สารวลัยลักษณ์ ประจำเดือน มิถุนายน 2559

Page 1

www.wu.ac.th


NEWS Walailak University Newsletter

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมวลัยลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี “รวมดวงใจ ปลูกไทย...ในแบบพ่อ”

www.wu.ac.th

มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ จั ด กิ จ กรรมวลั ย ลั ก ษณ์ เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี “รวมดวงใจ ปลูกไทย...ในแบบพ่อ” ในช่วงค�่ำของวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร ประชาคมวลัยลักษณ์ และประชาชน ในพื้นที่รายรอบมหาวิทยาลัย ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคล เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี โดยมี ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธาน พร้อมด้วยนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แขกผู้ มีเกียรติ ประชาชนชาวท่าศาลาและใกล้เคียงเข้าร่วมกว่า ๗๐๐ คน กิจกรรมภายในงานมีการลงนามถวายพระพรพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งเขียนปณิธานความดี ตามรอยพ่อ บนผืนผ้า จากนัน้ ชมการแสดงของวงดนตรีไทยและวง WU Band บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ โอกาสนี้ ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ยกิจการนักศึกษา ประธานในพิธี เปิดกรวยถวายพระพรและอ่านบทอาเศียรวาท นายบุญเสริม แก้ ว พรหม ประธานสภาวั ฒ นธรรมอ� ำ เภอท่ า ศาลา ในนาม ประชาคมท่าศาลา อ่านบทอาเศียรวาทในท�ำนองเพลงร้องเรือ

2

ปักษ์ใต้และนางสาวกวินสรา สุดใจ ผู้แทนนักศึกษา อ่านบท อาเศียรวาท จากนั้นชมการแสดงจากวงดนตรีคลาสสิค WU Ensemble บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ การแสดงชุด “ตาม รอยพ่อ” และกิจกรรม “จารึก...ค�ำแห่งจงรักภักดีบนผืนผ้า” โดยนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมกันคลี่ผืน ผ้าที่จารึกค�ำปณิธานความดี จากผู้บริหาร พนักงาน นักศึกษา ตลอดจนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าที่ร่วมในกิจกรรม เพื่อถวายเป็น สัตย์ปฏิญาณแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยผืนผ้า ทั้งหมดที่น�ำมาร้อยเรียงต่อกันมีความยาวกว่า ๓๐๐ เมตร ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาในการคลี่ผืนผ้า ได้รับเกียรติจาก คุณภราดล พรอ�ำนวย ศิลปิน นักดนตรี นักเดินทาง นักเขียน เจ้าของโปรเจค “มือเย็นเมืองเย็น” เป่าแซกโซโฟน และวง WU Ensemble บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ ต่อด้วยพิธีเชิญธง เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี การแสดงชุด “ในหลวงของ แผ่ น ดิ น ” พิ ธี จุดเทียนชัยถวายพระพรและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทัง้ หมดร่วมกันสวดมนต์บท โพชฌังคปริตร ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการที่ทรง พระประชวรอยู่ในขณะนี้ และร่วมกันร้องเพลง สดุดีมหาราชา


Walailak University Newsletter

NEWS

อ.ดร.นิรัติศัย รักมาก : ศูนย์การเรียนรู้กระบวนการสกัดเย็นในการผลิตน�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และตะกอนออกจากน�้ำมันได้อย่างสมบูรณ์ น�้ำมันที่ได้มี ความเสถียรสูง ปริมาณความชื้นต�่ำมาก ลดการเกิดปฏิกิริยา ไฮโดรลิซิสและปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ท�ำให้น�้ำมันมะพร้าว ที่สกัดได้ปราศจากกลิ่นเหม็นหืนและเหม็นเปรี้ยว เป็นการ เพิ่มมูลค่าของมะพร้าวและสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ขณะ เดียวกัน ได้สร้าง “ศูนย์การเรียนรู้กระบวนการสกัดเย็นใน การผลิตน�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สู่การใช้งานจริงในชุมชน” ที่ ชุมชนบ้านในไร่ หมู่ 11 ต�ำบลกลาย อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช โดยมี นายสมศักดิ์ สลาม เป็นผู้บริหาร ศูนย์การเรียนรู้ เพื่อสร้างต้นทุนทางปัญญาให้กับชาวบ้านจน สามารถเป็นหมูบ่ า้ นหรือชุมชนต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจ ระดับครัวเรือนสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป ทั้งยังเป็นการบูรณาการระหว่างงานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานพัฒนาการเรียนการสอนกับหน่วยงานภายในและ ภายนอกที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อีกด้วย ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้กระบวนการสกัดเย็น ในการผลิตน�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สู่การใช้งานจริงในชุมชน อาจารย์ ดร.นิรัติศัย เล่าว่า คณะผู้วิจัยได้ส�ำรวจข้อมูลสภาพ ปัญหาและความต้องการของชุมชนบ้านในไร่ พบว่า คนใน ชุมชนผลิตน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นในระดับครัวเรือนแบบ ดั้งเดิม ซึ่งมีระดับการผลิตขนาดเล็ก ต้นทุนด้านอุปกรณ์การ ผลิตต�่ำ ปริมาณของผลผลิตต�่ำ คุณภาพน�้ำมันที่ได้ค่อนข้าง หนืด มีกลิ่นเหม็นหืน และมีโอกาสปนเปื้อนสูง ท�ำให้การ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สม�่ำเสมอท�ำได้ยาก จึงได้ ถ่ายทอดความรู้ด้านกระบวนการสกัดเย็นในการผลิตน�้ำมัน มะพร้าวบริสทุ ธิ์ ซึง่ ถือเป็นการบริการวิชาการแก่ชมุ ชน ทีต่ อ่ ย อดจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาของสาขาวิศวกรรม เคมี ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ “หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ เข้าร่วมโครงการจ�ำนวน 28 คน ได้มีการติดตามความส�ำเร็จ และประเมินผลโครงการ พบว่า หลังได้รับความรู้จากการ บรรยายและการปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถน�ำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ครอบครัว” อาจารย์ ดร.นิรัติศัย รักมาก กล่าวในตอนท้าย

www.wu.ac.th

อาจารย์ ดร.นิ รั ติ ศั ย รักมาก อาจารย์ประจ�ำส�ำนัก วิ ช าวิ ศ วกรรมศาสตร์ แ ละ ทรั พ ยากร มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ก าร เรียนรู้กระบวนการสกัดเย็น ในการผลิ ต น�้ ำ มั น มะพร้ า ว บริ สุ ท ธิ์ สู ่ ก ารใช้ ง านจริ ง ใน ชุมชน เพื่อสร้างต้นทุนทางปัญญาและสร้างรายได้ให้กับ ชาวบ้ าน โดยน� ำความรู้ที่ได้จากการวิจัยในกระบวนการ ผลิตน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแบบ ดั้งเดิม 50% อาจารย์ ดร.นิรตั ศิ ยั เล่าว่า มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ปลูกทุกภาคทั่วประเทศ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ โดยในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว 128,853 ไร่ ผลผลิต 161,014 ตันต่อปี ทั้งนี้ พื้นที่อ�ำเภอ ท่าศาลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยลักษณ์ ก็เป็นพื้นที่ที่ มีการปลูกมะพร้าวมากเช่นกัน ดังนั้นในภาวะที่มะพร้าวล้น ตลาดและมีราคาตกต�ำ ่ ชาวบ้านได้แปรรูปมะพร้าวเป็นน�ำ้ มัน มะพร้าวสกัดเย็นด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมเพื่อเพิ่มรายได้ให้ ครอบครัว ซึง่ น�ำ้ มันมะพร้าวสกัดเย็นช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบา หวาน มะเร็ง ช่วยลดอนุมลู อิสระ ท�ำให้ผวิ พรรณดี ไม่เหีย่ วย่น แก่ก่อนวัย นอกจากนี้ในน�้ำมันมะพร้าวยังประกอบด้วยสาร อาหารที่ส�ำคัญกับร่างกาย เช่น กรดลอริก ซึ่งเป็นกรดชนิด เดียวกันกับกรดในน�ำ้ นมของมารดา ช่วยสร้างภูมคิ มุ้ กันให้กบั เด็กแรกเกิด และกรดนีย้ งั ใช้เป็นยาฆ่าเชือ้ ได้ดกี ว่ายาปฏิชวี นะ แต่กรรมวิธกี ารผลิตแบบดัง้ เดิมทีช่ าวบ้านใช้ ให้ปริมาณน�ำ้ มัน สกัดเย็นน้อยและมีคณ ุ ภาพต�ำ ่ ทีส่ ำ� คัญใช้เวลาในการผลิตนาน อาจารย์ ดร.นิรตั ศิ ยั ได้เล่าให้ฟงั ต่อว่า ด้วยตระหนัก ถึงปัญหาการผลิตน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นของชาวบ้าน จึง ได้ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาจนได้กระบวนการสกัดเย็นที่ไม่ใช้ สารเคมีและมีความเหมาะสมต่อการผลิต โดยการน�ำครีม (หัวกะทิ) ที่ได้จากการเหวี่ยงแยกมาสกัดที่อุณหภูมิ 5 องศา เซลเซียส ซึง่ สามารถลดระยะเวลาในการสกัดลงถึง 10 ชัว่ โมง ซึ่งกระบวนการนี้ให้ประสิทธิภาพในการผลิตน�ำ้ มันมะพร้าว สกัดเย็นสูงกว่าแบบดั้งเดิม 50% และสามารถแยกชั้นน�้ำ

3


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

อธิการบดีพร้อมผู้บริหาร มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ร่วมประชุม ทปอ.และ สอท.ครั้งที่ 3/2559 ที่ม.วลัยลักษณ์

4

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสามัญที่ ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และการประชุมสามัญ สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ครัง้ ที่ 3/2559 เมือ่ วันที่ 19 มิถนุ ายน 2559 ทีผ่ า่ นมา ณ ห้องประชุม 4 อาคารปฏิบตั กิ ารเทคโนโลยี และพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ซึง่ ในพิธเี ปิดได้รบั เกียรติจาก ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์ นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานทีป่ ระชุมอธิการบดีแห่ง ประเทศไทย กล่าวเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ โดยมีอธิการบดี และรองอธิการบดี จาก 27 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐทัว่ ประเทศเข้า ร่วมประชุม ศาสตราจารย์ นพ.อุดม คชินทร เปิดเผย ภายหลังการประชุม ทปอ.ต่อสื่อมวลชนว่า ทีป่ ระชุมเห็นชอบก�ำหนดการคัดเลือกบุคคลเข้า ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิสชัน่ ส์ ประจ�ำปีการศึกษา 2560 ตามที่ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ อิ น ทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะ อนุกรรมการด�ำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาเสนอ และทีป่ ระชุมยังหารือกรณีที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้ เปิดข้อสอบและเฉลยค�ำตอบ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าศึกษาต่อระดับ อุดมศึกษาทั้งหมด ซึ่งโดยหลักการที่ประชุมเห็นด้วย แต่ขอให้เปิด ข้อสอบและเฉลยค�ำตอบหลังจากทีก่ ระบวนการแอดมิสชัน่ ส์เสร็จแล้ว ทัง้ นี้ ในเบือ้ งต้น ทปอ.จะเปิดข้อสอบ และเฉลยค�ำตอบในการทดสอบ GAT/PAT ก่อน โดยจะเริม่ ในปีการศึกษา 2560 ด้าน ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อนิ ทร์ รักอริยะธรรม กล่าว ว่า ปฏิทนิ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ประจ�ำปี 2560 เป็นดังนี้ 1) รับสมัครสอบคัดเลือกวิชาเฉพาะแพทย์ กลุม่ สถาบัน

แพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) วันที่ 1-31 สิงหาคม 2559 สอบวันที่ 5 พฤศจิกายน ประกาศผลสอบ วันที่ 19 ธันวาคม ประกาศ รายชือ่ ผูม้ สี ทิ ธิสอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ วันที่ 14 มีนาคม 2560 สอบสัมภาษณ์/ตรวจสุขภาพ วันที่ 20-24 มีนาคม 2) รับสมัครสอบ 9 วิชาสามัญ วันที่ 5-24 ตุลาคม สอบวันที่ 24-25 ธันวาคม ประกาศผล สอบ วันที่ 25 มกราคม 2560 3) รับสมัครทดสอบ GAT/PAT ครัง้ ที่ 1/2560 วันที่ 10-29 สิงหาคม สอบวันที่ 29 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน ประกาศผล วันที่ 15 ธันวาคม 4) รับสมัครโอเน็ต ประจ�ำปีการศึกษา 2559 ส�ำหรับนักเรียน ม.6 โรงเรียนด�ำเนินการสมัครกับสถาบันทดสอบ ทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) สอบวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2560 ประกาศผล วันที่ 20 มีนาคม 5) รับสมัครทดสอบ GAT/PAT ครัง้ ที่ 2/2560 วันที่ 7-26 ธันวาคม 2559 สอบวันที่ 11-14 มีนาคม 2560 ประกาศผล วันที่ 20 เมษายน ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ อิ น ทร์ กล่ า วต่ อ อี ก ว่ า มหาวิทยาลัย/ สถาบัน/ กลุม่ สถาบัน ทีเ่ ข้าร่วมในระบบเคลียริง่ เฮาส์ ประจ�ำปีการศึกษา 2560 ส่งรายชือ่ ผูผ้ า่ นการคัดเลือกไปยังสมาคม อธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) จัดท�ำข้อมูลส�ำหรับให้นักเรียน ยืนยันสิทธิร์ บั ตรง และส่งข้อมูลตัดสิทธิแ์ อดมิสชัน่ ส์ วันที่ 21 เมษายน 2560 นักเรียนยืนยันสิทธิเ์ ข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย/ สถาบัน/ กลุม่ สถาบัน ที่ได้รับคัดเลือก วันที่ 25-28 เมษายน สอท. แจ้งรายชื่อผูย้ นื ยัน สิทธิไ์ ปยังมหาวิทยาลัย/ สถาบัน/ กลุม่ สถาบัน และตัดสิทธิใ์ นระบบ แอดมิสชัน่ ส์กลาง วันที่ 6 พฤษภาคม แอดมิสชัน่ ส์ ประจ�ำปีการศึกษา 2560 จ�ำหน่ายระเบียบการคัดเลือกฯ วันที่ 16-27 พฤษภาคม รับสมัคร วันที่ 20-27 พฤษภาคม ช�ำระเงินค่าสมัคร วันที่ 20-29 พฤษภาคม ผูส้ มัครตรวจสอบคะแนนทีใ่ ช้คดั เลือก วันที่ 7-9 มิถนุ ายน ประกาศผูม้ ี สิทธิส์ อบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 15 มิถนุ ายน สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย วันที่ 23-26 มิถนุ ายน ประกาศผูม้ สี ทิ ธิเ์ ข้าศึกษา วันที่ 10 กรกฎาคม นอกจากนี้ ที่ประชุม ทปอ.ยังมีมติเห็นชอบให้ สทศ. จัดสอบ PAT ภาษาเกาหลี เพิม่ อีก 1 วิชา ในปีการศึกษา 2561


NEWS ม.วลัยลักษณ์นำ� เสนอ Best Practices ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษาและส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา Walailak University Newsletter

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นำ� เสนอ Best Practices ในโอกาสที่ คณะกรรมการการอุดมศึกษาและส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึง่ มี ศาสตราจารย์สนุ ทร บุญญาธิการ รองประธานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา พร้อมคณะ เดินทางมาเยี่ยมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ย วิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมคณะผู้ บริหาร ให้การต้อนรับ และน�ำเสนอ Best Practices ของมหาวิทยาลัย เมือ่ วันที่ 7 มิถนุ ายน 2559 ทีผ่ า่ นมา ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร โอกาสนี้ ศาสตราจารย์สนุ ทร บุญญาธิการ และนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการมาเยีย่ มเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ ตอนบน ว่า เพื่อพบปะ พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับ Best Practices ของมหาวิทยาลัย จากนัน้ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย ได้กล่าวต้อนรับ พร้อมแนะน�ำผู้บริหารของมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยคณบดีสำ� นักวิชาด้านวิทยาการ สุขภาพ ประกอบด้วย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วาริท เจาะจิตต์ คณบดี ส�ำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์ คณบดีส�ำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ อาจารย์ ดร.จิราพร ชินกุลพิทักษ์ คณบดีส�ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ และ อาจารย์ ดร. นพ. ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย คณบดีสำ� นักวิชาแพทยศาสตร์

ได้นำ� เสนอ Best Practices ด้านการเรียนการสอน เรือ่ ง Community based Teaching & Learning จากนัน้ ได้มกี ารน�ำเสนอ Best Practices ด้าน การวิจยั และการบริการวิชาการ โดย ดร. พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ ส�ำนัก วิชาการจัดการ หน่วยวิจยั บริโภคและเศรษฐกิจยัง่ ยืน น�ำเสนอ “การวิจยั เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภาคใต้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรนั ดร มาแทน ส�ำนักวิชาวิศวกรรรมศาสตร์และทรัพยากร ศูนย์วจิ ยั ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ น�ำเสนอ “การวิจยั ระบบ อบไม้ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมไม้ยางพารา” และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ศูนย์วจิ ยั ความเป็นเลิศ ด้ า นนวั ต กรรมฟิ สิ ก ส์ ยั่ ง ยื น ส� ำ หรั บ อุ ต สาหกรรมเกษตร น� ำ เสนอ “การวิจยั เพือ่ การบริการวิชาการผูป้ ระกอบการและวิสาหกิจชุมชนจาก งานวิจยั ไมโครเวฟ” หลังจากน�ำเสนอ Best Practices ด้านต่างๆ แล้ว คณะ กรรมการการอุดมศึกษาได้ซกั ถาม ร่วมแลกเปลีย่ นความคิดเห็น และให้ ข้อเสนอแนะทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ การด�ำเนินงานด้านต่างๆ พร้อมกล่าวชืน่ ชม ให้กำ� ลังใจและสนับสนุนการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นักวิจยั ม.วลัยลักษณ์ พบวิธกี ารถนอมข้าวเปลือกและข้าวกล้องโดยใช้แผ่นรากผักตบชวาทีม่ ไี อของน�ำ้ มันหอมระเหย

Sumethee Songsamoe, Narumol Matan, Nirundorn Matan. 2016. Effect of UV-C radiation and vapor released from a water hyacinth root absorbent containing bergamot oil to control mold on storage of brown rice. Journal of Food Science and Technology 53(3):1445-1453 (ISI: Impact factor: 2.203) Kitiya Suhem, Narumol Matan, Nirundorn Matan, Sorasak Danworaphong, Tanong Aewsiri, 2015. Improvement of the antifungal activity of Litsea cubeba vapor by using a helium-neon (HeNe) laser against Aspergillus flavus on brown rice snack bars. International Journal of Food Microbiology 215: 157-160. (ISI: Impact factor: 3.082).

www.wu.ac.th

ข้าวเปลือกและข้าวกล้องเป็นหนึ่งในธัญพืชที่มีความส�ำคัญ ของโลก และประเทศไทยเป็นประเทศหลักของผู้ส่งออกข้าวและ ผลิตภัณฑ์จากข้าว ปัญหาหนึ่งของการเก็บรักษาข้าวเป็นเวลานาน คือการพบการเจริญของเชื้อรา ดังนั้นการคิดค้นวิธีการเก็บรักษาข้าว เปลือกและข้าวกล้องเป็นระยะเวลานานก่อนจ�ำหน่ายจึงช่วยผูป้ ระกอบ การและผูข้ ายได้ ทั้งนี้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ น�ำโดย ผศ.ดร. นฤมล มาแทน และทีมงานวิจยั ของห้องปฏิบตั กิ ารนวัตกรรมน�ำ้ มันหอม ระเหยส�ำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภณ ั ฑ์ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ได้ทำ� การพัฒนาแผ่นต้านเชือ้ ราจากรากผักตบชวาผสมไอ ธรรมชาติของน�้ำมันหอมระเหยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาข้าวเปลือก และข้าวกล้อง และจากการคิดค้นพบว่า รากผักตบชวาสามารถน�ำมา พัฒนาเป็นแผ่นดูดซับน�ำ้ มันหอมระเหยได้เป็นอย่างดีเนือ่ งจากมีขนาด เส้นใยทีพ่ อเหมาะ และเมือ่ น�ำแผ่นรากผักตบชวามาพัฒนาเป็นบรรจุ ภัณฑ์ทยี่ อ่ ยสลายได้และใช้ในการบรรจุขา้ วกล้องหรือข้าวเปลือกเพือ่ ให้ ไอของน�ำ้ มันหอมระเหยช่วยรักษาผิวหน้าของข้าวกล้องและข้าวเปลือก ให้ปราศจากเชื้อราพบว่า วิธีการนี้ช่วยในการรักษาข้าวเปลือกและ

ข้าวกล้องให้ปราศจากเชือ้ รา รวมถึงแมลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และมีฤทธิ์ยาวนานกว่า 1 ปี และยังช่วยให้ข้าวที่บรรจุ ภายในถุงมีกลิน่ หอมของดอกไม้ ซึง่ วิธกี ารทีค่ ดิ ค้นนีม้ รี าคา ถูก สามารถน�ำมาพัฒนาต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมได้จริง ทั้งนี้งานวิจัยนี้ก�ำลังน�ำไปขยายผลในระดับอุตสาหกรรม การผลิตข้าว เพื่อรักษาคุณภาพให้ยาวนานเพื่อรอการ จ�ำหน่ายต่อไป งานวิจยั ดังกล่าวได้รบั งบประมาณวิจยั อย่างต่อเนือ่ ง กว่า 3 ปี (2557-2559) จากหน่วยงานหลักของประเทศ คือ ส�ำนักงาน คณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ (วช.) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั แห่งชาติ (สกว.)

5


NEWS

Walailak University Newsletter

คณะกรรมการการอุดมศึกษาและส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประชุมเสวนาร่วมกับ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบนที่ ม.วลัยลักษณ์

www.wu.ac.th

คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่าย อุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน ซึง่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธาน เครือข่ายฯ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ณ อาคารปฏิบัติ การเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา และคณะ พร้อมด้วยสถาบันเครือข่าย อุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน จ�ำนวน 8 สถาบัน เข้าร่วม โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ได้กล่าวถึงนโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกีย่ วกับการ ยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทย ว่า ทาง กกอ. มีนโยบายที่ จะด�ำเนินการใน 8 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การลงทุนพัฒนา ประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษา โดยจัดท�ำโครงการพัฒนาศักยภาพ ของทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษาเพือ่ รองรับการเปลีย่ นแปลงของ บริบทโลก โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัย ระดับโลก แบะโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ให้ได้ มาตรฐานการอุดมศึกษาและการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน 2) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร โดยจัดท�ำเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 เกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และแนวทางการบริหาร เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 3) การ ประกันคุณภาพการศึกษาและการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาสู่ ความเป็นเลิศ 4) ร่าง พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.... 5) การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา 6) การส่งเสริม เครือข่ายมหาวิทยาลัย 7) การพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้า ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และ 8) การผลิตและพัฒนาครู

6

ด้าน นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้กล่าวถึงนโยบายการพัฒนาการอุดมศึกษา โดย เริ่มจากบริบทของการอุดมศึกษา ตามด้วยนโยบายรัฐบาลด้าน การอุดมศึกษา ซึ่งมี 2 ประเด็น คือ การจัดการศึกษาและเรียน รู้การท�ำนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการพัฒนาและส่งเสริม การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและ พัฒนา และนวัตกรรม โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้เน้น 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2) การผลิต และพัฒนาครู 3)การทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพ และการพัฒนามาตรฐานการศึกษา 4) ผลิต พัฒนาก�ำลังคนและ งานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ 5) ICT เพื่อการศึกษา และ 6) การบริหารจัดการ ทั้งนี้ มีโครงการ ส�ำคัญที่ก�ำลังด�ำเนินการอยู่ เช่น โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้อง ถิน่ การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา และ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาท้องถิ่น โดยมี สถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เป็นต้น จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษา การแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาค ใต้ตอนบน น�ำเสนอภารกิจของเครือข่าย ตามด้วยผูแ้ ทนเครือข่าย น�ำเสนอ Best Practices ด้านการเรียนการสอน การวิจยั และด้าน การบริการวิชาการ จ�ำนวน 10 เรื่อง โดยมีการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นและข้อเสนอแนะระหว่างคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผูบ้ ริหารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสมาชิกเครือ ข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน


Walailak University Newsletter

NEWS

H.E. Mr. Peter Prugel เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจ�ำประเทศไทย พร้อมคณะ เยือนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ระหว่างวันที่ 9-17 กันยายน 2559 พร้อมเสนอแนวทางในการสร้าง โอกาสให้นักศึกษาและคณาจารย์รู้จักสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มากขึ้น ในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ และให้ข้อมูลทางด้านทุน การศึกษา อย่างเช่น ทุน DAAD ซึ่งคนไทยได้รับทุนนี้เป็นจ�ำนวน มาก รวมทั้งแนะน�ำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ท�ำความร่วมมือกับ Cologne University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ มีชื่อเสียง และมี ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในส่วนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้น�ำเสนอความร่วม มือกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในด้านการวิจัย ที่ด�ำเนินการอยู่ แล้ว ในสองสาขาหลัก คือ 1) Wood Engineering กับ University of Hamburg และ Deutsch Biomasse Forsch Zentrum GmbH 2) Medical Technology กับ University of Heidelberg และ Fraunhofer Inst Biomed Engn IBMT ผลงานวิจัยที่ได้รับการเผย แพร่ มีดังนี้ Publications: Wood Engineering • BAMBOO - A FUNCTIONALLY GRADED COMPOSITE MATERIAL By: Chaowana, Pannipa; Barbu, Marius C.; Fruehwald, Arno FOREST PRODUCTS JOURNAL Volume: 65 Issue: 3-4 Pages: S48-S53 Published: 2015 • THE USE OF COCONUT HUSK IN HIGH PRESSURE LAMINATE PRODUCTION By: Glowacki, R.; Barbu, M. C.; van Wijck, J.; Chaowana, P. JOURNAL OF TROPICAL FOREST SCIENCE Volume: 24 Issue: 1 Pages: 27-36 Published: JAN 2012 • Physical and mechanical properties of oriented strand lumber made from an Asian bamboo (Dendrocalamus asper Backer) By: Malanit, Pannipa; Barbu, Marius C.; Fruehwald, Arno EUROPEAN JOURNAL OF WOOD AND WOOD PRODUCTS Volume: 69 Issue: 1 Pages: 27-36 Published: FEB 2011 Publications: Medical Technology • Two-dye based arrayed primer extension for simultaneous multigene detection in lipid metabolism By: Jeenduang, Nutjaree; Pomtadavity, Sureerut; von Nickisch-Rosenegk, Markus; et al. CLINICA CHIMICA ACTA Volume: 442 Pages: 36-43 Published: MAR 2015 • Study designs to investigate Nox1 acceleration of neoplastic progression in immortalized human epithelial cells by selection of differentiation resistant cells By: Sattayakhom, Apsorn; Chunglok, Warangkana; Ittarat, Wanida; et al. REDOX BIOLOGY Volume: 2 Pages: 140-147 Published: 2014

www.wu.ac.th

H.E. Mr. Peter Prugel (ฯพณฯ เพเทอร์ พรื อ เกล) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจ�ำประเทศไทย พร้อม คณะ ประกอบด้วย Dr. Christine Falken-Grosser (ดร. คริสทิเนอ ฟัลเคน-โกรสเซอร์) ทีป่ รึกษาทางด้านเศรษฐกิจและการค้า Mr. Roland Treitler ผูอ้ ำ� นวยการโครงการ GIZ-ECOSwat คุณภูมิ พิณเทพ ตัวแทน โครงการ GIZ-ECOSWat และ นางสาวณัฐพร อุดมรัตน์ ให้เกียรติมา เยือนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อพบปะกับผู้บริหาร โดยมี ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่าย วิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคณะ ให้การต้อนรับและรับรอง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ณ ห้องรับรองสภามหาวิทยาลัย อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โอกาสนี้ ฯพณฯ เพเทอร์ พรื อ เกล ได้ พู ด คุ ย ถึ ง การเดิ น ทางมาเยือนมหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์เกี่ยวกับความร่วมมือที่ ประเทศเยอรมนีดำ� เนินการร่วม กับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งโครงการที่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี หรือ GIZ (Deutsche Gesellschaft fur Internationale Zusammenarbeit) ร่วมกับกรมทรัพยากรน�ำ้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ด�ำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการน�้ำในภาวะวิกฤตโดยรักษาระบบ นิเวศในพืน้ ทีล่ มุ่ น�ำ ้ (Improved Management of Extreme Events through Ecosystm-based Adaptation in Watersheds: ECOSWat) ซึ่ง ฯพณฯ เพเทอร์ พรือเกล ได้แสดงความขอบคุณที่ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ได้สนับสนุนให้ อาจารย์ สุธีระ ทองขาว อาจารย์ประจ�ำ ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร เป็นหนึ่งในทีมงานที่ร่วม ด�ำเนินกิจกรรม โครงการส่งเสริมการจัดการน�้ำในภาวะวิกฤตโดยรักษา ระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน�้ำ (Improved Management of Extreme Events through Ecosystm-based Adaptation in Watersheds: ECOSWat) เป็นโครงการที่ด�ำเนินการร่วมกันตั้งแต่ปี 2556-2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหาร จัดการน�ำ้ ในการวางแผนและมาตรการการปรับตัวโดยการรักษาระบบ นิเวศในพืน้ ทีล่ มุ่ น�ำ้ เพือ่ ลดผลกระทบจากน�ำ้ ท่วมและภัยแล้ง ซึง่ มีพนื้ ที่ โครงการน�ำร่องในลุ่มน�้ำย่อยคลองท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะเดียวกัน ฯพณฯ เพเทอร์ พรือเกล ได้ให้ความสนใจ สอบถามถึง “งานวลัยลักษณ์เกษตรแฟร์ 2559” ที่ก�ำหนดจัดขึ้น

7


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

รางวัลแห่งคุณภาพนักศึกษาสหกิจศึกษา มวล.คว้ารางวัลระดับชาติ วันสหกิจศึกษาไทย ครัง้ ที่ 7 พ.ศ.2559

8

นางสาวกีรติพร แซ่ฮ�่ำ นักศึกษาหลักสูตรภาษา อังกฤษ ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานสหกิจ ศึกษาดีเด่นระดับชาติ ประเภท โครงงานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการจัดการ นายอภิสทิ ธิ์ ทองนอก นักศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมวัสดุ ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และ ทรัพยากร ได้รบั รางวัลรองดีเด่นระดับชาติ ประเภท โครงงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ารับมอบรางวัลจาก พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ 7 วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัด นครปฐม

โอกาสนี้ ศู น ย์ ส หกิ จ ศึ ก ษาและพั ฒ นาอาชี พ ขอแสดงความยินดีและขอขอบคุณภาคีทุกภาคส่วนที่มีส่วน ช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาให้ได้มีโอกาส พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาอย่างเต็มที่และ เต็มศักยภาพของนักศึกษา จากการพัฒนางานด้านสหกิจ ศึ ก ษาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งท� ำ ให้ ส หกิ จ ศึ ก ษาของมหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ แ ละให้ ก ารยอมรั บ ในความ สามารถของนักศึกษาอย่างกว้างขวางทัง้ ในเวทีระดับภูมภิ าค และระดับชาติ


Walailak University Newsletter

สีสัน แห่ง ภาษา

NEWS

เททะเล เททะเลเทไม่ละจนขละเขลอะ ชายทะเลหมดเวลาอันน่ารัก ตมด�ำแตกดาวกลิ่นคาวเด่น อายน�้ำเค็มเต็มปะแล่มเสียดแซมลม คนเข่นฆ่าทะเลทุกเวลา ทุกท่อทิ้งเทถ่ายหลายทอดทอ รอรองรับซับซากสิ่งสกปรก ของบางสิ่งคลื่นซัดไม่ดูดซับ มือมนุษย์สุดประเสริฐเลิศทุกสิ่ง ทะเลใช่ของราษฎร์ใช่ของรัฐ ทะเลรับเททิ้งทุกทางท่อ ปรากฏการณ์ปฏิกูลตกตะกอน มือลึกลับไม่เลิกไม่ลดละ ชายทะเลตรงปลายท่อที่รอรับ

ทะเลเลอะเปรอะเปื้อนจนเป็นปลัก เพราะขยะขยักคละคลักตม ตมเหม็นตอกหมุดการหมักหมม ยามอยู่ใกล้ได้สูดดมขมขื่นคอ สารพัดสาระพาลงหาท่อ ดั่งทะเลเป็นบ่อคอยรอรับ กอดก่ายกกปกปิดดังติดกับ แต่ทะเลไม่เคยหลับการซับซัด เรื่องแอบเทแอบทิ้งยิ่งถนัด ฝากทะเลให้บ�ำบัดลัดขั้นตอน จึงปลักตมถมก่อปลายท่อล่อน จึงสะท้อนก้อนส�ำนึกมือลึกลับ ทั้งน�้ำเน่าทั้งขยะเร่งขยับ เพราะสับปลับจึงสกปรกตกแก่ทะเล สมใจ สมคิด วันฉัตรมงคล 2559

Useful English Expressions#3

สวั ส ดี ค ่ ะ วั น นี้ จ ะพาคุ ณ ผู ้ อ ่ า นไป ทบทวนประโยคภาษาอังกฤษที่พบบ่อยๆ ใน ประโยคสนทนากันค่ะมาตรวจสอบกันนะคะว่า เราคุน้ เคยกับประโยคเหล่านีแ้ ค่ไหนค่ะ

(1) Ok, here’s the thing. หากคุณผูอ้ า่ นได้ยนิ ประโยคนีก้ อ่ นการเริม่ สนทนา หมายความว่า ผูพ้ ดู ก�ำลังบอกให้เราตัง้ ใจฟังเขาค่ะ เขาก�ำลังจะพูดเข้าประเด็น ส�ำหรับเรือ่ งทีเ่ ขาจะพูดถึงค่ะ

(2) Long time no see!

ดร. พัชรี อิม่ ศรี

(4) Do you mind me asking? หากคุณผูอ้ า่ นต้องการถามค�ำถามทีถ่ ามเรือ่ งส่วนตัวหรือไม่แน่ใจ ว่าจะท�ำให้ผตู้ อบรูส้ กึ อึดอัดทีจ่ ะตอบหรือไม่กอ่ นถามก็อาจเริม่ ด้วยค�ำถามนีก้ อ่ นค่ะ

(5) It’s good to have you here.

ประโยคนีจ้ ะใช้ในสถานการณ์ทที่ ำ� ให้ผฟู้ งั รูส้ กึ ว่าได้รบั การต้อนรับ ค่ะเช่นถ้าเราจัดงานเลีย้ งเราอาจพูดประโยคนีก้ บั แขกทีม่ าจะท�ำให้ เขารูส้ กึ ว่าเป็นส่วนหนึง่ ของงานและได้รบั การต้อนรับ

(6) I’ve heard so much about you.

‘catch’ในทีน่ จี้ ะหมายถึงเข้าใจ (understand) เราจะพูดประโยค นีใ้ นกรณีทจี่ ะบอกผูพ้ ดู ว่าเราไม่เข้าใจสิง่ ทีเ่ ขาพูด ซึง่ เขาอาจ อธิบายหรือพูดซ�ำ้ ค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะ คุณผูอ้ า่ นคุน้ เคยหรือเคยใช้ประโยค ต่างๆทีย่ กมาวันนีม้ ยั๊ คะ ถ้ายังลองน�ำไปใช้เวลาพูดภาษาอังกฤษ ในบทสนทนาดูนะคะ

(3) Sorry, I didn’t catch that.

www.wu.ac.th

ประโยคทักทายส�ำหรับเพือ่ นหรือคนรูจ้ กั ทีไ่ ม่ได้เจอกันมา พักหนึง่ ค่ะ

ประโยคนีค้ ณ ุ ผูอ้ า่ นสามารถน�ำไปใช้ในการคุยกับคนทีเ่ ราอาจเพิง่ เคยพบแต่เคยได้ยนิ เกีย่ วกับเขามาก่อนเป็นประโยคเริม่ บทสนทนา ทีด่ ที จ่ี ะสร้างบรรยากาศทีค่ นุ้ เคยระหว่างผูพ้ ดู กับผูฟ้ งั ค่ะ

9


NEWS

Walailak University Newsletter

www.wu.ac.th

ม.วลัยลักษณ์จัดพิธีมอบหมวก-เข็มสถาบัน แก่ว่าที่บัณฑิตพยาบาล รุ่น 15

10

ส�ำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีมอบหมวกพร้อมขีดและเข็มสถาบัน ให้แก่นักศึกษาว่าที่ บัณฑิตของส�ำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 15 ซึ่งก�ำลังจะส�ำเร็จ การศึกษาในปีการศึกษา 2558 จ�ำนวน 66 คน และมอบหมวก พยาบาลให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ก�ำลังก้าวไปสู่การฝึกปฏิบัติ จ�ำนวน 83 คน โดยได้รบั เกียรติจากผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวรรณ ชะอุม่ เพ็ญสุขสันต์ คณบดีสำ� นักวิชาพยาบาลศาสตร์ เป็นประธาน ในพิธี มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่าส�ำนัก วิชาพยาบาลศาสตร์ ตลอดจนผู้ปกครองของว่าที่บัณฑิต กว่า 1,200 คน เข้าร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี โอกาสนีค้ ณบดีสำ� นักวิชาพยาบาลศาสตร์ ได้กล่าวแสดง ความยินดีกบั ว่าทีบ่ ณ ั ฑิตพยาบาลทีส่ ำ� เร็จการศึกษาตามหลักสูตร และก�ำลังจะก้าวเข้าสูก่ ารเป็นพยาบาลวิชาชีพทุกคน ออกไปปฏิบตั ิ หน้าที่เพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ ทั้งนี้ขอให้ทุกคน ได้ตระหนักว่าจะต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพการพยาบาล ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นโดยยึดจรรยาบรรณวิชาชีพ ความมีคณ ุ ธรรมจริยธรรม ใช้ความรูแ้ ละหลักวิชาทีถ่ กู ต้องและทัน สมัย ด้วยความเอื้ออาทร และจะต้องเป็นพยาบาลที่ดีตามความ คาดหวังของสังคม อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ขอให้วา่ ทีบ่ ณ ั ฑิต หมัน่ ศึกษาหาความรูเ้ พิม่ เติมอย่างต่อเนือ่ ง ขณะ เดียวกัน การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภาษากลาง ที่ถูกน�ำมาใช้คือภาษาอังกฤษ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษจึง มีความส�ำคัญเพิ่มมากขึ้น ทักษะด้านภาษาจึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน อยู่เสมอ และขอย�้ำให้ว่าที่บัณฑิตทุกคนยึดมั่นในคุณธรรมและ จริยธรรม รักและเคารพเกียรติของวิชาชีพ เกียรติของมหาวิทยาลัย และเกียรติแห่งตน เพื่อด�ำรงตนให้เหมาะสมกับผู้เป็น “คนดีและ คนเก่ง” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นอกจากพิธีมอบหมวกและเข็มสถาบันแล้ว ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ยังมีการจัดสัมมนาเพือ่ เตรียมความพร้อมส�ำหรับ การเรียนและการท�ำงานของนักศึกษาพยาบาล โดยมีการปาฐกถา พิเศษหัวข้อ “พลังขับเคลื่อนจากนักศึกษาพยาบาล สู่เส้นทาง วิชาชีพอย่างมีคณ ุ ภาพ” โดยคุณวาสนา สวัสดีนฤนาท รองผูอ้ ำ� นวย การฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช การ ให้ความรู้เรื่อง การวางแผนการเงินและการออม การแลกเปลี่ยน “ทางเลือกสู่ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ” จากศิษย์เก่าพยาบาลซึ่ง ประสบความส�ำเร็จในการท�ำงาน และการแลกเปลี่ยนบทบาท พยาบาลและความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวม ทั้งการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาล วลัยลักษณ์อีกด้วย


Walailak University Newsletter

NEWS

มวล.จัดเวทีประชุมด้านการจัดการระดับชาติ ครั้งที่ 5 นักศึกษา นักวิชาการกว่า 24 สถาบัน ทั่วประเทศร่วมน�ำเสนอบทความวิจัย

เปลีย่ นเรียนรู้ เพือ่ ให้เกิดการต่อยอดองค์ความรูใ้ หม่ในด้านการจัดการ ทีม่ คี วามรับผิดชอบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม การจัดการประชุมวิชาการด้านการจัดการระดับชาติในครัง้ นี้ ได้รบั การตอบรับทีด่ จี ากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจยั และนักศึกษา จากทัว่ ประเทศ โดยมีบทความวิจยั จ�ำนวน 87 บทความ จากกว่า 24 สถาบันทัว่ ประเทศ เข้าร่วมน�ำเสนอผลงานทางวิชาการ โดยมีผลงาน ทีน่ ำ� เสนอแบบบรรยายจ�ำนวน 61 บทความและผลงานแบบโปสเตอร์ จ�ำนวน 16 บทความ โดยบทความวิจัยที่น�ำเสนอครอบคลุมสาขา วิชาด้านการจัดการทีห่ ลากหลาย ประกอบด้วย สาขาวิชาการจัดการ การท่องเทีย่ วและบริการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนา องค์การ การจัดการโลจิสติกส์และการด�ำเนินงาน การเงิน การตลาด การบัญชี เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ และด้านอืน่ ๆทีเ่ กีย่ วข้อง โดยเน้น แนวคิดเกีย่ วกับ “Innovative Strategies & Social Engagement” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมและรับฟังการน�ำเสนอผลงานวิชาการกว่า 500 คน หลังจากเสร็จสิน้ การน�ำเสนอบทความวิจยั กลุม่ ย่อยได้มพี ธิ ี มอบรางวัล “Best Paper Awards” ในแต่ละสาขาวิชา โดยในปีนี้ มี ส าขาที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล ประกอบด้ ว ย สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิ ท ยาลั ย บู ร พา สาขาการเงิ น และบั ญ ชี จากจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาโลจิสติกส์และการ ด�ำเนินงาน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี และสาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยบูรพา โดย ได้รบั เกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. สมนึก เอือ้ จิระพงษ์พนั ธ์ คณบดี ส�ำนักวิชาการจัดการและรักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ม.วลัยลักษณ์ เป็นผูม้ อบเกียรติบตั ร ทัง้ นี้ การจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ วลัยลักษณ์วจิ ยั ทางการจัดการครัง้ นี้ ได้รบั การสนับสนุนอย่างเป็นทางการจาก บริษทั ผลิตไฟฟ้าขนอม จ�ำกัด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท หลักทรัพย์การจัดการกองทุนกสิกรไทย จ�ำกัด ธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) โรงแรมทวิ น โลตั ส นครศรี ธ รรมราชและคุ ณ สมชาย พิสทุ ธิโกศล ต�ำแหน่ง วิทยากร ระดับ 9 กองเดินเครือ่ งเขือ่ นรัชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกจากนีย้ งั ได้รบั การสนับสนุน จากองค์กรและหน่วยงานอืน่ ๆ อีกจ�ำนวนมาก รวมทัง้ ได้รบั ความ ร่วมมืออย่างดียงิ่ ทัง้ จากคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของส�ำนัก วิชาการจัดการ ตลอดจนบุคลากรจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์อกี ด้วย

www.wu.ac.th

ส�ำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุม วิชาการด้านการจัดการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัยทางการจัดการ ครัง้ ที่ 5” (WMS Management Research National Conference #5) ภายใต้แนวคิด “การบริหารจัดการบนพืน้ ฐานนวัตกรรมทางสังคมเพือ่ ส่งผลต่อการพัฒนาและการเปลีย่ นแปลง (Innovative Strategies & Social Engagement)” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรม ทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช โดยในพิธีเปิดการประชุม ได้รับ เกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ คณบดี ส�ำนักวิชาการจัดการและรักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ม.วลัยลักษณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมพร้อมมอบโล่ เกียรติคุณแก่ผู้สนับสนุนการจัดประชุมในครั้งนี้ และ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี รองคณบดีสำ� นักวิชาการจัดการ กล่าวรายงาน รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีปณิธานในการบุกเบิก แสวงหา บ�ำรุงรักษา และถ่ายทอดความรู้ เพือ่ สร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าและความ เป็นเลิศทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาบุคคลให้เป็น ผูเ้ รืองปัญญาและคุณธรรม เป็นก�ำลังส�ำคัญทีจ่ ะช่วยขับเคลือ่ นประเทศ ให้กา้ วหน้า โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และส�ำนักวิชาการจัดการมี ความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคมในการพัฒนาประเทศ ให้เกิความยัง่ ยืนต่อไป การประชุมวิชาการด้านการจัดการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ทางการจัดการ ครัง้ ที่ 5” (WMS Management Research National Conference # 5) ภายใต้แนวคิด “Innovative Strategies & Social Engagement” โดยน�ำเสนอการวิจยั ทีม่ งุ่ เน้น นวัตกรรมและให้ความส�ำคัญกับพันธกิจต่อสังคม เพือ่ ให้การจัดการ ธุรกิจน�ำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งจัดการ บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การคิดแบบนอกกรอบเพือ่ การพัฒนาสังคม และปฏิรปู การศึกษาไทย” โดย คุณมีชยั วีระไวทยะ นายกสมาคม สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน อดีตรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายก รัฐมนตรี ผูซ้ งึ่ ได้รบั รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2537 และรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2552 ดร.รุง่ รวี จิตภักดี กล่าวว่า ส�ำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ มีภารกิจในการผลิตบัณฑิต วิจยั และบริการวิชาการใน ศาสตร์ดา้ นการจัดการ โดยมีเป้าหมายของการเป็นสถาบันการศึกษา ทางการจัดการเชิงนวัตกรรมทีด่ ที สี่ ดุ ในภาคใต้ บนพืน้ ฐานแนวคิดของ การมุง่ เน้นพัฒนานวัตกรรมในการจัดการศึกษา และสร้างสรรค์งาน วิจยั เพือ่ พัฒนาคุณภาพบัณฑิต รวมทัง้ เป็นสือ่ กลางในการจัดเวทีแลก

11


รับฟังรายการ “นานาสาระ” ทางสถานี

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี FM 88.75 MHz. AM. 1242 MHz. ทุกวันศุกร์ เวลา 17.30 - 18.00 น. สวท.ระนอง FM107.25 MHz ทุกวันเสาร์ เวลา 15.05 - 15.35 น. สวท.ตะกั่วป่า จ.พังงา FM 90.25 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 11.05 - 11.35 น. สถานีวทิ ยุเทศบาลนครศรีธรรมราช FM 88.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00 - 10.30 น. สถานีวทิ ยุทา่ ม้าซิตเ้ี รดิโอ FM 88.00 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. สวท.นครศรีฯ FM 93.50 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.05 - 17.35 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.สงขลา AM 558 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 19.30 - 20.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ AM 963 KHz. ทุกวันจันทร์ เวลา 06.30 - 07.00 น. สถานีวิทยุกองทัพภาคที่ 4 AM 1044/684 KHz. ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 21.10 - 21.35 น. สวท.ภูเก็ต FM 96.75 MHz. ทุกวันอังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. สถานีวทิ ยุเพื่อการศึกษา กรุงเทพมหานครและเครือข่ายทัว่ ประเทศ FM 92 MHz. AM 1161 KHz. ทุกวันพุธ เวลา 18.30 - 19.00 น.

เชิญชมรายการ

“วลัยลักษณ์สู่สังคม”

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทุกวันอังคาร เวลา 16.30 - 17.00 น.

และรับชมย้อนหลังได้ที่ http://dpr.wu.ac.th

ฟังรายการวิทยุ

ปริทัศน์วัฒนธรรม

สวท.ทุ่งสง FM 97 MHz. ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สวท.สตูล FM 95.5 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 - 17.00 น. สวท.ทุ่งสง AM 963 MHz. ทุกวันเสาร์ เวลา 08.30 - 09.00 น. สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา จ.กระบี่ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 08.30 น.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.