Banyong pongpanich writing (p 1 37

Page 1


บรรยง พงษ์พานิช เขียน พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ openworlds, กุมภาพันธ์ 2557 ราคา 215 บาท คณะบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร ปกป้อง จันวิทย์ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการ ปกป้อง จันวิทย์ ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign ภาพปก ศุภชัย เกศการุณกุล พิสูจน์อักษร กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-669-5145 โทรสาร 02-669-5146 email : openworldsthailand@gmail.com facebook : www.facebook.com/openworlds twitter : www.twitter.com/openworlds_th website : www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website : http://www.se-ed.com/


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บรรยง พงษ์พานิช. บรรยง พงษ์พานิช เขียน.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2556. 240 หน้า. 1. บรรยง พงษ์พานิช. I. ชื่อเรื่อง. 923.8593 ISBN 978-616-91597-8-0


สารบัญ

‘เตา’ ที่ผมรู้จัก วรากรณ์ สามโกเศศ 20 ปี กับคุณบรรยง ศุภวุฒิ สายเชื้อ จากใจผู้เขียน

6 10 14

ตลาดหุ้นไทย อีกวันในตลาดหุ้นไทย หุ้นตกหนักอีกแล้ว ตลาดหุ้นที่ดีเป็นอย่างไร ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ เซียนหุ้น ภาวะวุ่น ภาวะหุ้น ท�ำไมผมถึงไม่กล้าเล่นหุ้น 6 เหตุผล ท�ำไมเราไม่ควรเล่นหุ้นด้วยตนเอง ว่าด้วยภาษีในตลาดหุ้น Capital Gains Tax: ภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น Capital Gains Tax … อีกที ความเหลื่อมล�้ำ จ�ำน�ำข้าว บทวิเคราะห์ตื้นๆ โครงการรับจ�ำน�ำข้าว ค�ำเตือนจากนายเข้ม เย็นยิ่ง ว่าด้วยกฎเหล็กส�ำหรับผู้บริหารเศรษฐกิจ มหภาคของประเทศ

22 26 30 34 38 42 46 52 58 66 72 78 82 92 96 100


กับดักประเทศไทย 104 กระตุ้นเศรษฐกิจ ... อีกแล้ว! 110 อุทาหรณ์วิมเบิลดัน 118 โอ้ว่าความรักชาติ: มายาคติที่ท�ำร้ายตัวเองได้อย่างลึกซึ้ง 122 มายาคติชาตินิยม 128 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 134 แปรรูปรัฐวิสาหกิจ = ขายชาติ? 140 แปรรูปอย่างไรให้มีคุณภาพ 146 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย 152 ท�ำอะไร ... โดยใคร ... เพื่อใคร การพัฒนาอย่างยั่งยืน 158 อ่านหนังสืออาจารย์เสนาะ 164 ว่าด้วยการโยกย้ายข้าราชการ 168 รากฐานและอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (1) 174 รากฐานและอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (2) 178 รากฐานและอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (3) 186 ข้อเสนอต่อประเทศไทย (1) ปูพื้นเรื่องปัญหา 192 (2) “ขวัญใจรากหญ้า” ... บทวิเคราะห์ที่มาของปัญหา 196 (3) สภาพสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป 204 (4) สี่เท้ายังรู้พลาด คนฉลาดยังรู้พลั้ง ตอนที่ 1 210 (5) สี่เท้ายังรู้พลาด คนฉลาดยังรู้พลั้ง ตอนที่ 2 220 (6) วิเคราะห์ “ระบอบทักษิณ” ข้อดี ข้อด้อย 226 จุดรุ่งเรือง จุดเสื่อมถอย และจุดตกต�่ำ (7) ทางออกจากกับดักความขัดแย้ง 234 และก้าวต่อไปของประเทศไทย


‘เตา’ ที่ผมรู้จัก วรากรณ์ สามโกเศศ

ในแวดวงการเงินและเศรษฐกิจไทยไม่มใี ครไม่รจู้ กั ชือ่ “เตา” หรือ บรรยง พงษ์พานิช หนุ่มใหญ่ผู้เป็นที่รักของผู้ใหญ่ พี่ น้อง และผองเพื่อน ซึ่งต่างคนต่างใช้ค�ำน�ำหน้าชื่อ “เตา” แตกต่างกัน ตามความใกล้ชิดและรสนิยม หลายคนอาจมีค�ำน�ำหน้าชื่อเพียงค�ำเดียวตลอดชีวิต เช่น “ไอ้” “พี่” “น้า” “เฮีย” หรือ “คุณ” ด้วยความที่คนอื่นไม่อยากหรือ ไม่กล้าใช้ค�ำอื่นน�ำหน้า แต่นั่นไม่ใช่กับ “เตา” มันไม่ใช่เรื่องปกติอย่างแน่นอนที่คนๆ หนึ่งจะมีค�ำน�ำหน้า ชื่อได้หลายค�ำเช่นนี้ “เตา” เป็นชื่อที่ผมเรียกตามปกติ บางครั้งก็ เติม “คุณ” ข้างหน้าตามกาลเทศะ ผมถามตัวเองว่าท�ำไมกรณีของ เตาจึงเป็นเช่นนี้ จนสุดท้ายก็ได้ค�ำตอบว่า เพราะมีคนจ�ำนวนมาก รักเตาเป็นพิเศษ คุณลักษณะส�ำคัญที่ท�ำให้เตาเป็นที่รักของคนรู้จักก็คือ ความจริงใจ ความเป็นกันเอง ความเป็นมิตร ตลอดจนความ ตรงไปตรงมาในการแสดงคิดเห็นเรื่องต่างๆ อย่างสุจริตใจและ 6 บรรยง พงษ์พานิช


เปิดเผย สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ผมนึกถึงเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่เตา เองก็รักและนับถือมากเช่นกัน นั่นก็คือ คุณวิโรจน์ นวลแข ผู้มี ลักษณะเหมือนเตาในหลายเรื่อง สิ่งที่เตามีและเป็นประโยชน์ต่อสังคมก็คือ ความสามารถ ในการวิ เ คราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินและสังคม บน พื้นฐานทางวิชาการที่ไม่ถูกบดบังด้วยทฤษฎีซับซ้อนหรือผล ประโยชน์ส่วนตัว เตามีความภาคภูมิใจกับเกรด 2.00 ที่ได้รับ ตอนเรียนจบจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอันมาก เพราะนั่นเป็นเครื่องยืนยันว่าคุณภาพของบัณฑิต ทีแ่ ท้จริงและเกรดทีไ่ ด้รบั จากมหาวิทยาลัยของไทยนัน้ ไม่มคี วาม สอดคล้องกันเลย ถึงแม้เตาจะไม่ได้เขียนบทความวิชาการชนิดที่ “ขลัง” เสีย จนน่าปิดทองและยกขึน้ หิง้ แต่เตาก็เขียนบทวิเคราะห์สถานการณ์ เศรษฐกิจและการเงินทีน่ า่ สนใจ ชนิดทีผ่ อู้ า่ นเข้าใจได้อย่างชัดเจน และไม่ตอ้ งปีนกระไดอ่าน อีกทัง้ ยังน�ำเสนออย่างมีสสี นั และรสชาติ เอร็ดอร่อย จนจ�ำได้ไม่รู้ลืม งานวิ เ คราะห์ ข องเตาที่ ป รากฏอยู ่ ใ นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น หลักฐานยืนยันสิ่งที่ผมได้เล่ามาเป็นอย่างดี คงไม่ต้องสาธยายให้ มากความไปกว่านี้ เตายังมีอีกสิ่งหนึ่ง นอกจากความสามารถในการบริหาร หน่วยงานการเงินและองค์กรอื่นๆ หลากหลายลักษณะ นั่นคือ ความรูค้ วามสามารถอย่างแท้จริงในสิง่ ทีเ่ ตาเชีย่ วชาญ การอธิบาย ให้เพื่อนร่วมงานเห็นพ้องด้วย การปลุกเร้าความรู้สึกและชี้น�ำให้ คนอื่นคล้อยตาม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความสามารถพิเศษของเตาที่ หาคนเทียบเคียงได้ยาก

เขียน 7


สิง่ ทีท่ �ำให้ผมรักเตาก็คอื ความรักในสังคมและเพือ่ นมนุษย์ ทีม่ อี ยูใ่ นตัว มีคนจ�ำนวนไม่มากนักทีร่ วู้ า่ คนๆ นีค้ อื ผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลัง การบริจาคเงินจ�ำนวนมากให้แก่กจิ กรรมทัง้ หลายทีเ่ ป็นประโยชน์ ต่อสังคมและโลก โดยที่ไม่ต้องการให้ใครรู้ เตาให้เงินแบบเงียบๆ ไม่กระโตกกระตาก ไม่เคยคุยโม้โอ้อวด เพราะเขาไม่ต้องการ สิ่งตอบแทน คนๆ นี้คือหนึ่งในคนไทยผู้ชอบ “ปิดทองหลังพระ” โดยหวังว่าทองที่ปิดนั้นจะมิได้เป็นเพียงแค่แผ่นทองที่สร้างความ งดงามและความขลังเท่านั้น หากยังต้องการให้สร้างประโยชน์แก่ ผู้ที่อยู่เบื้องหน้าพระพุทธรูปอีกด้วย ผมเขียนค�ำนิยมให้หนังสือเล่มนีด้ ว้ ยความสบายใจเป็นทีส่ ดุ เพราะเป็นโอกาสที่จะเล่าตัวอย่างของ “ชีวิตที่ดี” ให้คนรุ่นใหม่ได้ พิจารณา เพื่อน�ำไปสืบสานและปฏิบัติต่อไปในอนาคต เมื่อหลายปีก่อน ดาราเก่าแก่ของฮอลลีวูดชื่อ แม เวสต์ (Mae West) กล่าวไว้ว่า “You only live once, but if you do it right, once is enough.” ผมมัน่ ใจว่าเตาได้ “do it right” แล้ว และไม่ตอ้ งการมากกว่า “once” เพราะเตาเป็นศิษย์ท่านพุทธทาสอย่างแท้จริง

8 บรรยง พงษ์พานิช



20 ปี กับคุณบรรยง ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ผมพบคุณบรรยง พงษ์พานิช ครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เมื่อ ผมมาสมัครงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์ในฝ่ายวิจยั ของบริษทั เงินทุน หลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จ�ำกัด (มหาชน) ในปี 2537 โดย ดร.อโศก วงศ์ชะอุ่ม ซึ่งในขณะนั้นเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัย ได้กรุณาชักชวน ให้ผมมาท�ำงานในวงการหลักทรัพย์ ถึงแม้ว่าผมจะรับราชการใน กระทรวงการต่างประเทศมากว่า 12 ปี และไม่มีประสบการณ์ใน การท�ำงานภาคเอกชนเลย การพบคุณบรรยงในครั้งนั้นเป็นการ สัมภาษณ์เพื่อรับผมเข้าท�ำงานที่ภัทรฯ ซึ่งผมจ�ำได้ไม่มีวันลืม เพราะคุณบรรยงได้พดู คุยและสอบถามผมในเรือ่ งต่างๆ เป็นเวลา เกือบ 3 ชัว่ โมง ท�ำให้ผมรูส้ กึ ดีใจอย่างยิง่ ทีค่ ณ ุ บรรยงให้โอกาสผม และที่ส�ำคัญคือ ท�ำให้ผมเกิด “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” ต่อคุณบรรยง และภัทรฯ จนผมเลือกเป็นพนักงานของภัทรฯ โดยไม่เคยคิดจะ ย้ายไปอยู่ที่ไหนอีกจนถึงทุกวันนี้ คุณบรรยงที่ผมรู้จักเป็นคนที่ใฝ่รู้และศึกษาจนกว่าจะรู้จริง โดยพยายามค้นคว้าจนเข้าถึงแก่นสาร เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และถ่องแท้ ซึ่งใครก็ตามที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณบรรยงก็จะได้ 10 บรรยง พงษ์พานิช


รับความรูใ้ หม่ๆ หรือได้มมุ มองทีไ่ ม่เคยนึกถึงมาก่อน แม้แต่ความ รูส้ กึ “ไว้เนือ้ เชือ่ ใจ” ซึง่ เรามักจะพูดกันอย่างลอยๆ คุณบรรยงก็ได้ วิเคราะห์เอาไว้อย่างละเอียดและน่าสนใจว่ามีส่วนประกอบอะไร บ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้พวกเราชาวภัทรฯ ใช้ในการท�ำงานจน สามารถสร้างความผูกพันที่ยั่งยืนกับลูกค้าได้ ทั้งนี้ ในช่วง 20 ปีที่ผมท�ำงานที่ภัทร ผมได้เห็นคุณบรรยง ทุ่มเทให้กับบริษัท ซึ่งถือได้ว่าเป็นบ้านหลังที่สองของชาวภัทรฯ หลายคนรวมทั้งผมด้วย หนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด และ บรรยง พงษ์พานิช เขียน นี้ ผมกล้ายืนยันได้เลยว่าไม่เหมือนกับหนังสือเล่มอื่นๆ ที่ ผู้เขียนเล่าประสบการณ์ของตัวเอง เช่น เป็นที่ทราบกันว่าคุณ บรรยงท�ำงานในวงการตลาดเงินตลาดทุนมานานกว่า 36 ปี จน เป็นที่รู้จักกันดี แต่กลับเขียนบทความเรื่อง “6 เหตุผล: ท�ำไมเรา ไม่ควรเล่นหุ้นด้วยตัวเอง” นอกจากนั้น คุณบรรยงยังยอมรับว่าผลการเรียนจบตอน มศ. 5 ด้วยคะแนนคาบเส้น (500/1000) และจบเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตด้วยเกรดเฉลี่ย 2.00 ท�ำให้ “หางานท�ำไม่ได้จนผ่านไป กว่า 8 เดือน” แต่ต่อมากลับได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ส�ำหรับ การเริม่ ต้น หรือ Commencement Speech ในพิธรี บั ปริญญาของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ในปี 2555 การวิเคราะห์ของคุณบรรยงในด้านต่างๆ นั้น แสดงถึง ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย แต่ลักษณะพิเศษของคุณ บรรยงคือการวิเคราะห์ที่สะท้อนความชัดเจนของความคิดและ ข้อสรุป เช่นในบทความที่กล่าวถึงปรัชญาหลักของ “โลกาภิวัตน์” คุณบรรยงให้นิยามว่า “เป็นการใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรของ คนทั้งโลกมาช่วยกันน�ำพาความเจริญ” เขียน 11


ดังนั้น กฎหมายต่างๆ ที่ปกป้องสิทธิในการเป็นเจ้าของ ให้กับคนไทย เช่น พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จึง เป็นการฝืนโลกาภิวตั น์ และถือเป็น “พ.ร.บ. กีดกันผูม้ ปี ระสิทธิภาพ” ซึ่งคุณบรรยง “ตั้งค�ำถามว่า คนไทยที่จะได้ประโยชน์จากการ คุ้มครองเช่นนี้ ‘มีกี่คนกันวะ’ (แน่นอนว่ารวมผมอยู่ด้วย) และคน ไทยที่ต้องช่วยจ่ายช่วยรับภาระเพิ่ม เพื่อสนองอุดมการณ์มายานี้ ‘มีกี่สิบล้านคน’ ” ที่ผ่านมา ผมเห็นคนไทยน้อยคนนักที่จะเขียน บทความที่มีความชัดเจนในเชิงความคิดได้เหมือนคุณบรรยง แม้แต่ในด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค (ซึ่งคุณบรรยงยอมรับ ว่าผ่านมาแบบคาบเส้น เพราะไม่คอ่ ยได้เข้าห้องเรียน) คุณบรรยง ก็สามารถวิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้งและครบถ้วน รวมถึงการเสนอ แนะให้แก้ปัญหาความเหลื่อมล�้ำที่เพิ่มขึ้นด้วยมาตรการที่ส่งผล เสียต่อประโยชน์ส่วนตนอย่างตรงไปตรงมา คือการเพิ่มภาษี คนรวย เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษี มรดก และภาษีดอกเบี้ย และการลดอ�ำนาจและอิทธิพลของนัก ธุรกิจโดยเพิม่ บทบาทของตัวแทนภาคประชาสังคม เช่น ผูบ้ ริโภค แรงงาน และ NGO หนังสือเล่มนี้จึงสะท้อนความเป็น “บรรยง พงษ์พานิช” ได้ อย่างดี คือมีความลึกซึง้ ชัดเจน และตรงไปตรงมาอย่างไม่เกรงใจ ใคร ด้วยความที่ไม่ชอบความคิดหละหลวม แม้ผอู้ า่ นอาจไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคุณบรรยง แต่ผม เชื่อมั่นว่าหนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด และ บรรยง พงษ์พานิช เขียน จะท�ำให้ผู้อ่านทุกท่านต้อง “คิด” และหากจะ “คิดแย้ง” ก็จะ ยิ่งเป็นประโยชน์ครับ

12 บรรยง พงษ์พานิช



จากใจผู้เขียน บรรยง พงษ์พานิช

“อยากเป็นครู” “อยากเป็นนักเขียน” นั่นเป็นความฝันวัยเด็กในช่วงอายุ 10 - 16 ปีของผม ความทีเ่ ป็นเด็กตัง้ ใจเรียนและรักการอ่าน ชนิดทีเ่ รียกได้วา่ อ่านหนังสือเกือบทุกเล่มในห้องสมุดโรงเรียน ท�ำให้ผมใฝ่ฝนั อยาก เป็นครูที่สอนหนังสือให้ได้ดีและสนุก รวมทั้งอยากเป็นนักเขียน ที่เขียนเรื่องบู๊ได้อย่าง “พนมเทียน” เขียนเรื่องตลกได้อย่าง “ป. อินทรปาลิต” เขียนเรือ่ งสัน้ ได้อย่าง “ ’รงค์ วงษ์สวรรค์” “ประชา พูนวิวัฒน์” และ “อาจินต์ ปัญจพรรค์” เขียนนิยายรักได้อย่าง “ทมยันตี” “รพีพร” และ “ก.สุรางคนางค์” เขียนเรื่องแปลได้อย่าง “ว. ณ ประมวลมารค” แถมรอบรู้เป็นพหูสูตอย่าง “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช” เรียกได้ว่า ท่านเหล่านี้และท่านอื่นๆ อีกหลายสิบคน ล้วนแต่เป็นนักเขียนในดวงใจทั้งสิ้น สมั ย เด็ ก ๆ ผมเคยสมั ค รเข้ า เป็ น ที ม งานใน “สมาคม หนังสือพิมพ์” ของโรงเรียนเพื่อช่วยเขาท�ำหนังสือ บางทีพี่ๆ ก็ อนุญาตให้ผมเขียนบทความลงหนังสือประจ�ำภาคการศึกษาหรือ 14 บรรยง พงษ์พานิช


หนังสือพิมพ์แปะข้างฝาบ้าง แต่ท้ายที่สุด เมื่อกลับไปอ่านแล้ว ก็ เป็นบทความที่ท�ำให้หน้าแดงทุกที ด้วยว่าคุณภาพ เนื้อหาสาระ และส�ำนวนนั้น ล้วนอยู่ในขั้น “ใช้ไม่ได้” อ่านแล้วก็กระดากอาย ทุกครั้งไป พอโตขึน้ มาอยูช่ นั้ มัธยมปลาย ผมก็กลายเป็นวัยรุน่ ใจแตก หันไปสนใจอย่างอื่น ความฝันวัยเด็กทั้งหลายก็ค่อยๆ เลือนหาย ไป ยิง่ พอถึงวัยท�ำงาน ก็มวั แต่มงุ่ หน้าสร้างเนือ้ สร้างตัว จนตกเป็น ทาสของงานและ “ทุนนิยม” อยู่ร่วม 20 ปี เพราะเอาแต่ขลุกอยู่กับ เรือ่ งของธุรกิจและตลาดทุน เพียงเพือ่ แสวงหาทรัพย์หรือความสุข ฉาบฉวยอื่นๆ ตามค่านิยมของ “สังคมผิวเปลือก” จนลุถงึ อายุ 40 ในปี 2537 ผมจึงเริม่ คิดว่าสร้างตัวมาพอแล้ว ประกอบกับความเบื่อหน่ายในภาวะฟองสบู่เต็มที่ เนื่องจากราคา หุน้ สูงขึน้ อย่างไร้เหตุผล จนความรูแ้ ละหลักวิชาใดๆ ทีเ่ คยศึกษามา ดูจะไร้ความหมาย ผมจึงตัดสินใจลาออกจากงานไปล่าฝันในวัยเด็ก ด้วยการไปสมัครเป็นอาจารย์สอนเต็มเวลาทีจ่ ฬุ าฯ เขาก็ตงั้ ให้ผม เป็น “ศาสตราภิชาน” (รุน่ แรก) ของภาควิชาการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี แต่ปรากฏว่าสอนหนังสืออยูไ่ ด้ไม่ถงึ 2 ปี ก็มี เหตุให้ถูกตามกลับมาท�ำงาน (ก็ฟองสบู่มันจวนจะแตกเต็มทีแล้ว นี่ครับ) ผมจึงไม่ได้เป็นครูเต็มเวลาอีก แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็ยังหา โอกาสไปบรรยายตามองค์กรต่างๆ ตลอดมา ผมผ่านวิกฤตต้มย�ำกุง้ มาอย่างสะบักสะบอม แต่มนั ก็ท�ำให้ ผมได้รับความรู้และความเข้าใจด้านต่างๆ เช่น เศรษฐศาสตร์และ ตลาดทุน เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แถมยังโชคดีที่ได้เรียนรู้เรื่องการ บริหารองค์กรในระดับสากล มันก็น่าแปลกนะครับ ที่ชีวิตยามยากมักสอนเราได้ดีและ ถึงแก่นกว่ายามรุง่ เรือง คงจะจริงทีเ่ ค้าว่า “ในวิกฤตมีโอกาสเสมอ” เขียน 15


ด้วยความที่เป็นคนชอบพูดชอบสอน บรรดาเพื่อนร่วม งานทั้งหลายของผมจึงต้องรับกรรมด้วยการฟังบรรยายเรื่อง ต่างๆ ซ�้ำซาก จนอาจเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาจับใจ หลายๆ คนพยายามแนะน�ำให้ผมเขียนหนังสือเสียที (ไม่รู้ว่าพูดด้วย ความจริงใจ หรือคร้านจะฟังผมพล่ามเต็มที) แต่จนแล้วจนรอด ผมก็ผัดผ่อนเรื่อยมา ไม่ได้เริ่มลงมือเสียที ครั้นจะไปจ้าง “มือผี” (ghostwriter) ให้มาช่วยเขียนอย่างที่บางคนแนะ ผมก็ไม่คิดว่า ตัวเองจะส�ำคัญหรือน่าสนใจขนาดนั้น จนกระทั่งเมื่อ 8 เดือนที่แล้ว มีผู้หวังดีมาสมัคร เปิดบัญชี และสอนให้ผมรูจ้ กั กับ “เจ้าเฟซบุก๊ ” (Facebook) ทีค่ นเขาเล่นและ ใช้กนั อย่างแพร่หลายมานานหลายปีแล้ว ผมก็เลยได้มโี อกาสสาน ต่อความฝันที่อยากเป็นนักเขียนในวัยเด็กเอาตอนอายุเกือบ 60 หลังจากนั้น ผมก็ “บรรเลง” บทความสารพัดเรื่องลงใน เฟซบุ๊กกว่า 100 เรื่อง ในช่วงเดือนเมษายน - ธันวาคม 2556 แต่ ก็ต้องสารภาพว่า ผมเขียนอย่างที่อยากเขียนอยากเล่า และเขียน ตามที่คิด ที่รู้ และที่เห็น จึงไม่บังอาจรับรองความถูกต้องสมควร ไปทั้งหมด แถมหลายครั้ง ผมเขียนแบบตามใจคนเขียนมากกว่า จะสนใจคนอ่านเสียด้วยซ�้ำ การเขียนบทความในเฟซบุก๊ เป็นกิจกรรมทีส่ นุกมาก เพราะ มีทงั้ การถกเถียง การวิพากษ์วจิ ารณ์ การเสริมแทรกความรูค้ วาม เห็น และการชมเชยด่าทอ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้แทบจะ ทันที ภายในเวลาแค่ 8 เดือน ผมได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เพิ่ม ขึน้ มากมาย และได้รจู้ กั เพือ่ นๆ ทีส่ ว่ นมากยังไม่เคยเห็นหน้าค่าตา แต่กลับรู้สึกสนิทสนมราวกับรู้จักกันมานานอีกนับร้อยนับพันคน นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ในวัยใกล้แซยิด แต่ทนี่ า่ อัศจรรย์ใจกว่าก็คอื การได้รบั การติดต่อจากเพือ่ นๆ 16 บรรยง พงษ์พานิช


ที่ openworlds ส�ำนักพิมพ์ของคนรุน่ ใหม่มาตรฐานสูง ซึง่ มีค�ำขวัญ ว่า “distilling global insights” ว่าจะขอน�ำเอาบทความต่างๆ ที่ ผมเขียนไว้ไปพิมพ์รวมเล่ม ผมจึงแอบภูมิใจเล็กๆ ว่า นี่เขาคิด ว่าความคิดเห็นของเราควรค่าแก่การตีพิมพ์ขนาดนั้นเชียวหรือ หลังจากที่ผมซักถามจนแน่ใจแล้วว่า การตัดสินใจตีพิมพ์ ไม่ได้เป็นเพราะความเป็นมิตร ความเกรงใจ ความสงสารทีเ่ ห็นเรา ตัง้ อกตัง้ ใจเขียน และไม่ได้คดิ ว่าเราคงจะสัง่ ซือ้ ไปแจกเองเป็นร้อย เป็นพันเล่ม หนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด และ บรรยง พงษ์พานิช เขียน จึงปรากฏขึ้นในบรรณพิภพ ว่าไปแล้วก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงหนังสือชื่อ The Other Guy Blinked: How Pepsi Won the Cola Wars ที่เขียนโดย โรเจอร์ เอ็นริโก (Roger Enrico) อดีต CEO ของ PepsiCo, Inc. หนังสือ เล่มนี้เคยติดอันดับขายดี และผู้เขียนก็เคยมอบหนังสือพร้อม ลายเซ็นให้ผมกับมือเมื่อ 25 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม อีก 15 ปีถัด มา ผมได้มีโอกาสพบเขาอีกและบอกเขาว่าผมยังเก็บหนังสือเล่ม นั้นไว้อยู่ เขากลับตอบว่า “การเขียนหนังสือเล่มนั้นเป็นสิ่งที่น่า อับอายทีส่ ดุ เท่าทีผ่ มเคยท�ำมา” เพราะหลังจากนัน้ ไม่นาน “เป๊ปซี”่ ก็ถูก “โคคา-โคล่า” ตีกลับ จนต้องหันไปเน้นท�ำธุรกิจด้านอื่นแทน แต่ก็ยังคงประสบความส�ำเร็จมากเช่นกัน ผมก็ได้แต่หวังว่า เมื่อเวลาผ่านไป ผมคงไม่ต้องมาบอกว่า “หนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เป็นความอับอายครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต” เหมือน เช่นที่เคยรู้สึกหน้าแดงยามกลับไปอ่านงานเขียนสมัยเด็ก ในทาง กลับกัน ถ้าใครก็ตามที่บังเอิญได้อ่านข้อ “คิด” ข้อ “เขียน” ของผม แล้วสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์และขยายผลคิดค้นต่อ หรือหาก หนังสือ 2 เล่มนี้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ได้บ้าง ผมก็ จะถือเป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ในชีวิต เขียน 17


เพราะผมเองก็ได้รบั แรงบันดาลใจแทบทุกอย่างในชีวติ จาก การอ่านหนังสือทั้งหลายเช่นกัน ท้ายที่สุด ผมขอขอบคุณเพื่อนทุกคนที่ openworlds โดย เฉพาะ ปกป้อง จันวิทย์ ที่เป็นผู้ริเริ่มความคิดในการท�ำหนังสือ ชุดนี้ วรพจน์ วงศ์กจิ รุง่ เรือง บรรณาธิการบริหารส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการศิลปกรรม ศุภชัย เกศการุณกุล ช่างภาพ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ ผู้พิสูจน์อักษร นอกจากนั้นผมขอขอบคุณ ธนกร จ๋วงพานิช ทีแ่ นะน�ำเพือ่ นใหม่นามว่า “เฟซบุก๊ ” ให้ผมรูจ้ กั ขอบคุณ ภรรยาของผม อทิติ พงษ์พานิช ที่คอยตักเตือนเสมอเวลาผม เอาแต่หมกมุ่นกับการเขียนบทความในเฟซบุ๊ก จนเวลาในการ อ่านลดลงอย่างฮวบฮาบ “มีแต่ ‘ของออก’ ไม่เพิ่ม ‘ของเข้า’ เดี๋ยว อีกหน่อยก็โง่ตาย” เธอว่าไว้อย่างนั้น และที่ส�ำคัญที่สุด ต้องขอขอบคุณเพื่อนในเฟซบุ๊กกว่า 9,000 คน ที่เข้ามาติดตาม กดไลค์ กดแชร์ และแสดงความคิด เห็น จนเป็นแรงบันดาลใจให้ผมสนุกกับการเขียนบทความตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมา ขอขอบพระคุณทุกท่านจากใจจริงครับ

18 บรรยง พงษ์พานิช





ตลาดหุ้นไทย

วันนี้หุ้นตกหนัก มีคนบ่นว่าไอ้ฝรั่งมันขายตั้ง 33,000 ล้าน บาท แต่ผมจะบอกว่า ตั้งแต่ต้นปี เขาซื้อตั้ง 1.22 ล้านล้านบาท แน่ะ (แต่ขาย 1.25 ล้านล้านบาท) คนชอบคิดว่าฝรั่งทุกคนเป็นคนคนเดียวกัน คือท�ำอะไร เหมือนๆ กัน พร้อมๆ กัน และเล่นเป็นรอบๆ เหมือนคนไทย วันนี้ผมเลยจะขอเล่าถึงโครงสร้างของตลาดหุ้นไทย เผื่อจะเป็น ประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่รักการเป็นนักเสี่ยงโชคบ้าง ตลาดไทยมีขนาดรวมประมาณ 13 ล้านล้านบาท (ที่ระดับ ราคา ณ วันที่เขียน) เป็นส่วนของหุ้นฟรีโฟลต (Free Float) ประมาณ 6 ล้านล้านบาท ซึ่งจะอยู่ในมือของ “นักลงทุนสถาบัน ต่างประเทศ” (ที่เราเรียกรวมว่า “ฝรั่ง”) ร้อยละ 60 (ประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือ 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) โดยมีลักษณะและ พฤติกรรมในการลงทุนดังต่อไปนี้ • ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนระยะยาว และมีเฮดจ์ฟนั ด์ (Hedge Fund) น้อยในตลาดไทย 22 บรรยง พงษ์พานิช


• มีผู้จัดการกองทุนประมาณ 120 กองทุน • บลจ. ใหญ่ๆ เช่น เจเนซิส เทมเพิลตัน แคปปิตอล ฟิเดลิตี และอเบอร์ดีน มีหุ้นไทยอยู่มากกว่า 1.5 แสนล้านบาท (5,000 ล้านเหรียญ) • ลงทุนโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก • เงินลงทุนมากกว่าร้อยละ 95 ของทัง้ หมด อยูใ่ นหุน้ ทีเ่ ป็น องค์ประกอบของดัชนี SET100 (แต่ไม่ใช่ทุกตัว) • อัตราหมุนเวียน (turnover) ประมาณ 1.5 ปีต่อรอบ เช่น ถ้าหลักทรัพย์ในครอบครอง หรือ “พอร์ตโฟลิโอ” (portfolio) 1 แสน ล้านบาท ก็จะซื้อขายแค่ 7 หมื่นล้านบาทในหนึ่งปี • พิจารณาการลงทุนโดยเทียบกับตลาดและบริษัททั่วโลก กลุม่ ที่ 2 เป็นนักลงทุนสถาบันไทย ซึง่ ถือครองอยูป่ ระมาณ ร้อยละ 18 (1.1 ล้านล้านบาท) อันได้แก่ กองทุนรวม กบข. กองทุน ประกันสังคม กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันชีวิต ฯลฯ (ไม่นับกองทุนรวมวายุภักษ์ เพราะผมไม่รู้ว่าเป็นอะไร สงสัยเป็น นกมั้ง) โดยกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมเหมือนกับฝรั่งเกือบทุกอย่าง ยกเว้นข้อสุดท้าย ถึงแม้คุณภาพจะด้อยกว่าบ้าง (นอกจาก บลจ. เล็กๆ ที่หวือหวาไม่กี่แห่ง) กลุ่มที่ 3 คือนักลงทุนบุคคลไทย ซึ่งถือหุ้นอยู่ประมาณ ร้อยละ 20 (1.2 ล้านล้านบาท) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 พวก คือพวกที่ ไม่ได้ซอื้ ขายมาก และนักเล่นหุน้ ทีซ่ อื้ ขายทุกสัปดาห์ ซึง่ ส่วนใหญ่ มีอัตราเงินกู้ (leverage) สูง ซึ่งผมประมาณว่ามีสัดส่วนถือครอง 60 ต่อ 40 โดยส่วนนี้เป็นการประมาณการผสมการเดา (guesstimate) ไม่เหมือนตัวเลขอื่นที่เป็นข้อเท็จจริง พวกหลังส่วนใหญ่จะ ซื้อขายมากกว่าปีละ 10 รอบ และมักไม่มีศักยภาพพอที่จะลงทุน แบบใช้ปจั จัยพืน้ ฐานอย่างจริงจัง อาศัยแต่ “ตามๆ เขาไป” มีบญ ั ชี เขียน 23


อยู่กว่า 500,000 บัญชี กลุ่มนี้ท�ำปริมาณการซื้อขายร้อยละ 60 ทั้งๆ ที่ถือครองแค่ไม่ถึงร้อยละ 10 กลุ่มสุดท้ายคือพอร์ตของ บล. ซึ่งถืออยู่ร้อยละ 2-3 มีอยู่ หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่ท�ำหน้าที่เหมือนเฮดจ์ฟันด์ หันมาดูทางด้านอุปทานกันบ้าง เรามีบริษัทจดทะเบียน กว่า 600 บริษัท แต่บริษัทใน SET100 มีขนาดรวมกันร้อยละ 87 ในอดีตเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว หุ้นใน SET100 มีการซื้อขายกันแค่ ร้อยละ 65 ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมด แล้วก็ปรับปรุงขึ้นจน เป็นร้อยละ 75 ในปี 2554 อย่างทีบ่ อกแล้วว่านักลงทุนสถาบันเขา ไม่ลงทุนในหุ้นนอก SET100 ดังนั้น เมื่อรายย่อยลงทุนไปสักพัก เขาก็เริ่มเรียนรู้ว่าการ “ตามเสี่ย ตามเจ๊” มักจะท�ำให้หมดตัว เลย หันไปตามฝรัง่ แทน แต่ในสองไตรมาสหลัง ปริมาณการซือ้ ขายหุน้ นอก SET100 เพิ่มเป็นเกือบร้อยละ 40 อีกแล้ว ซึ่งก็น่าจะแปลว่า เริม่ หันกลับไป “ตามเสีย่ ตามเจ๊” กัน แค่ไปเปลีย่ นชือ่ ใหม่เป็น “VI” (Value Investor หรือนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า) ตลท. ก็ภูมิใจว่า ตลาดไทยมีสภาพคล่อง เพราะนักลงทุนบุคคลซื้อขายถึง 2 ใน 3 ของปริมาณการซื้อขายรวม แถมหุ้นเล็กก็ยังมีสภาพคล่อง แต่ผมว่าน่าเป็นห่วงมากกว่า เพราะมีแค่สองตลาดใน โลกเท่านั้นที่บุคคลมีปริมาณซื้อขายมากกว่าสถาบัน แถมที่ว่ามี สภาพคล่องก็ทลี ะไม่เกิน 20 หุน้ จากหุน้ เล็กกว่า 500 หุน้ (ก็คล่อง กันเฉพาะหุ้นที่เขาก�ำลัง “ท�ำ” แหละครับ) เล่ามายืดยาวแล้ว ขอสรุปเลยดีกว่า 1) ตลาดไทยมี 2 ตลาด คือหุ้นใหญ่ที่น�ำโดยนักลงทุน สถาบันคุณภาพ ซึง่ ใช้ปจั จัยพืน้ ฐานเป็นเครือ่ งมือชีน้ �ำ และมีความ เป็นโลกาภิวัตน์ กับหุ้นเล็กที่น�ำโดย “นักท�ำ” ซึ่งใช้อะไรชี้น�ำก็ไม่รู้

24 บรรยง พงษ์พานิช


2) ภาวะตลาดไทยผูกติดกับภาวะตลาดโลกอย่างไม่มีทาง จะแยกได้อกี แล้ว แต่กไ็ ม่ตอ้ งกลัว เพราะว่าถ้าฝรัง่ ขายเกินร้อยละ 10 (360,000 ล้านบาท) เราก็จะเห็น SET Index ตกไปอยู่ที่ 600 จุด แล้วมันก็จะหยุดขายไปเอง 3) ในภาวะที่ราคาตลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเมื่อ 2 ปี ทีผ่ า่ นมา ทุกคนจะรูส้ กึ ว่าตัวเอง “โคตรเก่ง” ลงทุนอะไรก็รวย (เขา เรียกว่ายุค “ปาลูกดอก”) และนักท�ำทั้งหลายก็จะออกอาละวาด 4) ตลอด 36 ปีในตลาดหุ้น ผมไม่เคยเห็น “การปั่นหุ้น เพื่อการกุศล” เคยเห็นแต่ “การปั่นเพื่อเชือด” ถ้าอยากเล่นหุ้นปั่น ก็ต้องถือคติ “เกาะถูก โดดทัน” และสวดมนต์ลูกเดียว 5) ตั้งแต่ผมหมดตัวในยุค “ราชาเงินทุน” เมื่อ 34 ปีที่แล้ว ผมก็ไม่เคยเล่นหุ้นอีกเลย แต่เอาเงินไปให้ บลจ. จัดการ แล้วก็ รวยดีมาจนถึงทุกวันนี้ สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านโชคดีและร�่ำรวยกันทั่วหน้า แต่ถ้า อยากชัวร์ ก็รีบมาเปิดบัญชีกับ บล. ภัทรเถอะครับ 6 มิถุนายน 2556

เขียน 25


อีกวันในตลาดหุ้นไทย

“จะชอบหรือไม่ก็แล้วแต่ โลกทุกวันนี้มีข้อพิสูจน์แล้วว่า ความเห็นแก่ตัวมีพลัง มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากกว่า พลังความเห็นแก่สังคมส่วนรวมมากนัก” ข้ อ ความข้ า งต้ น เป็ น ค�ำกล่ า วของ ริ ช าร์ ด พอสเนอร์ (Richard Posner) ปราชญ์อเมริกันร่วมสมัยที่ผมเพิ่งเห็นซึ้งเมื่อ เช้าวานนี้ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ ผมได้ลงบทความต่อต้านการ คอร์รัปชั่นในเฟซบุ๊กต่อเนื่องกันมา 10 กว่าวัน โดยมีคนเข้ามา อ่าน แชร์ และแสดงความเห็นกันวันละ 10-20 คน แต่พอเมื่อ เย็นวันก่อน ผมลองลงบทความเรื่องตลาดหุ้นไป ตื่นมาเมื่อเช้าก็ ตกใจหมด เพราะมีคนแชร์ไปมากกว่า 250 ครั้ง แถมมีคนมาขอ เพิ่มเป็นเพื่อนอีกหลายร้อย (หวังว่าคงไม่ใช่เพราะเข้าหน้าฝน แมลงเลยเยอะนะครับ) เพื่อเอาใจตลาด ... วันนี้เลยขอเล่นเรื่อง หุ้นอีกวัน 26 บรรยง พงษ์พานิช


อย่างไรก็ดี พอสเนอร์พดู ต่อว่า “ประเด็นมันอยูท่ วี่ า่ จะสร้าง ระบบ ระเบียบ และกลไกอย่างไร ทีจ่ ะท�ำให้พลังความเห็นแก่ตวั ไม่ สามารถเบียดเบียนท�ำร้ายใคร (รวมทัง้ สิง่ แวดล้อม) และเมือ่ รวมกัน แล้ว สามารถท�ำให้เกิดพลังร่วมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ส่วนรวมได้” เพราะฉะนั้น วันนี้จะเน้นเรื่องตลาดหุ้นกับประโยชน์ ต่อสังคม ใครหลงอ่านมาถึงตอนนี้เพื่อหวังว่าจะเอาเคล็ดลับ หรือทีเด็ดไปเล่นหุน้ ก็ปดิ ไปได้เลยนะครับ (ถึงตอนนี้ ผมเดาว่าคง เหลือคนอ่านไม่ถึงครึ่งของเมื่อวาน) “ตลาดทุนมีไว้ท�ำไม?” เป็นค�ำถามทีผ่ มใช้ในการสัมภาษณ์ พนักงานภัทรหลายร้อยครั้งตลอดมา บ้างก็ตอบว่าเพื่อให้คนมี เงินกับคนต้องการเงินมาเจอกัน บ้างก็วา่ เพือ่ เป็นทางเลือกในการ ระดมทุน และอื่นๆ อีกสารพัด ซึ่งก็ถูกทั้งหมดแหละครับ แต่มุม มองก็มักจะคับแคบเสียจนน่าเขกหัวอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ ของน้องๆ เพราะหน้าที่ที่ส�ำคัญที่สุดของตลาดทุนตามค�ำนิยาม สากลคือ “เพื่อรวบรวม จัดสรร และติดตามดูแลทรัพยากรทาง เศรษฐกิจทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัด ให้ถกู ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุดอย่างยัง่ ยืน” โดยตลาดทุนเป็นกลไกหลัก (ไม่ใช่ทางเลือก) ร่วมกับตลาดเงินให้กับระบบเศรษฐกิจ “ทุนนิยม เสรีโลกาภิวัตน์” ซึ่งมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งในการท�ำให้เศรษฐกิจ โลกเติบโตต่อเนื่องมายาวนานกว่า 20 ปีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในประวัตศิ าสตร์ รวมถึงท�ำให้ทรัพยากรและความเจริญแผ่กระจาย ไปทัว่ โลก แล้วก็มสี ว่ นไม่นอ้ ยในวิกฤตเศรษฐกิจทุกครัง้ โดยเฉพาะ วิกฤตซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้ว กว่าผมจะเข้าใจค�ำนิยามที่ว่า ก็เมื่อท�ำงาน ไปแล้วกว่า 10 ปี เพราะวันหนึ่งเกิดสงสัยขึ้นมาว่า วันๆ กูท�ำ ประโยชน์อะไรให้กับโลกบ้างวะ นอกจากคอยยุให้คนซื้อขายหุ้น เขียน 27


แล้วก็กินค่านายหน้าจากเขา แต่เชื่อไหมครับ พอผมเข้าใจหน้าที่ บทบาท และประโยชน์ของตลาดทุนตามนิยามทีว่ า่ การท�ำงานของ ผมก็สนุกขึ้นอย่างมากมายตลอด 25 ปีที่ผ่านมา มีประสิทธิภาพ มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจมากขึ้นว่าได้ท�ำประโยชน์ให้กับ สังคมบ้าง ในขณะที่ตัวเองก็มั่งคั่งขึ้น เรียกได้ว่าประโยชน์ตนกับ ประโยชน์ท่าน มันไปกันได้ดีทีเดียว ส�ำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2529 ที่ตลาดหุ้นเริ่มฟื้นตัว หลังจากซบเซามา 7 ปีจากวิกฤต “ราชาเงินทุน” เนื่องจากกระแส “โลกาภิวัตน์” มันก็ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศอย่างอเนกอนันต์ หาได้เป็นเพียงประโยชน์ของคนรวยส่วนน้อยอย่างที่บาง คนเข้าใจไม่ อาทิเช่น • ตลาดหุ้นระดมทุนให้กิจการต่างๆ มาแล้วกว่า 3 ล้าน ล้านบาท ท�ำให้เกิดการลงทุนกว่า 6 ล้านล้านบาท ก่อให้เกิด การผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้น การพัฒนาดังกล่าวได้ยกระดับ อุตสาหกรรมของประเทศเข้าสู่ระดับของประเทศพัฒนาแล้ว • ท�ำให้มกี ารพัฒนาทัง้ เทคโนโลยี ประสิทธิภาพ การบริหาร จัดการ รวมทัง้ บรรษัทภิบาล ผ่านแรงกดดันจากนักลงทุนคุณภาพ โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ • ท�ำให้เกิดบรรษัทขนาดใหญ่สัญชาติไทยขึ้นมากมาย ซึ่ง ก่อนหน้านั้น การลงทุนขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องรอฝรั่ง รอ ญี่ปุ่น รอพวกนายธนาคาร หรืออย่างเก่งก็รอบริษัทปูน (ก่อนปี 2533 พวกบริษัทชินวัตร ซีพี เซ็นทรัล บ้านปู ฯลฯ ล้วนแต่ยังเป็น SME แต่เพราะมีตลาดห้นุ จึงขยายเป็นบรรษัทขนาดใหญ่อย่างใน ทุกวันนี้) • เมือ่ เกิดวิกฤตในปี 2540 ก็ได้ตลาดหุน้ นีแ่ หละทีช่ ว่ ยเป็น ตัวกลางในการระดมทุนเพือ่ แก้วกิ ฤต ไม่อย่างนัน้ ธนาคารทุกแห่ง 28 บรรยง พงษ์พานิช


คงต้องเป็นของรัฐจนถึงทุกวันนี้ (ซึ่งรับประกันได้เลยว่า “ไม่ห่วย ก็ชวั่ ”) และบริษทั มากมายก็ได้ระดมทุนไปซ่อมแซมความเสียหาย จนกลับมาตั้งตัวได้อีก ตลาดทุนไทยนับได้วา่ พัฒนาได้ดตี ามสมควร เมือ่ เทียบกับ ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ทั้งหลาย ตลอด 25 ปีที่ผ่าน มา ตลาดทุนมีสว่ นอย่างมากในการช่วยเปลีย่ นสภาพเศรษฐกิจให้ เข้าสูเ่ ศรษฐกิจสมัยใหม่ (Modern Economy) แต่ถงึ อย่างนัน้ ก็ยงั มี ข้อบกพร่องทีต่ อ้ งปรับปรุงอีกมาก โดยเฉพาะเรือ่ งต้นทุนทางการ เงิน การจัดสรรทรัพยากรอย่างทั่วถึงและเหมาะสม และการปรับ ตัวเพื่อรองรับพลวัตต่างๆ อย่างมีความพร้อม ผมค่ อ นข้ า งมั่ น ใจว่ า ปั จ จั ย ที่ ส�ำคั ญ อย่ า งหนึ่ ง ซึ่ ง ท�ำให้ ประเทศไทยติด “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” (Middle-Income Trap) ก็ เ พราะตลาดการเงิ น ของเราท�ำหน้ า ที่ ไ ด้ ไ ม่ ส มบู ร ณ์ เพียงพอ วันนี้ว่ามายืดยาว และไม่น่าจะเป็นประโยชน์กับ “นักเล่น หุ้น” สักเท่าไร แต่หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบอาชีพ ที่เกี่ยวข้อง เพราะเดี๋ยวนี้เราชอบกระโดดไปที่ผลลัพธ์ผิวเผิน ชอบออกนอกกรอบ โดยไม่ค่อยสนใจศึกษาว่าในกล่องและใต้ กล่องนั้นมีอะไร 8 มิถุนายน 2556

เขียน 29


หุ้นตกหนักอีกแล้ว

วันนีห้ นุ้ ตกหนักอีกแล้ว ... คงเป็นเพราะฝรัง่ ขายอีกตามเคย เพราะเขาเข้ามาด้วยการอัดเงินเข้าระบบอย่างไม่บนั ยะบันยังตาม มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing - QE) ของ ทั้งสหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรป และญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นเพราะการ เปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐานจนดีเด่นขึ้นอย่างมากมาย ท�ำให้นัก วิเคราะห์ทงั้ หลายต้องพยายามหาเหตุผลมายืนยันราคาทีส่ งู ขึน้ กัน ทุกด้าน ทั้งคาดการณ์การเติบโตของก�ำไรให้สูงขึ้น ไปจนกระทั่ง ลดอัตราคิดลด (Discount Rate) ตั้งร้อยละ 2-3 ทั้งๆ ที่ดอกเบี้ย นโยบายลดลงแค่ร้อยละ 0.25 แถมผลตอบแทนจากพันธบัตร (Bond Yield) ก็กระดกหัวขึ้นอีกต่างหาก อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่า ตลาดหุ้นไทยเป็นส่วนหนึ่งของ ตลาดโลกอย่างแยกไม่ได้ ความผันผวนในตลาดก็จะเป็นไปตาม ภาวะของตลาดภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เวลาตลาดตก เคยมีผู้ใหญ่พยายามบอกนักลงทุนไทยว่า “อย่าขาย” หรือไม่ก็ยุให้ “เข้าซื้อ” นัยว่าจะได้ของถูกจากพวกฝรั่ง 30 บรรยง พงษ์พานิช


เสียที แล้วก็จะได้ไถ่ตลาดหุน้ ไทยกลับคืนมาจากต่างชาติดว้ ย การ ยุอย่างนี้ต้องคิดให้ดีก่อนที่จะเชื่อนะครับ เพราะในยุคโลกาภิวัตน์ เงินไม่มสี ญ ั ชาติ แถมฝรัง่ ก็ถอื หุน้ ไทยอยูก่ ว่า 3 ล้านล้านบาท ถ้าคน ไทยเข้าไปซื้อแทนแค่ครึ่งเดียว เราก็จะได้เห็นวิกฤตสภาพคล่อง (Liquidity Crisis) ในอุตสาหกรรมธนาคาร และค่าเงินบาทคง ไหลไปอยู่ที่ 40 บาทต่อเหรียญ สมใจนึกของผู้ส่งออก ยิ่งถ้ามี การตั้งกองทุนพยุงหุ้น ก็ยิ่งเป็นการช่วยให้พวกฝรั่งขายของได้ ในราคาแพง เพราะฉะนั้น เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด อย่า ไปแทรกแซง แล้วก็คอยจัดการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งที่ผม นึกออกก็เช่น • ความมั่งคั่งจะหายไปบ้าง ส่งผลกระทบต่อการออมในวง กว้างบ้างเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่จะกระทบกับคนรวย • การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น คอนโดฯ รถจดประกอบ ฯลฯ จะลดลง แต่ก็จะช่วยลดความร้อนแรงของภาวะฟองสบู่ได้ • กิจการอาจระดมทุนยากขึ้นและมีต้นทุนสูงขึ้น แต่โดย ส่วนใหญ่แล้ว บมจ. มีฐานะทางการเงินทีเ่ ข้มแข็ง ท�ำให้ยงั สามารถ ลงทุนเพิ่มได้โดยง่าย ผลพลอยได้จากภาวะกระตุกหลังจากทะยานต่อเนือ่ งมาพัก ใหญ่ในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้เรารู้ซึ้งถึงค�ำว่า “การลงทุนมีความ เสี่ยง” มากขึ้น และหวังว่าน้องเก่งๆ ที่มาเป็น “VI” จะหันกลับไป ท�ำอะไรที่สร้างผลผลิตบ้าง ไม่ใช่หวังแต่จะ “ได้ง่าย ได้เร็ว” จาก ตลาดหุ้นถ่ายเดียว เวลาหุ้นตกอย่างนี้ หนังสือพิมพ์ทั้งหลายก็มักประโคมข่าว แล้วก็จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายท่านมาปลอบนักลงทุนไทยว่าอย่า ตืน่ ตระหนก แต่ทยี่ งิ่ งงหนักก็คอื ทีบ่ อกว่า เมือ่ ปีทแี่ ล้วฝรัง่ ซือ้ สุทธิ เขียน 31


75,000 ล้านบาท ปีนี้ขายไปแล้ว 50,000 ล้านบาท เหลือให้ขาย อีกนิดเดียวเอง อย่ากลัว แหม ... ท�ำอย่างกับว่าฝรั่งเล่นหุ้นกันเป็นรอบๆ เหมือน เสี่ย เหมือนเจ๊ นักท�ำหุ้น ความจริงแล้ว ฝรัง่ ถือหุน้ ไทยอยูก่ ว่า 100,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ ทีข่ ายไปปีนยี้ งั ไม่ถงึ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือแค่รอ้ ยละ 2 ของทีถ่ อื อยูท่ งั้ หมด ถ้าเขาขายจริง แนวรับที่ SET Index เท่ากับ 900 จุดก็เอาไม่อยู่ วิธีดูทิศทางของฝรั่งอย่างง่ายๆ ที่ผมใช้ก็คือ ให้ดูยอดซื้อ ขายสุทธิเทียบกับยอดซื้อ เช่น เมื่อวานมีซื้อ 10,000 ล้านบาท ขาย 14,000 ล้านบาท ยอดขายสุทธิ 4,000 ล้านบาท ซึง่ ไม่ถงึ ครึง่ ของยอดซือ้ อย่างนีไ้ ม่เรียกว่าไปทางเดียวกัน เพราะว่ายังมีคนซือ้ อยู่ ฝรั่งเขาไม่ซื้อขายภายในวันเดียวกัน พวกซื้อขายเร็วก็มีน้อย เพราะต้นทุนธุรกรรม (Transaction Cost) ของเราแพง ถ้าขาย ทางเดียวต้องอย่างเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ที่ ธปท. ประกาศ ใช้มาตรการควบคุมเงินทุน (Capital Control) หรือเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งเป็นผลมาจาก “วิกฤตซับไพรม์” (Subprime Crisis) ครับ ช่วงนี้เขาเพียงแต่ปรับน�้ำหนักในพอร์ตเท่านั้นเอง 11-12 มิถุนายน 2556

32 บรรยง พงษ์พานิช



ตลาดหุ้นที่ดีเป็นอย่างไร

วันนีห้ นุ้ ขึน้ แถมฝนก็ไม่มวี แี่ ววว่าจะตก ... ชาวประชาชืน่ มืน่ จึงขอว่าเรื่องตลาดทุนในแง่วิชาการอีกวัน ผมเคยบอกไว้ว่า “ตลาดทุนเป็นกลไกหลักในการรวบรวม จัดสรร และติดตามดูแลทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีอยู่จ�ำกัด ให้ มีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล” ระบบทุนนิยม เสรี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) จึงต้องใช้ตลาดทุนท�ำหน้าที่ส�ำคัญยิ่งยวดนี้ ประเทศ ที่เคยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากศูนย์กลาง (Centrally Planned Economy) แล้วไม่ได้ผลทั้งหลาย เช่น จีน รัสเซีย ยุโรป ตะวันออก เวียดนาม ลาว เขมร แม้กระทั่งพี่หม่องข้างบ้านเรา ต่างก็เปลี่ยนมาใช้ระบบตลาดกันทั้งนั้น ซึ่งมีสิ่งที่ต้องท�ำหลักๆ อยู่ 2 อย่าง คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างขมีขมัน เพื่อคืน ทรัพย์สินและกิจการให้กับ “ตลาด” กับการจัดตั้งและพัฒนาตลาด การเงินอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นช่องทางในการรวบรวมและจัดสรร ทรัพยากร ซึ่งบ้านเราดูจะท�ำตรงข้ามด้วยการเพิ่มบทบาทของรัฐ 34 บรรยง พงษ์พานิช


โดยให้รัฐยึดกิจการที่ตลาดด�ำเนินการอยู่ดีๆ มาท�ำ “เสีย” เอง (ก็ นโยบายจ�ำน�ำข้าวไง) แถมแผนพัฒนาตลาดทุนทีม่ อี ยูก่ ด็ �ำเนินการ ด้วยความอืดเสียยิ่งกว่าเรือเกลือ แล้วตลาดทุนที่ดีควรเป็นอย่างไร? ค�ำถามนีต้ อบได้งา่ ยมาก ตลาดทุนทีด่ คี วรมีคณ ุ สมบัตดิ งั นี ้ • มีความสามารถในการรวบรวมทรัพยากรจากแหล่งที่ เหมาะสมได้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งของเราก็ถือว่ารวบรวม ได้มากอยู่ (มูลค่าของตลาดหลักทรัพย์มากกว่า GDP) แต่มาจาก แหล่งทุนที่เหมาะสมหรือไม่ ยังเป็นที่กังขา เพราะเราสร้างนัก ลงทุนสถาบันได้ค่อนข้างช้า (น้อยกว่าร้อยละ 8 ของตลาด) ท�ำให้ ต้องพึ่งพาต่างชาติมากจนปวดกบาลอยู่นี่ไง ยิ่งสมัยก่อนวิกฤต ยิ่งแล้วใหญ่ เราเคยกู้เงินระยะสั้นมากว่า 100,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ เพือ่ มาลงทุนระยะยาวกับทรัพย์สนิ ทีไ่ ม่มรี ายได้เป็นเงินตรา ต่างประเทศ พอเขาขอคืนเมื่อปี 2540 ก็เลยฉิบหายห่าลง เพราะ “ต้มย�ำกุ้ง” เป็นพิษ นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการระดมทุนมา จากแหล่งที่ไม่เหมาะสม • ต้นทุนทางการเงินจะต้องแข่งขันกับตลาดอื่นได้ เรื่องนี้ มีความส�ำคัญมาก เพราะประเทศจะพัฒนาได้ ต้องลงทุน เพื่อ เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนเข้มข้น (Capital Intensive Industry) ซึง่ ไม่เคยมีสตู รอืน่ ถ้าต้นทุนทางการ เงินสูงกว่ามาก ก็แพ้ตั้งแต่ในมุ้ง หรือไม่ก็ต้องไปกดต้นทุนอย่าง อื่น เช่น ค่าแรงและค่าวัตถุดิบ เป็นการถ่างความเหลื่อมล�้ำที่มีอยู่ ให้กว้างออกไปอีก ต้นทุนการเงินที่ว่ามีอยู่ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ “อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการ” (Required Rate of Return) ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่างๆ เช่น ความ เขียน 35


เสี่ยงของประเทศ ความเสี่ยงของอุตสาหกรรม ความเสี่ยงของ กิจการ ความเสีย่ งของสภาพคล่อง ไปจนถึงความเสีย่ งของค่าเงิน ทีส่ �ำคัญ ถ้าตลาดไหนมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากและหลากหลาย ก็จะช่วยลดความเสีย่ งได้ วิธดี ตู น้ ทุนง่ายๆ ก็ดทู อี่ ตั ราส่วนราคาหุน้ ต่อก�ำไรสุทธิต่อหุ้น (Price-Earnings Ratio - P/E) ถ้าตลาดไหน มี P/E สูงกว่า ก็มักจะมีต้นทุนการเงินต�่ำกว่า ส่วนที่ 2 คือ “ต้นทุนธุรกรรม” ซึ่งรวมมาเรื่อยตั้งแต่ค่า นายหน้า ค่าธรรมเนียม ต้นทุนในการท�ำข้อตกลง ค่ารับฝาก ทรัพย์สิน ที่น่าตลกคือ เรามีส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อขาย (Bid-Ask Spread) กว้าง ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนธุรกรรมอย่างไร้ สาระที่สุด ต้ น ทุ น ทางการเงิ น ทั้ ง สองส่ ว นในตลาดทุ น บ้ า นเรา แม้ จ ะต�่ ำ ลงเรื่ อ ยๆ แต่ ก็ นั บ ว่ า ยั ง สู ง กว่ า ตลาดที่ พั ฒ นาแล้ ว อยู่ไม่น้อย เสียดายที่ทางการและผู้เกี่ยวข้องไม่ค่อยเข้าใจและ ไม่ให้ความส�ำคัญกับการปรับปรุง ตัวอย่างเช่น ส่วนต่างระหว่าง ราคาเสนอซือ้ ขายทีว่ า่ แก้ได้งา่ ยนิดเดียว แต่กไ็ ม่ยอมแก้กนั นัยว่า เดี๋ยวรายย่อย “ไม่ตื่นเต้น” • มีความสามารถในการจัดสรรเงินทุนได้ดี ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน ด้วยกัน คือจัดสรรได้ถูกต้อง และจัดสรรได้ทั่วถึง “จัดสรรได้ถูกต้อง” หมายถึงเอาไปให้คนที่ควรได้ คนที่มี ศักยภาพในการแข่งขัน คนที่ไม่โกง ไม่ขี้ฉ้อ และคนที่ใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ (เช่น เอาไปให้ SCG อย่าเอาไปให้ PICNIC หรือพวก นักปั่นนักท�ำ) ซึ่งหน้าที่ในส่วนนี้เป็นของนักวิเคราะห์ นอกจากนี้ เงินทุนทีม่ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์ จะท�ำให้การจัดสรรทรัพยากร ของระบบเศรษฐกิจเป็นไปได้ดี แถมยังช่วยกดดันให้มีการพัฒนา เทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ซึ่งแน่นอนครับ 36 บรรยง พงษ์พานิช


ว่านักลงทุนสถาบันท�ำหน้าที่นี้ได้ดีกว่านักลงทุนบุคคลมาก ด้วย เหตุนี้ ตลาดที่พัฒนาแล้วจึงมีสัดส่วนทั้งการถือครองและการ ซื้อขายของสถาบันมากกว่าบุคคลหลายเท่าตัว ส่วนเรือ่ ง “จัดสรรได้ทวั่ ถึง” นัน้ นักลงทุนสถาบันทัว่ ไปจะไม่ ค่อยสนใจ เพราะอีจะลงแต่หนุ้ ใหญ่ลกู เดียว จึงต้องให้หน้าทีน่ เี้ ป็น ของธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital – VC) ซึง่ คอยดูแล SME ทั้งหลาย แต่น่าเสียดายที่ VC เมืองไทยอาภัพนัก เราเริ่มพัฒนา พร้อมกับมาเลเซีย แต่เวลานี้เรามี VC รวม 800 ล้านบาท ขณะที่ เขามีมากกว่า 100,000 ล้านบาท ที่เป็นอย่างนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะ เรารับหุ้นเล็กหุ้นน้อยเข้าตลาดโดยให้สิทธิประโยชน์มากมาย จนท�ำให้ VC หาบริษัทที่จะลงทุนด้วยไม่ได้ และหุ้นเล็กหุ้นน้อย เหล่านั้นก็ตกเป็นเหยื่อของ VI และนักปั่นนักท�ำทั้งหลาย • มีกระบวนการติดตามดูแลให้ทรัพยากรที่จัดสรรไปถูกใช้ งานอย่างดี หน้าทีน่ ตี้ กเป็นของบรรษัทภิบาล (Corporate Governance – CG) ซึง่ จะต้องสามารถ “ให้คณ ุ ” และ “ให้โทษ” ได้ เพราะ ทุนนิยมเป็นเรือ่ งของแรงจูงใจ และท�ำให้เกิดกระบวนการกระจาย ทรัพยากรใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องส�ำคัญของระบบเศรษฐกิจ เชือ่ ไหมครับว่า ตลอด 25 ปีทผี่ า่ นมา บล. ภัทรมีอดุ มการณ์ มุง่ ประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ตลาดทุนทีด่ ที กุ อย่าง เสมอมา เราจะไม่ยอมท�ำธุรกิจที่ส่งผลร้ายต่ออู่ข้าวอู่น�้ำของเรา เช่น การร่วมมือกับนักปั่นนักท�ำ หรือยอมให้ลูกค้าที่เป็นบรรษัท ของเราย่อหย่อนเรื่อง CG ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัจจัยส�ำคัญที่สุด และ ท�ำให้เราเจริญขึน้ อย่างยัง่ ยืนตลอดมา ไม่ใช่เพราะความเก่งความ เท่ของใคร 14 มิถุนายน 2556 เขียน 37


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.