รายงานประจำปี 2551

Page 1



002

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


003

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ร า ก ย ว น ำ ู อ ผ ก สารจา ้ นี้สาธารณะ สำนักงานบริหารห

004 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ปีงบประมาณ 2551 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ตระหนักถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิด จากภาวะเศรษฐกิ จ ที่ ผั น ผวนทั้ ง ในและนอกประเทศ ดังนั้น สบน. จึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการ บริ ห ารจั ด การหนี้สาธารณะ รวมทั้งการสร้างความ พร้อมของระบบการทำงานและพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ เพื่ อ เพิ่ ม ความคล่ อ งตั ว และขยายวิ สั ย ทั ศ น์ ใ นการ ดำเนินการบริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพเพื่อ รองรั บ สถานการณ์ ที่ อาจแปรเปลี่ ย น ซึ่ ง มี ผ ลทำให้ สบน. สามารถบริหารจัดการหนี้สาธารณะในเชิงรุก จนมีต้นทุนการกู้เงินที่ลดลงและปิดความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึ้นได้อีกทั้งยังสามารถพัฒนาตลาดตราสารหนี้ใน

ประเทศให้เป็นทางเลือกในการระดมทุนของภาคเอกชน โดยการออกพันธบัตร Benchmark เพื่อสร้างอัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิงที่มีประสิทธิภาพให้กับตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ ในระหว่างปีงบประมาณ 2551 สบน. ได้ดำเนินการ ตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นจำนวน ทั้งสิ้น 794,846.15 ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วน ของรัฐบาล 438,950.13 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 355,896.02 ล้านบาท ในการนี้ สบน. ได้ดำเนินการ ภายใต้ กรอบความเสี่ ย งที่ เ หมาะสมประกอบกั บ นำ กลยุทธ์ ในการบริหารหนี้สาธารณะเชิงรุกมาใช้เพื่อลด ต้นทุนการกู้เงินและลดภาระดอกเบี้ย โดยการชำระหนี้

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


กั บ ภาครั ฐ บาล และยั ง ได้ จั ด ตั้ ง กองทุ น บริ ห ารเงิ น กู้ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ในประเทศ อีกด้วย คงไม่ปฏิเสธว่า องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถ สบน. จึงให้ความ สำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรและสนับสนุนการเรียนรู้ จากทั้ ง ภายในและภายนอกองค์ ก ร โดยในปี งบประมาณ 2551 สบน. ได้สนับสนุนโครงการอบรมและ การส่งข้าราชการไป on the job training ในด้าน ต่างๆ เช่น การระดมทุน ตลาดตราสารหนี้ การบริหาร หนี้สาธารณะ และ IT ทั้งนี้ ยังจัดทุนการศึกษาให้กับ ข้ า ราชการเพื่ อ ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ปริ ญ ญาโทใน ต่างประเทศอีกด้วย ทั้งหมดนี้ทำให้ สบน. มั่นใจได้ว่า บุ ค ลากรมี ค วามรู้ แ ละความสามารถเพี ย งพอให้ การ ดำเนินงานของ สบน. เป็นไปด้วยความรอบคอบและ มีประสิทธิภาพ ท้ายสุดนี้ สบน. ตระหนักดีว่า ผลงานต่างๆ ที่ ปรากฏในรายงานประจำปี ฉ บั บ นี้ ค งสำเร็ จ ไม่ ไ ด้ หากไม่ได้รับความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินงาน ของ สบน. ด้วยดีตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ผมหวังเป็น อย่ า งยิ่ ง ว่ า รายงานประจำปี ฉ บั บ นี้ จ ะให้ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ประโยชน์และทำให้ผลงานของ สบน. เป็นที่ประจักษ์ ต่อสาธารณะชนมากขึ้น (นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

005 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

คื น ก่ อ นครบกำหนด และปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ท ำให้ สามารถลดยอดหนี้ คงค้า งได้ 50,007.03 ล้า นบาท ลดภาระดอกเบี้ยและประหยัดดอกเบี้ยได้ 2,150.88 ล้านบาท ในส่วนตลาดตราสารหนี้ไทยก็มีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง โดย สบน. ได้ดำเนินการออกพันธบัตร ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งแยกได้ตามกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลเพื่อสร้างอัตราอ้างอิง (Benchmark Bond) ในช่วงอายุ 3 ปี 5 ปี 10 ปี และ พันธบัตรสำหรับนักลงทุนระยะยาว รุ่นอายุ 15 ปี 20 ปี และ 30 ปี รวมถึงพันธบัตรออมทรัพย์ที่เป็นทาง เลื อ กในการลงทุ น และสนั บ สนุ น การออมสำหรั บ ประชาชน ทั้ ง นี้ ยั ง ได้ พิ จ ารณาอนุ ญ าตให้ ผู้ อ อก ตราสารหนี้ ต่ า งชาติ ออกตราสารหนี้ ส กุ ล เงิ น บาท ในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งการดำเนินการของ สบน. เป็นส่วนสำคัญให้ตลาดตราสารหนี้มีการขยายตัวจาก 4.67 ล้านล้านบาท ในปีงบประมาณ 2550 จนมีมูลค่า 4.88 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 นอกจากนี้ สบน. ยังได้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จนมีผลบังคับใช้ ได้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2551 ซึ่งมีผลให้ สบน. มีความ คล่ อ งตั ว ในการออกตราสารหนี้ เ พื่ อ การดำเนิ น งาน อย่างประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากการดำเนินภารกิจหลักในด้านการบริหาร หนี้และพัฒนาตลาดตราสารหนี้แล้ว สบน. ได้นำ แนวคิดและเครื่องมือที่เหมาะสมมาปรับใช้ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานและให้การดำเนินงานก้าวทันต่อ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 สบน.ได้ มี การพั ฒ นาแบบจำลองบริ ห ารความเสี่ ย ง (Risk Model) ระยะที่ 2 ที่เป็นแนวทาง Stochastic Approach ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และ ประเมิ น ต้ น ทุ น และความเสี่ ย งในการบริ ห ารหนี้ สาธารณะ ตลอดจนดำเนินการวางกลยุทธ์ในการระดม เงิ น ลงทุ น โครงการขนาดใหญ่ ที่ เ หมาะสม ที่ จ ะเป็ น แนวทางสำคัญเพื่อการร่วมลงทุนระหว่างภาคเอกชน


สารบัญ ความเป็ นมาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประวั ติความเป็ นมา วิสัยทัศน ์ พันธกิจ/ภารกิจ ยุทธศาสตร์ โครงสรา้ งองคก์ ร จำนวนขา้ ราชการ

008 008 009 009 010 012

คณะผูบ้ ริหารของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

013

ผลการปฏิบั ติราชการภายใตแ้ ผนปฏิบัติราชการประจำปี ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบั ติราชการภายใต้แผนปฏิบั ติราชการ ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

031

สรุปผลการดำเนินงานเปิดเผยขอ้ มูลขา่ วสาร ตามพระราชบัญญั ติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในรอบปี พ.ศ. 2551 ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

053

กา้ วตอ่ ไปของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

057

งบการเงินของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

059

059

บทความวิชาการ

077

083

บทความพิเศษ Credit Default Swap : CDS แบบจำลองบริหารความเสี่ยง (Risk Model) ระยะที่ 2 การจัดทำกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ

083 089 095

ขอ้ มูลหนี้สาธารณะ

099

กิจกรรมของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

115

ทำเนียบผู้ บริหารของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

127

008

013

031

053

006 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

115

052

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ความเป็ นมา

ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ


ประวั ติความเป็ นมา

008 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดตั้งขึ้นตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2542 โดยในระยะแรก มีสถานะเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง การคลั ง ก่ อ นจะได้ รั บ การยกระดั บ เป็ น ส่ ว นราชการ ในระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง โดยสมบูรณ์ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยได้รวมงานของ 2 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในส่วนของกองนโยบาย เงินกู้ กองนโยบายเงินกู้ตลาดเงินทุน กองโครงการลงทุน เพื่อสังคม ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย และกรมบัญชีกลาง ในส่วนงานหนี้สาธารณะและเงินคงคลังและกลุ่มวิเคราะห์ หนี้ ส าธารณะและเงิ น คงคลั ง การรวมงานของ 2 หน่วยงานข้างต้นเข้าไว้ด้วยกัน ก็เพื่อสร้างความเป็น เอกภาพในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของประเทศ โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการหนี้ ของประเทศเบ็ ด เสร็ จ เพี ย งหน่ ว ยงานเดี ย ว ทั้ ง นี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ

และสามารถควบคุ ม ดู แ ลการก่ อ หนี้ โ ดยรวม เพื่ อ ให้ ภาระหนี้ ส าธารณะอยู่ ใ นระดั บ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ฐานะ การเงินการคลังของประเทศ และในปี พ.ศ. 2551 สบน. ได้ ท บทวนบทบาทและปรั บ ปรุ ง การแบ่ ง ส่ ว นราชการ ภายในเพื่อรองรับกระบวนการและแนวทางการดำเนินงาน โดยยึดหลักเกณฑ์ ให้ผู้รับบริการต้องได้รับความสะดวก รวดเร็ว และความพึงพอใจ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทาง การปฏิบัติราชการแนวใหม่

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับสากล ในการเสนอแนะนโยบายและดำเนินการก่อหนี้และบริหาร หนี้สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศ มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และมี บุคลากรที่มีคุณภาพ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


พันธกิจตามกฎหมาย/ภารกิจหลักของหน่วยงาน

1. เสนอแนะนโยบายและหลักเกณฑ์ รวมทั้งการ จัดทำแผนเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ 2. กำกับและดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารหนี้ สาธารณะ ซึ่งเป็นหนี้ที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ กู้ ห รื อ หนี้ ที่ กระทรวงการคลั ง ให้ กู้ ต่ อ หรื อ ค้ ำ ประกั น รวมทั้ ง กำกั บ ดู แ ลการปฏิ บั ติ ต ามสั ญ ญาที่ ไ ด้ ผู ก พั น กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามและ ประเมินผล 3. จัดทำงบชำระหนีข้ องรัฐบาล รวมทัง้ การบริหาร และดำเนินการชำระหนี้ 4. ประสานการทำความตกลงในระดับนโยบาย รวมทั้งการจัดทำแผนความช่วยเหลือทางการเงินและ วิชาการกับแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ 5. ติดตามภาวะตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้ง เทคนิคในการบริหารหนี้สาธารณะและการพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ในประเทศ 6. ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการจัด อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ 7. ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ รวมทั้งจัด ทำข้อมูลสารสนเทศด้านหนี้สาธารณะ ระบบการบริหาร ความเสี่ยง และระบบเตือนภัยเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ 8. พิจารณาความเหมาะสมของการระดมเงิน สำหรับโครงการลงทุนของภาครัฐ 9. พั ฒ นาศู น ย์ ข้ อ มู ล ที่ ป รึ ก ษาให้ เ ป็ น ศู น ย์ ใ น ระดับภูมิภาค และส่งเสริมกิจการที่ปรึกษาไทยให้สามารถ แข่งขันกับนานาประเทศ 10. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ฐานะการเงินการคลังของประเทศ ภาวะ การค้าการลงทุน การเมืองในประเทศ และนโยบาย เศรษฐกิจของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลก 1. การบริ ห ารจั ด การหนี้ ส าธารณะในเชิ ง รุ ก (Pro-active Debt Management) 2. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้เป็น ศูนย์กลางระดมทุนในระดับภูมิภาค

เป้าประสงค์

1. เพื่อบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้มีต้นทุนต่ำ และอยู่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม (ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 1) 2. เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้เป็น 1 ใน 3 เสาหลักทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ ระบบการเงิน (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2) 3. เพื่อจัดหาเงินกู้สมทบค่าใช้จ่ายในการลงทุน สำหรับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการดำเนิน งานอื่นตามนโยบายของรัฐบาล (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3) 4. เพื่ อ จั ด ให้ มี ร ะบบข้ อ มู ล และเทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัยและสร้างความเชื่อมโยงในการ ทำงาน (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4)

กลยุทธ์

1. บริหารจัดการหนี้สาธารณะในเชิงรุก (ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 1) 2. พัฒนาตลาดแรกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มี อุปทานแก่ตลาดอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย (ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 2) 3. พัฒนากลไกต่างๆ เพื่อให้เกิดสภาพคล่องใน ตลาดรอง (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2) 4. พั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานตลาดตราสารหนี้ (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2) 5. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและทรัพยากร มนุษย์ (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2) 6. จัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3) 7. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

009 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

ประเด็นยุทธศาสตร์

3. การจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน 4. การพั ฒ นาระบบข้ อ มู ล และเทคโนโลยี สารสนเทศ


ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหนี้สาธารณะ และเงินคงคลัง รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

010 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

• • • •

สำนักจัดการหนี้

สำนักจัดการหนี้

1

2

ส่วนจัดการเงินกูร้ ฐั บาล 1 (ขาดดุล) ส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 2 (กฎหมายพิเศษ) ส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 3 (โครงการรัฐบาล) ส่วนจัดการเงินกู้ หน่วยงานอื่น (อปท.)

• • • •

ส่วนจัดการเงินกู้ รัฐวิสาหกิจ 1 (ต่างประเทศ) ส่วนจัดการเงินกู้ รัฐวิสาหกิจ 2 (ในประเทศ) ส่วนจัดการเงินกู้ รัฐวิสาหกิจ 3 (จัดการปรับโครงสร้าง หนี้เงินกู้) ส่วนจัดการเงินกู้ รัฐวิสาหกิจ 4 (Credit Scoring)

• • • •

สำนักบริหาร การระดมทุน โครงการลงทุน ภาครัฐ

สำนักนโยบาย และแผน

ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน เงินกู้โครงการ

ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน บริหารหนี้สาธารณะ และภาระผูกพัน

ส่วนนโยบายและแผน การระดมทุน ส่วนวิเคราะห์และจัดการ เงินทุนโครงการ 1 ส่วนวิเคราะห์และจัดการ เงินทุนโครงการ 2 ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย

• • • •

ส่วนนโยบายและแผน ส่วนความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ส่วนนโยบายค้ำประกัน และบริหารความเสี่ยง ส่วนประสานสัมพันธ์ นักลงทุน

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


โครงสรา้ งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มกฎหมาย รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

สำนักพัฒนา ตลาดตราสารหนี้

สำนักบริหาร การชำระหนี้

สำนักงาน เลขานุการกรม

ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศ

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านการบริหาร การชำระหนี้ • ส่วนพัฒนาตลาด • ส่วนบริหารการชำระหนี้ ตราสารหนี้รัฐบาล • ส่วนบริหารเงินให้กู้ต่อ • ส่วนบริหารกองทุนและ • ส่วนบริหารเงินกองทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • ส่วนนโยบายตลาด ตราสารหนี้ระหว่าง ประเทศ

• ฝ่ายบริหารงานทั่วไป • ฝ่ายบริหารงานบุคคล • ฝ่ายคลัง • ฝ่ายพัสดุ

• •

ส่วนวิเคราะห์นโยบาย และแผนสารสนเทศ ส่วนบริหารระบบข้อมูล สารสนเทศ

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

011


จำนวนข้าราชการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ณ 30 กันยายน 2551

ระดับตำแหน่ง

จำนวน (คน)

10 9 8 7 6 5 4 3 รวม

ระดับการศึกษา ปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี ต่ำกว่าปริญญาตรี รวม

012

หญิง - 2 14 8 20 22 13 1 80

ชาย 2 6 6 3 10 7 4 - 38

รวม 2 8 20 11 30 29 17 1 118

จำนวน (คน) 3 87 26 2 118

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

หมายเหตุ : ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะมีบุคลากรทั้งสิ้น 197 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ จำนวน 118 คน ลูกจ้างชั่วคราว 73 คน และพนักงานราชการ จำนวน 6 คน

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


013

ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

คณะผูบ ้ ริหาร


นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์

ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

014

Mr. Pongpanu Svetarundra

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

Director-General

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นายประวิช สารกิจปรีชา ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ

Mr. Prawit Sarakitprija

015

Public Debt Advisor

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล

รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

Mr. Chakkrit Parapuntakul Deputy Director-General

นายสุวิชญ โรจนวานิช

016

รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

Mr. Suwit Rojanavanich

Deputy Director-General Director, Policy and Planning Bureau

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางลวาดวรรณ ธนิตติราภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ 1

Mrs. Lavadvan Thanittiraporn Director, Debt Management Bureau 1

นายทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ 2

Mr. Thavee Aisoonpisarnsiri

017

Director, Debt Management Bureau 2 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นายเอด วิบูลย์เจริญ

ผู้อำนวยการสำนักบริหารการชำระหนี้

Mr. Ace Viboolcharern

Director, Payment Administration Bureau

นายธีรัชย์ อัตนวานิช

ผู้อำนวยการสำนักบริหารการระดมทุนโครงการ ลงทุนภาครัฐ

Mr. Theeraj Athanavanich

Director, Public Infrastructure Project Financing Bureau

018 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

นายธาดา พฤฒิธาดา

ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้

Mr. Tada Phutthitada

Director, Bond Market Development Bureau

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางประภาดา สารนุสิต

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง

Mrs. Prapada Saranusit

Senior Financial Analyst and Expert on Public Debt and Treasury

นายณรงค์ แก้วเศวตพันธุ์

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเงินกู้โครงการ ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 3

Mr. Narong Keowsawetabhan

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

Senior Expert on Loan Project Public Infrastructure Project Financing Bureau Director, Government Debt Management Division 3 Debt Management Bureau 1

019


นางสาวศิรสา กันต์พิทยา

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหารการชำระหนี้ ผู้อำนวยการส่วนบริหารการชำระหนี้รัฐบาล

Ms. Sirasa Kanpittaya

Senior Expert on Payment Management Director, Payment Management Division Payment Administration Bureau

นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหนี้สาธารณะและภาระผูกพัน ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนการระดมทุน

020

Mrs. Jindarat Viriyataveekul

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

Public Debt and Contingent Liability Management Specialist Policy and Planning Bureau Director, Financing Policy and Planning Division Public Infrastructure Financing Bureau

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางสาววราภรณ์ ปัญญศิริ เลขานุการกรม

Ms. Waraporn Panyasiri Secretary

นายวิสุทธิ์ จันมณี

ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 1

Mr. Wisut Chanmanee

021

Director, Government Debt Management Division 1 Debt Management Bureau 1 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นายเอกราช เขื่อนขันธ์สถิตย์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผน

Mr. Ekaraj Khuankhunsathid

Director, Policy and Planning Division Policy and Planning Bureau

นายธีรลักษ์ แสงสนิท

ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

Mr. Teeralak Sangsnit Director, IT Center

022 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

นางสาวพรทิพย์ พันเลิศยอดยิ่ง

ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

Ms. Porntip Phunleartyodying

Director, Management System Development Group

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางสาวอัญจนา วงศ์สว่าง

ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์และจัดการเงินทุนโครงการ 1

Ms. Anchana Wongsawang

Director, Project Financing Division 1 Public Infrastructure Project Financing Bureau

นางสาวสิริภา สัตยานนท์

ผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ

Ms. Siribha Satayanon

023

Director, International Cooperation Division Policy and Planning Bureau รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางสาวอรุณวรรณ ยมจินดา

ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์และจัดการเงินทุนโครงการ 2

Ms. Arunwan Yomjinda

Director, Project Financing Division 2 Public Infrastructure Project Financing Bureau

นางสุณี เอกสมทราเมษฐ์

ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐวิสาหกิจ 1

024

Mrs. Sunee Eksomtramate

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

Director, State Enterprise Debt Management Division 1 Debt Management Bureau 2

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางสาวเบญจมาศ เรืองอำนาจ

ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐวิสาหกิจ 2

Ms. Benjamart Ruangamnart

Director, State Enterprise Debt Management Division 2 Debt Management Bureau 2

นางชนันภรณ์ พิศิษฐ์วานิช

ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐวิสาหกิจ 3

Mrs. Chanunporn Phisitvanich

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

Director, State Enterprise Debt Management Division 3 Debt Management Bureau 2

025


นางอนงค์นาฏ โมราสุข

ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย

Mrs. Anongnart Morasook

Director, Thai Consultant Database Center Public Infrastructure Project Financing Bureau

นางสาวรวีวรรณ ธาดาภาคย์

ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้หน่วยงานอื่น

Ms. Rawewan Thadapak

Director, Government Debt Management Division Debt Management Bureau 1

026 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

นางสาวยอดเยาวมาลย์ สุคนธพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 2

Ms. Yodyaovamarn Sukonthaphant

Director, Government Debt Management Division 2 Debt Management Bureau 1

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางสาวชิดชไม ไมตรี

ผู้อำนวยการส่วนบริหารเงินให้กู้ต่อ

Ms. Chidchamai Maitree

Director, On-lending Management Division Payment Administration Bureau

นางพรพิมล บุนนาค

ผู้อำนวยการส่วนบริหารเงินกองทุน

Mrs. Pornpimol Boonnag

027

Director, Fund Management Division Payment Administration Bureau รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นายพรเทพ โชตินุชิต

ผู้อำนวยการส่วนนโยบายค้ำประกันและบริหารความเสี่ยง

Mr. Pornthep Chotinuchit

Director, Strategic Risk Management Division Policy and Planning Bureau

นายฐิติเทพ สิทธิยศ

028

ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนประสานสัมพันธ์นักลงทุน

Mr. Thitithep Sitthiyot

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

Acting Director, Investor Relation Division Policy and Planning Bureau

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


นางสาวพิมพ์เพ็ญ ลัดพลี

ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาตลาด ตราสารหนี้รัฐบาล

Ms. Pimpen Ladpli

Acting Director, Government Bond Market Development Division Bond Market Development Bureau

นายณัฐการ บุญศรี

ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนบริหารกองทุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

Mr. Nattakarn Boonsri

Acting Director, Fund Management and Bond Market Infrastructure Development Division Bond Market Development Bureau

029 นางสาวอุปมา ใจหงษ์

ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนนโยบายตลาด ตราสารหนี้ระหว่างประเทศ Acting Director, International Bond Market Policy Division Bond Market Development Bureau

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

Ms. Upama Jaihong


นายวศิน ชูจิตารมย์

ผู้อำนวยการส่วนบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศ

Mr. Vasin Choojitarom Director, MIS Division IT Center

นายธีรเดช ลิขิตตระกูลวงศ์

030

ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

Mr. Teeradet Likitragolwong Acting Director, Legal Group

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ผลการปฏิบัติราชการภายใต้ แผนปฏิบัติราชการประจำปี ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ


ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการหนี้สาธารณะในเชิงรุก (Pro-active Debt Management) การบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งบประมาณ

032 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

1. การบริหารจัดการหนี้สาธารณะในภาพรวม สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ดำเนิน การตามกรอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปี งบประมาณ 2551 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 794,846.15 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80.35 ของแผนการบริหารหนี้ สาธารณะ โดยในช่วงปีงบประมาณ 2551 นอกจากจะ สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายตามแผนงานที่ได้กำหนด ไว้แล้ว สบน. ได้มีการบริหารหนี้สาธารณะเชิงรุก เพื่อลดต้นทุนการกู้เงินและลดภาระดอกเบี้ยโดยการ ชำระหนี้ คื น ก่ อ นครบกำหนดและปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 50,007.03 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยและประหยัดดอกเบี้ยได้ 2,150.88 ล้านบาท ทั้งนี้ ในการลดยอดหนี้คงค้างเป็นผลจากการ บริหารหนี้โดยการ Refinance เพื่อลดต้นทุนการกู้เงิน และการใช้กลยุทธ์ในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะเชิงรุก

ทำให้สามารถนำงบชำระหนี้ที่สามารถประหยัดได้มา ลดหนี้ ที่มี อั ต ราดอกเบี้ ย สู ง โดยการทำ Repayment ในระหว่างปีงบประมาณได้เพิ่มขึ้น (ดังตารางที่ 1 และ 2)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ตารางที่ 1 ผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปี งบประมาณ 2551 รายการ 1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 1.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 1.2 การบริหารและจัดการหนี้ (1) ตั๋วเงินคลัง (2) พันธบัตร/ตราสารหนี้อื่น ๆ 2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 2.1 FIDF1 (Roll-over/Repay) 2.2 FIDF3 (Roll-over) 3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ของระบบสถาบันการเงิน 3.1 ลดยอดคงค้าง 4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 4.1 เงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศ 4.2 เงินกู้เงินบาทสมทบ 4.3 เงินกู้เพื่อลงทุน 4.4 เงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่นๆ 4.5 การบริหารและจัดการหนี้

แผน 465,995.00 165,000.00 300,995.00 147,000.00 153,995.00 25,000.00 10,000.00 15,000.00

หน่วย : ล้านบาท

ผลการ ดำเนินงาน

คิดเป็น ร้อยละ

391,950.00 165,000.00 226,950.00 147,000.00 79,950.00

84.11

25,000.00 100.00 10,000.00 15,000.00

N.A. 376,597.59 327,923.49 87.08 9,151.88 8,851.55 9,076.44 8,876.75 64,284.66 57,876.98 38,559.88 16,609.88 255,524.73 235,708.33

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

033


หน่วย : ล้านบาท

รายการ 5. การก่อหนี้จากต่างประเทศ 5.1 รัฐบาลกู้โดยตรง 5.2 รัฐบาลค้ำประกัน 5.3 รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 6.1 รัฐบาล 6.2 รัฐวิสาหกิจ

รวม

แผน

ผลการ ดำเนินงาน

คิดเป็น ร้อยละ

23,319.36 24,196.79 103.76* (647.76 MUSD) (748.56 MUSD) 18,732.60 19,876.79 (520.35 MUSD) (628.56 MUSD) 4,586.76 4,320.00 (127.41 MUSD) (120.00 MUSD) 98,360.49 25,775.87 26.21 (2,732.23 MUSD) (715.99 MUSD) 25,597.25 22,000.13 (711.03 MUSD) (611.11 MUSD) 72,763.24 3,775.74 (2,021.20 MUSD) (104.88 MUSD) 989,272.44

794,846.15 80.35

หมายเหตุ : *ผลการดำเนินงานมากกว่าเป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยนแต่หากคิดผลการดำเนินงานตามสกุลเงินที่กู้ ผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 98.86

034 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ตารางที่ 2 ผลการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะ

การลดยอดหนี้คงค้าง

หนี้ในประเทศ

หน่วย : ล้านบาท

การลดภาระ/ประหยัดดอกเบี้ย

- รัฐบาล - รัฐวิสาหกิจ

49,321.40 18,368.00 30,953.40

85.54 41.25 44.29

หนี้ต่างประเทศ

685.63

2,065.34

- รัฐบาล - รัฐวิสาหกิจ

1.89 683.74

1,589.25 476.09

50,007.03

2,150.88

รวม

2.2.2 การ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลที่ ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 34,950 ล้านบาท โดยกู้เงิน ระยะสั้นมาชำระคืนในวันที่ครบกำหนด จากนั้นได้ทยอย ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ วงเงินรวม 34,657 ล้านบาท และนำเงิน Premium ในบัญชีสะสม จำนวน 293 ล้านบาท มาสมทบเพื่อไปชำระคืนต้นเงินกู้ ระยะสั้น ทำให้สามารถลดหนี้คงค้างได้ 293 ล้านบาท 2.2.3 การ Roll-over พั น ธบั ต รรั ฐ บาล เพื่อการบริหารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 37,500 ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้น จำนวน 22,000 ล้านบาท และนำเงินจากงบชำระหนี้ที่สามารถประหยัด จำนวน 15,500 ล้านบาท มาสมทบเพื่อชำระคืนในวันที่ครบ กำหนด จากนั้นได้ทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการ บริหารหนี้ วงเงินรวม 21,925 ล้านบาท และเงิน Premium ในบัญชีสะสม จำนวน 75 ล้านบาท มาสมทบ เพื่อไปชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้น ทำให้สามารถลดหนี้ คงค้างได้ 15,575 ล้านบาท

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

035 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

2. การบริหารจัดการหนี้สาธารณะในประเทศ 2.1 การกู้ใหม่ : สบน. ได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อ ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 15 20 และ 30 ปี วงเงิน 100,050 ล้านบาท พันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 2 และ 3 ปี วงเงิน 18,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุ 2 และ 3.5 ปี วงเงิน 25,950 ล้านบาท และออกตั๋ว เงินคลัง ซึ่งได้แปลงเป็นพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหาร หนี้ อายุ 5 ปี ในภายหลัง วงเงิน 21,000 ล้านบาท 2.2 การบริหารหนี้ : 2.2.1 การ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหาร ดุลเงินสด วงเงิน 80,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังที่ได้กู้ มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วง ปีงบประมาณ 2542-2547 จำนวน 67,000 ล้านบาท ซึ่งในการกำหนดวงเงินตั๋วเงินคลังที่จะออกจะพิจารณา ให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดรับ-จ่ายของรัฐบาลเพื่อให้ มีเงินสดเพียงพอต่อการรองรับธุรกรรมการใช้จ่ายของ รัฐบาล โดยมีต้นทุนการกู้เงินที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับภาวะตลาด


036 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

2.2.4 การ Roll-over ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 5,000 ล้านบาท โดยออก ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ 2.2.5 กา ร ช ำ ร ะ คื น ตั๋ ว สั ญ ญ า ใ ช้ เ งิ น ก่อนครบกำหนด (Prepayment) จำนวน 2,500 ล้านบาท โดยใช้เงินจากงบชำระหนี้ที่สามารถประหยัดได้ ทำให้ลด ยอดหนี้คงค้างลงตามจำนวนดังกล่าว และลดภาระ ดอกเบี้ยจำนวน 41.25 ล้านบาท นอกจากนี้ สบน. ยังได้ดำเนินการบริหารและ จัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF โดยการ Roll-over ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (FIDF1) ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จำนวน 10,000 ล้านบาท โดยกู้ เงินระยะสั้น จำนวน 6,000 ล้านบาท และนำเงิน Premium จากการประมูลพันธบัตร จำนวน 4,000 ล้ า นบาท มาสมทบเพื่ อ ชำระคื น ในวั น ครบกำหนด จากนั้ น ได้ ด ำเนิ น การออกพั น ธบั ต รเพื่ อ การปรั บ โครงสร้างหนี้ มาชำระคืนเงินกูร้ ะยะสัน้ และเงิน Premium จากการประมูลพันธบัตรและดำเนินการ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ (FIDF 3) ที่ครบกำหนด ไถ่ถอน จำนวน 15,000 ล้านบาท โดยกู้เงินระยะสั้น จำนวน 9,506 ล้านบาท และนำเงินทดรองจ่ายจาก บัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน 5,494 ล้านบาท มาสมทบเพื่อชำระคืนในวันครบกำหนด จากนั้นได้ออก พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อชำระคืน เงิ น กู้ ร ะยะสั้ น และเงิ น ทดรองจ่ า ยจากบั ญ ชี เ งิ น ฝาก กระทรวงการคลัง การออกพันธบัตรรุ่นอายุต่าง ๆ ของรัฐบาลทั้งเพื่อ การจัดหาเงินกู้ใหม่และเพื่อการบริหารหนี้ที่กล่าวมา แล้ว ทำให้มีปริมาณการออกพันธบัตรได้อย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอที่จะสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark) เพื่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ สบน. ได้แก่ การจัดทำแผนการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้รัฐวิสาหกิจ สามารถดำเนิ น โครงการ/แผนงานลงทุ น ได้ อ ย่ า ง ต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อีก ทางหนึ่ง โดยมีโครงการลงทุนที่สำคัญ เช่น โครงการ รถไฟฟ้ า สายสี ม่ ว งของการรถไฟฟ้ า ขนส่ ง มวลชน

แห่งประเทศไทย โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของการรถไฟแห่งประเทศไทย และโครงการโรงไฟฟ้ า พลั ง ความร้ อ นร่ ว มจะนะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้ง จั ด ทำแผนการบริ ห ารหนี้ เ พื่ อ ปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ใ ห้ สอดคล้องกับสภาวะตลาดและเพื่อป้องกันความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยในปีงบประมาณ 2551 รัฐวิสาหกิจสามารถกู้เงินและบริหารหนี้ได้วงเงินรวม 327,923.49 ล้านบาท 3. การบริหารจัดการหนี้สาธารณะต่างประเทศ สบน. ได้บริหารหนี้ต่างประเทศโดยใช้เครื่องมือ ทางการเงินและอาศัยโอกาสที่ตลาดการเงินเอื้ออำนวย ดำเนินการบริหารหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้การบริหาร จัดการหนี้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปีงบประมาณ 2551 สบน. ได้ดำเนินการบริหารหนี้ต่างประเทศ จำนวน 22,000.13 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดหนี้คงค้างลง 1.89 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 1,589.25 ล้านบาท แบ่งเป็น 3.1 การ Prepayment เงินกู้ภายใต้โปรแกรม Euro Commercial Paper (ECP) ที่ใช้เป็น Bridge Financing เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่งญีป่ นุ่ (JBIC) วงเงิน 1.89 ล้านบาท โดยใช้งบชำระหนี้ ซึ่งสามารถลดหนี้คงค้างลงตามจำนวนดังกล่าวและ ลดภาระดอกเบี้ยได้ 0.325 ล้านบาท 3.2 การ Refinance เงินกู้ JBIC วงเงินรวม 16,967.50 ล้านบาท โดยการออก ECP เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ก่อน หลังจากนั้นได้ดำเนินการออก Samurai Bond จำนวน 3 รุ่น เพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้ ECP และได้ดำเนินการแปลงหนี้ Samurai Bond จำนวน 1 รุ่น โดยแปลงหนี้เฉพาะในส่วนของดอกเบี้ย จากสกุ ล เงิ น เยนเป็ น เงิ น บาท เพื่ อ ปิ ด ความเสี่ ย ง จากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจากการดำเนินงานสามารถ ลดภาระดอกเบี้ยได้ 1,588.92 ล้านบาท

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


3.3 การ Swap Arrangement เงินกู้ JBIC วงเงิน 5,030.74 ล้านบาท โดยแปลงอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็น อัตราดอกเบี้ยลอยตัว นอกจากนี้ สบน. ยังได้เสนอแนะแนวทางการบริหาร หนี้ให้แก่รัฐวิสาหกิจเพื่อให้มีต้นทุนการกู้เงินที่เหมาะสม และมี ก ารป้ อ งกั น ความเสี่ ย งอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยในปีงบประมาณ 2551 รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนิน การบริหารหนี้ต่างประเทศได้ 3,775.74 ล้านบาท สามารถ ลดหนี้คงค้าง 683.74 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย และประหยัดดอกเบี้ยได้ 476.09 ล้านบาท

2551 สบน. ได้พัฒนาแบบจำลองบริหารความเสี่ยง (Risk Model) ระยะที่ 2 ที่เป็นแนวทาง Stochastic Approach สำเร็จ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมิน ต้นทุนและความเสี่ยงของ สบน. ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อ สบน. ในการพัฒนาข้อสมมติฐานต่างๆ เพื่อใช้ในการ ประเมินสถานการณ์ ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหาร หนี้สาธารณะและวิเคราะห์ผลของนโยบายการบริหาร หนี้สาธารณะที่กำหนด รวมถึงตัวชี้วัดความเสี่ยงต่างๆ ที่ได้ เช่น Average Time to Maturity Duration, Foreign Exchange Sensitivity และ Interest Rate Sensitivity เป็นต้น ยังเป็นตัวแปรสำคัญต่อการกำหนดกรอบการ บริหารหนี้สาธารณะโดยรวม

การดำเนิ น งานตามแผนกลยุ ท ธ์ (Strategic Plan) และกำหนดตัวชี้วัด (Key Indicators) ในการบริหารหนี้และ ความเสี ่ยง

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

037 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการบริหาร จัดการหนี้สาธารณะในเชิงรุก สบน. ได้จัดทำ Portfolio Benchmark เพื่อเป็นแนวทางและกรอบการบริหาร จัดการหนี้สาธารณะ ตลอดจนการประเมินความเสี่ยง ทางการเงิ น ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ภาระหนี้ ส าธารณะ ในภาพรวม โดยการกำหนด Portfolio Benchmark นี้ เป็นกลยุทธ์ที่ประเทศมีระบบการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ หรือ Debt Offices ต่างๆ นำมาใช้ กันอย่างแพร่หลาย ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ 2551 Portfolio Benchmark ของ สบน. มีทั้งหมด 4 ตัว ประกอบด้วย 1) สัดส่วนหนี้ในประเทศต่อหนี้ต่างประเทศ (Domestic : External) เท่ากับร้อยละ 80 ต่อ 20 2) สัดส่วนหนี้ ต่างประเทศสกุลเงินต่าง ๆ (Currency Mix) โดยเป็นหนี้ สกุลเงินเยนร้อยละ 45 สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 40 และสกุลเงินยูโร ร้อยละ 15 ตามลำดับ 3) สัดส่วน หนี้ระยะสั้นต่อหนี้ระยะยาว (Short-term : Long-term) โดยเป็นการกำหนดเพดานหนี้ระยะสั้นไว้ที่ 250,000 ล้านบาท และ 4) สัดส่วนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ ต่อหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Fixed : Floating) เท่ากับร้อยละ 85 ต่อ 15 นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ


ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศใหเ้ ป็ นศูนยก์ ลาง ระดมทุนในระดับภูมิภาค การดำเนิน งานประจำปีใ ห้ส อดคล้ อ ง กับความก้าวหน้าของการดำเนินงาน ตามแผนพั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ ฉบับที่ 2

038 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

การพัฒนาตลาดตราสารหนี้เป็นยุทธศาสตร์หลักที่ สำคัญประการหนึ่งของกระทรวงการคลัง โดยกระทรวง การคลัง มีเป้าหมายที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้เป็น หนึ่งในสามเสาหลักทางการเงินนอกเหนือจากตลาด ตราสารทุนและตลาดสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และเพื่อ ให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้มีการจัดทำ แผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ขึ้น โดยมีคณะอนุกรรมการ กำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศภายใต้ คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันพิจารณากำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และมาตรการ ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งที่ผ่านมาตลาด ตราสารหนี้ไทยมีการเติบโตเป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบัน สัดส่วนของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีสัดส่วน เพียงร้อยละ 7 ของตลาดการเงินทั้งระบบในปี 2539

เป็นร้อยละ 29 ในปี 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้น และตลาดสิ น เชื่ อ ธนาคารพาณิ ช ย์ ใ นปี เ ดี ย วกั น ที่ มี สัดส่วนร้อยละ 34 และร้อยละ 38 ตามลำดับ ส่วนมูลค่า ตราสารหนี้คงค้างในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 519 ล้านบาท ในปี 2539 เป็น 5.10 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.8 ของ GDP โดยเพิ่มสูงขึ้น จากปีงบประมาณ 2550 ที่มีมูลค่าคงค้าง 4.67 ล้าน ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ไทยยังต้องมีการ พั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งทั้ ง ในด้ า นขนาดและสภาพคล่ อ ง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ สบน. ซึ่งเป็นหน่วยงาน หลักหน่วยงานหนึ่งในการดำเนินการพัฒนาตลาดตรา สารหนี้ไทยได้ดำเนินการโดยมีแนวทางหลัก 3 ประการ คือ 1) ปรับปรุงการออกพันธบัตรในตลาดแรกเพื่อให้ เกิดสภาพคล่องในตลาดรอง เพื่อการสร้างเป็นอัตรา

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark) ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นการขยายฐาน นักลงทุนทัง้ ในและต่างประเทศโดยใช้โครงการต่าง ๆ ของ ภาครัฐเป็นโครงการนำร่อง และ 3) แก้ไขข้อจำกัดของ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารจัดการหนี้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ในประเทศ ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2551 ที่ผ่านมา สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. การสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง สบน. ได้ดำเนินการออกพันธบัตร Benchmark อย่างเป็นระบบมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 เป็นต้นมา โดยได้ออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 7 ปี และ 10 ปี เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ทำให้มีพันธบัตรคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณไม่ต่ำกว่า

48,000 ล้านบาท ต่อรุ่น ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการ คำนวณดั ช นี อ้ า งอิ ง การลงทุ น ในตลาดตราสารหนี้ อย่างไรก็ดี อัตราการหมุนเวียน (Turnover Ratio) ของ พันธบัตรรัฐบาลไทยยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับระดับ สากล ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาการออกพันธบัตร เพื่อให้เป็นพันธบัตร Benchmark ในรูปแบบใหม่ โดยปรับเปลี่ยนรุ่นอายุพันธบัตรจากรุ่น 7 ปี และ 10 ปี เป็นรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี เพื่อทำให้มีความกว้างของ รุ่ น อายุ ที่ ม ากขึ้ น และลดความถี่ ใ นการประมู ล พันธบัตรรัฐบาลจากเดิมที่มีการประมูลในทุกรุ่นอายุ เดือนละ 1 ครั้ง เป็นการประมูลพันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี จะประมูลทุกเดือนเลขคู่ และพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี จะประมูลทุกเดือนเลขคี่ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 เป็นต้นไป และปรับเพิ่มวงเงินของการประมูลพันธบัตร Benchmark ให้มมี ลู ค่า 10,000 - 14,000 ล้านบาทต่อครัง้ ซึ่งผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2551สรุปได้ ดังนี้

เปรียบเทียบดัชนีชี้วัดที่สำคัญในการออกพันธบัตรภายใตแ้ นวทางใหม่

ปี งปม. 2550

ปี งปม. 2551

LB 145A (อายุ 7 ปี) LB 175A (อายุ 10 ปี) LB 133A (อายุ 5 ปี) LB 183B (อายุ 10 ปี)

ดัชนีชี้วัดในตลาดแรก BCR วงเงินประมูลในแต่ละครั้ง

2.10 5,000-6,000

15.90 5,000-6,000

2.20 10,000-15,000

1.69 5,000-10,000

5

7

1

2

1.7 6.90%

1.5 5.70%

3.1 27.30%

2.5 11.70%

ดัชนีชี้วัดสภาพคล่องในตลาดรอง อันดับความนิยมซื้อขาย ในตลาดรอง Turnover Ratio (เท่า) สัดส่วนการซื้อขาย พันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ปริมาณซื้อขายในตลาดรอง (บาท)

039

81,189,542,014 66,173,091,729 305,193,619,112 131,789,603,016

ส่ ว นต่ า งไม่ เ กิ น ร้ อ ยละ 15 ของอั ต ราผลตอบแทน โดยพันธบัตรทั้ง 12 รุ่นนี้ จำหน่ายให้บุคคลธรรมดา มู ล นิ ธิ ส ภากาชาดไทย และสภาสั ง คมสงเคราะห์

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

2. การออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อเป็นทางเลือก สำหรับประชาชน สบน. ได้ ด ำเนิ น การออกพั น ธบั ต รออมทรั พ ย์ 12 รุ่น อายุ 3 ปี วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท โดยมีอัตรา ผลตอบแทนอ้างอิงของรัฐบาลในช่วงอายุที่ออกบวกด้วย


ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ โ ดยมี ก ำหนดการจำหน่ า ย ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนกันยายน 2551 รายละเอี ย ดปรากฏดั ง ตารางที่ 3 นอกจากนี้ สบน. ได้ มี การออกพั นธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นอายุ 2 ปี

เพื่อส่งเสริมการออมของผู้สูงอายุ วงเงิน 12,000 ล้านบาท อั ต ราดอกเบี้ ย ร้ อ ยละ 3.60 ต่ อ ปี โดยมี ก ำหนด การจำหน่ายในช่วงระหว่างวันที่ 2 - 11 เมษายน 2551 ซึ่งมีผู้สนใจซื้อพันธบัตรดังกล่าวเต็มจำนวน

ตารางที่ 3 ผลการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ประจำปีงบประมาณ 2551 เดือน

ครั้งที่ อายุ วงเงิน (ปี) ประกาศ (ล้านบาท)

วงเงิน วันจำหน่าย วันครบ จำหน่าย กำหนด (ล้านบาท)

500.00 500.00 500.00 500.00 269.73* 228.15* 393.45* 500.00 500.00 808.67* 635.64* 664.36* 6,000.00

ต.ค. 50 1 3 พ.ย. 50 2 3 ธ.ค. 50 3 3 ม.ค. 51 4 3 ก.พ. 51 5 3 มี.ค. 51 6 3 เม.ย. 51 7 3 พ.ค. 51 8 3 มิ.ย. 51 9 3 ก.ค. 51 10 3 ส.ค. 51 11 3 ก.ย. 51 12 3 รวม

500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 500.00 6,000.00

15-25 ต.ค. 50 15-26 พ.ย. 50 17-26 ธ.ค. 50 15-24 ม.ค. 51 15-27 ก.พ. 51 17-26 มี.ค. 51 16-25 เม.ย. 51 15-27 พ.ค. 51 16-25 มิ.ย. 51 17-25 ก.ค. 51** 15-26 ส.ค. 51 15-24 ก.ย. 51

15 ต.ค. 53 15 พ.ย. 53 15 ธ.ค. 53 15 ม.ค. 54 15 ก.พ. 54 15 มี.ค. 54 15 เม.ย. 54 15 พ.ค. 54 15 มิ.ย. 54 15 ก.ค. 54 15 ส.ค. 54 15 ก.ย. 54

อัตรา ดอกเบี้ย (ต่อปี) 3.95 4.25 4.40 4.10 3.40 3.45 3.70 4.00 4.90 5.50 4.60 4.65

หมายเหตุ : * ก.พ. - เม.ย. 51 จำหน่ายได้ไม่ครบวงเงิน จึงขอปรับเพิ่มวงเงินในเดือน ก.ค. - ก.ย. 51 ** ก.ค. 51 จองซื้อในงานมหกรรมมั่นใจไทยแลนด์ ดีแน่ ถูกแน่ เพื่อคนไทย วงเงิน 500 ล้านบาท และจำหน่าย ผ่านธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 308.67 ล้านบาท

040 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

3. การอนุญาตให้นิติบุคคลต่างประเทศมาออก ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในประเทศไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ รวมทั้งพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยให้เป็น แหล่งระดมเงินทุนในระดับภูมิภาคกระทรวงการคลัง ได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้ ออกพั น ธบั ต รหรื อ หุ้ น กู้ ส กุ ล เงิ น บาทในประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 โดยผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับ อนุญาตให้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทภายใต้ ประกาศ ฉบับนี้ คือ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ

และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของประเทศ ในกลุ่ม ASEAN+3 หรือประเทศอื่นที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเห็นสมควร โดยในปีงบประมาณ 2551 กระทรวงการคลังได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ผู้ออก ตราสารหนี้ต่างชาติมาออกตราสารหนี้สกุลเงินบาท ในประเทศไทยรวม 2 ครั้ง และได้มีนิติบุคคลต่างประเทศ ที่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตออกพั น ธบั ต รหรื อ หุ้ น กู้ ส กุ ล เงิ น บาท รวมทั้งสิ้นเป็นวงเงิน 101,400 ล้านบาท รายละเอียด ปรากฏดังตารางที่ 4

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ตารางที่ 4 การอนุญาตใหผ้ อู้ อกตราสารหนี้ตา่ งชาติมาออกตราสารหนี้ สกุลเงินบาทในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2551 วันที่ได้รับ ผู้ออกตราสาร อนุญาตให้ ที่ได้รับอนุญาต ออกตราสาร

วงเงิน วันที่ออก ที่ได้รับนุมัติ ตราสาร (ล้านบาท)

1,500 -

อัตรา ดอกเบี้ย (ต่อปี)

3 ปี 5.51% -

-

2,453

3 ปี 6.18 %

4,600

3 ปี 5.73%

- - 1,570

- -

-

5 ปี 4.51%

-

-

-

-

-

-

965

3 ปี 5.64 %

11,088

-

-

3,500

-

041

3 ปี 5.12%

-

-

-

-

-

-

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

1 ม.ค. 51 - Agence Francaise de Developement - 5,000 30 มิ.ย. 51 30 มิ.ย. 51 สถาบันการเงินของรัฐบาลสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส Central American Bank for Economic 4,900 - Integration - สถาบันการเงินระหวาง ประเทศของอเมริกากลาง Citigroup Inc. - Holding Company 7,000 30 มิ.ย. 51 ของประเทศสหรัฐอเมริกา Deutsche Bank - ธนาคารและบริษัทแม่ 5,000 19 มิ.ย. 51 ของกลุมธุรกิจที่ใหบริการทางการเงิน ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ธนาคารโลก หรือ IBRD 5,000 - ธนาคารเพื่อความรวมมือระหวางประเทศ 3,000 - แหงญี่ปุน หรือ JBIC - สถาบันการเงิน ของรัฐบาลญี่ปุน Kommunalbanken Norway - หนวยงาน 4,000 13 พ.ค. 51 รัฐบาลของราชอาณาจักรนอรเวย์ สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและพัฒนา 5,000 - แหงสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี หรือ KfW สถาบันการเงินของรัฐบาลเยอรมนี Nordic Investment Bank - สถาบันการเงิน 5,000 - ของรัฐบาลกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย Swedish Export Credit Corp - 5,000 30 มิ.ย. 51 สถาบันการเงินของราชอาณาจักรสวีเดน รวม 48,900 1 ก.ค. 51 - Agence Francaise de Developement* - 3,500 - 31 ธ.ค. 51 สถาบันการเงินของรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส Cargill Inc.* - บริษัทเอกชนใหญ่อันดับหนึ่ง 3,500 2 ก.ย. 51 ในธุรกิจสินค้าเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา Commonwealth Bank of Australia* - 3,500 - ธนาคารเอกชนใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ ออสเตรเลีย Cooperative Centrale Raiffeisen - 3,500 - Boerenleenbank B.A. หรือ Rabobank* ธนาคารเอกชนจากประเทศเนเธอร์แลนด์

วงเงิน อายุ ที่ออก (ล้านบาท)


วันที่ได้รับ ผู้ออกตราสาร อนุญาตให้ ที่ได้รับอนุญาต ออกตราสาร

042

วงเงิน วันที่ออก ที่ได้รับนุมัติ ตราสาร (ล้านบาท)

วงเงิน อายุ ที่ออก (ล้านบาท)

Deutsche Bank* - ธนาคารและบริษัทแม่ 3,500 - - ของกลุมธุรกิจที่ให้บริการทางการเงิน ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี Dow Capital International LLC* - 3,500 - - สถาบันการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา ธนาคารโลก หรือ IBRD* 3,500 - - บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFC* 3,500 - - ING Bank NV* สถาบันการเงินของประเทศ 3,500 - - เนเธอร์แลนด์ Kommunalbanken Norway*- หนวยงาน 3,500 - - รัฐบาลของราชอาณาจักรนอรเวย์ The Export - Import Bank of Korea*- 3,500 7 ส.ค. 51 2,000 สถาบันการเงินของประเทศเกาหลี 1,500 สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและพัฒนา 3,500 - - แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ KfW*สถาบันการเงินของรัฐบาลเยอรมนี Nordic Investment Bank - สถาบันการเงิน 3,500 - - ของรัฐบาลกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย* Oversea - Chinese Banking Corporation 3,500 - - Ltd.* - ธนาคารพาณิชย์ของประเทศสิงคโปร์ Swedish Export Credit Corp - สถาบัน 3,500 - - การเงินของราชอาณาจักรสวีเดน* รวม 52,500 7,000

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

4. การแก้ไขข้อจำกัดของพระราชบัญญัติการ บริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 สบน. ได้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตั้งแต่ ในช่วงปลายปี 25492551 ปัจจุบันพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 2551 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงเจตนารมณ์ของ รัฐบาลในอันที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย โดยมี ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดตราสาร หนี้ คือ ทำให้มีช่องทางการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น จากช่องทางการปรับโครงสร้างหนี้การให้กู้ต่อ และการกู้ เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ โดย (1) ให้กระทรวงการคลัง

อัตรา ดอกเบี้ย (ต่อปี)

-

-

-

-

- - -

-

-

-

3 ปี 5.39% 10 ปี 6.28% - -

-

-

-

-

-

สามารถทยอยกู้เงินเป็นการล่วงหน้าได้ไม่เกินสิบสองเดือน ก่อนวันที่หนี้ถึงกำหนดชำระในกรณีที่มีหนี้ สาธารณะ ซึ่งจะทำการปรับโครงสร้างหนี้เป็นจำนวนมากและเห็นว่า ไม่ ส มควรกู้ เ งิ น เพื่ อ ปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ดั ง กล่ า ว ในคราวเดียวกันทำให้ สบน. สามารถออกพันธบัตร ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในการปรับ โครงสร้างหนี้และยังทำให้สามารถแก้ปัญหาปริมาณ พันธบัตรออมทรัพย์ที่จะครบกำหนดในปี พ.ศ. 2555 ในจำนวนที่สูงมากได้ (2) ให้กระทรวงการคลังสามารถ กู้เงินเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบัน การเงินของรัฐกู้ต่อ เพื่อนำเงินไปใช้ตามแผนงานที่มี ความจำเป็นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ เพื่อเป็น การประหยัดและทำให้การบริหารหนี้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น โดยการให้กู้ต่อต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (3) ให้กระทรวง การคลั ง สามารถกู้ เ งิ น เพื่ อ พั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศได้ โดยการออกตราสารหนี้เพื่อใช้ในการสร้าง อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาด เนื่องจากตราสารหนี้ที่ สามารถใช้ เ ป็ น อั ต ราอ้ า งอิ ง ได้ จ ะต้ อ งมี ส ภาพคล่ อ ง สามารถซื้อขายได้ง่าย ราคาของตราสารหนี้จึงจะสามารถ สะท้อนถึงอุปทานและอุปสงค์ในตลาดได้ใกล้เคียงความ เป็นจริงมากที่สุด การแก้พระราชบัญญัติในครั้งนี้เป็น การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ร่วมตลาด ไม่ว่าจะเป็น นักลงทุนหรือผู้ระดมทุนว่าจะมีอุปทานพันธบัตรรัฐบาล ในตลาดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแม้รัฐบาลจะดำเนิน นโยบายการคลังแบบสมดุลหรือเกินดุล ซึ่งจะส่งผลให้ การพัฒนาตลาดเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก และ (4) ให้ กระทรวงการคลั ง จั ด ตั้ ง กองทุ น บริ ห ารเงิ น กู้ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและการพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ในประเทศ โดยนำงินที่ได้จากการออกพันธบัตร เพื่อปรับโครงสร้างหนี้และเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศมาใช้จ่ายเพื่อเป็นการลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศได้ 5. การจั ด ตั้งกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้สาธารณะและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ

กรอบการลงทุนในประเทศ ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ำประกัน โดยกระทรวงการคลังหรือตราสารอื่นที่ได้รับ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด ทำธุรกรรมซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน (Reverse REPO) ซึ่งตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง สามารถทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ เกิดจากการลงทุนได้

ขณะนี้ สบน. อยู่ระหว่างจัดทำระเบียบและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงาน การปฏิบัติงาน และการทำ

กรอบการลงทุนต่างประเทศ • •

ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกเป็นเงินตราสกุลหลักและ ออกหรือค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ สถาบัน การเงินของรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงิน ระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สูงสุด สามารถทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิด จากการลงทุนได้

ธุรกรรมต่างๆ ของกองทุนฯ เพื่อรองรับการดำเนินงาน ตามภารกิจของกองทุนฯ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

043 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

• • •

ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้กระทรวงการคลัง สามารถจั ด ตั้ ง กองทุ น ขึ้ น กองทุ น หนึ่ ง เรี ย กว่ า “กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ และพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ” โดยมีฐานะ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น กองทุนฯ นี้จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารเงิน ที่ได้รับจาก (1) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ ในกรณีที่หนี้มีจำนวนเงินมากและไม่สมควรกู้เงินเพื่อปรับ โครงสร้างในคราวเดียว กระทรวงการคลังสามารถ ทยอยกู้ เ งิ น เป็ น การล่ ว งหน้ า ได้ ไ ม่ เ กิ น 12 เดื อ น ก่อนวันที่หนี้ครบกำหนดชำระ และ (2) การกู้เงิน เพื่ อ พั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ ใ นประเทศจากการออก พันธบัตร Benchmark เพื่อช่วยลดต้นทุนในการกู้เงิน ให้น้อยที่สุด คณะกรรมการกองทุนฯ ประกอบไปด้วยปลัดกระทรวง การคลังในฐานะประธาน กรรมการ และมีผู้แทนจากสำนัก งบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรั ฐ วิ ส าหกิ จ สำนั ก งานเศรษฐกิ จ การคลั ง ธนาคารแห่ ง ประเทศไทย สำนั ก งานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยในฐานะกรรมการ และมีผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นกรรมการและเลขานุการ และเป็นผู้จัดการกองทุนฯ ตามพระราชบัญญัติฯ โดย กองทุนฯ สามารถลงทุนได้ทงั้ ในประเทศและต่างประเทศ โดยมีกรอบการลงทุน ดังนี้


ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน การระดมทุ น ตามแหล่ ง เงิ น ทุ น ที่ เ หมาะสม ในกรอบระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี

044 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการลงทุนโครงสร้าง พื้ น ฐานที่ เ ป็ น โครงการขนาดใหญ่ (Megaprojects) โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อน นโยบายรัฐบาล รวม 5 คณะ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานทุกคณะ ได้แก่ - คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศ และอากาศยาน - คณะกรรมการพั ฒ นาระบบขนส่ ง ทางราง และระบบขนส่งมวลชน - คณะกรรมการพั ฒ นาและบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรน้ำและการชลประทาน - คณะกรรมการพั ฒ นาระบบการศึ ก ษาและ การเรียนรู้

- คณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพและความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับความ ต้ อ งการอั น เนื่ อ งมาจากความเจริ ญ เติ บ โตทางด้ า น เศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีความจำเป็นต้อง ใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งจากเงินงบประมาณ เงิ น รายได้ ข องรั ฐ วิ ส าหกิ จ และเงิ น กู้ ประกอบกั บ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เห็นชอบให้ แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการขั บ เคลื่ อ นนโยบายรั ฐ บาล เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายการ ลงทุนภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยในการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 ได้มีมติเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ในสาขาต่ า งๆ เช่ น Mass Transit ระบบราง สาธารณสุ ข ทรั พ ยากรน้ ำ และการศึ ก ษาโดยให้

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ พิจารณาจัดหา แหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความพร้อม ในการดำเนินโครงการต่อไป สบน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับ ด้านการเงินและการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ของภาครัฐซึ่งแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีผู้แทนประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาด หลักทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ และได้มีการประชุมไปแล้ว 4 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 วันที่ 16 มิถุนายน 2551 วันที่ 15 สิงหาคม 2551 และวันที่ 6 พฤศจิ ก ายน 2551 เพื่ อ พิ จ ารณาแผนการลงทุ น และแผนการระดมทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่ ง มี แ ผนจะดำเนิ น งานในช่ ว งปี 2552 - 2555 สาขา

โครงการ

Mass Transit ระยะที่ 1 (7 สายทาง)

โดยคณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดมทุนฯ ได้ร่วมกันพิจารณาทบทวนสถานะโครงการลงทุนของ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมดำเนินงาน และประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการในการ จั ด ทำข้ อ เสนอเพื่ อ ขอรั บ จั ด สรรงบประมาณกลางปี และเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป โดยมี ผลการพิจารณาความเหมาะสมของแผนการลงทุนให้ สอดคล้องกับแหล่งเงินทุน รูปแบบการระดมทุน รวมทั้ง สถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้ 1. แผนการลงทุ น โครงการลงทุ น ขนาดใหญ่ ของภาครัฐ 1.1 แผนการลงทุนฯ ที่ได้รับอนุมัติตามมติ คณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ในปั จ จุ บั น มี แ ผนการลงทุ น โครงการ ลงทุ น ขนาดใหญ่ ข องภาครั ฐ ที่ ไ ด้ รั บ การอนุ มั ติ ต าม มติ ค ณะกรรมการกำกั บ และขั บ เคลื่ อ นนโยบาย รัฐบาลในชุดต่างๆ แล้ว ดังนี้ วันที่อนุมัติ

หน่วย : ล้านบาท วงเงิน ระยะเวลา (ปี)

12 มี.ค. 51 296,032 ระยะที่ 2 (9 สายทาง) 478,123 คมนาคม ระบบราง 1 พ.ค. 51 - Meter Gauge + Rolling Stocks 145,449 - Standard Gauge 319,312 ทางหลวงชนบท (ถนนปลอดฝุ่น) 11 ก.ค. 51 34,290 ทางหลวง 4 ช่องจราจร 11,240 สุวรรณภูมิระยะที่ 2 21 เม.ย. 51 73,740 27 พ.ค. 51/9 มิ.ย. 51/5 พ.ย. 51 184,070 ทรัพยากรน้ำ สาธารณสุข 1 ส.ค. 51/5 พ.ย. 51 105,494 การศึกษา 20 มี.ค. 51 4,514 รวม 1,652,264

2551-2556 2552-2558 2552-2555 2552-2553 2551-2555 2552-2557 2552-2555 2552-2555 2552-2554

1.2 สถานะโครงการ คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการ ระดมทุนฯ ได้ประเมินสถานะของโครงการลงทุนขนาด ใหญ่ของภาครัฐในสาขาต่างๆ ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้มีมติอนุมัติแล้ว และมีแผนที่จะดำเนินงานในช่วงปี

2552-2555 รวมทั้งแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจใน สาขาพลังงานโทรคมนาคม และที่อยู่อาศัย โดยประเมิน ถึงความพร้อมในการดำเนินงาน เพื่อประกอบการพิจารณา จั ด หาแหล่ ง เงิ น ทุ น และกำหนดแผนการระดมทุ น ให้ สอดคล้องกับความต้องการการลงทุน ดังนี้

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

หมายเหตุ : สาขาคมนาคมไม่รวมโครงการเช่ารถปรับอากาศ NGV 4,000 คัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 51 เนื่องจากเป็นการเช่าดำเนินงาน

045


หน่วย : ล้านบาท

สาขาเศรษฐกิจ

Mass Transit คมนาคม - ขนส่งทางถนน - ระบบราง - ขนส่งทางอากาศ - ขนส่งทางน้ำ ทรัพยากรน้ำ การศึกษา สาธารณสุข ที่อยู่อาศัย พลังงาน โทรคมนาคม รวม

สถานะโครงการ แผนการลงทุน FS / ออกแบบ / EIA สศช. อนุมัติ โครงการ 450,367 228,785 68,928 446,362 51,934 79,185 224,550 2,240 35,202 70,458 49,694 0 137,317 0 43,983 14,037 0 0 184,069 149,971 14,942 28,041 28,041 0 105,494 0 0 87,013 0 0 383,938 151,418 9,150 43,400 0 0 1,728,684 610,149 172,205

ครม. อนุมัติ ให้ดำเนินโครงการ 152,654 315,243 187,108 20,764 93,334 14,037 19,156 0 105,494 87,013 223,370 43,400 946,330

หมายเหตุ : - Feasibility Study (FS) หมายถึง การจัดทำรายงานความเป็นไปได้ของโครงการ รวมทั้งความเหมาะสม ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม - Environmental Impact Assessment (EIA) หมายถึง รายงานผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม

046 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

จากสถานะโครงการข้างต้นพบว่า สาขาที่มีความ ชัดเจนและมีความพร้อมที่จะสามารถเริ่มดำเนินงาน ได้ในปีงบประมาณ 2552 คือ โครงการลงทุนในสาขา Mass Transit ระยะแรก สาขาคมนาคม สาขาทรัพยากร น้ำ และสาขาสาธารณสุขบางโครงการ ส่วนการลงทุน สาขาการศึกษาอาจต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อม ในการดำเนินงานอีกระยะหนึ่งจึงสามารถเริ่มดำเนิน โครงการได้ 2. แผนการลงทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาด ใหญ่ของภาครัฐปี 2552-2555 คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดม ทุนฯ ได้จัดทำแผนการลงทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาด ใหญ่ ข องภาครั ฐ ซึ่ ง ได้ รั บ อนุ มั ติ จากคณะกรรมการ ขับเคลื่อนฯ และมีแผนที่จะดำเนินงานในช่วงปี 2552-2555 รวมทั้งแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในสาขาพลังงาน

โทรคมนาคม และที่อยู่อาศัย ที่มีแผนจะดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ประกอบด้วย 8 สาขา รวมวงเงินทั้งสิ้น 1.72 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


2.1 แผนการลงทุนรายสาขา (ภาพรวม)

สาขา Mass Transit คมนาคม - ขนส่งทางถนน - ระบบราง - ขนส่งทางอากาศ - ขนส่งทางน้ำ ทรัพยากรน้ำ การศึกษา สาธารณสุข ที่อยู่อาศัย พลังงาน โทรคมนาคม รวม

หน่วย : ล้านบาท

ปี 2552

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

รวม

ร้อยละ

25,813 82,801 39,081 6,805 33,908 3,007 23,548 2,643 25,030 26,437 86,701 17,357 290,330

69,398 113,772 60,038 17,596 30,441 5,696 44,923 14,159 27,996 25,753 108,259 12,835 417,095

127,786 118,806 50,413 17,592 45,467 5,334 63,567 11,240 26,563 21,408 99,050 8,197 476,617

227,370 450,367 130,984 446,362 75,017 224,550 28,465 70,458 27,501 137,317 14,037 52,031 184,069 28,041 25,905 105,494 13,415 87,013 89,928 383,938 5,010 43,400 544,643 1,728,685

26% 26% 13% 4% 8% 1% 11% 2% 6% 5% 22% 3% 100%

2.2 แผนการลงทุนรายสาขา : รัฐบาลรับภาระการลงทุนจากแผนการลงทุนรายสาขา (ภาพรวม) ซึ่งมีวงเงิน ลงทุนรวม 1.72 ล้านล้านบาท จะมีโครงการลงทุนในส่วนที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระการลงทุน จำนวน 7 สาขา วงเงินลงทุนรวม 1.16 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

ปี 2552

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

รวม

Mass Transit คมนาคม - ขนส่งทางถนน - ระบบราง - ขนส่งทางอากาศ - ขนส่งทางน้ำ ทรัพยากรน้ำ การศึกษา สาธารณสุข ที่อยู่อาศัย รวม

25,813 46,909 39,081 6,805 501 523 23,548 2,643 25,030 26,437 150,380

69,398 82,783 60,038 17,596 1,786 3,363 44,923 14,159 27,996 25,753 265,012

127,786 72,666 50,413 17,592 1,328 3,333 63,567 11,240 26,563 21,408 323,230

227,370 450,367 103,483 305,841 75,017 224,550 28,465 70,458 - 3,615 - 7,219 52,031 184,069 - 28,041 25,905 105,494 13,415 87,013 422,204 1,160,826

ร้อยละ 39% 26% 19% 6% 0% 1% 16% 2% 9% 7% 100%

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

047 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

สาขาเศรษฐกิจ


2.3 แผนการลงทุนรายสาขา : รัฐวิสาหกิจรับภาระการลงทุนเอง นอกจากนี้ยังมีแผนการลงทุนในส่วนที่รัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ดำเนินการและรับภาระการลงทุนเอง ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

สาขา

ปี 2552

คมนาคม 35,892 - ขนส่งทางอากาศ การบินไทย 30,518 ทอท. 2,890 - ขนส่งทางน้ำ การท่าเรือฯ 2,484 พลังงาน 86,702 - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ 27,156 - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 8,378 - การไฟฟ้านครหลวง 8,230 - บมจ. ปตท. 42,938 โทรคมนาคม 17,358 - TOT 14,124 - CAT 3,234 รวม 139,952

048

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

30,989 21,869 6,786 2,334 108,259 50,887 10,708 11,064 35,600 12,835 9,953 2,882 152,083

46,141 31,913 12,227 2,001 99,050 59,430 11,155 11,064 17,401 8,197 5,500 2,697 153,388

27,501 4,010 23,491 - 89,929 58,904 14,047 10,121 6,857 5,010 3,880 1,130 122,444

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

3. กลยุทธ์การระดมทุน คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดมทุนฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ ในการระดมทุน สำหรับโครงการ ลงทุนขนาดใหญ่ที่รัฐบาลรับภาระการลงทุนและโครงการ ลงทุนขนาดใหญ่ที่รัฐวิสาหกิจรับภาระการลงทุนเอง โดยมี กลยุทธ์ในการระดมทุน ดังนี้ 3.1 โครงการลงทุ น ขนาดใหญ่ ที่ รั ฐ บาลรั บ ภาระ การลงทุน ประกอบด้วย โครงการในสาขา Mass Transit ระบบราง โครงข่ า ยถนนและทางด่ ว น ที่ อ ยู่ อ าศั ย ทรัพยากรน้ำ การศึกษา และสาธารณสุข มีวงเงิน ลงทุนรวม 1,160,826 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการพัฒนา ในสาขาเศรษฐกิ จ จำนวน 843,222 ล้ า นบาท และโครงการพัฒนาในสาขาสังคม จำนวน 317,604 ล้ า นบาท โดยคณะกรรมการกำกั บ ด้ า นการเงิ น และ การระดมทุนฯ ได้กำหนดกลยุทธ์การระดมทุน ดังนี้ 3.1.1 โครงการพั ฒ นาในสาขาเศรษฐกิ จ ประกอบด้วย โครงการในสาขา Mass Transit ระบบ ราง โครงข่ า ยถนนและทางด่ ว น และที่ อ ยู่ อ าศั ย

รวม

ร้อยละ

140,521 88,310 45,393

25%

6,818 383,939 196,377 44,287 40,480 102,795 43,400 33,457 9,943 567,860

16% 8% 1% 68% 35% 8% 7% 18% 8% 6% 2% 100%

เป็นโครงการลงทุนที่มีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ สูง (EIRR) แต่มีผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) ไม่คุ้มค่าการลงทุน ดังนั้น รัฐบาลจึงควรเป็นผู้รับภาระ การลงทุนในส่วนโครงสร้างพื้นฐานของระบบทั้งหมด โดยการจั ด สรรงบประมาณ รวมทั้ ง การจั ด หาเงิ น กู้ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้รับภาระการชำระหนี้เพื่อสนับสนุนการ ลงทุนในส่วนนี้ทั้งหมด สำหรับการลงทุนในส่วนที่เหลือ เช่น ระบบการเดินรถหรือระบบบริหารจัดการ เห็นควร ให้รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นผู้รับ ภาระในการลงทุนเอง หรือเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ในรูปแบบ Public Private Partnerships (PPPs) 3.1.2 โครงการพัฒนาในสาขาสังคมประกอบ ด้วย โครงการในสาขาทรัพยากรน้ำ การศึกษา และ สาธารณสุข เป็นโครงการที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และสังคมสูง (EIRR) แต่ไม่มผี ลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเป็นผู้รับภาระการลงทุน ทั้ ง หมด โดยการจั ด สรรงบประมาณเพื่ อ สนั บ สนุ น

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


การลงทุ น เป็ น หลั ก และในกรณี ที่ มี ข้ อ จำกั ด ด้ า น งบประมาณรัฐบาลอาจดำเนินการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการ ดำเนินโครงการ หรือเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนใน รู ป แบบ PPPs โดยรั ฐ บาลจ่ า ยคื น การลงทุ น ให้ เอกชนในรูปแบบของสัญญาการซื้อบริการตามเงื่อนไข ที่ได้ตกลงกันไว้ (Performance Based Service Contract) โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระค่าบริการ เป็นรายปีให้กับเอกชนในอนาคต 3.2 โครงการลงทุ น ที่ รั ฐ วิ ส าหกิ จ รั บ ภาระเอง ประกอบด้วย โครงการในสาขาไฟฟ้า พลังงาน และ ระบบขนส่งทางอากาศ มีวงเงินลงทุนรวม 567,859 ล้ า นบาท เป็ น โครงการลงทุ น ในเชิ ง พาณิ ช ย์ ที่ มี ผลตอบแทนเพียงพอต่อการลงทุน และรัฐวิสาหกิจ สามารถรับภาระการลงทุนเองได้ โดยใช้เงินรายได้ของ รัฐวิสาหกิจและเงินกู้ รวมถึงอาจพิจารณาระดมทุน ในรูปแบบ PPPs สำหรับโครงการที่มีวงเงินลงทุนสูง (High CapitalIntensive/High Technology) เช่น โครงการ

ก่ อ สร้ า งโรงไฟฟ้ า โครงการลงทุ น ด้ า นโทรคมนาคม (โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 : 3G) และโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 4. แผนการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาด ใหญ่ที่รัฐบาลรับภาระการลงทุน คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดม ทุนฯ ได้จัดทำแผนการระดมทุนเบื้องต้นสำหรับโครงการ ลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในส่วนที่รัฐบาลจะต้องเป็น ผู้รับภาระในการลงทุน ตามกรอบกลยุทธ์การระดมทุนที่ กำหนดตามข้อ 3.1 โดยมีแผนการระดมทุน ซึ่งประกอบ ด้วยแหล่งเงินลงทุนที่สำคัญ คือ (1) เงินงบประมาณ จำนวน 259,088 ล้านบาท (ร้อยละ 22) (2) เงินกู้ ในประเทศและต่างประเทศจำนวน 406,309 ล้านบาท (ร้อยละ 35) และ (3) การระดมทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPPs) ในระบบรถไฟฟ้า ของสาขา Mass Transit จำนวน 117,109 ล้านบาท (ร้อยละ 10) หน่วย : ล้านบาท

แหล่งเงินทุน

ปี 2552

งบประมาณ

36,258 เงินกู้ในประเทศ 31,486 เงินกู้ต่างประเทศ 7,540 อื่นๆ 8,401 อยู่ระหว่างพิจารณาแหล่งเงิน 66,696 รวม 150,381

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

รวม

64,996 75,098 82,736 259,088 33,683 51,397 98,287 214,853 35,098 56,699 92,119 191,456 16,417 30,046 62,326 117,190 114,818 109,990 86,736 378,240 265,012 323,230 422,204 1,160,827

ร้อยละ 22% 19% 16% 10% 33% 100%

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 51

Development Loan ซึ่ ง เป็ น การกู้ เ งิ น ในลั ก ษณะ Program Loan ที่สามารถใช้เพื่อสนับสนุนการลงทุนใน สาขาที่มีความจำเป็นและใช้เงินตราต่างประเทศในการ ลงทุน แต่ต้องไม่สามารถจัดสรรงบลงทุนจากงบประมาณ รายจ่ายประจำปีได้ โดยเงินกู้ดังกล่าวจะไม่มีเงื่อนไข ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านนโยบายของรัฐบาล (Policy Matrix) แต่จะมีเพียงการกำหนดกรอบการ ดำเนินงานของโครงการที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนทาง การเงินของแหล่งเงินกู้เท่านั้น (Sector Development Policy)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

049 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและ การระดมทุนฯ ได้มีการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับการ จัดสรรงบประมาณให้แก่แผนการระดมลงทุนข้างต้น กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสำนักงบประมาณ พบว่า มีข้อจำกัดในการจัดสรรงบลงทุนเพื่อสนับสนุน การดำเนินโครงการในแต่ละปี ดังนั้น กระทรวงการคลัง จึงได้เตรียมแผนการใช้เงินกู้เพื่อสนับสนุนการลงทุน ซึ่งเป็นไปตามกรอบกลยุทธ์การระดมทุนที่คณะกรรมการ กำกับด้านการเงินฯ ได้ให้แนวทางไว้ตาม ข้อ 3.1 โดยการ กู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (World Bank และ Asian Development Bank : ADB) Infrastructure


ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ

050 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

การพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสำนักงาน สบน. ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้ ใ นการบริ ห ารจั ด การหนี้ ส าธารณะ โดยจั ด ทำ ฐานข้อมูล (Database) และให้มีการบันทึกข้อมูล อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถติดตามและวิเคราะห์ สถานะหนี้ ในมิติต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบจากการ เปลี่ ย นแปลงในอั ต ราดอกเบี้ ย และอั ต ราแลกเปลี่ ย น เงินตราต่างประเทศ ได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ ซึ่งระบบ IT ดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับ การใช้งานมาเป็นลำดับ และเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยให้ การบริหารหนี้สาธารณะของ สบน. ประสบความสำเร็จ ทั้ ง ในด้ า นประสิ ท ธิ ภ าพและความถู ก ต้ อ งแม่ น ยำ ในระดั บ หนึ่ ง โดยในปี ง บประมาณ 2551 สบน. มีระบบงานคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ดังนี้ 1. ระบบฐานข้อมูลหนี้สาธารณะ (Common wealth Secretariat-Debt Recording and Management System) เป็นระบบที่ใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูลหนี้

สาธารณะ โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูล มีการบันทึกข้อมูล อย่ า งเป็ น ระบบ เพื่ อ ให้ ส ามารถติ ด ตามวิ เ คราะห์ สถานการณ์ ห นี้ ส าธารณะในมิ ติ ต่ า งๆ และใช้ เ ป็ น ฐานข้อมูลหลักในการนำไป Integrate กับ Application อื่นๆ เช่น ระบบ Risk Model เป็นต้น 2. ระบบบริหารหนี้สาธารณะ (Government Fiscal Management Information System - TR : GFMIS-TR) เป็นการนำระบบ Treasury มาใช้ร่วมกับระบบบริหาร การเงิ น การคลั ง ภาครั ฐ ด้ ว ยระบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (GFMIS) เพื่อประโยชน์ในการบริหารเงินสดรับจ่ายของ รัฐบาล (Cash Management) พร้อมกับสร้างระบบ รองรับเพื่อดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากระบบ GFMIS เพื่อ ให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นเครื่องมือช่วยให้การ บริหารจัดการหนี้สาธารณะมีความถูกต้องแม่นยำและ ทันการณ์ รวมทั้งการสร้างความเชื่อมโยงในการทำงาน

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

051 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

และการให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลแบบ Online และ Real-time ซึ่งจะนำมาใช้ทดแทนระบบ CS-DRMS เดิมที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน 3. ระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Model) ระยะที่ 2 ตามแนวทาง Stochastic Approach เป็นเครื่องมือ ในการวิเคราะห์และประเมินต้นทุนและความเสี่ยงของ สบน. ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อสมมติฐานต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินสถานการณ์ให้สอดคล้องกับนโยบาย การบริหารหนี้สาธารณะและวิเคราะห์ผลของนโยบาย การบริหารหนี้สาธารณะที่กำหนด 4. ระบบบริหารความเสี่ยงทางเครดิต (Credit Risk Management/Credit Scoring) เป็ น ระบบ ฐานข้อมูลที่ใช้เพื่อประเมินศักยภาพความเสี่ยงทางเครดิต และอั น ดั บ ความน่ า เชื่ อ ถื อ ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ และ สถาบันการเงินภาครัฐ เพื่อประโยชน์ ในการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน และการให้กู้ต่อจากรัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐ ซึ่งต่อเนื่องจากการจัดทำ หลักเกณฑ์และการคิดค่าธรรมเนียม การค้ำประกัน และการให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง โดยในปีงบประมาณ 2551 สบน. ได้ว่าจ้างบริษัท Prospect Consulting จำกัดให้เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบ ดังกล่าว และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2552 5. ระบบจดทะเบี ย นและต่ อ ทะเบี ย นของศู น ย์ ข้อมูลที่ปรึกษาไทย (Thai Consultant Database Center) เป็นระบบที่นำมาใช้สำหรับการจดทะเบียน และต่ อ ทะเบี ย นให้ แ ก่ บ ริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษาด้ ว ยวิ ธี ก าร ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว

6. ระบบ e-Document ระยะที่ 2 และพัฒนา ประสิ ท ธิ ภ าพระบบอิ น เตอร์ เ น็ ต เพื่ อ พั ฒ นาระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจัดเก็บเอกสาร ระบบ บริหารพัสดุ ระบบ e-Office และพัฒนาประสิทธิภาพ ทางอินเตอร์เน็ตให้ดียิ่งขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2551 สบน. ได้ว่าจ้างบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ 1998) จำกัด (มหาชน) ให้เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการพัฒนา ระบบดังกล่าว และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2552 7. ระบบ e-Personal เป็นระบบที่ใช้บันทึกข้อมูล บุคลากรของ สบน. โดยได้มีการนำระบบ DPIS Version 3.5 ซึ่งเป็นระบบบริหารงานบุคคลที่จัดทำและปรับปรุง โดยสำนักงาน ก.พ. มาใช้ และในปีงบประมาณ 2551 สบน. ได้บันทึกและปรับปรุงข้อมูลของบุคลากรให้เป็น ปัจจุบันตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การเลื่อน ระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การบรรจุและแต่งตั้ง การฝึกอบรม/พัฒนา และการลาออก เป็นต้น


ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบิติราชการของ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มิติ/ตัวชี้วัด

น้ำหนัก (ร้อยละ)

มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผล 45 ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ 15 เป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงการคลัง ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ 10 เป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ 20 เป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ 17*

คะแนน (เต็ม 5) 2.3106 0.7716 0.5081 1.0309 0.6722

ตัวชี้วัดที่ 4 ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน 6 0.1052 การแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ 5 ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ 5 0.2577 ตัวชี้วัดที่ 6 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน 6 0.3093 และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ** 10 ตัวชี้วัดที่ 8 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายในภาพรวม 3 ตัวชี้วัดที่ 9 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัด 3 พลังงานของส่วนราชการ ตัวชี้วัดที่ 10.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษา 2 มาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ ตัวชี้วัดที่ 11 ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต 2

052

0.4823 0.1546 0.1546 0.0699 0.1031

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร 25 ตัวชี้วัดที่ 13 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ*** 22 ตัวชีว้ ัดที่ 14 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ 3

1.1959 1.0412

4.6610

หมายเหตุ :

รวม

97

0.1546

* ตัวชี้วัดที่ 7 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ อ.ก.พ.ร. ได้เห็นชอบให้ไม่ต้องสำรวจความพึงพอใจ งานบริการของ สบน. เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะเฉพาะและไม่ได้ให้บริการกับประชาชนโดยตรงรวมทั้ง กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นควรให้ตัดน้ำหนักร้อยละ 3 ของตัวชี้วัดนี้ออก คงเหลือน้ำหนักรวม ร้อยละ 97 ** ตัวชี้วัดที่ 12 ระดับความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายตามแผนส่งเสริมธรรมาภิบาล (Roadmap) เป็นตัวชี้วัดที่ ดำเนินการเฉพาะกรมศุลกากรและกรมสรรพากร *** ตัวชี้วัดที่ 13 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ อยู่ระหว่างรอผลการอุทธรณ์ จากสำนักงาน ก.พ.ร.

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชั้น 4 ถนนพระราม 6 ซอยอารีย์สัมพันธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทร. 02 265 8050 www.pdmo.mof.go.th

053

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

สรุปผลการดำเนินงานเปิ ดเผยข้อมูลข่าวสาร ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 ในรอบปี 2551


สรุปผลการดำเนินงานเปิ ดเผยขอ้ มูลขา่ วสาร ตามพระราชบัญญั ติขอ้ มูลขา่ วสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 ในรอบปี 2551 โดย นางสาวดารณี บุญทิพย์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สบน.

054 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดมาตรการให้ทุกหน่วยงานของรัฐ ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่ประชาชน ด้วยความ รวดเร็ ว ซึ่ ง เป็ น กฎหมายที่ ร องรั บ สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ รู้ ข อง ประชาชนโดยได้กำหนดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ของราชการ และกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ และเจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ ให้ ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย เพื่อรองรับและคุ้มครองสิทธิของประชาชน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ดำเนิน การและถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 สรุปได้ ดังนี้ 1. กำหนดสถานที่/จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ บริการข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 เพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าสืบค้น/ค้นหาข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวก

ภายในสำนั ก งานบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ ที่ บ ริ เ วณ หน้ า ห้ อ งประชุ ม 402 และมี ป้ า ยแสดงสถานที่ ตั้ ง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้สำหรับการให้บริการข้อมูล ข่าวสารที่เข้าใจได้ง่ายและมองเห็นได้ชัดเจน 2. มอบหมายหน่วยงานและเจ้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ • แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการข้ อ มู ล ข่ า วสาร ของสำนั ก งานบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ ตามคำสั่ ง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ที่ 54/2551 เรื่อง จัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารและแต่งตั้งคณะกรรมการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ • มอบหมายเจ้ า หน้ า ที่ ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร ที่ ศู น ย์ ข้ อ มู ล ข่ า วสารสำนั ก งานบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ ตามคำสั่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ที่ 55/2551 เรื่ อ งแต่ ง ตั้ ง เจ้ า หน้ า ที่ ป ระจำศู น ย์ ข้ อ มู ล ข่ า วสารของ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


• ผู้ บ ริ ห ารของส่ ว นราชการให้ ค วามสำคั ญ และควบคุ ม ดู แ ลให้ มี การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายข้ อ มู ล ข่าวสารของราชการอย่างเคร่งครัด เช่น มีการประชุม และติดตามเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตาม กฎหมาย เป็นต้น • จัดอบรมให้ความรู้และพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวกับ กฎหมายข้อมูลข่าวสาร และมีการดำเนินตามกิจกรรม/ มาตรการ/วิ ธี การในการสร้ า งจิ ต สำนึ ก และทั ศ นคติ ที่ดีต่อการเป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่บุคลากร ในส่วนราชการอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้ - จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน และประชาชน จำนวน 1 ครั้ง รวมถึงการจัดส่งเจ้าหน้าที่ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านในศู น ย์ ข้ อ มู ล ข่ า วสารเข้ า ร่ ว มสั ม มนา/ อบรมในโอกาสต่างๆ ที่จัดโดยหน่วยงานภายนอก - ประสานหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและ ถือปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ • จั ด ทำรายงานสถิ ติ ก ารตรวจสอบข้ อ มู ล ข่าวสาร พร้อมทั้งสรุปผลการมาใช้บริการรายงานให้ ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการทราบอย่างสม่ำเสมอ (รายเดือน) ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 (1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2551) มีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 84 คน • จัดทำเอกสารเผยแพร่ ในลักษณะรูปแบบ ต่างๆ เช่น แผ่นพับ เป็นต้น เพื่อประชาสัมพันธ์ไว้ที่ ศูนย์ข้อมูลฯ และโอกาสต่างๆ • นำข้อมูลเกี่ยวกับการประกวดราคา ประกาศ สอบราคาที่หัวหน้าส่วนราชการลงนามแล้ว เผยแพร่ บนเว็บไซต์ของส่วนราชการ www.pdmo.mof.go.th • จัดทำสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายเดือน และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของส่วนราชการทุกเดือน 4. ด้านการบริการข้อมูลข่าวสาร ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มี การให้ บ ริ การข้ อ มู ล ข่ า วสารโดยผู้ ม าขอตรวจสอบ ข้อมูลข่าวสารที่ศูนย์ข้อมูลฯ สามารถปฏิบัติตามขั้นตอน ได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

055 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อให้การดำเนินงาน ด้านข้อมูลข่าวสารของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัตขิ อ้ มูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 • จัดระบบข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ตามมาตรา 7 และ มาตรา 9 ดังนี้ - มีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน โดยมีข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ให้บริการ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารครบทุกประเภทที่ระบุไว้ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 - จัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ให้บริการ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอย่างชัดเจนและสามารถสืบค้น ได้สะดวก รวดเร็ว - จัดทำแฟ้มบันทึกการสืบค้นและสำเนา เอกสารเพื่ อ เป็ น สถิ ติ การดำเนิ น การของศู น ย์ ข้ อ มู ล ข่าวสาร - มีหนังสือแจ้งเวียน ผอ. สำนัก/กอง/กลุ่ม ขอความร่วมมือในการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความ รั บ ผิ ด ชอบตามอำนาจหน้ า ที่ ข องแต่ ล ะหน่ ว ยงาน ตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ โดยให้รวบรวมและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ ให้รายงานทุกครั้งเมื่อมี การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลข่าวสารฯ ที่อยู่ในความ รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำ ศูนย์ฯ ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน - มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ คือ เวบไซต์ของ สบน./บอร์ดประชาสัมพันธ์/แผ่นพับ โบว์ชัวร์/ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ/ออกบูธแนะนำศูนย์ข้อมูล ข่าวสารฯ ในส่วนภูมิภาค และรายงานประจำปี 3. บริหารจัดการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ไว้อย่างเป็นระบบ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ • มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการ ปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เป็น การเฉพาะ


ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียน/ยื่นคำขอ

ขั้นตอนที่ 2 การสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่

ขั้นตอนที่ 3 ค้นหาข้อมูลข่าวสาร ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

056 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

5. โครงการฝึ ก อบรมเพื่ อ พั ฒ นาขี ด ความสามารถ ด้านการบริหารจัดการโครงการ และการจ้างที่ปรึกษา มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ ค ำแนะนำแก่ ส่ ว นราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับ การบริหารและดำเนินโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาและ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการของ ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย ถึงวิธีการและขั้นตอนการจ้าง ที่ปรึกษา เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น สามารถจั ด หาและคั ด เลื อ ก ที่ปรึกษาได้สอดคล้องกับโครงการและแผนงานที่กำหนด ไว้ และ สบน. ได้ให้บริการตอบข้อซักถามแก่ผู้เข้ารับ การอบรมเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการจ้างที่ปรึกษา และวิธีการค้นหารายชื่อที่ปรึกษา รวมทั้งระดมความคิด เกี่ ย วกั บ หลั ก เกณฑ์ ก ารกู้ เ งิ น ขององค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่น ซึ่ง สบน. ได้กำหนดจัดอบรมเพื่อเป็น การเผยแพร่ข้อมูลสู่ภูมิภาคจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 - 29 กุมภาพันธ์ 2551 ณ จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย จังหวัดรายรอบ เช่น อุดรธานี นครราชสีมา และชัยภูมิ มีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 180 คน

• ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 - 30 พฤษภาคม 2551 ณ จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายจังหวัด รายรอบ เช่น อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร มีผู้เข้าร่วมอบรม ประมาณ 280 คน 6. การออกบูธของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ถึงบทบาทภารกิจและ หน้าที่ของ สบน. ให้แก่ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่ ว ยงานเอกชน รวมทั้ ง ประชาชนทั่ ว ไป ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2550 ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในงาน “มหกรรม ตราสารหนี้ ครั้งที่ 7” • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 17 - 20 กรกฎาคม 2551 ณ อิมแพคเมืองทองธานีในงาน “มหกรรมมั่นใจ ไทยแลนด์ ดีแน่ ถูกแน่ เพื่อคนไทย” ในการจัดงาน การออกบูธของ สบน. ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 200 คน และครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คน และมี ก ารสรุ ป ผลแต่ ล ะครั้ ง เพื่ อ เผยแพร่ ผ่ า น www.pdmo.mof.go.th

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


057

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

กา้ วตอ ่ ไปของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กา้ วไปดว้ ยกันในทา่ มกลางการเปลี่ยนแปลง


ก้าวต่อไปของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ: ก้าวไปด้วยกันในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

058

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในฐานะ หน่วยงานหลักในการทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารหนี้ สาธารณะ โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งความมีวินัยทางการคลัง ภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ซึ่งมี ความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น การทำหน้าที่ในฐานะ หน่วยงานซึ่งดูแลและบริหารจัดการหนี้สาธารณะของ ประเทศจึงต้องยึดมั่นในหลักการ และทำหน้าที่อย่างมั่นคง และเข้มแข็ง เพื่อให้สามารถฝ่าฟันความผันผวนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และมีความไม่แน่นอน ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้อง ใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่ง สบน. เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวได้ ดังนั้น สบน. จึงต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อรองรับภาระหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ในอนาคตและหาแนวทางในการแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความคล่ อ งตั ว ในการทำงาน รวมทั้ ง ในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ เป็ น จำนวนมากจึ ง เป็ น ความท้ า ทายของ สบน. ในการเตรี ย มความพร้ อ มในด้ า นต่ า งๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น กฎ ระเบียบ เครื่องมือทางการเงิน รวมทั้งการพัฒนา ตลาดตราสารหนี้ในประเทศเพื่อรองรับการจัดการเงิน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้ครบตามจำนวน แม้เราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระแสความผันผวน ทางเศรษฐกิจ การเมืองและความท้าทายจากภารกิจ

ที่เพิ่มขึ้น เช่น งานด้านนโยบายเกี่ยวกับการเกษตร งานด้ า นการศึ ก ษารู ป แบบการระดมทุ น ใหม่ ๆ หรื อ การจัดตั้งกองทุนต่างๆเพื่อลดการพึ่งพาเงินจากรัฐบาล ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของ สบน. โดยตรง แต่ สบน. ก็ได้เห็นความสำคัญและเตรียมความพร้อม ของบุคลากรให้มีความสามารถทัดเทียมกัน รวมทั้ง เตรียมคนรุ่นใหม่ ให้มีความพร้อมทั้งทางด้านวิชาการ และคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งในอนาคต สบน. มุ่งเน้น การพั ฒ นาบุ ค ลากรโดยเฉพาะในด้ า น Financial Engineering เพื่ อ รองรั บ ภารกิ จ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น รวมทั้ ง การจั ด ระบบงานให้ มี ค วามคล่ อ งตั ว เพื่ อ รองรั บ โครงสร้างองค์กรทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป เช่น ด้านการบริหารหนี้ บริหารความเสี่ยง การบริหาร Portfolio ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จึงนับเป็นปีที่ท้าทาย อย่างยิ่งของ สบน. ซึ่งจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้ อ มในระบบเศรษฐกิ จ โลกที่ เ ปลี่ ย นแปลงอย่ า ง รวดเร็ว การมีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อ สถานการณ์ต่างๆ ที่มากระทบต่อระบบการเงินการคลัง ของประเทศ ดังนั้น ก้าวต่อไปของ สบน. คงจะต้อง อาศัยความมุ่งมั่น ทุ่มเท และร่วมแรงร่วมใจในการ ปฏิบัติงานให้มากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อผลสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นเสาหลักให้ กับระบบการเงิน และทำประโยชน์ให้กับระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศในภาพรวม

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


งบการเงิน

ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ


สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2551

060 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้ระยะสั้น รายได้ค้างรับ วัสดุคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ลูกหนี้ระยะยาว เงินลงทุนระยะยาว อุปกรณ์ (สุทธิ) รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์ หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้ระยะสั้น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินกู้ระยะสั้น เงินรับฝาก หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินทดรองราชการรับจากคลัง-ระยะยาว เงินกู้ระยะยาว รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน สินทรัพย์สุทธิ สินทรัพย์สุทธิ ทุน รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม รวมสินทรัพย์สุทธิ รวมหนี้สินและสินทรัพย์สุทธิ หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

หมายเหตุ

(หน่วย:บาท)

3 4

236,714,493,096.00 1,901,322.00 1,081,030,186.92 1,864,781.27 1,854,401,238.27 239,653,690,624.46

5

18,355,562,093.10 11,746,000,000.00 17,674,775.46 30,119,236,868.56 269,772,927,493.02

6

7 8 9 10

11

(นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

11,653,686,827.43 23,942,478,597.39 355,781,720,000.00 588,100.65 8,973,532.55 391,387,447,058.02 1,000,000.00 1,855,397,341,922.84 1,855,398,341,922.84 2,246,785,788,980.86 (1,977,012,861,487.84) (1,749,132,008,848.02) (227,880,852,639.82) (1,977,012,861,487.84) 269,772,927,493.02

(นางสาววราภรณ์ ปัญญศิริ) เลขานุการกรม

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ งบรายได้และค่าใช้จ่าย สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 (หน่วย:บาท)

12

159,404,344,195.11 159,404,344,195.11

13

3,902,776,358.24 (68,323,462,381.9) (64,420,686,023.6) 94,983,658,171.48

14 15 16 17 18 19 20 21 22

23

48,065,109.14 874,476.02 6,850,589.27 7,026,156.22 35,725,916.68 2,351,777.76 5,695,713.61 5,134,927,105.01 94,670,202,733.81 99,911,719,577.52 (4,928,061,406.04) (135,381,233,129.25) (135,381,233,129.25) (140,309,294,535.29) (140,309,294,535.29)

061 24

2,005,108.69 1,314,955,377.61 1,316,960,486.30 1,316,960,486.30 (608,877,630.85) (139,601,211,679.84)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

รายได้จากการดำเนินงาน รายได้จากรัฐบาล รายได้จากงบประมาณ รวมรายได้จากรัฐบาล รายได้จากแหล่งอื่น รายได้จากเงินช่วยเหลือและเงินบริจาค รายได้อื่น รวมรายได้จากแหล่งอื่น รวมรายได้จากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าบำเหน็จบำนาญ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าวัสดุ และค่าใช้สอย ค่าสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน ค่าใช้จ่ายอื่น รวมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน รายได้สูง / (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน รายได้/ค่าใช้จ่าย ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน กำไร/ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ รายการอื่นๆ ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน รวมรายได้/ค่าใช้จ่าย ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมปกติ รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ รายได้แผ่นดินที่จัดเก็บ รายได้แผ่นดิน - นอกจากภาษี กำไร/ขาดทุนสุทธิจากการจำหน่ายสินทรัพย์ รายได้อื่นๆ ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน รวมรายได้แผ่นดิน-นอกจากภาษี รวมรายได้แผ่นดินที่จัดเก็บ รายได้แผ่นดินนำส่งคลัง รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

หมายเหตุ


สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551

หมายเหตุที่ 1 – ข้อมูลทั่วไป

062 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

1.1 ความเป็นมา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็น ส่วนราชการในระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลังจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 สบน. เป็ น องค์ กรที่ มี ภารกิ จ เสนอแนะนโยบาย รวมทั้ ง ดำเนิ น การก่ อ หนี้ แ ละบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยมีบทบาท ด้านงานบริหารจัดการหนี้สาธารณะในฐานะหน่วยงาน (Agency) ซึ่ ง ดำเนิ น การตามภารกิ จ เช่ น เดี ย วกั บ ส่วนราชการอื่นและงานบริหารหนี้สาธารณะในฐานะ หน่วยงานกลาง (Core Agency) ซึ่งประกอบไปด้วยการ ก่อหนี้ที่กระทรวงการคลังได้ผูกพันในฐานะผู้กู้ในนาม รั ฐ บาลของราชอาณาจั กรไทยทั้ ง หนี้ ใ นประเทศและ ต่ า งประเทศการบริ ห ารจั ด การหนี้ ร วมถึ ง การบริ ห าร การชำระหนี้ ในปี 2548 มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548” ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 และมี ผลใช้ บั ง คั บ ตั้ ง แต่ วั น ถั ด จากวั น ประกาศในราชกิ จ จานุเบกษาเป็นต้นไป เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้ เพื่ อ ให้ ก ารบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง เดิ ม ได้ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ นกฎหมาย หลายฉบับและสมควรให้มีหน่วยงานกลางเป็นหน่วยงาน เดียวทำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารหนี้สาธารณะ

อย่ า งมี ร ะบบ มี ป ระสิ ท ธิ ภาพ และควบคุ ม ดู แ ลการ ก่อหนี้โดยรวม เพื่อให้ภาระหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ สอดคล้ อ งกั บ ฐานะการเงิ น การคลั ง ของประเทศ ซึ่งกำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจในการ กู้ เ งิ น หรื อ ค้ ำ ประกั น ในนามรั ฐ บาลแต่ เ พี ย งผู้ เ ดี ย ว โดยอนุ มั ติ ค ณะรั ฐ มนตรี ก ำหนดให้ มี ค ณะกรรมการ นโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งมีอำนาจ หน้ า ที่ ร ายงานสถานะหนี้ ส าธารณะเสนอแผนก การบริ ห ารหนี้ ส าธารณะจั ด ทำหลั ก เกณฑ์ ใ นการ บริ ห ารหนี้ แนะนำการออกกฎกระทรวงและดำเนิ น การอื่น สบน. มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของ คณะกรรมการ และมีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ โครงสร้ า งหนี้ ส าธารณะ หนี้ รั ฐ วิ ส าหกิ จ ที่ ท ำธุ ร กิ จ ให้กู้ยืมเงินและสถาบันการเงินภาครัฐที่กระทรวงการคลัง ไม่ ไ ด้ ค้ ำ ประกั น รวบรวมข้ อ มู ล ประมาณการ ความต้องการเงินภาครัฐและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่ อ เสนอต่ อ คณะกรรมการดำเนิ น การเกี่ ย วกั บ การ บริหารหนี้สาธารณะ ให้คำปรึกษาแนะนำ ส่งเสริม หน่วยงานของรัฐในการบริหารจัดการหนี้ ติดตามการ ปฏิ บั ติ ต ามสั ญ ญาและประเมิ น ผลการใช้ จ่ า ยเงิ น กู้ ปฏิ บั ติ ง านธุ ร การของคณะกรรมการและดำเนิ น การ อื่น

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


1.2 การนำเสนอรายงาน รอบระยะเวลาบัญชี ใช้ปีงบประมาณเป็นเกณฑ์ คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่ง ถึงวัน ที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป ข้อมูลในรายงานการเงินฉบับนี้ เป็นรายงานที่ปรับปรุงรายการที่คลาดเคลื่อนในกระดาษ ทำการด้ ว ยมื อ และใช้ รู ป แบบรายงานการเงิ น ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0423.2/ว410 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551

หมายเหตุที่ 2 – สรุปนโยบายการบัญชี ที่สำคัญ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

063 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

2.1 หลั ก การบั ญ ชี งบการเงิ น นี้ จั ด ทำขึ้ น ตาม เกณฑ์คงค้าง (Accrual basis) โดยเป็นไปตาม ข้ อ กำหนดในหลั ก การและนโยบายบั ญ ชี สำหรั บ หน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 2 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 2.2 เงิ น สดและรายการเที ย บเท่ า เงิ น สด เช่ น เช็ค ตั๋วแลกเงินสด เป็นต้น รับรู้ตามมูลค่าที่ตราไว้ เงินทดรองราชการบันทึกรับรู้เมื่อได้รับเงินควบคู่ไปกับการ บันทึกเงินทดรองราชการรับเงินจากคลังระยะยาว 2.3 ลู ก หนี้ เ งิ น ยื ม บั น ทึ กรั บ รู้ ต ามจำนวนเงิ น ในสั ญ ญายื ม ไม่ ว่ า จะจ่ า ยจากเงิ น งบประมาณหรื อ เงินนอกงบประมาณ 2.4 ลูกหนี้ระยะยาว เป็นเงินให้ยืมแก่รัฐวิสาหกิจ บันทึกรับรู้ตามจำนวนเงินในสัญญากู้เงิน 2.5 วัสดุคงคลัง แสดงในราคาทุน โดยตีราคาวัสดุ คงเหลือตามวิธีเข้าก่อนออกก่อน 2.6 อุ ป กรณ์ (สุ ท ธิ ) เป็ น สิ น ทรั พ ย์ ที่ มี มู ล ค่ า ต่อหน่วย ต่อชุดหรือต่อกลุ่ม ตั้งแต่ 30,000 บาท ขึ้นไป เฉพาะที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 - 2545 สำหรับรายการที่จัดซื้อหรือได้มาในปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป จะรับเฉพาะที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป โดยแสดงราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม 2.7 รายได้จากเงินงบประมาณค้างรับ บันทึกเป็น รายได้ จ ากเงิ น งบประมาณค้ า งรั บ ณ วั น ที่ จั ด ทำ รายงานหรือ ณ สิ้นปีงบประมาณ ตามจำนวนเงิน งบประมาณที่ยังไม่ได้รับตามฎีกาเหลื่อมจ่าย 2.8 รายได้ค้างรับ บันทึกตามจำนวนเงินที่ยังไม่ ได้รับจนถึงสิ้นปีงบประมาณ

2.9 เจ้ า หนี้ บั น ทึ กรั บ รู้ เ จ้ า หนี้ จากการซื้ อ สิ น ค้ า หรื อ บริ ก าร เมื่ อ หน่ ว ยงานได้ ต รวจรั บ สิ น ค้ า หรื อ บริการจากผู้ขายแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระเงิน และสามารถ ระบุมูลค่าสินค้าหรือบริการได้ชัดเจน 2.10 ค่ า ใช้ จ่ า ยค้ า งจ่ า ย เกิ ด ขึ้ น จากข้ อ กำหนด ของกฎหมาย ข้อตกลงในสัญญา หรือจากบริการที่ได้รับ เช่น เงินเดือนหรือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค้ า งจ่ า ยและดอกเบี้ ย ค้ า งจ่ า ย เป็ น ต้ น โดยการ ประมาณค่ า ตามระยะเวลาที่ เ กิ ด ค่ า ใช้ จ่ า ยนั้ น ๆ สำหรั บ ใบสำคั ญ ค้ า งจ่ า ยจะรั บ รู้ เ มื่ อ ได้ รั บ ใบขอเบิ ก เงินจากข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง รวมถึง การรับใบสำคัญที่ทดรองจ่ายจากเงินทดรองราชการ 2.11 รายได้ รั บ ล่ ว งหน้ า บั น ทึ กรั บ รู้ ร ายได้ รั บ ล่วงหน้าเมื่อได้รับเงินตามจำนวนการใช้จ่ายเงิน รวมถึง การรับเงินสนับสนุน 2.12 เงินกู้ระยะสั้น เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลัง กู้ ใ นนามรั ฐ บาลแห่ ง ราชอาณาจั กรไทย ซึ่ ง เป็ น ส่ ว น ของงานหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย 1) เงินกู้ในประเทศ ได้แก่ เงินกู้เกิดจากการออก ตั๋วเงินคลังและส่วนที่จะครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ของตั๋วสัญญาใช้เงินและพันธบัตรรัฐบาล 2) เงิ น กู้ ต่ า งประเทศ ได้ แ ก่ ตั๋ ว Euro Commercial Paper (ECP) และส่วนที่จะครบกำหนด ชำระภายในหนึ่งปีของ Samurai Bond และเงินกู้ ตามสัญญากู้เงินที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ 2.13 เงินกู้ระยะยาว เป็นเงินกู้ที่กระทรวงการคลัง กู้ ใ นนามรั ฐ บาลแห่ ง ราชอาณาจั กรไทย ซึ่ ง เป็ น ส่ ว น ของงานหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย 1) เงินกู้ในประเทศ ได้แก่ เงินกู้เกิดจากการออก ตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตรรัฐบาล รับรู้ตามจำนวน เงินที่ตราไว้ ส่วนเกินมูลค่าพันธบัตรและส่วนต่ำกว่า มู ล ค่ า พั น ธบั ต รได้ มี ก ารตกลงกั บ กรมบั ญ ชี ก ลาง โดยทยอยรั บ รู้ เ ป็ น ดอกเบี้ ย จ่ า ยตามอายุ พั น ธบั ต ร โดยวิธีเส้นตรง 2) เงินกู้ต่างประเทศ ได้แก่ เงินกู้ที่เกิดจากการ ออก Samurai Bond และเงินกู้ตามสัญญากู้เงินที่เป็น สกุลเงินตราต่างประเทศ


2.14 หนี้ ส าธารณะ หมายถึ ง หนี้ ที่ ก ระทรวง การคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่ กระทรวงการคลังค้ำประกัน (ค้ำประกัน รวมถึงการ อาวั ล ตั๋ ว เงิ น ) แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำ ธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ำประกัน การกู้เงินจะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้ก็ได้ 2.15 การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ ได้บันทึก สิ น ทรั พ ย์ แ ละหนี้ สิ น ที่ เ ป็ น เงิ น ตราต่ า งประเทศตาม วั น ที่ เ กิ ด รายการด้ ว ยสกุ ล เงิ น ตราต่ า งประเทศนั้ น ๆ ณ วันจัดทำรายงาน หรือ ณ วันสิ้นปีงบประมาณการ แปลงค่าเงินตราต่างประเทศของทรัพย์สินและหนี้สิน คงเหลื อ ใช้ อั ต ราซื้อสำหรับสินทรัพย์ และอัตราขาย สำหรับหนี้สิน ตามอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงตามประกาศ ของธนาคารแห่งประเทศไทย กำไรหรือขาดทุนที่เกิด จากการแปลงค่าดังกล่าวรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย จากอั ต ราแลกเปลี่ ย นคู่ กั บ บั ญ ชี ป รั บ เงิ น กู้ แ ผ่ น ดิ น ระยะยาว 2.16 ทุ น บั น ทึ กรั บ รู้ เ มื่ อ เริ่ ม ปฏิ บั ติ ต ามระบบ บัญชีเกณฑ์คงค้างซึ่งเกิดจากผลต่างระหว่างสินทรัพย์ และหนี้สิน 2.17 รายได้ จ ากเงิ น งบประมาณ รั บ รู้ เ มื่ อ กรมบั ญ ชี ก ลางอนุ มั ติ ร ายการขอเบิ ก จากหน่ ว ยงาน กรณีจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของหน่วยงาน และรับรู้

เมื่ อ กรมบั ญ ชี ก ลางสั่ ง จ่ า ยเงิ น เข้ า บั ญ ชี ผู้ ข ายกรณี จ่ายเงินตรงเข้าบัญชีผู้ขาย 2.18 รายได้ เ งิ น นอกงบประมาณ รั บ รู้ เ มื่ อ เกิ ด รายได้ 2.19 รายได้แผ่นดิน รับรู้เมื่อเกิดรายได้ 2.20 ค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายงบกลาง รับรู้เมื่อเกิดรายได้ 2.21 ค่ า เสื่ อ มราคาสิ น ทรั พ ย์ คำนวณโดยวิ ธี เส้นตรงไม่มีราคาซาก (ราคาซาก=0) สินทรัพย์ที่หมด อายุการใช้งานแล้วให้คงมูลค่าไว้ในบัญชี 1 บาท จนกว่า จะมีการจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากระบบบัญชี การตี ราคาสินทรัพย์และคิดค่าเสื่อมราคาได้กำหนดประเภท สินทรัพย์และอายุการใช้งานของสินทรัพย์ต่างๆ ดังนี้ ประเภทสินทรัพย์ อายุการใช้งาน (ปี) ครุภัณฑ์สำนักงาน 10 ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง 5 ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 5

(บาท) ส่วนราชการ ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ

ยอดรวม

หมายเหตุที่ 3 - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

064 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

เงินสดในมือ เงินทดรองราชการ เงินฝากคลัง เงินฝากธนาคาร (เงินงบประมาณ) เงินฝาก ธปท. จากเงินกู้ FIDF3 เงินฝาก ธปท.จากเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ FIDF1 เงินฝาก ธปท. เพื่อการบริหารหนี้ พักเงินฝาก KTB สกุลเงิน ตปท. เพื่อชำระหนี้ รวม เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

62,023.65 1,000,000.00 4,705,844.20 374,783.49 6,142,651.34

227,759,253,548.65 2,013,566,549.23 4,249,048,840.46 2,048,095,184.50 638,386,321.82 236,708,350,444.66

62,023.65 1,000,000.00 227,763,959,392.85 374,783.49 2,013,566,549.23 4,249,048,840.46 2,048,095,184.50 638,386,321.82 236,714,493,096.00

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ส่วนราชการ หมายเหตุที่ 4 - ลูกหนี้ระยะสั้น

1,178,595.00 722,727.00 1,901,322.00

ลูกหนี้เงินยืมในงบประมาณ ลูกหนี้เงินยืมนอกงบประมาณ รวม ลูกหนี้ระยะสั้น

ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ หมายเหตุที่ 5 - ลูกหนี้ระยะยาว

18,355,562,093.10 18,355,562,093.10

เงินให้กู้ยืมระยะยาว-รัฐวิสาหกิจ รวม ลูกหนี้ระยะยาว

เงินให้กู้ยืมระยะยาว-รัฐวิสาหกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลชำระหนี้แทนองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

(หน่วย:บาท)

สัญญาเลขที่ 191/2528 1/2551

สกุลเงิน บาท บาท รวม

11,679,682.00 6,741,542.36 18,421,224.36

ส่วนราชการ หมายเหตุที่ 6 - อุปกรณ์ (สุทธิ)

4,501,716.65 1,056,880.21 3,444,836.44 4,417,000.00 3,573,415.12 843,584.88 2,023,044.87 861,067.79 1,161,977.08 895,311.01 351,019.60 544,291.41 18,919,212.65 7,887,567.40 11,031,645.25 14,200.02 7,983.13 6,216.89 6,727,334.55 6,085,111.04 642,223.51 17,674,775.46

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

065 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

ครุภัณฑ์สำนักงาน หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์สำนักงาน (สุทธิ) ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง (สุทธิ) ครุภัณฑ์ ไฟฟ้าและวิทยุ หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์ ไฟฟ้าและวิทยุ (สุทธิ) ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ (สุทธิ) ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ (สุทธิ) ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว (สุทธิ) ครุภัณฑ์ ไม่ระบุรายละเอียด หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์ ไม่ระบุรายละเอียด (สุทธิ) รวม อุปกรณ์ (สุทธิ)


(บาท) ส่วนราชการ ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ

ยอดรวม

หมายเหตุที่ 7 - เจ้าหนี้ระยะสั้น

เจ้าหนี้การค้า - บุคคลภายนอก เจ้าหนี้อื่น-หน่วยงานของรัฐ รวม เจ้าหนี้ระยะสั้น

2,007,065.77 106,952.00 2,114,017.77

11,651,572,809.66 11,651,572,809.66

429,606.13 2,432,289.19 2,861,895.32

20,308,343,906.36 3,628,852,981.76 2,419,813.95 23,939,616,702.07

2,007,065.77 11,651,679,761.66 11,653,686,827.43

หมายเหตุที่ 8 - ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ดอกเบี้ยค้างจ่าย ดอกเบี้ยรอตัดชำระ ใบสำคัญค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่น-บุคคลภายนอก รวม ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

20,308,343,906.36 3,628,852,981.76 429,606.13 4,852,103.14 23,942,478,597.39 (บาท) ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ

หมายเหตุที่ 9 - เงินกู้ระยะสั้น

147,000,000,000.00 208,781,720,000.00 355,781,720,000.00

ตั๋วเงินคลัง เงินกู้ระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี รวม เงินกู้ระยะสั้น

066 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ตั๋วเงินคลัง เป็นตราสารระยะสั้น อายุไม่เกิน 12 เดือน ออกตามขอบเขตของพระราชบัญญัติตั๋วเงินคลัง พ.ศ. 2487 และมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่ อ มาได้ มี ก ารยกเลิ ก กฎหมายดั ง กล่ า วข้ า งต้ น โดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ปัจจุบันการออกตั๋วเงินคลังจึงอยู่ภายใต้ขอบเขตของ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 การออกตั๋วเงินคลังมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหาร เงิ น สดของรั ฐ บาล เงิ น ที่ ป ระมู ล ตั๋ ว เงิ น คลั ง ได้ น ำไป สมทบเงิ น คงคลั ง ในการประมู ล ตั๋ ว เงิ น คลั ง จะเกิ ด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการประมูล ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ในการจำหน่ายและการเป็นนายทะเบียน ร้อยละ 0.01 ส่วนราชการ

ต่ อ ปีื วงเงิ น ที่ อ อกตั๋ ว เงิ น คลั ง อยู่ ใ นกรอบวงเงิ น ที่ ครม. อนุมัติ ให้กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลและเพื่อการบริหาร เงินสดในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2542-2550 รวม จำนวน 147,000 ล้านบาท โดยในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้มีการออกตั๋วเงินคลัง เพื่ อ ชดเชยการขาดดุ ล จำนวน 21,000 ล้ า นบาท ทำให้มีตั๋วเงินคลังหมุนเวียนสูงสุด 168,000 ล้านบาท และได้มีการแปลงตั๋วเงินคลังจำนวน 21,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรตามมาตรา 24(1) แห่งพระราชบัญญัติ บริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 เสร็จสิ้นในไตรมาส ที่ 4 แล้ ว โดยในงวดนี้ ไ ด้ ป ระมู ล ไปแล้ ว 52 ครั้ ง จำนวนเงิน 467,000 ล้านบาท ไถ่ถอนตั๋ว 52 ครั้ง เป็ น เงิ น 467,000 ล้ า นบาท คงเหลื อ เป็ น เงิ น 147,000 ล้านบาท (บาท) ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ

ยอดรวม

หมายเหตุที่ 10 - หนี้สินหมุนเวียนอื่น

เงินประกันผลงาน เงินประกันอื่นๆ ดอกเบี้ยจ่ายรับล่วงหน้า เบิกเกินส่งคืน รอนำส่ง รวม หนี้สินหมุนเวียนอื่น

377,038.90 228,161.90 6,817.00 612,017.80

8,361,514.75 8,361,514.75

377,038.90 228,161.90 8,361,514.75 6,817.00 8,973,532.55

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


(บาท) ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ หมายเหตุที่ 11 - เงินกู้ระยะยาว

พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วสัญญาใช้เงิน-ระยะยาว ส่วนเกินมูลค่า ส่วนต่ำกว่ามูลค่า พักชำระเงินกู้บาท - ระยะยาว เงินกู้แผ่นดินสกุลเงินบาท - ระยะยาว เงินกู้แผ่นดินสกุลเงินต่างประเทศ - ระยะยาว ปรับมูลค่าเงินกู้แผ่นดินสกุลเงินต่างประเทศ - ระยะยาว พักเงินกู้ต่างประเทศ - ระยะยาว พักชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ - ระยะยาว พักชำระเงินกู้ต่างประเทศ - ระยะยาว พักก่อหนี้เงินกู้ต่างประเทศ - ระยะยาว รวม เงินกู้ระยะยาว

พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ คือ พันธบัตร ที่ออกตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ ปรับโครงสร้างหนี้ เงินที่ได้จากการจำหน่ายพันธบัตร ได้ น ำเงิ น ไปปรั บ โครงสร้ า งหนี้ เ งิ น กู้ ที่ ค รบกำหนด และปรั บ โครงสร้ า งหนี้ เ งิ น กู้ ต่ า งประเทศเป็ น เงิ น กู้ ในประเทศ ในการออกพันธบัตรจะเกิดค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการจำหน่ายและการเป็นนายทะเบียน ร้อยละ 0.1 ต่อปี การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการ บริหารหนี้ได้รับอนุมัติจาก ครม. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2551 ต่อมาชำระคืนเงินต้นพันธบัตร ที่ครบกำหนดไถ่ถอนบางส่วน ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ในงวดนี้ได้จำหน่ายไปแล้ว 9 ครั้ง จำนวน 77,582 ล้านบาท ไถ่ถอน 1 ครั้ง เป็นเงิน 37,500 ล้านบาท คงเหลือเป็นเงิน 248,652 ล้านบาท

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

067 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

พันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุล คือ พันธบัตรออมทรัพย์และพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการ ขาดดุลที่ออกตามมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธี การงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมา ได้ มี ก ารยกเลิ ก โดยพระราชบั ญ ญั ติ ก ารบริ ห ารหนี้ สาธารณะ พ.ศ. 2548 โดยออกตามความในมาตรา 20 (1) โดยเงินที่ได้จากการจำหน่ายพันธบัตรได้นำส่ง คลั ง เพื่ อ นำเงิ น ไปชดเชยการขาดดุ ล ในการออก พันธบัตรจะเกิดค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการ จำหน่ายและการเป็นนายทะเบียน ร้อยละ 0.1ต่อปี การออกพันธบัตรออมทรัพย์อยู่ในกรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติให้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลโดยในงวดนี้ ได้ จำหน่ายไปแล้ว 13 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 ล้านบาท ไถ่ถอน 0 ครั้ง เป็นเงิน 0 บาท คงเหลือเป็นเงิน 18,000 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลเพือ่ ชดเชยการขาดดุล อยู่ ใ นกรอบวงเงิ น ที่ ครม. อนุ มั ติ ในปี ง บประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 97,115 ล้านบาท ในงวดนี้ได้จำหน่าย ไปแล้ว 11ครัง้ เป็นเงิน 100,050 ล้านบาท ไถ่ถอน 1 ครัง้ เป็นเงิน 34,950 ล้านบาท คงเหลือเป็นเงิน 374,115 ล้านบาท

1,644,188,240,000.00 95,035,000,000.00 6,603,377,342.25 (2,062,517,566.44) 44,950,000,000.00 93,229,945.60 62,444,449,030.17 5,770,212,806.08 (181,189,387.67) (1,845,510,893.95) 361,943,645.39 40,107,001.41 1,855,397,341,922.84


068 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

พั น ธบั ต รรั ฐ บาลกรณี พิ เ ศษและพั น ธบั ต รรั ฐ บาล เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (FIDF1) คือ พันธบัตรที่ ออกตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงิ นและจั ดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 วงเงินกู้ 500,000 ล้านบาท เพื่อชดใช้ความเสียหาย และปรับโครงสร้างแหล่งเงินทุนของกองทุนเพื่อการ ฟื้ น ฟู แ ละพั ฒ นาระบบสถาบั น การเงิ น เงิ น ที่ ไ ด้ จาก การกู้ ไ ม่ ต้ อ งนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และสามารถ ดำเนิ น การปรั บ โครงสร้ า งหนี้ หรื อ ขยายระยะเวลา ชำระหนี้หรือลดภาระหนี้เดิมได้ การชำระคืนต้นเงินกู้ นำมาจากเงินในบัญชีกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงิน กู้ ช ดใช้ ค วามเสี ย หายของกองทุ น เพื่ อ การฟื้ น ฟู แ ละ พัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งประกอบด้วย 1. เงินกำไรสุทธิที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่ง เป็นรายได้ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ละปีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบ 2. เงินรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในจำนวน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลั ง กำหนดโดยอนุ มั ติ ค ณะรั ฐ มนตรี (ปั จ จุ บั น รั ฐ วิ ส าหกิ จ ไม่ ต้ อ งนำส่ ง รายได้ ดั ง กล่ า วเข้ า กองทุ น เพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ฯ แล้วตามมติณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2546) 3. ดอกผลของกองทุน ส่วนรายจ่ายเพื่อการชำระ ค่ า ดอกเบี้ ย เงิ น กู้ ต ามพระราชกำหนดนี้ น ำมาจาก งบประมาณรายจ่ายประจำปี กระทรวงการคลังโดยอนุมตั ิ ครม. ได้ดำเนินการออกพันธบัตร FIDF 1 ในระหว่าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 จนครบวงเงิน 500,000 ล้านบาท ต่อมาชำระคืนเงินต้นพันธบัตร ที่ ค รบกำหนดไถ่ ถ อนบางส่ ว น ตั้ ง แต่ ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2551 คงเหลือพันธบัตร ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 อีกจำนวน 463,276 ล้านบาท (ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการ ออกพันธบัตรจำนวน 10,000 ล้านบาท)

พั น ธ บั ต ร รั ฐ บ า ล กร ณี พิ เ ศ ษ แ ล ะ พั น ธ บั ต ร ออมทรัพย์และพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้าง หนี้ (FIDF3) คือ พันธบัตรที่ออกตามพระราชกำหนด ให้ อ ำนาจกระทรวงการคลั ง กู้ เ งิ น และจั ด การเงิ น กู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. 2545 วงเงินกู้ 780,000 ล้านบาท เพื่อชดใช้ความเสียหายของกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เงินที่ได้ จากการกู้ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินและสามารถ ดำเนิ น การปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ห รื อ ขยายระยะเวลา ชำระหนี้การชำระคืนต้นเงินกู้ที่ครบกำหนดใช้เงินจาก บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหาย ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ เ ปิ ด ไว้ ที่ ธ นาคารแห่ ง ประเทศไทยโดยนำเงิ น มา

จากสิ น ทรั พ ย์ ค งเหลื อ ในบั ญ ชี ผ ลประโยชน์ ป ระจำปี ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา กระทรวงการคลั ง ได้ ด ำเนิ น การออกพั น ธบั ต ร FIDF 3 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2551 ต่อมาชำระคืนเงินต้นพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอน บางส่วน ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 คงเหลือ พันธบัตร ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 จำนวน 693,326.96 ล้านบาท (ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการออกพันธบัตรจำนวน 35,731.02 ล้านบาท ไถ่ถอนจำนวน 15,000 ล้านบาท)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


พั น ธบั ต รกรณี พิ เ ศษที่ เ ป็ น เงิ น ตราต่ า งประเทศ ได้แก่ พันธบัตรพัฒนาอาชีวศึกษา, พันธบัตรรามา และ พันธบัตรโรงเรียนมัธยมแบบประสม ออกตามพระราชบั ญ ญั ติ กู้ เ งิ น เพื่ อ พั ฒ นาอาชี ว ศึ ก ษา พ.ศ. 2509, กฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2511 และ พระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนมัธยม แบบประสม พ.ศ. 2514 ตามลำดับ เพื่อใช้ดำเนิน โครงการพัฒนาอาชีวศึกษา, จัดซื้อครุภัณฑ์ต่างประเทศ ตามโครงการจั ด ตั้ ง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี และพัฒนาการศึกษาโรงเรียนมัธยมแบบ ประสมตามลำดับ เงินที่ได้จากการจำหน่ายพันธบัตร ได้ น ำเงิ น ไปดำเนิ น โครงการพั ฒ นาอาชี ว ศึ ก ษา จัดซื้อครุภัณฑ์ต่างประเทศตามโครงการจัดตั้งคณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และพัฒนาการศึกษา โรงเรียนมัธยมแบบประสม ตามลำดับ ในการออก พันธบัตรจะเกิดค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการ จำหน่ายและการเป็นนายทะเบียนร้อยละ 0.04 ต่อปี การออกพันธบัตรกรณีพิเศษที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ได้รับอนุมัติจาก ครม. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2514 ตามลำดับ จำนวน 7,010,000 เหรียญสหรัฐ 1,700,000 เหรียญสหรัฐ และ 6,817,000 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ในปีงบประมาณนี้ ไม่มีการจำหน่ายพันธบัตร ดังกล่าว แต่ได้ดำเนินการไถ่ถอนเงินต้น 3 ครั้ง เป็นเงิน

069

200,000 45,000 และ 192,000 เหรียญสหรัฐ (ไถ่ถอนในจำนวนนี้ทุกปีตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา) คงเหลือเป็นเงิน 2,728,000 เหรียญสหรัฐ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ (TIER1) คือ พันธบัตร ที่ออกตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้ เ งิ น เพื่ อ เสริ ม สร้ า งความมั่ น คงของระบบสถาบั น การเงิน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ดำเนินการเสริมสร้างความ มั่นคงของระบบสถาบันการเงินภายในประเทศ โดย เป็ น การออกพั น ธบั ต รเพื่ อ แลกกั บ หุ้ น บุ ริ ม สิ ท ธิ์ ข อง สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการโดยออกในจำนวน ที่ เ ท่ า กั น ซึ่ ง ได้ ด ำเนิ น การในปี ง บประมาณ พ.ศ 2542 - พ.ศ. 2543 จำนวน 61,304 ล้านบาท โดยมี เงื่ อ นไขว่ า พั น ธบั ต รที่ อ อกตามโครงการนี้ จ ะไม่ สามารถไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ เว้นแต่มีการจำหน่าย หุ้ น บุ ริ ม สิ ท ธิ์ ที่ กระทรวงการคลั ง ถื อ ตามโครงการนี้ โดยสามารถไถ่ถอนได้เป็นจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งที่ผ่านมา ได้ ด ำเนิ น การไถ่ ถ อนก่ อ นกำหนดไปแล้ ว ในระหว่ า ง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2548 จำนวน 29,950 ล้านบาท (ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2551 ไม่มีการไถ่ถอน) ปัจจุบันคงเหลือพันธบัตร คงค้างอีกจำนวน 31,354 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ (TIER2) คือ พันธบัตร ที่ออกตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้ เ งิ น เพื่ อ เสริ ม สร้ า งความมั่ น คงของระบบสถาบั น การเงิน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ดำเนินการเสริมสร้างความ มั่นคงของระบบสถาบันการเงินภายในประเทศ โดยเป็น การออกพั น ธบั ต รเพื่ อ แลกกั บ หุ้ น กู้ ด้ อ ยสิ ท ธิ์ ข อง สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการโดยออกในจำนวน ที่เท่ากัน ซึ่งได้ดำเนินการออกพันธบัตรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 จำนวน 12,430 ล้านบาท และได้ ด ำเนิ น การไถ่ ถ อนก่ อ นกำหนดไปแล้ ว ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 80 ล้านบาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 578 ล้านบาท และปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 26 ล้านบาท โดยนำเงินที่กระทรวงการคลังได้รับจากการที่สถาบัน การเงิ น ที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการขอไถ่ ถ อนหุ้ น กู้ ด้ อ ยสิ ท ธิ์ ก่ อ นครบกำหนดมาไถ่ ถ อนพั น ธบั ต รรั ฐ บาลคื น ใน จำนวนที่เท่ากัน ปัจจุบันคงเหลือพันธบัตรคงค้างอีก จำนวน 11,746 ล้านบาท


(บาท) เงินตราต่างประเทศ เงินกู้แผ่นดิน จำนวน 2,212,070.22 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ เงินกู้ในประเทศ ตั๋วเงินคลัง เงินกู้ระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ส่วนเกินมูลค่า ส่วนต่ำกว่ามูลค่า พักชำระเงินกู้บาท - ระยะยาว รวม บวก พันธบัตรและเงินกู้ต่างประเทศ-เงินดอลลาร์สหรัฐ รวม เงินกู้ในประเทศ

070 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

เงินกู้ต่างประเทศ ดอลลาร์สหรัฐ เงินกู้ธนาคารโลก (IBRD) เงินกู้สมาคมพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เงินกู้รัฐบาลสหรัฐ (GOUS) สาธารณรัฐเยอรมันนี เงินกู้จากรัฐบาลเดนมาร์ค (GODE) เงินกู้รัฐบาลเดนมาร์ค (GODK) FRN MTN Bank’s Credit รวม ดอลลาร์สหรัฐ เยนญี่ปุ่น เงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น (GOJP) Samurai Bond รวม เยนญี่ปุ่น ยูโร เงินกู้จากรัฐบาลออสเตรีย (GOAT) สาธารณะรัฐเยอรมันนีเงินกู้จากรัฐบาลเดนมาร์ค (GODE) GOBE รวม ยูโร ดอลลาร์แคนาดา รวม เงินกู้ต่างประเทศ รวม เงินกู้แผ่นดิน

2,728,000.00

147,000,000,000.00 208,781,720,000.00 1,644,188,240,000.00 95,035,000,000.00 6,603,377,342.25 (2,062,517,566.44) 44,950,000,000.00 2,144,495,819,775.81 93,229,945.60 2,144,589,049,721.41

64,832,322.39 63,372,674.34 26,430,366.25 48,915,636,13 642,348.00 683,792.82 200,000,000.00 40,000,000.00 24,676,930.01 469,554,069.94

2,215,657,584.14 2,165,773,820.10 903,263,052.67 1,671,701,647.87 21,952,371.37 23,368,756.38 6,835,040,000.00 1,367,008,000.00 843,339,018.48 16,047,104,251.01

79,815,111,877.00 68,000,000,000.00 47,815,111,877.00

26,328,371,509.53 22,430,956,000.00 48,759,327,509.53

8,502,712.37 33,082,038.97 1,072,146.67 42,656,898.01 17,516,111.55 148,344,838,956.50

418,913,333.59 1,629,892,512.38 52,822,736.57 2,101,628,582.54 573,109,653.80 67,481,169,996.88 2,212,070,219,718.29

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


(บาท) ส่วนราชการ

ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ

ยอดรวม

หมายเหตุที่ 12 - รายได้จากงบประมาณ

รายได้ระหว่างหน่วยงาน-หน่วยงานรับเงิน จากรัฐบาล รายได้ระหว่างหน่วยงาน-หน่วยงานรับงบ บุคลากรจากรัฐบาล รายได้ระหว่างหน่วยงาน-หน่วยงานรับเงิน งบลงทุนจากรัฐบาล รายได้ระหว่างหน่วยงาน-หน่วยงานรับงบ ดำเนินงานจากรัฐบาล รายได้ระหว่างหน่วยงาน - หน่วยงานรับ เงินงบรายจ่ายอื่นจากรัฐบาล รายได้ระหว่างหน่วยงาน-หน่วยงานรับงบ กลางจากรัฐบาล รายได้ระหว่างหน่วยงาน - หน่วยงานรับ เงินกู้จากรัฐบาล รายได้ระหว่างหน่วยงาน - เงินงบประมาณ รายจ่ายอื่นชำระหนี้ รายได้ระหว่างหน่วยงาน - เงินให้กู้/เงินยืม จากรัฐบาล ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงาน -หน่วยงานส่งเงิน เบิกเกินส่งคืนให้กรมบัญชีกลาง รวม รายได้จากรัฐบาล

56,532,828.48

64,631,068,143.57

64,687,600,972.05

12,823,484.66

-

12,823,484.66

64,985.01

-

64,985.01

7,023,772.81

-

7,023,772.81

11,982,389.06 3,921,736.51

4,152,256.05

16,134,645.11

-

3,921,736.51

-

9,312,984.38

9,312,984.38

-

94,683,990,512.71

94,683,990,512.71

-

(15,795,101.36)

(15,795,101.36)

(733,796.77)

-

(733,796.77)

91,615,399.76

159,312,728,795.35

159,404,344,195.11

14,681,488.13 -

103,089,428.50 242,916,507.20 183,552,740,311.14

103,089,428.50 242,916,507.20 14,681,488.13 183,552,740,311.14

(4,124,883.25)

(252,232,765,233.59)

(252,236,890,116.84)

10,556,604.88

(68,334,018,986.75)

(68,323,462,381.87)

หมายเหตุที่ 13 - รายได้อื่น

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

071 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากจากสถาบันการเงิน รายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ รายได้ระหว่างหน่วยงาน-ปรับเงินฝากคลัง รายได้ระหว่างหน่วยงาน - เงินนอก งบประมาณตั๋วเงินคลัง ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงาน หน่วยงานโอน เงินนอกงบประมาณให้กรมบัญชีกลาง รวม รายได้อื่น


ส่วนราชการ หมายเหตุที่ 14 - ค่าใช้จ่ายบุคลากร

เงินเดือน ค่าล่วงเวลา เงินตอบแทนพิเศษของผู้ได้รับเงินเต็มขั้น เงินตอบแทนพนักงานราชการ เงินรางวัลสำหรับผู้บริหาร เงินรางวัลสำหรับหน่วยงาน เงินเดือนและค่าจ้างอื่น ค่าจ้าง ค่าจ้างชั่วคราว เงินชดเชยสมาชิก กบข. เงินสมทบ กบข. เงินสบทบกองทุนประกันสังคม ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก-รพ.รัฐ เงินช่วยค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน-รพ.รัฐ รวม ค่าใช้จ่ายบุคลากร

30,880,526.32 117,300.00 67,656.00 871,433.34 3,044,033.20 438,460.57 1,500.00 3,467,548.84 4,081,996.96 508,638.00 763,165.00 421,807.00 304,800.00 127,185.50 2,294,187.75 674,870.66 48,065,109.14

หมายเหตุที่ 15 - ค่าบำเหน็จบำนาญ

บำนาญปกติ เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ค่ารักษาพยาบาลคนไข้นอก-รพ.รัฐ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ค่ารักษาพยาบาลคนไข้ใน-รพ.รัฐ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ รวม ค่าบำเหน็จบำนาญ

742,900.32 61,692.00 60,415.50 9,468.20 874,476.02

หมายเหตุที่ 16 - ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

072 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ค่าใช้จ่ายในการอบรมในประเทศอื่นๆ ค่าใช้จ่ายด้านทุนการศึกษา ค่าใช้จ่ายอบรมต่างประเทศอื่นๆ ค่าลงทะเบียนการอบรม ค่าเดินทาง รวม ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

4,507,477.97 2,167,484.25 165,507.05 8,900.00 1,220.00 6,850,589.27

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ส่วนราชการ

(บาท)

หมายเหตุที่ 17 - ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ค่าเดินทางเพื่องานราชการในประเทศ ค่าเบี้ยเลี้ยงเพื่องานราชการในประเทศ ค่าที่พักเพื่องานราชการในประเทศ ค่าใช้จ่ายเพื่องานราชการในประเทศอื่นๆ ค่าเดินทางเพื่องานราชการต่างประเทศ ค่าเบี้ยเลี้ยงเพื่องานราชการต่างประเทศ ค่าที่พักเพื่องานราชการต่างประเทศ ค่าโดยสารเครื่องบินนอกประเทศ ค่าใช้จ่ายเพื่องานราชการต่างประเทศอื่นๆ รวม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

43,513.00 5,252.00 48,935.41 42,629.00 999,259.46 531,783.56 1,148,125.93 1,130,385.00 3,076,272.86 7,026,156.22

หมายเหตุที่ 18 - ค่าวัสดุ และค่าใช้สอย

4,875.00 1,834,243.65 999,366.04 127,450.20 22,274,024.25 235,014.00 403,829.05 476,307.16 137,777.70 14,400.00 9,250.00 7,770,827.80 5,192.00 387,007.80 22,073.88 670,500.00 270,494.65 83,283.50 35,725,916.8

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

073 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

ค่าธรรมเนียม วัสดุใช้ไป ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ค่าปิโตรเลียมสำหรับการใช้งาน ค่าจ้างบริการ-หน่วยงานภายนอก ค่าจ้างบริการ-หน่วยงานภาครัฐ ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ค่าวัสดุอื่น ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าจัดพิมพ์ ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายค่าที่ปรึกษา ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการประชุม ค่ารับรอง ค่าวิจัยและพัฒนา - ภาครัฐ ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวม ค่าวัสดุ และค่าใช้สอย


ส่วนราชการ

(บาท)

หมายเหตุที่ 19 - ค่าสาธารณูปโภค

14,410.00 500.00 652,284.27 629,885.89 948,883.10 77,734.00 28,080.50 2,351,777.76

ค่าตอบแทนเฉพาะงาน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าไฟฟ้าสำหรับการใช้งาน ค่าโทรศัพท์สำหรับการใช้งาน ค่าใช้จ่ายค่าบริการ Internet ค่าไปรษณีย์และค่าขนส่ง ค่าสาธารณูปโภคอื่น รวม ค่าสาธารณูปโภค

ส่วนราชการ

(บาท)

หมายเหตุที่ 20 - ค่าเสื่อมราคา

454,061.65 774,582.24 285,840.53 179,062.20 3,556,164.18 2,840.00 443,162.81 5,695,713.61

ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์สำนักงาน ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว รวม ค่าเสื่อมราคา

(บาท) ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ หมายเหตุที่ 21 - ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน

เงินอุดหนุนเพื่อการดำเนินงาน-หน่วยงานของรัฐ ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงาน - หน่วยงานกับหน่วยงาน รวม ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน ส่วนราชการ

074 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ หมายเหตุที่ 22 - ค่าใช้จ่ายอื่น (12,791,052.17) (280,000,000,000.00) รายได้ระหว่างหน่วยงาน-หน่วยงานรับเงิน นอกงบประมาณจากกรมบัญชีกลาง 81,390,415.13 ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงาน กรมบัญชีกลางโอนเงินกู้ให้หน่วยงาน ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงาน - ปรับเงินฝากคลัง 14,024,275.27 236,588,870,326.88 ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงาน - เงินนอก งบประมาณตั๋วเงินคลัง 137,998,708,768.70 ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงาน - กู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุล 94,668,969,510.71 1,233,223.10 รวม ค่าใช้จ่ายอื่น

5,000,000,000.00 134,927,105.01 5,134,927,105.01 ยอดรวม

(บาท)

(280,012,791,052.17) 81,390,415.13 14,024,275.27 236,588,870,326.88 137,998,708,768.70 94,670,202,733.81

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


(บาท) ยอดรวม

ส่วนราชการ หมายเหตุที่ 23 - รายการอื่นๆ ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน

กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ กำไรที่เกิดขึ้นแล้วจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ ดอกเบี้ยจ่าย-ในประเทศ ดอกเบี้ยจ่าย-ต่างประเทศ ดอกเบี้ยจ่าย-หน่วยงานของรัฐระยะยาว ดอกเบี้ยจ่าย-ในประเทศ (ระยะยาว) ดอกเบี้ยจ่าย-ต่างประเทศ (ระยะยาว) ส่วนต่ำกว่ามูลค่าพันธบัตรตัดจำหน่าย ส่วนเกินมูลค่าพันธบัตรตัดจำหน่าย ค่าธรรมเนียมเงินกู้ ค่าใช้จ่ายทางการเงินอื่น ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ ขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ ขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วจากอัตราแลกเปลี่ยนอื่น ขาดทุนจากการไถ่ถอนก่อนกำหนด รวม รายการอื่นๆ ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน

ส่วนงานบริหารหนี้สาธารณะ 809,591,144.77 809,591,144.77 2,582,266,279.14 2,582,266,279.14 (3,688,758,158.91) (3,688,758,158.91) (1,189,476,340.73) (1,189,476,340.73) 410,312,422.44 410,312,422.44 (122,945,881,559.80) (122,945,881,559.80) (1,837,130,648.93) (1,837,130,648.93) (177,965,485.40) (177,965,485.40) 718,042,878.08 718,042,878.08 (375,994,578.58) (375,994,578.58) (52,477,088.82) (52,477,088.82) (5,655,205,200.91) (5,655,205,200.91) (3,978,310,349.20) (3,978,310,349.20) (403.57) (403.57) (246,038.83) (246,038.83) (403.57) (135,381,232,725.68) (135,381,233,129.25)

หมายเหตุที่ 24 - รายได้อื่นๆ ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน

รายได้จากรัฐวิสาหกิจชำระหนี้เงินให้กู้ต่อ รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่สถาบันการเงิน รายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ รายได้จากดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิตามโครงการช่วยเพิ่ม รายได้ดอกเบี้ยอื่น รายได้ค่าปรับอื่น รายได้เงินเหลือจ่ายปีเก่า รายได้รับชำระหนี้จากการให้ยืมและกู้ต่อ รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอื่น รวม รายได้อื่นๆ ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงาน

1,120.29 128,410.43 262,228.95 467.00 392,226.67

16,770,919.84 1,442,716.07 720,484,825.86 535,112,883.57 35,374,737.69 5,377,067.91 1,314,563,150.94

16,770,919.84 1,442,716.07 720,484,825.86 535,112,883.57 1,120.29 128,410.43 262,228.95 35,374,737.69 5,377,534.91 1,314,955,377.61

075 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


หมายเหตุ 25 - รายงานฐานะเงินงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบัน

งบประมาณรายจ่าย เพิ่ม

รายการ

เพิ่ม

เงินประจำงวด เบิก

คงเหลือ

แผนงาน ส่งเสริมการบริหารการเงิน และการคลังที่ยั่งยืน งานบริหารจัดการหนี้สาธารณะ 31,822,159.66 4,162,440.34 35,984,600.00 35,984,600.00 งบบุคลากร 10,964,760.14 2,662,993.81 13,627,753.95 19,882,000.00 งบดำเนินงาน 5,759,444.81 6,407,401.24 12,166,846.05 5,912,600.00 งบรายจ่ายอื่น 48,546,364.61 13,232,835.39 61,779,200.00 61,779,200.00 รวม แผนงาน บริหารจัดการหนี้ภาครัฐ งานบริหารการชำระหนี้ของรัฐบาล 8,515.56 159,855,732,000.00 159,855,732,000.00 159,855,723,484.44 งบรายจ่ายอื่น 8,515.56 รวม 159,855,732,000.00 159,855,732,000.00 159,855,723,484.44 159,917,511,200.00 159,917,511,200.00 159,904,269,849.05 13,241,350.95 รวมทั้งสิ้น

หมายเหตุ 26 - รายงานฐานะเงินงบประมาณรายจ่ายปีก่อน

รายการ แผนงาน จัดการทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐ งานบริหารจัดการหนี้สาธารณะ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบรายจ่ายอื่น งานบริหารการชำระหนี้ของรัฐบาล งบรายจ่ายอื่น รวมทั้งสิ้น

เบิกกันไว้ เบิกเหลื่อมปี

รวม รวม

94,194.00 10,821,134.00 10,915,328.00 10,915,328.00

เบิก

คงเหลือ -

94,194.00 5,283,711.34 5,377,905.34

0.00 5,537,422.66 5,537,422.66

5,377,905.34

5,537,422.66

076 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


บทความวิชาการ


แนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ

1. ความเป็นมา ในช่วงก่อนประเทศไทยเกิดวิกฤตทางการเงินในปี พ.ศ. 2540 นักลงทุนส่วนใหญ่ระดมทุนผ่านทางตลาด สิ น เชื่ อ ของธนาคารพาณิ ช ย์ และตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ทำให้การระดมทุนผ่านตลาดทั้ง 2 แห่ง มีมูลค่าสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 101 และ 85 ของ GDP ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ก็ส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้เป็นตลาด ที่มีขนาดเล็ก และไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยมีมูลค่าตลาด คิดเป็นร้อยละ 10 ของ GDP เท่านั้น

078 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศไทย และเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตทางการเงินที่เคยเกิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นกับ 3 เสาหลักของตลาดทุนไทย ได้แก่ ตลาดสินเชื่อ ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดตราสารหนี้ และ เนื่ อ งจากตลาดตราสารหนี้ เ ป็ น ตลาดที่ มี ก ารพั ฒ นา น้อยทีส่ ดุ รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ในลำดับต้นๆ เพื่อให้ตลาดตราสารหนี้เป็น ทางเลือกในการระดมทุน และลงทุนที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ • ตลาดตราสารหนี้จะเป็นทางเลือกของผู้ออม และนักลงทุน นอกเหนือจากการฝากเงินกับ ธนาคารพาณิชย์ และซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

• ตลาดตราสารหนี้จะเป็นช่องทางในการระดมทุน ของผู้ประกอบการ นอกเหนือไปจากการขอ สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ และการเพิ่มทุน ผ่านตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ทำการ ศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อให้เป็นแหล่งระดมทุนของภาครัฐและเอกชนที่มี ประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างพันธบัตรรัฐบาลเพื่อใช้ เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1.1 ปัญหาของตลาดตราสารหนี้ไทย สบน. ได้ทำการศึกษาปัญหาของตลาดตราสารหนี้ ไ ทยพบว่ า ปั ญ หาของตลาดตราสารหนี้ ไ ทย ที่ ส ำคั ญ ประการหนึ่ ง คื อ การขาดสภาพคล่ อ งใน ตลาดรอง โดย ณ สิ้นปี 2549 Annual Turnover Ratio เฉพาะพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็น 0.42 เท่า ซึ่งต่ำมาก เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ ประเทศอื่ น ๆ ในภู มิ ภาคเอเชี ย เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่มี Annual Turnover Ratio เท่ากับ 1.97 และ 2.59 เท่า ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุ ของการขาดสภาพคล่ อ ง เกิ ด จากการที่ พั น ธบั ต ร รัฐบาลไทยมีจำนวนรุ่นที่มากเกินไป และขนาดของ แต่ ล ะรุ่ นมี มู ล ค่ า ไม่ สู ง พอที่ จ ะทำให้ เ กิ ด การซื้ อ ขาย

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


และสามารถสร้ า งอั ต ราดอกเบี้ ย อ้ า งอิ ง ให้ กั บ ตลาด ตราสารหนี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ คืออยู่ระหว่าง 60,000 - 100,000 ล้านบาท 2.2 จำนวนรุ่นและอายุของพันธบัตร Benchmark Bond การกำหนดอายุ ข องพั น ธบั ต ร Benchmark Bond ในแต่ละรุ่น ต้องคำนึงถึงความต้องการของ นักลงทุน เพื่อให้การกำหนดอายุของพันธบัตรรุ่นหนึ่ง ไม่ ส่ ง ผลกระทบกั บ พั น ธบั ต รอี ก รุ่ น หนึ่ ง รวมทั้ ง เพื่ อ ให้ ส ามารถสร้ า งอั ต ราดอกเบี้ ย อ้ า งอิ ง ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ ดังนัน้ การกำหนดรุน่ อายุของ Benchmark Bond จึงควรแบ่งตามความต้องการของตลาดอย่าง เหมาะสม ซึ่งผลสำรวจจากทั้ง ADB และ IMF เห็นควร ให้กำหนดอายุของ Benchmark Bond ไว้ที่รุ่นอายุ 5 10 15 และ 20 ปี สำหรั บ การกำหนดอายุ ข อง Benchmark Bond ไว้ที่ 7 ปี และ 10 ปี ใน 2 ปีที่ผ่านมาเกิดจาก ข้อจำกัดในขณะนั้น คือไม่สามารถออกพันธบัตรที่มี อายุ 4 - 5 ปีได้ เนื่องจากการกระจุกตัวของภาระหนี้ ในปี พ.ศ. 2554 - 2555 ทำให้การออก Benchmark Bond รุ่นอายุ 5 ปี จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการ ปรับโครงสร้างหนี้ของพันธบัตรในช่วงเวลาดังกล่าว 2.3 ความถี่ในการประมูล จากการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของจากผู้ ร่ ว ม ตลาด พบว่ า การกำหนดการประมู ล พั น ธบั ต รใน ปัจจุบันมีความถี่ที่มากเกินไป กล่าวคือ มีการประมูล พันธบัตรเพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเดือนละ 1 ครั้ง ทุกรุ่นอายุ ซึ่งทำให้มีการประมูลพันธบัตรเพื่อสร้าง อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแบบสัปดาห์เว้นสัปดาห์ สบน. จึงได้ปรับเปลี่ยนการประมูล Benchmark Bond ให้มีการประมูลเดือนละครั้งตลอดปีงบประมาณ โดยประมูลรุ่นอายุ 5 ปี สลับกับรุ่นอายุ 10 ปี แต่ละรุ่น ประมูลแบบเดือนเว้นเดือน รุ่นละ 6 งวด

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

079 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

หมุนเวียนกันในตลาดรอง โดยเมื่อพิจารณาจากมูลค่า คงค้ า งของพั น ธบั ต รรั ฐ บาลหลั ง หั ก มู ล ค่ า ของ พั น ธบั ต รออมทรั พ ย์ แ ละพั น ธบั ต รที่ มี อ ายุ ต่ ำ กว่ า 3 ปีแล้ว พบว่ามีมูลค่าเฉลี่ยต่อรุ่นเท่ากับ 33,200 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ที่มี มูลค่าคงค้างของพันธบัตรรัฐบาลเฉลี่ยต่อรุ่นประมาณ 84,000 ล้ า นบาท ทั้ ง ที่ ป ระเทศสิ ง คโปร์ ไ ม่ มี ก าร ขาดดุลการคลังอย่างต่อเนื่องยาวนาน 1.2 การออกพั น ธบั ต รเพื่ อ สร้ า งอั ต ราดอกเบี้ ย อ้างอิง (Benchmark Bond) ในช่วงที่ผ่านมา สบน. ได้ดำเนินการออก Benchmark Bond อย่างเป็นระบบมาแล้ว 2 ปี (ปี 2549 - 2550) โดยการออก Benchmark Bond ในช่วงที่ผ่านมาได้ กำหนดรุ่นอายุไว้ปีละ 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 7 ปี และ 10 ปี มี ก ารออกเป็ น ประจำทุ ก เดื อ นตลอดปี ง บประมาณครั้งละไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ต่อรุ่น ต่อเดือน ทำให้เมื่อสิ้นปีงบประมาณในแต่ละปี พันธบัตร ทั้ง 2 รุ่นที่ออกในปีนั้นๆ จะมียอดคงค้างประมาณ 48,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่เพียงพอต่อการสร้าง อั ต ราดอกเบี้ ย อ้ า งอิ ง ให้ กั บ ตลาดตราสารหนี้ แ ละมี ยอดคงค้ า งที่ ไ ม่ สู ง เกิ น ไปในการปรั บ โครงสร้ า งหนี้ เมื่อครบกำหนดชำระ การออก Benchmark Bond ในรูปแบบดังกล่าว สามารถทำให้เกิดสภาพคล่องที่สูงขึ้น สังเกตได้จาก ยอดซื้อขายในตลาดรองที่เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม Turnover Ratio ของตลาด พันธบัตรไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับสากล 2. กลยุทธ์และแนวทางการออกพันธบัตร Benchmark Bond รูปแบบใหม่ 2.1 วงเงินของพันธบัตร จากการหารื อ กั บ ผู้ ร่ ว มตลาด และผลการ ศึกษาของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ADB และ IMF พบว่า ขนาดที่เหมาะสมของพันธบัตรที่จะ เป็น Benchmark Bond ที่มีสภาพคล่องในตลาดรอง


2.4 การออกตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อชดเชยส่วน ขาดของกระแสเงินสดรับ จากแนวทางการออก Benchmark Bond แบบ กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามที่กล่าวในข้อ 2.3 อาจทำให้เกิดปัญหากระแสเงินสดรับน้อยกว่าเงิน สดจ่ า ย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การใช้ ว งเงิ น การกู้ เ พื่ อ ชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพื่อออก Benchmark Bond ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลมีการกู้เงินแบบเฉลี่ยเท่าๆ กั น ทั้ ง ปี ในขณะที่ ภ าระการขาดดุ ล เงิ น สดมี ค วาม ผันผวนค่อนข้างสูง

สบน. จึงวางแผนการออกตั๋วเงินคลังเพื่อเป็น เครื่องมือการระดมทุนเสริมระหว่างปีสำหรับการชดเชย การขาดดุลเงินสดจากการออกพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบ ใหม่ และจะทำการเปลี่ยนตั๋วเงินคลังดังกล่าวให้เป็น พันธบัตรในปีงบประมาณนั้นๆ ต่อไป ซึ่งการดำเนินการ เช่นนี้ จะช่วยลดต้นทุนการกู้เงิน เนื่องจากเน้นการกู้เงิน ระยะสั้ น เพื่ อ บริ ห ารกระแสเงิ น สดระหว่ า งปี แ ทน การบริหารกระแสเงินสดด้วยการออกพันธบัตร

ตารางที่ 1: เปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเพิ่มสภาพคล่องในตลาดรอง กลยุทธ์ การเพิ่มวงเงินของ Benchmark Bond

แนวทางเดิม 40,000 - 50,000 ล้านบาท ต่อรุ่น

แนวทางใหม่ 60,000 - 100,000 ล้านบาท ต่อรุ่น (สำหรับรุ่นอายุ 5 - 10 ปี) 20,000 - 30,000 ล้านบาท ต่อรุ่น (สำหรับรุ่นอายุ 15 - 20 ปี)

การเพิ่มรุ่นอายุของ Benchmark Bond การลดความถี่ในการประมูล

2 รุ่น (7 ปี และ 10 ปี) ทุก 1 - 2 สัปดาห์

5 รุ่น (5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี และ 30 ปี) เดือนเว้นเดือน (รุ่นละ 4 - 6 ครั้ง ต่อปี)

3. ผลการออกพั น ธบั ต รรั ฐ บาลในปี ง บประมาณ พ.ศ. 2551 3.1 ผลการออกพันธบัตรในตลาดแรก การออกพันธบัตรภายใต้แนวทางใหม่ ได้รับ การตอบรับอย่างดีจากนักลงทุน เห็นได้จาก BCR (Bid Coverage Ratio) เฉลี่ยที่สูงถึงกว่า 2.20 และ 1.69 เท่า สำหรับพันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ

080

ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับ BCR ของ Benchmark Bond ในปีก่อนหน้า แม้ว่าจะมีวงเงินการประมูลในแต่ ละครั้งในปีนี้จะสูงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 2.5 - 3 เท่า ก็ตาม ดังรายละเอียดปรากฏ ตามตารางที่ 2.1

ตารางที่ 2.1: ผลการออกพันธบัตร Benchmark Bond

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รุ่น

อายุ

LB133A LB183B LB233A LB283A LB383A

5 10 15 20 30

จำนวนครั้ง การประมูล 6 6 4 4 2

อัตราดอกเบี้ย (%) 4.250 5.125 5.500 5.670 5.500

Average Bid Coverage Ratio (Weighted) 2.20 1.69 2.27 2.58 2.93

ยอดคงค้าง (หน่วย: ล้านบาท) 99,000 42,707* 24,050 23,950 5,000

* พันธบัตรรุ่น LB183B จะมีการประมูลอีก 1 ครั้ง ในวันที่ 17 กันยายน 2551 วงเงิน 10,000 ล้านบาท

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


3.2 ดัชนีชี้วัดสภาพคล่องในตลาดรองปรับตัวสูง ขึ้นทุกตัว ปริ ม าณการซื้ อ ขายในตลาดรอง (Volume Trade) ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 พันธบัตร Benchmark Bond รุ่น 5 ปี และ 10 ปี มีมูลค่าการซื้อขายในตลาดรองสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 โดยมีมูลค่าเท่ากับ 264,806 และ 104,753 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งสูงขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับ พันธบัตรรุ่นที่มีการซื้อขายสูงสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ซึ่งมียอดซื้อขายทั้งปี เท่ากับ 153,550 ล้านบาท อนึ่ง พันธบัตร Benchmark Bond ที่ออกในปี งบประมาณ พ.ศ. 2550 รุ่นอายุ 7 ปี และ 10 ปี มีการ ซื้อขายรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เป็นลำดับที่ 5 และ 7 ตามลำดับ (ตารางที่ 2.2) ปริมาณการซื้อขายต่อยอดคงค้าง (Turnover Ratio) พันธบัตร Benchmark Bond รุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เห็นได้จาก Turnover Ratio ของพันธบัตรทั้ง 2 รุ่น อยู่ที่ 2.67 และ 2.44 เท่า ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นจาก Benchmark Bond รุ่นอายุ 7 ปี และ 10 ปี ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ซึ่งมี Turnover Ratio อยู่ที่ 1.74 และ 1.51 ตามลำดับ (ตารางที่ 2.2)

การกระจุ ก ตั ว ของอุ ป สงค์ ใ น Benchmark Bond (demand concentration) จากการที่ สบน. ได้เพิ่มวงเงินการออกพันธบัตร Benchmark Bond รุน่ อายุ 5 ปี และ10 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ 2551 เป็นรุ่นละ 99,000 ล้านบาท และ 53,000 ล้านบาท ตามลำดับ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ในพันธบัตร รุ่นดังกล่าว ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าว เป็นปัจจัยหลักให้ นั ก ลงทุ น หั น มาสนใจลงทุ น และซื้ อ ขายพั น ธบั ต ร Benchmark Bond ทั้ง 2 รุ่น อย่างหนาแน่น ส่งผลให้ เกิดการกระจุกตัวของการซื้อขายพันธบัตรทั้ง 2 รุ่น ในตลาดรอง กล่าวคือ Benchmark Bond รุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี มีสัดส่วนการซื้อขายในตลาดรองสูงถึง ร้อยละ 27.4 และ 10.8 ของยอดซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล ในตลาดรองระหว่ า งปี ง บประมาณ พ.ศ. 2551 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการกระจุกตัวของการซื้อขายพันธบัตร รุ่นใดรุ่นหนึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ อนึ่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 พันธบัตรที่มีการซื้อขายสูงสุด มีสัดส่วนตลาด เพียงร้อยละ 13.1 ของยอดซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล ในตลาดรองระหว่ า งปี ง บประมาณ พ.ศ. 2550 (ตารางที่ 2.2)

ตารางที่ 2.2: ดัชนีวัดสภาพคล่องของพันธบัตร Benchmark Bond ปีงปม. 2550 LB145A (อายุ 7 ปี)

LB175A (อายุ 10 ปี)

LB133A (อายุ 5 ปี)

LB183B (อายุ 10 ปี)

2.10 5,000 - 6,000

1.59 5,000 - 6,000

5 1.7 6.9%

7 1.5 5.7%

1 2.8 27.6%

2 2.5 10.8%

81,189,542,014

66,173,091,729

272,644,258,841

106,836,466,881

2.20 1.69 10,000 - 15,000 5,000 - 10,000

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

081 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

ดัชนีชี้วัดในตลาดแรก BCR วงเงินประมูลในแต่ละครั้ง ดัชนีวัดสภาพคล่องในตลาดรอง ลำดับความนิยมในตลาดรอง Turnover Ratio (เท่า) สัดส่วนการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ปริมาณการซื้อขายในตลาดรอง (บาท)

ปีงปม. 2551


4. ข้อสรุป การออกพันธบัตร Benchmark Bond ภายใต้ แนวทางใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ อย่างเป็นระบบ และมีเสถียรภาพ ซึ่งได้รับผลตอบรับ จากนักลงทุนและผู้ร่วมตลาดอย่างดี ยิ่งสังเกตได้จาก ดั ช นี ชี้ วั ด ทั้ ง ตลาดแรกและตลาดรองตามที่ ไ ด้ ก ล่ า ว ข้างต้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินการออกพันธบัตร Benchmark Bond ในตลาดแรกเป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในตลาดรอง และการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในภาพรวม แต่การ ดำเนินการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ จำเป็ น ต้ อ งได้ รั บ การปรั บ ปรุ ง ปั จ จั ย อื่ น ๆ พร้ อ มๆ กันไปด้วย อาทิเช่น การพัฒนา Lending Facilities การสร้ า งเครื่ อ งมื อ ป้ อ งกั น ความเสี่ ย งของนั ก ลงทุ น ตลอดจนความร่วมมือจาก Primary Dealers ในการ พัฒนาตลาดตราสารหนี้ ดังนั้น สบน. จึงได้มีการจัด การประชุม PDMO Market Dialogue กับผู้ร่วม ตลาดตราสารหนี้ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ค้าตราสารหนี้และ

นักลงทุนสถาบัน เพือ่ รับฟังความคิดเห็นจากผูร้ ว่ มตลาด เกี่ยวกับแนวทางต่อไปในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ เมื่อพิจารณาจากความต้องการกู้เงินของรัฐบาล ทั้งเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้าง หนี้ที่ครบกำหนดในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 - 2556) จะเห็นได้ว่า รัฐบาลมี ภาระการกู้เงินถึงกว่าปีละ 600,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่า ภารกิจหลักของสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะในช่วง 5 ปีข้างหน้า คือการพัฒนา ตลาดตราสารหนี้ ให้สามารถรองรับการกู้เงินทั้งด้าน ปริมาณและด้านต้นทุนของภาครัฐในช่วงเวลาดังกล่าว โดยไม่ ก ระทบการระดมทุ น ของภาคเอกชนซึ่ ง จะ เป็นการสร้างตลาดตราสารหนี้ให้เป็นหนึ่งในสามเสาหลัก ทางการเงินอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการสร้างเสถียรภาพ ให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินให้กับประเทศไทย ได้อย่างยั่งยืน

ดร.พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี เศรษฐกรชำนาญการ นายนครินทร์ พร้อมพัฒน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนพัฒนาตลาดตราสารหนี้รัฐบาล สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้

082 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


บทความพิเศษ Credit Default Swap : CDS


Credit Default Swap : CDS

084 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

Credit Default Swap (CDS) เป็นตราสาร อนุพันธ์ทางเครดิต (Credit Derivative) ชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยบริษัท JPMorgan Chase และได้เติบโตอย่างมากใน 11 ปีที่ผ่านมา เริ่มแรก CDS ถูกนำมาใช้เป็นเพียงเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ตัวหนึ่ง แต่หลายปีที่ผ่านมา CDS ถูกเปลี่ยนบทบาทนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไร (Speculative) ประกอบกับธุรกรรม CDS มีลักษณะ เป็น over - the - counter (OTC) ที่มีการตกลงซื้อขาย กันนอกตลาดนั่นเอง ทำให้เมื่อบริษัทคู่สัญญาหนึ่งเกิด ปัญหาขึ้น ปัญหาก็สามารถลุกลามไปสู่ทั้งระบบ ดังเช่น เหตุ การณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ บริ ษั ท ประกั น ชี วิ ต หลายแห่ ง ในปี 2008 จึงทำให้หลายคนเริ่มกลับมาสนใจกับ โครงสร้างของตลาด CDS กันว่า CDS แท้จริงแล้ว

คืออะไร เหตุใดถึงเติบโตได้มากเพียงนี้ ในเวลาเพียง ไม่กี่ปี และเป็นต้นเหตุของวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อย่างไร 1. CDS คืออะไร CDS เป็นสัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย (Bilateral contract) ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซื้อประกันความเสี่ยงเครดิต (CDS Buyer or Protection Buyer) ซึ่งจะได้รับ การคุ้ ม ครองความเสี ย หายหากสิ น ทรั พ ย์ อ้ า งอิ ง (Underlying Asset) ที่อยู่ภายใต้การประกันกลายเป็น หนี้เสีย และอีกฝ่ายเป็นผู้ขายประกันความเสี่ยงเครดิต (CDS Seller or Protection Seller) โดยจะจ่าย ค่าเสียหายเมื่อสินทรัพย์อ้างอิงที่ประกันอยู่กลายเป็น หนี้ เ สี ย ทั้ ง นี้ ความเสี่ ย งเครดิ ต จะถู ก ผู ก ติ ด กั บ ฝ่ายที่สาม คือ ผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงที่อยู่ภายใต้ประกัน ในทางปฏิบัติผู้ขาย CDS จะได้รับค่าธรรมเนียมรายปี

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


(periodic premium) จากผู้ซื้อ ซึ่งจะคำนวณจากค่า CDS Spread ที่ตกลงกันเมื่อทำสัญญา ค่า CDS Spread จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงเครดิต ของสินทรัพย์อ้างอิงที่อยู่ภายใต้ประกัน และถ้าบริษัท ที่ออกสินทรัพย์ดังกล่าวเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการ ชำระหนี้ (Credit Event1) ขึน้ การชำระเงิน (Settlement) สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1) Physical Settlement โดยผู้ขาย CDS จะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเท่ากับ par value ของสินทรัพย์อ้างอิงและรับมอบสินทรัพย์ของ จริงจากผู้ซื้อ และ 2) Cash Settlement โดยผู้ขาย

จ่ายเงินส่วนต่างให้กับผู้ซื้อประกัน CDS ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ผู้ซื้อ CDS คือผู้ผลักภาระความเสี่ยง เครดิ ต ของสิ น ทรั พ ย์ อ้ า งอิ ง ที่ ถื อ อยู่ อ อกไป ในขณะที่ ผู้ขาย CDS เป็นผู้เพิ่มความเสี่ยงเครดิตใน portfolio ของตนและได้รับอัตราผลตอบแทน คือ CDS Spread ซึ่งโดยคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นนั้น CDS จึงถูกนำ มาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับป้องกันความเสี่ยงทางเครดิต (Credit Risk Hedging)

ภาพที่ 1 : CDS Transaction Diagram

Source : Calyon ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ Hedge Fund ต้องหาช่องทางเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากการขายประกัน ความเสี่ยง ทำให้ได้ค่าธรรมเนียมรายได้เป็นมูลค่าสูงมาก นอกจากนี้ผู้ขาย CDS ที่สำคัญยังมีบริษัทประกันภัย กองทุนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนบำเหน็จบำนาญ เพื่อเป็นการบริหารพอร์ตการลงทุน

1 Credit Event ได้แก่ การล้มละลาย (Bankruptcy), การผิดนัดชำระหนี้ (Failure to Pay) เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า และการปรับโครงสร้างหนี้ (Restructuring)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

085 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

2. ใครคือผู้ซื้อ/ขาย CDS (Market Participant) ผู้เล่นรายสำคัญในตลาด CDS คือกลุ่มธนาคาร โดยเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การ สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมซื้อขายให้ได้มากที่สุด สำหรับผู้เล่นรายสำคัญรองลงมาคือ Hedge Fund ซึ่งถือว่าเป็นผู้ขาย CDS รายใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


ภาพที่ 2 : ผู้เล่นในตลาด CDS

3. CDS พัฒนามาได้อย่างไร ในระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา ตลาด CDS ได้เติบโต ขึ้นถึง 10 เท่า ณ สิ้นปี 2007 ตลาด CDS มีมูลค่าถึง 62 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ2 ซึ่ง CDS ได้รับความนิยม อย่ า งรวดเร็ ว และเติ บ โตอย่ า งก้ า วกระโดดถึ ง เพี ย งนี้ ก็เนื่องมาจากการซื้อขาย CDS มีความยืดหยุ่นเพราะ เป็นเพียงการซื้อขายสัญญาโดยไม่ต้องมี Underlying asset มารองรับ นอกจากนี้การตรวจสอบธุรกรรม CDS ยังเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป็นธุรกรรมลักษณะ

over-the-counter ที่มีการตกลงซื้อขายกันนอกตลาด ระหว่างคู่สัญญากันเอง และระบบการควบคุมก็ยังไม่ เข้มงวดนัก จึงทำให้นักลงทุนสามารถอาศัยช่องว่าง ดังกล่าวหลบซ่อน exposure ที่แท้จริงของธุรกรรม CDS และยิ่งเป็นการดึงดูดให้นักลงทุนนิยมเข้ามาเล่น เก็งกำไรในตลาด CDS กันมากขึ้น อย่างไรก็ดี หลังจาก วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นมูลค่าของตลาด CDS ได้ลดลง กว่า 14% เป็น 54.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในครึ่งแรก ของปี 2008

ภาพที่ 3: CDS Notional Outstanding

086 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

4. CDS เป็นต้นเหตุของวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นจริงหรือ CDS ได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วิกฤติ Subprime รุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติของ CDS นั่นเองที่เป็นการซื้อขายสัญญาประกันความเสี่ยงเครดิต ของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) โดยไม่ต้องมี

สินทรัพย์ของจริงมาส่งมอบ จึงทำให้ CDS ได้รับความ นิยมอย่างรวดเร็วและถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการ เก็ ง กำไรมากกว่ า การประกั น ความเสี่ ย ง (Hedging) อย่างแท้จริง นอกจากนี้ CDS ยังกลายเป็นส่วนประกอบ สำคัญมากที่สุดของ Synthetic Collateralized Debt

2 จากการอ้างอิงของ International Swap and Derivatives Association, Inc. (ISDA) Market Survey Result

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


(Synthetic CDO) ซึ่ ง แม้ ว่ า จะเป็ น ตราสารหนี้ ที่ มี หลั ก ทรั พ ย์ อ้ า งอิ ง แต่ ส ามารถแยกชั้ น ความเสี่ ย งของ หลักทรัพย์ออกได้เป็นหลายระดับตั้งแต่ระดับที่มีความ น่าเชื่อถือสูงระดับ AAA จนถึงระดับความน่าเชื่อถือ ต่ ำ สุ ด ซึ่ ง มี ค วามเสี่ ย งต่ อ การผิ ด นั ด ชำระหนี้ สู ง ทำให้ สถาบันการเงินผู้ออกตราสาร CDO จึงขาย CDS เพื่อ ประกันความเสี่ยงทางเครดิตให้กับผู้ถือตราสาร CDO ด้วยในคราวเดียวและให้ผลตอบแทนใน CDO ที่สูงมาก จึงทำให้ CDO ยิ่งกลายเป็นตราสารที่น่าลงทุนอย่างยิ่ง ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติ อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดวิกฤติ Subprime ขึ้นและปัญหา การผิดนัดชำระหนี้เริ่มขยายวงกว้างทำให้ผู้ขาย CDS รายใหญ่หลายราย เช่น Ambac, MBIA, AIG ไม่มีเงิน พอที่จะมาจ่ายให้กับผู้ซื้อ CDS จึงนำไปสู่การถูก ปรับลดอันดับความน่าเชือ่ ถือของสถาบัน ซึง่ การลดอันดับ ความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้ขายประกันความเสี่ยงเครดิต นี่เองที่เป็น trigger point สำคัญที่ทำให้วิกฤติทวีความ รุนแรงมากยิ่งขึ้นทั้งวิกฤติความเชื่อมั่นและวิกฤติสภาพคล่อง 5. บทเรียน คือ อะไร วิกฤติครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการ บริหารความเสี่ยงที่จะต้องกระทำอย่างระมัดระวังและ เข้มงวด รวมทั้งควรมีหน่วยงานกำกับติดตามและประเมิน ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน และควรระวังมิให้ บทบาทของตราสารอนุพันธ์ในการเก็งกำไรเข้ามามีบทบาท มากเกินกว่าบทบาทในการเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

โดยไม่ทันรู้ตัวได้ ดังเช่นกรณีของ CDS ที่เป็น Trigger Point ตัวหนึ่งของวิกฤติที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ถ้าเรามีระบบการ บริหารความเสี่ยงที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วเราก็ น่าจะสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติที่อาจจะซ้ำรอยขึ้นในอนาคตได้ 6. CDS ของประเทศไทย CDS ของประเทศไทยที่มีการซื้อขายกันในตลาด คือ Kingdom of Thailand CDS อายุ 5 ปี ซึ่งสะท้อน ความเสี่ยงทางเครดิตที่นักลงทุนมีต่อประเทศไทย และ CDS Spread ดังกล่าวสามารถนำมาใช้อ้างอิงถึงต้นทุน ของตราสารที่ออกโดยรัฐบาลไทยในตลาดต่างประเทศ ได้ การเคลื่อนไหวของ CDS ของประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศ เกาหลีใต้และมาเลเซียที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ Investment grade เช่นเดียวกัน จะเห็นว่า CDS ของทั้ง 3 ประเทศเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันช่วงที่ วิกฤติการเงินเริ่มส่งผลกระทบไปทั่วโลก CDS Spread ของทั้ง 3 ประเทศปรับตัวสูงขึ้นและแตะระดับสูงสุด ช่วงเดือนตุลาคม 2551 โดย CDS Spread ของ ประเทศไทยและมาเลเซียแตะระดับสูงสุดที่ 490 bps ขณะที่ CDS ของประเทศเกาหลีใต้สูงสุดที่ 668 bps ในระยะต่อมา แม้จะดูเหมือนว่าความตึงตัวของ CDS Spread จะค่อนข้างผ่อนคลายลง แต่ก็ยังไม่กลับไปสู่ ระดับที่เคยเป็นในอดีตได้ ซึ่งก็คงต้องรอดูว่าวิกฤติการเงิน ที่เกิดขึ้นจะเนิ่นนานสักเพียงใด

087 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ภาพที่ 4 : Sovereign CDS

Source: Bloomberg Reference : • “Credit Default Swap ในวิกฤติการเงินโลก”, ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ • http://en.wikipedia.org/wiki/Credit_default_swap • http://www.investopedia.com/articles/optioninvestor/08/cds.asp • International Swap and Derivatives Association, Inc. (ISDA)

นางสาวปิยธิดา สวนสุข เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนนโยบายค้ำประกันและความเสี่ยง สำนักนโยบายและแผน

088 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


แบบจำลองบริหารความเสี่ยง (Risk Model) ระยะที่ 2


แบบจำลองบริหารความเสี่ยง (Risk Model) ระยะที่ 2

090 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

หนึ่ ง ในพั น ธกิ จ หลั ก ของสำนั ก งานบริ ห ารหนี้ สาธารณะ (สบน.) คือ การเสนอแนะนโยบายวางแผน และดำเนิ น การก่ อ และบริ ห ารหนี้ ส าธารณะให้ เ กิ ด ประโยชน์สงู สุดต่อประเทศ สบน. จึงได้ตระหนักดีวา่ มีหลาย ปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินการบริหารหนี้สาธารณะ และได้ มี การวางมาตรการควบคุ ม เพื่ อ การเฝ้ า ระวั ง อย่างใกล้ชิด รวมถึงการวางยุทธศาสตร์การบริหารหนี้และ ความเสี่ยงของหนี้สาธารณะเชิงรุก (Pro-active Debt Management) ที่เน้นให้การบริหารหนี้มีต้นทุนต่ำและ อยู่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม ในปัจจุบัน สบน. ได้เริ่มใช้แบบจำลองบริหารความเสี่ยงระยะที่ 2 และ อยู่ระหว่างการปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินต้นทุนและ

ความเสี่ยงของ สบน. รวมถึงช่วยในการวิเคราะห์และ กำหนดดัชนีชี้วัดการบริหารหนี้สาธารณะ (Portfolio Benchmark)1 บทความนี้จึงเป็นโอกาสหนึ่งให้ผู้อ่านได้ทำความ รู้จักกับแบบจำลองดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้ ง ในเชิ ง วิ ธี ก ารคำนวณและความสามารถของ แบบจำลองฯ รวมถึงแนวทางการนำไปใช้ให้ก่อประโยชน์ กับการบริหารหนี้ของ สบน. โครงสร้างแบบจำลองบริหารความเสี่ยง 1. ข้อมูลหนี้สาธารณะและข้อสมมติฐาน (Legacy and Debt policy) ในการประมาณการหนี้สาธารณะ ผู้ใช้ (Users)

1

Portfolio Benchmark เป็นกลยุทธ์ในการวางกรอบและแนวทางการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ตลอดจนการประเมินความเสี่ยง ทางการเงินที่มีผลกระทบต่อภาระหนี้สาธารณะ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ประเทศที่มีระบบการบริหารจัดการหนี้สาธารณะที่มีประสิทธิภาพ หรือ Debt Offices ต่างๆ นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยตั้งแต่ ปี 2549 สบน. ได้จัดทำ Benchmark จำนวน 4 ตัวชี้วัด คือ 1. สัดส่วนหนี้ในประเทศต่อหนี้ต่างประเทศ (Domestic Debt : External Debt) 2. สัดส่วนหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Mix) 3. สัดส่วนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ต่อหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Fixed Rate Debt : Floating Rate Debt) 4. สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ระยะยาว (Short - term Debt : Long - term Debt)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


เริ่มด้วยการดึงข้อมูลภาระหนี้เดิมจากระบบบริหารหนี้ สาธารณะ (GFMIS - TR : Government Fiscal Management Information Systems - TR) เข้าสู่ ฐานข้อมูลของแบบจำลองฯ จากนั้น Users ก็จะกำหนด ข้อสมมติฐานและสถานการณ์ของการดำเนินนโยบาย ในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งแบบจำลองฯ ได้จำแนกไว้ 7 กลุ่มหนี้ คือ 1. หนี้เงินกู้รัฐบาลเพื่อใช้จ่ายตามแผนการลงทุน 2. หนี้เงินกู้รัฐบาลเพื่อชดใช้ความเสียหายของ กองทุนฟื้นฟูฯ 3. หนี้ เ งิ น กู้ รั ฐ บาลเพื่ อ ชดเชยการขาดดุ ล งบประมาณ 4. หนี้เงินกู้รัฐบาลเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ 5. หนี้เงินกู้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน 6. หนี้เงินกู้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 7. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ แบบจำลองฯ ใช้หนี้คงค้างเดิมดังกล่าวมาใช้ใน การกำหนดสมมติฐานพื้นฐาน (Baseline scenario) จากนั้นจึงกำหนดข้อสมมติฐานและสถานการณ์ของ การดำเนินนโยบายหนี้อื่น (Alternative scenario) เช่น แผนการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณ การปรับโครงสร้างหนี้ หรือแผนการกู้เงิน เพื่อลงทุนโครงการ Megaproject ทั้งนี้ การกำหนด Alternative Scenario นั้นสามารถกำหนดได้หลาย สถานการณ์ ขึ้นกับการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ ของต้ น ทุ น และความเสี่ ย งของแต่ ล ะสถานการณ์ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของนโยบาย

ทางเศรษฐกิ จ มหภาคและการเงิ น ที่ มี นั ย สำคั ญ มา ศึ ก ษาแนวโน้ ม ในอนาคต แบบจำลองฯ จะคำนวณ และคาดการณ์ ตั ว แปรโดยใช้ ข้ อ มู ล อนุ ก รมเวลา (Timeseries) ในอดีตมาคำนวณความสัมพันธ์ของตัวแปร ในรูปแบบสมการเศรษฐมิตแิ บบ Autoregressive Model และนำสมการดังกล่าวมาใช้ในการพยากรณ์ผลลัพธ์ ในอีก 15 - 20 ปีข้างหน้า ด้วยวิธี Stochastic Process ซึ่ ง เป็ น การสุ่ ม ค่ า ความคลาดเคลื่ อ นหลายๆ รอบ โดยผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะเป็นค่าเฉลี่ย ค่าขอบเขตบน และค่าขอบเขตล่างที่ระดับความเชื่อมั่น (Confidence intervals) 95% ของแต่ละตัวแปร โดยสรุปวิธีการ คำนวณของแบบจำลองฯ ดังต่อไปนี้ 2.1 ตั ว แปรทางเศรษฐกิ จ มหภาค (Macro Variables) เช่น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth) และอัตราเงินเฟ้อ (Inflation) แบบจำลองฯ พยากรณ์ตัวแปรต่างๆ โดยใช้สมการเศรษฐมิติ Autoregressive Model : AR(1) process 2.2 ตัวแปรทางตลาดการเงิน (Financial Variables) เช่น อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และเส้นอัตรา ผลตอบแทนพันธบัตร (Yield curve) แบบจำลองจะใช้ การประมาณการ Yield curve ด้วย 3 factors Nelson Siegel Model2 เมื่อ User ได้กรอกข้อมูลและกำหนดสมมติฐาน อย่ า งครบถ้ ว นแล้ ว แบบจำลองฯ จะคำนวณและ วิเคราะห์ออกมาเป็นผลลัพธ์ ซึ่งสามารถสรุปโครงสร้าง ของแบบจำลองฯ ไดัดังแผนภาพที่ 1

2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคและการเงิน (Macro and Financial variables) ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและยากต่อการคาดการณ์ เป็ น ปั จ จั ย เสี่ ย งที่ ส่ ง ผลโดยตรงต่ อ สถานะหนี้ แ ละ แผนการก่อหนี้ในอนาคต แบบจำลองฯ จึงนำปัจจัย 3 factors-Nelson Siegel Model เป็น model ที่ใช้ประมาณการณ์ Yield Curve จากข้อมูลในอดีต ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยระยะยาว (Long-term rate) เพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวขึ้น-ลงของ Yield curve ทั้งเส้น ปัจจัยระยะสั้น (Short-term premium/discount) เพื่อกำหนดความชัน และปัจจัยระยะกลาง (Medium-term premium/discount) เพื่อกำหนดความโค้ง (Curvature) ของ Yield curve

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

2

091


แผนภาพที่ 1 โครงสร้างของแบบจำลองฯ Assumption/Scenarios 1. Legacy

Outstanding debt and commitments

Debt Policy

Stochastic/Deterministic

2. Financial Variables

plans, benchmarks & assumptions

i.e., Exchange rates, Yield curve

Macro Variables i.e., GDP growth, Inflation

3. Outcomes

• Debt/GDP • Debt service/GDP • Average interest rate • ATM etc.

ที่มา : ส่วนนโยบายค้ำประกันและบริหารความเสี่ยง สำนักนโยบายและแผน

092 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

3. ผลลัพธ์ของแบบจำลองฯ (Outcomes) 3.1 รายงานวิเคราะห์ความเสี่ยง (Exposure Report) ประกอบด้วย ตัวชี้วัดความเสี่ยง (Risk Indicators) ต่างๆ เช่น Average Time to Maturity (ATM), Basis-point analysis, Duration, Interest Rate Sensitivity, FX sensitivity และ Repayment Profile เป็นต้น 3.2 แบบจำลองฯ สามารถแสดงผลลัพธ์ของ การเปรียบเทียบสถานการณ์ระหว่างสมมติฐานต่างๆ ในรูปแบบแผนภูมิและตาราง โดยสามารถแสดงผลเป็น รายปัจจัย เช่น อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยดังแผนภาพที่ 2 หรือ แสดงในรูปแบบสัดส่วนตัวเลขที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ เชิงภาระหนี้ เช่น ค่าพยากรณ์ผลลัพธ์หนี้ต่อ GDP (Debt/GDP) 3.3 แบบจำลองฯ ยังสามารถแสดงความ อ่ อ นไหวของผลลั พ ธ์ ต่ อ ปั จ จั ย เสี่ ย ง โดยอธิ บ าย

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันครั้งหนึ่ง (one-off shock) ของปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ต่อ Portfolio ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวใช้ในสถานการณ์ที่มี การคาดการณ์ ว่ า ในอนาคตตั ว แปรบางตั ว อาจเกิ ด การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันขึ้น และต้องการพยากรณ์ ความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ในอนาคตที่ได้รับผลกระทบ จาก shock ดังกล่าว เช่น ความอ่อนไหวของ Portfolio ในกรณีที่ปีหน้า GDP Growth หดตัวลงอย่างรุนแรง ซึ่งแบบจำลองจะสุ่มความน่าจะเป็นในช่วง 95% ของ GDP Growth ที่ประมวลได้จากสมการเศรษฐมิติ แล้ ว นำมาพยากรณ์ ค วามอ่ อ นไหวของ Portifolio ที่อาจจะเกิดขึ้นจาก negative shock ของ GDP Growth ที่กล่าว เช่น ผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย เมื่อ GDP growth ลดลงอย่างฉับพลัน ดังแสดงใน แผนภาพที่ 3

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


แผนภาพที่ 2 การแสดงผลลัพธ์ คือ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเปรียบเทียบระหว่างสมมุติฐานพื้นฐาน (Baseline scenario) และสมมุติฐานอื่น (Alternative scenario) โดยแสดงเป็ นค่าเฉลี่ยค่าขอบเขตบน และค่าขอบเขตล่าง Average interest rate on public dept (% p.a) Compare baseline and alternate stochastic projections Upper bounds baseline alternate Mean values baseline alternate Lower bounds baseline alternate ที่มา : ส่วนนโยบายค้ำประกันและบริหารความเสี่ยง สำนักนโยบายและแผน

ประโยชน์และแนวทางในการใช้แบบจำลอง 1. แบบจำลองฯ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน การตัดสินการดำเนินนโยบายการบริหารหนี้สาธารณะ โดยผู้กำหนดนโยบายสามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้นจากนโยบายการบริหารหนี้ที่แตกต่างกันได้ก่อน การตัดสินใจ และสามารถชี้แนะว่ากรณีใดจะมีต้นทุน และความเสี่ยงมากกว่ากัน ทั้งนี้ แบบจำลองฯ ยังช่วย ในการพัฒนาข้อสมมติฐานต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมิน สถานการณ์ ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารหนี้ สาธารณะและวิเคราะห์ผลของนโยบายการบริหารหนี้ สาธารณะที่กำหนด

2. รายงานวิเคราะห์ความเสี่ยง (Exposure Report) ของแบบจำลองฯ มีประโยชน์ ในการติดตามและดูแล ความเสี่ยงของ Portfolio ตลอดจนเป็นเครื่องมือเพื่อ การเตือนภัยที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ (Early Warning Signal) โดยนำมาประกอบการทำรายงาน ความเสี่ยงหนี้สาธารณะ 3. แบบจำลองฯ เป็ น ตั ว แปรสำคั ญ ต่ อ การ กำหนดดั ช นี ชี้ วั ด การบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ (Portfolio benchmark) เพื่ อ ให้ เ ป็ น แนวทางและกรอบในการ บริ ห ารจั ด การหนี้ และจะมี ก ารทบทวนเป็ น ระยะๆ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

093


แผนภาพที่ 3 ผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยจากการลดลงอย่างฉับพลันของ GDP growth Public sector average interest payment/dept shocked projection

(% pa)

ที่มา : ส่วนนโยบายค้ำประกันและบริหารความเสี่ยง สำนักนโยบายและแผน

ที่มา : ส่วนนโยบายค้ำประกันและบริหารความเสี่ยง สำนักนโยบายและแผน

094

ประโยชน์จากการใช้แบบจำลองฯ มีความหลาก หลายและครอบคลุมในประเด็นต่างๆ จึงทำให้เห็นว่า แบบจำลองฯ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ ความเสี่ ย ง และยั ง สามารถชี้ แ นะแนวโน้ ม ในอนาคต เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและการเตรียมการอย่างถูกต้อง ซึ่งหากแบบจำลองฯ มีการนำมาใช้อย่างถูกต้องจะเป็น การเสริ ม ความสามารถและประสิ ท ธิ ภาพในการดู แ ล

ความเสี่ยงของ สบน. เป็นอย่างยิ่ง สุดท้ายนี้ หวังว่า บทความข้ า งต้ น ได้ ท ำให้ ผู้ อ่ า นเกิ ด ความเข้ า ใจ การบริหารความเสี่ยงของ Portfolio ในอีกแง่มุมหนึ่ง โดยเฉพาะแบบจำลองฯ ที่เป็นเครื่องมือใหม่และเป็น ก้าวหนึ่งในการพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อให้เกิด การทำงานที่มีประสิทธิภาพและทันต่อสภาพเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

นางสาวศิรี จงดี เศรษฐกรปฏิบัติการ สำนักนโยบายและแผน

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


การจัดทำกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ


การจัดทำกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ

096 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะมีความเรียบร้อย และเหมาะสม สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจึงได้ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ รวมทั้งยกร่างอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง โดยในปีงบประมาณ 2551 ได้ดำเนินการจัดทำกฎหมาย ดังนี้ 1. กฎหมายที่มีผลใช้บังคับ 1.1 พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นั บ แต่ พ ระราชบั ญ ญั ติ การบริ ห ารหนี้ สาธารณะ พ.ศ. 2548 มีผลใช้บังคับในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นมา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ใช้ กฎหมายดังกล่าวมาระยะเวลาหนึ่งแล้วพบว่าพระราชบัญญัติดังกล่าว มีข้อจำกัดในการบริหารหนี้สาธารณะ และพัฒนาตลาดตราสารหนี้บางประการซึ่งไม่สอดคล้อง กับสภาวะการณ์และภารกิจของกระทรวงการคลัง จึงได้ ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ในประเด็นสำคัญ คือ

1) การปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม ให้ ก ระทรวงการคลั ง มี อ ำนาจกู้ เ งิ น เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในกรณีที่ต้องการย่นระยะเวลา การชำระหนี้ และให้กระทรวงการคลังสามารถทยอยกู้เงิน เพื่ อ ปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ล่ ว งหน้ า ได้ เป็ น ระยะเวลา ไม่เกิน 12 เดือนก่อนวันทีห่ นีถ้ งึ กำหนดชำระ โดยให้นำเงิน ที่ กู้ ม าล่ ว งหน้ า ส่ ง เข้ า กองทุ น บริ ห ารเงิ น กู้ เ พื่ อ การปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ส าธารณะและพั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศเพื่อบริหารจัดการต่อไป 2) การกู้เงินโดยการออกตราสารหนี้เพื่อพัฒนา ตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยให้กู้เงินภายในประเทศ โดยวิธีการออกตราสารหนี้ ได้เมื่อมีความจำเป็นต้อง สร้ า งอั ต ราดอกเบี้ ย อ้ า งอิ ง ให้ กั บ ตลาดแม้ ไ ม่ ข าดดุ ล งบประมาณ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวงและให้นับรวมในวงเงินชดเชย การขาดดุลงบประมาณ ซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของ งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่าย

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


- เพิ่มเติมอำนาจคณะกรรมการนโยบายและ กำกับการบริหารหนี้สาธารณะในการจัดทำหลักเกณฑ์ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ และการแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการ 1.2 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551 กำหนดหลักเกณฑ์การให้กู้ต่อของกระทรวง การคลั ง แก่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ รั ฐ วิ ส าหกิ จ สถาบั น การเงินภาครัฐหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ หรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวิธีปฏิบัติในการทำสัญญา กู้ต่อ 1.3 กฎกระทรวงกำหนดอั ต ราและเงื่ อ นไข การเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม การให้กู้ต่อของ กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลังสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย ในอั ต ราและเงื่ อ นไขเดี ย วกั น กั บ ที่ กระทรวงการคลั ง กู้มาจากแหล่งเงินกู้ สำหรับค่าธรรมเนียมการให้กู้ต่อแก่ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอัตราร้อยละ 0.01 - 0.15 ต่อปีของวงเงินให้กู้ต่อคงค้าง สำหรับรัฐวิสาหกิจหรือ สถาบันการเงินภาครัฐมีอัตรา 0.01 - 0.50 ต่อปี ของวงเงินให้กู้ต่อคงค้าง ทั้งนี้ เป็นไปตามระยะเวลา ของเงิ น กู้ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ระดั บ ความน่ า เชื่ อ ถื อ ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ และสถาบั น การเงิ น ภาครั ฐ รวมทั้ ง ให้อำนาจกระทรวงการคลังยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ 1.4 กฎกระทรวงกำหนดอั ต ราและเงื่ อ นไข ก า ร เ รี ย ก เ ก็ บ ค่ า ธ ร ร ม เ นี ย ม ก า ร ค้ ำ ป ร ะ กั น ของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลั ง สามารถเรี ย กเก็ บ ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสำหรับหน่วยงานของรัฐ ในอัตราร้อยละ 0.01 - 0.15 ต่อปีของวงเงินค้ำประกัน คงค้างสำหรับรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ มีอัตรา 0.01 - 0.50 ต่อปีของวงเงินค้ำประกันคงค้าง ทั้งนี้เป็นไปตามระยะเวลาของเงินกู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ระดั บ ความน่ า เชื่ อ ถื อ ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ และสถาบั น การเงิ น ภาครั ฐ รวมทั้ ง ให้ อ ำนาจกระทรวงการคลั ง ยกเว้นค่าธรรมเนียมได้

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

097 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

เพิ่มเติม และร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายเพื่อ ชำระคืนเงินต้น รวมทั้งให้นำเงินส่งเข้ากองทุนบริหาร เงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนา ตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 3) การจั ด ตั้งกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับ โครงสร้ า งหนี้ ส าธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ โดยกองทุ น มี ฐ านะเป็ น นิ ติ บุ ค คลที่ อ ยู่ ภายใต้ ก ารกำกั บ ดู แ ลของกระทรวงการคลั ง และมี สถานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือ รัฐวิสาหกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารเงิน ที่ได้จาก การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะที่กระทรวงการคลัง ได้กู้มาก่อนหนี้เดิมครบกำหนด และเงินที่ได้จากการกู้เงิน เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยกฎหมาย กำหนดให้แยกเงินที่นำส่งเข้ากองทุนออกเป็น 2 บัญชี ประกอบด้วย 1) บัญชีปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ และ 2) บัญชีเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยให้ รับและใช้จ่ายเงินตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยที่ กองทุนสามารถนำเงินดังกล่าวไปลงทุนในตราสารหนี้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือฝากเงินกับธนาคาร ได้ ต ามหลั ก เกณฑ์ ที่ ก ำหนด ซึ่ ง มี ผู้ อ ำนวยการ สำนั ก งานบริ ห ารหนี้ ส าธารณะเป็ น ผู้ จั ด การกองทุ น ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกองทุน และรายงาน ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินตามที่กฎหมาย กำหนด 4) การกู้เงินเป็นสกุลเงินบาทเพื่อนำมาให้หน่วยงาน อื่นกู้ต่อ แก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถ กู้เป็นเงินบาทเพื่อให้ กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือสถาบัน การเงินภาครัฐได้ โดยให้นับรวมในวงเงินค้ำประกัน ซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย ประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 5) การปฏิบัติงานของกระทรวงการคลัง - การปรับเปลี่ยนแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ระหว่างปี โดยไม่เกินวงเงินที่ได้รบั อนุมตั จิ ากคณะรัฐมนตรี ให้ เ ป็ น อำนาจของคณะกรรมการนโยบายและกำกั บ การบริหารหนี้สาธารณะ และรายงานต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ


1.5 ประกาศคณะกรรมการนโยบายและกำกับการ บริหารหนี้สาธารณะ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกรอบวงเงิน การค้ำประกันและการให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจหรือสถาบัน การเงินภาครัฐ กำหนดหลักเกณฑ์และกรอบวงเงินของกระทรวง การคลังที่จะค้ำประกันหรือให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจที่เป็น บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดไม่เกินสามเท่าของ เงินกองทุนของรัฐวิสาหกิจนั้น และกรณีสถาบันการเงิน ภาครัฐไม่เกินหกเท่าของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน ภาครัฐนั้น 2. ร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 2.1 ร่ า งประกาศกระทรวงการคลั ง เรื่ อ ง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค้ำประกันของ กระทรวงการคลัง เป็ น ประกาศที่ ย กร่ า งโดยอาศั ย อำนาจ ตามความในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่ ง กำหนดหลั ก เกณฑ์ ใ นการค้ ำ ประกั น การชำระหนี้ ให้แก่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงิน ภาครัฐได้ในกรณีต่างๆ รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติของ หน่วยงานที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันได้ ตลอดจน กรอบวงเงินในการค้ำประกัน และวิธีการและเงื่อนไข ในการค้ำประกัน ซึง่ ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างยกร่างเพือ่ นำเสนอ กระทรวงการคลังต่อไป

098

2.2 ร่ า งประกาศกระทรวงการคลั ง เรื่ อ ง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกู้เงินเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม เป็ น ประกาศที่ ย กร่ า งโดยอาศั ย อำนาจ ตามความในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ ในการกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมได้ใน 2 กรณี ประกอบด้วย 1) เมื่อมีความ จำเป็ น ต้ อ งใช้ จ่ า ยเงิ น นอกเหนื อ จากงบประมาณ รายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศ และ 2) เมื่ อ มี ค วามจำเป็ น ต้ อ งกู้ เ งิ น เพื่ อ เสริ ม สร้ า ง ความมั่นคงทางการเงินของประเทศ เพื่อให้การกู้เงิน ดังกล่าวมีความชัดเจนและเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมาย แม่บทที่ให้อำนาจ ซึง่ ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างยกร่างเพือ่ นำเสนอ กระทรวงการคลังต่อไป 2.3 ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราและเงื่อนไข การเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ ของกระทรวงการคลัง พ.ศ. .... เป็นร่างกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามความในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่ ง กำหนดให้ ก ระทรวงการคลั ง มี อ ำนาจเรี ย กเก็ บ ดอกเบี้ ย และค่ า ธรรมเนี ย มการชำระหนี้ ใ นกรณี ที่ กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้แทนรัฐวิสาหกิจและสถาบัน การเงินภาครัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างยกร่าง

นางสาวสรินยา ลิ่มวณิชสินธุ์ นิติกรปฏิบัติการ กลุ่มกฎหมาย

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ขอ ้ มูลหนี้สาธารณะ


รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 ตารางที่ 1 หนี้สาธารณะคงค้าง ส.ค. 51 ก.ย. 51

หน่วย: พันล้านบาท % GDP เพิ่ม/(ลด) จากเดือนก่อน

1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,133.49 2,162.11 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 976.84 988.44 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 97.40 102.34 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 136.91 138.22 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 17.12 17.12 รวม 3,361.76 3,408.23

22.98 10.50 1.09 1.47 0.18 36.22

28.62 11.60 4.94 1.31 46.47

หมายเหตุ 1. ประมาณการ GDP ปี 2551 เท่ากับ 9,410.10 พันล้านบาท (สศช. 25 สิงหาคม 2551) 2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย 3. ตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขเบื้องต้น (Preliminary) และไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน 23,999.90 ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์และสัญญาโอนสิทธิ เรียกร้อง โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ

แผนภาพที่ 1 หนี้สาธารณะคงค้าง

100 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

35.6

26.8

26.8

26.8

21.0

21.0

21.0

21.0

21.0

21.0

16.8

17.1

17.1

185.1

183.9

182.4

166.5

168.4

167.4

166.4

160.4

157.3

143.0

143.0

136.9

138.2

101.6

101.7

101.8

102.6

97.7

99.6

95.6

92.4

91.5

96.1

93.1

97.4

102.3

911.3

934.2

955.3

946.5

949.2

945.8

952.2

949.6

949.6

954.8

954.2

976.8

988.4

2,051.4 2,042.4 2,049.7 2,051.6 2,095.9 2,107.9 2,140.5 2,178.1 2,180.8 2,158.8 2,127.6 2,133.5 2,162.1 3,285.0 3,289.0 3,316.0 3,294.0 3,332.2 3,333.8 3,375.7 3,401.4 3,400.2 3,373.7 3,334.7 3,361.7 3,408.1 38.7

38.7

39.0

38.7

35.4

35.5

35.8

36.1

36.1

35.8

35.4

35.7

36.2

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้สาธารณะคงค้างมีจำนวนทั้งสิ้น 3,408.23 พันล้านบาท หรือร้อยละ 36.22 ของ GDP ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,162.11 พันล้านบาท หรือร้อยละ 22.98 ของ GDP หนี้รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 988.44 พันล้านบาท หรือร้อยละ 10.50 ของ GDP หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน 102.34 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.09 ของ GDP หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 138.22 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.47 ของ GDP และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 17.12 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.18 ของ GDP หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 46.47 พันล้านบาท

ตารางที่ 2 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

หน่วย: พันล้านบาท

ส.ค. 51 ก.ย. 51 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,133.49 2,162.11 1. หนี้ต่างประเทศ 65.03 66.99 (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 1,906.01 1,969.14 2. หนี้ในประเทศ 2,068.46 2,095.12 - เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 868.76 895.42 - ระยะสั้น (ตั๋วเงินคลัง) 128.42 147.00 - ระยะยาว (พันธบัตร และตราสารหนี้อื่น) 740.34 748.42 - พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุน เพื่อการฟื้นฟูฯ 1,156.60 1,156.60 - พันธบัตร/ตั๋วสัญญาใช้เงิน FIDF 1 463.27 463.27 - พันธบัตร FIDF 3 693.33 693.33 - พันธบัตรโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และ 2 43.10 43.10

เพิ่ม/(ลด) จากเดือนก่อน 28.62 1.96 63.13 26.66 26.66 18.58 8.08 -

101 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


แผนภาพที่ 2 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงมีจำนวนทั้งสิ้น 2,162.11 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน 28.62 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น • หนี้ต่างประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 66.99 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.96 พันล้านบาท หนี้ต่างประเทศ ในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 63.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจาก

107.9 1,943.5 2,051.4 24.2

102

106.8 1,935.6 2,042.4 24.1

109.2 1,940.5 2,049.7 24.2

93.6 1,958.0 2,051.6 24.2

95.4 93.1 2,000.5 2,014.8 2,095.9 2,107.9 22.3 22.4

89.8 87.5 78.7 2,050.7 2,090.6 2,102.1 2,140.5 2,178.1 2,180.8 22.7 23.1 23.2

65.7 64.7 2,093.1 2,062.9 2,158.8 2,127.6 22.9 22.6

64.7 2,062.9 2,127.6 22.6

67.0 2,095.1 2,162.1 23.0

- การเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ต่ำกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ 1.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 64.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • หนี้ในประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 2,095.12 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 26.66 พันล้านบาท เนื่องจาก - การออกตั๋วเงินคลัง 59 พันล้านบาท และการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนด 32 พันล้านบาท - การออกพันธบัตรเพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ 10.59 พันล้านบาท - การไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนด 2.50 พันล้านบาท - การเบิกจ่ายเงินกู้ระยะสั้นสุทธิลดลง 8.42 พันล้านบาท - การไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษเงินตราต่างประเทศที่ครบกำหนด 0.01 พันล้านบาท

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ตารางที่ 3 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

หน่วย: พันล้านบาท

ส.ค. 51 ก.ย. 51 976.84 988.44 566.10 572.54 170.01 174.95 4,983.18 5,142.74 396.09 397.59 410.74 415.90 132.98 136.50 3,897.70 4,012.50 277.76 279.40

เพิ่ม/(ลด) จากเดือนก่อน 11.60 6.44 4.94 159.56 1.50 5.16 3.52 114.80 1.64

หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) - หนี้ในประเทศ 2. หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน - หนี้ต่างประเทศ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) - หนี้ในประเทศ

แผนภาพที่ 3 รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

400.5 510.8 911.3 10.7

403.3 530.5 933.8 10.7

404.1 550.8 954.9 11.2

398.9 547.2 946.1 11.1

395.5 553.3 948.8 10.1

393.1 391.9 380.8 378.4 381.6 552.3 559.9 568.3 570.8 575.6 945.4 951.8 949.1 949.2 957.2 10.0 10.1 10.1 10.1 10.2

386.5 567.7 954.2 10.1

410.7 566.1 976.8 10.4

415.9 572.5 988.4 10.5

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินมีจำนวนทั้งสิ้น 988.44 พันล้านบาท ประกอบด้วย หนี้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน 572.54 พันล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 415.90 พันล้านบาท โดยหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 11.60 พันล้านบาท ตามนัย เหตุผลที่จะกล่าวในหัวข้อต่อไป

103


แผนภาพที่ 4 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (ค้ำประกัน)

171.1 170.0 175.1 169.8 175.0 171.4 174.8 169.3 170.1 174.9 169.4 170.0 175.0 339.7 360.5 375.7 377.4 378.3 380.9 385.1 399.0 400.7 400.7 398.3 396.1 397.6 510.8 530.5 550.8 547.2 553.3 552.3 559.9 568.3 570.8 575.6 567.7 566.1 572.6

หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีจำนวนทั้งสิ้น 572.54 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.44 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น • หนี้ต่างประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 174.95 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 4.94 พันล้านบาท หากพิจารณาในรูปของเงินเหรียญสหรัฐฯ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 159.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจาก - รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ต่ำกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ 48.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 207.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

104

หนี้ในประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 397.59 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.50 พันล้านบาท เนื่องจาก - การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรของการรถไฟแห่งประเทศไทย 9 พันล้านบาท - การไถ่ถอนพันธบัตรของการรถไฟแห่งประเทศไทย 1 พันล้านบาท - การเบิกจ่ายเงินกู้สุทธิของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 6.50 พันล้านบาท

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


แผนภาพที่ 5 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (ไม่ค้ำประกัน)

134.3 137.6 138.5 136.2 134.6 131.0 131.9 130.3 132.1 136.6 134.5 132.9 136.5 266.2 265.7 265.6 262.7 260.9 262.1 260.0 250.5 246.3 245.0 252.0 277.8 279.4 400.5 403.3 404.1 398.9 395.5 393.1 391.9 380.8 378.4 381.6 386.5 410.7 415.9

หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีจำนวนทั้งสิ้น 415.90 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 5.16 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น • หนี้ต่างประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 136.50 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.52 พันล้านบาท หากพิจารณาในรูปของเงินเหรียญสหรัฐฯ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 114.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจาก - รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินชำระคืนต้นเงินกู้ 23.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 137.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • หนี้ในประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 279.40 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.64 พันล้านบาท เนื่องจาก - การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 4 พันล้านบาท การไฟฟ้า นครหลวง 2 พันล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1.20 พันล้านบาท รวม 7.20 พันล้านบาท - การไถ่ถอนพันธบัตรของการเคหะแห่งชาติ 0.63 พันล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2.03 พันล้านบาท และการประปาส่วนภูมิภาค 1.50 พันล้านบาท รวม 4.16 พันล้านบาท - การเบิกจ่ายเงินกู้สุทธิของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 1.40 พันล้านบาท

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

105


ตารางที่ 4 หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

หน่วย: พันล้านบาท

ส.ค. 51 ก.ย. 51

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (ค้ำประกัน) 1. หนี้ต่างประเทศ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2. หนี้ในประเทศ

97.40 9.06 265.62 88.34

102.34 9.01 264.98 93.33

เพิ่ม/(ลด) จากเดือนก่อน 4.94 (0.05) (0.64) 4.99

แผนภาพที่ 6 หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

92.0 92.2 92.1 93.2 88.2 90.4 9.6 9.6 9.7 9.4 9.5 9.2 101.6 101.8 101.8 102.6 97.7 99.6 1.2 1.2 1.2 1.2 1.0 1.1

106

86.4 83.4 82.4 9.2 9.0 9.1 95.6 92.4 91.5 1.0 1.0 1.0

86.8 84.0 9.3 9.1 96.1 93.1 1.0 1.0

88.3 93.3 9.1 9.0 97.4 102.3 1.0 1.1

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีจำนวนทั้งสิ้น 102.34 พันล้านบาท ประกอบด้วย หนี้ต่างประเทศ 9.01 พันล้านบาท และหนี้ในประเทศ 93.33 พันล้านบาท โดยหนี้ รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 4.94 พันล้านบาท

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ตารางที่ 5 หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

หน่วย: พันล้านบาท

ส.ค. 51 ก.ย. 51

หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 2. หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

136.91 73.79 63.12

เพิ่ม/(ลด) จากเดือนก่อน

138.22 73.79 64.43

1.31 1.31

แผนภาพที่ 7 หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

185.2 183.9 182.4 92.8 94.6 93.6 92.6 86.6 83.5 69.2 69.2 63.1 64.4 - - - 73.8 73.8 73.8 73.8 73.8 73.8 73.8 73.8 73.8 73.8 185.2 183.9 182.4 166.6 168.4 167.4 166.4 160.4 157.3 143.0 143.0 136.9 138.2 2.2

2.2

2.2

2.0

1.8

1.8

1.8

1.7

1.7

1.5

1.5

1.5

1.5

หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 138.22 พันล้านบาท ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 73.79 พันล้านบาท และหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 64.43 พันล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบ กับเดือนก่อน หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 1.31 พันล้านบาท เนื่องจากการบันทึกรับรู้ดอกเบี้ยค้างจ่าย พันธบัตรของกองทุน

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

107


ตารางที่ 6 หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

หน่วย: พันล้านบาท

ส.ค. 51 ก.ย. 51

หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 1. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 2. หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

17.12 8.32 8.80

เพิ่ม/(ลด) จากเดือนก่อน

17.12 8.32 8.80

0.00 0.00 0.00

แผนภาพที่ 8 หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

108

17.6 17.9 35.6 0.4

8.8 18.0 26.8 0.3

8.8 18.0 26.8 0.3

8.8 18.0 26.8 0.3

8.8 8.8 12.2 12.2 21.0 21.0 0.2 0.2

8.8 8.8 8.8 12.2 12.2 12.2 21.0 21.0 21.0 0.2 0.2 0.2

8.8 8.8 12.2 8.0 21.0 16.8 0.2 0.2

8.8 8.3 17.1 0.2

8.8 8.3 17.1 0.2

หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ มีจำนวนทั้งสิ้น 17.12 พันล้านบาท ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน โดยหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐจำนวน 17.12 พันล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ที่รัฐบาล ค้ำประกัน 8.32 พันล้านบาท และหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 8.80 พันล้านบาท

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


หนี้ระยะสั้นและหนี้ระยะยาว แผนภาพที่ 9 หนี้สาธารณะ

369.1 358.2 352.1 186.6 190.6 205.4 198.6 214.5 198.0 168.6 124.9 148.1 157.0 2,916.0 2,930.4 2,963.6 3,107.1 3,141.2 3,135.8 3,176.6 3,186.5 3,201.7 3,207.4 3,209.7 3,212.7 3251.2

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 3,408.23 พันล้านบาท เป็นหนี้ระยะสั้น (<1ปี) 157.03 พันล้านบาท และเป็นหนี้ระยะยาว (> 1 ปี) 3,251.20 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.61 และ 95.39 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

แผนภาพที่ 10 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

109 174.7 149.3 126.2 118.9 144.9 159.8 164.0 184.8 168.0 140.0 104.0 128.4 147.0 1,876.6 1,893.1 1,923.5 1,932.7 1,951.0 1,948.1 1,976.5 1,993.3 2,012.8 2,018.8 2,023.6 2,005.1 2,015.1

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 2,162.11 พันล้านบาท เป็นหนี้ระยะสั้น (<1 ปี) 147.00 พันล้านบาท และเป็นหนี้ระยะยาว (> 1 ปี) 2,015.11 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.80 และ 93.20 ของยอดหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง


แผนภาพที่ 11 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

6.9 22.6 41.0 42.5 41.6 41.6 29.6 24.8 26.1 26.2 20.4 17.7 6.7 904.4 911.2 913.9 903.6 907.1 903.8 922.2 924.4 923.0 930.9 933.8 959.1 981.7

หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 988.44 พันล้านบาท เป็นหนี้ระยะสั้น (<1 ปี) 6.74 พันล้านบาท และเป็นหนี้ระยะยาว (> 1 ปี) 981.70 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.68 และ 99.32 ของยอดหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

แผนภาพที่ 12 หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

110 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

2.3 99.4

2.4 99.3

2.4 2.4 2.4 2.4 99.4 100.2 95.3 97.2

2.4 2.4 2.4 93.2 90.0 89.1

1.8 - 94.3 93.1

1.4 1.4 96.0 101.0

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 102.34 พันล้านบาท เป็นหนี้ระยะสั้น (<1 ปี) 1.38 พันล้านบาท และเป็นหนี้ระยะยาว (> 1 ปี) 100.96 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.35 และ 98.65 ของยอดหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


แผนภาพที่ 13 หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

185.2 183.9 182.4 22.8 1.6 1.6 2.5 2.5 1.4 0.8 0.6 0.6 1.9 - - - 143.8 166.8 165.8 163.8 157.8 155.8 142.4 142.4 136.4 136.3

หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 138.22 พันล้านบาท เป็นหนี้ระยะสั้น (<1 ปี) 1.91 พันล้านบาท และเป็นหนี้ระยะยาว (> 1 ปี) 136.31 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.38 และ 98.62 ของยอดหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

แผนภาพที่ 14 หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

111 - 35.6

- 26.8

- 26.8

- 26.8

- - 21.0 21.0

- - - 21.0 21.0 21.0

- - 21.0 16.8

- 17.1

17.1

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 17.12 พันล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นหนี้ ระยะยาว (> 1 ปี)


หนี้ในประเทศและหนี้ต่างประเทศ แผนภาพที่ 15 หนี้สาธารณะ

2,862.1 2,864.6 2,883.1 2,884.6 2,917.2 2,936.5 2,969.5 3,004.9 3,009.7 2,989.5 2,956.9 2,962.4 3,020.8 422.9 424.0 432.6 409.1 414.5 404.8 405.7 396.0 390.0 386.5 377.7 377.1 387.4

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 3,408.23 พันล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ 3,020.79 พันล้านบาท และหนี้ต่างประเทศ 387.44 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 88.63 และ 11.37 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

แผนภาพที่ 16 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

112 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

1,943.5 1,935.6 1,940.5 1,958.0 2,000.5 2,014.8 2,050.7 2,090.6 2,102.1 2,093.1 2,062.9 2,058.5 2,095.1 107.9 106.8 109.2 93.6 95.4 93.1 89.8 87.6 78.7 65.7 64.7 85.0 67.0

หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 2,162.11 พันล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 2,095.12 พันล้านบาท และเป็นหนี้ต่างประเทศ 66.99 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 96.90 และ 3.10 ของยอดหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


แผนภาพที่ 17 หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

605.9 626.1 641.2 640.1 639.1 642.9 645.1 649.5 646.9 645.7 650.3 652.6 677.0 305.4 307.6 313.7 306.0 309.6 302.5 306.7 299.6 302.2 311.5 303.9 303.0 311.4

หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 988.44 พันล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ 677.00 พันล้านบาท และเป็นหนี้ต่างประเทศ 311.44 พันล้านบาท หรือร้อยละ 68.49 และ 31.51 ของยอดหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

แผนภาพที่ 18 หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

113 92.2 9.6

92.1 9.7

93.2 9.5

88.2 90.4 9.5 9.2

86.4 83.4 82.4 9.2 9.0 9.1

86.8 84.0 9.3 9.1

88.3 9.1

93.3 9.0

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 102.34 พันล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ 93.33 พันล้านบาท และเป็นหนี้ต่างประเทศ 9.01 พันล้านบาท หรือร้อยละ 91.19 และ 8.81 ของยอดหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

92.0 9.6


แผนภาพที่ 19 หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

185.2 183.9 182.4 166.6 168.4 167.4 166.4 160.4 157.3 143.0 143.0 136.9 138.2 - - - - - - - - - - - - -

หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 138.22 พันล้านบาท โดยเป็นหนี้ในประเทศ ทั้งจำนวน

แผนภาพที่ 20 หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

114

35.6 -

26.8 -

26.8 -

26.8 -

21.0 21.0 - -

21.0 21.0 21.0 - - -

21.0 16.8 - -

17.1 -

17.1 -

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 มีจำนวน 17.12 พันล้านบาท โดยเป็นหนี้ในประเทศ ทั้งจำนวน

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


115

ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

กิจกรรม


มหกรรมตราสารหนี้เพื่อประชาชน

Activities

116 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

สำนักงานบริหารหนี้สาธาร ณะ ร่วมกับตลาดหลัก ท รั พ ย์ แ ห่ ง ป ระ เท ศ ไท ย ธนาค าร แ ห่ ง ป ระ เท ศ ไท ย ธนาคารพาณชิ ย์ และบริษ ัทหลักทรัพย์ ร่วมกันจัดงา น “มหกรรมตราสารหนี้ เพื่อป ระชาชน” ครั้งที่ 7 เมื่อวัน ที่ 17 พฤศจิกายน 2550 ณ อาคารตลาดหลักทรัพ ย์ แ ห่ ง ป ระ เท ศ ไท ย แ ล ะยั ง เป ิ ด ให้ ป ระ ช าช น เข้ า ฟั ง ก าร เสวนาในหัวข้อ “ลงทุนโลด เศ รษฐกิจแล่น ขานรับเลือกตั้ง ” โด ย ผู้ อ ำน ว ย ก าร ส ำนั ก งา น บ ริ ห าร ห นี้ ส าธ าร ณ ะ (นายพงศ์ภาณุ เศวตรุนทร์ )

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ

Activities และลูกจ้างสำนักงาน าร ก ช รา น งา ก ั น พ ข้าราชการ ัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็น ส ย วา ถ ี ธ ิ พ ม ว ร่ ะ ณ บริหารหนี้สาธาร ยมี ผู้อำนวยการ โด น ิ ด น ่ ผ งแ อ ข ง ั ล ะพ ข้าราชการที่ดีแล 1 ธันวาคม 2550 ่ ี ท น ั ว อ ่ ื เม ี ธ ิ พ ใน าน สบน. เป็นประธ นี้สาธารณะ ห าร ห ริ บ น งา ก ั ำน ส 1 ณ ห้องประชุม 40

117 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


งานสัมมนาสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปี 2551

Activities

118 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

สำนักงานบริหารหนี้สาธาร ณะจัดสัมมนาประจำปี งบประมาณ 2551 ณ โรงแรม คำแสด ริเวอร์ แคว รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 18 - 20 มกราคม 2551 โดยมี ผู้บริหาร สบน. พร้อมด้วยข ้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างเข้าร่วมการสัม มนาและร่วมกิจกรรมในหลั ก สูตร พลังแห่งทีม พลังแห่ง ความสำเร็จ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


โครงการปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ โดยชมรมกอล์ฟสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

Activities รหนี้สาธารณะได้จัด า ห ริ บ น า ง ก ั น ำ ส ฟ ์ ล ชมรมกอ ชการ พนักงาน รา า ้ ข น ว ช ญ ิ เช ย โด ม ค กิจกรรมเพื่อสัง ห า ร ห นี้ ส า ธ า ร ณ ะ ริ บ น า ง ก ั น ำ ส ง า ้ จ ก ู ร า ช กา ร แ ล ะ ล ุ รั ก ษ์ ป่ า ช า ย เล น น อ ์ ย น ู ศ ณ น เล ย า ร่ ว ม กั น ป ลู ก ป่ า ช ี้ยงอาหารกลางวัน เล ด ั ะจ ล แ ม รา งค รส คลองโคน จ.สมุท น เมื่ อ วั น ที่ 2 2 โค ง อ ล ค ด ั ว น ย ี เร ง แ ก่ เ ด็ ก นั ก เรี ย น โร กุมภาพันธ์ 2551

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

119


งานสืบสานประเพณี รดน้ำขอพรผูใ้ หญ่

Activities

120

สำนักงานบริหารหนี้สาธาร ณะ จัดงาน “รดน้ำขอพร ผู้ใหญ่” เพื่อเป็นการสืบสา นวัฒนธรรมประเพณีอันดีง าม ของไทย ณ สำนักงานบริห ารหนี้สาธารณะ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 โดยมีข้ารา ชการ พนักงานราชการ แล ะ ลูกจ้าง ร่วมงานอย่างพร้อม เพรียงกัน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ โครงการและการจ้างที่ปรึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ หน่วยงานของรัฐในภูมิภาค

Activities ้จัดฝึกอบรมให้แก่ ด ะไ ณ าร าธ ส ้ ี น ห าร ห ริ สำนักงานบ อบด้วย เจ้าหน้าที่ ก ระ ป น ่ ิ งถ อ ้ ท น งา ย ว ่ เจ้าหน้าที่ของหน แพร่ อุตรดิตถ์ น า ่ น า ย ะเ พ จากจังหวัดเชียงราย งแรมท๊อปแลนด์ โร ณ 1 5 5 2 ม าค ภ ษ ฤ เมื่อวันที่ 29 - 30 พ จังหวัดพิษณุโลก

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

121


การแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร ระหว่างสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

Activities

คณะผู้บริหารสำนักงานบริห ารหนี้สาธารณะ พร้อม ด้วยข้าราชการ พนักงานรา ชการ และลูกจ้างเข้าร่วมกา ร แข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรร ะหว่างคณะผู้บริหาร สบน . และเจ้าหน้าที่ของธนาคารสแ ตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ณ สนาม กีฬากองทัพบก เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 พร้อมจัด ปาร์ตี้สังสรรค์หลังการแข่งขั น โดยบรรยากาศเป็นไปด้ว ย ความสนุกสนาน

122 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


งานมั่นใจไทยแลนด์ ดีแน่ ถูกแน่ เพื่อคนไทย

Activities เข้าร่วมงานออกบูธ ะ ณ าร าธ ส ้ ี น ห าร ห ริ สำนักงานบ ยงานภาครัฐและ ว ่ น ห ี ม ย โด ล า บ ฐ รั ร จำหน่ายพันธบัต - 20 กรกฎาคม 7 1 ่ ี ท น ั งว า ่ ว ห ระ น เอกชนร่วมกันจัดงา ืองทองธานี เม ์ ล ล อ ฮ ร์ อ เจ น ล าเ ช 2551 ณ

123 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


การฝึกอบรมหลักสูตร “การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540”

Activities

124

สำนักงานบริหารหนี้สาธาร ณะได้จัดฝึกอบรมหลัก สูตร “การเปิดเผยข้อมูลข่ าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อม ูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ . 2540” ให้แก่ข้าราชการ ในสังกัด และประชาชนท ั่วไป เพื่อเสริมสร้างความ รู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิด เผยข้อมูลข่าวสารของราชกา ร เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 7 อ าค าร ให ม่ ก รม บั ญ ชี ก ล าง โด ย ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ผู้ต รวจราชการสำนักนายกรัฐมนตร ี มาให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


กิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา

Activities นักงานเศรษฐกิจ ำ ส ะ รณ า ธ า ส ้ ี น รห า สำนักงานบริห บายรัฐวิสาหกิจ โย น าร ก ม รร ะก ณ ค น งา การคลัง และสำนัก ในวันธรรมสวนะ ม รร ธ ิ ต ั บ ิ ฏ ป ด ั ว า ้ เข ม ได้ร่วมกันจัดกิจกรร กาลเข้าพรรษา ศ ท ะเ ล แ า ช ู บ ห ฬ า ส ในช่วงเทศกาลวันอา สิงหาคม 2551 9 1 ่ ี ท าร ค ง ั อ น ั ว ใน โดยจัดเลี้ยงพระเพล ณ วัดสุคันธาราม

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

125


การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดทำงานวิจัย

Activities

126 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

สำนักงานบริหารหนี้สาธาร ณะ ได้จัดการประชุม แ ล ก เป ลี่ ย น ค วา ม คิ ด เห็ น ใน ก าร จั ด ท ำง านวิ จั ย เรื่ อ ง การศึกษาและวิเคราะห์แนว ทางและรูปแบบการระดมท ุน สำหรับโครงการลงทุนขนาด ใหญ่ของภาครัฐ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ณ โรงแรม สยามซิตี้ โดยเชิญหน่วยงาน รา ช ก าร แ ล ะรั ฐ วิ ส าห กิ จ เข ้ า ร่ ว ม ป ระ ชุ ม แ ล ก เป ลี่ ย น ความคิดเห็น

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


127

ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

ทำเนียบผูบ ้ ริหาร


ทำเนียบผู้บริหาร ชื่อ/สกุล

128

โทร/โทรสาร

อีเมล์

ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์

Fax : 0-2273-9109 0-2265-8051 0-2273-9158 ต่อ 5100

pongpanu@mof.go.th pongpanu@fpo.go.th

ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ นายประวิช สารกิจปรีชา

Fax : 0-2273-9145 0-2265-8058 ต่อ 5111

prawit@pdmo.mof.go.th

รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล

Fax : 0-2273-9167 0-2273-9825 0-2265-8056 ต่อ 5104

นายสุวิชญ โรจนวานิช

Fax : 0-2273-9822 0-2265-8054 ต่อ 5107

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหนี้สาธารณะ และเงินคงคลัง นางประภาดา สารนุสิต

Fax : 0-2278-4150

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเงินกู้โครงการ นายณรงค์ แก้วเศวตพันธุ์

juk@mof.go.th

suwitroj@mof.go.th

0-2265-8060 ต่อ 5214

prapada@mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5305

narong_k@vayu.mof.go.th

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ชื่อ/สกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหารการชำระหนี้ น.ส. ศิรสา กันต์พิทยา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหารหนี้สาธารณะ และภาระผูกพัน นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล เลขานุการกรม น.ส.วราภรณ์ ปัญญศิริ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป น.ส.ดารณี บุญทิพย์ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายการเจ้าหน้าที่ นางรุ่งระวี รุกเขต หัวหน้าฝ่ายคลัง น.ส.เทียมจันทร์ ประเสริฐผล

อีเมล์

0-2265-8050 ต่อ 5113

sirasa_k@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5506

jindarat@pdmo.mof.go.th

Fax : 0-2273-9147 0-2265-8050 ต่อ 5110

waraporn@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5105

daranee@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5122

rungrawee@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5117

theamchan@pdmo.mof.go.th

Fax : 0-2298-5481 0-2265-8050 ต่อ 5200

teeralak@pdmo.mof.go.th

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

129 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ นายธีรลักษ์ แสงสนิท

โทร/โทรสาร


ทำเนียบผู้บริหาร ชื่อ/สกุล ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์นโยบาย และสารสนเทศ นายครรชิต พะลัง ผู้อำนวยการส่วนบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศ นายวศิน ชูจิตารมย์ สำนักจัดการหนี้ 1 ผู้อำนวยการ นางลวาดวรรณ ธนิตติราภรณ์

ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 1 นายวิสุทธิ์ จันมณี ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 2 น.ส.ยอดเยาวมาลย์ สุคนธพันธุ์

130 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้รัฐบาล 3 นายณรงค์ แก้วเศวตพันธุ์

โทร/โทรสาร

อีเมล์

0-2265-8050 ต่อ 5209

kanchit@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5207

vasin@pdmo.mof.go.th

Fax : 0-2618-7423 0-2265-8057 0-2265-8050 ต่อ 5300

lavadvan@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5304

wisut@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5303

yod@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5305

narong_k@vayu.mof.go.th

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ชื่อ/สกุล ผู้อำนวยการส่วนจัดการเงินกู้หน่วยงานอื่น น.ส.รวีวรรณ ธาดาภาคย์ สำนักจัดการหนี้ 2 ผู้อำนวยการ นายทวี ไอศูรย์พิศาลศิริ ผู้อำนวยการส่วนเงินกู้รัฐวิสาหกิจ 1 นางสุณี เอกสมทราเมษฐ์ ผู้อำนวยการส่วนเงินกู้รัฐวิสาหกิจ 2 น.ส.เบญจมาศ เรืองอำนาจ ผู้อำนวยการส่วนเงินกู้รัฐวิสาหกิจ 3 นางชนันภรณ์ พิศิษฐวานิช สำนักนโยบายและแผน รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ นายวิสุทธิ์ จันมณี

อีเมล์

0-2265-8050 ต่อ 5101

rawewan@fpo.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5400

thavee@vayu.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5403

Sunee982@mof.go.th

0-2265-8058 ต่อ 5402

Benja96@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5404

chanunporn@pdmo.mof.go.th

Fax : 0-2273-9144 0-2265-8050 ต่อ 5304

wisut@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5502

ekaraj@pdmo.mof.go.th

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

131 รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผน นายเอกราช เขื่อนขันธ์สถิตย์

โทร/โทรสาร


ทำเนียบผู้บริหาร ชื่อ/สกุล ผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ น.ส.สิริภา สัตยานนท์

โทร/โทรสาร 0-2265-8050 ต่อ 5503

อีเมล์

sribra698@pdmo.mof.go.th

ผู้อำนวยการส่วนนโยบายค้ำประกัน และความเสี่ยง ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนประสาน สัมพันธ์นักลงทุน นายฐิติเทพ สิทธิยศ สำนักบริหารการชำระหนี้ ผู้อำนวยการ นายเอด วิบูลย์เจริญ ผู้อำนวยการส่วนบริหารการชำระหนี้รัฐบาล น.ส.ศิรสา กันต์พิทยา

132

ผู้อำนวยการส่วนบริหารเงินให้กู้ต่อ น.ส.ชิดชไม ไมตรี

0-2265-8050 ต่อ 5504

thitithep@pdmo.mof.go.th

Fax : 0-2273-9735 0-2265-8050 ต่อ 5600

ace@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5113

sirasa_k@pdmo.mof.go.th

0-2265-8050 ต่อ 5604

chichamai@pdmo.mof.go.th

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนบริหารเงินกองทุน นางพรพิมล บุนนาค 0-2265-8050 ต่อ 5603

pornpimol@pdmo.mof.go.th

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ชื่อ/สกุล

โทร/โทรสาร

สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ ผู้อำนวยการ 0-2265-8050 นายธีรัชย์ อัตนวานิช ต่อ 5700 ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและแผนการระดมทุน 0-2265-8050 น.ส.อุปมา ใจหงษ์ ต่อ 5703 ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์และจัดการเงินทุน โครงการ 1 0-2265-8050 น.ส.อัญจนา วงศ์สว่าง ต่อ 5705 ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์และจัดการเงินทุน โครงการ 2 0-2265-8050 น.ส.อรุณวรรณ ยมจินดา ต่อ 5704 ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย 0-2265-8050 นางอนงค์นาฏ โมราสุข ต่อ 5702 สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ผู้อำนวยการ 0-2265-8050 นายธาดา พฤฒิธาดา ต่อ 5800 ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาตลาด ตราสารหนี้รัฐบาล น.ส.พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี 0-2265-8050 ต่อ 5802

อีเมล์

theeraj@pdmo.mof.go.th upama@pdmo.mof.go.th

anchana@pdmo.mof.go.th

arunwan@pdmo.mof.go.th anongnart@pdmo.mof.go.th

tada996@vayu.mof.go.th

133 pimpen@mof.go.th รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


ทำเนียบผู้บริหาร ชื่อ/สกุล ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนบริหาร กองทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นายณัฐการ บุญศรี ผู้อำนวยการส่วนนโยบายตลาดตราสารหนี้ ระหว่างประเทศ นางฉัตรมณี สินสิริ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร น.ส.พรทิพย์ พันเลิศยอดยิ่ง

ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย นายธีรเดช ลิขิตตระกูลวงศ์

134

โทร/โทรสาร

อีเมล์

0-2265-8050 ต่อ 5803

nattakarn@pdmo.mof.go.th

0-2665-8050 ต่อ 5804

chatmanee@pdmo.mofgo.th

Fax : 0-2618-3399 0-2265-8050 ต่อ 5900

porntip@pdmo.mof.go.th

Fax : 0-2618-4705

Fax : 0-2273-9735 0-2265-8050 ต่อ 5913

-

teeradet@mof.go.th

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE


คณะทำงานจัดทำรายงานประจำปี พ.ศ. 2551 1. นางสาวอัญจนา วงศ์สว่าง ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์และจัดการเงินทุน 1 สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ 2. นางสาวอุปมา ใจหงษ์ นักวิชาการคลัง 7ว ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนนโยบายตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศ สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ 3. นายถาวร เสรีประยูร นักบัญชี 7ว สำนักจัดการหนี้ 1 4. นายอัคนิทัต บุญโญ เศรษฐกร 6ว สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ 5. นางสาววิมลมาส ไตรสุวรรณ นักวิชาการคลัง 6ว สำนักจัดการหนี้ 2 6. นายประภพ อนันตกูล เศรษฐกร 6ว สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ 7. นางสาวทิพรัตน์ ไชยศรี นักวิชาการคลัง 6ว สำนักบริหารการชำระหนี้ 8. นางสาวปิยธิดา สวนสุข เศรษฐกร 5 สำนักนโยบายและแผน 9. นางสาวสรินยา ลิ่มวณิชสินธุ์ นิติกร 5 กลุ่มกฎหมาย 10.นายวรัญญู เหหาสุข นักวิชาการเงินและบัญชี 3 สำนักงานเลขานุการกรม 11. นางสาวพนิดา ร้อยดวง เศรษฐกร 4 สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ 12. นางสาวศิรี จงดี เศรษฐกร 4 สำนักนโยบายและแผน

ประธานคณะทำงาน คณะทำงาน

คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงานและเลขานุการ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ

PUBLIC DEBT MANAGEMENT OFFICE

รายงานประจำปี 2551 ANNUAL REPORT 2008

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ชั้น 4 อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถ. พระราม 6 เขตพญาไท กทม. 10400 โทรศัพท์ 0-2265-8050, 0-2298-6960 www.pdmo.mof.go.th

135




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.