สารวลัยลักษณ์ ประจำเดือน พฤษภาคม 2559

Page 1

www.wu.ac.th


NEWS Walailak University Newsletter

นิทรรศการเป้าหมายพัฒนาทีย่ งั่ ยืน ทีม่ .วลัยลักษณ์ 4-20 พ.ค.’59

www.wu.ac.th

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 ดร. แดเนียล เคอร์เทส ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจ�ำประเทศไทย เป็นประธานเปิด นิทรรศการ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Exhibition on Sustainable Development Goals) ซึง่ ส�ำนักงานประสานงาน องค์ ก ารสหประชาชาติ ใ นประเทศไทยและมหาวิ ท ยาลั ย วลัยลักษณ์ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับ ที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ม.วลัยลักษณ์ ดร. แดเนี ย ล เคอร์ เ ทส กล่ า วโดยมี ใจความส� ำ คั ญ ว่ า ประเทศสมาชิ ก ขององค์ ก าร สหประชาชาติ 193 ประเทศ รวมถึงรัฐบาลไทย ได้มีมติเป็น เอกฉันท์รบั รอง “เป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้ อ ” เพื่ อ ขจัดปัญหาความยากจนให้หมด ไป ต่อต้านกับความอยุติธรรม และความไม่เท่าเทียมกัน แก้ไข และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ

2

อากาศที่ไม่แน่นอน ในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ ทุกประเทศและทุกๆคนจะท�ำส�ำเร็จได้ ต้องให้ทุกคนได้รับรู้และ ร่วมมือกัน นิ ท รรศการในครั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ แนะน� ำ เป้ า หมายการพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ในประเทศไทย เน้ น ความส� ำ คั ญ ของเป้าหมายส�ำหรับคนไทย โดยเน้นความร่วมมือระหว่าง องค์สหประชาชาติประจ�ำประเทศไทยและรัฐบาลไทย โดย นิทรรศการออกแบบมาเพื่อประชาชนทั่วไป มีทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ มีกิจกรรมโต้ตอบและสื่อการศึกษาที่ทันสมัยและ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอีกด้วย


Walailak University Newsletter

NEWS

รองศาสตราจารย์วิทยา อานามนารถ : วิจัยทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาสู่การควบคุม โรคพยาธิปากขอและพยาธิสตรองจิลอยดิส

www.wu.ac.th

รองศาสตราจารย์วิทยา อานามนารถ รองคณบดี ส�ำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ ได้วิจัยทาง ชีววิทยาและนิเวศวิทยาสู่การควบคุมโรคพยาธิปากขอและ พยาธิสตรองจิลอยดิสทีไ่ ด้ผลจริง จนได้รบั รางวัลด้านสาธารณะ ในฐานะทีมวิจัย ประจ�ำปี 2558 ซึ่งจัดโดย ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) รองศาสตราจารย์วิทยา ได้เล่าให้ฟังถึงความสนใจใน การท�ำวิจยั เกีย่ วกับพยาธิปากขอและพยาธิสตรองจิลอยดิส ใน ช่วงปี 2553-2555 ว่า ตามธรรมชาติพยาธิปากขอกินเลือดเป็น อาหาร จึงเป็นปัญหาต่อเด็กตัง้ แต่อยูใ่ นท้องแม่ทมี่ พี ยาธิปากขอ ขณะเดียวกัน เด็กในวัยเรียนอาจมีภาวะโลหิตจาง หากมีพยาธิ ในระดับปานกลางขึ้นไป ส่งผลต่อการเรียน ท�ำให้ผลการเรียน ไม่ดี ดังนั้น บุคคลส�ำคัญของโลกจึงให้ความส�ำคัญและบริจาค เงินช่วยเหลือเพื่อก�ำจัดโรคที่ส�ำคัญ องค์การอนามัยโลกได้จัด โรคพยาธิปากขอเป็นปัญหาส�ำคัญอันดับ 3 ของโลก ซึ่งมีอัตรา การตายปีละ 140,000 คน ในส่วนของพยาธิสตรองจิลอยดิส (พยาธิเส้นด้าย) เป็นพยาธิที่ก่อโรคถึงแก่ชีวิตในผู้ที่อยู่ในภาวะ กดภูมิคุ้มกัน และประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดส�ำคัญโดยพบ การติดเชื้อพยาธินี้ ร้อยละ 24 จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ในอดีตประเทศไทยมี ความชุกชุมของพยาธิปากขอ ถึงร้อยละ 45 และเมื่อ 22 ปีที่ แล้ว รัฐบาลมีนโยบายควบคุมโรคพยาธิปากขอทัว่ ประเทศ พบ ว่า ได้ผลดีในทุกภาค โดยความชุกชุมลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2-5 ยกเว้นภาคใต้ยังคงมีความชุกชุมถึงร้อยละ 30 ในทางตรง กันข้ามความชุกชุมของพยาธิสตรองจิลอยดิสในภาคใต้มตี ำ�่ กว่า ร้อยละ 10 ในขณะที่ภาคอื่นๆ มีความชุกชุมร้อยละ 24-30

รองศาสตราจารย์วทิ ยา เล่าว่า ความทีไ่ ม่ได้เป็นคนใต้ โดยก�ำเนิด ท�ำให้เห็นความแตกต่างในเรื่องของฤดูกาล ภาคใต้ มีฤดูฝนนานถึง 10 เดือน แต่ภาคอื่นๆมีฤดูฝนนานแค่ 4 เดือน ประกอบกับการสังเกตจากงานวิจัยด้านการวินิจฉัยโรคพยาธิ สตรองจิลอยดิส พบว่า พยาธิจะตายหมดในเวลา 12 ชั่วโมง หากมีน�้ำอยู่เหนืออุจจาระแม้เพียงนิดเดียว และพยาธิจะโตไม่ ได้เลยหากเจือจางอุจจาระด้วยน�้ำ 160 เท่าขึ้นไป ในทางตรง กันข้ามไข่ของพยาธิปากขอสามารถทนอยู่ในภาวะขาดอากาศ เหมือนในส้วมได้นานถึง 45 วัน และตัวอ่อนระยะติดต่อของ พยาธิปากขอมีชีวิตอยู่ในน�้ำกลั่นได้นาน 70 วัน จากความรู้ ดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าน�้ำเป็นตัวควบคุมโรคพยาธิสตรองจิลอย ดิสโดยธรรมชาติ ในทางตรงข้ามน�้ำเป็นตัวส่งเสริมการอยู่รอด และน�ำพาตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิปากขอให้กระจายไป ทั่ว การควบคุมโรคจึงไม่ได้ผลในภาคใต้ ในช่วงแรก รองศาสตราจารย์วทิ ยา ได้ทำ� การควบคุม พยาธิสตรองจิลอยดิสและโรคพยาธิปากขอซึง่ ได้ทำ� โดยบังเอิญ ในฤดูฝน พบว่า ความชุกชุมของพยาธิสตรองจิลอยดิสในพื้นที่ วิจัยลดลงจากเดิมก่อนการควบคุมโรคที่ร้อยละ 13 เหลือเพียง ร้อยละ 4 เนือ่ งจากดือ้ ยา ในขณะทีก่ ารควบคุมโรคพยาธิปากขอ พบปัญหาการติดเชื้อซ�้ำในเวลาเพียงแค่ 6 เดือน ถึงร้อยละ 95 ของผู้เข้ารับการรักษา จึงได้ออกแบบการทดลองควบคุมโรค ใหม่ โดยควบคุมโรคพยาธิปากขอในฤดูแล้งที่ฝนไม่ตกติดต่อ กันนาน 40 วันขึ้นไป พบว่าในพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาการดื้อยา ได้ ผลเต็มร้อยเปอร์เซนต์ ขณะที่พื้นที่ที่มีปัญหาการดื้อยากลับมี การติดเชื้อซ�้ำเหมือนเดิม จึงได้แก้ปัญหาการดื้อยาในเบื้องต้น เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าการดื้อยาของพยาธิปากขอเกิด ขึ้นเฉพาะในผู้เป็นพาหะของโรคเลือดจางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่ง รองศาสตราจารย์วทิ ยา อานามนารถ กล่าวด้วยความ ภูมิใจในตอนท้ายว่า “การท�ำวิจัยผสมบริการวิชาการในชุมชน ท�ำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าต่อผู้อื่น การพบกับประชาชนที่ ยากไร้และด้อยโอกาสพร้อมกับได้ชว่ ยเหลือพวกเขาในด้านอืน่ ๆ น�ำมาซึ่งสันติสุขในจิตใจ และเมื่อกลับมาท�ำวิจัยในห้องแลบก็ เหมือนการฝึกสมาธิเนื่องจากต้องพุ่งความสนใจไปที่งาน การ ท�ำวิจัยไม่เคยท�ำให้เหนื่อยล้าเลยแม้สักนิด”

3


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

มวล.-มรภ.สงขลา-มรภ.นครศรีฯ จับมือร่วมวิจยั วิทยาศาสตร์โบราณคดี

4

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(มวล.) มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) สงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) นครศรีธรรมราช จับมือลงนามความร่วมมือด้านการวิจยั การเรียนการสอน พัฒนา บุคลากรและการใช้ทรัพยากรด้านวิทยาศาสตร์โบราณคดีรว่ มกัน เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2559 ที่ห้องประชุม 4 อาคาร ปฏิ บั ติ ก ารเทคโนโลยี แ ละพั ฒ นานวั ต กรรม มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชิ ต ณรงค์ ศิ ริ ส ถิ ต ย์ กุ ล ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ม.วลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายบรรจง ทองสร้าง ผู้อ�ำนวยการสถาบันและพัฒนา มรภ. สงขลา ดร.นพรัตน์ ชัยเรือง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการ วิชาการ มรภ.นครศรีฯ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านการวิจัย การเรียนการสอน พัฒนาบุคลากรและการใช้ ทรัพยากรด้านวิทยาศาสตร์โบราณคดี โดยมี ดร.วรรณสาส์น นุน่ สุข หัวหน้าหน่วยวิจยั โบราณคดี ม.วลัยลักษณ์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ป้องศักดิ์ ทองเนือ้ แข็ง รองผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั และบริการ วิชาการ มรภ.สงขลา ตลอดจนผูบ้ ริหารและคณาจารย์ นักศึกษา จากทั้ง 3 สถาบันร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามในครัง้ นี้ ทัง้ 3 สถาบัน มีขอ้ ตกลงความร่วมมือใน

การพัฒนา สนับสนุนการศึกษาวิจยั การเรียนการสอน สนับสนุน ให้พัฒนาบุคลากร การใช้ทรัพยากรด้านวิทยาศาสตร์โบราณคดี ในเขตพื้นที่ภาคใต้ คาบสมุทรมลายู รวมถึงเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ร่วมกัน โดย มรภ.สงขลา จะให้การสนับสนุนเครื่องมือ Thermoluminescence(TL) ส�ำหรับการก�ำหนดอายุทางด้าน โบราณคดี ม.วลัยลักษณ์ สนับสนุนเครือ่ งมือ Field Emission Scanning Electro Microscope (FESEM) ส�ำหรับถ่ายภาพ ตัวอย่างโบราณคดี และสนับสนุนบุคลากรในการใช้เครือ่ งมือและ พัฒนาความเชีย่ วชาญด้านการใช้เครือ่ งมือ TL ส่วน มรภ.นครศรีฯ สนั บ สนุ น วิ ช าการด้ า นโบราณคดี ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ การใช้ แ สง ซินโครตรอนวิเคราะห์ตัวอย่างทางโบราณคดี โอกาสเดียวกันนี้ ดร.วัณณสาส์น นุ่นสุข ได้บรรยาย เรื่อง วิทยาศาสตร์โบราณคดี: ความส�ำคัญและทิศทางในอนาคต ดร.จารุ จุติมูสิก นักวิจัยหลังปริญญาเอก ม.เทคโนโลยีสุรนารี บรรยายเรื่อง การใช้แสงซินโครตรอนศึกษาตัวอย่างโบราณคดี อ.บรรจง ทองสร้าง บรรยายเรือ่ ง ทิศทางการวิจยั ท้องถิน่ ภาคใต้ ในทางวิทยาศาสตร์โบราณคดี ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และ ผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวอีกด้วย


Walailak University Newsletter

NEWS

มวล.จัดโครงการบูรณาการยกระดับการจัดการวิสาหกิจชุมชนท่องเทีย่ วภาคใต้สคู่ วามเป็นเลิศในประชาคมอาเซียน โครงการศูนย์ WMS พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม ส�ำนัก วิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดโครงการบูรณาการ ยกระดับการจัดการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวภาคใต้สู่ความเป็น เลิศในประชาคมอาเซียน ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2559 โดยมี คุณยุพา อินทราเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชน ปฏิบตั หิ น้าทีผ่ อู้ ำ� นวยการกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เป็น ประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 ณ ห้องบัวชมพู โรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่าย บริหาร กล่าวต้อนรับ และ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี รองคณบดีส�ำนัก วิชาการจัดการ กล่าวรายงานความเป็นมาและการด�ำเนินงาน ของโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร. สมนึ ก เอื้ อ จิ ร ะพงษ์ พั น ธ์ รั ก ษาการแทน รองอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยบริ ห าร กล่ า วว่ า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบัน การศึ ก ษาที่ ส ่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น บริการวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสังคม เข้ ม แข็ ง แข่ ง ขั น ได้ แ ละรองรั บ การ พัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะต้องสร้างองค์ความรูใ้ ห้แก่กลุม่ ผูป้ ระกอบการชุมชนและบุคคล ทั่วไปผ่านบริการวิชาการเพื่อให้เกิดความรู้และสามารถพัฒนา ศักยภาพของตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โครงการบูรณาการยกระดับการจัดการวิสาหกิจชุมชน ท่องเที่ยวภาคใต้สู่ความเป็นเลิศในประชาคมอาเซียน จัดขึ้นเพื่อ ยกระดับการท่องเทีย่ วชุมชนเพือ่ รองรับการเปิดเสรีอาเซียน โดย

จัดให้กับชุมชนต่างๆ ที่ให้ความสนใจในการด�ำเนินการด้านการ ท่องเที่ยวทั้งชุมชนที่ด�ำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวอยู่แล้วและที่ ก�ำลังพัฒนากิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนชุมชนที่สนใจ ในการเตรียมความพร้อมให้บคุ ลากรในชุมชนมีความรูค้ วามเข้าใจ เกีย่ วกับบริบทต่างๆ ด้านการท่องเทีย่ ว ตระหนักรูถ้ งึ ความส�ำคัญ และผลกระทบต่อการเปิดเสรีอาเซียนต่อการท่องเทีย่ ว ตลอดจน การพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเทีย่ วในชุมชนของตนเพือ่ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังการเปิดเสรีอาเซียน อนึ่ง ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชน ท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช จ�ำนวน 19 วิสาหกิจชุมชน ที่ด�ำเนินการด้านที่พัก แหล่งท่องเที่ยว ของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ อาหารและการท�ำเกษตรกรรม จ�ำนวน 40 คน

www.wu.ac.th

5


NEWS

Walailak University Newsletter

เจ๋ง!นักศึกษานิเทศศาสตร์ มวล. คว้า 5 รางวัล การประกวดสายลับ ตรวจจับโฆษณา

นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ส�ำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้ารับรางวัลการประกวดสายลับ ตรวจ จับโฆษณา จากหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนัก นายกรัฐมนตรี ในงานวันคุม้ ครองผูบ้ ริโภคไทย 2559 เมือ่ เร็ว ๆ นี้ ที่หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์ การประกวดโครงการ สายลับ ตรวจจับโฆษณา ครั้งที่ 5 ซึ่ ง ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการคุ ้ ม ครองผู ้ บ ริ โ ภค ส� ำ นั ก นายก รัฐมนตรีจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันการศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา ที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และฝ่าฝืนกฎหมาย ใน 5 ประเภท ได้แก่ สือ่ ภาพยนตร์โฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ สือ่ โฆษณาทางวิทยุ กระจายเสียง สือ่ โฆษณาประเภทสิง่ พิมพ์ โฆษณาทางสือ่ กลางแจ้ง

และโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต หลั ก สู ต รนิ เ ทศศาสตร์ ส�ำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันโดยมี อาจารย์ ธนภร เจริญธัญสกุล เป็นอาจารย์ทปี่ รึกษา และสามารถ คว้ารางวัลมาได้จ�ำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย 1) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทสื่อวิทยุโทรทัศน์ นายชนกชนม์ กุลจินต์ 2) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ นางสาวศานตมล ค�ำโปร่ง 3) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทสื่อวิทยุกระจายเสียง นายธเนศ ค�ำคง 4) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ และ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต และ/ หรือ สื่อใหม่ นางสาวสุริยพร อามิตร 5) รางวัลชมเชย ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ นายวัชรพล แพทย์ขิม ทั้งนี้ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชย ได้รบั ทุนการศึกษา 7000 ,5000 และ 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ตามล�ำดับ

นักศึกษาแพทย์ มวล. รุ่น 6 รับเสื้อกาวน์ ก่อนออกฝึกปฏิบัติชั้นคลินิก

www.wu.ac.th

6

ส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธี มอบเสื้อกาวน์ให้แก่นักศึกษาแพทย์ รุ่น 6 จ�ำนวน 47 คน โดยมี ดร.นายแพทย์ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย รักษาการแทนคณบดีส�ำนัก วิชาแพทยศาสตร์ เป็นประธานในพิธี มีเพื่อนนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนผู ้ ป กครองร่ ว มแสดงความยิ น ดี ที่ ห อประชุ ม ใหญ่ อาคารไทยบุรี เมื่อเร็วๆนี้ ดร.นายแพทย์ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย กล่าวว่า พิธีมอบ เสื้อกาวน์จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทุกปีในวาระที่นักศึกษาแพทย์ ชั้ น ปี ที่ 3 ซึ่ ง เรี ย นอยู ่ ชั้ น พรี ค ลิ นิ ก (Pre-clinic) ที่ ส� ำ นั ก วิ ช า แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และจะก้าวสู่การเรียนชั้น คลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลิกนิกโรงพยาบาลตรัง และ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โดยกิจกรรมมอบเสื้อกาวน์ขาว ถือเป็น สัญลักษณ์ก้าวสู่วิชาชีพแพทย์ และให้นักศึกษาแพทย์ตระหนัก ถึงความส�ำคัญและรับรู้บทบาทหน้าที่ความผิดชอบของการเป็น แพทย์ที่ดี มีจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์กล่าวคือ มีคุณธรรม และจริยธรรมตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบอาชีพเวชกรรม อย่างแท้จริง นอกจากนี้การรับเสื้อกาวน์ยังถือเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญที่ นักศึกษาแพทย์ จะได้เริ่มดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วย เพื่อฝึกทักษะการ ปฏิบัติงานทางการแพทย์ควบคู่กับการศึกษาด้านวิชาการ ซึ่งจะมี การเปลีย่ นแปลงรูปแบบการเรียนการสอนในเชิงเวชปฏิบตั เิ พิม่ มากขึน้

และพิธีดังกล่าวยังจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบและมองเห็น ความก้าวหน้าและการพัฒนาของนักศึกษาแพทย์ เกิดความภาค ภูมิใจ ตลอดจนมีโอกาสพบปะกับคณาจารย์และแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นซึ่งกันด้วย กิจกรรมส�ำคัญในงานนี้ได้รับเกียรติจากนายแพทย์จรัส จันทร์ตระกูล อดีตผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลทุ่งสง ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การแพทย์เพื่อชาวชนบท” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ นักศึกษาในการประกอบคุณงามความดีในวิชาชีพ การมอบเสือ้ กาวน์ จากโดยรักษาการคณบดีส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ตลอดจนการเสวนา เรื่องเล่าจากคลินิก.. พี่สู่น้อง โดยบัณฑิตแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ รุ่นที่ 2 อีกด้วย


Walailak University Newsletter

NEWS

นักศึกษา ม.วลัยลักษณ์เจ๋ง กวาด 5 รางวัลชนะเลิศ เวทีประกวดสหกิจฯภาคใต้ตอนบน

ส�ำหรับรูปแบบของงานครั้งนี้ ประกอบด้วย การน�ำ เสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาที่เป็นผู้แทน สถาบันจาก 7 สถาบัน ประกอบด้วย มอ.สุราษฎร์ธานี มอ.ตรัง มรภ.นครศรีธรรมราช มรภ.สุราษฎร์ธานี มทร.ศรีวชิ ยั (ไสใหญ่) วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ และ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมน�ำเสนอผลงาน ในภาคโปสเตอร์ จ�ำนวน 27 ชิ้นงาน และภาคบรรยาย จ�ำนวน 13 ชิ้นงาน ทัง้ นีผ้ รู้ บั รางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 รองชนะเลิศ อันดับ 2 และรางวัลชมเชย ประเภทน�ำเสนอผลงานสหกิจศึกษา แบบบรรยาย ได้รบั เงินรางวัล 5,000 , 3,000 , 2,000 และ1,000 บาท พร้อมด้วยเกียรติบตั ร รางวัลภาคโปสเตอร์ ได้รบั เงินรางวัล 2,000 , 1,500 , 1,000และ500 บาท รางวัลการประกวดภาพถ่าย 1,500 , 1,000 และ500 ตามล�ำดับ โดยนักศึกษาที่ได้ รางวัล ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะเป็นตัวแทนของเครือข่ายสหกิจ ศึกษาภาคใต้ ต อนบนเข้ า ร่ ว มประกวดในระดั บ ชาติ ใ นงาน วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ 8 ซึ่งก�ำหนดจัดในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัดนครปฐม ต่อไป

www.wu.ac.th

นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รบั รางวัลชนะเลิศ จ�ำนวน 5 รางวัล เวทีการประกวดสหกิจศึกษาในงานวันสหกิจ ศึกษาสัมพันธ์ เครือข่ายสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 8 ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ สุขสอาด ผูอ้ ำ� นวยการ ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะรักษา การแทนประธานเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน เปิดเผยว่า เมือ่ วันที่ 27 เมษายน ทีผ่ า่ นมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รบั เกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานวันสหกิจศึกษาสัมพันธ์ เครือข่าย พัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 8 เพื่อเปิดโอกาสให้ นักศึกษาได้ให้มีเวทีน�ำเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของ นักศึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่นักศึกษาได้รับจากการไป ปฏิบตั งิ านในสถานประกอบการจริงก่อนส�ำเร็จการศึกษา ตลอด จนเป็นการค้นหาตัวแทนของเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ ตอนบน ไปประกวดระดับประเทศต่อไป ซึ่งในพิ ธี เ ปิ ด ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.วั ล ลา ตันตโยทัย รักษา การแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน อย่างเป็นทางการ

7


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

น.ศ.เภสัชฯ มวล. รุน่ 4 สอบความรูฯ้ ทักษะทางวิชาชีพ (OSPE) ผ่าน 100%

8

นักศึกษาส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รุ่นที่ 4 สอบทักษะทางวิชาชีพเภสัชกรรม (OSPE) ผ่านทั้งหมด 30 คน คิดเป็น 100% ดร.ภญ.จิ ร าพร ชิ น กุ ล พิ ทั ก ษ์ คณบดี ส� ำ นั ก วิ ช า เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึงผลการสอบ ความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรม ประจ�ำปี พ.ศ.2559 มีนกั ศึกษาส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ เข้าสอบ จ�ำนวน 30 คน ผลปรากฏว่า นักศึกษาสามารถสอบ ผ่านการสอบทักษะทางวิชาชีพเภสัชกรรม (OSPE, Objective Structured Pharmaceutical Examination) ทั้ง 30 คน หรือ คิดเป็น 100 % และสอบผ่านการสอบข้อเขียนการบูรณาการ ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ (MCQ, Multiple Choice Question) จ�ำนวน 29 คน คิดเป็นคิดเป็น 96.67% ทั้งนี้โดยภาพรวมการ สอบความรู้ฯ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในครั้งนี้ของนัก ศึกษาเภสัชฯ ม.วลัยลักษณ์ สอบผ่านทั้ง MCQ และ OSPE รวม กันคิดเป็น 96.67% ดร.ภญ. จิราพร ชินกุลพิทักษ์ กล่าวว่า ตลอดการ ศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ เป็นระยะเวลา 6 ปี ประกอบด้วย การเรียนในมหาวิทยาลัยจ�ำนวน 5 ปี และ การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกปฏิบัติงานต่างๆ เช่น โรง พยาบาล ร้านยา โรงงานผลิตยา และบริษัทยาต่างๆ อีก 2,000 ชม. หรือใช้เวลาประมาณ 1 ปี เป็นเส้นทางของการส�ำเร็จของ บัณฑิตเภสัชศาสตร์ซึ่งการมีผลการสอบในระดับคะแนนที่สูงใน ครั้งนี้เป็นผลจากความตั้งใจในการเรียนรู้และการเพียรพยายาม ในการฝึกฝนของนักศึกษาตลอดเวลาของการศึกษาในหลักสูตร นอกจากนี้ความพร้อมของแหล่งค้นคว้า หนังสือต�ำรา ตลอดจน

สถานทีใ่ นการฝึกปฏิบตั แิ ละทักษะในการเรียนรูใ้ นห้องปฏิบตั กิ าร ทีเ่ พียงพอรองรับการเรียนรูท้ งั้ ในและนอกห้องเรียนของนักศึกษา การช่วยเหลือกันระหว่างชั้นปีและรุ่นพี่รุ่นน้อง อีกทั้งการดูแล เอาใจใส่ การสร้างขวัญและก�ำลังใจ และสร้างความมั่นใจ ของ คณาจารย์และบุคลากรในส�ำนักวิชาในการดูแลและให้คำ� แนะน�ำ เป็นสิ่งส�ำคัญน�ำไปสู่ความส�ำเร็จในครั้งนี้ด้วย “ส� ำ นั ก วิ ช าเภสั ช ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาผู้ผ่านการสอบความรู้ผู้ขอขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจ�ำปี พ.ศ.2559 ทุกท่าน และขอชื่นชมกับความมุ่งมั่น พยายามและความขยันหมัน่ เพียรในการฝึกฝนและทบทวนต�ำรา น�ำไปสู่การผ่านการสอบฯ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรม โดยผลการสอบความรู้ฯ ตั้งแต่ รุ่นที่ 1 ถึงรุ่น 4 ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าจ�ำนวนร้อยละ 53.93, 86.05, 95.08, 96.67 ตามล�ำดับ” ดร.ภญ. จิราพร กล่าวในตอนท้าย ทั้งนี้การสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หมายถึง การสอบความรูผ้ ขู้ อขึน้ ทะเบียนเป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จัดโดยสภาเภสัชกรรม การสอบประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การสอบข้อเขียนการบูรณาการความรูท้ างเภสัชศาสตร์ (MCQ) และส่วนที่ 2 การสอบทักษะทางวิชาชีพเภสัชกรรม (OSPE) ซึง่ ผู้ ทีส่ ำ� เร็จการศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์ จะต้องสอบเพือ่ ขอรับใบ อนุญาตเป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรม เพือ่ น�ำไปประกอบ วิชาชีพอย่างถูกต้อง การสอบความรู้ฯ จึงเป็นการกลั่นกรองใน เบื้องต้นเพื่อยืนยันคุณภาพทางด้านวิชาการ โดยผู้เข้าสอบต้อง ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ทงั้ 2 ส่วน จึงถือว่าผ่านการสอบใบประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรม


Walailak University Newsletter

สีสัน แห่ง ภาษา

NEWS

พ่อหลี พ่อหลีพี่หนูหล่อลูกหมอหล�ำ ครูสอนท่องเน้นเว้นวรรคตอน พ่อหลีวันนี้อยู่ที่ไหน ไม่ชอบท่องบ่นให้วนเวียน เด็กชายใหม่มานะกะมานี เจ้านกน้อยน่ารักเคยทักทอ อะไรอะไรสมัยก่อน ควบกล�้ำประสมค�ำให้ยังคง พ่อหลีพี่หนูหล่อขออีกที ก่อนเลิกเรียนท่องอีกครั้งให้ดังไกล

บทเรียนควบกล�้ำเมื่อครั้งก่อน เสียงเด็กเด็กดังสลอนก่อนเลิกเรียน อยากบอกว่าเด็กไทยไม่ชอบเขียน ชอบนิ้วเขี่ยภาพเปลี่ยนเรียนจากจอ หายไปพร้อมพ่อหลีพี่หนูหล่อ ทุกวันขันปร๋ออยู่ในกรง หลายคนห่วงอยากหวนย้อนก่อนลืมหลง เสริมส่งการออกเสียงส�ำเนียงไทย พร้อมมานะมานีเด็กชายใหม่ ให้พ่อหลีเคลื่อนไหวอยู่ในจอ

Useful English Expressions#1 สวัสดีคะ่ ปกติเวลาเราต้องการขอความ ช่วยเหลือ ประโยคทีเ่ ราคุน้ เคยคือ “Can you help me, please?”ซึง่ นอกจากประโยคนีแ้ ล้ว เรายังสามารถขอความช่วยเหลือด้วยประโยค อืน่ ๆ ได้ดงั ตัวอย่างต่อไปนีค้ ะ่

(1) Can you give me a hand, please? ในตัวอย่างนี้ ความน่าสนใจคือการใช้กลุม่ ค�ำ Give me a hand ซึง่ โดยปกติ hand จะเป็นค�ำนามแปลว่ามือ แต่เราก็สามารถใช้คำ� นี้ เป็นค�ำกริยาได้ ซึง่ จะมีความหมายว่า ช่วยเหลือ ค่ะ

(2) Can I ask you a favo(u)r? (3) Could you do me a favo(u)r? ตัวอย่างที่ 2 และ 3 ด้านบน เป็นการขอความช่วยเหลือโดยมีการ ใช้ค�ำว่า favo(u)rเป็นอีกสองตัวอย่างที่พบได้บ่อยในประโยค ขอความช่ ว ยเหลื อ ค่ ะ และค� ำ นี้ ส ะกดได้ ส องแบบ favorหรื อ favourก็ ไ ด้ ค ่ ะ

13 มีนาคม 2559/หาดใหญ่

ดร. พัชรี อิม่ ศรี

(4) I wonder if you could help me with this. (5) I need some help, please? ตัวอย่างที่ 4 และ 5 เป็นการขอความช่วยเหลือด้วยประโยคบอก เล่า ซึง่ ก็สภุ าพเช่นกันค่ะ

(6) Could you spare a moment? ตัวอย่างที่ 6 นีห้ ลายคนอาจไม่คนุ้ แต่กส็ ามารถใช้ได้ในการขอความ ช่วยเหลือค่ะ จะมีความหมายประมาณว่าขอเวลาคุณสักครูไ่ ด้มยั๊ คะ/ ครับ ซึง่ หากเราเกริน่ ด้วยค�ำถามนี้ ผูฟ้ งั จะทราบว่าเราต้องการความ ช่วยเหลือบางอย่างค่ะ คุณผูอ้ า่ นทีไ่ ม่คนุ้ เคยกับการเกริน่ ด้วยกลุม่ ค�ำเหล่านี้ ลองฝึก ใช้ดนู ะคะ จะได้มปี ระโยคทีใ่ ช้ถามเพือ่ ขอความช่วยเหลือทีห่ ลากหลาย อีกทัง้ เวลาทีเ่ จ้าของภาษาพูดกับเราด้วยประโยคแบบนี้ เราจะได้ทราบ ว่าเขาต้องการขอความช่วยเหลืออยูค่ ะ่

www.wu.ac.th

สมใจ สมคิด

9


NEWS

Walailak University Newsletter

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง 10 ปี Pharmacy Running-Walking Together

www.wu.ac.th

เนื่องในโอกาสวันสถาปนาก่อตั้งส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบรอบ 10 ปี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 ส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ได้จดั กิจกรรมเดิน-วิง่ 10 ปี Pharmacy Running-Walking Together โดยมีบคุ ลากร นักศึกษา นักกรีฑา ทีมชาติ และชาวต่างชาติ และผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กว่า 500 คน โอกาสนี้ ดร.ภญ.จิราพร ชินกุลพิทักษ์ คณบดี ส�ำนักวิชา เภสัชศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิด กิจกรรมเดิน-วิ่ง 10 ปี Pharmacy Running-Walking Together ณ บริเวณหน้าอาคาร ไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งกิจกรรมมีการแบ่งประเภท การวิ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทฟันรัน ชาย-หญิง ระยะ ทาง 4.3 กม.และประเภทมินิมาราธอน ระยะทาง 10.5 กม. โดย แบ่งรุ่นเป็น มินิมาราธอนชาย : ประเภททั่วไป/อายุ30-39ปี/ 40-49ปี/50-59ปี/60-69ปี/70ปีขึ้นไป (จ�ำนวน6รุ่น) และมินิ มาราธอนหญิง : ประเภททั่วไป/อายุ30-39ปี/40-49ปี/50ปีขึ้น ไป (จ�ำนวน4รุน่ ) ซึง่ ผูเ้ ข้าเส้นชัยทุกคนจะได้รบั เหรียญรางวัลเป็น ทีร่ ะลึก อีกทัง้ ผูเ้ ข้าเส้นชัยใน 10 อันดับแรกของแต่ละรุน่ จะได้รบั ถ้วยรางวัล เงินรางวัล และของรางวัลอีกด้วย โดยมีการปล่อยตัว นักวิ่งทั้งสองประเภท ณ บริเวณหน้าอาคารไทยบุรี ใช้เส้นทางวิ่ง

10

ทั้งสองประเภทไปตาม ถนนภายในมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ซึ่งกิจกรรม ในครั้งนี้ได้รับการตอบ รับจากนักวิง่ จากจังหวัด นครศรี ธ รรมราชและ จังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ เช่น นักวิ่งจากชมรมวิ่งลานสกา จังหวัด นครศรีธรรมราช นักวิ่งจากบ้านไฟฟ้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ สุราษฎร์ธานี และนักวิ่งผู้เข้าร่วม กิจกรรมจาก จังหวัดตรัง สงขลา สตูล ระยอง พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร ผลการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือว่าประสบความส�ำเร็จ เหนือความคาดหมาย เนื่องจากเป็นกิจกรรมเดิน-วิ่งที่ส�ำนักวิชา เภสัชศาสตร์จดั ขึน้ เป็นครัง้ แรกและได้รบั การตอบรับ เสียงชืน่ ชม จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี ทั้งด้านการจัดการ การบริการ และการอ�ำนวยความสะดวกให้กบั นักวิง่ ทีโ่ ดดเด่น โดยทางส�ำนัก วิชาเภสัชศาสตร์จะได้น�ำข้อเสนอแนะและค�ำแนะน�ำต่างๆจาก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาปรับปรุง พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม ในปีต่อๆไปให้ดีขึ้นยิ่ง


Walailak University Newsletter

NEWS

ม.วลัยลักษณ์ เปิดเวทีวิชาการให้ นศ.ป.ตรี ด้านวิศวะ-วิทย์ น�ำเสนองานวิจัย

ลักษณ์ รวมจ�ำนวน 82 บทความ มีนกั ศึกษาระดับปริญญาตรีและ คณาจารย์ เข้าร่วมประมาณ 450 คน ในปีนนี้ อกจาการประชุม วิชาการดังกล่าวแล้ว ยังได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวชิ ยั คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ม.นราธิวาสราชนครินทร์ และคณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เข้าร่วม ท�ำให้จากเดิม 4 สถาบันเพิม่ เป็น 6 สถาบัน พร้อมทัง้ มีการลงนามความร่วมมือ ทางวิชาการร่วมกันระหว่าง 6 มหาวิทยาลัย ซึง่ จะท�ำให้เกิดการ พัฒนาและสามารถยกระดับการประชุมวิชาการทางด้านนีใ้ ห้เป็น ทีย่ อมรับในวงกว้างมากขึน้ ต่อไป

www.wu.ac.th

ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ม.วลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ครัง้ ที่ 5 มีนกั ศึกษา 4 สถาบัน ทัว่ ภาคใต้ ร่วมน�ำเสนอผลงานวิจยั รวม 82 บทความ รองศาสตราจารย์ ดร.จรั ญ บุ ญ กาญจน์ ส� ำ นั ก วิ ช า วิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า เมือ่ วันที่ 23 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ทางส�ำนักวิชาฯได้เป็นเจ้าภาพจัด ประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และทรัพยากร ครัง้ ที่ 5 (SER2016) เพือ่ เป็นเวทีให้แก่นกั ศึกษา ระดับปริญญาตรีในสาขาดังกล่าวได้น�ำเสนอผลงานทางวิชาการ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อน�ำไปสู่การ พัฒนาแนวทางการศึกษาและงานวิจัยในระดับปริญญาตรีต่อไป โดยในพิธเี ปิดครัง้ นีไ้ ด้รบั เกียรติจากผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการรักษาการ แทนอธิการบดี เป็นประธานกล่าวเปิดและกล่าวต้อนรับผูเ้ ข้าร่วม น�ำเสนอผลงานอย่างเป็นทางการ ณ ห้อง 5301 อาคารเรียนรวม 5 รองศาสตราจารย์ ดร.จรัญ กล่าวถึงการประชุมครั้งนี้ ว่า มีมหาวิทยาลัยที่ส่งบทความวิชาการเข้าร่วม ประกอบด้วย ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา และ ม.วลัย

11


รับฟังรายการ “นานาสาระ” ทางสถานี

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี FM 88.75 MHz. AM. 1242 MHz. ทุกวันศุกร์ เวลา 17.30 - 18.00 น. สวท.ระนอง FM107.25 MHz ทุกวันเสาร์ เวลา 15.05 - 15.35 น. สวท.ตะกั่วป่า จ.พังงา FM 90.25 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 11.05 - 11.35 น. สถานีวทิ ยุเทศบาลนครศรีธรรมราช FM 88.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00 - 10.30 น. สถานีวทิ ยุทา่ ม้าซิตเ้ี รดิโอ FM 88.00 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. สวท.นครศรีฯ FM 93.50 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.05 - 17.35 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.สงขลา AM 558 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 19.30 - 20.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ AM 963 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 06.30 - 07.00 น. สถานีวิทยุกองทัพภาคที่ 4 AM 1044/684 KHz. ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 21.10 - 21.35 น. สวท.ภูเก็ต FM 96.75 MHz. ทุกวันอังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา กรุงเทพมหานครและเครือข่ายทัว่ ประเทศ FM 92 MHz. AM 1161 KHz. ทุกวันพุธ เวลา 18.30 - 19.00 น.

เชิญชมรายการ

“วลัยลักษณ์สู่สังคม”

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทุกวันอังคาร เวลา 16.30 - 17.00 น.

และรับชมย้อนหลังได้ที่ http://dpr.wu.ac.th

ฟังรายการวิทยุ

ปริทัศน์วัฒนธรรม

สวท.ทุ่งสง FM 97 MHz. ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สวท.สตูล FM 95.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 - 17.00 น. สวท.ทุ่งสง AM 963 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 08.30 น.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.