การศึกษาภูมิหลังและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ตลิ่งชัน

Page 1

การศึกษาภูมิหลังและการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมวัฒนธรรม ชุมชนในพื้นที่ตลิ่งชัน

เสนอ

ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร วลัยลักษณ ทรงศิริ สิงหาคม ๒๕๕๒


สารบัญ หน้า คำนำ สารบัญ บทที่ ๑ สภาพภูมิศาสตร์สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ๑ - สภาพภูมิศาสตร์ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง ๓ • โครงสร้างทางกายภาพของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา • พัฒนาการของการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิศาสตร์ ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา • การขุดคลองลัดและคลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยอยุธยา • การขุดคลองลัดและคลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาและลำน้ำอื่นๆ สมัยหลังกรุงศรีอยุธยาจนถึงเริ่มตั้งกรมคลองคูนาสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ - การตั้งถิ่นฐานในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา • การตั้งถิ่นฐานในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ • การตั้งถิ่นฐานในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ลงมา • การตั้งถิ่นฐานบริเวณลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในปัจจุบัน - ความสำคัญของเมืองบางกอก (เมืองธนบุรี) ทางประวัติศาสตร์

๕ ๗ ๙ ๑๗ ๒๙ ๓๐ ๓๓ ๔๐ ๔๑

บทที่ ๒ รากเหง้าทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ พื้นที่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา: สวนผลไม้ นาข้าว และสวนผัก ๔๘ -

-

สวนผลไม้: เศรษฐกิจพื้นฐานของชาวบางกอก • ทุเรียน: พญาแห่งผลไม้ • พืชพรรณในบางระมาด ๖๓ ข้าว: ผลิตผลหลักในแอ่งที่ราบของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา สวนผัก: สวนของคนจีน

๔๙ ๕๙

๖๗ ๗๘


บทที่ ๓ จากบ้านสวนสู่ชานมหานคร ๘๒ -

-

ท้องถิ่นตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน: เขตการปกครองสมัยใหม่ • ลักษณะทางกายภาพ • เขตการปกครอง • จำนวนประชากร การศึกษาและระบบความเชื่อ ๙๘ ท้องถิ่นบ้านสวนตลิ่งชัน • ชุมชนชาวสวนในรูปแบบใหม่ • การรวมกลุ่มของชาวบ้านในปัจจุบัน

๘๒ ๘๗ ๙๐ ๙๗ ๑๐๕ ๑๑๑ ๑๑๖

บทที่ ๔ เมืองรุกไล่ : การแปลงสวนเป็นบ้านจัดสรรและการตัดถนนผ่ากลาง ชุมชน ภาพสะท้อนการสร้างบ้านแปลงเมืองในยุคสมัยใหม่ ๑๑๙ -

ความล่มสลายของสวนตลิ่งชัน และจุดจบของสังคมชาวสวนฝั่งธนบุรี • การเปลี่ยนชีวิตตามลำน้ำเป็นชีวิตตามถนน ชีวิตใหม่ในสภาพแวดล้อมกึ่งมหานครกึ่งสวน๑๒๘ • การทำไม้ดอกไม้ประดับ • ท่องเที่ยวตลาดน้ำ: ยุทธศาสตร์การตลาดแบบหวนหาอดีต

บรรณานุกรม ภาคผนวก

๑๒๑ ๑๒๔ ๑๒๙ ๑๓๒ ๑๓๘ ๑๔๒


คํานํา รายงานการศึกษาเรื่อง “การศึกษาภูมิหลังและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ ตลิ่งชัน” ไดรับการสนับสนุนจากศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อครั้งที่คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เปนผูอํานวยการ ศูนย ในป พ.ศ.๒๕๕๒ เวลาผานมานานกวากําหนดวันสงรายงานอยางเปนทางการกวาสิบป การเขียน รายงานนี้จึงเสร็จสิ้นลง ผูเขียนขอรับผิดชอบตอความลาชาดังกลาวไวเพียงผูเดียวและถือเปนสิ่งที่ทําใหเกิด ความรูสึกผิดมากที่สุดในชีวิตของการทํางาน การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับตลิ่งชันนั้น ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธรไดใหทุนทําการศึกษาในหลายเรื่อง หลายครั้ง การศึกษาชิ้นนี้จึงเปนเพียงสวนเสี้ยวของการทํางานเกี่ยวกับสงคมลุมน้ําลําคลองของชาวสวนชาว สยามที่เคยมีชีวิตอยูอยางสบรมเย็นในอดีตกอนที่ศูนยมานุษยวิทยาจะตั้งขึ้นและเมืองไดเขามารุกไล จน ชาวสวนดั้งเดิมตองมีชีวิตเงียบๆ ในสวนลึกๆ หางจากถนนใหญและชาวสวนบางคน บางตระกูลก็ตองละเลิก หายหนาไปเนื่องจากการสรางถนนผากลางบานและกลางใจคนดั้งเดิม สวนที่กลายเปนเมืองในปจจุบันนอกจากจะหาทางออกเรื่องแกไขสภาพแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงไป ไมไดแลว ยังทําไดเพียงพยุงควารูสึกของการเปนคนริมน้ําและใชชีวิตทามกลางตนไมและผืนดินไวเทาที่การ ทองเที่ย วที่สรา งตลาดน้ําหรือ ตลาดบกขึ้นมาใหมจ ะทําได ทั้งที่นา สวนผลไมและสวนผั ก ถือ เปนเพีย ง เรื่องราวติดที่ของอดีตที่เคยรุงเรืองในการเปนพื้นที่ซึ่งผลิตผลไมรสชาติดีที่สุดแหงหนึ่ง ตลิ่งชันนั้นสัมพันธกับการเปลี่ยนแปลงโครงสรางของการใชที่ดินและน้ําในสามเหลี่ยมปากแมน้ํา เจ า พระยาและการขยายตั ว ของมหานคร การเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพจึ ง เกิ ด ขึ้ น จากโครงสร า งการ เปลี่ยนแปลงประเทศใหเขาสูความทันสมัยอยางไมตองสงสัย ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลกระทบตอ ชุมชนดั้งเดิมจึงเกิดขึ้นอยางถาโถมและรุนแรงมากเสียจนการแกปญหาเฉพาะสวนเฉพาะตัวเชนแตกอนก็ไม สามารถตานทานได นาเสียดายสิ่งที่ตองสูญเสียไป หากผูใดเคยไปทองเที่ยวในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแมน้ําตางๆ ในเขต รอน โดยเฉพาะสามเหลี่ยมปากแมน้ําโขงในเวียดนามก็พอจะมองเห็นวาพืชผัก ผลไมตางๆ ลวนมีพันธุ ใกลเคียงกันแตตางกันที่รสชาติอันเนื่องมาจากความชํานาญที่สั่งสมในการคัดเลือกสายพันธุและสรางสาย พันธุใ หมของชาวสวนที่ต างกัน สิ่งเหลานี้ อาจะเรียกว าภูมิป ญญาก็ ได การสั่งสมและการถายทอดนี้ไ ม สามารถเกิดขึ้นไดภายในเวลาอันรวดเร็วตองศึกษาทดลองบางทีอาจจะหลายชั่วคน ชาวสวนในตลิ่งชันของเราถูกบังคับโดยปริยายใหละทิ้งสิ่งเหลานี้ไป และนําเอาถนนสายใหญตึกราม บานชองสวยสงาใหญโตและสนามหญาหนาบานเขามาแทนที่ บทสรุปก็คือ เราละทิ้งมรดกที่มีคาไวเบื้องหลัง แตกลับถูกยัดเยียดโครงสรางทางกายภาพและชีวิตวัฒนธรรมใหมๆ ที่ฉาบฉวยและทําลายพื้นที่สามเหลี่ยม ปากแมน้ําใหม [Young Delta] มาแทนที่ ถึงขณะนี้ก็เพียงรอดูวา เราจะบังคับธรรมชาติไปไดตลอดหรือไม เทานั้น วลัยลักษณ ทรงศิริ สิงหาคม ๒๕๕๒


บทที่ ๑ สภาพภูมิศาสตรสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา และความสําคัญทางประวัติศาสตร ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําหรือ DELTA คือแผนดินที่ราบต่ําซึ่งกําเนิดที่ปากแมน้ําทั้งใหญ หรือเล็ก บริเวณปลายสุดของลําน้ํากอนที่จะไหลลงสูทะเล จึงเปนบริเวณที่มีการสะสมของโคลน ตะกอนเกิดเปนพื้นที่อันอุดมสมบูรณ ลักษณะทางกายภาพเปนรูปพัดเพราะมีลําน้ําสาขาของลําน้ํา ใหญแผกระจาย และกลายเปนพื้นที่ซึ่งแหลงอารยธรรมสําคัญของโลกตั้งอยูแทบทุกแหง คําวา DELTA มาจากชื่อเรียกอักษรกรีกลําดับที่สี่ และปรากฏใชเรียกพื้นที่รูปสามเหลี่ยมซึ่ง เป น ที่ ต กตะกอนของผื น ดิ น อั น อุ ด มสมบู ร ณ ที่ ป ากแม น้ํ า ไนล เ ป น ครั้ ง แรกเมื่ อ ราว ๔๕๐ ป ก อ น คริสตกาลโดยนักประวัติศาสตรกรีก “เฮโรโดตัส“ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต บริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําสําคัญๆ มักจะเปนที่ตั้งของ บานเมืองสําคัญและมีพัฒนาการคลายคลึงและรวมสมัยกับบานเมืองในเขตลุมน้ําเจาพระยา คือ สามเหลี่ ย มปากแม น้ํ า โขงในเวี ย ดนาม สามเหลี่ ย มปากแม น้ํ า แดงในเวี ย ดนามตอนเหนื อ และ สามเหลี่ยมปากแมน้ําอิรวดีในพมา สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา [Chao Phraya Delta] เปนที่รูจักกันดีวาเปนแหลงปลูก ขาวที่สําคัญ แตการใชพื้นที่เพาะปลูกขาวอยางมากมายเชนนี้ก็เกิดขึ้นเพียงกวารอยหาสิบปที่ผานมา เทานั้น ควบคูไปกับการปรับปรุงคูคลองเพื่อการชลประทานตางๆ พื้นที่ภายในสามเหลี่ยมปากแมน้ํา เจาพระยานี้กลายเปนพื้นที่ราบลุมขนาดใหญแหงแรกๆ ในโลกที่สามารถผลิตขาวเพื่อการสงออกได แตกอนหนานั้น มนุษยเริ่มตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มาตั้งแตยุคสมัยกอนประวัติศาสตร แมจะมี หลักฐานวามีการอยูอาศัยอยูนอยเต็มที จนกระทั่งเริ่มมีการสรางบานเมืองที่มีศูนยกลางอยูในบริเวณ ชุมทางน้ําสําคัญที่กรุงศรีอยุธยาในลักษณะของการเปนสังคมแบบลุมน้ํา [Riverine Society] ซึ่งใช พื้ น ที่ สูง บริ เ วณริ ม แม น้ํ า สํ า หรั บ การตั้ง บ า นเรือ นถิ่ น ฐาน และใชก ารคมนาคมทางน้ํ า สํ า หรั บ การ เดินทางติดตอ และเพาะปลูกโดยคัดเลือกพันธขาวที่หนีน้ําสูงเร็วในพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณเพราะ ตะกอนน้ําพัดพาในชวงหนาน้ํา ที่น้ําหลากทวมในดินดอนสามเหลี่ยมนี้เปนเวลาหลายเดือน ทําใหเห็นวามีการปรับตัวเขากับสภาพแวดลอม กําหนดรูปแบบการอยูอาศัยและดํารงชีวิต ปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสังคมวัฒนธรรมโดยการเรียนรูเพื่อใหเข ากับธรรมชาติ และตั้งแตในสมัย อยุธยาตอนกลางเปนตนมาจนถึงชวงตนรัตนโกสินทร (ราวสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณฯ มาจนถึง ราวรัชกาลที่ ๔-๕) นักเดินทางชาวตะวันตกบันทึกความทรงจําไววา ริมสองฝงของแมน้ําเจาพระยา เปนเรือกสวนซึ่งเปนแหลงเพาะปลูกพืชผลไมที่สําคัญ โดยเฉพาะจากสวนฝงธนบุรี เมืองบางกอก จนถึงเมืองนนทบุรี สวนพื้นที่ภายในก็ใชสําหรับปลูกขาว


๒ การเปลี่ยนแปลงการใชพื้นที่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําในยุคตอมา เปนผลมาจากการ ขยายตัวของการปลูกขาวและการคาขาว เศรษฐกิจการคาแบบเสรีที่มุงเนนการผลิตเพื่อการสงออกที่ เนนหนักตั้งแตในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทําใหมีการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศของเขตสามเหลี่ยมปาก แมน้ําเจาพระยาอยางมาก โดยมีการขุดคูคลองเพิ่มขึ้นเพื่อการชลประทานเพาะปลูกขาวและการ ขนสงเดินทาง โดยเหตุผลมากกวาเพื่อการยุทธศาสตรอยางแตกอน

ภาพถายดาวเทียมแสดงที่ราบลุมภาคกลางและพื้นที่สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา

แตเมื่อเวลาผานไปและเริ่มเขาสูยุคของการใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติที่เริ่มตนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ การคมนาคมและการสรางถนนหนทางกลายเปนปจจัยพื้นฐาน [Infrastructure] ของประเทศ จึงมีการระดมสรางถนนจนละเลยคูคลองที่เคยใชงาน ประกอบกับระบบชลประทานที่เปนโครงขาย ราวใยแมงมุมของคลองสงน้ําสายตางๆ สรางเพิ่มขึ้นอยูตลอดเวลา อีกทั้งสภาพแวดลอมของพื้นที่


จากสภาพแวดลอมของสามเหลี่ยมปากแมน้ําซึ่งเปนพื้นที่ไมอาจใชประโยชนได [Wasteland] ในยุคสมัยหนึ่ง กลับเปลี่ยนมาเปนอูขาวอูน้ําซึ่งสงผลใหเกิดบานเมืองและชุมชนขนาดใหญในบริเวณ ใกลกับปากแมน้ําเริ่มแรกเมื่อตั้งแตพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เปนตนมา จนกระทั่งมีการปรับเปลี่ยน พื้นที่เพื่อทําการปลูกขาวจนกลายเปนพื้นที่เพื่อปลูกขาวสงออกอันกวางใหญที่สุดของโลกแหงหนึ่งเมื่อ กวารอยหาสิบปที่ผานมา บริเวณตลิ่งชันซึ่งเปนพื้นที่ศึกษาทางประวัติศาสตร สังคม และวัฒนธรรมครั้งนี้เปนสวนหนึ่ง ของการตั้งถิ่นฐานของมนุษยในบริเวณนี้ จึงตองทําความเขาใจในลักษณะภูมิประเทศ ความเปนมา ทางประวัติศาสตร-โบราณคดี สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนการเมืองและเศรษฐกิจวามีพัฒนาการ และความเปนมาอยางไรของบานเมืองในเขตนี้แตแรกเริ่ม จึงจะเขาใจความสําคัญของพื้นที่ทาง วัฒนธรรมในบริเวณตลิ่งชันไดอยางเขาใจมากขึ้น

สภาพภูมิศาสตรในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง พื้นที่ในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยานอกจากจะมีลําน้ําเจาพระยาเปนแมน้ํา สายหลักแลว ยังมีลําน้ําอีกสองสายขนาบขาง คือลําน้ําแมกลองทางดานตะวันตกและลําน้ําบางปะกง ทางดานตะวันออก ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาทั้งสองฝง จากปริมาณน้ําจํานวนมากที่ไหลมาจากที่สูง ภายในเมื่อรวมกับน้ําฝนในชวงฤดูฝน จึงสงผลใหพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ํามีปริมาณน้ํา มหาศาลและปกคลุมพื้นที่เปนเวลาหลายเดือนกอนจะไหลลงทะเล สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาประกอบดวยสวนฐานซึ่งกวางกวา ๑๐๐ กิโลเมตรเปนที่ราบ กวางใหญ ความสูงเฉลี่ยเพียง ๒.๕ เมตรเหนือระดับน้ําทะเล เชนบริเวณจังหวัดอยุธยาซึ่งอยูหางจาก ปากน้ําเขามากวา ๑๐๐ กิโลเมตร ก็สูงกวาระดับน้ําทะเลเพียง ๒ เมตรเทานั้น และเนื่องจากเปนพื้นที่ ซึ่งมีการยกตัวของแผนดินคอนขางต่ํา พื้นที่จึงลาดลงสูทะเลทีละนอย ทําใหลําน้ําไหลเอื่อยและไหล


ในสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยายังมีแมน้ําสําคัญอีกสามสายคือ บางปะกง ทาจีน และแมกลอง ทางฝงตะวันตกและตะวันออกตามลําดับ

สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาอยูในแถบพาดผานมรสุมเขตรอน [Tropical Monsoon Belt] ในระหวางชวงปอุณหภูมิไมแตกตางกันมากนัก ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ในฤดู ฝนสภาพแวดลอมจึงเต็มไปดวยน้ํา ทําใหน้ําฝนรวมกับน้ําเหนือที่ไหลหลากทําใหมีผืนน้ําปกคลุมพื้น ที่ดินดอนสามเหลี่ยมสูงราว ๕๐ เซนติเมตรถึงหนึ่งเมตรเปนเวลาหลายเดือนเพราะไมสามารถระบาย น้ําลงทะเลไดอยางรวดเร็วเนื่องภูมิประเทศซึ่งเปนที่ราบลุม แต เ มื่ อ ถึ ง หน า แล ง น้ํ า จะค อ ยๆ แห ง หายไป จนถึ ง แล ง จั ด ๆ พื้ น ดิ น ก็ แ ตกระแหงราวกั บ ทะเลทราย และนับเปนเรื่องยากลําบากสําหรับมนุษยที่จะตั้งถิ่นฐานในสภาพแวดลอมเชนนี้ เพราะ เมื่อถึงฤดูฝนก็แทบไมมีแผนดินที่ดอนหรือที่สูงน้ําทวมเต็มไปดวยหนองบึง แตเมื่อคราวถึงหนาแลงก็ หาน้ําดื่มแทบไมได สภาพภูมิประเทศมีแตทุงหญาและปาที่ลุมชื้นซึ่งเปนที่อยูอาศัยของชางและจระเข ดังที่พบกระดูกชางและกะโหลกจระเขในบริเวณปาชายเลนแถบชายทะเลของ จังหวัดสมุทรสงคราม แลเพชรบุรีจํานวนมาก และกะโหลกจระเขกลายเปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจาแบบจีนของชาวบานแถบ ชายฝงบริเวณนี้


๕ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว นักเดินทางชาวฝรั่งเศส คือ อองรี มูโอต บันทึกขอสังเกตสภาพภูมิศาสตรของสามเหลี่ยมปากน้ําเจาพระยาเมื่อราว พ.ศ.๒๔๐๔ ไวอยาง เห็นชัดถึงสภาพแวดลอมที่มีความอุดมสมบูรณโดยธรรมชาติในแบบพื้นที่สามเหลี่ยมปากแมน้ําดังที่ พรรณนาไวขางตน ดังนี้ “ระดั บ น้ํ า ในแม น้ํ า จะเริ่ ม ขึ้ น สู ง ในราวเดื อ นมิ ถุ น ายนและถึ ง เดื อ นสิ ง หาคม กระแสน้ําจะไหลบาไปปะทะกับละลอกคลื่นในมหาสมุทรและถูกหนุนขึ้นมาลน ฝง พื้นที่ราบตอนกลางอันกวางใหญไพศาลจึงไดรับประโยชนจากการกระทําของ ธรรมชาติมากที่สุด สวนบริเวณที่อยูเหนือขึ้นไปจะถูกลอมรอบดวยภูเขา ๑ …”

จนเมื่อการคาทางทะเลเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ซึ่งเปนการเดินทางคาขายในทองถิ่น นานน้ําทะเลจีนใต นับเปนแรงผลักดันที่ทําใหเกิดการบุกเบิกพื้นที่สําหรับเพาะปลูกขาวในทองทุงอัน กว า งใหญ ทั้ ง มนุ ษ ย ไ ด พั ฒ นาเทคโนโลยี ใ นการปรั บ ตั ว เพื่ อ อยู อ าศั ย รวมทั้ ง ธรรมชาติ ข อง สภาพแวดล อ มเช น นี้ นํ า พาเอาตะกอนธรรมชาติ อั น อุ ด มสมบู ร ณ จ ากต น น้ํ า ลงมาด ว ย บริ เ วณ สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาจึงกลายเปนศูนยกลางของบานเมืองในเวลาตอมา อยางไรก็ตาม สภาพแวดลอมเชนนี้ยังคงดํารงอยูมาจนถึงปจจุบัน การปรับเปลี่ยนพื้นที่บาง แหงใหเปนชุมชนที่อยูอาศัยตามเมืองตางๆ คือการปรับตัวของมนุษยเพื่ออยูอาศัยในสภาพแวดลอม แบบสามเหลี่ยมปากแมน้ํา แตลักษณะตามธรรมชาติยังคงสงผลกระทบใหเกิดน้ําทวมในชวงฤดูฝน บอยๆ

โครงสรางทางกายภาพของสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา สําหรับโครงสรางทางกายภาพของสภาพภูมิศาสตรบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา ประกอบดวยพื้นที่ซึ่งแบงออกตามสภาพทางภูมิศาสตรหลายสวน ดังนี้ ๑. ชายฝงทะเล [Coastal Zone] อยูใกลชายทะเลในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม มีลําน้ํา สายเล็กๆ อยูมากมาย ซึ่งกระแสน้ําขึ้นลงตามอิทธิพลของน้ําทะเล ในชวงหนาน้ําน้ําก็จะทวมพื้นดินไป ทั่วซึ่งเปนดินเค็ม บริเวณนี้มีปาไมที่เรียกวา ปาชายเลน [Mangrove] ในชวงหนาแลงก็จะแหงและน้ํา จืดจากแผนดินภายในจะมีปริมาณนอย ทําใหน้ําทะเลจะหนุนเขามาภายในแผนดิน

Mouhot, Henri, Travels in Siam, Cambodia and Laos 1858-1860, London, John Murray, 1864, reprinted Bangkok, White Lotus, 1986


แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา [Chao Phraya Delta] ซึ่งแยกเปนเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม [Young Delta] สามเหลี่ยมปากแมน้ําเกา [Old Delta] ที่ราบน้ําทวมถึง ที่ราบขั้นบันไดรูปพัด และเขตภูเขา รวมทั้งแสดงตําแหนงที่ตั้งของแหลงโบราณคดีสมัยกอนประวัติศาสตรและทวารวดี ซึ่งอยูในบริเวณชายขอบที่ราบเชิงเขาในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําเกา [Old Delta] เปนสวนใหญ

๒. สามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม [Young Delta] ไดแกสภาพภูมิประเทศแบบที่ไดกลาวถึง ขางตน คือพื้นที่สวนใหญที่เปนสวนฐานซึ่งกวางกวา ๑๐๐ กิโลเมตรเปนที่ราบกวางใหญ ความสูง เฉลี่ยเพียง ๒.๕ เมตรเหนือระดับน้ําทะเล ๓. สามเหลี่ยมปากแมน้ําเกา [Old Delta] อยูในบริเวณใกลกับยอดของสามเหลี่ยมปาก แมน้ํา ซึ่งมีอายุทางธรณีราว ๑๐,๐๐๐ ป เมื่อเปรียบเทียบกับสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม พื้นที่นี้จะมี ระดับสูงกวา และพื้นที่มีระดับแตกตางกันมากกวา ทําใหมีพืชพรรณเปนปาไมในที่ดอนและหนองน้ํา ในที่ลุม ความสูงตางจากพื้นที่ราบน้ําทวมถึงราว ๔-๕ เมตร ทําใหในหนาน้ําน้ําจะไมทวม และเขตที่ เปนรอยตอระหวางสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหมและเกาคือบริเวณเกาะเมืองอยุธยา


๗ ๔. ที่ราบน้ําทวมถึง [Floodplain] คือบริเวณพื้นที่ระหวางเชิงเขา ซึ่งมีแมน้ําสายใหญไหล ผาน พื้นที่ขนานกับลําน้ําทั้งสองฝงขนาดราวสิบถึงยี่สิบกิโลเมตร คือบริเวณที่ราบน้ําทวมถึง เมื่อมีน้ํา ทวมใหญในชวงฤดูฝนก็จะทวมลนเขามาในพื้นที่นี้ ๕. ภูเขาและแนวเชิงเขา [Mountain and Foothill] เปนสวนขอบปกทั้งสองดานของ สามเหลี่ยมปากแมน้ํา แมจะไมใชเปนบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําโดยตรง แตก็เปนพื้นที่ซึ่งกระแสน้ํา ไดไหลพัดพาเอาตะกอนมาทับถมในบริเวณดังกลาว

พัฒนาการของการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิศาสตร ในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา สําหรับพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตรในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ํา เจาพระยาเกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษยในเขตนี้ ซึ่งกลาวไดวานับตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยาเปน ตนมา การขุดคลองลัด คลองเชื่อมระหวางแมน้ํา คูคลองขนาดเล็กที่ไมมีการจดบันทึกเอาไวมีอยู มากมาย การปรับเปลี่ยนสภาพภูมิศาสตรโดยฝมือของมนุษยในระยะแรกนั้น เปนเพียงการปรับตัวเพื่อ สะดวกแกการทํามาหากินและดํารงชีวิตแบบยังชีพ และพยายามกลมกลืนไปกับสภาพแวดลอมแบบ สามเหลี่ยมปากแมน้ํา แตตอมาเมื่อมีการคาทางทะเลและเกิดบานเมืองที่กลายเปนศูนยกลางดึงดูดให ผูคนเขามาตั้งถิ่นฐาน รวมทั้งเปนศูนยกลางการพาณิชยและการปกครอง สภาพแวดลอมดังกลาวถูก ปรับเปลี่ยนเพื่อสรางความเหมาะสมแกเกษตรกรรมขนาดใหญและรองรับการขยายตัวของประชากร จํานวนมากโดยการขุดคลองขยับขยายพื้นที่เพาะปลูกไปทั้งสองฝงของแมน้ําเจาพระยา มีการขยาย โครงข า ยคลองชลประทานจนเต็ม พื้น ที่ มี ก ารปลูก พื ชชนิ ดเดีย ว เชน ข า ว ในปริ ม าณมาก มี ก าร เปลี่ยนแปลงสภาพแวดลอมอยางมโหฬารโดยขัดขืน บังคับ และควบคุมธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของสังคมที่เคยกลมกลืนไปกับสภาพแวดลอมแบบสามเหลี่ยม ปากแมน้ําที่คุนเคยกับสภาพน้ําทวม น้ําหลาก เขตมรสุม ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง และทําใหเกิด ปญหาที่ยังแกไมตกติดตามมาหลายประการ สมัยกรุงศรีอยุธยา ตําแหนงของพระนครเปนเมืองทาภายในที่เหมาะสม เพราะอยูหางจาก ชายฝงทะเลเขามาภายในแผนดินตามลําแมน้ําสายใหญ แมจะมีน้ําทวมน้ําหลากในชวงหนาน้ําแตใน หนาแลงน้ําก็ลดจึงเปนพื้นที่เหมาะแกการทําเกษตรกรรมเพราะน้ําเค็มขึ้นเขามาไมถึง และยังเปน จุดเชื่อมกับชุมชนในผืนแผนดินภายในที่จะนําทรัพยากรจากปาเขามาคาขายโดยใชเสนทางน้ําตางๆ อันเปนระบบการคมนาคมที่สําคัญ การขุดคลองในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น มีวัตถุประสงคเพื่อความสะดวกในการคมนาคม ติดตอ กับหัวเมืองตางๆ ในพระราชอาณาเขต เปนเหตุผลในเชิงยุทธศาสตรและการคาภายในเปนหลัก แต


สมัยกรุงรัตนโกสินทร เราอาจจะแบงกลุมของการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่โดยการขุดคลอง ซึ่ง เห็ น ได ชั ดถึ ง วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ การเป ดพื้ น ที่ ภ ายในที่ ห า งไกลไปจากลํ า แม น้ํ า เจ า พระยาเพื่ อ การ เกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐานของผูคนที่มีประชากรขยายตัวเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว ในระยะแรกคงใช แรงงานเกณฑ แต ต อ มี มี ก ารจ า งชาวจี น เป น แรงงานหลั ก ในการขุ ด แล ว จึ ง มี ก ารให สั ม ปทานที่ พระมหากษัตริยพระราชทานแกขุนนางผูใหญรวมถึงขุนนางในทองถิ่นหลายคน การขุดคลองตางๆ ใน สมัยนี้แบงออกเปน ๓ ระยะ ไดแก ตั้งแตสมัยสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวใน สมัยรัตนโกสินทร เมื่อทําสนธิสัญญาเบาริ่ง พ.ศ.๒๓๙๘ ซึ่งยังคงดําเนินการเพื่อขุดคูคลองในการเสริม ความมั่ น คงในการป อ งกั น พระนครและขยายพื้ น ที่ ก ารอยู อ าศั ย ออกไปตามแนวลํ า น้ํ า เป น หลั ก หลั ง จากได ทํ า สนธิ สั ญญากับอั ง กฤษ กอ นหนา ที่ จ ะมี การขุด คลองในระบบการชลประทานแบบ สมัยใหม สมัยหลังจากทําสนธิสัญญาที่มีผลทําใหเกิดการขยายพื้นที่ทํานาปลูกขาวเพื่อการสงออกแลว ตอเนื่องมาจนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวฯ จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกลาเจาอยูหัวฯ เมื่อตั้งกรมคลองเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ การขุดคลองทั้งสองชวงเวลานี้นับเปนภารกิจของพระมหากษัตริยหรือขุนนางชั้นผูใหญที่ไดรับ พระบรมราชานุญาต เพราะจะตองเกณฑแรงงานไพรหรือจางแรงงานจีนในการขุดคลอง ซึ่งเปนธรรม เนียมเดิมตั้งแตสมัยอยุธยามาแลว อาจกลาวไดวาการบุกเบิกพื้นที่ทําการเกษตรใหมๆ และลําคลอง เพื่อการคมนาคมในยุคนี้เปนการลงทุนของราชวงศและขุนนางชั้นผูใหญโดยตรง ไมใชเพื่อการรองรับ การขยายตัวของประชากรและโครงสรางทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแตอยางใด การพัฒนาพื้นที่ในสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาเพื่อขยายการเพาะปลูกขาวจึงกลายเปน ภารกิจของรัฐบาลโดยกรมคลองอยางสมบูรณนับแตนั้นเปนตนมา การขุดคลองเพื่อขยายพื้นที่ทํานาปลูกขาวโดยเอกชนเชนคลองบางพลีใหญที่ขุดในระยะนั้น (พ.ศ.๒๔๔๕) จึงกลายเปนคลองสุดทายที่ขุดกันในระบบเดิม มีการพัฒนาระบบชลประทานเรื่อยมา เปลี่ยนชื่อจาก "กรมทดน้ํา" ซึ่งเปนภาษาโบราณเปน “กรมชลประทาน” ทําหนาที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน้ํา การสงน้ํา และการสูบน้ําชวยเหลือ พื้นที่เพาะปลูกแกเกษตรกร การจัดสรางโครงการชลประทานปาสักใต สรางเขื่อนทดน้ําขนาดใหญ คือ


และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เปนยุคที่การจัดการน้ําหรือการ ชลประทานมีความสําคัญอยางยิ่ง นับถึงปจจุบันทรงมีพระราชดําริใหกรมชลประทานดําเนินงาน พัฒนาแหลงน้ําทั่วประเทศแลวกวาสองพันโครงการ เพื่อใหเกิดความเขาใจรายละเอียดของการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศใหเหมาะสมกับการ ชลประทานและการตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุมเจาพระยาในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม [Young delta] จึงจะลําดับรายการการขุดคลองลัดเพื่อการคมนาคมและการชลประทานตามหวงเวลาตางๆ ดังนี้

การขุดคลองลัดและคลองเชื่อมแมน้ําเจาพระยาในสมัยอยุธยา คลองขุดลัดและคลองเชื่อมลําน้ําตางๆ ที่ขุดขึ้นในสมัยอยุธยา มีดังนี้ ๑. คลองสําโรงและคลองทับนาง คลองสําโรงขุดเมื่อไหรไมปรากฏ แตขุดซอมในรัชกาล สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ราว พ.ศ.๒๐๔๑ เชื่อมแมน้ําเจาพระยาในเขตอําเภอเมืองสมุทรปราการกับ แมน้ําบางปะกงในเขตอําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา การขุดซอมนั้นก็เพื่อใหเรือใหญไปมาได สะดวกเพราะเปนเสนทางที่สามารถเดินทางไปสูบานเมืองในเขตชายฝงทะเลฝากตะวันออกและเขมร ได เพราะคลองที่ขุดไวแตเดิมตื้นเขิน สวน คลองทับนาง ขุดเมื่อไหรไมปรากฏเชนกัน แยกจากคลอง สํ า โรงไปออกทะเลอ า วไทยที่ อํ า เภอบางพลี จั ง หวั ด สมุ ท รปราการ คลองสํ า โรงนี้ เป น คลองที่ มี ความสําคัญทางยุทธศาสตรสําหรับปองกันพระนครทางตะวันออก ๒. คลองลัดบางกอก ขุดในรัชกาลพระไชยราชาธิราชในช วงระหวา ง พ.ศ.๒๐๗๗-พ.ศ. ๒๐๘๐ ขุดลัดตั้งแตปากคลองบางกอกนอยในปจจุบันไปถึงหนาวัดอรุณราชวรารามระยะทางราว ๓ กิโลเมตร ไมนานจากนั้น สายน้ําก็ไหลตัดตรงจนทําใหคลองลัดนี้กลายเปนแมน้ําสายใหญ คือแมน้ํา เจาพระยาในปจจุบันที่อยูหนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร สวนแมน้ําสายเดิมกลายเปนคลองและมี ขนาดแคบลง มีชื่อเรียกตางๆ กันตามทองถิ่น ไดแก คลองบางกอกนอย คลองชักพระหรือคลองตลิ่งชัน คลองบางขุนศรี คลองบางเชือกหนัง คลองวัดประดู และคลองบางกอกใหญ ๓. คลองลัดบางกรวย ขุดในรัชกาลพระมหาจักรพรรดิ เมื่อราว พ.ศ.๒๐๘๑ หลังจากขุด คลองลัดบางกอกไมนานนัก ขุดตั้งแตวัดชะลอซึ่งอยูแถบแมน้ําออมมาจนถึงวัดขี้เหล็กซึ่งอยูแถบคลอง บางกอกนอยในปจจุบัน เพื่อยนเสนทางของแมน้ําออมระยะทางราว ๓ กิโลเมตร แตกระแสน้ําก็ไมได ไหลแรงจนทําใหคลองขุดลัดนี้กลายเปนแมน้ําสายใหญแตอยางใด


๑๐ ๔. คลองบางปลากด เปนคลองขุดเชื่อมแมน้ําเจาพระยาและแมน้ํานอย บริเวณปาโมก อางทอง ระยะทางราว ๑๐ กิโลเมตร ขุดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๑๓๓ โดยสมเด็จพระนเรศวร สมัยดํารง พระยศเปน พระมหาอุ ป ราช เพื่ อ รับ ศึ ก พมา และสะดวกแกก ารเดิ น ทั พ ไปยั ง สุพ รรณบุ รีแ ละเมื อ ง กาญจน ๕. คลองลัดเกร็ดใหญหรือลัดเตร็ดใหญ ขุดในรัชกาลพระเจาทรงธรรม เมื่อราว พ.ศ. ๒๑๕๐-๒๑๕๑ ขุดลัดที่บริเวณสามโคกที่ทุงพญาเมือง ตั้งแตปากคลองบานพราวในปจจุบันมาจนถึง ปากคลองบางหลวงเชียงรากระยะทางราว ๕ กิโลเมตร ปจจุบันกลายเปนแมน้ําเจาพระยาสายหลัก ๖. คลองลัดเมืองนนท ขุดเมื่อราว พ.ศ.๒๑๗๘ หรือ พ.ศ.๒๑๗๙ ในสมัยสมเด็จพระเจา ปราสาททองระยะทางราว ๕ กิโลเมตร และปจจุบันกลายเปนแมน้ําเจาพระยาสายหลักที่ผานหนา เมืองนนทบุรี

คลองขุดลัดแมน้ําเจาพระยาและคลองเชื่อมแมน้ําอื่นๆ ในสมัยอยุธยา


๑๑ ๗. คลองมหาไชย เริ่มขุดในรัชกาลสมเด็จพระเจาปราสาททอง เมื่อ พ.ศ.๒๑๘๘ เกณฑไพร พลราวสามหมื่นเพื่อการขุดคลอง แตเมื่อสวรรคตนั้นไดระยะทางราวหนึ่งในหาเทานั้น ตอมาในรัชกาล สมเด็จพระเจาเสือเริ่มขุดตอมาแลวเสร็จในรัชกาลขุนหลวงทายสระ ราว พ.ศ.๒๒๔๘ จนถึง พ.ศ. ๒๒๖๕ ขุดเชื่อมระหวางแมน้ําเจาพระยาและแมน้ําทาจีน จากธนบุรีถึงสมุทรสาครระยะทางกวา ๓๐ กิโลเมตร ๘. คลองลัดโพธิ์ ขุดในรัชกาลพระเจาทายสระ ในราว พ.ศ.๒๒๖๕ ระยะทางราว ๑กิโลเมตร เปนการยนระยะทางจากปากน้ําบริเวณโคงแมน้ําเจาพระยาที่พระประแดงในปจจุบัน แตตอมาก็ ตระหนักวา คลองลัดเสนนี้สรางปญหาใหแกพื้นที่บางกอกเพราะน้ําเค็มเขามามากเกินไปในชวงฤดู แลง และคลองลัดโพธิ์นี้ก็ตื้นเขินลงไปในปจจุบัน ๙. คลองลัดเกร็ดนอยหรือปากเกร็ด ขุดในรัชกาลพระเจาทายสระ ในราว พ.ศ.๒๒๖๕ เชนกัน ขุดลัดบริเวณคุงแมน้ําเจาพระยาเดิมที่เรียกวาปากคลองบางบัวทอง ตรงกับอําเภอปากเกร็ด ในปจจุบัน ระยะทางราว ๒ กิโลเมตร ๑๐. คลองโยง คลองเสนนี้ขุดเชื่อมระหวางแมน้ําเจาพระยาและแมน้ําสุพรรณบุรี แตไม ปรากฏวาขุดขึ้นเมื่อใด จากการศึกษาการขุดคลองลัดตางๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาของอาจารยมานิต วัลลิโภดมและ เจาหนาที่กรมศิลปากร ทําแผนที่เสนทางน้ําในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสอบคนพระราชพงศาวดารกรุง ศรีอยุธยา คําใหการขุนหลวงหาวัด คําใหการชาวกรุงเกาและบทความที่เขียนวิเคราะหเรื่อง ตํานานศรี ปราชญ ตามเรือใบขทิงทอง โดยนําวรรณคดีสมัยอยุธยาเรื่อง กําสรวลศรีปราชญหรือกําสรวลสมุทรที่ เปนพระราชนิพนธของเชื้อพระวงศที่นาจะเปนสมเด็จพระยุพราชในสมัยตนกรุงศรีอยุธยา รูปแบบการ ขุดคลองลัดตางๆ นั้น เปนการปรับเปลี่ยนเพื่อใหการเดินทางโดยทางเรือลัดไดเร็วขึ้น โดยขุดคลองตัด คุงน้ําที่คดโคงใหลัดตรง เนื่องจากแมน้ําที่เขาใกลชายฝงทะเลและมีความสูงจากระดับน้ําทะเลปาน กลางไมมากนัก มักจะเกิดกระแสน้ําที่เดินทางไหลเฉื่อยจนคดโคงมากกวาลําน้ําที่ผานที่สูงหรือใกล ภูเขา เมื่อตัดลัดก็ทําใหเกิดเกาะกลางแมน้ําและลําน้ําที่ถูกขุดขึ้นนั้นก็กลายเปนลําน้ําสายหลักแทนลํา น้ําเดิมที่สวนใหญจะกลายเปนลําคลองโคงขนาดเล็กลงกวาเดิมมาก การขุดคลองลัดมักปรากฏในพระราชพงศาวดารตางๆ เพราะเปนการระดมแรงงานจํานวน มากที่เปนเหตุการณสําคัญในรัชกาล การอํานวยความสะดวกดังกลาวนี้ก็เพื่อใชเวลานอยลงในการ เดินทางจากพระนครหลวงไปสูปากแมน้ําเจาพระยาเพื่อเดินเรือเลียบชายฝงอันเนื่องมาจากความ รุงเรืองของยุคแหงการคาทางทะเลตั้งแตในชวงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ แลว อีกดานหนึ่งก็เพื่อเปด เสนทางการติดตอกับบานเมืองชายฝงทะเลทั้งทางตะวันตกและทางตะวันออก ตลอดจนหัวเมืองปกษ ใตทางคาบสมุทรสยาม-มลายูอีกดวย


๑๒

แผนที่ลายเสนแมน้ําเจาพระยาและการขุดคลองลัดตังแตเกาะเมืองอยุธยา จนถึงบริเวณที่เชื่อมตอกับแมน้ํานอย ขอมูลจากการคนควาของอาจารยมานิตย วัลลิโภดมและเจาหนาที่กรมศิลปากร


๑๓

แผนที่ลายเสนแมน้ําเจาพระยาและการขุดคลองลัดตั้งแตบริเวณเกาะใหญราชครามมาจนถึงลัดเกร็ดใหญ บริเวณคลองบางหลวงเชียงรากหรือคลองบานพราว ขอมูลจากการคนควาของอาจารยมานิตย วัลลิโภดมและเจาหนาที่กรมศิลปากร


๑๔

แสดงแผนที่ลายเสนแมน้ําเจาพระยาและการขุดคลองลัดตั้งแตลัดเกร็ดนอยหรือปากเกร็ด จนมาถึงลัดบางกอกที่หนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ขอมูลจากการคนควาของอาจารยมานิตย วัลลิโภดมและเจาหนาที่กรมศิลปากร


๑๕

แสดงแผนที่ลายเสนแมน้ําเจาพระยาและการขุดคลองลัด บริเวณบางกรวย บางกอกนอย บางกอกใหญที่เชื่อมตอไปจนถึงคลองมหาชัย ขอมูลจากการคนควาของอาจารยมานิตย วัลลิโภดมและเจาหนาที่กรมศิลปากร


๑๖

แสดงเสนทางแมน้ําและคลองลัดตั้งแตเกร็ดใหญบริเวณคลองแมน้ําออมในปจจุบันจนถึง ปากน้ําเจาพระยา โดยแสดงใหเห็นเสนทางน้ําสําคัญบริเวณบางกอกที่มีคลองขุดลัดไปเชื่อมตอ กับลําน้ําแมกลอง ซึ่งเปนเขตเศรษฐกิจและเสนทางเดินทางสําคัญ ที่นําไปสูหัวเมืองเพชรบุรีที่เดินทางผานไปสูทวาย มะริดและตะนาวศรีได


๑๗

การขุดคลองลัดและคลองเชื่อมแมน้ําเจาพระยาและลําน้ําอื่นๆ สมัยหลังกรุงศรีอยุธยาจนถึงเริ่มตั้งกรมคลองคูนาสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ พระนครยายมาอยูที่บางกอก ชุมชนบริเวณนี้มีการ ตั้งถิ่นฐานเดิมอยูแลวทั้งสองฝงแมน้ําและถูกแบงเปนสองฝงแมน้ําเจาพระยาเมื่อมีการขุดคลองลัด บางกอกในชวงระหวาง พ.ศ.๒๐๗๗-๒๐๘๐ พอถึงในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิตั้งเปนเมือง หนาดานชื่อเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรเมื่อ พ.ศ.๒๑๐๐ ตอมาในสมัยสมเด็จพระนารายณฯ มีปรากฏชื่อ ปอมเมืองบางกอกอันเปนสถานที่เกิดศึกมักกะสัน ๒ เมื่อสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเสด็จขึ้นครองราชย (พ.ศ.๒๓๑๓-๒๓๒๘) ก็โปรดใหขุดคูน้ําสรางปอมกําแพงเมืองทั้งสองฝงและขุดคลองคูเมืองทางฝง ตะวันตกหรือฝงกรุงเทพฯ ในปจจุบัน คลองขุดลัดและคลองเชื่อมตอระหวางลําน้ําตางๆ ที่ขุดขึ้นในสมัยตนรัตนโกสินทร จนถึงกอนมีการตั้งกรมคลองคูนาสยาม มีดังนี้ ๑. คลองหลอด เปนคลองคูเมืองในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งมีทั้งฝงธนบุรีและฝงกรุงเทพฯ กรุง ธนบุรีมีพระราชวังอยูทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยาติดกับปอมวิไชยประสิทธิ์และวัดอรุณ ซึ่งมี ปอมคูกําแพงเมืองลอมรอบ สวนทางฝงตะวันออกก็มีการขุดคลองหลอดและไดพบซากฐานกําแพง เมืองกรุงธนบุรีซึ่งขุดในระยะนั้นทางฝงนี้ดวย ๒. คลองรอบกรุง เมื่อผลัดเปลี่ยนแผนดินใน พ.ศ.๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา จุฬาโลกฯ สรางพระนครใหมภายในคลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอด สรางกําแพงเมืองรวมทั้งปอม ประตูหอรบใหมขยายกวางกวาแตเดิม และโปรดฯ ใหขุดคลองรอบขนานกับแนวกําแพงเมืองโดนใช แรงงานไพรชาวลาวและเขมรที่กวดตอนมาแตสงครามในชวงนั้น ๓. คลองบางกะป ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกฯ เปนสวน ที่ขุดตอจากคลองรอบกรุงไปทางตะวันออกราว ๗ กิโลเมตร ๔. คลองลัดหลวง เปนการขุดลัดแมน้ําเจาพระยาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลาฯ บริเวณที่เรียกวาบางกระเจา ตําแหนงที่ต่ํากวากรุงเทพฯ ลงไป แตการขุดคลองลัดหลวงนี้ทําใหน้ําเค็ม ปริมาณมากไหลเขามาจนถึงกรุงเทพฯ ในชวงหนาแลง จึงมีการปดคลองนี้ และใชไดเฉพาะชวงหนา ฝน สมเด็จพระนารายณฯ จึงโปรดใหกองทหารฝรั่งเศสขึ้นมาสรางปอมขึ้นทั้งสองฝงแมน้ําเพื่อปองกันขาศึกซึ่งมาทาง ทะเล โดยเจาพระยาวิชาเยนทร (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เปนผูกํากับการสราง พระราชทานนามวา "ปอมวิไชยเย นทร" และโปรดเกลาฯ ใหทหารทั้งโปรตุเกส และฝรั่งเศสมาประจํา ภายหลังสมเด็จพระนารายณฯ สวรรคต สมเด็จ พระเพทราชาโปรดเกลาฯ ใหรื้อปอมบางกอกทางฝงตะวันออก โดยใหคงเหลือแตปอมทางฝงตะวันตก (ปอมวิไชย เยนทร) ไวเทานั้น ๒


๑๘ ๕. คลองสุนัขหอน ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒ โดยแรงงานชาวจีน ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกลาเจาอยูหัว เปนการขุดตอกับคลองมหาชัยทางฝงตะวันตกของแมน้ําทาจีนเพื่อเชื่อมตอกับ แมน้ําแมกลอง เพื่อสะดวกแกการขนสงสินคาจากทางฝงภูมิภาคตะวันตก เชน เกลือ พริกไทย ยาสูบ น้ําตาล อีกทั้งยังเปนการปรับเสนทางน้ําเพื่อการเดินทางไปสูเพชรบุรีกอนที่จะใชการขามเทือกเขาไปสู อาวเมาะตะมะและเดินทางสูคาบสมุทรภาคใต ๖. คลองแสนแสบและคลองบางขนาก ขุดระหวาง พ.ศ.๒๓๘๐-๒๓๘๓ ในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว เชื่อมระหวางพื้นที่ในกรุงเทพและแมน้ําบางปะกง ระยะทางกวา ๕๓ กิโลเมตร เพื่อสนับสนุนการทําสงคราม เชน ในประเทศลาวและเวียดนาม รวมทั้งการขนสงสินคา เชน น้ําตาลและขาว จากพื้นที่แถบตะวันออกทางจังหวัดฉะเชิงเทราในปจจุบัน ๗. คลองเจดียบูชา ขุดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๙๘ เชื่อมระหวางตัวเมืองนครปฐมและแมน้ํา นครไชยศรี กลาวกันวาเปนเสนทางน้ําที่ขุดเพื่อการเดินทางไปไหวพระปฐมเจดียที่นครปฐม และนาจะ ใชสําหรับการขนสงสินคาออกที่สําคัญในระหวางนั้น เพราะนครปฐมเปนศูนยกลางของการผลิตไร ออยที่นํามาทําน้ําตาล ๘. คลองผดุงกรุงเกษม จางแรงงานชาวจีนขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจาอยูหัว ระหวาง พ.ศ.๒๓๙๔-๒๓๙๗ เปนการขุดคลองแบบคลองคูเมืองระยะทางราว ๕.๕ กิโลเมตร เพื่อการขยายตัวของเมืองในสมัยรัชกาลนี้ ๙. คลองหัวลําโพง ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ คลองนี้กลาวกันวาขุดขึ้นเพราะการขยายตัวของ ชุมชนชาวยุโรปที่ตองการสรางที่อยูอาศัยหางจากพระนครออกไปทางตะวันออกราว ๘-๙ กิโลเมตร ใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาฯ การขุดคลองนี้ดินที่ขุดไดนํามาทําเปนถนนพระราม ๔ แต หลังจากขุดคลองเสร็จชุมชนการคานี้ก็ไมสามารถเปนดังที่คาดหวังได เพราะตั้งอยูไกลเกินไป ๑๐ คลองสาทรหรือคลองสีลม เชื่อมระหวางแมน้ําเจาพระยาบริเวณบางรักกับคลองหัว ลํ า โพง ใน พ.ศ.๒๔๐๔ เป น คลองสายสั้ น ๆ ระยะทางประมาณ ๒.๕ กิ โ ลเมตร และขุ ด ขึ้ น โดย วัตถุประสงคเดียวกับคลองหัวลําโพง การขุดคลองนี้ผลพลอยไดคือถนนเชนกัน (ถนนสาทร) ๑๑. คลองมหาสวัสดิ์ ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔-๒๔๐๘ เชื่อมระหวางคลองบางกอกนอยที่ฝง ธนบุรีและคลองเจดียบูชา เพื่อเปนเสนทางขนสงสินคาเกษตรที่สําคัญในสมัยนั้นคือ น้ําตาลทรายและ ขาว ๑๒. คลองภาษีเจริญ ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ ขุดเชื่อมระหวางคลองบางกอกใหญทางฝงธนบุรี และแมน้ําสุพรรณบุรีหรือทาจีน ระยะทางราว ๒๕ กิโลเมตร และขุดเพื่อไปเชื่อมตอกับคลองดําเนิน สะดวก


๑๙

๑๓. คลองดําเนินสะดวก ขุดระหวาง พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๑๑ เปนสวนตอเนื่องของคลองภาษี เจริญ และเชื่อมตอระหวางแมน้ําทาจีนและแมน้ําแมกลอง เพื่อสะดวกแกการขนสงสินคาทางการ เกษตร เชน ขาว เกลือ น้ําตาลทรายมาจากภูมิภาคทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยา ๑๔. คลองขุดดอนจั่นและคลองขุดยี่สาร ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ เปนการลงทุนขุดคลอง โดยสมเด็จเจาพระยาบรมมหาสุริยวงศและขุนนางผูใหญ เพื่อเชื่อมตอเสนทางน้ําภายในระหวาง แมน้ําแมกลองและเขตชุมชนในปาชายเลนที่มีสินคาจําพวกถาน จาก เกลือ และสามารถไปออกแมน้ํา เพชรบุรีและเขาสูพื้นที่ปลูกขาวขนาดใหญในทองถิ่นเพชรบุรี ๑๕. คลองเปรมประชากร ขุดขึ้นชวงระหวาง พ.ศ.๒๔๑๒-๒๔๑๓ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ขุดตอเนื่องจากคลองผดุงกรุงเกษมที่กรุงเทพฯ ขึ้นเหนือไปที่อยุธยาทางฝง ตะวั น ออกของแม น้ํ า เจ า พระยาระยะทางราว ๕๑ กิ โ ลเมตร คลองนี้ ขุ ด โดยจ า งแรงงานชาวจี น วัตถุประสงคเพื่ออํานวยความสะดวกในการเดินทาง แตก็ใชเพื่อการเดินทางไมมากนัก แตเปนการเปด


๒๐

๑๖. คลองนครนางเกิด ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙-๒๔๒๐ ระยะทางราว ๒๒ กิโลเมตรเริ่มจาก คลองแสนแสบเพื่อตัดเสนทางไปสูแมน้ําบางปะกงทางตะวันออกเฉียงใตที่ฉะเชิงเทราใหสั้นลง ๑๗. คลองทวีวัฒนา ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ ระยะทางกวา ๑๓ กิโลเมตรเชื่อมระหวางคลอง ภาษีเจริญและคลองมหาสวัสดิ์ เปนการขุดเพื่อวัตถุประสงคในการขยายพื้นที่ปลูกขาวทางตอนในของ แมน้ําเจาพระยาฝงตะวันตก ทางตะวันตกของชุมชนชาวสวนแถบฝงธนบุรี และบันทึกไววาผูที่จะใชน้ํา ตองเสียคาน้ําสําหรับทํานา ๑ บาทตอไร ๑๘. คลองประเวศบุรีรมย ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑-๒๔๒๓ ทางฝงใตของคลองแสนแสบและ ทางเหนือของคลองสําโรง ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตรเชื่อมตอระหวางแมน้ําเจาพระยาและ แมน้ําบางปะกง วัตถุประสงคก็เพื่อเปดพื้นที่สําหรับการทํานาและการเดินทางติดตอระหวางกรุงเทพฯ และฉะเชิงเทรา และสําหรับในระยะนั้นผูที่ใชน้ําสําหรับทํานาจากคลองนี้ตองเสียคาน้ํา ๑ บาท ถึงหนึ่ง บาทหาสิบสตางคตอไร ๑๙. คลองนราภิรมย ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ ระยะทาง ๒๒ กิโลเมตร จากแมน้ําสุพรรณบุรีหรือ แม น้ํ า ท า จี น ที่ บ างเลนในนครปฐมไปต อ กั บ คลองทวี วั ฒ นา วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ นํ า น้ํ า จากแม น้ํ า สุพรรณบุรีมาชวยไมใหคลองขุดมหาสวัสดิ์ คลองทวีวัฒนา และคลองภาษีเจริญตื้นเขิน ชาวนาที่ตั้งถิ่น ฐานอยูบริเวณริมคลองนี้ตองเสียภาษีคาน้ําหนึ่งบาทตอไรเชนเดียวกัน ๒๐. คลองเปร็ง ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐-๒๔๓๑ แตเดิมการขุดคลองนี้ตั้งใจจะขุดเปนระยะทาง ๔๐ กิโลเมตรจากคลองบางขนากตอกับคลองสําโรง แตเนื่องจากสมเด็จเจาพระยามหาศรีสุริยวงศสิ้น ไปเสียกอน จึงขุดไดเพียง ๒๐ กิโลเมตรจากคลองบางขนากไปตอกับคลองประเวศบุรีรมย เปนการขุด เพื่อเปดพื้นที่ทํานาขาว และชาวนาในบริเวณนี้ตองเสียคาน้ํา๑ บาท ถึงหนึ่งบาทหาสตางคสิบตอไร ๒๑. คลองนิยมตรา ขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ระยะทางกวา ๗ กิโลเมตรเชื่อมตอระหวางคลอง สําโรงและอาวไทย เพื่อเปนรองรับการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมในการนําน้ําจากคลองสําโรงไปใช และเพื่อสะดวกแกการขนสงแกชุมชนบริเวณชายฝงดวย ๒๒. คลองรังสิต โครงการรังสิตดําเนินการโดย บริษัทคูคลองนาสยาม โดยไดรับสัมปทาน จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ตองการเปดพื้นที่อันกวางใหญ เพื่อทํานาบริเวณ ตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ที่รูจักกันในนาม “ทุงหลวง” และเปนปาที่อยูอาศัยของฝูงชาง จํ า นวนมาก ประมาณว า เป น พื้ น ที่ ร าว ๓๕๐,๐๐๐ ไร โดยการขุ ด คลองหลั ก สามคลองในแนว ตะวันออก-ตะวันตก แลวขุดคลองซอยเหนือ-ใตจํานวนมาก เริ่มขุดตั้งแต พ.ศ. ๒๔๓๔ มาแลวเสร็จเริ่ม มีการเขาไปตั้งถิ่นฐานไดก็เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ คํานวณกันวาระยะทางรวมทั้งหมดที่ขุดไปกวา ๘๙๐ กิโลเมตรทีเดียว


๒๑

๒๓. คลองหลวงแพง ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตรจากคลองประเวศบุรีรัมย ตอเนื่องกับคลองนครนางเกิด เปนการขุดโดยขุนนางคือ หลวงแพงที่ไดรับอนุมัติจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ๒๔. คลองอุดมชลจร ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑-๒๔๓๒ คลองนี้ขุดจากเหนือไปใตโดยสมเด็จ เจาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ ระหวางคลองเปร็งและคลองหลวงแพง ระยะทางราว ๑๔ กิโลเมตร ใน คราวเดียวก็ขุดคลองเล็ก ๆ สองสายเชื่อมคลองอุดมชลจรกับคลองหลวงแพง เพื่อกระจายน้ําไปสูนา ขาวจํานวนหลายหมื่นไร ๒๕. คลองพระพิมล ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ คลองขุดนี้ริเริ่มโดยพระราชาพิมล ผูไดรับสัมปทาน การขุ ด คลอง เริ่ ม จากบางบั ว ทองทางตอนเหนื อ ของกรุ ง เทพฯ ไปทางตะวั น ตกเฉี ย งเหนื อ ซึ่ ง วัตถุประสงคไมเพียงแตเปดพื้นที่เพื่อการเกษตรแตยังเปนการเชื่อมตอไปสูพื้นที่ในแถบสุพรรณบุรีดวย แตการขุดนี้หยุดเพียงระยะราว ๑๖ กิโลเมตร เมื่อพระราชาพิมลสิ้นชีวิต จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ขุดขยายเพิ่มจนเปนระยะทางในปจจุบันคือ ๓๑ กิโลเมตรโดยกรมชลประทาน ๒๖. คลองพระยาบรรลือ ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ เมื่อเริ่มตนมีแผนที่จะขุดคลองระยะทาง ๑๖ กิโลเมตรทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยา เพื่อจะเปดพื้นที่การเกษตรระหวางคลองสายนี้กับแมน้ํา สุพรรณบุรี แตตองหยุดเพียงในราว ๔ กิโลเมตร เพราะการสิ้นชีวิตของพระยาบรรลือ


๒๒ ๒๗. คลองเจริญ ขุดเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๓๕ คลองสามคลองนี้ขุดจากทางใตของคลอง หลวงแพง ระยะทางรวมกันราว ๓๐ กิโลเมตร ขุดโดยพระยาดํารง ๒๘. คลองบางพลีใหญ ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑-๒๔๔๔ โดยชาวบานไดรับสัมปทานขุดเปน คลองเชื่อมตอกับคลองสําโรงทางทิศใตไปสูชายฝงอาวไทย ระยะทางราว ๑๐ กิโลเมตร การขุดคลองเมื่อมีกรมคลองคูนาสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงยุคกรมชลประทาน ในปจจุบัน การพัฒนาพื้นที่ของ ดินดอนสามเหลี่ยมใหม [Young Delta] กอนชวงสนธิสัญญาเบาริ่ง มี การอยูอาศัยในพื้นที่แถบชายฝง [Coastal Zone] แลว หากกําหนดโดยประเมินก็คือ การใชแนวพื้นที่ ซึ่งอยูต่ํากวาคลองดําเนินสะดวกและคลองภาษีเจริญทางฝงตะวันตกและแนวคลองประเวศบุรีรมย ทางฝ งตะวันออกของแมน้ํ าเจาพระยา เปน หมูบานชาวประมงแถบชายฝงและลํ าคลองอันอุดม สมบูรณผลิตพวกอาหารทะเลตากแหง ฟน และยังเปนสถานที่ผลิตเกลือเพื่อบริโภคที่สําคัญ สงไปขาย เมืองหลวงและเปนสินคาออกดวย การตั้งถิ่นฐานในบริเวณแถบชายฝงทะเลไมสามารถอยูโดยโดด เดี่ยวได จําเปนตองมีการแลกเปลี่ยนกับชุมชนที่สามารถปลูกขาวและทําสวนที่อยูในละแวกใกลเคียง เพื่อเปนการพึ่งพาอาศัยในทองถิ่นนั้นๆ และการทํานาปลูกขาวก็เปนการหวานลงไปในพื้นตมโดยไม ตองไถเตรียมดินแตอยางใด กอนหนาที่จะมีการขุดคลองรังสิตราว ๒๐ ป มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยการขุดคลอง ประเวศบุ รี ร มย แ ละคลองแสนแสบ เมื่ อ พ.ศ.๒๔๓๕ บริ เ วณด า นใต ข องคลองรั ง สิ ต ก็ มี จํ า นวน ประชากรเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว การขยายตัวของการขุดคลองเพื่อเพิ่มพื้นที่การเกษตรโดยเอกชนนํามา ซึ่งปญหาใหญหลายประการ ทางรัฐบาลจึงจางวิศวกรชาวฮอลันดานายโฮมัน แวน เดอร ไฮด [Mr.Homan van der Heide] มาศึกษาแกไขปญหาการจัดการน้ําโดยรัฐ และเปน “เจากรมคลอง” คน แรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ และอีกราว ๗ ปตอมาเขาก็ลาออกหลังจากเสนอแผนแมบท [Master Plan] สํา หรั บพั ฒ นาพื้น ที่ส ามเหลี่ ย มปากแม น้ํา โดยใช ห ลัก การแนวคิด ทางวิ ศวกรรมหลั ก ๆ คือ นํา น้ํ า กระจายไปสูเสนทางน้ําสายตางๆ กักเก็บน้ําไวโดยการสรางประตูน้ําและปองกันน้ําเค็มจากชายฝง โดยการสรางแนวคันกั้นน้ําเค็ม


๒๓

วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดา โฮมัน แวน เดอร ไฮด [Homan van der Heide] เจากรมคลองคนแรกของสยาม

โครงการของ แวน เดอร ไฮด กลายมาเปนแนวคิดในการปรับเปลี่ยนระบบชลประทานของ สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาจากสภาพภูมิศาสตรแบบเดิมดังที่ไดอธิบายไวขางตนมาเปนระบบ การจัดการพื้นที่แบบใหมซึ่งเปนตนแบบแกปจจุบัน แมแผนงานของ แวน เดอ ไฮม จะไมสามารถทําได จริงในชวงที่เขาทําหนาที่เปนเจากรมคลอง แตก็ไดทํารายงานเสนอเห็นควรใหสรางเขื่อนทดน้ําปดกั้น แมน้ําเจาพระยาที่จังหวัดชัยนาทเพื่อเพิ่มระดับน้ําในแมน้ําเจาพระยา บริเวณเหนือเขื่อนเจาพระยาก็ แบงน้ําลงสูแมน้ําสุพรรณบุรี แมน้ํานอย และแมน้ําลพบุรี โดยการขุดคลองชลประทานจํานวนมากรับ น้ําและเชื่อมตอกับลําน้ําที่มีอยูเดิม จนสามารถควบคุมการผลิตขาวเพื่อการสงออกจนกลายเปน ประเทศที่สงออกขาวอันดับตนๆ ของโลกจนกระทั่งถึงปจจุบันในเวลาตอมา


๒๔

ตอมาเปนการขุดคลองเพื่อการชลประทานสมัยใหมเมื่อการตั้งกรมคลอง พ.ศ.๒๔๔๒ ใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว หลังจากการริเริ่มใหมีสัมปทานการขุดคลองขึ้นใหม ในบริเวณทุงราบภาคกลางจํานวนมากเปนผลใหเกิดการขยายตัวของพื้นที่ทํานาแผกวางไปกวาเดิม และตกอยูในมือของเอกชน มีการตั้งบริษัทดําเนินการโดยเอกชน คือ บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม [Siam Canals, Lands and Irrigation Company] เริ่มขุดคลองเมื่อพ.ศ.๒๔๓๓ ระยะเวลาดําเนินการ ตามสัมปทาน ๒๕ ป เพื่อการกอสรางระบบคลองในบริเวณพื้นที่ราบฝงตะวันออกของแมน้ํา เจาพระยาเขตจังหวัดปทุมธานี ที่เรียกวา ทุงรังสิต ไปจนถึงทุงที่เมืองนครนายก โดยขุดคลองสาย ใหญเชื่อมระหวางแมน้ําเจาพระยาตรงไปยังแมน้ํานครนายก พรอมกับการสรางประตูระบายน้ํา สํา หรับควบคุ ม การเก็ บกั ก น้ํ า เพื่ อการเพาะปลูกโดยการขุดคลองซอยต า งๆ ทั้ง สองฝง มุ ง เพื่ อให เพาะปลูกขาวทํานาในพื้นที่สัมปทานเหลานี้ และสรางประตูเรือสัญจรเพื่อสามารถทําการคมนาคม ขนสงทางน้ําไดตลอดทั้งป


๒๕ การขุดคลองเพื่อขยายพื้นที่ทํานาปลูกขาวโดยเอกชนเชนคลองบางพลีใหญที่ขุดในระยะนั้น (พ.ศ.๒๔๔๕) จึงกลายเปนคลองสุดทายที่ขุดกันในระบบเดิม หลังจากที่บริษัทดังกลาวไดดําเนินการไดประมาณ ๑๐ ปก็พบปญหาและขาดทุนอยางหนัก เจาพระยาเทเวศวงศวิวัฒน เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการไปตรวจราชการที่ทุงรังสิต เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๒ พบวาน้ําไมพอใชจําตองขุดคลองเพิ่มเติมและแกปญหา ทุงรังสิตตองไดรับ การชวยเหลือดานการชลประทานเปนการดวน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวจึง พระราชทานจางวิศวกรชลประทานชาวฮอลันดาคือ นายโฮมัน แวน เดอร ไฮด [Mr.Homan van der Heide] มาศึกษาแกไขปญหาการจัดการน้ําในบริเวณทุงรังสิตใหดีขึ้น และทรงตั้งใหเปน “เจากรม คลอง” คนแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๔๕ และการพัฒนาพื้นที่ในสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา เพื่อขยายการเพาะปลูกขาวจึงกลายเปนภารกิจของรัฐบาลโดยกรมคลองอยางสมบูรณนับแตนั้นเปน ตนมา หลังจาก แวน เดอ ไฮด ลาออกแลว ใน พ.ศ.๒๔๕๖ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา เจาอยูหัว จึงจาง เซอร โทมัส วารด [ Sir Thomas Ward] และพัฒนาระบบชลประทานเรื่อยมา มีการ เปลี่ยนชื่อมาเปน "กรมทดน้ํา" และ “กรมชลประทาน” ตามหนาที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทด น้ํา การสงน้ํา และการสูบน้ําชวยเหลือพื้นที่เพาะปลูกแกเกษตรกร ซึ่งมีภารกิจมากขึ้นตามลําดับ บทบาทของวาร ด คื อ พยายามริ เ ริ่ ม การเก็ บ ค า น้ํ า สํ า หรั บ ชาวนาที่ รั บ น้ํ า จากคลองชลประทาน ปรับเปลี่ยนจากระบบชลประทานขนาดใหญตามแผนแมบทของแวนเดอ ไฮด มาเปนการชลประทาน ขนาดเล็กแทน และจัดตั้งหนวยชลประทานตามพื้นที่ลุมน้ําตามสาขาของแมน้ําเจาพระยา เชน แมน้ํา สุ พ รรณบุ รี แม น้ํ า น อ ย แม น้ํ า ป า สั ก แม น้ํ า ลพบุ รี แม น้ํ า แม ก ลอง พื้ น ที่ ฝ ง ตะวั น ตกและพื้ น ที่ ฝ ง ตะวันออก มีการดําเนินการตามแผนตอเนื่องจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่สอง


๒๖

ผังพื้นที่คลองตางๆ ในเขตชลประทานรังสิตของบริษัทขุดคลองและคูนาสยาม


๒๗

การทํานาในบริเวณคลองรังสิต พื้นที่เกษตรชลประทานที่ถูกพัฒนาขึ้นในสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา


๒๘ ควรกลาวดวยวา โครงการชลประทานเต็มรูปแบบที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นสรางจนเสร็จ สมบูรณเปนครั้งแรก (พ.ศ.๒๔๕๘-พ.ศ.๒๔๖๗) คือ “โครงการชลประทานปาสักใต” โดยการสราง เขื่อนพระรามหก กักน้ําเขาสูคลองระพีพัฒนศักดิ์ที่ตอเนื่องกับพื้นที่รังสิตบริเวณคลองสิบสามและนํา น้ําเขาสูสูเครือขายคลองรังสิตทั้งหมดทําใหแกปญหาพื้นที่คลองรังสิตที่เกิดขึ้นตั้งแตเมื่อเกือบสิบหาป กอน

ตอมาคือ โครงการเชียงราก-บางเหี้ย (พ.ศ.๒๔๖๔-พ.ศ.๒๔๗๔) ครอบคลุมพื้นที่บริเวณที่ต่ํา กว า อยุ ธ ยาแถบทุ ง เชี ย งรากและบริ เ วณบางเหี้ ย ซึ่ ง อยู ร ะหว า งทุ ง รั ง สิ ต และชายฝ ง ทะเลในแถบ สมุทรปราการทําใหเกิดการกั้นระหวางพื้นที่ทํานาและปาชายเลน โครงการสุพรรณ (พ.ศ.๒๔๖๔-พ.ศ.๒๔๙๘) เปนการกั้นน้ําไมใหไหลลงไปอยางรวดเร็วจึงทํา ประตูกั้นน้ําที่ตนแมน้ําที่ที่สามชุกและโพธิ์พระยาเพื่อทําใหระดับน้ําสูงขึ้นซึ่งเปนการสนับสนุนพื้นที่ใน บริเวณตนน้ําเหนือสามชุกและโพธิ์พระยาอันเปนบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเกา [Old Delta]


๒๙ โครงการนครนายก (พ.ศ.๒๔๗๖ พ.ศ.๒๔๒๔๙๗) บริเวณแมน้ํานครนายกซึ่งพบปญหา เชนเดียวกับแมน้ําอื่นๆ ในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ํา คือ ภาวะน้ําแหงขอดและน้ําทวมที่ไมสามารถ ควบคุมได จึงมีการสรางคันกั้นน้ําและประตูน้ําในพื้นที่หลายจุดตามสาขาของแมน้ํานครนายก

การตั้งถิ่นฐานในเขต ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา ความหลากหลายทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมของชุ ม ชนชายฝ ง ทะเลในภาคกลางของ สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาโดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเกา [Old Delta] และ สามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม [Young Delta] ตลอดไปจนถึงคาบสมุทรภาคใต มีความเคลื่อนไหวในการ ผสมผสานของผูคนตางกลุมตางชาติพันธุมาโดยตลอด นับแตยุคกอนประวัติศาสตรบันทึกผาน กระบวนการบอกเลาในตํานาน จนถึงการบันทึกไวอยางเปนลายลักษณอักษร ทําใหผูคนทั้งหลายใน แถบภูมิภาคนี้เกิดการผสมผสานตั้งถิ่นฐานบานเรือนจนเปนพลเมืองของสยาม และกลายเปนกลุมที่มี บทบาทตอการคาภายในตลอดจนการคาอยางเขมขนเพื่อการสงออกในยุคสมัยตอมา สภาพสังคม และวัฒนธรรมในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแมน้ําแหงนี้จึงมีการเคลื่อนไหว ผสมผสาน และบูรณา การจนเปน บาน เมือง รัฐ และอาณาจักร ในที่สุด สังคมของมนุษยที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้จึงเปนสังคมลุมแมน้ํา [Riverine society] เพราะ บานเมืองและชุมชนตางตั้งอยูริมแมน้ําลําคลองทั้งสิ้น บริเวณที่ดอนริมลําน้ําก็มักถูกเลือกเปนที่ตั้งของ ชุมชน การคมนาคม การทํามาหากินจึงตองอาศัยทางน้ําเปนหลัก ชุมชนในยุคแรกๆ จึงตั้งอยูใน บริเวณเสนทางทางน้ําที่สําคัญ อาจารยศรีศักร วัลลิโภดม เสนอไววา ๓ พัฒนาการของบานเมืองและสังคมมนุษยที่สัมพันธกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตรของดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยามีอยูดวยกันสามสมัย เวลาคือ สมัยโลหะตอนปลาย สมัยทวารวดี-ลพบุรี และสมัยอยุธยา-กรุงเทพฯ โดยการเติบโตของ สังคมลุมแมน้ําที่ชัดเจนและสืบเนื่องมาจนถึงปจจุบัน เห็นไดชัดเจนในชวงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาและ กรุงเทพฯ เปนราชธานีและศูนยกลางของประเทศ เพราะการตั้งถิ่นฐานกอนสมัยการเกิดขึ้นของกรุงศรี อยุธยาเปนราชธานีมีหลักฐานของการอยูอาศัยไมมากนักและสวนใหญมักนิยมตั้งชุมชนบานเมืองใน พื้นที่บริเวณขอบดานตะวันตกและตะวันออกของสามเหลี่ยมปากแมน้ํา ซึ่งเปนที่ราบติดแนวเทือกเขา

ศรีศักร วัลลิโภดม. สังคมลุมแมน้ําเจาพระยา : พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง ในการสัมมนา The Chao Phraya Delta: Historical Development, Dynamics and Challenges of Thailand’s Rice Bowl. Bangkok , Thailand, 2000 ๓


๓๐

ในขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมใหม หรือ New Delta พื้นที่ปรับเปลี่ยนจากที่ลุมชุมน้ําเปนที่ดอนมากขึ้น ความสําคัญของแมน้ําเจาพระยาเริ่มเห็นไดชัดเจน มีการตั้งชุมชนอยูริมลําน้ําและศูนยกลางที่ชุมทางน้ําสําคัญ เชน กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งมีพัฒนาการ สืบเนื่องมาจนถึงปจจุบัน ในที่นี้จึงจะจัดแบงยุคสมัยของการตั้งถิ่นฐานออกเปนสองกลุมคือ กลุมชุมชนในชวงกอน ประวัติศาสตรจนถึงกอนพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ และกลุมชุมชนในชวงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ลงมา โดยจะเนนการกลาวถึงชุมชนบานเมืองที่อยูในระยะหลังซึ่งแสดงถึงการเชื่อมโยง

การตั้งถิ่นฐานในชวงกอนประวัติศาสตร จนถึงกอนพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาทั้งบริเวณที่เปนดินดอนสามเหลี่ยมเกาและใหม พบวา มีหลักฐานที่เปนรองรอยของการอยูอาศัยของมนุษยสมัยกอนประวัติศาสตรมาตั้งแตยุคโลหะที่ เริ่มตนเมื่อมีการใชสําริดหรืออาจจะเรียกวายุคสําริดก็ไดเมื่อราว ๓,๕๐๐ ปมาแลว สามารถกลาวไดวา จากหลัก ฐานของโบราณวั ต ถุ ที่ พ บซึ่ ง อุ ทิศ ใหแ กผู ล ว งลั บ ในหลุม ฝง ศพ มีรู ป แบบทางวั ฒ นธรรม คลายคลึงและใกลเคียงกับวัฒนธรรมจากพื้นที่ภายนอก เชน ในจีนตอนใต เวียดนาม อินเดีย และหมู เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต แสดงถึงการติดตอหรือเคลื่อนยายทั้งรูปแบบวัฒนธรรมและกลุมคน ในภูมิภาคนี้ ทางฝงตะวันออกของลุมน้ําเจาพระยา บริเวณที่ราบลอนลูกคลื่นซึ่งเปนที่สูงและอยูชายขอบ ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํา ที่ปจจุบันเราเรียกพื้นที่นี้โดยรวมวา วัฒนธรรมในเขต ลุมลพบุรี-ปา สัก พบวามีการคาระยะทางไกล เพราะนิยมเครื่องประดับที่ทําจากเปลือกหอยและหินมีคา รูปแบบ ของเครื่องมือเครื่องใชที่ไดรับอิทธิพลวัฒนธรรมจากภูมิภาคอื่น การใชโลหะตั้งแตยุคสําริด (ประมาณ ๓,๕๐๐ ปมาแลว) มาจนถึงยุคเหล็ก (ประมาณ ๒,๐๐๐ ปมาแลว) แสดงถึงการมีความกาวหนาใน เทคโนโลยีการถลุงโลหะเชน ทองแดงและเหล็กเปนอยางมาก สวนทางฝงตะวันตกพบวาในบริเวณที่อยูเขาไปในเขตเทือกเขาซึ่งเปนบริเวณตนน้ําสายใหญ ตางๆ มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแตยุคหินจนกระทั่งถึงยุคโลหะ และชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยูทางชายขอบของ สามเหลี่ยมปากแมน้ําที่เปนดินดอนสามเหลี่ยมเกา [Old Delta] ในเขตวัฒนธรรมที่อาจเรียกวา ลุมทา


๓๑

แผนที่แสดงที่ตั้งของชุมชนสมัยกอนประวัติศาสตรแสดงดวยจุดกลมและชุมชนสมัยทวารวดี ที่สืบเนื่องมาจากชุมชนสมัยกอนประวัติศาสตรที่แสดงดวยรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมักอยูในสภาพภูมิศาสตรที่ราบลอนลูกคลื่นในบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาเกา สวนบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาใหมที่อยูดานลางของภาพ เปนชุมชนที่เกิดใหมกวาตั้งแตราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เปนตนมา


๓๒ ชุมชนสมัยกอนประวัติศาสตรที่อยูในบริเวณชะวากหรือใกลกับชายทะเลในยุคกอนโลหะ จนถึงยุคสําริดและเหล็กที่พบคือ โคกพนมดี และหนองโน ที่อยูในเขตอําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เปนชุมชนยุคกอนประวัติศาสตรที่พึ่งพิงการใชทรัพยากรในปาชายเลน โดยยังไมพบหลักฐานการ เพาะปลูกแตอยางใด นอกจากนี้ แหลงที่ตั้งอยูบริเวณที่ราบลุมใกลทะเลอีกแหงหนึ่งคือ ที่โคกพลับ ใน อําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ก็เปนชุนชนที่มีการอยูอาศัยในยุคสําริดและมีการติดตอกับชุมชนที่อยู ภายนอกอยางชัดเจน สําหรับการตั้งถิ่นฐานสมัยกอนประวัติศาสตรเชนนี้ มักอยูอาศัยในเขตที่ดอน บริเวณที่ราบ แนวเชิงเขาซึ่งเปนราบลอนลูกคลื่น [Undulating Plain] ซึ่งมีชุมชนในยุคโลหะ คือ ยุคสําริดและยุค เหล็กตั้งถิ่นฐานอยูจํานวนมาก โดย ใชน้ําซับและตาน้ําใตดินที่กลายเปนลําธารเล็กๆเปนสวนใหญ มิไดเปนรูปแบบของชุมชนในลุมน้ําแตอยางใด เทาที่การสํารวจทางโบราณคดีคนพบ มีการกระจาย ของการตั้งถิ่นฐานเชน ลุมลพบุรี-ปาสัก ในเขตจังหวัดลพบุรีและนครสวรรค สวนในลุมทาจีน-แมกลอง ก็กระจายอยูในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี ในเขตดินดอนสามเหลี่ยมเกา ลําน้ําเกาบางแหงมีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตรทําให ตื้นเขิน ดังเชน ชุมชนในยุคตอมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ในสมัยทวารวดี รัฐมีพัฒนาการ ซับซอนมากขึ้นและรับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียอยางชัดเจนแลว ชุมชนสมัยทวารวดีบางแหงและ มีจํานวนไมนอยมีการขุดคูคันดินลอมรอบในพื้นที่ซึ่งเคยมีการอยูอาศัยในสมัยกอนประวัติศาสตรมา กอน บริเวณที่มีการเคลื่อนไหวของการถิ่นฐานสูงกวาพื้นที่อื่นใดคือ บริเวณลุมน้ําจระเขสามพันซึ่งเปน สาขาของลําน้ําทาจีนในบริเวณตนน้ําแถบอําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรีไหลลงสูอําเภอสองพี่ น อ งในจัง หวัด สุ พ รรณบุ รี บริ เ วณนี้พ บหลั ก ฐานการอยูอาศัย ของชุ ม ชนโบราณตั้ ง แต ใ นยุ ค เหล็ ก (๒,๕๐๐ ปมาแลว) เรื่อยมาจนถึงในสมัยทวารวดีจํานวนมาก ที่สําคัญคือ บานดอนตาเพชร ในจังหวัด กาญจนบุรี และบริเวณเมืองอูทองในจังหวัดสุพรรณบุรี เมืองอูทองนี้นับไดวามีลักษณะของการเปน เมืองทาภายในและพบโบราณวัตถุที่เห็นชัดวามีการติดตอระยะทางไกลจากจีนและอินเดีย และมีอายุ รวมสมัยกับเมืองออกแอวที่เวียดนามซึ่งอยูในพื้นที่ปาชายเลนอันเปนสาวนหนึ่งของสามเหลี่ยมปาก แมน้ําโขงในเวียดนาม ในระยะตอมาความสําคัญของการเปนเมืองทาภายในลดลงและมีเมืองในสมัยทวารวดีขนาด ใหญที่อยูต่ําลงมาในบริเวณลุมน้ําทาจีนที่นครปฐม คือเมืองนครไชยศรีโบราณที่ลําน้ําบางแกวและ เมืองคูบัวที่ลําน้ําแมกลองในจังหวัดราชบุรี ทั้งสองแหงเปนเมืองทาขนาดใหญและเปนศูนยกลางของ พุทธศาสนา การคาและวัฒนธรรม ซึ่งอาจหมายรวมถึงการเมืองดวยของบานเมืองทางฝงตะวันตก ของแมน้ําเจาพระยา สวนทางฝงตะวันออกก็พบเมืองศรีมโหสถ ในจังหวัดปราจีนบุรีและเมืองพระรถ ในอําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในเขตลุมน้ําบางปะกง ซึ่งเปนเมืองขนาดใหญสมัยทวารวดี ซึ่งมี ลักษณะเปนเมืองทาภายในเชนเดียวกัน


๓๓ ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของมนุษยที่อาศัยตั้งแตสมัยกอนประวัติศาสตร ซึ่งอยูภายในและ หางไกลจากลําน้ําสายใหญ แตใชลําธารขนาดเล็กๆ ที่ไมตองปรับใหเขากับสภาพภูมิประเทศเปน ตัวกําหนดสภาพแวดลอมทางวัฒนธรรม และเมื่อมีพัฒนาการเขาสูชวงสมัยประวัติศาสตรในยุคทวาร วดีเปนตนมา ก็เริ่มปรับเปลี่ยนลักษณะการตั้งบานเมืองถิ่นฐานของเมืองสําคัญที่อยูใกลกับลําน้ําใน รูปแบบของการเปนเมืองทาภายในที่ตองพึ่งพาอาศัยการคมนาคมติดตอทางน้ําเปนสําคัญ อาจารยศรีศักร วัลลิโภดม ใหความเห็นไววา ๔ สังคมมนุษยที่เคยอยูอาศัยในบริเวณดินดอน สามเหลี่ยมในยุคนี้มีทีมาพออนุมานไดวา เปนคนกลุมเดิมที่เคยอยูอาศัยในสมัยกอนประวัติศาสตร แลวเคลื่อนยายเขามาสูเขตลุมน้ํา กลุมคนที่เคลื่อนยายมาจากที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกลุมคนที่เขามาทางทะเล ชุมชนขนาดใหญใกลชายทะเลที่เห็นการสืบเนื่องมาตั้งแตสมัยทวารวดีจนถึงสมัยลพบุรีและ อยุธยา คือบริเวณปากน้ําแมกลองและแมน้ําเพชรบุรี บริเวณเมืองทาภายในที่สําคัญคือ เมืองคูบัวที่มี ลําน้ําออมสาขาของแมน้ําแมกลองผาน และมีกาสรอยูอาศัยมาตั้งแตสมัยกอนประวัติศาสตร เชนที่ โคกพริกและสืบเนื่องตลอดมาเพราะพบเครื่องถวยจีนตั้งแตสมัยหาราชวงศ ราชวงศซุง ราชวงศหยวน และราชวงศหมิง ที่พบบริเวณลําน้ําแมกลองจนถึงเมืองราชบุรีตั้งแตกอนสมัยอยุธยาจนถึงสมัยอยุธยา เมืองราชบุรี เปนเมืองที่มีความสืบเนื่องจากเมืองสมัยทวารวดีที่คูบัว เพราะหางกันเพียง ๕ กิโลเมตร กลายเปนเมืองที่อยูชิดกับลําน้ําสายใหญในสมัยลพบุรีในชวงพุทธศตวรรษที่ ๑๘–๑๙ และ เกิดบานเมืองใหมที่ตั้งอยูตามแนวชายหาดทะเลเดิมซึ่งตอเนื่องไปถึงชะอํา คือเมืองเพชรบุรี ซึ่งเปน เมืองทาภายในอันเปนเชื่อมตอระหวางการเดินทางทางน้ําและทางบกในสมัยอยุธยาเมื่อตองการเดิน ทางผานชองเขาขามไปทางฝงทะเลอันดามันบริเวณเมืองทวายและมะริด ตลอดจนการเดินทางเลียบ ชายฝงไปสูหัวเมืองในคาบสมุทรมลายู และเปนจุดพักสําคัญของการเดินเรือเลียบชายฝงในยุคที่ การคาทางทะเลเฟองฟูในสมัยอยุธยา

การตั้งถิ่นฐานในชวงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ลงมา พื้นที่ในสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาใหมหรือ Young Delta เพิ่งเริ่มมีการตั้งชุมชนของ มนุษยเปนบานเมืองขนาดใหญเมื่อไมเกิน ๗๐๐–๘๐๐ ปที่ผานมาเทานั้น กอนการเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ ปรากฏมีชุมชนอยูหลายแหงตามริมน้ํา เจาพระยา เทาที่สํารวจพบหลักฐานสําคัญโดยวิเคราะหจากโบราณสถาน โบราณวัตถุ และตํานาน หลายเรื่องประกอบกัน แมจะยังไมมีการกลาวถึงของนักประวัติศาสตรและนักโบราณคดีทั่วไปมากนัก แต เ มื่ อ วิ เ คราะห แ ล ว ก็ เ ห็ น ร อ งรอยรากฐานการมี อ ยู ข องชุ ม ชนต า งๆ สื บ เนื่ อ งมาเป น ระยะ และ ๔

อางแลว


๓๔

ในระยะแรกของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่อยูต่ํากวาเมืองอยุธยา มีหลักฐานที่แสดงใหเห็นถึง ความเคลื่อนไหวของกลุมชาติพันธุที่เปนคนจีนเขามาในบริเวณนี้อยางชัดเจนกวากลุมชาติพันธุอื่น โดยใชการเดินทางโดยสารมากับเรือสําเภาซึ่งเกิดขึ้นเปนเวลาหลายรอยป กลาวไดวาชุมชนในเขตลุม เจาพระยาตอนลางและแถบคาบสมุทรเกิดขึ้นจากการการผสมกลมกลืนของชาวพื้นเมืองและการเขา มาเผชิญโชคของชาวจีนชายฝงทางตอนใตหลายยุคหลายสมัยที่เกิดขึ้นอยางตอเนื่อง การเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ สัมพันธกับตํานานเรื่องเลาที่เกี่ยวของกับ การเดินทางมาถึงของชาวจีนที่อาจหมายถึงขุนนางหรือพอคา เชนที่กลาวถึงในพงศาวดารเหนือ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ วันวลิต ตํานานเรื่องทาวอูทองที่เปนพอคา ๕ ซึ่งโดยเนื้อเรื่องก็เกี่ยวกับ คนจีนผูมาใหมกับคนพื้นเมืองผูอยูมากอน แสดงใหเห็นอยางชัดเจนถึงการมีอิทธิพลของคนกลุมใหม นั่นคือ ชาวจีน ที่เคลื่อนยายอพยพเขามากับเรือสําเภา ซึ่งสัมพันธกับเหตุการณของบานเล็กเมืองนอย ในยุ ค นั้ น ที่ พั ฒ นาเข า สู ก ารแสวงหาศู น ย ก ลางแห ง ใหม ร ะดั บ นครรั ฐ ที่ ส ามารถรองรั บ คลื่ น ของ พัฒนาการการเปนเมืองทา [Maritime State] จากอิทธิพลของการคาทางทะเลที่เริ่มจะมีบทบาทสูงตอ รัฐตางๆ ในภูมิภาคนี้ ตํานานวีรบุรุษทางวัฒนธรรม [Culture Hero] ที่ชื่อ ทาวอูทอง ตํานานเรื่องนี้อาจกําหนดเวลา ไดกวางๆ วาอยูในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙–๒๐ อันเปนชวงเวลาของการรวบรวมแวนแควนในเขตลุม เจาพระยากอนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้แสดงถึงการเขามาของ คนกลุ ม ใหม จ ากทางทะเล นั่ น คื อ การเคลื่ อ นไหวของกลุ ม คนจี น และพ อ ค า ที่ เ ดิ น ทางเข า มาสู บานเมืองภายใน ความสําคัญของตํานานเรื่องทาวอูทองที่เปนพอคาเดินทางรอนแรมไปยังสถานที่ตางๆ ซึ่งมี หลักฐานเปนโบราณสถานโบราณวัตถุรองรับอยูที่สามโคก ในจังหวัดปุทมธานี บริเวณวัดมหิงสาราม ซึ่งเปนวัดรางเหนือบานสามโคกราว ๓-๔ กิโลเมตร หางจากฝงน้ําเจาพระยาราว ๒ กิโลเมตร บริเวณนี้ ปรากฏหลักฐานโคกเนินและเศษภาชนะดินเผาหลากแหลงที่มาและมีอายุเกาไปถึงราชวงศซุง (พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒) และราชวงศหยวน (พ.ศ.๑๘๒๓ – พ.ศ.๑๙๑๑)

ทาวอูทองที่กลาวถึงนี้ เปนบุคคลในตํานาน ซึ่งแตกตางอยางชัดเจนกับพระเจาอูทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผูสถาปนากรุงศรีอยุธยาเปนรัฐใหญเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๒ โปรดดูรายละเอียดในบทความเรื่อง “ตํานานการเคลื่อนยาย ของคนกลุมใหมที่มากับเรือสําเภากับการสรางบานแปงเมืองในสมัยอยุธยา” วลัยลักษณ ทรงศิริ (เมืองโบราณ ปที่ ๒๖ ฉบับที่ ๔, ตค-ธค. ๒๕๔๓) ๕


๓๕

ทุงพญาเมืองที่สามโคก

ทุงพระเสด็จที่เชียงราก ื ่ี โ

แผนที่แสดงบริเวณทุงพญาเมืองที่สามโคกซึ่งปรากฏในโคลงกําสรวลฯ และทุงพระเสด็จที่เชียงราก โคลงกําสรวลฯ กลาวถึงการเดินทางผานบริเวณทั้งสองแหง ซึ่งอยูในเสนทางริมแมน้ําเจาพระยาเดิม ชวงกอนที่จะมีการขุดคลองลัดที่เกร็ดใหญเมื่อราว พ.ศ.๒๑๕๑


๓๖ อีกทั้งฝงตรงกันขามยังปรากฏเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผาอีกสองแหงคือ ทุงพญาเมืองและ ทุงพระเสด็จ ในเขตอําเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีในปจจุบัน คือชุมชนบานเมืองขนาดใหญที่มีอายุ รวมสมัยกับเมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร มีหลักฐานเกาไปถึงตนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งเปนชวงเวลา กอนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาอยางเปนทางการ และบริเวณนี้ยังสัมพันธกับสถานที่ซึ่งปรากฏใน พงศาวดารเหนือซึ่งกลาวถึงเหตุการณกอนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่วา พระเจาสายน้ําผึ้งตองการ ไปสรางบานเมืองที่บางเตย แตถูกหามเพราะน้ําเค็มขึ้นมาถึง ๖ และที่ตั้งของคลองบางเตยก็อยูฝง ตรงกันขามกับเมืองโบราณที่ทุงพญาเมือง

ภาพถายทางอากาศ เมืองโบราณที่ทุงพญาเมืองมีผังเมืองเปนรูปสี่เหลี่ยมผืนผา ฝงตรงขามกับเมืองสามโคก ปทุมธานี

เมื่อพิจารณาจากโคลงกําสรวลสมุทร ที่คาดวานาจะแตงขึ้นกอนสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช หมายถึงในราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในชวงนั้นทุงพญาเมืองกลายเปนเมืองรางไปแลว ดังนั้น เมืองโบราณที่ทุงพญาเมืองนี้จึงนาจะมีอายุในชวงกอนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาอยางเปน ทางการและมีการอยูอาศัยตอเนื่องเรื่อยมาจนราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ กอนจะกลายเปนเมืองรางและมี

ใน “พงศาวดารเหนือ” ที่พระวิเชียรปรีชา (นอย) รวบรวมเรียบเรียงเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ มีตอนหนึ่งกลาววา “พระเจา สายน้ําผึ้งจึงยกพลลงไปขุดบางเตย จะสรางเมืองใหม พระอาจารยหามวาน้ําเค็มนัก ยังไมถึงพุทธทํานายสรางไมได”


๓๗

เมืองโบราณที่ทุงพระเสด็จรูปสี่เหลี่ยมผืนผาตั้งอยูริมแมน้ําเจาพระยาเดิม ที่เปนคลองบานพราวมาตอกับคลองบางหลวงเชียงราก

ดังนั้น จึงสามารถกลาวไดวา กอนการเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยาอยางเปนทางการมีหลักฐาน ชัดเจนของบานเมืองที่มีมากอนกรุงศรีอยุธยา นั่นคือ “อโยธาศรีรามเทพนคร” ที่ใตเกาะเมืองอยุธยา อันเปนเมืองใหญและสัมพันธกับเมืองละโวหรือลพบุรี ในชวงเวลาดังกลาว อาจมีชุมชนที่อยูตามลําน้ํา เจาพระยาอีกหลายแหงที่มีอายุรวมสมัย เชน ทุงพญาเมืองที่สามโคก เชียงรากที่ทุงพระเสด็จ แควน้ํา ออมที่บางขนุนบางขุนกองและบางนายไกร ซึ่งมีเรื่องเลาเกี่ยวกับพระเจาอูทองปรากฏอยูและพบ โบราณสถานหลายแหงที่ถูกทําลายทิ้งไป อีกทั้งพระพุทธรูปหินทรายสีแดง ซึ่งปรากฏเปนที่นิยมสราง กันในชวงอยุธยายุคแรกๆ รวมทั้งพระปรางคที่วัดปรางคหลวงบริเวณแมน้ําออมก็เปนพระสถูปตั้งแต สมัยอยุธยาตอนตนอีกเชนกัน


๓๘ ชุมชนที่อยูตามริมแมน้ําลําคลองในเขตเมืองธนบุรีดังกลาว คือชุมชนที่เปนชุมชนชาวสวน อยางแนนอนและวิธีการทําสวนก็ดูแตกตางไปจากการทําสวนแบบทั่วๆ ไปในที่อื่นๆ นั่นก็คือเปนการ ทํ า สวนแบบยกร อง แบบอย า งเชน นี้ ก ล า วกัน วา เป น สิ่ง ที่นิ ย มกับ วิ ธีก ารทํา สวนที่ พ บแถวมณฑล กวางตุ งและกวางสี ท างตอนใตของประเทศจีน จึงเปน สิ่งสะทอนใหแลเห็ นความสั ม พั นธกัน ทาง เทคโนโลยีของคนในประเทศจีนตอนใต กับผูคนในเขตปาชายเลนและลุมน้ําในภาคกลางของประเทศ ไทยที่คอนขางชัดเจน ในชวงระหวาง พ.ศ.๒๐๗๗-๒๐๘๐ กอนหนานั้นมีหลักฐานจากโคลงกําสรวลสมุทรที่ยังคงใช เสนทางลําน้ําเจาพระยาเดิมผานคลองบางระมาดและคลองบางเชือกหนัง แตมิไดเอยถึงเมืองบางกอก ไวแตอยางใด โคลงกําสรวลศรีปราชญหรือกําสรวลสมุทร ที่เคยสันนิษฐานกันวาศรีปราชญเปนผูแตงและ ประพันธขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณฯ แตจากหลักฐานจากขอความที่เขียนถึงการเดินทางตามลํา น้ําเจาพระยาไปออกทะเลไมผานคลองลัดบางกอกที่ขุดขึ้นในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช และ กลาวถึงชุมชนหลายแหงที่มีอยูแลวบนเสนทางตามลําน้ําเจาพระยาไปออกปากอาว ความเห็นวา นาจะอยูในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ขึ้นไป ๗ ดังที่กลาวถึงชุมชนในแถบแมน้ําเจาพระยาเดิมที่บางระมาด (บางรมาต) และบางเชือกหนัง (บางฉนงง) ซึ่งเปนชุมชนชาวสวนและเปนการเดินทางตามเสนทางน้ําที่คดโคงของลําน้ําเจาพระยา กอนที่จะมีการขุดคลองลัดบางกอกในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชแนนอน ๕๕

๕๙

๖๐

กลวยออยเหลืออานอาง จรหลาดเลขคนหนา เยียมาลุดลบาง ถนัดรมาตเตาเตา มุงเหนดยรดาษสรอย แมนมวงขนุนไรรยง กทึงทองรําควรโดร ปรางประเหลแกมชอย เยิยมาแอวใสยอน ฉนงงบอมาทนนสาย ขนํทิพยพงารงง ยินขาวไขหมอหนอง

ผักนาง ฝงงเฝา รมาต ไตฉนยร แสนสวน รุนสรอย รศออน พี่แม ซาบฟนน บางฉนงง แสบทอง รจเรข มาแม อิ่มเอง

Hกําสรวลศรีปราชญ-นิราศนรินทร : ศรีปราชญและกําสรวลศรีปราชญH ม.จ. จันทรจิรายุ รัชนี, นครหลวงฯ : แพร พิทยา, ๒๕๑๕ ๗


๓๙

คลองลัดและแมน้ําเจาพระยาเดิมในบริเวณบางกอกหรือฝงธนบุรีในปจจุบันที่ตอเนื่องกับ คลองบางกรวย คลองแมน้ําออม ซึ่งเปนแมน้ําเจาพระยาเดิมที่คดโคงเพราะใกลปากน้ํา มีชุมชนสมัยอยุธยาตอนตนที่มีการอยูอาศัยอยางสืบเนื่องมาจนถึงอยุธยาตอนปลายหลายแหง ดังพบหลักฐานรูปแบบศาสนสถานในวัดตามลําคลองเกาที่ตอกับแมน้ําเจาพระยาเดิม


๔๐ ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา ชุมชนที่อยูในเขตลุมน้ํามักจะมีชื่อขึ้นตนดวยคําวา “บาง” อยูเสมอ ในพจนานุกรมทั่วไป คําวา “บาง” หมายถึงชุมชนที่ตั้งอยูริมน้ํา แตในคําอธิบายจาก “สาสน ส มเด็ จ ” สมเด็ จ กรมพระยาดํ า รงราชานุ ภ าพและสมเด็ จ กรมพระยานริ ศ รานุ วั ด ติ ว งศ ให ความหมายของคําวา “บาง” หมายถึง “คลองตันที่ทําขึ้นเพื่อชักน้ําในแมน้ําไปใชในที่ทํากิน” ซึ่งนับเปน รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเขตริมแมน้ําลําคลองที่สําคัญประการหนึ่ง

แผนที่แสดงแมน้ําเจาพระยาตําแหนงที่ตั้งของชุมชนสําคัญและเห็นเกาะที่เกิดจาก ธรรมชาติและการขุดคลองลัดชัดเจนตั้งแตกรุงศรีอยุธยามาจนถึงปากน้ํา เขียนขึ้นเมื่อราว พ.ศ.๒๓๐๗

การตั้งถิ่นฐานบริเวณลําน้ําเจาพระยาตอนลางในปจจุบัน ในปจจุบัน การตั้งถิ่นฐานบริเวณลําน้ําเจาพระยาตอนลางในทางสังคมและวัฒนธรรมอาจ แบงพื้นที่ตามลักษณะภูมิประเทศและความเปนมาทางประวัติศาสตรและวัฒนธรรมไดราว ๔ กลุม แมน้ําเจาพระยาเปนลําน้ําใหญสายเดียวที่มีคลองแยกหรือบางตางๆ อันเปนที่ตั้งของชุมชน และแคว


๔๑

ปากน้ํา เปนบริเวณที่แมน้ําเจาพระยาติดตอกับชายทะเล มีปาชายเลน [Mangrove] ที่เอื้อให เกิดแหลงอาหารตามธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ มีทั้งประมงชายฝงและการเพาะปลูก พื้นที่มีการ เปลี่ ย นแปลงเพื่ อ การชลประทานเพาะปลู ก และเป น เขตที่ ผ ลิ ต อาหารสํ า คั ญ แห ง หนึ่ ง ป จ จุ บั น เปลี่ยนแปลงกลายเปนพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่คอนขางเสื่อมโทรม กลุมชาติพันธุที่แมมีความ หลากหลาย แตก็กลายเปนเมืองอุตสาหกรรมที่มีความซับซอนอยูมาก ธนบุรีตอเนื่องกับนนทบุรี เพราะเปนเขตชาวสวนเหมือนกัน พื้นที่นี้เปนแหลงปลูกผลไมที่ เกาที่สุดของประเทศ แตปจจุบันพื้นที่กลายเปนที่อยูอาศัยใหม ทั้งสวนผัก สวนผลไมเปลี่ยนสภาพไป หมดแลว ทั้งที่เปนพื้นที่เหมาะแกการทําสวนเพราะเปนเขตน้ํากรอยกึ่งน้ําจืดและน้ําเค็ม และมีความ หลากหลายของกลุมชาติพันธุอีกเชนกัน ที่ลุมปทุมธานี กลุมนี้ตอเนื่องกับนนทบุรีบางสวนเปนพื้นที่ปลูกขาวขนาดใหญเชนกัน ใน ขณะเดียวกันก็ไดรับผลกระทบจากการสรางโรงงานอุตสาหกรรมจํานวนมากและบางสวนกลายเปน พื้นที่อยูอาศัยใหมของคนเมือง ในบางพื้นที่ก็มีความตางทางวัฒนธรรมอยูสูงแมจะเปนกลุมชาติพันธุ เดียวกัน คือ คนเชื้อสายมอญ แตการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมทําใหมีวีถีชีวิตที่แตกตางกัน ที่ลุมอยุธยา คือพื้นที่ปลูกขาวขนาดใหญ ทั้งมีจุดกําเนิดในสมัยอยุธยาในการเกิดเปนรัฐที่มี รากฐานจากการพาณิชยนาวี การเปนเมืองทาภายใน และมีพื้นที่ปลูกขาวอันกวางใหญไพศาลจนถึง ปจจุบันมีกลุมชาติพันธุหลากหลายและนาสนใจมาก แตกลายเปนพื้นที่ในเขตอุตสาหกรรมที่มีนิคม อุตสาหกรรมจํานวนมากตั้งอยู และระบบการชลประทานที่มีเครือขายซับซอนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและ การผลิตของผูคนในเขตนี้อยางชัดเจน

ความสําคัญของเมืองบางกอก (เมืองธนบุรี) ทางประวัติศาสตร ในรัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราช มีการขุดคลองลัดกลายสภาพเปนแมน้ํา สวนเสนทางของ แมน้ําเดิมกลับคับแคบลงกลายเปนลําคลอง หากใชหลักฐานจากโคลงกําสรวลสมุทร บริเวณเดิม เหลานี้มีการตั้งถิ่นฐานแลวตั้งแตในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ในชวงตนพุทธศตวรรษที่ ๒๑


๔๒

มีหลักฐานวา ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีการยกฐานะเมืองบางกอกเปนเมืองธนบุรี ศรีมหาสมุทรใหเปนเมืองหนาดาน เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๐ เรียกเก็บภาษีปากเรือจากเรือสินคาที่เขาไป คาขายยังกรุงศรีอยุธยา ผูคนอาศัยอยูริมฝงแมน้ําทั้งสองฝง ทางตอนใตและบริเวณภายในเปนทองทุง และเรือกสวนไรนา เมืองบางกอกหรือเมืองธนบุรีฯ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเปนเมืองที่ใชพื้นที่ทั้งสอง ฝงแมน้ํา เนื่องจากเมืองธนบุรีเปนเมืองหนาดานมีชัยภูมิที่ดี และมีความสําคัญทางยุทธศาสตร อีกทั้ง ยังตั้งอยูบริเวณโคงของแมน้ํา สมเด็จพระนารายณฯ (พ.ศ.๒๒๐๑- พ.ศ.๒๒๓๑) โปรดใหวิศวกรชาว ฝรั่งเศสสรางปอมสําหรับทั้งสองฝงน้ําเพื่อรับศึกทางทะเลที่อาจมีปญหากับกองเรือของชาวดัชทหรือ ฮอลันดา เรียกวา “ปอมวิชาเยนทร” ตอมาปอมทางตะวันออกถูกรื้อไปในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา คงเหลือแตปอมทางฝงตะวันตกแตเพียงปอมเดียว

ปอมวิไชเยนทรหรือปอมบางกอก ที่วิศวกรชาวฝรั่งเศสสรางและเขียนแบบบันทึกขึ้นในสมัยสมเด็จพระ นารายณฯ อยูท างดานบนที่ปจจุบันไมเหลือรองรอยแลว ตอมาเปลี่ยนชื่อเปนปอมวิไชยประสิทธิ์ซึ่งตั้งอยูทางฝงตรงขามและปรากฏมาจนทุกวันนี้


๔๓ สมเด็จพระเจาตากสินฯ เสด็จขึ้นครองราชยทรงสถาปนากรุงธนบุรีเปนราชธานีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ โปรดเกลาฯ ใหขยายเมืองไปทางทิศเหนือจนจรดคลองบางกอกนอย พรอมกับสรางกําแพง เมืองตามแนวคลองขุดใหมมีชื่อเรียกเปนตอนๆ เชน คลองบานขมิ้น คลองบานชางหลอ คลองบาน หมอ คลองวัดทายตลาด สวนทางทิศตะวันออกของแมน้ําเจาพระยาขยายไปจนจรดคลองคูเมืองที่ขุด ขึ้นใหม ปจจุบันเรียกวาคลองหลอด แลวสรางกําแพงเมืองขึ้นตามแนวคลองคูเมือง ดังปรากฏ หลักฐานที่พบจากการขุดคนทางโบราณคดีเมื่อไมกี่ปมานี้ สวนปอมวิไชยเยนทรไดเปลี่ยนชื่อใหมเปน "ปอมวิไชยประสิทธิ์" พรอมทั้งใหขุดที่สวนเดิม เปลี่ยนเปนทองนานอกคูเมืองทั้ง ๒ ฟากฝงแมน้ําเจาพระยาเรียกวา ทะเลตม ไวเปนที่สําหรับทํานา ใกลพระนคร แมน้ําเจาพระยาจึงตัดผานกลางเมือง พื้นที่ในกําแพงเมืองฝงตะวันตกเริ่มตั้งแตเขตเมือง ธนบุรี เดิมริมคลองบางกอกใหญ ไปจนถึงบริเวณหลังวัดบางหวานอย (วัดอินทาราม) ริมคลอง บางกอกนอย ภายในกําแพงเมืองธนบุรีเปนที่ตั้งของพระราชวังกรุงธนบุรี สวนฝงตะวันออกเริ่มตั้งแต ศาลเทพารักษหัวโชค (เชิงสะพานพระปนเกลาฝงพระนคร) เลียบตามแนวคูเมือง (คลองคูเมืองบริเวณ หลังกระทรวงมหาดไทย) ไปจรดแมน้ําเจาพระยาบริเวณปากคลองตลาด ปรากฏวาวัดโพธิ์ในปจจุบัน นี้เปนวัดสําคัญในรัชกาลสมเด็จพระเจากรงธนบุรีเมื่อพิจารณาจากแผนที่เกาที่ชาวพมาทําไวซึ่งพบ จากมหาวิทยาลัยยางกุง๘

แผนที่กรุงธนบุรีที่ชาวพมาเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี พบเอกสารจากพมา ดานลางคือ พระราชวังฝงธนบุรี สวนดานตรงขามปรากฏวัดขนาดใหญ ชุมชนสองฝงลําน้ําเจาพระยาถูกแซมดวยสวน ผลไมยืนตนริมฝงน้ํามากกวาจะเปนที่นาอยางเห็นไดชัด

แผนที่ดังกลาวอาจารยสุเนตร ชุตินทรานนท ไดรับมาจากผูคัดลอกมาจากมหาวิทยาลัยยางกุง และมีจัดแสดงภาพ จําลองไวในพิพิธภัณฑวังสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ภายในกองทัพเรือ ๘


๔๔ กรุงธนบุรีเปนราชธานีเพียง ๑๕ ป หลังจากสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟาจุฬาโลกฯ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเปนกษัตริยแหงราชวงศจักรี และทรงยายราชธานี จากฝงตะวันตกมายังฝงตะวันออกของแมน้ําเจาพระยา ธนบุรีจึงถูกลดความสําคัญและกลายเปนสวน หนึ่งของกรุงเทพฯ ในที่สุด ในยุคตนของกรุงรัตนโกสินทร ตั้งแตรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๓ เปนชวงเวลาของการสราง ราชธานี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกฯ ทรงยายราชธานีมายังฝงตะวันออกของแมน้ํา เจาพระยาเพื่ออยูในจุดยุทธศาสตรที่เหมาะสมและขยายพื้นที่ของพระนครออกไป โดยโปรดเกลาฯ ให ขุดคลองคูเมืองเพิ่มขึ้นจากสมัยกรุงธนบุรีอีกชั้นหนึ่ง คือ "คลองรอบกรุง" สรางปอม ประตู กําแพงเมือง โดยมีปอมพระมหาสุเมรุเปนปอมใหญมีหอรบสูงเลียนแบบปอมเพชรที่กรุงเกาและนําอิฐเกามาจาก พระนครที่รางไปที่อยุธยา และสรางพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพมหานครใหคลายคลึงกับพระราชวัง หลวงที่กรุงศรีอยุธยา สืบทอดอุดมคติการสรางราชธานีรวมทั้งการจั ดการปกครองมาจากกรุงศรี อยุธยา พระบรมมหาราชวังภายในเมืองจึงเปนศูนยกลางความศักดิ์สิทธิ์เชิงสัญลักษณของราชธานี แบบเกา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว (พ.ศ.๒๓๖๗ - พ.ศ.๒๓๙๔) สังคมเปดใหกับ เศรษฐกิ จ การค า กั บ ผู ค นต า งชาติ ต า งภาษา ทํ า ให บ า นเมื อ งมั่ ง คั่ ง บริ บู ร ณ ขึ้ น กว า เดิ ม ทรง บู ร ณปฏิ สั ง ขรณ วั ด วาอารามมากมาย กรุ ง เทพฯ กลายเป น เมื อ งท า และเมื อ งหลวงที่ เ รื อ สิ น ค า นานาชาติเขามาคาขาย ผูคนเพิ่มมากขึ้นจากนโยบายกวาดตอนเชลยศึกจากบานเมืองตางๆ โดยมีคน จีนที่ผสมผสานกับชนชั้นปกครองทําใหเกิดสังคมกระฎมพีหรือกลุมชนชั้นกลางที่เปนพอคาและสราง ความสนิทสนมกับกลุมขุนนางและพระราชวงศชั้นสูง จนกลายเปนกลไกทางสังคมและเศรษฐกิจที่ สําคัญในยุคตนรัตนโกสินทร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว (พ.ศ.๒๓๙๔ - พ.ศ.๒๔๐๔) วัฒนธรรม หลวงยุคนี้ใหความสําคัญกับวัฒนธรรมตะวันตกอยางมาก เพราะพระองคมีพื้นฐานของความเปน ปราชญที่ผนวชในพระพุทธศาสนาถึง ๒๗ ปกอนขึ้นครองราชย ทําใหทรงสามารถรับศิลปะวิทยาการ และความคิดใหมๆ มาปรับปรุงบานเมือง รวมทั้งเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีทั้งที่สรางขึ้นใหมและแกไข ตามที่ ท รงเห็ น ควร ส ง ผลให สั ง คมภายในกรุ ง เทพมหานครเป ด รั บ ความทั น สมั ย ที่ เ ป น แบบแผน บานเมืองอยางตะวันตก เชน การสรางถนนเจริญกรุง ถนนบํารุงเมือง ถนนเฟองนคร ทั้งสามสายเปน ถนนรุนแรกที่ใชเทคนิคการสรางตามเเบบยุโรป โปรดเกลาฯ ใหขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อขยายพระ นครไปทางตะวันออก ชักชวนพระราชวงศและขาราชบริพารสรางสะพานขามคลองตางๆ ในพระนคร งานประติม ากรรมและจิ ตรกรรมไทยในสมัยรั ชกาลนี้ไดนํา วิธีแบบตะวั นตกมาผสมผสานจนเปน เอกลักษณใหม รวมถึงการขุดคลองภาษีเจริญ คลองดําเนินสะดวก เพื่อประโยชนในการเดินทางและ ส งผลผลิ ต จากเมื อ งภายในสูเ มื อ งทา ที่ ก รุง เทพเพื่อ การค า สงออก อั น เป น ผลมาจากอิท ธิพ ลของ


๔๕

ในระยะนั้นบริเวณสองฝงน้ําเจาพระยาที่เปนสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม [Young Delta] ยังคง สภาพในแบบธรรมชาติอยูในลักษณะที่เปนพื้นที่กึ่งหนองบึงที่ยังไมถูกรบกวนปรับเปลี่ยนใหเปนพื้นที่ เกษตรกรรม

ถนนใหมหรือ New Road หรือถนนเจริญกรุง ถนนสายแรกของกรุงเทพฯ ผานเสาชิงชาไปยังยานคนจีน

สภาพสังคมของบานเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากปจจัยภายนอก การสรางอํานาจรวม ศูนยขึ้นไดอยางสมบูรณในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เกิดขึ้นพรอมกับการรับ ความทันสมัยแบบชาติตะวันตก มีการขุดคลองเพื่อการพาณิชยและการชลประทานบุกเบิกพื้นที่ทํานา พร อ มกั บ เริ่ ม มี โ ฉนดที่ ดิ น เป น ของราษฎรครั้ ง แรก เมื่ อ มี ถ นนก็ มี พ าหนะเพื่ อ การคมนาคมที่ เ ป น เครื่องจักรทั้งรถยนต รถราง และรถไฟ ระบบสาธารณูปโภค เชน ไฟฟาและน้ําประปา มีการสราง อนุสาวรียที่ระลึกตางๆ โรงมหรสพ โรงพยาบาล สถานที่ราชการ เกิดสถาบันการศึกษาตามแบบ ตะวันตกนับแตโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย การพิมพหนังสือเผยแพรทั้งของชาวตะวันตกและชาว สยาม ในกรุงเทพมหานคร ชุมชนขยายตัวไปตามถนนหนทางที่ตัดขึ้นใหมบานที่อยูอาศัย ตลาด รานคา ตึกแถว หองแถว ยานธุรกิจ โดยเฉพาะฝงตะวันออกของพระนคร สวนฝงธนบุรีไมมีการเติบโต มากนัก คงเปนพื้นที่สวน ลําคลอง และยานที่พักของพระบรมวงศานุวงศรุนเกาและขุนนางผูใหญ


๔๖ ผูคนตางภาษาและวัฒนธรรมที่ถูกกวาดตอนมาเนื่องจากการสงครามแลว ยังมีพอคา คหบดี ขาราชการผูชํานาญการชาวตางชาติอีกไมนอยที่เขามาตั้งถิ่นฐานถาวรในชวงที่เปดการคาเสรีและ พัฒนาบานเมืองไปสูความทันสมัย และครั้งรัชกาลที่ ๔-๕ มีการตัดถนนเชื่อมสถานที่ตางๆ เขาดวยกัน ทําใหราษฎรเขามาตั้งหลักแหลงอยูอาศัยทํามาหากินทั้งในพระนครและบริเวณใกลเคียง เกิดเปนยาน รานตลาด อาคารพาณิชยมากมายซึ่งยังมีใหเห็นอยูในปจจุบัน กรุงเทพฯ เต็มไปดวยชาวตางชาติตางภาษาอาศัยตามยานตางๆ เปนชุมชนแบบดั้งเดิมที่รูจัก กันทั้งชุมชน โครงสรางทางสังคมไมซับซอน และมีศูนยรวมทางความเชื่ออยางอิสระตามวัฒนธรรม ของตน บางแหงเปนยานการคา บางแหงเปนยานชางฝมือ เชน จีนที่สําเพ็ง เยาวราช กุฎีจีน ตลาดพลู คลองสาน แขกจามบานครัว แขกมุสลิมชางทองตรอกสุเหราบางลําพู แขกมุสลิมปตตานีตึกดิน แขก มุสลิมบางออ บางพลัด แขกสุหนี่สุเหราตนสน สุเหราบางกอกนอย สุเหราบางหลวง สุเหราบานสมเด็จ สุเหราตึกแดง สุเหราสวนพลู แขกเจาเซ็นกุฎีเจริญพาศน กุฎีหลวง สุเหราผดุงธรรม สุเหราตึกขาว แขก สิกขพาหุรัด สี่แยกบานแขก พราหมณโบสถพราหมณเสาชิงชา มอญวัดชนะสงคราม มอญบางไสไก มอญบางกระดี่ ลาวบางไสไก เขมรบานบาตร มอญนางเลิ้ง ญวนสะพานขาว ญวนคริสตังสามเสน ญวนพาหุรัด ญวนบางโพ โปรตุเกสและเขมรที่วัดคอนเซ็ปชัญ ฝรั่งโปรตุเกสกุฎีจีน เปนตน

เรือที่เขามาจอดรอเทียบทาคาขายบริเวณแมน้ําเจาพระยาที่กรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๕

การคาขายในชวงสมัยตนกรุงรัตนโกสินทรสวนใหญจะมีตลาดน้ํากระจายอยูตามแมน้ําลํา คลองสายตางๆ สวนตลาดบกที่อยูในเขตคลองรอบกรุง บางแหงเปนที่มาของชื่อยานตางๆ เชน ตลาด เสาชิงชา ตลาดสําเพ็ง ตลาดบานหมอ ภายในกําแพงพระนครนับจากพระบรมมหาราชวังดานที่ติดกับ


๔๗

การเปลี่ยนแปลงโครงสรางทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ทําใหวิถีชีวิตของ ผูคนและสภาพแวดลอมหักเหไปจากเดิมอยางมากเพื่ออุดหนุนแกแหลงอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรม การเกษตร การสรางระบบควบคุมน้ําเชนเขื่อนขนาดใหญบริเวณตนน้ําเจาพระยาเมื่อสี่สิบกวาป มาแลว ทําใหบริเวณภาคกลางซึ่งอยูในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําไดรับผลกระทบรุนแรง ฤดูกาลเพื่อ การเพาะปลูกตามที่เคยเปนมาแบบเมืองลุมน้ําเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง น้ําในลําคลองเนาเสียทวมซ้ําซาก ซึ่งไมมีทีทาวาจะแกปญหาไดอยางถาวร ธรรมชาติการขึ้นลงและไหลเวียนของน้ําซึ่งเอื้อแกสวนผลไม คุณภาพดีจึงกลายเปนอดีตที่ไมอาจหวนคืน กรุงเทพฯ และธนบุรีในปจจุบันเปนศูนยรวมของการปกครอง ระบบราชการ ธุรกิจการคา ความทันสมัย เชน ถนนหนทาง รถยนต ตึกสูง ศูนยการคาใหญโต และคนชั้นกลางซึ่งมีโอกาสทาง ชีวิตและสังคมสูงกวาจังหวัดอื่นๆ สงผลใหเกิดการหลั่งไหลของคนชนบทเขาสูเมืองซึ่งขยับขยาย ออกไปทุกทิศทางโดยขาดการควบคุมระบบผังเมืองที่เครงครัด ทําใหเกิดปญหาดานสาธารณูปโภค และเผชิญหนากับปญหามลพิษรุนแรงมาหลายทศวรรษ จากพระนครที่เคยมีประชากรเพียงไมมาก กลับกลายเปนเมืองในระดับมหานครที่มีผูอยูอาศัยแบบสังคมเมืองเปนสวนใหญ ซึ่งแทบทั้งหมดมี ความสัมพันธทางสังคมกันอยางผิวเผิน จํานวนประชากรอยางเปนทางการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ราวหาลานหาแสนคน แตเปนที่รูวานาจะมีมากกวานี้เกือบเทาตัวเมื่อนับรวมคนที่ยายเขามา ชั่วคราวเพื่อหางานทํา และผูที่อยูในเขตปริมณฑลที่เดินทางแบบไปเชาเย็นกลับเพื่อเขามาทํางานใน เมือง


๔๘

บทที่ ๒ รากเหงาทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ พื้นที่ฝงตะวันตกแมน้ําเจาพระยา: สวนผลไม นาขาว และสวนผัก สองฝงลําน้ําเจาพระยาในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม เปนพื้นที่ซึ่งไดรับอิทธิพลจากน้ํา ทะเลหนุนเขามาภายในแผนดินและการไหลออกของน้ําจืดจากภายในสูทะเล ลักษณะทางนิเวศวิทยา ของบริเวณพื้นที่ใกลกับชายฝงทะเลจึงขึ้นอยูกับกระแสน้ําจืดและน้ําเค็ม เมื่อมีการเขามาอาศัยตั้งถิ่น ฐานในบริเวณนี้ จึงตองมีการปรับตัวเพื่อการดําเนินชีวิตใหอยูไดในสภาพแวดลอมดังกลาว วัฒนธรรม ของการอยูอาศัยและดํารงชีวิตในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหมของแมน้ําเจาพระยานี้เปนรากฐาน ของการเกิดบานเมืองที่กรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพฯ ซึ่งเปนเมืองทาภายในหางชายฝงและสะดวกใน การทําการคาติดตอกับบานเมืองโพนทะเล

สวนผัก

ทุงนา

สวนผลไม

แผนที่แสดงขอบเขตโดยประมาณบริเวณสวนผลไม ทุงนาและสวนผักในอดีตของเขตตลิ่งชัน บริเวณรอยตอระหวางเขตที่นาและสวนผลไมอยูแถบถนนพุทธมณฑลสาย ๑ และ ๒ ไปทางฝงตะวันตก


๔๙

ภาพถายทางอากาศเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ จะเห็นวาพื้นที่สวนจะอยูตามแนวลําคลองในพื้นที่สีเขม และเปนตารางสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ในขณะที่พื้นที่นาขาวจะเปนพื้นที่สีออนกวา และครอบคลุมพื้นที่สวนใหญทางฝงตะวันตก สวนสวนผักอยูริมคลองมหาสวัสดิ์ชวงตนๆ

การปรับตัวดังกลาวทําใหเกิดนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนใกลชายฝงทะเลสองสามแบบดวยกัน โดยรูปแบบการดํารงชีวิตในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหมแตเดิมนี้มีหลักฐานอยางชัดเจนจากเอกสาร ในชวงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ วา บริเวณริมลําน้ําที่เปนคลองซอยของลําน้ําเจาพระยาเดิมนั้นเปน สวนผลไมทั้งสิ้น ภูมิทัศนทั้งริมสองฝงลําน้ําก็เปนเรือกสวนแนนขนัด สวนบริเวณหางจากลําน้ําใหญใน ที่ดอนหรือบริเวณที่ไกลจากปากอาวพอสมควรหากเปนชุมชนใหญก็จะเปนทองทุงนาซึ่งเปนการทําทั้ง นาหวานและนาดํา และมีปรากฏมากขึ้นเมื่อเขาสูสมัยกรุงเทพฯ ที่มีการปรับพื้นที่เพื่อทํานาสงขาวออก ตางประเทศมากขึ้น สวนสวนผักนั้น มีการทําเปนยานๆ ไปแตโดยมากมักอยูหางจากริมแมน้ําเขามา ทางคลองซอยที่อยูภายใน การปลูกผักแปลงใหญนั้นทําภายหลังจากการทําสวนผลไมและนาขาว ในชวงที่คนจีนเริ่มอพยพเขามาระลอกใหญตั้งแตสมัยรัชกาลที่ ๕ เปนตนมา

สวนผลไม: เศรษฐกิจพื้นฐานของชาวบางกอก ตั้งแตเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานในสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาใหมเปนตนมา การตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนตางๆ ตั้งแตลัดเกร็ดนอย เมืองนนทบุรี เมืองบางกอกมักอยูทางฝงตะวันตกของแมน้ํา เจาพระยา บริเวณนี้เต็มไปดวยเรือกสวนมากกวาพื้นที่ทํานา การทําสวนผลไมซึ่งตองอาศัยภูมิปญญา สะสมในการตั้งขอสังเกตพันธุไมตางๆ ที่เหมาะสมกับกระแสน้ําขึ้นน้ําลงและผืนดินที่ตองอาศัยระบบ น้ําแบบลักจืดลักเค็ม หมายถึงอาศัยระบบนิเวศแบบน้ํากรอยและน้ําจืดที่ตองพอดีกันเพื่อใหพืชพันธุ ไดปุยจากตะกอนน้ําพัดพาโดยธรรมชาติและน้ํากรอยที่ดันเขามาจากชายฝงทะเล อันเปนระบบนิเวศ


๕๐

ในหนัง สื อ “ลั ท ธิ ธรรมเนีย มตา งๆ ที่ก ลา วถึง “เรื่อ งสวน” ของเจา พระยาภาสกรวงศ (พร บุนนาค) (พ.ศ.๒๓๙๒-๒๔๖๓) เปนผูมีความชํานาญในภาษาตางประเทศ เนื่องจากไดรับการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เปนอดีตอธิบดีกรมพระคลังสวน อธิบดีจัดการกรมภาษีรอยชักสามที่ปจจุบันคือ กรมศุลกากร ทานกลาวถึงการทําสวนวา “เปนสิ่งสําคัญอันสมควรที่จะใหรูธรรมชาติของที่แผนดิน อันจะไดขุดรองยกคัน โกนสรางที่แผนดิน จะไดหวานเพาะตนไมมีผลที่เปนตนไมยืนนาน และตนไม ลมลุกเพราะหวานตามฤดูสมัยใหไดผลอันดีมีราคามาก และตองยากลําบากที่ จะตองลงแรงลงทุน และเปลื้องเวลาแตนอย ในการประสงคจะใหผลดังนี้ มี การอยู ๔ อยางที่ชาวสวนควรจะมีทรงไว ความคาดหมายประโยชนจึงจะเปน อันสําเร็จได คือวาจะตองมีทุนคือเงินที่จะไดออกใชสอยในสิ่งที่ควรตองการ ๑ แรงหรือมือเพื่อที่จะไดทํางานที่ตองการ ๑ ความรูในทางที่ดีที่สุดแหงการงานที่ จะทํา ๑ และความฉลาดเพื่อที่จะไดบัญชาใชทุนและแรงที่จะตองออกทํา ๑ คุณสมบัติ ๔ อยางนี้มีอ ยูในชาวสวนผูใดแลว ความมาดหมายที่จะใหเกิด ประโยชน ก็คงเปนผลสําเร็จอยางดียิ่ง รวมเปนสิ่งซึ่งเปนวิชาสําหรับชาวสวนที่ ควรตองศึกษาและประพฤติไปดวยกัน”

อันหมายถึงการทําสวนนั้นจําเปนตองใชทุนรอนและความอดทนสติปญญาในการปรับสภาพ พื้นดินใหเขากับพืชพันธุที่ตองมีการคัดเลือกและสรางพันธุใหมอยูเสมอ งานทําสวนจึงเปนงานหนักแต นาจะทําใหชาวสวนนั้นเปนกลุมที่มีรายไดดีกวาอาชีพอื่นๆ ดังนั้น จึงกลาวไดวา ความรูในการทําสวนซึ่งสัมพันธกับสภาพภูมินิเวศและภูมิอากาศของ บริเวณเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหมที่ตองอาศัยกระแสน้ําขึ้นน้ําลง การเฝาระวังไมใหมีน้ํามากเกินไป หรือน้ํานอยเกินไป การเฝาสวนที่ไมสามารถคาดการณไดหากภูมิอากาศปรวนแปร การปองกันสวนที่ การปลูกตนไมยืนตนตองอาศัยระยะเวลายาวนานโดยการทําเขื่อนปองกันกันเอง หรือแมแตการทําใจ ใหวางเมื่อสวนถูกน้ําทวมขังเสียหายรุนแรงแบบที่แกไขไมได อันเนื่องมาจากโอกาสในการเกิดภัย ธรรมชาติมีสัดสวนที่สูงมากและไมสามารถคาดการไดแนนอนเสียทีเดียว (แมจะมีความสม่ําเสมอ มากกวาปจจุบันอยางเทียบกันไมไดก็ตาม)


๕๑

ภาพลายเสนวัดและบานสวนริม คลองที่พบไดทั่วไปทางฝงธนบุรีชวง ตนกรุงเทพฯ

คงมีคนมาทําสวนยกรองกันตั้งแตราวสมัยอยุธยาตอนตนแลว เพราะเมื่อมีการบันทึกภาพภูมิ ประเทศในบริเวณลําน้ําเจาพระยาเดิม กอนมีการขุดคลองลัดบางกอก จากโคลงกําสรวลสมุทรเมื่อ เดิ น ทางผ า นทางคลองบางระมาด คลองบางเชื อ กหนั ง หรื อ บางฉนั ง นั้ น ก็ ก ล า วถึ ง สวนผลไม หลากหลายและสวนผักมากมาย เชน สวนกลวย ออยที่เปนไมไมยืนตน ตนไมที่มีผล เชน มะมวง ขนุน ทุเรียน มะพราว หมาก รวมทั้งสาวแมคาที่แขงขันกันซื้อขายของ ๕๕

๕๙

๖๑

กลวยออยเหลืออานอาง จรหลาดเลขคนหนา เยียมาลุดลบาง ถนัดรมาตเตาเตา มุงเหนดยรดาษสรอย แมนมวงขนุนไรรยง กทึงทองรําควรโดร ปรางประเหลแกมชอย ดาวหนนอเนขเชื้อ วอนวอนเลวงคิด หมากสรุกซระลางปลง มือแมคาลาวลาว

ผักนาง ฝงงเฝา รมาต ไตฉนยร แสนสวน รุนสรอย รศออน พี่แม ซาบฟนน ขนําขาย คาพราว ปลิดไหม แลนชิงโซรมชิง


๕๒

ภาพลายเสนบานสวนริมคลองในเขตเรือกสวนของบางกอกและฝงธนบุรี

และในการพรรณนาถึ ง สภาพภู มิ ศ าสตร แ ละภู มิ วั ฒ นธรรมของคนสยามในเอกสารของ ชาวตะวันตกที่เขามาเนื่องจากเจริญสัมพันธไมตรีและเพื่อการคา ก็กลาวถึงและวาดภาพบันทึกผลไม จากบริเวณที่เรียกวา “สวนใน” ซึ่งกินบริเวณแถบเหนือพระประแดงขึ้นมาจนถึงแถบบางกรวย นนทบุรี ซึ่งคูกับ “สวนนอก” ในเขตสมุทรสงคราม เอกสารของเดอ ลาลู แ บร ราชทู ต ฝรั่ ง เศสที่ เ ข า มาในสมั ย สมเด็ จ พระนารายณ เ ป น ภาพ ลายเสนที่วาดอยางละเอียดและพรรณนาตามวิชาธรรมชาติวิทยา อธิบายลักษณะของตนไมและผลไม เมืองรอน เชน ตนหมาก กลวย ขนุน มะพราว มะมวง สับปะรด เงาะ เปนตน


๕๓

ในประวัติศาสตรแหงพระราชอาณาจักรสยามที่ปรากฏในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดย ตุรแปง บันทึกไวกลาวถึง ของสวน ซึ่งเปนผลไมอันหลากหลายมากชนิดทั้งกลาวดวยวา ผลไมชนิดเลิศที่คน สยามชอบมากที่สุดคือทุเรียน และนับวาคงเปนที่นิยมกันมาจนถึงทุกวันนี้อยางแนนอน วา พลู หมาก มะพราว สม (มีราว ๓๐ ชนิด แตสมแกวรสดีที่สุด เปนสมผลโตและมี จุก เปลือกเขียว) ทุเรียน (คนสยามชอบผลไมนี้มาก เหลือก็เอามาทําทุเรียนกวน) ขนุน มังคุด เงาะ มะมวงหิมพานต มะเดื่อ นอยหนา นอยโหนง ฝรั่ง มะละกอ กลวย มะขาม พริกไทย ออย สับประรด มะมวง ๙

ผลไมดารดาษจากสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา สมศรี เอี่ยมธรรม (แปล).ประวัติศาสตรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาฉบับตุรแปง, ฟรังซัวส อังรี ตุรแปง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๒ ๙


๕๔ ขอสังเกตจากการผจญภัยของเฟอรดินัน เมนเดซ ปนโต ที่เดินทางเขามาสยามในสมัยกรุง ศรีอยุธยาที่กลาวชื่นชมผลไมในสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาวา ผลไมและพืชผักคุณภาพดีกวาผลไมที่เบงกอลมาก นอกจากนั้น ก็มีมังคุดและ ทุเรียน ซึ่งมีรสชวนรับ ประทานยิ่งนัก ชวงเวลาที่ดีที่สุดของผลไมตองเริ่มจาก เมษายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม มีสมผลงามรสดีมากมายที่บรรจุในตะกราใบ เล็ก มีลิ้นจี่ แตพืชผักของสยามนั้นดูจะมีคุณภาพดอยกวาผลไม และไมไดรับการ ดูแลบํารุงเทาที่ควร และอาหารนั้น ชาวจีนเปนผูนําในการผลิต เชน เลี้ยงหมู เปด ไก ๑๐

ในชวงตนยุครัตนโกสินทร ระหวางป พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๔ นักทองเที่ยวชาวตะวันตกที่เดิน ทางเขาไปภายในคลองสายในตามสวนฝงธนบุรีที่สามารถเดินทางไปออกทาจีน-แมกลองและเพชรบุรี ได ก็พบวา สองฝงคลองแนนขนัดไปดวยเรือกสวนพรรณไมนานาชนิดที่เขียวขจีและหอมหวน อัน แสดงถึงความอุดมสมบูรณของพื้นที่รอบๆ กรุงเทพฯ ที่มีผลไมรสเยี่ยมและมีหลากชนิด ดังบันทึกของ นักเดินทางชาวอังกฤษ เฟรเดอริก อารเธอร นีล ที่เขามาทํางานในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๓๒๓๘๔ “เมื่อเรามาถึงคุงที่สองในแมน้ํานั้น สองฝงแมน้ําก็มีแตสวนหมากเต็มไปหมด มี กลิ่นหอมหวานของดอกไมตลบ ขณะที่เราผานมาตามลําน้ํานับเปนไมล” ๑๑

และคณะทู ต จากอั ง กฤษที่ เ ข า มาในช ว งต น กรุ ง เทพฯ และ เซอร จ อห น ครอฟอร ด และ ตามลําดับวา “ผลไมของสยามหรืออยางนอยก็โดยบริเวณรอบๆ กรุงเทพฯ เปนเยี่ยมและมี หลากชนิด” ๑๒

๑๐

นันทนา ตันติเวสส (แปล) “ประเทศสยาม : ขอสังเกตทั่วไปในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะเรื่องสินคาเขาและ สินคาออก รวมทั้งแนวทางการดําเนินธุรกิจการคากับชาวสยาม” รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทาง ประวัติศาสตร, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๒ ๑๑ Neale, F. A. Narrative of a Residence in Siam, White lotus Press, Bangkok, 1999; (repr. from 1852) ๑๒ Crawfurd, John, Sir. Journal of an embassy to the courts of Siam and Cochin China. Kuala Lumpur, Oxford University Press, 1967


๕๕ การทําสวนเปนสิ่งที่นาจะสรางรายไดใหแกชาวบานที่อยูอาศัยชานเมืองกรุงเทพฯ ในยุค เริ่มแรกไดเปนอยางดี รวมทั้งเปนผลผลิตสําคัญในชีวิตของสยามในอดีต เชน การทําสวนมะพราวที่ใช ทําน้ํามันเพื่อใหแสงสวางได การทําสวนหมากที่เปนของพิเศษ การกินหมากของคนสยามนั้นเปนการ แสดงถึงสถานภาพของคนตามฐานานุรูปไดชัดเจนดวย เพราะเครื่องประกอบเชี่ยนหมากนั่นเอง อีกทั้ง คนทั่วไปตั้งแตเริ่มหนุมสาวก็มักนิยมกินหมากใหฟนดําเพื่อความงามอีกดวย

ตนและผลหมาก สามารถกลาวไดวาเปนพืช เศรษฐกิจของชาวสยามที่ตองนําเขาเนื่องจากมี ปริมาณไมเพียงพอ และการกินหมากเปน วัฒนธรรมการขบเคี้ยวที่แสดงถึงสถานภาพของผู กินจากเครื่องประกอบเชี่ยนหมากดวย ภาพลายเสนจากเอสารของเดอ ลาลูแบรในสมัย สมเด็จพระนารายณ

ดังนั้น จึงมีการบันทึกไวในเอกสารเรื่องสวนของเจาพระยาภาสกรวงศวา การสํารวจจํานวน ตนหมากที่เปนอากรใหญนั้นทําใหเห็นวา หมากที่ปลูกในสวนใน สวนนอกและฉะเชิงเทรานั้นไมพอแก การบริโภคจนตองสั่งนําเขามาจากเกาะหมากหรือเกาะปนังดวย โดยเลาถึงการเก็บอากรหมากเมื่อ ประมาณ ๑๒๐ ปกอนไววา ….ถาจะเทียบดูแลว ชาวเราผูไมเคี้ยวหมากหมื่นคน จะมีสัก ๑ คน เพราะฉะนั้ น หมากที่ เ พาะปลู ก ในสวนในก็ ดี ที่ ไ ด นั บ เมื่ อ เดิ น รั ง วั ด สวนในป มะเมีย ปมะแม (พ.ศ.๒๔๒๕-๒๔๒๖) หลังนี้ หมากที่นับไดอยางเขาอากรมีอยู ๖,๓๗๑,๘๕๕ ตน ที่เพาะปลูกยังไมไดอยาง ๑,๒๗๓,๐๗๐ ตน รวม ๗,๖๔๔,๙๒๕ ตน แตยังเพาะปลูกใหมอยูเสมอไปมากกวาที่ตายและตัดฟน ก็ยัง ไมพอชาวเราที่ใชสอย ตองจําบรรทุกเขามาแตตางประเทศ เรียกวา หมากเกาะ คือมาแตเมืองปนังหรือเกาะหมาก ปหนึ่งตั้งหมื่นหาบ ตนหมากตนหนึ่งที่อยางดกปหนึ่งมีผลสองปูน ที่งามประมาณถึง ๓,๐๐๐ ผล และที่สอนเปนตั้งแต ๑๐๐ ขึ้นไป คิดถัวลงปหนึ่งเปนตนละ ๕๐๐ ผล ราคาซื้อ


๕๖

แสดงวาหมากเคยเปนพืชเศรษฐกิจที่สรางรายไดเปนกอบเปนกําใหแกชาวสวนเปนอันมาก และรัฐก็มีรายไดจากการเก็บอากร สรางความมั่งคั่งและมั่นคงใหแกรัฐ เชนเดียวกับพลูซึ่งตองเคี้ยวคู กับหมาก ภาษีหมากจึงเขาอยูในอากรสวนใหญที่ปลูกโดยยกรองสวน โดยมีพิกัดอัตราอากรอยางเปน หลักเกณฑ ครั้นภายหลังสนธิสัญญาเบาริงก็ปรับปรุงเพิ่มขึ้น เชน หมากเอก (สูง ๓-๔ วาขึ้นไป) แต เดิมเสียอากรตนละ ๕๐ เบี้ย ภายหลังสนธิสัญญาขึ้นเปน ๑๓๘ เบี้ย และหมากผากรายออกดอก ประปรายเคยเสียตนละ ๔๐ เบี้ย ภายหลังสนธิสัญญาแลวขึ้นเปน ๑๒๘ เบี้ย รายไดจากการเก็บภาษีของชาวสยามนั้นแสดงใหเห็นชัดเจนวา ภาษีอากรที่เรียกเก็บมากที่สุด คือผลิตผลการเกษตรจําพวกหมาก มะพราวผลไมและพืชผักตางๆ มากกวาภาษีโรงเรือน ภาษีการคา ภาษีเหลาในทุกจังหวัดรวมกัน ภาษีการจับปลา ภาษีซุงและไมสัก ดั ง ที่ พ บว า มี ก ารเก็ บ ภาษี ไ ม ซุ ง และไมสักที่อยูในเขตเทือกเขาทางภาคเหนือ ซึ่งยังไมไดรายไดมากเทากับภาษีจากพืชผลไมจาก การเกษตร อาจจะเปนเพราะไมซุงหรือไมสักอยูในหัวเมืองหางไกลและใชระบบสัมปทานโดยเจาผู ครองนครกับชาวตะวันตก แมจะอยูในชวงที่ประเทศสยามในขณะนั้นกาวเขาสูความทันสมัยใหมในการเปนประเทศ สมัยใหมแลวก็ตาม ภาษีจากผลิตผลการเกษตรจากหมาก มะพราวและผลไมยังเปนอันดับหนึ่ง รายได ของรัฐจึงพึ่งพาภาษีจากสวนในและสวนนอกตลอดจนพื้นที่ในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหมมากกวา พื้นที่อื่นๆ สิ่งเหลานี้คือชวงเวลากอนที่การอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ จะเขามาทํากิจการในสยามประเทศ รายละเอียดจํานวนเงินภาษีที่เก็บตอปในชวงเวลาราวๆ รัชกาลที่ ๔ ไดแก ภาษีลูกหมาก มะพราวและพืชผักผลไมอื่นๆ ๖๓๐,๐๐๐ บาท ภาษีโรงเหลาทุกจังหวัด ๘๒๐,๐๐๐ บาท ภาษีจับ ปลา ๘๕,๐๐๐ บาท ภาษีรานคาทั้งบกและน้ํา ๑๕๐,๐๐๐ บาท ภาษีซุง ไมสัก ๑๕๐,๐๐๐ บาท ๑๔ บันทึกจากเอกสารทั้งจดหมายเหตุของชาวตางชาติในสมัยอยุธยาและเอกสารการเก็บอากร สวน ของเจาพระยาภาสกรวงศในชวงรัชกาลที่ ๕ ทําใหเห็นความสําคัญของสวนผลไมในบริเวณฝง 1

๑๓

กรมศิลปากร. ลัทธิธรรมเนียมตางๆ สํานักพิมพคลังวิทยา : ธนบุรี, ๒๕๐๕ นันทนา ตันติเวส (แปล) “ประเทศสยาม : ขอสังเกตทั่วไปในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะเรื่องสินคาเขาและสินคาออก รวมทั้งแนวทางการดําเนินธุรกิจการคากับชาวสยาม” รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๒ ๑๔


๕๗

ชวงป พ.ศ.๒๔๒๕ พืชเศรษฐกิจ ๗ ชนิดที่รัฐจัดเขา อากรสวนใหญ คือ ทุเรียน มังคุด มะมวง มะปราง ลางสาด หมากและพลูคางทองหลาง จะเสียคาอากรสูงกวาไมลมลุกซึ่งเสียเปน อากรสมพัตร สร ชาวสวนจะตองเสียอากรเปนรายปใหแกรัฐเรียกวา “อากรสมพัตรสร” กํานันจะเปนผูเดิน สํารวจนับจํานวนตนผลไม ซึ่งแลวแตจะกําหนดวาตนไมชนิดใดเก็บเทาใด แตเกิดมีปญหาการนับ ตน ไมที่ตายไปบ างมากและชาวสวนก็ไมย อมเสีย อากร ต อมารัฐไดตราพระราชบัญญัติประมวล กฎหมายรัษฎากร พ.ศ. ๒๔๘๑ ขึ้นมา จึงไดยกเลิกอากรสมพัตรสรไป ๑๕ สวนฝงธนบุรี สมัยกอนมีคํากลาวถึง สวนใน-สวนนอก และ บางบน-บางลาง สวนใน หมายถึง สวนตามลํา น้ํ าเจ าพระยาตั้ง แต น นทบุรี ธนบุรีหรือบางกอก ลงไปจนพระประแดง หรือ สมุทรปราการ สวนนอก หมายถึง สวนตามลําน้ําแมกลอง เชนที่บางชาง (สมุทรสงคราม) เปนตน โดยมีคําเรียกใหคลองจองกันวา “บางชางสวนนอกบางกอกสวนใน” หรือ “สวนในบางกอก สวนนอกบางชาง” และ “สวนในบางกอก” และยังแบงเรียกเปน “บางบน” กับ “บางลาง” บางบน เปนชื่อเรียกเรือกสวนกลุมที่อยูในคลองบางกอกนอย หรือจากปากคลองบางกอกนอย ขึ้นไป ไมผลที่มีชื่อเสียงของบางบน ไดแก ทุเรียน เงาะ กระทอน มังคุด ละมุด บางลาง เปนชื่อเรียกเรือกสวนกลุมที่อยูแถบดาวคะนองตอบางขุนเทียน หรือจากปากคลอง บางกอกใหญลงไปทางใต ไมผลที่มีชื่อเสียงของบางลาง ไดแก ลิ้นจี่ สมเขียวหวาน ทุเรียน สมโอ หมากพลู กลวยหอมทอง พื้นที่บริเวณริมคลองบางกอกนอยทางตะวันออกของตลิ่งชัน เปนพื้นที่ซึ่งมีชื่อเสียงในการทํา สวนผลไมมาแตอดีต แตปจจุบันลดลง เพราะการขยายตัวของเมือง สวนฝ ง ธนฯ เป น พื้ น ที่ สี เ ขี ย วที่ มี ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเปนมรดกทางธรรมชาติที่ยั่งยืนของสามเหลี่ยมปากแมน้ําโดยทั่วไป ทองถิ่นนี้เหมาะแกการทําสวนอยางยิ่ง ปลูกอะไรก็งามทั้งนั้น ชาวสวนที่จับจองพื้นที่สวนมากเกินกําลัง จะทําไดทั้งหมด มักจะใหเชาที่ทําสวน หรือเรียกวา “ถือสวน” การเชามักจะเหมาเปนขนัดในราคา

๑๕

ญาณี สรประไพ. การสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชาวสวน จังหวัดนนทบุรี ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๘


๕๘

สวนเกาแกดั้งเดิมในฝงธนบุรี เปนสวนผสมทั้งสิ้น ในทางวิชาการเกษตรจัดวาเปนการเกษตร ผสมผสานแบบพืช-พืช ซึ่งใชระบบการปลูกพืชที่มีความสูงตางระดับกัน โดยคัดเลือกพืชหลากหลาย ชนิดที่แตกตางกันในดานตางๆ มาปลูกรวมไวในสวนขนัดเดียวกัน บางสวนเลี้ยงปลาในทองรองเชน ปลานิล ปลาจีน ปลาตะเพียน ปลาแรด เพื่อชวยกําจัดแหนและวัชพืชน้ํา สรางสมดุลทางธรรมชาติ สามารถนํามาบริโภคในครอบครัวและนําออกขายเปนรายไดเสริมอีกทางหนึ่ง ตัวอยางสวนทุเรียนที่บางระมาด สมัยกอน อกรองจะปลูกทุเรียนเปนหลัก ริมรองสองขางปลูก ทองหลาง ซึ่งเปนพืชโตเร็วใหรมเงากับทุเรียนไดดี ทําใหดินเย็น ชื้น ชวยยึดดินไมใหรองพังทลายและ ยังเปนคางใหพลูเกาะ ใบทองหลางซึ่งเปนพืชตระกูถั่วเมื่อหลนลงในทองรองเนาสลายแลวกลายเปน ปุยชั้นดี ใตรมเงาของทองหลางปลูกขา ตะไคร บนคันลอมสวนปลูกมะพราว มะมวง กลวย ซึ่งลวนเปน พืชที่ขึ้นงายชวยบังลมพายุ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ เขตตลิ่งชันมีการใชพื้นที่เพียงรอยละ ๑๗ ของพื้นที่ แขวงตลิ่งชันมีการใช พื้นที่สูงสุดรอยละ ๕๘ ของพื้นที่เกษตร รองลงมาคือ บางเชือกหนังและบางพรม บางเชือกหนังเปน แขวงที่มีผลไมยืนตนมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีอาชีพขยายพันธุผลไมยืนตนอีกดวย โดยเฉพาะอยางยิ่ง ทํากันแพรหลายในเขตบางกอกนอย ไมผลที่ปลูกมากไดแก กลวย ทั้งกลวยหอมและกลวยน้ําวา ทุเรียน มะมวง สม มะนาว กระทอน มะพราว การทําสวนของชาวสวนตั้งแตดั้งเดิมจนทุกวันนี้มีเอกลักษณเฉพาะคือ “การยกรองและทําคันดินกั้น โดยรอบขนัด” พืชที่ปลูกในแตละสวนแตละขนัดมีหลายชนิดตางระดับกัน เรียกวา “สวนผสม” สวนนี้ จะแตกตางกันไปตามความเหมาะสมแลฐานะของเจาของสวน และอาจมีการเลี้ยงปลาตามธรรมชาติ ในทองรองดวย

รูปแบบขนัดสวนรูปสี่เหลี่ยมผืนผาที่เปน การทําคันดินรอบขนัดสวน ริมคลองบางระมาด ภาพถายทางอากาศ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖


๕๙ ลักษณะของสวนแตละ “ขนัด” จะเปนรูปสี่เหลี่ยมผืนผา ถือทางน้ําเปนหลักใหญจึงมักจะมี ดานใดดานหนึ่งติดคลอง รอบสวนจะมีคันดินหรือถนนลอรอบเขตสวนของตนซึ่งถือวาเปนทางเดิน สาธารณะ สามารถเดินผานสวนทะลุไปไดตลอด คันดินนี้ชวยปองกันน้ําทวม แตไมปองกันน้ําเค็มที่ ซึมขึ้นมาจากใตดิน ชาวสวนมีประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวของกับการทําสวน เชน การตั้งศาลพระภูมิเจาที่ไวที่ สวน เมื่อเก็บผลผลิตแลวครั้งหนึ่ง ชาวสวนจะคัดทุเรียนลูกที่ดีถวาย ๑ ลูก และบนบานศาลกลาวให ผลผลิตในปตอไปดกกวาเดิม และชาวสวนมักจะพึ่งพระขอพรหรือบนบานใหสวนทุเรียนหรือสวนผลไม มีผลผลิตที่ดกดีกวาเดิม เปนการหาที่พึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ซึ่งสะทอนใหเห็นความเสี่ยง ของชาวสวนอยางเห็นไดชัด

ทุเรียน: พญาแหงผลไม ทุเรียนเปนที่รูกันวามีถิ่นกําเนิดในแถบมลายู ไทย พมา ชวา อินเดีย และลังกา ทุเรียนเปนไม ถิ่นมลายู ตามชื่อภาษาอังกฤษวา Durian ชวาเรียกวา Dooren ซึ่งออกเสียงกลายเปนทุเรียน เขาใจวา คงคัดเลือกพันธุที่ดีมาจากชวาหรือมลายูมาปลูกในไทยจนกลายเปนไมพื้นเมือง เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ดินที่ปลูกทุเรียนในบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาเปนดินเหนียวยก รอง ตอมาขยายพันธุไปปลูกที่จันทบุรีที่เปนดินปนทราย จึงขยายไปตราดและระยอง ตอมาก็เปนที่ นครนายก อากาศที่คลายคลึงกัน ภาคใตปลูกที่ชุมพร หลังสวน สุราษฎร และภูเก็ต แตเดิมปลูกทุเรียน เนื้อบางเรียกกันวา ทุเรียนนอก และขยายพันธุจากเมล็ดเปนทุเรียนปา นอกจากนี้ก็มีที่อุตรดิตถที่ลับ แล เปนทุเรียนปาเชนกัน เอกสารเกาก็จะมีเรื่องเกี่ยวทุเรียนเขียนไวมากมาย เพราะทุเรียนเปนเสมือนผลไมทิพยที่คน ไทยนิยมรับประทานกันมากที่สุดและทุเรียนดีมักมีราคาแพง ในปจจุบันราคาทุเรียนพันธุกานยาวของ สวนเมืองนนทที่ยังคงเก็บรักษาไวไดบางแหง ๒-๓ ผลก็ราคาเกือบหมื่นบาท เลากันวา ทุเรียนบางบน ในคลองบางกอกนอย เชน ที่บางผักหนาม เปนทุเรียนดีมีชื่อจําเพาะ ตนนั้นพันธุนั้น ผลโตงามพูใหญสีเนื้อเหลืองแตหยาบ รสมันมากกวาหวาน ซื้อขายกันไดราคา เรียกวา ทุเรียนบางบน ครั้นภายหลังมาในถิ่นบางบนนี้มีน้ําทวมบอยๆ ตนทุเรียนทนน้ําไมคอยไหวลมตายเสีย แทบหมด ทุเรียน บางลาง เนื้อละเอียดแตบาง สีเหลืองออนมักจะเปนสีลาน แตรสหวานสนิทดีกวาบาง บนคนชอบใจกินมาก ทุเรียน เปนพืชที่ตลาดนิยม สามารถสรางรายไดดีใหแกชาวสวน แถวธนบุรี นนทบุรีและ กรุงเทพ ฯ เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปกอน ปลูกทุเรียนกันมากเรียกวาทุเรียนสวน ถือวาเปนทุเรียนที่มี คุณภาพดียิ่งและมีราคาคอนขางแพง ฝงธนบุรีแถวบางบนปลูกไดดีเฉพาะที่ตําบลบางขุนนนท บาง


๖๐

จากหนังสือ “พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน” ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (นอย อาจารยางกูร) แตงไวราว พ.ศ.๒๔๒๗ กลาวถึงชื่อทุเรียนเปนคํากลอนไวถึง ๖๘ พันธุ (ดูเชิงอรรถ) ตอมามีการขยายพันธุและเกิดพันธุใหมๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เคยสํารวจพันธุทุเรียนที่ปลูกอยูทั่วไป ในชวงป พ.ศ. ๒๕๐๐ สามารถระบุชื่อพันธุได ๑๒๐ พันธุ แตมีชื่อเสียงอยูในวงการคาประมาณ ๖๐๘๐ พันธุ ซึ่งโดยมากปลูกอยูทางฝงธนฯ และนนทบุรี เฉพาะในฝงธนฯ ที่สํารวจพบขณะนั้น และเปน พันธุที่ไดรับความนิยมมีประมาณ ๔๐ พันธุ

พอคานั่งขายทุเรียน ในตลาด

ทุเรียนพันธุตางๆ จากซายไปขวา บน “ชายมะไฟ”, “ดาวกระจาย”, “การะเกตุ”, จากซายไปขวาลาง “บางขุนนนท”, “สาวชม”


๖๑ สวนหลายขนัดเคยลมเมื่อครั้งน้ําทวมใหญ พ.ศ. ๒๔๖๐ และ พ.ศ. ๒๔๘๕ มาแลว และ สันนิษฐานวาหลังป พ.ศ. ๒๔๘๕ มีผูนําทุเรียนจากที่นี้ไปปลูกยังจันทบุรีอยูเรื่อยๆ ตอมาพันธุดีๆ เหลานี้ไดแพรหลายไปในจังหวัดตางๆ เชน ตราด ระยอง นครนายก ปราจีนบุรี ความนิยมในการบริโภคทุเรียนสมัยนั้นราว พ.ศ.๒๕๐๐ นิยมกันที่ ทุเรียนที่มีผลใหญ เปลือก บาง เนื้อมาก เมล็ดเล็ก ไมฉุนรุนแรง เนื้อสวย ไมเปยกแฉะ ทองตลาดนิยมสีนาก (สีเหลืองปนแดงแบบ สีจําปา) รองลงไปก็เปนสีเหลืองแก สีเหลือง จนกระทั่งสีลาน (คลายสีใบลาน) ตามลําดับ สวน ลักษณะเนื้อนั้นนิยมเนื้อที่ละเอียด ไมมีเสี้ยน รสหวานมัน ความนิยมของตลาดผูบริโภคทุเรียนปจจุบัน จะเห็นวาเหลือเพียงไมกี่พันธุเทานั้น เชน พันธุ หมอนทอง ที่ยังขายไดราคาดีทั้งในตลาดภายในและภายนอกประเทศ สวนพันธุชะนี แมจะยังเปนที่ นิยมทั่วไป แตราคาในตลาดถูกกวาหมอนทองหลายเทา ชาวสวนจึงหันไปปลูกหมอนทองมากขึ้น เรื่อยๆ สวนพันธุอื่นๆ ที่เคยเปนที่นิยม อยางพันธุกานยาวกลายเปนพันธหายากและมีราคาแพง สวนในทองถิ่นตลิ่งชันนั้นในยุคเฟองฟูที่สุดนั้นปลูก ทุเรียนโดยเฉพาะจากบางขุนนนท ที่ กลายเปนแมพันธุขยายไปสรางชื่อเสียงใหเมืองนนทบุรีในปจจุบัน ชมพู มะไฟ มะพราว กระทอน มะพราวมีหลายพันธุทั้งแดงและเหลืองที่เรียกวา พันธุหมูสี สวนมะพราวน้ําหอมเพิ่งเขามาภายหลัง กระทอนพันธุปุยฝาย ขันทอง ทับทิม พันธุทับทิมมีชื่อมากยิ่งแกยิ่งอรอย หรือพันธุสมเขียวหวานจาก คลองบางระมาดที่ไปเดนดังในยานบางมด มะมวงที่ถือวามีชื่อของตลิ่งชันคือพราหมณขายเมีย เปน มะมวงสุกกินกับขาวเหนียวมะมวง สวนมะมวงดิบนั้นเปนพวกพิมเสนมันและทองดํา ในเขตตลิ่งชันพืชพันธุที่ปลูกสวนใหญเปนไมผลไมยืนตนที่สรางรายได พืชเหลานี้ปลูกกันมา ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน สามารถจําแนกตามชนิดและพันธุตางๆ ที่สําคัญไดดังนี้ มะพราว มะพราวใหญ (สําหรับแกง) กระทอนพันธุทับทิม พันธุลาหรืออีลา มะไฟพันธุครูถิน พันธุยายเพาะ พันธุไขเตา พันธุปุยนุน พันธุตาเจือหรือเหรียญทอง พันธุน้ําตาลทราย พันธุชะอม มะมวง พันธุพราหมณขายเมีย พันธุเขียวไขกา พันธุเขียวเสวย พันธุอกรอง ชมพู พันธุสีนาก พันธุมะเหมี่ยว พันธุแขกดํา พันธุน้ําดอกไม พันธุแกมแหมม ทุเรียน พันธุกบแมเฒา พันธุตาขํา พันธุชะนี พันธุขั้วสั้น พันธุกานยาวพันธุ พันธุกะเทย ละมุด พันธุสีดา พันธุไขหาน พันธุมะกอก สม พันธุเขียวหวาน พันธุสมจี๊ด พันธุสมโอ กลวย กลวยน้ําหวา กลวยไข กลวยหอมทอง กลวยตานี กลวยนาก รวมทั้งหมาก ปะปราง ขนุน มะกรูด มะนาว เปนตน นอกจากนั้นยังมีพืชไมปาทั้งชนิดยืนตนและชนิดเลื้อยที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เชน ชํามะเลียง มะกอกน้ํา จิกน้ํา ตะลิงปลิง มะหวด มะขวิด มะตาด ไทร บอระเพ็ด ฟกขาว ไผตางๆ


๖๒ ตอมาจนถึงชวงกอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ตาม พื้นที่สวนผลไมเขตฝงธนบุรีและนนทบุรีก็ยัง มีสวนที่รุงเรืองอุดมสมบูรณมากที่สุด ผลไมหลักที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือ ทุเรียน รองลงไปมีสมเขียวหวาน และสมโอ มังคุด สวนพวกสับปะรดมักจะปลูกแซมระหวางตนไมหลัก พวกละมุด มะปราง มะมวง มะพราว มะนาว และกลวย ก็มักปลูกตามคันสวน ตอมาในป พ.ศ. ๒๔๘๕ เกิดน้ําทวมใหญและทวมสูงติดตอกันหลายเดือน สวนผลไมในเขต กรุงเทพฯ ธนบุรี นนทบุรี เสียหายอยางหนัก ยืนตนเกือบหมดสิ้น จากนั้นจึงมีการปลูกทดแทนขึ้นมา ใหม โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งแมจะตองเสียเวลาบํารุงรักษานับสิบป แตเนื่องจากเปนไมผลราคาดี ชาวสวนจึงนิยมปลูกใหมกันทั่วไป ดังนั้น จึงยังคงมีสวนทุเรียนหลงเหลือมาอยู นอกจากปลูกดวยเมล็ด ซึ่งใชเวลานานชาวสวนทุเรียนใชวิธีตอนกิ่งปลูก เพาะเมล็ดนอยลง ก็ คงเลือกเฉพาะพันธุที่ดีและมีคนชอบพันธุเกาๆ คงสูญหายไป ขอมูลจากการสํารวจที่พิมพโดย สมาคม พฤกษชาติแหงประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ ชวงราว พ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๐๖ มีพันธุทุเรียนเกือบ ๒๐๐ พันธุ ระยะเวลาจากนั้นราว ๘๐ ป มีเพิ่มมากขึ้นกวา รอยพันธุเศษ มีกําเนิดขึ้นในทองถิ่นตลิ่งชัน ความผันแปรของการสรางเขื่อนเจาพระยาจนไปถึงเขื่อนภูมิพล รวมทั้งการขุดลอกสันดอน ปากน้ําและนโยบายการชลประทานแบบแยกสวนระหวางบริเวณที่เปนน้ําจืดและน้ําเค็ม ทําใหรูปแบบ น้ํ า แบบลั ก จื ด ลั ก เค็ ม ด อ ยไปเพราะเป น การบิ ด เบื อ นธรรมชาติ แ ละรู ป แบบการใช น้ํ า ในท อ งถิ่ น สามเหลี่ยมปากแมน้ําใหม ทําใหสวนทุเรียนและสวนผลไมทรุดโทรมไปตามลําดับ

ภาพถายทางอากาศพื้นที่สวนฝงธนบุรี บริเวณวัดอรุณราชวราราม ที่มีชุมชนบานเรือนรายรอบไมมากนักและปลูกสวนผลไมทางใกลกับลําน้ํา สวนที่เห็นไกลๆ ออกไปดานหลังคือที่นาและสวนผัก เมื่อราวสงครามโลกครั้งที่สอง


๖๓

พืชพรรณในบางระมาด ชนิดของไมผล ชื่อพันธุ และลักษณะเดนของพืชที่ปลูกในแขวงบางระมาด ๑๖ ชนิดของพืช

ชื่อพันธุ

ลักษณะเดนของพืช

หมายเหตุ

มะไฟ

ครูถิน

เปลือกบาง ช้ํางาย ออกผลเร็ว รสหวานจัด

ครูถิน อาจหาญ อดีตครูใหญ โรงเรียนมัธยมวัดประสาทเปนผู เพาะพันธุนี้ขึ้น (เสียชีวิตไปราว ๓๐ ปแลว) ยายเพาะ ญาติของครูถิน เปนผู เพาะพันธนี้ นายเจือเปนผูที่เพาะพันธุนี้แตเกิดที หลังพันธุครูถิน

ยายเพาะ

มะมวง

๑๖

ลูกใหญ เปลือกหนา หัวจุดๆ รสชาติ ใชได เก็บไดนาน ตาเจือ ผลกลมใหญเปลือกบางออก ผลเร็ว ไขเตา ผลเล็กรสหวาน เปลือกหนาไม ช้ํางาย ผิวสวย ออกผลชา ปุยนุน เนื้อนุมใส กลีบใหญ รสอรอย ออกผลชา น้ําตาลทราย ลูกเขียว หวานจัด ปลูกไวดูเลน การะเกด ผิวนวลสวย รสอรอย พราหมณขายเมี ผิวสวย ทน ไมช้ํางาย เวลาสุก พันธุพื้นบานมีชื่อเสียงมาก รส ย แหลมหวานจัด ไมมีเสี้ยน พราหมณ ลูกเล็ก นกกระจิบ พราหมณเกษร เขียวไขกา ผิวสีเขม เนื้อแนนและละเอียด กวาเขียวเสวย รสมันจัด เขียวเสวย ผิวสีเขม เนื้อหยาบ รสมัน อกรอง ผิวบาง ช้าํ งาย มีรสแหลม มี

พรทิพย อันทิวโรทัย. บทบาทการศึกษาในการสืบทอดและพัฒนาทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัฒนธรรม ชาวสวนฝงธนบุรี ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะคุรุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕


๖๔ ชนิดของพืช

ชื่อพันธุ

ลักษณะเดนของพืช

ชมพู

มาเหมี่ยว

ผลยาว รสออกเปรี้ยว ตลาด ตองการ ผลกลม ผิวสีคล้ํา รสหวาน ผลกลมสีขาว รสหวานอมเปรี้ยว รสหวานอมเปรี้ยว ผลมีสี เหมือนนาก ผลยาวรสเปรี้ยวจัด

แขกดํา น้ําดอกไม พริกกับเกลือ สีนาก

ทุเรียน

สากกระเบือน้ํา ยอย กะเทย อีลวง กานยาว

สม กระทอน

มะพราว

เขียวหวาน

หมายเหตุ

ชาวสวนบอกวาอรอยที่สุด

มีรสครึ่งๆ กลางๆ คือหวานๆ มันๆ เปลือกหนา แตเนื้อนอย เนื้อนอยแตละเอียด รสหวาน มัน

ผิวเขียว รสดีแตไมจัดเทาสม บางมด ทับทิม ลูกกลมใหญ เปลือกบาง รส หวาน ตองหอ ลาหรืออีลา ลูกใหญเปลือกหนา เก็บไดนาน ปุยฝาย หัวโหนก เทพรส คลายปุยฝาย มะพราวใหญ ตนสูง ลูกใหญ(สําหรับแกง) มะพราวน้ําหอม พันธุดั้งเดิมลูกเตี้ย โตชา ลูก เล็กน้ําหอมมาก

สมัยกอนเรียกสมบางบน พันธุนี้มีชอื่ ทางเขตพยายาม อนุรักษและสงเสริมการตลาด

มีปลูกทุกสวนทั่วไป นําไปทําขนมพวกสังขยาจะไดกลิ่น หอม มาแตไกล

พืชเกาแกในถิ่นนี้มีหลายชนิดที่ใกลจะสูญพันธุแลบางชนิดสูญพันธุไปแลว เชน ชมพู พันธุ น้ําดอกไม พันธุสีนาก (พันธุพื้นบาน) พันธุสากกระเบือน้ํายอย พันธุพริกกับเกลือ ละมุด พันธุสีดา, พันธุนมแพะ ทุเรียน ทุกพันธุที่เคยปลูก มะไฟ พันธุชะเอมซึ่งเปนพันธุเกาแก ไมนิยมปลูก มีเหลือ


๖๕

สวนผลไมเริ่มเสียหายไปเรื่อยๆ เพราะน้ําทวมใหญ จาก พ.ศ.๒๔๘๕ บางแหงก็เริ่มหันไปปลูก ดอกไม เชน เยอบีราไทย ราว พ .ศ.๒๕๐๕ เปนตนมา มีการตัดถนนหนทางหลายสายในยานนี้ ไมวา จะเปนถนนจรัญสนิทวงศ ถนนบางขุนนนท-ตลิ่งชัน สวนหลายแหงก็เริ่มเปลี่ยนสภาพ ผลผลิตลดนอย ถอยลง อันเปนผลมาจากคูคลองถูกถม น้ําเนาเสีย อากาศแปรเปลี่ยน ที่ดินมีราคาสูงและเกิดการ ขยายชุมชน อีกทั้งน้ําทวมใหญอีกครั้งในป พ.ศ.๒๕๒๖ หลังจากนั้นน้ําในเขตสวนฝงธนฯ ก็ทวมทุกป เพราะไมมีทางระบาย เพราะทางน้ําที่เคยไหลเขาไหลออกได เพราะถูกถมที่ปลูกบาน เมื่อทางน้ําที่จะ ไหลเขาไมไดจะไหลออกก็ไมไดก็ทําใหเกิดน้ําเนาเสีย เนาเหม็น เปนสาเหตุใหชาวสวนโดยเฉพาะแถว บางระมาดตองเลิกทําสวนไปมาก แมราคาผลไมตางๆ จะราคาสูงมาก แตเมื่อไมสามารถปลูกได ชาวสวนทุกวันนี้จึงเลิกทําและหันมาทําสวนกลวยไมและสวนที่เรียกวา สวนตมยํา พวกพืชผักสวน ครัวปลูกพืชผักพวกขา ตะไคร ใบมะกรูด มะนาว พริก เตย ที่ไมจําเปนตองใชระบบการไหลเวียนของ น้ํามาก ในพื้นที่ซึ่งเคยเปนรองสวนเดิมที่ไมยืนตนบางสวนยืนตนตาย

ริมคลองชักพระที่มีตึก หอพัก และอพาทเมนทมาแทนที่สวนและ บานเรือนริมคลอง

๑๗

อางแลว


๖๖

สวนผลไมรางที่เปลี่ยนมาปลูก ขา ตะไคร มะกรูด พริกที่ เรียกวา “สวนตมยํา” ที่ตลิ่ง ชัน เนื่องมาจากความ เปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมื่อ เมืองรุกไลเขามาเรื่อยๆ

หลังน้ําทวมใหญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ นาจะเปนชวงที่ชาวสวนตลิ่งชันหันมาปลูกเยียบิราหรือที่ ชาวบานเรียกวา “เยีย” กันมากที่สุด แหลงปลูกอยูแถวบางระมาด ฉิมพลี ศาลาธรรมสพน ยานที่ดัง มากอยูบริเวณหมูบาน ป. ผาสุก ปากทางเขาโรงพยาบาลธนบุรี ๒ ในปจจุบัน พันธุดอกเยียบีราที่ปลูกกันมีไมต่ํากวา ๒๐ พันธุ เชน ลูกรัก ทองประศรี แดงถูกแทง แดง ขุนแผน กุมารทอง แดงอิฐ สรอยฟา ขาวจักสั้น ขาวจักยาว บัวหลวง ที่เปนพันธุผสมขึ้นใหมก็มี ตอมา สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรอนขึ้นผิดปกติทําใหดอกมีตําหนิเปนราจุดดํา เกษรดํา ราคาตก ตองฉีดยา มาก ระยะหลังใบงาม แตไมมีดอกจึงคอยๆ เลิกปลูกไปและหันไปปลูกพืชอื่นแทน เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ มีการเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินเพื่อการทํานามาเปนการทําไมดอกไมประดับ ตลอดจนการขยายพันธุไมดอกและไมประดับ เพราะไดผลที่ไดคุมกวาการทํานา เมื่อป พ.ศ.๒๕๔๑ พบวาประมาณรอยละ ๖ ของพื้นที่การเกษตรเพื่อทําสวนไมดอกไมประดับ แขวงบางเชือกหนังทํามาก ที่สุด รองลงมาคือ บางระมาด ที่ปลูกไดแก กลวยไม ดอกเยียบีรา กุหลาบ เปนตน สวนในเขตตลิ่งชันสวนหนึ่งถูกลอมพื้นที่และถมที่ทําใหกลายเปนบานจัดสรรที่มีผูคนมาใหม โยกยายเขามาอยูอาศัยอยางหนาแนน รวมทั้งถนนขนาดใหญที่ตัดพาดผาน นํามาซึ่งเขตเศรษฐกิจ ใหมๆ สองฝงถนน การตัดถนนผานนั้นตัดขวางทางน้ําซึ่งเปนแนวตะวันตก-ตะวันออกดวยถนนวง แหวนเพื่อความสะดวกในการเชื่อมตอกับภูมิภาคอื่นๆ และถนนตัดใหมๆ เหลานั้นกั้นขวางทางน้ําให เหลือเพียงสะพานหรือทอลอดผานเทานั้น ทําใหน้ําที่หลากมาจากทางเหนือเออลน และนาจะทําให เกิดน้ําทวมขังทิ้งไวในปที่มีน้ําหลากอยางแนนอน หมูบานจัดสรรตางๆ ในเขตนี้เกิดขึ้นเพราะกลายเปน ยานหมูบานที่ปลูกขึ้นมาใหมจํานวนมากในพื้นที่กําหนดเปนพื้นที่สีเขียวและเหตุผลที่สําคัญเพราะอยู ใกลกับศูนยกลางของเมืองหลวง


๖๗

สวนกลวยไมที่คลองบางนอย

ผืนดินที่เคยอุดมสมบูรณ เต็มไปดวยธาตุอาหารของดินดอนตะกอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํา และเปนยานปลูกผลไมที่มีชื่อเสียงมากวา ๕๐๐ ป ชาวสวนบางคนที่ยังรักในการทําสวนและยังสูอยูก็ ขยับขยายนําสายพันธุไปปลูกอยางแพรหลายในเขตจังหวัดอื่นๆ เชน นครนายก ๑๘ จันทบุรี ระยอง แต อยางไรก็ตาม ก็ไมไดรสชาติที่ดีและผลผลิตที่อุดมเชนเดียวกับที่เคยปลูกในสวนยานตลิ่งชันและฝง ธนบุรี

ขาว: ผลิตผลหลักในแองที่ราบของสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยา พื้นที่โดยรอบแถบอยุธยาจะมีน้ําทวมเต็มทองทุง พันธุขาวที่ใชจึงตองสูงพนน้ําราว ๒-๓ เมตร ซึ่งเปนวัฒนธรรมที่แสดงถึงศักยภาพของมนุษยที่พัฒนามากขึ้นโดยการคัดเลือกพันธุขาวที่เหมาะสม แกสภาพพื้นที่น้ําทวมในระยะเวลานานและแตกตางจากพื้นที่ดอนซึ่งมนุษยใชวิธีการปลูกขาวไร เชน ในสมั ย ช ว งก อ นประวั ติ ศ าสตร ห รื อ ในพื้ น ที่ ภ ายในที่ อ าจจะใช ก ารควบคุ ม ระบบการใช น้ํ า หรื อ ชลประทานขนาดเล็ก

๑๘

ตั้งอยูบานหุบลึก ตําบลเขาพระ อําเภอเมือง จังหวัดนครนาย เปนแหลงรวบรวมทุเรียนโบราณพันธุดั้งเดิมกวา ๕๐ พันธุ ที่ลุงชม โสวรรณตระกูล นํามาจากสวนแถบฝงธนบุรีมาปลูกไวเมื่อเกือบ ๔๐ ปที่แลว และไดคิดคนเพิ่มขึ้นจนมี มากกวา ๑๐๐ สายพันธุ ปจจุบันสวนแหงนี้จึงเปนเสมือนพิพิธภัณฑทุเรียนโบราณ


๖๘ เมื่ อ มนุ ษ ย ส ามารถปรั บ ตั ว เข า มาอยู อ าศั ย ในพื้ น ที่ ร าบลุ ม น้ํ า ท ว มน้ํ า หลากในบริ เ วณ สามเหลี่ ย มปากแม น้ํ า ได นั้ น การเป น บ า นเมื อ งในลั ก ษณะ เมื อ งท า ภายในแผ น ดิ น [Entrepot] ดังกลาว ก็เพื่อสะดวกในการคมนาคมติดตอกับบานเมืองโพนทะเล สะดวกแกการคาขายแลกเปลี่ยน สินคาซึ่งเปนกระแสของภูมิภาคในการตั้งถิ่นฐานที่เปลี่ยนไป การทํานาขาวในบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําเกาตอเนื่องกับสามเหลี่ยมปากแมน้ําใหมซึ่ง บรรจบกันบริเวณเกาะเมืองของกรุงศรีอยุธยาพอดีนั้น ปรากฏใน Ka-i Hentai ซึ่งเปนหนังสือ ประวัติศาสตรสมัยโตกุกาวา (ค.ศ.๑๖๐๐-๑๘๖๘) เขียนโดย Shunsai Hayashi (๕.ศ.๑๖๑๘ – ๑๖๘๐) กลาวถึงคนสยามเมื่อสมัยอยุธยาที่มีการปรับตัวไมเดือดรอนไปกับน้ําที่ทวมเออลนเปน เวลานานหลายเดือนและบงบอกการทํานาปลูกขาววามีทั้งนาดําและนาหวาน โดยใชควายไถนาวา ในสยามผูคนมีความสามารถในการปลูกขาวมาตั้งแตอดีตโดยปราศจากความ กังวลเกี่ยวกับฝน จากหาเดือนของทุกๆ ป น้ําในแมน้ําจะหลากจนกระทั่งเจิ่ง นองไปหมด และเมื่อสิ้นเดือนแปดน้ําก็จะลด น้ําทวมสูงกวา ๓ เมตร แมจะ เปนในสมัยโบราณก็ไมเคยทําความเดือดรอนแตอยางใด ขาวเหลานี้จะสูงพน น้ําที่ทวมกวาสามเมตร แมจะหวานขาวหรือใชการตกกลา แตผืนดินก็ยังดู เหมือนถูกไถดวยคันไถแบบอินเดียที่ใชควายคูเทียมคันไถ หลังจากการเก็บ เกี่ยว ก็จะใชควายย่ําเพื่อนวดขาว ๑๙

หนังสือ “ราชอาณาจักรสยาม” ที่บันทึกเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาและชาติพันธุวรรณนาของ ราชทูต เดอ ลา ลู แบร บันทึกภูมิทัศนของทองทุงอันอุดมสมบูรณและการทําปลูกนาขาวของชาว สยามในยามหนาน้ําลดที่ยังตองพายเรือเกี่ยวขาวไววา พวกเขาไถนาและพรวนดิน เมื่อฝนตกอยางเพียงพอและทําใหดินนุมขึ้น และ ชาวนาก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อน้ําลด ซึ่งในบางครั้งน้ําก็ยังทวมอยู ชาวนาก็จะ ใชเรือในการเกี่ยวขาว ทองทุงอุดมสมบูรณสําหรับทํานาปลูกขาว…… ๒๐

๑๙

อางใน Shunsai Hayashi (1618 – 1680), Ka-i Hentai (ประวัติศาสตรญี่ปุนยุคโตกุกาวา) Toyo Bunko, 1960. ใน YOSHIKAZU Takaya. [Translated by Peter Hawkes] Agricultural Development of a Tropical Delta, A Study of the Chao Phraya Delta University of Hawall Press, Homolulu,1987 ๒๐ Loubere, Simon De la. The Kingdom of Siam White Lotus Co., LTD, Bangkok, 1986


๖๙

ผาลไถและคันไถแบบสั้นที่นาจะเปนแบบเทียมควาย ภาพจากเอกสารของเดอ ลาลูแบร

สําหรับ พื้นที่แถบชายฝง [Coastal Zone] ซึ่งอยูใกลทะเลมากกวาและยังไมไดบุกเบิกพื้นที่ และมีระบบชลประทานมากนัก การทํานาปลูกขาวเปนการหวานลงไปในพื้นตมโดยไมตองไถเตรียม ดินแตอยางใด ในเอกสารเกามักจะเห็นคําวา “นาคูโคและนาฟางลอย” ซึ่งรัฐใชเรียกเพื่อแยกประเภทการ เรียกเก็บภาษีเริ่มมาตั้งแตสมัยอยุธยาจนกระทั่งถึงชวงปลายรัชกาลที่ ๕ เปนการเก็บภาษีแกเจาของ นา นาคูโคหรือนาน้ําทา หมายถึงนาที่สามารถปลูกขาวทั้งนาปและนาปรัง สวนใหญเปนนาดําที่ ตองตกกลาโดยอาศัยน้ําฝนหรือน้ําทาซึ่งเปนการชลประทานที่ไมซับซอน ถือวาเปนนาดี วิธีการเก็บ ภาษีหรือ “หางขาว” ซึ่งเปนรูปแบบของของการเก็บภาษีแบบชักสวนเปนขาวเปลือกเก็บไวในฉางขาว หลวงแตภายหลังก็เรียกเก็บเปนเงิน โดยวิธีดูคูโคคือการนับวัวหรือควายที่ชาวนามีไวใชไถนาโดยการ คํา นวณวา โคหนึ่ง คูจ ะสามารถใชทํา นาในผืน ดิน ที่น านั้น ๆ ไดปล ะเทาใดแลว เอา เมื่อ ทางรัฐ จัด พนักงานเดินนามาสํารวจแลวก็จะออกหนังสือใหเจาของที่นาถือไวเปนหลักฐาน นาคูโคมักทําในพื้นที่ ลุมน้ําทวมถึงในเขตอยุธยา สุพรรณบุรี อางทองและลพบุรี สวน นาฟางลอย หมายถึงนาที่สามารถปลูกขาวโดยอาศัยน้ําฝนเพียงอยางเดียว เปนนาในที่ ดอนน้ําทาขึ้นไมถึง วิธีเก็บภาษีสําหรับนาประเภทนี้เก็บจากนาที่สามารถปลูกขาวไดจริงโดยสํารวจ จากตอฟางที่เก็บเกี่ยวแลวเปนเกณฑ ถาปใดไมไดทําหรือทําไมไดก็ไมตองเสียอากรคานา รัฐจะออก หนังสือใหเจาของที่นาถือไวเปนหลักฐานที่เรียกวา "ใบจอง"


๗๐ วิธีการเก็บภาษีที่นาเปนเชนนี้เรื่อยมาตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากผลผลิตที่ไมเทา เทียมของนาในพื้นที่ภูมิประเทศที่แตกตางกันเพราะในบริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ํานั้นพื้นที่บางแหงที่ ไมสามารถควบคุมธรรมชาติได รัฐก็จะยกเวนภาษีให ตอมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ไดเปลี่ยนการแบงประเภทที่นา ออกเปน “นาชั้นเอก นาชั้นโท นาชั้นตรี นาชั้นจัตวาและนาชั้นเบญจ” โดยผูครอบครองที่นาทุก ประเภทจะตองเสียอากรคานาทุกปในอัตราตายตัว เพียงแตกําหนดอัตราภาษีใหแตกตางกันตาม การ จัด “ชั้น” ของที่นา ปรากฏวามีการถวายฎีกาของชาวนาจํานวนมากเพื่อขอใหพระมหากษัตริยทรงพระ กรุณาโปรดเกลาฯ ลด “ชั้น” ของนาลงไปจากที่กําหนดไวแตเดิม ชาวนาจะไดเสียภาษีในอัตราที่ต่ําลง พื้นที่ปลูกขาวเมื่อเขาสูระบบตลาดแลวก็มีการเปลี่ยนแปลงในการเก็บภาษีของชาวนามาเปน ลําดับและมีปรับเปลี่ยนมือเจาของที่นาและเทคโนโลยีในการผลิตตลอดจนระบบการตลาดเพื่อคาขาว อั น เป น ผลมาจากเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย มที่ เ ข า ครอบงํ า เกษตรกรรมที่ เ ป น หั ว ใจหลั ก ของพื้ น ที่ สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาที่เปนแองปลูกขาวที่สําคัญที่สุดแหงหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ชาวนาในทองทุงภาคกลาง

ที่ลําน้ําเจาพระยาใกลบริเวณปากน้ําพื้นที่ทํานามักจะอยูหางออกไปจากฝงแมน้ําทั้งทางฝง ตะวันตกและฝงตะวันออก ซึ่งสามารถควบคุมระบบน้ําในการทํานาทดน้ําและนาหวานได เพราะน้ํา มักจะเออทนทวมเขาทุงในฤดูน้ํา สวนพื้นที่ใกลแมน้ําเจาพระยาและลําน้ําที่เปนแมน้ําเดิมตลอดจน คลองซอยตางๆ จะเปนเขตของสวนผลไมเพราะมีระบบของน้ําที่ตองการอิทธิพลจากน้ําขึ้นน้ําลงอยาง สม่ําเสมอและเมื่อมีการปองกันน้ําทวมโดยการทําคันกั้นน้ํา เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๒ J.G. Koeingในสมัยกรุง


๗๑

ริมฝงน้ําซึ่งกวางเพียง ๑๐๐-๑,๐๐๐ ฟุต มีแตตนไม สวนดานหลังก็เปนทุงนาสุด หูสุดตา ผูคนอาศัยอยูในบานไมไผหลังคามุงจากใตรมไมเหลานี้ ผืนดินอุดม สมบูรณมาก ชาวบานมีสวนขุดทองรองเปนแนวยาวพอคนกระโดดขามไดและ แทบจะไมมีรั้วลอมรอบ ลึกเขาไปในแมกไม สวนถูกยกรองพูนดินสูงเพื่อปองกัน น้ําทวม สวนนั้นปลูกผักผลไมหลายชนิด ๒๑

อองรี มูโอต นักสํารวจชาวฝรั่งเศสกลาวถึงพืชพันธุตางๆ ของคนสยามนิยมรับประทานในเขต สวนใกลกับพระนครกินอยูในชีวิตประจําวัน โดยกลาวถึงพันธุขาวราว ๒๐ พันธุที่ปลูกกันในบริเวณ สามเหลี่ยมปากแมน้ําไวสองชนิด คือ ขาวไร ที่เปนการปลูกบนที่ดอนหรือที่นาซึ่งเพิ่งหักรางถางพงและ ขาวนาสวน ซึ่งเปนขาวที่ปลูกในที่ลุมและมีระดับน้ําในนาลึกไมเกิน ๘๐ เซนติเมตร และสวนมากปลูก แบบปกดํา ผลไมที่ชาวสยามนิยมรับประทาน คือ มะพราวออน กลวยสุก มะมวง มังคุด ทุเรียน สวน “ขาว” แบงออกเปน ๒ ชนิด คือ ขาวไร และขาวนาสวนและแบงเปน พันธุขาวไดราว ๒๐ พันธุ ๒๒ ”

กรณีพันธุขาวพื้นเมืองในภาคกลางนั้นนาจะมีมากกวา ๒๐ พันธุ แตเมื่อราว ๔๐ ปที่แลวมีงาน ศึกษาที่สํารวจพันธุขาวเฉพาะที่เปนที่นิยมของชาวนาชาวบานในภาคกลางมีประมาณ ๒๓ พันธุ สวน พันธุขาวทั่วไปที่พบในพื้นภาคกลางนั้นมีชื่อบันทึกไวไดมากกวาสองสามรอยพันธุ๒๓ ๒๑

YOSHIKAZU Takaya. [Translated by Peter Hawkes], Argriculture Development of a Tropical Delta : A Study of a Chao Phraya Delta, อางถึงเอกสารของ J.G Koeing, “Journal of a voyage from India to Siam and Malacca in 1779”, Journal of the Straits Branch of the Royal Asiatic Society No.26, [1894] :162 ๒๒ Mouhot, Henri, Travels in Siam, Cambodia and Laos 1858-1860, London, John Murray, 1864, reprinted Bangkok, White Lotus, 1986 ๒๓ พันธุขาวที่ชาวนานิยมใชเพาะปลูก ๒๓ พันธุ ไดแก พันธุขาวตาแหง ขาวเศรษฐี พวง (มีหลายชนิด เชน พวงจอก พวงหางจอก พวงเงิน พวงทอง ฯลฯ) สามรวง ขาวกอเดียว กอนแกว ขาวหารอย ขาวมะลิ หลวงประทาน ขาวพวง ขาวสะอาด นางเขียว นางมล ปนแกว ขาวเมล็ดเล็ก เล็บมือนาง กนจุด เทวดา หารวง เจกเชย พวงนาค ทองมาเอง และมะลิทอง, ไพบูลย แพงเงิน. เทคโนโลยีชาวบาน ฉบับวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑, อางจาก "รายงานผลการวิจัย เรื่อง ภาวะหนี้สินและการคาขาวของชาวนาภาคกลาง ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๐/๒๕๑๑" ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์, สํานักงานสภาวิจัยแหงชาติรวมกับยูซอม (USOM), ๒๕๑๑


๗๒ หลังจากสนธิสัญญาเบาริ่ง เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๓ เห็นไดชัดเจนวาเริ่มมีการเปดพื้นที่ในสามเหลี่ยม ปากแมน้ําเจาพระยาเพื่อปลูกขาวเปนสินคาออกอยางรวดเร็ว เพราะเมื่อพิจารณาปริมาณสินคา สงออกจากกรุงเทพฯ ตั้งแตระยะแรกของกรุงเทพฯจนถึงในชวง พ.ศ.๒๓๖๓ ผลิตผลสวนใหญคือของ ปา หลังจากชวง พ.ศ.๒๓๙๙ - พ.ศ.๒๔๐๐ เปนตนมา ก็เปลี่ยนเปนผลิตผลทางการเกษตรจําพวกพืช สวน ตอจากนั้นในชวงหลัง พ.ศ.๒๔๐๐ เปลี่ยนเปนการสงออกขาว โดยมีสถิติปริมาณการสงผลิตผล ในชวง พ.ศ.๒๔๓๙ - พ.ศ.๒๔๓๐ มากที่สุดคือ ขาว จํานวน ๖๔ เปอรเซ็นต และ ๗๔ เปอรเซ็นต ตามลําดับ คลองจํานวนมากขุดขึ้นเพื่อการคมนาคมขนสงขาวเพื่อการสงออกอยางชัดเจน เชน คลอง มหาสวัสดิ์ ที่ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ ซึ่งขุดระหวางเมืองนนทบุรี ธนบุรีและนครไชยศรี พื้นที่สองฝงราว กลายเปนนาหลวงและพระราชทานแกพระเจาลูกเธอและพระเจาลูกยาเธอ นาเหลานี้ไมตองเสียภาษี แตไมสามารถขายตอใหแกผูใดจนกวามอบเปนพินัยกรรมแกผูอื่น

บริเวณสองฝงคลองมหาสวัสดิ์หรือคลองวัดชัยพฤกษจนจรดคลองทวีวัฒนา จากแผนที่มณฑลกรุงเทพฯ

คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่ขุดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว


๗๓ วิธีทํานาปลูกขาวเมื่อแรกเริ่มบุกเบิกในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแมน้ํานี้ไมเหมือนการปลูกขาวใน ปจจุบันที่เปนแบบนาทดน้ําหรือปลูกขาวนาดําที่มีระบบชลประทานราษฎร-หลวงถึงกัน จากงานทาง มานุษยวิทยาของ Lucien Hanks ที่บางชัน๒๔ กลาววามีการบันทึกไววามีวิธีการทํานาถึง ๗ วิธีดวยกัน โดยที่บางชันก็พบ ๔ วิธี คือ ในชวง ยุคเริ่มแรก ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๓ ใชเทคนิคตัดไมและตนหญาและเผาโดยใชการทํา นาหยอดหลุมเพราะมีเครื่องมือในการทํานานอยมาก วิธีที่สอง อีกราว ๒๕ ปตอมาใชควายไถนาและ ทํานาหยอดหลุมเชนกัน และทั้งสองวิธีคือการทํานาในที่ดอนและใชพันธขาวที่ปลูกในที่สูง วิธีที่สาม ในอีกราว ๕-๑๐ ปตอมา คือ ใชควายไถนาและใชการหวานขาว ตอมาอีกราว ๑๐ ปคือ วิธีที่สี่ ทําการ หยอดเมล็ดพันธขาวเพาะกลากอนจะนําไปปลูกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเปนการเพิ่มผลผลิตไดมากขึ้น วิธีที่หา คือการเผาพวกตนไมหรือวัชพืชแลวหวานเมล็ดพันธขาว วิธีที่หก คือการใชฝูงควายย่ําพื้นดินใหวัชพืช หมดไปแลวหวานขา ว วิ ธีที่เจ็ด คือการใชไมกดเมล็ดพันธลงไปในดิน ที่มีน้ําขัง ทั้งหมดนี้เปน การ เตรียมการกอนที่ถึงฤดูฝน ในอดีตเขตทวีวัฒนาและศาลาธรรมสพนทํานาประมาณรอยละ ๕๖ ของพื้นที่ นอกจากนั้น ก็ มีแขวงบางระมาดสวนที่ติดกับเขตทวีวัฒนาทํานาทั้งป ทั้งนาปรังและนาป มีการใชปุยและยาปราบ ศัตรูพืชมาก แตหลังน้ําทวมใหญที่นาบริเวณบางระมาด บางพรมก็หมดไปอยางสิ้นเชิง คงเหลือเพียง ศาลแมโพสพและคําบอกเลาของผูที่เคยเชาที่ทํานามากอนและตองไปทําสวนผักที่อื่นหรือเปลี่ยน อาชีพเปนอยางอื่นแลวเมื่อราว พ.ศ.๒๕๒๖ ชาวบานเลาวาแขวงบางระมาดที่เคยมีการทํานาก็ไมมี การทํานาเหลืออยูอีกแลว สวนพื้นที่นาในบริเวณเขตตลิ่งชันนั้น ทําตั้งแตแถบคลองบางเชือกหนัง คลองบางนอย คลอง บางพรม คลองบางระมาดไปจนถึงฝงคลองทวีวัฒนาและกินอาณาเขตกวางไกลไปจนถึงนครชัยศรี นา ขาวในเขตรอยตอบริเวณตั้งแตราวๆ ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ และสอง ในปจจุบันนั้นถูกยกเปนรอง สวนแทนนาขาวไปกอนที่สวนจะเปลี่ยนเปนยานที่อยูอาศัย แตการทํานาขาวก็ยังคงทําอยู โดยทําใน รองสวนเพื่อเก็บไวบริโภคในครัวเรือน มีทั้งขาวเจาและขาวเหนียว ขาวเหนียวสวนใหญไวทําขนม เกี่ยว เสร็จแลวเอาไปสีที่โรงสีทางแถบคลองบางเชือกหนัง ปจจุบันยังเห็นรองรอยของโรงสีราง ๒-๓ แหงใกล วัดพิกุล

๒๔

บานบางชันอยูในเขตมีนบุรีหางจากใจกลางกรุงเทพฯ ราว ๒๐ กิโลเมตร มีการเขาไปศึกษาอยางตอเนื่องของนัก มานุษยวิทยาอเมริกันตั้งแต ค.ศ.๑๙๓๕-๑๙๗๐อางจาก Lucien M. HANKS., Rice and Man : Agricultured Ecology in Southeast Asia., Chicago and New York : Aldine, Atherton., 1972


๗๔

แผนผังที่วาดขึ้นคราวๆ ในราว รัชกาลที่ ๖ จากกองจดหมายเหตุ แหงชาติ เรื่องแผนที่คลองตางๆ ใน ทองที่อําเภอตลิ่งชันและบริเวณที่จะ กั้นทํานบตั้งสูบน้ําชวยเหลือชาวนา เพื่อกําหนดจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ํา สี เขียวคือฝงที่สวนผลไม สวนสี เหลือง (สีเหลืองและสีเขียวเติม ภายหลัง) คือฝงทองนา ลําน้ําใหญ ดานขวาคือคลองชักพระ ดานสกัด ทางเหนือคือคลองมหาสวัสดิ์ สวน ดานซายมือทางตะวันตกคือคลอง ทวีวัฒนา แสดงมใหเห็นพื้นที่ การเกษตรเดิมกอนมีการ เปลี่ยนแปลงอยางมากในปจจุบัน และน้ําที่นากับสวนนั้นมีระบบการใช น้ําตางกัน หากน้ําทวมสวนมากก็ไม สามารถอยูได ตองอาศัยเครื่องสูบ น้ําออก

ภาพตนฉบับ กองจดหมายเหตุแหงชาติ ผ.ร.๖.น. ๔๒๑ (สุภาภรณ จินดามณีโรจน, ชุมชนทองเที่ยว ยั่งยืนตลิ่งชัน ๒๕๕๑


๗๕

บริเวณที่นาและสวนแถบคลองตางๆ ในเขตตลิ่งชัน เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕

ภาพถายทางอากาศบริเวณที่นาแถบคลองบางระมาดในป พ.ศ.๒๕๑๖ ซึ่งยังคงมี ทองนาในแถบบางระมาดอยูเปนจํานวนมาก


๗๖

บริเวณทองนาแตเดิมที่ปจจุบันเปลี่ยนเปนบานจัดสรร ถนนตางๆ ตัดผานมากมายแตยังคงมีสวนเหลืออยู

การทํ า นาส ว นใหญ จ ะเก็ บ ไว กิ น หากมี เ หลื อ จึ ง จะขายและทํ า พั น ธุ สํ า หรั บ ฤดู ก าลต อ ไป ชาวบานจะขนขาวจากนามาเก็บไวที่ยุงหรือที่บาน และใชเลื่อนเปนพาหนะนําขาวไปสูยุงฉางโดยใช ควายลาก สําหรับการขนขาวไปโรงสีเพื่อสี ก็จะใชเรือพายเนื่องจากระดับน้ําในคลองตางๆ จะมีระดับ น้ําที่ขึ้นลงอยูเปนประจําดังนั้น หากเปนชวงน้ําลดชาวบานจะตองเข็นเรือไปตามรองน้ํา หากระดับน้ํา นอยจนไมสามารถใชเรือบรรทุกขาวไปได ก็ตองลงแขกหาบขาวไปโรงสี มีการรวมใชแรงงานกันโดยไม ตองจาง ตั้งแตการดํานา เก็บเกี่ยว นวดขาว การเปนยานปลูกขาวนี่เองทําใหมีพิธีกรรมที่บูชาเกี่ยวกับแมโพสพที่แตกอนเคยเปนศาลไมอยู ริมคลองบางพรม แตเมื่อไมมีนาขาว ไมมีผูใดทํานาก็ไมมีพิธีกรรมฉลองหลังเก็บเกี่ยวที่ศาลแมโพสพ อีกตอไป ศาลจึงถูกทิ้งราง ทรุดโทรม องคแมโพสพถูกขโมย ชาวบานที่ยังคงนับถือจึงรวมกันสรางศาล ขึ้นใหมภายในวัดศิริวัฒนาราม ซึ่งตั้งอยูใกลกับศาลเดิม พื้นที่วัดแหงนี้เดิมเปนทองนามากอน แตเมื่อ ราว ๒๐-๓๐ ปที่ผานมา เศรษฐีนีศิริ หยุนแดง เจาของที่นาไดยกที่ดินถวายและสรางวัด แลวปนหุนแม โพสพไวในวัดศิริวัฒนาราม พิธีกรรมที่เกี่ยวของกับแมโพสพที่บางพรมนั้นก็เหมือนพิธีกรรมของคนในทองทุงทั่วไป ชาวนา ตองไหวแมโพสพกอนที่จะทํานาโดยเอาธูปเทียนไปปกที่นา พอขาวตั้งทองก็ตองมีของสําหรับคนทอง


๗๗

ชวงกอนพ.ศ. ๒๕๐๐ แมพื้นที่สวนจะขยายตัวเพราะใหรายไดที่มากกวาแตเขตตลิ่งชันนั้นก็ ไดผลผลิตขาวมากไมใชนอย ทองถิ่นที่ปลูกขาวนี้แมจะไมไกลพระนครแตก็ยังไมมีไฟฟาใชจนกระทั่ง ถึง พ.ศ.๒๕๑๕

ศาลแมโพสพหลังเดิมริมคลองบางพรมและ ศาลแมโพสพหลังใหมในวัดศิริวัฒนาราม


๗๘ ป พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ศ.๒๕๒๑ และ พ.ศ.๒๕๒๖ น้ําทวมหนักทางฝงธนบุรีแลวยังมีโรคระบาดใน นาขาวและหนอนเพลี้ยกระโดด และเมืองก็ยังขยายตัวไมหยุดอีกทั้งยังมีการตัดถนนหลายสาย นาขาว ก็เปลี่ยนเปนสวนและบานพักอาศัย หรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นๆ เชน เยบีรา กลวยไม นาที่บางพรม นั้นเลิกทํากันเด็ดขาดก็หลังน้ําทวมใหญ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ เปนตนมา ผูที่เคยทํานาปลูกขาวในเขตตลิ่ง ชันทุกวันนี้ยังมีความทรงจําเกี่ยวกับทองทุงไดดีและแตละคนก็ยังอายุไมมากเทาใดนัก ทุกวันนี้พื้นที่พื้นที่ปลูกขาวบริเวณเขตตลิ่งชันนั้นเปลี่ยนเปนที่สวนและยานทีอ่ ยูอ าศัยและบาน จัดสรรจนหมดแลว เหลือรองรอยของอาคารสถานที่ เครื่องไมเครื่องมือในการทํานาบางสวนและ พิธีกรรมที่เคยกระทํา การบอกเลาความทรงจําของชาวบานดั้งเดิมที่เคยอาศัยผืนนาทํานาปลูกขาวใน เขตปริมณฑลของเมืองหลวง

สวนผัก: สวนของคนจีน แมวาคนไทยประกอบอาชีพทําสวนมาหลายศตวรรษ ยังมีคนจีนที่เขามาตั้งรกรากในฝงธนบุรี ยึดอาชีพทําสวนดวยโดยเริ่มแรกเขามาถือสวนจากชาวสวนไทยแตคนจีนมักปลูกพืชที่ขายไดกําไร หรือเปนพืชเศรษฐกิจตามสมัยนิยม สวนของคนจีนจึงมีทั้งสวนหมาก สวนพลูและสวนผักที่ชาวจีน นิยมปลูกกันพวกหัวไชเทา ผักกาด พรอมกับเลี้ยงหมูควบคูไปดวย ดังจะเห็นไดจากบันทึกของชาว ยุโรปที่เขามาบางกอกในสมัยรัชกาลที่ ๓ กลาวถึงสวนของคนจีนที่อยูลึกเขาไปจากแมน้ําในกรุงเทพฯ เมื่อป พ.ศ. ๒๓๗๙ วา มีการทําสวนกันอยางเปนระเบียบเรียบรอยมาก อาจจะพูดไมไดวาเปนสวนที่มี คุณภาพดีเลิศ แตทวาเปนสวนที่งอกงามดี…. มีรองถั่ว….ผักกาดหอม หัวไชเทา (หัวผักกาด) ใบพลู และหมาก ซึ่งปลูกกันเปนสวนใหญในสวน ชาวสวนอยูอาศัย ในกระตอบสกปรกเล็กๆ ภายในอาณาบริเวณไรสวนของตน มีสุนัขเฝาสวนเปน จํานวนมากและมีเลาหมูสงกลิ่นตลบอบอวล ๒๕

วิธีทําสวนของคนจีนแตกตางกับชาวสวนไทย เพราะทําควบคูกับการเลี้ยงสัตว โดยใชมูลสัตว และปลาเนาเปนปุยชีวภาพ ชวยทําใหพืชผักงอกงาม ขายไดราคา ในยุคแรกๆ คนไทยสวนหนึ่งก็ไม นิยมกินผักจากสวนของคนจีนเพราะเห็นวาสกปรก โดยเฉพาะความเชื่อที่วามีการนํามูลคนไปรดผัก และเชื่อเชนนั้นอยูเปนเวลานาน แตผักจากสวนของคนจีนเนนปลูกจํานวนมากและราคาไมแพง ดวย ความขยันอุตสาหะ สวนผักของคนจีนจึงกลายเปนพืชผักหลักในการบริโภคในสําหรับอาหารและ แทนที่ผักทองถิ่นที่ออกผลตามฤดูกาลและมีจํานวนหลากหลายกวา

๒๕

กรมศิลปากร, บันทึกรายวันของ เซอรจอหน เบาริง ค.ศ. 1792-1872, กรุงเทพฯ, ๒๕๓๒


๗๙ แวริงตัน สมิท กลาวถึงการเดินทางไปกาญจนบุรีในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อผานเรือกสวนก็ระบุ ชัดวาในชวงเวลานั้นมีการปรับพื้นที่จากที่นาใหเปนสวนยกรองแบบจีน และสวนแบบนี้มักจะเปนการ ปลูกพืชผักเพื่อขายภายในและการสงเปนสินคาสงออกในระบบตลาดอยางชัดเจน ทั้งออยที่ไปหีบทํา เปนน้ําตาล หมากซึ่งเปนสินคาที่มีความตองการมาก สวนพริกไทยนั้นก็มีความตองการของตลาดมาก ทุงนามักจะทําใหเหมาะเปนสวนจีน ปลูกตนกลวย ตนออย ตนหมาก และตน พริกไทย โดยปลูกเปนแถวยาวขนานไประหวางคูน้ํา ๒๖

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหมีการขุดคลองมหาสวัสดิ์เชื่อม คลองบางกอกนอยออกแมน้ําทาจีน สองฝงคลองขุดใหมก็เริ่มมีชาวจีนเขามาเชาที่ตั้งรกรากปลูกผัก ขายทั้ง คะนา กวางตุง ผักบุงจีน ฯลฯ จนบริเวณริมฝงคลองมหาสวัสดิ์ดานใตกลายเปนพื้นที่ยกรองทํา สวนผักของคนจีน ซึ่งสวนใหญมีเชื้อสายจีนแตจิ๋วเกือบทั้งนั้น และบริเวณนี้เรียกวา “สวนผัก” มาจนถึง ปจจุบัน การทําสวนของคนจีนใหเกิดรายไดดี ดังนั้นในป พ.ศ. ๒๔๕๓ ชาวจีนจํานวนหลายพันในเมือง ใกลเคียงกรุงเทพ ฯ ไดพากันไปรับจางทําสวนผักและสวนพลู กับเลี้ยงหมู ทําใหการทําสวนและเลาหมู แพรหลายยิ่งขึ้น ยานสวนผักเปนสวนยกรองนาจะเริ่มตั้งแตหลังขุดคลองมหาสวัสดิ์แลวและเกิดคลื่นอพยพ ของคนจีนโพนทะเลเขามาทํามาหากินในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต ชาวจีนแถบนี้นับถือทั้งพุทธ และคริสตศาสนาและนับถือเจาพอและศาลเจาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน คือ ศาลเจาและโรงเจเซียมซือกง โรงเจ ตนโพธิ์ ศาลเจาพอจุยและศาลเจาเหงเจีย นอกจากนี้ ยังมีคนญวนที่เขามายังกรุงเทพฯ ในชวงที่บานเมือง ญวนเกิดความไมมั่นคงและเปนกลุมที่นับถือ คริสตศาสนา ในบริเวณนี้จึงมีโบสถคริสตของคนเชื้อสายจีน และญวนที่วัดศีลมหาสนิท ยานสวนผัก

ปจจุบันยานสวนผักกลายเปนซอยใหญที่เลียบคลองมหาสวัสดิ์และแยกออกไปยังถนนหลาย สาย เชนแถบทุงมังกร ฉิมพลีซึ่งมีถนนสายใหญตัดผาน ทําใหแยกสวนไมเชื่อมตอเนื่องเชนเดิม สวน ผักก็กลายเปนหมูบานจัดสรรและบานเรือนผูคนไปจนเกือบหมดแลว นอกจากบริเวณรอบนอกไปทาง ฝงตะวันตกที่ยังมีพื้นที่สวนผักแซมไปกับตึกรามขนาดใหญ คนจีนที่นี่มีเชื้อสายแตจิ๋ว คนรุนพอแมของคนอายุราว ๕๐-๖๐ ป มักอพยพมาจากเมืองจีน เพราะเปนพื้นที่ทําสวนทั้งหมด แตคนจีนที่เขามาทําสวนก็มักจะเชาที่ทั้งสิ้น

๒๖

H. Warington Smyth. Five Years in Siam, From 1891-1896. Vol. I & II, White Lotus, Bangkok 1994


๘๐

สวนผักที่ตลิ่งชัน

สวนผักที่อยูติดกับ บานหลังงาม

การปลูกผักนั้น ชาวสวนผักจะปลูกเองและขายเอง ขายสงที่หนาบานและที่สะพานผัก ราคา ขึ้นลงตามตลาดไมแนนอนและขึ้นอยูกับโรคผักดวย แตผักคะนาจะไดราคาดีกวา ชาวสวนผักทุกวันนี้ ใชจางแรงงานลงแขก เพราะไมสามารถทําไดในครอบครัวเดียวแลวผักที่ปลูกสวนใหญคือ กวางตุง คะนา ผักกาดขาว ผักบุง แตปญหาที่ชาวสวนผักพบและถือวาเปนความเสี่ยงอยางยิ่งในปจจุบันก็คือ น้ําทวม บางปน้ํา ขึ้นสูงมากและเริ่มบอยขึ้นๆ เพราะพื้นที่ต่ําติดคลองมหาสวัสดิ์และสวนใหญมักปลอยใหชาวสวนตองสู ดวยตนเอง ในเขตตลิ่งชัน หลังจากประสบภัยน้ําทวมรุนแรง สวนผลไมเสียหายหนัก ชาวสวนจึงหันมาทํา สวนผักกันจนขยายพื้นที่ไปทุกแขวงยกเวนแขวงชักพระ เพราะลงทุนนอยและเก็บผลผลิตขายไดเร็ว แขวงตลิ่งชันและฉิมพลีปลูกผักจีนมาก สวนแขวงบางเชือกหนังและบางพรมปลูกผักไทยโดยเฉพาะ มะกรูด มะนาว สามารถทนตอสภาพน้ําทวมไดดี ชาวสวนจึงพากันปลูกมากขึ้นในแถบบางระมาด ตั้ ง แต ป พ.ศ.๒๕๒๖ เรื่ อ ยมา จนกลายเป น แหล ง ผลิ ต และขายส ง ที่ สํ า คั ญ แหล ง หนึ่ ง ใน


๘๑

“สวนตมยํา” ไดแก ขา ตะไคร มะนาว มะกรูด แขวงบางระมาด หมู ๓-๕ และหมู ๑๘-๒๐ ทํา สวนมะกรูด รายไดดี เพราะมีพอคามารับไปอบแหงแลวสงขายยุโรป หมู ๑๕ ปลูกขาและตะไครมาก เจาของสวนผักแถบสวนผักบางคนก็เชาสวนทําเชนเดียวกับคนเชื้อสายจีนแตยายมาจากพื้นที่ นาแถบคลองบางระมาด ราวๆ ๒๐ กวาปที่ผานมาและปลูกพืชผัก เชน ผักกาดหอม ผักกวางตุง ใบ กระเพรา โหระพา เปนตน และปลูกพืชหมุนเวียนไปเรื่อยๆ เพราะยังเปนดินรวนดินดีเนื่องจากเปนดิน เกา ชาวสวนผักและสวนผลไมปลงกับสภาพแวดลอมดังกลาวและลงความเห็นวา การทํา สวนผลไม สวนผักแบบจริงจังในพื้นที่ตลิ่งชันทุกวันนี้นั้นตองเผชิญกับความเสี่ยงสูงทั้งน้ําทวม น้ําขัง คาปุย คายาฆาแมลงที่ราแพง และยังเปนงานหนักที่นาเหน็ดเหนื่อยจนชาวสวนไมอยากให ลูกหลานกลับมาสืบทอดอาชีพที่พอแมปูยาตายายเคยทําไว อนาคตของสวนที่ตลิ่งชันจึงคง เหลืออยูแตเพียงรอวันโรยและและหมดสิ้นไปในที่สุด ทามกลางผืนดินที่อุดมสมบูรณที่สุดของ สามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาที่อยูใตถนนคอนกรีตสายใหญและหมูบานจัดสรรหลังงาม


๘๒

บทที่ ๓ จากบานสวนสูชานมหานคร ทองถิ่นตลิ่งชัน ตลิ่งชันคือพื้นที่สวนหนึ่งของบริเวณที่เรียกวา “ฝงธนบุรี” ทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยา ใน อดีตพื้นที่บริเวณนี้เต็มไปดวยเรือกสวนผลไมที่อยูตามลําคลองสายตางๆ เรียงขนานแยกจากแนวลําน้ํา สายใหญในแนวตะวันตก-ตะวันออก เมื่อลึกเขาไปตามลําน้ําจากสวนผลไมก็เปลี่ยนเปนไรนาปลูกขาว โดย แบงพื้นที่กันอยางชัดเจน เมื่อมีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พื้นที่สองฝงคลองกลายเปนที่นา ตอมาภายหลังมีการใหชาวจีนโพนทะเลที่เขามาตั้งถิ่นฐานใหมเชาที่ดินเพื่อยกรองปลูกผักทําใหฝงคลอง มหาสวัสดิ์ดานใตกลายเปนสวนผักและปรากฏเปนยานชื่อ “สวนผัก” มาจนทุกวันนี้ แมสวนผักจะคอยๆ หมดไปเมื่อพื้นที่กลายเปนชานเมืองมากขึ้นตามลําดับ พื้นที่บริเวณตลิ่งชันเปน ดินตะกอนชุดธนบุรี ซึ่งเปนดินที่เหมาะแกการทําสวน ทําไร พบแถบ ตะวันออกของพื้นที่ และ ดินชุดบางเลนและบางกอก ซึ่งเหมาะแกการทํานาทางดานตะวันตกของพื้นที่ เปนบริเวณที่มีคลองการขุดและคลองธรรมชาติเปนเครือขายหนาแนน ทําใหเปนเขตเพาะปลูกที่สําคัญแหง หนึ่งของประเทศ พื้นที่เพาะปลูกของตลิ่งชันมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจากสวนผลไม นาขาวและสวนผัก ในยุคหนึ่งจนกลายมาเปน พื้นที่สีเขียว ๒๗ ซึ่งเปนการจัดแบงผังเมืองของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่สีเขียว นั้นหามสรางโรงงานอุตสาหกรรมแตไมหามสรางบานเรือนที่พักอาศัยหรือหมูบานจัดสรรแตอยางใด อยางไรก็ตาม ก็มีการฝาฝนอยางเห็นไดชัด พื้นที่ตลิ่งชันเปนเขตที่อยูใกลศูนยกลางเมืองมาก ความเจริญ เชน การตัดถนนหนทางสายตางๆ จึงรุกเขามาอยางรวดเร็ว ทําใหบริเวณนี้กลายเปนแหลงที่อยู อาศัยชั้นดี หมูบานจัดสรรขนาดใหญและหรูหราเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น การขยายของมหานครทางฝง

พื้นที่สีเขียว ในประกาศผังเมืองรวมหมายถึง พื้นที่วางเวนหรือพื้นที่โลงนอกเหนือจากการปลูกสรางของเมือง การ กํา หนดเขตการใชที่ดินตามกฎหมาย เพื่ออนุรักษพื้ นที่เกษตรกรรมในที่ดิน ที่มีความเหมาะสมสํ า หรับการเพาะปลูก บางครั้งก็เรียกวาริ้วสีเขียว [Green Belt] เปนการควบคุมการพัฒนาเมืองมักจะไมใหปลูกสรางอะไรเลย เปนกลไกในการ ปองกันการกระจายของเมืองหรือการกระจายเชื่อมตอไปถึงเมืองอื่น มีในประเทศไทยมีการประกาศใชพื้นที่สีเขียวครั้งแรก ใน พ.ศ.๒๕๒๒ เพื่ออนุรักษพื้นที่เกษตร ใน ๔ อําเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อหามกอสรางโรงงานอุตสาหกรรม โดยเด็ดขาด พื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร กําหนดโดยขอบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๕ การกําหนดเขตการใช ที่ดินตามกฎหมาย เพื่ออนุรักษพื้นที่เกษตรกรรมในที่ดินที่มีความเหมาะสมสําหรับการเพาะปลูก บางครั้งก็เรียกวาริ้วสี เขียว [Green Belt] เปนการควบคุมการพัฒนาเมืองมักจะไมใหปลูกสรางอะไรเลย เปนกลไกในการปองกันการกระจาย ของเมืองหรือการกระจายเชื่อมตอไปถึงเมืองอื่น ๒๗


๘๓

การอยูอาศัยของผูคนในเมืองหลวงแหงนี้ตั้งแตในราวรัชกาลที่ ๕ เปนตนมา ความหนาแนนของ ผูคนรวมและการอยูอาศัยอยูทางฝงพระนคร ริมแมน้ําเจาพระยา สวนทางสวนฝงธนบุรีนั้นเบาบางมาก และส ว นใหญ อ ยู ต ามริ ม แม น้ํ า เจ า พระยาและคลองบางกอกใหญ แต เ มื่ อ ถึ ง ราว พ.ศ.๒๕๐๐ ความ หนาแนนของประชากรและการอยูอาศัยกระจายออกเปนรัศมี โดยเฉพาะบริเวณกรุงเทพมหานครฝงใน

ภาพลายเสนแผนที่แสดงความ หนาแนนของประชากรและเสนทาง น้ําในบริเวณกรุงเทพฯ สันนิษฐานเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๓

ภาพลายเสนแผนที่แสดงความ หนาแนนของประชากรและเสนทางน้ํา ในบริเวณกรุงเทพฯ สันนิษฐานเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๑ ตลิ่ง ชันเริ่มมีจํานวนผูอยูอาศัยหนาแนน ขึ้นมาก


๘๔ จากภาพถายดาวเทียมในปจจุบันความหนาแนนของประชากรและการอยูอาศัยในลักษณะแบบ เมืองหนาแนนมากที่สุดในบริเวณฝงพระนครและกระจายตัวหนาแนนขยายออกไปมากกวาเดิมอยางเห็น ไดชัด สวนสวนในฝงธนบุรีบริเวณใกลลําน้ําเจาพระยามีความหนาแนนของการอยูอาศัยไมตางจากฝงพระ นคร สวนพื้นที่สวนในเขตตลิ่งชันที่ไดรับการอนุรักษใหเปนพื้นที่สีเขียวเมื่อมีถนนสายใหญตัดผานทําใหมี การสรางอาคารสถานที่ หมูบานจัดสรรและพื้นที่เชิงพาณิชยตามมา พื้นที่สวนหรือพื้นที่สีเขียวที่ยังมีอยูและยังไมมีการตั้งถิ่นฐานที่หนาแนนก็ตั้งแตบริเวณฝงคลองชัก พระบางสวนมาจนจรดถนนกาญจนาภิเษกในบริเวณที่อยูไกลจากถนนหลักหรือถนนซอย ซึ่งเห็นไดชัดวามี โอกาสที่จะถูกรุกไลจากพื้นที่ความเปนเมืองที่ขยายตัวอยางไมหยุดหยอนมาตั้งแตสมัยรัชกาลที่ ๕ แลว แม จะมีการกําหนดผังเมืองรวมในการใชที่ดินของกรุงเทพมหานคร แตก็ไมสามารถเก็บรักษาสวนผลไมที่มี คุณภาพดีที่สุดเอาไวได

ภาพถายดาวเทียมแสดงพื้นที่ฝงธนบุรีและฝงกรุงเทพฯ ในปจจุบัน ที่กลายเปนมหานครที่เติบโตขยายออกจากศูนยกลางเปนรัศมีกวางขึ้นเรื่อยๆ และเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวใหกลายเปนชุมชนบานเรือนหางรานและที่อยูอาศัย ภาพถายดาวเทียมจาก Google Earth


๘๕

ภาพถายทางอากาศบริเวณฝงธนบุรีและทองถิน่ ตลิ่งชันแสดงการเปลีย่ นแปลงของพื้นที่ เกษตรกรรมและปรับเปลี่ยนที่นาเปนสวน การขยายตัวของพื้นที่สวนผัก มาจนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เปนชานเมือง และเปนเมืองในฐานะที่เปนอีกยานหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต พ.ศ.๒๔๙๕ พ.ศ.๒๕๑๖ พ.ศ.๒๕๓๔ พ.ศ.๒๕๔๑

ภาพถายทางอากาศเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๙๕ ตลิ่งชันอยูในบริเวณวงกลม ในพื้นที่เต็มไปดวยขนัดสวน สวนบริเวณดานนอกคือเรือกสวนไรนา

ภาพถายทางอากาศบริเวณตลิ่งชัน ราว พ.ศ.๒๕๑๖ จะเห็นบริเวณที่นาเริ่มถูกแทนที่ดวยสวนผัก บริเวณริมคลองมหาสวัสดิ์


๘๖

ภาพถายทางอากาศ ราว พ.ศ.๒๕๓๔ จะเห็นสายตลิ่งชันบางบัวทองและทางแยกฉิมพลี และเขตพื้นที่การอยูอาศัยใหมของหมูบานจัดสรรในสวนอยางชัดเจน

ภาพถายทางอากาศ พ.ศ.๒๕๔๑ จะเห็นถนนตัดผานพื้นที่สวนผักและที่สวนเดิม เริ่มมีการกอสรางของหมูบานจัดสรรตามมาอยางรวดเร็ว


๘๗

เขตตลิ่งชัน: เขตการปกครองสมัยใหม คําวา “ตลิ่ง ชัน” แตเ ดิม คือชื่อของชุม ชนที่อยูลอมรอบวัดตลิ่งชัน ริมคลองชักพระ ตอมาเมื่อมี รูปแบบการปกครองทองถิ่น ตลิ่งชันก็กลายเปนชื่ออําเภอมาแตเริ่มแรกและอยูเขตการปกครองของจังหวัด ธนบุรี ขึ้นอยูกับมณฑลกรุงเทพที่กอตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ประกอบดวย เมืองพระนคร เมืองธนบุรี เมืองมีน บุรี เมืองนนทบุรี เมืองพระประแดง (นครเขื่อนขันธ) เมืองสมุทรปราการ ดั้งเดิมที่วาการอยูบริเวณคลอง บางกอกนอย ตําบลบางบําหรุ ตอมาไดยายไปตั้งที่ปากคลองวัดไกเตี้ยริมคลองบางกอกนอย จนป พ.ศ. ๒๔๕๗ จึงไดยายที่วาการอําเภอมาตั้งอยูที่ริมทางรถไฟสายใต ตําบลคลองชักพระ ซึ่งเปนบริเวณสถาน ที่ตั้งที่ทําการเขตตลิ่งชันทุกวันนี้

แผนที่มณฑลกรุงเทพฯ ราวพ.ศ. ๒๔๔๔ เห็นไดชัดวาคลองซอยตามธรรมชาติแตเดิมในเขตตลิ่งชันวางตัวในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เปนเขตเรือกสวนไรนา และคลองขุดตรงที่เพิ่มขึ้นคือ คลองมหาสวัสดิ์ทางดานบน และคลองทวีวัฒนาที่ตัดขวางทางดานตะวันตก

เมื่อตลิ่งชันกลายเปนชื่ออําเภอที่มีอาณาเขตกวางขวางและมีรูปแบบการตั้งถิ่นฐานทั้งเขตที่มี ประชากรหนาแนนแถบคลองชักพระและเขตที่สวน ที่นา ไปจนถึงอีกฝงของคลองทวีวัฒนา โดยรวมเอา


๘๘

การใชเรือพายเปนพาหนะหลักใน แถบตลิ่งชันเมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๐

แตดวยภูมิลักษณที่อยูใกลทะเลและลําน้ําลําคลองใกลปากน้ําใหญในดินดอนสามเหลี่ยมปาก แมน้ําที่รวบรวมความสมบูรณของดินตะกอนจากภายในมาสะสมมาอยางยาวนาน ทําใหพื้นที่มีความอุดม สมบูรณเหมาะแกการปลูกพืชพันธทั้ง นา สวนผลไม สวนผัก แถมมีการบํารุงคิดคนสายพันธุใหเหมาะสม และสร า งรสชาติ ข องสายพั น ธุ ดี ที่ สุ ด มาได อ ย า งยาวนาน แต ด ว ยพื้ น ที่ ซึ่ ง ใกล เ มื อ งหลวงอย า ง กรุงเทพมหานครที่ไมมีการวางแผนในระยะแรกและปลอยใหมีการรุกเขาไปทําลายสภาพแวดลอมของพื้นที่ สวนในตลิ่งชันทั้งโดยอุบัติภัยธรรมชาติและการถมที่เพื่อปลูกบานเรือนและสรางถนนตัดเสนทางน้ําทําให น้ําไมสามารถขึ้นลงไดตามระบบที่เคยเปน สวนสวนใหญที่อาศัยน้ํากรอยและน้ําจืดสลับกันและตองกลาย สภาพเปนสวนน้ําขังเชนนี้จึงพบกับปญหาไมไดผลผลิตที่ดีในขณะที่ตองลงทุนสูง อีกทั้งพื้นที่ก็ไดรับการ ประเมินใหมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะมาจากการตัดถนนใหมๆ สายใหญๆ ที่ไลชาวสวนใหออกไปจาก ทองถิ่นบานเกิดและเรือสวนของตนเองโดยปริยาย สภาพแวดลอมที่กลายเปนชานเมืองที่ถูกลอมรอบดวยสิ่งกอสรางมากมายแมจะมีพื้นที่สีเขียวอยู เป น หย อ มๆ ทั้ ง การคมนาคมสะดวกและอยู ใ กล ศู น ย ก ลางของเมื อ ง ทํ า ให เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง สภาพแวดลอมจากพื้นที่ชนบทมาเปนเขตที่อยูอาศัยใหม ซึ่งผูคนตางถิ่นอพยพเขามาอยูอาศัยเปนจํานวน


๘๙

เรือติดเครื่องขายของในคลองลัดมะยม และทางเดินเขาบานสวนที่สวนใหญ เปลี่ยนเปนทางเดินคอนกรีตเพื่อสะดวก แกการเดินทางในหนาฝนและรถยนตไม สามารถเขาไปได


๙๐

ลักษณะทางกายภาพ กอ นการแยกเขตทวีวัฒ นาออกไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ พื้น ที่ตลิ่ง ชัน ลอมรอบดว ยคลองทั้ง สี่ดา น ปจจุบันเขตการปกครองตลิ่งชันยังคงมีลําน้ําลอมรอบถึง ๓ ดาน ไดแก ทิศเหนือ มีคลองมหาสวัสดิ์คั่นอีก ฝงคือ อําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ทิศใต ติดคลองบางเชือกหนัง อีกฝงหนึ่งคือเขตภาษีเจริญ ทิศ ตะวันออก มีคลองชักพระและคลองบางกอกนอยเปนแนว อีกฝงคือเขตบางกอกนอยและเขตบางพลัด สวน ทิศตะวันตก ติดตอกับเขตทวีวัฒนาโดยมีแนวถนนกาญจนาภิเษกเปนเสนแบงเขต

แผนที่แสดงเขตตลิ่งชัน (ถนนราชพฤกษยังไมปรากฏ)


๙๑ เขตตลิ่งชันแบงเขตการปกครองออกเปน ๖ แขวง คือ ลําดับที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

แขวง คลองชักพระ ตลิ่งชัน ฉิมพลี บางพรม บางระมาด บางเชือกหนัง รวม

พื้นที่ (ตร.กม.) ๑.๒๕๑ ๕.๓๘๑ ๘.๗๓๐ ๕.๘๗๕ ๙.๓๓๗ ๕.๓๐๕ ๓๒.๘๕

ชุมชน ๑๕ ๑๑ ๑๕ ๒๓ ๑๒ ๗๓ ขอมูลพื้นฐานของเขตตลิ่งชัน ๒๕๔๒

นอกจากคลองใหญทั้ง ๓ ดานที่เปนคลองหลักแลว พื้นที่ภายในยังประกอบดวยคลองเล็กคลอง นอยอีกมาก ทั้งที่เปนคลองโดยธรรมชาติและคลองที่ขุดขึ้นมาเพื่อการชลประทาน การเกษตรกรรม และ เพื่อการคมนาคม ซึ่งทําใหเปนพื้นที่ซึ่งมีโครงขายเสนทางคมนาคมทางน้ําหนาแนนมาแตอดีต คลองที่เปนเสนทางคมนาคมสําคัญในอดีต และมีชุมชนหมูบานเรียงรายไปตามลําคลองตางๆ โดยมีวัดเปนศูนยกลางของชุมชน ไดแก คลองบางกอกนอย คลองนี้คือแมน้ําเจาพระยาสายเดิม เมื่อสมเด็จพระชัยราชาธิราชโปรดใหขุด คลองลัด พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๐ คลองลัดบริเวณตั้งแตฝงตรงขามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรจึงกลายเปน แมน้ําเจาพระยา บริเวณที่เรียกวาคลองบางกอกนอย นับแตปากคลองจนถึงที่วาการอําเภอบางใหญ ระยะทางราว ๑๔ กิโลเมตร ริมคลองมีวัดสําคัญ ไดแก วัดอมรินทราราม วัดศรีสุดารามหรือวัดชีปะขาว วัด สุวรรณาราม ผานตลิ่งชัน บางระมาด บางพรม บางเชือกหนัง บางจาก บางแวก ภาษีเจริญ แลวไปตอกับ คลองชักพระและคลองบางกอกใหญ คลองชักพระหรือคลองบางขุนศรี คลองนี้อยูตอจากคลองบางกอกนอยที่บริเวณตรงขามวัด สุวรรณคีรี และเปนลําเจาเจาพระยาเดิมเชนเดียวกัน ไปเชื่อมกับคลองบางกอกใหญที่บริเวณสามแยก คลองบางกอกใหญและคลองภาษีเจริญระยะประมาณ ๘ กิโลเมตรเศษ คลองบางขุนศรีเปนคลองเดียวกับ คลองชักพระ แตชาวบานมักถือวาบริเวณที่คลองมอญผานเปนการแบงชื่อเรียก ที่เรียกวาคลองชักพระ เพราะมีประเพณีชักพระซึ่งเปนการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดนางชีในคลองดาน โดยแหกันทาง เรือ เลี้ยวซายไปตามคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ เขาสูคลองชักพระ ผานคลองบางกอกนอย ออกสูแมน้ําเจาพระยา คลองชักพระมีคลองแยกและเชื่อมหลายสาย คือ คลองตลิ่งชัน คลองบางระมาด คลองบางพรม บริเวณสี่แยกใหญ ดานหนึ่งคือคลองมอญ ตรงขามคือคลองบางเสาธงหรือบางเชือกหนัง คลองบางแวก บริ เ วณนี้ ใ นอดี ต เป น ศู น ย ก ลางการค า หรื อ ตลาดน้ํ า ขนาดใหญ บ า นเรื อ นหนาแน น นอกจากนี้ยังมี คลองบางจาก และคลองภาษีเจริญ สวนวัดสําคัญริมคลองไดแก วัดตลิ่งชัน วัดชางเหล็ก วัดเรไร วัดบางแวก วัดนก วัดทองศาลางาม วัดกําแพง วัดคูหาสวรรค วัดนวลนรดิศ และวัดประดูฉิมพลี


๙๒ คลองบางระมาด อยูในแขวงบางระมาด ปากคลองเริ่มตั้งแตคลองชักพระหรือคลองบางขุนศรี ไปบรรจบคลองศาลเจาในเขตตลิ่งชันยาวประมาณ ๖ กิโลเมตร เปนคลองเกาแกในประวัติศาสตรไทยจึง เปนคลองหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีไดลงมติใหอนุรักษไวเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ แตการอนุรักษก็ยังไมมีผลที่สามารถ รักษาสภาพเดิมของคลองเกาแกและยานบานเรือนของผูคนไวได ริมคลองมีวัดเกาแกหลายวัด เชน วัด มณฑป วัดสมรโกฏิ วัดทอง วัดกระจัง วัดจําปา เปนตน คลองบานไทรหรือคลองบางไทร เปนคลองเชื่อมกับคลองบางระมาด มีวัดสําคัญคือ วัดมะกอก คลองบางพรม ปากคลองแยกจากคลองชักพระ (คลองบางขุนศรี) ขางวัดกาญจนสิงหาสน (วัด ทอง) ระยะประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ริมคลองนี้มีวัดสําคัญ ไดแก วัดกาญจนสิงหาสนหรือวัดทอง วัด รัชฎาธิษฐานราชวรวิหารหรือวัดเงิน วัดประสาท คลองบางเชือกหนัง ปากคลองบางเชือกหนังแยกจากคลองบางกอกนอย มีวัดสําคัญ เชน วัด กําแพง วัดพิกุล และแยกออกไปเปนคลองบางนอยที่ขางวัดเกาะ มีวัดสําคัญ เชน วัดกระโจมทองและวัด สะพาน คลองมหาสวัสดิ์หรือคลองบางขวางหรือคลองชัยพฤกษ ขุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ราวป พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๐๓ เพื่อเชื่อมคลองบางกอกนอยกับแมน้ํานครชัยศรี ระยะความยาวทั้งสิ้น ๒๘ กิโลเมตรและ ใชเปนเสนทางเสด็จพระราชดําเนินไปนมัสการองคพระปฐมเจดีย รวมทั้งเปนเสนทางคมนาคมขนสงออย และน้ําตาลจากนครชัยศรีมาสงยังทาเรือที่บางกอก แตก็ยังมีผูเรียกวาคลองชัยพฤกษอยูบางจนปจจุบัน เมื่อขุดคลองเสร็จนั้น เจาพระยาทิพากรวงศไดใหสรางศาลาสําหรับประชาชนพักเปนระยะไปตามริมคลอง ทุก ๑๐๐ เสน ศาลาหลังหนึ่งใหเขียนตํารายารักษาโรคตาง ๆ ติดไวเปนการกุศล ตอมาเรียกกันวา “ศาลายา” ในอําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สวนศาลาอีกแหงหนึ่งสรางในการกุศลปลงศพคนของ เจาพระยาทิพากรวงศ เรียกกันวา “ศาลาทําศพ” ปจจุบันกลายเปน แขวง “ศาลาธรรมสพน” ในเขตทวี วัฒนา กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหเจาพระยาทิพากรวงศจับจอง ที่ดินวางเปลาริมคลองทางแขวงเมืองนนทบุรีฝงเหนือ ๑,๖๒๐ ไร แขวงเมืองนครชัยศรีฝงเหนือ ๙,๓๙๖ ไร ฝงใต ๕,๑๘๔ ไร รวมเปนนาทั้งหมด ๑๖,๒๐๐ ไร แบง ๕๐ สวน ไดสวนละ ๓๒๔ ไร เปนที่นายาว ๖๐ เสน กวาง ๕ เสน ๘ วา เพื่อพระราชทานแกพระเจาลูกยาเธอและพระเจาลูกเธอในพระองคและกลายเปนที่นา และที่ใหเชาเพื่อทําสวนผักทางแถบเขตตลิ่งชัน โดยสรุปคลองตางๆ คลองขุดลัดรวมทั้งคลองขุดลัดก็คือ คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่ขุดเพื่อเปดพื้นที่และ เสนทางไปสูทองถิ่นทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยาทางดานเหนือสุด ถัดมาคือคลองบางกอกนอยที่ เชื่อมตอกับคลองชักพระ ซึ่งเปนลําน้ําเจาพระยาเดิมกอนขุดลัดบางกอก ลําน้ําเจาพระยาเดิมในบริเวณนี้มี คลองซอยทางฝงตะวันตกที่เปนคลองซอยมาแตโบราณ ดังปรากฏในนิราศกําสรวลสมุทร เชน คลองบาง ระมาด คลองบางพรม คลองบางเชือกหนัง คลองบางนอย


๙๓ แตละคลองจะมีการขุดคลองลัดเพื่อตอเชื่อมชุมชนในคลองตางๆ ถึงกันและยังเปนการขุดเพื่อ สะดวกแกการคมนาและการไหลเวียนของน้ําใหมีลักษณะขึ้นลงไดไมเออขังซึ่งจะทําใหเกิดน้ําจืดและ น้ําเค็มที่ไมสมดุลสรางความเสียหายแกเรือกสวนตางๆ เชน คลองบัว ขุดเชื่อมระหวางคลองมหาสวัสดิ์และ คลองบานไทร คลองศาลเจาและคลองวัดไกเตี้ย ลัดระหวางคลองมหาสวัสดิ์และคลองบางระมาด คลอง ลัดมะยมและลัดกัลยา ขุดลัดระหวางคลองบานไทรและคลองบางพรม คลองลัดตาเหนียง ขุดเชื่อมระหวาง คลองบางเชือกหนังและคลองบางพรม คลองลัดตานิน เชื่อมระหวางคลองบางเชือกหนังและคลองบางพรม

ริมคลองมหาสวัสดิ์ 0

บานจัดสรรและบานเรือน สมัยใหมริมคลองบางพรมเขา มาแทนที่บานเรือแบบเดิม


๙๔

บานเรือนริมคลองบางระมาด

ในอดีตการคมนาคมสวนใหญใชเรือเปนพาหนะ ใชการเดินทางทางน้ําเปนหลัก อีกทั้งการใชพื้นที่ การเกษตร ซึ่งสวนใหญจะอยูริมคลองที่เต็มไปดวยสวนทั้งสวนไมยืนตน สวนผัก สวนกลวยไม หรือการ เดินทางตามรองสวนซึ่งสามารถติดตอถึงกันไดในละแวกบานหรือหมูบานใกลเคียง มีเรือหลายชนิดที่เหมาะกับการใชงาน ไดแก เรือสําปน เรือบด เรืออีแปะ และเรือแจว ซึ่งทุกบานมี ไวใชตามความจําเปน หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเริ่มมีเรือแท็กที่ใชเครื่องยนตรับสงผูโดยสารและบรรทุก ของ มีแพตามหนาวัดสําหรับขึ้นลงเรือ ตอมาแพขึ้นลงเรือไดเปลี่ยนเปนโปะถาวร สําหรับเรือจอดรับสง ผูโดยสารซึ่งเปนโปะสาธารณะ มีเรือไปบางกอกนอยเพื่อเขากรุงเทพฯ เปนเรือแท็กชี่แบบเผาหัว ผูโดยสารสวนใหญเปนขาราชการ นักเรียน และพอคาแมคา โดยจะตองไปขึ้นเรือที่ทาพระจันทร และทาชาง การคาขายเปนไปดวยความคึกคัก มีเรือแจวขายของอยูเต็มแมน้ําตั้งแตเวลาประมาณตีหาจนถึงสี่ โมงเย็น ของที่ขายมีทุกประเภท ทําใหประชาชนซึ่งปลูกบานเรือนไมชั้นเดียวอยูเต็มสองฟากฝงแมน้ําลํา คลอง มีความสะดวกสบายในการซื้อของกินของใช ไมจําเปนตองไปหาซื้อที่อื่น ผูคนที่อาศัยอยูบริเวณ ตลาดน้ํา รูจักมักคุนกับพอคาแมคา การซื้อขาย ก็ไมมีการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การพายเรือตามลํา คลองสมัยกอนมีความปลอดภัย ไมตองระวังตัวมากเหมือนในปจจุบัน เลากันวาคนขายของสวนใหญ จะเปนชาวสวนที่นําเอาผลผลิตของตนมาขายโดยเปนสินคาที่ จําเปนในแตละวัน ถามีของขายมากสวนใหญก็นําไปขายที่กรุงเทพฯ โดยใชเรือแจวไป เริ่มออกเดินทางตั้ง แตตีหา ของที่เอาไปขายสวนใหญเปนพวกสม ทุเรียน มะพราว มะละกอ กลวย ขากลับก็นําเอาสินคาพวก ผักมาขายดวย แตถาเปนการคาขายเล็กๆ นอยๆ ก็จะนํามาขายที่ตลาดน้ํา 1

2

3

4

5


๙๕

ตลาดน้ําดั้งเดิมของ ชาวบานแถบตลิ่งชัน เมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๐

เขตตลิ่งชันมีการขยายตัวทางดานเศรษฐกิจเปนอยางมาก เนื่องจากมีการตัดถนนบรมราชชนนี ถนนคูขนานลอยฟาบรมราชชนนี ถนนกาญจนาภิเษก ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ และถนนราชพฤกษ ซึ่งเปน ถนนสายหลักที่ทําใหพื้นที่เขตตลิ่งชันมีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว สวนทางสายรองนั้นมีอยูทั่วไป และ เขาถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ไดแก ถนนฉิมพลี ถนนทุงมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนวัดอินทราวาส ถนนบางเชือกหนัง ถนนแกวเงินทอง ถนนชัยพฤกษ และถนนปากน้ํา กระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกลาวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกยอยออกมาอีกมาก ถนนหลัก ๙ สาย ที่ตัดผานพื้นที่เขตตลิ่งชันและระยะทางที่ตัดผาน ไดแก ๑) ถนนบรมราชชนนี จากคลองบางกอกนอยถึงตางระดับฉิมพลีระยะทาง ๖.๗ กิโลเมตร ๒) ถนนวัดแกว-พุทธมณฑลสาย ๑ จากถนนฉิมพลี-วัดเงินถึงสะพานที่ ๕ จากสะพานที่ ๕ ถึงวัด ศรีรัตนารามยาว ๑.๐๗๕ กิโลเมตร ระยะทาง ๓.๔๕ กิโลเมตร ๓) ถนนฉิมพลี-วัดเงิน จากถนนฉิมพลีถึงคลองบางพรม และจากคลองบางพรมถึงสะพานวัดแกว ยาว ๒.๐๘ กิโลเมตร ระยะทาง ๑.๐๕ กิโลเมตร ๔) ถนนฉิมพลี จากถนนชักพระ-ตลิ่งชันถึงถนนบรมราชชนนี และจากถนนบรมราชชนนีถึงถนน บรมราชชนนี ระยะทาง ๑.๔๕ กิโลเมตร และระยะทาง ๒.๑๓ กิโลเมตร ๕) ถนนชัยพฤกษ จากคลองชักพระถึงถนนบรมราชชนนี และจากถนนบรมราชชนนีถงึ วัด ชัยพฤกษมาลา ระยะทาง .๘๓ กิโลเมตร ระยะทาง ๑.๔๖ กิโลเมตร ๖) ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ (เดิม) จากถนนบรมราชชนนีถงึ ถนนสุขาภิบาล (บางระมาด) ปจจุบัน กําลังกอสรางขยายถนนใหกวางขึ้นเปน ๕๐ กิโลเมตร ระยะทาง ๔.๐๕ กิโลเมตร


๙๖ ๗) ถนนสวนผัก จากถนนชัยพฤกษถึงทางรถไฟสายใต และจากทางรถไฟสายใตถึงถนนกาญจนา ภิเษก ระยะทาง ๓.๘ กิโลเมตร และระยะทาง ๑.๙๙ กิโลเมตร ๘) ถนนทุงมังกร จากถนนสวนผักถึงถนนบรมราชชนนีระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร ๙) ถนนราชพฤกษชว งที่ผากลางสวนบางระมาดและบางพรม ระยะทางราว ๕.๕ กิโลเมตร สําหรับหมายเลข ๙ คือ ถนนราชพฤกษที่เปนโครงการกอสรางถนน ขนาด ๔ ชองจราจร จากสาม แยกไฟฉาย-ถนนวงแหวนรอบนอก ระยะทาง ๗ กิโลเมตร เริ่มดําเนินการในเดือนมีนาคม ๒๕๔๕และเปด ใชเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๙ กรุงเทพมหานครไดทยอยจายเงินคาเวนคืนที่ดิน รวมเปนเงิน ๙๒๗ ลาน บาท เสนทางดังกลาวครอบคลุมพื้นที่ในเขตบางกอกนอยและตลิ่งชัน โดยที่ดินมีราคาสูงที่สุดเปนที่ดินปลูก สรางอาคารพาณิชยริมถนนจรัญสนิทวงศ คาเวนคืน ๑๐๐,๐๐๐-๒๒๐,๐๐๐ บาทตอตารางวา พื้นที่ ดังกลาว กรุงเทพมหานครเวนคืนเปนแนวยาว ๑๐๐ เมตร เพื่อเปดทางเขา-ออกใหผูขับขี่ผานเขา- ออกได สะดวก ตัดผานพื้นที่เกษตรกรรม ที่ดินตาบอด สวนใหญมีราคาเวนคืนระหวาง ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทตอ ตารางวา และเสนทางสายนี้ตัดผานบานเรือนและชุมชนแตดั้งเดิมทําใหเกิดปญหาไมใชนอย สวนถนนซอยเชื่อมไปยังวัดตางๆที่อยูริมน้ํา โดยมีรถโดยสารประจําทางผานหลายสาย และมีรถ สองแถววิ่งบริการรับสงผูโดยสารภายในบริเวณบางระมาด ฉิมพลี และบางขุนนนท มีทั้งหมด ๗ สาย เชน สาย ๒-บางขุนนนท สายวัดทอง-บางขุนนนท สายวัดชางเหล็ก-บางขุนนนท สายวัดประดู-บางขุนนนท สายบางพรม-บางขุนนนท เปนตน โดยเจาของรถสองแถวกลุมนี้เคยเปนชาวสวนชาวนามากอนจะขายที่ดิน เพื่อนําเงินมาลงทุนทํากิจการนี้ตั้งแตสมัยที่ถนนปนเกลา-นครชัยศรี ยังเปนถนนลูกรัง

ปลายสะพานถนนสานราชพฤกษ ขณะทําการกอสรางและเวนคืน จะ เห็นวาผากลางเขาไปในสวนผลไม ของชาวบานโดยตรงและมี ชาวบานบางคนไมยอมใหเวนคืน บานเรือนและที่ดินที่อยูมาเกาแก หลายชั่วอายุคน จนตองมีการ ฟองรองขับไลหญิงชราเจาของ บานจนเปนที่นาเวทนา


๙๗

ทางเขาหมูบานจัดสรรหรูหราริม ถนนราชพฤกษซึ่งไมกี่ปกอนเคย เปนที่สวนแตเดิม

เขตการปกครอง ในอดีตตลิ่งชันเคยเปนอําเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี เมื่อมีการปฏิรูป การปกครองในเขตนครหลวง โดยการรวมเอาจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรี ซึ่งเปนการบริหารราชการสวนภูมิภาค เปน “จังหวัดนคร หลวงกรุงเทพธนบุรี" รวมเอาองคการบริหารสวนจังหวัดพระนครกับองคการบริหารสวนจังหวัดธนบุรี ซึ่ง เปนราชการบริหารราชการสวนทองถิ่น เปน “องคการบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี" ตามประกาศคณะ ปฏิวัติฉบับที่ ๒๔ พ.ศ.๒๕๑๔ นอกจากนั้น ยังรวมเอาเทศบาลนครกรุงเทพกับเทศบาลนครธนบุรี ซึ่งเปน ราชการสวนทองถิ่นเปนเทศบาลนครหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานครใหม กําหนดใหกรุงเทพมหานครมีฐานะเปน “ราชการบริหารสวนทองถิ่นนครหลวง” เพียง องคการเดียว อําเภอตลิ่งชันจึงกลายเปนอําเภอหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตอจากนั้นไดมีการเปลี่ยนแปลง เปนเขตจนถึงปจจุบัน เขตตลิ่งชันจัดเปนเขตหนึ่งในหกของ “เขตชั้นนอกหรือเขตชานเมืองกรุงเทพมหานคร” ตามการ จัดแบงของกองผังเมือง สํานักงานปลัดกรุงเทพมหานคร แบงเขตการปกครองออกเปน ๘ แขวง ไดแก แขวง คลองชักพระซึ่งเปนเขตเทศบาล แขวงตลิ่งชัน แขวงฉิมพลี แขวงบางพรม แขวงบางระมาด แขวงบางเชือก หนัง แขวงทวีวัฒนา แขวงศาลาธรรมสพน หลังจากนั้น มีการแบงเขตการปกครองใหมเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๑ โดยตัดพื้นที่ออก ๒ แขวง คือ แขวงทวีวัฒนา และแขวงศาลาธรรมสพน ไปขึ้นกับ “เขตทวีวัฒนา” ดังนั้น เขตตลิ่งชันจึงเหลือเพียง ๖ แขวง คือ แขวงคลองชักพระ แขวงตลิ่งชัน แขวงฉิมพลี แขวงบางพรม แขวงบางระมาด และแขวงบางเชือก หนัง ปจจุบันเขตตลิ่งชันมีพื้นที่ ๓๒.๘๕ ตารางกิโลเมตร คิดเปนรอยละ ๒.๐๙ ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร การปกครองในแต ล ะแขวงจะแบ ง ออกเป น หมูบ า น มี กํ า นั น ผู ใ หญ บา น แพทย ป ระจํ า ตํ า บล ตําแหนงกํานันและผูใหญบานมีวาระ ๕ ป เมื่อครบวาระแลว ตําแหนงจะวางลงและจะไมมีการเลือกตั้งคน


๙๘

จํานวนประชากร การศึกษาและระบบความเชื่อ จํานวนหลังคาเรือนและประชากรตอหลังคาเรือนจากสถิติเมื่อป พ.ศ. ๒๕๒๖ พบวา มีหลังคาเรือน ทั้งสิ้น ๑๓,๘๕๐ หลังคาเรือน ตลิ่งชันและฉิมพลีมีหลังคาเรือนมากที่สุดตามลําดับ จํานวนประชากรนอย ที่สุด คือ บางเชือกหนัง และมีจํานวนหลังคาเรือนนอยสุดเชนกัน สวนการกระจายตัวของประชากรในป พ.ศ.๒๕๒๖ เปนการกระจายสม่ําเสมอ แขวงที่ตั้งทางฝงตะวันออกตอเขตบางกอกนอย คือ แขวงตลิ่งชัน ฉิมพลี บางระมาด และบางพรม จะมีประชากรหนาแนนกวา โดยเฉพาะ ตลิ่งชันและฉิมพลี มีพื้นที่รอยละ ๒๓ แตมีประชากรกรรวมรอยละ ๔๕ รูปแบบการกระจายตัวอยูรวมกันสูงในสวนที่เปนพื้นที่ใกลกรุงเทพฯ และลดลงเมื่อหางยานใจกลางกรุงเทพฯออกไป ประชาชนแตเดิมประกอบอาชีพการเกษตร มีถิ่นฐานอยูใน ชุมชนเดิมริมคลองตางๆ สวนประชากรตามชุมชนตามบานจัดสรรตางๆ กระจายอยูทุกแขวงมีอาชีพรับ ราชการ คาขาย รับจาง และประกอบอาชีพอื่นๆ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ มีประชากรทั้งสิ้น ๙๘,๘๓๓ คน เปนชาย ๔๗,๕๙๙ คน เปนหญิง๕๑,๒๓๔ คน จํานวนครัวเรือน ๑๙,๕๑๘ ครัวเรือน ในป พ.ศ. ๒๕๔๒ มีหลังคาเรือนทั้งสิ้น ๒๙,๔๐๒ หลังคาเรือน พ.ศ.๒๕๔๙ มีพื้นที่รวม ๒๙,๔๗๙ ตารางกิโลเมตร ความหนาแนน ๓,๖๒๓ คนตอตารางกิโลเมตร ประชากรเปนชาย ๕๑,๐๗๗ คน หญิง ๕๕,๗๓๔ คน รวม ๑๐๖,๘๑๑ คน จํานวนครัวเรือน ๓๔,๑๙๒ คน นาสังเกตวา ภายใน ๒ ป จํานวนประชากรแมเพิ่มขึ้นเปนปกติจํานวนไมมากนัก แตเมื่อดูจํานวน ครัวเรือนกลับเพิ่มขึ้นมาก สันนิษฐานไดวานาจะเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่เปนบานจัดสระมากขึ้น อยางเห็นไดชัด เขตตลิ่งชันมีโรงเรียนทั้งสิ้น ๒๙ โรงเรียน กระจายอยูตามแขวงตางๆ ทุกแขวง แบงเปน โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษามี ๕ โรงเรียน ไดแก โรงเรียนวัดนอยใน แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนโพธิ สารพิทยากร แขวงบางระมาด โรงเรียนมหรรณพาราม แขวงฉิมพลี โรงเรียนปากน้ําวิทยาคม แขวงบางพรม และโรงเรียนสุวรรณพลับพลา แขวงบางพรม โรงเรียนสังกัดสํานักการประถมศึกษาแหงชาติ ๑ โรงเรียน ไดแก โรงเรียนวัดชางเหล็ก แขวงคลอง ชักพระ โรงเรียนราษฎร ๘ โรงเรียน ไดแก โรงเรียนนิลประพันธ แขวงคลองชักพระ โรงเรียนอนุบาล กุลบุตรวั ฒโรฒน แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนกุศลศึกษา แขวงตลิ่ง ชัน โรงเรียนวรรัตนศึกษา แขวงตลิ่ งชัน โรงเรียนปยะมิตร แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนปยวิทยา-ตลิ่งชัน แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนตรีมิตรวิทยา แขวงบาง เชือกหนัง และโรงเรียนอยูเย็นวิทยา แขวงบางพรม


๙๙ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ๑๖ โรงเรียน แบงเปน ๔ กลุม ไดแก กลุมโรงเรียนที่ ๑ โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (ประธาน) โรงเรียนฉิมพลี โรงเรียนวัดไกเตี้ย และ โรงเรียนตลิ่งชัน กลุมโรงเรียนที่ ๒ โรงเรียนวัดโพธิ์ (ประธาน) โรงเรียนวัดมะกอก โรงเรียนวัดอินทราวาส และ โรงเรียนวัดทอง กลุมโรงเรียนที่ ๓ โรงเรียนวัดปากน้ําฝงเหนือ (ประธาน) โรงเรียนวัดกระโจมทอง โรงเรียนพิกุล และโรงเรียนวัดเกาะ กลุมโรงเรียนที่ ๔ โรงเรียนวัดชางเหล็ก (ประธาน) โรงเรียนวัดรัชฎาธิษฐาน โรงเรียนตลิ่งชัน และ โรงเรียนวัดประสาท

โรงเรียนเทศบาลวัดตลิ่งชัน เมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๐

บริเวณทองถิ่นตามลําน้ําที่เปนคลองซอยแยกจากแมน้ําเจาพระยาเดิมมีชุมชนที่ถูกกลาวถึงมา ตั้งแตพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ในหลักฐานหนังสือกําสรวลฯ บริเวณนี้เปนเขตเรือกสวนและชุมชน วัดเกาๆ ที่มีความสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้มักจะอยูในเขตนี้มากกวาบริเวณที่ไกลจากลําน้ําเจาพระยาเดิมออกไปทาง ตะวันตกซึ่งเปนทองทุงนา ชุมชนกลางทุงมีอยูไมมากเมื่อเทียบกับชุมชนในเขตสวนภายใน ดังนั้น เราจะ เห็นวาวัดเกาแกของเขตตลิ่งชัน นอกเหนือบริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยูริมคลองเกาซึ่งเปนเสนทางคมนาคม สําคัญแลว วัดดั้งเดิมที่อยูในเขตทองนามีไมมากเชนในเขตสวน นาสังเกตวา วัดสวนใหญในเขตตลิ่งชันจะมีรองรอยความทรงจําวาสรางขึ้นมาใหมในสมัยธนบุรี และชวงตนกรุงเทพฯ จากซากวัดราง วัดเกาที่เหลือทิ้งไวหลังจากชาวบานชาวสวนแถวบางกอกและตลิ่งชัน นั้ น ทิ้ ง ชุ ม ชนให ร กร า ง ผู ที่ เ ข า มาใหม มั ก จะเป น คนที่ ม าจากเมื อ งอยุ ธ ยาเก า หรื อ ท อ งถิ่ น อื่ น ๆ เข า มา


๑๐๐

ชาวสวนมีฐานะดี เพราะมีผลผลิตเก็บขายไดตลอดทั้งปจนตองมีอากรเดินสวนซึ่งเปนรายไดสําคัญ ของพระคลังขางที่ในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร ชาวสวนบางชุมชนยังทํานาที่อยูในพื้นที่ดานหลังทางฝง ตะวันตกดวยแตก็มีบางชุมชนที่มีการทํานาอยางเดียว ดังนั้น ชาวสวนจึงไมอดขาวแถมยังมีรายไดจาก ผลไมหลากหลายในสวนดวย แมจะตองทํางานหนักกวาชาวบานทั่วๆ ไป เหตุนี้เอง วัดในสวนจึงไมใชวัด ยากจน แมไมใชวัดขนาดใหญดังวัดหลวงในเมืองที่มีผูอุปถัมภเปนเจานายแตก็ไมใชวัดเล็กเสียทีเดียว อีก ทั้งบานเรือนของขุนนางเกา เจานายเกาก็มีการเขามาซื้อที่ปลูกเรือนอยูอาศัยตามคลองยอยตางๆ ในเขตนี้ จึงมีการบํารุงวัดกันอยูไมขาด วัดในสวนสวนใหญจะมีอาคารศาสนสถานครบสมบูรณแทบทุกแหง อยางนอยก็มีโบสถไวปฏิบัติ กิจสงฆทั้งนั้น รวมทั้งวิหารบางแหงก็มีขนาดใหญ เจดีย ศาลาธรรมตางๆ รวมทั้งการตั้งสํานักเรียนพระ ปริยัติธรรมก็มีมาอยางสืบเนื่องจนถึงทุกวันนี้ยังเห็นรองรอยที่มีการสรางโรงเรียนนักธรรมในวัดหลายแหง วัดในเขตนี้ยังอุดมไปดวยพระสงฆที่มีบารมีเปนที่เคารพสักการของชาวบานมากมายและทั่วทุกวัด ความสําคัญของทานนั้นมีมากตอคนในชุมชนตางๆ เพราะเปนทั้งพระอุปชฌายผูเปนครูบาอาจารย บางรูป มีความรูทางการรักษาโรคและยาสมุนไพรซึ่งเปนสิ่งสําคัญอยางยิ่งตอชีวิตคนในสวน และพระสงฆบางรูปก็ อยูในฐานะเปนเกจิอาจารยผูมีความศักดิ์สิทธิ์ในตนเอง ดังนั้น ทั้งรูปเหรียญที่ระลึก เบี้ยแกเบี้ยจั่น ตะกรุด ผายันต ของขลังตางๆ ของพระเกจิอาจารยในแถบตลิ่งชันจึงมีผูนิยม เสาะหาเก็บไวกันอยางมากมาย นอกจากนี้ ตามวัดตางๆ ก็มักจะนิยมการสรางรูปหลอเนื้อโลหะขนาดเทาองคจริงของพระสงฆผูมี บารมี ซึ่งมักเปนเจาอาวาสที่ชาวบานนับถือศรัทธาของชุมชนตางๆ เก็บไวใหชาวบานบูชาระลึกถึง นอกจากนี้ก็ยังนิยมบูชาพระพุทธรูปจําลองที่ศักดิ์สิทธิ์ ผูคนนับถือทั่วไปในทองถิ่นใกลเคียงในเขตที่ เปนชายฝงทะเลแถบภาคกลางและสามารถเดินทางจากตลิ่งชันไปถึงไดโดยไมยากมากนัก เชน รูปจําลอง หลวงพอวัดบานแหลม สมุทรสงคราม รูปจําลองหลวงพอวัดไรขิง รูปจําลองหลวงพอพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา รูปหลอสมเด็จพระพุฒาจารย โต พรหมรังสี วัดระฆัง เปนตน เปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือรวมกันของชุมชนใน เขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาใหม วัดและสถานที่ทางศาสนาตางๆ ในแตละแขวง มีดังนี้ แขวงคลองชักพระ ไดแก วัดตลิ่งชัน วัดชางเหล็ก วัดรัชฎาธิษฐาน วัดกาญจนาสิงหาสน วัดเรไร และวัดปากน้ําฝงเหนือ ศาลเจาแมทับทิม แขวงตลิ่งชัน ไดแก วัดชัยพฤกษมาลา วัดนอยใน วัดไกเตี้ย วัดนครปาหมาก ศาลเจาพอจุย และ ศาลเจาเหงเจีย แขวงฉิมพลี ไดแก วัดมณฑป วัดทอง วัดกระจัง วัดพุทธจักรมงคลชยาราม และวัดสมรโกฏิ แขวงบางระมาด ไดแก วัดมะกอก วัดโพธิ์ วัดอินทราวาส และวัดจําปา วัดศิริวัฒนาราม


๑๐๑ แขวงบางเชือกหนัง ไดแก วัดเกาะ วัดทอง วัดวิศิษฏบุญญาวาสน แขวงบางพรม ไดแก วัดเพลง วัดสะพาน วัดเทพพล วัดแกว วัดประสาท วัดที่สําคัญที่เปนพระอารามหลวง ในเขตตลิ่งชันมีอยู ๓ วัด คือ วัดชัยพฤกษมาลา วัดกาญจนา สิงหาสน (วัดทอง บางพรม) และวัดรัชฎาธิษฐาน (วัดเงิน) สองวัดหลังตั้งอยูในคลองบางพรมซึ่งนับวาเปน สํานักเรียนที่มีชื่อเสียงทั้งทางวิปสสนาและพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ วัดในแถบบานสวนบานนาในแถบ ตลิ่ ง ชั น ยั ง สื บ ทอดการเป น สถานที่ เ รี ย นทางศาสนาของพระภิ ก ษุ ส ามเณรตลอดมาและเมื่ อ มี พระราชบัญญัติการประถมศึกษา โรงเรียนชั้นมูลฐานเบื้องตนก็อยูในพื้นที่ดินของวัดตางๆ ทั้งสิ้น

วัดกาญจนสิงหาสนหรือวัดทอง ริมคลองบางพรม

วัดอินทราวาสริมคลองบางพรม

วัดในเขตตลิ่งชันหลายแหงที่ยังคงรองรอยของโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาที่อาจจะมีอายุขึ้นไปถึง ในสมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา โดยเฉพาะสมั ย อยุ ธ ยาตอนปลาย เช น ชิ้ น ส ว นของพระพุ ท ธรู ป หิ น ทรายแดง


๑๐๒

ชิ้นสวนพระพุทธรูปหินทราย จํานวนมากที่วัดสะพาน ริมคลองบางนอย

วัดสวนใหญตั้งอยูริมคลอง จะมีบางแหงเทานั้นที่หางเสนทางน้ําออกมา วัดเหลานี้ตั้งอยูริมคลอง หันหนาวัดสูคลอง ยามเชาตรู จะแลเห็นพระภิกษุพายเรืออีแปะลําเล็กๆ ออกบิณฑบาต ปจจุบันเปนภาพที่ หาดูไดยาก เพราะเมื่อมีถนนตัดผานก็ไมจําเปนตองใชเรือ ดังนั้นจึงมีเพียงไมกี่วัดที่พระยังบิณฑบาตทาง เรืออยู เชน วัดมะกอก วัดจําปา วัดทอง วัดชางเหล็ก

พระรับบาตรโดยการพายเรือไป ตามลําคลอง

วัดตางๆ ในทองถิ่นตลิ่งชันมีความสัมพันธกับวิถีชีวิตของชาวบานอยางมากตั้งแตเกิดจนตายไมวา จะโกนจุก บวช แตงงาน หรืองานศพ ตองอาศัยวัดเปนศูนยกลางของชุมชนทั้งสิ้น บานใครอยูใกลวัดไหนก็


๑๐๓

การเตรียมพระบรมธาตุเพื่อนําไปใน ขบวนแหพระทางน้ําที่วัดนางชีไปตาม คลองชักพระในเขตตลิ่งชัน

งานบุญของวัดแตละแหงก็มีเอกลักษณที่ไมเหมือนกันและเปนการจัดงานรื่นเริงใหชาวบานมารวม ชุมนุมพบปะสังสรรคกัน เชน งานแหดาวดึงสที่วัดจําปา งานชักพระที่คลองบางกอกนอยและคลองชักพระ วัดนางชี วัดไกเตี้ย วัดตลิ่งชัน วัดเรไร งานแขงเรือยาวประเพณีที่วัดนอยในและงานแหกฐินทางเรือของ ชุมชนริมน้ําตางๆ งานตักบาตรเทโว และงานประเพณีตามชวงเวลาอื่นๆ ในชวงสรางบานแปลงเมืองตั้งแตเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทรเปนตน การศึกสงครามกับบานเมืองตาง ถิ่นและการกวาดตอนอพยพผูคนเขามาเปนไพรฟาประชากรนับเปนสิ่งสําคัญอยางมาก ตั้งขอสังเกตไดวา ภายในตัวเมืองกรุงเทพฯ ชั้นในจะมีการอยูอาศัยของครัวเรือนที่เปนชนชั้นสูงและมีสถานภาพทางสังคมมา แตเดิมของผูคนหลากชนชาติหลากภาษาในยานตางๆ เชน คนมลายูที่เรียกวาแขกตานีบริเวณแยกคอกวัว และบางลํ า พู ใ นป จ จุ บั น คนลาวที่ ย า นฝ ง ธนบุ รี คนญวนที่ ท า เตี ย นและสามเสน เป น ต น ส ว นในเขต ปริมณฑลของกรุงเทพฯ ก็เต็มไปดวยผูคนหลากชาติพันธุตั้งชุมชนรวมกลุมกัน ธํารงเอกลักษณวัฒนธรรม ของตนเองสืบเนื่องมา แตทั้งหมดนั้นก็ถูกบูรณาการเขาเปนสวนหนึ่งของความเปนคนกรุงเทพฯ และคน ไทยเชนเดียวกัน ยานตลิ่งชันนอกเหนือจากชาวนาและชาวสวนแลว ก็ยังมีคนจีนที่เขามาปลูกผักยกรอง ชาวจีนแถบ นี้นับถือทั้งคริสตศาสนาและนับถือเจาพอและศาลเจาที่เปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน นอกจากนี้ ยังมีคนญวน ที่เขามายังกรุงเทพฯ ในชวงที่บานเมืองญวนเกิดความไมมั่นคง และเปนกลุมที่นับถือคริสตศาสนา ในเขต


๑๐๔

วัดศีลมหาสนิทที่สวนผัก ตลิ่งชัน สรางเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖

ศาลเจาเซีบมซือกงที่ริมคลองมหา สวัสดิ์ ตลิ่งชัน

นอกจากนี้ ยังมีศาลเจาของคนเชื้อสายจีนในยานริมคลองชักพระ เชน ศาลเจาแมทับทิม สวนใน ยานสวนผักซึ่งปจจุบันแปรเปลี่ยนเปนยานที่พักอาศัยและเมืองจนเกือบหมดแลว เชน ศาลเจาและโรงเจ เซียมซือกง โรงเจตนโพธิ์ และศาลเจาพอจุยและศาลเจาเหงเจีย


๑๐๕

ศาลเจาเหงเจียของคนเชื้อสายจีน ที่ยานตลิ่งชัน

ทองถิ่นบานสวนตลิ่งชัน พื้ น ที่ ใ นวั ด แถบฝ ง ธนฯ ในอดี ต มั ก เก็ บ รั ก ษาต น ไม ใ หญ ๆ ไว ไ ด ม าก แต เ มื่ อ สภาพแวดล อ ม เปลี่ยนแปลง ตนยางใหญในวัดหลายแหงถูกโคนไปหมดแลว เชนที่ วัดทอง บางระมาด วัดสะพานบางพรม เหลือตนสะตือเกาแกเพียงตนเดียว อายุ ๑๕๐ กวาป จนเมื่อ ๒๐ กวาปที่ผานมา ทองถิ่นตลิ่งชันมีครัวเรือน ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมกวาครึ่งหนึ่ง มีทั้งการทําสวนผลไม สวนผัก สวนไมดอกไมประดับและอาชีพ รองลงมาคือ การคาขาย รับจาง ขาราชการ และอื่นๆ การตัดถนนที่นํามาซึ่งสิ่งกอสรางพื้นฐานตางๆ ยังมี ไมมากเชนในปจจุบัน แตเมื่อเวลาผานไปราว พ.ศ.๒๕๔๖ แมจะยังมีตัวเลขที่ไมแนนอน แตจํานวนครัวเรือ และพื้นที่ทําเกษตรกรรมไดลดลงตามลําดับ โดยเฉลี่ยเหลือเพียง ๓๐ % เทานั้น ท อ งถิ่ น ตลิ่ ง ชั น เผชิ ญ ภาวะเช น เดี ย วกั บ เขตชานเมื อ งอื่ น ๆ คื อ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงพื้ น ที่ ก าร เกษตรกรรมเปนเมืองอยางรวดเร็ว หลังกระแสพัฒนาเศรษฐกิจที่เปนนโยบายแหงชาติหลัง พ.ศ.๒๕๐๒ เปนตนมา แมในอดีตพื้นที่ในทองถิ่นตลิ่งชันจะใชเพื่อการเกษตรกรรมเปนสวนใหญ แขวงชักพระซึ่งเปนเขต เทศบาล แขวงตลิ่งชัน บางสวนของบางระมาดก็มีการใชที่ดินเพื่อการพาณิชย ที่อยูอาศัยและอุตสาหกรรม อยางมากมาย จากขอมูลของหนวยงานที่เกี่ยวของกับงานสงเสริมการเกษตรในเขตตลิ่งชันซึ่งมีอยู ๓ หนวยงาน คือ ฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สํานักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สํานักงาน เกษตรเขตตลิ่งชัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ สหกรณการเกษตร และขอมูลจากการทํางานวิจัยเรื่อง ประชากรของสถาบันประชากรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สามารถประมวลรูปแบบของการใชพื้นที่ เพื่อทําการเกษตรในรูปแบบขอมูลเชิงสถิติ ไดดังนี้ สํานักงานเกษตรเขตตลิ่งชัน ป พ.ศ. ๒๕๒๖ พบวา นอกจากคลองชักพระซึ่งไมไดสํารวจเพราะมี ลักษณะเปนบานเรือนไมมีพื้นที่การเกษตร ครัวเรือนในตลิ่งชันรอยละ ๕๐ เปนครอบครัวเกษตรกร แขวงที่


๑๐๖

ผลกระทบจากสภาพน้ําทวมอยางหนักป พ.ศ.๒๕๑๘ และ พ.ศ.๒๕๒๖ ทําใหชาวสวนตองเปลี่ยน จากการปลูกพืชเพื่อหวังผลผลิตเปนการขยายพันธไมโดยวิธีการตอนและเพาะชํา เชน มะมวง กระทอน สมเขียวหวาน มะกรูด เพราะใหผลรวดเร็วคุมคากวา อยางไรก็ตาม พื้นที่ปลูกไมผลยังมีเหลืออยูในทุกแขวง เวนแขวงคลองชักพระ โดยแขวงบางระมาดมีสวนผลไมมากที่สุด พื้นที่ในเขตตลิ่งชันทุกแขวงยกเวนแขวงคลองชักพระจะมีการปลูกผักทั่วไป แตในอดีตมีมากแถบ ถนนสวนผักและปจจุบันลดนอยลงมากแลว โดยเฉพาะผักจีน เชน คะนา กุยชาย และสวนพืชผักสวนครัว จําพวกตะไคร กระเพรา โหระพา ขิง ขา มะนาว มะกรูด ซึ่งเปนพืชเศรษฐกิจ สามารถทํารายไดไมนอย โดย ใชพื้นที่คิดเปนรอยละ ๔๐.๕๗ ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด ผลผลิตที่ไดจะสงปากคลองตลาด ทั้งสงเอง และมีพอคามารับซื้อ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ มีการเปลี่ยนแปลงที่ดินเพื่อการทํานามาเปนการทําไรและสวนผักมากขึ้น เพราะ ไดผลตอบแทนมากกวา คุมคาเชาที่ดินและการลงทุน เนื่องจากการใชที่ดินไดบอยครั้งมากกวาการทํานา พืชผักจีน ประเภท ผักกวางตุง ผักบุงจีน จะปลูกไดถึงปละ ๖ ครั้ง ปลูกผักคะนาไดปละ ๕ ครั้ง พื้นที่รอยละ ๕๐ ใชทําสวนผักและทํากันทั่วไปในทุกแขวง พื้นที่ปลูกสวนผักมีมากในแขวงบางระมาดและบางพรม รอย ละ ๖๖ และ ๖๔ ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด

สวนผักแถบบางระมาด เปลี่ยนจากที่เคยเปนที่นา และลอมรอบดวยสวน


๑๐๗

สวนเตยและสวนผักแถบ บางระมาด เมื่อพ.ศ.๒๕๕๒

ในชวงปเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินเพื่อการทํานามาเปนการทําไมดอกไมประดับ ตลอดจนการขยายพันธุไมดอกและไมประดับ เนื่องจากผลที่ไดคุมกวาการทํานา เมื่อป พ.ศ.๒๕๔๑ พบวา ประมาณรอยละ ๖ ของพื้นที่การเกษตรเพื่อทําสวนไมดอกไมประดับ บางเชือกหนังทํามากที่สุด รอยละ ๑๑ รองลงมาคือ บางระมาด ที่ปลูกไดแก กลวยไม ดอกเยอรบีรา กลวยไม กุหลาบ ชวนชม โกสน ดาวเรือง บัว คิดเปนรอยละ ๙.๐๒ ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ๒๘

กลวยไมที่สวนบางพรม

๒๘

สํานักงานเขตตลิ่งชันไดสํารวจขอมูลการเกษตรของเขตตลิ่งในป พ.ศ.๒๕๔๑


๑๐๘ สวนกลวยไมที่แขวงบางพรม

จํานวนครัวเรือนเกษตรกรและพื้นที่ทําการเกษตรของเขตตลิ่งชัน พ.ศ.๒๕๔๑ แขวง

จํานวนครัวเรือน เกษตรกร ทําสวน บางระมาด ๔๐๔ ๙๘๗.๕ บางพรม ๒๗๘ ๕๖๙.๐ บางเชือกหนัง ๒๕๔ ๒๑๓.๕ ฉิมพลี ๑๖๓ ๓๓๕.๐ ตลิ่งชัน ๑๒๔ ๓๐๐.๐ รวม ๑,๒๒๓ ๒,๔๐๕.๐

พื้นที่ทําการเกษตร(ไร) ปลูกผัก ไมดอก ๗๐๕.๐ ๒๔.๐ ๔๘๑.๐ ๑๐๘.๕ ๖๙๗.๐ ๒๓๒,๕ ๒๖๙.๐ ๔๗.๐ ๙๓.๕ ๓๐.๐ ๒,๒๔๕.๕ ๔๔๒.๐

ประมง ๖.๐ ๔.๐ ๑๒.๕ ๒๒.๕

พื้นทีถือครอง(ไร) ที่เชา ที่ตนเอง ๙๔๒.๐ ๗๘๐.๕ ๖๕๘.๕ ๕๐๔.๐ ๕๗๖.๕ ๕๖๖.๕ ๒๔๙.๐ ๔๑๔.๕ ๑๕๗.๐ ๒๖๖.๕ ๒,๕๘๓.๐ ๒,๕๓๒.๐

ที่มา : สํานักงานเขตตลิ่งชัน ป ๒๕๔๑

เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ แขวงบางระมาดมีจํานวนครัวเรือนเกษตรมากที่สุด คือ ๓๓ % และมีพื้นที่ทํา การเกษตรจํานวนมากที่สุด ๓๓.๖๘ % รองลงมาคือ แขวงบางพรมรอยละ ๒๘.๑๖ % แขวงบางเชือกหนัง ๒๗.๓๑ % แขวงฉิมพลี ๑๒.๙๗ % และแขวงตลิ่งชัน ๘.๒๘ % ตามลําดับ ในจํานวนพื้นที่ทําการเกษตร ทั้งหมด ๕,๑๑๕ ไร เปนพื้นที่ทําสวนไมผลมากที่สุด ๔๗ % รองลงมาคือสวนผัก ๔๔ % สวนไมดอกไม ประดับ ๘.๖ % และการประมง ๐.๔๔ % ตามลําดับ สวนพื้นที่ที่ถือครองมีจํานวนพอๆ กับพื้นที่เชา


๑๐๙ จํานวนครัวเรือนเกษตรกรและพื้นที่ทําการเกษตรของเขตตลิ่งชัน พ.ศ.๒๕๔๔ แขวง

บางระมาด บางพรม บางเชือกหนัง ฉิมพลี ตลิ่งชัน รวม

จํานวน (ครัวเรือน) เกษตรกร ๓๖๖ ๒๔๗ ๒๓๙ ๑๕๓ ๑๐๘ ๑,๑๑๓

พื้นที่ทําการเกษตร(ไร) ทําสวน ๙๒๖.๗๕ ๕๒๒.๕ ๑๙๗.๕ ๔๐๖.๕ ๒๗๐.๕ ๒,๓๒๓.๗๕

ปลูกผัก ๕๙๙.๕ ๔๐๔.๕ ๖๒๑.๕ ๑๘๒.๕ ๘๑.๐ ๑,๘๘๙.๐

พื้นที่ถือครอง(ไร) ไมดอก ๒๕.๐ ๑๑๓.๕ ๒๐๙.๐ ๔๓.๐ ๒๙.๕ ๔๒๐.๐

ประมง ๖.๐ ๔.๐ ๑๓.๕ ๒๓.๕

ที่เชา ๘๓๔.๕ ๕๘๕.๕ ๔๙๗.๕ ๒๐๓.๐ ๑๕๒.๕ ๒,๒๗๓.๐

ที่ตนเอง ๗๒๒.๗๕ ๔๕๙.๐ ๕๓๐.๕ ๔๔๒.๕ ๒๒๘.๕ ๒,๓๘๓.๒๕

ที่มา : สํานักงานเขตตลิ่งชัน ป ๒๕๔๔

จะเห็นไดวาในป ๒๕๔๔ แขวงบางระมาดมีจํานวนครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุด ๓๒.๘๘ % และมี พื้นที่ทําการเกษตรมากที่สุด ๓๓.๔๔ % รองลงมาคือ แขวงบางพรม ๒๒.๔๔ % แขวงบางเชือกหนัง ๒๒.๘ % แขวงฉิมพลี ๑๓.๘๖ % และแขวงตลิ่งชัน ๘.๑๘ % ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับป ๒๕๔๑ ในภาพรวมจะเห็นวาครัวเรือนเกษตรกรรมลดลงจํานวน ๑๑๐ ครัวเรือน หรือรอยละ ๙ และลดลงในทุกแขวง จํานวนพื้นที่ทําการเกษตรทั้งหมดลดลงจาก ๕,๑๑๕ ไร หรือ ลดลงรอยละ ๘.๙๙ จํานวนพื้นที่ถือครองในภาพรวม พื้นที่ของตนเองมีมากกวาพื้นที่เชาเล็กนอย แตในแขวงที่มีพื้นที่ ทําสวนมาก ไดแก แขวงบางระมาด แขวงบางพรม แขวงบางเชือกหนัง ยังคงมีพื้นที่เชาสูงกวาพื้นที่ของ ตนเอง แสดงวา ชาวสวนสวนใหญตอง “ถือสวน” หรือเชาที่ของคนอื่นทําสวน จะเห็ น ว า ในถิ่ น นี้ มี พื ช ที่ ดั้ ง เดิ ม ใกล สูญ พั น ธ แ ละพื ช ที่ สู ญพั น ธุ ไ ปแล ว หลายชนิ ด สาเหตุ ใ หญ เนื่องจากน้ําทวมหนักในป พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ๒๕๒๖ ทําใหสวนลม ที่รอดตายเหลือมีนอยจนในที่สุดสูญ พันธุไป และไมมีการปลูกใหมทดแทนเพราะใชเวลานานหลายปกวาจะใหผลผลิต รวมทั้งพืชพันธุใหมที่ กําลังนิยมเขามาแทนที่ อยางไรก็ตาม ไมผลที่ใกลสูญพันธุก็มีชาวสวนพยายามจะอนุรักษพันธุหายากเหลานี้ไวเชนกัน เชน ชมพูพันธุน้ําดอกไม ซึ่งเหลือตนใหญเพียงตนเดียวในแขวงบางระมาด หมู ๑๓ ดังที่ จ.ส.อ. ชิน เรืองศรี ประธานชุมชนหมูบานพัฒนาหมู ๑ บางระมาด กลาววา “….ผมเสียดายอยากจะอนุรักษไว จะตอนกิ่งขยายพันธุไวเยอะๆ น้ําดอกไมผมเคยตอนไวกิ่งหนึ่ง ละมุดสีดาพันธุเกาแกก็เหลือนอยแลว มะกอกน้ําแตกอนมีเยอะริมคลอง เดี๋ยวนี้ไมมี ผมจะหามาปลูกไวให ลูกหลานดูสักตน….”


๑๑๐

แผนที่แสดงพื้นที่บริเวณเขตตลิ่งชันเมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๖ บริเวณสีฟาคือพื้นที่สวน บริเวณสีเหลืองคือพื้นที่นาและบริเวณสีขาวคือพื้นที่ชุมชน


๑๑๑ กลาวไดวาพื้นที่สวนยานบางบน โดยเฉพาะในแขวงบางระมาดเปนแหลงใหญที่รวมพืชพันธุตางๆ พันธุชั้นดีหลายชนิดมีทั้งที่สูญไปแลวและใกลจะสูญพันธุดั้งเดิมบางชนิดยังคงเหลืออยูบางตามสวนลึกๆ แตละพันธุมีลักษณะไมเหมือนกัน รสชาติก็มีหลากหลาย ไมผลพันธุเกาแกที่มีชื่อของถิ่นพวก มะไฟพันธุ ครูถิน พันธุยายเพาะ พันธุตาเจือ รวมทั้งมะมวงพันธุพราหมณขายเมียและกระทอนพันธุทับทิม ซึ่งสอง ชนิดนี้เลื่องชื่อมากแตทุกวันนี้เหลือจํานวนนอยเต็มทีตามสวนเกาๆ ในเขตตลิ่งชัน หลังจากประสบภัยน้ําทวมรุนแรง สวนผลไมเสียหายหนัก ชาวสวนจึงหันมาทําสวน ผักกันจนขยายพื้นที่ไปทุกแขวงยกเวนแขวงชักพระ เพราะลงทุนนอยและเก็บผลผลิตขายไดเร็ว แขวงตลิ่ง ชันและฉิมพลีปลูกผักจีนมาก สวนแขวงบางเชือกหนังและบางพรมปลูกผักไทยโดยเฉพาะมะกรูด มะนาว สามารถทนตอสภาพน้ําทวมไดดี ชาวสวนจึงพากันปลูกมากขึ้นในแถบบางระมาด ตั้งแตป พ.ศ.๒๕๒๖ เรื่อยมา จนกลายเปนแหลงผลิตและขายสงที่สําคัญแหลงหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ฯ

ชุมชนชาวสวนในรูปแบบใหม การตัดถนน ทําใหเกิดการตั้งถิ่นฐานตามเสนทางถนนที่ตัดใหม เกิดชุมชนหนาแนนขึ้นตามสองฝง ถนน เปลี่ยนแปลงการใชพื้นที่เกษตรกรรมเปนยานบริษัทหางรานทําการคาตางๆ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือที่อยูแบบตึกแถว โครงขายของถนนปรากฏหนาแนนในเขตตลิ่งชัน บทบาทของเสนทางถนนไดทวี ความสําคัญมากขึ้นและมีผลกระทบตอการใชที่ดินและการตั้งถิ่นฐานของประชากรในตลิ่งชันอยางเห็นได ชัด ความเปนอยูของประชาชนโดยทั่วไปมีลักษณะผสมผสานกันระหวางสังคมเมืองและสังคมชนบท มีพื้ น ที่ที่ เ ปนที่ อยูอ าศั ย ประกอบธุรกิจการคาและทําการเกษตรบ านเรื อนตั้ ง อยูอย างกระจัดกระจาย บานเรือนของเกษตรกรสวนใหญอยูริมคลองสองฝง เพราะเดิมถูกใชเปนเสนทางในการคมนาคมที่สําคัญ เกษตรกรในทองที่มักจะมีความสนิทสนมคุนเคยกันเปนอยางดี แตเดิมโครงสรางสังคมของชาวสวนมีวัดเปนศูนยกลางของชุมชน มีงานประเพณีพิธีกรรมของ ชุมชนที่วัด โดยมีพระสงฆผูอาวุโสเปนที่นับถือของชาวบานเปนผูนําทางจิตวิญญาณ ดังจะเห็นไดจากการ ทําเหรียญวัตถุมงคลของวัดตางๆ ในละแวกตลิ่งชันเปนรูปพระเกจิอาจารยในทองถิ่นนี้หลายวัดและเปน วัตถุมงคลที่มีผูนิยมเชาบูชา ภายในชุมชนมีความสัมพันธแบบเครือญาติใกลชิด กอนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการแตงงาน ขามถิ่นและการโยกยายของผูคนทั้งเขาและออกไปจากชุมชนเดิม ครอบครัวชาวสวนเปนครอบครัวขยาย ญาติพี่นองหลายรุนอยูรวมกันหมดในกลุมบานเดียวกัน และมีความสําคัญอยางมากตอการสืบทอดอาชีพ ทําสวน เพราะแรงงานเปนสิ่งสําคัญของการทําสวนและคนรุนตอมาก็ไดเรียนรูสืบทอดความรูเกี่ยวกับการ ทําสวนที่เปนศาสตรจนเกิดความชํานาญ


๑๑๒ เมื่อเติบโตพอแมก็จะแบงที่ดินทรัพยสินมรดกใหสําหรับสรางครอบครัวใหมโดยแยกการทํามาหา กินและการใชจาย โดยสวนใหญมักจะยกมรดกที่ดินสวนใหแกลูกสาวเพื่อทําสวนตอไป แตลูกชายจะไมให” ใหไปเอาของเมีย” (อุดมลักษณ ชอยหิรัญ สัมภาษณ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕) ความสัมพันธของคนในชุมชนแนนแฟนและรูจักหนาคาตากันทุกบาน กิจกรรมความรวมมือมี ระบบเอาแรงลงแขก เชน การลงแขกเพื่อสรางบานเรือนหรือทํางานในสวนเปนการแลกเปลี่ยนแรงงานกัน ชาวสวนมักจะยอมเสียสละที่ดินของตนสวนหนึ่งสําหรับขุดลํากระโดงใหเปนทางสัญจรทางน้ํา สาธารณะ เชนเดียวกับคันสวนทุกสวนถือวาเปนทางเดินสาธารณะซึ่งทุกคนเดินผานไดตลอด คนในชุมชน ไดรับประโยชน ในขณะที่ปจจุบันทุกสวนลอมรั้วกั้นหมดแลวและสวนใหญจะเปนรั้วลวดหนาม ระบบสั ง คมดั้ ง เดิ ม มี แ นวโน ม ที่ จ ะเปลี่ ย นแปลงเป น สั ง คมสมั ย ใหม เองจากการได รั บ ระบบ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการในพื้นที่ การยายเขาของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และการลดลงของพื้นที่สี เขียวอยางตอเนื่อง สงผลผลิตตอการทําสวนและเกิดเปนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การคมนาคม ขนสงทางถนนยิ่งขึ้น รูปแบบการตั้งถิ่นฐานและลักษณะรูปทรงของอาคารเปลี่ยนไปเปนอาคารสมัยใหม โครงสรางทางสังคมของชุมชนเปลี่ยนแปลงเปนสังคมแบบชุมชนเมืองมากขึ้น อาจกลาวไดวา ฟนที่ฝงธนบุรีในเขตชั้นนอกนี้มีสภาพกึ่งชนบทกึ่งเมืองเพราะเพิ่งเปลี่ยนสภาพจาก ชนบทมาเปนเขตที่อยูอาศัยใหมที่มีการพัฒนาอยางรวดเร็วในทุดาน ดังนั้น โครงสรางทางสังคมของชุมชน จึงมีลักษณะเปนสังคมชนบทและสังคมเมืองผสมกัน สมาชิกอาวุโสยังคงใชชีวิตเรียบงายแบบดั้งเดิม ในขณะที่สมาชิกรุนใหมใชชีวิตตามกระแสทุนนิยมและบริโภคนิยม แหลงการคาที่สําคัญสวนใหญอยูในบริเวณแขวงคลองชักพระรวมทั้งพื้นที่ใกลเคียง สวนที่พัก อาศัย แบบใหม เ กิดขึ้ น ทา มกลางสวนไมผลยืน ตน หรื อที่น าแปลงต า งๆ ทางตะวัน ออกของพื้น ที่และมี แนวโนมขยับขยายไปทางตะวันตกมากขึ้น เนื่องมาจากการตัดถนนบรมราชชนนี ถนนกาญจนาภิเษกและ ถนนราชพฤกษ เปนการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่การเกษตรมาเปนการใชที่ดินประเภทอื่นๆ อยางรวดเร็ว จากการที่กรุงเทพมหานครไดทําการวางและจัดทําผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครในพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๒ นั้น เขตตลิ่งชันถูกกําหนดการใชประโยชนที่ดินอยูในประเภท “พื้นที่อนุรักษชนบทและเกษตรกรรม” หรือ พื้นที่สีเขียวเพื่อทําการเกษตรกรรมและเปนพื้นที่ชวยในการระบายน้ําของฝงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีตัวอยางของสถิติที่เก็บจาก ชุมชนบางระมาด วา อาชีพและการถือครองที่ดิน ทางการเกษตร จากการสํารวจขอมูลทางการเกษตรของฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สํานักงาน เขตตลิ่งชัน มีจํานวนครัวเรือนเกษตรกร ๓๖๖ ครัวเรือน มีพื้นที่ทําการเกษตรทั้งสิ้น ๑,๕๕๗.๒๕ ไร แบงเปนสวนไมผล ๙๒๖.๗๕ ไร สวนผัก ๕๙๙.๕ ไร สวนไมดอกไมประดับ ๒๕ ไร และการประมง ๖ ไร จะ เห็นไดวาแขวงบางระมาดเปนแหลงใหญของการทําสวนไมผลและไมมีการทํานาแถบนี้ สวนพื้นที่ถือครอง รวมทั้งสิ้น ๑,๕๕๗.๒๕ ไร แบงเปนพื้นที่เชา ๘๓๔.๕ ไร และพื้นที่ของตนเอง ๗๒๒.๗๕ ไร


๑๑๓ แสดงใหเห็นวา ชาวสวนแถบนี้ “ถือสวน” หรือเชาที่ทําสวนมากกวาเปนเจาของสวน ในปจจุบัน ชุมชนแตดั้งเดิมที่มีลักษณะโครงสรางสังคมแบบหมูบานชนบทบางแหงกลายเปน ชุมชนแบบจัดตั้งที่ไดรับการจัดตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานครวาดวยกรรมการชุมชนเริ่มตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงป พ.ศ. ๒๕๔๕ มีจํานวนทั้งสิ้น ๒๘ ชุมชน โดยแยกตามแขวงตางๆ ดังนี้ แขวงคลองชักพระ จํานวน ๔ ชุมชน คือ ชุมชนวัดชางเล็ก–วัดเรไร ชุมชนริมคลองชักพระ ชุมชน หลังวัดกาญจนสิงหาสน ชุมชนหลังวัดรัชฎาธิษฐาน (วัดเงิน) แขวงตลิ่งชัน จํานวน ๙ ชุมชน คือ ชุมชนวัดชัยพฤกษมาลา ชุมชนสะพานผัก-คลองศาลเจา, ชุมชนซอยพฤกษอุดม-วัดนอยใน ชุมชนศาลเจาพอจุย ชุมชนริมทางรถไฟชัยพฤกษ ชุมชนวัดปากน้ําฝง เหนือ ชุมชนโรงเรียนวัดตลิ่งชัน ชุมชนบานลุม ชุมชนหมูบานเจาพระยา แขวงฉิมพลี จํานวน ๔ ชุมชน คือ ชุมชนวัดกระจัง ชุมชนหมูบานพัฒนาหมูที่ ๗ ชุมชนวัดมณฑป ชุมชนวัดสมรโกฏิ-บางระจัน แขวงบางระมาด จํานวน ๗ ชุมชน คือ ชุมชนหมูบานพัฒนาวัดอินทราวาส (วัดประดู) ชุมชนวัด จําปา ชุมชนหมูบาพัฒนา หมู ๑๓ บางระมาด ชุมชนหมูบานพัฒนา หมู ๔ บางระมาด ชุมชนวัดมะกอก ชุมชนหมูบานพัฒนาวัดกาญจนสิงหาสน (หมู ๑๘, ๑๙) ชุมชนหมู ๖ แขวงบางพรม จํานวน ๓ ชุมชน คือ ชุมชนศาลาหลังบาน ชุมชนหมู ๑, ๓ ชุมชนวัดเพลงกลางสวน แขวงบางเชือกหนัง จํานวน ๑ ชุมชน คือ ชุมชนวัดเกาะ การรวมกลุมของชุมชนมีหนวยราชการคือ “ฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม” สํานักงานเขต ตลิ่งชัน พยายามสนับสนุนใหมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนแตละแหง คณะกรรมการ ชุดนี้จะรวบรวมขอคิดเห็นของชาวบาน จัดทําโครงการพัฒนาดานตางๆ เสนอใหทางเขตรับไปพิจารณา และดําเนินการตามที่เห็นสมควร เชน การปรับปรุงทางเดิน ค.ส.ล. ที่ชํารุด การขุดลอกคลอง เปนตน นอกจากนั้น ภายในชุมชนแตละแหงก็มีการรวมกลุมในรูปแบบตางๆ ที่มีความหลากหลาย เชน กลุมผูสูงอายุ กลุมแมบาน กลุมเกษตรกร กลุมออมทรัพย กลุมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เปนตน ซึ่ง บางกลุมอาจจะยังไมคอยมีบทบาทเทาใด บางแหงยังไมสามารถรวมกลุมได ขาดบุคลากรที่จะมาชวยกัน ดําเนินงาน ในแตละชุมชน ฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมจะจัดตั้งกรรมการชุมชนขึ้น โดยสมาชิก ชุมชนคือผูที่มีชื่ออยูในทะเบียนบานในชุมชน ผูอํานวยการเขตจะจัดใหมีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนขึ้นเปน ตัวแทนสมาชิกชุมชนจํานวนอยางนอยชุมชนละ ๗ คน ถาชุมชนใดมีราษฎรเกิน ๑๔๐ คอบครัว ใหเลือก กรรมการชุมชนเพิ่มขึ้นอีก ๑ คนตอจํานวนราษฎรทุก ๒๐ ครอบครัว แตกรรมการชุมชนทั้งหมดตองไมเกิน ๒๔ คน ประกอบดวยตําแหนงตางๆ คือ ประธานกรรมการ รองประธารกรรมการ เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ และตําแหนงอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร


๑๑๔ รูปแบบองคกรของรัฐสรางเปนเครือขายเพื่อการปกครองทองถิ่นในระดับเขตของกรุงเทพมหานคร มีหนาที่ที่รัฐตั้งความหวังเพื่อ สงเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริยเปนประมุข ประสานงานและดําเนินงานรวมกับหนวยราชการ องคการและหนวยงานเอกชนตางๆ ที่เกี่ยวของในอันที่ จะกอใหเกิดประโยชนตอประชาชนในชุมชน พัฒนาชุมชนทั้งดานกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และ คุณภาพชีวิต โดยมีการมีสวนรวมของประชาชน และระดมทรัพยากรในชุมชนมาใชใหเกิดประโยชนสูงสุด เสริมสรางความสามัคคีและการมีวินัยของผูอยูอาศัยในชุมชน สงเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเพณีอัน ดีงาม ดูแลรักษาทรัพยสินและชุมชนและสาธารณสมบัติ เผยแพรผลงาน ติดตาม แลรายงานการ ปฏิบัติงานของหนวยงานและองคกรตางๆ ที่เขาไปปฏิบัติงานในชุมชนตอผูอํานวยการเขต แตงตั้งผูมี ความรูความสามารถเหมาะสมเปนที่ปรึกษาหรือคณะทํางานในฝายตางๆ ๒๙ นอกจากนี้ ยังมีการสรางกลุมโดยรัฐเขามามีสวนกําหนด การรวมกลุมประชาคม เปนสิ่งที่รัฐหรือ สํานักงานเขตตลิ่งชันมีแนวคิดในการพัฒนาเขตใหนาอยู โดยประชาชนเขามามีสวนรวมอยางเปนระบบใน รูปแบบประชาคม ๓๐ และมีการพัฒนาประชาคมใหเขมแข็งจนเปนกลไกสําคัญในการพัฒนาเขตใหนาอยู อยางแทจริง จึงไดกอตั้งประชาคมกลุมตางๆ จํานวน ๑๕ กลุม ตัวอยางเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ ไดแก ๑. ประชาคมกรรมการโรงเรียน ประกอบดวยคณะกรรมการโรงเรียน ๑๖ แหง จํานวนสมาชิก ๒๔๐ คน ๒. ประชาคมกลุมแมบาน ประกอบดวยแมบานจากชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก ๙๐ คน ๓. ประชาคมอาสาสมั ค รป อ งกั น ภั ย ประกอบด ว ยอาสาสมั ค รป อ งกั น ภั ย ฝ า ยพลเรื อ นทุ ก รุ น จํานวนสมาชิก ๙๐๐ คน ๔.ประชาคมกํานัน-ผูใหญบานประกอบดวยกํานัน ๕ แขวงและผูใหญบาน ๗๕ หมู จํานวนสมาชิก ๑๖๗ คน

สํานักงานเขตตลิ่งชัน (๒๕๔๓:๖๘-๖๙) ประชาสังคม (Civil society) คือ การรวมตัวของสมาชิก เพื่อเรื่องประสานผลประโยชน ทรัพยากร หรืออํานาจระหวาง ปจเจกชนกับรัฐ พื้นฐานการเกิด "ประชาสังคม" ในตางประเทศเริ่มจากความสัมพันธงาย ๆ ของคนในชุมชนเดียวกัน เชน กลุมคนที่ไปโบสถ วันอาทิตยหลังพิธีเสร็จก็มารวมแลกเปลี่ยน ถกเถียงถึงปญหาที่เกิดในชุมชนรวมกันขอใหผูมีอํานาจ จัดการแกไขปญหาเหลานั้น เห็นไดวาประชาสังคมของเขาไมไดเกิดจากการจัดตั้ง ไมไดเกิดจากกระบวนการที่เปน ระเบียบแบบแผน แตเกิดจากจิตสํานึกเพื่อชุมชนของตน ความเปนอันหนึ่งอันเดียวจึงเกิดไดงาย ขณะที่การเกิดของ "ประชาสังคม" ตามแบบราชการของสังคมไทยนาจะพัฒนารูปแบบมาจากกลุม NGO ตาง ๆ โดยการจัดตั้งของหนวย ราชการ เชน ประชาคมจังหวัด ประชาคมตําบลที่สมาชิกสวนใหญ คือ ขาราชการทองถิ่น (กํานัน ผูใหญบาน สมาชิก อบต.) เปนตน ๒๙ ๓๐


๑๑๕ ๕. ประชาคมกรรมการชุมชน ประกอบดวย คณะกรรมการชุมชนจาก ๒๘ ชุมชน จํานวนสมาชิก ๒๒๖ คน ๖. ประชาคมผูสูงอายุประกอบดวยผูสูงอายุในชุมชนตางๆ และหมูบานจัดสรร จํานวนสมาชิก ๙๖ คน ๗. ประชาคมกลุมเยาวชน ประกอบดวยเยาวชนจากชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก๑๒๐ คน ๘. ประชาคมกลุมเกษตรกรประกอบดวยกลุมเกษตรกรของเขตตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๔๐ คน ๙. ประชาคมลูกเสือชาวบานประกอบดวยลูกเสือชาวบานของเขตตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๑๕๐ คน ๑๐. ประชาคมตลาดน้ําตลิ่งชัน ประกอบดวยผูคาตลาดน้ําตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๑๓๘ คน ๑๑. ประชาคมลานกีฬา ประกอบดวยคณะกรรมการลานกีฬา ๒๘ ชุมชน จํานวนสมาชิก ๑๘๙ คน ๑๒. ประชาคมอาสาสมัครสาธารณสุขประกอบดวย อสส.ประจําชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก ๑๒๐ คน ๑๓. ประชาคมกลุมออมทรัพย ประกอบดวย กลุมออมทรัพยในชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก ๑๐๓ คน ๑๔.ประชาคมกองปราบอาสา ประกอบดวยอาสาสมัครกองปราบอาสาที่ตํารวจกองปราบทําการ อบรม จํานวนสมาชิก ๒๐๐ คน ๑๕.ประชาคมสภาวัฒนธรรมประกอบดวยกลุมสภาวัฒนธรรมของเขตตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๙๖ คน กิจกรรมสําคัญที่ประชาคมกลุมตางๆ ไดดําเนินการในป ๒๕๔๔ คือ จัดทํา “โครงการหนาบานนา มอง” ปรับปรุงสภาพถนน ปลูกสวนหยอมริมทาง ทาสีสะพานใหสวยงาม จัดกิจกรรมและประเพณีตางๆ เปนประจํา เชน งานวันเด็ก ประเพณีสงกรานต งานประเพณีลอยกระทง เพื่อรักษาวัฒนธรรมประจําถิ่น ประชาคมเกษตรกรตลิ่งชัน จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรูขาวสารซึ่งกันและกันและเปนเครื่องมือใน การตอรองราคาสินคา สกัดกั้นพอคาตนกลางไมใหกดราคา ประชาคมกลุมแมบาน จัดอบรมการแปรรูป ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลคาสินคา และนําผลิตผลที่ไดมาจําหนายที่ตลาดน้ําตลิ่งชันและตาม แหลงชุมชนอื่นๆ ประชาคมตลาดน้ําตลิ่งชัน บริหารงานดานตลาดน้ําตลิ่งชัน จัดการทองเที่ยวทางเรือ ใน นามตลิ่งชันทัวร เพื่อกระตุนใหประชาชนริมคลองเกิดจิตสํานึกในการอนุรักษคลองใหคงสภาพที่ดีตลอดไป ป ๒๕๔๔ มีผูคาจํานวน ๑๓๘ ราย สามารถบริการนักทองเที่ยวประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คนตอป กอใหเกิด เงินทุนหมุนเวียนประมาณปละ ๑๕-๒๐ ลานบาท ประชาคมลานกีฬา เปนการรวมตัวของคณะกรรมการ ลานกีฬา จาก ๒๘ แหง เพื่อยกระดับมาตรฐานลานกีฬาใหดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนอุปกรณการกีฬาและ วิทยากรทองถิ่น จัดลานกีฬาสําหรับเยาวชนตามโครงการลานกีฬา-ตานยาเสพติด จัดการแขงขันฟุตบอล


๑๑๖

การรวมกลุมของชาวบานในปจจุบัน ตัวอยางหนึ่งที่แสดงใหเห็นถึงการรวมกลุมของชาวบางระมาดที่เปนคนในพื้นที่ดั้งเดิมซึ่งยังมี ความสัมพันธทางสังคมแบบเครือญาติและรูจักหนาคาตากันอยู สวนคนที่เขามาใหมมักจะไมเกี่ยวของ ไดแก กลุมผูเจริญวัย ณ วัดสมรโกฏิ แมวัดนี้จะตั้งอยูในแขวงฉิมพลี แตชาวบานที่อยูในแขวงบางระมาดจะขามคลองมาที่วัดนี้เปน ประจํา การตั้งกลุมผูเจริญวัยกลุมนี้เริ่มดําเนินการมาตั้งแตป ๒๕๔๑ รวม ๔ ป แลว จากการริเริ่มของ จ.ส.ต. ชิน เรืองศรี ประธารคณะกรรมการชุมชนหมู ๑๓ และนายอํานวย ชะเอมเทศ โดยไดรับการ สนับสนุนจากกรมประชาสงเคราะหทางดานเงินทุนกอตั้งเปนจํานวน ๒๐,๐๐๐ บาท สัญลักษณของกลุม คื อ ต น ไม จอบ และพิ ณ ต น ไม แ ละจอบหมายถึ ง การทํ า งานของชาวสวน ส ว นพิ ณ หมายถึ ง ความ เพลิดเพลินหลังการทํางาน กลุมนี้มีสมาชิกซึ่งเปนผูสูอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง ๔๐ คนแลว โดยใช “โรงเรียน ปริยัติธรรม” เปนสถานที่จัดกิจกรรม โรงเรียนนี้เปนอาคารชั้นเดียว ติดเครื่องปรับอากาศ โรงน้ําแข็งทอง ไดมาสรางใหเมื่อป พ.ศ. ๒๕๓๙ สําหรับเปดสอนปริยัติธรรมแกพระสงฆ แตตอมาพระสงฆที่มาเรียนที่วัดนี้ มีนอยมาก กลุมจึงขอใชสถานที่แหงนี้เพื่อทํากิจกรรทางพุทธศาสนา ไดแก สวดมนต ภาวนาทุกวันพระ เวลา ๑๗.๓๐-๒๐.๐๐ น. ทุกวันอาทิตยเวลา ๘.๓๐-๑๑.๐๐ น. และในวันสําคัญทางพุทธศาสนาจะมีการ บวชชีพราหมณ ถือศีลอยูที่วัดตั้งแตเวลา ๑๙.๐๐-๐๖.๐๐ น. ของวันรุงขึ้น ชาวบานที่วางจากภารกิจจะ มารวมปฏิบัติธรรมดวย โดยพระสงฆในวัดจํานวน ๔ รูปจะผลัดเปลี่ยนกันมานําสวดมนต ภาวนา และ บรรยายธรรมเปนประจํา นอกจากนั้น กลุมยังจัดกิจกรรมอื่นๆ อีกดวย เชน ธรรมสัญจร การไปรวมงานบุญ ตางๆ ทั้งในและนอกเขตตลิ่งชัน เปนตน

ตัวอยางจากแขวงบางระมาด ในทองถิ่นบางระมาด พื้นที่ในเขตหมู ๔ และหมู ๗ ปจจุบันนั้น ผูอาวุโสวัยเลาวาบริเวณวัดมะกอก วัดโพธิ์ แตเดิมเปนปามีสัตวปาอาศัยอยูมาก พระภิกษุรูปหนึ่งไดมาจําพรรษาและสรางที่พักสงฆขึ้น ตอมา ไดพัฒนากลายเปนวัด ชาวบานแถบนี้ทํานาปลูกขาวพันธุเหลืองอากาศ เลี้ยงชีพได ตอมาชาวบานเลิกทํา นาหันมายกรองทําสวน เพราะทําไดตลอดป รายไดดีกวา ที่นาจึงคอยๆ หมดไป และหมดไปในที่สุดเมื่อมี ถนนปนเกลา-นครชัยศรีตัดผาน บริเวณหมู ๑๓ ไดเลิกปลูกขาวไปเมื่อประมาณ ป พ.ศ. ๒๔๙๐ สมัยนั้น นิยมปลูกขาวพันธุปนทอง ซึ่งเคยประกวดชนะเลิศอันดับที่ ๑


๑๑๗ ในอดีตเคยมีตลาดน้ําบางระมาด ซึ่งติดตลาดประจําอยูตรงปากคลองขางโรงพักตลิ่งชัน และมีคน มารวบรวมซื้อไปขายที่ปากคลองตลาดและทาเตียน สวนใหญขายพวกกลวย มะพราว แตปจจุบันตลาดน้ํา บางระมาดไมมีแลว ในป พ.ศ.๒๕๔๔ มีชุมชนที่ไดรับการจัดตั้งจากเขตตลิ่งชัน ๗ แหง จัดเปนชุมชนประเภทชุมชนชาน เมือง โดยใชเขตการปกครองและรูปแบบหมูบานดั้งเดิมผสมผสานกัน เพราะเริ่มกลายรูปเปนเขตที่อยูอาศัย แบบชานเมืองมากขึ้น ในขณะเดียวกันรูปแบบของความสัมพันธของคนในชุมชนยังพอรูจักกัน แมไมสนิท สนมเปนเครือญาติดังเชนที่เคยเปนมา ชุมชนหมูบานพัฒนาวัดอินทราวาส (วัดประดู) มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร ประกอบดวยหมู ๒๒, ๒๓ และ ๒๔ เปนหมูบานเกาแกอยูในที่ลุม แตเดิมบริเวณนี้เปนปา มีตนไมใหญนอยขึ้นอยูหนาแนนทั่วไป มีคลองยาวขนานระหวางที่ตั้งของหมูบาน เมื่อมีการตัดถนนพุทธมณฑลสาย ๑ ผานพื้นที่ใกลเคียงทําให สภาพหมูบานเปลี่ยนไปเปนแบบเมืองมากขึ้น ชุมชนวัดจําปา มีเนื้อที่ประมาณ ๔๕ ไร เปนชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอูดั้งเดิม พื้นที่เปนสวนผลไม ตอมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทําใหเกิดความหนาแนนบริเวณริมคลองบางระมาด สภาพพื้นที่เปนที่ลุม น้ํา ทวมถึง ป ๒๕๔๓ ประชาขนรวมใจกันจัดซื้อที่ดินเพื่อทําถนนเขาสูวัดจําปาทําใหรถยนตสามารถเขาถึง ชุมชนไดสะดวก ทางเดินเทาเปนทางยกระดับ มีน้ําประปาและไฟฟาใช ชุมชนหมูบานพัฒนา หมู ๑๓ บางระมาด มีเนื้อที่ประมาณ ๖๕ ไร สวนใหญเปนสวนผลไม พื้นที่ เปนที่ลุมน้ําทวมถึง ประชาชนปลูกบานเรือนบริเวณคลองบางระมาด และเริ่มหนาแนนมากขึ้นในปจจุบัน การคมนาคมสะดวกแตทางเรือ ระหวางป ๒๕๔๔-๒๕๔๖ มีการกอสรางถนนวงแหวนรอบในเพชรเกษมนครอินทร ยาว ๖ กิโลเมตร ผานชุมขนนี้ ภายในชุมชนมีทางเดินเทายกระดับ มีไฟฟาใช ประชาชนสวน ใหญใชน้ําอุปโภคจากคลองบางระมาด ชุมชนหมูบานพัฒนา หมู ๔ บางระมาด มีเนื้อที่ประมาณ ๗๐ ไร เดิมมีการทําสวนไมผลและสวน ผัก ซึ่งเปนแหลงผลิตผลที่มีชื่อเสียงแหงหนึ่งของเขตตลิ่งชัน ปจจุบันพื้นที่สวนเหลือเพียงเล็กนอย มักเปน สวนมะกรูด มะนาว นอกนั้นถูกขายและปลอยทิ้งราง ชาวสวนหันไปทําอาชีพอื่น บางรายแปรรูปผลผลิต เชน ทําที่ใสกาจากลูกมะพราวมีรายไดดี บานเรือนปลูกหนาแนน ริมคลองบางระมาด สวนใหญมีที่ดินและ บานเปนของตนเอง ภายในชุมชนมีทางเดินเทาคอนกรีตเสริมเหล็ก มีไฟฟาและน้ําประปาใช ชุมชนวัดมะกอก มีเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร ประกอบดวยหมู ๗ และ ๘ เปนหมูบานชนบท บานเรือนตั้งอยูกระจัดกระจาย สวนใหญอยูริมคลองบานไทร ป พ.ศ.๒๕๐๖ ไดรวมกันสรางถนนดินกวาง ๖ เมตร ชื่อวาถนนสุขาภิบาล ๓ ปจจุบันชื่อถนนฉิมพลีและฝงวัดมะกอกชื่อถนนพุทธมณฑลสาย ๑ กระทรวงมหาดไทยประกาศใหบริเวณแขวงบางระมาดเปนพื้นที่สีเขียว หามปลูกสรางอาคารในระยะ ๑๐๐ เมตร บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย ๑ ตอมาไดมีประชาชนที่ถูกไลที่จากหมูบานชางหลอ เขตบางกอกนอย


๑๑๘

ชุมชนหมูพัฒนา วัดกาญจนสิงหาสน มีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๗ ไร ประกอบดวยหมู ๑๘ และ ๑๙ เปนชุมชนที่อยูอาศัยมาดั้งเดิม สมัยกอนการคมนาคมใชทางเรือ จึงมีการปลูกบานริมคลองบางระมาดและ เริ่มหนาแนนขึ้นเรื่อยมา การคมนาคมสะดวก มีไฟฟาและน้ําประปาใช ชุมชนหมู ๖ มีเนื้อที่ประมาณ ๙๐-๑๒๐ ไร ลักษณะการอยูอาศัยหนาแนนเปนกลุมๆ ประมาณ ๒-๓ กลุม สวนใหญอยูตามริมคลองบานไทร ชุมชนในรูปแบบใหมๆ เหลานี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการชุมชนและกิจกรรมภายในใหเปน ระบบ “ชุมชน” หรือ Community แบบตะวันตกมากขึ้น แมวาจะใชฐานของความเปนชุมชนธรรมชาติ แบบเดิม คือ การเปนชุมชนรอบๆ วัด ในรูปแบบหมูบานแบบชนบทดังในอดีต การแบงกลุมประชาคมหรือ กลุมกิจกรรมตางๆ นั้น ไมไดเกิดจากความตองการของชาวบานเอง ดังนั้น จึงมีโอกาสลมเหลวไดมากกวา การรวมกลุมที่เกิดจากความตองการภายใน แตในกรณีการรวมกลุมเพื่อตอรองราคาสินคากับตลาดหรือ การรวมกลุ มทางการปกครองตา งๆ หรือกลุม กิจกรรมเพื่อการทองเที่ย ว หากเมื่อไดรับผลตอบแทนที่ ชาวบานเห็นรวมกันวามีประโยชนแลว การรวมกลุมนั้นสามารถดําเนินไปได เชน กรณีการทองเที่ยวชมรม ตลาดน้ําตลิ่งชัน การรวมกลุมที่คลองวัดตะพานและลัดมะยม เปนตน จะเห็ น ว า รู ป แบบต า งๆ ของกลุ ม ประชาคมนั้ น มี ห น า ที่ เ ฉพาะอย า งและรวมกลุ ม กั น ขึ้ น เพื่ อ แกปญหาเฉพาะเรื่องนั้นๆ รวมถึงกําหนดทาทีในการตอรองกับผูประกอบการอื่นๆ และนี่คือรูปแบบของการ รวมกลุมแบบสมัยใหมที่สะทอนวา ความสัมพันธทางสังคมแบบเห็นหนากันและคุนเคยกันแตเดิมนั้น ใน ปจจุบันไมอาจนํามาใชแกปญหาของชุมชนที่มีลักษณะกระจายตัว ไมมีความสัมพันธทางเครือญาติที่แนน แฟนนัก และมีการเขามาของคนกลุมใหมที่เปนประชากรของบานจัดสรรซึ่งสวนใหญไมมีความสัมพันธกับ ชุมชนดั้งเดิ มเลย กลุมประชาคมและรูปแบบของเครื อขายขององคกรปกครองชุมชนแบบใหมนี้จึง ไม สามารถเขาไปถึงชาวบานในกลุมบานจัดสรรเลย นอกจากเมื่อมีการเลือกตั้งเทานั้น


๘๒

บทที่ ๓ จากบานสวนสูชานมหานคร ทองถิ่นตลิ่งชัน ตลิ่งชันคือพื้นที่สวนหนึ่งของบริเวณที่เรียกวา “ฝงธนบุรี” ทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยา ใน อดีตพื้นที่บริเวณนี้เต็มไปดวยเรือกสวนผลไมที่อยูตามลําคลองสายตางๆ เรียงขนานแยกจากแนวลําน้ํา สายใหญในแนวตะวันตก-ตะวันออก เมื่อลึกเขาไปตามลําน้ําจากสวนผลไมก็เปลี่ยนเปนไรนาปลูกขาว โดย แบงพื้นที่กันอยางชัดเจน เมื่อมีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พื้นที่สองฝงคลองกลายเปนที่นา ตอมาภายหลังมีการใหชาวจีนโพนทะเลที่เขามาตั้งถิ่นฐานใหมเชาที่ดินเพื่อยกรองปลูกผักทําใหฝงคลอง มหาสวัสดิ์ดานใตกลายเปนสวนผักและปรากฏเปนยานชื่อ “สวนผัก” มาจนทุกวันนี้ แมสวนผักจะคอยๆ หมดไปเมื่อพื้นที่กลายเปนชานเมืองมากขึ้นตามลําดับ พื้นที่บริเวณตลิ่งชันเปน ดินตะกอนชุดธนบุรี ซึ่งเปนดินที่เหมาะแกการทําสวน ทําไร พบแถบ ตะวันออกของพื้นที่ และ ดินชุดบางเลนและบางกอก ซึ่งเหมาะแกการทํานาทางดานตะวันตกของพื้นที่ เปนบริเวณที่มีคลองการขุดและคลองธรรมชาติเปนเครือขายหนาแนน ทําใหเปนเขตเพาะปลูกที่สําคัญแหง หนึ่งของประเทศ พื้นที่เพาะปลูกของตลิ่งชันมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจากสวนผลไม นาขาวและสวนผัก ในยุคหนึ่งจนกลายมาเปน พื้นที่สีเขียว ๒๗ ซึ่งเปนการจัดแบงผังเมืองของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่สีเขียว นั้นหามสรางโรงงานอุตสาหกรรมแตไมหามสรางบานเรือนที่พักอาศัยหรือหมูบานจัดสรรแตอยางใด อยางไรก็ตาม ก็มีการฝาฝนอยางเห็นไดชัด พื้นที่ตลิ่งชันเปนเขตที่อยูใกลศูนยกลางเมืองมาก ความเจริญ เชน การตัดถนนหนทางสายตางๆ จึงรุกเขามาอยางรวดเร็ว ทําใหบริเวณนี้กลายเปนแหลงที่อยู อาศัยชั้นดี หมูบานจัดสรรขนาดใหญและหรูหราเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น การขยายของมหานครทางฝง

พื้นที่สีเขียว ในประกาศผังเมืองรวมหมายถึง พื้นที่วางเวนหรือพื้นที่โลงนอกเหนือจากการปลูกสรางของเมือง การ กํา หนดเขตการใชที่ดินตามกฎหมาย เพื่ออนุรักษพื้ นที่เกษตรกรรมในที่ดิน ที่มีความเหมาะสมสํ า หรับการเพาะปลูก บางครั้งก็เรียกวาริ้วสีเขียว [Green Belt] เปนการควบคุมการพัฒนาเมืองมักจะไมใหปลูกสรางอะไรเลย เปนกลไกในการ ปองกันการกระจายของเมืองหรือการกระจายเชื่อมตอไปถึงเมืองอื่น มีในประเทศไทยมีการประกาศใชพื้นที่สีเขียวครั้งแรก ใน พ.ศ.๒๕๒๒ เพื่ออนุรักษพื้นที่เกษตร ใน ๔ อําเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อหามกอสรางโรงงานอุตสาหกรรม โดยเด็ดขาด พื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร กําหนดโดยขอบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๕ การกําหนดเขตการใช ที่ดินตามกฎหมาย เพื่ออนุรักษพื้นที่เกษตรกรรมในที่ดินที่มีความเหมาะสมสําหรับการเพาะปลูก บางครั้งก็เรียกวาริ้วสี เขียว [Green Belt] เปนการควบคุมการพัฒนาเมืองมักจะไมใหปลูกสรางอะไรเลย เปนกลไกในการปองกันการกระจาย ของเมืองหรือการกระจายเชื่อมตอไปถึงเมืองอื่น ๒๗


๘๓

การอยูอาศัยของผูคนในเมืองหลวงแหงนี้ตั้งแตในราวรัชกาลที่ ๕ เปนตนมา ความหนาแนนของ ผูคนรวมและการอยูอาศัยอยูทางฝงพระนคร ริมแมน้ําเจาพระยา สวนทางสวนฝงธนบุรีนั้นเบาบางมาก และส ว นใหญ อ ยู ต ามริ ม แม น้ํ า เจ า พระยาและคลองบางกอกใหญ แต เ มื่ อ ถึ ง ราว พ.ศ.๒๕๐๐ ความ หนาแนนของประชากรและการอยูอาศัยกระจายออกเปนรัศมี โดยเฉพาะบริเวณกรุงเทพมหานครฝงใน

ภาพลายเสนแผนที่แสดงความ หนาแนนของประชากรและเสนทาง น้ําในบริเวณกรุงเทพฯ สันนิษฐานเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๓

ภาพลายเสนแผนที่แสดงความ หนาแนนของประชากรและเสนทางน้ํา ในบริเวณกรุงเทพฯ สันนิษฐานเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๑ ตลิ่ง ชันเริ่มมีจํานวนผูอยูอาศัยหนาแนน ขึ้นมาก


๘๔ จากภาพถายดาวเทียมในปจจุบันความหนาแนนของประชากรและการอยูอาศัยในลักษณะแบบ เมืองหนาแนนมากที่สุดในบริเวณฝงพระนครและกระจายตัวหนาแนนขยายออกไปมากกวาเดิมอยางเห็น ไดชัด สวนสวนในฝงธนบุรีบริเวณใกลลําน้ําเจาพระยามีความหนาแนนของการอยูอาศัยไมตางจากฝงพระ นคร สวนพื้นที่สวนในเขตตลิ่งชันที่ไดรับการอนุรักษใหเปนพื้นที่สีเขียวเมื่อมีถนนสายใหญตัดผานทําใหมี การสรางอาคารสถานที่ หมูบานจัดสรรและพื้นที่เชิงพาณิชยตามมา พื้นที่สวนหรือพื้นที่สีเขียวที่ยังมีอยูและยังไมมีการตั้งถิ่นฐานที่หนาแนนก็ตั้งแตบริเวณฝงคลองชัก พระบางสวนมาจนจรดถนนกาญจนาภิเษกในบริเวณที่อยูไกลจากถนนหลักหรือถนนซอย ซึ่งเห็นไดชัดวามี โอกาสที่จะถูกรุกไลจากพื้นที่ความเปนเมืองที่ขยายตัวอยางไมหยุดหยอนมาตั้งแตสมัยรัชกาลที่ ๕ แลว แม จะมีการกําหนดผังเมืองรวมในการใชที่ดินของกรุงเทพมหานคร แตก็ไมสามารถเก็บรักษาสวนผลไมที่มี คุณภาพดีที่สุดเอาไวได

ภาพถายดาวเทียมแสดงพื้นที่ฝงธนบุรีและฝงกรุงเทพฯ ในปจจุบัน ที่กลายเปนมหานครที่เติบโตขยายออกจากศูนยกลางเปนรัศมีกวางขึ้นเรื่อยๆ และเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวใหกลายเปนชุมชนบานเรือนหางรานและที่อยูอาศัย ภาพถายดาวเทียมจาก Google Earth


๘๕

ภาพถายทางอากาศบริเวณฝงธนบุรีและทองถิน่ ตลิ่งชันแสดงการเปลีย่ นแปลงของพื้นที่ เกษตรกรรมและปรับเปลี่ยนที่นาเปนสวน การขยายตัวของพื้นที่สวนผัก มาจนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เปนชานเมือง และเปนเมืองในฐานะที่เปนอีกยานหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต พ.ศ.๒๔๙๕ พ.ศ.๒๕๑๖ พ.ศ.๒๕๓๔ พ.ศ.๒๕๔๑

ภาพถายทางอากาศเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๙๕ ตลิ่งชันอยูในบริเวณวงกลม ในพื้นที่เต็มไปดวยขนัดสวน สวนบริเวณดานนอกคือเรือกสวนไรนา

ภาพถายทางอากาศบริเวณตลิ่งชัน ราว พ.ศ.๒๕๑๖ จะเห็นบริเวณที่นาเริ่มถูกแทนที่ดวยสวนผัก บริเวณริมคลองมหาสวัสดิ์


๘๖

ภาพถายทางอากาศ ราว พ.ศ.๒๕๓๔ จะเห็นสายตลิ่งชันบางบัวทองและทางแยกฉิมพลี และเขตพื้นที่การอยูอาศัยใหมของหมูบานจัดสรรในสวนอยางชัดเจน

ภาพถายทางอากาศ พ.ศ.๒๕๔๑ จะเห็นถนนตัดผานพื้นที่สวนผักและที่สวนเดิม เริ่มมีการกอสรางของหมูบานจัดสรรตามมาอยางรวดเร็ว


๘๗

เขตตลิ่งชัน: เขตการปกครองสมัยใหม คําวา “ตลิ่ง ชัน” แตเ ดิม คือชื่อของชุม ชนที่อยูลอมรอบวัดตลิ่งชัน ริมคลองชักพระ ตอมาเมื่อมี รูปแบบการปกครองทองถิ่น ตลิ่งชันก็กลายเปนชื่ออําเภอมาแตเริ่มแรกและอยูเขตการปกครองของจังหวัด ธนบุรี ขึ้นอยูกับมณฑลกรุงเทพที่กอตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ประกอบดวย เมืองพระนคร เมืองธนบุรี เมืองมีน บุรี เมืองนนทบุรี เมืองพระประแดง (นครเขื่อนขันธ) เมืองสมุทรปราการ ดั้งเดิมที่วาการอยูบริเวณคลอง บางกอกนอย ตําบลบางบําหรุ ตอมาไดยายไปตั้งที่ปากคลองวัดไกเตี้ยริมคลองบางกอกนอย จนป พ.ศ. ๒๔๕๗ จึงไดยายที่วาการอําเภอมาตั้งอยูที่ริมทางรถไฟสายใต ตําบลคลองชักพระ ซึ่งเปนบริเวณสถาน ที่ตั้งที่ทําการเขตตลิ่งชันทุกวันนี้

แผนที่มณฑลกรุงเทพฯ ราวพ.ศ. ๒๔๔๔ เห็นไดชัดวาคลองซอยตามธรรมชาติแตเดิมในเขตตลิ่งชันวางตัวในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เปนเขตเรือกสวนไรนา และคลองขุดตรงที่เพิ่มขึ้นคือ คลองมหาสวัสดิ์ทางดานบน และคลองทวีวัฒนาที่ตัดขวางทางดานตะวันตก

เมื่อตลิ่งชันกลายเปนชื่ออําเภอที่มีอาณาเขตกวางขวางและมีรูปแบบการตั้งถิ่นฐานทั้งเขตที่มี ประชากรหนาแนนแถบคลองชักพระและเขตที่สวน ที่นา ไปจนถึงอีกฝงของคลองทวีวัฒนา โดยรวมเอา


๘๘

การใชเรือพายเปนพาหนะหลักใน แถบตลิ่งชันเมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๐

แตดวยภูมิลักษณที่อยูใกลทะเลและลําน้ําลําคลองใกลปากน้ําใหญในดินดอนสามเหลี่ยมปาก แมน้ําที่รวบรวมความสมบูรณของดินตะกอนจากภายในมาสะสมมาอยางยาวนาน ทําใหพื้นที่มีความอุดม สมบูรณเหมาะแกการปลูกพืชพันธทั้ง นา สวนผลไม สวนผัก แถมมีการบํารุงคิดคนสายพันธุใหเหมาะสม และสร า งรสชาติ ข องสายพั น ธุ ดี ที่ สุ ด มาได อ ย า งยาวนาน แต ด ว ยพื้ น ที่ ซึ่ ง ใกล เ มื อ งหลวงอย า ง กรุงเทพมหานครที่ไมมีการวางแผนในระยะแรกและปลอยใหมีการรุกเขาไปทําลายสภาพแวดลอมของพื้นที่ สวนในตลิ่งชันทั้งโดยอุบัติภัยธรรมชาติและการถมที่เพื่อปลูกบานเรือนและสรางถนนตัดเสนทางน้ําทําให น้ําไมสามารถขึ้นลงไดตามระบบที่เคยเปน สวนสวนใหญที่อาศัยน้ํากรอยและน้ําจืดสลับกันและตองกลาย สภาพเปนสวนน้ําขังเชนนี้จึงพบกับปญหาไมไดผลผลิตที่ดีในขณะที่ตองลงทุนสูง อีกทั้งพื้นที่ก็ไดรับการ ประเมินใหมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะมาจากการตัดถนนใหมๆ สายใหญๆ ที่ไลชาวสวนใหออกไปจาก ทองถิ่นบานเกิดและเรือสวนของตนเองโดยปริยาย สภาพแวดลอมที่กลายเปนชานเมืองที่ถูกลอมรอบดวยสิ่งกอสรางมากมายแมจะมีพื้นที่สีเขียวอยู เป น หย อ มๆ ทั้ ง การคมนาคมสะดวกและอยู ใ กล ศู น ย ก ลางของเมื อ ง ทํ า ให เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง สภาพแวดลอมจากพื้นที่ชนบทมาเปนเขตที่อยูอาศัยใหม ซึ่งผูคนตางถิ่นอพยพเขามาอยูอาศัยเปนจํานวน


๘๙

เรือติดเครื่องขายของในคลองลัดมะยม และทางเดินเขาบานสวนที่สวนใหญ เปลี่ยนเปนทางเดินคอนกรีตเพื่อสะดวก แกการเดินทางในหนาฝนและรถยนตไม สามารถเขาไปได


๙๐

ลักษณะทางกายภาพ กอ นการแยกเขตทวีวัฒ นาออกไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ พื้น ที่ตลิ่ง ชัน ลอมรอบดว ยคลองทั้ง สี่ดา น ปจจุบันเขตการปกครองตลิ่งชันยังคงมีลําน้ําลอมรอบถึง ๓ ดาน ไดแก ทิศเหนือ มีคลองมหาสวัสดิ์คั่นอีก ฝงคือ อําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ทิศใต ติดคลองบางเชือกหนัง อีกฝงหนึ่งคือเขตภาษีเจริญ ทิศ ตะวันออก มีคลองชักพระและคลองบางกอกนอยเปนแนว อีกฝงคือเขตบางกอกนอยและเขตบางพลัด สวน ทิศตะวันตก ติดตอกับเขตทวีวัฒนาโดยมีแนวถนนกาญจนาภิเษกเปนเสนแบงเขต

แผนที่แสดงเขตตลิ่งชัน (ถนนราชพฤกษยังไมปรากฏ)


๙๑ เขตตลิ่งชันแบงเขตการปกครองออกเปน ๖ แขวง คือ ลําดับที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

แขวง คลองชักพระ ตลิ่งชัน ฉิมพลี บางพรม บางระมาด บางเชือกหนัง รวม

พื้นที่ (ตร.กม.) ๑.๒๕๑ ๕.๓๘๑ ๘.๗๓๐ ๕.๘๗๕ ๙.๓๓๗ ๕.๓๐๕ ๓๒.๘๕

ชุมชน ๑๕ ๑๑ ๑๕ ๒๓ ๑๒ ๗๓ ขอมูลพื้นฐานของเขตตลิ่งชัน ๒๕๔๒

นอกจากคลองใหญทั้ง ๓ ดานที่เปนคลองหลักแลว พื้นที่ภายในยังประกอบดวยคลองเล็กคลอง นอยอีกมาก ทั้งที่เปนคลองโดยธรรมชาติและคลองที่ขุดขึ้นมาเพื่อการชลประทาน การเกษตรกรรม และ เพื่อการคมนาคม ซึ่งทําใหเปนพื้นที่ซึ่งมีโครงขายเสนทางคมนาคมทางน้ําหนาแนนมาแตอดีต คลองที่เปนเสนทางคมนาคมสําคัญในอดีต และมีชุมชนหมูบานเรียงรายไปตามลําคลองตางๆ โดยมีวัดเปนศูนยกลางของชุมชน ไดแก คลองบางกอกนอย คลองนี้คือแมน้ําเจาพระยาสายเดิม เมื่อสมเด็จพระชัยราชาธิราชโปรดใหขุด คลองลัด พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๐ คลองลัดบริเวณตั้งแตฝงตรงขามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรจึงกลายเปน แมน้ําเจาพระยา บริเวณที่เรียกวาคลองบางกอกนอย นับแตปากคลองจนถึงที่วาการอําเภอบางใหญ ระยะทางราว ๑๔ กิโลเมตร ริมคลองมีวัดสําคัญ ไดแก วัดอมรินทราราม วัดศรีสุดารามหรือวัดชีปะขาว วัด สุวรรณาราม ผานตลิ่งชัน บางระมาด บางพรม บางเชือกหนัง บางจาก บางแวก ภาษีเจริญ แลวไปตอกับ คลองชักพระและคลองบางกอกใหญ คลองชักพระหรือคลองบางขุนศรี คลองนี้อยูตอจากคลองบางกอกนอยที่บริเวณตรงขามวัด สุวรรณคีรี และเปนลําเจาเจาพระยาเดิมเชนเดียวกัน ไปเชื่อมกับคลองบางกอกใหญที่บริเวณสามแยก คลองบางกอกใหญและคลองภาษีเจริญระยะประมาณ ๘ กิโลเมตรเศษ คลองบางขุนศรีเปนคลองเดียวกับ คลองชักพระ แตชาวบานมักถือวาบริเวณที่คลองมอญผานเปนการแบงชื่อเรียก ที่เรียกวาคลองชักพระ เพราะมีประเพณีชักพระซึ่งเปนการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดนางชีในคลองดาน โดยแหกันทาง เรือ เลี้ยวซายไปตามคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ เขาสูคลองชักพระ ผานคลองบางกอกนอย ออกสูแมน้ําเจาพระยา คลองชักพระมีคลองแยกและเชื่อมหลายสาย คือ คลองตลิ่งชัน คลองบางระมาด คลองบางพรม บริเวณสี่แยกใหญ ดานหนึ่งคือคลองมอญ ตรงขามคือคลองบางเสาธงหรือบางเชือกหนัง คลองบางแวก บริ เ วณนี้ ใ นอดี ต เป น ศู น ย ก ลางการค า หรื อ ตลาดน้ํ า ขนาดใหญ บ า นเรื อ นหนาแน น นอกจากนี้ยังมี คลองบางจาก และคลองภาษีเจริญ สวนวัดสําคัญริมคลองไดแก วัดตลิ่งชัน วัดชางเหล็ก วัดเรไร วัดบางแวก วัดนก วัดทองศาลางาม วัดกําแพง วัดคูหาสวรรค วัดนวลนรดิศ และวัดประดูฉิมพลี


๙๒ คลองบางระมาด อยูในแขวงบางระมาด ปากคลองเริ่มตั้งแตคลองชักพระหรือคลองบางขุนศรี ไปบรรจบคลองศาลเจาในเขตตลิ่งชันยาวประมาณ ๖ กิโลเมตร เปนคลองเกาแกในประวัติศาสตรไทยจึง เปนคลองหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีไดลงมติใหอนุรักษไวเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ แตการอนุรักษก็ยังไมมีผลที่สามารถ รักษาสภาพเดิมของคลองเกาแกและยานบานเรือนของผูคนไวได ริมคลองมีวัดเกาแกหลายวัด เชน วัด มณฑป วัดสมรโกฏิ วัดทอง วัดกระจัง วัดจําปา เปนตน คลองบานไทรหรือคลองบางไทร เปนคลองเชื่อมกับคลองบางระมาด มีวัดสําคัญคือ วัดมะกอก คลองบางพรม ปากคลองแยกจากคลองชักพระ (คลองบางขุนศรี) ขางวัดกาญจนสิงหาสน (วัด ทอง) ระยะประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ริมคลองนี้มีวัดสําคัญ ไดแก วัดกาญจนสิงหาสนหรือวัดทอง วัด รัชฎาธิษฐานราชวรวิหารหรือวัดเงิน วัดประสาท คลองบางเชือกหนัง ปากคลองบางเชือกหนังแยกจากคลองบางกอกนอย มีวัดสําคัญ เชน วัด กําแพง วัดพิกุล และแยกออกไปเปนคลองบางนอยที่ขางวัดเกาะ มีวัดสําคัญ เชน วัดกระโจมทองและวัด สะพาน คลองมหาสวัสดิ์หรือคลองบางขวางหรือคลองชัยพฤกษ ขุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ราวป พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๐๓ เพื่อเชื่อมคลองบางกอกนอยกับแมน้ํานครชัยศรี ระยะความยาวทั้งสิ้น ๒๘ กิโลเมตรและ ใชเปนเสนทางเสด็จพระราชดําเนินไปนมัสการองคพระปฐมเจดีย รวมทั้งเปนเสนทางคมนาคมขนสงออย และน้ําตาลจากนครชัยศรีมาสงยังทาเรือที่บางกอก แตก็ยังมีผูเรียกวาคลองชัยพฤกษอยูบางจนปจจุบัน เมื่อขุดคลองเสร็จนั้น เจาพระยาทิพากรวงศไดใหสรางศาลาสําหรับประชาชนพักเปนระยะไปตามริมคลอง ทุก ๑๐๐ เสน ศาลาหลังหนึ่งใหเขียนตํารายารักษาโรคตาง ๆ ติดไวเปนการกุศล ตอมาเรียกกันวา “ศาลายา” ในอําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สวนศาลาอีกแหงหนึ่งสรางในการกุศลปลงศพคนของ เจาพระยาทิพากรวงศ เรียกกันวา “ศาลาทําศพ” ปจจุบันกลายเปน แขวง “ศาลาธรรมสพน” ในเขตทวี วัฒนา กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหเจาพระยาทิพากรวงศจับจอง ที่ดินวางเปลาริมคลองทางแขวงเมืองนนทบุรีฝงเหนือ ๑,๖๒๐ ไร แขวงเมืองนครชัยศรีฝงเหนือ ๙,๓๙๖ ไร ฝงใต ๕,๑๘๔ ไร รวมเปนนาทั้งหมด ๑๖,๒๐๐ ไร แบง ๕๐ สวน ไดสวนละ ๓๒๔ ไร เปนที่นายาว ๖๐ เสน กวาง ๕ เสน ๘ วา เพื่อพระราชทานแกพระเจาลูกยาเธอและพระเจาลูกเธอในพระองคและกลายเปนที่นา และที่ใหเชาเพื่อทําสวนผักทางแถบเขตตลิ่งชัน โดยสรุปคลองตางๆ คลองขุดลัดรวมทั้งคลองขุดลัดก็คือ คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่ขุดเพื่อเปดพื้นที่และ เสนทางไปสูทองถิ่นทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยาทางดานเหนือสุด ถัดมาคือคลองบางกอกนอยที่ เชื่อมตอกับคลองชักพระ ซึ่งเปนลําน้ําเจาพระยาเดิมกอนขุดลัดบางกอก ลําน้ําเจาพระยาเดิมในบริเวณนี้มี คลองซอยทางฝงตะวันตกที่เปนคลองซอยมาแตโบราณ ดังปรากฏในนิราศกําสรวลสมุทร เชน คลองบาง ระมาด คลองบางพรม คลองบางเชือกหนัง คลองบางนอย


๙๓ แตละคลองจะมีการขุดคลองลัดเพื่อตอเชื่อมชุมชนในคลองตางๆ ถึงกันและยังเปนการขุดเพื่อ สะดวกแกการคมนาและการไหลเวียนของน้ําใหมีลักษณะขึ้นลงไดไมเออขังซึ่งจะทําใหเกิดน้ําจืดและ น้ําเค็มที่ไมสมดุลสรางความเสียหายแกเรือกสวนตางๆ เชน คลองบัว ขุดเชื่อมระหวางคลองมหาสวัสดิ์และ คลองบานไทร คลองศาลเจาและคลองวัดไกเตี้ย ลัดระหวางคลองมหาสวัสดิ์และคลองบางระมาด คลอง ลัดมะยมและลัดกัลยา ขุดลัดระหวางคลองบานไทรและคลองบางพรม คลองลัดตาเหนียง ขุดเชื่อมระหวาง คลองบางเชือกหนังและคลองบางพรม คลองลัดตานิน เชื่อมระหวางคลองบางเชือกหนังและคลองบางพรม

ริมคลองมหาสวัสดิ์ 0

บานจัดสรรและบานเรือน สมัยใหมริมคลองบางพรมเขา มาแทนที่บานเรือแบบเดิม


๙๔

บานเรือนริมคลองบางระมาด

ในอดีตการคมนาคมสวนใหญใชเรือเปนพาหนะ ใชการเดินทางทางน้ําเปนหลัก อีกทั้งการใชพื้นที่ การเกษตร ซึ่งสวนใหญจะอยูริมคลองที่เต็มไปดวยสวนทั้งสวนไมยืนตน สวนผัก สวนกลวยไม หรือการ เดินทางตามรองสวนซึ่งสามารถติดตอถึงกันไดในละแวกบานหรือหมูบานใกลเคียง มีเรือหลายชนิดที่เหมาะกับการใชงาน ไดแก เรือสําปน เรือบด เรืออีแปะ และเรือแจว ซึ่งทุกบานมี ไวใชตามความจําเปน หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเริ่มมีเรือแท็กที่ใชเครื่องยนตรับสงผูโดยสารและบรรทุก ของ มีแพตามหนาวัดสําหรับขึ้นลงเรือ ตอมาแพขึ้นลงเรือไดเปลี่ยนเปนโปะถาวร สําหรับเรือจอดรับสง ผูโดยสารซึ่งเปนโปะสาธารณะ มีเรือไปบางกอกนอยเพื่อเขากรุงเทพฯ เปนเรือแท็กชี่แบบเผาหัว ผูโดยสารสวนใหญเปนขาราชการ นักเรียน และพอคาแมคา โดยจะตองไปขึ้นเรือที่ทาพระจันทร และทาชาง การคาขายเปนไปดวยความคึกคัก มีเรือแจวขายของอยูเต็มแมน้ําตั้งแตเวลาประมาณตีหาจนถึงสี่ โมงเย็น ของที่ขายมีทุกประเภท ทําใหประชาชนซึ่งปลูกบานเรือนไมชั้นเดียวอยูเต็มสองฟากฝงแมน้ําลํา คลอง มีความสะดวกสบายในการซื้อของกินของใช ไมจําเปนตองไปหาซื้อที่อื่น ผูคนที่อาศัยอยูบริเวณ ตลาดน้ํา รูจักมักคุนกับพอคาแมคา การซื้อขาย ก็ไมมีการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การพายเรือตามลํา คลองสมัยกอนมีความปลอดภัย ไมตองระวังตัวมากเหมือนในปจจุบัน เลากันวาคนขายของสวนใหญ จะเปนชาวสวนที่นําเอาผลผลิตของตนมาขายโดยเปนสินคาที่ จําเปนในแตละวัน ถามีของขายมากสวนใหญก็นําไปขายที่กรุงเทพฯ โดยใชเรือแจวไป เริ่มออกเดินทางตั้ง แตตีหา ของที่เอาไปขายสวนใหญเปนพวกสม ทุเรียน มะพราว มะละกอ กลวย ขากลับก็นําเอาสินคาพวก ผักมาขายดวย แตถาเปนการคาขายเล็กๆ นอยๆ ก็จะนํามาขายที่ตลาดน้ํา 1

2

3

4

5


๙๕

ตลาดน้ําดั้งเดิมของ ชาวบานแถบตลิ่งชัน เมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๐

เขตตลิ่งชันมีการขยายตัวทางดานเศรษฐกิจเปนอยางมาก เนื่องจากมีการตัดถนนบรมราชชนนี ถนนคูขนานลอยฟาบรมราชชนนี ถนนกาญจนาภิเษก ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ และถนนราชพฤกษ ซึ่งเปน ถนนสายหลักที่ทําใหพื้นที่เขตตลิ่งชันมีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว สวนทางสายรองนั้นมีอยูทั่วไป และ เขาถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ไดแก ถนนฉิมพลี ถนนทุงมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนวัดอินทราวาส ถนนบางเชือกหนัง ถนนแกวเงินทอง ถนนชัยพฤกษ และถนนปากน้ํา กระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกลาวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกยอยออกมาอีกมาก ถนนหลัก ๙ สาย ที่ตัดผานพื้นที่เขตตลิ่งชันและระยะทางที่ตัดผาน ไดแก ๑) ถนนบรมราชชนนี จากคลองบางกอกนอยถึงตางระดับฉิมพลีระยะทาง ๖.๗ กิโลเมตร ๒) ถนนวัดแกว-พุทธมณฑลสาย ๑ จากถนนฉิมพลี-วัดเงินถึงสะพานที่ ๕ จากสะพานที่ ๕ ถึงวัด ศรีรัตนารามยาว ๑.๐๗๕ กิโลเมตร ระยะทาง ๓.๔๕ กิโลเมตร ๓) ถนนฉิมพลี-วัดเงิน จากถนนฉิมพลีถึงคลองบางพรม และจากคลองบางพรมถึงสะพานวัดแกว ยาว ๒.๐๘ กิโลเมตร ระยะทาง ๑.๐๕ กิโลเมตร ๔) ถนนฉิมพลี จากถนนชักพระ-ตลิ่งชันถึงถนนบรมราชชนนี และจากถนนบรมราชชนนีถึงถนน บรมราชชนนี ระยะทาง ๑.๔๕ กิโลเมตร และระยะทาง ๒.๑๓ กิโลเมตร ๕) ถนนชัยพฤกษ จากคลองชักพระถึงถนนบรมราชชนนี และจากถนนบรมราชชนนีถงึ วัด ชัยพฤกษมาลา ระยะทาง .๘๓ กิโลเมตร ระยะทาง ๑.๔๖ กิโลเมตร ๖) ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ (เดิม) จากถนนบรมราชชนนีถงึ ถนนสุขาภิบาล (บางระมาด) ปจจุบัน กําลังกอสรางขยายถนนใหกวางขึ้นเปน ๕๐ กิโลเมตร ระยะทาง ๔.๐๕ กิโลเมตร


๙๖ ๗) ถนนสวนผัก จากถนนชัยพฤกษถึงทางรถไฟสายใต และจากทางรถไฟสายใตถึงถนนกาญจนา ภิเษก ระยะทาง ๓.๘ กิโลเมตร และระยะทาง ๑.๙๙ กิโลเมตร ๘) ถนนทุงมังกร จากถนนสวนผักถึงถนนบรมราชชนนีระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร ๙) ถนนราชพฤกษชว งที่ผากลางสวนบางระมาดและบางพรม ระยะทางราว ๕.๕ กิโลเมตร สําหรับหมายเลข ๙ คือ ถนนราชพฤกษที่เปนโครงการกอสรางถนน ขนาด ๔ ชองจราจร จากสาม แยกไฟฉาย-ถนนวงแหวนรอบนอก ระยะทาง ๗ กิโลเมตร เริ่มดําเนินการในเดือนมีนาคม ๒๕๔๕และเปด ใชเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๙ กรุงเทพมหานครไดทยอยจายเงินคาเวนคืนที่ดิน รวมเปนเงิน ๙๒๗ ลาน บาท เสนทางดังกลาวครอบคลุมพื้นที่ในเขตบางกอกนอยและตลิ่งชัน โดยที่ดินมีราคาสูงที่สุดเปนที่ดินปลูก สรางอาคารพาณิชยริมถนนจรัญสนิทวงศ คาเวนคืน ๑๐๐,๐๐๐-๒๒๐,๐๐๐ บาทตอตารางวา พื้นที่ ดังกลาว กรุงเทพมหานครเวนคืนเปนแนวยาว ๑๐๐ เมตร เพื่อเปดทางเขา-ออกใหผูขับขี่ผานเขา- ออกได สะดวก ตัดผานพื้นที่เกษตรกรรม ที่ดินตาบอด สวนใหญมีราคาเวนคืนระหวาง ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทตอ ตารางวา และเสนทางสายนี้ตัดผานบานเรือนและชุมชนแตดั้งเดิมทําใหเกิดปญหาไมใชนอย สวนถนนซอยเชื่อมไปยังวัดตางๆที่อยูริมน้ํา โดยมีรถโดยสารประจําทางผานหลายสาย และมีรถ สองแถววิ่งบริการรับสงผูโดยสารภายในบริเวณบางระมาด ฉิมพลี และบางขุนนนท มีทั้งหมด ๗ สาย เชน สาย ๒-บางขุนนนท สายวัดทอง-บางขุนนนท สายวัดชางเหล็ก-บางขุนนนท สายวัดประดู-บางขุนนนท สายบางพรม-บางขุนนนท เปนตน โดยเจาของรถสองแถวกลุมนี้เคยเปนชาวสวนชาวนามากอนจะขายที่ดิน เพื่อนําเงินมาลงทุนทํากิจการนี้ตั้งแตสมัยที่ถนนปนเกลา-นครชัยศรี ยังเปนถนนลูกรัง

ปลายสะพานถนนสานราชพฤกษ ขณะทําการกอสรางและเวนคืน จะ เห็นวาผากลางเขาไปในสวนผลไม ของชาวบานโดยตรงและมี ชาวบานบางคนไมยอมใหเวนคืน บานเรือนและที่ดินที่อยูมาเกาแก หลายชั่วอายุคน จนตองมีการ ฟองรองขับไลหญิงชราเจาของ บานจนเปนที่นาเวทนา


๙๗

ทางเขาหมูบานจัดสรรหรูหราริม ถนนราชพฤกษซึ่งไมกี่ปกอนเคย เปนที่สวนแตเดิม

เขตการปกครอง ในอดีตตลิ่งชันเคยเปนอําเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี เมื่อมีการปฏิรูป การปกครองในเขตนครหลวง โดยการรวมเอาจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรี ซึ่งเปนการบริหารราชการสวนภูมิภาค เปน “จังหวัดนคร หลวงกรุงเทพธนบุรี" รวมเอาองคการบริหารสวนจังหวัดพระนครกับองคการบริหารสวนจังหวัดธนบุรี ซึ่ง เปนราชการบริหารราชการสวนทองถิ่น เปน “องคการบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี" ตามประกาศคณะ ปฏิวัติฉบับที่ ๒๔ พ.ศ.๒๕๑๔ นอกจากนั้น ยังรวมเอาเทศบาลนครกรุงเทพกับเทศบาลนครธนบุรี ซึ่งเปน ราชการสวนทองถิ่นเปนเทศบาลนครหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานครใหม กําหนดใหกรุงเทพมหานครมีฐานะเปน “ราชการบริหารสวนทองถิ่นนครหลวง” เพียง องคการเดียว อําเภอตลิ่งชันจึงกลายเปนอําเภอหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตอจากนั้นไดมีการเปลี่ยนแปลง เปนเขตจนถึงปจจุบัน เขตตลิ่งชันจัดเปนเขตหนึ่งในหกของ “เขตชั้นนอกหรือเขตชานเมืองกรุงเทพมหานคร” ตามการ จัดแบงของกองผังเมือง สํานักงานปลัดกรุงเทพมหานคร แบงเขตการปกครองออกเปน ๘ แขวง ไดแก แขวง คลองชักพระซึ่งเปนเขตเทศบาล แขวงตลิ่งชัน แขวงฉิมพลี แขวงบางพรม แขวงบางระมาด แขวงบางเชือก หนัง แขวงทวีวัฒนา แขวงศาลาธรรมสพน หลังจากนั้น มีการแบงเขตการปกครองใหมเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๑ โดยตัดพื้นที่ออก ๒ แขวง คือ แขวงทวีวัฒนา และแขวงศาลาธรรมสพน ไปขึ้นกับ “เขตทวีวัฒนา” ดังนั้น เขตตลิ่งชันจึงเหลือเพียง ๖ แขวง คือ แขวงคลองชักพระ แขวงตลิ่งชัน แขวงฉิมพลี แขวงบางพรม แขวงบางระมาด และแขวงบางเชือก หนัง ปจจุบันเขตตลิ่งชันมีพื้นที่ ๓๒.๘๕ ตารางกิโลเมตร คิดเปนรอยละ ๒.๐๙ ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร การปกครองในแต ล ะแขวงจะแบ ง ออกเป น หมูบ า น มี กํ า นั น ผู ใ หญ บา น แพทย ป ระจํ า ตํ า บล ตําแหนงกํานันและผูใหญบานมีวาระ ๕ ป เมื่อครบวาระแลว ตําแหนงจะวางลงและจะไมมีการเลือกตั้งคน


๙๘

จํานวนประชากร การศึกษาและระบบความเชื่อ จํานวนหลังคาเรือนและประชากรตอหลังคาเรือนจากสถิติเมื่อป พ.ศ. ๒๕๒๖ พบวา มีหลังคาเรือน ทั้งสิ้น ๑๓,๘๕๐ หลังคาเรือน ตลิ่งชันและฉิมพลีมีหลังคาเรือนมากที่สุดตามลําดับ จํานวนประชากรนอย ที่สุด คือ บางเชือกหนัง และมีจํานวนหลังคาเรือนนอยสุดเชนกัน สวนการกระจายตัวของประชากรในป พ.ศ.๒๕๒๖ เปนการกระจายสม่ําเสมอ แขวงที่ตั้งทางฝงตะวันออกตอเขตบางกอกนอย คือ แขวงตลิ่งชัน ฉิมพลี บางระมาด และบางพรม จะมีประชากรหนาแนนกวา โดยเฉพาะ ตลิ่งชันและฉิมพลี มีพื้นที่รอยละ ๒๓ แตมีประชากรกรรวมรอยละ ๔๕ รูปแบบการกระจายตัวอยูรวมกันสูงในสวนที่เปนพื้นที่ใกลกรุงเทพฯ และลดลงเมื่อหางยานใจกลางกรุงเทพฯออกไป ประชาชนแตเดิมประกอบอาชีพการเกษตร มีถิ่นฐานอยูใน ชุมชนเดิมริมคลองตางๆ สวนประชากรตามชุมชนตามบานจัดสรรตางๆ กระจายอยูทุกแขวงมีอาชีพรับ ราชการ คาขาย รับจาง และประกอบอาชีพอื่นๆ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ มีประชากรทั้งสิ้น ๙๘,๘๓๓ คน เปนชาย ๔๗,๕๙๙ คน เปนหญิง๕๑,๒๓๔ คน จํานวนครัวเรือน ๑๙,๕๑๘ ครัวเรือน ในป พ.ศ. ๒๕๔๒ มีหลังคาเรือนทั้งสิ้น ๒๙,๔๐๒ หลังคาเรือน พ.ศ.๒๕๔๙ มีพื้นที่รวม ๒๙,๔๗๙ ตารางกิโลเมตร ความหนาแนน ๓,๖๒๓ คนตอตารางกิโลเมตร ประชากรเปนชาย ๕๑,๐๗๗ คน หญิง ๕๕,๗๓๔ คน รวม ๑๐๖,๘๑๑ คน จํานวนครัวเรือน ๓๔,๑๙๒ คน นาสังเกตวา ภายใน ๒ ป จํานวนประชากรแมเพิ่มขึ้นเปนปกติจํานวนไมมากนัก แตเมื่อดูจํานวน ครัวเรือนกลับเพิ่มขึ้นมาก สันนิษฐานไดวานาจะเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่เปนบานจัดสระมากขึ้น อยางเห็นไดชัด เขตตลิ่งชันมีโรงเรียนทั้งสิ้น ๒๙ โรงเรียน กระจายอยูตามแขวงตางๆ ทุกแขวง แบงเปน โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษามี ๕ โรงเรียน ไดแก โรงเรียนวัดนอยใน แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนโพธิ สารพิทยากร แขวงบางระมาด โรงเรียนมหรรณพาราม แขวงฉิมพลี โรงเรียนปากน้ําวิทยาคม แขวงบางพรม และโรงเรียนสุวรรณพลับพลา แขวงบางพรม โรงเรียนสังกัดสํานักการประถมศึกษาแหงชาติ ๑ โรงเรียน ไดแก โรงเรียนวัดชางเหล็ก แขวงคลอง ชักพระ โรงเรียนราษฎร ๘ โรงเรียน ไดแก โรงเรียนนิลประพันธ แขวงคลองชักพระ โรงเรียนอนุบาล กุลบุตรวั ฒโรฒน แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนกุศลศึกษา แขวงตลิ่ง ชัน โรงเรียนวรรัตนศึกษา แขวงตลิ่ งชัน โรงเรียนปยะมิตร แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนปยวิทยา-ตลิ่งชัน แขวงตลิ่งชัน โรงเรียนตรีมิตรวิทยา แขวงบาง เชือกหนัง และโรงเรียนอยูเย็นวิทยา แขวงบางพรม


๙๙ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ๑๖ โรงเรียน แบงเปน ๔ กลุม ไดแก กลุมโรงเรียนที่ ๑ โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (ประธาน) โรงเรียนฉิมพลี โรงเรียนวัดไกเตี้ย และ โรงเรียนตลิ่งชัน กลุมโรงเรียนที่ ๒ โรงเรียนวัดโพธิ์ (ประธาน) โรงเรียนวัดมะกอก โรงเรียนวัดอินทราวาส และ โรงเรียนวัดทอง กลุมโรงเรียนที่ ๓ โรงเรียนวัดปากน้ําฝงเหนือ (ประธาน) โรงเรียนวัดกระโจมทอง โรงเรียนพิกุล และโรงเรียนวัดเกาะ กลุมโรงเรียนที่ ๔ โรงเรียนวัดชางเหล็ก (ประธาน) โรงเรียนวัดรัชฎาธิษฐาน โรงเรียนตลิ่งชัน และ โรงเรียนวัดประสาท

โรงเรียนเทศบาลวัดตลิ่งชัน เมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๐

บริเวณทองถิ่นตามลําน้ําที่เปนคลองซอยแยกจากแมน้ําเจาพระยาเดิมมีชุมชนที่ถูกกลาวถึงมา ตั้งแตพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ในหลักฐานหนังสือกําสรวลฯ บริเวณนี้เปนเขตเรือกสวนและชุมชน วัดเกาๆ ที่มีความสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้มักจะอยูในเขตนี้มากกวาบริเวณที่ไกลจากลําน้ําเจาพระยาเดิมออกไปทาง ตะวันตกซึ่งเปนทองทุงนา ชุมชนกลางทุงมีอยูไมมากเมื่อเทียบกับชุมชนในเขตสวนภายใน ดังนั้น เราจะ เห็นวาวัดเกาแกของเขตตลิ่งชัน นอกเหนือบริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยูริมคลองเกาซึ่งเปนเสนทางคมนาคม สําคัญแลว วัดดั้งเดิมที่อยูในเขตทองนามีไมมากเชนในเขตสวน นาสังเกตวา วัดสวนใหญในเขตตลิ่งชันจะมีรองรอยความทรงจําวาสรางขึ้นมาใหมในสมัยธนบุรี และชวงตนกรุงเทพฯ จากซากวัดราง วัดเกาที่เหลือทิ้งไวหลังจากชาวบานชาวสวนแถวบางกอกและตลิ่งชัน นั้ น ทิ้ ง ชุ ม ชนให ร กร า ง ผู ที่ เ ข า มาใหม มั ก จะเป น คนที่ ม าจากเมื อ งอยุ ธ ยาเก า หรื อ ท อ งถิ่ น อื่ น ๆ เข า มา


๑๐๐

ชาวสวนมีฐานะดี เพราะมีผลผลิตเก็บขายไดตลอดทั้งปจนตองมีอากรเดินสวนซึ่งเปนรายไดสําคัญ ของพระคลังขางที่ในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร ชาวสวนบางชุมชนยังทํานาที่อยูในพื้นที่ดานหลังทางฝง ตะวันตกดวยแตก็มีบางชุมชนที่มีการทํานาอยางเดียว ดังนั้น ชาวสวนจึงไมอดขาวแถมยังมีรายไดจาก ผลไมหลากหลายในสวนดวย แมจะตองทํางานหนักกวาชาวบานทั่วๆ ไป เหตุนี้เอง วัดในสวนจึงไมใชวัด ยากจน แมไมใชวัดขนาดใหญดังวัดหลวงในเมืองที่มีผูอุปถัมภเปนเจานายแตก็ไมใชวัดเล็กเสียทีเดียว อีก ทั้งบานเรือนของขุนนางเกา เจานายเกาก็มีการเขามาซื้อที่ปลูกเรือนอยูอาศัยตามคลองยอยตางๆ ในเขตนี้ จึงมีการบํารุงวัดกันอยูไมขาด วัดในสวนสวนใหญจะมีอาคารศาสนสถานครบสมบูรณแทบทุกแหง อยางนอยก็มีโบสถไวปฏิบัติ กิจสงฆทั้งนั้น รวมทั้งวิหารบางแหงก็มีขนาดใหญ เจดีย ศาลาธรรมตางๆ รวมทั้งการตั้งสํานักเรียนพระ ปริยัติธรรมก็มีมาอยางสืบเนื่องจนถึงทุกวันนี้ยังเห็นรองรอยที่มีการสรางโรงเรียนนักธรรมในวัดหลายแหง วัดในเขตนี้ยังอุดมไปดวยพระสงฆที่มีบารมีเปนที่เคารพสักการของชาวบานมากมายและทั่วทุกวัด ความสําคัญของทานนั้นมีมากตอคนในชุมชนตางๆ เพราะเปนทั้งพระอุปชฌายผูเปนครูบาอาจารย บางรูป มีความรูทางการรักษาโรคและยาสมุนไพรซึ่งเปนสิ่งสําคัญอยางยิ่งตอชีวิตคนในสวน และพระสงฆบางรูปก็ อยูในฐานะเปนเกจิอาจารยผูมีความศักดิ์สิทธิ์ในตนเอง ดังนั้น ทั้งรูปเหรียญที่ระลึก เบี้ยแกเบี้ยจั่น ตะกรุด ผายันต ของขลังตางๆ ของพระเกจิอาจารยในแถบตลิ่งชันจึงมีผูนิยม เสาะหาเก็บไวกันอยางมากมาย นอกจากนี้ ตามวัดตางๆ ก็มักจะนิยมการสรางรูปหลอเนื้อโลหะขนาดเทาองคจริงของพระสงฆผูมี บารมี ซึ่งมักเปนเจาอาวาสที่ชาวบานนับถือศรัทธาของชุมชนตางๆ เก็บไวใหชาวบานบูชาระลึกถึง นอกจากนี้ก็ยังนิยมบูชาพระพุทธรูปจําลองที่ศักดิ์สิทธิ์ ผูคนนับถือทั่วไปในทองถิ่นใกลเคียงในเขตที่ เปนชายฝงทะเลแถบภาคกลางและสามารถเดินทางจากตลิ่งชันไปถึงไดโดยไมยากมากนัก เชน รูปจําลอง หลวงพอวัดบานแหลม สมุทรสงคราม รูปจําลองหลวงพอวัดไรขิง รูปจําลองหลวงพอพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา รูปหลอสมเด็จพระพุฒาจารย โต พรหมรังสี วัดระฆัง เปนตน เปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือรวมกันของชุมชนใน เขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาใหม วัดและสถานที่ทางศาสนาตางๆ ในแตละแขวง มีดังนี้ แขวงคลองชักพระ ไดแก วัดตลิ่งชัน วัดชางเหล็ก วัดรัชฎาธิษฐาน วัดกาญจนาสิงหาสน วัดเรไร และวัดปากน้ําฝงเหนือ ศาลเจาแมทับทิม แขวงตลิ่งชัน ไดแก วัดชัยพฤกษมาลา วัดนอยใน วัดไกเตี้ย วัดนครปาหมาก ศาลเจาพอจุย และ ศาลเจาเหงเจีย แขวงฉิมพลี ไดแก วัดมณฑป วัดทอง วัดกระจัง วัดพุทธจักรมงคลชยาราม และวัดสมรโกฏิ แขวงบางระมาด ไดแก วัดมะกอก วัดโพธิ์ วัดอินทราวาส และวัดจําปา วัดศิริวัฒนาราม


๑๐๑ แขวงบางเชือกหนัง ไดแก วัดเกาะ วัดทอง วัดวิศิษฏบุญญาวาสน แขวงบางพรม ไดแก วัดเพลง วัดสะพาน วัดเทพพล วัดแกว วัดประสาท วัดที่สําคัญที่เปนพระอารามหลวง ในเขตตลิ่งชันมีอยู ๓ วัด คือ วัดชัยพฤกษมาลา วัดกาญจนา สิงหาสน (วัดทอง บางพรม) และวัดรัชฎาธิษฐาน (วัดเงิน) สองวัดหลังตั้งอยูในคลองบางพรมซึ่งนับวาเปน สํานักเรียนที่มีชื่อเสียงทั้งทางวิปสสนาและพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ วัดในแถบบานสวนบานนาในแถบ ตลิ่ ง ชั น ยั ง สื บ ทอดการเป น สถานที่ เ รี ย นทางศาสนาของพระภิ ก ษุ ส ามเณรตลอดมาและเมื่ อ มี พระราชบัญญัติการประถมศึกษา โรงเรียนชั้นมูลฐานเบื้องตนก็อยูในพื้นที่ดินของวัดตางๆ ทั้งสิ้น

วัดกาญจนสิงหาสนหรือวัดทอง ริมคลองบางพรม

วัดอินทราวาสริมคลองบางพรม

วัดในเขตตลิ่งชันหลายแหงที่ยังคงรองรอยของโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาที่อาจจะมีอายุขึ้นไปถึง ในสมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา โดยเฉพาะสมั ย อยุ ธ ยาตอนปลาย เช น ชิ้ น ส ว นของพระพุ ท ธรู ป หิ น ทรายแดง


๑๐๒

ชิ้นสวนพระพุทธรูปหินทราย จํานวนมากที่วัดสะพาน ริมคลองบางนอย

วัดสวนใหญตั้งอยูริมคลอง จะมีบางแหงเทานั้นที่หางเสนทางน้ําออกมา วัดเหลานี้ตั้งอยูริมคลอง หันหนาวัดสูคลอง ยามเชาตรู จะแลเห็นพระภิกษุพายเรืออีแปะลําเล็กๆ ออกบิณฑบาต ปจจุบันเปนภาพที่ หาดูไดยาก เพราะเมื่อมีถนนตัดผานก็ไมจําเปนตองใชเรือ ดังนั้นจึงมีเพียงไมกี่วัดที่พระยังบิณฑบาตทาง เรืออยู เชน วัดมะกอก วัดจําปา วัดทอง วัดชางเหล็ก

พระรับบาตรโดยการพายเรือไป ตามลําคลอง

วัดตางๆ ในทองถิ่นตลิ่งชันมีความสัมพันธกับวิถีชีวิตของชาวบานอยางมากตั้งแตเกิดจนตายไมวา จะโกนจุก บวช แตงงาน หรืองานศพ ตองอาศัยวัดเปนศูนยกลางของชุมชนทั้งสิ้น บานใครอยูใกลวัดไหนก็


๑๐๓

การเตรียมพระบรมธาตุเพื่อนําไปใน ขบวนแหพระทางน้ําที่วัดนางชีไปตาม คลองชักพระในเขตตลิ่งชัน

งานบุญของวัดแตละแหงก็มีเอกลักษณที่ไมเหมือนกันและเปนการจัดงานรื่นเริงใหชาวบานมารวม ชุมนุมพบปะสังสรรคกัน เชน งานแหดาวดึงสที่วัดจําปา งานชักพระที่คลองบางกอกนอยและคลองชักพระ วัดนางชี วัดไกเตี้ย วัดตลิ่งชัน วัดเรไร งานแขงเรือยาวประเพณีที่วัดนอยในและงานแหกฐินทางเรือของ ชุมชนริมน้ําตางๆ งานตักบาตรเทโว และงานประเพณีตามชวงเวลาอื่นๆ ในชวงสรางบานแปลงเมืองตั้งแตเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทรเปนตน การศึกสงครามกับบานเมืองตาง ถิ่นและการกวาดตอนอพยพผูคนเขามาเปนไพรฟาประชากรนับเปนสิ่งสําคัญอยางมาก ตั้งขอสังเกตไดวา ภายในตัวเมืองกรุงเทพฯ ชั้นในจะมีการอยูอาศัยของครัวเรือนที่เปนชนชั้นสูงและมีสถานภาพทางสังคมมา แตเดิมของผูคนหลากชนชาติหลากภาษาในยานตางๆ เชน คนมลายูที่เรียกวาแขกตานีบริเวณแยกคอกวัว และบางลํ า พู ใ นป จ จุ บั น คนลาวที่ ย า นฝ ง ธนบุ รี คนญวนที่ ท า เตี ย นและสามเสน เป น ต น ส ว นในเขต ปริมณฑลของกรุงเทพฯ ก็เต็มไปดวยผูคนหลากชาติพันธุตั้งชุมชนรวมกลุมกัน ธํารงเอกลักษณวัฒนธรรม ของตนเองสืบเนื่องมา แตทั้งหมดนั้นก็ถูกบูรณาการเขาเปนสวนหนึ่งของความเปนคนกรุงเทพฯ และคน ไทยเชนเดียวกัน ยานตลิ่งชันนอกเหนือจากชาวนาและชาวสวนแลว ก็ยังมีคนจีนที่เขามาปลูกผักยกรอง ชาวจีนแถบ นี้นับถือทั้งคริสตศาสนาและนับถือเจาพอและศาลเจาที่เปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน นอกจากนี้ ยังมีคนญวน ที่เขามายังกรุงเทพฯ ในชวงที่บานเมืองญวนเกิดความไมมั่นคง และเปนกลุมที่นับถือคริสตศาสนา ในเขต


๑๐๔

วัดศีลมหาสนิทที่สวนผัก ตลิ่งชัน สรางเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖

ศาลเจาเซีบมซือกงที่ริมคลองมหา สวัสดิ์ ตลิ่งชัน

นอกจากนี้ ยังมีศาลเจาของคนเชื้อสายจีนในยานริมคลองชักพระ เชน ศาลเจาแมทับทิม สวนใน ยานสวนผักซึ่งปจจุบันแปรเปลี่ยนเปนยานที่พักอาศัยและเมืองจนเกือบหมดแลว เชน ศาลเจาและโรงเจ เซียมซือกง โรงเจตนโพธิ์ และศาลเจาพอจุยและศาลเจาเหงเจีย


๑๐๕

ศาลเจาเหงเจียของคนเชื้อสายจีน ที่ยานตลิ่งชัน

ทองถิ่นบานสวนตลิ่งชัน พื้ น ที่ ใ นวั ด แถบฝ ง ธนฯ ในอดี ต มั ก เก็ บ รั ก ษาต น ไม ใ หญ ๆ ไว ไ ด ม าก แต เ มื่ อ สภาพแวดล อ ม เปลี่ยนแปลง ตนยางใหญในวัดหลายแหงถูกโคนไปหมดแลว เชนที่ วัดทอง บางระมาด วัดสะพานบางพรม เหลือตนสะตือเกาแกเพียงตนเดียว อายุ ๑๕๐ กวาป จนเมื่อ ๒๐ กวาปที่ผานมา ทองถิ่นตลิ่งชันมีครัวเรือน ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมกวาครึ่งหนึ่ง มีทั้งการทําสวนผลไม สวนผัก สวนไมดอกไมประดับและอาชีพ รองลงมาคือ การคาขาย รับจาง ขาราชการ และอื่นๆ การตัดถนนที่นํามาซึ่งสิ่งกอสรางพื้นฐานตางๆ ยังมี ไมมากเชนในปจจุบัน แตเมื่อเวลาผานไปราว พ.ศ.๒๕๔๖ แมจะยังมีตัวเลขที่ไมแนนอน แตจํานวนครัวเรือ และพื้นที่ทําเกษตรกรรมไดลดลงตามลําดับ โดยเฉลี่ยเหลือเพียง ๓๐ % เทานั้น ท อ งถิ่ น ตลิ่ ง ชั น เผชิ ญ ภาวะเช น เดี ย วกั บ เขตชานเมื อ งอื่ น ๆ คื อ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงพื้ น ที่ ก าร เกษตรกรรมเปนเมืองอยางรวดเร็ว หลังกระแสพัฒนาเศรษฐกิจที่เปนนโยบายแหงชาติหลัง พ.ศ.๒๕๐๒ เปนตนมา แมในอดีตพื้นที่ในทองถิ่นตลิ่งชันจะใชเพื่อการเกษตรกรรมเปนสวนใหญ แขวงชักพระซึ่งเปนเขต เทศบาล แขวงตลิ่งชัน บางสวนของบางระมาดก็มีการใชที่ดินเพื่อการพาณิชย ที่อยูอาศัยและอุตสาหกรรม อยางมากมาย จากขอมูลของหนวยงานที่เกี่ยวของกับงานสงเสริมการเกษตรในเขตตลิ่งชันซึ่งมีอยู ๓ หนวยงาน คือ ฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สํานักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สํานักงาน เกษตรเขตตลิ่งชัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ สหกรณการเกษตร และขอมูลจากการทํางานวิจัยเรื่อง ประชากรของสถาบันประชากรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สามารถประมวลรูปแบบของการใชพื้นที่ เพื่อทําการเกษตรในรูปแบบขอมูลเชิงสถิติ ไดดังนี้ สํานักงานเกษตรเขตตลิ่งชัน ป พ.ศ. ๒๕๒๖ พบวา นอกจากคลองชักพระซึ่งไมไดสํารวจเพราะมี ลักษณะเปนบานเรือนไมมีพื้นที่การเกษตร ครัวเรือนในตลิ่งชันรอยละ ๕๐ เปนครอบครัวเกษตรกร แขวงที่


๑๐๖

ผลกระทบจากสภาพน้ําทวมอยางหนักป พ.ศ.๒๕๑๘ และ พ.ศ.๒๕๒๖ ทําใหชาวสวนตองเปลี่ยน จากการปลูกพืชเพื่อหวังผลผลิตเปนการขยายพันธไมโดยวิธีการตอนและเพาะชํา เชน มะมวง กระทอน สมเขียวหวาน มะกรูด เพราะใหผลรวดเร็วคุมคากวา อยางไรก็ตาม พื้นที่ปลูกไมผลยังมีเหลืออยูในทุกแขวง เวนแขวงคลองชักพระ โดยแขวงบางระมาดมีสวนผลไมมากที่สุด พื้นที่ในเขตตลิ่งชันทุกแขวงยกเวนแขวงคลองชักพระจะมีการปลูกผักทั่วไป แตในอดีตมีมากแถบ ถนนสวนผักและปจจุบันลดนอยลงมากแลว โดยเฉพาะผักจีน เชน คะนา กุยชาย และสวนพืชผักสวนครัว จําพวกตะไคร กระเพรา โหระพา ขิง ขา มะนาว มะกรูด ซึ่งเปนพืชเศรษฐกิจ สามารถทํารายไดไมนอย โดย ใชพื้นที่คิดเปนรอยละ ๔๐.๕๗ ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด ผลผลิตที่ไดจะสงปากคลองตลาด ทั้งสงเอง และมีพอคามารับซื้อ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ มีการเปลี่ยนแปลงที่ดินเพื่อการทํานามาเปนการทําไรและสวนผักมากขึ้น เพราะ ไดผลตอบแทนมากกวา คุมคาเชาที่ดินและการลงทุน เนื่องจากการใชที่ดินไดบอยครั้งมากกวาการทํานา พืชผักจีน ประเภท ผักกวางตุง ผักบุงจีน จะปลูกไดถึงปละ ๖ ครั้ง ปลูกผักคะนาไดปละ ๕ ครั้ง พื้นที่รอยละ ๕๐ ใชทําสวนผักและทํากันทั่วไปในทุกแขวง พื้นที่ปลูกสวนผักมีมากในแขวงบางระมาดและบางพรม รอย ละ ๖๖ และ ๖๔ ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด

สวนผักแถบบางระมาด เปลี่ยนจากที่เคยเปนที่นา และลอมรอบดวยสวน


๑๐๗

สวนเตยและสวนผักแถบ บางระมาด เมื่อพ.ศ.๒๕๕๒

ในชวงปเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินเพื่อการทํานามาเปนการทําไมดอกไมประดับ ตลอดจนการขยายพันธุไมดอกและไมประดับ เนื่องจากผลที่ไดคุมกวาการทํานา เมื่อป พ.ศ.๒๕๔๑ พบวา ประมาณรอยละ ๖ ของพื้นที่การเกษตรเพื่อทําสวนไมดอกไมประดับ บางเชือกหนังทํามากที่สุด รอยละ ๑๑ รองลงมาคือ บางระมาด ที่ปลูกไดแก กลวยไม ดอกเยอรบีรา กลวยไม กุหลาบ ชวนชม โกสน ดาวเรือง บัว คิดเปนรอยละ ๙.๐๒ ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ๒๘

กลวยไมที่สวนบางพรม

๒๘

สํานักงานเขตตลิ่งชันไดสํารวจขอมูลการเกษตรของเขตตลิ่งในป พ.ศ.๒๕๔๑


๑๐๘ สวนกลวยไมที่แขวงบางพรม

จํานวนครัวเรือนเกษตรกรและพื้นที่ทําการเกษตรของเขตตลิ่งชัน พ.ศ.๒๕๔๑ แขวง

จํานวนครัวเรือน เกษตรกร ทําสวน บางระมาด ๔๐๔ ๙๘๗.๕ บางพรม ๒๗๘ ๕๖๙.๐ บางเชือกหนัง ๒๕๔ ๒๑๓.๕ ฉิมพลี ๑๖๓ ๓๓๕.๐ ตลิ่งชัน ๑๒๔ ๓๐๐.๐ รวม ๑,๒๒๓ ๒,๔๐๕.๐

พื้นที่ทําการเกษตร(ไร) ปลูกผัก ไมดอก ๗๐๕.๐ ๒๔.๐ ๔๘๑.๐ ๑๐๘.๕ ๖๙๗.๐ ๒๓๒,๕ ๒๖๙.๐ ๔๗.๐ ๙๓.๕ ๓๐.๐ ๒,๒๔๕.๕ ๔๔๒.๐

ประมง ๖.๐ ๔.๐ ๑๒.๕ ๒๒.๕

พื้นทีถือครอง(ไร) ที่เชา ที่ตนเอง ๙๔๒.๐ ๗๘๐.๕ ๖๕๘.๕ ๕๐๔.๐ ๕๗๖.๕ ๕๖๖.๕ ๒๔๙.๐ ๔๑๔.๕ ๑๕๗.๐ ๒๖๖.๕ ๒,๕๘๓.๐ ๒,๕๓๒.๐

ที่มา : สํานักงานเขตตลิ่งชัน ป ๒๕๔๑

เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ แขวงบางระมาดมีจํานวนครัวเรือนเกษตรมากที่สุด คือ ๓๓ % และมีพื้นที่ทํา การเกษตรจํานวนมากที่สุด ๓๓.๖๘ % รองลงมาคือ แขวงบางพรมรอยละ ๒๘.๑๖ % แขวงบางเชือกหนัง ๒๗.๓๑ % แขวงฉิมพลี ๑๒.๙๗ % และแขวงตลิ่งชัน ๘.๒๘ % ตามลําดับ ในจํานวนพื้นที่ทําการเกษตร ทั้งหมด ๕,๑๑๕ ไร เปนพื้นที่ทําสวนไมผลมากที่สุด ๔๗ % รองลงมาคือสวนผัก ๔๔ % สวนไมดอกไม ประดับ ๘.๖ % และการประมง ๐.๔๔ % ตามลําดับ สวนพื้นที่ที่ถือครองมีจํานวนพอๆ กับพื้นที่เชา


๑๐๙ จํานวนครัวเรือนเกษตรกรและพื้นที่ทําการเกษตรของเขตตลิ่งชัน พ.ศ.๒๕๔๔ แขวง

บางระมาด บางพรม บางเชือกหนัง ฉิมพลี ตลิ่งชัน รวม

จํานวน (ครัวเรือน) เกษตรกร ๓๖๖ ๒๔๗ ๒๓๙ ๑๕๓ ๑๐๘ ๑,๑๑๓

พื้นที่ทําการเกษตร(ไร) ทําสวน ๙๒๖.๗๕ ๕๒๒.๕ ๑๙๗.๕ ๔๐๖.๕ ๒๗๐.๕ ๒,๓๒๓.๗๕

ปลูกผัก ๕๙๙.๕ ๔๐๔.๕ ๖๒๑.๕ ๑๘๒.๕ ๘๑.๐ ๑,๘๘๙.๐

พื้นที่ถือครอง(ไร) ไมดอก ๒๕.๐ ๑๑๓.๕ ๒๐๙.๐ ๔๓.๐ ๒๙.๕ ๔๒๐.๐

ประมง ๖.๐ ๔.๐ ๑๓.๕ ๒๓.๕

ที่เชา ๘๓๔.๕ ๕๘๕.๕ ๔๙๗.๕ ๒๐๓.๐ ๑๕๒.๕ ๒,๒๗๓.๐

ที่ตนเอง ๗๒๒.๗๕ ๔๕๙.๐ ๕๓๐.๕ ๔๔๒.๕ ๒๒๘.๕ ๒,๓๘๓.๒๕

ที่มา : สํานักงานเขตตลิ่งชัน ป ๒๕๔๔

จะเห็นไดวาในป ๒๕๔๔ แขวงบางระมาดมีจํานวนครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุด ๓๒.๘๘ % และมี พื้นที่ทําการเกษตรมากที่สุด ๓๓.๔๔ % รองลงมาคือ แขวงบางพรม ๒๒.๔๔ % แขวงบางเชือกหนัง ๒๒.๘ % แขวงฉิมพลี ๑๓.๘๖ % และแขวงตลิ่งชัน ๘.๑๘ % ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับป ๒๕๔๑ ในภาพรวมจะเห็นวาครัวเรือนเกษตรกรรมลดลงจํานวน ๑๑๐ ครัวเรือน หรือรอยละ ๙ และลดลงในทุกแขวง จํานวนพื้นที่ทําการเกษตรทั้งหมดลดลงจาก ๕,๑๑๕ ไร หรือ ลดลงรอยละ ๘.๙๙ จํานวนพื้นที่ถือครองในภาพรวม พื้นที่ของตนเองมีมากกวาพื้นที่เชาเล็กนอย แตในแขวงที่มีพื้นที่ ทําสวนมาก ไดแก แขวงบางระมาด แขวงบางพรม แขวงบางเชือกหนัง ยังคงมีพื้นที่เชาสูงกวาพื้นที่ของ ตนเอง แสดงวา ชาวสวนสวนใหญตอง “ถือสวน” หรือเชาที่ของคนอื่นทําสวน จะเห็ น ว า ในถิ่ น นี้ มี พื ช ที่ ดั้ ง เดิ ม ใกล สูญ พั น ธ แ ละพื ช ที่ สู ญพั น ธุ ไ ปแล ว หลายชนิ ด สาเหตุ ใ หญ เนื่องจากน้ําทวมหนักในป พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ๒๕๒๖ ทําใหสวนลม ที่รอดตายเหลือมีนอยจนในที่สุดสูญ พันธุไป และไมมีการปลูกใหมทดแทนเพราะใชเวลานานหลายปกวาจะใหผลผลิต รวมทั้งพืชพันธุใหมที่ กําลังนิยมเขามาแทนที่ อยางไรก็ตาม ไมผลที่ใกลสูญพันธุก็มีชาวสวนพยายามจะอนุรักษพันธุหายากเหลานี้ไวเชนกัน เชน ชมพูพันธุน้ําดอกไม ซึ่งเหลือตนใหญเพียงตนเดียวในแขวงบางระมาด หมู ๑๓ ดังที่ จ.ส.อ. ชิน เรืองศรี ประธานชุมชนหมูบานพัฒนาหมู ๑ บางระมาด กลาววา “….ผมเสียดายอยากจะอนุรักษไว จะตอนกิ่งขยายพันธุไวเยอะๆ น้ําดอกไมผมเคยตอนไวกิ่งหนึ่ง ละมุดสีดาพันธุเกาแกก็เหลือนอยแลว มะกอกน้ําแตกอนมีเยอะริมคลอง เดี๋ยวนี้ไมมี ผมจะหามาปลูกไวให ลูกหลานดูสักตน….”


๑๑๐

แผนที่แสดงพื้นที่บริเวณเขตตลิ่งชันเมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๖ บริเวณสีฟาคือพื้นที่สวน บริเวณสีเหลืองคือพื้นที่นาและบริเวณสีขาวคือพื้นที่ชุมชน


๑๑๑ กลาวไดวาพื้นที่สวนยานบางบน โดยเฉพาะในแขวงบางระมาดเปนแหลงใหญที่รวมพืชพันธุตางๆ พันธุชั้นดีหลายชนิดมีทั้งที่สูญไปแลวและใกลจะสูญพันธุดั้งเดิมบางชนิดยังคงเหลืออยูบางตามสวนลึกๆ แตละพันธุมีลักษณะไมเหมือนกัน รสชาติก็มีหลากหลาย ไมผลพันธุเกาแกที่มีชื่อของถิ่นพวก มะไฟพันธุ ครูถิน พันธุยายเพาะ พันธุตาเจือ รวมทั้งมะมวงพันธุพราหมณขายเมียและกระทอนพันธุทับทิม ซึ่งสอง ชนิดนี้เลื่องชื่อมากแตทุกวันนี้เหลือจํานวนนอยเต็มทีตามสวนเกาๆ ในเขตตลิ่งชัน หลังจากประสบภัยน้ําทวมรุนแรง สวนผลไมเสียหายหนัก ชาวสวนจึงหันมาทําสวน ผักกันจนขยายพื้นที่ไปทุกแขวงยกเวนแขวงชักพระ เพราะลงทุนนอยและเก็บผลผลิตขายไดเร็ว แขวงตลิ่ง ชันและฉิมพลีปลูกผักจีนมาก สวนแขวงบางเชือกหนังและบางพรมปลูกผักไทยโดยเฉพาะมะกรูด มะนาว สามารถทนตอสภาพน้ําทวมไดดี ชาวสวนจึงพากันปลูกมากขึ้นในแถบบางระมาด ตั้งแตป พ.ศ.๒๕๒๖ เรื่อยมา จนกลายเปนแหลงผลิตและขายสงที่สําคัญแหลงหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ฯ

ชุมชนชาวสวนในรูปแบบใหม การตัดถนน ทําใหเกิดการตั้งถิ่นฐานตามเสนทางถนนที่ตัดใหม เกิดชุมชนหนาแนนขึ้นตามสองฝง ถนน เปลี่ยนแปลงการใชพื้นที่เกษตรกรรมเปนยานบริษัทหางรานทําการคาตางๆ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือที่อยูแบบตึกแถว โครงขายของถนนปรากฏหนาแนนในเขตตลิ่งชัน บทบาทของเสนทางถนนไดทวี ความสําคัญมากขึ้นและมีผลกระทบตอการใชที่ดินและการตั้งถิ่นฐานของประชากรในตลิ่งชันอยางเห็นได ชัด ความเปนอยูของประชาชนโดยทั่วไปมีลักษณะผสมผสานกันระหวางสังคมเมืองและสังคมชนบท มีพื้ น ที่ที่ เ ปนที่ อยูอ าศั ย ประกอบธุรกิจการคาและทําการเกษตรบ านเรื อนตั้ ง อยูอย างกระจัดกระจาย บานเรือนของเกษตรกรสวนใหญอยูริมคลองสองฝง เพราะเดิมถูกใชเปนเสนทางในการคมนาคมที่สําคัญ เกษตรกรในทองที่มักจะมีความสนิทสนมคุนเคยกันเปนอยางดี แตเดิมโครงสรางสังคมของชาวสวนมีวัดเปนศูนยกลางของชุมชน มีงานประเพณีพิธีกรรมของ ชุมชนที่วัด โดยมีพระสงฆผูอาวุโสเปนที่นับถือของชาวบานเปนผูนําทางจิตวิญญาณ ดังจะเห็นไดจากการ ทําเหรียญวัตถุมงคลของวัดตางๆ ในละแวกตลิ่งชันเปนรูปพระเกจิอาจารยในทองถิ่นนี้หลายวัดและเปน วัตถุมงคลที่มีผูนิยมเชาบูชา ภายในชุมชนมีความสัมพันธแบบเครือญาติใกลชิด กอนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการแตงงาน ขามถิ่นและการโยกยายของผูคนทั้งเขาและออกไปจากชุมชนเดิม ครอบครัวชาวสวนเปนครอบครัวขยาย ญาติพี่นองหลายรุนอยูรวมกันหมดในกลุมบานเดียวกัน และมีความสําคัญอยางมากตอการสืบทอดอาชีพ ทําสวน เพราะแรงงานเปนสิ่งสําคัญของการทําสวนและคนรุนตอมาก็ไดเรียนรูสืบทอดความรูเกี่ยวกับการ ทําสวนที่เปนศาสตรจนเกิดความชํานาญ


๑๑๒ เมื่อเติบโตพอแมก็จะแบงที่ดินทรัพยสินมรดกใหสําหรับสรางครอบครัวใหมโดยแยกการทํามาหา กินและการใชจาย โดยสวนใหญมักจะยกมรดกที่ดินสวนใหแกลูกสาวเพื่อทําสวนตอไป แตลูกชายจะไมให” ใหไปเอาของเมีย” (อุดมลักษณ ชอยหิรัญ สัมภาษณ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕) ความสัมพันธของคนในชุมชนแนนแฟนและรูจักหนาคาตากันทุกบาน กิจกรรมความรวมมือมี ระบบเอาแรงลงแขก เชน การลงแขกเพื่อสรางบานเรือนหรือทํางานในสวนเปนการแลกเปลี่ยนแรงงานกัน ชาวสวนมักจะยอมเสียสละที่ดินของตนสวนหนึ่งสําหรับขุดลํากระโดงใหเปนทางสัญจรทางน้ํา สาธารณะ เชนเดียวกับคันสวนทุกสวนถือวาเปนทางเดินสาธารณะซึ่งทุกคนเดินผานไดตลอด คนในชุมชน ไดรับประโยชน ในขณะที่ปจจุบันทุกสวนลอมรั้วกั้นหมดแลวและสวนใหญจะเปนรั้วลวดหนาม ระบบสั ง คมดั้ ง เดิ ม มี แ นวโน ม ที่ จ ะเปลี่ ย นแปลงเป น สั ง คมสมั ย ใหม เองจากการได รั บ ระบบ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการในพื้นที่ การยายเขาของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และการลดลงของพื้นที่สี เขียวอยางตอเนื่อง สงผลผลิตตอการทําสวนและเกิดเปนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การคมนาคม ขนสงทางถนนยิ่งขึ้น รูปแบบการตั้งถิ่นฐานและลักษณะรูปทรงของอาคารเปลี่ยนไปเปนอาคารสมัยใหม โครงสรางทางสังคมของชุมชนเปลี่ยนแปลงเปนสังคมแบบชุมชนเมืองมากขึ้น อาจกลาวไดวา ฟนที่ฝงธนบุรีในเขตชั้นนอกนี้มีสภาพกึ่งชนบทกึ่งเมืองเพราะเพิ่งเปลี่ยนสภาพจาก ชนบทมาเปนเขตที่อยูอาศัยใหมที่มีการพัฒนาอยางรวดเร็วในทุดาน ดังนั้น โครงสรางทางสังคมของชุมชน จึงมีลักษณะเปนสังคมชนบทและสังคมเมืองผสมกัน สมาชิกอาวุโสยังคงใชชีวิตเรียบงายแบบดั้งเดิม ในขณะที่สมาชิกรุนใหมใชชีวิตตามกระแสทุนนิยมและบริโภคนิยม แหลงการคาที่สําคัญสวนใหญอยูในบริเวณแขวงคลองชักพระรวมทั้งพื้นที่ใกลเคียง สวนที่พัก อาศัย แบบใหม เ กิดขึ้ น ทา มกลางสวนไมผลยืน ตน หรื อที่น าแปลงต า งๆ ทางตะวัน ออกของพื้น ที่และมี แนวโนมขยับขยายไปทางตะวันตกมากขึ้น เนื่องมาจากการตัดถนนบรมราชชนนี ถนนกาญจนาภิเษกและ ถนนราชพฤกษ เปนการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่การเกษตรมาเปนการใชที่ดินประเภทอื่นๆ อยางรวดเร็ว จากการที่กรุงเทพมหานครไดทําการวางและจัดทําผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครในพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๒ นั้น เขตตลิ่งชันถูกกําหนดการใชประโยชนที่ดินอยูในประเภท “พื้นที่อนุรักษชนบทและเกษตรกรรม” หรือ พื้นที่สีเขียวเพื่อทําการเกษตรกรรมและเปนพื้นที่ชวยในการระบายน้ําของฝงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีตัวอยางของสถิติที่เก็บจาก ชุมชนบางระมาด วา อาชีพและการถือครองที่ดิน ทางการเกษตร จากการสํารวจขอมูลทางการเกษตรของฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สํานักงาน เขตตลิ่งชัน มีจํานวนครัวเรือนเกษตรกร ๓๖๖ ครัวเรือน มีพื้นที่ทําการเกษตรทั้งสิ้น ๑,๕๕๗.๒๕ ไร แบงเปนสวนไมผล ๙๒๖.๗๕ ไร สวนผัก ๕๙๙.๕ ไร สวนไมดอกไมประดับ ๒๕ ไร และการประมง ๖ ไร จะ เห็นไดวาแขวงบางระมาดเปนแหลงใหญของการทําสวนไมผลและไมมีการทํานาแถบนี้ สวนพื้นที่ถือครอง รวมทั้งสิ้น ๑,๕๕๗.๒๕ ไร แบงเปนพื้นที่เชา ๘๓๔.๕ ไร และพื้นที่ของตนเอง ๗๒๒.๗๕ ไร


๑๑๓ แสดงใหเห็นวา ชาวสวนแถบนี้ “ถือสวน” หรือเชาที่ทําสวนมากกวาเปนเจาของสวน ในปจจุบัน ชุมชนแตดั้งเดิมที่มีลักษณะโครงสรางสังคมแบบหมูบานชนบทบางแหงกลายเปน ชุมชนแบบจัดตั้งที่ไดรับการจัดตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานครวาดวยกรรมการชุมชนเริ่มตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงป พ.ศ. ๒๕๔๕ มีจํานวนทั้งสิ้น ๒๘ ชุมชน โดยแยกตามแขวงตางๆ ดังนี้ แขวงคลองชักพระ จํานวน ๔ ชุมชน คือ ชุมชนวัดชางเล็ก–วัดเรไร ชุมชนริมคลองชักพระ ชุมชน หลังวัดกาญจนสิงหาสน ชุมชนหลังวัดรัชฎาธิษฐาน (วัดเงิน) แขวงตลิ่งชัน จํานวน ๙ ชุมชน คือ ชุมชนวัดชัยพฤกษมาลา ชุมชนสะพานผัก-คลองศาลเจา, ชุมชนซอยพฤกษอุดม-วัดนอยใน ชุมชนศาลเจาพอจุย ชุมชนริมทางรถไฟชัยพฤกษ ชุมชนวัดปากน้ําฝง เหนือ ชุมชนโรงเรียนวัดตลิ่งชัน ชุมชนบานลุม ชุมชนหมูบานเจาพระยา แขวงฉิมพลี จํานวน ๔ ชุมชน คือ ชุมชนวัดกระจัง ชุมชนหมูบานพัฒนาหมูที่ ๗ ชุมชนวัดมณฑป ชุมชนวัดสมรโกฏิ-บางระจัน แขวงบางระมาด จํานวน ๗ ชุมชน คือ ชุมชนหมูบานพัฒนาวัดอินทราวาส (วัดประดู) ชุมชนวัด จําปา ชุมชนหมูบาพัฒนา หมู ๑๓ บางระมาด ชุมชนหมูบานพัฒนา หมู ๔ บางระมาด ชุมชนวัดมะกอก ชุมชนหมูบานพัฒนาวัดกาญจนสิงหาสน (หมู ๑๘, ๑๙) ชุมชนหมู ๖ แขวงบางพรม จํานวน ๓ ชุมชน คือ ชุมชนศาลาหลังบาน ชุมชนหมู ๑, ๓ ชุมชนวัดเพลงกลางสวน แขวงบางเชือกหนัง จํานวน ๑ ชุมชน คือ ชุมชนวัดเกาะ การรวมกลุมของชุมชนมีหนวยราชการคือ “ฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม” สํานักงานเขต ตลิ่งชัน พยายามสนับสนุนใหมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนแตละแหง คณะกรรมการ ชุดนี้จะรวบรวมขอคิดเห็นของชาวบาน จัดทําโครงการพัฒนาดานตางๆ เสนอใหทางเขตรับไปพิจารณา และดําเนินการตามที่เห็นสมควร เชน การปรับปรุงทางเดิน ค.ส.ล. ที่ชํารุด การขุดลอกคลอง เปนตน นอกจากนั้น ภายในชุมชนแตละแหงก็มีการรวมกลุมในรูปแบบตางๆ ที่มีความหลากหลาย เชน กลุมผูสูงอายุ กลุมแมบาน กลุมเกษตรกร กลุมออมทรัพย กลุมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เปนตน ซึ่ง บางกลุมอาจจะยังไมคอยมีบทบาทเทาใด บางแหงยังไมสามารถรวมกลุมได ขาดบุคลากรที่จะมาชวยกัน ดําเนินงาน ในแตละชุมชน ฝายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมจะจัดตั้งกรรมการชุมชนขึ้น โดยสมาชิก ชุมชนคือผูที่มีชื่ออยูในทะเบียนบานในชุมชน ผูอํานวยการเขตจะจัดใหมีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนขึ้นเปน ตัวแทนสมาชิกชุมชนจํานวนอยางนอยชุมชนละ ๗ คน ถาชุมชนใดมีราษฎรเกิน ๑๔๐ คอบครัว ใหเลือก กรรมการชุมชนเพิ่มขึ้นอีก ๑ คนตอจํานวนราษฎรทุก ๒๐ ครอบครัว แตกรรมการชุมชนทั้งหมดตองไมเกิน ๒๔ คน ประกอบดวยตําแหนงตางๆ คือ ประธานกรรมการ รองประธารกรรมการ เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ และตําแหนงอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร


๑๑๔ รูปแบบองคกรของรัฐสรางเปนเครือขายเพื่อการปกครองทองถิ่นในระดับเขตของกรุงเทพมหานคร มีหนาที่ที่รัฐตั้งความหวังเพื่อ สงเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริยเปนประมุข ประสานงานและดําเนินงานรวมกับหนวยราชการ องคการและหนวยงานเอกชนตางๆ ที่เกี่ยวของในอันที่ จะกอใหเกิดประโยชนตอประชาชนในชุมชน พัฒนาชุมชนทั้งดานกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และ คุณภาพชีวิต โดยมีการมีสวนรวมของประชาชน และระดมทรัพยากรในชุมชนมาใชใหเกิดประโยชนสูงสุด เสริมสรางความสามัคคีและการมีวินัยของผูอยูอาศัยในชุมชน สงเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเพณีอัน ดีงาม ดูแลรักษาทรัพยสินและชุมชนและสาธารณสมบัติ เผยแพรผลงาน ติดตาม แลรายงานการ ปฏิบัติงานของหนวยงานและองคกรตางๆ ที่เขาไปปฏิบัติงานในชุมชนตอผูอํานวยการเขต แตงตั้งผูมี ความรูความสามารถเหมาะสมเปนที่ปรึกษาหรือคณะทํางานในฝายตางๆ ๒๙ นอกจากนี้ ยังมีการสรางกลุมโดยรัฐเขามามีสวนกําหนด การรวมกลุมประชาคม เปนสิ่งที่รัฐหรือ สํานักงานเขตตลิ่งชันมีแนวคิดในการพัฒนาเขตใหนาอยู โดยประชาชนเขามามีสวนรวมอยางเปนระบบใน รูปแบบประชาคม ๓๐ และมีการพัฒนาประชาคมใหเขมแข็งจนเปนกลไกสําคัญในการพัฒนาเขตใหนาอยู อยางแทจริง จึงไดกอตั้งประชาคมกลุมตางๆ จํานวน ๑๕ กลุม ตัวอยางเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ ไดแก ๑. ประชาคมกรรมการโรงเรียน ประกอบดวยคณะกรรมการโรงเรียน ๑๖ แหง จํานวนสมาชิก ๒๔๐ คน ๒. ประชาคมกลุมแมบาน ประกอบดวยแมบานจากชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก ๙๐ คน ๓. ประชาคมอาสาสมั ค รป อ งกั น ภั ย ประกอบด ว ยอาสาสมั ค รป อ งกั น ภั ย ฝ า ยพลเรื อ นทุ ก รุ น จํานวนสมาชิก ๙๐๐ คน ๔.ประชาคมกํานัน-ผูใหญบานประกอบดวยกํานัน ๕ แขวงและผูใหญบาน ๗๕ หมู จํานวนสมาชิก ๑๖๗ คน

สํานักงานเขตตลิ่งชัน (๒๕๔๓:๖๘-๖๙) ประชาสังคม (Civil society) คือ การรวมตัวของสมาชิก เพื่อเรื่องประสานผลประโยชน ทรัพยากร หรืออํานาจระหวาง ปจเจกชนกับรัฐ พื้นฐานการเกิด "ประชาสังคม" ในตางประเทศเริ่มจากความสัมพันธงาย ๆ ของคนในชุมชนเดียวกัน เชน กลุมคนที่ไปโบสถ วันอาทิตยหลังพิธีเสร็จก็มารวมแลกเปลี่ยน ถกเถียงถึงปญหาที่เกิดในชุมชนรวมกันขอใหผูมีอํานาจ จัดการแกไขปญหาเหลานั้น เห็นไดวาประชาสังคมของเขาไมไดเกิดจากการจัดตั้ง ไมไดเกิดจากกระบวนการที่เปน ระเบียบแบบแผน แตเกิดจากจิตสํานึกเพื่อชุมชนของตน ความเปนอันหนึ่งอันเดียวจึงเกิดไดงาย ขณะที่การเกิดของ "ประชาสังคม" ตามแบบราชการของสังคมไทยนาจะพัฒนารูปแบบมาจากกลุม NGO ตาง ๆ โดยการจัดตั้งของหนวย ราชการ เชน ประชาคมจังหวัด ประชาคมตําบลที่สมาชิกสวนใหญ คือ ขาราชการทองถิ่น (กํานัน ผูใหญบาน สมาชิก อบต.) เปนตน ๒๙ ๓๐


๑๑๕ ๕. ประชาคมกรรมการชุมชน ประกอบดวย คณะกรรมการชุมชนจาก ๒๘ ชุมชน จํานวนสมาชิก ๒๒๖ คน ๖. ประชาคมผูสูงอายุประกอบดวยผูสูงอายุในชุมชนตางๆ และหมูบานจัดสรร จํานวนสมาชิก ๙๖ คน ๗. ประชาคมกลุมเยาวชน ประกอบดวยเยาวชนจากชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก๑๒๐ คน ๘. ประชาคมกลุมเกษตรกรประกอบดวยกลุมเกษตรกรของเขตตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๔๐ คน ๙. ประชาคมลูกเสือชาวบานประกอบดวยลูกเสือชาวบานของเขตตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๑๕๐ คน ๑๐. ประชาคมตลาดน้ําตลิ่งชัน ประกอบดวยผูคาตลาดน้ําตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๑๓๘ คน ๑๑. ประชาคมลานกีฬา ประกอบดวยคณะกรรมการลานกีฬา ๒๘ ชุมชน จํานวนสมาชิก ๑๘๙ คน ๑๒. ประชาคมอาสาสมัครสาธารณสุขประกอบดวย อสส.ประจําชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก ๑๒๐ คน ๑๓. ประชาคมกลุมออมทรัพย ประกอบดวย กลุมออมทรัพยในชุมชนตางๆ จํานวนสมาชิก ๑๐๓ คน ๑๔.ประชาคมกองปราบอาสา ประกอบดวยอาสาสมัครกองปราบอาสาที่ตํารวจกองปราบทําการ อบรม จํานวนสมาชิก ๒๐๐ คน ๑๕.ประชาคมสภาวัฒนธรรมประกอบดวยกลุมสภาวัฒนธรรมของเขตตลิ่งชัน จํานวนสมาชิก ๙๖ คน กิจกรรมสําคัญที่ประชาคมกลุมตางๆ ไดดําเนินการในป ๒๕๔๔ คือ จัดทํา “โครงการหนาบานนา มอง” ปรับปรุงสภาพถนน ปลูกสวนหยอมริมทาง ทาสีสะพานใหสวยงาม จัดกิจกรรมและประเพณีตางๆ เปนประจํา เชน งานวันเด็ก ประเพณีสงกรานต งานประเพณีลอยกระทง เพื่อรักษาวัฒนธรรมประจําถิ่น ประชาคมเกษตรกรตลิ่งชัน จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรูขาวสารซึ่งกันและกันและเปนเครื่องมือใน การตอรองราคาสินคา สกัดกั้นพอคาตนกลางไมใหกดราคา ประชาคมกลุมแมบาน จัดอบรมการแปรรูป ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลคาสินคา และนําผลิตผลที่ไดมาจําหนายที่ตลาดน้ําตลิ่งชันและตาม แหลงชุมชนอื่นๆ ประชาคมตลาดน้ําตลิ่งชัน บริหารงานดานตลาดน้ําตลิ่งชัน จัดการทองเที่ยวทางเรือ ใน นามตลิ่งชันทัวร เพื่อกระตุนใหประชาชนริมคลองเกิดจิตสํานึกในการอนุรักษคลองใหคงสภาพที่ดีตลอดไป ป ๒๕๔๔ มีผูคาจํานวน ๑๓๘ ราย สามารถบริการนักทองเที่ยวประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คนตอป กอใหเกิด เงินทุนหมุนเวียนประมาณปละ ๑๕-๒๐ ลานบาท ประชาคมลานกีฬา เปนการรวมตัวของคณะกรรมการ ลานกีฬา จาก ๒๘ แหง เพื่อยกระดับมาตรฐานลานกีฬาใหดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนอุปกรณการกีฬาและ วิทยากรทองถิ่น จัดลานกีฬาสําหรับเยาวชนตามโครงการลานกีฬา-ตานยาเสพติด จัดการแขงขันฟุตบอล


๑๑๖

การรวมกลุมของชาวบานในปจจุบัน ตัวอยางหนึ่งที่แสดงใหเห็นถึงการรวมกลุมของชาวบางระมาดที่เปนคนในพื้นที่ดั้งเดิมซึ่งยังมี ความสัมพันธทางสังคมแบบเครือญาติและรูจักหนาคาตากันอยู สวนคนที่เขามาใหมมักจะไมเกี่ยวของ ไดแก กลุมผูเจริญวัย ณ วัดสมรโกฏิ แมวัดนี้จะตั้งอยูในแขวงฉิมพลี แตชาวบานที่อยูในแขวงบางระมาดจะขามคลองมาที่วัดนี้เปน ประจํา การตั้งกลุมผูเจริญวัยกลุมนี้เริ่มดําเนินการมาตั้งแตป ๒๕๔๑ รวม ๔ ป แลว จากการริเริ่มของ จ.ส.ต. ชิน เรืองศรี ประธารคณะกรรมการชุมชนหมู ๑๓ และนายอํานวย ชะเอมเทศ โดยไดรับการ สนับสนุนจากกรมประชาสงเคราะหทางดานเงินทุนกอตั้งเปนจํานวน ๒๐,๐๐๐ บาท สัญลักษณของกลุม คื อ ต น ไม จอบ และพิ ณ ต น ไม แ ละจอบหมายถึ ง การทํ า งานของชาวสวน ส ว นพิ ณ หมายถึ ง ความ เพลิดเพลินหลังการทํางาน กลุมนี้มีสมาชิกซึ่งเปนผูสูอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง ๔๐ คนแลว โดยใช “โรงเรียน ปริยัติธรรม” เปนสถานที่จัดกิจกรรม โรงเรียนนี้เปนอาคารชั้นเดียว ติดเครื่องปรับอากาศ โรงน้ําแข็งทอง ไดมาสรางใหเมื่อป พ.ศ. ๒๕๓๙ สําหรับเปดสอนปริยัติธรรมแกพระสงฆ แตตอมาพระสงฆที่มาเรียนที่วัดนี้ มีนอยมาก กลุมจึงขอใชสถานที่แหงนี้เพื่อทํากิจกรรทางพุทธศาสนา ไดแก สวดมนต ภาวนาทุกวันพระ เวลา ๑๗.๓๐-๒๐.๐๐ น. ทุกวันอาทิตยเวลา ๘.๓๐-๑๑.๐๐ น. และในวันสําคัญทางพุทธศาสนาจะมีการ บวชชีพราหมณ ถือศีลอยูที่วัดตั้งแตเวลา ๑๙.๐๐-๐๖.๐๐ น. ของวันรุงขึ้น ชาวบานที่วางจากภารกิจจะ มารวมปฏิบัติธรรมดวย โดยพระสงฆในวัดจํานวน ๔ รูปจะผลัดเปลี่ยนกันมานําสวดมนต ภาวนา และ บรรยายธรรมเปนประจํา นอกจากนั้น กลุมยังจัดกิจกรรมอื่นๆ อีกดวย เชน ธรรมสัญจร การไปรวมงานบุญ ตางๆ ทั้งในและนอกเขตตลิ่งชัน เปนตน

ตัวอยางจากแขวงบางระมาด ในทองถิ่นบางระมาด พื้นที่ในเขตหมู ๔ และหมู ๗ ปจจุบันนั้น ผูอาวุโสวัยเลาวาบริเวณวัดมะกอก วัดโพธิ์ แตเดิมเปนปามีสัตวปาอาศัยอยูมาก พระภิกษุรูปหนึ่งไดมาจําพรรษาและสรางที่พักสงฆขึ้น ตอมา ไดพัฒนากลายเปนวัด ชาวบานแถบนี้ทํานาปลูกขาวพันธุเหลืองอากาศ เลี้ยงชีพได ตอมาชาวบานเลิกทํา นาหันมายกรองทําสวน เพราะทําไดตลอดป รายไดดีกวา ที่นาจึงคอยๆ หมดไป และหมดไปในที่สุดเมื่อมี ถนนปนเกลา-นครชัยศรีตัดผาน บริเวณหมู ๑๓ ไดเลิกปลูกขาวไปเมื่อประมาณ ป พ.ศ. ๒๔๙๐ สมัยนั้น นิยมปลูกขาวพันธุปนทอง ซึ่งเคยประกวดชนะเลิศอันดับที่ ๑


๑๑๗ ในอดีตเคยมีตลาดน้ําบางระมาด ซึ่งติดตลาดประจําอยูตรงปากคลองขางโรงพักตลิ่งชัน และมีคน มารวบรวมซื้อไปขายที่ปากคลองตลาดและทาเตียน สวนใหญขายพวกกลวย มะพราว แตปจจุบันตลาดน้ํา บางระมาดไมมีแลว ในป พ.ศ.๒๕๔๔ มีชุมชนที่ไดรับการจัดตั้งจากเขตตลิ่งชัน ๗ แหง จัดเปนชุมชนประเภทชุมชนชาน เมือง โดยใชเขตการปกครองและรูปแบบหมูบานดั้งเดิมผสมผสานกัน เพราะเริ่มกลายรูปเปนเขตที่อยูอาศัย แบบชานเมืองมากขึ้น ในขณะเดียวกันรูปแบบของความสัมพันธของคนในชุมชนยังพอรูจักกัน แมไมสนิท สนมเปนเครือญาติดังเชนที่เคยเปนมา ชุมชนหมูบานพัฒนาวัดอินทราวาส (วัดประดู) มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร ประกอบดวยหมู ๒๒, ๒๓ และ ๒๔ เปนหมูบานเกาแกอยูในที่ลุม แตเดิมบริเวณนี้เปนปา มีตนไมใหญนอยขึ้นอยูหนาแนนทั่วไป มีคลองยาวขนานระหวางที่ตั้งของหมูบาน เมื่อมีการตัดถนนพุทธมณฑลสาย ๑ ผานพื้นที่ใกลเคียงทําให สภาพหมูบานเปลี่ยนไปเปนแบบเมืองมากขึ้น ชุมชนวัดจําปา มีเนื้อที่ประมาณ ๔๕ ไร เปนชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอูดั้งเดิม พื้นที่เปนสวนผลไม ตอมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทําใหเกิดความหนาแนนบริเวณริมคลองบางระมาด สภาพพื้นที่เปนที่ลุม น้ํา ทวมถึง ป ๒๕๔๓ ประชาขนรวมใจกันจัดซื้อที่ดินเพื่อทําถนนเขาสูวัดจําปาทําใหรถยนตสามารถเขาถึง ชุมชนไดสะดวก ทางเดินเทาเปนทางยกระดับ มีน้ําประปาและไฟฟาใช ชุมชนหมูบานพัฒนา หมู ๑๓ บางระมาด มีเนื้อที่ประมาณ ๖๕ ไร สวนใหญเปนสวนผลไม พื้นที่ เปนที่ลุมน้ําทวมถึง ประชาชนปลูกบานเรือนบริเวณคลองบางระมาด และเริ่มหนาแนนมากขึ้นในปจจุบัน การคมนาคมสะดวกแตทางเรือ ระหวางป ๒๕๔๔-๒๕๔๖ มีการกอสรางถนนวงแหวนรอบในเพชรเกษมนครอินทร ยาว ๖ กิโลเมตร ผานชุมขนนี้ ภายในชุมชนมีทางเดินเทายกระดับ มีไฟฟาใช ประชาชนสวน ใหญใชน้ําอุปโภคจากคลองบางระมาด ชุมชนหมูบานพัฒนา หมู ๔ บางระมาด มีเนื้อที่ประมาณ ๗๐ ไร เดิมมีการทําสวนไมผลและสวน ผัก ซึ่งเปนแหลงผลิตผลที่มีชื่อเสียงแหงหนึ่งของเขตตลิ่งชัน ปจจุบันพื้นที่สวนเหลือเพียงเล็กนอย มักเปน สวนมะกรูด มะนาว นอกนั้นถูกขายและปลอยทิ้งราง ชาวสวนหันไปทําอาชีพอื่น บางรายแปรรูปผลผลิต เชน ทําที่ใสกาจากลูกมะพราวมีรายไดดี บานเรือนปลูกหนาแนน ริมคลองบางระมาด สวนใหญมีที่ดินและ บานเปนของตนเอง ภายในชุมชนมีทางเดินเทาคอนกรีตเสริมเหล็ก มีไฟฟาและน้ําประปาใช ชุมชนวัดมะกอก มีเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร ประกอบดวยหมู ๗ และ ๘ เปนหมูบานชนบท บานเรือนตั้งอยูกระจัดกระจาย สวนใหญอยูริมคลองบานไทร ป พ.ศ.๒๕๐๖ ไดรวมกันสรางถนนดินกวาง ๖ เมตร ชื่อวาถนนสุขาภิบาล ๓ ปจจุบันชื่อถนนฉิมพลีและฝงวัดมะกอกชื่อถนนพุทธมณฑลสาย ๑ กระทรวงมหาดไทยประกาศใหบริเวณแขวงบางระมาดเปนพื้นที่สีเขียว หามปลูกสรางอาคารในระยะ ๑๐๐ เมตร บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย ๑ ตอมาไดมีประชาชนที่ถูกไลที่จากหมูบานชางหลอ เขตบางกอกนอย


๑๑๘

ชุมชนหมูพัฒนา วัดกาญจนสิงหาสน มีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๗ ไร ประกอบดวยหมู ๑๘ และ ๑๙ เปนชุมชนที่อยูอาศัยมาดั้งเดิม สมัยกอนการคมนาคมใชทางเรือ จึงมีการปลูกบานริมคลองบางระมาดและ เริ่มหนาแนนขึ้นเรื่อยมา การคมนาคมสะดวก มีไฟฟาและน้ําประปาใช ชุมชนหมู ๖ มีเนื้อที่ประมาณ ๙๐-๑๒๐ ไร ลักษณะการอยูอาศัยหนาแนนเปนกลุมๆ ประมาณ ๒-๓ กลุม สวนใหญอยูตามริมคลองบานไทร ชุมชนในรูปแบบใหมๆ เหลานี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการชุมชนและกิจกรรมภายในใหเปน ระบบ “ชุมชน” หรือ Community แบบตะวันตกมากขึ้น แมวาจะใชฐานของความเปนชุมชนธรรมชาติ แบบเดิม คือ การเปนชุมชนรอบๆ วัด ในรูปแบบหมูบานแบบชนบทดังในอดีต การแบงกลุมประชาคมหรือ กลุมกิจกรรมตางๆ นั้น ไมไดเกิดจากความตองการของชาวบานเอง ดังนั้น จึงมีโอกาสลมเหลวไดมากกวา การรวมกลุมที่เกิดจากความตองการภายใน แตในกรณีการรวมกลุมเพื่อตอรองราคาสินคากับตลาดหรือ การรวมกลุ มทางการปกครองตา งๆ หรือกลุม กิจกรรมเพื่อการทองเที่ย ว หากเมื่อไดรับผลตอบแทนที่ ชาวบานเห็นรวมกันวามีประโยชนแลว การรวมกลุมนั้นสามารถดําเนินไปได เชน กรณีการทองเที่ยวชมรม ตลาดน้ําตลิ่งชัน การรวมกลุมที่คลองวัดตะพานและลัดมะยม เปนตน จะเห็ น ว า รู ป แบบต า งๆ ของกลุ ม ประชาคมนั้ น มี ห น า ที่ เ ฉพาะอย า งและรวมกลุ ม กั น ขึ้ น เพื่ อ แกปญหาเฉพาะเรื่องนั้นๆ รวมถึงกําหนดทาทีในการตอรองกับผูประกอบการอื่นๆ และนี่คือรูปแบบของการ รวมกลุมแบบสมัยใหมที่สะทอนวา ความสัมพันธทางสังคมแบบเห็นหนากันและคุนเคยกันแตเดิมนั้น ใน ปจจุบันไมอาจนํามาใชแกปญหาของชุมชนที่มีลักษณะกระจายตัว ไมมีความสัมพันธทางเครือญาติที่แนน แฟนนัก และมีการเขามาของคนกลุมใหมที่เปนประชากรของบานจัดสรรซึ่งสวนใหญไมมีความสัมพันธกับ ชุมชนดั้งเดิ มเลย กลุมประชาคมและรูปแบบของเครื อขายขององคกรปกครองชุมชนแบบใหมนี้จึง ไม สามารถเขาไปถึงชาวบานในกลุมบานจัดสรรเลย นอกจากเมื่อมีการเลือกตั้งเทานั้น


๑๑๙

บทที่ ๔ เมืองรุกไล การแปลงสวนเปนบานจัดสรรและการตัดถนนผากลางชุมชน ภาพสะทอนการสรางบานแปลงเมืองในยุคสมัยใหม ในเวลาที่ผานไปเพียงรอยกวาป บริเวณเรือกสวนของชาวสยามในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ํา เจาพระยา ซึ่งมีภาพทิวทัศนของสวนเขียวขจี ไรนา ยานบานเรือนวัดวาอารามตางๆ ซอนอยูตามคุงน้ํา ชีวิตของผูคนที่มีชีวิตชีวาซึ่งพบในกลอนนิราศสุพรรณของเสมียนมีในตําแหนงหมื่นพรหมสมพัตสร (หมายถึงตําแหนงที่เกี่ยวของการเก็บอากรสวนใหญ) เมื่อราว พ.ศ.๒๓๘๗ เดินทางไปสุพรรณเพื่อ เรียกเก็บอากรและผานยานตลิ่งชันบรรยายภาพของสวนอันสงบและผูคนขยันขันแข็ง กลาวถึงเครือ ญาติทางแถบบางระมาดที่ยังรูจักหนาคาตากันและผูหญิงตลิ่งชันเปนชาวสวนที่ขยัน กลาวถึงยาน ตางๆ เชน วัดไกเตี้ย ในบรรยากาศชีวิตชาวสวน อันเปนทองถิ่นของผูคนผูเปนพื้นฐานของคนสยาม หรือประเทศไทยทุกวันนี้ บรรลุถึงบางระมาดอนาถจิต เคยจดจําสําคัญไวมั่นคง มาเปนเพื่อนเจาบาวคราวขันหมาก เพราะผูหญิงตลิ่งชันขยันดี ที่บางกอกกินหมูอยูไมได ออกชื่อเพื่อนแตในใจอยาไอจาม

นิ่งพินิจนึกในน้ําใจประสงค ดวยพันธุพงศพวกพองในคลองมี เพื่อนก็มากมาประมวลอยูสวนศรี เขาจึงมีเมียสวนแตลวนงาม มาพอใจจงรักกินผักหนาม จะแวะถามกลัวจะชาขอลาเลย

มาถึงวัดไกเตี้ยละเหี่ยละหอย ไมกงคอขันฟงเลนบางเลย ฤากลัวแรวรึงจะตรึงรัด ดูสีเหลืองเลิศลวนนวลละออ ดวยไกเตี้ยเชนนี้เห็นทีจะโปรด แตไมมีไกตอตองรอรั้ง

เห็นไกตอยเตี้ยวิ่งแลวนิ่งเฉย ฤาไมเคยขันขานรําคาญคอ เปนไกวัดฤาวาไกของใครหนอ นาใครตอไปถวายไวในวัง คงเปนโสดสุดสมอารมณหวัง ก็นิ่งนั่งเลยไปครรไลจร ๓๑

สวนฝงธนบุรีและสวนแถบตลิ่งชันไดเปลี่ยนแปลงไปแลวจนกลาวไดวา คงมีเพียงรองรอยลํา น้ําลําคลอง สวนเกาที่เปลี่ยนไปปลูกพืชเพื่อขาย สวนสวนผลไมก็แทบจะหมดไป บานเมืองที่เปนยานที่ ๓๑

หมื่นพรหมสมพัตสร (มี). นิราศสุพรรณ ของ หมื่นพรหมสมพัตสร (มี) กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน, ๒๕๔๓


๑๒๐

บริเวณพื้นที่ฝงธนบุรี แถบตลิ่งชันกลายเปนบานเรือนที่เพิ่มอยางหนาแนน ถนนสายใหญที่ตัดผานแบงพื้นที่ตลิ่งชันที่อยูดานหลังถนนใหกลายเปนเรือกสวนที่ถูกปดลอมและเปลี่ยนแปลง รูปแบบของสวนผลไมแตเดิมเปนสวนไมดอกไมผลชนิดอื่น

ความตองการน้ําของชาวสวนนั้นก็สวนทางกับรูปแบบการตั้งถิ่นที่อยูอาศัยสมัยใหมที่เปลี่ยน จากบานยกพื้นสูงเปนบานสองชั้นที่ตองปองกันน้ําทวม บริเวณตลิ่งชันจึงมีการปองกันน้ําเขาทวมพืน้ ที่ มากกวาจะปลอยใหน้ําไหลผานไดสะดวกเชนในอดีต การปดเอาน้ําออกไปจากเมืองเชนนี้มีผลตอ ระบบนิเวศในเขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําทั้งหมด เพราะทางน้ําไหลลงทะเลไดหมดเพราะถูกขวาง ทางเดินของน้ําโดยการสรางถนนตัดขวาง สรางหมูบานหรือบานเรือนอาคารพาณิชยขวางการไหลลง ของน้ํา น้ําทวมจึงกลายเปนปญหาของการเออทนและทวมขังพื้นที่รอบนอกเขตปองกันน้ําทวม ผูที่ทํา เกษตรกรรมรอบมหานครแห ง นี้ จึง ต อ งรั บ ภาระน้ํา ให ท ว มนาข า วและบ า นเรื อ นของตนเอง ดั ง ที่ พระนครศรีอยุธยา เปนการแกปญหาของรัฐที่โยนภาระใหผูที่อยูนอกคันกั้นน้ําหรือนอกเมืองซึ่งไม ยุติธรรมอยางยิ่ง


๑๒๑

ความลมสลายของสวนตลิ่งชัน และจุดจบของสังคมชาวสวนฝงธนบุรี จากสภาพการเปลี่ยนแปลงดานคมนาคม ทําใหบรรดาเจาของสวนและเจาของที่ดินริมถนน ตางหันมาขายที่ดินแทนการลงทุนทําสวน เพราะที่ดินมีราคาสูงมากซึ่งใหจํานวนเงินเฉพาะหนาได มากกวาอยางเห็นไดชัด อีกทั้งการสวนก็ถูกกดดันจากภาวะน้ําทวมขังซ้ําซากอันเปนผลมาจากระบบ การชลประทานโดยรวมทั้งประเทศที่เปลี่ยนรูปแบบการใชน้ําไปโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะตั้งแตมีการเปด เขื่อนภูมิพลเมื่อตนทศวรรษของ พ.ศ. ๒๕๐๐ เปนตนมา ปญ หาที่ ทํา ให ช าวสวนถึ ง กั บ หมดตัว และสภาพสวนตอ งสูญสิ้น ไป คื อน้ํ า ทว มใหญ พ.ศ. ๒๔๘๕ สวนลม บางสวนชาวบานสามารถเก็บกิ่งพันธุทุเรียนหนีน้ําไดบาง แตก็ตายเสียเปนสวนมาก น้ําทวมที่นับวาผิดปกติในลุมเจาพระยาอีก ๔ ครั้ง คือ พ.ศ.๒๕๑๘, พ.ศ.๒๕๒๔, พ.ศ.๒๕๒๖ และ พ.ศ.๒๕๓๘ ในชวง พ.ศ.๒๕๒๔ หางมาเพียง ๒ ปก็เกิดน้ําทวมใหญอีกในป พ.ศ.๒๕๒๖ ทําใหพืชผล ทางการเกษตรในสวนตลิ่งชันไดรับความเสียหายอยางรุนแรง โดยเฉพาะอยางยิ่งตนทุเรียนเกือบครึ่ง ตองลมตาย ชาวสวนและชาวนาหมดหวังและทอแทในการฟนฟูสวนใหกลับมาสูสภาพเดิม ชาวสวน เริ่มขายที่ดินของตนเอง ซึ่งเปนระยะเวลาเดียวกับที่โครงการบานจัดสรรเริ่มเขามาในพื้นที่ ชาวสวนที่มี ฐานะก็ไปหาซื้อที่ดินในจังหวัดอื่นๆ ไปซื้อที่ดินทําสวนที่จังหวัดระยองและจันทบุรี ชาวสวนยังประสบปญหาน้ําทวมซ้ําซากอยางรุนแรงอีกครั้งในป พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งเปนปที่น้ํา ทะเลหนุนสูงและน้ําทวมขังอยูนาน ๑ - ๒ เดือน ตนทุเรียนและสมแถบเมืองนนทตายเกือบหมดสวน ยากที่จะฟนฟูไดเพราะตองใชเงินทุนสูง หลังจาก พ.ศ.๒๕๓๘ ถือวาสวนทุเรียนในเขตตลิ่งชันและบางใหญ เมืองนนทหมดลงอยาง สิ้นเชิง แมพื้นที่สวนซึ่งอยูในที่ดอนไมไดรับผลกระทบ แตก็มีเพียงนอยนิดเทานั้น ชาวสวนตางหันมา ปลูกพืชลมลุก ซึ่งสามารถใหผลผลิตและรายไดที่รวดเร็วกวา เชน กลวยหอม และไมดอกไมประดับ สภาพความเปน อยูการดํ ารงชีวิต ของชาวบานริ มคลอง และ ยา นการคา ริม น้ํา ตลอดจน สถานที่ที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร วัดวาอารามตางๆ ชีวิตของชาวบานในสวนตลิ่งชัน หาก บานอยูริมน้ําจะหันหนาบานเขาหาลําน้ําเพื่อการใชประโยชน ทั้งใชเชน ซักผา ลางจาน อาบน้ํา และ เดินทางภายในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ มีการสรางศาลาทาน้ําหรือเฉลียงสําหรับไวเปนที่พักผอนหยอนใจ กับบรรยากาศที่รมเย็นของน้ํากับตนไมริมคลอง บานทรงไทย ที่อยูอาศัยบริเวณริมคลองสวนใหญหัน หนาบานเขาหาคลอง วัสดุที่ใชสรางบานทําจากไม บริเวณดานหนาของบานใตหลังคาลงมา เปนบาน ชั้นเดียวที่ยกระดับใตถุนสูงจากพื้นประมาณ ๒ เมตรเพื่อใหอากาศถายเทไดสะดวก บริเวณดานขาง ตัวบานจะมีลานกระดานและทางเทายื่นออกมาที่ใชเปนทาเทียบเรือเวลาเดินทาง


๑๒๒ สวนบานเดิมที่ถูกปรับปรุงในปจจุบัน มีลักษณะเปนบานชั้นเดียวหรือบานสองชั้น แตไมไดยก ใตถุนสูง สวนทาเทียบเรือนั้นนิยมสรางเปนเรือนศาลามานั่งซึ่งแยกออกจากตัวบาน บานบางหลังมี การประยุกตสรางในลักษณะที่ตอเติมจากโครงสรางของบานทรงไทยหลังเกา โดยการนําเอาวัสดุ จําพวกไมหรือปูนมาใชในการกอสรางและตอเติมใหเปนชั้นลาง

บานชาวสวนรุนใหมริมคลองบางนอย

ทุกวันนี้แมจะมีอยูบางแตลักษณะการดํารงชีวิตที่กลาวมาแลวขางตนกําลังจะหายไป ปจจุบัน บานคนในทองถิ่นตลิ่งชันที่เปนกลุมคนจากบานจัดสรรนิยมปลูกใหมรูปทรงทันสมัย ใชวัสดุคงทนกวา แตกอนมีจํานวนมากขึ้น เพราะวัสดุกอสรางหาไดงายและไมมีราคาแพงกวาดวย นอกจากนี้บานเรือน ริมน้ําตองทําเขื่อนกั้นอยางแข็งแรง แตละบานตองเสียคาใชจายสรางเขื่อนประมาณ ๒,๐๐๐ บาทตอ เมตร ทั้งนี้เพราะคลื่นจากเรือหางยาวหรือเรือติดเครื่องที่สัญจรไปมาทําใหตลิ่งทรุดตัวอยูตลอดเวลา ผิดกับสมัยกอนเพียงแตถมหินกันคลื่นก็เพียงพอแลว บานที่อยูฝงเดียวกันจะมีสะพานเล็กๆ หรือไม ทอดขามถึงกันได และมีสะพานคอนกรีตเชื่อมสองฝงคลองเปนระยะๆ สําหรับคนเดินเทาและผูขับขี่ จักรยานหรือมอเตอรไซด บางแหงรถยนตก็แลนขามไปไดเชนกัน นับตั้งแตการขายที่ดินของชาวสวนที่ไดรับผลกระทบจากน้ําทวม และเมื่อการกอสรางถนน เสร็จสิ้น ก็เปนหวงระยะเวลาที่สอดรับกับยุดเริ่มตนของเศรษฐกิจ ฟองสบู เมื่อแหลงเงินทุนจํานวนมาก ถูกใชไปเพื่อการกวานซื้อที่ดินเก็งกําไรอยางกวางขวางและรุนแรงทั้งจากบุคคลภายนอก ขาราชการ


๑๒๓

เมื่อพื้นที่สวนเดิมเปลี่ยนมือไป ชาวสวนเดิมบางสวนและผูอพยพตางถิ่น เริ่มเขามาซื้อที่ดิน เมื่อมีถนนและมีการพัฒนาอยางรวดเร็ว ทําใหราคาที่ดินแพงขึ้นอยางมาก บานจัดสรร ในระยะสิบปที่ ผานมามีการขายที่ดินสวน เพื่อสรางหมูบานจัดสรรที่ทันสมัย เชน เปนหมูบานจัดสรรชั้นดี ราคาขาย ๖.๙๙ ลานขึ้นไป การพัฒนาโครงขายถนนกอใหเกิดผลกระทบอยางรุนแรงตอสภาพภูมิทัศน ความงามความรม รื่นของเรือกสวนและทองทุงนาถูกแทนที่ดวยสภาพแวดลอมของเมืองที่เต็มไปดวยอาคารและกอสราง สมัยใหม เชน หมูบานจัดสรรชื่อเปนภาษาตางประเทศและมีรูปแบบหรูหราและราคาแพงรวมทั้ง หางสรรพสินคาขนาดใหญเกิดขึ้นมากมายหลายแหง เกิดหมูบานจัดสรรสมัยใหม อพาทเมนท คอนโด มีเนียม ฯลฯ เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร ตลอดจนมลภาวะตางๆ ที่เกิดขึ้นจากการ ดํารงชีวิตของชุมชนริมน้ํา

บานจัดสรรริมคลองบางพรม การเปลี่ยนแปลงของบานสวนเปนเมือง


๑๒๔

หมูบานจัดสรรบริเวณบางระมาดที่เปนเปนแปลงนามากอน

การเปลี่ยนแปลงโครงสรางทางกายภาพนั้นสัมพันธกับความเปลี่ยนแปลงของชุมชน การลม สลายของสังคมชาวสวนตลิ่งชันสะทอนจากขอมูลของกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวบรวมเสียงรองเรียนของ ชาวบานในเขตตางๆ ทั่วกรุงเทพฯ ทั้ง ๕๐ เขต เกี่ยวกับเรื่องราวความไมปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน สามารถนํามาจัดอันดับเปน ๑๐ ยอดซอยเปลี่ยวอันตรายของกรุงเทพฯ ได อันดับที่หาคือ ซอยสวนผัก ๑๑ เขตตลิ่งชัน เปนซอยแยกจากถนนสวนผัก ชุมชนใหญยานชานเมือง กลางคืนจะเปลี่ยวมาก มีการจี้ปลน กันบอย แลวคนรายก็ลอยนวลไปไดทุกครั้ง

การเปลี่ยนชีวิตตามลําน้ําเปนชีวิตตามถนน บานเรือนในสวนมักอยูริมลําน้ําสายเล็กๆ ที่ชาวสวนขุดขึ้นกวางประมาณเมตรครึ่งถึงสอง เมตร ชาวสวนเรียกวา “ลําประโดง” เชื่อมตอถึงกันกับคลองตางๆ ทําใหมีน้ําขึ้นลงตามธรรมชาติและ มีระบบปดเปดควบคุมระดับน้ําไหลเขาออกไดสะดวก ลํากระโดงเหลานี้ยังใชเปนเสนทางขนสงของ สวนพวกผลไม พืชผัก และดอกไม ชาวสวนจึงยังตองพึ่งเรือลํานอยอยู ตามใตถุนเรือนที่มีน้ําขึ้นถึง มัก มีน้ําขังพัดพาขยะมารวมกัน แลดูสกปรกไมนอย แตไมมีกลิ่นเหม็นเพราะน้ําระบายไดตามธรรมชาติ บานชาวสวนสวนใหญจะไมมีรั้ว ระยะหลังมีการสรางรั้วลอมมากขึ้น ในบริเวณบานชาวสวนนิยมตั้ง ศาลพระภูมิเจาที่และศาลตายายไวใกลๆ กัน และนิยมเลี้ยงสุนัขไวเฝาสวนดวย


๑๒๕

การเปลี่ยนแปลง จากสวนเปนซอย การเดินทางใช รถยนตเปนพาหนะ หลัก

ทางเดินเทาในสวนที่มา ทดแทนลําประโดงหรือลํา น้ําเล็กๆ ในอดีต มี มอเตอรไซครับจางสงถึง หนาบานทดแทนการใช เรือมาด


๑๒๖ ลําคลองเปนเสนทางคมนาคมที่สําคัญมาก เพราะนอกจากเปนที่สัญจรในชีวิตประจําวันแลว ยังเปนระบบการคาขายทางน้ําอีกประการหนึ่ง คือ ขนสงผลิตผลหรือสินคาสูผูบริโภคโดยตรงภายใน ชุมชนเดียวกันหรือชุมชนใกลเคียงและขนสงออกสูตลาดภายนอก ดังนั้น ในสมัยกอนจะแลเห็นเรือเต็ม คลองไปหมด มีหลากหลายชนิด เชน เรือพาย เรือแจว เรือสําปน เรือชะลา เรือตอ เรือเอี้ยมจุน เปนตน ที่บางระมาดแตกอนนิยมใช “เรือมาด” ที่มีลักษณะทองแบนหัวแหลม มีความคลองตัวแกการใชสอย แตปจจุบันเสนทางในสวนกลับเปนทางเดินคอนกรีตเล็กๆ พอใหคนเดินผานสวนทางกันได หรือมอเตอรไซควิ่งผาน ทางเดินติดตอภายในชุมชน เรียกวา “ทางเดิน ค.ศ.ล.” กวางราว ๑ เศษ แต เดิมเปนทางดิน ฝนตกจะลื่น เดินลําบากมาก ตอมาทางเขตตลิ่งชันไดดําเนินการยกระดับทางเดินและ เทคอนกรีตเสริมเหล็กเริ่มสรางเมื่อประมาณ ๑๐ กวาปที่แลว ทําใหชาวสวนเดินทางสะดวกสบายขึ้น มาก โดยเฉพาะในบางพื้นที่ยังไมถนนตัดผาน รถยนตเขาไมได ก็มีบริการมอเตอรไซดรับจางอยูทุก ปากซอย คอยรับสงผูโดยสารลัดเลาะสวนไปตามทางเดิน ค.ส.ล. ถนนถูกตัดเขาสูพื้นที่ สภาพการใช ที่ดินเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากโครงขายถนนที่เกิดขึ้น ในปจจุบันเรือที่นิยมใชกันมากที่สุดคือ เรืออีแปะติดเครื่อง ซึ่งมักใชในสวน หรือนํามาเปนเรือ ขายของหรือเรือรับจาง เรือเหลานี้หาซื้อไดแถวศาลายา เมื่อมีถนนตัดผานเขามาในชุมชน ลําคลอง และเรือเริ่มลดบทบาทลง ชาวบานหันมานิยมซื้อรถยนต รถจักรยาน และรถมอเตอรไซด ใชแทน เพราะสะดวกและรวดเร็วกวา คลองเดิมกลายสภาพเปนถนน ปจจุบันทองรองสวนไดถูกแปรสภาพเปนถนนไปแลวบางสวน ทํ า ให แหล ง น้ํา ที่ เ ชื่ อ มต อ กัน ถู ก ตั ด ขาด ไม ส ามารถติ ด ต อกั น ไดต ลอดดั ง แต กอ น สมั ย ก อนน้ํ า ใน ทองรองคลองเล็ก และคลองใหญมีปริมาณมากนอยขึ้นลงตามฤดูกาล และใชสอยดื่มไดขณะนี้คลอง เล็กและทองรอง บางแหงถูกถมเปนถนน คลองเล็กและทองรองที่เหลืออยูบาง ก็มีสภาพเปนน้ําเนาเสีย บางแหงตื้ น เขิ น ยิ่ ง ไปกวา นั้นสภาพความตื้น เขิน ของลําคลอง ไม สามารถแกไขได เนื่องจากการ กอสรางสะพานขามคลองเตี้ยเกินกวาเรือขุดลอกสามารถลอดไปได ในปจจุบันจึงนิยมใชน้ําจุลลินทรีย หรือน้ํา KM มาใสในลําคลองที่เนาเหม็น สําหรับการกอสรางโครงขายถนนสายใหญ ไดขยายถนนพุทธมณฑลสาย ๑ ใหกวางขึ้นเปน ๕๐ เมตร และถนนอีกสายหนึ่งคือ ถนนวงแหวนรอบนอกในเพชรเกษม-นครอินทร เริ่มดําเนินการ กอสรางตั้งแตตนป พ.ศ. ๒๕๔๔ แนวถนนเสนนี้ ตัดผานหมูบานกลางสวนบริเวณหมูที่ ๑๓ ผาน คลองบางระมาด คลองบางพรม ถนนวงแหวนรอบใน เพชรเกษม-นครอินทร หรือถนนราชพฤกษใน ปจจุบัน มีการขายที่ดินริมสวนริมถนนตัดผานเพิ่มมากขึ้น ราคาที่ดินจะสูงขึ้นเปนเงาตามตัว และคาด วามีหมูบานจัดสรรหรือตึกแถวเกิดขึ้นอีกจํานวนมาก


๑๒๗

บนถนนสายบรม ราชชนนีบริเวณที่ ผานทางรถไฟสาย ใตและสวนที่ เหลืออยู

ถนนสายราชพฤกษที่ตัดผากลางสวนยานตลิ่งชัน

การกอสรางโครงขายถนนสายตลิ่งชัน -สุพรรณบุรีหรือถนนกาญจนาภิเษก และถนนสายรอง ในชวงป พ.ศ. ๒๕๒๕ เปนสาเหตุหลักที่กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางดานกายภาพ หรือการใชที่ดิน อยางสําคัญในอําเภอบางใหญในหลายดานคือ การใชประโยชนจากที่ดิน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พื้นที่เพาะปลูกเพื่อการเกษตรถูกเปลี่ยนสภาพเปนพื้นที่อยูอาศัยหรือหมูบานจัดสรรของคนตางถิ่น


๑๒๘

บานจัดสรรบนถนนกาญจนาภิเษก สวนใหญจะตั้งอยูในถนนซอยที่แยกตัวจากถนนหลัก เชน ถนนบางกรวย-ไทรนอย ถนนบานกลวย-ไทรนอยหรือถนนเต็มรัก-บางบัวทอง มักจะเปนบานเดี่ยวและ ทาวนเฮาสเปนหลัก แตก็มีที่ดินเปลา อาคารพาณิชยดวย มีการขยายตัวสรางหมูบานจัดสรรหลายแหง ยังมีกิจการรานอาหาร สวนอาหารเกิดขึ้นมากมาย ทั้งริมถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษที่ ตองการพื้นที่กวางขวางกลาย เปนที่นิยมของผูชอบแสวงหาอาหารอรอยบรรยากาศดี ซึ่งก็เปนสวน หนึ่งของการขยายตัวดานเศรษฐกิจในพื้นที่ตลิ่งชัน ถนนสายกาญจนาภิเษกหรือตลิ่งชัน-บางบัวทองและถนนราชพฤกษที่เปดใชเมื่อราวป พ.ศ. ๒๕๔๙ สามารถใชเปนทางเลี่ยงเมืองไปสูภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชวยการจราจรบน ถนนวิภาวดี-รังสิต โดยเฉพาะในชวงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวๆ นอกจากนี้ ถนนวงแหวนรอบนอกยังเปน ถนนเมนหลักที่เชื่อมทางหลวงสายสําคัญ ๓ สายใหติดตอถึงกันไดอยางสะดวก คือ ถนนปนเกลา-นคร ชัยศรี ซึ่งมีทางคูขนานลอยฟาครอมทับมาขางบนดวย ถนนเพชรเกษมประตูสูภาคใตของประเทศและ ถนนพระราม ๒ หรือถนนธนบุรี-ปากทอ และความสะดวกสบายของผูคนทั้งประเทศเหลานี้แลกมาจากสวนผลไมและเขตเกษตรกรรม และชุมชนในลุมน้ําลําคลองที่มีอายุยาวนานหลายศตวรรษและเปนพื้นที่ซึ่งผลิตผลไมรสชาติดีที่สุด แหงหนึ่งในโลกและรูปแบบการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไมสามารถสรางใหมหรือทดแทน ของเดิมไดอีกแลว

ชีวิตใหมในสภาพแวดลอมกึ่งมหานครกึ่งสวน ทุกวันนี้หากเดินทางเขาไปในเขตตลิ่งชัน สิ่งแรกที่พบเห็นคือเครือขายโครงสรางถนนขนาด ใหญมหึมา ที่มีจํานวนรถวิ่งกันมากมายเพราะสามารถออกนอกเมืองไดรวดเร็วจากเหนือผานไปใต จากอีสานออกไปใตห รือตะวันตก ฯลฯ มีตึกแถวใหญๆ หางรานจํานวนมาก โดยเฉพาะรา น เฟอรนิเจอร รวมทั้งหมูบานหรูหรา สถานีบริการน้ํามันแบบครบวงจรที่มีทั้งรานหนังสือและธนาคาร รานอาหารดังๆ รานแวนตาหรือรานสะดวกซื้อ และรานอาหารที่ออกแบบเปนสวนอาหารหรือรานใน ไสตลทันสมัยตางๆ


๑๒๙ แตเพียงเลี้ยวเขาซอยที่ดานหนาเปนอาคารพาณิชยรานคาหนาแนนตางๆ กลางๆซอยหรือ ปลายซอยก็จะเปลี่ยนเปนอีกโลกหนึ่ง ถนนในซอยแคบๆ เปนโลกของชีวิตชาวสวนที่แมไมเห็นการทํา สวนอยางคร่ําเครงของชาวสวนผูขยันเหมือนเชนอดีต แตก็มีสภาพแวดลอมที่เขียวชอุม ลําคลองที่ยังมี รานคาริมคลอง คนเดินขามคลองและเดินเขาสวนไปอยางเงียบๆ วัดที่ดูเหมือนเงียบแตก็มีการเรียน การทํากิจกรรมกันภายในวัด สวนเรือขายกวยเตี๋ยวก็ยังคงใชเครื่องวิ่งเบาๆ ไปตามคลองสายตางๆ ลึกๆ เขาไปในพื้นที่ที่ถูกลอมรอบดวยถนนทุกดาน พื้นที่สีเขียวก็ยังคงมีอยูและแตกตางจาก โลกภายนอกที่หางกันเพียง ๒-๓ กิโลเมตร ทุกวันนี้ เอกลักษณเดนของทองถิ่นตลิ่งชัน พื้นที่การเกษตรกรรมที่สําคัญ ยังมีความพยายาม จะรักษาชีวิตและกิจกรรมการทํามาหากินแบบชาวสวนไวได นอกจาก ถนนขนาดใหญและพื้นที่ความ เปนเมืองและบานจัดสรรแลวก็มีเพียงการทําสวนเกษตรไมดอกไมประดับและการทําตลาดน้ํา

การทําไมดอกไมประดับ การทําสวนกลายเปนอุตสาหกรรมการเกษตรที่สรางรายไดอยางเปนกอบเปนกําใหเกษตรกร เพราะความตองการของลูกคา ที่เขามาอาศัยอยูตามโครงการ บานจัดสรรมีอยูมาก ทางราชการเองได มีการสงเสริมใหสองฟากฝงถนนตลิ่งชัน – บางบัวทองเปนถนนสายดอกไมไปพรอมๆ กับการขยายตัว ในการทําการเกษตรไมดอกไมประดับจากตลิ่งชันถึงบางใหญ สวนไมดอกที่มีมานานกอนทําสวนอื่นๆ คือ สวนกลวยไม การเพาะปลูกและเลี้ยงกลวยไมใน เมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยนาย เฮนรี่ อลาบาสเตอร (ตนสกุลเศวตศิลา) เปนผูริเริ่ม ตอมา พระเจาบรมวงศเธอพระองคเจาชายเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศประวัติ เปนคนไทยคนแรกที่ เลี้ยงกลวยไม และเมื่อป พ.ศ.๒๔๖๐ สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอเจาฟาบริพัตรสุขุมพันธุ กรมพระ นครสวรรควรพินิต ทรงนิพนธตํารากลวยไมขึ้น การเลี้ยงกลวยไม จึงแพรหลายในหมูชนชั้นสูง กระทั้ง ป ๒๔๙๓ ศ. ระพี สาคริก ไดเปดอบรมการเพาะกลวยไมแกบุคคลทั่วไป ทําใหความนิยมเพาะเลี้ยง กลวยไมแพรหลายในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ และเมื่อประมาณ ๓๐ ปที่ผานมาความตองการของ ตลาดกลวยไมมีมากขึ้น คนสวนยานตลิ่งชันบางกลุม เชน บริเวณคลองบางนอย จึงหันมาทํารังและ ปลูกกลวยไมแทน เนื่องจากไดราคาดี ดวยเหตุนี้พื้นที่ตลิ่งชันจึงกลายเปนพื้นที่ปลูกกลวยไมที่สําคัญ แหงหนึ่งของกรุงเทพฯไปโดยปริยาย ชาวสวนกลวยไมที่ตลิ่งชันจําหนายผลผลิตเองในตลาดทองถิ่นหรือตลาดประจํา เชน ตลาดน้ํา ตลิ่งชันปากคลองตลาด ถาเปนกลวยไม สงที่ปากคลองตลาดประมาณ ๘๕% สวนที่เหลือจะจําหนาย ใหกับบริษัทสงออกกลวยไม


๑๓๐

กลวยไมหลากสีที่นํามาขายบริเวณตลาดน้ําตลิ่งชัน

ดอกชบาที่ตลาดตลิ่งชัน


๑๓๑ นอกจากนั้น ก็ยังมีการทําสวนดอกไมตางๆ เชน สวนเยียบีราและสวนไมดอกอื่นๆ จนปจจุบัน ชาวสวนหลายคนที่เลิกปลูกไมยืนตนที่เปนผลไมแลวก็หันมาใชความชํานาญพิเศษที่ถานทอดกันมา รุนตอรุนและใชพื้นที่ดั้งเดิมในเนื้อที่ไมมากนักมาทําพันธุไมและสวนไมดอกเฉพาะที่ตองใชความ ชํานาญพิเศษอยางมากหลายแหง เชน บานไมไทย ที่แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน เปนแหลงรวบรวมพันธุไมหอมของไทยทั้งประเภท ทั่วไปและหายาก เชน จันทกะพอ โสกระยา บุหรงมวง หรือปาหนันชาง เปนตน สวนจาวีระ นองชายของจาวีระ ชื่อ นรา ภูอารีย หรือ ลุงตี๋ เปนเรี่ยวแรงสําคัญรวมกันทําตนไม กับจาวีระมาตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๓๕ ตองวิ่งเสาะหาไมใหมๆ และไมแปลกเขามาไวในสวนใหเปนจุดเดน ของสวนอยู เพื่อขยายพันธุขาย ซึ่งจะทําใหไดราคาสูงในชวงเปดตัว แตขอเสียของตลาดชนิดนี้คือตอง ไวและเร็ว พยายามหมุนเปลี่ยนไมพันธุใหมไปทุกป ไมอยูนิ่ง เหมือนกับเปนแฟชั่น นอกจากความรูในการทําสวนพอตัวแลว บอกวาอยูที่ใครจะไวและตาถึงกวากัน เมื่อหาพันธุ ไมใหมแปลกๆ มาได ก็ตองเอามาเพาะขยายพันธุใหไดปริมาณมากพอสมควรเสียกอน อาจจะเปน ๑๓ ป ตองใจแข็งไมนําออกมาจําหนายกอนเพราะอาจทําใหราคาตก เนื้อที่สวนเพียง ๒ ไรเศษ แตอาศัยการปลูกพืชหลายชนิด หมุนเวียนไปตามความตองการของ ตลาด เหมือนเปนแหลงเพาะขยายพันธุ สวนจาวีระมีอยู ๒ แหงคือที่เชียงรายแหงหนึ่งและที่ตลิ่งชัน ซึ่งอยูติดริมคลองบางระมาด การทําสวนก็งายมาก เรื่องน้ําก็อาศัยน้ําจากคลองผันเขาสูสวน โดยขึ้น รองเปนแปลงๆ ไว ปลูกไมคละกันไป การดูแลก็ไมยุงยากมีเพียงการใสปุยขี้ไกและขุดเลนจากรองน้ํา มาไวโคนตนเพื่อทําเปนปุย แทบไมตองใชยาฆาแมลงอะไร นอกจากสมที่ตองดูแลบาง ทั้งไมผล ไมดอก สมุนไพร ไมประดับ มะเฟองหวานพันธุมาเลย กลวยพันธุตางๆ ที่เราได รวบรวมไวมากมาย พวกไมสมุนไพร เพราะชวงนั้นเศรษฐกิจบูม ตนไมขายดีเพราะคนซื้อที่ปลูกบาน กันมากในชวงเดือนหนึ่งไดราว ๔-๕ หมื่นบาทแตไมที่ขึ้นชื่อ คือ หอมหมื่นลี้ คือ เจียวกูหลันและยังมี พืชเดนในพวกตระกูลสมตางๆ ทั้งสมจี๊ดและสมจี๊ดดาง สัมกิมจอ สมเขียวหวานบางมด สมเชงและสม เชงดาง สมซา ฯลฯ พืชแปลกๆ ของตระกูลมะนาว เชน มะนาวทูลเกลา มะนาวน้ําหอม มะนาวหวาน รวมทั้งในสวนยังมีสมุนไพรไทยพื้นบานหลายอยาง เชน การบูร กลอมนางนอน ฮอสะพายควาย กระทือ มะเดื่อหอม๓๒ นอกจากนี้เขตตลิ่งชันพยายามจัดงาน “เทศกาลเกษตรแฟรของดีเขตตลิ่งชัน” ประจําทุกป บริเวณสํานักงานเขตตลิ่งชัน ตลาดน้ําตลิ่งชัน สวนรถไฟตลิ่งชัน โดยมีกิจกรรม การประกวดมะพราว ออนทะลาย กลวยน้ําวาเครือ แกวมังกร กระทอนพันธุปุยฝาย กระทอนพันธุทับทิม พวกสวนตมยํา ๓๒

เสาะหาไมแปลก - เปดตลาดไมใหม เกษตรทําเงิน ของ "นรา ภูอารีย" นิตยสาร สวนเกษตร ฉบับที่ ๓๔ ปกษ แรก เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๔๔ , หนา ๕๒-๕๕


๑๓๒

ทองเที่ยวตลาดน้ํา: ยุทธศาสตรการตลาดแบบหวนหาอดีต ตลาดน้ําในสวนฝงธนบุรีลวนเคยมีชีวิต เพราะเปนตลาดน้ําโดยธรรมชาติเปนสถานที่ซึ่งพอคา แมคามารับและซื้อขายของสวนพวกผลไมและพืชผักตางๆ ที่เปนสินคาสวนและสิ่งของเครื่องใชจําเปน สําหรับคนในสวนที่อยูหางไกลเมือง ตลาดน้ําเสื่อมสลายไปประมาณ ๔๐ กวาปที่ผานมา เนื่องจาก เริ่มมีเรือหางยาวรับสงผูโดยสารและสินคาแทนเรือแจว เรือหางยาวเองไดมีการดัดแปลงใหมีความเร็ว มากขึ้นเปนลําดับ และกลายเปนปญหาที่รบกวนผูคน ที่มีบานเรือนสองฝงคลอง รวมทั้งเรือที่พายขาย ของไมกลาออกคลองใหญเพราะเกรงกลัวตออันตราย ไดแตเพียงพายเรือขายของเล็กๆ นอยๆ ลัดเลาะ ไปตามคลองเล็กๆ แตก็ขายไดไมดีนักก็ตองเลิกราไป ตลาดน้ําธรรมชาติ เช น ที่ ตลาดน้ําบางระมาดและตลิ่ง ชัน เคยเปนตลาดน้ํ าที่สํ า คั ญใน สมั ย ก อ น สิ น ค า ส ว นมากก็ จ ะเป น พื ช ผั ก ผลไม จ ากสวนของชาวบ า น การประกอบกิ จ กรรมทาง เศรษฐกิ จ ของชุ ม ชนเป น อย า งนี้ เ รื่ อ ยมาจนกระทั่ ง การคมนาคมทางน้ํ า เริ่ ม หมดความสํ า คั ญ ลง เนื่องจากมีถนนหนทางที่สะดวกมากขึ้น การขนสงสินคาก็เปลี่ยนมาใชรถเพราะรวดเร็วกวา ตลาดน้ํา จึงซบเซาลง ชวงเวลาเดียวกันเริ่มมีถนนตัดผานไปยังชุมชนตางๆ ทําใหผูคนเขามาอยูมากขึ้น มีศักยภาพ ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากกวาชุมชนริมน้ํา และนิยมที่จะปลูกบานเรือนอยูริมถนน หรือหันหนา เขาหาถนนมากกวาหันหนาไปทางริมน้ําเหมือนในอดีต เรือพายเปลี่ยนเปนเรือติดเครื่องยนตแทน ซึ่งเรือยนตเหลานี้มีสวนอยางมาตอการพังทลาย ของตลิ่ง ทางเขตตลิ่งชันจึงทําการกอสรางเขื่อนกันตลิ่งใหพรอมทั้งสรางทางเดินเรียบคลอง และ สะพานเชื่อมตอระหวางชุมชนภายในพื้นที่ ตลาดน้ําตลิ่งชัน เมื่อตลาดน้ําธรรมชาติสูญหายไปกวา ๔๐ ป เมื่อราว ๒๐ ปที่แลว สํานักงานเขตตลิ่งชันริเริ่มโดยสนับสนุนใหเปนสวนหนึ่งของการทองเที่ยวลําคลองเมื่อราว พ.ศ.๒๕๓๐ เดิมมีวัตถุประสงคที่จะจัดทําเปนตลาดศูนยรวมผลิตภัณฑและผลิตผลทางการเกษตร


๑๓๓

คุณปาแมคาพายเรือขายของสวนพวกพริก มะนาว ผักตางๆ

แพถาวรที่เขตตลิ่งชันจัดใหประชาคมตลิ่งชันเปนกลุมผูดูแลตลาดน้ําตลิ่งชัน

แตทางประชาคมตลิ่งชันที่เปนกลุมชาวบานมีแนวความคิดที่จะปรับเปลี่ยนใหเปนตลาดน้ํา เพื่อเปนการคาขายสินคาตางๆ ที่เปนภูมิปญญาของชาวตลิ่งชัน เชน รานกวยเตี๋ยว เนื่องจากเขตตลิ่ง ชันนั้นมีกวยเตี๋ยวเรือมาก จึงทําแพไมไผขึ้นกอน ๕ แพ ตอมาในป พ.ศ.๒๕๔๒ พัฒนามาเปนแพเหล็ก


๑๓๔

มีรานจําหนายพันธุไมดอกไมประดับ คุณสามารถเลือกซื้อมะมวง ขนุน มะนาว สม ฯลฯ พันธุ ดีที่ราคาถูกแสนถูก พันธุไมหาดูไดยากตั้งแตตนปาหนันชาง ตนจันทรกะพอ ตนสุพรรณณิการ ฯลฯ มีบริการนั่งเรือชมธรรมชาติคลองเล็ก คลองนอย ในละแวกนั้น เห็นสวนกลวยไมและสวน พืชผักผลไมตามฤดูกาลของชาวบานละลานไปหมดหากใครอยากลองเรือชมทัศนียภาพสองฝงคลอง ลัดเลาะไปตามคลองยานฝงธนบุรี แวะเที่ยวสวนกลวยไม ใชเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง คาเรือคนละ ๗๐ บาท ดังนั้น ชาวบานภายในพื้นที่ก็เริ่มมีการปรับปรุงการใชประโยชนที่ดินทางการเกษตรมากขึ้น โดยทําเปนแปลงไมดอกไมประดับและพืชผักสวนครัว จําพวก ขิง ขา ตระไคร มะกรูด มะนาว ตนเตย และกลวยไมนานาพันธุ เพื่อนํามาจําหนายใหกับประชาชนภายในพื้นที่ นักทองเที่ยวและตลาดภายใน ตัวเมือง ซึ่งสามารถสรางรายไดใหกับประชาชนภายในพื้นที่ไดเพิ่มขึ้นจากเดิม ตลาดน้ําวัดสะพาน เกิดจากคนในชุมชนที่ตองการมีที่ทางขายผักและผลไมของตน ทุกๆ เชา วันหยุดพอคาแมคาซึ่งเปนชาวสวนในพื้น ที่จะนําผลผลิตจากสวนซึ่งมีทั้งผักสดผลไมตางๆ เวีย น เปลี่ยนไปตามฤดูกาล ซื้อหาผักสดๆ ไดอยางมากมาย ยังไดนมัสการพระพุทธรูปในวิหารโถงเกาหอง ซึ่งเปนที่เคารพศรัทธามาแตสมัยอยุธยา ตลาดน้ําวัดสะพาน มีจัดลองเรือไหวพระ ๙ วัด และลองเรือ ชมคลอง สัมผัสธรรมชาติและวิถีชีวิตเรียบงายริมคลอง แตเมื่อมีปญหาของการจัดการภายในทองถิ่นที่ชาวบานเริ่มขึ้นบกใชพื้นที่ภายในวัดสะพานก็ เกิดความขัดแยงกับพระสงฆเรื่องคาใชจายในการเชาพื้นที่ จนตองหาคนกลางเขามาไกลเกลี่ยและ ไดรับการสนับสนุนจากเขตตลิ่งชัน


๑๓๕

ตลาดน้ําวัดสะพานที่เปนตลาดบกและมีผูทองเที่ยวนอยกวาตลาดอื่นๆ แตก็มีพอคาแมคานําของสวนพวกพืชพักนํามาขาย


๑๓๖ แมคากวยเตี๋ยวเรือที่วัดสะพาน

ตลาดน้ําคลองลัดมะยม เปนตลาดที่จัดตั้งขึ้นมาใหม เมื่อ ราว พ.ศ.๒๕๔๗-๘ ในอดีตคนใน คลองลัดมะยมและบางระมาดมักจะพายเรือผลไมมากมายหลายชนิดมาขายที่ตลาดในวันเสาร– อาทิตย เมื่อที่ดินเปลี่ยนเปนบานจัดสรร คอนโดมิเนียมมากขึ้น คนในชุมชนจึงคิดสรางตลาดน้ําขึ้น “เพื่อไดขายของในสวน ไมตองขายของในสวน” ตลาดนี้พอคาแมคาขายกันบนบกริมคลองสายเล็กที่ กั้นระหวางสวนกับหมูบานจัดสรรรั้วสูง ลุงชวน ชูจันทร ที่เปนทั้งประธานกรรมการตลาดน้ําคลองลัด มะยมและเกษตรกรนํารองเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยากรักษาพื้นที่สีเขียวที่มีคุณคาทาง วัฒนธรรมชาวสวนผืนสุดทายไว ไดพยายามฟนฟูวิถีชีวิตชาวสวนผานการจัดตั้งตลาดน้ํา วัตถุประสงคหลักคืออนุรักษคูคลองที่เริ่มเสียใหคืนชีวิตอีกครั้ง ใหชุมชนเกาและใหมเปดประตูออกมา คุยกัน

ตลาดบกรูปแบบทันสมัยที่คลองลัดมะยม

เริ่มจากอาสาสมัครเก็บขยะในคลอง ขยะอินทรียถูกนําไปทําปุยในสวน สวนตลาดจําหนาย สินคาก็มีผลผลิตจากสวนอยาง หัวปลี ใบบัวบก ดอกแค มะแวงกระทงเล็ก รวมถึงเครื่องตมยํา ประเภท ขา ตะไคร ใบมะกรูด กลวย ผลไมอื่นๆ ซึ่งเล็กนอยจนไมคุมที่จะสงไปขายที่ไหน แตเพียงพอ แลกเปลี่ยนแบงปน


๑๓๗ ตลาดที่ลัดมะยมมีทั้งแมคาจากสวนเดิมและจากบานจัดสรรหรือคนที่ตองการนําสินคาแบบ ใหมๆ ที่ไมใชของสวนมาขายแตสามารถตอบสนองคนในเมืองใหญที่หวนหาอดีตของลุมน้ําลําคลอง และความสงบของสวนในอดีตได อีกดานของตลาดเปนรานตนไม ฝงตรงขามถนนยังมีรานไอศกรีมโบราณ พิพิธภัณฑทองถิ่น บานหัตถกรรม ซึ่งจัดแสดงประวัติเสนทางเดินเรือโบราณ เครื่องมืออุปกรณจับสัตวน้ํา และเครื่องมือ การเกษตรชนิดตางๆ และเมื่อป พ.ศ.๒๕๕๐ ตลาดน้ําคลองลัดมะยมยังไดรับรางวัลชุมชนทองเที่ยว ดีเดนจากการทองเที่ยวแหงประเทศไทย

คุณลุงชาวสวนมาเที่ยวตลาดและการปนตุกตาประดับสวนของศิลปนทองถิ่น

ตลาดน้ําวัดสะพานเปนที่นิยมทองเที่ยวเปนรองกวาตลาดน้ําตลิ่งชันที่ติดตลาดมานานแลว และมีคนนอยกวาตลาดคลองลัดมะยม คนที่มาเที่ยวมักจะเปนชาวบานในทองถิ่นใกลเคียงมากกวา เปนคนเมืองมากเหมือนเชนคนที่มาเที่ยวตลาดน้ําคลองลัดมะยม ตลาดน้ําทั้ง ๓ แหง เปดเฉพาะ วันหยุด แตละแหงมีจุดทองเที่ยวและโปรแกรมแตกตางกันไป สามารถสอบถามไดที่ กองการทองเที่ยว กรุงเทพมหานคร ทั้งตลาดน้ําตลิ่งชัน วัดสะพานและลัดมะยม เปนพื้นที่ทางสังคมใหมๆ ที่เกิดขึ้นมา ทดแทนตลาดน้ําตามธรรมชาติแบบดั้งเดิม ทั้งการเขามาอยูอาศัยของคนในหมูบานจัดสรรที่ กําลังปรับตัวเขากับพื้นที่บางสวนก็กําลังทําใหเกิดการสรางความหมายของตลาดที่พบปะ ของกลุมคนที่หลากหลายขึ้นใหม ดังนั้น ตลาดจึงกลายเปนพื้นที่ทางสังคมแหงใหมในบริเวณ


๑๓๘ ทองถิ่นตลิ่งชัน ในกระแสของความรูสึกหวนหาอดีตที่กําลังแพรหลายในขณะนี้ ความเปน ตลาดน้ําและบานสวนจึงสามารถตอบสนองชีวิตของคนในบริเวณกึ่งมหานครกึ่งชนบทไดแม จะไมสามารถเก็บรักษาพื้นที่และสภาพแวดลอมแบบเดิมไดอีกแลวก็ตาม


บรรณานุกรม กรมศิลปากร. ลัทธิธรรมเนียมตางๆ สํานักพิมพคลังวิทยา : ธนบุรี, ๒๕๐๕ กรมศิลปากร. อักขรานุกรมภูมิศาสตร จังหวัดธนบุรี โรงพิมพพระจันทร : พระนคร, ๒๔๘๒ กรมศิลปากร. ประวัติวัดกาญจนสิงหาสน หางหุนสวนจํากัดศิวพร, ๒๕๐๑ กรมศิลปากร, บันทึกรายวันของ เซอรจอหน เบาริง ค.ศ. 1792-1872, กรุงเทพฯ, ๒๕๓๒ กองผังเมือง. รายงานผลการศึกษาบริเวณแหลงเสื่อมโทรมริมคลองบางกอกนอยบริเวณวัดชัยพฤกษ มาลา เขตตลิง่ ชัน ป ๒๕๒๓ เอกสารเย็บเลม สํานักงานปลัดกรุงเทพฯ กองผังเมือง. รายงานผลการศึกษาบริเวณแหลงเสื่อมโทรมในเขตตลิ่งชันใกลวัดรัชฎาธิฐานและวัด กาญจนสิงหาสน แขวงบางพรม-บางระมาด เขตตลิ่งชัน ป ๒๕๒๔ เอกสารเย็บเลม สํานักงานปลัดกรุงเทพฯ กิตติ ตันไทย. คลองกับระบบเศรษฐกิจของไทย (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๔๕๓) ปริญญาอักษรศาสตร มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๐ เกียรติ จิวะกุล, จาตุรนต วัฒนผาสุก, สุวัฒนา ธาดานิติ, ขวัญสรวง อติโพธิ, เนตรนภิศ นาควัชระ. ตลาดใน กรุงเทพ : การขยายตัวและพัฒนาการ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔ ----------- ประวัติวัดรัชฎาธิฐาน (วัดเงิน) และประวัตคิ วามเปนมาของราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ๒๕๒๘ ไขแสง ศุขะวัฒนะ, รศ. ประวัติสวนไทย ภาค ๒, เอกสารเย็บเลม, ๒๕๒๒ ม.จ. จันทรจิรายุ รัชนี. กําสรวลศรีปราชญ-นิราศนรินทร : ศรีปราชญและกําสรวลศรีปราชญ แพร พิทยา, พระนคร๒๕๑๕ จุฑามาศ ประมูลมาก. การเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองทองถิ่นธนบุรี พ.ศ. ๒๔๕๘-๒๕๔๓ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๔๕ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. รายงานขั้นกลาง โครงการ การศึกษาเพื่อกําหนดกรอบการวางแผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร เสนอสํานักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร, ๒๕๓๙ ชัยศักดิ์ สุรียรัตนากร. การศึกษาเพื่อการวางแผนการจัดการมูลฝอยในกรุงเทพมหานคร (ฝงธนบุรี) วิทยานิพนธปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘ ตุรแปง, ฟรังซัวศ อังรี ปอล ซาเวียร แปล. ประวัติศาสตรแหงพระราชอาณาจักรสยาม, พิมพครั้งที่ ๒, ๒๕๓๙ กรมศิลปากร ทวี เ ดช ทองอ อ น. การศึ ก ษาคุ ณ ค า สภาพแวดล อ มเมื อ งและชุ ม ชนกรุ ง ธนบุ รี เ พื่ อ การอนุ รั ก ษ วิทยานิพนธปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘ ทัศนีย ศุภเมธี. เมืองธนบุรี ศูนยศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูธนบุรี โรงพิมพการศาสนา, กรุงเทพฯ, ๒๕๒๙ นริ ส า โพธิ เ ดช. อิ ท ธิ พ ลของถนนบางกอกน อ ย-นครชั ย ศรี ต อ เขตตลิ่ ง ชั น และพื้ น ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ ง วิ ท ยานิ พ นธ ม หาบั ณ ฑิ ต ภาควิ ช าการวางแผนภาคและเมื อ ง บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย จุ ฬ าลงกรณ มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔


๑๓๙ นันทนา ตันติเวสส (แปล) รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร, กรุงเทพฯ : กรม ศิลปากร, ๒๕๓๒ บางกอกไกด. แผนที่และคูมอื การใชถนนกรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๑ บุหลง ศรีกนก, รณฤทธิ์ ธนโกเศศ. กรุงเทพฯ ๒๔๘๙-๒๕๓๙ กรมศิลปากร, ไมปรากฏปที่พิมพ ประดับ เรียนประยูร. การศึกษาแนวทางพัฒนาสิ่งแวดลอมแหลงทองเที่ยวและสงเสริมเศรษฐกิจ ชุมชน ตลาดน้ําตลิ่งชัน กรุงเทพฯ วิทยานิพนธมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวางแผน สิ่งแวดลอมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๑ ปยนาถ บุนนาค, ดวงพร นพคุณ, สุวัฒนา ธาดานิติ. คลองในกรุงเทพฯ : ความเปนมา การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบตอกรุงเทพฯ ในรอบ ๒๐๐ ป (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๕๒๕) ปรีชา ลิ่มไชยฤกษ. ดูไมหายากที่สวน จาวีระ ภูอารีย ตลิ่งชัน เทคโนโลยีชาวบาน ๑ กันยายน ๒๕๔๒ พรทิ พ ย อั น ทิ ว โรทั ย . บทบาทการศึ ก ษาในการสื บ ทอดและพั ฒ นาทางวั ฒ นธรรม กรณี ศึ ก ษา วั ฒ นธรรมชาวสวนฝ ง ธนบุ รี ปริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพั ฒ นศึ ก ษา คณะคุ รุ ศ าสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕ วตีรนา ภิญญะพันธ, อรรถพงษ ทองจินดา, ปกรณ วราภาสกุล. โครงการจัดทําแผนผังพัฒนาเขต กรุงเทพมหานคร เขต ตลิ่งชัน ภาควิชาวางแผนภาคและเมือง. คณะสถาปตยกรรมศาสตร จุฬา ลงกรณมหาวิทยาลัย, กรกฎาคม ๒๕๔๐ วราภรณ มนตไตรเวศย. วิถีชีวิตชาวสวนกับการทองเที่ยว กรณีศึกษา ตลาดน้ําตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สารนิพนธปริญญาบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๓ ญาณี สรประไพ. การสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชาวสวน จังหวัดนนทบุรี ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๘ ศรีศักร วัลลิโภดม. สังคมลุมน้ําเจาพระยา : พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง The Chao Phraya Delta: Historical Development, Dynamics and Challenges of Thailand’s Rice Bowl. Bangkok, Thailand, ๒๐๐๐ ศุภจิต มโนพิโมกษ. การวางแผนการใชประโยชนที่ดินในเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร งานวิจัย เสนอสํานักงานคณะกรมมการวิจัยแหงชาติ, ๒๕๒๖ ศูนยศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎธนบุร.ี สรุปผลการประชุมทางวิชาการเรื่อง ประวัติศาสตรเมือง ธนบุรี : ๔-๖ สิงหาคม ๒๕๓๕ กรุงเทพฯ, ๒๕๓๔ สมาคมพฤกษชาติแหงประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ การทําสวนทุเรียน, แพรพิทยา, พระนคร, ๒๕๐๖ สหรัฐ รัตนละออง, ร.ต.ท. การศึกษาสภาพแวดลอมทางกายภาพของเมืองเพื่อเปนแนวทางวางแผน ปองกันอาชญากรรมในเขตชุมชน : กรณีศึกษาสถานีตํารวจนครบาลตลิ่งชัน วิทยานิพนธ มหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙


๑๔๐ สากล เจรจา. ตลิ่งชัน บานนอกกลางกรุง เสารสวัสดี - กรุงเทพธุรกิจ ปที่ ๓ ฉบับที่ ๑๑๗,๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๔ สุจิตต วงษเทศ. แมน้ําลําคลองสายประวัติศาสตร สํานักพิมพมติชน พิมพครั้งที่สอง, ๒๕๓๙ สุจิตรา ชโลดม. ผลกระทบจากการกําหนดพื้นที่สีเขียวตอประชาชนบริเวณพื้นที่ดานตะวันตกของ กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) ๒๕๓๗ สิริ พ ร สมบู ร ณ บู ร ณะ. รายงานวิ จั ย เรื่ อ งวิ ถี ชี วิ ต ของชุ ม ชนชาวสวนในเขตกรุ ง เทพมหานครและ ปริ ม ณฑลกั บ สั ง คมที่ กํ า ลั ง เปลี่ ย นไป สํ า นั ก งานคณะกรรมการวิ จั ย แห ง ชาติ , ประจํ า ป งบประมาณ ๒๕๓๘ สุดารา สุจฉายา บรรณาธิการ. ธนบุรี สํานักพิมพสารคดี สิงหาคม ๒๕๔๒ สุนันทา สุวรรโณดม, เนตรนภิศ นาควัชระ, ดร.พิชิต พิทักษเทพสมบัติ, ดร.ภัสสร สิมานนท, แนงนอย นะ มาตร. ลักษณะทางประชากรและการใชพื้นที่ในเขตชานกรุงเทพมหานคร (เขตบางกอก นอย เขตตลิ่งชัน, เขตหนองแขม และเขตภาษีเจริญ) สถาบันประชากรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๖ สุนทรีย อาสะไวย. พัฒนาการทางประวัติศาสตรของธนบุรี ในฐานะสวนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปาก แมน้ําเจาพระยา วารสารธรรมศาสตร ปที่ ๒๐ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม), ๒๕๓๗ สํานักงานเขตตลิ่งชัน. คูมือติดตอราชการสํานักงานเขตตลิ่งชันประจําป ๒๕๔๓, ไมปรากฏที่ พิมพ, ไมปรากฏปที่พมิ พ สํานักงานเขตตลิ่งชัน. ขอมูลชุมชนเขตตลิง่ ชัน, ๒๕๔๓ เสนห นิยมไทย. ทัศนคติตอมาตรการพื้นที่สีเขียวของประชาชนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, ๒๕๓๕ พรทิ พ ย อั น ทิ ว โรทั ย . บทบาทการศึ ก ษาในการสื บ ทอดและพั ฒ นาทางวั ฒ นธรรม กรณี ศึ ก ษา วัฒนธรรมชาวสวนฝงธนบุรี ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะคุรุศาสตร จุฬาลง กรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕ หมื่นพรหมสมพัตสร (มี). นิราศสุพรรณ ของ หมื่นพรหมสมพัตสร (มี) กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน, ๒๕๔๓ ลือชัย ครุธนอย. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดลอมการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สีเขียว ให มี สิ่ ง ปลู ก สร า งประเภททาวเฮาส แ ละอาคารพาณิ ช ย กรณี ศึ ก ษา ผั ง เมื อ งรวม กรุงเทพมหานคร สถาบันวิจัยสภาวะแวดลอม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑ วชรีวรรณ เจริญเรืองวานิชย. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เนื่องจากผลของการใชประโยชน ที่ดินประเภทสาธารณประโยชน ศึกษากรณีชุมชนแขวงตลิ่งชันและแขวงฉิมพลี กรุงเทพฯ วิทยานิพนธมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดลอม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๒ วิ สู ต ร เด น อริ ย ะกู ล . การประเมิ น ผลความเสี ย หายจากน้ํ า ท ว มฝ ง ธนบุ รี พ.ศ.๒๕๒๖ ปริ ญ ญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๙


๑๔๑ วันดี สันติวุฒิเมธี. เพื่อความเขาใจในแผนดิน สารคดี ปที่ ๑๖ ฉ.๑๘๒ (เมษายน ๒๕๔๓) อดิศร หมวกพิมาย.กรมทากับระบบเศรษฐกิจไทย: วิเคราะหโครงสรางและการเปลี่ยนแปลงตั้งแต สมั ย ธนบุ รี ถึ ง การทํ า สนธิ สั ญ ญาเบาว ริ่ ง พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๙๘ วิ ท ยานิ พ นธ ศิ ล ปศาสตร มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๓๑ อัน นิมานเหมินทร. การวางโครงผังเมืองพระนครธนบุรีกับการพัฒนาภาคและประเทศ วารสารอาษา เลม ๑,๒, ๒๕๑๔ Crawfurd, John, Sir. Journal of an embassy to the courts of Siam and Cochin China. Kuala Lumpur, Oxford University Press, 1967 Gervaise, Nicolas.[Translated by John Villiers] The Natural and Political History of the Kingdom of Siam White Lotus Co., LTD, 1989 Hanks, Lucien M., Rice and Man : Agricultured Ecology in Southeast Asia., Chicago and New York : Aldine, Atherton., 1972 Mouhot, Henri, Travels in Siam, Cambodia and Laos 1858-1860, London, John Murray, 1864, reprinted Bangkok, White Lotus, 1986 Neale, F. A. Narrative of a Residence in Siam, White lotus Press, Bangkok, 1999; (repr. from 1852) Loubere, Simon De la. The Kingdom of Siam White Lotus Co., LTD, Bangkok, 1986 H. Warington Smyth. Five Years in Siam, From 1891-1896. Vol. I & II, White Lotus, Bangkok 1994 YOSHIKAZU Takaya. [Translated by Peter Hawkes] Agricultural Development of a Tropical Delta, A Study of the Chao Phraya Delta University of Hawall Press, Homolulu,1987


๑๔๒

ภาคผนวก วัดในเขตตลิ่งชัน สวนใหญวัดตางๆ จะตั้งอยูบริเวณริมน้ําซึ่งเปนชุมชนดั้งเดิมเพราะอาศัยการคมนาคมทางน้ําเปน หลัก และเนื่องจากคนตลิ่งชันสวนใหญนับถือพุทธศาสนาจึงนิยมที่จะสรางวัดขึ้นตามศรัทธาในละแวกบาน และชุมชนของตนที่สะดวกแกการทําบุญ เขตตลิ่งชันจึงมีวัดอยูเปนจํานวนมากและตั้งอยูในบริเวณที่ไมหาง กันมากนัก มีทั้งหมด ๒๙ วัด บริเวณทองถิ่นตามลําน้ําที่เปนคลองซอยแยกจากแมน้ําเจาพระยาเดิมมีชุมชนที่ถูกกลาวถึงมาตั้งแต พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ในหลักฐานหนังสือกําสรวลฯ บริเวณนี้เปนเขตเรือกสวนและชุมชน วัดเกาๆ ที่มี ความสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้มักจะอยูในเขตนี้มากกวาบริเวณที่ไกลจากลําน้ําเจาพระยาเดิมออกไปทาง ตะวันตกซึ่งเปนทองทุงนา ชุมชนกลางทุงมีอยูไมมากเมื่อเทียบกับชุมชนในเขตสวนภายใน ดังนั้น เราจะเห็น วาวัดเกาแกของเขตตลิ่งชัน นอกเหนือบริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยูริมคลองเกาซึ่งเปนเสนทางคมนาคม สําคัญแลว วัดดั้งเดิมที่อยูในเขตทองนามีไมมากเชนในเขตสวน นาสังเกตวา วัดสวนใหญในเขตตลิ่งชันจะมีรองรอยความทรงจําวาสรางขึ้นมาใหมในสมัยธนบุรีและ ชวงตนกรุงเทพฯ จากซากวัดราง วัดเกาที่เหลือทิ้งไวหลังจากชาวบานชาวสวนแถวบางกอกและตลิ่งชันนั้นทิ้ง ชุมชนใหรกราง ผูที่เขามาใหมมักจะเปนคนที่มาจากเมืองอยุธยาเกาหรือทองถิ่นอื่นๆ เขามาบูรณปฏิสังขรณ วัดโดยการอุทิศที่ทาง ทรัพยสินใหไวเปนสมบัติสาธารณะและเพื่อสืบตอพระพุทธศาสนา แตสวนใหญคนใน ชุมชนชาวสวนจะเปนผูอุปถัมภวัดรวมกัน ชาวสวนมีฐานะดี เพราะมีผลผลิตเก็บขายไดตลอดทั้งปจนตองมีอากรเดินสวนซึ่งเปนรายไดสําคัญ ของพระคลังขางที่ในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร ชาวสวนบางชุมชนยังทํานาที่อยูในพื้นที่ดานหลังทางฝง ตะวันตกดวยแตก็มีบางชุมชนที่มีการทํานาอยางเดียว ดังนั้น ชาวสวนจึงไมอดขาวแถมยังมีรายไดจากผลไม หลากหลายในสวนดวย แมจะตองทํางานหนักกวาชาวบานทั่วๆ ไป เหตุนี้เอง วัดในสวนจึงไมใชวัดยากจน แม ไ ม ใ ช วั ด ขนาดใหญ ดั ง วั ด หลวงในเมื อ งที่ มี ผู อุ ป ถั ม ภ เ ป น เจ า นายแต ก็ ไ ม ใ ช วั ด เล็ ก เสี ย ที เ ดี ย ว อี ก ทั้ ง บานเรือนของขุนนางเกา เจานายเกาก็มีการเขามาซื้อที่ปลูกเรือนอยูอาศัยตามคลองยอยตางๆ ในเขตนี้ จึงมี การบํารุงวัดกันอยูไมขาด วัดในสวนสวนใหญจะมีอาคารศาสนสถานครบสมบูรณแทบทุกแหง อยางนอยก็มีโบสถไวปฏิบัติกิจ สงฆทั้งนั้น รวมทั้งวิหารบางแหงก็มีขนาดใหญ เจดีย ศาลาธรรมตางๆ รวมทั้งการตั้งสํานักเรียนพระปริยัติ ธรรมก็มีมาอยางสืบเนื่องจนถึงทุกวันนี้ยังเห็นรองรอยที่มีการสรางโรงเรียนนักธรรมในวัดหลายแหง วัดในเขตนี้ยังอุดมไปดวยพระสงฆที่มีบารมีเปนที่เคารพสักการของชาวบานมากมายและทั่วทุกวัด ความสําคัญของทานนั้นมีมากตอคนในชุมชนตางๆ เพราะเปนทั้งพระอุปชฌายผูเปนครูบาอาจารย บางรูปมี ความรูทางการรักษาโรคและยาสมุนไพรซึ่งเปนสิ่งสําคัญอยางยิ่งตอชีวิตคนในสวน และพระสงฆบางรูปก็อยู ในฐานะเปนเกจิอาจารยผูมีความศักดิ์สิทธิ์ในตนเอง ดังนั้น ทั้งรูปเหรียญที่ระลึก เบี้ยแกเบี้ยจั่น ตะกรุด ผา ยันต ของขลังตางๆ ของพระเกจิอาจารยในแถบตลิ่งชันจึงมีผูนิยม เสาะหาเก็บไวกันอยางมากมาย


๑๔๓

นอกจากนี้ ตามวัดตางๆ ก็มักจะนิยมการสรางรูปหลอเนื้อโลหะขนาดเทาองคจริงของพระสงฆผูมี บารมี ซึ่งมักเปนเจาอาวาสที่ชาวบานนับถือศรัทธาของชุมชนตางๆ เก็บไวใหชาวบานบูชาระลึกถึง นอกจากนี้ก็ยังนิยมบูชาพระพุทธรูปจําลองที่ศักดิ์สิทธิ์ ผูคนนับถือทั่วไปในทองถิ่นใกลเคียงในเขตที่ เปนชายฝงทะเลแถบภาคกลางและสามารถเดินทางจากตลิ่งชันไปถึงไดโดยไมยากมากนัก เชน รูปจําลอง หลวงพอวัดบานแหลม สมุทรสงคราม รูปจําลองหลวงพอวัดไรขิง รูปจําลองหลวงพอพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา รูปหลอสมเด็จพระพุฒาจารย โต พรหมรังสี วัดระฆัง เปนตน เปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือรวมกันของชุมชนใน เขตสามเหลี่ยมปากแมน้ําเจาพระยาใหม วัดและสถานที่ทางศาสนาตางๆ ในแตละแขวง มีดังนี้ แขวงคลองชักพระ ไดแก วัดตลิ่งชัน วัดชางเหล็ก วัดรัชฎาธิษฐาน วัดกาญจนาสิงหาสน วัดเรไร และวัดปากน้ําฝงเหนือ ศาลเจาแมทับทิม แขวงตลิ่งชัน ไดแก วัดชัยพฤกษมาลา วัดนอยใน วัดไกเตี้ย วัดนครปาหมาก ศาลเจาพอจุย และ ศาลเจาเหงเจีย แขวงฉิมพลี ไดแก วัดมณฑป วัดทอง วัดกระจัง วัดพุทธจักรมงคลชยาราม และวัดสมรโกฏิ แขวงบางระมาด ไดแก วัดมะกอก วัดโพธิ์ วัดอินทราวาส และวัดจําปา วัดที่สําคัญที่เปนพระอารามหลวง ในเขตตลิ่งชันมีอยู ๓ วัด คือ วัดชัยพฤกษมาลา วัดกาญจนา สิงหาสน (วัดทอง บางพรม) และวัดรัชฎาธิษฐาน (วัดเงิน) สองวัดหลังตั้งอยูในคลองบางพรมซึ่งนับวาเปน สํานักเรียนที่มีชื่อเสียงทั้งทางวิปสสนาและพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ วัดในแถบบานสวนบานนาในแถบตลิ่ง ชันยังสืบทอดการเปนสถานที่เรียนทางศาสนาของพระภิกษุสามเณรตลอดมาและเมื่อมีพระราชบัญญัติการ ประถมศึกษา โรงเรียนชั้นมูลฐานเบื้องตนก็อยูในพื้นที่ดินของวัดตางๆ ทั้งสิ้น

พระรับบาตรโดยการพายเรือไปตามลําคลอง


๑๔๔

วัดในเขตตลิ่งชันหลายแหงที่ยังคงรองรอยของโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาที่อาจจะมีอายุขึ้นไปถึงใน สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะสมัยอยุธยาตอนปลาย เชน ชิ้นสวนของพระพุทธรูปหินทรายแดงหลากหลาย ขนาด และบางวัดก็มีการนําพระพุทธรูปหินทรายแดงที่มีมาแตดั้งเดิมบูรณะลงรักปดทองและยังคงรักษาไว เปนพระประธานของวัดอยูจนทุกวันนี้ วัดสวนใหญตั้งอยูริมคลอง จะมีบางแหงเทานั้นที่หางเสนทางน้ําออกมา วัดเหลานี้ตั้งอยูริมคลองหัน หนาวัดสูคลอง ยามเชาตรู จะแลเห็นพระภิกษุพายเรืออีแปะลําเล็กๆ ออกบิณฑบาต ปจจุบันเปนภาพที่หาดู ไดยาก เพราะเมื่อมีถนนตัดผานก็ไมจําเปนตองใชเรือ ดังนั้นจึงมีเพียงไมกี่วัดที่พระยังบิณฑบาตทางเรืออยู เชน วัดมะกอก วัดจําปา วัดทอง วัดชางเหล็ก วัดตางๆ ในทองถิ่นตลิ่งชันมีความสัมพันธกับวิถีชีวิตของชาวบานอยางมากตั้งแตเกิดจนตายไมวา จะโกนจุก บวช แตงงาน หรืองานศพ ตองอาศัยวัดเปนศูนยกลางของชุมชนทั้งสิ้น บานใครอยูใกลวัดไหนก็ มักจะไปทําบุญวัดนั้นเปนประจําสืบทอดกันมา ในปจจุบัน ชาวบานมีขอสังเกตวา วัดใดหากมีเมรุเผาศพ วัด นั้นจะมีรายไดเขามาใชจายในวัดมากกวาวัดที่ไมมีเมรุเผาศพ ดังนั้น ความสัมพันธของวัดกับชุมชนในรูปแบบ ที่เปนเมืองมากขึ้นและมีการเขามาของบานจัดสรรและคนจากพื้นที่อื่นมากขึ้นก็จะยังคงสานตอในทาง ประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการตายคือพิธีกรรมงานศพมากที่สุดและกลายเปนแหงรายไดสําคัญของ วัดตางๆ ไป งานบุญของวัดแตละแหงก็มีเอกลักษณที่ไมเหมือนกันและเปนการจัดงานรื่นเริงใหชาวบานมารวม ชุมนุมพบปะสังสรรคกัน เชน งานแหดาวดึงสที่วัดจําปา งานชักพระที่คลองบางกอกนอยและคลองชักพระ วัดนางชี วัดไกเตี้ย วัดตลิ่งชัน วัดเรไร งานแขงเรือยาวประเพณีที่วัดนอยในและงานแหกฐินทางเรือของชุมชน ริมน้ําตางๆ งานตักบาตรเทโว และงานประเพณีตามชวงเวลาอื่นๆ ในชวงสรางบานแปลงเมืองตั้งแตเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทรเปนตน การศึกสงครามกับบานเมืองตางถิ่น และการกวาดตอนอพยพผูคนเขามาเปนไพรฟาประชากรนับเปนสิ่งสําคัญอยางมาก ตั้งขอสังเกตไดวา ภายในตัวเมืองกรุงเทพฯ ชั้นในจะมีการอยูอาศัยของครัวเรือนที่เปนชนชั้นสูงและมีสถานภาพทางสังคมมาแต เดิมของผูคนหลากชนชาติหลากภาษาในยานตางๆ เชน คนมลายูที่เรียกวาแขกตานีบริเวณแยกคอกวัวและ บางลําพูในปจจุบัน คนลาวที่ยานฝงธนบุรี คนญวนที่ทาเตียนและสามเสน เปนตน สวนในเขตปริมณฑลของ กรุงเทพฯ ก็เ ต็ม ไปดวยผูคนหลากชาติพั นธุตั้งชุ มชนรวมกลุม กัน ธํา รงเอกลักษณ วัฒนธรรมของตนเอง สืบเนื่องมา แตทั้งหมดนั้นก็ถูกบูรณาการเขาเปนสวนหนึ่งของความเปนคนกรุงเทพฯ และคนไทยเชนเดียวกัน ยานตลิ่งชันนอกเหนือจากชาวนาและชาวสวนแลว ก็ยังมีคนจีนที่เขามาปลูกผักยกรอง ชาวจีนแถบ นี้นับถือทั้งคริสตศาสนาและนับถือเจาพอและศาลเจาที่เปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน นอกจากนี้ ยังมีคนญวนที่ เขามายังกรุงเทพฯ ในชวงที่บานเมืองญวนเกิดความไมมั่นคง และเปนกลุมที่นับถือคริสตศาสนา ในเขตตลิ่ง ชันจึงมีโบสถคริสตของคนเชื้อสายจีนและญวน ๒ แหง คือ วัดธรรมาสนนักบุญเปรโต อยูริมคลองบางเชือก หนัง และวัดศีลมหาสนิท ยานสวนผัก


๑๔๕

วัดศีลมหาสนิทที่สวนผัก ตลิ่งชัน

ศาลเจาเซีบมซือกงที่ริมคลองมหา สวัสดิ์ ตลิ่งชัน

นอกจากนี้ ยังมีศาลเจาของคนเชื้อสายจีนในยานริมคลองชักพระ เชน ศาลเจาแมทับทิม สวนใน ยานสวนผักซึ่งปจจุบันแปรเปลี่ยนเปนยานที่พักอาศัยและเมืองจนเกือบหมดแลว เชน ศาลเจาและโรงเจเซียม ซือกง โรงเจตนโพธิ์ และศาลเจาพอจุยและศาลเจาเหงเจีย


๑๔๖

ศาลเจาเหงเจียของคนเชื้อสายจีน ที่ยานตลิ่งชัน

วัดในทองถิ่นตลิ่งชันอยูตามริมคลองตางๆ โดยแยกเปนคลองขุดมหาสวัสดิ์ที่ขุดเพื่อเปดพื้นที่และ เสนทางไปสูทองถิ่นทางฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยาทางดานเหนือสุด ถัดมาคือคลองบางกอกนอยที่ เชื่อมตอกับคลองชักพระ ซึ่งเปนลําน้ําเจาพระยาเดิมกอนขุดลัดบางกอก ลําน้ําเจาพระยาเดิมในบริเวณนี้มี คลองซอยทางฝงตะวันตกที่เปนคลองซอยมาแตโบราณ ดังปรากฏในนิราศกําสรวลสมุทร เชน คลองบาง ระมาด คลองบางพรม คลองบางเชือกหนัง คลองบางนอย แตละคลองจะมีการขุดคลองลัดเพื่อตอเชื่อม ชุมชนในคลองตางๆ ถึงกันและยังเปนการขุดเพื่อสะดวกแกการคมนาและการไหลเวียนของน้ําใหมีลักษณะ ขึ้นลงไดไมเออขังซึ่งจะทําใหเกิดน้ําจืดและน้ําเค็มที่ไมสมดุลสรางความเสียหายแกเรือกสวนตางๆ เชน คลอง บัวขุดเชื่อมระหวางคลองมหาสวัสดิ์และคลองบานไทร คลองศาลเจาและคลองวัดไกเตี้ยลัดระหวางคลอง


๑๔๗

ตามลําคลองตางๆ เรียงจากทิศเหนือสูทิศใต จากดานฝงตะวันออกสูฝงตะวันตก มีวัดตางๆ ตาม เสนทางน้ํา ดังนี้ คลองมหาสวัสดิ์ มี วัดชัยพฤกษมาลา คลองบางกอกนอย มี วัดนอยใน วัดไกเตี้ย คลองชักพระ มี วัดตลิ่งชัน วัดชางเหล็ก วัดเรไร คลองบางระมาด มี วัดมณฑป วัดสมรโกฎิ วัดทอง (บางระมาด) วัดกระจัง วัดจําปา วัดโพธิ์ และ ศาลเจาพอจุย (ที่บริเวณปากแพรกที่เปนคลองแยก คลองบานไทร มี วัดมะกอก คลองบางพรม มี วัดกาญจนสิงหาสน (วัดทอง) วัดรัชฎาธิฐาน (วัดเงิน) วัดปราสาท วัดอินทราวาส วัดศิริวัฒนา บริเวณใกลเคียงตัดกับคลองลัดมะยมมีศาลเจาแมโพสพ คลองบางเชือกหนัง มี วัดปากน้ําฝงเหนือ วัดเกาะ วัดทอง วัดกําแพง วัดพิกุล วัดตากลอม และ วัดมะพราวเตี้ย คลองบางนอย มี วัดกระโจมทอง วัดตะพาน


๑๔๘

แผนที่แสดงที่ตั้งของวัดตางๆ ในเขตตลิ่งชัน


๑๔๙

วัดที่ตั้งริมคลองมหาสวัสดิ์ วัดชัยพฤกษมาลา วัดชัยพฤกษมาลาเปนพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหารมาตั้งแตรัชกาลที่ ๒ อยูริมคลองมหา สวัสดิ์ แขวงตลิ่งชัน เดิมชื่อวา “วัดชัยพฤกษ” ขึ้นกับตําบลมหาสวัสดิ์ อําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เปนวัด โบราณมีมาแตครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงธนบุรีตั้งขึ้นใหมตองรื้อเอาอิฐไปกอกําแพงจึงกลายเปนวัดราง ไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช โปรดใหพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย ซึ่งเวลานั้นเปนสมเด็จพระเจาลูกยาเธอพระองคใหญ ปฏิสังขรณวัดชัยพฤกษขึ้นใหมเปนการทดแทนวัดเดิมที่ ถูกรื้อเอาอิฐไปสรางกําแพงเมือง การสรางวัดไดดําเนินมาแตรัชกาลที่ ๑-๒ เนื่องจากเหตุการณบานเมืองยัง ไมสงบเรียบรอยทําใหการสรางวัดตองคางไวยังไมสําเร็จสมบูรณดีจนตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว กอนทรงผนวช ทรงรับพระบรมราชโองการจากสมเด็จพระ บรมชนกนาถ รัชกาลที่ ๓ ใหเปนแมกองดําเนินการสรางวัดชัยพฤกษ โปรดเกลาฯ ใหยกวัดเขาในบัญชีพระ อารามกฐินหลวงพระราชทานใหพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวมาทรงจุดเทียนพรรษาและถวายพระ กฐินทุกปตลอดรัชกาลของสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเสด็จขึ้นครองราชย ทรงบริจาคพระราชทรัพยและโปรด เกลาฯ ใหพระเจาลูกยาเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เปนแมขาย ดําเนินการซอมสรางจนแลวเสร็จ พรอมกับ พระราชทานสรอยนามวัดวา “วัดชัยพฤกษมาลา” โดยโปรดเกลาฯ ใหจัดซื้อที่สวนถวายเพิ่มเปนที่วัดขุดคูรอบ วัด สรางพระอุโบสถและพระวิหารเดิมใหแลวเสร็จ สรางศาลาการเปรียญ กอพระเจดียใหญพรอมดวยพระ เจดียทิศ ๔ มุม หอสวดมนต หอระฆัง สะพานทาน้ํา พระเจดีย สรางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ไดทรงทําการปฏิสังขรณเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ โดยหมอมเจาเพิ่ม ลดาวัลย เสร็จแลวไดอัญเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๓ และอัฐิของเจานายอีกหลายพระองคมาบรรจุไวในพระ เจดียองคนี้ดวย พระเจดียในวัดนี้มีสัญลักษณของตนชัยพฤกษปรากฏอยู พระอุโบสถเกาสรางในสมัยรัชกาลที่ ๒ ไดทรงบูรณปฏิสังขรณใหสําเร็จสมบูรณในสมัยรัชกาลที่ ๔ ปจจุบัน ชํารุดทรุดโทรมมากแลวเพราะน้ําทวมใหญในป พ.ศ.๒๕๔๑-๒ พอถึง พ.ศ.๒๕๕๐ จึงดีดตัวอาคาร ขึ้นทั้งหลังขึ้นเหนือพื้นดินราว ๒ เมตร เปนการปองกันความชื้นและน้ําที่มักไหลเขามาทวมอยูเสมอ การดีด อาคารเปนงานใหญมาก โดยขุดดินรอบ ๆ ออกเพื่อเปนฐานดันตัวอาคารขึ้น จากนั้นจะทําเสาเข็มกลมรองรบ และใชแมแรงไฮดรอลิกกดลงไปในดินจนไดความลึกในระดับที่ตองการ ประมาณ ๒๓ เมตร และเทปูนลงไป ในเสาเข็มฐานรอบพระอุโบสถ ๔๘ ตน จากนั้นตัดหัวเข็มออกและเอาแมแรงมาวางบนหัวเข็มเพื่อดันตัว อาคารขึ้นจากพื้นดินปจจุบัน ๒ เมตร และการยกอาคารโบสถทั้งหลังใหสูงขึ้นถือเปนฝมือชางไทย หนาบันพระอุโบสถหลังใหม ชั้นบนมีปูนปน เปนรูปครุฑพาห ซึ่งเปนเครื่องหมายของรัชกาลที่ ๒ และที่หนาบัน มุขลดมีปูนปนเปนรูปพระมหามงกุฏซึ่งเปนเครื่องหมายของรัชกาลที่ ๔ พระวิหาร ขนาด


๑๕๐

ศาลาการเปรียญทรงไทย สรางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ กุฏิสงฆเปนกุฏิไมทั้งหลัง หอระฆัง บูรณะใหม กอ อิฐ ถือปูน หนาบันเปนแบบจัตุรมุข ตรงกลางทําเปนยอดเจดียยอดแหลมขึ้นไป มีชอฟา ใบระกา หางหงส รูปหลอของพระนันทวิริยะโพธิ์อดีตเจาอาวาส สรางขึ้นในป พ.ศ. ๒๔๖๘ เปนเจาอาวาสไดขึ้นชื่อ ในทางไสยศาสตรและเปนนักกอสราง แตเดิมเปนคนจังหวัดนนทบุรี มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ เปนที่ เคารพ ศรัทธาของชาวบานในละแวกนี้มาก วัดนี้มีงานเทศนมหาชาติในวันออกพรรษาเปนประเพณีสําคัญ ภายในบริเวณวัดมีโรงเรียนกุศลศึกษา เปนโรงเรียนที่วัดอุปถัมภมาแตเดิม

พระอุโบสถหลังใหม

พระอุโบสถหลังเกาที่ดีดขึ้นมาเหนือพื้นดิน จากเดิมที่น้ําเคยทวมเสมอ


๑๕๑

พระวิหารหลังเกา

วัดชัยพฤกษมาลาตั้งอยูริมคลองมหา สวัสดิ์

วัดที่ตั้งริมคลองบางกอกนอย วัดนอยใน วัดนอยในอยูที่ถนนชัยพฤกษ แขวงตลิ่งชัน สังกัดคณะสงฆมหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดอยูริมคลอง บางกอกนอย มีผูเลาสืบตอกันมาวา เมื่อกรุงศรีอยุธยาใกลจะเสียแกพมา ครอบครัวของนางนอยซึ่งเปนหญิง หมาย มีบุตรสาว ๒ คน คือ ผึ้ง และ จีด พรอมดวยพระสงฆรูปหนึ่ง คือ พระอาจารยหนาย ซึ่งเปนพระ


๑๕๒

นางนอยเห็นวาบริเวณนี้ปารกปราศจากผูคนจึงจับจองที่ทํามาหากินและทางตอนใตใกลๆ ที่ดินนั้นมี วัดรา งอยูวัดหนึ่ง มีโ บสถเก าและวิ หารรูป เรือ สํา เภา ซึ่ งวิหารนั้นไดถู กรื้อไปนานแล ว เพื่อ ใชเปน ที่สรา ง โรงเรียนวัดนอยใน เมื่อพระเจาตากสินมหาราชกูบานเมืองไดแลวก็มีผูคนมาอาศัยอยูในบริเวณนี้มากขึ้น นางนอยกับ พระอาจารยหนาย และชาวบานจึงไดรวมมือกันบูรณะวัดรางนั้นใหเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมี พระอาจารย หนาย เปนสมภาร ไดมีพระสงฆมาสมัครเปนศิษยเพื่อเรียนวิปสสนากรรมฐานกันมากมาย วัดจึงเจริญยิ่งขึ้น ตามลําดับ ตอมาเมื่อสิ้นพระอาจารยหนายกับนางนอยแลว นางผึ้งบุตรสาวคนโตผูไปไดสามีอยูที่บางเขนก็ ไดสรางวัดขึ้นวัดหนึ่งและใหชื่อวา วัดนอย ตามชื่อมารดาของตน นางจีด ผูเปนนองไมยินยอม เพราะตองการ ใหวัดที่มารดาไดบูรณะขึ้นใหมนั้นมีชื่อวา วัดนอย เชนกัน สองพี่นองตกลงกันไมได พระอาจารยจีนผูเปน สมภารตอจากพระอาจารยหนาย จึงตัดสินใหวัดที่นางผึ้งสรางขึ้นใหมซึ่งอยูนอกออกไปทางทิศตะวันออกนั้น มีชื่อวา วัดนอยนอก และใหวัดที่นางนอยมารดาของคนทั้งสองไดบูรณะซอมสรางขึ้นใหมนั้นมีชื่อวา วัดนอย ใน เสนาสนะในวัด มีดังนี้ พระอุโบสถหลังใหม สรางขึ้นทดแทนหลังเดิมที่ชํารุดทรุดโทรมลงไป หนาบัน ทั้งดานหนาและดานหลังประดับตกแตงดวยลวดลายปูนปนตางๆ มีเครื่องหมาย “พร” ประดับมงกุฏอันเปน พระนามยอของสมเด็จพระเจาภคินีเธอเจาฟาเพชรรัตนราชสุดาศิริโสภาพรรณวดีที่พระราชทานใหแกวัดนอย ในเปนพิเศษ พระประธานนามวา พระพุทธวชิรสุวัฒนาศิริโสภาบพิตร สรางใหมดวยโลหะแตเดิมเปนปูนปน พุทธลักษณะตามแบบสุโขทัยปางมารวิชัย พระเจดีย เกาแกอายุรวมประมาณเกือบกวา ๒๐๐ ป สรางตามแบบสมัยอยุธยา แตปจจุบันทรุด โทรมลงมากแลว ทางวัดไดพยายามจัดหาทุนมาซอมแซมและทํากําแพงแกวลอมรอบไวดวย

พ ร ะ อุ โ บ ส ถ ห ลั ง เ ก า ชํารุดทรุดโทรมไปแลว


๑๕๓

ห น า บั น อุ โ บ ส ถ ห ลั ง ใ ห ม มี เครื่ อ งหมาย “พร” พระนามย อ ของสมเด็จพระเจาภคินีเธอเจาฟา เพชรรัตนราชสุดาศิริโสภาพรรณ วดีที่พระราชทานใหแกวัดนอยใน

ภ า ย ใ น อุ โ บ ส ถ วั ด น อ ย ใ น ประดิษฐาน พระพุทธวชิร สุวัฒนาศิริโสภาบพิตร พระประธานในอุโบสถ

พระเจดีย


๑๕๔

มีการจัดคณะกรรมการเพื่อดําเนินงานอาคารเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อชวยเหลือทางการศึกษามีการ ชวยเหลือชุมชน โดยการฌาปณสถานใหฟรีหากใครเดือดรอนในเรื่องทรัพยสิน ในบริเวณเดียวกันยังมี โรงเรียนวัดนอยในสรางตั้งแตสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระอธิการมั่งเจาอาวาสวัดนอยในเปนผูกอตั้ง แรกเริ่มมี นักเรียนเพียง ๒๐ คน เรียนในศาลาการเปรียญ มีพระภิกษุเที่ยงเปนผูสอนเพียงองคเดียว ตอมาพระภิกษุ เที่ยงลาสิกขาบทและลาออกจากการเปนครู ครูขํา มัฆลักษณ บานอยูตรงขามวัดนอยในเปนครูใหญแทนและ นักเรียนเพิ่มมากขึ้น มีชั้นสูงสุดเรียกวา "ประโยคประถม" เทียบไดกับประถมศึกษาปที่ ๖ ในทุกวันนี้ ปจจุบัน โรงเรียนเปดถึงชั้นมัธยมและเปลี่ยนชื่อเปน โรงเรียนทีปงกรวิทยาพัฒน

วัดไกเตี้ย วั ด ไก เ ตี้ ย อยู ริ ม ล อ มรอบและมี ค ลองบางกอกน อ ยอยู ห น า วั ด ในแขวงตลิ่ ง ชั น เขตตลิ่ ง ชั น กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย สรางขึ้นปลายสมัยกรุงธนบุรี ในป พ.ศ.๒๕๑๑ ทางวัดมีการ สรางบูรณปฏิสังขรณอาคารเสนาสนะในวัดครั้งใหญและไดจัดแบบแปลนของวัดใหมใหพัฒนาดียิ่งขึ้น ได ผูกพัทธสีมาอุโบสถหลังใหมเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เพราะแตเดิมของเกาเปนไม พังลงมาจึงรื้อทิ้ง อุโบสถปจจุบันมีลักษณะเปนคอนกรีต แตเดิมลวดลายหนาบันเปนลายกนก พรรณพฤกษา ปจจุบันเปนรูป พระพุทธเจา ดานใตมีสัญลักษณเปนรูปไกหมายถึงชื่อของวัดนี้ อาคารที่โดดเดนและเกาที่สุดที่สุดของวัดนี้คือ หอไตร ปรากฏวาเปนพื้นไมจึงมีปลวกเขาไปอาศัยทํา รัง ปจจุบันมีการบูรณะหอไตรหลังนี้แลว นอกจากนี้ ภายในวัดไกเตี้ยยังมีพระพุทธฉายและรูปหลอหลวงพอ นวลซึ่งเปนพระเกจิอาจารยองสําคัญและหลวงพอโต ศาลาการเปรียญ หอระฆัง หอไตร ประเพณีที่สําคัญของทองถิ่นและชาวบานแถบคลองบางกอกนอยและคลองบางกอกใหญ คือ การ แหพระบรมสารีริกธาตุหรือประเพณีชักพระ จัดเปนประเพณีที่ยิ่งใหญและสืบทอดมาโดยตลอด ในวันแรม ๒ ค่ํา เดือน ๑๒ ของทุกป จะมีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกลงประดิษฐานยังบุษบกในเรือ แลวเริ่มตนแหจากหนาวัดนางชีไปทางคลองบางกอกนอยจนถึงวัดไกเตี้ยที่ตลิ่งชันกอนเพล มีการเลี้ยงพระที่ วัด สวนขากลับแหไปทางปากคลองบางกอกนอยเขาแมน้ําเจาพระยาผานคลองบางกอกใหญแลววกเขา คลองดานกลับไปทางวัดนางชี ประเพณีชักพระเปนงานใหญของผูคนทุกเพศทุกวัยในยานนี้ แมจะออกไป ทํางานไกลเพียงใดเมื่อถึงวันชักพระจะตองมารวมงาน บางคนก็เฝารอดูอยูหนาบานและกราบไหวบูชาดวย ความศรัทธา สําหรับในบริเวณวัดชวงเพล ชาวบานจะนําอาหารคาวหวานและเครื่องดื่ม มารวมงานเพื่อเลี้ยง ทุกๆ คนที่มางานชักพระ ขบวนเรือประกอบดวย เรืออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระพุทธ) เรือพระไตรปฎก (พระธรรม) เรือ เจาอาวาสวัดนางชี (พระสงฆ) เรือผูวาราชการกรุงเทพฯ (เจาเมือง) และขบวนเรือบุปผชาติที่ตกแตงประดับ ประดาอยางงดงามจากหนวยราชการและเอกชนเขารวมขบวนอีกกวา ๕๐ ลํา ขบวนแหเรือชักพระนี้เปนการ แหแบบทักษิณาวัตรเริ่มตนจากวัดนางชี เขาปากคลองดาน ขบวนเรือลองตามคลองบางกอกใหญมุงไปทาง เหนือตามคลองชักพระ เขาสูบางกอกนอยสิ้นสุดที่วัดไกเตี้ย หลังจากนั้น ขบวนวกกลับทางคลองบางกอก นอย ออกสูแมน้ําเจาพระยาเขาสูคลองบางกอกใหญสิ้นสุดพิธีที่วัดนางชี


๑๕๕

คลองชักพระ ซึ่งเปนคลองเดียวกับคลองบางขุนศรี ที่ตอจากคลองบางกอกนอยที่บริเวณตรงขามวัด สุวรรณคีรีเชื่อมกับคลองบางกอกใหญที่บริเวณสามแยกคลองบางกอกใหญและคลองภาษีเจริญมารวมกัน ความยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร

หอไตรวัดไกเตี้ย กอนบูรณะ

หอไตรวัดไกเตี้ยหลังบูรณะและยายสถานที่ตั้งแลวแลว


๑๕๖

วัดนครปาหมาก วัดนครปาหมากตั้งอยูที่ถนนสุขาภิบาล ริมคลองวัดไกเตี้ยที่แยกออกมาจากคลองบางกอกนอย แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย สรางเมื่อใดไมปรากฏหลักฐาน ชาวบานนิยมเรียกวา “วัดใน”สถานที่ตั้งของวัดแตกอนเคยเปนสวนหมากจํานวนมากจึงเรียกวา ปาหมาก พอ ถึงสมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม มีคําสั่งใหยกเลิกการปลูกหมากตามนโยบายรัฐนิยมเพื่อความทันสมัย ปา หมากบริเวณนี้จึงหมดไป

พ ร ะ อุ โ บ ส ถ วั ด นครป า หมาก มี ก า ร ส ร า ง ใ ห ม ข น า ด ใ ห ญ กว า เดิ ม ๒ เท า แทนพระอุ โ บสถ เดิม

พระประธานในอุโบสถ เรียกวา พระสุโขทัย ทําจากหินทราย ปดทองทั้งองค


๑๕๗

วัดนครปาหมากไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะตางๆ ดังนี้ พระอุโบสถหลังเกากอสรางดวยอิฐถือปูน สรางขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แตปจจุบันมีการ สรางอุโบสถขึ้นมาใหม ใหญกวาเดิมเกือบ ๒ เทา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีการประดิษฐานพระ ประธานนามวา พระสุโขทัย ซึ่งทําจากหินทรายแตปดทองหมดทั้งองค

จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ

วัดที่ตั้งริมคลองชักพระ วัดตลิ่งชัน วัดตลิ่งชันอยูถนนชักพระแยกจากถนนบางกอกนอย-ตลิ่งชัน ผานทางดานทิศตะวันตก ในแขวง คลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย สรางขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย การ บูรณปฏิสังขรณไดมีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ครั้งหนึ่ง และ พ.ศ.๒๕๐๗ อีกครั้งหนึ่ง วัดตลิ่งชันไดรับ พระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๕ เสนาสนะที่สําคัญไดแก พระอุโบสถ เดิมหนาบันประดับดวยถวยชามลายคราม บานประตูหนาตาง มีลวดลายประดับมุกภาพพระเจาสิบชาติที่ฝาผนังภายในอุโบสถมีภาพเขียนพระพุทธรูปปางสมาธิ มีฐาน กลีบบัวรองรับเรียงเปนแถวทั้งสี่ดาน


๑๕๘

หนาบันอุโบสถ ประดับดวย ถวยชามลายคราม

อุโบสถวัดตลิ่งชัน มีการบูรณปฏิสังขรณใหม

เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณใหมมีเคาโครงของอุโบสถเดิมอยู ลวดลายที่ปรากฏในปจจุบันตกแตง อยางวิจิตรตระการตาซึ่งเปนของใหมนําเอาถวยชามไปประดับ ตอนแรกเปนแคผนังขาวๆ สําหรับกระจกสีนั้น ทานเจาอาวาสเปนผูออกแบบ พระประธานอุโบสถปางมารวิชัยหนาตักกวาง ๓ ศอก แบบทรงเครื่อง พระ พุทธบาทจําลอง พระปรางคและหอมณฑป เปนสิ่งที่เกาแกที่สุด ภายในวัดนี้ที่ยังคงสภาพเดิมเพียงแตมีการ บูรณะทาสีใหม


๑๕๙

มีการหลอรูปพระครูโสภณสาธุกิจ หลวงปูมวง หลวงปูกลีบ พระครูทิวากรคุณ อดีตเจาอาวาสของวัด อยูในศาลาอนุสรณ ๒๕ ป ทางวัดจัดใหมีงานประจําปปดทองหลวงปูกลีบทุกป ประมาณชวงเดือนมีนาคน งานจะมีประมาณ ๕ วัน วัดตลิ่งชันเจริญรุงเรืองที่สุดอยูในยุคที่ “พระครูทิวากรคุณ” หรือ “หลวงปูกลีบ” เปนเจาอาวาส ระหวาง พ.ศ. ๒๔๔๙–๒๕๐๑ เพราะ “หลวงปูกลีบ” เปนผูมีวัตรปฏิบัติงดงามเปยมดวยความมีเมตตาแกชน ทุกชั้น มีวิทยาอาคมขลังพรอมชวยเหลือผูตกทุกขไดยาก และหากสรางวัตถุมงคลพรอมเครื่องรางของขลังใด ก็ลวนแตมีพุทธคุณสูงเปนที่นิยมในทองถิ่น มีคุณคาเปนที่นิยมเสาะหาของนักสะสมทั่วไป ทานมีวิชาอาคม เขมขลังโดยสืบทอดวิชาจาก “หลวงปูรอดวัดนายโรง” และ “สมเด็จพระสังฆราช (แพ วัดสุทัศน)” ไดรับการ ยอมรับจากประชาชนทั่วไปวามี “วาจาศักดิ์สิทธิ์” พูดอะไรมักเปนตามนั้นรวมทั้งอํานาจสมาธิแหงจิตก็ล้ําลึก ราวปลายป พ.ศ.๒๕๔๘ พบกรุพระวัดตลิ่งชัน มีพระพิมพแบบสมเด็จวัดระฆังเปนจํานวนมาก ในขณะที่กําลังกอสรางกําแพงปูน ใตศาลาเกาซึ่งมีตนโพธิ์ขึ้นปกคุมและเจดียเกา ซึ่งภายในมีโองขนาดกวาง ประมาณ ๒๐ ซม. และสู ง ประมาณ ๕๐ ซม.จํ า นวน ๖ ใบ ในโอ ง พบพระผงพิ ม พ ส มเด็ จ แบบวั ด ระฆั ง ประมาณหมื่นองค จาอาวาสวัดตลิ่งชัน กลาววา พระพิมพตางๆ ที่พบนาจะเปนการสรางของพระครูปลัดสุ วัฒนะสุตคุณหรือหลวงพอ ศิริซึ่งมรณภาพไปเมื่อสามปกอน เพื่อเปนการสืบทอดพระศาสนา โดยสราง ทั้งหมดประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค บรรจุอยูตามเจดียและรอบโบสถ โดยพระดังกลาวนาจะมีอายุประมาณ ๓๐ ป โดยมีการทําพิธีพุทธาภิเษกเพื่อใหเชาบูชา

วัดชางเหล็ก วัดชางเหล็กอยูใกลกับวัดมณฑป วัดนี้เปนวัดเกาแก คลองชักพระ ในซอยวัดชางเหล็ก แขวงคลอง ชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย อยูริมคลองชักพระ มีถนนเขาถึงวัดทาง ซอยวัดชางเหล็ก อาคารเสนาสนะมีอุโบสถ สราง พ.ศ.๒๔๙๗ กุฏิสงฆจํานวน ๙ หลังมีทั้งที่เปนอาคารครึ่ง ตึกครึ่งไม ๒ ชั้น อาคารไม ๒ ชั้นและอาคารชั้นเดียวใตถุนสูง หอสวดมนต ๒ ชั้น ชั้นลางใชเปนหองสมุด ประชาชน ศาลาการเปรียญ ๒ ชั้น สราง พ.ศ.๒๔๙๗ อาคารเรียนพระปริยัติธรรมสรางเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ วิหาร ศาลาการบําเพ็ญกุศลมณฑป ศาลาประชาคม สิ่งสําคัญในวัดชางเหล็กคือ หลวงพอดํา ประดิษฐานไว ในวิหารหนาตัก ๔ ศอก และรอยพระพุทธบาทจําลองในมณฑป และหลวงพอดําหรือหลวงพอปราการ ใน วิหาร มีผูเลาวาปรากฏมาตั้งแตสมัยสมัยธนบุรี ชาวบานนับถือพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องคนี้มาก รอยพระพุทธ บาทจําลองในมณฑป


๑๖๐

หลวงพอดํา (หลวงพอปราการ) เปน ที่นับถือของชาวบาน

เจดียใหญภายในวัดชางเหล็ก


๑๖๑

ทางวัดมีโรงเรียนปริยัติธรรมเปดสอนเริ่มมาตั้งแต พ.ศ.๒๔๘๔ นอกจากนี้ ยังไดใหที่ดินสราง โรงเรียนระดับประถมศึกษาขึ้นในที่วัดและจัดใหมีหองสมุดสําหรับประชาชนอีกดวย เหตุที่เรียกวาวัดชางเหล็กสันนิษฐานวา เปนเพราะชาวบานรอบๆ วัดมีอาชีพตีเหล็ก โดยเฉพาะทํา เคียวเกี่ยวขาว เพราะฝมือการตีเคียวเปนที่เลื่องลือ ดังที่พระรูปเลาวามีคําที่พูดตอกันมาวา “เคียววัด ชางเหล็กดัง” บริเวณริมน้ําหนาวัดปกเสากั้นเปนเขตอภัยทาน มีปลาชุกชุม สวนใหญเปนปลาสวายและปลาเทโพ จึงเปนจุดแวะที่ชื่นชอบของเรือทัวรนักทองเที่ยวตางชาติ ตางจอดซื้อขนมปงเลี้ยงปลา โดยผูขายจะชักรอกถัง ใสขนมปงไปหยอนใกลๆ เรือ เรือบางลําก็เตรียมขนมปงมาเอง ภายในวัดดานที่ติดกับถนนเปนลานกวาง ใน อดีตเคยมี “ตลาดเชา” ทุกวัน ยกเวนวันเสารอาทิตย ในวันพุธจะมี “ตลาดนัด” ๒ รอบทั้งเชาและเย็นโดยวัด มิไดคิดคาเชาจากพอคาแมคาแตอยางใด ที่นี่จึงเปนที่ชุมชนของพอคาแมคาในถิ่นนี้และถิ่นใกลเคียงที่มาไกล จากตางจังหวัดก็มี เชน สุพรรณบุรี นครปฐม

วัดเรไร ตั้งอยูริมคลองชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย มีอาคารบานเรือนและที่สวนของชาวบาน หนาวัดติดริมคลองชักพระ สรางขึ้นเมื่อตนสมัยกรุงเทพฯหรือ อาจจะกอนหนานั้น จากคําบอกเลาสืบตอกันมาวา เจาตางกรม ๓ องคไดมาสรางวัดนี้ ตอมาวัดชํารุดทรุด โทรมกลายเปนวัดรางไปในที่สุด ตอมาชาวบานจึงรวมกันบูรณปฏิสังขรณขึ้นใหมอีกครั้งหนึ่งราว พ.ศ. ๒๔๑๙ หนาบันพระอุโบสถหลังเดิมเปนแบบเกงจีน มีการบูรณะซอมแซมแลวถึง ๓ ครั้ง แตละครั้งมีการทํา ลวดลายเพิ่มเติมตางกันออกไป มีเรื่องราวที่กลาวโยงถึงวัดเรไร ในประวัติของทานสุนทร (ภู) ตอนหนึ่งวา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ สุนทรภู กลับเขารับราชการตามเดิม ไดรับตําแหนงเปนที่พระสุนทรโวหารจางวางกรมพระอาลักษณฝายกรม พระราชวังบวร และไปซื้อบานที่สวนที่บานของนายจุย ปูของนายกลั่น อยูที่ตําบลบางระมาด ริมวัดเรไร ใกล กับโยมพระธรรมถาวร (วัดระฆัง) เยื้องกันกับวัดเชิงเลนแลวก็อยูในที่บางระมาดจนถึงแกกรรม

พระอุ โ บสถและหน า บั น อุโบสถมีลักษณะแบบเกง จีน


๑๖๒

หอระฆังไมของวัดเรไร

วัดที่ตั้งริมคลองบางระมาด วัดมณฑป เจาอาวาสวัดมณฑปเลาวาวัดในแขวงบางระมาดและแขวงใกลเคียงที่เปนวัดโบราณตั้งแตสมัย อยุธยามีอยูดวยกัน ๗ วัด ไลเรียงกันไปตั้งแตปากคลองบางระมาดถึงคลองบานไทรและคลองโพธิ์ ไดแก วัด มณฑป วัดสมรโกฏิ วัดทอง วัดกระจัง วัดจําปา วัดมะกอก และวัดโพธิ์ นอกจากนี้บางวัดยังถูกพมาเผา ทําลาย เชน วัดกระดังงา ซึ่งปจจุบันเหลือแตฐานเจดียและวัดอังกุลาซึ่งเหลือแตโบสถ เรื่องเหลานี้ชาวบาน ยังคงเลาสืบกันมาจนถึงวันนี้ ริมคลองบางระมาดฝงแขวงฉิมพลี เริ่มจากปากคลองเขาไปจะเห็นวัดเกาแกเรียงรายตลอดลําน้ํา วัด แรกคือวัดมณฑป พระอุโบสถเดิมเปนรูปทรงมอญ ไมมีหนามุข หลังคาหลุบหนาหลัง ไมมีชอฟาใบระกา ตัว พระอุโบสถหันหนาเขาหาลําคลอง ปจจุบันไดบูรณะเปลี่ยนรูปทรงไปแลว วัดนี้มีลานกวางขวางเหมาะสําหรับ ทํากิจกรรมชุมชนตางๆรอบวัด แตเดิมเปนสวน ในป พ.ศ. ๒๕๑๘ วัดไดจัดสรรใหประชาชนเชาอยูอาศัย เนื้อ ที่ประมาณ ๗ ไร วัดมณฑปอยูในซอยวัดมณฑป คลองบางระมาด แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆมหานิกาย พื้นที่ตั้งวัด เปนที่ราบลุมริมคลองบางระมาด ซึ่งเปนดานหนาวัด อยูทางทิศใต แวดลอม ดวยสวนผลไมและบานเรือนประชาชน


๑๖๓

มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจําลอง

ลักษณะอุโบสถที่สรางไวเดิมเปนรูปทรงมอญไมมีหนามุข หลังคาหลุบปดหนาหลังไมมีชอฟา ใบระกา ปจจุบันถูกบูรณะเปลี่ยนรูปทรงแลว เดิมชาวบานเรียกวา “วัดมดป” ตอมาไดเรียกนามเปลี่ยนเปน “วัดมณฑป” และใชมาจนทุกวันนี้ เสนาสนะในวัดมณฑปมีดังเชน พระอุโบสถ เดิมประดับลวดลายหนาบันดวยเครื่องถวยชามลายคราม สังคโลกแบบอิทธิพลศิลปะ จีน ตอมาไดบูรณะซอมแซม ดัดแปลงใหมเปนลายเทพพนม และลายกนก มีชอฟา ใบระกา หางหงส พระพุทธรูปในอุโบสถเปนปางมารวิชัย สรางดวยหินทราย ปูนปนหุมลงรักปดทอง รวมพระพุทธรูป ๘ องค รอบอุโบสถมีซุมเสมาแบบทรงมณฑปใบเสมาคูจํานวน ๘ คู มณฑป เปนที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจําลอง

หนาบันพระอุโบสถ ปจจุบัน มีลวดลายเปนเทพพนมเปน แถว


๑๖๔

วัดสมรโกฏิ วัดสมรโกฏิอยูริมคลองบางระมาด แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเปนที่ราบลุม มีสวนของชาวบานลอมรอบวัด สรางขึ้นในสมัยอยุธยา อุโบสถมี ลักษณะพิเศษที่ไมเหมือนวัดอื่นในแถบนี้คือ เปนแบบมหาอุต (มีประตูหนาดานเดียว) ภายในมีภาพ จิตรกรรมฝาผนังที่ทรงคุณคา ที่วิหารประดิษฐานหลวงพอดําอายุกวา ๒๐๐ ป ชาวบานเชื่อวาศักดิ์สิทธิ์มาก ในสมัยที่พระมหาทับเปนเจาอาวาส ชวงประมาณป พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๔๐ วัดนี้จะจัดงานตามประเพณีตลอด ป ชาวสวนแถบนี้ โดยเฉพาะหมู ๑ และ ๓ จะขามคลองบางระมาดมารวมงานวัดนี้เปนประจํา เพราะอยูใกล ที่สุด แตเมื่อถึงประมาณป พ.ศ. ๒๕๔๓ เจาอาวาสในสมัยนั้นไดปรับปรุงอุโบสถใหมโดยใชสกอตไบรทขัด ภาพจิตรกรรมฝาผนังออกและปูวอลเปเปอรแทน ปจจุบันงานวัดยังพอมีอยูบางตามเทศกาลตางๆ แตผูคนมารวมงานนอยกวาแตกอนมาก ชาวบาน รวมใจกันบริจาคที่ดินของตนเพื่อตัดถนนเขาวัดเพิ่งเสร็จในกลางป พ.ศ.๒๕๔๖ เสนาสนะตางๆ ในวัด เชน พระอุโบสถหลังใหม สรางตอจากหลังเกา ตัดกระจกตอเปนซุมแกว ออกมา หนาบันยังคงลักษณะเดิมอยู มีชอฟา ใบระกา หางหงส มีประธานลักษณะพระพักตรยิ้มแยม อิ่ม เอิบ คลายคลึงกับพระประธานสมัยปลายอยุธยาที่วัดจําปา

หลวงพอดําที่ถูกบูรณะแลว พระพั ก ตร มี ลั ก ษณะยิ้ ม แย ม อิ่ ม เอิ บ ด า นหน า ประดิ ษ ฐาน รูปหลอหลวงปูโต พรหมรังสี

พระประธาน ในวิหาร พระพุทธรูปหลวงพอดํา ประดิษฐานอยูภายในวิหาร เปนพระพุทธรูปในปลาย กรุงศรีอยุธยา พบที่วัดสะพาน วัดทอง วัดชางเหล็ก วัดกระจัง ก็ปรากฏมีรูปหลอหลวงพอดําอยูเชนกัน สําหรับหลวงพอดําวัดสมรโกฏินั้นมีลักษณะสีดํา ไมสะดุดตา ปรากฏรองรอยผุพัง ชํารุด จึงมีการซอมแซม บูรณะ ดวยการลงรัก ปดทอง นอกจากนี้ยังมี รูปหลอสมเด็จพระพุฒาจารยโต พรหมรังสี หอระฆังมีการบูรณะใหมแตยังคงเปนของเดิมอยูในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หนาบันไมปรากฏ ลวดลาย และหมูกุฏิเรือนไทย


๑๖๕

รูปหลอพระสงฆ องค สํ า คั ญ และ พระสงฆ ที่ เ ป น พ ร ะ อุ ป ช ฌ า ย สําคัญของวัด

หมูกุฏิเรือนไทยในวัดสมรโกฎิ

วัดทอง (วัดทองบางระมาด) อยูในซอยวัดทองริมคลองบางระมาด แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ มหานิกาย ชาวบานนิยมเรียกวาวัดทองบางระมาด พระราชทานวิสุงคามสีมานาจะไดรับประมาณ พ.ศ. ๒๓๓๐ ทางวัดสนับสนุนใหพระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจากสํานักเรียนอื่นไดตามอัธยาศัย ทาง ราชการสรางโรงเรียนระดับประถมศึกษาขึ้นในวัดเนื้อที่ประมาณ ๓ ไรเศษอีกดวย


๑๖๖

อาคารเสนาสนะที่สําคัญ เชน พระอุโบสถบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ ปจจุบันมีการบูรณะซอมแซมจาก เดิมแลว หนาบันเปนลายเทพพนม ทามกลางลายพรรณพฤกษา ออนชอย งดงามและมีงานปดทองประจําป ในเดือนมิถุนายน บริเวณที่ตั้งกวางขวาง มีตนยางใหญตนหนึ่งขนาดหลายคนโอบ อายุนัยรอยป ชาวบานในละแวก นั้นพากันมาเซนสรวงบูชาอยูตลอด หลังวัด มีทาเรือรับจางสําหรับผูสัญจรทางน้ํา

วัดกระจัง ไมไกลจากวัดทองเทาใดนัก คือ วัดกระจัง เปนวัดเล็กๆ พระอุโบสถวัดนี้ยังมีสภาพคอนขางดี ใกลๆ กับวัดกระจังที่มีสวนคั่น คือ วัดกระดังงา สองวัดนี้ชาวบานถือวาเปนวัดพี่วัดนอง แตปจจุบันวัดกระดังงา กลายเปนวัดรางและมีชาวบานเขาไปอยูอาศัยในบริเวณวัด วัดกระจังตั้งอยูริมคลองบางระมาด แขวงฉิมพลี สังกัดคณะสงฆมหานิกาย สรางขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๖ สันนิษฐานวานาจะมีผูยกที่ดินใหเปนที่สรางวัดและชาวบานละแวกนั้นรวมกันสรางขึ้นมา พระ อุโบสถแตเดิมมีขนาด ๓ หอง เพไลหัวทายเปนเกงจีน ไมมีชอฟา ใบระกา หางหงส หนาบันไมมีลวดลาย แตจากการบูรณะหลายครั้ง จนทําใหปจจุบันมีการปนลายกนกที่หนาบัน รวมทั้งปนพระประจําวันจันทรกับ พระปางสมาธิ สรางเพื่อเปนเกียรติใหแกผูสรางดวย นอกจากนั้น ยังมีการตอเติมขนาดอุโบสถขึ้นมาอีก ๔ หองดวย หอระฆังหลังเกาไมไดทําการบูรณะ เปลี่ยนแปลง หอระฆังสรางขึ้นใหม มีเสามุมละ ๓ ตน ๔ มุม รวมเปน ๑๒ ตน กออิฐ ถือปูน ตกแตงประดับประดาอยางงดงาม ปรากฏ รูปหลอพระครูสังฆลักษณ (ตวน) ซึ่งเปนอดีตเจาอาวาส ขางศาลาทาน้ําของวัดมีรูปปนเสด็จอินทรและเสด็จยมที่ชาวบานนับถือ เสด็จอินทรคือพระอินทร สวนเสด็จยมคือยมบาล

เสด็จอินทร เสด็จยมที่ชาวบานนับถือ ตั้งอยูริมทาน้ําของวัด


๑๖๗

ศาลาอเนกประสงคของทางวัดที่มาจาก ความศรัทธาของชาวบาน

อุ โ บสถมี ก ารบู ร ณะหลายครั้ ง จนปจ จุ บัน มีล ายกนกและมีก าร ปนพระปางสมาธิไวบริเวณหนา บัน

พระพุทธรูปในอุโบสถ


๑๖๘

รูปหลอพระครูสังฆลักษณ (ต ว น) อดี ต เจ า อาวาสวั ด กระจัง

หอระฆังสรางดวยไมสักของวัดกระจัง

วัดจําปา บนเสนทางคลองบางระมาดซึ่งเชื่อมตอกับคลองบานไทรจะผาน วัดจําปา เปนวัดใหญ ที่วัดนี้มีพระ อุโบสถอยูในสภาพที่สมบูรณ หนาบันประดับเครื่องกระเบื้องเปนลวดลายตางๆ เปนเรื่องราวพุทธประวัติ มี


๑๖๙

วัดสรางขึ้นเมื่อใดไมปรากฏ ทราบแตวามีการบูรณะใหมเมื่อสมัยตนกรุงธนบุรี อยางไรก็ดีวัดนี้ ดวย แตกอนเปนวัดในสวน พระอารามวัดจําปา ตั้งตนในคลองบางระมาด เปนวัดที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุ วงศ สันนิษฐานวาแตเดิม อาจเปนวัดหลวงเพราะดูเคาโครงของวัดแลว นาจะเปนพระอารามหลวง แตเปน โครงสรางขนาดเล็ก คงจะมีความเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จฯพระนั่งเกลาเจาอยูหัวรัชกาลที่ ๓ โดยความ ในจารึกกลาวถึงวา โปรดเกลาฯ ใหมีการฉลองวัดจําปาขึ้น อุโบสถเปนทรงเกงจีน เชนเดียวกับอิทธิพลศิลปะ สถาปตยกรรมแบบนิยมในรัชกาลของพระองคทั่วไป บริเวณวัดเปนที่ราบลุมแวดลอมไปดวยที่สวนและบานเรือน มีลําน้ําลอมรอบ หนาวัดริมน้ําเปน ลานกวางขวาง มีศาลาทาน้ําหลายหลัง ตกแตงสวนริมน้ําอยางสวยงาม ในป ๒๕๔๔ ชาวบานไดรวมกัน บริจาคที่ดินใหกรุงเทพมหานครสรางถนนลาดยางสุดทางที่วัดจําปา ผูคนมาวัดดวยรถยนตสะดวกสบาย ยิ่งขึ้น ปจจุบันเจาอาวาสไดปรับปรุงพัฒนาวัดใหสะอาดรมรื่นแลจัดกิจกรรมหลายรูปแบบตลอดทั้งป

หนาบันพระอุโบสถประดับ ดวยเครื่องกระเบื้องเปน ลวดลายตางๆและเรื่องพุทธ ประวัติ


๑๗๐

พระอุโบสถ เดิมเปนทรงเกงจีน มีเครื่องถวยลายครามและชามสังคโลก ประดับตกแตงอยูที่หนาบัน นาจะสรางในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีกําแพงแกวลอมรอบ ปจจุบันมีการบูรณะปฏิสังขรณซอมแซม ในสมัยอดีต ทานเจาอาวาส ไดมีการนําเอาชอฟา ใบระกา หางหงสมาใสไวดวย พระประธานในอุโบสถ หลวงพอโชคดี ปางมารวิชัย เปนพระพุทธรูปทรงเครื่ององคสําคัญตั้งแตสมัยอยุธยาแกะดวยไมสัก ลงรักปดทอง เจดีย โบราณ ๓ องค และภาพแผนหินบันทึกประวัติวัดจําปา หอระฆัง เปนระฆังเกา แตตัวหอ สรางใหม สมัยอดีตเจาอาวาสเมื่อประมาณ ๔๐ ปมาแลว หอสวด มนต ๒ ชั้นครึ่งตึกครึ่งไมสรางเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ ศาลประดิษฐานรูปหลอของอดีตเจาอาวาส อาจารยชวงและหลวงปูเผือก สวนพระพุทธรูปประจําวัด อยูที่หนามณฑป วัดจําปาจะมีงานใหญคือ งานประจําป งานตักบาตรเทโว และแหดาวดึงส (ชวงออกพรรษา)

บริเวณหนามณฑปมีรูปหลอ อาจารย ช ว งและหลวงปู เ ผื อ ก อดีตเจาอาวาสวัดจําปา ไวกราบ ไหวบูชา

เคยมีโรงเรียนซึ่งเปนวัดแรกๆ ในละแวกนี้ที่มีสถานศึกษา ตอมาโรงเรียนอื่นๆ เริ่มเปดบางจึงขาดคน มาเรียน จํานวนนักเรียนคอยๆ ลดนอยลงไป ปจจุบันพื้นที่เคยเปนโรงเรียน ทางวัดไดจัดเปนลานโลก – ลาน ธรรม มีการสนทนาธรรมะ เปนแหลงเผยแพรเรื่องราวทางวิชาการ ทั้งฝายโลก ฝายธรรม วัดจําปาเปนที่ศึกษา ของภิกษุ สามเณร และบรรดาลูกศิษย เพราะในสมัยกอน คนเรียนหนังสือจะรับราชการที่โรงเรียนวัด และมี โรงเรียนโสตศึกษาวัดจําปาสอนเด็กพิการ ตั้งอยูในวัดอีกดวย

วัดโพธิ์ ตั้งอยูริมคลองวัดโพธิ์ แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย แวดลอมไปดวยบานเรือนประชาชน เขาใจวาชาวบานละแวกนั้นรวมใจกันสรางโดยมีผูเปนเจาของที่ดินใน ทองถิ่นแบงที่ดินถวายใหเปนที่สรางวัด ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๓ ทางวัดใหทางราชการสรางโรงเรียนประถมศึกษาในที่ดินวัดเนื้อที่ ๔ ไรเศษ และโรงเรียนมัธยมศึกษา ในที่ดิน ๔ ไรเศษ รวมทั้งสรางสถานีอนามัยในที่ดินวัดประมาณ ๑๒๐ ตารางวา อีกดวย เสนาสนะภายในวัด


๑๗๑

รูปหลอหลวงพอพระครู (นวล) โพธิสารกุล ซึ่งเปนอดีตเจาอาวาส ทานเปนผูสรางโรงเรียนประถม วัดโพธิ์ราชผดุงผลและโรงเรียนโพธิสารทิพยากรเพื่อที่จะใหลูกหลานที่อาศัยอยูในเขตตลิ่งชันไดเรียนโรงเรียน ใกลบาน รูปหลอสมเด็จพุฒาจารย โต พรหมรังสี นอกจากนี้ทางวัดยังมีงานประจําป ปดทอง รอยพระพุทธ บาทจําลองดวย

หนาบันอุโบสถหลังเกา เปน ภาพปราสาทมี ล ายเทพ พนม วิมาน

พระอุ โ บสถหลั ง เก า และ เจดี ย ท รงปรางค ที่ อ ยู ดานหนา


๑๗๒

วัดที่ตั้งริมคลองบานไทร วัดมะกอก เปนวัดโบราณอยูริมคลองบานไทรซึ่งแยกจากคลองบางระมาด มีลักษณะเปนรูปสี่เหลี่ยมผืนผา ปจจุบันมีถนนเขาถึงวัด แตเดิมเปนที่เปลี่ยวหางไกลจากหมูบาน ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปที่ชาวบานนับถือมาก ๒ องค คือ หลวงพอแดง ซึ่งเลากันวาลอยตามน้ํามาขึ้นที่ หนาวัดนี้ อีกองคหนึ่งคือ พระปาเลไลย ทางวัดจะจัดงานมนัสการพระปาเลไลยเปนประจําทุกป ภายในวัด ยังมีเรือนไทยทรงปนหยาซึ่งสรางในสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่ทางวัดไดบูรณะจนสวยงาม พระอุโบสถหลังใหม หนาบัน ไดมาจากวัดสุนทรธรรมาทานหรือวัดแคนางเลิ้ง หอสวดมนต เปน อาคารไม ๒ ชั้น เดิมเปนตําหนักของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งไดผาติกรรมมาจากวัด ชนะสงครามอีกที มีลวดลายฉลุ คลายลายขนมปงขิง ตรงบริเวณบันได รวมทั้งผนังตึกบางสวน และมี ลวดลายคลายพรรณพฤกษาตกแตงอยูดวย

หนาบันอุโบสถ

หอระฆัง สรางใหมมีหนาบันจัตุรมุข แตละดานลดหลั่นกันลงมา ๒ ชั้นซอนกัน ลายกนกที่เสาทั้ง ๔ ตน ดูงดงาม หนาบันเปนรูปนารายณทรงครุฑ เหมือนกันทั้ง ๔ ดาน พระพุทธรูปองคใหญ คือ พระปาเลไลย สรางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เปนที่ศรัทธาของชาวบาน มีการจัดงานปดทองเปนประจําทุกป นอกจากนี้ยังมี เทศกาลงานชักพระ ซึ่งมีขึ้นประมาณเดือน ๔ ของทุกป


๑๗๓

พระปาเลไลย พระพุทธรูปองคใหญของวัดมะกอก มี เทศกาลปดทองทุกป

วัดที่ตั้งริมคลองบางพรม วัดกาญจนสิงหาสนวรวิหาร (วัดทอง) ตั้งอยูริมคลองบางพรม แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เปนพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร วัดนี้เปนวัดโบราณในสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดทอง คูกับวัดเงิน ที่อยูริมคลองบางพรม ฝงตรงขาม กลาวกันวา ผูสรางชื่อทองเปนนองชายของผูสรางวัดเงิน ตอมาในสมัยรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย มหานาคนารี ไดทรงสถาปนาวัดนี้ใหมแลวถวายเปนพระอารามหลวง ตอมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ก็ทรงปฏิสังขรณเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๓๙๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จอมเกลาเจาอยูหัว โปรดพระราชทานนามใหมวา วัดกาญจนสิงหาสน และมีการปฏิสังขรณบูรณะพัฒนา ตอมาเรื่อยๆ จนปจจุบัน พระอุโบสถหลังเกา เรียกวาทรงโบสถมอญไมมีชอฟา ใบระกา สรางเมื่อไหรไมปรากฏ มีพระ ประธานปนปางมารวิชัย มีพระพุทธรูปปนประดิษฐานกับพระประธาน ๖ องค มีทั้งปางสมาธิ ปางมารวิชัย บาง นอกจากนี้ก็มีพระพุทธรูปปูนบาง หลอบาง ปางตางๆ ประดิษฐานอยูตามซุมและผนังขางในรวม ๒๐ องค แตถูกฟาผาไปเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๑ อุโบสถหลังนี้ ไดขึ้นทะเบียนบัญชี ตาม พ.ร.บ.ของกรม ศิลปากรแลวและถูกบูรณะโดยกรมศิลปากร


๑๗๔

พระอุโบสถหลังใหม หนาบันเปนรูปนกยูงปูนปน ทามกลางเครือเถา พรรณพฤกษา มีเพิงยื่นออกมา หนาและหลัง อุโบสถหลังใหมลอกเลียนแบบลวดลายอุโบสถหลังเกา

พระอุ โ บสถหลั ง ใหม ไ ด ลอกเลีย นแบบลวดลาย จากอุโบสถหลังเกา

หอระฆัง สรางเปนเสาสูง ๔ ตน กออิฐถือปูน หลังคาหนาจั่ว ๒ ดาน หนาบันเปนไมมีลวดลายปูน ปนแปะอยูเล็กนอย สันนิษฐานวาอาจชํารุดหรือหักหายไป จากเดิม มีชอฟา ใบระกา หางหงส มีรูปหลอของ หลวงพอโรจนลักขิต ซึ่งเปนอดีตเจาอาวาส ประดิษฐานอยูบนศาลาเปนที่เคารพสักการะของชาวบาน

ภายในหอระฆั ง มี รู ป หลอของหลวงพอโรจน ลักขิต อดีตเจาอาวาส อันเปนที่ เ ค า ร พ สั ก ก า ร ะ ข อ ง ชาวบาน

ทางวัดมีโครงการจัดทําหองสมุด และมี โรงเรียนกาญจนสิงหาสนวิทยา เปนโรงเรียนทางโลก เปด สอนตั้งแต ม. ๑.- ๖ โรงเรียนธรรมศึกษา เปนโรงเรียนทางธรรม เปดใหสอบทั้งบาลีและสันสกฤต ถือไดวา วัดกาญจนสิงหาสน เปนวัดใหญที่มีประวัติความเปนมายาวนานและมีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับชุมชนเปน


๑๗๕

วัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร (วัดเงิน) เปนพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยูริมคลองบางพรม แขวงคลองชักพระ ตําบลคลอง ชักพระ ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร วัดนี้เปนวัดที่สรางในสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดเงิน ตามนามผู สรางวัดคือ เจาขรัวเงิน พระภัสดาของสมเด็จเจาฟากรมพระศรีสุดารักษ (แกว) พระเจาพี่นางเธอ ใน พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ า จุ ฬ าโลก เจ า ขรั ว เงิ น ผู นี้ สิ้ น ชี วิ ต ในสมั ย กรุ ง ธนบุ รี ต อ มาในสมั ย กรุ ง รัตนโกสินทร สมเด็จพระอมรินทรามาตย พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาใหมหมด แลวถวาย เปนพระอารามหลวง ถึงรัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณถาวรวัตถุในวัดนี้ มีกุฏิ หอสวดมนต หอไตรเปนตน รวมทั้ง สราง หอระฆังใหม ในรัชกาลที่ ๔ โปรดใหบูรณปฏิสังขรณสิ่งที่ชํารุดทรุดโทรมไปแลว พระราชทานนามวัด ใหมวา วัดรัชฎาธิษฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ตอมารัชกาลที่ ๕ ไดทรงใหบูรณปฏิสังขรณเสนาสนะและ ถาวรวัตถุอีกหลายอยาง พระอุโบสถหลังเกาเปนศิลปะแบบจีน ไมมีชอฟา ใบระกา มีกําแพงแกวลอมรอบ พระประธานใน พระอุโบสถ เปนพระพุทธรูปปางมารวิชัยหลอดวยโลหะ สรางในสมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนี้ ก็มี พระพุทธรูปทรงเครื่องปางหามสมุทร และพระอัครสาวกประดิษฐานอยูดานหนาพระประธาน รวม ๗ องค ปจจุบันแปรสภาพ กลายเปนวิหารใชเก็บพระ ไมไดใชในการทําสังฆกรรม เนื่องจากไดถอนพัทธสีมาออกไป แลว พระอุโบสถหลังใหมสรางขึ้นเนื่องจาก พระอุโบสถหลังเดิมชํารุด เกาแก และไมสามารถบูรณะได เนื่องจากไดขึ้นทะเบียนบัญชีของกรมศิลปากร ตาม พ.ร.บ. ควบคุมโบราณสถาน หนาบันไดอัญเชิญ เครื่องหมายตราสัญลักษณ ของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นประดับไว ในอุโบสถมีภาพ จิตรกรรมฝาผนัง เปนภาพชุมนุมเทวดา คลายที่วัดสุวรรณาราม เสาหินกลม ๒ ตน ขนาดสูง ๓.๗๐ เมตร เสนผาศูนยกลาง ๘๐ ซม. ตั้งอยูหนาโบสถ ถือเปนสิ่งที่เกาแกคูวัดมานาน พระแทนศิลา พระแทนนี้เปนที่ประทับและทรงโปรยทานของรัชกาลที่ ๔-๕ ประดิษฐานอยูดานหนา วัดและหนาวิหาร หอสวดมนต เปนที่เก็บพระไตรปฏกเกา เลากันวาสรางจากไมที่ไดมาจากในวัง โดยพระสนมของ รัชกาลที่ ๓ เปนผูสราง บริเวณรอบๆ ทําเปนบอเลี้ยงเตา หนาบันทําเปนลวดลายรดน้ํา มี ชอฟา ใบระกา หางหงส หอระฆัง กอสรางใหม มีรูปลักษณคอนขางแตกตางจากหอระฆังของวัดอื่น คลายปอมเล็กๆ มีบันได ทางขึ้นเตี้ยๆ กออิฐถือปูน ไมมีเครื่องประดับทางสถาปตยกรรม แบบแนวประเพณีนิยมแตอยางใด ศาลาการเปรียญเปนอาคาร ๒ ชั้น ตัวอาคารกอสรางแบบครึ่งไม ครึ่งตึก ศาลานุชรัตน นวลนอยสมใจ ประชาสามัคคี สําหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ทั้ง ๓ องค


๑๗๖

พ ร ะ อุ โ บ ส ถ เ ก า ศิ ล ป ะ แ บ บ จี น ปจจุบันแปรสภาพเปนวิหาร เพราะ ไม ไ ด ใ ช ทํ า สั ง ฆกรรม เนื่ อ งจากได ถอนพัทธสีมาออกไปแลว

ภายในพระอุโบสถยังคงประดิษฐาน พระพุ ท ธรู ป ปางมารวิ ชั ย (พระ ประธาน) พระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ ง ปางหามสมุทร และรูปหลอพระสงฆ ที่ชาวบานเคารพนับถือ

พระอุโบสถหลังใหม หนาบัน ไดอัญเชิญสัญลักษณของ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว (ร.๙)


๑๗๗

หอสวดมนต ที่เก็บพระ ไตรปฏก หนาบันทําเปน ลายรดน้ํา มีชอฟา ใบระกา หางหงส บริเวณรอบๆทํา เปนบอเลี้ยงเตา

พระพุทธรูปภายใน ศาลานุชรัตน

วัดรัชฏาธิฐานมีหองสมุดสําหรับประชาชน สรางเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ ทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม ชั้นลางเปน หองสมุดประชาชน และโรงเรียนปริยัติธรรมสราง พ.ศ. ๒๕๒๒ นอกจากนี้มีโรงเรียนเทศบาลซึ่งตั้งอยูดานทิศ ตะวันตกของวัดเปดสอนตั้งแตชั้น ป.๑-๖

วัดอินทราวาส ริมคลองบางพรม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย เดิมมี นามวา “วัดอินสรเพชร” ชาวบานเรียกวัดกันวา “วัดประดู” ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาในนาม “วัดอิน สรเพชร” เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๙ ตอมาเปลี่ยนชื่อวัดเปน “วัดอินทราวาส” เสนาสนะภายในวัดมีดังเชน พระอุโบสถหลังปจจุบันแทนหลังเกาที่ชํารุดทรุดโทรมมากแบบจัตุรมุข หลวงพอโตในโบสถเปนพระประธาน เจดียพระบรมธาตุ รอยพระพุทธบาทจําลอง ศาลศรนรินทร สิน นารายณ ซึ่งเปนทารกแฝดที่มีสองหัวซึ่งเปนบุตรของชาวบานในละแวกวัดอินทราวาส มีศาลาที่สรางขึ้นให เพราะมีผูศรัทธามาขอใหสมปรารถนาตามความเชื่อของตน


๑๗๘

หนาบันทั้ง ๔ ดานเปนรูป พ ร ะ อิ น ท ร ท ร ง ช า ง เอราวัณ พระนารายณ ทรงครุฑ พุทธประวัติ ตอนเสด็จออกบวช และ ตอนแสดงปฐมเทศนา โปรดปญจวัคคียทั้ง ๕

เจดียพระบรมธาตุ

วัดศิริวัฒนาราม อยูที่บางระมาดริมคลองบางนอย แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดติดกับสวนของชาวบาน สรางขึ้นมาใหมจากวัดเดิมโดยมี น.ส. ศิริ หยุนแดง เปนผูยก ที่ดินถวายและดําเนินการสรางวัด กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศตั้งเปนวัดโดยสมบูรณเมื่อวันที่ ๒๗


๑๗๙

ลักษณะรูปทรงของวัดคลายคลึงกับวัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวังนนทบุรี วัดนี้เปนวัดที่สมเด็จ พระเทพฯ เสด็จไปทรงทอดพระเนตรภายในอุโบสถ แลวโปรดฯ ใหมีการทําการบูรณปฏิสังขรณซอมแซม ใหม พระอุโบสถหลังใหมวางศิลาฤกษ ไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ พระธาตุเจดีย บนยอดบรรจุพระธาตุสรางใน สมัยรัชกาลที่ ๓

ศาลแมโพสพที่อยูในวัดศิริวัฒนาราม ริมคลองบางพรม

รูปปนฤาษีนารอดและรูปเคารพเจาแมโพสพมีตํานานเลาวา เมื่อกวารอยปมาแลว ตาเหล็งกับยาย แฟงจะทําขนมจีน เลยแชขาวสารเตรียมไว พอรุงเชาขาวกลับงอกเปนตนขาว ทั้งสองเห็นวาเปนเหตุอัศจรรย เลยเอาตนขาวดังกลาวไปผสมปนเปนรูปแมโพสพ กลายเปนที่เคารพนับถือบูชาของชาวนาบางพรมและผูคน ในละแวกใกล และมีงานฉลองแมโพสพทุกปมาตั้งแตครั้งบรรพบุรุษ เดิมกําหนดงานจะตรงกับชวงฤดูกาล ที่ดินแตกระแหง เพราะมีเกร็ดอยูวา ถาเชิญแมโพสพออกมา ฝนก็จะตก ทําใหมีน้ําทํานาไดขาวดี งานฉลองนี้ แตละบานจะเอาขาวเปลือกมากองรวมกัน นิมนตพระทั้งสี่วัดในละแวกนี้ (วัดประดู วัดใหม วัดมะพราวเตี้ย วัดโพธิ์) มาสวดมนตร แลวทําบุญสมโภช สวนกองขาวเปลือกขนาดมหึมาก็จะมีเจาของโรงสีชาวจีนแถบบาง เชือกหนังมารับซื้อ เงินที่ไดก็ถวายวัด หรือใชในการสาธารณประโยชนตางๆ เลยมีการสรางศาลขึ้นเปนที่


๑๘๐

บางยุคยังเคยมีประเพณีอัญเชิญแมโพสพแหไปตามคลอง เริ่มราวเกาโมงเชาเขาคลองบางพรม ถึง คลองชักพระ แลวอัญเชิญขึ้นที่วัดแหงหนึ่ง มีมหรสพสมโภชตลอดคืน พอรุงเชาจึงอัญเชิญลงเรือแหกลับตาม คลองบางเชือกหนัง ผานโรงสีใหญสามโรง แลวกลับมาขึ้นศาลชนวันงานพอดี แมทางวัดจะเคยรื้อฟน ประเพณีนี้ขึ้นมาในป พ.ศ.๒๕๔๑ แตก็มีเหตุใหไมมีการจัดแหทางเรืออีกแลว

วัดเพลง วัดเพลงอยูในซอยวัดแกว-บางพรม ริมคลองบางพรม แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย แวดลอมไปดวยลํากระโดงกั้นเขตวัด ตั้งอยูกลางสวนที่มีลํากระโดงเชื่อมตอกับ คลองบางพรม เปนวัดนาจะสรางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยพิจารณาจากอุโบสถหลังเดิมที่มีลักษณะเปน แบบ เกงจีน ที่นิยมสรางกันในสมัยนั้น วัดไดเจริญรุงเรืองขึ้นมาตามสมควร ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ วัดขาดผู ทะนุบํารุงทําใหเสนาสนะตางๆ ที่สรางขึ้นไวชํารุดทรุดโทรมและกลายเปนวัดรางไปในที่สุด ตอมาชาวบานเขามาตั้งบานเรือนหนาแนนขึ้น การไปวัดอื่นไมสะดวกจึงไดนิมนตพระสมุหทองใบ ติกขวีโร มาจําวัด ชาวบานสรางเสนาสนะขึ้นใหม กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศยกวัดเพลงรางเปนวัดมี พระสงฆเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒ พระอุโบสถเดิมเปนทรงเกงจีน ทรุดโทรมจึงสรางขึ้นใหม เปนทรงไทยหลังคาลด ๒ ชั้น บานประตู หนาตางเปนไมสัก หนาบันยังเปนรูปแบบเดิมไมมีการเปลี่ยนแปลง หลวงพอสิน คือ พระประธานในอุโบสถ และหลวงพอตาแดง เปนที่เคารพศรัทธาของชาวบานทั่วไป

พระอุโบสภหลังเกา


๑๘๑

ภายในวิหาร

วัดใหมเทพพล ตั้งอยูในสวนใกลกับคลองบางพรม แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ มหานิกาย รอบๆ เปนสวน พระอุโบสถหลังปจจุบันนี้สรางเปนครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ สวนหลังเกาทํา เปนวิหารที่ประดิษฐานหลวงพอโตในวิหาร รูปหลอหลวงพอพุทธโสธรจําลอง หลวงพอปานจําลองวัดบางโค นม

วัดที่ตั้งริมคลองบางเชือกหนัง วัดปากน้ําฝงเหนือ อยูในซอยพาณิชยการธนบุรี แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ มหานิกาย สรางขึ้นเมื่อราว พ.ศ.๒๓๗๐ แตเดิมเปนที่สวนริมคลองบางนอยที่ตอกับปากน้ําคลองมอญที่ไหล ลงสูแมน้ําเจาพระยาทางฝงเหนือ จึงไดชื่อวา “วัดปากน้ํา” แตโดยที่มีอีกวัดหนึ่งตั้งอยูฝงใต ชาวบานจึงเรียก วัดนี้วา “วัดปากน้ําฝงเหนือ ปจจุบันแวดลอมไปดวยอาคารบานเรือนของประชาชนหนาแนน วัดนี้ไดรับ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๗๘ เสนาสนะภายวัด เชน พระอุโบสถหลังเกา สรางเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๕ แบบมหาอุดหนาบันไมมี ดานหนา ประดิษฐานหลวงพอเพชรซึ่งเปนศูนยรวมศรัทธาของชาวบานมีงานแหประจําทุกป หลวงพอโสธรองคจําลอง พระพุทธบาทจําลอง กิจกรรมของวัดมีคณะศิษยวัดที่เลนกระตั้วแทงเสือ กลองยาว ปพาทย แตรวง เชิดสิงโต มังกรทอง


๑๘๒

ศาลาที่ประดิษฐานหลวงพอเพชร หลวงพอโสธรจําลอง และพระพุทธบาทจําลอง ไวใหชาวบานมาสักการะ

วัดเกาะ ตั้งอยูที่บานคลองบางนอย แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเปนที่ราบมีคลองและลํากระโดงลอมรอบ วัดเกาะอาจเปนวัดเดียวในพื้นที่แขวงบาง เชือกหนัง ที่ยังไมไดรับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ในเขตตลิ่งชันมากนัก สวนหนึ่งนาจะมาจากขอจํากัด ดานภูมิประเทศ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของวัดเปนจุดแยกของคลองมอญออกเปนสองสาย คือคลองบาง เชือกหนังที่แยกไปทางทิศใต และคลองบางนอ ยที่แยกไปทางทิศตะวันตก ทําใหวัดเหมือนตั้งอยูบ น เกาะ เสนทางคมนาคมทางรถยนตไมสามารถที่จะเขาถึงวัดไดโดยตรง มีเพียงการใชเรือและ รถจักรยานยนต บรรยากาศภายในวัดจึงมีความสงบรมรื่น วัดเกาะไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๓ แตพบแผนจารึกหิน ออนภายในวัดวา ป พ.ศ. ๒๔๕๙ "เจาอธิการศีร [ศรี] นายเลยี่ม [เลี่ยม] นายรอด (ทายก) แมนุมอุบาสิกา" ได ชวยกันเรี่ยรายชาวบานซอมฐานชุกชี ลงรักปดทองพระพุทธรูป คิดเปนเงินรวม ๔๕๐ บาท ๕๔ สตางค วัดนี้ จึงสรางมาแตเดิมนานกวา พ.ศ.๒๔๗๓ และนาจะเปนวัดเกาแกแตเดิมของทองถิ่นแถบนี้ พระอุโบสถสรางใหมป ๒๕๒๓ หอระฆังเปนอาคารคอนกรีต สรางตั้งแต พ.ศ. ๒๔๙๒ ยังไมไดมีการ บูรณะซอมแซม กลาวกันวาวิหารนาจะมีอายุเกาแก ๑๐๐ กวาป สภาพเปนไมทั้งหลัง หนาบันทําเปนหนาจั่ว ขึ้นไป ๒ ดาน ไมมีลวดลายใดๆ พระประธานหินทรายในอุโบสถ และประดิษฐานหลวงพอเพชร หลวงพอ พุทธโสธรจําลองและพระพุทธบาทจําลอง


๑๘๓

ห อ ร ะ ฆั ง วั ด เ ก า ะ เ ป น อาคารคอนกรีตแบบเกาที่ ยังไมไดบูรณะ

วัดทอง (คลองบางเชือกหนัง) วัดทองคลองบางเชือกหนัง แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเปนที่ราบลุมอยูริมคลองบางเชือกหนัง ในฤดูฝนน้ําหลากจะทวม แวดลอมไปดวยที่ สวนและบานเรือนประชาชน ในอดีตการคมนาคมจะใชทางน้ําโดยใชเรือเปนพาหนะสําคัญ อาคารเสนาสนะ มีดังเชน

จิตรกรรมที่พระอุโบสถเกา เขียนเรื่องราวชาดก


๑๘๔

พระอุโบสถหลังเกา ไมไดทําการบูรณะ หนาบันทําเปนรูป พระนารายณทรงครุฑ ไดสรางอุโบสถหลัง ใหมขึ้นแบบ ๒ ชั้น ปจจุบันยังไมเสร็จสมบูรณ มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกาแกที่ประตูอุโบสถ แสดงเรื่องราว ในชาดก

หลวงพอโสธรและหลวงพอวัดไรขิง องคจําลอง

ภายในศาลา มีรูปหลอ ห ล ว ง พ อ บ า น แ ห ล ม พระสั ง กั จ จาย หลวงปู แ จ ง หลวงปูเอม(อดีตเจาอาวาส)

อาคารเรียนพระปริยัติธรรม พระประธานในอุโบสถเกาหนาตัก ๑.๕๐ เมตร นาจะเปนศิลปะสมัย อยุธยาพรอมกับพระอัครสาวก เจดีย ๓ องค หอระฆัง สรางขึ้นใหม หลังคาเปนหนาจั่ว ๒ ดาน กออิฐถือปูน หนาบันเปนไม มีลวดลายเทพพนม มีชอฟา ใบระกา หางหงส


๑๘๕

ศาลประดิษฐานรูปหลอหลวงพอวัดบานแหลม หลวงพอพุทธโสธรจําลอง พระสังกัจจาย หลวงปูแจง หลวงปูเอม (อดีตเจาอาวาส) ซึ่งวัดในเขตนี้มักจะนิยมประดิษฐานพระพุทธรูปสําคัญของวัดในทองถิ่นเขต ชายฝงทะเลและการสรางรูปเหมือนของอดีตเจาอาวาสที่เปนบุคคลสําคัญของวัดและชุมชนไวเคารพบูชา

วัดกําแพง ตั้งอยูที่ถนนบางแวก ริมคลองบางเชือกหนังสรางในสมัยอยุธยา มีลายปูนปน ที่ซุมประตู หนาตาง งดงามมาก ไดรับการบูรณะครั้งใหญในสมัยรัชกาลที่ ๓ ภาพจิตรกรรม ภายในยังรักษาไดสมบูรณอยูม าก

วัดพิกุล ตั้งอยูในซอยพาณิชยการธนบุรี ริมคลองบางเชือกหนัง แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย สรางขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๓ ปลายสมัยธนบุรี การบูรณะ พัฒนาวัดเริมเมื ่ ่อประมาณป พ.ศ.๒๔๘๗ เปนตนมา เสนนาสนะภายในวัด เชน พระอุโบสถสรางเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ แทนหลังเกาที่รื้อทิ้ง หนาบันของ อุโบสถใหมทั้ง ๒ ดานเปนเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จออกบวช พระประธานสรางดวยทองเหลืองปางมารวิชัย และมีพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทรปางตางๆ กวา ๑๐ องค รูปหลอหลวงพอหวลอดีตเจาอาวาส ในวิหาร สรางขึ้นเมื่อทานมรณภาพแลว รูปหลอสมเด็จพุทธาจารย โต พรหมรังสี รูปหลอหลวงปูทวดเหยียบน้ําทะเล จืด ในกุฏิ และรูปหลอหลวงปูแหวน ทางวัดจัดใหมีการสอนพระปริยัติธรรมเริ่มมาตั้งแต พ.ศ.๒๔๙๗ และยังจัดซื้อดินที่ติดตอกับที่ตั้งวัด เนื้อที่ ๔ ไร ๒๖ ตารางวา ใหเปนที่สรางโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ อีกดวย

อุ โ บสถหลั ง ใหม สร า งแทน หลังเกาที่รื้อ ทิ้ง หนาบันทั้ ง 2 ดานเปนเรื่องพุทธประวัติ ตอนแสดงออกบวช


๑๘๖

รูปหลอหลวงพอหวล อดีตเจาอาวาส

วัดที่ตั้งริมคลองบางนอย วัดกระโจมทอง อยูริมคลองบางนอย แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆมหานิกาย อุโบสถสรางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ไมปรากฏหลักฐานวาผูใดเปนผูสราง เสนาสนะ เชน หอระฆังเปนของเกา มีผูบริจาคเงินซอมแซมบูรณะ เปนหลังคาทรง ไทยหนาจั่ว ๒ ทิศ เจดีย มี ๕ องค มีตนตะเคียนทองศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของชาวบาน นิยมไปกราบไหว ขอโชค ขอลาภ งานประจําปปดทอง หลวงพอพุทธโสธรในเดือน ๕ อีกดวย

ตนตะเคียนภายในวัดกระโจม ทอง ชาวบานเชือกันวามี ความศักดิ์สิทธิ์มาก

วัดสะพาน เดิมเรียก “วัดตะพาน ” ตั้งอยูที่ริมคลองบางนอย แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆมหานิกาย สิ่งกอสรางแตเดิมนั้นเปนอาคารไมเปนสวนมาก เลากันวาเมื่อครั้งไทยรบกับพมาถูก


๑๘๗

ขาศึกเขามาทําลายพระพุทธรูปไปหลายองค ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ เปนวัดโบราณเกาแก ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินทรายทั้งสภาพที่สมบูรณและที่เหลือเปนเศษ ชิ้นสวนจํานวนไมนอย พระพุทธรูปหินทรายนาจะสรางขึ้นในสมัยอยุธยา สิ่งสําคัญภายในวัด ไดแก พระอุโบสถกออิฐถือปูนสรางเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ แทนอุโบสถหลังเกาที่สราง ดวยไมที่เลาวาถูกพมาทําลายไป รูปหลอหลวงปูบุญ อดีตเจาอาวาส ประดิษฐานไวที่ศาลาใหญพระวิหารโถง ขนาดเกาหอง มีรองรอยของกําแพงแกวเดิมจมดินอยูโดยรอบ ทั้งตัววิหารและพระพุทธรูปอันเกาแกไดหัน หลังใหกับคลองบางนอย ภายในวิหารไดประดิษฐานหลวงพอดํา หลวงพอกลาง และหลวงพอโต อันปนที่ เคารพบูชาของชาวบาน กลาววาจากสภาพของวิหาร องคพระพุทธรูปที่พบ บริเวณโดยรอบของวิหารและวัด วัดไดตั้งอยูในทองถิ่นที่มีขนาดใหญ และมีการสรางชุมชนมาตั้งแตพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ถือเปน วัดที่เปนศูนยกลางของทองถิ่น ชาวบานใชทําพิธีกรรมทางศาสนารวมกัน

พ ร ะ อุ โ บ ส ถ ซึ่ ง ส ร า ง ใ ห ม ใ ห ญ กวาเดิมมาก


๑๘๘

คลองบางพรม ซึ่งเปนคลอง เกาแกมีการตั้งถิ่นฐานมา ตั้งแตยุดแรกๆ


๑๘๙

หลวงพอโต หลวงพอกลาง และหลวงพอดํา ๓ พระพุทธรูปที่รอดจากการถูกพมาทําลาย ประดิษฐาน ในศาลาภายในวัด

พระพุทธรูป ๓ องค ที่เลากันวารอดจากการถูกทหารพมาทําลายไดแก หลวงพอโต หลวงพอกลาง และหลวงพอดําซึ่งมีการบูรณะ ซอมใหมและยังพบเศษพระพุทธรูปหินทรายอีกหลายชิ้น


๑๙๐

ตํานานอากรสวนใหญ หนังสือมา ณ วันอาทิตย เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ําปฉลูเบญจศก (พ.ศ.๒๓๙๖) หนังสือเจาพระยาจักรี มาถึงเจาเมืองกรมการ ดวยทานอัครมหาเสนาบดีผูใหญๆ ปรึกษาพรอมกันกราบบังคมทูลพระกรุณา แกพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิสมมติเทพพยพงศ วงศาดิศวรกษัตริย วรขัติยราชนิกโรดมจาตุรันตบรมมหา จักรพรรดิราชสังกาศ บรมราชาธิราชบรมนาถบพิตร พระจอมเกลาเจาอยูหัว วาแตกอนพระบาทสมเด็จพระ เจ า อยู หั ว ในแผ น ดิ น ซึ่ ง ล ว งมาแล ว เมื่ อ เสด็ จ ขึ้ น ถวั ล ยราชาภิ เ ษก เสวยสิ ริ ร าชสมบั ติ ครอบครองพระ ราชอาณาจักรอันนี้ได ๓ ป แลวเคยโปรดเกลาฯใหแตงขาหลวงออกไปรังวัดสวนตรวจนับตนไมมีผลในสวน ของราษฎร จังหวัดกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยาและนนทบุรี เมืองนครเขื่อนขันธ เมืองสมุทรปราการ เมืองนครไชยศรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองสาครบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี เมือง เพชรบุรี ทําหนาโฉนดเสียใหม เรียกเงินอากรสงเขายังพระคลังมหาสมบัติตามหนาโฉนดใหมนั้น เปนราช ประเพณีมีมา ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ เสด็จเถลิง ถวัลยราชบรมราชาภิเษกสําเร็จบรมราไชศวรรยาธิปติ ครอบครองพระราชอาณาจักรมาถึงปที่ ๓ ในปฉลู เชการที่ปรึกษา อันเปนเบญจศกนี้ เปนกาลอันควรจะแตงขาหลวงออกเดินสวนทําหนาโฉนดใหมตามโบราณ ราชประเพณีนั้น การอันนี้สุดแตจะทรงพระกรุณาโปรดฯ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯดํารัสวา (ความตอไปนี้เขาใจวาเปนพระราชนิพนธรัชกาลที่ ๔) การ ๒ อยาง คือ การสักเลขหมายหมูทําทะเบียนหางวาวไว แลวเกณฑขาราชการตามจํานวนหางวาวอันนั้น ไปหลายป แลวหักหนีตายเปนแตคราวๆนานๆ นั้นอยางหนึ่ง การเดินสวนเดินนานับตนไมมีผลและกระทงนา ใหแนนอนแลว ทําหนาโฉนดตราแดงใหไวแกเจาของสวนเจาของนา แลวเก็บอากรสวนและหางขาวคานา ตามจํานวนหนาโฉนดตราแดงฉบับหนึ่งนั้นไปหลายป จึงเดินสวนเดินนาใหมตอกาลนานๆ นั้นอยางหนึ่ง เห็นจะเปนการบังเกิดเปนอยางธรรมเนียมมาแตพระราชบัญญัติของพระมหากษัตริยพระเจาแผนดินแตกอน ที่ทรงพระสติปรีชาปญญา และขาราชการที่ปรึกษา อันเปนปราชญฉลาดในกรที่จะทํานุบํารุงแผนดินใหเจริญ เรียบรอยงายสะดวก และการสักเลขหมายหมูมีทะเบียนหางวาวตัวเลขตายหนีชราพิการหรือบชเปนภิกษุ เจา พนักงานยังไมหักบัญชีจําหนาย ก็คงเกณฑราชการอยูเสมอตามทะเบียนเดิมที่ลูกหมูรุนฉกรรจขึ้นก็มีมาก เจาหมูยังไมไดนําเขามาสักคน คงเหลืออยูโดยมาก และนาของราษฎรที่เปนนาโคคู ขาหลวงรังวัดแลวทําตรา แดงใหไวแกเจาของนาเปนสําคัญ เจาของนาจะไดทําและมิไดทําก็ดี มีอยางธรรมเนียมวาเมื่อถึงปขาหลวง เสนาก็ ค งเรี ย กหางข า วค า นาเต็ ม ตามตราแดงที่ มี ใ นบั ญ ชี ที่ เ จ า ของนาเอาตราแดงไปเวนส ง แก กํ า นั น นายอําเภอแลว หรืออพยพทิ้งนาใหรางไว ถึงภายหลังจะแตงอุบายใหญาติพี่นองเขาทําในที่นาเวน ขาหลวง เสนาก็ไดเรียกคานาแตที่ทําได หรือแตตามตราแดงบัญชีตั้งคง คานาตกขาดจากภูมิตราแดงโดยมาก และสวนของราษฎรนั้ นเลา ลางสวนต นผลไมหั กโค นตายเสี ย เจ าของสวนเกีย จครา น หาปลู ก ซอมแซมเพิ่มเติมขึ้นไม เจาพนักงานก็คงเรียกอากรเต็มหนาโฉนด ที่ปลูกตนผลไมขึ้นใหมกวาหนาโฉนดเดิมก็ มิไดบวกเงินอากรขึ้น การทั้งนี้ที่แทก็ควรจะใหเจาพนักงานชําระบัญชีไลตัวเลขลูกหมูเขามาสัก และหักบัญชี จําหนายแลว จึงเกณฑขาราชการตามตัวที่มีจริงทุกคราวเกณฑ และแตงขาหลวงออกรังวัดนาเดินสวนของ


๑๙๑

ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหพระยาราชภักดีศรีรัตนราชสมบัติพิริยพาหะ กับพระยาพิพิธโภไค ศวรรค จมื่นศรีสรรักษ หัวหมื่นหมาดเล็กเปนแมกองใหญชําระความ และชําระบัญชีตนไม มีผลควรตรงอากร ใหแนนอน แลวทําหนาโฉนดแจกใหแกราษฎรเจาของสวน แขวงกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร และ หัวเมือง อยาใหเกิดวิวาทแกกันขึ้นได โปรดเกลาฯใหแตงขาหลวงเดินสวนแขวงกรุงเทพมหานคร และเมือง นนทบุรี เมืองนครเขื่อนขันธ เมืองสมุทรปราการ ฝงเหนือขาหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระยาสีหราชเดโชชัยอภัยพิริยบรากรมพาหุ แมกอง ๑ พระ ยาราชสงครามจางวางทหารในชวา ๑ พระยาสมบัติยาภิบาลเจากรมพระคลังในขวา ๑ หลวงศักดิ์นายเวร มหาดเล็ก ๑ หลวงอภิบาลภูวนาถเจากรมรักษาพระองคขวา ๑ จมื่นมหาสนิทปลัดกรมพลพันขวา ๑ รวม ๖ พระบวรราชวังนั้น พระยาประเสริฐสาตรธํารงจางวางกรมหมอ ๑ หลวงรัตนรักษาเจากรมแสงในซาย ๑ รวม ๒ รวมฝงเหนือ ๘ ฝงใตขาหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระยาเพชรพิชัยจางวางลอมพระบรมมหาราชวังแมกอง ๑ พระยาสามภพพายจางวางกรมทหารในซาย ๑ พระยากาญจนนุกิจ ๑ จมื่นสรรเพธภักดีหัวหมื่นมหาดเล็ก ๑ จมื่นจงรักษาองคเจากรมพระตํารวจวังซาย ๑ รวม ๖ พระบวรราชวัง พระยาวิเศษศักดาจางวางทหารปน ใหญ ๑ พระจํานงสรไกรปลัดจางวางวางเกณฑหัดปนแดง ๑ รวม ๒ รวมฝงใต ๘ เมื อ งเพชรบุ รี เมื อ งราชบุ รี เมื อ งสมุ ท รสงคราม เมื อ งนครชั ย ศรี เมื อ งสาครบุ รี ข า หลวงใน พระบรมมหาราชวัง พระเทพาธิบดีเจากรมระสัสดีซาย ๑ พระจันทราทิตยเจากรมสนมพลเรือนขวา ๑ จมื่นรา ชาบาลปลัดกรมพระตํารวจนอกซาย ๑ หลวงมไหศวรรย ๑ หลวงสุวรรณภักดี ๑ หมื่นเสพสวัสดิ์ปลัดกรม ๑


๑๙๒

และตนผลไมมีอากร หมาก มะพราว พลู มะมวง มะปราง ทุเรียน มังคุด ลางสาด ๘ สิ่งนี้ หมากเอก สูง ๓ วา ๔ วา เรียกตนละ ๕๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๓ สลึง ๒๐๐ เบี้ย หมากโทสูง ๕ วา ๖ วา เรียกตนละ ๔๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟอง หมากตรีสูง ๗ วา ๘ วา เรียกตนละ ๓๐ เบี้ย ๑๐๐ ละสลึงเฟอง ๖๐๐ เบี้ย หมาผกา รายออกดอกประปราย ใหเรียกเทาโทตนละ ๔๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟอง หมาก ๔ รายนี้ มีหมากกรอกตน ละ ๑๑ ผล มะพราวเล็กตั้งปลองสูงศอกหนึ่งขึ้นไป ใหเรียกเทาเอกตนละ ๕๐ เบี้ย ปขาลฉศกจึงจะเรียกเงิน แต หมากกรอกนั้นยังไมเรียก ตนสูงคอดคอเรียวชายเอนใหยกอากรเสีย สูง ๘ ศอกขึ้นไปเอาเปนใหญ เรียกตนละ ๑๐๐ เบี้ย ๘ ตนเฟอง ๑ มีน้ํามันเฉลี่ย ตั้งปลองสูงศอกหนึ่งขึ้นไปถึง ๗ ศอก เอาเปนปขาลฉศก จึงเรียกเงินอา กากร แตน้ํามันเฉลี่ยนั้นยังไมเรียก สูงคอดคอเรียวใหยกเสีย แตมะพราวมูลสีนาฬิเกหงสิบบาท สําหรับขอ ทูลเกลาฯถวาย และของกํานัลใหยกอากรเสีย พลูคางทองหลางสูง ๗ ศอก ๘ ศอกขึ้นไปใหเอาเปนใหญ ๔ คางเฟอง ๑ รอยละ ๓ บาทเฟอง สูง ๕ ศอก ๖ ศอกเอาเปนเล็ก ปขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร ทุเรียน มะมวง วัดแตโคนตนขึ้นไปสูง ๓ ศอก ยืนขึ้นไปเพียงตาโอบรอบ ๓ กํา เอาเปนใหญ ทุเรียน ตนละ ๑ บาท มะมวงตนละเฟอง ใหญรอบไมถึง ๓ กําลงมาจนถึ ๒ กําเอาเปนเล็ก ปขาลฉศกจึงจะเรียกเงิน อากร มังคุด ลางสาด วัดแตโคนตนขึ้นไป สูงศอกคืบนั่งยองเพียงตา โอบรอบ ๒ กําเอาเปนใหญ เรียกตน ละเฟอง ใหญรอบไมถึง ๒ กําลงมาจนถึงกําหนึ่ง เอาเปนเล็ก ปขาลฉศกจึงจะเรียกอากรมะปราง วัดแตโคน ตนขึ้นไปสูง ๓ ศอก ยืนเพยงตาโอบรอบ ๓ กําเอาเปนใหญ ๒ ตนเฟอง โอบรอบ ๒ กําเอาเปนเล็ก ปขาลฉศก จึงจะเรียกเงินอากร แตสมโอ สมแกว สมเกลี้ยง สมเทพรส สมมะแปน สมจุก สมเปลือกบาง ๗ สิ่งนั้น โปรดเกลาฯ ใหยก ไมใหเรียกอากร และตนทุเรียน มะมวง มังคุด ลางสาด มะปราง ๕สิ่งนี้ ถาเปนโพรง ยอดตายมีแตกิ่ง ๑ สอง กิ่งใหตั้งเปนโคนหาอากรมิได ถาโคนตน ๒ ตน ๓ ตน เคียงชิดกันใหเอาแตตนหนึ่ง ถาหางกันตัวโคลอดไดให เรียกเรียงตน ถาและสวนผูจับทําสรางขึ้นใหม หาตนผลไมไมมิไดก็ดี และตนเกามีอยูอากรต่ํากวาเดิมจอง ให เรียกแตปเดิมจองเปนหลวง ปละสลึง ๖๐๐ เบี้ย ใหหนาโฉนดตราแดงไว อนึ่ ง ราษฎรรู ว า ข า หลวงจะเดิ น สวน และราษฎรบั ง อาจลั ก ตั ด ต น ผลไม มี อ ากร ซึ่ ง นายระวาง ประกาศหามแลวใหขาดอากรของหลวงไป ใหปรับไหมอากรตนหนึ่งเปน ๓ ตน สักหลังไวในโฉนดเปนไหม โทษ แลวอยาใหหกสิบลดใหกับราษฎรผูกระทําผิดนั้นเลย ใหผูกอากรกับไมใหญสืบไป อยาใหดูเยี่ยงอยาง กัน แลวหามอยาใหเรียกเอาคาฤชาตลาการแกราษฎรผูลักตัดตนไมนั้นเลย


๑๙๓

และหามอยาใหขาหลวงกองเดินเอาเนื้อความแฝงอาญาอุทธรณนครบาล ซึ่งเปนสินไหมพินัย ไว พิจารณาวากลาวเปนอันขาดทีเดียว และใหขาหลวงลงเสนเชือกรังวัดสวนของราษฎร ใหรูวากวางยาวลงไวในหนาโฉนดจงทุกสวน และเมื่อแรกวันจะลงมือรังวัดสวน ใหราษฎรทําบายศรีบวงสรวงพระภูมิเจาที่สํารับหนึ่ง กรุงพาลี สํารับหนึ่ง ศีรษะสุกรคูหนึ่งราคา ๕ สลึง เสื่อออนผืนหนึ่งราคาเฟองหนึ่ง ผาขาวผืนหนึ่งราคาสลึงเฟอง รอง เชือกรังวัดขันลางหนาใบหนึ่งราคาเฟองหนึ่ง สําหรับเสกน้ําปะพรมที่สวน คาเสกน้ําเฟองหนึ่ง คารังวัดหัว เชือกสลึง หางเชือกเฟอง รวม ๒ บาท สลึงเฟองแตแรกลงมือแขวงกรุงเทพฯ สวนหนึ่ง เมืองนนทบุรีสวนหนึ่ง และเมืองนครเขื่อนขันธสวนหนึ่ง เมืองสมุทรปราการสวนหนึ่ง เมืองนครไชยศรีสวนหนึ่ง เมืองสาครบุรีสวน หนึ่ง เมืองฉะเชิงเทราสวนหนึ่ง เมืองเพชรบุรีสวนหนึ่ง เมืองราชบุรีสวนหนึ่ง เมืองสมุทรสงครามสวนหนึ่ง แต เทานี้ และเงินของซึ่งราษฎรเสียไปกับขาหลวงนั้น ใหนายระวางหักเงินอากรของหลวง ซึ่งจะเรียกในสวน นั้นหักใหแกราษฎรผูเสียของและเงิน คิดเบ็ดเสร็จเงิน ๒ บาทสลึงเฟองนั้นแตปเดียว ถาขาหลวงนับไดไมใหญไมเล็ก สวนพระคลังสวนวัดไดเทาใด ใหแมกองเดินผูใหญเขียนหนาโฉนด ปาปดตราประจําตนผลไมใหไวเปนคูมือของราษฎรจงทุกสวน อยาใหเรียกเงินคาโฉนดปาแกราษฎร ใหเรียก แตมะพราว ๒ คู พลู ๒ กลุม หมากทะลาย ๑ คิดเปนเงินสลึงเฟองเปนหัวมือจงทุกสวน แลวใหราษฎรเจาของ สวนและนายระวาง เอาโฉนดมาสงแกแมกองใหผูชําระ จะไดสอบสวนจํานวนตนผลไมใหถูกตามบัญชีจะได ทําโฉนดใหญปดตราใหไวกับเจาของสวนเปนสําคัญ แตกอนนั้น ขาหลวงไดเดินสวน ๕ ครั้งแลว และเมื่อขาหลวงเดินสวนนั้นเปนสวนของผูใด ใหราษฎร เจาของสวนคิดใหเงินคาหัวมือสวนละสลึงเฟอง เบี้ยเลียงสวนละ ๒ สลึง สวนหนึ่งเปนเงิน ๓ สลึงเฟอง ไดแก ขาหลวงนั้น ใหขาหลวงเดินสวนทําตามขาหลวงเดินสวนมาแตกอน ครั้นถึงวันพระ ๘ ค่ํา ๑๔ ค่ํา ๑๕ ค่ํา ใหขาหลวงมีชื่อกองเดินเอาบัญชีเดินทุงมาสงใหกองบัญชี แลว ใหกองเดินกองบัญชีและทนายผูนับตนผลไมพรอมดวยแมกองใหญ เขาไป ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา ราม สาบานตัวเฉพาะพระพักตรพระพุทธปฏิมากรแกวมรกต และพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก พระพุทธเลิศหลา นภาลัย วาจะนับตนผลไมของราษฎรและบัญชีแตตามสัจจริง อยาใหเอาของหลวงเปนของราษฎรๆ มาเปน ของหลวงมาเปนนอยๆ เปนมาก ไมใหญวาเล็กๆ วาใหญและเบียดบังเอาสินจางสินบน เปนอาณาประโยชน ตนเปนอันขาดทีเดียว และใหกองบัญชีคิดอากรไมใหญและหมากกรอก ซึ่งมากขึ้นกวาเดิม ใหนายระวางเรียกเงินอากรคา หมากกรอก ซึ่งขึ้นใหมในจํานวนปฉลูเบญจศก สงเขายังพระคลังมหาสมบัติ ถาตนผลไมชํารุดต่ําลงกวาเดิม ใหหักเงินอากรและหมากกรอกลงเสีย ยังคงไมใหญและไมเล็กเทาใด หักสิบลดหนึ่งพระราชทานใหแกราษฎร เจาของสวน คงนายระวางเรียกอากรไมใหญไมเล็กหมากกรอกไดเทาไร ใหนายระวาเรียกสงพระคลังสวนๆสง เขาไปยังพระคลังมหาสมบัติ จํานวนปขาลฉศกตามหนาโฉนดสืบไป ใหกองบัญชีเขียนโฉนดขึ้นกระดาษรายตนผลไม จํานวนเงินเปนอักษร อยาใหบุบสลายปดตรา ขาหลวง ๘ นายไวจงทุกสวน ครั้นเดินสวนเสร็จแลว ใหราษฎรเอาโฉนดปามาสอบทานกับโฉนดใหญตองกัน


๑๙๔

อนึ่ง มีพระบรมราชโองการดํารัสวา ไม ๓ จําพวกคือ ไมมะเกลือเปนไมดํา ๑ ไมละมุดสีดาเปน ไมแดงเนื้อละเอียด ๑ ไมจันทรเปนไมขาวเนื้อละเอียด ๑ ไม ๓ จําพวกนี้ถึงมีผลราษฎรซื้อขายกันไดบาง ก็ ไมไดเรียกอากรมาแตกอน ครั้งนี้ตองพระราชประสงคจะใครทรงทราบจํานวนไว และเมื่อตนหักโคนประการ ใด จะตองพระราชประสงคแกนมาเลื่อยจักตัดออกใชราชการ เพราะดังนั้นเดินสวนครั้งนี้ ใหขาหลวงและเจา พนักงานนับไม ๓ จําพวก คือ ไมมะเกลือ ไมละมุด ไมจันทร ใหรูจํานวนตามเล็กและใหญใสหนาโฉนดไว แต อยาใหเรียกเอาคาธรรมเนียม เมื่อนับและทําบัญชีตนไม ๓ อยางนี้ เปนอันขาด ทีเดียว เปนแตใหประกาศ มอบหมายแกเจาของสวน และผูรับหนาโฉนดไววา ถาตนมะเกลือและตนละมุดตนจันทรที่มีแกนแลวจะลม ซวนเอง หรือคร่ําคราเจาของจะใครฟนเสีย ก็ใหมาบอกแกเจาจํานวนกอน แลวจึงตัดฟน แลวนําเอาลําไมมี แกนมามอบใหเจาจํานวนนํามาทูลเกลาฯ ถวาย จะพระราชทานราคาใหตามราคาไมแกนเสงเพรงโดยสมควร ราชการ แลวมอบไมใหรักษาไวในพระคลังในขวาสําหรับใช ถาเจาตางกรมยังไมมีกรม และขุนนางเจาขุนมูล นายของชาวสวน จะใครตัดเอาไม ๓ อยางนี้ แตอยางใดอยางหนึ่งไปใชราชการ ถาเจาของสวนจะยอมใหตัด ก็ใหตัด แลวเอามามอบแกเจาพนักงานกอนแลวจึงมารับไป เมื่อเจาพนักงานกอนแลวจึงมารับไป เมื่อเจา พนักงานไดรูเห็นดวยดังนี้แลว ก็ใหสลักหลังหนาโฉนดลดบัญชีลง แตตนเล็กนอยยังไมมีแกนนั้นถาลมตายก็ ใหเจาของปลูกซอมแซมขึ้นใหมลวงหนา ๑๐ ป หรือ ๒๐ ป จะบวกเปนไมใหญ หามอยาใหขาหลวงมีชื่อเสมียนทนายบาวไพร ซึ่งไปดวยกันนั้นทําขมเหงแกราษฎรชาวสวน ขึ้นเก็บ เอาผลไมและสิ่งของในสวนและเครื่องอัญมณีตางๆ กระทําใหราษฎรไดความยกแคนเดือดรอนแตสิ่งใดสิ่ง หนึ่งไดเปนอันขาดทีเดียว ถาผูใดมิฟงกระทําใหผิดดวยพระราชบัญญัตินี้ มีผูมารองฟองวากลาวมาพิจารณา เปนสัจ จะเอานายและไพรผูกระทําผิดเปนโทษโดนโทษานุโทษ และใหขาหลวง เจาเมือง กรมการทําตามทอง ตราและรับสั่งมาจงทุกประการ


๑๙๕

ลัทธิธรรมเนียมตางๆ ภาค ๓ เรื่องสวน เจาพระยาภาสกรวงศ การทําสวนนี้เปนสวนหนึ่งอยูในกสิกรรม ซึ่งเปนศิลปะของการเพาะ ปลูก หวาน ไถ บํารุงที่แผนดิน แผนกหนึ่งซึ่งเปนสิ่งสําคัญอันสมควรที่จะใหรูธรรมชาติของที่แผนดิน อันจะไดขุดรองยกคันโกนสรางที่ แผนดิน จะไดหวานเพาะตนไมมีผลที่เปนตนไมยืนนาน และตนไมลมลุกเพราะหวานตามฤดูสมัยใหไดผลอัน ดีมีราคามาก และตองยากลําบากที่จะตองลงแรงลงทุน และเปลื้องเวลาแตนอย ในการประสงคจะใหผลดังนี้ มีการอยู ๔ อยางที่ชาวสวนควรจะมีทรงไว ความคาดหมายประโยชนจึงจะเปนอันสําเร็จได คือวาจะตองมีทุน คือเงินที่จะไดออกใชสอยในสิ่งที่ควรตองการ ๑ แรงหรือมือเพื่อที่จะไดทํางานที่ตองการ ๑ ความรูในทางที่ดี ที่สุดแหงการงานที่จะทํา ๑ และความฉลาดเพื่อที่จะไดบัญชาใชทุนและแรงที่จะตองออกทํา ๑ คุณสมบัติ ๔ อยางนี้มีอยูในชาวสวนผูใดแลว ความมาดหมายที่จะใหเกิดประโยชน ก็คงเปนผลสําเร็จอยางดียิ่ง รวมเปน สิ่งซึ่งเปนวิชาสําหรับชาวสวนที่ควรตองศึกษาและประพฤติไปดวยกัน ครั้นจะพรรณนาใหละเอียดแลวตลอด ปก็คงไมหมดเรื่องได เพราะฉะนั้น ในที่นี้ขาพเจาจะขอกลาวแตสังเขปที่เปนสวนลักษณะของการเพาะปลูก ที่ดิน และวิธีการทําสวนที่บรรพบุรุษไดทํามาแลวเปนอยูประการใด และความชํานาญที่ไดทดลองมาแลว เปนการดีขึ้นอยางไรบาง ทั้งวิธีทางวิชาเปนความรูที่จะเชิดชูการเพาะปลูกทําสวนใหเจริญยิ่งขึ้น และเหตุที่ เปนการขัดขวางในทางที่ชักใหเปนความทอถอยแกการเพาะปลูกอยูนั้น จะไดพรรณนาการเหลานี้สืบไป บัดนี้ จะขออธิบายคําวา สวนและแผนดินของเรามีอยูกี่อยางกี่ชนิดและเทียบเทียมดู กับธรรมเนียมตางประเทศที่ เปนไมตรีดวยสักหนอยกอน สวน คํานี้เมื่อเปนนามศัพทแลว ก็เขาใจวาที่แผนดินอันยกรองขึ้นแลว ก็เรียกวาสวนคูกับคําวานา และมีคําวาไรแซกอยูเปนคํากลางดวย เพราะสวนสําหรับผูปลูกไมดอกไมผล นาปลูกขาว ไรปลูกไมลมลุก สวนนั้นมีประเภทตางๆ ตามคําที่คุณศัพทจะตามหลัง คือ สวนใหญ สวนจาก สวนดอกไม เปนตน ที่ใดซึ่งปลูกตนผลไมอันเปนไมยืนตน เขาอากรใหญก็ดีเขาพลากรก็ดี ที่เปนไมลมลุกเสงเครงเขาสม พักสรก็ดี ลวนแตตนสิ่งนั้นมาก มีไมอื่นแซมแตนอยแลว ก็เรียกวาสวนสิ่งนั้นเอาชื่อตนผลไมประกอบเปน คุณศัพท อธิบายความพิเศษจําเพาะในที่ดินอันนั้นและอยูตําบลนั้นจึงจะดี ที่ดินปลูกตนทุเรียน มังคุด มะมวง มะปราง ลางสาด หมาก พลูคางทองหลางตน ๗ พันธุนี้เขาอากร ใหญ ตนใดมีจํานวนในที่อันนั้นมากก็เรียกวาสวนสิ่งนั้น ในตําบลวัดทองลางปลูกทุเรียนมาก ก็เรียกวาสวน ทุเรียน ในตําบลนี้ตนทุเรียนงอกงามไดผลมากมีรสดีกวาที่ตําบลอื่น จึงมีชื่อทุเรียนเปนคุณพิเศษของตําบลนี้ แตกอนนั้นทุเรียนบางบนในคลองบางกอกนอย มีบางผักหนาม เปนตน เปนทุเรียนดีมีชื่อจําเพาะตนนั้นพันธุ นั้น ผลโตงามพูใหญสีเนื้อเหลืองแตหยาบ รสมันมากกวาหวาน ซื้อขายกันไดราคา เรียกวาทุเรียนบางบน ครั้นภายหลังมาในถิ่นบางบนนี้มีน้ําทวมบอยๆ ตนทุเรียนทนน้ําไมคอยไหวลมตายเสียแทบหมด ผูที่จะ เพาะปลูกขึ้นใหมก็ระดาไป หาคอยจะปลูกใหเต็มภูมิไม ทุเรียนบางบนจึงไดเสื่อมทรามลง ไมเจริญงอกงามดี ในตําบลบางลาง เพราะฤดูน้ําทวมไหลลงเร็ว ชาวสวนคิดยกคันอยูได และทุเรียนบางลางนั้นเนื้อละเอียด แต บางสีก็เหลืองออนมักจะเปนสีลาน แตรสนั้นหวานสนิทดีกวาบางบนคนชอบใจกินมาก ตนทุเรียนมอยูในที่อะ


๑๙๖

เหมือนอยางมะมวง มีชื่อจําเพาะวาอกรองและมะมวงทุเรียนนั้น ที่พาหิรุทยาน ซึ่งเรียกตามสามัญ วาสวนนอก ในแขวงเมืองสมุทรสงคราม มีสวนมะมวงบางชางเปนที่ซาบซึมอยูดวยกันมาก มะมวงดีกวาสวน ใน ยังมะมวงอีกพันธุหนึ่งเปนมะมวงไรหรือปาก็ได เรียกวากะลอนเขียว ในแขวงเมืองชลบุรีมีรสหวานและ ประหลาดโอชายิ่งนัก อีกพันธุหนึ่งเรียกวากะลอนทอง มาแตเพชรบุรีเปนอยางดีและมักจะไดกินกอนฤดู มักจะทันใสบาตรในเวลาเทศกาลตรุษ แตรสหาสูดีไมมักจืดๆ ชืดๆ ไปสูรสมะมวงอื่นไมได ยังมะมวงกะลอน อีกพันธุหนึ่ง เรียกวา ขี้ไต มีประปรายทั่วไปตามสวนและไร แตรสไมอรอยไดรูสึกกลิ่นคลายดังชัน จึงเรียกกัน วาขี้ไต แตยังมะมวงพันธุอื่นๆ อีกตั้งรอยชนิดจะพรรณนาก็ยืดยาวนัก มะปรางปลูกที่ตําบลบางอิฐ แขวงเมืองนนทบุรีนั้น ตะวันตกเยื้องปากเกร็ดลางหนอยหนึ่ง เปน มะปรางที่มีรสดีเนื้อ แนนไมซ้ํา ผลก็งามดี มะปรางปลูกที่ตําบลอื่นถึงผลจะงามเนื้อในมักเปนน้ําและช้ํา เรียกวาทองขึ้น ปอกริ้วไมคอยจะได รสก็มักจะจืดไมสูแหลมเหมือนมะปรางที่ทาอิฐ มะปรางนั้นเราแบง ประเภทไปตามรสมีสองอยาง คือ เปรี้ยวกับหวาน แตคําที่ชํานาญพูดกันนั้นประณีตออกไปถึง ๕ อยางตาม รสนั้น คือ มะปรางที่มีรสหวานชืดๆ ไมเปรี้ยวแกม เรียกวามะปรางหวาน ที่มีรสเปรี้ยวแกมแตนอย มีหวาน เขาประสมเปนรสประหลาดมากเรียกวามะยงชิด ที่มีรสเปรี้ยวมากกวาหวานเรียกวามะยงหาง และที่มีรส หวานรูสึกแตเล็กนอย เปนมะปรางเปรี้ยวตามธรรมดา ยังเปรี้ยวแจดอีกพันธุหนึ่งผลใหญงาม บางแหงก็เทา ฟองไกตะเภา เรียกวากาวาง เพราะเปรี้ยวเหลือที่จะประมาณจนนกกาไมอาจจิกกินไดแลว มะปรางอยางนี้ สําหรับเปนของกํานัลเปนที่ดูชมเลนเทานั้น สวนมะปรางที่ทาอิฐเปนดีกวาที่อื่น ลางสาดปลูกที่ตําบลคลองสาน มักมีรสหวานเจือหอมพิเศษดีกวาที่ตําบลอื่น และพันธุเมืองชวา หรือบะเตเวีย พันธุที่มาปลูกเปนขึ้นในบานเมืองเรา มีผลเขื่องเติบบาง พวงใหญงามดี สีเนื้อขาวซีด มีรส หวานชืดจืด โอชะไมถึงลางสาดของเรา เปนแตนับถือวาเปนของชักนํามาแตตางประเทศเทานั้นดวยเปนของ ยังมีนอยตนอยู เรียกวาลางสาดกะหลาปา หรือบะเตเวีย แตที่คําวาชวา หรือยะวา ซึ่งควรจะเรียกนั้นหากลาว ไม มังคุดนั้นไมเปนตําบลลงได มีเรี่ยรายไป สุดแตที่ใดปลูกมากก็เรียกวาสวนมังคุด มีชื่อตําบลอัน ปรากฏมาในพงศาวดารวาสวนมังคุดแหงหนึ่ง คือแถบวังหลัง ซึ่งเปนมูลราชนิเวศนของพระบาทสมเด็จพระ เจาอยูหัวปฐมรัชกาลนั้นตําบลหนึ่ง แตที่จริงนั้นเดี๋ยวนี้ตนมังคุดมีนอยหรือจะวาไมมีเลยก็ได นามสวนมังคุด นั้นเดี๋ยวนั้นก็ไมคอยจะมีใครเรียกเสียแลว สวนมังคุดในบานเมืองเรามีผลหาคอยจะพอจําหนายไม ในเวลา ตอมาวายจึงตองบรรทุกเขามาแตเมืองสิงหะปุระ ซึ่งกลายเปนเมืองสิงคโปรก็มี เพราะที่สิงคโปรมีสวนมังคุด มาก ทางไปมาดวยเรือเมลกลไฟใกลเขา และตนมังคุดที่ในหัวเมืองตะวันตกของเราก็มาก แตหาไดเปนสินคา ซื้อขายถึงในกรุงเทพฯไม (เมื่อเวลาแตงหนังสือเรื่องนี้ยังไมมีเรือไฟไปมาเสมอและยังไมมีรถไฟ) เปนแตใชกัน อยูในพื้นบานพื้นเมืองเทานั้นเอง หมากบางลางมีตําบลราชบุรณะบางผึ้ง แจงรอน เปนตน เปนสวนหมากอันมีชื่อเสียงปรากฏมาแต กอน เพราะหมากนั้นหนาฝาดยิ่งเคี้ยวกระชับจับปากดีกวาตําบลอื่น แตฝงตะวันตกยิ่งดีกวาฝงตะวันออก


๑๙๗


๑๙๘

การทําสวนทุเรียน สมาคมพฤกษชาติแหงประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ แพรพิทยา, พระนคร ๒๕๐๖ ความจริง ทุเรียนเปนไมถิ่นมลายู ตามชื่อภาษาอังกฤษวา Durian ชวาเรียก Dooren ซึ่งออกเสียง เปนทุเรียน เขาใจวาคงนําพันธุที่ดีนี้มาจากชวาหรือมลายูมาปลูกในไทยจนกลายเปนไมพื้นเมือง หนังสือ “พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน” ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (นอย อาจารยางกูร) แตงไวราว พ.ศ.๒๔๒๗ กลาวถึงชื่อทุเรียนเปนคํากลอนไวถึง ๖๘ พันธุ ธนบุรี พระนคร และนทบุรี เปนดินเหนียวยกรอง ตอมาขยายพันธุไปปลูกที่จันทบุรีที่เปนดินปน ทราย จึงขยายไปตราดและระยอง ตอมาก็เปนที่นครนายก อากาศที่คลายคลึงกัน ภาคใตปลูกที่ชุมพร หลัง สวน สุราษฎร และภูเก็ต แตเดิมปลูกทุเรียนเนื้อบาง เรียกกันวา ทุเรียนนอก และขยายพันธุจากเมล็ดเปน ทุเรียนปา นอกจากนี้ก็มีที่อุตรดิตถที่ลับแล เปนทุเรียนปาเชนกัน แตภายหลังมีผูนําเอาพันธุจากพระนครไป ปลูกบางแลว

“พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน” (ยานี ๑๑) จักร่ําพรรณทุเรียน ทองสุก-ทองยอยยาน ทองคํากานตอตน กระปุกสุวรรณา ทุเรียนตลับทอง ตลับนาคผิวมัน ทุเรียนกบแมเถา กบเล็บเหยี่ยวปกษี ตั้งตนเหราเดิม เหราใบมันแสง ทุเรียนเหรางอย หนึ่งเรียกชื่อเหรา เรียกการะเกดพุม การะเกตแดงสําลาน การะเกตสีเขียวสด การะเกตตาเหมือนมี ทุเรียนรสอรอย สาวชมเหมือนจะชวน หนึ่งชื่อสาวสวรรค

ชื่อเพี้ยนเปลี่ยนมากสาธารณ อีกทองหยิบยังทองทา นางทองยนใหญสาขา กระปุกนาคหลากผิวพรรณ สีเรืองรองดูฉายฉัน สีนากนั้นพรรณหนึ่งมี เปนตนเคาแตเดิมที กบเม็ดในกบกิ่งแขง ตอนตอเติมมาปลูกแปลง เปนมันยับจับไนยนา ดูเหงากอยไมแนนหนา พับสมุดสุดหวานมัน ผลปุมลุมงามตระการ การะเกตเหลือเรืองรังสี งามปรากฏนิลมณี ชื่อตามเคาเจาของสวน เรียกสาวนอยเนื้อนิ่มนวล ใหชมชิมลิ้มรสหอม เหลือจะกลั้นจะอดออม


๑๙๙

แพงถูกก็จะยอม ทุเรียนนางแดงโศก แดงเถาเขาพัวพัน หนึ่งนางนามกระเทย เม็ดตายทุกเม็ดไป นางหนักคูนางลา นางตลุมวิลัยวรรณ นางกระเทียมอีกนางลือ สีเทียมนพคุณ ทุเรียนแดงแมเถา แดงเปยกเรียกนามคง ทุเรียนเขียวตําลึง อีกชื่องากุญชร กําปนและอีบาตร จําปและจําปา จรเขยวงยาวใหญ ปลัดคําชื่อเจาของ ยักโขโมรานี้ ฝกเขาแขนออนปน สนั่นสนิทเนื้อ สองงามงามไสว หนึ่งชอพระสมุทร หมอนทองพองนามกัน ทุเรียนรูปโปงโลง รูปรัดไมเรียวรี ทุเรียนชื่อสายหยุด สีลานตนเสลา หนึ่งชื่อนกกระจิบ กานยาวผลยอยยาน นางเปดรูปคลายเปด พรรณหนึ่งชื่อแมลง ทุเรียนชื่อมีหลาย นักเลงเลนตัดพู

จนหมดมือซื้อสาวสวรรค ตองวิโยคจึงจาบัลย นางชมภูดูสดใส ใครไมเคยพบแคลงใจ ไมมีเพาะเสาะสืบพรรณ แดงตาสานางเขียนมัน นางกระทอนออนละมุน ทั้งสองชื่อเห็นเฉียวฉุน ยวงใหญหนานาพิศวง เปนตนเคาอันใหญยง แดงชางเขียนทุเรียนจร ทุเรียนหนึ่งนามมังกร เพราะเหลืองออนดุจสีงา โดยรสชาติก็โอชา เทียบดวยสีมาลีสอง สีประไพเหลืองเรืองรอง ปลากาโหเทโพผล สองชื่อชี้ดูชอบกล นางปากทองธรณีไหว ผลโตเหลือยิ่งใครๆ ผลนาชมนมสวรรค อีกลมุดรสหวานมัน กับมะมวงหมอนทองมี เรียกหอยโขงเขียวขจี อีกหอยขมกลมกลอมเยาว เรียกสมมุตดวยกลิ่นเกลา สีนวลหลายคลายสีลาน ผลหามดิบดูตระการ อีกยวงปลิ้นกลิ่นฉุนแรง ทายเพ็ดๆ เรื่อสีแดง ปองทายงอนชอนเชิดชู แยกขยายออกใหดู เขามักรูรูปพรรณ


๒๐๐

เพราะเขาเคยสังเกต จึงกลามาพนัน

ผลพูเภทเหตุสําคัญ ชนะกันดวยแมนหมาย ฯ

ภายหลังชาวสวนทุเรียนใชวิธีตอนกิ่งปลูก เพาะเมล็ดนอยลง ก็คงเลือกเฉพาะพันธุที่ดีและมีคนชอบ พันธุเกาๆ คงสูญหายไป เวลานั้น (๒๕๐๖) มีพันธุทุเรียนเกือบ ๒๐๐ พันธุ ระยะเวลาจากนั้นราว ๘๐ ป มีเพิ่ม มากขึ้นกวา รอยพันธุเศษ ทุเรียนในยุคนั้น (บันทึกไว ๒๕๐๖) ไดแก ทุเรียนที่เพาะพันธุจากเมล็ดกบ กบแมเฒา เพาะจากเมล็ดการะเกตแมเฒา ซงกลายมาเปนตนตระกูลของกบ กบพวง เพาะจากเมล็กกบแมเฒา เปนพวงผลใหญ เมล็ดลีบตาย รส เนื้อ เหมือนกบแม เฒา กบเล็บเหยี่ยว เพาะจากกบแมเฒา คลายกบแมเฒาเกือบทุกอยาง แตผลใหญมาก เนื้อหนาสี เหลืองจัด รสมันมากกวาหวาน เปนทุเรียนที่อยูในความนิยม กบบุนนาค นางพลอยชาวบางกรวย เพาะไดเนื้อสีแดงผลเขื่อง รสดี กบตาขํา นายขําเพาะจากเมล็ดกบ เนื้อสีแดงหนา รสดี กบตาเหม หรือกบเหมราช วานายเหมเพาะขึ้นมา ปลูกงาย โตเร็ว ผลและรสดี กบทองกอน ปลูกงาย เนื้อเหลืองละเอียดดก หวานมัน กบขุนแผน เนื้อเหลืองจัด กบพระไว หลวงชินเชี่ยววิทยเพาะขึ้นมา เนื้อเหลืองลูกจันทน หนา รสดี กบงอย คนงอยเพาะได สีเนื้อและรสอยางกบแมเฒา เมล็ดลีบเนื้อมาก กบเจาคุณ คือเจาคุณดําเกิงฯเพาะ ผลใหญ รสอยางกเล็บเหยี่ยว แตสีเนื้อออนกวา ย่ําแพะ บิดาเจาคุณดําเกิง ฯ เพาะสีเหลืองจัด เนื้อหนา รสหวานมัน สุดสาคร เพาะจากเมล็ดกบตาขํา เนื้อรสดีกวาตนเดิม เก็บไวไดทน กบพลายชุมพล เพาะจากเมล็ดกบตาขํา เนื้อสีแดงหนา รสดี ดก ปลูกงาย ฉัตรทอง เพาะจากเมล็ดกบตาบุญ ผลขนาดกลาง สีเหลืองจัด ดก รสดี กบตาแจม เนื้อสีหัวขมิ้นชัน ผลโต ดก เปนที่นิยมมาก กบยายพลับ เพาะจากเมล็ดทองยอย แตผลและหนามเปนกบ เนื้อสีเหมือนกบเล็บเหยี่ยวแตมี สีชมพูปนแสดวิ่งผาน เมล็ดเล็ก เนื้อมาก ดก ผลขนาดกลาง รสดีอยางกบแมเฒา กบตานอม ปลูกงาย เนื้อเหลือง จัดอยูในความนิยมมาก ตานอมเปนผูเพาะ กบลอยน้ํา ชื่อจริงยังไมมี กิ่งตอนลอยตามน้ํามา ใบลักษณะเปนกบเล็บเหยี่ยว คาดวาตอไป จะเปนชื่อกบเฉลิมพล เพราะพระเจาวรวงศเธอพระองคเจาเฉลิมพลฯ เสวยวารส ดีนัก จอมโยธา ผลใหญมาก เนื้อสีแดง ดก ขนาดกลาง เปนทุเรียนเกา


๒๐๑

กบทองคํา กบชมภู

เนื้อเหลืองจด ปลูกออกผลเร็ว ผลใหญยาว หนามเขียวเนื้อสีเหลือง ผลหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม ขนาดปบ เนื้อละเอียด รสพอใช ไมหวานแหลม ไมดก

ทุเรียนที่เพาะพันธุจากเมล็ดทองยอย ทองยอยฉัตร เปนที่นิยมอยางกวางขวาง ผล เนื้อ รสดี นมสวรรคหรือสาวสวรรค วาเกิดพรอมทองยอยฉัตร เนื้อสีจัดกวาดอกการะเกต รสดี ปลูกงาย ตนแกดกกวา ทองยอยฉัตร สินธุสมุทร ดกเนื้อสีขมิ้นชัน เนื้อมาก ฉัตรเงิน ใบคลายฉัตรทอง เนื้อสีเหลืองจัด ดก เนื้อหนารสดี ปลูกงาย นายบุญชาวตลิ่งชัน เปนผูเพาะคูกับฉัตรทอง เจาของเดียวกัน พวงฉัตร คุณยายเชื่อม บางขุนนนท เพาะจากเมล็ดทองยอยฉัตร ผลขนาดกลางเปนพวง ดก สีเนื้อดีกวาตนเดิม เนื้อหนารสเหมือนตนเดิมและเปนที่นิยม ฉัตรสีนาค นายนาคเพาะจากเมล็ดทองยอยฉัตร เปนที่นิยมกันมาก ดีกวาตนเดิมมาก ทั้งรส เนื้อ สี ดก และรวงใหญ ฉัตรสีทอง เพาะจากเมล็ดทองยอยฉัตร เจาของเดียวกับฉัตรสีนาค คุณภาพคลายฉัตรสีนาค แตสีเนื้อออนกวา ชมพูนุท นายนุชเพาะจากเมล็ดทองยอยฉัตร สีแง ดก รสดี เปนที่นิยม ทองสวาท นายหวาดบานตลิ่งชันเปนผูเพาะ เนื้อสีทองเหลืองเขม ปลูกงาย ดก รสดี อยูใน ความนิยม ทองยอยสีนาค นายอู สอนโชติ บานบางคอแหลมเพาะ ปลูกงาย ดก เนื้อสีทองแดงออน รสดี ธรณีไหว ผลขนาดกลาง เนื้อสีเหลืองจัดคอนขางแดง เนื้อหนาเปนทุเรียนพันธุดีพันธุหนึ่ง สีสุก เพาะจากเมล็ดทองยอยฉัตร เนื้อสีแดงเปลือกของผลและตนสีเขม นกยิบ ใบคลายทองยอยฉัตร ผลขนาดกลาง ดก เนื้อสีแดงอยางบอนนกยิบ กลิ่นและรส อยางเดียวกับกานยาว แดงรัศมี นายเย็นเปนผูเพาะ เกิดที่วัดสัก เนื้อสีแดง มีรัสมี เนื้อหนารสดี ปลูกงาย หวานมัน เปนที่นิยม ทับทิม เนื้อสีแดงอยางทับทิม ผลขนากลาง ดก หนามเล็ก พูงาม เนื้อละเอียด รสดี แตรวง ไมโต เปนที่นิยมโดยทั่วไป ทุเรียนที่เพาะจากพันธุกานยาว กานยาว เพาะจากเมล็ดทองสุก เปนไมตนตระกูล


๒๐๒

ศรีสุวรรณ สีเนื้อจัดกวาตนเดิม กานสั้นกวา ดก ผลโต รสเทาตนเดิม นิยมกันมาก กานยาววัดสัก เกิดใกลวัดสัก ดีกวาตนเดิมหลายอยางและเปนที่นิยม กานยาวหนามใหญ ผลงามและดกดีเหมือนกานยาว อยูในความนิยมมาก ชมภูภาณ เพาะจากเมล็ดกานยาว ดีกวาตนเดิมหลายประการ อยูในชั้นเยี่ยม กานยาวสีนาค นายเลิศ แหสกุล บานคลองบางซอนเพาะจากเมล็ดกานยาว สีเนื้อเปนสีนาค แต ดีกวากานยาวตนเดิมหลายอยาง และอยูในความนิยมทั่วไป กานยาวบุญยัง ผูใหญยัง บานในคลองวัดสัก เพาะจากเมล็ดกานยาวเดิม ปลูกงาย โตเร็ว ผลงาม สีเนื้อเหลืองจัด เนื้อสวยดี ไมเปยก ไมแฉะ เนื้อละเอียด รสดี ทุเรียนที่เพาะจากพันธุกําปน กําปนขาว กําปนใหญ กําปนเดิม เนื้อสีขาว ละเอียด เปยก รสดี หวานมันจัด ตองกรีดพู เปนตนดั้งเดิม กําปนเหลือง ผูใหญเขียน ปลูกงายโตเร็ว ผล รสดี เปนที่นิยม กําปนแดง ใบยาว มีคุณภาพดีหลายอยาง เนื้อสีเหลืองจัด รสดี ฉีกงาย ปลูกงาย โตเร็ว กําปนแดง ใบปอม เนื้อสีแดง รสดี มันมากกวาหวาน ปลูกงาย โตเร็ว ผลดก กําปนทอง เนื้อเหลืองจัด ผลงามดก รสดี ฉีกงายอยูในความนิยม สุครีพ เนื้อสีแดงหนา รสดี ตะกลวยลูกเล็ก สีเหลืองจัด รสดีกวาชะนี เนื้อมาก เมล็ดลีบเล็ก กําปนสีนาค ผลขนาดกลาง ดก เนื้อสีนาค หนา รสดีหวานมัน ตกผลเร็ว เมล็ดฝอหรือถั่วดํา เมล็ดเล็ก เนื้อคอนขางแดง รสหวานมัน ปลูกงาย เปนที่นิยมกันมาก ตะเฆ ผลงาม ลูกเขื่องยาว ดก เนื้อสีแดงสวยเมล็ดลีบเล็ก ทุเรียนเพาะพันธุจากลวง ลวงเขียว หรือลวงทอดหยด ไมตนตระกูลลวงเกา ลวงทอง เนื้อสีทอง หนามหางและปาน รูจักกันโดยทั่วไป ลวงมะรุม เนื้อสีอยางกบเล็บเหยี่ยว ดก รสดี นิยมปลูกกันมาก ลวงเนื้อแดง เพาะจากเมล็ดลวงมะรุม ผล เนื้อดก รสเหมือนลวงมะรุม เหลืองสมปอย ดก ดีมาก รสเนื้อเหมือนลวงทอง ละเวง ผลรูปรางคลายแหมมนุงกระโปรง สีเนื้อรสคลายกานยาว ย่ํามะหวาด ไมเกา รสดี ราคาผลก็ดี


๒๐๓

ชมพูศรี ชะนี สีชมพู

เนื้อเปนสีชมพู ปลูกงาย ดก รสดี ผลใหญดก เปนไมที่มีคุณภาพดี เปนที่รูจักกันมาก เพาะจากเมล็ดชะนี เนื้อเปนสีชมพู มีคุณภาพดี

ทุเรียนพันธุเบ็ดเตล็ด ที่กลาวนี้ ไมทราบวาเพาะจาดเมล็ดพันธุอะไร เชน การะเกตแมเฒา ผลใหญคอนขางยาว สีเปลือกเขียว ปลูกงาย รสดี เปนทุเรียนหนักที่ดีพันธุหนึ่ง การะเกตสีนาค ผลขนาดกลาง สีเนื้อเปนสีนาค ดก ปลูกงาย เปนทุเรียนพันธุหนัก พวงมาลัย เนื้อสีแดง รสดี ดก ปลูกงาย กระปุกทอง สีเนื้อเหลืองมาก ดก ผลงาม เนื้อหนา รสดี เปนทุเรียนเกา แดงตานอย เพาะจากเมล็ดแดงสาวนอย สีแดง รสดี ดก กลิ่นไมแรง ปลูกงาย กระดุมทอง ผลกลมเล็ก เนื้อเหลืองออน ทุเรียนพันธุเบา กบสาวนอย ผลคอนขางยาว เนื้อเหลือง รสเนื้อดี พันธุกลาง ดกมาก หมอนทอง ผลยาวใหญ เนื้อสีเหลืองออน พันธุหนัก ชายมะไฟ ผลยาวใหญมาก บางคนวาใหญที่สุดเนื้อสีเหลืองจัดสวยมากพันธุกลาง ขายได ราคา แดงตาเผื่อน ผลกลมใหญ เนื้อสีเหลือง พันธุกลาง ตุมทอง ผลยาว เนื้อสีจําปา เมล็ดเล็กหนามถี่ ดกมากที่สุด พันธุกลาง ดาวกระจาย ผลกลม เนื้อสีเหลือง เปลือกนอกสีคอนขางแดง เปลือกบางมาก พันธุกลาง บางขุนนนท ผลกลม เนื้อสีเหลืองดก เปนทุเรียนพันธุเบา ทองแดง ผลคลายบางขุนนนท เนื้อสีเปลือกตะโกสุก รสดี ดก กะเทย เนื้อสีลาน เนื้อมาก เมล็ดมักตาย


๒๐๔

เรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทุเรียน ทุเรียนผลที่ใหญมากคือ พันธุชายมะไฟ รองลงมาคือ ทองยอยฉัตร กะเทย หมอนทอง ธรณีไหว และ แดงตาเผื่อน ทุเรียนที่มักเปนกะเทย คือ กระดุมทอง ชะนี ชื่อทุเรียนพันธุตางๆ มักเพาะจากพันธุหลัก ไดแก กบ กําปน กานยาว ทองยอย การะเกต และลวง การตั้งชื่อ -ตั้งตามผูที่เพาะขึ้น เน กบตาขํา กบยายพลับ กบเจาคุณ กบตานอย กานยาวบุญยัง เปนตน -ลักษณะของผล เนื้อ เมล็ด หนาม เชน กบเล็บเหยี่ยว กะเทย กานยาว -ถิ่นที่เพาะ เชน กานยาววัดสัก -สีของเนื้อ เชน กําปนสีนาค ชมพูสี กบชมพู กานยาวสีนาค -ที่ๆเกิด เชน ชายมะไฟ นางปากทอ ชายมังคุด -ชื่อตามเมล็ดของตนเดิม เชน ทองยอยฉัตร ทองยอยสีนาค กําปนเหลือง กําปนแดง การแบงประเภทของทุเรียน -ทุเรียนเบา อายุประมาณ ๔-๖ ป ก็ตกผล ไดแก พันธุ ลวง กระดุมทอง ชมพูศรี -ทุเรียนกลาง คืออายุ ๖-๘ ป จึงตกผล ไดแก พันธุ กานยาว กบตางๆ ฉัตรสีนาค -ทุเรียนหนัก คือ อายุ ๘ ป จึงตกผล ไดแก พันธุ กําปน อีหนัก หลักการเพาะทุเรียนคือ ปลูกงาย เรือนตนดีไมทิ้งกิ่ง ตกผลเร็ว ดกตั้งแตสาวจนแก ไมมีโรคมา รบกวน ผลโต เปลือกไมหนา ลักษณะของผลสวยงาม ตั้งพูงามดีเทาๆ กัน ฉีกงาย เนื้อละเอียด สีของเนื้อ เหลืองหรือแดง ชวนรับประทาน เมล็ดลีบเล็ก เนื้อหนา รวงโต รสหวานมันเทาๆ กัน หาพันธุใหดีครบคงยาก จึงมีการนํามาผสมพันธุกัน ทุเรียนพันธุที่ผูปลูกรุนหลังนิยมปลูกกันมากที่สุด ไดแก กานยาว เพราะเปนทุเรียนที่มีรสดี ขายได ราคาแพงกวาพันธุอื่นๆ เวลานั้นชาวสวนทุเรียนบางกรวยเลาวา ควรปลูกทุเรียนพันธุใด จากประสบการณที่มีมานาน -ควรปลูกทุเรียนที่เลี้ยงงาย ตกผลคอนขางเร็ว ดก ไมรวงงาย รสดี ขายงาย ทรงตนดี ไมทิ้งกิ่ง เพราะ ทุเรียนที่ทิ้งกิ่งงายจะใหผลนอย แนะไวคือ -ชมพูศรี เปนทุเรียนที่อายุ ๕-๖ ปตกผล ปลูกงาย ตนไมสูง ไมทิ้งกิ่ง ผลกลมใหญ ดกมาก เนื้อสีปูน รสหวานมัน เนื้อมาก เมล็ดมักตาย -กบ ทุกสวนตองปลูกกบ ควรเลือกปลูกกบเล็บเหยี่ยว เพราะปลูกไมยาก อายุ ๗-๘ ปตกผล -กานยาว เลี้ยงยาก ทรงไมงาม ทิ้งกิ่งงาย แตเปนที่นิยมมากที่สุด ควรปลูกไวบาง ถาปลูกเปนการคา อยางเดียวไมเหมาะ -กะเทย ทรงตนงาม ปลูกงายโตเร็ว ติดผลงาย (พันธุกลาง) -ชะนี เลี้ยงงาย โตเร็ว ทรงดีไมทิ้งกิ่ง ดกมาก -กระโปรงทอง เลี้ยงงาย


๒๐๕

-ตุมทอง เลี้ยงยากอยูบาง เก็บไว ๕ คืนไมงอมเหลว -ชายมะไฟ ปลูกไมสูยากผลใหญมาก เนื้อหนามาก -ทองยอยเดิม ดีกวาทองยอยพันธุใหมๆ -กําปนจางวางเขียน ปลูกงาย เก็บไวไดทน


ถ น น ร า ช พ ฤ ก ษ ที่ ตั ด ผ า น ก ล า ง ส ว น แ ถ บ ค ล อ ง บ า ง พ ร ม


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.