สารวลัยลักษณ์ ประจำเดือน ธันวาคม 2558

Page 1

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๙ กาลมงคลดิถขี นึ้ ปีใหม่ นบพระไตรรัตนะพระพุทธสิหงิ ค์ องค์จตุคามพระสยามเทวาฯ มาอ้างอิง ศักดิส์ ทิ ธิส์ งิ่ สามภพนบอวยชัย ให้ทา่ นมีพรสีอ่ ย่างครันครบ อายุ วรรณะ สุขะ พละ บรรจบเจิดแจ่มใส หน้าทีก่ ารงานโรจน์รงุ่ จรุงใจ ตลอดไปปีวอกพอกพูนเทอญ รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ประพันธ์


NEWS Walailak University Newsletter

ม.วลัยลักษณ์ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาส 5 ธันวามหาราช

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ดร.สุเมธ แย้มนุน่ รักษาการ แทนอธิการบดี พล.ต.ศรีศักดิ์ เลิศล�้ำ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ า ยกิ จ การพิ เ ศษ พร้ อ มด้ ว ยอาจารย์ บุ ค ลากรและนั ก ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนือ่ งในวโรกาส

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวา มหาราช เมือ่ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ณ สทท.11 นครศรีธรรมราช เพือ่ แสดงออกถึงความจงรัก ภักดิด์ แี ละส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2558

www.wu.ac.th

2

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2558 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั “รวมใจ น้อมเกล้าฯ เทิดไท้ 5 ธันวา มหาราช” เนือ่ งในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 ณ บริเวณ โถงกลาง อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมจัด กิจกรรม “ชวนปัน่ เพือ่ พ่อ” เพือ่ รณรงค์เชิญชวนให้พนักงานและ นักศึกษา ตลอดจนชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยและประชาชน ชาวอ�ำเภอท่าศาลา เข้าร่วมกิจกรรม “ ปัน่ เพือ่ พ่อ Bike for Dad” ในวันที่ 11 ธันวาคม 2558 ที่จะถึงนี้ และกิจกรรมจุดเทียนชัย

ถวายพระพรในช่วงค�่ำ โอกาสนี้ ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้บริหาร พนักงาน และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตลอดจนประชาชน รายรอบมหาวิทยาลัย จ�ำนวนกว่า 200 คน ได้ร่วมชมวีดิทัศน์ สารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นผู้ แทนทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้น�ำชุมชนสาธิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้น�ำนักศึกษา ถวายเครื่องราช สักการะ พุ่มทอง - พุ่มเงิน เบื้องหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น พลตรีศรีศักดิ์ เลิศล�้ำ


Walailak University Newsletter

รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ยกิจการพิเศษ ประธานในพิธี เปิด พานธูปเทียนแพ ถวายเครือ่ งราชสักการะ พุม่ ทอง-พุม่ เงิน พร้อม อ่านบทถวายพระพรต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ จากนัน้ ผูม้ าร่วมพิธรี ว่ มแสดงออกซึง่ ความ จงรักภักดีผ่านบทเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงสดุดีมหา ราชา พร้อมร่วมลงนามถวายพระพร ช่วงบ่ายมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรม “ชวนปัน่ เพือ่ พ่อ” เพือ่ รณรงค์เชิญชวนให้พนักงานและนักศึกษา ตลอดจน ชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยและประชาชนชาวอ�ำเภอท่าศาลา เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม “ ปั ่ น เพื่ อ พ่ อ Bike for Dad” ในวั น ที่ 11 ธันวาคม 2558 ทีจ่ ะถึงนี้ ร่วมกันทัว่ ประเทศ โดยมี ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และ พลตรีศรีศักดิ์ เลิศล�้ำ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการ พิเศษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปัน่ น�ำขบวน พร้อมด้วยพนักงาน และนักศึกษา โดยเริม่ ต้นจากอาคารกิจกรรม เขตหอพักนักศึกษา ไปตามเส้นทางต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย จากนั้นปั่นออกจาก มหาวิทยาลัยมุ่งหน้าสู่หน้าที่ว่าการอ�ำเภอท่าศาลา ซึ่งระหว่าง ทางได้มีนักศึกษาเดินแจกใบปลิวเพื่อเชิญชวนชาววลัยลักษณ์ และประชาชนชาวท่าศาลาเข้าร่วมกิจกรรม “ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad” ในวันที่ 11 ธันวาคม 2558 นี้ด้วย กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ชาวอ�ำเภอ

NEWS

ท่าศาลาได้เข้าร่วมกิจกรรม “ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad” กับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในวันที่ 11 ธันวาคมนี้ โดยใช้ชอื่ กิจกรรม “วลัยลักษณ์และประชาชนท่าศาลาปัน่ เพือ่ พ่อ : Bike for Dad ” เพือ่ ร่วมแสดงพลังแห่งความจงรักภักดี โดยจะเปิดให้ผสู้ นใจร่วม ลงทะเบียนได้ตงั้ แต่ เวลา 8.00 น. ณ ลานตราประจ�ำมหาวิทยาลัย หน้าอาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และจะเคลือ่ นขบวน ไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราชเพือ่ ร่วมขบวนปัน่ กับทางจังหวัดต่อ ไป ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะเป็นศูนย์กลางอ�ำนวยความ สะดวกและคอยดูแลพีน่ อ้ งประชาชนทุกคนทีจ่ ะเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่การขนส่งคนและจักรยาน พร้อมทีมแพทย์และพยาบาล อาหารและเครื่องดื่ม มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ จึ ง ขอเชิ ญ ทุ ก คนเข้ า ร่ ว ม กิจกรรม “วลัยลักษณ์และประชาชนท่าศาลาปั่นเพื่อพ่อ : Bike for Dad ” เพราะถือเป็นโอกาสครั้งส�ำคัญที่พวกเราจะได้แสดง ความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสอัน เป็นมิ่งมหามงคลในครั้งนี้ พร้อมกับร่วมกิจกรรม “ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad” ร่วมกับประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและ ทั่วประเทศในช่วงบ่ายของวันที่ 11 ธันวาคม รวมทั้งร่วมลงนาม ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ณ อาคารบรรณ สารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวัน ที่ 31 ธันวาคม 2558

www.wu.ac.th

3


NEWS

Walailak University Newsletter

ม.วลัยลักษณ์ปดั ฝุน่ เตาเผาขยะติดเชือ้ คาดต้นปี 2559 สามารถใช้งานได้

www.wu.ac.th

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พัฒนาและปรับปรุงเตาเผาขยะติด เชือ้ โดยนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รองรับการเผาได้ 100 กิโลกรัม/ชั่วโมง ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ คาดต้นปี 2559 สามารถเดินเครือ่ งได้เต็ม 100 เปอร์เซนต์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย กัลยาณปพน รักษาการแทนผู้ อ�ำนวยการศูนย์เครือ่ งมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยเกีย่ วกับเตาเผาขยะว่า ขณะนีม้ หาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำ� ลัง ด�ำเนินการปรับปรุงและพัฒนาเตาเผาขยะติดเชือ้ เพือ่ รองรับขยะ ติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ ในอนาคต ซึง่ การพัฒนาระบบเตาเผาขยะในครัง้ นี้ นอกจากการซ่อมแซมให้ กลับมาใช้งานได้ใหม่แล้ว ยังได้พฒ ั นากรรมวิธเี ผาขยะให้มคี วามคุม้ ค่าด้านพลังงานและปลอดภัยต่อสิง่ แวดล้อม มีการก�ำจัดขยะอย่าง ถูกต้องตามหลักวิชาการ ถูกหลักกฎหมายทางด้านสิง่ แวดล้อม เพิม่ ประสิทธิภาพเตาเผา ลดความชืน้ ในขยะเพือ่ ให้การจัดการด้านการ เผาขยะติดเชือ้ มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย กล่าวต่อว่า ศูนย์เครือ่ งมือฯ ได้ตงั้ งบประมาณส�ำหรับการปรับปรุงซ่อมแซมเตาเผาดังกล่าวไว้

4

ประมาณ 5 แสนบาท ด�ำเนินการซ่อมแซมโดยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเองทัง้ หมด โดยเตาเผาขยะ ติดเชือ้ ดังกล่าวจะสามารถเริม่ ใช้งานอย่างเป็นทางการได้ในต้นปี 2559 นี้ โดยสามารถรองรับการเผาขยะติดเชือ้ ได้ในปริมาณ 100 กิโลกรัมต่อชัว่ โมง ด้วยระบบการเผาแบบแก๊สและความดัน แบ่ง เป็น 2 ห้องเผา ประกอบด้วย ห้องเผาขยะและห้องเผาควัน โดย ขัน้ ตอนการเผาเมือ่ ห้องเผาท�ำการเผาขยะแล้วหลังจากมีควันเกิด ขึน้ ก็จะส่งต่อควันเหล่านัน้ ไปยังห้องเผาควันอีกครัง้ เพือ่ ให้หอ้ ง นีเ้ ผาละเอียดและมีการดักจับเขม่า ควันและไอระเหยต่างๆ ก่อน ปล่อยออกสูส่ ภาพแวดล้อม “ปัจจุบันการเผาขยะติดเชื้อในภาคใต้และหน่วยงานด้าน สาธารณสุขยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เนือ่ งจากเตาเผาขยะจะมี อยูในหน่วยงานของทางราชการเท่านัน้ ซึง่ มุง่ เน้นการเผาขยะใน หน่วยงานของตนเองเป็นหลัก ยังไม่สามารถให้บริการเผาขยะต่อ หน่วยงานภายนอกได้ อย่างไรก็ตาม เมือ่ เตาเผาขยะติดเชือ้ ของ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถเดินเครือ่ งได้อย่างเต็มที่ จากนัน้ จะให้บริการกับชุมชนรายรอบต่อไป” ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชัยกล่าว


Walailak University Newsletter

NEWS

ม.วลัยลักษณ์รว่ มแถลงข่าวกับ สกว. “ระบบเฝ้าระวังไข้เลือดออกโดยการมีสว่ นร่วมของชุมชน”

www.wu.ac.th

เวทีสาธารณะ สกว. เสนอ “ลานสกาโมเดลฯ ” จาก ผลงานวิจยั ของนักวิจยั จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รว่ มกับพืน้ ที่ อ�ำเภอลานสกา วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 15 อาคารเอส เอ็มทาวเวอร์ พญาไท กรุงเทพฯ หน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิง พืน้ ที่ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) จัดเวทีสาธารณะ เรื่อง “ระบบการเฝ้าระวังไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน” น�ำเสนอข้อมูลจากงานวิจัยในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสกว. และมหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์ ที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยที่มุ่งเน้นการแก้ไข ปัญหาทีส่ ำ� คัญของพืน้ ทีร่ ว่ มกับการท�ำงานกับกลไกและภาคีเครือ ข่ายในพืน้ ที่ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัตกิ าร ทีเ่ น้นการมีส่วนร่วมของ ชุมชนโดยทีง่ านวิจยั เสร็จสิน้ แล้ว กลไกและภาคีในพืน้ ทีก่ ส็ ามารถ ด�ำเนินงานแก้ไขปัญหาของตนเองได้ หวังให้ข้อมูลดังกล่าวเป็น โมเดลต้นแบบของชุมชนทั่วประเทศ ที่สามารถสร้างมาตรการ เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกที่เฝ้าระวังในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ทางทีมวิจัยและตัวแทนพื้นที่ประกอบด้วย รศ.ดร. จรวย สุวรรณบ�ำรุง อาจารย์จนั ทร์จรุ ยี ์ ถือทอง ส�ำนักวิชาพยาบาล ศาสตร์ นายกิตติพันธ์เพชรชู นายอ�ำเภอลานสกา นายชุมพร ผล ประเสริญ นายประยุทธ์ สีตุกา นักวิชาการสาธารณสุขช�ำนาญ การ ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอลานสกา และโรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพต�ำบลบ้านย่านยาว นางโสภา บุญโสภา อสม. และ นางสาวมุกดารัตน์ จันทร์อ�ำไพ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี ที่ 2 โดยน�ำเสนอ “ลานสกาโมเดล” ซึ่งรูปแบบการแก้ไขปัญหา โรคนี้อาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนของอ�ำเภอลานสกา รวมทั้งด�ำเนินการเฝ้าระวังดัชนีลูกน�้ำยุงลายโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ http://lim.wu.ac.th ร่วมกับการด�ำเนินการใน ภาคครัวเรือน พบว่า อัตราการป่วยลดลงในปี 2557 และ 2558 และไม่พบอัตราการตาย การวิจัยครั้งนี้ท�ำให้ได้ข้อค้นพบว่า นวัตกรรมในการ ประเมินพืน้ ทีเ่ สีย่ งสูงและต�ำ่ ระดับหมูบ่ า้ นท�ำให้รแู้ ต่ละหมูบ่ า้ นมี ความเสีย่ งอยูใ่ นระดับใด เกิดรูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือด ออกอย่างเป็นระบบตั้งแต่ครัวเรือนถึงภาพรวมของอ�ำเภอ โดย มี อสม.เป็นกลุ่มที่ดูแลเข้าถึงทุกครัวเรือน มีการเก็บข้อมูลดัชนี ลูกน�้ำยุงลายทุก ๆ วันที่ 25 ของเดือนเพื่อน�ำข้อมูลดังกล่าวไป ค�ำนวณ ประชุมวางแผน

อาจกล่าวได้วา่ เป็นผลงานวิจยั ชิน้ นีม้ สี ว่ นกระตุน้ ให้แกน น�ำชุมชน อสม. ตื่นตัวที่จะเรียนรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการ เฝ้าระวังดัชนีลูกน�้ำยุงมากขึ้นประชาชนมีส่วนร่วมครอบคลุมทั้ง อ�ำเภอ ข่าวบางส่วน ที่ http://www.nationtv.tv/main/ content/social/378478331 อนึ่ง หน่วยวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ น�ำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุวรรณบ�ำรุง หัวหน้าหน่วยวิจัยฯ รวมพลังเครือข่ายป้องกันโรค ไข้เลือดออก 3 อ�ำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ อ�ำเภอ ลานสกา อ�ำเภอสิชล และอ�ำเภอท่าศาลาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แลกเปลีย่ นเรียนรูก้ ารด�ำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพืน้ ที่ ทัง้ 3 อ�ำเภอในช่วงทีผ่ า่ นมาของปี 2558 เมือ่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 อาคารวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มี ตัวแทนจากหน่วยงานด้านสุขภาพจากทัง้ 3 อ�ำเภอ คือ ส�ำนักงาน สาธารณสุขอ�ำเภอลานสกา ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอสิชล โรง พยาบาลลานสกา โรงพยาบาลท่าศาลา เทศบาลลานสกา โรงพย บาลส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่อ�ำเภอลานสกา จ�ำนวน 12 แห่ง โรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลในพื้นที่อ�ำเภอลานสกา จ�ำนวน 8 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลในพื้นที่อ�ำเภอ ท่าศาลา จ�ำนวน 10 แห่ง รวมทั้งหมด 80 คน ผลการแลกเปลี่ยนได้มีการน�ำเสนอการด�ำเนินการและ นวัตกรรมระบบเฝ้าระวังดัชนีลกู น�ำ้ ยุงลายเพือ่ ป้องกันโรคไข้เลือด ออกของ 3 อ�ำเภอโดยมีนวัตกรรมที่ประสบความส�ำเร็จในการ ด�ำเนินการ ตัวอย่าง “ลานสกาโมเดล” ซึ่งเป็นโมเดลการด�ำเนิน การป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับต�ำบลที่มีโมเดลย่อยของ การด�ำเนินการในระดับ รพ.สต. คือ “รพ.สต.ย่านยาวโมเดล” การด�ำเนินการระดับหมู่บ้าน คือ “หมู่ที่ 3 บ้านย่านยาวโมเดล” ขณะทีพ่ นื้ ทีอ่ ำ� เภอสิชลได้มกี ารแลกเปลีย่ น “สีข่ ดี โมเดล” ซึง่ เป็น โมเดลการด�ำเนินการที่ อบต. มีบทบาทร่วมกับ รพ.สต. อย่าง ชัดเจน ส่วนอ�ำเภอท่าศาลาก็จะมีการน�ำเสนอเครือข่ายในการ ป้องกันโรคที่มีกิจกรรมย่อยทุก รพ.สต.

5


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ณ วัดคลองดิน

6

เมื่ อ วั น ที่ 19 พฤศจิ ก ายน 2558 มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ณ วัดคลองดิน หมูท่ ี่ 1 ต�ำบลหัวตะพาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรวบรวมปัจจัยด�ำเนินการสร้างหอระฆังของวัด ซึ่งในขณะนี้ การด�ำเนินการสร้างหอระฆังยังไม่เสร็จตามเป้าหมายและเพื่อ จะให้เสร็จสมบูรณ์ทางวัดจึงได้จัดทอดกฐินสามัคคีขึ้น พล.ต. ศรีศักดิ์ เลิศล�้ำ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ า ยกิ จ การพิ เ ศษ มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ ให้ เ กี ย รติ เ ป็ น ประธานและถวายผ้าพระกฐินแด่พระภิกษุ โดยมี ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตลอด จนพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมพิธีถวายพุ่มกฐินด้วย รศ.ดร.สื บ พงศ์ ธรรมชาติ ผู ้ อ� ำ นวยการอาศรม วัฒนธรรมวลัยลักษณ์ กล่าวว่า การทอดกฐิน ถือเป็นประเพณี ที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนทั้ ง หลายทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย ปฏิ บั ติ สื บ ต่ อ กั น มา หลายชั่วอายุ และมีความศรัทธาเลื่อมใสกันว่าเป็น “ยอดของ

มหากุศล” จะเป็นเหตุน�ำให้ผู้ได้มีส่วนในการทอดกฐินนั้น ได้ มหาอานิ ส งส์ อั น ยิ่ ง ใหญ่ สุ ด ประมาณ จึ ง นั บ เป็ น โอกาสดี ยิ่ ง ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีโอกาสร่วมเป็นเจ้าภาพ สร้าง บุ ญ ใหญ่ ใ นการทอดกฐิ น โดยพร้ อ มเพรี ย งกั บ ชาวบ้ า นและ พุทธศาสนิกชน ณ วัดคลองดินในครั้งนี้ ทั้งนี้อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์ ได้ประสานรวบรวมปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาจากหน่วย งานต่างๆและนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นจ�ำนวนเงิน 137,555 บาท รวมทั้งปัจจัยจากพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ในชุมชนและต่างอ�ำเภอมาร่วมทอดกฐินสามัคคี ท�ำให้มียอด เงินรวมทั้งสิน 192,060 บาท ร่วมสมทบทุนถวายวัดคลองดิน เพื่อสร้างหอระฆังต่อไป ขอให้บุญกุศลที่ทุกท่านได้ร่วมกระท�ำ กันในครั้งนี้ อ�ำนวยพรให้ทุกท่านและครอบครัว จงประสบแต่ ความสุข ความเจริญ ด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ด้วยกันทุก ท่านเทอญ


Walailak University Newsletter

NEWS

มวล.จัดปั่นจักรยานหาทุนสนับสนุนโครงการ Zero Waste ที่เกาะลันตาน้อย

ส�ำนักวิชาการจัดการ ม.วลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมปั่น จักรยาน “ปั่นช้าๆ พาทัวร์เกาะ” หาทุนช่วยสนับสนุนโครงการ “zero waste” ใน 4 โรงเรียน บนเกาะลันตาน้อย จ.กระบี่ พร้อม ประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร. สมนึก เอือ้ จิระพงษ์พนั ธ์ รักษา การแทนรองอธิการบดีฝา่ ยบริหาร ในฐานะคณบดีสำ� นักวิชาการ จัดการ ม.วลัยลักษณ์(มวล.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ศูนย์ WMS พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม ส�ำนักวิชาการจัดการ ร่วมกับ กรม การปกครองอ�ำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ จัดกิจกรรม “ปั่น ช้าๆ พาทัวร์เกาะ” เพื่อจัดหาเงินทุนให้แก่โรงเรียนบ้านหลัง สอด โรงเรียนบ้านคลองโตนด โรงเรียนบ้านทุ่งวิทยพัฒน์ และ โรงเรียนบ้านโล๊ะใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนบนเกาะลันตาน้อย น�ำไป

www.wu.ac.th

ในการด�ำเนินโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบนพื้นที่ เกาะลันตาน้อย “zero waste” พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เส้น ทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนเกาะลันตาน้อย โดยมีนักศึกษาและ คนในชุมชนเข้าร่วมปั่นจักรยานประมาณ 80 คน ณ เกาะลันตา น้อย อ�ำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ส�ำนักวิชาการจัดการ ม.วลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมปัน่ จักรยาน “ปัน่ ช้าๆ พาทัวร์เกาะ” หาทุนช่วยสนับสนุนโครงการ “zero waste” ใน 4 โรงเรียน บนเกาะลันตาน้อย จ.กระบี่ พร้อมประชาสัมพันธ์ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ รักษา การแทนรองอธิการบดีฝา่ ยบริหาร ในฐานะคณบดีสำ� นักวิชาการ จัดการ ม.วลัยลักษณ์(มวล.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ศูนย์ WMS พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม ส�ำนักวิชาการจัดการ ร่วมกับ กรม การปกครองอ�ำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ จัดกิจกรรม “ปั่น ช้าๆ พาทัวร์เกาะ” เพื่อจัดหาเงินทุนให้แก่โรงเรียนบ้านหลัง สอด โรงเรียนบ้านคลองโตนด โรงเรียนบ้านทุ่งวิทยพัฒน์ และ โรงเรียนบ้านโล๊ะใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนบนเกาะลันตาน้อย น�ำไป ในการด�ำเนินโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบนพื้นที่ เกาะลันตาน้อย “zero waste” พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เส้น ทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนเกาะลันตาน้อย โดยมีนักศึกษาและ คนในชุมชนเข้าร่วมปั่นจักรยานประมาณ 80 คน ณ เกาะลันตา น้อย อ�ำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่

7


NEWS

Walailak University Newsletter

ลอยกระทง ม.วลัยลักษณ์ คณาจารย์ นักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมงานจ�ำนวนมาก

www.wu.ac.th

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยอาศรมวัฒนธรรมฯ จัด โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย วันลอยกระทง ประจ�ำปี พ.ศ. 2558 ภายใต้ชื่องาน “ลอยกระทง...เสริมส่งวัฒนธรรมไทย ห่างไกลยาเสพติด” ขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 โดยมี ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการ นักศึกษาให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด เพื่อสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อนั ดีระหว่าง ชุมชนรายรอบกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ดว้ ย ดร.เลิศชาย ศริ ชิ ยั รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ยกิจการ นักศึกษา กล่าวว่า “ประเพณีลอยกระทงของไทยถือเป็นประเพณี ส�ำคัญที่มีมาแต่โบราณและเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะ อย่างยิง่ เพลงลอยกระทง ซึง่ เป็นเพลงทีใ่ ช้ขบั ร้องในวันลอยกระทง มาตัง้ แต่อดีต เป็นเพลงทีช่ าวต่างชาติรจู้ กั ดีและเมือ่ นึกถึงเพลงไทย ก็มกั จะได้ยนิ หลาย ๆ คนร้องเพลงนี้ จะเห็นได้วา่ แม้แต่ชาวต่างชาติ ยังให้ความสนใจกับประเพณีลอยกระทงของไทยเรา ซึ่งเป็นที่น่า ภาคภูมใิ จอย่างยิง่ จึงถือเป็นโอกาสดีทมี่ หาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดย อาศรมวัฒนธรรมฯได้รว่ มกันจัดกิจกรรมลอยกระทง เพือ่ ให้ชาววลัย ลักษณ์และชุมชนได้รว่ มกันสืบสานประเพณีนใี้ ห้อยูค่ คู่ นไทยสืบไป หลังจากนั้น ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการแทนรอง อธิการบดีฝา่ ยกิจการนักศึกษาและ รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผูอ้ ำ� นวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้ลอยกระทง ร่วมกับนักศึกษาและประชาชนผูม้ าร่วมงาน ณ บริเวณสระน�ำ้ ลาน เพลินตา หน้าอาคารไทยบุรี นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรม มากมาย อาทิเช่น การประกวดเทพีนพมาศ การประกวด Miss หัวโปก การประกวดกระทงประเภทสวยงามและประเภทความคิด

8

สร้างสรรค์ การแสดงดนตรีวง WU Band และการออกร้านจ�ำหน่าย สินค้าจากนักศึกษาและประชาชน ซึง่ ผลการประกวดกิจกรรมต่างๆ มีดงั นี้ ผลการประกวดเทพีนพมาศ (รางวัลชนะเลิศ) นางสาว สุภลักษณ์ หอมเชือ่ ม สำ� นักวิชาเภสัชศาสตร์ ,(รองชนะเลิศ อันดับ1) นางสาวจิดารัตน์ มุง่ ทองหลาง ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ฯ,(รอง ชนะเลิศ อันดับ2) นางสาวนฤมล จ�ำปา ส�ำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และ(ต�ำแหน่งนางงามขวัญใจมหาชน) นางสาวนฤมล จ�ำปา ส�ำนัก วิชาพยาบาลศาสตร์ ผลการประกวดMISS.หัวโปก (รางวัลชนะเลิศ) นาย ภูษณุสกั รชตพิสฐิ ส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ (รองชนะเลิศ อันดับ1) นายภีมากร พันธุ์นิตย์ ส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์, (รองชนะเลิศ อันดับ2) นายเสกสรรค์ อาการส ส�ำนักวิชาสหเวชศาสตร์ฯและ (รางวัลPopular Vote) นายอรรถชัย พะละศูนย์ ส�ำนักวิชา พยาบาลศาสตร์ ผลการประกวดกระทง ประเภทสวยงาม (รางวัลชนะเลิศ) กระทงจากแม่บา้ นวลัยลักษณ์ , (รองชนะเลิศ อันดับ 1) นายไพรวัลย์ เกิดทองมี, (รองชนะเลิศ อันดับ 2) นายศักดา ไชยภานุรกั ษ์, (รางวัล ชมเชย1 ) กระทงจากส�ำนักวิชาพยาบาลศาสตร์และ(รางวัลชมเชย 2) กระทงจากชมรมสัตวบาล และผลการประกวดกระทง ประเภทความคิดสร้างสรรค์ (รางวัลชนะเลิศ) นายทวีศักดิ์ วงศ์กีรติเมธาวี,(รองชนะเลิศ อันดับ1) นายทวีศกั ดิ์ วงศ์กรี ติเมธาวี,(รองชนะเลิศ อันดับ 2) ส�ำนัก วิชาการจัดการ(รางวัลชมเชย) กระทงจากส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์


Walailak University Newsletter

NEWS

ม.วลัยลักษณ์ จัดพิธมี อบวุฒบิ ตั รผูผ้ า่ นการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพหมออนามัยฯ

ปัญหาทางด้านสาธารณสุข มีความซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนา องค์ความรู้นวัตกรรมด้านสาธารณสุข เป็นปัจจัยที่จะน�ำไปสู่ การพัฒนาบทบาทของหมออนามัย ให้สามารถปฏิบัติงานได้ สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน มูลนิธิเครือ ข่ายหมออนามัยเห็นถึงความจ�ำเป็นของการพัฒนาศักยภาพ หมออนามัย โดยขับเคลื่อนงานบนพื้นฐานขององค์ความรู้ท่ี เชื่อมโยงกับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากร สาธารณสุขหรือหมออนามัยในยุคสมัยใหม่ มีศักยภาพสูงมาก พอในการสานพลังเครือข่ายทางปัญญาและพลังทางสังคมที่มี อยู่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบด้วยจิตวิญญาณของ หมออนามัยที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ด้าน อาจารย์รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการ ฝึ ก อบรมแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ โดยใช้ หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็ น ศู น ย์ ก ลางและกรณี ศึ ก ษาจาก สถานการณ์ ของปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง โดยใช้บริบทเป็นฐาน จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ เป็นเวลา 3 เดือน แบ่งช่วงเวลาในการเข้าเรียน เป็น 6 ช่วงเวลา ช่วงละ 3 วัน รวมทั้งสิ้น 18 วัน โดยเริ่มด�ำเนิน การฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2558 – 20 พฤศจิกายน 2558 โดยการอบรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าอบรมและส�ำเร็จหลักสูตร พร้อมรับประกาศนียบัตร จ�ำนวน 24 คน และครูพี่เลี้ยง 3 คน

www.wu.ac.th

ส�ำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ ศูนย์ บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ส�ำนักงาน ประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวง สาธารณสุข มูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย สมาคมหมออนามัย ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยและสถาบันการศึกษาด้าน สาธารณสุข จัดพิธีมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการอบรม โครงการ พัฒนาศักยภาพหมออนามัยขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพแบบมีส่วนร่วมในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตั น ตโยทั ย รั ก ษาการแทนรองอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยวิ ช าการ มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ นายแพทย์ ชู ชั ย ศรช� ำ นิ ผู ้ ช ่ ว ย เลขาธิ ก ารส� ำ นั ก งานประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ และอาจารย์ รั ต นสิ ท ธิ์ ทิ พ ย์ ว งศ์ อาจารย์ประจ�ำส�ำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และสาธารณสุ ข ศาสตร์ ใ นฐานะหั ว หน้ า โครงการฯ ร่ ว มกั น ต้อนรับพร้อมมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรม ที่ห้องตุมปัง อาคารบริหาร ม.วลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ผู้ช ่ว ยศาสตราจารย์ ดร.วั ลลา ตั น ตโยทั ย กล่ า วถึ ง โครงการพั ฒ นา ศักยภาพหมออนามัยฯว่า โครงการดัง กล่ า วถื อ เป็ น โครงการที่ มี รู ป แบบการ เรี ย นการสอนที่ ทั น สมั ย โดยเฉพาะ การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน หรือCBL ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถเพิ่มสมรรถนะให้แก่คนท�ำงาน ได้อย่างรวดเร็ว ที่ส�ำคัญจะท�ำให้ผู้เข้าอบรมและวิทยากร มี ความสุขไปด้วยกันด้วย อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าความรู้และ สุขภาพ ความเจ็บป่วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิทยาการ ต่างๆได้เปลี่ยนแปลงไปมาก คนและปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีความ ซับซ้อนมากขึ้น หมออนามัยและบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ยุคใหม่จึงต้องเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ วิธีการท�ำงานใหม่ที่ใช้แล้วได้ ผลดี เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนในแต่ละพื้นที่ได้ อย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพที่สุด นายแพทย์ชูชัย ศรช�ำนิ กล่าวว่า การจัดโครงการดัง กล่าวขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มาสัมผัสกับความรู้ใหม่ ๆ พร้อม ทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ และน�ำความรู้ที่ได้กลับไปท�ำให้พี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ทั้งนี้ในศตวรรษที่ 21

9


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

มวล.ต้อนรับคณะผู้แทนมหาวิทยาลัยจากไต้หวัน ภายใต้โครงการ Elite Study

10

คณะผู ้ บ ริ ห ารมหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ ป ระกอบด้ ว ย ผศ.ดร.นิยม ก�ำลังดี ผู้อ�ำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ คณบดีสำ� นักวิชาสารสนเทศศาสตร์, อาจารย์ ดร.นพ.ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย คณบดีส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์, ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ คณบดีส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์, ผศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิ เมธาวี คณบดีส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอาจารย์ ดร.มนเทียร เสร็จกิจ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ส�ำนัก วิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ร่วมต้อนรับคณะผู้แทน จากมหาวิทยาลัยในประเทศไต้หวัน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนภาย ใต้โครงการของส�ำนักงานโครงการ Elite Study กระทรวง ศึกษาธิการของไต้หวัน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้อง รับรองนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยคณะผูแ้ ทนจากไต้หวันได้มกี ำ� หนดการเพือ่ จัดงานการ ศึกษาต่อในประเทศไต้หวันส�ำหรับเขตภาคใต้ของประเทศไทย ประจ�ำปี 2558 (Taiwan Education Session 2015 at Southern Thailand) โดยมีก�ำหนดการมายัง 2 สถาบันอุดมศึกษาในเขต พื้นที่ภาคใต้ของไทย คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาของไต้หวัน 4 แห่งเข้าร่วม ได้แก่ Tamkang University, Taipei Medical University, National Taipei University of Technologyและ

Southern Taiwan University of Science and Technology หลังจากนั้นคณะผู้แทนมหาวิทยาลัยในประเทศไต้หวัน ได้ร่วมกันบรรยายการศึกษาต่อในประเทศไต้หวันและแนะน�ำ มหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ณ ห้องประชุมตุมปังแก่คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และผูท้ สี่ นใจเข้าร่วม รับฟังการบรรยายอีกด้วย ทั้ ง นี้ โ ครงการการศึ ก ษาต่ อ ในประเทศไต้ ห วั น ของ ส�ำนักงานโครงการ Elite Study กระทรวงศึกษาธิการของ ไต้ ห วั น เป็ น โครงการความร่ ว มมื อ ระหว่ า งส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาประเทศไทยกับกระทรวงการศึกษา ไต้หวันโดยได้ก�ำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับอุดมศึกษา ระหว่างไทยและไต้หวัน (Taiwan-Thailand Higher Education Forum) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นปีที่5 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้น มา โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและ ผลักดันความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างกัน รวมไปถึงการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและ ไต้ ห วั น ระหว่ า งวั น ที่ 24-26 พฤศจิ ก ายน 2558 ณ โรงแรม ดุสิตธานี หัวหิน จ.เพชรบุรี ทั้ ง นี้ ผู ้ ส นใจสามารถสอบถามข้ อ มู ล การศึ ก ษาต่ อ ใน ประเทศไต้หวันเพิ่มเติมได้ที่ Elite Study In Taiwan Project Office ทางเว็บไซต์www.esit.org.tw


Walailak University Newsletter

NEWS

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมหารือการจัดท�ำเครื่องอบปาล์มน�้ำมันด้วยเครื่องไมโครเวฟกับ สวทช.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ หัวหน้า ศูนย์วจิ ยั และคุณไพรวัลย์ เกิดทองมี ศูนย์วจิ ยั ความเป็นเลิศด้าน นวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนส�ำหรับอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ และคุณลัดดาวัลย์ มนต์แก้ว สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ให้การต้อนรับ ดร.พงศ์พิชญ์ วิภาสุรมณฑล และนักวิจัย รวม 7 คน ของหน่วยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการแปรรูปปาล์มน�้ำมัน ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC) เมือ่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องปฏิบตั กิ ารศูนย์วจิ ยั ความ เป็นเลิศด้านนวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนส�ำหรับอุตสาหกรรมเกษตร อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ คณะนักวิจยั จากหน่วยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการแปรรูป ปาล์มน�้ำมัน ได้หารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไมโครเวฟ สายพานส�ำหรับอบปาล์มน�ำ้ มันโดยใช้ไมโครเวฟ เพือ่ ยับยัง้ การสุก

ของปาล์มน�้ำมัน โดยคุณสมบัติของปาล์มน�้ำมันจะมีความชื้น สูง ท�ำให้ขาดประสิทธิภาพและจะท�ำให้ราคาปาล์มน�้ำมันตกต�่ำ นอกจากนีห้ น่วยฯ ยังได้จดั ท�ำข้อตกลง (TOR) เพือ่ ร่วมกันด�ำเนิน การวิจยั ในเรือ่ งการน�ำเทคโนโลยีไมโครเวฟมาใช้งานเพือ่ ให้ปาล์ม น�้ำมันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะได้จัดท�ำ MOU ร่วมกัน เพื่อด�ำเนินการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรใน โอกาสต่อไป นอกจากนี้ หน่วยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการแปรรูป ปาล์มน�ำ้ มัน สวทช. ยังได้มกี ารหารือและร่วมแลกเปลีย่ นความคิด เห็นด้านการวิจยั ปาล์มน�ำ้ มัน จาก รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยปาล์มน�้ำมัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ด้วย สนใจข้ อ มู ล ด้ า นเทคโนโลยี ก ารอบแห้ ง ด้ ว ยเครื่ อ ง ไมโครเวฟสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้าน นวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนส�ำหรับอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โทร. 0-7567-2931, 08-4137-3988 E-mail:mnisoa@gmail.com

ขอเชิญดาวน์โหลด Application Walailak Chanel ในระบบปฏิบัติการ Android ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอเชิญผู้สนใจทุกท่าน ดาวน์โหลด Application Walailak Channel ในระบบปฏิบัติการ Android ได้ แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อติดตามข่าวสารและสาระความรู้ต่างๆ Walailak Channel สือ่ โทรทัศน์และวิทยุ บนอินเทอร์เน็ต (TV & Radio Online) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสาร เผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม ถ่ายทอดเนื้อหาสาระทางวิชาการ ข่าว สาระบันเทิง การ ด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม ช่องทางการรับชมและเผยแพร่ 1. http://walailakchannel.wu.ac.th 2. Facebook : Walailak Channel 3. Application : Walailak Channel www.wu.ac.th

ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80161 โทรศัพท์ 075-673725-30

11


รับฟังรายการ “นานาสาระ” ทางสถานี

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี FM 88.75 MHz. AM. 1242 MHz. ทุกวันศุกร์ เวลา 17.30 - 18.00 น. สวท.ระนอง FM107.25 MHz ทุกวันเสาร์ เวลา 15.05 - 15.35 น. สวท.ตะกั่วป่า จ.พังงา FM 90.25 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 11.05 - 11.35 น. สถานีวทิ ยุเทศบาลนครศรีธรรมราช FM 88.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00 - 10.30 น. สถานีวทิ ยุทา่ ม้าซิตเ้ี รดิโอ FM 88.00 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. สวท.นครศรีฯ FM 93.50 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.05 - 17.35 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.สงขลา AM 558 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 19.30 - 20.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ AM 963 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 06.30 - 07.00 น. สถานีวิทยุกองทัพภาคที่ 4 AM 1044/684 KHz. ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 21.10 - 21.35 น. สวท.ภูเก็ต FM 96.75 MHz. ทุกวันอังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา กรุงเทพมหานครและเครือข่ายทัว่ ประเทศ FM 92 MHz. AM 1161 KHz. ทุกวันพุธ เวลา 18.30 - 19.00 น.

เชิญชมรายการ

“วลัยลักษณ์สู่สังคม”

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทุกวันอังคาร เวลา 16.30 - 17.00 น.

และรับชมย้อนหลังได้ที่ http://dpr.wu.ac.th

ฟังรายการวิทยุ

ปริทัศน์วัฒนธรรม

สวท.ทุ่งสง FM 97 MHz. ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สวท.สตูล FM 95.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 - 17.00 น. สวท.ทุ่งสง AM 963 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 08.30 น.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.