ลิงคอล์น: ความรู้ฉบับพกพา

Page 1

6

Lincoln

ค�ำน�ำผู้แปล

.

หนังสือเรื่อง ลิงคอล์น: ความรู้ฉบับพกพา โดยอัลเลน ซี. เกวลโซ (Allen C. Guelzo) เป็นชีวประวัติของประธานาธิบดี คนที่ 16 แห่งสหรัฐอเมริกา ที่เขียนและเล่าได้อย่างกะทัดรัด มีเนื้อหาอันสมบูรณ์ ผู้เขียนย่อยและสังเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมของเอบราแฮม ลิงคอล์น ตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษมาถึงตัวลิงคอล์นเอง เพื่อท�ำให้ผู้อ่านมองเห็นและ ซึมซับภาพความเป็นลิงคอล์นได้อย่างสมจริงมากทีส่ ดุ ในแง่ของ การเขียนและการค้นคว้า ชีวประวัติเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่าง อันดีส�ำหรับผู้ที่ต้องการท�ำงานชีวประวัติ เพื่อใช้เป็นแบบอย่าง ในการท�ำงานต่อไป อย่ า งไรก็ ต าม หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ขี ย นขึ้ น โดยมี ผู ้ อ ่ า น ในสหรัฐอเมริกาเป็นเป้าหมายหลัก และผู้อ่านในประเทศที่พูด ภาษาอังกฤษเป็นเป้าหมายรอง กล่าวอย่างรวมๆ คือ ผู้อ่านใน


A Ver y Shor t Introduction

7

กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้อ่านที่พอจะคุ้นเคยกับวัฒนธรรมประเพณี ทางสั ง คมและการเมื อ งของระบบประชาธิ ป ไตยเสรี นิ ย ม รู ้ จั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ห ลั ก ๆ ของการเปลี่ ย นแปลงมาสู ่ ร ะบบ ประชาธิปไตยเสรีนิยมพอสมควร ผู ้ เ ขี ย นให้ น�้ ำ หนั ก ในการเล่ า ประวั ติ ลิ ง คอล์ น ไปที่ ทางความคิด ไม่ใช่ประวัติการเป็นนักการเมืองหรือแม้กระทั่ง การเป็ น ประธานาธิ บ ดี เช่ น นี้ แ ล้ ว ในด้ า นปั ญ หาและความ ขัดแย้ง รวมไปถึงกลยุทธ์การเป็นผู้น�ำผู้บริหารต่างๆ นานา จึงไม่ได้ถูกพูดถึงเลย ตั้งแต่ต้นไปจนจบ ผู้เขียนล�ำดับให้เรา เห็นพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในโลกทางภูมิปัญญาของ ลิงคอล์น เข้าใจว่าการเน้นดังกล่าวอาจเป็นการพยายามสร้าง งานเขียนเกี่ยวกับลิงคอล์นที่ใหม่ ไม่ซ�้ำกับที่คนอื่นได้เขียนถึง ก่อนแล้ว ดังที่ทราบกันดีว่า งานเขียนและหนังสือที่พิมพ์เรื่อง ลิ ง คอล์ น นั้ น มี ป ริ ม าณมากที่ สุ ด ในบรรดางานเขี ย นเกี่ ย วกั บ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือผู้น�ำคนอื่นๆ ของโลก ดังนั้นเพื่อ มิให้หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงการตัดแปะแล้วสรุปเรื่องย่อๆ ของ ลิงคอล์น ซึง่ มีอยูใ่ นหนังสือนับพันเล่มแล้ว เกวลโซจึงต้องค้นคว้า และสร้ า งผลงานเขี ย นอั น เป็ น ความคิ ด ใหม่ ว ่ า ด้ ว ยลิ ง คอล์ น ในแบบฉบับของเขาเองออกมา นัน่ คือ ความคิดทางการเมืองและ สังคมของลิงคอล์น จุดนี้เป็นอีกข้อที่นักวิชาการและนักเขียน ไทยควรศึกษาแบบอย่างและวิธกี ารตัง้ โจทย์ในการศึกษาของเขา ข้ อ เสนอใหม่ อั น น่ า สนใจของเกวลโซคื อ ลิ ง คอล์ น มีความคิดทางการเมืองในส�ำนักประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่าง เต็มเปี่ยม กล่าวคือ มีความศรัทธา (ไม่ใช่เพียงแค่เชื่อเฉยๆ)


8

Lincoln

ในความเป็นอิสระเสรีของปัจเจกบุคคล แล้วเสรีภาพดังกล่าว คืออะไร ค�ำตอบคือเสรีภาพที่จะเป็นอะไรในสังคมก็ได้ เป็นการ เปิดกว้างให้แก่ความปรารถนาของปัจเจกชน ซึ่งเป็นใครก็ได้ ไม่ จ�ำเป็ น ต้ อ งมี ฐ านะและการศึ ก ษาดี ถึ ง จะสามารถฝั น ถึ ง ความต้องการในชีวิตของตนเองได้ ในโลกแห่งความเป็นจริง เสรีภาพเช่นนี้ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้ในสังคมและโครงสร้างการ ปกครองที่ยังมีความเหลื่อมล�้ำและฐานันดร คนรุ่นลิงคอล์น จึงสรุปได้ไม่ยากว่า เสรีภาพของบุคคลไม่ใช่อะไรที่ได้มาจาก สวรรค์ หรือมาจากการประทานมอบให้โดยกษัตริย์ หรือจะ เป็นอ�ำนาจศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติเช่นพระเจ้าก็หาไม่ หาก แต่เสรีภาพและผลพวงของมัน จักได้มาจากการต่อสู้และตื่นตัว ของคนคนนั้น ดังที่ลิงคอล์นกล่าวไว้ในปี 1859 ตอนหนึ่งว่า “ไม่มีชนชั้นแรงงานรับจ้างด�ำรงอยู่ตลอดกาลในหมู่พวกเรา ยี่สิบห้าปีก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเป็นแรงงานรับจ้าง แรงงานรับจ้าง เมื่อวานนี้ ท�ำงานที่เป็นของตนเองในวันนี้ และจะจ้างคนอื่นๆ มาท�ำงานให้เขาในวันพรุ่งนี้” ดังนั้นลิงคอล์นจึงเป็นแบบฉบับ ของคนอเมริกันคลาสสิก คนอเมริกันที่สร้าง “ความฝันแบบ อเมริกัน” (American Dream) ที่เริ่มต้นจากเสื่อผืนหมอนใบ แล้วค่อยๆ ไต่เต้าไปจนถึงสุดยอดของสังคม ด้ ว ยอุ ด มการณ์ ป ระชาธิ ป ไตยเสรี นิ ย มอย่ า งมั่ น คง ของลิงคอล์นนี่เอง ที่ท�ำให้เขาตัดสินใจเด็ดเดี่ยวในการจัดการ ปัญหาเรื่องทาสและระบบทาสที่ด�ำรงอยู่อย่างชัดเจนในมหาชน รัฐอเมริกา รัฐซึ่งก่อตั้งขึ้นมาจากค�ำประกาศที่ว่า คนเราเกิดมา เท่าเทียมกัน แต่จนถึงวันทีล่ งิ คอล์นเข้ารับต�ำแหน่งประธานาธิบดี


A Ver y Shor t Introduction

9

ระบบทาสซึ่งเติบใหญ่เฉพาะในภาคใต้ ก�ำลังขยายอานุภาพและ ส�ำแดงพลังท้าทายระบบสหพันธรัฐ ด้วยการประกาศแยกตัว หรือที่ผมแปลเพื่อให้ผู้อ่านไทยได้เข้าถึงง่ายๆ ว่า “การแยก ดินแดน” ออกจากการเป็นสมาชิกของสหรัฐอเมริกา แล้วไปตั้ง สมาพันธรัฐอเมริกาเข้าต่อกรในทางทหารกับสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ให้ภาพซึ่งน่าจะใกล้ความเป็นจริง ของลิงคอล์น ที่ต้องผ่านกระบวนการต่อสู้ทางความคิดในการ จัดการปัญหาระบบทาส เป็นการต่อสู้ที่เจ็บปวดและหนักใจ เขาต้องบอกตัวเองไว้อย่างชัดเจนหนักแน่นว่า สิ่งที่คิดและ กระท�ำลงไปนั้ น คื อ ความถู ก ต้ อ ง ผู ้ น�ำรั ฐ ที่ ท�ำให้ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ทั้งดีและเลว ล้วนต้องเชื่อในความถูกต้อง ในการกระท�ำของตนทั้งนั้น ปัญหาที่เราสนใจคือ ผู้น�ำทั้งหลาย มีสมมติฐานและความคิดความเชื่อกระทั่งเป็นหลักปฏิบัติ หรือ ที่นักวิชาการเรียกว่าทฤษฎี ในลักษณะใด ส�ำหรับลิงคอล์น ทันทีที่เขาสรุปได้ว่าปัญหาเรื่องระบบทาสผิวด�ำในสหรัฐฯ คือ ปัญหาระหว่างความถูกต้องของการมีทาส กับความผิดของการ มีทาส เขาก็รู้แล้วว่าเขาควรจะเดินไปในทิศทางไหน ที่เหลือคือ วิ ธี ก ารและยุ ท ธวิ ธี ใ นการน�ำความคิ ด และนโยบายไปสู ่ ก าร ปฏิบัติที่เป็นจริงในทางสาธารณะ หากจะสรุปบทเรียนจากการ เป็นผู้น�ำทางการเมืองของลิงคอล์น ผมคิดว่ามันคือการที่ผู้น�ำ จักต้องมีความกล้าในการตัดสินใจปฏิบัติ แต่ความกล้า (ไม่ใช่ บ้ า บิ่ น ) ต้ อ งวางอยู ่ บ นพื้ น ฐานของความเข้ า ใจกระจ่ า งแจ้ ง อย่างแท้จริงในอุดมการณ์การเมืองของตน เพราะการผลักดัน การปฏิ บั ติ น โยบายสาธารณะนั้ น ไม่ มี เ รื่ อ งไหนจะฝ่ า ฟั น


10

Lincoln

ไปได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่มีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์แบบชนชั้น มาถึ ง ประเด็ น สุ ด ท้ า ยอั น เป็ น หั ว ใจของประวั ติ ลิงคอล์น นั่นคือสงครามกลางเมืองและการประกาศเลิกทาส ผมอยากคิ ด ว่ า ในเวลาสองนาที ที่ ลิ ง คอล์ น กล่ า วปราศรั ย ในพิ ธี ร�ำลึ ก และอุ ทิ ศ ถึ ง ทหารผู ้ เ สี ย สละไปในการรบที่ เมื อ งเกตตี ส เบิ ร ์ ก หรื อ ที่ รู ้ จั ก กั น ต่ อ มาในชื่ อ “ค�ำปราศรั ย เกตตีสเบิรก์ ” เขาได้กา้ วผ่านจากการเป็นคนอเมริกนั นักการเมือง และผู้น�ำรัฐบาล ไปสู่การเป็น “วีรบุรุษ” ของประวัติศาสตร์ พูดอย่างเฮเกล (George W. F. Hegel) เขาได้กลายเป็นวิญญาณ ของประวัติศาสตร์ และขับเคลื่อนปรัชญาประวัติศาสตร์ไปสู่ ความสมบูรณ์อนั ได้แก่การบรรลุถงึ เสรีภาพทีแ่ ท้จริง หากเปรียบ กับความคิดแบบไทยพุทธ ก็คอื การเข้าถึงภาวะนิพพานหรือการ ปลดเปลื้องซึ่งพันธนาการทางโลกให้หมดสิ้นไป ประโยคอันเป็น วาทะทองของประวัติศาสตร์อเมริกา ที่ไม่มีใครลืมและไม่อาจฟัง อย่างนิ่งเฉย โดยไม่รู้สึกว่าเลือดความเป็นเสรีชนได้พลุ่งพล่าน ขึ้นมา คือประโยคที่ว่า “อสี ติ กั บ อี ก เจ็ ด ปี ก ่ อ นหน้ า นี้ 1 บรรดาบิ ด าของเรา ได้สร้างชาติใหม่ในทวีปแห่งนี้ ชาติซึ่งก�ำเนิดมาในอิสรภาพและ ประโยคอั น จะกลายมาเป็ น วาทะส�ำคั ญ ยิ่ ง ของสุ น ทรพจน์ เ กตตี ส เบิ ร ์ ก คือข้อความที่เริ่มต้นด้วยกาลเวลาของการปฏิวัติอเมริกา ค�ำว่าอสีติ หรือ four score มาจากคัมภีรไ์ บเบิล ในการแปลเป็นภาษาไทย พยายามหาค�ำทีใ่ ห้ความ รู้สึกใกล้เคียงกับภาษาในคัมภีร์ศาสนา ที่ใกล้ที่สุดคือ “อสีติ” แปลว่าแปดสิบ 1


A Ver y Shor t Introduction

11

อุทิศให้แก่หลักการที่ว่า คนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน บัดนี้เรา เข้าร่วมในสงครามกลางเมืองที่ยิ่งใหญ่ มันเป็นการทดสอบว่า ประเทศชาติหรือประเทศใดๆ ก็ตาม ที่ก่อตั้งขึ้นมาด้วยความ ยึดมั่นและการอุทิศตนแก่หลักการดังกล่าว จะสามารถฝ่าฟัน และรักษาความเป็นประเทศได้อย่างยาวนาน เรามาชุมนุมกัน ณ สนามรบที่ ยิ่ ง ใหญ่ ข องสงครามนี้ เรามาเพื่ อ อุ ทิ ศ พื้ น ที่ ส่วนหนึ่งของสนามรบนี้ให้เป็นสถานที่พักพิงสุดท้ายส�ำหรับ ผูซ้ งึ่ ได้สละชีวติ ของพวกเขาเพือ่ ธ�ำรงไว้ซงึ่ ประเทศชาติ ทัง้ หมดนี้ เป็นความเหมาะสมและสมควรที่เราจะต้องท�ำ ... “มันควรจะเป็นพวกเรา ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ที่จะต้อง เป็ น ผู ้ อุ ทิ ศ ตนให้ แ ก่ ง านที่ ยั ง ไม่ บ รรลุ งานซึ่ ง บรรดา ผู ้ ที่ ไ ด้ ต ่ อ สู ้ เ พื่ อ มั น ได้ ท� ำ ให้ ก ้ า วหน้ า ไปอย่ า งสู ง ส่ ง แล้ ว ก็ในเมื่อพวกเรามาพร้อมกัน ณ ที่นี้ เราจึงควรตั้งใจอุทิศ ให้แก่ภารกิจยิ่งใหญ่ที่ยังเหลืออยู่ต่อหน้าเรา — นั่นคือ จากความตายที่มีเกียรติเหล่านี้ เราจักเพิ่มการเสียสละแก่ จุดหมาย เพื่อที่จะเติมเต็มความหมายของการเสียสละ — นั่นคือ เรา ณ ที่นี้ มีมติว่าความตายเหล่านี้จักไม่ตายอย่าง ไร้คา่ — นัน่ คือ ประเทศนี้ ภายใต้พระผูเ้ ป็นเจ้า จักได้เสรีภาพ ที่เกิดใหม่ — และรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จักไม่มลายไปจากโลก” “Four score and seven years ago our fathers brought forth on this continent, a new nation, conceived in Liberty, and dedicated to the proposition that all men are


12

Lincoln

created equal. Now we are engaged in a great civil war, testing whether that nation, or any nation so conceived and so dedicated, can long endure. We are met on a great battlefield of that war. We have come to dedicate a portion of that field, as a final resting place for those who here gave their lives that that nation might live. It is altogether fitting and proper that we should do this. ... It is for us the living, rather, to be dedicated here to the unfinished work which they who fought here have thus far so nobly advanced. It is rather for us to be here dedicated to the great task remaining before us—that from these honored dead we take increased devotion to that cause for which they gave the last full measure of devotion—that we here highly resolve that these dead shall not have died in vain—that this nation, under God, shall have a new birth of freedom—and that government of the people, by the people, for the people, shall not perish from the earth.” มิติใหม่อีกอย่างที่ผู้เขียนน�ำเสนอไว้ในชีวประวัติของ ลิงคอล์น คือศาสนาคริสเตียนโปรเตสแตนต์ในความคิดของ ลิงคอล์น แม้วา่ เขาจะไม่ใช่คนเคร่งศาสนา และออกจะอยูห่ า่ งจาก ค�ำสอนและวัตรปฏิบัติทางศาสนาอยู่มาก เนื่องจากเขามีศรัทธา ในพระเจ้าองค์ใหม่ คือความก้าวหน้า การผลิตทางอุตสาหกรรม และการค้ า แต่ ใ นที่ สุ ด เมื่ อ ต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ ความขั ด แย้ ง


A Ver y Shor t Introduction

13

ขั้นวิกฤตของชาติและประชาชน ลิงคอล์นสามารถเจริญสติและ ปัญญาขึ้นมาได้ ด้วยการหันไปหาค�ำสอนและความเชื่อทาง ศาสนาที่เขาเคยได้รับการอบรมและปฏิบัติมาในสมัยที่เป็นเด็ก การจัดการคลี่คลายวิกฤตทางการเมืองจึงด�ำเนินไปได้ ด้วยการ ทีเ่ ขาเองก็ตอ้ งคลีค่ ลายปมเงือ่ นทางความคิดในตัวเขาให้กระจ่าง เสียก่อน ประวัตคิ วามคิดทางการเมืองของลิงคอล์นดังทีน่ �ำเสนอ ในหนังสือเล่มนี้ จึงมีข้อคิดและบทเรียนส�ำหรับผู้สนใจ ทั้งในแง่ ประวัติศาสตร์และในแง่การเมือง อย่างอนันต์

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ 12 กันยายน 2555



ลิงคอล์น •

ความรู้ฉบับพกพา

LINCOLN • A Ver y Shor t Introduction by

Al l en C. Gu el zo

แปลโดย

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ


16

Lincoln

บทน�ำ


A Ver y Shor t Introduction

17

เอบราแฮม ลิ ง คอล์ น (Abraham Lincoln) เป็ น ผู ้ ที่ รั ก ชื่ อ เสี ย งมากกว่ า ใครอื่ น ครั้ ง หนึ่ ง เขาเคยร�ำพึ ง ว่ า “โอ มันเป็นเรื่องยากจริงๆ ที่จะต้องตายไปโดยไม่สามารถทิ้ง อะไรที่ดีขึ้น ให้แก่โลกที่เราใช้ชีวิตอันน้อยนิดใบนี้” และหนึ่งใน รางวั ล ตอบแทนทั้ ง หลายที่ เ ขาภู มิ ใ จมากเมื่ อ ได้ ป ระกาศ ค�ำประกาศเลิกทาส (Emancipation Proclamation) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 คือความคาดหวังว่า “ชื่อที่ติดอยู่กับ กฎหมายฉบับนี้ จะไม่มีวันถูกลืมเลือนได้” แน่นอน ชื่อเสียงคือ สิ่ ง ที่ ลิ ง คอล์ น ได้ รั บ ไม่ เ พี ย งแต่ ใ นสหรั ฐ อเมริ ก าเท่ า นั้ น หากแต่ได้รับจากทั่วโลกด้วย เขาเป็นหนึ่งในห้าคนอเมริกันที่ โลกรู้จัก เคียงข้างไปกับ จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เบนจามิน แฟรงคลิน (ฺBenjamin Franklin) และ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง (Martin Luther King) แต่ปัจจัยที่จะใช้อธิบายความมีชื่อเสียงนั้นแตกต่าง กันไป จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง และกระทั่งจาก


18

Lincoln

ยุคสมัยหนึ่งไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง กล่าวส�ำหรับคนอเมริกันที่มี ชีวิตอยู่หลังจากลิงคอล์นถึงแก่อนิจกรรมด้วยน�้ำมือของฆาตกร ในปี 1865 ลิงคอล์นมีชอื่ เสียงในฐานะ “ผูป้ ลดปล่อยทาสอเมริกนั สี่ล้านคนผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งก็ตรงกับความคาดหวังของเขา ที่อยาก จะให้ ค นจดจ�ำเขาด้ ว ยเหตุ ผ ลเช่ น นี้ แต่ ส�ำหรั บ คนอเมริ กั น รุ่นถัดๆ ไป พวงมาลัยของนักเลิกทาสผู้ยิ่งใหญ่หนักเกินไปที่จะ สวมใส่บนคอของลิงคอล์น พวกทาสที่ลิงคอล์นได้ปลดปล่อยไป ในปี 1863 เป็นนิโกร และการที่ประชากรผิวขาวส่วนใหญ่ ของสหรั ฐ อเมริ ก ายั ง มี ค วามคิ ด ต่ อ เนื่ อ งเรื่ อ ยมาว่ า อ�ำนาจ ทางเชื้อชาติของคนผิวขาวสูงกว่าเชื้อชาติอื่นๆ ถึงที่สุดแล้ว ความคิดดังกล่าวก็สร้างความตึงเครียดอันเจ็บปวดระหว่าง นโยบายสาธารณะทัง้ หลาย จนมีผลท�ำให้บรรดาทาสทีเ่ ป็นไทและ ลู ก หลานของเขา กลายเป็ น คนที่ ถู ก แบ่ ง แยกอย่ า งถู ก ต้ อ ง ตามกฎหมาย การสดุดีบุรุษผู้เลิกทาสจึงเป็นการสร้างความ ตึงเครียดนี้ขึ้นมาเป็นล�ำดับแรก ดังนั้นพวงมาลัยของผู้เลิกทาส จึงถูกแทนที่ต่อมาด้วยพวงมาลัยในชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมาย จนแทบไม่ต่างจากร้านขายพวงมาลัย ที่ซึ่งคนอเมริกันสามารถ เลือกพวงที่เหมาะสมที่สุดกับการเมืองหรือความพอใจของคน รุน่ ต่อๆ มา เช่น ลิงคอล์นผูไ้ ถ่สหพันธ์ ลิงคอล์นคนของประชาชน ลิงคอล์นผู้เสียสละ เป็นต้น ภายใต้ ก องมาลั ย ที่ แ ตกต่ า งมากมาย การค้ น หา ตัวตนของเขาในแบบที่เขาเป็นจริงๆ เกือบเป็นสิ่งที่ท�ำไม่ได้ ตั ว ลิ ง คอล์ น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ช ่ ว ยในเรื่ อ งนี้ ม ากนั ก ในยุ ค สมั ย ที่ ก าร บันทึกไดอารีประจ�ำวันเป็นเรื่องที่ท�ำกันจนเกือบเหมือนกับการ


A Ver y Shor t Introduction

19

ถูกบังคับ เขาไม่มีแม้กระทั่งบันทึกสั้นๆ ที่สะท้อนชีวิตประจ�ำวัน เขาไม่มีชีวิตยาวพอที่จะเขียนบันทึกความทรงจ�ำออกมา ดังที่ บรรดานายพลของเขา เช่น แกรนต์ (Grant) เชอร์แมน (Sherman) เชอริแดน (Sheridan) และแมกเคลแลน (McClellan) ได้ท�ำไว้ มีข้อเขียนคร่าวๆ เกี่ยวกับอัตชีวประวัติของลิงคอล์นสองชิ้น ที่ เ ขาเขี ย นออกมาในปี 1859 และ 1860 ส�ำหรั บ รณรงค์ หาเสียงเลือกตั้ง อันนั้นก็ได้มาเพราะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เป็นผู้คาดคั้นให้เขาเขียนออกมา การไม่ค่อยพูดถึงอดีตของเขา มากนั ก เป็ น สิ่ ง ที่ น ่ า สนใจยิ่ ง หลายครั้ ง มั น สร้ า งความขั ด ใจ ให้แก่เขา เขาสงสัยว่าคนทีต่ อ้ งการรูเ้ รือ่ งของเขานัน้ มีจดุ ประสงค์ อะไร ถึงต้องการขุดคุย้ ภูมหิ ลังของชาวไร่ผยู้ ากจนเช่นเขาออกมา ครัง้ หนึง่ เขาเคยกล่าวต่อคนทีซ่ กั ถามเขาอย่างสอดรูว้ า่ “ข้าพเจ้า ได้เห็นก้นบึง้ ของโลกนีม้ าไม่นอ้ ย” ซึง่ นัน่ เป็นสิง่ ทีเ่ ขาพอใจจะพูด ถึงมากที่สุดแล้ว ในปี 1953 รอย พี. เบสเลอร์ (Roy P. Basler) กับเจ้าหน้าที่ของเขา ช่วยกันรวบรวมข้อเขียนของลิงคอล์น แล้วพิมพ์ออกมาในชุด สรรพนิพนธ์ (Collected Works) รวม 8 เล่ม ถือว่าเป็นหนึ่งในความส�ำเร็จของงานเอกสารที่ยิ่งใหญ่ ในวงวิชาการอเมริกัน แต่ทั้งหมดนั้นก็เต็มไปด้วยเรื่องราวสั้นๆ ที่เกิดขึ้นแบบวันต่อวัน ที่แทบจะไม่บอกเลยว่าอะไรคือปัจจัย ที่ปรุงแต่งความคิดและคุณค่าของลิงคอล์นขึ้นมา แม้ในบรรดา กองจดหมายที่ไม่มีอะไรเด่นและจืดชืดใน สรรพนิพนธ์ จะมี ค�ำปราศรั ย อั น ทรงพลั ง ของเขาและเอกสารส�ำคั ญ ๆ ของรั ฐ ประดั บ อยู ่ เ ป็ น ช่ ว งๆ กระนั้ น ก็ ต าม สิ่ ง เหล่ า นั้ น ก็ สื่ อ สาร น้อยมาก ว่าอะไรที่สร้างความคิดของลิงคอล์นขึ้นมา เพราะ


20

Lincoln

ภาพประกอบ 1 ลิงคอล์นที่ห้องสตูดิโอแห่งใหม่ของอเล็กซานเดอร์ การ์ดเนอร์ (Alexander Gardner) ในวอชิงตัน (สิงหาคม 1863)


A Ver y Shor t Introduction

21

น้ อ ยครั้ ง มากที่ เ ขาจะเสี ย เวลาไประบุ แ หล่ ง ที่ ม าที่ เ ขาใช้ ในการอ้างอิง เดวิด เดวิส (David Davis) เพื่อนและผู้นิยมลิงคอล์น กล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า “ลิงคอล์นเป็นคนเก็บตัว เก็บลับมากที่สุด เท่ า ที่ ข ้ า พเจ้ า เคยเจอ หรื อ คาดว่ า จะเจอ” วิ ล เลี ย ม เฮนรี เฮิร์นดอน (William Henry Herndon) ผู้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนส�ำนัก กฎหมายของเขาถึงสิบสี่ปีก็เห็นด้วย “เขาเป็นคนแข็ง ยากที่จะ เข้าใจ แม้กระทั่งกับเพื่อนผู้ใกล้ชิดที่สุด และเพื่อนบ้านที่สนิท และคุ้นเคยกันมากกับเขา” แต่เบือ้ งหลังเกราะก�ำบังส่วนตัวของบุรษุ ผูม้ คี วามตัง้ ใจ เด็ดเดี่ยวนี้ มี ความคิด และความคิดเหล่านั้นอาจถูกแกะรอยได้ เฮนรี เคลย์ วิตนีย์ (Henry Clay Whitney) ผู้ซึ่งได้พบลิงคอล์น ครั้งแรกในปี 1854 คิดว่า ภาพความประทับใจแรกๆ ที่ลิงคอล์น มักจะสร้างให้แก่คนที่พบกับเขาได้รับรู้ คือภาพของ “ชาวไร่ ผู้บึกบึนแต่ฉลาด” แต่ลีโอนาร์ด สเวตต์ (Leonard Swett) เพื่อนเก่าที่รู้จักกับเขามานานรู้ดีว่า “ใครก็ตามที่มองลิงคอล์น อย่างตื้นเขิน อีกไม่นานจะพบว่าตัวเองตกอยู่ในหลุมพราง” ลิ ง คอล์ น เข้ า สู ่ อ าชี พ ทางกฎหมายในปี 1837 โดยไม่ ไ ด้ จ บ จากโรงเรียนกฎหมาย (หรือไม่ว่าโรงเรียนอะไรทั้งสิ้น) แต่เขา ฝึกปรือจากต�ำรากฎหมายพื้นฐานบางเล่มเป็นอย่างดี รวมทั้ง จากการสอนส่วนตัวของจอห์น ทอดด์ สจ๊วต (John Todd Stuart) นั ก กฎหมายผู ้ มี อิ ท ธิ พ ล ผู ้ เ กิ ด ความเอ็ น ดู ใ นตั ว ลิงคอล์นซึ่งมีอายุ 28 ปีในเวลานั้น จากนั้นลิงคอล์นก็ได้ก้าว เข้ า สู ่ อ าชี พ และกลายเป็ น ทนายความที่ ป ระสบความส�ำเร็ จ


22

Lincoln

เขาท�ำคดี ค วามมากกว่ า 5,600 คดี ใ นรั ฐ และในระบบศาล สหพันธ์ของอิลลินอยส์และสหรัฐอเมริกา วิตนีย์ตกตะลึงที่ เห็นลิงคอล์นสามารถเป็น “คนผู้น่ากลัวเหมือนทหารที่ได้รับ ตราเกียรติยศ” เมื่อซักค้านในศาล “เขาเข้าใจธรรมชาติมนุษย์ เป็นอย่างดี อีกทั้งเชี่ยวชาญและเด็ดขาดในการตรวจสอบและ ซักค้านพยานทั้งหลาย” วิตนีย์เขียน “ถ้าพยานบอกความจริง โดยไม่ปิดบัง ลิงคอล์นจะให้ความเคารพและให้ความช่วยเหลือ แต่เขาจะเล่นงานพยานที่กล่าวเท็จอย่างไม่ปรานี เขาไม่จด บันทึก แต่จดจ�ำทุกอย่างได้เป็นอย่างดีเหมือนกับคนที่จด” ความใฝ่รู้ทางภูมิปัญญาของลิงคอล์นมีอย่างล้นเหลือ กระทั่ ง เกิ น ความต้ อ งการที่ จ�ำเป็ น ในการประกอบวิ ช าชี พ อย่างกฎหมาย จอห์น ทอดด์ สจ๊วต บอกแก่คนเขียนประวัติ ลิงคอล์นส�ำหรับการรณรงค์หาเสียงในปี 1860 ว่า ลิงคอล์นมี “ความคิดแบบอภิปรัชญาและปรัชญา ความรู้ทางด้านภาษา ของเขาอาจจ�ำกั ด แต่ ใ นด้ า นอื่ น ๆ ข้ า พเจ้ า ถื อ ว่ า เขาเป็ น คนที่มีความรู้อย่างกว้างขวางและหลากหลายยิ่ง” ลิงคอล์น ต่างจากบรรดาเพื่อนนักกฎหมายของเขา เขา “ได้ท�ำให้วิชา ธรณีวิทยาและวิทยาศาสตร์อื่นๆ เป็นการศึกษาพิเศษ” และ “มักศึกษาเข้าไปถึงธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ เสมอ” นักกฎหมาย อังกฤษ จอร์จ บอร์เรตต์ (George Borrett) ผู้ได้สัมภาษณ์ ลิงคอล์นตอนที่เขาเป็นประธานาธิบดีในปี 1864 แปลกใจมาก เมื่อลิงคอล์น “เปิดประเด็นด้วยการตั้งข้อสังเกตอันแหลมคม เกี่ยวกับระบบกฎหมายของสองประเทศ ต่อจากนั้นก็พูดถึง ระบบกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น ของอั ง กฤษ” ก่ อ นที่ จ ะปิ ด การสนทนา


A Ver y Shor t Introduction

23

ด้วยค�ำวิจารณ์ “ในบทกวีอังกฤษ ท่านประธานาธิบดีกล่าวว่า เมื่อพวกเรารบกวนเขา เขาตกอยู่ในภวังค์ของ (อเล็กซานเดอร์) โป๊ป (Alexander Pope)” จอห์น เฮย์ (John Hay) หนึ่งในทีม จัดการการเลือกตั้งขั้นต้นของลิงคอล์น ก็ประหลาดใจเช่นกันที่ พบว่า เขา “ตกอยู่ในการสนทนาเรื่องนิรุกติศาสตร์” กับลิงคอล์น “ซึ่งในเรื่องนั้น” ท่านประธานาธิบดี “มีความเอนเอียงที่จะท�ำ ไม่มากนัก” กระทั่งในช่วงไม่กี่สัปดาห์สุดท้ายในชีวิตของเขา ท่ า นประธานาธิ บ ดี ซึ่ ง รู ้ กั น ดี ว ่ า ชอบอ่ า นหนั ง สื อ ตลกข�ำขั น ด้ ว ยเสี ย งดั ง ๆ ได้ ก ล่ า วแก่ นั ก วารสารจากซานฟรานซิ ส โก โนอาห์ บรูกส์ (Noah Brooks) เพื่อไม่ให้ลืมว่าเขา “ก็เป็นคน รักหนังสือปรัชญาหลายเล่มด้วยเหมือนกัน” จากนั้นก็พูดถึง รายการหนั ง สื อ อั น ทรงอิ ท ธิ พ ลยิ่ ง ในวงการปรั ช ญาอเมริ กั น และบริติช เช่น หนังสือคลาสสิกของ โจเซฟ บัตเลอร์ (Joseph Butler) เรื่ อ ง Analogy of Religion ว่ า ด้ ว ยกฎหมาย ธรรมชาติ หนังสือของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เรื่อง On Liberty กระทั่งหนังสือต้องห้ามในศตวรรษที่ 18 ของ กลุ่มผู้สนับสนุนลัทธิคาลแวง (Calvalnist) อย่าง โจนาทาน เอ็ดเวิร์ดส์ (Jonathan Edwards) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเจตจ�ำนง เสรีและลัทธินิยัตินิยม (determinism) แต่การเมืองเป็น “สวรรค์” ของลิงคอล์น และ “ในเรื่อง เศรษฐศาสตร์การเมือง เขายอดเยี่ยมมาก” เฮิร์นดอนเขียน ว่า “ลิงคอล์นชอบเศรษฐศาสตร์การเมือง และชอบที่จะศึกษา มั น ” ที่ ก ล่ า วเช่ น นี้ เ พราะเฮิ ร ์ น ดอนจ�ำได้ ว ่ า บรรดาหนั ง สื อ ทีล่ งิ คอล์นอ่านอย่างเอาจริงเอาจัง ล้วนเป็นหนังสือ “เศรษฐศาสตร์


24

Lincoln

การเมืองเล่มส�ำคัญ” ในศตวรรษที่ 19 อาทิ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ว่าด้วย Principles of Political Economy (1848) เฮนรี เครีย์ (Henry Carey) ว่าด้วย The Harmony of Interests, Agricultural, Manufacturing and Commercial (1851) และ Principles of Political Economy (1837) เซอร์เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Sir Herbert Spencer) ว่าด้วย Social Statics: or, the Conditions Essential to Human Happiness Specified (1851) และ ฟรานซิส เวย์แลนด์ (Francis Wayland) ว่าด้วย Elements of Political Economy (1837) กล่าวเป็นการเฉพาะ ลิงคอล์น “กิน ย่อย และดูดซึมงานเล่มเล็กของเวย์แลนด์จนหมด” บรรดา รายชื่อนักเขียนและชื่อเรื่องเหล่านี้คงไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ในปั จ จุ บั น แต่ ใ นสมั ย ของลิ ง คอล์ น งานเหล่ า นี้ เ ป็ น งานที่ ถูกพัฒนาขึ้นพร้อมกับแกนทางภูมิปัญญาและวรรณกรรมของ โลกประชาธิปไตยเสรีนิยมในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ และ จากแกนทางภูมิปัญญาเหล่านั้น ท�ำให้เรามีกุญแจที่จะเข้าใจ ลิงคอล์นตามที่เขาเข้าใจตัวเขาเอง ในสมั ย ของเรา ลั ท ธิ เ สรี นิ ย มมี ค วามหมายถึ ง การ ผสมรวมกันของอารมณ์ความรู้สึก ลัทธิเสพสุข และความเชื่อ จ�ำนวนหนึ่งที่ว่า ปัญหาทั้งหลายเป็นความผิดของระบบสังคม และการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเป็นเรื่องของรัฐบาล แต่ในโลก ของยุโรปและอเมริกาช่วงศตวรรษที่ 19 (และในปรัชญาการเมือง ในประเทศยุโรปภาคพื้นทวีปยุคปัจจุบัน) ลัทธิเสรีนิยมคือการ ประยุกต์ใช้ปรัชญาแสงสว่าง (Enlightenment) ในทางการเมือง ค�ำอธิบายพื้นฐานของลัทธิเสรีนิยมแบบนี้ก็คือ รัฐบาลไม่ใช่สิ่ง ลึ ก ลั บ ที่ ส วรรค์ ม อบลงมาให้ อ ยู ่ ใ นมื อ กลุ ่ ม คนพิ เ ศษที่ ไ ด้ รั บ


A Ver y Shor t Introduction

25

มอบหมายเพียงหยิบมือเดียว (เช่น กษัตริย์ ดยุก หรือเจ้าทั้ง หลาย) หรือเป็นสายน�้ำแห่งประสบการณ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง ไม่อาจดัดแปลง หรือท�ำลายลงไป และประชาชนก็ไม่ได้เกิดมา ดั ง เช่ น พวกชาวนาในยุ ค กลาง ที่ เ กิ ด มาพร้ อ มกั บ สถานะ อั น ไม่ อ าจเปลี่ ย นแปลงได้ ต้ อ งทนอยู ่ กั บ มั น ไปตลอดชี วิ ต (ขุ น นาง หรื อ สามั ญ ชน ได้ รั บ การปกป้ อ ง หรื อ ถู ก สาป ทาส หรือ ไท) ประชาชนถือก�ำเนิดมาพร้อมกับ สิทธิ — “สิทธิ อันไม่อาจเพิกถอนได้” ตามที่โทมัส เจฟเฟอร์สัน ระบุไว้ใน ค�ำประกาศเอกราช (The Declaration of Independence) — ซึ่งพวกเขาต้องเป็นอิสระ (ไท) เพื่อที่จะใช้ (สิทธิ) ในฐานะที่เป็น ความใฝ่ฝันโดยธรรมชาติของความเป็นมนุษยชน ลัทธิเสรีนิยม จึงอุทิศอย่างสุดจิตสุดใจให้แก่เสรีภาพ โดยเฉพาะเสรีภาพที่ จะเป็น อะไรก็ได้ตามแต่ความสามารถของคุณ และเปิดกว้าง ให้ใช้สิทธิของคุณได้อย่างเสรี ความปรารถนาที่ จะเป็ น (อะไรก็ ไ ด้ ใ นทางสั ง คม) มีแนวโน้มที่จะสร้างรูปแบบทางการเมืองของสาธารณรัฐและ ระบบทุนนิยมชนชั้นกลาง ให้เข้ามาแทนที่ระบบกษัตริย์และ เจ้าที่ดินแบบทอรีในอังกฤษ1 ซึ่งทุกอย่างผูกติดอยู่กับสถานะ พรรคทอรี (Tory) เป็นชื่อเรียกกลุ่มการเมืองในอังกฤษฝ่ายอนุรักษนิยม เริ่ ม มี บ ทบาททางการเมื อ งในปี 1678 ในฐานะกลุ ่ ม ผู ้ คั ด ค้ า นพรรควิ ก ซึ่งเป็นพรรคที่ซ้ายกว่าและช่วยสนับสนุนกษัตริย์เจมส์ที่สองขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส�ำเร็จ ในปี 1760 พรรคทอรีสลายตัวลงไป แล้วเกิดใหม่อีกในปี 1783 จนถึงปี 1830 เมื่อแพ้ฝ่ายวิกที่ต้องการยกเลิกพระราชบัญญัติธัญพืช (Corn Laws) กลุ่มย่อยที่แตกออกไปกลุ่มหนึ่งภายใต้นายกรัฐมนตรีดิสราเอลี ก่อตั้ง พรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) ซึ่งยังคงอยู่ถึงปัจจุบันนี้ สมาชิก พรรคอนุรักษนิยมยังเรียกตัวเองว่าทอรี (ผู้แปล) 1


26

Lincoln

อันแน่นอนตายตัว นักเสรีนิยมอังกฤษอย่าง ริชาร์ด คอบเดน (Richard Cobden)2 และ จอห์น ไบรต์ (John Bright)3 เข้าใจดี ว่า การต่อสู้กับป้อมปราการของพวกขุนนางเจ้าที่ดินโดยผ่าน กฎหมายธัญพืช แท้จริงแล้วเป็น “การต่อสู้เพื่ออิทธิพลทาง การเมืองและความเท่าเทียมทางสังคมระหว่างชนชั้นขุนนาง เจ้าที่ดินกับนักอุตสาหกรรมใหม่ทั้งหลาย” นักเสรีนิยมเยอรมัน โยฮัน จาโคบี (Johann Jacoby) อธิบายลัทธิเสรีนิยมในปี 1832 ด้วยแนวทางเปรียบเทียบแบบสองสีคู่ขัดแย้งเช่นเดียวกันว่า “ทั้งสองกลุ่มการเมืองต่างเผชิญหน้ากัน ฝ่ายหนึ่งคือผู้ปกครอง และขุนนาง ซึง่ มีความโน้มเอียงไปทางการใช้ชวี ติ อันหรูหรา และ ยึดมัน่ ในสถาบันทีไ่ ร้เหตุผลแบบเก่าแก่ อีกฝ่ายหนึง่ คือประชาชน ที่ เ พิ่ งตื่ น ขึ้ น มาหมาดๆ พร้ อ มกั บ ความรู ้ สึ ก แบบใหม่ ที่ มี ต ่ อ อ�ำนาจและการต่อสู้อย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อพัฒนาตัวตนที่เป็น เสรี” มันไม่ใช่การต่อสู้เพียงเพื่อความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ริชาร์ด คอบเดน เป็นนักอุตสาหกรรมผ้าที่มีฐานะดีในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อังกฤษ มีประสบการณ์กว้างขวางในทางการค้าและอุตสาหกรรม เขาเข้าร่วม ก่อตั้งสันนิบาตต่อต้านกฎหมายธัญพืช เพราะเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาอุตสาหกรรมในอังกฤษ (ผู้แปล) 3 จอห์น ไบรต์ เป็นสหายสนิทของคอบเดนในสันนิบาตต่อต้านกฎหมาย ธัญพืช เป็นสมาชิกสังกัดกลุ่มที่เคร่งศาสนา (Quaker) บิดามีโรงงานทอผ้า มีการศึกษาดี ตรงข้ามกับคอบเดนซึ่งเกิดมาในครอบครัวยากจน ไบรต์เป็น นักพูดสาธารณะที่มีชื่อเสียงมาก ไบรต์กับคอบเดนร่วมงานในการคัดค้าน กฎหมายธัญพืช กระทั่งได้รับชัยชนะในที่สุด เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทน หลายสมัย (ผู้แปล) 2


A Ver y Shor t Introduction

27

หากแต่ เ พื่ อ โลกที่ ดี ก ว่ า สั ง คมแบบฐานั น ดรของพวกดยุ ก และบารอน ทอม เพน (Tom Paine) นักเขียนหัวรุนแรง สมัยปฏิวัติอเมริกากล่าวอ้างว่า “จากการที่รัฐบาลสาธารณรัฐ ก่อตั้งขึ้นมาบนหลักการที่เป็นธรรมชาติกว่า … มันจึงฉลาดกว่า และปลอดภัยกว่าอย่างแน่นอน … ในการได้มาซึ่งเสรีภาพและ ทรัพย์สินให้แก่คนทั้งปวง เหนือสิ่งอื่นใด คือการนับถือและ เชื่อในศาสนาอย่างเสรี” การ ปฏิบัติ ต่อศาสนาได้อย่างเสรี เป็นคนละเรื่อง กับ สิทธิอ�ำนาจทางศาสนา ลัทธิเสรีนิยมไม่จ�ำเป็นต้องเป็นศัตรูของ ศาสนา แต่มันก็สนใจการชี้น�ำของปรัชญาคลาสสิก มากกว่า ที่จะเดินตามการชี้น�ำของค�ำสอนทางศาสนา คอบเดนซึ่งมี ความเชือ่ ในลัทธิเสรีนยิ ม ทัง้ ด้านทีเ่ ป็นอริกบั พวกขุนนางและด้าน ที่เป็นแรงปรารถนาที่ต้องการวัดคุณความดีและความสามารถ ของคนด้วยมาตรฐานความส�ำเร็จทางการเงินแบบคนชั้นกลาง เขาได้ น�ำเสนอ “หลั ก ฐานอั น น้ อ ยนิ ด ของปั จ จั ย ต่ า งๆ เช่ น ความรู้สึกอันเข้มข้นในทางจิตวิญญาณในธรรมชาติของเขา หรื อ การที่ เ ขาไม่ เ คยถู ก กดขี่ บี บ คั้ น หรื อ ได้ รั บ แรงบั น ดาลใจ จากสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของศาสนาเลย ไม่ว่าในเรื่องของ ความลี้ ลั บ ความใฝ่ ฝ ั น ความเสี ย ใจ หรื อ ความหวั ง อะไร ท�ำนองนั้น” การนับถือในเหตุผลของพวกเสรีนิยม ท�ำให้ความ ต้องการในการยอมจ�ำนนต่อศาสนาและการปฏิบัติตามกรอบ ของศาสนาในทางสาธารณะลดน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการเป็น สมาชิกของโบสถ์ การรับศีลมหาสนิท พิธีกรรมการท�ำความ เคารพพระเจ้า และจริยธรรมส่วนบุคคลทัง้ หลาย ในอีกทางหนึง่


28

Lincoln

สิ่ ง เหล่ า นี้ มั ก น�ำไปสู ่ ก ารที่ พ วกเสรี นิ ย มไม่ ใ ห้ ค วามสนใจ หรื อ กระทั่ ง เป็ น ปฏิ ป ั ก ษ์ ต ่ อ อภิ สิ ท ธิ์ ส าธารณะของศาสนา คริ ส เตี ย นที่ ยั ง คงด�ำรงอยู ่ ใ นยุ โ รป รวมถึ ง ท�ำให้ พ วกเขามี ขันติธรรมต่อการออกมาคัดค้านของศาสนาในรูปแบบต่างๆ ด้วย ทัง้ นีไ้ ม่ใช่วา่ พวกเสรีนยิ มมีความเห็นอกเห็นใจให้กบั พวกที่ ตกเป็นเบี้ยล่างของศาสนา แต่เป็นเพราะพวกเสรีนิยมเห็นว่า ไม่มีศาสนาใดมีค่าพอที่จะเสียเวลาไปทะเลาะด้วย ทั น ที ที่ พ วกเสรี นิ ย มถู ก ปล่ อ ยให้ อ ยู ่ ใ นดิ น แดน แห่ ง เสรี ภ าพ พวกเขามั่ น ใจว่ า ความมี เ หตุ ผ ลและความคิ ด มนุษยนิยมจะผลักดันความก้าวหน้าในความรู้ของมนุษย์และ ความส�ำเร็จไปได้อย่างไม่มีข้อจ�ำกัด เนื่องจากลัทธิเสรีนิยม มองเห็นตัวเองว่า เป็นผู้ทรงซึ่งเหตุผล มนุษยภาพ และเสรีภาพ ลัทธิเสรีนิยมจึงเชื่อมั่นว่า ไม่มีอะไรมาขัดขวางความส�ำเร็จของ เสรีภาพได้ มั่นใจเกินไปถึงขนาดที่เชื่อว่า สิ่งที่ลัทธิเสรีนิยม พยากรณ์ ไ ด้ อ ย่ า งใกล้ ค วามจริ ง มากที่ สุ ด ก็ คื อ อะไรก็ ต าม ที่เป็นตัวแทนของความก้าวหน้า ล้วนถือว่าเป็นตัวแทนของ ชัยชนะแห่งอิสรภาพด้วย อเล็กซิส เดอ ต็อกเกอวิลล์ (Alexis de Tocqueville) ผู้มีเชื้อสายขุนนางชั้นเล็กๆ ของฝรั่งเศส ได้มี ประสบการณ์ทางเสรีนิยมในปี 1829 จากการฟังบรรยายของ นักประวัติศาสตร์เสรีนิยม ฟรังซัวส์ กีโซต์ (Francois Guizot) ที่ซอร์บอนน์ ท�ำให้เขาตระหนักว่า ประวัติศาสตร์คือบันทึก ของกระบวนการความก้าวหน้า และความก้าวหน้าก็มีความ เสมอภาคเป็นจุดหมาย จอห์น สจ๊วต มิลล์ เคยกล่าวไว้ว่า “มั น เป็ น ความเชื่ อ ของข้ า พเจ้ า ว่ า นอกจากกรณี ย กเว้ น ใน


A Ver y Shor t Introduction

29

บางครัง้ หรือชัว่ คราว แนวโน้มทัว่ ไปทีเ่ กิดขึน้ และจะด�ำเนินต่อไป เรื่อยๆ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น ซึ่งในที่นี้หมายถึง แนวโน้มที่มุ่งไปสู่สภาวะที่ดีกว่าและมีความสุขมากกว่า” เราจะมาดูกันว่ามันเป็นจริงดังว่าหรือไม่? การปฏิวัติ ฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเป็นขบวนการเสรีนิยมในปี 1789 ก่อนแปรเปลี่ยนไปสู่ระบบทรราชของประชาชน รวมทั้งยอมรับ ระบบเผด็ จ อ�ำนาจจั ก รวรรดิ ภ ายใต้ น โปเลี ย น โบนาปาร์ ต (Napoleon Bonarparte) ที่ สุ ด ก็ เ หยี ย บย�่ ำ และดู ถู ก เหยี ย ดหยามชื่ อ เสี ย งของลั ท ธิ เ สรี นิ ย ม ในท�ำนองที่ เ กิ ด ขึ้ น เหมือนกับสาธารณรัฐที่เพิ่งเกิดใหม่จากการปฏิวัติในอาณาจักร โบราณของสเปนในอเมริกาใต้ โจเซฟ เดอ แมสตร์ (Joseph de Maistre) ขุ น นางฝรั่ ง เศสผู ้ ร อดพ้ น จากการปฏิ วั ติ แ ละ นโปเลี ย น บริ ภ าษพวกเสรี นิ ย มในหนั ง สื อ เรื่ อ ง Study of Sovereignty ว่ า “ความผิ ด อั น ใหญ่ ห ลวงประการหนึ่ ง ของ ยุ ค สมั ย นี้ คื อ การเชื่ อ ว่ า รั ฐ ธรรมนู ญ ทางการเมื อ งของชาติ เป็ น ผลงานของมนุ ษ ย์ โ ดยล�ำพั ง และรั ฐ ธรรมนู ญ สามารถ จั ด ท�ำขึ้ น มาได้ เหมื อ นกั บ ที่ ช่ า งนาฬิ ก าท�ำนาฬิ ก า” เขาอ้ า ง ต่อไปว่า สภาวะอันเป็นธรรมชาติทางการเมืองของมนุษย์นั้น คือระบบกษัตริย์ “เราสามารถกล่าวได้อย่างทั่วไปว่า คนทุกคน เกิดมาเพื่อระบบกษัตริย์” และ “แม้กระทั่งชาติที่มีจุดหมาย ไปสู่การเป็นสาธารณรัฐ ก็เกิดจากระบบกษัตริย์มาก่อน” เมื่อ นโปเลียน โบนาปาร์ต พ่ายแพ้ที่วอเตอร์ลูในปี 1815 สิ่งที่ เกิดขึ้นพร้อมๆ กันคือ อ�ำนาจการเมืองเก่าในยุโรปได้พากัน ฟื ้ น คื น ชี พ ขึ้ น มาอยู ่ ใ นแผนที่ ข องยุ โ รปอี ก ครั้ ง มี ก ารรื้ อ ฟื ้ น


30

Lincoln

(ระบบ) กษัตริย์ ขีดเส้นพรมแดนขึ้นใหม่ และวางแผนสร้าง สันนิบาตและพันธมิตรที่พร้อมใจกันขจัดการปฏิวัติของพวก เสรีนิยมที่อาจฟื้นกลับขึ้นมาใหม่ ในบรรดาการทดลองของเสรีนิยมที่มีอนาคตทั้งหลาย ตัวอย่างเดียวของการทดลองขนาดใหญ่ที่อยู่รอดได้ มีเพียง แค่สหรัฐอเมริกา และในปลายทศวรรษ 1850 ก็เริ่มมองเห็น ชัดเจนมากขึ้นว่า แม้แต่สหรัฐอเมริกาก็มีเมล็ดพันธุ์ของลัทธิ อเสรีนิยมที่คอยท�ำลายตัวมันเองอยู่ในรูปแบบของ “อ�ำนาจ ระบบทาส” (Slave Power) ที่ ก ้ า วร้ า วและโอหั ง 4 อ�ำนาจ ดังกล่าวต้องการท�ำให้การเอาคนลงเป็นทาสเป็นสิ่งถูกต้อง ตามกฎหมาย เพื่อให้การขยายตัวออกไปทางตะวันตกของ มหาชนรัฐอเมริกาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ในทศวรรษอันส�ำคัญ นัน้ เอง ทีเ่ อบราแฮม ลิงคอล์น ก้าวขึน้ มาเป็นครัง้ แรก — ในบุคลิก ของชาวบ้าน ตีนเรียบ ไร้ศิลปะและกิริยาของผู้ดี — สู่เวที การเมืองแห่งชาติของอเมริกา เพื่อปกป้องความคิดว่าด้วย “อ�ำนาจระบบทาส” เป็นค�ำโจมตี และประณามระบบการเมื องและผู ้ น�ำ การเมืองภาคใต้ ทีส่ ร้างกระแสความชอบธรรมให้แก่ระบบทาสในสหรัฐอเมริกา นักหนังสือพิมพ์ นักการเมืองภาคเหนือ และพวกต่อต้านทาส สร้างค�ำนี้ขึ้น โดยวาดภาพอ�ำนาจการเมืองภาคใต้ว่า แท้จริงแล้วถูกควบคุมและบงการ โดยชนชั้นนายทาสแต่ฝ่ายเดียว ค�ำโจมตีดังกล่าวสร้างความหวาดกลัวและ เกลียดชังให้แก่ความคิดของสังคมคนภาคเหนือได้อย่างทรงพลัง แต่ใน ด้านลบ ค�ำนี้ก็เต็มไปด้วยอคติและสร้างอารมณ์ร่วมให้เกลียดชัง รู้สึกเป็น ศัตรูกับคนทางใต้ ท�ำให้การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาภาคใต้เป็นสิ่งที่ คนเหนือเห็นด้วยและสนับสนุนอย่างยิ่ง (ผู้แปล) 4


A Ver y Shor t Introduction

31

ประชาธิ ป ไตยเสรี นิ ย มจากคนอเมริ กั น ด้ ว ยกั น เองที่ เกลียดชังมัน ชีวประวัติของเอบราแฮม ลิงคอล์น จึงมีมากกว่า ปัจเจกบุคคลใดๆ ในโลกที่พูดด้วยภาษาอังกฤษ เรื่องราว ต่อไปนี้เป็นชีวประวัติทางความคิดทั้งหลายของลิงคอล์น


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.