ใต้โชคร้ายยังมีโชคดีแทรก

Page 1



คำ�นำ� หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องมะเร็งในแง่มุมของความรู้สึกที่เป็นสุข (passion) แม้จะสุขเป็นขณะๆ หรือเป็น ช่วงๆ ทั้งๆที่อยู่ในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ แทนการบอกเล่าถึงความโหดร้ายของมะเร็งซึ่งหาอ่านได้ไม่ยากนัก ผู้ เขียนก็อ่านมาก่อนบ้างและคิดว่าจะอ่านมากขึ้นแต่ต้องรอให้เวลาผ่านไปก่อน คิดว่าคนเป็นมะเร็งน้องใหม่ควร ได้รับข้อมูลด้านบวกมากสักหน่อยเพราะแม้จะไม่สามารถมองอะไรให้เป็นกลางได้อย่างแท้จริงแต่อาจทำ�ให้มอง เรื่องลบให้ลบน้อยลง ดีกว่ามองให้ลบเสียหมดสิ้น ใจเป็นทุกข์แล้วจะเอากำ�ลังใจ และแรงบันดาลใจที่ไหนมาต่อสู้ กับโรค เมื่อเกิดความรู้สึกที่เป็นสุขนั้น ในความว่างเราจะสามารถมองย้อนเข้าไปพบกับความภาคภูมิใจ (pride) เล็กๆ ปนอยู่ในทุกเสี้ยวของเรื่อง เราอาจเป็นส่วนหนึ่งในนั้น เราอาจมองเห็นสิ่งนั้น อาจเคยบอกเล่า สัมผัสและ สะท้อนออกมาได้ หากสามารถนำ�มาประมวลเป็นเรื่องราวของกันและกัน แสดงเหตุ แสดงผล ก็เป็นบ่อเกิดของ การสร้างแรงใจในอันที่จะระลึกได้ว่า การได้ก้าวผ่าน ก้าวพ้นมะเร็งนั้น เป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่มาก ขณะที่กำ�ลังพยายามวิ่งผ่านมะเร็งด้วยสติ พยายามรู้ พยายามเข้าใจ มีหลายสิ่งในใจ ในห้วงคิด ทำ�ให้ ผู้เขียนระลึกถึง สิ่งที่ติดค้่างพึงสะสางก็ได้สะสางแล้ว สิ่งที่ต้องฝากผู้อื่นสานต่อก็ได้ฝากแล้ว สิ่งเคยทำ�ผิดต่อผู้อื่น ทัง้ โดยตัง้ ใจและไม่ตง้ั ใจก็ได้ตง้ั จิตเพือ่ ขออภัยแล้ว สิง่ ตรึงตราใจว่าถูกกระทำ�ก็ผอ่ นคลาย ให้อภัยและให้อโหสิกรรม อย่าได้มีสิ่งใดติดค้างซึ่งกันและกันอีก


และแม้ผเู้ ขียนอยากผูกตนเองไว้กบั ผูใ้ ด กลุม่ ใด ด้วยแรงอธิษฐานจิตว่าเราจะเจอกันด้วยความรักอย่างยิง่ ในวัน เวลา ชาติภพที่เหมาะสม แต่ในปลายของชีวิตหลังมะเร็ง อาจยาว อาจสั้น ผู้เขียนปรารถนาที่จะดำ�รงชีพ ด้วยความรัก ความสุข และจะไม่ยึดติดในวันที่ต้องจากกันไปอย่างแท้จริง ชีวิตหลังมะเร็งจึงควรเป็นชีวิตที่ดีงาม “เพื่อผู้อื่นมิใช่เพื่อตน” ด้วยอำ�นาจของสิ่งใดก็ตาม ขอให้เกิด กำ�ลังใจในการทำ�ความดี และขออโหสิกรรมแต่ทุกผู้ทุกนามที่ผ่านเข้ามาในชีวิต จงหลุดพ้น อย่าได้ย้อนกลับมา เป็นเจ้ากรรมนายเวรกันอีก หากหนังสือเล่มนี้มีเกิดประโยชน์แก่ผู้ใด ขอให้ได้คิดเป็นว่าเป็นสิ่งที่ท่านควรได้รับประโยชน์นั้นด้วย กุศลกรรมที่ท่านทำ�ไว้ในแต่อดีต


สารบัญ

บทที่ 1 เหตุเกิด

บทที่ 2 กำ�ลังใจที่เข้มแข็ง 9

บทที่ 3 เพื่อนร่วมโรค

17

บทที่ 4 ง่ายในวันนี้มาจากยากในวันก่อน

25

บทที่ 5 ให้ลูกได้มีโอกาสตอบแทน

35

บทที่ 6 โชคดีที่ได้ยินเสียงสวรรค์

41

บทที่ 7 สิ่งที่สะสมไว้

49

บทที่ 8 สิ่งที่ต้องทำ� ณ ปัจจุบัน

55

บทที่ 9 บทสรุป

63

บทที่ 10 สะท้อนคิดเป็นบทเรียน

67

1



บทที่ 1 เหตุเกิดมีเพียงนี้ เมื่อประมาณกลางเดือน พ.ย. 2557 ผู้เขียนปวดหลังมาก ได้ใช้บริการจัดกระดูกและหลังจากนั้นเดินเอง ไม่ได้ไป 3 - 4 วัน ใช้ไม้เท้าหรือเกาะคนข้างเคียง แต่สว่ นมากต้องนอน และเนือ่ งจากมีภารกิจต้องเดินทางไปประชุม ที่มาเลเซียซึ่งได้จัดตารางไว้ล่วงหน้านานแล้ว จะไม่ไปก็คงไม่ดีเลยพยายามอย่างยิ่งที่จะช่วยตนเองให้สามารถ ลุกขึ้นเดิน ขึ้นรถได้ จากนั้นตั้งใจจะใช้บริการรถเข็นตลอดเส้นทาง ที่มาเลเซีย ไม่รู้สึกแปลกแยกเพราะในที่ประชุมมีผู้ใช้รถเข็นและใช้ไม้เท้าหลายราย ไปไหนมาไหนก็มีคน ให้ความช่วยเหลือ เอายา เอาแม่เหล็ก เอาผ้าวิเศษ มาให้ทดลองใช้ อยู่ 3 - 4 วันและกลับมาบ้านได้โดยปลอดภัย เมือ่ ถึงบ้า่ นถึงคราวทีจ่ ะต้องหาหมอเป็นจริงเป็นจังเสียที จึงไปพบหมอเชีย่ วชาญกระดูกสันหลัง ทราบว่า เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกสันหลังก็หดลงเล็กน้อยเป็นธรรมดา อาการไม่หนักหนาสาหัส ไม่ต้องทำ�อะไร ไม่เกี่ยวกับ จัดกระดูก หมอให้ยามาทาน 2-3 ชนิด สองวันต่อมาไปทำ�งานที่มหาวิทยาลัยพะเยา ระหว่างเป็นวิทยากรได้ 2 ใน 3 ชม. ชั่วโมงบรรยายจัดให้ เป็นการคุยกันเป็นชัว่ โมงทีส่ นุก กระทัง่ เลยเวลาพักเล็กน้อยจึงให้ผเู้ ข้าประชุมพัก และให้เจ้าหน้าทีพ่ าไปเดินชม สถานที่ ถ่ายรูป ดูงานที่ประสงค์จะดู ผู้เขียนพอมีเวลาปลีกตัวเข้าห้องน้ำ� และพบว่ามีเลือดจำ�นวนมากออกมา พร้อมปัสสาวะ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

1


ตัดสินใจรีบเดินทางกลับบ้านเชียงใหม่ในทันที แจ้งหมอให้ทราบ หยุดยาทุกชนิด ดื่มน้ำ�มากเท่าที่จะ ดื่มได้ นอนพัก ไม่มีกิจกรรมอื่นใด ขณะนั้นเข้าใจว่าอาจมีอาการข้างเคียงของยาตัวใดตัวหนึ่งที่อาจเป็นพิษต่อไต มีเลือดออกอีก 2 ครัง้ ในตอนดึกและเช้า จากนัน้ หายไป นอนพักหนึง่ สัปดาห์เต็ม อาการดีขน้ึ ไปทำ�งานได้ตามปกติ กลางเดือนธันวาคม เกิดเหตุการณ์เดียวกันอีกคือปัสสาวะมีเลือดปน ไม่มากเหมือนครั้งแรก จึงดื่มน้ำ� แล้วนอน ทุกอย่างดีขึ้น ทำ�งานตามปกติ วันที่ 12 มกราคม 2558 ตอนเย็นมีเลือดออกทางปัสสาวะอีก จึงโทรศัพท์หาคุณหมอโรคไตตอนกลางคืน คุณหมอโรคไตที่แสนดีบอกว่า “อาจารย์หาห้องในโรงพยาบาลสวนดอกให้ได้ เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของหมอ” จากนั้นโทรศัพท์หาผู้อำ�นวยการ ท่านตอบว่า “อาจารย์นัดหมอไว้ให้ได้ เรื่องห้องเป็นเรื่องของผม” วันถัดมาไปตรวจร่างกายชุดใหญ่และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การตรวจในวันนั้น ประมาณว่า หากเป็นคนไข้รายอื่นอาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำ�กว่า 2 - 4 เดือน ทั้งตรวจเลือดทุกระบบ เอ็กซเรย์ปอด ไต ตรวจ อุลตราซาวด์ และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ วันนัน้ โชคดีภายในครึง่ วันหมอตรวจพบก้อนขนาดใหญ่ในอุง้ เชิงกราน คาดว่าน่าจะอยู่แทนที่มดลูกซึ่งเคยตัดทิ้งไปเมื่อ 23 ปีก่อน ก้อนเบียดด้านหลังกระเพาะปัสสาวะทำ�ให้ปัสสาวะ เป็นเลือด เบียดส่วนปลายสุดของลำ�ไส้ใหญ่ที่อยู่ไกล้เคียงและเบียดติดส่วนปลายของช่องคลอด กลุ่มหมอหารือกันระหว่างหมอโรคไต หมอโรคทางเดินปัสสาวะ หมอโรคลำ�ไส้ และหมอสูตินรีเวช วางแผนขั้นต้นว่าจะผ่าตัดเอาก้อนออกอย่างไร และเพื่อให้ได้ชิ้นเนื้อไปพิสูจน์พยาธิสภาพ แต่ยังไม่รู้ว่าหมออะไร จะเป็นพระเอก เพราะยังไม่ทราบว่าก้อนเกิดจากอวัยวะไหน มาเกาะเกี่ยวอยู่ในบริเวณนั้นได้อย่างไร แต่ขนาด ของมันโตใกล้เคียงกับขนาดของกระเพาะปัสสาวะ ประมาณ 10 ซม. แล้วซึ่งนับว่าใหญ่มาก 2 (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บ่ายนั้นได้คุยกับคุณหมอหลายท่านพร้อมกับคุณหมอวีระชัย จำ�เริญดารารัศมี (สามี) ซึ่งต่อไปคือผู้ที่ต้อง ตัดสินชะตาชีวติ ของผูเ้ ขียน คุณหมอเสนอให้ หมอนรีเวชนำ�ไปทำ�การตรวจภายในดูกอ่ นเผือ่ จะได้รอ่ งรอยเพิม่ เติม อย่างน้อยอาจรู้ว่าเลือดออกมาทางปัสสาวะทางเดียวหรือไม่ ทำ�ไมออกได้มากมายขนาดนั้น วันรุ่งขึ้นมีการตรวจ ภายในแต่เช้าผลจากการตรวจภายในพบว่า มีรอ่ งรอยของเลือดออกในช่องคลอดด้วยเหตุจากก้อนทีว่ า่ นัน้ คืบคลาน เข้ามา มีรอยแผลชัดเจน คุณหมอต่างปรึกษากันและตัดสินใจว่าเป็นโอกาสที่จะต้องตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ซึ่งตัดผ่าน บริเวณทีพ่ บร่องรอยจะง่ายกว่าการผ่าตัดผ่านหน้าท้อง บ่ายวันเดียวกันคุณหมอนรีเวชเลือ่ นงานปกติทต่ี อ้ งเร่งรัด มากอยู่แล้ว มาเข้าห้องผ่าตัดเพื่อตัดชิ้นเนื้อผ่านทางช่องคลอดด้วยตนเองไปพิสูจน์ และรอผลจากพยาธิแพทย์

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

3


ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาโดยปกติจะใช้เวลาหลายวันได้ถูกเร่งรัด ให้ทราบเบื้องต้นว่าเป็นเนื้อเยื่อผิด ปกติจากอวัยวะส่วนไหนของร่างกาย คุณหมอแผนกพยาธิวทิ ยาเร่งทำ�งานให้อย่างตัง้ ใจและรีบด่วน จนรูผ้ ลคร่าวๆ ว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำ�เหลือง (lymphoma) แต่ยังไม่ได้ยืนยันเป็นทางการ จะต้องตรวจวิธีพิเศษเพิ่มเติม เพื่อให้ รู้รายละเอียดมากขึ้นอีก และตรวจต่อไปอีกจนกว่าจะได้รายละเอียดทั้งหมด ซึ่งแต่ละขั้นตอนและวิธีการต้อง ใช้เวลา สุดท้ายจะได้รายละเอียดไปจนถึงระดับชนิดของเซลล์และโครงสร้างทางพันธุกรรม ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำ�ลังเตรียมงานรับปริญญา อธิการบดี (นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต) ทราบเรื่อง ด้วยความคุ้นเคยจึงหาเวลามาเยี่ยม และสั่งการด้วยตนเอง ท่านเป็นห่วงอย่างมากแม้ว่าทุกคนพร้อม จะผ่าตัดแต่ชวี ติ หลังผ่าตัดก็คงไม่งา่ ยนัก เมือ่ รูเ้ บือ้ งต้นว่าเป็นมะเร็งต่อมน�ำ้ เหลืองและน่าจะยังไม่กระจายไปไหน ท่านเป็นหมอโรคเลือดเข้าใจเรื่องราวได้เร็ว “ผมใจชื้นขึ้นมาเป็นกอง เรามีทางแล้วละ ...” ท่านโทรศัพท์ถึง ผู้เกี่ยวข้องชุดใหม่ซึ่งเป็นคุณหมออีกหลายท่านและขอร้อง “ผมขอให้ทุกคนไปทบทวนกรณีของอาจารย์โดยด่วน เย็นนี้จะมีการวางแผนการรักษาใหม่ เราจะโอนมาเป็นคนไข้แผนกโรคเลือดและน้ำ�เหลือง เราจะตรวจชิ้นเนื้อ ต่อไปให้ทราบในรายละเอียด เรื่องมะเร็งของต่อมน้ำ�เหลือง เป็นเรื่องที่พวกเรามีประสบการณ์ เย็นนี้จะมีหมอ ชุดใหม่มาเพิ่ม มาจากแผนกโรคเลือดและน้ำ�เหลือง อาจารย์รู้จักดีทั้งสองคน” เพียงสองชั่วโมงถัดมาคุณหมอ ท่านหนึ่งมาเยี่ยม แนะนำ�ตนเองและแจ้งว่า “เราวางแผนกันคร่าวๆแล้ว เราจะย้ายอาจารย์ไปอยู่ตึกผู้ป่วยของ อายุรศาสตร์นะครับ ห้องเล็กแคบและเก่ากว่าห้องนี้ แต่มีความสะดวกในการดูแลรักษาเพราะอาจารย์อาจต้อง อยู่กับเรานานหน่อยในช่วงต้น ...” 4

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ภายใต้โชคร้ายทั้งหลายทั้งปวงยังมีโชคดีอยู่เสมอ จากผลตรวจชิ้นเนื้อที่สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ พบว่ามะเร็ง เป็นชนิดบีเซลล์ลมิ โฟมา ชนิดทีร่ กั ษาให้หายขาดได้ในปัจจุบนั โดยหลายวิธกี าร และในทีส่ ดุ เลือกใช้เคมีบ�ำ บัด และ อาจปิดท้ายด้วยฉายแสง อย่างไรก็ตาม คุณหมอทุกแผนกที่เกี่ยวข้องยังคงให้ความดูแลอยู่สม่ำ�เสมอ มาเยี่ยม เยือนมิได้ขาดและมีหมอมาเยี่ยมดูแลเพิ่มเติมขึ้นตามความจำ�เป็น เมื่อเหตุเป็นที่ทราบ กระบวนการรักษาจึงเริ่มในทันที เริ่มด้วยการตรวจร่างกายทุกระบบให้พร้อมพอที่ จะรับยาเคมีบ�ำ บัดในช่วงเวลาของการเช็คตรวจร่างกาย พบว่าร่างกายพร้อมมาก กำ�ลังใจเป็นเลิศเพราะตลอดเวลา ทีท่ ราบผล ได้คยุ กับหมอทุกคนโดยตลอดจนลืมไปว่าก้อนทีว่ า่ นัน้ เป็นของตนเอง นึกว่าเป็นของคนไข้อื่น สามารถ จะให้ข้อมูลและหารือเรื่องทิศทางการรักษาร่วมกับหมอได้เป็นอย่างดี วันที่ 29 ม.ค. 2558 เป็นวันที่จะเริ่มให้ยาเคมีบำ�บัดครั้งแรก หลังจากเลือกยาอย่างดีที่สุด ด้วยวิธีการ รักษาทีด่ ที ส่ี ดุ ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชดิ มีคณ ุ หมอวีระชัยและคุณหมอชุตธิ ร (ลูกชาย ชื่อเล่นว่า ป่าน) ผลัดกันมาอยู่เป็นเพื่อนเสมอ ลูกสาวชื่อแพรทำ�งานอยู่กรุงเทพฯจะมาดูแลเมื่อว่าง ลูกชาย คนเล็กชื่อฝ้ายทำ�งานที่ดัลลัสมีบ้านและครอบครัวอยู่เมืองนิวเจอร์ซีในอเมริกา ต้องสื่อสารกันทาง line ทุกคน ให้ความอบอุ่นในครอบครัวเต็มที่ การให้ยาเคมีบำ�บัดครั้งที่หนึ่งผ่านไปด้วยดี ไม่แพ้ยา ไม่อาเจียน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว ได้รับยามา รักษาต่อทีบ่ า้ น เพราะสภาพร่างกายจะมีภมู คิ มุ้ กันทีต่ �ำ่ กว่าปกติ ไม่เหมาะทีจ่ ะสัมผัสเชือ้ โรคร้ายแรงใน โรงพยาบาล หรือโรคอันไม่ทราบเหตุจากมวลชน (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

5


ช่วงชีวิตต่อไปนี้ จะต้องให้ยาเคมีบำ�บัด 6 ชุด ฉีดยาทุก 21 วันประกอบด้วย steroid ในขนาดสูง ดังนั้น ร่างกายจะมีภมู คิ มุ้ กันในระดับต�ำ่ จึงต้องระมัดระวังการติดเชือ้ ทุกชนิดทัง้ จากภายนอกและเชือ้ ฉกฉวยจากภายใน ร่างกายของตนเอง ต้องพยายามควบคุมสิ่งแวดล้อมให้สะอาด รับประทานได้แต่อาหารสุก สะอาด พักผ่อนให้ เพียงพอ ใช้ชีวิตให้สบาย ไม่ให้เครียด สังเกตุตนเองเรื่องอาการข้างเคียงต่างๆ และพบหมอโดยด่วนเมื่อมีอาการ ติดเชื้อหรือมีเลือดออก ชีวิตประจำ�วัน นั่งสมาธิครั้งละ 1 ชั่วโมง วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นตามวิธีการของท่านโกเอ็นก้าซึ่งโชคดี มากทีเ่ คยไปเข้าอบรมไว้นานแล้วทีพ่ ษิ ณุโลกและปฏิบตั ติ อ่ เนือ่ งมา ช่วงเช้าหัดรำ�ชีก่ ง ใช้เวลาประมาณหนึง่ ชัว่ โมง และเพิ่มตอนเย็นเท่าที่สามารถ ทำ�งานบ้านได้ ทำ�งานบนคอมพิวเตอร์ได้ รับแขกได้อย่างมีความสุขวันละ 2 - 3 กลุ่ม จากเหตุที่เป็นอยู่นี้ ผู้เขียนมีหน้าที่ต้องประคับประคองชีวิตของตนเองให้รอดปลอดภัย ด้วยกำ�ลังใจที่ แข็งกล้า และความตัง้ ใจมัน่ ทีจ่ ะต้องมีชวี ติ รอดให้ได้ ในแต่ละวันทีผ่ า่ นมาจะเกิดความเปลีย่ นแปลงนานับประการ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสิ่งรอบตัวจึงได้พยายามบันทึกประจำ�วันไว้ส่วนหนึ่งเพื่อกันลืมและนำ�เอาบันทึกนั้นมา พินิจพิเคราะห์ว่าสิ่งที่เกิดกับตัวเรานั้นคืออะไร เป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้หรือไม่ นำ�มาเขียนเป็นบทความในแง่มุม ต่างๆ อาจเป็นคำ�พูด ความประทับใจ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่มีมากมาย คิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เพราะ จากประสบการณ์ในช่วงสั้นเพียง 20 วันหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำ�เหลืองไปจนถึงการตัดสินใจรับการ รักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันด้วยยาเคมีบำ�บัดพบว่าเต็มไปด้วยความรู้สึกนานาชนิด ต้องนึกขอบคุณโอกาสที่ 6

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


เป็นมะเร็งด้วยซ้ำ�ไปใครๆก็เรียกว่า “มะเร็งโรคร้าย” ยิ่งมะเร็งต่อมน้ำ�เหลืองจัดว่าเป็นชนิดที่มีอาการรุนแรง รวดเร็ว แต่ชีวิตที่ผ่านมาถูกหล่อหลอมด้วยความเป็นเภสัชกร ถูกฝึกให้ระลึกเสมอว่า “ยาทุกชนิดมีข้อดีและ ข้อเสีย” สามารถประยุกต์ใช้กับการดำ�รงชีวิตได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียหรือที่ใครๆ พูดว่า เหรียญย่อมมี สองด้าน หนังสือเล่มนี้ แม้จะพูดถึงเรื่องที่เป็นสองด้านแต่ผู้เขียนคิดว่าในช่วงของการดูแลตนเองจากนี้และ เรื่อยไป ความคิดในแง่บวกเป็นประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพได้ดีกว่าจึงจะพูดถึงมะเร็งโรคร้ายในแง่ดีเป็นหลัก เพราะตลอดเวลาผู้เขียนคิดเสมอว่า “ใต้โชคร้าย ยังมีโชคดีแทรก” (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

7



บทที่ 2 กำ�ลังใจที่เข้มแข็ง ใครๆก็บอกว่าการต่อสู้กับโรคมะเร็งนั้นต้องการกำ�ลังใจที่เข้มแข็งมาก และเป็นการสู่้เดี่ยว สู้ด้วยตนเอง ตนเองจึงต้องเป็นหลักใหญ่ มนุษย์จะเอากำ�ลังใจมาจากไหนกันหนอเพราะเมื่อจะเป็นก็มิได้มีอะไรมาบอกเหตุ จู่ๆ ก็มาและเมื่อป่วยก็มิได้คาดหวังว่าคำ�ตอบคือ โรคมะเร็ง ผู้เขียนก็เช่นเดียวกับคนอื่นๆ เริ่มจากการเจ็บหลัง ไกลกันคนละเรื่อง แต่มิได้หมายความว่าไม่ระวัง ด้วย ความที่เป็นครอบครัวของหมอเคยคุยกันอยู่เสมอว่าให้คอยระวังเรื่องก้อนเนื้อ เคยคลำ�แต่ไม่เจอ ใจจึงมิได้คิดถึง เรื่องนี้ให้เป็นกังวลนัก คิดแต่เพียงว่าเป็นอะไรก็รักษาไปตามนั้น เมื่อไปตรวจจึงมีความพร้อมในใจเป็นทุนพอ สมควรเพราะออกจะมั่นใจว่าเป็นอะไรก็รักษาได้และจะมีชีวิตรอด เมื่อแรกทราบว่ามีก้อนอยู่ในอุ้งเชิงกรานจำ�ได้ว่าความใส่ใจในขณะอยู่ที่ “ก้อน” สติอยู่ที่ก้อนและสมาธิ ก็อยู่ที่ก้อน เพียงแค่คิดตามไปว่า ก้อนอะไร มาได้ยังไง หมอว่ายังไง ใจมิได้วิตกกังวลราวกับว่าก้อนนั้นไม่ได้ เกีย่ วข้องกับเรายังไม่ได้ท�ำ อะไรเราเลย นับเป็นโชคทีส่ ติและสมาธิในขณะนัน้ พาจิตออกไปนอกตัว ทำ�ให้ไม่ตกใจ ไม่ผวา มานึกย้อนในตอนหลังและเข้าใจเอาเองว่าเพราะวินาทีแรกที่ผู้เขียนรู้จักกับก้อนนั้น จิตไม่ได้ติดกับกาย แต่ติดที่ก้อนแทน ที่นั่นคงเป็นทางหลายแพร่ง สุดแท้แต่ตัวเราจะคิดไปทางใด คิดให้วิตกคงต้องวิตก คิดเป็นอื่น ก็คงเป็นอื่น (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

9


ความรู้สึกแรกน่าจะเป็นจุดเริ่มที่สำ�คัญอย่างหนึ่ง หากวิตกเส้นทางแห่งใจคงไปผิดทาง ประหนึ่งว่ากำ�ลัง เจอทางหลายแพร่งและการเลือกเส้นทางนั้นเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยสงบมิได้เกิดจากการบังคับตนเองในช่วงต้น เพียงแค่สติติดอยู่ที่ “ก้อน” เท่านั้น ตลอดวันแห่งการตรวจร่างกายได้รับฟังข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ เป็นวิชาการ เป็นเหตุผล เป็นความเห็น ที่จะทำ�ให้การวินิจฉัยและการรักษามีประสิทธิภาพ ไม่เป็นอะไรที่วิตกทุกข์ร้อนเกินเหตุ และเป็นความยินดีที่จะ ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มเปี่ยม เป็นอะไรสักอย่างที่ “พูดตรง ไม่ปิดบัง และรับได้” ทำ�ให้จิตใจและความคิด ไม่รู้สึกว่าตนเองกำ�ลังเป็นคนไข้หนักเลย ไม่รู้สึกว่าตนเองจะปวดที่นั่นที่นี่ เพียงตั้งสติและสมาธิอยู่ที่ “ก้อน” และ ความเป็นไปของก้อน

10

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


หลายประโยคในวันนัน้ ทัง้ วันจากเกือบทุกคน เป็นคำ�พูดทีอ่ บอุน่ เป็นต้นว่า นพ.ดิเรก บรรณจักร “ไหนๆ มาตรวจ วันนี้เราตรวจไปทุกระบบเลยนะ นอกเหนือจากที่ผมตรวจร่างกายเบื้องต้น ซึ่งเห็นว่าอาจตึงๆ บริเวณนี้ นิดหน่อย แต่ผมจะตรวจเลือด เอ็กซเรย์พื้นฐาน อุลตราซาวน์ไปเลยนะครับ” ใจก็เออออตามคุณหมอไปด้วยได้ คิดว่าเราจะได้รับการตรวจละเอียดเพื่อให้มีข้อมูลพื้นฐานที่สมบูรณ์ บริการพิเศษที่ได้รับเพิ่มเติมอีก คือ มีเจ้าหน้าที่หน่วยสร้างเสริมสุขภาพพาไปทุกที่ โทรศัพท์แจ้งกัน ล่วงหน้า ทำ�ให้ใช้เวลารวดเร็วมาก ต้องขอบคุณในบริการที่อบอุ่นนี้เช่นกัน เป็นวันที่ไม่โดดเดี่ยวเลยแม้แต่น้อย คิดในใจเหมือนกันว่าความโดดเดีย่ วอาจเป็นอุปสรรคทีส่ �ำ คัญในการฝ่าฟันความยุง่ ยาก แค่เส้นทางในโรงพยาบาล ก็ยากแก่การที่เดินไปตรวจหรือไปพบหมอในแต่ละห้องแล้ว ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก ช่วงทำ�การตรวจอุลตราซาวด์ (คลื่นเสียง) “อาจารย์ครับ ผมคิดว่า มันคล้ายมีก้อน ในบริเวณนี้นะครับ แต่ผมจะขออนุญาตไปชวนอาจารย์มาช่วยกันดูอกี ทีนะครับ” ด้วยความทีจ่ ติ ไม่ตกอยูแ่ ล้ว ขณะนัน้ ยังมีความรูส้ กึ ว่าดีจริงมีการหาความเห็นที่สองให้ด้วยเพื่อความแม่นยำ� เป็นความรู้สึกที่ดี “อาจารย์คะ เราคิดว่าอยากส่งอาจารย์ไปตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เลย จะได้เห็นชัดเจนว่า ก้อนมา จากไหน ขณะนี้เราเห็นแต่เพียงว่าอยู่ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะ ลำ�ไส้ มันเริ่มเบียดท่อไตหน่อยหนึ่งเลยเห็นไต อีกข้างหนึ่งดูบวมๆ” ความคิดขณะนั้นรู้สึกว่าคงมีปัญหาบางอย่างแต่ทุกคนกำ�ลังช่วยกันศึกษา เราต้องให้ ความร่วมมือเต็มที่ “อาจารย์ครับ ไม่เป็นอะไรนะครับ ไม่ว่าจะเป็นอะไรพวกเราดูแลอาจารย์อย่างดีที่สุด เดี๋ยวผมไปหา ทีมแพทย์” (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง) 11


“อาจารย์ครับ ผมเห็นว่ามันอาจเป็นเรื่องของนรีเวช ผมพาหมอนรีเวชมาพบและเราคุยกันเลยนะครับ” “อาจารย์คะ อาจารย์ช่วยดูแลและทำ�คุณประโยชน์ให้คณะฯมามากมาย ขอโอกาสให้พวกเราได้ดูแล สุขภาพอาจารย์บ้างนะคะ” “อาจารย์คะ เนือ่ งจากพวกเราเห็นผลการตรวจคร่าวๆ ยังไม่สมบูรณ์ ณ ขณะนีจ้ ะขอเพิม่ ทีมแพทย์ซง่ึ ได้ ประสานไปแล้ว ทุกคนยินดีเต็มที่ แต่แผนการรักษาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เอาเป็นว่า ตอนนี้หมอ เป็นเจ้าของไข้ก�ำ ลังดูแลอาจารย์นะ หากต้องส่งต่อให้ใครก็ตาม พวกเราจะติดตามกรณีของอาจารย์ตลอดนะคะ” “อาจารย์คะ เนื่องจากเราทบทวนประวัติว่าเคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน เราจะทำ�การตรวจทางนรีเวชเพิ่ม ขึ้นนะ หมอจะดำ�เนินการอย่างรีบด่วนให้อาจารย์ได้ตรวจเร็วที่สุดเลย” “อาจารย์คะ ตอนนี้เราเห็นร่องรอยของโรคบ้างแล้ว บ่ายนี้เราจะรีบหาห้องผ่าตัดและทำ�การตรวจชิ้น เนื้อเลยนะคะ หมอจะรีบส่งตรวจและขอให้พยาธิแพทย์ดูแลให้ได้ผลเร็วเป็นพิเศษ รู้เบื้องต้นไม่เป็นทางการก่อน เผื่อเราจะมาคุยกัน” “อาจารย์คะ เราเริ่มพบสาเหตุแล้ว มีวิธีการรักษาหลายอย่างเดี๋ยวเราจะหารือกันว่าวิธีใดจะเหมาะสม ที่สุด” คำ�พูดอีกมากมายที่ทำ�ให้ผู้เขียนรู้สึกว่าได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดี ทั้งหมดเป็นบ่อเกิดแห่งความพอใจ มั่นใจและวางใจ จึงไม่มีความวิตกใด คิดแต่เพียงว่า เหตุการณ์จะผ่านไปด้วยดี เพียงแค่วันแรกเกือบหนึ่งวันเต็ม เมื่อทุกอย่างเข้าที่ถึงเวลารำ�ลึกอีกครั้งว่าเกิดอะไรขึ้น น่าแปลก ที่ตั้งคำ�ถามให้ตนเองสามคำ�ถามว่า มีอะไรบ้าง 12

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ที่ต้องทำ�แต่ยังไม่ได้ทำ�จดรายการและทำ�ในทันที มีอะไรอีกบ้างที่ยังห่วงกังวลอยู่ นั่งคุยกันว่าหากเหตุการณ์ ไม่ผ่านไปด้วยดีเราจะวางแผนกันอย่างไร? และเราจะใช้ชีวิตในช่วงต่อจากนี้อย่างไร? ไม่ว่าจะตั้งคำ�ถามหรือจะ หาคำ�ตอบ ทุกอย่างเป็นไปด้วยจิตที่สงบนิ่งและเย็นทั้งสิ้น ระลึกได้ว่าคนที่ใกล้ตัวอยู่ตลอดเวลา คือคุณหมอวีระ ชัยไม่เคยทิ้งไปไหนเลย อยู่เป็นเพื่อน เป็นกำ�ลังใจ เป็นผู้พร้อมที่จะตัดสินใจแทน นั่นคือ “กำ�ลังใจผลัดสอง” เพราะไม่โดดเดี่ยว เพราะอบอุ่น เพราะไม่สติแตก และเพราะความวางใจในคนข้างเคียงและรอบตัวจึง ไม่รู้สึกหดหู่ บอกกับตนเองว่าเราจะรักษาให้ดีที่สุดที่เหลือแล้วแต่ชะตาชีวิต อะไรจะเกิดก็เกิด เราผ่านชีวิตมา เยอะแล้วเพียงแค่อย่าให้เป็นภาระแก่คนทีอ่ ยูข่ า้ งหลังเป็นพอ ความวางใจน่าจะเป็นกุญแจสำ�คัญอย่างหนึง่ ในช่วง ชีวิตวิกฤต คืนนั้น เราคุยกันเรื่องคำ�ถามที่ต้องตอบ ส่วนที่ต้องทำ�รีบด่วนได้ทำ�ทันที คือการมอบภารกิจที่ค้างมือให้ ผู้ที่สามารถรับต่อได้ ไม่ว่าใครต่อใครจะบอกว่า “อาจารย์อย่าเป็นกังวล สุขภาพสำ�คัญที่สุด” แต่จำ�ได้ว่าได้มอบ หมายงานไม่ติดค้างหรืออย่างน้อยก็ทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าจะจัดการอย่างไรกับสิ่งที่ค้างอยู่ น่าแปลกที่มันเป็น การปลดอะไรบางอย่างออกจากตัว หากมันเป็นการปลดห่วง “ห่วง” ก็มีความสำ�คัญกับชีวิต เราคุยกันเรื่องทรัพย์สมบัติด้วย อย่างน้อยที่สุดก็ได้บอกคุณหมอวีระชัยว่า “คุณหมอเห็นจะต้องเรียนรู้ เรื่องการเงินการทองในธนาคารเสียแล้วละ เราจะไม่เสียเวลาละ ต้องรับภาระนี้ไปให้ได้” เวลาว่างในโรงพยาบาล จึงใช้ในการถ่ายทอดภารกิจใหม่คือการเงินของครอบครัว

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

13


เวลายังเหลือพอที่จะคุยกันเรื่องสมบัติอีกว่าจะเอาอย่างไรดี ไม่ว่าคุณหมอจะเตือนว่าคิดไกลเกินไปหรือ เปล่า ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี มีข้อเสนอกันว่า อะไรที่สมควรยกให้ลูกก็ให้ยกเลยจะได้เกิดประโยชน์กับลูกและ ไม่ต้องกังวลว่าจะผลัดหลงไปเป็นของใคร แต่ผลของการตัดสินใจของผู้เขียนในคืนนั้นกลับคิดไปว่า คนข้างตัว มีอายุไม่น้อยเป็นวัยปลาย จะอย่างไรก็ต้องให้มีชีวิตที่เหลือที่สะดวกปลอดภัย และสบายใจเป็นประการสำ�คัญ ลูกทุกคนนั้นได้เลี้ยงดูมาอย่างดี มีพื้นฐานของชีวิตที่แข็งแรง ไม่ว่าชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ทุกคนย่อม ดูแลตนเองได้ และลูกทุกคนเป็นคนดี ได้ตัดสินใจว่า “ทุกอย่างจะเป็นของคุณหมอ และเมื่อถึงเวลาคุณหมอจะ มอบให้ลูกแต่ละคนต่อไปเอง ไม่กังวลใดๆ” น่าแปลกที่เพียงแค่คิดได้อย่างนี้ ใจก็ไม่กังวลใดๆ อีก คิดย้อนไป อีกครั้ง ยังบอกตนเองว่า หากปลด ความห่วง ความหวงได้ ใจจะสบาย

14

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


คำ�ถามที่สามที่ต้องตอบคือจะใช้ชีวิตในช่วงต่อไปนี้อย่างไร? คำ�ถามนี้ต้องการข้อมูลมากจากสถานภาพ จริงของโรค แต่หลักสำ�คัญยึดได้แล้ว ผู้เขียนจะรักษากับหมอแผนปัจจุบันให้ดีที่สุด ให้ความร่วมมือทุกวิถีทาง และยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นทุกประการ เป็นคำ�ถามที่มีคำ�ตอบเปลี่ยนแปลงไปตามข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่น การที่ ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลให้เป็นไปตามทีท่ มี แพทย์ตอ้ งการ ไม่เร่งร้อนกลับบ้านและไม่ตดิ ตัวไว้กบั โรงพยาบาล เพราะมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลที่ดีทั้งโรงพยาบาลและบ้าน คนที่เหนื่อยก็ยังคงเป็นคนข้างตัวคือคุณหมอวีระชัยเพราะนอกเหนือจากต้องรับภารกิจไปหลายอย่าง ยังต้องดูแลเอาใจใส่ผู้เขียนมากกว่าปกติอีกด้วย หลายวันต่อมาต้องถามกันว่า เหนื่อยไหม? น้ำ�หนักลดไหม? เพราะคงเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความทุกข์ไม่น้อยไปกว่าผู้ป่วย โชคดีอีกนั่นแหละที่ครอบครัวของเรามีความพร้อมใน การดูแลซึ่งกันและกัน ลูกทุกคนได้รับทราบข้อมูลกันอย่างทั่วถึง ได้แต่บอกทุกคนว่าให้ลูกอยู่ในที่ตั้ง อย่ากังวล เกินเหตุ แม่จะดูแลตนเองอย่างดีที่สุดก่อน ตรงไหนที่แม่ติดขัดลูกค่อยให้ความช่วยเหลือ และดูแลแม่ต่อไป ให้ทุกคนดูแลตนเอง ทำ�งานไปตามปกติแล้วค่อยจัดเวลาให้กันและกัน เมื่อไม่มีอะไรต้องกังวลเพราะคำ�ถาม ส่วนใหญ่มีคำ�ตอบเกิดความปลอดโปร่งไปมากดูเหมือนว่ามีผู้รับดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง เหลือแต่เรื่องร่างกายที่ใครๆ คอยบอกว่า “งานนี้สู้เดี่ยว” จึงหันมารับฟังเสียงของร่างกายว่าตนเองต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างซึ่งเป็นเรื่องยาว และได้จัดให้เป็น “กำ�ลังใจผลัดหนึ่ง” ที่ต้องสร้างเองไปแล้ว ด้วยเรื่อง “กำ�ลังใจผลัดสอง” เป็นเรื่องของหัวหน้าครอบครัว และคนในครอบครัวโดยแท้ ผู้เขียนมี ครอบครัวอบอุน่ จึงน่าจะอยูใ่ นสถานะทีม่ คี วามลำ�บากไม่มากนัก มาคิดได้วา่ ผูค้ นทัง้ หลายสมควรจะดำ�เนินชีวติ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

15


ครอบครัวให้เป็นสุข เพราะความสุข ความอบอุ่นในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่ต้องสร้างมาตลอดชีวิต มิอาจ สร้างได้ในช่วงเวลาอันสั้นหรือเฉพาะเมื่อมีความจำ�เป็น ในช่วงป่วยมีผู้คนมาเยี่ยมมากมาย ส่วนใหญ่แทบจะทันทีที่มิตรสหายได้รับทราบ นั่นเป็นอีกกำ�ลังใจหนึ่ง ที่สำ�คัญ ผู้เขียนรู้สึกว่าตนเองมีความหมายไม่น้อย เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานยังระลึกถึง ได้มีโอกาสคุยกัน ออกไป ทางสนุกสนานมากกว่าการมีสภาพเป็นผู้ป่วย ไม่เบื่อที่จะพูดแต่ละครั้ง แต่ละรอบ แม้จะเป็นเรื่องเดิม ช่วยให้ ผูเ้ ขียนเองเข้าใจเหตุและผลมากขึน้ เรือ่ ยๆ และความรูส้ กึ ว่า “มีเพือ่ น” ดูจะมีความหมายเป็นพิเศษ บางทีกเ็ หมือน เป็นยา ในขณะที่เพื่อนมาเยี่ยมหรือพูดคุยกันนั้นผู้เขียนมั่นใจว่า จิตของตนมิได้อยู่ที่การเจ็บป่วยเลย มันเป็น เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว แล้วเดี๋ยวเราจะมาดูด้วยกันว่ามันจะผ่านไปอย่างไร อาจเป็นเพราะผู้เขียน โชคดีที่ผู้มาเยี่ยมช่วงต้นส่วนใหญ่ทำ�งานในโรงพยาบาล ในมหาวิทยาลัย และเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะสูง ดูเข้าใจ อยู่แล้วว่าจะคุยอะไรกัน ไม่มีใครมาตีโพยตีพาย และแม้กระทั่งออกจากโรงพยาบาลกลับมาอยู่บ้านก็ยังมีผู้มา เยีย่ มเยือนในลักษณะเดียวกัน จึงทำ�ให้ไม่มเี หตุแห่งความวิตก จิตใจมัน่ คงพอทีจ่ ะรับฟังคำ�แนะนำ�และเลือกปฏิบตั ิ ในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวซึ่งจะเล่าต่อไปได้อีกมาก ทั้งหมดนี้ถือเป็น “กำ�ลังใจผลัดสาม” โดยเฉพาะผู้ที่เคยร่วมงาน กันมาต่างให้ความเอื้ออาทรอย่างดียิ่ง คงมีโอกาสได้เล่าอีกหลายแง่หลายมุม สรุปตอนนี้ได้ว่า คงจะต้องมีกำ�ลังใจอีกหลายผลัดนั่นแหละจึงจะทำ�ให้ชีวิตผ่านวิกฤตไปได้ กำ�ลังใจเป็น เรื่องสำ�คัญจริงๆ แต่กำ�ลังใจอาจไม่คงอยู่นาน มีขึ้นมีลง คงต้องหาวิธีสร้างอยู่เรื่อยๆ 16

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บทที่ 3 เพื่อนร่วมโรค นานกว่ายี่สิบปีที่ผู้เขียนต้องตัดมดลูกและรังไข่ทิ้งไปด้วยปัญหาของเซลล์มดลูกที่ออกมาอยู่นอกมดลูก (Endomethiosis) ทำ�ให้มีประจำ�เดือนมามากและหลายวัน ยังจำ�ได้ว่าหลังผ่าตัดมีผู้มาเยี่ยมมากมาย นอกเหนือ จากเพื่อนร่วมงานและเพื่อนฝูงแล้วยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในเพื่อนฝูงหรือกลุ่มผู้รู้จักคุ้นเคยนี่แหละจัดเป็น ผู้มีประสบการณ์มาก่อน สมัยนั้นเรียกกันว่า “ชมรมคนไร้มด(ลูก)” มีหลายคนมาเยี่ยมพร้อมที่จะบอกว่า มิได้มี เราที่เป็นทุกข์หรือประสบเรื่องนี้อยู่คนเดียวหรอก มีอีกตั้งมากมาย เผื่อว่ามีคำ�ถามจะได้นำ�ประสบการณ์มาเล่า สู่กันฟัง ในช่วงเวลานั้นข้อมูลเรื่องอาการของคนวัยทอง คนไร้มดลูก จะเข้ามาหาตัวมากเป็นพิเศษ คนนั้นวูบร้อน วูบหนาว คนนี้คันตามตัวไม่หาย อีกคนหงุดหงิด นานๆ จะมีสักคนมาบอกว่าไม่เป็นอะไรเท่าไรหรอก รวมทั้งตัว ผู้เขียนบอกตนเองเช่นนั้นด้วย ครั้งนี้ก็เช่นกัน ส่วนหนึ่งของผู้มาเยี่ยมประกอบไปด้วยผู้มีประสบการณ์ ต่างจากครั้งก่อนเพราะไม่มีใคร เรียก Endomethiosis ว่า “โรคร้าย” แต่มะเร็งดูจะเป็นคำ�บังคับว่าพูดถึงมะเร็งใครๆ ก็จะเติมว่า “โรคร้าย” เข้าไปทุกที น่าสงสารเสียจริง ผู้มาเยี่ยมบางคนมีคุณแม่เป็นมะเร็งได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ตนเองประสบในฐานะลูกที่ต้องดูแลผู้ป่วย มะเร็งและลงท้ายด้วยเรือ่ งของอาการข้างเคียงทีเ่ กิดจากการทีไ่ ด้รบั ยาเคมีบ�ำ บัด เล่าเรือ่ งอาเจียน เบือ่ อาหารและ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

17


การเตรียมร่​่างกายให้แข็งแรงพอที่จะรับยาเคมีบำ�บัดชุดแล้วชุดเล่า เล่าเรื่องชนิด/ประเภทของอาหาร “ช่วงหลัง ให้ยาเคมีบำ�บัด คุณแม่ทานอะไรก็ไม่ได้ พอดีขึ้นหน่อยทุกคนต้องยัดเยียดให้คุณแม่ทานให้ได้” เกือบทุกคนก็จะ เล่าว่าญาติของตนต่างผ่านเหตุการณ์นั้นมาด้วยดีและมีชีวิตยืนยาว มีบางรายที่เล่าว่าญาติเหล่านั้นเสียชีวิตไป แล้ว ผู้มาเยี่ยมหลายรายมีประสบการณ์ด้วยตนเองมาก่อน เล่าเรื่องการปฏิบัติตนระหว่างและหลังป่วย ส่วนใหญ่จะเก็บตัวนับเป็นความทุกข์ เล่าเรื่องการบำ�บัดความเครียดเพราะความเครียดเป็นสาเหตุทั้งหลาย ทั้งปวง เรื่องผมที่จะต้องร่วง ทรงผมและวิก ฯลฯ สามสัปดาห์ถัดมา ไปพบหมอตามนัดที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเพื่อดูอาการและรับยาเคมีบำ�บัดครั้งที่สอง ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกของแผนกโรคเลือดและน้ำ�เหลือง มีผู้ป่วยมากมายทำ�ให้แปลกใจว่า คนเป็นมะเร็ง เป็น โรคเลือดและน้ำ�เหลืองมีมากมายเพียงนี้เชียวหรือ หลายคนดูน่าสงสาร หลายคนดูเป็นทุกข์ เจ้าหน้าที่ก็ทำ�งาน กันอย่างหนัก ดูวุ่นวาย ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมที่จะให้หมอได้มาดูแลรักษา มีการจัดเก้าอี้เป็นคิวสำ�หรับรอ เข้าตรวจ รอใบนัด ฯลฯ คุณศรีนวล วัยใกล้ 60 ปี.... มานั่งใกล้ๆ ทักทายว่า “คุณพี่โรคมะเร็งนี่มันอยู่ที่เราต้องสู้เท่านั้นนะ เรา ไม่สู้ใครก็ช่วยไม่ได้ ... หนูน่ะเป็นมะเร็งต่อมน้ำ�เหลืองมา 13 ปีแล้ว ที่จริงตอนครบ 5 ปี หมอก็บอกหนูว่าหายขาด แล้ว แต่หนูก็ขอมาพบหมอปีละครั้ง ต่อมาสองปีครั้ง จะได้สบายใจ” ... 18

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


“ตอนแรกรู้ว่าเป็นมะเร็งหนูร้องให้เสียสองวัน หนูรับไม่ได้เลย สามีหนูเป็นตำ�รวจต้องไปนู่นมานี่ หนู ตายไปใครจะมาเลี้ยงลูกหนูนะ ตั้ง 2 คน หนูเลยเอาแต่ร้องให้” ... “หมอเขาดูแลหนูอย่างดีแต่หนูลำ�บากเพราะเป็นประเภทแพ้ยา อะไรๆก็แพ้ไปหมด ลำ�บากมาก ... แต่ พอหนูตัดสินใจสู้เท่านั้นแหละ อะไรๆหนูก็ทนได้หมด ... หมอให้ยาตั้ง 11-12 ชุดแน่ะ ... หนูเชื่อฟังหมอหมดเลย ไม่ไปหาหมอดู ไม่ทานสมุนไพรอะไร หนูเคร่งครัด หนูกลัวอยู่อย่างเดียว กลัวตาย” .... “ตอนหนูกลับไปอยู่บ้าน หนูไม่อยากให้ใครมาเยี่ยมเลย เขาคงมาเยี่ยมเพราะอยากเห็นหนูตาย หนูเลย บอกตัวเองว่าหนูจะไม่ตาย แล้วหนูก็รอด ชาวบ้านรอบตัวหนูน่ะเขาอยากรู้อยากเห็นว่าหนูเป็นอะไร เล่ากันไป สารพัด อย่าไปสนใจนะพี”่

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

19


พอเหลือบมาเห็นผมของผู้เขียนที่กำ�ลังร่วงปลิว คุณศรีนวลรีบบอก “เรื่องผมร่วงเนี่ยเรื่องเล็กนะพี่ ปล่อยมันร่วงจนหมด มันเป็นอย่างนี้เอง ทนเอาสักพัก พอมันขึ้นมาใหม่นะ สวยเลยพี่ มันดำ� เป็นคลื่นน้อยๆ สวยมากหนูยังชอบเลย” .... “พี่อย่าไปกลัวนะ สู้อย่างเดียวนะ พี่นั่นแหละเป็นคนสู้ ...” “ตอนหนูเป็นและให้ยาเคมีบ�ำ บัดนะ หนูปวดกรามดูราวกับว่ามันหลุดออกมาทัง้ หมด แต่มนั ไม่หลุดหรอก มันรู้สึกไปงั้นเอง มันไม่หลุดนะพี่ ... ข้าวปลาอาหารทานไม่ได้เลย หนูไม่รู้เหมือนกันว่าผ่านมายังไง หมอก็บอก ให้หนูทานเยอะๆ หนูก็พยายามอยู่นั่นแหละ อะไรๆก็ทานไปเถอะ ขอมีแรงไว้ก่อน ...” เป็นคำ�พูดที่พรั่งพรูให้ได้ยินชัดเจนและรำ�ลึกได้จนช่วงเวลานี้ นับเป็นอีกทัศนคติของคนเป็นมะเร็ง คิดย้อนไปว่ามีทางหลายแพร่งที่ผู้ป่วยเลือกเดินในช่วงต้นและไม่เป็นการง่ายที่ผู้คนจะยอมรับความเจ็บป่วย อย่างหนักของตนเอง .... เราต่างลากันเมื่อเสร็จธุระ จะได้พบกันอีกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ก็ได้เรียนรู้ว่าแต่ละ คนมีทัศนคติต่อโรคมะเร็งต่างกันจริงๆ อีกรายหนึ่งเป็นภรรยาอาจารย์ มีคุณหมอลูกชายเข็นรถขึ้นมาพบหมอตามนัด ดูอารมณ์ดี ภาคภูมิใจใน การเอาใจใส่ของลูกชายมาก “พี่เข็มที่สี่แล้วจบเลยนะ ไม่ต้องให้อีกละ วันนี้มาเช็คอีกที ... ตอนรู้ว่าเป็นมะเร็ง พี่เตรียมตัวใหญ่เลย มีคนพาไปดูวิก อันที่เป็นผมจริงๆน่ะราคาเป็นหมื่นเลยนะ แต่ผมพี่ไม่ร่วงเลยยังไม่ได้ไปซื้อ คิดว่ามันคงไม่ร่วงแล้วละ” เมื่อมองเห็นเบอร์ในบัตรคิวที่ผู้เขียนถือไว้ เลขตั้ง 22 .. “อาจารย์ คราวหน้านะให้เขา 20

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


นัดมาตรวจเลือดก่อนสักวันหนึ่ง จะได้ไม่ต้องรอ แล้วอาจารย์ก็ยอมอดข้าวนานสักหน่อยมาตรวจตอนบ่าย ตอนเช้าคนเยอะ พี่น่ะรอมาก่อน รอแล้วรออีก คนไข้มันเยอะนะ เมื่อไหร่ก็ไม่ถึงคิว ไม่ได้ตรวจสักที หงุดหงิด ... แต่เวลาป่วยนี่ดีไปอย่างนะ ลูกๆเขาดูแลดี ปกติเขางานเยอะ ไม่ค่อยว่างกัน ...” ผู้ป่วยดูแย้มยิ้ม ไม่กังวลใดๆ ผู้เขียนก็ได้ความรู้ว่าต้องมาตรวจเลือดก่อนสักวันหนึ่งจะสะดวกและเร็วกว่า วันหนึ่งในโรงพยาบาล เพื่อนรุ่นน้องมาเยี่ยม เป็นมะเร็งที่เต้านม ต้องผ่าตัดเต้านม เลาะต่อมน้ำ�เหลือง ออกไปและให้เคมีบำ�บัด ผ่านมากว่าปีแล้ว วันนี้มาเยี่ยมด้วยผมทรงสั้นสีดอกเลา เล่าว่า “ตอนหนูเป็นน่ะ หนู พยายามช่วยตนเองอย่างที่สุด เกรงจะเป็นภาระแก่ผู้อื่น หนูทำ�งานบ้านเอง ทำ�อาหารเอง เผลอๆหนูก็ขับรถไป ธุระของหนูเอง ... มันเป็นความตั้งใจที่จะทำ�น่ะ” “ตอนให้ยานะ ทานอะไรไม่ได้เลย ต้นทุนหนูต่ำ� หนูผอม ท้ายที่สุดหนูต้องเอาช้อนเล็กๆ ตักโปรตีน แอมเวย์ให้ตัวเองน่ะ โอ มันลำ�บากเรื่องทานอาหารนี่แหละ ...” “ตอนป่วยหนูก็เข้าสัมนากับหมอได้นะกรณีของตนเองน่ะ ยามันก็อันเดิมที่เราเคยเรียนเคยสอนมา แม้ หนูจะลืมไปหมดแล้วหนูก็มาทบทวนอยู่บ้าง พอมันผ่านได้ มันก็ผ่านไปนะคะ” ดูภายนอกก็ยังดูมั่นใจและมุ่งมั่น ดีอยู่ และปาวารณาตนเองว่า “หากมีอะไรต้องการให้หนูมีส่วนช่วยหนูจะยินดีมากเลย”

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

21


ทนำ

ต่อมาก็จะมีเพื่อนร่วมรุ่นที่ทราบข่าวพากันมาเยี่ยมให้กำ�ลังใจ รายที่เคยมีญาติหรือตนเองเป็นมาก่อนก็ จะให้กำ�ลังใจเป็นพิเศษ เล่าประสบการณ์ของตนว่าปฏิบัติมาอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อเพื่อนเห็นว่าผู้เขียนมีกำ�ลังใจ เบื้องต้นค่อนข้างดี ก็คลายกังวลและช่วยกันหาข้อมูลที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์มาเล่าให้ฟัง มีการ line คุยกัน ต่อกลุ่มหลายคนระหว่างกัน “พวกเราแนะนำ�แล้วเธอไปเลือกปฏิบัติเอานะ” ได้คุยกันอยู่ตลอดเหมือนได้เพื่อน คืนมา ไม่เหงา ในบรรดาคำ�แนะนำ�นั้นมีหลากหลาย อาหารการกินเป็นเรื่องใหญ่สุด ทรงผมเป็นเรื่องที่สอง เรื่อง การบริหารร่างกายเป็นเรื่องที่สาม ประโยคทองจากผู้มีประสบการณ์ คือ “อย่าอายนะหากมีคนมาเยี่ยม ทุกคน มาให้กำ�ลังใจ เราจะได้ประคับประคองตัวเองให้ถูก เดี๋ยวนี้หมอดี ยาดี ขอให้รักษาและสู้เท่านั้นแหละต้องหาย ทุกรายไป ...” สรุปใจความได้ว่า ต้องสู้ 22

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ผู้หวังดี ผู้ปรารถนาดีจะมาพร้อมๆกันในทันทีที่ทราบข่าวว่ามีการเจ็บป่วยด้วยเรื่องมะเร็ง กลุ่มที่หนึ่ง เป็นกลุ่มผู้รู้แต่ไม่เคยเป็น มีข้อมูลมากมายส่วนใหญ่เกี่ยวกับสมุนไพรและการรักษาแบบทางเลือก แพทย์ผู้ดูแล จะเตือนไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมากแต่หมออยากขอให้รักษาแบบแผนปัจจุบันไปก่อน ใจแข็ง เข้าไว้ หากเปลี่ยนใจไปใช้สมุนไพรจะมีผลกระทบต่อการรักษามาก ขอให้อดใจรอให้พ้นระยะนี้ไปก่อน ... เป็นอัน เข้าใจได้ กลุ่มที่สองจะมีผู้รู้ยินดีจะพาไปรักษาในสถานที่ต่างๆที่มีชื่อเสียงเล่าลือว่ารักษาโรคได้ดี ต้องระวังอย่าง มากเหมือนกันเพราะการปฏิเสธจะมองดูเหมือนว่าอุตส่าห์ตั้งใจมาแนะนำ�มาพาไปแต่ไม่ได้รับความใส่ใจ อีก กลุ่มหนึ่งคือต้องการเอาสินค้ามาเสนอขายต้องระวังมากขึ้นหน่อย หากเปิดโอกาสทุกอย่างคงสับสน เป็นเรื่อง ที่ต้องประคับประคองทั้งสิ้น นี่นับเป็นภาระใหม่ที่เกิดขึ้นและเดาว่าคงเกิดได้กับทุกคน ครั้งนี้ต่างออกไปกว่าการป่วยด้วยเรื่องอื่น เพื่อนใกล้ชิด เช่น กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ สังเกตุว่าจะ พยายามแนะนำ�เรือ่ งอาหารกับให้ความรูเ้ รือ่ ง สารอนุมลู อิสระ ทำ�ให้ผเู้ ขียนเริม่ สนใจศึกษาต่อ เมนูอาหารรูปแบบ ต่างๆ ได้ถูกส่งมาตาม line มีประโยชน์อย่างมากจนต้องหัดเป็นแม่บ้านมากขึ้นเพื่อทดลองเมนู สิ่งเหล่านี้คงเป็น ความรู้สึกเห็นใจร่วม และอยากสนับสนุนในรูปแบบให้ความรู้เป็นทางเลือกเพิ่มเติม ผู้เขียนก็ยังอยากที่จะได้รับความช่วยเหลือจากคนข้างเคียง คุณหมอช่วยอธิบายว่าสิ่งทีร่ ับฟังมา นั้นคือ อะไร เป็นอย่างไร และควรตัดสินใจอย่างไร มันเป็นความวางใจอย่างสูง ประหนึ่งว่าหากชีวิตมันไม่ได้อยู่ในกำ�มือ ของเรามันจะอยู่ในมือคนข้างเคียงนี่แหละ อาจเป็นการยึดติดอย่างใหม่ อย่างไรก็ตาม ได้เรียนรู้อย่างมากว่าการ คิดอย่างมีวิจารณญาณนั้นหมายถึงอะไร เพราะมีข้อมูลมากมายที่เข้ามาหาในช่วงเวลาเดียวกัน ในเวลาที่ตัวเรา (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

23


อาจกำ�ลังเป็นทุกข์ อาจว้าเหว่ อาจหิวกระหาย อาจต้องการที่พึ่ง อาจสับสน ฯลฯ จะทำ�อย่างไรให้รับฟังข้อมูล เหล่านั้นอย่างเป็นกลาง ใช้ดุลยพินิจ วิเคราะห์และเลือกให้เหมาะสมกับตนเอง เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแต่ต้องทำ�ให้ได้ ผ่านพ้นไปให้ได้และอย่างดี นับเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่มาก หนังสือ ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นสองสิ่งที่ดูจะถูกเลือกใช้มากกว่าปกติ จนกระทั่งวันหนึ่งคุณหมอ อดิศกั ดิบ์ อกว่า “อาจารย์ตอ่ ไปนีอ้ าจารย์เป็นผูป้ ว่ ยนะ ดูอนิ เตอร์เน็ตให้นอ้ ยลง ฟังผมก็ได้ ผมจะเล่าหรือให้อาจารย์ อ่านเรื่องมะเร็งต่อมน้ำ�เหลืองชนิดที่เข้าใจง่าย เวลาอ่านจากอินเตอร์เน็ต มันมีหลายความคิดเห็น บางครั้งยาก บางครั้งง่าย บางครั้งทำ�ให้เกิดความวิตกกังวล อาจารย์เพลาๆลงบ้างก็ดีนะครับ” จึงนึกขึ้นได้ว่า จริงซินะ เราอ่าน เรื่องที่มีรายละเอียดเยอะ อ่านหนังสือที่คุณหมอเอามาให้เป็นเรื่องราวโดยสรุป เข้าใจง่าย จึงเพลาๆ อินเตอร์เน็ต ลง ทำ�ความเข้าใจกับเรื่องราวโดยสรุปมากขึ้น นับเป็นเรื่องที่ทำ�ให้ชีวิตง่ายขึ้นด้วย เมื่อข่าวคราวกระจายออก มีเพื่อนที่ห่างเหินไปสื่อสารเข้ามา จึงพบว่ามะเร็งนี่ทำ�ให้ได้เพื่อนคืนมา หลายกลุ่ม และหลายคนเพิ่งมาเปิดใจว่าเคยเป็นมาก่อน เล่าประสบการณ์ของตนเองให้ฟังได้ ดูเหมือนว่าคน เป็นมะเร็งมีจำ�นวนมาก คงมากจริงๆนั่นแหละ ต้องศึกษาให้มากขึ้นในวันข้างหน้า

24

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บทที่ 4 ง่ายวันนี้มาจากยากในวันก่อน จากประสบการณ์ป่วยด้วยโรคมะเร็งครั้งนี้ทำ�ให้ได้คิดว่า “ผลมาจากเหตุ” และ “ง่ายมาจากยาก” ครั้งนี้ นับว่าเป็นการประสบเหตุ ค้นหา วางแผนการรักษาและทำ�การรักษาโรคร้ายที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน เกิดขึ้นกับ ตนเอง ทำ�ให้มีประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการมีส่วนร่วมกับทุกคนโดยเฉพาะทีมแพทย์ ครอบครัว เพื่อนฝูงและ ผูร้ ว่ มงานตัง้ แต่ตน้ ยังทำ�ให้เห็นความสำ�คัญของ “การให้ความร่วมมือ” เป็นอย่างยิง่ ไม่วา่ จะทำ�การใด การร่วมมือ ในการรักษาชีวิตนั้นเป็นเรื่องใหญ่ มีปัจจัยมากมาย ใหญ่โตกว่าการร่วมมือในการทำ�งานมากมายนักเพราะเป็น เรื่องของความเป็นความตาย แต่จำ�เป็นต้องอาศัยพื้นฐานที่มาจากความคุ้นเคยกับการให้ความร่วมมือมาก่อน เช่นกัน เพราะหากไม่เคยให้หรือไม่​่เคยได้รับความร่วมมือใดๆมาก่อนอาจจะไม่ตระหนักรู้ว่า ความร่วมมือใน บทบาทหน้าที่ของผู้ป่วยนั้นมีแน่ๆ ต้องยอมรับ ต้องเข้าใจในสถานการณ์จึงจะวางตัวได้ถูกต้อง จะเอาแต่ร้องให้ คร�ำ่ ครวญว่า “ใยจึงต้องเป็นเราทีจ่ ะมาเป็นโรคมะเร็ง” นัน้ ไม่ชว่ ยให้สถานการณ์ใดๆ ดีขน้ึ หากยอมรับในเบือ้ งต้น ไม่ได้ก็ต้องพยายามหาทางให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่ตนสามารถ ยิ่งยอมรับได้เร็วมันจะพากระบวนการต่างๆให้ผ่านไป ได้เร็ว ไม่ว่าจะเป็นการไปพบหมอ ให้หมอได้ตรวจวินิจฉัย ยอมรับว่าหมอแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ไม่เหมือนกัน ยอมรับว่าเมื่อมีการส่งต่อการรักษาจากหมอคนหนึ่งไปยังหมออีกคนหนึ่งหรือหลายๆคนเป็นเรื่อง ทีด่ เี พราะในท้ายทีส่ ดุ ผูป้ ว่ ยจะได้รบั สิง่ ทีด่ ที ส่ี ดุ ในสถานการณ์ของตนเอง และไม่เหมือนกันแม้จะเป็นโรคเดียวกัน (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

25


จากป่วยด้วยอาการปวดหลังมาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2557 และดูแลตนเองไปตามสถานการณ์ ตามจังหวะ เวลาที่มีสิ่งต่างๆ มาเกี่ยวข้องมากมาย อาทิ มีงานต้องทำ� มีบ้าน และคนในครอบครัวที่ต้องดูแล ฯลฯ แต่ละ บุคคลมีสิ่งสนับสนุนในภารกิจเหล่านั้นต่างกัน มีความรีบเร่งในแต่ละเรื่องต่างกัน จะเป็นผลให้การตัดสินใจใน การให้ความสำ�คัญกับแต่ละภารกิจต่างกัน ทุกคนมีวิธีการดูแลตนเองที่ต่างกันออกไป ขอให้ตัดสินใจให้ดีที่สุด ไม่มอี ะไรผิด ไม่ตอ้ งเสียใจ เพราะจะอย่างไรก็เป็นการตัดสินใจทีด่ ที ส่ี ดุ สำ�หรับตนเองในขณะนัน้ และหากใช้เหตุผล และใช้วิจารณญาณแล้วมันจะมี “ทางออก” ไม่ใช่ “ทางตัน” ผู้เขียนอยู่กับสามีที่เป็นหมอ มีลูกชายคนโตเป็นหมอ อย่างน้อยก็มีสองคนเข้าใจเรื่องการเจ็บป่วย เป็น ฐานแห่งความวางใจ นี่นับเป็นโชคในชีวิตอย่างหนึ่ง แต่คนที่ไม่มีสามีเป็นหมอและไม่มีลูกเป็นหมอก็มีแนวทาง ของตนเอง เราต่างมีที่พึ่งมากมายเพียงแต่ต่างกันเท่านั้น บางทีหมอเสียอีกฟังเรื่องเจ็บป่วยของประชาชนมาจาก ที่ทำ�งานทั้งวัน มาถึงบ้านก็อยากพัก อยากฟังเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องเจ็บป่วยบ้าง ผู้ที่อยู่ในครอบครัวของหมอต้อง เข้าใจและไม่อ่อนแอจนเกินไปหนัก หมอกลับมาถึงบ้านมีคนเจ็บนอนรออยู่ เหมือนทำ�งานไม่มีวันเลิก แล้วชีวิต ของหมอจะหาความเพลิดเพลินจากที่ไหนกัน แต่เมื่อเจ็บจริงมีเหตุจริงที่พึ่งใกล้ตัวก็ยังเป็นหมอใกล้ตัวก่อนวัน ยังค่ำ� ในช่วงต้นผู้เขียนรักษาตัวไปตามอาการ แต่เมื่อถึงเวลาเราต้องเริ่มหาหมอโรคกระดูกเพราะคาดว่าเป็น เรื่องของกระดูกสันหลังที่หดตัวเมื่ออายุสูงขึ้น เพื่อนของลูกชายเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในเรื่องกระดูกสันหลัง ความ วางใจนั้นมีเต็มร้อย ผู้เขียนได้รับการเอาใจดูแลดีมาก คุณหมอได้แนะนำ�ต่อผู้ช่วยว่า “นี่เป็นอาจารย์และทำ�งาน 26

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บริหารที่คณะเรามานาน เป็นที่รู้จักกันดี เป็นแม่ของเพื่อนผมและเป็นอาจารย์ของผม ช่วยกรุณาดูแลให้บริการ ท่านอย่างดีด้วย” และผู้ช่วยแพทย์ดูแลผู้เขียนอย่างดีมาก พาไปเอ็กซเรย์ ทำ�หัตถการอื่นตามกระบวนการที่ แพทย์สั่งการไว้ จนผู้เขียนได้กลับมาพบแพทย์เมื่อมีข้อมูลพื้นฐานเพียงพอให้แพทย์ได้วินิจฉัย และให้คำ�แนะนำ� ให้ยาที่ถูกต้องที่สุดบนข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการซักประวัติ อาการและอาการแสดง แผนการรักษาเบื้องต้นและ ต่อไปหากไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ คุณหมอรุ่นใหม่ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้เสร็จและเชื่อม line ไว้ให้เรียบร้อย ก่อน จากบอกว่า “ไม่ต้องเกรงใจผมนะครับมีอะไรก็ line ถึงผมทันที” นี่ก็เป็นอีกทางออกอีกทางหนึ่ง เมื่อได้รับยามาแล้วมีอาการแสดงเพิ่มเติมขึ้นคือเริ่มมีเลือดออกมาทางปัสสาวะจำ�นวนมาก หมอทั้งสาม คนคือ สามี ลูกชาย และหมอโรคกระดูก ขยับตัวพร้อมกันหมด รวมทั้งผู้เขียนด้วย ในฐานะเป็นนักเภสัชวิทยา ต้องเริ่มทบทวนยาที่ใช้และหารือร่วมกัน ในที่สุดตัดสินใจว่า ต้องหยุดยาและเร่งการขับถ่ายยาเอาไว้ก่อน พักเต็ม (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

27


ที่เพื่อดูสถานการณ์ว่าเหตุการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นเกิดจากเรื่องยา หรือเรื่องอื่นอีก ช่วงท่ีต้องดูว่ามีสถานการณ์อื่นอีก หรือไม่นี่แหละ ทำ�ให้ทั้งตนเองและหมอเริ่มระวังเรื่อง “ก้อน” เราคลำ�หาก้อนอยู่เรื่อยๆแต่ไม่เจอ จนเกิดเลือด ออกในครั้งที่สองในประมาณเดือนต่อมา เมื่อพักก็ยังหายไปได้ด้วยดี แต่พอเกิดครั้งที่สามจึงตัดสินใจว่าต้องหา หมอโรคไตเพราะคิดว่าน่าจะมีต้นเหตุมาจากไต เมื่อได้นัดหมายกับหมอโรคไตและเข้าไปตรวจร่างกายในโรงพยาบาล พบหมอโรคไตแล้วตามด้วยหมอ เชี่ยวชาญโรคต่างๆ รวมทั้งหมดแล้วมีถึง 11 ท่าน รวมหมอใกล้ตัวอีกสองก็เป็น 13 ท่าน นับเป็นตัวเลขที่ดี ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป แต่มั่นใจว่าในเรื่องโรคหมอจะช่วยได้มากที่สุด ต้องให้ความร่วมมือและต้องให้ความวางใจแก่หมอเป็นสำ�คัญ หลายคนอาจคิดว่าไปเอาหมอมาจากไหนตั้งกว่าสิบคน จะหาเพียงหนึ่งคนบางทีก็แสนยาก นี่เป็นเรื่อง น่าคิดและอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงเพราะหากเข้าไปในโรงพยาบาลแม้จะมีหมอที่ผู้ป่วยได้พบเสมอเพียงคน เดียว แต่เบื้องหลังการรักษาอาจมีการปรึกษาหารือกับหมอท่านอื่นๆเป็นทีมอีกนั่นแหละเพียงแต่ผู้ป่วยไม่ได้เห็น หรือเห็นแต่ไม่เข้าใจ สำ�หรับผู้เขียนนั้นโชคดีตรงที่ได้พบหมอทุกคนด้วยตนเองตามสถานการณ์ของโรค บางวัน พบหลายคน เรียกว่ามีคนมาช่วยมาก ได้รับทราบเรื่องราวของตนเองมากและมีส่วนร่วมมาก มีเครื่องกีดขวาง น้อยในการคุยเรื่องโรคก็สามารถคุยตรงและพร้อมคนใกล้ชิดที่เป็นหมอ อธิบายอะไรก็เข้าใจ การตัดสินใจก็ง่าย ซึ่งช่วยทำ�ให้สถานการณ์ผ่านไปเร็วมาก การค้นหาสาเหตุของโรคนั้นยากและทำ�ให้ทั้งหมอและผู้ป่วยอยู่ในภาวะ วุ่นวายใจได้ง่ายเพราะไม่รู้สักทีว่าเป็นอะไร แต่ทันทีที่รู้หรือเริ่มรู้นั้นทุกคนเห็นทางออกหลายๆ ทาง ที่เหมาะแก่ 28

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


การหาข้อมูลเพิ่มเติม การวางแผนต่อว่าทำ�อย่างไร อะไรก่อน อะไรหลัง ตลอดจนการเตรียมแผนสำ�รองเมื่อมี ข้อมูลเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ผู้ป่วยต้องใจเย็น ไม่ตีโพยตีพาย การให้ข้อมูลมากและเป็นจริงจะง่ายต่อหมอ เพียงแค่เห็น “ก้อน” ก็เป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของผู้เขียน การตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้องและผู้พบเห็นหมอ โรคไตต้องเริ่มหาทีมแพทย์ หาก้อนว่าอยู่ที่ไหนมีใครเชี่ยวชาญ จึงเป็นเหตุให้มีหมอเข้ามาดูแลเพิ่มขึ้น อย่างน้อย คือหมอสูตินรีเวช หมอทางเดินปัสสาวะ หมอทางเดินอาหาร หมอผ่าตัดหากต้องผ่าตัด สำ�หรับผู้เกี่ยวข้องคือ ญาติใกล้ชดิ ต้องขยับตัวทัง้ หมด จะนอนโรงพยาบาลเบือ้ งต้นนานเท่าไร จะจัดการเรือ่ ง งานการ งานบ้าน อย่างไร มีใครต้องมาดูแลทีโ่ รงพยาบาลบ้าง กลางวันกลางคืนอย่างไร นานเท่าไร แถมยังต้องคอยดูแลความรูส้ กึ ของคนไข้ อีก ต้องให้ก�ำ ลังใจอีก หากคนไข้ตโี พยตีพายนูน่ ก็ไม่ดนี ก้ี ไ็ ม่ได้ ทัง้ ผูเ้ กีย่ วข้องและผูพ้ บเห็นคงจะเหนือ่ ยไปตามๆ กัน ในเบื้องต้นผู้ป่วยต้อง ฟังเหตุ ฟังผล ทำ�ตนให้ง่าย ให้ความร่วมมือกับทุกคน อย่าเอาตนเป็นที่ตั้งจนเกิน ไปนัก คนรอบข้างเขาคงเหนื่อย และเป็นเช่นนั้นจริง เมื่อสถานการณ์เข้าที่เข้าทาง วินิจฉัยได้ว่าเป็นอะไร ที่ไหน จะรักษาอย่างไร ทุกคนก็เบาใจเพราะ “ขอให้รู้เถอะ.. ก็มีทางออกทั้งสิ้น” ต่อให้รู้ว่าเป็นมะเร็งของต่อมน้ำ�เหลือง ที่อุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ก็ยังง่ายกว่าไม่รู้ อย่างที่พระท่านบอกว่า “ต้องวิชานะไม่ใช่อวิชา” เพิ่ง มาเข้าใจทั้งๆ ที่ได้ยินมานาน ตอนไม่รู้นั้นไม่รู้ว่าจะทำ�อย่างไร ต้องหาให้รู้เหตุนั่นแหละจึงจะทำ�ต่อได้ มะเร็งของ ต่อมน้ำ�เหลือง มีวิธีการรักษาตั้งหลายอย่าง อาทิ ผ่าตัด ให้เคมีบำ�บัด ฉายแสง ฯลฯ จะให้อย่างไร จะทำ�อย่างไร เขาก็รู้กันแล้วว่าขึ้นกับขนาดของก้อน ระยะของโรค ความสมบูรณ์ด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย นี่ก็เป็นอีก จุดของความร่วมมือจากผู้ป่วย ความสมบูรณ์ทางร่างกาย การให้ความร่วมมือโดยการปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ของ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

29


หมออย่างเคร่งครัดในทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน ความสมบูรณ์ทางใจอยู่ที่ผู้ป่วยต้องสร้างให้ ตนเองเป็นหลักโดยมีครอบครัว เพื่อนฝูง คนถูกใจช่วย หากได้มาเพียงพอหมอก็จะทำ�การรักษาได้ง่ายขึ้น เรื่องการรักษาเป็นของหมอแม้จะมีหลายหมอในตอนต้น แต่ในตอนปลายจะมีกลุ่มหมอที่เป็นเจ้าของไข้ เล็กลง ผู้ป่วยจะรู้เองว่าจะฟังใครเป็นหลัก อย่ากลัวคำ�พังเพยที่เคยได้ยินมาก่อนว่า “มากหมอก็มากความ” ใน ตอนต้นมากหมอนั่นแหละดี เขาจะได้ช่วยกันคิดว่าใครควรจะมีบทบาทตอนไหน หมอรุ่นใหม่มีความเข้าใจใน เรือ่ งทีมงานดีขน้ึ เรือ่ ยๆ ในตอนทีล่ งตัวแล้วว่าเป็นมะเร็งทีต่ อ่ มน�ำ้ เหลืองหมอทีด่ แู ลก็จะเป็นทีมโรคเลือดและต่อม น้ำ�เหลือง หมอไต หมอทางเดินปัสสาวะ หมอรังสี หมอสูตินรีเวช หมอลำ�ไส้ หมอพยาธิ หมอทรวงอก ฯลฯ เขาก็ เป็นผ้รู บั ฟังสถานการณ์และพร้อมช่วยเมือ่ สถานการณ์เปลีย่ นไปหรือมีโรคใหม่เข้ามาแทรก ทุกคนต่างปรารถนาดี ต่อคนไข้ ไม่มีใครมุ่งร้ายสักคนเดียว เหตุการณ์ครั้งนี้ ในฐานะที่เป็นอาจารย์ของในโรงเรียนแพทย์ที่สวนดอกมาก่อน เคยช่วยคณบดีคณะ แพทย์ก่อตั้งหน่วยงาน “แพทยศาสตร์ศึกษา” มาก่อน เคยพูดคำ�ว่า “บัณฑิตแพทย์ที่พึงประสงค์” มาเป็นเวลา นาน มาได้รับประสบการณ์จริงว่า สวนดอกมีบัณฑิตแพทย์ที่พึงประสงค์ตั้งมากมาย อย่างน้อยกลุ่มหมอที่มา เกี่ยวข้องก็เป็นที่พึงประสงค์ทั้งสิ้นในบทบาทต่างๆ กัน จนคิดว่า ตนเองอยู่สวนดอก/มช. มาตั้งแต่ปี 2509 ใน ฐานะนักศึกษา และมาอยู่ในฐานะครูแพทย์ในปี 2516 เริ่มทำ�งานบริหารมาแต่ปี 2522 หมุนตัวไปมาอยู่ในคณะ แพทยศาสตร์นี่แหละในบทบาทต่างๆ กัน จนเกษียณอายุราชการ และย้ายไปอยู่มหาวิทยาลัยพะเยาในปี 2554 ได้กลับมาอีกในฐานะผูป้ ว่ ยยังได้รบั การดูแลรักษาดีถงึ เพียงนี้ สรุปให้ตนเองฟังว่า อยูส่ วนดอกได้ดถี งึ เพียงนีเ้ ชียว 30

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


แล้วจะตอบแทนกันอย่างไรในเวลาทีเ่ หลือ เพือ่ ให้ครบทัง้ กตัญญูและกตเวทิตา นีเ่ ป็นเรือ่ งทีผ่ เู้ ขียนต้องไปทบทวน ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล การรักษาตัวครัง้ นีน้ บั ว่า “ง่าย” และคงเป็น “ง่าย” ทีต่ อ้ งผ่าน “ยาก” มาก่อน โรคมะเร็งทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง หลายอย่างในชีวิต จะรู้เมื่อศึกษา เมื่อเวลาและโอกาสมาถึงเท่านั้น ขณะที่ทำ�การรักษา หมอจะย้ำ�ว่า “ให้ดำ�เนิน ชีวิตกับปัจจุบันเป็นหลัก” พยายามบันทึกปัจจุบัน เผื่อว่าจะเป็นเหตุให้ทำ�ในสิ่งที่ถูกต้องในวันหน้า ในช่วงป่วย จะ ตระหนักรูเ้ ป็นอย่างดีวา่ ความช่วยเหลือในยามยากเป็นสิง่ ทีม่ คี า่ สูงสุด สูงกว่าสิง่ ทีไ่ ด้รบั ในยามทีม่ เี กียรติ มีหน้าที่ มีอำ�นาจ มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ หรือมีอื่นๆทั้งปวง เพราะมันมีค่าที่ใจ “ใจ” ที่มันแยกจากกายได้จริงๆ ไม่น่า เชื่อเลย

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

31


ความดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นเรือ่ งสำ�คัญมาก แม้แข็งแกร่งเพียงใด แต่ในยามยากเราต้องการ ที่พึ่ง หากครอบครัวเข้าใจ พึ่งได้ตามโอกาส นั่นเป็นเรื่องสุดยอด แต่ครอบครัวจะเป็นเช่นปรารถนาหรือไม่ คงต้องผ่านร้อนผ่านหนาวกันมามาก คง “ยาก” มาก่อนนั่นแหละจึงจะมา “ง่าย” โดยเฉพาะง่ายในตอนที่ เราตัวเรากำ�ลังลำ�บาก ทุกคนในครอบครัวต้องเสียสละทั้งสิ้น ต้องจัดเวรกันว่าใครจะมาดูแลแม่ตอนไหนอย่างไร คนไกลทำ�อย่างไร คนใกล้ทำ�อย่างไร เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ แต่เดิมไม่เคยคิดเรื่องชาติภพ มาครั้งนี้ยังภาวนา อยูต่ ลอดว่า ไม่วา่ ชาติภพใดก็ขอให้ได้พบเจอครอบครัวทีเ่ ป็นเช่นนีแ้ หละ เป็นความภูมใิ จ เป็นปิตทิ ร่ี ะลึกถึงได้วา่ ทุกคนรักและเอาใจใส่เสมอมา เมื่อถึงเวลาและโอกาสทุกคนได้แสดงความรัก ความห่วงใยให้ปรากฏชัดเจน ให้ 32

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


สัมผัสได้อย่างพอเหมาะ อยากขอบคุณมะเร็งโรคร้าย ว่าได้เป็นสะพานทำ�ให้ผู้เขียนได้พบเห็นความรัก ความ เอาใจใส่และความเสียสละของครอบครัวสายตรง ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2516 เกิน 40 ปีแล้ว คงมีนิยายยาวใน ทุกครอบครัว ทุกเรื่องผูกพันกัน มีที่มาที่ไป ต้องรักษาครอบครัวไว้ให้ดี ให้บงั เอิญโชคดีทท่ี �ำ งานในคณะแพทยศาสตร์ เป็นสุดยอดทีพ่ ง่ึ ยามเจ็บป่วยอยูแ่ ล้ว ผูเ้ ขียนเริม่ งานในขณะ ที่อายุยังน้อย ประสบการณ์ก็ยังน้อย คือเริ่มงานทันทีในวันรุ่งขึ้นที่จบปริญญาโททางเภสัชวิทยาในภาควิชาเภสัช วิทยาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในด้านการทำ�งานนัน้ หากเขามีการจัดลำ�ดับความสำ�คัญของ ผู้ร่วมงาน ผู้เขียนเข้าใจว่า ตัวเองเป็น “เบอร์สุดท้าย” คนอื่นต้องสำ�คัญกว่าเราแน่ๆ เราต้องทำ�งานทุกอย่าง ทีค่ นเขาอยูก่ อ่ นมอบหมายมาโดยไม่บดิ พริว้ ไม่มคี �ำ ตอบว่าทำ�ไม่ได้ ทำ�ได้ทกุ อย่างและทำ�ให้ดที ส่ี ดุ ประสบการณ์ ด้านงานจะสอนเราเรื่อยๆ ไม่เหมือนตอนเรียนซึง่ ต้องอ่าน ต้องท่อง ต้องปฏิบตั ิ ทำ�คะแนนให้ได้ดๆี จะได้เป็น อาจารย์ พอเป็นอาจารย์เข้าจริงๆ กลับต้องการจะประสบการณ์อื่นมาช่วยเสริมอีกมาก เป็นอาจารย์มีข้อดีตรง มีลูกศิษย์มาก รุ่นต่อรุ่น คนแล้วคนเล่า อาจารย์จำ�ศิษย์ไม่ได้ทั้งหมดหรอก แต่ยามเจ็บมีศิษย์มาดูแลรักษาก็เป็น สุดยอดของความปรารถนาแล้ว เมือ่ ต้องมาทำ�หน้าทีใ่ นงานบริหาร ผูเ้ ขียนรับงานบริหารเมือ่ อายุยงั น้อย ประสบการณ์บริหารยังไม่มตี อ้ ง อาศัยผู้ใหญ่ที่ชักชวนเข้ามาและได้มีโอกาสได้รับใช้ท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นจะเป็นผู้สอนงาน จึงเริ่มมีหัวหน้า/ ลูกน้องเข้ามาเกี่ยวข้อง งานบริหารต่างจากงานวิชาการมาก เรื่องที่เราต้องทำ�ทั้งวันนั้นเป็นเรื่องของคนอื่นทั้งสิ้น แทบจะไม่มเี ป็นเรือ่ งใดทีเ่ ป็นของตัวเราเลย สอนตัวเองเสมอมาว่า “อย่ายอมปวดหัวด้วยเรือ่ งของคนอืน่ ว่ากันไป (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

33


ตามที่ควรเป็น” เพิ่งจะรู้นี่แหละ เพราะแยกได้ว่าเรื่องเป็นของใครๆแต่หัวเป็นของเรา ทำ�ใจได้แล้วไม่ต้องเอามา ปวดต่อทีบ่ า้ น เพราะบ้านก็มเี รือ่ งอืน่ คอยอยูแ่ ล้ว มันเป็นแบบฝึกหัดทีค่ งฝึกมาแต่ไหนแต่ไร ทำ�ให้คดิ ได้ในยามยาก ว่า เรื่องเจ็บไข้เป็นเรื่องกายอย่าให้ใจบาดเจ็บไปด้วย คิดได้แต่จะทำ�ได้หรือไม่คงแล้วแต่บุญพาวาสนาส่งหรืออาจ เป็นเรื่องฝึกปฏิบัติต้องทบทวนกันต่อไป ในงานบริหารมีเหตุให้พบปะผู้คนและเรื่องราวเชิงกว้างมากมาย มานึกขอบคุณเอาตอนเจ็บนี่แหละว่า แม้งานบริหารจะยาก แต่กลับเป็นเหตุให้เกิดความง่ายมากมายยามเจ็บไข้ครั้งนี้ ทุกอย่างมันง่ายรวดเร็วโดย อัตโนมัติ ผู้คนที่มาเกี่ยวข้องส่วนใหญ่รู้จักกันมาเพราะงานบริหาร คนนี้เป็นรุ่นพี่ คนนี้เป็นรุ่นน้อง คนนี้เป็นครู คนนี้เป็นศิษย์ คนนี้เคยเป็นหัวหน้า คนนี้เคยเป็นลูกน้อง คนนี้เคยให้คำ�ปรึกษา คนนี้เคยได้รับคำ�ปรึกษา ต่างมี ความสัมพันธ์ต่อกันทั้งทางดีและทางร้าย หากสัมพันธ์ทางดีมากก็จะมีคนเข้ามาช่วยเหลือและเข้าใจมาก เกิด ความอบอุน่ เกิดกำ�ลังใจ เกิดความสะดวกได้มากมาย และหากจะให้ทบทวนเวลากว่าสามสิบห้าปีที่อยู่ในตำ�แหน่ง หรือช่วยงานบริหารมาโดยตลอดทั้งในคณะแพทยศาสตร์ และหน่วยงานอื่นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดว่า ผู้เขียนได้ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านยาก ผ่านง่าย มาเป็นอันมาก เมื่อยามยากของชีวิตคือเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง กลับมีทุกกำ�ลังใจมาช่วยตามจังหวะเวลาได้อย่างพอเหมาะ ให้คิดต่อไปว่า เป็นโชคดีของชีวิตที่ได้มีเส้นทางใน ทุกบทบาทหน้าที่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นฐานของกำ�ลังใจในยามยากได้จริงๆ นั่นแหละ นี่คงเป็นเพราะผ่าน “ยาก” มาก่อนนั่นเองจึงมาพบกับ “ง่าย” ในยามยาก ดีใจจริงๆ 34

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บทที่ 5 ให้ลูกได้มีโอกาสตอบแทน ลูกไม้มักหล่นไม่ไกลต้น คนเป็นลูกมักเอาตัวอย่างจากพ่อหรือแม่ คนมีลูกเล็กๆ ต่างสังเกตุได้ว่าลูกเล็ก ยังไม่ประสีประสามักจะมีพฤติกรรมเลียนแบบมาจากพ่อแม่หรือคนรอบข้างอยู่เสมอ หากเลียนแบบอยู่เรื่อยๆ เมื่อเติบโตจึงเห็นว่าลูกคนนี้คล้ายพ่อ ลูกคนนี้คล้ายแม่ ดูเป็นเรื่องที่พบเห็นได้เป็นธรรมดา ลูกๆ ของผู้เขียนต่างรับทราบเรื่องราวของคุณยายมาเป็นลำ�ดับว่า คุณยาย “เก่ง อดทน และขยัน” เป็น คุณสมบัติที่โดดเด่นมาก ผู้เขียนจะเล่าให้ลูกๆ ฟังเป็นประจำ� คนเก่งนั้นหลายครั้งจะถูกละเลยโดยคนรอบข้าง เพราะเห็นว่า เก่ง คงเอาตัวรอดได้ ทำ�ให้คนเก่งทัง้ หลายต่างมีชวี ติ ทีว่ า้ เหว่เป็นบางขณะและหลายขณะแต่อยูร่ อด ด้วยความอดทนของตนเองและความเข้าใจในผู้อื่น ผู้เขียนเองไม่ต่างจากแม่ที่พยายามช่วยตนเองเป็นอันดับแรก เสมอ โชคดีตรงที่คุณพ่อของลูกเข้าใจ ดูแลเอาใจใส่ด้วยดีเสมอมา ทั้งยามปกติและยามเจ็บไข้ ผู้เขียนเรียนรู้จากการเจ็บป่วยของแม่และได้เห็นวิธีการเปิดโอกาสของแม่ที่ให้ลูกทั้งห้าคนมีโอกาสได้ แสดงกตัญญูและกตเวทิตา ในเวลา โอกาส และวิธีการที่ต่างกัน แม่ไม่ได้เปิดโอกาสเพื่อความสุข ความสบาย ของตนเองแต่เพื่อความเป็นมงคลและความหลุดพ้นของลูกทุกคน ผู้เขียนจึงยึดเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตนเช่น เดียวกัน (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

35


สมัยที่แม่ป่วย แม่ป่วยหนักสองครั้ง ครั้งแรกด้วยเรื่องกระดูกขาร้าวเนื่องจากอายุมากกระดูกเปราะบาง อยู่แล้ว ตกนิดตกหน่อยก็ร้าวหรือแตก แม่จะตกแรงหรือเปล่าไม่ทราบแต่แม่บอกว่าเพียงแค่ยุบตัวลงนั่ง จากนั้น อาการเจ็บป่วยก็ดำ�เนินไปทำ�ให้แม่ต้องผ่าตัดและใช้กระดูกเทียม แม่รักษาตัวอยู่ โรงพยาบาลลำ�ปางนาน ทำ�ให้ ลูกทั้ง 5 คนของแม่ รวมทั้งผู้เขียนด้วยต้องผลัดมือกันไปเฝ้าหรือไปเยี่ยม แม่รักลูกมากกว่าตัวเองมาแต่ไหนแต่ไร แล้ว เรียกว่าจนเป็นที่รู้กัน แม้กระทั่งยามป่วยก็ไม่อยากรบกวนใครๆ เกรงว่าลูกจะต้องทิ้งงานมาดูแล แม่ป่วยครั้งที่สองด้วยเรื่องข้อขัดข้องในทางเดินหายใจ ต้องนำ�ส่งโรงพยาบาลโดยหลานด้วยเหตุที่พวก ลูกๆ ของแม่รวมทั้งผู้เขียนด้วยต้องเดินทางไปงานแต่งงานหลานชายที่เมืองดาเวา ประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วง ฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่พอดี แม้ผู้เขียนจะรับทราบเรื่องราวทางโทรศัพท์จากญาติที่ช่วยดูแลก่อนเครื่อง จะบินสักเล็กน้อยก็มอิ าจเปลีย่ นแปลงให้เป็นอืน่ ต้องเดินหน้าเดินทางเพือ่ จัดงานมงคลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 36

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


แม่ถูกนำ�ส่งโรงพยาบาลและเนื่องจากอาการสาหัสต้องอยู่ในห้อง ICU ตลอดเวลา จนเสร็จงาน ทุกคนเดินทาง กลับมาเยี่ยม สำ�หรับผู้เขียนซึ่งเป็นลูกสาวคนโต แม้ไม่ได้อยู่กับแม่แต่ก็ถือว่าเป็นลูกที่ใกล้ชิดต้องเดินทางมาให้ เร็วที่สุดในทันทีเท่าที่จะสามารถทำ�ได้ และพบว่าแม่จะรู้สึกดีในความห่วงใยเช่นนี้ แม่อยู่ในสภาพป่วยตั้งแต่ต้นปี ทุเลาลงก็ย้ายมาอยู่ห้องผู้ป่วยพิเศษ ดีขึ้นอีกก็กลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน ในเดือนเมษายน พวกเราคือผู้เขียน น้องๆ และหลานๆ จะรดน้ำ�ดำ�หัวแม่เสมอทุกปี หากปีใดไม่อยู่ในเมืองไทยก็ จะมาก่อนหรือหลังวันสงกรานต์ตามความสะดวก ในปี 2555 ปีที่แม่ป่วย ครอบครัวของผู้เขียนมีธุระที่จะต้องเดินทางไปอเมริกาทั้งครอบครัว ตั้งใจจะไป 2-3 สัปดาห์ จึงต้องมาบอกแม่ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อแม่จะได้ไม่ต้องรอเพราะเราจะไม่มาในช่วงสงกรานต์แต่จะ มาวันที่ 25 เมษายน แทน แม่ก็เข้าใจดี บอกดีละ จะได้มีโอกาสพักผ่อนบ้าง เที่ยวบ้าง เห็นแต่ทำ�งานหนักทั้งปี วันที่ผู้เขียนบอกลาแม่นั้น ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม 2555 ครั้งสุดท้ายได้กอดแม่ไว้ ดูแม่ชื่นใจที่ได้กอดกัน และ พบว่าเป็นการกอดสุดท้าย เพราะแม่จากไปในวันที่ 2 เมษายน 2555 ในขณะที่ครอบครัวของผู้เขียนยังอยู่ใน อเมริกา และพวกเราต้องรีบกลับมาทันให้ส่งแม่/ยายในวันสุดท้ายคือ 12 เมษายน 2555 เมือ่ ระลึกย้อนในชีวติ ของแม่ตนเองทีผ่ เู้ ขียนได้ยดึ เป็นตัวอย่างในรือ่ งต่างๆ เสมอมา ผูเ้ ขียนมองเห็นโอกาส ที่แม่พยายามให้ลูกแต่ละคนได้มีโอกาสตอบแทนก่อนจากไป ลูกชายคนที่สองเป็นลูกที่แม่รักมากมาตั้งแต่ยังไม่ เกิดถึงกับตัง้ ชือ่ ไว้รอเลยทีเดียว แต่ดว้ ยวิถชี วี ติ ของน้องชายทำ�ให้อยูไ่ กลแม่ เพราะนอกจากเรียนกรุงเทพฯ ทำ�งาน กรุงเทพฯ มีครอบครัวอยู่กรุงเทพฯ และย้ายไปอยู่แคนาดา มีลูกอยู่ต่างประเทศไปเสียสิ้นจึงมีโอกาสที่จะใกล้ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

37


ชิดย่าน้อยกว่าคนอื่น แต่ลูกคนที่สองและหลานก็ได้มีโอกาสมาพบแม่ในช่วงที่แม่ป่วย จนดูเหมือนว่าได้มีความ ใกล้ชิดดังบุตรหลาน แม่และย่า ก่อนจากกัน .... ลูกคนที่สามอยู่กับแม่ตลอดเวลา แต่มีสภาพป่วยด้วยโรคที่ต้อง รักษาอยู่ตลอด แม่ยังพยายามสอนจากป่วย จนดีพอประมาณ ดำ�รงชีวิตร่วมบ้านกับแม่ มีโอกาสได้ปรนิบัติแม่ ดูแลอาบน้ำ� อุ้มลุก อุ้มนั่ง ยามเจ็บ .... ลูกคนที่สี่แม้จะอยู่กรุงเทพฯ แต่สามารถปลีกตัวจากงานมานอนเฝ้าทั้ง ที่โรงพยาบาล และบ้านได้เป็นช่วงๆ .... ส่วนลูกคนที่ห้านั้น อยู่บ้านติดกันถือว่าเป็นผู้ดูแลโดยตรงจึงรับภาระ จัดการเติมเต็มในส่วนที่เหลือทั้งหมดและถือว่าเป็นเจ้าภาพหลัก โอกาสทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อลูกทุกคนยื่นมือออกมา และแม่ต้องเปิดโอกาสด้วย การเปิดโอกาส ของแม่จะทำ�ให้ลูกๆได้แสดง “กตัญญูและกตเวทิตา” ในต่างกรรมต่างวาระ การแสดงการกตัญญูหรือการระลึก ถึงบุญคุณนั้นไม่ยาก และทุกคนมีโอกาสอยู่แล้ว ต่างไปจากการแสดงกตเวทิตาหรือตอบแทนบุญคุณ เพราะ หลายคนไม่อยู่ในวิสัย ไม่เกิดโอกาส หรือติดขัดจนไม่สามารถแสดงออกมา ยามทีผ่ เู้ ขียนป่วยด้วยโรคมะเร็งนัน้ ผูเ้ ขียนไม่ทราบหรอกว่าความเจ็บจะเกิดขึน้ ในรูปแบบไหนบ้าง ความตาย จะมาเยือนเมื่อไหร่ อาจมีเวลาอีกนาน หรืออาจจากไปโดยเร็ว ดังนั้น เมื่อลูกๆ ได้รับทราบความเจ็บป่วย ลูกๆ ย่อมมีความทุกข์ส่วนหนึ่ง ทั้งมากทั้งน้อย แต่ละคนคงไม่ต่างกัน ทุกคนต่างกตัญญู รู้ว่าเมื่อแม่เจ็บก็อยากมา เยี่ยม มาปรนนิบัติ และมาเป็นกำ�ลังใจ แต่ในสภาวะจริง ลูกคนโตเป็นหมอ อยู่ใกล้ มาหาง่าย มาหาได้เร็ว มี โอกาสปลีกตัวมาดูแลสลับกับคุณพ่อ และในยามต้องการ โดยข้อเท็จจริงแล้วแม้จะอยู่ใกล้แต่มีภารกิจเต็มตัว อย่างไรก็ตาม โอกาสได้เปิดให้ลูกคนโตได้แสดงทั้ง กตัญญูและกตเวทิตาต่อแม่ที่กำ�ลังเจ็บ ผู้เขียนนึกขอบคุณ 38

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


พระพุทธคุณเจ้าอยู่เสมอว่า หากเป็นอะไรไปขอให้ลูกๆ อย่าได้ขัดข้องหมองใจว่ายังไม่ได้ตอบแทนบุญคุณ ขอให้ ลูกได้รับทราบว่าได้ทำ�แล้วเพื่อเป็นมงคลกับชีวิตต่อไป ลูกสาวคนทีส่ องอยูไ่ กลกว่า แต่ความทีเ่ ป็นลูกสาวมีความใกล้ชดิ กับแม่มโี อกาสได้แสดงออกมากและบ่อย จึงเปิดโอกาสให้ตนเองได้มาดูแลปรนนิบัติได้ง่ายและบ่อย พอดีกับช่วงพาหลานสองคนมาฝากให้ดูแลก็นับว่า วิถีชีวิตของลูกเปิดโอกาสให้ได้แสดง กตัญญู กตเวทิตา ไปในตัว มงคลย่อมเกิดแก่ชีวิต เช่นกัน ลูกชายคนที่สามอยู่ไกลถึงอเมริกา ใจคงร้อนว่าจะมาหาแม่ได้อย่างไร ติดพัน โน่น นั่น นี่ เงินทองก็ต้อง ใช้เยอะ ผู้เขียนเห็นในความพยายามที่จะกลับมาเยี่ยมอยู่เสมอ จนต้องบอกให้ลูกทุกคนว่า ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ใน ความสงบ อยู่ในที่ตั้งของตน แม่เข้าใจในความห่วงใยทั้งหลายทั้งปวง ให้ดูเหตุ ดูผล ดูจังหวะเวลา แม่ต้องดูแล ตนเองอย่างดีที่สุดเสมอ ให้รับฟังเรื่องราวจากแม่ด้วยความเข้าใจ การตอบแทน ความห่วงใยมีได้หลายอย่าง ลูกคนไกลต้องใช้สื่อสารสมัยใหม่ และแม่ก็รับทราบว่าลูกห่วงใยแม่ไม่ต่างไปจากลูกคนอื่นๆ ในท้ายที่สุดลูก พยายามหาทางกลับมาเยี่ยมแม่ได้สองสัปดาห์ แม่อนุญาตแม้จะทราบว่าลูกต้องใช้จ่ายและต้องใช้ความพยายาม ไม่น้อย แต่เห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดง กตัญญูและกตเวทิตา อันเป็นมงคลแก่ชีวิต จึงมีความพร้อม ที่จะ “เปิดโอกาส” แก่ลูกทั้งสามคน คนเป็นมะเร็งนัน้ มีวถิ ชี วี ติ ทีต่ า่ งไปจากคนอืน่ ๆ มีความไม่แน่นอนมากขึน้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยูเ่ สมอ ในปัจจุบัน หมอดี ยาดี ทำ�ให้คนเป็นมะเร็งมีทางรอดมากขึ้น มีช่วงเวลาที่จะหาย และมีโอกาสหายขาดได้อีกด้วย คนเป็นมะเร็งต้องการกำ�ลังใจมาก กำ�ลังใจที่ต้องสร้างเองและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง มีวิถีชีวิตที่ต้อง (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

39


เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ไม่มีใครรับรองว่าต้องหายหรือต้องตาย หรือ แม้กระทั้งต้องป่วยอยู่นานวัน อยู่ด้วยความหวัง ด้วยความระมัดระวัง ด้วยความเข้าใจ ด้วยการรักษาสมดุล ด้วย การสร้างวิถีชีวิตใหม่ กำ�ลังใจมีขึ้น มีลง ไม่คงอยู่ หลายวันก็ถดถอย หลายวันก็ท้าทาย การเปิดโอกาสให้ลกู ได้แสดง กตัญญูและกตเวทิตา ถือว่าเป็นสิง่ ทีค่ วรทำ�อย่างยิง่ ขอให้ลกู ทุกคนได้ร�ำ ลึก เสมอว่า แม่ได้เปิดโอกาสแล้วและลูกๆทุกคนต่​่างได้แสดง กตัญญูและกตเวทิตา สมควรกับการเป็นบุตรธิดาที่ ดีแล้ว จงพอใจ จงภูมิใจ ไม่ว่าแม่จะมีชีวิตที่ยาวนานต่อไป หรือมีเพียงช่วงสั้น เราต่างได้มีโอกาสต่อกันและกัน อันสมควรแล้ว ให้ลูกๆได้มีความสุข ความเจริญต่อไป

40

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บทที่ 6 โชคดีที่ได้ยินเสียงสวรรค์ น้อยคนนักทีจ่ ะได้ยนิ คำ�พูดทีช่ น่ื ใจในเวลาทีค่ บั ขัน ในห้วงของการเป็นมะเร็งทีใ่ ครๆ ก็เรียกว่าโรคร้ายนัน้ บางครั​ั้ง หลายครั้ง ก็ยังมีนาทีที่ชื่นใจแทรกอยู่เป็นช่วงๆ สิ่งเหล่านี้สามารถหล่อเลี้ยงใจให้สดชื่นกับความไม่ คาดฝันได้เป็นอย่างดี เสียงตอบรับทางโทรศัพท์จาก อาจารย์หมอดิเรก บรรณจักร ในเวลาสามทุ่มของวันที่ 12 ม.ค. 2558 เมื่อ ผู้เขียนตัดสินใจโทรศัพท์ไปเล่าอาการให้ฟังหลังจากที่คิดหลายรอบว่าควรหรือไม่ควร ด้วยความเกรงใจอย่างยิ่ง ว่า คุณหมออาจมีงาน ใช้เวลากับครอบครัว ฯลฯ และรบกวนผิดเวลา“อาจารย์หาห้องเถอะครับเรื่องสุขภาพ ให้เป็นเรื่องของผม... พรุ่งนี้ผมไปกรุงเทพฯ แต่เมื่ออาจารย์ได้ห้องแล้วแจ้งผมด้วยผมจะนัดเจออาจารย์ที่ใดที่ หนึ่งให้ได้ ผมจะให้เจ้าหน้าที่คอยประสานให้ ...” ใจมาตั้งเป็นกอง ขนาดยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่รู้ว่าเมื่อป่วยและ ร้องขอจะมีคุณหมอตอบสนอง ในวินาทีนน้ั ผูเ้ ขียนอดคิดไม่ได้วา่ ตัวเรานีโ้ ชคดีจริง มีทข่ี น้ึ ต้น... มีจดุ เริม่ ว่าเมือ่ มีอาการป่วยทีย่ งั ไม่รสู้ าเหตุ เพียงแค่เดาว่ามาจากไตเพราะมีเลือดออกมาทางปัสสวะ ก็ให้มีหมอโรคไตตอบสนองเป็นกรณีพิเศษ ไม่เพียงแค่ นัน้ คุณหมอดิเรกยังรือ้ ฟืน้ ความหลังว่า “ตอนผมเป็นนักศึกษาแพทย์ปที ่ี 1 ผมขีม่ อเตอร์ไซด์มาจาก มช.เพือ่ มาหา อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์เป็นที่ปรึกษาของผม เซ็นใบอะไรต่อมิอะไรให้ผมมาตลอด ผมคิดตลอดว่าอาจารย์ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

41


เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคนแรกของผม ผมจะดูแลอาจารย์อย่างดี...” มีอะไรจะชื่นใจไปมากกว่านี้อีกไหม ขณะนั้น หากคิดว่าตนเองเป็นผู้ป่วยก็โชคดีมหาศาลที่จะมีหมอมาดูแล และหากคิดว่าเป็นอาจารย์จะมีอะไรชื่นใจไปกว่า ไหม? มีศิษย์เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ยังจำ�ได้ว่าเราเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและยินดีให้การดูแลยามป่วย คิดเลยไปถึงว่า การเป็นครูดีเพียงนี้เชียวหรือ?? ตลอดช่วงแห่งการวินิจฉัยและรอผล คุณหมอดูแล เป็นห่วงเป็นใย กระทั่งพอทราบคร่าวๆว่าเป็นก้อน ในช่องเชิงกรานที่ต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไปคุณหมอก็ยื่นมือมากุมแขน “อาจารย์ทำ�ใจดีๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็น อะไรพวกเราจะดูแลอาจารย์ ....” สิ่งที่ได้ยินเป็นพื้นฐานของกำ�ลังใจอย่างแท้จริง คนเป็นมะเร็งนั้นต้องสู้เดี่ยวอยู่ แล้ว ต้องการกำ�ลังใจอย่างยิ่งยวด จากใคร??? ผู้ใกล้ชิด? ผู้เกี่ยวข้อง? ใครอื่น? ไม่สำ�คัญ เสียงที่ได้ยินในช่วงเวลา นั้นเหมือนเสียงสวรรค์ ที่อะไรๆ ก็ดูไม่ยากเลย ทั้งๆ ที่มันคงเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องของความโชคร้าย เป็นเรื่อง การสือ่ สารทีต่ อ้ งระวังทัง้ หมอทัง้ คนไข้ แต่วนั นัน้ ดูเหมือนว่าไม่มกี �ำ แพงใดๆ คนไข้และหมอคุยกันในเรือ่ งหนักหนา สาหัส เรื่องความเป็นความตายอย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน ผู้เขียนมีคำ�ถามแว๊ปๆ ว่า “อะไรหนอทำ�ให้เรื่องยาก เป็นเรื่องง่ายในวันนี้?” มันเป็นความรูส้ กึ ทีด่ มี ากๆ อย่างหนึง่ บอกไม่ได้วา่ เรียกว่าอย่างไร ความรูส้ กึ ทีว่ า่ นีเ้ กิดขึน้ ตลอดช่วงเวลา ในโรงพยาบาล ในเหตุการณ์และคำ�พูดของผู้หมุนเวียนเข้ามาในช่วงชีวิต เมื่อคิดย้อนไปจึงอยากจะบอกตนเอง เหลือเกินว่า “โชคดีที่ได้ยิน” 42

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ในตอนบ่ายของวันเดียวกัน คุณหมอดิเรกพาคุณหมอประภาพร หมอสูตินรีเวช มาพบที่ห้องอธิบายว่า ผมเห็นว่าเป็นก้อนอยู่ในช่องเชิงกราน ประกอบกับอาจารย์มีประวัติของการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ ผมได้หารือกับ คุณหมอประภาพรมาแล้วเลยจะมาพบอาจารย์เสียบ่ายนี้เลย คุณหมอประภาพรพูดว่า “อาจารย์ทำ�คุณประโยชน์ให้คณะฯ และพวกเรามากมาย ตอนนี้ขอให้เรามี โอกาสได้ดูแลอาจารย์บ้าง ..... เราได้หารือกันหลายแผนกด้วยเหตุก้อนเนื้ออยู่ใกล้และเกี่ยวพันกับอวัยวะหลาย ส่วน ทั้งไต ท่อปัสสวาะ กระเพาะปัสสาวะ ลำ�ไส้ หมอยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นพระเอก หรือนางเอกในการดูแล อาจารย์แต่พวกเราทั้งหมดจะดูแล และติดตามกรณีของอาจารย์ตลอด .... หมอได้ประสานกับหัวหน้าภาควิชา ศัลยศาสตร์แล้วบอกว่าเปิดไฟเขียวเต็มที่ หมอแจ้งคุณหมอไพสิษฏ์ที่อาจารย์คุ้นเคย เผื่อว่าเราอาจต้องผ่าตัด หมอศิวัฒน์ยินดีมาดูระบบท่อปัสสาวะ จนกว่าเราจะมีข้อมูลเพิ่มเติมอื่น เอาเป็นว่าตอนนี้หมอกับหมอดิเรกจะ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

43


เป็นผูด้ แู ลอาจารย์ไปก่อน อาจารย์อาจถูกย้ายวอร์ดไปตามความเหมาะสมซึง่ พวกเราจะประสานให้ หากเปลีย่ นแปลง การดูแลอย่างไรหมอจะมาแจ้งอาจารย์เป็นระยะๆ ... ” นี่เป็นประโยคยาวที่น้อยคนนัก ไม่ว่าจะในฐานะผู้ป่วยหรืออาจารย์จะพึงได้ยิน อยากจะย้ำ�อีกครั้งว่า โชคดีที่ได้ยิน สิ่งที่ได้ยินมันมารวมกันเป็นต้นไม้ที่เรียกว่า “กำ�ลังใจ” ดูมันสร้างขึ้นมาได้ในพริบตา และยังเป็น บ่อเกิดแห่งความวางใจ มันเป็นต้นไม้ก�ำ ลังใจทีง่ อกขึน้ อย่างรวดเร็วในชีวติ ทีก่ �ำ ลังวิกฤตและแยกกิง่ ก้านออกไป สมบูรณ์ แข็งแรง ประหนึ่งถูกรดน้ำ� พรวนดิน ให้ปุ๋ย ในเวลาที่พอเหมาะพอเจาะ ด้วยน้ำ�มือของชาวสวนดอกที่จะได้เล่า ต่อไป ขณะนั้นไม่คิดสิ่งใดอื่นนอกจากบอกตนเองว่า เรากำ�ลังอยูใ่ นทีท่ ด่ี แี ละเหมาะกับตนเองอย่างทีส่ ดุ ในยาม เจ็บได้รบั การรักษาจากหมอทีร่ จู้ กั คุน้ เคย

44

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ผลจากการตรวจภายในพบร่องรอยการคืบคลานของก้อนเนื้อเข้ามาในช่องคลอด การตัดสินใจเปลี่ยน ไปทันทีวา่ เป็นโอกาสดีทเ่ี ราจะตัดชิน้ เนือ้ ผ่านทางรอยโรค ง่ายกว่าตัดผ่านหน้าท้อง คุณหมอสุรพันธ์ คุณอมรพงศ์ เข้ามามีบทบาทในฐานะพยาธิแพทย์ที่คุณหมอประภาพรวางใจ และได้ช่วยตรวจด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว ทั้งๆ ที่เป็นปลายสัปดาห์ ทำ�ให้รู้ผลเบื้องต้นอย่างรวดเร็วแม้จะต้องใช้เวลาตรวจต่ออีกมากมาย ผลเบื้องต้นแจ้งว่า น่าจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำ�เหลือง แต่ต้องใช้เวลาแยกประเภทโดยการตรวจต่อไปอีก ข้อมูลคร่าวๆ ที่ว่านี้ให้ ประโยชน์อย่างมากและเป็นทางแห่งการตัดสินใจครั้งใหม่ คณบดีวัฒนา นาวาเจริญและทีมบริหารมาเยี่ยมในวันหลังพร้อมย้ำ�ว่า “อาจารย์ครับ ที่นี่บ้านของเรา อาจารย์จะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดเสมอ ... อาจารย์ลืมภาพเคมีบำ�บัดที่น่ากลัวได้เลย เดี๋ยวนี้หมอดี ยาดี ... อาจารย์ ลืมภาพการฉายแสงแบบเดิมได้เลย เดี๋ยวนี้มีเครื่องสามมิติ ... ” ระหว่างรอความพร้อมของข้อมูลทีเ่ ป็นทางการ ทีมโรคเลือดและน�ำ้ เหลืองซึง่ มี คุณหมอลลิตาเป็นเจ้าของ ไข้ มีคุณหมออดิศักดิ์จะช่วยดูแลเรื่องไขกระดูกได้เตรียมหาข้อมูลเรื่องความพร้อมของร่างกาย ยาที่จะใช้เลย ไปถึงการบริหารจัดการที่ดีที่สุด และรวดเร็วที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทราบว่าก้อนมีขนาดโตมาก ต้องการ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพิม่ เติมเพือ่ หาระยะของโรค การกระจายของมะเร็ง มีคณ ุ หมอชัยวัฒน์ บำ�รุงกิจและทีมงาน ทรวงอก มาดูแลเพิม่ เติม “อาจารย์ เดีย๋ วนีม้ ะเร็งไม่นา่ กลัว อาจารย์เห็นผูป้ ว่ ยรายอืน่ ๆ ไหม เป็นตับตัดตับ เป็น ปอดตัดปอด แล้วรักษาไป หากรู้และรักษาก็รอดเกือบทุกราย ที่ไม่รู้ต่างหากต้องเป็นห่วง .. พวกเราดูแลอาจารย์ เต็มที่อยู่แล้ว อย่ากังวล” การรักษาดำ�เนินไปตามแผนที่วางไว้ด้วยความมั่นใจว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

45


ท่านคณบดีก�ำ พล กลัน่ กลิน่ มาเยีย่ มพร้อมทีมงานศรีพฒ ั น์มา เราเคยทำ�งานร่วมกันมาทัง้ ทีมในหลายเรือ่ ง มีคณะอาจารย์ทเ่ี คยช่วยสอนในหลักสูตรผูช้ ว่ ยทางการแพทย์มาด้วยแลกเปลีย่ นประสบการณ์ให้กำ�ลังใจกัน สร้าง ความอบอุ่นเป็นอย่างมาก คุณหมอรัตนา พันธ์พานิชมาเยี่ยมหลายครั้ง เราคุยกันถูกคออยู่แต่เดิมแล้วเพราะ เราไม่เพียงคุยเรื่องธรรมดาๆ อย่างเข้าใจ บางครั้งเราก็คุยกันเรื่องแปลกๆ เป็นนามธรรม มองไม่เห็น จับต้อง ไม่ได้ทผ่ี ฟู้ งั อืน่ อาจไม่เข้าใจหรือเข้าใจต่างออกไป แต่เราก็เข้าใจกันดีมากๆ อยูเ่ สมอ “พีร่ สู้ กึ ไหมว่าสิง่ ทีเ่ ราต้องการ สูงสุดในการรักษาผู้ป่วย คือต้องให้ผู้ป่วยรู้สึกอย่างที่พี่กำ�ลังรู้สึกอยู่นี่แหละ มันเป็นสุดยอดของความสัมพันธ์ ระหว่างหมอและคนไข้ ...” เป็นเช่นนั้นจริงๆ แม้จะยังไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอย่างไร มีเพื่อนฝูงมาเยี่ยมมากมาย อาจารย์พาณี ศิริสะอาดสรุปว่า “อาจารย์ไม่เหมือนผู้ป่วยมะเร็งรายใดเลย หนูรู้สึกว่าจิตใจของอาจารย์ได้รับความอบอุ่นมาก นับว่าเป็นบุญของอาจารย์นะ ...” ณ วันนี้ เลยอยากเรียก ความรู้สึกนั้นว่า “ความอบอุ่น” นี่ยังเก็บตกไม่หมดแต่จะมีโอกาสได้นำ�เสียงในความทรงจำ�อย่างนี้มาใช้ในโอกาสถัดๆ ไป หลายคนมา เยีย่ มตอนผูเ้ ขียนขอลาคุณหมอออกไปนอกโรงพยาบาลในโอกาสต่างๆ ไปวัดบ้าง กลับบ้านดูหลานบ้าง ช่วงรอผล แต่กลับมานอนโรงพยาบาลทุกคืน เสียงจากแพทย์ประจำ�บ้านชื่อ ดาริน เป็นหมอที่คอยประสานงานกับอาจารย์ ที่มาดูแลทั้งหลาย คุณหมอดาริน จันทสุวรรณ ขยันมาดูรายงานแต่เช้า คอยประสานว่าจะมีใครมาดูแลเกี่ยวข้อง วันไหนเวลาไหน มาหาเกือบทุกวัน “หนูอยากจะมาเรียนอาจารย์วา่ หนูจะย้ายกองแล้ว ในช่วงทีห่ นูดแู ลกรณี ของอาจารย์ หนูรู้สึกเสมอว่ามันพิเศษไปกว่ารายอื่นๆ อาจารย์มีหมอที่เก่งๆ มารวมตัวกันดูแลอาจารย์ทั้งนั้นเลย 46

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ตามข้อมูลก็ไม่ยาก ดูเหมือนว่าทุกคนพร้อมให้ พร้อมดูแล พร้อมช่วย ทั้งๆที่มาจากคนละแผนก คนละสายงาน หนูยังไม่เคยเห็นมาก่อน และที่สำ�คัญอาจารย์เป็นผู้ป่วยที่สดชื่น ไม่เหมือนผู้ป่วยมะเร็งรายใดๆ ” ... “ถึงหนูจะย้าย กองแล้ว และหากหนูยังมีโอกาสกลับมาเยี่ยมอาจารย์ หนูอยากขออนุญาตมาคลำ�ก้อนเนื้อของอาจารย์อีกครั้ง หนูคลำ�หลายครั้งแต่ไม่พบทั้งๆ ที่ CT ยืนยันว่ามันโตมาก” เสียงสวรรค์ยังมาจากอีกหลายสาย ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ส่งเสียงสวรรค์มาทันทีว่า “ดูแล สุขภาพเป็นเรื่องสำ�คัญที่สุด เรื่องการเรื่องงานพักเอาไว้ก่อนเลย อย่ากังวล อย่าเครียด” พร้อมส่งกระเช้ามา หลายรอบ เป็นการคลายกังวลอย่างมาก รองอธิการบดีวิบูลย์ วัฒนาธร “อาจารย์ไม่ต้องกังวลเรื่องงานนะ อาจารย์นะ่ เตรียมงานไปกว่า 90% แล้ว ทีมงานอาจารย์กเ็ ข้มแข็ง เดีย๋ วพวกเราช่วยกัน ผมคิดว่างานของอาจารย์ จะผ่านไปได้ดีทีสุดเหมือนเคย ทุกคนมีใจเต็มร้อยที่จะทำ�งานให้สำ�เร็จ ขอให้ดูแลสุขภาพเป็นเรื่องหลักนะครับ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

47


กำ�ลังใจจากชาวพะเยาเต็มที่นะครับ” คณบดีจากหลายคณะ ตัวแทนจากกองงานต่างๆ มาเยี่ยมมากมาย อาจารย์ และเจ้าหน้าทีท่ เ่ี คยร่วมงานผลัดเปลีย่ น หมุนเวียนกันมาเยีย่ มทัง้ ทีโ่ รงพยาบาลมาต่อทีบ่ า้ นกันอีก ดูทกุ คนห่วงใย สร้างกำ�ลังใจได้มาก ผู้ใหญ่ของสโมสรโรตารีที่ทราบเรื่องมาเยี่ยมด้วยความเป็นห่วงเป็นใยเช่นกัน เพื่อนร่วมงาน ร่วมเรียน ร่วมกิจกรรมที่ทราบรีบมาเยี่ยมกันโดยตลอด ทำ�ให้ได้ยินเสียงสวรรค์อยู่เป็นเนืองนิจ หลายคนให้กำ�ลังใจทาง โทรศัพท์ ทาง line ทางการสื่อสารสมัยใหม่ ช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงไม่รู้สึกเหงา ไม่ว้าเหว่ และระลึกถึงความด้วย ความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อไปและจะจดจำ�ไปนาน

48

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บทที่ 7 สิ่งที่ได้สะสมไว้ หากใครทีส่ ามารถมีชี วี ติ จนถึงวัยเกษียณได้ ก็คงต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก สร้า่ งบุญ สร้างบาปไว้มาก มีคนรักเท่าผืนหนังมีคนชังเท่าผืนเสื่อ ไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก คนเตรียมตัวมาดีอาจสบายหน่อยในยามเกษียณ คนเตรียมมาไม่พร้อมอาจเดือดร้อนตามที่เป็นข่าวให้ได้ยินอยู่เนืองนิจ มีอีกตั้งมากมายที่ไม่เป็นข่าว อยู่กันมีทุกข์ มีสุขอย่างไรก็แล้วแต่คน สิ่งต่างๆ เหล่านี้คนทุกคนต้องสะสมกันเอาเอง มาสร้างให้กันไม่น่าจะได้ ยกเว้นคนมี บุญเก่า แต่ถึงบุญเก่าก็เถอะคนนั้นคงเป็นผู้สร้างเอาไว้แต่ชาติไหนๆ ช่วงที่มาอยู่โรงพยาบาลเพราะป่วยด้วยโรคมะเร็ง ได้ยินหลายครั้งหลายหนจากหลายปากว่า “อาจารย์ มีบุญนะ” เมื่อฟังบ่อยๆ ก็คิดตามไปด้วยว่ามีบุญนี่มันหมายความว่าอย่างไรกัน ตอนไม่เป็นมะเร็งไม่เคยรู้สึกว่า ตนเองมีบุญอย่างชัดแจ้ง พอเป็นมะเร็งได้พานพบกับสิ่งต่างๆ รู้สึกได้ว่า “มีบุญ” มันจะหมายถึงการได้รับความ ช่วยเหลืออย่างดีในยามยาก เป็นโชคดีภายใต้โชคร้าย หรือเป็นการสนองตอบจากสิง่ ทีส่ ะสมไว้ในต่างกรรมต่างวาระ กับบุคคลต่างๆ ต้องมานั่งพินิจพิเคระห์ ย้อนหน้า ย้อนหลัง อยู่โรงพยาบาลมีเวลามาก นอนว่างๆ ก็ทบทวนสิ่งที่ ผ่านมาในชีวิต ผู้เขียนคงสะสมไว้เยอะทั้งสิ่งดี สิ่งร้าย ทั้งบุญทั้งบาป แม้จะปรับตนเป็นบางเวลาที่สำ�นึกได้ว่าเรา อาจผิดพลาดตรงโน้นตรงนี้ แต่ก็ยังสร้างทั้งบุญทั้งบาปตามกันมาติดๆ สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนมาเป็นโชคดีภายใต้ โชคร้ายหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจนัก อย่างไรก็ตาม 20 วันในโรงพยาบาลได้ให้แง่คิดมากมายเหลือเกิน ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

49


ในเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้งสักเรื่องเดียว แต่เหตุการณ์พาไปทำ�ให้เข้าใจชีวิตมากกว่าครั้งใดๆ อาจารย์หมอยุพา สุมิตรสวรรค์ มาเยี่ยมหลายครั้งด้วยความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง กำ�ลังใจให้มาเต็มเพียบ อาจารย์บอกว่า “เนื้อผ้าก็ไม่เท่าไหร่ ให้อาศัยเนื้อนาบุญช่วย ทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี” เป็นประโยคที่นำ�มา คิดวิเคราะห์ได้หลายจังหวะ “เนื้อผ้าก็ไม่เท่าไหร่” นี่เข้าใจชัดแจ้ง ในครั้งแรกที่พบก้อนขนาดประมาณ 10 ซม. ทุกคนก็คิดไปถึงว่า ก้อนอะไร ผ่าตัดเอาออกดีไหม? ผ่าแล้วจะเป็นอย่างไร แม้ใจจะสู้ อย่างไรก็ต้องยอมรับ รู้อยู่ กับจิตว่าชีวิตหลังผ่าคงต้องอดทนไม่น้อย ฟังดูหนักหนาสาหัส คิดไปว่า มะเร็งเป็นโรคร้ายนี่ ต้องสาหัสหน่อย แต่เมือ่ การตรวจวินจิ ฉัยได้ด�ำ เนินไปตามครรลอง ข้อมูลทีม่ ากขึน้ ทำ�ให้การวินจิ ฉัยใกล้เคียงความจริงมากขึน้ เรือ่ ยๆ ในท้ายที่สุดเมื่อพบว่าเป็นก้อนจากมะเร็งของต่อมน้ำ�เหลืองซึ่งอยู่ในบริเวณช่องเชิงกราน ทุกคนดูโล่งใจ เพราะ มันง่ายขึ้นอีกตั้งเยอะ ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่อย่างที่เคยคาดคะเน แค่เคมีบำ�บัดและฉายรังสีอาจจะพอเพียง คนไข้ก็ แข็งแรง กำ�ลังใจก็มีมากมาย ลองว่าใจสู้ อะไรๆ ก็ต้องถอยทั้งนั้น เป็นคำ�จำ�กัดความของ “เนื้อผ้าก็ไม่เท่าไร” คือ อยู่ในวิสัยที่จะจัดการได้ “ให้อาศัยเนื้อนาบุญช่วย” เนื้อนาบุญมาจากไหน???? “มีบุญ” อาจแปลว่าผู้ได้ของจำ�เป็นมาในเวลาที่ เหมาะสม การหาห้องในโรงพยาบาลสวนดอกไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อจำ�เป็นและถึงเวลาก็ได้มา การคลำ�หาก้อน ไม่ใช่เรื่องง่าย เราเองก็คลำ�มาโดยตลอดแต่คลำ�ไม่เจอ พอถึงเวลาจะเจอก็ใช้เวลาเพียงครึ่งวันเท่านั้นเอง การ ตรวจภายในเพื่อเจอร่องรอยของเลือดออกไม่ใช่เรื่องง่ายอีกนั่นแหละ บังเอิญโชคดีที่ก้อนมีขนาดใหญ่พอที่จะมา แตะช่องคลอด ทำ�ให้งา่ ยต่อการตัดชิน้ เนือ้ ไปพิสจู น์ จนกระทัง่ ได้ผลการตรวจชิน้ เนือ้ ทีท่ �ำ ให้แผนการรักษาเปลีย่ นไป 50

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ข้อสรุปอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างว่าสถานการณ์ดีขึ้นเป็นลำ�ดับอยู่เรื่อยๆ คือ “มีบุญนะ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างมันง่าย ขึ้นทุกครั้งเมื่อข้อมูลเพิ่มขึ้น” อาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า “อาจารย์มีบุญนะ ใครต่อใครก็ดูแลอาจารย์อย่างดี ส่วนหนึง่ ผมคิดว่าอาจารย์ ได้ท�ำ อะไรต่อมิอะไรให้คนมาเยอะนัน่ แหละ ทำ�ให้อะไรต่อมิอะไรมันดูงา่ ยไปหมด” เป็นอีกคำ�พูดหนึ่งที่ต้องนำ�มา ไตร่ตรองว่า คำ�ว่า “มีบุญ” น่าจะต้องเกิดจากการทำ�อะไรมาก่อน บุญคงไม่ลอยมาเอง คุณหมอลลิตาบอกว่า “อาจารย์โชคดีในบรรดากลุ่มคนที่เป็นมะเร็ง อาจารย์เป็นชนิดที่อ่อนที่สุด และเรามีประสบการณ์ในการรักษา โชคดีที่อาจารย์ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งหรือหนึ่งในสี่ด้วยซ้ำ�ไปของผู้ป่วยรายอื่นๆ ในการวินิจฉัย แม้ก้อนจะขนาดโตแต่ เบาใจได้ว่าเราพอมีเวลา” พอมีเวลา... ระหว่างที่รอการให้เคมีบำ�บัด ต้องใช้เวลาหลายวัน เนื่องจากต้องมั่นใจว่าทุกระบบพร้อม มีการตรวจเยอะแยะมากมาย คุณหมอทางเดินปัสสาวะก็มาคุยแล้ว สั่งเก็บปัสสาวะทุกวัน คุณหมอลำ�ไส้ก็เห็น ทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว คุณหมอโรคทรวงอกถูกตามมาอีกด้วยเหตุที่เห็นร่องรอยบางอย่างที่ปอด เกรงว่ามะเร็งจะ กระจายไปหรือไม่ จะเป็นผลเสียต่อการให้เคมีบำ�บัดหรือไม่ ทุกอย่างลงตัว แต่ยังต้องรอ รออะไร? รอพระเอก อีกหนึ่งราย ... คุณหมอตัดสินใจใช้ยาภูมิต้่านทาน “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” ร่วมไปกับยาเคมีบำ�บัด แอนติบอดี หรืออิมมูโนโกบูลิน เป็นสารโปรตีนที่มีความสำ�คัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างจากเม็ดเลือดขาวชนิด หนึ่งที่เรียกว่า “พลาสมาเซลล์” ซึ่งมีลักษณะรูปร่างคล้ายตัว Y แขนสองข้างของตัว Y เป็นตำ�แหน่งที่ไปจับกับ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

51


สารแปลกปลอม “แอนติเจน” ส่วนขาของตัว Y จะเป็นตำ�แหน่งที่จับกับเม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำ�หน้าที่กำ�จัด สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย แอนติเจน อาจเป็นโปรตีนบนผิวของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสบนผิวของเซลล์ เป็น การทำ�เครือ่ งหมายเพือ่ ให้รา่ งกายได้ทราบว่าเป็นสารแปลกปลอม และจะถูกกำ�จัดโดยกระบวนการปกติของร่างกาย ส่วนคำ�ว่าโมโนโคลนอล หมายถึงเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนกัน และมีลักษณะทางพันธุกรรมเดียวกัน เมื่อนำ�มารวมกับแอนติบอดีเป็น “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” จะหมายถึงสารภูมิต้านทานที่มีลักษณะเหมือนกัน ทุกประการเนือ่ งจากสร้างมาจากเซลล์ทเ่ี หมือนกัน โมโนโคลนอลแอนติบอดีน�ำ มาใช้รกั ษามะเร็งของต่อมน�ำ้ เหลือง ที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแรก คือ “ริทูซิแมบ” ซึ่ง เป็นภูมิต้านทานต่อสารแปลกปลอม “แอนติเจน” ชนิด ซีดี 20 (CD20) เป็นแอนติเจนบนผิวของเซลล์มะเร็งของ

52

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ต่อมน้ำ�เหลืองซึ่งเป็นมะเร็งของเม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า “ลิมโฟไซด์ชนิดบี” (B lymphocyte) เป็นมะเร็ง ของต่อมน้ำ�เหลืองที่พบบ่อยที่สุด โมโนโคลนอลแอนติบอดี้เป็นสารที่มีราคาแพง การขอใช้ต้องขออนุมัติจากกรมบัญชีกลางให้เรียบร้อย ก่อนให้ยาและต้องมีหลักฐานการตรวจทีแ่ น่นอนว่าจะเป็นรายทีใ่ ช้ยาแล้วเกิดผลดี ด้วยความทีไ่ ม่คอ่ ยจะเคยป่วย มาก่อนจึงมิได้ทำ�บัตรเบิกตรงเอาไว้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องรีบดำ�เนินการให้ ใช้เวลาช่วงหนึ่งก่อนส่งหลักฐาน ทั้งหมดไปยังกรมบัญชีกลาง เมื่อส่งแล้วต้องรอเพราะทั้งประเทศก็น่าจะมีหลายราย งานคงเยอะ คิวคงยาว ทำ�ให้พวกเราต้องรอว่าเมื่อไหร่หมอจะเริ่มให้ยาเสียทีแต่ผู้เขียนได้รับคำ�บอกเล่าเหตุผลทั้งหมดจากคุณหมอ เจ้าของไข้แล้ว มิได้กังวลอะไร หากจำ�เป็นจริงๆ ต้องเร่งรีบเราก็จะหาวิธีช่วยอื่นต่อไปได้ ก่อนวันที่จะตัดสินใจ ดร.นิวัตน์ มณีกาญจน์ ซึ่งเคยทำ�งานบริหารร่วมกันมานาน มาเยี่ยมหลังเลิกงาน กว่าสี่โมงแล้ว พอทราบเรื่องว่ากำ�ลังรอใบอนุมัติ ท่านเคาะโทรศัพท์ปลายสายอยู่รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง (คุณ ณพงศ์ ศิริขันตยกุล รองอธิบดีกรมบัญชีกลางและปัจจุบันท่านเลื่อนตำ�แหน่งไปรักษาการ “ที่ปรึกษา ด้านพัฒนาระบบบัญชี”) เล่าเรื่องให้ฟัง ขณะนั้นไม่มีเอกสารหลักฐานสักอย่างเดียวอยู่ในมือ เลยเอาเป็นว่าแจ้ง ชื่อกับหมายเลขประจำ�ตัวโรงพยาบาลไปก่อนแล้วกัน เดี๋ยวจะไปตามหลักฐานเอกสารอื่นให้ ... ดังปาฏิหารย์ .... เย็นนั้นใบอนุมัติก็ถูกส่งมาอย่างรีบด่วนทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ส่งเอกสารอะไรไปเพิ่มเติมเลย ในเช้าของวันใหม่ คุณหมอลลิตาเดินยิ้มมาแต่เช้า “วันนี้เราจะให้ยาอาจารย์ละนะ เมื่อวานเย็น เราได้รบั ใบอนุมตั ิ ส่งมานอกเวลาทำ�การซึง่ น่าจะเป็นครัง้ แรกนะ หมอยังไม่รเู้ ลยว่ามันเกิดอะไรขึน้ ” จึงได้เล่าเรือ่ ง (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

53


ดร.นิวตั น์ให้ฟงั เป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ของการได้สง่ิ จำ�เป็นมาในเวลาทีเ่ หมาะสม เราเรียกง่ายๆ ว่าในวันนัน้ ว่า “ปาฏิหารย์” หรือ “มีบุญจริงๆ” ที่ได้ของจำ�เป็นมาทันเวลา เป็นเรื่องที่ต้องไปศึกษาว่าอะไร คือ “มีบุญ” และมาได้อย่างไร? มันเป็นสิ่งที่ต้องสะสม หรือว่ามันลอยมาตามโชคชะตา หลายปีผ่านมาผู้เขียนเดินทางไปพิษณุโลก นั่งทานกาแฟร้านดัง บังเอิญเจ้าของโรงแรมที่ร้านตั้งอยู่ผ่าน มาคุยด้วย ปรากฏเรารู้จักคนกลุ่มเดียวกันหลายคนทั้งๆที่เราต่างวัย ผู้เขียนได้รับการเลี้ยงกาแฟมื้อนั้น เราคุยกัน ยาว และทิ้งท้ายด้วยเรื่องไม่คาดฝัน “ผมทำ�โรงแรมนี่ก็ยุ่งทั้งวัน แต่เมื่อเดือนก่อนผมยังอุตส่าห์หนีความยุ่งไปนั่ง ฝึกสมาธิของท่านโกเอ็นกะ ที่ศูนย์ธรรมอาภา วังน้ำ�เย็นนี่เอง ไม่ไกลจากที่นี สองสามวันแรกผมสงสัยว่า ผมบ้า หรือเปล่าที่มา แต่ผมรับปากเขาว่าจะอยู่จนครบ 10 วันโดยไม่พูดไม่จากับใคร ทานอาหารของเขา แบบเขา ดื่ม น้ำ�ปานะ ตื่นเช้า หลับ 4 ทุ่ม กลางวันฝึกสมาธิ กลางคืนฟังเทศนาธรรม เป็นคำ�สอนของพระพุทธเจ้านะ ผมไป มีทั้งฝรั่งทั้งไทย เขามีเทปสองภาษา มีครูติวเอาไว้ตอบคำ�ถาม เวลาผ่านไป ด้วยความที่ผมต้องทำ�ตามสัญญา ใน วันสุดท้ายผมก็เห็นความเป็นจริงของร่างกาย” จากนั้นก็ได้วิธีฝึกสมาธิแบบท่านโกเอ็นกะติดตัวมาใช้จนถึงครั้งนี้ ในช่วงนี้ได้ใช้วันละสองครั้งเช้าและ เย็น ดูเหมือนว่าให้ประโยชน์เป็นอย่างมากแก่จิตใจของคนเป็นมะเร็งเพราะสงบเย็น ที่เล่านี้อาจเป็นสิ่งสะสม ทางใจที่ได้รับมาโดยบังเอิญแต่ต้องฝึกมาก่อน ไม่อาจทำ�ได้โดยการอ่านคงมีสิ่งที่ต้องสะสมอีกมากจะนึกถึงได้ เมื่อเจอกับสถานการณ์ หากมีโอกาสจะเล่าในตอนอื่นๆ 54

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บทที่ 8 สิ่งที่ต้องทำ� ณ ปัจจุบัน สิง่ ทีส่ ะสมไว้เป็นเรือ่ งทีผ่ า่ นมาแล้ว เรือ่ งทีย่ งั มาไม่ถงึ เป็นเรือ่ งของอนาคต คนเป็นมะเร็งคุณหมอจะเตือน อยู่เรื่อยๆ ว่า ต้องมีชีวิตเป็นปัจจุบันนะ ไม่คิดอดีต ไม่คิดอนาคต คิดปัจจุบันให้ได้ คิดให้ตกก่อน ดูแลตนเองให้มี กำ�ลังใจ ให้มีสภาพพร้อมที่จะสู้กับสิ่งที่ต้องทำ� อะไรคือคิดปัจจุบัน มนุษย์จะคิดแต่ปัจจุบันได้จริงหรือไม่ เพราะมันต้องคิดจากเหตุมายังผล คิดจาก ต้นมายังปลายทั้งนั้น คำ�ว่าปัจจุบันฟังไม่ยากแต่พอจะปฏิบัติจริงๆกลับไม่รู้ว่าจะทำ�อย่างไร? ในโรงพยาบาลจะมี เจ้าหน้าทีห่ ลายกลุม่ เข้าออกห้องเพือ่ มาปฏิบตั หิ น้าทีห่ ลายๆ อย่างรอบตัว ผูเ้ ขียนคอยสังเกตุวา่ คนอืน่ นัน้ เขาเข้าใจ คำ�ว่าปัจจุบันกันอย่างไรบ้าง ผูช้ ว่ ยทางการแพทย์หลายคนทราบข่าวการป่วยของผูเ้ ขียนและแจ้งเพือ่ นๆ ทราบกันในเครือข่ายของเขา แล้วมารายงานให้ทราบว่า “อาจารย์ครับ หากช่วงไหนที่อาจารย์ไม่มีใครอยู่เป็นเพื่อน พวกเราจะสลับกันมาอยู่ ด้วยนะครับ” และสังเกตุว่าจะมีตัวแทนมาสังเกตุและก็มีคนมาอยู่ด้วยจริงๆ นั่นแหละ ถามคนที่มาเฝ้าว่า “ตอน นี้ทำ�อะไรอยู่?” เขาตอบว่า “อยู่เป็นเพื่อนอาจารย์ค่ะ” เลยเข้าใจว่า เขาคิดและตอบเป็นปัจจุบันจริงๆ ตัวผู้เขียน เสียอีกไม่เคยฝึกมาก่อนทำ�ให้หลายครัง้ ตอบคำ�ถาม “ตอนนีท้ �ำ อะไรอยู?่ ” ไม่ได้ จะมาฝึกเอาทีโ่ รงพยาบาลนีแ่ หละ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

55


เย็นวันหนึง่ ลาคุณหมอกลับมาเยีย่ มหลานทีบ่ า้ น ถามหลานชายตัวเล็ก อายุ 4 ขวบว่า กำ�ลังทำ�อะไรอยู่? หลานตอบว่า “กำ�ลังคุยกับคุณยายครับ” นี่ยิ่งเป็นปัจจุบันเข้าไปใหญ่เลย มานั่งตรองอีกทีว่า ผู้ตอบต้องหัวว่าง ใจว่าง จึงจะตอบคำ�ถามนี้ได้ดี หากหัวไม่ว่าง ใจไม่ว่าง ต้องตอบอย่างอื่นแน่ๆ วันหนึ่งคุณหมอในแผนกโรคไตมาพร้อมกับแพทย์ประจำ�บ้าน ด้วยความที่ผู้เขียนกับคุณหมออยู่ใน ทีมบริหารเดียวกันมาหลายสมัย คุ้นเคยกัน จึงทักทายไปว่า “อ้าว ! คุณหมอสบายดีหรือ ทราบได้ยังว่าป่วย?” คุณหมอตอบว่า “ผมเคยมาเยี่ยมอาจารย์หลายครั้งแต่มาทีไรเห็นอาจารย์หลับ ตอนนี้ผมมาให้บริการครับ” ว่า แล้วเราคุยกันตามประสาแพทย์ และผู้ป่วยต่อไปจนจบเรื่องราวจึงจะมาแถมตอนท้ายด้วยเรื่องอื่นอีกบ้าง จึงได้ คิดว่าผู้ใหญ่ก็คิดเป็นปัจจุบันได้ ช่วงป่วยมีเวลานั่งทำ�สมาธิ ฝึกรำ�ชี่กง ทำ�งานบ้านเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอนมากขึ้นหน่อย เขียนหนังสือ หรือ ทำ�อะไรที่ชอบ ผู้เขียนเป็นคนชอบทำ�งานมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว “ไม่นิ่ง” นิ่งและหยุดเมื่อไหร่ก็ดูเป็นเครียดเป็น ทุกข์ หลายครั้ง บ่อยครั้งทำ�เอาผู้ร่วมงานเหนื่อยไปกันทั้งหมด ทุกคนในครอบครัวดูจะไม่ต่างกันนัก บ้านของ เราจึงเป็นสำ�นักงานไปในตัว ใครๆ ก็ทำ�งานได้อย่างสะดวก อุปกรณ์ครบครันเสมอ ช่วงป่วยใครต่อใครก็บอกว่า หยุดงาน/เพลางาน แต่ความทีผ่ เู้ ขียนนิยมทีต่ อ้ งปรับตัวเพือ่ หาวิธที ท่ี �ำ งานให้สะดวกได้ใกล้เคียงเดิมมากกว่าและ สามารถจัดการตนเองในเรื่องนี้ได้ตามความจำ�เป็น เลยคิดไปว่าตนเองไม่น่าจะเครียดจากการทำ�งาน เพลาลง พอได้ หยุดงานเห็นจะเป็นเหตุของมะเร็งก้อนใหม่ จึงพยายามฟังธรรมชาติของร่างกายตนเองเป็นหลัก คือ เพลีย ให้นอน หิวให้ทาน อยากทำ�อะไรให้ทำ� เขียนหนังสือได้หลายเล่ม พูดคุย/สังสรรค์/สั่งงาน/ประชุมทาง line ได้ 56

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


เข้าประชุมก็ได้หากองค์ประชุมไม่เยอะ สะดวก/สะอาดก็ไปประชุมด้วยได้ตามความจำ�เป็น ตามจังหวะเวลาและ ความพร้อมในขณะนั้นๆ อ่านหนังสือ บทความวิชาการ ฟังเพลง ฟังเทปได้ นอนแล้วหลับใครก็ไม่ปลุก ไม่รบกวน อยากได้อะไรให้เปรยขึน้ มาเดีย๋ วผูค้ นก็หามาให้เอง มีแขกมาก็คยุ สนุกสนาน ใครมาก็ยินดี ใครแนะนำ�ก็ฟัง ทำ�ตาม หลังตรองเท่าที่ผู้เขียนจะทำ�ได้ ไม่บีบบังคับตนเองไม่ว่าเรื่องใดๆ การนั่งสมาธิ ผู้เขียนนิยมใช้วิธีนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ หายใจออกให้ลมหายใจปะทะปลายจมูก รู้สึกรับลมได้ ที่จุดปลายจมูกแล้วค่อยๆ เคลื่อนจุดนั้นขึ้นไปบนศีรษะ จากนั้นพยายามเคลื่อนจุดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้เขียนเรียกจุดที่ลมปะทะว่าสติ (ความสนใจ) และเรียกการที่ใจจดจ่อกับจุดนั้นว่าสมาธิ เคยฝึกมาต่อเนื่อง ดัดแปลงให้เหมาะกับตนเองบ้าง ช่วงป่วยทำ�ได้ค่อนข้างดีเพราะไม่รีบร้อน จึงทำ�ได้ประมาณวันละสองครั้งเกือบ ทุกวันที่อยู่บ้านเพราะครบด้วยเวลาและอุปกรณ์ ได้ความรู้ว่าวันใดจิตว่างจะสามารถเคลื่อนจุดนั้นไปทั่วร่างกาย ไม่ติดขัด ขณะจุดผ่านบริเวณที่มีปัญหาก็อาจมีความรู้สึกติด ขัด อัด ทึบ เจ็บ หรือผ่านไปไม่ได้ บางวันเครียด ไม่สามารถนำ�จุดผ่านศีรษะลงมาได้จะลุกลงมานั่งเขียนหนังสือระบายเรื่องที่อยู่ในความคำ�นึงออกมาก่อน เมื่อ ระบายแล้วส่วนใหญ่จะมีคำ�ตอบในปัญหาของตนเองอยู่ในแรงคิดอันนั้น เสมือนว่า เออ ตอบได้ละ จดบันทึกลง ไป จะผ่อนคลายขึ้นเหมือนกับทำ�ข้อสอบแล้วพบว่าข้อนี้ตอบได้แล้ว ถูกผิดไม่สำ�คัญ จนรู้สึกเบาขึ้น หากมีเวลา กลับไปนั่งสมาธิต่อแล้วสามารถเคลื่อนสติผ่านส่วนศีรษะมาได้ ก็จะสามารถทำ�สมาธิต่อได้จนราบรื่น ครบชั่วโมง รำ�ชี่กง คุณหมอรัตนา พันธ์พานิช มาสอนรำ�ชี่กงโดยใช้เทปของ ปีเตอร์ แลง เดี๋ยวนี้ทำ�ได้ 2-3 ท่าแล้ว เวลาทำ�ก็ผสานกันไปทั้งท่าเท้า ท่ามือ ท่าเดิน ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง หัดหายใจเติมลงไปบ้าง พบว่าได้เหงื่อดีทั้งๆ ที่ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

57


ทำ�ช้าๆ ได้เหงื่อพอๆ กับกวาดใบไม้ที่สนามหญ้าหน้่าบ้าน เวลารำ�อยู่หน้าทีวี หลายชายตัวน้อยมาต่อแถวรำ�ไป ด้วย ทำ�ให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเพราะได้ยิ้ม ได้หัวเราะไปด้วยกันในกิจกรรมเดียว นิยมเล่าความก้าวหน้าในเรื่อง การรำ� ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความคิด ความหวังกับคุณหมอรัตนา จนคุณหมอทักว่า “พี่ลองไม่คิดดูซิ หนูเห็นพี่คิด ตลอด คุณหมอวีระชัยนิ่งกว่าพี่มากเลยนะ” เลยมาหัด “นิ่ง” ด้วยวิธีปรับการนั่งสมาธิ ได้มาหน่อยๆ แล้ว แต่ ต้องฝึกอีกเยอะ การหัดหายใจแรกๆ หัดหายใจจากบทเรียนของการรำ�ชีก่ งคร่าวๆ ว่ายืนตัวตรงหายใจลึกเต็มทีใ่ ห้ทอ้ งบาน หยุดนิ่ง หายใจออกช้าๆ ตอนสุดท้ายให้ขมิบก้นแล้วหายใจออกให้หมดด้วยแรงที่เกิดจากการขมิบ จะช่วยให้ ลมหายใจออกโดยอาศัยความแข็งแรงของร่างกายตนเองจากภายใน ตอนนี้เลยเอาไปรวมกันกับการนั่งสมาธิ คือ ก่อนขึน้ ต้นนัง่ สมาธิหายใจแบบทีว่ า่ นีอ้ ย่างน้อย 5 ครัง้ ทำ�ไปทำ�มาหลายครัง้ บางทีกเ็ ป็นอัตโนมัติ รูส้ กึ ว่าไม่ตดิ ขัด เลยปฏิบัติอยู่ต่อมา 58

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


อาหาร ช่วงนอนโรงพยาบาลมีผู้มาเยี่ยมมาก เพื่อนมาแนะนำ�เรื่องการรับประทานผัก 5 สี ผลไม้ 5 สี มีคนเอาสลัดน่าทานมาก น้ำ�ผักแบบคนเหนือ ธัญพืช ผลไม้ เยอะแยะไปหมด ทานสลัดของคุณจารุณี อินทะรังษี เพราะเป็นผักที่ตนเองไม่เคยทานมาก่อน น้ำ�สลัดก็พิเศษทำ�เองด้วยน้ำ�มันมะกอกหรือไงนี่แหละ รู้สึกว่าผูกพัน ทางใจเหมือนคนตั้งใจทำ�กับมือมาให้และให้ด้วยความผูกพันที่เรามีต่อกันมานานมากและผู้เขียนก็ตั้งใจรับ เป็นพิเศษ น่าเสียดายที่คุณหมอของดผักสด งดสลัด และผลไม้เปลือกบางไปก่อน ขอเลื่อนการเป็นมังสวิรัติ ชีวจิต ฯลฯ ไปก่อน เพราะต้องเตรียมตัวให้เคมีบำ�บัดซึ่งร่างกายต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ อุตส่าห์สั่งเมนู พิเศษจากงานโภชนาการมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ให้และเวะมาดูว่าทานอะไรเหลืออะไร อะไรเกินมา และอธิบาย ต่อว่า ทานได้ทุกอย่าง ขอให้สุกและสะอาด ทานให้มาก .. เกงฮังเลยังทานได้เลย เว้นเนื้อเว้นมันหน่อยนะ .. ข้าว มันไก่เหรอ อาจารย์เอาส่วนหนังออกนะ... หากซื้อมาจากข้างนอกอย่าลืมเข้าเตาไมโครเวปด้วยนะ ...ของดชา กาแฟ และน้ำ�ปั่นทั้งหลายด้วย แต่ดื่มเครื่องดื่มที่ทำ�ผ่านกระบวนการมาตรฐานได้ อาจารย์เลือกๆ หน่อยแล้ว กันนะ ...สะอาดเอาแค่ไหน แค่ห้องในโรงพยาบาลก็พอได้อยู่นะ ของในห้องน้อยๆ ช่วงนั้นเลยต้องสนใจอาหาร ทีต่ วั เองต้องทาน คนมาถามว่า กำ�ลังทำ�อะไร ตอบเพิม่ เติมได้วา่ กำ�ลังดูวา่ อาหารทีจ่ ะทานคืออะไร นีก่ ต็ า่ งไปจาก ปกติมาก เดี๋ยวนี้สติจะอยู่ที่อาหารมากขึ้น สุกนะ สะอาดนะ โปรตีนนะ ไม่มีไขมันนะ ฯลฯ เป็นผลดีต่อสัดส่วน ของร่างกายไม่น้อย ให้คำ�ตอบกับตัวเองว่า คิดปัจจุบันคือคิดในเรื่องที่อยู่ตรงหน้า ทำ�ด้วยความมีสติและเอาใจใส่ ในสิ่งที่กำ�ลังทำ� เรื่องอื่นพักไว้ก่อน

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

59


เพื่อนเภสัช 09 line มาว่า “หลักความเชื่อของเหตุที่ทำ�ให้เกิดความสุขนั้น ก็คือ อยู่กับปัจจุบัน ขณะ ปล่อยวางได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และควบคุมความอยากที่ไม่มีสิ้นสุด” มีวิธีแก้คร่าวๆ มาให้เสร็จว่า “ต้องหยุด และพอใจให้เป็น ต้องคิดบวก ต้องให้ ต้องปล่อยวาง ต้องทำ�ตนเองให้สดใส ต้องให้อภัย อย่าโกรธฟุ่มเฟือย ต้อง อ่อนน้อม อ่อนโยน ต้องฝึกมองตัวเองให้เล็ก ฝึกตนไม่ให้เป็นนักสะสม ฝึกตนให้เป็นคนสบายๆ ฝึกตนให้เป็น คนนิ่งๆ ฝึกตนให้รู้ว่าทุกสิ่งจะผ่านไปโดยธรรมชาติ ฝึกให้เข้าใจว่าเราต้องถูกนินทา ฝึกตนให้พ้นจากความเป็น ขี้ข้าของเงินตรา ฝึกตนให้เสียสละและยอมเสียเปรียบ” มีหลายสิ่งที่ต้องทำ�เพิ่ม เมื่อทบทวนดูแล้วพบว่า ผู้เขียน ทำ�มาหลายอย่างเหมือนกัน ต้องฝึกเพิ่มเติมทำ�สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ�บ้าง น่าจะใช้เวลาที่เหลืออยู่นี่แหละ ฝึกจะได้เป็น ผู้สูงอายุที่น่ารักต่อไปด้วย ทัง้ หลายทัง้ ปวงนีเ้ ป็นประสบการณ์ทางความคิดในช่วงสัน้ ช่วงป่วย แต่นบั เป็นช่วงทีม่ กี ารเรียนรูม้ ากและ เร็ว แต่มคี วามรูส้ กึ ทีแ่ ปลกไปกว่าช่วงป่วยอืน่ มากมาย ความหวังของผูเ้ ขียนอยูท่ ่ี “ไม่ตดิ ค้างใคร ทำ�ใจให้เป็นสุข” และด้วยความไม่แน่นอนของชีวติ ซึง่ เป็นธรรมชาติของทุกชีวติ ยิง่ ป่วยเป็นมะเร็งจะตระหนักในข้อนีม้ ากเป็นพิเศษ จึงจัดทางของตนเองให้เป็นผู้ที่ “พร้อมอยู่ พร้อมจาก” ผู้เขียนอาจอยู่อีกนานจะพยายามอยู่ให้เป็นสุขทั้งแก่ตนเองและคนรอบตัว และทำ�กุศลให้มาก หรืออาจ จากไปเร็ว “อยากละเว้น ไม่เอาอะไรติดตัวติดใจไปแล้ว ทำ�บาปต่อใครก็ขออภัย ทำ�ดีกับใครก็ยกให้เป็นกุศล ติดตัวผู้นั้นไป” จะต้องเจอกับอะไรอีกเป็นเรื่องอนาคต แล้วแต่บุญกรรมของผู้เขียนเอง ที่ผ่านมาก็เป็นสุขพอแล้ว และขอบคุณในชีวิตทั้งหมด ชีวิตเป็นแหล่งเรียนรู้นั้นคงถูกต้องแล้ว 60

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


วันทีเ่ ขียนนีไ้ ด้นดั หมายคนในครอบครัวทัง้ หมดมาถ่ายรูปร่วมกัน พร้อมกันในเวลาเทีย่ ง (วันที่ 7 เมษายน 2558) คงเป็นรูปประวัตศิ าสตร์อกี ครัง้ หนึง่ เราเคยถ่ายแบบนีท้ อ่ี เมริกาในช่วงทุกคนเดินทางไปงานแต่งงานของฝ้าย และได้โอกาสถ่ายอีกตอนฝ้ายเดินทางกลับมาเยี่ยมแม่และพวกเราทั้งหมดก็พร้อมพอดีในวันนี้ พรุ่งนี้ต่างคนก็จะ ต่างไปด้วยภารกิจของตนเอง ครอบครัวฝ้ายจะกลับอเมริกา ครอบครัวแพรจะไปฮ่องกง ครอบครัวป่านทำ�งาน เต็มตัว ผู้ช่วยแม่บ้านทั้งหลายได้โอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านตอนสงกรานต์ ผู้เขียนและคุณหมอวีระชัยจะไปพะเยา บ้างอยู่บ้านบ้าง เป็นสองคนตายายอยู่เป็นเพื่อนกัน จนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไป นี่เป็นวิถีชีวิตที่แท้จริงของ คนในครอบครัวของผู้เขียนที่เป็นความสุขอย่างยิ่ง

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

61



บทที่ 9 บทสรุป ความพร้อมในการสู้เพื่อชีวิตให้รอดจากมะเร็ง นับเวลาตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. 2558 ที่เริ่มประสานงานเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ (รพ.สวนดอก) จนถึงวันที่เริ่มให้ยาเคมีบำ�บัด (วันที่ 29 ม.ค. 2558) และวันที่ออกจากโรงพยาบาล มารักษาตัวต่อที่บ้าน (วันที่ 31 ม.ค. 2558) รวมทั้งสิ้น 20 วัน เป็นช่วงของการค้นหาสาเหตุ รับทราบข้อมูล เตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และวิธีการรักษา ก่อนการตัดสินใจนำ�ชีวิต “สู้เดี่ยว” กับโรคมะเร็งต่อม น้ำ�เหลืองในบริเวณอุ้งเชิงกราน ภายใต้การโอบอุ้ม ให้ความช่วยเหลือ ให้กำ�ลังใจจากผู้คนรอบด้าน เป็นแรง บันดาลใจให้ผู้เขียนได้มีโอกาสมาถ่ายทอดประสบการณ์ตรงเพื่อการเรียนรู้แก่ผู้อ่าน ต้องอ่านด้วยมีวิจารณญาณ เพราะประสบการณ์ตรงที่ว่าเกิดขึ้นเฉพาะตัว อาจเหมือน อาจต่าง และเป็นการเขียนที่ประมวลมาจากสิ่งติดอยู่ ในความทรงจำ�ซึง่ อาจเลือนหายไปตามกาลเวลาผนวกกับการจดบันทึกประจำ�วันอย่างละเอียด ด้วยผูเ้ ขียนอยาก ให้ทั้งหมดนี้เป็นความทรงจำ�ที่แสนดีและมีอยู่เรื่อยไป และที่สำ�คัญหากจะสร้่างแรงจูงใจในด้านดีแก่บุคคลอื่นต่อ ไปอีก ผู้เขียนอยากคิดว่าเป็นกุศลอันจะตอบแทนไปยังผู้ต่อชีวิตให้ในคราวนี้ ในวันที่ 28 ม.ค. 2558 : เป็นวันที่ผู้เขียนพร้อมที่สุดที่จะตัดสินใจก้าวเดินเดี่ยวไปตามทางที่เห็นแสงอยู่ ปลายอุโมงค์ด้วยการชี้นำ�ของทีมแพทย์ที่พร้อมจะแก้ไขปัญหาหากพลาดพลั้ง ด้วยแรงสนับสนุน และพร้อมที่ (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

63


โอบอุ้มไม่ว่าปลายทางจะเป็นเช่นไรจากคุณหมอวีระชัยและทุกคนในครอบครัว และวิธีการรักษาจากแพทย์แผน ปัจจุบันที่มีความมั่นใจในเรื่อง หมอดี ยาดี ในเวลาที่เหมาะสม ผู้เขียนมีจินตนาการว่าได้มองรอบตัว เห็นภาพ ทีมแพทย์อยู่แขนขวา เห็นภาพครอบครัวอยู่แขนซ้าย เห็นกองเชียร์ที่มาเป็นกำ�ลังใจอยู่สองข้างทาง เห็นอีกหลายคนเดินมาสมทบ วิ่งบ้าง เดินบ้าง จากทั้งสองข้างทาง เห็นเท้าหลายคู่เดินตามมาส่งที่จุดเริ่มต้น อีกหลายคู่ขยับตามมา บ้างช้า บ้างเร็ว บ้างชะงัก และบ้างนิ่งอยู่กับที่ ผู้ เขียนสร้างภาพเหล่านี้มาด้วยการสัมผ้สกับผู้คนรอบด้าน คำ�พูด สีหน้า แววตา การกระทำ� การสนับสนุน ความ ช่วยเหลือ การสื่อสารในทุกด้านจากทุกคน ที่อยากสรุปว่าเป็นความรู้สึกที่ดี ภายใต้บรรยากาศรอบตัวที่ผู้เขียน ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้พบเห็น เป็นความโชคดีภายใต้โชคร้าย เป็นความเย็น ความสงบภายใต้ความทุกข์ และ เป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตซึ่งคงหาไม่ได้อีกแล้ว .... ไม่มีใครอยากเป็นมะเร็ง เพราะคำ�ว่ามะเร็งนั้นมักจะถูกตามว่า “มะเร็ง โรคร้าย” อยู่ร่ำ�ไป ฟังดูน่ากลัว มองเห็นความไม่แน่นอนของชีวติ ผูเ้ ขียนเองก็ไม่เคยคิดมาก่อนว่าคำ�ตอบสุดท้ายจะมาลงทีม่ ะเร็งของต่อมน�ำ้ เหลือง ในบริเวณอุ้งเชิงกราน ทางการแพทย์เรียกทับศัพท์ว่า non-Hodgkin lymphoma (NHL) ชนิด B cell ซึี่งจะ ตอบสนองต่อยาเคมีบำ�บัดในเปอร์เซ็นที่สูง และสามารถรักษาได้โดยหลายวิธีการร่วมกัน เนื่องจากเป็นคำ�ตอบ สุดท้ายย่อมได้มาจากการค้นหา การประมวลข้อมูลทางการแพทย์ทั้งจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ การประสานงานของทีม แพทย์ ฯลฯ 64

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


การค้นหาสาเหตุเป็นเรื่องยาก เมื่อได้คำ�ตอบแล้ว แพทย์จะมีบรรทัดฐานในการรักษาโรคตามสาเหตุ เหล่านั้น แต่การรักษาโรคทุกโรคย่อมมี29ความเสี ่ยงจากหลายเหตุ ปัจจัย เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเข้าใจโดยเฉพาะ ่ ถ่ำยรู ปวมหมู อย่างยิ่งผู้ป่วย ในที่นี้ผู้เขียนเป็นผู้เสี่ยงและต้องยอมรับให้ได้ว่าไม่ว่าผลสุดท้ายจะออกมาเป็นเช่นไร ผู้เขียนพร้อม ทัง้ “อย่หู รือจาก” แต่จะระลึกเสมอว่าเป็นการตัดสินใจทีด่ ที ส่ี ดุ ด้วยความพยายามอย่างสุดความสามารถของทุกคน ที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนนึกภาพตนเองเหมือนนักกีฬา ทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นนักกีฬาก่อนแต่มักจะเป็นกองเชียร์ มายืน พร้อมที่จุดเริ่ม ผู้เขียนมีหน้าที่สร้างขวัญและกำ�ลังใจให้ตนเองในการที่วิ่งฝ่าชีวิตที่วิกฤตด้วยโรคมะเร็ง มีทีมแพทย์เป็น ผู้แนะว่าวิ่งอย่างไรให้ผ่านไปโดยปลอดภัย ด้วยความรู้ ความชำ�นาญ มีประสบการณ์ มียา มีเครื่องมือ มีความ 30 รูตปัวรวมหมู พร้อมที่จะให้สัญญาณว่าวิ่งได้ หากล้มจะมี ช่วยเพี่ในในปี ยงแต่ช่วยแล้วก็ต้องวิ่งเองต่อไปอีกจนถึงจุดสุดท้าย 2010 ที่ Taho lake, USA

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

65


มีหัวหน้าครอบครัวที่อบอุ่นมาสนับสนุนให้มั่นใจว่าจะอยู่ด้วย ช่วยเหลือ จนหมดทางเดิน มีลูกชาย ลูกสาว ลูกสะไภ้ ลูกเขย ที่คอยย้ำ�ตลอดเวลา ว่าแม่เลี้ยงดูพวกเรามาอย่างดี เราต่างมีชีวิตทั้งด้านการงาน ด้าน ครอบครอบและการดำ�รงชีพที่ดี ต่างช่วยตนเองได้และยังสามารถช่วยเหลือแม่ได้ตามเวลาและโอกาส ไม่ต้องให้ แม่คอยห่วงกังวล แถมยังมีหลานชายตัวน้อยอีกสองคนเดินๆวิ่งๆสะเปะสะปะตามมาส่งคุณยายให้เป็นนักกีฬา ทีมชาติ ทำ�ให้หมดห่วง หมดหวง หมดความกังวล บดบังความวิตกกังวลที่คงซ่อนอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเสียสิ้น เวลานั้นมีความสงบ เย็น สร้างความมั่นใจได้อย่างมาก ผู้เขียนพร้อมจะวิ่ง มองไปรอบตัวอีกครั้ง เห็น กองเชียร์มากมายจากริมสองฝั่งทางวิ่ง.. เห็นเท้าที่วิ่งไปทางเดียวกับปลายอุโมงค์ที่ผู้เขียนจินตนาการจากข้อมูล ที่ได้รับรู้มาทั้งหมด เกิดกำ�ลังใจว่าตัดสินใจถูกละ เลือกทางถูกละ ... เห็นเท้าที่รีรอเกิดความคิดว่าต้องเดินทาง ด้วยความระมัดระวังด้วยเพราะเส้นทางยังอยู่อีกยาวไกล ... เห็นเท้าที่ชะงักและหยุดนิ่งผู้เขียนก็สำ�นึกได้ว่า อย่า ประมาท อะไรๆก็เกิดขึ้นได้ ... นำ�ไปผนวกกับคำ�พูดที่ผู้เขียนโชคดีได้รับฟังมาตลอด 20 วัน เป็นเสียงสวรรค์ทั้ง สิ้น ... การให้กำ�ลังใจทั้งจากทีมแพทย์ ชาวสวนดอก ชาวมหาวิทยาลัยพะเยา ชาวโรตารี ผู้คุ้นเคยและมิตรสหาย ทำ�ให้ผู้เขียนสามารถรวบรวมเขียนเป็นกลอนซึ่งจะเขียนได้ต้องมีอารมรณ์ที่สะสมจากสิ่งที่ได้พบเห็นสะท้อนออก มาเป็นความในใจ ซึ่งเขียนในโรงพยาบาลนั่นแหละสะสมไปตามแรงกระตุ้น เมื่อออกมาพักผ่อนที่บ้านได้นำ�มา เรียบเรียง ได้ใจความตามที่บันทึกไว้ในท้ายเล่ม

66

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


บทที่ 10 สะท้อนคิดเป็นบทเรียน

รศ. พญ. รัตนา พันธ์พานิช อาจารย์ประจำ�ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน รองผู้อำ�นวยการศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไม่ง่ายเลยที่คนเราจะมองเห็นความโชคดีภายใต้โชคร้าย มองเห็นความเย็น ความสงบ ภายใต้ความทุกข์ ดังที่ท่านอาจารย์บุษบงได้สะท้อนความคิดและมุมมองผ่านบันทึกนี้ ดิฉันโชคดีมากที่ได้มีโอกาสรู้จักและใกล้ชิด กับอาจารย์สมัยทีท่ �ำ งานเป็นผูช้ ว่ ยคณบดีดา้ นประกันคุณภาพการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ ม. ช. (ปี 2550-2553) ในเวลานั้นท่านเป็นรองคณบดีด้านวิชาการ ไม่เพียงได้นั่งทำ�งานในห้องเดียวกับอาจารย์ แต่โต๊ะเราติดกันด้วย ย้อนคิดถึงช่วงเวลานั้น ดิฉันได้เรียนรู้มากมายจากท่านทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เกือบทุกครั้งที่เจอกัน จะต้องมี เรื่องเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ และสรุปเรื่องราวเป็นบทเรียนให้จดจำ�เสมอ ไม่ว่าเรื่องใดๆเกิดขึ้นที่ไม่น่ายินดี ไม่สำ�เร็จ หรือล้มเหลว หากปรึกษาอาจารย์ ก็จะได้ข้อคิดแง่มุมในด้านบวกเสมอ ทำ�ให้เกิดกำ�ลังใจและเดินหน้า ต่อไปได้ ห่างเหินกันไปหลายปีหลังอาจารย์เกษียณ มาคราวนี้อาจารย์ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล จึงมีโอกาสเยี่ยม พบปะและสนทนากันหลายครั้ง แต่ละครั้งก็จะมีเรื่องเล่าเป็นบทเรียนใหม่ๆ จากอาจารย์เสมอ บทเรียนครั้งนี้ ยิ่งใหญ่กว่าที่เคยได้รับมาก “การเผชิญความเจ็บป่วยจากมะเร็ง” ที่อาจารย์สะท้อนความคิดและความรู้สึกใน (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

67


1

แต่ละวัน จนรวบรวมได้เป็นหนังสือที่ร้อยเรียงด้วยถ้อยคำ�เรียบง่าย แฝงด้วยรหัสนัยชวนให้ค้นหาความหมาย ดิฉันอ่านต้นฉบับไปสองรอบ รอบแรกแบบวางไม่ลง อ่านทุกตัวอักษร รวดเดียวจบ ระหว่างนั้นต้องปาดน้ำ�ตาอยู่ หลายครั้ง ด้วยว่าเนื้อหาในแต่ละบทนั้นสะท้อนความสัมพันธ์กับตัวเอง กับผู้อื่นและกับสรรพสิ่งรอบตัวได้อย่าง ลึกซึ้งกินใจ อ่านรอบที่สองอย่างตั้งใจ เพื่อจะบอกกับอาจารย์ว่าครั้งนี้ได้เรียนรู้อะไรจากท่าน บทเรียนนี้ราคา แพง ด้วยว่าเดิมพันถึงชีวิตของอาจารย์เอง การได้รับการดูแลในระยะแรกด้วยความรู้สึกที่ว่า “ที่นี่สวนดอก ที่นี่คือบ้านของเรา”ช่วยลดความวิตก กังวลลงได้ไม่น้อย ความช่วยเหลือในยามยากเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด สูงกว่าสิ่งที่ได้รับในยามที่มีเกียรติ มีหน้าที่ มี อำ�นาจ มีลาภยศ สรรเสริญ ฯลฯ เพราะมันมีค่าที่ใจ อาจารย์บอกไว้เช่นนั้น “ผมจะดูแลอาจารย์อย่างดี………. ไม่ว่า จะเป็นอะไร พวกเราก็จะดูแลอาจารย์…” คำ�พูดของแพทย์หลายๆ คนที่เข้ามาดูแลในช่วงแรกนั้น อาจารย์เปรียบ เป็น “เสียงสวรรค์” จะมีอะไรชื่นใจไปกว่านี้ไหม คำ�พูดเหล่านี้มีพลัง ทำ�ให้คลายความรู้สึกวิตกกังวล กำ�ลังใจ 68

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


จึงถูกสร้างขึ้นในพริบตา เพราะไม่โดดเดี่ยว เพราะอบอุ่น เพราะไม่สติแตก และเพราะไว้วางใจในคนข้างเคียง จึงไม่รู้สึกหดหู่ และรับมือกับข่าวร้ายได้ด้วยท่าทีที่สงบ หากสะท้อนเป็นบทเรียน เข้าใจว่าความโดดเดี่ยวเป็น อุปสรรคสำ�คัญในการฝ่าฟันความยุ่งยาก คนไข้มะเร็งคนอื่นๆ ก็คงรู้สึกเช่นกัน ยามป่วยหนักช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็คงอยากได้ยนิ เสียงสวรรค์จากหมอและพยาบาลทีด่ แู ลอยู่ เสียงสวรรค์ คือคำ�พูดศักดิส์ ทิ ธิ์ เพราะสามารถบันดาล ให้ความรู้สึกโดดเดี่ยวของคนไข้มลายหายไป และมีความรู้สึกอบอุ่นเข้ามาแทนที่ คำ�พูดของแพทย์ที่สื่อสารกับ คนไข้ดูจะเป็นเรื่องสำ�คัญไม่น้อยไปกว่ายาที่รักษา มันช่วยสร้างความสุขเล็กๆ ให้เกิดขึ้นในใจของคนไข้ได้ แม้ บางคนอาจต้องจากไปในอีกไม่ช้า ปฏิกิริยาของอาจารย์ต่อมะเร็งเมื่อแรกเจอนั้นต่างไปจากคนไข้หลายคนอื่นๆ และไม่ได้เป็นลำ�ดับตาม Five stages of grief model ของ Dr. Elisabeth Kubler-Ross จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ที่อธิบายไว้ 5 ระดับ ตั้งแต่ การปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า และยอมรับ อาจารย์สะท้อนการยอมรับหรือยอมจำ�นนกับความเจ็บป่วยที่เกิด ขึ้นนั้น หาใช่การยอมแพ้ไม่ การรับรู้อย่างมีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ และวางจิตเป็นอุเบกขานั้นทำ�ให้ยอมรับเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ยากนัก แม้บางช่วงเวลาก็คงจะมีความเศร้าโศกบ้างเป็นธรรมดา อันที่จริง การยอมรับ ไม่ได้ หมายถึงปลงตกหรือไม่ต้องทำ�อะไร แต่การยอมรับที่แท้นั้นเป็นผลจากการรับรู้ในระดับจิตวิญญาณ ที่ให้โอกาส ของชีวิตในการเริ่มต้นใหม่ต่างหาก สำ�นึกใหม่ เป้าหมายใหม่ ชีวิตใหม่ มิน่าเล่า บางคนถึงกับขอบคุณมะเร็ง ขอบคุณโรคเอดส์ ที่ทำ�ให้ค้นพบตัวเอง ได้บทเรียนนี้ไปช่วยเหลือคนไข้คนอื่นๆ ทำ�ให้เข้าใจคนไข้ว่าอาจมีปฏิกิริยา ต่างๆ กันได้ ขึน้ กับต้นทุนทางจิตวิญญาณของตนทีส่ ะสมไว้ หากได้รบั การดูแลช่วยเหลือให้ผา่ นพ้นช่วงแปรเปลีย่ น (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

69


ของอารมณ์ตา่ งๆ ก็คงจะดีไม่นอ้ ย เป็นพลังเสริมระบบบำ�บัดภูมคิ มุ้ กันให้เข้มแข็ง ควบคูไ่ ปกับการรักษาทีต่ วั มะเร็ง ที่เป็นต้นเหตุ ความตั้งใจมั่นว่าจะต้องมีชีวิตรอดให้ได้ กับกำ�ลังใจที่เข้มแข็ง ซึ่งอาจารย์บอกว่า “กำ�ลังใจผลัดหนึ่ง” นั้นต้องเกิดจากตนเองก่อน ต้องสร้างเอง รู้จักฟังเสียงร่างกาย การอยู่กับปัจจุบันด้วยพลังแห่งสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ หนุนส่งด้วย “กำ�ลังใจผลัดสอง” จากครอบครัวอบอุ่น ซึ่งได้ข้อคิดว่าความอบอุ่นในครอบครัวนั้นต้อง บ่มเพาะให้งอกงามมาตลอดทั้งชีวิต ไม่ใช่จะเรียกหาได้ในเวลาอันสั้นยามที่ชีวิตมีวิกฤติ ส่วน “กำ�ลังใจผลัดสาม” จากผู้คนรอบข้างที่เคยเป็นเพื่อนทุกข์เพื่อนสุขกันมา ความซาบซึ้งใจของอาจารย์ต่อการดูแลรักษาอย่างดียิ่งจาก หมอ พยาบาล และความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ เพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้อง ลูกศิษย์ลูกหา หรือคนอื่นๆ ทำ�ให้รู้สึกได้ว่า ทุกการช่วยเหลือมีความสำ�คัญ และมีความหมายกับผู้รับมากจริงๆ คนไข้คนอื่นก็คงจะคิดเช่นเดียวกัน แม้การ ช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย แต่ในความรู้สึกของคนไข้นั้น มันยิ่งใหญ่เสมอ ทำ�ให้ได้ข้อคิดว่ามนุษย์เรามีคุณค่าและ ความหมายต่อการดำ�รงอยูข่ องกันและกันเสมอ โดยเฉพาะในยามทีอ่ กี ฝ่ายหนึง่ เจ็บป่วยหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ภาพในความคิดทีอ่ าจารย์เปรียบตัวเองเป็นนักกีฬายืนทีจ่ ดุ สตาร์ทพร้อมออกวิง่ จินตนาการว่ามีครอบครัว และทีมแพทย์ขนาบซ้ายขวา อีกทั้งผู้คนที่ยืนรายรอบสองข้างทางเป็นกองเชียร์ ทุกคนอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะ ช่วยเหลือ ขณะพาตัวเองวิ่งฝ่ามรสุมชีวิตอันเกิดจากมะเร็ง ช่างเป็นจินตนาการที่สุดบรรเจิด แบบนี้เองที่เรียกว่า Imagery healing หรือการเยียวยาด้วยจินตนาการ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของ Mind-Body Medicine ที่มีการศึกษาวิจัย และนำ�ไปผสมผสานกับการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยเชื่อว่าจินตนาการหรือภาพในความคิดสามารถส่งคำ�สั่งไป 70

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ยังสมองและระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้ตอบสนองในทางบวกได้ ไม่ว่าประสิทธิผลจะเป็นอย่างไร แต่ก็นับว่าเป็นวิธีที่ ใช้เสริมสร้างขวัญกำ�ลังใจให้ตนเองได้สร้างเสริมกำ�ลังใจให้กับตนเองได้อย่างวิเศษ การเปิดเผยความเจ็บป่วยของตนเอง การไม่ปดิ บัง ให้คนทีเ่ รารักหรือคนทีร่ กั เราได้รบั รูค้ วามทุกข์ความสุข ของเรา แม้บางช่วงเวลาจะอยู่ในความเศร้าโศก แต่ก็เป็นโอกาสดีสำ�หรับการทบทวน ความรัก ความสัมพันธ์ หรือ สิ่งที่ค้างคาใจ อะไรสำ�คัญ อะไรไม่สำ�คัญในเวลาที่เหลืออยู่ อยากชวนผู้ป่วยทั้งหลาย รวมทั้งครอบครัวและญาติ ที่มักจะคอยปิดบังความจริง ให้ใคร่ครวญเรื่องนี้ด้วยใจที่เป็นอุเบกขา ไม่ใช่ด้วยความกลัวหรือสงสาร แต่ตระหนัก รู้ว่าคือความจริงของทุกชีวิต หากแม้เจ็บป่วยก็ไม่ควรอาย หรือปิดบังซ่อนเร้น คนเราตอนไม่สบายหนักพลังภายใน อ่อนแอมาก ต้องเปิดพื้นที่และโอกาสให้พลังภายนอก พลังจากความรักความห่วงใยที่คนอื่นๆ มีให้เรา มาช่วย เสริมกำ�ลังใจให้กล้าแข็ง และพร้อมเผชิญ หากคิดได้เช่นนี้ กำ�ลังใจผลัดหนึ่ง กำ�ลังใจผลัดสอง กำ�ลังใจผลัดสามก็ จะทยอยมา ดังที่อาจารย์ได้สะท้อนความคิดว่ารับรู้กับตัวเองอย่างไร และรู้สึกอย่างไรกับผู้คนรอบข้าง ซึ่งทั้งหมด นี้ก่อให้เกิดกำ�ลังใจให้ชีวิตก้าวเดินต่อไป การเป็นคนคิดเชิงเหตุเชิงผล ไม่เคยหยุดคิด หรือหยุดนิ่ง เมื่อถึงคราวที่อาจารย์ต้องเจ็บป่วย ชีวิตถูก จำ�กัดขอบเขต กลับกลายเป็นว่าวิกฤตินี้สร้างโอกาสของการอยู่กับปัจจุบัน ทำ�ให้มีเวลาทบทวนและสังเกตสิ่งที่ อยู่ตรงหน้าในแต่ละเวลานาที สะท้อนบทเรียนการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันได้งดงามยิ่ง การอยู่กับปัจจุบันขณะเป็น คำ�สอนที่สำ�คัญมากของพระพุทธเจ้า พูดง่ายๆ ก็คือ การนำ�ใจและกายมาดำ�รงอยู่ด้วยกันนั่นเอง ทำ�ให้เรารู้ตัวว่า กำ�ลังทำ�อะไรอยู่ในเวลานี้ การฝึกฝนด้วยวิธีใดๆ ที่ทำ�ให้เกิดสัมปชัญญะหรือความรู้สึกตัว หรือการให้จิตตั้งมั่น (การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)

71


อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในเวลานั้น เป็นการอยู่กับปัจจุบันขณะ ไม่น่าจะมีอะไรที่สร้างความสุขได้ มากกว่านี้แล้ว โดยเฉพาะในยามป่วยไข้ เพื่อจะได้ไม่ต้องติดยึดกับความเศร้าโศกกับเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ ที่ผ่านมาใน อดีต หรือกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดในอนาคต ทำ�ให้ได้ข้อคิดว่า ไม่ว่าใครหากถึงคราวที่ต้องเจ็บป่วย ช่วงเวลานั้น น่าจะเป็นเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ที่ให้เราได้เรียนรู้ธรรมชาติของชีวิตได้มาก คำ�พูดของอาจารย์ที่ว่า “พร้อมอยู่ และ พร้อมจาก” ทำ�ให้ผู้เขียนนึกไปถึงสิ่งที่ผู้คนมักกล่าวถึงกันในเวลานี้ คือ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” เพราะ “ศักดิ์ศรี” คือไม่เพียงแค่อยู่รอด แต่อยู่อย่างมีคุณค่าและมีความหมายกับผู้อื่น ไม่เร่งและไม่ยื้อหากแม้ต้องจาก

72

(การเตรียมตัวรับมือกับมะเร็ง)


ใต้โชคร้าย ยังมี โชคดีแทรก ได้พานพบ สิ่งแปลก ยากแยกเห็น ในความทุกข์ ยังมีสุข สงบเย็น ทำ�ให้เห็น ทุกข์ของกาย ใช่ของตน

อยากจะบอก ทุกคน ว่าอบอุ่น กำ�ลังใจ จากหลายแหล่ง มาร่วมรอ

เมื่อได้รับ ความการุณ จากคุณหมอ ช่วยสานต่อ ชีวิต ให้ยืนยาว

เมื่อโรคร้าย ได้พบ ทางรักษา ย่อมมีค่า แก่ผู้อื่น ที่เฝ้ารอ

เติมเวลา ให้ชีวิต ที่หร่อยหรอ ให้พร้อมก่อ ประโยชน์สุข แก่ส่วนรวม

ของที่ให้ แทนขอบคุณ นี้น้อยนิด เพียงแค่คิด ระลึกได้ ว่าใครหนอ คือผู้ลาก เส้นชีวิต ให้ยาวพอ ให้ได้ก่อ ความดี อีกต่อไป

หากมีผล จากกุศล ที่จะก่อ ให้ทุกท่าน ได้ความสุข มาครอบครอง

ใคร่จะขอ เป็นผลบุญ คืนสนอง ผ่านความหมอง โศกเศร้า ทุกประการ

ด้วยความขอบคุณยิ่ง บุษบง จำ�เริญดารารัศมี


ประวัติผู้เขียน ชื่อ ประวัติการศึกษา ครอบครัว สถานที่ทำ�งาน สถานะทางสังคม คติประจำ�ใจ

รศ.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี โรงเรียนวิชชานารี จังหวัดลำ�ปาง โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล School of Medical Education, University of New South Wales, Sydney, Austalia University of Surrey, England สามี นพ.วีระชัย จำ�เริญดารารัศมี บุตร-ธิดา นพ.ชุติธร จำ�เริญดารารัศมี (ป่าน) ดร.กรกมล จรรญาศักดิ์ (แพร) นายชนรพ จำ�เริญดารารัศมี (ฝ้าย) สะใภ้ นางฐิตราภรณ์ จำ�เริญดารารัศมี (หนิง) นางนฤภัทร์ จำ�เริญดารารัศมี (ปอม) บุตรเขย นายธีรวุฒิ จรรญาศักดิ์ (ทอป) ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันพัฒนาเครือข่าย SMEs ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา สมาชิกสโมสรโรตารีพะเยา “ทำ�วันนี้ให้ดีที่สุด” และ “พร้อมอยู่พร้อมจาก ไม่ติดค้างใคร”




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.