จุลสาร สมศ issuu 3

Page 1

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๓ (ประจ�ำเดือน กุมภาพันธ์– มีนาคม ๒๕๖๐)


ภาพปก”เสียงสะท้อนในเงาจันทร์” ขนาด ๗๕ x ๕๕ ซม. เทคนิค สีอคริลิคและพาสเทล ศิลปิน สุรเดช แก้วท่าไม้

บทบรรณาธิการ (Editor’s Note).. สวัสดีปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๐ เนื่องจากเดือนนี้มีเทศกาลส�ำคัญได้แก่ วันมาฆบูชาซึ่งเป็นวันส�ำคัญทางพุทธศาสนาและวันแห่ง ความรัก (Valentine’s Day) สมศ. ขอส่งความรัก ความสุขและความปรารถนาดีแด่ผอู้ า่ นทุกๆ ท่าน สืบเนือ่ งจากจุลสาร สมศ.ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒ ได้นำ� เสนอพระราชประวัตแิ ละพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดชเพือ่ เป็นการเผยแพร่พระเกียรติคณ ุ และร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ หาทีส่ ดุ มิได้ จุลสารฉบับนี้ สมศ. ขอน�ำเสนอบทสัมภาษณ์สถานศึกษา ซึง่ ได้นำ� หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้และขับเคลือ่ นภายในสถานศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษาได้รบั การคัดเลือกเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง อีกทัง้ ยังได้รบั ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามจาก สมศ.อยูใ่ นระดับดีมาก และบทความเรือ่ ง “การปฏิรปู การศึกษา ของประเทศฟินแลนด์” รายละเอียดติดตามได้ภายในเล่ม

สารบัญ : Content ๓ เศรษฐกิจพอเพียง ๖ การปฏิรูปการศึกษา ของประเทศฟินแลนด์ ๘ บอร์ด สมศ. ตั้ง “นาวิน วิยาภรณ์” รักษาการ ผอ.สมศ.

กองบรรณาธิการ ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานกรรมการบริหาร สมศ. บรรณาธิการ นายนาวิน วิยาภรณ์ รักษาการผู้อ�ำนวยการ พล.ร.ต.วัชระ การุณยวนิช ผศ.จ�ำรูญ ณ ระนอง นายเอกพงษ์ เลาหะเทียนสินธุ์ ดร.วรวิชช ภาสาวสุวัศ ดร.สมยศ ชี้แจง นางขนิษฐา จรูญชนม์ นางอรนิศา เพชรผล นางวีรนุช สุขสว่าง นางสาวนภาภร ส่งแสง นางสาวมาลัย ศรีศิริรุ่งโรจน์ นางสาวภัคพิชา ภู่ทับทิม นายภูมิพัฒน์ ศรีวชิรพัฒน์ ออกเเบบเเละจัดพิมพ์โดย ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดส�ำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ ส�ำนักงานใหญ่ ๔๕,๔๗ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๔๐ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ +๖๖๒ ๔๓๓ ๗๗๕๕-๗ , ๐๙๕ ๙๗๙ ๓๘๗๒


เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาทีพ ่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช ทรงมีพระราชด�ำรัสชี้แนะแนวทางการด�ำเนินชีวิตแก่พสกนิกร ชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตัง้ แต่กอ่ นวิกฤติการณ์ทาง เศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ ต่อมาภายหลังได้ทรงเน้นย�ำ้ แนวทางการแก้ไข เพือ่ ให้รอดพ้น และสามารถด�ำรงอยู่ได้อย่างมัน่ คงและยัง่ ยืนภายใต้ กระแสโลกาภิวตั น์และความเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เป็ น ปรั ช ญาที่ ชี้ถึงแนวทางการด�ำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุกระดับ ตัง้ แต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริ ห ารประเทศให้ ด� ำ เนิ น ไปในทาง สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพือ่ ให้กา้ วทันต่อโลกยุคโลกาภิวตั น์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องมี ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลีย่ นแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัด ระวังอย่างยิ่ง ในการน�ำวิชาการต่างๆ มาใช้ ในการวางแผนและการด�ำเนินการทุกขัน้ ตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐาน จิ ต ใจของคนในชาติ โ ดยเฉพาะเจ้ า หน้ า ที่

ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มสี ำ� นึกในคุณธรรม ความซือ่ สัตย์สจุ ริตและ ให้ มี ค วามรอบรู ้ ที่ เ หมาะสม ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่ า งรวดเร็ ว และกว้ า งขวางทั้ ง ด้ า นวั ต ถุ สั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม และวั ฒ นธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โรงเรียนโยธินบูรณะเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งด้ า นการศึ ก ษา เป็ น สถานศึกษาอีกแห่งหนึง่ ทีน่ ำ� หลักปรัชญาของ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชมาใช้ และปฏิบตั ิ เป็นสถานศึกษาแห่งแรกทีเ่ ข้ารับ การประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง มีการ พัฒนาจนได้รบั การประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงรุ่นแรกของประเทศในปี พ.ศ.๒๕๕๔ (๑๓ แห่งแรก) เป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ประจ�ำ

ภาคกลางและภาคตะวันออกของกระทรวง ศึกษาธิการ ดังนั้น อัตลักษณ์ด้านเศรษฐกิจ พอเพียงดังกล่าวของโรงเรียนส่งผลให้ได้รับ ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จาก สมศ. อยูใ่ นระดับ ดีมาก น า ย อ ดิ ศั ก ดิ์ วิ ไ ล ลั ก ษ ณ ์ ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนคนปัจจุบนั ย้ายมารับ ต�ำแหน่งผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ เมือ่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กล่าวว่า “โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้าน การศึกษา ประจ�ำภาคกลางและภาคตะวันออก ของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว ซึ่งนับว่า เป็นโรงเรียนทีม่ ตี น้ ทุนด้านเศรษฐกิจพอเพียง สูงเป็นล�ำดับต้นๆ ของประเทศ และโดย ส่วนตัว ผมก็เห็นว่าการปลูกฝังปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องส�ำคัญ จ�ำเป็น อย่ า งยิ่ ง ส� ำ หรั บ เยาวชนในปั จ จุ บั น ที่ อ ยู ่ ในสภาพแวดล้อมของสังคมในยุคบริโภคนิยม วั ต ถุ นิ ย ม เมื่ อ ศึ ก ษาภู มิ ห ลั ง และบริ บ ท ของโรงเรี ย นแล้ ว ก็ มี แ นวคิ ด ที่ จ ะพั ฒ นา

พอประมาณ

มีเหตุมผี ล

มีภมู คิ มุ้ กัน

คุณธรรม

ความรู้ น�ำไปสู่ สีม่ ติ ิ

เศรษฐกิจ/สังคม/สิง่ แวดล้อม/วัฒนธรรม สมดุล/พร้อมรับต่อการเปลีย่ นแปลง จุลสาร สมศ.


ต่อยอด ให้หลักเศรษฐกิจพอเพียง สามห่วง สองเงือ่ นไข สีม่ ติ *ิ เข้ามาอยูใ่ นทุกบริบทของ โรงเรียน สถานศึกษาจึงประกาศนโยบาย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เรียกว่า ยุ ท ธศาสตร์ ๔ ตามการบริ ห ารงานของ โรงเรียน คือ แบ่งการบริหารเป็น ๔ กลุ่ม บริหาร ประกอบด้วย กลุ่มบริหารวิชาการ กลุม่ บริหารกิจการนักเรียน กลุม่ บริหารทัว่ ไป และกลุ่มบริหารการเงินสัมพันธ์และบุคคล โดยให้ทุกกลุ่มบริหารบูรณาการเศรษฐกิจ พอเพียงเข้าในงานของตนเอง มีศนู ย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ขึน้ ตรงกับผูอ้ ำ� นวยการ เน้นความส�ำคัญไปที่ กลุ่มบริหารวิชาการ ให้จัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการในทุกกลุม่ สาระการเรียนรูใ้ ห้นกั เรียน เรียนจากการปฏิบตั จิ ริง เช่น โครงงาน กิจกรรมค่าย ศึกษาเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา คือ เสริมสร้าง ให้นกั เรียนมีอปุ นิสยั พอเพียง “คิดดี มีเหตุผล สร้างตนให้มภี มู คิ มุ้ กัน” ซึง่ มีความสอดคล้อง กั บ วิ สั ย ทั ศ น์ และอั ต ลัก ษณ์ของโรงเรียน ทีก่ ำ� หนดว่า “โยธิน ถิน่ คนดี” ”

อาจารย์ปริศนา ตันติเจริญ อาจารย์ผสู้ อนการขับเคลือ่ น หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงด้วยวิธี “รู้ คิด เลือก ท�ำ” ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๐ โรงเรี ย น โยธินบูรณะได้น�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพี ย งเข้ า ไปบรรจุ ไว้ ใ นวิ สั ย ทั ศ น์ ข อง โรงเรียน เพือ่ ให้อาจารย์ผสู้ อนทุกท่านมีความ ตระหนักพร้อมยึดถือปฏิบตั เิ ป็นนโยบายหลัก ของโรงเรียนและขับเคลื่อนมาตลอด ๑๐ ปี อาจารย์ปริศนากล่าวว่า “แรกเริม่ ความรูเ้ รือ่ ง เศรษฐกิ จ พอเพี ย งยั ง ไม่ เ ป็ น ที่ แ พร่ ห ลาย

* สามห่ ว ง = พอประมาณ มี เ หตุ มี ผ ล มี ภู มิ คุ ้ ม กั น สองเงื่ อ นไข = คุ ณ ธรรม ความรู ้ น� ำ ไปสู ่ สีม่ ติ ิ = เศรษฐกิจ/สังคม/สิง่ แวดล้อม/วัฒนธรรม สมดุล/พร้อมรับต่อการเปลีย่ นแปลง

จุลสาร สมศ.

การน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา ใช้ ใ นบริ บ ทของสถานศึ ก ษาจึ ง ต้ อ งเริ่ ม ที่ ตนเองก่อน จากนัน้ จึงออกแบบให้เป็นหน่วย การเรียนรู้ เริม่ จากเรือ่ งการออม โดยให้เด็ก เริ่มท�ำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยสอนให้เด็ก นักเรียนรูจ้ กั คิดว่าการออมใช้หลักธรรมอะไร เป็นหลักคิด เวลาใช้จา่ ยน�ำหลักธรรมอะไรมา ควบคุ ม ฝึ ก การคิ ด วิ เ คราะห์ จะท�ำอะไร ให้คดิ ก่อน เพราะการท�ำบัญชีคอื “ภูมคิ มุ้ กัน” ต้องมีความรู้ มีคุณธรรมมาควบคุมก�ำกับ มีเหตุผล จากนัน้ จึงเริม่ ท�ำวิจยั เพือ่ หาวิธนี ำ� หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาใช้ และสอดคล้องกับบริบทโรงเรียน ค้นพบว่า ต้ อ งใช้ วิ ธี บู ร ณาการผ่ า นการท� ำ โครงงาน เด็กจะได้คดิ ได้ทำ� และเห็นผลเอง เช่นเดียวกับ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ เ ป็ น หลักคิด หลักการ หลักปฏิบัติ ถ้าจะให้ เด็ ก น� ำ ไปใช้ แบบครบวงจร ก็ ต ้ อ งใช้ห ลัก Learning by doing ดีทสี่ ดุ ” ทุกปีโรงเรียนโยธินบูรณะจะก�ำหนด ปฏิทินโครงงานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โดยบูรณาการ ๘ กลุ่มสาระกับ ทุกวิชา ให้เด็กท�ำซ�้ำๆ และน�ำเข้าไปใช้ใน ทุ ก กิ จ กรรมของโรงเรี ย น เช่ น กิ จ กรรม ลู ก เสื อ กิ จ กรรมวั ฒ นธรรม กี ฬ าสี และกิจกรรมหลักของโรงเรียน เมื่อท�ำได้ สักระยะก็พบปัญหาว่า ครูสว่ นใหญ่คดิ ว่าเรือ่ ง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของวิชาสังคม อย่างเดียว สาระอืน่ ๆ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ไม่สามารถท�ำได้


ดังนั้น จึงประสานฝ่ายบริหาร เพื่อเลือก ตัวแทนครูในสาระต่างๆ ของโรงเรียน มารับ การอบรมในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง แล้วน�ำไปสอนจริง เพือ่ ช่วยในการ ขับเคลื่อนใน ๘ กลุ่มสาระ โดยตัวแทนครู ในแต่ละกลุ่มสาระจะน�ำความรู้ไปอบรมครู ในกลุม่ สาระของตนเอง และน�ำไปสูก่ ารจัดท�ำ หลั ก สู ต รการประชุ ม ปฏิ บั ติ ก ารหรื อ การ ฝึกอบรมครูทงั้ โรงเรียนเพือ่ เป็นตัวขับเคลือ่ น “ส่ ว นส� ำ คั ญ ที่ จ ะท� ำ ให้ เ ด็ ก เป็ น คนดี คิดดี คิดเป็นและแก้ปญ ั หาได้ ครูผู้สอนต้อง เข้าใจให้ถึงแก่นแท้ ดังนั้น ปัญหาของคน ขับเคลือ่ นคือต้องตีโจทย์ให้แตก ยกตัวอย่าง ในด้านการศึกษา ถึงแม้ตัวชี้วัดจะก�ำหนด ตั ว ชี้ วั ด เรื่ อ งหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียงไว้ในเรือ่ งของสหกรณ์ ครูผสู้ อนต้อง ท�ำความเข้าใจก่อนว่าจะน�ำหลักเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้อย่างไรภายใต้หลักเศรษฐศาสตร์ รูว้ า่ พอประมาณ คือไม่มาก ไม่นอ้ ย เหมาะสม เหตุ ผ ล คื อ หลั ก วิ ช าการ กฎระเบี ย บ บรรทัดฐาน ศีลธรรมอันดี ดังนัน้ เวลาเราจะ ตัดสินใจท�ำอะไรด้วยเหตุผล เราจะมีขอ้ อ้างอิง ในการตัดสินใจ เพราะมันเป็นกฎระเบียบและ ถูกหลักศีลธรรมอันดี ถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อสามารถให้เด็กไปหาเหตุผลทางวิชาการ มาประกอบได้ถูกต้อง โดยเริ่มจากการใช้ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ให้รวู้ า่ จุดแข็งของตนเองคืออะไร จุดอ่อนคืออะไร แล้วจึงน�ำโอกาสกับจุดแข็งมาเป็นตัวตัดสินใจ ว่ า ควรท� ำ หรื อ ไม่ ท� ำ แล้ ว เสี่ ย งหรื อ ไม่ จะล้มเหลวหรือเปล่า ทั้งหมดคือการสอน หาเหตุผล” อาจารย์ปริศนากล่าว นอกจากนี้ ใ นด้ า นกระบวนการ ขับเคลือ่ นพบว่า เด็กนักเรียนเป็นปัจจัยส�ำคัญ ของการขับเคลือ่ น ดังนัน้ ต้องน�ำเด็กนักเรียน เข้าสู่กระบวนการการมีส่วนร่วม โดยเริ่มต้น

จากกิจกรรม โดยให้เด็กเข้ามามีสว่ น ร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมรับผิดชอบ เพื่อให้สอดคล้อง กับหลักปรัชญา หลักคิด หลักการ และหลัก ปฏิ บั ติ เป็ น การปลู ก ฝั ง จนเด็ ก สามารถ น� ำ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งไป ประยุกต์ใช้กบั เรือ่ งอืน่ ๆ “การน�ำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาสอนแต่ ภ ายใน ห้องเรียนอย่างที่เราเรียกว่า รู้ จ�ำ เข้าใจ จะไม่ติดทนนาน ต้องเรียนด้วยการปฏิบัติ ถึงจะเข้าใจลึกซึง้ สิง่ ทีค่ น้ พบในกระบวนการ สอนพบว่าถ้าสอนให้เด็กท่องจ�ำ เวลาให้เขียน บรรยายเด็กจะเกิดความสับสน เด็กก็จะเล่า ซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิด การท�ำอะไรเราก็ให้นำ� กระบวนการ รู้ คิด เลือก ท�ำ ไปใช้ ต้องรูเ้ รือ่ งทีจ่ ะท�ำ ต้องรู้ ให้พอ รูใ้ ห้ถกู ต้อง คือ มีเหตุมผี ล ว่าการทีจ่ ะท�ำ เรือ่ งนัน้ ๆ จะไม่เสีย่ งทีจ่ ะล้มเหลว เวลาน�ำมาใช้ ต้องยึดหลักคุณธรรม คือ ซือ่ สัตย์ ซึง่ เป้าประสงค์ ในปลายทางของโรงเรียนโยธินบูรณะคือเด็ก ต้องมีอปุ นิสยั อันพึงประสงค์คอื คิดดีมเี หตุผล สร้างตนให้มภี มู คิ มุ้ กัน นีค้ อื อุปนิสยั ของเด็ก ทีโ่ รงเรียนต้องการ” ด้านความประทับใจทีม่ ตี อ่ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช “ท่านทรง เป็นครูของแผ่นดิน ท่านทรงท�ำเหมือนสอน โดยเริ่ ม ทดลองด้ ว ยพระองค์ ใ นด้ า น

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วจึงน�ำ ผลทีไ่ ด้มาสัง่ สอน นีค่ อื “ศาสตร์พระราชา” คือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ตนเองก็น�ำ ศาสตร์นี้มาใช้ในการสอนเด็กและขับเคลื่อน โรงเรียนโยธินบูรณะในเรือ่ งเศรษฐกิจพอเพียง ท�ำจากน้อยไปหามาก ท�ำจากเด็กนักเรียน จ�ำนวนน้อยไปสู่จ�ำนวนมาก จากครูจ�ำนวน น้อยไปสูค่ รูจำ� นวนมาก ท�ำจากคนใกล้ตวั ไป คนไกลตั ว คื อ เริ่ ม จากครู ที่ อ ยู ่ ก ลุ ่ ม สาระ เดียวกันก่อนแล้วค่อยขยายไปสูค่ รูกลุม่ สาระ อืน่ นีค่ อื ความประทับใจทีม่ ตี อ่ พระองค์ทที่ รง เป็นนักคิด เพราะสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงคิดทรงท�ำ เป็นความจริงอันประเสริฐ สามารถน�ำมาใช้ได้จริง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงตรัสว่า “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพลวัต” คือ ไม่อยูน่ งิ่ ไม่วา่ คุณจะท�ำอะไรก็สามารถน�ำ ไปใช้ได้” อาจารย์ปริศนากล่าว จากการขั บ เคลื่ อ นมาตลอด ๑๐ ปี ผลทีต่ ามมาคือสามารถส่งเด็กรับทุนเศรษฐกิจ พอเพี ย งได้ ต ่ อ เนื่ อ ง ๖ ปี ๗ คน ซึ่ ง ทุ น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทุนเด็กดี เน้นคนดี โดยมี เ งื่ อ นไขว่ า ต้ อ งเรี ย นจบในระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๖ แล้ ว ศึ ก ษาต่ อ ใน มหาวิทยาลัยในประเทศไม่จำ� กัดสาขา

จุลสาร สมศ.


นักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะน้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงและรู้เท่าทันปัญหา นายชนะกานต์ หวังนิเวศน์กลุ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สาย วิทย์-คณิต ได้น้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้โดยยึดหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไขด้าน คุณธรรม คือ “จิตอาสา” มาใช้ “ในวันทีพ่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต กลุม่ ลูกเสือโรงเรียนโยธินบูรณะได้รว่ มแสดงออกถึงความมีจติ อาสา ในด้านการอ�ำนวย การจราจร และปฐมพยาบาลผูป้ ว่ ยเป็นลม ณ ท้องสนามหลวง โดยแบ่งจ�ำนวนพล (ลูกเสือ) เพือ่ เข้าไป ร่วมท�ำกิจกรรม มีการก�ำหนดและแบ่งหน้าทีค่ วามรับผิดชอบอย่างชัดเจน ให้ผทู้ ผี่ า่ นการฝึกอบรม ด้านจราจร ท�ำหน้าทีอ่ ำ� นวยการจราจร ผูท้ ผี่ า่ นการอบรมด้านการปฐมพยาบาลท�ำหน้าทีป่ ฐมพยาบาล เป็นต้น ทัง้ หมดมาจากการน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในด้านความมีเหตุมผี ล ความพอประมาณ มีภมู คิ มุ้ กัน ไม่เสีย่ ง ท�ำให้ผลของงานออกมาดี ไม่มขี อ้ ผิดพลาด และสามารถน�ำ หลักปรัชญามาใช้ในชีวติ ประจ�ำวันทีเ่ กีย่ วกับตนเอง เช่นในด้านการจัดสรรเวลา สามารถแบ่งเวลา ให้กบั การอ่านหนังสือ และการท�ำกิจกรรมโดยไม่เสียการเรียน” นายชนะกานต์ กล่าว

นางสาวศุภรดา ทองประสิทธิ์ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี ๔ สาย ศิลป์ภาษา นักเรียนโครงการภาคภาษาอังกฤษ (EP) และนักกิจกรรม น้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้คอื “ตัวรู”้ เพือ่ ใช้ในการปรับตัว รูค้ วามแตกต่างระหว่างการศึกษาระดับประถมและ มัธยม “เมือ่ เข้าสูร่ ะดับมัธยมศึกษาจะไม่มคี รูคอยพร�ำ่ บ่นพร�ำ่ สอนในเรือ่ งการส่ง การท�ำการบ้าน หรืออ่านหนังสือ การเรียนด้วยภาษาอังกฤษแม้จะไม่มปี ญ ั หาด้านภาษา แต่ยงั ต้องปรับตัวเพือ่ ให้ สามารถแบ่งเวลาในการเรียนและแบ่งเวลาในการท�ำกิจกรรมของโรงเรียน โดยน�ำหลัก ๓ ห่วง ๒ เงือ่ นไข มาใช้ในการวางแผน และน�ำมาปรับใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน เพราะด้วยความทีต่ นเองเป็น เด็กกิจกรรม ต้องรูจ้ กั ความพอดี พอประมาณ ต้องแบ่งเวลาได้ ต้องหาเหตุผลให้ได้วา่ ในการท�ำกิจกรรม ต้องไม่กระทบต่อการเรียนและการอ่านหนังสือ เพือ่ เป็นภูมคิ มุ้ กัน ทุกวันนีส้ ามารถแบ่งเวลาเรียน เวลาท�ำกิจกรรมและเวลาอ่านหนังสือ โดยไม่สง่ ผลกระทบต่อการเรียน ด้านคุณธรรม ในโรงเรียน จะมีเด็กจากหลากหลายครอบครัวมาร่วมท�ำกิจกรรม ในส่วนนีก้ ส็ ามารถน�ำหลักคุณธรรมในการ อยูร่ ว่ มกันมาใช้ คือ ฉันทะ ความพอใจในงานหรือกิจทีท่ าํ ” นางสาวศุภรดา กล่าว

นางสาววาสินี สังขพันธ์ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๔ สาย วิทย์-คณิต ด้วยความกตัญญูทไี่ ม่อยากให้คณ ุ พ่อคุณแม่เหนือ่ ย อยากตอบแทนและแบ่งเบาภาระตลอดจน การลดอัตราการจ้างคนงาน ลดรายจ่าย ไม่กระทบต่อการเรียน วาสินจี งึ น้อมน�ำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงคือ “หลักเหตุผล” น�ำมาใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน “ทีบ่ า้ นประกอบธุรกิจร้านอาหาร ทุกวันนีต้ นเองได้ชว่ ยแบ่งเบาภาระหน้าทีข่ องทางบ้าน ไม่อยากให้พอ่ แม่เหนือ่ ยมาก อยากตอบแทน บุญคุณพ่อแม่ และต้องแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือ จึงน้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เราต้องรู้หน้าที่ว่าเราต้องท�ำอะไร จัดล�ำดับความส�ำคัญก่อน-หลัง เรารู้ว่าเราต้องช่วยเหลือ ทางบ้าน เราก็ตนื่ แต่เช้า ในการแบ่งเวลาอ่านหนังสือก็ตอ้ งมีความพอประมาณ ทุกวันนี้ หลังจาก ช่วยเหลือทางบ้านแล้วสามารถแบ่งเวลาอ่านได้วนั ละ ๔ ชัว่ โมง ซึง่ คิดว่าพอดีสำ� หรับตนเอง” ความประทับใจทีม่ ตี อ่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช “ในฐานะทีต่ นเองเรียน สายวิทย์-คณิต คิดว่าท่านทรงเป็นนักคิด นักวิทยาศาสตร์ ดัง่ ตัวอย่างโครงการในพระราชด�ำริฝนหลวง ของพระองค์สามารถน�ำมาใช้ในการช่วยเหลือราษฎรในถิน่ แห้งแล้งและทุรกันดารอย่างทีไ่ ม่เคยมีใคร ท�ำมาก่อน ดังแนวพระราชด�ำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” นางสาววาสินกี ล่าว ด้วยเหตุนี้ สมศ. เห็นว่า การปฏิบตั ขิ องโรงเรียนโยธินบูรณะโดยการน้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมอิ ดุลยเดชมาปรับใช้ ในชีวติ ประจ�ำวันของนักเรียน รวมถึงการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมและโครงงานนัน้ มีเป้าประสงค์ เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีและส่งเสริมให้นักเรียนน�ำไปปฏิบัติ เพื่อฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ แยกแยะและกระตุ้นการท�ำดีจากภายในของตนเอง รวมถึง ฝึกฝนการเป็นพลเมืองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จุลสาร สมศ.

สัมภาษณ์ และเรียบเรียงโดย ภูมพิ ฒ ั น์ ศรีวชิรพัฒน์ นักวิชาการภารกิจส่งเสริมและพัฒนาสัมพันธ์


การปฏิรปู การศึกษาของประเทศฟินแลนด์ เรียบเรียงโดย นางณัฐนันท์ โชติวรอิงคนันท์ นักวิชาการภารกิจพัฒนาระบบประเมิน

การปฏิ รู ป การศึ ก ษาของฟิ น แลนด์ เริ่มอย่างจริงจังตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๗๐ โดยรั ฐ บาลฟิ น แลนด์ ล งทุ น อย่ า งมาก ในการผลิตครูที่มีสมรรถนะสูง ให้ความ ส� ำ คั ญ อย่ า งมากกั บ การศึ ก ษาปฐมวั ย กระจายอ� ำ นาจการจั ด การศึ ก ษาตาม ความต้ อ งการของชุ ม ชนและท้ อ งถิ่ น และให้ การประกั น ว่ า นักเรีย นทุกคนจะได้ รับบริการการศึกษาแบบให้เปล่าทีเ่ ท่าเทียม กันทั้งในด้านอาหาร การรับส่งจากบ้าน ไ ป โ ร ง เ รี ย น แ ล ะ อุ ป ก ร ณ ์ ก า ร ศึ ก ษ า ตัง้ แต่ทศวรรษ ๑๙๗๐ เป็นต้นมา มาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานของฟินแลนด์จึงจัด อยูใ่ นล�ำดับต้นๆ ของโลก รูปแบบการจัดการ ศึกษาของฟินแลนด์แตกต่างจากการจัดการ การศึ ก ษาของประเทศต่ า งๆ เนื่ อ งจาก นักเรียนของฟินแลนด์มีการบ้านและมีการ ทดสอบน้อยกว่าประเทศอืน่ ๆ และหลักสูตร การเรี ย นการสอนเน้นด้านดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมกลางแจ้งนอกห้องเรียน แต่การ ศึกษาของฟินแลนด์กย็ งั อยูใ่ นระดับคุณภาพ ทีส่ งู ทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก รัฐบาลฟินแลนด์ได้ปฏิรูปการศึกษา ล่ า สุ ด เมื่ อ เดื อ นสิ ง หาคม ๒๕๕๙ โดยได้ ก�ำหนดกรอบมาตรฐานหลักสูตรแห่งชาติ ๒๐๑๖ (National Curriculum Framework 2016 หรือ NCF) เพื่อปรับปรุงหลักสูตร และวิธกี ารเรียนการสอนให้ตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ และพัฒนา สมรรถนะที่ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ การด� ำ รงชี วิ ต และการประกอบอาชีพในศตวรรษที่ ๒๑ โดยการปรับเปลี่ยนหลักการเรียนการสอน แบบรายวิชาให้เป็นการเรียนการสอนแบบ

หลากหลายสาขาวิชา (Multi-disciplinary approach) และเน้ น การสอนตาม ปรากฏการณ์ (Phenomenon-based teaching) โดยจะเริม่ ใช้กบั การเรียนการสอน ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นอายุ ตั้ ง แต่ ๗ ถึ ง ๑๖ ปี โดยก�ำหนดให้ทกุ โรงเรียนทัง้ ๓๒๐ เทศบาล ทัว่ ทัง้ ประเทศฟินแลนด์เริม่ ทดลองการเรียน การสอนแบบหลากหลายสาขาวิ ช าตาม ปรากฏการณ์ อ ย่ า งน้ อ ย ๑ ชั้ น เรี ย น หรือ ๑ โครงการในหนึง่ ปีการศึกษา และได้ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าภายใน พ.ศ. ๒๕๖๓ การเรี ย นการสอนในทุ ก ระดั บ ชั้ น และทุ ก หลักสูตรจะใช้วิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ ทัง้ ระบบการศึกษา รัฐบาลฟินแลนด์ให้อำ� นาจ การตัดสินใจให้แก่โรงเรียนแต่ละแห่งว่าจะ ขยายชัน้ เรียนตามหลักสูตร NCF ตามความ สมั ค รใจ แต่ เ ทศบาลกรุ ง เฮลซิ ง กิ ซึ่ ง เป็ น เมืองหลวงตัดสินใจว่าจะเริม่ ใช้หลักสูตร NCF อย่ า งน้ อ ย ๒ ปี ก ารศึ ก ษาในทุ ก รายวิ ช า ในทุกโรงเรียน การปฏิ รู ป การศึ ก ษาของฟิ น แลนด์ ครั้งนี้จึงต้องการความร่วมมือทั้งจากครูและ ผูบ้ ริหารโรงเรียนเป็นอย่างมาก เพือ่ ทีจ่ ะสร้าง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ทสี่ ง่ เสริม การเรียนรู้ของนักเรียน จ�ำนวนร้อยละ ๗๐

ของครูทงั้ หมดจะได้รบั การฝึกอบรมให้คนุ้ เคย กับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ครูต้อง เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและเรียนรู้ที่จะ วางแผนพั ฒ นาการสอนร่ ว มกั บ ครู ที่ ส อน ในรายวิชาต่างๆ และครูกจ็ ะได้รบั ค่าตอบแทน เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย หลักสูตร NCF ยังได้ ก�ำหนดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การจัดการชัน้ เรียนแบบหลากหลายสาขาวิชา ทีเ่ น้นการสอนตามปรากฏการณ์ และมีสทิ ธิ์ มีเสียงในการประเมินผลจากการเรียนรู้ด้วย การเรียนรู้ตามหลักสูตร NCF ก�ำหนดว่า นักเรียนจะได้เรียนรูใ้ นสิง่ แวดล้อมทีป่ ลอดภัย มีความสุข เพลิดเพลิน และสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรเก่าที่นักเรียนนั่งฟัง การสอนเพียงฝ่ายเดียวและรอจนกว่าครูจะตัง้ ค�ำถามให้ตอบ แต่หลักสูตรใหม่นเี้ ปิดโอกาส ให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนคนอื่น โดยการท�ำงานเป็นกลุม่ เล็กๆ เพือ่ แก้ปญ ั หา ที่ครูและนักเรียนก�ำหนด ดังนั้น นักเรียน จะเรียนรู้และพัฒนาทักษะการสื่อสารกับ เพือ่ นนักเรียนและครู ส�ำหรับนักเรียนวัยเด็ก จะเน้นความสนุกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ โดยการใช้สอื่ การเรียนการสอนทีห่ ลากหลาย รูปแบบ >>> อ่านต่อหน้า ๘

จุลสาร สมศ.


บอร์ด สมศ. ตัง้

“นาวิน วิยาภรณ์” รักษาการ ผอ.สมศ.

ประธานกรรมการบริหาร สมศ. มีค�ำสั่งแต่งตั้ง นายนาวิน วิยาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ อดีตรองผูอ้ ำ� นวยการ สมศ. เป็นรักษาการ ผอ. สมศ. เพือ่ ขับเคลือ่ นการด�ำเนินการให้เป็นไป ตาม Road map การพัฒนาระบบประเมินคุณภาพการศึกษาทีไ่ ด้รว่ มด�ำเนินการกับกระทรวง ศึกษาธิการให้มคี วามต่อเนือ่ ง ไม่สะดุดหรือหยุดชะงัก โดยยึดตามนโยบายการด�ำเนินงานของ พล.อ.อ.ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี ซึง่ ก�ำกับดูแล สมศ. ทีไ่ ด้เคยให้นโยบายว่า ระบบการ ประเมินคุณภาพการศึกษาต้องตอบสนองการปฏิรูปการศึกษาและการขับเคลื่อนประเทศ ในมิติต่างๆ ที่สอดคล้องกับการด�ำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการตาม Road map ซึง่ ขณะนีอ้ ยูใ่ นระยะที่ ๓ ทีอ่ ยูร่ ะหว่างการทดสอบระบบการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ในส่วนของการสรรหาผูอ้ ำ� นวยการ สมศ. นัน้ ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. เมือ่ วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ ได้มมี ติแต่งตัง้ ศาสตราจารย์ ดร.วิจติ ร ศรีสอ้าน เป็นประธาน คณะอนุกรรมการสรรหาผู้อ�ำนวยการ สมศ. ซึ่งกระบวนการสรรหาก�ำหนดกรอบระยะเวลา การด�ำเนินการไว้ ๓ เดือน โดยจะสรรหาบุคคลทีม่ คี วามเหมาะสมทีส่ ดุ และตรงตามคุณสมบัติ ทีก่ ำ� หนด แต่หากมีเหตุฉกุ เฉินหรือความจ�ำเป็นใดๆ สามารถขยายเวลาการสรรหาออกไปได้อกี ๒ เดือน ทัง้ นี้ คณะกรรมการบริหาร สมศ. จะเร่งด�ำเนินการสรรหาผูอ้ ำ� นวยการ สมศ. ให้ได้ เร็วที่สุด โดยคุณสมบัติของผู้อ�ำนวยการ สมศ. ที่ก�ำหนดไว้ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของส�ำนักงาน ไม่ประกอบกิจการหรือ

มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ในกิ จ การที่ ก ระท� ำ ของ ส� ำ นั ก งาน และสามารถประสานการ ขั บ เคลื่ อ นภารกิ จ ของส� ำ นั ก งานได้ ต าม นโยบายของรัฐบาลและตามคณะกรรมการ บริหาร สมศ. มอบหมาย

การปฏิรปู การศึกษาของประเทศฟินแลนด์ เรียบเรียงโดย นางณัฐนันท์ โชติวรอิงคนันท์ นักวิชาการภารกิจพัฒนาระบบประเมิน

>>>(ต่อ) หลักสูตรแบบเดิมของฟินแลนด์จะเปลี่ยนแปลง เช่น การสอนรายวิชา ประวัตศิ าสตร์ในคาบเช้า และรายวิชาภูมศิ าสตร์ในคาบบ่าย แต่หลักสูตร NCF จะบูรณาการ รายวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ความรู้เกี่ยวกับสหภาพยุโรป ก็จะสอนทั้งความรู้เกี่ยวกับ ประวัตศิ าสตร์ ระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภาษา ภูมศิ าสตร์ ภูมอิ ากาศ ฯลฯ ของประเทศ ต่างๆ ในสหภาพยุโรป หรือหลักสูตรส�ำหรับนักเรียนชั้นโตขึ้นที่เกี่ยวกับการงานอาชีพ เช่น ความรูแ้ ละทักษะส�ำหรับงานบริการในร้านอาหารและเครือ่ งดืม่ ก็จะสอนให้นกั เรียนมีความรู้ และทักษะทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น คณิตศาสตร์เพือ่ การค�ำนวณค่าบริการ ภาษาและการสือ่ สารทีจ่ ะ ใช้ตดิ ต่อกับลูกค้าและผูร้ บั บริการ การสือ่ สารด้วยการเขียน การบริหารจัดการร้านอาหาร เป็นต้น

จุลสาร สมศ.

การปฏิรปู การศึกษาของฟินแลนด์ลา่ สุดนี้ จะเห็นได้วา่ โรงเรียนในฟินแลนด์ยงั คงสอน เนื้อหาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ ฯลฯ ต่อไป เพียงแต่ ปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบการสอนให้ เ ป็ น แบบ หลากหลายสาขาวิ ช าที่ เ น้ น การสอนตาม ปรากฏการณ์ จะเห็นได้ว่าการศึกษาของ ฟินแลนด์นนั้ มีการกระจายอ�ำนาจให้เทศบาล จั ด การศึ ก ษาอย่ า งแท้ จ ริ ง ตามบริ บ ทของ ท้องถิน่ และความต้องการของชุมชน รัฐบาล ฟิ น แลนด์ จั ด สรรงบประมาณสนั บ สนุ น และก�ำหนดกรอบนโยบายที่ท้องถิ่นสามารถ น�ำไปประยุกต์ตามความต้องการของท้องถิน่ หลักสูตร NCF เป็นกรอบมาตรฐานทีย่ ดื หยุน่ เอื้อให้ท้องถิ่นปรับได้ตามความต้องการของ ชุ ม ชนเพื่ อ ให้ ต อบสนองผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ในท้องถิน่ อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณเครดิตภาพจาก www.dek-d.com


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.