Ca351 week02 tv systems

Page 1

นศ 351

การผลิตรายการวิดที ศั น์ 1 [CA 351 Video Program Production 1] (ปี การศึกษาที่1/2557)

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ ณัฏฐพงษ์ สายพิณ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บรู ณาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ โจ้

ระบบวิทยุโทรทัศน์ • • • • • • •

คุณลักษณะและธรรมชาติของสื่อโทรทัศน์ ระบบวิทยุโทรทัศน์ในปั จจุบนั ระบบการส่งและรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย เทคโนโลยีการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เทคโนโลยีเคเบิลทีวี ระบบวิทยุโทรทัศน์ดิจิทลั ฟรี ทีวีดิจิทลั สาธารณะ


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

2

จากบทนําที่ได้ ให้ ความหมายและความสําคัญของสือ่ วิทยุโทรทัศน์ บทบาทหน้ าที่ องค์ประกอบ ตลอดจนลักษณะและ ข้ อจํากัดของวิทยุโทรทัศน์ทําให้ เราได้ ทราบถึงลักษณะโดยรวมของสือ่ ที่เรี ยกว่า “วิทยุโทรทัศน์” แล้ ว ในบทนี ้จะขอกล่าวถึงคุณ ธรรมชาติของสือ่ โทรทัศน์ที่จะเป็ นส่วนเสริ ม และระบบการส่งและรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในรูปแบบต่างๆ ดังจะได้ กล่าวถึงใน หัวข้ อต่อไป คุณลักษณะและธรรมชาติของสื่อโทรทัศน์ สือ่ โทรทัศน์เป็ นสือ่ ทางภาพ (VISUAL MEDIA) ที่มีคณ ุ ลักษณะเฉพาะตัว ดังนี ้ 1. สื่อโทรทัศน์ อาศัยภาพเป็ นหลักในการนําเสนอ โดยใช้ เสียงเป็ นส่ วนเสริม ซึง่ ภาพที่นําเสนอนัน้ ได้ แก่ การ แสดงท่าทาง สัญลักษณ์ เครื่ องหมาย หรื อข้ อความ รวมถึงการใช้ ภาษาภาพเฉพาะของสือ่ โทรทัศน์ซงึ่ มีความแตกต่างจากระบบ ภาษาอื่นๆ ส่วนเสียง ได้ แก่ เสียงบรรยาย เสียงสนทนา เสียงดนตรี เสียงประกอบ ซึง่ เสียงจะเป็ นส่วนเสริ มในรายละเอียดที่ ภาพไม่สามารถสือ่ ได้ เช่น เสียงนําเสนอเพื่อการรับรู้ที่เกี่ยวข้ องกับ บรรยากาศ และอารมณ์ เป็ นต้ น 2. สื่อโทรทัศน์ เป็ นสื่อที่ผูกพันกับเวลา (REAL TIME PRESENTATION) เป็ นสือ่ ที่นําเสนอสารตามระยะเวลา จริ งของผู้รับสารและการรับรู้เกี่ยวกับเวลาจริ งจะเดินหน้ าไปเรื่ อยๆ จะไม่ย้อนกลับ ดังนัน้ การนําเสนอสารผ่านสือ่ โทรทัศน์ จะต้ องเสนอสารที่มีเนื ้อหาซับซ้ อนน้ อยที่สดุ สร้ างสรรค์สารให้ มีความเข้ าใจได้ ง่ายที่สดุ และไม่ยืดยาวเกินความสนใจของผู้ชม ตลอดจนภาษาที่ใช้ ในการถ่ายทดความคิดนันต้ ้ องกระชับและได้ ใจความ 3. สื่อโทรทัศน์ เป็ นสื่อที่นําเสนอรายละเอียดเฉพาะส่ วน เป็ นการนําเสนอภาพทีละส่วนซึง่ อยูใ่ นลักษณะของภาษา ภาพวิเคราะห์ (ANALYICAL LANGUAGE) ซึง่ ในการนําเสนอภาพเหตุการณ์หนึง่ ๆ นัน้ สือ่ โทรทัศน์จะตัดภาพออกเป็ นส่วนๆ แล้ วนําเสนอทีละส่วน หากนําเสนอไม่ครบทุกส่วนผู้ชมจะไม่เข้ าใจเหตุการณ์นนั ้ ซึง่ การนําเสนอภาพทีละส่วนนี ้จะช่วยให้ เกิดการ ดึงดูดความสนใจผู้รับสารโดยที่ผ้ ชู มไม่ต้องใช้ ความพยายามในการติดตามรับรู้เนื ้อหามากนักสือ่ โทรทัศน์จึงสามารถนํามาใช้ กบั ผู้รับสารที่อายุน้อยได้ ดี 4. สื่อโทรทัศน์ นําเสนอการสื่อสารผ่ านคลื่นอากาศ (BROADCASTING MEDIA) ทําให้ สามารถเข้ าถึงผู้รับสาร ได้ อย่างรวดเร็ วและกระจายเป็ นบริ เวณกว้ างครอบคลุมทุกพื ้นที่ 5. สื่อโทรทัศน์ สามารถนําเสนอเรื่องที่ยากซับซ้ อนให้ เป็ นเรื่องง่ ายได้ โดยใช้ ภาษาภาพและภาษาเสียงนําเสนอ 6. สื่อโทรทัศน์ เป็ นสื่อครอบครัว ช่วยให้ เกิดการสังสรรค์ในครอบครัว เพื่อนฝูง การสร้ างเรื่ องจึงนําเสนอเรื่ องราว เกี่ยวกับครอบครัว เพื่อใช้ ภาษาที่เป็ นกันเอง มีความรู้สกึ สนิทสนม เป็ นภาษาพูดหรื อกิจวัตรประจําวัน เรื่ องราวในโทรทัศน์สว่ น หนึง่ จึงเป็ นหัวข้ อสนทนาในครอบครัว 7. สื่อโทรทัศน์ เป็ นสื่ออุ่น คือ อยูร่ ะหว่างสือ่ ร้ อนกับสือ่ เย็น ซึง่ มีความหมายดังนี ้ 7.1 สือ่ ร้ อน คือ สือ่ ที่สามารถดึงดูด เร่งเร้ า บีบบังคับให้ ผ้ รู ับสารต้ องสนใจสือ่ เช่น สือ่ ภาพยนตร์ 7.2 สือ่ เย็น คือ สือ่ ที่ไม่เร่งเร้ าความในใจของผู้รับสาร ชมได้ เรื่ อยๆ ค่อนข้ างเข้ าใจยาก เช่น สือ่ สิง่ พิมพ์ 7.3 สือ่ อุน่ คือ สือ่ ที่มีทงลั ั ้ กษณะของสือ่ ร้ อนและสือ่ เย็นผสมผสานกัน โดยธรรมชาติของสือ่ โทรทัศน์นนสามารถเร่ ั้ ง เร้ าให้ ผ้ ชู มสนใจที่จะชมได้ ง่าย แต่หากเขียนบทที่บีบบังคับผู้ชมมากๆ จะทําให้ ผ้ ชู มรู้สกึ เครี ยดกับการชมรายการโทรทัศน์ อาจจะ เปลีย่ นไปทํากิจกรรมอื่นแทนได้ การเขียนบทโทรทัศน์จึงควรจะมีลกั ษณะที่เปิ ดโอกาสให้ ผ้ ชู มสามารถทํากิจกรรมอื่นร่วมไปด้ วยได้


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

3

ระบบวิทยุโทรทัศน์ ในปั จจุบัน

ระบบวิทยุโทรทัศน์ที่ใช้ ในประเทศต่างๆ ทัว่ โลก เป็ นการใช้ งานในรูปแบบแอนาล็อก โดยแต่ละประเทศจะมีการใช้ ระบบ วิทยุโทรทัศน์ที่ไม่เหมือนกัน มีสาเหตุเนื่องจากการใช้ กระแสไฟฟ้ าที่แตกต่างกัน เช่น กระแสไฟฟ้ า 220 โวลต์ หรื อ 110 โวลต์ (ประเทศไทยใช้ 220 โวลต์) ดังนัน้ จึงมีการจําแนกระบบวิทยุโทรทัศน์เป็ นระบบต่างๆ เพื่อให้ เหมาะสมกับการใช้ งานในแต่ละ ประเทศ ดังนี ้ 1. ระบบ NTSC (National Television System Committee) เป็ นระบบโทรทัศน์สรี ะบบแรกที่ใช้ งานในสหรัฐอเมริ กา ตังแต่ ้ ปี ค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ ระบบนี ้ต่อมา ได้ แก่ ญี่ปนุ่ แคนาดา เปอเตอริ โก้ และเม็กซิโก เป็ นต้ น คุณสมบัติเฉพาะ : 60 Field/second , 30 Frame/second , 525 Line/Frame • การสัน่ ไหวของภาพน้ อยเนื่องจากสัญญาณภาพใช้ ความกว้ างของคลืน่ สัญญาณน้ อย • ข้ อเสียคือ เส้ นสแกนภาพมีจํานวนน้ อย หากใช้ จอภาพเครื่ องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ จะทําให้ รายละเอียดภาพมีน้อย 2. ระบบ PAL (Phase Alternate Line) เป็ นระบบที่พฒ ั นามาจากระบบ NTSC ทําให้ มีการเพี ้ยนของสีน้อยลง เริ่ มใช้ งานมาตังแต่ ้ ปี ค.ศ.1967 ใน ประเทศทางแถบยุโรป คือ เยอรมนีตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ ก นอร์ เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์ แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเชียที่ใช้ กนั คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ ระบบนี ้ คุณสมบัติเฉพาะ : 50 Field/second , 25 Frame/second , 625 Line/Frame • ให้ รายละเอียดของภาพสูง ไม่มีความผิดเพี ้ยนของสี • ข้ อเสียคือ ถูกรบกวนสัญญาณภาพสูง เนื่องจากมีความกว้ างของสัญญาณภาพมากกว่า (Higher banwidth)ระบบ NTSC


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

4

3. ระบบ SECAM (Sequential Color and Memory) เริ่ มใช้ มาตังแต่ ้ ปี ค.ศ.1967 นิยมใช้ กนั อยูห่ ลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้ แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรี ย เยอรมนี ตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย เป็ นต้ น คุณสมบัติเฉพาะ : 50 Field/second , 25 Frame/second , 819 Line/Frame • ไม่มีความผิดเพี ้ยนของสี รายละเอียดภาพสูงเทียบเท่าระบบ PAL • ข้ อเสียคือ ภาพจะมีการสัน่ ไหวเหมือนระบบ PAL, การตัดต่อภาพในระบบนี ้ไม่สามารถทําได้ ซึง่ ใน การผลิตรายการโทรทัศน์สว่ นมากใช้ ระบบ PAL และเมื่อผลิตเสร็ จแล้ วจึงเปลีย่ นกลับไปเป็ นระบบ SECAM แล้ วจึงส่งออกอากาศ 4. ระบบ HDTV (High Definition Television) เป็ นระบบวิทยุโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง มีจํานวนเส้ น 1125 เส้ น ประเทศญี่ปนเป็ ุ่ นประเทศแรกในโลกที่นํา ร่องคิดค้ นและพัฒนาเทคโนโลยีนี ้ขึ ้นมา โดยปั จจุบนั กําลังพัฒนาเป็ นโทรทัศน์ระบบดิจิทลั (Digital Television) คุณสมบัติเฉพาะ : 1125 Line/Frame • มีความคมชัดของภาพที่ปรากฏบนจอมากเป็ น 2 เท่าของระบบวิทยุโทรทัศน์ธรรมดาที่ใช้ กนั อยูใ่ น ปั จจุบนั มีความละเอียดของภาพมากกว่าวิทยุโทรทัศน์ระบบธรรมดาถึง 5 เท่า • คุณภาพของภาพ (Improved color rendition) ที่มีสสี นั สดใสมากกว่าระบบวิทยุโทรทัศน์ธรรมดาถึง 10 เท่า • คุณภาพเสียงดิจิทลั (Digital audio fidelity) เป็ นระบบเสียงสเตอริ โอ ซึง่ มีช่องสัญญาณเสียงสําหรับ รองรับเสียงจํานวนหลายช่องทาง ให้ คณ ุ ภาพเสียงชัดเจนโดยสามารถเปรี ยบเทียบได้ เทียบเท่าเสียง จากเครื่ องเล่นคอมแพคดิสก์ HDTV และ SDTV คือะไร

ว่ากันด้ วยเรื่ องของโทรทัศน์ทกุ วันนี ้ก็มีมาให้ เลือกกันมากมายหลายยี่ห้อ ซึง่ ราคานันก็ ้ แตกต่างตามความสามารถ รูปทรง และ ปั จจัยอื่นๆ ที่ทําให้ แต่ละรุ่นนันมี ้ คณ ุ สมบัติ แตกต่างกัน เพราะบางครัง้ ถ้ ามองแค่ภายนอก หรื อเทียบกันที่ขนาดของจอภาพ อาจพบว่า โทรทัศน์ที่มีขนาดเล็กนันมี ้ ราคาที่สงู กว่าโทรทัศน์จอใหญ่


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

5

HDTV (High Definition Television) คือ "โทรทัศน์ความคมชัดสูง" เรี ยกกันสันๆว่ ้ า HDTV หรื อ ทีวีระบบ ไฮ-เดฟ นัน่ เอง มีการรับส่งสัญญาณภาพในแบบจอ กว้ าง (Wide screen ) มีอตั ราส่วนการแสดงผลของจอภาพอยูท่ ี่ 1280 x 720 พิกเซล และระบบ " Full HDTV" ที่ให้ ความละเอียด ของจอภาพอยูท่ ี่ 1920 x 1080 พิกเซล HDTV โดยทัว่ ไปจะเป็ นระบบดิจิทลั ที่ให้ ความละเอียดของภาพ และระบบเสียงรอบทิศทาง เพิ่มอรรถรสในการรับชมได้ สมจริ งมากยิ่งขึ ้น ซึง่ นอกจาก นี จ้ อภาพแบบ HD ยังนําไปใช้ กบั โทรศัพท์มือถือ กล้ องถ่ายรูป กล้ องวงจรปิ ด และหน้ าจอ คอมพิวเตอร์ อีกด้ วย SDTV (Standard Definition Television) คือ "โทรทัศน์ความคมชัดปกติ" หรื อ "โทรทัศน์ความชัดเจนมาตรฐาน" เป็ นการส่งสัญญาณภาพในรูปแบบแอนาล็อกที่ใช้ กันอยูใ่ นปั จจุบนั มีการแสดงภาพอยู่ 3 ประเภท คือ NTSC, PAL, และ SECAM มีอตั ราส่วนการแสดงผลของจอภาพอยูท่ ี่ 720 x 480 พิกเซล ซึง่ มีความละเอียดในการแสดงผลที่คอ่ นข้ างน้ อย แม้ วา่ เราจะดูโทรทัศน์ที่มีขนาดจอกว้ างขึ ้น แต่ความคมชัดของภาพ ก็ไม่เพิ่มขึ ้นเท่าที่ควร นี่จึงเป็ นอีกหนึง่ ปั จจัยสําคัญที่นําไปสูก่ ารพัฒนาระบบการส่งสัญญาณทีวีเป็ นระบบดิจิ ทัลที่กําลังจะเกิดขึ ้น ในเร็ วๆ นี ้ ตัวอย่ างความละเอียด • • • •

480p = 338,000 pixels / frame (704 x 480) 720p = 922,000 pixels / frame (1280 x 720) 1080i = 1,037,000 pixels / frame (1920 x 1080) 1080p = 2,074,000 pixels / frame (1920 x 1080)

แสดงขนาดพิ กเซลและความละเอียดของจอภาพ


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

6

ตัวอย่ างความละเอียดภาพแบบ HD และ SD

Full HD มีขนาด 1,920 x 1,080p | HD มีขนาด 1,280 x 720p | SD มีขนาด 720 x 480 ระบบการส่ งและรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ในประเทศไทย การส่งสัญญาณภาพและเสียงของวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย จําแนกเป็ นระบบใหญ่ๆ ได้ 2 ระบบ คือ ระบบเปิ ด และ รบบปิ ด 1. วิทยุโทรทัศน์ ระบบเปิ ด (Broadcasting television) หมายถึง การส่งรายการโทรทัศน์ด้วยคลืน่ วิทยุโทรทัศน์โดยใช้ ความถี่ใดความถี่หนึง่ ความถี่ที่กําหนดแพร่ภาพ ออกอากาศให้ ประชาชนรับชมได้ ทวั่ ไป ดังเช่น โทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, 9, NBT และทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ผู้รับเพียงแต่ใช้ เครื่ องรับที่เป็ นระบบเดียวกับระบบโทรทัศน์ของเครื่ องส่ง ก็สามารถรับรายการได้ โดยตรง

Broadcast – Satellite Communication


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

7

The way of broadcasting television Internet TV and VOD 2. วิทยุโทรทัศน์ ระบบปิ ด เป็ นการส่งรายการโทรทัศน์ให้ รับชมได้ จํากัดเฉพาะพื ้นที่ หรื อเฉพาะความถี่ที่กําหนด วิธีการส่งอาจใช้ สายต่อ นําสัญญาณจากเครื่ องที่เป็ นตัวส่งไปยังเครื่ องรับโทรทัศน์ระบบเปิ ด แต่ใช้ คลืน่ ความถี่เฉพาะให้ รับได้ เฉพาะโทรทัศน์บาง เครื่ องที่กําหนด หรื อรับได้ เฉพาะในบริ เวณที่จํากัดไว้ การรับส่งโทรทัศน์แบบปิ ดทัง้ 2 วิธีนี ้ หากทําอยูใ่ นขอบเขตจํากัด เช่น การส่งรายการทางการศึกษากระจายไปยังเครื่ องรับตามห้ องเรี ยนต่างๆ ของโรงเรี ยนแต่ละแห่ง หรื อการใช้ เพื่อรักษา ความปลอดภัยเรี ยกว่า “โทรทัศน์วงจรปิ ด (Closed circuit TV)” หรื อ CCTV แต่หากทําในขอบเขตกว้ าง เช่น การส่ง รายการโทรทัศน์แก่สมาชิกเพื่อการค้ ามักเรี ยกว่า “เคเบิลทีวี (Cable TV)”

ระบบ CCTV


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

8

เทคโนโลยีการส่ งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม การประยุกต์ใช้ ระบบการสือ่ สารผ่านดาวเทียมนับว่าเป็ นนวัตกรรมที่เอื ้อประโยชน์ให้ กบั กิจกรรมมากมาย ทังการสื ้ อ่ สาร โทรคมนาคม เครื อข่ายคอมพิวเตอร์ ตลอดจนระบบการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผา่ นดาวเทียม ทําให้ ทวั่ โลกสามารถบริ โภค ข่าวสาร ความบันเทิง แหล่งข้ อมูลสารสนเทศต่างๆ มากมายด้ วยความสะดวกและรวดเร็ ว

แสดงการรับ-ส่งสัญญาณวิ ทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม การรับ-ส่ งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม หลักการส่งสัญญาณ เริ่ มจากส่งคลืน่ ความถี่จากจานดาวเทียมของสถานีภาคพื ้นดิน เรี ยกว่า “อัพลิงค์ (Up link)” ไปยัง ดาวเทียมที่โคจรอยูน่ อกโลกในชันบรรยากาศแอทโมสเฟี ้ ยร์ ที่ตวั ดาวเทียมจะมีอปุ กรณ์เรี ยกว่า ช่องสัญญาณดาวเทียม คอยรับ สัญญาณที่สง่ มา และแปลงคืนความถี่ให้ ตํ่าลง เพื่อไม่ให้ รบกวนคลืน่ อื่นๆ ที่ถกู ส่งมาใหม่ จากนันจะส่ ้ งสัญญาณกลับลงมา เรี ยกว่า “ดาวน์ลงิ ค์ (Down link)” มายังจานเครื่ องรับสัญญาณภาคพื ้นโลก ย่ านความถี่ดาวเทียม ดาวเทียมจะส่งสัญญาณกลับมายังพื ้นที่ให้ บริ การ โดยใช้ ความถี่ที่ได้ จดั สรรไว้ ในแต่ละย่านความถี่ที่ไม่ถกู รบกวนโดย สภาพภูมิอากาศ หรื อแสงอาทิตย์ ซึง่ สามารถแบ่งย่านความถี่ดาวเทียมที่ใช้ ในกิจการโทรคมนาคมได้ ดงั นี ้ 1. C-Band มีความถี่ในช่วง 3.7 ถึง 4.2 GHz เป็ นความถี่แรกเริ่ มที่ใช้ 2. KU-Band มีความถี่ในช่วง 10.95 ถึง 12.75 GHz ปั จจุบนั ใช้ สาํ หรับการรับ-ส่งสัญญาณรายการวิทยุโทรทัศน์ 3. K-Band ใช้ สาํ หรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผา่ นดาวเทียมไปยังผู้รับโดยตรง (Direct Broadcasting Satellite หรื อ เรี ยกว่า DBS) สําหรับประเทศไทยนัน้ ย่านความถี่ที่ใช้ งานจะอยูใ่ นช่วง C-Band และ KU-Band ส่วนการรับ-ส่งสัญญาณนัน้ ประเทศ ไทยตังอยู ้ เ่ หนือเส้ นศูนย์สตู ร แต่ตําแหน่งต่างๆ ของดาวเทียมสือ่ สารทังหมดจะอยู ้ ใ่ นแนวเส้ นศูนย์สตู ร การตังจานสายอากาศรั ้ บส่งสัญญาณดาวเทียมจึงต้ องหันหน้ าจานสายอากาศไปยังทิศใต้ โดยที่ตําแหน่งวงจรโคจรของดาวเทียมไทยคม 2 จะอยูท่ ี่ตําแหน่ง


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

9

78.5 องศาตะวันออก ดังนันจะต้ ้ องหันหน้ าจานสายอากาศไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยอ่านพิกดั มุมกวาด (มุม Azimuth) จาก ทิศเหนือตามเข็มนาฬิกาไปที่ 229-256 องศา และอ่านพิกดั มุมเงย (มุม Elevation) ไปที่ 53-65 องศา ทังนี ้ ้ขึ ้นอยูก่ บั จุดที่ตงของ ั้ สถานีรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม พืน้ ที่ให้ บริการ (Footprint) พื ้นที่ให้ บริ การเป็ นลักษณะของสัญญาณที่สง่ ลงมาครอบคลุมพื ้นโลก ดาวเทียมแต่ละดวงจะมีพื ้นที่ให้ บริ การต่างกัน ขึ ้นอยูก่ บั ย่านความถี่ของดาวเทียมดวงนันๆ ้ โดยสัญญาณจะมีความเข้ มที่สดุ ตรงจุดศูนย์กลาง และจะค่อยๆ จางลงเมื่อออกห่าง จากจุดศูนย์กลาง การส่งสัญญาณในย่านความถี่ C-Band จะสามารถครอบคลุมพื ้นที่ให้ บริ การได้ กว้ าง เช่น ดาวเทียมไทยคมสามารถส่ง สัญญาณครอบคลุมพื ้นที่ได้ มากถึง 126 ประเทศ ส่วนการส่งสัญญาณย่านความถี่ Ku-Band จะครอบคลุมพื ้นที่ให้ บริ การได้ น้อยกว่า แต่จะมีความแรงของสัญญาณสูง กว่า สามารถใช้ จานขนาดเล็กรับสัญญาณได้

แสดงพืน้ ทีใ่ ห้บริ การของดาวเทียมไทยคม


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

10

เทคโนโลยีเคเบิลทีวี เคเบิลทีวี (Cable TV) หรื อโทรทัศน์ตามสาย มีลกั ษณะการส่งสัญญาณภาพและเสียงให้ แพร่กระจายไปยังปลายทาง เจาะจงประชาชนที่เป็ นสมาชิก ดังนัน้ เคเบิลทีวีก็คือระบบโทรทัศน์ที่ผ้ สู ง่ แพร่ภาพออกอากาศรายการไปยังผู้รับที่เป็ นสมาชิกโดย ผ่านสายเคเบิลหรื อสายใยแก้ วนําแสง (Fiber optic) วัตถุประสงค์ของการส่งสัญญาณภาพและเสียงด้ วยระบบเคเบิลทีวีในยุคแรกเน้ นใช้ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และ ใช้ แก้ ปัญหาในสถานที่ที่ผ้ รู ับไม่สามารถรับสัญญาณจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศเพื่อประชาชนทัว่ ไป (Free TV) ซึง่ อยูใ่ น พื ้นที่ชนบทห่างไกลมีสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็ นอุปสรรคในการรับชม เช่น เขตภูเขาสูง แต่ในปั จจุบนั การบริ การโทรทัศน์ตามสาย เป็ นบริ การส่งสัญญาณภาพและเสียงไปยังสมาชิกและเสียค่าใช้ จ่ายในการรับชม หลักการส่ งและรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ด้วยระบบเคเบิลทีวี

TPB NB

แสดงการส่งและรับสัญญาณวิ ทยุโทรทัศน์ดว้ ยระบบเคเบิ ลทีวี


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

11

ใช้ วิธีการเดียวกันกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศทัว่ ไป แต่เพิ่มอุปกรณ์เพื่อให้ ผ้ รู ับที่เป็ นสมาชิกเท่านันที ้ ่สามารถ รับชมได้ ดังนัน้ การส่งและรับสัญญาณด้ วยระบบเคเบิลทีวี จึงต้ องมีอปุ กรณ์ที่สาํ คัญ ได้ แก่ แม่ขา่ ยหรื อเรี ยกว่า “เฮดเอนด์ (Head End)” อุปกรณ์การส่งสัญญาณและอุปกรณ์ระบบรับสัญญาณของสมาชิกหรื อผู้รับ ซึง่ เฮดเอนด์ทําหน้ าที่สง่ รายการจากแหล่ง ต่างๆ เช่นรายการที่ผลิตจากห้ องสตูดิโอ รายการจากการบันทึกเทป หรื อรายการจากสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ รวมถึงการถ่ายทอด รายการจากดาวเทียม ต่อจากนันจะส่ ้ งไปยังเคเบิลตามจํานวนช่องที่ได้ รับอนุญาตเพื่อส่งไปบริ การแก่สมาชิก หลักการส่ งสัญญาณ ปั จจุบนั นี ้มีเทคโนโลยีการส่ง 3 ระบบ คือ 1. ระบบเอ็มเอ็มดีเอส (MMDS : Multi Point : Multi Channel Distribution System) เป็ นการส่งสัญญาณตามสายด้ วยความถี่ไมโครเวฟ โดยให้ บริ การหลายช่องหรื อหลายรายการพร้ อมกัน เมื่อ สัญญาณรายการจากห้ องสตูดิโอผ่านเครื่ องส่ง และส่งไปยังสายอากาศบนเสา เพื่อแพร่คลืน่ วิทยุด้วยความถี่ไมโครเวฟ ไปสูเ่ ครื่ องรับของสมาชิกตามบ้ าน

แสดงการส่งสัญญาณระบบเอ็มเอ็มดีเอส

2. ระบบดีทีเอช (DTH : Direct To Home) เป็ นบริ การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมด้ วยความถี่ยา่ นเคยูแบนด์ (KU-Band) ไปยังสายอากาศจานรับดาวเทียม ขนาดเล็กที่ติดตังได้ ้ ง่ายและประหยัดค่าใช้ จ่าย ซึง่ กระบวนการส่งเริ่ มจากสัญญาณรายการจากห้ องสตูดิโอหรื อห้ องผลิต รายการจะส่งไปยังสถานีดาวเทียมเพื่อส่ง “สัญญาณรายการขาขึ ้น (Up link)” ไปยังช่องสัญญาณดาวเทียมบนดาวเทียม


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

12

ด้ วยความถี่ไมโครเวฟที่กําหนดให้ และก่อนส่งลงมายังพื ้นโลกจําเป็ นต้ องเปลีย่ นความถี่ไมโครเวฟเป็ นอีกความถี่หนึง่ (ตามที่ไอทียกู ําหนด) หากใช้ ความถี่เดียวกันจะเกิดการรบกวนกันทําให้ รับสัญญาณไม่ได้ หลังจากเปลีย่ นความถี่แล้ ว เครื่ องส่งบนดาวเทียมจะส่งสัญญาณลงมายังผู้รับที่เป็ นกลุม่ เป้าหมาย เรี ยกว่า “สัญญาณขาลง (Down link)” รายการต่างๆ จะส่งตรงไปยังสายอากาศจานดาวเทียมของผู้รับ โดยผู้รับต้ องมีอปุ กรณ์ถอดรหัสที่เรี ยกว่า “ไอ อาร์ ดี (IRD : Integrated Receiver Decoders)” จึงรับสัญญาณรายการจากดาวเทียมโดยตรงได้ ในทางปฏิบตั ิผ้ ู ให้ บริ การจะใส่รหัสสัญญาณรายการ เพื่อป้องกันการขโมยรับสัญญาณรายการที่เรี ยกว่า “สแครมเบิล (Scramble)” และ เครื่ องที่รับสมาชิกต้ องมีคือเครื่ องถอดรหัสสัญญาณรายการที่เรี ยกว่า “ดีสแครมเบิล (Descramble)” จึงสามารถรับ รายการได้

แสดงการส่งสัญญาณระบบดีทีเอช 3. ระบบเอชเอฟซี (HFC : Hybrid Fiber & Cable) เป็ นการส่งแบบผสม คือ ใช้ เคเบิลใยแก้ วนําแสงผสมกับสายเคเบิลในลักษณะพิเศษที่เรี ยกว่า “โคแอกเชียล เคเบิล” โดยอาจเช่าสายใยแก้ วนําแสงของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอยูแ่ ล้ ว เช่น สายใยแก้ วนําแสงขององค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทยหรื อแหล่งอื่น ซึง่ การส่งลักษณะนี ้สามารถส่งรายการพร้ อมกันครัง้ ละจํานวนมากและสามารถดําเนินการใน ลักษณะบริ การโต้ ตอบกันได้ ทนั ที (Interactive cable TV)

แสดงการส่งสัญญาณระบบเอชเอฟซี


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

13

หลักการรับสัญญาณ มีลกั ษณะคล้ ายกับเครื่ องรับวิทยุโทรทัศน์ทวั่ ไป เพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์เพื่อรับสัญญาณเคเบิลทีวีให้ ได้ สมบูรณ์ เช่น สายอากาศจานดาวเทียม สายอากาศไมโครเวฟ เครื่ องขยายสัญญาณที่มีคณ ุ ภาพสูงที่เรี ยกว่า “แอลเอ็นเอ (LNA : Low Noise Amplifier)” ซึง่ สามารถขยายสัญญาณจากดาวเทียมหรื อไมโครเวฟได้ คณ ุ ภาพสูง นอกจากนี ้ผู้รับที่เป็ นสมาชิกต้ องมีอปุ กรณ์ที่สาํ คัญคือ เซ็ท ทอป บอกซ์ (Set Top Box) มีหน้ าที่เพื่อใช้ สาํ หรับถอดรหัส สัญญาณรายการที่สง่ มาจากแม่ขา่ ย และใช้ สาํ หรับควบคุมการสือ่ สารกับสถานีที่ให้ บริ การ ประเภทของระบบเคเบิลทีวี ปั จจุบนั มีการจําแนกเพื่อให้ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้ งานได้ ดังนี ้ 1. CCTV (Closed Circuit TV) มีลกั ษณะเป็ นวงจรปิ ดโดยใช้ เชื่อมโยงสัญญาณภายในบริ เวณที่ต้องการ เช่น อาคาร สํานักงาน วิธีการส่ง สัญญาณใช้ สายเคเบิลลักษณะพิเศษที่เรี ยกว่า “โคแอกเชียลเคเบิล” หรื อส่งสัญญาณด้ วยคลืน่ ความถี่ไมโครเวฟไปยัง เครื่ องรับ 2. MATV (Master Antenna TV) เป็ นการส่งสัญญาณไปตามจุดต่างๆ ของอาคารจํานวนหลายจุดโดยใช้ สายอากาศร่วมกันเพียงชุดเดียว และ ติดตังสายอากาศเพื ้ ่อรับสัญญาณจากสถานีที่อออากาศที่ต้องการรับทุกช่อง 3. STV (Subscription TV)หรือ Pay TV เป็ นระบบการส่งรายการโทรทัศน์ให้ รับชมโดยผู้รับจะต้ องจ่ายเงิน รายการที่นําเสนออาจไม่มีการโฆษณาสินค้ า เลย เพย์ทีวีจะใช้ วิธีการเชื่อมโยงสัญญาณไปยังผู้รับด้ วยระบบคอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคมที่ทนั สมัย โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ บริ การแก่สมาชิกหลายรูปแบบ เช่น ด้ านบันเทิงหรื อการค้ า สําหรับประเทศไทยมีผ้ ปู ระกอบการธุรกิจเคเบิลทีวีที่ชดั จเน คือ ทรูวิชนั่ ส์ โดยจะซื ้อลิขสิทธิ์รายการจากผู้ผลิต รายการเคเบิลทีวีตา่ งๆ มาแล้ วจัดเป็ นแพกเกจเพื่อขายแก่สมาชิก โดยราคาของแพกเกจจะขึ ้นอยูก่ บั จํานวนช่องของ สถานีที่จะสามารถรับชมได้

แสดงแพกเกจของทรู วิชนั่ ส์


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

14

สําหรับประเภทช่องรายการของ STV หรื อ Pay TV นัน้ บุญญเลขา มากบุญ ได้ แบ่งประเภทช่องรายการไว้ 2 ประเภท คือ 3.1 ช่องพื ้นฐาน หมายถึง บริ การที่สมาชิกต้ องจ่ายค่าบริ การเป็ นรายเดือนเพื่อรับชมรายการวิทยุโทรทัศน์จากช่อง มาตรฐาน ได้ แก่ CNN ESPN MTV TNT รวมถึงฟรี ทีวีและรายการาจากสถานีวิทยุโทรทัศน์อิสระของท้ องถิ่นแต่ละพื ้นที่ 3.2 ช่องที่ต้องจ่ายค่าบริ การเพิ่ม คือช่องรายการที่ไม่มีโฆษณาคัน่ โดยสมาชิกที่ต้องการจะรับชมรายการจะต้ องเสียค่าบริ การเพิ่มขึ ้น ต่างหากเป็ นรายช่องไป ซึง่ บวกเพิ่มจากค่าบริ การของช่องพื ้นฐาน ช่องรายการดังกล่าวได้ แก่ ช่องภาพยนตร์ เช่น HBO, Star Movies เป็ นต้ น ช่องสารคดี เช่น Animal Planet, Discovery Channel เป็ นต้ น นอกจากนี ้ยังมีบริ การ “เพย์เพอร์ วิว (Pay Per View) หรื อ PPV” หมายถึงการจ่ายค่าบริ การต่อการ รับชม 1 ครัง้ โดยเป็ นบริ การที่สมาชิกสามารถเลือกชมรายการที่ต้องการได้ โดยกดป้อนข้ อมูลคําสัง่ จากรี โมทคอนโทรล ผ่านอุปกรณ์ควบคุมพิเศษที่ติดตังเอาไวเชื ้ ่อมต่อกับระบบเคเบิลทีวี ข้ อมูลที่ร้องขอจะถูกส่งไปยังฐานระบบของ ผู้ประกอบการ จากนันจะจั ้ ดส่งสัญญาณรายการที่ร้องขอมายังเครื่ องรับวิทยุโทรทัศน์ที่บ้านสมาชิก เช่น รายการ ภาพยนตร์ โชว์ไทม์ที่บริ การฉายภาพยนตร์ ใหม่ที่กําลังเข้ าฉายพร้ อมกับในโรงภาพยนตร์ หรื อรายการสําหรับผู้ใหญ่ เช่น เพลย์บอย แชนเนล เป็ นต้ น 4. CATV (Community Antenna TV) ให้ บริ การโทรทัศน์ตามสายแก่ชมุ ชน ประชาชนในท้ องถิ่นที่ไม่สามารถรับสัญญาณรายการโทรทัศน์ทวั่ ๆ ไปได้ IPTV เทคโนโลยีใหม่ ท่ ีน่าจับตามอง เทคโนโลยี IPTV (Internet Protocol Television) เป็ นการประยุกต์โดยการนําเอาเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ ซึง่ เป็ นการแพร่ สัญญาณภาพและเสียง ผ่านทางคลืน่ ความถี่ มาใช้ งานโดยการวิ่งผ่านเครื อข่ายอินเทอร์ เน็ต แบบ Multimedia คือการส่งข้ อมูลทัง้ ภาพและเสียง จุดเด่นของ IPTV คือ การแพร่ภาพสัญญาณนัน้ สามารถทํางานแบบ Interactive ได้ คือผู้ชมสามารถโต้ ตอบกลับไป ยังสถานีสง่ ได้ ซึง่ จะแตกต่างจากระบบโทรทัศน์แบบเก่าที่ไม่สามารถโต้ ตอบกลับไปยังสถานีโทรทัศน์ได้ ทนั ท่วงที ตัวอย่างเช่น การ ดูรายการเกมโชว์ ถ้ าเป็ นระบบโทรทัศน์ผ้ ชู มอยากแสดงความคิดเห็นหรื อร่วมสนุกกับทางรายการผู้ชม ต้ องโทรศัพท์เข้ าไปเพื่อร่วม รายการ แต่ถ้าเป็ นระบบ IPTV ผู้ชมสามารถคลิกเมาส์ พิมพ์ข้อความผ่านทางแป้นพิมพ์ หรื อจะใช้ ระบบ VoIP (Voice Over IP) ใน การติดต่อเพื่อร่วมสนุกในรายการเกมโชว์ได้ ทนั ที และผู้ชมยังสามารถเลือกชมภาพยนตร์ ได้ ตามความต้ องการของตัวเอง สิ่งที่จาํ เป็ นต้ องมีสาํ หรับการใช้ บริการ IPTV 1. Broadband Internet 2. IPTV Set Top Box และ Remote Control 3. Wireless Router


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

แสดงช่องรายการของ 3BB IPTV

แสดงการส่งสัญญาณระบบ IPTV

15


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

16

วิทยุโทรทัศน์ ระบบดิจิทัล ในยุคเริ่ มต้ นที่มีการรับส่งข้ อมูลระบบต่างๆ ทํางานแบบแอนาล็อกทังหมด ้ รวมถึงการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ต่อมา เทคโนโลยีทางด้ านดิจิทลั ได้ ก้าวหน้ าขึ ้นมา ความต้ องการรับส่งข้ อมูลข่าวสารในปั จจุบนั มีมากทังปริ ้ มาณและชนิดของข้ อมูล ทําให้ เกิดการพัฒนาและการขยายตัวของระบบสือ่ สารข้ อมูลเป็ นอย่างมากทังโครงข่ ้ ายโทรศัพท์ โครงข่ายโทรคมนาคม และโครงข่ายการ ส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ เป็ นต้ น ดังนันจึ ้ งมีการเริ่ มนําเอาเทคโนโลยีดิจิทลั เข้ าไปทดแทนแบบแอนาล็อกเดิม

Analog signal VS Digital signal คุณสมบัติของเทคโนโลยีดิจิทัล มีข้อดีที่สามารถชดเชยข้ อจํากัดของระบบแอนาล็อกได้ ดังนี ้ 1. ให้ คณ ุ ภาพการรับส่งข้ อมูลที่เท่ากันหรื อดีกว่าแบบแอนาล็อก 2. ง่ายต่อการบํารุงรักษา 3. เพิ่มเติม ปรับปรุง หรื อเปลีย่ นแปลงความสามารถหรื อบริ การของระบบได้ ง่าย 4. มีความเร็ วในการรับส่งข้ อมูลสูง 5. ทนต่อสัญญาณรบกวนได้ ดี 6. สามารถเปลีย่ นแปลงรูปแบบของสัญญาณไปเป็ นรูปแบบมาตรฐานต่างๆ ได้ ง่าย 7. เนื่องจากสัญญาณดิจิทลั สามารถทดแทนได้ ด้วยตัวเลข จึงนําไปทําการคํานวณที่ซบั ซ้ อนได้ จากจุดนี ้เองทําให้ เกิด วิธีการบีบอัดข้ อมูล และการเข้ ารหัสต่างๆ มากมาย 8. ประหยัดช่องสัญญาณโทรทัศน์ เพราะใช้ ช่องความถี่ในการออกอากาศเพียงความถี่เดียวก็สามารถส่งรายการได้ หลายรายการ


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

17

การพัฒนาเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ระบบดิจิทัล ปั จจุบนั นี ้มีการพัฒนาด้ านการส่งและการรับสัญญาณโดยสรุปได้ ดงั ต่อไปนี ้ 1. การส่งวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทลั บนพื ้นโลก เป็ นการส่งสัญญาณออกอากาศหลายรายการในช่องเดียวกันด้ วย ความถี่เดียว โดยใช้ วิธีบีบอัดสัญญาณดิจิทลั แต่ละรายการ เพื่อให้ เกิดการรวมสือ่ และให้ บริ การได้ หลากหลาย โดย ผ่านอุปกรณ์รวมสัญญาณแต่ละรายการเข้ าด้ วยกันหลายความถี่และบีบอัดสัญญาณภาพและเสียงเพื่อสามารถส่ง ได้ ครัง้ ละหลายรายการในช่องเดียวกัน ทังนี ้ ้ต้ องอาศัยเสาอากาศเครื่ องส่งที่มีความสูงพอที่จะส่งได้ ครอบคลุมพื ้นที่ เป้าหมาย 2. การรับวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทลั เมื่อสายอากาศรับสัญญาณรายการที่สง่ มาจากสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่ องรับวิทยุ โทรทัศน์ระบบดิจิทลั (DVB-T receiver) เพื่อชมรายการปกติหรื อรายการอื่น เมื่อไปถึงผู้รับที่มีเครื่ องแยกสัญญาณ ก็ จะเลือกรับรายการแต่ละรายการที่ต้องการได้ 3. วิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทลั ชนิดโต้ ตอบทันที (Interactive TV) โทรทัศน์ระบบดิจิทลั แบบโต้ ตอบทันทีปกติต้องใช้ ระบบ สายเคเบิลทีวีหรื อสายโทรศัพท์ (สายให้ เช่า) และเครื่ องรับของผู้รับต้ องมีเครื่ องส่งระบบดิจิทลั ขนาดเล็กติดตังรวมอยู ้ ่ ในเครื่ องรับโทรศัพท์ด้วย ทําให้ สมาชิกหรื อผู้รับติดต่อกับสถานีหรื อศูนย์บริ การได้ โดยอัตโนมัติ 4. การพัฒนาการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ด้วยระบบ HDTV ต้ องใช้ คลืน่ ความถี่ในการส่งสัญญาณดาวเทียม โดย แถบคลืน่ ต้ องมีขนาดความกว้ างมากว่าแถบคลืน่ ระบบธรรมดา กล่าวคือ ต้ องมากกว่า 6 เมกกะเฮิร์ตซ์ ซึง่ มากกว่า แถบคลืน่ ที่ใช้ สง่ สัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบที่ใช้ อยูใ่ นปั จจุบนั ด้ วยเหตุนี ้การรับสัญญาณจากวิทยุโทรทัศน์ระบบ HDTV จะต้ องใช้ อปุ กรณ์เครื่ องรับที่ทําขึ ้นมาเพื่อรองรับระบบนี ้โดยเฉพาะ กระบวนการปรับเปลี่ยนสู่ทีวีระบบดิจิทัล สําหรับกระบวนการปรับเปลีย่ นสูท่ ีวีระบบดิจิทลั นัน้ มี 3 ขันตอนสํ ้ าคัญคือ ขันที ้ ่ 1 การเริ่ มใช้ ระบบดิจิทลั ขันที ้ ่ 2 การส่งเสริ มให้ เกิดการปรับเปลีย่ น ขันที ้ ่ 3 การเลิกระบบแอนาล็อก ซึง่ กระบวนการเหล่านัน้ อาจใช้ เวลานานมากกว่า 10 ปี เพราะเหตุผลที่เป็ นอุปสรรคสําคัญ 2 ประการ ได้ แก่ 1. สถานีโทรทัศน์ที่จะแพร่ภาพต้ องลงทุนเปลีย่ นอุปกรณ์ตา่ งๆ ในสถานียอ่ ยทัว่ ประเทศและเสาอากาศต่างๆ ที่ใช้ ในการ แพร่ภาพให้ เป็ นเสาดิจิทลั 2. ในด้ านของการรับชม ผู้ชมต้ องมีเครื่ องรับโทรทัศน์แบบใหม่ซงึ่ สามารถรับและแสดงภาพดิจิทลั ได้ หรื อใช้ Set-Top-Box กล่องแปลงสัญญาณ ซึง่ ต้ องลงทุนซื ้ออุปกรณ์ในราคาที่สงู ทําให้ เกิดความลังเล ประเด็นกล่องแปลงสัญญาณภาพนัน้ ไม่มีปัญหา เพราะ กสทช.เตรี ยมแจก 22 ล้ านครัวเรื อนอยู่ เหลือแต่วา่ ได้ กล่องไปแล้ ว พวกเขาส่วนใหญ่จะดูหรื อเปล่า มีข้อมูลเกี่ยวกับทีวี ดิจิทลั ที่คนไทยควรรู้อีกอย่างคือ เราจะเลือกใช้ ทีวี ดิจิทลั ระบบ DVB-T2 (Digital Video Broadcasting - Terrestrial 2nd generation) DVB-T2 เป็ นมาตรฐานใหม่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทลั ซึง่ พัฒนามา จากระบบ DVB-T เพื่อทดแทนการออกอากาศระบบแอนาล็อก สามารถส่งสัญญาณความละเอียดสูงแบบ FULL HD ได้ ให้ ภาพที่ คมชัดและเสียงรอบทิศทางได้ อย่างเสถียรและระยะส่งสัญญาณไกลมากขึ ้น หากจะรับชมสัญญาณ ดิจิทลั ทีวีระบบ DVB-T2 ที่จะ


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

18

แพร่ภาพในบ้ านเราได้ ก็ต้องเครื องรับทีวี ที่มี Built-in Digital Tuner แบบ DVB-T2 และมีกล่องรับสัญญาณ ซึง่ ต้ องเป็ นกล่องที่รับ สัญญาณของ DVB-T2 เท่านัน้ ไม่วา่ เราจะมีทีวีรุ่นเก่าแค่ไหน เป็ นทีวีแบบจอตู้หรื อจอแบน ก็สามารถรับชมได้ เพราะกล่องช่วย แปลงสัญญาณ แล้ วส่งสัญญาณ DVB-T2 ที่แปลงแล้ วเข้ าไปสูท่ ีวี ถ้ าบ้ านไหนไม่มีกล่องแปลงสัญญาณ ก็ยงั ดูฟรี ทีวีช่อง 3,5,7,9, NBT และไทยพีบีเอส ได้ เหมือนเดิม อย่าไปกังวลถึงขันต้ ้ องขายทีวีเก่าไปซื ้อทีวีใหม่ กสทช.จะยังให้ ทีวีของภาครัฐและเอกชนส่ง สัญญาณการแพร่ภาพแบบอะนาล็อกไปจนถึงปี 2563 ตามข้ อตกลงของอาเซียน โดยระหว่างนี ้ ฟรี ทีวีช่องเดิมและช่องใหม่ก็จะทํา การแพร่ภาพสัญญาณแบบ ดิจิทลั คูไ่ ปกับอะนาล็อก ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการค้ าจานดาวเทียมที่จะได้ รับผลกระทบจากทีวี ดิจิทลั ก็ปรับแผนจะทํา "เครื่ องรับทีวี" ระบบที่มีกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 และสัญญาณดาวเทียม ออกสูท่ ้ องตลาด เพราะเชื่อกัน ว่า ในระยะแรก การรับชมทีวีดิจิทลั ยังไม่ครอบคลุมทังประเทศ ้ และเขตชนบทห่างไกลยังเป็ นช่องว่างทางการตลาดให้ ทีวีดาวเทียม ได้ โตได้ ทีวี ดิจิทลั ปลุกตลาดเสาอากาศอีกครัง้ โลกใบนี ้ยังมีเสาสูงเด่นเป็ นสง่าเหนือหลังคาบ้ าน เพียงแต่เสาใหม่มีราคาสูงกว่า ก้ างปลาและหนวดกุ้ง ฟรีทีวีดิจิทัลสาธารณะ

การเปลีย่ นผ่านของวงการโทรทัศน์ประเทศไทยในรอบ 50 ปี จากระบบแอนาล็อกสูร่ ะบบดิจิทลั ที่กําลังเกิดขึ ้นอยูน่ ี ้ กระแส ฟรี ทีวีดิจิทลั ก็เป็ นหนึง่ ในกระแสที่ประชาชนในประเทศ วิพากษ์ วิจารณ์เป็ น อย่างมากในรอบปี ที่ผา่ นมา นายอดิศกั ดิ์ ลิมปรุ่งพัฒน กิจ กรรมการผู้อํานวยการ บริ ษัท เนชัน่ บรอดแคสติ ้ง คอร์ ปอเรชัน่ จํากัด (มหาชน) ได้ แสดงความคิดเห็นในเรื่ องนี ้ผ่านคอลัมน์ “คิดใหม่วนั อาทิตย์” ในหน้ า 2 ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ซึง่ มีประเด็นสาระที่นา่ ขบคิดสําหรับรูปแบบของฟรี ทีวีดิจิทลั สาธารณะดังจะขอยกบทความบางส่วนเรื อง ฟรีทีวีดิจิทัลสาธารณะ : สังคมต้ องมีส่วนร่ วมคัดเลือก ของนายอดิศกั ดิ์ ลิมปรุ่ง พัฒนกิจ มาเป็ นกรณีศกึ ษาสําหรับฟรี ทีวีดิจิทลั สาธารณะ (อดิศกั ดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ, 2556 : 353-359) 11 อรหันต์ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)มีอํานาจล้ น ฟ้ าในการชี ้เป็ นชี ้ตายอนาคตสือ่ สารโทรคมนาคมของประเทศ ปี ที่แล้ วเป็ นปี ทองของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.)ที่เร่งเปิ ดประมูลคคลืน่ ความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์สาํ หรับเครื อข่ายโทรศัพท์ 3 G ที่กว่าจะผ่านด่านการตรวจสอบของสังคมไปได้


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

19

เล่นเอาทุลกั ทุเล แต่สงั คมยอมให้ ผา่ นไปได้ ทา่ มกลางความกังขาในกระบวนการประมูลแบบไม่แข่งกันเสนอราคา ปี 2556 จะเป็ นปี ทองของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กสท.) 5 คนที่มีอํานาจในการพลิก โฉมหน้ าอุตสาหกรรมวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ ้นมาก่อนในรอบ 50 ปี ปรากฏการณ์แจกใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรทัศน์แบบไม่ใช้ คลืน่ ความถี่ไปเมื่อปลายเดือนมกราคมกว่า 630 ใบอนุญาตถือเป็ นเรื่ องเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับ สิง่ ที่กําลังจะเกิดขึ ้นในการจัดสรรคลืน่ ความถี่โทรทัศน์ภาคพื ้นดินในระบบดิจิทลั นับจากนี ้เป็ นต้ นไป กสท.จะเปิ ดให้ ยื่นขอ "ฟรี ทีวีดิจิทลั " กิจการบริ การสาธารณะ ด้ วยวิธี Beauty Contest ในเดือนพ.ค.นี ้จํานวน 12 ช่อง แบ่งเป็ น 3 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง เป็ นกิจการที่มีวตั ถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริ มความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและสิง่ แวดล้ อม การเกษตร และการส่งเสริ มอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรื อส่งเสริ มคุณภาพชีวิตของ ประชาชน อ่านวัตถุประสงค์ของทีวีสาธารณะประเภทที่หนึง่ แล้ วลองนึกไปถึงวิธีคิดของผู้บริ หารสถานีโทรทัศน์ผา่ นดาวเทียมที่ ออกอากาศอยูแ่ ล้ ว เช่น มหาดไทยแชนแนล, เกษตรแชนแนล, DTV(ธรรมกาย), ETV, มหาจุฬาแชนแนล ฯลฯว่าช่องทีวีดาวเทียม เหล่านี ้จะนัง่ นิ่งเฉยๆไม่สนใจยื่นขอดิจิทลั ทีวีสาธารณะหรื อไม่ ตอบได้ 3 คํา "ยื่น-แน่-นอน" ประเภทที่สอง ออกให้ สาํ หรับกิจการกระจายเสียงหรื อกิจการโทรทัศน์ที่มีวตั ถุประสงค์หลักเพื่อความมัน่ คงของรัฐหรื อ ความปลอดภัยสาธารณะ โทรทัศน์สาธารณะประเภทนี ้ ตามกฎหมายยังบอกว่า "ให้ หารายได้ จากการโฆษณาได้ เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ โดยไม่เน้ นแสวงหากําไร" ซึง่ เป็ นข้ อความที่ผา่ นการต่อในระหว่างแปรญัตติวนั สุดท้ ายที่เป็ นวันหยุดวันอาทิตย์ของสภานิติบญ ั ญัติ แห่งชาติ (สนช.) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกองทัพก่อนจะยอมให้ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์พ.ศ.2551 ผ่านออกมาได้ อย่างหวุดหวิดและยังกังขาว่าไม่ครบองค์ประชุม คุณสมบัติแบบนี ้น่าจะล็อกไว้ ให้ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยเฉพาะที่เริ่ มทดลองออกอากาศระบบดิจิทลั ไปแล้ ว และ ยังน่าจะมีอีกหลายหน่วยงานด้ านความมัน่ คงส่งเข้ า "ประกวด" เช่น กองทัพอากาศที่บน่ น้ อยใจอิจฉากองทัพบกที่มีโทรทัศน์เป็ น ขุมทรัพย์ถึง 2 ช่อง , สํานักงานตํารวจแห่งชาติที่มีทีวีผา่ นดาวเทียม Police Channel อยูแ่ ล้ ว ประเภทที่สาม ออกให้ สาํ หรับกิจการกระจายเสียงหรื อกิจการโทรทัศน์ที่มีวตั ถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้ อมูลข่าวสารเพื่อ ส่งเสริ มความเข้ าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน ฯลฯ คุณสมบัติแบบนี ้จะคิดเป็ นอื่นไปไม่ได้ นา่ จะจัดเตรี ยมล็อกไว้ ให้ กบั ช่อง 11 และทีวีรัฐสภา ยากจะมีใครเถียงได้ เพราะ กฎหมายเขียนชัดๆ ไว้ อย่างนัน้ และที่สาํ คัญกฎหมายยังเปิ ดช่องให้ หารายได้ แบบช่อง 11 ไม่ผิดเพี ้ยนเลย


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

20

กฎหมายระบุไว้ เลยว่าห้ ามมีรายได้ จากโฆษณา เว้ นแต่ "เป็ นการหารายได้ โดยโฆษณาหรื อเผยแพร่ขา่ วสารเกี่ยวกับงานหรื อ กิจการของหน่วยงานของรัฐหรื อรัฐวิสาหกิจ สมาคม มูลนิธิ หรื อนิติบคุ คลอื่นที่มีวตั ถุประสงค์ในการดําเนินกิจการเพื่อประโยชน์ สาธารณะโดยไม่แสวงหากําไรในทางธุรกิจ หรื อการเสนอภาพลักษณ์ขององค์กร บริ ษัท และกิจการโดยมิได้ มีการโฆษณาสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรื อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้ องทังทางตรงและทางอ้ ้ อม" ลองกลับไปอ่านคุณสมบัติของผู้มีสทิ ธิยื่นขอที่ได้ เขียนไว้ ในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 11 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสาธารณะ ต้ องเป็ น 1)กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่น องค์กรมหาชน หรื อหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ซึง่ มีหน้ าที่ตามกฎหมายหรื อมีความจําเป็ นต้ องดําเนินกิจการกระจายเสียงหรื อกิจการโทรทัศน์ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศกําหนด 2) สมาคม มูลนิธิ หรื อนิติบคุ คลที่จดั ตังขึ ้ ้นตามกฎหมายไทยที่มีวตั ถุประสงค์ในการดําเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่แสวงหากําไรในทางธุรกิจ ซึง่ มีความเหมาะสมกับการประกอบกิจการสาธารณะตามลักษณะและหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศกําหนด 3) สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการใช้ ประโยชน์ด้านการเรี ยนการสอนหรื อการเผยแพร่ความรู้สสู่ งั คมตามลักษณะและหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการกําหนด การกําหนดคุณสมบัติแบบนี ้จะทําให้ ประเทศไทยที่กําลังจะมีสถานีโทรทัศน์ฟรี ทีวีดิจิทลั ประเภทสาธารณะเกิดขึ ้นอีก 12 ช่อง แต่ "หน้ าตา" น่าจะไม่เหมือนสถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพีบีเอสที่ไม่ให้ มีโฆษณาทุกกรณี แต่แกะออกมาจากพิมพ์เดียวกับ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ที่มีข้อห้ ามหารายได้ จากโฆษณาไม่ได้ แต่กฎกระทรวงเปิ ดช่องให้ หาโฆษณาได้ แบบ คอร์ ปอเรทที่เห็นกันอยูท่ กุ คืนว่าสปอตโฆษณาแทบจะไม่ตา่ งจากฟรี ทีวีภาคธุรกิจ ผมหนักใจแทน กสท. 5 ท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานกสท.ที่เชื่อว่ามีความมุง่ มัน่ จะเปลีย่ น โทรทัศน์ประเทศไทย ด้ วยกระบวนการเปลีย่ นผ่านจากระบบ "ผูกขาด" ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบอะนาล็อคที่เจ้ าของสถานีเป็ น ภาครัฐแล้ วให้ สมั ปทานเอกชนมานานกว่า 50 ปี ให้ เป็ นระบบฟรี ทีวีดิจิทลั ผ่านหนักเกณฑ์การจัดสรรคลืน่ ความถี่สาธารณะเพื่อทํา ให้ เกิดประโยชน์สงู สุดกับสังคม เริ่ มต้ นเฟสแรก 48 ช่องดิจิทลั ทีวีแบ่งเป็ นภาคสาธารณะไม่น้อยกว่า 20 % คือ 12 ช่อง ภาคชุมชนไม่น้อยกว่า 20 % คือ 12 ช่อง แล้ วเหลือเป็ นภาคธุรกิจ 24 ช่อง เรื่ องหนักใจของดร.นทีคงไม่ใช่ภาคธุรกิจที่ใช้ วิธีประมูลแบบทัว่ ไปใช้ "ราคาประมูล" เป็ นเกณฑ์ชี ้ขาด เพียงแต่สงั คมยังไม่ ค่อยตระหนักว่าร่างหลักเกณฑ์ที่แย้ มออกมาแล้ ว ดูเหมือนกําลังจะนําไปการเอื ้อให้ "ทุนใหญ่" 5 รายใช้ เงินทุม่ ประมูลครอบครอง ช่องไปรายละ 3 ช่องที่จะนําไปสูก่ าร "ผูกขาด" ยิ่งกว่าเดิม หลังหมดอายุใบอนุญาต 15 ปี ซึง่ ผิดเจตนารมณ์ของการปฏิรูปสือ่ ที่ ต้ องการให้ ลดการผูกขาด กระจายโอกาสให้ เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียม


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

21

ในขณะที่ฟรี ทีวีดิจิทลั ประเภทสาธารณะ 12 ช่องที่จะให้ ยื่นคําขอในเดือนพ.ค. กลับยังขาดรายละเอียดหลักเกณฑ์การยื่นคํา ขอแบบ Beauty Contest ว่าจะต้ องกําหนดให้ ใส่เสื ้อผ้ าแต่งตัว,ทาหน้ า,ทาปาก,ส่งประวัติย้อนหลัง,ผังรายการ ฯลฯ แบบไหน จึงจะ "สวยพอ" ให้ กสท. 5 ท่านเลือกข้ อเสนอให้ ใบอนุญาตไปทําดิจิทลั ทีวีสาธารณะ เคยถามกสท.หลายท่านก็ยงั งึมงําๆ ในลําคอขาดความชัดเจน แล้ วสังคมจะมีความหวังกับ "ฟรี ทีวีดิจิทลั สาธารณะ" 12 ช่อง นี ้ได้ อย่างไร ถ้ ากระบวนการคัดเลือก "ฟรี ทีวีดิจิทลั สาธารณะ" ไม่โปร่งใส สังคมไม่มีสว่ นร่วมในการพิจารณาใดๆ แล้ วประเทศนี ้ได้ ทีวี สาธารณะแบบช่อง 11 อีกถึง 12 ช่องก็คงเป็ นเรื่ องน่าผิดหวังมากๆกับกระบวนการปฏิรูปสือ่ ที่เริ่ ม มาตังแต่ ้ รัฐธรรมนูญปี 2540 ช่องทีวีดิจิทลั ที่ใช้ คลืน่ สาธารณะจะกลายเป็ นแหล่งหาผลประโยชน์ของนักการเมืองที่เป็ นรัฐมนตรี , ข้ าราชการ, กลุม่ ศาสนา, เอ็นจี โอเชิงพาณิชย์ ฯลฯมากกว่าเป็ น "ช่องทางเลือก" ในเชิงคุณภาพ พ.อ.ดร.นทีและกรรมการกสท.อีก 4 ท่านอย่าแบกภาระไว้ คนเดียวหรื อคณะเดียวเลยครับ พวกท่านคงจะไม่สามารถ ต้ านทานแรงกดดันจาก "ผู้มีอิทธิพลอํานาจ" ที่มีเป้าหมายชัด ต้ องการฮุบช่องดิจิทลั ทีวีสาธารณะไปเป็ นสมบัติสว่ นตัว อํานาจของกสท.สามารถบรรเทาความเสียหายที่กําลังจะเกิดขึ ้นจาก "ทีวีสาธารณะแบบจําแลง" ได้ ด้วยการเปิ ด "กลไก" ให้ ทุกภาคส่วนของสังคมได้ เข้ าไปมีสว่ นร่วม กําหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมขององค์กร ที่จะยื่นขอ ตังแต่ ้ ต้นทางและตรวจสอบวิธีการ ประมูลแบบ Beauty Contest เช่น ตัวแทนคณะนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ผลิตบุคลากรป้อนช่องทีวี , ตัวแทนสาย วิชาชีพจากองค์กรสมาคมวิชาชีพสือ่ , ภาคประชาสังคม ฯลฯ ถ้ าหากกสท.ไม่เปิ ดทางให้ ทกุ ภาคส่วนของสังคมได้ เข้ ามามีสว่ นร่วม เป็ น "เกราะ" ให้ กสท.กําหนดเงื่อนไขกฎเกณฑ์ตา่ งๆที่ มุง่ ไปที่ "เนื ้อหา" ที่เป็ น "คุณภาพและความสวยงาม" ของช่องสาธารณะจริ งๆ ก่อนไปถึงขันตอนการยื ้ ่นขอในเดือนพ.ค.นี ้ ช่องดิจิทลั ทีวีสาธารณะ 12 ช่องจะกลายเป็ น "ท่อสูบงบประมาณ" เป็ นรูปแบบการทุจริ ตอย่างชอบธรรมที่สดุ ว่าจ้ างให้ พวก พ้ องผลิตรายการที่ไม่มีคณ ุ ภาพ,สนับสนุนโฆษณา ฯลฯ ทีวีสาธารณะ 12 ช่องที่ไม่ตา่ งจากช่อง 11 จะเต็มไปด้ วยรายการโฆษณา ชวนเชื่อผลงานรัฐมนตรี (ที่นิยามตามกฎหมายไม่นบั เป็ นโฆษณา) แต่จะแตกต่างโดยสิ ้นเชิงจาก "สือ่ สาธารณะ" ในความหมาย ดังเดิ ้ ม เพื่อประโยชน์ของสังคมเป็ นธงนํา ,จะต้ องเป็ นอิสระจากอํานาจรัฐและกลไกตลาด ,สร้ างความเข้ มแข็งให้ แก่พลเมือง , เครื่ องมือในการให้ การศึกษาและพัฒนาความรู้ ฯลฯ หากต่างชาติมาเห็นเรื่ อง "ทีวีสาธารณะ" ของประเทศไทยที่จะมีมากถึง 12 ช่องใหม่ จํานวนช่องมากยิ่งกว่าในประเทศ อังกฤษ, ญี่ปนุ่ และสหรัฐอเมริ กาที่เป็ นต้ นแบบ "สือ่ สาธารณะ" มานับร้ อยปี ช่องสาธารณะแบบไทยๆ หน้ าตาอัปลักษณ์แบบนี ้จะ "น่าอับอาย" มากกว่า "น่าชื่นชม" ความก้ าวหน้ าในการกํากับและดูแลกิจการบรอดแคสติ ้งในประเทศไทยที่เพิ่งเริ่ มเป็ นรูปเป็ นร่าง


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

22

ร่ างวิธีประมูลทีวีดิจิทัล คาดเปิ ดประมูล ส.ค.-ก.ย. 56

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ที่ผา่ นมา ที่ประชุมกสท. ได้ อนุมตั ิ (ร่าง)ประกาศกสทช. เรื่ อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการประมูลคลืน่ ความถี่ เพื่อให้ บริ การโทรทัศน์ดิจิทลั ประเภทบริ การทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 ซึง่ จะนําเข้ าที่ประชุม กสทช. ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2556 และเปิ ดรับฟั งความคิดเห็นสาธารณะใช้ เวลาประมาณ 30 วัน แล้ วจึงประกาศในราชกิจจา นุเบกษา คาดว่าจะเปิ ดประมูลได้ ในเดือน สิงหาคม-กันยายน 2556 หรื อเลือ่ นไม่เกิน 1-2 เดือน ราคาตัง้ ต้ นการประมูล หมวดหมูเ่ ด็ก 140 ล้ านบาท, หมวดหมูข่ า่ ว 220 ล้ านบาท, หมวดหมูท่ วั่ ไปแบบความคมชัดปกติ ( SD) 380 ล้ านบาท, หมวดหมูท่ วั่ ไปแบบความคมชัดสูง (HD) 1510 ล้ านบาท เสนอเพิ่มราคาแต่ ละครัง้ หมวดหมูเ่ ด็กเพิ่มครัง้ ละ 1 ล้ านบาท, หมวดหมูข่ า่ วเพิ่มครัง้ ละ 2 ล้ านบาท, หมวดหมูท่ วั่ ไปแบบความคมชัดปกติ ( SD) ครัง้ ละ 5 ล้ านบาท, หมวดหมูท่ วั่ ไปแบบคมชัดสูง (HD) ครัง้ ละ 10 ล้ านบาท เงื่อนไขการเข้ าร่ วมประมูล • 4 หมวดหมูไ่ ม่ได้ ประมูลพร้ อมกันในช่วงเวลาหรื อวันเดียวกัน • สามารถยื่นประมูลได้ หมวดหมูล่ ะ 1 ช่อง สูงสุด 3 หมวดหมู่ โดยห้ ามยื่นหมวดหมูท่ วั่ ไปความคมชัดสูง ( HD) และ หมวดหมูข่ า่ วโดยผู้ประมูลเดิม • ราคาค่าเอกสารและการพิจารณาคําขอประมูล (ค่าซื ้อซอง) 1 ล้ านบาทต่อช่อง • หลังยื่นขอใบอนุญาตแล้ ว วางเงินประกันซอง 10% ของราคาตังต้ ้ นในแต่ละหมวดหมูช่ ่องรายการ โดยจะคืนให้ ภายใน 30 วัน หากผู้เข้ าร่วมไม่ชนะการประมูล • เสนอเพิ่มราคาได้ ไม่จํากัดจํานวนครัง้ ภายในเวลาการประมูล 60 นาที ถ้ ามีจํานวนผู้เสนอราคาเท่ากันมากกว่าจํานวน ช่องที่มี จะขยายเวลาออกไปอีก 5 นาที หากขยายเวลาแล้ วไม่มีการเสนอเพิ่มราคาให้ จบั สลากหาผู้ชนะการประมูล • ได้ ใบอนุญาตหลังประมูลจบ 60 วัน มีอายุ 15 ปี


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

23

ผู้ชนะการประมูลจะได้ รับสิทธิ์ 3 ข้ อ 1. เป็ นเจ้ าของช่องตามมาตรฐาน กสทช. กําหนด 2. จะได้ เป็ นผู้เลือกช่องก่อน 3. จะได้ รับสิทธิ์เลือกโครงข่าย โดยการใช้ ลาํ ดับตัดสินการเลือกโครงข่าย ทังนี ้ ้ได้ มีการกําหนดหมายเลขช่องทีวีดิจิทลั ดังนี ้ หมายเลข 1- 12 ช่องบริ การสาธารณะ , 13-15 ช่องรายการเด็ก , 16-22 ช่อง รายการข่าว, 23-29 ช่องทัว่ ไปความคมชัดปกติ ( SD), 30-36 ช่องทัว่ ไปความคมชัดสูง ( HD), และช่องหมายเลข 37-48 ช่อง บริ การชุมชน กว่าจะมาถึงวันนี ้จะเห็นว่าการเปลีย่ นผ่านของยุคโทรทัศน์นนมี ั ้ ช่วงเวลาที่นานพอสมควรกว่าจะเป็ นยุคทีวีดิจิทลั ใน ปั จจุบนั ซึง่ สามารถสรุปยุคของกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยได้ ดงั นี ้ ยุคของกิจการโทรทัศน์ ภาคพืน้ ดินประเทศไทย - ยุคที่ 1 ยุคโทรทัศน์ขาว-ดํา (พ.ศ. 2490 – 2510) - ยุคที่ 2 ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510 – 2555) - ยุคที่ 3 คือ ยุคโทรทัศน์ระบบดิจิทลั (พ.ศ.2557 – ปั จจุบนั ) ในทีวีดิจิทัลของประเทศไทยมีอะไรให้ ดูบ้าง? กสทช. ได้ กําหนดให้ ทีวีดิจิทลั มี 48 ช่อง โดยที่มีทีวีท้องถิ่นของชุมชน 12 ช่อง ทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ทีวีสาํ หรับภาคธุรกิจ 24 ช่อง โดยใน 24 ช่องนี้ เป็นมาตรฐานปกติ (SD) 17 ช่อง และเป็ นช่องมาตรฐานความคมชัดสูงอีก 7 ช่อง

สติ๊ กเกอร์ นอ้ งดูดี


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

24

และตังแต่ ้ ปี 2556 จนถึงเดือนมีนาคม 2557 สํานักงาน กสทช. ได้ ทําการออกสติ๊กเกอร์ น้องดูดี ซึง่ เป็ น เครื่ องหมายแสดง การได้ รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่ องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื ้นดินในระบบดิจิตอล แบบที่มีจอภาพแสดงผล หรื อ Integrated Digital Television (iDTV) ที่ผา่ นการจดทะเบียนแล้ วจากสํานักงาน กสทช. แล้ วรวมทังสิ ้ ้น 123 รุ่น 388,754 เครื่ อง และได้ ออกเครื่ องหมายแสดงการได้ รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่ องรับสัญญาณโทรทัศน์แบบไม่มีจอภาพ แสดงผล (SET TOP BOX) 73 รุ่น 490,250 เครื่ อง


ระบบวิทยุและโทรทัศน |

บรรณานุกรม

25

ร่ างวิธีประมูลทีวีดิจิทลั . (ระบบออนไลน์). วันสืบค้ น 31 พฤษภาคม 2556, แหล่งที่มา http://tvdigital.in.th รู้ทนั ทีวีดิจิตอล"เสา" ใครคิดว่ าไม่ สาํ คัญ ? : คอลัมน์ โลกไร้ เสา . (ระบบออนไลน์). วันสืบค้ น 5 มิถนุ ายน 2556, แหล่งที่มา http://www.komchadluek.net ศุภางค์ นันตา. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ . พิมพ์ครัง้ ที่ 1. มหาสารคาม : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สมสุข หินวิมาน และคณะ. ( 2554). ความรู้เบือ้ งต้ นทางวิทยุและโทรทัศน์ . พิมพ์ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ . (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้ างสรรค์ รายการโทรทัศน์ หน่ วยที่ 1-5. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ . (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้ างสรรค์ และการผลิตภาพยนตร์ เบือ้ งต้ น . พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. สุทิติ ขัตติยะ. (2555). หลักการทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ . พิมพ์ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริ ษัท ประยูรวงศ์พริ น้ ท์ติ ้ง จํากัด. อดิศกั ดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ. (2556). ภูมิทศั น์ ส่ อื ใหม่ : Digital Media ทีวีพันช่ อง. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. สมุทรปราการ : บริ ษัท ดับบลิวพีเอส (ประเทศ ไทย) จํากัด. อรนุช เลิศจรรยารักษ์ . (2544). หลักการเขียนบทโทรทัศน์ . พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . อุษณีย์ ศิริสนุ ทรไพบูลย์. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ . พิมพ์ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ภาพประกอบบางส่ วนจาก

http://www.ctesat.com http://www.cableaml.com http://www.iptv.3bb.co.th/th/iptv/channel.php http://www.sulit.com http://www.th.wikipedia.org http://www.truevisionstv.com http://www.tvdigital.in.th http://www.tvdigitalthailand.com http://www.visual.merriam-webster.com/communications/communications/broadcast-satellite-communication.php


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.