วิจัยประเมินโครงการ กสค

Page 1

รายงานผลการวิจัย การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) กรณีศึกษา : แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) อําเภอเขาวง-นาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554

ที่ปรึกษา นายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กลู นายแพทย์สมยศ ศรีจารนัย นางศันสนีย์ นิจพานิช นางวิมลรัตน์ ภูผาสุข นางฉวีวรรณ ชมพูเขา นางสายใจ เรืองศรีมนั่ นางถมญาณี โชติการณ์ นางสุระภา ฆารสว่าง

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สสจ.กาฬสินธุ์ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สสจ.กาฬสินธุ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการพิเศษ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการพิเศษ นักวิชาการสาธารณสุขชํานาญการพิเศษ นักวิชาการสาธารณสุขชํานาญการ นักจัดการงานทั่วไปชํานาญการ

ผู้วิจัย ดร.สม นาสอ้าน ดร.วรรณภา นิติมงคลชัย นางสุวัฒนา อ่อนประสงค์

หน่วยงาน กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554

ออกแบบปก นายทัศน์เทพ ดลโสภณ (ตุลาคม 2554) 1


การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) กรณีศึกษา : แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) อําเภอเขาวง-นาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554 สม นาสอ้าน*1 บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ความเข้าใจ ของ กสค. และความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ความคิดเห็นของ บุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. และ 3) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับ ตําบล ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบหลาย ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว จํานวน 108 คน 2) บุคคลในครอบครัวของ กสค. จํานวน 424 คน และ 3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตําบล จํานวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ มีค่าความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.86 และ 0.90 ตามลําดับ แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจของ กสค. มีค่าความยาก-ง่ายอยู่ระหว่าง 0.24-0.93 และมีค่าความน่า เชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า 1. ความรู้ ความเข้าใจ ของ กสค. พบว่า การพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.85 และความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ ได้แก่ 1) ก่อนดําเนินโครงการพัฒนาฯ กสค. 2) เกี่ยวกับการฝึกอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เกี่ยวกับหลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 4) ด้านความเข้าใจต่อบทบาท กสค. และ 5) ด้านการปฏิบัติ ตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องของ กสค. และคนในครอบครัว มีภาพรวมอยู่ในระดับ มาก 2. ความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. พบว่า ภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5319 + .5786 3. ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตําบล ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ พบว่า ด้านบริบทการบริหารจัดการโครงการฯ ภาพรวมด้านบริบทการจัดการโครงการฯ อยู่ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5714 + .8071 ส่วนด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ได้แก่ 2


1) ด้านความเหมาะสมของการดํ าเนินงานแผนงาน/โครงการ 2) ด้านการรั บรู้แ ละความเข้าใจที่มีต่อ โครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) ด้านความเพียงพอ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ พัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 4) ด้านความคุ้มทุน คุ้มค่าของงบประมาณ มีภาพรวมอยู่ในระดับ มาก คําสําคัญ แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) อําเภอเขาวง-นาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ------------------------------------------1 ปร.ด. สิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ * ผู้รับผิดชอบบทความ

3


An Evaluation of the Project on Development in Family Health Leader of Kalasin Provice (FHL) : A case study at Kaovong-Naku District,

Kalasin Provice, 2554 Som Nasa-arn*1 Abstract This research was Survey research. The purpose study were to ; 1) the knowledge, understanding of the Family Health Leader and opinion of the Project on Development in Family Health Leader, 2) opinion member of family health leader in work FHL, And 3) opinion of Tambon public health officer including Context Aspect and Basic factor Aspect. The Sample size selected through a multi-stage, consisted of 108 Family Health Leader, 424 member in family health leader, and 11 Tambon public health officer. The instruments used were a questionnaire had reliability of 0.86 and 0.90 respectively. The difficult index of the test measuring the knowledge and understanding of the family health core leaders was between 0.24-0.93 and with reliability of 0.82 Statistical analysis by descriptive and inferential statistics. The results revealed that ; 1) the knowledge, understanding of the Family Health Leader. After Development in Family Health Leader of Kalasin Provice (FHL) had morn learning 83.85 % and opinion to the Project on Development in Family Health Leader Consised of ; 1) Before Project on Development in Family Health Leader of Kalasin Provice (FHL) operation, 2) about tarning program FHL, 3) appropriateness of the curriculum of Development in Family Health Leader of Kalasin Provice, 4) understanding of FHL roles, And 5) best practice of health behaviors of FHL and member in family health leader had Total was much level. 2) opinion of member in family health leader in work FHL. The results revealed that Total was much level. (mean 2.5319 + .5786) 3) opinion of Tambon public health volunteer including Context Aspect, The results revealed that Total was much level. (mean 3.5714 + .8071). As for lead factor of project management Consised of ; 1) appropriateness of the plan/project of Development in FHL of 4


Kalasin Provice, 2) the acknowledge, understanding to the plan/project of Development in Family Health Leader, 3) readiness of the officials in charge, And 4) readiness and benefit of the budget subsidy, Total was much level. Key word : Family Health Leader (FHL) , Kaovong-Naku District, Kalasin Provice -------------------------------------------Ph.D. Environmental Education , Developmental Public-Health Strategy, Kalasin Public Health Office. *Corresponding Author : E-mail ; n_wannapa@yahoo.com, n.wannapa@hotmail.com.

1

5


กิตติกรรมประกาศ การศึก ษาวิจั ยการประเมิน โครงการพั ฒนาศั ก ยภาพแกนนํ าสุ ขภาพประจําครอบครัว (กสค.) กรณีศึกษา : แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) อําเภอเขาวง-นาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554 ครั้งนี้ ได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจากท่านนายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล (นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์) นายแพทย์สมยศ ศรีจารนัย (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) นางศันสนีย์ นิจพานิช (นักวิชาการ สาธารณสุขเชี่ยวชาญ) นางสาววิมลรัตน์ ภูผาสุข (หัวหน้ากลุ่มงานสร้างเสริมสุขภาพ) และหัวหน้ากลุ่ม งานทุกกลุ่มงานในสํ านั กงานสาธารณสุ ขจั งหวั ดกาฬสินธุ์ ที่ใ ห้คําปรึกษา และให้ก ารสนับสนุน การ ดําเนินงานวิจัยจนสําเร็จลุล่วง และ ที่สําคัญการวิจัยครั้งนี้ สําเร็จลงได้ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก ภาคีเครือข่ายทุ ก ภาคส่วน ได้แ ก่ เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลชุมชนทุ ก แห่ง เจ้าหน้าที่จากสํานั กงาน สาธารณสุขอําเภอทุกอําเภอ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. นักวิชาการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และ แกนนํ า สุ ข ภาพประจํ า ครอบครั ว ทุ ก คนที่ ใ ห้ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ประโยชน์ คณะผู้ จั ด ทํ า จึ ง ขอขอบคุ ณ มา ณ โอกาสนี้ ผู้จัดทํา พฤศจิกายน 2554

6


สารบัญ บทคัดย่อ Abstract กิตติกรรมประกาศ บทที่ 1 บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั ขอบเขตของโครงการ กรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว การส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพตามนโยบายเมืองไทยเข้มแข็ง คู่มือแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) หลักสูตรมาตรฐาน กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย บทที่ 4 ผลการศึกษาวิจัย บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ก

7

หน้า ก ค จ 1 1 3 3 3 4 5 6 6 8 11 13 14 15 21 38 51 57


สารบัญตาราง ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไป กสค. ตารางที่ 2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจํา ครอบครัว (กสค.) โดยรวมและรายตําบล ตารางที่ 3 ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ตารางที่ 4 ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ตารางที่ 5 ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ตารางที่ 6 ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ ตนเองและคนในครอบครัว ด้านความเข้าใจต่อบทบาท กสค. ตารางที่ 7 ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัตติ ัวในการดูแลสุขภาพตนเอง และคนในครอบครัว ด้านการปฏิบตั ิตัวในการดูแลพฤติกรรม สุขภาพอนามัยที่ถูกต้องของ กสค. และคนในครอบครัว ตารางที่ 8 คุณลักษณะทั่วไปของประชาชน ตารางที่ 9 แสดงความความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงาน ของ กสค. ตารางที่ 10 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทการบริหารจัดการ โครงการฯ ตารางที่ 11 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ ด้านความเหมาะสมของการดําเนินงานแผนงาน/ โครงการ ตารางที่ 12 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ ด้านการรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์

8

หน้า 56 57 58 59 61 62 64

65 67 68 69

70


สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ 13 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ ด้านความเพียงพอ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบ โครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์

71

ตารางที่ 14 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ ด้านความคุม้ ทุน คุม้ ค่าของงบประมาณ

72

9


บทที่ 1 บทนํา การสาธารณสุขมูลฐาน เป็นกลวิธีทางการสาธารณสุขที่เริ่มจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่ง มี อยู่ ใ นระดั บ ตํ า บลถึ ง ระดั บหมู่บ้ าน การสาธารณสุ ข มู ล ฐานเป็ น วิ ธีก ารให้บ ริก ารสาธารณสุ ข ที่ ผสมผสานทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ ที่ ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดํ าเนินงานและการประเมิน ผล ส่วนภาครัฐ เป็น เพียงผู้ใ ห้การ สนับสนุนในด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การให้การศึกษา ฝึกอบรมและระบบส่งต่อผู้ป่วย โดยอาศัย ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก ระบบการดูแลสุขภาพตนเอง (Self-Care System) เป็นส่วนหนึ่งของการสาธารณสุขมูลฐานที่ กระทรวงสาธารณสุขเน้นให้ความสําคัญมาโดยตลอด ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 4 โดยกระทรวงสาธารณสุ ขได้มี ก ารพั ฒนาให้มี อาสาสมั ครสาธารณสุ ข ประจํ าหมู่บ้ าน (อสม.) ครอบคลุ มทุ กพื้น ที่ โดยกําหนดให้ อสม. 1 คน รับผิด ชอบดูแ ลสุ ขภาพประชาชน 8-15 หลัง คาเรือน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อีกทั้ง ยังมีการพัฒนา อสม. ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ประชาชนและสามารถถ่ายทอดความรู้ ให้คําแนะนํากับประชาชนในพื้นที่เมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้ สําหรับช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8-9 (พ.ศ.2540-2549) เป็นแผนที่ให้ ความสําคัญกับการกระจายอํานาจเน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการพั ฒนามากขึ้น ประชาชนในระดับครั วเรือนได้มีโ อกาสเข้ามารับการพัฒนาความรู้ด้าน สุขภาพจาก อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพิ่มขึ้น จนเกิดเป็นแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ที่มีความสําคัญในการขยายผลสู่การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งต่อมาในที่สุด นําสู่การพัฒนา กสค. อย่างจริงจังในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ กระทรวงสาธารณสุ ขได้มีนโยบายให้ทุกจั ง หวั ด ดํ าเนิน โครงการพัฒนาแกนนํ าสุขภาพประจํ า ครอบครัวให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 โดยกําหนดให้ทุก ครัวเรือนมีบุคคลอย่างน้อย 1 คน มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการดู แลตนเองและบุ คคลใน ครอบครัวให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม มีการดูแลรักษาเบื้องต้นและนําผู้เจ็บป่วยส่งสถาน บริการสาธารณสุขได้ทันท่วงที โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นําชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ร่วมมือกันให้ความรู้แก่ประชาชนที่เป็นตัวแทนของครอบครัว ส่งผลให้เมื่อ สิ้นสุดโครงการฯ ประชาชนในชุมชนมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้ผลเป็นที่น่า พอใจ 10


สําหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ( พ.ศ.2550-2554) ได้เริ่มนําหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นฐานสําคัญของการพัฒนาประเทศและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่มุ่งเน้นให้ชุมชนเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกัน เป็นระบบสุขภาพที่มุ่งสู่การมีสุขภาพดี ด้วยสังคมดี ตามวิถี แบบพอเพียง การจะนําหลักปรัชญาฯ ดังกล่าวมาใช้ ชุมชนต้องยกระดับขีดความสามารถในการบริหาร จัดการ การบริการสุขภาพพื้นฐาน โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพให้คนในชุมชนสามารถเป็นที่พึ่งและ เชื่อมั่นของคนในชุมชนได้ ดังนั้น ทิศทางการพัฒนาคนให้สามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และขยายผลสู่ ชุมชน ยังเน้นที่การพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) เป็นสําคัญ จังหวัดกาฬสินธุ์มีวิสัยทัศน์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2551-2555 คือ “ชาวจังหวัด กาฬสิน ธุ์สุ ขภาพดีแ บบพอเพียงในปี 2555” โดยเน้นให้ความสํ าคั ญในการสร้างระบบสุ ขภาพชุมชนที่ เข้มแข็ง มีก ารพัฒนาศัก ยภาพ อสม. ในพื้น ที่ครอบคลุ ม 4 มิติ ให้มีขีด ความสามารถสูง ขึ้น ในการ ให้บริการประชาชน (ด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ) อีกทั้ง ยังมีการนําร่องขับเคลื่อนโครงการ “สุขศาลาหมู่บ้าน และพัฒนา อสม. เพื่อสุขภาพดีวิถีชุมชน” ในหมู่บ้านต้นแบบฯ จํานวน 300 หมู่บ้าน จาก 135 ตําบล มีการปรับปรุงโครงสร้างสถานที่ สนับสนุน วัส ดุ ครุ ภัณ ฑ์ก ารแพทย์ ตู้อบสมุ น ไพร และเวชภั ณ ฑ์ที่จํ าเป็ น พื้น ฐานสํ าหรั บการให้บริก ารในชุ มชน เพื่อให้เกิด “การพัฒนาระบบสุขภาพที่ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญา” โดยความต้องการของชุมชนและ ท้องถิ่นเป็นหลัก จังหวัดกาฬสินธุ์มีแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวทั้งสิ้น 23,820 คน จาก 348 หมู่บ้าน/ชุมชน และในปี พ.ศ. 2554 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ดําเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล สุขภาพประจําครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554 ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยใช้หลักสูต ร ผู้ดูแลสุขภาพสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานการวิเคราะห์สภาพ ปัญหาสุขภาพที่สําคัญของชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม จังหวัดกาฬสินธุ์ยังขาดระบบการประเมินประสิทธิผล การดําเนินงานโครงการฯ ดังกล่าว ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้สนใจศึกษาวิจัยการประเมินโครงการพัฒนา แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554 กรณีศึกษา : แกนนํา สุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) อํ าเภอเขาวง-นาคู ว่าผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ ตามที่คาดหวังให้ ประชาชนสามารถดู แ ลสุ ข ภาพของตนเองและครอบครั วนั้ น ประสบผลสํ าเร็ จ เพี ยงใด? มี ปัจ จั ย กระบวนการ ที่เป็นปัญหา/อุปสรรคดําเนินการอย่างไรบ้าง? เพื่อนําข้อมูลที่ได้ในแต่ละส่วนไปใช้ในการ ปรั บ ปรุ ง หาแนวทางที่เ หมาะสมในการพั ฒ นา และปรั บกลยุ ทธ์ที่ เป็ น ประโยชน์ ใ นการตั ด สิ น ใจเพื่ อ ดําเนินการให้ประชาชนบรรลุสุขภาพดีแบบพอเพียงในปี 2555 ต่อไป

11


วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจของ กสค. ที่ได้จากการเข้ารับการอบรมการพัฒนาแกนนํา สุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) และความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีตอ่ การปฏิบัตงิ านของ กสค. 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ ขอบเขตของการวิจัย 1. พื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2554 จํานวน 348 หมู่บ้าน 2. ประชากรในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร รพ.สต. จํานวน 11 คน กสค. จํานวน 1,700 คน และบุคคลในครอบครัว กสค. 6,800 คน รวมทั้งสิ้น 8,503 คน 3. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการฯ ประกอบด้วย ผู้บริหาร รพ.สต. จํานวน 11 คน กสค. จํานวน 108 คน และบุคคลในครอบครัว กสค. 424 คน รวมทั้งสิ้น 535 คน

12


กรอบแนวคิดในการวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎีแ ละงานวิจั ยที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจั ยได้นํ ามากํ าหนดเป็ น กรอบแนวคิด การ ประเมินโครงการฯ ตามรูปแบบ CIPP Model โดยกําหนดดําเนินการเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1

โครงการพัฒนาศักยภาพ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ฯ

ระยะที่ 2

การประเมินศักยภาพแผนงาน/โครงการฯ

กสค.

1.ความรู้ก่อน-หลังการอบรม ตามหลักสูตร กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ 2.ความรู้ความเข้าใจบทบาท ตนเองและพฤติกรรมสุขภาพ อนามัยที่ถูกต้องของ กสค.

ประชาชนในครอบครัว กสค.

ความคิดเห็นของบุคคลใน ครอบครัวที่มีต่อการปฏิบตั ิงาน ของ กสค.

ผู้บริหาร รพ.สต.

ความคิดเห็นด้านบริบทและปัจจัยนํา ในการอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 1.ความเหมาะสมของการดําเนินงาน แผนงาน/โครงการ 2.ด้านการรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อ โครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ 3.ด้านความเพียงพอ ความพร้อมของ ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 4.ความคุ้มทุน คุ้มค่าของงบประมาณ

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554 13


นิยามศัพท์เฉพาะ 1. แกนนํ าสุ ขภาพประจํา ครอบครัว (กสค.) หมายถึง บุ คคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนใน ครอบครัว ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพทั้งของตนเอง ครอบครัว และชุมชน จาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน/ชุมชน และทําหน้าที่เป็นบุคคลหลักใน การจัดการปัญหาสุขภาพของคนในครอบครัวของตน ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลสุขภาพ ประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จากหลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. การดู แลสุขภาพตนเอง (Self Care) หมายถึง การดําเนินกิจกรรมทางด้านสุ ขภาพด้วย ตนเอง โดยมีความรู้ความเข้าใจ มีทัก ษะตั ดสิน ใจและเลือกประพฤติปฏิบัติที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามั ย ตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพ ที่นําตนเองและครอบครัวไปสู่การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี 3. การพัฒนาศักยภาพ กสค. หมายถึง การส่งเสริมให้ กสค. มีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ ที่ถูกต้อง ด้วยวิธีการสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ กสค. โดยเรียนรู้จากหลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสิน ธุ์ ประสบการณ์และการกระทํา (Learning by Doing) โดยการศึกษาจากคู่มือ การบอกเล่า คําแนะนําจาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และปราชญ์ชาวบ้าน 4. ความรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาพ หมายถึง การระลึกได้ของ กสค. ในเรื่องการส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพ ในเนื้อหาตามหลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ และการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องเพื่อให้มีสุขภาพดี 5. ตัวชี้วัด หมายถึง ตัวแปรที่บ่งบอกสถานภาพหรือปรากฏการต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร มีลักษณะเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อสะท้อนลักษณะงานที่เกิดขึ้นว่ามีการดําเนินงานบรรลุตามประเด็น ที่ต้องการประเมินโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์/เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ตามประเด็นที่ต้องการประเมิน 6. เกณฑ์การประเมิน หมายถึง สิ่งที่กําหนดขึ้นเพื่อใช้ตัดสินคุณภาพหรือคุณค่าของตัวชี้วัด ซึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่ามีความเหมาะสมตามสภาพและคุณลักษณะของสิ่งเหล่านั้น คําย่อที่ใช้ในการวิจัย กสค. ย่อมาจาก แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว อสม. ย่อมาจาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน จนท.สธ. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผบ.รพ.สต. ย่อมาจาก ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ปช.ในครอบครัวย่อมาจาก ประชาชนในครอบครัว 14


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาการปฏิบตั ิของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพสมาชิก ครอบครัว อําเภอเขาวง-นาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ศึกษาได้รวบรวมเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้ 1. แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว 2. การส่งเสริมสุขภาพ 3. การส่งเสริมสุขภาพตามนโยบายเมืองไทยแข็งแรง 4. แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) หลักสูตรมาตรฐาน กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 5. งานวิจัยที่เกีย่ วข้อง 1.แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว ในครอบครัวจะมีบุคคลอย่างน้อย 1 คน ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเองและ ครอบครัวได้ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของหมู่บ้าน เรียกว่า “แกนนําสุขภาพประจํา ครอบครัว” ดังนั้น จึงมีผู้ให้ความหมายของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวไว้คล้ายคลึงกัน ดังนี้ : เยาวดี สุวรรณนาคะ (2543) กล่าวว่า แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว หมายถึง ตัวแทนของ ครอบครั วที่มีความรู้ มีทัก ษะที่จําเป็น ในการดู แลสุขภาพอนามัย มีบทบาทในการดูแ ลสุ ขภาพตนเอง ครอบครัว และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชน ยุทธนา โสภา (2547) ให้ความหมายของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวว่า หมายถึง สมาชิกใน ครอบครัวที่ทําหน้าที่เป็นแกนหลักของครอบครัวในการดูแลจัดการด้านสุขภาพอนามัย ให้แก่สมาชิกใน ครอบครัว ทั้งนี้เพื่อทําให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสรุป แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว หมายถึง สมาชิกของครอบครัวอย่างน้อย 1 คน ทํา หน้าที่เป็นแกนนําในการดูแลหรือจัดการด้านสุขภาพอนามัยของสมาชิกในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ 1.1 แนวคิดของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว แนวคิดให้มีแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวในการดูแลหรือจัดการด้านสุขภาพอนามัยแก่ สมาชิกในครอบครัว เริ่มต้นจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการดําเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ที่ให้ความสําคัญในการพัฒนาประชาชนทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค มีการพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐานอย่างง่ายๆโดยการส่งเสริม และพัฒนาให้ประชาชนมีทักษะที่จําเป็น 15


และมีความเหมาะสมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา สาธารณสุขของชุมชน จึงมีแนวคิดที่จะให้มีสมาชิกครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งคน เป็นแกนนําด้านสุขภาพ และมี ทักษะที่จําเป็นในการดูแลสุขภาพสมาชิกครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเป็นแหล่งสนับสนุนทางสังคมที่มี ความสัมพันธ์และใกล้ชิดของบุคคลมากที่สุด มีหน้าที่พื้นฐานในการตอบสนองความต้องการของสมาชิก และมีหน้าที่ในการพัฒนาสมาชิกครอบครัวให้สามารถมีพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะในการเจ็บป่วย (พัชราพร ชัยศรีสวัสดิ์สุข, 2540) และเมื่อสมาชิกในครอบครัวเกิดการ เจ็บป่วยจะต้องการพึ่งพาครอบครัวในการดูแล (รุจา ภู่ไพบูลย์, 2541) แกนนําสุขภาพประจําครอบครัวจึงมี บทบาทสําคัญทั้งด้านการดูแล ให้การรักษาพยาบาล ให้คําแนะนําความรู้ และส่งเสริมสุขภาพแก่สมาชิกใน ครอบครั ว เพื่อให้ส มาชิกในครอบครัวมีพฤติก รรมสุขภาพที่ถู กต้องเหมาะสม แกนนํ าสุขภาพประจํ า ครอบครัวจึงถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับครอบครัว ในปี พ.ศ 2541-2542 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีนโยบายในการจัดอบรมแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว โดยพิจารณาแกนนํา สุขภาพประจําครอบครั วที่มีคุณ สมบั ติดั งต่อไปนี้ใ ห้เข้ารั บการอบรม (สํ านั ก งานสาธารณสุ ขจั ง หวั ด นครราชสีมา,2550) 1.2 คุณสมบัติของผู้ทจี่ ะเป็นแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว 1. อายุ 15 ปีขึ้นไป 2. พออ่านออกเขียนได้ 3. ไม่เจ็บป่วย / พิการ 4. มีความสมัครใจ และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเกิน 6 เดือนขึ้นไป 5. เป็นแบบอย่างของการดูแลสุขภาพและเป็นบุคคลที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจํา หมู่บ้านสามารถสื่อสารได้ และมีความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างกัน 6. คุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการพัฒนาสุขภาพอนามัย สําหรับบทบาทหน้าที่ของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว กระทรวงสาธารณสุขได้กําหนด ไว้กว้างๆ เพื่อให้แต่ละจังหวัดนํานโยบายไปปรับให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างทั้งทาง ภูมิศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของประชาชน โดยให้แกนนําสุขภาพประจําครอบครัวนําความรู้ที่ได้รับ จากการอบรม ไปปฏิบัติในการดูแลสุขภาพครอบครัวและชุมชน รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดดี ้านสุขภาพ เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มแี อลกอฮอล์ ไม่เล่นการพนัน การใช้ช้อนกลาง และการล้างมือก่อน รับประทานอาหาร เป็นต้น (สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 2550)

16


1.3 บทบาทหน้าที่ของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ได้นํานโยบายของกระทรวงสาธารณสุข มาดําเนินการจัดอบรมแกนนํา สุขภาพประจําครอบครัว และกําหนดให้แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว มีบทบาทหน้าที่ดงั ต่อไปนี้คือ 1. เป็นแกนหลักของครอบครัว ในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัว ตั้งแต่การป้องกัน การ รักษาพยาบาลเบื้องต้น และการตัดสินใจส่งต่อไปรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที 2. เป็นแกนนําในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของคนในครอบครัว ได้แก่ การเลือกซื้ออาหารที่ ปลอดภัย และได้มาตรฐานมาบริโภค การป้องกันตัวไม่ให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย การจัดสิ่งแวดล้อมใน ชีวิตประจําวันให้สะอาด ปลอดภัยจากการเจ็บป่วย รวมถึงเป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพอนามัย 3. เป็น ตัวแทนของครอบครั วในการประสานงาน เพื่อรับสิ่งสนั บสนุน การป้องกั นการ เจ็บป่วย การแก้ไขปัญหาสาธารณสุข พัฒนาสุขภาพอนามัยของครอบครัวและประชาชนในหมู่บ้าน 4. เป็นเครือข่ายความร่วมมือกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ในการดูแลสุขภาพสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งการพัฒนางานสาธารณสุขในหมู่บ้าน ต่อมาในแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) รัฐมีนโยบายการพัฒนา คุณภาพคน และการคุ้มครองทางสังคม โดยมุ่งพัฒนาตั้งแต่ครอบครัวที่ถือว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคม ให้มีสุขภาพดี และมีความเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมสนับสนุนครอบครัว ชุมชน สังคม ซึ่งเป็นรากฐานของ สังคมให้มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพ และสามารถพึ่งตนเองได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงสนับสนุนให้แกนนํา สุขภาพประจําครอบครัวที่มีอยู่แล้วในพื้น ที่ เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพสมาชิกในครอบครั ว อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดรูปธรรมในการดูแลสุขภาพ 2. การส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทุก ประเทศในโลก การส่งเสริมสุขภาพได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการพัฒนาสุขภาพ และเป็ นกระบวนการเพิ่มความสามารถของประชาชนในการควบคุมดูแ ลสุขภาพของตนเอง องค์การ อนามัยโลกได้ตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว จึงจัดให้มีการประชุมนานาชาติว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพ ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2529 ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา และได้มีการประกาศกฎบัตรออตตาวา (Ottawa charter) กําหนดยุทธ์ศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสุขภาพดีถ้วนหน้า สําหรับประเทศไทยได้ให้ความสําคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพโดยการเสริมสร้างความรู้ ทักษะที่ถูกต้อง และ การเพิ่มศักยภาพของคน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพ โดยการใช้มาตรการ และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ให้ความสําคัญต่อปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการ แสวงหาความร่วมมือระหว่างภาคีพันธมิตรอย่างกว้างขวาง ภายใต้หลักคิดที่ว่าสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน 17


ของมนุษย์ ที่คนทุกคนควรมี และได้รับในระดับที่เสมอเท่าเทียมกัน โดยใช้กรอบแนวคิด 6 อ. ในการ ส่งเสริมสุขภาพ 2.1 ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ องค์การอนามั ยโลก (WHO, 1986) ให้ความหมายว่า การส่งเสริมสุ ขภาพ หมายถึง กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม และปรับปรุงสุขภาพของตน เพื่อให้มีสุขภาวะทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม นอกจากนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลสามารถตอบสนองความต้องการ หรือความปรารถนาของตน และสามารถเปลี่ยนหรือเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เพนเดอร์ (Pender, 1996) ให้ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพว่า เป็นกิจกรรมที่มุ่ง ส่งเสริม ยกระดั บความเป็นปกติสุขหรือความผาสุกของชีวิต และศัก ยภาพในด้านสุขภาพของบุ คคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็นพฤติกรรมที่นําไปสู่การมีสุขภาพดี ไม่เน้นเรื่องโรคหรือปัญหาสุขภาพ มุ่งที่ จะส่งเสริมภาวะสุขภาพในทางบวก คือมีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ปกติสุข ซึ่งจะแตกต่างจากการป้องกันโรค ที่ ระบุไว้ว่าเป็นกิจกรรมที่มุ่งลดโอกาส หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหรือการเจ็บป่วยเป็นกิจกรรมที่กระทําอย่าง ต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของแบบแผนชีวิตของแต่ละบุคคล กรีน และกรูเตอร์ (Green and Grueuter, 1991) กล่าวว่า การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง ผลรวมของการสนับสนุนทางด้านการศึกษา และการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลทางการ ปฏิบัติ และเกิดสภาพการณ์ของการดํ ารงชีวิตที่จะก่อให้เกิด สภาวะสุขภาพที่ส มบู รณ์ การปฏิบัตินั้น อาจจะเป็นของบุคคล ชุมชน ผู้กําหนดนโยบาย นายจ้าง ครู หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ ซึ่งการปฏิบัติเหล่านั้น มีอิทธิพลต่อสุขภาพของบุคคล ชุมชน และสังคมส่วนรวม สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (2541) การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการส่งเสริมให้ ประชาชนเพิ่มขี ด สมรรถนะในการควบคุ ม และพั ฒนาสุ ขภาพตนเอง การส่ง เสริ มสุ ขภาพจึ ง เป็ น กระบวนการที่ช่วยให้ประชาชน สามารถเพิ่มพูนสมรรถภาพในการควบคุม และปรับปรุงสุขภาพตนเองให้ดี ขึ้น เพื่อเพิ่มระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้มีสภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม จากคํากล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง เป็นกระบวนการส่งเสริมให้ บุคคลมีความสามารถในการป้องกัน ควบคุม และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ของตนเอง เพื่อให้มีสภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม 2.2 ยุทธ์ศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Action) กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพจะ สําเร็จได้ต้องอาศัยยุทธ์ศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพที่สําคัญ 5 ประการ ประกอบด้วย (สํานักนโยบายและ ยุทธ์ศาสตร์, 2547) ดังนี้ : 1. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build Healthy Public Policy) การสร้าง นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของประชาชน คือ นโยบายต้องมีลักษณะประกาศชัดเจนให้สุขภาพและ 18


ความเสมอภาคเกิด ขึ้น ทุ กแห่ง เน้นการพัฒนาคนเป็ น หัวใจสําคั ญ และมีลั ก ษณะพร้อมที่จ ะรองรั บ ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น การสร้างนโยบายที่เน้นสุขภาพของประชาชนเป็นหลักจะกระทําได้โดย ผู้บริหารระดับต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเข้าใจเรื่องสุขภาพเป็นอย่างดีร่วมกับกําหนดมาตรการทาง นิติบัญญัติ การเงิน การคลัง การภาษีอากร ที่จะสนับสนุนผลักดันกิจกรรมของสังคมที่เอื้อต่อการบรรลุ สุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชน (สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, 2541) 2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (Creating Supportive Environments) สิ่งแวดล้อม ในที่นี้ ไม่ได้เพียงแต่หมายถึง สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพเท่านั้น แต่ยัง รวมถึงมิติทางชีวภาพ เช่น สิ่งแวดล้อมทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณด้วย (สมจิตร หนุเจริญกุล, 2543) 2.1 สิ่ง แวดล้อมทางกายภาพเช่น การมีสุขาภิบาลที่ดี สิ่ง แวดล้อมที่ส ะอาด ปราศจากมลภาวะ มีสถานที่พักผ่อน ออกกําลังกายที่ปลอดภัยทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีน้ําสะอาด สําหรับบริโภค มีสถานที่เก็บ และกําจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ มีส้วมใช้อย่างถูกสุขอนามัย เป็นต้น 2.2 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น ปราศจากเชื้อโรค และพาหนะนําโรค ได้แก่ยุง แมลงวัน เป็นต้น 2.3 สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น การมีสัมพันธภาพ และมิตรไมตรีต่อกัน ความเอื้อ อาทรต่อกันทั้งที่บ้าน โรงเรียน ชุมชน เป็นต้น 3. การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง (Strengthening Community Action) เป็นการ ส่งเสริมศักยภาพของชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเอง ให้มีความสามารถ และโอกาสในการตัดสินใจ กระทํากิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพชุมชน นั่นคือ การส่งเสริมสุขภาพจะต้องดําเนินการโดยชุมชนอย่างเป็น รูปธรรม และมีประสิทธิผล ทั้งในการจัดลําดับความสําคัญของปัญหา การตัดสินใจ การวางแผน และการ ดําเนิน การเพื่อบรรลุ ภาวะสุ ขภาพดีร่วมกับระดมทรัพยากรต่างๆ ภายในชุ มชน สนับสนุน ให้ชุมชนใช้ ทรัพยากรภายในชุมชนเอง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการควบคุมสุขภาพ ทั้งนี้ชุมชนต้องสามารถเข้าถึง ข้อมู ลข่าวสารด้านสุขภาพ ได้รั บโอกาสของการเรียนรู้ และมีแหล่งทุ น สนับสนุนอย่างต่อเนื่องซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มพลังอํานาจให้กับชุมชน (community empowerment) 4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Developing Personal Skills) เป็นการพัฒนาบุคคลให้มีทักษะ ในการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ และการแก้ไขปัญหาสุขภาพด้วยตนเอง โดยการให้ข้อมูลข่าวสารส่งเสริมการ เรียนรู้เพื่อสุขภาพ และเสริมสร้างทักษะในการดํารงชีวิต ตามวิถีทางที่ส่งเสริมสุขภาพเช่น การออกกําลัง กายอย่างสม่ําเสมอ การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง มีทักษะในการอยู่ ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติ รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ มีการพัฒนาทางจิตวิญญาณเพื่อเข้าถึง ความดี ลดความเห็นแก่ตัว มีการเรียนรู้ที่ดี รู้จักแสวงหา และใช้ข้อมูลทางสุขภาพให้เป็นประโยชน์ และเฝ้า 19


ระวังดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนได้สามารถควบคุม ภาวะสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองมากขึ้นกระบวนการนี้สามารถจัดให้เกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้าน โรงเรียน ในที่ทํางาน และในชุมชน ทั้งนี้องค์กร/หน่วยงานต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา วิชาชีพ ธุรกิจ อาสาสมัคร จะต้อง มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมในองค์กรร่วมกัน 5. การปรับระบบบริการสาธารณสุข (Reorienting Health Services) การปรับระบบบริการ สาธารณสุข หมายถึง องค์กรสุขภาพต้องปรับเปลี่ยนบริการจากเชิงรับที่เน้นการรักษาเฉพาะบุคคล มาเป็น เชิงรุกที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ภาระหน้าที่ของระบบบริการสุขภาพในการส่งเสริมสุขภาพ เป็น ความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบุคคล ชุมชน ทีมสุขภาพ สถาบันบริการสุขภาพและรัฐบาลต้องทํางาน ร่วมกั น เพื่อมุ่งไปสู่สุ ขภาพของประชาชน การปรั บเปลี่ยนระบบบริก ารสาธารณสุ ข จํ าเป็ น ต้องให้ ความสําคัญกับงานวิจัยทางด้านสุขภาพและหลักสูตรการฝึกอบรมของบุคลากรสาธารณสุข เพื่อนําไปสู่การ ปรับเจตคติ การปรับทิศทาง ที่สําคัญคือการปรับระบบบริการให้เน้นการดูแลสุขภาพของบุคคลในลักษณะ องค์รวม มีการดูแลสุขภาพแบบพหุลักษณ์ คือ ใช้ทั้งระบบการแพทย์แผนตะวันตก การแพทย์พื้นบ้าน และ ภูมิปัญญาไทยที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และเพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน จะเห็น ได้ว่า ยุทธ์ศ าสตร์ก ารส่ง เสริมสุขภาพ ตามกฎบัต รออตตาวาเป็น การส่งเสริม สุขภาพแนวใหม่ที่สอดคล้องกับสิทธิและหน้าที่ของคนไทย ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 มาตรา 52 และ 82 ซึ่งกําหนดให้คนไทยทุกคนได้รับโอกาส และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ใน การเข้าถึงบริการสุขภาพ และได้รับบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานเดียวกัน โดยไม่ คํานึงถึงฐานะทาง เศรษฐกิจ และสังคม อีกทั้งยังเป็นดัชนีชี้วัดการส่งเสริมสุขภาพภายใต้นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า (วรรณดี จันทรศิริ, 2545) ซึ่งจะบรรลุความสําเร็จอย่างยั่งยืนจะต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจ จากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ทุกระดับ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ดําเนินการภายใต้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และทํางานอย่างเป็นเอกภาพ (สมบูรณ์ ขอสกุล, 2548) การ สนับสนุนให้มีแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว นับเป็นการเพิ่มพูนความสามารถของปัจเจกบุคคลในการ ส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ตามยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เพื่อนําไปสู่การ เสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง 3. การส่งเสริมสุขภาพตามนโยบายเมืองไทยแข็งแรง จากยุ ทธ์ศ าสตร์การส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา กระทรวงสาธารณสุ ขได้นํามาเป็ น แนวคิด เชิงยุทธ์ศ าสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์ก ารส่ง เสริมสุ ขภาพ เพื่อลดปั จจัยเสี่ยงเชิง พฤติกรรมสุขภาพและลดโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ โดยใน ปี พ.ศ.2548 ได้ทําการ รณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ 6 ด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศในขณะนั้น โดยกําหนดเป็น 20


นโยบายเมืองไทยแข็งแรงหรือนโยบาย 6 อ. มีเป้าหมายในการสร้างสุขภาพคนไทยให้ครอบคลุมมิติต่างๆ ดังนั้นแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวจึงมีส่วนสําคัญในการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยการสนับสนุนให้ สมาชิกครอบครัวมีการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “เมืองไทยแข็งแรง” 3.1 นโยบายและเป้าหมาย “เมืองไทยแข็งแรง” (Healthy Thailand) เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายแห่ง การพัฒนา รัฐ บาลจึงได้ประกาศนโยบาย และเป้าหมาย “เมืองไทยแข็งแรง” (Healthy Thailand) ดังนี้ (สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2547) 1. ความแข็งแรงของสุขภาพในมิติทางกาย (Physical Health) 1.1 คนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ เพื่อสุขภาพแข็งแรงใน ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ทุกหน่วยงานและสถานประกอบการ 1.2 คนไทยได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และเพียงพอต่อ ความต้องการของร่างกาย จากแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษปนเปื้อน ตลาดสด ร้านอาหาร และแผง ลอยจําหน่ายอาหารทุกแห่งได้มาตรฐานสุขอนามัย สถานที่ผลิตอาหารทุกแห่งผ่านเกณฑ์GMP (Good Manufacturing Practice) 1.3 คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวพร้อมสุขภาพที่แข็งแรง อัตราการป่วยและตาย ด้วยโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดันต้น ๆ ของคนไทยลดน้อยลงอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค เอดส์ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไข้เลือดออก และโรคเบาหวาน 1.4 คนไทยลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ 1.5 คนไทยมีอัตราการบาดเจ็บและตายด้วยอุบัติเหตุลดน้อยลง 1.6 คนไทยทุกคนมีหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน 2. ความแข็งแรงของสุขภาพในมิติทางจิตใจ (Mental health) 2.1 คนไทยมีครอบครัวที่อบอุ่น เด็ กและผู้สู งอายุได้รับการดู แลเอาใจใส่จ าก ครอบครัว 2.2 คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตาย ตลอดจนการป่วยด้วยโรคทางจิตประสาทลด น้อยลง 2.3 คนไทยมีความฉลาดทางสติปัญญา (I.Q.) และความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q.) เพิ่มมากขึ้นในระดับที่ต้องไม่ต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล 3.2 ความแข็งแรงของสุขภาพในมิติทางสังคม (Social health) และเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) 3.2.1 คนไทยมีความปลอดภัยจากอาชญากรรม และความรุนแรงที่ก่อให้เกิดการ ประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย และจิตใจ การประทุษร้ายทางเพศ และการประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน 21


3.2.2 คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียน ไม่น้อยกว่า 12 ปี และมี โอกาสเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะทางสุขภาพ (Health Skill) และ ทักษะการดําเนินชีวิตอย่างเหมาะสม (Life Skill) 3.2.3 คนไทยมีสัมมาอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดํารงชีวิตอย่างปกติสุข 3.2.4 คนไทยมีที่อยู่อาศัยทีถ่ ูกสุขลักษณะ มีน้ําสะอาด เพื่ออุปโภค บริโภค เพียงพอและดํารงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสขุ ภาพดี 3.3. ความแข็งแรงของสุขภาพในมิตทิ างปัญญา / จิตวิญญาณ (Spiritual Health) 3.3.1 คนไทยลด ละ เลิกอบายมุข และสิ่งเสพติด 3.3.2 คนไทยมีความรู้ รัก สามัคคี มีความอาทรเกื้อกูลกัน 3.3.3 คนไทยมีสติและปัญญาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่าง ๆ ด้วยเหตุผล และด้วยสันติวธิ ี 3.3.4 คนไทยยึดมัน่ ในหลักศาสนา และวัฒนธรรมทีด่ ีงาม 4. แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ตามหลักสูตรมาตรฐาน กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ แกนนําสุขภาพประจําครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดขึน้ จากแนวคิดทีใ่ ห้ความสําคัญกับ สถาบันครอบครัว โดยมุ่งเน้นให้บุคคลมีความรู้ในการดูแลสุขภาพจนสามารถดูแลตนเอง และครอบครัวได้ ในระดับหนึ่ง รวมถึงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับชุมชนได้ โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่าง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ในการพิจารณาคัดเลือกแกนนําสุขภาพ ประจําครอบครัวทีส่ มัครใจและเต็มใจ เข้าร่วมเป็นแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว และมีความพร้อมใน การปฏิบัตงิ าน โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. สามารถอ่านออกเขียนได้ 2. มีความยินดีและเต็มใจเข้าร่วมเป็นแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว 3. มีภูมิลําเนาอยู่ในหมู่บ้านกลางดง เมื่อได้คัดเลือกแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวแล้วก็ได้มีการดําเนินการอบรม โดยได้จัด ให้มีการอบรมแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวขึ้น ในปีงบประมาณ 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้แกน นําสุขภาพประจําครอบครัวสามารถให้การดูแลสุขภาพของสมาชิกครอบครัว ดังนี้ : 1. เป็นแกนหลักของครอบครัว ในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัว ตั้งแต่การป้องกัน การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและการตัดสินใจส่งต่อไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีโดยได้ อบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคที่พบบ่อยในท้องถิ่น เป็นต้น 2. เป็นแกนนําในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของคนในครอบครัว ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธี 22


การดูแลสุขภาพอนามัย ตามแนวทางสุขบัญญัติ 10 ประการ 3. เป็นตัวแทนของครอบครัวในการประสานงานรับสิ่งสนับสนุนในการป้องกันการเจ็บป่วย แก้ไขปัญหาสาธารณสุข การพัฒนาสุขภาพอนามัยของครอบครัวและคนในหมู่บ้าน 4. เป็นเครือข่ายร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจํา หมู่บ้านในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัว และพัฒนางานสาธารณสุขในหมู่บ้าน โดยมีคู่มือแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว หลักสูตรมาตรฐาน กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนําไปใช้เป็นคู่มือประกอบการฝึกอบรม กสค. ปีงบประมาณ 2554 มีเนื้อหา 3 หมวด ดังนี้ : หมวดที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย อาหารเพือ่ สุขภาพ การนวดคลาย ปวด คลายเครียด สุขบัญญัติ 10 ประการ และการล้างมือ หมวดที่ 2 การป้องกันโรคและดูแลสุขภาพเบื้องต้น ประกอบด้วย อาการไข้ ตัว ร้อน และการใช้ยาที่ถกู ต้อง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคอุจจาระร่วงป้องกันได้ด้วยตนเอง หมวดที่ 3 การสุขาภิบาลสิง่ แวดล้อมและครัวเรือน ประกอบด้วย การสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมและการสุขาภิบาลครัวเรือน 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วนิดา วิระกุลและถวิล เลิกชัยภูมิ (2542) วิจัยเรื่องการพัฒนา กสค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ปั ญหาอุ ปสรรคในด้านการพัฒนา กสค. คือ งบประมาณ โดยเจ้าหน้าที่ส าธารณสุ ขผู้ดําเนิน โครงการเห็น ว่า งบประมาณล่าช้า มีความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงบประมาณ ค่อนข้างน้อย ส่วนการคัดเลือก กสค. เข้าอบรมมอบให้ประชาชนในพื้นที่คัดเลือกกันเอง และมีผู้นําชุมชน เป็นผู้ร่วมพิจารณา มีการอบรม 1 วัน หน่วยงานสาธารณสุขระดับอําเภอเป็นผู้จัดทําหลักสูตรเอง ใช้ วิธีการสอนโดยการบรรยาย มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป็นวิทยากร ในการอบรมครั้งนี้ พบว่า การ มีส่วนร่วมของวิทยากรหลายๆคน หลายๆ หน่วยงาน มีผลต่อความรู้ของ กสค. อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ วนิดา วิระกุลและคนอื่นๆ (2544) วิจัยเรื่องรูปแบบและระบบการพัฒนาการเรียนรู้ของ กสค. พบว่า งบประมาณการใช้จ่ายในการอบรมมีความแตกต่างกั น มาก บางแห่ง ค่าใช้จ่ายในการอบรมมี ค่าใช้จ่ายสูงกว่าระเบียบที่กําหนดไว้ และพบว่าการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ กสค. เป็นกิจกรรมที่ไม่ ต่อเนื่อง การวางแผนไม่ชัดเจน ไม่มีกระบวนการในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนร่วมกันระหว่าง กสค. และ อสม. การนิเทศ ติดตาม และการสนับสนุนการดําเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สมาน นิ่มนวลและรุ่งนภา ยศตื้อ (2542) วิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ อนามัยระดับครอบครัวจังหวัดลําปาง พบว่า มีการกําหนดรูปแบบการพัฒนา กสค. โดยการคัดเลือก ตัวแทนในครัวเรือนเข้มาอบรม 1 วัน ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยตามสภาพปัญหา 23


ของจังหวัดในเรื่องโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัดและปอดบวม ไข้เลือดออก โรคเอดส์ และโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคขาดสารอาหาร สุขภาพอนามัยในช่องปาก และการคุ้มครอง ผู้บริโภคอาหารและยา เป็นต้น และใช้รูปแบบการอบรมเป็ นฐาน ส่ง ผลต่อความเชื่อมั่นในการปฏิบัติ บทบาทของ กสค. อยู่ในระดับมาก จุฑาพร เกษมภักดีพงษ์ (2542) วิจัยเรื่อง การประเมินผลโครงการพัฒนา กสค. จังหวัดเพชรบุรี พบว่า การพัฒนา กสค. จังหวัดเพชรบุรี มีคณะกรรมการดําเนินงานทั้งในระดับจังหวัด อําเภอ และ ตําบล โดยเจ้าหน้าที่สธารณสุขในพื้นที่ร่วมกับ อสม. ทําการคัดเลือก กสค. ใช้เวลาอบรม 1 วัน โดยมี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับอําเภอและตําบลนั้นๆ ร่วมกับ อสม. ในพื้นที่เป็นวิทยากร ใช้วิธีการสอน แบบบรรยาย สาธิต และฝึกปฏิบัติเป็นบางรายวิชา โดยใช้คู่มือการอบรม กสค. เป็นแนวทางในการ อบรม ผลการประเมิน พบว่า กสค. ได้รับเอกสารเพียงร้อยละ 60 เนื่องจากเอกสารล่าช้า กสค. ที่เข้า รับการอบรม เห็นว่าการอบรมครั้งนี้มีความเหมาะสมในระดับมาก เนื่องจากได้รับความร็ในการดูแ ล สุขภาพตนเองและคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น วิจิตต์ สีมา (2543) พบว่า หมู่บ้าน/ชุมชนมีแหล่งความรู้ด้านสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับปานกลาง กสค. ได้รับคู่มือร้อยละ 99.5 อสม. ให้คําแนะนําข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพแก่ กสค. ร้อยละ 87.1 กสค. ได้ รั บ ข้ อ มู ล ข่ า วสารด้า นสุ ข ภาพอนามั ย ทุ ก เดื อ นและ 1-2 เดื อน/ครั้ ง ร้ อ ยละ 67.8 และ 63.4 ตามลําดับ โดยได้รับข้อมูลจากหอกระจายข่าวร้อยละ 60.4

24


บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย 1. รูปแบบการวิจัย การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดําเนินงาน โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554 ตามหลัก สูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนําข้อมู ลที่ได้ในแต่ละส่วนไปใช้ใ นการปรั บปรุงหาแนวทางที่ เหมาะสมในการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ต่อไป โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ความรู้จากการเข้ารับการอบรมการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) และความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. ตอนที่ 3 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหาร รพ.สต. จํานวน 11 คน กสค. จํานวน 1,700 คน และ บุคคลในครอบครัว กสค. 6,800 คน รวมทั้งสิ้น 8,511 คน 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการฯ ประกอบด้วย ผู้บริหาร รพ.สต. จํานวน 11 คน กสค. จํานวน 108 คน และบุคคลในครอบครัว กสค. 424 คน รวมทั้งสิ้น 535 คน 2.3 การคํานวณขนาดตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง 2.3.1 ขนาดตัวอย่าง ผู้วิจัยคํานวณหาขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ โดย พิจารณาจากขนาดประชากรกลุ่มเป้าหมาย (Yamane, 1973 อ้างใน ธีวุฒิ เอกะกุล, 2543) กําหนดค่า ความคาดเคลื่อนร้อยละ 0.05 จากจํานวนประชากรทั้งหมด

n=

N 1+Ne2 25


เมื่อ n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง N = ขนาดประชากร e = ค่าความคาดเคลือ่ นของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้ แทนค่าจากสูตร

n=

8511 2 1+ 8511 (0.05)

n = 382.15 หรือประมาณ 383 คน กลุ่มตัวอย่างที่เก็บเป็นจํานวนเต็ม คือ 383 คน 2.3.2 การสุ่มตัวอย่าง คํานวณขนาดกลุ่มตั วอย่างตามสั ดส่วนประชากร และสุ่มกลุ่มตั วอย่างโดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลากไม่ทดแทน จะได้กลุ่มตัวอย่าง ตามจํานวนที่ต้องการศึกษา แยกตามอําเภอดังตารางที่ 1 ตารางที่ ๑ ตารางแสดงประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยแยกเป็นรายอําเภอ อําเภอ ผบ.รพ. ตัวอย่าง กสค. ตัวอย่าง ปช.ใน เขาวง-นาคู สต. ครอบครัว 1. ตําบลสระพังทอง 1 1 150 10 600 2. ตําบลกุดสิมคุ้มใหม่ 1 1 150 10 600 3. ตําบลสงเปลือย 1 1 200 12 800 4. ตําบลหนองผือ 1 1 150 10 600 5. ตําบลนาคู 1 1 150 10 600 6. ตําบลสายนาวัง 1 1 300 18 1,200 7. ตําบลโนนนาจาน 1 1 150 10 600 8. ตําบลภูแล่นช้าง 1 1 150 10 600 9. ตําบลบ่อแก้ว 1 1 300 18 1,200 รวม 11 11 1,700 108 6,800

26

ตัวอย่าง 38 38 48 38 38 74 38 38 74 424


3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์ (Interview) ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กําหนดขึ้นดังต่อไปนี้ 1. การสร้างแบบสอบถาม 1.1 นําวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดมากําหนดประเด็นในการศึกษา 1.2 ศึกษาเอกสาร แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดกรอบ แนวคิดการวิจัย 1.3 สร้างแนวคิดในการวิจัยโดยพิจารณาแนวคิดให้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์มาสร้างเป็น แบบสอบถาม 1.4 นําแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวที่มีคุณลักษณะ ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 30 คน เพื่อหาความเที่ยงตรงและความเชื่อถือ ได้ และทดสอบความยากง่ายของแบบทดสอบความรู้ใช้ KR-20 จากนั้นวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามทั้งฉบับ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS/FW ได้ค่าความยาก-ง่ายอยู่ระหว่าง 0.24-0.93 และมีค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากั บ 0.82 1.5 นําแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป 1.6 แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย จํานวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1.6.1 แบบสอบถามประเมิน ความรู้ก่อน-หลัง การอบรมแกนนํ าสุ ขภาพประจํ า ครอบครัว แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมู ล ทั่ วไปของผู้ต อบแบบสอบถาม เป็ น แบบตรวจรายการ เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ เป็นต้น จํานวน 5 ข้อ ตอนที่ 2 ประเมิ น ความรู้ ก่ อ น-หลั ง การอบรม เป็ น แบบเป็ น แบบ เลือกตอบ จํานวน 20 ข้อ ตอนที่ 3 การสอบถามติดตามการประเมิน พฤติก รรมแกนนํ าสุ ขภาพ ประจําครอบครัว จํานวน 14 ข้อ 1.6.2 แบบสอบถามความความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัตงิ าน ของ กสค. แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผูต้ อบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจรายการเกี่ยวกับ ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ เป็นต้น จํานวน 5 ข้อ 27


ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. ฯ เป็นแบบ ประเมินค่า 3 ระดับ จํานวน 21 ข้อ ตอนที่ 3 ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะต่อการดําเนินโครงการฯ จํานวน 2 ข้อ 1.6.3 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหาร จัดการโครงการฯ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบประเมินความคิดเห็นด้านบริบท เป็นแบบตรวจรายการและแบบประเมิน ค่า 5 ระดับ จํานวน 7 ข้อ ตอนที่ 2 แบบประเมินความคิดเห็นด้านปัจจัยนําเข้า เป็นแบบตรวจรายการและแบบ ประเมินค่า 5 ระดับ จํานวน 24 ข้อ ตอนที่ 3 แบบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินโครงการฯ จํานวน 7 ข้อ ๔. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดําเนินการเก็บข้อมูลในเดือน เมษายน 2554 - กันยายน 2554 โดยดําเนินการ ดังนี้ 4.1 ทํ า หนั ง สื อ ราชการจากสํ า นั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ์ ป ระสานงานกั บ โรงพยาบาลชุมชนและสํานักงานสาธารณสุขอําเภอเขาวงและอําเภอนาคู โดยขอความอนุเคราะห์และขอ อนุญาตในการเข้าดําเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ และกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่ทําการศึกษา 4.2 ประสานงานกับ รพ.สต. และหมู่บ้านเป้าหมาย ทั้ง 9 ตําบล เพื่อนัดวัน-เวลา ใน การเข้าเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 4.3 ทีมนักวิจัยดําเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ตามวัน-เวลาที่นัดหมาย จากนั้น ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของคํ าตอบในแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูลทั้ง หมด เพื่อ นําไปวิเคราะห์หาค่าทางสถิติต่อไป 5. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS/FW วิเคราะห์อธิบายการกระจายตัวแปรเดียว และวิเคราะห์อธิบายการกระจายและความสัมพันธ์ของตัวแปร ด้วยค่าสถิติดังนี้ 1) การวิเคราะห์ระดับตัวแปรเดียว สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อให้ทราบลักษณะการกระจายของตัวแปร ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของ ตัวแปร 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระดับตัวแปรใช้สถิติ Paired t-test และ F-test 28


๖. สถานที่ดําเนินการวิจัย หมู่บ้านเป้าหมายในโครงการพัฒนาศักยภาพ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ อําเภอเขาวง-นาคู จังหวัด กาฬสิน ธุ์ ปีง บประมาณ 2554 ที่มี กสค. ที่ผ่านการอบรมหลั กสู ต รผู้ดู แลสุ ขภาพประจํ าครอบครั ว จังหวัด กาฬสินธุ์ จํ านวน 9 ตําบล ดัง นี้ ตํ าบลโนนนาจาน ตําบลสระพัง ทอง ตําบลกุดสิมคุ้มใหม่ ตําบลสงเปลือย ตําบลหนองผือ ตําบลนาคู ตําบลภูแล่นช้าง ตําบลบ่อแก้ว ตําบลสายนาวัง ๗. ระยะเวลาดําเนินการ ระหว่างเดือน เมษายน 2554 - กันยายน 2554

29


บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2554 กรณีศึกษา : แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) อําเภอ เขาวง-นาคู ผู้ศึกษา ได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ลําดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการแปลความหมายและเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องตลอดจน การสื่อความหมายของข้อมูลที่ตรงกัน ผู้ศึกษาได้กําหนดความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ n แทน จํานวนกลุ่มตัวอย่าง S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน df แทน ชั้นของความเป็นอิสระที่ n - 1 f แทน สถิตทิ ี่ใช้เทียบกับค่าวิกฤตจากการแจกแจงแบบ f SS แทน ผลรวมของกําลังสองที่ปรับแล้ว MS แทน ค่าประมาณของความแปรปรวน p-value แทน ค่านัยสําคัญ ลําดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศกึ ษาได้ดําเนินการตามลําดับขัน้ ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ความรู้ ความเข้าใจจากการเข้ารับการอบรมการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจํา ครอบครัว (กสค.) และความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ตอนที่ 2 ความความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบตั ิงานของ กสค. ตอนที่ 3 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ 30


ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล : ความรู้จากการเข้ารับการอบรมการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจํา ครอบครัว (กสค.) ตาราง 1 คุณลักษณะทั่วไป กสค. คุณลักษณะ 1. เพศ - ชาย - หญิง 2. อายุ - ต่ํากว่า 30 ปี - อายุระหว่าง 30 – 45 ปี - อายุ 45 ปีขึ้นไป 3. ระดับการศึกษา - ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย - อนุปริญญา/เทียบเท่า - ปริญญาตรี/เทียบเท่า - สูงกว่าปริญญาตรี 4. อาชีพหลัก - ทํานา ทําไร่ ทําสวน เลี้ยงสัตว์ - ค้าขาย - รับจ้าง - รับราชการ 5. จํานวนสมาชิกที่พกั อาศัยในปัจจุบนั - 1-2 คน - 3-4 คน - มากกว่า 4 คน 31

จํานวน ( n = 108)

ร้อยละ

19 89

17.60 82.40

37 58 13

34.26 53.70 12.04

11 22 17 25 27 6

10.18 20.38 15.74 23.15 25.00 5.55

69 20 16 3

63.89 18.52 14.81 2.78

39 44 25

36.11 40.75 23.14


จากตาราง 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.40 อายุระหว่าง 30 – 45 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.70 ระดับการศึกษา ระดับปริญญาตรี/เทียบเท่ามากที่สดุ ร้อยละ 25.00 ประกอบอาชีพทํานา ทําไร่ ทําสวน เลี้ยงสัตว์ มากทีส่ ดุ ร้อยละ 63.89 และมีจํานวนสมาชิกที่พกั อาศัยในปัจจุบัน 3-4 คนมากที่สดุ ร้อยละ 40.75 ค่าประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) การหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ผู้วิจัยได้ ใช้วิธีของ กุดแมน เฟลทเชอร์ และชไนเดอร์ (Goodman, Fletcher and Schnieder) (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2545:279) ดังนี้ ดัชนีประสิทธิผล = ผลรวมของคะแนนทดสอบหลังเรียน – ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน (E.I.) (จํานวนผู้เข้าอบรม x คะแนนเต็ม) – ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน สามารถสรุปเป็นตารางได้ดังนี้ ตาราง 2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) โดยรวมและรายตําบล คะแนน คะแนน ค่าดัชนี ตําบล จํานวน ก่อน หลัง ประสิทธิผล ค่าการเรียนรู้ สระพังทอง 10 246 511 .7486 74.86 กุดสิมคุ้มใหม่ 10 258 569 .9094 90.94 สงเปลือย 12 400 609 .6531 65.31 หนองผือ 10 249 554 .8689 86.89 นาคู 10 201 497 .7419 74.19 สายนาวัง 18 494 995 .8549 85.49 โนนนาจาน 10 218 588 .9686 96.86 ภูแล่นช้าง 10 211 504 .7532 75.32 บ่อแก้ว 18 333 1028 .9304 93.04 รวม 108 2,610 5,855 .8385 83.85

32


จากตาราง 2 พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) โดยรวม มีค่าเท่ากับ .8385 ซึ่งหมายถึง แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ที่เข้าอบรม ตามรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 83.85 โดยตําบลที่แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ที่เข้าอบรมตามรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพ ประจําครอบครัว (กสค.) มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ตําบลโนนนาจาน บ่อแก้ว และกุดสิมคุ้มใหม่ ตามลําดับ ( มีค่าการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 96.86 93.04 และ 90.94 ตามลําดับ ) และตําบลที่มีค่าการ เรียนรู้เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ สงเปลือย นาคู และสระพังทอง ตามลําดับ ( มีค่าการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.31 74.19 และ 74.86 ตามลําดับ) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล : การแสดงความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการ พัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ การแปลค่า 2.51-3.00 หมายถึง ตรงกับสภาพความเป็นจริงมาก 1.51-2.50 หมายถึง ตรงกับสภาพความเป็นจริงปานกลาง 1.00-1.50 หมายถึง ไม่ทราบ/ตรงกับสภาพความเป็นจริงน้อย ตารางที่ 3 ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ รายการ ก่อนดําเนินโครงการพัฒนาฯ กสค.จังหวัดกาฬสินธุ์ 1.ก่อนเป็น กสค. ครอบครัวท่านมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย มาก 2.การอบรม กสค. จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ์ ส อดคล้ อ งกั บ ความ ต้องการของท่าน 3.ท่านมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็น กสค. ในชุมชน 4.การเป็น กสค. มีส่วนช่วยให้บุคคลในครอบครัวของท่านมี พฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น 5.การเป็ น กสค. ไม่ ส ามารถช่ ว ยให้ สุ ข ภาพของคนใน ครอบครัวของท่านดีขึ้น รวม 33

ค่าเฉลี่ย

S.D.

ระดับ

2.6449

.6181

มาก

2.7290

.5591

มาก

1.7757 2.7290

.7562 .5060

ปานกลาง มาก

2.8037

.4438

มาก

2.5365

.5766

มาก


จากตารางที่ 3 ความคิดเห็ นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จั งหวั ด กาฬสินธุ์ ก่อนดําเนินโครงการพัฒนาฯ กสค.จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ความคิดเห็นของ กสค. ก่อน ดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5365 + .5766 เมื่อพิจารณา รายละเอียด พบว่า กสค. มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็น กสค. ในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.7757 + .7562 ตารางที่ 4 ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ รายการ การฝึกอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 1.เนื้อหาที่อบรม กสค. ตรงกับความต้องการของท่าน 2.วิท ยากรที่อ บรม กสค. มีค วามรู้ ความสามารถตรงกั บ เนื้อหาที่จัดอบรม 3.สถานที่จัดอบรม กสค. มีความเหมาะสม 4.ระยะเวลาในการจัดอบรมมีความเหมาะสม 5.สื่อ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมมีความเหมาะสม รวม

ค่าเฉลี่ย

S.D.

ระดับ

2.3832 2.5607

.6956 .4986

ปานกลาง มาก

2.6262 2.6822 2.6449 2.5794

.5583 .5248 .5000 .5555

มาก มาก มาก มาก

จากตารางที่ 4 ความคิดเห็น ของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพั ฒนาฯ กสค. จั งหวั ด กาฬสินธุ์ เกี่ยวกับการฝึกอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.5794 + .5555 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า เนื้อหาที่อบรม กสค. ตรงกับความต้องการ ของ กสค. อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.3832 + .6956

34


ตารางที่ 5 ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ รายการ หลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ 1.เนื้ อหาในหลั ก สู ต ร/คู่มื อ/เอกสาร กสค. มี ความชั ด เจน เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งาน/เรียนรู้ 2.เนื้อหาในหลักสูตรสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของ ท่าน 3.เนื้อหาในหลั กสู ตรสอดคล้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่ท่าน ต้องการแก้ไข 4.เนื้ อ หาในหลั ก สู ต รสอดคล้ อ งกั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการ ดําเนินงานโครงการฯ และนําไปปฏิบัติได้จริง 5.เนื้อหาในหลักสูตรเข้าใจง่าย แต่ไม่สอดคล้องกับบริบทของ พื้นที่/ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง รวม

ค่าเฉลี่ย

S.D.

ระดับ

2.4486

.5534

ปานกลาง

2.6449

.6181

มาก

2.1963

.8404

ปานกลาง

2.6262

.5583

มาก

2.6729

.5280

มาก

2.5178

.6196

มาก

จากตารางที่ 5 ความคิดเห็ นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จั งหวั ด กาฬสินธุ์ เกี่ยวกับหลักสูตร กสค. จังหวั ดกาฬสินธุ์ ภาพรวมอยู่ใ นระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากั บ 2.5178 + .6196 เมื่อพิจารณารายละเอียด กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาในหลักสูตร สอดคล้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่ท่านต้องการแก้ไข และเนื้อหาในหลักสูตร/คู่มือ/เอกสาร กสค. มีความ ชัดเจน เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งาน/เรียนรู้ อยู่ในระดั บปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.1963 + .8104 และ 2.4486 + .5534 ตามลําดับ

35


ตารางที่ 6 ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองและคนใน ครอบครัว ด้านความเข้าใจต่อบทบาท กสค. รายการ 1.กสค. คือ ตัวแทนของครอบครัวด้านสุขภาพ เพื่อทําหน้าที่ ประสานงานและค้น หาโรคที่สํ าคัญในพื้น ที่ร่วมกั บ อสม. และ จนท.สาธารณสุข 2.กสค. คือ ตัวแทนของครอบครัวในการปฏิบัติงานด้านการ รักษาพยาบาลเบื้องต้นที่สุขศาลาร่วมกับ อสม. ในพื้นที่ 3.กสค. คื อ ตั ว แทนของครอบครั ว ในการให้ คํ า แนะนํ า กระตุ้ น ให้ค นในครอบครั วสนใจและหั น มาดู แ ลสุ ข ภาพของ ตนเอง 4.กสค. คือ ผู้เป็ นแบบอย่างในการดู แลสุขภาพของตนเอง และช่วยเหลือ แนะนํ า พฤติก รรมสุ ข ภาพที่ถู ก ต้ องแก่คนใน ครอบครัวและบุคคลอื่น 5.กสค. คือ ผู้ดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่คนในครอบครัว เมื่อมี การเจ็ บป่วยเล็ กน้อย เช่น อุจ จาระร่วง ไข้ตัวร้อน เป็น หวั ด เป็นต้น รวม

ค่าเฉลี่ย 2.7850

S.D. .4349

ระดับ มาก

2.7103

.5988

มาก

2.5888

.7262

มาก

2.4766

.7566

ปานกลาง

2.2804

.6263

ปานกลาง

2.5682

.6286

มาก

จากตารางที่ 6 ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองและคน ในครอบครัว ด้านความเข้าใจต่อบทบาท กสค. พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5682 + .6286 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า กสค. มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทผู้ดูแลสุขภาพ เบื้องต้นแก่คนในครอบครัว เมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น อุจจาระร่วง ไข้ตัวร้อน เป็นหวัด เป็นต้น และเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพของตนเอง และช่วยเหลือ แนะนํา พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่ คนในครอบครัวและบุคคลอื่น อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.2804 + .6263 และ 2.4766 + .7566 ตามลําดับ

36


ตารางที่ 7 ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัตติ ัวในการดูแลสุขภาพตนเองและคนใน ครอบครัว ด้านการปฏิบัติตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องของ กสค. และคนในครอบครัว รายการ 1.ท่านแนะนําให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสําคัญในการดูแ ลเท้า ตนเองเป็นพิเศษ 2.ท่านแนะนําให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมเฉพาะระดับน้ําตาลในเลือด โดยไม่จําเป็นที่ต้องควบคุมน้ําหนักก็ได้ 3.ท่านแนะนํ าให้ผู้ป่วยโรคความดั นโลหิต สู งควรงดอาหารประเภทมั น เค็ม และหวานจัด 4.ท่านแนะนําให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรวัดความดันโลหิตทุกครั้ง ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง 5.ท่านแนะนําเรื่องการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โดยควรหลีกเลี่ยง อาหารรสหวาน รสเค็ม และอาหารไขมันสูง 6.ท่านแนะนําผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกาย บ่อย เนื่องจากจะทําให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเร็วขึ้น 7.ท่านแนะนําประโยชน์ของการดื่มน้ําเกลือแร่ ORS สามารถช่วยป้องกัน การขาดน้ําและเกลือแร่ในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงได้ 8.ท่านแนะนําผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงไม่จําเป็นต้องงดอาหารและน้ํา 9. ท่านควรเช็ด ตัวด้วยน้ําเย็ นจัด เมื่อเด็ก ในปกครองมีอาการไข้ตัวร้อน เพราะจะทําให้อาการไข้ลดลงเร็วขึ้น 10.ท่านแนะนําคนในครอบครัวว่า ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ปลอดภัย ที่สุดในการบรรเทาอาการไข้ โดยรับประทาน ๑-๒ เม็ด ทุก ๔-๖ ชั่วโมง (ส่วนเด็กเล็กและเด็กโตใช้ตามขนาดน้ําหนัก) 11.ท่านจัดเตรียมอาหารในครัวเรือนบนโต๊ะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม. 12.ท่านจั ด ห้องนอนโดยไม่ปูเ สื่อหรือพรมขนาดใหญ่เกิน ความจํ าเป็ น เพราะเป็นที่กักเก็บฝุ่นได้ 13.ท่านแนะนําบุคคลอื่นว่าปัจจัยหลักที่ทําให้เกิดมะเร็งส่วนใหญ่เกิดจาก 37

ค่าเฉลี่ย S.D. ระดับ 2.4206 .8245 ปานกลาง 2.1028

.8234 ปานกลาง

2.7009

.5178

มาก

2.1088 .6038 ปานกลาง 2.5421 .6768

มาก

2.3645 .7696 ปานกลาง 2.2523 .7535 ปานกลาง 2.6822 .5248 2.6729 .5280

มาก มาก

2.6449

.6181

มาก

2.6449 .5004 2.6262 .5583

มาก มาก

2.6262 .5583

มาก


รายการ

ค่าเฉลี่ย

พฤติกรรมการอยู่กินที่ไม่ถูกต้อง 14.บุคคลในครอบครัวของท่านอย่างน้อย ๑ คน ดื่มสุราอย่างน้อย ๑๒ ครั้งต่อสัปดาห์เป็นประจํา 15.ท่านออกกําลัง กายอย่างน้อย ๓ วัน/สัปดาห์ ครั้งละ ๓๐ นาที เป็ น ประจํา 16.บุคคลในครอบครัวของท่านมีอย่างน้อย ๑ คนไม่เคยออกกําลังกาย เลย 17.ท่านไม่เคยควบคุมน้ําหนักตัวเอง 18.ท่านรั บประทานอาหารทุ กชนิด โดยไม่คํานึงถึงปริมาณสารอาหาร และคุณค่าที่มีต่อร่างกาย 19.บุ คคลในครอบครั วของท่ านมี อย่ างน้ อย ๑ คนมีพ ฤติก รรมการ รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ 20.ท่านและครอบครัวใช้ส้วมในการขับถ่ายอุจจาระเป็นประจํา รวม

S.D.

ระดับ

2.4486 .5534 ปานกลาง 2.1963

.8404 ปานกลาง

2.6729 .5280

มาก

2.2804 .6263 ปานกลาง 2.1963 .8404 ปานกลาง 2.7850 .4349

มาก

2.7290 .5060 2.6762 .6884

มาก มาก

จากตารางที่ 7 ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองและคน ในครอบครัว ด้านการปฏิบัติตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องของ กสค. และคนในครอบครั ว ภาพรวมอยู่ใ นระดั บมาก มีค่า เฉลี่ยเท่ากั บ 2.6762 + .6884 เมื่อพิจ ารณา รายละเอียด พบว่า กสค. มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัย ที่ถูกต้องของ กสค. และคนในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การแนะนํา ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุ มเฉพาะระดับน้ําตาลในเลือด โดยไม่จําเป็นที่ต้องควบคุมน้ําหนัก ก็ได้ มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.1028 + .8234 ตามลําดับ

38


ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล : ความความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบตั ิงานของ กสค. ตาราง 8 คุณลักษณะทั่วไปของประชาชน คุณลักษณะ 1. เพศ - ชาย - หญิง 2. สถานภาพ - โสด - สมรส - หม้าย/หย่า/แยก 3. ระดับการศึกษา - ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย - อนุปริญญา/เทียบเท่า - ปริญญาตรี/เทียบเท่า - สูงกว่าปริญญาตรี 4. อาชีพหลัก - ทํานา ทําไร่ ทําสวน เลี้ยงสัตว์ - ค้าขาย - รับจ้าง - รับราชการ 5. จํานวนสมาชิกที่พกั อาศัยในปัจจุบนั - 1-2 คน - 3-4 คน - มากกว่า 4 คน 39

จํานวน ( n = 424)

ร้อยละ

165 259

38.92 61.08

165 181 78

38.92 42.69 18.39

132 59 54 63 84 32

31.13 13.92 12.73 14.86 19.81 7.55

264 87 46 27

62.26 20.52 10.85 6.37

198 142 84

46.70 33.49 19.81


จากตาราง 8 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.08 สถานภาพสมรสมาก ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.69 มีระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษามากที่สดุ ร้อยละ 31.13 ประกอบ อาชีพทํานา ทําไร่ ทําสวน เลี้ยงสัตว์ มากทีส่ ุด ร้อยละ 62.26 และมีจํานวนสมาชิกที่พกั อาศัยใน ปัจจุบัน 12 คนมากทีส่ ุด คิดเป็นร้อยละ 46.70 ตารางที่ 9 แสดงความความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. การแปลค่า 2.51-3.00 หมายถึง การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของ กสค. ดีขึ้น/มากขึ้น 1.51-2.50 หมายถึง การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของ กสค. เหมือนเดิม 1.00-1.50 หมายถึง การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของ กสค. แย่ลง/น้อยลง รายการ ค่าเฉลี่ย S.D. ระดับ 1.กสค. เป็ น แบบอย่างในการดู แ ลสุ ขภาพของตนเอง และ 1.6407 .5622 เหมือนเดิม ช่วยเหลือแนะนําพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่คนในครอบครัว และบุคคลอื่น 2.กสค. ดู แ ลสุ ข ภาพเบื้อ งต้น แก่ คนในครอบครั วเมื่อมีก าร 2.4279 1.0525 เหมือนเดิม เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น อุจจาระร่วง ไข้ตัวร้อน และเป็นหวัด 3.กสค. ให้คําแนะนํา กระตุ้น ให้คนในครอบครัวสนใจและ 1.7518 .9040 เหมือนเดิม หันมาดูแลสุขภาพของตนเอง 4.กสค. ให้คําแนะนําผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน 1.5887 .9216 เหมือนเดิม 5.กสค. ให้คําแนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น ในการ 2.5461 1.2011 มากขึ้น ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน 6.กสค. แนะนํ า บุ ค คลในครอบครั ว และบุ ค คลอื่ น ในการ 2.7305 .4547 มากขึ้น ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 7.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับการ 2.7234 .5302 มากขึ้น วัดและแปลผลค่าความดันโลหิตสูง 8.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอืน่ เรื่องการ 2.6217 .5707 มากขึ้น ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด 9.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น เกี่ยวกั บ 2.6407 .4901 มากขึ้น การป้องกันโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 10.กสค. แนะนํ า บุ ค คลในครอบครั ว และบุ ค คลอื่ น เรื่ อ ง 2.6123 .5768 มากขึ้น 40


รายการ ประโยชน์ของการดื่มน้ําเกลือแร่ ORS ในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 11.กสค. แนะนํ าบุ คคลในครอบครั วและบุ ค คลอื่น ในการ ปฏิบัติตัวขณะป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 12.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นในการเช็ด ตัวลดไข้ 13.กสค. แนะนําคนในครอบครัวเกี่ยวกับการใช้ ยาพาราเซตา มอล ในการบรรเทาอาการไข้ 14.กสค. แนะนํ า บุ ค คลในครอบครั ว และบุ ค คลอื่ น ในการ จัดเตรียมอาหารในครัวเรือน 15.กสค. แนะนํ าบุ คคลในครอบครัวและบุ คคลอื่น เกี่ยวกั บ สุ ขาภิบาลครั วเรือน เช่น การจั ด ห้องนอน การจั ด ห้องครั ว การทําความสะอาดห้องน้ํา 16.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับการ ป้องกัน/ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง 17.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น เกี่ยวกั บ โทษของการดื่มสุรา 18กสค. แนะนํ าบุ คคลในครอบครั ว และบุ คคลอื่น เกี่ ยวกั บ ประโยชน์ในการออกกําลังกาย 19.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับการ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 20.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับโทษ ของการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ 21.กสค. แนะนําบุ คคลในครอบครั วและบุคคลอื่น ในการใช้ ส้วมเพื่อขับถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะ รวม

ค่าเฉลี่ย

S.D.

ระดับ

2.6336

.5381

มากขึ้น

2.5626

.5843

มากขึ้น

2.5697

.5753

มากขึ้น

2.6194

.5236

มากขึ้น

2.7707

.5304

มากขึ้น

2.6690

.5369

มากขึ้น

2.5957

.6116

มากขึ้น

2.7234

.5302

มากขึ้น

2.6076

.5262

มากขึ้น

2.6903

.5516

มากขึ้น

2.6076

.4984

มากขึ้น

2.5319

.5786

มากขึ้น

จากตาราง 9 พบว่า แสดงความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. ภาพรวมอยู่ในระดับมากขึ้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5319 + .5786 ส่วนการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของ กสค. ที่ 41


มีระดับการปฏิบัติต่ํ าที่สุ ด คือ การให้คําแนะนํ าผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุ มชน รองลงมาคือ กสค. เป็ น แบบอย่า งในการดู แ ลสุ ข ภาพของตนเอง และช่ วยเหลือ แนะนํ าพฤติก รรมสุ ขภาพที่ถู ก ต้องแก่คนใน ครอบครัวและบุคคลอื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.5887 + .9216 และ 1.6407 + .5622 ตามลําดับ ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล : ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหาร จัดการโครงการฯ การแปลค่า 4.51-5.00 หมายถึง ผลการประเมินตรงกับสภาพความเป็นจริงระดับมากที่สดุ 3.51-4.50 หมายถึง ผลการประเมินตรงกับสภาพความเป็นจริงระดับมาก 2.51-3.50 หมายถึง ผลการประเมินตรงกับสภาพความเป็นจริงระดับปานกลาง 1.51-2.50 หมายถึง ผลการประเมินตรงกับสภาพความเป็นจริงระดับน้อย 1.00-1.50 หมายถึง ผลการประเมินตรงกับสภาพความเป็นจริงระดับน้อยที่สดุ ตารางที่ 10 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทการบริหารจัดการโครงการฯ รายการ ค่าเฉลี่ย S.D. ระดับ ด้านบริบท 1.ประชาชนในพื้นที่ของท่านมีปัญหาด้านสุขภาพมาก 3.4545 .6875 มาก 2.ประชาชนในพื้ น ที่ของท่านมีพฤติ ก รรมการดู แ ลตนเองที่ 3.8182 .9816 มาก ถูกต้อง เหมาะสม 3.โครงการพั ฒ นาฯ กสค. จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ์ ที่ ผ่ า นมาไม่ 3.2727 .4671 ปานกลาง สอดคล้อง/ไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 4.กิจ กรรมในโครงการพั ฒนาฯ กสค. สอดคล้องกั บความ 3.8182 .7507 มาก ต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 5.เนื้ อ หาหลั ก สู ต รโครงการพั ฒ นาฯ กสค. สอดคล้ องกั บ 3.7273 .9045 มาก ปัญหาและความจําเป็นต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ 6.โครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่สามารถแก้ไข 3.3636 .9244 ปานกลาง ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้หมดไปได้ 42


รายการ 7.การตั ด สิน ใจดํ าเนิน การโครงการพั ฒ นาฯ กสค. จั ง หวั ด กาฬสินธุ์ เป็นการตัดสินใจที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการแก้ไข ปัญหาของพื้นที่/เป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง รวม

ค่าเฉลี่ย 3.5455

S.D. .9342

ระดับ มาก

3.5714

.8071

มาก

จากตารางที่ 10 ความคิดเห็ นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทการบริหารจัดการโครงการฯ ภาพรวมด้านบริบทการจั ดการโครงการฯ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5714 + .8071 เมื่อ พิจารณารายละเอียดด้านบริบท พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต มีความคิด เห็ นว่าโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ผ่านมาไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และโครงการพัฒนา ฯ กสค. จัง หวัดกาฬสิน ธุ์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ใ ห้หมดไปได้อยู่ในระดับปานกลาง มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2727 + .4671 และ 3.3636 + .9244 ตามลําดับ ตารางที่ 11 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านความเหมาะสมของการดําเนินงานแผนงาน/โครงการ รายการ 1.ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการฯ/แผนปฏิบัติการพัฒนาฯ กสค. จังหวั ดกาฬสินธุ์ สอดคล้องกั บนโยบายด้านสาธารณสุขของ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.นโยบายและแนวทางการดํ าเนิน งานที่ระบุในโครงการพั ฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์สอดคล้องกับความต้องการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ของพื้นที่ 3.การกําหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการฯ สอดคล้องกับ กลวิธีดําเนินงาน 4.แนวทางการดําเนิน งานที่ร ะบุใ นแผนปฏิบัติก ารมีความชั ดเจน สามารถนําไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ 5.แนวทางการดํ าเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการ ยังไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ของโครงการฯได้ 43

ค่าเฉลี่ย 3.4545

S.D. .6875

ระดับ ปานกลาง

3.7273

1.0090

มาก

3.3636

.8090

ปานกลาง

3.9091

.9438

มาก

3.7273

.6466

มาก


รายการ รวม

ค่าเฉลี่ย 3.6364

S.D. .8192

ระดับ มาก

จากตารางที่ 11 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านความเหมาะสมของการดําเนินงานแผนงาน/โครงการ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากั บ 3.6364 + .8192 เมื่อพิจ ารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริห าร รพ.สต. มีความคิด เห็ นว่าความ เหมาะสมของแผนงาน/โครงการฯ/แผนปฏิบัติการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์สอดคล้องกับนโยบาย ด้านสาธารณสุขของจังหวัดกาฬสินธุ์ และการกําหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการฯ สอดคล้องกับ กลวิธีดํ าเนิ น งานอยู่ใ นระดั บปานกลาง มี ค่าเฉลี่ยเท่ากั บ 3.4545 + .6875 และ 3.3636 + .8090 ตามลําดับ ตารางที่ 12 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านการรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ รายการ ค่าเฉลี่ย S.D. ระดับ 1.ท่า นมี ค วามเข้ าใจอย่า งชั ด เจนเกี่ ยวกั บ เนื้อ หาสาระการ 4.0909 .9438 มาก ดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค.จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.ท่ า นมี ค วามเข้ า ใจในวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายการ 3.8182 .8738 มาก ดําเนินงานโครงการฯ อย่างชัดเจน 3.ท่านคิด ว่าโครงการฯ นี้ สามารถปรั บเปลี่ยนพฤติก รรม 3.5455 1.0357 มาก สุขภาพที่ถูกต้องให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ 4.ท่านคิดว่าโครงการฯ นี้ สามารถลดอัตราการป่วย/ตายของ 3.5455 .9342 มาก โรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่ได้ 5.ท่านคิดว่าโครงการฯ นี้ สามารถกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ 3.4545 .8202 ปานกลาง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ รวม 3.6909 .9215 มาก จากตารางที่ 12 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านการรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.6909 + .9215 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริห าร รพ.สต มีความคิดเห็น ว่า 44


โครงการฯ นี้ สามารถกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4545 + .8202 ตารางที่ 13 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านความเพียงพอ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ รายการ ค่าเฉลี่ย S.D. ระดับ 1.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ มีจํานวนเพียงพอสําหรั บ 3.5455 .6875 มาก การดําเนินงาน 2.เจ้าหน้าที่ผู้รั บผิดชอบโครงการฯ มีความรู้ความสามารถ 3.0909 .5393 ปานกลาง สอดคล้องกับการปฏิบัติงานนี้ 3.เจ้ า หน้ า ที่ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบมี ภ าระงานที่ ส อดคล้ อ งกั บ การ 3.0909 .5393 ปานกลาง ปฏิบัติงานโครงการฯ นี้ 4.เจ้ า หน้ า ที่ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบมี ค วามพร้ อ มในการดํ า เนิ น งาน 3.4545 .8202 ปานกลาง โครงการฯ นี้ 5.เจ้ า หน้ า ที่ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบมี ภ าระงานไม่ ส อดคล้ อ งกั บ การ 3.3636 .8090 ปานกลาง ดําเนินงานโครงการฯ นี้ รวม 3.3091 .6791 ปานกลาง จากตารางที่ 13 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านความเพียงพอ ความพร้อมของผู้ รับผิดชอบโครงการพัฒนาฯ กสค. จัง หวัด กาฬสิน ธุ์ ภาพรวมอยู่ใ นระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.3091 + .6791 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริห าร รพ.สต. มี ความคิด เห็ น ว่าเจ้าหน้าที่ ผู้รั บ ผิด ชอบโครงการฯ มี จํ านวนเพียงพอสํ าหรั บการ ดําเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5455 + .6875

45


ตารางที่ 14 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านความคุ้มทุน คุ้มค่าของงบประมาณ รายการ 1.งบประมาณที่ได้รับเพียงพอสําหรับการดําเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่ 2.งบประมาณที่ไ ด้ รั บสอดคล้ องกั บการดํ าเนิน กิ จ กรรมใน โครงการฯ 3.การเบิ ก -จ่ ายงบประมาณเป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง โครงการฯ 4.ท่านคิดว่าการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการฯ มีความคุ้มทุน เมื่อเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของโครงการฯ 5.ท่านคิดว่างบประมาณที่ได้รับเพียงพอสําหรับการดําเนินงาน โครงการฯ ในพื้นที่ รวม

ค่าเฉลี่ย 3.4545

S.D. .8202

ระดับ ปานกลาง

3.6364

.9244

มาก

3.9091

.9438

มาก

3.6364

.6742

มาก

3.4545

.6875

ปานกลาง

3.6182

.8100

มาก

จากตารางที่ 14 ความคิด เห็ น ของผู้บ ริ ห าร รพ.สต ด้ านปั จ จั ย นํ า เข้า การบริ ห ารจั ด การ โครงการฯ ด้านความคุ้มทุน คุ้มค่าของงบประมาณ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากั บ 3.6182 + .8100 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มีความคิดเห็นว่างบประมาณที่ ได้รับเพียงพอสํ าหรั บการดํ าเนินงานโครงการฯ ในพื้น ที่ และงบประมาณที่ไ ด้รับเพียงพอสํ าหรั บการ ดําเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4545 + .8202 และ 3.4545 + .6875 ตามลําดับ

46


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การศึกษาเรื่อง ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน จังหวัด กาฬสินธุ์ ผู้ศึกษาได้เสนอดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2. สรุปผลการวิจัย 3. อภิปรายผลการวิจัย 4. ข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ของ กสค. ที่ได้จากการเข้ารับการอบรมการพัฒนาแกนนํา สุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) และความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีตอ่ การปฏิบัตงิ านของ กสค. 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ สรุปผลการวิจัย ตอนที่ 1 ความรู้ ความเข้าใจจากการเข้ารับการอบรมการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจํา ครอบครัว (กสค.) และความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.40 อายุระหว่าง 30 – 45 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.70 ระดับการศึกษา ระดับปริญญาตรี/เทียบเท่ามากที่สดุ ร้อยละ 25.00 ประกอบอาชีพทํานา ทําไร่ ทําสวน เลี้ยงสัตว์ มากทีส่ ดุ ร้อยละ 63.89 และมีจํานวนสมาชิกที่พกั อาศัยในปัจจุบัน 3-4 คนมากที่สดุ ร้อยละ 40.75 1. ค่าประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.)โดยรวม และรายตําบล พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) โดยรวม มีค่าเท่ากับ .8385 ซึ่งหมายถึง แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ที่เข้าอบรมตาม รูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 83.85 โดยตําบลที่แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ที่เข้าอบรมตามรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพ 47


ประจําครอบครัว (กสค.) มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ตําบลโนนนาจาน บ่อแก้ว และกุดสิมคุ้มใหม่ ตามลําดับ ( มีค่าการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 96.86 93.04 และ 90.94 ตามลําดับ ) และตําบลที่มีค่าการ เรียนรู้เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ สงเปลือย นาคู และสระพังทอง ตามลําดับ ( มีค่าการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.31 74.19 และ 74.86 ตามลําดับ) 2.ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อน ดํา เนินโครงการพั ฒนาฯ กสค.จั ง หวั ด กาฬสินธุ์ พบว่า ความคิด เห็ นของ กสค. ก่อนดําเนิน งาน โครงการพั ฒ นาฯ ภาพรวมอยู่ ใ นระดั บ มาก มี ค่า เฉลี่ย เท่ า กั บ 2.5365 + .5766 เมื่ อ พิจ ารณา รายละเอียด พบว่า กสค. มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็น กสค. ในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.7757 + .7562 3.ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับ การฝึกอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5794 + .5555 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า เนื้อหาที่อบรม กสค. ตรงกับความต้องการของ กสค. อยู่ใน ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.3832 + .6956 4.ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับ หลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5178 + .6196 เมื่อ พิจารณารายละเอียด กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาในหลักสูตรสอดคล้องกับ พฤติกรรมสุขภาพที่ท่านต้องการแก้ไข และเนื้อหาในหลักสูตร/คู่มือ/เอกสาร กสค. มีความชัดเจน เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งาน/เรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.1963 + .8104 และ 2.4486 + .5534 ตามลําดับ 5.ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ด้านความเข้าใจต่อบทบาท กสค. พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5682 + .6286 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า กสค. มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทผู้ดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่คนใน ครอบครัว เมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น อุจจาระร่วง ไข้ตัวร้อน เป็นหวัด เป็นต้น และเป็น แบบอย่างในการดูแลสุขภาพของตนเอง และช่วยเหลือ แนะนํา พฤติกรรมสุขภาพทีถ่ ูกต้องแก่คนใน ครอบครัวและบุคคลอื่น อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.2804 + .6263 และ 2.4766 + .7566 ตามลําดับ 6.ความคิดเห็นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ด้านการปฏิบัติตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องของ กสค. และคนใน ครอบครั วภาพรวมอยู่ใ นระดั บมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากั บ 2.6762 + .6884 เมื่อพิจ ารณารายละเอียด 48


พบว่า กสค. มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องของ กสค. และคนในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การแนะนําให้ผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูงควรวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง รองลงมา คือ การแนะนํา ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุ มเฉพาะระดับน้ําตาลในเลือด โดยไม่จําเป็นที่ต้องควบคุมน้ําหนัก ก็ได้ มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.8879 + .6038 และ 2.1028 + .8234 ตามลําดับ ตอนที่ 2 ความความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มตี ่อการปฏิบตั ิงานของ กสค. ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.08 สถานภาพสมรสมาก ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.69 มีระดับการศึกษา ระดั บประถมศึก ษามากที่สุด ร้อยละ 31.13 ประกอบ อาชีพทํ านา ทําไร่ ทําสวน เลี้ยงสั ตว์ มากที่สุด ร้อยละ 62.26 และมีจํ านวนสมาชิกที่พัก อาศั ยใน ปัจจุบัน 12 คนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.70 ความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5319 + .5786 ส่วนการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของ กสค. ที่มีระดับการปฏิบัติต่ําที่สุด คือ การให้คําแนะนําผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน รองลงมาคือ กสค. เป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพของ ตนเอง และช่วยเหลือแนะนําพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่คนในครอบครัวและบุคคลอื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.5887 + .9216 และ 1.6407 + .5622 ตามลําดับ ตอนที่ 3 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ 1. ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทการบริหารจัดการโครงการฯ ภาพรวมด้าน บริ บทการจั ด การโครงการฯ อยู่ใ นระดั บมาก มีค่ าเฉลี่ ยเท่า กั บ 3.5714 + .8071 เมื่อ พิจ ารณา รายละเอียดด้านบริบท พบว่า ผู้บริห าร รพ.สต มีความคิด เห็ น ว่าโครงการพั ฒนาฯ กสค. จัง หวั ด กาฬสินธุ์ที่ผ่านมาไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวั ดกาฬสินธุ์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ใ ห้หมดไปได้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.2727 + .4671 และ 3.3636 + .9244 ตามลําดับ 2.ความคิด เห็ นของผู้บริห าร รพ.สต ด้านปัจ จัยนําการบริหารจั ดการโครงการฯ ด้ านความ เหมาะสมของการดําเนินงานแผนงาน/โครงการ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.6364 + .8192 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มีความคิดเห็นว่าความเหมาะสมของ แผนงาน/โครงการฯ/แผนปฏิบัติการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์สอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุข 49


ของจั ง หวั ด กาฬสิน ธุ์ และการกํ าหนดวั ต ถุ ป ระสงค์/ เป้า หมายของโครงการฯ สอดคล้ อ งกั บ กลวิ ธี ดําเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4545 + .6875 และ 3.3636 + .8090 ตามลําดับ 3.ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านการรับรู้ และความเข้าใจที่มีต่อโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.6909 + .9215 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต มีความคิดเห็นว่า โครงการฯ นี้ สามารถกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อยู่ในระดับปานกลาง มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4545 + .8202 4.ความคิดเห็ นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจ จัยนํ าการบริห ารจั ดการโครงการฯ ด้านความ เพียงพอ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.3091 + .6791 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มี ความคิดเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ มีจํานวนเพียงพอสําหรับการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5455 + .6875 5.ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านปัจจัยนําการบริหารจัดการโครงการฯ ด้านความคุ้ม ทุน คุ้มค่าของงบประมาณ ภาพรวมอย่ามในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.6182 + .8100 เมื่อ พิจารณารายละเอียด พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มีความคิดเห็นว่างบประมาณที่ได้รับเพียงพอสําหรับการ ดําเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่ และงบประมาณที่ได้รับเพียงพอสําหรับการดําเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4545 + .8202 และ 3.4545 + .6875 ตามลําดับ การอภิปรายผล ตอนที่ 1 ความรู้ ความเข้าใจจากการเข้ารั บการอบรมการพั ฒนาแกนนําสุขภาพประจํ า ครอบครัว (กสค.) พบว่า ค่าประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาแกนนํา สุขภาพประจํา ครอบครั ว (กสค.) โดยรวมและรายตํ าบล มีค่ าดั ชนี ประสิทธิผ ลของรู ปแบบการพั ฒนาแกนนํ าสุ ข ภาพประจํ า ครอบครัว (กสค.) โดยรวม มีค่าเท่ากับ .8385 ซึ่งหมายถึง แกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) ที่ เข้าอบรมตามรูปแบบการพัฒนาแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อย ละ 83.85 ซึ่ง จากการพิจารณาปัจ จั ยเอื้อที่ส่ง ผลต่อความรู้ ความเข้าใจ ของ กสค. เพิ่มขึ้น พบว่า เนื้อหาสุ ขภาพในหลั กสู ตรที่จัดทํ าได้ผ่านกระบวนการถ่ายทอดจากทีมสุขภาพตํ าบล ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้น ที่ เจ้าหน้าที่ส าธารณสุขในระดับตําบล ที่มีความรู้ ความเข้าใจเนื้อหา สุขภาพในหลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอย่างดี เนื่องจากได้ผ่านกระบวนการฝึกอบรมมาตรฐานใน ระดับจังหวัด เช่น หลักสูตร อสม. เชี่ยวชาญ การอบรมหลักสูตรครู ก. ครู ข. ด้านสุขภาพของจังหวัด 50


เป็นต้น ส่งผลให้มีกระบวนการและวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ได้มาตรฐานสอดรับกับวิถีชุมชนเป็นส่วนใหญ่ สอดคล้องกับการศึกษาของประพิณ วั ฒนกิจ (2542 : 76-81) พบว่า ทีมนําด้านสุขภาพ หากมีการ ดําเนินงานสุขภาพที่ดี มีความรู้ ความเข้าใจในการดําเนินงานเป็นอย่างดี สามารถส่งผลต่อการถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ในการดําเนินงานได้เป็นอย่างดี และสอดคล้องกับการศึกษาของเกษม วัฒนชั ย (2545 :12) กล่าวว่า ความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาหลักสูตรเกิดขึ้นได้จากกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่ มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พบว่า กสค. ในการศึกษาครั้งนี้ มีอายุระหว่าง 35-40 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.70 และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่ามากที่สุ ด คิดเป็ นร้อยละ 25.00 ซึ่งถือว่าเป็นวั ย ทํางานที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวในระดับหนึ่ง อีกทั้ง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และระดับการศึกษาที่สามารถปรับความเข้าใจต่อเนื้อหาในหลักสูตรได้ดี ส่งผลให้ เมื่อได้รับการอบรมจึงมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาได้ดี สอดคล้องกั บการศึกษาของเกษม วัฒนชั ย (2545 : 12) ได้สรุปไว้ว่า กระบวนการเรียนรู้ เกิดจากการรับการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความ เชื่อ ศรัทธา เจตคติ ค่านิยม ทักษะ การงาน ทักษะชีวิต และการครองตน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในด้า นความรู้สึ ก นึก คิด และพฤติก รรมของผู้เ รียน ตามที่กํ าหนดไว้ใ นวั ต ถุ ประสงค์ ของการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้เกิดกับผู้เรียน และโดยผู้เรียนเท่านั้น ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดําเนิน โครงการพัฒนาฯ กสค.จั งหวัดกาฬสิน ธุ์ พบว่า ความคิดเห็น ของ กสค. ก่อนดํ าเนิน งานโครงการ พัฒนาฯ ภาพรวมอยู่ในระดั บมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5365 + .5766 แต่เมื่อพิจ ารณารายละเอียด พบว่า กสค. มีความพร้อมในการปฏิบัติห น้าที่เป็น กสค. ในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากั บ 1.7757 + .7562 ซึ่งเมื่อพิจ ารณาขั้นตอนในการดํ าเนิน งานแผนงาน/โครงการพัฒนา กสค.ฯ ระดับจังหวัดลงสู่ระดับพื้นที่ พบว่า ยังขาดการประชาสัมพันธ์/การสื่อสาร/ข้อตกลงร่วมกันที่ชัดเจนใน เรื่องการกําหนดบทบาท กสค. ในพื้นที่ อีกทั้ง รูปแบบการอบรมเน้นการให้ความรู้ขาดการฝึกปฏิบัติ ส่งผลให้ กสค. ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมยังขาดความมั่นใจในการนําความรู้มาใช้ตามบทบาทที่ ได้รับ สอดคล้องกับการศึกษาของวนิดา วิระกุลและคนอื่นๆ (2544 : 95) และกันยา บุญธรรมและคณะ (2553 :71) กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และดูแลสุขภาพตนเองได้ สิ่งสําคัญคือ การสื่อสารและสร้างความเข้าใจต่อนโยบายให้ชัดเจน มีการกําหนดบทบาทตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการกับ กลุ่มเป้าหมายก่อนเริ่มดําเนินการ สามารถส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีการแสดงบทบาทตามความคาดหวัง ได้เพิ่มขึ้น

51


ความคิดเห็นของ กสค. ต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนา กสค.ฯ จังหวัดกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับ การฝึกอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5794 + .5555 แต่เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า เนื้อหาที่อบรม กสค. ตรงกับความต้องการและสอดคล้อง กับพฤติกรรมสุขภาพที่ กสค. ต้องการแก้ไข และเนื้อหาในหลักสูตร/คู่มือ/เอกสาร กสค. มีความชัดเจน เหมาะสม และง่ายต่อการใช้ง าน/เรียนรู้หรือไม่ อยู่ในระดั บปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.3832 + .6956 2.1963 + .8104และ 2.4486 + .5534 ตามลําดับ) ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดขั้นตอนการได้มา ของหลักสูตร/เนื้อหา กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า เป็นหลักสูตรที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพใน ภาพรวมของจังหวัด โดยระดมแนวคิดจากบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่เป็นผู้วิเคราะห์และจัดทําขึ้นมา จึงขาดการศึกษาบริบทปัญหาสุขภาพที่เฉพาะของแต่ละพื้นที่ อีกทั้ง การจัดทําหลักสูตรยังขาดการมีส่วน ร่วมของประชาชนในชุมชน รวมถึงรูปแบบการประเมินความคิดเห็นครั้งนี้ ประเมินเฉพาะในกลุ่ม กสค. ของอําเภอเขาวง-นาคูเท่านั้น อาจเป็นได้ว่าปัญหาสุขภาพของอําเภอ เขาวง-นาคู มีบางประเด็ น ปัญหาสุขภาพไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพในภาพรวมของจังหวัด ส่งผลให้การประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับ เนื้ อ หาที่ อ บรม กสค. ข้ อ ที่ ว่ า ตรงกั บ ความต้ อ งการของ กสค. หรื อ ไม่ นั้ น อยู่ ใ นระดั บ ปานกลาง สอดคล้องกับการศึกษาของสุวรรณี เหล่าจุมพล (2542 : 19) วิจิตต์ สีมา (2543 : 50-51) และวนิดา วิระกุลและคนอื่นๆ (2544 : 90) พบว่า การจัดหลักสูตรการอบรม กสค. ยังไม่สอดรับกับปัญหาสุขภาพ ในแต่ละพื้นที่ ขาดกระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่มีมาใช้ในการจัดทําหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิถี ชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการนิเทศ กํากั บ ติดตามการสนับสนุนการดําเนินงานในโครงการ พัฒนา กสค. ทุกด้าน มีผลการดําเนินงานด้านนี้อยู่ในระดับปานกลาง ความคิด เห็ นของ กสค. เกี่ยวกับการปฏิบัติตั วในการดู แลสุขภาพตนเองและคนในครอบครั ว ด้านความเข้าใจต่อบทบาท กสค. พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.5682 + .6286 เมื่อพิจ ารณารายละเอียด พบว่า กสค. มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทผู้ดู แลสุ ขภาพเบื้องต้นแก่คนใน ครอบครัว เมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น อุจจาระร่วง ไข้ตัวร้อน เป็นหวัด และเป็นแบบอย่างในการ ดูแลสุขภาพของตนเอง ให้การช่วยเหลือ และแนะนําพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่คนในครอบครัวและ บุคคลอื่นอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.2804 + .6263 และ 2.4766 + .7566 ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาขั้นตอนในการดําเนินงานแผนงาน/โครงการพัฒนา ฯ ระดับจังหวัดลงสู่ระดับพื้นที่ พบว่า ยังขาดการประชาสัมพันธ์/การสื่อสาร/ข้อตกลงร่วมกันที่ชัดเจนในเรื่องการกําหนดบทบาท กสค. ในพื้นที่ อีกทั้ง รูปแบบการอบรมเน้นการให้ความรู้ขาดการฝึกปฏิบัติ และเมื่อพิจารณากิจกรรมที่ใช้ในการอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ส่วนใหญ่มีการจัดอบรมใช้เวลาเพียง 2 วัน ใช้วิธีสอนโดยการบรรยาย มี อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป็นวิทยากร โดยมีคู่มือ กสค. หลักสูตรมาตรฐาน กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอบรม ซึ่งกิจกรรมการอบรมยังขาดรูปแบบการเสริมพลังเพื่อกระตุ้นให้ 52


กสค. แสดงบทบาทตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ต้ อ งการ และเมื่ อ กสค. ผ่ านการอบรมแล้ ว เจ้ าหน้ า ที่ สาธารณสุขยังขาดระบบการติดตามประเมินผลบทบาท กสค. ในพื้นที่ ซึ่งจะเห็นว่าแตกต่างจากรูปแบบ การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เน้นการบรรยายและการฝึกปฏิบัติแบบ เวียนฐาน ๆ ละ 1 วัน ได้แก่ การรักษาพยาบาลและการใช้ยา การสร้างสุขภาพ การแก้ไขโรคที่เป็นปัญหา และการบริหารจัดการ ซึ่งทําให้อาสาสมัครสาธารณสุขเกิดความรู้ความเข้าใจในการดําเนินงานในพื้นที่ มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบการพัฒนา กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ดังกล่าว จึงส่งผลให้ กสค. ที่ได้รับการ คั ด เลื อกเข้ ารั บการอบรมขาดความมั่ น ใจในการนํ าความรู้ มาใช้ ต ามบทบาทที่ไ ด้รั บ สอดคล้ องกั บ การศึกษาของจุฑาพร เกษมภักดีพงษ์ (2542: 56) จําเป็น ชาญชัยและปราโมทย์ แก่นอินทร์ (2543: 72) วิจิตต์ สีมา (2543: 48-49) ที่กล่าวว่า การพัฒนา กสค. ส่วนใหญ่มีกิจกรรมเพียงการบรรยายให้ความรู้ ที่เป็นปัญหาสุขภาพของพื้นที่ โดยมีคู่มือประกอบการบรรยาย ส่วนการนิเทศ ติดตาม บทบาทความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพของ กสค. ในพื้นที่อยู่ในระดับต่ํากว่าเกณฑ์ และพบว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในพื้นที่มีก ารนิเทศ ติดตาม โครงการพัฒนา กสค. อยู่ใ นระดับปานกลางและไม่ต่อเนื่อง เนื่องจาก อัตรากําลังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีไม่เพียงพอ และสอดคล้องกับวนิดา วิระกุลและคนอื่นๆ (2544:95) ที่ พบว่า เจ้าหน้าที่ส าธารณสุ ขในระดั บตํ าบลซึ่งเป็ นผู้ปฏิบัติการในการพั ฒนา กสค. มีความเข้าใจต่อ บทบาทของ กสค. อยู่ในระดับต่ํากว่าเกณฑ์ ดังนั้น การพัฒนา กสค. ที่ผ่านมา จึงเน้นเฉพาะการสร้าง ให้เกิดตามเป้าหมาย/ปริมาณที่กําหนดเท่านั้น ขาดการกํากับ ติดตามบทบาท กสค. หลังผ่านการอบรม ความคิดเห็น ของ กสค. ด้านการปฏิบัติตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง ของ กสค. และคนในครอบครัวภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.6762 + .6884 เมื่อ พิจ ารณารายละเอี ย ด พบว่ า กสค. มี ความคิด เห็ น ในระดั บ ปานกลาง คื อ การแนะนํ า ให้ผู้ ป่ ว ย โรคเบาหวานควบคุมเฉพาะระดั บน้ําตาลในเลือด โดยไม่จําเป็นที่ต้องควบคุ มน้ําหนัก ก็ได้ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.1028 + .8234 ตามลําดับ ซึ่งเป็นคําแนะนําที่ไม่ถูกต้องในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวาน กสค. ควรแนะนําให้ผู้ป่วยมีการควบคุมอาหาร ควบคุมน้ําหนัก ไม่รับประทานอาหาร รสเค็ม รสหวาน งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ํา อาหารที่มีเส้นใยสูง ออกกําลังกายอย่างต่อเนื่อง ทําจิตใจให้ร่าเริง ไม่เครียด พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัดหมาย เป็นต้น เมื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการพัฒนา กสค.ฯ พบว่า กิจกรรมในการอบรมส่วนใหญ่เป็นการบรรยาย ตามเนื้อหาในหลั กสู ตร ใช้เวลาในการอบรมเพียง 2 วั น และจัด อบรมเพียงครั้งเดียว ลั ก ษณะการ ถ่ายทอดความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับ กสค. เป็นการถ่ายทอดความรู้แบบทางเดียว (One-way Communication) ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ลักษณะดังกล่าว ทําให้เกิดการเรียนรู้ในระยะสั้นและอาจ ลืมในเวลาต่อมา (Green et al, 1980) สอดคล้องกับการศึกษาของรุ่งนภา ยศตื้อ (2542: 27) วิจิตต์ สีมา (2543: 51) และธารีพร ตติยบุญสูง (2544 : 48) พบว่า หลังจากการอบรม กสค. 8 เดือน มีการสุ่ม 53


ประเมินความรู้ ความเข้าใจ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม กสค. มีความรู้ในระดับดี แต่เมื่อประเมินระดับ การปฏิบั ติ/ การแสดงบทบาท กสค. ในครั วเรือ น พบว่า การแสดงบทบาทอยู่ใ นระดั บปานกลาง เนื่องจาก กสค. ส่วนใหญ่ขาดความมั่นใจในการนํ าความรู้ที่ได้รับมาใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง ส่วนกลุ่ม ประชาชนในครอบครั วของ กสค. พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับคํ าแนะนําในการดูแ ลสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในสถานบริการใกล้บ้านมากที่สุด ร้อยละ 80.17 รองลงมา จากอาสาสมัครสาธารณสุขใน พื้นที่ ร้อยละ 60.48 และจาก กสค. ร้อยละ 38.99 อีกทั้ง พบว่า รูปแบบการอบรม กสค. ที่ผ่าน มา ส่วนใหญ่เป็นลั กษณะการถ่ายทอดความรู้แบบทางเดียว (One-way Communication) ถึงร้อยละ 90.42 และเป็นการอบรมเพียงครั้งเดียว ซึ่งการอบรมลักษณะดังกล่าวทําให้เกิดการเรียนรู้ในระยะสั้น และอาจลืมในเวลาต่อมา (Green et al, 1980) ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ จึงควรมีระบบการ นิเทศ ติดตาม และการเสริมความรู้ให้แก่ กสค. เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ กสค. มีความมั่นใจใน การแสดงบทบาทของตน และมีความรู้ที่ถูกต้องในการแสดงบทบาทต่อไป ตอนที่ 2 ความความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มตี ่อการปฏิบตั ิงานของ กสค. ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.08 สถานภาพสมรสมาก ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.69 มีระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษามากที่สดุ ร้อยละ 31.13 ประกอบ อาชีพทํานา ทําไร่ ทําสวน เลี้ยงสัตว์ มากทีส่ ุด ร้อยละ 62.26 และมีจํานวนสมาชิกที่พกั อาศัยใน ปัจจุบัน 1-2 คนมากทีส่ ุด คิดเป็นร้อยละ 46.70 ความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ ยเท่า กั บ 2.5319 + .5786 ส่ว นการปฏิ บัติ ตั ว ด้า นสุ ขภาพของ กสค. ที่มี ร ะดั บ การปฏิบั ติ เหมือนเดิมและมีค่าเฉลี่ยต่ําที่สุด คือ การให้คําแนะนําผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.5887 + .9216) เนื่องจาก ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์มีสถานบริการสุขภาพขยายลงสู่พื้นที่ถึงระดับชุมชน ในรูปแบบสุขศาลาประจําหมู่บ้าน ดําเนินการโดย อสม. เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมาตรฐาน อสม. จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้บริการครอบคลุมด้านการรักษาพยาบาลและการใช้ยา การสร้างสุขภาพ การ แก้ไขโรคที่เป็นปัญหา และการบริห ารจัดการ รวมถึงการเยี่ยมบ้านในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) และเน้นการให้คําแนะนําด้านการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งการ แสดงบทบาทของ อสม. ในพื้นที่ จะได้รับการประเมินบทบาทโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง และมีระบบรายงานผลการดําเนินงานที่ชัดเจน จึงสร้างความเข้าใจให้แก่ กสค. ว่ามีกลุ่มบุคคลในชุมชนได้ ดําเนินการตามบทบาทดังกล่าวแล้ว ตนจึงลดบทบาทการดําเนินงานในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลง และหรือ ประชาชนที่ ป ระเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง าน กสค. ครั้ ง นี้ เป็ น กลุ่ ม ประชาชนทั่ ว ไป ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ ป่ ว ยเป็ น โรคเบาหวานจึงไม่เห็นการแสดงบทบาทการให้คําแนะนําด้านนี้ของ กสค. และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ใน 54


ชุมชนโดยมากเข้ารับบริการที่สถานบริการภาครัฐหรือสถานีอนามัยในพื้นที่ ซึ่งมีบุคลากรสาธารณสุขเป็น ผู้แนะนําการดูแลสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ ทําให้ผู้ป่วยไม่ได้ขอรับบริการจาก กสค. ในพื้นที่ ส่งผลให้ กสค. ได้รับผลการประเมินด้านนี้มีค่าเฉลี่ยต่ําที่สุด สอดคล้องกับการศึกษาของสมาน นิ่มนวลและรุ่งนภา ยศ ตื้อ (2542: 27) วิจิตต์ สีมา (2543: 51) และธารีพร ตติยบุญสูง (2544 : 48) พบว่า หลังจากการอบรม กสค. 8 เดือน มีการสุ่มประเมินความรู้ ความเข้าใจ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม กสค. มีความรู้ในระดับ ดี แต่เมื่อประเมินระดับการปฏิบัติ/การแสดงบทบาท กสค. ในครัวเรือน พบว่า การแสดงบทบาทอยู่ใน ระดับปานกลาง เนื่องจาก กสค. ส่วนใหญ่ขาดความมั่นใจในการนํ าความรู้ที่ได้รับมาใช้ในวิถีชีวิตของ ตนเอง ส่วนกลุ่มประชาชนในครอบครัวของ กสค. พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับคําแนะนําในการดูแลสุขภาพ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการใกล้บ้านมากที่สุด ร้อยละ 80.17 รองลงมา จากอาสาสมัคร สาธารณสุขในพื้นที่ ร้อยละ 60.48 และจาก กสค. ร้อยละ 38.99 ตามลําดับ ตอนที่ 3 ความคิดเห็นของผู้บริหาร รพ.สต ด้านบริบทและปัจจัยนําการบริหารจัดการ โครงการฯ ความคิ ด เห็ น ของผู้ บริ ห าร รพ.สต ด้า นบริ บ ทการบริ ห ารจั ด การโครงการพั ฒ นา กสค.ฯ ภาพรวมด้านบริบทและปัจ จัยนําการจัดการโครงการฯ อยู่ในระดั บมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5714 + .8071 แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่า ด้านบริบทผู้บริหาร รพ.สต มีความคิดเห็นว่า โครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ผ่านมาไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพของประชาชนใน พื้นที่ และโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้หมดไป ได้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2727 + .4671 และ 3.3636 + .9244 ตามลําดับ ส่วนด้าน ความเหมาะสมของการดํ า เนิน งานแผนงาน/โครงการ พบว่า ความสอดคล้องกั บนโยบายด้าน สาธารณสุขของจังหวัดกาฬสินธุ์ และการกําหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการฯ สอดคล้องกับ กลวิธีดํ าเนิน งานอยู่ใ นระดั บปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากั บ 3.4545 + .6875 และ 3.3636 + .8090 ตามลําดั บ) ด้า นการรับ รู้และความเข้าใจที่มีต่อโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต มีความคิดเห็นว่า โครงการฯ นี้ สามารถกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแล สุขภาพของตนเองได้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4545 + .8202 ส่วนด้านความเพียงพอ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มี ความคิดเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ มีจํานวนไม่เพียงพอสําหรับการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5455 + .6875 และด้านความคุ้มทุน คุ้มค่าของงบประมาณ พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มีความคิด เห็ น ว่างบประมาณที่ไ ด้รั บเพียงพอสํ าหรั บการดํ าเนิน งานโครงการฯ ในพื้น ที่ และ 55


งบประมาณที่ได้รับเพียงพอสําหรับการดําเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่อยู่ใ นระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.4545 + .8202 และ 3.4545 + .6875 ตามลําดับ โดยสรุปในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มีความคิดเห็นว่าบริบทและปัจจัยนําของโครงการ พัฒนา กสค.ฯ ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดความเหมาะสมแต่ละ ด้าน พบว่า ผู้บริหาร รพ.สต. มีความคิด เห็นว่าโครงการพั ฒนาฯ กสค. จัง หวัดกาฬสิน ธุ์ที่ผ่านมาไม่ สอดคล้อง/ไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้หมดไปได้ เนื่องจาก การแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้หมดไป ได้นั้น ต้องอาศัยกระบวนการในการดําเนินงานด้านสาธารณสุขที่หลากหลายและบูรณาการร่วมกันจาก ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการสร้างระบบสุขภาพที่เน้นให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น ใช้ เพียงกระบวนการพัฒนา กสค. ถือว่ายังไม่เพียงพอ และระบบสุขภาพชุมชนแบบพึ่งตนเองก็ยังเป็นเรื่อง ท้าทายสําหรั บการดํ าเนินงานสาธารณสุ ขในปั จ จุ บัน อีก ด้วย การพั ฒนาระบบบริการสาธารณสุ ขให้ สอดคล้องกั บความจําเป็น ในการแก้ไ ขปั ญหาสุขภาพของประชาชนในแต่ล ะพื้น ที่นั้น การให้บริก าร สาธารณสุขแบบองค์รวมถือเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญยิ่ง โดยเฉพาะการให้บริการด้านสุขภาพต้องมีความ ต่อเนื่องทั้งด้านรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และการบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน ตลอดจนต้องร่วมกับ ทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาสุขภาวะของประชาชนในชุมชนร่วมกันอย่างเข้มแข็ง จึงจะสามารถพยุงปัญหา และร่วมกันแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ จะประสบผลสําเร็จในการขยายความครอบคลุมของระบบบริการสาธารณสุขมูลฐาน โดยมีโครงสร้าง หน่วยบริการในรูปแบบสุขศาลากระจายครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดก็ตาม แต่การแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ให้หมดไปได้นั้น ก็ ยังไม่สามารถดําเนินการได้อย่างเป็น รูปธรรม อาจเนื่องจาก (Health Insurance System Research Office : http://www.hisro.or.th ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2554) 1. จํ านวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีไ ม่เพียงพอ โดยเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านวิชาชีพอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับรองรับปัญหาด้านสาธารณสุขที่ทวีจํานวนมากขึ้น 2. การขาดความเป็ น ธรรมในการกระจายของบุ คลากรสาธารณสุ ข รวมถึง การกระจายของ โรงพยาบาลตติยภู มิชั้นสู ง ที่มีก ารกระจุ กตั วบางพื้น ที่เฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ เช่น กรุ ง เทพมหานคร ในขณะที่บางเขตพื้นที่ไม่มีบริการดังกล่าว 3. บริการที่จําเป็นสําหรับปัญหาสุขภาพใหม่ เช่น บริการระยะกลางและบริการระยะยาวสําหรับผู้ มีภาวะทุพพลภาพหรือพิการ ทั้งในชุมชนและในสถาบันยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร อีกทั้ง การบริการ ฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายทั้งชั่วคราวและถาวรเกือบทั้งหมดจํากัดอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งเป็นข้อจํากัด ในการเข้าถึงบริการสําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะทุพพลภาพโดยเฉพาะสําหรับผู้ป่วยที่อยู่ในชนบท 56


4. ระบบบริการปฐมภูมิขาดคุณภาพและไม่เข้มแข็ง แม้ว่าจะมีแนวคิดในการผลักดันให้เกิดบริการ ปฐมภูมิซึ่งครอบคลุมบริการสาธารณสุขมูลฐานด้วย แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีการดําเนินการผลักดันอย่าง เป็นระบบ สถานบริการปฐมภูมิของรัฐซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีบุคลากรไม่เพียงพอ และได้รับงบประมาณเพิ่มเติมน้อยกว่าบริการรักษาเฉพาะทางอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาจากทัศนคติ ของประชาชนก็พบว่า ยังไม่เข้าใจและขาดความเชื่อมั่นต่อระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ซึ่งเห็นชัดเจน จากสัดส่วนการใช้บริการที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชนมีแนวโน้มลดลง 5. ศักยภาพของบุคลากรยังมีจํากัดในการจัดการกับปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป และมี ความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระบบบริการสาธารณสุขมูลฐานต้องการความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น และชุมชนเพิ่มขึ้น แต่ที่ผ่านมา พบว่า แผนงาน/โครงการใดก็ตามที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับระบบเศรษฐกิจชุมชน หรือปากท้องของประชาชนในชุมชน จะได้รับความร่วมมือในการดําเนินงานจากชุมชนไม่เต็มที่เท่าที่ควร สอดคล้องกับการศึกษาของ สํานักงาน สสม. (2540 ก : 42) พบว่า ปัญหาด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ เป็นปัญหาที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ค้นพบ ซึ่งประชาชนเห็นว่าไม่ใช่ปัญหาของตนเอง แต่เป็นหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องดําเนินการแก้ไข ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจปัญหาปากท้องมากกว่า ปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนทิศทางการพั ฒนาระบบบริการสาธารณสุขแบบองค์รวม เพื่อให้ประชาชนได้รั บบริการ สาธารณสุขอย่างทั่วถึง เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ รวมทั้งมีความยั่งยืนทางการแก้ไขปัญหา สุขภาพในระยะยาว ภาครัฐต้องจัดให้มีกลไกระดับชาติทําหน้าที่อภิบาลระบบบริการสาธารณสุขมูลฐานใน ชุมชนให้เข้มแข็ง รวมทั้งมีกลไกที่ทําหน้าที่ควบคุมกํากับและพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุข และกลไก ที่ทําหน้าที่ควบคุมกํากับและพัฒนาการใช้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวิถีชุมชนมากที่สุด ส่วนระบบบริการปฐมภูมิโดยแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุขประจําครอบครัว เป็นสิ่งที่ต้อง ดําเนินการให้เกิดขึ้นโดยเร็วอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บริการครอบคลุมประชากรอย่างทั่วถึงทั้งในเขตเมือง และชนบท และเชื่อมต่อกั บระบบบริการสาธารณสุขระดั บอื่น ๆ โดยมีระบบการส่ง ต่อที่มีประสิทธิภาพ และเร่งผลิต กสค. ในระดับครัวเรือน เพื่อเป็นปัจจัยเสริมในการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขมูลฐานใน ชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป อีกทั้ง ยังเป็นการเสริมพลังให้ชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองและคนใน ครอบครัวให้สามารถพึงตนเองได้ต่อไปในอนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย

57


ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนา 1.1 ควรมีการดําเนินโครงการพัฒนา กสค. อย่างต่อเนื่อง มีการเสริมความรู้ กสค. เป็นระยะ เนื่องจาก กสค. เป็นปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในระดับครอบครัวให้สามารถดูแลสุขภาพ ตนเองได้ถูกต้อง แต่ควรมีการการกําหนดนโยบายและแนวทางการดําเนินงานให้ชัดเจน 1.2 การพั ฒนาหลั ก สู ต ร/เนื้อหาคู่มือที่ใ ช้ใ นการอบรม กสค. ควรมีก ารวิเคราะห์ปัญหา สุขภาพจากระดับพื้นที่โดยประชาชนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดรับกับวิถีชุมชนมากที่สุด 1.3 มีการพัฒนารูปแบบการอบรมให้สามารถเสริมพลัง กสค. ในการแสดงบทบาทได้เพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มกระบวนการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น 1.4 ควรมีการเตรียมความพร้อมของผู้ดําเนินโครงการพัฒนา กสค.ฯ และผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้น มีการกําหนดข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับบทบาท/คุณลักษณะของ กสค. ที่พึงปรารถนาร่วมกันก่อน ดําเนินโครงการฯ และมีการควบคุม นิเทศ ติดตาม การแสดงบทบาทของ กสค. ตามวัตถุประสงค์ที่ กําหนด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องทุกระยะ 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2.1 ระบบสนับสนุนความพร้อม ปัจจัยนําเข้าด้านงบประมาณ ควรประสานความร่วมมือกับ กองทุนสุขภาพระดับตําบล ให้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา กสค. อย่างต่อเนื่องทุกปี 2.2 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีศักยภาพในการต่อยอดความรู้กับ กสค. และจัดระบบค่าตอบแทนที่เหมาะสม 2.3 มีระบบการประเมินผลแบบเสริมพลังและมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ชุมชน ในการเสริมสร้าง ศักยภาพ กสค. ของชุมชน 2.4 การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติของ กสค. ในระดับพื้นที่ มีการจัดเตรียมอุ ปกรณ์ใ ห้ เพียงพอและทบทวนทําความเข้าใจให้กับวิทยากรให้เกิดแนวปฏิบัติ/มาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ กสค. มี ความเชื่อมั่นในบทบาทของตนเพิ่มขึ้น 2.5 ขยายผลการประเมิน ศั กยภาพโครงการฯ ให้ครอบคลุ มพื้น ที่ทั่วทั้ง จั งหวั ด เพื่อให้ไ ด้ รับทราบข้อมูลในเชิงกว้างและลึกมากขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับสูงในการดําเนินงาน แผนงาน/โครงการฯ ในปีต่อไป

58


3.ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 3.1 ศึกษาปัจจัย คุณลักษณะโดยรวม แรงกระตุ้นโดยตรงและโดยอ้อม ที่มีผลต่อ ศักยภาพ กสค. 3.2 ทดลองเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนรู้ดูแลสุขภาพตนเอง และการเรียนรู้ช่วยเหลือกัน แบบกลุ่ม (Self Health Group) ของ กสค. ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว

59


เอกสารอ้างอิง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2548). ชมรมสร้างสุขภาพก้าวไกล เมืองไทยแข็งแรง. กระทรวง สาธารณสุข : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). สร้างสุขในบ้าน. เชียงใหม่: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10. กระทรวงสาธารณสุ ข. (2548). คู่มือแนวทางการดําเนินงานตามตั วชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ประจําปี งบประมาณ 2548. กรุงเทพฯ: มปส. กระทรวงสาธารณสุ ข ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย. (2547). แนวทางการปฏิบัติง าน เมืองไทยสุขภาพดี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: นฤมิต โซล จํากัด. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2551). อัตราค่าจ้างขั้นต่ํา. Retrieved May 5, 2008, from http://www.mol.go.th./statistic_01.hml. กลุ่มงานฝึกอบรมการวิจัย สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2547). ตําราชุดฝึกอบรม หลักสูตรนักวิจัย. กรุงเทพ ฯ: สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2548). การส่งเสริมสุขภาพ. Retrieved June 30, 2007, from http://www.thaihed.com/html/show.php?SID=115. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2548ก). ผลการดําเนินงาน การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง พฤติกรรมสุขภาพ . (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2548ข). รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้าน พฤติกรรมสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2548ค). 6 อ. สร้างสุขภาพคนไทย. กระทรวง สาธารณสุข. กองโภชนาการ กรมอนามัย. (2543). ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทย. กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. กานดา พูนลาภทวี. (2530). สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ฟิลิกส์เซ็นเตอร์การ พิมพ์. 68. กั น ยา บุ ญธรรมและคณะ (2553). รายงานการประเมิน ผลนโยบายการพั ฒนาโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตําบลในระยะนําร่องของปีงบประมาณ 2552. สํานักนโยบาบและยุทธศาสตร์. กระทรวง สาธารณสุข :กรุงเทพฯ. เกษม วัฒนชัย (2545). การปฏิรูปการศึกษาไทย.กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา. 60


คณะกรรมการอํานวยการจัดทําแผนพัฒนาการสาธารณสุข. (2547). โครงร่างแผนพัฒนาการ สาธารณสุข ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545-2549). สํานักนโยบายและ ยุทธศาสตร์, กระทรวงสาธารณสุข. จรรยา ศรีปัญญา. (2546). พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวใน เขตอําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึก ษา, บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จุฑาพร เกษมภักดีพงษ์ (2542). การประเมินผลความสําเร็จของโครงการแกนนําสุขภาพประจํา ครอบครัวในจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2540. สาธารณสุ ขมูลฐานภาคกลาง. 14 (ธั นวาคม 2541-มกราคม 2542): 50-57. จริยาวัตร คมพยัคฆ์และคณะ. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ ครอบครัวในชุมชนแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร. จําเป็น ชาญชัยและปราโมทย์ แก่นอินทร์ (2543). การประเมินผลโครงการพัฒนาแกนนําสุขภาพ ประจําครอบครัวจังหวัดตรัง. วารสารวิชาการเขต 12. 11 (กรกฎาคม-กันยายน 2543) : 21.26. มหาวิ ทยาลั ยหั ว เฉลี ยวเฉลิมพระเกียรติ. Retrieved January 24, 2008, from http:// www.academic.hcu.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=27&UID=. ฉัตรทอง ปัญญาปิง. (2549). บทบาทสมาชิกครอบครัวในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดัน โลหิตสูง ในหมู่บ้านป่าสัก ตําบลบ้านธิ อําเภอบ้านธิ จังหวัดลําพูน. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรม หาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ไชยยศ เหมะรั ชตะ. (2525). ปัญหายาเสพติด : การศึกษาและวิเคราะห์ใ นแง่ก ฎหมาย. เอกสารรายงานผลการวิ จั ย . จุ ฬาลงกรณ์ มหาวิ ทยาลั ย . Retrieved June 30, 2007, from http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1798. ธารีพร ตติยบุ ญสู ง. (2544). ความคิดเห็น และการปฏิบัติใ นการส่งเสริมและป้องกัน ปัญหา สุขภาพจิตของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวช ศาสตร์ชุมชน ภาควิชาป้องกันและเวชศาสตร์ชุมชน,คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นธีรัตน์ ธรรม์โรจน์. (2545). ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดสุขภาพ. ใน สํานักนโยบายและ แผนสาธารณสุข (บรรณาธิการ), 30 ประเด็นสู่แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (หน้า 82). กรุงเทพฯ: สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข. 69 นิกร ดุสิตสิน และศิริยุพา นันสุนานนท์. (2550). การศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมทางเพศ ของเยาวชนไทย. Retrieved June 30, 2007, from http://www.trf.or.th/research/abstract/ Thai/RDA4630001.txt. 61


นิต ยา เพ็ ญศิริน ภา. (2548). นโยบายเมืองไทยแข็ ง แรง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. Retrieved June 10, 2007, from http://www.stou.ac.th/Thai/Schools/shs/booklet/6_2548/public.htm. ปณิธาน หล่อเลิศวิทย์. (2541). การจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในประเทศ ไทย.(พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพ. ประเวศ วะสี. (2541). บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพอภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน. ประพิน วัฒนกิจ (2542). การประเมินผลลัพธ์การดําเนินงานบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน. ม.ป.ท. พรรณพิมล หล่อตระกูล. (2545). 30 ประเด็น สู่แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข. พิริยาภรณ์ แววจินดา. (2547). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และประสิทธิผลของโครงการอาหาร ปลอดภั ย ของกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบั ณฑิต , จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. พิสมัย จันทวิมล. (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ: ดีไซร์จํากัด. พัชราภรณ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข. (2540). บทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการ ปลูกถ่ายไต: ศึกษาเฉพาะกรณีสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย โรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์สังคม สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เพ็ญศรี เปลี่ยนขํา. (2542). การสาธารณสุขมูลฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์. ยุทธนา โสภา. ( 2547). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ พฤติกรรรมการส่งเสริมสุขภาพของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวเขตชุมชนมิตรภาพ อําเภอเมือง จั ง หวั ด ขอนแก่ น . วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาสาธารณสุ ข ศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ยุวดี ฦาชา มาลี เลิศมาลีวงศ์ เยาวลักษณ์ เลาหะจินดา วิไล ลีสุวรรณ พรรณวดี พุธวัฒนะ และ รุจิเรศ ธนูรักษ์. (2540). การวิจัยทางการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สยามศิลป์การพิมพ์.70 เยาวดี สุวรรณนาคะ. (2543). ผลของกระบวนการศึกษาเพื่อสร้างพลังที่มีต่อการพัฒนาแกนนํา สุขภาพประจําครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชา สารัตถศึกษา, คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุจา ภู่ไพบูลย์. (2541). การพยาบาลครอบครัว แนวคิด ทฤษฎี และการนําไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี เจ พริ้นติ้ง. รุจา ภู่ไพบูลย์. (2549). การสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. 62


วนัสรา เชาวน์นิยม. (2547) . การสร้างเสริมศักยภาพของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัวในการ ส่งเสริมสุขภาพบนพื้นฐานของชุ มชนอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุ ษฎีบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข), มหาวิทยาลัยมหิดล. วรรณดี จันทรศิริ. (2545). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: หมู่ที่ 8 ตําบลนาป่า อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. Retrieved June 19, 2007, from http://hpc3.anamai.moph.go.th/data/absdee.doc. วรรณรัตน์ ลาวัง รัชนี สรรเสริญ และยุวดี รอดจากภัย. (2546). สถานการณ์และความต้องการ ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน. Retrieved June 23, 2007, from http://home care.bun.ac.th/index. วรรณี วงศาสุ ลั ก ษณ์. (2543). โครงการนํ าร่องพั ฒนาแกนนํ าครอบครั ว. กองแผนงาน กรมสุ ขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุ ข. Retrieved June 15, 2007, from http:// www.jvkk. go.th/researchnew/details.asp?code=400430000004. วิจิตรา ถูกแผน. (2546). การมีส่วนร่วมของแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว ในการป้องกันโรค ความดันโลหิตสูง: ศึกษาเฉพาะกรณีอําเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2541). นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โครงการ ตําราสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. วนิดา วิระกุลและถวิล เลิกชัยภูมิ (2542). การศึกษาระบบการพัฒนาการเรียนรู้และระดับความรู้ เกี่ยวกับการดู แลสุขภาพตนเองของ กสค. ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัยศูน ย์ฦกอบรมและ พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. วนิดา วิระกุลและคนอื่นๆ (2542). การศึกษาระบบการพัฒนาการเรียนรู้และระดับความรู้เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพตนเองของ กสค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัยศูนย์ฦกอบรมและพัฒนาการ สาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ. ข้อมูลงานสุขภาพภาคประชาชน จังหวัด เชียงใหม่ปี 2549. Retrieved June 22, 2007, from http://www.northphc.org /DATA/CM49.xls. สมจิตร หนุเจริญกุล, วัลลา ตันตโยทัย, รวมพร คงกําเนิด และนัยนา หนูนิล. (2543). การส่งเสริม สุขภาพ. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สมบูรณ์ ขอสกุล. (2548). สรุปนโยบายและมาตรการ 6 อ. เพื่อการสร้างสุขภาพ ตามตัวชี้วัด ปี 2548. Retrieved June 15, 2007, from http://www.thaihed.com/html/show.php?SID=120. สมศรี คามากิ และภานี ขวั ญดี. (2549). พฤติก รรมสุ ขภาพที่พึง ประสงค์สํ าหรับคนไทย: พฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลต่อปั ญหาโรค และพฤติก รรมสุ ขภาพที่พึง ประสงค์ ตามกลุ่มวั ยและกลุ่ม 63


พฤติกรรมสุขภาพ 6 อ. Retrieved May 5, 2007, from http://www.thaihed.com/dbweb/file_attach/11 oct 2006- simage_somsri.doc สุคนธ์ เจียสกุล. (2548). วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีที่ 28(3). Retrieved June 14, 2007, from http://advisor.anamai.moph.go.th/283/28302.html. สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2541). วิวัฒนาการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดีไซร์จํากัด. สุวรรณา ดีแสน. (2549). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตตําบลป่าหุ่ง อําเภอ พาน จั ง หวั ด เชียงราย. การค้น คว้าแบบอิส ระสาธารณสุ ขศาสตรมหาบัณ ฑิต . บั ณ ฑิต วิทยาลั ย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุวรรณี เหล่าจุมพล (2542). การมีส่วนร่วมของประชาคมตําบลในการป้องกันและแก้ไขปัญหา อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม. สมาน นิ่มนวลและรุ่งนภา ยศตื้อ (2542). การพัฒนารูปแบบการพึ่งตนเองด้านสุขภาพอนามัย ระดับครอบครัว จังหวัดลําปาง. สาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ. 12 (สิงหาคม-กันยายน 2542) : 27-32. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2550). คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข ประชาชนอยู่ดีมีสุข.นครราชสีมา: มปส. สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข. (2545). 30 ประเด็นสู่แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข.72 สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2547). คําประกาศนโยบาย และเป้าหมาย “เมืองไทย แข็งแรง”. กระทรวงสาธารณสุข. สํานั กนโยบายและยุ ทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แผนพัฒนาการสาธารณสุ ข แห่งชาติ ฉบับที่8. Retrieved June 1, 2007, from http://203.157.19.191. สํานักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2548). การส่งเสริมสุขภาพสําหรับสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข. อรนุช ดวงเบี้ย. (2549). การสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน อําเภอเสริมงาม จังหวัดลําปาง. การค้ น คว้า แบบอิ ส ระพยาบาลศาสตรมหาบั ณ ฑิต สาขาวิ ช าพยาบาลชุ ม ชน, บั ณ ฑิต วิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

64


อารีย์ เชื้อสาวะถี. (2546). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนําสุขภาพประจํ า ครอบครัว อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อุรยา วงศ์ไชยคง. (2547). การสื่อสารและปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของ วัยรุ่น.วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Duvall, E.M. (1977) Marriage and family relationships (5 th ed.). Philadelphia : Lippincott. Grant, J.S., & Davis, L.L. (1997). Focus on quantitative methods section and use of content experts for instrument development. Research in Nursing & Health, 20,269-274 Green, Lawrence W., Kreuter, Marshall W., Deeds, Sigrid G., Partridge Kay B. (1980). Health Education Planning : A Diagnostic Approach. California Mayfield Publishing Company. Green, Lawrence W. & Grueuter, Marshall W. (1991). Health Promotion Planning : And Environmental Approach. Toronto : Mayfied Publising. Orem, D.E. (1985). Nursing: concept of practice. New York: Mc braw Hill Book. Pender. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. Connecticut: Appleton & Lange. Polit, D.F., & Hungler, B.P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6 th ed.). Philadelphia: J.B. Lippincott. World Health Organization. (1986, November 21). Ottawa charter for health promotion : First International Conference on Health Promotion. Retrieved May 20, 2007, from http://www. int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/index.html.

65


ภาคผนวก ก

66


การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (สําหรับผู้สนับสนุนและผู้ดําเนินโครงการ (ผู้บริหาร)) ( ) ( ) ( ) ID ตอนที่ ๑ แบบประเมินด้านบริบท คําชี้แจง โดยทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สดุ ตามระดับการ ประเมินที่มีความหมาย ดังนี้ ๕ หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สดุ ๔ หมายถึง เห็นด้วย ตรงกับสภาพความเป็นจริงมาก ๓ หมายถึง ไม่แน่ใจ ตรงกับสภาพความเป็นจริง ๒ หมายถึง ไม่เห็นด้วย ไม่ค่อยตรงกับสภาพความเป็นจริง ๑ หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงเลยอย่างแน่นอน ระดับการประเมิน รายการประเมิน สําหรับ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ผู้วิจัย ๑.ประชาชนในพื้นที่ของท่านมีปัญหาด้านสุขภาพมาก ( ) A๑ ๒.ประชาชนในพื้นที่ของท่านมีพฤติกรรมการดูแ ลตนเองที่ ( ) A๒ ถูกต้อง เหมาะสม ๓.โครงการพั ฒนาฯ กสค. จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ์ ที่ ผ่า นมาไม่ ( ) A๓ สอดคล้อง/ไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ๔.กิจ กรรมในโครงการพัฒนาฯ กสค. สอดคล้องกั บความ ( ) A๔ ต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนใน พื้นที่ ๕.เนื้อหาหลัก สู ต รโครงการพั ฒนาฯ กสค. สอดคล้องกั บ ( ) A๕ ปั ญ หาและความจํ า เป็ น ต่ อ การแก้ ไ ขปั ญ หาสุ ข ภาพของ ประชาชนในพื้นที่ ๖.โครงการพั ฒนาฯ กสค. จั ง หวั ด กาฬสิน ธุ์ ไม่ส ามารถ ( ) A๖ แก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้หมดไปได้ 67


รายการประเมิน

ระดับการประเมิน ๔ ๓ ๒

๗.การตัดสินใจดําเนินการโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นการตัดสินใจที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ แก้ไขปัญหาของพื้นที่/เป็นการตัดสินใจที่ไม่ ถูกต้อง

สําหรับ ผู้วิจัย ( ) A๗

ตอนที่ ๒ แบบประเมินด้านปัจจัยนํา คําชี้แจง โดยทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สดุ ตามระดับการ ประเมินที่มีความหมาย ดังนี้ ๕ หมายถึง มากทีส่ ุด ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สดุ ๔ หมายถึง มาก ตรงกับสภาพความเป็นจริงมาก ๓ หมายถึง ปานกลาง ตรงกับสภาพความเป็นจริงปานกลาง ๒ หมายถึง น้อย ตรงกับสภาพความเป็นจริงน้อย ๑ หมายถึง น้อยที่สุด ไม่ทราบ/ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงเลยอย่างแน่นอน รายการประเมิน

ระดับการประเมิน ๔ ๓ ๒

๒.๑ ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการฯ/แผนปฏิบัติการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการฯ/แผนปฏิบัติ ( การพั ฒนาฯ กสค. จั ง หวั ด กาฬสิน ธุ์ สอดคล้องกั บ นโยบายด้านสาธารณสุขของจังหวัดกาฬสินธุ์ ๒.นโยบายและแนวทางการดํ า เนิ น งานที่ ร ะบุ ใ น ( โครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์สอดคล้องกับ ความต้องการแก้ไขปัญหาสุขภาพของพื้นที่ ๓.การกําหนดวั ตถุ ประสงค์/เป้าหมายของโครงการฯ ( สอดคล้องกับกลวิธีดําเนินงาน ๔.แนวทางการดํ าเนิน งานที่ ร ะบุใ นแผนปฏิบัติ ก ารมี ( 68

สําหรับ ผู้วิจัย ) B๑

) B๒

) B๓ ) B๔


รายการประเมิน

ระดับการประเมิน ๔ ๓ ๒

ค ว า ม ชั ด เ จ น ส า ม า ร ถ นํ าไ ป ป ฏิ บั ติ ใ ห้ บ ร ร ลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ ๕.แนวทางการดํ า เนิ น งานตามแผนงาน/โครงการ/ แผนปฏิ บัติก าร ยั ง ไม่ส ามารถประเมิน ผลลั พธ์ ของ โครงการฯได้ ๒.๒ การรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.ท่านมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ การดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค.จังหวัดกาฬสินธุ์ ๒.ท่านมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายการ ดําเนินงานโครงการฯ อย่างชัดเจน ๓.ท่ า นคิ ด ว่ า โครงการฯ นี้ สามารถปรั บ เปลี่ ย น พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ ๔.ท่านคิดว่าโครงการฯ นี้ สามารถลดอัตราการป่วย/ ตายของโรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่ได้ ๕.ท่านคิดว่าโครงการฯ นี้ สามารถกระตุ้นให้ประชาชน ในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ ๒.๓ ความเพียงพอ ความพร้อมของผู้รบั ผิดชอบโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิด ชอบโครงการฯ มีจํ านวนเพียงพอ สําหรับการดําเนินงาน ๒. เจ้ าห น้ า ที่ ผู้ รั บผิ ดชอบ โค รง ก าร ฯ มี ค วาม รู้ ความสามารถสอดคล้องกับการปฏิบัติงานนี้ ๓.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีภาระงานที่สอดคล้องกับการ ปฏิบัติงานโครงการฯ นี้ ๔.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความพร้อมในการดําเนินงาน โครงการฯ นี้ ๕.เจ้าหน้าที่ผู้รั บผิด ชอบมีภาระงานไม่ส อดคล้องกั บ 69

สําหรับ ผู้วิจัย

( ) B๕

( ) B๖ ( ) B๗ ( ) B๘ ( ) B๙ ( ) B๑๐

( ) B๑๑ ( ) B๑๒ ( ) B๑๓ ( ) B๑๔ ( ) B๑๕


รายการประเมิน

การดําเนินงานโครงการฯ นี้ ๒.๔ ความคุม้ ทุน คุม้ ค่าของงบประมาณ ๑.งบประมาณที่ไ ด้รับเพียงพอสําหรับการดํ าเนินงาน โครงการฯ ในพื้นที่ ๒.งบประมาณที่ได้รับสอดคล้องกับการดําเนินกิจกรรม ในโครงการฯ ๓.การเบิก-จ่ายงบประมาณเป็ นไปตามวั ตถุประสงค์ ของโครงการฯ ๔.ท่านคิ ด ว่าการใช้จ่า ยงบประมาณในโครงการฯ มี ความคุ้มทุนเมื่อเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของโครงการฯ ๔.ท่านคิ ด ว่าการใช้จ่า ยงบประมาณในโครงการฯ มี ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของโครงการฯ

ระดับการประเมิน ๔ ๓ ๒

สําหรับ ผู้วิจัย

( ) B๑๖ ( ) B๑๗ ( ) B๑๘ ( ) B๑๙ ( ) B๒๐

ตอนที่ ๓ แบบแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะการดําเนินงานโรงการฯ ๑.ท่านเคยเป็นหัวหน้าโครงการฯหรือเคยปฏิบัตงิ านที่มลี ักษณะเหมือนโครงการฯนี้หรือไม่? ( ) pr๑ ( ) ไม่เคย ( ) เคย จํานวน..................ปี ๒.ท่านคิดว่าโครงการพัฒนาฯ กสค. ในพืน้ ที่ของท่านควรดําเนินการต่อหรือไม่? ( ) Pr๒ ( ) ควรดําเนินการต่อ เนื่องจาก................................................................................... ( ) ไม่ควรดําเนินการต่อ เนื่องจาก............................................................................... ๓.ในความคิดเห็นของท่าน ท่านเห็นว่าโครงการพั ฒนาฯ กสค. จังหวัด กาฬสินธุ์ใ นปีที่ผ่านมา ประสบ ผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด? เหตุผลที่สนับสนุน........................................................................................................... ๔.รูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ผ่านมา พื้นที่ท่านพบปัญหาหรือ ข้อจํากัดด้านการบริหารจัดการโครงการฯ อย่างไรบ้าง? ( )Pr๓ ( ) ไม่มีปัญหา ( ) มี ดังนี้................................................................................................................. 70


๕.ท่านมีความคิดเห็นว่าควรมีประเด็นใดบ้างที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้การโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น? แตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร? เหตุผลสนับสนุน........................................................................................... ๖.ท่านมีความคิดเห็นเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างแท้จริงนั้น ควรมีรูปแบบการ ดําเนินงานที่แตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร? เหตุผลสนับสนุน............................................................................................. ๗.ท่านมีความคิดเห็นว่าหน่วยงานในระดับสํานักงานสาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ และ รพ. สต. ควรมีบทบาทในการสนั บสนุน โครงการพั ฒนาฯ กสค. จั งหวัด กาฬสินธุ์เพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ เพิ่มเติมในเรื่องใดบ้าง? เหตุผลสนับสนุน.............................................................................................

71


การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (แบบสอบถาม สําหรับ กสค.) ( ) ( ) ( ) ID ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับสภาพจริงของท่านมากที่สุด สําหรับผู้วิจัย ( ) SEX ( ) STA

๑.เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง ๒.สถานภาพสมรส ( ) โสด ( ) คู่ ( ) หม้าย/หย่า/แยก ๓.การศึกษาชั้นสูงสุดของท่าน ( ) ED ( ) ระดับประถมศึกษา ( ) ระดับมัธยมศึกษา ( ) ระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ( ) ระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ( ) ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ( ) อื่น (ระบุ)............................. ๔.อาชีพหลัก ( ) OC ( ) ทํานา ทําสวน ทําไร่ เลี้ยงสัตว์ ( ) ค้าขาย ( ) รับจ้าง ( ) รับราชการ ( ) อื่น (ระบุ)........................................................................ ๕.สมาชิกในครอบครัวที่พักอาศัยอยู่จริงในปัจจุบัน จํานวน.....................................คน ( ) NUM

ตอนที่ ๒ ความคิดเห็นต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด สําหรับผู้วิจัย ๑.ท่านเข้าร่วมโครงการพัฒนาฯ กสค. หรือเป็น กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ได้อย่างไร? (ตอบได้หลายข้อ) ( ) อสม. ในหมู่บ้านท่านแนะนํา ( ) E๑ ( ) ชุมชนของท่านคัดเลือกท่านให้เป็น กสค. ของพื้นที่ ( ) E๒ ( ) จนท.สาธารณสุขในพื้นที่ท่านคัดเลือกท่านให้เป็น กสค. ( ) E๓ ( ) ท่านสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ด้วยตนเอง ( ) E๔ ( ) อื่นๆ (ระบุ)............................................................. ( ) E๕ 72


๒.ก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านได้รับการชี้แจงและประโยชน์ของการเป็น กสค. หรือไม่? ( ) ไม่ได้รับการชี้แจง ( ) E๖ ( ) ได้รับการชี้แจงจากบุคคล ดังต่อไปนี้ (ตอบได้มากกว่า ๑ ข้อ) ( ) อสม. ( ) E๗ ( ) เพื่อนบ้าน/ญาติ ( ) E๘ ( ) จนท.สาธารณสุข ( ) E๙ ( ) ผู้นําชุมชน/อบต. ( ) E๑๐ ( ) อื่นๆ (ระบุ)........................................................................................( ) E๑๑ ๓.ท่านรับทราบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพของชุมชนท่านจากแหล่งข้อมูลใดบ้าง? ( ) ไม่เคยได้รับ ( ) E๑๓ ( ) เคยได้รับ จากแหล่งข้อมูล ดังต่อไปนี้ (ตอบได้มากกว่า ๑ ข้อ) ( ) เอกสาร/แผ่นพับ/ใบปลิวจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ( ) E๑๔ ( ) วิทยุ/โทรทัศน์/วิดิทัศน์ ( ) E๑๕ ( ) จนท.สาธารณสุข ( ) E๑๖ ( ) หอกระจายข่าว/เสียงตามสายชุมชน ( ) E๑๗ ( ) อื่นๆ (ระบุ)..................................................................................... ( ) E๑๘ ๔.ปัจจุบันท่านมีคู่มือ/เอกสารแกนนําสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์หรือไม่? ( ) มี ( ) เคยมีแต่ปัจจุบันหายแล้ว ( ) ไม่มี/ไม่เคยได้รับ ( ) E๑๒ ๕.ปัจจุบันท่านเป็น กสค. ในชุมชนของท่านหรือไม่? ( ) เป็น ( ) เคยเป็นปัจจุบันลาออกแล้ว ( ) ไม่ทราบ/ไม่เคยเป็น( ) E๑๓ ๒.๒ ความคิดเห็นต่อแหล่งข้อมูล สภาพต่างๆก่อนเข้าร่วมโครงการและการอบรม กสค. คําชี้แจง โดยทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สดุ ตามระดับการ ประเมินที่มีความหมาย ดังนี้ ๓ หมายถึง มากทีส่ ุด ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สดุ ๒ หมายถึง ปานกลาง ตรงกับสภาพความเป็นจริงปานกลาง ๑ หมายถึง น้อยที่สุด ไม่ทราบ/ตรงกับสภาพความเป็นจริงน้อยที่สุด

73


ระดับการประเมิน ๓ ๒ ๑ สํ า ห รั บ ผู้วิจัย

รายการประเมิน ๑. ก่อนดําเนินโครงการพัฒนาฯ กสค.จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.ก่อนเป็น กสค. ครอบครัวท่านมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมาก ๒.การอบรม กสค. จังหวั ดกาฬสินธุ์สอดคล้องกับความต้องการของ ท่าน ๓.ท่านมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็น กสค. เป็นอย่างมาก ๔.การเป็น กสค. มีส่วนช่วยให้บุคคลในครอบครัวของท่านมีพฤติกรรม สุขภาพดีขึ้น ๕.การเป็น กสค. ไม่สามารถช่วยให้สุขภาพของคนในครอบครั วของ ท่านดีขึ้น ๒.การอบรม กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.เนื้อหาที่อบรม กสค. ตรงกับความต้องการของท่าน ๒.วิทยากรที่อบรม กสค. มีความรู้ความสามารถตรงกับเนื้อหาที่จั ด อบรม ๓.สถานที่จัดอบรม กสค. มีความเหมาะสม ๔.ระยะเวลาในการจัดอบรมมีความเหมาะสม ๕.สื่อ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมมีความเหมาะสม ๓.หลักสูตร กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.เนื้อหาในหลักสู ตร/คู่มือ/เอกสาร กสค. มีความชั ดเจน เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งาน/เรียนรู้ ๒.เนื้อหาในหลักสูตรสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของท่าน ๓.เนื้อหาในหลั กสู ตรสอดคล้องกับพฤติก รรมสุขภาพที่ท่านต้องการ แก้ไข ๔.เนื้อ หาในหลั ก สู ต รสอดคล้องกั บ วั ต ถุ ประสงค์ใ นการดํ าเนิน งาน โครงการฯ และนําไปปฏิบัติได้จริง ๕.เนื้อหาในหลักสูตรเข้าใจง่าย แต่ไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่/ไม่ สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง 74

( ) F๑ ( ) F๒ ( ) F๓ ( ) F๔ ( ) F๕

( ) F๖ ( ) F๗ ( ) F๘ ( ) F๙ ( ) F๑๐ ( ) F๑๑ ( ) F๑๒ ( ) F๑๓ ( ) F๑๔ ( ) F๑๕


ตอนที่ ๓ การรับรู้ ความคิดเห็นและการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ของ กสค. คําชี้แจง โดยทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สดุ ตามระดับการ ประเมินที่มีความหมาย ดังนี้ ๓ หมายถึง ใช่ ตรงกับสภาพความเป็นจริง ถูกต้อง ๒ หมายถึง ไม่ใช่ ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ๑ หมายถึง ไม่แน่ใจ ไม่ทราบ/ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น/ประเมินผลไม่ได้ ระดับการประเมิน ๓ ๒ ๑ สํ า ห รั บ รายการประเมิน ผู้วิจัย ๑.ความเข้าใจต่อบทบาท กสค. ๑.กสค. คื อ ตั ว แทนของครอบครั ว ด้ า นสุ ข ภาพ เพื่ อ ทํ า หน้ า ที่ ( ) G๑ ประสานงานและค้นหาโรคที่สําคัญในพื้นที่ร่วมกับ อสม. และ จนท.สา ธารณสุข ๒.กสค. คื อ ตั ว แทนของครอบครั ว ในการปฏิ บั ติ ง านด้ า นการ ( ) G๒ รักษาพยาบาลเบื้องต้นที่สุขศาลาร่วมกับ อสม. ในพื้นที่ ๓.กสค. คือ ตัวแทนของครอบครัวในการให้คําแนะนํา กระตุ้น ให้คน ( ) G๓ ในครอบครัวสนใจและหันมาดูแลสุขภาพของตนเอง ๔.กสค. คือ ผู้เป็ น แบบอย่างในการดู แ ลสุ ขภาพของตนเอง และ ( ) G๔ ช่วยเหลือ แนะนํา พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่คนในครอบครัวและ บุคคลอื่น ๕.กสค. คือ ผู้ดู แ ลสุขภาพเบื้องต้น แก่คนในครอบครั ว เมื่อมีก าร ( ) G๕ เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น อุจจาระร่วง ไข้ตัวร้อน เป็นหวัด เป็นต้น ๒.การปฏิบัติตัวในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องของ กสค. และคนในครอบครัว ๑.ท่านแนะนําให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสําคัญในการดูแลเท้า ( ) G๖ ตนเองเป็นพิเศษ ๒.ท่านแนะนําให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมเฉพาะระดับน้ําตาลในเลือด ( ) G๗ โดยไม่จําเป็นที่ต้องควบคุมน้ําหนักก็ได้ ๓.ท่านแนะนําให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรงดอาหารประเภทมัน ( ) G๘ 75


ระดับการประเมิน ๓ ๒ ๑ สํ า ห รั บ ผู้วิจัย

รายการประเมิน เค็ม และหวานจัด ๔.ท่านแนะนําให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรวัดความดันโลหิตทุก ครั้งที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ๕.ท่านแนะนําเรื่องการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โดยควรหลีกเลี่ยง อาหารรสหวาน รสเค็ม และอาหารไขมันสูง ๖.ท่านแนะนําผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกาย บ่อย เนื่องจากจะทําให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเร็วขึ้น ๗.ท่า นแนะนํ าประโยชน์ ข องการดื่ มน้ํ า เกลือ แร่ ORS สามารถช่ ว ย ป้องกันการขาดน้ําและเกลือแร่ในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงได้ ๘.ท่านแนะนําผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงไม่จําเป็นต้องงดอาหารและน้ํา ๙. ท่านควรเช็ดตัวด้วยน้ําเย็นจัดเมื่อเด็กในปกครองมีอาการไข้ตัวร้อน เพราะจะทําให้อาการไข้ลดลงเร็วขึ้น ๑๐.ท่ า นแนะนํ า คนในครอบครั ว ว่ า ยาพาราเซตามอล เป็ น ยาที่ ปลอดภัยที่สุดในการบรรเทาอาการไข้ โดยรับประทาน ๑-๒ เม็ด ทุก ๔-๖ ชั่วโมง (ส่วนเด็กเล็กและเด็กโตใช้ตามขนาดน้ําหนัก) ๑๑.ท่านจัดเตรียมอาหารในครัวเรือนบนโต๊ะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ ซม. ๑๒.ท่านจัดห้องนอนโดยไม่ปูเสื่อหรือพรมขนาดใหญ่เกินความจําเป็น เพราะเป็นที่กักเก็บฝุ่นได้ ๑๓.ท่านแนะนําบุคคลอื่นว่าปัจจัยหลักที่ทําให้เกิดมะเร็งส่วนใหญ่เกิด จากพฤติกรรมการอยู่กินที่ไม่ถูกต้อง ๑๔.บุคคลในครอบครัวของท่านอย่างน้อย ๑ คน ดื่มสุราอย่างน้อย ๑-๒ ครั้งต่อสัปดาห์เป็นประจํา ๑๕.ท่านออกกําลังกายอย่างน้อย ๓ วัน/สัปดาห์ ครั้งละ ๓๐ นาที เป็น ประจํา ๑๖.บุคคลในครอบครัวของท่านมีอย่างน้อย ๑ คนไม่เคยออกกําลั ง 76

( ) G๙ ( ) G๑๐ ( ) G๑๑ ( ) G๑๒ ( ) G๑๓ ( ) G๑๔ ( ) G๑๕

( ) G๑๖ ( ) G๑๗ ( ) G๑๘ ( ) G๑๙ ( ) G๒๐ ( ) G๒๑


ระดับการประเมิน ๓ ๒ ๑ สํ า ห รั บ ผู้วิจัย

รายการประเมิน กายเลย ๑๗.ท่านไม่เคยควบคุมน้ําหนักตัวเอง ๑๘.ท่านรับประทานอาหารทุกชนิด โดยไม่คํานึงถึงปริมาณสารอาหาร และคุณค่าที่มีต่อร่างกาย ๑๙.บุคคลในครอบครัวของท่านมีอย่างน้อย ๑ คนมีพฤติก รรมการ รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ๒๐.ท่านและครอบครัวใช้ส้วมในการขับถ่ายอุจจาระเป็นประจํา

77

( ) G๒๒ ( ) G๒๓ ( ) G๒๔ ( ) G๒๕


การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (สําหรับบุคคลในครอบครัว กสค.) ( ) ( ) ( ) ID ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับสภาพจริงของท่านมากที่สุด สําหรับผู้วิจัย ( ) SEX ( ) STA

๑.เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง ๒.สถานภาพสมรส ( ) โสด ( ) คู่ ( ) หม้าย/หย่า/แยก ๓.การศึกษาชั้นสูงสุดของท่าน ( ) ED ( ) ระดับประถมศึกษา ( ) ระดับมัธยมศึกษา ( ) ระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ( ) ระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ( ) ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ( ) อื่น (ระบุ)................................. ๔.อาชีพหลัก ( ) OC ( ) ทํานา ทําสวน ทําไร่ เลี้ยงสัตว์ ( ) ค้าขาย ( ) รับจ้าง ( ) รับราชการ ( ) อื่น (ระบุ)........................................................................ ๕.สมาชิกในครอบครัวที่พักอาศัยอยู่จริงในปัจจุบัน จํานวน.....................................คน ( ) NUM

ตอนที่ ๒ ความคิดเห็นของบุคคลในครอบครัวที่มีต่อการปฏิบัติงานของ กสค. เปรียบเทียบกับ ก่อนดําเนินโครงการพัฒนาฯ กสค. คําชี้แจง โดยทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สดุ ตามระดับการ ประเมินที่มีความหมาย ดังนี้ ๓ หมายถึง การปฏิบัตติ ัวด้านสุขภาพของ กสค. มากขึ้น/ดีขนึ้ ๒ หมายถึง การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของ กสค. เหมือนเดิม ๑ หมายถึง การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของ กสค. แย่ลง/น้อยลง

78


ระดับการประเมิน ๓ ๒ ๑ สํ า ห รั บ รายการประเมิน ผู้วิจัย เมื่อท่านเปรียบกับก่อนดําเนินโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.กสค. เป็นแบบอย่างในการดู แลสุขภาพของตนเอง และช่วยเหลือ ( ) Q๑ แนะนําพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่คนในครอบครัวและบุคคลอื่นเป็น อย่างไร? ๒.กสค. ดู แลสุขภาพเบื้องต้นแก่คนในครอบครัว เมื่อมีก ารเจ็บป่วย ( ) Q๒ เล็กน้อย เช่น อุจจาระร่วง ไข้ตัวร้อน และเป็นหวัด เป็นอย่างไร? ๓.กสค. ให้คําแนะนํา กระตุ้น ให้คนในครอบครัวสนใจและหันมาดูแล ( ) Q๓ สุขภาพของตนเองเป็นอย่างไร? ๔.กสค. แนะนําผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนเป็นอย่างไร? ( ) Q๔ ๕.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น ในการป้องกันการ ( ) Q๕ เกิดโรคเบาหวานเป็นอย่างไร? ๖.กสค. แนะนํ าบุ คคลในครอบครั วและบุ คคลอื่น ในการป้องกั น โรค ( ) Q๖ ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร? ๗.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับการวัดและ ( ) Q๗ แปลผลค่าความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร? ๘.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเรื่องการป้องกัน ( ) Q๘ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นอย่างไร? ๙.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น เกี่ยวกับการป้องกัน ( ) Q๙ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอย่างไร? ๑๐.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น เรื่องประโยชน์ของ ( ) Q๑๐ การดื่มน้ําเกลือแร่ ORS ในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเป็นอย่างไร? ๑๑.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุ คคลอื่น ในการปฏิบัติตั ว ( ) Q๑๑ ขณะป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเป็นอย่างไร? ๑๒.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นในการเช็ดตัวลดไข้ ( ) Q๑๒ เป็นอย่างไร? 79


ระดับการประเมิน ๓ ๒ ๑ สํ า ห รั บ รายการประเมิน ผู้วิจัย ๑๓.กสค. แนะนําคนในครอบครัวเกี่ยวกับการใช้ ยาพาราเซตามอล ( ) Q๑๓ ในการบรรเทาอาการไข้เป็นอย่างไร? ๑๔.กสค. แนะนําบุ คคลในครอบครั วและบุ คคลอื่นในการจั ด เตรียม อาหารในครัวเรือนเป็นอย่างไร? ๑๕.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น เกี่ยวกับสุขาภิบาล ครัวเรือน เช่น การจัดห้องนอน การจัดห้องครัว การทําความสะอาด ห้องน้ํา เป็นอย่างไร? ๑๖.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับการป้องกัน/ ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเป็นอย่างไร? ๑๗.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่น เกี่ยวกับโทษของ การดื่มสุราเป็นอย่างไร? ๑๘.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับประโยชน์ใน การออกกําลังกายเป็นอย่างไร? ๑๙.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับการเลือก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างไร? ๒๐.กสค. แนะนําบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นเกี่ยวกับโทษของการ รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เป็นอย่างไร? ๒๑.กสค. แนะนําบุ คคลในครอบครัวและบุคคลอื่นในการใช้ส้วมเพื่อ ขับถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะเป็นอย่างไร?

( ) Q๑๔ ( ) Q๑๕

( ) Q๑๖ ( ) Q๑๗ ( ) Q๑๘ ( ) Q๑๙ ( ) Q๒๐ ( ) Q๒๑

ตอนที่ ๓ ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะต่อการดําเนินงานโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.ท่านคิดว่าโครงการพัฒนาฯ กสค. ในพื้นที่ของท่านควรดําเนินการต่อหรือไม่? ( ) PP๑ ( ) ควรดําเนินการต่อ เนื่องจาก....................................................................... ( ) ไม่ควรดําเนินการต่อ เนื่องจาก..................................................................

80


๒.ท่านมีความคิดเห็นว่าควรมีประเด็นใดบ้างที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้การโครงการพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น? แตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร? เหตุผลสนับสนุน.................................................................................................

81


การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลสุขภาพประจําครอบครัว (กสค.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม (สําหรับ กสค.) ( ) ( ) ( ) ID ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับสภาพจริงของท่านมากที่สุด สําหรับผู้วิจัย ๑.ชื่อ-สกุล.....................................................................วันที่อบรม................................... .( ) NAM ๒.สังกัด รพ.สต...........................................................หมู่ที่..............ตําบล..........................( ) HOM อําเภอ...........................................................จังหวัด…....กาฬสินธุ์.......... ๓.การศึกษาชั้นสูงสุดของท่าน ( ) ED ( ) ระดับประถมศึกษา ( ) ระดับมัธยมศึกษา ( ) ระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ( ) ระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ( ) ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ( ) อื่น (ระบุ)............................ ๔.อาชีพหลัก ( ) OC ( ) ทํานา ทําสวน ทําไร่ เลี้ยงสัตว์ ( ) ค้าขาย ( ) รับจ้าง ( ) รับราชการ ( ) อื่น (ระบุ)........................................................................ ๕.สมาชิกในครอบครัวที่พักอาศัยอยู่จริงในปัจจุบัน จํานวน.....................................คน ( ) NUM ตอนที่ ๒ แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมพัฒนาฯ กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ คําชี้แจง เลือกคําตอบที่ถกู ต้องที่สดุ เพียงข้อเดียว ๑. โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลนิ ซึ่งก่อให้เกิดน้ําตาลในเลือดสูงโดยมีค่ามากกว่า เท่าไรหลังงดน้ํา งดอาหาร 8 ชั่วโมงจึงถือว่าเป็นโรคเบาหวาน ก. ค่าน้ําตาลต่ํากว่า ๑๐๐ มล./ดล. ข. ค่าน้ําตาล ๑๐๐-๑๒๕ มล./ดล. ค. ค่าน้ําตาลมากกกว่าหรือเท่ากับ ๑๒๖ มล./ดล. ง. ค่าน้ําตาลมากกว่า ๒๐๐ มล./ดล. ๒. สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานคือ ก. มีอายุมากกว่า ๓๕ ปี และกรรมพันธุ์ ข. อ้วน ชอบทานอาหารรสหวาน ผลไม้รสหวาน ค. ไม่ชอบออกกําลังกาย ง. ถูกทุกข้อ 82


๓. ข้อใดคือประโยชน์ของการออกกําลังกาย ก. ลดไขมันใต้ผิวหนังส่วนเกิน ข. เพิ่มความทนทานของหัวใจ ค. แก้ไขระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ง. ถูกทุกข้อ ๔. ข้อใดคือขั้นตอนการเดินเร็วที่ถกู ต้อง ก. เดินช้า เดินเร็ว หยุด ข. เดินช้า เดินเร็ว เดินช้า หยุด ค. เดินเร็ว วิ่งเหยาะ เดินเร็ว หยุด ง. เดินเร็ว เดินช้า เดินเร็ว เดินช้า หยุด ๕. การออกกําลังกายแบบแอโรบิคมีความสําคัญในการเพิ่มความทนทานของระบบใดในร่างกายมากทีส่ ุด ก. ระบบกล้ามเนื้อ ข. ระบบหัวใจ และการหายใจ ค. ระบบย่อยอาหาร ง. ระบบประสาท ๖. สิ่งใดต่อไปนี้เราสามารถนํามากําหนดได้ว่า “ออกกําลังกายหนักพอ” ได้ง่ายและดีทสี่ ุด ก. ร่างกายอุ่นขึ้น ข. ขนลุก ค. ความรู้สึกเหนื่อย ง. หายใจหอบ ถี่ ๗. การออกกําลังกายชนิดใดทําให้กล้ามเนื้อแข็งแรงทีส่ ดุ ก. ยกน้ําหนัก ข. วิ่งเหยาะ ค. รํามวยจีน ง. โยคะ ๘. ข้อใดต่อไปนีจ้ ับคู่ได้เหมาะสม ก. ปวดเข่า – ปั่นจักรยาน ข. โรคอ้วน – เดินในน้ํา ค. ผู้สูงอายุ – รํามวยจีน ง. ถูกทุกข้อ ๙. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผกั แป้งสูง ก. ฟักทอง ข. มันเทศ ค. แครอท ง. เผือก ๑๐. เนื้อสัตว์ต่อไปนี้ข้อใดจัดอยู่ในกลุ่มเนื้อสัตว์ไขมันต่ํามาก ก. กุง้ ข. หมูบด ค.ปลาทูนากระป๋องในน้ํามันพืช ง. แฮม ๑๑. เมื่อท่านต้องการดื่มนมท่านควรจะเลือกดื่มนมประเภทใดเพื่อไม่ให้น้ําตาลในเลือดสูง ก. นมเปรี้ยว ข. นมที่มีแคลเซียมสูง ค. นมจืดพร่องมันเนย ง. นมข้นหวาน 83


๑๒. ข้อใดคือผลไม้ ๑ ส่วน ก. น้ําส้มหนึ่งถ้วยตวง ข. มะม่วงสุก ๑ ผล ค. ชมพู่ ๑ ผล ง. กล้วยน้ําหว้า ๑ ใบ ๑๓ เต้าหู้จดั อยู่ในอาหารกลุ่มใด ก. แป้ง ข. ไขมัน ค. ผัก ง. โปรตีน ๑๔. ความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กบั ก. น้ําหนักตัว ข. ความอยากอาหาร ค. ยาที่รับประทานอยู่ ง. ถูกทุกข้อ ๑๕. น้ํามันพืชชนิดใดไม่ควรนํามาใช้ประกอบอาหาร ก. น้ํามันรําข้าว ข. น้ํามันปาล์ม ค. น้ํามันมะกอก ง. น้ํามันงา ๑๖. น้ําผึ้งมาจากธรรมชาติดีกว่าน้ําตาลทราย เพราะให้พลังงานน้อย และมีส่วนช่วยป้องกันโรค ก. ถูกต้อง เพราะน้ําผึ้งจากธรรมชาติช่วยรักษาโรค ข. ผิด ข. ถูกต้อง เพราะเป็นสารจากธรรมชาติ ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข ๑๗. ช่วงที่เราต้องการลดน้ําหนัก ควรงดอาหารหวาน มัน ทุกชนิด ถึงแม้จะชอบก็ตาม ก. ถูกต้อง เพราะอาหารมันมีส่วนให้น้ําหนักเพิ่ม ข. ผิด ข. ถูกต้อง เพราะอาหารหวานช่วยให้น้ําหนักเพิ่ม ง. ถูกทัง้ ข้อ ก และ ข ๑๘. โรคความดันโลหิตสูงจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตามข้อใด ก. โรคหัวใจโต ข. โรคหลอดเลือดเปราะ ค. โรคไต ง. ถูกทุกข้อ ๑๙. ข้อใดไม่ใช่การป้องกันตนเองไม่ให้เป็นเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ก. ลดอาหารหวานมันเค็ม ข. ออกกําลังกายให้เหมาะสมสม่ําเสมอ ค. ทําจิตใจให้ผ่องใส ง. กินน้ําผึ้งแทนน้ําตาล ๒๐. ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ใช่ข้อใด ก. ช๊อคจากน้ําตาลสูงหรือต่ําเกินไป ข. แผลเรื้อรัง ค. ตับอักเสบ ง. ไตวาย

84


ตอนที่ ๓ แบบสัมภาษณ์ ติดตามประเมินพฤติกรรมแกนนํา กสค. คําชี้แจง : ให้ท่านทําเครื่องหมาย √ ลงใน หรือเขียนข้อความในช่องว่าง ………………… ๑. หลังจากได้รับความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพท่านมีความตั้งใจทีจ่ ะปรับเปลี่ยนตนเอง หรือไม่ ๑. ยังไม่พร้อม ๒. ยังไม่แน่ใจ ๓. มีความตั้งใจทีป่ รับเปลี่ยน ๔. กําลังทําการปรับเปลี่ยนตนเอง ๒. พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ๒.๑ ท่านรับประทานผักสดปริมาณกี่ส่วนต่อวัน (๑ ส่วนเท่ากับ ๑ ทัพพีหรือ ๑ ฝ่ามือ) ๑. ไม่ทานเลย ๒. น้อยกว่า ๕ ฝ่ามือ ๓. มากกว่า ๕ ฝ่ามือ ๒.๒ ท่านรับประทานอาหารจากเนื้อปลากี่วนั ในหนึง่ สัปดาห์ ๑. ไม่เคยทาน ๒. ๑ - ๒ วัน ๓. มากกว่า ๓ - ๔ วัน ๔. มากกว่า ๔ วัน ๒.๓ ท่านรับประทานอาหารจากเนื้อสัตว์ (ที่ไม่ใช่ปลา) กี่วันในหนึ่งสัปดาห์ ๑. ไม่เคยทาน ๒. ๑ - ๒ วัน ๓. มากกว่า ๓ - ๔ วัน ๔. มากกว่า ๔ วัน ๒.๔ ในการรับประทานอาหารท่านเติมน้ําปลาเพิ่มอีก หรือเพิ่มพริกน้ําปลาบ่อยแค่ไหน ? ๑. ไม่เคยเติม ๒. เติมบางเวลา ๓. เติมบ่อยๆทุกครั้ง ๒.๕ อาหารที่ท่านรับประทานส่วนใหญ่ ปรุง หรือประกอบด้วยวิธีใด ๑. ต้ม,นึ่ง , ปิ้ง,ย่าง ๒. ผัด, ทอด ๓. แกงไม่ใส่กะทิ ๔. ใส่กะทิ ๕. อื่นๆ ระบุ...................... ๒.๖ ท่านดื่มเครื่องดื่มใดบ้างต่อไปนี้ ๑. น้ําอัดลม ๒. น้ําหวาน ๓. เหล้า/เบียร์ ๔. กาแฟ/โอวัลติน ๕. อื่นๆ ระบุ......................

85


๓. พฤติกรรมการออกกําลังกาย ๓.๑ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย ๑๕ นาทีในแต่ละครั้ง จํานวนกี่ครัง้ ? ๑. ไม่มี ๒. ๑ - ๒ ครั้ง ๓. ๓ - ๔ ครั้ง ๔. มากกว่า ๔ ครั้ง ๓.๒ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณมีกจิ กรรมทางกายมากกว่า ๑๕ นาทีในแต่ละครั้งจํานวนกี่ครัง้ ? ๑. ไม่มี ๒. ๑ - ๒ ครั้ง ๓. ๓ – ๔ ครั้ง ๔. มากกว่า ๔ ครัง้ ๔. พฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของตนเอง ๔.๑ การฝึกหายใจช้า จํานวนกี่ครั้งใน ๑ สัปดาห์ ? ๑. ไม่เคยฝึกเลย ๒. เคยฝึกบางเวลา ๑ - ๒ ครั้ง ๓. เคยฝึกบ่อยๆ ๓ - ๔ ครั้ง ๔. เคยฝึกบ่อยๆ มากกว่า ๔ ครั้ง ๔.๒ การฝึกโยคะ จํานวนกี่ครั้งใน ๑ สัปดาห์ ? ๑. ไม่เคยฝึกเลย ๒. เคยฝึกบางเวลา ๑-๒ ครัง้ ๓. เคยฝึกบ่อยๆ ๓-๔ ครั้ง ๔. เคยฝึกบ่อยๆมากกว่า ๔ ครัง้ ๔.๓ การเจริญสมาธิ จํานวนกี่ครั้งใน ๑ สัปดาห์ ? ๑. ไม่เคยฝึกเลย ๒. เคยฝึกบางเวลา ๑-๒ ครั้ง ๓. เคยฝึกบ่อยๆ ๓-๔ ครั้ง ๔. เคยฝึกบ่อยๆมากกว่า ๔ ครัง้ ๔.๔ อื่นๆ โปรดระบุ....................................เช่น เข้าวัดฟังธรรม / ร่วมกิจกรรมในชุมชน/ ดูหนัง /ฟัง เพลง /เล่นกีฬา /เล่นดนตรี /พบปะพูดคุย จํานวนกี่ครั้งใน ๑ สัปดาห์ ? ๑. ไม่เคยฝึกเลย ๒. เคยฝึกบางเวลา ๑-๒ ครั้ง ๓. เคยฝึกบ่อยๆ ๓-๔ ครั้ง ๔. เคยฝึกบ่อยๆมากกว่า ๔ ครั้ง ๔.๕ ท่านใช้วิธีใดบ้างต่อไปนี้เมื่อรู้สกึ เครียด ๑. สูบบุหรี่ ๒. ดื่มเหล้า/เบียร์ ๓. ไปเที่ยวสถานเริงรมย์ ๔. อื่น ๆ ระบุ.........................

86


แบบเฉลยความรู้ ก่อน – หลัง เข้าอบรม อสม. และแกนนํา กสค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ข้ อ

๑๕

๑๖

๑๗

√ √ √ √ √ √ √ √

๑๙

๒๐

87

๑๘

๑๓ ๑๔

๑๒

√ √

๑๑

√ √

๑๐

ข้ อ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.