สำรวจลมหายใจและการท่องเที่ยวบ้านบาตร

Page 1

ชุมชนหัตถกรรมนอกฝั่งพระนคร ย่านวัดสระเกศ : บ้านบาตร นอกฝั่ง พระนครด้ า นตะวั น ออกที่อยู่เ หนื อ คลองมหานาค ซึ่งขุดตั้งแต่สมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกฯ เพื่อเป็นเส้นทางเดินทัพหรือเดินทางมุ่งไปทางภูมิภาคตะวัน ออก โดยเฉพาะกรุงกัมพูชาที่มีสงครามติดพันกันอยู่ตั้งแต่ยุค กรุงธนบุรี บริเวณนี้มีวัดเก่าแก่ก่อนสร้างพระนครคือวัดสะแกหรือ วัดสระเกศในเวลาต่อมา พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหล วงนรินทรเทวี” ข้อ ๑๑ ว่า “ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสระเกศ เอามา กล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่าๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณี กลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่าวัดสระเกศ” วัดสระเกศบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างศาสนสถานขึ้นใหม่เป็น ครั้ง ใหญ่ ใ นครั้ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนั่ง เกล้ า เจ้ า อยู่หั ว ควบคู่กับการบูรณะและสร้างวัดอรุณราชวรารามทางฝั่งธนบุรี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “ภูเขาทอง” ให้คล้ายกับเจดีย์ภูเขาทองใน ทุ่งของพระนครศรีอยุธยา เป็นพระมหาธาตุของเมืองด้านทิศตะวัน ออกและใช้เป็นที่ประชุมเล่นสักวาให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา พิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กอง อีกทั้งใช้เป็นที่พระราชทาน เพลิงพระศพเจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างๆ ทางฝั่งพระนคร ส่วนวัดอรุณราชวราราม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ เป็ น พระมหาธาตุ ข องเมื อ งทางฝั ่ ง ตะวั น ตกและด้ า นแม่ น้ ำ เจ้าพระยาที่คล้ายเป็นประตูเมืองของพระนครอีกด้านหนึ่ง

สำรวจ

และ ก า ร ท่ อ ง เ ที ่ย ว

ลมหายใจ บ้ า น บ า ต ร วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


บ้านบาตร

แผนที่กรุงเทพมหานคร บริเวณย่านบ้านบาตรและวัดสระเกศฯ พ.ศ.๒๔๗๕

พระนครด้ า นตะวันออก ประตูผี และเมรุ ปู น วั ด สระเกศฯ เป็นธรรมเนียมของเมืองแบบโบราณทั่วไปในภูมิภาคนี้ที่จะ ไม่ ยิ น ยอมให้ มี ก ารฌาปนกิ จ ผู้เ สี ย ชี วิ ต ภายในกำแพงเมื อ ง เหตุ ผ ลน่ า จะสื บ เนื่อ งมาจากการดู แ ลรั ก ษาสุ ข อนามั ย ของ ประชากรจำนวนมากที่อยู่ร่วมกันประการหนึ่ง และอีกประการ หนึ่งคือเรื่องความเชื่อในการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างคนเป็นและ

คนตาย การเผาหรือฝังผู้คนที่สิ้นชีวิตไปแล้วหากไม่ใช่พระมหา กษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่สร้างพระเมรุชั่วคราวภายใน เมือง ก็ต้องนำออกนอกเมืองเพื่อจัดการปลงศพตามความเชื่อใน ศาสนาต่างๆ ข้อห้ามดังกล่าวสร้างกฎเกณฑ์และความหลากหลายทาง ความเชื่อในเรื่องทิศทางที่จัดเป็นทิศสำหรับพิธีกรรมแบบมงคล และอวมงคล การกำหนดพื้นที่สำหรับการปลงศพทั้งฝังหรือเผา ที่เรียกว่าป่าช้าที่อยู่นอกเมืองหรือห่างเมือง ซึ่งมีการกำหนดรูป


ภาพซ้าย ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณภูเขาทอง วัดสระเกศฯ ภาพขวา ภาพเมรุปูนวัดสระเกศฯ ที่มา : “วัดสระเกศฯ 438,” ภ.002.2/4, จดหมายเหตุแห่งชาติ

แบบแตกต่างกันไปในระดับ เมือง, หมู่บ้าน หรือกลุ่มบ้าน สำหรับกรุงเทพมหานคร เมื่อแรกสร้างพระนครนั้นมีคูเมืองชั้นในสุดอยู่ แล้ว ซึ่งขุดขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี จึงขุดคูเมืองก่อกำแพงเมืองชั้นแรกใน สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ที่เรียกกันทั่วไปว่าคลองโอ่ง อ่าง-บางลำพูในคราวแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๖ จากบาง ลำพูทางทิศเหนือไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้บริเวณใกล้วัดสามปลื้ม รวมระยะทางราว ๓.๖ กิโลเมตร บันทึกไว้ว่า มีประตูใหญ่ ๑๖ ประตู ประตู ช่องกุด ๔๗ แห่ง และมีป้อมทั้งสิ้น ๑๔ ป้อม ประตูที่นำศพออกนอกเมืองของเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่เรียกันว่า “ประตู ผี” และกำหนดเป็นที่รับรู้กันภายในเมือง “ประตูผี” สำหรับกรุงเทพมหานคร อยู่ทางฝั่งทิศตะวันออก เป็นประตูช่องกุดซึ่งใช้สำหรับผ่านเข้าออกนอกและ ในเมือง ส่วนป่าช้าที่ปลงศพทั้งเผาและฝัง รวมไปถึงการปล่อยให้แร้งจิกกิน ในช่วงที่มีโรคระบาดอยู่บริเวณใกล้วัดสระเกศนอกเมือง แต่การนำศพออกไปปลงศพนอกเมือง นอกจากประตูผีแล้ว หากชาว บ้านชาวเมืองอยู่ทางทิศใดของเมืองก็นำออกนอกประตูเมืองทางทิศต่างๆ ได้ วัดเก่าที่มีป่าช้าอยู่นอกเมืองครั้งแรกสร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ นั้นมีหลายแห่ง เช่น วัดบางลำพู หรือวัดสังเวชวิศยารามทางด้านเหนือ และวัดเชิงเลนหรือ วัดบพิตรพิมุขทางด้านใต้ วัดปทุมคงคาหรือวัดสำเพ็งในชุมชนชาวจีนริม แม่น้ำเจ้าพระยาและวัดสระเกศฯ ทางด้านตะวันออก ต่อมาเมื่อขุดคลอง ผดุงกรุงเกษม เพื่อเป็นคูคลองเมืองชั้นนอกสุดในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว การปลงศพของคนกรุงเทพฯ ก็ยังถือเอาเขต นอกเมืองคูคลองเมืองแต่แรกเริ่มเท่านั้น ไม่ได้ขยายมาถึงคลองรอบเมืองชั้น นอกสุดแต่อย่างใด จึงไม่แปลกที่เราพบว่ามีเมรุเผาศพในเขตพระนครชั้น นอกอยู่ทั่วไปรวมทั้งการฝังศพที่กูโบร์ของชาวมุสลิมที่บริเวณมัสยิดของชุมชน

มหานาคด้วย กล่ า วกั น ว่ า ครั้ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการส่งทัพไปรบทาง กรุงกัมพูชาและเวียดนามตลอดหลายปี และ ต้ อ งใช้ พื้น ที่ท างฝั่ง ตะวั น ออกของพระนคร เป็นการเริ่มต้นเดินทัพ จึงทรงปฏิสังขรณ์วัด สระเกศฯและวัดอรุณราชวราราม ที่วัดสระ เกศฯทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกกุฎีตึก สร้าง ภูเขาทองให้คล้ายกับเจดีย์ภูเขาทองในทุ่งของ พระนครศรี อ ยุ ธ ยาและใช้ เ ป็ น ที่ป ระชุ ม เล่ น สักวา โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาพิ ชั ย ญาติ (ทั ต บุ น นาค) เป็ น แม่กอง อีกทั้งใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระ ศพเจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างๆ และให้ มีพลับพลาสำหรับเสด็จมาพระราชทานเพลิง ศพ สามส้าง โรงธรรม โรงครัว โรงทาน โรง มหรสพ ตลอดจนพุ่มกัลปพฤกษ์ และระทา (หอสี่เหลี่ยมทรงยอดเกี้ยว ใช้สำหรับจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ในพิธี) สำหรับพระบรมวงศานุ วงศ์และขุนนางผู้ใหญ่ และเมรุธรรมดาสำหรับ บุคคลชั้นคหบดีทั่วไป ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนทำด้วยการก่ออิฐถือปูนทั้งสิ้น โดยให้มี การก่ อ สร้ า งอย่ า งปราณี ต สมบู ร ณ์ ยิ ่ ง กว่ า


เมรุปูนของวัดสุวรรณารามทางฝั่งธนบุรีที่เคยเป็นสถานที่ปลงศพ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่มาตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ ๑ เรียกกันว่า “เมรุผ้าขาว” เจ้าพระยาบดินทร์เดชา แม่ทัพคนสำคัญของพระองค์ถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาตกโรคใน พ.ศ. ๒๓๙๓ ก็ปลงศพที่เมรุผ้าขาว วัดสระเกศฯ ในปีนั้นและปีต่อๆ มาแทบทุกรัชกาลคนในพระนครตาย ด้วยโรคอหิวาตกโรคจำนวนมากและนำไปปลงศพที่วัดสระเกศฯ และวัดนอกเมืองอื่นๆ จนบางครั้งเผาไม่ทันกลายเป็นต้องทิ้งให้ แร้ ง ลงจิ ก กิ น ซากศพ กลายเป็ น สถานที่ซึ่ง ชาวไทยและต่ า ง ประเทศอ้างอิงถึงคำว่า “แร้งวัดสระเกศฯ” ด้วยภาพอันน่า สยดสยองเมื่อมีซากศพและแร้งลงมาจิกกิน ผู้คนหวาดเกรงและ ปรากฏในภาพที่ชาวตะวันตกถ่ายรูปไว้รวมทั้งบันทึกไว้มากมาย ที่บริเวณป่าช้าและเมรุในบริเวณนี้สืบเนื่องกันตลอดมา เส้ น ทางการนำศพออกนอกเมื อ งจึ ง ถู ก เรี ย กติ ด ปากว่ า “ประตูผี” ซึ่งไม่ใช่ประตูเมืองใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของพระนคร ที่อ ยู่ใ กล้ เ คี ย งคื อ ประตู ส ามยอดที่เ ป็ น ประตู ใ หญ่ ใ กล้ ป้ อ มหมู ทะลวง มีการนำศพผ่านทั้งทางบกและทางท่าเรือวัดสระเกศฯ แล้วนำขึ้นถนนมายังเมรุดังกล่าวที่ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนอย่าง ถาวรและเรียกกันติดปากว่า “เมรุปูน” ต่อมาเมื่อสร้างถนน บำรุงเมืองในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นถนนแบบสมัยใหม่ที่ใช้ในเชิงเศรษฐกิจเพราะมีการปลูก

ตึกแถวให้เช่าเพื่อทำการค้าด้วย การตัดผ่านของถนนเส้นนี้ ทำให้เขตพุทธาวาสและสังฆาวาสของวัดสระเกศฯกับบริเวณเมรุ ปูน แยกออกจากกันคนละฝั่งถนน และสภาพเมรุปูนของวัดสระ เกศฯชำรุดทรุดโทรมไม่ได้มีการบำรุงรักษามากนัก ในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี กฎหมายเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๑๘ ห้ามไม่ให้คนกรุงเทพฯ ทิ้งซาก สั ต ว์ บ นถนน ข้ า งบ้ า น และข้ า งกำแพงเมื อ ง ในยุ ค ที ่ กรุ ง เทพมหานครกำลั ง ปรั บ ตั ว เข้ า สู่ยุ ค สมั ย ใหม่ แ ละมี ก าร สาธารณสุขแบบตะวันตก ซึ่งเป็นนโยบายที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ ๔ การกำจัดโรคโดยเฉพาะอหิวาตกโรคที่แพร่ระบาด อยู่บ่อยครั้งเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ ในรัชกาลนี้เองที่ให้สร้างเมรุหลวงอิศริยยศ ณ วัดเทพศิรินท ราวาส มีพระราชประสงค์จะให้ปลงศพได้ทุกชั้นบรรดาศักดิ์ จึง เปลี่ยนเมรุหลวงจากวัดสระเกศฯมาเป็นวัดเทพศิรินทร์ฯ อย่าง เป็นทางการจนถึงปัจจุบัน สมั ย รั ช กาลที ่ ๕ ทรงมี พ ระราชประสงค์ ร ื ้ อ ประตู สำราญราษฎร์หรือประตูผีและแนวกำแพงเมือง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เพื่อขยายแนวถนนให้รับกับสะพานสมมตอมรมารคที่ สร้างไว้อย่างงดงามเป็นสะพานเหล็กแบบเลื่อน และเป็นการ พัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ พระองค์ทรงซื้อที่ดิน ตามแนวขยายถนนที่ประตูผี โดยรื้อถอนโรงแถวของเดิมออกไป

เมรุปูนวัดสระเกศฯ สภาพทรุดโทรมในช่วงรัชกาลที่ ๔


สำรวจลมหายใจ และการท่ อ งเที ่ย วบ้ า นบาตร

ภาพบน ท่าเรือเมรุปูนวัดสระเกศฯ จากคลองโอ่งอ่าง ภาพลายเส้นโดย คาร์ล ดอร์ริงห์ ภาพล่าง แผนที่บริเวณบ้านบาตร เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๐ ยังคงเห็นเมรุปูนตั้งอยู่อีก ฝั่งหนึ่งของถนนบำรุงเมือง

พั ฒ นาบริ เ วณนี ้ ใ ห้ เ ป็ น ย่ า นธุ ร กิ จ การค้ า ที ่ ต่ อ เนื ่ อ งจากแยกเสาชิ ง ช้ า ผ่ า นแยก สำราญราษฎร์ สะพานสมมติอมรมารค ผ่าน เมรุปูนวัดสระเกศฯ ออกนอกเมือง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่หั ว โปรดเกล้ า ฯ มี การนำเข้าเตาเผาศพทันสมัยที่สั่งซื้อจากต่าง ประเทศมาติดตั้งและปรับปรุงที่เมรุปูนวัดสระ เกศฯ โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาริศรานุวัดติวงศ์ และยังให้มีการจัดตั้งการประปาที่ แยกแม้นศรีที่ต่อเนื่องกับชุมชนบ้านบาตรและ เมรุปูน วัดสระเกศฯ ในปีต่อมา ซึ่งการ ปรับปรุงสุขอนามัยและระบบสาธารณสุขดัง กล่าวเป็นพระราชดำริมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ จนถึงราว พ.ศ. ๒๔๖๗ Karl Dohring ชาวดัตช์ยังคงวาดภาพลายเส้นเมรุปูนวัดสระ เกศฯที่ไม่ได้ถูกรื้อถอนหรือแตกต่างไปจากที่ เคยเห็นในภาพถ่ายครั้งรัชกาลที่ ๕ มากนัก เมรุปูนที่วัดสระเกศฯ ที่ใช้สำหรับปลงศพ พระราชวงศ์ ผู้มีฐานะ คงหมดความนิยมไป เนื่องจากมีสถานที่อื่นๆ ทั้งเมรุหลวงที่วัด เทพศิรินทร์ฯ และฌาปนสถานอื่นๆ อีกมาก มีบันทึกไว้ว่า เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๔ เริ่มมี การจั ด การศึ ก ษาประชาบาลขึ้น ในจั ง หวั ด พระนครและธนบุรี โดยการริเริ่มของพระยา เพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ได้กราบทูลขอใช้สถานที่ เมรุปูน วัดสระเกศฯ จากสมเด็จเจ้าฟ้ากรม พระยานริ ศ รานุ วั ด ติ ว งศ์ ม าแก้ ไ ขดั ด แปลง ซ่อมแซมใช้เป็นอาคารเรียน จนกลายเป็น “โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านบาตร ๑” ต่ อ มาได้ ส ร้ า งโรงเรี ย นอาชี พ ช่ า งเหล็ ก แล้วจัดสถานที่บริเวณเมรุปูนนี้เป็นใช้อบรม วิชาต่างๆ แก่ครูประชาบาลรวมทั้งมีการจัด สอบเลื่อนวิทยฐานะด้วย ความสืบเนื่องนี้ต่อ มากลายเป็น “ฌาปนสถานของคุรุสภา”


การก่อสร้างหอส่งน้ำประปาของพระนครที่มา : ภาพส่วนบุคคลของบาทหลวงมิเชล ดิดิเออร์ (Michel Didier) หลานของ เฟอร์นาน ดิดิเออร์ (Fernand Didier) นายช่างชาวฝรั่งเศสผู้สร้างการประปาของกรุงเทพฯ

ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวก็ใช้เป็นแหล่งมหรสพ เช่น วิกลิเกเมรุปูน อันโด่งดังของพระนครในยุคสมัยหนึ่ง จนทางวัดสระเกศฯ มอบสถานที่ให้เป็นที่ตั้งของ “โรงเรียนช่างไม้วัดสระเกศฯ” และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงตั้งขึ้นเป็น “โรงเรียน สารพัดช่างพระนคร” และ “วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร” ตามลำดับ คนบ้านบาตร

หมู ่ บ ้ า นบาตรด้ า นทิ ศ เหนื อ ตั ้ ง อยู ่ ต ิ ด กั บ “คลอง บ้านบาตร” เป็นแพรกที่แยกออกมาจากคลองโอ่งอ่าง อีกฝั่ง หนึ่งติดกับเมรุและป่าช้าวัดสระเกศฯ เป็นหมู่บ้านที่ทำงาน หัตถกรรมตีบาตรพระมาตั้งแต่ต้นกรุง ด้านหนึ่งติดกับถนน บริพัตรและต่อเนื่องกับวังบ้านดอกไม้ของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งอยู่ติดกับชุมชนที่มี ย่านทำดอกไม้เพลิงแบบโบราณคือ “หมู่บ้านดอกไม้” ซึ่งเป็น หมู่บ้านผลิตและขายดอกไม้ไฟ อยู่ไม่ไกลจากเมรุหลวงวัด สระเกศฯฯ มีช่างดอกไม้ไฟที่มักจะใช้ในงานพระบรมศพหรือ งานเมรุที่มีมาแต่ครั้งต้นกรุงฯ แล้ว เป็นการประดิษฐ์ดอกไม้ เพลิงแบบโบราณ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับทางถนนวรจักรและถนน หลวงและยังมีบ้านที่ทำดอกไม้ไฟแบบเก่าสืบต่อมาอยู่บ้างที่ ชุมชนนี้จนถึงปัจจุบัน บริเวณส่วนที่ต่อมาจากเมรุปูนคือ “การประปาแม้นศรี” ซึ่ง การประปานั้น แรกตั้ง ในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว พ.ศ. ๒๔๕๒ ให้กรมสุขาภิบาล รับผิดชอบเพื่อหาน้ำสะอาดใช้สำหรับพระนคร โดยใช้นาย ช่างชาวฝรั่งเศส โดยสร้างที่สี่แยกแม้ศรี แต่มาสร้างสำเร็จใน ช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น สำนักงานการประปากรุงเทพฯ ซึ่งเปิดเป็นทางการเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ บริเวณเหนือสี่แยกแม้ศรีที่เป็นสะพานแม้นศรี สร้างข้าม คลองย่อยที่แยกออกจากคลองมหานาคเข้ามาพื้นที่ภายใน ด้านเหนือคลอง ชื่อ “แม้นศรี” มาจากชื่อหม่อมแม้น ธิดา เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นหม่อมใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรม พระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หรือ “สมเด็จวังบูรพา” เมื่อ หม่อมแม้นถึงแก่อนิจกรรมมีพิธีกรรมจัดใหญ่มาก และมีผู้ สมทบเงินช่วยงานศพจึงนำเงินนั้นมาสร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ หม่ อ ม แม้น สะพานนี้เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ตั้งชื่อสะพานเป็นอนุสรณ์แก่หม่อมแม้นว่า “สะพาน แม้นศรี" บริเวณนี้เคยมีชุมชนชาวทวาย เพราะเป็นกลุ่มที่อพยพ เข้ามาครั้งสงครามในรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกฯ เมื่อครั้งสงครามตีเมืองทวายราว พ.ศ. ๒๓๓๐ ช่วง แรกโปรดเกล้าฯ ให้ชาวทวายกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ นอกป่าช้าวัดสระเกศฯ นอกพระนครกลุ่มหนึ่งที่เรียกกันว่า


ช่างทำบาตรที่บ้านบาตรในปัจจุบัน

“ตรอกทวาย” จนถึงปัจจุบัน และกลุ่มที่อยู่ภายในกำแพงพระนครตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณตรอกข้างวัดมหรรณ์ฯ หลังโบสถ์พราหมณ์อีกกลุ่มหนึ่ง ภายหลังใน รัชกาลเดียวกันให้ย้ายกลุ่มชาวทวายที่ตรอกทวายเหนือป่าช้าวัดสระเกศฯ ไป อยู่ที่ท างฝั่ง ใต้ น อกพระนครบริ เ วณวั ด คอกควาย ซึ่ง ต่ อ มามี ก ารบู ร ณะ ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในครั้งรัชกาลที่ ๓ จนได้ชื่อวัดยานนาวาเรียกชื่อสืบกันมา อย่างเป็นทางการว่าอำเภอบ้านทวายและเปลี่ยนเป็นอำเภอยานนาวาในภาย หลัง ดังที่ทราบกันดีว่า หมู่บ้านรอบพระนครและภายในพระนคร หากไม่ใช่ บ้านเรือนของขุนนางและครอบครัวที่รับราชการขึ้นต่อวังและมูลนายต่างๆ ก็ จะเป็นกลุ่มคนจีนที่เข้ามาทำการค้าอาศัยอยู่ตามตึกห้องแถวต่างๆ หรือย่าน ตลาดในกลุ่มย่านสำเพ็งและถนนเยาวราชและอื่นๆ ส่วนกลุ่มผู้คนส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยเป็นชุมชนหมู่บ้านจะมีอาชีพทำงาน หัตถกรรมพื้นฐานค้าขายแก่ผู้คนตามความเหมาะสมแก่ชีวิตในช่วงยุคสมัย นั้นๆ เช่น ทอผ้าขาย ทำพานเงิน ทำเครื่องจักสาน ทำบาตรพระ ทำเครื่อง ทอง ตีทองคำเปลว ทำโอ (ภาชนะใส่ของ) ทำสายรัดประคด ก่ออิฐถือปูน ฯลฯ หลายกลุ่ม บ้ า นสื บ เชื้อ สายและงานช่ า งฝี มื อ มาจากชาวบ้ า นชาวเมื อ งที่ถู ก อพยพเข้ามาเติมผู้คนในกรุงเทพมหานครช่วงต้นกรุงฯ คือครั้งรัชกาลที่ ๑ เช่น คนเชื้อสายเขมร เชื้อสายทวาย เชื้อสายมลายู เชื้อสายญวน และมีเป็นจำนวน มากที่เข้ามาครั้งรัชกาลที่ ๓ คือ เชื้อสายลาว เชื้อสายมลายู เชื้อสายญวน ชาว เมืองพัทลุงที่เป็นไพร่หลวงเกณฑ์บุญ ฯลฯ ส่วนใหญ่ได้รับพระราชทานที่ดิน เพื่อตั้งบ้านเรือน ศาสนสถานประจำชุมชนเป็นหมู่บ้านต่างๆ ปรากฏให้เห็นชัด ส่วนหนึ่งได้รับราชการกลายเป็นช่างหลวงสังกัดกรมกองต่างๆ ดังเช่นช่างทอง เชื้อสายมลายูมุสลิม ช่างทำพานหรือเครื่องเงินเชื้อสายลาว ในกลุ่มเหล่านี้จะ

จะไม่ถูกควบคุมในการเกณฑ์แรงงานมากนัก และสามารถเติบโตทางสังคมรับราชการได้ บรรดาศักดิ์ ขึ้นกับเจ้านายและขุนนางระดับ สูงวังต่างๆ เรียกว่า “ช่างเชลย” มาแต่ก่อน ส่วนช่างทำบาตรก็เป็นหนึ่งในงานช่าง หลวง เช่น ในครั้งรัชกาลที่ ๔ มีบันทึกไว้ใน “พระราชบัญญัติเรื่องการไถ่ตัวไพร่หลวงเป็น ทาส” กล่าวถึงช่างหลวงมีช่างต่างๆ ลำดับ ดังต่อไปนี้ “หมู่ไพร่หลวงซึ่งเป็นช่างคฤหัสช่างทหาร ใน ช่างเขียน ช่างปั้น ช่างรัก ช่างปูน ช่าง แกะ ช่างกลึง ช่างหุ่น ช่างหุงกระจก ช่างบุ ช่างหล่อ ช่างแผ่ดีบุก ช่างเหล็ก ช่างเรือ ช่าง ดอกไม้เพลิง ช่างสลักหนัง ช่างชาดสีสุก ช่าง ฉลองพระบาท ช่างเลื่อยงา ช่างฟอก ช่างทำ ยอนพระกรรณ์ ช่างบาตร ช่างประดับกระจก ช่างปิดกระจก ช่างดัดต้นไม้ ช่างเหลารางปืน ช่างเงิน ช่างทอง ช่างมุก ช่างย้อมผ้าสีขี้ผึ้ง ช่างต่อฝาบาตร ช่างเขียนน้ำกาว ช่างสาน ช่ า งคร่ ำ ช่ า งทอสายคั ม ภี ร์ ช่ า งทำฝั ก พระแสง ช่างสานพระมาลา ช่างทำกรรไกร ช่างชำระพระแสง ช่างฟันช่อฟ้าหางหงส์”


บ้านเรือนที่บ้านบาตรเมื่อกว่า ๕๐ ปีที่ผ่านมา จนถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบ “ช่างหลวง” ที่แยกกันอยู่คนละ หมวดละกอง หรือต่างกรมกัน มาแต่โบราณนั้นเสียใหม่ เพราะไม่มี ผู้บังคับ บัญชาและแยกกันอยู่ ต่อมาจึงให้ขึ้นกับ “กรมวัง” เสียที่เดียว ช่างบาตรก็เป็นหนึ่งในกลุ่มช่างหลวงที่สังกัด “กรมวัง” ดังกล่าว (การ ปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๘โปรดเกล้าฯ ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ ปฏิบัติราชการในพระราชสำนัก ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่า กรมวัง หรือ จตุสดมภ์ กรมวัง เป็นกระทรวงมีชื่อว่า กระทรวงวัง ซึ่งคือสำนักพระราชวังในเวลา ต่อมา) โดยผู้อยู่อาศัยที่หมู่บ้านบาตรนั้น บางท่านก็เป็นช่างบาตรหลวงก็มี ส่วนช่างอิสระที่ตีบาตรขายโดยเอกเทศ แต่ขึ้นอยู่กับมูลนายท่านต่างๆ นั้นมี อยู่โดยมาก แม้จะเป็นหนึ่งในงานช่างหลวงที่ถูกรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่และ กรมกอง แต่ก็ถือเป็นชาวบ้านกลุ่มใหญ่ที่เป็นไพร่สังกัดมูลนายแต่ก็เป็นผู้คน ในหมู่บ้านที่ทำบาตรค้าขายอย่างอิสระตลอดมาน่าจะตั้งแต่ช่วงต้นกรุงฯ จนถึงปัจจุบัน ในเอกสารสารบาญชีส่วนที่ ๓ และ ๔ ราษฎรในจังหวัด คูแลคลอง ลำปะโดง สำหรับเจ้าพนักงานกรมไปรสนีย์กรุงเทพ ตั้งแต่จำนวนปีมะแม เบญจศก จุลศักราช ๑๒๔๕ หรืออยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๒๖ หรือในราวช่วง กลางรัชกาลที่ ๕ มีผู้คนที่อยู่อาศัยริมคลองบ้านบาตรและมีอาชีพทำบาตรอยู่ หลายบ้าน เช่น นายจิต บุตรขุนศรีพยุห ขึ้นหลวงยุทการบัญชา, อำแดงจ๋อง บุตรขุนทิพ, อำแดงค่าง บุตรพระยาบำเรอ, อำแดงเอม บุตรนายชุ่ม

ส่วนบริเวณหมู่บ้านบาตรที่ไม่ได้ติดริมคลอง บ้านบาตรที่ทำบาตรเช่นกัน เช่น นายหล้า เป็นหลวงฤทธามาด ขึ้นพระยาราชโยธาใน พระราชวังบวร ตีบาตรขาย, อำแดงนิน บุตร หมื่นพิ​ิจ สมุหบาญชีช่างบาตร ตีบาตรขาย, นายกลับเป็นหมื่นวิสูตรโยธา สมุหบาญชี ขึ้น พระยาภูธราไภย ตีบาตรขาย, อำแดงมาม่าย ตีบาตรขาย, นายนิ่มขึ้นพระยาไภยรนฤท ตีบาตรขาย, อำแดงมีม่าย ตีบาตรขาย, อำแดงจ้อยม่าย ตีบาตรขาย, นายภักขึ้น พระรายาราชโยธา ในพระราชวั ง บวรฯ ตีบาตรขาย, นายยิ้มเป็นหมื่นจิตรสมุหบาญชี ขึ้นพระประดิตนิเรศจางวางช่างทหารในยวน ตีบาตรขาย, อำแดงหนูม่ายตีบาตรขาย, อำแดงขาว ตีบาตรขาย, นายโพ เป็นสาระวัต ขึ้นพระยา มหามนตรี ตีบาตรขาย, นายจุ้ย เป็นหมื่น เทพขึ้นกรมวังช่างบาตร ตีบาตรขาย, นายขุน เนนเป็นขุนปราบขึ้นเจ้ากรมทหาร ตีบาตร ขาย, นายนุด บุตรขุนโส ขึ้นกรมพระบำราบ ประปักษ์ ตีบาตรขาย, นายจ้อย ขึ้นพระองค์ เจ้าประเสริฐศักดิ์ ตีบาตรขาย, นายโลขึ้น พระองค์เจ้าชายดำ ตีบาตรขาย, นายหุ่นขึ้น ขุนโล่กรมช่างบาตร ตีบาตรขาย, อำแดงเย็น ตีบาตรขาย, นายบุญเป็นขุนโล่ขึ้นกรมวัง ตีบาตรขาย, นายรอดเป็นมหาดเล็ก ตีบาตร ขาย, อำแดงชะมด บุตรขุนโล่ ตีบาตรขาย, อำแดงทิม ตีบาตรขาย, นายฤษขึ้นกรมวัง ตีบาตรขาย, นายเอี่ยม สาระวัตบ้านบาตร ตีบาตรขาย ชาวบ้านบาตรในปัจจุบันคงสืบเชื้อสาย มาจากชาวบ้ า นบาตรที่ป รากฏรายชื่อ ดั ง กล่าวตั้งแต่สมัยครั้งรัชกาลที่ ๕ แต่ก่อนหน้า นั ้ น ไม่ มี ห ลั ก ฐานอื ่ น ใดกล่ า วว่ า จะเป็ น ชาติพันธุ์อื่นใดที่ถูกอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามา เป็นไพร่พลเมืองในพระนครหรือไม่ เพียงแต่ สังเกตได้ว่า ในรายชื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ผู้ตี บาตรขายมีทั้งที่เป็นขุนนางในสังกัดกรมวังที่ เป็นช่างตีบาตรหลวง มีขุนนางระดับหมื่นที่ ทำงานเป็ น สมุ ห บาญชี แ ละตี บ าตรไปด้ ว ย


สองสามคน แต่ผู้ประกอบการมีที่เป็นฝ่ายหญิงเสียมากกว่า สัดส่วนของฝ่ายชาย ในสังคมที่ฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดการ ควบคุม และสืบงานช่างงานฝีมือประจำกลุ่ม การทำบาตรต้องใช้แรงงาน จำนวนไม่น้อยในการทำบาตรขั้นตอนต่างๆ ทุกกระบวนการดู เป็นงานหนักกว่างานช่างอื่นๆ ตั้งแต่การนำเหล็กแผ่นมาขึ้นรูป และตี ต ามวิ ธี ก ารต่ า งๆ ไปจนถึ ง เชื่อ มให้ เ ป็ น ชิ้น เดี ย วกั น กระบวนการเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้แรงงานทำกันภายในครอบครัว การตีบาตรพระจึงต้องใช้พื้นที่ตั้งเตาเพื่อเร่งความร้อน มี การไหว้เตาเผาเหล่านี้แทบทุกบ้าน เพราะถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ มีครูประจำเตาอัดสูบแรงดันเพื่อเร่งไฟและสูบชักขึ้น ในกลุ่มช่าง แบบดั้งเดิมที่ทำงานช่างเกี่ยวกับเตาสูบเร่งแรงดันพบทั่วไปใน กลุ่มช่างตีเหล็กทั้งในกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมในระดับชนเผ่าและที่ สืบเนื่องตลอดมาจนถึงในช่วงประวัติศาสตร์ก็มักพบว่ามีการ บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อคุ้มครองผู้ทำอาชีพเหล่านี้ ทั้งครอบครัวและ ชุมชนจึงต้องมีพิธีกรรมบูชาผู้คุ้มครอง [Gardian spirit] ประจำ เตาสูบลมเช่นเดียวกับพบที่บ้านบาตร เราจึงพบว่ามีการตั้งศาล พ่อปู่บ้านบาตรที่เตาสูบอยู่หลายแห่ง และพิธีไหว้ครูที่ศาลพ่อปู่ ในวันพฤหัสบดี ช่วงสงกรานต์ที่ลูกหลานชาวบ้านบาตรจะกลับ มาไหว้พ่อปู่บ้านบาตรกันจำนวนมากและสม่ำเสมอ ช่างตีเหล็กถือเป็นอาชีพสำคัญในสังคมดั้งเดิมและสังคม ก่อนสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กเปลี่ยนไปในรูป แบบต่างๆ ที่สะดวกง่ายแก่การผลิตเป็นชิ้นงานต่างๆ มากขึ้น แต่ในสังคมแบบเกษตรกรรม ช่างเหล็กถือว่าเป็นกลุ่มผู้ได้รับ ความนับถือและมีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมแบบเดิม นอกจากนี้ ในบ้านบาตรยังคงมีบ่อน้ำอยู่หลายแห่ง มีความ ต้ อ งการใช้ น้ ำ เพื่อ ใช้ กั บ การตี บ าตรในกรรมวิ ธี ผ ลิ ต ต่ า งๆ มากกว่าชุมชนอื่นๆ ด้วยพื้นที่เป็นที่ต่ำเป็นหล่มอยู่แล้ว น้ำใต้ดิน จึงขุดพบได้ง่าย บ่อน้ำที่บ้านบาตรกรุขอบด้วยปูนขอบบ่อสูงจาก

พื้นพอกันสิ่งสกปรกลงไปได้ ปากบ่อกว้างราว ๑-๒ เมตร ใช้ทั้ง กินและใช้ ในอดีตนอกจากจะมีคลองบ้านบาตรเป็นขอบเขตของ ชุมชนทางด้านเหนือและมีกลุ่มบ้านที่ทำบาตรตั้งอยู่ กลุ่มบ้านที่ อยู่ด้านในหลายแห่งที่ตีบาตรก็พบว่ายังคงบ่อน้ำที่ยังไม่ถมอยู่อีก หลายจุด และถือว่าเป็นชุมชนที่มีบ่อน้ำแทบทุกบ้านมาแต่ดั้งเดิม มากกว่าชุมชนเก่าอื่นๆ ทีเดียว อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ชุมชนบ้านบาตรไม่มีไฟไหม้ครั้งใหญ่แต่อย่างใดแตกต่างไปจาก บริเวณอื่น นอกจากนี้ที่บ้านบาตรยังมีศาลากลางบ้าน ใช้งานสำหรับ ทำพิธีสงฆ์และงานพิธีอื่นๆ ทั้งของส่วนรวมและส่วนบุคคล มี การนิมนต์พระมาเทศน์ในวันธรรมสวนะ เลี้ยงพระในวันสำคัญ โดยชาวบ้านบาตรเป็นส่วนหนึ่งของปริมณฑลของวัดสระเกศฯฯ มาตั้งแต่โบราณจนทุกวันนี้ ศาลากลางบ้านที่บ้านบาตรถือเป็น รูปแบบการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะแบบดั้งเดิมซึ่งมีอยู่ในชุมชน แบบชนบท การคงอยู่นี้แสดงถึงรูปแบบของชุมชนดั้งเดิมใน กรุงเทพฯ ที่มีองค์ประกอบของชุมชนไม่ต่างจากในชนบทแต่ อย่างใด เพราะเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใช้ประชุมชาวบ้าน พื้นที่ สำหรับเด็กในชุมชน และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและหลัง สงคราม รำวงบ้านบาตรก็เคยใช้พื้นที่ลานบ้านซึ่งเคยมีพื้นที่ กว้างขวางกว่าในปัจจุบันจัดรำวงร้องเพลงร่ายรำเป็นที่ครึกครื้น กันแทบทุกวันอยู่ช่วงหนึ่ง พื้นที่สาธารณะที่บ้านบาตรที่เรียกว่า “ศาลากลางบ้าน” ใน พื้นที่กรุงเทพฯ ในย่านพระนครหรือย่านเก่าต่างๆแทบจะไม่พบ หรื อ มี ศ าลาแต่ ไ ม่ พ บว่ า มี ก ารใช้ ง านเช่ น เดี ย วกั บ ที ่ ชุ ม ชน บ้านบาตรแต่อย่างใด ทั้งพื้นที่สาธารณะเช่นศาลากลางบ้าน บ่อน้ำ การไหว้ศาล พ่อปู่ที่เตาสูบลมในการทำอาชีพตีเหล็กที่ต้องใช้เตาสูบลม และ การอยู่อาศัยใน “ตรอก” เช่นนี้ถือเป็นรูปแบบของชุมชนดั้งเดิมใน

บ่อน้ำแห่งหนึ่งในบ้านของชาวบ้านบาตร บ่ อ น้ ำ ในบ้ า นบ้ า นพระยาวรรณสิ ท ธิ ์ ใ นชุ ม ชนบ้ า นบาตร ที่พลเอกเปรม ติณสูติลานนท์ เคยพำนักครั้งเป็นนักเรียน


สำรวจลมหายใจ และการท่ อ งเที ่ย วบ้ า นบาตร

ศาลพ่อปู่บ้านบาตร ที่ใช้ที่สูบลมอัดแรงดัน ในเตาไฟเป็นสัญลักษณ์

ช่วงต้นกรุงฯ ที่ยังคงรักษาไว้ได้โดยไม่มี ชุมชนอื่นใดในชุมชนย่านเก่าที่ยังคงรักษา สภาพแวดล้อมเช่นนี้ไว้ได้อีกแล้ว ทุกวันนี้บ้านบาตรมีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ ๓๗ งาน ที่ดินเป็นของสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้คนที่อยู่ อาศั ย ส่ ว นหนึ ่ ง เข้ า มาเช่ า บ้ า นอยู ่ เ พื ่ อ ทำงานในพื้นที่ต่างๆ จนบางครอบครัวมี ลู ก ห ล า น รุ ่ น ที ่ ม า ศึ ก ษ า กั น ใ น กรุงเทพมหานครแล้ว คนตีบาตรพระที่บ้านบาตรเคยมีอยู่ มากเพราะทำบาตรกันแทบทุกบ้าน และ ส่ ง ขายที่ถ นนบำรุ ง เมื อ งแถบใกล้ วั ด สุ ทัศน์ฯ ที่ขายเครื่องสังฆภัณฑ์ที่รับบาตร จากบ้านบาตรไปจำหน่ายมาโดยตลอด การมีพื้นที่ของชุมชนอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่อ ยู่ใ กล้ ย่ า นที่มี ค นจี น อยู่อ าศั ย อยู่ม าก คนบ้ า นบาตรก็ แ ต่ ง งานกั บ ผู้ช ายจี น อยู่ หลายครอบครัว แต่ก็ยังสืบอาชีพตีบาตร มาทางสายมารดา บางบ้ า นเปิ ด ร้ า น ค้าขายชากาแฟในตรอกก็ยังสืบต่อเรื่อย

ภายในศาลากลางบ้านบ้านบาตร

มาจนกระทั่งราว พ.ศ. ๒๕๑๔ มี โรงงานปั๊มบาตรเกิดขึ้น เครื่องจักรกล สามารถผลิ ต บาตรได้ ใ นราคาถู ก กว่ า ๗-๘ เท่า เช่น บาตรทำด้วยมือขนาด ๗ นิ้ว ราคาราวใบละ ๘๐๐ บาท แต่บาตร ปั๊ม ราคาเฉลี่ย ใบละ ๑๐๐ กว่ า บาท เท่านั้น แรงงานที่เคยรับบาตรพระมาทำ ก็ต้องเลิกไปเกือบหมดและออกไปทำงาน รับจ้างหรือค้าขายอื่นๆ เสียงกระหน่ำตี บาตรกั น แทบทุ ก บ้ า นเพื่อ ขายส่ ง ให้ กั บ ร้านสังฆภัณฑ์หายไปจากบ้านบาตรนาน มากว่าสี่สิบปีแล้ว แม้ต่อจากนั้นจะยังพอมีผู้สามารถทำ บาตรตี มื อ หรื อ บาตรที่ป รั บ ตั ว ได้ เ หลื อ เพี ย งไม่ กี ่ บ้ า นหรื อ ครอบครั ว เท่ า นั ้ น บาตรที่บ้านบาตรกลายเป็นบาตรที่ต้อง สั่งทำเฉพาะใบจากพระสงฆ์ที่รู้แหล่งผลิต และต้องการบาตรที่ทำอย่างถูกต้องตาม ตำราต่างๆ จนกลายเป็นบาตรที่มีราคา สูง และทำบาตรแบบเฉพาะสั่งทำพิเศษ เรื่อยมาจนบางครอบครัวเลิกผลิตไปบ้าง ก็มี

ต่อมาชาวบ้านจึงตั้งกลุ่มอนุรักษ์การ ทำบาตรบ้าง กลับมาทำบาตรตามรอย บรรพบุ รุ ษ บ้ า ง และทำบาตรในราคา ขายส่งที่ไม่แพงบ้าง และเหลืออยู่ไม่น่าจะ เกิน ๖ ครอบครัวหรือเจ้าทำบาตรเท่านั้น การทำบาตรในทุกวันนี้ไม่สามารถแข่งขัน กั บ บาตรปั๊ม ที่มี อ ยู่ไ ด้ จึ ง กลายเป็ น กลุ่ม สื บ ทอดและเผยแพร่ วิ ธี ก ารทำบาตร โบราณ ทำสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบาตร เป็นของที่ระลึก หรือต้องการบาตรแบบ ประณีตพิเศษ ราคาสูงเท่านั้น

ตีบาตรพระ บาตรเป็นอัฐบริขารดั้งเดิมของภิกษุ คู่กับไตรจีวร บาตรในพระวินัยอนุญาตไว้ ๒ ชนิด คือ บาตรดินเผาและบาตรเหล็ก อี ก ทั้ง ไม่ ใ ห้ ใ ช้ บ าตรที่ท ำด้ ว ยกระทะดิ น เผา, กะโหลกน้าเต้าและกะโหลกหัวผี และห้ า มใช้ วั ต ถุ ที่ใ ช้ ท ำบาตรที่ท ำจาก ทอง, เงิน,ทองแดง, ทองเหลือง, ดีบุก, สังกะสี, ไม้, แก้วมณี, แก้วไพฑูรย์,

๑๐


ช่างทำบาตรที่บ้านบาตรในอดีตกำลังรมดำ

แก้วผลึก, แก้วหุง ตามพระธรรมวินัยให้ภิกษุรู้จักรักษา บาตร ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน ไม่ ควรทิ้งก้างปลา กระดูก เนื้อลงในบาตร ห้ามล้างมือ บ้วนปากลงในบาตร จะเอามือ เปื้อนจับบาตรก็ไม่ควร ฉันแล้วต้องล้าง บาตร จะเก็บบาตรทั้งยังเปียกๆ ไม่ได้ต้อง ผึ่งแดดก่อน ห้ามผึ่งทั้งยังเปียกและต้องเช็ด น้าให้หมดก่อนจึงผึ่ง การทำบาตรเหล็ ก ตามพระวิ นั ย บัญญัติจะมีรอยตะเข็บของแผ่นเหล็กที่ต่อ กันรวม ๘ ชิ้น ขนาด ๗-๘ นิ้ว และ ๙-๑๐ นิ้ว มีทั้งหมด ๕ รูปทรง ได้แก่ “ทรงดั้งเดิม” ฐานป้าน ก้นแหลมจึงไม่ สามารถวางกับพื้นได้ ต้องวางบนฐานรอง บาตร “ทรงตะโก” ฐานมีลักษณะคล้ายทรง ไทยเดิม แต่ก้นมนย้อย สามารถวางบนพื้น ได้ “ทรงมะนาว” รูปร่างมน ๆ คล้ายกับ ผลมะนาวแป้น “ทรงลู ก จั น ” เป็ น บาตรทรงเตี ้ ย

ลักษณะคล้ายทรงมะนาวแต่เตี้ยกว่า “ทรงหัวเสือ” รูปทรงคล้ายกับทรงดั้งเดิมแต่ส่วนฐานตัดเล็กน้อย สามารถ วางบนพื้นได้ (ทรงเดียวกับทรงตะโก ซึ่งเกิดจากจินตนาการของพระภิกษุเป็น รูปหัวเสือจึงมีการเพิ่มเติมรูปทรงใหม่ขึ้น) ส่วนประกอบของบาตรคือ “เชิงบาตร” ไว้สาหรับรับบาตร เพื่อกันบาตรกลิ้งและกันก้นบาตรสึกเพราะ ถูกครูดสี ส่วนใหญ่จะทาด้วยดีบุก สังกะสี หรือไม้ “ฝาบาตร” ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุชนิดเดียวกับเชิงบาตร ในงานช่างหลวงมี งานช่างต่อฝาบาตร นอกเหนือไปจากช่างตีบาตรด้วย แต่สำหรับชาวบ้านบาตร บ้านบาตรมักจะบอกว่าในุร่นของตนจะไปซื้อฝาบาตรจากร้านขายเคร่องใช้ของ ชาวอินเดียแถบพาหุรัดที่ทำเป็นจานคว่ำแต่สามารถใช้ปิดฝาบาตรได้พอดี “ถลกบาตรหรือถุงสาโยค” มีไว้เพื่อสอดบาตรและคล้องไหล่ในเวลาเดินทาง หรือบิณฑบาต มักทำด้วยผ้าเนื้อเดียวกับจีวร การตีบาตรครั้งโบราณไม่มีหลักฐานว่านำแผ่นเหล็กจากที่ใดนำมาใช้ตีขึ้น รูป แต่สันนิษฐานว่าน่าจะมีการนำก้อนเหล็กถลุงตามพื้นบ้านมาเริ่มตีจนเป็น แผ่น หรือไม่ก็นำเข้าเหล็กหล่อ [Cast iron] เป็นก้อนจากจีนโดยการค้าโพ้น ทะเลมาเป็นวัตถุดิบในการทำบาตรพระ แต่สำหรับความทรงจำของคนบ้านบาตรกล่าวว่าเคยใช้ตัวถังเหล็กยาง มะตอยที่ทางเทศบาลกรุงเทพมหานครใช้ใส่ยางมะตอยเพื่อราดถนนมาทำเป็น บาตร มีผู้นำถังยางมะตอยที่ใช้แล้วมาส่งให้ราคาประมาณ ๑๐ กว่าบาทต่อถัง ถังยางมะตอยมีเนื้อบาง สามารถตีบาตรได้ง่าย สะดวก และราคาไม่แพง แต่หลังจากเลิกทำบาตรเพราะมีบาตรปั๊มเข้ามาใช้ เมื่อเริ่มกลับมาทำใหม่

๑๑


สุเทพและปราณี สุทดิศ คนตีบาตรบ้านบาตรที่ยังคงทำบาตรอย่างสืบเนื่อง แม้จะมีการทำบาตรปั๊มเข้ามาแล้ว แต่มีการปรับตัวโดยรับตีบาตรเฉพาะรายและมีค่าใช้จ่ายพอสมควร โดยเฉพาะรับตีบาตรพระจากวัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรีและวัดสายพระป่าอื่นๆ เมื่อคุณสุเทพสิ้นชีวิตไปแล้ว ครอบครัวจึงไม่มีการทำบาตรสืบต่อ

จึงต้องไปหาซื้อแผ่นเหล็กแถบหัวลำโพงมาใช้ทำบาตร เป็นเหล็กคุณภาพดี ขึ้นกว่าถึงยางมะตอย แต่ถ้าเป็นบาตรที่ต้องการชนิดพิเศษก็มีการปรับ เป็นการใช้แสตนเลสก็มี การผลิตบาตรแต่ละใบจะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ต้องมีการ ต่อเหล็กและขึ้นรูป โดยจะผลิตดังนี้ “ทำขอบบาตร” เป็นขั้นตอนแรก เนื่องจากขอบบาตรจะเป็นตัวกำหนด ขนาดและรูปทรงของบาตร เริ่มจากนำเหล็กมาตัดตามขนาดของบาตร เช่น บาตรขนาด ๗ นิ้ว จะต้องตัดแผ่นเหล็กให้มีความยาว ๙ นิ้ว เพื่อเหลือเนื้อที่ ไว้ประกบปลายทั้งสองด้าน แล้วนำมาตีเป็นวงกลม จากนั้นเป็นกระบวนการ “ต่อบาตร” โดยเริ่มจาก “กะเหล็ก” วัดกะขนาด ของเหล็กที่จะนำมาต่อเป็นกงหรือแกนเริ่มต้น แล้ว “ตัดเหล็ก” จากแผ่นเหล็ก เป็นรูปกากบาทตามที่วัดไว้ แล้ว “เว้าเหล็ก” คือตัดส่วนปลายของแผ่นเหล็ก รูปกากบาททั้ง ๔ ด้านแล้วทุบให้เรียบ ใช้กรรไกร “จักเหล็ก” ตรงส่วนเว้า ของแผ่นเหล็กรูปกากบาทให้เว้าเข้าไปเพื่อให้เข้ากับปากบาตรได้พอดีกัน จาก นั้น “งอเหล็ก” ดัดเหล็กที่จักแล้วให้โค้งได้ลักษณะของบาตรที่ต้องการ แล้ว จึง “หักเหล็ก” ที่จักไว้แบบสลับฟันปลาเพื่อจะนำไปประกอบเข้ากับปากบาตร แล้วนำแผ่นเหล็กรูปกากบาทที่โค้งและหักสลับฟันปลาแล้วมาประกอบเข้ากับ ปากบาตรเรียกว่า “ติดกง” แล้วนำเอาแผ่นเหล็กมาวัดกะขนาดเพื่อประกอบ เข้ากับกงเรียกว่า “ติดหน้าวัว” จากนั้น “ตัดหน้าวัว” คือการตัดแผ่นเหล็ก ตามที่วัดไว้และต้องตัดเผื่อไว้สาหรับจักฟันด้วยราว ๒-๓ มิลลิเมตร แล้วใช้ กรรไกร “จักหน้าวัว” ให้รอบ เสร็จแล้วทุบให้เรียบ “ดัดหน้าวัว” ให้โค้งเพื่อ จะนำไปประกอบกับกงให้ได้รูปทรงของบาตร จากนั้น “หักหน้าวัว” ง้างเหล็ก ที่จักให้ได้ลักษณะฟันปลา แล้ว “เข้าหน้าวัว” นำไปประกอบเข้ากับกงจนเป็น รูปบาตรเรียกว่า “บาตรหน้าวัว”

ขั้นตอนต่อมาคือการ “หยอดบาตร” เป็นการ โรยผงประสานทองแดงลงตามตะเข็บด้านใน ขอบบาตร ต้องเตรียมโดยการนำบาตรไปแช่น้ำ ก่อน พอสะเด็ดน้ำจึงโรงผงประสานทองแดง ลงไปทุกตะเข็บเพื่อให้ผงประสานทองได้เกาะ ติดตะเข็บได้ ต่อมาคือ “การแล่นบาตร” หรือเป่าแล่น เป็นการทำให้ผงประสานทองแดงละลายออก มาเชื่อมกันตามตะเข็บ โดยใช้ไฟที่มีความร้อน สูง จากนั้น “ยุบมุมบาตร” เป็นการทุบตาม ตะเข็ บ และตรวจสอบว่ า ตะเข็ บ เชื่อ มติ ด กั น ดี หรือยัง ถ้ายังมีปัญหาก็ต้องนำไปเป่าแล่ นซ่อม อีกที แล้วทำ “ลายบาตร” โดยใช้ค้อนทุบบาตร บนทั่งลายบาตรให้ได้รูปทรงของบาตรแต่จะยัง ไม่เรียบ จากนั้นก็นำไปแช่น้ำกรดให้กรดขัด ขี้เหล็กออกให้หมด ก่อนที่จะไปตีให้เรียบ นำบาตรมาตีให้เรียบ ช่างเรียกว่า “ตีเรียง เม็ด” เพื่อตีให้เรียบมากขึ้น จากนั้นคือ “การ ตะไบบาตร” นำบาตรที่ตี แ ล้ ว มาตะไบให้ เรี ย บร้ อ ยจนได้ บ าตรขาว จากนั้น คื อ การ “ระบมบาตร” เป็นการนำบาตรขาวไปอบด้วย

๑๒


การนำบาตรเก่ามาซ่อมแซมใหม่ที่บ้านบาตร ความร้อนสูง จนเหล็กสุกและบาตรที่ได้จากการระบมจะมีสีค่อนข้างดำและ ด้าน เครื่องมือที่ใช้ในการทำบาตรได้แก่ “ค้อน” ขนาดต่างๆ ใช้สำหรับตีเหล็ก และตีบาตรให้เรียบ “คีบ” ใช้สำหรับหักเหล็ก (หักฟันปลา) “แท่งเหล็ก” ใช้ สำหรับขีดกะเหล็ก “ทั่งเหล็ก” ใช้สำหรับรองในการทุบเหล็กและตีเหล็ก “กรรไกร” ใช้สำหรับการจักเหล็ก “ค้อนลาย” ใช้สำหรับลายบาตร “ทั่งลาย” ใช้สำหรับเป็นที่รองรับส่วนโค้งของขอบบาตรเพื่อลายบาตร “กรรไกรญวน” ใช้สำหรับตัดแผ่นเหล็ก “ลูกกระล่อน” ขนาดต่างๆ ใช้สำหรับรองรับในการ ทำบาตรและตีบาตร “เตา” ใช้สำหรับเป่าแล่น การทำบาตรพระแต่ละใบด้วยการตีด้วยมือจึงใช้ผู้ชำนาญหรือช่างหลาย คน จึงมีต้นทุนสูงเพราะแบ่งค่าจ้างแรงงานให้กับช่างฝีมือต่างๆ ประกอบ ด้วย ช่างตีขอบ ช่างต่อบาตร ช่างแล่น ช่างลาย ช่างตีและช่างตะไบ บางคน สามารถได้เองทุกขั้นตอนแต่แบ่งงานกันไปตามความชานาญเป็นการผ่อนแรง โดยมาก ทุกวันนี้ส่วนใหญ่พระภิกษุฝ่ายธรรมยุตจะนิยมครองบาตรเหล็กที่มาจาก ชุมชนบ้านบาตร เนื่องจากวัตรของพระภิกษุฝ่ายธรรมยุตนั้นจะฉันอาหาร ภายในบาตรจึงนิยมใช้บาตรที่มีความแข็งแรงทนทานเพราะใช้บาตรในการ ฉันอาหารเป็นหลัก นอกจากการทำบาตรใหม่ในชุมชนบ้านบาตรแล้ว คนบ้านบาตรยังนำ เอาบาตรเก่ า ที่มี ค นไปตระเวณแลกบ้ า นเก่ า กลั บ มาใช้ ง านใหม่ โ ดยการ

ซ่ อ มแซมโดยนำบาตรไปเผาด้ ว ยไฟในเตา เผา แล้วกัดสนิมให้สะอาดโดยการแช่น้ำกรด อ่อนทำความสะอาดเนื้อเหล็ก แล้วนำไปตี บาตรเพื่อซ่อมแซมรอยยุบหรือรอยบุบและรม ดำอีกครั้ง สำหรั บ การย้ อ นกลั บ มาทำบาตรเพื่อ ผลิตโดยการสั่งทำหรือผลิตในราคาสูงนั้นที่ บ้านบาตรยังมีผู้รับตีบาตรเช่นนี้ โดยเริ่มมาตี บาตรได้ในเวลาไม่ถึงสิบปีที่ผ่าน โดยการ ผลิตเองบ้าง จ้างช่างที่รับงานทั่วไปบ้าง เช่น การตีขอบ การขึ้นรูปบาตร และเชื่อม จาก นั้นจึงทำเองหมดจนถึงขั้นสุดท้าย โดยผลิต งานอยู่ที่ใบละราวหนึ่งเดือน ทำเป็นบาตรสี ขาวส่งไปให้เผาเอง ผิวของวัสดุจะเปลี่ยนไป สามารถที่จ ะใส่ น้ ำ ได้ ซึ่ง สามารถทำได้ เฉพาะบางรู ป ที่ท ดลองการบ่ ม ด้ ว ยตนเอง เท่านั้นเพื่อไม่ให้เป็นสนิมง่าย จนกระทั่งมา เปลี่ยนวัตถุดิบเป็นแสตนเลส เพราะพระบาง รู ป ไม่ ส ามารถบ่ ม หรื อ เผาให้ เ ป็ น เหล็ ก กล้ า ด้วยตนเอง แต่ก็ยังมีการตีบาตรแบบเดิมเช่น กัน ความรู ้ ใ นการตี บ าตรคงอยู ่ ก ั บ คน บ้ า นบาตรมานานถื อ เป็ น อาชี พ สำคั ญ และ ยังสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่งาน หั ต ถกรรมหลายชนิ ด ที่อ ยู่ภ ายในพระนคร และรอบนอกในชุมชนบ้านต่างๆ หายสูญ ไปแล้วเกือบหมด

วิกเมรุปูน วิก เมรุปู นน่ า จะสื บ เนื่อ งมาจากการ มหรสพเมื่อ มี ง านฌาปนกิ จ ผู้มี ฐ านะที่เ มรุ หลวงวัดสระเกศฯ ซึ่งจะมีการเล่นโขน ลิเก ละคร หุ่นกระบอก และมีออกร้านขายของกิน ของใช้มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงฯ ทีเดียว บริเวณ ป่าช้าหรือเมรุปูนวัดสระเกศฯจึงชื่อเสียงเรื่อง การแสดงมหรสพและมีทั้งคณะลิเก คณะหุ่น กระบอก โขน ละครชาตรีคณะต่างๆ ที่อยู่ ในแถบวัดสระเกศฯ เรื่อยไปถึงวัดคอกหมู หรือวัดสิตารามและทางฝั่งวัดแค นางเลิ้ง

๑๓


สำรวจลมหายใจ และการท่ อ งเที ่ย วบ้ า นบาตร

วิกลิเกพระยาเพชรปราณี

วิกเมรุปูนเป็นวิกลิเกยอดนิยมวิกหนึ่งใน ช่วงยุคแรกๆ ของการแสดงลิเกตามวิก ต่างๆ สภาพเป็นวิกไม้หลังคามุงสังกะสี และมีที่นั่งเป็นชั้นๆ ลิเกเกิดขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดย พระยาเพชรปาณี (ตรี) ผู้เป็นนักปี่พาทย์ โขนละครและข้ า ราชการกระทรวงวั ง ริเริ่มสร้างให้มีการเล่นละครร้องแบบชาว บ้านจึงคิดค้นผสม “ดิเกบันตน ดิเกลูกบท และละครรำ” ผสมผสานกับวัฒนธรรม ของคนมลายูที่มีอยู่ก่อนเข้าด้วยกัน เคย เล่นที่บ้านหม้อก่อนย้ายมาเปิดวิกที่ชาน พระนครใกล้ป้อมมหากาฬ เรียกว่าวิกรพ ระยาเพชรปราณี ลิเกทรงเครื่องนั้น แต่ง เครื่องอย่างดี ใส่ผ้าไหมอย่างดี แต่ไม่มีผู้ หญิงเล่น ใช้ผู้ชายล้วน ต่อมาจึงมีคณะของดอกดิน เสือสง่า ที่โด่งดัง โดยเฉพาะการเป็นผู้แต่งการ ร้ อ งทำนองลิ เ กแบบรานิ เ กริ ง หรื อ ราชนิ เ กริ ง สั น นิ ษ ฐานว่ า แต่ ง ขึ้น เมื่อ ราว พ.ศ. ๒๔๔๕ รวมทั้งการแสดงแบบ ชายจริ ง หญิ ง แท้ โ ดยเฉพาะคู่พ ระคู่น าง

สองพี่น้อง นายเต๊ก เสือสง่าและนาง ละออง เสือสง่า ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๕๖ หอมหวล นาคศิริ ก็มาหัดแสดงลิเกที่วิกเมรุปูน วัด สระเกศฯฯ ที่มีชื่อเสียงมาก และได้รับ การช่วยเหลือจากครูแกร หัวหน้าคณะ โขน ละคร และหุ่นกระบอก ซึ่งเป็นคณะ ที่มีชื่อเสียงอยู่แถวย่านวัดสระเกศฯฯ จน ต่อมาจึงมีลิเกจากคณะหอมหวล นาคศิริ ที่แ ตกคณะออกไปจั ด การแสดงตามวิ ก ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดและ มีคณะลิเกที่ใช้นามหอมหวลสืบทอดมา จนถึงปัจจุบัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนอยากดูลิเกเพราะไม่มีอะไรดู ชาว บ้านเหงาคนโหยหาความบันเทิง ทั้งวิก ลิ เ กและการรำวงจึ ง เป็ น เพี ย งมหรสพ ง่ายๆ สำหรับชาวบ้านยามยาก วิกลิเกที่นิยมในช่วงยุคดอกดิน เสือ สง่า จนมาถึงหอมหวล นาคศิริ ได้แก่ วิก เก่าตลาดยอด บางลำพู, วิกตลาดนานา วิกตลาดเทเวศร์, วิกตลาดเปรมประชา บางซื่อ กรุงเทพฯ, วิกบางรัก กรุงเทพฯ,

วิกตาเฉย ตลาดพล ธนบุรี, วิกราชวัตร วิกช้างเผือก ถนนตก เป็นต้น วิกลิเกเมรุปูนมีการแสดงมหรสพจน ทางวัดสระเกศฯมอบสถานที่ให้เป็นที่ตั้ง ของ “โรงเรียนช่างไม้วัดสระเกศฯ” ซึ่งน่า จะอยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และวิทยาลัยสารพัดช่างพระนครในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๔

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ และดนตรีทางบ้านบาตร ที่ตรอกบ้านบาตรช่วงที่เชื่อมต่อกับถนน บริพัตร เมื่อเดินเข้ามาเล็กน้อยจะพบบ้านไม้ เก่าทรุดโทรมแล้วอยู่ทางขวา บ้านนี้เคยเป็น บ้านของพระยาวรรณสิทธิ์ เล่ากันว่าพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เคยพักอาศัยอยู่ที่เรือน พิ กุ ล ด้ า นหลั ง เรื อ นใหญ่ ตั้ง แต่ ส มั ย เข้ า มา เรี ย นหนั ง สื อ ที่โ รงเรี ย นนายร้ อ ยทหารบก บริเวณนี้มีตรอกเล็กๆ เชื่อมกับตรอกด้าน หลังบ้านบาตร พื้นที่ด้านหลังกว้างขวางเคย เป็นบ้านของ “หลวงประดิษฐ์ไพเราะ” สำนัก ดนตรีบ้านบาตรอันมีชื่อในอดีต ทุกวันนี้เป็น พื้นที่รกว่างหลังจากลูกหลานท่านย้ายบ้าน

๑๔


ออกไปก็ทำเปลี่ยนเป็นแฟลตสุกมล ก่อนถูกทุบทิ้งและทิ้งเป็น พื้นที่ว่างไว้เช่นนั้นจนทุกวันนี้ “หลวงประดิษฐ์ไพเราะ” หรือศร ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรคนสุด ท้องของนายสินและนางยิ้ม ศิลปบรรเลง เป็นผู้มีความสามารถ และรักทางดนตรีมาตั้งแต่อายุยังน้อย หัดเรียนดนตรีปี่พาทย์จาก บิดาอย่างจริงจัง ท่านได้ออกงานใหญ่ครั้งแรกในงานโกนจุก เจ้ า จอมเอิ บ และเจ้ า จอมอบ ธิ ด าเจ้ า พระยาสุ ร พั น ธ์ พิ สุ ท ธ์ จังหวัดเพชรบุรี ท่านได้แสดงฝีมือ ระนาดเอก จนเป็นที่เลื่องลือ กันในหมู่นักดนตรี อายุไม่ถึงยี่สิบดี สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เอา ตัวไปเป็นมหาดเล็กเพราะทรงพอพระทัยในฝีมือพ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นตำแหน่งจางวางศร ศิลปบรรเลง ได้จำเพลงชวามาหลาย เพลงนำอังกะลุง เข้ามาเล่นเพลงไทยเป็นคนแรกโดยนำมาฝึก มหาดเล็กในวังบูรพาภิรมย์จนสามารถนำออกแสดงครั้งแรกหน้า พระที่นั่งในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดราชาธิวาส เป็นเหตุให้ เกิดการเล่นอังกะลุงกันอย่างแพร่หลาย และยังแต่งเพลงปรับปรุงเพลงและวงดนตรีไทยให้ดีขึ้น ใน ช่วงรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระ ราชทินนามและบรรดาศักดิ์ให้เป็น “หลวงประดิษฐ์ไพเราะ” ต่อ มาได้ รั บ พระราชทานแต่ ง ตั้ง ให้ เ ป็ น ปลั ด กรมปี่พ าทย์ ห ลวง กระทรวงวัง พอถึงรัชกาลที่ ๗ หลวงประดิษฐ์ไพเราะร่วมกับ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุริยชีวิน) ได้รับราชการเป็นผู้ถวาย วิชาดนตรีไทยแด่รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระบรมราชินี ท่านบวชเรียน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จากนั้นก็ทรงพระ กรุณาฯ จัดการแต่งงานให้กับ นางสาว โชติ หุราพันธ์ ธิดาพัน โทพระประมวล ประมาณผล ท่านแต่งเพลงไว้มากมายถึงกว่า

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

ร้อยเพลง รวมทั้งเป็นครูสอนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียน ราชินี โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และที่คุรุสภา ในคราวที่มีตำแหน่งเป็นจางวางศรนั้น ท่านเคยได้รับพระ มหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า ภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หรือ “สม เด็จฯวังบูรพา” ให้พำนักอยู่บ้านริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตรงข้ามกับ วังบูรพาภิรมย์ หลังจากสมเด็จฯ วังบูรพาเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านก็ย้ายออกจากบ้านเดิมมาสร้างบ้านพักอยู่อาศัย และทำสำนักสอนดนตรีไทยอยู่ในละแวกชุมชนบ้านบาตรขนาด พื้นที่ราว ๑ ไร่ ซึ่งไม่ไกลจากบ้านเดิมนัก ปลูกเรือนหมู่ เรือนเก็บ เครื่องดนตรี และมีพื้นที่สำหรับใช้ประกอบพิธีกรรมไหว้ครูดนตรี ซึ่งถือเป็นจุดนัดพบสำคัญของนักดนตรีไทยในอดีตที่มาร่วมงาน พิธีและประชันดนตรีปี่พาทย์เป็นงานใหญ่ การย้ายมาอยู่ที่บ้านบาตรนี้ ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินส่วน พระองค์ จำนวน ๑ หมื่นบาท ช่วยสมทบซื้อที่ดิน ส่วนเงินค่า ใช้จ่ายในการปลูกบ้านนั้น บางส่วนได้รับความช่วยเหลือจาก บรรดาเจ้านายที่ได้เคยถวายการสอนดนตรี หลวงประดิษฐไพเราะอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านบาตรนี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ จนถึงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ท่านสิ้นลม หายใจที่บ้านบาตรอายุรวมได้ ๗๒ ปี รวมเวลาที่อยู่ในย่าน บ้านบาตรนานราว ๒๖ ปี ระยะเวลาที่อยู่บ้านบาตรนี้ เป็นช่วงเลยวัยกลางคนของท่าน ครูแล้ว ผ่านฉากชีวิตการประชันวงหน้าพระที่นั่งและการถวาย งานราชสำนักมามากและมีครอบครัวที่ผาสุข มีลูกหลานและลูก ศิษย์ที่ผ่านการอบรมสั่งสอนมาดีแล้ว ท่านจึงสามารถทำหน้าที่ ความเป็นครูดนตรีและดุริยกวีนักแต่งเพลงได้อย่างเต็มที่ เกิด งานเพลงสร้ า งสรรค์ ใ หม่ ใ นสั ง คมไทยที่เ ดิ น ทางออกมาจาก

บริเวณที่ว่างซึ่งเคยเป็นบ้านหลวงประดิษฐ์ไพเราะที่บ้านบาตร ในปัจจุบัน

๑๕


แสตมป์ชุดครบรอบ ๑๐๐ ปี หลวงประดิษฐ์ไพเราะ พ.ศ. ๒๕๒๔ สำนักบ้านบาตรมากมาย เช่น เพลงโหมโรงศรทอง เพลงโหมโรงกราวนอก เพลงแสนคำนึงเถา เพลงกราวรำเถา เพลงกระต่ายเต้น เพลงชุดสามขะแมร์ เพลงเขมรไทรโยคเถาใหญ่ เพลงแขกขาวเถา เพลงเขมรภูมิประสาทเถา เพลง ชมแสงจันทร์-ชมแสงทอง เพลงทยอยนอกเถา เพลงทยอยในเถา เพลงนกเขา ขะแมร์เถา นางหงส์ ๖ ชั้น เพลงมู่ล่งเถา เพลงชุดด้อมค่าย เพลงรถติด เพลง ระบำฉิ่ง เพลงระบำกลอง เพลงลาวดำเนินทรายทางเปลี่ยน เพลงลาวคำ หอมเถา เพลงไส้พระจันทร์เถา เพลง อะแซหวุ่นกี้เถา รวมไปถึงเพลงเดี่ยว เครื่องดนตรีต่างๆ รอบวงที่แสดงถึงทักษะขั้นสูงของนักดนตรี (อานันต์ นาคคง, เพลงดีที่บ้านบาตร ตอน “รำวงบ้านบาตร”) อาจารย์อานันต์ นาคคงกล่าวว่า คำว่า “บ้านบาตร” เปรียบเสมือน สำนักตักศิลาทางดนตรีไทยที่ยิ่งใหญ่มากในยุคก่อนและหลังเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง เพราะเป็นโอกาสที่คนรุ่นใหม่ในเวลานั้นที่มุ่งแสวงหาความรู้ ประสบการณ์และชื่อเสียงในโลกดนตรีไทย ต้องมุ่งมาพบกับท่านครูหลวง ประดิษฐไพเราะฯ พวกลูกศิษย์มักเรียกขานทางเพลงที่เป็นผลงานประพันธ์ ของท่านครู ในยุคที่มาพำนักอยู่สถานที่แห่งนี้ว่า “เพลงทางบ้านบาตร” ด้วย ที่สำนักดนตรีบ้านบาตรแห่งนี้เอง ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ ได้ สร้างผลผลิตนักดนตรีไทยชั้นนำ ออกไปสู่สังคมมากมาย เช่น ครูมนตรี ตรา โมท, ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์, ครูเผือด นักระนาด, ครูบุญยงค์ เกตุคง, ครู ประสิทธิ์ ถาวร, ครูโองการ กลีบชื่น, ครูอุทัย แก้วละเอียด, ครูศิริ นักดนตรี, ครูเสนาะ หลวงสุนทร, ครูสุพจน์ โตสง่า, ครูบุญธรรม คงทรัพย์, ครูแสวง

คล้ายทิม, ครูสมภพ ขำประเสริฐ, ครูกิ่ง พลอยเพชร ฯลฯ ทายาทของท่านคือ คุณหญิงชิ้น ศิลป บรรเลง อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และ อาจารย์ลัดดา สารตายน ก็ยังได้ร่วมกันก่อ ตั้งโรงเรียนดนตรีนาฏศิลป์ “ผกาวลี” เกิด คณะละครผกาวลีผลิตศิลปินรุ่นใหม่ในทาง ดนตรีสากลจึงเกิดขึ้นที่บ้านบาตรนี้ด้วยเช่น กัน เช่น สวลี ผกาพันธุ์, อดิเรก จันทร์เรือง ฯลฯ จนถึงดนตรีสังคีตสัมพันธ์ของครูเอื้อ สุนทรสนาน ก็มีบรรยากาศดนตรีจากสำนัก ดนตรีบ้านบาตรแห่งนี้ เพราะครูเอื้อสนิทกับ อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงและได้แวะ เวียนมาปรึกษาหารือและซ้อมเพลงกันเป็น ประจำ คุณกฤษณา แสงไชย คนบ้านบาตรและ มี บ้ า นพั ก อาศั ย อยู ่ ไ ม่ ไ กลกั น เล่ า ถึ ง บ้านหลวงประดิษฐ์ไพเราะว่าตอนเป็นเด็ก พวกเราจะไปวิ่งเล่นในบริเวณบ้านท่านเสมอ บ้านของหลวงประดิษฐ์ไพเราะหรือ “บ้าน ศิลปบรรเลง” เป็นบ้านเรือนไทยหลายหลังอยู่ ในพื้นที่เดียวกัน ทางเข้าบ้านเป็นประตูบาน ใหญ่ พอเข้าไป ฝั่งซ้ายจะเป็นบ้านทำหัวโขน ถัดไปเป็นห้องอัดเสียงสำหรับจัดรายการวิทยุ ของคุณสนั่น ศิลปบรรเลง ไม่ไกลกันเป็น ศาลาหลังคาสูงสำหรับใช้เป็นสถานที่จัดงาน ไหว้ครู ซึ่งในแต่ละปีชาวบ้านจะมีโอกาสได้ เห็นพิธีไหว้ครูที่ยิ่งใหญ่ บรรดาลูกศิษย์ที่ เคารพนับถือหลวงประดิษฐ์ไพเราะจะกลับ มารวมตัวกันที่นี่ ฝั่งขวาเป็นเรือนสูง ๒ ชั้น ใช้เป็นสตูดิโอฝึกซ้อม หรือถ่ายทำภาพยนตร์ คนบ้ า นบาตรจะได้ เ ดิ น กระทบไหล่ ด ารา เสมอ ถั ด ไปเป็ น เรื อ นของหลวงประดิ ษ ฐ์ ไพเราะ คุณกฤษณาบอกกล่าวว่าคนบ้าน บาตรเก่าๆ มักเล่ากันว่าหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางวัฒนธรรมที่ ค่ อ นข้ า งเคร่ ง ครั ด จึ ง ไม่ ค่ อ ยได้ ยิ น เสี ย ง ปี่พ าทย์ ม โหรี ห รื อ วงอั ง กะลุ ง มากเท่ า ยุ ค ก่อนๆ

๑๖


การก่อสร้างหอส่งน้ำประปาของพระนครที่มา : ภาพส่วนบุคคลของบาทหลวงมิเชล ดิดิเออร์ (Michel Didier) หลานของ เฟอร์นาน ดิดิเออร์ (Fernand Didier) นายช่างชาวฝรั่งเศสผู้สร้างการประปาของกรุงเทพฯ

เพราะที่มีนักแต่งเพลงเดินเข้าออกและเป็นเพื่อนกับทั้งคนใน บ้านศิลปบรรเลงและคนบ้านบาตร จึงมีการแต่งเพลงรำวง ของคนบ้านบาตรเอง เพราะอยู่ใกล้ชิดวงดนตรีและศิลปิน ใหญ่น้อยดังกล่าว เพลงรำวง มหรสพยามสงคราม

รำวงบ้านบาตร เป็นการละเล่นสนุกของชาวบ้านที่เกิด ขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๓ จนถึงราวปี พ.ศ. ๒๔๘๘ และการแพร่หลายของ วัฒนธรรมรำวงตามนโยบายรัฐนิยม ที่ได้รับการสนับสนุน จากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้คนในชุมชน ต่างๆ มารวมตัวกัน สนุกสนานร่ายรำไปตามเสียงเพลงใน ยามค่ำคืน เป็นความสุขในยามบ้านเมืองฝืดเคืองและผจญ อันตรายจากการทิ้งระเบิดเพราะสภาพสงคราม “รำวง” พัฒนามาจาก “รำโทน” ขับร้องรำกันระหว่าง ชายหญิง ในจังหวะดนตรีง่ายๆ เนื้อร้องรำวงมีความหลาก หลาย ทั้งร้องเพื่อความบันเทิง ร้องเกี้ยวพาราสี ร้องเล่า เหตุการณ์สังคม ไปจนถึงการประยุกต์เพลงสำเนียงต่างๆ มาร้องเสริมเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลงรำวงมีทั้งแต่งโดยรัฐมีเนื้อหาในแนวคิดนโยบายรัฐนิยม ส่วนของชาวบ้านชาวเมืองเนื้อหาสนุกสนาน ล้อเลียนขบขัน บันเทิงเริงใจมากกว่า ท่ารำมีทั้งส่วนของอิสระ สามารถตีท่า

ได้ตามทักษะสร้างสรรค์และท่ารำที่เป็นประดิษฐกรรมใหม่ ของครู บ าอาจารย์ จ ากกรมศิ ล ปากรที่ดั ด แปลงแม่ ท่ า รำ นาฏศิลป์แบบเดิมมาเป็นท่ารำที่ง่ายขึ้น หรือต่อมาก็ ประยุกต์ใช้ท่าเต้นรำของฝรั่งมาเป็นท่ารำวง ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ ผู้เป็นทายาทของนายถนอม นาควัชระ หรือ “ขุนชำนิขบวนสาส์น” ผู้มีบ้านเรือนอยู่แถบ บ้ า นบาตร กล่ า วถึ ง บรรยากาศรำวงบ้ า นบาตรในยาม สงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่าที่ลานกลางบ้านหลวงประดิษฐไพ เราะฯ ชาวบ้านจะเข้าไปร่วมกันรำวงร้องเพลงอยู่ในพื้นที่ บ้านอย่างเสรี ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของคนบ้านบาตรที่ จดจำได้ถึงการรำวงและวัยเด็กที่เข้าไปเล่น และการใช้พื้นที่ ในบ้านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะในการรำวง การส่งเสริมวัฒนธรรมรำวงของภาครัฐในยุคจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ส่งผลให้เกิดคณะรำวงที่เป็นทั้ง ของ ราชการและเอกชนมากมาย คณะรำวงราชการที่เป็นหลัก ที่สุดคือ “กรมโฆษณาการ” ต่อมาคือกรมประชาสัมพันธ์ มี หน่วยงานและครูเพลงที่ทำหน้าที่ผลิตเพลงรำวงอย่างจริงจัง อาทิ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูแก้ว อัจฉริยกุล ครูธนิต ผล ประเสริฐ ส่วนคณะเอกชนที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้ามีกันอยู่ หลายคณะ เช่ น คณะรำวงสามย่ า น คณะรำวงไทย บ้านบาตร คณะไทยกิ่งเพชร คณะศิษย์พระเจน เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีผู้ที่พัฒนาแนวเพลงรำวงใหม่ๆ ไปเป็น เพลงลูกทุ่ง เกิดครูเพลงที่นำเอกลักษณ์ของรำวงมาใส่ไว้ใน

๑๗


ผลงานยุคเริ่มแรกของลูกทุ่ง อาทิ เบญจมินทร์ สุรพล สมบัติ เจริญ ก่อนที่จะคลี่คลายไปเป็นเพลงลูกทุ่งอื่นๆ ในยุคต่อมา ในกลุ่มคณะรำวงเอกชน ถื อว่าคณะรำวงสามย่าน วั ด หัวลำโพง โด่งดังที่สุด เพราะเป็นแหล่งรวมนักร้องเสียงดี นัก ประพันธ์เพลงเก่งๆ และมีโอกาสบันทึกแผ่นเสียงผลงานเพลง รำวงประจำคณะกับห้างกมลสุโกศล ตัวอย่างงานเพลงสะท้อน แนวคิดชาตินิยมที่สังคมไทยรู้จักในมุมกว้าง เช่น ศึกบางระจัน อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน ลูกชาวนา เป็นต้น นักร้องคณะ รำวงสามย่านที่มีชื่อเสียง เช่น ประชุม พุ่มศิริ, เลิศ ประสม ทรัพย์, สุรินทร์ ปิยานันท์ เป็นต้น คู่แข่ ง สำคั ญ ของคณะสามย่ า นในอดี ต คื อคณะรำวง บ้านบาตร ซึ่งมีการพัฒนาเพลงร้องของตนและลีลาการรำวงที่ สวยงามไม่แพ้กัน หากแต่โอกาสในการเป็นที่รู้จักของผู้คนน้อย กว่าเนื่องด้วยไม่มีงานบันทึกแผ่นเสียงออกเผยแพร่อย่างคณะ รำวงสามย่าน ชาวบ้านบาตรยังจำได้ถึงบรรยากาศในช่วงสงครามและ หลังสงครามว่ามีการร้องรำวงกันตลอดในช่วงเทศกาล ยิ่งเป็น ช่ ว งสงกรานต์ เ ราจะหยุ ด งานกั น ยาวกว่ า ปกติ ทุ ก เย็ น ที่ บ้านบาตรจะมีรำวงในชุมชนที่ลานบ้านบาตรบริเวณศาลากลาง บ้านในปัจจุบันนี้ ผู้หญิง ผู้ชายมาจีบกัน ฝ่ายชายเอาพวงมาลัย ไปคล้องฝ่ายหญิง พอรำเสร็จเขาก็เอาผู้หญิงไปส่งที่เก้าอี้ ล่ำลา กัน ยกมือไหว้ให้กันและกัน เพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงที่สอนผู้หญิง สอนเด็ก สอนมารยาทในการรำวง เป็นต้น ปัจจุบัน ชุมชนบ้านบาตรรื้อฟื้นวัฒนธรรมรำวงขึ้นมาใหม่ เท่าที่จะจดจำและมีการบันทึกเนื้อเพลงไว้หลายสิบเพลง มีการ ออกแสดงรำวงสาธิตตามงานเทศกาลต่างๆ สม่ำเสมอ ชื่อรำวง คณะ “บ้านบาตรสามัคคี” ตัวอย่างเพลงรำวงบ้านบาตร บ้านบาตรสามัคคี (ทำนองสโลว์)

บ้านบาตรสามัคคี เป็นนามที่พวกเราสร้างไว้ ร่วมแรงปรับปรุงแก้ไข ผูกน้ำใจไมตรี ดังพี่น้องกัน เพื่อปลูกความรื่นเริง ร่วมบันเทิงในความสัมพันธ์ ผิดพลาดอภัยให้กัน จิตเรามั่นอยู่ทุกเวลา สิ่งเดียวที่เรามุ่งหวัง เพื่อประทังชื่อบ้านบาตรวัฒนา ** สามัคคีๆ บ้านบาตรรำวงๆ ร่วมใจมันคงๆ สร้างรำวง ไทยๆ เพื่อหวังๆ สำราญสุขใจๆ น้อมนำฤทัยๆ พร้อมกัน (ร่วมใจสามัคคี ร่วมรักกันเหมือนน้องพี่ ผูก สัมพันธไมตรี ร่าเริงยินดี แสนเพลิน)

ร่วมกันๆ คิดการดำเนินๆ เพื่อความเพลิดเพลินๆ เราสู้อด ทนๆ พวกเราๆ ชาวบ้านบาตรทุกคนๆ ถึงจะยากจนๆ พร้อมกัน (แต่เพียรพยายาม แก้ไขปรับปรุงวงรำ ชาวคณะให้นาม รำวงบ้านบาตรสามัคคี (** ทวนสามัคคี) นารีงาม (ทำนองสโลว์)

นารีงามเมื่อยามรุ่นดรุณี

ย่อมเป็นที่หมายปองของ

ชาย ฉะนั้น ควรรักนวลสงวนกาย ถนอมเกียรติไว้อย่าให้มี ราคี เปรียบบุปผา คราแรกผลิแย้ม งามแฉล้มสอดแซมกลิ่นสี เป็นที่หมายปองของภุมรี เช่นนารีนั้นชายมุ่งหมาย ตอม สาวงาม หากมีราคี เปรียบมาลีที่ไร้กลิ่นหอม ใครเล่าจักเฝ้าเด็ดดอม มีแต่จักตอมอับเฉาโรยรา บัวลอย เหนือแผ่นผืนน้ำ มิยอมต่ำใต้ผืนคงคา แม้เพียงแต่ชาติพฤกษา ยังรักค่าบุปผามาลี หญิงควรฟัง แล้วจดจำ รักนวลนาง รักเกียรตินารี ละชั่ว สร้างสรรค์ความดี เทิดเกียรตินารี เยี่ยง ดอกบัวงาม มนต์นาง (ทำนอง สวิง) พี่จุก อำพล ทะนานทอง

มนต์นางใดเล่าหนา ร้าแรงยิ่งกว่า คาถานางใด มนต์นางนั้นซึ้งใจ เสน่ห์นางใดเร้าใจข้า หากเป็นเนื้อคู่สมสู่กันมา มนต์นั้นตรึงตรา สลักอุราเสีย นี่กระไร บุญบางใด บุญบางใด จึงได้มาพบกัน มนต์เอย มนต์สวาทจิตใจแทบขาด นิราศจากขวัญตา มนต์นางร้ายแรงยิ่งกว่า มนต์ตราคาถานางใด สิ้นความรัก สุดหักอาลัย ฝากรอยไว้เป็นมนต์สวาทเอย นางเอย ร้อยดวงใจ แม้ชายใด หลงรูป นางเป็น ต้องช้ำ แม่นางร้อยพิศวาส แสนอนาถร้อยเล่ห์มายา อย่าหลงเชื่อวาจา ชานั้นหนาร้อยดวงใจ (๒ รอบ)

๑๘


สัมภาษณ์ กฤษณา แสงไชย, ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘

สาวงามบ้านไกล (ทำนองสโลว์)

สาวงามบ้านไกล

เธออยู่ไหน

สวยงามวิไลงามตา

เพลินพิศวงหน้า

สาวรุ่นงามตา

สวยบาดหัวใจ

ดุจดังหงส์เหิน

ฉันเดินเข้าใกล้

และหวังใจไว้ว่าจะได้จดจำ

ตาดำขำคม

ทั่วร่างเหมาะสม น่านิยมใจแท้

พาใจฉันปรวนแปร

ฉันได้แต่ชะแง้

ฉันพร่ำฝากถ้อยคำ

ไยทำเฉยเมย

ขออย่าได้ละเลย

คำที่พี่เอ่ย

แต่เธอไม่แลเหลียวเลย ไม่เคยหลอกลวง

บรรณานุกรม กรมไปรสนีย์กรุงเทพฯ. สารบาญชีส่วนที่ ๓ และ ๔ ราษฎรในจังหวัด คูแลคลอง ลำปะ โดง สำหรับเจ้าพนักงานกรมไปรสนีย์ กรุงเทพ ตั้งแต่จำนวนปีมะแม เบญจศก จุลศักราช ๑๒๔๕ จิตตวดี จิตรพงศ์, ดร. ม.ล. ความสะอาดของ พระนคร : การเมืองเรื่องวิถีปลงศพในสมัย รัชกาลที่ห้า หน้าจั่ว ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๖ “บาญชีคนตาย,” จ.ศ. 1214–1215, จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๔, ร.4 จ.ศ.๑๒๑๔–๑๒๑๕ เลข ที่ ๑๑๕, สำนักหอสมุดแห่งชาติ ใน นนท พร อยู่มั่งมี. การจัดการพื้นที่เมืองใน กรุงเทพมหานคร: กรณีป่าช้าและพิธีศพ สมัยรัชกาลที่ ๕ สงขลานครินทร์ ฉบับ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๓ (กค.- กย. ๒๕๕๗) วิภา กิจสัมนางกูร. แนวทางการฟื้นฟูย่าน ประวัติศาสตร์เขตชั้นในของ กรุงเทพมหานครกรณีศึกษาย่านแม้นศรี. การศึกษาตามหลัก สูตรการผังเมืองมหา บัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และ การผังเมือง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๑ พานิชพล มงคลเจริญ. http:// krooair.blogspot.com/2011/05/blogpost.html (๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙) อ้างใน อานันท์ นาคคง. เพลงดีที่บ้านบาตร ตอน “รำวงบ้านบาตร” และ อานันท์ นาคคง. เพลงครูคู่สมัย ร้อยกรองทำนองไทย ร้อย สายใยวัฒนธรรม ร้อยสามสิบปีท่านครูหล วงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) “กรมช่างสิบหมู่” http:// www.changsipmu.com/thaiart_p05.html (๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)

๑๙


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.