ท์ และ นศภ.ลลิต อรุณฤทธิเดชา เข้าร่วมการแข่งขันทักษะด้าน เภสัชกรรมระดับประเทศ ประจ�ำปี 2558 ในวันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร โดยในงานดังกล่าวประกอบด้วย ส่วนที่ 1 มีการบรรยาย หัวข้อบรรยายที่ 1 คุณภาพยาจากอุตสาหกรรมไทย หัวข้อบรรยายที่ 2 แรงบันดาลใจจากนักศึกษาเภสัชศาสตร์ สูค่ วาม ส�ำเร็จในวงการยา ซึง่ ทัง้ 2 การบรรยายช่วยให้นกั ศึกษาได้เปิดมุมมองในการ เป็นนักศึกษากับการก้าวสูก่ ารเป็นเภสัชกร ส่วนที่ 2 เป็นการแข่งขันทักษะทางเภสัชกรรม ช่วงเช้าเป็นการคัดเลือกนักศึกษาในการแข่งขันทักษะทาง เภสัชกรรม โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 รูปแบบคือ การแข่งขันการให้คำ� ปรึกษา ภาคภาษาอังกฤษ โดยมีทีมผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 13 ทีม การแข่งขัน การให้คำ� ปรึกษาภาคภาษาไทย โดยมีทมี ผูเ้ ข้าร่วมการแข่งขันทัง้ สิน้ 18 ทีม ซึง่ วิธกี ารในการแข่งขันคือ ทางผูจ้ ดั แข่งขันจะให้โจทย์กบั ทีมทีแ่ ข่งขันเพือ่ ให้ เตรียมความพร้อมในการให้คำ� ปรึกษา ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยแต่ละทีมจะต้องไปเตรียมตัวมาเพือ่ มาประกวดหน้าเวที โดยใช้เวลาทัง้ สิน้ 3 นาที ต่อทีม หลังจากนัน้ กรรมการจะมี การพิจารณาให้คะแนน เมือ่ มีการแข่งขันเสร็จสิน้ ในแต่ละ ภาษาแล้วกรรมการจะมีการให้คำ� แนะน�ำแต่ละทีม แล้วมีการ

ประกาศผลทีมทีเ่ ข้ารอบชิงชนะเลิศ ต่อไป ช่วงบ่ายเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ โดยมีทมี แต่ละภาษา ผ่าน เข้ารอบจ�ำนวน 6 ทีม ซึง่ เป็นทีน่ า่ ยินดีมากทีท่ มี จากส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ผา่ นเข้ารอบทัง้ สองภาษา โดยในรอบชิงชนะเลิศ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ จะแข่งขันทักษะเภสัชกรรมโดยจะเป็นการแข่งขัน ซึง่ มี ผูป้ ว่ ยเสมือนจริงในการแข่งขัน โดยใช้เวลาทัง้ สิน้ 5 นาที ต่อทีม หลังจากนัน้ กรรมการจะมีการพิจารณาให้คะแนน เมือ่ มีการแข่งขันเสร็จสิน้ ในแต่ละภาษา แล้วกรรมการจะมีการให้คำ� แนะน�ำแต่ละทีม ผลปรากฏว่า ตัวแทนจากส�ำนัก วิชาเภสัชศาสตร์ ทัง้ 2 ทีม ได้รบั รางวัลดังนี้ 1. การแข่งขันทักษะทางด้านเภสัชกรรม ภาคภาษาไทย นศภ. ชนกนาถ ตปนียะพงศ์ และ นศภ.ธันธิชา โต๊ะทอง ได้รับรางวัลชมเชย 2. การแข่งขันทักษะทางด้านเภสัชกรรม ภาคภาษาอังกฤษ นศภ. เพชรลักษณ์ ตันติดนุนนั ท์ และ นศภ.ลลิต อรุณฤทธิเดชา ได้รบั รางวัลชมเชย ส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกบั นักศึกษาทัง้ 4 ท่าน ไว้ ณ ทีน่ ดี้ ว้ ยทีไ่ ด้สร้างชือ่ เสียงให้กบั ส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ และมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์


Walailak University Newsletter

NEWS

นักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คว้า 2 เหรียญรางวัล ในการแข่งขันการประกวดปรุงอาหารจากเป็ดชิงแชมป์ประเทศไทย 2016 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นั ก ศึ ก ษ า ส า ข า วิ ช า อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย ว ส� ำ นั ก วิชาการจัดการ คว้า 2 เหรียญรางวัล (เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง) และ 4 ประกาศนียบัตร การแข่งขัน การประกวดปรุงอาหารจากเป็ด ชิงแชมป์ประเทศไทย 2016 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รอบภูมภิ าค (ภาคใต้ฝง่ั อ่าวไทย) ซึง่ มี อาจารย์ปวิธ ตันสกุล อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรฯดังกล่าว เป็นทีป่ รึกษา สืบเนือ่ งจากการที่ บริษทั บางกอกแร้นช์ จ�ำกัด (มหาชน) ได้ จัดโครงการแข่งขันการประกวดปรุงอาหารจากเป็ด ชิงแชมป์ประเทศไทย (Thailand Duck Cooking Challenge 2016) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุดบิ หลักทีใ่ ช้คอื “เป็ด” ท�ำการตัดสินภายใต้กติกามาตรฐานจากสมาคมเชฟโลก โดยท�ำการ แข่งขันเพือ่ คัดเลือกตัวแทนระดับภูมภิ าค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคใต้อนั ดามัน, ภาคใต้อา่ วไทย, ภาคกลาง) เพือ่ แข่งขันในรอบชนะเลิศต่อไป โดยเมือ่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ Central Festival Samui อ�ำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มกี ารจัดการแข่งขันระดับภูมภิ าค (ภาคใต้ฝง่ั อ่าวไทย) นักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเทีย่ ว ส�ำนัก วิชาการจัดการ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน จ�ำนวน 8 ทีม และผ่านการคัดเลือก เพือ่ เข้าแข่งขัน จ�ำนวน 6 ทีม ได้แก่ ทีมที่ 1 น.ส.ไอลดา พิมลรัตน์ และ นายวีระพงศ์ ด้วงเชีย่ ว

ทีมที่ 2 น.ส.กรณัฏฐ์ พันธุโ์ นฤทธิ์ และ น.ส.พัชราภรณ์ แสงทอง ทีมที่ 3 นายธฤต ประเสริฐศรี และ นายสิรพิชญ์ ขวัญนาค ทีมที่ 4 นายอุดมศักดิ์ รวยทอง และ น.ส.สุทธิดา ปานขาน ทีมที่ 5 นายธนกฤต มะโนสาร และ นายอดิศกั ดิ์ บุตรปอด ทีมที่ 6 นายสุธพิ งษ์ สังวาล และ นายพันศักดิ์ สงัดศรี ในการแข่งขันดังกล่าวมีทมี ทีผ่ า่ นเข้าร่วมการแข่งขันจ�ำนวน 12 ทีม โดยผูจ้ ดั จะเลือกทีมทีม่ คี ะแนนสูงสุดเพียง 3 ทีม เพือ่ เป็นตัวแทน ภาคใต้ฝง่ั อ่าวไทยไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผลการแข่งขัน ปรากฎว่า ทีมที่ 4 นายอุดมศักดิ์ รวยทอง และ น.ส.สุทธิดา ปานขาน ได้รบั เหรียฐ รางวัลระดับเหรียญเงิน โดยมีคะแนนเป็นอันดับที่ 3 จากจ�ำนวนผูเ้ ข้า แข่งขันทัง้ หมด 12 ทีม และได้เป็นตัวแทนของภาคใต้ฝง่ั อ่าวไทยแข่งขัน ต่อระดับประเทศ นอกจากนี้ ทีมที่ 3 นายธฤต ประเสริฐศรี และ นายสิรพิชญ์ ขวัญนาค ได้คะเนนมาเป็นอันดับที่ 4 โดยได้รบั เหรียญรางวัล ระดับเหรียญทองแดง และอีก 4 ทีมทีเ่ หลือได้รบั รางวัลระดับประกาศนีบตั ร ทัง้ นี้ นายอุดมศักดิ์ รวยทอง และ น.ส.สุทธิดา ปานขาน จะ เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ซึง่ จัดขึน้ ในวันที่ 5-6 มีนาคม 2556 ณ Central World กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมสัมมนา “อนาคตลุ่มน�้ำปากพนัง..ทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

พิเศษ เรือ่ ง “การบริหารจัดการลุม่ น�ำ้ ปากพนังเพือ่ ชุมชนเข้มแข็ง” ซึง่ ท่าน ได้ให้ขอ้ เสนอแนะแนวทางการพัฒนางานวิจยั ทีน่ ำ� ไปสูก่ ารสร้างรายได้และ คุณภาพชีวติ ทีด่ นี นั้ จะต้องไม่ละเลยการสร้างความเป็นธรรม การสร้างความ เข้มแข็ง และการสร้างความยัง่ ยืนให้กบั ชุมชน ซึง่ จะต้องตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของ ความรูแ้ ละทรัพยากรชุมชน ทางด้านพลเรือเอกธราธร ขจิตสุวรรณ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ การทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทางทะเลและชายฝัง่ ได้สรุปและ ให้ขอ้ เสนอแนะแนวทางการขับเคลือ่ นการพัฒนาพืน้ ทีล่ มุ่ น�ำ้ ปากพนังไปสู่ ความยัง่ ยืนและเข้มแข็งของชุมชนได้นนั้ ทุกภาคส่วนทีท่ ำ� งานและขับเคลือ่ น ไม่วา่ ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หรือภาค ประชาชน จะต้องเปิดใจยอมรับฟังซึง่ กันและกัน อาศัยการพินจิ วิเคราะห์บน ฐานของความรูแ้ ละความเข้าใจ และท�ำงานร่วมกันด้วยความจริงใจ โดยจะ ต้องอาศัยกระบวนการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วนเป็นกลไกในการขับเคลือ่ น ตัง้ แต่กระบวนการร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมขับเคลือ่ น และน้อมน�ำเอาหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาบนฐานของความรูภ้ มู ปิ ญ ั ญา ของชาวลุม่ น�ำ้ ปากพนัง

www.wu.ac.th

คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ จัดงานสัมมนา “อนาคตลุ่มน�้ำปากพนัง... ทิศทางการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน” เมือ่ วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ศูนย์อำ� นวยการและ ประสานการพัฒนาพืน้ ทีล่ มุ่ น�ำ้ ปากพนัง อันเนือ่ ง มาจากพระราชด�ำริ เพือ่ ระดมความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะจากผูบ้ ริหาร เจ้าหน้าทีร่ ฐั นักวิชาการ และประชาชน ทีม่ สี ว่ น เกีย่ วข้องกับปัญหาของลุม่ น�ำ ้ น�ำไปสูก่ ารศึกษาหาแนวทางการบริหารจัดการ ลุม่ น�ำ้ ปากพนังอย่างยัง่ ยืน โดยมี พลเรือเอก ทวีวฒ ุ ิ พงศ์พพิ ฒ ั น์ รองประธาน คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม คนที่ 2 เป็นประธาน ในการสัมมนา และ ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว รองประธานคณะกรรมาธิการการ ทรัพยากรธรรมชาติ คนที่ 4 เป็นผูด้ ำ� เนินการอภิปราย ซึง่ มีผเู้ ข้าร่วมสัมมนาจาก หน่วยงานต่างๆ อาทิ ส�ำนักงาน กปร. ส�ำนักงบประมาณ ส�ำนักนโยบายและ แผนสิง่ แวดล้อม สภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศูนย์อำ� นวย การและประสานการพัฒนาพืน้ ทีล่ มุ่ น�ำ้ ปากพนัง อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ หน่วยงานในพืน้ ทีล่ มุ่ น�ำ้ ปากพนัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และตัวแทน ชุมชนลุม่ น�ำ้ ปากพนัง เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 150 คน การสัมมนาครัง้ นี้ มีผเู้ ข้าร่วมสัมมนาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ�ำนวน 10 คน อาทิ รศ.ดร.ชิตณรงค์ ศิรสิ ถิตกุล รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ ผศ.ดร.ปกรณ์ ดิษฐกิจ และเจ้าหน้าทีจ่ ากสถาบันวิจยั และพัฒนา โดย รอง อธิการบดีฝา่ ยวิจยั และเครือข่ายสังคม ดร.เลิศชาย ศิรชิ ยั ได้รว่ มบรรยาย

7


NEWS

Walailak University Newsletter

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดโครงการฝึกอบรม“เสริมพลังตน ผลพลังองค์กร สู่นวัตกรรมท�ำงาน”

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยหน่วยพัฒนาองค์กร จัด โครงการฝึกอบรม “เสริมพลังตน ผลพลังองค์กร สูน่ วัตกรรมท�ำงาน” รุน่ ที่ 1 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559 ณ ชลนภารีสอร์ท อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความรัก สามัคคีและมีความสุขในการท�ำงาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ อันดีระหว่างผูบ้ ริหารและพนักงาน ในการช่วยกันขับเคลือ่ นองค์กร ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อเกิดพลัง องค์กรอย่างยัง่ ยืน โดยมี รศ.ดร.สมนึก เอือ้ จิระพงษ์พนั ธ์ รักษา การแทนรองอธิการบดีฝา่ ยบริหาร ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย พล.ต.ศรีศกั ดิ์ เลิศล�ำ้ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ยกิจการพิเศษ ผศ.ดร.สุพศิ ฤทธิแ์ ก้ว รองอธิการบดีฝา่ ยกิจการสภามหาวิทยาลัย และนายพิพฒ ั น์พนั ธุ์ สุวรรณอักษร ผูช้ ว่ ยอธิการบดีฝา่ ยบริหาร ซึง่ มีบุคลากรสายวิชาการและสายปฏิบัติการวิชาชีพ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ เข้าร่วมอบรมในครัง้ นีร้ วมทัง้ สิน้ 60 คน โอกาสนี้ รศ.ดร. สมนึก เอือ้ จิระพงษ์พนั ธ์ ได้บรรยายพิเศษ และให้กรอบแนวคิดในการท�ำงานแก่ผเู้ ข้าอบรมว่า สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ใน การพัฒนามหาวิทยาลัยคือการท�ำอย่างไรให้บคุ ลากรมีความฝันใน การท�ำงาน เพือ่ น�ำมาสูค่ วามมุง่ มัน่ ตัง้ ใจ ไม่หยุดคิดและพัฒนางาน โครงการฝึกอบรมในครัง้ นีห้ น่วยพัฒนาองค์กรมีความตัง้ ใจเป็นอย่าง ยิง่ ในการสร้างสรรค์กจิ กรรมเพือ่ เสริมพลังองค์กรให้เข้มแข็งและ

ท�ำให้ทกุ คนในองค์กรมีพลังใจในการร่วมกันคิด ร่วมกันฝัน ร่วมกัน พัฒนางานให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กา้ วไปเป็นมหาวิทยาลัยชัน้ น�ำ ของประเทศตามความปรารถนาทีเ่ คยฝันและตัง้ ใจกันไว้ให้เร็วทีส่ ดุ ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์ ผูเ้ ข้า ร่วมอบรม เล่าว่า โครงการฝึกอบรมในครัง้ นีม้ จี ดุ มุง่ หมายเพือ่ ให้ ทุกคนรักองค์กร โดยใช้การสือ่ สารผ่านรูปแบบของกิจกรรมทีไ่ ม่เป็น ทางการมากนัก มีความสนุกสนาน และสร้างความสนิทสนมแก่ผู้ เข้าร่วม ท�ำให้รจู้ กั เพือ่ นร่วมงานในหลายๆหน่วยงานเพิม่ มากขึน้ อีกทัง้ เป็นกิจกรรมทีท่ ำ� ให้เข้าใจจุดมุง่ หมายในภาพรวมขององค์กร ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าการนั่งอยู่เฉพาะในห้องท�ำงานหรือใน หน่วยงานของตนเองเพียงอย่างเดียว ทางด้านนางจินตนา กิจผดุง งานช่วยนักบริหาร ผูเ้ ข้า ร่วมอบรม เล่าว่า ถือเป็นโอกาสดีทไี่ ด้รว่ มกิจกรรมตลอดระยะเวลา 2 วัน ผูร้ ว่ มอบรมจะได้สงิ่ ดีๆมากมาย ทัง้ ยังเป็นกิจกรรมทีม่ คี วาม สนุกสนาน ได้สาระความรู้และมิตรภาพที่ดีแก่ผู้ร่วมงานทั้งสาย วิชาการและสายปฏิบตั กิ าร อยากให้บคุ ลากรชาววลัยลักษณ์มาร่วม โครงการนีท้ จี่ ะจัดขึน้ อีก 5 รุน่ เพราะเชือ่ ว่าทุกคนจะได้รบั สิง่ ดีๆ เกินความคาดหมายและสิง่ ส�ำคัญคือ เสริมพลังในการท�ำงานทีเ่ รา มีอยูแ่ ล้วให้ยงิ่ เพิม่ มากขึน้ อีกด้วย

หัวหน้าศูนย์ด�ำรงธรรมเมืองคอนประชุมร่วมผู้บริหารม.วลัยลักษณ์ หาแนวทางแก้ปัญหาผู้เดือดร้อนค่าถมดินโครงการศูนย์แพทย์ฯ

www.wu.ac.th

8

เมื่ อ วั น ที่ 3 มี น าคม 2559 ที่ ห ้ อ งประชุ ม 15/1 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายวีระพรรณ สุขะวัลลิ หั ว หน้ า ศู น ย์ ด� ำ รงธรรมจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช นายจรั ญ จันทร์ต้น วิศกรช�ำนาญการ ส�ำนักงานโยธาและผังเมืองจังหวัด นครศรีธรรมราช พร้อมด้วยเจ้าหน้าทีท่ หารจากมณฑลทหารบกที่ 41 เดินทางประชุมร่วมกับ พลตรีศรีศกั ดิ์ เลิศล�ำ้ รักษาการแทน รองอธิการบดีฝา่ ยกิจการพิเศษ เพือ่ รับทราบและร่วมแก้ปญ ั หาดิน ถมโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ซึง่ ทางจังหวัด นครศรีธรรมราชได้มีค�ำสั่งที่136/2559 แต่งตั้งคณะกรรมการ แสวงหาหลักฐานและข้อเท็จจริง เพื่อน�ำไปสู่การแก้ไขปัญหา ไกล่เกลี่ย เยียวยาผู้เดือดร้อนให้ได้รับความเป็นธรรม โดยในการประชุมครัง้ นีท้ างคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ ได้รบั ฟังปัญหาทีเ่ กิดขึน้ พร้อมทัง้ ตรวจสอบข้อมูลเอกสารสัญญา ว่าจ้างการรับเหมาถมดินโครงการศูนย์การแพทย์ฯ ฉบับเก่าและ ฉบับใหม่ แบบแปลนการก่อสร้างและถมดิน เอกสารการควบคุม

งานของผูค้ วบคุมงานการถมดิน เอกสารส�ำรวจปริมาณการถมดิน ของบริษทั เอกชนทีม่ หาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผูว้ า่ จ้าง ตลอดจน ขอรายงานประจ�ำวัน รายงานประจ�ำสัปดาห์จากบริษทั ทีป่ รึกษา เพือ่ หาข้อสรุปและเยียวยาผูเ้ ดือนร้อนทีเ่ กิดขึน้ อย่างเป็นธรรมต่อไป โอกาสเดียวกันนีค้ ณะผูบ้ ริหารน�ำโดย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ ปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และพลตรี ศรีศกั ดิ์ เลิศล�ำ ้ ได้นำ� คณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯลงพืน้ ทีโ่ ครงการ การก่อสร้างศูนย์การแพทย์ฯ อีกด้วย


Walailak University Newsletter

NEWS

ผจว.นครศรีธรรมราช ร่วมงานท�ำบุญทวดตุมปัง ประจ�ำปี ๒๕๕๙

เมื่อวันพุธที่ 9 มีนาคม 2559 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จดั งานท�ำบุญทวดตุมปัง ประจ�ำ ปี 2559 ณ โบราณสถานตุมปัง เพื่อส่งเสริม ปลูกฝัง คุณค่าด้าน คุณธรรมจริยธรรม และกระตุ้นให้นักศึกษาและบุคลากรได้เล็ง เห็นถึงคุณค่าของแหล่งโบราณสถาน เรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ส�ำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับ เกียรติจากนายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช และภริยา และคณะมาเยี่ยมชมโบราณสถาน พร้อมด้วยแขกผูม้ เี กียรติ อาทิ นายถาวรรัตน์ คงแก้ว ปลัดจังหวัด นครศรีธรรมราช , นายณรงค์ แก้วนพรัตน์ ปลัดอ�ำเภอท่าศาลา ผู้แทนนายอ�ำเภอท่าศาลา, พ.อ.ชัยพิพัฒน์ รันสูงเนิน มณฑล ทหารบกที41 ผู้แทน พล.ต.ธีรณ์ฉัตร จินดาเงิน ผบ.มทบ.41, พ.ต.อ.ส�ำเริง ชูกะนันท์ ผกก.สภ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช, ส� ำ นั ก ศิ ล ปากรที่ 14 นครศรี ธ รรมราช, หอสมุ ด แห่ ง ชาติ นครศรีธรรมราช, องค์การบริหารส่วนต�ำบลท่าศาลา, ส�ำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช, องค์การบริหารส่วนต�ำบล ไทยบุรี, ธนาคารออมสิน สาขา ม.วลัยลักษณ์, คณะครูนักเรียน โรงเรียนชุมชนใหม่ ตลอดถึงคณะผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาร่วมท�ำบุญทวดตุมปังใน ครัง้ นี้

การจัดท�ำบุญทวดตุมปัง ประจ�ำปี 2559 ได้จดั พิธกี รรม ทางศาสนาพราหมณ์ เพื่ อ บวงสรวงและแสดงความเคารพ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ โบราณสถานตุมปัง ต่อจากนั้น พลตรีศรีศักดิ์ เลิศล�้ำ รั ก ษาการแทนรองอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยกิ จ การพิ เ ศษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีทางพุทธ ศาสนา หลังจากเสร็จพิธแี ละถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ทงั้ 5 รูป ผู้เข้าร่วมก็ได้รับชมการแสดงชุด “ระบ�ำตุมปัง” จากชมรม ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทั้งนี้ ทางอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้ระดมทุน เพื่อสมทบทุนสร้าง “หลาทวดตุมปัง” ซึ่งได้รับเงินบริจาคในครั้ง นี้จ�ำนวน 18,333 บาทถ้วน โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้ระดมทุนมาตั้งปี 2554 จนถึงปัจจุบัน โดยมียอดรวมทั้งสิ้น 89,646.78 บาท ในเบือ้ งต้นรูปแบบโครงสร้าง “หลาทวดตุมปัง” ประมาณการงบประมาณในการก่อสร้างอยู่ที่ 300,000 บาท หากท่านใดประสงค์ที่จะบริจาคสามารถบริจาคได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาท่าศาลา ชือ่ บัญชี “ทุนท�ำบุญโบราณสถาน ตุมปังและเนินอิฐ” บัญชีเลขที่ 020041431295 สอบถามข้อมูล เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ อาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์ มหาวิ ท ยาลั ย วลัยลักษณ์ โทรศัพท์ 0-7567-2508-10

www.wu.ac.th

9


NEWS

Walailak University Newsletter

สีสัน แห่ง ภาษา อาจารย์สมใจ สมคิด

“ค่อยชักแถวมารดน�ำ้ กันอีกนะ” ลมแล้งลอยล่องมาลิ่วลิ่ว ดั่งกระซิบร�ำพึงว่าถึงคราว ท่องทางทบทวนที่ทอดเท้า บ้านเก่ายังจ�ำไม่เคยจาง นานทีปีครั้งที่หวังวาด วันใดใดไม่ยืนยงเท่าสงกรานต์ แค่วันสองวันนั้นยังดี โทรศัพท์เฟซไลน์ไม่เท่าทัน มาสบตาหยอกเย้าพอเข้าที่ ไม่ทันหายคิดถึงก็บึ่งลา ลมแล้งโลมไล้ลงลูบลาน กลั้นสะอื้นอวยพรให้คลาดแคล้ว

Useful English Expressions#1 ดร. พัชรี อิม่ ศรี

สวัสดีค่ะ เวลาที่เราต้องการที่จะสอบถามข้อมูลต่างๆ ถ้า เราถามขึน้ มาเลยอาจฟังดูหว้ นๆหรือไม่คอ่ ยสุภาพเท่าไร ในภาษา อังกฤษจะมีประโยคทีใ่ ช้เกริน่ ขึน้ มาก่อนดังตัวอย่างต่อไปนีค้ ะ่

โลมผ้าไล้ผิวร้อนผ่าวผ่าว จัดข้าวเตรียมของออกท่องทาง ยกย่างห่างเหย้าที่เหยียบย่าง แต่จ�ำใจไกลห่างเพราะการงาน กลับเหย้าหาญาติกัน เป็นย่าน ยายได้กอดลูกหลานสานสัมพันธ์ ความคิดถึงเต็มปรี่ที่อัดอั้น ด้วยไออุ่น เอื้อกันทันสบตา ความสุขพอเข้าทีก็หนีหน้า ไออุ่นปรารถนาลาอีกแล้ว ยายจูบหลานแก้มเอียงพูดเสียงแผ่ว “ค่อยชักแถวมารดน�้ำกันอีกนะ”

กลุม่ ค�ำอืน่ ๆทีใ่ ช้ในลักษณะเดียวกันนี้ เช่น (3) Do you happen to know…? เช่น Do you happen to know if there is a bank near here? อีกกลุม่ ค�ำทีพ่ บบ่อยคือการเกริน่ ด้วย I wonder if… ซึง่ มีการใช้คำ� กริยา ‘wonder’ ซึง่ มีความหมายว่า‘สงสัย’ (4) I wonder if you could tell me…? เช่น I wonder if you could tell me where the nearest bank is? และเหมือนกับตัวอย่างด้านบนทีก่ ลุม่ ค�ำนีจ้ ะตามมาด้วย Indirect question

(2) Could you tell me…? เช่น Could you tell me where the nearest bank is?

คุณผูอ้ า่ นทีไ่ ม่คนุ้ เคยกับการเกริน่ ด้วยกลุม่ ค�ำเหล่านี้ ลองฝึก ใช้ดนู ะคะเวลาทีต่ อ้ งถามข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะการถามจากคนที่ เราไม่รจู้ กั ซึง่ จะท�ำให้การพูดของเราฟังดูไม่หว้ นและสุภาพขึน้ ค่ะ

www.wu.ac.th

(1) Can you tell me…? เช่น Can you tell me where the nearest bank is? จะสังเกตได้จากประโยคตัวอย่างข้างบนนะคะว่า Can you tell me... จะตามมาด้วยประโยค Indirection Question ถ้าเราต้องการให้ฟังดูเป็นทางการหรือสุภาพยิ่งขึ้น ก็แค่ เปลีย่ น can เป็น could ค่ะ

10


Walailak University Newsletter

NEWS

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมกับชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม “วลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานประเพณี” ประจ�ำปี 2559

เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีแก่ผู้ที่ตนเคารพ นับถือและการสืบสานประเพณีสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทย ให้คงอยูส่ บื ไป นอกจากนี้ ยังมีกจิ กรรมการประกวดร้องเพลงไทย ลูกทุง่ ประเภทอายุไม่เกิน 14 ปีและประเภทอายุ 15 ปีขนึ้ ไป โดย ได้รบั ความสนใจจากนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และประชาชนเข้าร่วมการประกวดกว่า 20 คน กิจกรรมการร�ำ กลองยาว การแสดงของนักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่ การมอบเงิน สนับสนุนกิจกรรมโรงเรียนชุมชนใหม่ กิจกรรมวาดภาพระบายสี “บ้านของฉัน” โดยนักสร้างสุข Happy Society : สังคมดี ชีวมี สี ขุ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กิจกรรมกีฬาฮาเฮ โดยโครงการศูนย์กฬี า การออกร้านจ�ำหน่ายสินค้าราคาประหยัด สินค้าเกษตรจากชุมชน สาธิตวลัยลักษณ์พฒ ั นาและฟาร์มมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บริการ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดย ส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์และสถาน พยาบาล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การแข่งขันฟุตบอลกระชับ มิตร ระหว่าง ทีมคณะครูจากโรงเรียนต่าง ๆ ในอ�ำเภอท่าศาลา ทีมชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พฒ ั นา และทีมบุคลากรมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์

www.wu.ac.th

เมือ่ วันที่ 8 เมษายน 2559 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ร่วมกับชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย จัดงาน “วลัยลักษณ์สงกรานต์สบื สานประเพณี” ประจ�ำปี 2559 เพือ่ ร่วมสืบสานประเพณีอนั ดีงามเนือ่ งในวันสงกรานต์และเสริม สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนผ่านงาน กิจกรรมสัมพันธ์ โดยได้รบั เกียรติจาก ดร.เลิศชาย ศิรชิ ยั รักษา การแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานเปิด งาน พล.ต.ศรีศักดิ์ เลิศล�้ำ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่าย กิจการพิเศษ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผูอ้ ำ� นวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม พร้อมด้วย พ.ต.อ.ส�ำเริง ชูกะนันทร์ ผกก.สภ.ท่ า ศาลา ดต.การุณ พุทธคุ้ม นายก อบต.ไทยบุ รี นายสุวาส ธิตนิ นั ทพันธ์ รองนายก อบต.ท่าศาลา อาจารย์บญ ุ เสริม แก้วพรหม ประธานสภาวัฒนธรรมอ�ำเภอท่าศาลา นายสุจินต์ สุดคิด ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนชุมชนใหม่ พร้อมด้วยแขกผูม้ เี กียรติ นักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชาวบ้านใน ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนาและชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย ประมาณ 500 คน ร่วมกิจกรรม โดยปีนมี้ ผี สู้ งู อายุจากชุมชนราย รอบมหาวิทยาลัยเข้าร่วม กว่า 80 คน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เล็งเห็นคุณค่าในการสร้างความ สัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนรายรอบ จึงได้ร่วมกับชุมชนหมู่ที่ 8 ต�ำบลไทยบุรี และชุมชนหมู่ที่ 6 ต�ำบลหัวตะพาน จัดกิจกรรม “วลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานประเพณี” ขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

11


รับฟังรายการ “นานาสาระ” ทางสถานี

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี FM 88.75 MHz. AM. 1242 MHz. ทุกวันศุกร์ เวลา 17.30 - 18.00 น. สวท.ระนอง FM107.25 MHz ทุกวันเสาร์ เวลา 15.05 - 15.35 น. สวท.ตะกั่วป่า จ.พังงา FM 90.25 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 11.05 - 11.35 น. สถานีวทิ ยุเทศบาลนครศรีธรรมราช FM 88.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00 - 10.30 น. สถานีวทิ ยุทา่ ม้าซิตเ้ี รดิโอ FM 88.00 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. สวท.นครศรีฯ FM 93.50 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.05 - 17.35 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.สงขลา AM 558 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 19.30 - 20.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ AM 963 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 06.30 - 07.00 น. สถานีวิทยุกองทัพภาคที่ 4 AM 1044/684 KHz. ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 21.10 - 21.35 น. สวท.ภูเก็ต FM 96.75 MHz. ทุกวันอังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา กรุงเทพมหานครและเครือข่ายทัว่ ประเทศ FM 92 MHz. AM 1161 KHz. ทุกวันพุธ เวลา 18.30 - 19.00 น.

เชิญชมรายการ

“วลัยลักษณ์สู่สังคม”

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทุกวันอังคาร เวลา 16.30 - 17.00 น.

และรับชมย้อนหลังได้ที่ http://dpr.wu.ac.th

ฟังรายการวิทยุ

ปริทัศน์วัฒนธรรม

สวท.ทุ่งสง FM 97 MHz. ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สวท.สตูล FM 95.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 - 17.00 น. สวท.ทุ่งสง AM 963 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 08.30 น.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.