Elecrtonics-Book

Page 161

รูปที่ 4.8: การควบคุมการทํางานของทรานซิสเตอร์แบบ PNP ที่ทําหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด-ปิด

การทํางานของวงจรในรูปที่ 4.8 เป็นดังนี้ กําหนดให้ VCC เท่ากับ +5V และเมื่อสัญญาณดิจิทลั มี สถานะทางลอจิกเป็น 1 (หรือ HIGH) จะได้แรงดันประมาณ +5V และทําให้แรงดันทีข่ าอิมิตเตอร์เทียบกับขา เบส (VEB) ใกล้เคียง 0V (หรือ VEB < 0.7V) ทําให้ไม่มีกระแสเบสและกระแสคอลเลคเตอร์ไหล หรือกล่าวได้ว่า ทรานซิสเตอร์ไม่ทํางานในขณะนั้น แต่ถ้าสัญญาณดิจิทลั มีสถานะลอจิกเป็น 0 (หรือ LOW) ระดับแรงดันจะ อยู่ที่ประมาณ 0V (GND) และทําให้แรงดันที่ขาคอลเลคเตอร์เทียบกับขาเบสมีมากพอ (VEB > 0.7V) ส่งผลให้มี กระแสเบสไหล IB ไหลออกจากขาเบส ผ่านตัวต้านทาน RB ไปยัง GND และมีกระแสคอลเลคเตอร์ IC ไหลจาก ขาคอลเลคเตอร์ของทรานซิสเตอร์ ผ่านตัวต้านทาน RL (ทําหน้าที่เป็นโหลด) ไปยัง GND ของวงจร ปริมาณ กระแสที่ไหลสามารถเขียนได้ตามความสัมพันธ์ดังนี้ IE = IB + IC หรือกล่าวได้ว่า ผลรวมของกระแสเบสและ กระแสคอลเลคเตอร์ จะเท่ากับกระแสอิมิตเตอร์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีทใี่ ช้แรงดัน VCC สูงกว่า +5V เช่น +9V หรือ +12V สําหรับวงจรในรูปที่ 4.8 เมื่อสัญญาณดิจิทัลอยู่ที่ระดับ 0V หรือ +5V ในทั้งสองกรณี จะทําให้ VEB > 0.7V และไม่สามารถทําให้ ทรานซิสเตอร์ PNP อยู่ในสถานะ “หยุดนํากระแส” ได้ (จะมีกระแสไหลอยู่ตลอดเวลา) รูปที่ 4.9 แสดงการต่อวงจรสําหรับทรานซิสเตอร์ NPN เพื่อควบคุมการจ่ายกระแสให้อุปกรณ์ที่ทํา หน้าที่เป็นโหลด เช่น มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงกําลังต่ํา (ใช้กระแสและแรงดันไม่สูงมาก) เมื่อสัญญาณดิจิทัลอินพุตอยู่ในสถานะลอจิก 1 จะทําให้มีกระแสไหลจากแรงดันไฟเลี้ยงกระแสตรง +VM เช่น +9V หรือ +12V ผ่านมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงไปยังขาคอลเลคเตอร์ของตัวทรานซิสเตอร์ และไหลออกทางขาอิมิตเตอร์ไปยัง GND ของวงจร ให้สังเกตว่า วงจรขับกระแสโหลดสําหรับมอเตอร์แบบนี้ จะทําให้มอเตอร์หมุนได้เพียงทาง เดียว ไม่สามารถกลับทิศทางหมุนได้

153


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.