Museum Academic 8 เครื่องปั้นดินเผาเวียงเชียงรุ้ง

Page 1

ค�ำน�ำ โบราณวัตถุต่างๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูลและใช้ในการวิเคราะห์เพื่อศึกษา เรื่องเวียงเชียงรุ้ง เกือบทั้งหมดเป็นของที่เก็บรวบรวมโดยพระมหาโกเมศ สุเมธโส ขุนศรี รองเจ้าอาวาสวัดเวียงเชียงรุง้ ต�ำบลทุง่ ก่อ อ�ำเภอเวียงเชียงรุง้ จังหวัดเชียงราย รองเจ้าอาวาสท่านนีเ้ ป็นหลักส�ำคัญในการศึกษาเวียงเชียงรุง้ กล่าวคือท่านได้เริ่มท�ำการศึกษาพื้นที่นี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ในครั้งที่ท่าน ยังด�ำรงต�ำแหน่งเป็นปลัดอ�ำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ในขณะนัน้ ท่านกับ คณะกรรมการสภาต�ำบลทุง่ ก่อ ประกอบด้วย ก�ำนันต�ำบลทุง่ ก่อ คือ นายอ้าย สิทธิขันแก้ว ผู้ใหญ่บ้านห้วยเคียน นายหนูจันทร์ ภูเขียว แพทย์ประจ�ำต�ำบล ทุ่งก่อ นายแก้ว ทาบุญสม และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายบาลี ไกยกุล และนาย สมพร สีนวล ร่วมกันเข้าท�ำการส�ำรวจบริเวณพื้นที่นี้ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เวียงฮุ่ง” ได้พบหลักฐานต่างๆ ทั้งซากโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็น จ�ำนวนมาก โบราณวัตถุเหล่านี้เก็บรวบรวมไว้ในวัดเวียงเชียงรุ้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ท่านรองเจ้าอาวาสได้ขอความร่วมมือจากโครงการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน�้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ให้เข้าไปจัดท�ำ ฐานข้อมูลโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป ในการส�ำรวจและจัดท�ำฐานข้อมูลครัง้ นีเ้ ป็นการท�ำงานร่วมกัน ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับนักวิชาการอิสระ ต่างๆ หน่วยงานหลักของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คือ โครงการจัดตั้ง พิพธิ ภัณฑ์อารยธรรมลุม่ แม่นำ�้ โขง ซึง่ ประกอบด้วย ดร. พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน�้ำโขง และอาจารย์ประจ�ำ ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นายปณต วงศ์กัญญา และ นายทศพล ศรีนุช เจ้าหน้าที่บริหารโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรม ลุ่มน�้ำโขง นางสาวจันทนา กลัดเพ็ชร์ พนักงานธุรการ โครงการจัดตั้ง พิพธิ ภัณฑ์อารยธรรมลุม่ น�ำ้ โขง นางสาวสิรวิ รรณ กิตติรม่ โพธิง์ าม เจ้าหน้าที่


บริหาร ส�ำนักงานให้ค�ำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา และนางสาวนพมาศ จันทรพิทักษ์ เจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายหอพักนักศึกษา ส่วนพัฒนานักศึกษา คณะท�ำงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1. ศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ คณะสังคมศาสตร์และโครงการศึกษา เครือ่ งปัน้ ดินเผา สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ซึง่ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์อุษณีย์ ธงไชย อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ และนักศึกษาในสาขาประวัติศาสตร์ ดังมีรายนามดังนี้ นางสาวศรีวตาภรณ์ แซ่ลิ้ม นางสาวระชา ภุชชงค์ นายวรัทพงศ์ อมรประสิทธิ์ นายสิริภาส แซ่ผู่ นางสาวขวัญฤทัย ไชยา นายนสิทธิ์ ใหญ่ยิ่ง นางสาวอัญชุลี วงจันเสือ นางสาวพิมพ์ชนก ประวัง และนางสาวพรนิภา อินทอง 2. งานคลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจยั สังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึง่ ประกอบด้วยพ่อหนาน ศรีเลา เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิรวิ รรณ ทัง้ สอง ท่านเป็นผู้อ่านจารึกวัดเวียงเชียงรุ้งทั้ง 2 หลัก และจารึกบนก้อนอิฐ 3. เจ้าหน้าทีจ่ ากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึง่ ประกอบ ด้วย กัญญา เทพอุด และ สุพิน โพธินาม จากสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ทั้ง สองท่านเป็นผู้ช่วยในการประสานงานโครงการฯ อีกท่านคือ เกศริน อินต๊ะ ผู้จัดพิมพ์และจัดรูปเล่ม นอกจากฝ่ายต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แล้ว ยังมีนักวิชาการอิสระ ที่ช่วยในการอ่านและตรวจสอบจารึกอีก 2 ท่านคือ คุณเกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ และวีรศักดิ์ ของเดิม เหนือสิง่ อืน่ ใดงานนีจ้ ะไม่สำ� เร็จลงได้หากปราศจากการผลักดันและการ สนับสนุนของพระมหาโกเมศ สุเมธโส ขุนศรี รองเจ้าอาวาสวัดเวียงเชียงรุง้ ต�ำบลทุง่ ก่อ อ�ำเภอเวียงเชียงรุง้ จังหวัดเชียงราย ด้วยความร่วมมือของบุคคล ที่ได้เอ่ยนามมาแล้วทั้งหมด งานเครื่องปั้นดินเผาวัดเวียงเชียงรุ้งจึงส�ำเร็จลง ได้เป็นอย่างดี ทางคณะผู้จัดท�ำจึงใคร่ขอขอบคุณบุคคลเหล่านี้ไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะกรรมการจัดท�ำ


สารบัญ

ค�ำน�ำ สารบัญ บทที่ 1 วัดเวียงเชียงรุ้งและเมืองโบราณเชียงรุ้ง : การส�ำรวจ และการศึกษา เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง บทที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาที่เวียงเชียงรุ้ง บทที่ 3 เวียงเชียงรุ้ง : ในบริบทของการศึกษาโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่พบในเวียงเชียงรุ้ง บทสรุป บรรณนุกรม ภาคผนวก ภาคผนวกที่ 1 รายงานการค้นพบเวียงเชียงรุ้ง ภาคผนวกที่ 2 การอนุรักษ์และพัฒนา “อุทยานประวัติศาสตร์ เวียงเชียงรุ้ง” ภาคผนวกที่ 3 พันนาเมืองเชียงราย เชียงแสนและพะเยา ภาคผนวกที่ 4 แหล่งโบราณคดีที่ส�ำรวจพบในอ�ำเภอเวียงชัย และอ�ำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ภาคผนวกที่ 5 พระพุทธรูปหินทรายที่พบในเวียงเชียงรุ้ง ภาคผนวกที่ 6 6.1 จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง/2553/1 6.2 จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง/2553/2 6.3 อิฐจารึก ภาคผนวกที่ 7 ฐานข้อมูลเรื่องปั้นดินเผาวัดเวียงเชียงรุ้ง ภาคผนวกที่ 8 คณะผู้จัดท�ำ

หน้า

1 25 79 113 115 119 123 127 133 159 167 172 177 178 168 187


ภาพถ่ายทางอากาศวัดเวียงเชียงรุ้ง : www.pointAsia.com


บทที่ 1 วัดเวียงเชียงรุ งและเมืองโบรำณเชียงรุ ง : กำรส�ำรวจและกำรศึกษำ วัดเวียงเชียงรุ้ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านห้วยเคียนใต้ หมู่ 10 ต�าบลทุ่งก่อ อ�าเภอเวียงเชียงรุง้ จังหวัดเชียงราย อยูห่ า่ งจากตัวจังหวัดเชียงรายประมาณ 22 กิโลเมตร เดิมบริเวณนี้เคยเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีสภาพเป็นเนินสูง รายรอบไปด้วยไร่นาขนาดใหญ่ของชาวบ้าน มีความสงบเงียบ แต่ไม่มคี นกล้า เข้าไปตั้งบ้านเรือน เพราะมีแต่เรื่องเล่าต่างๆ ที่ดูลึกลับและน่ากลัว1 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ได้มีการจัดตั้งส�านักวิปัสสนา วัดแก้วอุปการามเวียงเชียงรุ้งขึ้นในพื้นที่นี้2 เข้าใจว่าคงจะเป็นส�านักสงฆ์ที่มี ขนาดใหญ่ไม่นอ้ ย ดังจะเห็นได้จากรายงานการส�ารวจของโครงการโบราณคดี ประเทศไทย (ภาคเหนือ) กองโบราณคดีกรมศิลปากร ซึง่ น�าโดย พาสุข ดิษยเดช สายัณห์ ไพรชาญจิตร์ และวรรณนี ภูมิจิตร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2524 รายงานว่า “…ภายในสํานักวิป สสนา ประกอบด วยกุฏิ 21 หลัง ศาลา การเปรียญ 1 หลัง และโรงครัว 1 หลัง ทั้งหมดเป นโรงเรือนชั่วคราวและ กําลังดําเนินการสร างอย างถาวร…”3

วัดเวียงเชียงรุ้งในปัจจุบัน 1


…ทําการปลูกป า เปลี่ยนพื้นดินจาก ไร ข าวโพด มันสําปะหลัง มาปลูก ไม สั ก ปลู ก ม อ นเลี้ ย งไหม ปลู ก สมุนไพร ปลูกพืชให พลังงานสบู ดํา หรื อ มะเยา ปลู ก พื ช สวนครั ว เป น อาหาร สําหรับต นสัก เราปลูกในที่ ดินดี เวียงเชียงรุง จึงมีตน สักใหญ งาม เป นพิเศษเราสามารถเอาไม สักของ เราเลื่อยมาทําหน าต างพร อมประตู โบสถ ได อย างดี และสวยงามเชิญ ผู สนใจไปชมได … พระมหำโกเมศ สุเมธโส ขุนศรี

เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2531 คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายได้ออก หนังสือรับรองสภาพวัดให้โดยตัง้ ชือ่ ว่า วัดเวียงเชียงรุง้ และวันที ่ 18 มิถนุ ายน พ.ศ. 2535 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกเป็นวัดและใช้ชื่อเดิมคือ วัดเวียงเชียงรุ้ง4 ปัจจุบันบริเวณรายรอบวัดเป็นพื้นที่ ไร่นาและไร่ข้าวโพดของชาวบ้าน สิง่ ที่น่าสนใจคือชุมชนที่อยู่อาศัยรอบวัดมิได้เป็นคนเมือง (ชุมชนล้านนาเดิม) แต่เป็นกลุ่มคนที่อพยพเคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดในแถบอีสาน คือ ขอนแก่น อุดรธานี และร้อยเอ็ด รุ่นที่อยู่ในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 2-35 จากการสอบถามชาวบ้านทีบ่ า้ นห้วยเคียนใต้พบว่า ในหมูบ่ า้ นห้วยเคียน ใต้มคี นเมืองอยูป่ ระมาณ 2-3 ครอบครัวเท่านัน้ นอกนัน้ เป็นคนอีสานทีอ่ พยพ เข้ามาตั้งถิ่นฐานท�าไร่ ท�านาอยู่ในบริเวณนี้แทบทั้งสิ้น จากการศึกษาของ เกรียงไกร สว่างวงษ์ พบว่า ในเขตอ�าเภอพญาเม็งรายและอ�าเภอใกล้เคียง เช่น อ�าเภอเวียงชัยและอ�าเภอเทิง มีชาวอีสานอพยพเข้ามาท�าบ้านเรือนอยู่ เป็นจ�านวนมาก ซึ่งวิรัช ครูละคร กล่าวว่า…เฉพาะคนอีสานอยู่ในเชียงราย สองแสนถึงสามแสนคน…พวกเขาบอกว่าทีต่ อ้ งย้ายมาเพราะบ้านเดิมแห้งแล้ง ท�ากินไม่ได้จึงย้ายมาหาที่อยู่ใหม่ 2


…เชียงรายไม่เหมือนภาคอีสาน ดินก็ตา่ งกัน ข้าวงามมาก เป็นดินเหนียวอีสานบ้านเรา เป็นดินทราย อย่างถ้าเขาไถคราดไว้แล้ว นาสิบไร่ไถทีเดียวเลยค่อยมาด�าทีเดียว อย่างบ้านเราไถคราดไว้พอฝนตกลงมา ดินจะแข็งแน่น ด�าไม่ได้ น�้าหมดก็หมด สิทธิ์ท�านาไม่ได้เลยต่างกัน… 6

ที่นารายรอบวัดเวียงเชียงรุ้ง

จากการพูดคุยชาวบ้านห้วยเคียนใต้พบว่า การอพยพของชาวอีสานใน หมู่บ้านนี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 2490 เป็นต้นมา จากนั้นก็มีการอพยพ ตามกันมาเรื่อยๆ7 เช่น ยำยทองเยื้อน จันทร สมบัติ (ปัจจุบันอายุ 71 ปี) เล่าว่าเดินทางมาจากอ�าเภอเสลภูมิ จังหวัด ร้อยเอ็ด ตัง้ แต่ป ี พ.ศ. 2505 นัง่ รถไฟมาลงทีเ่ ด่นชัย แล้วเดินทางต่อมายังที่นี่ ในช่วงที่เข้ามาอยู่ ใหม่ๆ มีคนเมืองอยูบ่ า้ งแต่ไม่มาก8 ต่อมาก็มชี าวอีสานอพยพ ตามเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่มากขึ้น พ อชัย บริบำล (ปัจจุบันอายุ 84 ปี) เล่าว่า อพยพครอบครัวมาจากอ�าเภอกันทรลักษณ์ จังหวัด ศรีษะเกษ มาพร้อมกับพ่อแม่และภรรยาของตน ตัง้ แต่อายุ 20 ปี มาตัง้ รกรากท�ามาหากินท�าไร่ทา� นา อยู่ที่นี่ ช่วงแรกๆ ที่มามีคนเมืองอยู่บ้างแต่ตอนหลัง มีแต่คนอีสานอพยพเข้ามาจากทั้งบุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ ์ เป็นต้น พ่อชัยบอกว่า…ทีน่ ี่คนเมืองอยู่ ไม่ได้ เจ็บป่วย ล้มตายไปหมดจนทุกวันนี้ในหมู่บ้าน ห้วยเคียนหมู่ 5 ไม่มีคนเมืองอยู่เลย…9 3


ชาวอีสานส่วนใหญ่เข้ามาท�าไร่ท�านาอยู่รายรอบวัดวียงเชียงรุ้ง ชุมชน บ้านห้วยเคียนรุ่นแรกๆที่อพยพมาจากภาคอีสาน (ปัจจุบันอายุประมาณ 50 ขึ้นไป) ยังคงใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารกัน แต่ก็มีบ้างที่น�าค�าศัพท์ของ คนเมืองเข้าไปปะปนกับภาษาเดิม และส่วนใหญ่ยังคงรักษาวัฒนธรรมของ ตนเองอยู่ เช่น ฮีตสิบสอง-คองสิบสี่อันเป็นจารีตที่ชาวอีสานปฏิบัติสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน10 บางคนยังประกอบอาชีพเดิมที่เคยท�าตอนที่อยู่บ้านเดิม เช่น คุณสมบูรณ ทันนะมำตร (ปัจจุบันอายุ 60 ปี) อพยพมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ อายุ 12 ปี มาจากบ้านหินแห่ อ�าเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คุณสมบูรณ์ ยังประกอบอาชีพสาวไหมส่งขายเหมือนเช่นที่เคยท�าที่ร้อยเอ็ด11

เส้นไหมรอส่งขาย

วิถีชีวิตของชำวบ ำนห วยเคียนใต หมู ที่ 10 ต.ทุ งก อ อ.เวียงเชียงรุ ง จ.เชียงรำย ชาวบ้านทีบ่ า้ นห้วยเคียนส่วนใหญ่ได้อพยพ โยกย้ายมาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน คือ ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น ศรีษะเกษ เป็นต้น โดยสาเหตุที่มีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามานั้นมีอยู่ หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น หนีปัญหาน�้าท่วมและ ภัยแล้งในพื้นที่ภาคอีสาน บางส่วนก็เข้ามาเพราะ ได้ยินว่าที่เวียงเชียงรุ้งอุดมสมบูรณ์ดี สามารถขุด 4

พ อ สอน จั น ทร ส มบั ติ ชาว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ผู้น�ากลุ่มชาวอีสานเข้ามา ในพื้นที่เป็นกลุ่มแรก


น�า้ บาดาลใช้ได้แทบทุกพืน้ ทีจ่ งึ ได้ชกั ชวนกันมา โดยส่วนใหญ่จะอพยพเข้ามา ในช่วงทศวรรษ 2500-2530 โดยประมาณ ชาวบ้านที่อพยพมาจากอีสานนั้นจะเป็นกลุ่มที่บุกเบิกพื้นที่เพื่อท�าไร่ ท�านาต่อจากคนท้องที่เดิมซึ่งได้อพยพออกไปในภายหลัง ซึง่ กลุม่ ชาวอีสาน ทีอ่ พยพมานีก้ ็ได้นา� วัฒนธรรมของตนเองติดตามมาด้วย เช่น อาหารอีสาน ทัง้ ส้มต�า ซุปหน่อไม้ ลาบอีสาน ฯลฯ เข้ามาเผยแพร่ การทอผ้าทีย่ งั คงลวดลาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสาน และภาษาที่ใช้ก็ยังคงใช้ภาษาอีสานในการ สื่อสารเป็นหลัก แต่ก็สามารถใช้ค�าเมืองในการสื่อสารได้ดีเช่นกัน ชุมชนในช่วงแรกเป็นชุมชนทีม่ กี ารผสมผสานระหว่างคนภาคเหนือกับ คนภาคอีสาน แต่ต่อมาปรากฏว่าคนภาคเหนือย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น ชาวอีสานที่บ้านห้วยเคียนใต้ยังคงรักษาประเพณีการท�าบุญแบบอีสานไว้ได้ โดยประเพณีการท�าบุญแบบอีสานได้แก่ • บุญขึ้นปีใหม่ในเดือนมกราคม • บุญข้าวจี่ในเดือนมีนาคม • บุญผะเหวด (บุญพระเวส) และบุญสงกรานต์ในเดือนเมษายน • บุญบั้งไฟเดือนมิถุนายน ซึ่งที่นี่เป็นงานใหญ่ระดับอ�าเภอ • บุญเบิกบ้านเป็นงานบุญเสริมศิริมงคลให้บ้านระหว่างบ้านห้วยเคียน กับบ้านห้วยเคียนใต้ • บุญเข้าพรรษา • บุ ญ ข้ า วประดั บ ดิ น จั ด ขึ้ น ในเดื อ นกั น ยายนเป็ น งานบุ ญ เลี้ ย งผี บรรพบุรุษ • บุญกฐินในช่วงออกพรรษาแล้ว ภูมิปัญญาการทอผ้ายังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จากเดิม ที่ทอใช้เองในครัวเรือน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 มีการเข้ามาของโครงการ หนึ่งต�าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ท�าให้ชาวบ้านมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านทอ ผ้าไหม โดยใช้เทคนิคการทอแบบอีสาน ลายแบบอีสานและลายแบบใหม่ เช่น ลายมัดหมี่ ลายกระจาย ลายสายฝน ลายน�้าไหล มีสินค้าที่นิยมผลิตกันคือ 5


ผ้าคลุมไหล่และผ้าพันคอ โดยส่งออกไปขายในต่างประเทศ และรวมกลุม่ ท�า ส่งกระทรวงและส�านักพระราชวังตามใบสัง่ สินค้า ซึง่ สร้างรายได้เสริมให้กลุม่ แม่บ้านได้ดี ในระดับหนึ่ง เนื่องจากไม่มีรายได้อื่นนอกจากการท�านาเพียง อย่างเดียว

เงินฮ้อย และเงินลาด (เงินปลิง) ทีช่ าวบ้าน ขันลงหิน ที่มีอยู่ ในบ้านแทบทุกหลังใน บ้านห้วยเคียนใต้ หมู่ที่ 10 ได้น�าติดตัวมาจากถิ่นฐานบ้านเกิด

นายบุญชู แสงใหม่ กับพานปากหนาม (ทองแดง), ขันลงหิน และเงินปลิง มรดก ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ (เท่าที่ทราบได้สืบทอดกันมา 3 ชั่วโคตรแล้ว) โดยพาน นั้นเอาไว้ท�าพิธี, บายศรี, งานบุญต่างๆ แต่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว จึงเก็บเอาไว้เป็น ของเก่าและเป็นของที่ระลึกจากพ่อแม่ เมื่อประมาณ 2507 ได้น�าสิ่งของเหล่านี้ติดตัว เดินทางมาจากอ�าเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงราย 6


กลุ่มผู้น�าชุมชนได้ถ่ายรูปกับอาคารเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ ที่ท่านพระมหาฯ ท่านพระ พระเณร ช่วยกันก่อสร้างขึ้น ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2525 (เรียงจากซ้ายไปขวา : นายอ่อนสา แสนศรี, นายสุพนธ์ ศรีนวล, นายบาลี ไกลกุล, นายสอน จันทร์สมบัติ, ไม่ทราบชื่อ, ไม่ทราบชื่อ, นายหนูจันทร์ ภูเขียว)

นายเศรษฐา ศรีผาวงค์ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านห้วยเคียนใต้ กับหีบเหล็กของ คุณทวดที่เคยใช้บรรจุของไปขายในพื้นที่บริเวณลุ่มน�้าชี จากขอนแก่นถึงอุบลราชธานี โดยบรรทุกใส่เรือกรรแชง ขายของตามแบบพ่อค้าหัวเมือง 7


(เรียงจากซ้ายไปขวา : ไม่ทราบชื่อ, ไม่ทราบชื่อ, นายอ่อนสา แสนศรี, นายสุพนธ์ ศรีนวล, นายบาลี ไกลกุล, นายสอน จันทร์สมบัติ, นายหนูจันทร์ ภูเขียว)

นายสุภกั ดี จ่ากุญชร แสดงตาชัง่ ของคุณตาทีเ่ คยท�าอาชีพค้าขาย โดยเป็นพ่อค้านุน่ ครั่ง บริเวณ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด แล้วย้ายมาอยู่เชียงรายปี 2507 และเปลี่ยนอาชีพ มาค้าไหมต่อ 8


เมืองโบรำณเวียงเชียงรุ ง ชุมชนในบริเวณนีเ้ ชือ่ ว่า บริเวณทีต่ งั้ ของวัดเวียงเชียงรุง้ เคยเป็นเมือง โบราณที่ชื่อ เวียงฮุ่ง หรือเวียงเชียงรุ้ง ฮุ่งหรือรุ้งเป็นชื่อของนกเหยี่ยว ชื่อเวียงฮุ่งหรือเวียงเชียงรุ้ง มาจากนิทานปรัมปราที่เล่าต่อๆ กันมานาน ดังมี เนื้อหาโดยย่อดังต่อไปนี้ …ณ เมืองจักรขินธานี (ชาวบ านเชื่อว าเป นชื่อเดิมของเวียงเชียงรุ ง) มี กษัตริย ปกครองชื่อว าท าวพรหมทัต พระองค มีพระธิดาผู ทรงพระสิริโฉมชื่อ นางปทุมมาเทวี วันหนึง่ ได เกิดทุกขภัยใหญ หลวงเนือ่ งจากมีนกยักษ ทชี่ าวเมือง เรียกว าพญารุ งหรือฮุ ง มาจับผู คนภายในเมืองกินเป นอาหาร ทําให มีคนตาย เป นอันมาก พระเจ าพรหมทัตจึงสั่งให นําพระนางปทุมมาเทวี ไปซ อนไว ใน กลองใบใหญ พร อมกับใส อาหารไว เป นจํานวนมากเพื่อพระนางจะได อาศัย เลี้ยงชีวิตได ในขณะที่ภายนอกนกยักษ มาจับคนกินเป นอาหาร บางคนที่หนี ได ก็หนีออกจากเมืองไปทําให เมืองร างไปในที่สุด อีก 2 ป ต อมาเจ าชาย สุริวงศ เจ าเมืองสีม าโคราช เดินทางออกจากเมืองพร อมกับพระสหายและ นายพรานเพื่อล าสัตว และเมื่อเดินทางเข าสู ป าลึกได พบกับกวางตัวหนึ่งซึ่งมี ความงามมาก จึงต องการจะนําไปเลี้ยงไว ในอุทยานหลวง พระองค กับพระ สหายจึงช วยกันไล จับกวาง จนกระทั่งพระองค พลัดหลงออกจากกลุ ม และ เดินทางมาจนถึงเมืองจักรขินธานี ที่เมืองนี้พระองค ได เห็นกองกระดูกมนุษย สูงเท ายอดตาล กับกลองใบใหญ 1 ใบ และเมือ่ เคาะดูกท็ ราบว าภายในมีหญิง สาวสวยซ อนอยู จึงช วยออกมาและฆ าพญารุ ง เมื่อพญารุ งตาย ชาวบ านจึง พร อมใจกันเรียกเมืองนี้ว า เวียง ฮุ ง…12 จากการที่ชาวบ้านได้ส�ารวจภายในเมืองได้พบศาลแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่า เป็นศาลเจ้าแม่ปทุมมาค�ากอง ชาวบ้านเล่าว่าที่บริเวณใกล้ศาลเคยมีต้นเล็บฮุ่ง ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ที่น่าแปลกคือใบมีขนาดใหญ่เท่ากับ กระด้งขนาดย่อมๆ และมีลักษณะคล้ายกับอุ้งเล็บของนกเหยี่ยว13 นอกจากนิยายปรัมปราเรื่องเมืองจักรขินธานีแล้ว ยังมีข่าวเล่าลือ เกี่ยวกับเมืองนี้มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ความลึกลับ 9


และเต็มไปด้วยเรื่องราวของอิทธิฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ จนท�าให้ไม่มีผู้คนกล้า เข้าไปในพื้น ที่ดังกล่าว ซึ่งก็เป็นผลดี ในทางการศึ ก ษา เพราะท� า ให้ พื้ น ที่ ดังกล่าวไม่ถูกบุกรุกและเปลี่ยนแปลง สภาพ ยังคงเหลือหลักฐานส�าหรับศึกษา เรื่องราวของเมืองนี้อยู่ไม่น้อย ตัวอย่าง ของเรื่องราวที่เล่าต่อๆ มาเกี่ยวกับพื้นที่ นี้ ประกอบด้วย

ศาลเจ้าจักรขิณนคร ปัจจุบันตั้งอยู่ในวัดเวียงเชียงรุ้ง

1. เรื่องเล่าในเอกสารเวียงเชียงรุ้ง วนอุทยานประวัติศาสตร์ อ�าเภอ เวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย …เมือ่ หลายป มาแล ว เมืองเชียงรุง แห งนี้ เป นดงป าไม หนาทึบ มีตน ยาง สูงลิบมองเห็นจากที่ไกลๆ นับสิบกิโลเมตร มีสตั ว ปา นานาชนิด โดยเฉพาะนก แร งตัวโตเป นฝูงใหญ นบั ร อยๆ ตัว เป นสถานทีน่ า กลัว และ น าเกรงขามของ คนทั้งหลาย ถ าไม มีความจําเป นจริงๆ จะไม มีใครกล าเข าไปเลย เพราะถ า เข าไปหากทําผิดอะไร ในทางที่ไม ควรก็จะมีภัยอันตรายต างๆ แม แต การไป หาปลาในคูเมือง ต องมีการบนบานศาลกล าว ให เป นกิจจะลักษณะก อนจึงจะ ทําได เมื่อถึงคืนวันเพ็ญวัน พระบางครั้งก็จะเห็นลําแสงประหลาดคล าย โคมไฟ บางครั้งมีลําแสงวิ่งไปมา เหมือนผีพุ งไต เดินทางไปมาระหว่าง เวียงเชียงรุง้ กับดอยพระบาททุง่ ก่อ บางครัง้ ในวันพระจะได้ยนิ เสียงสวดมนต์ ดังแว่วออกมาอย่างชัดเจน บางทีก็มีเสียงฆ้อง เสียงกลอง เหมือนมีการ ท�าบุญ…14 2. เรื่องเล่าจากชาวนาที่มีที่นาอยู่รายรอบวัด ชาวนาเหล่านี้มักจะต้อง ออกไปดูที่นาในตอนกลางคืน บางคืนพวกเขาได้เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น …ในบริเวณวัดเวียงเชียงรุ้งแต่เดิมรกร้างมากมีทั้งหมูป่า ฟาน และ เหยีย่ วเต็มไปหมด คนไม่กล้าเข้ามาอยู ่ บางวันเห็นดวงพระธาตุสเี ขียวก็ม ี เจ็ด 10


สีก็มี ลอยขึ้นมาจากบริเวณวัดเวียงเชียงรุ้งไปทางวัดพระบาททุ่งก่อ…15 …เห็นพระธาตุเป็นลูกไฟดวงกลมสว่างมาก ลอยออกจากบริเวณศาล เจ้าแม่ปทุมมาออกไปสูพ่ ระบาททุง่ ก่อ บางครัง้ ลอยสูงไปแวะทีพ่ ระบาทเหนือ มีพระธาตุอีกดวงลอยคู่ออกจากพระบาทเหนือ ไปยังพระบาทใต้ สร้างความ อัศจรรย์ใจให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง จนถึงขนาดพอถึงก่อนวันพระ หรือใน คืนวัน พระ ต้องมีกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ตั้งหน้าคอยสังเกต เพื่อจะดูให้เห็น พระธาตุให้เป็นขวัญตา มีไม่น้อยที่ผิดหวัง แต่ก็มีผู้เคยพบเห็นบางคนหลาย ครัง้ …16 เห็นดวงไฟขนาดเท่าผลส้มลอยมาตามแนวทีว่ างเบ็ดไว้ ตนจึงได้ยอ่ ง เข้าไปดูและต้องเกิดความรู้สกึ ว่าขนลุกซู่ไม่กล้าเดินออกไป เพราะดวงไฟนั้น แต่แรกมองเห็นใหญ่ ครั้นเมื่อเข้าใกล้กลับเล็กลง เท่าดวงไฟจากเทียนไขตน จ้องดูอยู่เหมือนต้องมนต์จังงังอยู่กับที่ เมื่อดวงไฟลอยใกล้เข้ามาแล้วก็ลอย ห่างออกไป ก็ได้ขยายขนาดขึน้ พร้อมกับแสงสีนวลทีป่ รากฏสว่างไสว จากนัน้ ก็ลอยไปสูท่ ศิ ทางทีต่ งั้ ของวัดพระบาทเหนือบนดอยทุง่ ก่อ ตนได้สติยงั ได้ปลุก เพื่อนบ้านและลูกหลานออกมาดูเพื่อยืนยันว่าไม่ได้โกหกใคร…17

วัดพระบาททุ่งก่อ ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย 11


3. เรื่องเล ำจำก พ อชัย บริบำล ชาวบ้านบ้านห้วยเคียน ซึ่งมีที่นาอยู่ ใกล้กับเวียงเชียงรุ้ง พ่อชัยเล่าว่า …วันหนึง่ ได้พบหม้อดินโบราณ ขนาดเท่าลูกมะพร้าวอยูข่ า้ งร่องเหมือง ในนา รูปสมบูรณ์ดีไม่มีแตกร้าว ดีใจเก็บใส่ย่ามสะพายกลับบ้าน แต่ทางไป บ้านต้องผ่านประตูวัด เมื่อสะพายย่ามเดินมาถึงประตูวัด เดินก้าวขาไม่ออก ขาทั้งสองข้างหนักเหมือนมีคนจับยึดไว้ หมุนตัวดิ้นอย่างไรก็ไม่สามารถก้าว เดินต่อไปได้ มองหาใครไม่เห็น มองเห็นสามเณรก�าลังปัดกวาดใบไม้ลานวัด จึงตะโกนร้องเรียกให้มาหาและจูงแขนพาเข้าไปในวัดเชียงรุ้ง จึงก้าวขาออก ได้บอกสามเณรให้พาไปที่ศาลา เกิดอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น หมดแรง จึงขอ ให้ ส ามเณรเอาหม้ อ ดิ น ใบนั้ นไว้ ใ นศาลาและ ให้ช่วยจูงแขนพาไปบ้าน ถึงบ้านแล้วก็ไม่มีแรง รุ่งเช้าจึงให้ลูกพาไปส่งที่โรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์ หมอตรวจแล้วไม่พบโรคอะไร จึงให้ยาแก้ปวดมากิน กินแล้วก็ยังอ่อนเพลีย เหมือนเดิม มีผู้แนะน�าให้ไปเซ่นไหว้ขอขมาเจ้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นตัว บอกกล่าวขอขมาอภัย ขอให้หายจากความอ่อนเพลียเมื่อได้ท�าตามพิธี โดยถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ก็หายเป็นปกติทกุ วันนี…้ 18 หม้อดินโบราณ กำรส�ำรวจและศึกษำเวียงเชียงรุ งในเชิงวิชำกำร จากความเชื่อและการปรากฏเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ท�าให้คน ภายในชุมชนส่วนหนึ่งมีความคิดที่จะเข้าไปส�ารวจและศึกษาในพื้นที่ดังกล่าว กำรส�ำรวจครั้งแรก : วันที่ 2 กรกฎำคม พ.ศ. 2523 การส�ารวจครั้งนี้ประกอบด้วย นายโกเมศ ขุนศรี ปลัดพัฒนาอ�าเภอ เวียงชัย19 นายอ้าย สิงธิขนั แก้ว ก�านันต�าบลทุง่ ก่อ นายหนูจนั ทร์ ภูเขียว ผูใ้ หญ่บ้านหมู่ 14 ต�าบลทุ่งก่อ นายบาลี ไกยกุล นายสุพล สีนวน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 12


และนายแก้วทาบุญสม แพทย์ตา� บลทุง่ ก่อ นายสุรนาถ ขุนศรี บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยรามค�าแหง ร่วมกับชาวบ้านจ�านวนหนึ่ง จากการส�ารวจครั้งนี้ ได้พบซากปรักหักพังของฐานเจดีย์และวิหาร เศษ เครื่องปั้นดินเผาปรากฏอยู่ทั่วไป แต่ “…หาชิ้นที่ สมบูรณ ไม ได …”20 จากการส�ารวจพบสิ่งของต่างๆ ซึ่งสามารถสนับสนุนความเชื่อที่ว่าบริเวณนี้เป็น เมืองโบราณ ท�าให้ปลัดโกเมศ ขุนศรี เดินหน้า น�าเรื่องดังกล่าวเข้าไปปรึกษากับทางอ�าเภอและ พระมหาโกเมศ สุเมธโส จังหวัด21 จนน�ามาสู่การเข้าไปส�ารวจและศึกษา ขุนศรี เรื่องราวของเมืองนี้ต่อไป รองเจ้าอาวาสวัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

กำรส�ำรวจครั้งที่ 2 : สิงหำคม พ.ศ. 2525 การส�ารวจครัง้ นีด้ า� เนินการโดย หน่วยศิลปากรที ่ 4 เชียงใหม่ โครงการ โบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวง ศึกษาธิการ กับบุคคลในพื้นที่ คณะเจ้าหน้าทีโ่ ครงการโบราณคดีภาคเหนือ ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจ�าหน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ จ�านวน 5 คน และนักศึกษาจาก คณะโบราณคดี 1 คน รายชื่อของคณะดังกล่าว คือ นางพาสุข ดิษยเดช หัวหน้าโครงการฯ นายสมจิต เรืองคณะ หัวหน้าหน่วยศิลปากรที ่ 4 นางวรรณนี ภูมิจิตร นักโบราณคดีที่ 4 นายสายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดี 3 นางสาวทัศนาลักษณ์ สุทธาศวิน ช่างศิลปกรรม 3 นายเลื่อน ชัยผล พนักงาน ขับรถยนต์ และนางสาวรัศมี ชูทรงเดช นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร23 บุคลากรในพืน้ ทีป่ ระกอบด้วย พระอธิการอนุรกั ษ์ เจ้าอาวาสส�านักสงฆ์ อุปแก้วการาม ปลัดโกเมศ ขุนศรี ปลัดอ�าเภอแม่สรวย ผูใ้ ห้ขอ้ มูลเมืองโบราณ เวียงเชียงรุ้ง และเจ้าหน้าที่ส�านักงานที่ดินอ�าเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย 22

13


กิจกรรมด�ำเนินกำร ประกอบด วย 1. คัดลอกแผนผังเมืองจากภาพถ่ายทางอากาศ 2. ศึกษาประวัตเิ มืองโบราณจากต�านาน พงศาวดาร และเอกสารอืน่ ๆ 3. ศึกษาต�าแหน่งที่ตั้งสภาพภูมิศาสตร์จากแผนที่ทางอากาศและ เอกสารต่างๆ 4. การส�ารวจโบราณสถาน 5. การถ่ายรูปโบราณสถาน 6. การส�ารวจก�าแพงเมืองคูเมือง 7. การส�ารวจบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัย และเก็บโบราณวัตถุบางส่วน 8. การศึกษา วาดภาพ และถ่ายภาพโบราณวัตถุ 9. การวิเคราะห์โบราณวัตถุ โบราณสถานและข้อมูลที่ ได้จากการ ส�ารวจ เพื่อหาข้อมูลทางสถิติ และผลเพื่อการตีความเบื้องต้น24 วิธีกำรด�ำเนินกำร 1. ส�ารวจเอกสาร แต่ไม่มีชื่อปรากฏในต�านานและพงศาวดาร 2. การส�ารวจเวียงเชียงรุ้ง 2.1 ศึกษารูปร่างลักษณะเมืองจากภาพถ่ายทางอากาศ 2.2 เดินส�ารวจภายในเมือง บริเวณก�าแพงเมือง ถ่ายรูป เก็บเศษภาชนะดินเผาและโบราณวัตถุที่พบบนผิวดิน และจากที่ชาวบ้าน เก็บรวบรวมได้25 ผลของกำรด�ำเนินงำนและกำรศึกษำ 1. สภำพภูมิศำสตร ของเวียงเชียงรุ ง สภาพของเนินดินอันเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง ริมฝั ง แม่น�้าลาวห่าง (แม่น�้าลาวร้าง) อยู่สูงจากระดับน�้าทะเลปานกลาง ประมาณ 400 เมตร พื้นที่รอบๆ เมืองโบราณเป็นที่นา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม น�้าท่วมถึง สูง จากระดับน�้าทะเลประมาณ 380 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง 14


ชาวบ้านได้ถากถางเป็นที่นา ด้านทิศตะวันออก และบริเวณตอนกลางเป็น เนินดิน เป็นทีต่ งั้ ของส�านักสงฆ์วปิ สั สนาวัดอุปแก้วการามเวียงเชียงรุง้ มีพระ จ�าพรรษา 6 รูป สามเณร 5 รูป แม่ชี 10 รูป26 เขตติดต อของเมืองโบรำณ ทิศเหนือ เป็นทุ่งนาและห่างจากแม่น�้ากก 2,500 เมตร ทิศใต เป็นทุ่งนาและล�าน�้าห้องลึกไหลผ่าน ทิศตะวันออก มีล�าน�้าธรรมชาติ คือ ล�าน�้าห้องลึก (ร่องลึก)และ ร่องจิก ซึ่งใช้เป็นคูเมือง ทิศตะวันตก ติดกับแม่นา�้ ลาวห่าง (แม่นา�้ ลาวร้าง) ใช้เป็นคูเมือง ด้วยเช่นกัน ด้านทิศตะวันตกของเมืองโบราณอยู่ ห่างจากแม่น�้ากก 4,750 เมตร1 2. แหล งน�้ำของเวียงเชียงรุ ง แหล่งน�า้ ทีส่ า� คัญประกอบด้วย แม่นา�้ กก และแม่นา�้ ลาว ซึง่ เปลีย่ นทาง เดินไปแล้วในปัจจุบัน27 3. ผังเมืองเวียงเชียงรุ ง แผนผังเมืองเวียงเชียงรุ้งเป็นรูปยาวรี มีเนื้อที่ประมาณ 500-600 ไร่ ตั้งตามแนวยาวจากทิศเหนือลงมาทิศใต้ ตรงกลางมีลักษณะเหมือนหลังเต่า มีคูเมืองล้อมรอบใช้ล�าน�้าธรรมชาติเป็นคูเมืองถึง 2 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันตกมีแม่นา�้ ลาวห่าง(แม่นา�้ เปลีย่ นทางเดิน)เป็นคูเมืองธรรมชาติ ทางทิศตะวันออก มีล�าน�้าร่องลึก และร่องจิก เป็นคูเมืองธรรมชาติ จากการเดินส�ารวจ ไม่สามารถบอกลักษณะคูเมืองได้อย่างชัดเจนเพราะอยู่ในระยะฝนตกน�า้ ท่วม ทัว่ ไปหมด แต่จากการส�ารวจของคณะกรรมการสภาต�าบลทุง่ ก่อ ซึง่ ได้ทา� การ เดินส�ารวจอย่างละเอียดและได้เขียนรายงานไว้ว่า เวียงเชียงรุ้งมีคูเมืองถึง 3 ชั้น ชั้นในติดก�าแพงเมือง(ก�าแพงดิน) มีคูรอบเป็นวงแหวน กว้าง 14 เมตร ลึก 3 เมตร ยาวรอบเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร คูชั้นกลางห่างจากคูชั้นใน 15


ประมาณ 50 เมตร เป็นคูเมืองที่ใหญ่กว้างและลึก คือ กว้าง 30 เมตร ลึก 5-6 เมตร ยาวรอบตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกว่า ร่อง (ฮ่อง) ลึก ส่วนคูเมืองชั้นในเรียกว่าร่องทราย ถัดออกเป็นคูเมือง ชั้น 3 อยู่รอบนอกสุด ห่างจากร่องลึกประมาณ 60 เมตร คูกว้าง 12 เมตร ลึก 2 เมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร คูเมืองมีลักษณะเป็นรูปก้นสอบ ขอบปากบานออกคล้ายตัววี (V-shaped) ในบริเวณเมืองโบราณเมือง เชียงรุ้ง มีโบราณสถานที่เหลือเป็นกองอิฐปรากฏอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะ เป็นโบสถ์และเจดีย์ เพราะพบใบเสมาที่ท�าด้วยหินทรายและพระพุทธรูป หินทรายช�ารุด ขนาดของเนินกว้างประมาณ 13 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร มีซากเจดียร์ ายล้อมประมาณ 3-4 องค์เฉียงไปทางด้านทิศเหนือของตัวโบสถ์28

ผังเมืองวัดเวียงเชียงรุ้ง แสดงให้เห็นถึงล�าดับชั้นของคูเมือง

4. สภำพเวียงเชียงรุ งในขณะที่ท�ำกำรส�ำรวจ (สิงหำคม พ.ศ. 2525) เวียงเชียงรุ้งในปัจจุบัน (ขณะที่ท�าการส�ารวจในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2525) เป็นที่ตั้งของส�านักวิปัสสนากรรมฐานวัดอุปแก้วการามเวียงเชียงรุ้ง 16


โดยได้เริม่ ตัง้ เป็นส�านักสงฆ์ตงั้ แต่วนั ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2524 ประกอบด้วยกุฏิ 21 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง เป็นโรงเรือนแบบชั่วคราว และก�าลังด�าเนินการสร้างอย่างถาวร จากการสอบถามพระอธิการอนุรักษ์ ซึ่ ง เป็ น เจ้ า อาวาสส� า นั ก สงฆ์ แ ห่ ง นี้ ถึ ง โครงการของวั ด ท่ า นกล่ า วว่ า วัตถุประสงค์ของการพัฒนาคือให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ เพราะเป็น สถานทีโ่ บราณ มีความเกีย่ วพันกับประวัตศิ าสตร์ชาติไทย จึงมีโครงการดังนี้ 1. ท�าการสร้างถนนทางหลวงแผ่นดินเข้าถึงบริเวณเมือง 2. สร้างถนนรอบเมืองเลียบไปตามริมด้านในของก�าแพงดิน 3. สร้างศาลาที่พักไว้ที่บนเนินที่เป็นที่สูงที่สุดของเมือง 4. ปลูกไม้ผล ไม้ยนื ต้น ไม้ดอกและไม้ประดับให้ทวั่ ไป เพือ่ ความร่มรืน่ และสวยงาม 5. สร้างศาลาเพือ่ เก็บวัตถุโบราณต่างๆ ไว้เพือ่ การศึกษาให้ประชาชนชม 6. ท�าป้ายบอกทางเข้าและสร้างศาลาทีพ่ กั ไว้ทที่ างแยกในบ้านห้วยเคียน 7. ท�าการปรับแต่งคันคู ให้มองเห็นเด่นชัดสวยงามทัว่ ทุกแห่งบางตอน ที่มีการถมและท�าลายจะปรับแต่งให้คืนสภาพเดิม รวมทั้งท�าการป้องกันการ พังทลายด้วย 8. ท�าการเก็บรักษาวัตถุหรือชิ้นส่วนของโบราณต่างๆ ไว้ในที่เดิมหรือ ที่ที่ปลอดภัย เพื่อประโยชน์ในการศึกษา โดยได้ทา� หนังสือเสนอนายอ�าเภอเวียงชัย และนายอ�าเภอเวียงชัยได้นา� เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายทราบแล้ว29 5. ชุมชนรำยรอบวัด ชาวบ้านห้วยเคียนส่วนใหญ่เป็นคนจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด ย้ายอพยพมาอยู่นี้ มีประมาณ 200 ครอบครัว โดยประกอบอาชีพ ท�าไร่ ข้าวโพด และท�านา เป็นต้น30

17


6. โบรำณวัตถุที่พบ เนื่องจากเวลาและภูมิอากาศไม่อ�านวยในการที่จะส�ารวจให้ทั่วบริเวณ ฉะนั้นในการส�ารวจครั้งนี้จึงได้ท�าการส�ารวจเฉพาะบนผิวดิน ซึ่งได้พบเศษ ภาชนะดินเผาจ�านวนหนึ่ง จึงน�าไปรวมกับเครื่องปั้นดินเผาที่ชาวบ้านเก็บ รวบรวมไว้ และได้น�าเครื่องปั้นดินเผาเหล่านั้นมาศึกษาวิเคราะห์ตามวิธีการ ทางโบราณคดีดังนี้ 6.1 ศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพ โดยการจัดแบ่งตาม อุณหภูมิที่ใช้ในการเผา 6.2 ศึกษาสี ลวดลาย เทคนิคการตกแต่ง 6.3 วัดขนาด และชั่งน�้าหนัก 6.4 คัดแยกตามแหล่งเตาทีผ่ ลิต ผลที่ได้คอื ทัง้ หมดเป็นแหล่ง เตาภาคเหนือตอนบน มีทั้งชนิดเนื้อแกร่ง (Stone ware) และชนิดเนื้อดิน (Earthen ware) จากการคัดแยกพบว่ามาจากเตาต่างๆ ดังนี้ 6.4.1 กลุม่ เตาพานทีบ่ า้ นโป่งแดง (จ�านวน 38 ชิน้ ) 6.4.2 กลุ่มเตาเวียงกาหลง อ�าเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีทั้งชนิดเคลือบเซลาดอนและชนิดเขียนลายใต้เคลือบ31 เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้คงจะใช้ในครัวเรือนเป็นประจ�าวัน32 7. บทสรุปเบื้องต นเรื่อง เมืองโบรำณเวียงเชียงรุ ง 7.1 เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้งเป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งใน ลุ่มแม่น�้าลาวที่มีความรุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 เป็นเมืองที่มี คูน�้า 3 ชั้น เนื้อที่ประมาณ 500-600 ไร่ อาจจะเป็นเมืองปกครองของพะเยา ซึ่งไม่มีความส�าคัญมากนัก จึงไม่มีประวัติกล่าวถึงในต�านานและพงศาวดาร ภาคเหนือเลย33 7.2 โบราณสถานในเมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง ส่วนมากเป็น ศิลปะแบบพะเยา เช่นพระพุทธรูปหินทรายศิลปะแบบพะเยา มีอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ 21-22 นอกจากนั้นชาวบ้านยังพบหินบดยา ครกท�าด้วยหินทราย 18


กล้องยาสูบดินเผา ขวานหินขัด ซึ่งพบทั่วไปในเมืองโบราณภาคเหนือ34 7.3 เศษเครื่องปั้นดินเผาที่พบทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ เป็นเศษภาชนะดินเผาทีผ่ ลิตจากเตาในบริเวณใกล้เคียงเมืองโบราณเวียงเชียง รุ้ง เช่น กลุ่มเตาพาน และกลุ่มเตาเวียงกาหลง ไม่พบเศษภาชนะดินเผาของ จีนและญวนเลย 3. กำรส�ำรวจครั้งที่ 3: ระหว ำง พ.ศ.2553-2554 ในการศึกษาครัง้ นีเ้ ป็นโครงการร่วมระหว่างโครงการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ อารยธรรมลุ่มน�้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่35

จุดประสงค ในการศึกษา : จัดท�าฐานข้อมูลทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลป วัตถุที่พบในเวียงเชียงรุ้ง และสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ของเมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง เพื่อน�าองค์ความรู้ไปเผยแพร่โดยจัดสัมมนา ทางวิชาการหรือจัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ การดําเนินการศึกษา : การส�ารวจเวียงเชียงรุ้งครั้งนี้ เป็นการส�ารวจ ทั่วไป โดยศึกษาจากงานที่ท�ามาแล้วใน 2 ครั้งแรก และมีการส�ารวจเพิ่มเติม ในบริเวณคันดินทางทิศใต้ เนือ่ งจากต้องการเก็บตัวอย่างเครือ่ งปัน้ ดินเผาเพือ่ 19


น�าไปเปรียบเทียบกับเครื่องปั้นดินเผาที่เก็บมาตั้งแต่ครั้งที่ 1-2 การส�ารวจ พื้นที่ในเวียงเชียงรุ้งมี 3 ครั้งดังนี้ วันที่ 11-12 กันยายน 2553 : ส�ารวจพื้นที่โดยรอบ วันที่ 24-26 ธันวาคม 2553 : ตรวจ คัดแยกและท�าทะเบียนโบราณวัตถุ วันที่ 10-11 มีนาคม 2554 : ตรวจ คัดแยก และท�าทะเบียนโบราณวัตถุ โบรำณสถำนและโบรำณวัตถุในเวียงเชียงรุ ง 1. โบราณสถาน : ประกอบด้วย กองอิฐก้อนขนาดใหญ่ อาจจะเป็น ฐานวิหารหรือโบสถ์ และเจดีย์ 2. โบราณวัตถุ : ประกอบด้วย 2.1 พระพุทธรูปหินทราย 4 องค์ ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ พระเศียรหัก สกุลช่างพะเยา พุทธศตวรรษที่ 21-22 2.2 ใบเสมาหินทราย ขนาดใหญ่ 3 ชิ้น

พระพุทธรูปหินทราย 3 องค์ ปัจจุบันอยู่ที่ ใบเสมาหินทราย ศาลเจ้าจักรขิณนคร วัดเวียงเชียงรุ้ง ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดเวียงเชียงรุ้ง

ทั้งพระพุทธรูปและใบเสมาเป็นหลักฐานที่อธิบายให้เห็นว่ากองอิฐนั้น น่าจะเป็นวัดที่มีทั้งวิหาร และอุโบสถ เพราะทั้งวิหารและอุโบสถจะต้องมี พระพุทธรูปเป็นประธาน ในขณะที่อุโบสถจะต้องมีใบเสมาบอกอาณาเขต 20


2.3 จำรึก 2 หลัก ประกอบด วย 2.3.1 จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง(1) หรือจารึกหมื่นขวา36 พบใน บริเวณวัดเวียงเชียงรุ้งที่เดียวกับใบเสมาทั้งสาม มีลักษณะเป็นจารึก 2 ด้าน ด้านที ่ 1 มีขอ้ ความทัง้ หมด 15 บรรทัด ด้านที ่ 2 มีขอ้ ความทัง้ หมด 14 บรรทัด ข้อความสมบูรณ์37 2.3.2 จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง(2) พบบริเวณกองอิฐด้านหน้า ศาลเจ้าแม่ค�าแตง เป็นหินเขียวเนื้อละเอียดขนาดประมาณ 1 ตารางฟุต มีข้อความ 4 บรรทัด

จารึกเชียงรุ้งน้อย ปัจจุบันอยู่ที่วัดเวียงเชียงรุ้ง

จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง(2) ปัจจุบันอยู่ที่วัดเวียงเชียงรุ้ง

3. เครื่ อ งป น ดิ น เผำ ที่ พ บในวั ด เวี ย งเชี ย งรุ ้ ง ประกอบด้ ว ย เครื่องปั้นดินเผา ชนิดเนื้อแกร่ง (Stone ware) และเนื้อเครื่องดิน (Earthen ware) มีทงั้ ชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ชนิดเคลือบประกอบด้วย ชนิดเคลือบ เซลาดอน และเคลือบสีน�้าตาล ส่วนหนึ่งท�าลวดลายด้วยการเขียนลายใต้ เคลือบสีด�า และลายกดประทับ เครือ่ งปัน้ ดินเผาเหล่านีล้ ว้ นผลิตจากภายนอกพืน้ ที ่ คือจากกลุม่ เตาพาน พะเยาและเวียงกาหลง รวมทั้งกลุ่มเตาเกาะน้อยและกลุ่มเตาในประเทศจีน 21


มีทั้งภาชนะที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไห เครื่องมือท�ามาหากิน เช่น ลูกตุ่มถ่วงแห และตะเกียงแขวน ของเล่นหรือของที่ใช้ในพิธีกรรม เช่น รูป ตัวสัตว์ เช่น ช้าง และกล้องยาสูบเป็นต้น38

เครื่องปั้นดินเผารูปแบบต่างๆ ที่พบในบริเวณวัดเวียงเชียงรุ้ง

สถำนะของวัดเวียงเชียงรุ งในป จจุบัน ปัจจุบนั วัดเวียงเชียงรุง้ ได้รบั การ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรม ศิลปากร และได้รบั จัดตัง้ เป็น วนอุทยาน ประวัติศาสตร์เวียงเชียงรุ้ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบห้ารอบ เชิงอรรถ 1 โกเมศ ขุนศรี และศิริวรรณ ชื่นชม, “เวียงเชียงรุ ง วนอุทยานประวัติศาสตร กิ่งอําเภอเวียง เชียงรุ ง จังหวัดเชียงราย,” พระพุทธนวฤทธิ์วัดเวียงเชียงรุ้ง อ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัด เชียงราย, พิมพ์ถวายเนือ่ งในงานผูกพันธสีมา วัดเวียงเชียงรุง้ (เมืองโบราณ) วันที ่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553, (เชียงราย: จันทร์เที่ยงการพิมพ์, 2553), หน้า 18.

22


2

พาสุข ดิษยเดช และคณะ, “รายงานการสํารวจเวียงเชียงรุง (เวียงฮุง ) อําเภอเวียงชัย จังหวัด เชียงราย,” รายงานทางวิชาการ ปีที่ 1 เล่มที่ 5 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2525(ฉบับพิมพ์ดีด), หน้า 6. 3 เรื่องเดียวกัน, หน้า 6. 4 โกเมศ ขุนศรี และศิริวรรณ ชื่นชม, “เวียงเชียงรุ ง…,” อ้างแล้ว หน้า 20. 5 พาสุข ดิษยเดช และคณะ, “รายงานการสํารวจเวียงเชียงรุ ง…,”, หน้า 6. 6 สัมภาษณ์ วิรัช ครูละคร บ้านหนองเสา ต.เม็งราย อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย, อ้างจาก เกรียงไกร สว่างวงษ์, ชาวอีสานในภาคเหนือกับการธํารงอัตลักษณ กรณีศกึ ษา: บ านหนองเสา ต.เม็งราย อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย รายงานกระบวนวิชา 499 (ปริญญานิพนธ์) ภาควิชา ประวัติศาสตร์ คณะมุนษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2550, หน้า 12. 7 สัมภาษณ์ชาวบ้านที่บ้านห้วยเคียน วันที่ 29-30 เมษายน 2554 8 สัมภาษณ์ ยายทองเยื้อน จันทร์สมบัติ, วันที่ 29 เมษายน 2554 ณ วัดเวียงเชียงรุ้ง บ้านห้วยเคียน หมู่ 10 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย 9 สัมภาษณ์ พ่อชัย บริบาล, 107 บ้านห้วยเคียน หมู่ 5 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย วันที่ 29 เมษายน 2554 10 อ้างจาก เกรียงไกร สว่างวงษ์, ชาวอีสานในภาคเหนือกับการธํารงอัตลักษณ …, หน้า 1011, และ 24 11 สัมภาษณ์ สมบูรณ์ ทันนะมาตร, 99 บ้านห้วยเคียน หมู่ 10 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย วันที่ 29 เมษายน 2554 12 เรื่องเล่าจากคณะหมอล�า ลงในหนังสือพิมพ์รายวัน ไชยนารายณ์, ฉบับวันที่ 9-10 และ 15-16 กรกฎาคม พ.ศ. 2523. 13 หนังสือพิมพ รายวัน ไชยนารายณ , ฉบับวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2523. 14 โกเมศ ขุนศรี และศิริวรรณ ชื่นชม, เวียงเชียงรุ้ง วนอุทยานประวัติศาสตร์, หน้า 19. 15 สัมภาษณ์ พ่อชัย บริบาล, 107 บ้านห้วยเคียน หมู่ 5 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย วันที่ 29 เมษายน 2554 16 เรื่องเล่าจากชาวนาที่ไปเฝ้าที่นาของตนในตอนกลางคืน, อ้างจาก “มีผู พบเห็นลูกไฟดวง กลมใหญ สว างนวลลอยไปพระบาททุ งก อคืนวันพระ,” หนังสือพิมพ์รายวัน ไชยนารายณ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 43 วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2523, เรื่องเดียวกัน, หน้า 2.

23


17

ค�าบอกเล่าของ สมพล สีนวน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 15 ต�าบลทุ่งก่อ อ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย อ้างจาก เรื่องเดียวกัน.

18

โกเมศ สุเมธโส (ขุนศรี), “คณาจารย จาก U.S.A. เยีย่ มศึกษาวนอุทยานประวัตศิ าสตร เวียงเชียงรุ ง,” พุทธ นวฤทธิ์วัดเวียงเชียงรุ้ง, หน้า 8. 19 ปัจจุบนั คือ พระมหาโกเมศ สุเมธโส ขุนศรี รองเจ้าอาวาสวัดเวียงเชียงรุง้ ต�าบลทุง่ ก่อ อ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย 20 “ค นพบ…เมืองโบราณ เวียงฮุ งนิยายปรัมปราจุมปา ”สี่ต น”, หนังสือพิมพ์รายวัน ไชยนารายณ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 41 วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2523, รวบรวมโดย พระสุเมธโสภิกขุ (โกเมศ ขุนศรี), หน้า 1. 21 ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 1 22 เนื้อความการส�ารวจครั้งที่ 2 คัดลอกมาจาก พาสุข ดิษยเดช และคณะ, “รายงาน การสํารวจเวียงเชียงรุง (เวียงฮุง ) อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย,” รายงานทางวิชาการ ปีที่ 1 เล่มที่ 5 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2525 (ฉบับพิมพ์ดีด), หน้า 2. 23 พาสุข ดิษยเดช และคณะ, “รายงานการส�ารวจเวียงเชียงรุง้ …”, หน้าค�าน�า และหน้า 1. 24 เรื่องเดียวกัน, หน้า 1. 25 เรื่องเดียวกัน, หน้า 4-5. 26 เรื่องเดียวกัน, หน้า 3-4. 27 เรื่องเดียวกัน, หน้า 4. 28 เรื่องเดียวกัน, หน้า 5. 29 เรื่องเดียวกัน, หน้า 6. 30 เรื่องเดียวกัน. 31 ดูรายละเอียดการคัดแยกเครื่องปั้นดินเผาเวียงเชียงรุ้ง ในเรื่องเดียวกัน, หน้า 8-19. 32 เรื่องเดียวกัน, หน้า 7. 33 เรื่องเดียวกัน, หน้า 8. 34 เรื่องเดียวกัน. 35 เรื่องเดียวกัน. 36 เป็นชื่อที่ตั้งโดย เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ ผู้อ่านจารึกหลักนี้ 37 ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 6.1 38 ดูรายละเอียดในฐานข้อมูลเครื่องปั้นดินเผาเวียงเชียงรุ้ง ภาคผนวกที่ 7 24


บทที่ 2 เครื่องป นดินเผำที่เวียงเชียงรุ ง “ดิน” เป็นวัสดุทหี่ าง่ายและอยู่ใกล้ตวั มนุษย์มากทีส่ ดุ อีกทัง้ ยังสามารถ น�ามาท�าเป็นรูปร่างต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้นจากความ “ง่าย” ดังกล่าว ท�าให้มนุษย์รู้จักน�าดินมาท�าเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อน�ามาใช้ในชีวิตประจ�าวัน มาตัง้ แต่ยคุ ก่อนประวัตศิ าสตร์แล้ว การผลิตเครือ่ งปัน้ ดินเผาในแต่ละยุคสมัย มี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี ที่ สู ง ขึ้ น พั ฒ นารู ป แบบให้ มี ค วามสวยงามและ หลากหลายมากขึ้น ตามความจ�าเป็นใช้สอยของแต่ละสังคม แต่ละยุคสมัย จากการท� า งานเชิ ง โบราณคดี ข องกรมศิ ล ปากรและคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ท�าให้ทราบว่าชุมชนที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนไทย ทั่วทุกภาค รู้จักน�า “ดิน” มาพัฒนาและสร้างสรรค์เป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อ ใช้สอยในชีวิตประจ�าวัน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาจนถึง สมัยประวัติศาสตร์ จากการส�ารวจพื้นที่ ในเขตภูมิภาคตอนบน หรือในบริเวณที่เคยเป็น อาณาจักรล้านนามาก่อน ได้พบร่องรอยของการผลิตใช้เครื่องปั้นดินเผา มาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาจนถึงยุคการสร้างอาณาจักร และยุคสมัยปัจจุบัน เครื่องป นดินเผำสมัยก อนประวัติศำสตร ในเขตภูมิภำคตอนบน 1. เครื่องป นดินเผำสมัยแรกเริ่ม แหล่งโบราณคดีที่พบเครื่องปั้นดินเผาในสมัยนี้คือ บริเวณถ�้าผีแมน ตั้งอยู่บนเขตเทือกเขาสูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในถ�้าแห่งนี้ได้พบเศษภาชนะ เครื่องปั้นดินเผาจ�านวนหนึ่งซึ่งมีไม่มากนักฝังรวมกับเครื่องมือหินขัด 1 ชิ้น ชิ้นส่วนของเครื่องมือหินขัด 2 ชิ้น และมีดที่ท�าด้วยชนวนอีก 2 ชิ้น หลักฐาน เหล่านีฝ้ งั รวมอยูก่ บั กองไฟ เศษภาชนะทีพ่ บเป็นชนิดไม่เคลือบ เผาในอุณหภูมิ ต�่า ลายเชือกทาบ นักวิชาการสันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีนี้มีอายุประมาณ 7,500-7,0001 ปีมาแล้ว 25


เศษภำชนะดิ น เผำที่ ถ�้ ำ ผี แ มน (Spirit Cave) อ.เมือง จ.แม ฮ องสอน ทีม่ ำ: ส�านักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการ ช�าระประวัติศาสตร์ไทย, เมืองและแหล่ง ชุมชนโบราณล้านนา, 2539:45

การปรากฏเศษภาชนะดินเผาและขวานหินขัด นับเป็นเรื่องที่นักโบราณคดี ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะเชื่อว่าภาชนะดินเผามักเป็นผลิตภัณฑ์ของ กลุม่ ชนทีร่ จู้ กั การเพาะปลูกและเลีย้ งสัตว์แล้ว ส่วนขวานหินขัดก็เช่นเดียวกัน มักพบในชุมชนเกษตรกรรมโดยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเครือ่ งมือทีค่ นในชุมชน ใช้สา� หรับบุกเบิกและถางพืน้ ทีเ่ พือ่ ท�าการเพาะปลูก แต่ขอ้ สันนิษฐานดังกล่าว นี้อาจไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะหากดูพัฒนาการของกลุ่มวัฒนธรรมโจมอน (Jomon Culture) ของญี่ ปุ ่ น แล้ ว จะเห็ น ได้ ว ่ า ชุ ม ชนกลุ ่ ม นี้ รู ้ จั ก ท� า เครื่องปั้นดินเผาแล้ว แต่ยังคงหาอาหารจากธรรมชาติ มิได้เป็นกลุ่มท�า เกษตรกรรมแต่อย่างใด2 2. เครื่องป นดินเผำในสมัยสังคมเกษตรกรรม สังคมสมัยเกษตรกรรมหมายถึง สังคมทีม่ นุษย์ตงั้ บ้านเรือนอย่างถาวร รูจ้ กั ท�าการเพาะปลูกและเลีย้ งสัตว์แล้ว นอกจากนัน้ ในยุคนีม้ นุษย์ยงั ได้พฒ ั นา เทคโนโลยี ในการท�าเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจ�าของตนด้วยวัสดุอื่นๆ อีกด้วย คือรูจ้ กั การน�าโลหะส�าริดและเหล็กมาใช้ทา� อาวุธ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ในชีวิตประจ�าวัน และเครื่องประดับ รวมทั้งรู้จักน�าดินมาปั้นเป็นรูปทรง ตามต้องการ แล้วน�าไปเผาไฟเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งและคงทน จากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีสมัยส�าริดและเหล็กในเขตภูมิภาค ั นาการท�าเครือ่ งปัน้ ดินเผาใช้แล้วเหมือน ตอนบน3 พบว่าชุมชนในเขตนี้ได้พฒ 26


กับชุมชนในเขตภูมิภาคอื่นในสมัยเดียวกัน แหล่งโบราณคดีที่ส�าคัญเช่น แหล่งโบราณคดีในเขตพืน้ ทีส่ งู อ�าเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน แหล่งโบราณคดีออบหลวง อ�าเภอฮอด แหล่งโบราณคดีบ้านสันป่าคา อ�าเภอสันก�าแพง แหล่งโบราณคดีบา้ นยางทองใต้ อ�าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโบราณคดีบา้ นวังไฮ อ�าเภอเมือง จังหวัดล�าพูน และแหล่งโบราณคดีประตูผา จังหวัด ล�าปาง เป็นต้น หลุ ม ฝ ง ศพที่ แ หล ง โบรำณคดี ป ระตู ผ ำ จ.ล�ำปำง ที่มำ: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และวิวรรณ แสงจันทร์,ภาพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์, 2545: 53.

เครื่องปั้นดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดีดังกล่าวส่วนใหญ่ล้วนเป็น เครื่องเซ่นศพ เนื่องจากพบฝังรวมอยู่กับโครงกระดูกมนุษย์พร้อมกับเครื่อง เซ่นชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องประดับส�าริด เครื่องมือเครื่องใช้ที่ท�าด้วยเหล็ก ลูกปัดแก้ว และหินกึ่งอัญมณี เป็นต้น หลุมฝ งศพทีบ่ ำ นยำงทองใต อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม ทีม่ ำ: กรมศิลปากร,โบราณคดีลมุ่ แม่นา�้ ป ง ตอนบน, 2534:20

27


เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีพ่ บในยุคนีย้ งั คงเป็นชนิดเผาในอุณหภูมติ า�่ ไม่เคลือบ ท�าลวดลายด้วยการขูดขีดเป็นรูปทรงเรขาคณิต และลายเชือกทาบ แต่พบใน จ�านวนที่มากขึ้น และมีรูปทรงที่หลากหลาย เช่น แหล งโบรำณคดีในเขตพื้นที่สูง อ�ำเภอปำงมะผ ำ จังหวัดแม ฮ องสอน นิยมใช้ภาชนะขนาดเล็ก และขนาดกลาง เช่น หม้อ และถ้วย เป็นภาชนะดิน เผาชนิดเผาในอุณหภูมิต�่า ผิวเรียบ และตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ4 แหล งโบรำณคดีประตูผำ จังหวัดล�ำปำง นิยมใช้ภาชนะหม้อก้นกลม ปากผายออกเล็กน้อย ภาชนะทรงชามหรือถ้วยขนาดเล็ก5 ภาชนะที่พบ ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาชนิดเผาในอุณหภูมติ า�่ ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ6 นอกจากภาชนะดั ง กล่ า วแล้ ว ยั งได้ พ บหม้ อ มี สั น ตกแต่ ง ลายกดประทั บ ด้วยเชือกพันไม้ลายขูดเป็นเส้นคู่ และมีปุ่มเล็กๆ สองปุ่มที่สันไหล่ ภาชนะ รูปนีม้ ลี กั ษณะคล้ายกับภาชนะทีพ่ บในการขุดค้นจากแหล่งโบราณคดียคุ โลหะ ในบริเวณที่ราบภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ7 หม อมีสันพบที่แหล งโบรำณคดีประตูผำ จ.ล�ำปำง ที่มำ: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และ วิวรรณ แสงจันทร์ ,ภาพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์, 2545:61.

แหล งโบรำณคดีออบหลวง อ�ำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม ภาชนะทีพ่ บ ที่นี่มีรูปแบบที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มภาชนะก้นกลม8 เช่นหม้อก้นกลม มีสัน หม้อก้นกลมคอสั้น ปากบาน ภาชนะก้นกลม คอและขอบปากตั้งตรง เป็นต้น ในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ ได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะพิเศษ กว่าของชุมชนอื่นคือ ภาชนะมีฐานคล้ายพาน (pedestaled bowls)9 ภาชนะ ทีพ่ บส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาชนิดเผาในอุณหภูมติ า�่ ตกแต่งด้วยลายเชือก 28


ทาบ และลายขูดขีดเป็นตารางสี่เหลี่ยม ลายเส้นขนาน และลายเส้นตรง เป็นต้น10

เครื่องป นดินเผำจำกแหล งโบรำณคดีออบหลวง จ.เชียงใหม ที่มำ: ส�านักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการช�าระประวัติศาสตร์ไทย , เมืองและ แหล่งชุมชนโบราณล้านนา, 2539:57และ 59.

แหล่งโบราณคดีบ้านสันป่าคา อ�าเภอสันก�าแพง แหล่งโบราณคดี บ้านยางทองใต้ อ�าเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโบราณคดี บ้านวังไฮ อ�าเภอเมือง จังหวัดล�าพูน ภาชนะดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดี ทั้งสามแห่งนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือมีรูปแบบที่หลากหลาย มีทั้งหม้อ ทรงกลมก้นแบน คอสั้น ขอบปากบานออก หม้อก้นกลมทรงสูง ขนาดใหญ่ คอและปากกว้าง รวมทั้งชามก้นแบน11 ภาชนะที่พบส่วนใหญ่ เป็นภาชนะ ดินเผาชนิดเผาในอุณหภูมิต�่า ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ และลายขูดขีด การตกแต่งลวดลายทีเ่ ป็นลักษณ์พเิ ศษของแหล่งโบราณคดีทงั้ สามแหล่งนีค้ อื การทาสีแดงที่ขอบปากด้านนอก และภายในชาม12 ภำพลำยเส นเครื่องป นดินเผำจำกแหล ง โบรำณคดี บ้านสันป่าคา อ.สันก�าแพง จ.เชียงใหม่ ทีม่ ำ: ส�านักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการ ช�าระประวัติศาสตร์ไทย, เมืองและแหล่ง ชุมชนโบราณล้านนา, 2539: 59. 29


การพบภาชนะรูปแบบเดียวกันในแหล่งโบราณคดีทั้งสามนี้ เป็นหลัก ฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชุมชนในแหล่งโบราณคดีดังกล่าว ซึ่ง ล้วนเป็นแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ริมฝั งแม่น�้ากวงทั้งสิ้น โดยเฉพาะแหล่ง โบราณคดีบ้านสันป่าคาตั้งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ มากนัก เข้าใจว่าชุมชนในแหล่งโบราณคดีทั้งสามคงจะใช้แม่น�้ากวงใน การเดินทางติดต่อไปมาหาสู่กัน จากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีสมัยส�าริดและเหล็กในเขตภูมิภาค ตอนบนนั้น พบว่าแหล่งโบราณคดีเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ล�าน�้า เกือบทั้งหมด เช่นแหล่งโบราณคดีในเขตพื้นที่สูง อ�าเภอปางมะผ้า เป็นเขต ที่มีล�าน�้าสายต่างๆ ไหลผ่าน เช่น น�้าของ น�้าลาง และน�้าแพม เป็นต้น แหล่ง โบราณคดีออบหลวงตั้งอยู่ ใกล้ล�าน�้าแจ่ม เชื่อว่าล�าน�้าเหล่านี้คือเส้นทาง คมนาคมเส้นทางหนึง่ ในการติดต่อระหว่างชุมชนต่างๆ ในเขตภูมภิ าคตอนบน รวมทั้งยังเป็นเส้นทางติดต่อกับชุมชนภายนอกอีกด้วย โดยเชื่อว่าชุมชนที่อยู่ ริมน�า้ ในเขตทีร่ าบ เช่น บ้านสันป่าคา บ้านยางทองใต้ และบ้านวังไฮ เป็นชุมชน ที่รับวัฒนธรรมจากภายนอก แล้วน�าไปกระจายสู่ชุมชนในเขตเทือกเขาสูง อาจจะโดยใช้เส้นทางน�้าหรือเดินบก หลักฐานส�าคัญที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ การพบก� าไลเปลือ กหอย ลูก ปัด แก้ว กับ ลู ก ปั ดหิ นกึ่ งอั ญ มณี ใ นแหล่ ง โบราณคดีดังกล่าว ซึ่งหลักฐานทั้งสองชนิดนี้ มิใช่ของที่ผลิตจากท้องถิ่น เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่พบแหล่งวัตถุดิบและแหล่งผลิตก�าไลเปลือกหอย และลูกปัดหินในเขตภูมิภาคตอนบนเลย เครื่องป นดินเผำสมัยประวัติศำสตร ในเขตภูมิภำคตอนบน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาเป็นสมัยที่ภูมิภาคตอนบนเริ่มต้น เข้าสู่สมัยของการรวมตัวเป็นอาณาจักรโดยมีแนวความเชื่อทางพุทธศาสนา นิกายเถรวาทเป็นศูนย์กลาง อาณาจักรที่ส�าคัญคือ อาณาจักรหริภุญไชย อาณาจักรล้านนา และอาณาจักรสุโขทัย ตามล�าดับ อาณาจักรทั้งสามต่างก็ มี วั ฒ นธรรมการท� า เครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผา รวมทั้ ง มี ก ารพั ฒ นารู ป แบบและ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นตามล�าดับ 30


เครื่องป นดินเผำในสมัยอำณำจักรหริภุญไชย อาณาจักรหริภุญไชยนับเป็นอาณาจักรแรกๆ ของเขตภูมิภาคตอนบน ทีก่ า้ วเข้าสูย่ คุ ประวัตศิ าสตร์ มีศนู ย์กลางอยูท่ หี่ ริภญ ุ ไชยหรือล�าพูนในปัจจุบนั วิธีการหนึ่งของการรวมตัวเป็นอาณาจักรคือพัฒนาแนวความเชื่อทางพุทธศาสนาเถรวาทเป็นแนวความเชื่อหลักของชุมชน รวมทั้งใช้พุทธศาสนาเป็น เครื่องมือในการขยายอ�านาจด้วยการสร้างเมืองต่างๆ ที่มีแนวความเชื่อ แบบเดียวกัน เช่น เวียงมโน เวียงท่ากาน และเขลางค์นคร (ล�าปาง) เป็นต้น เครือ่ งปัน้ ดินเผาในยุคนีแ้ ม้ยงั คงเป็นชนิดไม่เคลือบ แต่เผาในอุณหภูมทิ สี่ งู ขึน้ รวมทั้งเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องรูปแบบ ประโยชน์ใช้สอย และ เทคนิคการท�ามากขึ้นกว่าที่เคยท�ามา สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของการท�าเครื่องปั้นดินเผาของอาณาจักร หริภญ ุ ไชย คือ การรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกทัง้ รูปแบบและเทคนิค ในการท�า ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากในสมัยนีม้ กี ารติดกับชุมชนภายนอกทัง้ ทางฝัง หัวเมือง มอญและทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ ภาคกลางมากขึน้ ท�าให้มกี ารน�าเข้าทัง้ ตัวภาชนะ รูป แบบและเทคนิคการท�าเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่ส�าคัญคือ 1. ภำชนะรูปแบบต ำงๆ ที่ใช ในชีวิตประจ�ำวัน เช่นหม้อมีสันรูปแบบ เดียวกับทีพ่ บในวัฒนธรรมทวาราวดีในเขตทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ ภาคกลาง และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ13 ครก ซึง่ มีลกั ษณะคล้ายชามก้นลึก ฐานเตีย้ และหม้อ ก้นกลมปากผาย

หม อ ก น กลมปำกผำยจำกหลุ ม ขุ ด ค น วัดประตูลี้และวัดพระธำตุหริภุญไชย ที่มำ : ผาสุข อิน ทราวุธ, อารยธรรม โบราณในจังหวัดล�าพูน, 2536.

31


2. ตุ๊กตาดินเผารูปเด็กชายเปลือย ซึ่งเป็นรูปแบบตุ๊กตาที่นิยมท�ากัน ในวัฒนธรรมทวาราวดี ในที่ราบลุ่มแม่น�้าภาคกลาง โดยเฉพาะในแหล่ง โบราณคดีจันเสน เป็นต้น14 ชิ้นส วนตุ กตำดินเผำเด็กชำยเปลือยพบในหลุม ขุดค น ทำงโบรำณคดี บริเวณหน ำศำลำกลำง จังหวัดล�ำพูน ที่มำ: ส�านักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการช�าระ ประวัติศาสตร์ไทย, เมืองและแหล่งชุมชนโบราณ ล้านนา, 2539:197

ตุ กตำดินเผำชำยเปลือย หน ำ-หลัง พบที่ แหล งโบรำณคดีจันเสน จ.นครสวรรค ที่ ม ำ : มติ ช น, สั ง คมและวั ฒ นธรรม จันเสน,2539:114

3. กำรรับเทคนิคกำรตกแต งผิวภำชนะทีเ่ รียกว ำ Rouletted Decoration ซึง่ เป็นเทคนิคการท�าลวดลายด้วยการกดประทับด้วยซีฟ่ นั เฟ อง (Rouletted) ลงบนผิวภาชนะในขณะที่ยังเปียกอยู่ ท�าให้เกิดลวดลายกดเป็นร่องลึกเรียง เป็นแถวอย่างได้สัดส่วน เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคการตกแต่งภาชนะของ โรมันสมัยเฮลเลนิสติคที่แพร่หลายผ่านอินเดียเข้ามายังพม่าในสมัยพุกาม15 การท�าเทคนิคชนิดนีพ้ บมากในการท�าลวดลายบนคณโทขนาดใหญ่ที่ใช้สา� หรับ บรรจุอัฐิของวัฒนธรรมหริภุญไชย 32


เทคนิคการตกแต่งผิวภาชนะแบบ Rouletted Decoration ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กล่าวได้วา่ การท�าเครือ่ งปัน้ ดินเผาของอาณาจักรหริภญ ุ ไชย มิได้จา� กัด อยู่เฉพาะการท�าภาชนะเครื่องใช้เท่านั้น แต่ยังได้มีการท�าเครื่องปั้นดินเผา ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาในหลายรูปแบบ เช่น 1. ชิน้ ส วนประดับอำคำรและศำสนสถำน เช่น โบสถ์ วิหาร และองค์เจดีย์

ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. รูปเคำรพต ำงๆ ซึ่งมีทั้งพระพิมพ์ดินเผาในรูปแบบต่างๆ ที่พบอยู่ ทั่ ว ไปในเมื อ งที่ เ คยเป็ น เมื อ งบริ ว ารของอาณาจั ก รหริ ภุ ญ ไชย และ ประติมากรรมพระพุทธรูปประดับเจดีย์ 33


พระพิมพ ซุ มพุทธคยำ พบที่จังหวัดล�ำพูน ที่มำ : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, “ปูนปั้นประดับสุวรรณ จังโกฏิเจดีย์” จากยุคน�้าแข็งไพลสโตซีนสู่สมัยล้านนา, 2550:63.

3. ภำชนะที่ใช ในพิธีกรรมต ำงๆ เช น 3.1 กุณฑีหรือหม อน�้ำมีพวย ซึ่งเป็นภาชนะบรรจุน�้าส�าหรับใช้ใน พิธีกรรม และใช้ในชีวิตประจ�าวันของชนชั้นสูง เชื่อว่าภาชนะรูปแบบนี้ได้รับ อิทธิพลมาจากอินเดีย

กุณฑีหรือหม อน�้ำมีพวย ที่ ม ำ : ผาสุ ข อิน ทราวุธ, อารยธรรมโบราณ ในจังหวัดล�าพูน, 2536.

3.2 ภาชนะบรรจุอัฐิ เท่าที่พบมี 2 รูปแบบคือ แบบที่ 1 เป็นคณโท มีลักษณะคล้ายหม้อก้นกลม คอยาวและปากผายเล็กน้อย แบบที่ 2 เป็นโกศ ดินเผา ลักษณะคล้ายหม้อทรงกระบอก มีฝาป ดเป็นยอดแหลม คณโทและ โกศดินเผา บางใบตกแต่งด้วยเทคนิค Rouletted decoration16 34


โกศดินเผำ ที่มำ :กรมศิลปากร โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย, 2548:131.

คณโทบรรจุอัฐิ ทีม่ ำ : โครงการศึกษาเครือ่ งปัน้ ดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.3 เชิงเทียน มีลักษณะคล้ายกับเชิงเทียนในสมัยปัจจุบัน แต่มีขนาด ใหญ่กว่าซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นพานดอกไม้ (ขันแก้วทัง้ สาม) ใช้สา� หรับใส่ดอกไม้ทชี่ าวบ้านน�ามา ไหว้พระ และอาจส่งอิทธิพลทางด้านรูปแบบมาจนถึงสมัยล้านนา17 และปัจจุบนั เนือ่ งจากยังพบภาชนะรูปแบบนีต้ ามวัดต่างๆ แต่สว่ นใหญ่เป็นเครือ่ งเขิน เชิงเทียน พบที่ทุ งกู ล ำน ทีม่ ำ : กรมศิลปากร โบราณวัตถุ และศิลป วัตถุในพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติหริภญ ุ ไชย, 2548:133. 35


3.4 ตะคัน ภาชนะส�าหรับจุดไฟให้ความสว่างและบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มักพบตามศาสนสถาน พบว่ารูปของตะคันยังคงนิยมท�ามาจนกระทั่งถึงสมัย ปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า ผางประทีป18 ตะคัน ที่มำ : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เครื่องปั้นดินเผาที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนาดังที่กล่าวมาแล้วนี้พบเป็น จ�านวนมาก กระจัดกระจายทั่วไปในเมืองต่างๆ ที่เป็นบริวารของอาณาจักร หริภุญไชยจากการพบเครื่องปั้นดินเผาในกลุ่มนี้เป็นจ�านวนมาก ท�าให้ทราบ ว่าชุมชนในเขตภูมภิ าคตอนบนได้เปลีย่ นแปลงแนวความเชือ่ มาเป็นการนับถือ พุ ท ธศาสนานิ ก ายเถรวาท และพั ฒ นาพิ ธี ก รรมการท� า ศพจากการฝั ง เครือ่ งปัน้ ดินเผาพร้อมกับเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ลงไปในหลุมศพ มาเป็นการเผาศพและบรรจุอัฐิลงในโกศดินเผา รูปทรงกระบอกมีฝาป ด และรูปทรงคณโท แทน จากการส�ารวจของโครงการศึกษาเครือ่ งปัน้ ดินเผาภาคเหนือในปัจจุบนั ได้พบเครื่องปั้นดินเผาของอาณาจักรหริภุญไชยกระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไป แต่ ไ ม่ พ บแหล่ ง เตาเผาของเครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผากลุ ่ ม นี้ เ ลย สั น นิ ษ ฐานว่ า เครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้คงจะมิได้เผาในเตาเผา แต่เผากลางแจ้ง ด้วยการใช้ ไม้กั้นเป็นบริเวณเตาและรองพื้น จากนั้นน�าภาชนะวางเรียงให้เต็ม ใช้ไม้วาง และใช้ฟางสุม ปัจจุบันการเผากลางแจ้งแบบนี้ยังมีให้เห็นอยู่บ้างในการท�า ภาชนะดินเผาตามหมู่บ้านต่างๆ ในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน

36


การเผาเครื่ อ งปั ้ น ดินเผากลางแจ้ง ที่บ้านกวน ต.หารแก้ ว อ.สั น ป่ า ตอง จ.เชียงใหม่

โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผาจัดเครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้เป็น เครื่อง ปั้นดินเผาหริภุญไชยรุ่นแรก เพราะส่วนใหญ่พบในบริเวณเมืองที่เคยเป็น บริวารของอาณาจักรหริภุญไชยมาก่อน เครื่องป นดินเผำในสมัยอำณำจักรล ำนนำ สมัยอาณาจักรล้านนาเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของการท�าเครื่องปั้นดินเผา ในเขตภูมิภาคตอนบน จากการส�ารวจพื้นที่ในแถบนี้ได้พบเครื่องปั้นดินเผา ทัง้ ชนิดสมบูรณ์และเศษภาชนะกระจัดกระจายอยูท่ วั่ ไป ทัง้ เป็นของทีผ่ ลิตจาก กลุ่มเตาล้านนาและกลุ่มเตาภายนอกเช่นของกลุ่มเตาจีน พม่า เขมร และ สุโขทัย เป็นต้น ส�าหรับเครื่องปั้นดินเผาล้านนานั้นสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ เครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบ และชนิดเคลือบ เครื่องป นดินเผำชนิดไม เคลือบ เครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบหมายถึง การปั้นดินเป็นรูปทรงตาม ต้องการ ท�าลวดลายหรือไม่ก็ ได้ แล้วน�าเข้าเตาเผาโดยไม่ชุบน�้าเคลือบ เครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้ประกอบด้วย เครื่องปั้นดินเผาหริภุญไชยรุ่นหลัง เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน และกลุ่มกล้องยาสูบ เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันยังไม่พบกลุ่มเตาเผาของเครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้ พบแต่เพียงเศษ 37


ภาชนะที่กระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มเตาที่ผลิต เครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดเคลือบ ได้มกี ารผลิตเครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดไม่เคลือบด้วย เช่น ลูกตุ้มถ่วงแห แวดินเผา กระเบื้องมุงหลังคาและภาชนะขนาดเล็ก ที่สันนิษฐานว่าใช้ส�าหรับใส่เครื่องเซ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น เครื่องป นดินเผำหริภุญไชยรุ นหลัง ที่เรียกว่าเป็นกลุ่มหริภุญไชย รุ่นหลังเพราะส่วนใหญ่ในระยะแรก พบในบริเวณเมืองที่เคยเป็นอาณาจักร หริภุญไชยมาก่อน แต่สันนิษฐานว่ามิได้มีความต่อเนื่องกับกลุ่มหริภุญไชย รุน่ แรกแต่อย่างใด มีลกั ษณะคล้ายกับรุน่ แรกคือเป็นชนิดไม่เคลือบเหมือนกัน และมีรปู ทรงเดียวกันคือ นิยมท�าเป็นรูปทรงคณโท ซึง่ เป็นรูปทรงเดียวเท่านัน้ ที่พบในกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาหริภุญไชยรุ่นหลัง แต่เข้าใจว่าประโยชน์ใช้สอย ต่างกันคือ คณโทในกลุ่มหริภุญไชยรุ่นแรกนิยมใช้เป็นโกศส�าหรับใส่กระดูก ผูต้ าย แต่คณโทในกลุม่ หริภญ ุ ไชยรุน่ หลังเข้าใจว่าใช้เป็นภาชนะใส่นา�้ เพราะ สามารถรักษาความเย็นไว้ได้นาน รวมทัง้ น่าจะใช้เป็นเครือ่ งเซ่นศพของชุมชน บนดอยด้วย เพราะจากการส�ารวจพืน้ ทีช่ ายแดนระหว่างไทยกับพม่าและจาก ค�าสัมภาษณ์ของกลุม่ นักขุดเครือ่ งปัน้ ดินเผาทีอ่ า� เภออมก อย จังหวัดเชียงใหม่ ได้พบเครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้ในหลุมฝังศพเป็นจ�านวนมาก

เครื่องป นดินเผำหริภุญไชยรุ นแรก เครื่องป นดินเผำหริภุญไชยรุ นหลัง ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 38


ส�าหรับรูปลักษณ์ของภาชนะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่าเนื้อภาชนะบาง เรียบ และประณีต มีการตกต่างลวดลาย ด้วยการเขียนสีแดงออกส้ม สีขาว และสีด�า บางใบท�าลวดลายด้วยการลงรัก ป ดทอง จากการส�ารวจของโครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ได้พบเครื่องปั้น ดินเผากลุ่มนี้ตามแหล่งโบราณคดีทั่วไปในภาคเหนือ โดยเฉพาะในเขต เทือกเขาสูงบริเวณชายแดนระหว่างไทยกับพม่า ในเขตต�าบลแม่ตื๋น อ�าเภอ อมก อย จังหวัดเชียงใหม่

เครื่องป นดินเผำหริภุญไชยรุ นหลัง พบที่ต�ำบลแม ตื๋น อ.อมก อย จ.เชียงใหม ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เครือ่ งปัน้ ดินเผาเชียงแสน ทีเ่ รียกว่าเครือ่ งปัน้ ดินเผาเชียงแสน เพราะ พบมากในบริเวณริมฝั งแม่น�้าโขง ในเขตอ�าเภอเชียงแสน ของที่พบส่วนใหญ่ เป็นสีเทาไม่เคลือบ และเผาในอุณหภูมิสูงมาก จึงมีลักษณะค่อนข้างแกร่ง สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตในแถบนี้ แต่ยังไม่พบเตาเผา หรือ อาจจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ท�ามาจากทางฝั งลาว

39


เครื่องป นดินเผำเชียงแสน พบที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงใหม ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กล อ งยำสู บ หรื อ ที่ ค นภาคเหนื อ เรี ย กกั น ว่ า กล อ งบู ย ำ เป็ น เครื่องปั้นดินเผาที่พบอยู่ทั่วไปในบริเวณเมืองที่เคยอยู่ภายใต้อาณาจักร ล้านนามาก่อน โดยเฉพาะในเขตอ�าเภอเชียงแสน มีขนาดและลวดลายที่ แตกต่างกัน Roxanna M. Brown สันนิษฐานว่ากล้องยาสูบบางชนิดผลิตขึ้น ที่เตาเผาเวียงจันทน์ แต่จากการเทียบเคียงพบว่า กล้องยาสูบที่พบในเขต ล้านนานั้น ส่วนใหญ่มีความแตกต่างไปจากของที่ผลิตในเวียงจันทน์ แต่ก็ยัง ไม่มหี ลักฐานว่าผลิตจากกลุม่ เตาใด เข้าใจว่ากล้องยาสูบนีค้ งจะท�าขึน้ ใช้ตงั้ แต่ ก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 23 และใช้กันอย่างแพร่หลายมาก เพราะพบกล้อง ยาสูบในเรือ Vergulde Drake ซึง่ เป็นเรือของชาวดัชท์ทจี่ มอยูน่ อกฝัง ตะวันตก ของออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2202 มีลักษณะคล้ายคลึงกับกล้องยาสูบที่พบ เป็นจ�านวนมากในภาคเหนือ19

ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 40


เครื่องป นดินเผำชนิดเคลือบ เครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดเคลือบนับเป็นกลุม่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในอาณาจักรล้านนา จากการส� า รวจทางโบราณคดี จ นถึ ง ปั จ จุ บั น ได้ พ บซากเตาเผาของ เครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้กระจัดกระจายทั่วไปในเขตจังหวัดต่างๆ ทั้งใน เชียงใหม่ ล�าปาง เชียงราย พะเยา และน่าน เป็นต้น กลุ่มเตาเผาแต่ละแห่ง ที่พบล้วนประกอบไปด้วยเตาเผาเป็นจ�านวนมาก บางแห่งสร้างทับซ้อนกัน หลายครั้ง จากการพบกลุ่มเตาเป็นจ�านวนมากเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดง ให้เห็นถึง การเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ และสามารถผลิตเครื่องปั้นดินเผา เป็นจ�านวนมาก จนมีลักษณะคล้ายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลุม่ เตาเหล่านีเ้ รียกชือ่ ตามชือ่ หมูบ่ า้ น ต�าบลทีก่ ลุม่ เตาเผานัน้ ๆ ตัง้ อยู่ กลุม่ เตาเผาทีค่ น้ พบแล้วในปัจจุบนั ประกอบด้วยกลุม่ เตาเวียงกาหลง กลุม่ เตา สันก�าแพง กลุ่มเตาสันทราย กลุ่มเตาพะเยา กลุ่มเตาพาน กลุ่มเตาเผาน่าน กลุ่มเตาเผาล�าปาง และกลุ่มเตาอินทขิล เป็นต้น กลุ มเตำเวียงกำหลง กลุ่มเตานี้ตั้งอยู่ ในบริเวณหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอ�าเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอ�าเภอวังเหนือ จังหวัดล�าปาง ตัง้ เรียงรายอยู่ในบริเวณ ริมฝัง แม่นา�้ ลาว และแม่นา�้ วัง รวมทัง้ แม่นา�้ สาขาต่างๆ จากอ�าเภอเวียงป่าเป้า จนถึงอ�าเภอแม่ขะจาน และจากบ้านทุ่งฮั้วข้ามไปถึงบ้านไผ่แม่พริก อ�าเภอ วังเหนือ มีเตาเผาประมาณ 200 เตา แบ่งออกเป็นกลุ่มเตาตามชื่อหมู่บ้าน ที่พบเช่น กลุ่มเตาสันมะเค็ด ทุ่งม่าน ป่าส้านสันกู่ ป่าดง ห้วยทราย วังเหนือ ป่าสาด ทุ่งฮั้ว และป่าเหมือด เป็นต้น ในจ�านวนเตาเผ่าเหล่านี้มีบางเตาที่ กรมศิลปากรได้ขุดแต่งแล้วคือ เตาวังเหนือและเตาห้วยทราย ส่วนใหญ่ ก่อด้วยดิน แต่ก็มีบ้างที่บางเตาก่อด้วยอิฐ เช่น บางเตาของกลุ่มเตาป่าส้าน และกลุ่มเตาห้วยทราย บางเตาท�าเป็นเตาคู่หันปล่องไฟเข้าหากัน เครือ่ งปัน้ ดินเผาเวียงกาหลงพบครัง้ แรกโดยพระยานครพระรามเมือ่ ปี พ.ศ. 2476 และได้เขียนเอกสารเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงให้กับ 41


สยามสมาคมเมื่อปี พ.ศ. 2480 เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีผ่ ลิตจากกลุม่ เตานีม้ คี ณ ุ ภาพดี และสวยงามมาก เนือ้ ภาชนะบาง แต่มีลักษณะเปราะ น�้าเคลือบส่วนใหญ่เป็นสีเซลาดอน ซึ่งมีสี แตกต่างกันจากสีเขียวเข้มไล่สอี อ่ นลงไปจนเป็นสีออกขาวคล้ายน�า้ นม (Milky Celadon) ใส เป็นมันวาว เนือ่ งจากดินและน�า้ Slip ที่ใช้เป็นดินสีขาวละเอียด ลวดลายมีทั้งชนิดขูดขีดใต้เคลือบ และเขียนสีด�าใต้เคลือบ ลวดลายที่มี ลักษณะเด่นคือ ลายพรรณพฤกษาหรือรูปกาก�าลังบิน สันนิษฐานว่าลวดลาย บางกลุม่ น่าจะคัดลอกมาจากลวดลายเครื่องปัน้ ดินเผาจีน เช่น ลายนก กิเลน และลายพรรณพฤกษา ชนิดเคลือบสีน�้าตาลมีอยู่บ้างแต่พบไม่มากนัก ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รูปแบบของเครื่องปั้นดินเผาของกลุ่มเตานี้มีทั้งชนิดที่เป็น ภาชนะ เครือ่ งมือในการประกอบอาชีพ เช่น แวดินเผาและลูกตุม้ ถ่วงแห และเครือ่ ง มือเครื่องใช้ที่ประกอบในการท�าพิธีกรรมเช่น รูปตัวสัตว์และถ้วยชามขนาด เล็ก รวมทั้งของเล่นเช่น ตัวหมากรุก และกรงจิ้งหรีด เป็นต้น ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ มเตำสันก�ำแพง คุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ เป็นผู้พบเตาเผาสันก�าแพงเมื่อประมาณ

42


พ.ศ. 2495 ซึ่งมีเตาเผาเป็นจ�านวนมากประมาณ 83 แห่ง ตั้งอยู่ในบริเวณ ต�าบลออนใต้ อ�าเภอสันก�าแพง จังหวัดเชียงใหม่ จากการส�ารวจของโครงการศึกษาเครือ่ งปัน้ ดินเผากลุม่ เตาสันก�าแพง ประกอบด้วยกลุ่มเตาเป็นจ�านวนมาก ตั้งอยู่ในหุบเขาตามริมห้วยเล็กๆ ซึ่ง เป็นสาขาของน�า้ แม่ผาแหน และล�าน�า้ แม่ออนในเขตบ้านป่าตึง ต�าบลออนใต้ อ�าเภอสันก�าแพง จากการส�ารวจของส�านักโบราณคดีที่ 8 ระบุว่า จาก วัดเชียงแสน วัดป่าตึงจนถึงห้วยแม่ลานมีเตาเผากระจัดกระจายอยู่ประมาณ 320 เตา20 จากการท�างานของโครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผาฯ ในระยะแรก ได้มีการแบ่งเครื่องปั้นดินเผาของกลุ่มเตาสันก�าแพงออกตามพื้นที่และล�าน�้า ที่กลุ่มเตานั้นๆ ตั้งอยู่ เช่น เตาวัดเชียงแสน เตาวัดป่าตึง เตากอบง เตาห้วย บวกป น เตาจ�าป่าบอน เตาต้นโชค เตาดอยโตน และเตาห้วยหม้อ21 แต่ใน ปัจจุบันทางรัฐบาลได้ท�าอ่างเก็บน�้าแม่ผาแหน ท�าให้น�้าท่วมบริเวณกลุ่มเตา เผาไปเกือบหมด เหลือเพียงประมาณ 2 แห่ง คือ บริเวณวัดเชียงแสน และ บริเวณรอบๆ อ่างเก็บน�้าแม่ผาแหน กรมศิลปากรได้ขดุ แต่งเตาเผาไว้ทวี่ ดั ป่าตึง และวัดเชียงแสนแห่งละ 1 เตา ส�าหรับเป็นตัวอย่างในการศึกษาโครงสร้างของเตา รูปแบบการวาง ภาชนะในเตาเผา และลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาสันก�าแพง เป็นต้น แต่ จากการส�ารวจครั้งหลัง พบว่าเตาเผาที่วัดป่าตึงหายไปมีวิหารเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตามทางวัดได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องปั้นดินเผาที่ได้จากกลุ่ม เตานี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ส�าหรับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

43


เมื่อดูเผินๆ แล้วผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเตานี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเตาเวียงกาหลง ทั้งรูปแบบ สี ขนาด และลวดลาย แต่หากพิจารณาโดยละเอียดแล้วพบว่าลักษณะเนื้อวัสดุของผลิตภัณฑ์ มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือผลิตภัณฑ์จากกลุม่ เตานีท้ า� จากดินเหนียวสีดา� เนื้อภาชนะหนาและหยาบกว่า เนื่องจากท�าจากดินเหนียวสีด�า การเคลือบ ภาชนะประเภทจาน ถ้วย และชาม ส่วนใหญ่เคลือบหนาเฉพาะภายใน ด้านนอก น�า้ เคลือบบางใส จนบางครัง้ เห็นเนือ้ ดินสีดา� ลวดลายมีทงั้ ลายขูดขีดใต้เคลือบ และวาดลวดลายใต้เคลือบสีด�า (Underglaze black) ลวดลายที่มีลักษณะ เฉพาะของกลุม่ เตานีค้ อื การวาดลวดลายปลาคูบ่ ริเวณกึง่ กลางจาน และชาม ด้านใน เครื่องปั้นดินเผาสันก�าแพงมีทั้งชนิดสี Celadon และชนิดสีน�้าตาล รูปแบบภาชนะที่เป็นลักษณะเด่นของกลุ่มเตานี้คือการท�าภาชนะสองสี ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นภาชนะประเภทไหขนาดใหญ่ บริเวณคอ เคลือบสีเขียว และ บริเวณตัวเป็นสีน�้าตาล กลุ มเตำสันทรำย กลุ่มเตาสันทราย ตั้งอยู่ ใน อ�าเภอสัน ทราย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยกลุ่มเตาสามกลุ่มคือ กลุ่มเตาบ้านป่าไผ่22 กลุ่มเตาวัดแม่เตาไห และกลุม่ เตาห้วยหมาเหลียว กลุ ่ ม เตาบ้ า นป่ า ไผ่ แ ละกลุ ่ ม เตา ห้ ว ยหมาเหลี ย ว ส� า รวจพบโดย ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา คุณไกรสีห์ นิมมานเหมินท์ ปัจจุบัน ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ กลุม่ เตาสันทราย ถูกท�าลายลงเกือบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมดจนไม่เหลือให้ได้ศกึ ษาอีกต่อไป 44


ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเตานี้ ส่วนใหญ่เป็นไหสีน�้าตาล เนื้อแกร่ง น�้าเคลือบสีไม่ สม�่าเสมอ ท�าลวดลายโดยการขูดขีดรอบคอและบ่าไห เป็นลวดลายหยักบ้าง เป็นเส้นนอนซ้อนกันบ้าง รูปแบบไหที่เป็นลักษณะเด่นของกลุ่มเตานี้คือ ไห ปากกว้าง คอสั้น ก้นสอบลง ส�าหรับผลิตภัณฑ์ชนิด celadon มีพบบ้าง แต่ ไม่มากนัก กลุ มเตำพำน กลุ่มเตาพาน ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านใหม่หนองผักจิก (เป็นหมู่บ้านใหม่ ที่แยกมาจากบ้านหนองผักจิก) ต�าบลห้วยทรายขาว อ�าเภอพาน จังหวัด เชียงราย แต่เดิมเรียก เตาโป่งแดง เพราะอยู่ติดกับทุ่งนาของบ้านโป่งแดง ชาวบ้านเรียกบริเวณที่ตั้งของกลุ่มเตาว่า สันกู่ เพราะกลุ่มเตาเผาตั้งอยู่ รอบเนินเล็กๆ บนยอดเนินมีกู่หรือเจดีย์ตั้งอยู่คล้ายกับเป็น Land mark ของ กลุ่มเตาแห่งนี้ ปัจจุบันเจดีย์ได้พังทลายลงเกือบหมดบริเวณใกล้กลุ่มเตา มีคลองชลประทานแม่คาวผ่าน แต่ชาวบ้านบอกว่าเป็นคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ใกล้ๆ กับกลุ่มเตาเป็นดอยสามม่อน ปัจจุบันเรียกดอยพลับพลา มีล�าห้วย เล็กๆ ไหลผ่าน จากการส�ารวจพบว่ากลุ่มเตาแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มเตา ในบริเวณสวนล�าไย และกลุ่มเตาในทุ่งนาในบริเวณใกล้เคียงกัน สภาพเตา ของในกลุ่มทุ่งนานั้นถูกท�าลายเกือบหมด เหลือแต่เพียงกี๋และผนังเตา ที่มี น�้าเคลือบติดอยู่ แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของเตาเผา ส่วนกลุ่มเตาในเขตสวนล�าไยนั้น นายกอง แสนทอง22 กล่าวว่า กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มเตาในเขตสวนล�าไยแล้ว23 ชาวบ้านสามารถ มาท�ากินได้ แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กลุม่ เตาพานเป็นกลุม่ เตาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเตามากกว่า 40 เตา กระจัดกระจายอยู่ ในเขตทุ่งนาเป็น บริเวณกว้าง บางเตาซ้อนทับกันอยู่ ส่วนใหญ่ถูกท�าลายลง เนื่องจากธรรมชาติบ้าง และการไถกลบเพื่อท�าไร่ ท�านาของชาวบ้านบ้าง เตาเผาของกลุม่ เตานีม้ ลี กั ษณะพิเศษกว่ากลุม่ เตาอืน่ ๆ 45


ในล้านนาคือ เป็นกลุ่มเตาที่ก่อด้วยอิฐและมีขนาดใหญ่มากคือยาวประมาณ 5-6 เมตร และที่น่าสนใจคือ เตาเผาบางแห่งมีผนังเตา 2 ชั้น ซึ่งเป็นการเพิ่ม ความร้อนในเตา และท�าให้ร้อนนานมากขึ้น บางเตาหันเตาชนกันเพื่อใช้ ปล่องไฟระบายความร้อนเดียวกัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2516 ส�านักงานโบราณคดีที่ 8 (หน่วยศิลปากร ที่ 4 ในสมัยนั้น) ได้ขุดแต่งกลุ่มเตาเผาพาน (ซึ่งปัจจุบันยังพบร่องรอยอยู่) พร้อมกับได้นา� เตาเผาเตาหนึง่ มาจัดเป็นพิพธิ ภัณฑ์กลางแจ้งทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นโครงสร้างเตา การวางภาชนะใน เตาเผา รูปแบบของกี๋ และผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเตาพาน ผลิตภัณฑ์จากกลุม่ เตาพานมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด celadon บางใบ ท�าลวดลายด้วยการขูดขีดใต้เคลือบเป็นเส้นมีทงั้ เส้นตรง เฉียง และแนวนอน ซ้อนกัน รอบคอและบ่าภาชนะ บางครั้งขูดขีดเป็นรูปดอกไม้ เช่น ดอกบัว เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ของกลุม่ เตาพานจะมีความแตกต่างกับผลิตภัณฑ์จากกลุม่ เตาอืน่ ๆ ในล้านนา แต่มลี กั ษณะคล้ายกับเครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิด celadon ของ กลุม่ เตาเกาะน้อย อ�าเภอศรีสชั นาลัย จังหวัดสุโขทัย กล่าวคือมีความประณีต ทั้งเนื้อภาชนะและการเคลือบ เนื้อดินที่ใช้เป็นดินขาวเนื้อละเอียด ตัวภาชนะ หนา หนัก น�้าเคลือบหนาเรียบ ใสเป็นมันวาว และแตกกรานทั่วทั้งภาชนะ ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นอกจากภาชนะแล้วยังนิยมท�าเครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดต่างๆ เช่น แวดินเผา ลูกตุ้มถ่วงแห รูปตัวสัตว์ เช่น วัว ควาย และช้าง รวมทั้งกระเบื้องมุงหลังคา ซึง่ ชิน้ ทีพ่ บเป็นชนิดเคลือบ จากการส�ารวจจนถึงปัจจุบนั ยังไม่เคยพบกระเบือ้ ง 46


มุงหลังคาชนิดเคลือบในกลุ่มเตาล้านนาอื่นๆ เลย รูปทรงที่นิยมและท�าอย่าง แพร่หลายคือ ตุ๊กตารูปช้างที่ท�าเครื่องหลังเป็นทรงพาน ซึ่งถือว่าเป็นรูปทรง เฉพาะของกลุ่มเตาพาน และตะเกียงน�้ามันชนิดมีแกนเป็นแท่งยาวที่ปลาย เจาะรูสันนิษฐานว่าใช้ส�าหรับแขวน กลุ มเตำพะเยำ กลุ่มเตาพะเยาตั้งอยู่ในต�าบลแม่กา อ�าเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็น กลุม่ เตาขนาดใหญ่ ปัจจุบนั กลุม่ เตานีถ้ กู แยกออกเป็น 2 ส่วน โดยมีทางหลวง สายพะเยา-ล�าปางผ่านกลาง ฟากหนึ่งเป็นกลุ่มเตาแม่กาโทกหวาก อีกฟาก เป็นกลุ่มเตาเวียงบัว และกลุ่มเตาม่อนออม กลุม เตำโทกหวำก เป็นกลุม่ เตาแรก ของกลุม่ เตาพะเยาทีส่ า� รวจพบตัง้ อยู่ใกล้ๆ บริเวณเมรุเผาศพ ด้านหลังเป็นเนินดิน ไม่ปรากฏเตาเผาพบเฉพาะเครื่องปั้นดินเผา กี๋ และผนังเตาที่แสดงให้เห็นว่า บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของเตาเผามาก่อน เศษภาชนะของกลุ่มเตานี้ส่วนใหญ่เป็น สีนา�้ ตาลเนือ้ แกร่ง และท�าลวดลายด้วยการ ขุดน�้า Slip ออก กลุ มเตำเวียงบัว ตั้งอยู่ ในบริเวณ บ้านเวียงบัว29 จากการส�ารวจพบว่า มีกลุ่มเตาเป็นจ�านวนมาก เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้มกี ารขุดแต่งกลุม่ เตาเวียงบัวแล้ว 2 แห่งคือ ในบริเวณ บ้านของ นายบุญธรรม เครือวัลย์ และในพืน้ ทีส่ วนของ นายจัน และนางแพร เฉพาะธรรม กลุ มเตำม อนออม ตั้งอยู่นอกคูน�้าคันดินเมืองโบราณเวียงบัว ไม่พบ 47


กลุม่ เตาในบริเวณนี ้ พบแต่เศษภาชนะดินเผากระจัดกระจายทัว่ ไปในบริเวณ เชิงดอยม่อนออม ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเตาพะเยามีทั้งชนิด celadon สีน�้าตาล (แต่มีน้อย มาก) และชนิดไม่เคลือบชนิดสีน�้าตาลและไม่เคลือบ เนื้อภาชนะบาง และ แกร่ง การเคลือบภาชนะประเภทจานชามของกลุ่มเตานี้จะมีลักษณะคล้าย กับของกลุ่มเตาสันก�าแพงคือ ด้านในเคลือบหนา ด้านนอกเคลือบบางใสจนเห็นเนื้อดินสีด�า เทคนิค การท�าลวดลายที่นับเป็นลักษณะเด่นของกลุ่มเตานี้คือ 1. ลายกดประทับรูปสัตว ชนิดต างๆ บนกึ่งกลางด้านในของภาชนะ ประเภทจาน ชาม เช่น ลายปลาคู่ ช้าง ม้า และสิงห์ เป็นต้น

ลำยประทับรูปสิงห และตรำประทับรูปปลำ ที่มำ: เตาเวียงบัว อ.เมือง จ.พะเยา

2. กำรท�ำลวดลำยบนภำชนะประเภทไห ด วยกำรขุดน�้ำ Slip30 เป็น ลวดลายต่างๆ เช่น ขุดเป็นร่องลึกกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ซ้อนกัน ลายสามเหลี่ยม ลายหยักรูปฟันปลา และลายลูกคลื่น ลวดลาย เหล่านีส้ ว่ นใหญ่เป็นลวดลายแนวนอนรอบบ่าภาชนะ การขุดน�า้ Slip ออก ท�า ให้บริเวณลวดลายเป็นสีด�าหรือสีน�้าตาลซึ่งเป็นสีของเนื้อดิน สลับกับสีขาว ของน�้า Slip 48


ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ มเตำล�ำปำง ในบริเวณจังหวัดล�าปาง มีกลุ่มเตาเผาหลายแห่ง แต่ที่ได้ส�ารวจแล้ว คือ กลุม่ เตาทุง่ เตาไห ใกล้กบั วัดเจดียซ์ าว ต�าบลต้นธงชัย อ�าเภอเมือง จังหวัด ล�าปาง ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเตานี้มีคุณภาพต�่ากว่ากลุ่มเตาอื่นในล้านนาคือ ตัวผลิตภัณฑ์มสี เี ดียวคือ สีนา�้ ตาลเข้มจนเกือบด�า เนือ้ ภาชนะหนา หยาบ และ ขรุขระ น�้าเคลือบไม่ประณีต หยดเป็นทาง บางตอนหนา บางตอนบาง ผลิตภัณฑ์ที่นับเป็นลักษณะเด่นของกลุ่มเตานี้คือ รูปตัวสัตว์นานาชนิด เช่น นก ช้าง และที่พบมากที่สุดคือ วัวมีโหนกสูงผิดปกติ เขายาว ที่จมูกเจาะรู คล้ายเป็นรูส�าหรับร้อยเชือก เป็นต้น ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ มเตำน ำน กลุม่ เตาน่าน ตัง้ อยู่ในเขตปกครอง ต�าบลสวก อ�าเภอเมือง จังหวัดน่าน 49


จากการส�ารวจจนถึง ณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) พบว่า เป็นกลุ่มเตาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยกลุม่ เตาย่อยๆ คือ กลุม่ เตาดอยเฟีย้ งหม้อ กลุม่ เตาดงปูฮ่ อ่ และ กลุ่มเตาบ้านหนองโต้ม ผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มเตามีลักษณะคล้ายกันคือ มีทั้งชนิด celadon สีน�้าตาล และไม่เคลือบ เนื้อภาชนะค่อนข้างหยาบ ลักษณะการเคลือบชนิด celadon จะมีลักษณะหลากหลาย เช่น บางกลุ่ม เคลือบคล้ายๆ กับกลุม่ เตาพะเยาและกลุม่ เตาสันก�าแพงคือ ด้านในเคลือบหนา ด้านนอกเคลือบบาง บางกลุ่มน�้าเคลือบสีออกขาวนวล น�้าเคลือบหนาแต่ ไม่สม�า่ เสมอ บางตอนหนา บางตอนบางจนเห็นเนือ้ ดินสีดา� ตามรอยการขึน้ รูป ภาชนะ บางกลุ่มเนื้อภาชนะเป็นสีแดงคล้ายกับเผาไม่สุก ที่มา : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ มเตำอินทขิล กลุ่มเตานี้ตั้งอยู่ในเขตบ้านสันป่าตอง ต�าบลอินทขิล อ�าเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มเตาที่พบล่าสุดคือ พบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2537 ได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดี ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม พ.ศ. 2539 การขุ ด ค้ น ทางโบราณคดี ค รั้ ง นี้ เ ป็ น ความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง ฝ่ายวิชาการ ส�านักงานโบราณคดี และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติท ี่ 6 เชียงใหม่ กรมศิลปากร และโครงการวิจัยเครื่องถ้วยล้านนา สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์สมุ ติ ร ป ตพิ ฒ ั น์ ผูอ้ า� นวยการ สถาบัน เป็นประธานคณะกรรมการและฝ่ายวิชาการ นายสายัณห์ ไพรชาญจิตร์ นั กโบราณคดี 7 ว. หั ว หน้ า ฝ่ า ยวิ ช าการ ส� า นั ก งานโบราณคดี แ ละ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติท ี่ 6 เชียงใหม่ เป็นผูร้ บั ผิดชอบการด�าเนินงานส�ารวจ 50


ขุดค้นศึกษาทางโบราณคดี และ Dr. Mike Barbetti ผูอ้ า� นวยการห้องปฏิบตั กิ าร ก�าหนดอายุด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้ศึกษาวิเคราะห์และก�าหนดอายุด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ เดิมกลุม่ เตาอินทขิลตัง้ อยู่ในบ้านของนายดวงดี ใจทะนง บ้านสันป่าตอง เลขที ่ 81 หมู ่ 11 ต�าบลอินทขิล อ�าเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาองค์การ บริหารส่วนต�าบลได้ซอื้ ทีด่ นิ บริเวณ นี้ และสร้างอาคารคลุมกลุ่มเตา เพื่ อใช้ เป็ น แหล่งศึก ษา และให้ ความรู้แก่ผู้คนทั่วไป ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกลุ่ม เตานี้ มีทั้งชนิด celadon และสี น�้าตาล รูปทรงมีความหลากหลาย คือ มีทั้ง จาน ชาม และไห เหมือนกับกลุ่มเตาอื่นๆ การผลิตจานและชาม ก็มหี ลายรูปแบบ เช่น ชนิดเคลือบน�า้ เคลือบหนาทัง้ 2 ด้าน และเคลือบด้านนอก บางใส ด้านในน�้าเคลือบหนา เหมือนกับกลุ่มเตาสันก�าแพง และกลุ่มพะเยา เป็นต้น

ที่มา : เทศบาลต�าบลอินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

เครื่องป นดินเผำสุโขทัย เครือ่ งปัน้ ดินเผาสุโขทัยมีแหล่งผลิตใหญ่อยู ่ 2 แห่งคือ ทีส่ โุ ขทัยเมืองเก่า และเมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกเก่า 51


1. กลุม เตำสุโขทัยเมืองเก ำ ต�าบลเมืองเก่า อ�าเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มเตาตั้งอยู่นอกก�าแพงเมืองทางทิศเหนือ ตั้งเรียงรายเป็นกลุ่มๆ ยาวไป ตามล�าน�้าโจนตรงกันข้ามวัดพระ พายหลวง จากการส�ารวจพบว่ามี เตาเผาตั้งเรียงรายอยู่ประมาณ 52 เตา กลุ่มเตาสุโขทัยเมืองเก่า มี เนื้ อ ที่ ตั้ ง เตาประมาณ 5,000 ตารางเมตร เป็ น เตาอิ ฐ ก่ อ บน เนินดินที่ถมสูงขึ้นมา บางแห่งเป็นโคกเนินดินขนาดใหญ่31 2. กลุ มเตำเมืองศรีสัชนำลัยหรือเมืองสวรรคโลกเก ำ ต�าบลหนองอ้อ อ�าเภอศรีสชั นาลัย จังหวัดสุโขทัย32 เป็นแหล่งผลิตเครือ่ งขนาดใหญ่และส�าคัญ ที่สุดของเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย กลุ่มเตาเผาตั้งเรียงรายอยู่บริเวณสองฝั ง แม่นา�้ ยม แหล่งเตาเผาแบ่งออกเป็น 3 กลุม่ ใหญ่ โดยเรียกชือ่ ตามชือ่ หมูบ่ า้ น ที่ตั้งเตาเผาในปัจจุบันต่อไปนี้ 2.1 กลุ มเตำป ำยำง ตั้งอยู่ห่างจากประตูเตาหม้อไปทางทิศเหนือ ของแก่งหลวงประมาณ 500 เมตร ในบริเวณหมู่บ้านป่ายางเป็นเตาก่อด้วย อิฐ เท่าที่ส�ารวจพบแล้วมีประมาณ 21 เตา กินเนื้อที่ประมาณ 500 ตาราง เมตร แบ่งเป็น 2 กลุ่มเตาย่อยคือ แผนที่แสดงที่ตั้งของแหล งเตำเผำในอ�ำเภอ ศรีสัชนำลัย ที่มำ: กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครื่องถ้วย สุโขทัย: พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย, 2553; 20.

52


2.1.1 กลุ มเตำยักษ มีประมาณ 15 เตา ที่เรียกว่าเตายักษ์ เพราะได้พบชิ้นส่วนของเป็นครั้งแรก ชาวบ้านในท้องถิ่นจึงเรียกเตาที่พบนี้ ตามชือ่ ชิน้ ส่วนดังกล่าว จริงๆ แล้วกลุม่ เตายักษ์นมี้ ไิ ด้ผลิตเพียงรูปยักษ์เท่านัน้ แต่ยังท�าผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นด้วย เพียงแต่กลุ่มเตานี้อาจจะนิยมผลิตรูปยักษ์ เป็นส่วนใหญ่ และที่เรียกเช่นนี้ก็เพื่อให้ง่ายแก่การก�าหนดเรียกกลุ่มเตาที่อยู่ บริเวณนั้น รูปยักษ ประดับสถำป ตยกรรม ที่มำ:โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู), เครื่ อ งถ้ ว ยในเอเชี ย อาคเนย์ ระหว่ า งพุ ท ธศตวรรษที่ 1522,หน้า150

2.1.2 กลุ มเตำตุ กตำ ตั้งอยู่ห่างจากกลุ่มเตายักษ์ไปทางทิศ เหนือประมาณ 500 เมตร บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านป่ายาง มีอยู่ประมาณ 6 เตา ที่ ไ ด้ ชื่ อ เช่ น นี้ เ พราะได้ พ บชิ้ น ส่ ว นของตุ ๊ ก ตารู ป บุ ค คลและรู ป สั ต ว์ เป็นจ�านวนมากในเตาเผาเหล่านี้

ตุ กตำหญิงชรำ และตุ กตำมวยปล�้ำ ตุ กตำประดับสถำป ตยกรรม ที่มา:โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู), เครื่องถ้วยในเอเชียอาคเนย์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-22,หน้า 156 และ 169. 53


2.1.3 กลุม เตำบ ำนเกำะน อย ตัง้ อยูห่ า่ งจากกลุม่ เตาบ้านป่ายาง ขึ้นไปทางเหนือประมาณ 4.5 กิโลเมตร บริเวณหมู่บ้านเกาะน้อย มีทั้งเตา ที่สร้างด้วยดินและสร้างด้วยอิฐ บางเตาสร้างบนเนินดิน บางเตาขุดเข้าไปใน พื้นดิน จากการส�ารวจพบว่ามีเตาเผาเป็นจ�านวนมากตั้งเรียงรายอยู่ทางฝั ง ตะวันตกของล�าน�้ายมเป็นแนวยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร กว้างประมาณ 250 เมตร

กลุ มเตำบ ำนเกำะน อย หมำยเลข 61

2.2 กลุม เตำวัดดอนลำน อยูบ่ ริเวณใกล้เคียงกับกลุม่ เตาบ้านเกาะน้อย เยื้องไปทางทิศตะวันออกห่างจากล�าน�้ายมประมาณ 1.5 กิโลเมตร จาก การส�ารวจได้พบเตาเผาจ�านวนไม่น้อย กำรจ�ำแนกประเภทของเครื่องป นดินเผำสุโขทัย 1. ประเภทไม เคลือบ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง สีของ เนื้อดินมีตั้งแต่สีน�้าตาลแกมแดง สีเทาถึงสีเทาเข้ม นิยมตกแต่งด้วยการขูด ขีดและการปั้นแปะ รูปทรงที่ผลิตมักเป็นไห ครก และแจกัน ที่มา: กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครื่องถ้วย สุโขทัย: พัฒนาการของเครือ่ งถ้วยไทย, 2553:110.

54


2. ประเภทเคลือบสีนำ�้ ตำล มีตงั้ แต่สนี า�้ ตาลอ่อนจนถึงสีนา�้ ตาลเข้มจน ด�า รูปทรงที่ผลิตได้แก่ กระปุก จาน พาน ขวด ไห โถ ตุ๊กตารูปคนและสัตว์ ตลอดจนเครื่องประดับสถาปัตยกรรม เป็นต้น

ที่มา: กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครื่องถ้วย สุโขทัย: พัฒนาการของ เครื่องถ้วยไทย, 2553: 137.

3. ประเภทเคลือบขำว หากเป็นเครื่องปั้นดินเผาในกลุ่มเตาสุโขทัย เมืองเก่า จะทารองพื้นด้วยน�้าดินสีขาวก่อน หลังจากนั้นจึงเคลือบทับอีกชั้น แต่ถา้ เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุม่ เตาศรีสชั นาลัยจะเคลือบน�า้ เคลือบเลย ไม่มกี าร รองพืน้ เพราะเนือ้ ดินกลุม่ เตานีเ้ นือ้ ละเอียดกว่า รูปทรงทีน่ ยิ มผลิตคือ กระปุก โถ กระโถน กุณฑี แจกันและเครื่องประดับสถาปัตยกรรม ทีม่ า: กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครื่องถ้วยสุโขทัย: พัฒนาการ ของเครื่องถ้วยไทย, 255: 135136.

55


ที่มา:โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู), เครื่องถ้วย ในเอเชียอาคเนย์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-22, หน้า 151.

4. ประเภทเคลือบเขียว เครื่องปั้นดินเผากลุ่มเตานี้จัดว่าสวยงามที่สุด ผลิตเฉพาะที่เตาศรีสัชนาลัยเท่านั้น มีระดับสีต่างๆ กัน เช่น สีเขียวมะกอก สีเขียวไข่กา สีฟ้าอ่อน และสีน�้าทะเล เป็นต้น นิยมตกแต่งลวดลายด้วยการ ขูดขีด และแกะสลัก เช่น ลายดอกไม้ ลายก้านขด ลายคลื่น ลายเรขาคณิต เป็นต้น รูปทรงของเครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้มีความหลากหลาย เช่น จาน ชาม ถ้วย ตลับ กระปุก พาน กุณฑี โคมไฟ โถ ไห ตุก๊ ตารูปคนและสัตว์ ตลอดจน เครื่องประดับสถาปัตยกรรม เป็นต้น

ที่มา:โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู), เครื่องถ้วยในเอเชียอาคเนย์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-22, หน้า 167-171.

5. ประเภทเคลือบสองสี เครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้ผลิตเฉพาะที่กลุ่มเตา ศรีสัชนาลัย น�้าเคลือบมี 2 สี คือ สีขาวกับสีน�้าตาล ตกแต่งลวดลายด้วยการ ใช้เครื่องมือปลายแหลมขูดขีดเป็นลวดลายลงบนเนื้อวัสดุ แล้วใช้น�้าเคลือบ ทัง้ สองสีตกแต่งตามลวดลาย บางครัง้ อาจใช้วธิ แี ต้มเป็นจุดสีนา�้ ตาล โดยเฉพาะ พวกกระปุกขนาดเล็ก รูปทรงที่ผลิตส่วนใหญ่เป็น ตลับ กระปุก กุณฑี ตุ๊กตา รูปคนและสัตว์ ตลอดจนเครื่องประดับและสถาปัตยกรรม เป็นต้น 56


หัวมกรประดับสถำป ตยกรรม ทีม่ า: กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครื่องถ้วยสุโขทัย: พัฒนาการ ของเครื่องถ้วยไทย, 2553; 43144.

6. ประเภทเขียนลำยสีด�ำใต เคลือบ เครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้ผลิตทั้งใน กลุ่มเตาสุโขทัยเมืองเก่าและกลุ่มเตาศรีสัชนาลัย ท�าลวดลายด้วยการเขียน สีด�า มีทั้งลายพรรณพฤกษาและรูปสัตว์ เช่น ปลา เป็นต้น รูปทรงที่ผลิต มักจะเป็น จาน ชาม กุณฑี ตลับ พานโถ กระปุก ตุก๊ ตารูปคนและสัตว์ เป็นต้น จำน/ชำม ลำดลำยปลำ ชนิด เขียนลำยใต เคลือบสีดำ� ที่มำ:โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู), เครื่องถ้วยในเอเชียอาคเนย์ ระหว่างพุทธศตวรรษที ่ 15-22, หน้า 171

รูปแบบของเครื่องป นดินเผำ เนื่องจากเครื่องปั้นดินเผาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ท�าจากดิน ฉะนั้น จึงมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้ การคิด สร้างสรรค์ การฝ กฝน และความช�านาญของผูผ้ ลิต จากการทีเ่ ครือ่ งปัน้ ดินเผา ผลิตเป็นรูปทรงทีแ่ ตกต่าง และมีความหลากหลายมากนีเ้ อง จึงท�าให้สามารถ จ�าแนกได้ตามประเภทต่างๆ ดังนี้ เครือ่ งใช ไม สอยทีใ่ ช ในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น ภาชนะต่างๆ ประเภท จาน ชาม หม้อ ไห และกาน�า้ เป็นต้น ในยุคทีม่ นุษย์ยงั มีประเพณีฝงั ศพนัน้ สิง่ ของ เหล่านี้จะถูกฝังลงไปพร้อมกับร่างผู้ตายด้วย 57


หลุมฝังศพที่บ้านหนองราชวัตร จ.สุพรรณบุรี

เครื่องป นดินเผำที่บอกเล ำถึงกำรประกอบอำชีพ เช่น แวดินเผาที่ใช้ ในการปั นฝ้ายเพื่อทอผ้า ลูกกลิ้งดินเผาส�าหรับพิมพ์ลายผ้า หรือท�าลวดลาย บนภาชนะ และลูกตุ้มถ่วงแห เป็นต้น

ลูกกลิง้ และแวดินเผาจากบ้านเชียง

เครื่องป นดินเผำที่เป นส วนประกอบของตัวอำคำรและสิ่งก อสร ำง ต ำงๆ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้นอาคาร เครื่องประดับหลังคา เช่น รูปนาคหรือมังกร กระจัง บราลีรูปคน รูปสัตว์ ยักษ์ สถูปวิหารจ�าลอง โคมไฟและตะเกียง เป็นต้น 58


กระเบื้องมุงหลังคำชนิดเคลือบ ที่มา: กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครื่อง เซลำดอน จำกกลุ มเตำพำน ถ้วยสุโขทัย: พัฒนาการ ที่มา: John C. Show, Northern Thai ของเครื่องถ้วยไทย, หน้า 41. Ceramics, 1989: 218.

เครือ่ งป น ดินเผำทีเ่ กีย่ วกับระบบควำมเชือ่ และพิธกี รรม เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา และลวดลายดินเผาประดับเจดีย์หรือซุ้มประตู หม้อหรือไห ที่บรรจุร่างและกระดูกของผู้ตาย เครื่องป นดินเผำที่ท�ำเลียนแบบรูปคนหรือสัตว จุดประสงค์ในการท�า เครือ่ งปัน้ ดินเผาในกลุม่ นีม้ ี 2 ประการ คือเพือ่ เป็นของเล่น และใช้ในการเซ่น สรวงภูตผีต่างๆ เช่น ม้าหมากรุก ช้าง ม้า กระต่าย ไก่ และตุ๊กตาเสียกบาล ของสุโขทัย เป็นต้น

เต ำจำกกลุ มเตำพำน ตัวหมำกรุก : กลุ มเตำเวียงกำหลง ที่มา: John C. Show, Northern Thai Ceramics, 1989: 191, 218.

เครื่องป นดินเผำที่พบในเวียงเชียงรุ ง เครื่องปั้นดินเผาที่พบในบริเวณวัดเวียงเชียงรุ้ง ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วน 59


แตกหักและพบบนพื้นผิวดิน (Surface Fine) เครื่องปั้นดินเผาเวียงเชียงรุ้งที่ ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้มีที่มาจาก 2 แห่ง คือ 1. เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีม่ าจากการส�ารวจและเก็บรวบรวมของพระมหาโกเมศ สุเมศโส ขุนศรี รองเจ้าอาวาสวัดเวียงเชียงรุ้ง ตั้งแต่ในครั้งที่ท่าน ยังเป็น ปลัดอ�าเภอเวียงชัย และเมื่อครั้งมาบวชอยู่ที่วัดนี้ซึ่งท่านบอกว่า “…กวาด(ลานวัด)ไปที่ไหนก็พบ…” 2. เครื่องปั้นดินเผาที่พบในบริเวณคันดินจากทิศตะวันตก ซึ่งได้จาก การส�ารวจและเก็บตัวอย่างโดย อาจารย์และนักศึกษาของโครงการศึกษา เครือ่ งปัน้ ดินเผา สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จุดประสงค์ของการเก็บตัวอย่างในครั้งนี้คือ เพื่อตรวจสอบ กับเครื่องปั้นดินเผาที่เก็บรวบรวมโดยพระสุเมธโสภิกขุ (โกเมศ ขุนศรี) และ เมือ่ น�าเครือ่ งปัน้ ดินเผาทัง้ 2 แห่งมาเปรียบเทียบกัน พบว่าไม่มคี วามแตกต่าง กัน ทั้งนี้เพราะเครื่องปั้นดินเผาที่พบส่วนใหญ่ผลิตในกลุ่มเตาล้านนา และ กลุ่มเตาจีนในสมัยราชวงศ์หมิง แทบทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามชิน้ ส่วนของเครือ่ งปัน้ ดินเผาทีพ่ บทัง้ หมดกว่า 500 ชิน้ นัน้ มิได้หมายความว่าเป็นชิ้นส่วนที่มาจากเครื่องปั้นดินเผาชนิดสมบูรณ์ 500 ใบ แต่อาจจะมีชิ้นที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาใบเดียวกันแต่ต่อกันไม่ได้ เช่น บางชิ้น เป็นส่วนปาก บางชิ้นเป็นส่วนฐาน หรือส่วนก้น เป็นต้น เครือ่ งป น ดินเผำทีพ่ บในบริเวณวัดเวียงเชียงรุง สำมำรถจ�ำแนกได ตำมกลุม เตำดังนี้ 1. เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำเกำะน อย อ�ำเภอศรีสัชนำลัย จังหวัด สุโขทัย(B) จ�านวน 3 ชิ้น ประกอบด้วย 1.1 เครื่องป นดินเผำในกลุ ม Celadon (B2) จ�านวน 2 ชิ้น 60


- ชิ้นส่วนของชาม 1 ชิ้น - ชิ้นส่วนของถ้วยขนาดใหญ่ 1 ชิ้น 1.2 เครื่องป นดินเผำในกลุ มเคลือบสีน�้ำตำล (B5) จ�านวน 1 ชิ้น - ชิ้นส่วนของขวด/แจกัน 1 ชิ้น

เปรียบเทียบเครื่องป นดินเผำจำกกลุ มเตำเกำะน อยกับเครื่องป นดินเผำ เกำะน อยที่พบจำกวัดเวียงเชียงรุ ง

เครื่องป นดินเผำจำกกลุ มเตำเกำะน อย

- - - - - -

2. เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน อ�ำเภอพำน จังหวัดเชียงรำย (D) จ�านวน 110 ชิ้น ประกอบด้วย 2.1 ชิ้นส วนของภำชนะเคลือบเซลำดอน จ�านวน 77 ชิ้น จาน/ชาม 14 ชิ้น ถ้วย 27 ชิ้น แจกัน/ขวด 11 ชิ้น พาน 18 ชิ้น ไห 6 ชิ้น ผอบ/ตลับ 1 ชิ้น 2.2 ตะเกียงแขวน จ�านวน 19 ชิ้น 61


2.3 ชิ้นส วนของช ำงเครื่องหลังเป นพำน 2.4 ชิ้นส วนของวัว 2.5 ชิ้นส วนของขำสัตว 2.6 ลูกตุ มถ วงแห

จ�านวน 6 ชิ้น จ�านวน 2 ชิ้น จ�านวน 1 ชิ้น จ�านวน 5 ชิ้น

เปรียบเทียบเครือ่ งป น ดินเผำจำกกลุม เตำพำนกับเครือ่ งป น ดินเผำพำนทีพ่ บ จำกวัดเวียงเชียงรุ ง 1. กลุ มจำน/ชำม ชนิดเคลือบเซลำดอน

เครื่องป นดินเผำจำกกลุ มเตำพำน เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง 62


2. กลุ มถ วย ชนิดเคลือบเซลำดอน

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง

3. กลุ มแจกัน/ขวด

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง 63


เครื่องป นดินเผำจำกกลุ มเตำพำน เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง

4. กลุ มพำนขนำดเล็ก

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง

5. กลุ มผอบ/ตลับ

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

64

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง


6. เครื่องป นดินเผำในกลุ มที่ให แสงสว ำง 6.1 ตะเกียงแขวน

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง

6.2 ตะเกียงรูปนก/หงส

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง

7. รูปตัวสัตว 7.1 ชิ้นส วนของช ำงเครื่องหลังเป นพำน

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง 65


7.2 วัว

เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพำน

เครื่องป นดินเผำพำนที่พบในเวียงเชียงรุ ง

3. เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำพะเยำ (G) ประกอบด้วย ชิ้นส วนของเครื่องป นดินเผำเคลือบเซลำดอน 3.1 จาน/ชาม 3.2 ไห

จ�านวน 29 ชิ้น

9 ชิ้น 20 ชิ้น

เปรียบเทียบเครื่องป นดินเผำจำกกลุ มเตำพะเยำกับเครื่องป นดินเผำพะเยำ ที่พบจำกวัดเวียงเชียงรุ ง 1. จำน/ชำม ชนิดเคลือบเซลำดอน

เครื่องป นดินเผำพะเยำ/ เวียงบัว-ม อนออม

66

เครื่องป นดินเผำพะเยำที่พบใน เวียงเชียงรุ ง


เครื่องป นดินเผำพะเยำ/ เวียงบัว-ม อนออม

เครื่องป นดินเผำพะเยำที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

2. ไห

เครื่องป นดินเผำพะเยำ

เครื่องป นดินเผำพะเยำที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

เครื่องป นดินเผำพะเยำ/โทกหวำก

เครื่องป นดินเผำพะเยำที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

67


เครื่องป นดินเผำพะเยำ

เครื่องป นดินเผำพะเยำที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

4. เครื่องป นดินเผำสมัยหริภุญไชยตอนปลำย (I) จ�านวน 1 ชิ้น คือ ก้นแจกัน/ขวด เนื้อบาง

เปรียบเทียบเครือ่ งป น ดินเผำสมัยหริภญ ุ ไชยตอนปลำยทีพ่ บบริเวณเทือกเขำ สูงบริเวณรอยต อระหว ำงไทยกับพม ำที่ต�ำบลแม ตื๋น อ�ำเภออมก อย จังหวัด เชียงใหม กับเครื่องป นดินเผำสมัยหริภุญไชยตอนปลำยที่พบจำกวัด เวียงเชียงรุ ง แจกัน/ขวด

เครื่องป นดินเผำสมัยหริภุญไชย เครื่องป นดินเผำสมัยหริภุญไชยตอนปลำย ที่พบในเวียงเชียงรุ ง ตอนปลำยที่พบบริเวณเทือกเขำสูง บริเวณรอยต อระหว ำงไทยกับพม ำ ที่ต�ำบลแม ตื๋น อ�ำเภออมก อย จังหวัดเชียงใหม 68


5. เครื่องป นดินเผำกลุ มเตำเวียงกำหลง (K) จ�านวน 98 ชิ้น ประกอบด้วย 5.1 ชิ้นส วนของภำชนะเคลือบเซลำดอน (K2) จ�านวน 90 ชิ้น - จาน/ชาม 29 ชิ้น - ถ้วย 16 ชิ้น - ชามอ่าง 1 ชิ้น - ขวด/แจกัน/คณโท 13 ชิ้น - โถ 1 ชิ้น - ตลับ/ผอบ 1 ชิ้น - ไห 29 ชิ้น

5.2 ชิ้นส วนของภำชนะชนิดเขียนลำยใต เคลือบสีด�ำ (K7) จ�านวน 8 ชิ้น - จาน/ชาม/ถ้วย 5 ชิ้น - แจกัน 3 ชิ้น

เปรียบเทียบเครื่องป นดินเผำกลุ มเตำเวียงกำหลง กับเครื่องป นดินเผำ เวียงกำหลงที่พบจำกวัดเวียงเชียงรุ ง 1. จำน/ชำม ชนิดเคลือบเซลำดอน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/กลุ ม เตำสันมะเค็ด

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง 69


เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/ วัดบ ำนร อง

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

2. ถ วย ชนิดเคลือบเซลำดอน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/ กลุ มเตำป ำส ำน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/ กลุ มเตำป ำส ำน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

70


3. ชำมอ ำง ชนิดเคลือบเซลำดอน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/ กลุ มเตำป ำส ำน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

4. แจกันท องป องปำกแคบ

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

5. ไห

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/ กลุ มเตำป ำส ำน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง 71


6. จำน/ชำม ชนิดเขียนลวดลำยใต เคลือบ

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/ กลุ มเตำป ำส ำน

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

7. แจกัน ชนิดเขียนลำยใต เคลือบสีด�ำ

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง/ กลุ มเตำสันมะเค็ด

72

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลงที่พบใน เวียงเชียงรุ ง


6. เครื่องป นดินเผำกลุ มล ำนนำ (ล)33 จ�านวน 305 ชิ้น ประกอบด้วย 6.1 ชิ้นส วนของเครื่องป นดินเผำในกลุ ม Celadon (ล2) จ�านวน 189 ชิ้น - จาน/ชาม 1 ชิ้น - ไห 94 ชิ้น - ชามอ่าง 1 ชิ้น - หม้อปากกว้าง 1 ชิ้น - คอภาชนะ 1 ชิ้น

6.2

ชิ้นส วนของเครื่องป นดินเผำในกลุ มเคลือบสีน�้ำตำล (ล5) จ�านวน 13 ชิ้น - ไห 12 ชิ้น - พวยกา 1 ชิ้น

6.3

ชิ้นส วนของเครื่องป นดินเผำในกลุ มไม เคลือบ (ล8) จ�านวน 91 ชิ้น - จาน/ชาม/ถ้วย 2 ชิ้น - คอคณโท/น�้าต้น 3 ชิ้น - แจกัน 3 ชิ้น - ไห 60 ชิ้น - พวยกา 8 ชิ้น - หูภาชนะ 6 ชิ้น - ก้นภาชนะ 3 ชิ้น - ตัวภาชนะ 2 ชิ้น - ปากภาชนะ 2 ชิ้น - ชิ้นส่วนภาชนะ 2 ชิ้น

73


6.4 ชิ้นส วนของเครื่องป นดินเผำในกลุ ม Other (ล16) จ�านวน 12 ชิ้น - กล้องยาสูบ 5 ชิ้น - ลูกตุ้มถ่วงแห 4 ชิ้น - กระเบื้องดินขอ 1 ชิ้น - ชิ้นส่วนเครื่องมือ 1 ชิ้น - ไม้ตีพริก/สาก 1 ชิ้น

เปรียบเทียบเครื่องป นดินเผำกลุ มเตำล ำนนำ กับเครื่องป นดินเผำล ำนนำ ที่พบจำกวัดเวียงเชียงรุ ง 1. ไห

เครื่องป นดินเผำเชียงแสน พบที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงใหม

เครื่องป นดินเผำเชียงแสนที่พบใน เวียงเชียงรุ ง 74

เครื่องป นดินเผำเชียงแสนที่พบใน เวียงเชียงรุ ง


2. กล องยำสูบ

กล องยำสูบที่พบทั่วไปในภำคเหนือ ป จจุบนั อยูท โี่ ครงกำรเครือ่ งป น ดินเผำ

เครื่องป นดินเผำเชียงแสนที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

3. ลูกตุ มถ วงแห

เครื่องป นดินเผำเวียงกำหลง

ลูกตุ มถ วงแหที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

ลูกตุ มถ วงแหกลุ มเตำพะเยำ

ลูกตุ มถ วงแหที่พบใน เวียงเชียงรุ ง

75


4. ไม ตีพริก/สำก

ไม ตีพริก/สำกจำกกลุ มเตำพำน

ไม ตีพริก/สำกที่พบในเวียงเชียงรุ ง

7. เครื่องป นดินเผำจำกกลุ มเตำในประเทศจีน จ�านวน 3 ชิ้น ประกอบด้วย 7.1 ชิ้นส่วนของก้นจาน/ชาม จากกลุ่มเตา หลงเฉวียน (หลงฉวน) สมัยราชวงศ์เยวี๋ยน (ราชวงศ์หยวนหรือมงโกล) ชนิดเคลือบเซลาดอน 2 ชิ้น 7.2 ชิ้นส่วนของถ้วยเนื้อบาง จากกลุ่มเตาจิ่งเต อเจิ้น สมัยราชวงศ์ หมิง 1 ชิ้น

76


เชิงอรรถ 1 คณะกรรมการช�าระประวัตศิ าสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี, เมืองและชุมชนโบรำณในล ำนนำ, (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ไอเดียสแควร์, 2539), หน้า 45.

ชาร์ลส์ ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์, สยำมดึกด�ำบรรพ ยุคก อนประวัติศำสตร ถึงสมัย สุโขทัย, (กรุงเทพฯ: River book, 2542), หน้า 31-32. 3 มีอายุประมาณ 3,500-2,500 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา เทียบเคียงจากการพบโครงกระดูก สวมก�าไลส�าริดที่แหล่งโบราณคดีออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ อ้างจาก กองโบราณคดี กรมศิลปากร, โบรำณคดีเชียงรำย : เอกสำรกองโบรำณคดี หมำยเลข 9/2533, (กรุงเทพฯ : บริษัทวิคตอรีเพาเวอร์พอยท์ จ�ากัด, 2533), หน้า 23. 4 รัศมี ชูทรงเดช, โบรำณคดีบนพื้นที่สูงในอ�ำเภอปำงมะผ ำ จังหวัดแม ฮ องสอน, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), หน้า127-128. 5 นักโบราณคดีอธิบายว่าการใช้ภาชนะขนาดเล็กเช่นนี้ ท�าให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ สะดวก ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงการเดิน ทางซึ่งเป็นการเดิน ทางจากที่พักอาศัย มาประกอบพิธีกรรมและการเคลื่อนย้ายชุมชน แต่ข้อสันนิษฐานประการหลังนี้ยัง ไม่พบเหตุผลที่สนับสนุนอย่างชัดเจน อ้างจาก วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และวิวรรณ แสงจันทร์, แหล งโบรำณคดียุคดึกด�ำบรรพ ที่ประตูผำ จังหวัดล�ำปำง : ภำพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ป ที่ผำศักดิ์สิทธิ์, (กรุงเทพฯ : มติชน, 2545), หน้า 51. 6 เรื่องเดียวกัน, หน้า 33, 38-39. 7 เรื่องเดียวกัน, หน้า 40. 8 กองโบราณคดี กรมศิลปากร, โบรำณคดีเหมืองแม เมำะ ออบหลวง และบ ำนยำงทองใต , เอกสำร กองโบราณคดีหมายเลข 12/2531, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2531), หน้า 56-58. 9 เรื่องเดียวกัน, หน้า 54. 10 เรื่องเดียวกัน, หน้า 54-59. 11 เรื่องเดียวกัน, หน้า 75-76. 12 ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, เมืองและแหล งชุมชนโบรำณในล ำนนำ,(กรุงเทพฯ : หจก.ไอเดียสแควร์, 2539), หน้า 58. 2

77


ผาสุข อินทราวุธ และคณะ, อำรยธรรมโบรำณในจังหวัดล�ำพูน, กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536), หน้า 76. 14 เรื่องเดียวกัน, หน้า 20-27 15 เรื่องเดียวกัน, หน้า 74. 16 เมธี เมธาสิทธิ สุขส�าเร็จ, “ภำชนะดินเผำสมัยหริภญ ุ ไชย”, จำกยุคน�ำ้ แข็งไพลสโตซีน สู สมัยล ำนนำ, (เชียงใหม่: บริษัทมิ่งเมืองนวรัตน์ จ�ากัด, 2550), หน้า 88-89. 17 อ้างจาก เรื่องเดียวกัน, หน้า 91. 18 เรื่องเดียวกัน, หน้า 92. 19 จอห์น ชอว์, เครือ่ งป น ดินเผำไทย, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คราฟท์แมน, ม.ม.ป.), หน้า 92. 20 ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์วัดป่าตึง จากการส�ารวจเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545. 21 กอบง จ�าป่าบอน ต้นโชค ดอยโตน ห้วยบวกป น และห้วยหม้อ เป็นชื่อล�าห้วยที่ไหล ผ่านกลุ่มเตาสันก�าแพง. 22 ชาวบ้านที่น�าไปส�ารวจเตา อยู่ในเขตหมู่ 4 บ้านใหม่หนองผักจิก 23 มีป้ายขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรปักอยู่เป็นหลักฐานส�าคัญ 29 เวียงบัวเป็นเมืองโบราณ 2 เมืองซ้อนกัน ใช้คูเมืองร่วมกัน 1 ด้าน เมืองหนึ่งเป็นรูป ดอกบัว อีกเมืองเป็นรูปวงรี กลุ่มเตาเผาอยู่ในส่วนของเมืองรูปดอกบัว 30 น�้า Slip หมายถึงน�้าดินเนื้อละเอียด ที่ใช้จุ่มเมื่อขึ้นรูปทรงเสร็จแล้ว เพื่ออุดรูเล็กๆ ที่ เกิดจากการขึ้นรูป ขั้นตอนการชุบน�้า Slip จะท�าก่อนเคลือบน�้าเคลือบ 31 กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครื่องถ้วยสุโขทัย: พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย, (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น ติ้งกรุ๊พจ�ากัด, 2535), หน้า 21. 32 โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู), เครื่องถ้วยในเอเชียอาคเนย์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-22, (กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองรัตน์การพิมพ์, ไม่มีปีที่พิมพ์), หน้า 62. 33 เครื่องปั้นดินเผาที่ท�าจากกลุ่มเตาในล้านนา แต่ไม่สามารถระบุกลุ่มเตาได้ 13

78


บทที่ 3 เวียงเชียงรุ ง: ในบริบทของกำรศึกษำโบรำณสถำน และโบรำณวัตถุที่พบในเวียงเชียงรุ ง เชียงใหม : ศูนย กลำงกำรค ำในเขตภูมิภำคตอนบน จุดมุ่งหมายประการหนึ่งของพระยามังรายในการตั้งเมืองเชียงใหม่ บนริมฝั งแม่น�้าป ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้าป ง-วัง คือ ต้องการให้เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลาง การค้าระหว่างภูมิภาคตอนบนกับเมืองท่าตอนล่าง ภูมภิ ำคตอนบน หมายถึง อาณาจักรล้านนาและเมืองต่างๆ ทีอ่ ยูเ่ หนือ อาณาจักรล้านนาขึ้นไป 1. อาณาจักรล้านนา เกิดจากการรวมตัวของเมืองต่างๆ ในเขตที่ราบ ลุ่มแม่น�้า ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างภูเขาสูงที่ทอดยาวจากเหนือลง ใต้ ที่ราบลุ่มแม่น�้าเหล่านี้ประกอบด้วย 1.1. บริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้าป ง-วัง ประกอบด้วยเมืองส�าคัญๆ คือ เชียงใหม่ ล�าพูน และล�าปาง บริเวณนี้เป็นที่รวมของสินค้าจากเมืองตอนบน ก่อนส่งออกลงสู่เมืองท่าตอนล่าง 1.2. บริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้ากก-แม่น�้าอิง และฝั งซ้ายของแม่น�้าโขง หรือที่เรียกว่า แคว้นโยน ประกอบด้วยเมืองส�าคัญต่างๆ ดังนี้คือ เชียงราย เชียงแสน เชียงของ และพะเยา เป็นต้น แคว้นโยนมีความส�าคัญในฐานะ เป็นบริเวณที่รับศึกและสินค้าที่มาจากเขตยูนนาน เชียงตุง และล้านช้าง เป็นต้น 1.3. ที่ราบลุ่มแม่น�้ายม-น่าน หมายถึงบริเวณที่ตั้งของเมืองแพร่ และน่าน 2. เมืองต ำงๆ ที่อยู เหนืออำณำจักรล ำนนำขึ้นไป ประกอบด้วย 2.1. เขตทางตอนบนของพม่า หมายถึงเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณสองฝั ง แม่นา�้ สาละวินประกอบด้วยเมืองในกลุม่ ไทยใหญ่ กลุม่ คะฉิน่ และชนกลุม่ น้อย 79


กลุม่ อืน่ ๆ พืน้ ทีน่ อี้ ดุ มสมบูรณ์ไปด้วย ของป่า แร่ธาตุ และอัญมณี สินค้าเหล่านี้ ส่งเข้ามายังล้านนาโดยผ่านฝางและเชียงแสน 2.2. เขตทางตอนใต้ของจีน เช่น แถบยูนนาน สิบสองพันนา และเชียงรุ้ง เป็ น ต้ น สิ น ค้ า ส� า คั ญ ที่ ส ่ ง จากพื้ น ที่ นี้ เข้ามายังล้านนา ประกอบด้วยน�า้ ผึง้ ชะมด เช็ด และหม้อทองเหลือง เป็นต้น เข้าใจว่า น่าจะส่งผ่านเข้ามาทางเมืองเชียงแสน ก่อนที่จะส่งต่อลงมายังเชียงใหม่ 2.3. หลวงพระบาง สิ น ค้ า ที่ ส�าคัญของทีน่ คี่ อื ครัง่ และก�ายาน มีหลักฐาน กล่าวว่า หลวงพระบางเป็นแหล่งก�ายาน ที่ดีที่สุด และเชื่อว่าก�ายานเหล่านี้ถูกส่ง ผ่านเข้ามายังเข้ามายังเชียงใหม่ แล้วส่ง ออกลงสู่เมืองท่าตอนล่าง เนื่องจากมี หลักฐานปรากฏในบันทึกของพ่อค้าต่างชาติว่าเชียงใหม่เป็นแหล่งส่งก�ายาน ที่ส�าคัญ1 สันนิษฐานว่าสินค้าเหล่านี้ถูกส่งเข้ามาโดยผ่านเมืองเชียงของ เชียงแสน และเชียงใหม่ ตามล�าดับ เมืองท ำตอนล ำง หมายถึง เมืองท่าส่งออกสินค้าจากภายในภูมิภาค ไปสู่เมืองภายนอกภูมิภาค เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และอาหรับ เป็นต้น เมือง ท่าตอนล่างแบ่งเป็นเมืองท่าสองฝั งมหาสมุทร คือ เมื อ งท่ า ทางฝั ง อ่ า วไทย ประกอบด้ ว ย อยุ ธ ยา และกรุ ง เทพฯ ตามล�าดับ เมืองท ำทำงฝ งอันดำมัน หมายถึง เมืองท่าตอนล่างของพม่าหรือ หัวเมืองมอญ ประกอบด้วย พะโค เมาะตะมะ มะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นต้น ด้วยสภาพการค้าจากเหนือลงใต้ดังกล่าวนี้ ท�าให้เชียงใหม่เป็น ศูนย์กลางที่เหมาะสมเนื่องจากตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างแคว้นโยนกับเขตที่ราบ 80


ลุ่มแม่น�้าป งตอนบน รวมทั้งยังสามารถติดต่อกับเมืองท่าตอนล่างได้อย่าง สะดวกโดยใช้แม่น�้าป งเป็นเส้นทางสายหลัก จากความเหมาะสมดังกล่าวท�าให้มหี ลักฐานของล้านนาจ�านวนไม่นอ้ ย กล่าวถึงการเดินทางของกลุ่มพ่อค้าจากที่ต่างๆ เข้ามาท�าการค้าขายใน อาณาจักรล้านนาเป็นจ�านวนมาก เช่น กฎหมายล้านนากล่าวว่า “…คนฝูงอัน ลุกทิศานุทิศมา ม าน เม็ง ไทย ฮ อ และกุลวา…”2 และในค่าวกาวิละกล่าวว่า “…ฝูงพ อค าต างพันนา…ชาวเหนือชาวใต ต างอันมี ต างค า…”3

คำรำวำนวัวต ำงและม ำต ำง ที่มา: บุญเสริม สาตราภัย

ดังที่กล่าวแล้วว่าอาณาจักรล้านนาเกิดจากการรวมตัวของเมืองต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้าที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาสูง ซึ่งเมื่อหาก ดูเผินๆ แล้ว เทือกเขาสูงเหล่านี้คืออุปสรรคส�าคัญในการติดต่อระหว่าง เมืองต่างๆ แต่โดยความจริงแล้วเทือกเขาสูงเหล่านีก้ ลับมีคณ ุ ค่าต่ออาณาจักร ล้านนาอย่างมาก คือ นอกจากจะเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสินค้า ของป่านานาชนิดจ�าพวก น�้าผึ้ง ครั่ง ยางรัก และแร่ธาตุ ซึ่งสามารถสร้าง รายได้อย่างสูงให้กับอาณาจักรล้านนาแล้ว เทือกเขาสูงเหล่านี้ยังเป็น ต้นก�าเนิดของแม่น�้าสายส�าคัญๆ เช่น

81


ที่ ม า: จิ ร ะ ปรั ง เขี ย ว และคณะ, “ภู มิ ศำสตร แ ละธรณี วิ ท ยำภำคเหนื อ (ล ำนนำ)”, จำกยุคน�้ำแข็งไพลสโตซีนสู สมัยล ำนนำ, 2550: 31.

แม น�้ำป ง เกิดจากทิวเขาแดนลาว ในอ�าเภอฝาง ไหลผ่านเชียงใหม่ ล�าพูน ตาก และก�าแพงเพชร ไปบรรจบกับแม่น�้าน่านในเขตต�าบลปากน�้าโพ อ�าเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์4 แม นำ�้ กก เกิดจากภูเขาในรัฐฉานไหลผ่านเมืองสาด เข้าเขตไทยในเขต อ�าเภอแม่อาย แล้วไหลผ่านเชียงราย ไปบรรจบกับแม่น�้าโขงที่อ�าเภอ เชียงแสน5 แม น�้ำลำว เกิดจากทิวเขาผีปันน�้าไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือ ผ่าน อ�าเภอเวียงป่าเป้า6 ผ่านช่องเขาสูงในเขตอ�าเภอแม่สรวย ไปยังที่ราบในเขต เชียงราย และบรรจบกับแม่น�้ากก7 ที่บริเวณเวียงเชียงรุ้ง แม นำ�้ อิง เกิดจากทิวเขาผีปนั น�า้ ในเขตอ�าเภอพาน ไหลลงไปทางทิศใต้ โดยผ่านจังหวัดพะเยา8 ไปบรรจบกับแม่น�้าโขงในเขตอ�าเภอเทิง จังหวัด พะเยา9 นอกจากแม่นา�้ สายใหญ่ดงั กล่าวแล้ว ยังมีแม่นา�้ สายเล็กๆ อีกมากมาย เช่น น�า้ ปาย น�า้ ยวม น�า้ ฝาง น�า้ ค�า น�า้ แม่สาย น�า้ แม่จนั และน�า้ แม่เมย เป็นต้น แม่น�้าทั้งสายใหญ่และสายเล็กเหล่านี้ท�าหน้าที่เชื่อมต่อกันเป็นใยแมงมุม ครอบคลุมพืน้ ทีต่ า่ งๆ ราวกับเป็นโครงข่ายการคมนาคมขนาดใหญ่ทเี่ ชือ่ มต่อ ระหว่างเมืองต่างๆ ควบคู่ไปกับการคมนาคมทางบกของคาราวานพ่อค้า วัวต่างและม้าต่าง ตัวอย่างของการเดินทางระหว่างเมืองที่ส�าคัญ เช่น กำรติดต อระหว ำงเชียงใหม กบั บริเวณแคว นโยน ใช้การล่องน�า้ ป งสลับ 82


กับการเดินบก ซึ่งจะเห็นได้จากการเดินทางของคาร์ล บ็อค ซึ่งเล่าเรื่อง การเดินทางไปกลับระหว่างเมืองเชียงใหม่ เชียงราย และเชียงแสนไว้ดังนี้ …ออกจากเชียงใหม วันที่ 2 กุมภาพันธ พ.ศ.2425 หนทางสู พร าวต อง ผ านแม นํ้าแมงกาบ (แม นํ้าแม งัด) (Meh Ngat?) ที่ ไหลเชี่ยว … ออกจากเมืองพร าวไปเมืองฝางพร อมช าง 9 เชือก และลูกช างอีก 2 เชือก หนทางสู เมืองฝางผ านช องเขาสูงชันข ามแม นํ้าแมงกาบ พักแรม 1 คืน ข ามแม นํ้าฝาง พบขบวนพ อค าเงี้ยว พักแรมใกล กัน รุ งเช าเดินผ านที่ราบพบขบวนล าสัตว ของเจ าเมืองเชียงใหม …ออก เดิน ทางจากฝางไปหมู บ านเงี้ยวที่ท าตอน …จากท าตอนล องเรือ ไปตามแม นํ้ากก 2 วัน ถึงเชียงราย… จากเชียงรายล องแม กกไป เชียงแสน… จากเชียงรายเดินทางด วยเรือฝ าสายนํ้าที่ ไหลเชี่ยวถึง ท าตอนและเดินบกต อเข าเมืองฝาง …ที่เมืองฝางหมู บ านริมนํ้าป ง เพื่อต อแพและนําสัมภาระล องไปเชียงใหม … ถึงเชียงใหม วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2425…10 เนื่องจากการเดินทางที่ยากล�าบากและใช้เวลานานกว่าจะถึงจุดหมาย ท�าให้บนเส้นทางคมนาคมแต่ละเส้นมักจะมีเมืองหรือชุมชนต่างๆ ที่ท�าหน้าที่ เอื้อประโยชน์ให้กับพ่อค้าในการเดินทางค้าขายไปมา บางเมืองเป็นแหล่ง แวะพักเติมเสบียงทัง้ อาหารและน�า้ รวมทัง้ ซือ้ ขายสินค้าต่างๆ เช่น การเดินทางล่องแม่นา�้ ป งระหว่างตากถึงเชียงใหม่เป็นเส้นทางทีน่ กั เดินทางต่างทราบ ดีว่ามีความล�าบากมากเพราะมีเกาะแก่งและกระแสน�้าเชี่ยวมาก …ในบางตอนกระแสนํา้ เชีย่ วจัดจนลูกเรือต องยอมแพ …อันตรายอย างยิง่ อีกประการหนึ่งซึ่งต องคอยระวังอย างมากได แก ท อนซุง11 ที่ลอยมา ตามนํ้า…ข าพเจ าแลเห็น ท อนซุงขนาดมหึมากําลังพุ งมาใส เราด วย กํ า ลั ง แรง พวกลู ก เรื อ เห็ น ทั น เวลาและเอาเรื อ หลบหลั งโขดหิ น เสียก อน…12

83


กำรเดินทำงล องแม นำ�้ ป งในในช วงเดือน พฤษภำคม พ.ศ.2425 ของคำร ล บ็อค ทีม่ า : เสถียร พันธรังสีและอัมพร ทีขะระ (แปลและเรียบเรียง), ท องถิ่นสยำมยุค พระพุทธเจ ำหลวง, 2550: 239 และ 336

เส นทำงสูเ มืองล�ำปำงในเดือนพฤษภำคม 2425 ของคำร ล บ็อค ทีม่ า : เสถียร พันธรังสีและอัมพร ทีขะระ (แปลและเรียบเรียง), ท องถิ่นสยำมยุค พระพุทธเจ ำหลวง, 2550: 239 และ 336

จากความยากล�าบากเช่น นี้ท�าให้การเดิน ทางค่อนข้างช้าและต้อง ใช้เวลา ฉะนัน้ ตามรายทางจึงมี “..หมูบ า นเรียงรายติดต อกันทัง้ สองฝ ง แม นาํ้ …13 บางหมู่บ้านที่แวะพักก็มีชาวบ้านน�าอาหารมาขาย “…ประมาณบ ายสามโมง เรามาถึงหมู บ านของพวกขมุเป นหมู บ านแรกที่เราพบหลังล องเรือมานาน ชาวบ านที่ยากจนอาศัยอยู ได โดยเก็บผักและผลไม ขายให เรือแพที่ผ าน ไปมา…”14 การเดินทางจากทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ ป งไปยังเขตทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ กกก็มเี มือง แวะพักเช่นเดียวกันนี้เหมือนกัน เช่นเมืองแกน เป็นเมืองแวะพักจากพร้าว เข้าสู่เชียงใหม่15 เวียงกาหลงและเวียงบัวเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา 84


เพื่อส่งออก ท�าให้มีกลุ่มพ่อค้าแวะเข้าไปเพื่อน�าเครื่องปั้นดินเผาไปขายยัง พื้นที่ต่างๆ เป็นต้น เมืองเหล่านี้นอกจากจะพบร่องรอยของการอยู่อาศัย เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ทั้งเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องมือโลหะแล้ว ยังพบร่องรอย ของศาสนสถานอยู่ทั่วไปแทบจะทุกเมือง เช่น จากการส�ารวจในบริเวณ เมืองแกนซึง่ เป็นเมืองแวะพักจากพร้าวเข้าสูเ่ ชียงใหม่ ได้พบทัง้ แหล่งเตาผลิต เครือ่ งปัน้ ดินเผา ซึง่ ปัจจุบนั เรียกว่าเตาอินทขิล และพบซากวัดร้างอีกไม่นอ้ ย กว่า 30 แห่ง16 เวียงเชียงรุ ง: เมืองบนเส นทำงผ ำนในเขตแคว นโยน เวียงเชียงรุง้ หรือเวียงฮุง้ มีลกั ษณะเป็นเนินสูงคล้ายหลังเต่าตัง้ อยูก่ ลาง ทุ่งนา มีเนื้อที่ประมาณ 500-600 ไร่ เป็นเมืองโบราณชนิดที่มีคูน�้าคันดิน 3 ชั้น17 คือ 1. คูเมืองชัน้ ในสุด มีลกั ษณะเป็นรูปวงแหวน ชาวบ้านเรียกว่า ร่องทราย ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร กว้าง 14 เมตรและลึกประมาณ 3 เมตร18 2. คูเมืองชัน้ กลำง ตัง้ อยูห่ า่ งจากคูเมืองชัน้ ในประมาณ 50 เมตร ชาว บ้านเรียกว่า “ฮ่อง (ร่อง) ลึก” ยาวรอบเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 30 เมตร ลึก 5-7 เมตร19 3. คูเมืองชั้นนอก ตั้งอยู่ห่างจากคูเมืองชั้นกลางประมาณ 1.82 เมตร ชาวบ้านเรียกว่า “ฮ องจิก” ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้าง 12 เมตร ลึก 2 เมตร20 ส�าหรับคูเมืองชัน้ นอกทางด้านทิศตะวันตกใช้แม่นา�้ ลาวเป็นคูเมืองส่วน หนึ่ง21 ปัจจุบันแม่น�้าลาวที่ ไหลผ่านเวียงเชียงรุ้งตื้นเขินและเปลี่ยนทางเดิน กลายเป็นแม่น�้าลาวร้างไปแล้ว

85


ปัจจุบันเวียงเชียงรุ้งตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเคียน หมู่ 10 ต�าบลทุ่งก่อ อ�าเภอ เวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย จากการส�ารวจของหน่วยศิลปากรในเขตพื้นที่ อ�าเภอเวียงชัยและอ�าเภอพญาเม็งราย ได้พบเมืองโบราณเป็นจ�านวนมาก เช่น ในเขตอ�าเภอเวียงชัยมีประมาณ 28 เมือง โดยเฉพาะในเขตต�าบลทุ่งก่อ มีถึง 5 เมือง (ยังไม่นับเวียงเชียงรุ้ง) ในเขตอ�าเภอพญาเม็งรายมีประมาณ 10 เมือง เมืองโบราณที่พบมีลักษณะคล้ายคลึงกับเวียงเชียงรุ้ง คือส่วนใหญ่ ตั้งอยู่บนเนินน�้าท่วมไม่ถึง เป็นเมืองที่มีคูน�้าคันดิน และอยู่ ใกล้แหล่งน�้า นอกจากนั้นในแต่ละเมืองยังพบซากโบราณสถานและเครื่องมือเครื่องใช้ แบบเดียวกันโดยเฉพาะ เครื่องใช้ในชีวิตประจ�าวันในกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ รวมทั้งกล้องยาสูบด้วย เป็นต้น22 86


สันนิษฐานว่าเมืองโบราณเหล่านี้คงจะตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเดินทาง ไปมาของผู้คนจากที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้เพราะพื้นที่นี้ตั้งอยู่ บนเส้นทางการคมนาคม ระหว่างเชียงราย เชียงแสน เชียงของ และน่าน ซึ่ง เป็นจุดผ่านขึ้นไปยังเมืองต่างๆ ที่อยู่เหนืออาณาจักรล้านนาขึ้นไป เช่น เชียงแสน เป็นประตูเข้าออกไปยังกลุ่มหัวเมืองตอนบนคือ ยูนนาน สิบสองปันนา และกลุม่ หัวเมืองไทยใหญ่ เป็นต้น ดังจะเห็นได้จาก เมือ่ คาร์ล บ็อค ต้ อ งการเดิ น ทางไปเชียงตุง เขาต้อ งเดิน ทางผ่า นเชีย งแสน จึ งเข้ าไป ขออนุญาตเจ้าเมืองเชียงรายเพื่อจะเดินทางไปเชียงตุง แต่เจ้าเมืองเชียงตุง ไม่อนุญาต เพราะกลัวจะไม่ปลอดภัย เนือ่ งจากในขณะนัน้ “…พวกเงีย้ วกําลัง สะสมดินป น กระสุนป นและกําลังซ องสุมผู คนอยู คาดว า หัวหน าในเขต ใกล เ คี ย งคงจะยกพวกมายึ ด เอาเชี ย งแสนครึ่ ง หนึ่ ง เร็ ว ๆ นี้ … .” 23 หรื อ เมือ่ ศาสนาจารย์ เดเนียล แมคกิลวารี24 จะเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาทีเ่ มืองเลน เมืองสิงห์ และสิบสองพันนา ท่านก็เดินทางจากเชียงใหม่ เชียงรายผ่าน เชียงแสนและข้ามแม่น�้าโขงที่เชียงแสนขึ้นไป25 เข้าใจว่าแม่น�้ากกน่าจะเป็นแม่น�้าสายใหญ่ เพราะเรือที่คาร์ล บ็อค ใช้ในการเดินทางเป็น “…เรือลําใหญ ที่เจ าเมืองเกียงราย(เชียงราย)กรุณา ให ยืม…”26

เรือทีค่ ำร ล บ็อคใช ในกำรเดินทำงเชียงแสน ทีม่ า: กรมศิลปากร, “เมืองไทยเมือ่ หนึง่ ร้อยปี จากบันทึกการเดินทางของคาร์ล บ็อค”, 2530: หน้าปก 87


เชียงของและน ำน เป็นประตูเข้าออกไปยังกลุม่ หัวเมืองตะวันออกเฉียง เหนือ คือหลวงพระบาง ดังจะเห็นได้จากเมื่อเฮอร์เบิร์ท วาริงตัน สมิทธ์ ต้องการจะเดินทางจากกรุงเทพฯไปหลวงพระบางนั้น เขาได้ผ่านเมืองน่าน และเชียงของก่อนเข้าสู่หลวงพระบาง “…จากเมืองน าน ขั้นตอนต อไป คือ ค นหาเส นทางที่ดีที่สุดที่ข าพเจ าจะสามารถเดินข ามสันป นนํ้าไปยังเชียงของ บริเวณทีร่ าบลุม แม นาํ้ โขงได … การเดินทางจากเชียงของไปยังหลวงพระบาง (หรือเมืองหลวงที่คนทั่วไปเขาเรียกกันว า มหานคร great town) หากไม มี อุปสรรค ระยะทางที่จะใช เวลาในการเดินทางราว 5 ชั่วโมง (การเดินทาง เที่ยวกลับใช เวลาในการเดินทาง 10-15วัน)…”27 เชียงรำย เป็นหัวเมืองหลักในการเดินทางจากแคว้นโยนลงสูเ่ มืองต่างๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้าป ง ก่อนลงสู่เมืองท่าตอนล่างทั้งสองฝั ง ศาสนสถานที่พบมากมายในเมืองเหล่านี้เป็นหลักฐานอย่างดีที่อธิบาย ให้เห็นถึงความส�าคัญของเมืองดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายจนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ ในขณะที่หลักฐานการเดินทางของชาวต่างชาติที่เดินทาง เข้ามาในพื้นที่นี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 ได้อธิบายให้เห็นภาพของกิจกรรม ค้าขายภายในเมืองเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี 1. บันทึกกำรเดินทำงของ ป แอร โอร ต ซึง่ เดินทางเข้าไปยังเชียงแสน เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2440 เล่าถึงการค้าในเมืองแม่ขิ ซึ่งตั้งอยู่ ใกล้ กับเชียงแสน และอยู่บนเส้นทางที่เป็นเส้นตัดระหว่างเชียงแสน และเชียงตุง ก่อนเข้าสู่เมืองเชียงราย …การค าทั้งหลายของรัฐฉานและยูนนานกับลาวต องผ านบ านแม ขิ การค าเหล านี้อยู ในมือของพวกฮ อ ซึ่งจะเดินทางผ านลงมากลุ มละ 20-100 คน บรรดาชาวฮ อไม เพียงแต จะนําสินค าจากดินแดนของตน อันได แก เส นหมีแ่ ละแป งเป นส วนใหญ มาขายแล ว ยังรับส งสินค าให กบั คนอื่นๆ อีกด วย โดยจะเดินทางจากเชียงรายไปยังเชียงใหม จากนั้น ก็ จ ะเดิ น ทางต อไปยั ง มะละแหม ง เพื่ อ นํ า สิ น ค า จากมะละแหม ง กลับมายังเชียงใหม …28 88


2. บันทึกกำรเดินทำงของ นำยเฮอร เบิรท วำริงตัน สมิธ นักธรณีวทิ ยา ชาวอังกฤษ ลูกจ้างของรัฐบาลสยามในกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา เขาได้ เดินทางขึ้นมาในเขตภาคเหนือเพื่อตรวจสอบทางธรณีวิทยาเสนอต่อรัฐบาล สยาม ได้เขียนบันทึกเล่าเรือ่ งการเดินทางของกลุม่ พ่อค้าในระหว่างการเดินทาง จากเมืองน่านขึ้นไปยังเมืองเชียงของไว้ดังนี้ …นอกจากกําแพงอิฐสีแดงของเมืองน าน… ข าพเจ าได เห็นเรือขนส ง จํานวนมากบรรทุกฝ ายมา และมีอีกหลายลําที่กําลังล องไปทางใต …และเมืองระหว างทางจากน านไปเชียงของ เขาได พบคาราวานสินค า ต างๆ เช น ที่เมืองงอมได พบพวกฮ อและขบวนล อบรรทุกสินค ามาจาก ทางเหนือ… เมื่อเดินทางขึ้นไปตอนบนของห วยซาเกง (Houy Saking) พบวัวบรรทุกของ 4 ตัว เดินมาตามทาง… ที่เมืองเชียงเลน พวกเรา พบพ อค าจํานวนมากขนสินค าเดินทางมาจากทางเหนือดูหน าตาคล าย ชาวพม า…29

ล อในขบวนสินค ำและชำวชำยฮ อ ทีม่ า: พรพรรณ ทองตัน (แปลและเรียบเรียง), บันทึกการเดินทางสูแ่ ม่นา�้ โขงตอนบน ประเทศสยาม, 2544: 74-75

จากภาพการค้าที่คึกคักดังที่กล่าวมาแล้ว น�ามาสู่ข้อสันนิษฐานว่า บนเส้นทางคมนาคมแต่ละเส้นคงจะมีเมืองต่างๆ ที่ท�าหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง เมืองภายในกับภายนอกพืน้ ที ่ ดังจะเห็นได้จากผลสรุปการศึกษา เรือ่ งเวียงเทิง ของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม …เวียงเทิงนี้ตั้งอยู ในจุดศูนย กลางการคมนาคม เพราะถ าเดินทางข าม บริเวณเขาเตีย้ ๆ ในทางทิศตะวันตกก็จะลงสูบ ริเวณทีร่ าบลุม แม นาํ้ ลาว 89


อันมีเวียงชัยเป นสําคัญ ต อจากนัน้ ก็ขา มแม นาํ้ ลาวไปยังเมืองเชียงราย ในลุ มแม นํ้ากกได เข าใจว าการติดต อระหว างเทิง เชียงคํา30 กับเมือง เชียงรายที่จะต อไปยังเชียงแสน หรือแม สายนั้นคงจะผ านมาทาง เวียงชัยตามที่กล าวมานี้…31 ในสมั ย รั ช กาลที่ 5 เมื่ อ ป แ อร์ โอร์ ต ผู ้ ช ่ ว ยที่ ป รึ ก ษากฎหมาย ชาวเบลเยี่ยม เดินทางจากเชียงรายไปยังเมืองเทิงยังต้องผ่านพื้นที่นี้ด้วย …วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2440 ออกจากเชียงรายตอนเที่ยงครึ่ง เดินทาง ผ านแม นํ้าลาวเมื่อบ าย 2.30 น. อากาศเลว มีฝนตกทึม และเมฆลอย ตํ่า… วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2440 พักที่บ านเชียงเคี่ยน… วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2440 ออกเดินทาง 5.30 น. ทางเดินตัดเข าไปในป าและ หนทางสะดวก… 11.00 น. มาถึงบ านปง32 มีศาลาปลูกไว รบั รองข าพเจ า แต ขา พเจ าตัดสินใจไม หยุดพักจนกว าจะถึงเมืองเทิง ในวันนี้ บ าย 2 โมง 50 นาที เราถึงฝ งแม นํ้าอิงต องใช เรือข าม คนส วนใหญ ของเมืองเทิง อยู ทางฝ งซ ายของแม นํ้า…33 สันนิษฐานว่าเวียงเชียงรุ้ง คงจะท�าหน้าที่เป็นเมืองเชื่อมต่อกับเมือง ต่างๆ ทัง้ ภายในและภายนอกพืน้ ทีเ่ ช่นเดียวกัน ทัง้ นีเ้ พราะเวียงเชียงรุง้ ตัง้ อยู่ ริมฝั งแม่น�้าลาว และอยู่ห่างจากบริเวณสบกกเพียง 2500 เมตร34 เท่านั้น สบกกคือบริเวณที่แม่น�้าลาวไหลลงแม่น�้ากกซึ่งเป็นแม่น�้าที่เชื่อมต่อระหว่าง เชียงรายกับเชียงแสน ฉะนั้นพื้นที่นี้จึงเป็นพื้นที่ส�าคัญที่เป็นแหล่งรวมของ กลุ่มคนที่เดินทางมาตามล�าน�้าทั้งสอง

90


เมื่อพิจารณาการเลือกท�าเลในการตั้งเวียงเชียงรุ้ง พบว่าผู้ตั้งเมือง มีความชาญฉลาดมาก เพราะเวียงเชียงรุ้งตั้งอยู่บนเนินคล้ายหลังเต่า ท�าให้ น�้าไม่ท่วมเมือง ทั้งๆ ที่ตั้งอยู่ริมฝั งแม่น�้าลาวและใช้แม่น�้าลาวเป็นคูเมือง ทางทิศตะวันตก การสร้างเมืองโดยมีคนู า�้ คันดินถึง 3 ชัน้ และคูเมืองแต่ละชัน้ ค่อนข้างกว้างและลึกกล่าวคือ คูเมืองชัน้ นอกลึกประมาณ 2 เมตร กว้าง 12 เมตร คูเมืองชั้นกลางลึก 5-7 เมตร กว้าง 30 เมตร และชั้นในลึก 3 เมตร กว้าง 14 เมตร35 ความลึกของคูเมืองแต่ละชั้น ท�าหน้าที่ในการชะลอไม่ให้น�้าท่วม ในเวลาหน้าน�้า และเป็นพื้นที่เก็บกักน�้าไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ นอกจากนั้นมีข้อที่น่าสังเกตคือ คันดินแต่ละชั้นค่อนข้างกว้าง คือ คันดินระหว่างชั้นในและชั้นกลางกว้างประมาณ 650 เมตร คันดินระหว่าง ชัน้ กลางและชัน้ นอกกว้างประมาณ 182 เมตร36 สันนิษฐานว่าบริเวณคันดินนี้ อาจจะเป็นพื้นที่เพาะปลูกหรืออยู่อาศัยได้ในช่วงที่มิใช่หน้าน�้า นอกจากนั้น ภายในตัวเมืองก็มีขนาดกว้างมากถึง 500-600 ไร่ ท�าให้สามารถรองรับ การอยู่อาศัยของชุมชนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ฉะนั้นหากดูจากสภาพภูมิประเทศและการคัดเลือกท�าเลการตั้งเมือง สันนิษฐานว่าพื้นที่นี้คงจะมีความอุดมสมบูรณ์และสามารถรองรับผู้คนได้ เป็นจ�านวนมาก กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะมีทั้งคนที่ตั้งถิ่นฐานถาวรและกลุ่มที่ เดินทางไปมาแล้วแวะพักทีเ่ วียงเชียงรุง้ ก่อนไปถึงจุดหมายปลายทาง หลักฐาน ทีส่ นับสนุนข้อสันนิษฐานดังกล่าวคือ หลักฐานต่างๆ ทีพ่ บในบริเวณเวียงเชียงรุง้ ซึ่งประกอบด้วย 1. โบรำณสถำน-วัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศำสนำ คือ กองอิฐ พระพุทธรูป หินทราย 4 องค์ และใบเสมาหินทราย 3 ชิ้น การพบกองอิฐหลายแห่งและ พระพุทธรูปหิน ทราย 4 องค์ แสดงให้เห็นว่าภายในเวียงเชียงรุ้งมีวัด เป็นศูนย์กลางของชุมชน เข้าใจว่าน่าจะมีมากกว่า 1 วัด เพราะกองอิฐบาง กองตัง้ อยูห่ า่ งกันเกินกว่าจะเป็นสิง่ ก่อสร้างภายในสถานทีเ่ ดียวกันได้ หลักฐาน ที่กล่าวสอดคล้องกับข้อสัน นิษ ฐานนี้คือ จารึกที่พบภายในเวียงเชียงรุ้ง ได้กล่าวถึงชื่อพระสงฆ์ที่วัดเวียงเชียงรุ้ง “…เจ ำเถรพุทธรักขิตเชียงรุ ง…”37 91


และการสร้างอุโบสถพร้อมกับการถวายกัลปนาของหมืน่ ขวา “…ตนกูหมืน่ ขวา มาทําบุญทีน่ ี้ หือ้ ตัง้ สังฆสีมาแล วดาย จึงฝ งหินจารึกนี้ไว แก นางหลวงนีแ้ ล…”38

กองอิฐที่พบในวัดเวียงเชียงรุ ง ซึ่งพบประมำณ 3-4 แห ง แต บำงแห งเป นกองขนำดเล็ก

เข้าใจว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดขนาดใหญ่และมีความส�าคัญมาก ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อมีการท�าบุญถวายกัลปนาที่วัดแห่งนี้พบว่ามีพระสงฆ์เข้าร่วมถึง 10 รูป และแต่ละรูปเป็นพระผู้ใหญ่แทบทั้งสิ้น เช่น มหาสามีป่ารวก เจ้าเถร โสมวัดมหานาม เจ้าเถรสุวัดป่าหลวง เจ้าเถรญาณสุน ทโรวัดหมื่นยอด มหาเถรญาณก�าเพียนวัดสันขอบ เจ้าเถรอโนมาทัตสีวดั พันพอน เจ้าเถรสังฆะโพธิวัดดอนนา เจ้าเถรพุทธรักขิตเชียงรุ้ง เจ้าเถรธรรมสาบ้านท่า และมหาสามีเจ้าดอนยาง นอกจากนัน้ ในรายชือ่ ผูถ้ วายกัลปนา ก็ลว้ นเป็นคนส�าคัญ เช่น หมืน่ ขวา ผู้ปกครองเวียงเชียงรุ้ง และ “นางหลวง” “…ส วนบุญ(ของ)นางหลวง เพื่อจักให ผลจําเริญแก มหาราช เจ าแผ นดิน ยังหลานมันสี่คน ผู หนึ่งชื่อ พ อน อย ผู หนึ่งชื่อเชียงบุญ ผู หนึ่งชื่อยีสอง ผู หนึ่งชื่อสนยม เขาบักนี้ไว หื้อ รักษาพระพุทธรูปเจ า ที่นี้แล…”39 แม้นางหลวงคนนี้ อาจจะมิได้หมายถึง พระมเหสีของผู้ปกครองที่เชียงใหม่ก็ตาม แต่น่าจะหมายถึงบุคคลที่มีความ ส�าคัญทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ จึงสามารถถวายกัลปนาคนให้กับ วัดได้ การพบใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่ 3 ชิ้น และการที่หมื่นขวา “…หื้อ ตั้งสังฆสีมา…” แสดงให้เห็นว่ามีการสร้างอุโบสถหรือโบสถ์ที่วัดแห่งหนึ่ง 92


วัดนั้นอาจจะเป็นวัดเวียงเชียงรุ้งก็เป็นได้ ทั้งนี้เพราะใบเสมาทั้ง 3 ชิ้น นี้พบ บริเวณเดียวกับจารึกวัดเวียงเชียงรุง้ ทีเ่ ล่าเรือ่ งการท�าบุญของหมืน่ ขวา ใบเสมา เป็นเครือ่ งหมายบอกอาณาเขตของพระอุโบสถ การสร้างโบสถ์ลา้ นนาอธิบาย ได้หลายประการคือ ความส�าคัญของวัด และน่าจะมีวดั หลายแห่งในเวียงเชียงรุง้ เพราะโดยปกติแล้ววัดในล้านนามักจะไม่สร้างโบสถ์ทุกวัด อาจจะ 3-4 วัด จึงจะมีโบสถ์ 1 แห่ง เมือ่ พระสงฆ์ทา� พิธกี รรมก็จะไปรวมกันทีโ่ บสถ์แห่งเดียว 2. ชิ้ น ส ว นของเครื่ อ งป น ดิ น เผำ ซึ่ ง พบเป็ น จ� า นวนมากมี ทั้ ง เครื่องปั้นดินเผาที่น�าเข้ามาจากพื้นที่อื่น เช่น เครื่องปั้นดินเผาจากกลุ่มเตา เกาะน้อย อ�าเภอศรีสชั นาลัย จังหวัดสุโขทัย และเครือ่ งปัน้ ดินเผาจากกลุม่ เตา ล้านนา ประกอบด้วย กลุม่ เตาเวียงกาหลง กลุม่ เตาพะเยา และกลุม่ เตาพาน รวมทัง้ เครือ่ งปัน้ ดินเผาจากกลุม่ เตาจีนและกลุม่ เตาพืน้ บ้าน ซึง่ อาจจะผลิตใน พื้นที่นี้หรือสั่งเข้ามาจากแหล่งผลิตอื่น40 ชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ สามารถแยกตามประโยชน์ใช้สอยได้ดังต่อไปนี้ 2.1 เครือ่ งมือเครือ่ งใช ในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น จาน ชาม ถ้วย หม้อ และไห เป็นที่น่าสังเกตว่าเครื่องปั้นดินเผาในกลุ่มเครื่องมือเครื่องใช้นั้น พบภาชนะในกลุม่ จาน-ชามและถ้วยน้อยมากเมือ่ เทียบกับกลุม่ ภาชนะพวกไห ซึง่ ปรากฏการณ์ดงั กล่าวนีม้ ไิ ด้หมายความว่า ในพืน้ ทีน่ มี้ คี นอยูอ่ าศัยน้อย ทัง้ นี้ เพราะมีหลักฐานว่าชาวล้านนาบางกลุ่มมักจะไม่ใช้จานชามและถ้วยในการ รับประทานอาหาร …เรือ่ งมีดและช อนส อมนัน้ ไม ตอ งพูดถึงเหมือนกับเรือ่ งจาน เพราะไม มี การใช กันเลย คนจนมักมี ใบตองอยู ใกล มือสําหรับใช แทนถ วยชาม เมื่อใช เสร็จแล วก็โยนทิ้งไปได โดยไม ต องกังวลถึงการชําระล างและ การเสียเงินเสียทอง…41 สันนิษฐานว่ากลุ่มคนที่ใช้จาน ชาม และถ้วย คงจะเป็นกลุ่มคนชั้นสูง และคนมีฐานะทางเศรษฐกิจดี รวมทัง้ กลุม่ พระสงฆ์ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากการส�ารวจ แหล่งโบราณสถานที่เป็นวัดร้าง มักจะพบเครื่องปั้นดินเผาในกลุ่มจาน ชาม ถ้วยและภาชนะอืน่ ๆ เป็นจ�านวนมาก เข้าใจว่าเครือ่ งใช้เหล่านีค้ งจะถวายเพือ่ 93


เป็นของใช้ในชีวติ ประจ�าวันของพระสงฆ์และถวายเป็นพุทธบูชาให้กบั วัดด้วย การฝังไว้ใต้ฐานเจดีย์ วิหาร และโบสถ์ เป็นต้น ในทางกลับกันการพบชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผากลุ่มไหเป็นจ�านวน มาก42 น่าจะแสดงให้เห็นถึง การรวมกลุ่มของคนเป็นจ�านวนมาก ทั้งนี้เพราะ ไหเป็นภาชนะส�าคัญภายในครัวเรือน “…เครื่องใช ในบ านมีเพียงหม อ ไห กระทะ ทําด วยดินเผาแบบพื้นเมือง…”43 ไหเป็นภาชนะส�าหรับเก็บน�้าและ อาหาร เช่น ปลาร้าและเกลือ ซึง่ เป็นสิง่ จ�าเป็นในชีวติ ประจ�าวันของคนล้านนา ดังจะเห็นได้จาก เมื่อ คาร์ล บ็อก เดินทางมาถึงเชียงราย เขาเล่าว่า ปลาร้า และเกลือ เป็นอาหารที่ส�าคัญมากของชุมชนแถบนี้ …กลิ่นอาหารที่แพร กระจายกลบกลิ่นอื่นๆ หมดคือ กลิ่นคาวปลา ซึ่ง เหมือนกับพวกสเปนที่ไม เคยขาดอาหารประเภทมีกลิ่นกระเทียม ที่มี กลิน่ อย างนีก้ เ็ พราะอาหารทุกอย างจะต องเจือปลาเน าทีพ่ วกพม าเรียกว า งาป (ปลาร า?) อยูเ สมอ …ข าวทีก่ นิ ส วนมากมักจะต มหรือ นึง่ ใส กระชุ เล็กๆ ยกมาให แต ละคนเป นรายตัว และมักมีเกลือเม็ดยกมาต างหากด วย มีหลายคนเอาเกลือติดตัวไว เป นประจํา แล วใช มือหยิบข าวจากกระชุ มาป นเป นก อน แล วจิ้มปลาร าเหม็นหรือแกง…44 2.2 ตะเกียงแขวน เครื่องปั้นดินเผากลุ่มนี้พบเป็นจ�านวนมาก ส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มเตาพาน ตะเกียงเหล่านี้อาจจะใช้ในบ้านของผู้มีฐานะ หรือวัดก็ได้ แต่แสงไฟจากเครือ่ งปัน้ ดินเผากลุม่ นีแ้ สดงให้เห็นถึงการมีชมุ ชน อาศัยอยู่ ในพื้นที่ และเป็นจุดหมายของคนเดินทางที่ผ่านไปมาในช่วงเย็น ถึงค�่าได้แวะพักก่อนเดินทางต่อไปในวันรุ่งขึ้น ตะเกียงแขวน พบที่วัดเวียงเชียงรุง กลุม เตำล ำนนำทีผ่ ลิต ตะเกียงแขวนมำก คือ กลุ ม เตำพำนและเวียงกำหลง 94


2.3 กล องยำสูบ หรือกล้องบูยา ในรายงานของ เฮอร์เบิรท์ วาริงตัน สมิท นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษที่เข้ามาในล้านนาในสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวว่า พวกที่ ใช้กล้องยาสูบเหล่านี้เป็น “…พ อค าที่มาจากทางเหนือคล ายชาวพม า พวกเขาสูบยาจากกล องยายาวๆ สวมกางเกงสีนํ้าเงิน…”45 กล องยำสูบ พบทีว่ ดั เวียงเชียงรุง กล องยำสูบแบบนี้พบทั่วไปใน เมืองต ำงๆ ภำยในอำณำจักร ล ำนนำ แต ปจ จุบนั ยังไม ทรำบว ำ กล องยำสูบเหล ำนีม้ แี หล งผลิต อยู ที่ใดแน

ในขณะที่คาร์ล บ็อกกล่าวว่า คนเมือง พวกเงี้ยวและหญิงชาวมูเซอร์ นิยมใช้กล้องยาสูบ46 “…ชาวเหนือนิยมสูบยาด วยกล องสูบกันทุกเพศทุกวัย…”47 จากหลักฐานดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของผู้คน ที่เดินทาง เข้ามาในพื้นที่นี้

ผูห ญิงมูเซอ ผูช ำยเงีย้ ว ทีม่ า :เสถียร พันธรังสีและอัมพร ทีขะระ, หนังสือท องถิน่ สยำม, ยุคพระพุทธเจ ำหลวง, 2550: 279และ169.

อนึง่ การพบโบราณวัตถุทมี่ ใิ ช้เป็นของทีผ่ ลิตในพืน้ ที ่ แต่เป็นของทีผ่ ลิต จากพืน้ ทีต่ า่ งๆทัง้ ภายในและภายนอกอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าเวียงเชียงรุง้ เป็นที่รวมของผู้คนจากที่ต่างๆ ซึ่งน�าของเหล่านั้นเข้ามา 95


เวียงเชียงรุ งในระบบกำรปกครองของล ำนนำ ล้านนาแบ่งการปกครองออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ศูนย กลำง หมายถึงหน่วยการปกครองสูงสุด ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ อันเป็นทีป่ ระทับของพระมหากษัตริย ์ เป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และแนวความเชื่อ 2. เมือง หมายถึงหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่มีอ�านาจรองลงไป จากศูนย์กลาง ประกอบด้วยเมืองต่างๆ ดังนี้คือ ล�าพูน ล�าปาง ฝาง พร้าว พะเยา เชียงราย และเชียงแสน ส�าหรับผู้ปกครองในระดับเมืองนั้น หากเป็น เมืองส�าคัญ ศูนย์กลางจะส่งเชื้อพระวงศ์ออกไปปกครอง ส่วนเมืองอื่นๆ อาจจะเลือกเชื้อสายผู้ปกครองเมืองเดิมหรือส่งขุนนางที่ ไว้พระทัยเข้าไป ปกครอง 3. พันนำ หมายถึงหน่วยการปกครองที่อยู่ภายใต้ศูนย์กลางและเมือง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทั้งศูนย์กลางและเมืองมีพันนาเป็นบริวารดังจะเห็น ได้จากเมื่อพระยาแสนภูทรงสร้างเมืองเชียงแสน พระองค์ได้ก�าหนดให้ เชียงแสนมีพันนาเป็นบริวาร 32 พันนา48 ในแต่ละพันนามีผู้ปกครองต�าแหน่งหมื่นดูแล เช่น หมื่นเรืองปกครอง พันนาท่ากาน หมืน่ ทวรปกครองพันนาทวร เป็นต้น หน้าทีข่ องพันนาคือ ส่งส่วย และก�าลังคนให้กับเมืองที่ขึ้นอยู่ด้วย เช่น “…ส วยเจ าทั้งหลาย ก็ยื่นถวายเจ า ตนกินเมือง”49 หรือ “…คนส วยเข าหื้อไว กับแคว น สิ่งสินอากรอันเป นส วยเข า เท ารู เอากับเจ าแคว น…”50 และเมื่อมีการท�าสงครามพวกพันนาต่างๆ จะถูก เกณฑ์มาช่วยในการท�าสงคราม “…ยามนั้นผู กินเมืองเชียงแสนจัดเครื่องลูก พันนา 130,000 เครื่อง”51 4. บ ำน หมายถึงหน่วยการปกครองที่อยู่ภายใต้พันนา ส่วนใหญ่แล้ว บ้านมักจะไม่คอ่ ยสัมพันธ์กบั เมืองและศูนย์กลางมากนัก ค�าสัง่ จากส่วนกลาง ทีเ่ ข้ามาสูบ่ า้ นนัน้ จะผ่านมายังเมืองสูพ่ นั นา และส่งเข้ามาในหมูบ่ า้ นอีกต่อหนึง่ เนือ่ งจากความอุดมสมบูรณ์และความส�าคัญของพืน้ ทีด่ งั ทีก่ ล่าวมาแล้วในข้างต้น ท�าให้เวียงเชียงรุ้งถูกก�าหนดให้เป็นพันนาหนึ่ง เรียกว่าพันนาเชียงรุ้ง ซึ่งมี 96


หลักฐานปรากฏในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ที่เมือง เชียงใหม่ ได้โปรดให้นายร้อยก้อนทองมาเป็นหมื่นขวาที่พันนาเชียงรุ้ง “…ใน กาละเมือ่ พะญาผูช อื่ ท าวติโลกะติลกสารราชาธิบดีสรีธรรมิกะจักะวัดติราชเจ า เสวยในเมิงเนาวะชาติบุรีเชียงใหม ใส กูผู ชื่อ ร อยก อนทองมาเป นหมื่นขวา ในพันนาเชียงรุ ง…”52 ข้อความดังกล่าวปรากฏในจารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง(1) ซึ่ง จารึกหลักนี้ ดูจะเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรเพียงชิ้นเดียวที่กล่าวถึงเวียงเชียงรุ้ง ทั้งนี้ เนือ่ งจากเมือ่ ตรวจสอบเอกสารต่างๆ ไม่พบชื่อ “เวียงเชียงรุง้ ” ปรากฏอยู่ใน เอกสารใดๆ เลย แม้เมือ่ ตรวจสอบรายชือ่ พันนาของเชียงแสน เชียงราย และ พะเยาก็ไม่พบชื่อพันนาเชียงรุ้งอยู่ในรายชื่อพันนาของเมืองทั้งสามเช่นกัน53 ซึง่ อาจจะเป็นไปได้วา่ เวียงเชียงรุง้ เพิง่ จะตัง้ ขึน้ เป็นพันนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช เวียงเชียงรุ งในบริบทของเมืองในเขตภูมิภำคตอนบน เวียงเชียงรุ งในระหว ำงพุทธศตวรรษที่ 21-22 …ศรีสิทธิจงจําเริญ ในกาลเมื่อพญาผู ชื่อท าวติโลกติลกสารราชาธาชธิปติศรีธรรมิกจักรวรรดิราชเจ า เสวย(ราชย )ในเมืองเนาวชาติบุรี ศรีเชียงใหม ไส กูผช ู อื่ ร อยก อนทอง มาเป นหมืน่ ขวา ในพันนาเชียงรุง นี้ เมื่อป รวายสัน54 เดือน 11 แรม 2 คํ่า ไทย(ว า)วันเบิกไจ เม็ง(ว า) วันพฤหัส…ในป เป กเส็ด เดือน 4 แรม 5 คํา่ ไทย(ว า)วันเมืองเป า55 ตนกู มื่นขวามาทําบุญที่นี่..56 ข้อความที่ปรากฏในจารึกวัดเวียงเชียงรุ้งข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2019และพ.ศ.2024ได้ปรากฏพันนาเชียงรุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ ในบริเวณไม่ห่างจากสบลาวมากนัก และเข้าใจว่าคงจะเป็นพันนาที่ส�าคัญ ไม่น้อย ทั้งนี้เพราะเมื่อดูจากจ�านวนพระสงฆ์ที่เข้าร่วมในพิธี “…ทําบุญตั้ง สังฆสีมา…ฝ งหินจารึก…”57 กับหมื่นขวาเจ้าพันนาเชียงรุ้งมีถึง11องค์ และ ส่วนใหญ่ลว้ นเป็นพระสงฆ์ชนั้ ผูใ้ หญ่แทบทัง้ สิน้ เช่น พระมหาสามี(วัด)ป่ารวก และมหาสามีวัดดอนยาง58 เป็นต้น 97


นอกจากจารึกดังกล่าวแล้วยังพบหลักฐานทางด้านโบราณคดีอื่นๆที่ มีอายุสอดคล้องกับจารึกหลักนี้ด้วย เช่น 1. พระพุทธรูป พระพุทธรูปทีพ่ บในเวียงเชียงรุง้ มี 4 องค์ เป็นพระพุทธรูป หินทราย ประทับนัง่ ปางมารวิชยั สกุลช่างพะเยาอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 2159

2. เครื่องป นดินเผำ ประกอบด วย 2.1 เครื่องป นดินเผำจำกกลุ มเตำเกำะน อย สันนิษฐานว่ามีอายุ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-2260

ชำม/ถ วยชนิดเซลำดอนกลุม เตำ เกำะน อย พบที่ วัดเวียงเชียงรุง

2.2 เครือ่ งป น ดินเผำจำกกลุม เตำล ำนนำ ประกอบด้วย เครือ่ งปัน้ ดินเผาจากกลุ่มเตาพาน พะเยา และเวียงกาหลง สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ใน ราวพุทธศตวรรษที่ 20-2461 98


2.3 เครือ่ งป น ดินเผำจีน ชนิดลายคราม (ชนิดเขียนลวดลายสีนา�้ เงิน ใต้เคลือบ) ซึ่ง ดร.ปริวรรต62 ธรรมปรีชากร อธิบายว่า เป็นเครื่องปั้นดินเผา จากกลุ่มเตาจิ๋งเต อเจิ้น มณฑลเจียงซี สมัยราชวงศ์หมิง รัชสมัยจักรพรรดิ เจิน้ ถงถึงรัชกาลจักรพรรดิเทียนซุน่ สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 20

เวียงเชียงรุ งก อนรัชสมัยพระเจ ำติโลกรำช จากหลักฐานที่ได้จากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีพบว่า ในบริเวณ ทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ กก-อิง-โขง มีการอยูอ่ าศัยของชุมชนมาตัง้ แต่สมัยหินเก่าแล้ว เนื่องจากการขุดค้นทางโบราณคดีของวีรพันธ์ มาไลยพันธุ์ และนักศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้าโขงและ แม่น�้าค�า ท้องที่อ�าเภอเชียงแสน ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะแบบขูดสับและ สับตัด (Chopper-Chopping Tools) ซึ่งก�าหนดอายุอยู่ในราว 200,00010,000 ปีมาแล้ว63 เครื่องมือดังกล่าวจัดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของชุมชน ในสมัยหินเก่าและหินกลางหรือในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย ซึ่งเป็นสมัย ของชุมชนที่ด�ารงชีวิตด้วยการร่อนเร่หาของป่าล่าสัตว์และยังไม่ตั้งถิ่นฐาน ถาวร (Hunting and Food Gathering) สันนิษฐานว่าการรวมกลุ่มมีขนาด ไม่ใหญ่มากนัก อาจจะเพียง 1-2 ครอบครัวเท่านั้น เพื่อให้การเคลื่อนย้าย มีความคล่องตัว จากชุมชนร่อนเร่และด�ารงชีพด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ พัฒนามาสู่ ชุมชนท�าเกษตรกรรม มีการตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างถาวร แต่ไม่มีหลักฐานว่า ชุมชนเกษตรกรรมเหล่านี้มีความต่อเนื่องมาจากชุมชนหาของป่าล่าสัตว์ หรือไม่ แต่จากหลักฐานทีพ่ บ ท�าให้ทราบว่ามีชมุ ชนท�าเกษตรกรรมตัง้ ถิน่ ฐาน 99


อยู่ในพืน้ ทีน่ ี้ การตัง้ บ้านเรือนอยูอ่ าศัยมีลกั ษณะกระจายอยูท่ วั่ ไป ทัง้ บริเวณ ริมฝั งแม่น�้า และบริเวณที่ราบเชิงเขา การรวมกลุ่มน่าจะมีจ�านวนมากขึ้น ในแต่ละกลุ่ม การปรากฏตัวของชุมชนสมัยนี้อธิบายได้จากการพบเครื่องมือหินขัด และเครือ่ งประดับหินทีพ่ บในพืน้ ที ่ เช่น มีดหินทีบ่ า้ นร่องเบ้อนอก ต�าบลห้วยสัก อ�าเภอเมือง เครื่องมือหินขัดคล้ายสิ่วที่บ้านหนองบัว ต�าบลผางาม อ�าเภอ เวียงชัย เครือ่ งมือหินขัดคล้ายใบหอกและขวานทีอ่ า� เภอแม่จนั เครือ่ งมือหินขัด ที่พบทั่วไปในบริเวณที่เป็นเนินเขาเตี้ยๆ ในเขตจังหวัดเชียงราย64 รวมทั้ง ชิ้นส่วนก�าไลหิน ที่พบที่บ้านต้นฮ้าง อ�าเภอแม่จัน และโกลนแผ่นหินที่น�ามา เจาะเพื่อท�าก�าไลหิน จากแหล่งโบราณคดีบ้านไร่ ต�าบลบ้านดู่ อ�าเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นต้น65 เครือ่ งมือหินขัดเหล่านีน้ บั เป็นเครือ่ งมือของชุมชนท�าการเกษตรในยุค แรกๆ เครื่องมือหินเหล่านี้ ถูกน�ามาฝนและขัดจนคม เพื่อใช้ในกิจกรรมการ เพาะปลูกและใช้ในครัวเรือน หลักฐานอีกกลุ่มของชุมชนท�าการเกษตร คือ กลองมโหระทึกส�าริด หรือกลองกบ ซึ่งพบที่เวียงหนองหล่ม อ�าเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 66 สันนิษฐานว่ากลองมโหระทึกเหล่านี้นอกจากใช้ในการท�าสงครามแล้ว ยังใช้ ในพิ ธี ข อฝนเพื่ อให้ ฝ นตกต้ อ งตามฤดู ก าล ฉะนั้ น การพบกลองส� า ริ ด จึงสอดคล้องกับการท�ามาหากินของคนในพืน้ ทีน่ ที้ มี่ วี ถิ ที า� กินอยูก่ บั การเกษตร ซึ่งต้องอาศัยน�้าจากธรรมชาติหรือน�้าจากฟ้า ต่อจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ราบลุ่มแม่น�้ากก-อิง-โขง ได้ก้าว เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคของการรวมตัวกันเป็นเมือง ในต�านาน ปรากฏเมืองต่างๆในแถบนีม้ ากมายหลายเมือง เช่น เมืองสุวรรณโคมค�าและ เมืองโยนกนาคพันธุ์นครหรือนาคพันธุสิงหนวัตินคร แม้ว่าจะไม่พบหลักฐาน ของเมืองเหล่านี้มากนักพบแต่เพียงเรื่องเล่าในต�านาน แต่สิ่งเหล่านี้แสดง ให้เห็นถึงการมีชุมชนอาศัยอยู่แล้วในพื้นที่นี้ การพัฒนาอีกขัน้ ทีส่ า� คัญคือ การตัง้ แคว้นหิรณั นครเงินยาง โดยลวจังกราช 100


แคว้นดังกล่าวนี้นับเป็นฐานอ�านาจส�าคัญในการก่อรูปของอาณาจักรล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่19 ในปัจจุบนั นีย้ งั ไม่สามารถระบุได้วา่ เมืองหิรญ ั นครเงินยาง ตัง้ อยูท่ ี่ใดแน่ จิตร ภูมิศักดิ์ สันนิษฐานว่า เมืองนี้ตั้งอยู่ในเขตอ�าเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย67 จากเมืองหิรัณนครได้มีการขยายเมืองออกไปในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้า กก-อิง-โขงอย่างกว้างขวาง ในรูปของการสร้างบ้านแปงเมือง68 และเมือง ต่างๆ เหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นฐานอ�านาจส�าคัญในการก่อรูปอาณาจักร ล้ า นนาของพระยามั ง ราย พั ฒ นาการทางการเมื อ งที่ ส� า คั ญ ของแคว้ น หิรัณนครเงินยางประกอบด้วย 1. กำรแยกตัวออกไปตั้งเมืองภูกำมยำว69 สมัยขุนจอมธรรมได้มี การแยกตัวออกไปตั้งเมืองภูกามยาวในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้าอิง70 ภูกามยาว เป็นแคว้นทีม่ คี วามเข้มแข็งมาก จนสามารถแข่งขันอ�านาจกับแคว้นหิรณ ั นครเงินยางได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ผู้ปกครองที่สร้างความเข้มแข็งให้กับแคว้นภูกามยาวคือ พระยาเจื๋อง โอรสของขุนจอมธรรม ในต�านานไม่ระบุเวลาว่าพระยาเจื๋องมีอ�านาจอยู่ใน ช่วงใด กล่าวแต่เพียงความยิ่งใหญ่ของพระยาเจื๋อง เป็นที่น่าสังเกตว่า ความยิ่งใหญ่ของพระยาเจื๋องนั้น มิได้ปรากฏเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้า กก-อิง-โขงเท่านั้น แต่พระยาเจื๋องยังเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะบรรพบุรุษ ของชุมชนต่างๆ ของเขตภูมิภาคตอนบนอีกด้วย 2. กำรตั้งอำณำจักรล ำนนำในสมัยพระยำมังรำย พระยามังราย เป็นเชื้อสายที่สืบทอดโดยตรงมาจากลวจังกราชผู้ก่อตั้งแคว้นหิรัณนครเงินยาง ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาลาวเม็งกับพระนางเทพค�าข่าย พระธิดาเจ้าเมืองเชียงรุ้ง(สิบสองพันนา) อาณาจักรล้านนา หมายถึง ดินแดนที่ตั้งอยู่ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้า ตอนบน ระหว่างแม่น�้าสายใหญ่สองสายคือ แม่น�้าโขง ซึ่งไหลลงสู่อ่าวไทย ทางฝัง ตะวันออกกับแม่นา�้ สาละวินซึง่ ไหลลงสูท่ ะเลอันดามันทางฝัง ตะวันตก 101


ระหว่างแม่น�้าสายใหญ่ 2 สายนี้ ประกอบด้วยแม่น�้าสายส�าคัญๆ ที่ให้ทั้ง ความอุ ดมสมบูรณ์และเป็นเส้น ทางคมนาคมติ ดต่ อระหว่ า งเมื องต่ า งๆ ทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร แม่น�้าดังกล่าวประกอบด้วย แม่น�้าป ง วัง ยม น่าน กก และอิง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้าเหล่านี้เป็นที่ตั้งของเมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา ซึ่งประกอบด้วย เชียงใหม่ ล�าพูน ล�าปาง เชียงราย เชียงแสน พะเยา แพร่ และน่าน จากสภาพภูมศิ าสตร์ดงั กล่าวจะเห็นได้วา่ อาณาจักรล้านนามีอาณาเขต ที่กว้างขวางครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้าถึง 4 แห่ง คือที่ราบลุ่มแม่น�้า กก-โขง ทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ อิง ทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ ยม-น่าน และทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ ป ง-วัง จากหลักฐานดังกล่าวในข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ในเขตภูมิภาคตอนบน ได้ปรากฏชุมชนมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาถึงสมัย ประวัติศาสตร์ มีการรวมตัวตั้งเป็นเมืองขึ้นในบริเวณต่างๆ สันนิษฐานว่า เมืองเหล่านีม้ ไิ ด้อยูก่ นั อย่างโดดเดีย่ ว แต่มคี วามสัมพันธ์ตดิ ต่อกันทัง้ ทางด้าน การค้าและการท�าสงครามแย่งชิงอ�านาจ ตัวอย างของความสัมพันธ ทางการค า เช่น ต�านานเมืองพะเยา ฉบับ หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างชุมชนไต และชุมชนลัวะ ในต�านานเล่มนี้เล่าว่า ลัวะเป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขต ที่สูง มีอาชีพท�าไร่ท�านามีรายได้จากการน�าผลผลิตที่ ได้ลงมาขายให้กับ กลุ่มไต ซึ่งอาศัยอยู่ ในเมืองลุ่ม71 หรือต�านานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง การค้าระหว่างเมืองหริภุญไชยกับเมืองฝาง72 เป็นต้น ตัวอย่างของการท�าสงครามแย่งชิงอ�านาจ เช่น การขยายอ�านาจของ พระยาเจื๋องแห่งเมืองภูกามยาว73 หรือการท�าสงครามเพื่อรวบรวมแคว้นหิรัณนครเงินยางในสมัยพระยามังราย เป็นต้น74 ในจ�านวนเมืองต่างๆ ทีต่ งั้ ขึน้ ในเขตภูมภิ าคตอนบนตามทีก่ ล่าวมาแล้ว นัน้ อาจจะมีเวียงเชียงรุง้ รวมอยูด่ ว้ ยก็ได้ ทัง้ นีเ้ พราะโบราณวัตถุทเี่ ก็บรวบรวม ไว้ในวัดมีหลักฐานกลุ่มหนึ่งประกอบด้วย กลุ่มเครื่องมือหินขัด เครื่องมือ ที่ท�าด้วยส�าริด และเหล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเครื่องมือที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัย 102


ก่อนประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามการพบหลักฐานกลุ่มนี้อาจจะมิได้ หมายความว่า มีการตั้งชุมชนที่นี่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่มี หลักฐานบางชิ้นที่สามารถอธิบายได้ว่า บริเวณเวียงเชียงรุ้งมีการรวมตัว เป็นชุมชนมาตัง้ แต่สมัยพุทธศตวรรษที ่ 19 แล้ว หลักฐานเหล่านีป้ ระกอบด้วย 1. ชิ้นส วนของจำน-ชำม ในกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาจีน ชนิดเซลาดอน 75 2 ชิ้น ที่ดร.ปริวรรต ธรรมปรีชากร76 ก�าหนดอายุว่า เครื่องปั้นดินเผา ทั้งสองเป็นชิ้นส่วนของจาน-ชามจากกลุ่มเตาหลงเฉวียน(หลงฉวน)มณฑล เจ้อเจียง ผลิตในสมัยราชวงศ์เหยี๋ยน (หยวน) มีอายุอยู่ ในราวกลางปลายพุทธศตวรรษที่ 19 2. จำรึกวัดเวียงเชียงรุ ง ซึ่งพบบริเวณศาลเจ้าแม่ค�าแตง ด้านหน้า วัดเวียงเชียงรุ้ง จารึกหลักนี้เหลือข้อความเพียง 4 บรรทัด มีข้อความว่า (1) . . . . . . . . บ . . (2) บบจ๖จยา . . (3) เวทน๕า[บจ๖จ]ย (4) . . . . . . . . . . ศรีเลา เกษพรหม และ อภิรดี เตชะศิริวรรณ อธิบายว่า ข้อความ ดังกล่าวเป็นบทสวดปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ ที่เริ่มด้วย “อะวิชชาปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา” . . . จบที่ “ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ” สิง่ ทีน่ า่ สนใจของจารึกหลักนีค้ อื ตัวอักษรทีจ่ ารึกเป็นอักษรธรรมล้านนา ซึ่งมีรูปร่างที่ยังคงผสมผสานกับอักษรมอญโบราณ ซึ่งนิยมใช้กันในสมัย พระยามังราย77 จากการศึกษาหลักฐานพบว่า ปรากฏร่องรอยการขยายตัวของอักษร มอญเข้ามาในเขตภูมิภาคตอนบนอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก: ในสมัยอำณำจักรหริภุญไชย ในสมัยพระเจ้าสัพพาสิทธิ์ (ผู้ปกครองอาณาจักรหริภุญไชย) ได้พบ จารึ ก ภาษาบาลี ป นกั บ ภาษามอญ ระบุ ถึ ง การออกผนวชที่ วั ด เชตวั น ของพระองค์กับการอุปถัมภ์พุทธศาสนาของพระมเหสีและพระโอรสของ 103


พระองค์ด้วยการสร้างเจดีย์ 3 องค์ ด้านหน้าวิหารวัดเชตวัน ตัวอักษรมอญ ทีป่ รากฏมีลกั ษณะคล้ายกับตัวอักษรในจารึกทีพ่ กุ าม สมัยพระเจ้ากยันจิตซา หรือพระเจ้าครรชิต(พ.ศ. 1628-1630)78 ครัง้ ที่ 2: สมัยพระยำมังรำยในครัง้ ทีพ่ ระองค ประทับอยูท เี่ วียงกุมกำม มีหลักฐานว่าเมื่อพระยามังรายสร้างเวียงกุมกามเสร็จแล้วพระองค์ ได้รบั พุทธศาสนาลังกาวงศ์มาจากหัวเมืองมอญด้วยการแต่งงานกับพระนางอุสาปายโคพระธิดาของพระเจ้าสุตตโสม เจ้าเมืองหงสาวดี เมื่อพระองค์ เดิน ทางกลับจากหงสาวดีพร้อมกับพระนางอุสาปายโคนั้นได้มีชาวมอญ ตามกลับมาด้วย เมือ่ พระองค์สร้างวัดกานโถมพระองค์ได้ถวายชาวมอญกลุม่ นี้ ให้เป็นข้าพระไว้ที่วัดแห่งนี้ …หื้อคนทั้งหลาย55บ าน มี 500 ครัวคือว าเม็ง อันเจ ามังรายและนางปายโคเอามาแต เมืองหงสาวดีนั้นหยาดนํ้าหมายทาง ไว กับวัดกานโถมนั้นแล…79 เวียงเชียงรุ งในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 22 จากโบราณวัตถุกลุม่ หนึง่ ทีพ่ บในวัดเวียงเชียงรุง้ แสดงให้เห็นว่า ในพืน้ ที่ นีม้ ชี มุ ชนอาศัยอยูต่ อ่ เนือ่ งมาจนถึงในช่วงพุทธศตวรรษที ่ 24-25 โบราณวัตถุ กลุ่มนี้คือ ก้อนอิฐขนาดต่างๆ ที่จารึกตัวอักษรและรูปสัตว์80 ซึ่งท่านรองเจ้าอาวาสกล่าวว่ามักพบเสมอเมื่อมีการถางป่าและขุดดินปลูกต้นไม้ จาก การตรวจสอบตัวอักษรบนก้อนอิฐของศรีเลา เกษพรหมและอภิรดี เตชะศิรวิ รรณ เจ้าหน้าที่คลังข้อมูลล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ตัวอักษรเหล่านี้น่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 อายุของตัวอักษรบนก้อนอิฐเหล่านี้ดูจะสอดคล้องกับบัน ทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาท�ากิจกรรมต่างๆ ในเขตภูมิภาค ตอนบน ในช่วงพุทธศตวรรษที ่ 25 ตัวอย่างของชาวตะวันตกเหล่านีป้ ระกอบ ด้วย 1. เฮอร เบิร ท วำริงตัน สมิธ นักธรณีวิทยำชำวอังกฤษ ข้าราชการ ชาวต่างประเทศในกรมราชโลหกิจและภูมวิ ทิ ยาของรัฐบาลสยาม ในระหว่าง 104


ปี พ.ศ. 2438-2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา มี หน้าที่รับผิดชอบงานส�ารวจและตรวจสอบแหล่งแร่ในเมืองต่างๆ เมื่อมีผู้มา ขออนุญาตขุดและท�าเหมืองแร่ ในปี พ.ศ. 2435 เขาได้รับมอบหมายจากรัฐบาลสยามให้ด�าเนินการ ส�ารวจภูมปิ ระเทศในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณทีร่ าบลุม่ แม่นา�้ โขงตอนบนเพือ่ ตรวจสอบหาแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุทกุ แห่งทีส่ ามารถรวบรวม ได้ในการเดินทางครั้งนี้เขาเริ่มเดินทางจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาทางภาคเหนือ ก่อน ผ่านชัยนาท อุตรดิตถ์ พิษณุโลก น่าน เชียงของและข้ามแม่น�้าโขง ไปยังเมืองหลวงพระบาง จากนั้นจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทาง ผ่านเมืองหนองคายและโคราช81 2. คำร ล บ็อค (Carl Bock) นักธรรมชาติวทิ ยาชาวนอร์เวย์ จุดประสงค์ ส�าคัญในการเดินทาง คือ ส�ารวจทางด้านภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยา ทางภาคเหนือในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2424-มิถุนายน พ.ศ.2425 เขาเริ่มเดินทางจากกรุงเทพฯ ปากน�้าโพ ก�าแพงเพชร ระแหง ล�าปาง เชียงใหม่ เชียงรายและเชียงแสน แล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางเดิม 3. ป แอร โอร ต นักกฎหมายชาวเบลเยี่ยม ท�าหน้าที่เป็นผู้ช่วย เจ้าพระยาอภัยราชา (โรลัง จักแมงส์) ที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ อนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาเชียงใหม่เพื่อสอบสวนคดีที่นายอี.วี. เคลเลตท์ รองกงสุลอเมริกนั ถูกทหารยามท�าร้าย โดยท�างานร่วมกับนายจอห์น บาเรตท์ ราชทูต นายอี.วี. เคลเลตท์เป็นรองกงสุลที่ทางสหรัฐอเมริกาส่งมาประจ�าที่ เชียงใหม่เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของหมอชีก อดีตหมอสอนศาสนาที่หันมาท�า ธุรกิจป่าไม้82 ในขณะที่การพิจารณาคดีก�าลังจะเสร็จสิ้นเขาได้รับค�าสั่งจากพระยา อภัยราชาให้ออกไปเยี่ยมหัวเมืองต่างๆในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน83 เป็นที่น่าสนใจว่าในบันทึกการเดินทางของชาวต่างประเทศเหล่านี้ นอกจากจะบั น ทึ ก เรื่ อ งราวที่ เ ป็ น จุ ด ประสงค์ ห ลั ก ของการเดิ น ทางของ 105


แต่ละคนแล้ว พวกเขายังได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่พบเห็นตามเส้นทางที่ได้ ผ่านไปมา เช่น ป แอร์ โอร์ต บันทึกเรื่องการค้าของพวกฮ่อที่เมืองแม่ขิซึ่ง ตั้งอยู่บนเส้นทางตัดระหว่างเชียงแสนและเชียงตุง84 และบันทึกถึงพ่อค้าชาว จีนทีล่ า� ปาง “…เมืองลําปาง ยังมีชาวจีนจํานวนพอควรทีท่ าํ การค าขายอยู… ”85 และเฮอร์เบิร์ท วาริงตัน สมิธ เล่าเรื่องการเดินทางค้าขายของกลุ่มพ่อค้า บนเส้นทางระหว่างน่านถึงเชียงของ86 เป็นต้น กำรสลำยตัวของเวียงเชียงรุ ง สันนิษฐานว่าเวียงเชียงรุ้งค่อยๆร้างไปในช่วงทศวรรษที่ 2460 เมื่อ ทางรถไฟมาถึงล�าปางและเชียงใหม่ตามล�าดับ พร้อมๆ กับการตัดถนน เชือ่ มต่อเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองและชุมชนต่างๆ และมีการน�ารถยนต์ เข้ามาใช้ แม้ว่าบางพื้น ที่รถยนต์ยังไม่สามารถเข้าถึงก็ตาม แต่การใช้ ล้อเกวียน (วัวเทียมเกวียน) ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี ถึงจะไม่รวดเร็วเหมือน รถยนต์ก็ตามแต่ก็สามารถบรรทุกสินค้าได้ครั้งละมากๆ เหมือนการขนส่ง ด้วยรถยนต์ ด้วยเหตุนี้การคมนาคมทางบกจึงมีความเจริญเติบโตมากขึ้น ในขณะทีก่ ารคมนาคมทางน�า้ ค่อยๆลดบทบาทลง รวมทัง้ การพักระหว่างทาง ก็มีความจ�าเป็นน้อยลงด้วย เมืองใดที่ถนนตัดผ่าน เมืองนั้นก็ยังคงมีบทบาท ต่อไป เช่น เชียงดาว ฝาง และเชียงราย ในขณะที่เมืองที่อยู่นอกเส้นทาง ค่อยๆ ร้างไปในที่สุด สันนิษฐานว่า เมื่อการคมนาคมทางน�้าเริ่มลดบทบาทลง การเดินทาง ที่มีความสะดวกและเร็วขึ้น รวมทั้งการแวะพักระหว่างทางมีความจ�าเป็น น้อยลง ท�าให้การเดินทางผ่านเวียงเชียงรุ้งลดน้อยลง เพราะเวียงเชียงรุ้ง ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมทางน�้า คือ น�้ากกและน�้าลาว อีกทั้งเวียงเชียงรุ้ง เองก็มิได้เป็นแหล่งผลิตสินค้าหลักที่ส�าคัญ ฉะนั้นจากความเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้คนค่อยๆอพยพออกไปจนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด ช่วงทศวรรษที่ 2490 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2500 มีผู้คนจากภาคอีสาน อพยพหนีความแห้งแล้งจากชุมชนเดิมเข้ามาตั้งบ้านเรือนและท�าไร่ท�านา 106


อยูบ่ ริเวณรายรอบวัดเวียงเชียงรุง้ เป็นจ�านวนมาก เนือ่ งจากเห็นว่าเป็นบริเวณ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีผู้คนกล้าเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ ในบริเวณ วัดเวียงเชียงรุง้ เลย ปล่อยให้เป็นทีร่ กร้างว่างเปล่า มีไร่นาของชาวบ้านตัง้ อยู่ รายรอบ ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาเชื่อว่าพื้นที่นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ ลึกลับและ น่ากลัวระคนกันไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2523 ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งกับนายโกเมศ ขุนศรี ปลัดพัฒนาอ�าเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เข้าไปส�ารวจในเวียงเชียงรุง้ ท�าให้ ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณมาก่อน ท�าให้มีความพยายามที่จะ พัฒนาพื้นที่นี้โดยเริ่มจากในปี พ.ศ. 2524 ได้มีการจัดตั้งส�านักวิปัสสนา วัดแก้วอุปการามเวียงเชียงรุ้ง ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดเวียงเชียงรุ้ง ปัจจุบัน วัดเวียงเชียงรุง้ ได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร และ จัดตั้งเป็นวนอุทยานประวัติศาสตร์เวียงเชียงรุ้ง เชิงอรรถ 1 กรมศิลปากร, บันทึกสัมพันธภำพระหว ำงกรุงสยำมกับนำนำประเทศในคริสต ศตวรรษ ที่ 17 เล ม: 1, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2518), หน้า 102.

กฎหมำยล ำนนำ, ภาคปริวรรตล�าดับที่ 3, (เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2518), หน้า 6. 3 ค ำวกำวิละ, หน้า 18 4 จิระ ปรังเขียว และคณะ, “ภูมิศำสตร และธรณีวิทยำภำคเหนือ (ล ำนนำ)”, จำกยุค น�ำ้ แข็งไพลสโตซีนสูส มัยล ำนนำ, (เชียงใหม่: โครงการจัดตัง้ ศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ.2550), จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พุทธศักราช 2550, หน้า 31. 5 เรื่องเดียวกัน 6 สุจติ ต์ วงษ์เทศ, ประวัตศิ ำสตร และพัฒนำกำรทำงวัฒนธรรมเมืองพะเยำ, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2538), หน้า 9. 2

107


จิระ ปรังเขียว และคณะ, “ภูมศิ ำสตร และธรณีวทิ ยำภำคเหนือ(ล ำนนำ)…”, หน้า 31. สุจิตต์ วงษ์เทศ, ประวัติศำสตร และพัฒนำกำร…, หน้า 9. 9 จิระ ปรังเขียว และคณะ, “ภูมิศำสตร และ…”, หน้า 31. 10 กรมศิลปากร, “เมืองไทยเมื่อหนึ่งร อยป จำกบันทึกกำรเดินทำงของคำร ล บ็อค”, (กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป การพิมพ์, 2530), หน้า 21 และ 28. 11 ท่อนซุง หมายถึงไม้สักที่ส่งลงไปกรุงเทพฯ. 12 ป แอร์ โอร์ต, ล ำนนำไทยสมัยพระพุทธเจ ำหลวง, (กรุงเทพฯ: ส�านักพิมพ์สายธาร, 2546),หน้า 61-63. 13 เรื่องเดียวกันหน้า 66. 14 เรื่องเดียวกันหน้า. 15 อุษณีย์ ธงไชย, เมืองแกน: ทุ งพันแอกพันครำด, หน้า 9-13. 16 เรื่องเดียวกัน. 17 โกเมศ ขุนศรี และนางศิริวรรณ ชื่นชม, “เวียงเชียงรุ ง วนอุทยำนประวัติศำสตร …” เรื่องเดียวกัน, หน้า 18. 18 เรื่องเดียวกัน. 19 เรื่องเดียวกัน. 20 เรื่องเดียวกัน. 21 เรื่องเดียวกัน. 22 ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 7. 23 เสถี ย ร พั น ธรั ง สี แ ละอั ม พร ที ข ะระ (แปลและเรี ย บเรี ย ง), ท อ งถิ่ น สยำม ยุคพระพุทธเจ ำหลวง, (กรุงเทพฯ:ส�านักพิมพ์มติชน, 2550) หน้า 298-299. 24 ศาสนาจารย์ เดเนียล แมคกิลวารี เป็นหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันที่เดินทางขึ้นมา เผยแผ่ ศ าสนาในดิ น แดนตอนบนของสยามจากล้ า นนาถึ ง สิ บ สองพั น นาในช่ ว ง พุทธศตวรรษที่ 25 25 จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล (แปลและเรียบเรียง), กึ่งศตวรรษในหมู คนไทยและคนลำว: อัตชีวประวัติของศำสนำจำรย เดเนียล แมคกิลวำรี ดี.ดี., (กรุงเทพฯ: สามัคคีสา, 2537), หน้า 420-421 และ 452-453. 7 8

108


26

เรื่องเดียวกัน,หน้า 299. พรพรรณ ทองตัน(แปลและเรียบเรียง), บันทึกกำรเดินทำงสู แม น�้ำโขงตอนบน ประเทศสยำม, (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2544), หน้า 38 และ 69) 28 พิษณุ จันทร์วิทัน (แปล), ล ำนนำไทยในแผ นดินพระพุทธเจ ำหลวง, หน้า 144. 29 พรพรรณ ทองตัน (แปลและเรียบเรียง), บันทึกกำรเดินทำงสู แม น�้ำโขงตอนบน ประเทศสยำม, หน้า 29, 44, 47 และ 55. 30 ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดพะเยา 31 ศรีศกั ร วัลลิโภดม, “อิง-ยม-น ำน ควำมสัมพันธ ทำงภูมศิ ำสตร และวัฒนธรรมระหว ำง สุโขทัย แพร น ำนและพะเยำ”, ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา, หน้า 108. 32 ในการส�ารวจเมืองโบราณของกรมศิลปากรที่ต�าบลทุ่งก่อ อ�าเภอเวียงชัย จังหวัด เชียงราย ได้พบเมืองโบราณชือ่ บ้านโป่ง บ้านจะโป่งเป็นเมืองเดียวกับบ้านปง ใช หรือไม ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 4 33 พิษณุ จันทร์วิทัน (แปลและเรียบเรียง), ล ำนนำไทยในแผ นดินพระพุทธเจ ำหลวง, หน้า 148-149. 34 พาสุข ดิษยเดช และคณะ, รำยงำนกำรส�ำรวจเวียงเชียงรุ ง (เวียงฮุ ง)…, หน้า 3. 35 เรื่องเดียวกัน, หน้า 5. 36 เรื่องเดียวกัน. 37 ดูรายละเอียดที่ภาคผนวกที่ 6.1 38 เรื่องเดียวกัน. 39 เรื่องเดียวกัน. 40 ดูรายละเอียดในฐานข้อมูลเครื่องปั้นดินเผาวัดเวียงเชียงรุ้ง ภาคผนวกที่ 7. 41 เสถียร พันธรังสีและอัมพร ทีขะระ (แปลและเรียบเรียง), ท องถิ่นสยำมยุค พระพุทธเจ ำหลวง, หน้า 282. 42 ชิ้นส่วนของไห 1 ชิ้น มิได้หมายถึงไห 1 ใบ บางชิ้นอาจจะแตกมาจากไหใบเดียวกัน แต่ไม่สามารถต่อกันได้ 43 เสถียร พันธรังสี และอัมพร ทีขะระ (แปลและเรียบเรียง). ท องถิ่นสยำมยุค พระพุทธเจ ำหลวง, หน้า 232. 27

109


44

เรื่องเดียวกัน, หน้า 282. พรพรรณ ทองตัน, บันทึกกำรเดินทำงสู แม น�้ำโขงตอนบนประเทศสยำม, หน้า 55. 46 เสถียร พันธรังสีและอัมพร ทีขะระ, ท องถิ่นสยำมยุคพระพุทธเจ ำหลวง, หน้า 269 และ 279. 47 กรมศิลปากร, เมืองไทยเมื่อหนึ่งร อยป …, หน้า 21. 48 สงวน โชติสุขรัตน์ (แปล), ต�ำนำนพื้นเมืองเชียงใหม , (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, 2547), หน้า 38. 49 เรื่องเดียวกัน. 50 เรื่องเดียวกัน. 51 เรื่องเดียวกัน, หน้า 47. 52 ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 6.1. 53 ดูรายชื่อพันนาของเมืองเชียงแสน เชียงรายและพะเยา ในภาคผนวกที่ 3 54 ปีรวายสัน ตรงกับ พ.ศ.2019 55 ปีเป กเส็ด ตรงกับพ.ศ. 2021 56 ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 6.1 57 เรื่องเดียวกัน. 58 เรื่องเดียวกัน. 59 ดูรายละเอียดใน ภาคผนวกที่ 5 60 กฤษฎา พิณศรี และคณะ, เครือ่ งถ วยสุโขทัย พัฒนำกำรของเครือ่ งถ วยไทย, หน้า 116. 61 ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 7 62 หัวหน้าแผนกวิจยั และส่งเสริมการศึกษา พิพธิ ภัณฑ์สถานเครือ่ งถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 63 กรมศิลปากร, เมืองและแหล งชุมชนในล ำนนำ, (กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดียสแคว์, 2539), หน้า 43. 64 กรมศิลปากร, โบรำณคดีเชียงรำย, (กรุงเทพฯ: บริษัทวิคตอรีเ่ พาเวอร์พอยท์, 2533), หน้า 22-25. 65 เรื่องเดียวกัน, หน้า 24-25. 45

110


66

ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อ�าเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย. 67 จิตร ภูมิศักดิ์, ควำมเป นมำของสยำม…, หน้า117. 68 กำรสร ำงบ ำนแปงเมือง เป็นวิธีหนึ่งของการขยายอ�านาจของชนเผ่าไต(ชาวไทย) ในระยะเริ่มต้น การขยายอ�านาจในลักษณะดังกล่าวนี้พบมากในต�านานและเอกสาร ของล้านนา การสร้างบ้านแปงเมืองนีม้ หี ลายวิธกี าร เช่นการแต่งงานกับเมืองใกล้เคียง แล้วพากันออกไปสร้างบ้านเมืองใหม่ หรือการส่งโอรสออกไปสร้างเมืองใหม่ จากวิธกี าร แบบนี้ท�าให้ชาวไทยขยายตัวค่อนข้างจะรวดเร็วมาก “…คันเราจะอยู ด วยกันทั้ง 4 คน พ อลูก จะไม กว างขวาง ยืดยาวต อไปข างหน า เพราะฉะนั้นขอจงให บิดาจงได มีความ กรุณาตัง้ แต ให ลกู ทัง้ 3 ไปอยูค นละแห ง คนละที…่ ” อ้างจาก “พงศำวดำรเมืองเงินยำง เชียงแสน”, ประชุมพงศำวดำรภำคที่ 61: เล มที่ 33, (กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, 2512), หน้า 216. 69 บริเวณเมืองพะเยาในปัจจุบัน 70 พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค), พงศำวดำรโยนก, หน้า 232. 71 อรุณรัตน์ วิเชียงเขียง, ผู้ปริวรรต, ต�ำนำนเมืองพะเยำ ฉบับหอสมุดแห งชำติ (พิมพ ดีด), หน้า 1. 72 สงวน โชติสุขรัตน์, ต�ำนำนพื้นเมืองเชียงใหม , หน้า 11. 73 เรื่องเดียวกัน, หน้า 6-8. 74 เรื่องเดียวกัน, หน้า 9. 75 ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 7 76 หัวหน้าแผนกวิจยั และส่งเสริมการศึกษา พิพธิ ภัณฑ์สถานเครือ่ งถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ 77 สัมภาษณ์ ศรีเลา เกษพรหม และ อภิรดี เตชะศิริวรรณ เจ้าหน้าที่คลังข้อมูลล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ดูรายละเอียด ในภาคผนวกที่ 6.2 78 จ�าปา เยื้องเจริญ และคณะ,”ศิลารึกเลขทะเบียน ลพ/1” ศิลำจำรึกในพิพิธภัณฑ สถำนแห งชำติหริภุญไชย, (กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,2552), หน้า 10. 111


สงวน โชติสุรัตน์, ต�ำนำนพื้นเมืองเชียงใหม , หน้า 25. ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 6.3 81 พรพรรณ ทองตัน, (แปลและเรียบเรียง), บันทึกกำรเดินทำงสู แม น�้ำโขงตอนบน ประเทศสยำม, หน้าค�าน�า 82 พิษณุ จันทร์วิทัน, ล ำนนำไทยในแผ นดินพระพุทธเจ ำหลวง, หน้า 33-37. 83 เรื่องเดียวกัน, หน้า 37. 84 พิษณุ จันทร์วิทัน, ล ำนนำไทยในแผ นดินพระพุทธเจ ำหลวง, หน้า 144. 85 เรื่องเดียวกัน, หน้า 122 86 พรพรรณ ทองตัน(แปลและเรียบเรียง), บันทึกกำรเดินทำงสู แม น�้ำโขงตอนบน ประเทศสยำม, หน้า 29 ,44 และ 55. 79 80

112


บทสรุป บทบาทส� า คั ญ ประการหนึ่ ง ของอาณาจั ก รล้ า นนา คื อ การเป็ น ศูนย์กลางทางการค้าของเขตภูมิภาคตอนบน โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง การส่งออกที่ส�าคัญ สินค้าของอาณาจักรล้านนา ประกอบด้วยสินค้าจ�าพวก แร่ธาตุอัญมณีและสินค้าของป่า เช่น น�้าผึ้ง ครั่ง ยางรัก และก�ายาน เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีที่มาจากเมืองต่างๆทั้งเมืองภายในและภายนอกอาณาจักร เมืองภายนอกอาณาจักรหมายถึงเมืองต่างๆ ที่อยู่ ในเขตภูมิภาคตอนบน อันประกอบด้วยเมืองในเขตตอนเหนือของพม่า หลวงพระบาง ยูนนานและ เชียงรุง้ เป็นต้น สินค้าจากเมืองต่างๆ เหล่านีถ้ กู ส่งเข้ามายังล้านนา โดยผ่าน เชียงแสนและเชียงของ แล้วลงมารวมกันที่เชียงใหม่ ก่อนน�าส่งลงสู่เมือง ท่าตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย เมืองท่าทางฝั งอ่าวไทยและฝั งอันดามัน จากการเป็นศูนย์กลางการค้าท�าให้อาณาจักรล้านนากลายเป็นแหล่ง รวมของกลุ่มพ่อค้าจากเมืองต่างๆ ทั้งพ่อค้าฮ่อ พ่อค้าไทยใหญ่ พ่อค้า หลวงพระบาง พ่อค้ามอญ พ่อค้าพม่า และพ่อค้าจากอยุธยา รวมทั้งกลุ่ม พ่อค้าภายในที่เดินทางไปมาระหว่างเมืองต่างๆ เพื่อน�าสินค้าจากแหล่งผลิต ออกมาสู่มือของกลุ่มพ่อค้าภายนอก เนือ่ งจากสภาพทีต่ งั้ ของเมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา ส่วนใหญ่ตงั้ อยู่ ในบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างภูเขาสูง ท�าให้การเดินทางระหว่างเมืองท�าได้ ค่อนข้างล�าบาก แม้ว่าที่ราบลุ่มแต่ละแห่งจะมีแม่น�้าสายต่างๆ เชื่อมกันอยู่ คล้ายเครือข่ายใยแมงมุมก็ตาม จึงเป็นไปได้ว่าบนเส้นทางการค้าเหล่านี้ มักมีเมืองส�าหรับแวะพักก่อนเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง สันนิษฐานว่า เมืองในลักษณะนีม้ อี ยูท่ วั่ ไปบนเส้นทางคมนาคมทัง้ ทางน�า้ และทางบก บางเมือง เป็นเมืองแวะพักเติมเสบียง ในขณะที่บางเมืองเป็นแหล่งผลิตสินค้าและ แหล่งรวมสินค้า หลักฐานที่อธิบายถึงเมืองเหล่านี้ คือ ร่องรอยของโบราณสถานและโบราณวัตถุในเมืองนัน้ ๆ เช่น ซากศาสนสถานและเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ จ�าพวกเหล็ก เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือ ในการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นลูกตุ้มถ่วงแหหรือแวดินเผา 113


เข้าใจว่าเวียงเชียงรุ้งคงจะเป็นเมืองที่ท�าหน้าที่นี้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะ เวียงเชียงรุ้งตั้งอยู่บริเวณที่เป็นที่รวมของแม่น�้ากกและแม่น�้าลาว แม่น�้ากก เป็นแม่น�้าสายส�าคัญที่ ไหลเชื่อมระหว่างเมืองเชียงแสนและเชียงราย ซึ่ง เมืองทัง้ สองล้วนมีความส�าคัญต่อการค้าของอาณาจักรล้านนาอย่างสูง กล่าวคือ เชียงแสนเป็นประตูสู่ภูมิภาคตอนบน ในขณะที่เชียงรายเป็นเมืองเชื่อมต่อ กับเมืองในเขตที่ลุ่มแม่น�้าป ง โดยเฉพาะเชียงใหม่ซึ่งเป็นหัวเมืองท่าส่งออก ลงสู่เมืองท่าตอนล่าง จากการส�ารวจในเขตเวียงเชียงรุ้ง ได้พบหลักฐานการอยู่อาศัย ของผู้คนเป็นจ�านวนมาก ทั้งวัดวาอาราม พระพุทธรูปและใบเสมา เครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น เครื่องมือเหล็ก เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือน ของใช้ ส ่ ว นตั ว เช่ น กล้ อ งยาสู บ หรื อ กล้ อ งบู ย า เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ใ น การประกอบอาชีพ เช่น ลูกตุม้ ถ่วงแห เครือ่ งใช้ที่ให้แสงสว่าง เช่น ตะเกียงแขวน ซึ่งนิยมผลิตกันมากในกลุ่มเตาพาน เป็นต้น ฉะนั้น จึงเป็นไปได้ที่เวียงเชียงรุ้งน่าจะเป็นเมืองแวะพักของผู้คนจาก ที่ต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าที่เดินทางมาตามล�าน�้ากกและล�าน�้าลาว เพื่อที่ จะไปทางเชียงแสนหรือเชียงราย เพราะนอกจากเวียงเชียงรุง้ จะเป็นเมืองทีม่ ี ท�าเลที่ตั้งที่ดีแล้วยังน่าจะเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบที่นี่ ท�าให้สัน นิษ ฐานได้ว่า เวี ย งเชี ย งรุ ้ ง น่ า จะมี ก ารอยู ่ อ าศั ย ของชุ ม ชนมาแล้ ว อย่ า งน้ อ ยในช่ ว ง พุทธศตวรรษที่ 19 และอยู่กันอย่างต่อเนื่องกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 เข้าใจว่าเมืองนีเ้ ริม่ ร้างไปเมือ่ การคมนาคมเจริญมากขึน้ มีการสร้างถนนและ ใช้รถยนต์ ท�าให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็วขึ้น การแวะพักระหว่างทาง จึงไม่จ�าเป็นอีกต่อไป ฉะนั้นเมืองในลักษณะนี้จึงค่อยๆ หายไป จนกลายเป็น เมืองร้างไปในที่สุด จากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีในปัจจุบัน ได้พบเมือง ในลักษณะนีอ้ ยูไ่ ม่นอ้ ย ในเขตอ�าเภอพญาเม็งราย อ�าเภอเวียงชัยและอ�าเภอเทิง จังหวัดเชียงรายแต่ละเมืองได้พบหลักฐานการอยู่อาศัยทั้งโบราณสถานและ โบราณวัตถุกระจัดกระจายโดยทั่วไปเช่นเดียวกับเวียงเชียงรุ้ง 114


บรรณำนุกรม ภำษำไทย กฎหมำยล ำนนำ: ภาคปริวรรตล�าดับที ่ 3. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2518. กรมศิลปากร. เมืองไทยเมือ่ หนึง่ ร อยป จำกบันทึกกำรเดินทำงของคำร ล บ็อค. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป การพิมพ์, 2530. กรมศิลปากร. บัน ทึกสัมพันธภำพระหว ำงกรุงสยำมกับนำนำประเทศ ในคริสต ศตวรรษ ที่ 17 เล ม: 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2518. กรมศิลปากร. โบรำณคดีเชียงรำย. กรุงเทพฯ: บริษัทวิคตอรีเ่ พาเวอร์พอยท์, 2533. กรมศิลปากร. เมืองและแหล งชุมชนในล ำนนำ. กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดียสแคว์, 2539. กฤษฎา พิณศรี และคณะ. เครือ่ งถ วยสุโขทัย: พัฒนำกำรของเครือ่ งถ วยไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น ติ้งกรุ๊พจ�ากัด, 2535. กองโบราณคดี กรมศิลปากร. โบรำณคดีเหมืองแม เมำะ ออบหลวง และ บ ำนยำงทองใต , เอกสำร กองโบรำณคดีหมำยเลข 12/2531. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2531. โกเมศ ขุนศรี และ ศิรวิ รรณ ชืน่ ชม. พระพุทธนวฤทธิว์ ดั เวียงเชียงรุง อ�ำเภอ เวียงเชียงรุ ง จังหวัดเชียงรำย. พิมพ์ถวายเนื่องในงานผูกพันธสีมา วัดเวียงเชียงรุ้ง(เมืองโบราณ) วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553, เชียงราย: จันทร์เที่ยงการพิมพ์, 2553. คณะกรรมการช�าระประวัตศิ าสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัตศิ าสตร์ และโบราณคดี. เมืองและชุมชนโบรำณในล ำนนำ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด ไอเดียสแควร์, 2539. 115


โครงการจัดตั้งศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ. จำกยุคน�้ำแข็งไพลสโตซีนสู สมัย ล ำ นนำ, เชี ย งใหม่ : โครงการจั ด ตั้ ง ศู น ย์ โ บราณคดี ภ าคเหนื อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ.2550,จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา 80 พรรษา พุทธศักราช 2550. จอห์น ชอว์. เครือ่ งป น ดินเผำไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คราฟท์แมน, ม.ม.ป. จ�าปา เยื้องเจริญ และคณะ. “ศิลารึกเลขทะเบียน ลพ/1” ศิลำจำรึก ในพิพิธภัณฑ สถำนแห งชำติหริภุญไชย. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2552. จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล (แปลและเรียบเรียง). กึ่งศตวรรษในหมู คนไทยและ คนลำว: อัตชีวประวัติของศำสนำจำรย เดเนียล แมคกิลวำรี ดี.ดี. กรุงเทพฯ: สามัคคีสา, 2537. ชาร์ลส์ ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์. สยำมดึกด�ำบรรพ ยคุ ก อนประวัตศิ ำสตร ถึงสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: River book, 2542. ประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) พระยา. พงศำวดำรโยนก.นครหลวง: แพร่พิทยา,2515. ป แอร์ โอร์ต. ล ำนนำไทยสมัยพระพุทธเจ ำหลวง. กรุงเทพฯ: ส�านักพิมพ์ สายธาร, 2546. ผาสุข อินทราวุธ และคณะ. อำรยธรรมโบรำณในจังหวัดล�ำพูน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536. พรพรรณ ทองตัน(แปลและเรียบเรียง). บันทึกกำรเดินทำงสู แม น�้ำโขง ตอนบนประเทศสยำม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2544. พิษ ณุ จัน ทร์วิทัน (แปล). ล ำนนำไทยในแผ นดิน พระพุทธเจ ำหลวง. กรุงเทพฯ:บริษัทแปลนพริ้นติ้งจ�ากัด,2539. รัศมี ชูทรงเดช. โบรำณคดีบนพืน้ ทีส่ งู ในอ�ำเภอปำงมะผ ำ จังหวัดแม ฮอ งสอน, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547. 116


สงวน โชติสขุ รัตน์ (แปล). ต�ำนำนพืน้ เมืองเชียใหม . กรุงเทพฯ: คณะกรรมการ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, 2547. ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. เมืองและแหล งชุมชนโบรำณในล ำนนำ. กรุงเทพฯ : หจก.ไอเดียสแควร์, 2539. สุจิตต์ วงษ์เทศ. ประวัติศำสตร และพัฒนำกำรทำงวัฒนธรรมเมืองพะเยำ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2538. เสถียร พันธรังสีและอัมพร ทีขะระ (แปลและเรียบเรียง). ท องถิ่นสยำม ยุคพระพุทธเจ ำหลวง. กรุงเทพฯ:ส�านักพิมพ์มติชน, 2550. โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู), เครื่องถ วยในเอเชียอำคเนย ระหว ำงพุทธศตวรรษ ที่ 15-22, กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองรัตน์การพิมพ์, ไม่มีปีที่พิมพ์. เอกสำรสิ่งพิมพ พิมพ ดีด และรำยงำน เกรียงไกร สว่างวงษ์, ชำวอีสำนในภำคเหนือกับกำรธ�ำรงอัตลักษณ กรณีศึกษำ: บ ำนหนองเสำ ต.เม็งรำย อ.พญำเม็งรำย จ.เชียงราย รายงานกระบวนวิชา 499 (ปริญญานิพนธ์) ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2550. “ค นพบ…เมืองโบราณ เวียงฮุง นิยายปรัมปราจุมปา”สีต่ น ”. หนังสือพิมพ์รายวัน ไชยนำรำยณ ปีท ี่ 1 ฉบับที ่ 41 วันเสาร์ท ี่ 5 กรกฎาคม 2523, รวบรวมโดย พระสุเมธโสภิกขุ (โกเมศ ขุนศรี). พาสุข ดิษ ยเดช และคณะ. “รำยงำนกำรส�ำรวจเวียงเชียงรุ ง(เวียงฮุ ง) อ�ำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรำย”. รายงานทางวิชาการ ปีท ี่ 1 เล่มที ่ 5 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2525 (ฉบับพิมพ์ดีด). อรุ ณ รั ต น์ วิ เ ชี ย งเขี ย ง, ผู ้ ป ริ ว รรต. ต� ำ นำนเมื อ งพะเยำฉบั บ หอสมุ ด แห งชำติ(พิมพ ดีด).

117


ข อมูลกำรสัมภำษณ ยายบุญเนี้ยม จันทร์สมบัติ, วันที่ 29 เมษายน 2554 ณ วัดเวียงเชียงรุ้ง บ้านห้วยเคียน หมู่ 10 ต. ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย. พ่อชัย บริบาล, 107 บ้านห้วยเคียน หมู ่ 5 ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วันที่ 29 เมษายน 2554. สมบูรณ์ ทันนะมาตร. 99 บ้านห้วยเคียน หมู่ 10 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย. วันที่ 29 เมษายน 2554. ภำษำอังกฤษ Shaw, J C. Northern Thai Ceramics. Thailand:Craftsman Press, 1981.

118


ภำคผนวกที่ 1 รำยงำนกำรค นพบเวียงเชียงรุ ง โดย ปลัดโกเมศ ขุนศรี (ปลัดอ�ำเภอเวียงชัย) วันที่ 22 และ 25 กรกฎำคม 2523

119



อ้างจาก โกเมศ ขุนศรี และศิรวิ รรณ ชืน่ ชม, “เวียงเชียงรุง้ วนอุทยาน ประวัติศาสตร์ กิ่งอ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย,” พระพุทธนวฤทธิ์ วัดเวียงเชียงรุ้ง อ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย, พิมพ์ถวายเนื่องใน งานผูกพันธสีมา วัดเวียงเชียงรุ้ง(เมืองโบราณ) วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553, (เชียงราย: จันทร์เที่ยงการพิมพ์, 2553), หน้า 18. 121


อ้างจาก โกเมศ ขุนศรี และศิรวิ รรณ ชืน่ ชม, “เวียงเชียงรุง้ วนอุทยาน ประวัติศาสตร์ กิ่งอ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย,” พระพุทธนวฤทธิ์ วัดเวียงเชียงรุ้ง อ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย, พิมพ์ถวายเนื่องใน งานผูกพันธสีมา วัดเวียงเชียงรุ้ง(เมืองโบราณ) วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553, (เชียงราย: จันทร์เที่ยงการพิมพ์, 2553), หน้า 18.

122


ภำคผนวกที่ 2 กำรอนุรักษ และพัฒนำ “อุทยำนประวัติศำสตร เวียงเชียงรุ ง” โดย สุเมธโสภิกขุ (โกเมศ ขุนศรี)

123



กำรอนุรักษ และพัฒนำ “อุทยำนประวัติศำสตร เวียงเชียงรุ ง” โดย สุเมธโสภิกขุ (โกเมศ ขุนศรี) มีเมืองโบราณแห่งหนึ่ง มีอายุกว่าพันปี อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงราย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีชอื่ ว่า เวียงรุง่ หรือ เวียงเชียงรุง้ ในปัจจุบนั ซึ่งอยู่ห่างไป 22 ก.ม. อยู่แผนพิกัด 062032 เส้นรุ้งที่ 99 องศา 58 ลิปดา วิลปิ ดาตะวันออก เส้นแวงที ่ 19 องศา 57 ลิปดาเหนือ (อยู่ในแผนทีท่ างอากาศ ชุด L 708 แผ่นที่ 5071) การเดินทางไปเมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง ไปได้หลายทางเริ่มต้นจาก ห้าแยกพ่อขุนเม็งรายไปทางตะวันออกผ่านสนามกีฬา ไปทางฝัง แม่นา�้ กกระยะ ทาง 18 ก.ม. เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยา บ้านห้วยเคียนก็ได้ หรืออีกทางหนึ่ง ออกจากถนนซุปเปอร์ ที่สี่แยกวัดศรีทรายมูลไป 12 ก.ม. ถึงที่ว่าการอ�าเภอเวียงชัย เลยไปอีก 10 ก.ม. ถึงบ้านห้วยเคียน เลี้ยวซ้าย ผ่านหมู่บ้าน-ทุ่งนา 1.500 เมตร ก็ถึงแล้ว เมืองโบราณแห่งนี้ ได้มีการค้นพบและพัฒนามาแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2523 นับเวลาแต่เริ่มมาจนบัดนี้ 27 ปี งานส�าคัญที่ได้ท�ามา คือ 1. ได้ร่วมกับกรมศิลปากร ส�ารวจ ประกาศอนุรักษ์ไว้ เนื้อที่ 508 ไร่ 2. สร้างวัด กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศยกฐานะวัดร้าง เป็น วัดมีพระสงฆ์ ชื่อว่า วัดเวียงเชียงรุ้ง เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ.2538 ซึ่งต่อมา ทางราชการก็น�าเอาชื่อ “เวียงเชียงรุ้ง” ไปตั้งเป็นอ�าเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัด เชียงรายด้วย 3. ท�าการปลูกป่า เปลี่ยนพื้นดินจากไร่ข้าวโพด มันส�าปะหลัง มาปลูก ไม้สกั ปลูกม่อนเลีย้ งไหม ปลูกสมุนไพร ปลูกพืชให้พลังงานสบูด่ า� หรือมะเยา ปลูกพืชสวนครัวเป็นอาหาร ส�าหรับต้นสัก เราปลูกในที่ดินดี เวียงเชียงรุ้ง จึงมีตน้ สักใหญ่งามเป็นพิเศษเราสามารถเอาไม่สกั ของเราเลือ่ ยมาท�าหน้าต่าง พร้อมประตูโบสถ์ ได้อย่างดี และสวยงามเชิญผู้สนใจไปชมได้ เราได้คน้ พบและส�ารวจเมืองโบราณ เวียงเชียงรุง้ เมือ่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2523 125


126


ภำคผนวกที่ 3 พันนำเมืองเชียงรำย เชียงแสนและพะเยำ

127



พันนำเมืองเชียงรำยประกอบด วยพันนำ 32 พันนำ ดังต อไปนี้ 1. พันนายวงน�้าหัวตีนเวียง 2. พันนาพูเลา 3. พันนาเชียงรายน้อย 4. พันนาเอียน 5. พันนาเชียงราย 6. พันนาท่ากง 7. พันนาช้ร 8. พันนาแช่เลียง 9. พันนาแช่หาด 10. พันนาแคว้นอ้อย 11. พันนาฝายแก้วน�้าหัว 12. พันนาเชียงเคียรลอน้อย 13. พันนาคุมเผียร 14. พันนาแคว้นแช่ห่าน 15. พันนาแช่ลุง 16. พันนาซงา 17. พันนาช่างฆ้อง 18. พันนาเชียงลม 19. พันนาตีน 20. พันนาตอหน้าไม้เกียงค�า 21. พันนาลอ 22. พันนาแซลง 23. พันนาแคว้นดง 24. พันนาดอกค�า 25. พันนานาย 26. พันนาแคว้นหง 27. พันนามหาดพูปา 28. พันนาเพ่า 29. พันนาเมม 30. พันนาแคว้นดง 31. พันนาเชียงน้อย 32. พันนาชัน อ ำงจำก: สรัสวดี อ องสกุล, หลักฐานประวัตศิ าสตร์ลา้ นนาจากเอกสารคัมภีร์ ใบลานและพับหนังสา, (เชียงใหม่: ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2534), หน้า 52-53.

พันนำเมืองเชียงแสน

ส�าหรับพันนาเมืองเชียงแสนมีหลักฐานกล่าวต่างกัน 2 ฉบับคือ ต�านาน พื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า “…แคว นเขตแดนเมืองเชียงแสนทั้งมวลมี 32 พัน นำ…”1 แต่ไม่ได้บอกถึงรายชื่อของพันนาทั้ง 32 ส่วนพงศาวดารโยนกกล่าว ว่า “…พันนำเมืองเชียงแสนทั้งมวลมี 65 พันนำ…”2 ประกอบด้วย 129


1. พันนำที่ขึ้นกับแคว นขวำ 12 พันนำ คือ 1.1 เมืองโก 1.2 เชียงค�า 1.4 นาค�า 1.5 นาผึ้ง 1.7 ท่าซ้าย 1.8 เงินยาง 1.10 เมืองบวบ 1.11 เมืองไร

1.3 เชียงมวน 1.6 เมืองพาน 1.9 เชียงช้าง 1.12 เมืองควร

2. พันนำที่ขึ้นกับแคว นเมือง 12 พันนำ คือ 2.1 เวียงอ้อ 2.2 เวียงนาย 2.4 เมืองเล็นเหนือ 2.5 เมืองไล 2.7 เมืองแปง 2.8 เมืองคอง 2.10 ดงค�า 2.11 ดอนขวง

2.3 เมืองลาก 2.6 เมืองขอนต่อ 2.9 เมืองงาว 2.12 ท่าช้าง

3. พันนำที่ขึ้นกับแคว นซ ำย มี 12 พันนำ คือ 3.1 เมืองยิง 3.2 เมืองแจะ 3.4 เมืองกาง 3.5 เมืองเทิง 3.7 เมืองยอง 3.8 เมืองกก 3.10 เมืองเปง 3.11 เมืองสาว 4. พันนำที่ขึ้นกับเจ ำตนคิดกำรเมืองพะเยำ 4.1 เมืองสวาย 4.2 นากิม 4.4 เมืองเชียงดาว 4.5 เชียงหาด 4.7 บ้านเป้า 4.8 นาเลา 4.10 เมืองชน 4.11 เมืองกิง

5. พันนำทับก องห ำพันนำขึ้นกับพันนำเมือง คือ 5.1 เมืองหลวงเหนือ 5.2 เมืองพยาก 5.4 เมืองไร 5.5 เมืองแสนใต้

130

3.3 เมืองยวน 3.6 เมืองต่าง 3.9 เมืองเหงี่ยง 3.12 เมืองเลียง 4.3 เมืองจาย 4.6 เชียงคง 4.9 บ้านเก่า 4.12 ภูคา 5.3 เมืองปาย


6. พันนำที่ขึ้นกับเจ ำเมือง 7 เมือง คือ 6.1 เมืองลอม 6.2 นาเผือ 6.3 เมืองลาด 6.4 เมืองกก 6.5 ท่าอ้อ 6.6 เมืองขุน 6.7 เมืองปุ 6.8 เมืองลี 6.9 เมืองเหล็ก 6.10 เมืองชวาดน้อย 6.11 เมืองหางฮ้วง (ห้างหลวงวังรุ้ง) 6.12 เมืองเฮียก

หมำยเหตุ: พันนากลุม่ ที ่ 6 กล่าวว่าพันนาทีข่ นึ้ กับเจ้าเมือง 7 เมือง แต่ปรากฏ ที่เขียนเป็น 12 พันนา และที่บางเมืองคือ เมืองกก ซ�้ากับพันนาที่ขึ้นกับแคว้น ซ้าย3

พันนำเมืองพะเยำประกอบด วย 36 พันนำ ดังต อไปนี้

1. พันนาเชียงดี 3. พันนาเคง 5. พันนาแหน 7. พันนาแช่ตาก 9. พันนาชัย 11. พันนาเลิง 13. พันนาแลง 15. พันนาเชาว์ 17. พันนาแก้ว 19. พันนาชัน 21. พันนาช้าง 23. พันนามูล 25. พันนาเชียงเคี่ยน 27. พันนาแช่ห่ม 29. พันนาท่าไคร้

2. พันนาชะนาค 4. พันนาโคกหลวง 6. พันนาป ม 8. พันนาเชียงเคิ่ง 10. พันนาม่วง 12. พันนากิม 14. พันนาลิน 16. พันนาทุ่งหลวง 18. พันนาช่วย 20. พันนาฉางหลวง 22. พันนาลอใต้ 24. พันนาแช่โหว้ 26. พันนาแควน้อย 28. พันนาทน 30. พันนาคม 131


31. พันนาครัว 33. พันนาคืมหรืองืม 35. พันนาแป้นหรือแปง

32. พันนาแช่หาด 34. พันนาสาน 36. พันนาเชียงชี

ที่มำ: วราวุธ ศรีโสภาค, “กำรศึกษำแหล งโบรำณดคีที่มีคูในบริเวณเมือง พะเยำ”, ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา, (กรุงเทพฯ: ส�านักพิมพ์มติชน, 2538), หน้า 129. เชิงอรรถ 1 สงวน โชติสุขรัตน์ (แปล), ต�านานพื้นเมืองเชียงใหม่, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ ส�านักนายกรัฐมนตรี, 2541), หน้า 38. 2 พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พงศาวดารโยนก, (กรุงเทพฯ: ส�านักพิมพ์ คลังวิทยา, 2516), หน้า 161. 3 เรื่องเดียวกัน, หน้า 285-286.

132


ภำคผนวกที่ 4 แหล งโบรำณคดีที่ส�ำรวจพบในอ�ำเภอเวียงชัย และอ�ำเภอพญำเม็งรำย จังหวัดเชียงรำย อ ำงจำก : กรมศิลปำกร. โบรำณคดีเชียงรำย. กรุงเทพฯ: บริษัทวิคตอรี่เพำเวอร พอยท , 2533.

133



135

อยูท่ างตะวันออกเฉียงเหนือ ของแหล่งบ้านเหล่า 1 ด้านเหนือเป็นทีร่ าบลุม่ ขนาดใหญ่ ที่ ต ่ อ จากแนวเขา พื้ น ที่ โดยรอบเป็นเนินเขาสลับกับ ที่ราบลุ่มขนาดเล็กระหว่าง หุบเขามีลา� ห้วยไหลผ่านทาง ตะวันออก

2 บ้านเหล่า 2 ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 19� 59’ 30’’ แวง 100� 03’ 20’’

สภำพภูมิประเทศ ด้ า นเหนื อ เป็ น ที่ ร าบลุ ่ ม ด้ า นใต้ เ ป็ น แนวเทื อ กเขา ขนาดใหญ่ที่วางตัวตามแนว เหนือ-ใต้ สลับกับที่ราบลุ่ม ขนาดเล็ก ระหว่างเนินเขา มีล�าห้วยทางตะวันออกและ เหนือ

แหล ง/ที่ตั้ง

1 บ้านเหล่า 1 ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 19� 59’ 20’’ แวง 100� 03’ 10’’

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี มีลกั ษณะเป็นเขายอดแหลม เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาที่ อยูท่ างใต้ ตัวเนินแหล่งวางตัว ในแนวตะวันออก-ตะวันตก มีแนวคู คันดินล้อมรอบส่วน ยอดเขา 1 ชั้น ขุดคูตาม สภาพของเนินเขา ปัจจุบนั ใช้ พื้นที่ท�าไร่มันส�าปะหลัง เป็นเนินเขาขนาดเล็ก บนเนิน มีลกั ษณะโค้งนูนแบบหลังเต่า พืน้ ทีล่ าดเอียงทุกด้าน ตัวเนิน รูปกลม จากภาพถ่ายทาง อากาศปรากฏแนวคู คันดิน ล้ อ มรอบ 1 ชั้ น แต่ จ าก การส�ารวจแนวถูกไถไปหมด ใช้ พื้ น ที่ ใ นการท� า ไร่ มั น ส�าปะหลัง

แนวคู คันดินคงไม่ได้ขดุ เพือ่ เก็บกักน�้า แต่น่าจะใช้เป็น แนวป้องกันตัว จากลักษณะ พืน้ ทีท่ เี่ ป็นเขาสูง ยอดแหลม มีพนื้ ทีร่ าบน้อย ไม่เหมาะใน การอยู่อาศัยถาวร น่าจะใช้ เป็นที่พักชั่วคราวมากกว่า

ข อสังเกตุ

พบเศษภาชนะดิ น เผาเล็ ก ลักษณะคล้ายคลึงกับแหล่ง น้อย บ้านเหล่า 1 คงใช้เป็นที่พัก ชั่วคราวเช่นเดียวกัน

ไม่พบเศษภาชนะดินเผา

หลักฐำนทำงโบรำณคดี

แหล งโบรำณคดีที่ส�ำรวจพบใน อ�ำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรำย ป งบประมำณ 2532


136

แหล ง/ที่ตั้ง

3 บ้านเหล่า 3 ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 19� 59’ 32’’ แวง 100� 03’ 24’’

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี ลักษณะเช่นเดียวกับแหล่ง ตัวแหล่งประกอบด้วยเนิน บ้านเหล่า 1, 2 อยู่ทางด้าน เขา 2 เนินติดต่อกันรูปคล้าย ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของ หยดน�้า วางตัวในแนวตะวัน แหล่งบ้านเหล่า 1, 2 ออก-ตะวันตก ด้านตะวัน ออกเรียวแหลม ระหว่าง 2 เนิน เป็นหุบเขาซึ่งถูกปรับ สภาพเป็นถนนแบ่งเนินออก เป็น 2 ส่วน เนินทางตะวัน ออกจะเตีย้ กว่าทางตะวันตก เป็นเนินขนาดใหญ่ สูงชัน เล็กน้อย พบแนวคู คักดิน ล้อมรอบ 1 ชั้น คูบริเวณ ชายเนิ น ขุ ด เลาะไปตาม สภาพเนิ น แนวคู บ างช่ ว ง ขาดหายไป บริเวณหุบเขา ใช้พื้นที่ท�าไร่มันส�าปะหลัง สภำพภูมิประเทศ - ขวานหินขัด - เศษภาชนะดินเผาเนือ้ แกร่ง ไม่เคลือบ - เบี้ยดินเผา

หลักฐำนทำงโบรำณคดี

การทีพ่ บโบราณวัตถุคอ่ นข้าง มาก รวมทั้งมีแนวคู คันดิน ล้อมรอบเป็นแนวป้องกันตัว หรือเป็นแนวก�าหนดขอบเขต ของชุมชน แสดงถึงการอยู่ อาศัย ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจมีมาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ก็ได้

ข อสังเกตุ


137

อยูท่ างด้านใต้ ใกล้กบั แหล่ง บ้านเหล่า 1, 2, 3, 4 พื้นที่ โดยรอบเป็นที่ราบลุ่มขนาด เล็กระหว่างหุบเขา มีลา� ห้วย

5 บ้านน�้าตกพัฒนา ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 19� 59’ 00’’ แวง 100� 03’ 36’’

สภำพภูมิประเทศ เป็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกับ เนินเขาสูงที่ติดต่อกับเทือก เดียวกัน คั่นด้วยที่ราบลุ่ม ขนาดเล็กระหว่างเขา อยู่ ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ของแหล่งบ้านเหล่า 1, 2, 3

แหล ง/ที่ตั้ง

4 บ้านเหล่า 4 ดอยหนองบัว ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 19� 59’ 28’’ แวง 100� 02’ 52’’

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี ตัวแหล่งอยู่บนยอดเขา ที่มี ขนาดใหญ่ สูง วางตัวยาว ต า ม แ น ว ทิ ศ ต ะ วั น ออก-ตะวันตก เฉียงลงทาง ใต้เล็กน้อย เนินเขาทุกด้าน ลาดชัน มีแนวคู คันดินขุด เจาะตามรูปเขา 2 ชั้น รูป คล้ายตัว L ส่วนทางใต้พบ แนวคู คันดินรูปกลมอีก 1 วง แนวคู คันดินชัน้ นอกและ ชัน้ ในทางด้านใต้เชือ่ มต่อกัน พื้ น ที่ ส ่ ว น ใ ห ญ ่ เ ป ็ น ที่ ค่อนข้างราบ บางส่วนปลูก ลิน้ จี,่ มันส�าปะหลัง บางส่วน เป็นป่ารก ตั ว แหล่ ง ตั้ ง อยู ่ บ นเนิ น เขา สูงชัน วางตัวคล้ายรูปตัว U มีหุบเขาอยู่ตรงกลางแต่ละ แหล่งจะมีแนวคู คันดินแยก ข อสังเกตุ

เศษภาชนะดินเผา พบเพียง ตั ว แหล่ ง ตั้ ง อยู ่ บ นเนิ น เขา เล็กน้อย เดียวกัน แต่แยกจากกันเป็น ส่วนๆ โดยมีคู คันดินเป็นตัว แบ่ง การมีผังซับซ้อนอาจ

พบเศษภาชนะดิ น เผาเล็ ก การที่ มี ผั ง ซั บ ซ้ อ น น่ า จะ น้อย เป็นการขยายพื้นที่ วงกลม เล็ ก อาจจะสร้ า งก่ อ นแล้ ว ขยายส่วนอื่นต่อไป แต่จาก ลักษณะที่สูงมาก และไกล แหล่งน�้าจึงไม่เหมาะแก่การ อยู ่ อ าศั ย ถาวรและท� า การ เพาะปลูก

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


138

แหล ง/ที่ตั้ง

6 บ้านทุ่งยั้ง 1 ต.ผางาม รุ้ง 19� 53’ 58’’ แวง 100� 04’ 30’’

ต่อ

ที่

เป็ น ที่ ร าบลุ ่ ม ล้ อ มรอบ ทุกด้านด้วยเทือกเขาหินปูน มีล�าห้วยไหลผ่านทางด้าน เหนือ

มี ส ภาพเป็ น เนิ น ดิ น ขนาด ใหญ่ ไม่สูงมากนัก วางตัว ตามแนวเหนือ-ใต้ เฉียงไป ทางตะวันตกเล็กน้อย พื้นที่ กว้างมาก สภาพพื้นที่ไม่ได้ เป็นทีร่ าบ แต่เป็นทีร่ าบแบบ ลอนลูกคลืน่ 2-3 ลอน มีการ ขุดคูดันดิน ล้อมรอบตลอด ทั้งเนินไปตามลักษณะของ เนินดิน ปัจจุบันเป็นที่ร้างไม่ ได้ใช้ประโยชน์

- ซากโบราณสถานบริเวณ แนวคู คันดินด้านตะวันออก และเหนือ - เศษภาชนะดินเผาจ�านวน มากทั้งแบบไม่เคลือบ และ แบบเคลือบสีเขียว - เครือ่ งมือเหล็ก (ผานไถ?)

สภำพของแหล ง หลักฐำนทำงโบรำณคดี โบรำณคดี ไหลผ่านทางด้านตะวันออก กัน เป็นคู 1 ชั้น ส่วนมาก ทางด้านใต้คือแนวเทือกเขา เป็นรูปกลม ขุดตามสภาพ ใหญ่ทวี่ างตัวตามแนวเหนือ- เขา และมีแนวคูทเี่ ชือ่ มทัง้ 3 แหล่งเข้าด้วยกัน ปัจจุบัน ใต้ พืน้ ทีบ่ างส่วนมีสภาพเป็นป่า รก บางส่ ว นใช้ ป ลู ก มั น ส�าปะหลัง สภำพภูมิประเทศ

เพื่อแยกพื้นที่ ใช้สอยที่ต่าง กันหรือแบ่งกันอยู่เป็นกลุ่ม คูคันดินคงไม่ได้ใช้ส�าหรับ กักเก็บน�้าแต่คงใช้แบ่งเขต พื้ น ที่ ห รื อ ใช้ ป ้ อ งกั น ศั ต รู สภาพพื้ น ที่ ข องแหล่ ง ไม่ เ ห ม า ะ ที่ จ ะ อ ยู ่ อ า ศั ย เนื่องจากอยู่ในที่สูง สภาพทั่ วไปเป็ น เนิ น ขนาด ใหญ่ ใกล้กับแหล่งน�้าและที ราบลุ่มรวมทั้งการพบซาก โบราณสถานและเศษ ภาชนะจ�านวนมาก แสดงถึง การเข้ า มาอยู ่ อ าศั ย และมี กิจกรรมเกีย่ วเนือ่ งในศาสนา

ข อสังเกตุ


139

ล้อมรอบด้วยทีร่ าบลุม่ ขนาด เล็กที่อยู่ระหว่างเทือกเขา และเนิ น เขาสลั บ กั น มี ล�าห้วยไหลผ่านทางด้านใต้

8 บ้านสันง้อนไถ ต.ผางาม รุ้ง 19� 51’ 10’’ แวง 100� 00’ 38’’

สภำพภูมิประเทศ ใกล้กบั แหล่งบ้านทุง่ ยัง้ 1 ตัง้ อยู ่ ใ นบริ เ วณที่ ร าบลุ ่ ม มี เทือกเขาหินปูนล้อมรอบ มี ล� า ห้ ว ยไหลผ่ า นทางด้ า น เหนือ

แหล ง/ที่ตั้ง

7 บ้านทุ่งยั้ง 2 ต.ผางาม รุ้ง 19� 53’ 48’’ แวง 100� 04’ 10’’

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี เป็นเนินดินรูปยาวรี วางตัว ในแนวตะวันออก-ตะวันตก พืน้ ทีบ่ นเนินเป็นทีร่ าบมีแนว คู คันดินล้อมรอบ 1 ชั้น ภายในคูด้านตะวันตกเฉียง ใต้ พบแนวปล่องไฟเตาเผา ขนาดเล็ก 5 เตา ท�าด้วยดิน แลง ไม่พบเศษภาชนะดิน เผาในบริ เ วณนี้ ชาวบ้ า น บอกว่าเป็นเตาเผาปูน เพื่อ น� า ไปท� า ปู น ขาว ปั จ จุ บั น พื้ น ที่ ส ่ ว นใหญ่ ใ ช้ ป ลู ก มั น ส�าปะหลัง ตั ว เนิ น เป็ น ส่ ว นปลายของ เทื อ กเขาขนาดใหญ่ ทาง ด้านใต้ พื้นที่ค่อนข้างราบ บางช่วงปลูกพืชไร่ บางช่วง เป็นป่ารก ข อสังเกตุ

- ซากโบราณสถานซึ่ งไม่ เหลือสภาพเดิม - เศษภาชนะดิ น เผา พบ ค่อนข้างมาก ทั้งที่เคลือบ และไม่เคลือบ - ขวานหินขัด

คงเป็นแหล่งชุมชนที่มีความ เจริญพอสมควร เนือ่ งจากมี การสร้ า งศาสนสถานขึ้ น ส� า หรั บ ชุ น ชน พื้ น ที่ ที่ มี กิจกรรมการ อยูอ่ าศัยจะอยู่ บริเวณชายเนินมากกว่าบน

- เศษภาชนะดิ น เผา พบ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ว่าจะ เพียงเล็กน้อย กระจายอยู่ เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนใน ทั่วไป ระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากตั้ง อยู่ ใกล้ที่ราบลุ่มและแหล่ง น�า้ ซึง่ เป็นปัจจัยส�าคัญในการ อยูอ่ าศัย และพบเศษภาชนะ ส่วนเตาเผาที่พบนั้นคงมาส ร้างขึ้นเมื่อไม่นาน

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


140

แหล ง/ที่ตั้ง

9 บ้านหนองบัว ต.ผางาม รุ้ง 19� 50’ 39’’ แวง 100� 09’ 58’’

ต่อ

ที่

ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่ม ถัด จากที่ ร าบลุ ่ ม ไปเป็ น เทื อ ก เขา และเนินเขา มีลา� ห้วยอยู่ ทางด้านตะวันออก

สภำพภูมิประเทศ

ตั ว แหล่ ง อยู ่ บ นเทื อ กเขา เดี ย วกั น แบ่ ง ออกเป็ น 2 ส่วน มียอดแหลมสูงชัน ขุด คูคนั ดิน 1 ชัน้ ล้อมรอบยอด เขาและขุ ด เลาะไปตาม สัณฐานของภูเขา พื้นที่บน ยอดเขามี น ้ อ ยมากมี หิ น ขนาดใหญ่ โ ผล่ ขึ้ น มามาก จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากพืน้ ที่ได้ แม้แต่การเพาะ ปลูก

สภำพของแหล ง โบรำณคดี

- เศษภาชนะดิ น เผา พบ จ�านวนไม่มาก บริเวณชาย เนิน - เครื่ อ งมื อ หิ น ลั ก ษณะ คล้ายสิ่ว พบด้านนอกแนวคู

หลักฐำนทำงโบรำณคดี

เนินซึง่ เป็นทีส่ งู ไม่สะดวกใน การอยู่อาศัย จากการพบ ขวานหินขัดแสดงว่ากลุ่มชน ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ น่าจะมาใช้ประโยชน์ในพืน้ ที่ แห่งนี้ พืน้ ทีบ่ นเขาไม่เหมาะทีจ่ ะอยู่ อาศัย เพราะมีความสูงมาก อยูไ่ กลแหล่งน�า้ และยังมีหนิ ขนาดใหญ่ โ ผล่ ขึ้ น มามาก แต่ ค งใช้ เ ป็ น ที่ ห ลบภั ย ชั่วคราวโดยขุดคูคันดินเป็น แนวป้องกัน

ข อสังเกตุ


141

ด้านเหนือเป็นที่ราบลุ่มสลับ กับเนินดินเตี้ยๆ ด้านใต้เป็น แนวเทือกเขาขนาดใหญ่

11 บ้านร่องห้า ต.ผางาม รุ้ง 19� 53’ 05’’ แวง 100� 05’ 10’’

สภำพภูมิประเทศ ด้านเหนือเป็นแนวเทือกเขา ขนาดใหญ่ ด้ า นตะวั น ตก และตะวั น ตกเฉี ย งใต้ เ ป็ น ที่ราบลุ่ม มีล�าห้วยไหลผ่าน

แหล ง/ที่ตั้ง

10 สันเวียง บ้านป่าบง ต.ผางาม รุ้ง 19� 51’ 48’’ แวง 100� 02’ 04’’

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี ตัวแหล่งเป็นเนินดินด้านทิศ ใต้ของเทือกเขาทีอ่ ยูด่ า้ นทิศ เหนือ ล้อมรอบด้วยทีร่ าบลุม่ ซึ่ ง เป็ น ที่ ร าบในระหว่ า ง หุบเขา ตัวเนินไม่สูงมากนัก พืน้ ทีบ่ นเนินเป็นทีร่ าบ มีการ ขุดคูล้อมรอบเป็นรูปวงกลม ไม่มคี นั ดิน ปัจจุบนั บนเนินใช้ ที่ท�าไร่มันส�าปะหลัง เป็นส่วนเนินเขาและเนินดิน เตี้ยๆ ทางตอนปลายของ เทือกเขาทางด้านใต้ แหล่ง บ้านร่องห้า อยู่ในส่วนเนิน เขาที่สูงชันยอดแหลม พื้นที่ บนเนินมีก้อนหินขนาดใหญ่ โผล่ขนึ้ มา มีการขุดคู คันดิน ไปตามรูปร่างของเนินเขา ทางด้านใต้ขุดแบ่งเนินออก จากเทือกเขาใหญ่ มีสันเขา

สภาพทั่ วไปเหมาะที่ จ ะใช้ เป็นที่อยู่อาศัย แต่การพบ โบราณวัตถุน้อย อาจเพราะ เป็ น การอยู ่ อ าศั ย ในระยะ เวลาสั้นๆ การขุดคูคงเพื่อ แสดงขอบเขตของชุมชน

ข อสังเกตุ

- เศษภาชนะดิ น เผา พบ กิจกรรมการอยู่อาศัยของ มากบริ เ วณเนิ น ดิ น เตี้ ย ๆ คนคงจะอยู่บริเวณเนินดิน กระจายอยู่ทั่วไป ด้ า นล่ า งซึ่ ง ใกล้ แ หล่ ง น�้ า และมีทรี่ าบส�าหรับการเพรา ปลูกมากกว่าจะอยู่บนเขา อาจใช้ พื้น ที่บนเขาส�า หรับ หลบภัยเป็นครั้งคราว

- เศษภาชนะดิ น เผา พบ จ� า นวนมาก กระจายอยู ่ ทั่วไป - กล้องยาสูบดินเผา

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


142 ล้อมรอบด้วยทีร่ าบลุม่ ขนาด ใหญ่ มีล�าน�้าแม่ลาว และ ล� า น�้ า กาไหลผ่ า นทางด้ า น ตะวันออก, เหนือและใต้

13 บ้านท่าบันได ต.เวียงเหนือ

สภำพภูมิประเทศ

เป็นที่ราบลุ่มวางตัวในแนว ยาวเหนือ-ใต้ ขนาบข้างด้วย แนวเทือกเขาขนาดใหญ่ มี ล� า ห้ ว ยไหลผ่ า นทางด้ า น ตะวันตก

แหล ง/ที่ตั้ง

12 บ้านร่องคือ ต.ผางาม รุ้ง 19� 50’ 15’’ แวง 100� 02’ 20’’

ต่อ

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี เป็นตัวเชื่อม โดยขุดคูจาก บนเนินอ้อมลงมายังเนินดิน ด้านล่าง ซึง่ เป็นเนินดินเตีย้ ๆ มีแนวคู คันดินล้อมรอบ 2 ชั้น มี ลั ก ษณะเป็ น เนิ น เขาที่ วางตัวตามแนวตะวันออกตะวันตก พืน้ ทีล่ าดเอียงจาก ทิ ศ ตะวั น ออกมาตะวั น ตก ซึง่ เป็นส่วนชายเนิน เป็นเนิน ดินเตี้ยๆ ปัจจุบันเป็น ที่ตั้ง ของหมู่บ้าน มีการขุดคูคัน ดินล้อมรอบ 2ชัน้ ขุดไปตาม สภาพของเขา แนวคู บ าง ส่วนถูกรบกวนจนไม่เหลือ สภาพ เป็นเนินดินขนาดเล็ก ตั้งอยู่ กลางพื้ น ที่ ร าบลุ ่ ม (ที่ นา) ปัจจุบันตัวเนินถูกไถออกไป หลายส่วนจากภาพถ่ายทาง - ซากโบราณสถาน 2 แห่ง บนเนิน อาจเป็นโบสถ์หรือ เจดีย์ ปัจจุบันถูกท�าลายลง ไปมาก

- เศษภาชนะดินเผา พบทั้ง แบบเคลือบสีอ่อน, สีเข้ม และแบบไม่ เ คลื อ บ พบ บริเวณชายเนินด้านตะวันตก

หลักฐำนทำงโบรำณคดี

แหล่ งโบราณคดี แ ห่ ง นี้ ค ง เป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่พอ สมควร พืน้ ทีโ่ ดยรอบเหมาะ แก่การท�าเกษตรกรรม พบ

ลั ก ษณะการขุ ด คู คั น ดิ น คล้ายกับแหล่งบ้านร่องห้า คื อ ขุ ด คู คั น ดิ น อ้ อ มเขาลง มายังเนินดินเตี้ยๆ ด้านล่าง และพบโบราณวัตถุบริเวณ ชายเนิ น แสดงว่ า มี ก ารอยู ่ อาศัยบริเวณนี้ ส่วนบนเขา คงใช้เป็น ที่พักส�าหรับหลบ ภัยชั่วคราว

ข อสังเกตุ


143

ด้านเหนือและใต้มแี นวเทือก เขาขนาดใหญ่ วางตัวในแนว เฉี ย งไปทางตะวั น ออก มี ที่ราบลุ่มคั่นอยู่ตรงกลาง มี ล�าห้วยไหลผ่านทางด้านใต้

15 บ้านป่าเลา 2 ต.ดงมหาวัน รุ้ง 20� 01’ 20’’ แวง 100� 02’ 04’’

สภำพภูมิประเทศ

ด้านเหนือและด้านใต้เป็น เทื อ กเขาขนาดใหญ่ ตรง กลางเป็นทีร่ าบลุม่ มีลา� ห้วย ไหลผ่านทางด้านใต้

รุ้ง 19� 56’ 16’’ แวง 99� 56’ 04’’

แหล ง/ที่ตั้ง

14 บ้านป่าเลา 1 ต.ดงมหาวัน รุ้ง 20� 01’ 04’’ แวง 100� 02’ 30’’

ที่

ข อสังเกตุ

หลั ก ฐานการอยู ่ อ าศั ย จ� า นวนมาก และมี ศ าสน สถานถึง 2 แห่ง อาจมีการ ติดต่อกับชุมชนอื่นจากพบ เครื่ อ งถ้ ว ยจากเตาเวี ย ง กาหลงซึ่ ง มี อ ายุ ป ระมาณ พุทธศตวรรษที่ 20-21 เป็นเนินเขาที่อยู่ตอนปลาย - เศษภาชนะดิ น เผา พบ ตัวแหล่งเป็นเนินดินชายเขา ของเทือกเขาใหญ่อยู่ติดกับ เป็นจ�านวนมาก อยู่ใกล้กับแหล่งบ้านป่าเลา ทีร่ าบลุม่ พืน้ ทีล่ าดเอียงจาก 2 คงจะมีความสัมพันธ์กัน ตะวันตกมาตะวันออก ไม่ พบร่ อ งรอยแนวคู คั น ดิ น ป ั จ จุ บั น ใ ช ้ พื้ น ที่ ท� า ไ ร ่ มันส�าปะหลัง เป็นเทือกเขาสูง อยู่บริเวณ ไม่พบโบราณวัตถุ ตัวแหล่งตั้งอยู่บนเทือกเขา ตอนปลายของเทื อ กเขา สูงชัน มีการขุดคู คันดินล้อม ใหญ่ทางด้านเหนือตัวแหล่ง รอบแหล่งตามลักษณะรูป วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ล้อม ร่า งของเทือกเขา ซึ่ง การ รอบด้วยทีร่ าบลุม่ ทางด้านใต้ สร้างคูคนั ดินบนเทือกเขาสูง

สภำพของแหล ง หลักฐำนทำงโบรำณคดี โบรำณคดี อากาศมีแนวคู คันดินล้อม - กระเบื้องมุงหลังคา รอบ แต่ ป ั จ จุ บั นไม่ เ หลื อ - เศษภาชนะดินเผาเคลือบ สภาพแล้ว สีอ่อนแบบเตาเวียงกาหลง - หอยเบี้ย - ชิ้ น ส ่ ว น พ ร ะ พุ ท ธ รู ป หินทราย


144

แหล ง/ที่ตั้ง

16 บ้านดงมหาวัน 1 ต.ดงมหาวัน รุ้ง 20� 01’ 25’’ แวง 100� 01’ 20’’

ต่อ

ที่

ล้อมรอบด้วยเทือกเขาขนาด ใหญ่มีที่ราบลุ่มระหว่างเขา ภายในหุ บ เขามี ล� า น�้ าไหล ผ่านทางตะวันออกและเหนือ

สภำพภูมิประเทศ

สภำพของแหล ง โบรำณคดี มีการขุดคู คันดินล้อมรอบ ส่ ว นบนเทื อ กเขาเป็ น รู ป สีเ่ หลีย่ มผืนผ้า 2 ชัน้ บนเนิน มีสภาพเป็น ป่ารก เขาทุก ด้านมีความชันสูงมาก แนว คูคนั ดินเลือกท�าบนเทือกเขา เดียวกัน ทัง้ ๆ ทีม่ แี นวสันเขา เชือ่ มต่อกันหลายเทือก อาจ เป็นเทือกที่สูงที่สุด และมี พื้นที่ราบส่วนบน แนวคูบาง ด้านพบเพียงชั้นเดียว เป็นเนินที่อยู่ส่วนปลายของ แนวเทือกเขาด้านตะวันออก วางตั วในแนวตะวั น ออกตะวันตก ตัวแหล่งตั้งอยู่บน ส่วนยอดของเนินเขา มีการ ขุดคู คันดินล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นรูปวงกลม ตั้งอยู่คนละ เทือกเขา มีสนั เขาเชือ่ มต่อกัน

การขึ้นลงล�าบาก อยู่ไกล แหล่งน�้าคงไม่ ใช้เป็น ที่อยู่ อาศัยถาวร แต่คงจะใช้เป็น ทีพ่ กั ชัว่ คราวส�าหรับหลบภัย โดยใช้ ค วามสู ง ชั น ของ ภูมปิ ระเทศให้เป็นประโยชน์ และขุดคูเป็นแนวป้องกัน

ข อสังเกตุ

- ซากโบราณสถาน ก่อด้วย เนินดินตั้งอยู่ ใกล้ที่ราบลุ่ม อิฐ เหลือแต่ส่วนฐาน และแหล่งน�้า อาจมีการอยู่ - กระเบื้องมุงหลังคา อาศั ย ในบริ เ วณใกล้ เ คี ย ง ส่วนภายในคู คันดิน น่าจะ เป็ น ที่ ตั้ ง ของศาสนสถาน มากกว่า เนื่องจากมีพื้น ที่ ภายในคูน้อย

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


145

ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่ม (ที่ นา) มีเทือกเขาใหญ่อยู่ทาง ด้านตะวันออก แต่อยู่ไกล จากแหล่ ง มาก มี ล� า ห้ ว ย ขนาดใหญ่ไหลผ่านทางด้าน ใต้

18 ดอยเวียงฮ่อ บ้านใหม่โพธิ์งาม ต.เวียงชัย รุ้ง 19๐ 51’ 06’’ แวง 99๐ 55’ 48’’

สภำพภูมิประเทศ

มีแนวเทือกเขาล้อมรอบทุก ด้ า น พื้ น ที่ ต รงกลางเป็ น ที่ราบลุ่ม มีล�าน�้าไหลผ่าน ทางทิศตะวันตก

แหล ง/ที่ตั้ง

17 บ้านดงมหาวัน 2 ต.ดงมหาวัน รุ้ง 20๐ 01’ 02’’ แวง 100๐ 01’ 10’’

ต่อ

ที่

เป็นเนินดินที่ยื่นออกมาจาก แนวเทือกเขาทางตะวันออก ที่วางตัวในแนวตะวันออกตะวันตก มีความลาดเอียง จากตะวันออก-ใต้ เนิน มี ขนาดใหญ่ ยาว พื้นที่ส่วน ใหญ่เป็นที่ราบ ตัวแหล่งอยู่ บนส่ ว นที่ สู ง ที่ สุ ด ของเนิ น พบแนวคู คันดินขุดล้อมรอบ เป็นรูปยาวรี ซ้อนกัน 2 ชั้น พื้นที่ทุกด้านลาดเอียงมาก ตั ว แหล่ ง คื อ เนิ น ดิ น ขนาด ค่อนข้างใหญ่ มีความลาด ชันเล็กน้อย ตัง้ อยูก่ ลางทีน่ า มีแนวคู คันดินล้อมรอบยอด เนินเป็นรูปกลม พื้นที่ด้าน บนเป็นที่ราบ

ตัวแหล่งตั้งอยู่บนที่สูงมาก ไกลจากแหล่งน�า้ และไม่พบ โบราณวัตถุ อาจแสดงว่า เป็ น แหล่ ง ที่ พั ก หลบภั ย ชั่ ว คราวในระยะเวลาสั้ น ๆ คล้ายกับแหล่งบ้านป่าเลา 2, แหล่งบ้านเหล่า 1

ตัวเนินตั้งอยู่ ใกล้ที่ราบลุ่ม และแหล่งน�้า เหมาะแก่การ อยู ่ อ าศั ย และการมี ศ าสน สถานคงเป็นชุนชนทีม่ คี นอยู่ มากพอสมควร - พบซากโบราณสถานแต่ ถูกท�าลายหมดมีเจดีย์ใหม่ สร้างทับ - พบเศษภาชนะดินเผาเล็ก น้อย

ข อสังเกตุ

ไม่พบโบราณวัตถุ

สภำพของแหล ง หลักฐำนทำงโบรำณคดี โบรำณคดี และมีแนวคู คันดินเชื่อมทั้ง 2 แหล่งเข้าด้วยกัน ปัจจุบัน ไม่ปรากฏแนวคู คันดินแล้ว


146 ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่ม ด้าน ใต้มีล�าน�้าไหลผ่าน และมี หนองน�้าขนาดเล็ก

20 บ้านใหม่โพธิ์งาม 2 ต.เวียงชัย รุ้ง 19� 51’ 12’’ แวง 99� 55’ 44’’

สภำพภูมิประเทศ ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มทาง ด้ า นตะวั น ตก ด้ า นตะวั น ออกเป็นแนวเนินเขาสลับกับ ทีร่ าบลุม่ ด้านใต้ใกล้ลา� ห้วย ขนาดใหญ่

แหล ง/ที่ตั้ง

19 บ้านใหม่โพธิ์งาม 1 ต.เวียงชัย รุ้ง 19� 51’ 16’’ แวง 99� 55’ 44’’

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี เป็นเนินเขาเนินเดียวกับดอย เวียงฮ่อ มีแนวต่อเนื่องกัน พื้น ที่ด้านบนเป็น ที่ราบ มี ความลาดเอียงทุกด้าน พบ แนวคู คันดินล้อมรอบบน เนินเป็นรูปกลม อยู่ทางด้านใต้ของพระธาตุ ดอยเวี ย งฮ่ อ ตั ว แหล่ ง มี สภาพเป็นเนินดินขนาดไม่สงู มาก พื้นที่ด้านบนเป็นที่ราบ ตามภาพถ่ า ยทางอากาศ ปรากฏแนวคู คั น ดิ น ล้ อม รอบเนินเป็นรูปวงกลม แต่ ปัจจุบนั ไม่เหลือร่องรอยแล้ว ข อสังเกตุ

ตามลักษณะของเนินน่าจะ เป็ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย และดอย เวียงฮ่อเป็นทีต่ งั้ ศาสนสถาน แต่ไม่พบโบราณวัตถุ อาจ เป็นเพราะหน้าดินยังไม่ถูก รบกวน พ บ เ ศ ษ ภ า ช น ะ ดิ น เ ผ า ตัวเนินมีความกว้าง อยู่ใกล้ กระจายอยู่ทั่วไปบนเนิน แหล่งน�้า มีพื้นที่ราบลุ่มใน การเพาะปลูก อีกทัง้ พบเศษ ภาชนะดินเผากระจายทั่วไป แสดงถึงการมีกิจกรรมการ อยู่อาศัย แหล่งตั้งอยู่ ใกล้ ดอยเวี ย งฮ่ อ ซึ่ ง มี ศ าสน สถานและใกล้กับแหล่งบ้าน ใหม่โพธิ์งาม 1 ทั้ง 3 แหล่ง น่าจะมีความสัมพันธ์กัน

ไม่พบโบราณวัตถุ

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


147

แหล ง/ที่ตั้ง

21 บ้านศรีเวียง ต.เวียงชัย รุ้ง 19� 52’ 40’’ แวง 99� 53’ 30’’ 22 บ้านศรีเวียง (บ้านปงเย็น) ต.เวียงชัย รุ้ง 19� 52’ 08’’ แวง 99� 54’ 50’’

ที่ ด้านเหนือเป็น ที่ราบลุ่ม มี ล�าน�้าไหลผ่าน ด้านใต้เป็น เนินดินเตี้ยๆ สลับกับที่ราบ ลุ่ม ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่ม มี ล� า น�้ าไหลผ่า นทางด้ า นใต้ พืน้ ทีร่ อบนอกเป็นแนวเทือก เขาและเนินดินเตี้ยๆ

สภำพภูมิประเทศ

สภำพของแหล ง โบรำณคดี มีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน ยอด แหลม มีแนวคูคันดินล้อม รอบยอดเขาเป็ น รู ป กลม พื้นที่ด้านบนค่อนข้างแคบ มี ส ภาพเป็ น เนิ น ดิ น ขนาด ใหญ่ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เฉียงไปทางตะวันออกเล็ก น้อย มีความลาดเอียงจาก ตะวันตกมาตะวันออก ทาง ด้ า นตะวั น ตกจะชั น กว่ า มี แนวคู คันดิน 1 ชัน้ ล้อมรอบ แล้วลาดลงไปยังเนินดินเตี้ย ด้านล่าง มีหบุ เขาคัน่ ระหว่าง 2 เนิน เนินทางด้านตะวัน ออกมีแนวคู คันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ระหว่าง 2 เนิน มีคู คันดินขนานกันเชื่อม 2 เนิน เข้าด้วยกัน แต่ขาดหายไป บางส่วน การขุดคู จะขุด เลาะไปตามสภาพของเนินเขา ข อสังเกตุ

ตัวแหล่งมีสภาพเป็นภูเขาสูง แต่มีคู คันดินล้อมรอบ ซึ่ง ตามสภาพภู มิ ป ระเทศไม่ เหมาะในการอยู่อาศัยถาวร พ บ เ ศ ษ ภ า ช น ะ ดิ น เ ผ า ลักษณะของแหล่งมีสภาพ กระจายอยู่ทั่วไป เป็นเนินดินสูง เชื่อมต่อกับ เนินดินเตี้ยๆ รวมทั้งการพบ เศษภาชนะดินเผาอยู่ทั่วไป แสดงถึงการมีการอยู่อาศัย ทั้ง 2 เนินขุดคูเพื่อก�าหนด เขตของแต่ละแหล่ง และ แสดงความสัมพันธ์กันโดย ขุดคูเชื่อมทั้ง 2 เนินเข้าด้วย กัน

ไม่พบโบราณวัตถุ

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


148 ด้านเหนือคือแนวเทือกเขา ใหญ่ทวี่ างตัวตามแนวเหนือใต้ ด้ า นใต้ เ ป็ น ที่ ร าบลุ ่ ม ขนาดใหญ่ มีลา� ห้วยไหลผ่าน ทั้งด้านเหนือและใต้

24 บ้านโป่ง 1 ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 20� 01’ 42’’ แวง 100� 03’ 52’’

สภำพภูมิประเทศ ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มทาง ด้านเหนือและด้านตะวันตก ปรากฏแนวเทือกเขาใหญ่ ทางด้านตะวันออกและใต้ มีล�าห้วยไหลผ่านทางด้าน เหนือ

แหล ง/ที่ตั้ง

23 ดอยจอป่าตึง บ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 10� 59’ 45’’ แวง 100� 02’ 05’’

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี ตัวแหล่งตั้งอยู่บนเนินเขาที่ เป็นส่วนปลายของเทือกเขา ทางด้านใต้ ซึง่ มีทรี่ าบลุม่ อยู่ ระหว่างเทือกเขาวางตัวใน แนวตะวันออก-ตะวันตก มี ล� า ห้ ว ยไหลผ่ า นที่ ร าบลุ ่ ม ตรงกลาง ตัวเนินวางตัวใน แนวเหนือ-ใต้ รูปยาวรี พืน้ ที่ ลาดเอียงจากทิศเหนือซึ่งสูง ชันลงมาทิศใต้ พื้นที่ด้านบน โค้งนูนแบบหลังเต่า พบแนว คู คันดินล้อมรอบตามสภาพ ของเนินเขา 2 ชั้น ตัวแหล่งเป็นเนินดิน 2 เนิน ตั้ ง อยู ่ ใ นที่ ร าบลุ ่ ม ใกล้ กั บ เทือกเขาทางด้านเหนือและ ตะวันออกทั้ง 2 เนินวางตัว ในแนวเหนื อ -ใต้ รู ป ร่ า ง ยาวรี พืน้ ทีต่ รงกลางระหว่าง

ลักษณะของแหล่งคล้ายกับ แหล่งบ้านเหล่า, แหล่งบ้าน ป่าเลา การเข้ามาอยู่อาศัย คงเป็ น ระยะเวลาสั้ น ๆ เนื่องจากพบโบราณวัตถุไม่ หนาแน่น

ข อสังเกตุ

- พบเศษภาชนะดิ น เผา ตัวเนินมีพนื้ ทีก่ ว้างมาก ใกล้ กระจายอยู่ทั่วไปทั้ง 2 เนิน ที่ราบลุ่ม และแหล่งน�้า มี - ซากโบราณสถาน ศาสนสถานตั้งอยู่ รวมทั้ง การพบโบราณวัตถุอยู่ทั่วไป แสดงถึ ง ร่ อ งรอยการอยู ่ อาศัย การขุดคูเชื่อม 2 เนิน

- เศษภาชนะดิ น เผา พบ กระจายทั่วไป แต่จ�านวนไม่ มาก - เครื่องมือหิน

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


149

อยู ่ ใ นกลุ ่ ม เดี ย วกั บ แหล่ ง บ้านโป่ง 1, 2 ล้อมรอบด้วย ที่ ร าบลุ ่ ม กั บ เนิ น เขาเตี้ ย ๆ ด้ า นเหนื อ อยู ่ ใ กล้ กั บ เขา ขนาดใหญ่

26 บ้านโป่ง 3 ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 20� 01’ 32’’ แวง 100� 03’ 43’’

สภำพภูมิประเทศ

ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม ใกล้กับ แนวเทือกเขาใหญ่ คล้ายกับ แหล่งบ้านโป่ง 1 ตั้งอยู่ทาง ด้ า นตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ข อง แหล่งบ้านโป่ง 1

แหล ง/ที่ตั้ง

25 บ้านโป่ง 2 ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 20� 01’ 32’’ แวง 100� 03’ 52’’

ต่อ

ที่

สภำพของแหล ง โบรำณคดี ทัง้ 2 เนินเป็นทีร่ าบลุม่ ขนาด เล็ก แต่ละเนินมีคู คันดิน ล้อมรอบเนิน 1 ชั้น และมี แนวคู คันดินเชือ่ มระหว่าง 2 เนินเข้าด้วยกัน แนวคูทเี่ ชือ่ ม นีจ้ ะอยูบ่ ริเวณทีร่ าบลุม่ พืน้ ที่ บนเนินเป็นทีร่ าบ พืน้ ทีถ่ กู ไถ ปรับท�าไร่มันส�าปะหลัง เป็นเนินดินขนาดเล็ก เตี้ย ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่ม มี ความลาดเอี ย งเท่ า กั น ทุ ก ด้าน มีแนวคู คันดินล้อม รอบส่วนนอกของเนิน 1 ชั้น เป็นรูปกลม ตัวแหล่งอยู่ทางด้านตะวัน ออกเฉี ย งเหนื อ ของแหล่ ง บ้านโป่ง 1 มีลักษณะเป็น เนินดินเตี้ยๆ ล้อมรอบด้วย ที่ราบลุ่มขนาดเล็กระหว่าง

เข้ า ด้ ว ยกั น แสดงถึ ง ความ สั ม พั น ธ์ กั น แนวคู อ าจขุ ด เพื่อก�าหนดเขตของชุมชน และใช้ ป ้ อ งกั น น�้ า ท่ ว ม เนือ่ งจากเป็นเนินค่อนข้างต�า่

ข อสังเกตุ

พบเศษภาชนะดิ น เผาเล็ ก ลักษณะของแหล่งคล้ายกับ น้อยกระจายอยูท่ วั่ ไปบนเนิน แหล่งบ้านโป่ง 1, 2 น่าจะ เป็นชุมชนสมัยเดียวกัน

พบเศษภาชนะดินเผาบริเวณ ลักษณะที่ตั้งเหมาะแก่การ ชายเนิน อยู ่ อ าศั ย คล้ า ยกั บ แหล่ ง บ้ า นโป่ ง 1 และอาจเป็ น ชุ ม ชนในช่ ว งระยะเวลา เดียวกัน

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


150

แหล ง/ที่ตั้ง

28 บ้านดอนแก้ว ต.เวียงชัย รุ้ง 19� 54’ 45’’ แวง 99� 59’ 35’’

27 บ้านโป่ง 4 ต.ทุ่งก่อ รุ้ง 20� 01’ 50’’ แวง 100� 04’ 00’’

ต่อ

ที่

ข อสังเกต

- เ ศ ษ ภ า ช น ะ ดิ น เ ผ า กระจายอยู่ทั่วไป - กล้องยาสูบดินเผา - เต้าปูนส�าริด

ลักษณะแหล่งตั้งอยู่บนเนิน ดิ น ขนาดใหญ่ ที่ ล ้ อ มรอบ ด้วยที่ราบลุ่ม ใกล้แหล่งน�้า และพบโบราณวัตถุคอ่ นข้าง

พ บ เ ศ ษ ภ า ช น ะ ดิ น เ ผ า ลักษณะที่ตั้งของแหล่งอยู่ กระจายอยู่ทั่วไปบนเนิน ใกล้ ที่ ร าบและแหล่ ง น�้ า เหมาะแก่ ก ารอยู ่ อ าศั ย คล้ายกับแหล่งบ้านโป่ง 1, 2, และ 3 น่าจะเป็นชุมชนใน ช่วงเดียวกัน

สภำพของแหล ง หลักฐำนทำงโบรำณคดี โบรำณคดี เนิ น เขา วางตั ว ตามแนว เหนือ-ใต้ เฉียงไปทางตะวัน ตกเล็กน้อย ตัวแหล่งตั้งอยู่ บนส่วนที่สูงที่สดุ ของเนินขุด คู คันดินล้อมรอบเนิน 1 ชั้น เป็นรูปกลม

ลักษณะทัว่ ไปคล้ายกับแหล่ง ตัวแหล่งตั้งอยู่บนเนิน ทาง บ้านโป่ง 1, 2, 3 ล้อมรอบ ตะวันอกเฉียงเหนือ ของแหล่งบ้านโป่ง 3 ล้อม ด้วยที่ราบลุ่ม รอบด้ ว ยที่ ร าบลุ ่ ม สลั บ กั บ เนิ น เขา วางตั ว ตามแนว เหนือ-ใต้ เป็นเนินเตี้ยๆ มี ความลาดเอี ย งเท่ า กั น ทุ ก ด้าน มีค ู คันดินล้อมรอบเนิน เป็นรูปกลม ด้ า นเหนื อ ล้ อ มรอบด้ ว ย ตั ว แหล่ ง ตั้ ง อยู ่ บ นเนิ น ดิ น ที่ ร าบลุ ่ ม สลั บ กั บ เนิ น เขา ขนาดใหญ่ ที่ เ ป็ น ส่ ว น และเนินดินเตี้ยๆ ทางด้าน ปลายของเทือกเขทางด้าน ใต้ อ ยู ่ ใ กล้ แ นวเทื อ กเขา ใต้ ล ้ อ มรอบด้ ว ยที่ ร าบลุ ่ ม

สภำพภูมิประเทศ


151

ต่อ

ที่

แหล ง/ที่ตั้ง

สภำพของแหล ง หลักฐำนทำงโบรำณคดี โบรำณคดี ขนาดใหญ่ มีล�าน�้าอยู่ใกล้ๆ ท า ง ต ะ วั น อ อ ก แ ล ะ ใ ต ้ - กระปุกเคลือบสีเขียวแบบ ปัจจุบนั เป็นทีต่ งั้ ของหมูบ่ า้ น เตาเวียงกาหลง มีการขุดคู คันดินเป็นรูปวงรี 2 วงชนกัน แนวคู คันดินบาง ส่วนใช้ร่วมกัน สภำพภูมิประเทศ

มาก แสดงถึงการมีชมุ ชนอยู่ อาศัยที่หนาแน่นพอสมควร ในช่ ว งระยะเวลาหนึ่ ง ถ้ า ก�าหนดอายุจากภาชนะแบบ เตาเวียงกาหลงคงจะมีอายุ ประมาณพุ ท ธศตวรรษที่ 20-21

ข อสังเกต


152 สภำพภูมิประเทศโดยรอบ ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มสลับ กับเนินดินขนาดเล็ก มีลา� น�า้ ไหลผ่านทางเดิน เหนือพืน้ ที่ โดยรอบเป็นแนวเทือกเขา ขนาดใหญ่ ซึ่งวางตัวในแนว เหนือ-ใต้

ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มสลับ กั บ เนิ น ดิ น เตี้ ย ๆ เนิ น เขา และแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ มีนา�้ ไหลผ่านทางด้านใต้ของ เนิน

ที่ แหล ง/ที่ตั้ง 1 บ้านสันหลวง ต.แม่เปา รุ้ง 19� 51’ 20’’ แวง 100� 08’ 20’’

2 บ้านสันสลึก 1 ต.พญาเม็งราย รุ้ง 19� 50’ 40’’ แวง 100� 09’ 28’’

สภำพของแหล งโบรำณคดี เป็นเนินดินขนาดเล็กตั้งอยู่ กลางทุ ่ ง นา พื้ น ที่ ด ้ า นบน ลาดเอียงทุกด้าน ลักษณะ โค้งแบบหลังเต่า มีความสูง จากพืน้ นาโดยรอบประมาณ 3-4 เมตร ประกอบด้วยตัว เนินรูปกลมขนาดใหญ่และ ขนาดเล็ ก ซึ่ ง แต่ ล ะเนิ น มี คู คันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ที่ 2 เนินเชื่อมต่อกัน ตั ว แหล่ ง ตั้ ง อยู ่ บ นเนิ น ดิ น ขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วย ที่ราบลุ่มและเนินดินขนาด เล็ก พื้นที่บนเนินเป็นพื้นที่ ราบค่อนข้างกว้าง เคยมีแนว คู คันดินล้อมรอบ 2 ชัน้ เป็น รู ป กลม แต่ ปั จ จุ บั น ถู กไถ พบเศษภาชนะดิ น เผาเล็ ก น้อยกระจายอยู่ทั่วไป เคยมี ผู ้ ขุ ด พบโครงกระดู ก และ ภาชนะดินเผา

ตัวเนินมีสภาพเหมาะในการ อยู ่ อ าศั ย เพราะอยู ่ ใ กล้ แหล่ ง น�้ า และที่ ร าบลุ ่ ม ส�าหรับท�าการเพาะปลูก

หลักฐำนทำงโบรำณคดี ข อสังเกตุ พบเศษภาชนะดิ น เผาเล็ ก เนินดินแห่งนี้ตั้งอยู่ ในพื้นที่ น้อย ราบใกล้แหล่งน�้า ซึ่งเหมาะ แก่การอยู่อาศัย แนวคู คัน ดินที่ท�าซ้อนกัน อาจจะเกิด จากการขยายขอบเขตของ ชุมชนออกไป

แหล งโบรำณคดีที่ส�ำรวจพบใน อ�ำเภอพญำเม็งรำย จังหวัดเชียงรำย ป งบประมำณ 2532


153

แหล ง/ที่ตั้ง

4 บ้านสันเชียงใหม่ ต.แม่เปา รุ้ง 19� 51’ 00’’ ’

3 บ้านสันสลึก 2 ต.พญาเม็งราย รุ้ง 19� 50’ 28’’ แวง 100� 09’ 22’’

ที่ ต่อ

สภำพภูมิประเทศโดยรอบ สภำพของแหล งโบรำณคดี ปรับพื้นที่ ใช้เป็นที่ตั้งของ หน่ ว ยราชการ ได้ แ ก่ ส� า นั ก งานประถมศึ ก ษา อ�าเภอ ส�านักงานการเกษตร อ�าเภอ เป็นต้น ล้อมรอบด้านที่ราบลุ่มสลับ เป็นเนินดินเตีย้ ๆ อยูก่ ลางทุง่ กับเนินดินเตี้ยๆ ทางด้านใต้ นา และมีล�าห้วยไหลผ่าน อยู่ใกล้กับล�าน�้า ทางด้ า นใต้ แ ละตะวั น ตก พืน้ ทีด่ า้ นบนโค้งนูนแบบหลัง เต่า มีแนวคู คันดินล้อมรอบ 3 ชั้น ชั้นในสุดมีลักษณะ กลม ชั้นนอกสุดท�าคู คันดิน ตามลักษณะของเนินดิน คือ เป็นรูปรี แนวคูคันดิน ทาง ด้านตะวันตกมีเพียงชัน้ เดียว เพราะอยูต่ ดิ กับล�าน�า้ อาจใช้ ล�าน�้าแทนคู คันดิน ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มสลับ เป็นเนินดินเตี้ยๆ ขนาดค่อน กับเนินดินเตี้ยๆ ไกลออกไป ข้างใหญ่ ปัจจุบันที่ตั้งของ มีเทือกเขาล้อมรอบทุกด้าน โรงพยาบาลเม็งราย มีแนวคู

ข อสังเกตุ

พบเศษภาชนะดิ น เผาเล็ ก ลักษณะการอยู่อาศัยคงจะ น้อยทางด้านเหนือ เป็นแบบเดียวกับแหล่งบ้าน สันสลึก 1, เนือ่ งจากมีลกั ษณะ

พ บ เ ศ ษ ภ า ช น ะ ดิ น เ ผ า ตัวแหล่งตั้งอยู่ใกล้ที่ราบลุ่ม กระจายอยู่ทั่วไปทั้งเนิน และล� า น�้า น�้า อาจจะท่วม บริเวณที่ราบ จึงน่าจะมีการ อยู่อาศัยกันบนเนิน และคง ใช้ แ นวคู คั น ดิ น เป็ น ตั ว ก�าหนดขอบเขตชุมชน หรือ ใช้ป้องกันศัตรู และมีการใช้ ล�าน�้าแทนคู คันดิน

หลักฐำนทำงโบรำณคดี


154 ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มสลับ กับเนินดินเตี้ยๆ มีแนวเทือก เขาขนาดใหญ่ทางตะวันออก และตะวันตก มีล�าน�้าไหล ผ่านทางใต้

5 บ้านทุ่งเจ้า ต.แม่เปา รุ้ง 19� 51’ 20’’ แวง 100� 08’ 20’’

เป็นเนินดินสองเนินอยูต่ ดิ ต่อ พบเศษภาชนะดิ น เผาอยู ่ กัน มีที่ราบแคบๆ คั่นกลาง ทั่วไป จะพบมากด้านตะวัน ตั ว เนิ น วางตั ว อยู ่ ใ นแนว ตกของเนิน ตะวั น ออก เนิ น ทางด้ า น ตะวันออกจะสูงชันแล้วลาด ลงมาทางด้านตะวันตก ส่วน เนิ น ทางด้ า นตะวั น ออกจะ เตี้ยกว่า แต่ละเนินมีแนวคู คันดิน ล้อมรอบ 1 ชั้น แนว คูนั้นจะเชื่อมทั้ง 2 เนินเข้า ด้วยกัน คู คันดินมีความลึก และกว้างมาก

สภำพภูมิประเทศโดยรอบ สภำพของแหล งโบรำณคดี หลักฐำนทำงโบรำณคดี ด้านใต้มีล�าน�้าไหลผ่าน คันดินล้อมรอบตัวเนิน 2 ชั้น เป็นรูปยาวรี คู คันดินบาง ส่วนถูกไถไปแล้ว

ที่ แหล ง/ที่ตั้ง ต่อ แวง 100� 08’ 52’

ลักษณะของแหล่งบ้านเหล่า 3 อ.เวียงชัย ที่มีการขุดคู คันดิน เชื่อมทั้ง 2 เนินเข้า ด้วยกัน มีการใช้พนื้ ทีบ่ นเนิน ในการอยู่อาศัยด้วย คู คัน ดินคงใช้เป็นปราการป้องกัน ศัตรู

ข อสังเกตุ โดยทั่วไปคล้ายกัน


155

7 วัดแสงแก้วมณีธรรม บ.แม่ต�่าน้อย ต.แม่เปา รุ้ง 19� 55’ 10’’ แวง 100� 15’ 35’’

ที่ แหล ง/ที่ตั้ง 6 ดอยร่องเบี้ย บ.ทุ่งเจ้า ต.แม่เปา รุ้ง 19� 52’ 10’’ แวง 100� 07’ 42’’

สภำพของแหล งโบรำณคดี มีลักษณะเป็นเทือกเขายาว รูปตัว L มีความสูงชัน ทุก ด้าน พื้นที่ด้านบนมีลักษณะ เป็นสันเขา มีแนวคู คันดิน ล้อมรอบเป็นแนวคู คันดิน นอก 1 ชั้น ซึ่งแต่ละเนินจะ ใช้คูชั้นนอกนี้ร่วมกัน ส่วนคู ชั้นในจะขุดแบ่งแต่ละเนิน ออกจากกัน ล้อมรอบด้วยทีร่ าบลุม่ ขนาด เป็นเนินดินขนาดค่อนข้าง ใหญ่ มีล�าน�้าใหญ่ไหลผ่าน ใหญ่ พืน้ ทีด่ า้ นบนมีลกั ษณะ ทางด้านตะวันออก โค้งแบบหลังเต่า เคยมีแนว คู คันดิน 1 ชั้น เป็นรูปกลม แต่ถูกท�าลายไปเกือบหมด ปัจจุบันเป็นที่ตั้งส�านักสงฆ์

สภำพภูมิประเทศโดยรอบ เป็นเทือกเขายาวรูปตัว L อยู่ ใกล้กบั เทือกเขาใหญ่ทงั้ ด้าน ตะวันออกและตะวันตก มี ที่ ร าบลุ ่ ม ขนาดเล็ ก คั่ น อยู ่ ระหว่างหุบเขา มีลา� ห้วยไหล ผ่านทางด้านใต้

- ซากเจดีย์ 8 เหลี่ยม ย่อ มุม - พระพุทธรูปหินทราย - เครื่องมือเหล็ก - ช้างดินเผาเคลือบ - ก้อนอิฐมีลายรูปหงส์ - ตะเกียงดินเผา - เศษภาชนะดินเผา

หลักฐำนทำงโบรำณคดี - เศษภาชนะดินเผาพบค่อน ข้ า งมากทางชายเนิ น ด้ า น เหนือ - ตุ้มถ่วงแหดินเผา

เนินแห่งนี้ตั้งอยู่ ใกล้ที่ราบ ลุม่ และแหล่งน�า้ ซึง่ เหมาะแก่ การอยู่อาศัย และคงเป็น ชุ ม ชนที่ มี ข นาดใหญ่ พ อ สมควรเพราะพบศาสน สถานและโบราณวัตถุ

ข อสังเกตุ ตัวแหล่งตั้งอยู่บนเทือกเขา สูงชัน ซึ่งไม่สะดวกในการ อยู่อาศัยอย่างถาวร คงจะมี การอยู่อาศัยกันบริเวณชาย เนินเพราะอยู่ ใกล้ที่ราบลุ่ม และแหล่งน�้า


156 สภำพภูมิประเทศโดยรอบ ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มทุก ด้าน มีล�าน�้าไหลผ่านทาง ด้านใต้ และตะวันตก

ทางด้านตะวันตกเป็นแนว เทือกเขาขนาดใหญ่ วางตัว ตามแนวเหนื อ -ใต้ ด้ า น ตะวั น ออกเป็ น ที่ ร าบลุ ่ ม ขนาดใหญ่ ด้านใต้ติดกับ ล�าห้วย

ที่ แหล ง/ที่ตั้ง 8 บ้านไม้ยา ต.ไม้ยา รุ้ง 19� 44’ 10’’ แวง 100� 07’ 02’’

9 ดอยเวียงสัก บ.ใหม่ ต.แม่ต�่า รุ้ง 19� 57’ 24’’ แวง 100� 14’ 32’’

สภำพของแหล งโบรำณคดี เป็นเนินดินทีว่ างตัวตามแนว เหนือ-ใต้ มีความลาดชัน จากทิศเหนือมายังทิศตะวัน ออกและใต้ ยอดเนิน ทาง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือจะ สูงที่สุดมีคู คันดินล้อมรอบ เป็นวงกลม 1 ชัน้ และมีแนว คู คันดินล้อมรอบทั้งเนินอีก 2 ชัน้ โดยจะขุดลาดลงไปยัง ทีร่ าบลุม่ ทางด้านใต้ ปัจจุบนั ถูกรบกวนมาก ตัวแหล่งตั้งอยู่บนเนินดิน 2 เนิ น ที่ ว างตั วในตะวั น ตก เฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียง ใต้ มีหุบเขาแคบๆ คั่นกลาง มีแนวคูคันดินล้อมรอบทั้ง 2 เนิน 3 ชัน้ บางด้านใช้ลา� ห้วย แทนแนวคู คันดิน พื้นที่บน เนิ น จะชั น แล้ ว ลาดลงสู ่ หุบเขา พบเศษภาชนะดินเผาค่อน ข้างมากบริเวณชายเนิน

หลักฐำนทำงโบรำณคดี พบเศษภาชนะดิ น เผามาก บริเวณชายเนินดินด้านใต้ ทั้งแบบผิวเรียบ ไม่เคลือบ, แบบเคลือบสีเขียวอ่อน และ เคลือบสีเข้ม

ข อสังเกตุ คนคงอยู ่ อ าศั ย กั น มาก บริเวณชายเนิน แนวคู คัน ดิ น คงใช้ เ ป็ น ขอบเขตของ ชุ ม ชน หรื อ อาจใช้ เ ป็ น ปราการป้องกัน


157

สภำพภูมิประเทศโดยรอบ ด้านตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม ขนาดใหญ่ ด้านตะวันตกอยู่ ใกล้กับแนวเทือกเขายาวที่ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ติด กับล�าน�้าอิงทางตะวันออก

สภำพของแหล งโบรำณคดี หลักฐำนทำงโบรำณคดี เป็นเนินดินขนาดค่อนข้าง - พบซากเจดี ย ์ 4 แห่ ง ใหญ่ ไม่สงู มากนักวางตัวใน ภายในแนวคู คันดิน แนวเหนือ-ใต้ ประกอบไป - พบซากโบสถ์เก่าในที่นา ด้วยเนินดิน 2 เนิน แต่ละ - เศษภาชนะดิ น เผาพบ เนินมีคู คันดินล้อมรอบเป็น กระจายอยู่ทั่วไป รูปกลม และรูปรี ด้านใต้มี การใช้แนวคูคันดินร่วมกัน อ ำงจำก : กรมศิลปากร. โบรำณคดีเชียงรำย. กรุงเทพฯ: บริษัทวิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์, 2533.

ที่ แหล ง/ที่ตั้ง 10 บ้านเวียงหวาย ต.แม่เปา รุ้ง 19� 53’ 48’’ แวง 100� 13’ 52’’

ข อสังเกตุ ตัวแหล่งตั้งอยู่ใกล้แหล่งน�้า และที่ราบลุ่มเหมาะแก่การ อยูอ่ าศัยอีกทัง้ พบซากศาสน สถานหลายแห่ง แสดงว่าคง เป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัย หนาแน่นในระยะเวลาที่นาน พอสมควร



ภำคผนวกที่ 5 พระพุทธรูปหินทรำยที่พบในเวียงเชียงรุ ง

159



ประเภทวัตถุ: เลขทะเบียนวัตถุ: แหล งผลิต: อำยุ: สภำพวัตถุ: วัสดุพระพุทธรูป: ลักษณะวัตถุ: แบบศิลปะ: ขนำด: ที่อยู ป จจุบัน: ประวัติที่มำ:

พชร/ วชร พระพุทธรูปหินทราย /2553/1 สกุลช่างพะเยา พุทธศตวรรษที่ 21 ช�ารุด หินทราย ชิ้นส่วนฐานพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย นั่ง ขัดสมาธิราบ พระเศียรหัก พะเยา ตักกว้าง 59 ซม. ฐานยาว 61 ซม. ฐานสูง 8 ซม. สูงฐาน1 34 ซม. วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย

161


ประเภทวัตถุ: เลขทะเบียนวัตถุ: แหล งผลิต: อำยุ: สภำพวัตถุ: วัสดุพระพุทธรูป: ลักษณะวัตถุ: แบบศิลปะ: ขนำด: ที่อยู ป จจุบัน: ประวัติที่มำ:

162

พชร/ วชร พระพุทธรูปหินทราย /2553/2 สกุลช่างพะเยา พุทธศตวรรษที่ 21 ช�ารุด หินทราย ชิ้นส่วนฐานพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย นั่ง ขัดสมาธิราบ พระเศียรหัก พะเยา ตักกว้าง 62 ซม. ฐานสูง 12 ซม. สูงฐาน 47 ซม. วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย


ประเภทวัตถุ: เลขทะเบียนวัตถุ: แหล งผลิต: อำยุ: สภำพวัตถุ: วัสดุพระพุทธรูป: ลักษณะวัตถุ: แบบศิลปะ: ขนำด: ที่อยู ป จจุบัน: ประวัติที่มำ:

พชร/ วชร พระพุทธรูปหินทราย /2553/3 สกุลช่างพะเยา พุทธศตวรรษที่ 21 ช�ารุด หินทราย ชิ้นส่วนฐานพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย นั่ง ขัดสมาธิราบ พระเศียรหัก พะเยา ตักกว้าง 37 ซม. สูง 44.5 ซม. (ฐานหักหาย) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย

163


ประเภทวัตถุ: เลขทะเบียนวัตถุ: แหล งผลิต: อำยุ: สภำพวัตถุ: วัสดุพระพุทธรูป: ลักษณะวัตถุ: แบบศิลปะ: ขนำด: ที่อยู ป จจุบัน: ประวัติที่มำ:

164

พชร/ วชร พระพุทธรูปหินทราย /2553/4 สกุลช่างพะเยา พุทธศตวรรษที่ 21 ช�ารุด หินทราย ชิ้นส่วนฐานพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย นั่ง ขัดสมาธิราบ พระเศียรหัก พะเยา ตักกว้าง 62 ซม. สูง 29 ซม. (ฐานหักหาย) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย


กำรแปลควำมพระพุทธรูป 4 องค พระพุทธรูปศิลปะล้านนา สกุลช่างพะเยา พุทธศตวรรษที่ 21 เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับขัดสมาธิราบ ช�ารุดตั้งแต่ข้อพระหัตถ์ พระเพลา บางองค์ตั้งแต่บั้นพระองค์ขึ้นไปหักหาย มีร่องรอยการลงรัก คราบรักเสือ่ มสภาพ ประทับขัดสมาธิราบบนฐานเรียบ ไม่มลี วดลาย พระพุทธรูปองค์ที่ 4ไม่มีส่วนฐาน ท�าเป็นหน้าตักโค้ง ศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะ สุโขทัย พบหลักฐานกระจายทั่วไปในจังหวัดเชียงราย ไม่พบส่วนเศียรและ พระลักษมีที่สามารถประกอบขึ้นมาเป็นพระพุทธรูปเต็มองค์ ชิน้ ส่วนโบราณวัตถุและส่วนประกอบของโบราณสถานเป็นเศษชิน้ ส่วน ไม่สมบูรณ์ บางชิ้นท�าขึ้นมาใหม่ ส่วนที่เป็นของคงเดิมได้แก่ ชิ้นส่วนของ หินทราย มีร่องรอยโกลนขึ้นรูปเป็นลักษณะของรอยสิ่วอยู่ทั่วทั้งพื้นผิวมี 2 แผ่น แต่เนื่องจากถูกเคลื่อนย้ายจากสถานที่แห่งเดิมจึงไม่สามารถ สันนิษฐานประโยชน์ใช้สอยของวัสดุทั้ง 2 ชิ้นได้ แปลควำมโดย : นำงสำวอัญชลี สินธุสอน หัวหน ำพิพิธภัณฑ แห งชำติ เชียงแสน วันที่ 10 มีนำคม 2554

เชิงอรรถ 1 สูงฐาน หมายถึง วัดจากฐานถึงตัวองค์พระพุทธรูป

165



ภำคผนวกที่ 6 6.1 จำรึกวัดเวียงเชียงรุ ง/2553/1 6.2 จำรึกวัดเวียงเชียงรุ ง/2553/2 6.3 อิฐจำรึก

167



อธิบำย “ค�ำ” ในฐำนข อมูลโบรำณวัตถุวดั เวียงเชียงรุง 1. ประเภทวัตถุ 1.1 อักษรกลุม แรก : คชร จชร พชร และอชร 1.1.1 คชร หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาเชียงราย 1.1.2 จชร หมายถึง จารึกเชียงราย 1.1.3 พชร หมายถึง พระพุทธรูปเชียงราย 1.1.4 อชร หมายถึง อิฐทีม่ จี ารึกตัวอักษร 1.2 ตัวอักษรตัวหลัง : วชร วชร หมายถึง วัดเวียงเชียงรุง้ 2. เลขทะเบียนวัตถุ 2.1 ตัวอักษรตัวหน ำ หมายถึง การจัดล�าดับโบราณวัตถุที่ท�าทะเบียน ด้วยการจ�าแนกตามกลุม่ ของโบราณวัตถุ ประกอบด้วยเครือ่ งปัน้ ดินเผา จารึก พระพุทธรูป และก้อนอิฐทีม่ จี ารึกตัวอักษร ในการจ�าแนกโบราณวัตถุกลุ่มเครื่องปั้นดินเผานั้นได้มีการแยกตาม รายละเอียดดังนี้ 2.1.1 แยกตามกลุม่ เตา โดยใช้ตวั อักษรภาษาอังกฤษก�ากับ ซึง่ สามารถ แยกได้ดงั ต่อไปนี้ 2.1.1.1 B หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาจากกลุม่ เตาเกาะน้อย อ�าเภอ ศรีสชั นาลัย จังหวัดสุโขทัย 2.1.1.2 C หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาจากกลุม่ เตาพาน อ�าเภอ พาน จังหวัดเชียงราย 2.1.1.3 G หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาจากกลุม่ เตาพะเยา จังหวัด พะเยา 2.1.1.4 K หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาจากกลุม่ เตาเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย 169


2.1.1.5 Ch หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีผ่ ลิตในประเทศจีน ซึง่ สามารถแยกตามราชวงศ์ดงั นี้ 2.1.1.6 Ch-b หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีผ่ ลิตในประเทศจีน สมัยราชวงศ์เยวีย๋ น (ราชวงศ์หยวน) 2.1.1.7 Ch-e หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีผ่ ลิตในประเทศจีน สมัยราชวงศ์หมิง 2.1.1.8 ล หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่สันนิษฐานว่าผลิตจาก กลุม่ เตาในล้านนาแต่ไม่สามารถระบุกลุม่ เตาได้ 2.2 แยกตำมชนิดของเครือ่ งป น ดินเผำ โดยใช้หมายเลขตามหลังตัวอักษร ทีห่ มายถึงกลุม่ เตา ดังนี้ 2.2.1 หมายเลข 2 หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดเซลาดอน 2.2.2 หมายเลข 5 หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดเคลือบสีนา�้ ตาล 2.2.3 หมายเลข 7 หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดเขียนลายใต้เคลือบ สีดา� 2.2.4 หมายเลข 8 หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดไม่เคลือบ 2.2.5 หมายเลข 16 หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีม่ ใิ ช้ภาชนะ แต่เป็น เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ชนิดอืน่ เช่น ลูกตุม้ ถ่วงแหและกล้องยาสูบ 2.3 ตัวเลขตัวกลำง หมายถึง ปีทที่ า� ทะเบียนโบราณวัตถุ คือ ปี 2553 2.4 ตัวเลขตัวหลังสุด หมายถึง ล�าดับโบราณวัตถุในแต่ละกลุม่ ตัวอย่างการอ่านเลขทะเบียนวัตถุของโบราณวัตถุ 1. ล5/2553/1 หมายถึง เครือ่ งปัน้ ดินเผาผลิตจากกลุม่ เตาล้านนาชนิด สีนา�้ ตาล ท�าทะเบียนในปี พ.ศ. 2553 ในล�าดับที ่ 1 2. จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง/2553/1 หมายถึง จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง ท�าทะเบียนปี พ.ศ. 2553 ในล�าดับที ่ 1 3. กลุม เตำ หมายถึง กลุม่ เตาทีผ่ ลิตเครือ่ งปัน้ ดินเผา ซึง่ มีเฉพาะในฐาน ข้อมูลเครือ่ งปัน้ ดินเผาเท่านัน้ 170


4. อำยุ หมายถึง สมัยที่โบราณวัตถุชิ้น นั้น ท�าขึ้น ซึ่งโบราณวัตถุ บางชิ้นสามารถระบุเวลาที่ผลิตได้ แต่บางชิ้นไม่สามารถท�าได้ ฉะนั้นจึงใช้ การประมาณ 5. อักษร หมายถึง ตัวอักษรในจารึก เป็นตัวอักษรกลุม่ ใด เช่น อักษร ฝักขาม และอักษรธรรมล้านนา เป็นต้น มีเฉพาะในฐานข้อมูลจารึกเท่านั้น 6. สภำพวัตถุ หมายถึง สภาพวัตถุที่ท�าฐานข้อมูล สมบูรณ์หรือช�ารุด 7. ชนิด หมายถึง ชนิดของเนือ้ เครือ่ งปัน้ ดินเผา ซึง่ แยกเป็น Porcelain Stone ware และ Earthen ware เป็นต้น มีเฉพาะในฐานข้อมูลเครื่องปั้นดินเผา 8. วัสดุจำรึก หมายถึง วัสดุที่ ใช้ในการท�าโบราณวัตถุชิ้นนั้น เช่น พระพุทธรูปท�าด้วยหินทราย เป็นต้น 9. สี หมายถึง ชนิดของเครื่องปัน้ ดินเผา เช่น Celadon สีน�้าตาล และ ชนิดเขียนลายใต้เคลือบเป็นต้น มีเฉพาะฐานข้อมูลเครื่องปั้นดินเผา 10. สีของเนื้อดิน หมายถึง สีของดินที่ท�าเครื่องปั้นดินเผา 11. ขนำด หมายถึง ขนาดของโบราณวัตถุที่ท�าทะเบียนโดยวัด กว้างxยาวxหนา 12. ขนำดเนื้อที่จำรึก หมายถึง เนื้อที่ๆ จารึกตัวอักษร 13. แบบศิลปะ หมายถึง รูปแบบศิลปะของโบราณวัตถุ เฉพาะ พระพุทธรูป เช่น พระพุทธรูปศิลปะแบบพะเยา 14. ประวัติที่มำ หมายถึง แหล่งผลิตโบราณวัตถุ 15. สถำนที่พบ หมายถึง พื้นที่ๆ พบโบราณวัตถุแต่ละชิ้น

171


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : อักษร: สภำพวัตถุ : วัสดุจำรึก: ขนำดวัตถุจำรึก: ขนำดเนื้อที่จำรึก: จำรึก: ประวัติที่มำ: 172

จชร/วชร จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง/2553/1 พ.ศ.2019, และพ.ศ.20211 อักษรฝักขาม ภาษาไทยยวน ฐานหัก (แต่ข้อความในจารึกสมบูรณ์) หินทราย 109.5 / 48.5 / 5.5 ซม. ด้านที่ 1 70 / 39.5 ซม. ด้านที่ 2 65 / 41 ซม. ด้านที ่ 1 ด้านบนมีลวดลายดอกไม้ มีขอ้ ความจารึก 15 บรรทัด ด้านที่ 2 ด้านบนดูเหมือนเป็นรูปดวงตรา ลักษณะ คล้ายกับดวงตราของกษัตริย์เชียงใหม่ มีข้อความ จารึก 14 บรรทัด พบเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ที่ศาลเจ้า แม่คา� แตง ด้านหน้าวัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย


สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน :

พ.ศ. 2549 / A.D. 2006 ชาวบ้านขุดพบในขณะที่ ขุดค้นหาวัตถุโบราณในบริเวณเขตโบราณสถาน เวียงเชียงรุ้ง จึงน�าไปโยนลง บ่อน�้าที่อยู่ในบริเวณ โบราณสถานเวียงเชียงรุ้ง2 ในจุดที่พบศิลาจารึก ยังพบหลักหินสีมาของอุโบสถอีก 3 แผ่น พ.ศ. 2554 / A.D. 2011 อยู่ที่วัดเวียงเชียงรุ้ง ข อควำมที่จำรึก

1. ข อควำมย อ พ.ศ.2019 นายร้อยก้อนทอง ได้รับต�าแหน่งหมื่นขวาและได้ครอง เมืองเชียงรุ้ง ได้คานคือกล่าวค�าสบถสาบานว่า “ตามที่ข้าพเจ้าได้น�า ทีน่ าและเงินไปสูข่ อหญิงชาวบ้านหอม แต่ขา้ พเจ้าเปลีย่ นใจไม่ประสงค์ จะรับนางมาอยู่ด้วย จึงได้น�านาและเงินนั้นไปสู่ขอไพร่ที่ ไม่ร�่ารวย และเมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้ว จ่าบ้าน พระเมือง อย่าว่าอะไรแก่ นางบ้านหอม” พ.ศ.2021 หมื่นขวาได้มาท�าบุญที่วัดเชียงรุ้งนี้ และให้ตั้งสังฆสีมา หลังจากนั้นจึงให้ตั้งศิลาจารึกที่บัน ทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้น และเพื่อ อนุโมทนากับนางหลวงทีน่ างได้ถวายหลาน 4 คน ไว้อปุ ฏั ฐากพระพุทธรูป และขอผลบุญทั้งหลายจงเจริญแก่ผู้ที่มาครองเมืองเชียงรุ้งนี้ 2. อักษรแปลง (ด ำนที่ 1) (1) // สรีสิธจุงจ�าเรนิ // ในกาละเมิอพรญาผูชืทาวติโลกะ (2) ติลกสารราชาธิราชาธิปติสรีธนัมิกะจักะวดัติราชเจาเสวิย (3) ในเมิงเนาวะชาติบูรีชยงให^มไสคูผูชืรอ^ยกอนทองมาเ (4) ปนห^มืนขวาในพนันาชยงรุงนิเมิอปีรวายสนัเดินสี (5) บเอดแรมสองฅ�าไทวนัเปลกิไจเมงวนัผรหัดคู 173


(6) ทองค�าฅาน3 มีฉันนีคูเมิอสูนางบาน4 หอมคูบเอาเป (7) นขาคูคูจัไดเอานาเอาเงินเมิอสูไพรอันบมีคูไวม (8) นัหืเปนไพรเมิองดงัเกาดายคูหากตายไผรอ^ยาวารืแก (9) เขราจาบานพ่รเมอิงค�อ^ยาวารืแกเขรา มหาสามีปา่ รวกก (10) บัเ[จ]าเถร[โ]สมวัดมหานามทังเจาเถรสุวนัปาหลว (11) งรูเจาเถรพุธสาคอนวัดสวนซายกับเจาเถรญาณะสุ (12) นท่โรวดัหมืนยอดรูม่หาเถรญาณะคัาพยนวดัสนั (13) ขอบกบัเจาเถรอ่โนม่ทัดสีวดัพนัฟอนรู เจาเถร (14) สงัฆะโพธิวดัดอนนาเจาเถรพุธรักขดิชยงรุงรู (15) เจาเถรท�าม่สาบานถ่ากบัม่หาสามีเจาดอนยางรู :

(ด ำนที่ 2) (1) ถดันนัออกนางอุโบสดปารวกเจานางห^มืนลามห^มืนห^มืน นอ^ย (2) พนัซายพนัขวาพนัห^นังสืพนัห^นาไมหาสิบเพงจาบานแ (3) สนเขาจุลาสาริบุดแสนเขามุกแสนเขาเหัมเถาเมิองชอ^ยเถาเ (4) มอิงนอ^ยหาทองหาเทับหาอุนพ นอ^ยห^นังสืรูชูฅนแล ไน (5) ปีเปลกิเสดเดินสีแรมหาฅ�าไทวนัเมงิเปลาตนคูห^มืนขวา (6) มาทัาบุนทีนีหืตงัสงัฆะสีมาแลวดายจิงฝงัหรนีจารดินี (7) ไวแกนางหลวงนีแลเจาไทผูัไดค่ดีอ^ยาวารืแกเขราสักฅ^น (8) ทินถัดนันยังสวนบุนนางหลวงเพิอจัใหผละจาัเริ (9) นแกม่หาราชเจาแผนดินยงัหลานมนัสีฅ^นผูนิงชืพ (10) นอ^ยผูนิงชืชยงบุนผูนิงชืยีสองผูนิงชิส7นย7นเขานีบักไว (11) หืรกัสาพ่รพุธรูบเจาทีนีแลเจาไทผูไดค่ดีอ^ยาไสกาน (12) แกเขราจุงไวใหห^มนัทยงดงัคัาฅานไนหรนีจารดินี (13) เท7าวนน เจาไทผูไดไดมากินเมิองชยงรุงนีบุนนี (14) จุงไวจาัเรนิแกเจาไทผูนนนดวยเทนิ // 174


3. อ ำนป จจุบัน (ด ำนที่ 1) ศรีสทิ ธิจงจ�าเริญ5 ในกาลเมือ่ พญาผูช้ อื่ ท้าวติโลกติลก สารราชาธิราช ธิปติศรีธรรมิกจักรวรรติราชเจ้า6 เสวย(ราชย์)ในเมืองเนาวชาติปรุ เี ชียงใหม่7 ไส้8 กูผู้ชื่อ ร้อยก้อนทอง9 มาเป็นหมื่นขวา ในพันนาเชียงรุ้งนี้10 เมื่อ ปีรวายสัน เดือน 11 แรม 2 ค�่า ไทย(ว่า)วันเป กไจ้ เม็ง(ว่า)วันพฤหัส11 กูท่อง ค�าคาน12 มีฉันนี้ “กูเมือสู่นางบ้านหอม กูบ่เอาเป็นข้ากู กูจักได้เอา(ที่)นา เอาเงินเมือสู่ไพร่อันบ่มี13 กูไว้มันหื้อเป็นไพร่เมืองดังเก่าดาย กูหากตาย ไผอย่าว่ารือ14 แก่เขา จ่าบ้าน พระเมือง15 ก็อย่าว่ารือแก่เขา” (รายชื่อพระสงฆ์ที่เป็นพยานรับรู้ในเรื่องนี้ มี) (1) มหาสามี (วัด)ป่ารวก กับ (2) เจ้าเถรโสม วัดมหานาม ทั้ง (3) เจ้าเถรสุวรรณ (วัด)ป่าหลวง รู้ (4) เจ้าเถรพุทธสาคร วัดสวนทราย กับ (5) เจ้าเถรญาณสุนทโร วัดหมื่นยอด รู้ (6) มหาเถรญาณค�าเพียร วัดสันขอบ กับ (7) เจ้าเถรอโนมะทัสสี วัดพันฟ้อน รู้ (8) เจ้าเถรสังฆโพธิ วัดดอนนา (9) เจ้าเถรพุทธรักขิต (วัด)เชียงรุ้ง รู้ (10) เจ้าเถรธรรมสา (วัด)บ้านถ่า กับ (11) มหาสามีเจ้า (วัด)ดอนยาง รู้

(ด ำนที่ 2) ถัดนั้น (รายชื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่เป็นพยานรับรู้ในเรื่องนี้ มี) (1) ออกนางอุโบสถ16 (ของวัด)ป่ารวก (2) เจ้านางหมื่น17 175


(3) ล่ามหมื่น18 (4) หมื่นน้อย (5) พันซ้าย (6) พันขวา (7) พันหนังสือ (8) พันหน้าไม้19 (9) ห้าสิบเพง20 (10) จ่าบ้าน (11) แสนข้าวจุลาสารีบุตร (12) แสนข้าวมุก (13) แสนข้าวเหม (14) เถ้าเมืองช้อย (15) เถ้าเมืองน้อย (16) ห้าทอง21 (17) ห้าเทพ (18) ห้าอุ่น (19) พ่อน้อยหนังสือ

รู้จุ๊คน22 แล23 ในปีเป กเส็ด เดือน 4 แรม 5 ค�่า ไทย(ว่า)วันเมืองเป้า24 “ตนกูหมื่น ขวามาท�าบุญที่นี้ หื้อตั้งสังฆสีมา25 แล้วดาย26 จิ่งฝังหินจารึกนี้ ไว้แก่นาง หลวง27 นี้ แล เจ้าไทยผู้ใดก็ดี อย่าว่ารือแก่เขาสักคน เทอญ” ถัดนั้นยังส่วนบุญ(ของ)นางหลวง เพื่อจักให้ผลจ�าเริญแก่มหาราชเจ้า แผ่นดิน ยังหลานมัน 4 คน ผู้ 1 ชื่อพ่อน้อย ผู้ 1 ชื่อเชียงบุน ผู้ 1 ชื่อยีสอง ผู้ 1 ชื่อสนยน เขานี้บักไว้28 หื้อรักษาพระพุทธรูปเจ้าที่นี้ แล เจ้าไทยผู้ใดก็ดี อย่าใส่การแก่เขา จุ่งไว้ให้มั่นเที่ยง ดั่งค�าคานในหินจารึกนี้ เท่าวัน29 เจ้าไทยผู้ใดได้มากินเมืองเชียงรุ้ง30 นี้ บุญนี้จุ่งไว้จ�าเริญแก่เจ้าไทยผู้ นั้น ด้วยเทอญ 176


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : อักษร: สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : วัตถุจำรึก: ขนำดวัตถุจำรึก : ประวัติที่มำ: สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก :

จชร/วชร จารึกวัดเวียงเชียงรุ้ง (2)/2553/2 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 1931 อักษรธรรมล้านนา ซึ่งมีรูปลักษณ์ที่ยังผสมผสาน กับอักษรมอญโบราณ ซึ่งสามารถก�าหนดอายุได้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 ช�ารุด จารึก หินสีเขียวเนื้อละเอียด ประมาณ 1 ตารางฟุต พบเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ที่ศาลเจ้าแม่ ค�าแตง ด้านหน้าวัดเวียงเชียงรุ้ง ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย .. .. .. . . . . . . . . บ . . . บบจฺจยา . . . เวทน^า[บจฺจ]ย32 . . . . . . . . . . .. .. .. 177


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : ขนำด : สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก :

178

อชร/วชร อิฐจารึก/2553/1 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-25 (ก�าหนดอายุจาก ตัวอักษร) ช�ารุด อิฐ 13.8x15x6 ซม. (กว้างxยาวxหนา) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย ดินยี33


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : ขนำด : สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก :

อชร/วชร อิฐจารึก/2553/2 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-25 (ก�าหนดอายุจาก ตัวอักษร) ช�ารุด อิฐ 11x11.4x4.4 ซม. (กว้างxยาวxหนา) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย .. .. .. งสื34

179


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : ขนำด : สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก :

180

อชร/วชร อิฐจารึก/2553/3 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-25 (ก�าหนดอายุจาก ตัวอักษร) ช�ารุด อิฐ 11x13.8x4.4 ซม. (กว้างxยาวxหนา) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย ลาฺมม.. .. ..35


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : ขนำด : สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก :

อชร/วชร อิฐจารึก/2553/4 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-25 (ก�าหนดอายุจาก ตัวอักษร) ช�ารุด อิฐ 9.3x11.2x4.4 ซม. (กว้างxยาวxหนา) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย มีรูปดอกไม้ ต่อจากนั้นมีอักษร /กุ/ .. .. ..36

181


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : ขนำด : สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก :

182

อชร/วชร อิฐจารึก/2553/5 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-25 (ก�าหนดอายุจาก ตัวอักษร) ช�ารุด อิฐ 3.5x18x4.1 ซม. (กว้างxยาวxหนา) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย เจาหรบ.. .. ..37


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : ขนำด : สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก :

อชร/วชร อิฐจารึก/2553/6 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-25 (ก�าหนดอายุจาก ตัวอักษร) ช�ารุด อิฐ 14x14.5x3.6 ซม. (กว้างxยาวxหนา) วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย .. .. .. อุน38

183


ประเภทวัตถุ : เลขทะเบียนวัตถุ : อำยุ : สภำพวัตถุ : ลักษณะวัตถุ : ขนำด : สถำนที่พบ : ที่อยู ป จจุบัน : ข อควำมที่จำรึก : ค�ำอ ำนป จจุบัน :

อชร/วชร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-25 (ก�าหนดอายุจาก ตัวอักษร) ช�ารุด อิฐ วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย วัดเวียงเชียงรุง้ ต.ทุง่ ก่อ อ.เวียงเชียงรุง้ จ.เชียงราย ภิเธยฺย .. .. .. [ธิ]บฎิอิส^ส .. .. .. [แ^ล]สิาลุyสฺ ิกชูแ^ล ภิไธย39 .. .. .. (อ)ธิปติ อิสสะ40 .. .. .. แลสิสสา ลูกศิษย์41 ชุ(คน)แล

เชิงอรรถ 1 ก�าหนดอายุที่คิดว่าเป็นปีที่ลงมือจารึกลงบนหิน คือ ปีเป กเส็ด เดือน 4 2

สัมภาษณ์ พระโกเมศ สุเมธโส วัดเวียงเชียงรุ้ง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย 2554 (อภิรดี เตชะศิริวรรณ และศรีเลา เกษพรหม ผู้สัมภาษณ์) 3 ค�าฅาน หรือ ค�าตาน (มีอีกแห่งใน ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 12) 4 บาน หรือ มาน 184


5

ความเป็นศิริมงคลและความส�าเร็จจงมี พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์เชียงใหม่ พ.ศ.1984 - 2030 7 เนาวชาติปุรีเชียงใหม่ = คงมาจากค�าว่า /นวปุรี/ หมายถึงเชียงใหม่ 8 ไส้ = นั้น, อย่างนั้น 9 ร้อยก้อนทอง = ชื่อก้อนทอง มีต�าแหน่งหนึ่งร้อย 10 ร้อยก้อนทอง ได้รับต�าแหน่งหมื่นขวา และได้มาปกครองพันนาเชียงรุ้ง 11 ปีรวายสัน = ตรงกับ พ.ศ.2019 / A.D.1476 12 ค�าคาน = ค�าสบถ, ค�าสาบาน, ค�าอธิษฐาน ถ้าอ่าน /ฅ/ เป็น /ต/ จะเป็นค�าว่า “ค�าต้าน” ซึ่งแปลว่า ค�าพูดเจรจา แต่ ในที่นี้อยากจะอ่านว่า “ค�าคาน” เพราะให้ ความหมายที่ชัดเจนกว่า และคนเมืองยังใช้ค�านี้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้ง จารึกแผ่นไม้ที่ ประตูผา จ. ล�าปาง ซึ่งสันนิษฐานว่าจารึกขึ้นในสมัยเดียวกัน ก็มีค�าว่า “ค�าคาน” ซึ่ง จารึกด้วย /ฅ/ ชัดเจน (ดู จารึก 1.6.2.1 ประตูผา (2) 13 อันบ่มี = เป็นคนจน ไม่มีทรัพย์สมบัติ 14 อย่าว่ารือ ตามออกเสียงว่า /อย่าว่าฮือ/ หมายถึง อย่าว่าอย่างไรแก่เขา 15 พระเมืองในที่นี้ จะหมายถึง พ่อเมือง หรือไม่ 16 ออกนางอุโบสถ = ผู้ให้ความอุปถัมภ์บ�ารุงอุโบสถ 17 นางหมื่น = ภรรยาของเจ้าหมื่น 18 ล่ามของเจ้าหมื่น = โฆษกประจ�าตัวของเจ้าหมื่น 19 พันหน้าไม้ = ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลื่อยไม้ที่น�ามาใช้งานหลวง หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยว กับอาวุธลูกดอกชนิดหนึ่ง 20 ห้าสิบเพง = นายเพง มีต�าแหน่งห้าสิบ คือนายห้าสิบ 21 ห้าทอง = นายทอง มีต�าแหน่งห้า นายห้า ดูเหมือนจะเป็นต�าแหน่งต�่าสุด 22 จุ๊คน = ทุกคน 23 แล = ค�าท้ายประโยค 24 ตรงกับ พ.ศ.2021 / A.D.1478 25 สังฆสีมา = เขตอุโบสถ 26 แล้วดาย = ส�าเร็จแล้ว ดาย = ค�าท้ายบท 27 นางหลวง = ภรรยาของอดีตเจ้าเมืองเชียงรุ้ง 6

185


28

บักไว้ = แบ่งหน้าที่ให้โดยเฉพาะ เท่าวัน = ตราบต่อเท่าสิ้นศาสนา 5,000 พระวรรษา 30 ในจารึกมีว่า เชียงรุง ไม่ทราบว่าอ่าน เชียงรุ่ง หรือเชียงรุ้ง 31 ก�าหนดอายุจากตัวอักษรบนจารึกโดย ศรีเลา เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 32 บทสวดปฏิจจสมุปบาทปาฐะ เริ่มด้วย “อวิชชาปัจจยา สังขารา สังขารปัจจยา ” . . . จบที่ “ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ” อ ำนและแปลควำมโดย ศรีเลำ เกษพรหม และ อภิรดี เตชะ ศิรวิ รรณ คลังข อมูลจำรึกล ำนนำ สถำบันวิจยั สังคมมหำวิทยำลัยเชียงใหม 33 อิฐที่นายยีรับเป็นเจ้าภาพปั้น อ ำนและแปลควำมโดย ศรีเลำ เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ คลังข อมูลจำรึกล ำนนำ สถำบันวิจัยสังคม มหำวิทยำลัยเชียงใหม 34 อาจจะมาจากค�าว่า/พันหนังสือ/ คือบุคคลหนึ่งมีต�าแหน่งนายพันมีหน้าที่เกี่ยวกับ หนังสือ ได้เป็นเจ้าภาพให้ปั้นอิฐนี้ อ ำนและแปลควำมโดย ศรีเลำ เกษพรหม และ อภิรดี เตชะศิรวิ รรณ คลังข อมูลจำรึกล ำนนำ สถำบันวิจยั สังคม มหำวิทยำลัยเชียงใหม 35 มีบุคคลหนึ่งมีต�าแหน่ง “นายล่าม” เป็นเจ้าภาพปั้นอิฐส่วนหนึ่งเพื่อถวายในการสร้าง อาคารในวัด อ ำนและแปลควำมโดย ศรีเลำ เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ คลังข อมูลจำรึกล ำนนำ สถำบันวิจัยสังคม มหำวิทยำลัยเชียงใหม 36 ชื่อคนที่รับเป็นเจ้าภาพปั้นอิฐ อ ำนและแปลควำมโดย ศรีเลำ เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ คลังข อมูลจำรึกล ำนนำ สถำบันวิจัยสังคม มหำวิทยำลัยเชียงใหม 37 เจ้ารับ หรือ เจ้าหับ ผู้เป็นเจ้าภาพปั้นอิฐ อ ำนและแปลควำมโดย ศรีเลำ เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ คลังข อมูลจำรึกล ำนนำ สถำบันวิจัยสังคม มหำวิทยำลัย เชียงใหม 38 ชื่อบุคคล นายอุน หรือ นายอุ่น ที่เป็นเจ้าภาพปั้นอิฐ อ ำนและแปลควำมโดย ศรีเลำ เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ คลังข อมูลจำรึกล ำนนำ สถำบันวิจัยสังคม มหำวิทยำลัยเชียงใหม 39 ภิไธย = คงเป็นฉายาของพระภิกษุ 40 อธิปติ = อธิบดี, ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ประธาน 41 สิสสาลูกศิษย์ = ศิษยานุศิษย์ อ านและแปลความโดย ศรีเลา เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ คลังข อมูลจารึกล านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม 29

186


ภำคผนวกที่ 8 คณะผู จัดท�ำ

187



ทีมงำนจัดท�ำฐำนข อมูลเครื่องป นดินเผำเวียงเชียงรุ ง ดร. พลวัฒ ประพัฒน ทอง

หัวหน้าโครงการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์อารยธรรมลุม่ น�า้ โขง อาจารย์ประจ�าส�านักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นำยปณต วงค กัญญำ

เจ้าหน้าที่บริหารโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ อารยธรรมลุ่มน�้าโขง

นำยทศพล ศรีนุช

เจ้าหน้าที่บริหารโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ อารยธรรมลุ่มน�้าโขง

นำงสำวจันทนำ กลัดเพ็ชร

พนักงานธุรการ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ อารยธรรมลุ่มน�้าโขง

189


ทีมงำนจัดท�ำฐำนข อมูลเครื่องป นดินเผำเวียงเชียงรุ ง นำงสำวสิริวรรณ กิตติร มโพธิ์งำม

เจ้าหน้าที่บริหาร ส�านักงานให้ค�าปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา

นำงสำวนพมำศ จันทรพิทักษ

เจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายหอพักนักศึกษา ส่วนพัฒนานักศึกษา

รศ. อุษ ณีย ธงไชย

อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำยวรัทพงศ อมรประสิทธิ์

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

190


ทีมงำนจัดท�ำฐำนข อมูลเครื่องป นดินเผำเวียงเชียงรุ ง นำงสำวระชำ ภุชชงค

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำงสำวศรีวตำภรณ แซ ลิ้ม

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำยนสิทธิ์ ใหญ ยิ่ง

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำงสำวอัญชุลี วงจันเสือ

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

191


ทีมงำนจัดท�ำฐำนข อมูลเครื่องป นดินเผำเวียงเชียงรุ ง นำงสำวขวัญฤทัย ไชยำ

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำงสำวพิมพ ชนก ประวัง

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำงสำวพรนิภำ อินทอง

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำยสิริภำส แซ ผู

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

192


ทีมงำนจัดท�ำฐำนข อมูลเครื่องป นดินเผำเวียงเชียงรุ ง นำงเกศริน อินต ะ พนักงานปฏิบัติงาน

นำงสำวกัญญำ เทพอุด พนักงานปฏิบัติงาน

นำงสุพิน โพธินำม พนักงานบริการ

193


194


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.