Elecrtonics-Book

Page 158

รูปที่ 4.3: โครงสร้างจําลองแสดงรอยต่อของทรานซิสเตอร์รอยต่อคู่แบบ NPN และ PNP

ตัวถังของอุปกรณ์ มีสามขาคือ ขาเบส (B: Base) ขาคอลเลคเตอร์ (C: Collector) และขาอิมิตเตอร์ (E: Emitter) สัญลักษณ์ทางไฟฟ้าของทรานซิสเตอร์แบบ NPN และ PNP มีลักษณะตามรูปที่ 4.4 และให้ สังเกตความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์แบบ NPN (ลูกศรชี้ออกที่ขา E) และแบบ PNP (ลูกศรชี้เข้าที่ขา E) สัญลักษณ์ตัวอย่างได้กําหนดชื่ออุปกรณ์ Q1 ซึ่งเป็นทรานซิสเตอร์แบบ NPN และกําหนด เบอร์ที่ใช้เป็น PN2222A และ Q2 เป็นทรานซิสเตอร์แบบ PNP เบอร์ 2N3905 ทรานซิสเตอร์รอยต่อคู่ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทคี่ วบคุมการทํางานได้ด้วยกระแส (CurrentControlled Devices) มีกระแสไหลผ่านสามทาง คือ กระแสเบส (ไหลผ่านขาเบส B ใช้สัญลักษณ์ IB) กระแส คอลเลคเตอร์ (ไหลผ่านขาคอลเลคเตอร์ C และใช้สญ ั ลักษณ์ IC) และกระแสอิมิตเตอร์ (ไหลผ่านขาอิมิตเตอร์ E ใช้สัญลักษณ์ IE)

รูปที่ 4.4: สัญลักษณ์ทางไฟฟ้าของทรานซิสเตอร์แบบ NPN (ซ้าย) และ PNP (ขวา)

รูปที่ 4.5 แสดงตัวอย่างทรานซิสเตอร์แบบ NPN และ PNP ตัวถังแบบ TO-92 เหมาะสําหรับแรงดัน และกระแสที่ไม่สูงมาก เช่น ทรานซิสเตอร์ เบอร์ 2N3904 (NPN) และ 2N3906 (PNP) จะทนกระแสได้ไม่เกิน 200mA (กระแสคอลเลคเตอร์) แต่ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์กําลัง (Power Transistors) ที่ต้องทนกระแสและ แรงดันได้สูง จะนิยมใช้ตัวถังแบบ TO-220 และสามารถติดแผ่นระบายความร้อน (Heat Sink) ได้ นอกจาก 150


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.