มนุษยสาร

Page 1

ผลิตบัณฑิตให้มีปัญญา ปีที่ ๑๒

ฉบับที่ ๓

สร้างคุณค่า เดือนมีนาคม

และศักดิ์ศรีความเป็นคน พ.ศ. ๒๕๕๔

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน “ไม่แก้นิสัยตัวเองจะแก้อะไร”

*ภาพประกอบปกจาก หนังสือ “หลวงตา วัดป่าบ้านตาด ๑ รวมเรื่องเล่า...สิ่งที่เห็น”

ฉบับนี้มีอะไร จากใจคณบดี การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน Library ๒.๐ สึนามิกับการเมือง (ไหว) ภาษาสวยงาม

บทความดี ๆ ที่อยากให้ทุกคนอ่าน รื่นเริงทัศนาจรกับอาจารย์จ้อจี้ ในความเคลื่อนไหว ภาพกิจกรรม อวยพรวันเกิด


สวัสดีคณาจารย์และบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทุกท่าน เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากหน้าที่ หรือภารกิจหลักด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทาวิจัย และการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม ยังมี หน้าที่หรือภารกิจต่าง ๆ อีกมากมายที่ทุกท่านมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้บรรลุและสาเร็จด้วยดี อะทิเช่น การร่วม แรงร่วมใจให้งานรับปริญญาบัตรของบัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นไปด้วยดี การเข้าร่วมโครงการปฏิบัติการการจัดทา มคอ. ๓ และมคอ.๔ ระหว่างวันที่ ๓๐ มีนาคม – ๑ เมษายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา และในไม่กี่วันข้างหน้านี้ในเดือนพฤษภาคมที่จะมาถึง ทางคณะก็คงต้องขอความร่วมมือ ท่านอีกหลาย ๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันจัดทาการวิพากษ์ การจัดทา มคอ.๓ และมคอ.๔ คณะมีมติที่จะจัดการ วิพากษ์การจัดทามคอ.ดังกล่าวนอกสถานที่ ส่วนจะเป็นที่ไหนนั้นจะแจ้งให้ทราบภายหลัง ส่วนอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการศึกษาดูงานต่างประเทศ ณ ประเทศเกาหลี ระหว่างวันที่ ๓ – ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ สาหรับอาจารย์ บุคลากรหรือผู้ที่สนใจท่านใดต้องการร่วมโครงการ ขอให้ติดต่อกับคณะเพื่อจะดาเนินการให้ท่าน ส่วนงานที่ทุกท่านต้องตระหนักและถือว่าสาคัญไม่แพ้ภารกิจใด ๆ ก็คือ การร่วมแรงร่วมใจในการดาเนินการ ขับเคลื่อนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไม่ว่าจะเป็นคุณภาพภายใน (IQA) หรือจากภายนอก (EQA) คณะกรรมการการตรวจติดตามการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในจะต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายใน เดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ ส่วนภายนอกนั้นคณะกรรมการจะเข้าตรวจและประเมินผ่านหรือไม่ผ่านในช่วงเดือนมิถุนายน สิงหาคม ๒๔๕๔ ที่จะถึงนี้ การประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกทุกปีที่ผ่านมาจะประเมินรับรอง มหาวิทยาลัยโดยประเมินภาพรวมของมหาวิทยาลัยโดยตรง แต่ปีนี้เป็นปีแรกที่เข้าประเมินแต่ละคณะโดยตรงและ ประเมินมหาวิทยาลัยภาพรวมแยกจากคณะ ถ้าคณะใดคณะหนึ่งไม่ผ่านจะมีผลต่อการรับรองมหาวิทยาลัยทันที ฉะนั้น ทุกท่านถือว่ามีความสาคัญที่จะต้องช่วยคณะและมหาวิทยาลัยในการที่จะดาเนินการการประกันคุณภาพทั้งภายในและ ภายนอก คณาจารย์และบุคลากรทุกคนของคณะมีภาระหน้าที่ตามตัวบ่งชี้ที่ได้รับมอบหมายทั้งจากคณะและจาก สาขาวิชาของทุกคน ขอให้ท่านส่งข้อมูลที่จาเป็นต่อภารกิจดังกล่าวเพื่อการดาเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ต่อไป สุดท้ายต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งแม้จะมีมากแต่ทุกคนก็ไม่ย่อท้อที่จะทา ให้ภารกิจที่มีอยู่เป็นไปด้วยดี และในโอกาสปีใหม่ไทยนี้ คณะขออาราธนาหลวงพ่อศรีสวรรค์ พระสัพพัญญู และสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพและสักการะจงดลบันดาลและอานวยพรให้ท่านและครอบครัวประสบความสุข ความ เจริญ สุข สดชื่นตลอดไปเทอญ

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


สุนันทา เทียมคา หลายท่านคงสงสัยและตั้งคาถามในใจว่าใครเป็นคนตั้งชื่อพายุ ใครสามารถสื่อสารกับพายุได้ว่า “เจ้าพายุเอ๋ย เจ้าชื่ออะไร เราจะได้ สื่อสารกับมวลมนุษย์ได้ถูกต้อง” !!!!!!!! คงเป็นไปไม่ได้ แล้วอะไรล่ะที่นามาใช้เป็นหลักในการตั้งชื่อพายุ คาตอบแห่งความสงสัยนี้มีอยู่ว่า เดิมพายุเฮอร์ริเคนทีเ่ กิดในแถบทะเลแคริบเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษาสเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ ๑๙ ต่อต้นศตวรรษที่ ๒๐ ก็มี นักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียคนหนึ่งชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วไป โดยมี ๒ แบบ แบบที่ ๑ ใช้ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน ส่วนแบบที่ ๒ ใช้ชื่อนักการเมือง เพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนัน้ นาความ หายนะมาให้เช่นเดียวกับพายุหมุน เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วย ความคิดถึงก็นาชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการตกลงกันว่าให้ตั้งชื่อพายุไล่ตามตัวอักษร A-Z (เช่น Able, Baker, Charlie…) แต่อีก ๓ ปีต่อมาก็ เปลี่ยนใจเลือกแต่เฉพาะชื่อสตรี (ตัวอย่าง Alice, Barbara...) วิธีการนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๒๑ (บ้างก็ว่า ๒๕๒๒) จึงได้มี ชื่อบุรุษเป็นชื่อพายุบ้าง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๓ ประเทศและดิน แดนต่ าง ๆ รวมทั้ งสิ้ น ๑๔ แห่งที่ เป็ นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ ฝุ่น ขององค์ การ อุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ (ไม่เอาเฉพาะแต่ชื่อฝรั่ง) โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ ๑๐ ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ ๑๔๐ ชื่อ ส่วนพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ โดยมีประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ร่วมกันเสนอบัญชี รายชื่อเอาไว้ทั้งหมด ๕ ชุดด้วยกัน ประเทศที่เสนอชื่อมี ๑๔ ประเทศ (และดินแดน) ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญีป่ ุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม รายชื่อพายุมี ๑๔๐ ชื่อ นามาแบ่งเป็น ๕ ชุดหลัก ชุดละ ๒๘ ชื่อ โดยไล่เรียงชื่อไปตามลาดับประเทศ (และดินแดน) ที่เสนอมาตาม ตัวอักษรภาษาอังกฤษ หลักการใช้ชื่อพายุที่ก่อตัวขึ้น ๑.เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (กลายเป็นพายุโซนร้อน) พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ ๒.ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ชื่อบนสุดของคอลัมน์หรือชุดที่ ๑ ก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กาหนด ในข้อ ๑ เป็นตัวแรกของปี พายุลูกนั้นจะมีชื่อว่า "ดอมเรย" ๓.เมื่อมีพายุลูกต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กาหนดในข้อ ๑ พายุลูกนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในชุดที่ ๑ เช่น พายุลูกที่ ๒ จะมีชื่อว่า "ไห่คุ้ย" ๔.เมื่อใช้จนหมดชุดแรกให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "จ่ามี" จะใช้ชื่อ "กองเรย" ๕.เมื่อใช้จนหมดชุดที่ ๕ ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของชุดที่ ๑ เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "ซาวลา" จะใช้ชื่อ "ดอมเรย" โดยมีกฎย่อยอยู่ข้อหนึ่งว่า หากพายุลูกใดมีความรุนแรงและสร้างความหายนะมากเป็นพิเศษก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้นไป แล้วตั้งชื่อใหม่ เข้าไปในรายการชื่อแทน ตัวอย่างเช่น เฮอร์ริเคนแอนดรูว์ (Andrew) ซึ่งโดนปลดมาแล้วในบ้านเรา คือ มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้าน ตะวันตก) และทะเลจีนใต้

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


๔ ลักษณะทั่วไปของพายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนเป็นคาทั่ว ๆ ไปที่ใช้สาหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลนที่มีถิ่นกาเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูด ต่า แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรพายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเลที่มี อุณหภูมิสูงตั้งแต่ ๒๖ หรือ ๒๗ องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีปริมาณไอน้าสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จาก ทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้ หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกาเนิด บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจา ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด ๑๗๐องศา เรียกว่า "ไต้ฝุ่น " เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และ ตุลาคม มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน" บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาหรับ เรียกว่า "ไซโคลน" มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด ๙๐ องศา เรียกว่า "ไซโคลน" มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลีวิลลี" พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ ๑๐๐ กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไปโดยพัดเวียน ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบ เป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนามาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้ พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป ชื่อพายุที่ประเทศไทยตัง้ ได้แก่ พระพิรุณ (Prapiroon) วิภา (Wipha) เมขลา (Mekkhala) นิดา (Nida) กุหลาบ มังคุด (Mangkhut) รามสูร (Rammasun) มรกต (Morakot) ชบา (Chaba) ขนุน (Khanun) กล่าวมาถึงตอนนี้คงคลายความสงสัยแล้วนะคะว่าการตั้งชื่อพายุใช้หลักการใด แต่ผู้เขียนละสงสัยจริง ๆ ว่า การที่ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วยเหตุผลเพราะความคิดถึง จึงนาชื่อของคู่รัก หรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุนั้น เป็นความคิดถึงแบบไหนกันแน่..........................แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะ พายุไต้ฝุ่นเกย์ ถือเป็นพายุไต้ฝุ่น ลูกแรกที่พัดเข้าสู่ ประเทศไทยโดยเริ่มก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นในอ่าวไทย ตอนล่าง ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๐๘.๓๐ น. พายุไต้ฝุ่นเกย์ เคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็วถึง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วของพายุไต้ฝุ่นในระดับ ๓ (ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง ๔๔๖ คน) และเคลื่อนขึ้นสู่ชายฝั่ง ประเทศอินเดียในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ด้วยความ รุนแรงสูงสุดระดับที่ ๕ ซูเปอร์ไต้ฝุ่น (สเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน) นาพวัลย์ กิจรักษ์กุล. (๒๕๔๙). ภูมิอากาศของประเทศไทย. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิกิพีเดีย. (๒๕๕๒). การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน. [ออนไลน์].Available: http://th.wikipedia.org/wiki/ (สืบค้น วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔).

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


ศิรินนา วอนเก่าน้อย จากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี Web ๒.๐ ที่แพร่หลาย จะพบเห็นได้ในเว็บชั้นนาต่างๆ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Youtube, Flickr, Hi5, Facebook, del.icio.us, wikipedia, wordpress ฯลฯ ทาให้เกิดแนวคิดที่จะนา Web ๒.๐ เข้ามาใช้กับการบริการออนไลน์ของห้องสมุด แต่ เดิมบริการออนไลน์ของห้องสมุด เน้นที่บริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีให้บริการภายในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วารสาร หรือสื่อต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งถ้าให้บริการเพียงเท่านี้ต่อไป จะทาให้ความน่าสนใจในห้องสมุดจะลดลงน้อยลงทุกที ทั้งที่ห้องสมุดน่าจะเป็ น แหล่งสารสนเทศลาดับแรกๆ ที่คนควรเลือกใช้สาหรับการค้นหาข้อมูล แนวคิดของ Library ๒.๐ ได้มาจุดประกายความน่าสนใจและเพิ่ม ชีวิตชีวาให้กับการบริการออนไลน์ของห้องสมุดอีกครั้ง(library ๒.๐, ๒๐๐๘) การที่จะเข้าสู่โลกของ Library ๒.๐ ได้ ต้องเริ่มจากการเป็นผู้เล่นก่อน มีห้องสมุดจานวนมาก ที่ได้ริเริ่ม และลองเล่นเครื่องมือการ สร้างเครือข่ายทางสังคมต่างๆ (Social Networking Tools) ที่มีให้บริการแล้วนามาประยุกต์ใช้ เช่น Blog – บทความออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้ เขียนเรื่องอะไรก็ได้ หลายหน่วยงานใช้เพื่อประกาศข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ให้ ผู้สนใจได้ติดตาม Wiki – ต้นแบบของการทางานร่วมกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เขียนบทความ สารานุกรมในเรื่องที่น่ารู้ต่างๆ ในแบบช่วยกันเขียน ช่วยกันแก้ไข อภิปรายร่วมกัน จนได้ข้อสรุปสุดท้าย เป็นองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือ Folksonomy – เรียกอีกอย่างว่า Tag เป็นคาหรือข้อความที่บอกถึงหมวดหมู่ กลุ่มเนื้อหาของสิ่งต่างๆ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งบาง คนอาจใช้โดยแทนที่จะบอกว่าสิ่งนั้นเกี่ยวกับอะไร แต่ให้ข้อมูลการนาไปใช้แทนก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด RSS – รูปแบบการรับส่งข้อมูลข่าวสารที่สะดวก รวดเร็ว ทาให้สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บต่างๆ ได้อย่างสะดวก มากยิ่งขึ้น เพียงแค่บอกรับ (Subscribe) เว็บที่สนใจ หากมีการปรับปรุงข้อมูลใดๆ ข้อมูลเหล่านี้จะเข้ามาหาเองโดยที่ไม่ต้องเข้าไปเว็บนั้นให้ เสียเวลา Podcast และ Videocast – การเผยแพร่ไฟล์เสียงและไฟล์วิดีโอต่างๆ ที่น่าสนใจ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายข้อมูลข่าวสาร ของหน่วยงาน Social Bookmarking – แบ่งปันลิงค์ (Link) URL เว็บไซต์ที่น่าสนใจร่วมกัน สร้างให้เกิดแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เพราะ อย่างน้อย URL เหล่านั้นก็เคยมีคนเก็บไว้เพื่อเรียกใช้งาน ห้องสมุดบางแห่งใช้ del.icio.us เพื่อการสร้าง Subject Guide หรือชี้แหล่งข้อมูลใน หัวเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ หรือใช้เพื่อการตอบคาถามได้อีกด้วย Social Networking – เครือข่ายทางสังคม ของคนที่สนใจอะไรเหมือนๆ กัน มีตัวอย่างให้เห็นมากมายในปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้ เครื่องมือเหล่านี้ ใช้คนที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ ให้เป็นประโยชน์ให้ข้อมูลเฉพาะด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี Next Generation OPAC – การสืบค้นหนังสือหรือข้อมูลยุคใหม่ ที่ต้องสะดวก รวดเร็ว พาผู้ใช้ไปยังข้อมูลที่เขาสนใจได้อย่าง ง่ายดาย มีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ มีเครื่องมือในการช่วยเหลือให้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้แสดง ความคิดเห็น ในรายการต่างๆ ได้ ดังนั้นการทีจ่ ะเปลี่ยนแนวคิดห้องสมุดเพื่อก้าวสู่เข้าสู่ Library ๒.๐ ต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัตงิ าน เพื่อ ปรับเปลี่ยนมุมมองในการทางานและส่งเสริมให้มีการพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง เอกสารอ้างอิง Boonlert. (ม.ป.ป). ก้าวสู่ห้องสมุด ๒.๐ (Library ๒.๐) ได้อย่างไร. ค้นข้อมูล ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔,จาก http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1751&Itemid=132 Supaporn. (2551). Library ๒.๐ แนวคิดใหม่ของห้องสมุด. ค้นข้อมูล ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔,จาก http://www.stks.or.th/blog/?p=534 Library 2.0. (2008). Retrieved February 3, 2011, from http://tcdclibrary.wordpress.com/2008/09/06/library-20/

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


บารมีบุญ แสงจันทร์ จากเหตุการณ์เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ ๑๑ มีนาคมที่ผ่านมา ตรงกับเวลาในประเทศญี่ปุ่นประมาณบ่ายสองโมง ซึ่งก็เป็น ชั่วโมงการทางาน ได้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงอย่างสึนามิขึ้น ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวความรุนแรง ๘.๙ ริกเตอร์ บริเวณ นอกชายฝั่ง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู มีขนาดความสูงของคลื่น ๔-๑๐ เมตร สร้างความเสียหายให้กับอาคาร บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถูกทาลาย ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทางโรงพยาบาล สถานีรถไฟฟ้า โรงเรียน แม้กระทั่งสนามบิน เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิต อย่างน้อย ๓๐๐ รายและวันถัดมาก็เกิดเหตุการณ์อาฟเตอร์ช็อค รวมถึงการระเบิดของโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ ถือว่าเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ และสร้างความเสียหายให้กับประเทศญี่ปุ่นรุนแรงที่สุดในรอบ ๑๔๐ ปี จากการรายงานของนายยูอิโกะ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น ทาให้ทราบว่าที่ผ่านมาแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในเขตคันโต เมื่อปี ๒๔๖๖ แรงสั่นสะเทือนวัดได้ถึง ๘.๓ ริกเตอร์ และอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๓๙ ความรุนแรง ๗.๒ ริกเตอร์ และล่าสุดคือบริเวณ เกาะฮอนชู ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดเป็นอันดับที่ ๗ ของโลก หากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้วนั้น ประเทศเฮติ ที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคร่าชีวิตผู้คนไม่ต่ากว่า ๒ แสนคน ณ ระดับความรุนแรง ๗.๐ ริกเตอร์ ส่วน คลื่นยักษ์สึนามิมาจากภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง สาหรับคนไทยเหตุการณ์ที่ยังอยู่ในความทรงจาก็คือเมื่อครั้ง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ที่สร้างความสูญเสียและความเสียหายอย่างใหญ่หลวง รวมทั้งผลกระทบที่ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวแถบจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ เรื่อยมาถึงระนองและประจวบคีรีขันธ์ แต่สาหรับเหตุการณ์ทางการเมืองก็คงหนีไม่พ้นกับการที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยทีมแกนนาฝ่ายค้าน อย่างคุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ที่กาลังจะเกิดขึ้นก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภาอย่างแน่นอน และผลสรุปก็ออก มาแล้วคือระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ มีนาคมนี้ อีกฟากหนึ่งการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ ๑๒ มีนาคม นี้เตรียม ประกาศศักดาและทวงคืนคามั่นสัญญาต่อรัฐบาล ในการยุบสภาหรือลาออกภายหลังชุมนุมใหญ่ล่าสุด ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓ หากเปรียบเทียบในความเหมือนและแตกต่างระหว่างสึนามิของญี่ปุ่นกับของไทย ญี่ปุ่นเกิดจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่ไม่เอื้ออานวย นามาซึ่งความหายนะและความสุญเสีย แต่สาหรับประเทศไทย สึนามิทางการเมืองเกิดจากบุคคล กลุ่ม บุคคลที่กาลังก่อร่างเป็นคลื่นลมและมรสุม คือมิได้เกิดจากภัยธรรมชาติแต่เป็นการเกิดจาก “ ทรัพยากรบุคคล” เมื่อเป็น เช่นนี้ ความขัดแย้งเป็นตัวชี้วัดระดับความรุนแรงได้เป็นอย่างดี นอกจากมีมาตรวัดแบบ “ริกเตอร์” แต่ความขัดแย้งของฟาก ญี่ปุ่นไม่มีครับ ก็ลองวิเคราะห์ดูแล้วว่า หากร่องมรสุม อากาศแปรปรวน การก่อตัวของคลื่นลมมีแนวโน้มสูงขึ้น คิดแล้วว่า “สึนามิ” ของการเมืองไทยน่าจะมีระดับความรุนแรงที่มากกว่า ยังไม่รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นตามมา แต่เมื่อปีที่ผ่านมา คนไทยทั้งประเทศก็ได้รับผลกระทบและความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ้างแล้ว แล้วอย่างนี้จะมัวเสียเวลากับการหาสาเหตุและ แหล่งที่มาของการเกิดคลื่นลมมรสุมอยู่ทาไม น่าจะเตรียมพร้อมรับคาประกาศเตือนภัยเพื่อที่จะเตรียมตัวและหาทางป้องกัน ได้ถูกต้องและทันตรงต่อเวลา แต่ที่แน่ ๆ หากอานาจจริงยังมีมากอยู่ ก็คงมิใช่การประกาศเตือนภัยจากศูนย์กลางใน ระดับชาติที่มีแกนนาอย่างฝ่ายรัฐบาล แต่กลัวว่าจะมีอานาจของฝ่ายกองทัพและสีกากีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ที่เตรียมจะล้ม อานาจ การปฏิวัติหรือรัฐประหาร แต่ที่คุ้นหูของคนไทยก็คือ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอ.ออ.ฉอ.กระมังครับ (ขอบคุณครับ) มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


นฤมล คำชมภู

“คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล” เป็นคากล่าวที่ยังใช้ได้ดี เพราะ “ต้น” นักเรียนห้องโอลิมปิคจากโรงเรียนนครสวรรค์ นาเนื้อเพลง Moon River มาให้ดู บอกว่า “สนใจ” ผู้เขียนรู้ตัวดีว่า ลาพังเราแล้วไม่เคยตีความเพลงสากลได้ถูกต้องหรือ ลึกซึ้งเลย จึงขอให้ คุณ Raymond Wallstead ครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ช่วยศึกษาและตีความ ได้รับ ความอนุเคราะห์มา ดังนี้ค่ะ Moon River Andy Williams

Moon River, wider than a mile, I’m crossing you in style some day. Oh, dream maker, you heart breaker, Wherever you’re going I’m going your way. Two drifters off to see the world. There’s such a lot of world to see. We’re after the same rainbow’s end - Waiting ‘round the bend, my huckleberry friend, Moon River and me.

เนื้อหาของเพลงอาจมอบความเพลิดเพลิน หรือเป็นสื่อรักหวานซึ้งของหนุ่มสาว แต่เบื้องลึกของเพลงได้สะท้อน ภาพยุคทาสในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และวรรณกรรมชิ้นเอกของ Mark Twain คาร้องในเพลงนี้มีชื่อ Huckleberry ซึ่งมา จากนิทานยิ่งใหญ่ “The Adventures of Huckleberry Finn” ของ Mark Twain ผู้ถ่ายทอดภาพชีวิตลาเค็ญของเหล่าทาส ที่ถูกใช้แรงงานและถูกกักขัง ชื่อ “Huckleberry” หรือ “Huck” ซึ่งตัวละครที่เป็นเด็กชายนิโกร ถูกใช้ถ่ายทอดภาพและ อารมณ์ของเพลง Moon River ที่บรรยายถึง ผู้ดิ้นรนหนีจากห้องคุมขังโดยมีความหวังให้สายน้า Mississippi ยามค่าคืน ช่วยนาพาให้เขาพบชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งเปรียบได้กับปลายสายรุ้ง เขาเรียกสายน้าว่า dream maker และ heart breaker เท่ากับ เป็นการฝากความหวัง “..,wherever you’re going,I’m going your way.” ส่วน “Two drifters” หมายถึง ตัวละคร Jim กับ Huck ในนิทาน ภาพและอารมณ์ของเพลง Moon River จึงประกอบด้วย friendship, escape และ hope in a better tomorrow *ข้อมูลเพิ่มเติม http://blogspot.com/.../on-moon-river.html

Reference: Quills and Parchment (๒๐๐๘). On Moon River. (Online). Available: http://blogspot.com มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


สาวราศีสิงห์

ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง เรามียาใหม่ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น... เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่​่าลง เรามีอาหารดีๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง ทุกวันนี้ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง ๒ คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจากนี้ไป...ขอให้พวกเรา อย่าเก็บของดีๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือโอกาสที่พิเศษสุดแล้ว กินอาหารให้อร่อย ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด จงแสวงหา การหยั่งรู้ จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่ โดยไม่ใส่ใจกับความอยาก... จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงคนที่รักให้มากขึ้น... เอาค่าพูดที่ว่า......สักวันหนึ่ง......ออกไปเสียจากพจนานุกรม บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ที่จะท่าอะไรก็ตามที่ท่าให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น!!! *แล้วคุณล่ะคะ เห็นด้วยกับบทความในข้างต้นนี้หรือไม่ ? ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/31895.html (๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


เฉียงตะวัน ยอดดาเนิน เมื่อวันที่ ๒๑-๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ พวกผมคณะครูอาจารย์ประจาสาขาวิชานิติศาสตร์ได้มีโอกาสไปดูงานที่ด่าน ศุลกากร อ.แม่สาย จ.เชียงรายพร้อมนักศึกษากศ.บป.รุ่น ๒๙-๓๐/๑ จริง ๆ แล้วไปดูงานที่ไหนไม่มีปัญหาแต่ที่เป็นปัญหาคือ เรื่องของระยะทางอันยาวไกลถึงหกร้อยกว่ากิโลเมตร สาหรับคนเมารถอย่างผมแล้วนี่คือทัวร์นรกดี ๆ นี่เอง ฝันร้ายเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ เวลาประมาณ ๒๒.๓๐ นาฬิกา ณ โรงแรมต้นน้า ผมไปถึงตรงเวลา เป๊ะ ๆ ไม่ขาดไม่เกินแม้แต่วินาทีเดียว เรื่องธรรมดาของคณะทัวร์ที่มีคนเดินทางกันหลายคนคือไม่สามารถนัดทุกคนให้ตรง ต่อเวลาได้ กว่ารถจะหมุนล้อก็ร่วมห้าทุ่มครึ่ง ซึ่งหมายความว่าจะไปถึงเชียงรายพรุ่งนี้เช้า คืนนี้เราต้องนอนในรถกัน หลังจากนอนในรถอย่างสบายมาก ๆ (ประชด) เราก็ไปถึงวัดร่องขุนเวลาประมาณ ๖ โมงเช้า วัดนี้เป็นวัดที่มี สถาปัตยากรรมงดงาม ทาด้วยปูนปั้นสีขาวตัดขลิบด้วยกระจกประกายแสงดูสวยงามตระการตา จะสวยงามมากกว่านี้ถ้าเรา เข้าไปดูใกล้ ๆ เพราะช่วงเวลาที่เราไปถึงนั้นเขายังไม่เปิดให้เข้าชมครับ (เปิดให้ชมเริ่มที่ ๘ นาฬิกา) ในที่สุดเราก็ไปถึงที่หมาย คือ ด่านศุลกากรแม่สาย ซึ่งเป็นหน้าด่านก่อนที่จะเข้าไปชอปปิ้งที่ตลาดแม่สายกัน เจ้าหน้าที่ของที่นั่นดีมากครับ ต้อนรับขับสู้เราเป็นอย่างดี เมื่อเราเข้าไปในอาคารการประชุมก็ถึงกับอึ้งทึ่งเสียวในความ อลังการงานสร้างของหอประชุมที่นั่น เพราะมีความเรียบหรูสะอาดสะอ้านจนท่านอ.ปราชญ์ทนไม่ไหวต้องสั่งให้ อ.ฐิตาภรณ์มือกล้องประจาสาขาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นการใหญ่เพื่อเอาไปปรับปรุงห้องประชุมของเรา สมแล้วที่ได้รับรางวัล "โครงการสานักงานน่าอยู่" จากผู้ว่าฯเชียงรายจริงๆ เมื่อวิทยากรเดินทางมาถึง ท่านก็เริ่มบรรยายการทางานของด่านศุลกากรแม่สายประกอบเพาเวอร์พอยต์ตามสมัย นิยม สรุปใจความแบบคร่าว ๆ ก็คือ ด่านศุลกากรแม่สายมีหน้าที่ตรวจของทุกชนิดที่ขนส่งผ่านทางด่านนี้ เจ้าหน้าที่มีอานาจ ตรวจค้นทั้งเวลากลางวันและกลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้นเพื่อพบสิ่งผิดกฎหมายหรือสินค้าที่หนีภาษี ซึ่งสิ่งของที่ตรวจพบ และต้องยึดไว้ก็มักเป็นพวกยาเสพติด ยาแก้หวัด(สามารถสกัดสารซูโดอีเฟดรีนออกมาเพื่อใช้ผลิตยาเสพติด) สินค้าละเมิด ลิขสิทธิ์ต่างๆ สื่อลามกอนาจาร สิ่งของเหล่านี้เมื่อตรวจพบแล้วต้องทาลายทิ้งอย่างเดียวไม่มีการเก็บไว้ ส่วนสินค้าหนีภาษี เช่นเหล้า บุหรี่เจ้าหน้าที่จะยึดเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน สาหรับการตรวจค้นเจ้าหน้าที่เองก็จะมีการใช้เครื่องมือไฮเทคไม่ว่า จะเป็นกล้องวงจรปิด เครื่องเอกซเรย์ช่วยในการตรวจค้นด้วย ด่านศุลกากรแม่สายจึงมีความสาคัญในฐานะที่เป็นปราการ ด่านแรกเพื่อป้องกันประเทศจากสินค้าที่เป็นภัยต่อสังคมและเศรษฐกิจครับ อ้อ เกือบลืม ด่านศุลกากรแม่สายนี้แม้เดิมทีจะ ไม่มีหน้าที่ในการเก็บภาษี แต่เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริการโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่สะดวก รวดเร็ว อันมีลักษณะของ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (one stop service) จึงให้อานาจด่านศุลกากรแม่สายเก็บภาษีสาหรับของติดตัวผู้เดินทางที่มีมูลค่าไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทด้วย เมื่อจบการบรรยายแล้ว ผมก็ขอกินคุกกี้จากอ.ฐิตาภรณ์และอ.นนทพัทธ์ที่นั่งอยู่ขนาบข้างเพราะแน่ใจว่าท่านไม่กิน แน่ด้วยความตะกละส่วนตัวพร้อมเดินไปถ่ายรูปพอเป็นพิธี แล้วเราก็ออกเดินทางกันต่อเพื่อไปรับประทานอาหารกลางวัน อาหารกลางวันมื้อนี้อร่อยมากครับมีต้มยาปลาบึกที่หากินยากในจังหวัดนครสวรรค์ด้วย

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


๑๐

ในที่สุดก็น่าจะถึงวัตถุประสงค์สาคัญสาหรับใครหลาย ๆ คนจากการดูงานครั้งนี้เสียที นั่นคือ การเลือกชมสินค้าที่ ตลาดแม่สาย ที่นั่นเป็นตลาดปลอดภาษีซึ่งน่าจะเรียกได้ว่ามีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของขาชอปปิ้งทั้งหลาย การจะเดินเข้า ไปตลาดแม่สายได้เราต้องเดินผ่านด่านชายแดนเพื่อเข้าไปในประเทศพม่าเสียก่อน เจ้าหน้าที่ได้เตือนเราว่า ขอให้ซื้อสินค้า สาหรับใช้ส่วนตัวเท่านั้น โดยเฉพาะพวกสินค้าห้ามนาเข้า เช่น ซีดีลามกห้ามซื้อเด็ดขาด ส่วนเหล้าบุหรี่แม้จะไม่ได้ห้ามแต่ก็ ได้รับการเตือนว่าถ้าเป็นไปได้อย่าซื้อดีกว่า เพราะด่านไทยยังไม่ค่อยเท่าไหร่แต่ด่านพม่านี่เข้มมาก ตัวผมเองไม่ใช่ขาชอปปิ้ง จึงเปรียบได้กับกระต่ายน้อยท่ามกลางฝูงราชสีห์ที่หื่นกระหาย เป้าหมายของผมมีเพียง อย่างเดียวคือกระเป๋าสะพายของผู้หญิงที่คุณแม่ฝากซื้อด้วยงบประมาณ ๖๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องใบใหญ่ ๆ ด้วย ผมจึง ติดสอยห้อยตามอ.อึ่งและอ.หน่อยขาชอปทั้งสองไป ขอเม้าท์นิดหน่อย สองคนนี้เขาเป็นคู่แข่งกันครับชอบแข่งกันซื้อว่าใคร ซื้อได้ถูกกว่าแม้จะเป็นแค่สิบบาทยี่สิบบาทก็ตามที หลังจากซื้อของเสร็จ ผมค่อนข้างผิดหวังกับตลาดแม่สาย เพราะสินค้าไม่ถูกเท่าที่หวังไว้แถมสินค้าเกือบทุกร้านก็ จะซ้า ๆ กันไม่หลากหลายเท่าที่ควร(ในมุมมองของผู้ชายนะครับ) แต่เห็นว่ามือถือที่นั่นราคาถูกมาก ขายในไทยสองหมื่น ตลาดแม่สายขายแค่ไม่กี่พัน ตัวผมเองแอบคิดนับถอยหลังวันที่เครื่องพังสาหรับพวกเขาเหล่านั้นด้วยครับ เราไปถึงที่พักเกือบหกโมงเย็น เกินเวลาตามหมายกาหนดการเพราะใช้เวลากับการชอปปิ้งที่ตลาดแม่สาย ค่อนข้างมาก เมื่ออาบน้าแต่งตัวเสร็จก็รับประทานอาหารเย็นกันพร้อมฉลองด้วยการร้องเพลง อ.กฤตินเป็นคนร้องเพลงเปิด ฟลอร์เป็นคนแรกด้วยการร้องผิดคีย์นิดหน่อยทาให้คนรูปหล่ออย่างแกอายม้วนต้วน ส่วนตัวผมแอบเข้านอนไปก่อนตั้งแต่สี่ ทุ่มครึ่งเมื่อดูมนต์รักลูกทุ่งจบ เช้าวันต่อมาผมตื่นด้วยความสดใส ออกจากห้องพักก็ตกใจมีหมอกลงเต็มไปหมดเลย สวยมากครับ เป็นโชคดีจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่อากาศไม่หนาวมาก พวกเราออกจากที่พักตอน ๙ โมงเช้า สายมากเลยเพราะเมื่อคืนฉลองหนักไปหน่อย วันนี้เป็นวันที่สองและเป็นวันเดินทางกลับ ชีวิตส่วนใหญ่จึงอยู่ในรถ พวกเราจอดรถแวะซื้อสตรอเบอรี่กัน ผมไม่ ชอบกินแต่ก็ต้องซื้อเพราะคนขายสวยมาก คนเหนือเขากินผักเลยผอมเกือบทุกคนแถมยังผิวขาวเพราะอากาศหนาวด้วย มาตรฐานสูงครับ ช่วงบ่ายเราล่องเรือเที่ยวชมทิวทัศน์พร้อมแวะเที่ยวชมที่ตลาดเกาะคาซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศลาว ไม่ต้องกังวล เรื่องของภาษาครับเพราะคนไทยคนลาวเป็นพี่น้องกันพูดภาษาเดียวกันรู้เรื่อง สินค้าส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกระเป๋า ของที่ระลึก ต่าง ๆ รวมถึงงานแกะสลักจากซากสัตว์ด้วย ตัวผมเองก็เหมือนเคยแค่เที่ยวชมของต่าง ๆ ก็เพลินแล้ว(โดยเฉพาะเหล้าดอง สารพัดพิษ สยองมาก) ไม่มีความเสียหายทางทรัพย์เลยแม้แต่บาทเดียวที่ตลาดนี้ หลังจากนั้นเราต้องรีบเดินทางกลับเพราะเสียเวลาไปมากแล้ว เราถึงที่โรงแรมต้นน้าตอนตีสองกว่า ๆ ด้วยการฆ่า เวลาจากการร้องคาราโอเกะในรถกันตลอดทางร่วมสิบชั่วโมง เมื่อผมกลับถึงบ้านอาบน้าเสร็จหัวถึงหมอนก็หลับทันที อา... บ้านของเรานี่แหละคือสวรรค์อย่างแท้จริง

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


๑๑

วัน/เดือน/ปี ๑-๓ มีนาคม

ชื่อ ผศ.ดร.จิตราภรณ์ เพ็งดี

สถานที่ ประชุมเชิงปฏิบัติการ LA๒๑ ระดับประเทศ จ.ชลบุรี

๕-๑๒ มีนาคม

ดร.ประจักร์ รอดอาวุธ

ศึกษาดูงาน ณ ประเทศอังกฤษ

๗-๑๑ มีนาคม

นางพิมพ์อุมา ธัญธนกุล

ศึกษาดูงาน ณ ประเทศเกาหลีใต้

๒๐-๒๒ มีนาคม

ผศ.ศุภาวีร์ เลิศผาติวงศ์

เข้ารับการอบรมเรื่องการวิเคราะห์และจัดทาแผนบริหารความเสี่ยง มาตรฐาน ณ โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ

๒๒ มีนาคม

น.ส.ศมลพรรณ ภู่เล็ก

ศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติการ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์เพาะช่าง กรุงเทพฯ

๒๓-๒๔ มีนาคม

ดร.พรรณภัทร ใจเอื้อ ดร.วรภพ วงค์รอด

ประชุมเรื่อง “การพัฒนาความร่วมมือนักวิชาการเพื่อการคุ้มครอง สิทธิผู้บริโภคภาคเหนือ” จ.เชียงใหม่

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


๑๓

วัน/เดือน/ปี

ชื่อ

สถานที่

๑๗-๑๘ ม.ค.๒๕๕๔

นายพลกฤต

๑๙ ม.ค. ๒๕๕๔

นางสาวดิศราวรรณ เลิศลาย ผู้ร่วมเดินทาง ๘ คน

๑๙ ม.ค. ๒๕๕๔ ๑๙-๒๐ ม.ค. ๒๕๕๔ ๒๐-๒๑ ม.ค. ๕๕๔

เกษตรเวทิน

นางสาวดิศราวรรณ เลิศลาย ผู้ร่วมเดินทาง ๙ คน นายภิญโญ ภู่เทศ รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง นายณัฐ ล้าเลิศ

๒๑-๒๒ ม.ค.๒๕๕๔ นางสาวสุนันทา เทียมคา

นิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสังคมวิทยา จ.เชียงราย เชิญร่วมกิจกรรม “การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ระดับอุดมศึกษา”มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง อ.เมือง จ.ลาปาง ร่วมแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา จ.ลาปาง นิเทศนักศึกษาวิชาดนตรี กรุงเทพฯ เข้าร่วมการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ศิลปะการวิจัย ครั้งที่ ๔ จ.นครปฐม โครงการภูมิศาสตร์ถวายพระพรพ่อหลวงศึกษาและแปลภาพถ่ายดาวเทียม บริเวณสนามหลวงและร่วมสัมมนาทางวิชาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

๒๖-๒๘ ม.ค.๒๕๕๔ ดร.วรภพ

วงค์รอด

กรุงเทพฯ ร่วมฟังบรรยายพิเศษเรื่อง “มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก” จ.เชียงใหม่ นานักศึกษาจัดค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน จ.พิจติ ร

๒๗ ม.ค. ๒๕๕๔

นางนวพร

ละม้ายศรี

นิเทศนักศึกษาฝึกงาน บริษัทคิงพาวเวอร์ สนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ

๒๗ ม.ค. ๒๕๕๔

นางสาวสาวิตรี สอาดเทียน

ร่วมกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียนวัดขนุน จ.พิจิตร

๒๗-๒๘ ม.ค. ๕๕๔

นางสาวฐิติรัตน์ รักษาศรี

นานักศึกษาไปเข้าค่ายภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน ค่ายจิระประวัติ จ.นครสวรรค์

๒๕-๒๖ ม.ค.๒๕๕๔ นางณัฏฐิรา กาญจนศิลป์

๒๗-๒๘ ม.ค.๒๕๕๔ นายปราชญ์

ปรัชญาพันธ์

พานักศึกษาไปศึกษาดูงาน จ.ชลบุรี และ กรุงเทพฯ

๒๙ ม.ค. ๒๕๕๔

นางนงลักษณ์ ปิยะมังคลา

เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ “นาศิลปะร่วมสมัยไปสู่สถาบันการศึกษา” จ.พิษณุโลก

๒๙ ม.ค. ๒๕๕๔

นายสมยศ

เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเรื่อง “นาศิลปะร่วมสมัยไปสู่สถาบันการศึกษา” จ.พิษณุโลก

๓๑ ม.ค. ๒๕๕๔

นางสาวศมลพรรณ ภู่เล็ก ผู้ร่วมเดินทาง ๔ คน

ศึกษาดูงานศิลปวัฒนธรรมเชิงปฏิบัติการ ณ อุทยานประวัตศิ าสตร์ จ.เพชรบูรณ์

๓๑ ม.ค. ๒๕๕๔

นางสาวธิดากุล บุญรักษา

ทาวีซ่าให้นักศึกษาโครงการอบรมภาษาระยะสั้น ณ ต่างประเทศ สถานทูตจีน กรุงเทพฯ

ยังตาล

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๑


๑๒

ภูมิศาสตร์ถวายพระพรพ่อหลวง ศึกษาและแปลภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณสนามหลวง และร่วมสัมมนาทางวิชาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและนันทนาการ วันที่ ๒๐-๒๑ มกราคม ๒๕๕๔

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


๑๓

บรรยากาศวันซ้อมใหญ่รับพระราชทานปริญญาบัตร ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

มนุษยสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓


๑๔

ชัชนีย์ วินิจชัยนันท์

๑ ๑๓ ๒๓ ๒๓

มีนาคม มีนาคม มีนาคม มีนาคม

อ.สุกัญญา ผศ.วัชรา รศ.ประเสริฐ อ.สิริจิตต์

แผ่วพลิ้วลิ่วต้องลม สุดแสนแดนดินไหน อวยพรกลอนวันเกิด ทิวาและราตรี รศ.ประเสริฐนั้น อังกฤษคิดฉะฉาน ผศ.วัชรา ปรากฏเป็นดั่งปิ่น อ.สิริจิตต์แก้ว สานต่องานปรัชญา อ.น้องสุกัญญา การงานเร่งเร็วไว ขอพรพระทั่วแคว้น สุขใจเป็นที่รัก เดือนนี้เป็นเดือนเกิด สมใจดั่งที่หมาย จึงขอกล่าวอวยพร ด้วยจิตคิดยินดี

คงสูน เฉลยทรัพย์ จันทร์อุดม ปันเงิน

มีนาคมสมสุขใจ วันใดใดทุกข์ไม่มี อันงามเลิศแสนสุขี ขอวจีนี้ขับขาน ท่านยึดมั่นในการงาน รู้เก่งการณ์น่ายลยิน ท่านนาพาวิจิตรศิลป์ ทั่วทุกถิ่นต่างลือชา งามเพริศแพร้วแวววาจา มุ่งรู้ค่าอบรมใจ งามคุณค่าภาษาไทย จิตสดใสแสนน่ารัก ทั่วทุกแดนมาปกปักษ์ ทุกข์ที่หนักจักผ่อนคลาย แสนประเสริฐเลิศสบาย โศกมลายคลายฤดี เป็นคากลอนทั้งหมดนี้ หวังท่านมีความสุขใจ

มนุษยสาร :เจ้าของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ที่ปรึกษา คณบดี, รองคณบดีทุกฝ่าย, หน.สานักงานคณบดี บรรณาธิการ ผศ.ศุภาวีร์ เลิศผาติวงศ์ กองบรรณาธิการ ผศ.ศุภาวีร์ เลิศผาติวงศ์ และหัวหน้าสาขาวิชาทุกสาขา พิสูจน์อักษร อ.ชูชาติ คุ้มขา และ อ.ณัฐวุฒิ เชื้อชวด ออนไลน์ นางดวงใจ ฉ่ามะนา, นางสาวสดใส เลิศเดิช, นายศรพิชัย โนนทอง, นางสาวขวัญเรือน กระจ่างเอี่ยม, ว่าที่ ร.ต เอกลักษณ์ นาคพ่วง และ นายวงศ์สถิตย์ พริกสี วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร และเป็นสื่อแลกเปลี่ยนทัศนะทางวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.