Preview geopolitics vsi

Page 1


ภูมิรัฐศาสตร์: ความรู้ฉบับพกพา • จิตติภัทร พูนข�ำ แปล จากเรื่อง G e o pol i t i c s : A V e r y S h or t I n t r o duct ion โดย K l a u s D o d d s พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, เมษายน 2560 ราคา 295 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภาคย์ มหิธิธรรมธร • บรรณาธิการเล่ม ธิติ อ่อนอินทร์ บรรณาธิการต้นฉบับ อภิรดา มีเดช ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 - 2 6 1 8 - 4 7 3 0 e- ma i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r lds tw i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s B KK website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0-2618-4730 และ 09-7174-9124 หรือ e - ma il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g m ail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ดอดส์, เคลาส์. ภูมิรัฐศาสตร์: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2560. 280 หน้า. 1. ภูมิรัฐศาสตร์ I. จิตติภัทร พูนขำ�, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 320.12 ISBN 978-616-7885-52-0 • Thai language translation copyright 2017 by openworlds publishing house /Copyright © 2014 by Klaus Dodds All Rights Reserved. Ge o p o litic s : A V e r y S h o r t I n t r o d u c t i o n, 2 n d e d i t i o n by K laus D odds w as o rig in a lly p u bl i s h e d i n E n g l i s h i n 2 0 1 4 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press th ro u g h T u ttle- M o r i A g e n c y C o . , L t d . T h e T h a i e d iti o n i s t r a n s l a t e d b y J i t t i p a t P o o n k h am and published by o p e n wo rld s p ub l i s h i n g h o u s e , 2 0 1 7 . ภูมิรัฐศาสตร์: ความรู้ฉบับพกพา ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2014 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาพปก: Plumes of smoke billow from the World Trade Center towers during the September 11 attacks โดย Michael Foran/Wikimedia Commons



สารบัญ

.

ค�ำน�ำผู้แปล : 8 กิตติกรรมประกาศ : 18 1. จ�ำเป็นยิ่งที่เราจะต้องรู้ภูมิรัฐศาสตร์ : 22 2. หรือจะเป็นความรู้อาบยาพิษ? : 52 3. สถาปัตยกรรมทางภูมิรัฐศาสตร์ : 102 4. ภูมิรัฐศาสตร์กับอัตลักษณ์ : 140 5. ภูมิรัฐศาสตร์และวัตถุ : 186 6. ภูมิรัฐศาสตร์มหาชน : 224 แหล่งอ้างอิง : 270 บทอ่านต่อ : 273 ประวัติผู้เขียน : 278 ประวัติผู้แปล : 279


สารบัญภาพประกอบ

.

1 ประธานาธิบดีโอบามา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ก�ำลังติดตามการจับกุมตัวโอซามา บิน ลาเดน ในเดือน พฤษภาคม 2011 © Photoshot 26 2 เจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ Skyfall (2012) ก�ำกับโดย แซม เมนเดส © Danjaq/EON Production/The Kobal Collection 41 3 เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ทีป่ รึกษาความมัน่ คงแห่งชาติ (Courtesy of the Library of Congress) 81 4 โรเบิร์ต แคปแลน นักหนังสือพิมพ์และผู้เขียนเรื่อง The Revenge of Geography (Courtesy of CNAS) 89 5 ภูมิรัฐศาสตร์ดั้งเดิม เชิงปฏิบัติ และมหาชน 93 6 การประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ © AFP/Getty Images 107 7 ขบวนการยึดครองกรุงลอนดอน ณ มหาวิหารเซนต์พอล © Alison Henley/Shutterstock 111 8 การไว้อาลัยแก่ผเู้ สียชีวติ บริเวณเกาะลัมเปดูซา ทีก่ รุงวัลเลตตา ประเทศ มอลตา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2013 © Alan Falzon/Demotix/Corbis 164


9 ชาวอาร์เมเนียเชือ้ สายเลบานอนประท้วงหน้าสถานเอกอัครราชทูตตุรกี ในย่านรอบิยะห์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเบรุต © AFP/Getty Images 179 10 ผลิตภัณฑ์ของเล่นตราแอร์ฟิกซ์ อาคารชั้นเดียวสไตล์อัฟกัน A75009 Airfix (Owned by Hornby Hobbies Ltd) Afghan Single Storey Dwelling 1:48 190 11 ท่อน�้ำมันทรานส์อะแลสกา © Luca Galuzzi, www.galuzzi.it 194 12 ธงชาติอเมริกันที่ปักลงบนดวงจันทร์ (Courtesy of NASA) 211 13 นักแสดงตลกชาวอเมริกัน สตีเฟน โคลแบร์ ณ งานเลี้ยงอาหารค�่ำ สื่อมวลชนที่ท�ำเนียบขาว เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2006 © AFP/Getty Images 226 14 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติประกาศว่า กาตาร์ได้รับการคัดเลือกเป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ณ เมืองซูรกิ เมือ่ วันที่ 2 ธันวาคม 2012 © Fotosports/Photoshot 234 15 ป้ายประกาศ “พบเจอสิง่ น่าสงสัย” ของการขนส่งกรุงลอนดอน © OTM. Photograph: Kim Rennie 260


8

Geopolitics

ค�ำน�ำผู้แปล

.

James Bond: “Where is he (Franz Oberhauser/Ernst Stavro Blofeld)?” Mr. White: “He is everywhere. He’s everywhere! He’s at a bar with your friends, he’s having dinner with your kids, he’s in bed with your lover!” (Spectre, 2015) Oberhauser: “Why did you come?” James Bond: “I came here to kill you.” Oberhauser: “And I thought you came here to die.” James Bond: “Well, it’s all a matter of perspective.” (Spectre, 2015)

เวลาเราชมภาพยนตร์อย่าง เจมส์ บอนด์ หรือ 007 นอกจากเราจะได้รับอรรถรส ความสนุกสนาน และความบันเทิง แล้ว เรายังได้มุมมองหรือวิธีการมองโลกแบบหนึ่ง (โดยอาจจะ ไม่ได้ตั้งใจ) อีกด้วย ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าเป็น การสร้างภาพ ตัวแทนทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical representation) ซึ่ง


A Very Short

Introduction

9

ปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์ชดุ นีม้ าโดยตลอด ในช่วงสงครามเย็น เราได้เห็นบทบาทของ “สหภาพโซเวียต” ในฐานะ “ภัยคุกคาม” หลักของโลกตะวันตก ในช่วงหลังสงครามเย็น เราจะเห็นบทบาท ของ “ภัยคุกคาม” และประเด็นความมั่นคงของโลก (ทั้งตะวันตก และตะวันออก) ที่เปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างหลากหลายมาก ยิ่งขึ้น ตั้งแต่สื่อครอบโลกและปัญหาทะเลจีนใต้ (Tomorrow Never Dies, 1997) ผู้ก่อการร้ายและความมั่นคงทางพลังงาน (The World Is Not Enough, 1999) ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี อาวุธนิวเคลียร์ และเพชรสีเลือด (Die Another Day, 2002) สงครามทรัพยากร (Quantum of Solace, 2008) การก่อการร้าย ไซเบอร์ (Skyfall, 2012) มาจนกระทัง่ ถึงการก่อการร้ายทีไ่ ม่ใช่รัฐ ภายใต้องค์การที่ทรงอิทธิพลอย่าง Spectre (ซึ่งเริ่มต้นในภาค Casino Royale มาจนถึง Spectre) อาจกล่าวได้วา่ เจมส์ บอนด์ อาจจะก�ำลังเสนอมุมมองของโลกแก่พวกเราว่า “ปีศาจร้ายก�ำลัง หลอกหลอนโลก” นัน่ คือปีศาจร้ายของ X, Y, Z (เช่น การก่อการร้าย) นั่นเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับภูมิรัฐศาสตร์ อย่างไม่อาจแยกขาดจากกันได้ – แล้วภูมิรัฐศาสตร์คืออะไร ภูมิรัฐศาสตร์แตกต่างไปจากภูมิศาสตร์อย่างไร ภูมิรัฐศาสตร์มี ทีม่ าทีไ่ ปทางประวัตศิ าสตร์และในเชิงภูมปิ ญ ั ญาความคิดอย่างไร ภูมิรัฐศาสตร์ในระดับต่างๆ มีลักษณะเช่นไร และเราจะศึกษา ภูมิรัฐศาสตร์กันอย่างไร หนังสือ ภูมริ ฐั ศาสตร์: ความรูฉ้ บับพกพา เล่มนีน้ ำ� เสนอ และวิพากษ์สิ่งเหล่านี้อย่างเป็นระบบ ลึกซึ้ง และพิสดาร โดยให้


10

Geopolitics

ภาพทั้งการศึกษาภูมิรัฐศาสตร์แบบดั้งเดิม (ซึ่งอิงอยู่กับรัฐชาติ อ�ำนาจอธิปไตย เส้นเขตแดน พรมแดน ฯลฯ) และภูมิรัฐศาสตร์ แบบใหม่ หรือทีเ่ ราอาจจะเรียกว่าเป็น “ภูมริ ฐั ศาสตร์เชิงวิพากษ์” (critical geopolitics) หรือ “ภูมิรัฐศาสตร์มหาชน” (popular geopolitics) ซึ่งให้ความสนใจและให้ความส�ำคัญกับเรื่องราวใน ชีวิตประจ�ำวัน หรือเรื่องใกล้ตัวที่ธรรมดาสามัญ จนเราอาจจะไม่ คาดคิดหรือนึกถึงมากนักว่ามันเกี่ยวข้องเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์ กับภูมิรัฐศาสตร์ได้เช่นไร และมากเพียงใด ค�ำว่า “ภูมิรัฐศาสตร์” เป็นค�ำที่นักภูมิรัฐศาสตร์ชาว สวีเดนอย่างรูดอล์ฟ เชลเลน (Rudolf Kjellen) ประดิษฐ์ขึ้นใน ปี 1899 และเป็นที่นิยมใช้ในวงวิชาการในช่วงระยะหนึ่งก่อน สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง แต่แน่นอนความโดดเด่นดังกล่าวก็ตามมา ด้วยอิทธิพลทางความคิดทีม่ ตี อ่ ผูน้ ำ� ทัง้ โลกประชาธิปไตยและโลก เผด็จการ รวมทั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนส�ำคัญที่ ท�ำให้คำ� นีก้ ลายเป็น “ค�ำหยาบคาย” ในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ที่ สองเป็นต้นมา โดยเฉพาะใน “ประเทศโลกทีห่ นึง่ ” (โลกตะวันตก) และ “ประเทศโลกที่สอง” (โลกคอมมิวนิสต์) (แต่ใน “ประเทศโลก ที่สาม” อื่นๆ เช่น ลาตินอเมริกา ค�ำนี้ก็ยังคงเป็นที่นิยมอย่าง ไม่เสื่อมคลาย) ในสหรัฐอเมริกา ค�ำอย่าง “ภูมิศาสตร์การเมือง” ดูจะเป็นที่นิยมมากกว่าในขณะนั้น เมื่อถึงปลายทศวรรษ 1960 ค�ำว่า “ภูมริ ฐั ศาสตร์” ก็มกี ารรือ้ ฟืน้ กลับมาใหม่จนกระทัง่ ปัจจุบนั ในมุมมองของผูเ้ ขียนอย่าง เคลาส์ ดอดส์ ศาสตราจารย์ ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ชื่อดังของโลก หนังสือเล่มนี้เป็นการนิยาม หรือให้ความหมายแก่ภมู ริ ฐั ศาสตร์ในความหมายกว้าง ข้ามพ้น


A Very Short

Introduction

11

ภูมิรัฐศาสตร์ที่อิงอยู่กับรัฐ/อ�ำนาจเป็นหลัก แต่ก็ยังคงเล่าถึง บทบาทของรัฐที่ไม่ได้ลดน้อยถอยลงไปแม้แต่น้อย เพียงแต่ เปลี่ยนรูปแปลงร่างไปส่งเสริมและสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมในยุคโลกาภิวัตน์แบบเสรีนิยมใหม่ (Neoliberal Globalization) โดยภาพรวมแล้วภูมิรัฐศาสตร์เป็นวิธีการในการ มองโลกที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของภูมิศาสตร์ และการเมือง ของความหมายที่มีผลต่อโลก ทั้งในแง่ของการสร้างความหมาย การให้เหตุผลทางภูมริ ฐั ศาสตร์ การก�ำหนดกรอบการตีความและ การสร้างภาพตัวแทนทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งการปฏิบัติจริง ที่เกิดขึ้นในโลก ดังนั้นการรับรู้และความเข้าใจของผู้คนก็เป็น ส่วนหนึ่งของวิธีการในการมองโลกทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ได้รับการ ก�ำหนดก�ำกับและสรรค์สร้างขึ้นมาในกาละ-เทศะหนึ่ง การเปิด (โปง) เช่นนี้ช่วยท�ำให้เรา “มอง” โลกได้ อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น รวมทั้งยังท�ำให้สิ่งที่เป็น “สามัญส�ำนึก” ซึ่งเรามักคุ้นชินหรือทึกทึกเอาว่าเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดา หรือกลายเป็นสิ่งที่ต้องถามท้า หรือตั้งค�ำถาม หนังสือเล่มนี้จึงไม่เพียงแค่ตั้งค�ำถามส�ำคัญ หรือ พอจะให้ค�ำตอบบางอย่าง แต่สิ่งส�ำคัญมากไปกว่านั้นคือ การ ชวนให้คิดวิพากษ์ต่อสิ่งรอบตัวเราที่เกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์ ทัง้ ตัวแสดง (ในระดับต่างๆ เช่น ระดับโลก ระดับภูมภิ าค ระดับรัฐ และระดับใต้รัฐ) โครงสร้าง อัตลักษณ์ วัตถุ (เช่น แผนที่ ของเล่น ธง หรือขยะ ฯลฯ) และแม้กระทัง่ สือ่ มหาชน เช่น ภาพยนตร์ ซีรสี ์ โทรทัศน์ เป็นต้น ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนมีส่วนส�ำคัญยิ่งต่อการ สร้างภาพตัวแทนบางอย่างให้แก่โลก และก�ำหนดการรับรูม้ มุ มอง


12

Geopolitics

ทัศนะที่มีต่อโลกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น สงครามต่อต้านการก่อร้าย (War on Terror) ทีท่ ำ� ให้เราเห็นว่าใครคือพระเอก ใครคือผูร้ า้ ย ใครคือเหยือ่ อะไรคือภัยคุกคาม อะไรคือผลประโยชน์ที่จ�ำต้องปกป้องพิทักษ์ รักษา (ในนามของชาติ ศาสนา ฯลฯ) และอะไรทีพ่ งึ จะถูกท�ำลาย หรือใช้ก�ำลังความรุนแรงได้เพื่อให้ชีวิตที่เหลือปลอดภัยหรือ มั่นคง เช่น การทรมาน การสอดแนมมวลชน เป็นต้น (ลองดูซีรีส์ อย่าง 24) หรือโลกาภิวตั น์แบบเสรีนยิ มใหม่ซงึ่ ก�ำหนดโครงสร้าง และกฎกติการะหว่างประเทศให้สอดคล้องกับการเคลื่อนย้าย ไหลเวียนอย่างเสรีของทุน (แต่จ�ำกัดการไหลเวียนของผู้คน เอาไว้ โดยเฉพาะผู้อพยพ) การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้เอื้ออ�ำนวยแก่ทุนข้ามชาติ และการเปลี่ยนรูปบทบาทของรัฐ ให้ต้องดึงดูดทุนต่างชาติ รวมทั้งการจัดการวิกฤตเศรษฐกิจที่ ต้องเพิ่มมาตรการการรัดเข็มขัด และการตัดลดรายจ่ายภาครัฐ (รวมทั้งสวัสดิการแก่ผู้คนพลเมือง) แต่ แ น่ น อนว่ า มุ ม มองเหล่ า นี้ คื อ มุ ม มองกระแสหลั ก ที่เราคุ้นชินหรือไม่ตั้งค�ำถามกับมัน จนกลายเป็นความปกติ (ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ปกติ แต่เป็นภาวะยกเว้น หรือ เป็นผลลัพธ์ทางประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่งเพียงเท่านั้น) นักวิชาการทางความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศแนววิพากษ์อย่างโรเบิรต์ ค็อกซ์ (Robert W. Cox) เสนอ ว่า “ทฤษฎีมไี ว้เพือ่ คนบางคน และเพือ่ เป้าหมายบางอย่างเสมอ” (Theory is always for someone and for some purpose.) ซึ่ง หนังสือเล่มนี้พยายามแสดงให้เห็น และเน้นย�้ำเช่นนั้นอยู่เสมอ


A Very Short

Introduction

13

นอกจากหนังสือเล่มนี้จะเปิดโปงสถาปัตยกรรมเชิง อ�ำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์เหล่านี้ว่าเป็นเช่นไร มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้ว (ดังที่มีคนเสนอว่า แท้ที่จริงแล้ว ลัทธิเสรีนิยมใหม่ก็คือ “การสะสมทุนด้วยการปล้นชิง” นั่นเอง) ยังเปิดเผยให้เห็นถึง ที่ ท างหรื อ มุ ม มองของคนอื่ น คนชายขอบ หรื อ คนไร้ เ สี ย ง (ทัง้ ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม/อารยธรรม เพศสภาพ เชือ้ ชาติ และ สีผวิ ) รวมทัง้ การเห็นต่าง ซึง่ ปรากฏออกมาทัง้ ในภาคปฏิบตั กิ าร ได้แก่ การประท้วงต่อต้านลัทธิเสรีนิยมใหม่ เช่น ขบวนการ ยึดครองวอลล์สตรีท หรือการประท้วงต่อต้านอ�ำนาจเผด็จการ เช่น อาหรับสปริง และในภาคมหาชนผ่านสื่อ เช่น ภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ ด้วยเหตุนี้ มุมมองต่อโลกจึงเป็นมุมมอง จากทีใ่ ดทีห่ นึง่ และจากมุมมองของใครคนใดคนหนึง่ เสมอ ไม่วา่ จะ เป็นมุมมองกระแสหลักทีค่ รอบง�ำ หรือเป็นมุมมองกระแสรองหรือ กระแสทางเลือกทีต่ อ้ งการท้าทาย/ถามท้ามุมมองแบบแรกก็ตาม ค�ำถามคือ เรามีพื้นที่เห็นต่างให้แก่ผู้คนหรือมุมมองแบบหลัง หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด เมือ่ ท�ำความเข้าใจภูมริ ฐั ศาสตร์โลกในปัจจุบนั แล้ว สิง่ ที่ ส�ำคัญยิง่ ไปกว่านัน้ ก็คอื การจินตนาการโลกหรือภูมริ ฐั ศาสตร์อกี แบบทีเ่ ป็นไปได้ – โลกทีม่ คี วามเท่าเทียมกันมากขึน้ โลกทีม่ กี าร กระจายความมัง่ คัง่ และความมัน่ คงทีเ่ สมอภาคกันมากขึน้ โลกที่ มีความเอือ้ อาทรแก่เพือ่ นมนุษย์รว่ มโลกเพิม่ มากขึน้ และข้ามพ้น ความเป็นพลเมืองของรัฐชาติใดชาติหนึง่ เท่านัน้ ฯลฯ – ถ้าพูดใน ภาษาแบบมาร์กซ์ ก็คอื การปลดแอก หรือ emancipation ถ้าพูด ในภาษาแบบเลนิน ก็คือ การปฏิวัติ หรือ revolution หรือถ้าพูด


14

Geopolitics

ในภาษาแบบ Occupy Wall Street ก็คือ การทวงสิทธิของคน ร้อยละ 99 ของโลกนั่นเอง ถ้าท่านเป็นผู้ที่สนใจประเด็นเหล่านี้ หนังสือเล่มนี้คง เป็นเหมือนคู่มือเบื้องต้นให้พอดับกระหายได้พอควร และชี้ชวน ให้เราคิดต่อ เห็นต่าง และอยูร่ ว่ มกันในโลกทีส่ ลับซับซ้อนนีอ้ ย่าง รูเ้ ท่าทันกับการครองอ�ำนาจน�ำและการเปลีย่ นแปลงต่างๆ ผมขอ เริม่ ต้นด้วยค�ำกล่าวของบทที่ 1 นัน่ คือ “จ�ำเป็นยิง่ ทีเ่ ราจะต้องรู้ ภูมริ ฐั ศาสตร์” เพือ่ ทีจ่ ะไม่เพียงแต่ทำ� ความเข้าใจโลก แต่ยังช่วย เปลี่ยนแปลงมันได้อีกด้วย! หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ท�ำอะไรเสีย เลยดีกว่า หากว่าการกระท�ำที่กระตือรือร้นของเราจะยิ่งท�ำให้ โครงสร้างความอยุติธรรมหรือกดขี่ยิ่งลงหลักปักฐานแน่นหนา มากกว่าเดิม ในท้ายนี้ ผูแ้ ปลขอขอบคุณอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ และ อาจารย์วรพจน์ วงศ์กจิ รุง่ เรือง แห่งส�ำนักพิมพ์ openworlds เป็น อย่างยิง่ ทีใ่ ห้ความไว้ใจแก่ผแู้ ปลซึง่ ไม่ได้เป็นนักแปลอาชีพแม้แต่ น้อยเลย แรกเริ่มเดิมที หนังสือเล่มน้อยเล่มนี้เริ่มต้นจากค�ำเชิญ ของอาจารย์ปกป้องให้ผมไปบรรยายในหัวข้อเรือ่ ง “ภูมริ ฐั ศาสตร์” ให้แก่วชิ าพืน้ ฐานวิชาใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ วิชา TU101 “โลก อาเซียนและไทย” ซึง่ ทดลองน�ำร่องสอนเป็นครัง้ แรก รุ่นแรกในปี 2015 โดยอาจารย์ปกป้องในฐานะผู้ประสานวิชา ในขณะนัน้ มีความปรารถนาต้องการจะเปิดโลกทัศน์และความคิด ให้แก่น้องใหม่ของธรรมศาสตร์ ผลพลอยได้จากการบรรยายนั้น ก็คือ ภาระ (กิจ) การแปลหนังสือเล่มนี้ที่ตกอยู่กับผม ขอขอบคุณหวาน (เอกปวีณ อนุสนธิ์), มีน (ชนกนันท์


A Very Short

Introduction

15

พังงา), ใบเตย (ขวัญแก้ว วราพุฒ), และสา (ชลิตา สุนันทาภรณ์) ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการแปลหนังสือเล่มนี้อย่างดีเยี่ยม และขอขอบคุณบรรณาธิการทุกคนของส�ำนักพิมพ์ openworlds โดยเฉพาะปูน (ธิติ อ่อนอินทร์) ที่ช่วยอ่านต้นฉบับทั้งเล่มและ ตรวจทานค�ำผิดอย่างแข็งขัน นอกจากนี้ผมเริ่มอ่านงานวิชาการต่างๆ ของเคลาส์ ดอดส์ อย่างจริงจัง เมื่อได้สอนวิชา PI377 Strategic Studies (Critical Security Studies through Film) ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ท่ า พระจั น ทร์ การสนทนาเรื่ อ ง การเมืองโลกและความมั่นคงระหว่างประเทศผ่านสื่อภาพยนตร์ กับบรรดานักศึกษาที่มาลงเรียนวิชาดังกล่าวช่วยตอกย�้ำว่า การจินตนาการโลกอีกแบบที่เป็นไปได้นั้นยังเป็นไปได้ ผู้เขียน ขอมอบหนั ง สื อ แปลเล่ ม นี้ ใ ห้ แ ก่ พ วกเขาและพวกเธอทุ ก คน อนึง่ ความผิดพลาดประการใดย่อมเป็นของผูแ้ ปลแต่เพียงผูเ้ ดียว จิตติภัทร พูนข�ำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์/รังสิต) Department of International Politics Aberytswyth University (Wales)



แด่ ธีโอ (24 กุมภาพันธ์ 2006 - 22 พฤษภาคม 2007)


18

Geopolitics

กิตติกรรมประกาศ

.

ผมขอขอบคุ ณ ผู้ ร่ ว มงานที่ สำ�นั ก พิ ม พ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ออกซฟอร์ด ผูใ้ ห้การสนับสนุนการตีพมิ พ์ครัง้ ทีส่ องนีเ้ ป็นอย่างดี ขอขอบคุณแอนเดรีย คีแกน, เอ็มมา มา, เอ็ดวิน พริตชาร์ด, เดบอราห์ โพรเธโร, เคต ฟาร์คฮู าร์-ธอมสัน และโคลอี ฟอสเตอร์ เป็นอย่างยิง่ พวกเขาช่วยสนับสนุนเหล่าผูเ้ ขียนหนังสือชุดความรู้ ฉบับพกพาในกระบวนการผลิต และยังให้โอกาสพวกเราได้ไป บรรยายในเทศกาลและเวทีสาธารณะต่างๆ การได้มีโอกาสไป บรรยายที่งานเทศกาลวรรณกรรมออกซฟอร์ดถือเป็นเกียรติ ของผมอย่างยิ่ง เมื่อครั้งผมเขียนฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ผมพยายามจะ ทำ�ให้หนังสือมีความร่วมสมัย แต่ทว่าหลังจากผ่านไปกว่าเจ็ดปี การอ้างอิงถึงสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและความขัดแย้ง ในอัฟกานิสถานและอิรกั ดูเหมือนจะถูกแทนทีด่ ว้ ยปรากฏการณ์ อืน่ ๆ เช่น “อาหรับสปริง” วิกฤตการเงินโลก การเปิดโปงเรือ่ งการ สอดแนมมวลชน และเหตุการณ์อื่นๆ ทั่วโลก ฉบับตีพิมพ์ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีทผี่ มได้นำ�เสนอและปรับปรุงแนวคิดบางอย่าง


A Very Short

Introduction

19

รวมถึงการสะท้อนผลลัพธ์อนั แตกต่าง ทีซ่ ง่ึ ตัวแสดง วัตถุ สถานที่ และการแสดงที่หลากหลายนั้นส่งผลต่อภูมิรัฐศาสตร์ ผมขอชื่ น ชมผู้ ร่ ว มงานที่ วิ ท ยาลั ย รอยั ล ฮอลโลเวย์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่นั่นยังคงเป็น สถานที่ทำ�งานอันมหัศจรรย์สำ�หรับการผลิตงานวิจัยและการ เรียนการสอน ผมขอขอบคุณนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาสำ�หรั บ ความมุ่ ง มั่ น สนใจต่ อ สิ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ภูมริ ฐั ศาสตร์และความมัน่ คง ปีเตอร์ อาเดย์ ช่วยให้ความคิดเห็น ต่างๆ ต่อการแก้ไขปรับปรุงครั้งนี้ และเคย์ เคลเมนต์ ช่วยตรวจ ทานหนังสือเล่มนี้เป็นรอบสุดท้าย ผมขออุทิศหนังสือเล่มนี้ให้แก่ธีโอ ลูกชายที่เสียชีวิต ไปแล้วของผม ตลอดช่วงชีวติ แสนสัน้ ของเขา ธีโอได้นำ�ความสุข มาให้พวกเราเป็นอย่างมาก ครอบครัวของผมมีบทบาทสำ�คัญ อย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวของผมในช่วงระหว่างการตีพิมพ์ครั้งแรก กับครั้งที่สอง และในโอกาสนี้ผมต้องขอขอบคุณพวกเขาอย่าง ที่สุด



ภูมิรัฐศาสตร์ •

ความรู้ฉบับพกพา

GEOPOLITICS • A Very Short Introduction by

Klaus Dodds

แปลโดย

จิตติภัทร พูนข�ำ


บทที่ 1

/ จำ�เป็นยิ่งที่เราจะต้องรู้ภูมิรัฐศาสตร์


A Very Short

Introduction

23

ภูมริ ฐั ศาสตร์ (geopolitics) เป็นค�ำทีล่ นื่ ไหล ผูค้ นอาจเข้าใจ ว่าหมายถึงภูมศิ าสตร์ทแี่ ตกต่างหลากหลายในทางความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ แต่ในอีกทางหนึง่ ก็มกั ใช้คำ� นีเ้ มือ่ กล่าวถึงวิธกี าร ศึกษาที่ติดกรอบในการท�ำความเข้าใจโลกโดยทั่วไป กล่าวคือ มันเป็นการมองโลกและการปฏิบัติซึ่งมุ่งเน้นไปยังปฏิสัมพันธ์ ระหว่างดินแดน ทรัพยากร และการเข้าถึงทางยุทธศาสตร์ โดย ไม่ได้น�ำสิ่งที่คิดว่าควรจะเป็นในอุดมคติมาท�ำให้ไขว้เขว ผู้ที่น�ำ ค�ำนีไ้ ปใช้สว่ นใหญ่เห็นว่า “ภูมริ ฐั ศาสตร์” คือการมองรัฐและระบบ ระหว่างประเทศตามสภาพความเป็นจริง หรือกระทั่งมองโลกใน แง่ร้าย ในปี 1941 เมื่อ โรเบิร์ต สเตราซ์-ฮูเพอ (Robert StrauszHupe) ผูก้ อ่ ตัง้ สถาบันวิจยั นโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy Research Institute) ซึ่งเป็นสถาบันฝ่ายขวาหรืออนุรักษนิยมใน สหรัฐอเมริกา ชี้ชวนผู้อ่านของเขาว่า “เป็นเรื่องฉลาดหากเรารู้ ภูมริ ฐั ศาสตร์” (It is smart to be geopolitical) เขาได้ตอกย�ำ้ ความ หยิง่ ผยองทางภูมปิ ญ ั ญาดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึง่ คือ พลเมืองที่ ชาญฉลาดจะรูภ้ มู ริ ฐั ศาสตร์ และเชือ่ ในความคิดทีว่ า่ การแสวงหา


24

Geopolitics

ความได้เปรียบด้านดินแดนและทรัพยากรยังเป็นสิ่งจ�ำเป็น ยิ่ง เมือ่ ตระหนักว่าค�ำกล่าวนี้เกิดขึน้ ในบริบทสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ก็จะยิ่งเห็นว่าภูมิรัฐศาสตร์ยังเกี่ยวข้องกับการสถาปนาแนวคิด แบบนานาชาตินิยม (internationalism) ให้แข็งแกร่งขึ้นหลังจาก สหรัฐฯ เข้าสู่สงครามกับญี่ปุ่นและเยอรมนีในเวลาต่อมา ในช่วงสงครามและวิกฤตการณ์ ไม่ใช่เรือ่ งน่าประหลาดใจ เท่าใดนักที่ผู้คนจะจับจ้องประเด็นที่เกี่ยวข้องกับดินแดนและ ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าจอโทรทัศน์ และเว็บไซต์ส�ำนักข่าวในอินเทอร์เน็ต ต่าง เต็มไปด้วยเรือ่ งราวความขัดแย้งทางด้านดินแดนและชาติพนั ธุใ์ น ตะวันออกกลาง การแก่งแย่งทรัพยากรแถบมหาสมุทรอาร์กติก และมหาสมุทรทางตอนใต้ การกว้านซื้อที่ดินในแอฟริกา ความ ไม่มั่นคงทางอาหาร และนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลทั่วโลก ความวิ ต กกั ง วลเกี่ ย วกั บ ภาวะขาดแคลนทรั พ ยากรและแรง กดดันจากจ�ำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นยังคงด�ำเนินต่อไป ใน ลั ก ษณะที่ ท� ำ ให้ ห วนคิ ด ถึ ง ความหวาดกลั ว ก่ อ นหน้ า นี้ เ รื่ อ ง “ระเบิดเวลาจ�ำนวนประชากร” (population time bomb) ในช่วง ต้นทศวรรษ 1970 สิ่งที่น่าประหลาดใจเล็กๆ ก็คือ ดูเหมือนว่า “ภูมริ ฐั ศาสตร์” ก�ำลังจะเข้าสูย่ คุ เฟือ่ งฟูอกี ครัง้ ซึง่ ผิดแผกแตกต่าง จากทศวรรษ 1990 ทีม่ ผี ทู้ ำ� นายว่าระบอบประชาธิปไตยทัว่ โลก จะขยายตัว ระบบทุนนิยมแบบตลาดจะก�ำชัย และเกิดโลกาภิวตั น์ ทางวัฒนธรรม กระทั่งมีบางคนเสนอว่า “ภูมิรัฐศาสตร์” ไม่น่า จะจ�ำเป็นอีกต่อไปแล้ว ทว่าการโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเหตุการณ์ 9/11 และสงครามต่อต้านการก่อการร้าย


A Very Short

Introduction

25

ที่ตามมาหลังจากนัน้ ได้สนั่ คลอนความเชือ่ มัน่ ทีแ่ พร่หลายอยูใ่ น ขณะนัน้ อีกทัง้ วิกฤตเศรษฐกิจตัง้ แต่ชว่ งปี 2007-2008 เป็นต้นมา ก็ยงิ่ ตอกย�ำ้ ความรูส้ กึ ทีว่ า่ โลกนีเ้ ต็มไปด้วยความสับสนอลหม่าน แต่เราต้องระลึกไว้ด้วยว่ายังมีสถานที่อื่นๆ และผู้คนอีกเป็น จ�ำนวนมากได้รบั ผลกระทบจาก “ภูมริ ฐั ศาสตร์” โดยสือ่ กระแสหลัก ในโลกภาษาอังกฤษแทบไม่ได้รายงานข่าวหรือแสดงความเห็น ต่อเรื่องชีวิตผู้คนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเลย ยกตัวอย่างเช่น ในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง มีผมู้ องว่าประเทศแห่งนีก้ ำ� ลังอยูบ่ น “ขอบเหวแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เนื่องด้วยยังตกอยู่ภายใต้ ความรุนแรงทั้งที่มาจากรัฐและไม่ได้มาจากรัฐ ซึ่งพัวพันกับ โจเซฟ โคนี (Joseph Kony) ผู้น�ำกลุ่มกบฏชาวยูกันดา ผมต้องการเปลีย่ นถ้อยความข้างต้นเป็น “จ�ำเป็นยิง่ ทีเ่ รา จะต้องรูภ้ มู ริ ฐั ศาสตร์” (It’s essential to be geopolitical) เนือ่ งจาก ไม่ มี พ วกเราคนใดที่ ผู ก ขาดความชาญฉลาดไว้ กั บ ตนเองได้ และในขณะที่เราอาจไม่ได้เห็นพ้องต้องกันว่าเรื่องใดเป็นเรื่อง จ�ำเป็นยิ่งและเรื่องใดไม่จ�ำเป็น ผมกลับมองว่าการพิจารณาโลก ในมุมมองแบบภูมิรัฐศาสตร์นั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่การจะท�ำ เช่นนั้น ผมจ�ำต้องเน้นย�้ำว่า ภูมิรัฐศาสตร์นั้นเป็นได้ทั้งเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับประเด็นที่น่าตื่นตาตื่นใจและตกเป็นเป้าสายตาของ สาธารณชน [ยกตัวอย่างเช่น นโยบายของรัฐบาลโอบามา (Barack Obama) ที่ต้องการไล่ล่าผู้ก่อการร้ายตัวฉกาจในปากีสถาน และเยเมน (ดูภาพประกอบ 1)] และเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิต ประจ�ำวันอันสามัญธรรมดาและดาษดื่นทั่วไป (ตัวอย่างเช่น การที่ เ ด็ ก ๆ ทั่ ว ทั้ ง สหรั ฐ ฯ ต้ อ งท่ อ งบทปฏิ ญ าณว่ า จะภั ก ดี


26

Geopolitics

ต่อชาติในชั้นเรียน) หากภูมิรัฐศาสตร์ยังสามารถดึงดูดความ สนใจเราได้ ก็เพราะมันได้ให้ค�ำมั่นสัญญาเรื่องหนึ่งไว้ นั่นคือ ค�ำมั่นสัญญาในเรื่อง “มุมมองต่อโลก” (view of the world) ที่จะ เปิดเผยให้เห็นถึงหลักการพื้นฐานส�ำคัญบางอย่าง และเป็น มุมมองทีไ่ ม่ได้ปะปนไปกับรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เป้าหมาย หลักของผมในหนังสือเล่มนี้ก็คือ ต้องการเสนอว่ารายละเอียด ปลีกย่อยอันธรรมดาสามัญต่างๆ นั้น ช่วยให้แง่คิดพื้นฐาน บางอย่างแก่ “เรา” ในการท�ำความเข้าใจว่าโลก “ของเรา” นั้น ท�ำงานอย่างไร

ภาพประกอบ 1 ประธานาธิบดีโอบามาและคณะที่ปรึกษา รวมถึงฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก�ำลัง ติดตามการจับกุมตัว (ซึ่งต่อมากลายเป็นการสังหาร) โอซามา บิน ลาเดน (Osama Bin Laden) ในปากีสถานแบบสดๆ


A Very Short

Introduction

27

ความแตกต่างระหว่างภูมิศาสตร์กับภูมิรัฐศาสตร์ แล้ ว ภู มิ รั ฐ ศาสตร์ คื อ อะไรกั น แน่ ? ถ้ า ลองค้ น ค� ำ ว่ า “ภูมิรัฐศาสตร์” ในเว็บไซต์กูเกิล คุณจะเจอผลการค้นหานับล้าน รายการ หากมีใครสักคนกล้าหาญหรือโง่เขลาพอจะตะลุยอ่าน ข้อมูลอ้างอิงแม้เพียงบางส่วน มันก็คงมิได้ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้รับความหมายที่กระจ่างชัดขึ้นเลยเกี่ยวกับค�ำนิยามที่แท้จริง และตายตั ว ของค� ำ ว่ า “ภู มิ รั ฐ ศาสตร์ ” หากถอดความตาม นักทฤษฎีสงั คมอย่าง ไมเคิล มานน์ (Michael Mann) จะเห็นได้วา่ ค�ำว่าภูมิรัฐศาสตร์นั้นมีความลื่นไหล เช่นเดียวกับค�ำส่วนมาก ทีไ่ ด้รบั ความสนใจจากวงวิชาการ นักหนังสือพิมพ์และผูเ้ ชีย่ วชาญ ที่มีแนวคิดการเมืองแบบอนุรักษนิยม เช่น โธมัส บาร์เน็ตต์ (Thomas Barnett) จากนิตยสาร Esquire โธมัส ฟรีดแมน (Thomas Friedman) จากหนังสือพิมพ์ New York Times หรือ เฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ มักเลือกใช้ค�ำสั้นๆ ที่สื่อ ถึงทัศนคติตายตัวต่อการกระท�ำทางการเมือง โดยอาศัยเพียง แม่แบบทางภูมิศาสตร์ (geographical template) ซึ่งทึกทักกัน ขึน้ มาเอง อย่างเช่น ค�ำว่า “อักษะแห่งความชัว่ ร้าย” (axis of evil) และ “ด่านหน้าของลัทธิทรราชย์” (outpost of tyranny) แทนทีเ่ รา จะทึกทักใช้ค�ำเหล่านั้นแบบง่ายๆ (หรือแค่พูดกระทบกระเทียบ) เราจ�ำเป็นต้องส�ำรวจผลกระทบหลายลักษณะทีจ่ ะตามมาจากการ ขีดเส้นแบ่งโลกเป็นขั้วต่างๆ ดังกล่าว ก่อนจะกล่าวถึงค�ำว่าภูมิรัฐศาสตร์ ผมขอเริ่มต้นด้วย


28

Geopolitics

การชี้ให้เห็นความหมายของค�ำว่า “ภูมิศาสตร์” (geography) ภูมศิ าสตร์เป็นสาขาวิชาทีห่ ลากหลายและเป็นทีน่ ยิ มส�ำหรับผูค้ น จ�ำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ส�ำเร็จการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ มักมีแนวโน้มว่าถ้าไม่สนใจในภูมิศาสตร์ทางกายภาพของโลก (เช่น เทือกเขา เส้นทางเดินเรือ แม่น�้ำ ฯลฯ) ก็จะสนใจหมวดหมู่ ต่างๆ อย่างเช่น ระยะทางหรือขอบเขตดินแดน บางคนอาจ คิดถึงวัตถุอย่างแผนที่หรือแผนภูมิในทันทีที่เอ่ยถึง “ภูมิศาสตร์” บางคนอาจบอกคุณว่า ภูมิศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับการแสดงให้ เห็นว่าสภาพภูมอิ ากาศและสิง่ แวดล้อมเป็นพืน้ ฐานในการก�ำหนด สังคมมนุษย์ได้อย่างไร ไม่ใช่เรือ่ งแปลกอะไรทีจ่ ะกล่าวว่า เนินเขา แม่นำ�้ ชายฝัง่ ทะเล และภูเขา ช่วยก�ำหนดอัตลักษณ์ส่วนบุคคล อัตลักษณ์ร่วม วิถีปฏิบัติ ไปจนถึงอุดมการณ์ ประเด็นของผมคือการกล่าวอ้างดังกล่าวแม้ว่าจะมี คุณค่าทางภูมปิ ญ ั ญาในทางใดทางหนึง่ ก็ตาม กลับเป็นตัวลดทอน ให้ภูมิศาสตร์กลายเป็นเพียงลักษณะพื้นที่ทางกายภาพ ซึ่งมี อ�ำนาจพิเศษในการก�ำหนดวิถีปฏิบัติของมนุษย์ และก่อให้เกิด นิยัตินิยมทางสิ่งแวดล้อม (environmental determinism) ที่ ง่ายดายเกินไป ยกตัวอย่างเช่น การให้คำ� อธิบายว่าเหตุทชี่ นเผ่า พื้นเมืองในเยเมนต่อต้านความพยายามของรัฐที่จะเข้าควบคุม การเคลื่อนไหว เป็นเพราะพวกเขาอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็น ภูเขา ผมติดใจเสมอว่าท�ำไมภูเขาจึงถูกน�ำมาใช้เป็นปัจจัยในการ อธิบายเรื่องดังกล่าว ภูเขามีอิทธิพลต่อมนุษย์มากถึงขนาด ท�ำให้เราสามารถอธิบายหรือแม้กระทั่งท�ำนายประวัติศาสตร์ มนุษยชาติได้เลยหรือ หรือเราเพียงต้องการคงเรื่องเล่าดังกล่าว


A Very Short

Introduction

29

เอาไว้ต่อไป ในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ บุคคลอื่นที่อยู่ภายนอก สภาพแวดล้อมเฉพาะดังกล่าวสามารถน�ำนิยัตินิยมประเภทนี้ ไปใช้แสวงหาความชอบธรรมให้แก่นโยบายชุดหนึ่งซึ่งออกแบบ มาเพื่อลดการติดต่อทางตรงกับ “ชนเผ่าพื้นเมือง” ให้น้อยที่สุด ดังที่เกิดขึ้นในเยเมน ตัวอย่างเช่น อากาศยานไร้คนขับ (drone) ดู เ หมื อ นจะเป็ น เครื่ อ งมื อ ในอุ ด มคติ ส� ำ หรั บ ติ ด ต่ อ ภู มิ ภ าค ที่ไร้เสถียรภาพทางภูมิศาสตร์เหล่านี้โดยตรง และสิ่งที่อาจถูก มองข้ามไปคือ สังคมเยเมนนั้นมีความสลับซับซ้อนเช่นเดียวกับ สังคมอืน่ ๆ ไม่วา่ จะมีสภาพแวดล้อมทางภูมศิ าสตร์แบบใดก็ตาม อย่างไรก็ตามภูมิรัฐศาสตร์ได้ให้วิธีมองโลก ซึ่งบ่อย ครั้ ง มั ก เป็ น มุ ม มองทางภู มิ ศ าสตร์ ใ นรู ป แบบที่ ท� ำ ให้ เ ข้ า ใจ ได้งา่ ยดายเกินไป โดยแผนที่ ตาราง และภาพถ่าย ต่างมีบทบาท ในกระบวนการท�ำให้งา่ ยดายนี้ เช่นเดียวกับค�ำทีฟ่ งั ดูเหมือนไม่มี พิษมีภัย อย่างเช่น ดินแดนแกนกลาง (heartland) แกนหมุน (pivot) ส่วนโค้ง (arc) และพื้นที่ชายแดน (borderlands) ส�ำหรับ หลายคนแล้ว ภูมิรัฐศาสตร์เป็นแนวทางที่น่าเชื่อถือ (หรือเป็น วัตถุวิสัย) เกี่ยวกับภูมิทัศน์โลก โดยอาศัยการพรรณนา การ เปรี ย บเปรยอุ ป มา และแม่ แ บบทางภู มิ ศ าสตร์ ดั ง ตั ว อย่ า ง ข้างต้น รวมไปถึงค�ำอื่นๆ อีกมากมายในช่วงหลายทศวรรษ ทีผ่ า่ นมา เช่น ค�ำว่า “ม่านเหล็ก” (iron curtain) “โลกที่สาม” (Third World) และ/หรือ “รัฐอันธพาล” (rogue state) ค�ำเหล่านี้ มีความเป็นภูมิศาสตร์ในตัวมันเอง ในความหมายที่ว่าสถานที่ (places) [แทนทีจ่ ะเป็นเรือ่ งของพืน้ ทีห่ รือเทศะ (spaces)] ได้รับ การระบุและตีตราก�ำหนดมาให้เป็นเช่นนัน้ ดังนัน้ มันจึงช่วยสร้าง


30

Geopolitics

ตัวแบบที่ง่ายดายเกินไปของโลกขึ้นมา ซึ่งสามารถน�ำไปใช้เพื่อ ให้คำ� แนะน�ำและให้ขอ้ มูลส�ำหรับการก�ำหนดนโยบายต่างประเทศ และนโยบายความมั่นคงได้ แนวคิดทางภูมิรัฐศาสตร์มีความ ส�ำคัญมากที่สุดในแง่ของการน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ทั้งใน หนังสือพิมพ์ วิทยุ นิตยสาร และข่าวโทรทัศน์ ซึง่ มีแนวโน้มว่าจะ ลดทอนรัฐบาลและประเทศต่างๆ ให้เหลือเพียงชือ่ เรียกง่ายๆ เช่น “ลอนดอน” “วอชิงตัน” หรือ “มอสโก” ภูมิรัฐศาสตร์ท�ำหน้าที่เป็น วิถีปฏิบัติทั้งทางวิชาการและในทางสาธารณะผ่านการก�ำหนด ภูมิศาสตร์และความเป็นภูมิศาสตร์ (the geographical) ค�ำเรียก เช่น “ม่านเหล็ก” “แกนหมุน” และ “อักษะแห่งความชั่วร้าย” ต่าง ก็มคี ณ ุ ค่าในฐานะเครือ่ งมือช่วยท�ำความเข้าใจ (heuristic value) ซึง่ ให้ขอ้ มูลและชีน้ ำ� ผูฟ้ งั เกีย่ วกับความแน่นอนทางภูมศิ าสตร์ใน การเมืองโลก อย่างไรก็ตามอาจจะมีอยู่อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการมอง ภูมิรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์ ผมอยากเริ่มต้นด้วยการพิจารณา ความเป็นภูมิศาสตร์ในฐานะสิ่งที่ถูกผลิตสร้างขึ้นซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า ในเชิงนิรกุ ติศาสตร์ <etymology วิชาทีว่ า่ ด้วยต้นก�ำเนิดและการ พัฒนาของค�ำ> ภูมิศาสตร์คือการเขียนเกี่ยวกับโลกในรูปแบบ หนึง่ มันเป็นกิจกรรมทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับอ�ำนาจของผูก้ ระท�ำการ (agent) และองค์การต่างๆ ที่สามารถเขียนถึงเทศะ ยึดครอง เทศะ จัดการเทศะ และสรรค์สร้างสถานที่ด้วยวิสัยทัศน์และ โครงการเฉพาะต่างๆ ภูมศิ าสตร์ในบริบทนีม้ กั จะอยูใ่ นสภาวะของ สิง่ ทีก่ ำ� ลังจะมาถึง (becoming) มากกว่าจะเป็นบางสิง่ ที่ “ตายตัว” เช่น แนวเทือกเขา (ซึ่งกลับกลายเป็นอะไรที่ไม่ “ตายตัว” ดังที่


A Very Short

Introduction

31

นักภูมิศาสตร์กายภาพและนักธรณีวิทยาเข้าใจกัน) ผมมอง ความเป็นภูมศิ าสตร์ในเชิงยุทธศาสตร์ในตัวมันเอง ซึง่ อยูภ่ ายใต้ ทั้ ง การแทรกแซงและการสรรค์ ส ร้ า งของมนุ ษ ย์ แต่ ใ นขณะ เดียวกันความเป็นภูมิศาสตร์ก็มีความสามารถในการปฏิบัติการ กีดกั้นขัดขวาง สนับสนุน และรบกวน ผ่านแรงขับเคลื่อนและ กระบวนการต่างๆ ของโลก เช่น ภูมิอากาศ ดิน น�้ำแข็ง แม่น�้ำ และกระแสน�้ำในมหาสมุทร เป้าหมายในที่นี้คือ เพื่อแสดงให้เห็นว่าภูมิรัฐศาสตร์ ถูกน�ำไปใช้อย่างไรและมีผลตามมาเช่นไร โดยเฉพาะในชีวิต ประจ� ำ วั น นั ก เขี ย นด้ า นภู มิ รั ฐ ศาสตร์ จ� ำ นวนมากอาศั ย เวที ระดับโลกเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดและยังคงวนเวียนอยู่กับสิ่งที่เรา อาจเรียกว่า “การเมืองระดับบน” (high politics) เช่น สงคราม การทูต และศิลป์แห่งการปกครอง (statecraft) โดยใช้ “มุมมอง แบบพระเจ้ามองโลก” พร้อมกับแผนที่ต่างๆ ที่พวกเขามี ท�ำให้ โลกที่พวกเขาพรรณนาถึงนั้นเป็นโลกที่มีความเป็นนิยัตินิยม ทางสิ่งแวดล้อมและมีรัฐเป็นศูนย์กลาง (state-centric) ทั้งยังมี แนวโน้มว่าจะเป็นโลกทีซ่ งึ่ ตัวแสดงและปัจจัยบางอย่างมีอทิ ธิพล มากจนเกินไป อย่างเช่น การผงาดขึน้ มาของจีน ความตกต�ำ่ ของ สหรัฐฯ การลุกฮือของโลกอาหรับหรืออาหรับสปริง วิกฤตราคา น�้ำมัน ฯลฯ แม้เหตุการณ์เหล่านี้จะมีความส�ำคัญในตัวมันเอง แต่ก็ท�ำให้ความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างผู้คน สถาบัน และพื้นที่ต่างๆ กลายเป็นสิ่งนามธรรม แยกขาดจากกัน จนไม่ สามารถเชื่อมโยงกลับไปยังผู้คนได้ จริงอยู่ที่ว่าจีนอาจก�ำลัง “ผงาดขึ้นมา” แต่ว่าจีนก�ำลัง “ผงาด” ไปสู่อะไรและไปสู่ที่ไหน


32

Geopolitics

ใช่ทกุ คนในประเทศจีนหรือไม่ทกี่ ำ� ลัง “ผงาด” และพวกเขา “ผงาด ขึ้นมา” จากที่ใด บนฐานที่ว่าในอดีตจีนเคยได้รับการยอมรับ ว่าเป็นหนึ่งในแหล่งอารยธรรมที่เจริญก้าวหน้าที่สุดของโลก? ใช่หรือไม่ทปี่ ระเทศจีนเป็นเพียงหน่วยหนึง่ ทางภูมศิ าสตร์ทตี่ งั้ อยู่ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก หรือทีจ่ ริงแล้วจีนเป็นอะไรบางอย่างที่ แสดงตัวตนผ่านเครือข่ายและข้าวของต่างๆ เช่น แวดวงธุรกิจ การค้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย แทนที่จะเป็นเพียง มาตรวัดอย่างง่ายดาย อย่างเช่น แสนยานุภาพกองทัพเรือและ ระดับการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง ดังนั้นการให้เหตุผลว่า ผู้กระท�ำการ วัตถุ และความ สัมพันธ์ต่างๆ มีความส�ำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไร จึงเป็น สิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับผม ผมจะไม่ทึกทักเอาว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เป็ น ตั ว ก� ำ หนดมั น ขึ้ น มา แต่ ผ มจะตั้ ง ค� ำ ถามว่ า ความเป็ น ภู มิ ศ าสตร์ มี ค วามส� ำ คั ญ ขึ้ น มาได้ อ ย่ า งไร แนวคิ ด เรื่ อ งการ จินตนาการ (imagination) ทางภูมิศาสตร์หรือทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจช่วยให้เราเข้าใจประเด็นเหล่านี้ แนวคิดนีไ้ ด้รบั อิทธิพลอย่าง มากจากงานเขียนของ เอ็ดเวิรด์ ซาอิด (Edward Said) นักวิชาการ ชาวปาเลสไตน์-อเมริกันผู้ล่วงลับไปแล้ว ในงานเขียนหลายชิ้น ของเขารวมถึงหนังสือที่ได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางอย่าง บูรพานิยม (Orientalism, 1978) ซาอิดมีความสนใจในประเด็นที่ ว่า สถานทีต่ า่ งๆ เคยและยังคงถูกจินตนาการ พร้อมกับถูกท�ำให้ เป็นภาพตัวแทนในงานศิลปะ วรรณกรรม เพลง รวมทั้งในหมู่ ผู้ก�ำหนดนโยบายต่างประเทศของโลกตะวันตกได้อย่างไร ใน ฐานะผูส้ นับสนุนการสร้างรัฐปาเลสไตน์อย่างมุง่ มัน่ ซาอิดมีความ


A Very Short

Introduction

33

อ่อนไหวอย่างมากต่อการที่ชุมชนต่างๆ อย่างเช่นชุมชนชาว ปาเลสไตน์หรือชุมชนโลกอาหรับโดยรวมมักถูกเข้าใจไปในทาง ทีเ่ ลวร้ายว่า ไร้เสถียรภาพ เป็นภัยคุกคาม และ/หรือเป็นต่างด้าว เขาจึงเสนอว่า สิง่ เหล่านีห้ มายความว่า ความเข้าใจทางการเมือง และวัฒนธรรมอันเฉพาะเจาะจงที่มีต่อสถานที่และชุมชนต่างๆ สามารถโน้ ม น� ำ ผู ้ ก� ำ หนดนโยบายและมติ ม หาชนไปใน แนวทางที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อแผนการสร้างชุมชนปาเลสไตน์ ที่มีสิทธิปกครองตนเองได้ จากการใช้ชีวิตเขียนงานในสหรัฐฯ มาโดยตลอด ซาอิดมีความกังวลอย่างมากว่าสื่อกระแสหลักใน อเมริกานั้นไม่มีความเห็นอกเห็นใจต่อสถานการณ์อันเลวร้าย ของชาวปาเลสไตน์ และมีแนวโน้มที่จะเห็นว่าชาวปาเลสไตน์ ให้ความช่วยเหลือผู้ก่อการร้าย มากกว่าจะเห็นว่าพวกเขาเป็น ส่วนหนึง่ ของผูค้ นซึง่ ถูกปล้นชิงและถูกกักกันให้อยูใ่ นค่ายผูล้ ภี้ ยั จนในบางกรณีกลายเป็นพลเมืองชั้นสองของอิสราเอล หรือเป็น ส่วนหนึ่งของผู้พลัดถิ่น (diaspora) อย่างเช่นตัวซาอิดเอง ถ้า ชาวปาเลสไตน์ถกู เข้าใจในแง่มมุ ทีเ่ ลวร้ายเช่นนีแ้ ล้ว ย่อมเป็นการ ง่ายดายส�ำหรับบุคคลอื่น เช่นผู้สนับสนุนอิสราเอล ที่จะท�ำการ เบีย่ งเบนประเด็นทีอ่ สิ ราเอลพยายามครอบครองเขตเวสต์แบงก์ อย่างต่อเนื่อง หรือละเลยผลที่ตามมาจากการสร้างก�ำแพงความ มั่นคงของอิสราเอล ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่ารัฐอิสราเอล คิดว่าพวกเขามีเหตุผลอันสมควรทีจ่ ะสร้างโครงการซึง่ เกีย่ วข้อง กับความมั่นคง เพียงแต่ต้องการถามว่าโครงการต่างๆ เหล่านี้ สนับสนุนจินตนาการทางภูมริ ฐั ศาสตร์ (และตามมาด้วยปฏิบตั กิ าร ด้านความมัน่ คง) อย่างไร และสนับสนุนในทีใ่ ด ซึง่ แตกต่างไปจาก


34

Geopolitics

กรณีของชาวปาเลสไตน์เป็นอย่างมาก การสร้างภาพตัวแทนทางภูมิศาสตร์ (geographical representation) ช่วยให้เราท�ำความเข้าใจโลก และเช่นนั้น แล้วก็หมายความว่าพวกเราต่างเป็นนักทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยกันทัง้ นัน้ ความเข้าใจและประสบการณ์เกีย่ วกับภูมริ ฐั ศาสตร์ ของพวกเรานั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น นักวิชาการแนว สตรีนิยมจะกระตือรือร้นและให้ความส�ำคัญว่า ความเข้าใจ และประสบการณ์ในเรื่องเหล่านั้นถูกท�ำให้เป็นประเด็นเรื่อง เพศสภาพได้อย่างไร ดังนัน้ เมือ่ รัฐประกาศ “สถานการณ์ฉกุ เฉิน” ผลที่ตามมาส�ำหรับผู้หญิงและผู้ชายนั้นย่อมแตกต่างกัน เช่น ต�ำรวจและทหารกระท�ำการตรวจสอบทางนรีเวชกับผู้ประท้วง ผู้หญิงในการชุมนุมที่กรุงไคโร ปี 2012 และ 2013 เพื่อประเมิน ว่าพวกเธอเป็นหญิง “บริสุทธิ์” หรือไม่ ผู้หญิงที่เห็นต่างเหล่านี้ ซึง่ มิได้มโี ลกทัศน์ทางภูมริ ฐั ศาสตร์รว่ มกับรัฐและชนชัน้ น�ำอียปิ ต์ ต่างถูกตีตราเหมารวมว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ด�ำเนินตนใน ทางทีผ่ ดิ และเสือ่ มทราม เชือ้ ชาติและชาติพนั ธุก์ เ็ ป็นอีกหนึง่ เครือ่ ง บ่งชี้ความแตกต่างอันทรงพลังเช่นเดียวกับเพศวิถี (sexuality) ส�ำหรับคนผิวสีและคนเอเชีย ความหวาดกลัวต่อการก่อการร้าย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หมายความว่าร่างกายและพฤติกรรม ต่างๆ ของพวกเขาจะถูกพินิจพิเคราะห์อย่างใกล้ชิดมากกว่าคน ผิวขาว อย่างไรก็ตามสิง่ นีไ้ ม่ได้อธิบายว่าการยกระดับเทคโนโลยี รักษาความปลอดภัยที่ท่าอากาศยานส่งผลอย่างไรต่อบุคคลที่มี ร่างกายแตกต่างจากปกติ เช่น คนหูหนวกหรือคนพิการที่ต้อง อาศัยแขนขาเทียม เป็นต้น เพศวิถีนับเป็นอีกเครื่องบ่งชี้ของ


A Very Short

Introduction

35

ความสงสัยคลางแคลงใจเช่นกัน ชุมชนเกย์และเลสเบีย้ นอาจชีใ้ ห้ เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า มีการโจมตีผู้กระท�ำการทางภูมิรัฐศาสตร์ อย่างเช่น ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) และโอซามา บิน ลาเดน ว่าเป็น “คนรักร่วมเพศ” มากกว่าจะมองว่าพวกเขาเป็น ชายแท้ที่รักเพศตรงข้าม เราอาจอนุมานได้ว่าการสร้างภาพว่า ศัตรูไม่ใช่ชายแท้ทำ� ให้การสถาปนาวิสยั ทัศน์ทางภูมริ ฐั ศาสตร์ตอ่ ภัยคุกคามและภยันตรายท�ำได้งา่ ยขึน้ เพราะฉะนัน้ ภูมริ ฐั ศาสตร์ จึงมีวิธีการมองโลกที่เป็นได้ทั้งในแง่มุมเชิงศีลธรรมและในแง่ ประเด็นด้านความมั่นคง เชื่อมโยงภูมิรัฐศาสตร์กับวัฒนธรรมมหาชน ส�ำหรับผู้เขียนแล้ว ภูมิรัฐศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียง ภายในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ หรือปรากฏให้เห็น ในรายการโทรทัศน์ที่มีการพูดคุยกับแขกรับเชิญ พาดหัวข่าว หนังสือพิมพ์ และการโทรศัพท์เข้ารายการวิทยุเท่านั้น เมื่อ ภูมริ ฐั ศาสตร์สามารถเป็นทัง้ หมดทีก่ ล่าวมาข้างต้น ภูมริ ฐั ศาสตร์ เป็นอะไรที่สามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด ถึงกระนั้นก็อาจไม่มีใคร สังเกตเห็นมันเลย ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น การแถลงนโยบาย ประจ�ำปีโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อที่ประชุมร่วมของรัฐสภา อเมริกันในเดือนมกราคมของทุกปี นี่ถือเป็นโอกาสครั้งส�ำคัญ ส�ำหรับประธานาธิบดีที่จะถ่ายทอดวิสัยทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ของเขาต่อคนในประเทศและทั่วโลก (สังเกตว่าผมไม่ได้ใช้ค�ำว่า “ของเธอ”) ในฐานะส่วนหนึง่ ของการสรุปข้อเสนอหรือเหตุการณ์ที่


36

Geopolitics

เกิดขึน้ (tour d’horizon) การแถลงนโยบายประจ�ำปีตอ่ รัฐสภาโดย ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ใช้ชดุ หลักเกณฑ์ทางภูมริ ฐั ศาสตร์ในการ จัดล�ำดับความส�ำคัญของประเทศและภูมิภาคตามนัยส�ำคัญทาง ภูมศิ าสตร์ ตัง้ แต่ระดับพันธมิตรหลักไปจนถึงประเทศและภูมภิ าค ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นภยันตรายอย่างชัดเจน สุนทรพจน์ชุดนี้ ถ่ายทอดทางโทรทัศน์และตกเป็นเป้าของการวิเคราะห์ในวงกว้าง ทั้งหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และนิตยสาร ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความที่เป็นผู้น�ำของรัฐซึ่งทรงพลังที่สุดในโลก สุนทรพจน์ ของประธานาธิบดีจึงถูกพินิจพิเคราะห์อย่างแพร่หลายจากสื่อ นานาชาติด้วยเช่นกัน เพราะบุคคลบางคนส�ำคัญกว่าคนอื่นๆ เสมอ สิ่งที่คนเหล่านั้นเลือกให้ความสนใจย่อมมีความส�ำคัญ จะเห็นได้ว่าประธานาธิบดีโอบามาไม่ต้องการให้คนเพ่งความ สนใจไปทีป่ ระเด็นการโจมตีดว้ ยอากาศยานไร้คนขับในปากีสถาน และเยเมน ซึ่งนักหนังสือพิมพ์อย่างเจเรมี สเกฮิลล์ (Jeremy Scahill) เรียกว่า “สงครามสกปรก” สุนทรพจน์ในเดือนมกราคม ปี 2002 ไม่กี่เดือนภายหลัง เหตุการณ์การโจมตีสหรัฐฯ ในวันที่ 11 กันยายน การแถลง นโยบายประจ�ำปีต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นงาน ที่ส�ำคัญยิ่ง เมื่อพลเมืองจ�ำนวนมากหวังพึ่งผู้น�ำเพื่อจะได้เข้าใจ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากในขณะนั้นพลเมืองอเมริกัน ยังคงอยู่ในสภาวะอกสั่นขวัญแขวนอย่างรุนแรง ประธานาธิบดี จะสามารถเรียกความมัน่ ใจของประชาชนอเมริกนั กลับคืนมาและ เน้นย�ำ้ ถึงความทระนงของสหรัฐฯ เองได้อย่างไร เมือ่ สุนทรพจน์ ได้รับการเผยแพร่ มันแสดงให้เห็นว่าบุช (George W. Bush)


A Very Short

Introduction

มีการประเมินทางภูมิรัฐศาสตร์ไว้อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้ เป้าหมายที่สองของพวกเราคือ เพื่อขัดขวางระบอบต่างๆ ที่สนับสนุนการก่อการร้าย การคุกคามสหรัฐอเมริกาและ พันธมิตรของเราด้วยอาวุธทีม่ อี านุภาพท�ำลายล้างสูง ระบอบ เหล่านั้นบางระบอบยังคงนิ่งเงียบนับตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยายน แต่กระนั้นพวกเรารู้จักธรรมชาติที่แท้จริงของ พวกเขาดี เกาหลีเหนือมีระบอบการปกครองทีเ่ พียบพร้อม ด้วยขีปนาวุธและอาวุธทีม่ อี านุภาพท�ำลายล้างสูง ในขณะที่ ประชาชนต้องอดอยาก อิหร่านเองก็พยายามแสวงหาอาวุธเหล่านีอ้ ย่างก้าวร้าว และขยายการก่อการร้ายออกไป ในขณะทีช่ นชัน้ น�ำทีไ่ ม่ได้ มาจากการเลือกตั้งจ�ำนวนน้อยคอยกดปราบความหวังใน เสรีภาพของประชาชน อิรักยังคงแสดงความเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย และยังสนับสนุนการก่อการร้ายอยู่ ระบอบของอิรกั วางแผน จะพั ฒ นาเชื้ อ โรคแอนแทรกซ์ ก๊ า ซพิ ษ รวมทั้ ง อาวุ ธ นิวเคลียร์มานานกว่าทศวรรษ นี่คือระบอบที่ใช้ก๊าซพิษ สังหารพลเมืองนับพันของตน แล้วปล่อยให้กองศพแม่สุม ทับศพลูก นี่คือระบอบที่เคยยอมรับการตรวจสอบระหว่าง ประเทศ แต่ภายหลังก็ขับไล่ผู้ตรวจสอบออกจากประเทศ นี่คือระบอบที่ซุกซ่อนอะไรบางอย่างจากโลกที่มีอารยะ … ข้าพเจ้าจะไม่เฝ้าดูเพียงอย่างเดียว ในเมือ่ ภยันตราย ก�ำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ขนึ้ ทุกขณะ สหรัฐอเมริกาจะไม่ยอม ให้บรรดาระบอบที่อันตรายที่สุดในโลก มาคุกคามพวกเรา ด้วยอาวุธที่มีอานุภาพท�ำลายล้างสูงที่สุดในโลก (เสียงปรบมือ)

37


38

Geopolitics

ส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์ที่ยกมาข้างต้นนั้นสร้างกระแส ความสนใจในหมูส่ อื่ มวลชนและนักวิจารณ์การเมืองเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากค�ำว่า “อักษะแห่งความชั่วร้าย” (axis of evil) ที่ใช้ อธิบายกลุม่ ประเทศทัง้ สาม คืออิหร่าน อิรกั และเกาหลีเหนือ เมือ่ ประธานาธิบดีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสหรัฐฯ พรรณนา ถึงทัง้ สามประเทศในฐานะส่วนหนึง่ ของ “อักษะแห่งความชัว่ ร้าย” ผู้คนทั่วโลกก็มีแนวโน้มที่จะสังเกตเห็นตามค�ำอธิบายดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่รัฐบาลของทั้งสามประเทศต่างออกมา วิพากษ์วิจารณ์สุนทรพจน์นี้อย่างรุนแรง และประณามสหรัฐฯ ด้วยการตอบโต้ในที่สาธารณะอย่างฉับพลัน ซึ่งการตอบโต้นี้ มีขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนภายในประเทศของตน ในมุมมองของประธานาธิบดี ค�ำว่า “อักษะแห่งความชั่วร้าย” ไม่เพียงแสดงให้รฐั บาลเหล่านัน้ เห็นถึง “ค�ำเตือนให้ยตุ กิ ารกระท�ำ บางอย่าง” ซึง่ ไม่เป็นทีย่ อมรับจากสหรัฐฯ แต่ยงั น�ำเสนอแม่แบบ ทางภูมิศาสตร์อย่างง่ายดายของโลกอีกด้วย การแถลงนโยบาย ประจ�ำปีต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2002 นั้น ส�ำคัญอย่างมาก เพราะว่ามีส่วนช่วยเชื่อมโยงจินตนาการทาง ภู มิ รั ฐ ศาสตร์ ใ ห้ แ ก่ ร ะบอบซึ่ ง ครอบครองอาวุ ธ ที่ มี อ านุ ภ าพ ท�ำลายล้างสูงของซัดดัม ฮุสเซน ในอิรักว่ามีความเชื่อมโยง อย่างแนบแน่นกับเหตุการณ์โจมตีในวันที่ 11 กันยายน 2001 ถึงแม้วา่ จะไม่มหี ลักฐานชัดเจนใดๆ เชือ่ มโยงระบอบดังกล่าวกับ ขบวนการนักรบอิสลาม (Islamic militancy) และเครือข่ายการ ก่อการร้ายก็ตาม แต่ชาวอเมริกันจ�ำนวนมากพึงใจที่จะยอมรับ ความเชื่อมโยงทางภูมิศาสตร์เช่นนี้ และสิ่งนี้ช่วยให้รัฐบาลบุช


A Very Short

Introduction

39

สามารถโน้มน้าวพลเมืองชาวอเมริกันว่า การเข้ารุกรานอิรัก ต่อจากปฏิบตั กิ ารทางทหารในอัฟกานิสถานนัน้ ถือเป็นก้าวส�ำคัญ ที่น�ำไปสู่ชัยชนะในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก ผู้ฟัง ภายในประเทศเองก็มีความส�ำคัญ เพราะพวกเขาบริโภคและ ผลิตซ�้ำจินตนาการทางภูมิศาสตร์เหล่านั้น ผ่านบทสนทนาใน ชีวิตประจ�ำวัน ทั้งภายในบ้าน ร้านกาแฟ และพื้นที่สาธารณะ อื่นๆ (ดูกล่องที่ 1) อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจมีภูมิรัฐศาสตร์ประเภทอื่นๆ ซึ่งแทบไม่เป็นที่สังเกตเห็น โดยอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ภูมริ ฐั ศาสตร์สามัญธรรมดา (banal geopolitics) กล่าวคือเป็นภูมิรัฐศาสตร์ที่แทบไม่เป็นที่สังเกตเห็น ทั้งที่ความ เป็นจริงมันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจ�ำวัน ธงถือเป็นตัวอย่าง หนึ่ง ถ้าคุณท่องเที่ยวไปยังเมืองที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสอย่างควิเบก ในแคนาดา คุณจะสังเกตเห็นทิวธงต่างๆ อันน่าสนใจแขวนอยู่ หน้าบ้านประชาชน ถ้าธงที่แขวนอยู่หน้าประตูเป็นธงควิเบก คุณก็อาจสันนิษฐานได้ว่าผู้อาศัยในบ้านหลังนั้นเป็นชาวควิเบก ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะอยากเห็นควิเบกเป็น รัฐเอกราชในอนาคต และพวกเขามีความเกี่ยวข้องกับโลกที่ใช้ ภาษาฝรัง่ เศสมากกว่า) ถ้าคุณเห็นธงชาติแคนาดาแขวนอยูห่ น้า ประตู มันก็สมเหตุสมผลทีจ่ ะสันนิษฐานว่าผูอ้ าศัยในบ้านหลังนัน้ สนับสนุนสหพันธรัฐแคนาดา การเลือกธงจึงเกี่ยวข้องกับจุดยืน ทางภูมริ ฐั ศาสตร์เฉพาะบางอย่างของผูเ้ ลือก ในฐานะนักท่องเทีย่ ว ทีเ่ ดินทางไปควิเบกเป็นครัง้ คราว ผมหลงใหลการแบ่งแยกด้วยธง อยู่เสมอ และมีปฏิกิริยาแบบเดียวกันเมื่อท่องเที่ยวไปยังที่อื่นๆ


40

Geopolitics

กล่องที่ 1 การน�ำการก่อการร้ายเข้าบ้าน: ปัดฝุ่นเจมส์ บอนด์ ในปี 2005 เจมส์ บอนด์ (James Bond) ซึ่งรับบทโดย แดเนียล เคร็ก (Daniel Craig) ปรากฏตัวอีกครั้งในภาค Casino Royale และเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของสายลั บ 007 ซึ่ ง แตกต่ า งไปจากเดิ ม เคร็ ก ในบทบอนด์ นั้ น มี ค วาม โหดเหี้ยมมากขึ้นและพร้อมจะสู้มากกว่าเดิม เมื่อต้องเผชิญ กับโลกที่เต็มไปด้วยเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติและ การก่อการร้าย ในภาคก่อนหน้านี้อัจฉริยะผู้ร้ายกาจมักมี ทีห่ ลบซ่อนลับและสามารถท�ำการจูโ่ จมได้ทนั ที แต่ในภาคนี้ กลับไม่มีแบบนั้นอีกแล้ว หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน ผู ้ เขี ย นบทภาพยนตร์ ไ ด้ แ ต่ ง โครงเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ โลกทาง ภูมิรัฐศาสตร์ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยองค์กรควอนตัม ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทั้งยังแทรกซึมเข้าไปในองค์กร สายลับของอังกฤษหรือ MI6 (ในภาค Quantum of Solace) ดังนั้นลอนดอนจึงไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ในภาค Skyfall (ดูภาพประกอบ 2) การก่อการร้ายได้ เข้ามาถึงลอนดอนแล้ว ในรูปแบบของอดีตเจ้าหน้าที่ MI6 ที่ไม่พอใจ <ต่อระบบ> ได้เข้าโจมตีอาคาร MI6 ในใจกลาง กรุงลอนดอนอย่างอุกอาจ บอนด์จึงได้รับค�ำสั่งให้กลับมา จากภารกิจที่ล้มเหลวไม่เป็นท่าในตุรกีก่อนหน้านี้ เพื่อยุติ ความวุ่นวายที่ก�ำลังคืบคลานมายังลอนดอน ส�ำหรับชาว


A Very Short

Introduction

41

อั ง กฤษ สั ญ ญาณที่ ชี้ ถึ ง การโจมตี โ ดยผู ้ ก ่ อ การร้ า ยเมื่ อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2005 นัน้ ชัดเจน แต่การก�ำหนดภยันตราย ในแผนทีท่ างภูมศิ าสตร์กลับท�ำได้ยากล�ำบากขึน้ ภัยคุกคาม ไม่ได้จำ� กัดอยูแ่ ค่สถานทีใ่ ดสถานทีห่ นึง่ อีกต่อไป แม้บอ่ ยครัง้ จะเกิดในพื้นที่ที่ถูกเหมารวม เช่นเกาหลีเหนือ (ในภาค Die Another Day) แต่ครั้งนี้เจ้าหน้าที่สืบราชการลับกลับต้อง มาปกปักรักษาลอนดอนเอง เครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบ ขนส่ง อย่างเช่นรถไฟใต้ดินของลอนดอน สะท้อนให้เห็นถึง โลกทางภูมริ ฐั ศาสตร์ ทีซ่ งึ่ การเคลือ่ นทีโ่ ดยสะดวกส�ำคัญกว่า การลงหลักปักฐานในที่ใดที่หนึ่ง

ภาพประกอบ 2 เจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ Skyfall (ก�ำกับโดยแซม เมนเดส ปี 2012) นับเป็นภาพยนตร์บอนด์ภาคแรกทีท่ ำ� ให้เห็นว่าลอนดอน เป็นเป้าหมายหลักของการโจมตี


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.