การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่มที่ 6

Page 1


ย้อความสำเร็ นรอย จ การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง

า าชท ฟนั เทียมพระร งปากผู้

ายุ

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

6

สงู อ

การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่มที่

่อ และการส่งเสริมสุขภาพช


การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เล่มที่ 6

ย้อนรอยความสำเร็จ

การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง ที่ปรึกษา

นายแพทย์เจษฎา นายแพทย์ธีรพล นายแพทย์ศิริชัย ทันตแพทย์สุธา

โชคดำรงสุข โตพันธานนท์ ภัทรานุธาพร เจียรมณีโชติชัย

อธิบดีกรมอนามัย รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข

จัดทำโดย

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

กองบรรณาธิการ

ทันตแพทย์หญิงนนทลี ทันตแพทย์หญิงสุปราณี ทันตแพทย์หญิงวรางคนา ทันตแพทย์หญิงนพวรรณ นายเสน่ห์

ISBN พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวนพิมพ์ พิมพ์ที่

วีรชัย ดาโลดม เวชวิธี โพชนุกูล ครุฑษา

978-616-11-1738-2 พฤษภาคม 2556 20,000 เล่ม สำนักกิจการ โรงพิมพ์องค์​การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

http://dental.anamai.moph.go.th/oralhealth/elderly/lampangmodel.pdf


คำนำ ประเทศไทยได้ ก้ า วเข้ า สู่ สั ง คมผู้ สู ง อายุ คื อ

มีผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากร ทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2548 และคาดว่าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์ ในปี 2569 คือ มีผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 4 คน ด้วยเหตุที่สุขภาพ ช่องปากส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ประกอบกับปัญหาสุขภาพ ช่ อ งปากที่ พ บ การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก ทั้ ง การ

ส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น รั ก ษา ฟื้ น ฟู ส ภาพ ภายใต้ โ ครงการ

ฟั น เที ย มพระราชทานและการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก

ผู้สูงอายุ ที่กรมอนามัยได้พัฒนาแผนงาน / โครงการอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง มาตั้ ง แต่ ปี 2548 จึ ง มี ค วามจำเป็ น สำหรั บ

การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุไทย จั ง หวั ด ลำปางเป็ น หนึ่ ง ในจั ง หวั ด นำร่ อ ง ที่ ร่ ว ม ดำเนิ น งานตามโครงการฟั น เที ย มพระราชทานและ

การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ จากแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม ที่กรมอนามัยได้พัฒนาเป็นลำดับ

นับตั้งแต่ ฟันเทียมพระราชทาน ชมรมผู้สูงอายุด้านการ

ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และการจัดบริการส่งเสริมป้องกัน โรคในกลุ่ ม เสี่ ย ง ได้ น ำไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ พั ฒ นารู ป แบบ

เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ อย่างครบวงจร และขยายเครือข่าย ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชมรมผู้สูงอายุด้านการ

ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก กรมอนามัยจึงได้ถอดบทเรียน และ เผยแพร่ใน หนังสือ การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เล่ม 6 “ย้อนรอยความสำเร็จ การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง” สำหรับนักวิชาการ และ

ผู้ปฏิบัติงาน ได้นำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุที่ครบถ้วน ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเหมาะสมต่อไป

(นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข) อธิบดีกรมอนามัย



สารบัญ ฅนต้นเรื่อง

• ตามรอย เส้นทาง ...

3

• ต่อยอด เชื่อมโยงเครือข่าย

9

การขับเคลื่อนงานส่งเสริม สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

จากนโยบายสู่การปฏิบัติ

• ก้าวย่าง อย่างลำปาง

กับงานสร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุเชิงรุก

14


สารบัญ ย้อนรอยความสำเร็จ

ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กับประเด็นงานส่งเสริมสุขภาพ ช่องปาก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

21

30 แรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพ

• คนต้นแบบ ...

บทเรียนการขับเคลื่อนงานส่งเสริม สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ตำบลบ้านศิลา


สารบัญ

• ถอดรหัสความสำเร็จที่แจ้ห่ม

41

• ความเข้มแข็งผ่านต้นทุนเดิม

54

นำทีมโดย พยาบาลวิชาชีพ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ที่ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง


สารบัญ

ปั จ จั ย แ ห่ ง ค ว า ม ส ำ เ ร็ จ จังหวัดลำปาง

ท้ายเล่ม

61


1


2


ตามรอย เส้นทาง ... การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ทพญ.สุปราณี ดาโลดม สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

สุ ข ภาพช่ อ งปากเป็ น เสมื อ นประตู สู่ สุ ข ภาพของบุ ค คล และเป็ น ประเด็ น สำคั ญ โดยเฉพาะใน

กลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ เพราะเกี่ ย วข้ อ งกั บ การเคี้ ย ว การกั ด การกลื น อาหาร ผู้ สู ง อายุ ที่ สุ ข ภาพช่ อ งปาก

มี ปั ญ หา จึ ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพโดยรวม ดั ง นั้ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากจึ ง เป็ น

เงื่ อ นไขที่ ส ำคั ญ ต่ อ สุ ข ภาพของผู้ สู ง อายุ เพื่ อ คงสภาพในช่ อ งปากที่ ดี ด้ ว ยตั ว เองไว้ ใ ห้ น านที่ สุ ด และ

รับบริการดูแลจากภาครัฐตามความจำเป็น

เริ่มต้นด้วยการรณรงค์ ใส่ฟันเทียม ในปี 2548 สำหรับผู้สูงอายุที่สูญเสียฟัน จากการสำรวจสภาวะทั น ตสุ ข ภาพ

แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ.2543-2544 พบว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากที่เป็นปัญหาหลักในกลุ่ม

ผู้สูงอายุทั้งประเทศ ได้แก่ การสูญเสียฟันจนไม่ สามารถเคี้ยวอาหารได้ โดยผู้สูงอายุเกือบทุกคน

มี ก ารสู ญ เสี ย ฟั น อย่ า งน้ อ ย 1 ซี่ สู ญ เสี ย ฟั น

ทั้งปากร้อยละ 5 หรือประมาณ 300,000 คน ส่วนผู้ที่มีฟันเหลืออยู่ เกือบทุกคนพบโรคฟันผุ รากฟันผุ และโรคปริทันต์ ที่ทำให้มี โอกาสสูญ เสียฟันเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลา ประกอบกับกระแส

● ● ●

กระแสพระราชดำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใย ราษฎรที่ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ความว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” การรณรงค์ ใส่ฟันเทียมในโครงการฟันเทียมพระราชทาน เพื่อการรณรงค์ส่งเสริมและ ฟื้นฟูสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่เกิดขึ้น ● ● ●

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่ ท รงห่ ว งใยราษฎรที่ ไม่ มี ฟั น เคี้ ย วอาหาร

ความว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ ไม่ มี ค วามสุ ข จิ ต ใจก็ ไ ม่ ส บาย ร่ า งกายก็

ไม่แข็งแรง” การรณรงค์ ใส่ฟันเทียมในโครงการ

ฟั น เ ที ย ม พ ร ะ ร า ช ท า น เ พื่ อ ก า ร ร ณ ร ง ค์

ส่ ง เสริ ม และฟื้ น ฟู สุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึ ง เป็ น ภารกิ จ เร่ ง ด่ ว นที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยกระทรวง สาธารณสุ ข ให้ ค วามสำคัญ กั บ การใส่ ฟั น เทีย มให้

ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันมากกว่า 16 ซี่ จนถึงสูญเสีย ฟันทั้งปาก และมอบหมายให้สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ประสานการดำเนินงานทั่วประเทศ ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทันตบุคลากรและ บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ ในการให้บริการ

ที่ ส ถานบริ ก ารสาธารณสุ ข ของรั ฐ ทุ ก จั ง หวั ด

รวมทั้ ง กรุ ง เทพมหานคร และคลิ นิ ก เอกชน

มี เ ป้ า หมาย 80,000 ราย ในเวลา 3 ปี (พ.ศ.2548–2550) พร้อมไปกับการอบรมพัฒนา ศั ก ยภาพทั น ตแพทย์ ทั่ ว ประเทศ ร่ ว มกั บ คณะ

ทันตแพทยศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย ให้สามารถจัด บริการได้อย่างมีคุณภาพ

3


ผลของกิ จ กรรมรณรงค์ ใส่ ฟั น เที ย ม เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว

ดังกล่าว ทำให้มีการจัดบริการใส่ฟันทั้งปากอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผู้สูงอายุได้รับบริการสูงถึง 35,000 รายต่ อ ปี ที่ ส ำคั ญ ยิ่ ง กว่ า คื อ เกิ ด ระบบบริ ก ารใส่ ฟั น ทั้ ง ปากซึ่ ง เป็ น บริ ก ารเฉพาะทาง ระบบ

การประสานงาน ระบบการรายงาน และระบบสนั บ สนุ น ซึ่ ง กั น และกั น ระหว่ า งส่ ว นกลางกั บ จั ง หวั ด

รวมทั้งการประสานงานภายในจังหวัด

ทพ.สุ ธ า เจี ย รมณี โ ชติ ชั ย ผู้ อ ำนวยการ สำนักทันตสาธารณสุข กล่าวไว้ว่า “จากพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระองค์ ท่ า นให้

ความสำคั ญ ในเรื่ อ งของการมี ฟั น เชื่ อ มโยงไปที่ ความสุ ข กระทบไปที่ จิ ต ใจ กระทบไปที่ ร่ า งกาย และสุ ด ท้ า ยนำไปสู่ เ รื่ อ งของคุ ณ ภาพชี วิ ต ดั ง นั้ น

การใส่ ฟั น เที ย มถ้ า มองแบบวิ ช าชี พ ทั น ตกรรมเป็ น

การรักษาฟื้นฟูสภาพช่องปาก แต่ถ้ามองเป็นองค์รวม จะนั บ เป็ น การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพและคุ ณ ภาพชี วิ ต สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะเริ่มต้นที่การรักษาฟื้นฟู สภาพช่ อ งปากในกลุ่ ม ที่ มี โ รคหรื อ สู ญ เสี ย ฟั น แล้ ว

ก็ต้องมีเรื่องการป้องกันในกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยงแต่ยัง

4

ไม่ เ ป็ น โรค ในกลุ่ ม ที่ เ ป็ น ปกติ ก็ ต้ อ งส่ ง เสริ ม

สุ ข ภาพช่ อ งปาก เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ สู ง อายุ

คงสภาพช่ อ งปากที่ ดี ไว้ เ พื่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต ”

การใส่ฟันเทียม จึงตอบโจทย์การฟื้นฟูสภาพ

ช่องปากและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ ไม่มีฟัน ได้ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น แต่ ก ารส่ ง เสริ ม ให้ มี สุขภาพช่องปากที่ดี ในระยะยาว เป็นสิ่งที่ต้องให้

ความสำคั ญ มากกว่ า จึ ง มี ข้ อ คิ ด เพิ่ ม เติ ม ว่ า


การที่ ผู้ สู ง อายุ จ ะคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ได้ นั้ น

ไม่เฉพาะได้รับการใส่ฟันเทียมเท่านั้น แต่รวม ถึงสุขภาพช่องปากที่ดีด้วย จึงมีการดำเนิน การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุต่อยอด ด้ ว ยการหารู ป แบบการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องปากในผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมลำดับต่อมา ดังนั้น สำนักทันตสาธารณสุข โดย กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมวัยทำงานและ สู ง อายุ จึ ง ได้ ริ เ ริ่ ม การทำกิ จ กรรมเชิ ง รุ ก เข้าหากลุ่มผู้สูงอายุ เงื่อนไขหนึ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ สู ง อายุ จ ะมี ก ารรวมกลุ่ ม กั น เป็ น ชมรม

ผู้ สู ง อายุ ท ำกิ จ กรรมต่ า งๆ ร่ ว มกั น อย่ า ง สม่ ำ เสมอ เช่ น การออกกำลั ง กาย และ

แกนนำผู้สูงอายุในชมรมล้วนแต่เป็นทรัพยากร บุคคลที่มีคุณค่า มีความรู้และประสบการณ์

ที่ ส ะสมจากการทำงานมาเป็ น ระยะเวลา ยาวนาน มี เ วลาและความพร้ อ มที่ จ ะทำ กิจกรรมเพื่อสังคมส่วนรวม ชมรมผู้สูงอายุจึง เป็นเป้าหมายเริ่มต้นที่มีความเป็นไปได้รับการ ดำเนิ น งานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ชมรม

ผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จึ ง เป็ น กิ จกรรมที่เริ่มดำเนินการในปี 2549 ต่อยอดกับกิจกรรมการรณรงค์ ใส่ฟันเทียมให้

ผู้สูงอายุที่ดำเนินการก่อนหน้านั้น ให้กลุ่มแกน นำชมรมได้ คิ ด และจั ด กิ จ กรรมที่ เ หมาะสม สำหรั บ การกระตุ้ น ให้ ส มาชิ ก ผู้ สู ง วั ย เห็ น ความสำคั ญ ของการมี สุ ข ภาพช่ อ งปากที่ ดี และหันกลับมาดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเอง

● ● ●

เงื่อนไขหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ผู้สูงอายุจะมี การรวมกลุ่มกันเป็นชมรมผู้สูงอายุทำ กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายและแกนนำผู้สูงอายุ ในชมรมล้วนแต่เป็นทรัพยากรบุคคลที่มี คุณค่า มีความรู้และประสบการณ์ที่สะสม จากการทำงานมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีเวลาและความพร้อมที่จะทำกิจกรรม เพื่อสังคมส่วนรวม ● ● ●

ทพญ.สุ ป ราณี ดาโลดม กล่ า วว่ า

“การทำงานชมรมผู้ สู ง อายุ ด้ า นการส่ ง เสริ ม

สุ ข ภาพช่ อ งปาก เริ่ ม ต้ น จากการรั บ สมั ค ร

ศู น ย์ อ นามั ย เขตที่ ส นใจก่ อ น โดยศู น ย์ อ นามั ย

จะประชาสัมพันธ์และเชิญชวนจังหวัดในพื้นที่ ให้ สมัครเข้าร่วมโครงการ เพื่อร่วมกันพัฒนา Model งานส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากในชมรมผู้ สู ง อายุ

ในปี 2549 มีศูนย์อนามัยและจังหวัด ที่อาสาสมัคร เข้าร่วมโครงการ 3 ศูนย์อนามัย 7 จังหวัด ได้แก่ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี พื้นที่ จังหวัดราชบุรี เพชรบุ รี และสุ พ รรณบุ รี ศู น ย์ อ นามั ย ที่ 5 นครราชสีมา พื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ และ บุรีรัมย์ และศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง” กิ จ กรรมสร้ า งเสริ ม ช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ

จึ ง เริ่ ม ขึ้ น ในปี นี้ โดยมี ก รอบแนวคิ ด ดั ง นี้ (1) กิจกรรมที่จะดำเนินการต้องสอดคล้องกับนโยบาย และประเด็นยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย ... ซึ่งมี ประเด็ น ยุ ท ธศาสตร์ “การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ผู้สูงอายุ” เป็นหนึ่งในนั้น (2) ควรเชื่อมโยงและ บู ร ณาการกั บ Setting หรื อ กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม

สุ ข ภาพผู้ สู ง อายุ ที่ มี อ ยู่ เช่ น ชมรมผู้ สู ง อายุ คุ ณ ภาพ การเยี่ ย มบ้ า น การดู แ ลผู้ สู ง อายุ

ระยะยาว วัดส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น (3) ปัญหา สุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ ที่ จ ะต้ อ งแก้ ไขเร่ ง ด่ ว น

5


ได้ แ ก่ เรื่ อ งการสู ญ เสี ย ฟั น จากพฤติ ก รรม การกินอาหาร จากโรคในช่องปากที่พบในผู้สูงอายุ ซึ่ ง เป็ น ระยะที่ รุ น แรงแต่ ไม่ ได้ รั บ การรั ก ษา จากสภาพในช่องปากที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ฯลฯ โดยคำนึงถึงความสามารถในการดูแลช่วยเหลือ ตนเองหรือโดยผู้ดูแล ของกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน

ติดเตียง (4) พัฒนาระบบบริการ ขณะนี้บริการที่ ชัดเจนคือการใส่ฟันเทียมพระราชทาน เพื่อให้ผู้ที่ ไม่ มี ฟั น เคี้ ย วอาหารได้ แต่ ยั ง ไม่ ใช่ บ ริ ก าร

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก หรื อ ป้ อ งกั น โรคให้

ผู้สูงอายุที่แท้จริง ต้องพัฒนารูปแบบให้เหมาะสม กับแต่ละพื้นที่

ชุ ม ชนมี ส่ ว นร่ ว มดำเนิ น การ ตั้ ง แต่

ผู้ สู ง อายุ วั ด องค์ ก ารบริ ห าร

ส่ ว นตำบล สถานี อ นามั ย และ

โรงพยาบาลชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชนมีส่วนทำให้ การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ตั้ ง แต่ ชมรมผู้ สู ง อายุ องค์ ก าร บริ ห ารส่ ว นตำบล (อบต.) และ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำมีวิสัยทัศน์ อาทิเช่น ทันตแพทย์ อบต. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สิ่งสนับสนุน แปรงสีฟันและยาสีฟัน ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจ ช่วยให้เกิดการ ทำกิจกรรมต่อเนื่อง งบประมาณสนั บ สนุ น ช่ ว ยส่ ง เสริ ม

ให้เกิดการดำเนินงานเริ่มต้น ในเรื่อง ของการอบรม/ประชุม การดำเนิ น งานชมรมผู้ สู ง อายุ ด้ า นการ

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก จึ ง ได้ เ ริ่ ม ขยายการ ดำเนินงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในศูนย์อนามัยเขต ●

● ● ●

ในครั้ ง แรกของการดำเนิ น งานชมรม

ผู้ สู ง อายุ ด้ า นการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก เป็ น การระดมประสบการณ์ แนวคิ ด และ

ช่องทางการทำงานของภาคีเครือข่ายกรมอนามัย เพื่อพัฒนารูปแบบและนำร่องกิจกรรมการส่งเสริม

สุขภาพช่องปากให้กับผู้สูงอายุ ปลายปีแรกของ การดำเนินงาน (2549) พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิด กิจกรรมต่างๆ นั้น ได้แก่

6

จัดบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก ในผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทาง ทันตกรรมป้องกัน ด้วยการตรวจคัดกรอง ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ในช่องปาก การให้ความรู้เรื่องการดูแล สุขภาพช่องปาก การใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช แก่ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อรากฟันผุ และการขูดทำความสะอาดฟันสำหรับ ผู้ที่เคยได้รับการรักษาโรคปริทันต์ ชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมป้องกัน ของผู้สูงอายุจึงเป็นกิจกรรม ที่เชื่อมโยง การดูแลตนเอง การรับบริการ และการรักษาฟื้นฟูเข้าด้วยกัน ● ● ●


และจังหวัดอื่นๆ ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งใน ระดับประเทศ โดย สำนักทันตสาธารณสุข ระดับ เขตโดยศู น ย์ อ นามั ย เขต และระดั บ จั ง หวั ด โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จนถึงปี 2554 จึงมี ครบทุกจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 ชมรม กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ มีทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาโรค

ในช่องปาก และฟื้นฟูสภาพช่องปาก เมื่อรณรงค์ ใส่ฟันเทียม และดูแลอนามัยช่องปากตัวเองได้แล้ว ผู้ สู ง อายุ เ ริ่ ม ให้ ค วามสำคั ญ กั บ สุ ข ภาพช่ อ งปาก ต้ อ งการบริ ก ารดู แ ลจากภาครั ฐ เพื่ อ ลดการ

สูญเสียฟัน ในปี 2551 กรมอนามัยเริ่มพัฒนา

รู ป แบบให้ ส ถานบริ ก ารใกล้ บ้ า น จั ด บริ ก าร

ส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น โรคในช่ อ งปากในผู้ สู ง อายุ

ตามชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างทั น ตกรรมป้ อ งกั น ด้วยการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคในช่องปาก การให้ความรู้เรื่องการ ดูแลสุขภาพช่องปาก การใช้ฟลูออไรด์วาร์นิชแก่

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อรากฟันผุ และการขูด ทำความสะอาดฟันสำหรับผู้ที่เคยได้รับการรักษา โรคปริ ทั น ต์ ชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างทั น ตกรรม ป้ อ งกั น ของผู้ สู ง อายุ จึ ง เป็ น กิ จ กรรมที่ เ ชื่ อ มโยง การดู แ ลตนเอง การรั บ บริ ก าร และการรั ก ษา ฟื้นฟูเข้าด้วยกัน

สรุปแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ได้ดังนี้ 1. พัฒนาเทคโนโลยีและบริการทันตสุขภาพทั้งส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูโดยภาครัฐ ภาคประชาชน 2. รณรงค์ เฉลิมพระเกียรติฯ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ทั้งทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุข ภาคประชาชน เช่นแกนนำชมรมผู้สูงอายุ หรือ อสม. 4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ และถอดบทเรียน 5. นิเทศ ติดตาม กำกับ เยี่ยมชมรูปแบบการดำเนินงานในพื้นที่ 6. ประเมินผล เพื่อพัฒนาแผนงาน/โครงการ ทั้งปริมาณและคุณภาพ

7


“บทเรียน บทรู้” การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ในวันที่เริ่มต้นงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ การทำงานในกลุ่มเด็กเล็ก หรือ เด็กวัยเรียนสำหรับหน่วยงานต่างๆ ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของใน คนกลุ่มวัยสูงอายุนี้ ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ค่อนข้างท้าทาย ดังนั้น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

จึงเหนือความคาดหมายของทันตบุคลากรที่ร่วมกันขับเคลื่อนงาน... หากวันนั้นไม่เริ่มดูแล ปัญหาสุขภาพ ช่องปากของประชากรสูงอายุที่ขยายตัว ก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งความชุกและความรุนแรง มีการสูญเสีย ฟันเพิ่มขึ้น กลายเป็นปัญหาที่พอกพูนอย่างไม่รู้จบสิ้น ● ● ●

การขั บ เคลื่ อ นงานสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ

ช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ โดยสำนั ก ทั น ตสาธารณสุ ข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เริ่มต้นเมื่อปี 2548 ด้วยโครงการฟันเทียมพระราชทาน และใน ปีถัดมาได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้ สู ง อายุ ใ นชมรมผู้ สู ง อายุ โดยรั บ สมั ค รพื้ น ที่ นำร่ อ งที่ ส มั ค รใจ 7 จั ง หวั ด ขยายเป็ น 10 จังหวัด ในปี 2550 จังหวัดลำปางเป็นหนึ่งใน จังหวัดนำร่องดังกล่าว จากนั้นก็ค่อยขยายเพิ่ม พื้นที่ เพิ่มจังหวัด เพิ่มชมรมไปเรื่อยๆ และถัดมา ในปี 2551 จังหวัดลำปางก็ ได้เริ่มงานทันตกรรม ป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ผ่านการกำกับ ดูแล และสนั บ สนุ น ด้ า นวิ ช าการ ด้ า นบริ ห ารจั ด การ ด้านงบประมาณส่วนหนึ่งจากศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ และสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย “บทเรียน บทรู้” จากจังหวัดลำปางได้ ส ะ ท้ อ น ใ ห้ เ ห็ น ค ว า ม ห วั ง ข อ ง สั ง ค ม ไ ท ย

ที่ประชาชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะได้รับการดูแล จนมีสุขภาพช่องปากที่ดี บทเรียนจากการพูดคุย

มี เ พี ย งสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง ความสำเร็ จ ที่ น่ า สนใจ เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ ของทันตบุคลากรที่พยายามขับเคลื่อนงาน ซึ่งถือ เป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ยิ่ ง ต่ อ ความมุ่ ง มั่ น และความ สำเร็จดังกล่าว นอกจากนี้ยังทำให้เห็นศักยภาพ ของผู้สูงอายุที่คาดไม่ถึง ผู้สูงอายุเป็นได้มากกว่า กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน หากแต่สามารถ เป็นกลไกร่วมในการทำงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ ได้

8

บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากจังหวัดลำปาง ในระหว่างการถอดบทเรียนในเวทีต่างๆ หลายครั้ง รวมไปถึงการพูดคุยกับ ทันตบุคลากรบางส่วนได้บทเรียน การขับเคลื่อนที่น่าสนใจ ผ่านต้นทุน ที่เป็นศักยภาพเดิมของจังหวัด การพัฒนา ที่มีรูปแบบเฉพาะเกิดความสำเร็จ จากจุดเล็กๆ ขยายผลทั่วทั้งจังหวัดลำปาง จึงเป็นส่วนหนึ่งในจังหวัดที่พร้อมจะ พัฒนาเป็นต้นแบบของการดำเนินงาน สร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ที่น่าจับตามองอีกจังหวัดหนึ่ง โดยเฉพาะจุด เด่นในการขยายเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ● ● ●


ต่อยอด ... เชื่อมโยงเครือข่าย สู่การปฏิบัติ

จรัสพรรณ อรุณแก้ว ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

เส้นทางการเชื่อมต่อโครงการ แต่ปี 2548 โครงการฟั น เที ย มพระราชทาน เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ถือเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก ทำให้มีคนรู้จัก และสนใจเรื่องฟันมากขึ้น เป็นโครงการที่เกี่ยวข้อง กั บ ในหลวง จึ ง ทำให้ ทุ ก ภาคส่ ว นเข้ า มาให้ ความร่วมมือ และที่สำคัญ ทำให้ศูนย์อนามัย ใน ฐานะคณะทำงาน และผู้ประสานงานระดับเขต สามารถทำงานได้ ง่ า ยขึ้ น ด้ ว ย ไม่ ต้ อ งอธิ บ าย ความเป็นมาของโครงการมาก เพราะเครือข่าย ส่วนใหญ่จะทราบเรื่องนี้แล้ว จากสื่อหลายช่อง ทางทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และอื่นๆ

ของเขตกลับไปให้ส่วนกลางทราบ ทั้งทาง e-mail โทรศั พ ท์ และอื่ น ๆ ศู น ย์ อ นามั ย มี ก ารวางแผน

ร่ ว มกั บ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการของแต่ ล ะจั ง หวั ด เพื่อสร้างช่องทางการติดตาม/ประเมินผลไปด้วย โดยจะมีการติดตามผลการดำเนินงานอยู่ตลอด เวลา คื อ การกระตุ้ น การดำเนิ น งานให้ บ รรลุ

เป้ า หมาย และรายงานข้ อ มู ล ให้ เ ป็ น ปั จ จุ บั น

ถ้ า จั ง หวั ด มี ปั ญ หา อุ ป สรรค เช่ น เรื่ อ งราย ละเอียดต่างๆ ของโครงการ, การบันทึกข้อมูล ศู น ย์ อ นามั ย จะเป็ น ผู้ ป ระสานส่ ว นกลางเพื่ อ

แก้ ไขปัญหา จุดเด่นของการประสานงาน ของ

ศูนย์อนามัยเขต 10 คือ การพูดคุยกับผู้รับผิดชอบ อย่างเป็นกันเอง และร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อให้ ได้รู้ว่าเขาไม่ ได้ถูกทอดทิ้ง เช่น บ้านของ

ผู้สูงอายุ ที่อำเภอหนึ่ง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถู ก ไฟไหม้ ฟั น เที ย มก็ ไหม้ ไปด้ ว ย คุ ณ หมอ

● ● ●

ในช่ ว งแรก การดำเนิ น การของ

ศูนย์อนามัย เมื่อประสานงานกับส่วนกลาง จะมี การประชุมชี้แจง และกำหนดเป้าหมายร่วมกับ จังหวัดในเขตรับผิดชอบ พร้อมกับแจ้งเป้าหมาย

การไปนิเทศงานแต่ละครั้ง ศูนย์อนามัยเขตจะไปช่วยแก้ ปัญหาของพื้นที่ เท่าที่สามารถทำได้ ไม่ได้ไปเพิ่มปัญหาให้เขา โดยมี วิธีการพูดคุยที่เป็นกัลยาณมิตร และมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน ● ● ●

9


ที่ ใส่ฟันมาปรึกษาว่าจะทำอย่างไร จึงจะสามารถ ทำฟั น ให้ ใหม่ ได้ เพราะยั ง ไม่ ค รบกำหนดเวลา

5 ปี ที่จะให้ทำฟันเทียมใหม่ ได้ และถ้ามีการทำไป แล้ ว เวลาคี ย์ ข้ อ มู ล เพื่ อ เบิ ก ค่ า ใช้ จ่ า ยให้ กั บ

โรงพยาบาล โปรแกรมจะไม่รับ เมื่อผู้รับผิดชอบ ของศู น ย์ อ นามั ย เขต 10 ไปนิ เ ทศติ ด ตามงาน

รับทราบปัญหานี้ ได้ประสานขอความช่วยเหลือ จากส่วนกลางให้ทันที ผลก็คือ สามารถทำได้ โดย มีการบันทึกไปเพิ่มเติม และการไปนิเทศงานแต่

ละครั้ง ศูนย์อนามัยเขตจะไปช่วยแก้ปัญหาของ พื้นที่ เท่าที่สามารถทำได้ ไม่ ได้ ไปเพิ่มปัญหามีวิธี การพูดคุยที่เป็นกัลยาณมิตร และมีการวางแผน การทำงานร่วมกันว่า ในปีต่อไป เราจะทำงานกัน อย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งโครงการนี้

เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย มีตัวชี้วัด ของ กพร. ด้วย จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เห็นความ สำเร็จของการทำงาน

ร่วมนำร่องโครงการ กับ ส่วนกลาง

ปี 2549 เมื่อสำนักทันตสาธารณสุข ได้ ริ เ ริ่ ม ทำโครงการพั ฒ นา เรื่ อ ง รู ป แบบการ

ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ต่อยอด จากโครงการฟันเทียมพระราชทานฯ ที่ดำเนินงาน มาได้ 1 ปี เพื่ อ เปิ ด ประเด็ น ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องปากให้ผู้สูงอายุ นอกเหนือจากการใส่ฟันเทียม เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ ในเรื่อง การมีฟันแท้ ไว้เคี้ยวอาหาร ศูนย์อนามัยมองเห็นแล้วว่า มีจังหวัด ไหนที่มีกิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพที่เด่นๆ เมื่อทางสำนักทันตสาธารณสุขต้องการพัฒนาใน เรื่องนี้ ซึ่งพุ่งเป้าหมายลงไปที่ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อ ให้ชมรมผู้สูงอายุสร้างสรรค์กิจกรรมทางด้านการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ศูนย์อนามัยเขต 10 จึง ได้เลือก จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง เป็น จังหวัดนำร่องการทำวิจัยพัฒนานี้ โดยมีเหตุผล

ที่ เ ลื อ ก คื อ มองเห็ น ความเข้ ม แข็ ง ของชมรม

10

ผู้สูงอายุ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรวม กลุ่มเพื่อการออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมอื่นๆ เช่ น ปลู ก พื ช สมุ น ไพร เป็ น ต้ น และประเด็ น ที่

ศูนย์อนามัยคิดว่าสำคัญที่สุด คือ ผู้รับผิดชอบ ของจังหวัด มีความเข้มแข็ง เห็นความสำคัญของ กลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ และที่ ข าดไม่ ได้ คื อ ศู น ย์ อ นามั ย สามารถพูดคุยได้ง่าย จังหวัดยอมรับการทำงาน ร่วมกันตลอดเวลา การดำเนิ น งานครั้ ง แรกๆ เมื่ อ ได้

คั ด เลื อ กจั ง หวั ด แล้ ว ได้ ม อบให้ จั ง หวั ด คั ด เลื อ ก ชมรมผู้สูงอายุมาร่วมทำกิจกรรม โดยให้ข้อคิดว่า ควรเลือกชมรมที่เข้มแข็งอยู่แล้วมาร่วมโครงการ ก่ อ น ชมรมที่ เ ข้ ม แข็ ง ในที่ นี้ หมายถึ ง มี ค วาม

เข้มแข็ง ทั้ง ชมรม และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้วย ● ● ●

ในภาพการทำงานระดับเขต ศูนย์อนามัยจะออกนิเทศติดตาม การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ พร้อมกับสำนักทันตสาธารณสุข ไปร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะ เมื่อจังหวัดเชิญ ● ● ●

จังหวัดเชียงใหม่ พาชมรมผู้สูงอายุ มาสมั ค รเข้ า ร่ ว มทำกิ จ กรรม 2 ชมรม อยู่ ที่ อำเภอสันทราย และอำเภอสารภี เหตุผลที่เลือก เพราะเห็นความเป็นไปได้ของงานที่มีทีมงานทันตฯ โดยเฉพาะหมอจุฑามาศ โรงพยาบาลสันทราย และพี่ บั น เทิ ง หั ว หน้ า สถานี อ นามั ย ที่ สั น ทราย

หมออั ญ ชลี โรงพยาบาลสารภี แ ละคุ ณ วิ ท ยา หัวหน้าสถานีอนามัยที่สารภี ที่เป็นผู้ประสานงาน และดู แ ลชมรมผู้ สู ง อายุ โดยเฉพาะคุ ณ วิ ท ยา

เมื่อได้พบกัน จึงรู้ว่า เป็นเพื่อนเก่าสมัยเรียนมัธยม


จึงเป็นสิ่งที่ดีดีที่ ได้พบเพื่อนเก่า ทำให้การทำงาน นี้สะดวกขึ้น เรียกได้ว่ามีต้นทุนที่ดี และตัวละครที่ สำคัญในเรื่องนี้ คือ ประธานชมรมผู้สูงอายุ โดย เฉพาะพ่อดี ที่เป็นประธานชมรมผู้สูงอายุ ที่ตำบล ท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่นี่เอง จั ง หวั ด ลำปางสมั ค รเข้ า ร่ ว มทำ กิจกรรม 4 ชมรม คือ ชมรมที่อยู่ที่อำเภอแจ้ห่ม อำเภอเกาะคา อำเภอห้างฉัตร และอำเภอเถิน ลำปางเป็นจังหวัดที่เข้มแข็งมากๆ ที่สามารถทำ โครงการได้ ในทุกเรื่อง ทั้งสำนักงานสาธารณสุข จั ง หวั ด โรงพยาบาลชุ ม ชน โรงพยาบาล

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำบล รวมถึ ง เครื อ ข่ า ยต่ า งๆ

ที่ ส่ ง ผลให้ จั ง หวั ด ลำปางติ ด อั น ดั บ ต้ น ๆ ของ ประเทศในเรื่องดูแลทันตสุขภาพผู้สูงอายุ ขอยกตั ว อย่ า ง ชมรมอำเภอแจ้ ห่ ม จั ง หวั ด ลำปาง ที่ ป ระสบผลสำเร็ จ ในการทำ กิ จ กรรมร่ ว มผู้ สู ง อายุ ด้ า นการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องเป็นอย่างมาก เพราะมีต้นทุนของชมรมที่ดี ได้แก่ คุณพ่อกมล ประธานชมรมผู้สูงอายุที่เป็น อาจารย์เกษียณราชการ และน้องนัน (นันทริกา เลิ ศ เชวงกุ ล ) พยาบาลวิ ช าชี พ ผู้ ที่ ทุ่ ม เททั้ ง กาย

และใจ ในการดู แ ลเอาใจใส่ ผู้ สู ง อายุ จนเป็ น ขวัญใจของผู้สูงอายุอำเภอแจ้ห่ม อีกทั้งมีคนอื่นๆ

ที่ เ ป็ น ข้ า ราชการเกษี ย ณที่ มี จิ ต อาสามาช่ ว ยทำ กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ ที่สำคัญคือ มีการหา ทุ น เข้ า ชมรม และคิ ด กิ จ กรรมโดยผู้ สู ง อายุ เ อง ประกอบกั บ ชมรมมี ที ม งานทั น ตฯ ทั้ ง จากโรง พยาบาล และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่เข้ม แข็งมาก มาช่วยเสริมพลัง จึงทำให้ชมรมผู้สูงอายุ ตำบลแจ้ห่มจึงเป็นชมรมที่มีกิจกรรมส่งเสริมทันต สุขภาพผู้สูงอายุที่ยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังได้ มี โอกาสไปนำเสนอโครงงานระดับประเทศ เป็นที่ ศึกษาดูงานในระดับเขต และระดับประเทศด้วย ในภาพการทำงานระดั บ เขต ศู น ย์ อนามั ย จะออกนิ เ ทศติ ด ตามการดำเนิ น งานของ ชมรมผู้สูงอายุ พร้อมกับสำนักทันตสาธารณสุข ไปร่ ว มประชุ ม และให้ ข้ อ เสนอแนะเมื่ อ จั ง หวั ด

เชิญ พ่อกมล แกนนำชมรมผู้สูงอายุยังกล่าวชื่นชม ศูนย์อนามัยเขตไว้ว่า “ถ้าไม่มีศูนย์ฯ ก็จะไม่มีวันนี้ ของเขา ที่ทำให้มีคนรู้จักไปทั่วประเทศ เขาจะ

ไม่ลืมว่าศูนย์เขตเป็นผู้จุดประกายให้” ณ ปั จ จุ บั น ทุ ก คนเป็ น เครื อ ข่ า ยที่

น่ารักของศูนย์อนามัย มีอะไรที่จะช่วยเหลือกันได้ ศูนย์อนามัยก็เต็มใจทำให้ มีสิ่งดีๆ เราก็จะส่งต่อ ถึ ง กั น และกั น ตลอด รวมทั้ ง จะมี ก ารชื่ น ชมกั น

ทุกครั้งเมื่อมี โอกาส

11


การติดตาม กำกับทิศทางการดำเนินงานของจังหวัด

ในเขตศู น ย์ อ นามั ย ที่ 10 จะมี ก าร ติ ด ตามกำกั บ ผลการดำเนิ น งานของจั ง หวั ด

อย่ า งสม่ ำ เสมอ ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น การพู ด คุ ย ทาง โทรศัพท์/ e-mail หรือพบเจอกันที่ ไหนก็ ใช้วิธีพูด ออดอ้อน ให้จังหวัดดำเนินการให้ ได้ตามเป้าหมาย และลงข้ อ มู ล เพื่ อ ให้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ที่ ทั น สมั ย ให้ ด้ ว ย

จนหมอบางคนพู ด เสมอๆ ว่ า “เห็ น หน้ า หรื อ

ได้ยินเสียงน้องยาแล้ว ก็จะต้องมีการตามด้วย

การขอข้อมูลอย่างแน่นอน” หรือในภาพรวม ที่มี การติดตามในช่วงนิเทศงาน พร้อมกับผู้ตรวจ ราชการ เมื่อเป็นโครงการที่เป็นประเด็นยุทธ์ และเป็นโครงการพระราชดำริ/เฉลิมพระเกียรติ ของกระทรวงฯ ผู้ตรวจจะให้ความสำคัญ และ

มี ก ารติ ด ตามเป็ น พิ เ ศษ แต่ ในส่ ว นของศู น ย์ อนามั ย เขต 10 จะไม่ ค่ อ ยมี ปั ญ หา เพราะ

มีการดำเนินงานได้เกินเป้าหมายเกือบทุกปี

เรื่องของชมรมผู้สูงอายุ เขามีการขยายเครือข่าย หรือทำกันอย่างไรในพื้นที่

การขยายเครือข่ายของศูนย์เขต 10 ส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง โดยเอาข้ อ มู ล ของจั ง หวั ด ที่ ด ำเนิ น การได้ เ กิ น

เป้าหมาย มาเล่าให้จังหวัดที่ยังดำเนินการยังไม่ ได้ ตามเป้ า หมายได้ ฟั ง จั ง หวั ด ที่ ท ำผลงานได้ น้ อ ย

ก็ จ ะพยายามเร่ ง ดำเนิ น การ เพื่ อ ที่ จ ะไม่ แ พ้ เ ขา

หากมี บ างจั ง หวั ด ที่ ยั ง นึ ก ไม่ อ อกว่ า จะทำอย่ า งไร

จะแนะนำให้ ไปศึ ก ษาดู ง านจั ง หวั ด ที่ ป ระสบ

ผลสำเร็จ ก็จะทำให้มีแรงที่จะทำ เพราะเมื่อจังหวัด ได้ ดู ง านกั น แล้ ว ก็ ส ามารถไปปรั บ การดำเนิ น การ

12

ในพื้ น ที่ ได้ เช่ น จั ง หวั ด พะเยา ดู ง านที่ จั ง หวั ด ลำปาง ก็ ส ามารถขยายเครื อ ข่ า ย

ไปได้ ม าก จั ง หวั ด ที่ ยั ง ไม่ ได้ ต ามเป้ า หมาย

ศูนย์อนามัยเขตจะคอยกระตุ้นพื้นที่ ให้มีการ ดำเนิ น งาน โดยผ่ า นสำนั ก งานสาธารณสุ ข จังหวัด แต่ถ้ายังไม่ ได้อีก ก็จะประสานตรงไป ที่พื้นที่เลยก็มี ... “เราจะให้เกียรติสำนักงาน สาธารณสุ ข ไม่ ก้ า วก่ า ยการทำงาน แต่ ถ้ า

บางจังหวัด ยังมีข้อขัดข้องหรือกรณีเร่งด่วน

เราก็จะไปกระตุกในโรงพยาบาลเลย”


มาถึงวันนี้ เห็นความสำคัญของโครงการอย่างไร

ศูนย์อนามัยเขต 10 เชียงใหม่ มีความภาคภูมิใจในการเป็น ส่วนหนึ่งที่ได้ดำเนินการโครงการนี้ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทำให้ เ ห็ น ความงดงามของเครื อ ข่ า ย ที่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ

ร่วมด้วยช่วยกัน ในรูปภาคีเครือข่าย ทั้งในวงคนทำงาน

คนสนั บ สนุ น ที่ ป ระสานสอดรั บ กั น เป็ น อย่ า งดี และ

ในการดำเนินงานโครงการได้เห็นกระบวนการและผลลัพธ์ ที่ดี ม ากมาย แต่ ยั ง ไม่ เ ท่ า กั บ การได้ เ ห็ น รอยยิ้ ม ที่ ส ดใส และแววตาที่มีความสุขของผู้สูงอายุ เมื่อได้ใส่ฟันเทียม

ที่เป็นฟันเทียมพระราชทานจากในหลวง

จากผลการทำงานและความสำเร็จที่ผ่านมา ทำให้เราได้ เรี ย นรู้ และมองเห็ น ถึ ง ศั ก ยภาพการทำงานของบุ ค คล หลากหลายในทุกภาคส่วน ได้ค้นพบ รูปแบบการดำเนินงาน ที่แตกต่างกันไปตามบริบท และยุทธศาสตร์ของจังหวัด ทั้ ง ยั ง ได้ เ ห็ น การบริ ห ารจั ด การเชิ ง บู ร ณาการ ร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานในระดั บ พื้ น ที่ เ พิ่ ม มากขึ้ น และได้ รั บ ความรู้

ที่เต็มเปี่ยมในด้านการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุ

13


ก้าวย่าง อย่างลำปาง กับงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ทพญ.ลลนา ถาคำฟู, บุญเกิด อินยะบุตร สำนักทันตสาธารณสุขจังหวัดลำปาง

จุดประกาย เริ่มต้น การทำงานผู้สูงอายุ

“เวลาไม่ มี ฟั น กิ น อะไรก็ ไม่ อ ร่ อ ย ทำให้ ไม่มีความสุข จิตใจก็ ไม่สบาย ร่างกายก็

ไม่แข็งแรง” กระแสพระราชดำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระตุกให้พวกเรา ทีมทันต บุ ค ลากรจั ง หวั ด ลำปางเห็ น คุ ณ ค่ า ของตั ว เองใน การทำงาน เพราะเราดูแลปากและฟัน ซึ่งเป็น ประตู สู่ สุ ข ภาพ มี ผ ลกระทบต่ อ ทั้ ง จิ ต ใจและ ร่ า งกาย โดยเฉพาะผู้ สู ง อายุ ที่ สู ญ เสี ย ฟั น จน

ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ในระยะแรก (ปี 2548) เราสสจ.และ ทุ ก โรงพยาบาลในจั ง หวั ด ลำปาง รั บ โครงการ รณรงค์ ใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุตามโครงการฟัน เที ย มพระราชทาน เพื่ อ แก้ ปั ญ หาเบื้ อ งต้ น คื อ การสูญเสียฟันจนเคี้ยวอาหารไม่ ได้ พร้อมๆ กับ

จังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ เป็นการร่วมด้วยช่วยกัน ทั้ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชน ซึ่ ง นอกจากการ ทำงานให้ ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายแล้ว ผลพลอย ได้ คือ ความภาคภูมิใจ ความอิ่มใจ ... เราเป็น ข้าราชการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ ได้ ส่งมอบประตูสู่สุขภาพดีๆ ให้กับพสกนิกรสูงอายุ ที่พระองค์ทรงห่วงใย หมอหลายคนเห็นรอยยิ้ม สดใสของพ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย บางคนได้ของฝากเป็น

ผลหมากรากไม้ และ ... พ่ออุ้ยแม่อุ้ยบางท่านใช้ ฟันเทียมชุดนี้ ไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

14

● ● ●

นอกจากการทำงานให้ได้ ผลลัพธ์ตามเป้าหมายแล้ว ผลพลอยได้ คือ ความภาคภูมิใจ ความอิ่มใจ ... เราเป็นข้าราชการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ส่งมอบประตูสู่สุขภาพดีๆ ให้กับพสกนิกรสูงอายุ จังหวัดลำปาง รับโครงการรณรงค์ใส่ฟันเทียม แก่ผู้สูงอายุตามโครงการฟันเทียม พระราชทาน เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ การสูญเสียฟันจนเคี้ยวอาหาร ไม่ได้ พร้อมๆ กับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ เป็นการร่วมด้วยช่วยกันทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งนอกจากการ ทำงานให้ ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายแล้ว ผลพลอยได้ คือ ความภาคภูมิใจ ความอิ่มใจ ... เราเป็นข้าราชการ ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ได้ส่งมอบประตูสู่ สุขภาพดีๆ ให้กับพสกนิกรสูงอายุ ที่พระองค์ทรงห่วงใย ● ● ●


จากบริการใส่ฟันเทียม สู่ ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง

การทำงานกับผู้สูงอายุในโครงการ แรก ทำให้เราเรียนรู้ว่า สิ่งที่เราทุกคนต่างได้ ทำกันนั้น เป็นเรื่องที่มีคุณค่ามาก และเริ่มคุ้น เคยกั บ การทำงานในกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ม ากขึ้ น

ต่ อ มาในปี 2549 สำนั ก ทั น ตสาธารณสุ ข

มีแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรม

ผู้ สู ง อายุ เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ สู ง วั ย เหล่ า นี้

มีสุขภาพช่องปากที่ดี ในระยะยาว ซึ่งในปีแรก จะเริ่มทำในจังหวัดนำร่อง เขตละ 2 จังหวัดๆ ละ 2 ชมรม ตอนนั้นยังนึกภาพการทำงานไม่ออก ว่าจะเริ่มทำอย่างไร แต่ทีมงานเห็นพ้องต้องกัน ว่าเป็นแนวคิดที่ดี ประกอบกับขณะนั้น ปัญหา สุ ข ภาพช่ อ งปากของลำปาง ก็ มี ก ารขยาย ตัวอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มความรุนแรงขึ้น ในทุ ก กลุ่ ม อายุ ลำปางจึ ง สมั ค รเป็ น จั ง หวั ด นำร่ อ ง ทั น ที่ ที่ ส มั ค ร สิ่ ง ที่ เ ราคิ ด ได้ คื อ

ต้องเลือกพื้นที่ก่อน โดยเกณฑ์ที่ ใช้ ในการเลือก พื้ น ที่ ก็ คื อ เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ช มรมผู้ สู ง อายุ ที่

เข้มแข็ง และทีมทันตบุคลากรของโรงพยาบาล ในพื้นที่นั้นพร้อม และสมัครใจทำ เมื่ อ เริ่ ม ปี แ รก ทั้ ง จั ง หวั ด คื อ

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลชุมชน สำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด รวมทั้ ง พื้ น ที่

ยั ง ใหม่ กั บ การทำงานในชมรมผู้ สู ง อายุ จ ริ ง ๆ แต่ด้วยความที่เราเชื่อมั่นว่าเป็นโครงการที่ดี และตั้งเป้าหมายในใจว่า ทั้งจังหวัดและพื้นที่ จะเรียนรู้ ไปพร้อมๆ กัน เส้นทางในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอุปสรรค หรือความสำเร็จ และโชคดีที่เราเลือกชมรมที่เข้มแข็ง พอทีมงาน ระดั บ พื้ น ที่ เ ข้ า ไปแนะนำตั ว เล่ า แนวคิ ด วั ต ถุ ป ระสงค์ ในการทำงาน ด้ ว ยท่ า ที ที่ อ่ อ นน้ อ มแบบลู ก หลาน ท่ า นผู้ สู ง วั ย ซึ่ ง เรา

คิดว่า เป็นผู้ที่มีความพร้อม ทั้งศักยภาพ และ เวลา ก็เห็นด้วย และหลังจากนั้น ทั้งหมอฟัน ทั้งพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย ก็กลายเป็นทีมงานเดียวกัน

การทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากในชมรมผู้สูงอายุนั้น เริ่มต้นจากหมอเข้าไป ตรวจฟั น ให้ ค วามรู้ สร้ า งแกนนำดู แ ลสุ ข ภาพ

ช่ อ งปาก หลั ง จากนั้ น ผู้ สู ง อายุ จ ะเป็ น ผู้ ก ำหนด กรอบแนวทางในการทำงาน และเป็ น ฟั น เฟื อ ง

ในการทำงาน ตลอดจนแสวงหางบประมาณได้ด้วย ชมรมเอง ส่ ว นหมอนั้ น ต้ อ งกระเถิ บ ออกมาทำ บทบาทเป็นพี่เลี้ยง และผู้สนับสนุนติดตามเยี่ยมให้ กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ กิจกรรมหลักที่ชมรมมีคือ การแปรงฟั น ร่ ว มกั น ของผู้ สู ง อายุ ใ นวั น ที่ ม าร่ ว ม กิจกรรมต่างๆ เช่น วันออกกำลังกาย วันประชุม ชมรม เป็นต้น กิจกรรมอื่นๆ จะแตกต่างกันไปตาม บริบท เช่น การไปเยี่ยมให้ความรู้เพื่อนที่ติดบ้าน ติ ด เตี ย ง การไปให้ ค วามรู้ ผ่ า นวิ ท ยุ ชุ ม ชน หรื อ เสียงตามสายในหมู่บ้าน การไปให้ความรู้เด็กที่ ศู น ย์ เ ด็ ก และโรงเรี ย น การประกวดผู้ สู ง อายุ

ฟันสวย เป็นต้น จากปีแรก (2549) ชมรมผู้สูงอายุ 2 ชมรม มีการนำความสำเร็จ และความภาคภูมิ ใจ จากการทำกิ จ กรรมมาแบ่ ง ปั น กั น ในเวที ป ระชุ ม

ทั น ตบุ ค ลากร จั ง หวั ด ชี้ อี ก นิ ด กระตุ้ น อี ก หน่ อ ย

ให้ เ ห็ น ว่ า หากเราเริ่ ม ต้ น ที่ ช มรมเข้ ม แข็ ง และ

ที ม งานพร้ อ มแล้ ว เราได้ พ บว่ า จั ง หวั ด ลำปาง

ผู้ สู ง อายุ เ ป็ น บุ ค ลากรที่ มี ศั ก ยภาพมาก และ

งานส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุไม่ ใช่เรื่องยาก หากอำเภอใดมี ช มรมผู้ สู ง อายุ ใ นใจ และที ม งาน พร้อมทำ ยกมือได้เลย จังหวัด และอำเภอที่ดำเนิน การก่อน พร้อมเป็นพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา ทำแบบนี้ ทุกปี จากวันนั้นถึงวันนี้มีชมรมผู้สูงอายุที่ดำเนิน การด้ า นส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากครอบคลุ ม

ทุกอำเภอรวม 13 อำเภอ จำนวน 59 ชมรม

15


เริ่มต้นการทำงานผู้สูงอายุ แบบ “ครบวงจรพอดี”

ปี 2550 สำนั ก ทั น ตสาธารณสุ ข

ส่งโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปาก ผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมมา เป็ น โครงการล่ า สุ ด สำหรั บ สุ ข ภาพช่ อ งปาก

ผู้ สู ง อายุ มี ก ารนำเสนอแนวคิ ด และรั บ สมั ค ร จั ง หวั ด เข้ า ร่ ว มดำเนิ น การ สาระสำคั ญ ของ ● ● ●

หากเราจะทำให้ประตูสู่สุขภาพเป็น ประตูที่แข็งแรง นอกจากการใส่ฟัน ให้กับผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันจนเคี้ยว ไม่สะดวก ให้เคี้ยวอาหารได้แล้ว สิ่งจำเป็น คือต้องพยายามลดการสูญเสียฟัน ที่มีอยู่ ด้วยการให้บริการทันตกรรม ป้องกัน โดยให้ทันตบุคลากรทำให้ ● ● ●

โครงการนี้ เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อลดการ สู ญ เสี ย ฟั น ที่ มี อ ยู่ ข องผู้ สู ง อายุ ที่ เ สี่ ย งต่ อ การ

สูญเสียฟัน โรคฟันผุ และโรคปริทันต์ โดยมีการ ดำเนินงาน ที่ต้องมีการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีความ

16

เสี่ยงต่อโรคในช่องปาก มาให้ความรู้ ฝึกทักษะ การทำความสะอาดช่องปาก ให้บริการทันตกรรม ป้ อ งกั น โดยการทาฟลู อ อไรด์ ว าร์ นิ ช ป้ อ งกั น รากฟันผุ การขูดทำความสะอาดพื้น เพื่อควบคุม สภาวะปริทันต์อักเสบ พอโครงการนี้มา เราจึงถึงบางอ้อว่า “... ครบวงจรพอดี ...” เพราะว่า หากเราจะทำให้ ประตู สู่ สุ ข ภาพเป็ น ประตู ที่ แ ข็ ง แรง นอกจาก

การใส่ ฟั น ให้ กั บ ผู้ สู ง อายุ ที่ สู ญ เสี ย ฟั น จนเคี้ ย ว

ไม่สะดวก ให้เคี้ยวอาหารได้แล้ว สิ่งจำเป็น คือ

ต้องพยายามลดการสูญเสียฟันที่มีอยู่ ด้วยการให้ บริ ก ารทั น ตกรรมป้ อ งกั น โดยให้ ทั น ตบุ ค ลากร ทำให้ และผู้สูงอายุเองก็ต้องสามารถดูแลสุขภาพ ช่ อ งปากได้ ด้ ว ยตั ว เองจึ ง จะมี สุ ข ภาพช่ อ งปาก

ที่ดี ได้ ในระยะยาวได้ ในขณะเดียวกันก็ดูแลคน รอบข้ า งได้ ด้ ว ย ดั ง นั้ น โครงการนี้ จังหวัดลำปางพร้อมรับ เราชี้ ให้ทีมพื้นที่ เห็ น คำว่ า “ครบวงจรพอดี ” และ

เชิ ญ ชวนพื้ น ที่ ร่ ว มโครงการ แต่ ก ารที่

จะทำครอบคลุ ม ทุ ก อำเภอหรื อ ไม่ นั้ น ต้ อ ง ถ า ม ค ว า ม ส มั ค ร ใ จ ก่ อ น (วั ฒ นธรรมการทำงานของเราเน้ น ความพร้ อ ม ความสมั ค รใจก่ อ น) เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทของตนเอง จะพร้อมหรือไม่ ให้ประเมินจากพื้นที่ ก่อน อย่างไรก็ตามประกอบจังหวัด จะเป็ น แมวมองด้ ว ย หากเห็ น ว่ า พื้นที่น่าจะพร้อม แต่เจ้าตัวประเมิน ว่าไม่พร้อม จังหวัดจะเปลี่ยนตัวเองเป็น “เจ๊ดัน” ทำหน้ า ที่ ส ร้ า งบรรยากาศ (บิ ว ท์ อ ารมณ์ ) ให้ อยากทำด้วยตัวเอง)


ปี แ รกของการทำโครงการนี้

ที่ เ ราเรี ย กสั้ น ๆ ว่ า “ชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ”

โรงพยาบาลชุมชนสมัครใจดำเนินการ 7 แห่ง โดยมี ที่ ม าของผู้ สู ง อายุ ที่ เ ข้ า โครงการ 2 ลักษณะ คือ ช่องทางที่ 1 ผ่านการคัดกรอง จากพยาบาลในคลิ นิ ก ผู้ สู ง อายุ และคลิ นิ ก

โรคเรื้อรังของโรงพยาบาล และช่องทางที่ 2 คือ คัดกรองผ่านชมรมผู้สูงอายุ โดยแกนนำ

ผู้สูงอายุจะคัดกรอง และแนะนำผู้สูงอายุด้วย กันเองให้มารับบริการที่ โรงพยาบาล (ทั้งการ รั บ บริ ก ารทั น ตกรรมป้ อ งกั น ตามชุ ด สิ ท ธิ ประโยชน์ และรั บ บริ ก ารใส่ ฟั น เที ย ม) แต่ โครงการ “ชุดสิทธิประโยชน์” มีข้อจำกัด คือ

ผู้สูงอายุเกือบทุกคนมารั ิบบริการป้องกันแล้วต้อง ต่อด้วยบริการรักษาเพื่อควบคุมโรคอีกหลายครั้ง

จึ ง จะ Complete case บางครั้ ง ไม่ มี ญ าติ มาส่งบางครั้งไม่มีค่าเดินทาง (เพราะว่า การได้รับ

งบประมาณสนับสนุนค่าเดินทางมีเฉพาะในปีแรก

ที่ จั ง หวั ด จั ด หาให้ ) ทำให้ ผู้ สู ง อายุ ไ ม่ ส ามารถ

มารั บ บริ ก ารได้ จ นแล้ ว เสร็ จ ครบตามเป้ า หมาย

ดั ง นั้ น ในปี ถั ด มาจึ ง มี ก ารกำหนดเป้ า หมายตาม

ความเป็ น ไปได้ ไม่ เ น้ น ปริ ม าณ ทำให้ ปั จ จุ บั น

โรงพยาบาล และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งมีการ ดำเนินการโครงการ “ชุดสิทธิประโยชน์” ทั้งหมด และเน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ

17


ก้าวย่าง อย่างลำปาง

หากจะพู ด ถึ ง งานสุ ข ภาพช่ อ งปาก

ผู้สูงอายุของจังหวัดลำปาง ไฮไลท์ของเราจะอยู่ที่ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ เราสามารถทำให้ ผู้ สู ง อายุ เ ข้ า ใจเรื่ อ งโรคใน

ช่องปากและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของ ตนเองได้ ออกไปดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากเพื่ อ น

ผู้ สู ง อายุ ด้ ว ยกั น เองที่ ไม่ ส ามารถมาเข้ า ร่ ว ม ชมรม อยู่ติดบ้าน ติดเตียงได้ ออกไปให้ความรู้ เด็กและคนในชุมชนได้ เรียกว่าช่วยหมอได้มาก เลยทีเดียว ไม่เพียงแต่ส่งเสริมสุขภาพ แกนนำ ผู้ สู ง วั ย ในชมรม ยั ง ช่ ว ยคั ด กรองส่ ง ผู้ สู ง อายุ

18

ที่ มี ค วามจำเป็ น ให้ ม ารั บ บริ ก ารส่ ง เสริ ม

สุขภาพป้องกันโรคในช่องปากตามชุดสิทธิ ประโยชน์ และรั บ บริ ก ารใส่ ฟั น เที ย ม

อีกด้วย กล่าวคือ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดทำ 3 โครงการ “ครบวงจร” ทำให้ ประตูสู่สุขภาพเป็นประตูที่แข็งแรงได้ โดย มี แ กนนำผู้ สู ง อายุ ใ นชมรมฯ เป็ น กลจั ก ร สำคัญที่ โยง 3 โครงการ เกี่ยวร้อยหมุนไป ด้วยกัน อย่างต่อเนื่องนั่นเอง


19


20


องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กับประเด็นงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ที่ชมรมผู้สูงอายุบ้านสิงห์ชัย อำเภอเมือง จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูล

ความเข้มแข็งขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก สำหรั บ การขั บ เคลื่ อ นงานพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ใน อนาคต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ ใน การทำงานด้านผู้สูงอายุ และมีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเข้ามาบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม เอื้ อ ให้ ก ารดำเนิ น การลุ ล่ ว งไปด้ ว ยความสำเร็ จ

ตั้งแต่การคัดเลือกชมรมผู้สูงอายุที่มีความพร้อม ดำเนิ น การจนสำเร็ จ แล้ ว ขยายผล เกิ ด ชมรม

ผู้สูงอายุใหม่ๆ ที่เรียนรู้จากความสำเร็จเริ่มต้น

มี ช มรมผู้ สู ง อายุ ส มั ค รเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมเพิ่ ม ขึ้ น เรื่อยๆ

● ● ●

เพราะมุมมองต่อชีวิตมีความเป็น องค์รวม จึงเป็นเรื่องที่แน่นอนว่า กิจรรมส่งเสริมด้านสุขภาพนั้น ไม่อาจดำเนินการได้โดยเพียง กิจกรรมเดียว หากแต่บูรณาการ เอาหลากหลายกิจกรรมสุขภาพ เข้ามาด้วยกันในชุมชนที่มี หลากหลายประเพณี หลากวัฒนธรรมนักส่งเสริม สุขภาพที่เข้าใจความ หลากหลายเหล่านี้ก็ได้พยายาม สอดแทรกแนวรุก ทางด้านสุขภาพลงไปด้วยเสมอ ● ● ●

เพราะมุ ม มองต่ อ ชี วิ ต มี ค วามเป็ น

องค์รวม จึงเป็นเรื่องที่แน่นอนว่า กิจรรมส่งเสริม ด้ า นสุ ข ภาพนั้ น ไม่ อ าจดำเนิ น การได้ โดยเพี ย ง กิจกรรมเดียว หากแต่บูรณาการเอาหลากหลาย กิจกรรมสุขภาพเข้ามาด้วยกัน ในชุมชนที่มีหลาก หลายประเพณี หลากวั ฒ นธรรม นั ก ส่ ง เสริ ม

สุ ข ภาพที่ เ ข้ า ใจความหลากหลายเหล่ า นี้ ก็ ไ ด้ พยายามสอดแทรกแนวรุกทางด้านสุขภาพลงไป ด้วยเสมอ

ในหลายๆ อำเภอของลำปาง มีการ ใส่ ฟั น เที ย มพระราชทานให้ กั บ ผู้ สู ง อายุ ตั้ ง แต่

ปี 2548 และได้ เ ริ่ ม ต้ น ขั บ เคลื่ อ นงานส่ ง เสริ ม

สุขภาพช่องปากไปบ้างแล้ว ตั้งแต่ปี 2549 ปีแรก

เริ่มต้นใน 2 อำเภอนำร่อง คือ อำเภอแจ้ห่ม และ อำเภอห้างฉัตร ปีต่อมาได้เพิ่มขึ้นอีก 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะคา และอำเภอเถิน การขั บ เคลื่ อ นงานส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ช่ อ งปากในชมรมผู้ สู ง อายุ ที่ ล ำปาง ดำเนิ น กิจกรรมต่างๆ หลากหลาย และมีการนำเสนอ ผ่ า นการประชุ ม ทั น ตบุ ค ลากรจั ง หวั ด ลำปาง

ทำให้ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบของอำเภอเมื อ ง อย่ า งเช่ น

คุณวรรณา ปันทะเลิศ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง เกิดแรงบันดาลใจอยาก

21


จะขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเหมือน

ที่อื่นๆ บ้าง แต่ยังหาโอกาสไม่ ได้ รวมถึงความ ต้องการทีมงานที่เข้มแข็งที่จะร่วมกันเริ่มต้น ซึ่งใน เวลาต่อมา ในปี 2551 ทันตแพทย์หญิงแคทลียา สินธานี เข้ามาทำงานที่ โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง

คุณวรรณาได้นำเสนอแนวคิดที่ตนเองคาดหวัง ไว้ เพื่ อ หาที ม ร่ ว มดำเนิ น การ เมื่ อ เห็ น พ้ อ ง

ต้ อ งกั น อำเภอเมื อ งจึ ง ได้ เ ริ่ ม ต้ น เข้ า ร่ ว ม โครงการสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพผู้ สู ง อายุ ใ น

ปีนั้นเอง

เริ่มต้นช้า ... แต่ทว่ามั่นคง

กระบวนการการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองเกิดขึ้นได้

หลังจากที่คุณวรรณา นำแนวคิดการดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุมาหารือกับ คุณสุนทร จวงพลงาม หัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์ เทศบาลนครลำปาง

ในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุของเทศบาลนครลำปาง ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อผู้สูงอายุ

บนพื้นฐานข้อมูลของชุมชนในเขตอำเภอเมืองว่า ชุมชนใดมีชมรมผู้สูงอายุที่มีความสนใจ สามารถปฏิบัติ กิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการพัฒนาศักยภาพชมรม การหารือระหว่างคุณวรรณากับ คุณสุนทร จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคัดเลือกชมรมผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นเกณฑ์ ในการเลือกชมรมผู้สูงอายุมีหลากหลายปัจจัย เช่น • ในชมรมผู้สูงอายุ ... มีกิจกรรมการปฏิบัติจริงหรือไม่? • ความพร้อมของชมรมผู้สูงอายุ ... เป็นเช่นไร? • ผู้นำชุมชน ... เป็นอย่างไร มีความพร้อมหรือไม่? • สภาพความเป็นจริงการอยู่ร่วมกันในชุมชน ... เป็นเช่นไร มีความพร้อมหรือไม่? ● ● ●

หัวใจของการพัฒนากิจกรรมของ อำเภอเมืองคือ “การมีส่วนร่วม” อย่างเข้มข้นจากทุกภาคส่วน ... แต่ว่า กว่าที่จะใช้คำว่ามีส่วนร่วมได้อย่าง สนิทใจ ต้องผ่านกระบวนการปูพื้นฐาน ทำให้ประเด็นสุขภาพช่องปาก เป็นประเด็นที่สำคัญในการดูแล สุขภาพโดยรวม ให้ทุกคนตระหนัก และเห็นความสำคัญของ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากก่อน ● ● ●

22

อำเภอเมื อ งเริ่ ม ทำกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม

สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุช้ากว่าอำเภออื่นๆ แต่มี ข้ อ ดี ก็ คื อ ได้ เ รี ย นรู้ บ ทเรี ย นความสำเร็ จ จาก หลายๆ อำเภอ ที่ เ สมื อ นเป็ น รุ่ น พี่ ด ำเนิ น การ

มาก่อน การเรียนรู้บทเรียนการพัฒนาที่จังหวัด ลำปาง ใช้เวทีการประชุมทันตบุคลากรที่จัดขึ้น อย่างสม่ำเสมอ เป็นพื้นที่นำเสนอ และแลกเปลี่ยน เรี ย นรู้ กิ จ กรรมเรี ย นรู้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเวที เป็ น

ส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันกระบวนการเรียนรู้ระดับ เครือข่ายทั้งจังหวัด เป็นแรงเสริม แรงกระตุ้นให้ ทุกอำเภอกระตือรือร้นในการทำงาน


กระบวนการทำงานที่อำเภอเมืองเอง ก็ ไม่ ได้ ต่ า งจากอำเภออื่ น ๆ ที่ ม องหาชมรม

ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพสูง มีความเข้มแข็งของชมรม เป็ น ทุ น เดิ ม จึ ง ได้ คั ด เลื อ กชมรมผู้ สู ง อายุ ชุ ม ชน สิงห์ชัย ขึ้นมา เป็นชมรมนำร่อง ซึ่งในขณะนั้น เทศบาลยังไม่ ได้รับรองการตั้งชมรม การออกตั ว เร็ ว ๆ ของอำเภอเมื อ ง และผลลัพธ์การทำงานที่ดี เป็นเพราะต้นทุนของ อำเภอเมืองที่มี โอกาสได้เรียนรู้จากหลายๆ อำเภอ มาระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เมื่อเริ่มต้น

ก็ ไ ปได้ เ ร็ ว การขยายชมรมผู้ สู ง อายุ ที่ มี ค วาม พร้อม เข้ามาทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ภายใน 3 ปี มีการขยายเพิ่มถึง 16 ชมรม ความสำเร็จประการหนึ่ง คุณวรรณา บอกว่า หัวใจของการพัฒนากิจกรรมของอำเภอ เมื อ งคื อ “การมี ส่ ว นร่ ว ม” อย่ า งเข้ ม ข้ น จาก

ทุกภาคส่วน ... แต่ว่า กว่าที่จะใช้คำว่ามีส่วนร่วม ได้อย่างสนิทใจ ต้องผ่านกระบวนการปูพื้นฐาน ทำให้ประเด็นสุขภาพช่องปากเป็นประเด็นที่สำคัญ ในการดู แ ลสุ ข ภาพโดยรวม ให้ ทุ ก คนตระหนั ก และเห็ น ความสำคั ญ ของการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องปากก่อน “ชมรมผู้สูงอายุบ้านสิงห์ชัย” โดย การนำของนายเอนก ตันลาพุฒ ประธานชมรม

ผู้สูงอายุ เป็นชมรมแรกที่ถูกคัดเลือกเป็นชมรม นำร่ อ งการพั ฒ นา มี ก ารจั ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม

สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ตามโครงการฟันเทียม พระราชทาน ใครจะรู้ ได้ว่าจุดเริ่มต้นของชมรม

ผู้ สู ง อายุ บ้ า นสิ ง ห์ ชั ย จะเป็ น จุ ด กำเนิ ด ความ

เข้ ม แข็ ง และความต่ อ เนื่ อ ง ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด เป็ น

ผลสำเร็จในการทำงาน ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง

อ.วิบูลย์ ฐานิสรากุล (ข้าราชการ บำนาญ) เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุ บ้านสิงห์ชัยเล่าว่า ชมรมฯ เริ่มก่อร่างสร้างกลุ่ม แต่ ไม่เป็นทางการใน ปี พ.ศ.2547 โดยตัวเอง

ทำหน้าที่เป็นเลขานุการชมรมผู้สูงอายุ ช่วยเขียน โครงการ เป็นผู้ ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ซึ่งเป็น บทบาทและหน้าที่ที่ตัวเองถนัด

ในปี 2551 มี ก ารตั้ ง บ้ า นสิ ง ห์ ชั ย อย่ า งเป็ น ทางการ และเทศบาลนครลำปาง ประกาศรับรองการเป็นชมรมผู้สูงอายุ ในปีนี้เอง คุ ณ วรรณา เข้ า มาหารื อ ในการคั ด เลื อ กชมรม

ผู้ สู ง อายุ ที่ จ ะดำเนิ น โครงการนำร่ อ งด้ า นการ

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก และในปี นี้ เ ช่ น กั น

ที่ อาจารย์วิบูลย์ ลงสมัครสมาชิกเทศบาล เข้าไป ทำงานในภาคการเมือง แต่ยังช่วยชมรมผู้สูงอายุ ด้านวิชาการอยู่

23


ครั้งแรกหลังจากการคัดเลือกชมรมฯ ในการประชุมชมรมผู้สูงอายุบ้านสิงห์ชัยในคราว

ถัดมา คุณวรรณา เข้าประชุมร่วมกับสมาชิกชมรม ที่วัดสิงห์ชัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของชมรมฯ ให้ข้อมูลเกี่ยว กั บ โครงการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ พร้อมทั้งชักชวนชมรมฯ ให้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งชมรม ได้ ให้ความสนใจ พร้อมใจกันตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ จึงได้เริ่มทำกิจกรรมเริ่ม ตั้งแต่ การให้ความรู้เกี่ยว กั บ สุ ข ภาพช่ อ งปากให้ กั บ สมาชิ ก อบรมเข้ ม ให้ ประธานทุกชุมชน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และคณะกรรมการชมรมผู้ สู ง อายุ

24

จำนวน 10 คน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่ ในการขยายผลความรู้ เ กี่ ย วกั บ สุ ข ภาพ

ช่ อ งปากให้ แ ก่ บ รรดาสมาชิ ก กลุ่ ม ต่ า งๆ

ในชุมชน ความรู้ ที่ แ กนนำทั้ ง 10 ท่ า น

ได้รับจากการอบรมนั้น ขยายผลไปสู่สมาชิก คนอื่นๆ ในชุมชนหลายช่องทาง เช่น การเผยแพร่ ความรู้ภายในครอบครัว การเผยแพร่ความรู้ ในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังโดยผ่านกิจกรรมเยี่ยมบ้าน การให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียน สอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น


ชมรมผู้ สู ง อายุ ข องบ้ า นสิ ง ห์ ชั ย

มีความเข้มแข็งขึ้นมาตามลำดับ เนื่องด้วย

มีการประชุมหารือกันบ่อยครั้ง มีภาวะของ ความเป็ น ผู้ น ำชุ ม ชน อี ก ทั้ ง มี ก ารส่ ง เสริ ม สนับสนุนการติดตามของ คุณสุนทร ทำให้ พู ด ได้ ว่ า ผู้ สู ง อายุ มี ก ารพั ฒ นาทั ก ษะ

ส่ ว นบุ ค คล โดยการดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปาก ตนเองด้ ว ยดี อี ก ทั้ ง ได้ มี เ วที เ ล็ ก ๆ ใน

แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ เรื่ อ ง การดู แ ลรั ก ษา สุ ข ภาพช่ อ งปาก รวมถึ ง สุ ข ภาพด้ า นอื่ น ๆ

เมื่ อ ผู้ สู ง อายุ ไ ด้ ม องเห็ น และรู้ สึ ก ถึ ง คุ ณ ค่ า การดูแลรักษาฟันของตนเอง เพื่อจะส่งผลต่อ สุ ข ภาพด้ า นอื่ น ๆ แล้ ว นั้ น ความยั่ ง ยื น ที่

มองเห็นได้ชัดเจน คือ การมีสุขภาพทุกด้านดี

ตามมาสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืน เป็นแบบ อย่ า งที่ ดี ข องลู ก หลานในชุ ม ชน สามารถนำ ประสบการณ์ ไปร่วมแบ่งปันให้กับผู้อื่น รูปแบบ การทำงานที่ ส อดคล้ อ งกั บ ปั ญ หาและศั ก ยภาพ

ดังกล่าวนี้ เป็นการทำงานร่วมกันกับทุกองค์กร

ทั้ ง ภาครั ฐ และภาคประชาชนอย่ า งเป็ น ระบบ

ตามบริ บ ทของชุ ม ชนบ้ า นสิ ง ห์ ชั ย เมื่ อ ทุ ก คน

สร้าง ทุกคนทำ ทุกคนเข้าใจ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน ผ่านการ

มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประเด็นสำคัญ คือ กระบวนการที่เกิดจากการทำงานที่ทำให้เกิดผล สำเร็ จ จากชุ ม ชนสิ ง ห์ ชั ย ส่ ว นหนึ่ ง เกิ ด จากการ พัฒนา โดยบุคลากร และทีมงานอย่างต่อเนื่อง

มีกิจกรรมหลากหลายลงไปดำเนินงานในชุมชน

1. เปิดโครงการ แนะนำให้รู้จัก โครงการฟั น เที ย มและการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่ อ งปากเล่ า เรื่ อ งความสำคั ญ ระหว่ า ง

ผู้สูงอายุและสุขภาพช่องปาก 2. การสำรวจสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุ 3. อบรมแกนนำผู้ สู ง อายุ แ ละ อาสาสมัครในชุมชนเพื่อการสื่อสารสุขภาพ

4. จั ด อบรมให้ ค วามรู้ แ ก่ ส มาชิ ก ในชมรม

ผู้สูงอายุ 5. จั ด กิ จ กรรมการตรวจสุ ข ภาพช่ อ งปาก และการย้อมสีฟัน 6. ส่ ง ต่ อ กรณี ที่ พ บเจอปั ญ หาโรคใน

ช่องปากที่ต้องเข้ารับการรักษา

25


เมื่อสำเร็จ จึงบอกต่อ ขยายเพิ่ม

การขั บ เคลื่ อ นขยายงานส่ ง เสริ ม

สุ ข ภาพช่ อ งปากออกไปแต่ ล ะชุ ม ชนในเขตพื้ น ที่ อำเภอเมื อ ง มี ก ลไกในการขั บ เคลื่ อ นร่ ว มกั น จน ทำให้งานเป็นผลสำเร็จได้นั้น จากการถอดบทเรียน พบว่า การมีส่วนร่วม 3 ด้าน ที่ทำให้ชมรมเข้มแข็ง และดำเนินการร่วมกันได้ดี เรียกได้ว่า เป็นการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์” ดังนี้ 1. ร่ ว มคิ ด การมี ส่ ว นร่ ว มคิ ด วางแผนดำเนินกิจกรรมโครงการ ฟั น เ ที ย ม พ ร ะ ร า ช ท า น แ ล ะ

การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก

ผู้สูงอายุร่วมกัน 2. ร่ ว มทำ เป็ น การลงมื อ ปฏิ บั ติ

ให้ ค วามรู้ ส มาชิ ก ดู แ ลฟั น ของ ตนเองอย่างถูกวิธี รู้วิธีการดูแล รั ก ษาและได้ มี ส่ ว นแลกเปลี่ ย น เรียนรู้การดูแลกับคนอื่น

26

3. ร่ ว มรั บ ผลประโยชน์ เมื่ อ ดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากตนเอง แล้ ว เกิ ด ผลดี ต่ อ ตนเอง

อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด คื อ ไม่ เ ป็ น ภาระให้ กั บ ลู ก หลาน ไม่ มี

โรคภัยไข้เจ็บ ทำให้สามารถ ดำรงชี วิ ต ได้ อ ย่ า งมี คุ ณ ค่ า และเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับผู้อื่น

ผลการดำเนิ น งาน จากการให้ ความรู้ ค วามเข้ า ใจ ซึ่ ง ส่ ง ผลต่ อ วิ ธี ก ารดู แ ล สุ ข ภาพช่ อ งปากอย่ า งถู ก ต้ อ งเหมาะสม

ได้ ก ระจายไปสู่ ช มรมผู้ สู ง อายุ อื่ น ๆ ในเขต เทศบาลนครลำปาง จึงต่างสนใจที่จะเข้าร่วม โครงการเช่ น เดี ย วกั บ ชมรมผู้ สู ง อายุ ชุ ม ชน

สิงห์ชัย ร้องขอมาทางเทศบาล เทศบาลจึงได้ ทำหนังสือขอรับการสนับสนุนมายังโรงพยาบาล ขอขยายพื้ นที่ ดำเนิน งานเพิ่ มขึ้น อีก 5 ชุ มชน ได้ แ ก่ ชุ ม ชนท่ า มะโอประตู ป่ อ ง ศรี ล้ อ มแสง เมืองมา ปงสนุก ดงชัย และพระแก้วหัวข่วง โดยทางเทศบาลนครลำปางเป็นผู้สนับสนุนงบ ประมาณดำเนินการ


ขณะเดี ย วกั น ได้ ข ยายผลการ ดำเนิ น งานไปยั ง ชมรมผู้ สู ง อายุ น อกเขต เทศบาลด้ ว ย โดยประสานงานกั บ สถานี อนามัยในแต่ละพื้นที่ เลือกชมรมผู้สูงอายุที่มี ความเข้มแข็งในทุกตำบล ในเขต อำเภอเมือง ลำปาง ตำบลละ 1 ชมรม แล้ ว ลงไปทำ กิ จ กรรมในลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ ชมรมใน

เขตเทศบาล ทั้ ง นี้ ง บประมาณดำเนิ น งาน

โรงพยาบาลเป็นผู้ ให้การสนับสนุน ในปีถัดมา ทางเทศบาลได้สนับสนุนงบประมาณขยายผล การดำเนิ น งานในอี ก 4 ชุ ม ชน ได้ แ ก่

ชุ ม ชนช่ า งแต้ ม ประตู ต าล หั ว เวี ย ง และ

ตรอกไฟฟ้าเก่า โดยสรุปมีการขยายกิจกรรมการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุของอำเภอเมือง ที่เติบโตและขยายผลตามลำดับ ดังนี้ o ปี 2551 ซึ่ ง เป็ น ปี เ ริ่ ม ต้ น

คัดเลือกชมรมผู้สูงอายุบ้านสิงห์ชัยเป็นพื้นที่ นำร่อง

o ปี 2552 ขยายการดำเนิ น งาน ออกไป 5 ชมรม o ปี 2553 ขยายเพิ่มเป็น 14 ชมรม o ปี 2554 มี ก ารดำเนิ น การ

ต่อเนื่อง และมีการคัดเลือกผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ที่ มี สุ ข ภาพช่ อ งปากดี เข้ า ร่ ว มประกวดผู้ สู ง อายุ 80-90 ปี ฟันดี ที่ กรุงเทพมหานคร o ปี 2555 ขยายกิจกรรมไปนอก เขตเทศบาล ที่ ยั ง ไม่ มี ก ารจั ด ตั้ ง ชมรมผู้ สู ง อายุ

ในปี นี้ มี ก ารจั ด ตั้ ง ชมรมผู้ สู ง อายุ ทำกิ จ กรรม

ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในอำเภอเมืองลำปางแล้ว รวมทั้งสิ้น 16 ชมรม จุ ด แข็ ง ของการขั บ เคลื่ อ นกิ จ กรรม

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก ที่ เ ริ่ ม ต้ น จากชมรม

ผู้สูงอายุบ้านสิงห์ชัย และมีการขยายความสำเร็จ ไปยังชมรมต่างๆ นั้น เกิดจากการที่ “อำเภอเมือง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน การขับเคลื่อนงานร่วมกัน”

27


เมื่อสำเร็จ จึงบอกต่อ ขยายเพิ่ม จากการเริ่ ม ต้ น พั ฒ นาสุ ข ภาพ

ช่องปากผู้สูงอายุของอำเภอเมือง โดยมีชมรม

ผู้สูงอายุนำร่อง ได้แก่ “ชมรมผู้สูงอายุบ้าน สิงห์ชัย” มีปัจจัยที่ถือว่าเป็น “บทเรียน” ทำให้ การดำเนินการสำเร็จ ดังนี้ 1. มี ก ลุ่ ม อ า ส า ส มั ค ร สาธารณสุขที่เข้มแข็ง เป็น

ผู้ อ ยู่ เ บื้ อ ง ห ลั ง ข อ ง ค ว า ม สำเร็ จ โดยบทบาท อสม. เป็ น ผู้ ที่ ท ำงานประสานกั บ เทศบาลนครลำปางในด้ า น สุ ข ภาพ มี ส่ ว นผลั ก ดั น ให้

28

ชุ ม ชนพึ่ ง ตั ว เองทางด้ า น สุ ข ภาพ ซึ่ ง เป็ น เป้ า หมาย

ใ น ก า ร ท ำ ง า น ข อ ง ก า ร

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพในชุ ม ชน

ร่วมกัน 2. ชุ ม ชนตั้ ง อยู่ ใกล้ เ ทศบาล นครลำปาง ทำให้การเข้า ถึ ง ทรั พ ยากรง่ า ย มี ก าร ป ร ะ ส า น ง า น ที่ ส ะ ด ว ก รวดเร็ว การดำเนินการจึง เป็ น ไปด้ ว ยความราบรื่ น

มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล


3. ความหลากหลายของ สมาชิ ก ชมรมผู้ สู ง อายุ ด้วยภูมิศาสตร์ของพื้นที่อยู่ ในเขตเมือง องค์ประกอบ ของสมาชิ ก ชมรมจึ ง หลาก หลาย ประกอบไปด้ ว ย

ผู้ สู ง อายุ ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง เช่น ข้าราชการเกษียณอายุ ศักยภาพของสมาชิกเหล่านี้ เอื้อให้เกิดการพัฒนาชมรม ที่เข้มแข็ง เมื่อมีการผลักดัน และสนั บ สนุ น จากภาครั ฐ

ที่เกี่ยวข้อง 4. มี ก ารสนั บ สนุ น อย่ า งดี จากภาคท้องถิ่น ทั้งด้าน งบประมาณ และสิ่ ง สนั บ สนุ น อื่ น ๆ ทำให้ ก าร ดำเนิ น กิ จ กรรมของชมรม

ผู้ สู ง อายุ ขั บ เคลื่ อ นอย่ า ง

มีพลัง ไม่ติดขัด สามารถคิดกิจกร รมใหม่ๆ ที่ ใช้งบประมาณได้อย่าง

มีประสิทธิภาพ 5. มี แ ผนงาน/โครงการ ที่ ชั ด เจน

ในการพั ฒ นาและยกระดั บ ชมรม

ผู้ สู ง อายุ ที่ มี ศั ก ยภาพเพี ย งพอใน การพั ฒ นาเป็ น ชมรมผู้ สู ง อายุ นำร่ อ ง โดยภาครั ฐ ทำหน้ า ที่ เ ป็ น

พี่เลี้ยง ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ แ ล ะ ง บ ป ร ะ ม า ณ ส่ ว น ห นึ่ ง ใ น

การเริ่มต้น 6. มี กิ จ กรรมร่ ว มกั น ที่ ห ลากหลาย สม่ ำ เสมอ ทำให้ เ กิ ด การรวมตั ว และสร้ า งกระบวนการเรี ย นรู้ กั น ผ่ า นกิ จ กรรม มี ก ารบั น ทึ ก และ

จั ด เก็ บ แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ กั น

อย่างมีระบบถือว่าเป็นกระบวนการ จัดการความรู้ที่เป็นธรรมชาติ

บทเรียนที่ ได้จากการถอดบทเรียน ชมรมผู้สูงอายุบ้านสิงห์ชัย ทำให้เห็นถึงต้นทุนที่ ได้รับการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี และ เมื่ อ มี ก ารหนุ น เสริ ม จากภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทำให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรม

ผู้สูงอายุบ้านสิงห์ชัย เป็นชมรมต้นแบบนำร่อง ที่ ป ระสบความสำเร็ จ รวมไปถึ ง การจั ด การ ความรู้ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตลอด เวลา ทำให้เกิดการขยายผลให้กับชุมชนอื่นๆ ในเขตอำเภอเมืองได้เป็นอย่างดี

29


คนต้นแบบ...เเรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพ บทเรียนการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุบ้านศิลา จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูล

หมู่ บ้ า นศิ ล า เป็ น หมู่ บ้ า น เล็กๆ ในตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง

ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานจากหลายชุมชน เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งใน การทำงานขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ ง สุ ข ภาพ

ช่องปากของผู้สูงอายุที่มีกระบวนการ เริ่ ม ต้ น รวมถึ ง กระบวนการดำเนิ น งานที่น่าสนใจ การทำงานส่ ง เสริ ม

สุ ข ภาพผู้ สู ง อายุ ใ นหมู่ บ้ า นศิ ล า อำเภอเกาะคา นั้นมีจุดเริ่มต้นจาก คุณแม่พิสมัย ฉันทะ หรือที่รู้จัก กันโดยทั่วไปในชื่อ “แม่ ไหม” ประธานชมรม

ผู้สูงอายุบ้านศิลา ทำหน้าที่เป็นแกนนำหลักใน การก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุที่มีการทำงานมาอย่างต่อ เนื่องและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก

30


วิกฤติสุขภาพ กับการลุกขึ้นมาสร้างสุขภาพ

จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการทำงานเริ่ ม จาก วิกฤติทางด้านสุขภาพของแม่ ไหมเอง แม่ ไหมมี อาการป่วยเป็นโรคเบาหวานในช่วงวัย 30 กว่าๆ เมื่อรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน ตอนนั้นแม่ ไหม คิดเพียงแต่ว่า “ไม่ ได้ ... ฉันจะตายไม่ ได้เพราะ ลูกยังไม่ โต ... ฉันยังตายไม่ ได้เด็ดขาด” ความ ตั้งใจและไม่จำนนต่อโรคที่กำลังรุมเร้าเป็นเงื่อนไข หลั ก ที่ ท ำให้ แ ม่ ไหมลุ ก ขึ้ น มาดู แ ลสุ ข ภาพของ

ตั ว เองอย่ า งจริ ง จั ง เริ่ ม จากการออกกำลั ง กาย

แต่ ในบรรยากาศของชนบทการออกกำลั ง กาย จริงๆ จังๆ เป็นเรื่องที่แปลกไปจากวิถีคนท้องถิ่น โดยปกติ ในช่วงแรกต้องแอบออกกำลังกายในบ้าน ของตัวเอง เพราะอายคนอื่น แม่ ไหมเป็นอดีตครู

ครูอนามัยโรงเรียน เมื่อแม่ ไหมมีเวลามากขึ้นหลัง

จากปลดเกษียณ อาศัยที่แม่ ไหมเป็นคนที่มีการ ออกกำลังกายเป็นประจำ จึงคิดว่า “เราออกกำลังกาย คนเดี ย ว ไม่ ดี แ ล้ ว ต้ อ งชวนใครๆ มาส่ ง เสริ ม สุขภาพด้วย” และในช่วงนั้นยังไม่มีผู้สูงอายุที่มา ข ยั บ ร่ า ง ก า ย เ พื่ อ เ ป็ น ก า ร อ อ ก ก ำ ลั ง ก า ย

เท่าไหร่นัก แม่ ไหมจึงเริ่มชวนญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ผู้สูงอายุรุ่นเดียวกัน มารวมกลุ่มออกกำลังกาย ด้ ว ยไม้ พ ลอง ช่ ว งแรก เป็ น การรวมกลุ่ ม เล็ ก ๆ ประมาณ 5-6 คน เมื่อได้มีการออกกำลังกาย อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ผลลั พ ธ์ ข องการดู แ ลสุ ข ภาพ

ผ่านการออกกำลังกายทำให้ผู้สูงอายุที่มารวมกลุ่ม แข็ ง แรงขึ้ น ปรากฏการณ์ นี้ จึ ง เป็ น ผลทำให้ มี จำนวนสมาชิ ก เพิ่ ม ขึ้ น เป็ น 30 คนในช่ ว งเวลา

ต่อมา

แม่ ไหมทำงานเข้มแข็งตลอดมา “ถามว่า เหนื่อยไหม ... เหนื่อยค่ะ แต่พอเห็นเพื่อนๆ

มีความสุข เห็นผู้สูงอายุมีความสุข ความเหน็ดเหนื่อยทั้งหลายก็หายเป็นปลิดทิ้ง และนึกถึงบุญกุศล

ที่เราจะได้ ถ้าเกิดชาติหน้าจริงๆ จะไม่เป็นเบาหวานแล้ว มันเป็นเพราะนิสัยการกิน พอเหนื่อยที่ ไร นึกถึงสมาชิกยิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุข ก็หายไปเอง”

31


เริ่มต้นจากตัวเองเห็นผล...สู่คนอื่น

แม่ ไหม เป็นผู้นำด้วยความสามารถ พิเศษ ทั้งทางด้านการสร้างความสนุกสนานให้

กั บ กลุ่ ม เป็ น นั ก สร้ า งความบั น เทิ ง ที่ เ ก่ ง กั บ บรรยากาศที่หมู่บ้านศิลา ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเป็น

ผู้หญิง แม่ ไหมจึงมีบทบาทเป็นแกนนำของหมู่บ้าน ● ● ●

เมื่อมีแกนนำเป็นหญิงสูงอายุ ที่มีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่แข็งแรง เมื่อมีต้นแบบที่ดี นี่จึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุคนอื่นๆ ในชุมชนอยากเข้ามาร่วมกิจกรรม กับทางชมรมด้วยและเห็นความสำคัญ ของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากก่อน ● ● ●

และยังมีความสามารถออกกำลังกายได้หลาย ประเภท เช่น ไม้พลอง ไทเก๊ก โยคะ ลีลาศ

ร้ อ งเพลง และมี ทั ก ษะการเป็ น วิ ท ยากรที่ มี ค ว า ม ส า ม า ร ถ จู ง ใ จ ผู้ ฟั ง ไ ด้ เ ป็ น อ ย่ า ง ดี สาธารณสุขอำเภอจึงหมายตา และชักชวนให้ ทำกลุ่ ม ออกกำลั ง กายของตำบล ทำให้ เ กิ ด ชมรมออกกำลั ง กายของตำบลเกาะคาขึ้ น มา ตั้ ง แต่ ปี 2545 และจากความตั้ ง ใจในการ

ขั บ เคลื่ อ นกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ผ่ า นกิ จ กรรมการ

ออกกำลังกายที่หลากหลาย รวมไปยังกิจกรรม

เพื่ อ การพั ฒ นาด้ า นอื่ น ๆ ส่ ง ผลให้ ท างชุ ม ชน

บ้ า นศิ ล า ได้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพผู้ สู ง อายุ ใ นระดั บ ตำบล อำเภอ

ในปี 2546 2547 และระดั บ จั ง หวั ด

ในปี 2548 รางวัลดังกล่าวเป็นความภูมิใจของ คนทำงานเป็นอย่างดี และรางวัลเหล่านี้ก็ถือว่า เป็ น เครื่ อ งการั น ตี ในความทุ่ ม เทของชมรม

ผู้สูงอายุแห่งนี้ ได้ดีเลยทีเดียว

แม่ ไหมเป็นที่รู้จักของคนในชุมชนเป็นอย่างดี เป็นแกนนำในทำกิจกรรมชมรมสร้างสุขภาพ ทั้งระดับตำบลและอำเภอการทำกิจกรรมต่างๆ จึงได้รับความร่วมมือจากชุมชน อาทิ การใช้สถานที่ ของวัด อาสาสมัคร/ชุมชน ช่วยเหลือร่วมทำกิจกรรม ผู้ ใหญ่บ้าน กำนัน สาธารณสุขอำเภอ ให้การ สนับสนุน ส่งเสริมในด้านต่างๆ เป็นต้น

32


ฟ.ฟัน สะอาดจัง ... กับวัยผู้สูงอายุ

ในปี 2548 นั บ เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของ งานส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่ อ ง ป า ก ข อ ง ช า ว

บ้ า นศิ ล า เนื่ อ งมาจาก แม่ ไหมนี่ เ อง จากการ

ที่ แ ม่ ไหมเป็ น คนเข้ า ๆ ออกๆ โรงพยาบาล เ ก า ะ ค า เ ป็ น ป ร ะ จ ำ

เพื่ อ รั บ การดู แ ลรั ก ษา โ ร ค เ บ า ห ว า น อ ย่ า ง

ต่ อ เนื่ อ ง ครั้ ง หนึ่ ง ที่

โรงพยาบาลเกาะคา คุณหมอตา (ทพญ.สุมิตรา โยธา) ได้พบ และพูดคุยกับแม่ ไหม ได้รู้ว่าแม่ ไหมเป็ น ผู้ น ำกลุ่ ม ออกกำลั ง กายให้ ผู้ สู ง อายุ ประกอบมี แ นวคิดการส่งเสริมสุขภาพช่อ งปาก

ผู้สูงอายุเข้ามา ที่จะดำเนินการนำร่องในชมรม

ผู้สูงอายุ จึงชักชวนแม่ ไหมทำกิจกรรมส่งเสริม

สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ แม่ ไหมขานรับ ทำให้กลุ่ม ออกกำลั ง กายของแม่ ไหมที่ มี ก ารรวมกลุ่ ม กั น อยู่ แล้วเพื่อออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ทั้งไม้พลอง ไทเก้ก โยคะ ลีลาศ นาฏศิลป์ล้านนา ร้องเพลง เป็ น ทุ น เดิ ม จึ ง เกิ ด การผสมผสานกิ จ กรรม

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก “การแปรงฟั น หลั ง

ออกกำลั ง กาย” เป็ น กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพอี ก หนึ่งอย่าง ที่เพิ่มเข้ามาให้ทำร่วมกัน หลังออกกำลัง กายเสร็ จ จนชุ ม ชนบ้ า นศิ ล าได้ รั บ คั ด เลื อ กเป็ น ชมรมต้นแบบงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยมี

เจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาลเกาะคามาร่วมให้บริการ ทั น ตกรรม แก่ ผู้ สู ง อายุ นั บ เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น

ของการทำงานร่ ว มกั น อย่ า งจริ ง จั ง ระหว่ า ง

ทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุข และผู้สูงอายุ

ในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อน เรื่องของการส่งเสริม

สุขภาพช่องปากชาวหมู่บ้านศิลา กิจกรรมที่ดำเนินงาน มุ่ ง เน้ น การให้ ค วามรู้ แ ละส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ สู ง อายุ สามารถดูแลช่องปากได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

• ฑูตทันตกรรม โรงพยาบาลเกาะคาอบรมความรู้ ให้กับแกนนำผู้สูงอายุ คัดเลือก

ผู้สูงอายุเป็นฑูตทันตกรรม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุตรวจฟันกันเอง รวมถึงตรวจฟัน

ให้คนในบ้านด้วย • ย้อมสีฟัน เพื่อตรวจเช็คว่าผู้สูงอายุแปรงฟันสะอาดอย่างทั่วถึง • แบบตรวจฟัน เป็นนวัตกรรมชุมชน ที่ร่วมกันคิด โดยโรงพยาบาล และผู้สูงอายุ บันทึกประวัติการดูแลรักษาฟัน และนำมาเชื่อมต่อระบบบริการด้านทันตกรรมของ

โรงพยาบาล

33


• เยี่ ย มบ้ า น เริ่ ม จากการจั ด กิ จ กรรมให้ ผู้ สู ง อายุ ม ารวมตั ว กั น ที่ นั ด หมาย เมื่ อ

โรงพยาบาล และชมรมฯ เห็นว่ายังมีผู้สูงอายุติดเตียง ไม่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรม ได้ จึงเกิดกิจกรรมการไปเยี่ยมบ้าน และดูแลให้ความความรู้กับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน คิดเตียงด้วย • จั ด ประกวดผู้ สู ง อายุ ฟั น สวย จั ด ขึ้ น เพื่ อ ให้ ผู้ สู ง อายุ ใ ส่ ใจเรื่ อ งสุ ข ภาพฟั น

อย่ า งจริ ง จั ง แม่ ไหมได้ ส ะท้ อ นถึ ง ผลลั พ ธ์ ข องกิ จ กรรมนี้ ว่ า “... เป็ น การสร้ า ง บรรยากาศให้ดูคึกคักและตื่นตัว ของรางวัลสำหรับผู้ชนะก็ ไม่ ได้มากมายหรือ

มีราคามากนัก แต่การที่ผู้สูงอายุในชุมชนหันมาจริงจังกับสุขภาพช่องปาก เพื่อ ฟันสวยสะอาดกันถ้วนหน้า นี่ต่างหากที่ถือเป็นรางวัลสำหรับทุกคน” • เพลงประจำชมรม แม่ ไหมแต่ ง เพลงนี้ ขึ้ น เพราะเห็ น ว่ า ผู้ สู ง อายุ ส่ ว นใหญ่

ชอบร้องเพลง และเมื่อเอาเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวความรู้ ใส่ลงไปก็ทำให้บทเพลงนั้น

มีคุณค่ามากขึ้น เพลง ชวนกันแปรงฟัน เนื้อร้อง/ทำนองโดย แม่พิสมัย ฉันทะ

“แปรงฟัน แปรงฟันเร็วไว ยิ้มจะสดใส และมีเสน่ห์ สาวหนุ่มยิ้มแล้วจะสวยเก๋ ผู้สูงอายุยิ้มแล้วจะสวยเก๋

อยากมีเสน่ห์ ต้องขยันแปรงฟัน แปรงฟันวันละสองหน พี่น้องทุกคน จำให้ขึ้นใจ แปรงแล้วนวดเหงือกทันใด แปรงแล้วนวดเหงือกเร็วไว จะสุขใจโรคภัยไม่มี

เสร็จแล้วอย่าลืมแปรงลิ้น แม่ โฉมยุพินปากจะหอมชื่นใจ ใครๆ ก็อยากอยู่ ใกล้ ไปไหนใครๆ ก็อยากอยู่ ใกล้ ปากจะหอมชื่นใจอายุขัยยืนยาว”

34


จากจุดเริ่มต้น ของกิจกรรมแปรงฟันหลังออกกำลังกาย สู่กิจกรรมที่หลากหลาย สนุก

มีสาระ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องดูแลช่องปาก ด้วยความเป็นมิตรและบรรยากาศสนุกสนาน และ

ได้ประโยชน์สามารถทำได้จริงจึงทำให้ผู้สูงอายุคนอื่นๆ ในชุมชนหันมาใส่ ใจเรื่องสุขภาพช่องปากมากขึ้น การทำงานที่ต่อเนื่องและยาวนาน จนทำให้ ได้รับรางวัลเป็นชมรมดีเด่นงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และเป็นที่ศึกษาดูงานสำหรับชุมชนอื่นๆ ที่สนใจ

หน้าที่...ที่เติมเต็มกัน

“... ต่างคนต่างมีหน้าที่ แต่ ไม่ ได้ หมายความว่า ทำเฉพาะหน้าที่นั้น เพราะว่า ถ้ า คนใดทำเฉพาะหน้ า ที่ ข องตั ว โดยไม่ ม อง

ไม่แลคนอื่น งานก็ดำเนินไปไม่ ได้ เพราะเหตุว่า งานทุกงานต้องพาดพิงกัน จะต้องเกี่ยวโยงกัน ฉะนั้นแล้ว แต่ละคนต้องมีความรู้ถึงงานของ

ผู้อื่น แล้วช่วยกันทำ ...” พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เนื่ อ งในวั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓ การทำงานร่ ว มกั น ของคนทำงาน เรื่องส่งเสริมสุขภาพช่องปากของบ้านศิลา อำเภอ เกาะคานี้ ทำให้ นึ ก ถึ ง พระบรมราโชวาทของ ในหลวงในตอนนี้เพราะจากการที่ ได้พู ด คุ ย กั น นี้ ทำให้ เ ห็ น ว่ า ความสำเร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เกิ ด จากการ

พึ่ ง พิ ง และเติ ม เต็ ม ซึ่ ง กั น และกั น การทำงาน

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากของชาวบ้ า นศิ ล านั้ น

ไม่ ได้สำเร็จได้ด้วยเพียงชมรมผู้สูงอายุแต่อย่าง เดี ย ว หากจะยั ง มี ห ลายคน หลายภาคส่ ว นที่

เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานร่วมกัน

พนอจิต สว่างวงค์ เจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลเกาะคา เป็นหนึ่ง ในทีมทำงานการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพช่องปาก ของผู้สูงอายุ ได้เล่าว่า “การทำงานของพวกเรา ทำงานเป็นทีม ทุกคนจะรู้หน้าที่ของกันและกัน สามารถทำแทนกันได้ ถ้าคนใดคนหนึ่งไม่ว่าง หรื อ มี ภ ารกิ จ จำเป็ น เพราะเราทุ ก คนล้ ว น ทำงานกั น ด้ ว ยใจ เราทุ ก คนอยากเห็ น การ เปลี่ ย นแปลงที่ ดี ข องผู้ สู ง อายุ ใ นชุ ม ชน”

พนอจิตยังบอกเพิ่มเติมด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มและ

มีความสุขว่า จากบรรยากาศการทำงานที่อบอวล ไปด้ ว ยความรั ก ระหว่ า งที ม ทำงาน ทั้ ง หมอ

ทันตาภิบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สูงอายุ ทำให้ ก ารทำงานก้ า วหน้ า และมี ค วามสุ ข มาก เวลาออกหน่วยไปตรวจ หรือทำกิจกรรมร่วมกัน เวลามี ข้ อ มู ล ใหม่ ๆ ก็ จ ะได้ รั บ ความร่ ว มมื อ

จากคนในชุมชนเป็นอย่างดี อาจเป็นเพราะทุกๆ คนเปิดใจที่จะยอมรับ และเรียนรู้ พร้อมทั้งนำ

สิ่งที่ ได้รับไปปรับใช้ ในชีวิตประจำวันของตนเอง อย่างต่อเนื่อง

35


นอกจากบรรยากาศการทำงาน ภ า ย น อ ก โ ร ง พ ย า บ า ล ที่ เ ป็ น มิ ต ร แ ล้ ว บรรยากาศภายในโรงพยาบาลก็ ยั ง เป็ น

มิ ต รด้ ว ย บรรยากาศที่ มี ไ ม่ ได้ มี ก ารพู ด คุ ย เฉพาะเรื่องของช่องปาก หรือเรื่องฟันเพียง

อย่างเดียว แต่คนที่มารับการรักษา จะได้มี

โอกาสมานั่ ง ปรั บ ทุ ก ข์ ระบายความในใจใน เรื่ อ งส่ ว นตั ว กั บ เจ้ า หน้ า ที่ อี ก ด้ ว ย นี่ ก็ คื อ

อีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ห้องฟันที่นี่จะดูคึกคัก เป็นพิเศษ

การทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามแบบ บ้านศิลา

• การมี ส่ ว นร่ ว ม จะเห็ น การทำงานที่ มี ส่ ว นร่ ว มกั น อย่ า งชั ด เจน โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่

การรวมกลุ่ม โดยประสานความร่วมมือชมรมผู้สูงอายุ คนในชุมชน โรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการร่วมกันคิดระดมปัญหา และช่วยกันคิดแผนการดำเนินการ รวมไปถึงขั้นตอนการทำงาน ที่ทุกส่วนเข้ามาร่วมประสานการทำงานอย่างเป็นทีม

อย่างลงตัว และช่วยกันเติมเต็มซึ่งกันและกัน • ความสำเร็จเป็นหมุดหมายของความตั้งใจในทุกขั้นตอน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ ได้ เกิดขึ้นจากคนใดคนหนึ่งแต่เกิดจากทุกคนทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและร่วมกับขับเคลื่อน อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม จนนำมาซึ่ ง ผลงานที่ ป ระจั ก ษ์ แ ก่ ชุ ม ชนใกล้ เ คี ย ง และในระดั บ ประเทศ ซึ่งเห็ นได้ จาก รางวั ล การั น ตี คุ ณ ภาพมากมาย เช่ น รางวั ล ชมรมดี เ ด่ น

ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก รางวัลชมรมต้นแบบนำเสนองานส่งเสริมสุขภาพ

ช่องปากในจังหวัดลำปาง และรางวัลชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ดีเด่นระดับเขต ● ● ●

ความสำเร็จเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่เป็นรางวัลและกำลังใจให้กับทีมทำงาน และเป็นสิ่งที่ช่วยตอกย้ำถึงแนวทาง การทำงานสร้างสิ่งดีๆ ให้คนในชุมชน และ สามารถเป็นชุมชนต้นแบบที่เปิดโอกาส ให้ชุมชนอื่นมาดูงานเพื่อขยายผลสำเร็จ สู่ชุมชนอื่น ได้อีกด้วย ● ● ●

36


ความสำเร็จเหล่านี้เป็นเพียงส่วน หนึ่งที่เป็นรางวัลและกำลังใจให้กับทีมทำงาน และเป็ น สิ่ ง ที่ ช่ ว ยตอกย้ ำ ถึ ง แนวทางการ ทำงานสร้ า งสิ่ ง ดี ๆ ให้ ค นในชุ ม ชน และ สามารถเป็ น ชุ ม ชนต้ น แบบที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ชุมชนอื่นมาดูงานเพื่อขยายผลสำเร็จสู่ชุมชน อื่น ได้อีกด้วย

ถ้าเราจะพูดถึงความสำเร็จที่เกิด ขึ้นของการทำงานของชมรมผู้สูงอายุชาวบ้าน ศิ ล า ในอำเภอเกาะคาแล้ ว นั้ น จะเห็ น ได้ ว่ า ความสำเร็ จ ไม่ ได้ ม าง่ า ยๆ ความซั บ ซ้ อ น

ของงาน รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่มักจะก่อให้ เกิดความลำบากใจอยู่บ้างก็ตาม แต่เนื่องจาก มีความตั้งใจที่อยากจะเห็นความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความจริงจังที่มุ่งมั่นทำให้งานสุขภาพ ช่ อ งปากที่ ขั บ เคลื่ อ นโดยชมรมผู้ สู ง อายุ ใ น ชุมชนจึงสำเร็จและงานออกมาได้อย่างที่กล่าว มาแล้ ว ในขั้ น ต้ น หากจะมารวบรวมเป็ น ขั้ น ตอนการทำงานเราก็จะเห็นได้ดังนี้

การทำงานนอกจากการประสานความ ร่วมมือของทีมทำงานหลักๆ ระหว่างชมรมผู้สูงอายุ และเจ้ า หน้ า ที่ ทั น ตกรรมจากโรงพยาบาลแล้ ว นั้ น ยั ง ต้ อ งอาศั ย การประสานความร่ ว มมื อ จากภาคี

ท้ อ งถิ่ น โดยการทำงานที่ ผ่ า นมา หากวิ เ คราะห์

ถึงคนที่เข้ามาเชื่อมโยงกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นต้อง มีปัจจัยที่จะมาช่วยให้งานสำเร็จไปได้ ยังต้องอาศัย ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

ขั้นตอนการทำงานของชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา อำเภอเกาะคา

• สร้างทีม เป็นการรวมกลุ่มคนที่สนใจเพื่อมาเป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อนงาน

โดยเริ่มต้นจากแม่พิสมัย และมีสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ คือ เพื่อนๆ ผู้สูงอายุ

ที่สนใจทำงานร่วมกัน • ระดมความร่วมมือ โดยขั้นตอนนี้ ดึงการมีส่วนร่วมจากแกนนำจากองค์กรหน่วยงาน ในชุมชน เช่น ผู้ ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ในตำบล อาสาสมัครในชุมชน เป็นต้น เพื่อมาร่วมคิด และวางแผนงานการทำงาน

ร่วมกัน • ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพช่องปาก โดย กิจกรรมที่เลือกมาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถ

แบ่งออกได้ ดังนี้ ❍ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น ไม้พลอง นาฎศิลป์ล้านนา

ไทเก้ก โยคะ ลีลาศ ร้องเพลง เป็นต้น

37


กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น กิจกรรมแปรงฟันหลังออกกำลังกาย เพลงชวนกันแปรงฟัน ฑูตทันตกรรม แบบตรวจฟัน จัดประกวดผู้สูงอายุฟันสวย • นำเสนอความสำเร็จ ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการสื่อสารสาธารณะถึงสิ่งที่ทางชมรม ได้ทำร่วมกันเพื่อนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการที่จะขยายผลต่อในชุมชนอื่น ที่สามารถ

มีการจัดการให้ผู้สูงอายุใส่ ใจสุขภาพกายและสุขภาพช่องปากอีกทั้งยังสามารถดูแล สุขภาพคนในครอบครัวได้อีกด้วย จนได้รางวัลเป็นชมรมต้นแบบดีเด่นและเป็นแหล่ง ศึกษาดูงาน เป็นต้น • ถอดบทเรียน เมื่อดำเนินการมาจนสามารถจัดการการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่าง สำเร็จแล้ว จึงจัดการถอดบทเรียนเพื่อเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์ความ สำเร็จและอุปสรรคการทำงานของกลุ่ม

38


● ● ●

จากชมรมพี่ สู่ชมรมน้อง

จากการทำงานที่ จ ริ ง ใจและ จริ ง จั ง ทำให้ บ้ า นศิ ล าจึ ง เป็ น ต้ น แบบให้ กั บ

ชุ ม ชนอื่ น ๆ อี ก หลายชุ ม ชน เช่ น ชุ ม ชน

บ้ า นหนองหล่ า ย ชุ ม ชนบ้ า นหั ว แต ชุ ม ชน

บ้ า นทุ่ ง เจริ ญ ตำบลเกาะคา และชุ ม ชน บ้ า นนาเวี ย ง ตำบลท่ า ผา เป็ น ต้ น และ

มี แ นวโน้ ม ว่ า จะขยายไปยั ง พื้ น ที่ ใกล้ เ คี ย ง

อีกต่อไป ในกระบวนการถอดบทเรียนเวที ล่าสุด พ่อประสาน เทพหินจับ อดีตกำนัน ตำบลเกาะคา ได้เข้าร่วมงานเป็นส่วนหนึ่งของ ผู้ถอดบทเรียนด้วย ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดัน ชุมชนบ้านหนองหล่าย ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความ เข้มแข็งอยู่แล้วและกำลังจะทำงานขับเคลื่อน เรื่ อ งสุ ข ภาพช่ อ งปากของผู้ สู ง อายุ ใ นชุ ม ชน

ได้ มี ค วามมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะพั ฒ นาให้ เ ป็ น ชุ ม ชน

ที่แข็งแรงเหมือนบ้านศิลา ถ้าจะนับบ้านศิลา เป็ น ชมรมพี่ บ้ า นหนองหล่ า ยก็ จ ะกลาย

เป็ น ชมรมน้ อ ง ที่ ก ำลั ง ดำเนิ น งานเพื่ อ การ พัฒนาใ นด้านส่งเสริมสุขภาพช่องปากของ

ผู้ สู ง อายุ ได้ พู ด ทิ้ ง ท้ า ยไว้ อ ย่ า งน่ า สนใจว่ า

“คนดีๆ มีเยอะ แต่คนที่เสียสละไม่ค่อยมี”

ทำให้ เ ห็ น ได้ ชั ด เจนว่ า คนทำงานแบบนี้ ต้ อ ง

มี ใจนำพา และแรงกายจะตามมาเอง จากการทำงานที่ ผ่ า นมาของ

บ้านศิลา อำเภอเกาะคา แม้จะประสบความ

เมื่อมีแกนนำเป็นหญิงสูงอายุ ที่มีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่แข็งแรง เมื่อมีต้นแบบที่ดีนี่จึงเป็นเหตุ ให้ผู้สูงอายุคนอื่นๆ ในชุมชนอยากเข้ามาร่วมกิจกรรม กับทางชมรมด้วย ● ● ●

สำเร็จอย่างมากมาย แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ประสบ ปัญหาการทำงาน เช่น จากคำกล่าวที่ว่า “ชุมชน เป็ น รากฐานของประเทศอั น เป็ น พื้ น ฐานของ สังคมที่สำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้า ชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง การพึ่งพิงกัน เรียนรู้ ร่ ว มกั น และให้ ค วามสำคั ญ กั บ การเรี ย นรู้

แลกเปลี่ยนร่วมกัน” คำกล่าวขั้นต้นเมื่อเทียบเคียงกับเรื่อง ราวและคำบอกเล่าเรื่องการทำงานที่ผ่านมาจาก เสี ย งสะท้ อ นของแม่ ไหมในฐานะผู้ ก่ อ ตั้ ง ชมรม

ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ในฐานะเป็นผู้ร่วมขบวนการขับเคลื่อน เรื่องสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุบ้านศิลา อำเภอ เกาะคา ทำให้เห็นว่า การขับเคลื่อนไม่ว่าเรื่องใดๆ ก็ตาม หากทำด้วยใจ ทำด้วยกัน พึ่งพิงอาศัยเพื่อ

เติ ม เต็ ม ให้ ง านมี ศั ก ยภาพยิ่ ง ขึ้ น การรวมพลั ง ม ว ล ช น ค น คิ ด ดี ที่ ก ร ะ จ า ย แ ย ก กั น อ ยู่ ใ ห้ ม า

รวมกันและมีเป้าหมาย ทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ก็จะก่อให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงมากมาย

39


ผู้สูงอายุ ... ผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ตั ว อย่ า งชุ ม ชนบ้ า นศิ ล า อำเภอ เกาะคานี้ ทำให้เห็นถึงพลังของผู้สูงอายุ พลังงานที่ สร้างสรรค์ ในขณะที่คนทำงานเองก็มีความสุขและ เห็นถึงคุณค่าของการมีชีวิตที่เหลืออยู่ ไม่ ใช่เพียง

รอคอยการเสื่อมและหมดไปของสังขาร การเห็น คุณค่าที่จะมีชีวิตอยู่ กลายเป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรง และลุ ก ขึ้ น มาทำงานเพื่ อ สร้ า งการเปลี่ ย นแปลง และเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวลุก ขึ้ น มาขั บ เคลื่ อ นงาน คำว่ า พู ด ที่ ว่ า “วั ย ชรา

40

ก็ เ ปรี ย บเสมื อ นไม้ ใกล้ ฝั่ ง ที่ ร อวั น เสื่ อ ม

สลายไป ...” คงจะใช้ กั บ ชมรมผู้ สู ง อายุ

ที่บ้านศิลาแห่งนี้ ไม่ ได้ เหมือนคำที่แม่ ไหม พูดทิ้งท้ายกับเราไว้ว่า “ไม่รู้เหมือนกันว่าเอา เรี่ยวแรงมาจากไหน ทำได้ ไม่เบื่อ ยิ่งทำยิ่ง

มีความสุข..” นี่อาจจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักยภาพ การทำงานของชมรมผู้ สู ง อายุ ข องที่ นี้ ที่ เ ป็ น

ผู้ที่มากประสบการณ์และทรงพลัง มีพลังงาน เหลือเฟือที่จะช่วยทำงานเพื่อคนอื่น และสังคมต่อไป


ถอดรหัสความสำเร็จที่แจ้ห่ม นำทีมโดย พยาบาลวิชาชีพ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูล

ชมรมผู้ สู ง อายุ เ ป็ น เป้ า หมายของบุ ค ลากรสาธารณสุ ข ที่ จ ะเข้ า ไปสร้ า งเสริ ม ความรู้

ด้ า นสุ ข ภาพช่องปาก ส่วนวิธีการใด จะสำเร็ จ แบบไหนนั้ น เป็ น โอกาสที่ ให้ ผู้ สู ง อายุ ที่ มากไปด้ วย ศั ก ยภาพประสบการณ์ ได้ ก ำหนดเอง กระบวนการ ● ● ● ทำงานในพื้นที่จึงจะมีชีวิตชีวา เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะยากมากนัก การทำงานกับผู้สูงอายุที่แจ้ห่ม เป็นพื้นที่ สำหรับคนทำงานกับพื้นที่ หนึ่งที่ทำให้ ได้เรียนรู้ถึงความมีชีวิตชีวาของการพัฒนา ที่จะมองเห็นศักยภาพของ เป็นจุดหนึ่งที่เข้มแข็ง และพร้อมขยายผลเป็นต้นแบบ

กลุ่มชมรม ใดๆ ในชุมชน และ ถื อ เป็ น ความสำเร็ จ ที่ ง ดงามของการทำงานในเครื อ ข่ า ย

“คิดงานเริ่มต้น กับกลุ่มที่เข้มแข็ง ผู้สูงอายุ เพื่อสร้างต้นแบบความสำเร็จ” เมื่อคนพร้อม ใจพร้อม บทเรี ย นที่ ได้ รั บ จากแจ้ ห่ ม ...อาจทำให้ งบประมาณอาจจะไม่มาก หลายคนรู้ สึ ก อยากทำงานกั บ ชมรมผู้ สู ง อายุ ความ แต่งานเคลื่อนได้ สำเร็จที่ถูกวางแผนไว้เป็นอย่างดี แต่ทว่าปล่อยอิสระ เพราะ “ใจมา” สิ่งนี้จึงสำคัญที่สุด แจ้ห่มเป็นพื้นที่แรกๆ ที่ประสบความสำเร็จและได้รับการ ● ● ● กล่าวขวัญมาโดยตลอด ปัจจัยความสำเร็จในเบื้องต้น เกี่ยวข้องกับ “คน” เป็นหลัก “กระบวนการพัฒนาที่ดี” เป็นประเด็น ถัดมา

า ที่ ดู มี ห ลายงานที่ ส ามารถทำร่ ว มกั น ได้ เช่ น “ เท่โครงการ ฟั น แต่ เ ราก็ ไ ม่ ไ ด้ ดู ฟั น อย่ า งเดี ย ว ร่ า งกายของเราเป็ น องค์ ร วม ดู ทั้ ง หมด ทั้ ง ชี วิ ต จิ ต ใจ เราก็ อ ยากให้ ผู้ สู ง อายุ ป รั บ ทั ศ นคติ ว่ า

การดูแลตนเองก็ต้องเริ่มจากใครไม่ได้ ต้องเริ่มจาก ตนเองก่อน คุณนันทริกากล่าว

41


คนทำงานที่ เ ป็ น บุ ค ลากร

ด้านสุขภาพที่สนใจงานสร้างเสริมสุขภาพ และสุ ข ภาพช่ อ งปากในผู้ สู ง อายุ เช่ น

คุ ณ นั น ทริ ก า เลิ ศ เชวงกล พยาบาล วิชาชีพชำนาญงานแห่งโรงพยาบาลแจ้ห่ม ที่ ร่ ำ เรี ย นมาทางด้ า นผู้ สู ง อายุ จั บ ทาง การพัฒนาได้ โดยผ่านการพัฒนาสุขภาพ ช่องปาก รวมทั้งงานทันตสาธารณสุขของ โรงพยาบาลที่เข้มแข็ง สานต่อกิจกรรม มาโดยตลอด สองแรงผนึ ก แข็ ง ขั น เป็ น ต้ น คิ ด รวมถึ ง เป็ น คนลงมื อ ทำ

ก่ อ ให้ เ กิ ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องปากในชมรมผู้สูงอายุที่ต่อเนื่อง ชมรมผู้ สู ง อายุ ที่ มี ค วาม เข้ ม แข็ ง มี แ กนนำที่ มี ค วามรู้ ความ สามารถ รวมไปถึ ง เป็ น ต้ น แบบทาง ด้านสุขภาพให้กับผู้สูงอายุท่านอื่นได้

เป็นความสำเร็จขั้นต่อมา กระบวนการกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชมรม ผู้ สู ง อายุ ล้ ว นแล้ ว แต่ คิ ด ภายใต้ ฐ านของปั ญ หา และศั ก ยภาพที่ มี จ ริ ง ๆ ในพื้ น ที่ ออกแบบการ พัฒนาร่วมกัน เห็นปัญหาร่วมคิดสร้างเครื่องมือและ วิ ธี ก ารด้ ว ยการมี ส่ ว นร่ ว ม จากนั้ น ลงมื อ ปฏิ บั ติ

เรียนรู้ร่วมกันตลอดกระบวนการ ฝ่ายผู้สูงอายุก็มีแนวคิดดีดี ในเรื่อง ของการเสริมสร้างสุขภาพ “คิดว่า” เราต้องทำให้

มีรูปแบบ เช่น ตัวเราสุขภาพเป็นอย่างไร ตั้งแต่ เวลากินข้าว มีปัญหาตรงไหน โดยเฉพาะเรื่องฟัน

เราได้เรียนรู้มาแล้ว เราต้องฝึก ฝึกแล้วก็ต้องทำ ฮื้อเป็นกิจกรรมของชมรมฯ เราคิดว่า จะทำกัน

ทุกวันที่มาออกกำลังกาย เวลามาออกกำลังกาย

42

เราก็ จ ะดู แ ลฟั น ด้ ว ย การทำโครงการให้

ต่อเนื่อง เราก็ขอการสนับสนุนจากทางสถานี อนามั ย เรื่ อ ง เอกสารสำหรั บ ผู้ สู ง อายุ

เราก็ ข อจากโรงพยาบาล เพื่ อ ให้ ส มาชิ ก

ชมรมฯ นึ ก ถึ ง คุ ณ ภาพชี วิ ต มากกว่ า เก่ า ... ชมรมต้ อ งมี ก ารดู แ ลตั ว เอง และดู แ ลคนใน ชุมชนของตัวเอง …”

เป็ น เรื่ อ งที่ ไม่ น่ า จะยากมากนั ก สำหรั บ คนทำงานกั บ พื้ น ที่ ที่ จ ะมองเห็ น ศักยภาพของกลุ่ม ชมรมใดๆ ในชุมชน และ “คิดงานเริ่มต้นกับกลุ่มที่เข้มแข็ง เพื่อสร้าง ต้นแบบความสำเร็จ” เมื่อคนพร้อม ใจพร้อม งบประมาณอาจจะไม่มาก แต่งานเคลื่อนได้ เพราะ “ใจมา” สิ่งนี้จึงสำคัญที่สุด


ก้าวย่างของชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวง

เสียงร่ำลือถึงความเข้มแข็งของชมรม ผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวง อ.แจ้ห่ม ทำให้

นั น ทริ ก า เลิ ศ เชวงกุ ล ทั น ตแพทย์ ห ญิ ง ธาริ ณี

แสงแก้ว สนใจ เข้าไปประสานงาน ชักชวนชมรมฯ ให้ เ ห็ น ความสำคั ญ ของการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่ อ งปาก ผู้ สู ง อายุ ค วรได้ รั บ การดู แ ลด้ า นการ

ส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากอย่างเหมาะสม ด้ ว ยการดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากได้ ด้ ว ยตนเอง

รวมไปถึ ง เข้ า รั บ บริ ก ารรั ก ษาและใส่ ฟั น เที ย ม พระราชทานในระบบบริ ก ารปกติ กิ จ กรรม

ดั ง กล่ า วเป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ สู ง อายุ มี สุ ข ภาพ

ช่องปากที่ดี สามารถดำรงตนได้อย่างมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี ในที่สุดชมรมผู้สูงอายุ ตำบลแจ้ห่ม วั ด ศรี ห ลวง จึ ง เป็ น ชมรมที่ บู ร ณาการงาน

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากเข้ า ไปทำกิ จ กรรม

ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพผ่ า นกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ที่ เ ป็ น สมาชิ ก ชมรม จนทำให้ ช มรมผู้ สู ง อายุ ตำบลแจ้ ห่ ม

วั ด ศรี ห ลวง เป็ น ที่ ศึ ก ษาดู ง าน เป็ น ต้ น แบบ

การดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่แรกๆ ของจังหวัดลำปาง ทำดีแล้วขยายต่อ... ชมรมผู้สูงอายุ ตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวงเป็นชมรมแกนนำ และ

ได้ เ ชิ ญ แกนนำของแต่ ล ะตำบลมาร่ ว มอบรมให้ ความรู้เรื่อง การทำความสะอาดฟัน หลังจากนั้น ก็มีการจัดอบรมในเรื่อง การนับฟัน การย้อมสีฟัน ดูคราบจุลินทรีย์ ให้กับผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการวาด แบบฟันเป็นโมเดลในการอบรม “โครงการผู้เฒ่า ฟันดี ไม่ติดสีแดง” ในปีถัดมา

“... จะจั ด กิ จ กรรมอะไรให้ ผู้ สู ง อายุ ใ นชมรมและนอกชมรมเพื่ อ ให้ มี สุ ข ภาพ

ช่องปากดี ? และ จะจัดกิจกรรมอะไรให้ผู้อื่นมีสุขภาพช่องปากดี ? ...” เป็นคำถามสองข้อที่ ทันตแพทย์หญิงธาริณี แสงแก้ว (หมอปู) โรงพยาบาลแจ้ห่ม ตั้งขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นกับชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวง หลังจากที่ ได้สร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากมาระดับหนึ่ง และแกนนำบางส่วนได้ตระหนักแล้วว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ

43


ก ร ะ บ ว น ก า ร โ ย น หิ น ถ า ม ท า ง

ในคำถามสองข้อ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี ก ารระดมความคิ ด เห็ น ที่ ห ลากหลาย ใน บรรยากาศการมีส่วนร่วมอย่างคึกคัก ทำให้เกิด ข้ อ เสนอที่ เ ห็ น ถึ ง ศั ก ยภาพการคิ ด ของชมรม

ผู้สูงอายุที่คิดผ่านต้นทุนที่ตนเองมี เละข้อเสนอ บางประการถู ก แปรไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ ใ นไม่ ช้ า นาน หลังจากนั้น “ตอนแรกที่ทำไป ก็คิดว่าผู้สูงอายุจะ คิดไม่ออก ไม่แน่ ใจว่าจะเขียน หรือคิดได้หรือไม่

เตรียมเผื่อไว้แล้วว่า ถ้าคิดไม่ ได้จริงๆ ก็อาจจะ แนะให้บ้าง แต่ว่าผลที่ ได้ เกินความคาดหมาย พอแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มมีประธาน เลขาฯ ประธานสามารถควบคุมคนในกลุ่มให้มีการ แสดงออก และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน พอเขา คิดมาก็ ให้เขียนไว้ ในกระดาษ มีคุณยายท่านหนึ่ง ที่ เ ราคิ ด ว่ า เขาน่ า จะเขี ย นหนั ง สื อ ไม่ ได้ แต่ ว่ า

คุณยายก็เขียนได้สวยกว่าคนอายุน้อยๆ เสียอีก เกิดอารมณ์ทึ่งละค่ะ เพราะว่าผู้สูงอายุก็คิดได้” หมอปูเล่าไว้

“แบบตรวจสุขภาพช่องปาก” เป็นหนึ่งในกิจกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ

ช่องปากผู้สูงอายุของชมรมในระยะแรก ด้วยเห็นว่าแบบตรวจที่นำมาใช้ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในครั้งแรก สมาชิกชมรมฯ ดูแล้วไม่เข้าใจ ไม่สามารถนำไปใช้ประเมินสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุได้ จึงได้ร่วมกับทีมงานฝ่ายทันตฯ ทำขึ้นมาใหม่ ในแบบที่สมาชิกชมรมดูแล้วเข้าใจ สามารถนำไปใช้ ได้

ซึ่งในระยะถัดมาแบบตรวจฯ ดังกล่าวนี้ ได้นำไปใช้ทั้งในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุรวมไปถึง การประกวดสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุในชมรม

44


ปัจจุบัน ชมรมผู้สูงอายุ ตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวงใช้สมุดนับฟัน เป็นแบบบันทึกสุขภาพ

ช่องปากของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ นั บ วั น แกนนำสมาชิ ก ชมรมฯ

ก็ยิ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ในช่ อ งปากมากขึ้ น และได้ มี ส่ ว นเผยแพร่

ความรู้เหล่านี้ ไปยังเพื่อนสมาชิกผู้สูงอายุด้วย กั น เองในชมรม ทำให้ ผู้ สู ง อายุ จ ำนวนมาก

มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจ และจำนวนไม่ น้ อ ย

ที่ปรับทัศนคติไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแล สุ ข ภาพช่ อ งปาก มี ทั ก ษะที่ ดี ใ นการดู แ ลสุ ข ภาพ

ช่องปากของตนเอง นอกจากนั้นยังมีการขยายผล ในการให้ ทั น ตสุ ข ศึ ก ษาให้ กั บ บรรดาลู ก หลาน

ในครอบครั ว /เครื อ ญาติ กระทั่ ง ขยายผลไป ให้ ความรู้ ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่อีกด้วย

45


ทั น ตแพทย์ ห ญิ ง นนทลี วี ร ชั ย

ได้บันทึกเรื่องราวของชมรมฯ นี้ ไว้ว่า “...และเมื่อ แกนนำชมรมฯ ได้ รั บ การถ่ า ยทอดความรู้ เ รื่ อ ง

การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก โดยที ม บุ ค ลากร สาธารณสุข ของโรงพยาบาลแจ้ห่มเมื่อปี 2549 โดยการอบรมแกนนำ และจั ด กลุ่ ม ให้

ผู้สูงอายุช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้ ผู้ สู ง อายุ มี สุ ข ภาพช่ อ งปากที่ ดี และ

ทำอย่างไรจะให้คนอื่นมีสุขภาพช่องปาก

ที่ ดี ด้ ว ย กิ จ กรรมที่ ผู้ สู ง อายุ คิ ด ก็ คื อ

การทำให้ตัวเองมีสุขภาพช่องปากดี โดย มี ก ารจั ด อบรมให้ ค วามรู้ การประกวด

46

แปรงฟันและถอดประสบการณ์คนมีฟันดี การ สาธิ ต ดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากและฟั น และ

มีการปฏิบัติจริง ... การทำให้คนอื่นมีสุขภาพ ช่ อ งปากดี โดย ผู้ สู ง อายุ ถ่ า ยทอดความรู้

ให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว การจับคู่ ตรวจฟัน และการไปแนะนำคนอื่นๆ ให้ช่วยกัน รั ก ษาฟั น ชมรมผู้ สู ง อายุ ฯ จึ ง ได้ มี ก ารจั ด กิ จ กรรมการดู แ ลตั ว เองด้ ว ยการจั ด บอร์ ด ให้ ความรู้ ที่ วั ด ศรี ห ลวง ซึ่ ง เป็ น สถานที่ ตั้ ง ของ ชมรมฯ สาธิ ต การแปรงฟั น และฝึ ก ปฏิ บั ติ

แปรงฟั น การจั บ คู่ ต รวจฟั น การประกวด

ฟันสวย และตรวจฟันโดยทันตบุคลากร...”


นันทริกา เลิศเชวงกุล กล่าวถึง ปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ว่า “...จริ ง ๆ แล้ ว ผู้ สู ง อายุ มี ศั ก ยภาพมาก แต่ ล ะคนทั้ ง มี ค วามรู้ และ ประสบการณ์ อิ่ ม ตั ว ไม่ ต้ อ งการชื่ อ เสี ย ง

เงินทองแล้ว มี ใจและมีเวลาที่จะชักชวนไปทำ ประโยชน์ อื่ น ๆ เรื่ อ งการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องปาก ผู้สูงอายุเขาจะเข้าใจและเห็นความ สำคัญ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีปัญหา เรื่ อ งนี้ จึ ง เข้ า ใจความทุ ก ข์ เ ป็ น อย่ า งดี

อยากช่ ว ยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์ การไปให้ ความรู้ ในครอบครัวก็เพราะว่าเขาไม่อยากให้ ลูกหลานต้องเป็นทุกข์เหมือนเขา เขารู้แล้วว่า

ฟั น มั น สามารถอยู่ กั บ เราไปตลอดชี วิ ต ได้ ถ้ า รักษาไว้ดี ๆ...” พ่ อ กมล เนตรรั ศ มี ประธาน ชมรมผู้ สู ง อายุ ต ำบลแจ้ ห่ ม วั ด ศรี ห ลวง

ซึ่งเป็นแกนนำคนสำคัญในการขับเคลื่อนงาน ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก กล่าวไว้ว่า

ส่วนกระบวนการการสร้างความ ตระหนักให้กับผู้สูงอายุทั่วไป ชมรมผู้สูงอายุ วั ด ศรี ห ลวงมี ก ารคั ด เลื อ กบุ ค คลต้ น แบบทาง ด้านสุขภาพ เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการดูแล สุขภาพตนเอง รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้สูง อายุ ค นอื่ น ๆ ที่ แ จ้ ห่ ม มี คุ ณ แม่ ท องเงิ น

“... เราถื อ ว่ า ชมรมผู้ สู ง อายุ เ ป็ น วั ย ที่ เ ปลี่ ย น

มี สุ ข ภาพถดถอย อวั ย วะในช่ อ งปากจะมี ก าร เปลี่ ย นไป เรายึ ด พระราชดำรั ช ของพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ที่ ว่ า “เวลาไม่ มี ฟั น

กินอะไรก็ ไม่อร่อย ทำให้ ไม่มีความสุข จิตใจก็ ไม่สบาย ร่างกายก็ ไม่แข็งแรง” เป็นหลักใน การดำเนิ น งาน ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของ กรรมการ และแกนนำในชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งบาง ท่ า นเป็ น ข้ า ราชการเกษี ย ณ บางท่ า นเป็ น ผู้ น ำ ชุ ม ชน ที่ ช่ ว ยกั น คิ ด ทำกิ จ กรรมเพื่ อ ส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมทั้ ง ทางด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม และ สุขภาพไปด้วยกัน”

วสุสัณห์ เป็นคนต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ ในช่ อ งปากด้ ว ยวั ย 80 ปี แ ต่ มี ฟั น ครบ 32 ซี่ ทำให้มีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยบางรายจึงเห็นคุณค่า และและตระหนั ก หั น กลั บ มาดู แ ลสุ ข ภาพของ ตนเองมากขึ้น 47


การดำเนิ น งานขั บ เคลื่ อ นชมรม

ผู้สูงอายุมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ได้มีการขยาย เครือข่ายจนครบ 7 ตำบลและยังทำการขยาย ต่อไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมทั้งอำเภอ ที่น่าสนใจ ก็คือ ในการขยายเครือข่ายก็จะมีชมรมพี่ ชมรม น้องเกิดขึ้นด้วย รูปแบบพี่ดูแลน้องของชมรม

ที่ เ กิ ด ก่ อ น-หลั ง ลั ก ษณะนี้ ถื อ ว่ า เป็ น การ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างความ เข้มแข็งจากประสบการณ์เดิมของชมรมพี่ เพื่อ ให้ ช มรมน้ อ งพั ฒ นาต่ อ ยอดโดยมี ช มรมพี่ ให้

คำแนะนำและชี้ แ นะแนวทางการขั บ เคลื่ อ น

การพัฒนา ในเวทีถอดบทเรียน นันทริกาได้เล่าถึงมุมมองของเธอต่อการทำงานกับชมรมผู้สูงอายุว่า

● ● ●

คุณพ่อกมล ประธานชมรม ผู้สูงอายุวัดศรีหลวง จะยึดไว้เสมอ ในการทำงานก็คือ “ความคุ้นเคย เป็นญาติสนิท” หรือ “วิสาสา ปรมาญาติ” ที่ใช้ประโยคนี้ เนื่องจากการทำงานแต่ละครั้ง ก็จะต้องเริ่มจากการสร้าง ความไว้เนื้อเชื่อใจ ใกล้ชิดสนิท กันมากขึ้นเพื่อให้เกิดความอบอุ่น เอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ● ● ●

48

“การทำงานในโครงการนี้ ทำให้ ตนเองได้มี โอกาสออกมาทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ได้กลายเป็นคนขับเคลื่อน และได้สร้างความมั่นใจ ให้ ตั ว เองในการทำงานอี ก ด้ ว ย นอกจากนี้

กรอบแนวคิ ด ในการทำงานสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ

ช่ อ งปาก ด้ ว ยการใช้ห ลั ก ออตตาวาชาร์ เ ตอร์

จะมี ก ารใช้ ห ลั ก นี้ ในการนำไปบู ร ณาการในการ ทำงานทุกอย่าง เพราะถ้าเราไม่มีกรอบตั้งไว้ ก็จะ มีการทำงานที่ ไม่เป็นระบบ” เมื่ อ มี ก ารเริ่ ม ทำงานในเชิ ง รุ ก จึ ง

มีการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการนำการใส่ ฟั น เที ย ม มาให้ บ ริ ก ารในโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม

สุขภาพตำบล ทำให้ผู้สูงอายุที่ ไม่สามารถเดินทาง มารับการตรวจรักษาที่ โรงพยาบาลแจ้ห่มได้นั้น

มี โ อกาสในการเข้ า รั บ บริ ก ารและดู แ ลสุ ข ภาพ

ได้ง่าย รวมถึงมีความสะดวกมากขึ้น กิจกรรม

ดังกล่าวมีการดำเนินการมาแล้วอย่างจริงจังเป็น เวลา 2 ปี นอกจากนี้ยังมีการเข้าไปตรวจสุขภาพ ถึ ง บ้ า นโดยโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำบล ออกให้บริการกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงที่ ไม่สามารถ ออกไปรับการดูแลรักษาด้วยตนเองได้


กระบวนการการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ สำหรับ “โครงการผู้สูงวัยรวมใจ ช่องปากผู้สูงอายุในอำเภอแจ้ห่มนั้นไปไกล ถึงมี งดสูบบุหรี่” สืบเนื่องจากมีพระรูปหนึ่งมีอาการ การสร้างนโยบายสาธารณะ โดยมี โครงการ ป่วยเป็นโรคหอบ ภูมิแพ้ เนื่องจากในเวลาที่มีงาน ปลอดลาบหลู้ ส้ า ดิ บ ในงานบุ ญ โครงการ ต่ า งๆ ก็ จ ะมี ก ารสู บ บุ ห รี่ ภ ายในงาน จึ ง ทำให้ ดังกล่าวดำเนินการตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน บุคคลที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบนั้น มีอาการที่ ไว มุ่ ง เน้ น พฤติ ก รรมการบริ โ ภคของชุ ม ชนผ่ า นการ ต่อกลิ่นบุหรี่ที่ส่งผลต่อโรคที่ตนเป็นอยู่ ได้เร็วมาก ส่งเสริมให้ทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ปลอด โดยที่ โครงการนี้ ได้มีผู้สูงอายุได้เข้าร่วมบำบัดเพื่อ อาหารที่เป็นลาบหลู้ และส้าดิบทุกชนิด วิธีการ เลิกบุหรี่ด้วยเป็นจำนวน 30 คน และโครงการดัง เด็ ด ๆ ของโครงการนี้ ทำโดยมี ก ารนำป้ า ย กล่าวมีวัยรุ่นที่สนใจได้เข้ามาร่วมโครงการนี้ด้วย โครงการไปติดไว้ที่บ้านที่มีการจัดงานบุญขึ้น หรือ นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรม “วัดปลอด ในสถานที่ทุกๆ แห่งที่มีการจัดงานบุญก็จะมีป้าย เหล้า ปลอดควัน” เกิดจากการร่วมมือกันจาก

โครงการนี้ ไปติดไว้เช่นกัน ทุกภาคส่วนที่ต้องการไม่ ให้มีการดื่มเหล้ากันในวัด “จิตอาสาตักบาตร” เป็นกิจกรรม และงานบุ ญ ต่ า งๆ รวมไปถึ ง ในงานศพด้ ว ย

ที่ ผู้ สู ง อายุ ใ นชมรมทำร่ ว มกั น ในทุ ก ๆ เดื อ น การปรับเปลี่ยนที่สำคัญ โดยเฉพาะงานศพ ก็จะ มีการรวมตัวกันของผู้สูงอายุ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ไม่มีการจุดธูปเทียน แต่จะมีการใช้ดอกไม้จันทน์ หรือผู้สนใจมาตักบาตรร่วมกันทุกวันอังคารของ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อเป็นการปลอดควัน ต้นเดือน กิจกรรมนี้จัดขึ้นในโรงพยาบาลเป็นการ จากธูปนั่นเอง ทางตำบลทุ่งผึ้งได้ทำมาแล้วเป็น เปิ ด โอกาส ให้ กั บ ผู้ ป่ ว ยที่ ไม่ ส ามารถออกจาก เวลา 1 ปี สำหรับการงดจุดธูปเทียนในงานศพ โรงพยาบาลได้นั้นมี โอกาสได้ทำบุญเหมือนกับคน และจะมีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ในหลายๆ ตำบล อื่นๆ ได้เช่นกัน

49


กิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

จากบริบทการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายของชมรมผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม วัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่มข้างต้น สรุปได้ถึงวิธีคิดที่เกี่ยวกับ กระบวนการในการทำงานอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนหลักๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้ 1. สร้างทีม คือการแต่งตั้งคนทำงาน คณะกรรมการร่วมงานที่มี “ใจ” มีศักยภาพ และ

มีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคม 2. คืนข้อมูล นำข้อมูลปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสะท้อนบทเรียน

หาข้อเสนอทางเลือกในการแก้ ไขปัญหา 3. เขียนแผนโครงการ ออกแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนา โดยเขียนแผนงาน โครงการ เพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณ 4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นชุดกิจกรรม สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5. เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ การวัดผลหลังจากที่ ได้จัดกิจกรรมไปแล้วด้วยหลักการ ต่ อ ไปนี้ 3 อ ได้ แ ก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลั ง กาย 2 ส ได้ แ ก่ สุ ข า (ยา)

สารเสพติด 1 ฟ ได้แก่ ฟัน (สุขภาพช่องปาก) 6. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนในกลุ่มสมาชิก 7. ประเมินผลด้วยการใช้แบบสอบถาม สำหรับเป็นการวัดผลกิจกรรมที่ ได้ลงมือปฏิบัติ ไปแล้ว

50


สำหรับการออกแบบกระบวนการนั้น ทางอำเภอแจ้ ห่ ม มี ห ลั ก อยู่ ง่ า ยๆ คื อ “ถ้ า เรา

รู้ปัญหา ก็จะเอาปัญหานั้นมาตั้งเป็นประเด็น หลั ก และแก้ ไขปั ญ หาให้ ต รงกั บ ปั ญ หาที ่ เกิดขึ้น” วิธีคิดดังกล่าว ผุดโครงการแก้ ไขปัญหา ขึ้ น มาอย่ า งมากมาย ซึ่ ง ล้ ว นแล้ ว แต่ เ ป็ น การ วิเคราะห์ปัญหาจากพื้นที่จริงๆ เป้าหมายมุ่งไปที่ การแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้เกิด การมี สุ ข ภาพ คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ส ำหรั บ ผู้ สู ง อายุ รวมถึงผู้ที่ ไม่สามารถพึ่งตนเองได้หันมาตระหนัก ให้ความสนใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ถึงแม้ว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นจะมีความ หลากหลายมาก และตอบสนองต่อปัญหาจริงๆ

ที่เกิดในพื้นที่ แต่สอดคล้องจังหวัดที่ต้องการให้ เกิดการพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ มีกระบวนการ ประเมิ น ผลเพื่ อ ดู ผ ลลั พ ธ์ ประสิ ท ธิ ภ าพ และ ประสิทธิผล เพื่อวางแผนการดำเนินการบูรณา การการทำงานต่อเนื่องไปในแต่ละปี กระบวนการเรี ย นรู้ ที่ แ จ้ ห่ ม มี ก าร

จั ด เวที ก ารแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ก าร ป ร ะ ชุ ม

การรณรงค์ด้วยวิธีการต่างๆ คุณพ่อกมล ประธาน ชมรมผู้สูงอายุก็จะมีประโยคที่อ้างอิงจากพระราช ดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำไปใช้ ในการเชิ ญ ชวน “เวลาไม่ มี ฟั น กิ น อะไรก็

ไม่อร่อย ทำให้ ไม่มีความสุข จิตใจก็ ไม่สบาย ร่างกายก็ ไม่แข็งแรง” ประโยคดังกล่าวนอกจาก จะทำให้ เ กิ ด จุ ด ประกายในการหั น กลั บ มาดู แ ล สุขภาพช่องปากแล้ว ยังเป็นประโยคที่ทำให้คน ทำงานมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุผล สุขภาพดี คุณภาพชีวิตที่ดี ให้กับผู้สูงอายุ ยังมีหนึ่งประโยคที่

คุณพ่อกมล ประธานชมรมผู้สูงอายุวัดศรีหลวง จะยึดไว้เสมอในการทำงานก็คือ “ความคุ้นเคย เป็นญาติสนิท” หรือ “วิสาสา ปรมาญาติ” ที่ ใช้ ประโยคนี้เนื่องจากการทำงานแต่ละครั้งก็จะต้อง เริ่มจากการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ใกล้ชิดสนิท กันมากขึ้นเพื่อให้เกิดความอบอุ่น เอื้ออาทรช่วย เหลือซึ่งกันและกัน ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

● ● ●

ปัญหาใหญ่ๆก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไข ให้การขับเคลื่อนการทำงาน เกิดปัญหา เป็นเพียงสภาวะของ ปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข ผ่านการพูดคุย หาทางออกร่วมกัน ● ● ●

ในการทำงานแต่ ล ะครั้ ง มุ่ ง เน้ น “การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง” แต่ละโครงการ

จะมีภาคีที่ทำร่วมก็คือ ผู้นำชุมชน สมาชิกสภา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล อสม. และ คณะสงฆ์ การมีภาคีมาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับ ผิดชอบการทำงานที่หลากหลาย เป็นเสมือน กลยุ ท ธ์ ก ารขั บ เคลื่ อ นการดำเนิ น งานชมรม

ผู้สูงอายุที่นี่ ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ปั ญ ห า ใ ห ญ่ ๆ ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น เ งื่ อ น ไ ข ใ ห้ ก า ร

ขั บ เคลื่ อ นการทำงานเกิ ด ปั ญ หา เป็ น เพี ย ง สภาวะของปั ญ หาที่ ต้ อ งมี ก ารแก้ ไขผ่ า น

การพูดคุย หาทางออกร่วมกัน

51


การทำงานอย่างตั้งใจ และมีกลยุทธ์ ที่ชัดเจน รวมไปถึงมีภาคีที่หลากหลายเข้ามาร่วม ด้วยช่วยกัน ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล ของการทำงาน ส่งผลให้ชมรมผู้สูงอายุแจ้ห่มได้ รับรางวัลต่างๆ เป็นจำนวนมาก จึงทำให้รู้สึกว่า จะรั ก ษาชื่ อ เสี ย งที่ ดี และจะทำให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น ไปได้ อย่างไร “การทำดีนั้นทำได้ ไม่ยาก แต่การที่จะ รั ก ษาไว้ ห รื อ ทำให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น นั้ น ยากกว่ า ” และ

การที่ ได้มีการร่วมงานกับหลายๆ ภาคีนั้น ทำให้ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างมาก มีการแชร์ ประสบการณ์ ในการทำงาน หรื อ ได้ ม องเห็ น ศักยภาพของแต่ละคน จึงทำให้การทำงานมีความ ราบรื่ น ไปได้ อ ย่ า งดี ผ่ า นหั ว ใจจิ ต อาสา “ผู้ ให้

52

ย่อมเป็นผู้รับ” เพราะถ้าเรามีความบริสุทธิ์ ใจใน การทำ มีความพร้อมที่จะให้ ในสิ่งที่รู้ และเต็มที่ กั บ สิ่ ง ที่ ท ำ ยอมเปิ ด รั บ มุ ม มองที่ ห ลากหลาย

จึงทำให้การตอบสนองของผู้รับนั้นส่งผลกลับมา หาเราได้ โดยไม่รู้ตัว เหมือนกับที่เราได้ทำให้เกิด การเปลี่ยนทัศนคติในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่ดี ทั้งจากภายในและภายนอกเกิดขึ้น ทำให้ทุกวันนี้ ได้ เ ห็ น ผู้ สู ง อายุ ไ ด้ ใช้ ศั ก ยภาพของตนเองเต็ ม ที่ เห็นคุณค่าของตนเอง หันมาสนใจดูแลตนเองมาก ขึ้น ทำให้มีการเห็นถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการส่งผลถึงผู้ ให้มีสุขภาพร่างกาย และจิตใจดีตามไปด้วยเช่นกัน “การมีสุขภาพดี ทำให้วิถีชีวิตไทยยืนยาว”


ยังเดินต่ออย่างมั่นคง ที่แจ้ห่ม

กระบวนการเรี ย นรู้ ห้ ว งต่ อ ไป ของแจ้ห่มเข้มข้นมากขึ้น การขับเคลื่อนการ พัฒนาจะมีการนำต้นทุนเดิมที่มีอยู่สร้างเป็น “แหล่งเรียนรู้การดูแลสุขภาพช่องปากด้วย ตนเอง” มีการจัดทำเนียบการก้าวย่างของ ชมรมผู้ สู ง อายุ ใ นทุ ก ตำบลของอำเภอแจ้ ห่ ม

มีการนำศักยภาพของชมรมผู้สูงอายุร่วมกับ ศั ก ยภาพของพี่ เ ลี้ ย งในพื้ น ที่ โรงพยาบาล

ทั้ง 7 ตำบล ได้ทำงานร่วมกันมากขึ้นและ

มี ก ารแลกเปลี่ ย นกั น มากขึ้ น จะมี ก ารทำ

งบประมาณขอการสนั บ สนุ น งบประมาณ

จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกตำบล หลังจากนั้นจะมีการทำแผนด้วยการไปศึกษา

ดู ง านและแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ กั บ ชมรมดี เ ด่ น ระดั บ ประเทศ ลงมื อ ปฏิ บั ติ ด้ ว ยการจั ด ทำ หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพ ช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ จั ด ทำสื่ อ วี ดี ทั ศ น์ ใน

การสอน และทำคู่มือนวัตกรรมสมุดนับฟันและ การย้อมสีฟัน

หลังจากที่ลงมือทำไปแล้วนั้นก็จะมี การนำเสนอผลงานความสำเร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น สุ ด ท้ า ยได้ มี ก ารถอดบทเรี ย นร่ ว มกั น กั บ เวที

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 7 ตำบล ในอำเภอแจ้ห่ม ถื อ ว่ า เป็ น เวที ที่ ถ อดปั ญ ญาปฏิ บั ติ อ อกมาเพื่ อ การเรียนรู้อย่างแท้จริง สำหรับการดำเนินงานของชมรม

ผู้สูงอายุตำบลแจ้ห่ม จังหวัดศรีหลวง อำเภอ แจ้ ห่ ม นั้ น จะไม่ ป ระสบผลสำเร็ จ เลยถ้ า ขาด

การร่วมมือของภาคีทั้งหลาย แต่ที่สำคัญไปกว่า ก็ คื อ “ความไว้ เ นื้ อ เชื่ อ ใจ” ถ้ า เราเชื่ อ ใจใน

คนทำงาน ยอมรั บ และมองเห็ น ในศั ก ยภาพ

ที่พวกเขามีและได้นำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ ใน ทางที่ ถู ก ผลที่ ได้ คื อ สามารถทำให้ บุ ค คล

เหล่ า นั้ น ได้ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของตนเองกั บ สิ่ ง ที่

ได้ ท ำอย่ า งเต็ ม ที่ ส มกั บ คำที่ “ผู้ ให้ ย่ อ มเป็ น

ผู้สง่างาม” เสมอ

53


ความเข้ มแข็งผ่านต้นทุนเดิม ที ่ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูล

“เริ่มที่วัด ชัดที่ผู้นำ ภาคีหลากหลาย มาร่วมกันด้วยใจ และก้าวไปด้วยกัน”

กิ จ กรรมที่ ห ลากหลายของชมรมผู้ สู ง อายุ เป็นต้นทุนสำคัญในการคิดต่อในเรื่องของสุขภาพเชิงรุก เมื่ อ ผู้ สู ง อายุ ม ารวมตั ว กั น ด้ ว ยกิ จ กรรมและความตั้ ง ใจ

ที่จะทำบางสิ่งร่วมกัน ตรงนั้นถือว่า ความเป็น “สังฆะ” ได้เกิดขึ้นแล้ว ชมรมผู้สูงอายุลักษณะนี้ สามารถดำเนิน การพัฒนาต่อยอดได้ โดยไม่ยากนัก ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ มีกิจกรรม

ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของ พระสงฆ์ องค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) และผู้สูงอายุในชุมชนก่อนหน้านี้แล้ว เริ่มจากชมรมฌาปนกิจสงเคราะห์ มีชมรมดนตรีพื้นเมือง “วงร่องเคาะ” เกิดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมสุนทรียะศิลป์ ให้ กับผู้สูงอายุ รวมไปถึงการระดมทุนเข้าชมรมฌาปนกิจ

ไปด้วย ต่อมาใน ปี 2552 มีการตื่นตัวทางด้านสุขภาพ มากขึ้ น จาก มหกรรมสุ ข ภาพประจำหมู่ บ้ า น มี ก ารให้ ความสำคั ญ สนั บ สนุ น กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพที่ มี

หลากหลายในชุ ม ชน ผู้ สู ง อายุ เ องก็ ไ ด้ พั ฒ นากิ จ กรรม

ส่งเสริมสุขภาพทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ ใช้องค์ความรู้

ที่มีอยู่สื่อสารถ่ายทอดสู่ลูกหลาน และเด็กเยาวชน

โดยมี อบต. และ อบจ. สนับสนุนงบประมาณใน การดำเนินการดังกล่าว ต่อมาในปี 2553-2555 มีการจัดตั้ง โครงสร้างชมรมผู้สูงอายุตำบลร่องเคาะขึ้นอย่าง เป็นทางการ มีคณะกรรมการ 6 ฝ่าย มีตัวแทน ชมรมฌาปนกิจที่มีอยู่เดิมเป็นตัวแทนหมู่บ้านละ

1 คน มีการนัดหมายประชุมเดือนละ 1 ครั้ง

54

● ● ●

ด้านงานส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากนั้น เมื่อเริ่มต้น ทีมงานของตำบลร่องเคาะ ได้มีโอกาสไปร่วมการจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดความสนใจ และได้ไปดูกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากผู้สูงอายุชมรม ผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม กลับมาทำกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และผู้สูงอายุ ทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลาย ● ● ●


ในด้านงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก นั้น เมื่อเริ่มต้น ทีมงานของตำบลร่องเคาะ

ได้ ไปร่วมการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปาก

ผู้สูงอายุ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดความสนใจ และได้ ไปดู ก ารทำกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ช่องปากผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ ห่ ม กลั บ มาทำกิ จ กรรมร่ ว มกั น ระหว่ า ง โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ตำบล องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบล (อบต.) และผู้ สู ง อายุ ทำให้ เ กิ ด การทำกิ จ กรรมที่ หลากหลาย ได้แก่ การสร้าง

แกนนำผู้ สู ง อายุ ที่ จ ะเป็ น ผู้ ข ยายกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม

สุขภาพไปยังเพื่อนผู้สูงอายุทั่วไป และผู้สูงอายุ

ติดเตียงโดยการเยี่ยมบ้านผ่านกิจกรรม “เพื่อน ช่ ว ยเพื่ อ น” ศึ ก ษาดู ง านพื้ น ที่ ที่ ป ระสบความ สำเร็จ เพื่อเรียนรู้ นำบทเรียนมาพัฒนาชมรมต่อ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สุขภาพฟัน

ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ ตรวจฟัน กิจกรรมนับฟัน ลงบันทึกในสมุดนับฟัน จับคู่แปรงฟัน การแปรง ฟั น อย่ า งถู ก วิ ธี การย้ อ มสี ฟั น การคื น ข้ อ มู ล สุขภาพฟัน และมี โครงการที่ทำกันอย่างต่อเนื่อง ทุกสัปดาห์ก็คือ “โครงการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ร่องเคาะ” ที่ผสมผสานการออกกำลัง กายกั บ การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพช่ อ งปากไว้ ด้ ว ยกั น ใน กิจกรรม “ออกกำลังกายแล้วมาตรวจฟัน” ทุกวัน จันทร์ พุธ และศุกร์นั้น และในวันศุกร์จะมีการ คัดกรองความเสี่ยง เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ด้วย

55


ต้ น ทุ น แ ล ะ กิ จ ก ร ร ม ดี ๆ ที่ ต ำ บ ล

ร่ อ งเคาะ หากมองผ่ า นกระบวนการสร้ า งเสริ ม สุขภาพจะเห็นความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันทั้งระบบ อย่างชัดเจน นั่นคือ 1. มี ก ารสร้ า งข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ใน ชุ ม ชน เกิ ด กฏเกณฑ์ ท างสั ง คมที่ ทุ ก คนยอมรั บ

อาทิ งานศพปลอดเหล้า งานเลี้ยงไม่มีลาบ หลู้ดิบ

ไข้ เ ลื อ ดออกจะต้ อ งหมดไป ย้ อ มสี ฟั น ทุ ก วั น ศุ ก ร์ เป็นต้น 2. มี ก ระบวนการสนั บ สนุ น การ

ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น มีการถอดบทเรียน การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และสุขภาพผู้สูงอายุ โดยรวม โดยประชุมถอดบทเรียนเดือนละหนึ่งครั้ง และมี ก ารสร้ า งแกนนำผู้ สู ง อายุ ใ นโครงการ

เพื่อนช่วยเพื่อน ชักชวนเพื่อนย้อมสีฟัน แปรงฟัน

56

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับช่องปาก และสุขภาพ อีกทั้งมีตารางกิจกรรมที่แน่นอน ในการปฏิ บั ติ ง านด้ า นส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ

ช่องปาก และสุขภาพ อาทิ การเยี่ยมผู้ป่วย ติดเตียง ให้เพื่อนผู้สูงอายุเหล่านั้น ได้รู้ถึง สายสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งผู้ สู ง อายุ ด้ ว ยกั น

เน้นคนในชุมชนดูแลกันเอง ขับเคลื่อนงาน ด้วยจิตอาสา 3. ค น ท ำ ง า น เ ริ่ ม จ า ก ใ จ หรื อ จิ ต อาสาเป็ น ฐาน ดั ง นั้ น เมื่ อ ทุ ก คน ตระหนักถึงความสำคัญจึงมีการขยายองค์ ความรู้ ให้กับผู้อื่น ให้ ได้ตระหนักถึงความ สำคั ญ ของสุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ ด้ ว ย เน้นการดูแลเป็นครอบครัวเดียวกัน โดยแบ่ง หน้ า ที่ กั น รั บ ผิ ด ชอบในแต่ ล ะส่ ว น เช่ น


รพ.สต. เผยแพร่ ข้ อ มู ล สุ ข ภาพแก่ แ กนนำ

ผู้สูงอายุ จึงมีการทำงานบนฐานข้อมูลสุขภาพ มี ก ารทำงานเชิ ง รุ ก และขยายเครื อ ข่ า ย

อยู่ตลอดเวลา

4. มี ก า ร พั ฒ น า ทั ก ษ ะ สุ ข ภ า พ

ส่วนบุคคลเพื่อเป็นต้นแบบสุขภาพ รวมถึงเป็นแรง บันดาลใจให้กับผู้สูงอายุท่านอื่นๆ ทำใหกระบวน การการขั บ เคลื่ อ นงานด้ า นสุ ข ภาพช่ อ งปาก

มีการพัฒนาคนทำงานและขยายความรู้อยู่ตลอด เวลา

“ให้ความรู้ – สร้างแกนนำ – ชักนำเพื่อน – เตือนสุขภาพ – รับทราบกิจกรรมร่วมกัน – เท่าทันแหล่งทุน – เกื้อกูลดุจญาติมิตร – พิชิตงานชุมชน – สูงอายุทุกคนยิ้มได้ – ชื่นใจเชื่อใจ – จับมือกันไว้ ดูแลกันและกัน”

57


5. ในกลุ่มสถานบริการสาธารณสุขมุ่งเน้นการปฏิบัติงานเชิงรุก เป็นการประสานความรู้ อยู่ ในกิจกรรมที่มีการนัดเจอกัน เช่น การย้อมสีฟัน ชวนกันแปรงฟัน หรือการประชุม อาศัยวาระที่ดีที่มี การรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน ให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ อาศัยแกนนำ โครงการเพื่อน ช่วยเพื่อน เพื่อลดช่องว่างของความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับชาวบ้าน สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง

ให้ข้อมูลสุขภาพช่องปากที่เป็นสถิติ ข้อมูลโรค สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ชี้ชวนให้ดูและรับรู้ปัญหาและ สาเหตุ รวมถึงผลกระทบของโรคนั้นๆ เรียกได้ว่า ตำบลร่องเคาะกับงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุ “ทำด้วยใจ มาด้วยใจ” บทเรียนการทำงานของชมรมผู้สูงอายุที่ร่องเคาะ มีเส้นทางการเดินทางที่น่าสนใจ ที่นี่มี การพัฒนาแบบก้าวกระโดด เพราะมีการเสริมต่อความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่เดิมนั่นเอง

การรวมคนมี ใจ “เริ่มที่ ใจ แล้วไปด้วยกัน” เป็นปัจจัยของความสำเร็จหนึ่งที่ร่องเคาะ โดยสรุป กระบวนการขับเคลื่อนที่ร่องเคาะ ผ่าน “ร่องเคาะโมเดล” ได้แก่

01

ระดมต้นทุนเดิม ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยสนับสนุน

รวมกลุ่มแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ

03

วางแผนร่วมกัน ดำเนินงานตามกิจกรรม - ลงมือทำ

05

04

การถอดบทเรียน ปรับปรุงแก้ไขกิจกรรม

58

02

06


ความสำเร็จที่ร่องเคาะ ผ่านบทกวีการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ได้อย่าง ชัดเจนและมีชีวิตชีวา ดังนี้ งานส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงวัย วังเหนือ อยู่นี่ ไง เริ่มจากฐาน ต้นทุนมี ฌาปนกิจ เริ่มมานาน ช่วยถักทอต่อสาน เป็นกิจกรรม งานประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ เสริมอาชีพ ทั้งจักสาน งานจารีต งานสร้างสรรค์ กลุ่มทอผ้า กลุ่มบายศรี ร่วมเร็วพลัน กลุ่มดนตรีพื้นเมืองนั้น งามล้านนา จึงระดม จากต้นทุนที่มีอยู่ จากทุนเดิม มีพระ-วัดช่วยนำพา ร่างเป็นระเบียบ ชมรมผู้สูงอายุ ไม่ขัดแย้ง มีอยู่เก่า มาร่วมขบวน

ลองปรับจาก ฌาปนกิจ ร่วมกันหนา แบ่งเป็นฝ่ายจัดการมา เป็นกระบวน เป็นหกฝ่าย บรรลุ ร่วมถี่ถ้วน เป็นหัวหน้าส่วนถนัด จัดสรรไป

หนึ่งฝ่าย ด้านส่งเสริมสุขภาพ สามสันทนาการ แคล้วคล่อง ว่องไว ห้าฌาปนกิจสงเคราะห์ ไม่ละทิ้ง ผนวกกับ ศิลปวัฒนธรรม นำชีวา

สองทะเบียน ขานรับ งานสดใส สี่ส่งเสริม อาชีพไง สิ่งจำเป็น ด้านที่หก สำคัญยิ่ง งานศาสนา ทั้งหกฝ่าย รวมพลังมาเป็นชมรม

เมื่อโครงสร้างลงตัว เริ่มวางแผน กิจกรรมผ่านไป ใครก็ชม ถึงเวลา ปฏิบัติการภารกิจ คัดกรอง ความเสี่ยง-ออกเยี่ยมบ้าน

กำหนดรูปแบบกิจกรรม ให้เหมาะสม เดือนละครั้ง ร่องเคาะ บ่มสรุปงาน แกนนำ. อสม. อุทิศ อย่างกล้าหาญ อีกทั้งงาน สืบสานภูมิปัญญา

ออกกำลัง ทุกเย็น จันทร์ พุธ ศุกร์ ตรวจสุขภาพช่องปากด้วย มามะมา หนึ่งเดือนผ่านไปไม่ ไวนัก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ปัญหา เร็วพลัน

ย้อมสีฟัน ศุกร์เย็น มาเถิดหนา ขับเคลื่อนงานอาสา สุขภาพปากฟัน ชวนชัก สะท้อนบทเรียนแห่งภาพฝัน ปรับปรุงวิธีการ กันต่อไป

เป็นบทเรียนที่ดี ให้ตนเอง เป็นวิทยาทาน ให้ชุมชน อื่นต่อไป

งานสุดเจ๋ง ต้องบอกต่อ ปรับแก้ ไข สุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุสดใส-ยิ้มได้ ใจสบาย

59


แม้จะดูเหมือนว่า การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากที่ตำบลร่องเคาะ ประสบความสำเร็จ มีผลงานที่เป็น รูปธรรม แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายเช่นกัน เช่น ปัญหา ทัศนคติในการมาหาหมอฟันเพื่อรับบริการทันตกรรม การขาด งบประมาณการดำเนินงาน รวมไปถึงขาดความร่วมมือของ

ผู้สูงอายุบางกลุ่ม แต่เมื่อวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้ หาทางออก ในการแก้ ไขปัญหาแต่ละประเด็นไป ก็ทำให้ปัญหาถูกแก้ ไข

ให้ลุล่วงได้ ปั ญ หาหนึ่ ง ที่ น่ า สนใจคื อ ผู้ สู ง อายุ บ างส่ ว นที่

ไม่ ให้ความร่วมมือ ไม่เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อมองและวิเคราะห์ ปัญหานี้แล้วพบว่า ผู้สูงอายุสมาชิกรายใหม่ๆ ไม่มีความมั่นใจ ในการเข้าร่วมกิจกรรม มีความเขินอาย แก้ ไขโดยการจัดให้มี กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน มีแกนนำผู้สูงอายุเป็นคู่หูดูแล สุขภาพฟัน กลยุทธ์แบบธรรมชาติ “เพื่อนช่วยเพื่อน” เป็น วิ ธี ก ารสำคั ญ ที่ ท ำให้ เ กิ ด การมี ส่ ว นร่ ว ม เกิ ด ความไว้ ว างใจ

มีพาหนะรับส่งผู้สูงอายุเข้ามาร่วมกิจกรรม สำหรับการดูแล ทางด้ า นคุ ณ ภาพชี วิ ต มี ก ารตั้ ง กองทุ น สุ ข ภาพตำบล เพื่ อ

ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ก้ า วย่ า งต่ อ ไปที่ ร่ อ งเคาะ ยั ง คงเสริ ม กระบวนการพัฒนาด้วยกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อติดตั้งความรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนคติผ่านกิจกรรมเหล่านั้น ในอนาคตจะมีการ ขยายเครื อ ข่ า ยกิ จ กรรมให้ ค รบ 17 หมู่ บ้ า นของ ตำบล

ร่องเคาะ มีการอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ให้กับ ญาติผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุติดเตียง ผู้สูงอายุที่พิการ จัดให้

60

● ● ●

ผู้สูงอายุบางส่วน ที่ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อมอง และวิเคราะห์ปัญหานี้แล้วพบว่า ผู้สูงอายุสมาชิกรายใหม่ๆ ไม่มีความมั่นใจในการเข้า ร่วมกิจกรรม มีความเขินอาย แก้ไขโดยการจัดให้มีกิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อน มีแกนนำผู้สูงอายุ เป็นคู่หูดูแลสุขภาพฟัน กลยุทธ์แบบธรรมชาติ “เพื่อนช่วยเพื่อน” เป็นวิธีการ สำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม เกิดความไว้วางใจ ● ● ●

มีการประกวดผู้สูงอายุต้นแบบ สุขภาพฟันดี คิดค้นสูตรน้ำยา บ้วนปากที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็น ส่ ว นหนึ่ ง ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ ป็ น นวั ต กรรมของชมรมฯ เพื่ อ ให้ เกิ ด การพึ่ ง พาตนเองทางด้ า น สุ ข ภาพได้ และเป็ น ชมรมฯ ต้นแบบขยายผลไปยังชุมชนอื่น ต่อไป


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ จังหวัดลำปาง

61


62


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

จังหวัดลำปาง

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูล

บทเรียนแห่งความสำเร็จ ที่ลำปาง

บทเรียนความสำเร็จในเรื่ องใดๆ ไม่ มี สู ต ร ● ● ● ตายตัว หากพิจารณาให้ดี จะพบองค์ประกอบหลายอย่าง ภายใต้กิจกรรมที่เกิดขึ้น ที่ เ ชื่ อ มโยง เกื้ อ หนุ น กั น ทำให้ เ กิ ด ความสำเร็ จ ในการ

ผ่านการพัฒนา ขับเคลื่อนการพัฒนา มีหลายเรื่องที่เกิดจากต้นทุนเดิม

ล้วนแล้วแต่มีการออกแบบ ของพื้ น ที่ และมี กิ จ กรรมบางอย่ า งที่ คิ ด ขึ้ น มาเพิ่ ม เติ ม

ต้ น ทุ น เดิ ม ทำให้ ภ าพของความสำเร็ จ นั้ น ชั ด เจนและ การทำงานที่มองเป้าหมายร่วมกัน เป็นสำคัญ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ มีพลังมากยิ่งขึ้น การสร้างพื้นที่รูปธรรม กระบวนการพัฒนาสุขภาพสู่สุขภาวะก็เช่น ผ่านการคิดและทำ บนศักยภาพ เดียวกัน ภายใต้กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านการพัฒนา ล้วนแล้ว ที่เป็นต้นทุนเดิมของพื้นที่นั่นเอง แต่มีการออกแบบการทำงานที่มองเป้าหมายร่วมกันเป็น ● ● ● สำคัญ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ การสร้างพื้นที่รูปธรรม ผ่านการคิดและทำบนศักยภาพที่เป็นต้นทุนเดิมของพื้นที่ นั่นเอง ความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดลำปางจึงไม่ ใช่

เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด มีเรื่องราวของการเดินทางมายาวไกลและปัจจัยเกื้อหนุนให้มีวันนี้ ได้อย่าง

น่าสนใจ

63


ลำปาง...สำเร็จอย่างไร?

จุ ด เริ่ ม ต้ น ของลำปางไม่ ได้ แ ตกต่ า ง จากพื้นที่อื่นๆ ที่เริ่มต้นทำทันทีร่วมกับส่วนกลาง

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ การเลือกพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะ เกิดความสำเร็จโดยง่าย โดยคัดเลือกจากพื้นที่ที่มี ความพร้อม 2 ประการคือ การที่มีชมรมผู้สูงอายุ

ที่ เ ข้ ม แข็ ง และทั น ตบุ ค ลากรที่ มี ค วามพร้ อ ม

มี ค วามสนใจเข้ า ร่ ว มโครงการ การตั้ ง กฎเกณฑ์

เบื้องต้นดังกล่าว ทำให้ ได้พื้นที่ที่มีความพร้อม จริงๆและเป็นพื้นที่ที่มีต้นทุนที่ดี ดำเนินงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนายกระดับให้เป็น พื้ น ที่ ต้ น แบบในประเด็ น ดั ง กล่ า ว แล้ ว ค่ อ ย ขยายผลความสำเร็จออกไป วิธีการเลือกพื้นที่ จึ ง เป็ น การตั ด สิ น ใจที่ ถู ก ต้ อ งในเบื้ อ งต้ น เพราะเมื่ อ มี พื้ น ที่ รู ป ธรรมแห่ ง ความสำเร็ จ พลังและบทเรียนของความสำเร็จก็ถูกขยาย ต่อในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

คนหน้างาน...สำคัญที่สุด เบื้ อ งหลั ง ความสำเร็ จ ของงานใดๆ

จะลืมไม่ ได้คือ คนหน้างาน ที่เป็นผู้ปฏิบัติในแต่ละ ระดั บ สอดคล้ อ งประสานกั น โดยการมองเป้ า หมายของความสำเร็จร่วม ส่วนกลวิธีที่จะนำไปสู่ เป้าหมายนั้น เปิดอิสระให้คนหน้างาน “คนมี ใจ” ได้คิด ทำ อย่างที่เขาถนัด ผ่านต้นทุนที่มี คนบางคนเหมาะกับงานบางงาน และ งานบางงานก็ เ หมาะกั บ คนบางคน เช่ น กั น

การพัฒนาที่มุ่งสู่ความสำเร็จจึงให้ความสำคัญกับ คนทำงาน เราจะเห็ น การคั ด เลื อ กโดยอั ต โนมั ติ

ผ่านคุณสมบัติที่บุคคลมีอยู่ เพื่อขับเคลื่อนให้งาน สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุข

แ ม้ ว่ า บ า ง ค น ไ ม่ ไ ด้ ท ำ ง า น ด้ า น ทั น ต สาธารณสุขโดยตรง แต่มีความสนใจและมี ความอยากที่จะทำ รวมถึงมีวิธีคิดเชื่อมโยง บูรณาการว่า สุขภาพคือองค์รวม ในกลุ่มผู้ สูงอายุเองเราก็พบว่าแกนนำล้วนแล้วแต่เป็น ผู้ ที่ มี ศั ก ยภาพ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ข้ า ราชการที่ เกษียณอายุแล้ว มาทำงานเพื่อสังคม กลุ่มผู้ สู ง อายุ แ กนนำจึ ง เป็ น ผู้ ที่ เ ต็ ม เปี่ ย มไปด้ ว ย ความรู้ และการยอมรั บ ทางสั ง คมของลู ก หลาน ต้นทุนเดิมของคนทำงานที่หลากหลาย ในกลุ่มคนทำงานแต่ละระดับ เป็นปัจจัยเกื้อ หนุนให้งานสำเร็จและมีความสุขที่ ได้ทำ

เลือกพื้นที่ทำงาน...จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ

64


สร้างพื้นที่ ในการนำเสนอผลงานที่ทรงพลัง … สม่ำเสมอ

ในมุ ม มองการจั ด การความรู้ การทำงานเมื่อเริ่มเห็นความสำเร็จในช่วงเวลา แรกๆ โอกาสทองของช่ ว งเวลาดั ง กล่ า วคื อ การสร้ า งกระบวนการเรี ย นรู้ แ ละบอกต่ อ

การตีเหล็กในช่วงที่ยังร้อนๆได้ผลดี เมื่อมีเวที ให้ ได้ เ รี ย นรู้ จั ง หวั ด ลำปางมี ก ารนำเสนอ

ผลงานผ่ า นเวที ป ระชุ ม ทั น ตบุ ค ลากรระดั บ จั ง หวั ด ที่ ถู ก จั ด ขึ้ น มาอย่ า งสม่ ำ เสมอ สิ่ ง ที่

นำเสนอในเวที คื อ ความภู มิ ใจในการ

ขั บ เคลื่ อ นงานของพื้ น ที่ ความสำเร็ จ

เล็กๆ น้อยๆ ของคนทำงาน ถูกยกระดับ

ความสำคัญเมื่อได้นำเสนอ ความภูมิ ใจกำลังใจ

ที่จะสานงานต่อของคนทำงาน และบทเรียนสำหรับ ผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ นำไปประยุกต์ทำงานในพื้นที่อื่นๆ ที่มีความพร้อมต่อไป…บทเรียนของลำปางทำให้ เราได้เรียนรู้ว่า โอกาสสำคัญหนึ่งในประชาสัมพันธ์ การขยายผล คือ เวทีนำเสนอผลงานที่มีคุณภาพ ลดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เรียบง่าย สร้างแรง ได้งานได้ ใจนี่เอง นอกจากนี้ เวทีนำเสนอผลงาน

ในระดับประเทศ โดยสำนักทันตสาธารณสุขเป็น

ผู้จัด ก็เป็นส่วนหนึ่งของความภาคภูมิ ใจของผู้ที่มา นำเสนอด้วย

65


งานสาธารณะ...ยั่งยืนได้เกิดจากการมีส่วนร่วม หัวใจของการทำงานพัฒนา เกิดจากการมีส่วนร่วม จากผู้ มี ส่ ว นได้ส่วนเสียที่หลากหลาย การเป็ น เจ้ า ของร่ ว มกั น ทำให้งานนั้นถูกให้ความสำคัญ และเป็นงานของทุกคน การมี ส่วนร่วมมีทั้งร่วมแรงกาย พลังความคิด และงบประมาณของ บุคลากรสาธารณสุข ผู้สูงอายุ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในระยะหลั ง ๆ มี ก ารประสานให้ อ งค์ ก ารบริ ห าร

ส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนงบประมาณเป็นอีกก้าว หนึ่ ง ของการจั ด การสุ ข ภาพโดยท้ อ งถิ่ น บริ ห ารจั ด การ ถื อ ว่ า เป็ น การมี ส่ ว นร่ ว มที่ ค าดหวั ง บนความยั่ ง ยื น ของการจั ด การ สุขภาพด้วยชุมชนเอง ถอดบทเรียนอย่างประณีต และต่อเนื่อง บทเรียนมีความสำคัญสำหรับ บอกว่า เราจะทำไม่ผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก กระบวนการใน การพัฒนาจำเป็นต้องย้อนกลับมามองกระบวนการ ที่ ผ่ า นมา ว่ า มี สิ่ ง ใดสำเร็ จ สิ่ ง ใดล้ ม เหลว และ ปรากฏการณ์เหล่านั้นเป็น บทเรียนที่ทำให้เราได้ ใช้ เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการพัฒนาต่อเวทีการ เรียนรู้ ในแวดวงทันตสาธารณสุขจังหวัดลำปางที่มี

66

● ● ●

มีวิธีคิดเชื่อมโยงบูรณาการว่า สุขภาพคือองค์รวม ในกลุ่มผู้สูงอายุเองเราก็พบว่า แกนนำล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มี ศักยภาพ ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ที่เกษียณอายุแล้ว มาทำงานเพื่อสังคม กลุ่มผู้สูงอายุแกนนำจึงเป็น ผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้ ● ● ●

อย่างสม่ำเสมอ ถูกออกแบบให้เป็นเวทีสรุป และถอดบทเรียนไปด้วย การแลกเปลี่ยนเรียน รู้ แ บบกลุ่ ม ทำให้ เ ห็ น บทเรี ย นการทำงาน แทรกอยู่ ในกิจกรรมต่างๆ บทเรียนเหล่านั้น พื้นที่อื่นๆสามารถนำไปต่อยอด ประยุกต์ ใน พื้นที่ตนเองได้


ท้ายเล่ม ด้วยความขอบคุณ

เรื่ อ งราว “ย้ อนรอยความสำเร็ จ การสร้ า งเสริ ม งานการสร้ า งเสริ ม

สุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ สู ง อายุ จั ง หวั ด ลำปาง” นี้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ด้ ว ยความร่ ว มมื อ จาก

หลายๆ ฝ่าย ขอขอบคุณ สำนักสาธารณสุขจังหวัดลำปาง และทีมงาน ทั้งภาครัฐและ

ภาคประชาชนที่ตระหนักให้ความสำคัญ และดำเนินงานกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้สูงอายุตลอดมา ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ขอขอบคุณ ชมรมผู้สูงอายุ และภาคีเครือข่าย ที่เห็นความสำคัญของการ

มีสุขภาพดีร่วมกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ขอขอบคุณ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการ ทำกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณ คณะวิทยากรกระบวนการ ที่ร่วมจัดกิจกรรมกระบวนการ ต่างๆ จนเป็น “บทเรียนรู้” โดยเฉพาะเรื่องของชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากให้กับผู้ที่สนใจ



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.