Economics the user's guide preivew

Page 1


เศรษฐศาสตร์ [ฉบับทางเลือก] • วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร แปล จากเรื่อง E c onom ic s : The User’ s Gui de โดย Ha-Joon Chang พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ openworlds, มกราคม 2560 ราคา 395 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ชญารัตน์ สุขตน • บรรณาธิการเล่ม ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก ณขวัญ ศรีอรุโณทัย ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 30 e m a il: o p e n wo r ld sth a ila n d @gmail. c om f a c e book : www.fa ce b o o k.co m / openw orlds t w it t e r: www.twitte r .co m/o penw orlds _t h w e bs it e : www.o p e n wo r lds . in. t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) S E - E DUCA TIO N P UB L IC CO MPAN Y LI MI TED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 739 8000 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6-9 w e bs it e : h ttp ://www.se -ed. c om/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a il and@gmail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ฮาจุน, ชาง. เศรษฐศาสตร์ [ฉบับทางเลือก].-กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2560. 440 หน้า. 1. เศรษฐศาสตร์. I. วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 330 ISBN 978-616-7885-46-9 • Economics: The User’s Guide Copyright © Ha-Joon Chang 2014 All rights reserved. Copyright arranged with Mulcahy Associates 7 Meard Street London W1F 0EW through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Thai language translation copyright © 2017 by Openworlds Publishing House •


สารบัญ ค�ำน�ำผู้แปล :: 6 กิตติกรรมประกาศ :: 12 บทน�ำ จะสนท�ำไม? ท�ำไมเราควรเรียนรู้เศรษฐศาสตร์? :: 17 ช่วงพัก 1 สารพัดวิธีอ่านเล่มนี้ :: 25 ส่วนที่ 1 มาท�ำความรู้จักกับเศรษฐศาสตร์กัน :: 29 1 ชีวิต จักรวาล และทุกสรรพสิ่ง เศรษฐศาสตร์คืออะไร? :: 30 2 จาก “พิน” ที่แปลว่าเข็ม สู่ “พิน” ที่เป็นรหัสส่วนตัว ทุนนิยมในปี 1776 และปี 2014 :: 42 3 เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ประวัติศาสตร์ทุนนิยมฉบับย่อ :: 56 4 ให้ร้อยดอกไม้บานสะพรั่ง เศรษฐศาสตร์ 9 ส�ำนัก :: 110 5 รายนามตัวละคร ใครคือตัวแสดงทางเศรษฐกิจ? :: 162


ช่วงพัก 2 เดินทางกันต่อ... :: 191 ส่วนที่ 2 การใช้เศรษฐศาสตร์ :: 195 6 แล้วท่านต้องการให้เป็นเท่าไรครับ? ผลผลิต รายได้ และความสุข :: 196 7 สิ่งที่ลงแรงไว้ออกดอกผลแค่ไหน? โลกของการผลิต :: 220 8 ปัญหาที่ธนาคารฟิเดลิตี ฟิดูชารี การเงิน :: 254 9 แพะของบอริสสมควรตาย ความเหลื่อมล�้ำและความยากจน :: 288 10 ผมรู้จักคนที่ท�ำงานท�ำการอยู่ไม่กี่คน การท�ำงานและการว่างงาน :: 314 11 กษัตริย์นักปราชญ์หรือปีศาจยักษ์? บทบาทของรัฐ :: 338 12 “จักรวรรดิสวรรค์ของเรามีทุกสิ่งเพียบพร้อม” เศรษฐกิจระหว่างประเทศ :: 364 บทส่งท้าย แล้วยังไงต่อ? เราจะใช้เศรษฐศาสตร์ท�ำให้เศรษฐกิจของเราดีขึ้นได้อย่างไร? :: 402 เชิงอรรถ :: 414


ค�ำน�ำผู้แปล

ส�ำหรับผม ฮาจุน ชาง เป็นทั้งพ่อมด ช่างตีดาบ และกัปตันยานอวกาศ ผมรู้จักชางครั้งแรกในวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนาของอาจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร หลังเผชิญหน้ากับตรรกะคณิตศาสตร์และสมมติฐาน อีกร้อยพัน การอ่านงานของชางเปรียบได้กับการเดินเข้าป่าต้องห้ามที่เต็ม ไปด้วยเวทมนตร์ลี้ลับ ชางจะร่ายคาถาปลดอาวุธเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แล้วใช้ไม้กายสิทธิ์ชี้ให้เห็นความลับที่ซุกซ่อนอยู่ตั้งแต่อดีตอันไกลโพ้น (ทุนนิยมพัฒนามาอย่างไร) จนถึงโลกปัจจุบัน (ท�ำไมจึงเกิดวิกฤตการเงิน ซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่า) ก่อนจะทิง้ ท้ายด้วยกลวิธปี อ้ งกันตัวจากศาสตร์มดื (ตลาดเสรี ไม่มีจริงและเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางการเมือง) ผมถูกมนตร์สะกดเข้าอย่างจัง วิชาเศรษฐศาสตร์ไม่เหมือนเดิมอีก ต่อไป เศรษฐศาสตร์กลายเป็นโลกทีน่ า่ ค้นหา เพราะเต็มไปด้วยประวัตศิ าสตร์ น่าฉงน (ท�ำไมบางประเทศรวย บางประเทศจน) โรงเรียนเวทมนตร์หลาย ส�ำนัก (มีวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ต่างกันอย่างน้อย 9 แบบ) และคัมภีร์ ลึกลับทีป่ ราชญ์จอมเวทย์ในอดีตทิง้ เอาไว้ (สมิธ, มาร์กซ์, ไฮเอค, ชุมเพเทอร์, เคนส์ ฯลฯ) ในวัยเบญจเพส ชางจึงเป็นแรงผลักดันให้ผมมุ่งมั่นรวบรวมก�ำลัง ทั้งหมดที่พอจะมี เพื่อหวังออกเดินทางไปฝึกวิชา ณ ป่าต้องห้ามแห่ง เคมบริดจ์ 6

Economics: Th e Us e r ’ s Gu i d e


แต่เมื่อได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผมใช้ชีวิตใน ป่าต้องห้าม ชางไม่ใช่พ่อมดจอมขมังเวทย์อีกต่อไป หากเป็นช่างตีดาบ ผูท้ ำ� งานหามรุง่ หามค�ำ่ อยูช่ ายป่า ในมหาวิทยาลัยเก่าแก่อายุแปดร้อยปีแห่งนี้ ห้องท�ำงานของชางอยู่ที่มุมหนึ่งของคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นห้องพักที่แม้จะ เป็นส่วนหนึ่ง – แต่ก็ตัดขาดจากส่วนหลักของคณะอย่างชัดเจน สะท้อนเส้นทางวิชาการที่ชางเลือกเดินได้เป็นอย่างดี ณ ป่าแห่งนั้น นักเรียนของชางอาจเป็นเหล็กกล้าที่พอมีศักยภาพ แต่ยังไม่ เป็นดาบ เหล็กเหล่านีจ้ ะต้องถูกเผา ผ่านความร้อนความเย็น ทบพับทับซ้อน จนแกร่งและคม ในคลาสปริญญาโท ชางจะหยิบดาบของส�ำนักต่างๆ ขึ้นมาให้เรา เพ่งพินิจ ก่อนจะอภิปรายให้เห็นความเปราะบางและผิดรูปภายในที่อาจ ไม่เห็นด้วยตาเปล่า ในการท�ำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ชางยิง่ ออกแรงตีขดั ลับดาบเป็น ทวีคณ ู ต่อให้มภี ารกิจอย่างการประดาบกับส�ำนักอืน่ มากเพียงใด ร่างเนือ้ หา ที่ผมส่งให้เขาจะเต็มไปด้วยหมึกสีแดงทุกหน้า ชางอ่านทุกประโยคและ ตั้งค�ำถามกับทุกตรรกะตรงหน้า ความดีใจของผมมีเพียงว่า ในปีสุดท้าย ร่างวิทยานิพนธ์ของผมปรากฏเครือ่ งหมายค�ำถามและลายมือของชางเพียง หนึ่งหรือสองแห่งในแต่ละหน้ากระดาษ เทียบกับห้าหรือสิบแห่งหรือแม้ กระทั่งการขีดฆ่าทั้งหน้าในปีแรกๆ ที่ผมท�ำงานกับเขา ส�ำหรับผม ความมหัศจรรย์ใจอีกอย่างก็คือ ช่างตีดาบผู้เก็บตัว ในชายป่าคนนี้เมื่อออกสู่บรรณพิภพหรือเวทีเสวนา เขาจะแปลงกายเป็น กัปตันยานอวกาศทันที! เหมือนทีผ่ อู้ า่ นจะได้สมั ผัสในหนังสือเล่มนี้ หากคุณ พร้อมเป็นลูกเรือของเขา ชางจะพาคุณทะยานออกเดินทางท่อง “จักรวาล เศรษฐศาสตร์” ไปผจญภัยส�ำรวจดาวดวงต่างๆ ในกาแลกซี (เราวัดจีดพี แี ละ ระดับการพัฒนาประเทศกันอย่างไร) ไปรูจ้ กั กับมนุษย์ตา่ งดาวทีค่ ณ ุ อาจเคย H a - Jo o n C h a n g

7


ได้ยนิ ชือ่ แต่ไม่รวู้ า่ พวกเขาท�ำอะไร (เช่น วาณิชธนากร บรรษัทข้ามชาติ และ สหภาพแรงงาน) ทั้งยังชี้ชวนให้ดูโลกที่เราอยู่ด้วยมุมมองใหม่ที่คุณไม่อาจ เห็นจากยานล�ำอื่น (บทบาทของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัญหาของการ วัดความสุขมนุษย์) ทีน่ า่ สนุกกว่านัน้ คือ ยานอวกาศของชางยังพาคุณย้อนเวลากลับไป ดูววิ ฒ ั นาการของดาวเคราะห์ตา่ งๆ ในอดีตได้อกี ด้วย (ประวัตศิ าตร์ทนุ นิยม ฉบับย่อ) และพอย้อนกลับไปถึงอดีต ชางจะเล่าความลับให้คุณฟังอีกหลาย เรื่อง ไล่มาตั้งแต่เรื่องราวต้องห้ามของบางอาณาจักร (ยุโรปและอเมริกา ร�ำ่ รวยขึน้ ได้เพราะปกป้องอุตสาหกรรมภายใน ไม่ใช่เพราะการค้าเสรี) จนถึง เรือ่ งทีว่ า่ เผ่าพันธุต์ า่ งดาวทีผ่ คู้ นคิดว่าเป็นศัตรูนนั้ แท้จริงแล้วเป็นพีน่ อ้ งกัน (เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกกับเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์มีรากเหง้าเดียวกัน) แน่นอนว่าคุณไม่จ�ำเป็นต้องพยักหน้าเออออให้กัปตันชางไปเสีย ทุกเรือ่ ง เขาไม่อยากให้คณ ุ ถูกนักเศรษฐศาสตร์หลอก ชางชอบให้คนท้าทาย ความคิดและชอบลูกเรือทีช่ า่ งคิดช่างสังเกต ทัง้ ยังพร้อมสอนให้ทกุ คนเรียนรู้ วิธกี ารบังคับยานอวกาศ เพือ่ จะสามารถออกเดินทางด้วยตัวเองได้ในอนาคต ทีนี้ก็เหลือแต่คุณแล้ว ว่าพร้อมจะขึ้นยานอวกาศของชางหรือยัง ส�ำหรับการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ผมขอขอบคุณอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ และอาจารย์วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ที่เปิดโอกาสให้ผมได้ท�ำงานชิ้นนี้ซึ่งนับ เป็นความภูมใิ จแห่งชีวติ ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการหนุม่ มืออาชีพทีช่ ว่ ย แก้ไขข้อผิดพลาดนานัปการในร่างแปล จนท�ำให้ตน้ ฉบับมีความรัดกุมและมี มาตรฐาน มีหลายส่วนทีผ่ มดือ้ ดึงและย่อมนับเป็นความรับผิดชอบของผูแ้ ปล อย่างไม่ตอ้ งสงสัย ผมขอขอบพระคุณอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร และอาจารย์ คริส เบเคอร์ ครูผู้เป็นแรงบันดาลใจ ท้ายที่สุดผมขออุทิศผลงานชิ้นนี้ให้กับคุณพ่อธนิต คุณแม่อัจฉรา และคุณยายสุนีย์ นันทกิจ ดวงใจทั้งสามผู้จับมือผมเขียน ก. ไก่ อดทน 8

Economics: Th e Us e r ’ s Gu i d e


เก็บหอมรอมริบเพื่อส่งผมเข้าโรงเรียนที่ดี และคอยเป็นก�ำลังใจให้ผมใน ทุกช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 1 มกราคม พ.ศ. 2560

H a - Jo o n C h a n g

9



แด่พ่อแม่ของผม


กิตติกรรมประกาศ

คนทีแ่ นะน�ำให้ผมเขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์เบือ้ งต้นทีผ่ อู้ า่ นวงกว้าง เข้าถึงได้คือ วิล กู๊ดแลด บรรณาธิการของส�ำนักพิมพ์เพนกวินซึ่งท�ำงานกับ ผมในฤดูใบไม้ร่วงปี 2011 ถึงแม้วิลจะเปลี่ยนไปท�ำงานอื่นหลังจากนั้นและ ก�ำลังอยู่ในช่วงปลุกปล�้ำกิจการใหม่ของตัวเอง แต่เขาก็ยังคงให้ค�ำแนะน�ำ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางโครงร่างและเขียนหนังสือเล่มนี้ หนังสือเล่มนีไ้ ม่อาจส�ำเร็จลงได้หากไม่มี ลอรา สติกนีย์ บรรณาธิการ ของผม แม้เธอต้องอดทนกับบางช่วงเวลาทีผ่ มเงียบหายไปและต้องปรับแก้ไข บทแรกๆ อยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่เธอก็เชื่อมั่นในตัวผมและคอยช่วยเหลือ ตัง้ แต่ตน้ จนจบ เธอช่วยกระตุน้ และให้คำ� แนะน�ำทีย่ อดเยีย่ มทัง้ ในด้านเนือ้ หา และงานบรรณาธิการ ผมคงไม่สามารถขอบคุณเธอได้มากไปกว่านี้ อีแวน มัลเคย์ ตัวแทนด้านงานหนังสือของผมก็เป็นผู้หนึ่งที่ส�ำคัญ มาก โดยเฉพาะการให้คำ� แนะน�ำในร่างแรกๆ ซึง่ ช่วยให้หนังสือกลับมามีชวี ติ ชีวาอีกครั้ง ในช่วงที่แรงขับเคลื่อนในการเขียนเริ่มหมดไป และความมั่นใจ ของผมเริ่มคลอนแคลน ปีเตอร์ จินนา บรรณาธิการของผมในสหรัฐอเมริกาเป็นอีกคนที่มี ส่วนช่วยหลายอย่าง โดยเฉพาะในช่วงสุดท้ายของการเขียนหนังสือ ในบรรดามิตรสหายจ�ำนวนมากที่คอยให้ความช่วยเหลือและการ สนับสนุน มีสามคนที่ผมขอขอบคุณเป็นพิเศษ คือ ดันแคน กรีน, วิลเลียม มิลเบิร์ก และ ดีภัก เนยา ซึ่งอ่านทุกบทของหนังสือ (แถมบางบทยังมี หลายร่าง) และให้ค�ำแนะน�ำที่มีประโยชน์ยิ่ง อีกทั้งยังคอยให้กำ� ลังใจในช่วง เวลาที่ยากล�ำบากหลายต่อหลายครั้ง เฟลิกซ์ มาร์ติน ให้คำ� แนะน�ำที่เป็นประโยชน์ในการวางโครงสร้าง ของหนังสือตั้งแต่โครงการนี้ยังเป็นแค่เค้าโครง ทั้งยังช่วยอ่านหลายบทและ ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง มิลฟอร์ด เบตแมน อ่านร่างเกือบ 12

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


ทุกบทและให้คำ� แนะน�ำทีส่ ำ� คัญหลายประการ ฟินเลย์ กรีน เป็นอีกคนทีอ่ า่ น ร่างเกือบทัง้ หมดและมอบข้อเสนอแนะทีช่ ว่ ยให้ผมปรับปรุงหนังสือให้เข้าถึง คนทั่วไปได้ดีขึ้น ผมขอขอบคุณหลายคนทีช่ ว่ ยอ่านเค้าโครงหนังสือหรือร่างหลายบท และให้ความเห็นที่มีประโยชน์ เรียงตามล�ำดับอักษรในภาษาอังกฤษ ได้แก่ โจนาธาน อัลเดร็ด, อันโตนิโอ อันเดรโอนี, จอห์น แอชตัน, โรเจอร์ แบ็กเฮาส์, สเตฟานี แบลงเคนเบิร์ก, อทิตยา จักรโบรตี, แฮซ็อก ชาง, วิกตอเรีย ชิก, มิเชล คลารา, แกรี ดิมสกี, อีลีน กราเบล, เจฟฟรีย์ ฮอดจ์สัน, อาเดรียนา โคคอร์นิก-มีนา, เดวิด คูเซรา, โกษทาส ลปาวิฏสาส, ซังฮึน ลี, การ์โลส โลเปซ-โกเมซ, ตีอาโก มาตา, เกย์ มีกส์, เชมัส มิลน์, ดีมิตริส มีโลนาคิส, เบรตต์ สกอตต์, เจฟฟ์ ซอมเมอร์ส, แดเนียล ทิวดอร์, ภาสการ วีรา และ หยวน หยาง นักศึกษาปริญญาเอกและผู้ช่วยวิจัยของผม หมิง เหลียงกวน ช่วย ค้นหาและประมวลข้อมูลที่จ�ำเป็นส�ำหรับหนังสือเล่มนี้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ยิ่ง เนื่องจากผมให้ความส�ำคัญกับ “ตัวเลขในชีวิตจริง” อย่าง มาก ความช่วยเหลือของหมิงเหลียงจึงมีความส�ำคัญยิ่งต่อหนังสือเล่มนี้ ช่วงเวลาสองปีที่ผมเขียนหนังสือเล่มนี้สร้างความล�ำบากให้แก่ ฮีจอง, ยุนอา และจินกิว ผูเ้ ป็นภรรยา ลูกสาว และลูกชายของผมอยูบ่ อ่ ยครัง้ แต่พวกเขาก็ยังให้ความรักและการสนับสนุนอย่างแรงกล้า ฮีจองกับยุนอา อ่านร่างหลายบทและให้คำ� แนะน�ำทีเ่ ป็นประโยชน์มาก ส่วนจินกิวก็คอยเตือน ผมอยู่ตลอดว่าชีวิตนี้ยังมีสิ่งที่ส�ำคัญกว่าเศรษฐศาสตร์อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น Dr Who, Hercule Poirot และ Harry Potter <ซีรีส์และภาพยนตร์ชุด แนววิทยาศาสตร์ แนวสืบสวน และแนวแฟนตาซีตามล�ำดับ> ครอบครัวเล็กๆ ของเราในอังกฤษแข็งแรงขึ้นได้เพราะความรักที่ ได้รับจากครอบครัวใหญ่ของเราในเกาหลีใต้ พ่อตากับแม่ยายของผมทั้งรัก และให้การสนับสนุนด้วยดีมาตลอด ส่วนพ่อกับแม่ของผมเองก็เป็นแหล่ง ก�ำเนิดความรักและก�ำลังใจส�ำหรับเรา เหนือสิง่ อืน่ ใด ผมคงไม่อาจเป็นอย่าง ทุกวันนี้ได้หากปราศจากการเสียสละและเลี้ยงดูของพวกเขา ผมจึงขออุทิศ หนังสือเล่มนี้ให้แก่พวกเขาทั้งหมด H a - Jo o n C h a n g

13



Economics The User’s Guide

. by

Ha-Joon Chang

เศรษฐศาสตร์ [ฉบับทางเลือก]

แปลโดย

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร



บทนำ�

จะสนทำ�ไม?

ทำ�ไมเราควรเรียนรู้เศรษฐศาสตร์?



ท�ำไมผู้คนถึงไม่ค่อยสนใจเศรษฐศาสตร์? เอาละ อย่างน้อยคุณก็หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา แปลว่าคุณคง สนใจวิชานี้อยู่บ้าง แต่คุณอาจหยิบมาอ่านด้วยความลังเล พลางคิดว่าเจ้า วิชาเศรษฐศาสตร์นี่ท่าทางจะยากเอาการ ต่อให้ไม่ซับซ้อนเท่าวิชาฟิสิกส์ แต่คงต้องใช้ความพยายามอยูไ่ ม่นอ้ ย เวลาฟังนักเศรษฐศาสตร์พดู ในรายการ วิทยุหรือโทรทัศน์ทไี ร ถึงแม้คณ ุ จะรูส้ กึ ตงิดใจแต่สดุ ท้ายก็ยอมพยักหน้าตาม พลางคิดในใจว่า แน่ละ พวกเขาเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ ในขณะทีค่ ณ ุ เองไม่เคยอ่าน ต�ำราทางเศรษฐศาสตร์อย่างจริงจังมาก่อนในชีวิต แต่เอาเข้าจริงเศรษฐศาสตร์มันยากขนาดนั้นเลยหรือ? ไม่จ�ำเป็น หรอกครับ เพราะเราสามารถอธิบายวิชานี้ด้วยค�ำศัพท์ง่ายๆ ในหนังสือ เล่มก่อนของผมที่ชื่อ 23 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับทุนนิยม (23 Things They Don’t Tell You about Capitalism) ผมถึงกับฟันธงไว้ว่า ความรู้ ทางเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 95 เป็นเพียงเรื่องสามัญส�ำนึกที่ถูกท�ำให้ดูยุ่งยาก ซับซ้อนผ่านสมการคณิตศาสตร์และศัพท์แสงชวนพรั่นพรึงเท่านั้น H a - Jo o n C h a n g

19


เศรษฐศาสตร์ไม่ได้เป็นศาสตร์แขนงเดียวทีถ่ กู ท�ำให้ซบั ซ้อนเกินจริง ในวิชาชีพต่างๆ ที่ต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์ การซ่อมท่อประปา หรือการแพทย์ ค�ำศัพท์แปลกประหลาดทีป่ ระดิษฐ์ขนึ้ มา เพือ่ สือ่ สารกันภายในวิชาชีพกลับกลายเป็นอุปสรรคส�ำคัญในการสือ่ สารกับ คนนอกวงการ แต่หากจะกล่าวแบบเหน็บแนมสักหน่อย บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหลายต่างก็พยายามท�ำให้วงการของตนซับซ้อนเกินความเป็นจริงกัน ทั้งนั้น เพราะมันท�ำให้ค่าบริการทางวิชาชีพที่แพงลิบของพวกเขามีความ ชอบธรรมนั่นเอง ถึงอย่างนัน้ วงการเศรษฐศาสตร์กย็ งั ประสบความส�ำเร็จอย่างน่าทึง่ ในการท�ำให้คนทั่วไปรู้สึกลังเลที่จะเข้ามาร่วมถกเถียงด้วย ทั้งที่พอเป็น ประเด็นสาธารณะอื่นๆ ไล่มาตั้งแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแต่งงานของคนเพศเดียวกัน สงครามอิรัก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผู้คน ต่างแสดงความคิดความเห็นกันอย่างดุเดือดแม้จะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในด้านนั้น แต่พอเป็นประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นมาเมื่อไหร่ คนส่วนใหญ่ ไม่เพียงปิดปากเงียบแต่อาจไม่สนใจไยดีเลยด้วยซ�ำ้ คุณเองจ�ำได้หรือไม่วา่ นาน แค่ไหนแล้วที่ไม่ได้ถกเถียงเรื่องอนาคตของสกุลเงินยูโร ความไม่เท่าเทียม ในประเทศจีน หรือทิศทางของภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา? ทั้งๆ ที่ ประเด็นทางเศรษฐกิจเหล่านี้มีผลกระทบมหาศาลต่อชีวิตของคุณเองไม่ว่า คุณจะอยู่ที่ไหนในโลกก็ตาม เพราะเรื่องเหล่านี้ส่งผลต่อค่าจ้าง อนาคตด้าน การงาน รวมถึงเงินบ�ำนาญของคุณไม่ว่าจะในทางบวกหรือทางลบ ทว่าคุณ กลับไม่เคยขบคิดเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังเลย ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้น่าดึงดูดใจสักเท่าไหร่เมื่อเทียบกับเรื่องความรัก ความปั่นป่วนวุ่นวาย ความตาย หรือสงคราม แต่ผมคิดว่าสาเหตุหลักมาจากการทีใ่ นช่วงสองสาม ทศวรรษที่ผ่านมา ผู้คนถูกท�ำให้เชื่อว่าเศรษฐศาสตร์เป็น “วิทยาศาสตร์” ไม่ต่างอะไรกับวิชาฟิสิกส์หรือเคมีที่ทุกปัญหาย่อมมีค�ำตอบถูกต้องตายตัว เพียงหนึง่ เดียว ดังนัน้ คนทัว่ ไปก็ควรก้มหน้ายอมรับ “ข้อสรุปของผูเ้ ชีย่ วชาญ” แล้วเลิกคิดเรื่องนี้เสีย ศาสตราจารย์เกรกอรี แมนคิว (Gregory Mankiw) 20

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


นักเศรษฐศาสตร์เรืองนามแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้เขียนต�ำราเศรษฐศาสตร์ทไี่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดเล่มหนึง่ เคยกล่าวว่า “นักเศรษฐศาสตร์มกั จะ วางท่าเสมือนเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมรูด้ ี เพราะผมเองก็ทำ� บ่อย เวลาสอนใน ระดับปริญญาตรี ผมตัง้ ใจบอกกับนักศึกษาว่าเศรษฐศาสตร์กค็ อื วิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่ง วิธีนี้ท�ำให้นักศึกษาไม่รู้สึกว่าพวกเขาก�ำลังเรียนวิชาอะไรที่ง่าย เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก”1 อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้จะค่อยๆ เปิดโลกทัศน์ให้ผู้อ่านเห็น ว่าเศรษฐศาสตร์ไม่มีทางที่จะเป็นวิทยาศาสตร์ในแบบที่ฟิสิกส์หรือเคมีเป็น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นมีมากมายหลายส�ำนัก โดยแต่ละส�ำนักก็มองโลก ความเป็นจริงอันซับซ้อนด้วยสายตาทีต่ า่ งกัน มีจดุ เน้นคนละจุด มีการตัดสิน คุณค่าเชิงการเมืองและศีลธรรมคนละอย่าง จนน�ำไปสู่ข้อสรุปที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายยังประสบความล้มเหลวในการ พยากรณ์วิวัฒนาการของโลกแห่งความจริงแม้จะเป็นเรื่องเฉพาะทางของ ส�ำนักตนเองก็ตาม ทีเ่ ป็นเช่นนีเ้ พราะมนุษย์เรามีเจตจ�ำนงเสรี มิได้เป็นเพียง โมเลกุลในวิชาเคมีหรือวัตถุในวิชาฟิสิกส์2 เมื่อเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่มีค�ำตอบถูกต้องตายตัวเพียงหนึ่ง เดียว เราจึงไม่ควรทิ้งให้มันอยู่แต่ในมือของผู้เชี่ยวชาญ พลเมืองที่มีความ รับผิดชอบทุกคนจ�ำเป็นต้องศึกษาเศรษฐศาสตร์ไว้บ้าง แน่นอนว่าผมไม่ได้ ขอให้คณ ุ หยิบต�ำราเศรษฐศาสตร์หนาเตอะขึน้ มาอ่านแล้วสมาทานแนวคิดใด แนวคิดหนึ่งมาเป็นของตัวเอง เป้าหมายส�ำคัญที่ผมต้องการสื่อคือเราต้อง ศึกษาเศรษฐศาสตร์เพือ่ ให้เข้าใจข้อถกเถียงทางเศรษฐกิจทีห่ ลากหลาย และ มีความรู้เพียงพอที่จะตัดสินและวิจารณ์ได้ว่าข้อเสนอไหนฟังดูเข้าท่าที่สุด (ย�้ำว่าไม่ใช่ “ข้อเสนอที่ถูกต้อง”) ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจ คุณค่าทาง ศีลธรรม และเป้าหมายทางการเมืองแบบหนึง่ ๆ ด้วยเหตุนเี้ ราจึงจ�ำเป็นต้อง มีหนังสือทีน่ ำ� เสนอวิชาเศรษฐศาสตร์ในรูปแบบใหม่ทไี่ ม่เคยมีใครท�ำมาก่อน ดังที่ผมตั้งใจน�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้

H a - Jo o n C h a n g

21


หนังสือเล่มนี้ต่างจากเล่มอื่นอย่างไร? หนังสือพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เล่มนี้แตกต่างจากเล่มอื่นๆ ใน ท้องตลาดอย่างไร? ความแตกต่างประการแรกก็คือ ผมให้เกียรติกับผู้อ่านอย่าง เต็มเปี่ยม หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ท�ำหน้าที่ย่อยความจริงนิรันดร์อันซับซ้อน มาป้อนให้ผอู้ า่ น แต่จะแนะน�ำให้คณ ุ ได้เรียนรูว้ ธิ วี เิ คราะห์เศรษฐกิจจากหลาย มุมมอง ด้วยความเชื่อมั่นว่าผู้อ่านมีวิจารณญาณเต็มเปี่ยมในการแยกแยะ และตัดสินแนวคิดต่างๆ นอกจากการอภิปรายประเด็นรากฐานเกีย่ วกับวิธคี ดิ ทางเศรษฐศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ คุณค่าเชิง ศีลธรรมมี (หรือควรมี) บทบาทอย่างไรในวิชาเศรษฐศาสตร์ หนังสือเล่มนี้ ยังชี้ให้เห็นสมมติฐานที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของส�ำนักต่างๆ เพือ่ ให้ผอู้ า่ นตัดสินใจด้วยตัวเองว่าแต่ละทฤษฎีมคี วามสมจริงและเป็นไปได้ มากน้อยเพียงใด หนังสือเล่มนี้จะแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าบรรดาตัวเลขต่างๆ ในวิชาเศรษฐศาสตร์มคี วามหมายและทีม่ าทีไ่ ปอย่างไร เพือ่ ให้ผอู้ า่ นตระหนัก ว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้มีความเป็นภววิสัย (objective) เหมือนตัวเลขทาง วิทยาศาสตร์เช่นน�ำ้ หนักของช้างหรืออุณหภูมิของน�ำ้ ในหม้อ* โดยสรุปแล้ว หนังสือเล่มนี้จะไม่บังคับว่าผู้อ่านต้องคิดแบบไหน แต่พยายามอธิบายให้ ผู้อ่านรู้ว่าจะคิดอย่างไร อย่างไรก็ดี ความตั้งใจให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ไม่ได้ ท�ำให้หนังสือเล่มนี้อ่านยากแต่อย่างใด ไม่มีประเด็นไหนในเล่มนี้ที่ยากเกิน กว่าที่คนจบการศึกษาระดับมัธยมจะเข้าใจได้ สิ่งที่ผมเรียกร้องจากผู้อ่าน มีเพียงความกระหายใคร่รใู้ นสิง่ ต่างๆ และความอดทนทีจ่ ะอ่านถ้อยความสัก สองสามย่อหน้าไปพร้อมๆ กัน ความโดดเด่นอีกประการหนึ่งคือ หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลจาก

แต่หากคุณลองถามนักวิทยาศาสตร์ดู พวกเขาจะบอกคุณว่าแม้แต่ตัวเลขพวกนี้ก็ไม่ได้มี ความเป็นภววิสัยเช่นกัน *

22

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


โลกแห่งความเป็นจริงไว้เป็นจ�ำนวนมาก เมื่อพูดถึง “โลก” ผมหมายความ ตามนั้นจริงๆ เพราะหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยข้อมูลและตัวเลขจากประเทศ ต่างๆ ทั่วโลก (ถึงแม้นำ�้ หนักที่ให้กับแต่ละประเทศอาจไม่เท่ากัน) ต่างจาก ต�ำราเศรษฐศาสตร์ส่วนมากที่ให้ข้อมูลจ�ำกัดอยู่แค่หนึ่งหรือสองประเทศ หรือกลุ่มประเทศเท่านั้น (เช่น แบ่งประเทศทั่วโลกออกเป็นประเทศร�่ำรวย กับประเทศยากจน) นอกจากข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น เศรษฐกิจโลกมีขนาด ใหญ่เพียงใด สหรัฐฯ หรือบราซิลผลิตได้เป็นสัดส่วนมากน้อยแค่ไหน จีนหรือ คองโกมีปริมาณการลงทุนเป็นสัดส่วนเท่าใดของผลผลิตในประเทศ แรงงาน จากกรีซและเยอรมนีมีชั่วโมงการท�ำงานนานเท่าไร ฯลฯ หนังสือเล่มนี้ยัง เติมเต็มตัวเลขเหล่านี้ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ อาทิ การจัดการเชิงสถาบัน ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และนโยบายตัวอย่าง ทั้งหมดนี้ก็ด้วยมุ่งหวังว่า เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนี้จบจะพูดได้อย่างเต็มปากว่าคุณเริ่มเข้าใจแล้วว่า ระบบเศรษฐกิจในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นท�ำงานอย่างไร มาลุยกันสักตั้ง ไหมครับ “ความแปลกใหม่ไม่ซำ�้ ใครก�ำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว ณ บัดนี้...”*

*

เหมือนที่พูดกันใน Monty Python’s Flying Circus <ละครชุดชวนหัวของประเทศอังกฤษ> H a - Jo o n C h a n g

23



ช่วงพัก 1

สารพัดวิธี อ่านเล่มนี้



ผู้อ่านบางคนอาจไม่สะดวกที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้รวดเดียวจบ ผมจึง ขอแนะน�ำวิธีการอ่านโดยจ�ำแนกตามเวลาที่คุณตั้งใจจะใช้กับมัน หากคุณมีเวลาสิบนาที โปรดอ่านชื่อบทและหน้าแรกของแต่ละบท และหากผมโชคดีพอ หลังจากสิบนาทีผ่านไป คุณอาจรู้สึกว่าการเผื่อเวลา สองสามชั่วโมงเพื่ออ่านต่อก็น่าสนใจอยู่ หากคุณมีเวลาสองสามชั่วโมง โปรดอ่าน บทที่หนึ่ง บทที่สอง และ บทส่งท้าย จากนั้นลองพลิกดูส่วนที่เหลือคร่าวๆ หากคุณมีเวลาครึ่งวัน โปรดอ่านหัวเรื่อง อันได้แก่ ชื่อหัวข้อย่อย ในแต่ละบทและข้อความสรุปทีเ่ ป็นตัวเอียง (ซึง่ มีอยูใ่ นทุกๆ สองสามย่อหน้า) ส�ำหรับนักอ่านที่อ่านเร็ว ขอให้ลองพลิกดูบทน�ำและบทสรุปของแต่ละบท ประกอบ หากคุณมีเวลาและความอดทนมากพอที่จะอ่านทั้งเล่ม โปรดอ่าน ทั้งเล่มเถอะครับ เพราะวิธีนี้จะได้ผลดีที่สุด และจะท�ำให้ผมมีความสุขมาก ทีเดียว ส�ำหรับบางช่วงบางตอนที่คุณไม่ค่อยสนใจ คุณอาจข้ามไปได้โดย อ่านแต่หัวเรื่องเท่านั้น

H a - Jo o n C h a n g

27



ส่วนที่ 1

มาท�ำความรู้จักกับ เศรษฐศาสตร์กัน


1

ชีวิต จักรวาล และทุกสรรพสิ่ง เศรษฐศาสตร์คืออะไร?


เศรษฐศาสตร์คืออะไร? ผูอ้ า่ นทีไ่ ม่คนุ้ เคยกับวิชานีอ้ าจคิดง่ายๆ ว่าเศรษฐศาสตร์คงเป็นวิชา ทีศ่ กึ ษาระบบเศรษฐกิจ ในเมือ่ เคมีเป็นวิชาทีศ่ กึ ษาสารเคมี ชีววิทยาเป็นวิชา ที่ศึกษาสิ่งมีชีวิต และสังคมวิทยาคือวิชาที่ศึกษาสังคม เศรษฐศาสตร์ก็ต้อง เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาเศรษฐกิจแน่ๆ แต่ถ้าเราดูจากหนังสือเศรษฐศาสตร์ยอดนิยมในปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์กลับเป็นวิชาที่มีอาณาเขตแสนกว้างไกลจนแทบจะกลายเป็นการ แสวงหาค�ำตอบให้กับ “ชีวิต จักรวาล และทุกสรรพสิ่ง” ในท�ำนองเดียวกับ คู่มือท่องกาแลกซีฉบับนักโบก (The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy) นิยายวิทยาศาสตร์ชวนหัวของ ดักลาส อดัมส์ (Douglas Adams) ที่สร้าง เป็นภาพยนตร์ในปี 2005 และน�ำแสดงโดย มาร์ตนิ ฟรีแมน (ผูเ้ ล่นเป็นบิลโบ ใน เดอะ ฮอบบิท) ส�ำหรับ ทิม ฮาร์ฟอร์ด (Tim Harford) นักหนังสือพิมพ์แห่ง Financial Times ผู้เขียนหนังสือเล่มดังเรื่อง นักสืบเศรษฐศาสตร์ (The Undercover H a - Jo o n C h a n g

31


Economist) เศรษฐศาสตร์เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับ “ชีวติ ” ดังทีเ่ ขาตัง้ ชือ่ หนังสือเล่มที่ สองของตัวเองว่า เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต (The Logic of Life) นั ก เศรษฐศาสตร์ อ าจยั ง ไม่ ไ ปไกลถึ ง ขั้ น บอกว่ า เศรษฐศาสตร์ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ระดับจักรวาล เพราะเอกภพยังคงเป็นพื้นที่ ที่สงวนไว้ส�ำหรับนักฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาชีพที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนมาก ยึดถือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาศาสตร์ของตนเองให้เป็นวิทยาศาสตร์ ที่แท้จริง* แต่ก็มีนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ขยับเข้าใกล้ระดับนั้น โดยอ้างว่า เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “โลก” เช่น หนังสือเล่มที่สองของ โรเบิร์ต แฟรงก์ (Robert Frank) ในชุด สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวันแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic Naturalist) ที่ใช้ชื่อรองว่า เศรษฐศาสตร์ช่วยให้คุณเข้าใจโลก ได้อย่างไร (How Economics Helps You Make Sense of Your World) ค�ำยอดนิยมอีกหนึง่ ค�ำคือ “ทุกสรรพสิง่ ” ชือ่ รองของ เศรษฐศาสตร์ แห่งชีวติ ก็ชอื่ เผยโฉมเศรษฐศาสตร์แนวใหม่วา่ ด้วยทุกสรรพสิง่ (Uncovering the New Economics of Everything) ในขณะที่หนังสือชื่อดังแห่งยุคของ สตีเวน เลวิตต์ (Steven Levitt) กับ สตีเฟน ดับเนอร์ (Stephen Dubner) เรือ่ ง เศรษฐพิลึก (Freakonomics) ก็ใช้ชื่อรองว่า ด้านที่ซ่อนเร้นของทุกสรรพสิ่ง (the Hidden Side of Everything) โรเบิร์ต แฟรงก์ ก็มีความคิดไม่ต่างกัน แม้ว่าเขาจะถ่อมตนกว่ามากในการตั้งชื่อรองของ สนุกคิดในชีวิตประจ�ำวัน แบบเศรษฐศาสตร์ ว่า เหตุใดเศรษฐศาสตร์จึงอธิบายได้ เกือบทุก สรรพสิ่ง (Why Economics Explains Almost Everything) นั่นแหละครับ ในปัจจุบันเศรษฐศาสตร์กลายเป็นวิชาที่ (พยายาม) ศึกษาชีวิต จักรวาล และทุกสรรพสิ่ง† แต่ถ้าคุณลองคิดดูให้ดี ความพยายามข้างต้นนี้กลับมาจากวิชาที่

หรือที่เรียกกันว่าเป็นความอิจฉาศาสตร์ฟิสิกส์ (physics envy) แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง งานของนักเศรษฐศาสตร์ก็ไม่น่ายากอะไร เพราะค�ำตอบสูงสุดของ “ชีวิต จักรวาล และสรรพสิ่ง” คือเลข 42 <เป็นค�ำตอบที่ออกมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใน คู่มือท่องกาแลกซีฯ> แต่เราลืมเรื่องนี้กันไปก่อนเถอะ *

32

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในสิ่งที่ควรจะเป็นหน้าที่หลักของตนเอง นั่นคือ การอธิบายเศรษฐกิจ! ก่ อ นที่ จ ะเกิ ด วิ ก ฤตการเงิ น โลกในปี 2008 นั ก เศรษฐศาสตร์ ส่วนใหญ่ต่างพร�่ำบอกเราว่า ถึงแม้กลไกตลาดอาจมีปัญหาอยู่บ้าง แต่วิชา เศรษฐศาสตร์ยคุ ใหม่กเ็ ตรียมทางออกส�ำหรับปัญหาเหล่านัน้ ไว้พร้อมอยูแ่ ล้ว เช่น โรเบิร์ต ลูคัส (Robert Lucas) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1995* เคยกล่าวในปี 2003 ว่า “เราหาวิธปี อ้ งกันภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำได้แล้ว”1 เมื่อเกิดวิกฤตการเงินขึ้นในปี 2008 นอกจากนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะ ประหลาดใจอย่างยิ่งแล้ว† พวกเขายังจนปัญญาในการเสนอทางออกจาก วิกฤตซึ่งยังส่งผลสะเทือนอยู่จนถึงทุกวันนี้ ความล้มเหลวดังกล่าวท�ำให้เศรษฐศาสตร์ดูเป็นวิชาที่ช่างหลง ตัวเองเสียเหลือเกิน เหตุใดศาสตร์ที่ไม่สามารถอธิบายเรื่องพื้นฐานใน ขอบเขตของวิชาตนเองกลับเพียรพยายามที่จะอธิบาย (เกือบ) ทุกสรรพสิ่ง ในจักรวาล? เศรษฐศาสตร์คือการศึกษาการเลือก อย่างมีเหตุผลของมนุษย์… ผู้อ่านบางคนอาจเห็นว่าข้อสรุปข้างต้นของผมไม่เป็นธรรม เพราะ ส�ำนักพิมพ์ย่อมต้องท�ำให้หนังสือดูตื่นเต้นเกินจริงอยู่แล้วเพื่อให้แข่งขัน “รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์” นั้นไม่ได้ถือก�ำเนิดมาพร้อมกับรางวัลโนเบลดั้งเดิมที่ ริเริ่มโดย อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักอุตสาหกรรมชาวสวีเดนในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 19 (เดิมทีประกอบด้วยรางวัลสาขาฟิสิกส์ เคมี สรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ วรรณกรรม และสันติภาพ) แต่เพิง่ เริม่ ตัง้ ขึน้ ในปี 1968 โดยธนาคารกลางสวีเดน และมีชอื่ เรียกอย่างเป็น ทางการว่า “รางวัลธนาคารกลางสวีเดนสาขาเศรษฐศาสตร์เพื่อระลึกถึง อัลเฟรด โนเบล” † แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคน เช่น จอห์น เคนเนธ แกลเบรธ (John Kenneth Galbraith, 1908-2006) คงไม่ประหลาดใจ เพราะเขาเคยกล่าวไว้อย่างเจ็บแสบว่า “ประโยชน์อย่างเดียว ของการพยากรณ์แบบเศรษฐศาสตร์คือการท�ำให้โหราศาสตร์ดูน่าเชื่อถือ” *

H a - Jo o n C h a n g

33


ในตลาดหนังสืออันดุเดือดได้ ในขณะที่งานวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์จริงๆ คงไม่กล้าอวดอ้างว่าวิชานี้คือการศึกษา “ทุกสรรพสิ่ง” เป็นแน่ ใช่ครับ หนังสือยอดนิยมข้างต้นล้วนตั้งชื่อมาให้ ตื่นตาเกินจริง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มันเป็นการสร้างความตื่นตาที่เป็นไป ในทางเดียวกัน เพราะเราตัง้ ชือ่ ท�ำนองว่า “เศรษฐศาสตร์ชว่ ยให้คณ ุ เข้าใจทุกเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับ เศรษฐกิจได้อย่างไร” เพือ่ ดึงดูดความสนใจก็ได้ แต่ทำ� ไมกลับต้องโฆษณาว่า “เศรษฐศาสตร์ไม่เพียงอธิบายเศรษฐกิจเท่านัน้ แต่ใช้อธิบายได้ทกุ สรรพสิง่ ” วิ ธี โ ฆษณาหนั ง สื อ เศรษฐศาสตร์ ใ นรู ป แบบนี้ เ กิ ด จากอิ ท ธิ พ ล ของส�ำนักคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลักในปัจจุบัน นั่นคือ เศรษฐศาสตร์ นีโอคลาสสิก ในหนังสือ ความเรียงว่าด้วยธรรมชาติและความส�ำคัญของ เศรษฐศาสตร์ (An Essay on the Nature and Significance of Economic Science) ของ ลีโอเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) ที่พิมพ์ในปี 1932 ได้นยิ ามเศรษฐศาสตร์วา่ เป็น “ศาสตร์ทมี่ งุ่ ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการ จัดการความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับปัจจัยอันขาดแคลนทีใ่ ช้ประโยชน์ ได้อีกหลายทาง” ในแง่นี้ เศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นิยามจาก “แนวทางการศึกษา” แทนที่จะเป็น “หัวข้อที่ศึกษา” เศรษฐศาสตร์ในความหมายนี้จึงเป็นวิชา ว่าด้วยการเลือกที่เป็นเหตุเป็นผล (หรือตามหลักเหตุผล) ของมนุษย์ (rational choice) ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจบนฐานของการคิดค�ำนวณอย่าง เป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายใต้ทรัพยากรอันจ�ำกัด หัวข้อที่ศึกษา จึงไม่จ�ำเป็นต้องจ�ำกัดอยู่แค่ประเด็นทาง “เศรษฐกิจ” (ในความหมายทั่วไป) เช่น เงินทอง การท�ำงาน หรือการค้าระหว่างประเทศ แต่จะเป็นอะไรก็ได้ อาทิ การแต่งงาน การมีลูก อาชญากรรม หรือกระทั่งการติดสารเสพติด ซึ่งล้วนเป็นหัวข้อที่ แกรี เบกเกอร์ (Gary Becker) นักเศรษฐศาสตร์แห่ง มหาวิทยาลัยชิคาโกผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1992 เคย เขียนถึงมาแล้วทั้งสิ้น เมือ่ เบกเกอร์ตงั้ ชื่อหนังสือของเขาทีต่ ีพิมพ์ในปี 1976 ว่า เศรษฐศาสตร์วา่ ด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ (The Economic Approach to Human Behavior) จึงเป็นการประกาศว่าเศรษฐศาสตร์ เป็น วิชาที่เกี่ยวกับ 34

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


ทุกสรรพสิ่งจริงๆ โดยไม่ได้พยายามโฆษณาแต่อย่างใด กระแสที่ เ ศรษฐศาสตร์ ก ลายมาเป็ น แนวทางการศึ ก ษาทุ ก สรรพสิ่งจนถูกวิจารณ์ว่าเป็น “จักรวรรดินิยมเศรษฐศาสตร์” (economics imperialism) ก้าวขึน้ ถึงจุดสูงสุดเมือ่ ไม่นานมานีเ้ มือ่ หนังสืออย่าง เศรษฐพิลกึ กลายเป็นหนังสือยอดนิยมทั้งที่เนื้อหาแทบจะไม่ได้กล่าวถึงประเด็นทาง เศรษฐกิจในความหมายทัว่ ไปเลย แต่เป็นการพูดถึงเรือ่ งต่างๆ นานา ไล่เรียง มาตั้งแต่นักซูโม่ญี่ปุ่น คุณครูมัธยมในสหรัฐอเมริกา แก๊งค้ายาในชิคาโก ผู้เข้าร่วมแข่งขันรายการเกมโชว์ ก�ำจัดจุดอ่อน นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จนกระทั่งเรื่องลัทธิเหยียดสีผิว “คูคลักซ์แคลน” ผู้อ่านส่วนใหญ่คงคิดว่าตัวละครที่พูดมาทั้งหมดข้างต้น (ยกเว้น นายหน้าอสังหาริมทรัพย์และแก๊งค้ายา) ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับวิชา เศรษฐศาสตร์สักเท่าไร (ดังที่ผู้เขียนเล่มนั้นก็ยอมรับ) แต่จากมุมมองของ นักเศรษฐศาสตร์จำ� นวนมากในปัจจุบนั การทีน่ กั ซูโม่จะสมยอมเพือ่ ช่วยเหลือ กันเอง หรือการที่คุณครูชาวอเมริกันจะปล่อยเกรดนักเรียนเพื่อให้ตัวเอง ได้ผลประเมินดีขึ้น ก็ล้วนเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ไม่น้อยไปกว่า ค�ำถามว่ากรีซควรใช้เงินยูโรต่อไปหรือไม่ ซัมซุงกับแอปเปิลขับเคี่ยวกัน อย่างไรในตลาดสมาร์ตโฟน หรือเราจะลดอัตราการว่างงานของเยาวชนใน สเปน (ซึง่ มีสดั ส่วนสูงกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ ณ ตอนทีผ่ มเขียน) อย่างไร ส�ำหรับ นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้ ประเด็นทาง “เศรษฐกิจ” ไม่ได้มีความสลักส�ำคัญ ไปกว่าหลายหัวข้อ (ไม่ใช่สิ ต้องเป็นสรรพสิ่งทั้งหลายสิ) ที่ล้วนแล้วแต่ใช้ หลักเศรษฐศาสตร์อธิบายได้ ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขานิยามเศรษฐศาสตร์ด้วย แนวทางการศึกษา ไม่ใช่ด้วย หัวข้อที่ศึกษา ...หรือเป็นการศึกษาระบบเศรษฐกิจ? เราสามารถนิยามเศรษฐศาสตร์ได้อกี แบบหนึง่ เหมือนทีผ่ มพยายาม บอกเป็ น นั ย มาตลอด โดยให้ ม องว่ า เศรษฐศาสตร์ คื อ การศึ ก ษาระบบ เศรษฐกิจ ว่าแต่ระบบเศรษฐกิจที่ว่านี้ คือ อะไร? H a - Jo o n C h a n g

35


เศรษฐกิจหมายถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ใช่หรือไม่? ถ้าคิดตามสามัญส�ำนึกแล้ว ผู้อ่านส่วนใหญ่ก็คงคิดว่าเศรษฐกิจ หมายถึงอะไรก็ตามทีเ่ กีย่ วกับเงินๆ ทองๆ ไม่วา่ จะเป็นการหาเงิน การใช้เงิน การใช้จนหมด การออม การยืม และการใช้คืน ถึงแม้จะไม่ถูกเสียทีเดียว แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีส�ำหรับการคิดถึงระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิชา เศรษฐศาสตร์ แต่เวลาที่เราพูดถึงระบบเศรษฐกิจว่าเป็นเรื่องเงิน เราไม่ได้พูดถึง เฉพาะเงินในความหมายทางกายภาพเท่านั้น (อันได้แก่ ธนบัตร เหรียญ กษาปณ์ หรือแม้แต่หินก้อนยักษ์ที่ยังใช้แทนเงินในหมู่เกาะแปซิฟิก) เพราะ เงินเป็นเพียง “สัญลักษณ์” ที่ใช้แทนความหมายว่าคนอืน่ ๆ ในสังคมเป็นหนี้ คุณเท่าไรหรือคุณถือครองทรัพยากรในสังคมที่เป็นส่วนของคุณมากเท่าไร2 กระบวนการสร้างและซื้อขายเงินกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เช่น หุ้น อนุพันธ์ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ซับซ้อน (ซึ่งเราจะกล่าวถึง ในบทต่อๆ ไป) เป็นประเด็นศึกษาของวิชาเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่ง นั่นคือ เศรษฐศาสตร์การเงิน (financial economics) แม้ว่าอุตสาหกรรมการเงิน จะทรงอิทธิพลมากในหลายประเทศจนท�ำให้คนทั่วไปคิดว่าเศรษฐศาสตร์ ก็คอื เศรษฐศาสตร์การเงิน แต่แท้จริงแล้วเงินตราเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึง่ ของวิชาเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เงิน (หรือก็คอื สิทธิเหนือทรัพยากร) ทีอ่ ยูใ่ นมือคุณนัน้ มีทมี่ าได้หลาย รูปแบบ หัวข้อศึกษาจ�ำนวนมากในวิชาเศรษฐศาสตร์จึงเกี่ยวกับที่มาที่ไป อันหลากหลายของเงินตรานั่นเอง วิธีหาเงินที่ธรรมดาที่สุดคือการท�ำงาน ส�ำหรับผูค้ นส่วนใหญ่ทไี่ ม่ได้เกิดบนกองเงินกองทอง วิธธี รรมดาทีส่ ดุ ในการหาเงินก็คือการหางานท�ำ (ซึ่งรวมถึงการเป็นนายตัวเองด้วย) ดังนั้น ประเด็นทางเศรษฐศาสตร์จ�ำนวนมากจึงเกี่ยวกับมิติต่างๆ ของงาน เรา สามารถเข้าใจเรื่องงานได้จากหลายมุมมอง เราท�ำความเข้าใจเรือ่ งงานได้จากมุมมองระดับปัจเจก งานของคุณ 36

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


และรายได้จากงานย่อมขึ้นกับความสามารถที่คุณมีและความต้องการของ ตลาดแรงงาน คุณอาจได้ค่าจ้างสูงมากถ้าคุณมีทักษะที่หาได้ยากยิ่ง เช่น เล่นฟุตบอลได้อย่าง คริสเตียโน โรนัลโด (Cristiano Ronaldo) แต่คุณก็อาจ ตกงานได้ถา้ มีใครประดิษฐ์เครือ่ งจักรทีท่ ำ� งานได้เหมือนคุณแต่ทำ� ได้เร็วกว่า ถึง 100 เท่า (เหมือนที่เกิดกับคุณบักเก็ตพ่อของชาร์ลี เขาเป็นคนงานหมุน ฝาปิดยาสีฟันจากภาพยนตร์เรื่อง Charlie and the Chocolate Factory ปี 2005 ที่สร้างจากนิยายของ โรอัลด์ ดาห์ล)* คุณอาจต้องยอมรับค่าจ้างที่ ต�่ำลงหรือสภาพการท�ำงานที่แย่ลง เพราะบริษัทของคุณก�ำลังสูญเสียตลาด ให้กบั สินค้าน�ำเข้าราคาถูกจากจีน โดยรวมแล้ว แม้แต่การท�ำความเข้าใจเรือ่ ง งานในระดับปัจเจก เราก็จำ� เป็นต้องเข้าใจเรือ่ งทักษะแรงงาน นวัตกรรมทาง เทคโนโลยี และการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี รายได้และสภาพการท�ำงานไม่ได้เป็นเรือ่ งระดับปัจเจก เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่อง “การเมือง” ด้วย (ในบทที่ 11 เราจะอภิปรายอย่าง ละเอียดว่าเส้นแบ่งระหว่างเศรษฐศาสตร์กับการเมืองนั้นเลือนรางเพียงใด นีค่ อื เหตุทผี่ มใส่ “การเมือง” ไว้ในอัญประกาศ) เพราะการเมืองเป็นตัวก�ำหนด เงื่อนไขและลักษณะของตลาดแรงงาน เช่น การเข้าสู่สหภาพยุโรปของ ประเทศยุโรปตะวันออกมีผลต่อค่าแรงและพฤติกรรมของแรงงานในประเทศ ยุโรปตะวันตกอย่างมหาศาล เพราะอุปทานแรงงานขยายตัวแบบก้าวกระโดด ในขณะที่กฎหมายห้ามใช้แรงงานเด็กช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้น ศตวรรษที่ 20 ส่งผลในทางตรงข้าม เพราะท�ำให้ปริมาณแรงงานหดตัวลง อย่างฉับพลัน นอกจากตัวอย่างที่รุนแรงดังกล่าวแล้ว กฎระเบียบเกี่ยวกับ ชั่วโมงการท�ำงาน สภาพการท�ำงาน และค่าแรงขัน้ ต�่ำ ก็ล้วนแต่เป็นประเด็น ทาง “การเมือง” ที่เกี่ยวข้องกับงานของเราทั้งสิ้น

ในนิยายต้นฉบับ คุณบักเก็ตตกงานเพราะโรงงานปิดกิจการ ไม่ใช่เพราะมีเครื่องจักรมา แทนที่เขาดังในภาพยนตร์

*

H a - Jo o n C h a n g

37


ในระบบเศรษฐกิจมีการถ่ายโอนเงินปริมาณมหาศาล นอกจากรายได้จากการท�ำงานแล้ว คุณอาจมีรายได้ผ่านการ ถ่ายโอน (transfer) ซึง่ หมายถึงการมีคนให้อะไรแก่คณ ุ นัน่ เอง การถ่ายโอนเกิด ขึน้ ได้ทงั้ ในรูปแบบเงินสดหรือการได้รบั สินค้าและบริการโดยตรง (เช่น ได้รบั อาหารหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้หลายช่องทาง การถ่ายโอนอาจเกิดขึน้ ได้ระหว่าง “คนทีร่ จู้ กั กัน” เช่น พ่อแม่ให้เงิน ลูก การดูแลผู้สูงอายุของลูกหลาน หรือการให้ของขวัญกับสมาชิกในชุมชน เช่น ในงานแต่งงานลูกสาวของคุณ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายโอนโดยสมัครใจระหว่างคนไม่รู้จักกันเพื่อ การกุศล โดยอาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบส่วนตัวหรือส่วนรวม เช่น การรวบรวม เงินบริจาคผ่านบริษัทหรือเครือข่ายจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แต่ปริมาณเงินถ่ายโอนเพื่อการกุศลก็เทียบไม่ได้กับปริมาณเงิน ถ่ายโอนที่ด�ำเนินงานโดยรัฐบาลผ่านการเก็บภาษีและการให้เงินอุดหนุน หัวข้อทางเศรษฐศาสตร์อีกจ�ำนวนมากจึงเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้และ จัดอยู่ในสาขาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ (public economics) แม้แต่ในประเทศยากจน รัฐบาลบางประเทศก็มีโครงการมอบเงิน หรือของกินของใช้ (เช่น ธัญพืชฟรี) ให้แก่คนบางกลุ่ม (เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ ผู้อดอยาก) ส่วนการถ่ายโอนในประเทศร�่ำรวยโดยเฉพาะ ในยุโรปจะครอบคลุมกว่าและให้ในปริมาณที่มากกว่า ดังที่รู้จักกันในนาม รัฐสวัสดิการ (welfare state) ซึ่งมีฐานอยู่บนระบบภาษีแบบก้าวหน้า (ผู้มีรายได้สูงต้องจ่ายภาษีที่คิดเป็นสัดส่วนของรายได้มากกว่าผู้มีรายได้ น้อย) และสิทธิประโยชน์ถ้วนหน้า (ไม่ใช่แค่คนจนหรือผู้ทุพพลภาพ แต่ประชากรทุกคนได้รบั การประกันรายได้ขนั้ ต�ำ่ รวมถึงบริการพืน้ ฐานต่างๆ เช่น บริการสุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เราบริโภคทรัพยากรทีไ่ ด้มาจากการท�ำงานหรือการถ่ายโอนในรูปสินค้าและ บริการ หลังจากที่คุณได้รับทรัพยากรทั้งจากการท�ำงานและการถ่ายโอน 38

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


ขั้นต่อมาก็คือการอุปโภคบริโภค เพราะมนุษย์เราต้องกินต้องใช้อาหาร เสื้อผ้า พลังงาน ที่อยู่อาศัย และสินค้า (goods) ต่างๆ เพื่อเติมเต็มความ ต้องการพื้นฐานในการด�ำรงชีวิต นอกจากนี้ มนุษย์เรายังมีความต้องการ ทางจิตใจที่ “สูงขึ้น” ไปอีก เช่น หนังสือ เครื่องดนตรี อุปกรณ์ออกก�ำลังกาย โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เรายังซื้อและใช้บริการ (service) ประเภท ต่างๆ ด้วย เช่น การโดยสารรถประจ�ำทาง การตัดผม การทานมื้อค�่ำใน ภัตตาคาร หรือการท่องเที่ยวในต่างประเทศ3 ดังนัน้ หัวข้อศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์จำ� นวนมากจึงเป็นเรือ่ งการ บริโภค อาทิ คนเราจัดสรรเงินอย่างไรเพือ่ ซือ้ สินค้าและบริการประเภทต่างๆ ตัดสินใจอย่างไรเมือ่ ต้องเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์ทมี่ หี ลากหลายยีห่ อ้ การโฆษณา (ทั้งการให้ข้อมูลและการบิดเบือน) มีผลอย่างไรต่อการบริโภค หรือบริษัท ลงทุนเพื่อสร้าง “ภาพลักษณ์ของแบรนด์” กันอย่างไร แต่เราต้องผลิตสินค้าและบริการขึ้นมาก่อน ก่อนที่เราจะมีสินค้าและบริการให้อุปโภคบริโภค ย่อมต้องมีผู้ผลิต สินค้าและบริการเหล่านั้นขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตในฟาร์ม และโรงงาน หรือบริการที่ผลิตในออฟฟิศและร้านค้า ดังนั้นเศรษฐศาสตร์ จึงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (production) ด้วย แม้ว่าจะเป็นประเด็น ที่ถูกละเลยไปเมื่อเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนและ การบริโภค (ส�ำนักนีโอคลาสสิก) เริ่มมีอิทธิพลตั้งแต่ทศวรรษ 1960 จนถึง ปัจจุบัน ในต�ำราเศรษฐศาสตร์มาตรฐาน การผลิตเสมือนเป็น “กล่องด�ำ” ที่เกิดขึ้นอัตโนมัติจากการผสมผสานแรงงาน (งานที่คนลงแรง) กับทุน (เครื่องจักรและอุปกรณ์) เข้าด้วยกัน โดยแทบไม่ใส่ใจว่าการผลิตนั้นมีเรื่อง ปลีกย่อยทีส่ ำ� คัญและซับซ้อนมากกว่าสมการนามธรรมทีม่ เี พียงแรงงานและ ทุน ประเด็นส�ำคัญ เช่น โรงงานมีการจัดการอย่างไร มีการควบคุมแรงงาน และเจรจากับสหภาพแรงงานแบบไหน หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเป็น ระบบผ่านการวิจัยและพัฒนามากน้อยเพียงใด ล้วนเป็นประเด็นที่ผู้อ่าน H a - Jo o n C h a n g

39


ส่วนใหญ่ไม่คิดว่าเกี่ยวข้องกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ทั้งๆ ที่เรื่องเหล่านี้มีความ ส�ำคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์จ�ำนวนมากรู้สึกสบายใจที่ได้ทิ้งประเด็นเกี่ยวกับ การผลิตข้างต้นให้เป็นเรือ่ งของ “คนอืน่ ” โดยเฉพาะวิศวกรและผูจ้ ดั การบริษทั แต่หากคุณลองไตร่ตรองให้ดี จะเห็นว่าการผลิตเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ของระบบเศรษฐกิจทุกระบบ อีกทัง้ การเปลีย่ นแปลงด้านการผลิตยังมักเป็น แรงขับเคลื่อนที่ทรงพลังที่สุดในการเปลี่ยนแปลงสังคม โลกยุคใหม่ที่เรา ด�ำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็เป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิตนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็น ต้นมา แวดวงนักเศรษฐศาสตร์และเราทุกคนทีม่ องระบบเศรษฐกิจผ่านกรอบ เศรษฐศาสตร์จึงควรให้ความส�ำคัญกับการผลิตมากกว่านี้ บทสรุป: เศรษฐศาสตร์ ในฐานะวิชาที่ศึกษาระบบเศรษฐกิจ ผมเห็นว่าเราควรนิยามวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย “หัวข้อที่ศึกษา” (เหมือนทีว่ ชิ าอืน่ ๆ ก็ทำ� เช่นกัน) นัน่ คือ ศึกษาระบบเศรษฐกิจซึง่ เกีย่ วโยงกับ เรือ่ งของเงินตรา การท�ำงาน เทคโนโลยี การค้าระหว่างประเทศ ภาษี รวมถึง เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ การกระจายรายได้ และการบริโภคสิ่งที่ผลิตขึ้น ไม่ใช่นิยามด้วย “แนวทางการศึกษา” จนกลาย เป็นวิชาที่มุ่งหาค�ำตอบแก่ “ชีวิต จักรวาล และทุกสรรพสิ่ง” ดังเช่นที่นัก เศรษฐศาสตร์จำ� นวนมากคิดกัน การให้คำ� นิยามแบบนีเ้ องทีท่ ำ� ให้หนังสือเล่มนีแ้ ตกต่างจากหนังสือ เศรษฐศาสตร์เล่มอื่นในท้องตลาด การนิ ย ามวิ ช าเศรษฐศาสตร์ ด ้ ว ยวิ ธี ก ารศึ ก ษาท� ำ ให้ ห นั ง สื อ เศรษฐศาสตร์สว่ นใหญ่สนั นิษฐานไว้กอ่ นว่ามีวธิ เี รียนเศรษฐศาสตร์ทถี่ กู ต้อง อยู่เพียงวิธีเดียว นั่นคือเรียนตามแนวทางของส�ำนักนีโอคลาสสิก บางเล่ม ก็แย่เสียจนไม่บอกคุณด้วยซ�ำ้ ว่าโลกใบนีม้ วี ธิ คี ดิ ทางเศรษฐศาสตร์แบบอืน่ ๆ นอกเหนือไปจากนีโอคลาสสิก 40

Economics : Th e Us e r ’ s Gu i d e


ในขณะที่หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยการนิยามว่าเศรษฐศาสตร์เป็น วิชาทีเ่ กีย่ วกับเศรษฐกิจ และชีใ้ ห้เห็นว่ามีกรอบแนวคิดทีใ่ ช้วเิ คราะห์ประเด็น ทางเศรษฐกิจได้หลายกรอบ โดยแต่ละกรอบจะมีจุดเน้น จุดแข็ง จุดอ่อน และจุดบอดที่แตกต่างกันออกไป เพราะถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่เราควรคาดหวัง จากวิชาเศรษฐศาสตร์คือ การแสวงหาค�ำอธิบายที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจอันหลากหลาย มิใช่การพยายามเอาแต่ “พิสูจน์” ว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ชุดหนึ่งๆ นั้นสามารถอธิบายเศรษฐกิจ ได้ทั้งระบบและสรรพสิ่งทั้งมวล

หนังสืออ่านเพิ่มเติม R. BACKHOUSE The Puzzle of Modern Economics: Science or Ideology? (Cambridge: Cambridge University Press, 2012). B. FINE AND D. MILONAKIS From Economics Imperialism to Freakonomics: The Shifting Boundaries between Economics and the Other Social Sciences (London: Routledge, 2009).

H a - Jo o n C h a n g

41


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.