ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2553

Page 1

volume 2 April - June 10

(สำคั ญ อย่ า งไร?)

หนี ้ สาธารณะ วารสาร

• ทำความรู้จักกับพันธบัตร • พันธบัตรกับ หนี้สาธารณะ • พันธบัตรช่วยชาติอย่างไร? • คุณเป็นเจ้าของพันธบัตรได้ไหม? •


พระบรมราโชวาท

คนดี

...คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดี ทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ความเลวนั้นจะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยาก

แต่เป็นไปได้ ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะทำให้คนเลวมาทำให้คนดี เป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี... person good; it means

...A good person can make another that goodness will elicit goodness in society; other person

will also be good. Evil will make a steadfast good person

bad only with great difficulty; however, it is not impossible.

If good people hold on tenaciously to their goodness,

it will be difficult for evil people to influence them.

The important thing is the strong will of the good person...

คัดตัดตอนจากพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ

ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันพุธที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙


สารจากบรรณาธิการ

สารบัญ

วารสารหนีส้ าธารณะฉบับนีเ้ ป็นฉบับที่ 2 ทีไ่ ด้เผยแพร่ สู่สาธารณะ โดยเนื้อหาหลักจะเน้นการให้ความรู้เรื่อง

พันธบัตร เนือ่ งจากกระทรวงการคลังมีกำหนดทีจ่ ะจำหน่าย พันธบัตรออมทรัพย์ให้กับผู้สนใจทั่วไป ระหว่างวันที่ 7-11 มิถุนายน 2553 เพื่อเป็นทางเลือกในการออม

ในช่วงที่ดอกเบี้ยให้ผลตอบแทนที่ไม่เป็นที่น่าสนใจ ผู้ ที่ ส นใจสามารถศึ ก ษารายละเอี ย ดได้ ใ นเนื้ อ หา ของวารสาร ผู้อ่านท่านใดที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของวารสาร สามารถเปิ ด ดู ไ ด้ จ ากเนื้ อ หาภายในเช่ น กั น คณะ- บรรณาธิการได้จัดเตรียมของรางวัลที่ระลึกให้กับผู้ท ี่

สนใจเข้าร่วมการตอบคำถามชิงรางวัล นอกจากนี้ เราได้ มี ก ารจั ด เตรี ย มของที่ ร ะลึ ก ให้ กั บ ผู้ ที่ เ สนอ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เจอกันอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 ค่ะ

P2 เรื่องจากปก>

พันธบัตร และ เครื่องมือการระดมทุนหลักอื่นๆ ของรัฐบาล

P4 English Pages

บทความน่าอ่าน> P7 คำจำกัดความของรั ฐวิสาหกิจ

P8 <สถานะของหนี้สาธารณะ (ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2553)

P10

<แนะนำการทำงานของ สบน.

รู้จัก สบน.

สิริภา สัตยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและแผน

P12 <มุมอร่อย

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ าพระลาน และ ร้านหน้

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) วิสัยทัศน์: เป็นองค์กรที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับสากล

ในการเสนอแนะนโยบายและดำเนินการก่อหนี้และบริหารหนี้ สาธารณะโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศ มีระบบการ บริหารจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ทันสมัย และมีบคุ ลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพ พั น ธกิ จ : บริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการ บริหารหนี้สาธารณะ โดยการวางแผน กำกับ และดำเนินการ ก่อหนี้ ค้ำประกัน และปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาล หน่วยงาน ในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และรัฐวิสาหกิจ ซึง่ รวมทัง้ การชำระหนีข้ องรัฐบาล และการติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปอย่างมี

ประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังและการ พัฒนาเศรษฐกิจ

มุมสุขภาพ> P13 10 วิธีจัดการความเครี ยด สำหรับคนทำงาน

เว็บไซต์สำนักงาน P14 รูบริ้จัหการหนี ้สาธารณะ

P15

ข่าวประชาสัมพันธ์ จากสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ

P16

ธรรมะกับการงาน>

ไทยเข้มแข็ง ใจเข้มแข็ง วารสารหนี้สาธารณะ จัดทำโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สังกัดกระทรวงการคลัง เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป


เรื่องจากปก

เรื่อง: นครินทร์ พร้อมพัฒน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้

ใกล้ ตั ว กว่ า ที่ คิ ด

ฉบั บ ที่ แ ล้ ว ผมได้ ก ล่ า วถึ ง บทบาทของพั น ธบั ต รรั ฐ บาลใน การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ทั้งในด้านการสร้างอัตรา ผลตอบแทนอ้างอิงของรัฐบาล การพัฒนาเครื่องมือการระดมทุน

รวมไปถึงการขยายฐานนักลงทุน ซึ่งคิดว่าคงทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึง

ความสำคัญของพันธบัตรรัฐบาลและตลาดตราสารหนี้กันบ้างแล้ว อย่ า งไรก็ ต าม แม้ ว่ า พั น ธบั ต รรั ฐ บาลจะถื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ หลั ก ใน การระดมทุน รัฐบาลยังมีเครื่องมือการระดมทุนชนิดอื่นที่ใช้อยู่ด้วย เช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์และรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกันออกไป เนื้ อ หาในบทความฉบั บ นี้ จะเป็ น การเจาะลึ ก ถึ ง เครื่ อ งมื อ 2 การระดมทุนหลักของรัฐบาลทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ พันธบัตร (พันธบัตร- รัฐบาล และพันธบัตรออมทรัพย์) ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เพื่ อ ให้ ผู้ อ่ า นได้ รู้ จั ก และรั บ รู้ ถึ ง ลั ก ษณะและความสำคั ญ ของ เครื่องมือต่างๆ ของรัฐบาลในแต่ละประเภท เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุผล และความจำเป็นของรัฐบาลในการใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน ก่อนอืน่ คงต้องชีแ้ จงให้ทราบก่อนว่า วงเงินทีร่ ฐั บาลต้องดำเนินการ กู้ในแต่ละปี จะมีจำนวนเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ ดังนี้ 1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (รายจ่ายของ รัฐบาลสูงกว่ารายได้รัฐบาล) และ 2. การปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบ กำหนดชำระ (Rollover Matured Debt) ซึ่งการวางแผนการกู้เงิน

ดังกล่าว กระทรวงการคลังต้องคำนึงถึงกระแสเงินสดของรัฐบาล ในแต่ละช่วงเวลา ภาระการชำระหนี้ในอนาคต และความต้องการ ของผู้ให้กู้ในตลาดด้วย โดยเครื่องมือการกู้เงินของรัฐบาลทั้ง 3 ชนิด มีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามตาราง 1 ตาราง 1 : วัตถุประสงค์ของเครื่องมือในการระดมทุนของรัฐบาล

จริ ง ๆ แล้ ว การกู้ เ งิ น ของรั ฐ บาลก็ ไ ม่ ต่ า งกั บ การกู้ เ งิ น ของ ภาคเอกชน บุคคลธรรมดาเท่าไร เช่น รัฐบาลก็ต้องดำเนินการกู้เงิน

ระยะยาวเมื่ อ ต้ อ งการลงทุ น กู้ เ งิ น ระยะสั้ น ระหว่ า งปี เ มื่ อ เงิ น สด ขาดมื อ เพี ย งแต่ ก ารกู้ เ งิ น ของรั ฐ บาลต้ อ งทำอย่ า งเป็ น ระบบ เครื่ อ งมื อ ที่ ไ ม่ เ หมื อ นเอกชน ใช้ วิ ธี ก ารประมู ล เพื่ อ ความโปร่ ง ใส รวมถึ ง ต้ อ งวางแผนการกู้ เ งิ น ให้ ส อดคล้ อ งกั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ ด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ด้วยเท่านั้นเอง คราวนี้ ล องเปรี ย บเที ย บเหตุ ผ ลในการใช้ เ ครื่ อ งมื อ ต่ า งๆ ของ รัฐบาลให้มีความใกล้ตัวกับเรามากขึ้น ขอให้ผู้อ่านลองนึกภาพว่า

เราเป็นชาวบ้าน หรือเกษตรกร ลองนึกดูนะครับ ตอนต้นปี ก่อนจะ วางแผนการลงทุน หรือปลูกข้าว เราคงต้องสำรวจ “เงินติดกระเป๋า” ที่เรามีอยู่ว่า เพียงพอสำหรับการซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และเครื่องมือ

ต่ า งๆ ที่ ใ ช้ ใ นการทำนาหรื อ ไม่ “เงิ น ติ ด กระเป๋ า ” นั่ น แหละครั บ

สำหรับรัฐบาล เราเรียกว่า “เงินคงคลัง” ซึ่งถือเป็นเงินสดที่อยู่ใน

มือของรัฐบาลที่จะนำไปใช้จ่ายเงินเดือน หรือลงทุนในโครงการต่างๆ

ระหว่างปีงบประมาณ และจะเพิ่มหรือลดได้จากการจัดเก็บรายได้


การกู้เงิน และการใช้จ่ายของรัฐบาลนะครับ รูปที่ 1 ความเหมือนที่แตกต่าง นึกภาพต่อไปดูนะครับว่า ถ้าเงินที่เรามีติดกระเป๋าไม่เพียงพอที่ จะไปซื้อรถไถนา หรือลงทุนซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น เราจะไปเอาเงินมา จากไหน แน่นอนครับ เราก็คงต้องเดินไปที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อขอ กู้เงิน เพื่อที่จะได้มีเงินเพียงพอในการลงทุนซื้อเครื่องมือที่จำเป็น เงินกู้ธนาคารฯ ก็เปรียบได้กับพันธบัตรรัฐบาลทั่วไปของรัฐบาล เพื่อ กู้เงินจากนักลงทุน (ทั้งสถาบันและรายย่อย) โดยจะนำเงินกู้ดังกล่าว ไปใช้ในการลงทุนในโครงการเสริมสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่ อ มาลองคิ ด ไปถึ ง รู ป แบบรายรั บ และรายจ่ า ยของเกษตรกร การทำการเกษตรจะมีรายจ่ายที่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี เช่น ค่าน้ำมัน

ค่ า ปุ๋ ย และค่ า แรง ในขณะที่ ร ายรั บ มี ลั ก ษณะที่ เ ป็ น ฤดู ก าล คื อ มีรายรับเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวเท่านั้น ดังนั้น ในช่วงก่อนที่จะถึง ฤดู เ ก็ บ เกี่ ย ว เราคงมี ร ายได้ ไ ม่ เ พี ย งพอที่ จ ะใช้ จ่ า ยในการกิ น อยู่ หรือซื้อหาปุ๋ย เพื่อใช้ในการดูแลผลผลิตในแปลงของเรา ทำให้เรา อาจต้องมีวงเงินกู้ระยะสั้น เช่น วงเงิน Overdraft (O/D) ซึ่งใช้เป็น แหล่งทุนสำหรับใช้จ่ายในช่วงที่รายได้ไม่เพียงพอ จากนั้น เมื่อถึง ฤดูเก็บเกี่ยว และเราสามารถนำผลผลิตที่ได้ไปขาย เงินที่ได้จาก การขายนั้ น บางส่ ว นก็ จ ะถู ก นำไปคื น เงิ น กู้ ร ะยะสั้ น ดั ง กล่ า ว เพื่อเคลียร์วงเงินฯ ไว้ใช้สำหรับช่วงที่ขาดรายได้ในอนาคตอีก หั น กลั บ มาดู ด้ า นของรั ฐ บาล วงเงิ น O/D ก็ เ ที ย บได้ กั บ การกู้ ร ะยะสั้ น โดยใช้ ตั๋ ว เงิ น คลั ง (T-Bill) ซึ่ ง จะใช้ ส ำหรั บ บริ ห าร เงินสดของรัฐบาลระหว่างปี เนื่องจากลักษณะของกระแสเงินสด ของรัฐบาลมีความเป็นฤดูกาล คล้ายกับการเก็บเกี่ยวพืชผลทาง การเกษตร เนื่องจากรัฐบาลจะมีรายได้จากภาษีเข้ามาเป็นจำนวน มากๆ เพียงแค่ 2 ครั้งในแต่ละปีเท่านั้น ได้แก่ เดือนมิถุนายน และ เดือนกันยายน ในขณะที่รายจ่ายจะกระจายสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ทำให้สามารถเห็นได้ว่า ใน 12 เดือนของปีงบประมาณ จะมีถึง 10

เดือนที่รัฐบาลมีรายจ่ายที่สูงกว่ารายได้ และ 10 เดือนดังกล่าวนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องจ่ายเงินจากเงินคงคลังไปก่อน แล้วถ้าเงินคงคลัง

ไม่พอ ก็จะดำเนินการออก T-Bill เพื่อหาเงินเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด

จากนั้น เมื่อถึงช่วงฤดูเก็บภาษี รัฐบาลก็จะมีเงินเพียงพอที่จะไปคืน

T-Bill ที่กู้ไว้ก่อนหน้า และเคลียร์ยอดคงค้างของ T-Bill ไว้สำหรับ ช่วงที่ขาดเงินในอนาคตเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ในบางช่วงของปี ถ้าการกู้เงินจากทั้ง 2 เครื่องมือ

ข้ า งต้ น ยั ง ไม่ เ พี ย งพอกั บ ความต้ อ งการใช้ เ งิ น เราก็ ค งต้ อ งกู้ โดยใช้ชอ่ งทางอืน่ เพิม่ เติม เช่น สินเชือ่ ส่วนบุคคลจากธนาคารฯ ซึง่ การกู ้

ชนิดนี้ เป็นการกู้ในกรณีฉุกเฉินจำเป็น ส่งผลให้การกู้ชนิดนี้มีต้นทุน ที่ สู ง กว่ า การกู้ แ บบอื่ น การกู้ เ งิ น ในลั ก ษณะนี้ ก็ เ หมื อ นกั บ การกู ้

โดยใช้ตวั๋ สัญญาใช้เงิน (Promissory Note: P/N) ของรัฐบาล เป็นการกู ้

แบบเฉพาะเจาะจง โดยกระทรวงการคลั ง จะทำหนั ง สื อ สั ญ ญา ขอกูเ้ งินจากผูใ้ ห้กู้ ใช้การประมูลโดยมีผเู้ ข้าร่วมทีจ่ ำกัด ส่วนใหญ่จะใช้

สำหรับในช่วงที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้มากๆ หรือมีภาระหนี้ต้องชำระ ในเวลาเดี ย วกั น ด้ ว ย ทำให้ พั น ธบั ต รและตั๋ ว เงิ น คลั ง ไม่ ส ามารถ 3 ระดมทุนได้เพียงพอกับความต้องการ นอกจากนี้ การออก P/N ยังมี

ข้อดีอย่างเด่นชัด คือ สามารถออกได้โดยการประกาศล่วงหน้าเพี ยง

3-4 สั ป ดาห์ และสามารถต่ อ รองกั บ ผู้ ใ ห้ กู้ เ พื่ อ การขอคื น เงิ น กู้ ก่ อ นครบกำหนดได้ ในขณะที่ พั น ธบั ต รรั ฐ บาลต้ อ งประกาศเป็ น รายไตรมาสและไม่สามารถคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดได้ เกษตรกรหว่ า นพื ช ก็ ต้ อ งหวั ง ผล เช่ น เดี ย วกั บ รั ฐ บาลที่ ล งทุ น ก็เพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุดแก่ประเทศ แต่ดว้ ยความทีก่ ารดำเนินการ กู้ เ งิ น ของรั ฐ บาลมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ห ลากหลายและมี ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง อยูเ่ ป็นจำนวนมาก ทำให้การวางแผนการกูเ้ งินในแต่ละปี ต้องสามารถ ตอบโจทย์ของผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้อย่างครบถ้วน รวมถึงรักษาสมดุล ในด้ า นของต้ น ทุ น ที่ เ หมาะสม และการพั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ ให้เป็นแหล่งระดมทุนของภาครัฐและเอกชนที่มีประสิทธิภาพ อย่ า งไรก็ ต าม การดำเนิ น การกู้ เ งิ น เพื่ อ พั ฒ นาประเทศ หรื อ เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในปริมาณที่มากเช่นในปัจจุบันต่อเนื่อง

ย่ อ มนำมาซึ่ ง ความเสี่ ย งในการชำระคื น ทั้ ง ดอกเบี้ ย และเงิ น ต้ น ดั ง นั้ น การนำเงิ น ที่ ไ ด้ จ ากการกู้ ไ ปใช้ ใ นโครงการที่ เ กิ ด ประโยชน์

สู ง สุ ด หรื อ ลดวงเงิ น การกู้ เ งิ น ในอนาคต จึ ง ถื อ เป็ น การบ้ า นที่ กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนให้สามารถ เกิดขึ้นจริงให้ได้อย่างโดยเร็วที่สุด


English Pages

BOND MARKET DEVELOPMENT IN THAILAND

Story: Paroche Hutachareon Position: Economist

Bond Market Development Bureau

4

Background of Bond Market and Financial System

in Thailand Prior to the Asian Financial crisis in 1997, the bond market was relatively insignificant

accounting for a mere 7.4% of GDP in comparison to commercial banks loans and

equities market which accounted for 72.2 percent of GDP and 51.6 percent of GDP,

respectively. The imbalances amongst the three pillars of the financial system were

caused by the over-reliance on commercial banks as the main source of funding and

over investment in equities market as investments options were restricted. Financial

system imbalances which, contributed significantly to the financial crisis highlighted

the need for the government to urgently reform and implement initiatives to rebalance

the financial system. The government through Public Debt Management Office (PDMO)

has been committed to rectify the imbalances by developing the domestic bond market

to be an alternative funding and investment source for both public and private sector.

Government’s initiatives led to the rapid growth of the bond market over the last decade

where it has grown from 7.4 percent in 1997 to 69.1 percent in 2009.

Figure 1: Comparison of Source of Funding in Thailand (1992-2009)

Source: SETSMART, ThaiBMA, NESDB


Government’s initiatives to support domestic bond

market development

Developing the domestic bond market is a very challenging task, one of which requires

close coordination amongst public agencies as well as market participants. The PDMO took

the leading role in the implementation of the following measures to develop the domestic bond

market:

• Benchmark bonds issuance

In spite of government efforts to develop the domestic bond market since the 1997 financial

crisis, the domestic bond market did not advance as rapidly as it could have as the government

bonds issued were small, too frequent and very fragmented. Over the last three years,

however, there was a complete overhaul of the government bond issuance program,

Benchmark bonds with maturities of 5, 10, 15 and 20 years were introduced to establish the

benchmark yield curve to be used as a reliable reference for corporate bonds. Moreover,

the government also significantly increased volume of each bond and reduced the frequency

of auctions to encourage competition in the primary market as well as to enhance liquidity

in the secondary market.

• Diversify Investor base

Market with diversified investor base is critical to the development of the domestic bond

market. In recent years, the PDMO has initiated measures to broaden the investor base mainly

through the introduction of new products and enhancing features of current products including;

issuance of the 30 years bond to serve the demand from long term investors such as pension 5 funds and insurance companies; the Floating rate Bond (FRB), to meet demands of investors

looking to manage interest risks. Furthermore, the PDMO has altered key features of saving

bonds including the introduction of ‘step-up’ interest rates as well as initiatives to ensure

that distribution is more geographically diverse. This has made saving bonds more attractive

to retail, individual investors as indicated by saving bonds being sold out within hours.

• Public Debt Restructuring and Domestic Bond Market

Development Fund (The Fund)

PDMO has established The Fund to support the development of the domestic bond market.

Specifically, The Fund will act as an investment arm to manage proceeds from debt

restructuring and issuance for bond market development: o Debt Restructuring: as mentioned earlier, size of benchmark bonds need to be

sufficiently large in order for it to be effective for bond market development. Due to its size and

without adequate tools, benchmark bonds issuance may lead to significant refinancing risks.

Therefore, the fund can significantly reduce refinancing risks by enabling government to

pre-fund maturing debt one year in advance. o Issuance for Bond market development: According to the Public Debt Management

Act B.E. 2548 (2005), government is allowed to issue to directly support domestic bond market

development, where the proceeds from issuance will be managed by The Fund. This ensures

the market that supply of government bonds will always be available even in a scenario where

the government no longer requires borrowings to finance budget deficit.

• Transparency and communication with market

participants PDMO recognises the importance of consistent market communication as it is critical to


6

government bond issuance strategy formulation. PDMO conducts market dialogues frequently to share information on government’s funding requirements as well as to obtain information on demands of investors and current market conditions. In addition, PDMO is committed to conducts its bond auctions in a transparent manner by announcing bond auction calendar on the annual

basis as well as limiting unnecessary deviations from the initial calendar. Because of the measures mentioned, the bond market has not only grown to over 60% of GDP but more importantly, it has allowed to government to meet its growing borrowing requirements while keeping cost at an manageable level. As table 1 indicates, the BCR for government bonds is

generally at around 1.6-2 reflecting high degree of demand and sufficient competition for government bonds. Furthermore, the 5 and 10 years benchmark bonds which are very popular is

actively traded in the secondary market. Table 1:Government Bonds Performance Indices Source: PDMO

Next Steps

Government is committed to continue its effort to further enhance efficiency and robustness of the domestic bond market. Apart from continuing to enhance current initiatives, government has

identified the following issues to be addressed, in order to achieve sustained development:

• Cash Management

Efficient cash management system can play an important role in developing domestic bond

market. Currently, government’s cash is kept at a non-interest paying account at the Bank of

Thailand (BOT) and the law also prohibits investment of outstanding cash balance. In order to

minimise costs, government is currently working towards amending relevant Act to allow

government to manage cash balance through investment in low-risk instruments.

Product Diversification

Product diversification is not only important for the broadening of investor base but it also acts

as an alternative source of funding for the government, in particular during periods where funding needs are large. For example, PDMO is currently preparing to issue Inflation-Linked Debt to meet

growing demands from investors.


บทความน่าอ่าน

คำจำกัดความของรัฐวิสาหกิจ

เรื่อง: มณฑาทิพย์ ชุมทอง นิติกรปฏิบัติการ กลุ่มกฎหมาย

ตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 4 กำหนดว่า

“หนี้ ส าธารณะ” หมายความว่ า “หนี้ ที่ ก ระทรวงการคลั ง หน่ ว ยงานของรั ฐ

หรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน…” ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง

คำว่า “หนี้สาธารณะ” ย่อมหมายความรวมถึง หนี้ที่รัฐวิสาหกิจกู้ด้วย ซึ่งในการ

กู้เงินของรัฐวิสาหกิจสามารถกระทำได้ในหลายวิธี เช่น ทำสัญญากู้เงิน หรือการ

ออกพั น ธบั ต ร สำหรั บ ในส่ ว นของการออกพั น ธบั ต รนั้ น จะใช้ ใ นกรณี ที่ เ ป็ น

รัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น

และกฎหมายจัดตั้งองค์กรเหล่านั้นให้อำนาจในการออกพันธบัตรได้ ซึ่งอาจ

เป็ น การออกพั น ธบั ต รในประเทศหรื อ ต่ า งประเทศก็ ไ ด้ (ตราสารหนี้ ที่ อ อก

จำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ เรียกว่า Yankee Bond แต่หากออกในตลาดญี่ปุ่น

เรี ย กว่ า Samurai Bond) และในการออกพั น ธบั ต รของรั ฐ วิ ส าหกิ จ นั้ น จะมี

รั ฐ บาลค้ ำ ประกั น หรื อ ไม่ ก็ ไ ด้ นอกจากนี้ การกู้ เ งิ น ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ที่ เ ป็ น

บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด สามารถกู้เงินโดยการออกหุ้นกู้ได้ แต่ทั้งนี้

ต้องเป็นไปตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ดังที่ได้กล่าวข้างต้น หนี้ที่รัฐวิสาหกิจกู้ถือเป็นหนี้สาธารณะ จึงจำเป็นต้อง

เข้าใจถึงความหมายของคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ด้วยว่ามีขอบเขตแค่ไหน เพียงไร

กล่าวคือเมื่อพิจารณาถึงการกำหนดนิยามของรัฐวิสาหกิจของไทย ได้มีการ

ให้ ค วามหมายที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น ไปในกฎหมายหลายฉบั บ เช่ น พ.ร.บ.

1 วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ

2 3 และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

4 และกฎหมายอื่ น ๆ ซึ่ ง เมื่ อ มี ก ารกำหนดความหมายของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ไว้ ใ น

1

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า (ก) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (ข) บริษทั หรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คลทีส่ ว่ นราชการมีทนุ รวมอยูด่ ว้ ยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ (ค) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) และ/

หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ (ง) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ค) และ/

หรือ (ก) และ/หรือ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ (จ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ง) และ/

หรือ (ก) และ/หรือ (ข) และ/หรือ (ค) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ 2 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

พ.ศ. 2518 มาตรา 4 รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการ

ของรัฐบาลตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และหมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐ

เป็นเจ้าของ แต่ไม่รวมถึงองค์การหรือกิจการที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อสงเคราะห์

หรือส่งเสริมการใดๆ ที่มิใช่ธุรกิจ (2) บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมือง

ที่มีฐานะเทียบเท่า และ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

หรือ (3) บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมือง

ทีม่ ฐี านะเทียบเท่า และหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) และหรือ (2) มีทนุ รวมอยูด่ ว้ ยถึงสองในสาม

กฎหมายหลายฉบับและมีความหมายแตกต่างกัน จึงทำให้รัฐวิสาหกิจบางแห่ง

อาจจะมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามความหมายของกฎหมายฉบับหนึ่ง แต่ไม่ได้

มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามความหมายของกฎหมายอื่นก็ได้ อาทิ บมจ. ปตท.

สำรวจและผลิ ต ปิ โ ตรเลี ย ม ซึ่ ง ภาครั ฐ ถื อ หุ้ น เกิ น กว่ า ร้ อ ยละ 50 จึ ง เป็ น

5 รัฐวิสาหกิจตามความหมายของ พ.ร.บ. วิธีการ งบประมาณฯ มาตรา 4 (ค)

แต่เมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ. การบริหารหนีส้ าธารณะฯ มาตรา 4 (ค) กำหนดให้

รั ฐ วิ ส าหกิ จ ตาม (ก) และหรื อ (ข) มี ทุ น รวมอยู่ ด้ ว ยเกิ น กว่ า ร้ อ ยละห้ า สิ บ

โดยคำนวณเฉพาะทุนตามสัดส่วนที่เป็นของหน่วยงานของรัฐเท่านั้น จึงทำให้

บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามความหมายของ

พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ มาตรา 4 (ค) 6 นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการฯ มาตรา 4 (3)

กำหนดให้รัฐวิสาหกิจตาม (1) และหรือ (2) มีทุนรวมอยู่ด้วยถึงสองในสาม 7 (66.66%) จึงทำให้ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ

ตามความหมายของ พ.ร.บ. คุณสมบัตมิ าตรฐานสำหรับกรรมการฯ มาตรา 4 (3)

แต่เป็นรัฐวิสาหกิจตามความหมายของ พ.ร.บ. วิธกี ารงบประมาณฯ มาตรา 4 (ค) 7 ดังนั้น ในการพิจารณาว่าองค์กรหรือหน่วยงานใดจะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่

นั้น นอกจากจะพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณแล้ว ยังต้อง

พิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ประกอบด้วย เพราะกฎหมาย

แต่ละฉบับมีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ที่แตกต่างกัน

3

พระราชบั ญ ญั ติ ก ารบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 4 รั ฐ วิ ส าหกิ จ

หมายความว่า (ก) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการ

ของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (ข) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก)

มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ (ค) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจตาม (ก)

หรือ (ข) หรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) และ (ข) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ โดยให้

คำนวณเฉพาะทุนตามสัดส่วนที่เป็นของหน่วยงานของรัฐเท่านั้น 4 นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดนิยามของรัฐวิสาหกิจไว้ในกฎหมายอีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติ

พั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2521 และพระราชบั ญ ญั ติ แ รงงาน

รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 5 บมจ. ปตท. ถือหุ้นใน บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในสัดส่วน 65.41% (ข้อมูล

ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553) 6 กระทรวงการคลังถือหุ้นใน บมจ. ปตท. 51.57% และ บมจ. ปตท. ถือหุ้นใน บมจ.

ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 65.41% (51.57*65.41% = 33.73) (ข้อมูล ณ วันที่ 7

กันยายน 2552) 7 บมจ. ปตท. ถือหุ้นใน บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในสัดส่วน 65.41%


สถานะของหนี้สาธารณะ (ณ 28 กุมภาพันธ์ 2553) เรื่อง: ศิรี จงดี เศรษฐกรปฏิบัติการ สำนักนโยบายและแผน

ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 หนี้สาธารณะคงค้างมีจำนวนทั้งสิ้น 4,075.14 พันล้านบาท หรือร้อยละ

41.88 ของ GDP โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,713.30 พันล้านบาท

หรือร้อยละ 66 ของหนีส้ าธารณะคงค้าง หนีร้ ฐั วิสาหกิจทีไ่ ม่เป็นสถาบันการเงิน (SOEs) 1,101.18 พันล้านบาท

หรือร้อยละ 27 ของหนี้สาธารณะคงค้าง หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) (SFIs)

191.03 พันล้านบาทหรือร้อยละ 5 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน

การเงิน (FIDF) 69.63 พันล้านบาทหรือร้อยละ 2 ของหนี้สาธารณะคงค้าง 1

8

วงเงิน ร้อยละ (พันล้าน)

รายการ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

66

1,101.18

27

191.03

5

69.63

2

4,075.14

100

หนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

TOTAL

2,713.30

องค์ประกอบหนี้สาธารณะคงค้าง

Portfolio หนี้สาธารณะ สัดส่วนหนี้ในประเทศและต่างประเทศ

1

เท่ากับ (60:24:16)

หนี้สาธารณะมีสัดส่วนหนี้ในประเทศเป็นส่วนมาก คิดเป็นร้อยละ 91

โดยส่วนที่เหลือทั้งหมดเป็นเงินกู้เงินต่างประเทศร้อยละ 9 ซึ่งสัดส่วน สกุลเงินตราต่างประเทศประกอบด้วย หนี้สกุลเงินเยน สกุลเหรียญสหรัฐ และสกุลยูโร เท่ากับร้อยละ 60:24:16 การพิจารณาแหล่งเงินกู้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะคำนึงถึง ความเหมาะสม ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งการระดมทุนใน ประเทศมีข้อดี อาทิ เป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้และตลาดการเงิน

ในประเทศ รวมถึ ง เป็ น การปิ ด ความเสี่ ย งทางด้ า นอั ต ราแลกเปลี่ ย น สำหรั บ การกู้ ยื ม เงิ น จากแหล่ ง ทุ น ต่ า งประเทศก็ มี จุ ด เด่ น ที่ อั ต รา ดอกเบี้ยต่ำ และมีองค์กรต่างประเทศที่ให้การกู้ยืมให้การสนับสนุนด้าน ความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะด้วย

ประมาณการ GDP ปี 2553 เท่ากับ 9,729.50 พันล้านบาท (สศช. ณ 24 พ.ค. 53)


สัดส่วนหนี้ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่และลอยตัว สัดส่วนหนีส้ าธารณะทีเ่ ป็นอัตราดอกเบีย้ คงทีต่ อ่ อัตราดอกเบีย้ ลอยตัว (Fixed:Floating) เท่ากับร้อยละ 88 : 12 เป็นสัดส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย โดยแสดงให้เห็นว่า หนี้สาธารณะที่อาจถูก

กระทบจากการเปลี่ ย นแปลงของดอกเบี้ ย มี สั ด ส่ ว นมากน้ อ ยเพี ย งใด ซึ่งจากสัดส่วน Fixed:Floating ในปัจจุบัน แสดงว่า Portfolio มีความ เสี่ยงต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพราะประมาณร้อยละ 88

ของ Portfolio ได้ ถู ก กำหนดเป็ น อั ต ราดอกเบี้ ย คงที่ แ ล้ ว อย่ า งไรก็ ด ี

การกำหนดหนี้ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่อาจทำให้เสียโอกาสที่จะประหยัด ดอกเบี้ย (ต้นทุน) ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในขาลงได้ 9

ATM ของ Portfolio หนี้สาธารณะ

ระยะเวลาที่หนี้ครบกำหนด (Average Time to Maturity : ATM) เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยง ด้านสภาพคล่องของการจัดหาเงินกูใ้ หม่ โดยในปัจจุบนั ATM อยูท่ รี่ ะดับ 5.4 ปี หมายความว่า โดยเฉลี่ยในอีก 5.4 ปีข้างหน้า รัฐบาลจะต้องจัดหาเงินกู้ใหม่มาทดแทนหนี้เดิม ดังนั้น การที่ Portfolio หนี้มี ATM ที่ยาวจึงเป็นการลดความเสี่ยงในการจัดหาเงินกู้ใหม่ เพราะยืดเวลา ในการระดมทุน รวมถึงแสดงให้เห็นว่ามีการกระจายตัวของเครื่องมือทางการเงินใน Portfolio ที่มีทั้งอายุสั้นและยาว ทำให้โอกาสในการกระจุกตัวของหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในระยะสั้น น้อยลงด้วย


แนะนำการทำงานของ สบน.

รู้จัก สบน.

เรื่อง: ธีระศักดิ์ อิญญาวงค์ นักวิชาการคลังชำนาญการ สำนักบริหารการชำระหนี้

สำนั ก งานบริ ห ารหนี้ ส าธารณะ (สบน.) มีภารกิจในการบริหารหนีส้ าธารณะ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารหนีส้ าธารณะ เช่น การวางแผน กำกับและดำเนินการก่อหนี้ ค้ำประกัน และ ปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ข องรั ฐ บาล หน่ ว ยงานใน กำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ รวมทัง้ การติดตามและประเมินผล เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความยั่งยืนทาง การคลังและการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันมี

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ดำรงตำแหน่ง

ผูอ้ ำนวยการสำนักงาน นายประวิช สารกิจปรีชา ดำรงตำแหน่ ง ที่ ป รึ ก ษาด้ า นหนี้ ส าธารณะ นายสุวชิ ญ โรจนวานิช และนายทวี ไอศูรย์พศิ าลศิร ิ ดำรงตำแหน่ ง รองผู้ อ ำนวยการสำนั ก งาน

มี ก ารแบ่ ง ภารกิ จ ภายในสำนั ก งานออกเป็ น ส่วนหนึ่งของทีมงาน สบน. 6 สำนัก 2 กอง 3 กลุ่ม ดังนี้ การระดมเงิน การก่อหนี้ และการให้กตู้ อ่ กำหนดหลักเกณฑ์การก่อหนี้

6 สำนัก ได้แก่ และการให้กู้ต่อ ติดตามและประเมินภาวะตลาดเงินทุน และฐานะ 1. สำนักจัดการหนี้ 1 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาล การเงิ น การคลั ง ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ซื้ อ คื น และไถ่ ถ อนตราสารหนี้ กองทุนฟืน้ ฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สถาบันการเงินภาครัฐ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ แก่รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น องค์กรอื่นที่รัฐบาลมีนโยบายจัดหาเงินกู้ให้และมิได้แยกให้เป็น 3. สำนักนโยบายและแผน มีอำนาจหน้าที่ ได้แก่ ติดตามและ หน้าทีข่ องส่วนราชการใดโดยเฉพาะ ได้แก่ กูเ้ งิน ค้ำประกัน ให้กตู้ อ่ ประเมิ น ผลสถานะหนี้ ส าธารณะ เสนอแนะกรอบนโยบายและ บริหารหนี้สาธารณะและความเสี่ยงจากเงินกู้ กำหนดแผนและ แนวทางการบริหารหนี้สาธารณะและการบริหารความเสี่ยงของหนี้ กลยุทธ์ในการระดมเงิน การก่อหนี้ และการให้กตู้ อ่ กำหนดหลักเกณฑ์ สาธารณะ จัดทำแผนการบริหารหนีส้ าธารณะ จัดทำรายงานการกูเ้ งิน การก่อหนี้และการให้กู้ต่อ ติดตามและประเมินภาวะตลาดเงินทุน และการค้ำประกัน รวมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะและผลการ และฐานะการเงินการคลัง ซื้อคืนและไถ่ถอนตราสารหนี้ ให้คำ ดำเนินงานต่างๆ จัดทำหลักเกณฑ์การค้ำประกันและการให้กู้ต่อ

ปรึกษาและคำแนะนำในการบริหารหนี้สาธารณะแก่หน่วยงาน รวมทั้งแนวทางการประเมินระดับความน่าเชื่อถือของหน่วยงานใน ที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งการบริหารเงินคงคลัง เป็นต้น กำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ตลอดจน

ปัจจุบนั นางลวาดวรรณ ธนิตติราภรณ์ ดำรงตำแหน่งผูอ้ ำนวยการ- กำหนดค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันและการให้กู้ต่อ ประสานงาน สำนัก กับรัฐบาลต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ สถาบันจัด

2. สำนั ก จั ด การหนี้ 2 มี อ ำนาจหน้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ หนี้ ข อง อันดับความน่าเชื่อถือ สถาบันการเงิน และนักลงทุน เป็นต้น ปัจจุบัน รั ฐ วิ ส าหกิ จ ได้ แ ก่ กู้ เ งิ น ค้ ำ ประกั น ให้ กู้ ต่ อ การบริ ห ารหนี้ - นายธาดา พฤฒิธาดา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก สาธารณะและความเสี่ยงจากเงินกู้ กำหนดแผนและกลยุทธ์ใน


4. สำนั ก บริ ห ารการ

ชำระหนี้ มี อ ำนาจหน้ า ที่ ได้แก่ จัดทำคำขอตั้งงบชำระ หนี้ เ งิ น กู้ ข องรั ฐ บาล ศึ ก ษา และวิ เ คราะห์ เ กี่ ย วกั บ การ ท ำ ธุ ร ก ร ร ม ท า ง ก า ร เ งิ น

กำหนดกลยุทธ์และแนวทาง การบริหารงบชำระหนี้เงินกู ้

ของรั ฐ บาล ชำระหนี้ เ งิ น กู้ ของรั ฐ บาลให้ แ หล่ ง เงิ น กู้ กำกับและติดตามการชำระเงิน ที่ ใ ห้ กู้ ต่ อ และการจั ด เก็ บ

ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน

และการให้กตู้ อ่ บริหารจัดการ การชำระเงินทีใ่ ห้กตู้ อ่ บริหาร จั ด การเงิ น กู้ ที่ เ ป็ น เงิ น นอก งบประมาณและกองทุน เป็นต้น ปัจจุบัน นายเอด วิบูลย์เจริญ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก 5. สำนั ก บริ ห ารการระดมทุ น โครงการลงทุ น ภาครั ฐ มีอำนาจหน้าที่ ได้แก่ พิจารณาความเหมาะสมของการระดมทุน สำหรับโครงการลงทุนของภาครัฐ ศึกษา เสนอแนะ หรือจัดทำ แผนการบริ ห ารจั ด การด้ า นการเงิ น สำหรั บ โครงการลงทุ น ของ

ภาครัฐทีเ่ ป็นการก่อหนีส้ าธารณะ ให้คำปรึกษาและแนะนำเกีย่ วกับ การระดมเงินทุนหรือจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนของ ภาครัฐ เร่งรัดและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบ โครงการลงทุนของภาครัฐที่เป็นหนี้สาธารณะ บริหารศูนย์ข้อมูล

ที่ปรึกษาไทย เป็นต้น ปัจจุบัน นายธีรัชย์ อัตนวานิช ดำรงตำแหน่ง

ผู้อำนวยการสำนัก 6. สำนั ก พั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ มีอำนาจหน้าที่ ได้ แ ก่ กำหนดนโยบายและแนวทางในการกู้ เ งิ น จั ด ทำแผนการออก ตราสารหนี้และการซื้อคืนหรือไถ่ถอนตราสารหนี้ กำหนดกลยุทธ์ ในการบริหารและจัดการกองทุนบริหารเงินกู้ ศึกษาและวิเคราะห์

ภาวะตลาดตราสารหนี้ ศึกษา วิจัย และพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และการนำเครื่องมือทางการเงินมาใช้ เป็นต้น ปัจจุบัน นายวิสุทธิ์

จันมณี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก 2 กอง ได้แก่ 1. สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนการ ปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติต่างๆ ภายในและภายนอกสำนักงาน ได้ แ ก่ ด้ า นบุ ค ลากร ด้ า นงานคลั ง ด้ า นงานพั ส ดุ ด้ า นธุ ร การ- สำนักงาน และช่วยอำนวยการ เป็นต้น ปัจจุบัน นายธีรลักษณ์

แสงสนิท ดำรงตำแหน่งเลขานุการกรม 2. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่สนับสนุนการ ปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติต่างๆ ภายในและภายนอกสำนักงาน ได้ แ ก่ จั ด ทำแผนแม่ บ ทและแผนปฏิ บั ติ ก ารด้ า นเทคโนโลยี ของสำนักงาน ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลหนี้สาธารณะและข้อมูล ของสำนักงาน และกำกับดูแลและบริหารจัดการระบบเทคโนโลยี- สารสนเทศของสำนักงาน เป็นต้น ปัจจุบนั นางสาววราภรณ์ ปัญญศิริ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ทำหน้าที่หลักในการเสนอแนะ การพั ฒ นาการบริ ห ารของสำนั ก งาน ปั จ จุ บั น นางสาวพรทิ พ ย์ พันเลิศยอดยิ่ง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่ม 2. กลุ่ ม ตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบ การดำเนินงานภายในสำนักงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของ สำนั ก งาน ทั้ ง ด้ า นการบริ ห าร การเงิ น และการบั ญ ชี เป็ น ต้ น

ปัจจุบัน นางจตุพร วุฒิสาร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่ม 3. กลุ่ ม กฎหมาย ทำหน้าที่หลักในการเสนอแนะความเห็น ให้คำปรึกษาข้อหารือทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที ่

เกี่ยวข้อง เป็นต้น ปัจจุบัน นายธีรเดช ลิขิตตระกูลวงศ์ ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการกลุ่ม


มุมอร่อย เรื ่อง : สิลดา เกตุขาว

มิวเซียมสยาม พิพ ธิ ภัณฑ์การเรียนรู้ ร้านหน้าพระลาน อากาศร้อนๆ แบบนี้ เรามาท่องเที่ยวแบบหลบลมร้อน แถมได้ความรู้ดีๆ กลับบ้านกัน ดีกว่า สถานที่ที่เราจะพาไปในเดือนนี้เรียกได้ว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้แบบใหม่นั่นคือ มิ ว เซี ย มสยาม พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ารเรี ย นรู้ เป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ารเรี ย นรู้ แ ห่ ง แรกที่ เ น้ น สร้ า ง ประสบการณ์แปลกใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู ้ ที่ รื่ น รมย์ และช่ ว ยยกระดั บ มาตรฐานการจั ด การเรี ย นรู้ รู ป แบบใหม่ ใ ห้ กั บ ประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทย ให้เด็กๆ มีการสร้างสำนึกในการรู้จักตนเอง รู้จัก เพื่อนบ้าน และรู้จักโลก รวมถึงการสร้างแนวคิด ภาพลักษณ์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์ ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นไปอย่างสนุกสนานยิง่ ขึน้ ที่นี่เขามีนิทรรศการถาวรในมิวเซียมสยาม มีชื่อว่า เรียงความประเทศไทย หรือ

The Account of Thailand เน้นวิธีการเล่าเรื่องด้วยเวลา โดยดึงลักษณะเด่นของ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต การเมือง วัฒนธรรมแต่ละช่วงเวลา จากสุวรรณภูมิสู่สยาม ประเทศ มาถึงสมัยทีเ่ ราเรียกประเทศตัวเองว่า ประเทศไทย โดยเน้นการจัดตัง้ นิทรรศการ ที่จะกระตุ้นต่อมความคิด และจุดประกายความอยากรู้ เกิดการตั้งคำถาม ให้ผู้ชม ได้ตงั้ คำถามจากสิง่ ทีเ่ ห็น แล้วไปสืบค้นหาความรูด้ ว้ ยตนเองต่อไป ที่นี่เขาจะสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างนิทรรศการและผู้ชม เพื่อให้เกิดการ สื่อสารความรู้และการสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้ชม คือสามารถจับได้ เล่นได้ ด้วยประสาทสัมผัสทัง้ ๖ คือ หู ตา จมูก ลิน้ กาย (วัตถุ) และใจ (จิต) ใช้เทคนิคการเล่าเรือ่ ง (Story Telling) โดยใช้ตวั ละครพูดถึงเนือ้ หานับแต่อดีตถึงปัจจุบนั ของผูค้ นและดินแดนใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทยเพื่อให้ผู้ชมได้ค้นหาคำตอบว่า ‘เราคือใคร’ และ ‘ความเป็นไทยหมายถึงอะไร’ โดยเนือ้ หาในห้องแสดงนิทรรศการถาวรของมิวเซียมสยามมีทงั้ หมด 17 ห้อง แบ่งตาม เนือ้ หาการเรียนรูต้ า่ งๆ ในพืน้ ทีท่ งั้ หมด 3 ชัน้ การเรียนรู้ ทีจ่ ะนำพาผูช้ มไปค้นหาเรียงความ ประเทศไทยด้วยกัน เรียกว่าเป็นขนาดทีก่ ำลังเดินกันสบายๆ ไม่เมือ่ ย ไม่เหนือ่ ยมาก หลังจากที่เราอิ่มเอมไปกับนิทรรศการแล้ว เราก็มาอิ่มท้องกันบ้าง ขอแนะนำร้าน

หน้าพระลาน ที่ตั้งอยู่บริเวณถนนหน้าพระลาน เป็นร้านอาหารที่อาจเรียกได้ว่าเป็น จุดนัดพบของคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเหล่าศิลปินจากรั้วศิลปากรทุกรุ่น ซึ่งเสน่ห ์ ของทางร้านคือภาพสวยๆ อันอบอวลไปด้วยกลิ่นอายของศิลปะที่ติดอยู่ตามฝาผนัง เปรียบเสมือนเรากำลังนั่งทานอาหารอยู่ในแกลเลอรี่เลยทีเดียว โดยเมนูเด็ดที่พลาด ไม่ได้เลย ได้แก่ ยำหน้าพระลาน บะหมี่ไก่ผัดพริกเผายอดผัก หมูทอดทงคัสสึ ฯลฯ ทั้งยังมีเครื่องดื่มและขนมต่างๆ ไว้คอยเอาใจกันอีกมากมาย โดยหากได้มาลองชิม ซักครัง้ คุณอาจต้องแวะมาลิม้ ลองความอร่อยนีอ้ กี บ่อยๆ เลยทีเดียว ในเวลาหนึ่งวัน เราก็ได้อิ่มทั้งความรู้และอิ่มท้อง พร้อมกับอิ่มบรรยากาศสบายๆ ได้ดว้ ยทริปสัน้ ๆ แบบนีล้ ะ่

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 0-2225-2777 www.ndmi.or.th

ร้านหน้าพระลาน

เลขที่ 18 บริเวณอาคารใกล้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 0-2221-2312 สถานที่จอดรถ: จอดข้างกรมศิลปากรและหน้าร้าน เวลาประมาณ 18.00 น. เป็นต้นไป


มุมสุขภาพ เรื่อง : อัญวรรณ ทองบุญรอด

วิธีจัดการความเครียด สำหรับคนทำงาน ในภาวะปัจจุบันที่ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ขยายตัวเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้คนทำงานอย่างเราๆ ต้องตกอยู่ในภาวะที่มีการแข่งขันสูงมากขึ้นตาม ไปด้วย ไม่เพียงแค่แข่งกับตัวเองในการพัฒนาความสามารถขึ้นไปเรื่อยๆ ยั ง มี ปั จ จั ย ภายนอกอื่ น ๆ อี ก มากที่ ค อยกระตุ้ น ให้ เ ราต้ อ งคิ ด ติ ด ตาม และจัดการแก้ปัญหานั้นนี้อยู่ตลอด ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หน่วยงาน คู่แข่ง หรือสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่คงที่ ต่างก็เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจ การงานของเราทั้งนั้น จากการสำรวจธุ ร กิ จ นานาชาติ ค รั้ ง ล่ า สุ ด ปรากฏว่ า เจ้ า ของธุ ร กิ จ ใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความตึงเครียดสูงที่สุดในปี 2010 โดย 65% ระบุว่า

ระดับความตึงเครียดได้สงู ขึน้ หรือสูงขึน้ อย่างมากเมือ่ เปรียบเทียบกับปีทผี่ า่ นมา เหล่ า นี้ เ ป็ น สิ่ ง ยื น ยั น ได้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรมว่ า ความเครี ย ดของคนทำงานมี

แนวโน้มจะเพิม่ ขึน้ ได้ตลอดเวลา ไม่วา่ จะเป็นลูกจ้าง มนุษย์เงินเดือน นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ หรือแม้แต่ข้าราชการที่ดูเหมือนจะเป็นอาชีพที่มั่นคงที่สุดแล้ว ก็ตาม เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกอย่างที่เป็นตัวแปรรอบตัว เราไม่สามารถ ควบคุมให้มันเป็นไปตามที่เราคิดได้ทั้งหมด ความเครียดเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลาย ส่ ว นของร่ า งกาย ซึ่ ง ปกติ จ ะเกิ ด ขึ้ น ได้ ใ นการเคลื่ อ นไหวทั่ ว ไปของคนเรา ตามสิ่งที่เข้ามากระตุ้นให้คิดหรือรู้สึกตอบโต้ ถ้ามีในระดับที่พอดีจะทำให้ ร่างกายแอ็กทีฟ ไม่เฉือ่ ยชา ประสิทธิภาพในการทำงานดีขนึ้ แต่ถา้ มีมากเกินไป แสดงว่าเป็นช่วงที่ร่างกายเราไม่สามารถปรับตัวจากสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ได้เต็มที่ อย่างเคย เมื่อนั้นก็อาจบั่นทอนพละกำลังทำให้เกิดโรคภัยตามมาได้ ลองพักการทำงานไว้สักพัก แล้วหันมาสำรวจตัวเองบ้างว่าคุณมีอาการ ดังต่อไปนี้หรือไม่ ...เศร้า สับสน หงุดหงิด วิตกกังวล อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดหัวข้างเดียว ปวดหลัง... ถ้ามีแม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ ก็แสดงว่าโรคเครียดเริม่ ถามหาแล้วล่ะ ฉะนัน้ ยับยัง้ มันเสียก่อนดีไหม เพือ่ ไม่ให้ มันลุกลามและส่งผลเสียต่อร่างกายไปมากกว่านี้ กับ 10 วิธีจัดการความ เครียด ที่เราหยิบมาฝากกัน

ยอมรับในศักยภาพของตัวเอง เราเป็นใครและทำอะไร ได้แค่ไหน ทำความเข้าใจว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบและ เราไม่สามารถทำตัวให้เป็นอย่างที่คนอื่นคาดหวังให้เป็นได้ ทั้งหมด นั่งพิจารณาปัญหาและไตร่ตรองมันอย่างถี่ถ้วน คิดถึง สาเหตุ แ ละทางออกที่ มั น ควรจะเป็ น แต่ ทั้ ง นี้ ทั้ ง นั้ น ต้องคิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเชื่อว่าทุกปัญหาย่อมมี ทางออกเสมอ ไม่ได้ด้วยตัวของเรา ก็ได้ด้วยตัวของมันเอง เพิ่มพลังทางบวกให้กับจิตใจโดยการคิดในแง่ดี จำไว้ ว่าสิ่งที่ดีมักจะดึงดูดแต่สิ่งที่ดีให้เข้ามาได้เสมอ ปล่อยวางบ้าง อย่าแบกรับปัญหาไว้กับตัวเองให้มาก เกินไป เพราะยิ่งแบกไว้ ก็ไม่ได้ช่วยให้เราแก้ปัญหาได้ แต่การทำใจให้สบายและเป็นกลาง จะเหมือนทำให้เราถอย ออกมามองเห็นปัญหาในมุมกว้างมากขึ้น ออกกำลังกายบ้าง นอกจากจะทำให้เราลืมปัญหานั้น ได้ชวั่ ขณะเล็กๆ แล้ว ยังช่วยสลายอะดรีนาลีนส่วนเกิน ทีเ่ ราสะสมไว้ ช่วยบรรเทาความทุกข์และความกดดันในจิตใจ ได้อย่างดี หลี ก เลี่ ย งบุ ห รี่ เครื่ อ งดื่ ม กาเฟอี น และเครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ตา่ งๆ เพราะมันจะยิง่ เร่งอะดรีนาลีน ทำให้ 13 อัตราการเต้นของหัวใจมีตัวเลขสูงขึ้น สรุปแล้วพอหายเมา หายมึนก็ยิ่งเครียดกว่าเดิม ทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง เนื้อสัตว์ และผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่

และไฟเบอร์ในปริมาณสูง นอกจากจะช่วยขับถ่ายของเสีย ออกจากร่างกายแล้ว เหล่าวิตามินเอ บี ซี อี ยังช่วยปรับ

สมดุลระบบฮอร์โมนได้อีกด้วย พักผ่อนให้เพียงพอในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะการ นอนแปรผั น กั บ อารมณ์ ยิ่ ง นอนน้ อ ยก็ จ ะยิ่ ง ทำให้ อารมณ์ต่ำลง โดยเฉพาะเวลา 22.00-02.00 น. ถ้านอนหลับ ได้สนิท จะทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่นอย่างมาก หาเวลาว่างแล้วใช้เทคนิคในการผ่อนคลายตัวเอง เช่น เปิดเพลงโปรดฟังเบาๆ นอนแช่นำ้ อุน่ เดินทางไปเทีย่ ว ในสถานที่ที่ชอบ ไปนวดตามสปา หรือเพียงแต่งหน้าทำผม ให้ดูดีขึ้น ก็ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองขึ้นได้เหมือนกัน แบ่งเบาความเครียดให้ผอู้ นื่ ได้รบั รูบ้ า้ ง ไม่วา่ จะเป็น การบอกเล่ า ปรึ ก ษาเพื่ อ นสนิ ท คนในครอบครั ว

หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้รู้สึกโล่งและมองเห็นปัญหา เป็นเรื่องเล็กลงไปได้ ลองเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กับชีวิตของคุณดู รับรองว่า แม้จะเป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่คนเรามักมองข้าม แต่มันจะ ช่วยให้เรากลับมาต่อสู้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นเยอะเลยทีเดียว


รู้จักเว็บไซต์ สบน. เรื่อง : ธีระศักดิ์ อิญญาวงค์ นักวิชาการคลังชำนาญการ สำนักบริหารการชำระหนี้ หลายท่ า นคงมี โ อกาสได้ อ่ า น วารสาร

หนี้สาธารณะ ของ สบน. โดยเฉพาะคอลัมน์

รู้ จั ก เว็ บ ไซต์ สบน. บ้ า งแล้ ว คงทำให้ ก าร

สืบค้นข้อมูลต่างๆ ของท่านง่ายขึ้นใช่ไหม

ครับ หากยังไม่ได้อ่าน ท่านสามารถเปิดอ่าน

ได้ที่ www.pdmo.mof.go.th ครับ ฉบับนี้มาดู

รายละเอียดกันดีกว่าว่า แต่ละเว็บเพจ หรือ

แต่ละหัวข้อมีอะไรน่าสนใจบ้าง

14

หน้าหลัก มีหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ‘ข่าวประชาสัมพันธ์’ แสดงเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับ สบน. ที่ต้องการเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้รู้กัน เช่น ตารางประมูลพันธบัตรรัฐบาล ข้อมูลหนี้สาธารณะ เป็นต้น ‘รายงานหนี้สาธารณะ’ แสดงข้อมูลยอดหนี้สาธารณะคงค้าง (Outstanding Debt) โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2. หนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินกู้ 3. หนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินกู้ โดยมีรัฐบาลค้ำ 4. หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ FIDF 5. หนี้หน่วยงานอื่น เป็นต้น ‘ข่าวเด่นวันนี้’ แสดงข่าวที่โดดเด่นของ สบน. และเป็นที่สนใจของคนภายนอกจำนวนมาก เช่น เรื่องเกี่ยวกับการรับสมัคร บุคลากรใหม่ เป็นต้น ‘กระดานข่าว’ ท่านสามารถรับทราบข้อมูล พร้อมรูปภาพประกอบ และสามารถแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ได้ ‘หนี้สาธารณะต่อ GDP’ แสดงสถานะหนี้สาธารณะ คงค้างเทียบกับ GDP ในแต่ละปีงบประมาณว่าอยู่ในระดับใด ‘ภาระหนี้ต่อประชากร’ แสดงสถานะหนี้สาธารณะ คงค้างต่อคน ในแต่ละปีงบประมาณว่าอยู่ในระดับใด ‘อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ’ แสดงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสกุลเงินต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับข้อมูล

ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ‘Gov. Yield Curve’ แสดงอัตราผลตอบแทนอ้างอิง ผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่ผู้ถือคาดว่าจะได้รับหากถือไว้จนถึง กำหนดไถ่ถอน จากพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ‘ตราสารหนี้’ แสดงข้อมูลตราสารหนี้ของรัฐบาล ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วสัญญาใช้เงิน

เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นต้น ที่ออกจำหน่ายแล้ว ‘แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555’ แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 หรือเรียกอีกชื่อว่า ‘SP2’ ‘การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ’ มีสองหัวข้อย่อย ได้แก่ 1. การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แสดงข้อมูลสถาบันการจัดอันดับ ความหน้าเชื่อถือมีองค์กรอะไรบ้าง ความหมายของระดับเครดิตของประเทศว่ามีระดับใดบ้าง แต่ละระดับมีความหมายว่า

อย่างไร และการจัดทำเครดิตของประเทศไทยที่ผ่านมา และ 2. สรุปผลการจัดทำเครดิตของประเทศไทย แสดงข้อมูลย้อนหลัง

ของเครดิตประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)-2552 (ค.ศ. 2009) ฉบับหน้ามารูจ้ กั ข้อมูลในเว็บเพจอืน่ ๆ นอกจากนีบ้ า้ งนะครับ และเช่นเคย หากท่านมีขอ้ สงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิม่ เติม ได้ที่ โทร. 0-2265-8050 ครับ


ข่าวประชาสัมพันธ์ จาก สบน. ่อง : สุเนตรา เล็กอุทัย เรืเศรษฐกรชำนาญการ สำนักนโยบายและแผน

1.

2.

แนะนำผู้บริหารใหม่

ขอแสดงความยินดีกับการเลื่อนตำแหน่งของผู้บริหาร สบน. a.

ข่ าวกิจกรรม

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2553 สบน. จัดการ ประชุมเพือ่ รับฟังความคิดเห็น ความต้องการ จากผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ ของ สบน. โดยได้รบั ความร่วมมือเป็นอย่างดี จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบัน การเงิ น องค์ ก รระหว่ า งประเทศและภาค เอกชน ประมาณ 120 ท่าน ทั้งนี้ สบน. จะนำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุง

ร่างแผนยุทธศาสตร์ของ สบน. ต่อไปในอนาคต เมื่อวันที่ 28-30 เมษายน 2553 สบน. ได้จัดฝึกอบรมโครงการพัฒนา ขี ด ความสามารถด้ า นการบริ ห ารจั ด การโครงการ และการจ้ า งที่ ป รึ ก ษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ หน่วยงานของรัฐในภูมภิ าค ณ โรงแรม ธรรมริ น ทร์ ธนา จั ง หวั ด ตรั ง โดยมี

ผู้ร่วมรับการอบรมจากจังหวัดตรัง และ จังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดพัทลุง สงขลา และสตูล ประมาณ 150 ท่าน

3.

ข่าวประชาสัมพันธ์

b.

c.

ไอศูรย์พิศาลศิริ a นายทวี เข้ารับราชการในกระทรวงการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2522

และอยู่กับ สบน. ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็น ‘รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ’ รับผิดชอบดูแลงานเกี่ยวกับการระดมทุน และการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการระดมทุน

สำหรับโครงการลงทุนภาครัฐ นายวิสุทธิ์ จันมณี เข้ารับราชการในกระทรวงการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2522 และอยู่กับ สบน. ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็น ‘ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ ’ รั บ ผิ ด ชอบงานเกี่ ย วกั บ การวิ เ คราะห์ และพั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ การกำหนดนโยบาย และแนวทางในการออกและการไถ่ ถ อนตราสารหนี้ รวมทั้ ง กำหนดกลยุ ท ธ์ ใ นการบริ ห ารจั ด การกองทุ น บริหารเงินกู ้ นายธาดา พฤฒิธาดา เข้ารับราชการในกระทรวงการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และอยู่กับ สบน. ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็น ‘ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ แผน’ รั บ ผิ ด ชอบงานเกี่ ย วกั บ แนวทางการบริ ห ารหนี ้

สาธารณะ การบริหารความเสี่ยง และการจัดทำแผน การบริหารหนี้สาธารณะ

b

c

เยี่ยมรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการคลั ง เลื่ อ นกำหนดวั น

จองซื้อและจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์

อายุ 6 ปี วงเงินพันธบัตรไม่เกิน 100,000 ล้านบาท เป็นระหว่างวันที่ 7-11 มิถนุ ายน 2553 และให้ สิ ท ธิ พิ เ ศษกั บ ผู้ มี อ ายุ มากกว่ า 60 ปี ขึ้ น ไปจองซื้ อ ก่ อ นในสองวั น แรก โดยมี เ งื่ อ นไขและรายละเอี ย ด ตามเดิ ม คื อ อั ต ราดอกเบี้ ย แบบขั้ น บั น ได อ้ า งอิ ง กั บ อั ต ราผลตอบแทนของ พันธบัตรรัฐบาลบวกส่วนชดเชยภาษีไม่เกินร้อยละ 15 วงเงินผู้มีสิทธิ์ซื้อต่อราย ขั้นต่ำ 10,000 บาท ขั้นสูง 1,000,000 บาท จำหน่ายโดยธนาคารในการกำกับดูแล ของรั ฐ หรื อ ธนาคารพาณิชย์ รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้จากเว็บไซต์ สบน. www.pdmo.mof.go.th

สบน. จะจั ด การบรรยายเกี่ ย วกั บ หนี้ ส าธารณะ และ บทบาทหน้าทีข่ องสำนักงานบริหารหนีส้ าธารณะแก่นกั ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 รายละเอียดเพิม่ เติมจะแจ้งให้ทราบต่อไป ทัง้ นีห้ น่วยงาน และสถานศึ ก ษาที่ มี ค วามสนใจอยากให้ จั ด การบรรยาย เกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ความจำเป็นในการก่อหนี้ของภาครัฐ รวมทั้งเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ของภาครัฐ และแนวทาง การบริ ห ารจั ด การหนี้ ส าธารณะของไทย สามารถติ ด ต่ อ

สอบถามได้ที่คณะทำงานและเลขานุการโครงการส่งเสริม

ภาพลั ก ษณ์ ที่ ดี ข องหนี้ ส าธารณะ โทร. 0-2265-8050 ต่อ 5127 และ 5512 โทรสาร 0-2273-9147


ธรรมะกับการงาน เรื่อง: สุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

16

ธรรมะสำหรับบุคคลทั่วไปครั้งนี้ ขอเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน คือสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกำลัง ช่วยกู้เงินมาเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ จะก่อให้เกิดการลงทุนกระจายไปทั่วประเทศ โดยมีชื่อโครงการโดยรวมว่า โครงการไทยเข้มแข็ง ด้านธรรมะก็ควรจะเป็น ใจเข้มแข็ง ให้สอดคล้องกัน ทำอย่างไร ใจจึงจะเข้มแข็ง ปราศจากความ กลัวล่ะครับ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ที่วัดสุนันทวนาราม จังหวัดกาญจนบุรี ได้สอนไว้ดังนี้ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระอริยเจ้าอยู่ในป่า ปกติก็ไม่โดนสัตว์ป่าทำร้าย เพราะท่านรักษาศีลเป็นต้น ศีล คือ รวมกาย วาจา ใจ ศีลที่ใจ คือ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อมีศีลแล้ว อย่างน้อยก็ข่มใจได้ไม่เกิดอาการกลัว ชีวิตก็ปลอดภัยในระดับหนึ่ง อันดับถัดไปคือ เจริญสมาธิ เมตตาภาวนา จิตใจมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ ใจที่เมตตาก็มีความสุข ปราศจากความกลัว ชีวิตก็ยิ่งปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อันดับถัดไปคือ เจริญปัญญา เป็นวิปัสสนา พิจารณาร่างกายจนเกิดปัญญามองเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นสักแต่ว่า ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน เป็นอนัตตา ก็จะ ไม่มีใครตาย ไม่มีใครฆ่า ชีวิตก็จะปลอดภัยมากที่สุด เมื่อศีล สมาธิ ปัญญาสมบูรณ์ในใจแล้ว ก็จะรักษาชีวิตเราให้ปลอดภัย จึงเท่ากับว่า รักษาใจ คือ รักษาชีวิต หากเรา มีสติปัญญา รู้จักคิดดี คิดถูกแล้ว ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรในชีวิต เราก็รักษาใจดีมีเมตตาได้ รักษาใจได้คือ ไม่มีทุกข์ ที่สุดของรักษาใจ คือไม่มีใจที่จะรักษา เพราะว่างเปล่าจากความรู้สึกเห็นแก่ตัว เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น

ผู้เบิกบาน รักษาใจได้ดีดังกล่าวแล้ว คนไทยก็จะรักกัน ไม่แบ่งแยก พร้อมที่จะให้อภัยกัน ก่อให้เกิดแต่ความสงบและ สันติ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งของสังคมไทยในขณะนี้ (เมษายน 2553) ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อหลากสี ทุกๆ คนเป็นไทย เราต้องรักกัน เราต้องสามัคคีกัน ต้องมีใจ ที่เข้มแข็ง ให้ประเทศไทยเข้มแข็ง หากมัวแต่ตีกัน ทะเลาะกันอยู่ ประเทศก็ไม่เกิดการพัฒนาใดใด คล้ายๆ ถอยหลัง

เข้าคลอง น่าสงสาร...


คุณไม่มีวันพบวิธีแก้ปัญหา ด้วยการพูดว่าไม่มีปัญหา วิลเลียม รอทส์เลอร์ (ศิลปินและนักเขียนชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลฮูโก ถึง 5 ครั้ง มีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2469-2540)

You won’t find a solution by saying there is no problem.

William Rotsler

ตอบคำถาม ชิงรางวัล

คุณชอบคอลัมน์อะไรในวารสารหนี้สาธารณะมากที่สุด เพราะอะไร กรุณาส่งคำตอบมาที่ E-mail Address : mz_pdmo@hotmail.com หรือทางไปรษณีย์ ที่อยู่

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

ภายในเดือนกรกฎาคม (วงเล็บมุมซองว่าตอบคำถามร่วมสนุก) ผู้ที่ร่วมเสนอความคิดเห็น

10 ท่านแรกเท่านั้น ที่จะได้รับรางวัลจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะค่ะ


โปร่งใส วินัยดี มีเครดิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.