สารวลัยลักษณ์ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2559

Page 1

www.wu.ac.th


NEWS Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

ผู้แทน รมว.ยุติธรรมรุดลงรับฟังประเด็นปัญหาระหว่างเจ้าหน้าที่ สตง.กับผู้บริหาร มวล

2

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 59 พล.อ.วสันต์ สุริยมงคล ผู้ทรง คุณวุฒิพิเศษ ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางเข้าพบกับคณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ�ำเภอ ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายหลังจากเกิดข้อขัดแย้งในการตรวจสอบระหว่าง มหาวิทยาลัยกับเจ้าหน้าทีส่ ำ� นักงานตรวจเงินแผ่นดิน โดยเฉพาะ ในข้อร้องเรียนถึงพฤติกรรมในการตรวจสอบทีเ่ ป็นไปโดยไม่ปกติ รวมทั้งการรับฟังข้อเท็จจริงในเชิงลึก รวมทั้งการตรวจสอบตาม ขั้นตอนของค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตาม มาตรา 44 กรณีการสั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่ของ ดร.สุเมธ แย้มนุน่ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไว้เป็นการ ชั่วคราว เพื่อการตรวจสอบ ขณะที่ นายนิ รั น ดร์ จิ น ดานาค ในฐานะตั ว แทน พนักงานและบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวยืนยันว่า ชาววลัยลักษณ์ทุกคน ยังตั้งใจและยอมรับการตรวจสอบ เพื่อ ความโปร่งใส แต่พวกเราอึดอัดใจ และไม่ยอมรับกับพฤติกรรม ปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ สตง.ที่ผ่านมา ที่ใช้อ�ำนาจการตรวจสอบ อย่างไม่เป็นธรรม จนท�ำให้พวกเราไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตาม ปกติได้ “ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชื่อ มั่น และศรัทธา ดร.สุเมธ แย้มนุ่น รักษาการอธิการบดี ซึ่งตลอด เวลาที่ผ่านมาได้มีข้อพิสูจน์ในการปฏิบัติหน้าที่พยายามอย่าง ยิ่ง ในการแก้ไขปัญหา จนสามารถด�ำเนินการก่อสร้างศูนย์การ แพทย์ได้ ท่ามกลางอุปสรรคนานัปการ ไม่เคยมีข้อครหาใดๆ ในการปฏิบัติหน้าที่จากผู้ที่คอยติดตาม แม้ว่าจะต้องระงับการ ปฏิบัติหน้าที่ไป แต่ทีมรักษาการที่ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง ปกติ เพื่อน�ำพามหาวิทยาลัยเดินหน้า ซึ่งต้องเกิดจากการรวม แรงใจจากทุกฝ่ายเพื่อสร้างศูนย์การแพทย์แห่งนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้

พล.อ.วสันต์ สุรยิ มงคล ผูท้ รงคุณวุฒพิ เิ ศษ ในฐานะผูแ้ ทน รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม ระบุวา่ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ยุตธิ รรม และผูบ้ ริหารระดับสูงต่างห่วงใยในเรือ่ งนีม้ าก และตัง้ ใจ มารับฟังปัญหา และจะรับฟังจากหลายๆฝ่าย ขณะที่การรับฟัง ปัญหาผูบ้ ริหารได้ยนื ยันข้อมูลทีม่ หาวิทยาลัยได้มหี นังสือถึงหน่วย งานต่าง ๆ ทีก่ ำ� กับดูแลเจ้าหน้าทีต่ รวจสอบดังกล่าว เช่น หนังสือ ถึงประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน 5 ครัง้ ถึงผูว้ า่ การ ตรวจเงินแผ่นดิน 2 ครัง้ และถึงผูต้ รวจการแผ่นดิน 3 ครัง้ เพือ่ ขอ ความเป็นธรรม ขอให้ตรวจสอบการปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยวิธกี ารทีแ่ ละ พฤติกรรมทีก่ ล่าวมาข้างต้นของเจ้าหน้าที่ สตง. รายนี้ โดยยืนยัน ว่ามหาวิทยาลัยพร้อมให้การตรวจสอบเพือ่ ความโปร่งใส แต่ขอให้ เปลีย่ นตัวเจ้าหน้าทีต่ รวจสอบ ซึง่ บัดนี้ มหาวิทยาลัยยังไม่ได้รบั ค�ำ ตอบใดๆ จากองค์กรดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าทีท่ ใี่ ช้อำ� นาจหน้าทีเ่ ข้ามาตรวจสอบ ที่มหาวิทยาลัยด้วยพฤติกรรมเช่นเดิม จากเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิด อันตรายต่อชีวิตของพนักงานมหาวิทยาลัย จนปัญหาบานปลาย และไม่ยอมรับในตัวบุคคลดังกล่าวที่มาตรวจสอบ ส่วนความเคลื่อนไหวของบุคลากร คณาจารย์และเจ้า หน้าที่ของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 ตัวแทน ของพนักงานและสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ ไปยื่นหนังสือถึง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ที่ 41 หัวหน้า ศูนย์ดำ� รงธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ผูว้ า่ การส�ำนักงานตรวจเงิน (ผ่านผู้อ�ำนวยการภาค ๑๔) อีกครั้งหนึ่ง แต่มหาวิทยาลัยยังไม่ ได้รับค�ำตอบ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวยังคงเข้ามาตรวจสอบใน มหาวิทยาลัยเช่นเดิม ไม่มีการเปลี่ยนตัวแต่อย่างใด ภายหลัง พล.อ.วสันต์ สุรยิ ะมงคล ได้ขอลงพืน้ ทีก่ ารก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พบว่าพืน้ ทีอ่ ยูใ่ นช่วงถมดิน และตอกเสาเข็มซึง่ อยูใ่ นแผนงานของ โครงการตามแผนงานระยะที่ 1


Walailak University Newsletter

NEWS

ม.วลัยลักษณ์ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ฝึกอ่านเขียนเรียนร้อยกรองท�ำนองไทย”

การอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ นอกจากนี้ ได้แบ่งผูร้ ว่ มสัมมนาเป็น 2 กลุม่ ตามความสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ได้ฝกึ ปฏิบตั ดิ า้ นการเขียนร้อยกรองไทยประเภท ต่าง ๆ โดยมี คุณชมัยภร บางคมบาง คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ และ อาจารย์บุญเสริม แก้วพรหม ส�ำนักกวีน้อยเมืองนคร ให้ความรู้ และแนะวิธกี ารเขียนร้อยกรอง และการฝึกขับร้องร้อยกรองท�ำนอง ไทย โดยมี ดร.วัฒนะ บุญจับ ดร.เทวี บุญจับ และอาจารย์เจริญศรี บุญสว่าง ส�ำนักกวีนอ้ ยเมืองนคร ซึง่ ในตอนท้ายของกิจกรรมได้มี ตัวแทนน�ำเสนอผลงานการแต่งบทร้อยกรอง และการขับร้องร้อย กรองท�ำนองไทย เพือ่ ฟังค�ำแนะน�ำจากวิทยากร และปิดท้ายด้วย พิธมี อบวุฒบิ ตั รแก่ผผู้ า่ นการฝึกอบรม อนึ่ง คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ ได้กล่าวถึงความประทับใจใน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์วา่ “จากการมาเยีย่ มเยือนและสัมผัสกับ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทราบว่าเป็นมหาวิทยาลัยทีม่ พี นื้ ทีม่ ากทีส่ ดุ ถึง 9,000 ไร่ ท�ำให้รสู้ กึ อยากเขียนผลงานทีส่ ะท้อนถึงมิติ ทีไ่ ม่ใช่แค่ ความกว้างของผืนแผ่นดินเท่านั้น แต่รวมถึงความกว้างของพื้นที่ ทางการศึกษาทีก่ ว้างขวางไปทัว่ โลก ฉะนัน้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะท�ำอย่างไรให้พนื้ ทีท่ างการศึกษาและชือ่ เสียงของมหาวิทยาลัยได้ เผยแพร่กว้างขวางออกไปมากกว่าพืน้ ที่ 9,000 ไร่ ทีม่ อี ยูน่ ”ี้

www.wu.ac.th

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร “ฝึกอ่านเขียนเรียนร้อยกรอง ท�ำนองไทย” ระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2559 ณ อาคารปฏิบตั ิ การเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมด้านภาษา และถ่ายทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังเป็นการฝึก ปฏิบัติการอ่านและเขียนร้อยกรองประเภทต่างๆ ให้กับบุคลากร ด้านภาษาไทยและเยาวชนของชาติ ซึง่ ถือเป็นการสืบทอดวัฒนธรรม ไทยทีส่ ำ� คัญอย่างหนึง่ โดยได้รบั เกียรติจาก คุณชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2557 และคุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ กวีซไี รต์ พ.ศ.2535 เป็นวิทยากร โอกาสนี้ รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อ�ำนวยการอาศรม วัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ประธานในพิธเี ปิดได้กล่าวขอบคุณผูเ้ ข้าร่วม สัมมนาในครัง้ นี้ ทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการใช้ภาษาไทยและชีใ้ ห้เห็นถึง ความตระหนักในความเป็นไทยอย่างดียงิ่ และขอขอบคุณส�ำนักกวี น้อยเมืองนครทีร่ ว่ มจัดกิจกรรมสัมมนาในครัง้ นี้ ท�ำให้มกี ารสืบทอด วัฒนธรรมด้านภาษาไทย ทัง้ การอ่านการเขียนร้อยกรองไทยและ ท�ำให้ภาษาไทยมีความมัน่ คงด�ำรงอยูต่ อ่ ไป โครงการสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร “ฝึกอ่านเขียนเรียนร้อยกรอง ท�ำนองไทย” ในครัง้ นีม้ กี จิ กรรมเพือ่ การเรียนรูด้ า้ นภาษาไทย อาทิ เช่น การเสวนากับศิลปินแห่งชาติ ในหัวข้อ“ศิลปะการประพันธ์และ คุณค่าวรรณศิลป์” โดยวิทยากร คุณชมัยภร บางคมบาง และ คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ ด�ำเนินรายการโดย อาจารย์สมใจ สมคิด ส�ำนักศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ การอภิปรายเรือ่ ง “เสนาะศิลป์ ร้อยกรองท�ำนองไทย” โดยวิทยากร ดร.วัฒนะ บุญจับ และ ดร.เทวี บุญจับ ส�ำนักวรรณกรรม กรมศิลปากร ด�ำเนินรายการ โดย อาจารย์เจริญศรี บุญสว่าง ส�ำนักกวีนอ้ ยเมืองนคร การถาม ตอบข้อสงสัย ด�ำเนินรายการโดย รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผูอ้ ำ� นวย

3


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

กิตยิ า สุเหม : นักศึกษา ป.เอก ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรกับประสบการณ์ทำ� วิจยั ทีน่ วิ ซีแลนด์

4

นางสาวกิตยิ า สุเหม นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขา อุ ต สาหกรรมเกษตร ส� ำ นั ก วิ ช า เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย วลั ย ลั ก ษณ์ นั ก ศึ ก ษาโครงการ ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) รุน่ ที่ 16 มีโอกาสไปท�ำงานวิจยั ต่าง ประเทศซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของวิทยานิพนธ์ ที่ School of Engineering and Advanced Technology, Institute of Food Science and Technology, Massey University ประเทศนิวซีแลนด์ ท�ำให้ได้เรียนรู้ระบบการพัฒนางานวิจัย ได้ฝึกคิดและพัฒนา ศักยภาพงานด้านการวิจัย ที่ส�ำคัญเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการ พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นางสาวกิติยา ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและ โท ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปัจจุบันก�ำลังศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เช่นเดียวกัน ซึง่ มี ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล มาแทน ส�ำนัก วิชาเทคโนโลยีการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยกร เป็นอาจารย์ที่ ปรึกษา โดยก�ำลังท�ำวิทยานิพนธ์เรือ่ ง Application of essential oils as antifungal agents on the surface of biodegradable cellulose based food packaging made from bamboo fiber นางสาวกิ ติ ย า ได้ รั บ ทุ น การศึ ก ษาในโครงการปริ ญ ญาเอก กาญจนาภิเษก (คปก.) รุ่นที่ 16 จากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) ท�ำให้มีโอกาสได้ไปท�ำงานวิจัยต่างประเทศ ซึ่ง เป็นส่วนหนึง่ ของงานวิจยั ระดับปริญญาเอก ที่ Massey University วิทยาเขต Palmerston North ประเทศนิวซีแลนด์ ภายใต้การ ดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม Professor Dr. John Bronlund นางสาวกิติยา ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Massey University ว่า เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่บนเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ มี 3 วิทยาเขต โดย Palmerston North เป็นวิทยาเขตที่เก่าแก่ และใหญ่ทสี่ ดุ บรรยากาศโดยทัว่ ไปของมหาวิทยาลัยแห่งนีเ้ งียบ สงบ เหมาะส�ำหรับการศึกษาหาความรู้ มีหอ้ งสมุดขนาดใหญ่ทงั้ ที่ ตัง้ อยูภ่ ายในตัวมหาวิทยาลัยและในตัวเมือง Palmerston North มีอาจารย์ทมี่ คี วามรูค้ วามสามารถหลากหลายแขนงวิชา ซึง่ พร้อม ให้ความรู้และร่วมอภิปรายงานกับนักศึกษา จึงท�ำให้มีนักศึกษา จากทัว่ โลกต่างเลือกมาศึกษาที่ Massey University จ�ำนวนมาก ด้านอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย Professor Dr. John Bronlund นางสาวกิตยิ า เล่าว่า อาจารย์จะจัดสรรเวลาพูดคุย ให้คำ� ปรึกษา และแนะน�ำเกีย่ วกับงานวิจยั สัปดาห์ละ 1-2 ครัง้ แต่หากมีปญ ั หา

หรือข้อสงสัยที่เร่งด่วนก็สามารถขอพบอาจารย์ได้ตลอดเวลา นอกจากการดูแลเรื่องงานวิจัยแล้ว อาจารย์ยังห่วงใยเรื่องความ เป็นอยู่ อาหารการกิน การเดินทาง สุขภาพ รวมถึงแนะน�ำเพื่อน นักศึกษาและอาจารย์ทมี่ คี วามเชีย่ วชาญหลากหลายสาขาให้รจู้ กั ส่งผลให้สามารถท�ำงานวิจยั และด�ำเนินการทดลองได้คอ่ นข้างเร็ว ภายใต้สภาพแวดล้อมของการท�ำงานที่สนุกและมีความสุข นางสาวกิตยิ า เล่าให้ฟงั ถึงห้องปฏิบตั กิ ารทีไ่ ด้ไปท�ำวิจยั ว่า มีการแยกประเภทเครือ่ งมือและอุปกรณ์สำ� หรับการเรียนและ การวิจัยไว้อย่างชัดเจน ห้องปฎิบัติการที่ส�ำคัญ เช่น ห้องปฎิบัติ การ Biochemical and Process Engineering ห้องปฎิบัติการ Clean Research และห้องปฎิบัติการ Bioprocessing ซึ่งจะมี เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์คอยดูแล ช่วยเตรียมอุปกรณ์และสารเคมี ส�ำหรับวิชาเรียน ให้ค�ำแนะน�ำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หาก นักศึกษาต้องการความช่วยเหลือ เช่น ต้องการสารเคมี เจ้าหน้าที่ จะประสานให้ทนั ที หรือหากเครือ่ งมือทีก่ ำ� ลังใช้งานมีปญ ั หา เจ้า หน้าที่จะแก้ไขให้เครื่องมือกลับมาใช้งานได้ในทันที ทั้งนี้ บางห้องปฎิบัติการมีระบบจ�ำลองกระบวนการ ผลิตอาหารหรือเครื่องดื่มให้มีลักษณะที่คล้ายกับกระบวนการ ผลิตจริงในโรงงาน ท�ำให้ผู้วิจัยสามารถปฎิบัติการแบบ Large Scale ได้ เช่น ห้อง Microbrewery มีการจ�ำลองระบบการผลิต เบียร์เหมือนกับโรงงานจริง มีการติดตัง้ ระบบควบคุมการบ่ม รวม ถึงระบบตรวจสอบและควบคุมคุณภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ท�ำให้ทราบผลของกระบวนการผลิตได้จริงก่อนที่จะไปปฏิบัติ งานในโรงงาน อีกห้องที่น่าสนใจและนักศึกษาใช้งานมาก คือ ห้องปฎิบัติการ Clean Research ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่เข้ม งวดเรือ่ งความสะอาดมากกว่าห้องปฏิบตั กิ ารอืน่ ๆ โดยมีอปุ กรณ์ เครื่ อ งมื อ พิ เ ศษ เช่ น เครื่ อ ง High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) และ เครือ่ ง Gas Chromatography Mass Spectrometry (GC-MS) เป็นต้น นอกจากนี้ Massey University ยังเปิดโอกาสให้นัก วิจัยรวมถึงนักศึกษา ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบเครื่อง มือและระบบวิจัยที่เหมาะสมต่องานวิจัย ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ จะเน้นการพัฒนาเครื่องมือด้วยนักวิจัยเอง ภายใต้กลุ่มวิจัยและ ศูนย์วิจัยที่เข้มแข็งโดยอ้างอิงจากองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อน�ำไปสู่ การทดลองที่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้บางชนิดจึง ไม่สามารถพบเห็นได้จากที่อื่น การเข้าปฎิบตั งิ านวิจยั ในห้องปฎิบตั กิ ารนัน้ นักศึกษาทุก คนต้องปฎิบตั ติ ามกฎระเบียบด้านการรักษาความปลอดภัย มีการ ท�ำแบบทดสอบความรู้พื้นฐานความปลอดภัยในห้องปฎิบัติการ ก่อนจะได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ห้อง มีระบบการควบคุมการผ่าน


Walailak University Newsletter

เข้าออกระหว่างห้องปฎิบตั กิ าร การควบคุมการเข้าถึงทรัพยากร ส่วนรวมของมหาวิทยาลัย ด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบ คอมพิวเตอร์ นักศึกษาทุกคนจะมีรหัสของตัวเองประจ�ำเครื่อง คอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีบัตรสแกนส�ำหรับใช้พิมพ์งาน ส่วนระบบ การขนส่ง นักศึกษาจะมีบัตรใช้ส�ำหรับการขึ้นรถโดยสารโดยไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่าย นางสาวกิติยา เล่าต่อว่า ตลอดระยะเวลา 6 เดือน ของ การไปท�ำวิจยั ที่ Massey University นัน้ ท�ำให้ได้ประสบการณ์ ใหม่ๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์ เช่น การเรียนรูก้ ารปรับตัวให้เข้ากับสภาพ อากาศของประเทศนิวซีแลนด์ในช่วงฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 9 องศาเซลเซียส การเรียนรู้วิธีการท�ำงานร่วมกับชาว ต่างชาติที่มาจากหลายประเทศ เช่น ชาวนิวซีแลนด์ ชาวจีน ชาว มาเลเซีย ชาวสเปน ชาวฝรัง่ เศส ชาวชิลี และ ชาวสิงคโปร์ เป็นต้น

NEWS

รวมถึงได้เรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวนิวซีแลนด์ ที่เป็น ชนชาติที่มีน�้ำใจ และเป็นมิตรกับทุกคน “ที่ส�ำคัญได้รับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารโดยใช้ ภาษาอังกฤษ เนือ่ งจากต้องสือ่ สารกับบุคคลต่างๆ ในห้องปฎิบตั ิ การ เพือ่ นชาวต่างชาติ และอาจารย์ทปี่ รึกษาเป็นประจ�ำ ทัง้ ยังได้ มีโอกาสไปน�ำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ที่งานประชุม วิชาการ NZIFST 50th Anniversary Conference 2015 ระหว่าง วันที่ 30 มิถนุ ายน ถึง 2 กรกฎาคม 2558 ทีเ่ มือง Palmerston North ประเทศนิวซีแลนด์ โดยมีอาจารย์และนักศึกษาจากหลาย ประเทศเข้าร่วมประชุม ท�ำให้ได้รแู้ นวคิดใหม่ๆและเป็นประโยชน์ ทีส่ ามารถน�ำมาพัฒนางานวิจยั ในอนาคตได้” นางสาวกิตยิ า สุเหม กล่าวในตอนท้าย

นักวิจยั ภายใต้ชดุ โครงการวิจยั “ข้าวพันธุพ์ นื้ เมือง นครศรีธรรมราช” ติดตามความก้าวหน้า ข้าวพันธุพ์ น้ื เมืองนครศรีธรรมราช พันธุห์ ลัก ข้าวพันธุข์ ยาย และข้าวพันธุจ์ ำ� หน่าย ประเด็นการวิจยั ส�ำหรับการต่อยอดเรือ่ ง “ข้าวพันธุพ์ นื้ เมือง” ทีท่ างกองประสานงานโครงการตามพระราชด�ำริ กรมการ ข้าว ฝากไว้เป็นพิเศษ ส�ำหรับการขับเคลือ่ นต่อไป คือ การประเมิน ภายใต้บริบทของสังคม เพือ่ สร้างความยัง่ ยืนให้กบั วงจรการผลิต ข้าวพันธุพ์ นื้ เมือง ซึง่ เป็นการตอบค�ำถามว่า จะมีวธิ กี ารอย่างไรให้ ระบบการจัดการเพือ่ ส่งเสริมข้าวพันธุพ์ นื้ เมืองนัน้ สามารถด�ำเนิน ให้เกิดประสิทธิภาพ ชาวนาสามารถพึง่ ตนเอง และทีส่ ำ� คัญคือ มี รายได้ทมี่ นั่ คง

www.wu.ac.th

นักวิจัยภายใต้ชุดโครงการวิจัย “ข้าวพันธุ์พื้นเมือง นครศรีธรรมราช” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนางาน วิจยั เชิงพืน้ ที่ ระหว่าง มวล. และ สกว. รวมทัง้ นักวิจยั และเจ้า หน้าที่ สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วม กิจกรรมติดตามโครงการลุม่ น�ำ้ ปากพนังด้านข้าว ของกองประสาน งานโครงการตามพระราชด�ำริ กรมการข้าว เมือ่ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงเรียนบ้านหมาก ต.บ้านเพิง อ.ปากพนัง โดยมี นาย วารินทร์ บุษบรรณ ที่ปรึกษากรมการข้าว และที่ปรึกษาอธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร ดร.เกรียงไกร พันธุว์ รรณ์ ผูอ้ ำ� นวยการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร กรมการข้าว รวมทัง้ ผู้ อ�ำนวยการศูนย์วจิ ยั ข้าวนครศรีธรรมราช บุคลากรจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มเกษตกรในพื้นที่ อ�ำเภอปากพนัง เข้าร่วม กิจกรรมดังกล่าว ในส่ ว นของชุ ด โครงการวิ จั ย ข้ า วพั น ธุ ์ พื้ น เมื อ ง นครศรีธรรมราช ได้รายงานให้ กองประสานงานโครงการตาม พระราชด�ำริ กรมการข้าว ทราบเกีย่ วกับการด�ำเนินการวิจยั เพือ่ พัฒนาข้าวพันธุ์พื้นเมือง ใน 12 ประเด็น (โครงการที่ได้รับทุน ABC ปี 2558) ซึง่ ได้รบั ค�ำขอบคุณ และชืน่ ชมทีม่ หาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์ให้ความส�ำคัญ และเข้ามามีสว่ นร่วมในการพัฒนาพืน้ ทีโ่ ดย เฉพาะอย่างยิง่ ในประเด็น “ข้าวพันธุพ์ นื้ เมือง” รวมทัง้ ให้ขอ้ เสนอ แนะ ในการพัฒนางานวิจยั ด้านนี้ โดยให้ตระหนักถึงความส�ำคัญ ของ “ข้าว” ไว้ 4 ประเด็น คือ 1. ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย 2. ข้าวเป็นสินค้าส่งออกทีส่ ร้างรายได้มหาศาล 3. การแปรรูปข้าว และ 4. การอนุรกั ษ์และสร้างเมล็ดพันธุข์ า้ ว ภายใต้บริบทของ ข้าว

5


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

ม.วลัยลักษณ์พัฒนาวิธีสกัดเย็นน�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ช่วยเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรเมืองคอน

6

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์วิจัยและพัฒนาวิธีสกัดเย็น น�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้วยวิธีเหวี่ยงแยก ได้ปริมาณและผลผลิต สูงขึ้น 50 % ไร้สารเคมี ปราศจากกลิ่นหืน พร้อมลงพื้นที่บริการ วิชาการสร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่นครศรีธรรมราช ดร.นิรัติศัย รักมาก อาจารย์หลักสูตรวิศวกรรมเคมี และกระบวนการ ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบนั ชาวบ้านในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ท�ำการแปรรูปมะพร้าวเป็นน�้ำมัน มะพร้าวสกัดเย็นด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการเพิ่มราย ได้ ลดปัญหาปริมาณมะพร้าวล้นตลาดและมีราคาตกต�่ำในบาง ฤดูกาล แต่ดว้ ยกรรมวิธที ใี่ ช้อยูใ่ ห้ปริมาณน�ำ้ มันมะพร้าวสกัดเย็น น้อย ใช้เวลาในการผลิตนาน ปริมาณน�้ำมันมะพร้าวที่สกัดได้ไม่ สม�่ำเสมอและมีคุณภาพต�่ำ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อ พัฒนาท้องถิ่นได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของมะพร้าวและตระหนัก ถึงปัญหาในการผลิตน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นของชาวบ้าน จึง ได้ท�ำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิธีการสกัดเย็นน�้ำมันมะพร้าว ด้วยวิธีการเหวี่ยงแยก ไม่ใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง จนได้

กระบวนการที่เหมาะสมส�ำหรับการผลิตน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น บริสุทธิ์ ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงกว่าแบบเดิมที่ชาว บ้านท�ำอยู่ โดยสามารถแยกชั้นน�้ำและตะกอนออกจากน�้ำมัน ได้อย่างสมบูรณ์ น�้ำมันที่ได้มีความเสถียรสูง ปริมาณที่ได้เพิ่ม สูงขึ้นถึง 50% ความชื้นต�่ำมาก ลดการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (Hydrolysis Reaction) และปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ท�ำให้นำ�้ มันมะพร้าวทีส่ กัดได้ปราศจากกลิน่ เหม็นหืน และเหม็นเปรี้ยว ดร.นิรัติศัย รักมาก กล่าวต่อไปอีกว่า หลังจากได้วิธีการ สกัดเย็นดังกล่าวแล้ว เพือ่ เป็นการน�ำองค์ความรูด้ า้ นกระบวนการ สกัดเย็นในการผลิตน�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ไปใช้งานจริงในชุมชน ทางทีมนักวิจัยพร้อมด้วยนักศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมเคมี และกระบวนการ ได้ลงพืน้ ทีบ่ ริการวิชาการให้ความรูแ้ ก่เกษตรกร โดยใช้การอธิบายและการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกร และพบว่าหลังการอบรมเกษตรกรสามารถน�ำความรูแ้ ละผลวิจยั ดังกล่าวไปใช้ สามารถสร้างเงิน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิตของ คนในหมู่บ้านหรือชุมชนให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนจน สามารถเป็นต้นแบบให้กับหมู่บ้านหรือชุมชนอื่นๆได้


Walailak University Newsletter

NEWS

นักศึกษาแพทย์จาก Ohio State University ร่วมแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับ ม.วลัยลักษณ์

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ห้องประชุมโมคลาน อาคารบริหาร ม.วลัยลักษณ์ ดร.มนเทียร เสร็จกิจ รักษาการแทน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วย ดร.นพ.ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่ ว ย รั ก ษาการแทนคณบดี ส� ำ นั ก วิ ช าแพทยศาสตร์ คณาจารย์ ส� ำ นั ก วิ ช าแพทยศาสตร์ และเจ้ า หน้ า ที่ ส ่ ว น วิเทศสัมพันธ์ ร่วมต้อนรับ นักศึกษาแพทย์จาก Ohio State University ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่นที่ 2 จ�ำนวน 4 คน ซึ่งเดิน ทางมาศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับคณาจารย์ และนักศึกษาแพทย์ของ ม.วลัยลักษณ์ พร้อมทั้งฝึกภาคปฏิบัติที่ โรงพยาบาลสิชล ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ -5 มีนาคม 2559 ดร.นพ.ปรั ช ญะพั น ธุ ์ เพชรช่ ว ย รั ก ษาการแทน คณบดี ส� ำ นั ก วิ ช าแพทยศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลักษณ์โดยส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์และส่วนวิเทศสัมพันธ์เริ่ม รับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก College of Medicine, Ohio State University ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ของส�ำนัก วิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับนักศึกษาจาก

College of Medicine, Ohio State University ได้แลก เปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกัน เกิดการถ่ายทอดทางวิชาการ ทั้งในแง่ประสบการณ์ส่วนบุคคล และการจัดการเรียนการสอน แพทยศาสตร์ระหว่างสองประเทศที่มีความแตกต่างกัน และ เพื่อศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการสร้างความสัมพันธ์ใน กลุ่มนักศึกษาทั้งสองสถาบันด้วย ทั้งนี้ จากการถ่ายทอดประสบการณ์ที่นักศึกษาแพทย์ รุน่ แรกจาก Ohio State University ได้รบั จากการมาแลกเปลีย่ น ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท�ำให้นักศึกษารุ่นที่ 2 สนใจเดินทาง มาศึกษาแลกเปลี่ยนเป็นในปี 2559 จ�ำนวน 4 คน ประกอบด้วย Mr. Arnold Juphill Kim, Miss Emily Chen, Miss Lei Lei และ Miss Mayce Rabi Haj-Ali โดยนักศึกษาแพทย์ทั้ง 4 คน จะเรียนในห้องเรียน พร้อมแลกเปลี่ยนและอภิปรายร่วมกับ นักศึกษาแพทย์ของ ม.วลัยลักษณ์ ระหว่าง วันที่ 9-14 กุมภาพันธ์ 2559 และเดินทางไปฝึกปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ทางด้านการรักษา พยาบาลในระดั บ ชุ ม ชนของเมื อ งไทย ณ โรงพยาบาลสิ ช ล ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-5 มีนาคม 2559 นี้

www.wu.ac.th

7


NEWS Walailak University Newsletter ส่วนประชาสัมพันธ์จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “Chat Chill with DPR ระบบการสื่อสาร & Walailak Channel”

www.wu.ac.th

ส่ ว นประชาสั ม พั น ธ์ จั ด เสวนาแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ “Chat Chill with DPR ระบบการสือ่ สาร & Walailak Channel” เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องโมคลาน มีบุคลากรและ นักศึกษาสนใจเข้าร่วมเสวนา จ�ำนวน 50 คน จาก 30 หน่วย งานภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายบริหาร ให้เกียรติเป็นประธานและบรรยายพิเศษเรื่อง We are WU…เครือข่ายประชาสัมพันธ์ สื่อบุคคล พลังสร้างสรรค์ องค์กร” รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก เอือ้ จิระพงษ์พนั ธ์ กล่าวว่า การสื่ อ สารเป็ น สิ่ ง ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ และจ� ำ เป็ น เพื่ อ สร้ า งภาพ ลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร แม้ว่า องค์กรอาจจะเผชิญข้อจ�ำกัดทั้ง จากภายในและภายนอก แต่การสื่อสารที่ดีโดยสื่อบุคคลภายใน

8

องค์กรจะยังคงไว้ซึ่งภาพลักษณ์ที่ดี โดยต้องเน้นการให้ข้อมูลที่ ถูกต้อง ตรงไปตรงมา มีเหตุและผล ดังนั้น หัวใจส�ำคัญของการ เป็นสื่อบุคคล คือ ต้องรู้ข้อเท็จจริง ถูกต้องและชัดเจน ก่อนที่ จะท�ำการสื่อสารใดๆ ออกไป การประชาสั ม พั น ธ์ ต ้ อ งใช้ ง บประมาณจ� ำ นวนมาก เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ไปยังสื่อ ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ เป็นต้น เพื่อผล ได้ในการรับนักศึกษาได้เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนประชาสัมพันธ์มี ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย โดยจะเน้นการพัฒนาด้าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นสื่อที่ตรงกับความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ กล่าว ย�้ำในตอนท้ายว่า สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากสื่อหนึ่ง ดัง นั้น ควรจะขยายการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ไปสู่กลุ่มนักศึกษา และบุ ค ลากรกลุ ่ ม อื่ น ๆ ในครั้ ง ต่ อ ไป เพื่ อ ให้ เ ป็ น สื่ อ บุ ค คล ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยต่อไป จากนั้ น นางสาวจิ ต ตนา หนู ณ ะ หั ว หน้ า ส่ ว น ประชาสัมพันธ์ ได้บอกเล่าถึงบทบาทหน้าที่และภาระงานของ ส่วนประชาสัมพันธ์ รวมทั้งช่องทางการสื่อสารต่างๆ ที่เป็น เครื่องมือช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ส่วนทีมงานส่วน ประชาสัมพันธ์ได้พูดคุยเกี่ยวกับระบบการส่งข่าวทางเว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัย การน�ำเสนอตัวอย่างข่าว/ภาพข่าว ที่ได้รับ การเผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ และเปิดตัว Walailak Channel รวมทั้งเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมเสวนาดาวน์โหลด Application บน ระบบปฏิบัติการ Android เพื่อชมรายการต่างๆ ของ Walailak Channel ผ่านสมาร์ทโฟน


Walailak University Newsletter

สีสัน แห่ง ภาษา

NEWS

โดย อาจารย์สมใจ สมคิด สำ�นักวิชาศิลปศาสตร์

กราบศิษย์ทวงสิทธิ์

สิบนิ้วพนมก้มลงกราบ ศิโรราบกราบลงตรงหน้าท่าน จากคนเป็นครูผู้อ�ำนวยการ กราบศิษย์ที่สืบสานสิทธิ์ของตน เรื่องเล็กเล็กเด็กทวงสิทธิ์ครูเคยสอน ตรงเวลาต้องมาก่อนเป็นตอนต้น คนผิดเรื่องเวลาลดค่าคน ซึ่งส่งผลเสียหายหลายกรณี เวลาแค่นาทีก็มีค่า หากพูดเกินเวลาในหน้าที่ เด็กไทยยุคไฮเทคสิทธิ์เด็กมี ทักท้วงขึ้นทันทีไม่มีละ ขอโทษแค่ค�ำพูดไม่เพียงพอ ไหว้ต่อขออภัยก็ไม่ยี่หระ เรื่องสิทธิเหนือครูเหนือคารวะ ครูกราบล่ะเพื่อหวังให้ได้ส�ำนึก สิบนิ้วพนมก้มกราบศิษย์ จะถูกผิดติดอยู่ที่รู้สึก ครูสอนบทเรียนใหญ่ได้ล�้ำลึก ให้ผนึกติดใจไปเนิ่นนาน

www.wu.ac.th

*แรงบันดาลใจจากข่าวผู้อ�ำนวยการโรงเรียนมัธยมในกรุงเทพฯ กราบขอโทษนักเรียน

9


NEWS

Walailak University Newsletter

ผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ อาจารย์ประจ�ำส�ำนักวิชาการจัดการ เข้ารับเข็มที่ระลึกวชิราวุธานุสรณ์

ผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ อาจารย์ประจ�ำส�ำนัก วิชาการจัดการ เข้ารับเข็มที่ระลึกวชิราวุธานุสรณ์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ณ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ อาจารย์ ประจ�ำส�ำนักวิชาการจัดการ เข้ารับเข็มที่ระลึกวชิราวุธานุสรณ์ โดยมีพล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ประธานใน พิธีเป็นผู้มอบ เนื่องในโอกาสครบรอบ 41 ปีวันสถาปนากองทัพภาค ที่ 4 พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ได้เดินทางมา เป็นประธานในพิธี โดยมีพลโทวิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทพั ภาคที่ 4 ผู้บัญชาการต�ำรวจภูธรภาค 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน นาย ทหารร่วมให้การต้อนรับและร่วมพิธี หลังจากผูบ้ ญ ั ชาการทหารบกได้วางพวงมาลาสักการะ อนุสาวรีย์วีรไทย 2484 หรืออนุสาวรีย์พ่อจ่าด�ำ วางพานพุ่ม ถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรียร์ ชั กาลที่ 6 ถวายมาลัย

สักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากนั้นประกอบพิธีทาง ศาสนา เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคลแก่กำ� ลังพลและครอบครัว และอุทศิ ส่วนกุศลให้แก่ผู้บังคับบัญชาและทหารกล้าที่ได้สละชีพเพื่อชาติ และประกอบพิธีมอบเข็มวชิราวุธานุสรณ์ เบื้องหน้าพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ให้แก่ผทู้ ำ� คุณประโยชน์ และให้ความช่วยเหลือกองทัพภาคที่ 4 ส� ำ หรั บ ความเป็ น มาของเข็ ม วชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ เพื่ อ เป็นการระลึกในโอกาส ครบรอบ 80 ปี ของการก่อตั้งหน่วย ทหารในภาคใต้และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ องค์ผู้พระราชทานก�ำเนิดหน่วยทหารขึ้น ในพื้นที่ภาคใต้ กับทั้งสร้างความภาคภูมิใจเป็นขวัญและก�ำลังใจ แก่ข้าราชการ กองทัพภาคที่ 4 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชา นุญาต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช จัดสร้าง เข็มที่ระลึกวชิราวุธานุสรณ์ โดยอัญเชิญอักษร พระปรมาภิไธย วปร. ประดิษฐานบนเข็มดังกล่าว ซึ่งโปรดเกล้าฯพระราชทาน พระบรมราชานุญาต เมือ่ 5 พฤษภาคม 2538 เข็มวชิราวุธานุสรณ์ จะมีลักษณะเป็นแหนบคันชีพ ขนาดกว้าง 2.3 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร มีพระปรมาภิไธยย่อ วปร.สีทอง และตรีสนี ำ�้ เงินบนพืน้ สีฟา้ มีขอบสีทองหนา 0.5 เซนติเมตร ใช้ประดับบนฝากระเป๋าเสือ้ ด้านซ้ายของเครื่องแบบทหาร หรือชุดสุภาพ โดยก�ำหนดจะมอบ ให้กับนายทหารสัญญาบัตรในกองทัพภาคที่ 4 ที่เหมาะสม และ ให้กับบุคคลที่กระท�ำคุณประโยชน์แก่กองทัพภาคที่ 4 และส่วน รวม ดังนั้นเข็มที่ระลึกวชิราวุธานุสรณ์ จึงถือได้ว่าเป็นเกียรติยศ สูงสุดของ กองทัพภาคที่ 4 และผู้ที่ได้รับการประดับเข็มที่ระลึก

ม.วลัยลักษณ์ สนับสนุนคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน

www.wu.ac.th

10

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษา การแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์ เป็นประธานในการมอบเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา และการปฏิบัติงานแก่หน่วยงานผู้ขอรับบริจาคในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการสนับสนุนคอมพิวเตอร์เพื่อการ ศึกษาและการปฏิบัติงาน โอกาสนี้มีหน่วยงานผู้ขอรับบริจาค รวม ทัง้ สิน้ 10 หน่วยงาน ได้แก่ ชมรมสารวัตรนักเรียนนักศึกษา อ.เมือง ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการนครศรีธรรมราช ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา โรงเรียนบ้านกุมแป โรงเรียนบ้านหนองนนทรี โรงเรียนบ้านทุง่ ไม้ไผ่ โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวัง ศูนย์การเรียน ตชด.บ้าน ห้วยตง ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยค่ายฝึกการรบพิเศษสิชล มัสยิด วัดตะโหนด และโรงเรียนบ้านทุง่ ขันหมาก โครงการนี้ เป็นโครงการ ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ให้การสนับสนุนคอมพิวเตอร์ที่ยังมีสภาพดี ให้

แก่โรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง และ หน่วยงานราชการในท้องถิ่นที่ขาดแคลนคอมพิวเตอร์ส�ำหรับใช้ใน การเรียนการสอนและการปฏิบตั งิ าน ซึง่ ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ดำ� เนิน การโครงการตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2545 และต่อเนือ่ งมาเป็นประจ�ำทุกปี โดย หน่วยงานทีม่ คี วามประสงค์ขอรับการสนับสนุนจะมีหนังสือแจ้งมาที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


Walailak University Newsletter

NEWS

สีเหลือง ครองถ้วยรวม กีฬาสี มวล. WU Sport Game 2015

ฟุตบอลชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีขาว รางวัลชนะเลิศขบวนพาเหรด ได้แก่ สีเหลือง ดรัมเมเยอร์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีขาว รางวัลชนะเลิศกองเชียร์ ได้แก่ สีเหลือง รางวัลชนะเลิศเชียร์ลดี เดอร์ ได้แก่ สีเหลือง ส่วนของรางวัลถ้วยรวม การแข่งขันกีฬาสีของนักศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา 2558 ได้แก่ สีเหลือง โอกาสนี้ ดร.เลิศชาย ศิรชิ ยั รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา กล่าวแสดงความชืน่ ชมและยินดีกบั นักกีฬา ทีไ่ ด้รบั รางวัล และเชือ่ ว่าหลายๆ คนคงจะมีความภูมใิ จเป็นอย่าง ยิง่ ทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ในกิจกรรม ส�ำหรับการจัดการแข่งขันในครัง้ นี้ ไม่วา่ ผลการแข่งขันกีฬาจะเป็นอย่างไร แต่กแ็ สดงให้เห็นถึงความ รัก ความสามัคคี ความมีนำ�้ ใจนักกีฬา ตลอดจนส่งเสริมให้ผทู้ เี่ ข้า ร่วมกิจกรรมทุกท่านมีสขุ ภาพร่างกายแข็งแรง รูจ้ กั ใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์รวมถึงการแสดงถึงศักยภาพของนักศึกษาในแต่ละ ส�ำนักวิชา นอกจากนี้ยังฝึกการท�ำงานร่วมกันภายในคณะสีของ ตนเอง การรูแ้ พ้ รูช้ นะ รูอ้ ภัยซึง่ กันและกัน การจัดการแข่งขันกีฬาสีในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็น อย่างดี จากทัง้ นักกีฬาทีเ่ ข้าร่วมการแข่งขัน แสตนเชียร์ คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถด�ำเนินการตามจุดประสงค์ไปได้ดว้ ยดี

ข่าวโดย นางสาวพิกลุ ทิพย์ ยุระพันธ์ุ นักศึกษาช่วยงานส่วนประชาสัมพันธ์ ขอขอบคุณภาพจาก องค์การบริหารองค์การนักศึกษา 11

www.wu.ac.th

การแข่งขันกีฬาสีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ WU Sport Game 2015 ประจ�ำปีการศึกษา 2558 ซึง่ องค์การ บริหาร องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดขึน้ ภายใต้ แนวคิ ด “ช่ อ ประดู่ร ่วมใจ ห่างไกลยาเสพติด สายไมตรี มิ ตร บัณฑิตไทยไม่โกง WU Sport Game 2015” ระหว่างวันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2559 โดยในพิธปี ดิ การแข่งขันเมือ่ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 ทีผ่ า่ นมา ได้รบั เกียรติจาก ดร.เลิศชาย ศิรชิ ยั รักษาการ แทนรองอธิการบดีฝา่ ยกิจการนักศึกษา เป็นประธานมอบรางวัล ให้แก่ผู้ชนะการแข่งขัน โดยรางวัลชนะเลิศถ้วยรวมตกเป็นของ สีเหลือง การแข่งขันกีฬาสีในปีนี้ มีการจัดการแข่งขันกีฬาทัง้ สิน้ 6 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย แบดมินตัน เปตอง วอลเลย์บอล บาสเกตบอล ฟุตบอล และกรีฑา ซึง่ สรุปผลการแข่งขันเป็นดังนี้ แบดมินตัน ประเภทชายคู่ หญิงคู่ และคูผ่ สม รางวัลชนะ เลิศ เป็นของสีเหลืองทัง้ 3 ประเภท เปตอง ประเภทชายคู่ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีแดง ประเภท หญิงคู่ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีขาว วอลเลย์บอล ประเภทวอลเลย์บอลชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีเขียว ประเภทวอลเลย์บอลหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สี เหลือง บาสเกตบอล ประเภทบาสเกตบอลชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีนำ�้ เงิน ประเภทบาสเกตบอลหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีเขียว กรีฑาชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สีแดง กรีฑาหญิง รางวัล ชนะเลิศ ได้แก่ สีเหลือง


รับฟังรายการ “นานาสาระ” ทางสถานี

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี FM 88.75 MHz. AM. 1242 MHz. ทุกวันศุกร์ เวลา 17.30 - 18.00 น. สวท.ระนอง FM107.25 MHz ทุกวันเสาร์ เวลา 15.05 - 15.35 น. สวท.ตะกั่วป่า จ.พังงา FM 90.25 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 11.05 - 11.35 น. สถานีวทิ ยุเทศบาลนครศรีธรรมราช FM 88.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00 - 10.30 น. สถานีวทิ ยุทา่ ม้าซิตเ้ี รดิโอ FM 88.00 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. สวท.นครศรีฯ FM 93.50 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.05 - 17.35 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.สงขลา AM 558 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 19.30 - 20.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ AM 963 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 06.30 - 07.00 น. สถานีวิทยุกองทัพภาคที่ 4 AM 1044/684 KHz. ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 21.10 - 21.35 น. สวท.ภูเก็ต FM 96.75 MHz. ทุกวันอังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา กรุงเทพมหานครและเครือข่ายทัว่ ประเทศ FM 92 MHz. AM 1161 KHz. ทุกวันพุธ เวลา 18.30 - 19.00 น.

เชิญชมรายการ

“วลัยลักษณ์สู่สังคม”

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทุกวันอังคาร เวลา 16.30 - 17.00 น.

และรับชมย้อนหลังได้ที่ http://dpr.wu.ac.th

ฟังรายการวิทยุ

ปริทัศน์วัฒนธรรม

สวท.ทุ่งสง FM 97 MHz. ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สวท.สตูล FM 95.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 - 17.00 น. สวท.ทุ่งสง AM 963 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 08.30 น.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.