รายงานฉบับสมบูรณ์ เมืองระยองในเส้นทางกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Page 19

บทที่ ๑

ข้อมูลจากเอกสาร : เส้นทางพระยาวชิรปราการหรือพระยาตากออก จากกรุงศรีอยุธยาหลังวิกฤตการณ์เสียกรุงฯ การศึกษาเส้นทางเดินทัพของพระยาตากหรือเจ้าตากที่หลบหนีกองทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา เท่าที่ผ่านมามักอ้างอิงอยู่กับข้อมูลจากพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ โดยถือเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกใช้อ้างอิง จนกลายเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เอกสารจากพระราชพงศาวดารคือการจดบันทึกความทรงจำของผู้คนที่ได้รับการบอกเล่าสืบต่อ มาแบบมุขปาฐะ [Oral tradition] ซึ่งอาจใช่หรือไม่ใช่บุคคลร่วมสมัย หรืออาจจะไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ต่างๆ กรณีของเส้นทางเดินทัพที่ใช้หลบหนีกองทัพพม่าในช่วงกรุงฯ แตก ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพัน จันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งน่าจะเป็นผู้มอบต้นฉบับให้กับหอพระสมุดวชิรญาณที่เก็บรวบรวมเอกสารเก่า รวบรวมขึ้นจัดพิมพ์เป็นหมวดหมู่ในกลุ่มพระราชพงศาวดารต่างๆ ขึ้นในภายหลัง การเขียนต้นฉบับพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีนั้น นอกจากฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) แล้ว ต้นฉบับที่ถูกวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นต้นฉบับที่ถูกคัดลอกมาก่อนหน้านั้นคือ ฉบับบริติช มิวเซียมที่สำนวน เก่ากว่า อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารคือเอกสารที่ถูกเขียนคัดลอกสืบต่อกันมาจากผู้คนร่วมสมัยที่ บอกเล่ าข้อมูลต่า งๆ และน่ าจะเขียนขึ้นมาในภายหลั งจากบุ ค คลที่อ าจจะไม่ ไ ด้ ร่ ว มหนี อ อกจากกรุ ง ศรีอยุธยาร่วมไปด้วยกับกองกำลังพระยาตากในช่วงกรุงฯ แตก ดังนั้นรายละเอียดในบันทึกการเดินทาง อาจจะใช่หรือไม่ใช่เส้นทางตามที่เป็นข้อเท็จจริงก็ได้ การสำรวจในงานวิจัยครั้งนี้คือการตรวจสอบข้อมูลจากบันทึกจากเอกสารเช่นพระราชพงศาวดาร และการตรวจสอบจากการเดินทางสำรวจในเส้นทางจากพื้นที่ศึกษาจริง ซึ่งผลการศึกษามีความแตกต่างใน สภาพข้อเท็จจริงบางประการ และจะนำเสนอต่อผลการศึกษาในบทต่อๆ ไป สำหรั บ ข้ อ มู ล จากการประมวลในการพิ จ ารณาจากข้ อ มู ล เอกสารโดยเฉพาะจากพระราช พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และจากฉบับบริติช มิวเซียมและการศึกษาโดยนักวิชาการ จำนวนหนึ่ง และผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ พระยาตากหรือพระยาวชิรปราการในคราวเมื่อกำลังจะเสียกรุงศรีอยุธยานั้นรวบรวมพลพรรค จำนวนไม่มากนัก แล้วตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าออกจากพระนครศรีอยุธยาในระหว่างสงครามครั้ง สุดท้ายที่กำลังแตกสลาย มุ่งไปทางตะวันออก ผ่านทุ่งกว้างเพื่อไปทางด่านเมืองนครนายกและเดินทางเลียบ ชายดง ศรีมหาโพธิที่มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ตั้งอยู่คือ “เมืองศรีมโหสถ” แล้วมุ่งสู่หัวเมือง ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกก่อนพระนครสูญเสียต่อทัพพม่าราว ๓ เดือน เป็นการกระทำเพื่อสะสมผู้คนและ จัดทัพเตรียมเสบียง เพื่อย้อนกลับไปกู้บ้านเมืองอีกครั้ง เมืองระยองในเส้นทางกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.