Global change 3 preview

Page 1


Global Change 3 • วรากรณ์ สามโกเศศ พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , มีนาคม 2560 ราคา 195 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภาคย์ มหิธิธรรมธร • บรรณาธิการเล่ม บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 3 0 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworldsBKK website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 7 3 9 8000 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6 - 9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อสำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วรากรณ์ สามโกเศศ. Global Change 3.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2560. 216 หน้า.-- (Global Change). 1. ความรู้ทั่วไป. I. ชื่อเรื่อง. 030 ISBN 978-616-7885-50-6 • ภาพปกหน้า: A3D/Shutterstock และ Kamenetskiy Konstantin/Shutterstock ภาพปกหลัง: A3D/Shutterstock และ Aslysun/Shutterstock ภาพประกอบหน้าเปิดบท: บทที่ 1-8, 10-21 และ 23-32 จาก thenounproject.com เรียงล�ำดับดังนี้ (1) Jon Trillana/Il Capitano (2) Aaron K. Kom (3) Creative Stall (4) Maxim Kulikov (5) Catia Marsh Mellow (6) DesignNex (7) Parkjisun (8) Daivis Gladis (10) Yamini Ahluwalia (11) Iconic (12) Zinta Auzins (13) Lorena Salagre (14) Gregor Cresnar (15) Stephen Plaster (16) Luis Prado (17) Lorie Shaull (18) Thomas Helbig (19) Alex Tai (20) Sammy Menai (21) David (23) Gregor Cresnar (24) Loïc Poivet (25) Luis Prado (26) Edward Boatman (27) Surgey Demushkin (28) Liliane Lass Erbe (29) Edward Boatman (30) Mark Caron (31) Royyan Wijaya (32) Hea Poh Lin และภาพประกอบในบทที่ 9 จาก Wikimedia Commons


สารบัญ •

ค�ำน�ำ

6

1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 12 2. รู้จัก Disruptive Technology 20 3. เรื่องน่ากลัวของโลกดิจิทัล 26 4. เก็บภาษีจากหุ่นยนต์ 32 5. “อุดมศึกษา” นอกคอก 38 6. อ่านออกเขียนได้เชิงข้อมูล 44 7. เหล้าเก่าที่ต้องเป็นเหล้าใหม่ในขวดการศึกษา 50 8. สังคมไซเบอร์และการระมัดระวัง 56 9. เตรียมตัวรับ Internet Finance 62 10. จีนมีเทคโนโลยีการผลิตสูงหรือต�่ำ 68 11. Pokémon Go เขย่าโลก 76 12. เข้าใจเพื่อหนี Galápagos Syndrome 82


13. ประชามติเรื่อง EU ของ UK 14. Tobin Tax สูงส่งกว่าที่ก�ำลังจะท�ำ 15. Brexit…มาถึงตรงนี้ได้อย่างไร 16. ความแปลกของเลือกตั้ง US 2016 17. หน้าแตกกับ Trump 18. Post-Truth ท้าทายสังคม 19. Hate Speech 20. Trudeaumania 21. “ลูกคนเดียว” ท�ำร้ายจีน 22. ตัวเลขกับชีวิตที่ถูกบงการ 23. แนวคิด “ตลาดจ๋า” ก�ำลังเปลี่ยนแปลง 24. เรื่องแปลกจากอินโดนีเซีย 25. คุกญี่ปุ่นน่าอยู่แต่โหดร้าย 26. ไวรัส Zika อาละวาด 27. อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจยา 28. ผัก ผลไม้ และความงาม 29. Sustainable Consumption และความรับผิดชอบ 30. Paris Agreement เปลี่ยนโลก 31. “โลกเขียว” กับ Promession 32. ชีวิตที่ดีมาจากไหน?

88 96 102 108 114 120 126 132 138 144 150 156 164 170 176 182 188

ประวัติผู้เขียน

216

194 202 208


คำ�นำ� •

โลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วชนิดกะพริบตาครั้งหนึ่งภาพที่ อยู่ขา้ งหน้าก็เปลี่ยนไปแล้ว ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่อาจเห็นภาพได้ อย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากสิ่งใด และมีผลกระทบกว้างไกลเพียงใด หนังสือ Global Change 3 เล่มนี้ ทีอ่ อกต่อจากเล่มก่อนหน้านี้ 2 เล่ม (แต่ละเล่มไม่ตอ่ กัน อ่านเล่ม ไหนก่อนก็ได้) พยายามแสดงให้เห็นภาพรวมตลอดจนผลพวง ที่ตามมา เทคโนโลยีเป็นต้นเหตุส�ำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นรอบตัวเรา ด้วยตัวของเทคโนโลยีเอง ชีวิตเราจึงมีความ สุขสบาย ความสะดวก ความปลอดภัย ตลอดจนคุณภาพชีวิตที่ เพิ่มขึ้น และยังก่อให้เกิดผลกระทบเชิงสังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งขยายเป็นวงกว้างจนไม่อาจบอกได้ ว่าจะมีจุดจบสิ้นที่ใด ขณะที่เราอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลง เราจะมอง 6 Global Change III


ไม่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดแจ้งจนกว่าจะดึงตัวเราเองออกมา และมองเข้าไปเมื่อเวลาผ่านไปพอควรแล้ว เฉกเช่นเดียวกับ การที่เราไม่เห็นความแก่ของคนที่เราพบเจออยู่บ่อยๆ จนกว่า จะเห็นหน้าเขาเมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร Global Change 3 พยายามจะท�ำให้ท่านเห็น “ความแก่” ถึงแม้จะพบเห็นอยู่บ่อย ก็ตาม การเปลี่ยนแปลงชนิดร้าวลึกดังเช่นที่เกิดอยู่ในปัจจุบัน มิใช่ของใหม่ คนอังกฤษเริม่ พบเห็นประสบการณ์นจี้ ากการปฏิวตั ิ อุตสาหกรรมครัง้ ทีห่ นึง่ คนบางส่วนพบความมัง่ คัง่ อย่างทีไ่ ม่เคย จินตนาการมาก่อน ในขณะที่คนบางกลุ่มสัมผัสความทุกข์ยาก จากการเป็นแรงงานในเหมืองถ่านหินและในโรงงานอุตสาหกรรม ท่ามกลางกระแสทุนนิยมที่ร้อนแรง “การเปลีย่ นแปลงเป็นนิรนั ดร์” นัน้ จริงแท้แน่นอนสมกับ ค�ำกล่าวในภาษาอังกฤษทีว่ า่ “คุณจะไม่มวี นั ได้ยา่ งกรายลงไปใน แม่น�้ำสายเดียวกันสองครั้ง” กล่าวคือเมื่อลงไปในแม่น�้ำครั้งแรก สิ่งแวดล้อม ณ ตอนนั้นก็เป็นอย่างหนึ่ง และเมื่อลงไปอีกครั้ง หลายสิ่งรอบๆ แม่น�้ำก็เปลี่ยนไปจนเสมือนมิใช่แม่น�้ำสายเดิม ไม่มีใครหยุดการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ดังนั้นประเด็นจึงอยู่ ทีว่ า่ เราจะเปลีย่ นแปลงอย่างไรเพือ่ ให้สอดรับอย่างเป็นคุณแก่ตวั เราและสังคม Global Change 3 ก็พยายามตอบค�ำถามนี้เพื่อให้ คุ้มกับราคาของหนังสือ บทความในหนังสือเล่มนี้รวบรวมจากงานที่ตีพิมพ์ใน กรุงเทพธุรกิจ และ สกุลไทย ช่วงปี 2558-2560 ซึง่ เขียนในสไตล์ วรากรณ์ สามโกเศศ 7


ไม่ต้อง “แบกบันได” มาอ่านก็เข้าใจ โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ ผู้คนทุกหมู่เหล่าเป็นส�ำคัญ ผูเ้ ขียนขอขอบคุณอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ และทีมงาน ส�ำนักพิมพ์นอ้ งใหม่ไฟแรง openworlds ซึง่ มีผลงานชิน้ เลิศเรียง ออกมาตามกันอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ผูเ้ ขียนขอขอบคุณคุณบุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการผู้ท�ำงานนี้ด้วยหัวใจและความเอาใจใส่ อย่างยิ่ง ขอขอบคุณในไมตรีจิตของท่านผู้อ่านส่วนหนึ่งที่กรุณา ติดตามกันมายาวนาน และท่านผู้อา่ นใหม่ที่บัดนี้เรามีใจตรงกัน และหวังว่าจะตรงกันไปอีกนานนะครับ หากมีสิ่งใดไม่ถูกใจหรือผิดพลาด ผมขอน้อมรับด้วย จิตคารวะครับ วรากรณ์ สามโกเศศ มีนาคม 2560

8 Global Change III




. GLO BA L C H AN G E III .

วรากรณ์ สามโกเศศ


1 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4


รถยนต์ที่ไม่ต้องใช้คนขับ เครื่องมือที่ตรวจร่างกายแทน แพทย์ ไ ด้ หุ ่ น ยนต์ ที่ ท� ำ งานบ้ า นได้ ยาเม็ ด ที่ มี ว งจรไฟฟ้ า ขนาดมองไม่เห็นเพื่อรักษาโรคและแก้ไขยีน เซ็นเซอร์ที่เป็น เม็ดยาซึ่งเมื่อกลืนลงไปแล้วจะช่วยให้ย่อยสลายยาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ กังหันลมผลิตไฟฟ้าที่ปรับใบพัดตามกระแสลมได้ เพือ่ ประสิทธิภาพสูงสุด ฯลฯ ทัง้ หมดนีไ้ ม่ใช่นวนิยาย แต่เป็นสิง่ ที่ ก�ำลังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มนุษย์เรามีหน้าตาเหมือนมนุษย์ในปัจจุบนั มาประมาณ 150,000 ปี หรือ 7,500 ชั่วคน เราอยู่กันโดยแทบไม่มีการ เปลีย่ นแปลงในนัยส�ำคัญมาเป็นเวลายาวนาน จนกระทัง่ เกิดการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกขึ้นในปลายศตววรษที่ 18 ครั้งนั้น มีการน�ำน�ำ้ และไอน�ำ้ มาเป็นพลังการผลิต ทดแทนแรงงานคนและ สัตว์ที่ใช้กันมาชั่วนาตาปี

วรากรณ์ สามโกเศศ 13


ครัน้ ถึงปี 1870 จึงเกิดการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ทีส่ อง มีการน�ำไฟฟ้ามาใช้เพื่อการผลิตในขอบเขตที่ใหญ่ขึ้น ต่อมา จึงเกิดการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ทีส่ ามในปี 1969 โดยน�ำพลัง อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเทอร์เน็ต มาสร้างสรรค์ ประโยชน์เพื่อรับใช้มนุษย์ การเปลีย่ นแปลงทัง้ สามครัง้ ล้วนส�ำคัญต่อประวัตศิ าสตร์ มนุษยชาติ ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในสังคมมนุษย์ อย่างทีไ่ ม่เคยเกิดขึน้ มาก่อน เพราะเมือ่ วิถกี ารผลิตเปลีย่ น วิถกี าร ด�ำรงชีพ การท�ำงาน การประกอบอาชีพ การบริโภค ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล วัฒนธรรม ฯลฯ ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมครั้ ง ที่ ส ามได้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด การ เปลีย่ นแปลงทีอ่ ศั จรรย์ยงิ่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ผสมผสานกั น จนเกิ ด เทคโนโลยี ส ารสนเทศหรื อ ไอที ความ ก้าวหน้าของไอทีท�ำให้เกิดความสะดวกสบายในชีวิตประจ�ำวัน (ซื้อของทางออนไลน์ เบิกเงินจากตู้เอทีเอ็ม ติดต่อสื่อสารผ่าน โทรศัพท์มอื ถือ) และเกิดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าจนต้นทุน ลดต�่ำลง (ตลอด 40 ปีที่ผา่ นมา ราคาตู้เย็นและโทรทัศน์แทบไม่ เปลี่ยนแปลงถึงแม้ค่าครองชีพจะสูงขึ้นไม่รู้กี่เท่าก็ตาม) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งทีส่ ามท�ำให้พ่อแม่ลกู ไม่พูด คุยกันเวลาทานอาหาร ไม่ดูโทรทัศน์ร่วมกัน ต่างคนต่างใช้ สมาร์ตโฟน ต่างค้นหาสิง่ ทีแ่ ต่ละคนสนใจเพือ่ ความบันเทิงส่วนตัว คู่รักคุยกันไปกดสมาร์ตโฟนกันไปเพื่อสื่อสารกับเพื่อน (หรือ แม้แต่กับคนรักอีกคนที่อยู่ไกลออกไป) ความสัมพันธ์ระหว่าง 14 Global Change III


มนุษย์ผิดไปจากที่เคยเป็นมานับแสนๆ ปี ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นใน เวลาเพียง 10 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ถ้ า การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมครั้ ง ที่ ส ามเปลี่ ย นแปลง สิง่ ต่างๆ ได้มากขนาดนี้ ลองมาพิจารณาการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม ครั้งที่สี่ที่ก�ำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้และจะขยายตัวมากขึ้นใน อนาคตอันใกล้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่คือการต่อยอดและผสม ผสานเทคโนโลยีหลายด้านที่เกิดขึ้นในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้ ง ที่ ส าม เพื่ อ ให้ รั บ ใช้ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ ห ลากหลายมิ ติ ม ากยิ่ ง ขึ้ น เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การพิมพ์สามมิติ ไบโอเทคโนโลยี ปัญญา ประดิษฐ์หรือเอไอ และพันธุวิศวกรรม ตัวอย่างทีก่ ล่าวไปในย่อหน้าแรกสุดคือผลพวงจากการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงอย่างไร และ สุดท้ายจะเป็นอันตรายต่อโลกมากน้อยเพียงใด (อาจมีหุ่นยนต์ ที่ฉลาดกว่ามนุษย์ หรือเชื้อโรคร้ายแรงที่เกิดจากพันธุวิศวกรรม ก็เป็นได้) ในปัจจุบันการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่เป็นสิ่งที่คน บนโลกก�ำลังกล่าวถึงกันอย่างมาก การประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum WEF) ซึ่งเป็นการประชุมประจ�ำปีที่เหล่านักธุรกิจ นักการเมือง นักคิด จะมาวิพากษ์วจิ ารณ์ประเด็นส�ำคัญๆ ของโลก โดยในปี 2016 ได้จัดประชุมในหัวข้อ “เข้าถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่” วรากรณ์ สามโกเศศ 15


(Mastering the Fourth Industrial Revolution) และมีวาระ การประชุมคือการเตรียมความพร้อมด้านก�ำลังคนและระบบ เศรษฐกิจเพือ่ รับมือกับความท้าทายจากการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม ครั้งที่สี่ หนังสือเรือ่ ง การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ทีส่ ี่ (The Fourth Industrial Revolution) โดย เคลาส์ ชวาบ (Klaus Schwab) ผู้ผลักดันคนส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดเวทีเศรษฐกิจโลก ได้อธิบาย ปรากฏการณ์การปฏิวตั คิ รัง้ นีไ้ ว้อย่างดีเยีย่ ม ชวาบเขียนบทสรุป อธิบายเรื่องราวความเป็นมาและกล่าวถึงความท้าทายได้อย่าง น่าสนใจ ในการประชุ ม ดั ง กล่ า ว มี ก ารน� ำ เสนองานวิ จั ย การ เปลีย่ นแปลงของตลาดแรงงานในช่วงเวลาอันใกล้คอื 4 ปีขา้ งหน้า โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกัน 13.5 ล้านคน ครอบคลุม 371 สถานประกอบการขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ ทั่ ว โลกรวมทั้ ง ประชาคมอาเซี ย น งานวิ จั ย พบว่ า การปฏิ วั ติ อุตสาหกรรมครั้งนี้ให้ทั้งคุณและโทษต่อตลาดแรงงาน เพราะ นอกจากจะสร้างโอกาสในการท�ำงานและท�ำให้คณ ุ ภาพชีวติ ดีขนึ้ แล้ว ยังเปลีย่ นแปลงวิธกี ารท�ำงานและท�ำให้ตำ� แหน่งงานจ�ำนวน ไม่น้อยหายไปเนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ แรงงานและสถานประกอบการ ที่ปรับตัวไม่ทันจะประสบปัญหาเป็นอย่างมาก งานวิจยั นีร้ ะบุวา่ ในการรับมือกับการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม ครัง้ ทีส่ ี่ ในขัน้ ต้นจ�ำเป็นต้องมีทกั ษะและคุณลักษณะบางประการ 16 Global Change III


ดังต่อไปนี้ (1) ทักษะการแก้ไขปัญหา (2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ (3) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (4) ทักษะการบริหารจัดการบุคคล (5) ทักษะการท�ำงานร่วมกับผู้อื่น (6) ทักษะการมีวุฒิภาวะทาง อารมณ์ (7) ทักษะการตัดสินใจ (8) ทักษะการเจรจาต่อรอง (9) การมีใจรักบริการ และ (10) ความยืดหยุ่นทางความคิด ข้อ (1) ถึง (8) ข้างต้นคือทักษะหรือความสามารถ ซึง่ เกิดจากการฝึกฝน มิได้เกิดจากความเฉลียวฉลาด ส่วนข้อ (9) การมีใจรักบริการ ชี้ให้เห็นถึงความส�ำคัญของงานบริการ ไม่วา่ เทคโนโลยีสารสนเทศจะก้าวหน้าอย่างใด มนุษย์ยงั คงเป็นมนุษย์ อยู่เสมอ ต่างปรารถนาจะได้รับบริการที่ดี คุณลักษณะเช่นนี้ ฝึกหัดให้เกิดขึ้นได้ สุ ด ท้ า ยข้ อ (10) ความยื ด หยุ ่ น ทางความคิ ด เป็ น คุณลักษณะทีส่ อดคล้องกับการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดจากการปฏิวตั ิ ครัง้ ทีส่ ี่ ซึง่ ไม่มใี ครทราบว่าผลจะออกไปในทิศทางใด ตัวอย่างเช่น ขณะที่นักศึกษาก�ำลังเรียนคณะหนึ่งอยู่ในมหาวิทยาลัยปีที่หนึ่ง งานที่ บั ณ ฑิ ต จากคณะนี้ ไ ม่ เ คยคิ ด ว่ า จะมี อ ยู ่ จ ริ ง ก็ อ าจก� ำ ลั ง ก่อตัวขึน้ และเป็นงานทีเ่ กิดขึน้ อย่างรวดเร็วโดยไม่มหี ลักสูตรใด มารองรับได้ ถ้าบัณฑิตขาดความยืดหยุ่นทางความคิด สนใจ และมีความรู้แต่เฉพาะในสาขาวิชาของตัว หรือเคยชินแต่กับ วิธีการคิดอย่างที่เคยเป็นมา จะไม่สามารถท�ำงานลักษณะใหม่ ที่รออยู่นี้ได้ ในอนาคตคนที่ท�ำงานตรงกับสาขาที่เรียนมาจะเหลือ น้อยลงทุกที เพราะเทคโนโลยีจะท�ำให้ลักษณะงานดังที่เคยมี วรากรณ์ สามโกเศศ 17


มานานเปลีย่ นแปลงไป ตัวอย่างเช่น วิชาการตลาดดิจทิ ลั ซึง่ เพิง่ จะ เปิดหลักสูตรสอนกันในมหาวิทยาลัย ผู้ที่เรียนแต่การตลาด โดยไม่เข้าใจหรือไม่สนใจเทคโนโลยีดิจิทัล หรือเรียนแต่ไอทีโดย ไม่สนใจเรื่องการตลาดเลย จะท�ำงานนี้ไม่ได้ เฉพาะคนที่มีความ ยืดหยุ่นทางความคิด รู้จักปรับตัวปรับใจ พร้อมเรียนรู้เพิ่มเติม เท่านัน้ ทีจ่ ะไปได้ดกี บั งานลักษณะใหม่ทเี่ กิดขึน้ ภายใต้การปฏิวตั ิ อุตสาหกรรมครั้งที่สี่ สิง่ ทีน่ า่ คิดคือคุณลักษณะทัง้ สิบข้อข้างต้นล้วนเกีย่ วพัน กับคุณลักษณะที่เรียกว่าทักษะทางพฤติกรรม (non-cognitive skill ขณะทีท่ กั ษะทางสติปญ ั ญาหรือ cognitive skill เกีย่ วพันกับ เรื่องการคิดวิเคราะห์) ซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการฝึกฝน งานกิจกรรมนักศึกษาก็คือสนามฝึกที่ส�ำคัญในรั้วมหาวิทยาลัย การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นนิรันดร์ คนที่เห็นสัจธรรมข้อนี้ จะสามารถปรับตัวรับการเปลีย่ นแปลงได้เป็นอย่างดีและมีความสุข

18 Global Change III



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.