Heritage book10 08 17มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน

Page 1

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน

1



มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ บรรณาธิการ

อิสระ ชูศรี พจนก กาญจนจันทร สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ ผู้แปล

เอกสารวิชาการลำ�ดับที่ 120


มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries บรรณาธิการ

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

ผู้แปล

อิสระ ชูศรี พจนก กาญจนจันทร สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

บรรณาธิการเล่ม

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

ออกแบบปกและจัดรูปเล่ม พิสูจน์อักษร ประสานงานการผลิต พิมพ์ครั้งที่ 1 จำ�นวนพิมพ์ จัดพิมพ์ พิมพ์ที่

พิสุทธิ์ ศรีหมอก พงศกร เจนในเมือง รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์ ธนิตตา ธนสิริกุลวงศ์ สิงหาคม 2560 1,000 เล่ม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 0-2879-9154

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2560. 208 หน้า (เอกสารวิชาการลำ�ดับที่ 120) ISBN 978-616-7154-58-9 1.ทรัพยากรทางวัฒนธรรม--การคุ้มครอง 2.ทรัพยากรทางวัฒนธรรม--การคุ้มครอง (กฎหมาย ระหว่างประเทศ). 3. ทรัพยากรทางวัฒนธรรม--แง่สังคม I.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ CC135


สารบัญ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน โดย สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

7

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมมีชีวิตของกลุ่มชน โดย เฟเดอริโก เลนเซอรินี (Federico Lenzerini) แปลโดย อิสระ ชูศรี

27

“ของฉัน ของเธอ หรือของเรา ?” ความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย เหนือมรดกวัฒนธรรมร่วม โดย จิน วิน ชอง (Jinn Winn Chong) แปลโดย เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

57

เมื่อไม่มีผลงานชิ้นเอก : ผลกระทบอันแจ้งชัดและมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ในโลกที่มีพรมแดน โดย เคธี โฟลีย์ (Kathy Foley) แปลโดย สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

105

จากรูปแบบของพิธีกรรมสู่จุดดึงดูดนักท่องเที่ยว : การต่อรอง การแปลงรูปแบบนาฏศิลป์ดั้งเดิมของกัมพูชาในโลกที่เปลี่ยนแปลง โดย เซเลีย ทุชแมน-รอสตา (Celia Tuchman-Rosta) แปลโดย อิสระ ชูศรี

137

การฉวยใช้วัฒนธรรม : การเมืองของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพในเวียดนาม โดย ออสการ์ ซาเลมิงค์ (Oscar Salemink) แปลโดย เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

159

บทบาทพิพิธภัณฑ์กับการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ โดย พัน โสวหย่ง (Pan Shouyong) แปลโดย พจนก กาญจนจันทร

195



บทนำ� หนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน (Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries) จัดพิมพ์ขึ้นโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ “มรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” (Intangible Cultural Heritage) ตาม “อนุสัญญาว่าด้วยการ สงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546” (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) ขององค์การยูเนสโกหรือองค์การการศึกษา วิ ท ยาศาสตร์ แ ละวั ฒ นธรรม (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization-UNESCO) ซึ่งประเทศไทยได้ดำ�รงสถานะเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาโดยสมบูรณ์ เมือ่ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559 ภายหลังจากยืน่ หนังสือการให้สตั ยาบันไปเมือ่ วันที่ 10 มิถนุ ายน พ.ศ. 25591 หนังสือ มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพือ่ นบ้าน ประกอบด้วย เนือ้ หาสองส่วนคือ บทนำ�ทีจ่ ะให้ภาพรวมของความเป็นมาเชิงประวัตขิ องอนุสญ ั ญา ทีม่ าและพัฒนาการ ภายใต้การดำ�เนินงานขององค์การยูเนสโกรวมถึงความเป็นมาและการดำ�เนินงานของประเทศไทย ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมที่นำ�ไปสู่การออก “พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม พ.ศ. 2559” ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับอนุสัญญาฯ ของยูเนสโกอย่างใกล้ชิด ในส่วนที่สอง ประกอบด้วยบทความแปลจำ�นวนหกบทที่ให้ภาพทั้งในทางกว้างและทางลึก อันเนือ่ งด้วยหลักการและข้อปฏิบตั ขิ องอนุสญ ั ญาฯ ผ่านกรณีตวั อย่างของประเทศเพือ่ นบ้านและจาก ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ โดยคาดหวังว่า จะช่วยขยายความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ ข้อปฏิบัติรวมถึงข้อถกเถียงที่เกี่ยวเนื่องกับ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” (Intangible Cultural Heritage) ที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคมที่หลากหลายซึ่งน่าจะเป็นบทเรียน ที่จำ�เป็นในฐานะที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกโดยสมบูรณ์ของอนุสัญญา

จาก “มรดกวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้” ถึง “มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม” : ทีม่ าและความสำ�คัญ กล่าวได้ว่าประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้เริ่มดำ�เนินการ เตรียมการเข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญามาโดยลำ�ดับ นับตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนมรดก ภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมของชาติเป็นครัง้ แรก เมือ่ พ.ศ. 2552 โดยสืบทอดจากโครงการภูมบิ า้ นภูมเิ มือง

1

ปัจจุบันมีจำ�นวนรัฐภาคีสมาชิกที่เข้าร่วมในอนุสัญญาจำ�นวนทั้งสิ้น 172 ประเทศ โดยมีประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน จำ�นวนทัง้ สิน้ เก้าประเทศ ยกเว้นประเทศบรูไนดารุสซาลามและสิงคโปร์ (ทุกประเทศยืน่ หนังสือการให้สตั ยาบัน หรือ Ratification มีเพียงประเทศอินโดนีเซียที่ยื่นหนังสือการยอมรับ หรือ Acceptance) Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 7


(ช่วง พ.ศ. 2548-2551) ซึ่งดำ�เนินการมาแต่เดิมโดยสำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ2 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บข้อมูลและจัดทำ�ฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย ห้าสาขา คือ 1. วรรณกรรมพื้นบ้าน 2. ศิลปะการแสดง 3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาลต่าง ๆ 4. ความรู้และวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม ระหว่าง พ.ศ. 2548-2550 ได้จัดเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดงและด้านงานช่างฝีมือ ดั้งเดิม (จำ�นวน 850 เรื่อง) และเมื่อ พ.ศ. 2551 ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะ การแสดงและงานช่างฝีมือดั้งเดิมแก่เด็กและเยาวชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2552 สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้เพิ่ม สาขา“กีฬา การละเล่นพืน้ บ้าน และศิลปะการป้องกันตัว” ขึน้ มาอีกสาขาหนึง่ โดยในปีเดียวกันนีเ้ อง สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดให้มีการ “ขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ในสาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำ�นวน 25 รายการ ขึ้นเป็นครั้งแรก3 ดังมีรายการต่อไปนี้

สาขาศิลปะการแสดง จำ�นวนสามประเภท 12 รายการ คือ 1. ประเภทการแสดง คือ โขน หนังใหญ่ ละครชาตรี โนรา และหนังตะลุง 2. ประเภทดนตรี คือ วงสะล้อ ซอ ปิน (ซึง) 3. ประเภทเพลงร้องพื้นบ้าน คือ ซอล้านนา หมอลำ�พื้น หมอลำ�กลอน ลำ�ผญา เพลงโคราช และดิเกร์ฮูลู

สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำ�นวนแปดประเภท 13 รายการ คือ 1. ประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า คือ ซิ่นตีนจก ผ้าแพรวา และผ้าทอนาหมื่นศรี 2. ประเภทเครื่องจักสาน คือ ก่องข้าวดอก และเครื่องจักสานย่านลิเภา 3. ประเภทเครื่องปั้นดินเผา คือ เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง 4. ประเภทเครื่องโลหะ คือ มีดอรัญญิก กระดิ่งทองเหลือง และกริช 5. ประเภทเครื่องไม้ คือ เกวียนสลักลาย 6. ประเภทเครื่องหนัง คือ รูปหนังตะลุง 7. ประเภทงานเครื่องประดับ คือ เครื่องทองโบราณสกุลช่างเพชรบุรี 8. ประเภทงานศิลปกรรมพื้นบ้าน คือ ปราสาทศพสกุลช่างลำ�ปาง

3 2

เพิ่งอ้าง หน้า 86. สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (2552), มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 2552, กรุงเทพฯ : สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, หน้า 2-4.

8

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ในโอกาสดัง กล่าว สำ�นัก งานได้จัดทำ�หนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่ อ เผยแพร่ ก ารประกาศขึ้ น ทะเบี ย นมรดกภู มิ ปั ญ ญาทางวั ฒ นธรรมประจำ � ปี สื บ เนื่ อ งมา (พ.ศ. 2553-2558) ทั้งยังได้จัดพิมพ์หนังสือ “คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง วั ฒ นธรรมของชาติ 4 เพื่อ ประโยชน์ ต่อ การดำ � เนิ น งานของหน่ ว ยงานในท้ อ งถิ่น และสำ � นั ก งาน วัฒนธรรมจังหวัดโดยกล่าวถึงเหตุผลและความจำ�เป็นไว้ว่า5 “...เนือ่ งจากมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมแสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของผู้ ค นและชุ ม ชน ที่กำ� ลั ง ถู ก คุ ก คามจากความสู ญ หายหรื อ เปลี่ย นแปลงไป อั น เป็ น ผลจากความขั ด แย้ ง ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง จำ � เป็ น ต้ อ งมี ก ารปกป้ อ งคุ้ ม ครอง มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมตามอนุสญ ั ญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม ทีจ่ บั ต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ขององค์การสหประชาชาติเพือ่ การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรม (ยูเนสโก) ทัง้ นี้ ยูเนสโกมีความพยายามทีจ่ ะให้ประเทศสมาชิกมีมาตราการ สงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีการจัดทำ�ทะเบียนมรดกวัฒนธรรม ทีจ่ บั ต้องไม่ได้โดยการมีสว่ นร่วมของชุมชนในฐานะทีเ่ ป็นอนุสญ ั ญาอันเป็นข้อตกลง ระหว่างประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำ�เป็นต้องมีวิธีปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กั บ การคุ้ ม ครองและการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยพิจารณา จากเจตนารมณ์ แ ละวิ ธีก ารที่มีป ระสิ ท ธิ ภ าพของทุ ก ฝ่ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มรดก ทางวัฒนธรรม เพื่อที่จะกำ�หนดมาตราการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำ�เนินการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศ” และสืบเนือ่ งด้วย “เหตุผลและความจำ�เป็น” ดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มมี ติเมือ่ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เห็นชอบแผนการตรากฎหมายที่จำ�เป็นต่อการดำ�เนินงานตามนโยบายและแผนการ บริหารราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558 (แผนนิติบัญญัติ) ลำ�ดับ 47 นโยบายสังคม และคุณภาพชีวิต (4.4) ได้แก่ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ.... โดยกำ�หนดให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ดำ�เนินการ และกำ�หนดให้เสนอ ร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีภายใน พ.ศ. 25576 อันเป็นผลให้เกิด “พระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559” โดยประกาศเพื่อบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา หน้า 1 เล่ม 133 ตอนที่ 19 ก วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 โดยพลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโดยแจ้งเหตุผลในการประกาศใช้ท้ายพระราช บัญญัติว่า

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (2558) กรุงเทพฯ : สำ�นักงาน กิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5 เพิ่งอ้าง หน้า 1. 6 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, ร่างพระราชบัญญัตวิ า่ ด้วย มรดกทางวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้พ.ศ..., พิมพ์ครัง้ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 (คำ�นำ�). 4

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 9


“โดยที่ ม รดกภู มิ ปั ญ ญาทางวั ฒ นธรรมเป็ น สมบั ติ ลํ้ า ค่ า ที่ ไ ด้ มี การสร้ า งสรรค์ สั่ ง สม ปลู ก ฝั ง และสื บ ทอดในชุ ม ชนจากคนรุ่ น หนึ่ ง มายั ง คนอีกรุน่ หนึง่ แต่ในปัจจุบนั มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมดังกล่าว ได้รบั ผลกระทบ จากความเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งภายในและต่างประเทศ บางครั้งมีการนำ� มรดกภู มิ ปั ญ ญาทางวั ฒ นธรรมไปใช้ ใ นทางบิ ด เบื อ นหรื อ ไม่ เ หมาะสมและ อาจเป็ น เหตุ ใ ห้ ม รดกภู มิปัญ ญาทางวั ฒ นธรรมเหล่ า นั้น ต้ อ งเสื่อ มสู ญ ไปอย่ า ง น่าเสียดาย สมควรจัดให้มีการส่งเสริมและรักษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ให้มีความสืบเนื่องและยั่งยืนสืบไป จึงจำ�เป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ” กล่ า วได้ ว่า การตราพระราชบั ญ ญั ติเ กิ ด ขึ้น สื บ เนื่อ งมาจากอนุ สัญ ญาของยู เ นสโกใน พ.ศ. 2546 ภายใต้ความวิตกกังวลของรัฐบาลถึงความเป็นไปได้ของการละเมิดและการคุกคาม “มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม” ทัง้ ของท้องถิน่ และของชาติ ซึง่ ควรทีจ่ ะได้รบั การ “ปกป้องคุม้ ครอง” ด้วยพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 เนื้อหาของพระราชบัญญัติได้นิยามความหมายของ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ไว้ในทำ�นองเดียวกับคำ�นิยามของ Intangible Cultural Heritage ในอนุสญ ั ญาของยูเนสโก พ.ศ. 2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) คือ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายความว่า ความรู้ การแสดงออก การประพฤติ ปฏิบตั หิ รือทักษะทางวัฒนธรรมทีแ่ สดงออกผ่านบุคคล เครือ่ งมือ หรือวัตถุซง่ึ บุคคลหรือชุมชนยอมรับ และรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน และมีการสืบทอดกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยอาจมี การปรับเปลีย่ นเพือ่ ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน (มาตรา 3 : พระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมและรักษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559) “The ‘intangible cultural heritage’ means the practices, representations, expressions, knowledge, skills – as well as the instruments, objects, artefacts and cultural spaces associated therewith – the communities, groups and, in some cases, individuals recognize as part of their cultural heritage. This intangible cultural heritage, transmitted from generation to generation, is constantly recreated by communities and groups in response to their environment, their interaction with nature and their history, and provides them with a sense of identity and continuity, thus promoting respect for cultural diversity and human creativity. For the purposes of this Convention, consideration will be given solely to such intangible cultural heritage as is compatible with existing international human rights instruments, as well as with the requirements of mutual respect among communities, groups and individuals, and of sustainable development. (Article 2 : Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) จะเห็นได้ว่า มีความแตกต่างกันระหว่างอนุสัญญาและพระราชบัญญัติฯ อยู่บางประการ กล่าวคือ ในการนิยามความหมาย “มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม” ทีป่ รากฏในพระราชบัญญัตนิ น้ั ได้ละข้อความสำ�คัญบางประการตามทีร่ ะบุไว้ในอนุสญ ั ญา เช่น พืน้ ทีท่ างวัฒนธรรม (cultural space) 10

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


อัตลักษณ์ (identity) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity) และสิทธิมนุษยชน (human rights) นอกจากนั้น ในพระราชบัญญัติมาตรา 4 ได้ระบุว่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับ การส่งเสริมและรักษาตามพระราชบัญญัตินี้ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ซึ่งต่างไปจาก อนุสัญญาฯ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559) 1. วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

2. ศิลปะการแสดง 3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมประเพณีและเทศกาล 4. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม

The Intangible Cultural Heritage (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003 (a) oral traditions and expressions including language as a vehicle of the intangible cultural heritage; (b) performing arts; (c) social practices, rituals and festive events; (d) knowledge and practices concerning nature and the universe; (e) traditional craftsmanship.

6. การเล่นพืน้ บ้าน กีฬาพืน้ บ้านและศิลปะการต่อสูป้ อ้ งกันตัว

-

7.ลักษณะอื่นตามที่กำ�หนดในกฎกระทรวง

-

พิจารณาได้ว่า พระราชบัญญัติและอนุสัญญานั้น มีความสืบเนื่องและเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่ชื่อและความมุ่งหมาย อาจเข้าใจได้ว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ของไทยเป็น “มาตรการที่จำ�เป็น” ตามกระบวนการดำ�เนินนโยบาย ของรั ฐ เพื่ อ รองรั บ การเข้ า เป็ น ภาคี ส มาชิ ก อนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยการสงวนรั ก ษามรดกวั ฒ นธรรมที่ จับต้องไม่ได้ (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ตาม ที่ประชุมใหญ่ขององค์การยูเนสโกได้มีมติรับรองให้เป็นอนุสัญญาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 และ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549 และ “สอดคล้อง” ตามข้อกำ�หนดของอนุสัญญา ข้อที่ 11 บทบาทของรัฐภาคี (ซึ่งกล่าวไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า ) แต่ละรัฐภาคีอาจจะ “ดำ�เนินมาตรการ Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 11


ที่จำ�เป็นเพื่อประกันการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ภายในอาณาเขตของตน”7 อย่ า งไรก็ ต าม แม้ พ ระราชบั ญ ญั ติ แ ละอนุ สั ญ ญาจะมี ค วามสื บ เนื่ อ งและเชื่ อ มโยงกั น แต่ขณะเดียวกันก็มีความแตกต่าง เหลื่อมซ้อนอย่างน่าสนใจศึกษาในรายละเอียด8 ด้วยเหตุน้ี การเริม่ ต้นพิจารณาถึง ความเป็นมา เจตจำ�นงค์และความมุง่ หมายของอนุสญ ั ญา รวมถึงการศึกษาเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับการดำ�เนินงานของกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญา จะช่วยทำ�ให้มองเห็นและเข้าใจถึงความสลับซับซ้อนของ “intangible cultural heritage” ดังที่จะได้กล่าวต่อไป

มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) ไม่ใช่ มรดกโลก (World Heritage) : ที่มาและปัญหาของชื่ออนุสัญญา การแปลคำ� “intangible cultural heritage” เป็น “มรดกโลกที่จับต้องไม่ได้” ถือเป็น ความสับสนและผิดพลาดอย่างสำ�คัญที่แสดงถึงความไม่เข้าใจในความแตกต่างกันของอนุสัญญา สองฉบับของยูเนสโก คือ อนุสัญญามรดกโลก หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ พ.ศ. 2515 (Convention concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, 1972) และอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษา มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) โดยอนุสัญญาทั้งสองฉบับ (ห่างกัน 31 ปี) แม้จะมี ความเชื่อมโยงกันอยู่บ้าง แต่ก็มี “หลักการและภารกิจ” ที่แตกต่างกันอย่างสำ�คัญ อย่างไรก็ตาม จำ�เป็นต้องยอมรับว่า ความคล้ายคลึงกันของคำ� cultural heritage ที่ปรากฏ อยู่ในชื่อของอนุสัญญาทั้งสองฉบับชวนให้เกิดความสับสนได้ง่ายและความยุ่งยากก็เพิ่มขึ้นอีกเมื่อมี การกำ�หนดคำ� intangible cultural heritage เพื่อใช้กับอนุสัญญาฉบับใหม่ ความยุ่งยากนี้ไม่เพียง จะเกิดขึน้ แต่เฉพาะการกำ�หนดคำ�ในภาษาหลักทีใ่ ช้ในองค์การยูเนสโกเท่านัน้ (เช่น ภาษาอังกฤษหรือ ภาษาฝรั่งเศส) แต่ยังความยุ่งยากไปสู่การแปลในภาษาอื่น ๆ ด้วย9

Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003. Article 11-Role of States Parties. Each State Party shall: (a) take the necessary measures to ensure the safeguarding of the intangible cultural heritage present in its territory; 8 ดู Alexandra Denes (2017), “Culture by Decree : Thailand’s Intangible Culture Heritage Bill and Regulation of Thai-ness, in Intellectual Property”, Cultural Property and Intangible Cultural Heritage (Key Issues in Cultural Heritage), William Logan and Christopher Antons, editors, New York; London: Routledge. 9 ในภาษาฝรั่งเศส Convention pour la Sauvegarde du patrimoine culturel Immatériel, ในภาษาจีน保护非 物质文化遗 ในภาษาเขมร េតិកភណ្ឌវប្បធម៌អរូ และในภาษาเวียดนาม CÔNG ƯỚC VỀ BẢO VỆ DI SẢN VĂN HÓA PHI VẬT THỂ ฯลฯ ซึ่งแต่ละภาษาเลือกใช้ความหมายแตกต่างกันไปและมีลักษณะเชิงนิเสธ เช่น “ไม่เป็นรูปร่าง”, “ไม่มีตัวตน”, “ไม่ใช่วัตถุ”, “ไม่มีรูปทรงสัณฐาน”, “มองไม่เห็น” 7

12

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ในกรณีของไทย มีผนู้ ยิ ามศัพท์ “intangible cultural heritage” และใช้กนั อย่างหลากหลาย เช่น มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้10 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม11 มรดกวัฒนธรรมที่เป็น อกายภาพ12 มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่ใช่กายภาพ13 มรดกวัฒนธรรมไร้รปู มรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม มรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญา มรดกวัฒนธรรมภูมิความรู้ และ มรดกวัฒนธรรมทางจิตใจ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้ท่ีรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง ได้แปล Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage ว่า “อนุสญ ั ญาว่าด้วย การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้” อย่างไรก็ตาม แม้คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้มีมติเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 255214 ให้ใช้คำ�ว่า “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” แต่เมื่อ พ.ศ. 2556 เอกสารร่างพระราชบัญญัติ ที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อเป็นคู่มือ ประกอบการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นยังคงใช้ว่า “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมที่ จับต้องไม่ได้ พ.ศ....” แต่ท้ายที่สุด“พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559” ก็ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 โดยเหตุนี้ คำ� “มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม” จึงเข้ามาแทนทีค่ �ำ “มรดกวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้” (Intangible Cultural Heritage) อย่างเป็นทางการ

ยูเนสโกกับแนวความคิด “ทวิลักษณ์” ของมรดกวัฒนธรรม ถือได้ว่าช่วงต้นทศวรรษ 1970 (พ.ศ. 2513-2523) เป็นช่วงเวลาสำ�คัญของการก่อร่าง หรือจุดประกายแนวความคิดเกีย่ วกับ “มรดกวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้/มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ” (intangible cultural heritage) โดยเกิดเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ซง่ึ ดูไม่นา่ จะมีความเกีย่ วข้องกัน คือ การออกเพลง El Condor Pasa (If I could) ของ ไซมอนและการ์ฟงั เกล (Simon & Garfunkel ) ค.ศ. 1970 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในเวลาต่อมาและการประกาศ “อนุสัญญามรดกโลก” หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ พ.ศ. 2515 (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, 1972) เพลง El Condor Pasa ของไซมอนและการ์ฟังเกล ดัดแปลงมาจากทำ�นองเพลงพื้นเมือง แห่งเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ ซึ่งเขาได้ฟังเป็นครั้งแรกจากวง Los Incas ที่มาแสดงในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2508 และเป็นแรงบันดาลใจให้แต่งเนื้อร้องภาษาอังกฤษขึ้นใหม่ (If I could) ต่อมา ธนิต ชังถาวร (หัวหน้าโครงการ), รายงานการศึกษา กรอบความคิดการคุม้ ครองภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ไทย จัดทำ�โดยศูนย์พนั ธุวศิ วกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อนำ�เสนอกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์, 2550 11 สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, 2552 12 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, ประวัติ แนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติการในการอนุรักษ์โบราณสถาน นครปฐม : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2558 13 เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์, อนุสัญญาเพื่อการปกป้องคุ้มครอง มรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2555 หน้า 118-125 14 เอกสารประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็น การเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับ ต้องไม่ได้ของยูเนสโก 27 กันยายน พ.ศ. 2554 จัดทำ�โดย กลุม่ ปกป้องคุม้ ครองมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม สำ�นักวิจัยและพัฒนา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, หน้า 20 10

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 13


นักแต่งเพลงชาวเปรูได้อ้างสิทธิเหนือเพลงดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นทำ�นองของเพลงพื้นเมืองเดิม ของประเทศเปรูและโบลิเวีย เมื่อ พ.ศ. 2514 ยูเนสโกจัดให้มีการจัดทำ�รายงานการศึกษาเรื่อง ความเป็นไปได้ในการ สร้างกฎเกณฑ์ระดับนานาชาติเพื่อการปกป้องคุ้มครองคติความเชื่อประเพณีท้องถิ่น (Possibility of Establishing an International Instrument for the Protection of Folklore) โดยสองปี ต่ อ มา ผู้ แ ทนจากประเทศโบลิ เวี ย เรี ย กร้ อ งให้ อ อกอนุ สั ญ ญาลิ ข สิ ท ธิ์ ส ากลที่ จ ะปกป้ อ งศิ ล ปะ ของประชาชนและมรดกวัฒนธรรมของทุกชนชาติ (Universal Copyright Convention that would protect the popular arts and cultural patrimony of all nations) ซึ่งแม้จะไม่เป็นผลให้ เกิดอนุสญ ั ญาดังกล่าว แต่กน็ �ำ ไปสูก่ ารออก “ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมแบบประเพณี และคติชน พ.ศ. 2532” (The Recommendation on the Safeguarding of Traditional Culture and Folklore, 1989)15 เหตุการณ์สำ�คัญอีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ การจัดทำ�และลงนาม “อนุสัญญาว่าด้วยการคุม้ ครอง มรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ พ.ศ. 2515” (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, 1972) หรือทีร่ จู้ กั กันในนาม “อนุสญ ั ญามรดกโลก” โดยยูเนสโก ซึง่ สาเหตุสว่ นหนึง่ เป็นผลมาจากการร้องขอของประเทศอียปิ ต์และซูดานร่วมกับความพยายาม ของนานาชาติในการร่วมมือกัน “พิทักษ์มหาวิหารอาบูซิมเบล” (Abu Simbel temple) ที่จะถูก นํ้าท่วมภายหลังการสร้างเขือ่ นอัสวาน โดยโครงการเคลือ่ นย้ายมหาวิหารเพือ่ ไปติดตัง้ ในตำ�แหน่งใหม่ ใช้ระยะเวลาในการดำ�เนินการนานถึง 18 ปี (พ.ศ. 2502-2520) อนุสัญญา “มรดกโลก” พ.ศ. 2515 จึงเป็นเครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกที่ให้ความสำ�คัญกับการพิทักษ์รักษามรดก ทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติที่มีคุณค่า “โดดเด่นอันเป็นสากล” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจทดแทน ได้หากเสื่อมสภาพหรือสิ้นสูญไป ในมาตรา 1 ของอนุสญ ั ญามรดกโลกได้ให้ นิยาม มรดกทางวัฒนธรรม “cultural heritage” ว่ามีความหมายครอบคลุมในสามลักษณะคือ - อนุสรณ์สถาน : ผลงานทางสถาปัตยกรรม ผลงานทางประติมากรรมและจิตรกรรม ส่วนประกอบ หรือโครงสร้างของโบราณคดีธรรมชาติ จารึก ถํ้าที่อยู่อาศัยและร่องรอยที่ผสมผสานกันของสิ่งต่าง ๆ ข้างต้นซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ (monuments : architectural works, works of monumental sculpture and painting, elements or structures of an archaeological nature, inscriptions, cave dwellings and combinations of features, which are of outstanding universal value from the point of view of history, art or science; )

15

Noriko Aikawa, An Historical Overview of the Preparation of the UNESCO International Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, Museum International Vol.56 no.1-2, 2004 p. 138 และ José Bannag, Important dates on intangible heritage at UNESCO, The UNESCO Courier. May 2006. p. 12

14

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


- กลุ่มอาคาร : กลุ่มของอาคารที่แยกจากกันหรือเชื่อมต่อกันโดยลักษณะทางสถาปัตยกรรม หรือโดยความสอดคล้องกลมกลืน หรือโดยสถานทีจ่ ากสภาพภูมทิ ศั น์ ซึง่ มีคณ ุ ค่าโดดเด่นในระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ (groups of buildings : groups of separate or connected buildings which, because of their architecture, their homogeneity or their place in the landscape, are of outstanding universal value from the point of view of history, art or science; ) - แหล่ง : ผลงานที่เกิดจากมนุษย์ หรือผลงานที่เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติ และบริเวณ อันรวมถึงแหล่งโบราณคดี ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยาหรือมานุษยวิทยา (sites : works of man or the combined works of nature and man, and areas including archaeology sites which are of outstanding universal value from the historical, aesthetic, ethnological or anthropological point of view.) โดยนิยามดังกล่าว ทำ�ให้กลุ่มประเทศภาคีสมาชิกจำ�นวนหนึ่ง เริ่มคำ�นึงถึงมรดกวัฒนธรรม แบบอื่น ๆ ซึ่งอยู่นอกวงนิยามดังกล่าว เช่น มรดกวัฒนธรรมซึ่งไม่ปรากฏให้เห็นเป็นกายภาพหรือ รูปธรรมที่ชัดแจ้ง เช่น ประเพณี พิธีกรรม เพลง วรรณกรรม เรื่องเล่าที่ถ่ายทอดทางมุขปาฐะ การแสดงหรือแนวปฏิบัติทางสังคมที่อาจเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและธรรมชาติ ในการประชุม The Mondiacult World Conference on Cultural Policies เม็กซิโกซิตี พ.ศ. 2525 ที่ประชุมมีความเห็นพ้องต้องกันถึงความสำ�คัญที่เพิ่มมากขึ้นของ “มรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพ” (intangible cultural heritage) และเห็นควรให้ผนวกรวมความหมายของ มรดกวัฒนธรรมดังกล่าวนีเ้ ข้าไปในนิยามของ “มรดกวัฒนธรรม” (cultural heritage) ด้วยการประชุม ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการใช้คำ� intangible cultural heritage อย่างเป็นทางการ16 กล่าวกันว่า แนวคิดนี้ถือเป็นพัฒนาการที่สำ�คัญที่สุดครั้งหนึ่งในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ในปีเดียวกันนี้เองยูเนสโก ได้จัดตั้งคณะกรรมการเชี่ยวชาญในการส่งเสริมรักษาคติชน17 (Committee of Experts on the Safeguarding of Folklore) ซึ่งนำ�ไปสู่การออก “ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมรักษาวัฒนธรรม แบบประเพณีและคติชน พ.ศ. 2532” (The Recommendation on the Safeguarding of Traditional Culture and Folklore, 1989) แม้จะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์18

UNESCO, 1982-2000 from Mondiacult to Our Creative Diversity. http://www.unesco.org/culture/ich/ en/1982-2000-00309 เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 17 José Bannag,2006. P. 12 18 M.Denhez, Report of a Pre-evaluation of the 1989 UNESCO Recommendation of the Safeguarding of Traditional culture and Folklore, 1977. p. 6 อ้างใน Norikom Aikawa (2004), p. 138 ซึ่งเหตุผลสำ�คัญประการ หนึง่ คือทีป่ ระชุมยังไม่อาจหาข้อยุตใิ นเรือ่ งเกีย่ วกับข้อบังคับว่าด้วยสิทธิทรัพย์สนิ ทางปัญญา (intellectual property right) จึงสามารถบรรลุข้อตกลงเป็นเพียง “ข้อเสนอแนะ” (Recommendation) มิใช่ “อนุสัญญา” (Convention) 16

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 15


นิยามใหม่ของมรดกวัฒนธรรม : บทบาทจากเอเชียและแอฟริกา พ.ศ. 2535-2536 โดยการริเริ่มและให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันของประเทศเกาหลีใต้และ 19 ญี่ปุ่น องค์การยูเนสโกได้มีโครงการ Living Human Treasures Program (บุคคลทรงคุณค่า ที่ยังมีชีวิตอยู่)ที่ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกสร้างระบบที่จะให้ทุนสนับสนุนผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น ในทางศิลปะและเชิงช่างรวมถึงผูท้ ม่ี ที กั ษะสูงทางการแสดง เพือ่ สร้างหลักประกันให้กบั มรดกวัฒนธรรม ที่ “ไม่เป็นกายภาพ” (nonphysical cultural heritage, Intangible cultural heritage) ซึ่งกำ�ลัง เผชิญกับสถานการณ์เสือ่ มถอยลงให้ได้รบั การสนับสนุนส่งเสริมเพือ่ การส่งต่อสืบไปในอนาคต ซึง่ นำ�ไปสู่ การจัดทำ�บัญชีรายชือ่ บุคคลทรงคุณค่าทีย่ งั มีชวี ติ อยูข่ องโลก (World list of Living Human Treasures) รายงาน Our Creative Diversity ของยูเนสโก พ.ศ. 2539 ชีใ้ ห้เห็นถึงข้อจำ�กัดของนิยาม และความหมายของมรดกวัฒนธรรมใน “อนุสญ ั ญามรดกโลก” พ.ศ. 2515 ทีไ่ ม่ครอบคลุมถึงลักษณะอืน่ ๆ ของมรดกทางวัฒนธรรมเช่น การแสดง หรือวรรณกรรมมุขปาฐะและเรียกร้องให้ขยายนิยามใหม่ทจ่ี ะ สอดคล้องกับมรดกวัฒนธรรมในรูปแบบอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ซึ่งทิศทางนี้ พ้องกันกับอนุสญ ั ญาอีกฉบับหนึง่ ของสหประชาชาติ คืออนุสญ ั ญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2535 (United Nations Convention on Biological Diversity, 1992) โดยเฉพาะ ตามมาตรา 8 (j) ทีอ่ า้ งถึงความสำ�คัญของการเคารพและสงวนรักษาความรูแ้ บบดัง้ เดิมและข้อปฏิบตั ขิ อง ชนพืน้ เมืองและชุมชน (respect and preservation traditional knowledge and practices of indigenous and local communities) ทั้งนี้เพื่อธำ�รงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน และด้วยเล็งเห็นความสำ�คัญดังกล่าว องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ พ.ศ. 2538-2547 เป็นทศวรรษของชนพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อย20 (United Nations Decade for Indigenous and Minority People 1995-2004) ในช่วง พ.ศ. 2540-2541 ยูเนสโกได้เตรียมการและนำ�เสนอโครงการใหม่ ซึ่งมีความสำ�คัญ ในแง่ที่จะช่วยเติมช่องว่างให้กับนิยามของมรดกวัฒนธรรม (ตามอนุสัญญามรดกโลก พ.ศ. 2515) ที่เน้นเฉพาะมรดกวัฒนธรรมทางธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมเชิงกายภาพ ภายใต้การนำ�ของ นายโคอิชโิ ร มัตสุระ ผูอ้ �ำ นวยการใหญ่ขององค์การยูเนสโก (Koichiro Matsuura, Director-General ) ได้ออก “คำ�ประกาศผลงานชิน้ เอกด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ” (Proclamation of Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity)21

โดยประเทศเกาหลีใต้เป็นผูร้ เิ ริม่ เสนอ ดู Noriko Aikawa (2004), p. 139 อย่างไรก็ตามประเทศญีป่ นุ่ มีโครงการให้ทนุ สนับสนุน บุคคลทีม่ คี วามสามารถในเชิงช่าง งานศิลปหัตถกรรมหรือศิลปะการแสดงมาก่อนแล้วตัง้ แต่ พ.ศ. 2498 (เช่น ช่างตีดาบซามูไร ช่างทอผ้า หรือนักแสดงละครโน) ในชื่อโครงการ Ningen KoKuho (National Living Treasure-บุคคลที่มีคุณค่าแห่งชาติ ที่ยังมีชีวิตอยู่) ดูรายละเอียดใน Kathy Foley (2014), p. 378 และบทแปลในเล่มนี้ 20 Noriko Aikawa (2004), p. 139 และ José Bannag (2006), p. 12 21 เสนอโดยผู้แทนจากประเทศโมร็อกโก และให้การสนับสนุนโดยประเทศซาอุดีอาระเบีย, เคป เวิร์ด (Cape Verde), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สเปน เลบานอน มาลีและเวเนซุเอลา ซึ่งคำ�ประกาศฯนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับ ปัญหาของ “พื้นที่ทางวัฒนธรรม” (cultural space) ที่ถูกคุกคามโดยการขยายตัวของเมืองและการพัฒนา เช่นกรณีของ จตุรัสจมา เอล-ฟนาในมาราเคช ประเทศโมร็อกโก ดู Noriko Aikawa (2004), p. 147 19

16

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ซึง่ ให้ความสำ�คัญกับมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เช่น งานมุขปาฐะ เพลง เรือ่ งเล่า ทักษะ ในเชิงช่าง ความเชือ่ พิธกี รรม ทีอ่ าจไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมโดยชัดแจ้ง ทีป่ ระชุมได้อนุมตั หิ ลักเกณฑ์ให้ประเทศต่าง ๆ จั ด ทำ � บั ญ ชี ร ายชื่ อ ของมรดกชิ้ น เอกของประเทศตนโดยมี จุ ด ประสงค์ ที่ จ ะปกปั ก รักษาไว้มิให้ สูญหายไป โดยทุกสองปี องค์การยูเนสโกจะได้ประกาศรายชื่อของมรดกวัฒนธรรมที่หลากหลายอัน เกี่ยวข้องกับประเพณี การแสดงออกทางวัฒนธรรมของผู้คนหรือพื้นที่ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็น ผลงานชิน้ เอกด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ22 (several forms of traditional and popular cultural expressions or cultural spaces as master pieces of the oral and intangible heritage of humanity) โครงการคำ�ประกาศผลงานชิน้ เอกฯ นี้ (แม้จะมีชว่ งระยะเวลาไม่นานนัก และประกาศรายชือ่ ผลงานชิ้นเอกด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติได้เพียง 90 รายการ คือ พ.ศ. 2544, 2546, 254823) ได้นำ�ไปสู่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับ คำ�นิยามของ “มุขปาฐะและมรดก วัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ/จับต้องไม่ได้” (oral and intangible heritage) นิยามและแนวคิด เกี่ยวกับ “ผลงานชิ้นเอก” (masterpieces) ไปจนถึงปัญหาขอบข่ายและการคัดสรร, กระบวนการ ดำ�เนินงาน การบังคับใช้ ปัญหาทางการเงินและการติดตามผล แม้ค�ำ ประกาศผลงานชิน้ เอกฯ ได้เพิม่ เติม แนวความคิดเกี่ยวกับ “พื้นที่ทางวัฒนธรรม” (cultural space) เข้ามาใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม นิยาม ความหมายของ “oral and intangible cultural heritage” ยังคงมีลักษณะเดียวกันกับคำ�นิยาม “folklore” ตาม “ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมแบบประเพณีและคติชน พ.ศ. 2532” (The Recommendation on the Safeguarding of Traditional Culture and Folklore, 1989)24 ซึ่งมุ่งเน้นคติความเชื่อประเพณีแบบดั้งเดิมที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ร่วมสมัย เมือ่ พ.ศ. 2542 ยูเนสโกร่วมกับสถาบันสมิธโซเนียนได้จดั งานสัมมนา “การประเมินในระดับ โลกว่าด้วย “ข้อเสนอแนะของยูเนสโก ค.ศ. 1989 เพื่อการส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมประเพณีและ คติชน : การเสริมพลังแก่ท้องถิ่นกับความร่วมมือระหว่างประเทศ” ” (A Global Assessment of the 1989 Recommendation on the Safeguarding of Traditional Culture and Folklore : Local empowerment and International Cooperation) ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อร่วมกัน โดยในประกาศรายชื่อของปีแรก (พ.ศ.2544) มีจำ�นวน 19 รายการจากข้อเสนอของภาคีสมาชิกจำ�นวนทั้งสิ้น 32 รายการ ตัวอย่างเช่น มรดกด้านมุขปาฐะของประเทศเบนิน ไนจีเรียและโตโก (The Oral Heritage of Gelede), จตุรสั จมา เอล-ฟนา (The Cultural Space of Jemaa el-Fna Square) โมร็อกโก, เทศกาลโอรูโร (The Carnival of Oruro) โบลิเวีย, งิว้ เมืองซูโจว (Kun Qu Opera) จีน, ละครโนกากุ (Nogaku theatre) ญี่ปุ่น, พิธีบูชาบุรพกษัตริย์ (The Royal Ancestral Ritual in the Jongmyo Shrine and its Music) เกาหลีใต้ , เพลงเกี่ยวข้าวของชาวอิฟูเกา (The Huhud Chants of the Ifugao) ฟิลิปปินส์, ละครเพลงศักดิ์สิทธิ์ (The Mystery Play of Elche) สเปน ดูรายละเอียดของรายชื่อทั้งหมดรวมถึงรายชื่อ ของคณะกรรมการคัดเลือก ใน Unesco, Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity : Proclamations 2001, 2003 and 2005. Snoeck-Ducaju & Zoon (2006) 23 โดยต่อมาบัญชีรายชื่อดังกล่าวได้รับการผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของทะเบียนตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของ มนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ตามอนุสัญญาที่เกิดขึ้นตามมา ใน พ.ศ. 2546 คือ Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003 โดยอัตโนมัติ 24 เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ (2555), น. 119 22

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 17


ทบทวนเกี่ยวกับข้อปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับ “ข้อเสนอแนะฯ” เช่นการทบทวนนิยามและความหมาย ของ “คติ ช น/คติ ช าวบ้ า น” (folklore) ของ พ.ศ. 2532 เพื่ อ ที่ จ ะได้ ห าแนวทางพั ฒ นา และข้ อ สรุ ป ที่ ส มสมั ย และการส่ ง เสริ ม รั ก ษามรดกวั ฒ นธรรม “มุ ข ปาฐะและมรดกวั ฒ นธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพ/จับต้องไม่ได้” รวมไปถึงการแสวงหาแนวทางเกี่ยวกับเครื่องมือทางกฎหมาย ระหว่างประเทศทีจ่ ะนำ�ไปสูก่ ารบังคับใช้ ซึง่ ในท้ายทีส่ ดุ ได้น�ำ ไปสูข่ อ้ ตกลงระหว่างประเทศ ใน“อนุสญ ั ญา ว่ า ด้ วยการสงวนรัก ษามรดกวัฒ นธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546” (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) โดยมี ป ระเทศแอลจี เรี ย เป็นประเทศแรกที่ยื่นหนังสือรับรองในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2547 และอนุสัญญามีผลบังคับ ใช้โดยสมบูรณ์ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยที่ประเทศไทยได้ย่นื หนังสือการให้สัตยาบัน และดำ�รงสถานะเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญา โดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หลักการสำ�คัญของอนุสัญญา อนุสญ ั ญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) ถือเป็นการสถาปนา ข้อตกลงระหว่างประเทศ (normative instrument) ใหม่เพื่อเป็นบทบัญญัติและบรรทัดฐานใน การกำ�หนดการส่งเสริมรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ “จับต้องไม่ได้/ไม่เป็นกายภาพ” ซึง่ เป็นอีกด้านหนึง่ ใน “ทวิลักษณ์ของมรดกวัฒนธรรม” ที่ภาคีสมาชิกขององค์การยูเนสโกร่วมกันถกเถียงและพยายาม หาข้อสรุปมานานกว่าสามทศวรรษ หลักการสำ�คัญบางประการของอนุสัญญานี้ ที่ควรพิจารณาคือ25 อนุสัญญาจงใจหลีกเลี่ยง การใช้แนวความคิด “คุณค่าอันโดดเด่น” (its outstanding value as a masterpiece of the human creative genius) ซึง่ เป็น “คำ�สำ�คัญ” ใน “คำ�ประกาศผลงานชิน้ เอกด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรม ทีไ่ ม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ” (Proclamation of Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) โดยมองว่าเป็นวิธคี ดิ ส่อนัยถึงลำ�ดับชัน้ สูงตํ่าในทางวัฒนธรรม โดยอนุสัญญาฯ ได้กำ�หนดแนวคิดว่าด้วย “ทะเบียนตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้/ไม่เป็นกายภาพของ มนุษยชาติ”26 (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ขึน้ มาแทน โดยแนวความคิด “การเป็นตัวแทน” (representativity) นัน้ แสดงความหมายโดยนัยอยูส่ องประการ คือเป็น “ตัวแทนสำ�หรับการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ” (representative for the creativity of humanity) และ “การเป็นตัวแทนสำ�หรับมรดกวัฒนธรรมของชุมชน กลุม่ หรือแม้แต่รฐั ” (representative for the cultural heritage of communities, groups or -if appropriate- states) ซึ่งสะท้อนความคิดแนวระนาบของตัวแทนทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ประการทีส่ อง เช่นเดียวกันกับคำ�ประกาศผลงานชิน้ เอกฯ ซึง่ ให้ความสำ�คัญต่อบุคคล กลุม่ บุคคล หรือชุมชนทีเ่ ป็นผูถ้ อื ครองขนบประเพณีดง้ั เดิม (tradition bearer) อนุสญ ั ญาเองไม่เพียงแต่ จะเน้นยํ้า 25 26

UNESCO (2006), p. 6-7 และดู Noriko Aikawa (2004), p. 146 คำ� “คุณค่าโดดเด่นในระดับสากล” (outstanding universal value) ถือเป็นแนวคิดสำ�คัญในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง มรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม พ.ศ. 2515 (Convention concerning the protection of the world cultural and natural heritage, 1972) อีกด้วย ดู หมวดที่ 1 มาตรา 1 ในอนุสัญญามรดกโลก (คำ�นำ�)

18

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ถึงความสำ�คัญของสำ�นึกทางอัตลักษณ์และความยัง่ ยืนของชุมชนเท่านัน้ แต่ยงั กำ�หนดให้ในกระบวนการ ต่าง ๆ ของการดำ�เนินการนั้นต้องได้รับความเห็นชอบโดยบุคคล กลุ่มบุคคลหรือชุมชนนั้น ๆ ด้วย รวมไปถึงผลประโยชน์ท่พี ึงจะได้รับ อนุสัญญาตระหนักว่ามรดกวัฒนธรรมเป็นต้นธารของอัตลักษณ์ ความสร้างสรรค์ ความหลากหลาย และการเป็นหนึ่งเดียวกันทางสังคม ประการที่สาม อนุสัญญาเน้นยํ้าในกระบวนการของการมีส่วนร่วมของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชนในการสร้าง ธำ�รงรักษาและการสืบทอดส่งต่อมรดกวัฒนธรรมของตนเอง ในการจัดการ และเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการพิทักษ์รักษามรดกวัฒนธรรมของตนเองนั้นจะต้องได้รับการยอมรับ นั บ ถื อ กล่ า วอี ก นั ย หนึ่ ง ก็ คื อ อนุ สั ญ ญาให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ “กระบวนการ” (process) มิ ใช่ “ผลผลิต” (product) โดยที่ผู้ถือครองมรดกวัฒนธรรมนั้น ๆ จะดำ�รงบทบาทสำ�คัญในทุกขั้นตอน ของการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรมของตนตั้งแต่ในขั้นตอนของการกำ�หนดนโยบายการประเมิน คุณค่าไปจนถึงการธำ�รงรักษาและการสืบทอดส่งต่อ ประการที่สี่ อนุสัญญาให้ความสำ�คัญกับลักษณะเฉพาะ (specificities) พัฒนาการอัน ไม่หยุดนิ่งลักษณะการของการสร้างสรรค์ และปฏิสัมพันธ์ของมรดกวัฒนธรรมที่มีต่อธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็ประจักษ์ถงึ ทวิลกั ษณ์ของมรดกวัฒนธรรมทีเ่ ชือ่ มโยงซึง่ กันและกันระหว่างมรดกวัฒนธรรม “ที่จับต้องได้/เป็นกายภาพ” (tangible cultural heritage) และ มรดกวัฒนธรรมที่ “จับต้องไม่ได้/ ไม่เป็นกายภาพ”(intangible cultural heritage) รวมถึง มรดกทางธรรมชาติ (natural heritage) ประการทีห่ า้ หลักการสำ�คัญอีกประการหนึง่ ทีอ่ นุสญ ั ญาเน้นยํ้าก็คอื หลักการของสิทธิมนุษยชน (human rights) ซึง่ มีความสอดคล้องกับอนุสญ ั ญาการปกป้องคุม้ ครองและส่งเสริมความหลากหลาย ของการแสดงออกทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2548 (Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expression, 2005) และคำ�ประกาศว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง พ.ศ. 2550 (Declaration on the Rights of Indigenous Peoples, 2007 หรือ DRIPS)

อนุสัญญา : บนเส้นทางที่หลากหลาย ในส่วนทีส่ องของหนังสือ มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพือ่ นบ้าน ประกอบด้วยบทความแปลจำ�นวนหกบท โดยการคัดสรรเนือ้ หาและกรณีศกึ ษาทีห่ ลากหลายทีจ่ ะช่วยให้ ผู้อ่านเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจทั้งในแง่หลักการของอนุสัญญาฯและประสบการณ์เชิงเปรียบเทียบ ของแต่ละประเทศที่มีต่ออนุสัญญาฯ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องด้วยอนุสัญญาภายหลังการ ประกาศและมีผลบังคับใช้ บทความครอบคลุมพื้นที่ในการศึกษาและอ้างถึงตัวอย่างทั้งจากประเทศตะวันตกและ กลุ่มประเทศภาคีสมาชิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนาม รวมถึงตัวอย่างจากประเทศจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น โดยบทความแต่ละบทสะท้อนให้เห็น ถึงแง่มมุ ทีจ่ ะช่วยให้ผอู้ า่ นมองเห็นและทำ�ความเข้าใจถึงปัญหาทีม่ าจากตัวอนุสญ ั ญาเอง รวมถึงปัญหา ด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศ ซึ่งประกอบด้วย

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 19


(1) มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมทีม่ ชี วี ติ ของกลุม่ ชน (Intangible Cultural Heritage: The Living Culture of Peoples ใน European Journal International Law (2011), Vol. 22, No. 1, p. 101-120 โดย เฟเดอริโก เลนเซอรินี (Federico Lenzerini) เฟรเดอริโก เลนเซอรินี ชี้ให้เห็นถึง ข้อคิดทฤษฎีทางกฎหมายที่ใช้เป็นกรอบในการร่าง อนุสัญญาฯ แม้จะตั้งอยู่บนฐานของ “การใช้เหตุผลทางปรัชญาที่ถูกต้อง” แต่ก็มีปัญหาของการนำ�ไป ปฏิบัติ และการที่อนุสัญญาฯ อาศัยตัวแบบของอนุสัญญามรดกโลก ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515) ได้สร้าง ปัญหาที่ตามมาในลักษณะอื่น ๆ เช่นการขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรม ทำ�ให้เกิดความคิดเรื่องการให้ “คุณค่า” และ “ลำ�ดับชัน้ สูงตํา่ ” แม้อนุสญ ั ญาฯ จะไม่มคี วามมุง่ หมายเช่นนัน้ ก็ตามที หากส่งผลในทาง ปฏิบัติ เนื่องจากส่อนัยว่าชุมชนที่มรดกวัฒนธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนนั้นมีคุณค่ามากกว่าชุมชนอื่น การที่อนุสัญญาอิงอยู่กับกรอบทางกฎหมายซึ่งพิจารณาอย่างเป็นวัตถุวิสัย ก็ทำ�ให้อนุสัญญา ขาดความยืดหยุ่นต่อการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม ซึ่งมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์ ใหม่อยู่เสมอ ประเด็นสำ�คัญต่อมาก็คือ การที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลางของการดำ�เนินการจึงมีส่วน เกี่ยวข้องอยู่กับประเด็นของสิทธิมนุษยชนในทางวัฒนธรรม หากมีความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐกับ กลุม่ บุคคลหรือปัจเจกชนผูม้ สี ว่ นสร้างและสืบทอดวัฒนธรรม บทความนีช้ ใ้ี ห้เห็นว่า การส่งเสริมรักษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจะต้องถูกประยุกต์ใช้อย่างสอดประสานกับมาตรการทางกฎหมาย สิทธิมนุษยชนอันเป็นปัจจัยตัง้ ต้นทีส่ �ำ คัญ ทีจ่ ะสร้างความมัน่ ใจว่าปัจเจกบุคคลและกลุม่ คน ทัง้ ในส่วน ของผู้สร้างและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม จะสามารถใช้สิทธิของตัวเองได้อย่างแท้จริง นอกจากนัน้ บทความยังแสดงให้เห็นถึงความย้อนแย้งสำ�คัญทีว่ า่ แม้การอ้างถึงและให้ความสำ�คัญ กับสิทธิมนุษยชน แต่ก็อาจจะตกอยู่ภายใต้กรอบคิดว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชาติตะวันตกซึ่งยากจะ หลีกเลีย่ งทีจ่ ะนำ�ไปสูก่ ารมีอ�ำ นาจครอบงำ�และการสร้างมาตราฐานหนึง่ เหนือความหลากหลายในทาง วัฒนธรรม (2) ของฉัน ของเธอ หรือของเรา : ความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียเหนือ มรดกวัฒนธรรมร่วม (“Mine, Yours or Ours?”: The Indonesia-Malaysia Disputes over Shared Cultural Heritage) ใน SOJOURN: Journal of Social Issues in Southeast Asia (2012), Vol.27, No.1, p. 1-53) โดย จิน วิน ชอง (Jinn Winn Chong) จิน วิน ชอง วิเคราะห์ถึงความสลับซับซ้อนหลายมิติที่แฝงอยู่ในความขัดแย้งอันเนื่องมา จากการแย่งชิงมรดกวัฒนธรรมที่ซ้อนทับเหนือพรมแดนระหว่างประเทศ บทความนีช้ ใ้ี ห้เห็นถึงความล้มเหลวของการจัดการปัญหาทีซ่ อ่ นอยูน่ น้ั นำ�ไปสูค่ วามเสียหาย อย่างใหญ่หลวงได้อย่างไร รวมไปถึงเสนอแนะให้พจิ ารณาความขัดแย้งดังกล่าว ในบริบททีก่ ว้างขวาง อันเป็นผลมาจากเงือ่ นไขความสัมพันธ์ทางประวัตศิ าสตร์และเป็นผลจากการถือกำ�เนิดขึน้ ของความเป็น รัฐสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึง่ ใช้มรดกทางวัฒนธรรมในการสร้างชาติและต่างมีเส้นทางของ ประสบการณ์สู่ความเป็นชาติที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น ของมรดกวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับแง่มุมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ท่เี ป็น ตัวเร่งความขัดแย้งให้ปะทุขึ้น บทความนี้แสดงให้เห็นว่า กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญานั้น 20

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ไม่เพียงพอต่อการจัดการเกีย่ วกับปัญหาความขัดแย้งเหนือมรดกวัฒนธรรม ในระดับภูมภิ าคและเครือ่ งมือ ทางกฎหมายไม่อาจนำ�มาซึ่งการแก้ไขข้อขัดแย้งได้และยืนยันให้เห็นถึงประเด็นอันซับซ้อนของ เรื่องมรดกวัฒนธรรม (3) เมื่อไม่มีผลงานชิ้นเอก : ผลกระทบอันแจ้งชัดและมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ในโลกทีม่ พี รมแดน (No More Masterpieces: Tangible Impact and Intangible Cultural Heritage in Bordered Worlds ใน Asian Theatre Journal (2014), Vol. 31, No. 2, p. 369-398) โดย เคธี โฟลีย์ (Kathy Foley) เคธี โฟลีย์ ได้ทบทวนถึงกำ�เนิด พัฒนาการและผลกระทบของแนวความคิดเรือ่ งมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพ (intangible cultural heritage) ซึ่งเป็นแนวความคิดที่สืบเนื่องมาจากคำ�ประกาศ ของยูเนสโก “คำ�ประกาศผลงานชิน้ เอกด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ พ.ศ. 2544” (Proclamation of Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity, 2001) ก่อนทีจ่ ะพัฒนาแนวคิดเป็น “อนุสญ ั ญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม ที่ มิ ใช่ กายภาพ พ.ศ. 2546” (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) ซึ่งถือเป็นพัฒนาการสำ�คัญของความพยายามในการแสวงหาข้อตกลง ระหว่างประเทศเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่มิใช่กายภาพ ผูเ้ ขียนชีใ้ ห้เห็นถึงผลกระทบสำ�คัญของอนุสญ ั ญา ทีถ่ อื กำ�เนิดขึน้ ภายใต้โครงสร้างของรัฐชาติ ในศตวรรษที่ 19 และ 20 รวมถึงรูปแบบของอนุสัญญา ที่ก่อตัวขึ้นจากวาทกรรมมรดกวัฒนธรรม ที่อยู่นอกอาณาบริเวณของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะให้สอดคล้องกับบริบทของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสลับซับซ้อน รวมถึงปัญหาที่เชื่อมโยงจากอดีตในประเด็นของเรื่อง เพศ จิตวิญญาณ ศาสนาและการเมือง โดยยกตัวอย่างผ่านกรณีศกึ ษางานศิลปะการแสดงทีเ่ ป็นมรดก วัฒนธรรมร่วมกันของภูมิภาคของอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย เช่น วายัง (wayang) และมะโย่ง (mak yong) รวมถึงมรดกวัฒนธรรมร่วมของไทยและกัมพูชา เช่น โขนและรอยัล บัลเลต์ (Royal Ballet) ผู้เขียนเสนอว่าการยกเลิกโครงการ “ผลงานชิ้นเอกฯ” (Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity) ของยู เ นสโกเพื่ อ พั ฒ นาไปสู่ เ ส้ น ทางใหม่ ได้สง่ ผลกระทบในบางลักษณะต่องานศิลปะการแสดงทีเ่ ป็นมรดกร่วมของภูมภิ าค โดยเฉพาะในกรณี ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนัน้ ต้นแบบความสำ�เร็จของอนุสญ ั ญามรดกโลก หรืออนุสญ ั ญาว่าด้วยการคุม้ ครอง มรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Convention concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, 1972) เป็นแรงบันดาลใจสำ�คัญต่อเนื้อหาของอนุสัญญา มรดกวัฒนธรรมฯ นอกจากประเทศญีป่ นุ่ จะมีบทบาทอย่างเด่นชัดต่ออนุสญ ั ญาแล้ว ความเปลีย่ นแปลง ของแนวความคิ ด ว่ า ด้ ว ยพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานวิ ท ยาแนวใหม่ ร วมถึ ง วาทกรรมความหลากหลาย ทางวั ฒ นธรรม(Biodiversity of Culture) ที่ ม าจากแนวคิ ด ชี ว วิ ท ยา ยั ง เป็ น ปั จ จั ย ร่ ว มที่ ส่ ง อิทธิพลต่ออนุสัญญาโดยที่กระบวนการของการแสดงความเป็นเจ้าของในมรดกวัฒนธรรมและ การขึน้ ทะเบียนมรดกวัฒนธรรมภายใต้อนุสัญญา มีส่วนก่อให้เกิดความขัดแย้งตามมาภายหลัง Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 21


(4) จากรูปแบบของพิธกี รรมสูจ่ ดุ ดึงดูดนักท่องเทีย่ ว : การต่อรองการแปลงรูปแบบนาฏศิลป์ ดั้งเดิมของกัมพูชาในโลกที่เปลี่ยนแปลง (From Ritual Form to Tourist Attraction: Negotiating the Transformation of Classical Cambodian Dance in a Changing World ใน Asian Theatre Journal (2014), Vol.31, No.2, p. 524-544) โดย เซเลีย ทุขแมน-รอสตา (Celia Tuchman-Rosta) เซเลีย ทุขแมน-รอสตา ช่วยเชือ่ มโยงให้เห็นถึงความสำ�คัญของมรดกวัฒนธรรมฯ ทีม่ ตี อ่ ความ เป็นชาติกัมพูชา โดยแสดงให้เห็นถึงชะตากรรมอันผันผวนของนาฏศิลป์กัมพูชา “ดั้งเดิม” ผ่าน การอุปถัมป์คา้ํ ชูของราชสำ�นักกัมพูชา ผ่านการอนุรกั ษ์โดยระบอบอาณานิคมฝรัง่ เศส ผ่านยุคอันโหดร้าย ของสมัยปฏิวัติ และการกลับมารื้อฟื้นขึ้นใหม่จนมาถึงยุคที่มรดกโลกเมืองพระนครกลายมาเป็น เป้าหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก บทความนี้ให้ความเข้าใจเชิงลึกถึงวิธีการที่ศิลปะการแสดงซึ่งเคยมีบทบาทสำ�คัญในพิธีกรรม และความศักดิ์สิทธิ์จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความท้าทายในทางสังคมและเศรษฐกิจสมัยใหม่ ได้อย่างไรในขณะที่พยายามจะยื้อยุดคงรักษาความสำ�คัญเดิมไว้ จากกรณีศึกษาชี้ให้เห็นและตอกยํ้า ถึงปัญหาสำ�คัญของประเด็นเรื่องการสงวนรักษา (safeguarding) และการส่งต่อมรดกวัฒนธรรม จากบริบทของความศักดิ์สิทธิ์สู่โลกสามัญในวิถีชีวิตประจำ�วัน (เช่น การท่องเที่ยว) ซึ่งปรากฏซํ้า อีกหลายกรณีในบทความชุดนี้ (5) การฉวยใช้วัฒนธรรม : การเมืองของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพในเวียดนาม (“Appropriating Culture: The politics of intangible cultural heritage in Vietnam” ใน State, Society and the Market in Contemporary Vietnam: property, power and values, Hue-Tam Ho Tai and Mark Sidel (eds.) (2012), p. 158–180) โดย ออสการ์ ซาเลมิงค์ (Oscar Salemink) บทความโดย ออสการ์ ซาเลมิงค์ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสัมพันธ์ อันตึงเครียดของรัฐและชุมชนในประเด็นเรื่องมรดกวัฒนธรรม ผู้เขียนวิเคราะห์การใช้งาน (use) และการฉวยใช้ (appropriation) มรดกวัฒนธรรมฯ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และนานาชาติ ที่ด้านหนึ่งต่างอ้างสิทธิ์เหนือมรดกวัฒนธรรมซึ่งนอกจากจะเป็นวิถีทางการตอบสนอง ความต้องการทางการเมืองแล้ว แต่อกี ด้านหนึง่ เป็นความพยายามในการทำ�ภูมภิ าคให้เป็นทีร่ จู้ กั นอกจากนัน้ การเมืองของมรดกทางวัฒนธรรมได้ช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับระบบคอมมิวนิสต์หลังสังคมนิยม ของเวียดนาม และทำ�ให้เวียดนามมีทท่ี างบนเวทีโลกในฐานะทีเ่ ป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ผา่ นการยกย่อง ของยูเนสโก อย่างไรก็ตาม บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายด้านมรดกวัฒนธรรมของเวียดนามนั้น รัฐบาล เวียดนามมิใช่เป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวในสนามของการแข่งขันและมิใช่เป็นผู้ที่ควบคุมอย่างเข้มงวด หากแต่เป็นพื้นที่ของสนามแข่งขันของผลประโยชน์ที่แตกต่างกันในหลายระดับทั้งระดับประเทศ และนานาชาติซึ่งชุมชนและท้องถิ่นจำ�นวนมากต่างเข้าร่วมอย่างเต็มใจในความพยายามที่จะบรรลุ เป้าหมายของตนเอง

22

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


(6) บทบาทพิพิธภัณฑ์กับการปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (Museums and the Protection of Cultural Intangible Heritage ใน Museum International (2008), Vol. 60, No. 1-2, p. 12-19 โดย พัน โสวหย่ง (Pan Shouyong) บทความสุดท้าย โดย พัน โสวหย่ง เป็นบทความเดียวในเล่ม ที่ผู้เขียนเป็นผู้ศึกษาและ นำ�เสนอความสำ�คัญและประเด็นปัญหาเรือ่ งเกีย่ วกับมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตนเอง ผูเ้ ขียนชีใ้ ห้เห็น ถึงบทบาทของจีนทีต่ อบรับกับประเด็นในเรือ่ งมรดกวัฒนธรรมฯ อย่างแข็งขันทัง้ ในการจัดประชุมเสวนา ในเรื่องของการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของชนกลุ่มน้อย (International Symposium of the Conservation of the Traditional Minorities, 2001) และการออกกฎหมายว่าด้วย การปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมพื้นบ้านของชนกลุ่มน้อยในจีน (Laws for the Protection of Chinese National Minority Folk Cultures) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนจะเข้าร่วมกับยูเนสโก ตามกระบวนการของ “อนุสัญญามรดกโลก” (Convention for the World Cultural and Natural Heritage) และการเข้าร่วมในการเสนอชื่อรายการ “ผลงานชิ้นเอกด้านมุขปาฐะและมรดก วัฒนธรรมทีไ่ ม่ใช่กายภาพของมนุษยชาติ (Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity) มาแต่เริม่ แรกและอย่างกระตือรือร้น แต่รฐั บาลจีนเองก็ยงั คงสงวนท่าทีในบางประเด็น ที่มีความคิดเห็นต่างไปจากแนวความคิดของชาติตะวันตก บทความนี้ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ตั ว อย่ า งบทบาทของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ จ ะช่ ว ยปกป้ อ งและคุ้ ม ครอง มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้) ซึ่งสอดคล้องกับการที่สภา พิพิธภัณฑ์สากล (ICOM) ได้ประกาศขยายนิยามใหม่ของพิพิธภัณฑ์ให้ครอบคลุมทั้งมรดกวัฒนธรรม ทัง้ ทีจ่ ับต้องได้และจับต้องไม่ได้โดยถือว่าต่างมีความสำ�คัญกับงานของพิพิธภัณฑ์อย่างเท่าเทียมกัน โครงการสำ�รวจองค์ความรู้การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมฯ ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) คาดหวังว่า จากเนื้อหาทั้งสองส่วนในหนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน จะช่วยให้ผู้อ่านได้มองเห็นเส้นทางที่ผ่านมาของความคิดและ ปฏิบตั กิ ารรวมถึงปัญหาเกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรม “ทีจ่ บั ต้องไม่ได้/ไม่เป็นกายภาพ” หรือมรดกภูมปิ ญ ั ญา ทางวัฒนธรรมของชาติตา่ ง ๆ เพือ่ ทีจ่ ะได้เตรียมการเผชิญกับปัญหา และแก้ไขปัญหาทีร่ ออยูเ่ บือ้ งหน้า และเพือ่ ทีจ่ ะได้เฉลิมฉลองความสำ�เร็จในการ “ส่งเสริมรักษา” มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติ มรดกวัฒนธรรมของเพื่อนบ้านและมรดกวัฒนธรรมของประชาชาติไปร่วมกันตามเจตนาอั น แท้ จ ริ ง ของอนุสัญญา

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 23


หมายเหตุการแปล

ตามทีอ่ นุสญ ั ญา พ.ศ. 2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) ข้อ 39 ระบุไว้ว่า อนุสัญญาฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นเป็นภาษาอาหรับ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียและสเปน โดยถือว่าตัวบททัง้ 6 ฉบับใช้เป็นตัวบทหลักทีเ่ ท่าเทียมกัน ในกรณีของประเทศไทยนัน้ แม้วา่ จะมีการแปลเป็นภาษาไทยโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แต่กไ็ ด้ระบุวา่ ในการอ้างอิงนัน้ ให้ใช้อนุสญ ั ญา ฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยในฉบับแปลภาษาไทยใช้ชอ่ื อนุสญ ั ญา ว่า “อนุสญ ั ญาว่าด้วยการสงวน รักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัตขิ องไทยทีต่ ราขึน้ เนือ่ งมาจากอนุสญ ั ญาดังกล่าวได้ใช้ค�ำ สำ�คัญ ทีแ่ ตกต่างออกไปจากฉบับแปลอนุสญ ั ญาในภาษาไทย โดยเลือกใช้ชอ่ื พระราชบัญญัตวิ า่ “พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” แทน “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” (intangible cultural heritage) และเลือกใช้คำ� “ส่งเสริมและรักษา” (safeguarding) แทนคำ�ว่า “สงวนรักษา” ตามที่ปรากฏในอนุสัญญา ฉบับแปลภาษาไทย ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทนำ�แล้วว่า ในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำ�แปลชื่ออนุสัญญา และคำ�แปล intangible cultural heritage ทีแ่ ตกต่างหลากหลาย ทัง้ นีส้ บื เนือ่ งมาจากแนวความคิดทีแ่ ตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็อาจแสดงให้เห็นด้วยว่าความคิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาษาไทยยังไม่ลงตัวไป ในทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับคำ�ว่า safeguarding มีการใช้อย่างหลากหลาย เช่น สงวนรักษา ส่ง เสริมรักษา พิทักษ์รักษา ปกปักรักษา ปกป้องคุ้มครอง ซึ่งข้อความในอนุสัญญา ข้อ 2.3 ก็ได้ให้ ความหมายไว้ค่อนข้างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้คำ� Safeguarding ถือเป็นความจงใจ ของอนุสัญญา ที่ต้องการจะเน้นยํ้าถึงภารกิจหลักที่แตกต่างไปจากอนุสัญญาฉบับอื่น เช่น อนุสัญญา ว่าด้วยการ “คุ้มครอง” มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) ซึ่งมีนัยของการปกป้อง คุ้มครองไว้ให้อยู่ใน “สภาพเดิม” มากที่สุด ในขณะที่การ “สงวนรักษา/ส่งเสริมรักษา” มีนัยของ การคำ�นึงถึงการ “ปรับเปลี่ยน/เปลี่ยนแปลง” ของมรดกวัฒนธรรมที่ส่งต่อสืบทอดกันมามากกว่า แม้บทความแปล ในหนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน จะยึ ด เอาชื่ อ “อนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยการสงวนรั ก ษามรดกวั ฒ นธรรมที่ จั บ ต้ อ งไม่ ไ ด้ ” เป็ น หลั ก เนือ่ งจากเป็นชือ่ อนุสญ ั ญา ทีค่ อ่ นข้างรูจ้ กั คุน้ เคยกันในวงกว้าง แต่เพือ่ สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลาย ของแนวความคิดและถ้อยคำ�ทีย่ งั ไม่ลงตัวในภาษาไทย บรรณาธิการจึงยังคงคำ�แปลตามทีผ่ แู้ ปลแต่ละคน เลือกใช้เอาไว้ โดยคาดหวังว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีความเห็นพ้องต้องกันและมีคำ�แปลอนุสัญญา ในฉบับภาษาไทยที่ถูกต้องทั้งโดยนัยของคำ�และโดยอรรถเพื่อใช้เป็นหลักให้ยึดถือและอ้างอิงได้ต่อไป

24

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน




มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมมีชวี ติ ของกลุม่ ชน โดย เฟเดอริโก เลนเซอรินี (Federico Lenzerini) แปลโดย อิสระ ชูศรี

(Federico Lenzerini, “Intangible Cultural Heritage: The Living Culture of Peoples,” European Journal International Law, Vol. 22, No. 1, p. 101-120, 2011 ©Oxford University Press)


“ แม้ว่าข้อโต้แย้งข้างต้นอาจเป็นจริงในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบตั แิ ล้ว

ไม่น่าเป็นไปได้เลยที่รายการมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะไม่ท�ำ ให้สาธารณชนรับรูไ้ ปว่าเป็นการจัดประเภททีใ่ ช้คณ ุ ค่ากำ�หนด โดยเฉพาะเมือ่ มันเป็นมรดกวัฒนธรรมทีอ่ ยูใ่ นประเภทเดียวกัน


บทคัดย่อ มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม (intangible cultural heritage หรือ ICH) ประกอบด้วยการ แสดงออกทางวัฒนธรรมทัง้ หลายทีไ่ ม่ใช่วตั ถุ มันคือตัวแทนอันหลากหลายของมรดกทีม่ ชี วี ติ ของมนุษยชาติ และเป็นพาหนะที่สำ�คัญที่สุดของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบหลักของ มรดกภูมปิ ญั ญาฯ ถูกแสดงให้ประจักษ์ได้ โดยการทีม่ รดกนัน้ บ่งชีค้ วามเป็นตัวเองผูส้ ร้างและผูส้ ืบทอดมรดก ในฐานะส่วนประกอบพืน้ ฐานของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยการสร้างสรรค์ใหม่อย่างสมํา่ เสมอเพือ่ โต้ตอบกับวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และสังคมของชุมชนและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง โดยการยึดโยง กับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนและกลุ่มคน โดยความแท้ของมรดกภูมิปัญญานั้น และโดย ความสัมพันธ์ที่แยกกันไม่ออกระหว่างมรดกภูมิปัญญาและสิทธิมนุษยชน เมื่อไม่นานมานี้ ชุมชนระหว่างประเทศได้ตระหนักว่ามรดกภูมิปัญญาจำ�เป็นและสมควร ต้องได้รบั ส่งเสริมรักษาในระดับนานาชาติ ซึง่ ความตระหนักนีไ้ ด้สง่ ผลให้เกิดกระบวนการทางกฎหมาย ที่นำ�ไปสู่การประกาศอนุสัญญาว่าด้วยส่งเสริมรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (Convention on the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) อนุสัญญานี้เน้น องค์ประกอบหลักของมรดกภูมปิ ญั ญาได้อย่างตรงประเด็น และตัง้ อยูบ่ นการใช้เหตุผลทางปรัชญาทีถ่ กู ต้อง แต่ในด้านการนำ�ไปปฏิบัติ การที่อนุสัญญานั้นอาศัยตัวแบบ (model) ของอนุสัญญามรดกโลก ค.ศ. 1972 แสดงให้เห็นว่ามันยังไม่พอเพียงทีจ่ ะเป็นหลักประกันให้เกิดการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม ที่มีลักษณะเฉพาะ บทความนีพ้ ยายามโต้แย้งว่า การส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรมจะต้องถูกประยุกต์ ใช้อย่างสอดประสานกับมาตรการทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อแก้ไขความไม่พอเพียงข้างต้น แม้จะเป็นวิธกี ารโดยอ้อมก็ตาม เพราะมรดกภูมปิ ญ ั ญาฯ มีสว่ นเกีย่ วข้องกับประเด็นของสิทธิมนุษยชน ทางวัฒนธรรม และเป็นปัจจัยตัง้ ต้นทีส่ �ำ คัญ ทีจ่ ะสร้างความมัน่ ใจว่าปัจเจกบุคคลและกลุม่ คน ทัง้ ในส่วน ของผู้สร้างและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจะสามารถใช้สิทธิของตัวเองได้อย่างแท้จริง ผู้เขียนขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ฟรานเชสโก ฟรานซิโอนี สถาบันมหาวิทยาลัยยุโรป ประเทศอิตาลี สำ�หรับข้อคิดเห็นทีเ่ ป็นประโยชน์อย่างยิง่ ในการปรับปรุงร่างบทความนี้

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 29


1. บทนำ� มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มรดกที่มีชีวิตของเรา เมื่อ ค.ศ. 1960 นักคิดทรงอิทธิพลท่านหนึ่งของศตวรรษที่ 20 ได้เขียนไว้ว่า “เราไม่สามารถ ที่จะผูกโยงวัฒนธรรมไว้กับผลผลิตที่เป็นวัตถุของมัน เพราะวัฒนธรรมมีชีวิตและวิวัฒนาการไป อย่างต่อเนือ่ ง” นักคิดท่านนีแ้ สดงให้เห็นประเด็นทีเ่ ป็นสาระสำ�คัญของมรดกวัฒนธรรม ทีไ่ ม่เพียงประกอบ ขึ้นจากคุณสมบัติท่จี ับต้องได้ แต่ยังรวมถึงคุณสมบัติสำ�คัญที่แสดงออกให้เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นส่วนที่ มีชีวิตของชุมชนมนุษย์ สัมพันธ์กับวิวัฒนาการของชุมชนนั้น ๆ และมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง1 ดังนั้นวัฒนธรรมจึงรวมถึงองค์ประกอบที่ไม่ใช่วัตถุ ซึ่งชุมชนหนึ่งชุมชนใดพิจารณาว่าเป็นส่วนสำ�คัญ ของอัตลักษณ์โดยแท้ของตน มีความเป็นเอกลักษณ์และสามารถใช้จ�ำ แนกกลุม่ ตนเองได้เมือ่ เปรียบเทียบ กับกลุม่ อืน่ กล่าวอีกอย่างหนึง่ คือ วัฒนธรรมของกลุม่ ชนหนึง่ ๆ ย่อมครอบคลุมองค์ประกอบทัง้ มวลที่ แสดงให้เห็นหัวใจสำ�คัญที่ทำ�ให้วัฒนธรรมของกลุ่มชนนั้นแตกต่างออกไป จนถึงช่วงทศวรรษท้าย ๆ ของศตวรรษที่ 20 การรับรูค้ วามหมายแบบองค์รวมของวัฒนธรรม ก็ยังไม่เป็นที่รับรู้ของชุมชนระหว่างประเทศ เครื่องมือทางกฎหมายหลักที่มีไว้เพื่อการปกป้อง มรดกวัฒนธรรม ทัง้ ในเหตุการณ์ทม่ี คี วามขัดแย้งด้วยกำ�ลังอาวุธ2 หรือในเหตุการณ์ทม่ี สี นั ติ3 ล้วนให้ ความสำ�คัญกับการปกป้องวัฒนธรรมที่ผ่านวัตถุ ซึ่งมีนัยสำ�คัญอยู่ที่การประเมินคุณค่าบนฐานคิด ของวัตถุวิสัยและการรับรู้คุณค่ามาตรฐานทางด้านศิลปะ สุนทรียะ สถาปัตยกรรม ความวิจิตร บรรจง วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ เครื่องมือทางกฎหมายเหล่านี้ทำ�ให้มุมมองดังกล่าว ซึ่งพัฒนา ขึ้นในโลกตะวันตก กลายเป็นวิธีการประเมินค่าที่ชุมชนระหว่างประเทศใช้เพื่อกำ�หนดคุณค่าของ มรดกวัฒนธรรมในภาพรวมและถูกนำ�ไปใช้อย่างแพร่หลายในระดับโลก ในแง่ของหลักคิดทีเ่ ป็นพืน้ ฐาน ของมาตรการทางกฎหมาย ไม่วา่ จะโดยตัง้ ใจหรือไม่กต็ าม เราอาจกล่าวได้ถงึ การไม่รบั รูถ้ งึ ความจำ�เป็น ในการส่งเสริมรักษาอย่างพอเพียงสำ�หรับมรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ซึ่งมีความสำ�คัญกับอัตลักษณ์ ทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนมนุษย์ เป็นผลจากความเชื่อมั่นว่ามันจะได้รับการรักษาและพัฒนา ในระดับท้องถิ่นโดยอัตโนมัติ ในบริบทของวิวัฒนาการทางสังคมของชุมชนที่เกี่ยวข้อง กล่าวอีก อย่างหนึ่ง แหล่งบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม (ICH) ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่ นำ�ไปสู่การถ่ายทอดความรู้ที่จำ�เป็นในส่งเสริมรักษาและการสืบทอดมรดกฯ นั้น ไปสู่คนรุ่นถัดไป แบบเป็นไปเองและอย่างเหมาะสม โดยไม่จ�ำ เป็นต้องอาศัยการกระทำ�ใดๆ ในระดับนานาชาติเพือ่ การนัน้ ถึงแม้เราจะมองว่ากระบวนการแบบเป็นไปเองข้างต้นสามารถทีจ่ ะทำ�งานอย่างได้ผลในหลายศตวรรษ ที่ผ่านมา พลวัตของมันก็ถูกทำ�ให้สะดุดลงอย่างฉับพลันในกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ดำ�เนินมา อย่างชัดเจนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อันที่จริงแล้ว ความเข้มข้นยิ่งขึ้นของการสัมผัสกัน

ดู R. Williams, Border County (1960), หน้า 11. ดู อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในสถานการณ์ขัดแย้งด้วยอาวุธ ค.ศ. 1954 (249 UNTS 240) และ พิธีสารที่เกี่ยวเนื่องอีกสองฉบับใน ค.ศ. 1954 (249 UNTS 358) และ ค.ศ. 1999 (38 ILM 769) [ตัวเลขหลังชื่ออนุสัญญา คือหมายเลขของอนุสัญญา UNTS = United Nation Treaty Series; ILM = International Legal Materials - ผู้แปล] 3 ดู อนุสญ ั ญาว่าด้วยการคุม้ ครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 (อนุสญ ั ญามรดกโลก) 1037 UNTS 151. 1 2

30

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ระหว่างวัฒนธรรม ซึง่ ในหลายกรณีท�ำ ให้เกิดการเบีย่ งเบนทางวัฒนธรรมหรือการครอบงำ�ของตัวแบบ ทางวัฒนธรรมหนึ่งใดเหนือวัฒนธรรมอื่น ได้ทำ�ให้ความสามารถของคนรุ่นเก่าในการถ่ายทอดความรู้ และวิถีปฏิบัติไปสู่คนรุ่นใหม่ถูกลดทอนลงอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน เราตระหนักชัดอยู่ทุกวันถึงการสูญเสียภาษา ความรู้ แบบแผนการปฏิบัติ ขนบธรรมเนียม และแนวความคิด ซึ่งนำ�ไปสู่การที่สังคมมนุษย์ยากจนลงอย่างต่อเนื่อง ในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 2004 ระหว่างการประชุมขององค์การยูเนสโก ณ นครโตเกียว รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์ และศาสนา ของประเทศกรีนแลนด์ ได้เสนอความเห็นว่า “โลกาภิวัตน์ไม่ใช่ อะไรอืน่ นอกเสียจากการล่าอาณานิคมอีกรูปแบบหนึง่ ” จากนัน้ เธอได้กล่าวให้เห็นต่อไปว่าการทีใ่ นประเทศ ของเธอ “มีคำ�มากกว่า 20 คำ�สำ�หรับเรียกหิมะและนํ้าแข็ง เพราะว่ามันมีความสำ�คัญที่พรานล่าสัตว์ จะต้องจำ�แนกมันให้ได้ แต่เด็ก มากมายในปัจจุบันรู้จักคำ�เหล่านี้เพียงน้อยนิด”4 ตัวอย่างนี้ได้ทำ�ให้ เห็นชัดถึงกระบวนการทีเ่ ป็นไปอย่างกว้างขวางและเด่นชัดในโลกปัจจุบนั ในบริบทของการทีต่ น้ แบบ ทางวัฒนธรรมและผลประโยชน์ของสังคมที่เป็นฝ่ายครอบงำ�ได้ถูกส่งออกไปทั่วโลก และวัฒนธรรม ฝ่ายข้างน้อยถูกมองด้วยอคติ มันนำ�ไปสูก่ ารครองอำ�นาจนำ�ทางวัฒนธรรมและการเปลีย่ นแปลงวัฒนธรรม ให้เป็นแบบเดียวกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ กระบวนการ ดังกล่าวนีจ้ ะค่อย ๆ ตกผลึกเป็นรูปแบบเดียวกันและตัวแบบทางวัฒนธรรมแบบเหมารวม และการเสือ่ ม สลายลงของคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเชิงบริบท เมือ่ มองแบบสังเคราะห์ ความรุม่ รวยของความหลากหลายทางวัฒนธรรมกำ�ลังอยูใ่ นกระบวนการ กลายเป็นแบบเดียวกันอย่างน่าอันตราย ในเชิงวัฒนธรรม การกลายเป็นแบบเดียวไม่ได้หมายถึงแต่ การสูญเสียมรดกวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผลรวมของการสำ�แดงให้ประจักษ์ได้ถึงความแตกต่างระหว่าง มนุษย์ในกลุ่มและชุมชนต่าง ๆ แต่ยังหมายถึงการทำ�ให้ความแตกต่างของกลุ่มชนต่าง ๆ ทั่วโลก กลายเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทัง้ ยังลดทอนอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขาให้เหลือ เพียงแนวทาง วิถีชีวิต การคิด และการมองโลกที่คล้าย ๆ กันเพียงไม่กี่แบบ ความหลากหลายของ วัฒนธรรมสะท้อนความหลากหลายของกลุม่ ชน สิง่ นีเ้ ชือ่ มโยงอย่างยิง่ กับมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม เพราะมรดกทางวัฒนธรรมเป็นภาพแทนของการแสดงออกที่ยังมีชีวิตของลักษณะจำ�เพาะของ ชุมชนต่าง ๆ การส่งเสริมรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังทีถ่ กู เน้นไว้ในมาตราหนึง่ ของปฏิญญาสากล ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมของยูเนสโก (UNESCO Universal Declaration on Cultural Diversity)5 “ถูกแฝงฝังไว้ในความมีเอกลักษณ์และในความแตกต่างหลากหลายของอัตลักษณ์ของกลุม่ ชน และสังคมที่ประกอบกันเข้าเป็นมนุษยชาติ” อันเป็น “แหล่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม และการสร้างสรรค์” ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งต่อความเป็นมนุษย์และ เกีย่ วข้องอย่างแยกไม่ออกต่อการส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมการยอมรับซึ่งกันและกัน ดู การประชุมนานาชาติ “Globalization and Intangible Cultural Heritage” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ 24-26 สิงหาคม ค.ศ. 2004, อ่านได้จาก http://unesdoc.unesco.org/images/0014/001400/140090e.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010) หน้า 49, 51. 5 ลงมติเห็นชอบโดยที่ประชุมใหญ่ของยูเนสโก เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001. ตัวบทของปฏิญญาสามารถอ่านได้จาก http://portal.unesco.org/en/ev.php-URL_ID=13179&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html (เข้าถึง ครั้งสุดท้ายวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010). 4

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 31


และการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งนำ�ไปสู่วิธีการที่เหมาะสมในส่งเสริมรักษามรดก วัฒนธรรมของกลุม่ ชนหลากหลายทีป่ ระกอบกันขึน้ เป็นโลก เป็นสาระสำ�คัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ ทีก่ ลมกลืนระหว่างวัฒนธรรม ผ่านการบ่มเพาะความชืน่ ชมและความเข้าใจทีด่ ขี น้ึ เกีย่ วกับความแตกต่าง ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ของมนุษย์

2. วิวฒ ั นาการของการส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมในระดับ นานาชาติ ดังที่กล่าวไปแล้วว่าในช่วงแรก แนวความคิดเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมมาจากตะวันตกคิด ขึ้นบนฐานของการเห็นว่ามันเป็นส่วนที่แฝงอยู่ในวัตถุทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ทำ�ให้วัฒนธรรม ในส่วนทีม่ ใิ ช่วตั ถุไม่ได้กลายเป็นเรือ่ งทีค่ วรให้ความสนใจในกฎหมายระหว่างประเทศ ถึงกระนัน้ ก็ตาม ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 บางภาคส่วนของประชาคมระหว่างประเทศได้ตระหนักถึงขอบเขตและ ความหมายของวัฒนธรรมทีไ่ ม่ใช่วตั ถุทจ่ี บั ต้องได้ และเห็นว่าวัฒนธรรมชนิดนัน้ ต้องได้รบั การส่งเสริมรักษา ที่เหมาะสมกับลักษณะทางจิตวิญญาณของมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 มีการเจรจาที่นำ�ไปสู่การเห็นชอบ กับอนุสญ ั ญามรดกโลก ตัวแทนของรัฐต่าง ๆ ส่วนหนึง่ ได้เห็นพ้องกับแนวคิดทีว่ า่ ขอบเขตของอนุสญ ั ญา นัน้ แคบเกินไป และการกระทำ�ของประชาคมนานาชาติในขอบเขตของมรดกวัฒนธรรมควรจะขยายให้ ครอบคลุมการแสดงออกทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่ใช่วตั ถุ6ุ ถัดมาอีกหนึง่ ปี รัฐบาลโคลอมเบียได้เสนอให้เพิม่ เติม พิธีสารไว้ในอนุสัญญาลิขสิทธิ์สากล (Universal Copyright Convention)7 เพื่อที่จะคุ้มครอง คติชาวบ้าน8 แรงขับเคลื่อนในการส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้ขยายตัวทั่วไป เริ่มต้นมาจากประเทศในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา โดยมีแรงจูงใจมาจากฐานความคิดเกี่ยว กับวัฒนธรรมที่มีหัวใจอยู่ที่ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีชีวิต แรงขับเคลื่อนนี้นำ�ไปสู่การบรรลุสิ่งที่ นักเขียนท่านหนึ่งเรียกว่า “ดุลยภาพของมรดกแห่งโลก”9 คำ�ศัพท์ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” (intangible cultural heritage) เองก็ถูกมองว่าเป็นคำ�แปลหลวม ๆ ของคำ�ว่า มูเคอิ บุงคาไซ (mukei bunkazai)10 ในภาษาญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1982 คำ�ประกาศเม็กซิโกซิตวี า่ ด้วยนโยบายวัฒนธรรม (The Mexico City Declaration on Cultural Policies) ได้เสนอนิยามใหม่ทม่ี คี วามเป็นภาพรวมยิง่ ขึน้ ของวัฒนธรรมว่ามันคือ “องค์รวม อันซับซ้อนของลักษณะทางจิตวิญญาณ สติปัญญา และอารมณ์ท่ีมีความแตกต่างและเป็นสิ่งบ่งชี้ ดู UNESCO, “Brief history of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage (2003)” อ่านได้จากลิงก์ www.unesco.org/culture/ich/index.php?pg=00007 (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2010). 7 943 UNTS 178. 8 ดู UNESCO, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 6. 9 ดู Soós, “Communities and the Convention for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage (2003) - a New Tool for Development”, ใน ARCADE, Culture as a Tool for Development. Challenges of Analysis and Action (2009), อ่านได้จากลิงก์ http://arcade.acted.org/images/arcade_livre_et_couv_BD.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2010) หน้า 29, 34. 10 ดู Kurin, “Safeguarding Intangible Cultural Heritage: Key Factors in Implementing the 2003 Convention”, 2 Int’l J Intangible Heritage (2007) 9, หน้า 10. 6

32

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ความเป็นสังคมและกลุม่ ทางสังคม มันไม่เพียงครอบคลุมศิลปกรรมและอักษรศาสตร์แต่ยงั รวมถึงวิถชี วี ติ สิทธิพน้ื ฐานของการเป็นมนุษย์ ระบบคุณค่า ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชือ่ ”11 มรดกทางวัฒนธรรม ของกลุ่มชนหนึ่งจึงถูกเข้าใจว่าครอบคลุม “ผลงานที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ที่ถูกสร้างขึ้นจากการ แสดงออกความคิดสร้างสรรค์ผา่ นสือ่ ต่าง ๆ ได้แก่ ภาษา พิธกี รรม ความเชือ่ สถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ และโบราณสถาน วรรณคดี ศิลปะ จดหมายเหตุ และห้องสมุด”12 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ที่ประชุมใหญ่ของยูเนสโกได้เห็นชอบกับเครื่องมือ ทางกฎหมายอย่างแรกทีม่ คี วามเฉพาะเจาะจงสำ�หรับมรดกทางวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้ ได้แก่ ข้อเสนอแนะ ในส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมประเพณีและคติชาวบ้าน (Recommendation on the Safeguarding of Traditional Culture and Folklore หรือ RSTCF)13 ถึงแม้ว่าเครื่องมือนี้จะมีขอบเขตจำ�กัด (เพราะ มโนทัศน์ “คติชาวบ้าน” มีความจำ�กัดกว่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้) ข้อเสนอแนะนี้เน้น ให้เห็นความสำ�คัญของคติชาวบ้านว่าเป็น “ส่วนหนึ่งของมรดกอันเป็นสากลของมนุษยชาติ และมี บทบาทในฐานะเครื่องมือที่มีพลังในการหลอมรวมกลุ่มชนและสังคมที่แตกต่างกัน และในการยืนยัน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง”14 และอันตรายที่ “คติชาวบ้านต้องเผชิญจากปัจจัยต่าง ๆ”15 ประโยคแรกของข้อเสนอแนะทีย่ กมานีแ้ สดงให้เห็นว่าแนวคิดแบบ “อัตวิสยั ” (subjective) ซึง่ เกีย่ วข้อง กับมรดกที่ไม่ใช่วัตถุ ได้เริ่มถูกพิจารณาโดยยูเนสโก แนวความคิดนี้ยังแสดงออกไว้ในย่อหน้า A ของเอกสารนี้ ซึง่ นิยามคติชาวบ้าน (เทียบเท่ากับ “วัฒนธรรมประเพณีและสมัยนิยม”) ว่า เป็นองค์รวมของการสร้างสรรค์ของชุมชนวัฒนธรรมบนฐานประเพณีทแ่ี สดงออก โดยกลุม่ คนหรือปัจเจกบุคคล และถูกยอมรับว่ามันสะท้อนความคาดหวังของชุมชน ตราบเท่าที่มันสะท้อนอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนนั้น มาตรฐาน และคุณค่าของชุมชนถูกสืบทอดโดยมุขปาฐะ โดยการทำ�ตามกัน หรือโดยวิธีอื่น ส่วนหนึง่ รูปแบบการแสดงออกของคติชาวบ้าน ได้แก่ ภาษา วรรณคดี ดนตรี การเต้นรำ� เกม ตำ�นาน พิธีกรรม ขนบธรรมเนียม หัตถกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปะ ประเภทอื่น [เน้นโดยผู้เขียน] ไม่ว่าจะในแง่ไหน หลักการที่เป็นนวัตกรรมที่สุดของข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคติชาวบ้านนี้ กลับอยู่ในย่อหน้า B ที่ประกาศว่า “คติชาวบ้าน ในฐานะรูปแบบของการแสดงออกทางวัฒนธรรม จะต้องได้รบั ส่งเสริมรักษาโดยและเพือ่ กลุม่ (ครอบครัว อาชีพ ชาติ ภูมภิ าค ศาสนา ชาติพนั ธุ์ ฯลฯ) ซึ่งถูกถ่ายทอดอัตลักษณ์โดยคติชาวบ้านนั้น ๆ [เน้นโดยผู้เขียน] ข้อเสนอแนะนี้ได้สถาปนาหลักการ ชุดหนึ่งให้ กั บ แนวทางในการระบุ อนุ รั ก ษ์ สงวนรั ก ษา ถ่ า ยทอดและการปกป้ อ งคติ ช าวบ้ า น ในทางกฎหมายรวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือในระดับนานาชาติ ดู UNESCO, Declaration on Cultural Policies, การประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรม, เม็กซิโกซิต,ี 26 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม ค.ศ. 1982, อ่านได้จากลิงก์ http://portal.unesco.org/culture/en/files/12762/11295421661mexico_ en.pdf/ mexico_en.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010) ย่อหน้าที่ 6 ของคำ�ปรารภ. 12 เพิ่งอ้าง ย่อหน้าที่ 23. 13 ตัวบทของข้อเสนอแนะ อ่านได้จากลิงก์ http://portal.unesco.org/en/ev.php-URL_ID=13141&URL_DO=DO_ TOPIC&URL_SECTION=201.html (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010). 14 ดู เพิ่งอ้าง ประโยคแรกของคำ�ปรารภ. 15 เพิ่งอ้าง ประโยคที่ห้า. 11

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 33


ในช่วงทศวรรษ 1990 มีความพยายามส่วนหนึง่ ทีจ่ ะส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม ภายใต้บริบทการดำ�เนินงานของยูเนสโก ในจำ�นวนนัน้ ความพยายามทีโ่ ดดเด่นอันหนึง่ ทีเ่ ริม่ โดยยูเนสโก16 เมือ่ ค.ศ. 1994 ได้แก่ โครงการบุคคลทรงคุณค่าทีย่ งั มีชวี ติ ของมนุษยชาติ (Living Human Treasures programme)17 โครงการตัง้ เป้าทีจ่ ะส่งเสริมรัฐภาคีให้รบั รองฐานะอย่างเป็นทางการของผูธ้ �ำ รงรักษา ประเพณีดั้งเดิมและช่างฝีมือ ซึ่งเป็นเจ้าของความรู้และทักษะระดับสูงในการประกอบพิธีกรรมหรือ สร้างสรรค์องค์ประกอบของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นถ่ายทอด ความรู้ วิธีปฏิบัติ และทักษะของตนเองไปสู่คนรุ่นใหม่ ใน ค.ศ. 1996 รายงานของคณะกรรมาธิการว่าด้วยวัฒนธรรมและการพัฒนาเน้นยํ้าว่า การพัฒนาได้สร้างความท้าทายใหม่ส�ำ หรับการอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรม มันไม่เพียงแต่ จะมีช่องว่างมหาศาลระหว่างวิธีการและเป้าหมาย แต่นิยามของมรดกวัฒนธรรม ก็ ยั ง แคบเกิ น ไป มั น ก่ อ ให้ เ กิ ด ความลำ � เอี ย งเข้ า ข้ า งชนชั้น นำ � โบราณสถาน กลุ่ม คนที่อ่า นออกเขี ย นได้ และสิ่ง ที่มีบ ทบาทเชิ ง พิ ธี ก าร มั น มี ค วามจำ � เป็ น ที่จะต้องทำ�การประเมินแนวคิดดังกล่าวเสียใหม่ รวมทั้งพัฒนาวิธีการที่ดีกว่าเดิม ในการระบุ แ ละตี ค วามมรดกวั ฒ นธรรม มั น มี ค วามจำ � เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ ง ทำ�ความเข้าในคุณค่าและความคาดหวังของผู้สร้างสรรค์มรดกวัฒนธรรมนั้นๆ เพราะหากปราศจากความเข้าใจดังกล่าวตัววัตถุทางวัฒนธรรมก็จะถูกฉีกออกมา จากบริบทและไม่อาจทีจ่ ะให้ความหมายได้อย่างเหมาะสม การตีความมรดกวัฒนธรรม ที่จับต้องได้จะทำ�ได้ก็โดยผ่านสิ่งที่จับต้องไม่ได้เท่านั้น18 ผ่านมาอีกหนึง่ ปี ทีป่ ระชุมใหญ่ของยูเนสโกมีมติทเ่ี ป็นการตัดสินใจ “ขับเน้นให้เห็นความสำ�คัญ ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนและประชาชาติ โดยการประกาศให้พื้นที่หรือรูปแบบ ของการแสดงออกทางวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ “มรดกมุขปาฐะของมนุษยชาติ” (oral heritage of humanity)”19 มตินน้ี �ำ ไปสูก่ ารทีค่ ณะกรรมการบริหารเริม่ ดำ�เนินโครงการประกาศยกย่องมรดกชิน้ เอก ด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Programme of the Proclamation of Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 199820

สำ�หรับการประเมินอย่างละเอียดเกีย่ วกับความริเริม่ นี้ ดู Francioni, “The Protection of Intangible Cultural Heritage: A New Challenge for UNESCO and International Law”, ใน ผู้เขียนคนอื่นๆ, Symposium: The Transmission and Present State of Cultural Heritage (2002), หน้า 68, 69 และหน้าถัดไป. 17 ดู www.unesco.org/culture/ich/index.php?pg=00061&lg=EN (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตลาคม ค.ศ. 2010). 18 ดู J. Pérez de Cuéllar et al., Our Creative Diversity (1996), อ่านได้จาก http://unesdoc.unesco.org/ images/ 0010/001055/105586e.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010) หน้า 31. 19 ดู “The oral heritage of humanity” มติลำ�ดับที่ 23 วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997. 20 ดู การตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารในการประชุมครัง้ ที่ 155 ได้ใน Dec. 155 EX/3.5.5, UNESCO, Executive Board, 155th Session, Doc. 155 EX/Decisions of 3 Dec. 1998 อ่านได้จาก http://unesdoc.unesco. org/images/ 0011/001142/114238e.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2011) หน้า 8. 16

34

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


เป้าหมายของโครงการดังกล่าว ซึง่ เป็นต้นตอของอนุสญ ั ญายูเนสโกว่าด้วยส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม ทีจ่ บั ต้องไม่ได้ (Convention for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage หรือ CSICH)21 ก็คอื การยกย่องการแสดงออกของมรดกทางวัฒนธรรม ทีจ่ บั ต้องไม่ได้ทม่ี คี วามโดดเด่นและถูกคัดเลือก มาโดยการเสนอชือ่ ของตัวแทนจากรัฐภาคีของยูเนสโก โครงการนีค้ รอบคลุมนิยามของมรดกภูมปิ ญ ั ญา ทางวัฒนธรรมที่ร่างขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิของยูเนสโก ในระหว่างการประชุมครั้งแรกของผู้ทรงคุณวุฒิ ทีเ่ จรจากันเกีย่ วกับเนือ้ หาของร่างอนุสญ ั ญาดังกล่าว22 เนือ้ หาของร่างอนุสญ ั ญามีความใกล้เคียงมาก 23 กับตัวอนุสญ ั ญาทีม่ กี ารประกาศใช้ หรือบางทีอาจจะกล่าวได้วา่ มีขอบเขตทีก่ ว้างขวางกว่าตัวอนุสญ ั ญา เสียด้วยซํ้า หลักการและเหตุผลในร่างแรกนั้นตั้งอยู่บนความเข้าใจว่า มรดกที่เป็นมุขปาฐะและจับต้องไม่ได้ถูกการรับรองโดยประชาคมระหว่างประเทศ ในฐานะของปัจจัยที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่ออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมรั ก ษาความหลากหลายทางวั ฒ นธรรม ซึ่ ง มี บทบาทสำ�คัญในการพัฒนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติการสร้างขันติธรรมและ ความกลมกลืนในการปฏิสมั พันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวตั น์ มรดกวัฒนธรรม หลายรูปแบบกำ�ลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญหาย เนื่องจากการคุกคามของ การสร้างวัฒนธรรมมาตรฐาน การขัดแย้งด้วยกำ�ลังอาวุธ และผลกระทบด้านลบ ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรม การทิ้งถิ่นในชนบท การอพยพ และความเสื่อมโทรมของ สภาพแวดล้อม24 มรดกชิน้ เอกด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ถูกคัดเลือกโดยอาศัยเกณฑ์หกข้อ ซึ่งใช้ พิจารณาให้แน่ใจว่ามรดกชิ้นเอกเหล่านั้นผ่านข้อกำ�หนดของการเป็น “สิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในฐานะ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หรือ “การแสดงออกทางวัฒนธรรมตามประเพณีและสมัยนิยมที่ มีคุณค่าโดดเด่น ในมุมมองทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม ชาติพันธุ์ ภาษาหรือวรรณคดี”25 แม้ว่า นิยามดังกล่าวจะยังคงอาศัยมโนทัศน์เรือ่ ง “คุณค่าทีโ่ ดดเด่น” (outstanding value) ก็ตาม แต่คณ ุ สมบัติ ที่มีความพิเศษนี้ก็ดำ�รงอยู่ได้โดยกระบวนการเสนอชื่อ “ที่แสดงหลักฐานสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับรากฐานของวัฒนธรรมประเพณีและประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของชุมชนที่เกี่ยวข้อง”26 เห็นชอบโดยทีป่ ระชุมใหญ่ยเู นสโก วันที่ 17 ตุลาคม 2003 ตัวบทของอนุสญ ั ญาอ่านได้จากลิงก์ http://portal.unesco.org/en/ ev. php-URL_ID=17716&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html (เข้าถึงครัง้ สุดท้ายเมือ่ วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010) 22 สถานทีจ่ ดั ประชุมคือ เมืองกรินซาเนคาวัวร์ แคว้นตูรนิ ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 14 - 17 มีนาคม ค.ศ. 2001 คำ�นิยามทีเ่ ป็น ประเด็นพิจารณาคือ “กลุ่มชน” เรียนรู้กระบวนการไปพร้อมกับความรู้ ทักษะ และการสร้างสรรค์ ซึ่งให้ทั้งสารสนเทศและ ถูกพัฒนาให้เกิดมีสารสนเทศโดยกระบวนการข้างต้น ผลผลิตทีพ่ วกเขาสร้างขึน้ รวมทัง้ ทรัพยากร พืน้ ที่ และลักษณะอย่างอืน่ ของบริบททางสังคมและธรรมชาติทจ่ี �ำ เป็นต่อความยัง่ ยืน กระบวนการเหล่านีท้ �ำ ให้ชมุ ชนทีย่ งั มีชวี ติ มีส�ำ นึกของความต่อเนือ่ งกัน กับบรรพบุรษุ และมีความสำ�คัญต่ออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมทัง้ ต่อการส่งเสริมรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ การสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ” (เอกสารในแฟ้มข้อมูลของผู้เขียน). 23 ดู ข้างล่าง หัวข้อที่ 3. 24 เอกสารในแฟ้มข้อมูลของผู้เขียน. 25 ดู www.unesco.org/bpi/intangible_heritage/backgrounde.htm (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010). 26 อ้างแล้ว. 21

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 35


และ “แสดงให้เห็นบทบาทของมรดกที่ได้รับการเสนอชื่อในฐานะเครื่องมือในการยืนยันอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนและชุมชนที่เกี่ยวข้อง” นอกจากนั้น การเน้นที่ความเป็น “อัตวิสัย” ของ เกณฑ์การคัดเลือกได้ถูกแสดงไว้ในคู่มือการทำ�ข้อมูลประกอบการเสนอชื่อผลงานชิ้นเอก (Guide for the Presentation of Candidature Files of the Masterpieces)27 ซึง่ เมือ่ พิจารณาคำ�อธิบายเกณฑ์ ของการพิสูจน์ “คุณค่าที่โดดเด่นในฐานะผลงานชิ้นเอกของการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ” ก็จะพบ ว่าข้อมูลประกอบการเสนอชื่อจะต้องแสดงให้เห็น “คุณค่าอันโดดเด่นของผลงานนั้นที่มีต่อชุมชน ทีเ่ กีย่ วข้อง... ในการธำ�รงรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมทีส่ มั พันธ์กบั (ก) รูปแบบการแสดงออก แบบอืน่ ภายในวัฒนธรรมหรือกลุม่ วัฒนธรรมนัน้ (ข) การแสดงออกของวัฒนธรรมข้างเคียงทีเ่ กีย่ วข้องกัน และ (ค) ในระดับสากล28 มโนทัศน์เรือ่ ง “คุณค่าอันโดดเด่น” นีจ้ งึ ถูกพิจารณาภายใต้มมุ มองเชิงอัตวิสยั หรืออยู่บนพื้นฐานของความสำ�คัญของมรดกนั้นต่อชุมชนที่เกี่ยวข้อง มีการประกาศยกย่องสามครั้ง โดยโครงการนี้ ใน ค.ศ.2001 ค.ศ.2003 และ ค.ศ.2005 ซึ่งให้การรับรองสถานะมรดกชิ้นเอกด้าน มุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติทั้งหมดถึง 90 รายการ ในภายหลัง รายการทั้งหมดนี้จะถูกผนวกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรายชื่อที่เป็นตัวแทนของมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ที่จัดทำ�ขึ้นตามอนุสัญญาฯ (Convention for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage หรือ CSICH) เมื่อมีการประกาศใช้ตามอำ�นาจของมาตรา 31 ในอนุสัญญา ปฏิบัติการของยูเนสโกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม บรรลุผลในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2003 เมื่อที่ประชุมใหญ่ของยูเนสโกลงมติให้ประกาศใช้อนุสัญญา CSICH อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2006 และในขณะที่เขียนบทความนี้ มี 134 ประเทศที่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้แล้ว29 [ปัจจุบันคือ 172 ประเทศ – ผู้แปล]

3. มโนทัศน์และความสำ�คัญของมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม : การประเมินเชิงวิพากษ์

มาตรา 2 ของอนุสัญญา CSICH ให้นิยามของ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ว่า หมายถึง แบบแผนการปฏิบัติ การเป็นภาพแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ รวมทั้งเครื่องมือวัตถุ ชิ้นงานศิลปะ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม ที่ชุมชน กลุ่มชน และบุคคลในบางกรณี ให้การยอมรับว่าเกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรมของตนเอง มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมนีถ้ กู สืบทอดกันมาจากรุน่ สูร่ นุ่ และถูกสร้างสรรค์ใหม่ โดยชุ ม ชนและกลุ่ ม ชนเพื่ อ สนองตอบกั บ สภาพแวดล้ อ มของตนเอง เป็ น การ ปฏิสมั พันธ์กบั ธรรมชาติและประวัตศิ าสตร์ รวมทัง้ เป็นแหล่งทีส่ ร้างความอัตลักษณ์

อ่านได้จากลิงก์ http://unesdoc.unesco.org/images/0012/001246/124628eo.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010). 28 เพิ่งอ้าง ย่อหน้าที่ 23(b)(i). 29 ดู http://portal.unesco.org/la/convention.asp?language=E&KO=17116 (เข้าถึงครัง้ สุดท้ายเมือ่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011). 27

36

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


และความต่อเนื่องของกลุ่ม ฉะนั้นมันจึงมีส่วนสำ�คัญในการส่งเสริมการเคารพต่อ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสามารถแสดงให้รู้ได้จากสิ่งต่อไปนี้ “(ก) ประเพณีและการ แสดงออกของมุขปาฐะ รวมถึงภาษาในฐานะพาหนะของมรดกทางวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้ (ข) ศิลปะ การแสดง (ค) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ (ง) ความรู้และวิถีปฏิบัติ กั บ ธรรมชาติ แ ละจั ก รวาล (จ) ฝี มื อ ช่ า งแนวประเพณี นิ ย ม” ซึ่ ง มี เ งื่ อ นไขว่ า มั น ต้ อ งเข้ า กั น ได้ กับเครือ่ งมือทางกฎหมายสำ�หรับคุม้ ครองสิทธิมนุษยชนทีม่ กี ารรับรองอยูใ่ นขณะนัน้ รวมทัง้ ข้อกำ�หนด ในการเคารพซึ่งกันและกันในระหว่างชุมชม กลุ่มชน และบุคคล รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน มีปัจจัยหลักต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดตามมา ทั้งที่เกี่ยวพันโดยนัยและที่ปรากฏออกมาอย่าง ชัดเจน หลังจากที่มีการใช้นิยามข้างต้น ซึ่งมีความสำ�คัญอย่างยิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศจะต้อง เข้าใจอย่างครบถ้วนถึงความหมายแฝงและความมีคณ ุ ค่าของมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ (ก) การที่ชุมชน กลุ่มชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้การยอมรับว่ามรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมรดกวัฒนธรรมของตนเอง (ข) การสร้างสรรค์มรดกวัฒนธรรมใหม่ อย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นปฏิกิริยาต่อวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนและกลุ่มชนที่ เกีย่ วข้อง (ค) ความเกีย่ วพันอันลึกซึง้ ระหว่างมรดกกับอัตลักษณ์ทม่ี คี วามจำ�เพาะในแง่ของผูส้ ร้างและ ผู้ถือครองมรดกวัฒนธรรมนั้น (ง) เงื่อนไขของ “ความแท้” ในฐานะที่เป็นคุณสมบัติจำ�เป็นตามนัย ของมรดกวัฒนธรรมนั้น และ (จ) ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน ในมุมมองที่ส่องทางให้แก่กัน จากมุมมองของมาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชน ทีใ่ ห้ “ความชอบธรรม” แก่มรดกวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้อง และจากมมุมมองของมรดกวัฒนธรรม ในฐานะ ทีเ่ ป็นเครือ่ งมือในการบ่มเพาะการใช้สทิ ธิมนุษยชนทีเ่ ป็นจริง ผูเ้ ขียนจะอธิบายถึงปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกัน อย่างลึกซึ้งข้างต้น ให้มีความชัดเจนในลำ�ดับต่อไป

ก. การระบุความเป็นตนเอง (Self-identification) องค์ประกอบของการใช้มรดกวัฒนธรรมฯ เพือ่ ระบุตวั ตนคือสาระสำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้เกิดความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับความแตกต่างอย่างถึงรากถึงโคนในเชิงหลักการและเหตุผลทาง “ปรัชญา” ที่อยู่ เบื้องหลังการคุ้มครอง/ส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในขณะที่มรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมได้รบั การคุม้ ครองจากนานาชาติในฐานะทีม่ คี ณ ุ ค่าสากล ในแนวทางของอนุสญ ั ญามรดกโลก30 แต่ในเกณฑ์ใหม่นี้คุณค่าอันเป็นสากลเกือบทุกข้อถูกถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ ธรรมชาติของมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วพันอยูก่ บั มรดกวัฒนธรรมใด ๆ ต้องได้รบั การยอมรับเป็นส่วนหนึง่ ของมรดกวัฒนธรรม ของชุมชน กลุ่มชน และ(บางกรณี) บุคคลที่เกี่ยวข้อง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การจัดประเภทของ วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุถูกประเมินอย่างเป็น “วัตถุวิสัย” ถึงคุณค่าที่โดดเด่น จากมุมมองที่ชื่นชมคุณค่า ที่มีความเป็นสากล ในทางกลับกัน องค์ประกอบของการระบุตัวตนทำ�ให้มรดกวัฒนธรรมมีคุณค่า ในเชิงอัตวิสัยของผู้สร้างสรรค์และผู้ถือครองมรดกวัฒนธรรม ซึ่งนับเอามรดกที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็น สาระสำ�คัญของการสืบทอดทางวัฒนธรรมทีม่ ลี กั ษณะจำ�เพาะของตนเอง แม้วา่ มันจะดูไร้คา่ อย่างสิน้ เชิง ในสายตาของคนนอกที่มองเข้าไป 30

ดู มาตรา 1 ของอนุสัญญามรดกโลก, เชิงอรรถหมายเลข 3. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 37


ข. การสร้างสรรค์ใหม่อย่างต่อเนื่อง (Constant Recreation) การระบุตัวตนผู้เป็นเจ้าของเป็นการเชื่อมโยงไปสู่ลักษณะสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมในฐานะที่ “ถูกสืบทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ [และ] ถูกสร้างสรรค์ใหม่อย่างต่อเนือ่ งโดยชุมชนและกลุม่ ชน เพือ่ สนองตอบต่อสิง่ แวดล้อม การมีปฏิสมั พันธ์กบั ธรรมชาติและประวัตศิ าสตร์ของตนเอง” อันทีจ่ ริงแล้ว เราจะระบุว่าความเป็นตัวเองกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ว่ามันเป็นตัวแทนของมรดกวัฒนธรรม ก็ต่อเมื่อมัน สะท้อนหรือไม่สะท้อนลักษณะของมรดกวัฒนธรรมนั้นมากหรือน้อยเพียงใด ในแง่นี้ การแสดงออก ทางวั ฒ นธรรมจะเป็ น ตั ว แทนของวั ฒ นธรรมใดวั ฒ นธรรมหนึ่ ง ที่ มี ชี วิ ต และเปลี่ ย นแปลงผ่าน กาลเวลาได้ ก็ด้วยการที่การแสดงออกนั้นสามารถดัดแปลงตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและขนานกันไป กับการปริวรรตของวัฒนธรรมในภาพรวม ซึ่งการแสดงออกใด ๆ ก็เป็นส่วนประกอบโดยนิยามแล้ว มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีชีวิต และการที่มีสมรรถนะที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองได้ อย่างสมา่ํ เสมอเพือ่ สนองตอบต่อวิวฒ ั นาการทางประวัตศิ าสตร์และสังคมของผูส้ ร้างสรรค์และผูถ้ อื ครอง ก็เป็นลักษณะอันมีนยั สำ�คัญทีก่ �ำ หนดความเป็นตัวเอง ดังนัน้ มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมจึงไม่ควร ถูกพิจารณาว่าเป็นสิง่ ทีค่ วรอนุรกั ษ์ไว้ภายในครอบแก้ว ดังทีเ่ กิดขึน้ กับ (โดยความเปรียบ) มรดกทีเ่ ป็น โบราณสถาน แต่มนั ควรเป็นพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรมทีต่ อ้ งมีเป้าหมายสองประการพร้อมกันในเชิงกลยุทธ์ ของการส่งเสริมรักษา ได้แก่ การดูแลให้เกิดส่งเสริมรักษามรดกนั้น และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้สร้างสรรค์และถือครองมรดกวัฒนธรรม การระบุ ลั ก ษณะที่ เ ป็ น พลวั ต ของของมรดกภู มิ ปั ญ ญาทางวั ฒ นธรรมนี้ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ประเด็นปัญหาในทางทฤษฎีกฎหมาย อันทีจ่ ริง การทีก่ ฎหมายใดจะสามารถทำ�งานได้อย่างเหมาะสม มันจำ�เป็นต้องมีนยิ ามทีช่ ดั เจนแม่นยำ�ว่ากฎหมายนัน้ จะนำ�ไปใช้กบั อะไร และนิยามนัน้ ต้องการกำ�หนด องค์ประกอบที่ทำ�ให้เราสามารถจะระบุได้อย่างชัดเจนแม่นยำ�และตลอดเวลาว่าสิ่งที่กฎเกณฑ์ระบุ ไว้ในกฎหมายนั้นคืออะไรแน่ เมื่อนำ�หลักคิดนี้มาใช้กับเรื่องของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เราก็ อาจจะสงสั ย ว่ า เป็ น ไปได้ อ ย่ า งไรที่ เราจะแน่ ใจได้ ว่ า มรดกภู มิ ปั ญ ญากำ � ลั ง ได้ รั บ ส่ ง เสริ ม รั ก ษา อย่างต่อเนือ่ ง ในเมือ่ มันมีการสร้างสรรค์ตวั เองใหม่อยูต่ ลอดเวลา และมีการเปลีย่ นแปลงองค์ประกอบ ภายในตัวมันเองอยู่เป็นประจำ� กล่าวอีกอย่างหนึ่ง หากวิธีการส่งเสริมรักษาถูกกำ�หนดโครงสร้าง ไว้ตายตัว ทั้งในแง่องค์ประกอบและกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นองค์ประกอบทางกายภาพและวัฒนธรรม ที่กำ�หนดรูปลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง การส่งเสริมรักษานั้น จะสามารถดำ�เนินไปอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรหากองค์ประกอบเหล่านัน้ เปลีย่ นแปลงไป (โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ถ้ามันเปลี่ยนไปไม่หยุดหย่อน) ในความเป็นจริง การกำ�หนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญา ทางวั ฒ นธรรมในแง่ นี้ ไ ม่ เ ป็ น อุ ป สรรคในส่ ง เสริ ม รั ก ษาอย่ า งเหมาะสม เพราะคำ � ว่ า “ส่ ง เสริ ม รักษา” (safeguarding) ไม่ควรถูกมองว่ามีความหมายเดียวกับคำ�ว่า “คุ้มครอง” (protection) ในทางตรงกันข้าม มันครอบคลุมมโนทัศน์ทม่ี คี วามเป็นพลวัตมากกว่า ซึง่ หมายความว่าการสนับสนุน ในระดั บ นานาชาติ ค วรเป็ น เพี ย งแค่ ก ารสร้ า งสภาพแวดล้ อ มที่ เ กื้ อ หนุ น ให้ ม รดกภู มิ ปั ญ ญาทาง วัฒนธรรมสามารถที่จะเคลื่อนไปได้โดยอิสระตามความจำ�เป็นและความคาดหวังของผู้สร้างสรรค์ และผู้ถือครองมรดกวัฒนธรรมนั้น กล่าวอีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่กฎหมายควรทำ�ให้เหมาะสมกับส่งเสริม รักษามรดกวัฒนธรรมก็คือการสร้างเงื่อนไขให้ผู้สร้างสรรค์และผู้ถือครองสามารถพัฒนามรดก วัฒนธรรมโดยปราศจากผลกระทบ หลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่จะมีการแทรกแซงจากภายนอกโดย 38

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ภาคส่วนของสังคมที่มีฐานะครอบงำ� จนอาจทำ�ให้การวิวัฒนาการอย่างเป็นไปเองต้องเบี่ยงเบนไป ด้วยการดำ�เนินการตามแนวทางนี้ กฎหมายก็พอทีจ่ ะอำ�นวยให้เกิดการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม อย่างเหมาะสมและยั่งยืน แม้ว่าธรรมชาติของมันคือการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ก็เป็นโชคไม่ดี ดังที่เราจะได้เห็นในลำ�ดับต่อไปว่าอนุสัญญา CSICH ไม่ได้นำ�เสนอ แนวทางที่ก่อให้เกิดเงื่อนไขจำ�เป็นดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

ค. ความเชื่อมโยงระหว่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับอัตลักษณ์ของผู้สร้าง (Creators) และผู้ถือครอง (Bearers) ลักษณะจำ�เพาะอีกประการหนึ่งของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมโยง และเกี่ ย วเนื่ อ งใกล้ ชิ ด กั บ การระบุ ค วามเป็ น ตนเองและการสร้ า งสรรค์ ใ หม่ อ ยู่ ต ลอดเวลาก็ คื อ ความเชื่อมโยงในระดับลึกกับอัตลักษณ์และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้สร้างและผู้ถือครอง มรดกวัฒนธรรมนัน้ ๆ ความเชือ่ มโยงนีป้ รากฏชัดในนิยามทีอ่ ยูใ่ นมาตรา 2 ของอนุสญ ั ญา CSICH ทีแ่ สดง ภาพของมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมว่าเป็นสิง่ ทีท่ �ำ ให้เกิด “ความรูส้ กึ ถึงอัตลักษณ์และความต่อเนือ่ ง” ของชุมชนและกลุม่ ชน นีอ่ าจจะเป็นคุณค่าหลักของมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมสำ�หรับผูส้ ร้างและ ผูถ้ อื ครองมรดกนัน้ ความสำ�คัญของมันในฐานะองค์ประกอบพืน้ ฐานของอัตลักษณ์มนี ํ้าหนักมากกว่า คุณค่าที่ “รับรูไ้ ด้จากภายนอก” ซึง่ อาจถูกระบุไว้เพือ่ ประโยชน์ทช่ี มุ ชนอืน่ ๆ จะได้รบั จากส่งเสริมรักษา มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมนัน้ อันได้แก่ความรูส้ กึ พึงพอใจจากคุณสมบัตทิ างสุนทรียะ ศิลปะ หรือ คุณสมบัติอื่น ๆ ที่รับรู้ได้จากภายนอก ดังนั้น องค์ประกอบข้างต้นยืนยันว่าการส่งเสริมรักษา มรดกวัฒนธรรม มีความสำ�คัญเป็นการเฉพาะในมุมมองเชิงอัตวิสัยของผู้สร้างและผู้ถือครอง ซึ่งให้ ความสำ�คัญแก่มรดกวัฒนธรรมนั้นเป็นพิเศษ เมื่อข้อกำ�หนดเบื้องต้นได้รับการตอบสนองแล้วดังนี้ การดำ�เนินการในระดับของการถ่ายทอดคุณลักษณะก็สามารถไปต่อได้ เพื่อให้ส่งเสริมรักษาและ การส่งมอบความสำ�นึกในอัตลักษณ์และความต่อเนือ่ งของชุมชนไปสูค่ นรุน่ ถัดไป โดยมรดกภูมปิ ญ ั ญา ทางวัฒนธรรมนั้นจะถูกแปลงไปเป็นเครื่องมือที่ผู้สร้างและผู้ถือครองใช้เพื่อ “ส่งเสริมการเคารพใน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ” ดังที่ได้มีการเน้นไว้ในตอนท้าย ของนิยามของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ความจริงที่ว่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้สร้าง และผู้ถือครองมรดกนั้น (ร่วมกับการระบุความเป็นตนเองกับมรดกนั้น) ทำ�ให้เห็นชัดว่าแนวทาง ที่อนุสัญญา CSICH ใช้นั้นเป็นการผลิตซํ้าแนวความคิดเบื้องหลังอนุสัญญามรดกโลก ซึ่งใช้ระบบ การขึ้นทะเบียนในการดำ�เนินการ วิธีการนี้ไม่อาจถือได้ว่าสอดคล้องกับธรรมชาติที่แฝงอยู่ในมรดก ภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม31 ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากการขึน้ ทะเบียนเป็นสรุปล่วงหน้าไว้กอ่ นว่ามีระบบการจัดจำ�แนก 31

ระหว่างการประชุมครัง้ ทีส่ องของผูท้ รงคุณวุฒทิ แี่ ต่งตัง้ โดยยูเนสโก เพือ่ เตรียมการร่างอนุสญ ั ญา CSICH ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ระหว่างวันที่ 22-25 มกราคม ค.ศ. 2002 ผูเ้ ขียนได้แสดงแนวความคิดไว้วา่ เนือ่ งจากลักษณะแฝงโดยธรรมชาติของมรดกภูมปิ ญั ญา ทางวัฒนธรรม อนุสญ ั ญาทีก่ �ำ ลังร่างกันอยูใ่ นขณะนัน้ จึงไม่ควรใช้กรอบการดำ�เนินการเดียวกับของอนุสญ ั ญามรดกโลก ซึง่ อาศัย การขึน้ ทะเบียนเป็นรายการ แต่ควรทีจ่ ะพัฒนาตัวแบบทีท่ �ำ ให้สามารถคุม้ ครองการแสดงออกของมรดกทีจ่ บั ต้องไม่ได้บนฐาน ของการระบุตนเองของชุมชนทีเ่ กีย่ วข้อง อย่างไรก็ตาม แม้แนวความคิดนีจ้ ะมีผทู้ รงคุณวุฒเิ ห็นพ้องด้วยเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับ ไม่ได้รับการพิจารณาจากตัวแทนของรัฐต่าง ๆ ในขั้นตอนของการเจรจาในการประชุมระหว่างรัฐบาล: ดู International Meeting of Experts, Intangible Cultural Heritage: Priority Domains for an International Convention, Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 39


การสำ�แดงของมรดกวัฒนธรรม และการขึ้นทะเบียนนำ�ไปสู่การรับรู้ความแตกต่างว่ามรดกที่ได้รับ การขึ้นทะเบียนมีความโดดเด่นกว่ามรดกที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน กล่าวอีกอย่างหนึ่ง การทำ�ให้ เกิดลำ�ดับชั้นของตัวอย่างของมรดกวัฒนธรรม (ตามที่มีการตั้งข้อสังเกตโดยตัวแทนของนอร์เวย์ใน การประชุมเจรจาเพือ่ ร่างอนุสญั ญา CSICH)32 ในทีส่ ดุ แล้วจะนำ�ไปสูก่ ารเข้าใจโดยสาธารณชนว่าตัวอย่างของ มรดกวัฒนธรรมในรายชือ่ ทีถ่ กู ขึน้ นัน้ ดีกว่าอย่างอืน่ ในขณะทีแ่ นวทางการขึน้ ทะเบียนนีอ้ าจเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำ�หรับมรดกวัฒนธรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ แต่มันกลับไม่เป็นประโยชน์เลยสำ�หรับมรดก ที่จับต้องไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าความสำ�คัญของมันไม่ได้อยู่ที่คุณสมบัติภายนอก แต่อยู่ที่ความสำ�คัญ ของมันต่อผูส้ ร้างและผูถ้ อื ครองมรดกนัน้ ดังนัน้ การขึน้ ทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจึงคล้ายจะเป็นการจัด ประเภทของชุมชนที่สร้างมรดกวัฒนธรรมขึ้น และบ่งชี้โดยนัยว่าชุมชนที่มรดกวัฒนธรรมได้รับ การขึน้ ทะเบียนนัน้ มีคณ ุ ค่ามากกว่าชุมชนอืน่ คล้ายการประกวดประชันกันระหว่างศิลปินต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลงาน เข้าประกวด โดยมีกรรมการเป็นผู้ตัดสินว่าใครควรจะได้รับรางวัล กรรมการจะพยายามหาข้อตกลง ให้ได้วา่ ผลงานชิน้ ไหนดีทส่ี ดุ ในการประกวด และ (แม้จะเป็นการรับรูโ้ ดยนัยว่า) ใครเป็นศิลปินทีด่ ที ส่ี ดุ ที่เข้าร่วมในการแข่งขั้นครั้งนั้น แน่นอนว่านี่ไม่ใช่จุดหมายที่การส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม ควรจะมุ่งไป ถ้าจุดหมายคือการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรมทั้งหมด และการ“สร้างหลักประกัน ของการเคารพในมรดกภู มิปัญ ญาทางวั ฒ นธรรมของชุ ม ชน กลุ่ม ชน และบุ ค คลที่เ กี่ย วข้ อ ง” ดังที่ได้มีการยํ้าไว้ในมาตรา 1 ของอนุสัญญา CSICH การแสดงเหตุผลข้างต้นอาจถูกโต้แย้งถึงความสมเหตุสมผลได้ โดยการยืนยันว่ารายชื่อของ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนั้นเป็นการทำ�ไป “เพื่อสร้าง ความเป็นทีร่ จู้ กั เพิม่ ขึน้ ให้แก่มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม เพือ่ การสร้างความตระหนักถึงความสำ�คัญ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดการสนทนาที่เคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม”33 และการทำ�เช่นนั้น ไม่ได้หมายความว่า มีการจัดประเภทของการแสดงออกทางมรดกวัฒนธรรมบนฐานของคุณภาพ และคุณค่าที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าข้อโต้แย้งข้างต้นอาจเป็นจริงในทางทฤษฎี แต่ในทาง ปฏิบัติแล้วไม่น่าเป็นไปได้เลยที่รายการมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจะไม่ทำ�ให้สาธารณชน รับรูไ้ ปว่าเป็นการจัดประเภททีใ่ ช้คณ ุ ค่ากำ�หนด โดยเฉพาะเมือ่ มันเป็นมรดกวัฒนธรรมทีอ่ ยูใ่ นประเภท เดียวกัน (ยกตัวอย่างเช่น ดนตรี หรือศิลปะการแสดง ที่ดูเผิน ๆ แล้วมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน แต่ใน ความเป็นจริงแล้วมีความแตกต่างกันมากเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่ามันต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนทีแ่ ตกต่างกัน) ในทีส่ ดุ แล้วประสบการณ์จากการดำ�เนินการเกี่ยวกับ อนุสัญญามรดกโลก (ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตไว้ข้างต้นว่าถูกใช้เป็นตัวแบบของอนุสัญญา CSICH) ได้แสดง ให้เห็นว่าแม้เนื้อหาของอนุสัญญาจะบอกว่าการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมต้องไม่ถูกจำ�กัดเฉพาะ

Rio de Janeiro, Brazil, 22-24 Jan. 2002, Final Report, อ่านได้จาก: www. unesco.org/culture/ich /doc/src/00074-EN.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2010), หน้า 8. 32 ดู J. Blake, Commentary on the UNESCO 2003 Convention on the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage (2006), หน้า 79. 33 ดู มาตรา 16 (1) CSICH.

40

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


มรดกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเท่านั้น34 แต่เนื้อหาดังกล่าวไม่ได้ถูกนำ�ไปปฏิบัติและความใส่ใจในการ ดูแลนั้นถูกจำ�กัดเฉพาะสถานที่ที่มีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก35 นอกเหนือจากนัน้ มันแทบเป็นไปไม่ได้ทจ่ี ะกล่าวว่ารายชือ่ ตัวแทนมรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ซึ่ง เป็นแกนกลางของส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ เป็นการเสนอหลักประกันทางกฎหมาย ให้แก่มรดกวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้อง ในทางตรงข้ามมันได้กลายเป็นเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยให้รฐั ภาคีเพิม่ ความเป็นที่ รูจ้ กั เพราะเหตุทม่ี มี รดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมอยูภ่ ายในดินแดนของตนเอง ในแง่น้ี เป็นทีน่ า่ สังเกต ว่าอนุสญั ญา CSICH ในภาพรวมขาดแคลนหลักประกันทางกฎหมายสำ�หรับมรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม อันที่จริงแล้ว เนื้อหาส่วนใหญ่ในอนุสัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมในระดับชาติ เพียงเสนอแนะให้รัฐภาคีเพียรพยายามที่จะออกมาตรการอันเหมาะสมเพื่อ ส่งเสริมรักษาการกำ�หนดบทบาทของรัฐภาคีไว้แค่น้เี ป็นการกีดกันไม่ให้บทบัญญัติของกฎหมายมีผล ผูกพัน (และนำ�ไปสูห่ ลักประกันทางกฎหมายสำ�หรับมรดกฯ) ถึงแม้วา่ จะมีขอ้ ผูกพันโดยทัว่ ไปว่ารัฐภาคี “จะดำ � เนิ น มาตรการที่จำ� เป็ น เพื่อ ให้ ม่ัน ใจว่ า จะมี ส่ง เสริ ม รั ก ษามรดกภู มิปัญ ญาทางวั ฒ นธรรม ภายในเขตแดนของตัวเอง” ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 11 (a) ของอนุสัญญา แนวทางดังกล่าวได้รบั การยืนยันโดยบทบัญญัตใิ นอนุสญ ั ญา CSICH ทีว่ า่ ด้วยความเกีย่ วข้อง ของชุมชนและกลุม่ ชน (รวมทัง้ บุคคล) ทีเ่ กีย่ วข้องกับการระบุและการจัดการมรดกวัฒนธรรมฯ ในเชิงของ ความหมายแฝงของมรดกวัฒนธรรมฯ ทีผ่ กู พันอยูก่ บั อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผูส้ ร้างและผูถ้ อื ครอง (รวมทั้งเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่การใช้เพื่อระบุตนเองและการสร้างสรรค์ใหม่ ตลอดเวลา) มันประจักษ์ชดั ว่าการส่งเสริมรักษามรดกอย่างเหมาะสมจะบรรลุได้กด็ ว้ ยการสร้างหลักประกัน ว่าชุมชน กลุ่มชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่โชคร้ายที่แนวทางแบบเน้นรัฐเป็นศูนย์กลางเป็นฝ่ายที่ชนะในการประชุมเจรจาเพื่อจัดทำ�ร่าง อนุสัญญา CSICH และทำ�ให้องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนมีบทบาทรอง อันที่จริง ถึงแม้ว่า ในท้ายที่สุดจะสามารถรักษาเนื้อหาเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของชุมชนเอาไว้ได้ ซึ่งต้อง ขอบคุณความพยายามในการคัดค้านของตัวแทนเสียงข้างน้อย (โดยเฉพาะตัวแทนจากฮังการีและอิตาลี) บทบัญญัตทิ เ่ี หลืออยูก่ ไ็ ม่สามารถก่อให้เกิดผลผูกพัน ทีท่ �ำ ให้รฐั ภาคีตอ้ งดำ�เนินการอย่างจริงจังให้เกิด การมีสว่ นร่วมของชุมชนทีเ่ กีย่ วข้อง โดยเฉพาะในมาตรา 11 (b) ทีก่ �ำ หนดให้รฐั ภาคี “ระบุและนิยาม องค์ประกอบต่าง ๆ ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ภายในเขตประเทศของตน โดยการ มีสว่ นร่วมของชุมชน กลุม่ ชน และองค์กรพัฒนาเอกชนทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง [เน้นโดยผูเ้ ขียน] คล้าย ๆ กันนัน้ มาตรา 15 ของอนุสญ ั ญายังใช้มาตรการทีไ่ ร้ผลในทางกฎหมายโดยเน้นให้รฐั ภาคี “พยายามทำ�ให้แน่ใจ ว่าเกิดการมีสว่ นร่วมอย่างกว้างขวางทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นได้ของฝ่ายชุมชน กลุม่ ชน และในกรณีทเ่ี หมาะสม ให้รวมถึงบุคคล ซึง่ เป็นผูส้ ร้าง ธำ�รงรักษา และส่งต่อมรดก [วัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้] และเปิดโอกาส ดู มาตรา 12 ซึ่งกล่าวว่า “ข้อเท็จจริงที่ว่าสมบัติในขอบข่ายของมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติมิได้มีการบรรจุไว้ใน รายการใดรายการหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงไว้ในย่อหน้าที่ 2 และ 4 ของมาตรา 11 ไม่สามารถตีความได้ว่ามันไม่ได้มีคุณค่าที่โดดเด่น และเป็นสากล เพียงเพราะเหตุผลเดียวที่ว่ามันมันไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียน” 35 ดู Lenzerini, “Article 12. Protection of Properties Not Inscribed on the World Heritage List”, ใน F. Francioni, with F. Lenzerini (eds.), The World Heritage Convention. A Commentary (2008), หน้า 201 เป็นต้นไป. 34

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 41


ให้ผเู้ กีย่ วข้องเหล่านัน้ ร่วมในการจัดการในฐานะผูก้ ระทำ�การ” จากเหตุผลทีย่ กมาข้างต้น ทำ�ให้เห็นได้ชดั เป็นอย่างยิ่งว่าการระบุและการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยปราศจากการเข้ามามีส่วน ของกลุม่ และชุมชน (และบุคคล) ได้ท�ำ ให้เกิดความแย้งกันเองระหว่างภาคีทม่ี สี ว่ นเกีย่ วข้อง แนวทาง ที่เน้นรัฐเป็นหลักในการจัดการมรดกภูมิปัญญาอาจจะไม่มีประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายของ การส่งเสริมรักษาอย่างเหมาะสม ในกรณีที่มรดกที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นผลผลิตและเป็นองค์ประกอบ ของอัตลักษณ์ของกลุ่มและชุมชนที่มีผลประโยชน์ไม่สอดคล้องกันกับของรัฐบาลของรัฐที่มรดก นัน้ ตัง้ อยูภ่ ายในเขตแดน รัฐอาจจะพัฒนากลยุทธ์ทว่ั ไปสำ�หรับส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม ในดินแดน ของตน ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความหลากหลายที่ดำ�รงอยู่ในการแสดงออกของมรดก ทางวัฒนธรรมนัน้ ๆ ในระยะยาว การพัฒนาแนวทางทัว่ ไปทีส่ ามารถนำ�ไปใช้ได้แบบถ้วนหน้าอาจนำ�ไปสู่ การทำ�ให้มรดกวัฒนธรรมมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันหรืออย่างน้อยก็ทำ�ให้เกิดการปรับลักษณะ บางอย่างทีเ่ คยแตกต่างกันเพือ่ ให้เข้ากันได้กบั ข้อกำ�หนดทีใ่ ช้ในเกณฑ์ระดับชาติ ผลสืบเนือ่ งของการทำ�ให้ เป็นมาตรฐานเดียวกันนี้ก็คือการสูญเสียความแท้ของมรดกวัฒนธรรม ซึ่งจะทำ�ให้เกิดการลดทอน คุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นการลดทอนหลักการสำ�คัญของส่งเสริมรักษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไปในตัวด้วย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้นอาจได้รับ การปรับปรุงเมื่อนำ�อนุสัญญา CSICH ไปใช้ปฏิบัติ ด้านที่เป็นคุณต่อปฏิบัติการส่งเสริมรักษาได้ถูก กำ�หนดไว้ในแนวทางดำ�เนินการเพือ่ นำ�อนุสญ ั ญาไปใช้สงวนรักษามรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม ซึง่ ได้รบั การเห็นชอบโดยที่ประชุมใหญ่ของตัวแทนรัฐภาคีตามอนุสัญญาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 และ แก้ไขเพิ่มเติมในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 201036 อันที่จริง แนวทางดำ�เนินการได้เสนอแนะว่าให้คณะ กรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม37 (ก่อตั้งตามมาตรา 5 ของ อนุสัญญา CSICH) สนับสนุนให้รัฐภาคี “จัดการความร่วมมือที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง ชุมชน กลุ่ม และในบางกรณีรวมถึงบุคคล ที่เป็นผู้สร้าง ธำ�รงรักษา และส่งต่อมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม” รัฐภาคีถูกร้องขอให้ “สร้างหน่วยงานที่ปรึกษาหรือกลไกความร่วมมือเพื่ออำ�นวยให้เกิด การมีสว่ นร่วม” ระหว่างฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องข้างต้นในกระบวนการระบุและจัดการมรดกวัฒนธรรม38 รวม ทัง้ ให้ความเห็นชอบในมาตรการอืน่ ๆ หลายประเภท เพือ่ ทีจ่ ะอำ�นวยให้การเข้ามามีสว่ นของภาคีตา่ ง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายของอนุสัญญา39 ยิ่งไปกว่านั้น ข้อความสำ�คัญในย่อหน้าที่สองของแนวทาง ปฏิบตั กิ าร ได้แก่ การรวบรวมมรดกภูมปิ ญ ั ญาวัฒนธรรม เพือ่ ขึน้ ทะเบียนในรายการของตัวแทนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ข้อกำ�หนดนี้ระบุว่า “องค์ประกอบที่ถูกเสนอชื่อต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่ม และบุคคล ด้วยความสมัครใจและมีการแสดงความยินยอมล่วงหน้า โดยได้รบั การบอกกล่าวไว้กอ่ น” แม้รฐั ภาคีจะยังคงบทบาทพืน้ ฐานในการตัดสินว่าการแสดงออกของ มรดกวัฒนธรรมเรื่องใดจะได้รับการเสนอชื่อให้ประกาศทะเบียนไว้ในรายการของยูเนสโก

เอกสารฉบับเต็ม Operational Directives อ่านได้จาก : www.unesco.org/culture/ich/index.php?lg=en&pg=00026 (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2010). 37 อ้างแล้ว, ย่อหน้า 79. 38 อ้างแล้ว, ย่อหน้า 80. 39 อ้างแล้ว, ย่อหน้า 81 เป็นต้นไป. 36

42

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ง. ความแท้ (Authenticity) เงือ่ นไขของความแท้ ดังทีเ่ อ่ยไว้ในตอนท้ายของหัวข้อก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ประเด็นทีม่ กี ารกล่าวถึง อย่างตรงตัวในมาตรา 2 ของอนุสัญญา CSICH แม้กระนั้นมันก็เป็นสิ่งที่มีการกล่าวโดยนัย ว่าเป็น ข้อกำ�หนดที่สำ�คัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ว่าเป็นคุณค่าที่ควรส่งเสริมรักษาจากมุมมอง ทางกฎหมาย อันทีจ่ ริงมันเป็นสาระสำ�คัญทีม่ รดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมต้องคงรักษาความแท้เอาไว้ ในฐานะทีม่ คี วามยึดโยงแน่นหนากับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผูส้ ร้างและผูถ้ อื ครองมรดกวัฒนธรรม ดังนั้น การสูญเสียความแท้อาจนำ�ไปสู่การสร้างมรดกวัฒนธรรมที่เป็นของประดิษฐ์ข้ึนเทียมของเดิม ซึ่งไม่มีการยึดโยงกับลักษณะจำ�เพาะของวัฒนธรรมของชุมชน กลุ่มชน และ/หรือบุคคลที่มรดกนั้น เป็นส่วนหนึ่งในเชิงวัฒนธรรม ดังนั้นมันจึงสูญเสียองค์ประกอบเดิมที่ใช้จำ�แนกความเป็นตัวตน เมื่อ กระบวนการนี้เกิดขึ้น มรดกทางวัฒนธรรมที่เราพิจารณาก็จะไม่ถูกจัดว่าเป็น “มรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม” อีกต่อไป ตามความหมายของคำ� ๆ นี้ที่มีคุณค่าพึงรักษาตามกฎหมายระหว่างประเทศ การสูญเสียความแท้เป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะเมื่อมรดกทางวัฒนธรรมถูกจัดการ โดยหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งให้ความสำ�คัญกับผลประโยชน์ที่นอกเหนือไปจากของผู้สร้างและผู้ถือครอง มรดกวัฒนธรรมนั้น ยกตัวอย่างเช่น รัฐภาคีอาจมีความโน้มเอียงที่จะยอมรับเอาลักษณะบางอย่าง ของมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม ทีส่ อดคล้องกันกับความคาดหวังของบางภาคส่วนในสังคมทีม่ สี ถานะ ครอบงำ�อยู่ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากผลประโยชน์ของชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับมรดกทาง วัฒนธรรมที่มีกรณีอยู่ หรือมันอาจที่จะเป็นไปได้ว่าพลังขับเคลื่อนในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม เป็นเรือ่ งของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น เมือ่ หน่วยงานรัฐทีม่ ศี กั ยภาพสูงสักหน่วยงานหนึง่ พยายามที่จะสร้างให้มรดกทางวัฒนธรรมอันหนึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งก็ทำ�ให้มีความจำ�เป็น ที่มรดกทางวัฒนธรรมอันนั้นต้องถูกปรับให้เข้ากันกับความต้องการจำ�เป็นและความคาดหวังของ นักท่องเที่ยว สถานการณ์ของการสูญเสียความแท้ของมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก อีกสถานการณ์หนึ่ง ก็คือการที่มันต้องถูกปรับให้เข้ากันกับลักษณะเหมารวมของ “ความรู้สึกผิดชอบ ชัว่ ดีของสาธารณะ” ซึง่ กำ�ลังเป็นทีย่ อมรับอย่างแพร่หลายอยูใ่ นช่วงเวลาหนึง่ และไม่ได้มที ศั นะทีเ่ ป็น คุณต่อลักษณะบางด้านของมรดกวัฒนธรรมนัน้ ๆ (ตัวอย่างเช่น เมือ่ มรดกทางวัฒนธรรมนัน้ มีการแสดงออก ทีเ่ กีย่ วข้องกันกับการใช้ประโยชน์จากสัตว์) สิง่ เหล่านี้ (และอืน่ ๆ) นำ�ไปสูก่ ารเสือ่ มทรามลงของความแท้ และส่งผลให้เกิดการเสือ่ มคุณค่าในทางวัฒนธรรมและในทางกฎหมายของมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม ในลำ�ดับถัดมา อาจเป็นความโชคดีที่เรายังกล่าวได้ว่า เมื่อพิจารณาในประเด็นที่เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมได้นี้ คำ�ว่า “ความแท้” (authenticity) ไม่ได้ถือว่ามีความหมายเท่ากันกับคำ�ว่า “ความดั้งเดิม” (originality) สมการที่จัดวางความแท้ให้เท่ากับความดั้งเดิม เป็นการพิจารณาที่ใช้ งานได้กับมรดกวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ เพราะระดับของความแท้ถูกวัดโดยการดูว่ามรดกวัฒนธรรมที่ มีการพิจารณาอยู่นั้นยังคงลักษณะดั้งเดิมไว้มากน้อยเพียงใด แม้กระทั่งเมื่อคุณค่าทางวัฒนธรรมของ มรดกที่จับต้องได้ถูกกำ�หนดโดยการเปลี่ยนแปลงที่จำ�เพาะเจาะจง ของบริบททางประวัติศาสตร์ แต่ ความแท้ของสถานที่ที่เป็นมรดกวัฒนธรรมนั้นก็จะถูกกำ�หนดไว้อย่าง “ตายตัว” ณ ห้วงเวลาใดเวลา หนึ่งเมื่อชุมชนระหว่างประเทศตัดสินใจที่จะให้มันกลายเป็นวัตถุที่ได้รับการคุ้มครอง เป้าหมายก็คือ Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 43


การทำ�ให้สถานะของมันคงที่ในห้วงเวลาที่มีความแน่นอนห้วงหนึ่ง เพื่อจะได้สงวนรักษามันไว้เพื่อ ประโยชน์ของคนรุ่นอนาคต ในทางตรงกันข้าม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นมรดกวัฒนธรรม ที่มีพลวัตในลักษณะที่กล่าวยํ้าไปแล้วข้างต้น มันถูกสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาผ่านวิวัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ของผู้สร้างและผู้ถือครองมรดกวัฒนธรรมนั้น ดังนั้น การส่งเสริมรักษาความแท้ ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจึงหมายถึงการอนุญาตให้มรดกวัฒนธรรมที่กำ�ลังถูกพิจารณานั้น สามารถจะถูกปรับแต่งให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน กลุ่มชน และ/หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับมัน ผ่านการสร้างสรรค์ตัวเองใหม่อย่างอัตโนมัติ เพื่อที่จะสามารถเป็นภาพสะท้อน ของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมและสังคมของชุมชน กลุ่มชน และ/หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น จ. ความสัมพันธ์ระหว่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชน การดำ�รงอยู่ของความสัมพันธ์ระหว่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชนมี ความชัดแจ้งตามมุมมองต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ มุมมองแรก เป็นที่แน่ชัดว่าความมีลักษณะจำ�เพาะของ มรดกทางวัฒนธรรมคือองค์ประกอบพืน้ ฐานของอัตลักษณ์ของผูส้ ร้างและผูถ้ อื ครองมรดก ลักษณะจำ�เพาะ นีม้ นี ยั ผูกพันกับการคุม้ ครองสิทธิมนุษยชน (ได้แก่ สิทธิทางวัฒนธรรม) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้อเท็จจริง ที่ว่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ดังนั้นผล สืบเนื่องของการที่มรดกวัฒนธรรมนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างพอเพียง ก็คือการปล่อยให้เกิด การละเมิดสิทธิในเสรีภาพทางความคิด สำ�นึกผิดชอบชัว่ ดี และศาสนา ดังทีเ่ ห็นได้ในมาตรา 18 ของ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)40 และมาตรา 18 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR)41 อันทีจ่ ริงสิทธิทก่ี �ำ ลังกล่าวถึงนีม้ ผี ลผูกพันถึง “เสรีภาพ ทัง้ ในส่วน ของสิทธิสว่ นบุคคลหรือสิทธิทม่ี รี ว่ มกันกับบุคคลอืน่ ในชุมชน ทัง้ ในสถานทีส่ าธารณะและส่วนตัวทีจ่ ะ แสดงออกทางศาสนาและความเชือ่ ของตนในการบูชา การทำ�ตามข้อกำ�หนด วัตรปฏิบตั ิ และคำ�สอน”42 ในคำ�อธิบายทั่วไปเกี่ยวกับมาตรา 18 ของกติการะหว่างประเทศฯ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (Human Rights Committee หรือ HRC) ได้ประกาศว่า เสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนาและความเชื่อ ด้วยการเคารพบูชาการทำ�ตาม ข้อกำ�หนดวัตรปฏิบัติ และการสอน ครอบคลุมการกระทำ�ที่หลากหลายมโนทัศน์ เรื่องการเคารพบูชาครอบคลุมการกระทำ�ที่เป็นพิธีกรรมและพิธีการ เปิ ด โอกาส สำ�หรับการแสดงออกความเชื่อโดยตรง รวมทั้งการปฏิบัติที่เป็นส่ ว นหนึ่ ง ของ การกระทำ � นั้ น ได้ แ ก่ การสร้ า งสถานที่ เ พื่ อ การบู ช าสู ต รและวั ต ถุ ที่ เ กี่ ย วกั บ พิ ธี ก รรม การแสดงสั ญ ลั ก ษณ์ และการปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำ � หนดที่ เ กี่ ย วกั บ วั น หยุ ด และวั น พั ก ผ่ อ นการปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำ � หนดและวั ต รปฏิ บั ติท างศาสนา และความเชื่ อ อาจจะไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง เพี ย งการกระทำ � ที่ เ ป็ น พิ ธี ก าร แต่ ยั ง รวมถึงขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำ�หนดในการบริโภคอาหาร UN GA Res. 217A (III), 1948, UN Doc. A/ 810 (1948). 999 UNTS 171. 42 ดู อ้างแล้ว, มาตรา 18. 40 41

44

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


การสวมเสื้อผ้าที่มีลักษณะเฉพาะหรือการคลุมศีรษะ และภาษาที่ใช้พูดกันเฉพาะ ภายในกลุม่ ชนใดกลุม่ ชนหนึง่ 43 อย่างที่สังเกตได้โดยง่ายตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ถูกกล่าวถึงนี้เป็นการเสนอว่าการสำ�แดงของมรดก ทางวัฒนธรรมมีความเชือ่ มโยงกับอัตลักษณ์ของชุมชนที่บุคคลเป็นสมาชิกอยู่” นอกจากนัน้ มาตรา 27 ของกติการะหว่างประเทศฯ ได้ระบุถงึ สิทธิทางวัฒนธรรมเป็นการเฉพาะ โดยกล่าวว่า “ในรัฐภาคีใด ๆ ที่มีชนกลุ่มน้อยทางด้านชาติพันธุ์ ทางด้านศาสนา หรือทางด้านภาษา อาศัยอยู่ บุคคลที่สังกัดอยู่ในชนกลุ่มน้อยนั้นจะต้องไม่ถูกปฏิเสธสิทธิที่จะปฏิบัติตนตามวัฒนธรรม ของตัวเองในชุมชนที่อยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่น ในอันที่จะประกาศและปฏิบัติศาสนาหรือใช้ภาษาของ ตัวเอง” ตามคำ�อธิบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน การจะปฏิบัติตามกฎหมายนี้ได้อย่างถูกต้อง จะต้องมีการคุ้มครองสิทธิร่วมของชุมชนที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นสมาชิกอยู่อย่างเหมาะสมด้วย เนื่องจากว่า “ถึงแม้สิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 27 จะเป็นสิทธิส่วนบุคคลแต่มันก็จำ�เป็น ต้องอาศัยความสามารถของชนกลุม่ น้อยในอันทีจ่ ะธำ�รงรักษาวัฒนธรรม ภาษา หรือศาสนา”44 ด้วยเหตุนเ้ี อง มันจึงส่งผลผูกพันให้ “รัฐภาคีต้องมีมาตรการเชิงบวก ที่จำ�เป็นสำ�หรับการคุ้มครองอัตลักษณ์ของ ชนกลุ่มน้อยและสิทธิของสมาชิกในกลุ่มชนนั้น ให้สามารถปฏิบัติและพัฒนาวัฒนธรรมและภาษา และปฏิบัติศาสนาในชุมชนร่วมกับสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม”45 ผลสัมฤทธิ์ที่เหมาะสมตามข้อผูกพันนี้ มีความสำ�คัญต่อการทำ�ตามข้อกำ�หนดในการส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ดังที่พบ ข้อยืนยันในคำ�แถลงของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งยํ้าถึงความจำ�เป็นในการคุ้มครองสิทธิที่ระบุ ไว้ในมาตรา 27 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เพือ่ ทีจ่ ะ “ขับเคลือ่ น ไปสูก่ ารประกันการอยูร่ อดและการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ศาสนาและสังคม ของชนกลุม่ น้อยทีเ่ กีย่ วข้อง อันจะส่งผลให้เกิดความรุม่ รวยของสังคมได้ในภาพรวม”46 มีขอ้ พึงสังเกต อีกประการหนึ่งว่ามาตรา 27 ของกติการะหว่างประเทศฯ ได้ถูกนำ�มากล่าวไว้อีกครั้งในลักษณะที่ แทบจะเหมือนกันทุกประการในมาตรา 30 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก47 โดยอนุสัญญานี้กล่าวไว้ ในมาตรา 29 (d) ว่า การศึกษาของเด็กต้องดำ�เนินไปในลักษณะที่นำ�ไปสู่การพัฒนา “อัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรม ภาษา และคุณค่าของพวกเขาและเธอ” บทบัญญัตทิ างกฎหมายทีเ่ พิง่ พรรณนาไปแล้วข้างต้นได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการส่งเสริม รักษามรดกวัฒนธรรมเป็นข้อกำ�หนดเบื้องต้นที่มีความจำ�เป็นในการสร้างหลักประกันที่มีประสิทธิภาพ ให้กับสิทธิมนุษยชนบางเรื่อง เพื่อเอื้อประโยชน์กับบุคคลและชุมชนที่เกี่ยวข้อง ในทางปฏิบัติ สิง่ เหล่านีถ้ กู แปลงไปเป็นข้อกำ�หนดสำ�หรับรัฐภาคี เพือ่ ให้มหี ลักประกันว่าบุคคลและชุมชนทีเ่ กีย่ วข้อง สามารถที่จะเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของตัวเอง อันที่จริง ดู Human Rights Committee, General Comment 22, มาตรา 18 (Forty-eighth session, 1993), UN Doc. HRI\ GEN\1\Rev.1 หน้า 35 (1994), ย่อหน้า 4 [เน้นโดยผู้เขียน]. 44 ดู General Comment 23, มาตรา 27 (Fiftieth session, 1994), UN Doc. HRI\GEN\1\Rev.1 at 38 (1994), ย่อหน้า 6.2. 45 อ้างแล้ว. 46 อ้างแล้ว, ย่อหน้า 9 [เน้นโดยผู้เขียน]. 47 UN GA Res. 44/25 (1989). 43

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 45


การแปลงข้อผูกพันทางด้านสิทธิมนุษยชนไปสูก่ ารปฏิบตั ติ ามทีส่ รุปใจความสำ�คัญไว้โดยคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนว่า “ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบังคับใช้โดยตราไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น ซึ่งบ่อยครั้งไม่มีความเพียงพอในตัวของมันเอง ดังนั้นจึงมีความจำ�เป็นที่รัฐภาคีจะต้องดำ�เนินการ เพือ่ สร้างหลักประกันว่าบุคคลทีอ่ ยูภ่ ายในรัฐสามารถใช้สทิ ธิได้อย่างทัว่ ถึง ในแง่นท้ี �ำ ให้รฐั ภาคีตอ้ งดำ�เนิน กิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงจำ�นวนหนึ่ง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบุคคลจะได้มีโอกาสใช้สิทธิ”48 เมื่อคำ�นึง ถึงมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม สิง่ นีไ้ ด้แปลงไปเป็นข้อผูกพัน ทีไ่ ม่ใช่เป็นเพียงการป้องกันการแทรกแซง โดยตรงจากเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนและบุคคลเข้าถึงสิทธิในมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม แต่ยังเป็นการสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมในการสร้างหลักประกันว่ามรดกที่เกี่ยวข้องจะ ได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างมีประสิทธิภาพตามความจำ�เป็นและความคาดหวัง หลั ก การที่ ถู ก นำ � เสนอโดยคณะกรรมการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนยั ง มี ก ารนำ � ไปประยุ ก ต์ ใช้ ใ น การปฏิบตั ขิ องศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกา49 กรณีตวั อย่างทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งนี้ เป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในประเทศซูรินาเม ซึ่งที่นั่นมีชุมชนดั้งเดิมถูกขัดขวางไม่ให้จัดการเคารพศพตามประเพณี ของตัวเอง(ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่จับต้องไม่ได้ของวัฒนธรรม) ในคำ�พิพากษาเมื่อ ค.ศ. 2005 ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกาตัดสินว่ารัฐบาลซูรินาเมละเมิดบทบัญญัตมิ าตราที่ 5 (1) ของอนุสญ ั ญา สิทธิมนุษยชนแห่งอเมริกา ซึง่ คุม้ ครองสิทธิในร่างกาย จิตใจ และการยึดมัน่ ในศีลธรรม ดังนัน้ การกระทำ� ของรัฐบาลซูรินาเมจึงถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อสมาชิกของชุมชนดังกล่าวข้อสรุปนี้ได้มาจาก การพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า หากปราศจากการประกอบพิธศี พต่าง ๆ ตามประเพณีของชาวอึนด์จกู า (N’djuka) จะถือว่าเป็นการละเมิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งผลของมันไม่เพียงแต่จะทำ�ให้ วิ ญ ญาณของผู้ ต ายโกรธแล้ ว ก็ ยั ง จะเป็ น การลบหลู่ บ รรพบุ รุ ษ ของชุ ม ชนสิ่ ง นี้ จะนำ�ไปสู่ “การเจ็บป่วยที่มีเหตุจากจิตวิญญาณ”ซึง่ จะปรากฏเป็นอาการเจ็บป่วย ทางด้านร่างกายด้วย และอาจส่งผลร้ายต่อเครือญาติท้ังหมดสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้ สมาชิกของชุมชนโมอิวานา (Moiwana) ต้องทนทุกข์กค็ อื การทีพ่ วกเขาไม่ทราบว่า เกิดอะไรขึน้ กับซากร่างของคนทีพ่ วกเขารัก และผลของมันก็ท�ำ ให้พวกเขาไม่สามารถ เคารพและฝังศพเหล่านั้นได้ตามขนบธรรมเนียมในวัฒนธรรมอึนด์จูกาได้50 ในคำ�วินจิ ฉัยส่วนตัวของผูพ้ พิ ากษา คานซาโด ตรินดาเด (Cançado Trindade)ได้เน้นให้เห็นว่า เพี ย งแค่ อ นุ ญ าตให้ ชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม ได้ แ สดงความเคารพแก่ ผู้ ต ายด้ ว ยการประกอบพิ ธี ก รรม ตามประเพณี ข องพวกเขา ก็ จ ะยั ง ความเป็ น ไปได้ ท่ีจ ะรั ก ษาความทรงจำ � ร่ ว มของชุ ม ชนเอาไว้ ไม่ ใ ห้ สูญ หายได้ ผลของการพิ จ ารณาคดี ท่ยี กมาข้างต้น คือข้อกำ�หนดเบื้องต้นที่เป็นสาระสำ�คัญ ของส่งเสริมรักษาสิทธิในชีวิตตามความหมายกว้าง ซึ่งหมายรวมไปถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ดู Human Rights Committee, General Comment 3, Article 2 - Implementation at the national level (Thirteenth session, 1981), UN Doc. HRI\GEN\1\Rev. 1 at 4 (1994), ย่อหน้า 1. 49 OAS Treaty Series No. 36. 50 ดู คดีพพิ าทระหว่างหมูบ่ า้ นโมอิวานากับรัฐบาลซูรนิ าเม, Series C No. 124, Preliminary Objections, Merits, Reparations and Costs, judgment of 15 June 2005, อ่านได้จาก : www.corteidh.or.cr/docs/casos/articulos/ series_124_ ing.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2010), ตั้งแต่หน้า 98 เป็นต้นไป. 48

46

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ทีแ่ สดงออกผ่านการยอมรับในสายใยยึดโยงเป็นหนึง่ เดียวกันกับผูท้ เี่ สียชีวติ ไปแล้ว51 ผูพ้ พิ ากษาท่านนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมไว้ในคำ�วินิจฉัยส่วนตนซึ่งเป็นเอกสารแนบกับคำ�พิพากษาในคดีน้ีอีกว่า52 กฎหมาย ทีศ่ าลสิทธิมนุษยชนอเมริกานำ�มาปรับใช้ในคดีน้ี มีความเชือ่ มโยงกับความสำ�นึกผิดชอบชัว่ ดีอนั เป็นสากล ที่สามารถใช้ในการพิจารณาอรรถคดี53 เขายังกล่าวอย่างชัดเจนอีกว่า “ความสำ�นึกผิดชอบชั่วดี ของมนุษย์ที่กล่าวถึงในกรณีนี้ยังปรากฏเป็นรูปธรรม” ในอนุสัญญาCSICH อีกด้วย54 ท้ายที่สุด คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้ยืนยันว่า ความเชื่อมโยงกันระหว่างด้านที่มิใช่วัตถุของวัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชน ด้วยการตีความเรื่องสิทธิ ในสุขภาพตามมาตรา 12 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม55 อันทีจ่ ริงแล้วสิทธิในการให้บริการสุขภาพแก่บางชุมชน (โดยเฉพาะชุมชนดัง้ เดิม) ในแนวทางทีค่ ณะกรรมการ นั้นพิจารณา “จะต้องมีความเหมาะสมทางวัฒนธรรม โดยต้องพิจารณาร่วมด้วยว่าชุมชนนั้น ๆ มีถึง วิธีการอย่างไรในการดูแลสุขภาพเชิงแบบป้องกัน การรักษาพยาบาล และการใช้ยารักษาโรค”56 (การแพทย์พื้นบ้านเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอีกเรื่องหนึ่งของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม) ในด้านตรงกันข้ามของเหรียญอันได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน ก็คือการที่มีเงื่อนไขว่าด้านแรกต้องมีความสอดคล้องต้องกันกับด้านที่สอง ดังที่มี ระบุไว้อนุสัญญา CSICH มาตรา 2 ในขณะที่การสันนิษฐานถึงความสอดคล้องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ในทางทฤษฎีกฎหมาย แต่มันอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เมื่อเราพิจารณาข้อเท็จจริงที่ ว่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมคือผลผลิตที่เป็นรูปธรรมของความหลากหลายทางวัฒนธรรม57 ฉะนั้นการวางข้อจำ�กัดบางอย่างซ้อนทับลงไปบนความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นข้อจำ�กัดเรื่องอะไร ย่อมดูจะเป็นข้อเสนอทีม่ คี วามแย้งกันเอง อันทีจ่ ริง ถ้าหากคุณค่าของความหลากหลายตัง้ อยูบ่ นความ แตกต่าง ข้อเท็จจริงทีว่ า่ มีการจำ�กัดความแตกต่างไว้ภายในขอบเขตบางอย่าง ซึง่ ได้แก่การยอมรับตาม เงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านั้น ก็น่าจะมีความหมายเท่ากับว่าเราสอดแทรกองค์ประกอบบางอย่าง ทีเ่ ป็นแบบเดียวกันเข้าไปพร้อมกับความชืน่ ชมทีเ่ รามีตอ่ ความหลากหลาย ด้วยเหตุน้ี การปฏิบตั ดิ งั กล่าว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำ�ไปสู่การมีอำ�นาจครอบงำ�และการสร้างมาตรฐานเหนือความหลากหลาย ในระดับใดระดับหนึง่ (แม้จะจำ�กัดมากก็ตาม) ในอีกด้านหนึง่ ชุมชนระหว่างประเทศก็ไม่สามารถทีจ่ ะ อดทนต่อการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่ให้ผลลัพธ์ที่ไม่อาจยอมรับได้ เมื่อพิจารณาว่าคุณค่าสูงสุด ดู คำ�วินิจฉัยส่วนตนของผู้พิพากษาคานซาโด ตรินดาเด ย่อหน้า 92. ดู คดีพพิ าทระหว่างหมูบ่ า้ นโมอิวานากับรัฐบาลซูรนิ าเม, Series C No. 145, Interpretation of the Judgment of Merits, Reparations and Costs, judgment of 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006, อ่านได้จาก www.corteidh.or.cr/docs/casos/ articulos/seriec_145_ing.pdf (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2010) 53 ดู อ้างแล้ว, คำ�วินิจฉัยส่วนตนของผู้พิพากษาคานกาโด ตรินดาเด ย่อหน้า 24. 54 อ้างแล้ว, ย่อหน้า 21, 22 และ 24. 55 993 UNTS 3. 56 ดู General Comment No. 14 (2000), “The Right to the Highest Attainable Standard of Health (article 12 of the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights)”, UN Doc. E/C.12/2000/4 of 11 Aug. 2000, ย่อหน้า 27. 57 สำ�หรับหัวข้อเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดู Lenzerini (2001), “Riflessioni sul valore della diversita culturale nel diritto internazionale”, 56 Comunita Internazionale, หน้า 671. 51 52

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 47


คือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือเราควรจะยอมรับลัทธิการกินคน การมีเพศสัมพันธ์กับทารก การบูชายัญมนุษย์ หรือการขลิบอวัยวะเพศหญิง ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในนามของความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีความจำ�เป็นที่การแสดงออกของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ต้องมีความสอดคล้องกันกับกฎเกณฑ์เบื้องต้นทางกฎหมาย ซึ่งสะท้อนคุณค่าพื้นฐานบางอย่างที่อยู่ เหนือความสำ�คัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรม มันมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่การแสดงออกทาง วัฒนธรรมใด ๆ ต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีผลบังคับเด็ดขาด หรือบรรทัดฐานทางด้าน สิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าการไม่ย่อหย่อนของบรรทัดฐานทางสิทธิมนุษยชน ในระดับสากล จะเป็นสิง่ ทีร่ บั ได้เสมอในมุมของความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันทีจ่ ริง เมือ่ พิจารณา ในมุมทีม่ รดกทางวัฒนธรรมมีบทบาทสำ�คัญอย่างยิง่ ในหลายกรณีทม่ี กี ารใช้สทิ ธิมนุษยชนในทางเป็นจริง การหวงห้ามไม่ให้ยึดถือมรดกนั้นและสืบทอดมันไปสู่คนรุ่นอนาคตก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทีน่ านาชาติให้การยอมรับด้วยเหมือนกัน ดังนัน้ เมือ่ พิจารณาถึงกรณีรปู ธรรมทีก่ ารประพฤติปฏิบตั มิ รดก ทางวัฒนธรรมสามารถก่อให้เกิดการละเมิด สิทธิมนุษยชน เราจำ�เป็นที่จะต้องมีการหาจุดสมดุลเพื่อ ที่จะบอกให้ได้ว่า ความไม่สอดคล้องต้องกันระหว่างสิทธิทั้งสองอย่างนั้นเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติมรดกทางวัฒนธรรมใช่หรือไม่ และเมื่อพิจารณาความร้ายแรงของการละเมิดแล้ว จะถือว่า พ้นไปจากขอบเขตที่อนุญาตให้มีสิทธิในการประพฤติปฏิบัติและได้รับประโยชน์จากมรดกวัฒนธรรม นั้นหรือไม่ในสถานการณ์ที่การประพฤติปฏิบัติมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดการละเมิด สิทธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐาน ซึง่ เป็นสิง่ ทีป่ ระชาคมระหว่างประเทศไม่อาจยอมรับได้ การประพฤติปฏิบตั ิ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้นถือเป็นอันว่าไม่ได้รับอนุญาต ในทางปฏิบัติ สิ่งนี้จะนำ�ไปสู่ผลลัพธ์ หลายประการ ในด้านหนึ่ง เมื่อการประพฤติปฏิบัติตามมรดกทางวัฒนธรรมใด ๆ ไม่สอดคล้อง กับนิยามของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมตามมาตรา 2 ของอนุสัญญา CSICH มรดกวัฒนธรรม นัน้ จะถือว่าอยูน่ อกเหนือจากขอบเขตทีอ่ นุสญ ั ญากำ�หนด และไม่สามารถทีจ่ ะประกาศชือ่ ไว้ในรายการ ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในเวลาเดียวกัน ข้อเท็จจริงที่ว่าการประพฤติ ปฏิบัติมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดการละเมิดกฎพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ ย่ อ มมี ผ ลตามมาว่ า รั ฐ ภาคี ข องอนุ สั ญ ญาต้ อ งมี ม าตรการที่ จำ � เป็ น เพื่ อ ป้ อ งกั น และปราบปราม การประพฤติปฏิบัตินั้นเสีย ความสัมพันธ์ที่ไม่อาจตัดขาดได้ระหว่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับสิทธิมนุษยชน ทำ�ให้เกิดความเป็นไปได้ทจ่ี ะพิจารณาข้อผูกพันต่อรัฐภาคีในส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรมจากมุมมอง ที่แตกต่างและมีประสิทธิภาพมากกว่า อันที่จริง ตราบใดที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ในฐานะ องค์ประกอบของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม) เป็นตัวแทนของเงื่อนไขสำ�คัญของการใช้สิทธิมนุษยชน ในทางเป็นจริง ข้อผูกพันทีจ่ ะต้องคุม้ ครองสิทธิมนุษยชนย่อมเป็นสิง่ ทีก่ ารส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม ต้องครอบคลุมให้ถงึ ด้วยเหตุผลว่าการส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมจะยังไม่ถอื ว่าเหมาะสม หากการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่อิงอาศัยมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้นอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ บ่อยครั้งที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นตัวแทนขององค์ประกอบ ซึ่ ง การส่ ง เสริ ม รั ก ษานั้ น เป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ อ าจแยกออกได้ จ ากการใช้ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของผู้ ส ร้ า งและ ผู้ถือครองมรดกวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อถือว่ามีสหสัมพันธ์ระหว่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมจึงถือว่าอยูใ่ นขอบเขตของกฎหมาย 48

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ระหว่างประเทศที่กว้างขวางกว่ า อนุ สั ญ ญา CSICH กล่ า วคื อ กฎหมายระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ย สิทธิมนุษยชน เมื่อการอนุมานดังกล่าวนี้ใช้ได้ ข้อผูกพันที่จะต้องส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมจึงต้องพิจารณาในมุมมองที่กว้างขึ้นทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและในแง่ของขอบเขต ทางภูมิศาสตร์ ในแง่ของประสิทธิภาพ เนื่องจากการส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งทำ� ไม่ใช่เพือ่ ผลประโยชน์ของรัฐที่มรดกวัฒนธรรมตั้งอยู่ ตามกรอบที่อนุสัญญา CSICH กำ�หนดเท่านั้น แต่ต้องส่งเสริมรักษาด้วยเหตุที่ว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (ทั้งของบุคคล และกลุ่ม) ของผู้สร้างและผู้ถือครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้น ซึ่งทำ�ให้การส่งเสริมรักษา มรดกทางวัฒนธรรมเป็นข้อกำ�หนดทีไ่ ม่สามารถยกเว้นได้ และในแง่ภูมิศาสตร์ ได้แก่ การสนองตอบ ข้อผูกพันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ (ซึ่งมีผลผูกพันทุกประเทศในโลก) ตราบเท่าที่ มันอยู่ในขอบเขตของสิทธิมนุษยชนอันเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเงื่อนไขที่เป็นสาระสำ�คัญของ กฎหมายระหว่างประเทศโดยทัว่ ไป ดังนัน้ แม้เผิน ๆ จะเป็นความย้อนแย้ง แต่การคุม้ ครองทางกฎหมาย ทีม่ ปี ระสิทธิภาพทีส่ ดุ สำ�หรับมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมกลับอยูน่ อกระบบทีก่ �ำ หนดไว้ในอนุสญ ั ญา CSICH ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์เชิงลึกระหว่างมรดกที่ยกเป็นตัวอย่างและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. สรุป มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมมีความแตกต่างจากมรดกทีจ่ บั ต้องได้ เนือ่ งจากธรรมชาติทม่ี ี ความเป็นพลวัตอย่างชัดเจนของมัน อันที่จริงแล้วธรรมชาตินี้เป็นภาพแทนของเหรียญที่มีสองด้าน ในด้านหนึง่ มันทำ�ให้มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมสามารถทีจ่ ะสร้างสรรค์ตนเองใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่ อ ทำ � หน้ า ที่ ส ะท้ อ นอั ต ลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมทั้ ง ของผู้ ท่ี ส ร้ า งสรรค์ แ ละผู้ ท่ี ถื อ ครองมรดกนั้ น มรดกทางวัฒนธรรมมีสมรรถนะแฝงในการปรับตัวหรือก่อรูปลักษณ์เฉพาะตัวของมันเองคู่ขนาน กันไปกับวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นมันจึงนำ�เสนอภาพแทนความเป็น มรดกที่มีชีวิตได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ในอีกด้านหนึ่ง ความยืดหยุ่นที่แฝงอยู่ในตัวของมันนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือลักษณะที่มีความเป็น “ชั่วขณะ” ของมันก็ทำ�ให้มันมีความเปราะบาง ที่จะถูกดูดกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตัวแบบทางวัฒนธรรมที่มีความเป็นตัวแทนอย่างโดดเด่น ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ในยุคสมัยที่โลกาภิวัตน์ดำ�เนินไปอย่างปราศจากการควบคุม ความเสี่ยงที่กล่าวถึง ข้างต้นจึงทำ�ให้อัตลักษณ์ของกลุ่มชนตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกอำ�พรางหรือดูดกลืนโดยสังคมที่ ครอบงำ�อยู่ เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมถูกผูกโยงอย่างแยกไม่ออกกับ การส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม รวมทัง้ การส่งมอบไปสูค่ นรุน่ อนาคต สังคมสมัยใหม่ พร้อมทั้งตัวแบบและขนบที่สร้างขึ้น ก็อาจจะนำ�ไปสู่การ “สูญพันธุ์” ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชน ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนที่มีความแตกต่างในทางสังคมและวัฒนธรรม อันอาจจะเกิดขึ้นไปพร้อมกันกับ การสูญหายไปของวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า CSICH เป็นตัวแทนของก้าวย่างสำ�คัญในบริบทของการดำ�เนินการ ทางนานาชาติในการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรม จากมุมมองทางปรัชญา คุณค่าของ CSICH คือ การข้ามพ้นความคิดหลักของอนุสญ ั ญาทีเ่ กีย่ วข้องทีม่ มี าก่อนนัน้ อย่างน้อยก็ในเชิงหลักการ (โดยเฉพาะ อย่างยิง่ อนุสญ ั ญามรดกโลก) ซึง่ ถ้าเป็นไปตามนัน้ มรดกทีจ่ ะได้รบั การคุม้ ครองจะถูกคุม้ ครอง บนพืน้ ฐาน Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 49


ของเกณฑ์ที่ระบุคุณค่าของการแสดงออกทางวัฒนธรรมตามคุณสมบัติภายนอกของมัน คุณสมบัติ เหล่านี้ เมื่อถึงระดับที่ก่อให้เกิดผลกระทบที่มองเห็นได้ จะถูกสันนิษฐานว่าเป็นอาการที่แสดงให้เห็น ว่ามีข้อน่าห่วงใยที่ชุมชนระหว่างประเทศในภาพรวมต้องเข้าไปปกป้องมรดกนั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่า อนุสัญญา จะมีแรงบันดาลใจมาจากความตั้งใจที่ดี แต่กลับสร้างตัวแบบของการส่งเสริมรักษามรดก ทางวัฒนธรรมทีด่ จู ะไม่เหมาะสมอย่างเต็มทีน่ กั ในการตอบโจทย์ของธรรมชาติทแ่ี ฝงอยูภ่ ายใน รวมทัง้ คุณค่าและนัยผูกพันที่ติดมาด้วย ดังที่ผู้เขียนได้เคยยํ้าไปแล้วว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่ได้บันทึก ขึ้นทะเบียนไว้และประกาศเป็นสมบัติของชาติอย่างเป็นทางการ และมีการติดตามตรวจสอบโดย คณะกรรมการต่าง ๆ ในการควบคุมของรัฐบาล ผลก็คอื บ่อยครัง้ ทีม่ รดกเหล่านัน้ สูญเสีย “ส่วนหนึง่ ของความสร้างสรรค์แบบฉับพลันที่ให้ความหมายแก่ตัวเอง” ในลักษณะเดียวกันกับที่ระบบนิเวศ ทีม่ นุษย์สร้างขึน้ ใหม่ (สร้างขึน้ และควบคุมให้เกิดการเจริญพันธุแ์ บบคัดสรรของพืชและสัตว์บางสายพันธุ์ ทีม่ คี วามเสีย่ งจะสูญพันธุ)์ นำ�ไปสูส่ ภาพแวดล้อมทีเ่ ป็นได้เพียงสิง่ เทียมธรรมชาติเท่านัน้ 58 ความเสีย่ งนี้ จะยิ่งร้ายแรงขึ้นในกรณีของมรดกทางวัฒนธรรมที่มิใช่วัตถุ ในแง่ที่มันมีความเปราะบางในตัวเอง มรดกทางวัฒนธรรมที่มิใช่วัตถุ ในบริบทของการดำ�เนินการภายใต้อนุสัญญาอาจเสี่ยงต่อการสูญเสีย ความแท้ซง่ึ เป็นผลมาจากการปรับตัวให้เข้ากันกับเกณฑ์ของอนุสญั ญาและข้อกำ�หนดของผูป้ ฏิบตั ฝิ า่ ยต่าง ๆ ทีเ่ ข้ามามีสว่ นเกีย่ วข้องในการส่งเสริมรักษา เพือ่ ป้องกันปัญหานี้ มีความจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะกำ�หนดให้ มาตรา 5 ในอนุสัญญามีขอบเขตกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่ เอือ้ อำ�นวยอย่างยิง่ ต่อการธำ�รงรักษาความแท้และบูรณภาพของมรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการมี เป้าหมายในการสนับสนุนให้กลุม่ ชนและชุมชนทีเ่ กีย่ วข้องเข้ามามีสว่ นร่วมอย่างพอเพียงในการจัดการ มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมของตนเอง โดย มาตรการทีเ่ หมาะสมในส่งเสริมรักษามรดกภูมปิ ญ ั ญา ทางวัฒนธรรม จะต้องถูกกำ�หนดบนฐานความสำ�คัญของมรดกทางวัฒนธรรมนั้นที่มีต่อตัวผู้สร้าง และผู้ถือครอง ซึ่งสอดคล้องกับนิยามของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ระบุไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญา และเพื่อที่จะบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง มันมีความจำ�เป็นที่จะต้องสร้างตาข่ายรองรับ ทางสังคมสำ�หรับกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย ซึ่งเป็นผู้ถือครองมรดกวัฒนธรรมจำ�นวนมากของโลก ทั้งนี้ เพื่ อ ให้ พ วกเขาครองชี พ ได้ อ ย่ า งเหมาะสมบนดิ น แดนของบรรพบุ รุ ษ และเป็ น ผู้ ใ ห้ ค วามเห็ น สุดท้ายในการตัดสินเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่พวกเขาเกี่ยวข้อง สิ่งนี้คือ ความท้าทายหลักที่เกิดขึ้นในการส่งเสริมรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยเฉพาะเมือ่ รัฐมีแนวโน้มทีจ่ ะดำ�เนินการด้วยแนวทางอืน่ ซึง่ ก็เอือ้ อำ�นวยอยูแ่ ล้วโดยโครงสร้างและ เนือ้ หาของอนุสญั ญา ในบริบททีม่ กี ารกำ�หนดลำ�ดับความสำ�คัญไว้ทผ่ี ลประโยชน์ทว่ั ไปของชาติกอ่ นอย่างอืน่ แม้วา่ จะเป็นสิง่ ทีเ่ ข้าใจได้วา่ มรดกทางวัฒนธรรมเป็นเครือ่ งมือทีท่ รงพลังในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะผ่านการท่องเทีย่ ว) รวมทัง้ การสร้างความโดดเด่นในระดับนานาชาติให้กบั รัฐ แต่แนวทางนี้ ก็อาจขัดแย้งกับคุณค่าหลักทีแ่ นบแน่นอยูก่ บั มรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม อันได้แก่ บทบาทสำ�คัญ ในการไขว่คว้าหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผูส้ ร้างและผูถ้ อื ครองมรดกวัฒนธรรม และในลำ�ดับถัดไป คือสิทธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐานของสมาชิกของกลุม่ และชุมชน ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับมรดกทางวัฒนธรรม ทีไ่ ด้รบั ส่งเสริมรักษานัน้ อีกทัง้ แนวทางทีล่ �ำ เอียงเข้าหาผลประโยชน์ของมนุษยชาติในภาพรวมยังมีผล 58

ดู Brown, “Safeguarding the Intangible”, Cultural Comment, Nov. 2003, อ่านได้จากลิงก์ www. culturalpolicy. org/commons/comment-print.cfm?ID=12 (เข้าถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2010).

50

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ต่อการลดทอนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้วยเหตุผลนี้เองทำ�ให้ในการส่งเสริมรักษามรดก ทางวัฒนธรรมจะต้องใช้มุมมองที่เน้นว่า “ปัจเจกภาพ” ของชุมชนท้องถิ่นมีความสำ�คัญเหนือกว่า สังคมในภาพรวม อันที่จริงแล้วสิ่งที่เป็นเดิมพันนอกเหนือไปจากการธำ�รงรักษาความหลากหลาย ของมนุษยชาติ ก็คือคุณค่าที่สำ�คัญอย่างยิ่งที่วงการกฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัยกำ�ลังแสวงหา นั่ น คื อศั กดิ์ศรีความเป็นมนุษ ย์ข องกลุ่มชนที่ยึดถือว่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นส่ว นที่ จำ�เป็นสำ�หรับอัตลักษณ์และบุคลิกภาพของตนเอง การส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ทั้งการเก็บรวบรวมตัวอย่าง ซึ่งทำ�ได้ในกรณีของสัตว์บางสายพันธุ์ในสวนสัตว์หรือพืชบางชนิด ในสวนพฤกษศาสตร์ และก็ไม่ใช่การจัดจำ�แนกตัวแทนที่ดีท่สี ุดตามทัศนะของผู้สังเกตการณ์ภายนอก ในมุมของการสร้างสายใยทางจิตวิญญาณที่มีความพิเศษระหว่างมรดกทางวัฒนธรรมกับอัตลักษณ์ ของชุมชน ที่มีความสร้างสรรค์และมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น การใช้แนวทางข้างต้นก็ไม่ต่างไปจาก การจัดจำ�แนกให้ชุมชนหนึ่งชุมชนใด (อันมีมรดกวัฒนธรรมเป็นกระจกสะท้อนอัตลักษณ์ของตน) มีสถานะที่ดีกว่าชุมชนอื่น ในทางกลับกัน การส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรมหมายถึงการธำ�รงรักษา สายใยระหว่างมันกับวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตและมีบทบาทต่ออัตลักษณ์ของผู้ถือครองมรดกรวมทั้ง สร้างโอกาสให้สีสันและแสงเงาที่หลากหลายของมันถูกส่งมอบไปสู่คนรุ่นถัดไปได้ สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอกลับไปที่คำ�พูดของรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของกรีนแลนด์ที่พูดถึง ชุมชนต่าง ๆ ในแอมะซอนว่ามีชอื่ เรียก “สีเขียว” มากกว่าห้าร้อยชือ่ แม้วา่ คนในโลกตะวันตกจะเห็นว่า ในความเป็นจริงมีเพียงสีเขียวเดียว “มันสำ�คัญสำ�หรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมว่าสีเขียว ไม่ใช่แค่สีเขียว”59

59

ดู International Conference, “Globalization and Intangible Cultural Heritage”, เชิงอรรถหมายเลข 4 หน้า 51. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 51


บรรณานุกรม Blake, Janet. 2006. Commentary on the 2003 UNESCO Convention on the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Leicester: Inst. of Art and Law. “Brief History of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.” 2003. UNESCO. http://www.unesco.org/culture/ich/index.php?pg=00007. Brown, Michael F. 2003. “Safeguarding the Intangible. Cultural Comment.” http://www.culturalpolicy.org/commons/comment-print.cfm?ID=12. Francioni, Francesco. 2002. “The Protection of Intangible Cultural Heritage: A New Challenge for UNESCO and International Law.” In Symposium: The Transmission and Present State of Cultural Heritage. Kyoto: UNESCO. Javier Pérez de Cuéllar, ed. 1996. Our Creative Diversity. Paris: UNESCO. http://unesdoc.unesco.org/images/0010/001055/105586e.pdf. Kurin, Richard. 2007. “Safeguarding Intangible Cultural Heritage: Key Factors in Implementing the 2003 Convention.” International Journal of Intangible Heritage 2 (1): p. 10–20. Lenzerini, Federico. 2001. “Riflessioni Sul Valore Della Diversità Culturale Nel Diritto Internazionale.” Comunità Internazionale 56: p. 671–684. Soós, Gábor. 2009. “Communities and the Convention for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage (2003) – a New Tool for Development.” In ARCADE, Culture as Tool for Development. Challenges of Analysis and Action, p. 26–45. https://kar.kent.ac.uk/38187/1/arcade_livre_et_couv_BD.pdf. “The 1954 Convention for the Protection of Cultural Property in the Event of Armed Conflict.” 1954. ———. “The 1954 Convention for the Protection of Cultural Property in the Event of Armed Conflict.” 1999. “The 1972 Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage (World Heritage Convention).” 1972. UNESCO. 1982. “Declaration on Cultural Policies.” In Declaration on Cultural Policies. http://www.ifa.de/fileadmin/pdf/abk/inter/unesco_mondiacult.pdf. ———. 1989. “Recommendation on the Safeguarding of Traditional Culture and Folklore.” Legal Instruction. November 15. http://portal.unesco.org/en /ev.php-URL_ID=13141&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html.

52

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


———. 2001. “Universal Declaration on Cultural Diversity.” ———. 2003. “Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.” http://unesdoc.unesco.org/images/0018/001879/187086e.pdf. ———. 2004. “Globalization and Intangible Cultural Heritage.” UNESCO. http://unescodoc.org/images/0014/001400/140090e.pdf. Williams, Raymond. 1960. Border Country. Library of Wales. Cardigan, Wales: Chester Springs, PA: Parthian; U.S. distributor, Dufour Editions.

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 53





“ของฉัน ของเธอ หรือของเรา ?” ความขัดแย้ง ระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียเหนือมรดกวัฒนธรรมร่วม โดย จิน วิน ชอง (Jinn Winn Chong) แปลโดย เทียมสูรย์ สิรศิ รีศกั ดิ์

(First published in English by ISEAS Publishing under the title “Mine, Yours or Ours?”: The Indonesia-Malaysia Disputes over Shared Cultural Heritage, by Jinn Winn Chong, first appeared in Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia, Vol.27, No.1, April 2012, p. 1-53. Translated with the kind permission of the publisher.)


“ การตรวจสอบประวัติศาสตร์ในบริบทที่กว้างขึ้นรวมทั้งความสัมพันธ์

ของประเทศที่ เ กี่ ย วข้ อ งเป็ น สิ่ ง ที่ สำ � คั ญ อย่ า งยิ่ ง ในการเสริ ม สร้ า ง ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์เหนือมรดกวัฒนธรรมซึ่งจะช่วยให้ ความขัดแย้งได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและเป็นการป้องกัน ไม่ให้ปัญหาบานปลายไปสู่การใช้ความรุนแรง


บทคัดย่อ

ในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านในภูมิภาค อินโดนีเซียและมาเลเซียมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ และมรดกวัฒนธรรมร่วมกัน ความขัดแย้งเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมจึงได้กลายมาเป็นปัญหา ระหว่างทั้งสองประเทศอยู่บ่อยครั้ง หนึ่งในการกระทบกระทั่งที่เกิดขึ้นเป็นระยะ และได้กลายมาเป็น ประเด็นปัญหาเมือ่ ไม่นานมานีเ้ นือ่ งจากมีบคุ คลทีส่ ามได้น�ำ เสนอการร่ายรำ�แบบดัง้ เดิมของอินโดนีเซีย ผิ ด ว่ า เป็ น วั ฒ นธรรมของมาเลเซี ย บนพื้ น ฐานของเหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า ว บทความนี้ จึ ง วิ เ คราะห์ ความสลับซับซ้อนหลากหลายมิติที่แฝงอยู่ในความขัดแย้งจากการแย่งชิงมรดกวัฒนธรรม บทความนี้ ชี้ให้เห็นว่าประเด็นขัดแย้งเล็ก ๆ มักจะนำ�ไปสู่ความไม่ลงรอยทางการเมืองที่ยาวนานระหว่าง สองประเทศ จากกรณีศกึ ษา เพนเดท (pendet-นาฏกรรมท้องถิน่ ของบาหลี) บทความนีแ้ สดงให้เห็นว่า ความล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาที่ซ่อนอยู่แม้จะเป็นปัญหาเล็ก ๆ จะนำ�ไปสู่ความเสียหาย อย่างใหญ่หลวงได้อย่างไร ในบทสรุป เสนอแนะว่าการพิจารณาความขัดแย้งเหล่านี้ในบริบท ที่กว้างขวางขึ้นทั้งด้านประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งถือเป็นสิ่งจำ�เป็นและสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการสร้างหนทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน สำ�หรับความขัดแย้งที่มีเหนือมรดกวัฒนธรรมร่วม คำ�สำ�คัญ : มรดกวัฒนธรรมร่วม, สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม, ความสัมพันธ์อินโดนีเซีย-มาเลเซีย, อัตลักษณ์ภูมิภาคอาเซียน, การแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างไม่เป็นทางการ

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 59


สถานการณ์ปัญหาโดยสังเขปความขัดแย้งเรื่องเพนเดท ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 ดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล นำ�เสนอชุดสารคดีชอื่ ‘Enigmatic Malaysia’ (มาเลเซียพิศวง) เน้นเนื้อหามรดกวัฒนธรรมของมาเลเซีย (Seattle Times 2009) โฆษณารายการ ยาวสามสิบวินาทีมีภาพนาฏกรรมศักดิ์สิทธิ์ในวัดบาหลีที่เรียกว่า เพนเดท (pendet) โดยนักแสดง ชาวบาหลีสองคน (Fitzpatrick 2009) โฆษณาชุดนีถ้ กู มองว่าเป็นความพยายามอีกครัง้ ของมาเลเซียใน การ “ขโมย” วัฒนธรรมอินโดนีเซีย (Abdussalam 2009) และได้สร้าง “ความโกลาหล” ให้เกิดขึ้น ในอินโดนีเซีย (Schonhardt 2009b, 1) ศิลปินหลายสิบคนและชาวอินโดนีเซียอีกหลายร้อยคนนัดกัน เดินขบวนทีส่ วนวัฒนธรรมเดนปาซาร์ (Denpasar Cultural Park) เพือ่ ประท้วงความผิดพลาดทีเ่ กิดขึน้ (Prathivi and Wardany 2009) สื่ อ ของอิ น โดนี เซี ย นำ � เสนอเหตุ ก ารณ์ นี้ แ ละนำ � เสนอข่ า ว การถูกมาเลเซียยํ่ายีศักดิ์ศรีต่อเนื่องอีกหลายสัปดาห์ (Hunt 2009) เพือ่ เป็นการแก้ขอ้ กล่าวหา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเทีย่ วของมาเลเซีย ส่งคำ�ขอโทษแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย ชี้แจงว่า ภาพยนตร์โฆษณาชิน้ นีไ้ ม่ได้เป็นการผลิตของรัฐบาลมาเลเซียและไม่ได้เป็นส่วนหนึง่ ของรายการส่งเสริม การท่องเที่ยว Visit Malaysia 2009 (Kandasamy 2009) ในสัปดาห์เดียวกัน เครือข่ายดิสคัฟเวอรี่ เอเชียแปซิฟิก (Discovery Networks Asia-Pacific) ได้ลบภาพยนตร์โฆษณานี้ออกจากสื่อของ ตนทั้งหมดและขอโทษอย่างเป็นทางการต่ออินโดนีเซีย และประกาศว่าภาพยนตร์สั้นดังกล่าวได้มา จากนักทำ�สารคดีอิสระ (Seattle Times 2009) ภายใต้ความตึงเครียดที่มีมากอยู่แล้ว เจโร วาซิก (Jero Wacik) รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอินโดนีเซียปฏิเสธที่จะรับคำ�ขอโทษ เช่นเดียวกับสื่อมวลชนจำ�นวนมากที่ไม่ได้ให้ความสำ�คัญต่อคำ�ขอโทษนี้ (Belford 2009) วาซิก กล่าวอย่างชัดเจนว่าคำ�ขอโทษไม่เพียงพอที่จะบรรเทาเบาบางเหตุการณ์ที่มาเลเซียอ้างสิทธิ์เหนือ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียซํ้าแล้วซํ้าเล่า (Sagita 2009, 1) ตัวอย่างหนึ่งคือการใช้เพลง พืน้ เมือง ราซา ซายาง (Rasa Sayang) ในการรณรงค์สง่ เสริมการท่องเทีย่ วของมาเลเซียเมือ่ พ.ศ. 2550 ซึง่ เป็นเพลงทีอ่ นิ โดนีเซียประกาศว่ามีก�ำ เนิดในหมูเ่ กาะโมลุกกัน (Moluccan islands) (Antons 2009b) ความขัดแย้งเรือ่ งเพลง จุดประกายการต่อสูแ้ ก่งแย่งสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม กล่าวคือทัง้ สองประเทศ ประกาศว่าตนเป็นเจ้าของศิลปะผ้าบาติก (Marks 2009) การเชิดหนังทีเ่ รียกว่า วายางกูลติ (wayang kulit) (Prathivi and Wardany 2009) การทำ�กริช (Marks 2009) และเพลงประจำ�ชาติมาเลเซียที่ชื่อ เนการากู (Negaraku) (Farish Noor 2009) ความขัดแย้งกรณีเพนเดท จึงเป็นการจุดประกายการต่อสู้ ทางวัฒนธรรมรอบใหม่ขึ้นอีกครั้งซึ่งตามมาด้วยการที่มาเลเซียอ้างสิทธิ์เหนือเครื่องดนตรีให้จังหวะ ทีเ่ รียกว่า กามิลนั (gamelan) (Schonhardt 2009a) และแกงเนือ้ เรินดัง (rendang) ทัง้ สองประเทศ ยังต่อสู้กันเพื่อความเป็นเจ้าของเครื่องดนตรีให้จังหวะทำ�จากไม้ไผ่ที่เรียกว่า อังกะลุง (angklung) อีกด้วย (Marks 2009)

60

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ในขณะเดียวกัน กระแสความไม่พอใจของอินโดนีเซียต่อกรณี เพนเดท ได้พัฒนาไปเป็น การแสดงออกถึงความไม่พอใจที่พบเห็นได้ทั่วไปและบนสังคมออนไลน์ ในวันประกาศอิสรภาพของ มาเลเซีย 31 สิงหาคม ค.ศ. 2009 เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการมาเลเซียกว่าร้อยเว็บไซต์ถกู ป่วนระบบ และเปลีย่ นหน้าจอเป็นคำ�ขวัญยกย่องอินโดนีเซีย (Farish Noor 2009) เป็นเวลาหลายสัปดาห์ทผี่ ปู้ ระท้วง ตะโกน “Ganjang Malaysia!” (บดขยี้มาเลเซีย) พร้อมระดมปาไข่เน่าและก้อนหินเข้าใส่สถานทูต มาเลเซียในกรุงจาการ์ตา และยังมีการเผาธงชาติมาเลเซียด้วย (BBC 2009) นักศึกษาหลายร้อยคน ก่อหวอดประท้วงในมหาวิทยาลัยทั่วอินโดนีเซีย (Seattle Times 2009) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 13 แห่งทั่วประเทศ เผาธงชาติมาเลเซียบนพื้น (Kompas 2009) การประโคมข่าว ต่อต้านมาเลเซียของสื่ออินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์ส่งผลให้เกิดการตั้งกลุ่มที่เรียกว่า Benteng Demokrasi Rakyat (ประชาชนประชาธิปไตยแนวหน้า) หรือเบนเดรา (Bendera) เตร่ไปตามถนนหนทางในกรุงจาการ์ตาบุกเข้าไปทำ�ลายบ้านเรือนของชาวมาเลเซีย (Setiawati 2009) คนกลุ่มนี้ถือหอกไม้ไผ่เป็นอาวุธ แจกจ่ายธงชาติอินโดนีเซียผืนเล็ก ๆ และเรียกตรวจบัตรประชาชน ผู้ขับขี่ยวดยานที่ผ่านไปมา (Fitzpatrick 2009) แม้ว่าตำ�รวจอินโดนีเซียจะขับไล่คนกลุ่มนี้ออกไป จากท้องถนนแต่นั่นก็ไม่ได้หยุดยั้งการประกาศสงครามบนคาบสมุทร (BBC 2009) กลุ่มเบนเดรา นำ�โดย มุสตาร์ โบนาเวนทูรา (Mustar Bonaventura) ระดมอาสาสมัครราว 1,500 เพื่อเป็นกองทัพ ไปรบกับมาเลเซีย (Farrah Naz Karim 2009) พวกเขาฝึกฝนคนเหล่านี้ ทั้งด้านการต่อสู้ป้องกันตัว และทางไสยศาสตร์ (Mardiyati 2009) มีการสะสมเสบียงกรัง ยารักษาโรค อาวุธ รวมทั้งดาบซามูไร และดาวกระจายของนินจา (Belford 2009) กองกำ�ลังนีเ้ รียกร้องให้ปดิ สถานทูตมาเลเซียในกรุงจาการ์ตา และสถานทูตอินโดนีเซียในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ให้เรียกตัวชาวอินโดนีเซียทุกคนที่อาศัยหรือทำ�งาน อยู่ในมาเลเซียกลับมา และประกาศสงครามกับมาเลเซีย (Mardiyati 2009) ปรากฏว่าการเรียกร้อง ให้ก่อสงครามกับมาเลเซียได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภานิติบัญญัติสุดโต่งในรัฐบาลอินโดนีเซีย (Ahmad Pathoni 2009, 1) เรือ่ งราวยิง่ บานปลายออกไปอีกเมือ่ ดาตุก โมฮัมเมด ทาจุดนี อับดุล วาฮับ (Datuk Mohamed Tajudeen Abdul Wahab) เลขาธิการสภาความมัน่ คงแห่งชาติมาเลเซีย ออกมา เรียกร้องให้เพิม่ มาตรการรักษาความปลอดภัยตลอดแนวพรมแดนมาเลเซีย และได้แจ้งเตือนทุกเหล่าทัพ ให้อยูใ่ นภาวะเตรียมพร้อมรับมือกับผูก้ อ่ การร้ายทีพ่ ยายามจะเข้ามาในประเทศและให้ตอบโต้บคุ คลใด ก็ตามที่ทำ�ให้มาเลเซียตกอยู่ในอันตราย (Farrah Naz Karim 2009, 1) ในไซเบอร์สเปซ มีการกล่าวหาว่ามาเลเซียเป็นชาติหัวขโมย (a nation of thieves) (Ahmad Pathoni 2009) และเรียกมาเลเซียว่า มาลิงเซีย (Malingsia) (มาลิง [maling] แปลคร่าว ๆ ว่าการขโมย)1 ก็เป็นทีแ่ พร่หลาย เว็บไซต์ผลิตซา้ํ ข้อความแสดงความเกลียดชังอย่างรวดเร็วแสดงให้เห็นถึงความเกลียดชัง ของชาวอินโดนีเซียต่อมาเลเซียจากการสบประมาทกรณีเพนเดท (Malay Mail 2009) ที่สำ�คัญมี การสร้างเพจบนเฟซบุค (Facebook) ชื่อ We Hate Malaysia (เราเกลียดมาเลเซีย) (Didiet Drogba and Malon Babu Inggris n.d.) ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปหุ่นโบกธงชาติอินโดนีเซีย เท้าข้างหนึ่งเหยียบ อยู่บนธงชาติมาเลเซีย ในขณะที่เขียนบทความ เพจนี้มีสมาชิกมากกว่า 400,000 คน

1

“Maling” แปลได้วา่ “ขีข้ โมย” (thieving) ดู (Anti-Maling n.d.; Anti-Malingsia n.d.; Malingsial n.d.) Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 61


สถานการณ์ปัญหาในภาพกว้าง โชคดีทค่ี วามพยายามในการก่อความรุนแรงโดยเบนเดราถูกสกัดกัน้ อย่างทันท่วงทีโดยหน่วยงานรัฐ ของอินโดนีเซีย และแผนการก่อสงครามกับมาเลเซียก็ไม่ได้ถกู พัฒนาจนเป็นรูปเป็นร่าง (Fitzpatrick 2009) กระนั้นก็ตาม เห็นได้ชัดว่าความโกรธแค้นของฝ่ายอินโดนีเซียได้หยั่งรากลึก ความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทัง้ ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณีอนิ โดนีเซียและมาเลเซียนัน้ ยังถือว่ามิใช่เป็นเพียง คู่กรณีเดียวของการอ้างความซ้อนทับของสิทธิ์เหนือสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม แต่หลายประเทศใน ภูมภิ าคมีมรดกวัฒนธรรมร่วม และเกือบทุกประเทศพึง่ พามรดกวัฒนธรรมเหล่านีท้ งั้ ด้านการเมืองสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนา ในปัจจุบนั ความขัดแย้งในลักษณะคล้ายกันนีเ้ กิดขึน้ ระหว่างกัมพูชากับไทย ทั้งเรื่องใครเป็นเจ้าของท่ารำ� “จีบ” (Phuket News 2011) และใครเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหาร (Kong Sothanarith 2011) มาเลเซียและสิงคโปร์ก็มีเรื่องโต้เถียงในลักษณะคล้ายกันเกี่ยวกับอาหาร ซึง่ ทัง้ สองประเทศต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของก๋วยเตีย๋ วรสเผ็ดทีเ่ รียกว่า ลักซา (laksa) เนือ้ ตุน๋ ในหม้อดินเผา ทีเ่ รียกว่า บะกุดเต๋ (bakuteh) และข้าวมันไก่ไฮหนาน (Looi 2009) เป็นทีย่ อมรับว่าการกระทบกระทัง่ ทำ�นองนีด้ ผู วิ เผินเหมือนจะไม่ได้สง่ ผลอะไร แต่ถา้ พิจารณาเหตุการณ์ทเ่ี กีย่ วข้องจะพบว่าเป็นปัญหาทีซ่ บั ซ้อน และหากพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ นจะพบว่าความขัดแย้งทีเ่ กีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมร่วมส่วนใหญ่จะมีประเด็นทีเ่ กินเลย กว่าขอบเขตของสิง่ ทีป่ รากฏให้เห็น ในทำ�นองเดียวกัน กรณีพพิ าทจำ�นวนมากในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเกีย่ วข้องกับวัฒนธรรม ดังเช่นที่ ครัวซองและทริน (Croissant and Trinn 2009, 41) อธิบายว่า “การศึ ก ษาแสดงให้ เ ห็ น ว่ า ความขั ด แย้ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การเมื อ งในสั ง คม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำ�นวนมากไม่ได้เริ่มต้นจากเรื่องทางศาสนา แต่เป็นเรื่อง เส้นแบ่งทางวัฒนธรรม (along other cultural divide lines) ความรุนแรงของ ข้อพิพาทบางอย่างประกอบกับความคล้ายคลึงกันของศาสนา ภาษาและประวัตศิ าสตร์ มั ก จะอำ � พรางความจริ ง ที่ ว่ า ข้ อ พิ พ าทมั ก จะมี ป ระเด็ น ปั ญ หาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ห รื อ ธรรมชาติ ที่ มี ก ารผสมผสานของศาสนาและภาษาศาสตร์ (ชาติพันธุ์)” [เน้นข้อความโดยผู้เขียน] จากการศึกษาแนวโน้มความขัดแย้งในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้เขียนได้สรุปว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มคี วามขัดแย้งทางวัฒนธรรมเป็นจำ�นวนมาก” ซึง่ มีจ�ำ นวนเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ตัง้ แต่ทศวรรษ 1960 ความขัดแย้งทีส่ ร้างความกังวลทางวัฒนธรรมมักจะ “หยัง่ รากลึก ลึกซึง้ และต่อต้าน มาตรการลดความขัดแย้ง” (Croissant and Trinn 2009, 25–26) กรณีเพนเดทแสดงให้เห็นว่า การตอบสนองทีเ่ ต็มไปด้วยอารมณ์ความรูส้ กึ ต่อสถานการณ์ทด่ี ไู ม่มอี ะไรสลักสำ�คัญ แต่เมือ่ ไปกระทบกระทัง่ กับมรดกวัฒนธรรมของผูค้ นเข้า ก็ได้กลายเป็นผลลัพธ์ทอ่ี ยูเ่ หนือการควบคุมอย่างรวดเร็ว ความไม่ลงรอยกัน ระหว่างกัมพูชาและไทยต่อกรณีปราสาทพระวิหาร (Preah Vihear temple) ขยายผลให้เห็นว่า ข้อพิพาทลักษณะนีส้ ามารถลุกลามไปเป็นการเผชิญหน้าทางการทหารได้ (Pongphisoot Busbarat 2011) จากการทีเ่ ป็นภูมภิ าคทีเ่ ป็นทีอ่ ยูข่ อง 32 กลุม่ ชาติพนั ธุ์ และในแต่ละประเทศก็มกี ลุม่ ชาติพนั ธุอ์ ย่างน้อย สี่กลุ่ม (Jonsson 2008) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่สามารถที่จะเพิกเฉยและปล่อยให้เกิดเหตุการณ์

62

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ในลักษณะเดียวกันนี้กับส่วนอื่นของภูมิภาค บทความนี้จึงเสนอว่าการตรวจสอบประวัติศาสตร์ ในบริบททีก่ ว้างขึน้ รวมทัง้ ความสัมพันธ์ของประเทศทีเ่ กีย่ วข้องเป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญอย่างยิง่ ในการเสริมสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์เหนือมรดกวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้ความขัดแย้งได้รับการจัดการ อย่างเหมาะสมและเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาบานปลายไปสู่การใช้ความรุนแรง

การเมืองของการเรียกร้องสิทธิ์เหนือมรดกวัฒนธรรม เครือญาติข้างใดเป็นเจ้าของอะไร? แก่นแท้ของสายสัมพันธ์อนิ โดนีเซีย-มาเลเซียกล่าวได้วา่ เป็นเหมือน “พีน่ อ้ งร่วมสายโลหิต” หรือ “เซรัมปัน” (serumpun-มาจากเชือ้ สาย ครอบครัวเดียวกัน) (Liow 2010, 1) แนวคิดเชิงความสัมพันธ์ ทางเครือญาติอาจสืบย้อนตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปได้ถึงบรรพบุรุษสมัยอาณาจักรก่อน ยุคอาณานิคมของหมูเ่ กาะอินโด-มาเลย์ (Liow 2005) ในแง่นี้ เครือข่ายทีเ่ กิดจากการแต่งงานข้ามกลุม่ การค้า และการย้ายถิน่ ฐานภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวชิ ยั (Srivijaya) มัชปาหิต (Majapahit) สุลต่านมะละกา (the Sultanate of Malacca) มีนังกาเบา (Minangkabau) และบูกิส (Bugis) ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ได้ทำ�ให้เกิดเป็นเชื้อชาติ ภาษา และศาสนาที่สืบต่อมาจนถึง อินโดนีเซีย และมาเลเซียในยุคปัจจุบนั (Holst 2007) ตามคำ�อธิบายของ โยเซฟ ชินยง เลียว (Joseph Chinyong Liow) นักวิชาการด้านความสัมพันธ์อินโดนีเซีย-มาเลเซีย (Liow 2010, 1) “เป็นเพราะความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ที่ทำ�ให้เกิดรากฐานทางภาษา ศาสนา ข้อปฏิบัติทางวัฒนธรรม และงานศิลปะการแสดงแบบชาวหมู่เกาะอินโด-มาเลย์ ร่วมกัน และในความเป็นจริงความผูกพันทางประวัติศาสตร์นั้นแนบสนิทมาก ผู้นำ�ของทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียมักจะอ้างถึงความสัมพันธ์ว่าเป็นพี่น้องมาเลย์ ร่ ว มสายโลหิ ต หรื อ มาเลย์ รั ม ปั น ซึ่ ง หมายถึ ง มี เชื้ อ ชาติ ม าเลย์ แ ละเป็ น คน เผ่าพันธุ์เดียวกันเลยทีเดียว” อย่างไรก็ตามแม้จะมีการรับรู้ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ เลียว (Liow 2005, 51) เตือนว่า “ความพยายามในการสืบค้นความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ทำ�ให้เหมือนมีทุ่นระเบิด ทางกรอบคิดและประวัติศาสตร์ ...ที่ซึ่งหัวใจของความตึงเครียดอยู่บนฐานคิดเรื่อง ความเป็นมาเลย์ และคำ�ถามกวนใจว่าจะอธิบายอัตลักษณ์ของ อินโด-มาเลย์อย่างไร” อันทีจ่ ริง ตามทีบ่ าร์นาร์ดและไมเออร์ (Barnard and Maier 2004, ix) ยืนยันว่า คำ�ว่า มาเลย์ (Malay) และ มลายู (Melayu) และแม้แต่ค�ำ ทีป่ จั จุบนั ไม่คอ่ ยได้ยนิ คือ มาลาอีส (Malaies) และ มาลายู (Malayu) หมายถึง “โลกทีถ่ กู จัดวางไว้อย่างหลวม ๆ ” ซึง่ เกิดขึน้ จากการรวมตัวกันของกลุม่ การเมืองหลัก ในสมัยศรีวิชัย ช่วง ค.ศ. 670 (Howell and Palmer 1993) และได้พัฒนามีขอบเขตไม่แน่นอน ซึง่ แตกต่างจากขอบเขตประเทศในปัจจุบนั (Andaya 2001) ต่อมาภูมภิ าคนีถ้ กู รูจ้ กั ในนาม “โลกมาเลย์”

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 63


(Malay World)2 (Benjamin and Chou 2002, 5) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในเขตพื้นที่คาบสมุทรมาเลเซีย ชายฝั่งตะวันออกของสุมาตรา ชายฝั่งตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของบอร์เนียว และหมู่เกาะรีอู (Riau archipelago) (Lian 2001) เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียร่วมกันสร้าง โลกมาเลย์ขึ้น (Reid 2001) นักวิชาการเห็นตรงกันเกีย่ วกับบทบาทของภาษามาเลย์ในฐานะ “ตัวประสาน” ทีช่ ว่ ยเสริมสร้าง ความเหนียวแน่นของเครือญาติของคนในโลกมาเลย์ (Liow 2005, 34) เพือ่ เน้นปัจจัยทีท่ �ำ ให้ภาษามาเลย์ และคนในภูมภิ าคมีความร่วมกัน นักภาษาศาสตร์ชอื่ ดัง ปีเตอร์ โลเวนเบอร์ก (Lowenberg 1988, 2) อธิบายว่า “ภูมิภาคที่ประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในปัจจุบันมีภาษา ของชนพื้ น เมื อ งร่ ว มกั น มาตั้ ง แต่ ใ นอดี ต ภาษาเหล่ า นี้ ส่ ว นใหญ่ มี ลั ก ษณะ ทางระบบเสียง หน่วยคำ�ทางวากยสัมพันธ์ และคำ�ศัพท์ ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษา มาลาโยโพลิ เ นเชี ย น (Malayo-Polynesian language) ความผู ก พั น ทางภาษาศาสตร์ ยิ่ ง แนบแน่ น ขึ้ น เมื่ อ มี ก ารใช้ ภ าษา ‘มาเลย์ ’ ตั้ ง แต่ ยุ ค ก่ อ น ประวัติศาสตร์เป็นภาษากลางของภูมิภาค” ในฐานะที่เป็นช่องทางแรก ที่สร้างภาพของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้แก่โลกมาเลย์ จึงไม่นา่ แปลกใจว่าภาษามาเลย์ได้กลายเป็นภาษาประจำ�ชาติของทัง้ มาเลเซียและอินโดนีเซียในรูปของ ภาษาบาฮาซามลายู และบาฮาซาอิ น โดนี เซี ย (Liow 2005) และบาฮาซามลายู ใ นสิ ง คโปร์ (Lowenberg 1988) สำ�หรับประชากรในโลกมาเลย์ ความผูกพันต่อภาษามาเลย์คือ “การเปล่งเสียง ของอัตลักษณ์ทงั้ ส่วนตน อัตลักษณ์ของกลุม่ และอัตลักษณ์ทางประวัตศิ าสตร์” (Rajadurai 2010, 291) ในหลายแง่หลายมุม ภาษามาเลย์ถอื เป็นสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์ของคนมาเลย์เนือ่ งจากภาษาช่วยให้ คนรู้จักนิสัยใจคอ ขนบธรรมเนียม โลกทัศน์และปรัชญา (Alias Sidek 1999) นอกจากนี้ ข้อโต้แย้งว่า บางซามลายู (Bangsa Melayu-เชื้อชาติมาเลย์) นั้น ถูกนิยามอย่าง “ลื่นไหล” (Faucher 2006, 1) “ไม่เสถียร” (Kahn 2005, 166) และเป็น “การนิยามเชิงวัฒนธรรม” (Tan 2000, 451) “ประกอบสร้างทางสังคม-วัฒนธรรม (Liow 2005, 48) ได้รับการยอมรับ ในงานวิชาการจำ�นวนมาก3 ที่ทำ�การศึกษาขอบเขตของการอธิบายอัตลักษณ์ของ “มาเลย์” อย่างไร ก็ตามการระบุให้ชัดเจนว่าอะไรคือ “ความเป็นมาเลย์” ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในหมูผ่ นู้ �ำ ของโลกมาเลย์จนถึงทุกวันนี้ (Shamsul 1997) แนวคิดหนึง่ ซึง่ นักวิชาการจำ�นวนมากยึดถือ คือการยืนยันของ เอ บี แชมซุล (Shamsul 1997, 243) ว่า “ความเป็นมาเลย์” เกิดจากสามเสาหลัก อันประกอบด้วย บาฮาซา (Bahasa) (ภาษา ในกรณีนี้คือภาษา มาเลย์) อากามา (agama) คำ�ว่า โลกมาเลย์ (Malay World) โลกอินโด-มาเลย์ (Indo-Malay World) หมูเ่ กาะอินโด-มาเลย์ (Indo-Malay Archipelago) และ อาณาจักรมาเลย์ (Malay realm) ถูกใช้ในบทความนีใ้ นความหมายเดียวกัน คือ พืน้ ทีภ่ มู ศิ าสตร์ในปัจจุบนั ซึง่ รวมอาณาบริเวณทาง ประวัตศิ าสตร์ของอาณาจักรมาเลย์และสุลต่าน ช่วงระหว่าง ค.ศ. 670 และค.ศ. 1511 (Benjamin and Chou 2002, 5; Howell and Palmer 1993) อ่านเพิม่ เติม (Benjamin and Chou 2002) 3 ดู รายละเอียด (Faucher 2006; Kahn 2005; Lian 2001; Liow 2005; Miyazaki 2000; Spaan, van Naerssen, and Kohl 2002; Tan 2000) 2

64

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


(ศาสนา ในกรณีนี้คืออิสลาม) และราชา (raja) (สถาบันกษัตริย์ คือสุลต่าน) งานอีกชิ้นที่มีการอ้างอิง ถึงน้อยกว่าแต่มีการตีความที่ชัดเจนไม่แพ้กันคืองานของไซนาล อบิดิน อาหมัด (Zainal Abidin Ahmad) หรือทีร่ จู้ กั กันในชือ่ ซาบา (Za’ba) ผูซ้ ง่ึ เป็นทัง้ นักปรัชญามาเลย์ นักเขียน และนักชาตินยิ ม ทีใ่ นช่วง ค.ศ. 1917 ได้อุทิศตนในการแสวงหาคำ�นิยามของอัตลักษณ์ของ “มาเลย์” ซาบาอธิบายว่า “ไม่ว่าใครก็ตามอาจจะถูกพิจารณาว่ามีสายเลือดมาเลย์เดียวในโลกมาเลย์ ถ้าเขาผู้นั้นถือกำ�เนิด ในหมูเ่ กาะอินโด-มาเลย์ นับถือศาสนาอิสลาม และรับเอาภาษามาเลย์ โลกทัศน์ อุปนิสยั และประเพณี มายึดถือปฏิบตั ”ิ 4 (Adnan Nawang 2009, 11) มุมมองเช่นนีช้ ว่ ยสนับสนุนความยืดหยุน่ ของขอบเขต ทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ให้กับความเป็นมาเลย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ช่วยให้แนวคิดเรื่อง มาซุกมลายู (masuk Melayu-การเข้าสู่ความเป็นมาเลย์) (Liow 2005, 47) ในกรณีนี้ มาซุกมลายู หมายถึง กระบวนการที่บุคคลหนึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางด้านลักษณะบ่งชี้อัตลักษณ์ที่กล่าวมา ข้างต้น ได้แก่ ภาษา ศาสนา และการยึดโยงกับประเพณีมาเลย์ (Miyazaki 2000) ตั้งแต่อดีต “ความเป็นมาเลย์” ได้กลายเป็นตัวแทนของหลายสิ่งหลายอย่างที่ซ้อนทับกัน ทัง้ กลุม่ คนในทางภาษาศาสตร์ คำ�บ่งชีช้ าติพนั ธุ์ แนวคิดทางวัฒนธรรม และสิง่ แสดงขอบเขตแบบคร่าว ๆ ในรูปแบบที่รู้จักกันในชื่อโลกมาเลย์ (Liow 2005, 48) เลียว (Liow 2005, 48) อธิบายว่า “มันเป็นเพราะชุดความคิดนี้ ที่เอื้อให้คนที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องโลกมาเลย์เชื่อว่า ด้วยภาษาและ ศาสนา คนส่วนใหญ่ในหมู่เกาะอินโด-มาเลย์ เป็น ‘มาเลย์’ โดยแก่นแท้” ไม่น่าสงสัยเลยว่าตรรกะ เช่นนี้ทำ�ให้ผู้นำ�ชาตินิยมในยุคแรก ๆ ของทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียใฝ่ฝันที่จะมีการปกครองที่ช่วย หลอมรวมคนในภูมิภาคมาเลย์ (Pan-Malay) (Holst 2007) และฟื้นฟูความรุ่งเรืองของโลกมาเลย์ ทีด่ �ำ รงอยูแ่ ละเฟือ่ งฟูในสมัยก่อนอาณานิคม (Liow 2005) แม้วา่ ความพยายามของพวกทีน่ ยิ มชมชอบ ในภูมภิ าคมาเลย์ในการนำ�เสนอ อินโดนีเซีย-รายา (Indonesia-Raya) และ มลายู-รายา (Melayu-Raya)5 จะไม่ได้ถกู พัฒนาอย่างเป็นจริงเป็นจังแต่กไ็ ด้สร้างให้เกิดความรับรูว้ า่ คนทัง้ สองประเทศมีความเป็นพี่ เป็นน้องที่ยาวนานและลึกซึ้งในหลายระดับ (Farish Noor 2009)

แปลจากภาษาต้นฉบับ: ‘Melayu’adalah “seorang Islam bangsa Melayu, anak Melayu keturunan Melayu, darah Melayu, hati Me layu dan keadaan Melayu”. Manakala ‘kaum Melayu’pula mencakupi mereda yang berada di Alam Me layu atau Dunia Melayu yang dijelaskannya dengan berkata: Bahawa Kaum. Melayu itu satu darah asalkan Melayu namanya dan Islam agamanya walau dimana pun cerok rantau jajahan negerinya (Pahang, Kelantan, Jawa, Boyan, Minangkabau, Bugis atau lainnya). ดู (Adnan Nawang 2009):‘Melayu’ adalah “seorang Islam bangsa Melayu, anak Melayu keturunan Melayu, darah Melayu, hati Melayu dan keadaan Melayu. Manakala ‘kaum Melayu’pula mencakupi mereka yang berada di Alam Melayu atau Dunia Melayu yang dijelaskannya dengan berkata: Bahawa Kaum Melayu itu satu darah asalkan Melayu namanya dan Islam agamanya walau di mana pun cerok rantau jajahan negerinya Pahang, Kelantan, Jawa, Boyan, Minangkabau, Bugis atau lainnya. 5 สำ�หรับรายละเอียดเกีย่ วกับการรับรูท้ างเครือญาติ และแนวคิดเรือ่ งภูมภิ าคมาเลย์นยิ ม (Pan-Malayism) ของอินโดนีเซีย-รายา (Indonesia-Raya) และ มลายู-รายา (Melayu-Raya) ดู (Liow 2005) 4

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 65


ความลื่นไหลของอัตลักษณ์มาเลย์ทำ�ให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับ “บ้านเกิดเมืองนอนของ วัฒนธรรมมาเลย์” (Andaya 2001, 317) และเมือ่ เปรียบเทียบกัน เมือ่ ใดทีว่ ฒ ั นธรรม “มาเลย์” แบบที่ รูจ้ กั กันทุกวันนีไ้ ด้ถอื กำ�เนิดขึน้ ในโลกมาเลย์ (Wan Norhasniah Wan Husin 2011, 133) เมือ่ พิจารณาถึง “กลุม่ ผูค้ นทีม่ าจากเชือ้ ชาติทหี่ ลากหลาย” ทีม่ ปี ระสบการณ์ทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจเฉพาะตัว (Liow 2005, 47) ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมมาเลย์ทพี่ ฒ ั นามาจากอดีตได้ผสมผสานองค์ประกอบจาก กลุม่ คนทีแ่ ตกต่างอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ (Miyazaki 2000, 93) และได้สร้างให้เกิดเป็น “วัฒนธรรมมาเลย์ ที่มีเอกลักษณ์” แสดงให้เห็นถึง “ผลผลิตของอิทธิพลทางวัฒนธรรม การหยิบยืม และการผสมผสาน ตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษ” (Kahn 2005, 165) นักภาษาศาสตร์และนักประวัตศิ าสตร์อาจโต้เถียงว่า วัฒนธรรมทีเ่ ป็นเอกลักษณ์นเี้ ป็นการผสมผสานขององค์ประกอบของอินเดีย พุทธ และอิสลาม ทีถ่ กู ซึมซับ ผ่านการประกอบพิธีกรรมและความเชื่อในช่วงยุคสมัยศรีวิชัย มัชปาหิต และอาณาจักรมะละกา ในช่วง ค.ศ. 670-1511 (Howell and Palmer 1993) การศึกษาเหล่านีแ้ สดงให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่จะเป็นไปไม่ได้ทจ่ี ะระบุอย่างชัดเจนว่าองค์ประกอบใด มาจากคนกลุ่มใดในพื้นที่ที่กำ�หนดขึ้นอย่างหลวม ๆ อย่างโลกมาเลย์ แต่มันยังเป็นไปไม่ได้ในแง่ ของการระบุระดับของการผสมข้ามวัฒนธรรมในภูมิภาค ซึ่งทราบกันดีว่าธรรมชาติของวัฒนธรรมที่ ตกทอดกันมานั้น “เคลื่อนไหว ไหลลื่น และแปรเปลี่ยนอยู่ตลอด” (Yu 2008, 493) ที่สำ�คัญมันคง เป็นไปไม่ได้แน่ที่จะระบุว่าใครเป็นเจ้าขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมอะไรภายใต้กรอบคิดที่ยืดหยุ่น และแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดของอัตลักษณ์มาเลย์ ฟาริส นอร์ (Farish Noor 2009) ขยายข้อโต้แย้งนี้ ในบริบทของความขัดแย้งเรื่องเพนเดท “ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันเป็นโครงสร้างสมัยใหม่ทข่ี อบเขต ประเทศถู ก กำ � หนดขึ้น ในยุ ค อาณานิ ค ม เนื่อ งจากหลั ก ฐานทางประวั ติศ าสตร์ มีมากพอที่จะแสดงให้เห็นว่ามรดกวัฒนธรรมร่วมมีอายุย้อนไปถึงยุคฮินดู-พุทธ ก่อนสมัยใหม่ มันอาจจะเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่บอกว่าการเรียกร้องของอินโดนีเซีย เหนือผ้าบาติก วายังกูลิต หรือแม้แต่ภาษาจะสามารถดำ�เนินต่อไปได้ท่ามกลาง กรอบคิดของประวัตศิ าสตร์ภมู ภิ าคทีม่ รี ว่ มกัน ซึง่ การเคลือ่ นย้ายผูค้ น ความคิด และ วัฒนธรรมเคยมีความลื่นไหลมากกว่าในปัจจุบันมากนัก” เกี่ยวกับวัฒนธรรมมาเลย์ ข้อโต้แย้งได้ถูกขยายออกไปโดย วาน นอร์ฮาสนิอะห์ วาน ฮุเซน (Wan Norhasniah Wan Husin 2011) ผู้ซึ่งเสนอว่าวัฒนธรรมมาเลย์ถูกสร้างขึ้นบนแนวคิดของบูดี (budi แปลคร่าว ๆ ว่าการสำ�นึกในบุญคุณ) ซึง่ มีมาตัง้ แต่กอ่ นทีศ่ าสนาฮินดูจะเข้ามาในภูมภิ าค คำ�อธิบาย ของวาน นอร์ฮาสนิอะห์ วาน ฮุเซน (Wan Norhasniah Wan Husin 2011, 133) เกีย่ วกับความผูกพัน ที่แน่นแฟ้นระหว่างบูดีและวัฒนธรรมมาเลย์นั้นมีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อประเด็นเครือญาติและ ความเป็นพี่น้องกันทางวัฒนธรรมในโลกมาเลย์ “บูดีเป็นเรื่องทางจิตใจบางครั้งถูกใช้ในความหมายว่าจิตวิญญาณ ในขณะที่ ดายา (daya) หมายถึง การกระทำ�ทีเ่ ป็นรูปธรรม การผสมผสานของคำ�ว่าบูดแี ละดายาเรียกว่า บูดายา (budaya) หรือวัฒนธรรมทีแ่ สดงออกถึงจิตวิญญาณมาเลย์หรือประเพณีของ 66

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


มาเลย์ เป้าหมายสูงสุดของบูดคี อื การรักษาไว้ซงึ่ สันติภาพและความกลมเกลียวกันของ ความสัมพันธ์กบั ผูอ้ นื่ หลักการทีม่ นั่ คงนีไ้ ด้ถกู ปรับเปลีย่ นหลายต่อหลายครัง้ เพือ่ ให้ มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หากมีองค์ประกอบภายนอก ทีส่ อดคล้องกับบูดมี นั ก็จะถูกดูดกลืนเข้ามาโดยยังคงรักษาคุณลักษณะของบูดไี ว้ สิง่ ที่ เปลีย่ นแปลงไปเพียงอย่างเดียวคือการกระทำ�ทีถ่ กู แสดงออกในรูปแบบทีเ่ ปลีย่ นไป”

ผู้เขียนบรรยายต่อไปอีกว่า “ความเป็นอิสระของบูดีนั้นสามารถดูได้จากความเชื่อมโยงกับระบบจารีตหรือ ธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานทางสังคมของมาเลย์ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน จะเป็นสังคมอิสลาม นี่หมายถึงว่าชุมชนมาเลย์ทั้งหมดในอาณาจักรมาเลย์ไม่ว่า จะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตามได้รับเอาระบบจารีตมาอยู่ในประเพณีและพิธีกรรม ของพวกเขา กลุม่ คนเหล่านี้ ได้แก่ บิดายู (Bidayuh) เคนยา (Kenyah) คายาน (Kayan) อิบาน (Iban) และเคลาบิท (Kelabit) ในซาราวัค (Sarawak) มูรตั (Murut) คาดาเซน/ ดูซนู (Kadazan/Dusun) ในซาบา (Sabah) บาตัก (Batak) ในสุมาตรา (Sumatera) ตารอดจา (Tarodja) ในสุลาเวสี (Sulawesi) กลุม่ ชาวมาเลย์ในฟิลปิ ปินส์ และชาวมาเลย์ ในคาบสมุทรมาเลย์ ถ้าจะมีความหลากหลายอะไรในประเพณีก็สืบเนื่องมาจาก ความแตกต่างทางภูมศิ าสตร์นนั่ เอง อย่างไรก็ตาม คนเหล่านีม้ คี า่ นิยมทางวัฒนธรรม คล้ายคลึงกัน ความแตกต่างจึงไม่ชดั เจนมากนักเพราะค่านิยมภายในนัน้ คล้ายคลึงกัน ซึ่งก็คือการเทิดทูนสันติภาพและความยุติธรรมในชีวิต”

ข้อโต้แย้งของ วาน นอร์ฮาสนิอะห์ วาน ฮุเซน 2011 ได้เสนอแนวคิดใหม่ในการพิจารณาความสัมพันธ์ ระหว่างอัตลักษณ์มาเลย์ที่ลื่นไหลและความคิดแบบเซรัมปัน รวมทั้งความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ด้วยการกำ�หนดให้บูดีเป็นลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน ทำ�ให้เป็นไปได้ที่จะจับคู่แนวคิดเรื่อง เครือญาติกับพื้นที่ส่วนรวม ในกรณีนี้ “ค่านิยมภายใน” (internal values) หรือแก่นแท้ของ อัตลักษณ์และวัฒนธรรมมาเลย์ คือ “การรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ ความกลมเกลียว และความยุติธรรม” (Wan Norhasniah Wan Husin 2011, 133) ก็อาจเหมือนกันทั่วทั้งโลกมาเลย์แม้ว่าภาพที่เห็น อาจจะไม่เป็นเช่นนัน้ ก็ตาม หากถือว่าค่านิยมภายในนีเ้ ป็นจุดเริม่ ต้นของอัตลักษณ์และวัฒนธรรมร่วม ซึ่งครั้งหนึ่งมันได้ช่วยสนับสนุนความเป็นเครือญาติตามแนวคิดแบบเซรัมปัน ขณะเดียวกันก็ช่วยลด ความพยายามสุดโต่งในการกลับไปหาจุดกำ�เนิดของวัฒนธรรมมาเลย์ ถ้ายอมรับหลักการนี้ แนวคิดบูดี ดังที่แสดงในเปอบิลังกัน (perbilangan – ภาษิต) ว่า “ลาอิน ลูบอค ลาอิน อิคันยา ดาน ลาอิน ปาดัง ลาอิน เบลาลัง” (Lain lubok lain ikan-nya dan lain padang lain belalang – ทะเลสาปแต่ละแห่ง มีปลาต่างสายพันธุก์ นั ขณะทีท่ งุ่ หญ้าแต่ละแห่งก็มตี กั๊ แตนต่างสายพันธุก์ นั ) (Wan Norhasniah Wan Husin 2011, 133) ซึ่งได้ให้เหตุผลแก่คนอินโดนีเซียและมาเลเซียในการทำ�ความเข้าใจและยอมรับ ความแตกต่างของวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 67


มันเป็นแค่เรื่องนาฏกรรม...จริงหรือ คำ�ถามที่สำ�คัญคือความขัดแย้งเกี่ยวกับเพนเดทเกี่ยวข้องกับการแก่งแย่งกันเป็นเจ้าของ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมในแง่ใด ถ้าความขัดแย้งนีเ้ ป็นเรือ่ งเพนเดทเท่านัน้ การออกมาแสดงความรับผิดชอบ ของรายการดิสคัฟเวอรี่ ตามมาด้วยการขอโทษของสถานีโทรทัศน์และรัฐบาลมาเลเซียก็นา่ จะช่วยลด ข้อกล่าวหาที่มีให้เบาบางลงและเป็นการปฏิเสธ “การขโมย” เพนเดทในสายตาของชาวอินโดนีเซีย นอกจากนีผ้ เู้ ชีย่ วชาญทางวัฒนธรรมได้ให้การยืนยันว่ามรดกวัฒนธรรมทีม่ กี ารแย่งชิงกันจำ�นวนมากไม่ ได้มถี นิ่ กำ�เนิดอยูใ่ นประเทศทัง้ สอง อาทิ เพลงชาติมาเลเซีย “เนการาคู” (Negaraku) ได้รบั การยืนยันว่า ดัดแปลงมาจากเพลงฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 19 (Malik 2009) อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ การขอโทษ และการออกมายืนยันจะไม่ชว่ ยให้เรือ่ งสงบลง ความไม่พอใจของชาวอินโดนีเซียกลับยิง่ รุนแรงมากขึน้ แสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดทีห่ ยัง่ รากลึกระหว่างทัง้ สองประเทศ จากข้อเขียนของสตีเฟน ฟิทซ์แพทริค (Fitzpatrick 2009, 1) ของหนังสือพิมพ์ดอิ อสเตรเลียน (The Australian) “นับตัง้ แต่ คอนฟรอนตาซี (konfrontasi) ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ก็ไม่เคยมีเหตุการณ์รนุ แรงดังเช่นทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงหลายเดือน ที่ผ่านมานี”้ ด้านคาบสมุทรมะละกา ชาวมาเลเซียตกอยูใ่ นความประหลาดใจต่อ “ความเกลียดชังทีป่ ะทุขน้ึ ” (Lopez 2009, 1) จาก “ความเข้าใจผิด” (Suditomo, Pudjiarti, and Dimyathi 2011, iii). ดาโต๊ะ ราอิส ยาติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ การสื่อสารและวัฒนธรรมของมาเลเซีย (Dato’ Rais Yatim) แสดงความแปลกใจเช่นกัน “เป็นไปได้อย่างไรทีแ่ ค่นาฏกรรมชุดเดียวทีส่ ถานีโทรทัศน์ ของอีกประเทศเอาไปออกอากาศทำ�ให้เราลุกขึ้นมาเผาธงชาติและขว้างปาก้อนหิน” (Suditomo, Pudjiarti, and Dimyathi 2011, iii) ตามทีป่ รากฏในรายงานข่าว ชาวมาเลเซียในภาพรวมแสดงความไม่ สบายใจต่อพฤติกรรมทีถ่ กู มองว่าเป็น “การแสดงความโกรธแค้นทีเ่ กินพอดี” (Ahmad Pathoni 2009, 1) ขณะที่คนมาเลเซียจำ�นวนมากมองว่าการเรียกร้องของอินโดนีเซียเป็นเรื่อง “ไร้สาระ” (Farish Noor 2009, 1) “น่าขบขัน” (Tunku Abdul Aziz 2009, 1) “ใจคอคับแคบ” (BERNAMA 2009) และ “ไร้เหตุผล” (Malaysian Insider 2010, 1) “การประณามทัว่ ทัง้ ประเทศของชาวมาเลเซีย” ทีเ่ ติบโตขึน้ จากการประท้วงเล็ก ๆ (Suparno 2010, 1) ได้จุดประกายให้เกิดความรู้สึกรุนแรงไม่แพ้กัน ในบางพื้นที่ของมาเลเซีย ด้วยการนำ�ของนักการเมืองชื่อดัง ตุนกู อับดุล อาซิส (Tunku Abdul Aziz 2009, 1) ซึ่งได้ออกมายืนยันอย่างเกรี้ยวกราดต่อ “ความจำ�เป็นในการส่งคนอินโดนีเซียกลับบ้านด้วยเงื่อนไขที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่ จะเป็นไปได้ ความยากลำ�บากที่เพิ่มขึ้นในการรู้สึกและควบคุมความโกรธแค้น คนของพวกเรา อีกนานแค่ไหนที่พวกเราจะต้องอดทนมองดูธงชาติซึ่งเราต่อสู้ อย่างน่าภาคภูมใิ จจนได้มาเมือ่ 53 ปีทแ่ี ล้วถูกเหยียบยํา่ ลบหลูด่ หู มิน่ จากคนทีน่ า่ รังเกียจ และป่าเถื่อนกลุ่มแล้วกลุ่มเล่า”

68

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


การแลกเปลี่ยนระหว่างกันของทั้งสองประเทศที่กล่าวข้างต้น เป็นมากกว่าความผิดปกติของ ความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้อง แต่เป็นลักษณะของ “การแข่งขันกันในหมู่พี่น้อง” ที่เกิดจาก “ความคาดหวังทีไ่ ร้เหตุผลของทัง้ สองฝ่าย” ความรูส้ กึ ทีเ่ กิดขึน้ อย่างทันทีทนั ใด และภาพพจน์ทแ่ี ต่ละฝ่าย มองอีกฝ่ายหนึ่ง (Weiss 2010, 186) ทั้ง ๆ ที่มีคำ�สาบานตนกล่าวซํ้า ๆ กันว่าจะสามัคคีกันในหมู่ผู้นำ� และประชาชน แต่ปรากฏว่าความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้องระหว่างสองประเทศถูกขัดจังหวะ ด้วยความแตกแยกที่เริ่มมาตั้งแต่ยุคก่อนอาณานิคม (Liow 2005) การแข่งขันและความบาดหมาง ทีแ่ สดงให้เห็นอยูเ่ ป็นระยะผ่าน “การกล่าวโจมตี” “การไชโยโห่รอ้ ง” (Hunt 2010, 3) และ “การยัว่ ยุ ทางทหาร” (Weiss 2010, 172) อั น ที่ จ ริ ง ก็ เ ป็ น แกนหลั ก ของความสั ม พั น ธ์ ท างการทู ต ของ ทั้งสองประเทศที่เกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าเล่า (Klinken and Barker 2009) มีประวัตศิ าสตร์บนั ทึกไว้วา่ ความเป็นศัตรูกนั ของทัง้ สองประเทศได้ขนึ้ ไปถึงจุดสูงสุด ในยุคของ นโยบายคอนฟรอนตาซี (konfrontasi หรือ การเผชิญหน้า) ใน ค.ศ. 1962 ในการประท้วงแผนการประกาศ การตั้งสหพันธรัฐมาเลเซียที่ได้รวมเขตอาณานิคมอังกฤษบอร์เนียวและสิงคโปร์ไว้ด้วย (Holst 2007) นโยบายนี้รวมถึงการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งกานยางมาเลเซีย (Ganyang Malaysia – บดขยี้มาเลเซีย) ผ่านโฆษณาชวนเชื่อในหมู่ชาวอินโดนีเซียซึ่งนำ�ไปสู่การระงับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง สองประเทศในเวลาต่อมา (Holst 2007) การกลับมาอีกครัง้ ของสัญลักษณ์ของคอนฟรอนตาซีในอดีต บนท้องถนนในกรุงจาการ์ตา (Farish Noor 2009) ทุกอย่างเกิดขึ้นภายหลังจากมีความขัดแย้ง เรือ่ งเพนเดท แต่กไ็ ด้เผยให้เห็นถึงปัญหาความสัมพันธ์แบบเครือญาติทซ่ี อ่ นอยู่ การสนองตอบด้วยอารมณ์ ของทั้งสองฝ่ายและสถานการณ์ที่เสื่อมถอยอย่างรวดเร็วไปสู่การใช้ความรุนแรงของชาวอินโดนีเซีย จำ�นวนมาก เผยให้เห็นคลืน่ ใต้นาํ้ ของความขัดแย้งในระดับรากเหง้าของปัญหาเลยทีเดียว แม้ไม่มกี าร พูดถึงแต่กก็ ล่าวได้วา่ ความตึงเครียดนีอ้ าจจะปะทุขนึ้ คุกคามความมัน่ คงและเสถียรภาพของภูมภิ าคได้ คำ�เตือนล่วงหน้าของนักวิเคราะห์ความมั่นคงในกรุงจาการ์ตา คีท เลิฟอาด (Keith Loveard) ก็มาไม่ทันเวลา “ถ้าคุณดูการตอบสนองของอินโดนีเซียต่อเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จะเห็นว่ามันเป็นวิธีที่ อันตรายมาก” (Hunt 2010, 1) ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ความเข้าใจทีก่ ว้างขวางขึ้นเกีย่ วกับรูปแบบ พฤติกรรมในอดีตของทัง้ สองชาติมคี วามสำ�คัญอย่างยิง่ ในการป้องกันไม่ให้เกิดความโกลาหลวุน่ วายที่ จะเกิดตามมา เนือ่ งจาก “รูปแบบของพฤติกรรมทางการเมืองมักจะอยูภ่ ายในและหยัง่ รากลึกในความ รูส้ กึ ถึงความเป็นชาติ” (Tunku Abdul Aziz 2009, 1) มันมักจะช่วยแนะแนวทางในการทำ�ความเข้าใจ ความบาดหมางที่แฝงตัวอยู่ และสิ่งที่น่ากังวลในความขัดแย้งนั้น (Neustadt and May 1988) ในกรณีนี้การคัดค้านการประสานงานของเบนเดรา โดยมุสตาร์ โบนาเวนทูรา ต่อกรณีความขัดแย้ง เรื่องเพนเดท น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี การอ้างว่าจุดยืนของกลุ่มต่อต้านมาเลเซียไม่ได้เกิดขึ้นจากเรื่อง การขโมยมรดกวัฒนธรรมอินโดนีเซียแต่เพียงอย่างเดียว โบนาเวนทูรายืนกรานว่า “มันก็เกี่ยวข้อง กับทุกเรื่องนั่นแหละ รวมทั้งการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะของพวกเรา และการกลั่นแกล้งแรงงานอพยพ ชาวอินโดนีเซียด้วย” (Mardiyati 2009, 1) จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งคือข้อพิพาทด้านเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ซึ่งได้ทำ�ให้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศตึงเครียดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Klinken and Barker 2009) ข้อพิพาทเหนือหมู่เกาะลิกิตัน (Ligitan) และสิปาดัน (Sipadan) ซึ่งเกิดในช่วงทศวรรษ 1980 ได้จบลงเมื่อ ค.ศ. 2002 ตามคำ�สั่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 69


(International Court of Justice) ที่ได้ตัดสินให้หมู่เกาะดังกล่าวเป็นของมาเลเซีย (Singh 2009) ต่อมาไม่นาน ใน ค.ศ. 2005 การแย่งชิงสิทธิ์เหนือเขตอัมบาลัต (Ambalat) ที่อุดมไปด้วยนํ้ามัน ก็ได้สร้างความขัดแย้งทางความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นอีกครั้ง (Prameshwari, Sihaloho, and Tejo 2009) ในช่วงทีว่ กิ ฤตทีส่ ดุ ของข้อพิพาทอัมบาลัต ทัง้ สองประเทศระดมเรือรบ เครือ่ งบินไอพ่น เรือปืน และกำ�ลังพลประจำ�การในพืน้ ทีย่ ทุ ธศาสตร์พร้อมจูโ่ จม (Weiss 2010) ความขัดแย้งเดิมปะทุขนึ้ อีกครัง้ ใน ค.ศ. 2009 เมือ่ สมาชิกสภานิตบิ ญ ั ญัตอิ นิ โดนีเซียกล่าวหาทางการมาเลเซียว่าละเมิดน่านนํา้ 19 ครัง้ ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถนุ ายน ค.ศ. 2009 (Taiwan News 2009) รวมถึงเหตุการณ์ทเี่ รือรบมาเลเซีย “อีกเพียงอึดใจเดียวก็จะถูกยิง” จากเรือรบอินโดนีเซียเนือ่ งจากละเมิดน่านนํา้ อินโดนีเซีย (Tejo 2009, 1) ความขัดแย้งอัมบาลัตยังไม่ทันจะได้รับการแก้ไข ปัญหาพรมแดนก็กลับมาอีกครั้งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 ในการอ้างสิทธิเ์ หนือภูมภิ าคคามาร์ บูลนั (Camar Bulan) และตันจุง ดาตู (Tanjung Datu) ในกาลิมันตันตะวันตก ความขัดแย้งเหล่านี้ประกอบกับความกังวลใจอื่นในด้านการต่างประเทศ ได้กลายเป็นภาพหลอนที่คนคุ้นเคยและถูกใช้ในสื่อมวลชนอินโดนีเซียสำ�หรับจุดประกายความรู้สึก เกลียดชังที่มีต่อมาเลเซีย ในหลายกรณีสื่อมวลชนยิ่งทำ�ให้สถานการณ์ของปัญหาเลวร้ายขึ้นจาก การเลือกนำ�เสนอแนวคิดชาตินิยมและความเห็นที่แข็งกร้าว (Farish Noor 2009) และสถานการณ์ เกีย่ วกับเหตุการณ์เพนเดทก็เช่นเดียวกัน ไม่นา่ แปลกใจว่าความขัดแย้งเรือ่ งพรมแดนยังคงเป็นฐานคิด ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งที่ถูกนำ�มาใช้ในกระบวนการชาตินิยม (Farish Noor 2009) ด้วยความซับซ้อนของปัญหาทำ�ให้ความตึงเครียดที่มีอยู่แล้วจากปัญหาชาวอินโดนีเซียอพยพ ในมาเลเซียยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ไร้ทางออกของความสัมพันธ์อินโดนีเซีย-มาเลเซียในยุคปัจจุบัน ปรากฏการณ์การอพยพของชาวอินโดนีเซียไปยังมาเลเซียในปัจจุบนั อันทีจ่ ริงเป็นสิง่ ทีเ่ กิดต่อเนือ่ งจาก การอพยพด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจครัง้ ใหญ่ตงั้ แต่ทศวรรษ 1970 ของชาวอินโดนีเซียไปยังคาบสมุทร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการแรงงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจของมาเลเซีย (Liow 2005) ซึง่ การอพยพครัง้ ใหญ่ในยุคนัน้ โดยเฉพาะกลุม่ คนทีถ่ กู มองว่าเป็นรัมปัน (rumpun) เดียวกันได้รบั การ สนับสนุนจากกลุ่มผู้นำ�ชนชั้นปกครอง ด้วยเชื่อว่าผู้อพยพจะช่วยรักษาสภาพความเป็นคนกลุ่มใหญ่ ของผู้ มี สิ ท ธิ์เ ลือกตั้ง ชาวมาเลย์ และช่วยเป็น “กันชนทางประชากรต่อคนจีนและคนอินเดีย” (Widyawati 2006, 226) นโยบายนีท้ �ำ ให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศทีม่ แี รงงานอพยพสูงเป็นอันดับสอง ของเอเชีย (Devadason 2011) บันทึกของกรมสถิตขิ องมาเลเซียเมือ่ เดือนกันยายน ค.ศ. 2011 ระบุวา่ แรงงานอพยพจำ�นวน 6.9 ล้านคนถือเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 35.2 ของแรงงานทั้งหมดในมาเลเซีย (Department of Statistics Malaysia 2011) ในจำ�นวนนีร้ าวสองล้านคนเป็นคนอพยพทีไ่ ม่ได้ขนึ้ ทะเบียน (Gooch 2011) โดยเฉพาะใน ค.ศ. 2010/11 รายงานเศรษฐกิจโดยกระทรวงการคลังประเมินว่า มีแรงงานอพยพชาวอินโดนีเซียร้อยละ 50.9 ของแรงงานอพยพที่ขึ้นทะเบียนในมาเลเซีย (Ministry of Finance Malaysia 2010) นักเศรษฐศาสตร์ยืนยันว่า “มาเลเซียไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเปิดรับแรงงานต่างชาติ” (Gooch 2011, 1) เนื่องจากภาวะการขาดแคลนแรงงานและความไม่เต็มใจของประชากรท้องถิ่น ในการทำ�งานสกปรก อันตรายและเสียเกียรติที่เรียกว่า 3D “Dirty, Dangerous, and Demeaning” (Abubaker 2002) แต่การอยู่ร่วมกันและคุณูปการของแรงงานต่างชาติต่อพัฒนาการด้านสังคม เศรษฐกิจของมาเลเซียในระดับท้องถิน่ ก็ยงั คลุมเครืออยูม่ าก (Ramasamy 2004) เนือ่ งจากคนอพยพ 70

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


มักจะทำ�งานทีค่ นท้องถิน่ เลีย่ ง ความสัมพันธ์ระหว่างคนทัง้ สองกลุม่ จึงเริม่ ต้นแบบ “เจ้านาย – ลูกน้อง” เมือ่ เวลาผ่านไปมันก็ได้พฒ ั นากลายเป็นการเลือกปฏิบตั ิ เป็นเรือ่ งธรรมดา และเป็นอาการกลัวคนต่างชาติ (Seneviratne 2007) ในปัจจุบันสิ่งที่คุกคามความสัมพันธ์แบบเครือญาติเช่นนี้ก็ไม่ได้มีทีท่าที่จะ ลดลงเลย นอกจากอำ�นาจที่ไม่เท่ากันแล้ว การที่สังคมตราหน้าแรงงานข้ามชาติว่าเป็นอันตรายยังเกิด จากการนำ�เสนอภาพพจน์ในทางลบของแรงงานข้ามชาติของสื่อมวลชนมาเลเซียที่มักกล่าวโทษว่า ปัญหาสังคมในประเทศจำ�นวนมากเกิดจากแรงงานข้ามชาติ การกล่าวถึงการกำ�จัดแรงงานและการ ลดจำ�นวนพบเห็นได้ดาษดืน่ ในสือ่ ทีเ่ ต็มไปด้วยการใช้ค�ำ จำ�พวก “ชำ�ระล้างพวกแรงงานอินโดนีเซียผิด กฎหมายออกไปให้หมด” “ตามล่าพวกผิดกฎหมาย” หรือ “เก็บกวาดพวกผิดกฎหมายทั่วประเทศ” ในบางครัง้ สือ่ ก็ใช้ภาษาทีแ่ ฝงความรุนแรง เช่น “การนำ�ไปสูก่ ารประทุษร้ายแรงงานต่างชาติผดิ กฎหมาย ในประเทศทีม่ รี าว 1.2 ล้านคน” (Holst 2007, 335) นอกจากนี้ การชีม้ ลู ความผิดบนข้อสันนิษฐานล้วน ๆ ก็มกั จะถูกนำ�ไปใช้เป็นพาดหัวข่าว อาทิ “ชายชาวอินโดนีเซียถูกจับ : รูปพรรณสัณฐานคล้ายกับฆาตกร ฆ่านายรอสลี”่ “ชายสามคนพร้อมอาวุธมีดบังตอและเคียวจับกุมตัวสามีภรรยาคูห่ นึง่ และข่มขืนหลาน สาววัย 22 ปีของพวกเขาก่อนทีจ่ ะขโมยเงินและเครือ่ งประดับไป ทัง้ สามคนน่าจะเป็นชาวอินโดนีเซีย” (Widyawati 2006, 223) ความโกรธและคับแค้นใจจึงได้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอินโดนีเซียรอคอย ความหายนะที่จะเกิดขึ้น ลักษณะของชาวมาเลเซียที่พวกเขาพูดถึงแสดงออกถึงความคับแค้นใจ อย่างชัดเจน แรงงานชาวอินโดนีเซียคนหนึง่ เล่าจากประสบการณ์ของตนอย่างสลดหดหูว่ า่ คนมาเลเซีย “มองพวกเราเหมือนกับที่พวกเขามองขยะ” (Widyawati 2006, 228) ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 นโยบายของมาเลเซียในการลดจำ�นวนผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารส่งผลให้ มาตรการด้านความมัน่ คงมีความเข้มงวดมากขึน้ มีงานวิจยั แสดงว่าการใช้มาตรการลงโทษอย่างรุนแรง ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติได้ถูกนำ�ไปใช้อย่างเกินพอดีและด้วยวิธีการที่ไร้มนุษยธรรม (Widyawati 2006, 225) หลักฐานการปฏิบตั ทิ ไี่ ม่เหมาะสม การทำ�ร้ายร่างกายผูอ้ พยพชาวอินโดนีเซีย ทำ�ให้ในที่สุดรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งห้ามการส่งแรงงานอพยพเข้าไปในมาเลเซียใน ค.ศ. 2009 และ มาตรการนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 จากข้อตกลงที่มีระหว่างสองประเทศเกี่ยวกับ ความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในการทำ�งาน และเงินเดือนของแรงงาน (Jakarta Post 2011) หลังจากการพัฒนาความสัมพันธ์ลา่ สุดนีย้ งั คงต้องจับตาดูตอ่ ไปว่าแรงงานข้ามชาติจะยังคงเป็นประเด็น ปัญหาในความสัมพันธ์ทางการทูตในอนาคตของสองประเทศหรือไม่

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 71


การปะทะในโลกทัศน์ อัตลักษณ์ และผลประโยชน์ แนวคิ ด เรื่ อ งโลกทั ศ น์ (worldview) ในขอบเขตของมานุ ษ ยวิ ท ยาสั ง คมริ เริ่ ม ขึ้ น โดย นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม โรเบิร์ต เรดฟิลด์ (Redfield 1953, 85, NaN, 12) ซึ่งนิยามโลกทัศน์ว่า “คุณลักษณะเฉพาะของวิธีที่ผู้คนมองออกไปเบื้องนอก” (the way a people characteristically look outward upon the universe) ต่อมาแนวคิดนี้ถูกพัฒนาโดยนักมานุษยวิทยาอีกหลายคน รวมทั้ง ไมเคิล เคียร์นี (Michael Kearney) ซึ่งงานของเขาเกี่ยวกับแนวคิดนี้ได้ให้นิยาม “โลกทัศน์” ว่า “วิธีที่คนมองความเป็นจริง อันประกอบด้วยสมมติฐานเบื้องต้นและภาพในความคิดซึ่งเกี่ยวข้อง ไม่มากก็น้อยกับวิธีคิดต่อโลกและไม่จำ�เป็นต้องถูกต้องเสมอไป” (Kearney 1984, 53) ในธรรมเนียม ปฏิบตั ขิ องสังคม “โลกทัศน์” สามารถเข้าใจได้วา่ คือ “กรอบความคิดทีม่ รี ว่ มกัน” ซึง่ เป็นตัวกำ�หนดว่า สมาชิกในสังคมจะรับรู้โลก และแปลความกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างไร รวมทั้งจะปรับตัวเองให้เข้ากับ ความเป็นจริงที่ได้รับรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละวันอย่างไร (Burnett 2002, 13–16) อิงเกิลฮาร์ท และ คาร์บาลโย (Inglehard and Carballo 2000) เสนอว่าโลกทัศน์ของคน สะท้อนถึงมรดกทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่พวกเขาได้รับมา จึงไม่ต้องสงสัยว่าโลกทัศน์ก่อให้เกิดมิติ พื้นฐานที่สุดอย่างหนึ่งของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคน ซึ่งทำ�ให้วัฒนธรรมหนึ่งแตกต่างจากอีก วัฒนธรรมหนึ่ง อธิบายความเป็นจริง ข้อเท็จจริง ในความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของพวกเขา และเติมเต็มความจำ�เป็นของมนุษย์ที่จะสร้างและรักษาภาพในความคิดของโลกโดยรวม ที่มีระเบียบ แบบแผน และคาดเดาได้ (Ishii, Klopf, and Cooke 2010) จึงอาจกล่าวได้ว่า “โลกทัศน์” คือ แนวคิดทีท่ รงพลังทีใ่ ห้ความหมายแก่ประเพณีทที่ �ำ ร่วมกันมา อัตลักษณ์ทมี่ รี ว่ มกัน และความต่อเนือ่ ง ไร้กาลเวลาของมรดกวัฒนธรรมของผู้คน และช่วยส่งเสริมอัตลักษณ์ของชาติด้วยการมองคนว่ามี ลักษณะร่วมกัน สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ โลกทัศน์ที่มีร่วมกันทำ�หน้าที่เหมือน “ซีเมนต์ หรือ กาวที่ยึด คนส่วนใหญ่ในชาติเข้าด้วยกัน จัดหา และแสดงออกถึงการตีความร่วมกันอย่างกว้างขวางและเป็นไป ในทำ�นองเดียวกันเกีย่ วกับอดีต ปัจจุบนั และอนาคตของชาติ” (Lambert 2006, 24) ความพยายามทีจ่ ะ สร้างและเสริมความเข้มแข็งให้แก่โลกทัศน์ของกลุม่ มักจะเริม่ จากเรือ่ งเล่าทีย่ ดึ เหนีย่ วเพียงพอทีจ่ ะได้รบั การยอมรับเป็นการแสดงออกหลักทางสังคม การเมือง และแม้แต่ศีลธรรม คุณค่าทางจิตใจของชาติ (Lambert 2006) แสดงให้เห็นว่าการก่อรูปและเสริมความเข้มแข็งให้แก่โลกทัศน์ของกลุ่มมักจะ เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมายทางวัฒนธรรมอย่างชาญฉลาด อันประกอบด้วย สัญลักษณ์ ตำ�นาน ระบบสัญลักษณ์ รูปเคารพ และอารมณ์ ในการสร้างภาพลวงตาของความเป็นเผ่าพันธุเ์ ดียวกันของกลุม่ (Salih 1998) เครื่องหมายทางวัฒนธรรมถูกใช้มาอย่างยาวนานในการยึดเหนี่ยวผู้คนผ่านการใช้ เรื่องราวที่ถูกคัดสรรมาทั้งความรุ่งเรืองและบาดแผลที่เป็นโครงเรื่องของตำ�นานเกี่ยวกับบรรพบุรุษ ด้วยเป้าหมายในการรวมเครื่องหมายทางวัฒนธรรมเข้ากับการกระตุ้นความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม (Volkan 1998) ความเชือ่ มโยงระหว่างความรูส้ กึ ของผูค้ นต่อเครือ่ งหมายทางวัฒนธรรมนัน้ มีพลังมาก เพราะมันถูกรับรู้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของพวกเขา (Appiah 2006) มันสร้างความหมายให้แก่โลกของ กลุม่ คนเมือ่ มันถูกผสานเข้ากับชีวติ ในรูปของ “ประสบการณ์ทางโลก การกระทำ�ทัว่ ไป และสามัญสำ�นึก”

72

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


(Tan 2000, 444) เมื่อสัญลักษณ์ ตำ�นาน และเรื่องเล่าถูกส่งผ่านมาในฐานะมรดกวัฒนธรรม6 จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ความเป็นศูนย์กลางในโลกทัศน์และอัตลักษณ์ของผู้คนก็ยิ่งแข้มแข็ง เป็นปึกแผ่นขึน้ (James 2007) ด้วยกระบวนการดังกล่าวมรดกวัฒนธรรมไม่ได้เป็นเพียงองค์ประกอบ ที่ใช้อธิบายอัตลักษณ์ของชาติ (Francioni 2003) แต่ยังเป็นข้อผูกมัดที่ช่วยรักษาความสมบูรณ์ของ อัตลักษณ์ของกลุ่มคนด้วย (Croissant and Trinn 2009) จึงไม่น่าแปลกใจว่ามรดกวัฒนธรรมของ ผู้คนมักจะถูกยกให้เป็นต้นกำ�เนิดของความภาคภูมิใจในชาติ (Liu 2005) เนื่องจากแนวคิดและค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับ “โลกทัศน์” มักจะดูเป็นเหตุเป็นผลและแจ่มชัด ในกลุม่ คนของบางวัฒนธรรม (Burnett 2002, 15) ซึง่ โลกทัศน์ทมี่ คี วามร่วมกันทางวัฒนธรรมส่วนใหญ่ จะถูกปกป้องอย่างระแวดระวัง ดังนั้นจึงเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า “ผู้คนจะพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะต่อต้านความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายสิ่งที่มีความสำ�คัญของพวกเขา” (Ross 2002, 52) ในกรณีนี้ รอส (Ross 2002, 51–52) ยืนยันว่าถึงแม้ในช่วงเวลาวิกฤตก็ยังมี “แนวโน้มอย่างแพร่หลายที่จะ เข้าข้างชาติของตัวเอง” และอนุมานว่าวัฒนธรรมของตนไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางของความเป็นจริง (Pusch 2009, 74) แต่ยงั มีความเป็นสากลเฉกเช่นเดียวกับธรรมชาติของมนุษย์ (Ashwill and Duong Thi Hoàng Oanh 2009, 144) ในสังคมซึ่งแต่ละชุมชนต่างอ้างว่าชุดโลกทัศน์ของตนมีความสำ�คัญ สูงสุด การเผชิญหน้าของทุกกลุ่มที่เกิดจากฐานคิดเช่นนี้ย่อมนำ�ไปสู่ความขัดแย้ง (Chong 2009) พลังของความสัมพันธ์เชิงเครือญาติระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียก่อให้เกิดประเด็นปัญหา พรมแดนระหว่างประเทศ และผู้อพยพข้ามแดนก็เป็นตัวอย่างของปัญหานี้ เชื่อกันอย่างกว้างขวาง ว่ารอยร้าวในความสัมพันธ์อินโดนีเซีย–มาเลเซียส่วนใหญ่พัฒนามาจากความกระอักกระอ่วนของ ทั้งสองฝ่ายที่จะพิจารณาและเข้าอกเข้าใจความแตกต่างของโลกทัศน์และประสบการณ์ของอีกฝ่าย (Liow 2005; Weiss 2010) ในกรณีนจี้ งึ ควรทีจ่ ะเอาใจใส่ตอ่ คำ�เตือนของนักมานุษยวิทยา ซึง่ หลายคน ให้การสนับสนุนว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกทัศน์ของชาติและการถูกนำ�ไปใช้จะสมบูรณ์ไปไม่ได้ หากปราศจากความรูใ้ นรายละเอียดทางประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรม (Inglehard and Carballo 2000) ปัญหาอินโดนีเซีย–มาเลเซียที่ไร้ทางออก แสดงให้เห็นถึงความละเอียดรอบคอบของคำ�แนะนำ�นี้ เพราะอาจจะกล่าวได้ทั้งจาการ์ตาและกัวลาลัมเปอร์ล้มเหลวในการทำ�ความเข้าใจ “ความแตกต่าง พืน้ ฐานในประสบการณ์เฉพาะทางประวัตศิ าสตร์ และการหล่อหลอมอัตลักษณ์ของชาติของพวกเขา” (Liow 2005, 3) ซึง่ นำ�ไปสูค่ วามขัดแย้งทีเ่ กิดซํา้ แล้วซา้ํ เล่า กลายเป็นปัญหาของการปะทะกันของอัตลักษณ์ และในที่สุดกลายเป็นช่วงหลายทศวรรษของความขัดแย้งที่ยากจะเยียวยา

6

ในเอกสาร Medium Term Plan 1990-95 (UNESCO 1989, 57) ยูเนสโกได้นิยาม “มรดกวัฒนธรรม” (cultural heritage) ว่าคือ “ส่วนสำ�คัญทัง้ หมดของเครือ่ งหมายทางวัตถุ – ทัง้ ด้านความงามและด้านสัญลักษณ์ – ส่งผ่านมาจากอดีตมายังแต่ละ วัฒนธรรม และมายังมวลมนุษยชาติ”. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 73


จุดกำ�เนิดเดียวกัน แต่ต่างวิถีทาง โดยพื้นฐานแล้วประเทศส่วนใหญ่มองความสำ�คัญของวัฒนธรรมในฐานะสิ่งที่ใช้ขับเคลื่อน ในการสร้างชาติ แต่ในกรณีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นา่ สนใจว่าทุกประเทศตัง้ กระทรวงวัฒนธรรมหรือ หน่วยงานเทียบเท่ากระทรวงแทบจะทันทีหลังจากได้รับเอกราช (Lindsay 1995) ความสำ�คัญของ วัฒนธรรมต่อการสร้างชาติกลับเห็นได้ชัดในความพยายามที่ไม่ลดละของกลุ่มผู้นำ�ทางการเมือง ที่จะ วาดภาพรัฐชาติให้เป็นชาติทกี่ �ำ หนดด้วยวัฒนธรรมและมีชมุ ชนจินตกรรมแบบเครือญาติ ซึง่ สมาชิกของ ชุมชนมีจดุ กำ�เนิด ประวัติ และความโดดเด่นทางวัฒนธรรมเหมือนกัน (Brown 1994) บราวน์อธิบายว่า “เมื่อรัฐชาติอ้างว่าได้สถาปนาชาติในเชิงวัฒนธรรม มันกำ�ลังพยายามที่จะอ้างถึง พลังทางความเชื่อเกี่ยวกับเครือญาติ ด้วยการอธิบายว่าสังคมทั้งหมดเป็นชุมชนที่มี เชื้อสายเดียวกัน ยิ่งรัฐชาติระบุหรือสร้างลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นตัวกำ�หนด ความเป็นชาติในเชิงวัฒนธรรมได้มากเท่าไร ก็ยงิ่ สร้างความจงรักภักดีในหมูส่ มาชิกได้ มากเท่านั้น เช่นเดียวกัน ยิ่งปัจเจกบุคคลมีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นตัวกำ�หนด ความเป็นคนในชาติได้ชัดเจนเท่าไดบุคคลผู้น้ันก็ยิ่งสมควรได้รับสิทธิพลเมืองให้แก่ การเป็นสมาชิกของชาติเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น” สำ�หรับภูมภิ าคทีเ่ ต็มไปด้วยปัญหาทีม่ าจากอดีตทีห่ ลงเหลือจากสงคราม ความหวาดกลัวว่ารัฐชาติ ทีเ่ พิง่ สถาปนาได้ไม่นานอาจจะล้มครืนลง ได้ตามหลอกหลอนแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตัง้ แต่วนั ทีค่ วามเป็นชาติอสิ ระได้เริม่ ต้นขึน้ (Jonsson 2008) สำ�หรับผูน้ �ำ ทางการเมืองแล้ว ชาตินยิ ม ทางวัฒนธรรม เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำ�หรับการทำ�งานร่วมกันทางการเมืองและความซื่อสัตย์ ต่อสังคมซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งสำ�คัญในการสร้างรัฐชาติและการรวบรวมเอกลักษณ์ของชาติ (Brown 1994) การก่อตั้งอาเซียน (the Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 (ASEAN 2011) ทำ�ให้ความเป็นรัฐชาติเสร็จสมบูรณ์ อาเซียนก่อตั้ง ขึ้นในฐานะที่เป็นกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือและการทำ�งานร่วมกันในภูมิภาค มีข้อผูกมัดชาติ ภาคีสมาชิกให้ยอมรับในอำ�นาจอธิปไตยของชาติอื่นและยึดถือหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของชาติอื่น (Jonsson 2008) ทำ�ให้ชาติภาคีสมาชิกตีความและวางแผนกิจการที่เกี่ยวกับชาตินิยม ทางวัฒนธรรม (Lindsay 1995) ซึ่งเป็นสภาวะที่นำ�ไปสู่ความแตกต่างอย่างยิ่งของโลกทัศน์เกี่ยวกับ วัฒนธรรมและชาติในหมู่ชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน บราวน์ (Brown 1994, 261) อธิบายผลลัพธ์ของปรากฏการณ์นี้ว่า “ทั้ง ๆ ที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมนิยม แต่ละสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถมีทมี่ าจากประวัตศิ าสตร์สมัยก่อนอาณานิคม ซึง่ เป็นภาพของชุดคุณลักษณะ ทางวัฒนธรรมและค่านิยมหลักทีใ่ ช้เป็นแกนกลางของความหมายของความเป็นชาติ ในปัจจุบนั ดังนัน้ พวกเขาจึงพยายามทีจ่ ะนำ�เสนอสังคมพหุวฒ ั นธรรมในฐานะสังคม ทีม่ แี นวโน้มทีจ่ ะเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันทางวัฒนธรรมซึง่ มีแกนกลางทางวัฒนธรรม ให้ความเป็นชาติสามารถพัฒนาต่อไปได้ สำ�หรับพม่าแกนกลางทางวัฒนธรรมนี้คือ

74

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ชาวพม่า (Burman) สำ�หรับสิงคโปร์คอื แนวคิดการอยูร่ ว่ มกันของค่านิยมแบบเอเชีย สำ�หรับอินโดนีเซียจะแฝงอยู่ในปรัชญาปัญจศีล (Panca Sila) สำ�หรับมาเลเซียคือ ลักษณะความเป็นภูมิบุตร (Bumiputra) และสำ�หรับไทยก็คือระบอบกษัตริย์และ วัฒนธรรม” ในอินโดนีเซีย มรดกวัฒนธรรมช่วยสร้างสาระสำ�คัญในการสร้างรัฐชาติอนิ โดนีเซีย ความสำ�คัญ ของมรดกวัฒนธรรมในฐานะทีเ่ ป็นสิง่ ขับเคลือ่ นการสร้างชาติสามารถย้อนไปถึงกลุม่ คนรักชาติในยุคแรก ทีพ่ ยายามจะวางกรอบของอัตลักษณ์อนิ โดนีเซียผ่านกระบวนการคัดสรรสาระสำ�คัญและการทำ�ซาํ้ ของ สิง่ ทีผ่ คู้ นรับรูว้ า่ เป็น “องค์ประกอบหลักทางวัฒนธรรมของความเป็นอินโดนีเซียทีไ่ ม่มวี นั เปลีย่ นแปลง” เพือ่ ทีจ่ ะนำ�เสนออัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติทเี่ ป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน (Elson 2008, 252–253) และรัฐบาลก็มองว่าตนเองน่าจะเข้ามานำ�แผนงานนี้ (T. Jones 2005) ในความพยายามที่จะสลาย ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมท้องถิ่นและหลอมรวมอัตลักษณ์ทั้งหลายให้เป็นอัตลักษณ์ชาติที่เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามอย่างหนักที่รักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ของหมู่เกาะ แม้ว่าอัตลักษณ์ท้องถิ่นเหล่านี้จะต้องยอมรับใช้อัตลักษณ์ชาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Elson 2008) ปรากฏหลักฐานของ “ความกระหายสัญลักษณ์” (Barker 2008, 530) ที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในช่วงนี้ โดยคำ�ขวัญ ขบวนการเคลือ่ นไหว อนุสาวรีย์ และการเดินขบวนถูกใช้อย่างฟุม่ เฟือย เพื่อเป้าหมายเดียวคือสร้างภาพลวงตาของความเป็นรัฐชาติที่มีคนเผ่าพันธุ์เดียว (Geertz 1973) คำ�อธิบายต่อไปนี้โดย คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Geertz 1973, 318) จับสาระสำ�คัญของความหมกมุ่น ของรัฐบาลในขณะนั้นได้อย่างชัดเจน “การเพิ่มระดับขึ้นอย่างมากของการใช้คำ�ขวัญ ขบวนการเคลื่อนไหว อนุสาวรีย์ และการเดินขบวน อยู่ในระดับเกือบจะบ้าคลั่งในยุคต้นทศวรรษ 1960...ออกแบบ ให้รัฐชาติดูเหมือนเป็นของพื้นเมืองดั้งเดิม” ในยุ ค ระเบี ย บแบบแผนใหม่ ข องประธานาธิ บ ดี ซู ฮ าร์ โ ต (Soeharto) ความพยายาม อย่างเป็นระบบถูกนำ�มาใช้เพื่อสานต่อการสร้างอัตลักษณ์ชาติอินโดนีเซียเดียว ภาษาอินโดนีเซีย กลายเป็นเครือ่ งมือชิน้ แรกๆ ทีถ่ กู ออกแบบมาเพือ่ เอาชนะความกระจัดกระจายของวัฒนธรรมชาติพนั ธุ์ เข้าไปแทนที่ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และทำ�ให้เรื่องอัตลักษณ์ชุมชนเป็นเรื่องปลอดการเมือง (Kreuzer 2002) บาฮาซาอินโดนีเซียถูกเผยแพร่อย่างหนักหน่วงในฐานะ “วิธีการแสดงออกและ เสริมสร้างชาติที่เป็นหนึ่งเดียว รวมศูนย์อำ�นาจ และไม่ต้องสร้างใหม่” (Meuleman 2006, 60) ผลลัพธ์ที่ได้จากการริเริ่มนี้ คือกระบวนการที่อัตลักษณ์อินโดนีเซียกลายเป็นที่ยอมรับต่อไปเป็น วัฒนธรรมชาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในฐานะกรอบอ้างอิงของสังคม (Budhisantoso 1996) สำ�หรับประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก ประกอบด้วยเกาะ 17,500 เกาะ และภาษา ที่น่าภาคภูมิใจกว่า 700 ภาษา แต่ลักษณะทางชาติพันธุ์กลับไม่เคยได้รับสถานะอย่างเป็นทางการ ในประเทศ ไม่มีการระบุชาติพันธุ์ในบัตรประชาชน และความแตกต่างทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม โดยรวมก็ถูกละเลยจากรัฐบาลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของชาติ (Meuleman 2006) ดังนั้นวัฒนธรรมจึงเป็นแกนหลักของอัตลักษณ์โดยรวมของชาวอินโดนีเซีย Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 75


ในทางกลับกัน ในมาเลเซียตั้งแต่เริ่มต้นการเจรจาต่อรองเงื่อนไขในการสร้างชาติซึ่งในที่สุด จะนำ�ไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญมาเลเซีย ผู้นำ�ทางการเมืองก็ยืนยันที่จะกำ�หนดชุมชนทางการเมือง ด้วยเงื่อนไขวัฒนธรรมชาติพันธุ์ตามสายชาติพันธุ์และศาสนา (Kreuzer 2006) สำ�หรับผู้นำ�การเมือง ชาวมาเลย์และจีน “ปราศจากข้อสงสัยว่าความภักดีทางการเมืองเป็นหนี้กลุ่มชาติพันธุ์” มากกว่า ลักษณะประจำ�ตัวพลเมืองที่ประดิษฐ์ขึ้น (Kreuzer 2006, 11) ในที่สุดระเบียบทางการเมืองที่เน้น วัฒนธรรมชาติพันธุ์ก็ให้กำ�เนิดสังคมมาเลเซียซึ่งได้โอบรวมทัศนคติทางชาติพันธุ์ที่รุนแรงไว้ด้วย (Tan 2000) การก่อรูปของอัตลักษณ์ในมาเลเซียได้รบั อิทธิพลอย่างสูงจากสำ�นึกทีร่ นุ แรงเรือ่ งชาติพนั ธุ์ “ในมาเลเซีย มันไม่เพียงพอที่จะเป็นแค่ชาวมาเลเซีย ทุกคนต้องมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ด้วย” (Tan 2000, 464) เช่นเดียวกับสำ�นึกทางชาติพันธุ์ในเครือข่ายทางสังคม (Kahn 2005) ซึ่งนโยบาย หลายอย่างพยายามที่จะรวบรวมหรือดูดกลืนชุมชนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์และพื้นฐาน ทางวัฒนธรรมในช่วงหลายปีที่ผ่านมาถูกต่อต้านอย่างหนักและประสบความสำ�เร็จเพียงเล็กน้อย เมือ่ ค.ศ. 1971 รัฐบาลประกาศใช้นโยบายวัฒนธรรมแห่งชาติ เพือ่ “ขยายการปรากฏในเชิงสัญลักษณ์ ของวัฒนธรรมมาเลย์และอิสลามไปสู่พื้นที่สาธารณะและเพื่อทำ�ให้การใช้ภาษามาเลย์เป็นสื่อกลาง ในการศึกษาทุกระดับมีเพิ่มมากขึ้น” (Lee 2000, 4) คนกลุ่มใหญ่ในชุมชนจีนต่อต้านนโยบายนี้ อย่ า งแข็ ง ขั น และคนจี น จำ � นวนมากมองแนวโน้ ม การดู ด กลื น วั ฒ นธรรมด้ ว ยความแค้ น เคื อ ง (Segawa 2007) ความไม่พอใจส่วนใหญ่มาจากการทีร่ ฐั ก้าวล่วงธรรมเนียมการใช้ภาษาจีนเป็นสือ่ กลาง ในการศึกษาซึง่ พวกเขาถือว่าเป็นพืน้ ฐานในการรักษาอัตลักษณ์ของคนจีน (Segawa 2007) ในท้ายทีส่ ดุ ความต้องการศึกษาด้วยภาษาจีนในชัน้ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษากลับได้รบั แรงเหวีย่ ง โดยมีบนั ทึกว่า สถิติการรับนักเรียนเพิ่มมากขึ้นหลังจากมีการใช้นโยบายนี้ (Lee 2000) ในมาเลเซีย การควบคุมสัญลักษณ์และเรื่องเล่าเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของชาติก็เป็นไปอย่าง กว้างขวางเช่นกัน แต่ความพยายามนีก้ ลับได้ผลลัพธ์ทแี่ ตกต่างจากทีเ่ กิดขึน้ ในอินโดนีเซีย ในภาพรวม วัฒนธรรมมาเลย์ถกู นำ�เสนอในฐานะทีเ่ ป็นบรรทัดฐานของมาเลเซีย ทีซ่ งึ่ วาทกรรมหลักของวัฒนธรรม ยังคงถูกเขียนโดยชาวมาเลย์ ถูกควบคุมโดยนโยบายนิยมมาเลย์ และคล้อยตามอำ�นาจในการวางแผน ของชาวมาเลย์ (Hoffstaedter 2008) เป็นเวลานานแล้วทีส่ วนสนุกและมรดกวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วย เครื่องหมายทางอัตลักษณ์อิสลามและชุมชนมาเลย์ถูกชูขึ้นมาเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของ วัฒนธรรมมาเลเซีย (Hoffstaedter 2008; Worden 2001) อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ในทศวรรษ 1990 เมือ่ การพัฒนาอย่างรวดเร็วและการเป็นสมัยใหม่ (modernization) กระตุน้ ให้เกิด การเปลีย่ นแปลงนโยบายวัฒนธรรม โดยรัฐบาลมาเลเซียมุง่ จัดวางประเทศตามแนวคิดมองไปข้างหน้า สู่ความเป็นประเทศสมัยใหม่ที่มีความต้องการที่จะมีสถานะเป็นประเทศพัฒนาอย่างเต็มที่และเป็น ประเทศอุตสาหกรรมภายใน ค.ศ. 2020 (Hitchcock and King 2003) ความเปลีย่ นแปลงทางระบบนี้ เกี่ยวข้องกับ “การผละจากแนวคิดที่ว่าอัตลักษณ์มาเลเซียได้รับมาจากระบบศักดินาในอดีต” ไปสู่แนวคิดว่าอัตลักษณ์ของชาติวางอยู่บนพื้นฐานของจุดหมายปลายทางที่มีร่วมกันมากกว่าอดีต ที่มีร่วมกัน ดังนั้นองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ความเป็นสมัยใหม่ และ “ความใหม่” จึงได้เกิดขึ้นตั้งแต่การปฏิบัติตามนโยบายถูกนำ�ไปส่งเสริมในฐานะส่วนประกอบ สำ�คัญของชาตินิยม (Leigh 2002, 95) ในยุคนี้ก็ยังเป็นช่วงที่การโฆษณาชวนเชื่ออย่างก้าวร้าวของ รัฐบาลและการส่งเสริมสัญลักษณ์ของอิสลามและมาเลย์ในพื้นที่สาธารณะลดระดับความสำ�คัญลง 76

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


(Lee 2000) ความเป็นปึกแผ่นของอำ�นาจทางการเมืองและเศรษฐกิจภายใต้นายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมมัด (Mahathir Mohamad) ร่วมด้วย “การลดอิสระของระบบราชการ สภานิตบิ ญ ั ญัติ ระบบศาลยุตธิ รรม และระบอบกษัตริย”์ ส่งเสริมการมีอ�ำ นาจนำ�ของตำ�แหน่งทางการเมืองซึง่ เป็นทีช่ นื่ ชอบของชาวมาเลย์ ภายในรัฐบาลและในสังคมทัว่ ไปด้วย (Hamayotsu 2002, 358) การพัฒนาเหล่านีช้ ว่ ยทำ�ให้ผนู้ �ำ ชาวมาเลย์ มี ศั ก ยภาพในการก้ า วไปเป็ น แนวหน้ า ในกระบวนการเปลี่ ย นเป็ น อิ ส ลามและการเป็ น สมั ย ใหม่ เพื่อพัฒนาชนชั้นกลางมุสลิมให้มีทัศนคติแบบสากล (Hamayotsu 2002) การตีความสมัยใหม่ของอิสลามนี้เอื้อให้ชนชั้นปกครอง “รองรับประชากรที่ไม่ใช่มุสลิม ช่วย ให้มีคนที่จงรักภักดีต่อโครงการสร้างชาติของรัฐบาลมากขึ้น” (Hamayotsu 2002, 362) แทนที่จะ หลอมรวมหรือดูดกลืน กระบวนการเจรจาที่อ้อมค้อมที่กำ�ลังดำ�เนินอยู่ซึ่งเน้นการรองรับและกำ�หนด ทิศทางใหม่ระหว่างคนมาเลย์และกลุ่มที่ไม่ใช่คนมาเลย์ และภายในกลุ่มคนมาเลย์ด้วยกัน ได้ช่วย ก่อรากฐานให้แก่การสร้างชาติในมาเลเซีย (Lian 2001) ดังนั้นภูมิทัศน์ทางการเมืองตามรูปแบบ การเมืองทัว่ ไปในมาเลเซียจึงค่อนข้างทีจ่ ะป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมชาติทเี่ ป็นหนึง่ เดียวขึน้ ในประเทศ ในท้ายที่สุดแล้วมรดกวัฒนธรรมในมาเลเซียจึงถูกจำ�กัดบทบาทไว้แคบกว่า อาทิ ในด้าน ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ความบันเทิง และกิจกรรมของชุมชน (Lindsay 1995) กล่าวได้วา่ มรดกวัฒนธรรม แทบจะไม่เคยถูกเชิดชูว่าเป็นสาระสำ�คัญที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงของอัตลักษณ์ของผู้คน ความเป็ น ศู น ย์ ก ลางของมรดกวั ฒ นธรรมต่ อ โลกทั ศ น์ แ ละอั ต ลั ก ษณ์ ข องผู้ ค นมี อิ ท ธิ พ ล อย่างไม่ต้องสงสัย ในแง่ที่พวกเขาจะต้องรู้สึกว่าจำ�เป็นที่จะต้องคุ้มครอง ปกป้องมรดกวัฒนธรรมนั้น อาจจะสรุปได้ว่ายิ่งมรดกวัฒนธรรมเป็นเรื่องพื้นฐานในอัตลักษณ์ของผู้คนมากเท่าใด พวกเขาก็จะยิ่ง คุม้ ครองปกป้องมรดกวัฒนธรรมมากเท่านัน้ เพือ่ เป็นการรักษาอัตลักษณ์และความมัน่ คงในการดำ�รงอยู่ (Chong 2009) ปรากฏการณ์นี้เห็นได้อย่างชัดเจนในอินโดนีเซีย รัฐบาลและประชาชนได้รวมเอา “ความคลั่งชาติ” (Gelling 2009, 1) ในการรักษาสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นมรดกวัฒนธรรม เข้าไปเป็นส่วน หนึง่ ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม คนอินโดนีเซียจำ�นวนมากมองมรดกวัฒนธรรมของตนในฐานะทีเ่ ป็น ส่วนประกอบสำ�คัญของอัตลักษณ์ของพวกเขา มีคำ�กล่าว อาทิ “มันสร้างสิ่งที่อินโดนีเซียเป็น” และ “การไม่ยอมรับมันก็เหมือนคุณปฏิเสธแม่ของคุณเอง” (Schonhardt 2009a, 1) มันจึงไม่นา่ แปลกใจที่ ในความเคลือ่ นไหวของ เบนเดรา มีผคู้ นมาจากทุกพืน้ เพ ทัง้ นักศึกษา ชาวนา นักกฎหมาย ชาวประมง ครู และคนพิการ ทีล่ งชือ่ สมัครเข้าร่วมแผนประกาศสงครามต่อมาเลเซียถึงแม้พวกเขาจะต้องเสียค่าใช้จา่ ย ในการเดินทางด้วยตนเองก็ตาม (Mardiyati 2009) สำ�หรับพวกเขาแล้ว การปกป้องมรดกวัฒนธรรมของ อินโดนีเซียมีค่าเทียบเท่ากับการปกป้องศักดิ์ศรีของประเทศเลยทีเดียว นี่เป็นสาเหตุที่คุณแม่ตัดสินใจ ทิง้ ลูกน้อยสามคนไว้เบือ้ งหลัง ชายหนุม่ บอกลาภรรยาทีต่ งั้ ครรภ์ได้เพียงสีเ่ ดือนเพือ่ ไปร่วมสงครามกับ เบนเดรา คนเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของคนที่เต็มใจที่จะเสียสละชีวิตและครอบครัวเพื่อเป้าหมาย เดียวกันนี้ (Mardiyati 2009) ทัศนคติชาตินยิ มเหล่านีไ้ ด้รบั การสนับสนุนจากผูก้ อ่ ตัง้ และผูส้ นับสนุนเพจ ในเฟซบุ๊ค (Facebook) ที่ชื่อ "We Hate Malaysia" (เราเกลียดมาเลเซีย) ซึ่งได้ยืนยันว่าท่าทีเป็นศัตรู ของพวกเขาเป็นเรือ่ งชาตินยิ มไม่ใช่การเหยียดเชือ้ ชาติแต่อย่างใด (Malay Mail, 10 September 2009) ความแตกต่างของวิธกี ารมองปัญหาเกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมของคนทัง้ สองประเทศทำ�ให้ระลึกถึง ประสบการณ์บนเส้นทางสูค่ วามเป็นชาติทแ่ี ตกต่างกัน ในประสบการณ์ของอินโดนีเซียการต่อสูท้ างการเมือง Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 77


คือการปฏิวัติทางสังคมที่มีการสูญเสียเลือดเนื้อซึ่งมีผลลัพธ์คือการรื้อโครงสร้างทางสังคมที่มีมา อย่างยาวนาน (Liow 2005) ประสบการณ์การปฏิวัติต่อต้านอาณานิคมดัตช์และชนชั้นสูงในยุคก่อน การประกาศอิสรภาพได้ส่งผลกระทบอย่างไม่ต้องสงสัยต่อการสร้างโลกทัศน์ของชาวอินโดนีเซีย ซึ่งมีแสดงออกในการระดมคนจำ�นวนมาก ความปรารถนาความยิ่งใหญ่ และความรู้สึกในภูมิภาค ต่อสิทธิโดยชอบธรรม (Liow 2005) ผู้คนจำ�นวนมากเชื่อว่า มาเลเซีย ญาติของพวกเขาต้องการ “การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง” เนื่องจาก “เอกราชจอมปลอม” ได้รับมาจากการเจรจาสันติภาพกับ อังกฤษ (Liow 2005, 80) พฤติกรรมของอินโดนีเซียในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงเป็นดอกผลของชาตินิยมที่ “เป็นพื้นฐาน แพร่หลาย หยั่งรากลึก และเผชิญหน้า” (Lian 2001, 872) นอกจากนี้ กิจการด้าน ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ โดยเฉพาะกั บ มาเลเซี ย แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง โลกทั ศ น์ ที่ ขึ้ น อยู่ กั บ การป้องกันตัวอย่างก้าวร้าวต่อสิง่ ทีเ่ ป็นผลประโยชน์ และการตอบโต้ตอ่ การถูกดูหมิน่ ซึง่ เป็นผลมาจาก ประสบการณ์ ที่ ผ่ า นมานั่ น เอง นั ก วิ เ คราะห์ เชื่ อ ว่ า คนที่ ถู ก กดขี่ แ ละเลื อ กปฏิ บั ติ ซํ้ า แล้ ว ซํ้ า เล่ า มักจะมีโลกทัศน์ที่แสดงออกในสังคมในแบบที่มีความลำ�เอียง เลือกปฏิบัติ และเล่นพรรคเล่นพวก (Major and Townsend 2010) การล่ ม สลายของระบอบซู ฮ าร์ โ ตใน ค.ศ. 1998 นำ � ไปสู่ รั ฐ สภาอิ น โดนี เซี ย ที่ เ ป็ น อิ ส ระ สภาผู้แทนราษฎรที่เรียกว่า เดวัน เปอวากิลัน รักยัต (Dewan Perwakilan Rakyat หรือ DPR) กลายเป็นศูนย์กลางความสนใจทางการเมืองระดับชาติเนื่องจากการอภิปรายได้รับการถ่ายทอดทาง โทรทัศน์ไปทั่วประเทศอยู่บ่อยครั้ง (Ziegenhain 2008) ความเป็นอิสระของรัฐสภาและสื่อมวลชน ช่วยให้ความเคลือ่ นไหวของมวลชนฟืน้ คืนมาใหม่ (Ziegenhain 2008) และเพิม่ ท่าทีชาตินยิ มทีเ่ กิดขึน้ มาจาก “ความโกรธและคับข้องใจที่อัดอั้นมาอย่างยาวนาน” ต่อ “สภาวะทางเศรษฐกิจที่ถดถอย” ของอินโดนีเซีย (Arnove 1998, 15) เพื่อรักษาคะแนนเสียงไว้ สมาชิกสื่อมวลชนและหน่วยงาน นิตบิ ญ ั ญัตแิ สดงท่าทีชาตินยิ มอย่างสมํา่ เสมอเพือ่ เอาชนะใจประชาชน เหตุการณ์นยี้ งั ถูกใช้เพือ่ เบีย่ งเบน ความสนใจประชาชนอินโดนีเซียจากการเมืองภายในประเทศอีกด้วย (Farish Noor 2009) ในแง่นี้ การฉวยใช้ปัญหาทางวัฒนธรรมเพื่อขยายประเด็นทางการเมืองปรากฏให้เห็นอยู่เป็นประจำ�ในโลก ของการเมือง หากพิจารณาข้อพิพาท กัมพูชา–ไทย เหนือปราสาทพระวิหารอย่างละเอียดจะพบว่า ท้ายที่สุดแล้วความขัดแย้งถูกใช้โดยนักการเมืองผู้ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่เบื้องหลังข้ออ้างในการปกป้อง อธิปไตยของชาติ (Pongphisoot Busbarat 2011) เพื่อผลประโยชน์ภายในประเทศบางอย่าง (Croissant and Trinn 2009) ในทางตรงข้าม ชาตินยิ มของมาเลเซียเกิดเป็นความเคลือ่ นไหวขึน้ ภายหลัง ปฏิกริ ยิ าของชาวมาเลย์ ต่อข้อเสนอของอาณานิคมอังกฤษซึ่ง “ฉับพลัน ขมขื่น และรุนแรง” ข้อเสนอของอาณานิคมอังกฤษ เสนอให้ใช้ระบบการเมืองใหม่ที่เรียกว่า “เงื่อนไขพลเมืองอิสระสำ�หรับผู้ที่ไม่ใช่มาเลย์ จุดจบของ “สิทธิพิเศษ” ของชาวมาเลย์ และการกำ�จัดอำ�นาจและสถานะของผู้ปกครอง” (Mauzy 2006, 49) ปฏิกิริยาของชาวมาเลย์ก่อให้เกิดการผลิดอกออกผลของชาตินิยมซึ่งยึดโยงอยู่กับ “ความรู้สึกถึง เป้าหมายในการปกป้องสิ่งที่ถือว่าเป็นของคนมาเลย์” (Mauzy 2006, 50) แท้จริงแล้ว จากจุดเริ่มต้น ของเอกราชของมาเลเซีย การแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างคนพื้นเมืองกับชุมชนอพยพได้ลดทอน ความเข้มข้นของชาตินิยม (Halim Salleh 2000) ซึ่ง “ถูกอ้างถึงในเวทีโลก น้อยกว่าในกลุ่มชาติพันธุ์ ทีเ่ ป็นคูแ่ ข่งกัน” (Case 2000, 131) แม้วา่ ความปรารถนาชาตินยิ มจะเริม่ ต้นจากการรักษาความยิง่ ใหญ่ 78

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ทางเชื้อชาติของมาเลย์ในการต่อสู้เพื่อเอกราช เพื่อที่จะรักษาสัญลักษณ์และผลประโยชน์ของมาเลย์ และจากนั้นก็เพื่อสร้างรากฐานทางสังคมเศรษฐกิจให้มั่นคงมากขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ในประเทศ ปัจจัยที่สำ�คัญที่สุดที่ผลักดันชาตินิยมในมาเลเซียตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ก็ยังคงเป็นการปกป้องผลประโยชน์ทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และศาสนา ที่ซึ่ง “อะไรก็ตาม ที่ถูกรับรู้ว่าเป็นการทำ�ให้การปกป้องนี้อ่อนแอลงจะก่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมที่รุนแรงขึ้นมาทันที เพื่อช่วยประคับประคองการปกป้องนี้” (Mauzy 2006, 51) โลกทัศน์ของผู้ปกป้องนี้เป็นพื้นฐาน ที่นำ�ไปสู่ “ชาตินิยม ซึ่งยุคอาณานิคม การปฏิรูปรัฐอิสลาม ทัศนคติรัฐอินโดนีเซียที่เป็นหนึ่งเดียว และสงครามโลกไม่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้” (Mauzy 2006, 49) จึงเข้าใจได้ว่าโลกทัศน์ที่นำ�ไปสู่ ความพยายามอย่างยาวนานของรัฐบาลมาเลเซียในการท้าทาย “การถูกรังแกโดยผู้ที่แข็งแรงกว่า” ในความสัมพันธ์แบบพีน่ อ้ งกับรัฐบาลอินโดนีเซีย (Weiss 2010, 173) ผ่านพฤติกรรมทีป่ ฏิเสธบทบาท ความคาดหวัง และมารยาทในฐานะที่เป็น “น้องร่วมสายโลหิต” (Liow 2005, 80) การที่ทั้งสองประเทศเผชิญหน้ากันในความขัดแย้งเพื่อชิงความยิ่งใหญ่ในภูมิภาค เป็นสิ่งที่ บอกเป็นนัยอย่างแรกถึงความพยายามของมาเลเซียที่จะเป็นผู้จัดระเบียบของภูมิภาคและผู้นำ�ของ โลกที่สาม (Liow 2005) หลักฐานชี้ว่าทั้งสองประเทศเริ่มต้นการพัฒนาจากระดับที่ใกล้เคียงกัน ในทศวรรษ 1970 โดยอินโดนีเซียก้าวหน้ากว่าเล็กน้อย เห็นได้จากการส่งครู อาจารย์ไปยังคาบสมุทร เพือ่ ช่วยมาเลเซียในการพัฒนาประเทศไปสูค่ วามเป็นสมัยใหม่ (Asia News Network 2010) อย่างไรก็ตาม ภายในช่วงสามสิบปีมาเลเซียได้แซงหน้าอินโดนีเซียไปหลายช่วงตัว ด้วยผลผลิตมวลรวมที่มากกว่า อินโดนีเซียสามเท่า ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การได้รับสิทธิ์เหนือเกาะลิกิตันและสิปาดัง (Ligitan and Sipadan islands) และการขยายตัวของการพัฒนา (Asia News Network 2010) ทำ�ให้การนำ�หน้าในการแข่งขันของมาเลเซียได้รับการยอมรับแม้จากผู้นำ�ของอินโดนีเซีย รวมทั้ง อาลี อลาตัส (Ali Alatas) รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงต่างประเทศในช่วง ค.ศ. 1988–1999 ผูซ้ งึ่ กล่าวว่า คนมาเลเซียทีเ่ ย่อหยิง่ และคนอินโดนีเซียขีอ้ จิ ฉากลายเป็นผลพลอยได้ของช่องว่างในการพัฒนาระหว่าง ทัง้ สองประเทศ (Asia News Network 2010) วิธกี ารวางอำ�นาจบาตรใหญ่ของรัฐบาลมาเลเซียในการจัดการ ปัญหาแรงงานเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นการแสดงถึงแนวโน้มของความเย่อหยิ่ง ของมาเลเซียซึ่งมักจะ “มองหมู่เกาะอินโดนีเซียที่อุดมสมบูรณ์เป็นเพียงแหล่งแรงงานค่าแรงตํ่า ทั้งแม่บ้าน พนักงานที่จอดรถ และพนักงานเสิร์ฟอาหารที่ทำ�งานในกัวลาลัมเปอร์และเมืองอื่น ๆ ในมาเลเซีย” (Glionna 2009, 1) ดังเช่นที่อธิบายข้างต้น สถานการณ์เช่นนี้ยิ่งเพิ่มความขุ่นเคือง ที่กลัดหนองอยู่ในหัวอกชาวอินโดนีเซียให้เพิ่มมากขึ้น น่าเสียดายว่า นักวิเคราะห์เชื่อว่าชาตินิยม ทางการเมืองและวัฒนธรรมทีก่ ลับมาตืน่ ตัวอีกครัง้ จะแทรกซึมไปในการเมืองในปัจจุบนั มากขึน้ เรือ่ ย ๆ เนือ่ งจากรัฐชาติทงั้ สองต้องแสวงหาอำ�นาจและทรัพยากรในโลกทีเ่ ต็มไปด้วยการแข่งขันและทรัพยากร ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน (Smith 2000)

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 79


มุมมองทางการค้า จาการ์ตาและกัวลาลัมเปอร์นั้นไม่ใช่คนแปลกหน้าในการแข่งขันแย่งชิงอำ�นาจทางการเมือง และทรัพยากร โดยส่วนใหญ่แล้วความแตกต่างของสภาวะทางเศรษฐกิจในอินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นปัจจัยทีท่ �ำ ให้ความขัดแย้งดำ�เนินต่อไป เพราะทัง้ สองประเทศต่างพยายามแสวงหาความเหนือกว่า ทางการค้าในสินค้ามรดกวัฒนธรรมของตนเพิม่ มากขึน้ จากมรดกวัฒนธรรม 19 รายการทีท่ งั้ สองประเทศ แย่งชิงกัน7 บาติก เป็นรายการที่มีปัญหามากที่สุด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากยอดส่งออกผ้าบาติกอินโดนีเซีย ที่สูงถึง 69-93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (Maruli 2011) น่าสนใจว่าเป็นเพราะการทำ�การตลาดผ้าบาติก ที่ ป ระสบความสำ�เร็จ ของกัวลาลัมเปอร์ใ นประเทศอย่าง สหรัฐ อเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ เมือ่ ค.ศ. 2003 (Gatut and Aryanto 2010) ทำ�ให้นกั เศรษฐศาสตร์โอดครวญความไม่ได้เรือ่ งของจาการ์ตา ในการทำ�การตลาดมรดกวัฒนธรรมอินโดนีเซีย เนื่องจากหลายคนมองว่าความปล่อยปละละเลยนี้ ส่งผลโดยตรงต่อความด้อยศักยภาพทางเศรษฐกิจของชาติ (Schonhardt 2009a) เป็นเรื่องตลกร้าย ที่หลักฐานชี้ว่าความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมผ้าบาติกโดยเฉพาะทางชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากการอพยพของผูเ้ ชีย่ วชาญผ้าบาติกและคนงานจากอินโดนีเซียผูซ้ งึ่ เลือกทีจ่ ะ ตั้งรกรากบนคาบสมุทรเนื่องจากมีรายได้และมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีกว่า (Suditomo, Pudjiarti, and Dimyathi 2011) เพิง่ จะเร็ว ๆ นีเ้ องทีผ่ า้ บาติกกลับมาได้รบั ความนิยมในอินโดนีเซียหลังจากหลาย ทศวรรษของการเสือ่ มคลายความนิยมในหมูช่ าวอินโดนีเซียทีเ่ คยคิดว่าผ้าบาติกไม่ทนั สมัยและเป็นของ สำ�หรับคนสูงวัย (Kurniasari 2009) ในคราวนี้จาการ์ตาไม่พลาดโอกาสที่จะสร้างกระแสความสนใจ และความสามารถในการแข่งขันผ้าบาติกทัง้ ในตลาดในประเทศและนานาชาติผา่ นกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การออกใบรับรอง (Batikmark certification) (Knobloch and Reni 2009) การจัดงานเทศกาล ผ้าบาติกในระดับภูมิภาค (Gatut and Aryanto 2010) และการจัดประชุมสุดยอดผ้าบาติกโลก (World Batik Summit) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ในกรุงจาการ์ตา (UNESCO 2011d) เจโร วาซิก รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเทีย่ ว (Jero Wacik) ได้แสดงการสนับสนุน อย่างเป็นทางการโดยเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมอินโดนีเซียทุกรูปแบบในฐานะที่เป็น ผลผลิตของแต่ละวัฒนธรรม (Karana and Prameshwari 2009) เพื่อทำ�ให้ความพยายามเหล่านี้ เข้มแข็งมากขึน้ แผนต่าง ๆ ในการปกป้องบาติกและองค์ประกอบทางวัฒนธรรมจาก “การขโมยความคิด อย่างไม่ยับยั้ง” (Soedarjo 2009, 1) และการถูกนำ�ไปแสวงหาประโยชน์ทางธุรกิจได้รวมไปถึง ท่าทีอย่างเป็นทางการ อาทิ การร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Antons 2009b) และการดำ�เนินคดี ต่อผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย (Malik 2009)

7

จากการศึกษาของ (Suditomo, Pudjiarti, and Dimyathi 2011) มรดกวัฒนธรรมที่แย่งชิงกันประกอบด้วย เครื่องดนตรี ลวดลายสิ่งทอและเสื้อผ้า นาฏกรรม ดนตรีและเพลง อาวุธและเครื่องใช้ในสงคราม บันทึกโบราณ อาหารและเครื่องดื่ม และการเชิดหุ่น

80

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ทางออกและการเปลี่ยนแปลงของความขัดแย้งเหนือมรดกวัฒนธรรม “การปกป้อง” (Protecting) และ “การคุม้ ครอง” (Safeguarding) มรดกวัฒนธรรม : กรอบคิดทางกฎหมายในปัจจุบัน การศึกษากรอบคิดทางกฎหมายในปัจจุบนั เกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมเผยให้เห็นว่าการฟ้องร้อง ดำ�เนินคดีและการเรียกร้องสิทธิ์เป็นเรื่องที่ใช้พยานหลักฐานหาข้อพิสูจน์ได้ยาก ภายใต้กฎหมาย ระหว่างประเทศ คำ�ว่า “ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม” (cultural property) เป็นการผสมผสานสองแนว ความคิด (Merryman 1986) ซึง่ อยูบ่ นฐานกฎหมายระหว่างประเทศสองฉบับ อย่างแรกอธิบายได้ดว้ ย แนวคิด “สากลนิยมทางวัฒนธรรม” (cultural internationalism) ซึง่ มองทุกวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึง่ ของวัฒนธรรมทีม่ รี ว่ มกันของมนุษย์ซงึ่ เป็นอิสระจากเรือ่ งกรรมสิทธิห์ รือขอบเขตประเทศโดยไม่สนใจว่า จะเป็นพืน้ ทีท่ เี่ ป็นแหล่งกำ�เนิดหรือเป็นแหล่งทีต่ งั้ ปัจจุบนั ของวัฒนธรรม (Merryman 1986) อย่างทีส่ อง อ้างอิงแนวคิด “ชาตินิยมทางวัฒนธรรม” (cultural nationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มองทุกส่วน ประกอบของวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชาติที่เป็นต้นกำ�เนิดของวัฒนธรรมนั้น (Sljivic 1997) มีงานวิจยั หลายชิน้ ชีว้ า่ แนวคิดชาตินยิ มทางวัฒนธรรมเป็นกระแสหลักอยูใ่ นขณะนี้ (Merryman 1986; Sljivic 1997; Blake 2000) ทำ�ให้กรอบคิดทางกฎหมายในปัจจุบันมองทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเป็น “การครอบครองโดยไม่อาจโต้แย้งได้ของแต่ละประเทศ” (Coombe 1993, 246) ถึงแม้จะมีแนวคิดดังกล่าว แต่ความเหมาะสมในการใช้กฎหมายทรัพย์สินทางวัฒนธรรมก็ยังมี ความยุง่ ยากหลายประการ ประการแรก ไม่มหี ลักฐานยืนยันว่าแนวคิด “ชาตินยิ มทางวัฒนธรรม” ได้รบั การยอมรับถึงขนาดเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ซึง่ จะช่วยให้การเรียกร้องสิทธิพน้ื ฐานภายใต้หลักการนี้ อยู่นอกเหนือการคุ้มครองสิทธิ์ตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ แนวคิดนี้ ยังปรากฏว่าให้การคุ้มครองเพียงเฉพาะ “สิ่งซึ่งประกอบขึ้นเป็นรูปธรรมของสินค้าทางกายภาพ” (physical embodiments of tangible goods) (Scafidi 2001, 813) แต่ไม่คมุ้ ครองมรดกวัฒนธรรม ทีไ่ ม่เป็นกายภาพ (intangible cultural heritage) อาทิ ศิลปะลายผ้า เพลงและเพลงสวด อาหารและ ตำ�รับอาหาร นาฏกรรมและการแสดง ฯลฯ การเรียกร้องภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่มี อยูจ่ งึ เกีย่ วข้องกับมรดกวัฒนธรรมทีเ่ ป็นกายภาพ (tangible heritage items) อาทิ ภาพสลักหินอ่อน จากวิหารพาเธนอน (Elgin Marbles) (Emerling 2009) และบันทึกของราชวงศ์โจซอนของเกาหลีใต้ (Joseon royal texts) (Jung Sung-ki 2010) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาก็มีส่วนช่วยเพียงเล็กน้อย มองจากมุมของทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิเ์ ป็นประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องมากทีส่ ดุ ในความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย เมือ่ พิจารณา อย่างละเอียดจะพบว่าข้อกำ�หนดเฉพาะของลิขสิทธิ์ คือ ความเป็นของดัง้ เดิม (originality) ความอยูต่ วั ไม่ เ ปลี่ ย นแปลง (fixation) ความเป็ น เจ้ า ของผลงาน (authorship) เงื่ อ นไขในการปกป้ อ ง (term of protection) ข้อจำ�กัดในการใช้งาน (fair use constrains) และการเผยแพร่สู่สาธารณะ (public domain provisions) กลายเป็นอุปสรรคสำ�คัญในการคุม้ ครองลิขสิทธิใ์ ห้แก่มรดกวัฒนธรรม

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 81


ทีไ่ ม่เป็นกายภาพภายใต้กฎหมายลิขสิทธิข์ องทัง้ สองประเทศ (Kuek 2005)9 มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็น กายภาพส่วนใหญ่นา่ จะไม่ผา่ นเกณฑ์ความเป็นของดัง้ เดิมเนือ่ งจาก “ถูกสร้างขึน้ ตัง้ แต่สมัยก่อนทีจ่ ะมี ประเพณี จารีต และความเชื่อซึ่งได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา” (Kuek 2005, 37) จากการทีม่ รี ปู แบบเป็นชุดของความคิดทำ�ให้มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพจำ�นวนมากไม่สามารถ ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้แม้จะเป็นเพียงความคุ้มครองลิขสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน10 ภายใต้อนุสัญญาเบิร์น เพื่อการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปะ (Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาพหุภาคีที่ทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียต่างก็เป็นภาคีสมาชิก (“Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works” 1886) การที่ มรดกวัฒนธรรมถูกส่งต่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งมักจะใช้วิธีการลอกเลียนแบบและฝึกฝนก็จะ ขัดกับเกณฑ์ทกี่ �ำ หนดให้ตอ้ งลดทอนมรดกวัฒนธรรมลงเป็นรูปแบบทางกายภาพเพือ่ ให้ระบุลขิ สิทธิไ์ ด้ (Kuek 2005) นอกจากนี้โดยปกติลิขสิทธิ์จะตกเป็นของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนที่ร่วมกันสร้างสรรค์ มรดกวัฒนธรรมนัน้ แต่จะไม่เป็นลิขสิทธิข์ องสังคมหรือสาธารณะ (Torsen 2008) ความท้าทายต่อไป คือการคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรมทีม่ ขี อบเขตชัดเจนอาจจะขัดกับธรรมชาติและความสนใจในมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพที่เกี่ยวข้องกับคนหลายรุ่น (Kuek 2005) เมือ่ ค.ศ. 2003 มีความพยายามในการขยายขอบเขตของแนวคิดทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมเพือ่ ให้ ครอบคลุมทั้งมรดกวัฒนธรรมทางกายภาพและที่ไม่เป็นกายภาพ (Riley 2005) อนุสัญญาว่าด้วย การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ได้รบั การลงมติยอมรับ เมือ่ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีผลบังคับใช้จริง วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2006 หลังจากได้รับการรับรองจาก 47 ประเทศ นิยามของมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพ ในมาตราที่ 2 (1) ของอนุสัญญาได้รวบรวมลักษณะที่โดดเด่นหลายอย่างไว้ อาทิ “การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง – ซึ่งชุมชน กลุ่มคน และ ในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพซึ่งถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ได้รับ การสร้างสรรค์ใหม่อย่างสมํ่าเสมอโดยชุมชนและกลุ่มคน เพื่อการตอบสนองต่อ สิง่ แวดล้อม ปฏิสมั พันธ์กบั ธรรมชาติ และประวัตศิ าสตร์ของพวกเขา และมอบความรูส้ กึ ถึงอัตลักษณ์และความต่อเนื่องให้แก่พวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงส่งเสริมความเคารพต่อ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์”11 มาตรา 2 (2) ระบุขอบเขตของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพแต่ละกลุ่ม ซึ่งรวมถึง มุขปาฐะ และการแสดงออกโดยคำ�พูด ศิลปะการแสดง ธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคม และฝีมือช่างดั้งเดิม สำ�หรับความเข้าใจพืน้ ฐานเกีย่ วกับกฎหมายลิขสิทธิท์ เี่ กีย่ วข้องกับมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ดู ไ ด้ จ าก Copyright Act 1982 (Revised 2002) ของอิ น โดนี เซี ย และ Copyright Act 1987 ของมาเลเซี ย (Antons 2009b; Kuek 2005) 10 มาตรา 1(6) ควบคู่กับมาตรา 19 ของอนุสัญญาเบิร์น กำ�หนดให้ภาคีสมาชิกมีหน้าที่มอบสิทธิตามที่ระบุในอนุสัญญา หรือสิทธิที่มากกว่าที่ระบุในอนุสัญญา ให้แก่งานของประเทศภาคีสมาชิก 11 UNESCO,” Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage” 2003, Article 2 (1) 9

82

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


อนุสัญญาให้คำ�มั่นสัญญากับประเทศภาคีสมาชิกว่าจะผลักดันการสำ�รวจทำ�ทะเบียน มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพและร่วมมือกับชุมชนท้องถิน่ กลุม่ คน และนักปฏิบตั กิ าร เพือ่ พัฒนา แผนการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม (Kurin 2004) อนุสัญญาจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่าง ประเทศเพื่อดูแลการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ และสร้างทะเบียนขึ้นสองอย่าง คือ ทะเบียนตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Heritage of Humanity) และทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพที่ต้องการ การปกป้องคุ้มครองอย่างเร่งด่วน (List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding) ภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 ทะเบียนตัวแทนมรดกฯ มี 232 รายการ (UNESCO 2011c) มีสี่รายการจากอินโดนีเซีย (UNESCO 2011a) และหนึ่งรายการจากมาเลเซีย (UNESCO 2011b) ทั้งสี่รายการของอินโดนีเซียมีความเกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรมที่แย่งชิงกับมาเลเซีย ได้แก่ กริช วายังกูลิต บาติก และอังกะลุง (UNESCO 2011a) ส่วนรายการหนึ่งเดียวของมาเลเซียคือ การแสดงมะโย่ง (mak yong theatre) ไม่มปี ญ ั หาการแย่งชิงกัน (UNESCO 2011b) การขึน้ ทะเบียน บาติกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความขัดแย้งเรื่องเพนเดทอย่างรุนแรงถูกมองว่า เป็น “ชัยชนะ” (Collins 2009, 1) ของชาวอินโดนีเซีย เพื่อเฉลิมฉลองเรื่องนี้ ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดี (Susilo Bambang Yudhoyono) ได้ขอร้องให้ชาวอินโดนีเซียทุกคนสวมใส่ ผ้าบาติกในวันที่ยูเนสโกประกาศการขึ้นทะเบียน (Schonhardt 2009a) ในพิธีมีการเชิญชวน กัวลาลัมเปอร์ให้ศึกษาแนวทางการขอขึ้นทะเบียนบาติกมาเลเซียบ้าง (Ministry of Tourism, Culture and Environment, Sabah, Malaysia 2009) ซึ่ง เจโร วาซิก รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวั ฒ นธรรมและการท่ อ งเที่ ย วของอิ น โดนี เซี ย ได้ พู ด ดั ก คอไว้ ว่ า “มาเลเซี ย ไม่ ส ามารถ กล่าวอ้างว่าบาติกเป็นมรดกวัฒนธรรมของตนเองได้อีกต่อไป เพราะอินโดนีเซียได้พิสูจน์เรื่องนี้ แล้ว ถ้ามาเลเซียยังคงต้องการที่จะท้าทายการตัดสินใจของยูเนสโกก็เชิญเลย แต่จะเป็นการดีกว่า ที่มาเลเซียจะลองใช้ผลการสร้างสรรค์ของตนเองบ้าง” (Tumengkol 2009) จากการศึกษาเครือ่ งมือทีเ่ กีย่ วข้องกับมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพแสดงให้เห็นว่าความเห็น ของรัฐมนตรีไม่ถกู ต้องตามหลักกฎหมาย ในกรณีนค้ี �ำ นิยาม “อะไรทีเ่ ป็นมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ” ของยูเนสโก (UNESCO 2009c, 4–5) ได้ถูกเขียนมาเพื่อป้องกันทัศนคติในลักษณะผูกขาดเช่นนี้ “เราอาจมี ก ารแสดงออกของมรดกวั ฒ นธรรมที่ไ ม่ เ ป็ น กายภาพคล้ า ยคลึ ง กั บ สิ่งที่ปฏิบัติโดยผู้อื่น ไม่ว่ามันจะมาจากหมู่บ้านใกล้เคียง จากเมืองในอีกซีกโลก หรือถูกดัดแปลงโดยคนที่อพยพไปตั้งรกรากในภูมิภาคอื่น ล้วนแล้วแต่เป็นมรดก วัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ มันถูกส่งผ่านจากคนรุน่ หนึง่ สูค่ นอีกรุน่ มันถูกพัฒนาเพือ่ การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และมันมีส่วนช่วยในการให้ความรู้สึกถึงอัตลักษณ์ และความต่อเนื่อง ผ่านจากปัจจุบันไปสู่อนาคต มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ไม่ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่า จริงหรือไม่ที่การปฏิบัติบางอย่างเป็นของวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึ่งโดยเฉพาะ มันมีสว่ นช่วยความผูกพันทางสังคม ส่งเสริมความรูส้ กึ ถึง อัตลักษณ์และความรับผิดชอบซึ่งช่วยให้ปัจเจกบุคคลรู้สึกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ชุมชนหรือของชุมชนอืน่ และรูส้ กึ ได้วา่ เป็นส่วนหนึ่งในสังคมใหญ่ มรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพไม่ได้ถูกให้คุณค่าในฐานะสินค้าทางวัฒนธรรมแต่เพียงอย่างเดียว Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 83


บนพืน้ ฐานของการเปรียบเทียบซึง่ ให้คณ ุ ค่าแก่ความเฉพาะเจาะจงหรือความโดดเด่น แต่มันเจริญงอกงามบนพื้นฐานของชุมชนและขึ้นอยู่กับคนที่เป็นเจ้าของความรู้ เกีย่ วกับประเพณี ทักษะและจารีตถูกส่งผ่านมายังคนอืน่ ๆ ในชุมชน จากคนรุน่ หนึง่ สู่อีกรุ่นหนึ่ง หรือสู่ชุมชนอื่น” มาซาโนริ นากาโอกะ (Masanori Nagaoka) เจ้าหน้าทีเ่ ชีย่ วชาญพิเศษด้านงานวัฒนธรรมของ สำ�นักงานยูเนสโกประจำ�กรุงจาการ์ตา กล่าวยาํ้ ว่า การขึน้ ทะเบียนของยูเนสโกเป็น “เพียงเครือ่ งมือหนึง่ ทีจ่ ะช่วยให้แน่ใจว่ารัฐบาลแต่ละประเทศดำ�เนินการปกป้องประเพณีดงั้ เดิมไม่ให้สญ ู หายไป การตอบรับ การขอขึ้นทะเบียนของอินโดนีเซียจึงไม่มีการพูดคุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผ้าบาติกอินโดนีเซีย กับผ้าบาติกมาเลเซีย” (Schonhardt 2009a) ที่แน่ ๆ นักวิชาการเห็นตรงกันว่า ความรู้สึกว่า เป็นชัยชนะเป็นเพียงสัญลักษณ์ เพราะการขึน้ ทะเบียน “ไม่ได้เป็นการมอบสิทธิบตั รให้แก่ผลิตภัณฑ์ผา้ บาติก หรือให้ความคุ้มครองสิทธิทางปัญญา” (Schonhardt 2009a) ความเข้าใจนี้ได้รับการยืนยันโดย ยูเนสโกหลายครั้ง (UNESCO 2007, 5) “ในภาษาที่ ยู เ นสโกใช้ “การคุ้ ม ครอง” (protection) หมายถึ ง การรั บ เอา วิธกี ารต่าง ๆ มาใช้เพือ่ การสงวนรักษา (preservation) การปกป้อง (safeguarding) และการเพิ่มประสิทธิภาพ (enhancement) ไม่มีความหมายใดแฝงว่าอาจจะ นำ�ไปสู่กิจการเชิงพาณิชย์”

อีกตัวอย่างหนึ่งที่แนวคิดนี้ถูกกล่าวถึงอีกครั้ง (UNESCO 2009b, 8)

“การปกป้อง (safeguarding)...มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ...คือการทำ�ให้แน่ใจ ว่าจะมีการสร้างสรรค์และส่งผ่านต่อไปด้วยการระบุและนิยามมรดกวัฒนธรรม แทนที่ จะใช้มาตรการทางกฎหมายโดยเฉพาะการใช้สทิ ธิใ์ นทรัพย์สนิ ทางปัญญา...เนือ่ งจาก ชุมชนเป็นผูส้ ร้างสรรค์ ดูแลรักษา และส่งผ่านมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ มันจึง เป็นการยากทีจ่ ะกำ�หนดว่าใครบ้างทีเ่ ป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรมร่วมกัน” ชัดเจนว่าการขึ้นทะเบียนบาติกอินโดนีเซียไม่ได้กีดกันมาเลเซียจากการเสนอบาติกของตน เพือ่ ให้ได้รบั การขึน้ ทะเบียนในทะเบียนตัวแทนมรดกฯ แม้วา่ จนถึงปัจจุบนั กัวลาลัมเปอร์จะยังไม่ได้มี ความพยายามอย่างเป็นทางการ นอกเหนือไปจากการประกาศว่าจะทำ�การศึกษาการขึน้ ทะเบียนบาติก อินโดนีเซียโดยยูเนสโก “เพือ่ ให้แน่ใจว่าการตัดสินใจของยูเนสโกจะส่งผลต่อทิศทางของผ้าบาติกพืน้ เมือง ในมาเลเซียหรือไม่” (Ministry of Tourism, Culture and Environment, Sabah, Malaysia 2009, 1) คำ�แนะนำ�ของยูเนสโกที่มีให้แก่ประเทศไทยซึ่งเผชิญสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นเดียวกัน ช่วยคลีค่ ลายความกำ�กวมว่ามาเลเซียสามารถยืน่ ขอขึน้ ทะเบียนบาติกของตนในทะเบียนตัวแทนมรดกฯ ได้ทกุ เมือ่ ในการตอบข้อห่วงใยของประเทศไทยต่อการขึน้ ทะเบียน “จีบ” ของกัมพูชา ซึง่ เป็นท่ารำ�ทีม่ ี ในทั้ ง สองประเทศ ยู เ นสโกได้ ยื น ยั น ต่ อ ประเทศไทยว่ า การขึ้ น ทะเบี ย นดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ กี ด กั น การขึน้ ทะเบียน จีบ ของไทย รวมทัง้ การเชิดหนังอืน่ ๆ กับยูเนสโก แม้วา่ จะได้มกี ารขึน้ ทะเบียนมรดกวัฒนธรรม ของกัมพูชาไปแล้วก็ตาม (Phuket News 2011)

84

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


การทูต ทางออกของความขัดแย้ง และความร่วมมือที่เปลี่ยนแปลง จากจุดยืนของยูเนสโกในการคุม้ ครองและส่งเสริมความหลายหลายทางวัฒนธรรมในทุกรูปแบบ รวมทัง้ ศิลปะและมนุษยศาสตร์ วิถชี วี ติ การอยูร่ ว่ มกันด้วยวิธตี า่ ง ๆ ระบบการให้คณ ุ ค่า ประเพณีและ ความเชือ่ มีเป้าหมายเพือ่ เพิม่ อำ�นาจให้ประชาชนในการเผชิญความท้าทายทัง้ ในระดับท้องถิน่ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ (UNESCO 2010, 1) เท่าที่เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็น กายภาพ ยูเนสโกได้แสดงความตะขิดตะขวงใจที่จะให้การสนับสนุนการอ้างสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวเหนือ มรดกวัฒนธรรม เพราะอาจเป็นการปฏิเสธสิทธิ์ของชุมชนอื่นเหนือองค์ประกอบทางวัฒนธรรมร่วม เหล่านีใ้ นการทีจ่ ะชืน่ ชม ใช้งาน ผลิตขึน้ ใหม่ และทำ�ให้เป็นสินค้า ดังนัน้ จึงอาจสรุปได้วา่ ในภูมภิ าคที่ “หลากหลายกลุม่ คน หลากหลายภาษา และหลากหลายศาสนา” เช่น อาเซียน (Suryadinata 2005, 41) ความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายเป็นคุณค่าสำ�คัญที่ยูเนสโกพยายามคุ้มครองและส่งเสริม (UNESCO 2009a) ในฐานะทีเ่ ป็นภูมภิ าคทีม่ คี วามหลากหลายทีส่ ดุ ในโลกแห่งหนึง่ (Suryadinata 2005) ความหลากหลายของอาเซียนได้ขยายเพิ่มมากขึ้นครอบคลุมหลายด้าน จากสิ่งที่สืบทอดมาจาก อดีต ทัศนคติเชิงกลยุทธ์ (Severino 2005) ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และการพัฒนา (Lin 2010) ไปสู่ ระบบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (Atje 2008) ท่ามกลางความหลากหลายดังกล่าว การอ้างสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวเหนือมรดกวัฒนธรรมร่วม ถือเป็นการฝ่าฝืนกรอบคิดและจิตวิญญาณของอาเซียนซึ่งมุ่งเน้นความร่วมมือและการทำ�งานร่วมกัน (ASEAN 2007a) ทั้งยังเป็นการทำ�ลาย “สิทธิโดยอิสระในการเข้าร่วมวิถีทางวัฒนธรรมของชุมชน เพือ่ ชืน่ ชมศิลปะและเพือ่ แบ่งปันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและผลประโยชน์” ซึง่ ได้รบั การคุม้ ครอง ภายใต้มาตรา 27 (1) ของ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) (United Nations General Assembly 1948) ข้อเรียกร้องนี้สวนทางกับวัฒนธรรมมาเลย์ ซึ่งมีแนวความคิดหลักคือ บูดิ (budi) สอนการบริหารความแตกต่างด้วยการเจรจา ดังเช่นคำ�สอน ในเปอบิลังกัน (perbilangan สุภาษิตมาเลย์) “Baik pada awak maka baiklah pada saya, Seiya sekata, Berunding beriya, Bulat kata kerana muafakat” หมายถึง “ผลลัพธ์ทดี่ สี �ำ หรับคุณ จะเป็นผลลัพธ์ที่ดีสำ�หรับฉันด้วย ความเห็นพ้องอย่างเป็นเอกฉันท์ที่เกิดขึ้นบนการเจรจาต่อรองที่ไป ในทางเดียวกัน เป็นฉันทามติทไี่ ด้มาจากการร่วมมือกันทำ�งาน” (Wan Norhasniah Wan Husin 2011, 133; Zainal Kling 1997, 51) ดังเช่นที่กล่าวข้างต้น ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาฉบับใดในปัจจุบันที่เพียงพอ ต่อการจัดการปัญหาความขัดแย้งเหนือมรดกวัฒนธรรมในระดับภูมภิ าค ใน ค.ศ. 2009 ความพยายาม ของจาการ์ ต าในการขยายขอบเขตความคุ้ ม ครองลิ ข สิ ท ธิ์ ภ ายใต้ ก ฎหมายระดั บ ชาติ ที่ ร วมเอา งานคติชนวิทยาและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดัง้ เดิมเข้าไว้ “ยังคงเป็นเพียงทฤษฎีทอี่ ยูใ่ นกระดาษ เท่านั้น” (Antons 2009b, 113) แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เคยปฏิบัติได้จริง (Antons 2009b; Antons 2009a) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (The World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) ยอมรับว่า “ความขัดแย้งเรื่องมรดกวัฒนธรรมมักจะมีหลายมิติ ไม่เพียง เกีย่ วข้องกับประเด็นทางกฎหมายทีซ่ บั ซ้อน แต่ยงั เป็นประเด็นอ่อนไหวทีเ่ กีย่ วข้องกับอารมณ์ จริยธรรม ศีลธรรมในอดีต การเมือง ศาสนา หรือธรรมชาติจติ วิญญาณ ซึง่ ไม่จ�ำ เป็นต้องเป็นเรือ่ งกฎหมายเสมอไป” Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 85


(World Intellectual Property Organization (WIPO) 2009, 1) ความซับซ้อนของความขัดแย้งเกีย่ วกับ มรดกวัฒนธรรมชีใ้ ห้เห็นว่าเครือ่ งมือทางกฎหมายทีม่ อี ยูไ่ ม่สามารถจัดการกับความขัดแย้งดังกล่าวได้ การฟ้องร้องดำ�เนินคดีจงึ เป็นทางออกทีไ่ ม่ดแี ละไม่ได้ผล เพราะมันอาจแก้ปญ ั หาได้ชวั่ คราวแต่ไม่ยงั่ ยืน และในขณะเดียวกันยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีด้วย ในบางกรณี การฟ้องร้องดำ�เนินคดียิ่งเป็นการเพิ่มความคับแค้นใจให้แก่คู่กรณี ด้วยเหตุนี้องค์การทรัพย์สิน ทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization (WIPO) 2009, 1) จึงมุ่งหา ทางออกของปัญหาด้วย “แนวทางสร้างสรรค์” อาทิ กระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาล (alternative dispute resolution) เนื่องจากเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่ทำ�ให้เกิดการพูดถึงทั้งประเด็นที่อยู่ และไม่อยู่ในการพิจารณาคดีความ รวมทั้งประเด็นอ่อนไหว ความต้องการพิเศษ และการสงวนรักษา ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีด้วย ความเหมาะสมของการใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาล โดยเฉพาะในบริบทของอาเซียน ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการด้านสิทธิทางปัญญาจำ�นวนมาก คริสตอฟ แอนทอนส์ (Antons 2009b, 115–116) ผู้เชี่ยวชาญภูมิภาค อธิบายว่า “ความขัดแย้งระดับภูมิภาค...แสดงให้เห็นว่าการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม เป็นเรือ่ งสำ�คัญในเอเซีย เพราะในบางครัง้ มรดกวัฒนธรรมยังคงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ ของรั ฐ ชาติ ความชอบธรรรมทางการเมื อ งและบางครั้ ง เพื่ อ กำ � หนดขอบเขต พรมแดน...กลไกในการแก้ปญ ั หาความขัดแย้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมภิ าคจึงมี ความสำ�คัญอย่างยิง่ โดยเฉพาะในการจัดการมรดกวัฒนธรรมทีข่ ยายข้ามพรมแดน” ในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับความขัดแย้งเรือ่ งเพนเดท เดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ผูน้ �ำ ของมาเลเซียและ อินโดนีเซียตกลงร่วมกันส่งเรือ่ งนีใ้ ห้คณะผูท้ รงคุณวุฒขิ องอาเซียน (Eminent Persons Group หรือ EPG) (Mohd Nasir Yusoff 2009) ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ทำ�หน้าที่เป็นที่ปรึกษาประกอบด้วยตัวแทนของ ประเทศในอาเซียนที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับนับถือ (Job 2008) และยังตกลงกันว่าจะ มอบหมายให้คณะผูท้ รงคุณวุฒเิ ป็นผูด้ แู ลปัญหาในลักษณะเดียวกันนีท้ อี่ าจเกิดขึน้ ในอนาคต (Mohd . Nasir Yusoff 2009) หลังจากการพิจารณาอย่างไม่เป็นทางการ คณะผูท้ รงคุณวุฒิ โดย ตรัย ซูทริสโน (Try Sutrisno) ประธานคณะ กล่ า วว่ า “กรณี เ พนเดทไม่ น่ า จะเกิ ด ขึ้ น หากมี ก ารสื่ อ สารที่ ดี ระหว่างทั้งสองประเทศ...ถ้าหากได้มีความร่วมมือทางวัฒนธรรมในการนำ�เสนอเพนเดทตั้งแต่แรก สถานการณ์คงจะไม่ออกมาเป็นแบบนี้” (Heru 2009, 1) ประธานตรัย ซูทริสโน ยังเปิดเผยด้วยว่า คณะผูท้ รงคุณวุฒไิ ด้ท�ำ ข้อเสนอแนะสำ�หรับทัง้ สองประเทศในรูปแบบของข้อเสนอแนะกลไกทีจ่ ะช่วย ฟืน้ ฟูความสัมพันธ์ของทัง้ สองประเทศ การป้องกันโอกาสเกิดความขัดแย้งทีไ่ ม่สมควร และหลีกเลีย่ ง ปัญหาในอนาคต (Lutfia 2009) ส่วนหนึ่งของข้อเสนอแนะคือแผนการให้การสนับสนุนการแก้ไข ข้อพิพาทระหว่างทั้งสองประเทศ (Lutfia 2009) การเจรจาทวิภาคีระหว่างผูน้ �ำ ของทัง้ สองประเทศถูกจัดขึน้ หลายครัง้ เพือ่ หารือปัญหาความตึงเครียด ทางการทูตอืน่ ๆ รวมทัง้ ความปลอดภัยของชาวมาเลเซียทีอ่ าศัยในอินโดนีเซีย (Channel News Asia 2009) และการดูแลสวัสดิภาพตลอดจนการทำ�สัญญาจ้างงานในนามของผูอ้ พยพชาวอินโดนีเซีย (Hunt 2010) 86

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ส่วนปัญหาความขัดแย้งเรื่องพรมแดน ทั้งสองประเทศต่างทราบดีว่าการเจรจาทวิภาคีเป็นช่องทาง ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา และคงไม่มีวิธีการแก้ปัญหาที่รวดเร็วสำ�หรับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น (People’s Daily 2010) แม้ในขณะที่ความตึงเครียดกำ�ลังขยายตัว ทั้งจาการ์ตาและกัวลาลัมเปอร์ ก็ออกมายืนยันอย่างทันควันว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังคงแน่นแฟ้น และมีหลักฐาน การซือ้ ขายแลกเปลีย่ นสินค้าระหว่างทัง้ สองประเทศทีย่ งั มีอย่างต่อเนือ่ ง (The Star 2010) ความร่วมมือ ในการต่ อ ต้ า นการก่ อ การร้ า ยก็ ท วี ค วามแน่ น แฟ้ น ขึ้ น ภายหลั ง การสั ง หาร นอร์ ดิ น เอ็ ม ท็ อ ป (Nordin M. Top) ผูก้ อ่ การร้ายทีเ่ ป็นทีต่ อ้ งการ เป็นเหตุการณ์ทข่ี บั เคลือ่ นให้ทง้ั สองประเทศให้ค�ำ มัน่ สัญญา ในการริเริ่มความร่วมมือในการต่อต้านผู้ก่อการร้ายและแบ่งปันข่าวกรองในอนาคต (Hunt 2009) ข้อตกลงทวิภาคีล่าสุดเกี่ยวกับแรงงานอพยพทำ�ให้จาการ์ตายกเลิกการห้ามส่งแรงงานไปยังมาเลเซีย ถือเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตในทางที่ดีขึ้น (Jakarta Post 2011) ในบทบาทการให้ความช่วยเหลือ คณะผู้ทรงคุณวุฒิสามารถดำ�เนินการต่อไปในการสร้าง การสนทนาระหว่างผู้นำ�ของทั้งสองประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจและจัดการระดับความคาดหวังและ ความกังวลของแต่ละฝ่าย กระบวนการที่ไม่เป็นทางการอื่น ๆ อาทิ การปรึกษาหารือ การประชุม เชิงปฏิบัติการ กับผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมระดับภูมิภาค องค์กร สถาบัน และเครือข่ายนอกภาครัฐ ก็อาจช่วยกระตุ้นการหารือ ระดมสมอง เกี่ยวกับตัวอย่างที่ดีของการปกป้องคุ้มครองและจัดการ มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ และช่วยระบุแนวทางทีจ่ �ำ เป็นในการพัฒนางานวิจยั ในด้านนีใ้ ห้กว้าง และลึกยิง่ ขึน้ และอาจเกีย่ วข้องกับภาคธุรกิจ (ผ่านทางโครงการความรับผิดชอบทางสังคมของบรรษัท) นักวิชาการ องค์กรประชาสังคม และสือ่ มวลชนในการชักจูงสังคมและช่วยลดความตึงเครียดผ่านการ แสดงออกอย่างมีวุฒิภาวะและผ่านการเน้นยํ้าเหตุผลของข้ออ้างของทั้งสองฝ่าย หากกล่าวในภาพกว้าง มีความกังวลตัง้ แต่กอ่ ตัง้ อาเซียนว่า “ผูค้ นในภูมภิ าคไม่รจู้ กั ซึง่ กันและกัน มากนัก” (Suryadinata 2005, 42) หลายทศวรรษที่ผ่านมา ความต้องการที่เติบโตขึ้นในหมู่ผู้นำ� ชาติอาเซียน ในการทีจ่ ะสร้างอัตลักษณ์ของภูมภิ าคไม่ได้กลายมาเป็นความจริง เนือ่ งจาก “การรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นโครงการของชนชัน้ นำ� ซึง่ มุง่ หวังทีจ่ ะสร้างความมัน่ คงภายในประเทศ โดยปราศจากการ แทรกแซงจากภายนอก เพื่อที่จะอยู่ในอำ�นาจต่อไป” (Jonsson 2008, 16) เมื่อเป็นเช่นนี้ อัตลักษณ์ ของชาติมีอำ�นาจเหนืออัตลักษณ์ภูมิภาคที่ถูกสร้างขึ้นโดยการหลอมรวมความหลากหลายเข้าด้วยกัน (Suryadinata 2005) อุดมการณ์ที่แตกต่างและประสบการณ์ที่ผ่านมาของประเทศสมาชิกเป็นสิ่งที่ ยับยัง้ ไม่ให้เกิดความสัมพันธ์ทใี่ กล้ชดิ ได้ ซึง่ เป็นปรากฏการณ์ทเี่ พิง่ จะมีมาตัง้ แต่ทศวรรษ 1990 เริม่ เห็น พัฒนาการ ความขัดแย้งล่าสุดระหว่างอินโดนีเซีย–มาเลเซีย ได้มอบอุปสรรคทีม่ าในเวลาทีเ่ หมาะเจาะ แก่อาเซียนในการทบทวนเป้าหมาย และเพือ่ สนับสนุนความพยายามในการสร้างอัตลักษณ์ของภูมภิ าค ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น การบรรลุเป้าหมายนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งง่าย หากพิจารณาถึงการเผชิญหน้าและการเอาชนะ ไม่เพียงแต่ ความเป็นพหุสงั คมของภูมภิ าค แต่ยงั มีความจงรักภักดียดึ ติดกับความเชือ่ มโยงตัง้ แต่ยคุ ก่อนอาณานิคม ซึ่งได้สร้างให้เกิดอัตลักษณ์ที่คลุมเครือ และ “ขอบเขตของอัตลักษณ์ที่สับสนและเกิดข้อโต้แย้ง” (Jones 2004, 158) ความผูกพันกับท้องถิ่นที่หลากหลาย และ “การเปลี่ยนแปลงซํ้าแล้วซํ้าเล่าของ พรมแดนทางวัฒนธรรมและความจงรักภักดีทางการเมือง” (Jonsson 2008, 16) ความสำ�เร็จของ Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 87


ความพยายามนีจ้ งึ ขึน้ อยูก่ บั การให้ค�ำ มัน่ สัญญาของอาเซียนในการทบทวนแนวคิดเรือ่ งอัตลักษณ์ของผูค้ น ในภูมิภาค ในทุกระดับของสังคมและไม่เพียงเฉพาะในระดับผู้นำ�เท่านั้น (Jones 2004) ในการสร้าง บ่มเพาะ และหลอมรวมอัตลักษณ์ของทัง้ ภูมภิ าคมีความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องให้โอกาสทุกคนในการมีสว่ นร่วม ในมาตรการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่น โดยเฉพาะมาตรการที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจระหว่างผู้คน ต่อผู้คนเกี่ยวกับรากเหง้า วัฒนธรรม ประสบการณ์ในอดีต และความสัมพันธ์ เพื่อช่วยให้พวกเขา เพิ่มความใส่ใจต่ออัตลักษณ์และโลกทัศน์ที่พวกเขามีร่วมกัน ที่ถูกแบ่งแยก และแม้แต่ที่แข่งขันกัน (Jones 2004) ซึ่งในเรื่องนี้ไม่มีใครช่วยได้ แต่อาจมองเรื่องนี้ในแง่ดี เช่นที่ ครัวซองและทริน เขียนไว้ (Croissant and Trinn 2009, 41) “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของภูมภิ าคและในสังคมมอบทัง้ ความท้าทายและ โอกาสสำ�หรับยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ บนพืน้ ฐานความเข้าใจ และการเจรจาในอาเซียน รูปแบบของการสร้างอัตลักษณ์รว่ มนัน้ สามารถรับรูไ้ ด้ และ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความขัดแย้งระหว่างประเทศและกลุม่ ประเทศ ในเอเซียไม่จำ�เป็นต้องเป็นรูปแบบของความรุนแรง”

ในการคาดการณ์ของผู้เขียน (Croissant and Trinn 2009, 41) “เอเซีย โดยเฉพาะเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มสูงที่จะมีความขัดแย้งภายใน ประเทศและระหว่างประเทศเกีย่ วกับวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ แต่ประเทศในภูมภิ าค ก็ยังมีศักยภาพพิเศษที่จะรับประกันการดำ�รงอยู่ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของ หลากหลายศาสนา ภาษา และกลุ่มคนที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม”

อาจจะโต้แย้งได้วา่ บทบาทการเป็นสือ่ กลางเช่นนีเ้ หมาะสมทีจ่ ะเป็นหน้าทีข่ องประชาคมสังคม วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) เพราะมีบทบาทให้การสนับสนุน ในขอบเขตทีเ่ กีย่ วข้อง (ASEAN 2009) จากมุมมองทางสังคมและสถาบัน อาทิ การศึกษา ประชาคมสังคม วัฒนธรรมอาเซียนสามารถสนับสนุนการสร้างและพัฒนาพืน้ ทีท่ างสังคมซึง่ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือ ที่กว้างขวางขึ้นและลึกซึ้งขึ้นของผู้คนจากทุกประเทศในอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย ประวัตศิ าสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจ และระบบสังคมการเมือง (Koh 2007) ด้วยการใช้กลไกทีม่ อี ยูแ่ ล้ว หรือการสร้างสรรค์ทางออกใหม่ ๆ วิธกี ารสร้างความเชือ่ มัน่ และความเป็นปึกแผ่นสามารถทีจ่ ะรินไหล ไปสู่ระดับชาวบ้านเพื่อช่วยสร้างอัตลักษณ์ของภูมิภาค กลไกเหล่านี้อาจจะช่วยกระตุ้นผู้คนด้วย “ความตระหนักรูว้ า่ เหนือรัฐชาติยงั มีโครงสร้างร่วมอีกชุดทีใ่ ห้ความมัน่ ใจในความคุม้ ครองและความสบายใจ” (Jones 2004, 143) กลไกเหล่านี้ยังสามารถใช้เป็นช่องทางเชื้อเชิญให้ผู้คนเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์อีกด้วย ในแง่นี้ ความพยายามร่วมกันดังเช่นความร่วมมือระหว่างจาการ์ตาและกัวลาลัมเปอร์เมือ่ เร็ว ๆ นี้ ในการออกแสตมป์ชุดภาพสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซียและมาเลเซีย แสดงให้เห็นศักยภาพ สำ�หรับทั้งสองประเทศที่จะร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย (Nirmala 2011) ด้วยการจงใจ หลีกเลี่ยงการนำ�เสนอมรดกวัฒนธรรมที่เป็นกรณีขัดแย้ง อาทิ บาติก (Nirmala 2011) อย่างไรก็ตาม

88

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ทั้งสองประเทศได้สูญเสียโอกาสอันมีค่า ในการนำ�เสนอมรดกวัฒนธรรม ร่วมของพวกเขาสู่เวทีโลกในทุกความเหมือนและทุกความงดงามในความแตกต่าง ไม่แน่ว่าวันหนึ่ง จาการ์ ต าและกั ว ลาลั ม เปอร์ อ าจก้ า วข้ า มความไม่ ล งรอยกั น เพื่ อ ร่ ว มกั น เสนอขอขึ้ น ทะเบี ย น มรดกวัฒนธรรมร่วมอินโดนีเซีย–มาเลเซีย ดังเช่นที่เคยมีการเสนอชื่อการเต้นแทงโกร่วมกันของ อาร์เจนตินาและอุรุกวัย หลังจากทะเลาะกันมาหลายปีว่าใครเป็นผู้คิดค้นการเต้นรำ�นี้ขึ้น (Pidd 2009) ด้วยความปีติยินดี ภาคภูมิใจที่แทงโกได้รับการขึ้นทะเบียนในทะเบียนตัวแทนมรดกฯ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2009 อาร์เจนตินาและอุรุกวัยวางแผนที่จะใช้ทุนสนับสนุนจากกองทุน ขององค์การสหประชาชาติในการปกป้องคุม้ ครองประเพณีวฒ ั นธรรมในการเผยแพร่แทงโกไปทัว่ โลก (Surk 2009) ไม่แน่วา่ ในวันหนึง่ สิง่ ทีก่ ล่าวข้างต้นและเจ้าภาพของแรงจูงใจอืน่ ๆ อาจจะจูงใจอินโดนีเซียและ มาเลเซียให้เริ่มดำ�เนินการโครงการในลักษณะคล้ายกันนี้ เมื่อพิจารณาถึงการซ้อนทับทางวัฒนธรรม ที่มีอยู่มากในภูมิภาค การร่วมทุนของทั้งสองประเทศจะเป็นแบบอย่าง สร้างพื้นที่ในการให้คำ�แนะนำ� และแนะแนวทางปฏิบัติ ให้แก่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่นในโลกที่เข้าไปมีส่วนใน ความขัดแย้งที่คล้ายกัน อินโดนีเซียและมาเลเซียสามารถร่วมกันบุกเบิกการสร้างวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ต่อความขัดแย้งเหนือมรดกวัฒนธรรมร่วม และแสดงต่อโลกว่ามันเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนเสียงที่ ไม่ประสานกันให้กลายเป็นเสียงเรียกที่ดังกังวาน ดึงความสนใจของทั่วโลกมายังลักษณะพิเศษของ มรดกวัฒนธรรมทุกอย่างในภูมิภาค โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความพยายามร่วมมือกัน ดังกล่าวจะปูทางให้อินโดนีเซียและมาเลเซียร่วมกันกำ�กับทิศทางของอาเซียนเพื่อนำ�ไปสู่ความเป็น ประชาคมที่ “สำ�นึกถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ตระหนักถึงมรดกวัฒนธรรมและความผูกพัน ด้วยอัตลักษณ์ของภูมภิ าคทีม่ รี ว่ มกัน” ดังเช่นทีป่ รากฏในวิสยั ทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN 2007b, 1)

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 89


อ้างอิง Abdussalam, Andi. 2009. “Malaysia`s Pendet Dance Ad Sparks Indonesian Protests.” ANTARANEWS.COM, August 25. http://www.antaranews.com/en/news/1251197912/malaysias-pendet-dancead-sparks-indonesian-protests. Abubaker, Syarisa Yanti. 2002. “Migrant Labour in Malaysia: Impact and Implications of the Asian Financial Crisis.” In East Asia Development Network (EADN) Regional Project on the Social Impact of the Asian Financial Crisis. 5. Makati, the Philippines: East Asian Development Network (EADN). Adnan Nawang. 2009. “Melayu Dan Kesarjanaannyaa; Perihal Perjuangan Kebangsaan Melayu [The Malay People and Their Intellectuals: A Malay Nationalist Struggle.” In . Perak: Institut Peradaban MElayu. Ahmad Pathoni. 2009. “Storm over ‘Stealing’ of Balinese Dance.” Malaysiakini, February 9. http://www.malaysiakini.com. Alias Sidek. 1999. Penglibatan Dunia Melayu Dalam Peribahasa [The Malay World’s Involvement in Proverbs]. Kuala Lumpur: University of Malaya Press. Andaya, Leonard Y. 2001. “The Search for the ‘Origins’ of Melayu.” Journal of Southeast Asian Studies 32 (03): p. 315–330. doi:10.1017/S0022463401000169. Anti-Maling. n.d. “BIM: Berita Indonesia and Malaysia.” http://anti-mailng.webnode.com//. Anti-Malingsia. n.d. “Never Visit Malaysia.” http://nevervisitmalaysia.multiply.com. Antons, Christoph. 2009a. “Traditional Knowledge in Asia: Global Agendas and Local Subjects.” In Regulation in Asia: Pushing Back on Globalization, edited by J. Gillespie and R. Peerenboom. New York: Routledge. ———. 2009b. “What Is Traditional Cultural Expression?” World Intellectual Property Organization (WIPO) Journal 1: p. 103–116. Appiah, Kwame Anthony. 2006. “Whose Culture Is It?” New York Review of Books 53 (2): p. 38–41. Arnove, Anthony. 1998. “Indonesia: Crisis and Revolt.” International Socialist Review, November, p. 9–17. ASEAN. 2007a. “Charter of the Association of Southeast Asian Nations.” ASEAN. http:// www.aseansec.org/ASEAN-Charter.pdf. 90

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


———. 2007b. “‘ASEAN Vision 2020’ Report from the 1997 ASEAN Summit Meeting, Kuala Lumpur, Malaysia.” http://www.aseansec.org/1814.htm. ———. 2009. “The ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Plan of Action.” http://www.aseansec.org/16832.htm. ———. 2011. “Overview.” http://www.aseansec.org/64.htm. Ashwill, Mark A., and Duong Thi Hoàng Oanh. 2009. “Developing Globally Competent Citizens: The Contrasting Cases of the United States and Vietnam.” In The Sage Handbook on Intercultural Competence, edited by Darla K. Deardorff. Thousand Oaks, Calif: Sage Publications. Asia News Network. 2010. “Malaysia’s Arrogance versus Indonesia’s Envy,” September 6. http://www.asiaone.com. Atje, Raymond. 2008. “ASEAN Economic Community: In Search of a Coherent External Policy.” In Deepening Economic Integration in East Asia - The ASEAN Economic Community and Beyond, p. 156–172. ERIA Research Project Report 2007 1-2. Economic Research Institute for ASEAN and East Asia. Barker, Joshua. 2008. “Beyond Bandung: Development Nationalism and (Multi) cultural Nationalism in Indonesia.” Third World Quarterly 29 (3): p. 521–540. doi:10.1080/01436590801931496. Barnard, Timothy T., and Hendrik M.J. Maier. 2004. “Introduction.” In Contesting Malayness: Malay Identity across Boundaries, edited by Timothy T. Barnard. Singapore: Singapore University Press, National University of Singapore. BBC. 2009. “Malaysia and Indonesia Tries to Mend Ties,” November 12. http://news. bbc.co.uk/2/hi/8355417.stm. Belford, Aubrey. 2009. “Calls for ‘War’ in Indonesia-Malaysia Dance Spat.” Jakarta Globe. September 5. http://www.the jakartaglobe.com. Benjamin, Geoffrey, and Cynthia Chou, eds. 2002. Tribal Communities in the Malay World: Historical, Cultural, and Social Perspectives. Leiden, the Netherlands : Singapore: International Institute for Asian Studies ; Institute of Southeast Asian Studies. BERNAMA. 2009. “Don’t Dispute If Malaysian, Indonesian Culture Overlap.” October 20. http://www.bernama.com. “Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works.” 1886. September 9. http://www.wipo.int/treaties/en/ip/berne/trtdocs_wo001.html. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 91


Blake, Janet. 2000. “On Defining the Cultural Heritage.” International & Comparative Law Quarterly 49 (01): p. 61–85. doi:10.1017/S002058930006396X. Brown, David. 1994. The State and Ethnic Politics in Southeast Asia. Politics in Asia Series. London: New York : Routledge. Budhisantoso, S. 1996. “National Identity and Development in the Plural Society of Indonesia.” In Interface of Cultural Identity and Development, edited by Baidyanath Saraswati and Indira Gandhi National Centre for the Arts, p. 95–98. Culture and Development Series, no. 1. New Delhi: Indira Gandhi National Centre for the Arts. Burnett, David. 2002. Clash of Worlds. London: Monarch Books. Case, William F. 2000. “The New Malaysian Nationalism: Infirm Beginnings, Crashing Finale.” Asian Ethnicity 1 (2): p. 131–147. doi:10.1080/713611700. Channel News Asia. 2009. “Malaysian FM to Visit Indonesia to Calm ‘Theft’ Row,” September 16. http://www.channelnewsasia.com. Chong, Jinn Winn. 2009. “Identity-Based Conflicts: Perceived Difference versus Perceived Threat.” Journal of International Service 19: p. 77–90. Collins, Nick. 2009. “Indonesians Tells Malaysians ‘Hand Off Our Batik.’” The Telegraph, October 5. http://www.telegraph.co.uk. Coombe, R. J. 1993. “The Properties of Culture and the Politics of Possessing Identity: Native Claims in the Cultural Appropriation Controversy.” Canadian Journal of Law and Jurisprudence 6 (2): p. 249–285. Croissant, Aurel, and Christoph Trinn. 2009. “Culture, Identity and Conflict in Asia and Southeast Asia.” ASIEN 110: p. 13–43. Department of Statistics Malaysia. 2011. “Principal Statistics of Labour Force, Malaysia, September 2011.” Time Series 28 (12). http://www.statistics.gov.my. Devadason, Evelyn. 2011. “Policy Chaos over Migrant Workers in Malaysia.” East Asian Forum. January 11. http://www.eastasiaforum.org. Didiet Drogba, and Malon Babu Inggris. n.d. “We Hate Malaysia.” http://www.facebook.com/ group.php?gid=68311750529. Elson, R. E. 2008. The Idea of Indonesia: A History. Cambridge; New York: Cambridge University Press. Emerling, Susan. 2009. “Is Greece Losing Its Elgin Marbles?” Foreign Policy, August 21. http://www.foreignpolicy.com. 92

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Farish Noor. 2009. “Malaysian-Indonesian Relations and the ‘Cultural Conflicts’ between the Two Countries.” Institut de Recherches et Prospective Postales. Farrah Naz Karim. 2009. “Security on Alert for ‘Invasion.’” New Straits Times, October 7. http://www.nst.om.my. Faucher, Carole. 2006. “Popular Discourse on Identity Politics and Decentralisation in Tanjung Pinang Public Schools.” Asia Pacific Viewpoint 47 (2): p. 273–285. doi: 10.1111/j.1467-8373.2006.00311.x. Fitzpatrick, Stephen. 2009. “Ancient Hostilities between Indonesia and Malaysia Turn Ugly.” The Australian, September 12. http://vkavw.theaustralian.com.au. Francioni, F. 2003. “Beyond State Sovereignty :The Protection of Cultural Heritage as a Shared Interest of Humanity.” Michigan Journal of International Law 25: 1209–28. Gatut, Budiono, and Vincent Aryanto. 2010. “Batik Industry Of Indonesia: The Rise, Fall And Prospects.” Studies in Business and Economics: An International Journal 5 (3): p. 156–170. Geertz, Clifford. 1973. “The Politics of Meaning.” In The Interpretation of Cultures: Selected Essays. New York: Basic Books. Gelling, Peter. 2009. “Score One for Indonesia in the War Over Batik.” New York Times, September 14. http://www.nytimes.com. Glionna, John M. 2009. “Indonesia vs. Malaysia: A Cultural War.” Las Angeles Times, October 21. http://articles.latimes.com. Gooch, Liz. 2011. “Malaysia Considers Amnesty for Illegal Immigrants.” New York Times. June 7. http://www.nytimes.com. Halim Salleh. 2000. “Globalization and the Challenges to Malay Nationalism as the Essence of Malaysian Nationalism.” In Nationalism and Globalisation: East and West, edited by Leo Suryadinata and Institute of Southeast Asian Studies, p. 100–122. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. Hamayotsu, Kikue. 2002. “Islam and Nation Building in Southeast Asia: Malaysia and Indonesia in Comparative Perspective.” Pacific Affairs 75 (3): p. 353–375. Heru. 2009. “Try: ‘Pendet’ Case Due to Lack of RI-M’sia Communiations.” Antara, September 11. http://www.antaranews.com. Hoffstaedter, Gerhard. 2008. “Representing Culture in Malaysian Cultural Theme Parks: Tensions and Contradictions.” Anthropological Forum 18 (2): p. 139–160. doi:10.1080/00664670802150182. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 93


Holst, Frederick. 2007. “(Dis-)Connected History: The Indonesia-Malaysia Relationship.” In Indonesia --the Presence of the Past: A Festschrift in Honour of Ingrid Wessel, edited by Eva Streifeneder, Antje Missbach, and Ingrid Wessel. Berlin: Regiospectra. Howell, L.D., and R.D.F. Palmer. 1993. “Malaysia: The Anxieties of Success.” Journal of Northeast Asian Studies 12 (4): p. 42–74. Hunt, Luke. 2009. “Terrorist’s Death Calms Indonesia-Malaysia Relations.” Wolrd Politics Review, September 30. http://www.worldpoliticsreview.com. ———. 2010. “Love Thy Neighbour?” The Diplomat, October 6. http://www. the-diplomat.com. Inglehard, Ronald, and Marita Carballo. 2000. “Does Latin American Exist? (And Is There a Confucian Culture?).” In Culture and Politics: A Reader, edited by Lane Crothers and Charles Lockhart, 1st ed. New York: St. Martin’s Press. Ishii, Satoshi, Donal Klopf, and Peggy Cooke. 2010. “Worldview in Intercultural Communication: A Religion-Cosmological Approach.” In Intercultural Communication: A Reader, edited by Larry A. Samovar, Richard E. Porter, and Edwin R. McDaniel, 13th ed. Boston, Mass: Wadsworth Cengage Learning. Jakarta Post. 2011. “Govt Lifts Ban on Migrant Worker Transfer,” December 2. http:// www.thejakartapost.com. James, Peter C. 2007. “Human Rights, Cultural Heritage Conservation and Cultural Tourism - Conflict or Collaboration?” In . Cairns: International Council of Monuments and Sites (ICOMOS). Job, Brian L. 2008. “The Role of Eminent Persons Group in Asian Regional Institution: ASEAN, APEC, and ARF.” In . San Francisco. Jones, M.E. 2004. “Forging an ASEAN Identity: The Challenge to Construct a Shared Destiny.” Contemporary Southeast Asia 26 (1): p. 140–154. Jones, Tod. 2005. “Indonesian Cultural Policy, 1950-2003: Culture, Institutions, Government.” PhD Dissertation, Curtin University of Technology. Jonsson, Kristina. 2008. “Unity in Diversity? Regional Identity Building in Southeast Asia.” In Working Papers in Contemporary Asian Studies, edited by R. Greatrex. Sweden: Centre for East and Southeast Asian Studies, Lund University. Jung Sung-ki. 2010. “France Vows to Do ‘Best’ over Looted Books’ Return.” Korea Times, March 19. http://www.koreatimes.co.kr. 94

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Kahn, Joel S. 2005. “The Making and Unmaking (?) of a Malay Race.” Social Analysis 49 (2): p. 164–172. doi:10.3167/015597705780886239. Kandasamy, Darshini. 2009. “‘Pendet’ Not A Tourism Malaysian Ad.” Malay Mail. August 25. http://mmail.com.my. Karana, Kirani Pinta, and Putri Prameshwari. 2009. “Outrage Over ‘Stolen’ Pendet Dance Ends Up as a Misstep.” Jakarta Globe, August 25. http://www.thejakartaglobe.com. Kearney, Michael. 1984. World View. Chandler & Sharp Publications in Anthropology and Related Fields. Novato, Calif: Chandler & Sharp. Klinken, Geert Arend van, and Joshua Barker, eds. 2009. State of Authority: The State in Society in Indonesia. Studies on Southeast Asia, no. 50. Ithaca, N.Y: Southeast Asia Program Publications, Southeast Asia Program, Cornell University. Knobloch, Charles, and Dewi Savitri Reni. 2009. “Using Batikmark as a First Step to Extend Protection of Indonesian Javanese-Batik Patterned Textile in Foreign Countries.” HG.Org Publications. March 17. http://www.hg.org. Koh, Aaron. 2007. “Deparochializing Education: Globalization, Regionalization, and the Formation of an ASEAN Education Space.” Discourse: Studies in the Cultural Politics of Education 28 (2): p. 179–195. doi:10.1080/01596300701289144. Kompas. 2009. “Buntut ‘Pendet’, Mahasiswa Banten Bakar Bendera Malaysia.” Kompas, August 27. http://oase.kompas.com. Kong Sothanarith. 2011. “In Preah Vihear Temple 50 Years of Conflict.” Voice of America, February 11. http://www.voanews.com. Kreuzer, Peter. 2002. “Applying Theories of Ethno-Cultural Conflict and Conflict Resolution to Collective Violence in Indonesia.” 63. Peace Research Institue Frankfurt (PRIF) Reports No.63. Frankfurt: Peace Research Institute Frankfurt. ———. 2006. “Managing Ethnic Divisions in the Philippines and Malaysia.” In Democracy, Diversity, and Conflict, edited by Judith Reppy. New York: Cornell University Peace Studies Program. Kuek, C. Y. 2005. “Protection of Expressions of Folklore/Traditional Cultural Expressions: To What Extent Is Copyright Law the Solution?” Journal of Malaysian and Comparative Law 32 (1): p. 31–70. Kurin, Richard. 2004. “Safeguarding Intangible Cultural Heritage in the 2003 UNESCO Convention: A Critical Appraisa.” Museum International 56 (1-2): p. 66–77. doi:10.1111/j.1350-0775.2004.00459.x. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 95


Kurniasari, Triwik. 2009. “A New Range of Batik Especially for Kids.” Jakarta Post, July 26. http://www.thejakartapost.com. Lambert, Peter. 2006. “Myth, Manipulation, and Violence: Relationships between National Identity and Political Violence.” In Political Violence and the Construction of National Identity in Latin America, edited by Will Fowler and Peter Lambert, 1st ed. New York: Palgrave Macmillian. Lee, Hock Guan. 2000. “Ethnic Relations in Peninsular Malaysia: The Cultural and Economic Dimensions.” Social and Cultural Issues 1: p. 1–39. Leigh, Barbara. 2002. “Batik and Pewter: Symbols of Malaysian Pianissimo.” Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia 17 (1): p. 94–109. Lian, Kwen Fee. 2001. “The Construction of Malay Identity across Nations Malaysia, Singapore, and Indonesia.” Bijdragen Tot de Taal-, Land- En Volkenkunde / Journal of the Humanities and Social Sciences of Southeast Asia 157 (4): p. 861–879. doi:10.1163/22134379-90003795. Lin, C. H. 2010. “ASEAN Charter: Deeper Regional Integration under International Law?” Chinese Journal of International Law 9 (4): 821–37. doi:10.1093/chinesejil/jmq025. Lindsay, Jennifer. 1995. “Cultural Policy and the Performing Arts in Southeast Asia.” Performing Arts in Southeast Asia 9 (4): p. 656–671. Liow, Joseph Chinyong. 2005. The Politics of Indonesia-Malaysia Relations: One Kin, Two Nations. RoutledgeCurzon Contemporary Southeast Asia Series 2. London ; New York: RoutledgeCurzon. ———. 2010. Indonesia-Malaysia Relations: Baggage of “Blood Brotherhood.” Commentaries 124/2010. S. Rajaratnam School of Internatinal Studies (RSIS). http://hdl.handle.net/10220/6675. Liu, Deming. 2005. “Can Copyright Lend Its Cinderellaic Magic to Chinese Folklore?” John Marshall Review of Intellectual Property Law 5: p. 203–215. Looi, Elizabeth. 2009. “Minister Sets Up Website to Promote Malaysian Food.” Straits Times. http://www.straitstimes.com. Lopez, Greg. 2009. “ASEAN Fragility and Indonesia-Malaysia Tensions.” New Mandala: New Perspectives on Mainland Southeast Asia. September 20. http://asiapacifi.anu. edu.au. Lowenberg, Peter. 1988. “Malay in Indonesia, Malaysia, Singapore: Three Faces of a National Language.” In With Forked Tongues: What Are National Languages 96

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Good For?, edited by Florian Coulmas. Ann Arbor, MI: Karoma. Lutfia, Ismira. 2009. “Malaysian Foreign Minister Regrets Fuss Over Pendet Issue, Wants to Stay Friends.” Jakarta Globe, September 18. http://www.thejakartaglobe.com. Major, Brenda, and Sarah S.M. Townsend. 2010. “Coping with Bias.” In The SAGE Handbook of Prejudice, Stereotyping and Discrimination, edited by John F. Dovidio, Miles Hewstone, Peter Glick, and Victoria M. Esses. London: SAGE Publications. Malay Mail. 2009. “‘It’s Nationalism’, Says Hate Malaysia Facebook Site.” Malay Mail. September 10. http://www.mmail. Malaysian Insider. 2010. “Indonesian, Malaysian Foeign Ministers to Meet in KL on Sept 6.” Malaysian Insider, August 28. http://www.themalaysianinsider.com. Malik, Candra. 2009. “Malaysia Anthem Furor Hits Wrong Note, Says Indonesian Expert.” Jakarta Globe, September 3. http://www.thejakartaglobe.com. Malingsial. n.d. “We Hate Malaysia.” http://aku-benci-malaysia.blogspot.om/. Mardiyati, Ade. 2009. “Indonesian Vigilantes Prepare For Battle in Malaysia.” Jakarta Globe, September 25. http://www.thejakartaglobe.com. Marks, Kathy. 2009. “Rivals of the East: Battle for Batik.” The Independent, September 28. http://www.independent.co.uk. Maruli, Aditia. 2011. “Global Crisis Affecting RI’s Batik Exports.” Antara News, September 29. http://www.antaranews.com. Mauzy, Diane K. 2006. “From Malay Nationalism to a Malaysian Nation?” In After Independence: Making and Protecting the Nation in Postcolonial & Postcommunist States, edited by Lowell W. Barrington. Ann Arbor: University of Michigan Press. Merryman, John Henry. 1986. “Two Ways of Thinking About Cultural Property.” The American Journal of International Law 80 (4): 831. doi:10.2307/2202065. Meuleman, Johan. 2006. “Between Unity and Diversity: The Construction of the Indonesian Nation.” European Journal of East Asian Studies 5 (1): p. 45–69. doi:10.1163/157006106777998115. Ministry of Finance Malaysia. 2010. “The Economic Report 2010/2011.” http://www. treasury.gov.my. Ministry of Tourism, Culture and Environment, Sabah, Malaysia. 2009. “Malaysia to Study UNESCO’s Listing of Indonesian Batik as Cultural Heritage.” KEPKAS: Official Web Site of Ministry of Tourism, Culture, and Environment, Sabah. September 18. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 97


http://kepas.sabah.gov.my. Miyazaki, Koji. 2000. “Javanese-Malay: Between Adaptation and Alienation.” Journal of Social Issues in Southeast Asia 15 (1): p. 76–99. doi:10.1355/SJ15-1D. Mohd Nasir Yusoff. 2009. “Susilo Wants EPG to Also Tackle Cultural Issues.” Non-Aligned Movement (NAM) News Network, August 25. http://www.namnewsnetwork.org. Neustadt, Richard E., and Ernest R. May. 1988. Thinking in Time: The Uses of History for Decision-Makers. Nachdr. New York: Free Press [u.a.]. Nirmala, Ronna. 2011. “Joint Stamps Bring Indonesia, Malaysia Together.” Jakarta Globe, August 6. http://www.thejakertaglobe.com. People’s Daily. 2010. “Indonesia, Malaysia Must Resolve Conflict through Negotiations: Ambassador.” People’s Daily. August 20. http://english.peopledaily.com.cn. Phuket News. 2011. “Thais Ask: Who Owns the Jeep?,” August 20. http://www. thephuketnews.com/thais-ask-who-owns-the-jeep-26465.php#sthash.6KAnZTBJ.dpuf. Pidd, Helen. 2009. “Argentina and Uruguay Patch up Row to Get Tango on UNESCO List.” The Guardian. http://www.guardian.co.uk. Pongphisoot Busbarat. 2011. “Thai-Cambodian Conflict: An Obstacle to the ASEAN Community 2015?” East Asian Forum, May 20. http://www.eastasiaforum.org. Prameshwari, P., M. J. Sihaloho, and A. Tejo. 2009. “Malaysia Enters Ambalat Again.” Jakarta Globe, May 31. http://www.thejakartaglobe.com. Prathivi, Niken, and Irawaty Wardany. 2009. “Protest over Presence of Pendet Dance in Malaysia’s Tourism Ad Continue.” Jakarta Post. August 23. http://www. thejakartapost.com. Pusch, Margaret. 2009. “The Interculturally Competent Global Leader.” In The Sage Handbook of Intercultural Competence, edited by Darla K. Deardorff, p. 289–301. Thousand Oaks, Calif: Sage Publications. Rajadurai, Joanne. 2010. “Speaking English and the Malay Community: The Struggle for Participation and the Negotiation of Identities.” Indonesia and the Malay World 38 (111): p. 289–301. doi:10.1080/13639811.2010.489371. Ramasamy, P. 2004. “International Migration and Conflict: Foriegn Labour in Malaysia.” In International Migration in Southeast Asia, edited by Aris Ananta and Evi Nurvidya Arifin. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. Redfield, Robert. 1953. The Primitive World and Its Transformations. Ithaca, N.Y: 98

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Cornell University Press. Reid, Anthony. 2001. “Understanding Melayu (Malay) as a Source of Diverse Modern Identities.” Journal of Southeast Asian Studies 32 (03): p. 295–313. doi:10.1017/ S0022463401000157. Riley, Andela R. 2005. “Straight Stealing: Towards an Indigenous System of Cultural Property Protection.” Washington Law Review 80: p. 69–164. Ross, Marc Howard. 2002. “Culture and Identity in Comparative Political Analysis.” In Comparative Politics: Rationality, Culture, and Structure, edited by Mark Irving Lichbach and Alan S. Zuckerman, 2nd ed. Cambridge Studies in Comparative Politics. Cambridge ; New York: Cambridge University Press. Sagita, Dessy. 2009. “Indonesian Minister Rejects Malaysian Pendet Apology.” Jakarta Globe, August 28. http://www.thejakartaglobe.com. Salih, M. A. Mohamed. 1998. “Other Identities: Politics of Sudanese Discursive Narratives.” Identities 5 (1): p. 5–31. doi:10.1080/1070289X.1998.9962607. Scafidi, S. 2001. “Intellectual Property and Cultural Products.” Boston University Law Review 81: p. 793–842. Schonhardt, Sara. 2009a. “Indonesia Cut from a Different Cloth.” Asia Times Online, October 3. htp://wwwatimes.com. ———. 2009b. “Battle for Batik.” CNN International: CNNGo, October 14. http://www. cnngo.com. Seattle Times. 2009. “Malaysia Blames Discovery Channel in Dance Flap,” September 4. http://seattletimes.nwsource.com. Segawa, N. 2007. “Malaysia’s 1996 Education Act: The Impact of a MulticulturalismType Approach on National Integration.” SOJOURN: Journal of Social Issues in Southeast Asia 22: p. 30–56. Seneviratne, Kalinga. 2007. “Class Clash Mars Malaysia-Indonesia Ties.” Asia Times Online, September 6. http://www.atimes.com. Setiawati, Indah. 2009. “Anti-Malaysia Activities Launch Raid on Malaysians.” Jakarta Post, November 9. http://www.thejakartapost.com. Severino, Rodolfo. 2005. “Framing the ASEAN Charter: An ISEAS Perspective.” In Framing the ASEAN Charter: An ISEAS Perspective, edited by Rodolfo Severino. Singapore:

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 99


Institute of Southeast Asian Studies. Shamsul, A.B. 1997. “The Economic Dimension of Malay Nationalism:The Socio-Historical Roots of the New Economic Policy and Its Contemporary Implications.” Developing Economies 35 (3): p. 240–261. Singh, Dharmender. 2009. “Ambalat Issu: No Offcial Protest from Indonesia.” The Star, June 15. http://thestar.com.my. Sljivic, A. 1997. “Why Do You Think It’s Yours? An Exposition of the Jurisprudence Underlying the Debate between Cultural Nationalism and Cultural Internationalism.” George Washington Journal of International Law and Economics 31: 399–438. Smith, Anthony D. 2000. “Alternative Models of Nation Formation.” In AsianNationalism, edited by Michael Leifer. London ; New York: Routledge. Soedarjo, Alvin D. 2009. “Indonesia Dresses Up after Batik ‘Victory’ over Malaysia.” Asia One News, September 30. http://www.asiaone.com. Spaan, Ernst, Ton van Naerssen, and Gerard Kohl. 2002. “Re-Imagining Borders: Malay Identity and Indonesian Migrants in Malaysia.” Journal for Economic 93 (2): p. 160–172. doi:10.1111/1467-9663.00192. Suditomo, K., H. Pudjiarti, and M. Dimyathi. 2011. “Working Batik in a Foreign Country.” Tempo Interactif 51 (11). http://www.tempo.co.id/majalah/free/asb-1.html. Suparno, Riyadi. 2010. “Let Malaysians Advertise Pendet and Wayang.” Jakarta Post, December 2. http://www.thejakartapost.com. Surk, Barbara. 2009. “Tango on UNESCO World Heritage List.” Seattle Times, September 30. http://seattletimes.nwsources.com. Suryadinata, Leo. 2005. “Towards as ASEAN Charter: Promoting an ASEAN Regional Identity.” In Framing the ASEAN Charter: An ISEAS Perspective, edited by Rodolfo Severino. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. Taiwan News. 2009. “Dispute over Indonesia, Malaysia Border Rekindled,” June 9. http://www.taiwannews.com.tw. Tan, Chee-Beng. 2000. “Ethnic Identities and National Identities: Some Examples from Malaysia.” Identities 6 (4): p. 441–480. doi:10.1080/1070289X.2000.9962652. Tejo, Amir. 2009. “Navy Was Set to Fire on Warship.” Jakarta Globe, June 4. http:// www.thejakartaglobe.com. The Star. 2010. “Anti-Malaysia Protests Not Affecting Trade: Mustapa.” The Star, 100

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


August 30. http://thestar.com.my. Torsen, Molly. 2008. “Intellectual Property and Traditional Cultural Expressions: A Synopsis of Current Issues.” Intercultural Human Rights Law Review 3: p. 199–214. Tumengkol, Avian E. 2009. “UNESCO: Batik Is Indonesian Heritage.” Waspada Online. October 2. http://www.waspada.co.id. Tunku Abdul Aziz. 2009. “Indonesia, We Are Not Your Whipping Boy.” Asia One News, September 6. http://www.asiaone.com. UNESCO. 1989. “Draft Medium Term Plan (1990-1995). UNESCO, 25 C/4.” http:// unescodoc.unesco.org/images/0008/000825/082539eb.pdf. ———. 2003. “Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.” http://unesdoc.unesco.org/images/0018/001879/187086e.pdf. ———. 2007. “Ten Keys to the Convention.” In Information Kit on the Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions. Paris: UNESCO publishing. http://www.unesco.org/new/en/culture/themes/cultural-diversity/ cultural0expressions/the-convention/information-kit. ———. 2009a. “Investing in Cultural Diversity and Intercultural Dialogue.” In The UNESCO World Report, edited by G. Kutukdjian and J. Corbett. Paris: UNESCO publishing. http://www.unesco.org/en/world-reports/ cultural-diversity. ———. 2009b. “Questions and Answers about Intangible Cultural Heritage.” In Kit on the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Paris: UNESCO publishing. http://www.unesco.org/culture/ich/en/kit. ———. 2009c. “What Is Intangible Cultural Heritage.” In Kit on the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Paris: UNESCO publishing. http://www.unesco.org/culture/ich/en/kit. ———. 2010. Action Plan for 2010, International Year for the Rapprochement of Cultures. Paris: UNESCO publishing. http://www.unesco.org. ———. 2011a. “Indonesia: Information Related to Intangible Cultural Heritage.” UNESCO Publishing. http://www.unesco.org/culture/ich/en/id. ———. 2011b. “Malaysia: Information Related to Intangible Cultural Heritage.” UNESCO Publishing. http://www.unesco.org/culture/ich/en/my. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 101


———. 2011c. “The Intangible Heritage Lists.” UNESCO Publishing. http://www.unesco.org/ culture/ich. ———. 2011d. “Indonesia Stages the ‘World Batik Summit’ in Jakarta, 28 September-2 October 2011.” UNESCO Publishing. September 29. http://portal.unesco.org. United Nations General Assembly. 1948. “Universal Declaration of Human Rights.” http://www.unhcr.org/refworld/dpcid/3ae6b3712c.html. Volkan, Vamik D. 1998. Bloodlines: From Ethnic Pride to Ethnic Terrorism. New York: Farrar Strauss Giroux. Wan Norhasniah Wan Husin. 2011. “Budi-Islam Its Role in the Construction of Malay Identity in Malaysia.” International Journal of Humanities and Social Science 1 (12): p. 132–142. Weiss, Meredith L. 2010. “Malaysia-Indonesia Bilateral Relations: Sibling Rivals in a Fraught Family.” In International Relations in Southeast Asia: Between Bilateralism and Multilateralism, edited by N. Ganesan, Ramses Amer, and Institute of Southeast Asian Studies. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. Widyawati, Nina. 2006. “Representations of Migrant Workers in Malaysian Newspapers. Are We up to the Challenge?” In Current Crises and the Asian Intellectual Community. Kuala Lumpur: The Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals. Worden, Nigel. 2001. “‘Where It All Began’: The Representation of Malaysian Heritage in Melaka.” International Journal of Heritage Studies 7 (3): p. 199–218. doi:10.1080/13527250120079300. World Intellectual Property Organization (WIPO). 2009. “Art and Culture Heritage Dispute Resolution.” WIPO Magazine: News and Events. http://www.wipo.int/ wipo_magazine. Yu, P. K. 2008. “Cultural Relics, Intellectual Property, and Intangible Heritage.” Temple Law Review 81: p. 433–506. Zainal Kling. 1997. “Adat: Collective Self-Image.” In Images of Malay-Indonesian Identity, edited by Michael Hitchcock and Victor T. King. Kuala Lumpur; Oxford; New York: Oxford University Press. Ziegenhain, Patrick. 2008. The Indonesian Parliament and Democratization. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

102

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน




เมือ่ ไม่มผี ลงานชิน้ เอก : ผลกระทบอันแจ้งชัดและมรดกวัฒนธรรม ทีไ่ ม่เป็นกายภาพในโลกทีม่ พ ี รมแดน โดย เคธี โฟลีย์ (Kathy Foley)

แปลโดย สุดแดน วิสทุ ธิลกั ษณ์ (Kathy Foley, “No More Masterpieces: Tangible Impact and Intangible Cultural Heritage in Bordered Worlds,” Asian Theatre Journal, Vol. 31, No. 2, p. 369-398, 2014 ©The University of Hawaii Press, granted for reproduction with permission.)


“ ในสังคมที่ไม่ได้มีสิ่งก่อสร้างหรือสถานที่น่าตื่นตาทางธรรมชาติแต่มี วัฒนธรรมทีเ่ ข้มแข็งและทรัพยากรอันน่าตืน่ ใจทางศิลปะ ตัง้ ข้อคำ�ถาม ว่าด้วยวิธีการอย่างไร ที่พวกเขาจะได้รับการยอมรับและยกย่อง ในความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมนั้นด้วยเช่นกัน และในช่วง ค.ศ. 1973 ด้วยข้อรณรงค์จากประเทศโบลิเวียสนับสนุนให้มกี ารอนุรกั ษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่คติชนพืน้ บ้าน จึงนำ�ไปสูก่ ารถกเถียงในสิง่ ทีต่ อ่ มาเรียกว่า ‘มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ’


บทคัดย่อ

นับตัง้ แต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ยูเนสโกได้พยายามแสวงหาหนทางทีด่ ที สี่ ดุ ในการสนับสนุน และสงวนรักษารูปแบบของมรดกวัฒนธรรม โดยเมื่อ ค.ศ. 2001 ได้ออกคำ�ประกาศ “ผลงานชิ้นเอก ด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ” (Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity) และต่อมาเมือ่ ค.ศ.2006 ได้ออกประกาศ “อนุสญ ั ญา มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” (Intangible Cultural Heritage Convention) ขึ้นมาแทนที่ ในโครงการ “ผลงานชิน้ เอกฯ” นอกจากจะรับตัวแบบมาจากญีป่ นุ่ แล้ว ประเทศญีป่ นุ่ ยังแสดงบทบาทนำ� อีกด้วย ซึ่งแนวความคิดใหม่ในปฏิบัติการทางพิพิธภัณฑ์ ความสนใจที่จะยกย่องคุณค่าของงาน ด้านศิลปะการแสดงให้เท่าเทียมกับคุณค่าของสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและภูมิศาสตร์ รวมถึง ความมุ่ ง หวั ง ที่ จ ะปกปั ก รั ก ษาและส่ ง มอบมรดกวั ฒ นธรรมให้ ชุ ม ชนผู้ เ ป็ น เจ้ า ของวั ฒ นธรรม ต่างมีสว่ นเกีย่ วข้องกับพัฒนาการของตัวแบบ “ผลงานชิน้ เอกฯ” ไปสู่ “มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ” บทความนี้ตั้งคำ�ถามกับกระบวนการของการแสดงความเป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรมในบริบท ของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคธี โฟลีย์ เป็นบรรณาธิการของวารสาร Asian Theatre Journal และศาสตราจารย์ด้านศิลปะ การละครทีม่ หาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาครูซ งานวิจยั อันเป็นผลต่อบทความชิน้ นีไ้ ด้รบั การสนับสนุน โดย Yale Institute of Sacred Music และ UCSC Arts Research Institute and Committee on Research

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 107


Taihei no Nemuri o samasu Jokisen Tatta shihai de Yoru mo nemurezu กวีชวนขัน (kyoka) บทนีเ้ กิดขึน้ ในยุคทีเ่ รือปืนอเมริกนั สีล่ �ำ ภายใต้การบัญชาการของนายพล แมททิว เพอรี่ (General Matthew Perry) ได้เดินทางมาถึงอ่าวอูรากะ (ปัจจุบันคือโยโกสุกะ) ของจังหวัดคานากาวา ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1853 คำ� “ไทเฮ” (泰平 - Taihei) หมายถึง “ความสงบ” หรือ มหาสมุทรแปซิฟิก “โจกิเซน” (上喜撰 - Jokisen) หมายถึง สารคาเฟอีนในชาเขียว หรืออาจหมายถึง เรือกลไฟ (蒸気船) และ “ชิไฮ” (四杯 - Shihai) หมายถึง ชาสี่ถ้วย หรือ เรือสี่ลำ� ดังนั้นเราอาจแปลบทกวีตามตัวอักษรได้ว่า

ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นจากนิทรารมย์ ในโลกอันสงบสันติ ด้วยฤทธิ์ของชาเขียวสี่ถ้วย เราก็ตาสว่างได้ทั้งคืน

หรือไม่ก็อาจแปลอีกสำ�นวนหนึ่งว่า

ด้วยอำ�นาจแห่งกองเรือปืน ทำ�ลายความสงบของมหาสมุทรแห่งสันติภาพ เพียงเรือแค่สี่ลำ� เราก็ไม่อาจข่มตาให้หลับได้ทั้งคืน

การมาถึงของเรือปืนนำ�ความเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนมาสู่สังคมญี่ปุ่น เช่นเดียว กับการบังคับให้เกาหลีเปิดประเทศและเหตุการณ์สงครามฝิ่นที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศจีน1 การเปิดประเทศ หมายถึง ความคิดใหม่และเทคโนโลยีท่ีจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างถึงรากถึงโคน 1

ดู Perry (1968) สำ�หรับจดหมายเหตุส่วนบุคคลเกี่ยวกับการเผชิญหน้าระหว่างกัน ดู Dower (n.d.) ใน MIT’s Visualizing Culture series สำ�หรับ ชุดของภาพทีค่ รอบคลุมทัง้ จากด้านของญีป่ นุ่ และอเมริกนั รวมถึงภาพของกำ�นัลทางเทคโนโลยี และซูโม รวมถึงภาพการแสดงทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงนัน้ Beasley (1995 : 35-55) และ Toby (1984) ให้แนววิเคราะห์ตวั อย่างทางประวัตศิ าสตร์ ในการมาถึงของเรือปืน (Black Ships) ดู Allen (1908), Bishop (1970) และ Foulk (2008) เกีย่ วกับจดหมายเหตุชาติตะวันตก ยุคแรก ภายหลังที่เกาหลีเปิดประเทศ สำ�หรับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ดู Kim (1980), Deuchler (1977) และ Walter (1969) ทีเ่ กีย่ วกับการเปิดประเทศเกาหลี สำ�หรับเอกสารทีเ่ กีย่ วกับประวัตศิ าสตร์จนี ดู Schonbauer (1999), Fay (1998) และ Lovell (2011) ในภาพชุดอืน่ ของ Visualizing Culture series ทีเ่ น้นเกีย่ วกับจีนในช่วงเวลาเดียวกัน Chandra (1988-1989) เขียนถึงทั้งสามพื้นที่ ปฏิกิริยาของเกาหลีต่อความพยายามที่จะเปิดประเทศนั้น อาจจะเห็นภาพได้อย่างชัดเจนจากการที่ Regent Hyeungseon Daewongun ได้กำ�หนดหลักหินรอบกรุงโซลเพื่อเป็นหมุดหมายของเมืองใน ค.ศ. 1871 ภายหลัง จากทีไ่ ด้ชยั ชนะต่อกองทัพเรือของนายพลวิลเลียม เชอแมน (General William Sherman) ทีพ่ ยายามแต่ลม้ เหลวในการทีจ่ ะ เปิดประเทศ ในเอกสารกล่าวว่า “กลุม่ ควันไฟและขีเ้ ถ้าจากเรือปืนของชาติตะวันตก/ ปกคลุมโลกไว้ดว้ ยความมืด/แต่แสงอันรุง่ โรจน์ ของตะวันออก/ส่องสว่างไปชั่วกาล" (Walter 1969 :93)

108

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


วัตถุสงิ่ ของทีน่ ายพลเพอรีน่ �ำ เข้ามาในฐานะของกำ�นัลแก่ประเทศญีป่ นุ่ เมือ่ วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1854 คือสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดของชาติตะวันตก เป็นภาพถ่ายแบบดาแกร์โรไทป์ (Daguerreotype) ปืนโคลท์ อุปกรณ์โทรเลขและรถไฟไอนํ้าขนาดเล็ก อันที่จริงความสนใจในเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้มี มาอยู่ก่อนแล้ว ดังที่บางคนเรียกว่า “โรคของชาวดัตซ์” (Dutch Disease) (Beasley 1995 : 57) ซึง่ รัฐบาลโตกุงาว่าได้พยายามปกป้องกีดกันด้วยการจำ�กัดการติดต่อของชาติตะวันตกแต่กไ็ ม่สามารถ ทีจ่ ะยับยัง้ ได้ นายพลเพอรีไ่ ด้ยงิ สลุตชุดใหญ่โดยเป็นส่วนหนึง่ ของการแสดงการเฉลิมฉลองทางการทูต (เพื่อให้แน่ใจว่าชาวญี่ปุ่นจะประจักษ์กับสมรรถนะของกองเรืออเมริกัน) หลังจากที่นาวิกโยธินของ นายพลเพอรี่ได้ “สร้างความสำ�ราญบนดาดฟ้าเรือร่วมกับการแสดงของคณะชั้นเยี่ยมชาวเอธิโอเปีย” ที่ ทำ � ให้ ค นญี่ ปุ่ น “หั ว เราะกั น จนท้ อ งคั ด ท้ อ งแข็ ง ” แบบเดี ย วกั บ ผู้ ช มที่ ดู ก ารแสดงที่ ค ริ ส ตี้ (Perry 1968 : 189)2 กลุม่ ละครตลก (Blackface Comedy) และการเต้น “เค้กวอล์ก” (Cake Walk) เข้ามาสูโ่ ลกของชาวญีป่ นุ่ พร้อม ๆ กับทีน่ ายพลเพอรีไ่ ด้รบั การคะยัน้ คะยอให้ลองสัมผัสร่างกายทีเ่ ต็ม ไปด้วยไขมันเป็นชั้น ๆ ของซูโมในระหว่างการจัดแสดงและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ภายหลัง การแสดงสิน้ สุดลง ซามูไรทีก่ �ำ ลังมึนเมาได้ทเี่ ข้ามาสวมกอดนายพลเพอรีแ่ ละกล่าวยืนยันว่า “ญีป่ นุ่ และ อเมริกันมีหัวใจเดียวกัน” (หน้า 189) และเมื่อเช้าวันใหม่มาถึงก็เป็นที่ชัดเจนว่า ในขณะที่เทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ต้องมีการศึกษาอย่างจริงจัง แต่วัฒนธรรมนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก แม้ช่างภาพ จะถูกมอบหมายให้บันทึกภาพศิลปินแห่งเอเชียบูรพา แต่ใช่ว่าศิลปินที่ถูกบันทึกภาพไว้จะเข้าใจว่า เทคโนโลยีใหม่นี้จะสอดประสานไปกับงานศิลปะอันเก่าแก่ดั้งเดิมของพวกเขาได้อย่างไร3 ปฏิสัมพันธ์เช่นว่านี้แสดงให้เห็นว่า ความท้าทายของการชำ�แรกข้ามวัฒนธรรมระหว่างกัน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้ว่าอิทธิพลของตะวันตกปัจจุบันจะแสดงให้เห็นถึงการรุกคืบเข้ามาอย่างลึกซึ้งผ่าน ทิศทางใหม่ของโลกาภิวตั น์และความก้าวหน้าของการติดต่อสือ่ สารยุคดิจทิ ลั ยุทธศาสตร์บางประการ ที่ได้รับการนำ�เสนอในอนุสัญญาของยูเนสโกว่าด้วยวัฒนธรรมที่เป็นกายภาพและวัฒนธรรมที่ไม่เป็น กายภาพ (UNESCO Convention on Tangible and Intangible Culture) ซึ่งได้ริเริ่มมาตั้งแต่ ทศวรรษ 1970 ได้ครอบคลุมไปไกลกว่าการเผชิญหน้าระหว่างกันแล้ว ในขณะที่การรับวัฒนธรรม (ดังตัวอย่างที่กล่าวมาในกรณีของญี่ปุ่น) ได้ตั้งประเด็นปัญหาถึงสิ่งที่ชาติตะวันตกรุกคืบนำ�เข้ามา เช่น สินค้า ธรรมเนียมประเพณีและข้อปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่คุกคามมรดกวัฒนธรรมของบรรพบุรุษหรือ ภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้านให้เสือ่ มทรามลง อนุสญ ั ญาของยูเนสโกทีใ่ ช้อยูใ่ นปัจจุบนั เพือ่ ปกป้องมรดกฯ ได้ตอกยํา้

2 3

Jonah Salz ในการติดต่อทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เมือ่ ค.ศ. 2013 กล่าวว่ากลุม่ ทาสผิวดำ�ได้แสดงร่วมกับทหารนาวิกโยธิน เมือ่ ค.ศ.1855 Bansho Sirabesho (Office of Barbarian Books) ได้เปิดให้มกี ารศึกษา “สิง่ สำ�คัญทีเ่ ป็นประโยชน์อย่างแท้จริง เช่น...หนังสือเกี่ยวกับการทิ้งระเบิด การสร้างแบตเตอรี่ การสร้างป้อมค่ายและ...การสร้างเรือรบ” (Beasley 1995 : 46-47) ความไม่มั่นใจเช่นว่านี้มีอยู่ร่วมกันในพื้นที่อื่นของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ Foulk (2008) หนึ่งในนักเดินทางคนแรก ที่ไปเยือนอาณาจักรแห่งฤาษี (Hermit Kingdom) ได้รายงานถึงเรื่องที่เล่ากันว่า “ชาวเกาหลีที่ร่วมเดินทางกับชาวต่างชาติ หรือที่เคยเดินทางไปต่างประเทศมาแล้วจะได้รับยาซึ่งทำ�ให้พวกเขารู้สึกแปลกแยกกับประเทศของตนเอง” (หน้า 49) ประชาชนก็ยังไม่ได้รู้สึกถึงความจำ�เป็นที่จะเป็นนายเหนือเทคโนโลยี ดังที่ฟลูคได้อธิบายการทำ�งานของกล้อง หลังการแสดง การรำ�กลองของหญิงบริการ (kisaengs) ในชอนจู (Chonju) เจ้าหน้าที่ซึ่งแม้จะมีอายุมากกว่าเขาซึ่งมีอายุ 28 ปีนั้น ไม่มีความเข้าใจเทคโนโลยี และ “ไม่รู้อะไรเสียเลย” (หน้า 56-57) Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 109


ในสิง่ ซึง่ เคยเกิดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเมือ่ ศตวรรษที่ 19 ในยุคทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ เป็นตัวอย่างของ การคัดสรรลักษณะบางประการของความทันสมัย ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่การทูตอิวากูระไปศึกษาวิจัย ประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1817-1873) และต่อมาอีกไม่นาน ก็ตามมาด้วยตัวแทนแห่งมิน จากเกาหลี (ค.ศ. 1883) แต่ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะธำ�รงไว้ซึ่งศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรม ในโฉมหน้าใหม่นน้ั 4 ด้วยการนำ�ของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือต่อการบังคับใช้อนุสญ ั ญา ใหม่ของยูเนสโก ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (UNESCO Convention on Intangible Culture) ในขณะที่สถานการณ์และวิธีการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการธำ�รงรักษาศิลปะในอดีตและ ปัจจุบันนั้นมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป ศิลปะและนโยบายของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมีการแบ่งช่วงชั้นและเป็นผลจากระบบ ราชการอยู่มากอันเนื่องมาจากอิทธิพลการปกครองแบบขงจื่อ ประเทศญี่ปุ่นในฐานะรัฐอาณานิคม ของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือได้ชว่ ยรักษาระเบียบประเพณีของการแบ่งช่วงชัน้ แบบขงจือ่ ไว้ ภูมหิ ลัง ทางศาสนาในญีป่ นุ่ และเกาหลีมลี กั ษณะทางประวัตศิ าสตร์ทคี่ ล้ายคลึงกัน ซึง่ ปัจจัยดังกล่าวนีบ้ างคราว ช่วยเอื้อให้มีการยอมรับการริเริ่มโดยรัฐบาลซึ่งเรียกร้องความเห็นพ้องต้องกันรวมถึงการรับรอง ของรัฐบาลกลางมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งมีความแตกต่างในทางศาสนา (อิสลาม ฮินดู พุทธ และคริสต์ รวมถึงการนับถือผีของ ชนพื้นเมือง) ความแตกต่างหลากหลายในทางภาษา การเมืองและวัฒนธรรมซึ่งปัจจุบันได้หลอมรวม เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่ที่ซึ่งแต่ละภูมิภาคต่างแข่งขันกันเพื่อสร้างจุดสนใจในชาติ มีแรง ผลักดันร่วมกันในการสงวนรักษามรดกทัว่ ประเทศเอเชีย (การก่อร่างอัตลักษณ์และการปรับตัวในทาง จิตวิทยา ความเคารพนับถือบรรพบุรษุ และความเกีย่ วพันทางศาสนาซึง่ เชือ่ มโยงกับความเป็นชาตินยิ ม และความแข็งแกร่งแห่งรัฐและรวมถึงการพินจิ พิจารณาเกีย่ วกับสุนทรียะ) สำ�หรับผูเ้ ขียนแล้วขอเสนอ ประเด็นอภิปรายไว้ในทีน่ วี้ า่ มีความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องคิดเกีย่ วกับโครงการทางมรดกวัฒนธรรมเพือ่ ความ เหมาะสมสำ�หรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการเฉพาะ การคำ�นึงถึงความเป็นท้องถิ่นซึ่งเป็นอุดมการหลักของอนุสัญญาของยูเนสโก ว่าด้วยมรดก ทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ (intangible cultural heritage) ค.ศ. 2003 ซึง่ ให้สตั ยาบันเมือ่ ค.ศ. 2006 มีใจความว่า “มรดกวั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพ หมายถึ ง การปฏิ บั ติ การเป็ น ตั ว แทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์และพื้นที่ ทางวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ชุมชน กลุม่ คนและในบางกรณี ปัจเจกบุคคล ยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ

4

สำ�หรับข้อมูลเกีย่ วกับ Iwakura Mission 1871 ทีน่ �ำ ชาวญีป่ นุ่ 108 คนเดินทางไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดู Kunitake (2009), Nish (1998) และ Beasley (1995 : 157-177) เกาหลีได้ดำ�เนินตามนโยบายของญี่ปุ่นด้วยการส่งทูตไปวิจัยวัตรปฏิบัติของ ชาวตะวันตก ตัวอย่างเช่น ภารกิจทีน่ �ำ โดยเจ้าชายมิน ยงอิก (Prince Min Yongik) ใน ค.ศ. 1883-1884 (Walter 1969; Farrar 1984) ดู Lui (2009, 2013) สำ�หรับการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบในพัฒนาการการละครแห่งชาติสมัยใหม่ในญี่ปุ่นและจีน โดยคณะทำ�งานของอิวากุระและคณะทูตจีนที่ไปสำ�รวจการฝึกฝนของละครตะวันตก

110

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ซึง่ ถูกส่งผ่านจากคนรุน่ หนึง่ สูค่ นอีกรุน่ หนึง่ ได้รบั การสร้างสรรค์ใหม่อย่างสมํา่ เสมอ โดยชุมชนและกลุ่มคน เพื่อสนองตอบต่อสภาพแวดล้อม, ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ และประวัตศิ าสตร์ของพวกเขาและมอบคืนความรูส้ กึ ถึงอัตลักษณ์และความต่อเนือ่ ง ให้แก่พวกเขา ด้วยเหตุนจี้ งึ ส่งเสริมถึงความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์” (UNESCO 2003) อนุสญ ั ญา มีความหมายครอบคลุม (1) มุขปาฐะ รวมถึงภาษา (2) ศิลปะการแสดง (3) แนวปฏิบตั ิ ทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล (4) ความรู้และข้อปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและจักรวาล และ (5) งานหัตถกรรมแบบประเพณี อนุสัญญา ที่ผู้เขียนจะเชื่อมโยงให้เห็น ว่าก่อรูปขึ้นจาก การแข่งขันของนิยามว่าสิ่งใดคือธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้าน (folklore) และสิ่งใดคือมรดก วัฒนธรรม (heritage) ใครคือผูไ้ ด้รบั ประโยชน์จากข้อกำ�หนดนัน้ และด้วยพลังทางการเมืองและสังคม ประการใดมีบทบาทในการสร้างความเห็นพ้องกันในถ้อยคำ�ดังกล่าว5 5

ดู ตัวอย่างจาก Barbara Kirshenblatt-Gimblett’s “World Heritage and Cultural Economics” (2006) ทีไ่ ด้ให้ภาพร่างคร่าว ๆ ถึ ง จุ ด กำ � เนิ ด ของอนุ สัญ ญาและชี้ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ความมุ่ง มั่น ของยู เ นสโกเกี่ย วกั บ มรดกโลกว่ า เป็ น ความพยายามที่จ ะสร้ า ง “ความเหมือนกันทางวัฒนธรรมในระดับโลก” (global cultural commons) ทีข่ ยายรวมถึงปฏิบตั กิ ารทางพิพธิ ภัณฑ์สกู่ ารเป็น ผูป้ กป้องดูแลประเพณี และทำ�ให้กลายเป็นสิง่ เหนือวัฒนธรรม (meta cultural artifacts) เธอได้ตงั้ คำ�ถามถึงกระบวนการทีม่ นุษย์ และการปฏิบัติซึ่งมีความสัมพันธ์จำ�เพาะระหว่างกันนั้นได้ถูกประเมินคุณค่า และโต้แย้งอีกว่า “ผู้สนับสนุนส่งเสริม มรดกโลกเสนอให้ (มรดกทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ) เป็นประหนึง่ ยาถอนพิษของผลทีจ่ ะให้เป็นหนึง่ เดียวกันของระบบ โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ...(แต่) มรดกโลกก็ไม่ต่างไปจากงานแสดงสินค้าโลกและพิพิธภัณฑ์ท่เี ป็นส่วนหนึ่งของระบบโลก ทีถ่ กู ผนวกรวมเข้าด้วยกัน เป็นภาพลักษณ์ของโลกและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโลก” (2006 : 2-3) Diana Taylor (2008) ได้อภิปรายถึงโครงการของยูเนสโกทีเ่ ธอมีสว่ นร่วมอยูด่ ว้ ย ในการจัดทำ�คูม่ อื การจัดเทศกาล งานพิธกี รรมและข้อปฏิบตั ทิ างสังคม ซึง่ สุดท้ายแล้วก็กลายมาเป็นรายงานทีจ่ ดั วางไว้บนหิง้ เทย์เลอร์ได้อธิบายถึงงานของเธอว่าเป็นส่วนขยายต่อเนือ่ งของการเน้นยา้ํ องค์ประกอบในฐานะของสิง่ ทีม่ ชี วี ติ ซึง่ อยูต่ รงข้ามกับการเป็นเอกสารจดหมายเหตุ ซึง่ เธอมองว่าเป็นวิธกี ารทางพิพธิ ภัณฑสถานวิทยา ที่แช่แข็งวิถีปฏิบัติวัฒนธรรม เธอยังพบว่าวิธีการการทำ�งานจากระดับล่างขึ้นมาข้างบนของกลุ่มพวกเธอนั้น ไม่สอดคล้อง กับยูเนสโก เธอรู้สึกว่าอนุสัญญานั้นเกี่ยวพันอย่างมากกับสิ่งที่เธอเรียกว่า “การกู้ภัยทางชาติพันธุ์วรรณนา” (salvage ethnographic) (หน้า 99) เธอได้ส�ำ รวจถึงประเด็นปัญหาของการท่องเทีย่ วทีส่ ง่ ผลอย่างมหาศาลต่อการปฏิบตั ซิ งึ่ เป็นผลต่อการ เสนอชื่อเพื่อขึ้นทะเบียน (designation) และเธอยังได้อภิปรายถึงความล้มเหลวในการจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นของชุมชน (ยูเนสโกได้ละประเด็นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ให้แก่หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญา (World Intellectual Property Organization) แทนที่จะเข้าไปเผชิญกับปัญหานั้นโดยตรง) ข้ออภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์พบได้ในงานของ Smiers (2003) ผู้ซึ่งนำ�เสนอข้อโต้แย้งอย่างแข็งขันเพื่อการปกป้องความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเล็งเห็นว่าในกระบวนการโลกาภิวตั น์นน้ั สิทธิพน้ื ฐานทางวัฒนธรรมตกอยูใ่ นอันตรายโดยสือ่ มวลชนระหว่างประเทศ Alivizatou (2012) ได้ให้ภาพรวมที่ตรงประเด็น ของข้อโต้เถียงอันหลากหลายทั้งเรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และในงานศิลปะการแสดง เธอมองเห็นอนาคตที่มีความหวังที่ซึ่ง ประเด็นเรือ่ งความจริงแท้ (ซึง่ เธอเห็นว่ายึดโยงอยูก่ บั พิพธิ ภัณฑสถานวิทยาทีถ่ อื เอายุโรปเป็นศูนย์กลาง) มิใช่เป็นประเด็นรอง ของการถกเถียง หากยังมีส่วนสนับสนุนในกระบวนการที่มีชีวิตชีวาของกำ�เนิดศิลปะข้ามวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่ยังคงดำ�เนินอยู่ Deacon et al. (2004) ให้ข้อถกเถียงเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพผ่านมุมมองการผนวก รวมทางสังคม สำ�หรับบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็น มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (ICH issues) ในแอฟริกา ดู de Jong and Rowlands (2007) สำ�หรับติดตามประเด็นเกี่ยวเนื่อง ดู International Journal of Cultural Property (http://www.ijih.org) เจ้าหน้าที่ของยูเนสโกผู้ซึ่งเกี่ยวพันในข้อโต้แย้งที่ดำ�เนินอยู่ได้ให้คำ�ตอบอย่างกระตือรือร้น ต่อคำ�วิพากษ์วิจารณ์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่างานที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นดังกล่าวได้ตระหนักถึงเรื่องของการเมือง (ระดับท้องถิน่ ชาติและระหว่างประเทศ) เศรษฐกิจ ความยุตธิ รรมทางสังคม อัตลักษณ์ชมุ ชน และประเด็นอืน่ ๆ ทีซ่ อ้ นอยูใ่ ต้พนื้ ผิว แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของการสนทนาที่ได้รับการเร้าโดยมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 111


ข้ออภิปรายต่อจากนีจ้ ะเกีย่ วข้องเฉพาะกับเนือ้ หาของงานศิลปะการแสดง โดยเฉพาะตัวอย่าง ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไล่เลียงไปสามประเด็นหลักคือ ในส่วนแรก “ไม่มีงานศิลปะชิ้น เอกอีกต่อไป” (No More Masterpieces) ต่อด้วย “ส่วนผสมสำ�หรับอนุสัญญา” (Ingredients for the Convention) และส่วนสุดท้าย “ผลกระทบอันแจ้งชัดต่อมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพในโลก ทีม่ พี รมแดน” (Tangible Impacts of Intangible Cultural Heritage in Bordered Worlds) ผูเ้ ขียน มีความตั้งใจที่จะให้ภาพรวมในประเด็นที่เลือกสรรมา ข้อโต้แย้งของผู้เขียนคือ รูปแบบของอนุสัญญา นั้ น ก่ อ ตั ว ขึ้ น จากวาทกรรมเกี่ ย วกั บ มรดกและวั ฒ นธรรมซึ่ ง พ้ น ไปจากเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ และแม้จะด้วยความตัง้ ใจอันดี ด้วยอุดมคติทนี่ �ำ เสนอผ่านถ้อยคำ�นัน้ เป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะให้สอดคล้องกับ บริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงสร้างขององค์การสหประชาชาติซงึ่ ก่อตัง้ ขึน้ ภายใต้โครงสร้าง ของรัฐชาติในศตวรรษที่ 19 และ 20 รัฐประชาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งแบ่งแยกในสิ่งที่ เกี่ยวข้องกับมรดกที่ผูกโยงอยู่ในอาณาบริเวณทางวัฒนธรรม มรดกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือในเขต พื้นที่หนึ่งซึ่งเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกแล้ว ดูเหมือนจะมีส่วนทำ�ให้เกิดข้อจำ�กัดหรือไม่ก็ ก่อให้เกิดการแตกแยกของแผนการที่อีกประเทศหนึ่งจะให้การสนับสนุนงานศิลปะทำ�นองเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งของมรดกวัฒนธรรมของตนเอง ในขณะที่กลุ่มหนึ่งได้เริ่มต้นหรือพัฒนากระบวนการที่ จะนำ�เสนอในประเด็นดังกล่าวนั้น และเมื่อศิลปะได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการทางการเมือง ก็จะส่งผล ให้ความขัดแย้งเพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะจากปัญหาของการเสนอชือ่ เพือ่ ขึน้ ทะเบียนภายใต้กรอบของประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม่มี “ผลงานชิ้นเอก” อีกต่อไป ในระหว่าง ค.ศ. 2001-2005 ยูเนสโกได้ประกาศให้งานศิลปะ งานหัตถกรรม หรือพื้นที่ทาง วัฒนธรรม 90 รายการ เป็น “ผลงานชิน้ เอกด้านมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของ มนุษยชาติ” (Masterpieces of the Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในบรรดารายการศิลปะการแสดงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย คือ ฮูฮุด (huhud) ของประเทศฟิลปิ ปินส์ (เพลงเกีย่ วข้าวของอิฟเู กา, 2001) และ ดารังกัน (Darangan-การสวดมหากาพย์ ของมาราเนา, 2005) วายัง (wayang) ของอินโดนีเซีย (ตัวหนังและการแสดงละคร, 2003) มะโย่ง (mak yong) ของมาเลเซีย (นาฏกรรมของสตรีในราชสำ�นักกลันตันและพืน้ ทีใ่ กล้เคียง, 2005) นาฏกรรม ของราชสำ�นักเขมร (Khmer Royal Ballet-นาฏกรรมสตรีในราชสำ�นัก, 2003) และหนังสเบ็ก (nang sbek - หนังใหญ่เขมร, 2005) ญาเญิกของเวียดนาม (nha nhac - บทเพลงแห่งราชสำ�นักเว้) 2003) และวัฒนธรรมฆ้อง (Gong Culture) ในเขตที่ราบสูงของเวียดนามตอนกลาง (2005)6 6

ข้อมูลเพิม่ เติมและภาพของผลงานศิลปะชิน้ เอกฯ ดูได้ที่ UNESCO’s “Proclamation of the Oral and Intangible Heritage of Humanity 2001”: “saman” (รูปแบบหนึ่งของดิเกร์-dikir เพลงร้องของอิสลามและรูปแบบของการเคลื่อนไหว) เมือ่ ค.ศ. 2006 และ อังกะลุง (angklung- เครือ่ งดนตรีจากไม้ไผ่ ให้เสียงด้วยการเขย่า/การเต้น) ได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดก วัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ (Intangible Cultural Heritage- ICH) สำ�หรับอินโดนีเซีย เมือ่ ค.ศ. 2010 และ “เดิน่ กา ต่าย ตือ่ ” (do’n ca tai tu) (เพลงและดนตรี) ได้รับการเสนอชื่อโดยเวียดนามในค.ศ. 2013 ซึ่งกลุ่มใหม่ที่สังกัดอยู่ในมรดกวัฒนธรรม ทีไ่ ม่เป็นกายภาพทีผ่ เู้ ขียนจะได้อภิปรายต่อไปนัน้ ดูเหมือนจะช่วยสร้างสมดุลในทางชนชัน้ และชาติพนั ธุข์ นึ้ กว่าเดิม จากทีเ่ ป็นอยู่ ในการเสนอชื่อ “ผลงานชิ้นเอกฯ” (UNESCO 2001)

112

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


“ผลงานชิ้นเอกฯ” เหล่านี้ก็ได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดอนุสัญญาใหม่ขององค์การยูเนสโกว่าด้วยมรดก ทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (UNESCO Convention for Intangible Cultural Heritage) ซึ่งเข้ามาแทนที่เมื่อ ค.ศ. 2006 ด้วยคาดการณ์วา่ ในกระบวนการนีไ้ ด้ยกระดับเส้นทางใหม่ทจ่ี ะทำ�ให้กระบวนการของการแข่งขัน ในการเสนอชื่อ “ผลงานชิ้นเอกฯ” ลดน้อยลงจากเดิมจากที่เคยจำ�กัดให้แต่ละประเทศเป็นผู้เสนอชื่อ ขึน้ มาในแต่ละครัง้ ได้เพียงหนึง่ รายการในทุกสองปี และด้วยอนุสญ ั ญามรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ ซึ่งเสนอเข้ามาใน ค.ศ. 2003 และรับนำ�มาใช้เมื่อ ค.ศ. 2006 จะนำ�ไปสู่ความเท่าเทียมมากกว่า นัน่ หมายความว่าจะทำ�ให้งานศิลปะ งานหัตถกรรม วิถชี าวบ้าน (folklore) สามารถเสนอขึน้ ทะเบียน ได้พร้อมกันและมีจำ�นวนมากขึ้น และกลุ่ม “ชุมชน” พื้นบ้านจะได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้ รักษาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สืบไป แทนที่จะปล่อยให้รอในกระบวนการที่ล่าช้า จากกระบวนการคัดเลือก คอยการสงเคราะห์หรือไม่ใส่ใจท่ามกลางตัวแทนรายการอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นผลงานของชนชัน้ สูงของคนกลุม่ ใหญ่ ซึ่งในบรรดา“ผลงานชิ้นเอกฯ”เหล่านั้นมักเกี่ยวพันกับอดีตราชสำ�นักซึ่งเหมือนกับตัวแทนจาก ประเทศอื่น ๆ ในหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น 4 ใน 9 รายการที่เป็นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทีไ่ ด้รบั การเสนอชือ่ ข้างต้นเป็น ศิลปะการแสดงของอดีตราชสำ�นัก (คือมะโย่ง นาฏกรรมราชสำ�นักเขมร หนังสะเบ็ก และเพลงญาเญิกของราชสำ�นักเว้) ส่วนในรายการทีห่ า้ คือ วายังในชวากลางนัน้ อย่างน้อย ก็มีความสำ�คัญภายใต้การอุปถัมภ์ของวังในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของวายังวง (wayang wong-ละครรำ�หรือวายังคน) ได้มีการทบทวนเพื่อตอบสนองต่อข้อโต้แย้งในการประชุมที่สถาบันสมิธโซเนียน ว่าด้วยเรื่อง มรดกทางศิลปะในวอชิงตัน ดีซี เมื่อ ค.ศ. 1999 ที่กล่าวว่ารูปแบบของการอนุรักษ์ “ผลงานชิ้นเอก” ไม่แตกต่างไปจากวิธกี ารปฏิบตั ขิ องพิพธิ ภัณฑ์แบบเดิม คือมุง่ ยกย่องและเก็บบันทึกผลงานของบุคคลที่ “ยิง่ ใหญ่” และ “จริงแท้” สืบเนื่องเป็นมรดกตกทอดมาและต้องสงวนรักษาไว้มิให้เสื่อมสูญหายไป ด้วยการนำ�ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ซ่งึ เปรียบเสมือนสุสานของสิ่งของชิ้นนั้น วิธีการเช่นว่านี้วางอยู่บน พืน้ ฐานของรูปแบบงานของศิลปินชัน้ นำ�ของชาวยุโรปในศตวรรษที่ 19 ด้วยการยกย่องว่าเป็นงาน “ชิน้ เอกอุ” มีคณ ุ ค่าในระดับโลก ซึง่ แนวคิดนีย้ อ่ มมีจดุ อ่อนอยูภ่ ายใน แท้จริงแล้วงานประเภทนีไ้ ม่ควรจัดเก็บในรูปแบบ ของงานจดหมายเหตุหรือกลายเป็นของชิน้ เยีย่ มทีถ่ กู แช่แข็งไว้ในพิพธิ ภัณฑ์ ผลงานประเภทนีค้ วรและ จำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะได้รบั การศึกษาวิจยั โดยการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานไว้ให้ แต่ความจำ�เป็นอย่างยิ่งยวด ก็คือการปลูกถ่ายสืบทอดส่งต่อไป (embodiment) หนทางเดียวของงานประเภทศิลปะการแสดง (performance genres) จะยืนยงอยูไ่ ด้ ก็เช่นเดียวกับ ท่วงท่าของการร่ายรำ�ที่แฝงฝังกลืนกลายอยู่ภายในกล้ามเนื้อ เทคนิควิธีของการเปล่งเสียงสำ�หรับ การร้องเพลงหรือความรู้ลํ้าลึกจากภายในจะส่งผ่านทางมุขปาฐะจากครูสู่ศิษย์ งานศิลปะจำ�เป็นที่จะ ฟื้นคืนชีวิตในแต่ละรุ่นผ่านร่างกายของมนุษย์ การเต้นรำ� การร้องเพลง การแสดงท่าทางและการมี ปฏิสมั พันธ์ตอ่ กัน วลีทวี่ า่ “ไม่มคี ติชาวบ้านถ้าหากปราศจากผองชน” (Early and Seitel 2002) ปรากฏ ชัดเจนในการประชุมเมื่อ ค.ศ. 1999 “ผลงานชิ้นเอกฯ” ด้วยพลังและการอุปถัมภ์ซึ่งอยู่ในระดับชาติ ได้พน้ สมัยไป ในขณะทีม่ รดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพซึง่ พลังแฝงฝังอยูใ่ น “ชุมชน” ได้มสี ว่ นสนับสนุน “ความหลากหลายในทางวัฒนธรรม” ให้ก้าวเข้ามาแทน Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 113


กรณีของโครงการ “ผลงานชิน้ เอกฯ” นัน้ ถ้าผูเ้ ขียนจะประเมินค่า จากตัวอย่างเล็ก ๆ ในกรณีของ ดาลัง (ครูหนัง) ซึง่ ผูเ้ ขียนได้เคยร่วมทำ�งานด้วยในชวาและบาหลี หรือจากคนทัว่ ไปทีไ่ ด้สนทนาด้วยอย่างไม่เป็นทางการ เกีย่ วกับ มะโย่ง ขณะทีอ่ ยูใ่ นมาเลเซียเมือ่ ค.ศ. 2011 ซึง่ ในบรรดากลุม่ คนทีท่ �ำ งานในศิลปะประเภทนี้ แสดงชัดเจนว่า “ผลงานชิน้ เอก หรือ masterpiece” จะมีความมัน่ คงและถาวรกว่าในการให้ทนุ สนับสนุน ซึง่ จะต้องมีความแน่นอนและสมาํ่ เสมอ ส่วน “มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ หรือ intangible” นัน้ ดูไม่มคี วามชัดเจนและไม่นงิ่ ด้านแหล่งให้ทนุ สนับสนุนนัน้ ก็ไม่นา่ เชือ่ ถือและมีแนวโน้มทีจ่ ะเป็นเช่นนัน้ 7 ในช่วงหลัง “ผลงานชิน้ เอกฯ” ในกระบวนการของมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพนัน้ ศิลปะ การแสดงได้รับการประกาศเพิ่มเติม โดยเวียดนามได้ขึ้นทะเบียน (inscribed) เพิ่มขึ้นอีกห้ารายการ (การร้องเพลงหรือการแสดงในเทศกาล) และเนือ่ งด้วยการทีเ่ วียดนามได้รบั อิทธิพลจากจีนมาเป็นระยะ เวลายาวนานจึงไม่ได้ด�ำ เนินการตามแบบอย่างในเขตพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูเหมือนว่า เวียดนามจะเคลื่อนไหวไปทางเดียวกับจีน เกาหลีและญี่ปุ่น ที่ยังคงขึ้นทะเบียนโดยเร็ว กรณีของ อิ น โดนี เซี ย ได้ดำ�เนินการอย่างเรียบ ๆ แต่ก็มีก้าวย่างที่แน่ชัดที่จะให้ครอบคลุมตัวแทนทางศิลปะ (การแสดงและหัตถกรรม) ในแต่ละเขตภูมิภาคสำ�คัญซึ่งเจ้าหน้าที่ทางวัฒนธรรมให้ความใส่ใจ ในกรณี ของชวา (หมูเ่ กาะชวา ซึง่ ภาพทีป่ รากฏอยูใ่ นเว็บไซต์มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของยูเนสโกมักจะ เสนอภาพคุ้ น ชิ น ของชวาให้ เ ป็ น เช่ น นั้ น ) มั ก นำ � เสนออั น ดั บ แรกด้ ว ย วายั ง (Wayang) และ งานหัตถกรรมชวา คือกริชและผ้าบาติกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ขณะเดียวกันสำ�หรับกลุ่มซุนดาของ ชวาตะวันตกได้เสนอ อังกะลุง (2010) โดยภาพที่ปรากฏในเว็บไซต์มาจาก Bandung Saung Angklung Udjo (Udjo’s Angklung Studio) สถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ในบันดุง ซึ่งได้สร้าง นวัตกรรมใหม่ในการสร้างนักท่องเทีย่ วและการจัดแสดงสาธิตของนักเรียน ทำ�ให้การเล่นเครือ่ งดนตรีไม้ไผ่ ที่เคยใช้ในพิธีกรรมการเก็บเกี่ยวของชาวซุนดาเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ส่วนสุมาตราเสนอ ซามาน (saman 2012) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ ดิเกร์-กลุ่มนักร้องและเต้นของอิสลามจากกาโย (Gayo)

7

ครูสอนการเชิดหนัง (dalang) ทีผ่ เู้ ขียนได้สนทนาด้วยเกีย่ วกับการเสนอรายชือ่ [มรดกวัฒนธรรม-ผูแ้ ปล] ในอินโดนีเซีย รูส้ กึ ถึง ผลกระทบที่เป็นที่พูดถึงและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการให้ทุนสนับสนุน ซึ่งเขาเชื่อว่ามีอยู่ที่ไหนสักแห่งในระบบและมีอยู่ เฉพาะแต่ในจาการ์ตา (Asep 2012, Sedana 2012) จากการตรวจสอบกับ Persatuan Padalangan Indonesia (PEPADI) องค์กรซึง่ เป็นหน่วยงานในการนำ�เสนอรายชือ่ และจัดตัง้ แผนการอนุรกั ษ์ตวั หนัง (wayang) ผูเ้ ขียนพบว่ากิจกรรมนัน้ แพร่กระจาย ไปมากกว่าที่ครูหนังของท้องถิ่นเชื่อ แท้จริงแล้วมี 15 กลุ่มได้รับทุนสนับสนุน ทั้งมีความคิดที่จะสนับสนุนกลุ่ม (sanggar) ในกาลิมนั ตันและสุมาตราด้วยการมอบตัวหนังให้ใหม่ทง้ั ชุดพร้อมการฝึกฝนอย่างสมา่ํ เสมอ ผูเ้ ขียนขอขอบคุณ Karen Smith (2013) และ Gaura Mancacaritadipura (2013) ทีใ่ ห้ความกระจ่างเรือ่ งกลุม่ เฉพาะทีไ่ ด้รบั ประโยชน์จากการสนับสนุนทุนของยูเนสโก และทุนภายในจากประเทศอินโดนีเซียเอง กัวราผูท้ ท่ี �ำ งานให้กบั PEPADI ให้ขอ้ มูลว่า กลุม่ ครูหนัง 15 กลุม่ นีถ้ อื เป็นจำ�นวนเล็กน้อย ในประเทศซึ่งมีอยู่หลายพันกลุ่มและมีอีกจำ�นวนไม่น้อยที่เริ่มเสื่อมถอยลง ในมาเลเซีย รัฐบาลมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์มะโย่ง (mak yong) บางคนตัง้ คำ�ถามว่าการสนับสนุนนัน้ ไปถูกทางหรือไม่เมือ่ เห็นว่าการให้ทนุ มุง่ ไปสูบ่ างครอบครัวหรือการจัดแสดง ในโรงละครแห่งชาติมากไปกว่าการสนับสนุนกลุม่ ทีจ่ ะสามารถรักษาศิลปะการแสดงนีไ้ ว้ได้ (ดู Zulkifli 2012; Elezaa 2011, 2012) การสนับสนุนมะโย่งนัน้ เน้นเฉพาะทีก่ วั ลาลัมเปอร์และเพียงสองแห่ง คือทีโ่ รงละครแห่งชาติ (Istana Budaya) และ ASWARA-สถาบัน ฝึกสอนศิลปะ ส่วนสถานการณ์ในกลันตัน ซึง่ เป็นบ้านของศิลปะแขนงนี้ ตกอยูใ่ นสถานการณ์ล�ำ บากเนือ่ งจากความพยายามของ PAS-Islam party government ในการห้ามศิลปะการแสดงเนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับความเชื่อพื้นบ้านเกี่ยวกับวิญญาณ และการรักษาโรคซึ่งตัดสินโดยผู้นำ�ที่มองว่า “ไม่เป็นอิสลาม”

114

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ทางปาปัวเสนองานหัตถกรรม โนเกน (noken) หรือกระเป๋าถัก (2012)8 ส่วนกรณีบาหลีค่อนข้างจะ เป็นเรื่องลึกลับที่ไม่มีการเสนอรายชื่อ แม้ว่า วายัง ปารวา (wayang parwa) ของบาหลีจะถูกผนวก รวมอยู่ภายใต้รายการวายังโดยทั่วไป กรณีของมาเลเซียและกัมพูชาดูเหมือนว่าจะหยุดการเสนอชื่อ ไปชั่วคราว ส่วนลาวนั้นไม่มีรายการศิลปะอยู่ในเว็บไซต์ของสหประชาชาติ แม้ว่าจะมีการจัดสัมนาเชิง ปฏิบัติการอยู่หลายครั้ง (ดู Lao People’s Democratic Republic Intangible Cultural Heritage, n.d.) สิงคโปร์นั้นได้ลงนามในอนุสัญญาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 และยังไม่ได้เสนอชื่อ เช่นเดียว กับสถานการณ์ในเมียนมา (พม่า) ที่มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติเพียงครั้งเดียวเกี่ยวกับเครื่องเขิน9 กรณีของประเทศไทย รายการที่ปรากฏในยูเนสโกมีเพียงโครงการสนับสนุนศิลปินนักแสดง จำ�นวน 63 คนในฐานะ “ศิลปินแห่งชาติ”10 เช่นเดียวกับกรณีบาหลี ทีไ่ ม่มรี ายการขึน้ ทะเบียนงานศิลปะ อาจมีผู้สงสัยว่าการประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวจำ�นวนมากและได้มีโอกาสชมการแสดงในระหว่าง การมาเยือนนั้นน่าจะมีส่วนในการผลักดันให้มีการเสนอชื่อมากกว่ามีผลในทางบังคับ การรับรู้ คุณค่าของศิลปะทั้งในกลุ่มของคนพื้นเมืองและระดับโลกรวมถึงผลทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยว อาจจะส่งผลให้มีการเสนอชื่อการขึ้นทะเบียนซํ้าซ้อนกัน ถ้าเราเปรียบเทียบอัตราของการขึน้ ทะเบียนระหว่างกลุม่ ประเทศเอเชียตะวันออก (ค.ศ. 2012 เกาหลีใต้ 15 รายการ ญี่ปุ่น 21 รายการ และจีน 37 รายการ) จะพบว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เข้ามามีสว่ นร่วมน้อยกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แน่นอนว่า เวลาจะเป็นผูบ้ อกถึงความสำ�เร็จของ โครงการใหม่นี้จะเป็นอย่างไร และการทำ�งานวิจัยเชิงพื้นฐานเป็นเรื่องจำ�เป็นที่จะประเมินถึงความ สำ�เร็จที่แท้จริงในระดับชุมชน จุดอ่อนของอนุสญ ั ญา นีอ้ ยูท่ ก่ี ารพึง่ พิงในระดับชาติและหน่วยงานปกครองท้องถิน่ เป็นส่วนใหญ่ ในการนิ ย ามรู ป แบบของศิ ล ปะ ช่ ว ยพั ฒ นาแผนการสงวนรั ก ษา และสิ่ ง ที่ อ าจสำ � คั ญ ที่ สุ ด คื อ ยุทธศาสตร์ของการให้ทนุ สนับสนุน ประเทศญีป่ นุ่ ซึง่ มีรปู แบบข้อปฏิบตั ขิ องตนเองได้ให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายรูปแบบนับตัง้ แต่ ค.ศ. 1982 เป็นต้นมา แต่จากข้อมูลทีเ่ ข้าถึง ได้จากเว็บไซต์ การให้ทนุ หลักรวมถึงกิจกรรมของยูเนสโกดูเหมือนจะไปไม่ถงึ งานศิลปะและกลุม่ ศิลปิน แต่ไปลงอยูก่ บั การจัดการบริหารและการสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ ารให้กบั เจ้าหน้าทีข่ องรัฐบาลในหน่วยงาน ทางวัฒนธรรม การท่องเทีย่ วหรือศิลปะและ/หรือคนทำ�งานในองค์กรทีไ่ ม่ใช่รฐั บาล (NGO) เสียมากกว่า การจัดการประชุมได้พฒ ั นาการ ฝึกฝนทีด่ ี สอนผูเ้ ข้าร่วมถึงวิธใี นการพัฒนาข้อเสนอหรือยุทธศาสตร์ที่ เกีย่ วข้องกับการสนับสนุนชุมชนในการธำ�รงรักษาศิลปะและวัฒนธรรมและการพัฒนาตนเอง ในขณะที่ บางคนตัง้ ข้อสงสัยต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจและต่อมรดกวัฒนธรรมในการเลือกเสนอ noken และผูแ้ ทนทางการศึกษาและ รัฐมนตรีวฒ ั นธรรม Wiendu Nuryanti เขียนถึงความสำ�เร็จในข้อความทีส่ ง่ ไปยัง the Indonesian new portal Antaranews.com ในช่วงเวลาของการประกาศว่า “เราจะทำ�งานร่วมกันกับทุก ๆ ฝ่ายเพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าในการขายประเป๋าถักของปาปัว ตัวอย่างเช่นเราจะร่วมมือกับนักออกแบบชาวอินโดนีเซียที่จะทำ�ให้กระเป๋าถักแบบโนเก็นเป็นวัตถุหรือเครื่องประดับ ในงานแฟชั่น” (“UNESCO Names Papua’s ‘noken’ to Cultural Heritage List” 2012). 9 “Lists of Intangible Cultural Heritage and Safeguarding Practices,” http://www.unesco.org/culture/ ich/index.pht?pg=0001. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2013. 10 ดู Wikipedia (http://en.wikipedia.org/wiki/National_Artist_of_Thailand) สำ�หรับชื่อเฉพาะและความเชี่ยวชาญ 8

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 115


การลงแรงไปแต่ละอย่างจะมีความสำ�คัญ แต่ก็มิได้นำ�ไปสู่สนับสนุนที่จำ�เป็นหรือนำ�ไปสู่การฝึกปฏิบัติ ทางศิลปะอย่างแท้จริง11

ส่วนประกอบสำ�หรับอนุสัญญา อะไรคือส่วนประกอบสำ�หรับอนุสญ ั ญานี?้ แม้จะมีปจั จัยทีห่ ลากหลาย แต่ผเู้ ขียนจะขออภิปราย ในสี่ประเด็นคือ ประเด็นแรกคือความสำ�เร็จของบัญชีรายชื่อมรดกโลก (World Heritage List) ที่ช่วยเพิ่มพูนเกียรติยศให้กับสถานที่และช่วยเพิ่มจำ�นวนนักท่องเที่ยวในแหล่งมรดกโลกและมี ความปรารถนาจะให้เกิดศักยภาพในทำ�นองเดียวกันกับการปฏิบตั ทิ างวัฒนธรรมและศิลปะการแสดง ประเด็นที่สอง ความมีบทบาทนำ�ของญี่ปุ่นและแม่แบบของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือในพัฒนาการ ของการดูแลรักษามรดก ประเด็นทีส่ าม ผลกระทบจากพิพธิ ภัณฑวิทยาแนวใหม่ ทีล่ ดความสำ�คัญของ การอนุรกั ษ์วตั ถุ การวิจยั และการสนับสนุนพิพธิ ภัณฑ์ให้กลายมาเป็นศูนย์กลางของชุมชนและเป็นผูส้ ร้าง ทางวัฒนธรรม ประเด็นสุดท้าย ผู้เขียนจะเสนอว่าตัวแบบวิทยาศาสตร์ที่ครอบงำ�อยู่ร่วมกับแนวคิด แบบดาร์วนิ “ผูเ้ หลือรอดคือผูแ้ ข็งแกร่ง” ซึง่ เคยถูกนำ�เสนอโดยการผลักดันของสือ่ ระดับโลกซึง่ มีสว่ นกีดกัน ผูช้ มออกจากงานศิลปะพืน้ บ้าน ได้รบั การตีโต้จากขบวนการนิเวศวิทยา ความคิดว่าด้วยความหลากหลาย ทางชีวภาพได้เคลื่อนเข้าไปในพื้นที่ทางวัฒนธรรมและงานศิลปะท้องถิ่นได้ถูกท้าทายให้ปรับตัว ซึ่งจำ�เป็นต่อความแข็งแกร่งในระยะยาวของวัฒนธรรมอันหลากหลายทั้งมวล (ดู Smiers 2003)

มรดกโลก เมื่อยูเนสโกได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง อนุสญ ั ญาแรกเริม่ ทีว่ า่ ด้วย มรดกวัฒนธรรมทีเ่ ป็นกายภาพ (Tangible Heritage) ให้ความสำ�คัญ กับเรือ่ งของวัตถุ (objects) และสถานที่ (places) การผลักดันเริม่ แรกของยูเนสโกก็คอื การมุง่ ทีจ่ ะรักษา มรดกวัฒนธรรมในกรณีของเขือ่ นอัสวาน ประเทศอียปิ ต์เมือ่ ค.ศ. 1954 ในกระบวนการทีจ่ ะเคลือ่ นย้าย วิหารของอียิปต์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่โดดเด่น โดยยูเนสโก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มเกี่ยวกับโครงการความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติที่ต้อง สงวนรักษา “ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่และภูมิทัศน์ของพื้นที่และแหล่งประวัติศาสตร์เพื่อปัจจุบันและ เพื่อประชากรโลกทั้งมวล”12 ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ยูเนสโกเริ่มที่จะขึ้นบัญชีสถานที่ทั้งสิ่งก่อสร้างและ สิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ จำ�นวนรายการที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งสถานที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในยุโรป (ทั้งสิ่งก่อสร้าง หรือสถานที่ทางประวัติศาสตร์) หรือในอเมริกา (สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ) ซึ่งแสดงให้เห็น รูปแบบเช่นว่านี้เป็นตัวอย่างของทิศทางในสภาศิลปะอเมริกัน ซี่งให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นในการเตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติ การเกีย่ วกับผูบ้ ริหารกิจการให้กบั ศิลปินในหัวข้อเช่น “จะสร้างคณะผูบ้ ริหารได้อย่างไร” “การใช้สอ่ื ดิจทิ ลั ในฐานะเป็นเครือ่ งมือ” และ “การสร้างขีดความสามารถ” และเมือ่ มีการมอบเงินทุนเพือ่ จัดทำ�โครงการ ก็จะมีการจ่ายค่าจ้างให้กบั คนจัดงาน (ซึง่ บางคราว ก็อาจเป็นตัวศิลปินเอง) อาจมีอยู่บ้างในการฝึกปฏิบัติทางศิลปะอย่างแท้จริงแต่ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านศิลปะ เสียมากกว่า รูปแบบนี้อาจเป็นประโยชน์ในการช่วยให้ศิลปินมองตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในทางการเมือง ทั้งมีส่วนสนับสนุน โครงสร้างของรัฐบาลหรือเอกชนหรือการจัดทำ�เอกสารเพือ่ แสวงหาการบริจาคและทุนจากเอกชน แต่ทงั้ หมดนีม้ ใิ ช่การผลิตงาน ศิลปะ ดูเหมือนจะสามารถที่จะโต้แย้งได้ว่าแม้จะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากรูปแบบของการคิดแนว “งานจดหมายเหตุ” ไปสู่การคิดเรื่อง “ผู้บริหารกิจการ” ในศิลปะ แต่รูปแบบเช่นนี้ก็เกิดขึ้นบริบทแบบตะวันตกและดำ�เนินตามทิศทางการหาทุน ขององค์กรเอ็นจีโอระหว่างประเทศ 12 UNESCO, “The World Heritage Convention, http://whc.unesco.org/en/convention. 11

116

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ลักษณะที่ขัดแย้งกัน การเสนอพื้นที่เพื่อเป็น “มรดกโลก” ถือเป็นการอนุมัติว่าพื้นที่แห่งนั้นมีคุณค่า แก่การเยี่ยมชม ในทางหนึ่งรายการเหล่านี้เป็นเสมือน “7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก” ยุคใหม่ซึ่งช่วย ปลูกฝังความภาคภูมใิ จและสนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการทีจ่ ะรักษาสถานทีน่ น้ั ทัง้ ยังมีแรงจูงใจทีเ่ ห็นชัด ในทางเศรษฐกิจที่ได้มาจากรายได้จากนักท่องเที่ยว ทุกคนต่างต้องการที่จะถูกนำ�เสนอ บัญชีรายการ มรดกโลกเมื่อ ค.ศ. 2012 จึงมีสูงถึง 962 รายการ (745 รายการเป็นมรดกโลกในทางวัฒนธรรม อีก 188 รายการเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ และอีก 29 รายการที่มีคุณสมบัติผสมผสานกัน)13 ในสังคมที่ไม่ได้มีสิ่งก่อสร้างหรือสถานที่น่าตื่นตาทางธรรมชาติแต่มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและ ทรัพยากรอันน่าตืน่ ใจทางศิลปะ ตัง้ ข้อคำ�ถามว่าด้วยวิธกี ารอย่างไร ทีพ่ วกเขาจะได้รบั การยอมรับและ ยกย่องในความรุม่ รวยทางวัฒนธรรมนัน้ ด้วยเช่นกัน และในช่วง ค.ศ. 1973 ด้วยข้อรณรงค์จากประเทศ โบลิเวียสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่คติชนพื้นบ้าน จึงนำ�ไปสู่การถกเถียงในสิ่งที่ ต่อมาเรียกว่า “มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ”(intangible cultural heritage) ใน ค.ศ. 1989 คณะสมัชชาของยูเนสโกรับเอาสิง่ ทีเ่ คยถูกละเลยและนำ�ไปสูข่ อ้ ตกลงทีไ่ ม่มขี อ้ ผูกมัด คือคำ�ประกาศว่า ด้วยการพิทกั ษ์รกั ษาวัฒนธรรมประเพณีและคติชนพืน้ บ้าน “Recommendations on Safeguarding of Traditional Culture and Folklore” (UNESCO 1989) แม้ในวงสนทนาเริม่ ต้นใช้ศพั ท์ “ประเพณี” (tradition) หรือ คติชนพืน้ บ้าน (folklore) ซึง่ คำ�ดังกล่าว ในบางประเทศถือเป็นคำ�ดูถูกดูแคลน และแม้ว่าในกลุ่มนักวิชาการเกี่ยวกับคติชนจะยังคงมีบทบาท ใกล้ ชิ ด ในวงสนทนาดั ง กล่ า วนี้ ก็ ต ามที แต่ ถ้ อ ยคำ � ทั้ ง สองก็ ถู ก ละทิ้ ง ไป โดยแทนที่ ด้ ว ยคำ � ใหม่ “ผลงานชิ้นเอก”(masterpiece) และ “ทรัพย์สิน/สมบัติ” (treasure) ภายใต้การสำ�รวจและชี้นำ� ของประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อ ค.ศ. 2003 คำ� “มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” (intangible cultural heritage) ก็ได้เข้ามาแทนที่

ภายใต้การนำ�ของญี่ปุ่น ญีป่ นุ่ มีบทบาทนำ�ต่อการตัดสินใจในการก่อร่างนโยบายและผ่านอนุสญ ั ญาดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว ข้างต้นว่า ชาวญี่ปุ่นมีความกังวลในประเด็นนี้มาตั้งแต่ยุคเมจิแล้ว และรัฐบาลเองก็ได้ริเริ่มกฎหมาย ที่จะสงวนรักษาวัฒนธรรมทางวัตถุมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 (เช่น กฎหมายการอนุรักษ์วัตถุโบราณ ค.ศ. 1871) ประเทศญี่ปุ่นขับเคลื่อนการสนับสนุนมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพอย่างเต็มที่ ในทศวรรษ 1950 อันเป็นผลมาจากการยึดครองญี่ปุ่นของสหรัฐฯ วัฒนธรรมได้ถูกท้าทายและ กฎหมายสำ � หรั บ การปกป้ อ งสมบั ติ ท างวั ฒ นธรรมได้ ผ่ า นออกมา ทั้ ง งานหั ต ถกรรมและศิ ล ปะ “ชั้นสูง”- โนห์ บุนราคุและการเต้นของคาบูกิ (buyo) ได้รบั การเสนอชือ่ นับแต่ปแี รก ๆ เป็นผลให้เกิด ความสำ�เร็จที่ต่อเนื่องในศิลปะแขนงนี้ และเมื่อ ค.ศ. 1955 มีการคัดสรรการส่งต่อทางวัฒนธรรม ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้มั่นใจว่าจะธำ�รงให้ยั่งยืนสืบไป การเสนอให้บุคคลยกฐานะขึ้นเป็น บุคคล ทรงคุณค่าแห่งชาติที่ยังมีชีวิต (National living Treasure - Ningen Kobuho) นับเป็นการให้ รางวัลอันสูงค่ายิ่งแก่ปัจเจกโดยให้เงินสวัสดิการสูงถึงสองล้านเยนต่อปีรวมถึงสิทธิ์อื่น ๆ ที่พึงได้ หน่วยงานทางวัฒนธรรม (Bunkacho) เป็นผู้บริหารโครงการนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ภายใต้การดูแล 13

UNESCO, “The World Heritage list,” http://whc.unesco.org/en/list Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 117


ของกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่น ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 ได้เสนอให้มีการคุ้มครองกิจกรรม ทางวัฒนธรรมของชาวบ้านซึง่ มักรวมตัวเป็นกลุม่ สมาคมทางวัฒนธรรมทีอ่ ทุ ศิ ตนเพือ่ การธำ�รงรักษาศิลปะ ใน ค.ศ. 2006 ญี่ปุ่นมีรายการสมบัติที่สำ�คัญทางวัฒนธรรมจำ�นวน 113 รายการ มีสมบัติทางคติชน 246 รายการ และในฐานะบุคคลและกลุ่มอีก 73 แห่งที่รับผิดชอบต่อการรักษาศิลปะของตนเอง โดยรับผิดชอบในการฝึกฝนแก่คนรุ่นต่อไปรวมถึงมีภารกิจที่จะต้องจัดให้มีการแสดงตามช่วงฤดูกาล (ดู Cang 2007, Thornbury 1994) แนวความคิดเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม (cultural properties) ได้รับการนำ�ไปใช้แทบ จะไม่เปลี่ยนแปลงโดยประเทศเกาหลีใต้ในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อหน่วยงานบริหารมรดกวัฒนธรรม ซึง่ สามารถสืบย้อนประวัตศิ าสตร์ได้จนถึงหน่วยงานราชสำ�นักโชซอน (Royal Household Affairs Office of the Joseon dynasty) ทีไ่ ด้จดั ตัง้ ขึน้ และเริม่ ต้นขึน้ ทะเบียนทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม14 เมือ่ ไม่กปี่ มี านี้ ประเทศจีนได้พัฒนาโครงการที่เกี่ยวเนื่องขึ้นมา15 ควรกล่าวไว้ที่นี้ว่าระบบนี้เริ่มต้นจากความคิด “ผลงานชิน้ เอกฯ” (เช่น โนห์ บุนราคุและการเต้นคาบูกิ (buyo) ใน ค.ศ. 1955 และคาบูกใิ น ค.ศ. 1965) และอีก 20 ปีตอ่ มาได้ขยับไปสูป่ ระเภทคติพนื้ บ้าน (folk) นอกจากนัน้ โครงการบุคคลทรงคุณค่าแห่งชาติ ทีย่ งั มีชวี ติ ในด้านหนึง่ เข้ามาแทนทีร่ ะบบอิเอะโมโตะ (iemoto) (the head of the school หรือ หัวหน้าช่าง) ซึ่งเริ่มมีอยู่ทั่วไปในศตวรรษที่ 18 และแพร่หลายในยุคเมจิ ในฐานะบุคคลที่หาเลี้ยงชีพด้วยการ สอน (ดู Rath 2004)16 ระบบอิเอะโมโตะนั้นดีสำ�หรับการธำ�รงศิลปะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วย่อมแข็งขืน ต่อการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตาม การไม่ได้เคร่งครัดอย่างที่ควรจะเป็นในช่วงทศวรรษ 1950 เมื่อนักแสดงโนห์ทดลองอยู่นอกระบบ ช่างก็จะสูญเสียอาชีพไป หากไม่ได้อยู่ในระบบอิเอะโมโตะ นับได้ว่าระบบไม่ได้เอื้อให้กับประชาธิปไตยหรือ “ชุมชน” ซึ่งมีส่วนในการกำ�หนดทิศทางของศิลปะ การกำ�หนดที่ทางของอำ�นาจในระบบอิเอะโมโตะเป็นทางออกให้กับปัญหาทางเศรษฐกิจที่เรียกร้อง Wikipedia ได้เตรียมการรายการภายใต้หวั ข้อ “Important Intangible Cultural Properties of Korea” (http://en.wiki pedia.org/wiki/Important_Intangible_Cultural_Properties_of_Korea) เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2013 15 ดู China Heritage Quarterly เดือน สิงหาคม ค.ศ. 2006 ทีอ่ า้ งว่า ใน ค.ศ. 2006 จีนได้อา้ แขนรับแนวคิด “มรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพ” ด้วยความกระตือรือร้นและอย่างเปิดเผย โดยมีข้อสงวนเพียงเรื่องเดียวสำ�หรับมาตราการปรับปรุง เศรษฐกิจใหม่...คณะบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ (The State Administration of Cultural Heritage-SACH) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐการที่เทอะทะภายใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีวัฒนธรรมซึ่งครั้งหนึ่งรู้จักกันในนาม State Cultural Relics Bureau ได้ออกประกาศบัญชีรายชื่อสองฉบับ โดยมีรายการมรดกวัฒนธรรมทั้งสิ้น 500 รายชื่อ ที่รวมเรื่อง เล่าพื้นบ้าน เทศกาลชนเผ่า ดนตรีของภูมิภาค ละครและรูปแบบศิลปะของการเล่าเรื่อง หัตถกรรมและกระทั่งพิธี เซ่นสังเวย...แนวคิด “มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” ที่ยูเนสโกสนับสนุนนั้นมอบอำ�นาจแก่ข้ารัฐการทางวัฒนธรรม ที่จะหลีกเลี่ ย งการกล่ าวถึ ง ประวั ติศาสตร์ แ ละประเพณี ที่ไ ม่ ค่ อ ยอยากจะกล่ า วถึ งทั้ งยั งให้ แ นวคิ ด ใหม่ แ ก่ นัก อนุ รั ก ษ์ สำ�หรับการถกเถียงและขยายไปสู่การปกป้องมรดกวัฒนธรรม (“China’s Intangible Cultural Heritage” 2006) 16 Salz (2013) ชี้ให้เห็นว่า “แม้คำ�นี้จะพัฒนาขึ้นอย่างมากในสมัยเมจิ ด้วยกระแสของประชาธิปไตยและผู้นำ�นักศึกษา แต่คำ� อิเอะโมโตะ ถูกใช้มาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 และในทางการปฏิบัติมีมาเก่ากว่านั้น บางคนคิดว่าพวกขุนนางมีสิทธิ์พิเศษที่ จะตัดสิน และอื่น ๆ ...สร้างระบบที่จะทำ�ให้ผู้เรียนจ่ายค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นอำ�นาจช่วงชั้นแบบพีระมิด” ซอลซ์ ยังอ้างถึงบันทึกในสมัยเอโดะที่ว่า ความหลากหลายก่อนหน้านั้นได้เริ่มเสื่อมสลายไป และการผลักดันให้เป็นรูปแบบ คล้ายกันในเกิดขึน้ ในสมัยเมจิ การเปลีย่ นจากการสนับสนุนโดยกลุม่ สมาชิกของครอบครัวซามูไรได้สร้างระบบอิเอะโมโตะ ของ สกุลช่างขึน้ (บุคคลซึง่ เป็นหนึง่ เดียว มีสทิ ธิข์ าดและเป็นชาย) ได้เคลือ่ นจากการเป็นผูแ้ สดงประจำ�เพือ่ ผูอ้ ปุ ถัมภ์ไปเป็นครูผสู้ อน (ทีน่ กั ศึกษาต้องเป็นผูจ้ า่ ยค่าธรรมเนียม และจะค่อย ๆ เลือ่ นขัน้ ขึน้ ไปเรือ่ ย ๆ ตามระบบซึง่ มีผทู้ เี่ ป็นหัวหน้าคอยควบคุมดูแล) 14

118

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ฐานและข้อกำ�หนดบังคับการปกครองทีช่ ดั เจน ซึง่ ระบบนีจ้ ะทำ�งานได้ดกี บั สังคมทีม่ ฐี านคิดแบบขงจือ่ ทีม่ โี ครงสร้างชัดเจนและมีระบบช่วงชัน้ แม้วา่ ระบบเช่นว่านีจ้ ะเทียบเคียงได้กบั บทบาทของครูหรือคุรุ ในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งได้รับความเคารพและยกย่องในทางพิธีกรรมของงานศิลปะ ที่หลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทบาทของผู้นำ�มิได้เข้มงวดนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เช่นนี้ คนรุ่นใหม่มีอิสระมากกว่าที่จะด้นหรือเบี่ยงออกไปจากรูปแบบก่อน หน้านั้น ส่วนศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและระบบ เช่น สินทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่สำ�คัญ (important cultural properties) นั้นมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวด เช่นเดียวกับระบบอิเอะโมโตะ – โครงการบุคคลทรงคุณค่าที่ยังมีชีวิต ซึ่งเท่าที่ผ่านมา มีแนวโน้ม ในการเปลี่ยนแปลงงานศิลปะค่อนข้างน้อย เนื่องด้วยการสืบทอดมาทางสายตระกูลที่รับช่วงสืบ ต่อมา ในทางตรงกันข้ามของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ความเป็นเจ้าของค่อนข้างแพร่กระจายและ ความจริงแท้ก็มีค่อนข้างน้อยที่จะดำ�เนินตามรูปแบบอย่างบรรพบุรุษโดยจะธำ�รงรักษาจิตวิญญาณ ภายใต้บริบทใหม่มากกว่า มัทสึอรุ ะ โคอิจโิ ร (Matsuura Koichiro - เกิด ค.ศ. 1937) ผูอ้ �ำ นวยการใหญ่ของยูเนสโกระหว่าง ค.ศ. 1999-2009 ได้หาทางที่จะดำ�เนินการส่งเสริมรักษาศิลปะวัฒนธรรมโดยอาศัยแนวคิดจาก ประสบการณ์ของญี่ปุ่น ในการปาฐกถา “โลกาภิวัตน์, มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพและบทบาท ของยูเนสโก” (Globalisation, Intangible Cultural Heritage and the Role of UNESCO) ระหว่าง การประชุมระหว่างประเทศว่าด้วย โลกาภิวัตน์ มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ค.ศ. 2004 ได้อ้าง ว่า ญี่ปุ่น “เป็นประเทศแรก ๆ ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพอย่าง เป็นทางการ” และเน้นว่าอนุสัญญามรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพนี้จะขึ้นทะเบียนในสองบัญชี ด้วยกัน คือ “บัญชีตัวแทนของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ (Representative List of Intangible Cultural Heritage of Humanity) และ “บัญชีของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็น กายภาพซึง่ ต้องมีการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน” (List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding) (Matsuura 2004) ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าทรัพยากรทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็น “ความมั่งคั่งหลักของประเทศกำ�ลังพัฒนา” ซึ่งจะต้องได้รับการยอมรับถึง “ความสำ�คัญที่เท่าเทียม กันกับมรดกทางกายภาพหรือมรดกทางวัตถุซึ่งได้รับการพัฒนามาก่อนโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว (หน้า 18) ทั้งนี้ต้องคำ�นึงถึงการจัดแบ่งตามสัดส่วนทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นอิสระ ในญี่ปุ่น คณะกรรมการอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น (hozonkai) เป็นแนวหน้าในการปกป้องศิลปะ ท้องถิ่นเพื่อการคงอยู่ โดยการบันทึกรูปแบบและลงทะเบียนไว้ ด้วยความมุ่งหมายว่าจะสามารถ ส่งทอดต่อไป “อย่างไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคต” ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ “มักจะไม่เป็นที่สนใจในกลุ่มคน รุ่นใหม่” (Thornbury 1994 : 221) โครงการต่าง ๆ “อาจจะไปไกลพอที่จะเปลี่ยนศิลปะท้องถิ่น ให้เป็นสัญลักษณ์ (icons) ทางวัฒนธรรม และ...การที่เหลือรอดอยู่ได้ถึงปัจจุบันนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า จะมีที่ทางให้กับการเปลี่ยนแปลง” (หน้า 213) ความแข็งแกร่งของตัวแบบแบบญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นำ�ไปใช้ก็คือการจัดเก็บข้อมูลและการคัดลอกจำ�ลองให้เหมือนหรือปรับเปลี่ยนแต่เพียงเล็กน้อย แต่มี เพียงรูปลักษณ์ที่ได้รับการตอกยํ้า ในขณะที่ด้านจิตวิญญาณนั้นอาจเสื่อมถอยไป

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 119


ดังที่ ทรอนบูรี ชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติของชาวบ้านซึ่งครั้งหนึ่ง เคยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม และความเชื่อได้ถูกกำ�จัดออกไปจากบริบทและถูกปฏิบัติเหมือนการแสดงบนเวที และเปลี่ยนแปลง รูปแบบดั้งเดิมของท้องถิ่นไปเป็นการแสดงแห่งชาติ (หน้า 216) งานศิลปะได้รับการฝึกฝนก็จริงอยู่ แต่อย่างน้อยสำ�หรับคนนอกอย่างทรอนบูรีที่เป็นผู้ศึกษาสงสัยว่า สิ่งเหล่านี้ยัง “มีชีวิต” หรือเหมือน ร่างกายดำ�เนินไปอย่างเช่นเครื่องจักรและมีชีวิตรอดโดยผ่านระบบและกลไกทางวัฒนธรรม ซึ่งมิใช่ ว่าเป็น “วัฒนธรรมที่มีชีวิต” แต่เป็นเพียง “ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม” ในเกาหลีก็เช่นกัน ระบบของ การฝึกหัดสมบัติทางวัฒนธรรม อาจมีส่วนขัดขวางคนรุ่นใหม่จากการทดลองสิ่งใหม่ (Saeji 2012) และนวัตกรรมโดยศิลปินรุน่ ใหม่กอ็ าจถูกกีดกันโอกาสทีจ่ ะได้รบั การเสนอให้เป็นครูผสู้ อน ในภายหลัง รายงานแรก ๆ จากประเทศจีนชี้ให้เห็นว่า ด้วยเหตุผลทางการเศรษฐกิจ จึงมีแนวโน้มที่จะเลือก สนับสนุนเพียงหนึ่งกลุ่มต่อการเสนอรายชื่อบางประเภทเท่านั้น ซึ่งจะนำ�ไปสู่การแข่งขันทางศิลปะให้ เหลือเพียงเส้นทางเดียว (Carter 2012) ในทางชีววิทยา การปล่อยให้สตั ว์มคี วามหลากหลายนัน้ จะนำ� ไปสูส่ ขุ ภาพทีด่ ขี องกลุม่ โดยรวมซึง่ จะดีกว่าการผสมพันธุภ์ ายในกลุม่ กันเอง เช่นเดียวกับทางวัฒนธรรม การปฏิเสธอิทธิพลจากภายนอกโดยสิน้ เชิงจะนำ�ไปสูค่ วามเป็นชาตินยิ ม ซึง่ แน่นอนว่าจะนำ�ไปสูผ่ ลด้าน ลบดังเช่นที่เคยเป็นในสมัยนาซีเยอรมันและสมัยโชวะของญี่ปุ่น บางที นี่คือเหตุผลทำ�ให้ข้อถกเถียงนี้ เคลื่อนจากรูปแบบของญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ควรปล่อยให้ชุมชนได้มีส่วนในการกำ�หนด การยอมรับนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม คล้ายกับว่าหากปราศจากรูปแบบและการนำ�ของญี่ปุ่นเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการ ผลงานชิ้นเอกฯ หรือ อนุสัญญา ค.ศ. 2003 ก็ตามจะไม่สามารถพัฒนาต่อได้

หลักการทางพิพิธภัณฑสถานวิทยา อย่างน้อยเมื่อการมาถึงของกระแสแนวความคิดหลังสมัยใหม่ ซึ่งมีส่วนขัดขวางความสืบเนื่อง มาตั้ ง แต่ ศ ตวรรษที่ 19 ในการแบ่ ง แยกพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ง านศิ ล ปะตะวั น ตกออกจากพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท าง มานุษยวิทยาที่ซึ่ง “คนอื่น” (ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ของเราหรือกลุ่มที่มิใช่ชาติตะวันตก) ได้รับการจัดประเภท17 ซึ่งแนวคิดใหม่นี้ได้สำ�รวจตรวจสอบแนวคิดของพิพิธภัณฑ์เพื่อที่จะเข้าไป มี ส่วนร่ วมอย่างแข็ง ขันกับ ชุมชนซึ่ง เป็นบทบาทคนละด้านกับการขึ้นทะเบียนและอนุรักษ์วัตถุ ศูนย์เพื่อวิถีชีวิตพื้นบ้านและมรดกวัฒนธรรม สถาบันสมิธโซเนียน (The Smithsonian Center for Folklife and Cultural Heritage) ภายใต้ ก ารนำ � ของริ ช าร์ ด คู ริ น (Richard Kurin) นับแต่ทศวรรษ 1960 มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเสริมพลังอันแข็งแกร่งให้กับการสร้างสรรค์ ทางวั ฒ นธรรม (ดู Kurin 1997, 1998 Bauman and Sawin 1991; Trimillos and Daimond 2008) ศูนย์แห่งนี้แตกหน่อออกไปจากพิพิธภัณฑ์พยายามที่จะจัดหาวิธีที่จะหลีกหนี ไปจากกองพะเนิ น ของ “วั ต ถุ ” โดยสร้ า งการตี ค วามใหม่ ในแต่ ล ะปี ข องการจั ด งานเทศกาล วิถีชีวิตพื้นบ้านสถาบันสมิธโซเนียน (The Smithsonian Folklife Festival) ที่ศาลากลางแห่งชาติ ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ช่วงเวลาสองสัปดาห์ระหว่างงานวันชาติสหรัฐอเมริกา (4 กรกฎาคม) เป็นวิถีทาง ทีช่ ดั เจนทีส่ ถาบันสมิธโซเนียนจะได้ดงึ ความสนใจให้เกิดกับสมาชิกรัฐสภาอเมริกนั ซึง่ เป็นกลุม่ สนับสนุน เงินทุนหลัก โดยทัว่ ไปแล้วสมาชิกสภานิตบิ ญ ั ญัตมิ กั จะมีความพึงพอใจเมือ่ ได้เห็นผูท้ อี่ ยูใ่ นเขตเลือกตัง้ 17

สำ�หรับการอภิปรายถึงการทีม่ รดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพเชือ่ มต่อกับพิพธิ ภัณฑ์ได้อย่างไรนัน้ ดู Alivizatou (2007,2012), Nas (2002), McCann (2002), Kurin (2007), และ Bortolotti (2007)

120

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ของตนเข้ามาร่วมงานเพือ่ ออกร้าน เต้นรำ� หรือจัดแสดง ในยุคทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ชาติตะวันตกสามารถชูประเด็น ความนิยมของสาธารณชนเพื่อให้มีการสนับสนุนทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งงานเทศกาลวิถีชีวิตพื้นบ้านนั้น ได้รับทุนดำ�เนินงานเกือบทั้งหมดจากเงินบริจาค (Deutsch 2010) การที่พิพิธภัณฑ์มีกิจกรรมปรากฏ ชัดแจ้งข้างนอกย่อมเป็นการส่งสัญญาณทางการเมืองที่ดี โดยในเว็บไซต์ของศูนย์ได้แสดงให้เห็นถึง ทิศทางเช่นว่านี้ ความสนใจและการทำ�งานเชิงปฏิบัติของศูนย์เกี่ยวกับนโยบายทางวัฒนธรรม อยู่ ภ ายใต้ ก รอบหลั ก ของตั ว แทนชุ ม ชนและประชาธิ ป ไตยในทางวั ฒ นธรรม ของชุมชนรากฐาน และโครงการความร่วมมือนี้ออกแบบมาเพื่อที่จะส่งเสริม การนำ�เสนอตัวตน …ความเชื่ อ มั่ น ในมนุ ษ ย์ แ ละผลประโยชน์ ท างวั ต ถุ จ ะเป็ น ไปได้ อย่างแท้จริง ก็เนื่องมาจากความเข้าใจในวัฒนธรรมและการแยกแยะแนวทาง อย่างเป็นเหตุเป็นผลของบรรดากลุ่มศิลปิน คนทำ�งานทางวัฒนธรรม นักวิชาการ ผูป้ ระสานงาน พิพธิ ภัณฑ์ มหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันก่อนอุดมศึกษา กลุม่ เชือ้ ชาติ ชาติพันธุ์ และชุมชนทางเพศ กลุ่มอาชีพทางสุขศาสตร์ นักสิ่งแวดล้อม และ นักเศรษฐศาสตร์ รวมถึงกลุ่มอาชีพอื่น ๆ และกลุ่มทางสังคมจะเข้ามามีส่วนร่วม ในการสำ�รวจความหมายและความสำ�คัญของวัฒนธรรมและนโยบายวัฒนธรรมในแบบ ทีไ่ ม่เคยมีมาก่อน (Smithsonian Center for Folklife and Cultural Heritage nd.) ในงานสัมมนาของสถาบันสมิธโซเนียนว่าด้วยการพิทกั ษ์รกั ษาวัฒนธรรมประเพณี : การประเมิน ในระดับโลกของข้อแนะนำ�ของยูเนสโกใน ค.ศ. 1989 เพือ่ การส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมประเพณีและวิถี ชีวิตพื้นบ้าน (The Smithsonian conference Safeguarding Traditional Cultures : A Global Assessment of the 1989 UNESCO Recommendation on the Safeguarding of Traditional Culture and Folklore) (Washington D.C., 1999) โดยพิจารณาว่ามรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์สมิธโซเนียนว่าด้วยวิถีชีวิตและมรดกวัฒนธรรมกับยูเนสโก และผล ที่ได้รับนั้นถือเป็นหมุดหมายที่สำ�คัญยิ่ง จิอาร่า บอร์โตลอตติ (2007) ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ครั้งนี้มี ความสำ�คัญต่อการแยกแยะในประเด็นว่าด้วย “ผลงานชิน้ เอก” (masterpieces) และ “สมบัต”ิ (ทาง วัฒนธรรม) (treasure) ซึ่งเคยได้รับการนำ�เสนอและเน้นยํ้าถึงความจำ�เป็นต่อการให้เสียงแก่ชุมชน รากฐานซึง่ ก่อนหน้านัน้ ได้ถกู กีดกันออกไปจากกระบวนการดังกล่าว (หน้า 22) เธอได้อา้ งถึงข้อความของ มาลี ฮามาดู อั ม ปาเตบา (Mali Hamadou Ampate Ba) ที่ ก ล่ า วว่ า ในแอฟริ ก านั้ น “เมื่อคนชราเสียชีวิตหนึ่งคน ก็เหมือนกับห้องสมุดถูกเผาผลาญไป” ซึ่งสร้างความกระทบใจให้กับ การประชุมในครัง้ นัน้ (หน้า 24) ทีป่ ระชุมได้เคลือ่ นไปสูก่ ารเน้นยาํ้ ถึงความเป็นพืน้ เมือง (vernacular) มุขปาฐะ (oral) และโลกสามัญ (secular) มากกว่าสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ (monumental) วรรณกรรม (literate) และความศักดิ์สิทธิ์ (sacred) ซึ่งดำ�เนินไปตามแนวทางความพยายามของยูเนสโก ค.ศ. 1997 ทีป่ ระกาศให้จตุรสั ของโมร็อกโกในมาราเคชเป็นมรดกโลก ซึง่ มิใช่ดว้ ยสาเหตุในคุณลักษณะ ของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นผลมาจากบรรดานักเล่าเรื่อง นักแสดงและกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ได้ แสดงตนออกมา (หน้า 24) จุดเน้นอยู่ที่ชุมชนและสนับสนุนให้คนธรรมดาทั่วไป “ควบคุมดูแล Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 121


มรดกวัฒนธรรมผ่านการให้ชวี ติ ชีวาและการปรับเปลีย่ นไปอย่างไม่สนิ้ สุด” (หน้า 25) การตรวจพิสจู น์ มิใช่อยู่ที่ ของแท้/ของปลอม อีกต่อไป แต่อยู่ที่การผูกพันอย่างสร้างสรรค์กับอดีต บอร์โตลอตติ ยังได้อ้าง ฌาร์ค เลอ กอฟ ที่กล่าวว่า มรดก “คือรูปลักษณ์ใหม่...ของการบูชาบรรพบุรุษ” (หน้า 25) ในที่ประชุมได้รับหลักการของการเข้าไปมีความผูกพันอย่างสร้างสรรค์และหลากหลายกับอดีต ตามทัศนะของคูริน (Kurin 2007) พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดต่อการปลูกฝังทัศนะของชุมชนเช่นนี้ เนื่องจากมีความยั่งยืน ตามความคิดของ ฮิวจ์ เดอ วารีน (Hugues de Varine) พิพิธภัณฑ์ควรให้ ความสำ�คัญกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นของตนและให้บริการต่อพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องผูกพันด้วย พิพิธภัณฑ์ได้เป็นเจ้าภาพ “โครงการทางสังคมวัฒนธรรมที่จะดำ�รงและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (Bortolotti 2007: 27) และควรเป็นพื้นที่ของการส่งเสริมรักษา สนับสนุนการขยายความคิด สร้างสรรค์ของศิลปะทั้งในระดับโลกและท้องถิ่นไปพร้อมกัน (glocal) ณ ที่แห่งนี้ เจ้าหน้าที่แห่งรัฐ หรือพื้นที่พิพิธภัณฑ์คือผู้ที่จะอำ�นวยความสะดวกและช่วยให้ชุมชนได้รับสารหรือนำ�เสนอในกลุ่มที่ กว้างขวางออกไป พิพิธภัณฑ์ (เช่นเดียวกับวัฒนธรรม) ที่หยุดนิ่งและแช่แข็งไว้จะไม่เป็นจริงอีกต่อไป (Kurin 2007: 6) ชุมชนถูกจัดวางให้เป็นแหล่งศูนย์กลาง “ถ้าชาวบ้านไม่สามารถได้รับความใส่ใจ เกียรติยศ การยกย่องและความเคารพ ก็จะเป็นการยากทีจ่ ะโต้แย้งว่าพวกเขาเป็นผูไ้ ด้รบั ผลประโยชน์ ยิ่งวางตนอยู่ในความเคารพตนเองมากเท่าใด เขาก็จะได้รับผลประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น (หน้า 9) กลุ่มที่มีส่วนสำ�คัญในการสร้างอนุสัญญา ค.ศ. 2003 ได้คำ�นึงถึงรูปแบบของสถาบันที่จะเป็นพื้นที่ ของการพัฒนาวัฒนธรรม แต่รปู แบบของพิพธิ ภัณฑ์ทแี่ ข็งขันด้วยการทำ�งานทีเ่ ข้มแข็งเช่นนี้ ไม่ได้มอี ยู่ โดยทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เว้นเสียแต่เพียงบางเมืองที่พัฒนาแล้วเท่านั้น

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตัวแบบสุดท้ายเกี่ยวกับวาทกรรมมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพนั้นนำ�มาจากชีววิทยา จากแนวคิดคลาสสิกแบบดาร์วิน “ผู้แข็งแกร่งคือผู้ที่เหลือรอด” (ซึ่งคอมพิวเตอร์และเฟซบุ๊คดูจะเป็น ผู้มีชัยเขมือบกลืนวิถีปฏิบัติของวัฒนธรรมท้องถิ่น) เทียบคู่ตรงกันข้ามกับชีววิทยาความหลากหลาย ทางวั ฒ นธรรมในฐานะที่ เ ป็ น ยุ ท ธศาสตร์ ร ะยะยาวที่ จ ะจั ด เตรี ย มทางเลื อ กอั น หลากหลาย ลองพิจารณาข้อความของฮวน กอยติโซโล (Juan Goytisolo) ประธานคณะกรรมการลูกขุนระหว่าง ประเทศของยูเนสโก นับเป็นประเด็นท้าทายสำ�หรับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรมิใช่รัฐบาลที่ต้องกังวล กับประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ กำ � ลั ง ถู ก คุ ก คามอย่ า งหนั ก ด้ ว ยการยั ด เยี ย ดความเป็ น เอกภาพจากกฎของ หมู่บ้านโลกและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแบบสุดโต่ง การตอบโต้ของเราจำ�เป็นต้องเป็นไปอย่างรอบคอบและละเอียดอ่อน เพื่อช่วยปกป้องความแตกต่างทางวัฒนธรรมของภาษาพูดที่ใช้กันบนโลก จำ�นวน สามพันภาษา รวมถึง “สมบัติที่มีชีวิต”เหล่านั้น ...(และมิใช่) เป็นการจัดการแบบ เดินตามหลังความตายอันทุกข์ทรมานด้วยการบันทึกเสียงและภาพให้กบั พิพธิ ภัณฑ์ ทางมานุษยวิทยาในเมืองใหญ่ของประเทศโลกที่หนึ่ง (Goytisolo 2001) 122

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ข้อเสนอมีนัยว่า วิวัฒนาการได้สร้างความหลากหลายอันมหัศจรรย์ที่แต่ละสปีชี่ส์ปรับตน อย่างสมบูรณ์ในทีท่ างของตนเอง มนุษย์ได้ท�ำ ให้สวนสวรรค์ของตนเองนัน้ ยุง่ ยากสับสนด้วยเทคโนโลยี (ในความหมายปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมสากลนิยมถูกมองว่าเป็นตัวการสำ�คัญ) ข้อพิสจู น์ในทางนิเวศวิทยานัน้ หยิบยืมมาจากวาทกรรมวิทยาศาสตร์ของการสงวนรักษาธรรมชาติดว้ ย การนำ�เอาไปใช้ในอาณาบริเวณทางวัฒนธรรม นับเป็นเรือ่ งย้อนแย้งทีว่ าทกรรมดังกล่าวนีด้ เู หมือนจะมี ส่วนเสริมพลังความเป็นวิทยาศาสตร์ในระดับพืน้ ฐานของข้อถกเถียงโดยรวมเสียเอง โดยทำ�ให้แบบแผน ของความเป็นวิทยาศาสตร์กลับเข้มแข็งขึ้น ประเด็นสำ�คัญที่อยู่เบื้องหลังมีความสำ�คัญยิ่ง เราจะมีชีวิตอยู่และขยายทรัพยากรอย่างที่เรามี ในฐานะมนุษย์ได้อย่างไร ทรัพยากรทางเศรษฐกิจของเรา เป็นความจำ�เป็นพื้นฐานสำ�หรับการเลือก เกี่ยวกับศิลปะของเรา เราจำ�เป็นต้องมีเวลาและพลังในการเกี่ยวข้องกับศิลปะ ในวัฒนธรรมตะวันตก ที่ซึ่งเวลาและเงินมีความเชื่อมโยงกัน เว้นไปเสียจากพื้นที่ของเพลงศักดิ์สิทธิ์แล้ว ความเชี่ยวชาญ และความเป็นวิชาชีพย่อมต้องมาก่อน ถ้าเขาไม่ได้รับค่าจ้าง เขาก็จะไม่ทำ� และเพื่อที่จะเป็นไปได้ ก็ จำ�เป็นทีจ่ ะต้องมีกลุม่ ทีค่ อ่ นข้างใหญ่ทจี่ ะสามารถจ่ายภาษีและนำ�เอาเงินไปสนับสนุนศิลปินอาชีพและ งานศิลปะ ซึง่ มีความแตกต่างออกไปอย่างมากกับสถานการณ์ในประวัตศิ าสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งศิลปะมักจะผูกโยงกับการเกษตร พิธีกรรม หรือการเฉลิมฉลองในชีวิต ในโครงสร้างแบบพีระมิด ของการอาชีพในประเทศตะวันตกทำ�ให้คนจำ�นวนมากกลายเป็นผู้บริโภคศิลปะที่เนือย เราเฝ้าดู ขณะที่ศิลปินผู้เชี่ยวชาญทำ�การแสดง ซึ่งจำ�เป็นต้องเรียกร้องการสร้างกลุ่มผู้ชมขึ้นมา และทุกวันนี้ได้ กระทำ�ผ่านระบบของการศึกษา เราสร้างผู้ชมสำ�หรับละครเชกสเปียร์ ด้วยการทำ�ให้คนจำ�นวนมาก อ่านงานเชกสเปียร์ แน่นอนว่าจิตวิทยาของการบริโภคและการโฆษณานัน้ มีประสิทธิผลทีจ่ ะสร้างผูช้ ม สำ�หรับผลผลิตทางวัฒนธรรม แต่ก็มักจะนำ�ไปสู่การผู้ชมที่เฉื่อยเนือยเสียเป็นส่วนใหญ่

อิทธิพลอันแจ้งชัดของมรดกวัฒนธรรมทีม่ ใิ ช่กายภาพในโลกทีม่ พ ี รมแดน อนุ สั ญ ญายื น ยั น การมี ส่ ว นร่ ว มจากเบื้ อ งล่ า งของชุ ม ชนผู้ เ ป็ น เจ้ า ของซึ่ ง รั ฐ บาลจะเป็ น ผูใ้ ห้การสนับสนุนและอำ�นวยความสะดวกให้ แนวคิดนีไ้ ด้ขยายออกไปกว้างขวาง ข้อปฏิบตั ขิ องพหุนยิ ม ทางวัฒนธรรมโดยประชาชนในทุกกลุม่ ชาติพนั ธุ์ เพศสภาพและชนชัน้ จะได้รบั การเสนอชือ่ โดยชุมชน ของตนเอง ครั้นเมื่อได้รับการจัดเก็บข้อมูลและวางแผนเพื่อการส่งเสริมรักษาได้รับการรับรองแล้ว ศิลปะนั้นก็สามารถขึ้นทะเบียนหรือบัญชีมรดกวัฒนธรรม ผู้คนจะภาคภูมิใจและจะสนับสนุนและ รักษาศิลปะประเภทนั้นไว้ แผนการดังกล่าวจัดทำ�ขึ้นเพื่อศิลปะทั้งหลายและความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม โดยความคิดนั้นนับเป็นเรื่องดี แต่ในอนุสญ ั ญานัน้ เองก็มแี นวโน้มทีจ่ ะปักธงเหนือศิลปะทีซ่ งึ่ ในอดีตเป็นส่วนหนึง่ ของวัฒนธรรม ร่วมโดยที่ปัจจุบันถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยพรมแดนของรัฐชาติ ด้วยเหตุที่อยู่ภายใต้องค์การ สหประชาชาติซึ่งดำ�เนินการภายใต้การยอมรับการเป็นสมาชิกของรัฐบาลแห่งชาติ อนุสัญญาสร้าง รอยปริแยกซึ่งมิใช่ธรรมชาติของศิลปะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เพิ่งได้รับการแบ่งแยก ให้เป็นรัฐสมัยใหม่ท่ีมีเขตแดนและประวัติศาสตร์อันซับซ้อนทั้งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน อย่างไรก็ตาม กรอบโครงนีย้ งั เปิดพืน้ ทีใ่ ห้กบั มรดกทีม่ รี ว่ มกัน และในบางกรณีไม่มากนักทีเ่ ป็นได้จริง เช่น วัฒนธรรม Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 123


การเลีย้ งเหยีย่ ว (2012) และนอว์รซู [ประเพณีการขึน้ ปีใหม่-ผูแ้ ปล] (2009) ทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่าเป็น ศิลปะของกลุ่มหรือภูมิภาค18 แต่พวกนักชาตินิยมก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้ประโยชน์ในส่วนที่เหลือ หมายความว่าแทนที่จะเป็นการเสนอศิลปะที่มีอยู่ร่วมกันข้ามภูมิภาค แต่มักจะมีประเทศใดประเทศ หนึ่งอ้างสิทธิ์ถือครอง ดังกรณีตัวอย่างที่จะเห็นต่อไป คือ วายัง (wayang) ของอินโดนีเซีย และมะโย่ง (mak yong) ของมาเลเซีย วายังได้รบั การขึน้ ทะเบียนเมือ่ วันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2004 ซึง่ จุดสำ�คัญอยูท่ เี่ กาะชวาและบาหลี ซึง่ แท้จริงแล้วเป็นศิลปะ (เหมือนผ้าบาติกและกริช ทีอ่ นิ โดนีเซียก็อา้ งว่าเป็นของตน) ทีม่ รี ว่ มในโลกมาเลย์ (pan-Malay world) มาเลเซียนั้นมีส่วนแบ่งใน วายัง อยู่ด้วยเช่นกัน ในบางกรณีศิลปะแขนงนี้ มีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับชวาและแสดงโดยผู้ที่อพยพมาจากหมู่เกาะ เช่นในรัฐยะโฮร์ เช่นเดียวกับ ประเพณีของกลันตันและปัตตานี (ภาคใต้ของไทย) ที่มีรูปแบบอาจแตกต่างกันแต่เป็นที่รับรู้ว่ามี ความเกีย่ วข้องกัน และเป็นไปได้วา่ ในอนาคต รัฐบาลมาเลเซียอาจเสนอชือ่ วายังของกลันตัน19 ซึง่ เป็นศิลปะ ทีก่ �ำ ลังตกอยูใ่ นอันตรายอย่างแท้จริง แต่ประเทศอินโดนีเซียก็ได้เสนอชือ่ วายัง ไปเรียบร้อยแล้ว ความเคลื่อนไหวของประเทศมาเลเซียในการอ้าง บาติก ว่าเป็นศิลปะประจำ�ชาติของตน ได้มีส่วนสร้างความขัดเคืองให้แก่ประเทศอินโดนีเซียทำ�ให้เรื่องนี้เป็นประเด็นขึ้น เดิมทีนั้นเมื่อ สิบกว่าปีก่อน ผ้าบาติกในร้านค้ามีอยู่อย่างจำ�กัดเนื่องการเข้ามาแทนที่โดยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แบบอิ ส ลามที่ ม าจากชวาตะวั น ตกที่ เ ป็ น พื้ น ที่ วิ จั ย ของผู้ เขี ย น ผู้ เขี ย นสงสั ย ว่ า จะเกิ ด อะไรขึ้ น ถ้ามาเลเซียต้องการจะเสนอ วายัง ในฐานะมรดกบ้าง บางทีอาจเป็นเรือ่ งดีส�ำ หรับ วายังของอินโดนีเซีย และส่งผลให้กลุ่มชาตินิยมว่าจ้างการแสดงนี้ให้มากขึ้นและช่วยสนับสนุน กลุ่มนักแสดง (sanggars) มากขึ้นด้วย แต่การขึ้นบัญชีมรดกวัฒนธรรมของประเทศใดประเทศหนึ่งส่งผลต่อความปรารถนา ที่จะประกาศในเรื่องเดียวกันหรือที่เกี่ยวข้องกันของตนเองบ้างหรือไม่ ผู้เขียนสงสัยว่า เมื่องานศิลปะเข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อในนามของประเทศใดประเทศหนึ่ง จะส่งผลต่อรัฐบาลอื่นที่จะเสนอสิ่งที่คล้ายกันด้วยหรือไม่ เนื่องจากเหตุผลทางชาตินิยม แน่นอนว่า ปั ญ หาอี ก อย่ า งหนึ่ ง ของอิ น โดนี เซี ย ก็ คื อ การส่ ง ผ่ า นทรั พ ยากรและการตั ด สิ น ใจด้ ว ยตนเอง จากส่วนกลางไปสูช่ มุ ชนท้องถิน่ และแม้วา่ ศิลปะจะได้รบั การขึน้ ทะเบียนแล้ว แต่การสนับสนุนก็ไม่ได้ เป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน ตัวอย่างเช่น วายัง พบได้ทั่วไปบนเกาะชวาและบาหลี แต่การสนับสนุน และช่วยเหลือซึ่งเป็นผลมาจากการเสนอชื่อให้เป็น “ผลงานชิ้นเอกฯ” ก็เห็นได้ชัดว่ามุ่งไปสู่กลุ่ม หลากหลายในเกาะชวา มิใช่สำ�หรับชนกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย เช่น ชาวบาหลีหรือชาวซุนดา จากจำ�นวน ที่ได้รับการเสนอชื่อจำ�นวนทั้งสิ้น 15 กลุ่มเท่านั้น ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเพื่อวางแผน ในการพิ ทั ก ษ์ รั ก ษา (ยู เ นสโกสนั บ สนุ น จำ � นวน 10 กลุ่ ม และอี ก 5 กลุ่ ม สนั บ สนุ น ทุ น โดย PEPADI - Indonesis Union of Dalang) จากการวิเคราะห์ขอ้ มูลของผูเ้ ขียน เฉพาะ วายัง จากภาคกลาง ของชวานัน้ ทีไ่ ด้ประโยชน์มากกว่าทีอ่ นื่ และในกลุม่ ทีอ่ ยูใ่ นสถานการณ์ยาํ่ แย่ (เบนจามาซิน กาลิมนั ตัน สหรัฐอาหรับอามิเรตส์ เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก ฝรั่งเศส เกาหลใต้ มองโกเลีย โมร็อกโก กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สเปน และ สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย ต่างสนับสนุนการเสนอชื่อวัฒนธรรมการเลี้ยงเหยี่ยวร่วมกัน เช่นเดียวกับการเสนอชื่อ นอร์รูซ (Nowruz) โดย อาเซอร์ไบจาน อินเดีย อิหร่าน คีรก์ ซี้ สถาน ปากีสถาน ตุรกี และอุซเบกิสถาน ต่างสนับสนุนการเสนอชือ่ ร่วมกัน 19 เรื่องนี้เป็นปัญหาอยู่เช่นกัน เป็นไปได้ว่าอาจมาจากกลุ่ม PAS ในกลันตัน ซึ่งเป็นกลุ่มอิสลามที่มีบทบาทนำ�ในคณะรัฐบาล และในสังคม 18

124

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ปาเล็มบัง และสุมาตรา) กลุ่มคนที่จะฝึกหัดให้เป็นคนเชิดตัวหนังนั้นถูกส่งไปที่ยอกยากาตาร์เพื่อการ ฝึกฝน (Gaura 2013) ในขณะเพื่อเป็นการพิทักษ์รักษา วายัง ในพื้นที่ดังกล่าว กลับเป็นไปได้มากว่า นักเรียนทีไ่ ด้รบั การฝึกฝนนัน้ จะรับเอารูปแบบของชวา มากกว่าการทีจ่ ะเผยแพร่รปู แบบศิลปะพืน้ ถิน่ ของตนที่ตั้งใจจะฟื้นฟู เช่นเดียวการเสนอชื่อ มะโย่ง ว่าเป็นศิลปะของมาเลเซียนั้นเป็นประเด็นในทางภูมิภาคอย่าง ชัดเจน แน่นอนว่าในกาลิมนั ตัน ศิลปะนีไ้ ด้รบั การสนับสนุนจากราชสำ�นักอย่างน้อยก็ในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 แต่กลุม่ นักแสดงก็ได้เคลือ่ นทีย่ า้ ยข้ามพรมแดนไปเมือ่ ไม่นานมานีแ้ ละกลายเป็น ส่วนหนี่งของศิลปะในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย (Ghulam 2011, Elezaa 2011, Zukifli 2011) และเช่นเดียวกัน ในเกาะเรียวของอินโดนีเซียก็ได้อ้างรูปแบบการแสดงที่ผิดแผกไปว่าเป็นของตนเอง ผู้เขียนเข้าใจว่าทำ�ไมจึงกลายมาเป็นหนึ่งในศิลปะของมาเลเซีย นักวิจัยที่มีชื่อเสียงสองคนคือ กลูลัม ซาวาร์ - ยู โซฟ (Ghulam Sawar-Yousof) เขี ย นวิ ท ยานิ พ นธ์ เ กี่ ย วกั บ รู ป แบบ เพื่ อ เสนอต่ อ มหาวิทยาลัยฮาวายอิ และ มูฮมั หมัด กูส นัสซารูดนิ (Ghouse Nassarudin) ทีท่ �ำ วิจยั เกีย่ วกับท่าทาง การเคลือ่ นไหวและดนตรี ช่วงทีส่ อนทีม่ หาวิทยาลัยเซน (Universitas Sains-มหาวิทยาลัยทางวิทยาศาสตร์) ในปีนงั ซึง่ เป็นไปได้วา่ เพราะผลงานดังกล่าวนีช้ ว่ ยทำ�ให้เอกสารทีย่ นื่ เพือ่ ขอขึน้ ทะเบียนจากกระทรวง วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวนั้นมีความสมบูรณ์ แต่การขึ้นทะเบียนศิลปะของมาเลเซียกลายเป็น ดาบสองคม ในการประชุม ASEAN-wide เกี่ยวกับ มะโย่งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 ดังที่ ซูกิฟลิ โมฮัมหมัด (Zukifli Mohammed) เขียนไว้ว่า ในการจั ด ประชุ ม นานาชาติ ที่ มี ผู้ แ ทนเข้ า ร่ ว มจากหลายประเทศ (ไทยและ อินโดนีเซีย) ต่างพบกันบนพื้นฐานที่ดูเหมือนจะเท่าเทียมกัน ในประเด็นเกี่ยวกับ มะโย่ง ในฐานะเป็นศิลปะมาเลย์ โดยถือเป็นสินทรัพย์และมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็น กายภาพอันโดดเด่นของมาเลเซีย ทำ�ให้ผู้อภิปรายจากมาเลเซียต้องวางขอบเขตใน การสนทนาอย่างระแวดระวังทัง้ ในทางการเมืองและความคิดมากกว่าคูส่ นทนาจาก อินโดนีเซียและประเทศไทย อย่างไรก็ตามในบริบทของการประชุมเช่นนี้ ผูร้ ว่ มประชุม ต่างได้รบั การสนับสนุนจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ซึง่ นับเป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะให้ ผู้แทนของแต่ละประเทศหลีกพ้นไปจากมุมมองอันจำ�กัดภายใต้เขตแดนแห่งรัฐชาติ ปัจจุบัน (Zukifli 2012 : 450) ซูกฟิ ลิชใี้ ห้เห็นว่า ผูแ้ ทนส่วนน้อยเป็นกลุม่ ทีใ่ ช้ภาษาพูดกลันตัน-ปัตตานี และตัวแทนจากมาเลเซีย เห็นว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงมะโย่ง ซึ่ง คัดดิจาห์ อาวัง (Khadijah Awang 1941-2000) ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ (Seniman Negara) ใน ค.ศ. 1999 และได้สอนที่สถาบัน ศิลปะวัฒนธรรมและมรดกแห่งชาติ (National Art, Culture And Heritage Academy- ASWARA Akademi seni, Budaya, dan Warisan Kebangsaan) ซึ่งต่อมาภายหลัง ศิลปะนี้ถูกห้ามมิให้แสดง ในกลันตันโดย PAS ใน ค.ศ. 1991 ด้วยข้อหาว่า “ไม่เป็นอิสลาม” ในการแสดง ค.ศ. 2011 ทีจ่ ดั ขึน้ ณ โรงละครแห่งชาติ (Istana Budaya) โดย ฟาติมา อับดุลลาห์ (Fatimah Abdullah) ลูกสะใภ้ของคัดดิจาห์ ซึ่งปัจจุบันสอนอยู่ที่ ASWARA โดยการสนับสนุนจาก รัฐบาลซึ่งมี โรสแนน ราห์มัน (Rosnan Rahman) เป็นผู้ช่วยผู้กำ�กับและเป็นตัวแสดงเอกในเรื่อง Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 125


คือ เดวา อินเดรา (Dewa Indera) ผู้ที่สืบเชื้อสายเก่าแก่ ในเรื่องเดวา อินดรา, อินดรา เดวา (Dewa Indra, Indra Dewa) ในฐานะที่เคยอ่านเกี่ยวกับ มะโย่ง ซึ่งเป็นการแสดงโดยสตรี ย่อมทำ�ให้ ผู้ เขี ย นรู้ สึ กประหลาดใจและนับ เป็นครั้ง แรกที่ได้เห็นผู้ชาย (gender-straight production) แสดงเป็นตัวเอก เอเลซซ่า ซานุดดิน (Elezaa Zainnuddin) เขียนไว้ว่า คำ � ถามก็ คื อ เราจะยิ น ยอมให้ ใ ครก็ ต ามที่ มิ ใช่ ผู้ ห ญิ ง รั บ บทบาท Pak Yong และถ้าเป็นเช่นนัน้ เราจะยังคงรักษาความพิเศษของการแสดง มะโย่ง ไว้ได้หรือไม่ ? เราจะสนับสนุนให้ใครก็ได้ให้มารับบทบาทนี้ แม้ว่ามันจะเป็นการทำ�ลายความงาม อันมีลักษณะเฉพาะและลักษณะดั้งเดิมของรูปแบบการแสดงนี้ก็ตาม? นี่เป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ของความทันสมัย หรือไม่ก็เป็นเพียงใครบางคนที่รู้สึกไม่สบายใจ กับรูปแบบของการแสดงข้ามเพศ ? [....] และยิ่งยูเนสโกให้การยอมรับว่า มะโย่ง เป็นหนึ่งของรูปแบบมรดกทางวัฒนธรรมที่มิใช่กายภาพ คำ�ถามที่ตามมาก็คือ ในการแสดงรูปแบบใดที่ยูเนสโกจะใช้เป็นตัวอ้างอิง ? ด้วยรูปแบบใดของ มะโย่ง ที่ ป ระชาชนจะนำ � ออกแสดง ? นี่ คื อ ความทั น สมั ย หรื อ จะเป็ น การประดิ ษ ฐ์ ทางวัฒนธรรม หรือจะเป็นการจำ�ลองประเพณีของราชสำ�นักอันเคร่งครัดดังเช่น ในอดีต ? (Elezaa 2012 :442) อันที่จริงประเด็นสำ�คัญอาจไม่ใช่เรื่องของเพศสภาพ แต่เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ศิลปะของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำ�นวนมากมีความใกล้ชิดผูกพันกับระบบความเชื่อท้องถิ่น และระบบเหล่านี้ ซึ่งได้ช่วยธำ�รงศิลปะได้ปรับเปลี่ยนไป รัมลี อิบราฮีม (Ramli Ibrahim) ตั้งข้อสังเกตว่า สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ใน...อิสตานา บูดายา (โรงละครแห่งชาติ) ก็คอื ความบันเทิง เป็นการเรียนรู้ ตามตำ�รา แต่ไร้จิตวิญญาณ มันคือภาพของทาการาสุกะที่เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ (Takarazuka-กลุ่มละครหญิงล้วนญี่ปุ่น) เธออาจจะมีเครื่องแต่งกายก็จริงอยู่ แต่ไม่มี “angin” (“ลม” อันหมายถึงจิตวิญญาณ) เมือ่ “จิตวิญญาณ” เข้ามา นัน่ จะก้าวพ้น จากความบันเทิง แต่พวกเธอสูญเสียมันไปบนเวที (ที่ใหญ่และเปี่ยมเทคโนโลยี) การส่งต่อเป็นเรื่องยุ่งยาก Angin นั้นเป็นเรื่องของอารมณ์ คุณจะต้องปล่อยให้ ผ่านเข้ามาในตัวคุณด้วยการเปิดกว้างตัวตนที่แท้จริงของคุณ ถ้าคุณไม่รู้ว่า angin ของคุณคือสิง่ ใด คุณก็ไม่อาจรูจ้ กั ตัวคุณเอง มันเป็นการปลดปล่อยอารมณ์จากภายใน ซึ่งกำ�หนดไว้ด้วยความลึกลับ-Dewa Muda, Dewa Pechil20 (อ้างใน Foley and Sabsali 2012) แน่นอนว่ามันเป็นเรือ่ งของ อารมณ์ความรูส้ กึ (angin) ลม เกีย่ วข้องกับจิตวิญญาณในการแสดงของ คนพืน้ เมือง และนีค่ อื ปัญหาทีเ่ ป็นสาเหตุของแนวคิดอิสลามใหม่และอิสลามสากลทีจ่ ะปฏิเสธและขับไส ศิลปะที่คงอยู่ในท้องถิ่นรวมถึงการรักษาโรคแบบพื้นเมือง (shamanistic) และศาสนาเมื่อมีการจัด แสดงขึ้นในหมู่บ้าน 20

Dewa Muda และ Dewa Pechil เป็นพระเอก/ตัวเอก ผู้เล่าเรื่องหลักของมะโย่ง

126

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ผลประโยชน์หลักของอนุสัญญา ค.ศ. 2006 ก็คือการนำ�พาไปสู่ความสนใจในประเด็น ของศิลปะการแสดงที่เป็นมรดกวัฒนธรรม ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถโต้แย้งอย่างเผ็ดร้อนเกี่ยวกับ งานศิลปะการแสดง เช่น วายังและมะโย่ง ซึ่งก็อาจจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่อนุสัญญาฯ ก็ควบรวมไว้ ด้วยประเด็นที่หลากหลาย โลกาภิวัตน์แบบตะวันตกโจมตีอนุสัญญาโดยตรง แต่มีการพูดถึงกันน้อย กับความตึงเครียดของกลุ่มเคร่งศาสนาดั้งเดิมที่ไม่เข้าใจและสั่งห้ามศิลปะ การต้องปกคลุมร่างกาย อาจเรียกร้องให้นักแสดงที่มีเพศสภาวะชัดเจนเข้ามาแทนที่นักแสดงข้ามเพศ หรือจำ�กัดกรอบ ของความคิด แม้ว่าข้อห้ามเหล่านี้จะพบได้ทั่วไปในทุกศาสนา แต่กลุ่มอิสลามเคร่งศาสนาดั้งเดิมนั้น เติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ซึ่งก็แพร่ไปในลักษณะเดียวกันกับการต่อต้านการแสดง ในกรณีของนิวอิงแลนด์จากชาวคริสต์ที่ก้าวเข้าไปในแปซิฟิก พร้อมกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน ที่ปรับปรุงระบำ�ฮูลาแบบฮาวายอิ และการขุดรากถอนโคนหมอผีคนทรงในเกาหลีช่วงปลายศตวรรษ ที่ 19 ในขณะที่โลกาภิวัตน์ของชาติตะวันตกสามารถเปิดรับต่อการวิพากษ์โจมตี แต่ก็มักจะรู้สึก ไม่สะดวกใจหากจะมีการสนทนาที่เกี่ยวกับเรื่องอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน หากไม่ได้ อยู่ในที่ส่วนตัวในบ้านและแม้จะเป็นในบ้านก็ตามที และนี่คือปัญหาของศิลปะการแสดงที่สร้างสรรค์ ขึ้นโดยศิลปินชาวมุสลิมที่ต้องเผชิญอยู่ในชวา กลันตัน และภาคใต้ของไทย ซึ่งได้รับเอาการตีความ ของอิสลามเกี่ยวกับประเด็นปัญหามรดกของ วาลิ (wali-เทพอิสลามของชวา) และกลุ่มคนพื้นเมือง ซึ่งหันมารับศาสนาในเขตพื้นที่อิสลามและบางครั้งโดยผ่านงานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ได้รับการเสนอให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่นี่ก็อาจเป็นรูปแบบโดยทั่วไปของ ตะวันตก และเมืองอืน่ ๆ อีกเล็กน้อย พิพธิ ภัณฑ์ไม่ได้มบี ทบาทมากนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การละคร การเต้นรำ�และการฝึกหัดดนตรีเริม่ ต้นในชัน้ ประถมและผนวกรวมอยูใ่ นชัน้ มัธยมซึง่ อาจเป็นการบอกกับ ประชาชนว่ารัฐได้สนับสนุนการฝึกฝนในศิลปะซึ่งสามารถทำ�ได้ (ดู Yampolsky 2001) แท้จริงแล้วนี้ เป็นทิศทางทีย่ เู นสโกพยายามทีจ่ ะช่วยสนับสนุน21 ซึง่ การฝึกฝนนีช้ ว่ ยสร้างทัง้ ผูช้ มคุณภาพและศิลปิน ทีพ่ ร้อมกับการสร้างสรรค์จากภายในและขยายไปสูป่ ระเพณี แต่ทว่าชุมชนอ้าแขนรับเอารูปแบบเช่นนี้ หรือ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่ศาสนาแบบอนุรักษ์นิยมเติบโต บทความนีย้ ตุ ลิ งตรงกลางทาง โครงการมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพนัน้ ยังอยูใ่ นช่วงเริ่มต้น ยังต้องอาศัยเวลาที่จะมองเห็นว่า ความพยายามนี้จะประสบผลสำ�เร็จอย่างไร ในความพยายามที่จะ ต่อสู้เพื่อธำ�รงและก่อร่างมรดกวัฒนธรรมโดยมีอนุสัญญา เป็นเครื่องมือ ถ้าใช้อย่างฉลาดและดีพอ ก็อาจจะนำ�ไปสูก่ ารแลกเปลีย่ นทีแ่ ท้จริง ผูส้ ร้างเค้าโครงฝันถึงชุมชนทีจ่ ะสามารถตัดสินใจด้วยตนเองและ การเสริมพลังก็ช่วยให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้น ผู้เขียนหวังว่าแต่ละรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือ ระหว่างพืน้ ทีแ่ ละเน้นไปทีม่ รดกทีม่ รี ว่ มกัน หากเป็นเช่นนัน้ การร่วมมือกันเพือ่ สร้างศิลปะของภูมภิ าค ก็จะเป็นทางออก แต่เพียงขัน้ ตอนแรกก็อาจจะสัน่ คลอนอยูบ่ า้ ง ตัวอย่างเช่นเมือ่ ค.ศ. 2013 ผูเ้ ขียนสอบถาม สุรพล วิรฬุ รักษ์ ผูเ้ ชีย่ วชาญศิลปะการแสดงของไทย เกีย่ วกับกระบวนการทีจ่ ะเสนอชือ่ และถามว่าทำ�ไม 21

ในการติดต่อทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2012 แฟรงค์ โพรแชน (Frank Proschan) หัวหน้าโครงการและหน่วยประเมินมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของยูเนสโก ชี้แจงชัดเจนว่า แม้จะมีผู้แทนเข้ามา เกี่ยวข้องเป็นส่วนมากในนโยบายและเรื่องอื่น ๆ ก็ตาม ก็มักมีความสนใจในการหาผู้บริจาคผู้ซึ่งสามารถสนับสนุนการรวม มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพให้เข้ากับบริบททางการศึกษาและการฝึกปฏิบัติ Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 127


ประเทศไทยจึงยังไม่เข้าร่วม เขาชักสีหน้าพร้อมกับจีบนิว้ -ซึง่ เป็นท่วงท่ารำ�ทีม่ รี ว่ มกันของไทย กัมพูชา รวมถึงการรำ�ของอินเดียแล้วกล่าวว่า “คุณจะถือลิขสิทธิ์ของสิ่งนี้ได้อย่างไร ? (Virulrak 2013)22 รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรมของสองประเทศได้มโี อกาสประชุมหารือถึงประเด็นทีป่ ระเทศไทย ไม่พอใจที่ประเทศกัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนหนังใหญ่และนาฏศิลป์แบบประเพณีซึ่งในอดีตนั้นมีความ เกี่ยวข้องกับราชสำ�นักไทย บทความนี้แตะเพียงบางประเด็นที่ศิลปะได้เผชิญหน้ากับโลกที่มีพรมแดนที่ซึ่งอุดมการณ์ ชาตินิยมกระตุ้นการแบ่งแยกโดยไม่ใส่ใจประวัติศาสตร์หรือการรับรู้ทางศิลปะ ในขณะเดียวกันผู้คน ก็ต่างชื่นชมแนวคิดที่อนุสัญญา ได้ส่งเสริมชีวิตที่ดำ�เนินต่อไปและความมีชีวิตชีวาของศิลปะชุมชน รวมถึงข้อปฏิบัติทางวัฒนธรรม หมายเหตุ ขอขอบคุณ แมททิว โคเฮน (Matthew Cohen) สำ�หรับการบรรณาธิกรณ์ รวมถึงผูท้ รงคุณวุฒิ สำ�หรับความเห็น และคาเรน สมิท (Karen Smith) รวมถึงซุปปยา บรูนัท (Suppya Bru-Nut) ที่ช่วยเหลือเรื่องภาพถ่าย

22

“จีบ” (jeeb/jeep) ได้ถูกยกระดับขึ้นไปถึงการเจรจาทางการทูต เมื่อ ค.ศ. 2011 หนังสือพิมพ์ Phuket News พาดหัว ข่าวว่า “Thai Ask: Who Owns the Jeep?” ในบทความนั้นอภิปรายเกี่ยวกับความเห็นขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ในการอ้างความเป็นเจ้าของหนังใหญ่และนาฏศิลป์ ซึ่งในทางประวัติศาสตร์แล้วรูปแบบอาจจะพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในกัมพูชา แต่ภายหลังที่นครวัดพ่ายแพ้แก่ไทย ศิลปะนั้นได้รับการสืบต่อมายังราชสำ�นักไทยในศตวรรษที่ 15 ในปัจจุบัน นาฏศิลป์และการฝึกเชิดตัวหนังในเขมร นั้นอาจเป็นผลมาจากนำ�กลับไปใหม่จากราชสำ�นักไทยในศตวรรษที่ 19 ดังที่ บทความนั้นได้อ้างว่า ยูเนสโกได้พิจารณาเกี่ยวกับต้นกำ�เนิดของ “จีบ” รูปลักษณะของมือที่นิ้วหัวแม่มือจรดกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วที่เหลือนั้นกางออก...สุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในขณะนั้น ได้อ้างความเป็นเจ้าของ “จีบ” เมื่อ ค.ศ. 2008 กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนหนังใหญ่เขมร (Khmer shadow theatre) ในบัญชีรายชื่อตัวแทนมรดกของ วัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ (UNESCO’s Representative List of Intangible Cultural Heritage of Humanity) รวมถึงนาฏศิลป์ในราชสำ�นักกัมพูชา ที่รู้จักกันในนาม “Royal Ballet of Cambodia” หรือที่รู้จักกันว่า “Khmer Classical dance” โดยในรายการนัน้ ได้รวมถึงท่วงท่าของมือและการ “จีบ” สุกมุ ลได้รบั คำ�แนะนำ�ว่าประเทศไทย สามารถจดทะเบียนจีบและหนังใหญ่กบั ยูเนสโกได้ดว้ ยเช่นกัน รัฐมนตรีไทยได้กล่าวว่า “นีค่ อื ภารกิจแรกและเราจะดำ�เนินการ อย่างเร่งด่วนเพราะอยู่ในความสนใจของประชาชน”และกล่าวเสริมอีกว่า “มันเป็นส่วนหนึ่งของมรดกวัฒนธรรมไทย ดังนัน้ ถ้าประเทศอืน่ ได้ลงทะเบียนไปแล้ว เราก็จ�ำ เป็นต้องหาทางแก้ไข” (“Thai Ask : Who Owns the Jeep ?” 2011)

128

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


อ้างอิง Alivizatou, Marilena. 2007. “Contextualising Intangible Cultural Heritage in Heritage Studies and Museology.” Journal of Intangible Cultural Heritage 3, no. 3: p. 44–56. http://www.ijih.org/fileDown.down?filePath=3/dtl/4b00f5bf-edd 3-4142-92e2-51b1b3894329&fileName=3-3.pdf, accessed 9 July 2013. ———. 2012. Intangible Heritage and the Museum: New Perspectives on Cultural Preservation. Walnut Creek, CA: Left Coast Press. Allen, Horace. 1908. Things Korean: A Collection of Sketches and Anecdotes, Missionary and Diplomatic. New York: F. H. Revell. Asep Sunadar Sunarya. 2012. Personal interview, Bandung, 20 December. Bauman, Richard, and Patricia Sawin. 1991. “The Politics of Participation in Folklife Festivals.” In Exhibiting Cultures: The Poetics of Museum Display, ed. Ivan Karp and Steven D. Lavine, p. 288–314. Washington, DC: Smithsonian Institution Press. Beasley, W. G. 1995. Japan Encounters the Barbarian: Japanese Travelers in America and Europe. New Haven, CT: Yale University Press. Bishop, I sabella Bird. 1970 [1898]. Korea and Her Neighbors. Seoul: Yonsei University Press. “Black Ships.” n.d. Wikipedia. http://en.wikipedia.org/wiki/Black_Ships, accessed 20 January 2013. Bortolotti, Chiara. 2007. “From Object to Processes: UNESCO’S ‘Intangible Cultural Heritage.’” Journal of Museum Ethnographers 19 (March): p. 21–33. Cang, Voltaire Garces. 2007. “Defining Intangible Cultural Heritage and Its Stakeholders: The Case of Japan” Journal of Intangible Cultural Heritage 2, no. 4: p. 48–55. http://www.ijih.org/volumeMgr.ijih?cmd=volumeView&volNo=2&manuType=02, accessed 20 January 2013. Carter, Dimitri. 2012. Personal conversation, Chengdu, China, 2 June. Chandra, Vipan. 1988–1989.“The Last Phase of the East Asian World Order: Korea, Japan and the Chinese Empire, 1860–1882, and: Confucian Gentlemen and Barbaria Envoys: The Opening of Korea, 1875–1885” [review]. Journal of Korean Studies 6: p. 234–244. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 129


“China’s Intangible Cultural Heritage.” 2006. China Heritage Quarterly. http://www. chinaheritagequarterly.org/editorial.php?issue=007, accessed 1 May 2013. Deacon, Harriet, et al. 2004. “The Subtle Power of Intangible Heritage: Social Cohesion and Inte- gration Research Programme.” Cape Town: Human Sciences Research Council Publishers. http://www.wipo.int/export/sites/www/tk/en/ folklore/ creative_heritage/docs/subtle_power.pdf, accessed 10 January 2013. De Jong, Ferdinand, and Michael Rowlands, eds. 2007. Reclaiming Heritage. Walnut Creek, CA: Left Coast Press. Deuchler, Martina. 1977. Gentlemen and Barbarian Envoys: The Opening of Korea, 1875–1885. Seat- tle: University of Washington Press. Deutsch, James. 2010. “Smithsonian Folklife Festival” [lecture to University of California, Washington Center students]. January. Dower, John. n.d. “Black Ships and Samurai: Commodore Perry and the Opening of Japan” [with curriculum by Lynn Parisi]. MIT Visualizing Cultures. http://ocw.mit. edu/ans7870/21f/21f.027/black_ships_and_samurai _02/index.html, accessed 10 July 2013. Early, James, and Peter Seitel. 2002. “UNESCO Draft Convention for Safeguarding Intangible Cultural Heritage: No Folklore without the Folk.” Talk Story, no. 22: 19. http:// www.folklife.si.edu/resources/center/cultural_policy/pdf/TSFal 12002EarlySeitel.pdf, accessed 21 January 2012. Elezaa Zainuddin. 2011. Personal interview, June. ———. 2012. “Reviewing Makyung Dewa Indera, Indera Dewa.” Asian Theatre Journal 29, no. 2: p. 437–444. Farrar, Peter N. 1984. “Min Yong-ik’s Visit to London in 1884.” Korea Journal 24, no. 4: p. 50–54. Fay, Peter Ward. 1998 [1975]. The Opium War, 1840–1842: Barbarians in the Celestial Empire in the Early Part of the Nineteenth Century and the Way by Which They Forced Her Gates Ajar. Chapel Hill: University of North Carolina Press. Foley, Kathy, and Sabzali Musa Kahn. 2012. “Staging Raja Tangkai Hati at Istana Budaya: Modernizing Malaysian Mak Yong.” Asian Theatre Journal 29, no. 1: p. 419–436. Foulk, George Clayton. 2008. Inside the Hermit Kingdom: The 1884 Korea Travel Diary of George Clayton Foulk, ed. Samuel Hawley. Lanham, MD: Rowman and Littlfield, Lex-ington Books. 130

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Gaura Mancacaritadipura. 2013. Email communications, 22, 23, and 24 March. Ghulam Sawar-Yousof. 2011. Personal interview, Kuala Lumpur, June. Goytisolo, Juan. 2001. “Defending Threatened Cultures” [speech]. 15 May. http://www. unesco.org/bpi/intangible_heritage/goytisoloe.htm, accessed 20 January 2013. Kim, Key-Hiuk. 1980. The Last Phase of the East Asian World Order: Korea, Japan and the ChineseEmpire, 1860–1882. Berkeley: University of California Press. Kirshenblatt-Gimblett, Barbara. 2006. “World Heritage and Cultural Economics.” http:// www.nyu.edu/classes/bkg/web/heritage.pdf, accessed 10 July 2013. Kunitake, Kume. 2009. Japan Rising: The Iwakura Embassy to the USA and Europe, ed. ChushichiTsuzuki and R. Jules Young. Cambridge: Cambridge University Press. Kurin, Richard. 1997. Reflections of a Cultural Broker: A View from the Smithsonian. Washington, DC: Smithsonian Institution Press. ———. 1998. Smithsonian Folklife Festival: Culture of, by, and for the People. Washington, DC: Smithsonian Institution Press. ———. 2007. “Safeguarding Intangible Cultural Heritage: Key Factors in Implementing the 2003 Convention.” Journal of Intangible Cultural Heritage 2, no. 1. http://www. ijih.org/volumeMgr.ijih?cmd=volumeView&volNo= 2&manuType=02, accessed 15 January 2013. “Lao People’s Democratic Republic Intangible Cultural Heritage.” n.d. http://www. unesco.org/culture/ich/index.php?lg=en&pg=00311 &cp=LA, accessed 1 May 2013. Lovell, Julia. 2011. The Opium War: Drug, Dreams and the Making of China. London: Picador. Lui, Siyuan. 2009. “Paris and the Quest for a National Stage in Meiji Japan and Late-Qing China.” Asian Theatre Journal 26, no. 1: p. 54–77. ———. 2013. Performing Hybridity in Colonial–Modern China. New York: Palgrave Macmillan. Matsuura Kõichirõ. 2004. “Globalisation, Intangible Cultural Heritage and the Role of UNESCO,” p. 16-22. http://archive.unu.edu/hq/library/Collection/ PDF_files/ UNESCO/UNU-UNESCO_2004.pdf, accessed 1 May 2013.

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 131


McCann, Anthony, et al. 2001. “The 1989 Recommendation: Ten Years On: A Critical Analysis.” http: //www.folklife.si.edu/resources/UNESCO/McCann, accessed 18 January 2012. Nas, Peter. 2002.“Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage.” Current Anthropology 43, no. 1: p. 139–148. Nish, Ian, ed. 1998. The Iwakura Mission in America and Europe; A New Assessment. Meiji Japan Series 6. Richmond, Surrey: Curzon Japan Library. Perry, Matthew C. 1968.The Japan Expedition 1852–58: The Personal Journal of Commodore Matthew C. Perry, ed. Roger Pineau. Washington, DC: Smithsonian Institution Press. Rath, Eric. 2004. The Ethos of Noh: Actors and Their Art. Cambridge, MA: Harvard Univer-sity Asia Center. Saeji, CedarBough. 2012. Email communication, January. Salz, Jonah. 2013. Email communication, 2 March. Schoenbauer, Susan Thurin. 1999. Victorian Travelers and the Opening of China, 1842–1907. Athens: Ohio University Press. Sedana, I Nyoman. 2012. Personal communication, Bali, 15 December. Smiers, Joost. 2003. Arts under Pressure: Promoting Cultural Diversity in the Age of Globalisation. London: Zed Books. Smith, Karen. 2013. Email communication, 26–29 January and 13 March. Smithsonian Center for Folklife and Cultural Heritage. n.d.“Cultural Policy.” http:// www.folklife.si.edu/cultural_heritage/policy.aspx, accessed 24 January 2013. Taylor, Diana. 2008. “Performance and Intangible Cultural Heritage.” In Cambridge Companion to Performance Studies, ed. Tracy C. Davis, p. 91–106. Cambridge: Cambridge University Press. “Thais Ask: Who Owns the Jeep?” 2011. Phuket News. 20 August. http:// www.thephuketnews.com/thais-ask -who-owns-the-jeep-26465.php, accessed 2 May 2013. Thornbury, Barbara. 1994. “The Cultural Properties Protection Law and Japan’s Folk Performing Arts.” Asian Folklore Studies 53: p. 211–225.

132

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Toby, Ronald P. 1984. State and Diplomacy in Early Modern Japan: Asia in the Development of the Tokugawa Bakufu. Princeton, NJ: Princeton University Press. Trimillos, Ricardo, and Heather Diamond. 2008.“Introduction: Interdisciplinary Perspectives on the Smithsonian Folk- life Festival.” Journal of American Folklore 121, no. 479: p. 3–9. UNESCO. 1989. “Recommendations on Safeguarding of Traditional Culture and Folk- lore.” http://portal.unesco.org/en/ev.php-URL_ID=13141&URL _DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html, accessed 1 May 2013. ———. 2001. “Proclamation of the Oral and Intangible Heritage of Humanity 2001.” http://www.unesco.org/bpi/intangible_heritage, accessed 30 April 2013. ———. 2003. “Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heri- tage.” Paris,17 October. http://portal.unesco.org/en/ev.php-URL _ID=17716&URL_ DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html, accessed 20 January 2013. “Unesco Names Papua’s ‘Noken’ to Cultural Heritage List.” 2012. Jakarta Globe. 5 December. http://www.thejakartaglobe.com/home/ unesco-names-papuas noken-to-cultural-heritage-list/560039, accessed 20 January 2013. Virulrak, Surapone. 2013. Personal communication, 5 February. Walter, Gary D. 1969. “The Korean Special Mission to the United States of American in 1883.” Journal of Korean Studies 1, no. 1: p. 89–142. Yampolsky, Philip. 2001. “Can the Traditional Arts Survive, and Should They?” Indonesia 71: p. 175–185. Zulkifli Mohamad. 2011. Personal interview, Kuala Lumpur, July. ———. 2012. “Report: The Mak Yong Spiritual Dance Heritage Conference, Performances and Workshops.” Asian Theatre Journal 29, no. 2: p. 444–460.Toby, Ronald P. 1984. State and Diplomacy in Early Modern Japan: Asia in the Development of the Tokugawa Bakufu. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 133





จากรูปแบบของพิธกี รรมสูจ่ ดุ ดึงดูดนักท่องเทีย่ ว : การต่อรอง การแปลงรูปแบบนาฏศิลป์ดง้ั เดิมของกัมพูชาในโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลง โดย เซเลีย ทุชแมน-รอสตา (Celia Tuchman-Rosta) แปลโดย อิสระ ชูศรี

(Celia Tuchman-Rosta, “From Ritual Form to Tourist Attraction: Negotiating the Transformation of Classical Cambodian Dance in a Changing World,” Asian Theatre Journal, Vol. 31, No. 2, p. 524-544, 2014 ©The University of Hawaii Press, granted for reproduction with permission.)


“ เมื่อรานีแต่งกายในชุดรำ�พื้นบ้านจะมีนักท่องเที่ยวไม่ก่ีคนที่จำ�ได้ว่า

เธอคือ หญิงสาวที่สวมบทบาทนางอัปสรเมรา (Apsara Mera) ซึ่งเป็น เทพีนางรำ�ทีเ่ ป็นมารดาของชนชาติเขมร นักท่องเทีย่ วชอบทีจ่ ะถ่ายภาพ กับนางรำ�ที่สวมชุดปักดิ้นแวววาวสำ�หรับการแสดงนาฏศิลป์ด้งั เดิม มากกว่า และรานีมักจะถูกกลืนหายอยู่หลังเวที เธอไม่ได้รังเกียจ การถ่ายภาพกับนักท่องเที่ยว แต่รู้สึกอึดอัดเวลานักท่องเที่ยวผู้ชาย แตะเนื้อต้องตัวเธอ


บทคัดย่อ จากคำ�อธิบายในเว็บไซต์เรือ่ งมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) ของยูเนสโก ระบำ�โบราณของกัมพูชาเป็น "นาฏศิลป์" ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแฝงไว้ด้วยสาระ ทางจิตวิญญาณของคุณค่าและประเพณีของประเทศ บทความนีต้ ง้ั คำ�ถามว่า เกิดอะไรขึน้ เมือ่ ความศักดิส์ ทิ ธิ์ เสือ่ มคลายกลายไปเป็นความสามัญธรรมดาในชีวติ ประจำ�วัน? บทความนีส้ �ำ รวจรูปแบบของนาฏศิลป์ อันศักดิ์สิทธิ์นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นนาฏศิลป์เพื่อความบันเทิง ผู้เขียนให้ความสนใจ ปรากฏการณ์การแสดงนาฏศิลป์เพือ่ ผูช้ มในระหว่างการรับประทานอาหารเย็น โดยมุง่ ศึกษาการต่อรองกัน ระหว่างการสงวนรักษาและการพัฒนาทางศิลปะในเสียมเรียบ หลังจากทีป่ ระชากรศิลปินของกัมพูชา ถูกสังหารในสงครามกลางเมืองในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การแสดงสำ�หรับนักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่ ให้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่นักแสดง หากยังมีส่วนทำ�ให้ความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงนาฏศิลป์ นี้จางคลายลงไปอีกด้วย บทความนี้สร้างความเข้าใจเชิงลึกถึงวิธีการที่ศิลปะการแสดงที่มีรูปแบบ เป็นพิธกี รรมได้ปรับตัวให้เข้ากันกับสภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป โดยยังคงความสำ�คัญไว้ได้ในสังคม เซเลีย ทุชแมน-รอสตา เป็นนักศึกษาปริญญาเอกทีอ่ ยูร่ ะหว่างการทำ�วิทยานิพนธ์ จากภาควิชา มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ หัวข้อวิทยานิพนธ์ของเธอเกี่ยวข้องกับผลกระทบ ของการท่องเทีย่ วและโลกาภิวตั น์ ทีม่ ตี อ่ ประสบการณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจของศิลปินในพนมเปญ และเสียมเรียบ งานวิจัยของเธอได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เขมรศึกษา มูลนิธิฟูลไบรท์ ทุนการศึกษา แชนเซลเลอร์ และทุนอุดหนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 139


อุก รานี หน้าแดงจากการออกแรงปีนบันไดทีส่ งู และแคบ ขึน้ ไปบนเวทีการแสดงในภัตตาคาร อุก รานี1 หันมองไปรอบ ๆ ด้วยท่าทีตน่ื ตระหนก (Ouk 2012) เธอหันมาเห็นฉัน และทำ�มือบุย้ ใบ้สง่ สัญญาณ จากนัน้ ก็รบี ตรงมาหาฉันทีก่ �ำ ลังยืนอยูก่ ลางภัตตาคาร และอ้าปากส่งเสียงแหบพร่า หลายสัปดาห์มาแล้ว ทีร่ านี2 และฉันพยายามจะนัดหมายกันเพือ่ การสัมภาษณ์ และในทีส่ ดุ เธอก็หาวันว่างได้จากตารางงานที่ แน่นเอียด แต่แล้วเธอก็มีอาการกล่องเสียงอักเสบก่อนวันนัดหมายของเราเพียงวันเดียว ฉันเสนอว่า ให้เราเลื่อนการสัมภาษณ์ออกไป แต่เธอยืนยันที่จะให้สัมภาษณ์ เราขึ้นบันไดคอนกรีตอีกบันไดหนึ่ง เพือ่ จะขึน้ ไปบนดาดฟ้า เรานัง่ ลงเคียงกัน รานีคว้าสมุดบันทึกของฉันไปแล้วเขียนลงไปว่า "ฉันจะบอกว่า ฉันเขียนตอบในสิ่งที่คุณอยากถามได้" เธอมีท่าทีกังวลที่ฉันอ่านภาษาเขมรได้ช้า เธอก็เลยขอให้เพื่อน นางรำ�คนหนึง่ มานัง่ ข้าง ๆ เรา เพือ่ คอยอ่านคำ�ตอบภาษาเขมรให้ฉนั ฟังขณะทีเ่ ราคุยกัน รานีเล่าให้ฟงั ว่า เธอมาเรียนรำ�เขมรได้อย่างไร รวมทั้งเล่าประสบการณ์การเป็นนางรำ�ที่แสดงนาฏศิลป์ท่ีเป็นพิธีการ ในสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วแบบนี้ เธอกระตือรือร้นทีจ่ ะเล่าประสบการณ์วงในและความรูเ้ กีย่ วกับระบำ�โบราณ (robam boran) [ออกเสียง รอบำ� ในภาษาเขมร – ผู้แปล] และความสำ�คัญในการสงวนรักษา มรดกทางวัฒนธรรมของกัมพูชา นี่เป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้รู้และอยากจะให้ผู้อ่านได้รับรู้ด้วย ระบำ�โบราณ เป็นนาฏศิลป์แบบพิธีการและมีคุณค่าทางจิตวิญญาณ (Cravath 2007)3 แต่หลายสิบปีของสงครามกลางเมืองและความไม่มเี สถียรภาพ ตามด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่รวดเร็วแต่ขาดสมดุล ทำ�ให้นางรำ�ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์และคนชั้นสูงที่มีฐานะ ต้องแสวงหารายได้ทางอื่น (Frumberg 2010; Heywood 2008)4 นางรำ�ที่อาศัยอยู่ในเขตเสียมเรียบ ได้เลือกเข้ามาสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาแหล่งรายได้ที่มั่นคงขึ้น ทุกวันนี้บริเวณเสียมเรียบ กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและชาวกัมพูชาจำ�นวนมากในฐานะศูนย์กลางของวัฒนธรรมเขมร เนือ่ งจากพืน้ ทีน่ เ้ี ป็นสถานทีต่ ง้ั ของกลุม่ ปราสาทของอาณาจักรพระนครทีอ่ ยูช่ านเมืองเสียมเรียบปัจจุบนั และเป็นที่ที่สามารถหาชมการแสดงทางวัฒนธรรมได้โดยง่าย ในอดีต รัฐบาลเคยชี้ให้เห็นอันตรายของการใช้นาฏศิลป์ดั้งเดิม (classical dance) มาดึงดูด นักท่องเที่ยว เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการไม่เคารพต่อความสูงส่งทางจิตวิญญาณของ การแสดงนี้ (Ministry of Culture and Fine Arts 2009) อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลเองก็เน้นถึง คุณค่าของการแสดงทางวัฒนธรรมต่อเศรษฐกิจและการสร้างอัตลักษณ์ไปพร้อมกัน ท่าทีที่กำ�กวม จนน่ า อึ ด อั ด นี้ ทำ � ให้ น างรำ � เพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วแห่ ง เสี ย มเรี ย บกลายเป็ น ทั้ ง ภาพสั ญ ลั ก ษณ์ ข อง มรดกทางวัฒนธรรม แต่โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ท่าทีนี้เหมือนเป็นการใส่ร้ายป้ายสีบทบาทของนักแสดง ตามข้อกำ�หนดของจริยธรรมการทำ�วิจัยในมนุษย์ ที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยในมนุษย์ของ สำ�นักงานจริยธรรมการวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ ผู้ให้ข้อมูลในโครงการวิจัยนี้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ ที่จะอนุญาตให้ระบุชื่อบุคคลในการวิจัยนี้หรือไม่ก็ได้ สำ�หรับผู้ที่แจ้งว่าไม่ให้มีการระบุชื่อ ผู้วิจัยได้ใช้นามแฝงแทนเพื่อ คุ้มครองอัตลักษณ์ของผู้ให้ข้อมูล ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลที่มีอายุน้อยกว่า16ปีได้จากการสังเกตการณ์และการสนทนา ในชีวิตประจำ�วันและไม่มีการระบุชื่อแต่อย่างใดเพื่อเป็นการคุ้มครองอัตลักษณ์ 2 ชื่อบุคคลในภาษาเขมรจะเขียนชื่อสกุลก่อนแล้วตามด้วยชื่อตัว ในกรณีของนักแสดงท่านนี้ ชื่อตัวของเธอคือ รานี 3 Toni Shapiro (1994) ก็ได้เน้นยํ้าแง่มุมทางจิตวิญญาณของระบำ�โบราณในดุษฎีนิพนธ์ของเธอ 4 Frumberg (2010) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรของรัฐบาลต่างประเทศต่าง ๆ ที่ให้ทุนอุดหนุน แก่ศิลปะการแสดงและสนับสนุนนักแสดง 1

140

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


เหล่านี้ที่มีต่อนาฏศิลป์ดั้งเดิม (Ministry of Culture and Fine Arts 2008)5 แม้จะได้รับการกล่าวถึง อย่างผ่าน ๆ โดยนักวิชาการ และศิลปะการแสดงในเสียมเรียบก็ไม่ได้ความสนใจมากนักจากนักวิชาการ ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งให้ความสนใจกับโบราณสถานพระนครและมรดกวัฒนธรรมที่เป็นกายภาพ (tangible cultural heritage) มากกว่า อีกด้านหนึง่ นักวิชาการด้านนาฏศิลป์กใ็ ห้ความสำ�คัญกับโรงเรียน นาฏศิลป์ของรัฐบาลและการแสดงในพนมเปญมากกว่า (ดู Winter 2007; Cravath 2007; Heywood 2008)6 ในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งเปิดพื้นที่ให้นักแสดงจากเสียมเรียบได้มีโอกาสส่งเสียง รวมถึง นักแสดงที่มีปัญหากล่องเสียงอักเสบ คำ�ถามก็คือ ทำ�ไมนักแสดงเหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการนัก อะไรคือสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มา สนใจนาฏกรรมทีม่ คี วามศักดิส์ ทิ ธิน์ ี้ เมือ่ เปรียบเทียบกับนาฏศิลป์ประเพณีทมี่ เี อกลักษณ์อย่างอืน่ อย่าง ละคอนโขล (lakhon khol) หรือยีเ่ ก (yike) (Diamond 2003)7 งานของ John Urry (1990) ในประเด็น “การจ้องมองโดยนักท่องเที่ยว” (tourist gaze) ได้ให้มุมมองเชิงลึกในเรื่องนี้ ในบทความที่เป็นการ บุกเบิกทางทฤษฎีชิ้นนี้ เขาได้อภิปรายถึงผลของประสบการณ์ทางผัสสะในการท่องเที่ยว เขาเสนอว่า นักท่องเที่ยวค้นหาประสบการณ์ใหม่ที่ไม่ใช่ชีวิตประจำ�วันและพวกเขาเลือกสถานที่ที่จะ “จ้องมอง” (1990: 3) เพราะมีความคาดหวังทีจ่ ะได้รบั ความพึงพอใจจากการรับรูท้ างผัสสะต่าง ๆ ดังนัน้ พิธกี รรม อันศักดิ์สิทธิ์ของกัมพูชาจึงจับใจที่เปี่ยมจินตนาการของนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน (ดู Win-ter 2007) การ “จ้อง” ให้ความสำ�คัญกับการตีความวัฒนธรรมจากการมองเห็น แต่ประสาทสัมผัสทางอื่น เช่น การสัมผัส การได้กลิ่น การชิมรส การได้ยิน หรือแม้แต่การสัมผัสความเคลื่อนไหว (ความรู้สึกถึง ความเคลือ่ นไหวทีเ่ กิดกับร่างกายเมือ่ ดูกจิ กรรมบางอย่าง) ก็มคี วามสำ�คัญไม่แพ้กนั สำ�หรับประสบการณ์ ในการท่องเที่ยว หรือไม่เช่นนั้นความปรารถนาในการท่องเที่ยวก็อาจจะไม่รุนแรงขนาดนั้น (Crouch and Desforges 2003)

ในการประชุมของยูเนสโก ตัวแทนของกัมพูชาได้แสดงออกอย่างเด่นชัดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของนาฏศิลป์ดั้งเดิมและผลร้าย ของการท่องเทีย่ วทีม่ ตี อ่ นาฏศิลป์ อันทีจ่ ริงการขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก ทำ�ให้เกิดความลังเล ในการสร้างสรรค์งานใหม่ในวงเขตของนาฏศิลป์ดั้งเดิม (ดู Kirshenblatt-Gimblett 2004) 6 Winter (2007) กล่าวสั้น ๆ ถึง “รำ�อัปสรา” ในการอภิปรายของเขาเกี่ยวกับประเด็นมรดกเพื่อการท่องเที่ยวในเสียมเรียบ Cravath (2007) อภิปรายเกีย่ วกับการออกเดินทางเพือ่ จัดแสดงของนางรำ�ราชสำ�นัก แต่ไม่ได้กล่าวถึงการแสดงเพือ่ การท่องเทีย่ ว ในปัจจุบัน Heywood (2008) กล่าวถึงการท่องเที่ยวเป็นช่วง ๆ โดยเปรียบเทียบผลกระทบกับยุคอาณานิคมฝรั่งเศส แม้กระนั้นงานของเธอก็เน้นไปที่พนมเปญและไม่มีเสียงของนักแสดงจากเสียมเรียบ ในหนังสือรวมความเรียงของ Burridge and Frumberg (2010) มีการให้พนื้ ทีแ่ ก่เสียงของนักแสดงนาฏศิลป์ดงั้ เดิมในพนมเปญ ทีพ่ ยายามทีจ่ ะต่อรองความปรารถนา ที่จะทดลองนาฏศิลป์ร่วมสมัย Burridge กล่าวถึงการท่องเที่ยวไว้ในบทนำ� แต่ไม่ได้กล่าวถึงความพยายามในการต่อรอง บทบาทของเหล่านางรำ�ในเสียมเรียบทำ�ในขณะทีพ่ วกเธอทำ�ตอนทีแ่ สดงนาฏศิลป์อนั ศักดิส์ ทิ ธิใ์ นสถานทีส่ �ำ หรับนักท่องเทีย่ ว 7 ละคอนโขล เป็นละครรำ�ทีผ่ แู้ สดงเป็นชายล้วน โดยแสดงตามบททีต่ ดั ตอนมาจาก รามายณะ (Phim and Thompson 1999) ยี่เก คือละครรำ�ประกอบดนตรีรูปแบบหนึ่งที่ชาวเขมรเชื่อว่าถูกนำ�จากชวามาสู่กัมพูชาในคริสต์ศตวรรษที่แปดหรือเก้า เพือ่ ทำ�การแสดง ณ เมืองพระนคร ตามรูปแบบทีแ่ สดงกันอยูใ่ นปัจจุบนั ได้รบั อิทธิพลมาจากการแสดงของกลุม่ นักแสดง บังซาวาน ของมาเลย์ (Malay bangsawan) ทีเ่ ดินทางแสดงในภูมภิ าคนีใ้ นช่วงปลายศตวรรษทีส่ บิ เก้า (Cambodia Intangible Cultural Heritage Committee 2004; Diamond 2012). Catherine Diamond (2003) อภิปรายเกี่ยวกับความไม่สมํ่าเสมอของ การสนับสนุนจากรัฐบาลกัมพูชาและต่างประเทศที่ให้กับศิลปะการแสดงในกัมพูชา 5

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 141


เทศะของการท่องเที่ยว (Tourist spaces) คือโลกที่ถูกจินตนาการขึ้น โดยการประกอบสร้าง จากเรื่องเล่าที่สถาปนาเส้นทางนำ�ให้ผู้มาเยือนข้าไปสู่พื้นที่เชิงอุดมคติในจินตนาการ ซึ่งดูเหมือน อยู่ในโลกแห่งความเป็นไปได้ (Edensor 2001; Causey 2003; Ness 2003) พื้นที่ท่องเที่ยวเหล่านี้ คือผลผลิตจากการต่อรองระหว่างความปรารถนาที่จะบริโภคของนักท่องเที่ยวกับประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมของประชากรในท้องถิ่น (Eriksen 2007) บ่อยครั้งที่การต่อรองนี้เกี่ยวข้องกับการแปลง การปฏิ บั ติ ที่ มี เ ป้ า หมายเชิ ง พิ ธี ก รรมให้ เ ป็ น ไปเพื่ อ ความบั น เทิ ง ทางโลกย์ (Picard 1990) ใน กัมพูชา การผสมผสานกันระหว่างการปฏิบัติพิธีกรรมและการท่องเที่ยวไม่ได้ถูกยอมรับโดยทันที แต่ ที่ ฮ าวายอิ ระบำ � ฮู ล่ า (hula) ได้ ผ่ า นการเปลี่ ย นแปลงลั ก ษณะนี้ ใ นช่ ว งเวลาที่ ย าวนาน จน "สาวฮูล่า" ถูกทำ�ให้กลายเป็นความโรแมนติกทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่อื่น ในช่วงทศวรรษ 1850 นักเต้นฮูล่าเริ่มทำ�การแสดงบนผืนแผ่นดินใหญ่ นำ�ไปสู่การเพิ่มความสนใจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการทำ�ให้เรือนร่างหญิงโพลีนีเซียกลายเป็นสิ่งแปลกที่ชวนให้อัศจรรย์ใจ การแสดงเหล่านี้ก่อให้ เกิดความรู้สึกขัดแย้ง และนางระบำ�หลวง (court dancers) ที่ทำ�การแสดงนอกประเทศในลักษณะที่ เร้าอารมณ์ทางเพศกว่าของเดิมถูกดูแคลนโดยคนฮาวาย ฮูล่ากลายเป็นองค์ประกอบหลักของ เทศกาลลูอาว (luau feast) ทีอ่ อกแบบมาเพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ วเสพ แต่การแสดงลูอาวเพือ่ นักท่องเทีย่ ว ไม่มีการเต้นในส่วนที่เป็นพิธีกรรมตามแบบฉบับเดิม (Desmond 1999) ในฮาวายช่วงปลาย ศตวรรษที่สิบเก้า มีการแบ่งฮูล่าออกเป็นแบบโบราณและแบบสมัยใหม่ และหลังจากที่มีการฟื้นฟู วัฒนธรรมฮาวายในช่วงทศวรรษ 1970 ก็มชี อ่ื เรียกว่า ฮูลา่ คาฮิโก (hula kahiko) (“ฮูล่าโบราณ หรือ ancient hula”) และ ฮูลา่ เอาอะนา (hula ‘auana) (“ฮูลา่ สมัยใหม่ หรือ modern hula”) ฮูลา่ คาฮิโก เป็นการผสมผสานประเพณีที่เด่นชัด อาทิ การเต้นอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อบวงสรวงเทพเจ้า ตำ�นาน เชิงประวัตศิ าสตร์ เป็นต้น ในขณะทีฮ่ ลู า่ เอาอะนา เกีย่ วข้องกับการเคลือ่ นไหวตามแบบฮูลา่ และท่วงท่า ที่อาศัยพื้นฐานจากระบำ�ประเพณีที่มีมาก่อน โดยนำ�มาแสดงกับดนตรีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยม (Stillman 1996) การแบ่ ง ประเภทของการเต้ น ออกเป็ น ฮู ล่ า แบบสมั ย ใหม่ แ ละแบบโบราณ ยังคงทำ�ให้เกิดปัญหาในการทำ�งานทั้งกับนักแสดงและครูผู้ฝึกสอน ใกล้กบั ประสบการณ์ของกัมพูชาเข้ามาอีก คือการทวีความนิยมของการแสดงเพือ่ การท่องเทีย่ ว ในบาหลี จากการเริ่มเข้ามาของการท่องเที่ยวแบบมวลชนในทศวรรษ 1920 ความรู้สึกว่าเกิดวิกฤต ความล่มสลายของวัฒนธรรมบาหลีก็แพร่กระจายไปทั่ว Leo Howe (2005: 134) เรียกสิ่งนี้ว่า “ความย้อนแย้งของการท่องเทีย่ ว” กล่าวคือ ในช่วงหลายทศวรรษหลังจากนัน้ มีความเห็นพ้องกันโดยทัว่ ไป ว่าวัฒนธรรมบาหลีสามารถต้านทานอิทธิพลจากภายนอกได้ แต่ความกลัวว่าวัฒนธรรมจะแตกสลาย ก็ยังคงอยู่ ภายใต้ระบอบซูฮาร์โตในทศวรรษ 1970 แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมส่งเสริม ให้บาหลีกลายเป็นสวรรค์บนดิน นักลงทุนต่างชาติ และเจ้าหน้าที่รัฐในระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง มองว่าการท่องเทีย่ วเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ แต่ชมุ ชนท้องถิน่ เห็นว่าการท่องเทีย่ ว แบบมวลชนมีความเสีย่ งอย่างรุนแรง ผลทีต่ ามมาก็คอื เจ้าหน้าทีท่ อ้ งถิน่ สนับสนุนให้ชาวบาหลีตดั สินใจ จำ�แนกว่าการแสดงชนิดใดที่เหมาะสมสำ�หรับการบริโภคของนักท่องเที่ยว โดยการระบุประเภท ของการแสดงตามระดับของความศักดิส์ ทิ ธิใ์ นลักษณะทีค่ ล้ายคลึงกันกับวิธกี ารทีท่ �ำ ในกรณีของฮูลา่ ในฮาวาย ถึงกระนัน้ ก็ตาม การจะกำ�หนดว่าการแสดงชุดใดเหมาะจะแสดงให้นกั ท่องเทีย่ วชมหรือเหมาะกับพิธกี าร ก็ยังคงเป็นคำ�ถามที่ยังคงมีการถกเถียงในบาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงที่กำ�หนดไว้ส�ำ หรับ 142

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


การท่องเทีย่ วในช่วงทศวรรษ 1920 ได้ถกู นำ�มาใช้ในงานพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ์ ในขณะทีก่ ารแสดงศักดิส์ ทิ ธิ์ ในสมัยนั้นถูกนำ�มาปรับใหม่สำ�หรับแสดงให้นักท่องเที่ยวชม (Talamantes 2004; Picard 1990) Picard (1990) ชี้ให้เห็นว่าคนท้องถิ่นนำ�เสนอวัฒนธรรมในลักษณะที่เป็นการประนีประนอม กั น ระหว่ า งสิ่ ง ที่ พ วกเขาเห็ น ว่ า สำ � คั ญ และสิ่ ง ที่ เ ป็ น ความคาดหวั ง ของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ในกั ม พู ช า การแสดงนาฏศิลป์ทำ�หน้าที่สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในฝันซึ่งถูกประกอบเข้ากับการมาเยือน เมืองพระนคร เพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ วได้สมั ผัสกับวัฒนธรรมกัมพูชาทีแ่ ท้จริง (Winter 2007) โดยชาวกัมพูชา ต้องการพิสูจน์ว่าวัฒนธรรมของตนเองยังคงแข็งแกร่งแม้จะผ่านสงครามทำ�ลายล้างมาแล้วก็ตาม หากนาฏศิลป์ประเพณีทเี่ ก่าแก่ของพวกเขาได้รบั การยอมรับจากนานาชาติ ก็หมายความว่าวัฒนธรรม ของพวกเขายังคงยืนหยัดอยู่ได้ (Chheang 2008) การประพฤติปฏิบัติวัฒนธรรมของกัมพูชา มีวิวัฒนาการอย่างสมํ่าเสมอและถูกปรับให้เหมาะสำ�หรับการท่องเที่ยว ในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการ ศึกษานาฏศิลป์ด้งั เดิมของกัมพูชาในฐานะพิธีกรรมร่วมสมัยที่มีหลายความหมายสำ�หรับนักท่องเที่ยว และผู้ผลิตสินค้าท่องเที่ยว (ดู Bruner 2005) ในขณะที่เราไม่อาจนิยามลักษณะของการแสดง แบบดั้งเดิมได้ เพราะการประพฤติปฏิบัติเหล่านั้นได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคงรักษา องค์ประกอบที่มีมาก่อนหน้านั้น การประพฤติปฏิบัติดังกล่าวมีรากทางประวัติศาสตร์และถูกตีกรอบ โดยกฎเกณฑ์ที่ลื่นไหล ซึ่งคอยกำ�หนดความศักดิ์สิทธิ์

กำ�เนิดและวิวัฒนาการของรูปแบบศิลปะ นาฏศิลป์ดั้งเดิมของกัมพูชาเป็นรูปแบบศิลปะที่มีความเป็นพิธีกรรมและการเมืองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งมีพัฒนาการมาเป็นเวลาหลายร้อยปี โดยผ่านการสืบทอดผ่านบุคคลจากครูผู้สอนสู่ตัวผู้แสดง (Shapiro 1994) ความเชื่อที่ว่ากัมพูชาเป็นสังคมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ถูกบ่มเพาะโดยระบบอาณานิคม ฝรั่ ง เศส แต่ ใ นความเป็ น จริ ง มี ก ารเปลี่ ย นแปลงวั ฒ นธรรมอย่ า งถอนรากถอนโคนหลายครั้ ง (Chandler 2008) ระบำ�โบราณ ถูกปรับให้สอดคล้องกับความต้องการจำ�เป็นของสังคมผ่าน การเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรมเหล่านัน้ Paul Cravath (2007) ให้รายละเอียดทางประวัตศิ าสตร์ของ การแสดงนี้ต้ังแต่ยุคเริ่มต้นในสมัยพระนคร 8 สำ�หรับบทความนี้ ผู้เขียนจะเน้นเฉพาะช่ ว งตอน ในประวัติศาสตร์ที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดกับนักแสดงเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งได้แก่ลักษณะเชิง พิธีกรรมของการแสดงชุดนี้ตามที่มีการคิดกันในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 รวมทั้งความพยายาม เมื่อไม่นานมานี้ในการเชื่อมโยงรูปแบบนาฏศิลป์นี้เข้ากับราชสำ�นัก เมื่อ ค.ศ. 1863 กษัตริย์นโรดมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อยอมรับสถานะเป็นรัฐ ในคุม้ ครองแทนทีจ่ ะยอมอยูใ่ ต้การปกครองของสยาม ฝรัง่ เศสเชือ่ ว่าพวกเขามีหน้าทีช่ ว่ ยเหลือกัมพูชา เนื่องจากรัฐนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและมีโครงสร้างทางสังคมที่ไร้ประสิทธิภาพ ทำ�ให้กัมพูชาเสื่อม ถอยลงเรื่อยมาจากสมัยพระนคร (Chandler 2008)9 ฝรั่งเศสเห็นความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่าง หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบในกัมพูชาเกี่ยวกับท่ารำ� พบจากกลองมโหระทึกสำ�ริดที่มีอายุ 500 ปีก่อนคริสตกาล แต่นักวิชาการ ส่วนใหญ่ชี้ว่ายุคพระนครเป็นต้นกำ�เนิดของการแสดงนาฏศิลป์ดั้งเดิม (ดู Cravath 1986: 2007) 9 ในช่วงกลางศตวรรษทีส่ บิ เก้า กษัตริยอ์ งค์ดว้ ง (ครองราชย์ ค.ศ. 1848-1860) ขึน้ ครองราชย์และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดยุคฟืน้ ฟู ทางวัฒนธรรม ก่อนทีป่ ระเทศกัมพูชาจะตกเป็นส่วนหนึง่ ของอาณานิคมอินโดจีนฝรัง่ เศส ภายในราชสำ�นักขององค์ดว้ ง นางรำ� 8

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 143


ระบำ�โบราณกับอารยธรรมสมัยพระนคร และต้องการอนุรักษ์รูปแบบทางศิลปะนี้ไว้ไม่ให้สูญหาย (Hideo 2005)10 ในยุคอาณานิคมนีเ้ องทีค่ นมักเชือ่ มโยงการแสดงรูปแบบนีก้ บั “ความบันเทิง มหรสพ ผลกำ�ไร และการเมือง” ซึง่ เป็นการดึงทึง้ ลักษณะเชิงพิธกี รรมและจิตวิญญาณออกจากนาฏศิลป์ชนิดนี้ (Davis 2011: 243) รูปแบบของการแสดงและผู้แสดงถูกทำ�ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์โดย การเชือ่ มโยงกันกับอาณาจักรพระนคร แนวโน้มนีด้ �ำ รงเรือ่ ยมาจนถึง ค.ศ. 1970 เมือ่ มีการโค่นล้มและ เนรเทศราชวงศ์ไปต่างประเทศโดยการรัฐประหารทีไ่ ม่เสียเลือดเนือ้ 11 ในช่วงห้าปีทปี่ ระเทศไม่มกี ษัตริย์ การแสดงระบำ�โบราณถูกใช้เป็นภาพแทนความเป็นชาติ โดยตัดขาดความเชื่อมโยงกับสถาบัน พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการแบ่งแยกที่ยังดำ�รงมาจนถึงปัจจุบัน (Turnbull 2006) หลังจากยุคสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ12 กษัตริยส์ หี นุเสด็จนิวตั กิ มั พูชา เมือ่ ค.ศ. 1993 นักแสดงนาฏศิลป์ก็เริ่มกลับมาแสดงในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีบวงสรวง (ขอฝน) ซึ่งกล่าวกันว่า เริ่มเกิดขึ้นในสมัยเมืองพระนคร (Shapiro 1994) การแสดงนี้ทวีความสำ�คัญสำ�หรับการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมและการแสดงให้เห็นความยืนหยัดของกัมพูชาในสายตาชาวโลก ต่อมาโบราณสถาน เมืองพระนครและนาฏศิลป์ดั้งเดิมของกัมพูชาถูกขึ้นทะเบียนอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรม ของยูเนสโก (UNESCO’s heritage list) ซึง่ มีผลทำ�ให้นาฏศิลป์นกี้ อ่ ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยิง่ (Turnbull 2006) ความสัมพันธ์แบบตอบโต้กันระหว่างความศักดิ์สิทธิ์กับโลกียะยังไม่ได้ข้อยุติ และเป็ น สาเหตุ ข องความเครี ย ดที่ ไ ม่ ห ยุ ด หย่ อ นของนั ก แสดงในอุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย ว ในโรงละครของเสียมเรียบ พวกนักแสดงต้องทำ�การแสดงอยู่ในพื้นที่ของการต่อรองระหว่างมิติ เชิงพิธีกรรม-การเมือง-การค้า แนวคิดเรื่อง “ความรุ่งโรจน์ของเมืองพระนคร” ที่ได้แรงบันดาลใจจาก ฝรัง่ เศส ถูกผสานเข้ากับความปรารถนาทีจ่ ะลืมความเจ็บปวดของสงครามทีเ่ พิง่ ผ่านไป (ดู Hideo 2005) ทำ�การแสดงในพิธกี รรมเพือ่ ทำ�ให้องค์สมมติเทวราชเข้าไปใกล้ชดิ กับภพภูมแิ ห่งจิตวิญญาณมากขึน้ และนำ�สมดุลมาสูโ่ ลกมนุษย์ องค์ดว้ งถูกเลีย้ งดูในราชสำ�นักของไทย และการฟืน้ ฟูทางวัฒนธรรมในศตวรรษทีส่ บิ เก้าก็ได้รบั ความช่วยเหลือจากคณะนางรำ� ที่พระองค์นำ�กลับมาด้วยเมื่อเสด็จกลับมาขึ้นครองราชย์ นางรำ�ไทยและเขมรยังคงสืบต่อการเดินทางย้ายไปมาระหว่าง สองราชสำ�นักตลอดช่วงสมัยอาณานิคม (Diamond 2012; Hideo 2005). ความเกี่ยวพันใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์ ระหว่างประเพณีไทยและเขมรนำ�ไปสู่ความขัดแย้งทางศิลปะและวัฒนธรรมในหลายครั้ง 10 ความลุม่ หลงของฝรัง่ เศสเกีย่ วกับการสูญหายของนาฏศิลป์ราชสำ�นักกัมพูชาเริม่ ต้นมาจากนักวิชาการอย่างจอร์จ โกรส์ลเิ ยร์ ทีเ่ ขียนว่า “พวกมันกำ�ลังตาย! ประเพณีเปีย่ มมนต์เสน่หแ์ ละกวีนพิ นธ์แห่งอดีตกาลกำ�ลังตาย! ...อีกไม่นาน นักแสดงหญิงผูล้ กึ ลับ ของฉัน เราจะไม่มโี อกาสเห็นเธอเก็บเกีย่ วลำ�นำ�โบราณและความงดงามทีส่ าบสูญซึง่ ล่องลอยหนาแน่นอยูใ่ นอากาศของคาํ่ คืน แห่งการฉลองเทศกาล” (Groslier 2011: 107). จากการศึกษาของ Heywood (2008) โกรส์ลเิ ยร์ทมุ่ เทแสวงหาการสนับสนุน คณะนางรำ�ของกัมพูชา ซึ่งผลสำ�เร็จก็คือการที่เหล่านักแสดงถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน École des Beaux Arts ในฝรั่งเศส Davis (2011) ปฏิเสธคำ�อ้างนี้ และตีความว่าที่โกรส์ลิเยร์กล่าวถึงการตายของนาฏศิลป์ดั้งเดิมก็เพื่อเรียกร้อง ให้มีการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของรูปแบบทางศิลปะแขนงนี้ ซึ่งเขามองว่ากำ�ลังเสื่อมลง เดวิสโต้แย้งว่า โกรส์ลิเยร์ไม่สบายใจ อย่างมากกับความพยายามโดยทางการฝรั่งเศสที่จะยึดครองคณะนักแสดงของราชสำ�นักกัมพูชา เมื่อ ค.ศ. 1927 11 ในยุคเอกราช (ค.ศ. 1953-1970) มีการสืบต่อการใช้ ระบำ�โบราณ เพื่อเชื่ิอมโยงยุคพระนครเข้ากับสถาบันกษัตริย์ สมเด็จพระราชินกี สุ มุ ขุ (พระราชมารดาของสมเด็จสีหนุ) ทรงออกแบบท่ารำ�สำ�หรับการแสดง 15 ชุด เพือ่ แสดงความยกย่องต่อ เกียรติภูมิในยุคโบราณของกัมพูชา รวมทั้งระบำ�อัปสราใน ค.ศ. 1957 12 วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 กองกำ�ลังปฏิวัติเดินทัพเข้ายึดพนมเปญ พวกนักปฏิวัติเห็นพวกนักแสดงของราชสำ�นักเป็น สัญลักษณ์ของทุกอย่างที่พวกเขาต่อต้าน เนื่องจากความเชื่อมโยงระหว่างนักแสดงเหล่านั้นกับวัฒนธรรมของชนชั้นสูง การแสดงออกทางศิลปะประเพณีทุกชนิดถูกสั่งห้าม ประมาณร้อยละ 90 ของนักแสดงถูกฆ่าตาย (Cravath 2007) แม้ว่าจะ มีการรื้อฟื้นศิลปะแขนงนี้ขึ้นใหม่ในทศวรรษ 1980 แต่ก็ยังไม่มีความสงบเกิดขึ้นในสังคมจนกระทั่งถึงช่วงต้นทศวรรษ 1990

144

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


เนื่องจากอุดมการณ์ "พระนคร" ทุกวันนี้ศิลปินบางคนยังรู้สึกว่าแม้นาฏศิลป์นี้จะมีวิวัฒนาการ มานานแล้ว แต่การปรับปรุงรูปแบบใหม่อีกในปัจจุบันโดยปราศจากการยอมรับจากราชสำ�นัก นั้ น เป็ น สิ่ ง ที่ รั บ ไม่ ไ ด้ ทำ � ให้ ก ารทดลองทางด้ า นรู ป แบบนาฏศิ ล ป์ เ ป็ น เรื่ อ งยาก การแสดงเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วเป็ น ทั้ ง ความภู มิ ใ จที่ วั ฒ นธรรมกั ม พู ช ายั ง คงมี ชี วิ ต ชี ว า แต่ ก็ เ ป็ น สาเหตุ ข อง ความสิ้นหวังที่มาพร้อมกับความสูญเสียลักษณะทางจิตวิญญาณของการแสดงนี้ (ดู Chheang 2008; Ministry of Culture and Fine Arts 2009)

การท่องเที่ยว พระนคร และเศรษฐศาสตร์นาฏกรรมในเสียมเรียบ ในบรรดาการแสดงทางวัฒนธรรมของเสียมเรียบ เช่น การแสดงระหว่างมื้ออาหารคํ่าของ ภัตตาคารเทมเพิลบัลโคนี รำ�อัปสราคือภาพแทนความเข้าใจของนักท่องเทีย่ วทีม่ ตี อ่ วัฒนธรรมกัมพูชา นักท่องเที่ยวแทบจะทุกคนที่ผู้เขียนมีโอกาสคุยด้วย กล่าวว่านครวัดเป็นสถานที่ที่เป็นเหตุผลสำ�คัญ ในการตัดสินใจมาเที่ยวกัมพูชา แต่ไม่ว่าพวกเขาจะได้มีโอกาสชมการแสดงนาฏศิลป์กัมพูชาหรือไม่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วทุ ก คนที่ ม าเยื อ นเสี ย มเรี ย บจะกลั บ ไปพร้ อ มกั บ ภาพประทั บ ใจของหญิ ง สาวนุ่ ง ผ้ า ซัมปอต (sampot) สีขาว สวมชฎาสองชั้นและประดับผมดำ�ยาวด้วยดอกลั่นทม ปราสาทเขมรคือจุด อ้างอิงของวัฒนธรรมกัมพูชาในความนึกคิดของนักท่องเที่ยว ความเชื่อมโยงระหว่างนาฏศิลป์ดั้งเดิม กั บ ราชสำ � นั ก ในสมั ย พระนครที่ มี ก ารรั บ รู้ กั น นั้ น ทำ � ให้ ก ารแสดงนาฏศิ ล ป์ นี้ มี ที่ ม าที่ ไ ปชั ด เจน และทำ � ให้ เ กิ ด ความชอบธรรมที่ จ ะเป็ น การแสดงที่ ข าดไม่ ไ ด้ สำ � หรั บ การท่ อ งเที่ ย วกั ม พู ช า (Winter 2007; Ministry of Tourism 2012). ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 มรดกโลกเมืองพระนคร (world heritage site of Ankor) กลายเป็นจุดสนใจที่สำ�คัญทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ เนื่องจากมันสามารถเชื่อมร้อย ประเด็นสำ�คัญของการฟื้นฟูสถาบันทางวัฒนธรรมและโครงสร้างเศรษฐกิจของกัมพูชาเข้าด้วยกันได้ (Winter 2007). การท่องเที่ยวมีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของกัมพูชา ใน ค.ศ. 2011 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศไปเยือนประเทศนี้ถึง 2,881,862 คน เพิ่มขึ้นเกือบห้าเท่าเมื่อเทียบกับ สิบปีก่อนหน้า (Ministry of Tourism 2012) เมื่อรวมผลกำ�ไรทางตรง ทางอ้อม และกำ�ไรจากธุรกิจ สื บ เนื่ อ งเข้ า ด้ ว ยกั น การท่ อ งเที่ ย วก่ อ ให้ เ กิ ด มู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ ถึ ง 2 พั น ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ คิดเป็นร้อยละ 22.5 ของจีดีพีของกัมพูชาใน ค.ศ. 2011 และก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า หกแสนตำ�แหน่งในปีเดียวกัน (World Travel and Tourism Council 2012; Ministry of Tourism 2012) เป็นที่คาดการณ์ได้ว่ากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวมีศูนย์กลางอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนคร ซึ่ ง ห่ า งจากกลางเมื อ งเสี ย มเรี ย บไปด้ ว ยการเดิ น ทางทางรถเพี ย งไม่ กี่ น าที อุ ท ยานแห่ ง นี้ ดึ ง ดู ด นักท่องเที่ยวได้มากกว่า 1.6 ล้านคนใน ค.ศ. 2011 ด้วยการเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเสียมเรียบ การแสดงนาฏศิลป์ดั้งเดิม จึงได้รับการส่งเสริมให้เป็นความบันเทิงในฝันสำ�หรับยามเย็นของนักท่องเที่ยว (Chheang 2008) และเป็นเหตุผลให้เกิดการแพร่หลายของคณะนาฏศิลป์เอกชนในเสียมเรียบ (ประมาณ 30 คณะ) คณะเล็ก ๆ มีขนาดตั้งแต่มีนักแสดง 4-20 คนรวมทั้งนักดนตรี ส่วนคณะใหญ่อาจมีผู้แสดงรวมกัน เป็นร้อยคนต่อการแสดงหนึ่งครั้ง เป็นเรื่องยากที่จะหาจำ�นวนรวมที่แน่นอนของนักแสดงทั้งหมด Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 145


ทีท่ �ำ การแสดงในทุกแห่ง แต่ผเู้ ขียนคาดการณ์คร่าว ๆ ว่าน่าจะมีมากกว่า 1,000 คน นักแสดงหน้าใหม่ เป็นที่ต้องการมากอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงนัก โอกาสในการมีงานทำ�ขึน้ อยูก่ บั ระบบทีม่ ลี �ำ ดับชัน้ ของการฝึกฝนและประสบการณ์ ในระดับล่างสุด คื อ นางรำ � ที่ มี อ ายุ น้ อ ยที่ สุ ด ซึ่ ง ได้ รั บ การฝึ ก ฝนเล็ ก น้ อ ยโดยองค์ ก รพั ฒ นาเอกชนในเสี ย มเรี ย บ พวกที่ไม่มีงานประจำ�อาจจะเกี่ยวโยงอยู่กับคณะนักแสดงเอกชนหลายคณะ โดยอาจจะถูกเรียกไป ร่วมแสดงเดือนละ 2-3 ครั้ง สำ�หรับค่าตอบแทนประมาณสองเหรียญสหรัฐฯ ต่อการแสดงหนึ่งชุด ถัดจากนัน้ คือนางรำ�ทีม่ งี านประจำ�ตามตลาดหรือภัตตาคาร พวกนีท้ �ำ การแสดงทุกคืนสำ�หรับเงินเดือน เดือนละ 30-45 เหรียญสหรัฐฯ นักแสดงตามภัตตาคารทีม่ บี ฟุ เฟต์อาหารเย็นบวกการแสดงจะได้เงินเดือน เดือนละ 45-80 เหรียญสหรัฐฯ ระดับสูงสุดของระบบนี้ก็คือนักแสดงและครูของหมู่บ้านวัฒนธรรม กัมพูชา (Cambodian Cultural Village) (อุทยานจำ�ลองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ท่ีมีการแสดงทุกวัน) ที่ทำ�งานเต็มเวลาสำ�หรับเงินเดือนเดือนละ 80-300 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนั้นคือ สไมล์ออฟอังกอร์ (Smile of Angkor) ที่จัดแสดงในศูนย์แสดงมหรสพที่มีบริษัทเอกชนของจีนเป็นเจ้าของมีการแสดง นาํ้ ตกและแสงเลเซอร์ นักแสดงทีแ่ สดงบนเวทีทกุ คืนจะได้รบั เงินเดือนเดือนละ 160-200 เหรียญสหรัฐฯ จากการคาดการณ์ผลกำ�ไรของร้านกุเลน 2 ซึ่งเป็นภัตตาคารที่มีบริการบุฟเฟต์อาหารเย็น บวกการแสดง ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างของรายรับของแหล่งต้อนรับนักท่องเที่ยวกับค่าตอบของนักแสดง ที่นี่คิดค่าอาหารและค่าชมการแสดงจากนักท่องเที่ยวคนละ 12 เหรียญสหรัฐฯ (ไม่รวมค่าเครื่องดื่ม) แต่ละปีจะมีจำ�นวนนักท่องเที่ยวโดยเฉลี่ย 146,000 คน เข้ารับประทานอาหารเย็นและชมการแสดง คิดเป็นรายรับต่อปีสูงกว่า 1,752,000 เหรียญสหรัฐฯ ในภัตตาคารแห่งนี้มีนักแสดงประมาณ 30 คน ซึ่งได้รับค่าตอบแทนคนละประมาณ 720 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ดังนั้น ค่าตอบแทนคณะนักแสดงทั้งปี จะเท่ากับ 21,600 เหรียญสหรัฐฯ หรือเพียงแค่ร้อยละ 1.2 ของรายรับทั้งปี

นางอัปสราสมัยใหม่ : นักแสดงเพื่อการท่องเที่ยวในเสียมเรียบ ผู้เขียนทำ�วิจัยอย่างละเอียดในเสียมเรียบระหว่าง ค.ศ. 2011 กับ 2012 โดยเก็บข้อมูลจาก คณะนาฏศิลป์เอกชนสองคณะ ที่แสดงพิเศษให้กับกลุ่มทัวร์ขนาดใหญ่และทำ�การแสดงในแหล่ง ท่องเที่ยวอีกสี่แห่ง ได้แก่ กุเลน 2 เทมเพิลบัลโคนี หมู่บ้านวัฒนธรรมกัมพูชา และสไมล์ออฟอังกอร์ จากประสบการณ์ของนักแสดงทำ�ให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างการร่ายรำ�ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ความเป็นจริง ทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในกัมพูชา อุก รานี พูดคุยกับผู้เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของเธออย่างอดทนแม้ว่าจะเป็นกล่องเสียง อักเสบอยู่ เธออายุยสี่ บิ ปีและเริม่ เรียนนาฏศิลป์ดงั้ เดิมตัง้ แต่อายุสบิ สองปี เธอหลงเสน่หข์ องนาฏศิลป์ ประเพณีของกัมพูชาจากการดูโทรทัศน์ และขออนุญาตพ่อแม่มาเรียนนาฏศิลป์ เธอเรียนทั้งนาฏศิลป์ ดัง้ เดิมและแบบพืน้ บ้านทีบ่ า้ นของเนียะกรู (nekru-ครู) นริน ทีว่ ดั ตำ�หนัก เพราะเธอชืน่ ชอบนาฏศิลป์ ทั้งสองแบบ ใน ค.ศ. 2005 เมื่อเทมเพิลบัลโคนีเปิดดำ�เนินการ นรินตกลงที่จะเตรียมคณะนักแสดง รุ่นเยาว์ของเธอสำ�หรับการแสดงหกชุดทุกคืนที่นั่น ตอนนั้นรานีอายุสิบสามปี ผิวขาว หุ่นเพรียวบาง ใบหน้ารูปหัวใจ ทำ�ให้ฝา่ ยจัดการของภัตตาคารแห่งนัน้ สนใจเธอ รานีเซ็นสัญญาสิบปีกบั ทางภัตตาคาร ตอนนี้เธอมีเงินเดือนเดือนละ 45 เหรียญสหรัฐฯ และต้องแสดงทุกคืนตั้งแต่เวลา 19.30 - 21.30 น. 146

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ก่อนทำ�การแสดงเธอจะไหว้ครูทห่ี ง้ิ บูชาเล็ก ๆ ซึง่ ทำ�ขึน้ เอง บนหิง้ บูชาในห้องแต่งตัวนัน้ มีหน้ากากลิง และยักษ์ ดอกไม้ และธูปทีป่ กั อยูใ่ นกระป๋องกาแฟ เมือ่ เธอสวมมกุฏ (ชฎา) สำ�หรับการ “รำ�อวยพร” ทีเ่ ป็นการ แสดงชุดแรก เธอก็จะพนมมือจรดหน้าผากเพื่อทำ�ความเคารพบรรพบุรุษและไหว้ครูนาฏศิลป์ ทุกคืน เธอจะแสดง “รำ�อวยพร” “รำ�อัปสรา” และการแสดงพืน้ บ้านอีกสองชุดคือ “รำ�นกยูงไพลิน” และ “รำ�จับปลา”13 เทมเพิลบัลโคนีเป็นคลับและภัตตาคารสูงสองชัน้ เมือ่ เดินขึน้ บันไดมา แขกทีม่ าเทีย่ วจะโผล่ออก มาตรงด้านข้างห้องครัวของภัตตาคาร ตรงหน้าเวทีมโี ต๊ะยาวไม่กโี่ ต๊ะทีผ่ ชู้ มสามารถเห็นเวทีการแสดงได้ โดยไม่มอี ะไรบัง โต๊ะพวกนีเ้ อาไว้ส�ำ หรับต้อนรับกลุม่ ทัวร์ใหญ่ ๆ ส่วนโต๊ะอืน่ ๆ กระจายอยูท่ วั่ พืน้ ทีแ่ ละ เห็นเวทีไม่ถนัดเนือ่ งจากมีเสาบัง สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เวลาทีม่ กี ารแสดงก็คอื นักท่องเทีย่ วจะลุกขึน้ เดินเกลือ่ นไป เพือ่ หามุมถ่ายภาพชัด ๆ เพือ่ บันทึกการสำ�รวจวัฒนธรรมประเพณีกมั พูชาของตนเอง แต่สว่ นใหญ่แล้ว นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ลุกไปถ่ายภาพก็จะกินอาหารและคุยกันเสียงดัง และให้ความสนใจเพียงเล็กน้อย กับการแสดงที่อยู่เบื้องหน้าพวกเขา หลังจบการแสดง นักท่องเที่ยวก็จะปีนขึ้นไปบนเวทีเพื่อถ่ายรูป กับนางรำ� เมื่อรานีแต่งกายในชุดรำ�พื้นบ้านจะมีนักท่องเที่ยวไม่กี่คนที่จำ�ได้ว่าเธอคือหญิงสาวที่สวม บทบาทนางอัปสรเมรา (Apsara Mera) ซึ่งเป็นเทพีนางรำ�ที่เป็นมารดาของชนชาติเขมร นักท่องเที่ยว ชอบทีจ่ ะถ่ายภาพกับนางรำ�ทีส่ วมชุดปักดิน้ แวววาวสำ�หรับการแสดงนาฏศิลป์ดงั้ เดิมมากกว่า และรานี มักจะถูกกลืนหายอยู่หลังเวที เธอไม่ได้รังเกียจการถ่ายภาพกับนักท่องเที่ยว แต่รู้สึกอึดอัดเวลา นักท่องเที่ยวผู้ชายแตะเนื้อต้องตัวเธอ การถูกกลืนหายไปอยูเ่ บือ้ งหลังดูเหมือนจะเป็นภาพสะท้อนชีวติ ของเธอเหมือนกัน เธอมีพน่ี อ้ ง ห้าคน น้องสาวสอง น้องชายสาม เธอออกจากโรงเรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองเพื่อจะได้ หาเงินส่งเสียน้อง ๆ ให้ได้เล่าเรียน เธอก็เหมือนผู้หญิงเขมรอื่น ๆ ที่ “ดี”14 เธอถอยกลับไปอยู่ข้างหลัง แต่ก็ยังคงเป็นผู้สนับสนุนทรัพยากรให้กับครอบครัว เธอคิดว่าการรำ�แบบดั้งเดิมมีส่วนสำ�คัญในการ ส่งเสริมอัตลักษณ์ของชาติกัมพูชา และการเข้าใจนาฏศิลป์นี้เป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับชาวกัมพูชาและ ชาวต่างประเทศ ส่วนหนึ่งของความทุ่มเททำ�งานของเธอ มาจากความเข้าใจว่านาฏศิลป์ดั้งเดิม มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับประวัติศาสตร์โบราณของกัมพูชา จากการพบรูปสลักนางรำ�บนผนังของ ปรารสาทต่าง ๆ ในเมืองพระนคร และจากการรับรู้ว่านาฏศิลป์ดั้งเดิมของกัมพูชาเกือบจะสูญสิ้นไป ในยุคเขมรแดง ซึ่งเป็นความรู้ที่รานีได้รับการถ่ายทอดมาจากครู เธอไม่พอใจที่เทมเพิลบัลโคนี จ่ า ยค่ า ตอบแทนเธอในอั ต ราตํ่ า แต่ เ ธอชอบที่ ไ ด้ แ สดงนาฏศิ ล ป์ ดั้ ง เดิ ม ให้ ช าวต่ า งชาติ ช ม เธออธิบายว่าตราบใดที่การแสดงทำ�ได้อย่างถูกต้อง มันก็เป็นเรื่องดีที่ได้แบ่งปันให้กับผู้ชม โชคไม่ดีที่ รานีคิดว่าไม่ใช่นางรำ�ทุกคนที่แสดงที่เทมเพิลบัลโคนีแสดงได้ดี เธอแสดงความต้องการที่จะลาออก ชื่อของชุดการแสดงนาฏศิลป์ที่รานีแสดงมีดังต่อไปนี้ “รำ�อวยพร” = “ระบำ�จูนปอร” (Robam Chun Por); “รำ�อัปสรา” = “ระบำ�เทพอัปสร” (Robam Tep Apsar); “รำ�นกยูงไพลิน” = “ระบำ�กันกอกไปเลิน” (Robam Kngork Pailin) และ “รำ�จับปลา” = “ระบำ�เนียะสาด” (Robam Nesat) 14 ฉบับ (Chbap-ประมวลกฎหมายของกัมพูชา) ประกอบด้วยฉบับสแร็ย (Chbap Srey) และฉบับปร็อฮ (Chbap Bro) หรือกฎหมายสำ�หรับผู้หญิงและผู้ชายตามลำ�ดับ ในประมวลกฎหมายสำ�หรับผู้หญิง ซึ่งกำ�หนดไว้ว่าหญิงที่ดีควรประพฤติตัว อย่างไร เป็นกฎหมายที่เป็นที่รู้จักมากกว่าและมีการสอนในโรงเรียนของกัมพูชาด้วยวิธีท่องจำ� ผู้หญิงในอุดมคติที่กำ�หนดไว้ ในฉบับเป็นสัญลักษณ์ที่มีความขัดแย้งในตัวเอง กล่าวคือมีความนุ่มนวล อ่อนหวาน บริสุทธิ์ มีความเป็นนักธุรกิจหัวแข็ง และเป็นผู้ดูแลครอบครัว (Derks 2008; Ledgerwood 1996) 13

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 147


แม้แต่เธอเองตอนนีก้ ล็ มื ขบัจบาท (kbach bat) หรือการเคลือ่ นไหวต่อเนือ่ งทีเ่ ป็นพืน้ ฐานสำ�หรับตัวละคร แต่ละตัวเพราะไม่มีเวลาซ้อม แม้กระนั้น เธอก็ยังใช้เวลาไปสอนรำ�ให้สถานรับเลี้ยงเด็กกำ�พร้า ในเสียมเรียบ เพราะเธอปรารถนาทีจ่ ะถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมของกัมพูชาต่อไปเท่าทีเ่ ธอได้เรียนรูม้ า นพ นิตาก็คล้ายกับรานี เธอเชื่ออย่างลึกซึ้งในความสำ�คัญของการเข้าใจมรดกวัฒนธรรมผ่าน นาฏศิลป์ดั้งเดิม นิตาจบการศึกษาโรงเรียนนาฏศิลป์ของเอ็นจีโอ เมื่อ ค.ศ. 2010 หลังจากฝึกฝน อยูส่ ปี่ ี เธอมักจะกลับไปทีโ่ รงเรียนสอนรำ� เพือ่ ช่วยงานโรงเรียนเวลาทีท่ างนัน้ ต้องนักแสดงทีส่ ามารถรับ บทตัวละครชายยาก ๆ เช่น บทพระรามผู้เป็นเจ้าชายในมหากาพย์รามายณะ เธอมักจะไปฝึกรำ� ที่โรงเรียนที่เธอจบมา แต่ตอนหลังมานี้เธอเข้าไปเกี่ยวข้องกับเอ็นจีโออีกแห่งหนึ่งที่สอนวาดรูปและ ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับเด็กด้อยโอกาสหลาย ๆ คนในเสียมเรียบ นิตาผูกสัมพันธ์กบั เอ็นจีโอทีส่ ามารถ ช่วยให้เธอจุนเจือครอบครัวได้ นิตาอายุสบิ ห้าปี เธอทำ�งานกับคณะนาฏศิลป์ทอ่ี ยูใ่ นกลุม่ ทีม่ ขี นาดใหญ่ทส่ี ดุ ทีใ่ ช้ชอ่ื ว่าเทวาอังกอร์ ซึ่งมีศิลปินในสังกัดประมาณแปดสิบคน นิตาได้แสดงเดือนละสองหรือสามครั้ง ที่โรงแรมต่าง ๆ ในเขตเสียมเรียบ บางครั้งเธอต้องคอยนานเกินชั่วโมงกว่ากลุ่มทัวร์มาถึงโรงแรม และไม่ได้กลับบ้าน จนกว่าจะหลังห้าทุ่ม เธอมาจากครอบครัวที่ยากจนมาก คนในครอบครัวจำ�เป็นต้องได้เงินเดือนละ 4-8 เหรียญสหรัฐฯ จากเธอทุกเดือน เพื่อจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนและค่าอาหาร การแสดงเป็นเรื่องที่มี ความสุ่มเสี่ยงเพราะผู้จัดการของบางโรงแรมเฆี่ยนตีนักแสดงที่ยังเด็กด้วย แต่นิตาก็รักการแสดงและ การเรียนรู้นาฏศิลป์ เพราะเธอบอกว่ามันสอนให้เธอได้รู้จักวัฒนธรรมของกัมพูชา เธอรู้สึกว่าเยาวชน ส่วนใหญ่ในกัมพูชายังขาดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกัมพูชา ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจาก กระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมดนตรีเค-พอป และอีกสาเหตุหนึ่งคือเขมรแดง เธอบอกว่าพวกนักแสดง เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กัมพูชาระหว่างที่ฝึกฝนการรำ� และมีความรู้สึกที่หนักแน่นว่านาฏศิลป์ ควรได้รับความเคารพ แต่เธอก็ไม่ได้ห่วงใยมากนักกับการแสดงนาฏศิลป์เพื่อการท่องเที่ยว นิตารู้สึก เป็นกังวลมากกว่าเกี่ยวกับโอกาสได้ทำ�งานเป็นนางรำ�ต่อ เพื่อจะได้มีเงินไปจุนเจือครอบครัวที่รออยู่ สำ�หรับ คิม โสภอร์ การแสดงนาฏศิลป์ไม่ใช่ความจำ�เป็นด้านการเงิน (Kim 2012) เธออายุยสี่ บิ หกปี และเรียนรำ�จากกุเลน 2 ที่ซึ่งเธอทำ�งานประจำ�อยู่ด้วยเงินเดือนเดือนละ 55 เหรียญสหรัฐฯ แต่เธอ มีรายได้ทางอื่นมากกว่านั้น ร้านกุเลน 2 เป็นภัตตาคารเปิดโล่งมีหลังคาคลุมทำ�ให้อากาศหมุนเวียน จากลมเย็นที่พัดผ่านและสามารถกันฝนได้ ฉากหลังเวทีตกแต่งเป็นปราสาทจำ�ลองของเมืองพระนคร โดยมีภาพปราสาทจตุรมุขบายนขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง นักท่องเที่ยวจะนั่งรวมกันที่โต๊ะยาวที่ตั้งทอด เป็นแนวไปทางบริเวณทีเ่ ป็นจุดวางอาหารบุฟเฟต์ นางรำ�จะทำ�การแสดงชุด “รำ�กะลา”15 “รำ�จับปลา” และชุดสำ�คัญ “รำ�อัปสรา” เป็นประจำ� พวกนักแสดงสามารถเลือกที่จะแสดงชุดอื่นได้เองในแต่ละวัน โดยเลือกจากชุดการแสดงที่มีอยู่หลากหลาย ทำ�ให้การทำ�งานมีความยืดหยุ่น หลังจากจบการแสดง นักท่องเที่ยวจะรีบขึ้นมาบนเวทีเพื่อถ่ายรูปกับนักแสดง ก่อนที่จะรีบกลับไปขึ้นรถ โสภอร์เริม่ แสดงเมือ่ เธออายุได้ 14 ปี หลังจากได้รบั การฝึกฝนเพียง 2-3 เดือน และใช้เงินเดือน ที่ได้จากการรำ�ไปจ่ายเป็นค่าเล่าเรียน เธอจบจากโรงเรียนอาชีวะด้วยวุฒิการศึกษาด้านการท่องเที่ยว 15

ชื่อภาษาเขมรของรำ�กะลาคือ “ระบำ�กัวะฮ์ตระลอก” (Robam Kuos Tralork)

148

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ซึ่งทำ�ให้เธอได้งานที่ดีในบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวโดยทำ�หน้าที่รับโทรศัพท์ เธอได้เงินเดือนสูงกว่า 200 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของกัมพูชาที่ 675 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี นับว่า เธอมีรายได้ดพี อสมควร โสภอร์รสู้ กึ ถึงความสำ�คัญทีท่ กุ คนควรจะได้มคี วามรูเ้ กีย่ วกับนาฏศิลป์ดงั้ เดิม และการท่องเที่ยวก็เป็นทางหนึ่งที่จะทำ�ให้ศิลปกรรมนี้ได้รับความสนใจจากนานาชาติ สำ�หรับโสภอร์ ระดับความสามารถทางทักษะไม่ใช่สงิ่ ทีต่ อ้ งกังวลเป็นพิเศษเหมือนนางรำ�คนอืน่ หรือแม้แต่การไหว้ครู ก่อนแสดง แต่ที่กุเลน 2 ก็มีหิ้งบูชาที่ทำ�ขึ้นอย่างง่าย ๆ เพื่อบูชาบรรพบุรุษคล้ายกับที่มีที่ร้านเทมเพิล บัลโคนี นอกจากนัน้ เธอยังไม่กงั วลว่าไม่มคี รูสอนรำ�มากำ�กับการแสดงทุกคืน ซึง่ เป็นสิง่ ทีน่ กั แสดงทีอ่ นื่ เห็นว่าเป็นสิ่งที่รับไม่ค่อยได้ โสภอร์จะรู้สึกเป็นห่วงมากกว่าที่งานนางรำ�ของเธอไม่ได้รับการให้คุณค่า อย่างเพียงพอ เธอรูส้ กึ ถึงสถานะทีก่ �ำ กวมของนาฏศิลป์ทถี่ กู กล่าวถึงในวาทกรรมระดับชาติและวิธกี าร ที่นักแสดงและศิลปินได้รับการปฏิบัติและได้รับค่าตอบแทน เธอตั้งคำ�ถามว่านาฏศิลป์ดั้งเดิมถูกให้ คุณค่าอย่างพอเพียงแล้วหรือ อร โสเภียริกา (Nekru Pich-เนียะกรูพิจ) อายุ 30 ปี รู้สึกว่าคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของนาฏศิลป์ ดัง้ เดิมนัน้ แฝงฝังอยูใ่ นการฝึกฝนและทักษะ (Orn 2012) เธอจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยวิจติ รศิลป์ ในพนมเปญ ซึง่ เป็นภูมหิ ลังทีท่ �ำ ให้เธอแตกต่างจากนักแสดงคนอืน่ ทัง้ หมดทีถ่ กู กล่าวถึงข้างต้น ปัจจุบนั นี้ เธอแสดงในโชว์แสงสีจากเลเซอร์ขนาดใหญ่ในชือ่ ชุดว่าสไมล์ออฟอังกอร์ โชว์ชดุ นีส้ ร้างขึน้ โดยคนจีนและ จัดแสดงทีศ่ นู ย์จดั นิทรรศการเสียมเรียบ ด้านหนึง่ ของศูนย์นเี้ ป็นพืน้ ทีส่ �ำ หรับจัดเทศกาล งานแสดงสินค้า และนิทรรศการ พื้นที่ตรงกลางคือบริเวณที่ให้บริการอาหารบุฟเฟต์ และอีกด้านหนึ่งคือโรงละคร ติดเครื่องปรับอากาศขนาด 904 ที่นั่ง สำ�หรับราคาบัตรเข้าชม 38-48 เหรียญสหรัฐฯ นักท่องเที่ยว จะได้รับประทานอาหารเย็นแบบบุฟเฟต์ก่อนจะเข้าชมการแสดงในตอนทุ่มครึ่ง การแสดงใช้เวลา 75นาทีและใช้ผู้แสดง 104 คน การแสดงชุดนี้แบ่งออกเป็นหกองก์ โดยแต่ละองก์มีเนื้อหาเกี่ยวกับ แง่มมุ ทางประวัตศิ าสตร์ตา่ ง ๆ ของอารยธรรมพระนครตามจินตนาการของผูส้ ร้างโชว์นี้ การแสดงชุดนี้ มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะอธิบดีกรมวัฒนธรรมของเสียมเรียบได้พยายาม ที่จะแก้ไขความผิดพลาดที่ทำ�ขึ้นโดยบริษัทของจีน16 การแสดงชุดนี้แสดงข้อความบรรยายเรื่องราว เป็นภาษาอังกฤษ เวียดนาม เกาหลี และจีน และมีเสียงบรรยายภาษาอังกฤษเพือ่ ให้ผชู้ มสามารถเข้าใจ เนื้อเรื่องได้ การแสดงชุดนี้ไม่มีดนตรีสดประกอบแต่มีการรำ�บางตอนจาก “รำ�อัปสรา” ช่วงบวงสรวง แสงเลเซอร์ นํ้าตกขนาดยักษ์ และยอดปราสาทบายนสี่หน้าที่ขยับปากพูดได้ ครูพิจและแม่ ย้ายจากพนมเปญมาเสียมเรียบแล้วหาเลี้ยงชีพด้วยการแสดงและการสอน นาฏศิลป์ แม่ของเธอเป็นนักแสดงยีเ่ กทีม่ ชี อื่ เสียงตัง้ แต่กอ่ นยุคเขมรแดง และพ่อของเธอเป็นทีป่ รึกษา ของกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ เนียะกรูพิจสอนทุกวันและได้เงินเดือนเดือนละ 155 เหรียญ สหรัฐฯ นอกจากนัน้ ยังแสดงทุกคืนทีส่ ไมล์ออฟอังกอร์ (ได้ 200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน) เธอมีความคิด ติดลบกับคณะนักแสดงหลายคณะในเสียมเรียบ เธอชีใ้ ห้เห็นว่าคณะนักแสดงเหล่านั้นโดยทัว่ ไปแล้วมี ความสามารถด้านทักษะค่อนข้างตาํ่ และบางทีไ่ ม่มคี รูฝกึ สอนด้วยซํา้ เหมือนอย่างทีก่ เุ ลน 2 เธอมองว่า คณะนักแสดงเหล่านั้นไม่ให้เกียรติกับกับศิลปะการแสดง แต่ในอีกด้านหนึ่งเธอก็ยอมรับว่าการแสดง 16

ผู้อำ�นวยการแผนกวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ของเสียมเรียบได้ทำ�งานร่วมกับบริษัทจีนเพื่อเพิ่มจำ�นวนนักแสดงและพัฒนา เครื่องแต่งกายนักแสดงให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยพระนครมากขึ้น Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 149


นั้นมีความสำ�คัญต่อปากท้องของนักแสดงบางคนที่เธอเคยสอน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ นพ นิตา ลูกศิษย์ เก่าของเธอ เธอชอบสไมล์ออฟอังกอร์มากกว่าการแสดงเพื่อการท่องเที่ยวที่เปิดแสดงอยู่ที่อื่น เพราะ โชว์ชดุ นีท้ �ำ การแสดงในโรงละครจริง ๆ จริงอยูท่ ผี่ ชู้ มรับประทานอาหารเย็นด้วย แต่บริเวณทีเ่ ป็นส่วน รับประทานอาหารก็แยกจากบริเวณทีท่ �ำ การแสดง ดังนัน้ ระหว่างการแสดงความสนใจจึงอยูท่ ตี่ วั ศิลปิน นอกจากนัน้ โชว์นยี้ งั มีการจัดแสงอย่างมืออาชีพ และนางรำ�มีทกั ษะในระดับสูง แม้วา่ สไมล์ออฟอังกอร์ จะเป็นการรวบรวมเอาแต่ละส่วนของการรำ�แบบดัง้ เดิมหลายชุด เข้ามารวมไว้ดว้ ยกัน แต่ครูพจิ เห็นว่า มันเป็นการแสดงร่วมสมัย เพราะมันได้ผสมผสานวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายแบบใหม่ที่ออกแบบขึ้น โดยนักออกแบบท่าเต้นชาวจีน เธอไม่ได้มองว่านี่คือปัญหา เพราะเธอเห็นว่าผู้เข้าชมซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มักจะเบื่อหน่ายกับท่วงท่ารำ�ที่เชื่องช้าของนาฏศิลป์ดั้งเดิม

การท่องเที่ยวและความศักดิ์สิทธิ์ นักแสดงในเสียมเรียบ อย่างเช่นรานี นิตา โสภอร์ และครูพิจ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ทีจ่ ะแบ่งปันวัฒนธรรมกัมพูชาให้กบั นักท่องเทีย่ ว ทัง้ ชาวต่างประเทศและกัมพูชา พวกเธอมีความภาคภูมใิ จ ในความสามารถที่จะแสดงออกถึงความยืนหยัดของวัฒนธรรมกัมพูชา พวกเธอรู้สึกว่าเครื่องแต่งกาย ความงดงามของท่วงท่า และความสำ�คัญทางประวัตศิ าสตร์ของนาฏศิลป์ประเพณีเป็นสิง่ ทีด่ งึ ดูดนักท่องเทีย่ ว มาชมระบำ�โบราณ ในโลกที่ดูเหมือนว่าสิ่งต่าง ๆ ทวีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น เนื่องจากโลกาภิวัตน์ เพิ่มความเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของโลกเข้าด้วยกัน การแสดงที่มีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์อย่าง ระบำ�โบราณ ได้กลายเป็นส่วนสำ�คัญทีแ่ ยกไม่ออกจากอัตลักษณ์ของชาติ และพร้อมกันนัน้ ก็กลายเป็น สิง่ ทีด่ งึ ดูดจินตนาการของนักท่องเทีย่ วได้เป็นอย่างดี (Salazar 2010; Causey 2003) การทีน่ กั ท่องเทีย่ ว ปรารถนาที่ จ ะเห็ น วั ฒ นธรรมประเพณี ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ยั ง ช่ ว ยให้ ก ารแสดงนี้ ยิ่ ง เพิ่ ม ความเป็ น ภาพแทนของความเป็นชาติ (Harrison 2003) ทุ กวันนี้ศิลปินในเขตเสียมเรียบมีส่วนร่ว มอย่างยิ่งในการผลักดันให้การประพฤติปฏิบัติ วัฒนธรรมนี้ได้รับการสืบทอดต่อไป พวกเขายอมรับว่าการแสดงตามแหล่งต้อนรับนักท่องเที่ยวไม่ ได้มีความเหมาะสมที่สุดอย่างที่มันควรจะเป็น เนื่องจากทักษะการรำ�ของนักแสดงยังค่อนข้างตํ่า อาหารและเครื่องดื่มมึนเมาไม่ควรให้บริโภคระหว่างทำ�การแสดง และการเผยส่วนสัดร่างกายของ นักแสดงในลักษณะที่ทำ�ให้พวกเธอรู้สึกอึดอัด แต่ในขณะเดียวกัน พวกเธอก็มองไม่เห็นว่าจะมีวิธีการ อื่ น ใดที่ จ ะทำ � มาหาเลี้ ย งชี พ หรื อ ส่ ง ต่ อ ความรู้ ท างวั ฒ นธรรมที่ ไ ด้ รั บ มาจากการเรี ย นนาฏศิ ล ป์ เมื่อนาฏศิลป์เชิงพิธีกรรมถูกตัดขาดจากราชวงศ์ ศิลปินส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถที่จะมีเงินเดือนประจำ� ได้จากทางอื่น Diamond (2003) อภิปรายว่านาฏศิลป์ดั้งเดิมได้กลายเป็นแหล่งรายได้ที่สำ�คัญ สำ�หรับผูห้ ญิง ซึง่ ก็เป็นสิง่ ทีไ่ ด้รบั การยืนยันจากหญิงสาวทัง้ สีค่ นทีถ่ กู อ้างถึงในบทความนี้ พวกเธอแต่ละคน ต่างก็ประพฤติปฏิบัติตัวตามความคาดหวังที่ประเทศนี้มีต่อผู้หญิง เมื่อแสดงอยู่บนเวที พวกเธอ ฉายภาพของความสง่างามและความเคร่งขรึมอย่างที่หญิงกัมพูชาพึงเป็น และในขณะเดียวกันก็ช่วย หาเงินเลี้ยงดูครอบครัวของตัวเอง (Derks 2008; Ledgerwood 1994)

150

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


อย่างไรก็ตาม คุณค่าของระบำ�โบราณยังเป็นสิง่ ทีศ่ ลิ ปินเหล่านีโ้ ต้แย้ง เพราะเมือ่ เทียบกับนักแสดง ในพนมเปญ นักแสดงในเสียมเรียบได้รบั ค่าตอบแทนตํา่ กว่ามาก ด้วยเงินเดือนเพียง 45 เหรียญสหรัฐฯ หรือสองเหรียญสหรัฐฯ ต่อการแสดงหนึ่งครั้ง ทั้งรานีและนิตารู้สึกว่างานของเธอมีคุณค่ามากกว่า ค่าตอบแทนที่ได้รับ ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันยกย่องว่าการแสดงทางวัฒนธรรมนี้คือจิตวิญญาณ ของประเทศ และมักจะบรรจุการแสดงนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานต้อนรับอาคันตุกะจากต่างประเทศ แต่ศิลปะแขนงนี้กลับได้รับการสนับสนุนจากรัฐต่ํามาก งบประมาณของกระทรวงวัฒนธรรมและ วิจิตรศิลป์คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.25 ของงบประมาณที่อัตคัดของประเทศ ซึ่งก็เพียงพอสำ�หรับ จ่ายเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่เท่านั้น Turnbull (2006) ยกตัวอย่างการทำ�ลายโรงละครพระสุรามฤต (Preah Suramarit Theater) เมื่อ ค.ศ. 2008 และการฉ้อฉลเงินงบประมาณสำ�หรับการบูรณะ โรงละครขนาด 1,200 ทีน่ งั่ แห่งนี้ ซึง่ ถือว่าเป็นสถานทีส่ �ำ คัญและเป็นบ้านของคณะนาฏศิลป์ราชสำ�นัก ในพนมเปญ ปรากฏการณ์นี้สะท้อนภาพอนาคตที่มืดมนของนาฏศิลป์ดั้งเดิม โสภอร์สังเกตเห็นว่า ไม่มกี ารสนับสนุนศิลปะการแสดงนีเ้ ท่าทีค่ วร ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของการฝึกฝนนักแสดงและเงินเดือนทีต่ าํ่ ทั้งหมดนี้ทำ�ให้เธอรู้สึกไม่แน่ใจว่าศิลปะแขนงนี้มีความสำ�คัญจริงหรือไม่ สำ�หรับเธอ คุณค่าเชิง สัญลักษณ์และเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ผูกโยงกัน ดังนั้นการขาดปัจจัยสนับสนุนด้านการเงินจึงเป็นเสมือน การลดทอนความสำ�คัญของนาฏศิลป์นี้ไปพร้อมกัน การทีร่ ฐั บาลไม่สามารถทีจ่ ะสนับสนุนด้านการเงินให้กบั นักแสดงได้ ส่งผลให้พวกนักแสดงต้อง ไปแสวงหางานทำ�ทีอ่ นื่ แต่เจ้าหน้าทีข่ องรัฐก็ยงั แสดงความกลัวว่าระบำ�โบราณจะจางคุณค่าลงเพราะ มลภาวะจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความกลัวนี้คล้ายคลึงกันกับความกลัวของชุมชนชาวบาหลี ในช่วงทศวรรษ 1970 (Ministry of Culture and Fine Arts 2009) อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในบาหลีเป็นสาเหตุของความคิดทีข่ ดั แย้งกัน ชุมชนท้องถิน่ ถกเถียงกันว่าอะไรคือสิง่ ทีเ่ หมาะสมสำ�หรับ การบริโภคของนักท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวก็สร้างแรงบันดาลใจให้บรรดานักแสดง สร้างสรรค์ ช่วยทำ�ให้เกิดการเพิม่ พูนของทักษะการรำ� และทำ�ให้เกิดกระแสความนิยมศิลปะประเพณีที่ เพิม่ ขึน้ ในชุมชนท้องถิน่ (Picard 1990) Heywood (2008) เสนอว่านีเ่ ป็นกรณีทคี่ ล้ายกันกับทีเ่ กิดขึน้ ในกัมพูชาด้วยเหมือนกัน เนื่องจากมีการแสดงบางชุดที่ถูกสงวนรักษาไว้เพื่อพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และ นางรำ�สามารถที่จะ “ธำ�รงมิติที่ศักดิ์สิทธิ์ของนาฏศิลป์ไว้ได้พร้อมกับที่สามารถจะส่งเสริมความนิยม ในด้านศิลปะเพื่อการค้าได้” (หน้า 135) แต่ Heywood กำ�ลังอ้างอิงถึงคณะนักแสดงในสังกัดรัฐบาล ซึ่งบางครั้งก็ออกรับงานแสดงสำ�หรับนักท่องเที่ยวบนเรือสำ�ราญ ไม่ใช่นักแสดงที่รำ�ตามภัตตาคาร บุฟเฟต์และโรงแรมในเสียมเรียบ งานวิจัยของผู้เขียนชี้ว่ายังเร็วไปที่จะสรุปเช่นนั้น นักแสดงส่วนใหญ่ ในเสียมเรียบมาจากครอบครัวที่ยากจนและไม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องได้ ทำ�ให้ ระดับของทักษะในการแสดงค่อนข้างตํ่า องค์กรพัฒนาจากต่างประเทศฝึกฝนให้เด็กกำ�พร้าและ เด็กด้อยโอกาสสามารถแสดงในโรงแรมและภัตตาคาร (Diamond 2003) และการฝึกฝนลักษณะนีย้ งั ไม่ พอเพียง อย่างทีค่ รูพจิ ชีใ้ ห้เห็น นอกจากนัน้ ยังมีแนวโน้มทีจ่ ะจัดแสดงการรำ�บวงสรวงให้นกั ท่องเทีย่ วชม ทั้ง ๆ ที่เป็นการแสดงในพิธีกรรม อย่างไรก็ตาม แม้นิตาจะไม่คิดว่าเยาวชนกัมพูชามีความสนใจศิลปะ ประเพณี แต่ผู้เขียนพบเองว่าเด็ก ๆ ท้องถิ่นพากันมุงดูการแสดงตามตลาดและการแสดงสำ�หรับ นักท่องเที่ยว ซึ่งช่วยจุดประกายความสนใจในศิลปะประเพณีขึ้นอีกในท้องถิ่น

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 151


ความไม่ชดั แจ้งในสถานะของนาฏศิลป์ประเพณีกบั การท่องเทีย่ วนีป้ รากฏในคำ�ให้สมั ภาษณ์ของ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมในช่วงหน้าร้อนของ ค.ศ. 2012 แทนที่เจ้าหน้าที่จะปฏิเสธบทบาทของ การแสดงเพือ่ การท่องเทีย่ วในแง่ทเี่ ป็นการเลียนแบบการแสดงทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ พวกเจ้าหน้าทีก่ ลับมีทศั นะ คล้ายคลึงกับนักแสดงในเสียมเรียบ ทีเ่ ห็นว่าการแสดงเพือ่ การท่องเทีย่ วเป็นทางหนึง่ ทีท่ �ำ ให้นาฏศิลป์ นี้ยังคงมีชีวิตอยู่ โดยทำ�ให้นักแสดงในเสียมเรียบยังคงอยู่ได้ในทางเศรษฐกิจ และช่วยส่งเสริมให้ เกิดความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม แต่ในอีกด้านหนึ่งพวกเจ้าหน้าที่ก็เห็นว่าตลาดการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมเติบโตเกินกว่าจะควบคุมได้ และพวกเขาไม่สามารถติดตามตรวจสอบการแสดงสำ�หรับ นักท่องเที่ยวได้อย่างพอเพียง ในอุดมคติแล้วเจ้าหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมจะต้องเข้าร่วมรับชม การแสดงอย่างสมา่ํ เสมอ เพือ่ ให้แน่ใจได้วา่ ทักษะของนักแสดงมีมาตรฐานสูง และเวทีแสดงอยูส่ งู กว่า ผู้ชมในระดับที่เหมาะสม และมีองค์ประกอบที่สำ�คัญตามประเพณี แต่ปัญหาการขาดเจ้าหน้าที่ ของกรมวัฒนธรรมและวิจติ รศิลป์ในเสียมเรียบ และการทีม่ คี ณะนักแสดงและการจัดแสดงจำ�นวนมาก ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ ทำ�ให้การติดตามตรวจสอบการแสดงทั้งหมดเป็นเรื่องที่ทำ�ไม่ได้ ความศักดิส์ ทิ ธิข์ องระบำ�โบราณคือสิง่ ทีเ่ ป็นเดิมพันหลังจากสงครามกลางเมืองทีย่ าวนานหลาย ทศวรรษ ในฮาวายอิและในบาหลี การนำ�เอาการแสดงเชิงพิธีกรรมหรือที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก พิธกี รรมมาสร้างความบันเทิงเพือ่ การค้า ยังคงเป็นปัญหาและมีความซับซ้อน แม้กระนัน้ ชุมชนท้องถิน่ ก็ยงั มุง่ มัน่ พยายามทีจ่ ะสร้างสรรค์นาฏศิลป์รปู แบบใหม่ ทีแ่ ยกออกไปได้จากการแสดงทีม่ คี วามศักดิ์สิทธิ์ และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมบางส่วนของศิลปะประเพณีของพวกเขาได้ (Howe 2005; Talamantes 2004) แต่การสร้างสรรค์วัฒนธรรมรูปแบบใหม่เป็นสิ่งที่นักแสดงนาฏศิลป์ดั้งเดิม ไม่สามารถทำ�ได้ในกัมพูชาปัจจุบัน เพราะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางศิลปะไม่ได้รับการสนับสนุน เปิ ด โอกาสให้ อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วสามารถลดทอนสารั ต ถะของการแสดงเชิ ง พิ ธี ก รรม ความลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางศิลปะนี้ ส่วนหนึ่งมีที่มาจากอุดมการณ์สมัยอาณานิคม ฝรั่งเศส ที่จัดวางให้นาฏศิลป์ประเพณีเป็นสิ่งหลงเหลือที่มีชีวิตสืบต่อมาจากอาณาจักรพระนคร อั น รุ่ ง โรจน์ และมี ร ากเหง้ า อั น เก่ า แก่ ที่ ย้ อ นกลั บ ไปในอดี ต แนวความคิ ด นี้ ยิ่ ง ลงหลั ก ปั ก ฐาน แน่นหนาขึ้นเมื่อการที่ศิลปะการแสดงนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของมนุษยชาติโดยยูเนสโก (UNESCO’s intangible heritage list for humanity) ประกอบกับ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสร้างท่วงท่าการเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ในศิลปะแขนงนี้ ยังคงมีความลังเล ที่จะสร้างสรรค์ท่ารำ�ใหม่โดยที่ยังไม่ได้รับฉันทานุมัติจากราชสำ�นัก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันได้มีการแยก ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ประเพณีและสถาบันพระมหากษัตริยไ์ ปแล้ว ปัจจุบนั ไม่มกี ารสอนนาฏศิลป์ ดั้งเดิมในพระบรมมหาราชวัง และนักแสดงทำ�งานในสังกัดของกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ ซึ่งเป็นคนละหน่วยงานกันกับสำ�นักพระราชวัง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งปัจจุบันทรงเป็น องค์ อุ ป ถั ม ภ์ ศิ ล ปะ เจ้ า หญิ ง นโรดมบุ ป ผาเทวี กล่ า วว่ า ในขณะที่ ส มเด็ จ ย่ า ของพระองค์ คื อ สมเด็จพระราชินีกุสุมุขได้ทรงเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่สำ�คัญหลายอย่างของนาฏศิลป์ดั้งเดิม แต่หน้าที่ ของพระองค์เองคือการธำ�รงรักษาประเพณีหลังจากความสูญเสียอย่างมหาศาลในยุคเขมรแดง (Norodom and Sellars 2013) นิตา รานี และโสภอร์ เคยได้ยนิ เกีย่ วกับการเต้นร่วมสมัยมาบ้าง แต่แนวคิด ทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงลักษณะใดก็ตามของระบำ�โบราณเป็นสิง่ ทีร่ บั ไม่ได้ส�ำ หรับพวกเธอ ครูพจิ มีทา่ ทีทแ่ี ตกต่าง ออกไปจากคนอื่น เพราะในขณะที่เธอยอมรับการใช้ท่วงท่าจากการเต้นสมัยใหม่ในการแสดงชุด สไมล์ออฟอังกอร์ แต่มันก็ถูกบรรจุไว้ในส่วนที่แยกไว้คนละช่วงกับการแสดงนาฏศิลป์ดั้งเดิม 152

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


นางรำ�ในเสียมเรียบและที่อื่นยังคงยืนยันว่านาฏศิลป์ดั้งเดิมไม่ได้เหลือแค่เปลือกที่ถูกพราก แก่นสารออกไป (Diamond 2012) การแสดงของพวกเธอยังคงมีสาระทางจิตวิญญาณแม้เมือ่ มันถูกนำ�มา แสดงให้นักท่องเที่ยวชม พวกเธอยังคงจุดธูปและสวดบูชาก่อนทำ�การแสดง พื้นที่หลังเวทีการแสดง ถูกจัดไว้เพื่อตั้งหิ้งบูชาบรรพบุรุษที่สร้างขึ้นอย่างง่าย ๆ และอย่างน้อยที่สุดทุกคณะนักแสดงจะจัดพิธี ไหว้ครูทกุ ปีเพือ่ แสดงความเคารพแก่เทพแห่งนาฏศิลป์ ธรรมชาติทล่ี น่ื ไหลของการประพฤติปฏิบตั ศิ ลิ ปะ และธรรมชาติที่ทับซ้อนกันของการประกอบสร้างอุดมการณ์ทำ�ให้ระบำ�โบราณ สามารถทำ�หน้าที่ ได้พร้อมกันไปทั้งสองด้าน ทั้งในฐานะของพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และการแสดงเพื่อความบันเทิงทาง โลกเพราะเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างสองพื้นที่นั้น และข้อห้ามทางวัฒนธรรมที่ถูกประกอบสร้างขึ้น ซึง่ ถูกจัดวางไว้ลอ้ มรอบรูปแบบทางนาฏศิลป์นี้ ต่างก็ท�ำ งานของมันไปพร้อมกัน แม้วา่ มันจะไม่ได้เผยตัว ให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้ชมที่เป็นชาวต่างประเทศ

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 153


อ้างอิง Bruner, Edward. 2005. Culture on Tour: Ethnographies of Travel. Chicago: University of Chicago Press. Burridge, Stephanie, and Fred Frumberg, eds. 2010. Beyond the Apsara: Celebrating Dance in Cambodia. New Delhi: Routledge. Cambodia Intangible Cultural Heritage Committee. 2004. Inventory of Intangible Heritage of Cambodia. Phnom Penh: Ministry of Culture and Fine Arts. Causey, Andrew. 2003. Hard Bargaining in Sumatra: Western Travelers and Toba Bataks in the Mar¬ket Place of Souvenirs. Honolulu: University of Hawai‘i Press. Chandler, David. 2008. A History of Cambodia, 4th ed. Philadelphia: Westview Press. Chheang, Vannarith. 2008. “The Political Economy of Tourism in Cambodia.” Asia Pacific Journal, of Tourism Research 13, no. 3: p. 281-297. Cravath, Paul. 1986. “The Ritual Origins of the Classical Dance Drama of Cambodia.” Asian Theatre Journal 3, no. 2: p. 179-203. --------. 2007. Earth in Flower: The Divine Mystery of the Cambodia Dance Drama. Holmes Beach, FL: DatAsia. Crouch, David, and Luke Desforges. 2003. “The Sensuous in the Tourist Encounter: Introduction: The Power of the Body in Tourist Studies.” Tourist Studies 3, no. 1: p. 5-22. Davis, Kent. 2011. “Le Khmeropile: The Art and Life of Georges Groslier.” In Cambodian Dancers: Ancient and Modern, by Georges Groslier, ed. Kent Davis, trans. Pedro Rodriguez, p. 163-280. Holmes Beach, FL: DatAsia Press. Derks, Annuska. 2008. Khmer Women on the Move: Exploring Work and Urban Life in Urban Cambo¬dia. Honolulu: University of Hawai'i Press. Desmond, Jane. 1999. Staging Tourism: Bodies on Display from Waikiki to Sea World Chicago: Uni-versity of Chicago Press. Diamond, Catherine. 2003. “Emptying the Sea by the Bucketful: The Dilemma in Cambodian Theatre.” Asian Theatre Journal 20, no. 2: p. 147-178. --------. 2012. Communities of Imagination: Contemporary Southeast Asian Theaters. Hono¬lulu: University of Hawaii Press. 154

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Edensor, Tim. 2001. “Performing Tourism, Staging Tourism: (Re)producing Tourist Space and Practice.” Tourist Studies 1, no. 1: p. 59-81. Eriksen, Thomas. 2007. Globalization: The Key Concepts. Oxford: Berg. Frumberg, Fred. 2010. “Beyond Revival and Preservation: Contemporary Dance in Cambodia.” In Beyond, the Apsara: Celebrating Dance in Cambodia, ed. Stephanie Burridge and Fred Frumberg, p. 140-154. New Delhi: Routledge. Groslier, George. 2011. In Cambodian Dancers: Ancient and Modern, ed. Kent Davis, trans. Pedro Rodriguez. Holmes Beach, FL: DatAsia Press. Harrison, Julia. 2003. Being a Tourist: Finding Meaning in Pleasure Travel. Vancouver: University of British Columbia Press. Heywood, Denise. 2008. Cambodian Dance: Celebration of the Gods. Bangkok: River Books. Hideo, Sasagawa. 2005. “Post/colonial Discourses on the Cambodian Court Dance.” Southeast Asian Studies 42, no. 4: p. 418-441. Howe, Leo. 2005. The Changing World of Bali: Religion Society and Tourism. New York: Routledge. Kim Sophors. 2012. Interview with the author, 26 August. Kirshenblatt-Gimblett. 2004. “Intangible Heritage as Metacultural Production.” Museum Interna-tional 56, no. 1-2: p. 52-65. Ledgerwood, Judy. 1994. “Gender Symbolism and Culture Change: Viewing the Virtuous Woman in the Khmer.” In Cambodian Culture since 1975: Homeland and Exile, ed. May Ebihara, Carol Mortland, and Judy Ledgerwood, p. 119-128. Ithaca, NY: Cornell University Press. ----------. 1996. “Politics and Gender: Negotiating Conceptions of the Ideal Woman in Present Day Cambodia.” Asia Pacific Viewpoint 37, no. 2: p. 139-152. Ministry of Culture and Fine Arts. 2008. Royal Ballet. Phnom Penh: UNESCO/ Japanese Funds and Trust. ---------. 2009.“Case Study Report: Cambodia: Living Human Treasure of Classical Dance.” Proceedings of the Training Course for Safeguarding of Intangible Heritage. p. 1-3. Asia/Pacific Cultural Centre for LTNESCO, Kyoto, Osaka, and Nara, Japan, 15-22 July 2009. http://www.accu.or.jp/ich/en/ training/case study_pdf/ 09_10/ case_study_report_cambodia.pdf, accessed 11 November 2009. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 155


Ministry of Tourism. 2012. Tourism Statistics Annual Report: 2011. Phnom Penh: Statistics and Tourism Information Department. Ness, Sally. 2003. Where Asia Smiles: An Ethnography of Philippine Tourism. Philadelphia: University of Pennsylvania Press. Norodom Buppha Devi and Peter Sellars. 2013. “Intangible Treasure: HRH Princess Buppha Devi in Conversation with Peter Sellars.” New York Public Library for the Performing Arts. 30 April. Orn Sophearika. 2012. Interview with the author, 17 May. Ouk Rany. 2012. Interviews with the author, 16 August and 21 August. Phim, Toni, and Ashley Thompson. 1999. Dance in Cambodia. New York: Oxford University Press. Picard, Michael. 1990. ‘“Cultural Tourism’ in Bali: Cultural Performances as Tourist Attrac¬tion.” Indonesia A\ p. 37-74. Salazar, Noel. 2010. “The Globalization of Heritage through Tourism: Balancing Standardization and Differentiation.” In Heritage and Globalisation, ed. Sophia Labadi and Colin Long, p. 130-146. New York: Routledge. Shapiro, Toni. 1994. Dance and the spirit of Cambodia. Unpublished PhD diss., Cornell University, Ithaca, NY. Stillman, Amy. 1996. “Hawaiian Hula Competitions: Event, Repertoire, Performance, Tradition.” Journal of American Folklore 109, no. 3: p. 357-380. Talamantes, Maria. 2004. “The Cultural Politics of Performance: Women, Dance Ritual, and the Transnational Tourism Industry in Bali.” Unpublished PhD diss., University of California, Riverside. Turnbull, Robert. 2006. “A Burned-Out Theater: The State of Cambodia’s Performing Arts.” In Expressions of Cambodia: The Politics of Tradition, Identity and Change, ed. Leakthina Chau-Pech oilier and Tim Winter, p. 133-149. New York: Routledge. Urry, John. 1990. The Tourist Gaze: Leisure and Travel in Contemporary Societies. Newbury Park, CA: Sage. Winter, Tim. 2007. Post-Conflict Heritage, Postcolonial Tourism: Culture Politics and Development at Angkor. New York: Routledge. World Travel and Tourism Council. 2012. Travel and Tourism Economic Impact 2012: Cambodia, http://www.wttc.org/sitemedia/uploads/downloads/cambodia 2012. pdf, accessed 20 March 2012. 156

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน




การฉวยใช้วัฒนธรรม : การเมืองของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ในเวียดนาม โดย ออสการ์ ซาเลมิงค์ (Oscar Salemink) แปลโดย เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

(Oscar Salemink, “Appropriating Culture: The Politics of Intangible Cultural Heritage in Vietnam” In State, Society and the Market in Contemporary Vietnam: Property, Power and Values, edited by Hue-Tam Ho Tai and Mark Sidel, p. 158–180, 2015, ©Taylor & Francis Group, published by Routledge, reproduced with permission.)


“ ในบริบทของเวียดนามจากวาทกรรมที่เป็นทางการที่เกิดขึ้นในระดับ

ท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และนานาชาติ ในระดับท้องถิ่น การอ้างสิทธิเ์ หนือมรดกวัฒนธรรมอาจตีความได้วา่ เป็นวิธหี นึง่ ในการ ตอบสนองความต้องการทางการเมืองหรือในทางหนึง่ คือความพยายาม ในการทำ�ภูมภิ าคให้เป็นทีร่ จู้ กั ในระดับชาติการเมืองของมรดกวัฒนธรรม ช่วยสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่ระบอบคอมมิวนิสต์หลัง สังคมนิยมของเวียดนาม และในระดับนานาชาติการยกย่องเชิดชูโดย ยูเนสโกทำ�ให้เวียดนามมีทท่ี างในเวทีโลกในฐานะแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ และแหล่งวัฒนธรรมที่น่ายกย่อง


วันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ศาสตราจารย์เหวียน จิ เบน (Nguyen Chi Ben) ผู้อำ�นวยการ สถาบันวัฒนธรรมและสารสนเทศแห่งเวียดนาม (Vietnam Institute of Culture and Information เดิมชื่อ Vietnam Institute of Culture and Arts Studies – VICAS) ได้ผ่านมากรุงอัมสเตอร์ดัม เพื่อหารือเรื่องต่าง ๆ ที่มีความสนใจตรงกันกับผู้เขียน เขามาพร้อมผู้ช่วยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี จังหวัดบัก๊ นิญ (Bac Ninh) และยังเป็นผูอ้ �ำ นวยการกรมการวัฒนธรรมและการท่องเทีย่ วประจำ�จังหวัดด้วย การเดินทางครั้งนี้อยู่ในระหว่างการเป็นตัวแทนของเวียดนามไปประชุมที่สำ�นักงานใหญ่ของยูเนสโก ในกรุงปารีส เพื่อยื่นขอรับการขึ้นทะเบียนดนตรีพื้นบ้านของบั๊กนิญที่เรียกว่ากวานเหาะ (quan ho) เป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (intangible cultural heritage – ICH1) คำ � ว่ า มรดกวั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพ ถู ก ใช้ ใ นเวี ย ดนามโดยการแนะนำ � ของยู เ นสโก ซึง่ ได้จดั การประชุมผูเ้ ชีย่ วชาญติดต่อกันสองครัง้ ในเวียดนามเมือ่ ค.ศ. 1994 ในหัวข้อมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพของชนกลุ่มน้อย และวัฒนธรรมของนครหลวงเฮว้ (Hue) อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ได้รับความสนใจจริง ๆ ก็หลังจากการที่มรดกวัฒนธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกห้าแห่ง เป็นแหล่งทางประวัตศิ าสตร์สามแห่ง คือ เฮว้ ฮอยอัน (Hoi An) และกลุม่ โบราณสถานมีเซิน (My Son Temple Complex) และแหล่ ง ทางธรรมชาติ ส องแห่ ง คื อ อ่ า วฮาลอง (Ha Long Bay) และถํ้ า ฟองญา (Phong Nha cave) ทำ � ให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ ก ารขยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ของ การท่องเทีย่ วและกระแสความภูมใิ จในชาติ ใน ค.ศ. 2003 และ 2005 ตามลำ�ดับ ญาเญิก (nha nhac) ดนตรีราชสำ�นักจากเฮว้และพื้นที่ทางวัฒนธรรมฆ้อง (Space of Gong Culture – khong gian van hoa cong chieng) ของชนกลุ่มน้อยในที่ราบสูงภาคกลาง ได้รับการประกาศเป็นผลงานชิ้นเอกของ มนุษยชาติด้านมรดกวัฒนธรรมมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ต่อมาใน ค.ศ. 2008 ทั้งสองรายการถูกบรรจุ ในบัญชีรายชื่อเกิดใหม่ที่เรียกว่า มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ซึ่งต้องการการคุ้มครองเร่งด่วน (Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding) ย้อนกลับไปใน ค.ศ. 2007 ก่อนที่ศาสตราจารย์เหวียนจะมาเยี่ยมเยียนผู้เขียนที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เวียดนามได้ยื่นขอจดทะเบียน การร้องเพลงกวานเหาะและการร้องเพลงทำ�นองกาจู่ (ca tru) ต่อยูเนสโก2 และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 เพลงทั้งสองรายการก็ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ3 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ค.ศ. 2003 มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ หรือมรดกวัฒนธรรมที่ยังมีการใช้งานอยู่เป็นส่วนสำ�คัญที่สุดของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการดูแลรักษาไว้ก็เป็น เครือ่ งรับประกันการสร้างสรรค์ทตี่ อ่ เนือ่ ง อนุสญ ั ญาระบุวา่ มรดกทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพถูกแสดงออกในรูปแบบเหล่านี้ 1) ประเพณีมขุ ปาฐะและการแสดงออกรวมถึงภาษาในฐานะพาหนะของมรดกทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ 2) ศิลปะการแสดง 3) วิธีปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล 4) ความรู้และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5) ฝีมือช่างดั้งเดิม อนุสญ ั ญาได้นยิ ามมรดกทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพว่าเป็น การปฏิบตั ิ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจน เครือ่ งมือ วัตถุ สิง่ ประดิษฐ์ และพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้อง – ซึง่ ชุมชน กลุม่ คน และในบางกรณีปจั เจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึง่ ของมรดกทางวัฒนธรรมของตน (cf.http://www.unesco.org/culture/ich/index.php?pg=00002, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2008). 2 สำ�หรับการร้องกวานเหาะ อ่าน Le Ngoc Chan (2002, n.d.) สำ�หรับเพลงกาจู่ อ่านงานของบาร์เลย์ นอร์ตนั Barley Norton (1996, 2005, n.d., http://www.gold.ac.uk/music/catru/) และ Nhung Tuyet Tran ใน Hue-Tam Ho Tai & Mark Sidel (eds.) (2012) 3 อ่าน http://www.unesco.org/culture/ich/index.php?RL=00183 และ http://www.unesco.org/culture/ich/index. php?USL=00309 สืบค้นเมือ่ วันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2010. 1

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 161


เรือ่ งราวของการยืน่ ขอขึน้ ทะเบียนแสดงให้เห็นว่าการขอขึน้ ทะเบียนเป็นกระบวนการทางการเมือง ซึ่งมีความซ้อนทับและมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง “ระดับต่าง ๆ” เกี่ยวพันกับความทะเยอทะยาน ทางการเมืองของท้องถิน่ ทีอ่ ยูใ่ นบริบทระดับชาติ รวมทัง้ ความสนใจของชาติ ทางการเมือง วัฒนธรรม ในเวทีสากล และการสร้างอำ�นาจในระดับชาติและนานาชาติ อย่างมีศิลปะและเป็นวิชาการให้แก่ “ผู้เชี่ยวชาญ”4 ในบทความนี้ผู้เขียนวิเคราะห์การฉวยใช้ (appropriation) และการใช้งาน (use) ของ “มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” ในบริบทของเวียดนามจากวาทกรรมที่เป็นทางการที่เกิดขึ้น ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และนานาชาติ ในระดับท้องถิ่นการอ้างสิทธิ์เหนือมรดก วัฒนธรรมอาจตีความได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งในการตอบสนองความต้องการทางการเมืองหรือในทางหนึ่ง คือความพยายามในการทำ�ภูมิภาคให้เป็นที่รู้จัก ในระดับชาติการเมืองของมรดกวัฒนธรรมช่วยสร้าง ความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่ระบอบคอมมิวนิสต์หลังสังคมนิยมของเวียดนาม และในระดับ นานาชาติการยกย่องเชิดชูโดยยูเนสโกทำ�ให้เวียดนามมีทที่ างในเวทีโลกในฐานะแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ และแหล่งวัฒนธรรมที่น่ายกย่อง อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของยูเนสโกที่ประกาศ ใน ค.ศ. 2003 (2003 UNESCO Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ได้นยิ ามมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพไว้วา่ “การปฏิบตั ิ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง – ซึ่งชุมชน กลุ่มคน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน”5 โดยกรอบแนวคิดแล้วการวิเคราะห์ของผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ การใช้มรดกวัฒนธรรม (Uses of Heritage) ทีต่ พี มิ พ์ เมือ่ ค.ศ. 2006 ของ ลอร่าเจน สมิธ (Laurajane Smith) ซึง่ อยูบ่ นพืน้ ฐาน ของแนวคิดว่า

Thaveeporn Vasavakul (2003), “From Fence-Breaking to Networking: Interests, Popular Organizations and Policy Influences in Post-Socialist Vietnam,” ใน Benedict Kerkvliet, Russell Heng, David Koh (eds), Getting Organized in Vietnam: Moving In and Around the Socialist State, Singapore: ISEAS, p. 25–61; Smith, Laurajane (2006), Uses of Heritage, London and New York: Routledge; Salemink, Oscar (2007), “The Emperor’s New Clothes: Re-fashioning Ritual in the Hue Festival,” Journal of Southeast Asian Studies 38(3): p. 559–582. 5 มาตรา 2 ของอนุสญ ั ญาเริม่ ต้นดังนี้ “1) มรดกทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ หมายถึงวิธปี ฏิบตั ิ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัสดุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง – ซึ่งชุมชน กลุ่มคน และในบางกรณี ปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึง่ ของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพซึง่ ถูกส่งผ่านจากคนรุน่ หนึง่ สูอ่ กี รุน่ หนึง่ ได้รบั การสร้างสรรค์ใหม่อย่างสมา่ํ เสมอโดยชุมชนและกลุม่ คน เพือ่ การตอบสนองต่อสิง่ แวดล้อม ปฏิสมั พันธ์กบั ธรรมชาติ และประวัตศิ าสตร์ของพวกเขา และมอบความรูส้ กึ ถึงเอกลักษณ์และความต่อเนือ่ งให้แก่พวกเขา ด้วยเหตุนจ้ี งึ ส่งเสริมความเคารพต่อ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีการพิจารณาเฉพาะมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพเท่าทีส่ อดคล้องกับบทบัญญัตทิ มี่ อี ยูด่ า้ นสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เท่านั้น รวมทั้งข้อกำ�หนดให้มีความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนทั้งหมาย กลุ่มชนและปัจเจกบุคคล และต่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน 2) มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ที่ได้นิยามไว้ในย่อหน้า 1) ข้างต้น ถูกแสดงออกในรูปแบบเหล่านี้ a) ประเพณีมขุ ปาฐะและการแสดงออก รวมถึงภาษาในฐานะพาหนะของมรดกทางวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ b) ศิลปะการแสดง c) วิถีปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล d) ความรู้และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล e) ฝีมือช่าง ดั้งเดิม” อ่าน http://www.unesco.org/culture/ich/index.php? pg=00006 (สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2010). 4

162

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


แนวคิ ด เรื่ อ งมรดกวั ฒ นธรรมไม่ ไ ด้ เ ป็ น เรื่ อ งของ “สิ่ ง ของ” (thing) แต่ เ ป็ น กระบวนการทางวัฒนธรรมและสังคมที่เชื่อมโยงกับการจดจำ�ซึ่งช่วยสร้างวิธีการ ในการทำ�ความเข้าใจและมีส่วนร่วมกับปัจจุบัน...อันที่จริงหนังสือนี้เริ่มต้นจาก ฐานความคิดว่ามรดกวัฒนธรรมทุกอย่างนัน้ ไม่เป็นกายภาพ อย่างไรก็ตาม ในการเน้น ความไม่เป็นกายภาพของมรดกวัฒนธรรม ผูเ้ ขียนไม่ได้ละทิง้ กายภาพหรือพยายาม เลีย่ งทีจ่ ะอภิปรายถึง เพียงแต่ท�ำ ให้ไม่มขี อ้ ได้เปรียบหรือทำ�ให้ผดิ ธรรมชาติดว้ ยการ ดึงรูปทรงและสาระสำ�คัญออกมาให้เห็นชัดเจน ในขณะที่ สถานที่ แหล่งวัตถุ และความเป็นท้องถิ่น อาจจะดำ�รงในฐานะแหล่งที่ส ามารถระบุได้ของมรดก วั ฒ นธรรม...สถานที่ เ หล่ า นี้ ไ ม่ ไ ด้ มี คุ ณ ค่ า โดยธรรมชาติ ข องมั น เองและไม่ ไ ด้ มีความหมายที่มีมาแต่กำ�เนิด6 เธอชี้ให้เห็นว่า “วาทกรรมว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมโดยผู้มีอำ�นาจ” (authorized heritage discourse) “ได้ให้สิทธิพิเศษแก่ค่านิยมและความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอดีตและหลักฐาน ทางกายภาพ และได้ครอบงำ�และตั้งกฎเกณฑ์ต่อวิชาชีพด้านมรดกวัฒนธรรม” ซึ่งตรงกันข้ามกับ วาทกรรมและการปฏิบัติการของมรดกวัฒนธรรมของชุมชนและคนทั่วไป7 สมิธ ไม่ได้พดู ถึงมรดกวัฒนธรรมในด้านทีเ่ ป็นสินทรัพย์แต่พดู ในด้านการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกรณีวาทกรรมชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม ในมาตรา 2 ของอนุสัญญาฯ กล่าวถึง “มรดกโลก” (world heritage properties) และอ้างถึงสิทธิทางปัญญาเป็นกรอบอ้างอิงของ มรดกวัฒนธรรม ในวารสารมิวเซียมอินเตอร์เนชัน่ แนล (Museum International) ฉบับพิเศษว่าด้วยเรือ่ ง มรดกวั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพ ริ ช าร์ ด คู ริ น (Richard Kurin) ได้ แ สดงความเห็ น ไว้ ว่ า “ความเป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม” เป็น “ประเด็นทางเทคนิคและกฎหมาย” ซึ่งอาจจะหาทางออก ได้ด้วยเรื่องสิทธิทางปัญญา8 ในขณะที่ โนริโกะ ไอกาวา (Noriko Aikawa) และเวนด์ เวนด์แลนด์ (Wend Wendland) ได้ชี้ให้เห็นว่าข้อถกเถียงและวาทกรรมเกี่ยวกับการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม ที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพใดบ้ า งที่ แ สดงความกั ง วลต่ อ แนวคิ ด เรื่ อ งสิ ท ธิ ท างปั ญ ญา 9 แต่ ผู้ เขี ย นเหล่ า นี้ แทบไม่ได้กล่าวถึงพัฒนาการของแนวคิดทีเ่ กิดขึน้ ก่อนจะเป็นวาทกรรมและการปฏิบตั ิ ในการปกป้อง มรดกวัฒนธรรมในฐานะทีเ่ ป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม แนวคิดทีว่ า่ มรดกวัฒนธรรมที่ “ไม่เป็นกายภาพ” บางอย่างสามารถเป็นสินทรัพย์ได้ สามารถถือครองได้ เลี่ยงไม่ได้ที่จะลดฐานะมรดกวัฒนธรรม ลงมาเป็น “สิ่งของ” ที่สามารถระบุได้ เป็นวัตถุที่สามารถถูกอ้างสิทธิ์และขัดแย้งกันได้

Smith, Laurajane (2006), Uses of Heritage. London and New York: Routledge, p. 2–3. Smith, Uses of Heritage, p. 5. 8 Kurin, Richard (2004), “Safeguarding Intangible Cultural Heritage in the 2003 UNESCO Convention: A Critical Appraisal,” Museum International 56(1–2): p. 67. 9 Aikawa, Noriko (2004), “An Historical Overview of the Preparation of the UNESCO International Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage,” Museum International 56(1–2): p. 137–149; Wendland, Wend (2004), “Intangible Heritage and Intellectual Property: Challenges and Future Prospects,” Museum International 56(1–2): p. 97–107. 6 7

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 163


เกีย่ วกับนโยบายด้านมรดกวัฒนธรรม ความเป็นรัฐชาติเวียดนามไม่ได้กลมกลืนเป็นเนือ้ เดียวกัน แต่เป็นพืน้ ทีข่ องการแข่งขันซึง่ ผลประโยชน์ทขี่ ดั แย้งกันได้ด�ำ เนินไปและได้ถกู แก้ไข กระนัน้ ก็ตามผลลัพธ์ ของการแข่งขันเหล่านีไ้ ด้รวมเอาผลประโยชน์ของชาติตามทีค่ นรับรูเ้ ข้าไว้ภายใต้กรอบการอภิปรายเดียว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากวาทกรรมของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ (discourse of ICH) รัฐและผูเ้ ชีย่ วชาญได้ยดึ ครองกิจกรรมทีเ่ กีย่ วกับสิง่ ทีเ่ รียกว่ามรดกวัฒนธรรม วิธปี ฏิบตั ิ ผูป้ ฏิบตั ิ และแน่นอน “พืน้ ทีท่ างวัฒนธรรม” (cultural space) ซึง่ เป็นพืน้ ทีท่ กี่ จิ กรรมเหล่านัน้ เกิดขึน้ ได้กลายเป็นเป้าหมาย ของการเข้ามาแทรกแซงของรัฐ ในแง่ทมี่ รดกวัฒนธรรมถูกนำ�เสนอเป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในท้องถิน่ หรือ ในละแวกพืน้ ทีน่ นั้ รัฐได้เข้ามารับรองว่าเป็นของแท้ ทำ�ให้เป็นรูปธรรม และใช้กระบวนการของท้องถิน่ เป็นเครือ่ งมือภายใต้รม่ ใหญ่ทเี่ รียกว่าชาติ ด้วยการกำ�หนดฐานะให้เป็นสมบัตขิ องชาติ ในกระบวนการนี้ ผู้ ค นที่ ทำ � ให้ กิ จ กรรมเกิ ด เป็ น รู ป เป็ น ร่ า งจำ � เป็ น จะต้ อ งถู ก เบี ย ดขั บ ออกไปจากมรดกวั ฒ นธรรม ซึ่งยิ่งทำ�ให้การอนุรักษ์และการฟื้นฟูยากมากขึ้นไปอีก ในบทความนี้ ผูเ้ ขียนได้พฒ ั นามุมมองเชิงวิพากษ์เกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมทีถ่ กู มองเป็นสินทรัพย์ ในด้านที่เกี่ยวกับกระบวนการฉวยใช้ (process of appropriation) ได้แก่ การควบคุมแบบถือสิทธิ์ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการให้คำ�นิยาม การบริหารจัดการ และการใช้มรดกวัฒนธรรมในฐานะที่เป็น สินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ผู้เขียนจะสำ�รวจสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า “การเมืองว่าด้วยอนุสรณ์สถาน” (monumental politics) ในเวียดนาม ซึ่งกลุ่มผู้มีผลประโยชน์ในท้องถิ่นพยายามให้ศูนย์กลาง ทางการเมืองให้การยอมรับ ยกย่องเชิดชู แหล่งมรดกความทรงจำ�และกิจกรรมเชิงพิธกี รรมของพวกเขา ในฐานะที่เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์หรือทางวัฒนธรรม ในส่วนถัดไปจะเปรียบเทียบ กระบวนการการแข่งขันเพือ่ สถานะของมรดกวัฒนธรรมท้องถิน่ ในบริบทภายในประเทศของเวียดนาม กับการแข่งขันในระดับนานาชาติเพื่อสถานะมรดกโลกภายใต้การช่วยเหลือของยูเนสโก ซึ่งพูดถึง การเมืองระดับหมู่บ้านในเชิงเปรียบเทียบกับสากล ในส่วนถัดไป ผู้เขียนขยายความเรื่องการเมือง ที่เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนามในแง่ของการฉวยใช้ ทางวัฒนธรรมภายใต้การแข่งขันทางการเมืองที่มีมาอย่างยาวนานในภูมิภาคนั้น

การเมืองว่าด้วยอนุสรณ์สถานของการอ้างสิทธิ์เหนือมรดกวัฒนธรรม ในขณะร่วมพิธีกรรมที่วัดแห่งหนึ่งในเทศกาลของหมู่บ้านใกล้ ๆ กับเมืองจ่าวด๊ก (Chau Doc) ในสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าโขงเมื่อ ค.ศ. 2005 ผู้เขียนสังเกตดูวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกนำ�ออกมาจากกล่องไม้ ทีแ่ กะสลักอย่างวิจติ รเพือ่ ให้วญ ิ ญาณผูส้ ร้างหมูบ่ า้ นและ “ผูท้ ต่ี ายอย่างไม่ปกติ” ได้เห็น (Malarney 2007) วัตถุทวี่ า่ นีป้ ระกอบด้วยเอกสารสองชิน้ ชิน้ หนึง่ เป็นเอกสารใบประกาศนียบัตรพระราชทาน (sac phong) ซึง่ มีตราประทับของจักรพรรดิมญิ หม่าง (Minh Mang ครองราชย์ ค.ศ.1820–1840) ตัง้ แต่ศตวรรษทีส่ บิ เก้า ส่วนเอกสารอีกชิน้ ใหม่กว่ามากและมีตรากระทรวงวัฒนธรรมและสารสนเทศ ประกาศยกย่องวัดของหมูบ่ า้ น เป็นโบราณสถานที่สำ�คัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (di tich lich su van hoa) อันที่จริง เมื่อไปเยี่ยมชมวัด เจดีย์ ศาลเจ้า หรือศาลากลางหมู่บ้านมักจะพบเห็นประกาศสาธารณะสองสามชิ้น ติดอยู่ภายนอกหรือภายในห้องโถง ได้แก่ แผ่นป้ายบอกเล่าประวัติและความสำ�คัญของสถานที่ ป้ายแสดงรายนาม “ผู้มีอุปการคุณ” (cong duc) แสดงชื่อพร้อมจำ�นวนเงินบริจาค และประกาศ 164

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


การขึ้นทะเบียนโดยกระทรวงวัฒนธรรม ยกย่องให้เป็นโบราณสถานที่มีความสำ�คัญทางวัฒนธรรม หรื อ ทางประวัติศาสตร์พร้อมระบุวันที่ท่ีได้รับการประกาศ ซึ่งมักจะอยู่ในยุคการดำ�เนินนโยบาย โด่ยเหมย (Doi Moi) ในบทนำ�ของการประชุมวิชาการ “Living with the Dead: The Politics of Ritual and Remembrance in Contemporary Vietnam” (อยู่กับคนตาย : การเมืองเรื่องพิธีกรรมและความ ทรงจำ�ในเวียดนามยุคปัจจุบัน) ไมเคิล ดิเกรกอริโอ (Michael DiGregorio) และผู้เขียนนำ�เสนอ ความขนานกันทางประวัติศาสตร์ ระหว่างการให้การรับรองพิธีกรรมท้องถิ่นและการอ้างสิทธิ์ เหนือมรดกวัฒนธรรมโดยคณะกรรมการด้านพิธีกรรมในยุคจักรพรรดิและกระทรวงวัฒนธรรมของ เวียดนามยุคหลังสังคมนิยม10 ดิเกรกอริโอ ได้อธิบายถึงการแข่งขันทีด่ เุ ดือดระหว่างสายตระกูลในท้องถิน่ ในการที่จะให้ได้รับการรับรองว่าเป็นตระกูลที่เป็นผู้ก่อตั้ง นั่นหมายถึงความอาวุโสทางสังคมและ การเมืองด้วย การแข่งขันนี้ส่งต่อมาถึงการต่อสู้เกี่ยวกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และอัตลักษณ์ของวีรบุรุษ ในตำ�นานโดยเฉพาะผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน11 โดยปกติแล้วการต่อสู้ลักษณะนี้มักจะมีทางออกในลักษณะ ทีเ่ ข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ เมือ่ แหล่งประวัตศิ าสตร์ ไม่วา่ จะเป็นวัด ศาลเจ้า หรือเจดีย์ ได้รบั การประกาศ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์หรือทางวัฒนธรรม (giay cong nhan di tich lich su van hoa) จากกระทรวงวัฒนธรรม ดังเช่นที่ปรากฏในพิธีกรรมใกล้ ๆ กับเมืองจ่าวด๊ก ความสำ�คัญของการได้รับการขึ้นทะเบียนนั้นมีมากกว่าคุณค่าทางประวัติศาสตร์หรือทางวัฒนธรรม ของแหล่งประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นมรดกวัฒนธรรม แต่มันยังถูกมองว่ามีนัยยะของการรับรอง อย่างเป็นทางการให้แก่อัตลักษณ์ของจิตวิญญาณที่ได้รับการเซ่นไหว้ ณ แหล่งประวัติศาสตร์นั้น ให้แก่รูปแบบการประกอบพิธีกรรมที่ถูกจัดขึ้น และให้แก่การรับรองทางการเมืองและทางศีลธรรม ของผู้คนในหมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ในปกครองของชุมชน ผู้ซึ่งได้กล่าวอ้างสิทธิ์เป็นกลุ่มแรก บริบททางการเมืองของการแข่งขันของท้องถิน่ ให้ได้รบั การยอมรับจากรัฐบาลกลางปรากฏอยูใ่ น มติขอ้ ทีห่ า้ ของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึง่ ผ่านทีป่ ระชุมใน ค.ศ.1998 แทนทีจ่ ะเป็น กฎหมายมรดกวัฒนธรรม โดยมติขอ้ ทีห่ า้ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะ “สร้างวัฒนธรรมทีก่ า้ วหน้า เต็มไปด้วยอัตลักษณ์ของชาติ” ซึ่งช่วยเปิดโอกาสให้แก่การเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และทำ�ให้มีพื้นที่สำ�หรับการขยายตัวทางศาสนา ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ในยุคการดำ�เนินนโยบายโด่ยเหมย ตัง้ แต่การเริม่ ดำ�เนินนโยบายโด่ยเหมยเมือ่ ค.ศ.1986 การเติบโตทางเศรษฐกิจทีร่ วดเร็วของเวียดนามได้รบั ความบอบชา้ํ จากการปฏิรปู ตลาดทุนนิยมและการเป็นส่วนหนึง่ ของตลาดโลก ซึง่ เป็นกระบวนการทีส่ ง่ ให้ เวียดนามได้รบั การยอมรับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) การปฏิรปู เสรีนยิ มใหม่ซง่ึ เวียดนาม ได้พฒ ั นาความร่วมมือกับธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และผูบ้ ริจาคต่างชาติ ได้สง่ ผลกระทบไม่เพียงต่อตลาดแต่ยงั ส่งผลต่อรัฐบาลให้ถอนตัวออกจากหลายกิจการ (สาธารณสุข การศึกษา และสวัสดิการ) ในกระบวนการที่เรียกอย่างสละสลวยว่า xa hoi hoa (การขัดเกลาทางสังคม) ซึ่งหมายถึงประชาชนต้องจ่ายค่าบริการด้วยเงินของตนเอง DiGregorio, Michael and Oscar Salemink (2007), “Living with the Dead: The Politics of Ritual and Remembrance in Contemporary Vietnam,” Journal of Southeast Asian Studies 38(3): p. 436. 11 DiGregorio, Michael (2007), “Things Held in Common: Memory, Space and the Reconstitution of Community Life,” Journal of Southeast Asian Studies 38(3): p. 441–465. 10

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 165


ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ตดั สินใจทีจ่ ะใช้การฟืน้ คืนศาสนาเป็นการสร้าง ความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ซึ่งขณะนั้นพรรคได้เสื่อมความนิยมลงอย่างหนักจากมาตรการ แบบสังคมนิยมที่ล้มเหลว และจากการขาดความน่าเชื่อถือที่เกิดจากนำ�การพัฒนาแบบทุนนิยมมาใช้ หลังจากมติขอ้ ทีห่ า้ ได้รบั มติรบั รองเมือ่ ค.ศ. 1998 การฟืน้ คืนศาสนาได้เริม่ ต้นขึน้ จากการถูกแปลงไปสู่ ภาพลักษณ์อย่างเป็นทางการของชาติ ในทางหนึง่ มตินไ้ี ด้เปิดโอกาสให้ความพยายามทุกรูปแบบของ ท้องถิ่นได้สร้างแบบแผนประเพณีขึ้นมาใหม่และลงทุนกับสิ่งเหล่านี้ด้วยรูปแบบและความหมายใหม่ แต่ในอีกทางหนึง่ มันได้เอือ้ ให้รฐั บาลมีบทบาทเหนือองค์กรทีด่ แู ลพิธกี รรมและงานประเพณีเหล่านีอ้ ยู่ แล้ว หรือมีบทบาทในการสร้างพิธีกรรมใหม่เพื่อกำ�หนดวาทกรรมเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของเวียดนามให้ เป็นไปในแนวทางใหม่หลังจากการยกเลิกระบบสังคมนิยมสมัยใหม่12 ตัวอย่างเช่น กระทรวงวัฒนธรรมและสารสนเทศได้คดั เลือกเทศกาลท้องถิน่ 10 รายการซึง่ ถูกทึกทัก เอาว่าเป็น “ลักษณะของชาติ” (national character) และมีบทบาทสำ�คัญในการโฆษณาชวนเชือ่ ทางสังคม การเมือง และการส่งเสริมการท่องเทีย่ ว13 ตัวอย่างหนึง่ คือ เทศกาลบูชากษัตริยห์ งุ่ (Hung King Festival) ในเมืองฝูเถาะ (Phu Tho)14 ซึ่งก่อนกลางทศวรรษ 1990 เป็นเทศกาลของท้องถิ่นที่เปิดโอกาส ให้หนุ่มสาวได้มาพบปะเกี้ยวพาราสีกัน จนกลางทศวรรษ 1990 เทศกาลนี้ได้ถูกยกระดับเป็นเทศกาล ระดับชาติเพือ่ เฉลิมฉลองการก่อตัง้ รัฐชาติขนึ้ ตัง้ แต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา การจัดเทศกาลยิง่ เป็นเรือ่ ง การเมืองมากขึน้ เรือ่ ย ๆ มีผนู้ �ำ ทางการเมืองมาร่วมงาน และมีการออกข่าวไปทัว่ ประเทศ ตัง้ แต่ ค.ศ. 2009 ได้กลายเป็นวันหยุดราชการเพียงวันเดียวทีย่ ดึ ตามปฏิทนิ จันทรคติ (วันที่ 10 เดือน 3) ระบบสัญลักษณ์ ของเทศกาลก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเช่นกัน ด้วยกลองและการร่ายรำ�ซึ่งอ้างว่ามาจากสิ่งเตือนถึง จินตภาพของวัฒนธรรมด่งเซิน (Dong Son) ในยุคของกษัตริยห์ งุ่ (ราวศตวรรษทีห่ กถึงสามก่อนคริสตกาล) ในระหว่างช่วงแห่งความขัดแย้งในทศวรรษ 1970 และ 1980 กลองด่งเซินซึ่งพบทั่วไปในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนใต้ของจีน ถูกนำ�เสนอในฐานะทีเ่ ป็นวัตถุแห่ง “สงครามทางโบราณคดี” ระหว่างจีนและเวียดนาม15 สำ�หรับเวียดนาม วัฒนธรรมด่งเซินไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งยุคเริม่ ต้น ของความเบ่งบานทางวัฒนธรรม แต่ยังเป็นการยืนยันถึงวัฒนธรรมเวียดนามที่แท้จริงก่อนการเข้ามา ของอิทธิพลอย่างรุนแรงของจีนในช่วงหลายศตวรรษต่อมา จากทศวรรษ 1970 สัญลักษณ์และ ภาพแทน ทีม่ าจากกลองเริม่ ถูกใช้เป็นเครือ่ งหมายทางการเมือง ปรากฏบนแสตมป์ ในสุสานสงคราม ในอาคารสาธารณะ วัด พิพิธภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ นอกจากนี้จินตภาพของด่งเซินยังถูกนำ�ไป Taylor, Philip (2000), Fragments of the Present: Searching for Modernity in Vietnam’s South. (Honolulu : University of Hawai’i Press); Malarney, Shaun K. (2007), “Festivals and the Politics of the Exceptional Dead in Vietnam,” Journal of Southeast Asian Studies 38(3): p. 515–540 ; Salemink (2007), “The Emperor’s New Clothes.” 13 การสนทนาส่วนตัวกับ ดร. เหวียน จิ เบน (Dr.Nguyen Chi Ben) 14 Malarney (2007), “Festivals and the Politics of the Exceptional Dead;” Salemink, Oscar (2006c), Nieuwe rituelen en de natie: Nederland in de spiegel van Vietnam (New rituals and the nation: The Netherlands in the mirror of Vietnam). VU University Amsterdam: Inaugural lecture, 9 June 2006. 15 Han, Xiaorong (1998), “The Present Echoes of the Ancient Bronze Drum: Nationalism and Archeology in Modern Vietnam and China,” Explorations in Southeast Asian Studies 2 (2); Han, Xiaorong (2004), “Who Invented the Bronze Drum? Nationalism, Politics, and a Sino-Vietnamese Archaeological Debate of the 1970s and 1980s,” Asian Perspectives 43(3): p. 7–33. 12

166

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


เปรียบเทียบกับวัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) ของชนกลุม่ น้อยในทีร่ าบสูงภาคกลางในปัจจุบนั ซึง่ ถูกอนุมานว่าไม่เคยได้รบั อิทธิพลจากอารยธรรมจีน ทำ�ให้ถกู มองว่าเป็น “กลุม่ บรรพบุรษุ ทีย่ งั มีชวี ติ อยู”่ (contemporary ancestors) ของพวกกิญ (Kinh – ชาวเวียดนามในทีร่ าบลุม่ ) ซึง่ ถูกเปรียบเทียบและ ปฏิเสธว่า “มีกำ�เนิดในยุคเดียวกัน”16 การ “รำ�กลอง” ที่แสดงในช่วงเทศกาลบูชากษัตริย์หุ่งมีความ คล้ายคลึงกับการเฉลิมฉลองซึ่งจัดแสดงในเทศกาลฆ้องนานาชาติ (International Gong Festival) ในเมืองเปลกู (Pleiku) ใน ค.ศ. 2009 เพือ่ เฉลิมฉลองการขึน้ ทะเบียนมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ ของ “พื้นที่ทางวัฒนธรรมฆ้องของที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนาม” (Gong cultural space of Vietnam’s Central Highlands) ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ในบทความอื่นว่า รัฐพรรคการเมืองเดียวที่ปกครองแบบพ่อปกครองลูกได้ เฉลิมฉลองความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ชาวเวียดและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ด้วยการ เน้นความงามและการแสดงออกถึงมิติทางวัฒนธรรม ในระดับเดียวกับมิติทางวัฒนธรรมอื่น ๆ อาทิ ศาสนา วิถีชีวิต และ การทำ�มาหากิน กระบวนการทำ�ให้วัฒนธรรมกลายเป็นคติชาวบ้าน (process of folklorization of culture) ได้ถูกส่งต่อกันมาพร้อมกับการควบคุมวิธีปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดตามข้อกำ�หนดโดยหน่วยงานรัฐที่มีต่อพิธีกรรมทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น17 เรื่องนี้ ถูกกล่าวถึงโดยนักวิชาการหลายท่าน อาทิ ศาสตราจารย์ โต ง็อก ทัญ (To Ngoc Thanh) ประธาน สมาคมศิลปะพื้นบ้านแห่งเวียดนาม (Vietnam Folk Art Association) ซึ่งให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ เหล่าดอง (Lao Dong) เกีย่ วกับการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ (intangible cultural heritage) วิพากษ์วิจารณ์แนวโน้มที่ “หน่วยงานรัฐ” (state bodies) จะเข้ามาควบคุม “กิจกรรม ทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนทั่วไป” (grassroots cultural activities) เพื่อเป้าหมายในการโฆษณา และการศึกษา อย่างไรก็ตามในคำ�สัมภาษณ์เดียวกันนีเ้ ขายังคงเห็นกิจกรรมเหล่านีว้ า่ เป็นการแสดงออกถึง “วัฒนธรรมแห่งชาติ”18 กล่าวได้ว่ากิจกรรมทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น พิธีกรรม และเทศกาล รวมทั้ง อนุสรณ์สถานทางประวัตศิ าสตร์หรือทางวัฒนธรรม จะต้องได้รบั การตรวจสอบจากกระทรวงวัฒนธรรม ผ่านการวินิจฉัยและการประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ เมื่อผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงถือเอาว่า มีอ�ำ นาจในการตรวจสอบว่ากิจกรรมทางวัฒนธรรมอะไรทีถ่ อื เป็นมรดกวัฒนธรรม พวกเขาก็ได้ยดึ ครอง กิจกรรมเหล่านี้ซึ่งได้กลายเป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของชาติไปเสียแล้ว อย่างไรก็ตามถือเป็นเรือ่ งสำ�คัญทีจ่ ะต้องกล่าวถึงความเคลือ่ นไหวในการให้การรับรองความถูกต้อง (validation) ในงานทีเ่ กีย่ วกับความแท้ของมรดกวัฒนธรรม ซึง่ มีหลายระดับและเป็นลักษณะสองแนวทาง แนวทางแรกมีลักษณะ “บนลงล่าง” (top-down) กล่าวคือ หน่วยงานรัฐได้ถือสิทธิ์ในการคัดเลือก แก้ไข ปรับเปลีย่ น และกำ�หนด รูปแบบและความหมายของกิจกรรมทางวัฒนธรรมบางอย่างในบางพืน้ ที่ ในฐานะที่มันเป็นมรดกวัฒนธรรม จึงทำ�ให้มีการควบคุมกิจกรรมและถ่ายทอดวิธีปฏิบัติให้แก่ ผูเ้ กีย่ วข้อง ในทางหนึง่ วิธนี เี้ ป็นความต่อเนือ่ งมาจากช่วงก่อนใช้นโยบายโด่ยเหมย ใน “การเลือกสงวน Fabian, Johannes (1983), Time and the Other: How Anthropology Makes its Object, New York: Columbia University Press. 17 Salemink, Oscar (2003a), The Ethnography of Vietnam’s Central Highlanders: A Historical Contextualization, 1850–1990, London: Routledge Curzon; Honolulu: University of Hawai‘i Press (Anthropology of Asia Series). 18 “Folk Art Faces Challenges from Modern and Foreign Cultures,” หนังสือพิมพ์ Viet Nam News วันที่ 13 สิงหาคม 2001. 16

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 167


รักษาเฉพาะสิ่งสำ�คัญ” (selective preservation) ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกวัฒนธรรมที่ “ก้าวหน้า” (progressive) และ “รักชาติ” (patriotic) คู่ควรที่จะได้รับการอนุรักษ์ไว้19 อีกแนวทางหนึ่งคือ “ล่างขึน้ บน” (bottom-up) ในลักษณะทีช่ มุ ชนท้องถิน่ ซึง่ มักก่อรูปขึน้ ภายหลังหรือแม้แต่ในระหว่าง การแข่งขันกันเองระหว่างกลุ่มทางวัฒนธรรมและทางการเมืองในท้องถิ่น ได้พยายามที่จะต่อสู้เพื่อให้ ได้รับการรับรองพื้นที่หรือกิจกรรมทางวัฒนธรรมจากรัฐบาลกลาง (กระทรวงวัฒนธรรม) ซึ่งหมายถึง เป็นการได้รบั การรับรองความถูกต้องของทัง้ “กิจกรรมทางวัฒนธรรมของคนท้องถิน่ ” และทัง้ กลุม่ คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยการตีตราว่ากิจกรรมบางอย่างหรือพื้นที่บางแห่งเป็น “มรดกวัฒนธรรม” ชุมชนเหล่านีไ้ ด้ท�ำ ให้พน้ื ทีแ่ ละกิจกรรมเป็นมรดกวัฒนธรรมขึน้ มาจริง ๆ ด้วยความพยายามในการยึดครอง พื้นที่และกิจกรรมเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของพวกเขาซึ่งได้รับการรับรองความแท้ ความถูกต้องโดยรัฐบาล อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นอยู่มีความซับซ้อนมากกว่าการเปรียบเทียบสิ่งตรงข้ามกันราวกับ ถนนที่มีการเดินรถสองทาง ดังเช่นการปฏิรูปตามนโยบายโด่ยเหมยได้ทำ�ให้เกิดความเคลื่อนไหว (ที่กระจัดกระจาย) ของชาวนาที่ไม่พอใจในปัญหาความยากจน20 ในขณะที่นโยบายตามมติข้อที่ห้า ที่ได้รับมติรับรองเมื่อ ค.ศ. 1998 กลับได้รับความพึงพอใจมากกว่าจากกิจกรรมทางวัฒนธรรมของ ท้องถิน่ ซึง่ มักใช้ศาสนาเป็นสือ่ กลาง เพราะได้ให้การยอมรับทางการเมืองอย่างเป็นทางการแก่กจิ กรรม ทางวัฒนธรรม พิธกี รรมและกิจกรรมทางศาสนาของท้องถิน่ ซึง่ ได้เริม่ ปฏิบตั มิ าตัง้ แต่ตน้ ทศวรรษ 199021 สิง่ นีแ้ สดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ในภาพรวมแล้ว การริเริม่ ของท้องถิน่ ได้รบั อิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง แม้ในภาวะปราศจากกระบวนการเสรีประชาธิปไตย (ผ่านทางการเลือกตัง้ เสรี) หรือประชาสังคมทีเ่ ข้มแข็ง22 นอกจากนี้ ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วข้างต้น รัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งได้ประกาศ ใช้การปฏิรูปแบบเสรีนิยม (ใหม่) มีความต้องการความชอบธรรมทางการเมืองมากกว่าสังคมนิยม ซึ่งได้ถูกละทิ้งจากภาพของการมีนโยบายเศรษฐกิจที่ปฏิบัติได้จริงและถูกวิพากษ์วจิ ารณ์อย่างหนักว่า

Cf. Salemink (2003a), The Ethnography. Kerkvliet, Benedict (1997), Land Struggles and Land Regimes in the Philippines and Vietnam during the Twentieth Century, Amsterdam: Centre for Asian Studies Amsterdam, Wertheim Lecture; Kerkvliet, Benedict (2005), The Power of Everyday Politics: How Vietnamese Peasants Transformed National Policy, Ithaca, NY: Cornell University Press and Singapore: ISEAS. 21 ใน Ghosts of War in Vietnam, Cambridge: Cambridge University Press, Heonik Kwon (2008) ได้จุดประเด็น ความสนใจในปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตในเวียดนามใต้ แต่แน่นอนว่านั่นไม่ได้เป็นเพียงข้อพิจารณาเดียวเท่านั้น ยังมีข้อเขียนอีกมากกล่าวว่าการฟื้นฟูพิธีกรรมและศาสนายังเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ ความยากดีมีจน และชีวิตความเป็น อยู่ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน มีการบอกเป็นนัยถึงฐานะที่ดีขึ้น และไม่ได้มีเพียงการสนับสนุนจากนโยบาย รัฐที่ให้เสรีภาพมากขึ้นแต่จริง ๆ แล้วยังได้รับการส่งเสริมจากความพยายามของพรรคที่จะสร้างความชอบธรรมทางการ เมืองศาสนาให้แก่การปกครองของพรรค แทนที่จะให้เอกสารอ้างอิงที่แม่นยำ�ผู้เขียนอยากจะแนะนำ�ให้ผู้อ่านอ่านงานของ Hy Van Luong, John Kleinen, Shaun Malarney, Kirsten Endres, Philip Taylor, รวมทั้งงานของผู้เขียนเองด้วย 22 Gray, Michael (1999), “Creating Civil Society? The Emergence of NGOs in Vietnam,” Development and Change 30: p. 693–713; Salemink, Oscar (2006a), “Translating, Interpreting and Practicing Civil Society in Vietnam: A Tale of Calculated Misunderstandings,” in David Lewis and David Mosse (eds), Development Brokers and Translators: The Ethnography of Aid and Agencies, Bloomfield: Kumarian Press, p. 101–126. 19

20

168

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


เป็นเพียงอุดมคติของทศวรรษ 198023 ถ้าคำ�ขวัญ “การกลายเป็นอุตสาหกรรมและการกลายเป็นสมัยใหม่” (cong nghiep hoa, hien dai hoa dat nuoc) ซึ่งเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการไปจน ค.ศ. 2020 ถูกเข้าใจอย่างกว้างขวางว่าหมายถึง “การกลายเป็นตะวันตก” (Westernization) มติขอ้ ทีห่ า้ ก็ได้น�ำ เสนอ วิสยั ทัศน์ทางเลือกของการกลายเป็นสมัยใหม่ เป็นความเป็นสมัยใหม่แบบเวียดนาม ซึง่ อธิบายได้ดว้ ย คำ�พูดที่ว่า “วัฒนธรรมก้าวหน้าที่เต็มไปด้วยอัตลักษณ์ของชาติ” วิสัยทัศน์รักชาติในยุคการกลายเป็น สมัยใหม่นไี้ ม่เพียงแต่ละทิง้ สังคมนิยมตามอย่างสากลนิยมทีไ่ ด้กลายเป็นส่วนเกินจากการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต แต่จำ�เป็นที่จะต้องโอบอุ้มกิจกรรมทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นในฐานะที่แสดงออกถึง ความเป็นชาติที่ “ดั้งเดิม” และ “ทันสมัย” ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความชอบธรรมให้ แก่รัฐพรรคการเมืองเดียว โดยสรุปแล้ว รัฐพรรคการเมืองเดียว มีความต้องการที่จะเข้าไปรับรองความถูกต้องทาง วัฒนธรรมจากกิจกรรมทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นมากพอ ๆ กับที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการการยกย่อง เชิดชูและการรับรองความถูกต้องทางการเมืองอย่างเป็นทางการจากกระทรวงวัฒนธรรม คำ�สำ�คัญ ที่เชื่อมโยงกิจกรรมทางวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและส่วนกลางและกำ�หนดลักษณะการสร้างความ สมเหตุสมผลทางการเมืองของทั้งวิธี “บนลงล่าง” และ “ล่างขึ้นบน” คือ เซยิน ตก (dan toc) ซึง่ มีหลายความหมายและหลายนัยของ ชาติ เกีย่ วกับชาติ และ/หรือ ชาติพนั ธุ์ เชือ้ ชาติ คำ�ว่า dan toc ประกอบด้วย dan แปลว่า “คน” (people) (อาทิ nhan dan หมายถึง กลุ่มคน หรือ มวลชน ในศัพท์ของมาร์กซิสต์ หรือใน nguoi dan หมายถึง “สามัญชน”) และ toc หมายถึงชนเผ่าหรือสายตระกูล อาทิ gia toc24 ทั้งสองระดับ กิจกรรมทางวัฒนธรรมและการเมืองถูกสร้างความชอบธรรมผ่าน กระบวนการในการรับรองความถูกต้องร่วมกัน ด้วยการอ้างอิงถึงวาทกรรมเกี่ยวกับชาติ (dan toc) (ในเชิงชาติพนั ธุม์ ากกว่าในเชิงการเมือง) เพือ่ เป้าหมายภายในประเทศ ในกระบวนการรับรองความถูกต้อง ให้กับการอ้างสิทธิ์ความเป็นมรดกวัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรมและพื้นที่บางอย่างได้กลายเป็น สินทรัพย์ทถี่ กู อ้างกรรมสิทธิโ์ ดยคนหลากหลายกลุม่ ชุมชนท้องถิน่ หรือคนบางกลุม่ ในนัน้ ก็ได้อา้ งสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของเหนือพืน้ ทีแ่ ละกิจกรรมทางวัฒนธรรมบางอย่างเพือ่ แข่งขันกับชุมชนท้องถิน่ หรือคนบางกลุม่ ในชุมชนอืน่ ๆ รัฐก็อา้ งสิทธิใ์ นการมีอ�ำ นาจเข้าถึงและการรับรองความถูกต้องให้แก่มรดกวัฒนธรรม ซึง่ ในการทำ� เช่นนั้นรัฐได้ยึดครองมรดกวัฒนธรรมในนามของชาติ กิจกรรมทางวัฒนธรรมและพื้นที่ที่ถูกอ้างว่า เป็นมรดกวัฒนธรรมจึงได้กลายเป็นสินทรัพย์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น

The extraordinarily well-attended museum exhibition “Hanoi Life under the Subsidy Economy (1975–1986)” (Ha Noi thoi bao cap) in the Vietnam Museum of Ethnology (2006–7) and the popular reactions to it speak volumes in this regard. 24 Pelley, Patricia (1998), “‘Barbarians’ and ‘Younger Brothers’: The Remaking of Race in Postcolonial Vietnam,” Journal of Southeast Asian Studies 29(2): p. 374–391; Pelley, Patricia (2002), Postcolonial Vietnam: New Histories of the National Past, (Durham: Duke University Press); Koh, Priscilla (2004), “Persistent Am biguities: Vietnamese Ethnology in the Doi Moi Period (1986–2001),” Explorations in Southeast Asian Studies 2(2), http://www.hawaii.edu/cseas/pubs/explore/vol5no2.html; Salemink, Oscar (2008b), “Embodying the Nation: Mediumship, Ritual, and the National Imagination,” Journal of Vietnamese Studies 3 (3): p. 257–290. 23

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 169


การเมืองท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์ : ยูเนสโกในบทบาท “กระทรวงวัฒนธรรม” ของโลก มีขอ้ เขียนจำ�นวนมากเกีย่ วกับการเมืองของวัฒนธรรม25 และเกีย่ วกับวัฒนธรรมกับการท่องเทีย่ ว26 การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของมรดกวัฒนธรรมดูจะเป็นเรื่องที่ใหม่กว่า แต่ข้อถกเถียงก็เกิดขึ้น คล้าย ๆ กันด้วยการเพิ่มขึ้นของประเด็นการแข่งขันระดับนานาชาติที่เกิดขึ้นจากทะเบียนมรดกโลก ของยูเนสโก ข้อเขียนเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมส่วนใหญ่กล่าวได้ว่าเป็น “ข้อเขียนของผู้เชี่ยวชาญ” เป็นผลผลิตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การประเมิน การระบุคุณค่า และการจัดการ ทั้งในฐานะ ตัวแทนของยูเนสโก หรือของสถาบันหรือหน่วยงานของประเทศ พวกเขาเป็นคนวงในและเป็น “ผูเ้ ชีย่ วชาญทางวิชาชีพ” เป็นทัง้ ผูเ้ ขียนและผูม้ สี ว่ นร่วมในสิง่ ที่ ลอร่าเจน สมิธ เรียกว่า “วาทกรรมว่า ด้วยมรดกวัฒนธรรมโดยผูม้ อี �ำ นาจ” (authorized heritage discourse)27 เรือ่ งนีเ้ ห็นได้ชดั ในงานเขียน เกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ ตีพมิ พ์เมือ่ ค.ศ. 2004 ในวารสารมิวเซียมอินเตอร์เนชันแนล (Museum International) ฉบับพิเศษ และในการอภิปรายใน ค.ศ. 2002 เกี่ยวกับ “ผลงานชิ้นเอก ด้านมุขปาฐะและวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ : บทสะท้อนของทะเบียนมรดกโลกของยูเนสโก” (Masterpieces of Oral and Intangible Culture: Reflections on the UNESCO World Heritage List) ในวารสารเคอเรนท์ แอนโทรโพโลยี (Current Anthropology) ตัวอย่างเช่น ในวารสารทั้งสองฉบับ ริชาร์ด คูริน ได้เสนอ “การประเมินจุดวิกฤต” (critical appraisal) ของอนุสัญญา ค.ศ.2003 และของกระบวนการจากมุมมองของเขาในฐานะผูอ้ �ำ นวยการ ศูนย์วถิ ชี วี ติ พืน้ บ้านและมรดกวัฒนธรรม สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution Center for Folklife and Cultural Heritage) และจากความได้เปรียบในฐานะคนวงในที่อยู่ในกระบวนการตัดสินใจของยูเนสโก28 แต่คนวงในและ

Hobsbawm, Eric and Terence O. Ranger (eds) (1983), The Invention of Tradition, Cambridge: Cambridge University Press; Comaroff, Jean & John Comaroff (1991), Of Revelation and Revolution: Christianity, Colonialism and Consciousness in South Africa, Volume 1, Chicago and London: University of Chicago Press. 26 Volkman, Toby (1990), “Visions and Revisions: Toraja Culture and the Tourist Gaze,” American Ethnologist 17(1): p. 91–110; Dahles, Heidi (2001), Tourism, Heritage and National Culture in Java: Dilemmas of a Local Community, Richmond: Curzon Press; Hitchcock, Michael (2005), “Afterword.” In Harrison, David and Michael Hitchcock (eds), The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation, Clevedon: Channel View Publications, p. 181–186. 27 Smith (2006), Uses of Heritage. 28 Aikawa, Noriko (2004), “An Historical Overview of the Preparation of the UNESCO International Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage,” Museum International 56 (1–2): p.137–149; Condominas, Georges (2004), “Researching and Safeguarding the Intangible Heritage,” Museum International 56 (1–2): p. 21–31; Kurin, Richard (2004), “Safeguarding Intangible Cultural Heritage in the 2003 UNESCO Convention: a Critical Appraisal,” Museum International 56 (1–2): p. 66–77; Munjeri, Dawson (2004), “Tangible and Intangible Heritage: from Difference to Convergence,” Museum International 56 (1–2): p. 12–20; Nas, Peter J. M. et al.(2002), “Masterpieces of Oral and Intangible Culture: Reflections on the UNESCOWorld Heritage List (มีความเห็นของ HRH Princess Basma Bint Talal, Henri Claessen, Richard Handler; Richard Kurin; Karen Fog Olwig; Laurie Sears; and reply by Peter J.M. Nas),” Current Anthropology 43 (1): p. 139–148. 25

170

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ผูเ้ ชีย่ วชาญก็ไม่พยายามหรือไม่สามารถทีจ่ ะก้าวออกมาจากกรอบ “วาทกรรมว่าด้วยมรดกวัฒนธรรม โดยผูม้ อี �ำ นาจ” และพิจารณามุมมองและความสนใจ “โดยผูไ้ ม่มอี �ำ นาจ” (unauthorized) อย่างจริงจัง ดังเช่นที่ ลอร่าเจน สมิธ เน้นในหนังสือของเธอที่ชื่อ Uses of Heritage (การใช้มรดกวัฒนธรรม) ในหนังสือ The Politics of World Heritage (การเมืองเรื่องมรดกโลก) ที่มี เดวิด แฮริสัน (David Harrison) และไมเคิล ฮิทช์คอก (Michael Hitchcock) เป็นบรรณาธิการ ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.2005 กลุ่มผู้เขียนได้ให้ความสำ�คัญกับบทบาทของยูเนสโกและของประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง ความคาดหวังในการเพิม่ มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของงานอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมด้วยการท่องเทีย่ ว ดังเช่น ที่ระบุไว้ในชื่อรองของหนังสือว่า Negotiating Tourism and Conservation (การต่อรองระหว่าง การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์)29 บทความของ ทิม วินเทอร์ (Tim Winter) เกี่ยวกับความทรงจำ�และ การระลึกถึง ระหว่างการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ที่นครวัดในกัมพูชา ได้เน้นความหมายที่พื้นที่นี้ มีต่อนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาที่มารวมตัวกันในช่วงปีใหม่เพื่อความสนุกสนานและเพื่อดื่มดํ่าความสุข ในความรุ่งเรืองในอดีตของของคนเขมร30 พฤติกรรมเช่นนี้ดูจะช่วยยืนยันแนวคิดของ ชาร์ลส์ คายส์ (Charles Keyes) ที่พัฒนาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ว่าชาติพันธุ์เป็นกลุ่มคน ที่รักษาความเชื่อของตนเกี่ยวกับการมีบรรพบุรุษร่วมกันไว้ด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับอดีตอันยิ่งใหญ่ และความขมขื่น31 ในบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของเวียดนาม ทอมเก้ ลาสค์ (Tomke Lask) และสเตฟาน เฮโรลด์ (Stefan Herold) นำ�เสนอมุมมองทีแ่ ตกต่างไปอย่างมาก โดยการ เรียกร้องกลไกในเชิงสถาบันเพือ่ รองรับชุมชนและการมีสว่ นร่วมในการปกป้องคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรม และ “การจัดการ” ให้ได้มากขึ้น พวกเขาเชื่อว่า “มรดกโลก” เป็นแนวทางที่กำ�ลังเติบโตในบริบท สากล ดังนัน้ จึงดูจะมีความเหมาะสมทีจ่ ะให้การสนับสนุนการปกป้องคุม้ ครองมรดกโลกยุคโลกาภิวตั น์ จึงเป็นความรับผิดชอบที่ใหญ่หลวงของยูเนสโกและหน่วยงานพหุภาคีอื่น ๆ32 ใน “Mundo Maya” แกรม อีแวนส์ (Graeme Evans) ได้ก้าวไปไกลอีกขั้นและให้ข้อวิพากษ์ที่แหลมคมของการแสวงหา ประโยชน์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในพื้นที่มรดกวัฒนธรรม ซึ่งเขากล่าวว่าพื้นที่เหล่านี้ถูกอ้างสิทธิ์ ทั้งที่ควรจะเป็นเจ้าของโดยชาวมายา (Maya) ซึ่งได้เคยสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้ไว้33 สิ่งที่บทความ เขียนออกมาในประเด็นที่หลากหลายเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นคือ ความสนใจที่หลากหลายที่เกิดขึ้น ในการอนุรักษ์และการจัดการพื้นที่มรดก (โลก) ทางวัฒนธรรม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม Harrison, David and Michael Hitchcock (eds) (2005), The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation. Clevedon: Channel View Publications. หนังสือเล่มนี้ถูกพิมพ์เป็นฉบับพิเศษของวารสาร Current Issues in Tourism 7(4–5), 2004. 30 Winter, Tim (2005), “Landscape, Memory and Heritage: New Year Celebrations at Angkor, Cambodia,” in Harrison, David and Michael Hitchcock (eds), The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation, Clevedon: Channel View Publications, p. 50–65. 31 Keyes, Charles F. (1997), “Ethnicity, Ethnic Group,” in The Dictionary of Anthropology, Thomas J. Barfield (ed.), Oxford: Blackwell, p. 152–154. 32 Lask, Tomke. and Stefan Herold (2005), “An Observation Station for Culture and Tourism in Vietnam: A Forum for World Heritage and Public Participation,” in Harrison, David and Michael Hitchcock (eds), The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation, Clevedon: Channel View Publications, p. 119. 33 Evans, Graeme (2005), “Mundo Maya: From Cancun to City of Culture: World Heritage in Post-colonial 29

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 171


แง่มุมเหล่านี้ก็เกิดขึ้นในเวียดนามเช่นกัน แหล่งมรดกวัฒนธรรมของเวียดนามที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนในบัญชีมรดกโลกเป็นแห่งแรกเมือ่ ค.ศ. 1993 คือ “กลุม่ อนุสรณ์สถาน” ในนครหลวงเก่า เฮว้ (Hue) ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงสงครามอินโดจีน มรดกวัฒนธรรม “ศักดินา” ถูกมองด้วย สายตาหวาดระแวงจากผูน้ �ำ คอมมิวนิสต์ ในช่วงสังคมนิยมเรืองอำ�นาจ และหลังการรวมประเทศ ทำ�ให้ มรดกวัฒนธรรมถูกปล่อยให้พงั ทลายมากขึน้ ไปอีก34 ในเวียดนาม การขึน้ ทะเบียนเฮว้เป็นเมืองมรดกโลก ได้รบั การผลักดันจาก ไท กง เหวียน (Thai Cong Nguyen) อดีตผูอ้ �ำ นวยการผูท้ รงอิทธิพลและกว้างขวาง ของศูนย์อนุรักษ์อนุสรณ์สถานเฮว้ (Hue Monuments Conservations Center) จากนโยบาย ต่างประเทศทีส่ ง่ เสริมนโยบายของเวียดนามในการ “เป็นเพือ่ นกับทุกประเทศ” ด้วยการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึง่ ขององค์กรพหุภาคี และจากผู้นำ�ทางการเมืองและนักวิชาการที่มีความรู้สึกเห็นใจเมืองเฮว้ ทั้งหมดนี้ รวมกันจึงสามารถเอาชนะเสียงคัดค้านในประเทศต่อการเสนอขอขึ้นทะเบียนได้ ในระดับนานาชาติ เวียดนามได้รบั การสนับสนุนจากฝรัง่ เศสและญีป่ นุ่ รวมทัง้ การสนับสนุนส่วนตัวจาก ริชาร์ด เองเกิลฮาร์ด (Richard Englehardt) ที่ปรึกษาภูมิภาคด้านวัฒนธรรมในเอเชียและแปซิฟิกของยูเนสโก หลังจากเฮว้ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้กลายเป็นจุดสนใจของนานาชาติ ความเห็นอกเห็นใจ และการสนับสนุนแหล่งมรดกวัฒนธรรมอืน่ ๆ นำ�เสนอโดยกรรมการประชาชนประจำ�จังหวัดทีเ่ ป็นทีต่ งั้ ของมรดกวัฒนธรรมเหล่านี้ ได้ถกู เสนอให้หน่วยงานส่วนกลางพิจารณา ซึง่ นำ�ไปสูก่ ารขึน้ ทะเบียนของ อ่าวฮาลอง (Ha Long Bay) (ขึน้ ทะเบียน ค.ศ. 1994)35 เมืองเก่าฮอยอัน (Hoi An) และมีเซิน (My Son) พืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องอาณาจักรจามโบราณ (ขึน้ ทะเบียน ค.ศ. 1999) และอุทยานแห่งชาติ ฟอง ญา-เก บัง (Phong Nha-Ke Bang) (ขึ้นทะเบียน ค.ศ. 2003) ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงสิบห้าปี แหล่งมรดกทาง วัฒนธรรมสามแห่งและทางธรรมชาติสองแห่งของเวียดนาม ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก รัฐบาลเวียดนามตอบสนองต่อความพยายามของท้องถิน่ ในการเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรมให้ยนื่ ขอขึน้ ทะเบียนมรดกโลกจากยูเนสโก และยังทำ�งานเชิงรุกในการโน้มน้าวยูเนสโกและผูท้ อี่ าจเกีย่ วข้องอืน่ ๆ เหวียน กิม ซุง (Nguyen Kim Dung) จากกระทรวงวัฒนธรรมฯ เขียนว่า “รัฐบาลเวียดนามเห็นว่าการ ระบุ การปกป้อง และการส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพมีความจำ�เป็นในยุคปัจจุบันทีม่ ี ความเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็ว” ในบริบทของโลกาภิวตั น์36 จากผลงานตีพมิ พ์จ�ำ นวนมาก ของนักวิชาชีพและงานสมัยใหม่ และจากการอ้างอิงถึงมรดกวัฒนธรรมในเว็บไซต์ด้านวัฒนธรรมและ การท่องเทีย่ ว เห็นได้ชดั เจนว่าคนเวียดนามจำ�นวนมากมีความภาคภูมใิ จต่อการได้รบั การยกย่องเชิดชู จากนานาชาติ ในขณะที่บริษัทและองค์กรเห็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว และ การหาประโยชน์จากแหล่งมรดกวัฒนธรรม วัตถุ และเรื่องเล่าในบริบทของการท่องเที่ยวเช่นกัน37 Meso-America,” in Harrison, David and Michael Hitchcock (eds), The Politics of World Heritage, p. 35–49. Lockhart, Bruce (2001), “Re-assessing the Nguyen Dynasty,” Crossroads 15(1): p. 9–53; Long, Colin (2004), “Feudalism in the Service of the Revolution: Reclaiming Heritage in Hue,” Critical Asian Studies 35(4): 535–58. 35 Galla, Amareswar (2002), “Museum and Heritage in Development: Ha Long Ecomuseum, a Case Study from Vietnam,” Humanities Research IX(1): p. 63–76. 36 Nguyen Kim Dung (n.d.), “Intangible Cultural Heritage Safeguarding System in Vietnam,” Hanoi: Ministry of Culture and Information, http://www.unesco.org/culture/ich/doc/src/00174-EN.pdf, สื บ ค้ น เมื่ อ วันที่12 สิงหาคม ค.ศ. 2008. 37 อ่าน Huynh Yen Tram My, Truong Vu Quynh, Nguyen Dong Hieu (eds) (2007), Nhung di san the gioi o 34

172

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


กฎหมายว่าด้วยมรดกวัฒนธรรม ซึ่งผ่านการรับรองตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ทำ�ให้เจตนารมณ์ของเวียดนามในการปฏิบัติตามอนุสัญญามรดกโลกของยูเนสโกเป็นทางการขึ้นมา และเป็นการระบุรายละเอียดบทบาทของรัฐบาลและหน่วยงานรวมทั้งหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ ในมาตรา 23 ของกฎหมาย ค.ศ. 2001 แสดงความกังวลต่อการคุ้มครอง “วรรณกรรม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ มุขปาฐะ และเรื่องพื้นบ้านของชุมชนเวียดนามที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์” ผ่านทางการสะสม การรวบรวม การจัดแบ่งกลุม่ และอืน่ ๆ ทีเ่ น้นความเป็นชนกลุม่ น้อย38 ในกฎหมาย ฉบับต่อมาที่ประกาศใช้วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดำ�เนินนโยบาย ด้านมรดกวัฒนธรรมโดยเฉพาะ มีการระบุว่า มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพคือกิจกรรมทาง วัฒนธรรมทีถ่ กู รวบรวมไว้ในตัวผูค้ น และการปกป้องคุม้ ครองควรจะมุง่ เน้นไปที่ “ผูถ้ อื ครองวัฒนธรรม” (cultural carriers) น่าสนใจทีห่ ลังจากมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพปรากฏในกฎหมายฉบับนี้ ต่อมา ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ยูเนสโกก็มมี ติรบั รองอนุสญ ั ญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทีไ่ ม่เป็นกายภาพ ซึง่ เวียดนามได้ให้สตั ยาบันเข้าเป็นภาคีสมาชิกในสองปีถดั มา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ในขณะนั้นยูเนสโกได้ประกาศให้ดนตรีราชสำ�นักเฮว้ (ค.ศ. 2003) และพื้นที่ทางวัฒนธรรมฆ้อง เป็นสองรายการของเวียดนามทีเ่ ป็น “ผลงานชิน้ เอกของมนุษยชาติดา้ นมรดกวัฒนธรรมมุขปาฐะและ มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ” (Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) “ตราประทับให้การรับรอง” (stamp of approval) ของยูเนสโกมีความสำ�คัญต่อผูน้ �ำ เวียดนามมาก ทั้งในแง่นโยบายต่างประเทศและในประเทศ ในระดับนานาชาติการได้รับการรับรองอันทรงเกียรติ จากยูเนสโกในฐานะตัวแทนของคนทั้งโลก ช่วยให้เห็นตัวอย่างมรดกวัฒนธรรมของเวียดนามซึ่งทั้งมี เอกลักษณ์ตามแบบฉบับเวียดนามและความเป็นสากลด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมสำ�หรับมวลมนุษยชาติ ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันระหว่างประเทศ การขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกเป็นการรับรองชื่อเสียง ทางด้านวัฒนธรรมของเวียดนาม ซึง่ สอดคล้องกับทีเ่ วียดนามอ้างว่ามีนโยบายต่างประเทศในการสร้าง มิตรภาพกับทุกประเทศและการเป็นพหุภาคีนิยม39 นอกจากนี้การขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกยังอาจนำ� มาซึง่ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ความช่วยเหลือด้านการเงินจากต่างประเทศต่อโครงการที่ เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ การสงวนรักษา และปกป้องคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรม40 แต่ยงั รวมถึงการขยายตัว อย่างก้าวกระโดดของการท่องเที่ยวนานาชาติในแหล่งมรดกวัฒนธรรมด้วย41 สำ�หรับภายในประเทศ การขึ้ น ทะเบี ย นโดยยู เ นสโกเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ แ สดงถึ ง การให้ ก ารยอมรั บ ในระดั บ นานาชาติ ต่ อ Viet Nam. Danang: NXB Da Nang. ในหนังสือของผูเ้ ขียน “The Emperor’s New Clothes” (2007) ผูเ้ ขียนได้อธิบายว่า เทศกาลเฮว้ได้กลายมาเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองเฮว้ และชาวเวียดนามได้อย่างไร รวมทั้งพื้นที่จัดเทศกาลได้กลาย มาเป็นเวทีแลกเปลี่ยนสำ�หรับการแข่งขันทางวัฒนธรรมของตัวแทนทางศิลปะ ศิลปินจากหลากหลายประเทศได้อย่างไร 38 Nguyen Kim Dung (n.d.), “Intangible Cultural Heritage Safeguarding System,” p. 1. 39 ดังปรากฏเป็นหลักฐานถึง “ความสามารถในการเป็นพหุพาคีนยิ ม” ต่อมาคือเมือ่ เวียดนามได้รบั เลือกเป็นสมาชิกในคณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ซึง่ เป็นทีก่ ล่าวขวัญถึงและเฉลิมฉลองกันอย่างกว้างขวางในเวียดนาม 40 โครงการด้านมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพส่วนใหญ่ที่อยู่ในบัญชีของยูเนสโกจะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโดย เงินบริจาคจากต่างประเทศ และจำ�นวนมากมาจากญี่ปุ่น (อ่าน http://www.unesco.org/culture/ich/index.php? pg=00107, สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2008). 41 เรือ่ งนีช้ ดั เจนจากความตัง้ ใจจริงทีม่ อบให้แก่การประชาสัมพันธ์การให้ขา่ วสารเกีย่ วกับแหล่งมรดกโลก (ดูตวั อย่าง การท่องเทีย่ ว แห่งเวียดนาม http://www.vietnamtourism.com) รวมทั้งจากตัวเลขจำ�นวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ อ่าวฮาลอง เฮว้ ฮอยอัน มีเซิน มีเพียงฟองญาเท่านั้นที่จำ�นวนนักท่องเที่ยวไม่สูงมากเพราะ “ตั้งอยู่ห่างไกล” จากเส้นทางการท่องเที่ยว Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 173


มรดกวัฒนธรรมของเวียดนาม ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับชื่อเสียงทางวัฒนธรรมของเวียดนามรวมทั้ง นโยบายทางด้านวัฒนธรรม อาทิ มติขอ้ ทีห่ า้ ทีม่ ใี น ค.ศ.1998 ในยุคหลังสังคมนิยมซึง่ อัตลักษณ์ของชาติ (ban sac dan toc) ได้มาแทนที่สังคมนิยมในฐานะที่เป็นระบอบของการสร้างความชอบธรรมทาง การเมือง การขึน้ ทะเบียนโดยยูเนสโกจึงได้กลายเป็นเครือ่ งมือทางนโยบายวัฒนธรรมทีท่ รงพลัง เทียบ ได้กบั ความสัมพันธ์แบบเมืองขึน้ ซึง่ ผูป้ กครองเวียดนามในยุคก่อนอาณานิคมต้องบำ�รุงบำ�เรอจักรพรรดิ ของอาณาจักรศูนย์กลางของโลกผู้ซึ่งได้รวบรวมอำ�นาจของสากลไว้ด้วย สองสิ่งที่เกิดขนานกันอย่างชัดเจน คือ ในทางหนึ่งกระบวนการแข่งขันภายในประเทศในการ ทำ�ให้พธิ กี รรมท้องถิน่ หรือกิจกรรมทางศาสนาและพืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิห์ รืออนุสรณ์สถาน ได้รบั ความชืน่ ชม จากหน่วยงานกลางของเวียดนามทัง้ ในรูปของตราประทับของจักรพรรดิหรือประกาศนียบัตรสมัยใหม่ รับรองว่าเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม อีกทางหนึ่งคือกระบวนการแข่งขัน ในระดับนานาชาติซึ่งพื้นที่หรือกิจกรรมบางอย่างได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก มีนยั ของความเป็นตัวแทนของโลกหรือของมวลมนุษยชาติ ทัง้ สองระดับ การเสนอชือ่ เพือ่ รับการขึน้ ทะเบียน ได้น�ำ มาซึง่ ข้อยุตใิ นการแข่งขันและการโต้เถียงในระดับล่าง ๆ ลงไป ในทีซ่ ง่ึ การขึน้ ทะเบียนช่วยรับรองตำ�แหน่ง และศักดิศ์ รีของอำ�นาจสูงสุด ไม่วา่ จะเป็นองค์จกั รพรรดิ รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ หรือยูเนสโก ดังนัน้ ในระดับนานาชาติ ยูเนสโกจึงเล่นบทคล้ายกับทีค่ ณะกรรมการพิธกี ารของจีนในอดีตซึง่ ทำ�หน้าทีร่ บั รอง ความถูกต้องของนโยบายวัฒนธรรมของกระทรวงพิธีการเวียดนาม (Bo Le) ในยุคก่อนอาณานิคม42 เป็นเรือ่ งสำ�คัญทีจ่ ะต้องระลึกไว้เสมอว่า แม้วา่ ในอนุสญ ั ญาของยูเนสโกเกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมจะ อนุญาตให้องค์กรพัฒนาเอกชนสามารถยืน่ ขอขึน้ ทะเบียนพืน้ ที่ วัตถุหรือกิจกรรมได้ แต่องค์กรระหว่างประเทศ จะรับคำ�ร้องได้กต็ อ่ เมือ่ การยืน่ ขอนัน้ ได้รบั การสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศทีม่ รดกวัฒนธรรมนัน้ ตัง้ อยู่ รัฐบาลนัน้ จะต้องแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการจัดการ การอนุรกั ษ์หรือสงวนรักษา และ การปกป้องหรือคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรมนัน้ ซึง่ ในการทำ�เช่นนัน้ รัฐบาลจะต้องทำ�ให้มรดกวัฒนธรรม เป็นสินทรัพย์ “ของรัฐ” เพื่อให้รัฐสามารถเข้าไปตรวจสอบ จัดการ และแสดงตัวด้วยผู้เชี่ยวชาญและ เจ้าหน้าทีร่ ฐั ซึง่ ทำ�ให้รฐั เปลีย่ นมรดกวัฒนธรรมและชุมชนทีอ่ าศัยอยูใ่ กล้ ๆ (ในพืน้ ทีก่ นั ชน – buffer zone) หรือชุมชนที่เป็นมรดกวัฒนธรรมเอง (ในฐานะผู้ถือครองวัฒนธรรม) ไปสู่พื้นที่ที่ได้รับการแทรกแซง และกำ�หนดกฎเกณฑ์โดยรัฐ ในขณะเดียวกัน มรดกวัฒนธรรมก็กลายเป็นแหล่งของความภาคภูมิใจ ของชาติและเป็นสัญลักษณ์ของชาติในเวทีโลก ดังนั้น มันจึงยิ่งกลายเป็น “สินทรัพย์ของชาติ”

42

เวียดนามก่อนอาณานิคม (โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 19) ไม่เพียงแต่เอนเอียงวัฒนธรรมและการเมืองไปทางจีนตามทีอ่ ธิบายใน Alexander Woodside’s (1988) Vietnam and the Chinese Model: A Comparative Study of Vietnamese and Chinese Government in the First Half of the Nineteenth Century, Cambridge: Harvard University Press. แต่ยังเคารพ จีนในลักษณะทีเ่ วียดนามเป็นรัฐบรรณาการ แม้วา่ จะมีเอกราชทางการเมืองก็ตาม ในลักษณะเช่นนีก้ ารอ้างสิทธิภ์ ายในประเทศ จะได้รบั การรับรองความถูกต้องได้กต็ อ่ เมือ่ มีการอ้างอิงถึงสิง่ ทีเ่ หนือกว่าอำ�นาจทีเ่ ป็นสากล ซึง่ คล้ายคลึงกับยูเนสโกในปัจจุบนั

174

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพและความขัดแย้งบนที่ราบสูง ผู้เขียนเริ่มต้นบทความนี้ด้วยการเชื่อมโยงว่า ดร.เหวียน จิ เบน มายังกรุงอัมสเตอร์ดัมเพื่อ หารือประเด็นที่เห็นร่วมกัน คือ การตีพิมพ์บทความของผู้เขียนเป็นภาษาเวียดนาม และการเข้าร่วม ประชุมปฏิบัติการของผู้เขียนในเมืองเตยเหวียน (Tay Nguyen) ซึ่งเขาเป็นผู้จัดและเป็นส่วนหนึ่งของ มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ “พื้นที่ทางวัฒนธรรมฆ้อง” อันที่จริงผู้เขียนได้เข้าไปเกี่ยวพันกับ นโยบายเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของที่ราบสูงภาคกลางตั้งแต่เมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1994 เมื่อผู้เขียนได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของกลุ่มชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม” (International Expert Meeting for the Safeguarding and Promotion of the Intangible Cultural Heritage of Minority Groups in Viet Nam) ซึง่ ต่อมาได้กลายเป็นแนวคิดใหม่ของยูเนสโก และสอดคล้องอย่างยิง่ กับแนวคิดเรือ่ งวัฒนธรรมของ เลวี สโทรสส์ (Lévi-Strauss) ทีม่ อี ทิ ธิพลในยูเนสโก มาอย่างยาวนาน43 แผนกใหม่ด้านมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพถูกตั้งขึ้นในยูเนสโก กรุงปารีส ด้ ว ยการสนั บ สนุ น อย่ า งมากจากประเทศญี่ ปุ่ น และมี จั ด คณะทำ � งานด้ ว ยเจ้ า หน้ า ที่ ช าวญี่ ปุ่ น (โนริโกะ ไอกาวา เป็นผู้อำ�นวยการแผนกมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของยูเนสโกในช่วงนั้น)44 ในขณะนั้นแนวคิด (ทางภาษาศาสตร์/มานุษยวิทยา) เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ได้ถูกใช้ในการทดลองการทำ�งานที่แยกขาดจากวิธีปฏิบัติ (ทางประวัติศาสตร์/โบราณคดี) ที่มีอยู่ก่อน ในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นกายภาพของวัตถุ45 “การประชุมผูเ้ ชีย่ วชาญนานาชาติ” เมือ่ ค.ศ. 1994 ทีเ่ วียดนาม ครัง้ หนึง่ ทีฮ่ านอยในเรือ่ งเกีย่ ว กับชนกลุม่ น้อย และอีกครัง้ ในเฮว้ ในเรือ่ งมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของนครหลวงเก่า ถือเป็น งานริเริม่ ทีส่ �ำ คัญอย่างแรกของแผนกนี้46 ในขณะนัน้ เวียดนามยังคงเป็นประเทศทีโ่ ดดเดีย่ วอย่างมาก และการปฏิรปู ตามนโยบายโด่ยเหมยก็เพิง่ จะเริม่ เป็นรูปเป็นร่าง เวียดนามในฐานะตัวเลือกทีน่ า่ แปลกใจ Eriksen, Thomas Hylland (2001), “Between Universalism and Relativism: A Critique of the UNESCO Concepts of Culture,” in Jane K. Cowan, Marie-Bénédicte Dembour, and Richard A.Wilson (eds), Culture and Rights: Anthropological Perspectives, Cambridge and New York: Cambridge University Press, p. 133–47. โคลด เลวี่ สโทรสส์ (1908–2009) เป็นนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศสที่มีอิทธิพลอย่างสูง งานของเขาเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งก่อฐานทางปรัชญาในงานมานุษยวิทยาระยะหลังในลักษณะ “เร่งด่วน” และ “กู้ภัย” มีเป้าหมายเพื่อบันทึกและหาก เป็นไปได้จะช่วยชีวิต “วัฒนธรรม” ไว้ ก่อนที่จะ “สูญพันธุ์” (=เปลี่ยนแปลง) ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่แนวคิดมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพตั้งใจที่จะสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้น 44 ปัจจุบันเรียก Division of Cultural Objects and Intangible Heritage. 45 Aikawa, Noriko (2004), “An Historical Overview of the Preparation of the UNESCO International Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage,” Museum International 56(1–2): p. 137–149; Munjeri, Dawson (2004), “Tangible and Intangible Heritage: from difference to convergence,” Museum International 56 (1–2): p. 12–20. 46 ผลในท้ายที่สุดของการประชุมผู้เชี่ยวชาญที่เฮว้ ก็คือการให้การยกย่อง ดนตรีราชสำ�นัก ญาเญิก เป็นผลงานชิ้นเอกด้าน มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ และการฟื้นฟูนาฏกรรมของราชสำ�นักและดนตรีพื้นเมืองของท้องถิ่น (ของเฮว้) ในช่วง การประชุมผู้เชี่ยวชาญนั้น ความสนใจส่วนใหญ่พุ่งไปที่อาหารเฮว้ในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนนิยมอาหารที่เป็นกายภาพมากกว่า 43

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 175


ของยูเนสโกในการเป็นสนามทดลองแนวคิดมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ จึงทำ�หน้าทีเ่ สมือนจุดตัดกัน ของความสนใจทีไ่ ด้รบั อิทธิพลระดับชาติและอิทธิพลทางวิชาการต่อวาทกรรมมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็น กายภาพที่เพิ่งเกิดขึ้น ในทางหนึ่งเห็นได้ชัดว่ามีความสนใจของญี่ปุ่นที่จะใช้เวียดนามเป็นพื้นที่ศึกษา ซึ่งเห็นได้จากอิทธิพลและการเข้าร่วมในการประชุมผู้เชี่ยวชาญของศาสตราจารย์ยามากุติ โอซามุ (Professor Yamaguti Osamu) และศาสตราจารย์โยชิฮโิ กะ โทคุมารุ (Professor Yosihiko Tokumaru) (ทั้งคู่มาจากโอซาก้า) และศาสตราจารย์คาซึชิเกะ คาเนโกะ (Professor Kazushige Kaneko) (จาก โตเกียว) ผู้ซึ่งพัฒนาแนวคิด “รูปลักษณ์ทางชาติพันธุ์” (ethno-forms) ในอีกทางหนึ่งอิทธิพลภายใน ยูเนสโกจากแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมของ โคลด เลวี่ สโทรสส์ (Claude Lévi-Strauss) ได้ฝังรากลึกโดย นักมานุษยวิทยาชือ่ ดังชาวฝรัง่ เศส จอร์จ คอนโดมินาส (Georges Condominas) ผูซ้ งึ่ เริม่ งานภาคสนาม ในที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนาม คอนโดมินาสเขียนบทนำ�ให้แก่หนังสือที่จัดทำ�ขึ้นจากการประชุม ผูเ้ ชีย่ วชาญนานาชาติและหลังจากนัน้ ยังได้ให้ความช่วยเหลือการวิจยั และการคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพตราบจนวาระสุดท้ายของเขาใน ค.ศ. 201147 ในที่สุดภายในยูเนสโกเองได้มีภาพที่ โดดเด่นขึน้ มาของนักมานุษยวิทยาการดนตรีชาวฝรัง่ เศส-เวียดนาม ทีอ่ าศัยในกรุงปารีส ศาสตราจารย์ เจิ่น หว่าน เค (Professor Tran Van Khe) ผู้ซึ่งมีบทบาทสำ�คัญในการประชุมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพทั้งในเรื่องชนกลุ่มน้อยของเวียดนามและเรื่องเมืองเฮว้ ขณะทีเ่ รือ่ งนีอ้ าจจะอธิบายความสนใจทีน่ า่ ประหลาดใจของยูเนสโกต่อเวียดนามได้ แต่ยงั ไม่ได้ อธิบายว่าทำ�ไมเวียดนามจึงสนใจที่จะปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ของชนกลุม่ น้อยชาติพนั ธุซ์ งึ่ วัฒนธรรมของพวกเขามักจะถูกตีตราว่า “ล้าหลัง” และ “โบราณ” ซึง่ ปรากฏ อย่างชัดเจนในการกำ�หนดนโยบายทางวัฒนธรรมของ หน่ง ก็อก เจิ้น (Nong Quoc Chan) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม48 หรือ “มรดกวัฒนธรรมศักดินา” (feudal heritage) ของระบอบราชสำ�นักในอดีต49 ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงประเด็นปัญหาของมรดกวัฒนธรรมเฮว้ ซึ่งกลุ่ม โบราณสถานได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลกเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม ที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพของชนกลุ่ ม น้ อ ยชาติ พั น ธุ์ นั ก วิ ช าการจำ � นวนมากที่ ไ ด้ ปั ก หลั ก อยู่ กั บ สถาบั น ทางการเมืองของเวียดนามอย่างมั่นคง ต่างไม่เห็นด้วยกับการคุกคามของนโยบายการพัฒนา อาทิ “นโยบายห้ามย้ายถิน่ ฐาน” (sedentarization) และ “การเลือกสงวนรักษาเฉพาะสิง่ สำ�คัญทางวัฒนธรรม” (selective preservation) ต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความมีชีวิตชีวาของชนกลุ่มน้อย

Condominas, Georges (1957), Nous avons mangé la forêt de la Pierre-Génie Goo (Hii saa Brii Mau-Yaang Goo). Chronique de Sar Luk, village mnong gar (tribu proto-indochinoise, des Hauts-Plateaux du Vietnam central), Paris:Mercure de France; Condominas, Georges (1965), L’Exotique est quotidien, Paris: Plon; Condominas, Georges (2001), “Introduction,” In Oscar Salemink (ed.), Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, Paris: UNESCO Publishing (Memory of Peoples), p. 15–32; Condominas, Georges (2004), “Researching and Safeguarding the Intangible Heritage,” Museum International 56 (1–2): p. 21–31. 48 Nong Quoc Chan (2001), “Cultures of the Ethnic Minorities of Viet Nam: Some Problems and Realities,” in Oscar Salemink (ed.), Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, Paris: UNESCO Publishing (Memory of Peoples), p. 111–120. 49 Long (2004), “Feudalism in the Service of the Revolution.” 47

176

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ชาติพนั ธุ50์ คนเหล่านีร้ วมไปถึง หน่ง ก๊วก เจิน้ (Nong Quoc Chan) กวีชาวเตย (Tay) ทีก่ ล่าวถึงข้างต้น รวมทั้งนักชาติพันธุ์วิทยาและนักคติชนวิทยา อย่าง เดิง เงียม บัน (Dang Nghiem Van) โต ง็อก ทัญ (To Ngoc Thanh) และฟาน ซาง เญิต (Phan Dang Nhat) สำ�หรับพวกเขาแล้ว แนวคิดเรื่อง “มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” มีลูกเล่นแฝงอยู่สอง อย่างที่ช่วยให้มันเกาะติดไปกับบริบทของการเมืองของวัฒนธรรมเวียดนามได้ ประการแรก แนวคิด เรื่องมรดกวัฒนธรรมของยูเนสโกเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นสิ่งที่มี ขอบเขตที่ผูกโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกำ�หนดขอบเขตชัดเจน51 ทำ�ให้มันอยู่ร่วมกันได้กับโครงการ จำ�แนกกลุม่ ชาติพนั ธุอ์ ย่างเป็นทางการของเวียดนาม ซึง่ แสดงให้เห็นถึงสมมติฐานเกีย่ วกับความชัดเจน ของวั ฒ นธรรมที่ ดำ � รงอยู่ แ ยกออกจากประวั ติ ศ าสตร์ มากกว่ า การเกิ ด ขึ้ น ทางประวั ติ ศ าสตร์ ผ่านกระบวนการของการทำ�ให้เป็นชนเผ่าและเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน52 ประการที่สอง แม้ว่ายูเนสโก จะยืนยันหนักแน่นว่ามรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพนั้นยังคงปฏิบัติอยู่ (living) และขึ้นอยู่กับ “ผูถ้ อื ครองวัฒนธรรม” (cultural carriers) แนวคิดเรือ่ งมรดกวัฒนธรรมก็ยงั ครอบคลุมไปถึงรูปธรรมของ กิจกรรมทางวัฒนธรรมและการแยกตัวออกมาจากวิถชี วี ติ ประจำ�วันซึง่ มันเป็นส่วนหนึง่ หรือกล่าวให้ถกู คือ เคยเป็นส่วนหนึ่ง ผู้เขียนได้เรียกผลกระทบของนโยบายทางวัฒนธรรมนี้ว่า “การทำ�ให้กลายเป็น คติชาวบ้าน” (folklorization) หมายถึง การทีก่ จิ กรรมทางวัฒนธรรมบางอย่างถูกถอดออกจากบริบท (decontextualized) จากถิ่นวัฒนธรรมซึ่งได้รับความหมายเฉพาะของท้องถิ่นทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ พิธีกรรม ศาสนา และใส่เข้าไปในบริบท (re-contextualized) ของสังคมอื่นที่ผู้คนใช้ ความหมายทางสุนทรียศาสตร์เป็นเกณฑ์สำ�คัญ53 ผลของนโยบายซึ่งตั้งอยู่บนฐานคิดดังกล่าวก็คือ เกิดการแข็งทื่อ (ossification) ของกิจกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งถูกศึกษา สงวนรักษา ปกป้องคุ้มครอง และส่งเสริมนอกบริบทของมัน54 ไม่เพียงแค่นโยบายทางวัฒนธรรมบางอย่างเท่านัน้ ทีส่ ง่ เสริมกระบวนการของการทำ�ให้กลายเป็น คติชาวบ้าน จอห์น เออรี (John Urry 1990) และนักวิชาการอีกจำ�นวนมากได้ชี้ว่าอิทธิพลของตลาด ทีก่ ดดันผ่าน “การจับจ้องของนักท่องเทีย่ ว” (tourist gaze) นัน้ ได้เปลีย่ นกิจกรรมทางวัฒนธรรมและแม้แต่

Salemink (2003a), The Ethnography. Eriksen, Thomas Hylland (1993), “In which Sense Do Cultural Islands Exist?” Social Anthropology 1(1): p. 133–147; Eriksen (2001), “Between Universalism and Relativism.” 52 Condominas (1965), L’Exotique est quotidien; Salemink (2003a), The Ethnography. See also Pelley (1998), “‘Barbarians’ and ‘Younger Brothers;”’ Pelley (2002), Postcolonial Vietnam; Koh (2004), “Persistent Ambiguities.” 53 Salemink (2003a), The Ethnography. 54 Salemink, Oscar (2001b), “Who Decides Who Preserves What? Cultural Preservation and Representation,” in Salemink, Oscar (ed.), Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, Paris: UNESCO Publishing (Memory of Peoples), p. 205–212; Salemink, Oscar (2009), “Where Is the Space for Vietnam’s Gong Culture? Economic and Social Challenges for the Space of Gong Culture and Opportunities for Protection.” Paper for the international conference Economic and Social Changes and Preservation of the Gong Culture in Vietnam and the Southeast Asian Region. Pleiku City, Vietnam, November 12–15, 2009. 50 51

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 177


วิถีชีวิตของชุมชนหลายแห่งให้มีความเตะตาเมื่อถูกมองโดยคนภายนอก55 การจ้องมองจากภายนอก และแนวคิดที่ใช้อธิบายและประเมินกิจกรรมทางวัฒนธรรมบางอย่าง มักจะถูกปลูกฝังโดยผู้ที่มอง วัฒนธรรมว่าถูกพินจิ พิเคราะห์จากภายนอกในฐานะทีม่ คี วามสวยงาม ผิดธรรมดา หรือเพียงแค่เก่าแก่ น่าหลงใหล ซึ่งมักจะตรงกันข้ามกับชีวิตประจำ�วันในปัจจุบัน56 การทำ�ให้กลายเป็นคติชาวบ้าน และ การทำ�ให้ผดิ ธรรมดา (exoticization) โดยแรงผลักดันของตลาด เกิดขึน้ ในเวียดนามรวมทัง้ ในทีร่ าบสูง ภาคกลาง ซึ่งอาจเห็นได้ชัดจากแผ่นพับโฆษณาหรือเว็บไซต์เกี่ยวกับภูมิภาคนี้ และขณะที่เราอาจจะ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปรากฏการณ์การทำ�ให้กลายเป็นคติชาวบ้านจากแรงผลักดันของรัฐ ด้วยนโยบายวัฒนธรรม และปรากฏการณ์การทำ�ให้ผดิ ธรรมดาจากการจับจ้องของนักท่องเทีย่ วทีผ่ ลักดัน โดยตลาด ในสภาพการจริง ปรากฏการณ์ทั้งสองเกิดขึ้นอย่างผสมปนเปเนื่องจากผลประโยชน์ทาง การเมืองและเศรษฐกิจมักจะเกิดร่วมกัน ผลกระทบทีเ่ กิดร่วมกันของกระบวนการทัง้ สองคือสิง่ ทีผ่ เู้ ขียน อยากเรียกว่า การฉวยใช้วฒ ั นธรรม (appropriation of culture) หรือทีถ่ กู ต้องกว่าคือ การยึดครอง กิจกรรมทางวัฒนธรรมบางอย่าง ซึ่งมักจะสร้างความกังวลให้แก่กลุ่มคนบางจำ�พวก ในกรณีนี้คือ ชนกลุม่ น้อยชาติพนั ธุ์ กิจกรรมทางวัฒนธรรมของพวกเขาถูกศึกษา บันทึก ตีความ ตรวจสอบความถูกต้อง โดยผูเ้ ชีย่ วชาญทางวัฒนธรรม และถูกฉวยใช้ไปเป็นส่วนหนึง่ ของมรดกวัฒนธรรมของชาติ ด้วยการยกย่อง ในความหลากหลาย (tinh da dang) และความอุดมสมบูรณ์ (phong phu) หรือกล่าวอีกแบบหนึ่ง ด้วยกระบวนการของการฉวยใช้ทางวัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรมบางอย่างถูกดึงออกมาจากบริบท ถูกแปลความใหม่ ถูกบรรจุหีบห่อใหม่ โดย “คนนอกวัฒนธรรม” และถูกนำ�เสนอสู่ผู้ชมภายนอก ในฐานะที่เป็น มรดกวัฒนธรรมของแท้ (authentic heritage) ซึ่งควรได้รับการสงวนรักษาและฟื้นฟู กระบวนการทางวัฒนธรรมที่ซับซ้อนและหลากหลายถูกลดทอนลงเพื่อให้น่าตื่นตาตื่นใจในการชม ถูกจัดระบบโดยผู้ที่อ้างว่ามีอำ�นาจทางการเมืองและวัฒนธรรมเหนือกระบวนการการตรวจสอบ ความถูกต้องแท้จริงนี้ ด้วยกระบวนการนี้ วัฒนธรรมที่ถูกฉวยไปใช้ได้กลายเป็นสินทรัพย์ ไม่ใช่ของ “ผู้ ถื อ ครองวั ฒ นธรรม” อี ก ต่ อ ไป (คำ � ศั พ ท์ อ าภั พ ของยู เ นสโกซึ่ ง มี นั ย ลดทอน “วั ฒ นธรรม” ลงเป็นสิ่งของ หรือแม้แต่ภาระที่ต้องถือไว้) แต่กลายเป็นของรัฐ และผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรม ที่ถูกควบคุมโดยตลาด มีเกร็ดอย่างหนึ่งที่อาจช่วยอธิบายเรื่องนี้ได้ เมื่อผู้เขียนได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม ผู้เชี่ยวชาญด้านชนกลุ่มน้อย ในฐานะนักวิชาการรุ่นใหม่ใน ค.ศ. 1994 ผู้เขียนถูกขอให้ทำ�หน้าที่ ผู้นำ�เสนอรายงานการประชุม (rapporteur) เนื่องจากผู้เขียนเป็นผู้เข้าร่วมหนึ่งในไม่กี่คนที่สามารถ ใช้ได้ทั้งสามภาษาทางการของการประชุม (อังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนาม) หลังจากนั้นผู้เขียนยังได้ ตอบรับเป็นบรรณาธิการรายงานการประชุมซึ่งน่าจะกลายเป็นงานตีพิมพ์ที่เป็นการบุกเบิกชิ้นแรก ของยูเนสโกเกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพของประเทศหนึง่ 57 ก่อนหน้า ค.ศ. 1996 เมือ่ ผูเ้ ขียน John Urry (1990), The Tourist Gaze: Leisure and Travel in Contemporary Societies, London: Sage. แต่ดู Condominas’ ใช้แนวคิด “exotic” อย่างเชี่ยวชาญใน L’Exotique est quotidien (The exotic is everyday practice) (1966). 57 ฉบับภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ ได้รับการตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2001 ในชื่อ Diversité culturelle au Viet Nam: enjeux multiples, approches plurielles, Paris: Editions UNESCO (Mémoire des peuples) และ Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, Paris: UNESCO Publishing (Memory of Peoples). ในฉบับภาษา 55 56

178

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


เริ่มทำ�งานในฮานอยให้แก่มูลนิธิฟอร์ด (Ford Foundation) การสื่อสารกับนักวิชาการเวียดนาม แทบเป็นไปไม่ได้เลย และในช่วงก่อนยุคอินเทอร์เน็ตมีความจำ�เป็นต้องติดต่อผ่านช่องทางทาง การเมืองของยูเนสโก แต่หลังจาก ค.ศ.1996 ผูเ้ ขียนจึงสามารถเข้าถึงการติดต่อนักวิชาการชาวเวียดนาม ได้ โ ดยตรง อย่ า งไรก็ ต าม ใน ค.ศ.1997 เอกสารแปลบทความที่ นำ� เสนอในการประชุ ม เป็ น ภาษาเวียดนาม โดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้เขียนชาวต่างชาติ ได้รับ การตีพิมพ์ในชื่อ Giu gin va bao ve ban sac van hoa cac dan toc thieu so Viet Nam (การสงวนรักษาและปกป้องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนกลุม่ น้อยชาติพนั ธุเ์ วียดนาม) โดย โรงพิมพ์ วัฒนธรรมชาติพันธุ์ (Nha Xuat Ban Van hoa Dan toc) ซึ่งเป็นโรงพิมพ์ที่ใช้เป็นช่องทางเผยแพร่ งานของของสมาคมศิลปะและวัฒนธรรมชนกลุม่ น้อยชาติพนั ธุ์ (Hoi Van hoa Van Nghe cac Dan toc) ของ หน่ง ก็อก เจิ้น (Nong Quoc Chan)58 น่าสนใจที่บทความของผู้เขียนไม่ได้ถูกรวมไว้ใน การตีพิมพ์ด้วยภาษาเวียดนามใน ค.ศ.1997 และ NCSSH (ปัจจุบันคือ สำ�นักวิชาสังคมศาสตร์ แห่ ง เวี ย ดนาม – Vietnam Academy of Social Sciences) ต้องการให้ผู้เขียน “แก้ไข” บทความของผู้ เขี ย นเพื่ อ ตี พิ ม พ์ เ ป็ น ภาษาเวี ย ดนามใน ค.ศ. 2002 ปั ญ หาที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ของ บทความของผู้เขียน เรื่อง “Who Decides Who Preserves What? Cultural Preservation and Representation” (ใครเป็นคนตัดสินใจว่าใครสงวนรักษาอะไร การสงวนรักษาทางวัฒนธรรมและ การเป็นตัวแทน) คือบทความตั้งคำ�ถามง่าย ๆ ว่า อะไรควรเป็นบทบาทของคนที่เป็นเจ้าของกิจกรรม ทางวัฒนธรรมที่คนภายนอกเชื่อว่าคู่ควรที่จะได้รับการสงวนรักษาไว้ และอะไรสำ�คัญสำ�หรับพวกเขา บนฐานแนวคิดวัฒนธรรมที่กินความหมายมากกว่า คือเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยทั้งวัตถุและ กิ จ กรรมเชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ซึ่ ง เปล่ า ประโยชน์ ที่ จ ะดึ ง องค์ ป ระกอบทางวั ฒ นธรรมบางอย่ า งออกมา เพื่อที่จะทำ�การสงวนรักษาไว้59 แน่นอนว่านี่เป็นคำ�ถามทางการเมืองซึ่งตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ ทางการเมืองต่อมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพในเวียดนามและที่อื่น ๆ การเมืองและการใช้ง านทางการเมืองของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพยิ่งแสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนในนโยบายทางวัฒนธรรมที่ตอบสนองต่อความขัดแย้งและการต่อสู้เพื่อที่ดินและ การเปลีย่ นไปเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ในทีร่ าบสูงภาคกลางของเวียดนาม60 หนึง่ ในนักเขียนของหนังสือ เวียดนามได้รบั การตีพมิ พ์ใน ค.ศ. 2002 ในชือ่ Tinh da dang cua van hoa Viet Nam: Nhung tiep can ve su bao ton, Hanoi: UNESCO/Trung tam Khoa hoc Xa hoi va Nhan van Quoc gia, แต่ต่างบรรณาธิการกัน คือ อดีตประธาน ศูนย์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งชาติ Professor Nguyen Duy Quy. 58 Nhieu tac gia (1997), Giu gin va bao ve ban sac van hoa cac dan toc thieu so Viet Nam, Hanoi: NXB Van hoa Dan toc. 59 Salemink (2001b), “Who Decides Who Preserves What?” 60 Writenet (2002), “Vietnam: Indigenous Minority Groups in the Central Highlands,” Writenet Report 5/2001, Geneva, United Nations High Commissioner for Refugees, Centre for Documentation and Research, January 2002 (http://www.unhcr.org/refworld/pdfid/3c6a48474.pdf); Writenet (2006), “Vietnam: Situation of Indigenous Minority Groups in the Central Highlands,” Writenet Report, Geneva, United Nations High Commissioner for Refugees, Centre for Documentation and Research, June 2006 (http://www.unhcr.org/refworld/docid/ 44c0f55a4.html); Salemink, Oscar (2006b), “Changing Rights and Wrongs: The Transnational Construction of Indigenous and Human Rights Among Vietnam’s Central Highlanders,” Focaal, European Journal of Anthropology 47 (2006): p. 32–47. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 179


ทีต่ พี มิ พ์โดยยูเนสโก ศาสตราจารย์ ฟาน ซาง เญิต (Phan Dang Nhat) ได้เขียนเกีย่ วกับงานวิจยั และ การสงวนรักษาสิ่งที่เขาเรียกว่า “วรรณกรรมอันเป็นนิรันดร์ของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ในเวียดนาม”61 ศาสตราจารย์โง ดุก ติญ (Professor Ngo Duc Thinh) ผู้ที่รับช่วงต่อจาก ฟาน ซาง เญิต ในตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการสถาบันวัฒนธรรมพื้นถิ่นศึกษา (Institute of Folk Culture Studies ปัจจุบันเป็น สถาบันวัฒนธรรมศึกษา – Institute of Cultural Studies) ของศูนย์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งชาติ (National Center for Social Sciences and Humanities) ได้เริ่มรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการใช้กฎหมายจารีตประเพณี (จากคำ�บอกเล่า) และเพลงสวดของชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม ในช่วงกลางทศวรรษ 199062 และในปลายทศวรรษ 1990 ก็ได้วางรากฐานให้โครงการขนาดใหญ่ ในการบันทึก การถอดความ การแปล การตีความบริบท และการตีพิมพ์ประเพณีมุขปาฐะที่สมบูรณ์ และหลากหลาย โดยเฉพาะวรรณกรรม (su thi) ของที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนาม ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.2001 รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจทุ่มงบประมาณเกือบหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐฯ ในโครงการที่ว่านี้ ซึง่ ถือเป็นจำ�นวนสูงทีส่ ดุ ทีเ่ คยรัฐบาลเวียดนามเคยจ่ายให้แก่โครงการวิจยั เดีย่ วในสายสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์63 แม้ว่าโครงการนี้จะมีการเตรียมการล่วงหน้าอย่างดี ช่วงเวลาที่รัฐบาลตัดสินใจให้ทุน เกิดขึน้ ไม่นานหลังจากการประท้วงและจลาจลในพืน้ ทีท่ รี่ าบสูงภาคกลางในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ซึ่งตามมาด้วยสภาพความเก็บกด ผู้คนหลั่งไหลอพยพเข้าสู่กัมพูชา และความขัดแย้งในระดับ นานาชาติ ทำ�ให้นโยบายวัฒนธรรมเข้าไปอยู่ในการต่อสู้ทางการเมืองระดับท้องถิ่นและระหว่างชาติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามข้อเรียกร้อง (ที่เป็นจริงได้ยาก) เพื่อเป็นเขตปกครองตนเองของ มูลนิธคิ นบนทีส่ งู (Montagnard Foundation) ของ ซอ ก๊ก (Ksor Kok) การเปลี่ยนศาสนาไปนับถือ นิกายโปรเตสแตนต์ของคนในที่ราบสูงภาคกลางจำ�นวนมากเป็นประเด็นสำ�คัญของความขัดแย้ง64 ในรายงานหลายชิน้ ได้กล่าวถึงความพยายามของผูป้ กครองท้องถิน่ ทีจ่ ะ “ยกเลิก” การเปลีย่ นศาสนา โดยบังคับให้คนทีร่ าบสูงเปลีย่ นไปประกอบพิธกี รรมทีไ่ ม่ใช่ของศาสนาคริสต์ ซึง่ ผูป้ กครองจินตนาการว่า เป็นส่วนหนึ่งของ “ศาสนาดั้งเดิม”65 แต่ก็เป็นเรื่องชวนเหน็บแนมที่ว่าก่อนหน้านี้ศาสนาดั้งเดิม และพิธีกรรมเดียวกันนี้ได้ถูกตีตราว่าเป็นเรื่อง “งมงาย” “ไม่ถูกสุขลักษณะ” และ “สูญเปล่า”

Phan Dang Nhat (2001a), “The Timeless Epics of the Ethnic Minorities of Viet Nam,” in Oscar Salemink (ed.), Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, Paris: UNESCO Publishing (Memory of Peoples), p. 85–104. 62 Ngo Duc Thinh and Phan Dang Nhat (eds) (1999), Luat tuc va Phat trien Nong thon Hien nay o Viet Nam (Ky Yeu hoi thao khoa hoc) (Customary Law and Rural Development in Present-day Vietnam: Conference Proceedings), Hanoi: NXB Chinh tri Quoc gia (National Political Publishing House). 63 ในช่วงนั้น ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมกับโครงการทั้งกฎหมายจารีตประเพณีและวรรณกรรมซึ่งนำ�โดย โง ดุก ติญ ในฐานะ นักมานุษยวิทยาอาคันตุกะ (และได้เขียนบทความในหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณี Thinh, 1999) และในฐานะ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการสำ�หรับองค์กรระดมทุนเอกชน (The Ford Foundation) ให้ทุนในการอบรมนักวิจัยด้าน ชนกลุม่ น้อยชาติพนั ธุ์ เพือ่ ความยัง่ ยืนทางวัฒนธรรมของท้องถิน่ ผลของโครงการวรรณกรรมมีการตีพมิ พ์งานออกมาถึง 63 ชิน้ 64 ที่ดินเป็นประเด็นปัญหาที่สำ�คัญเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้สร้างความสะเทือนอารมณ์มากเท่ากับเรื่องเปลี่ยนศาสนา ข้อมูลที่มัก จะถูกมองว่าเชื่อถือไม่ได้ เกี่ยวกับมูลนิธิมงตายาร์ตสามารถอ่านได้ที่ http://www.montagnardfoundation.org. 65 Human Rights Watch (2002), Repression of Montagnards: Conflicts over land and religion in Vietnam’s Central Highlands, New York etc.: Human Rights Watch; Writenet (2002), “Vietnam: Indigenous Minority Groups.” 61

180

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


โดยผูม้ อี �ำ นาจกลุม่ เดียวกัน66 การเฉลิมฉลองวัฒนธรรมทีร่ าบสูงอย่างเป็นทางการ ในรูปของวรรณกรรม เป็นการส่งข้อความทางการเมืองทีส่ �ำ คัญในบริบทนัน้ เพราะทัง้ เนือ้ หาทีเ่ กีย่ วกับคติความเชือ่ และบริบท ของพิธีกรรมนั้นตรงกันข้ามกับความเชื่อตามแบบโปรเตสแตนต์ที่กำ�ลังครอบงำ�ที่ราบสูงภาคกลาง อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการตีพิมพ์หนังสือฉบับที่มี 63 ภาษา (ภาษาเวียดนามและภาษาท้องถิ่น) ซึ่งเป็นผลผลิตของโครงการ กลายเป็นอนุสรณ์ที่น่าเกรงขามที่แถลงชัดเจนว่าวรรณกรรมเหล่านี้ไม่ได้ เป็นแค่มรดกวัฒนธรรมมุขปาฐะของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของ มรดกวัฒนธรรมแห่งชาติเวียดนาม ดังนัน้ มันจึงเป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของประเทศเวียดนามด้วย การยืน่ ขอขึน้ ทะเบียน “พืน้ ทีท่ างวัฒนธรรมฆ้อง” ในทีร่ าบสูงภาคกลางต่อยูเนสโกโดยประเทศ เวียดนาม เมื่อ ค.ศ. 2003 (ได้ขึ้นทะเบียน ค.ศ. 2005) ในฐานะที่เป็นผลงานชิ้นเอกด้านมรดก วั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพชิ้ น หนึ่ ง ของโลกนั้ น นอกเหนื อ ไปจากแรงผลั ก ดั น ด้ า นวั ฒ นธรรม ซึง่ มาจากเกณฑ์ทางด้านสุนทรียศาสตร์บวกกับวาทกรรม “วัฒนธรรมทีก่ �ำ ลังสูญหาย” (cf. Ivy 1995)67 แล้วก็ยังมีบริบททางการเมืองที่คล้ายคลึงกัน การแสดงดนตรีฆ้องเมืองเตยเหวียน (Tay Nguyen) ในเทศกาลเฮว้ ค.ศ. 2006 รวมทั้งการรำ�กลองที่ว่ากันว่าเป็นของ “วัฒนธรรมด่งเซิน” (Dong Son culture) จัดแสดงในระหว่างเทศกาลบูชากษัตริย์หุ่ง ซึ่งถูกทำ�ให้ดูคล้ายการแสดงฆ้องของ ชาวทีร่ าบสูงภาคกลาง ทัง้ สองกรณีสามารถตีความว่าเป็นการทำ�ให้ภาพจินตนาการของชาติเวียดในอดีต ให้กลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้หรือไม่ แนวคิดที่ว่า “วัฒนธรรมดั้งเดิม” (traditional culture) ของชนชาติพนั ธุก์ ลุม่ น้อยในทีร่ าบสูงภาคกลางในปัจจุบนั นัน้ เป็นผลโดยตรง และมีความคล้ายคลึงอย่างยิง่ กับวัฒนธรรมด่งเซินนั้นถูกพูดถึงอย่างมากในการประชุม “การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ และการสงวนรักษาวัฒนธรรมฆ้องในเวียดนามและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Economic and Social Changes and Preservation of the Gong Culture in Vietnam and the Southeast Asian Region) ซึง่ ถูกจัดขึน้ เป็นส่วนหนึง่ ในเทศกาลฆ้องนานาชาติ ณ เมืองเปลกู เมือ่ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 200968 ในรูปการณ์เช่นนี้ กลุม่ ชาติพนั ธุท์ ม่ี คี วามแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจนจะถูกรวมเข้าไป ในวิสัยทัศน์ของประเทศที่เน้นความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในย่อหน้าแรกของเอกสารนโยบายของ เวียดนามต่อมรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพ เหวียน กิม ซุง จากกระทรวงวัฒนธรรมและสารสนเทศ Nong Quoc Chan (2001), “Cultures of the Ethnic Minorities;” Salemink (2003a), The Ethnography. Protestantism was introduced to Vietnam’s Central Highlands primarily by the Christian and Missionary Alliance (http://www.cmalliance.org) and by the Summer Institute of Linguistics/Wycliffe Bible Translators (http://www.sil.org and http://www.wycliffe.org). ก่อน ค.ศ. 1975 องค์กรเหล่านี้ไม่ประสบผลสำ�เร็จสักเท่าใด ในแง่ของจำ�นวน แต่หลังจากการจากไปของอเมริกัน ได้เกิดปรากฏการณ์การขยายตัวของโปรเตสแตนต์ขึ้นเองในหมู่ ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ตามที่ได้อธิบายไว้ใน Salemink (2006b), “Changing Rights and Wrongs.” 67 “Disabled man preserves Vietnam’s epics in the mountains” http://www.thanhniennews.com/ features/?catid=10&newsid=27768; “Highlands Oral Epics in Danger of Being Lost,” http://vietnamnews. vnagency.com.vn/showarticle.php?num=02CUL-200308, สืบค้นเมือ่ วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2010; Ivy, Marilyn (1995), Discourses of the Vanishing: Modernity, Phantasms, Japan, Chicago: University of Chicago Press. 68 อ่าน PGS.TS. Nguyen Khac Su, Phan Thanh Toan, Co tang van minh dau tien cua van hoa cong chieng Tay Nguyen (Original civilizational basis of Tay Nguyen culture). Paper presented at the conference “Economic and Social Changes and Preservation of the Gong Culture in Vietnam and the Southeast Asian Region,” Pleiku, November 13–15, 2009. 66

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 181


เขียนว่า “รัฐบาลมีเป้าหมายทีจ่ ะทำ�ให้แน่ใจว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศด้วย 54 กลุม่ ชาติพนั ธุ์ จะมีบทบาทสำ�คัญในการส่งเสริมการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ”69 ในลักษณะเดียวกัน กฎหมายด้านมรดกวัฒนธรรมทีป่ ระกาศใช้เมือ่ วันที่ 29 มิถนุ ายน ค.ศ. 2001 กำ�หนดว่า “นโยบายของรัฐ จะต้องส่งเสริมงานด้านการเก็บสะสม รวบรวม ตีความ สำ�รวจทำ�ระเบียน จัดแบ่งกลุม่ และสงวนรักษา งานด้านวรรณกรรม ศิลปศาสตร์ ประเพณีมุขปาฐะ และคติชาวบ้านของชุมชนชาวเวียดนามที่มี ความหลากหลายทางชาติพันธุ์” (กฎหมายมรดกวัฒนธรรม บทที่ 3 มาตรา 23) ดังนัน้ การสงวนรักษาและการส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพในเวียดนามจึงเกีย่ วข้อง กับความเป็นชาติทมี่ กี ลุม่ ชาติพนั ธุท์ หี่ ลากหลายอย่างชัดเจน ทำ�ให้กจิ กรรมทางวัฒนธรรมทีห่ ลากหลาย เป็นความรับผิดชอบของรัฐในฐานะผูด้ แู ลรักษา “ชุมชนชาวเวียดนามทีม่ คี วามหลากหลายทางชาติพนั ธุ”์ หรืออาจกล่าวอีกทางหนึง่ ว่างานด้านการสงวนรักษาและส่งเสริม “มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ” ทีห่ ลากหลายของกลุม่ ชาติพนั ธุใ์ นเวียดนาม ได้กลายเป็นเหมือนการเฉลิมฉลองชาติ สำ�หรับผูช้ มทัง้ ใน ประเทศ (เทศกาลบูชากษัตริย์หุ่ง) และระดับนานาชาติ (เทศกาลเฮว้) ในบริบทเฉพาะของที่ราบสูงภาคกลางที่ “ไม่ยอมอยู่ใต้การปกครอง” ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามา มีบทบาทด้วย เช่นเดียวกับบางแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนในทีร่ าบสูงภาคกลางเคยเล่นดนตรีฆอ้ ง ในโอกาสที่มีพิธีกรรม อาทิ พิธีกรรมเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิต (โดยเฉพาะพิธีฝังศพ) พิธีกรรมตามฤดูกาล และการเฉลิมฉลองที่มีพิธีกรรมอยู่ด้วย70 พิธีกรรมเหล่านี้เองที่ถูกโปรเตสแตนต์ที่กระตือรือร้น มองอย่างเลือกปฏิบัติว่าเป็นของนอกรีต ดังนั้นการฟื้นฟูของบริบทของพิธีกรรมในชื่อการสงวนรักษา มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ จึงเป็นเหมือนการตีแสกหน้านโยบายทางวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ ในที่ราบสูงของเวียดนาม ความขัดแย้งจึงอยู่ที่พิธีกรรมเหล่านี้เคยถูกเลือกปฏิบัติหรือบางอย่างยังคง ถูกเลือกปฏิบตั โิ ดยผูน้ �ำ คอมมิวนิสต์ (และก่อนหน้านัน้ โดยเวียดนามใต้) เพราะดูงมงาย ไม่ถกู สุขลักษณะ สูญเปล่า หรือไร้อารยธรรม ผู้เขียนเคยโต้แย้งในบทความอื่นว่า นโยบายห้ามย้ายถิ่นฐาน การอพยพ ครั้ ง ใหญ่ แ ละการถางป่ า เพื่ อ ทำ � ไร่ ก าแฟ รวมทั้ ง นโยบายการเลื อ กสงวนรั ก ษาเฉพาะสิ่ ง สำ � คั ญ ทางวัฒนธรรม ได้ท�ำ ให้การนับถือผีทม่ี อี ย่างแพร่หลายของท้องถิน่ และพิธกี รรมทีใ่ ช้ทรัพยากรมากไปด้วยกัน ไม่ได้กบั สภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอย่างเร็วของทีร่ าบสูงภาคกลาง71 ด้วยการสูญเสียแผ่นดินของ บรรพบุรษุ พิธกี รรมและฆ้องก็ได้สญ ู เสียความหมายของตัวเองไป ยกเว้นก็แต่คณ ุ ค่าทีเ่ ป็นเงินตราในการทำ� 72 การค้าศิลปะชาติพนั ธุ์ นีเ่ องทีเ่ ป็นข้อสังเกตสำ�คัญทีไ่ ม่เป็นทีต่ อ้ งการเกีย่ วกับการสร้างบริบททางสังคม

Nguyen Kim Dung (n.d.), “Intangible Cultural Heritage Safeguarding System,” p. 1. Salemink, Oscar (2008a), “Trading Goods, Prestige, and Power: A Revisionist History of Lowlander-Highlander Relations in Vietnam,” in Peter Boomgaard, Dick Kooiman, and Henk Schulte Nordholt (eds), Linking Destinies: Trade, Towns and Kin in Asian History, Leiden: KITLV Press, pp. 51–69. 71 Salemink (2003a), The Ethnography; Salemink, Oscar (2003b), “Enclosing the Highlands: Socialist, Capitalist and Protestant Conversions of Vietnam’s Central Highlanders,” RCSD Conference “The Politics of the Commons” (co-hosted by IASCP), Chiang Mai University, July 11–14, 2003, http:// dlc.dlib.indiana.edu/dlc/handle/10535/1787. 72 Salemink, Oscar (2009), “Where Is the Space for Vietnam’s Gong Culture? Economic and Social Challenges for the Space of Gong Culture, and Opportunities for Protection.” Paper for the international conference 69 70

182

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


เศรษฐกิจ และการเมืองของมรดกวัฒนธรรมที่ผู้เขียนได้นำ�เสนอในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือของ ยูเนสโกเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ในเวียดนาม73 โดยส่วนมาก ข้อสังเกตข้างต้นเกี่ยวกับบริบททางวัฒนธรรมนี้ ตรงกับความเห็นของนักวิจัย และเจ้าหน้าที่ชาวเวียดนาม เพราะเผยให้เห็นแนวคิดของพื้นที่ทางวัฒนธรรมฆ้องซึ่งได้รับการเสนอ ขอขึน้ ทะเบียนจากยูเนสโกมากกว่าทีจ่ ะเน้นแค่เฉพาะการแสดงเท่านัน้ ดร.เหวียน จิ เบน แห่ง VICAS ได้รับคำ�สั่งจากกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวให้ทำ�การวิจัยว่ามรดกวัฒนธรรม “พืน้ ทีท่ างวัฒนธรรมฆ้อง” จะสงวนรักษาและฟืน้ ฟูอย่างยัง่ ยืนได้อย่างไรในบริบทของความเปลีย่ นแปลง อย่างรวดเร็วทางสังคม เศรษฐกิจ ระบบนิเวศ และประชากร ในพื้นที่โลกาภิวัตน์เข้มข้น (hotspot of globalization) ที่ชื่อ เตยเหวียน74 จุดหักมุมของเรื่องคือ เขาได้เชิญผู้เขียนให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษานี้ ซึ่งจบลงที่ การประชุมเรือ่ ง “การเปลีย่ นแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจและการสงวนรักษาวัฒนธรรมฆ้องในเวียดนาม และในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (เมืองเปลกู วันที่ 13-15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009) เป็นส่วนหนึง่ ของเทศกาลฆ้องนานาชาติ เทศกาลนี้ได้นำ�เอานักดนตรีฆ้องมาจากหลายจังหวัดของเวียดนาม และจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มารวมกันยังเมืองเปลกู เพือ่ ทีจ่ ะเล่นดนตรีของหมูบ่ า้ น ดนตรีในพิธกี รรมราชสำ�นัก ให้ชาวเวียดนามและในหมูน่ กั ดนตรีดว้ ยกัน ได้ฟัง ในการประชุมเชิงปฏิบัติการได้มีนักวิจัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนามเข้าร่วมประมาณ 70 คน นักวิจัยจากหลายจังหวัด (รวมทั้งประเทศลาวและกัมพูชาด้วย) ได้เรียกร้องให้รวมเอาประเพณีฆ้อง ของชนกลุ่มน้อยในจังหวัดของตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการขึ้นทะเบียน ซึ่งการขึ้นทะเบียนมรดก วัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพของยูเนสโก “พื้นที่ทางวัฒนธรรมฆ้อง” ได้กินพื้นที่เพียงห้าจังหวัด ในเขตเตยเหวียน พวกเขาพยายามทีจ่ ะทำ�ให้ “มรดกวัฒนธรรมของพวกเขา” ได้รบั การขึน้ ทะเบียนจาก รัฐบาลเวียดนามและจากยูเนสโก มีเพียงหญิงชนกลุม่ น้อยชาติพนั ธุท์ เี่ ข้าร่วมการประชุมเพียงคนเดียว เท่านัน้ ทีว่ พิ ากษ์วจิ ารณ์การยึดครองทางวัฒนธรรมเช่นนี้ เธอชีใ้ ห้เห็นว่า การประชุมขาดการอภิปราย แลกเปลี่ยนโดยคนจากชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ซึ่งเป็นผู้ที่ยูเนสโกเรียกว่า “ผู้ถือครองวัฒนธรรม” (cultural carriers) ของดนตรีฆ้องในพิธีกรรม

Economic and Social Changes and Preservation of the Gong Culture in Vietnam and the Southeast Asian Region, Pleiku City, Vietnam, November 12–15, 2009. ระหว่างการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผู้เขียนพบว่าชาวที่ราบสูง ที่ยากจนได้ขายวัตถุทางวัฒนธรรมของตน เช่น ฆ้อง และวัตถุโบราณ อาทิ แจกันจีน น่าเศร้าที่พวกเขายังพบว่ารูปเคารพ ประดับหลุมฝังศพของพวกเขาก็ถูกโจรกรรมด้วย 73 Salemink, Oscar (2001b), “Who Decides Who Preserves What?” 74 ตรงข้ามกับแนวคิดเกีย่ วกับทีร่ าบสูงภาคกลางในฐานะทีเ่ ป็นพืน้ ทีห่ า่ งไกล ล้าหลัง ซึง่ ถูกอธิบายด้วยคำ�ว่า vung sau vung xa แต่ผู้เขียนเรียกพื้นที่นี้ว่า พื้นที่โลกาภิวัฒน์เข้มข้น เพราะในแง่การปลูกพืชเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนไปปลูกกาแฟจนมีผลผลิต มากเป็นอันดับสองในภูมภิ าค อันดับหนึง่ ของผลผลิตพริกไทยและมะม่วงหิมพานต์ และมีการปลูกยางพารา ชา โกโก้ ดังทีผ่ เู้ ขียน ได้ โ ต้ แ ย้ ง ใน “Enclosing the Highlands” (2003b). เมื่ อ เร็ ว ๆ นี้ มี ข้ อ ขั ด แย้ ง ในการปล่ อ ยให้ เช่ า ที่ ดิ น ใน ที่ราบสูงภาคกลางให้แก่บริษัทจากจีนเพื่อทำ�เหมืองแร่เปิด บอกไซด์ (bauxite) สุ่มเสี่ยงที่จะทำ�ลาย สร้างมลภาวะ และเป็นมลพิษต่อทั้งภูมิภาคซึ่งเป็น “พื้นที่วัฒนธรรมฆ้อง” (Salemink 2009, Where is the space?) Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 183


ตลกร้ายของการยึดครองทางวัฒนธรรมเห็นได้อย่างชัดเจนทีน่ ่ี เพราะมันเชือ่ มโยงโดยตรงกับรูปแบบ ของการยึดทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ ระบบนิเวศ และวัฒนธรรมซึ่งผู้เขียนได้เคยวิเคราะห์เปรียบเทียบ กับแนวคิดของมากซ์ เรื่อง “การปิดล้อมทรัพยากรส่วนรวม” (enclosures of the Commons)75 ในทางหนึ่งการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางวัฒนธรรมบางอย่างอย่างเป็นทางการ (โดยรัฐหรือยูเนสโก) ในฐานะที่เป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติหรือมรดกโลก อาจจะตีความหมายได้ว่าเป็นการช่วยกู้คืน คุณค่าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นบางอย่างให้กลับมาใหม่ และถือว่าเป็นการชดใช้ (บางส่วนและ ไม่เพียงพอ) สำ�หรับความสูญเสียทีเ่ กิดขึน้ จากการเข้าไปยึดครองสิง่ แวดล้อมทีย่ งั มีการใช้งานในชีวติ ของ คนในทีร่ าบสูงภาคกลาง ในอีกทางหนึง่ การรับรองความแท้และการขึน้ ทะเบียนนัน้ โดยตัวมันเองก็เป็น รูปแบบหนึง่ ของการยึดครองทางวัฒนธรรมซึง่ กิจกรรมทางวัฒนธรรมจะถูกลดระดับลงไปเป็นสินทรัพย์ ที่จะถูกเลือกเก็บไว้หรือถูกเอาทิ้งไปโดยคนนอกวัฒนธรรม หรืออาจกล่าวอีกแบบว่า “เจ้าของ” (proprietors) ทางวัฒนธรรมนั้นไม่ใช่คนคนเดียวกับ “ผู้ถือครองวัฒนธรรม” (culture carriers) จึงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดผลในลักษณะที่การยึดครองทางวัฒนธรรมจะกลายเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของ การยึดทรัพย์สนิ (ทางวัฒนธรรม) เรือ่ งนีป้ รากฏอย่างชัดเจนในพิธเี ปิดทีย่ ง่ิ ใหญ่ของเทศกาลฆ้องนานาชาติ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 การแสดงที่ยิ่งใหญ่นี้ ออกแบบโดย เล เตี๋ยน ธอ (Le Tien Tho) นักร้องอุปรากรราชสำ�นักเวียดนาม (เตือง – toung) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จำ�นวนนักแสดงที่อยู่บนเวทีนั้นมากกว่าจำ�นวนผู้ชมในอัฒจันทร์วีไอพีเสียอีก มีการถ่ายทอดออก อากาศไปทั่วประเทศ ผู้ชมจึงไม่ได้มีแต่คนท้องถิ่น นักแสดงจำ�นวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน เชื้อชาติเวียดนามจากเมืองเปลกู แต่งกายเป็นชนกลุ่มน้อยที่หลากหลายสลับสับเปลี่ยนกันขึ้นแสดง บนเวทีกบั นักดนตรีฆอ้ งหลากหลายกลุม่ ซึง่ ดนตรีฆอ้ งถูกกลืนหายไปในเสียงดังของดนตรีทผี่ สมปนเป กันไปหมด รวมทั้งคำ�บรรยายชวนฝันเกี่ยวกับวิถีชีวิตดั้งเดิมที่แสนจะสงบสุขบนที่ราบสูงภาคกลาง ภาพและเสียงที่เคลื่อนไหว เปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็วราวกับภาพหลอนจบด้วยขบวนพาเหรดเต้นรำ� ของช้างแสนเชื่องที่บังคับโดยควาญช้างคนชาติพันธุ์ในท้องถิ่น และปิดท้ายด้วยการจุดพลุสุดอลังการ แม้ในขณะการเฉลิมฉลอง “วัฒนธรรมฆ้อง” ของที่ราบสูงภาคกลาง การแสดงมากมายที่กล่าวมานี้ ก็แทบไม่มอี ะไรเกีย่ วข้องกับดนตรีทล่ี ะเมียดละไมของชาวทีร่ าบสูงทีถ่ กู นำ�มาเล่นคัน่ ระหว่างพิธกี รรมต่าง ๆ และในโอกาสแห่งความรื่นเริงอื่น ๆ ดนตรีฆ้องของชาวที่ราบสูงได้กลายเป็น โอกาส ข้ออ้าง และ ส่วนประกอบในการแสดงนี้ เสนอให้แก่ผชู้ มชาวเวียดนามในระดับชาติและชาวต่างชาติในโอกาสพิเศษ ในบทความนี้ ผูเ้ ขียนได้น�ำ เสนอว่า ยูเนสโกให้สทิ ธิพเิ ศษแก่เวียดนามในการเป็นพืน้ ทีท่ ดลองงาน ด้านมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพเนื่องจากเวียดนามเป็นพื้นที่ซึ่งความสนใจทางวัฒนธรรม ของสองอิ ท ธิ พ ลหลั ก ในยู เ นสโก คื อ ฝรั่ ง เศสและญี่ ปุ่ น มาบรรจบกั น และยั ง ได้ รั บ ความสนใจ จากกลุ่มนักวิชาการและเจ้าหน้าที่รัฐในเวียดนามด้วย นอกจากนี้ แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมของยูเนสโก ก็ตรงกันกับแนวคิดอย่างเป็นทางการของเวียดนามในเรือ่ งความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึง่ แยกกลุม่ ชาติพนั ธุอ์ อกจากกันอย่างเด็ดขาด ในขณะทีแ่ นวคิดมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพก็สอดคล้องกับ นโยบายวัฒนธรรมของเวียดนามที่แยกกิจกรรมทางวัฒนธรรมบางอย่างออกจากวิถีชีวิตประจำ�วัน ตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงของการขึ้นทะเบียน “พื้นที่วัฒนธรรมฆ้อง” ในที่ราบสูงภาคกลางในฐานะที่ เป็นผลงานชิน้ เอกด้านมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพก็สามารถวิเคราะห์ดว้ ยมุมมองทีก่ ล่าวข้างต้นนี้ 75

Salemink (2003b), “Enclosing the Highlands.”

184

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


แต่มันยังอาจจะมองได้ว่าเป็นนโยบายทางวัฒนธรรมเพื่อต่อต้าน “การบ่อนทำ�ลาย” ทางศาสนาและ การเมืองในที่ราบสูง ขณะเดียวกันก็เป็นการรวบรวมกิจกรรมทางวัฒนธรรมรวมทั้งผู้คนผู้ซึ่งปฏิบัติ กิจกรรมทางวัฒนธรรมเข้าไว้ในชาติเวียดนามที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ กิจกรรมทางวัฒนธรรมของ ผูค้ นถูกยึดครองโดยผูเ้ ชีย่ วชาญทางวัฒนธรรมจากภายนอกซึง่ อ้างอำ�นาจ (รัฐ) ในการรับรองความแท้ และถูกลดระดับลงเป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมทีถ่ กู เลือกเก็บไว้หรือถูกเอาทิง้ ไปโดยคนนอกวัฒนธรรม ในฐานะทีเ่ ป็นสินทรัพย์ (แทนทีจ่ ะเป็นกิจกรรมทีย่ งั มีการปฏิบตั แิ ละอยูใ่ นตัวผูค้ น) วัฒนธรรมถูกยึดครอง โดยคนนอกได้ดว้ ยกระบวนการซึง่ อาจตีความได้วา่ เป็นรูปแบบหนึง่ ของการยึดทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม จากสิ่ ง ที่ ใ นภาษาของยูเ นสโกเรียกว่า “ผู้ถือครองวัฒนธรรม” ในลักษณะนี้ มรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพของคนในที่ราบสูงภาคกลางได้ถูกทำ�ให้กลายเป็นรูปธรรมและกลายเป็นเครื่อง มือสำ�หรับจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ซ่อนเร้น ซึ่งบอกเป็นนัยว่าผู้คนที่มีกิจกรรมทางวัฒนธรรม ที่ถูกยกย่องว่าเป็น “มรดกวัฒนธรรม” ในฐานะที่เรียกว่าเป็น “ผู้ถือครองวัฒนธรรม” ก็ถูกทำ�ให้ กลายเป็นเครื่องมือเช่นกัน

บทสรุป บทความนี้ต้งั อยู่บนสมมติฐานที่ว่า ด้วยนโยบายด้านมรดกวัฒนธรรม รัฐบาลเวียดนามไม่ได้ เป็นเพียงสถาบันขนาดใหญ่ทมี่ หี น่วยงานเดียว แต่เป็นสนามของการแข่งขันซึง่ มีผลประโยชน์ทขี่ ดั แย้ง กันเกิดขึ้นและดำ�เนินไปจนพบทางออก ผลที่ตามมาจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะรวบรวมเอาผลประโยชน์ ของชาติที่ถูกรับรู้เข้าไว้ในกรอบความคิดเดียวกัน ในกรณีนี้คือ “วาทกรรมว่าด้วยมรดกวัฒนธรรม โดยผู้มีอำ�นาจ” ของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ในแง่ที่มันถูกนำ�เสนอในฐานะการล้มล้าง มรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือของกลุ่มทางศาสนา มันทำ�กระบวนการของท้องถิ่นให้เป็นรูปธรรม และทำ � ให้ ก ลายเป็นเครื่องมือภายใต้ร่มเงาของความเป็นชาติ การสร้างบริบทของการแข่งขัน ทางการเมืองเหล่านี้ก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้การสงวนรักษาและการฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพเป็นเรื่องยาก เพราะผู้คนซึ่งมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมได้ถูกทำ�ให้กลายเป็นเครื่องมือ ทางการเมืองเช่นเดียวกับตัวมรดกวัฒนธรรม การขึน้ ทะเบียนมรดกวัฒนธรรมอาจจะตีความได้วา่ เป็น รูปแบบหนึ่งของการกู้คืนทางวัฒนธรรม เป็นการชดใช้ให้แก่การยึดทรัพย์ในรูปแบบอื่น ๆ แต่ใน ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เกิดการยึดทรัพย์ทางวัฒนธรรมต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะวัฒนธรรม ได้ถูกลดระดับลงเป็นสินทรัพย์และถูกยึดครองโดยผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมจากภายนอก อะไรที่เราสามารถเรียนรู้จากบทความนี้เกี่ยวกับกระบวนการของการฉวยใช้ทางวัฒนธรรม ในความเชือ่ มโยงกับการเมืองว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมในเวียดนามในยุคหลังสังคมนิยมและหลังฆราวาสนิยม (postsecular) บ้าง ประการแรก ผู้เขียนสังเกตว่าการเฉลิมฉลองทางวัฒนธรรมของชาติตามที่ ประกาศในมติข้อที่ห้า ค.ศ.1998 ได้กลายเป็นการสร้างความชอบธรรมที่ขาดไม่ได้และเกิดขึ้น อย่างสมํ่าเสมอของระบอบทางการเมืองที่ช่วยประนีประนอมความตึงเครียดระหว่าง “สังคมนิยม” และตลาด ระหว่างคนกลุ่มใหญ่กับชนกลุ่มน้อย ระหว่างความคลั่งไคล้วัฒนธรรมของตนเองกับ ความนิยมความเป็นสากล ประการที่สอง นโยบายทางวัฒนธรรมและการเมืองทางวัฒนธรรมของ

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 185


มรดกวั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพในเวี ย ดนาม อยู่ บ นฐานของการรวมกั น เป็ น หนึ่ ง ระหว่ า ง ผู้แสดงที่หลากหลายทั้งในและนอกประเทศผู้ซึ่งช่วยประนีประนอมผลประโยชน์ที่หลากหลาย ทีส่ �ำ คัญกระบวนการในการแข่งขันในการให้การรับรองความถูกต้องและความแท้ของพืน้ ทีห่ รือกิจกรรม ของท้องถิ่นได้ให้บทบาทแก่ผู้เล่นในท้องถิ่น ในขณะที่มอบบทผู้ตัดสินให้แก่หน่วยงานส่วนกลาง จึ ง ช่ ว ยให้ เ กิ ด ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งระดั บ ตํ่ า กว่ า และระดั บ สู ง กว่ า ของรั ฐ บาล ประการที่ ส าม ในแนวปฏิบัติเดียวกัน เวียดนามแข่งขันกับประเทศอื่นในสนามแข่งขันการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทาง วัฒนธรรมโดยยูเนสโก ในฐานะที่เป็นมรดกโลกหรือมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ ประการที่สี่ การเมืองของมรดกวัฒนธรรมเหมาะสมกับจุดประสงค์ทางการเมืองที่หลากหลายในเวลาเดียวกัน แต่ในกระบวนการนี้มันได้เรียกร้องและให้ความช่วยเหลือการยึดครองของกิจกรรมบางอย่างในฐานะ มรดกวัฒนธรรมโดยคนภายนอกที่มีอำ�นาจ และได้ถูกทำ�ให้กลายเป็นเครื่องมือทั้งตัวมรดกวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพเองและคนที่มีมรดกวัฒนธรรมนี้ กระนัน้ ก็ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการทีว่ า่ นีถ้ กู ควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยรัฐบาลทีแ่ ข็งกร้าว ในทางตรงข้ามรัฐบาลเวียดนามเป็นเหมือนสนามแข่งขันของผลประโยชน์ที่แตกต่างกันที่ดำ�เนินไป ในหลายระดับทัง้ ระดับประเทศและระดับนานาชาติ และถูกจับรวมกันไว้ดว้ ยวาทกรรมทางวัฒนธรรม ของความเป็นชาติ (ที่มีหลายชาติพันธุ์) ในขณะที่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มรดกวัฒนธรรมและผู้คนที่ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางวัฒนธรรมเหล่านี้จะถูกทำ�ให้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อสนองจุดประสงค์ ทางการเมืองทีซ่ อ่ นเร้น มันก็ไม่ได้เป็นเหมือนถนนทีร่ ถวิง่ ทางเดียว ชุมชนและท้องถิน่ จำ�นวนมากเข้าร่วม อย่ า งเต็ ม ใจในกระบวนการค้ น หาการให้ ก ารรั บ รองความถู ก ต้ อ งทางวั ฒ นธรรมจากเบื้ อ งบน ในความพยายามบรรลุเป้าหมายของพวกเขาเอง

186

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


อ้างอิง Aikawa, Noriko. 2004. “An Historical Overview of the Preparation of the UNESCO International Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage: UNESCO International Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.” Museum International 56 (1–2): p. 137–149. doi:10.1111/j. 1350-0775.2004.00468.x. Barfield, Thomas J., ed. 1997. “Ethnicity, Ethnic Group.” The Dictionary of Anthropology. Oxford ; Malden, Mass: Blackwell. Comaroff, Jean, and John L. Comaroff. 1991. Of Revelation and Revolution. Chicago: University of Chicago Press. Condominas, Georges. 1957. Nous avons mangé la forêt de la Pierre-Génie Gôo. Paris: Mercure de France. ———. 1965. L’Exotique est quotidien: Sar Luk, Vietnam central. Paris: Plon. ———. 2001. “Introduction.” In Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, edited by Oscar Salemink, p. 15–32. Paris: UNESCO publishing (Memory of Peoples). ———. 2004. “Researching and Safeguarding the Intangible Heritage: Researching and Safeguarding the Intangible Heritage.” Museum International 56 (1–2): p. 21–31. doi:10.1111/j.1350-0775.2004.00454.x. Dahles, Heidi. 2001. Tourism, Heritage and National Culture in Java : Dilemmas of a Local Community. Richmond: Curzon Press. DiGregorio, Michael. 2007. “Things Held in Common: Memory, Space and the Reconstitution of Community Life.” Journal of Southeast Asian Studies 38 (3). doi:10.1017/ S0022463407000215. DiGregorio, Michael, and Oscar Salemink. 2007. “Living with the Dead: The Politics of Ritual and Remembrance in Contemporary Vietnam.” Journal of Southeast Asian Studies 38 (3). doi:10.1017/S0022463407000355. Eriksen, Thomas Hylland. 1993. “In Which Sense Do Cultural Islands Exist?” Social Anthropology 1 (1b): p. 133–147. doi:10.1111/j.1469-8676.1993.tb00246.x. ———. 2001. “Between Universalism and Relativism: A Critique of the UNESCO Concept of Culture.” In Culture and Rights: Anthropological Perspectives, edited by Jane K. Cowan, Marie-Bénédicte Dembour, and Richard Wilson, p. 127–148. Cambridge ; New York: Cambridge University Press. Evans, Graeme. 2005. “Mundo Maya: From Cancun to City of Culture: World Heritage in Post-Colonial Meso-America.” In The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation, edited by David Harrison and Michael Hitchcock, 1st ed, p. 35–49. Current Themes in Tourism. Clevedon ; Buffalo: Channel View Publications. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 187


Fabian, Johannes. 1983. Time and the Other: How Anthropology Makes Its Object. New York: Columbia University Press. Galla, Amareswar. 2002. “Museum and Heritage in Development: Ha Long Ecomuseum, a Case Study from Vietnam.” Humanities Research 9 (1): p. 63–76. Gray, Michael L. 1999. “Creating Civil Society? The Emergence of NGOs in Vietnam.” Development and Change 30 (4): 693–713. doi:10.1111/1467-7660.00134. Han, Xiaorong. 1998. “The Present Echoes of the Ancient Bronze Drum: Nationalism and Archeology in Modern Vietnam and China.” Exploriations in Southeast Asian Studies 2 (2). ———. 2004. “Who Invented the Bronze Drum? Nationalism, Politics, and a Sino-Vietnamese Archaeological Debate of the 1970s and 1980s.” Asian Perspectives 43 (1): p. 7–33. doi:10.1353/asi.2004.0004. Harrison, David, and Michael Hitchcock, eds. 2005. The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation. 1st ed. Current Themes in Tourism. Clevedon ; Buffalo: Channel View Publications. Hitchcock, Michael. 2005. “Afterward.” In The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation, edited by David Harrison and Michael Hitchcock, 1st ed, p. 181–186. Current Themes in Tourism. Clevedon ; Buffalo: Channel View Publications. Hobsbawm, E. J., and T. O. Ranger, eds. 1983. The Invention of Tradition. Past and Present Publications. Cambridge [Cambridgeshire] ; New York: Cambridge University Press. Human Rights Watch/Asia, ed. 2002. Repression of Montagnards: Conflicts over Land and Religion in Vietnam’s Central Highlands. New York: Human Rights Watch. Huynh Yen, Tram My, Vu Quynh Truong, and Dong Hieu Nguyen, eds. 2007. Nhung di san the gioi o Viet Nam. Danang: NXB Da Nang. Ivy, Marilyn. 1995. Discourses of the Vanishing: Modernity, Phantasm, Japan. Chicago: University of Chicago Press. Kerkvliet, Benedict. 1997. “Land Struggles and Land Regimes in the Philipines and Vietnam during the Twentieth Century.” presented at the Wertheim Lecture, Amsterdam: Centre for Asian Studies Amsterdam. Kerkvliet, Benedict J. 2005. The Power of Everyday Politics: How Vietnamese Peasants Transformed National Policy. Ithaca, N.Y: Cornell University Press. Koh, Priscilla. 2004. “Persistent Ambiguities: Vietnamese Ethnology in Doi Moi Period (1968-2001).” Explorations in Southeast Asian Studies 2 (2). http://scholarspace. manoa.hawaii.edu/bitstream/handle/10125/2312/Priscilla%20Koh%20--%20 Persistent%20Ambiguities_%20Vietnamese%20Ethnolog.pdf?sequence=1. Kurin, Richard. 2004. “Safeguarding Intangible Cultural Heritage in the 2003 UNESCO Convention: A Critical Appraisa.” Museum International 56 (1–2): p. 66–77. doi:10.1111/j.1350-0775.2004.00459.x. 188

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


Kwon, Heonik. 2008. Ghosts of War in Vietnam. Studies in the Social and Cultural History of Modern Warfare. Cambridge ; New York: Cambridge University Press. Lask, Tomke, and Herold Stefen. 2005. “An Observation Station for Culture and Tourism in Vietnam: A Forum for World Heritag and Public Participation.” In The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation, edited by David Harrison and Michael Hitchcock, 1st ed, 119. Current Themes in Tourism. Clevedon ; Buffalo: Channel View Publications. Le Ngoc Chan. 2002. “Quan Ho Singing in North Vietnam: A Yearning for Resolution.” PhD Dissertation, Berkeley: University of California. ———. n.d. “Quan Ho Singing in Ritual-Festivals in Bac Ninh Region (Vietnam).” http:// home.vicnet.net.au/~aaf/quanho.htm. Lockhart, Bruce. 2001. “Re-Assessing the Nguyễn Dynasty.” Crossroads 15 (1): p. 9–53. Long, Colin. 2004. “Feudalism in the Service of the Revolution.” Critical Asian Studies 35 (4): p. 535–558. doi:10.1080/1467271032000147023. Malarney, Shaun Kingsley. 2007. “Festivals and the Dynamics of the Exceptional Dead in Northern Vietnam.” Journal of Southeast Asian Studies 38 (3). doi:10.1017/ S0022463407000240. Munjeri, Dawson. 2004. “Tangible and Intangible Heritage: From Difference to Convergence: Tangible and Intangible Heritage.” Museum International 56 (1–2): p. 12–20. doi:10.1111/j.1350-0775.2004.00453.x. Nas, Peter J. M. 2002. “Masterpieces of Oral and Intangible Culture: Reflections on the UNESCO World Heritage List with CA* Comment.” Current Anthropology 43 (1): p. 139–148. doi:10.1086/338287. Ngo, Duc Thing, and Dang Nhat Phan, eds. 1999. Luat Tuc va Phat Trien Nong Thon Hien Nay O Viet Nam (Ky Yeu Hoi Thao Khoa Hoc (Customary Law and Rural Development in Present-Day Vietnam. Hanoi: NXB Chinh tri Quoc gia (National Political Publishing House). Nguyen, Kim Dung. n.d. “Intangible Cultural Heritage Safeguarding System in Vietnam.” Ministry of Culture and Information. http://www.unesco.org/culture/ich/doc/ src/00174-EN.pdf. Nhieu, Tac Gia. 1997. Giu Gin va Bao ve Ban Sac van Hoa Cac Toc Thieu so Viet Nam. Hanoi: NXB Van hoa Dan toc. Nong, Quoc Chan. 2001. “Cultures of the Ethnic Minorities of Viet Nam: Some Problems and Realities.” In Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, edited by Oscar Salemink, p. 111–120. Paris: UNESCO publishing (Memory of Peoples). Nortoney, Barley. 1996. “Ca Tru: A Vietnamese Chamber Music Genre.” Nhac Viet: The Journal of Vietnamese Music 5 (Special Issues): p. 1–103. Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 189


———. 2005. “Singing the Past: Vietnamese ca Tru, Memory and Mode.” Asian Music 36 (2): p. 27–56. ———. n.d. “Ca Tru: Vocal Music from Northern Viet Nam.” http://www.goldsmithsac.uk/ music/catru/. Pelley, Patricia. 1998. “‘Barbarians’ and ‘Younger Brothers’: The Remaking of Race in Postcolonial Vietnam.” Journal of Southeast Asian Studies 29 (2): p. 374. doi:10.1017/S0022463400007505. Pelley, Patricia M. 2002. Postcolonial Vietnam: New Histories of the National Past. Asia-Pacific. Durham [N.C.]: Duke University Press. Salemink, Oscar, ed. 2001a. Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation. Paris: UNESCO publishing (Memory of Peoples). ———. 2001b. “Who Decides Who Preserve What? Cultural Preservation and Representation.” In Viet Nam’s Cultural Diversity: Approaches to Preservation, edited by Oscar Salemink, p. 205–212. Paris: UNESCO publishing (Memory of Peoples). ———. 2003a. The Ethnography of Vietnam’s Central Highlanders: A Historical Contextualization, 1850-1990. Anthropology of Asia Series. Honolulu: University of Hawai’i Press. ———. 2003b. “Enclosing the Highlends: Socialist, Cpitalist and Protestant Conversions of Vietnam’s Central Highlanders.” In. Chiang Mai: Chiang Mai University. https:// dlc.dlib.indiana.edu/dlc/bitstream/handle/10535/1787/Oscar_Salemink_RCSD_ paper.pdf?sequence=1. ———. 2006a. “Translating, Interpreting and Practicing Civil Soceity in Vietnam: A Tale of Calculated Misunderstandings.” In Development Brokers and Translators: The Ethnography of Aid and Agencies, edited by David Lewis and David Mosse, p. 101–126. Bloomfield, CT: Kumarian Press. ———. 2006b. “Changing Rights and Wrongs: The Transnational Construction of Indigenous and Human Rights among Vietnam’s Central Highlanders.” Focaal 2006 (47): p. 32–47. doi:10.3167/092012906780646514. ———. 2006c. “Nieuwe Rituellen En de Natie: Nederland in de Spiegel van Vietnam (New Rituals and the Nation: The Netherlands in the Mirror of Vietnam).” Inaugural lecture, VU Univesity Amsterdam, June 9. ———. 2007. “The Emperor’s New Clothes: Re-Fashioning Ritual in the Huế Festival.” Journal of Southeast Asian Studies 38 (3). doi:10.1017/S0022463407000264. ———. 2008a. “Trading Goods, Prestige, and Power: A Revisionist History of LowlanderHighlander Relations in Vietnam.” In Linking Destinies: Trade, Towns and Kin in Asian History, edited by P. Boomgaard, Dick Kooiman, and Henk Schulte Nordholt, 190

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


p. 51–69. Verhandelingen van Het Koninklijk Instituut Voor Taal, Land En Volkenkunde 256. Leiden: KITLV Press. ———. 2008b. “Embodying the Nation: Mediumship, Ritual, and the National Imagination.” Journal of Vietnamese Studies 3 (3): p. 261–290. doi:10.1525/vs.2008.3.3.261. ———. 2009. “Where Is the Space for Vietnam’s Gong Culture? Economic and Social Challenges for the Space of Gong Culture and Opportunities for Protection.” In. Pleiku City, Vietnam. Smith, Laurajane. 2006. Uses of Heritage. New York: Routledge. Taylor, Philip. 2000. Fragments of the Present: Searching for Modernity in Vietnam’s South. Southeast Asia Publications Series. Honolulu: University of Hawai’i Press. Urry, John. 1990. The Tourist Gaze: Leisure and Travel in Contemporary Societies. Theory, Culture & Society. London ; Newbury Park: Sage Publications. Vasavakul, Thaveeporn. 2003. “From Fence-Breaking to Networking: Interests, Popular Organizations and Policy Influences in Post-Socialist Vietnam.” In Getting Organized in Vietnam: Moving in and around the Socialist State, edited by Benedict J. Kerkvliet, Russell H. K. Heng, David W. H. Koh, Institute of Southeast Asian Studies, and Australian National University, p. 25–61. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. Writenet. 2002. “Vietnam: Indigenous Minority Groups in the Central Highlands.” 5/2001. Writenet Report. Geneva: United Nations High Commisioner for Refugees, Centre for Documentaion and Researh. http://www.refworld.org/pdfid/3c6a48474.pdf. Volkman, Toby Alice. 1990. “Visions and Revisions: Toraja Culture and the Tourist Gaze.” American Ethnologist 17 (1): p. 91–110. doi:10.1525/ae.1990.17.1.02a00060. Wendland, Wend. 2004. “Intangible Heritage and Intellectual Property: Challenges and Future Prospects: Intangible Heritage and Intellectual Property.” Museum International 56 (1–2): p. 97–107. doi:10.1111/j.1350-0775.2004.00463.x. Winter, Tim. 2005. “Landscape, Memory and Heritage: New Year Celebrations at Angkor, Cambodia.” In The Politics of World Heritage: Negotiating Tourism and Conservation, edited by David Harrison and Michael Hitchcock, 1st ed, p. 50–65. Current Themes in Tourism. Clevedon ; Buffalo: Channel View Publications. Woodside, Alexander. 1988. Vietnam and the Chinese Model: A Comparative Study of Vietnamese and Chinese Government in the First Half of the Nineteenth Century. Harvard East Asian Monographs 140. Cambridge, Mass: Council on East Asian Studies, Harvard University : Distributed by Harvard University Press.

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 191





บทบาทพิพธิ ภัณฑ์กบั การปกป้องคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรม ทีไ่ ม่เป็นกายภาพ โดย พัน โสวหย่ง (Pan Shouyong) แปลโดย ดร.พจนก กาญจนจันทร

(Pan Shouyong, “Museums and the Protection of Cultural Intangible Heritage,” Museum International, Vol.60, No.1-2, p. 12-19, 2008

©UNESCO Sector for Culture, published by Blackwell Publishing,reproduced with permission.)


“ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน (National Museum of China) ที่กรุงปักกิ่งก็มี การจัดแสดงครัง้ ใหญ่วา่ ด้วย “นิทรรศการมรดกแห่งชาติดา้ นวัฒนธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพ” (Intangible Cultural Heritage Exhibition) เพื่อเป็นการให้ความรูแ้ ละเป็นการสร้างกระแสการตระหนักรูใ้ นเรือ่ งนี้ นิทรรศการนีก้ ไ็ ด้ท�ำ ให้เกิดข้อถกเถียงทีร่ นุ แรงในตอนนั้น บัญชีรายชื่อ มรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพทีว่ า่ นี้ จัดทำ�โดยหน่วยงานท้องถิน่ แล้วเสนอต่อ หน่วยงานระดับจังหวัด ปัญหาที่พบก็คือ บัญชีรายชื่อมรดกของ แต่ละจังหวัดนัน้ ไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วบางหน่วยงานก็แจ้งว่า มรดกของตนถูก “แย่งชิง” ไป


พัน โสวหย่ง ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาและพิพิธภัณฑ์ศึกษา จาก Central University for National Minorities สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาชนกลุ่มน้อยศึกษา (มานุษยวิทยา) (National Minority Studies (Anthropology)) เขาเป็นนักวิจยั พิเศษแห่งพิพธิ ภัณฑ์ชนกลุม่ น้อยจีน (Chinese Museum of National Minorities) และเป็นสมาชิกทีม่ คี วามเชีย่ วชาญพิเศษของ National Planning Committee of Chinese Eco-Museums ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการวางแผนอนุรักษ์ ให้กับโครงการปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมประเพณีของชนกลุ่มน้อย ที่เมืองซานเสียต้าป้า หรือเมือง เขือ่ นสามผา (Three Gorges Reservoir District) และโครงการอนุรกั ษ์วตั ถุวฒ ั นธรรมชนกลุม่ น้อยในจีน และโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม มีผลงานตีพิมพ์ชิ้นสำ�คัญ เรือ่ งล่าสุด เช่น “ศตวรรษแห่งมรดกของชาติ เล่มที่ 2” (บรรณาธิการ 2005) (The Century”s National Treasures II) “การพัฒนางานวิจยั ของพิพธิ ภัณฑ์สมัยใหม่ในตะวันตก” (Developmental Aspects of Research in Modern Western Museums) (บรรณาธิการ 2005) “อีโคมิวเซียม เสมือนกระจกสะท้อน” (The Eco-Museum as Mirror) (2007)

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 197


จีนเป็นประเทศทีอ่ ดุ มได้ดว้ ยมรดกวัฒนธรรม และด้วยอำ�นาจของรัฐบาลในปัจจุบนั ทีร่ ฐั เข้าไปมีบทบาท และรับผิดชอบในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกัน การพัฒนา ด้านเศรษฐกิจของรัฐจีนก็ดำ�เนินไปอย่างไม่เสมอภาคกัน บางภูมิภาคของประเทศได้รับการพัฒนา มากกว่า อย่างในภาคตะวันตก ซึง่ เป็นพืน้ ทีท่ มี่ มี รดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่ใช่กายภาพ (intangible culture) อยูม่ ากมาย แต่การพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งกลับเป็นไปอย่างเชือ่ งช้า ซึง่ เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจ ภาคตะวันตกของจีนยังต้องเผชิญกับข้อจำ�กัดบางประการคือ วัตถุประสงค์เดิมอันเป็น เงือ่ นไขที่นบั ว่าเป็นประโยชน์สำ�หรับการปกป้องคุม้ ครองทรัพยากรวัฒนธรรม (cultural resources) ของชนกลุม่ น้อย มีอนั ต้องผันแปรไปเพือ่ ให้สอดรับกับสถานการณ์ทเ่ี ป็นอยู่ ยิง่ ไปกว่านัน้ กระแสการพัฒนา ที่ถาโถมเข้ามา และการไหลบ่าของวัฒนธรรมจากภายนอกได้ทำ�ให้ประเพณีการบอกเล่าต่าง ๆ (oral traditions) (เช่ น ภาษาของชนกลุ่ ม น้ อ ย) วรรณกรรม (รวมทั้ ง วรรณกรรมคลาสสิ ก และเอกสารต้นฉบับที่บันทึกด้วยอักษรภาษาชนกลุ่มน้อย) งานช่าง (เช่น การก่อสร้าง การประดิษฐ์ เครือ่ งแต่งกาย เครือ่ งประดับ และงานหัตถกรรมต่าง ๆ) ธรรมเนียม ประเพณี พิธกี รรม การเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตลอดจนวั ฒ นธรรมในการกิ น การดื่ ม กำ � ลั ง เปลี่ ย นแปลงไป จนอยู่ ใ นภาวะที่ ใ กล้ จ ะเสื่ อ มสู ญ ในอนาคตอันใกล้

การปกป้องคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ (protecting intangible heritage) : ปรากฏการณ์ซํ้ารอยของจีน และประเทศอื่น ในภาษาจีนคำ� “มรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพ” (Intangible heritage) มีค�ำ เรียกอีกคำ�ว่า “มรดกทีไ่ ร้รปู ” (formless heritage) แม้ว่าคำ�เรียกที่สองนี้ จะสะท้อนความหมายของแนวคิดแบบเต๋าและพุทธ แต่คนส่วนใหญ่กไ็ ม่ได้ให้ความสนใจเท่าใดนัก คำ�ว่า “มรดกทีไ่ ร้รปู ” นี้ ถอดความมาจากภาษาญีป่ นุ่ ว่า “ทรัพยากรวัฒนธรรมทีไ่ ร้รปู ” (formless cultural resources) ซึง่ เหมือนกับภาษาฝรัง่ เศสทีใ่ ช้ค�ำ ว่า patrimonine immatérial ที่แปลมาจากภาษาอังกฤษแบบตรงตัวว่า intangible culture ที่ปรากฏ ในเอกสารทางการและในรายงานต่าง ๆ แต่ต่อมา คำ�ว่า formless heritage ก็ค่อย ๆ เลือนหายไป แม้วา่ คำ�เรียกแต่ละคำ� จะมีความหมายเฉพาะทีต่ า่ งกันออกไป เช่นเดียวกับวัฒนธรรมประเพณี ของจีนก็เช่นเดียวกัน ทีม่ หี ลากหลายและปฏิบตั กิ นั มาช้านาน จากข้อมูลเอกสารจีนโบราณจะเห็นได้วา่ ประเพณีท้องถิ่นจีนนั้นสามารถสืบย้อนไปถึงสมัยโบราณ เอกสารโบราณต่าง ๆ ของจีนมีเนื้อความ พรรณนาถึ ง วิ ถี ชี วิ ต ของผู้ ค น ซึ่ ง ก็ คื อ มรดกที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพนั่ น เอง โดยน่ า จะเริ่ ม มาตั้ ง แต่ ยุคของ “คัมภีรซ์ อื จิง”1 ซึง่ คำ�ว่า “ประเพณี” (customs) ปรากฏในเอกสารโบราณตัง้ แต่สมัยราชวงศ์ฮนั่ ในงานประพั น ธ์ ข องนั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ปั น กู้ ( 班固 ) มี ชี วิ ต ระหว่ า ง ค.ศ. 32-92 เป็ น ผู้ เริ่ ม

1

คัมภีรซ์ อื จิง (Shi jing หรือ Book of Odes) คือหนึง่ ในวรรณกรรมคลาสสิกของจีนโบราณในสมัยราชวงศ์โจว (Zhou Dynasty) หรื อ ที่ ใ นทางประวั ติ ศ าสตร์ คื อ ระหว่ า งยุ ค วสั น ตสารท (Spring and Autumn period) ถึ ง ยุ ค รณรั ฐ (Warring States period) เป็นบทกวีโบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่ประพันธ์โดยขงจื่อ

198

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


ประพันธ์พงศาวดารราชวงศ์ฮั่น2 และก่อนหน้านั้น (55 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 18) ก็มีนักปรัชญา นามว่ า หยางสยง ( 揚雄 ) ที่ ป ระพั น ธ์ ตำ � ราฟั ง เหยี ย น (方言 ) ที่ มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ภาษาถิ่ น ในภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน ซึ่งงานประพันธ์ชิ้นหลังนี้เป็นการจัดจำ�แนกประเพณีท้องถิ่น ในแง่วิชาการ และในเชิงการปกครอง อย่างไรก็ตาม ความตื่นตาตื่นใจกับประเพณีท้องถิ่นของจีนในสมัยโบราณนั้น ได้ เ ปลี่ ย นไปแล้ ว ดั ง ที่ เ ห็ น จากในสถานการณ์ จ ริ ง ในปั จ จุ บั น ของการอนุ รั ก ษ์ ม รดกวั ฒ นธรรม ที่ไม่เป็นกายภาพ ในบริบทของโลกาภิวัตน์ การอนุรักษ์มรดกที่ไม่เป็นกายภาพคือปัจจัยสำ�คัญประการหนึ่ง ที่จะช่วยสร้างและขยายความรู้ความเข้าใจถึงความหมายและคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม ใน “หลักการและแนวทางในการปกป้องคุม้ ครองมรดกวัฒนธรรมของชนพืน้ เมือง” (Principles and Guidelines for the Protection of the Heritage of the Indigenous People’s) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ให้คำ�นิยามมรดกประเภทนี้ว่า หมายรวมถึง “องค์ความรู้ วิถปี ฏิบตั ทิ ส่ี บื ทอดกันมาจากรุน่ สูร่ นุ่ ” “วรรณกรรมหรือศิลปะทีอ่ าจจะถูกสร้างขึน้ ในอนาคต” และ “ดนตรี การร่ายรำ� เพลง พิธีกรรม สัญลักษณ์ ลวดลาย (design) เรื่องเล่า บทกวี ความรู้ เชิงวิทยาศาสตร์ทเี่ กีย่ วกับการเกษตร เทคโนโลยี และนิเวศวิทยา ซึง่ รวมถึงการเพาะปลูก การรักษาโรค โดยการใช้สว่ นประกอบจากพืชและสัตว์” (UNESCO 2000) แต่ในทางวิชาการ ข้อถกเถียงถึงความเข้าใจ ในเรือ่ งคำ�นิยามดังกล่าวนีไ้ ด้เคลือ่ นไปเร็วมาก เมือ่ ค.ศ. 2003 ยูเนสโกก็ได้ออกอนุสญ ั ญาว่าด้วยเรือ่ งการ ปกป้องคุม้ ครองมรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพ (Convention for Safeguarding of the Intangible Heritage) เพื่อไปหนุนเสริมกฎหมายที่ให้การคุ้มครองมรดกมีความรัดกุมมากขึ้น โดยที่ในอนุสัญญาดังกล่าวนั้น คำ�ว่า “มรดกมุขปาฐะและมรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพ” (oral and intangible heritage) ได้ถกู ปรับเปลีย่ นเป็น “มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” (intangible cultural heritage) จีนเป็นประเทศผู้นำ�ด้านการอนุรักษ์มรดกที่ไม่เป็นกายภาพที่แข็งขันมาก เมื่อ ค.ศ. 2001 กระทรวงวัฒนธรรมของจีนได้จัดงานประชุมสัมมนานานาชาติ เรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ของชนกลุ่มน้อย (International Symposium of the Conservation of the Traditional Folk Culture of National Minorities) ได้มีการเชิญหน่วยงานรัฐ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจน นักศึกษาจากสามสิบกว่าประเทศ เช่น เยอรมนี อียิปต์ ญี่ปุ่น และบราซิล ให้มาแลกเปลี่ยนความคิด เห็นเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในขณะเดียวกันจีนก็บัญญัติกฎหมาย ว่าด้วยการ ปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมพื้นบ้านของชนกลุ่มน้อยในจีน (Laws for the Protection of Chinese National Minority Folk Cultures) และในปีเดียวกันนั้นเองที่ “งิ้วคุนฉวี่”3 (kunqu opera) ก็ได้รบั การประกาศโดยยูเนสโก ให้เป็นผลงานชิน้ เอกด้านมรดกวัฒนธรรมมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรม

พงศาวดารราชวงศ์ฮั่น (Book of Han) เป็นประวัติศาสตร์ยุคก่อนราชวงศ์ฮั่นหรือราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (Western Han Dynasty) (206 ปีก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 24) มีทั้งสิ้น 120 เล่ม 3 งิ้วคุนฉวี่ เป็นการแสดงเวทีที่เก่าแก่ที่สุดของจีน โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยการแสดง 24 ฉาก มีผู้แสดง 12 คน ที่มีทั้งการแสดงท่าทาง การต่อสู้ และแสดงท่ากายกรรม โดยมีดนตรีประกอบจากเครื่องเป่าและเครื่องสายและอาจจะมี การร้องและการรำ�ที่ต้องใช้ทักษะชั้นสูง 2

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 199


ที่ไม่ใช่กายภาพของมนุษยชาติ (Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity) ซึ่งมีผลให้แผนงานวิจัยและการอนุรักษ์มรดกที่ไม่เป็นกายภาพของจีนก้าวรุดหน้าไปอีก และหลังจากนัน้ ไม่นาน หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิน่ ไปจนถึงระดับประเทศ ก็ได้มกี ารเสนอแผนการ ดำ�เนินงานในเรือ่ งดังกล่าว จนทำ�ให้มกี ารจัดตัง้ หน่วยงานรัฐทีม่ าดูแลเรือ่ งนีโ้ ดยตรง ได้แก่ ศูนย์การปกป้อง คุม้ ครองมรดกที่ไม่เป็นกายภาพแห่งชาติจีน (National Intangible Heritage Protection Centre) ซึง่ มีหน้าทีใ่ นการเฟ้นหาวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพสำ�หรับเป็นตัวแทนในเบือ้ งต้น นอกจากหน่วยงาน รัฐตั้งใหม่ดังกล่าวนี้แล้ว ก็ยังมีหน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีการดำ�เนินกิจกรรมและ โครงการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น สมาคมศิลปินพื้นบ้านจีน (Association of Chinese Folk Artists) ได้ตงั้ โครงการ “ฟืน้ ฟูวฒ ั นธรรมพืน้ บ้านจีน” (Rescue Plan for Chinese Folk Culture) นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยหลายแห่งตามเมืองต่าง ๆ เช่น ปักกิง่ หนานหนิง กว่างโจว และคุนหมิง ก็เริ่มบรรจุรายวิชาที่ว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้านและวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพไว้ในหลักสูตร มหาวิทยาลัยยูนนานได้สร้างพิพธิ ภัณฑ์มานุษยวิทยาขึน้ และเสนอให้กอ่ ตัง้ หมูบ่ า้ นชนกลุม่ น้อยยูนนานขึน้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็สะท้อนให้เห็นว่า ภารกิจในเรื่องนี้มิได้ถูกปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ แต่เพียงลำ�พัง แต่สถาบันด้านวัฒนธรรมและด้านการศึกษาก็มีส่วนขับเคลื่อนในเรื่องนี้ด้วย ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2002 หน่วยงานภาคพืน้ ทวีปเอเชียแปซิฟกิ ของ ICOM (International Council of Museum) หรือ สภาพิพิธภัณฑ์สากลได้จัดประชุมระดับภูมิภาคครั้งที่ 7 ขึ้นที่ เซี่ยงไฮ้ ในหัวข้อเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ มรดกที่ไม่เป็นกายภาพและโลกาภิวัตน์” (Museums, Intangible Heritage and Globalization) ในครั้งนั้นได้มีการลงนามใน กฎบัตรเซี่ยงไฮ้4 (Shanghai Charter) ซึ่ ง ในกฎบั ต รดั ง กล่ า วได้ เ น้ น ถึ ง การทำ � ความเข้ า ใจขอบเขตความหมายของ มรดกวั ฒ นธรรม (cultural heritage) ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง โดยมีความหมายครอบคลุมไปถึงมรดกวัฒนธรรมที่ ไม่ใช่กายภาพ (intangible cultural heritage) ทีค่ วรจะได้รบั การนำ�เสนอได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย ในพิพธิ ภัณฑ์ ซึง่ พิพธิ ภัณฑ์กถ็ อื เป็นภาคีทมี่ บี ทบาทอย่างสำ�คัญในการสร้างเสริมการตระหนักรูเ้ รือ่ งการ ปกป้องคุ้มครองมรดกเชิงมานุษยวิทยาที่ไม่เป็นกายภาพ (intangible anthropological heritage) นอกจากนีแ้ ล้ว ในกฎบัตรดังกล่าวยังมีขอ้ ความว่า “ความสำ�คัญของความคิดสร้างสรรค์ การประยุกต์ใช้ และการมีเอกลักษณ์ของผูค้ น ของสถานทีแ่ ละของชุมชน โดยมีกรอบคิดทีเ่ อือ้ ให้ เสียง ค่านิยม ประเพณี ภาษา ประวัตศิ าสตร์บอกเล่า วิถพี นื้ บ้านและอืน่ ๆ ได้ธ�ำ รงอยู่ และมีพนื้ ทีใ่ นการนำ�เสนอในพิพธิ ภัณฑ์ และในปฏิบัติการด้านมรดกวัฒนธรรม” การประชุมที่เซี่ยงไฮ้ครั้งนั้น ยังทำ�ให้พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกได้ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวนี้ด้วย ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 การประชุมสามัญครั้งที่ 20 ของสภาพิพิธภัณฑ์สากล จัดขึ้นที่กรุงโซล ภายใต้หัวข้อพิพิธภัณฑ์และ มรดกที่ไม่เป็นกายภาพ (Museums and Intangible Heritage) ในที่ประชุมนี้บรรดาผู้แทนจาก พิพิธภัณฑ์ทั่วภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่สำ�หรับจีนแล้ว สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องดังกล่าวนี้ยังนับเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งต่อชุมชนระหว่างประเทศ

4

ดู http://icom.museum/shanghai_charter.html

200

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


จีนได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาสำ�หรับมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติแห่งโลก (Convention for the World Cultural and Natural Heritage) เมือ่ เดือนธันวาคม ค.ศ.1985 และ สองปีตอ่ มา แหล่งภูมทิ ศั น์อนั งดงามของจีนหกแห่งได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลก (World Heritage List) หากกล่าวโดยเปรียบเทียบ จีนเป็นประเทศทีม่ แี หล่งมรดกโลกมากถึง 35 แห่ง5 เป็นแหล่งมรดกโลก ทางวัฒนธรรม 25 แห่ง แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติหกแห่ง และแหล่งมรดกโลกประเภทผสมสี่แห่ง นอกจากนี้ ยังมีมรดกวัฒนธรรมไม่เป็นกายภาพ ที่ได้รับการประกาศเป็น ผลงานชิ้นเอกด้านมรดก วัฒนธรรมมุขปาฐะและมรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพของมนุษยชาติ (Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity) อีกสี่รายการด้วยกัน แล้วยังมีแหล่ง ที่ ยื่ น เสนอเป็ น แหล่ ง มรดกโลก (Tentative List) อี ก ถึ ง 67 แห่ ง 6 ที่ ร อรั บ การพิ จ ารณาถึ ง ความเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและความโดดเด่นเป็นสากล ที่มีศักยภาพที่จะได้รับการประกาศ ให้เป็นมรดกโลก ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพอีกสี่รายการ ที่ผู้เชี่ยวชาญ กำ�ลังศึกษารวบรวมให้เป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมมุขปาฐะหรือมรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่ใช่กายภาพของจีน (China’s anthropological, oral or intangible heritage) นอกจากงิว้ คุนฉวี่ ก็มเี ครือ่ งดนตรีโบราณ กู่ฉิน (guqin) คือพิณโบราณที่มีลักษณะยาว นอกจากนี้ยังมี mukmu ของชาวอุยกูร์ในซินเจียง และเพลงพื้นบ้านของชาวมองโกเลียในด้วย

นับไม่ถ้วน? วัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพในจีน จีนเป็นประเทศทีม่ ปี ระวัตศิ าสตร์ทเ่ี กีย่ วข้องกับชนกลุม่ น้อยมายาวนาน นอกจากชาวจีนเชือ้ สายฮัน่ ทีเ่ ป็นประชากรส่วนใหญ่แล้ว ยังมีชนกลุม่ น้อยในจีนอีกถึงห้าสิบห้ากลุม่ และในแต่ละกลุม่ ก็ยงั มีกลุม่ ย่อย อีกนับไม่ถ้วน เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ที่มีกลุ่มย่อยกว่าร้อยกลุ่ม หรือแม้แต่ในกลุ่มเชื้อสายฮั่นเองก็มี กลุม่ ย่อยทีห่ ลากหลายหากพิจารณาจากการมีภาษาถิน่ ถึงเจ็ดภาษา แต่ละกลุม่ อาศัยอยูใ่ นสภาพแวดล้อม ทีแ่ ตกต่างกัน มีวถิ ชี วี ติ ประวัตศิ าสตร์ และขนมธรรมเนียมประเพณีทตี่ า่ งกันไป จึงทำ�ให้แต่ละกลุม่ นัน้ มีลกั ษณะทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพทีแ่ ตกต่างหลากหลายมาก ซึง่ กลุม่ ต่าง ๆ เหล่านีอ้ ยูใ่ นเขตการปกครองถึงห้าพืน้ ทีด่ ว้ ยกัน จนทำ�ให้มคี �ำ กล่าวของจีนทีว่ า่ “ห่างกันห้าไมล์ภมู ทิ ศั น์ตา่ ง ห่างกันสิบไมล์ประเพณีเปลี่ยน” คำ�ถามทีต่ อบยากก็คอื มรดกวัฒนธรรมทีไ่ ม่ใช่กายภาพของจีน มีอะไรบ้างทีต่ อ้ งการการอนุรกั ษ์ และการปกป้องคุม้ ครอง ในการทำ�ความเข้าใจเรือ่ งนีอ้ ย่างแท้จริง รัฐบาลจีนได้ตพี มิ พ์ระเบียบข้อบังคับ “ความคิดเห็นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการปกป้องคุ้มครองมรดกที่ไม่เป็นกายภาพของจีน” (Ideas on Strengthening the Protection of China’s Intangible Heritage) ขึ้นใน ค.ศ. 2005 ซึ่งช่วยขยายความเข้าใจในหลักการดำ�เนินงานในภาคสนาม และต่อมรดกวัฒนธรรมที่เป็นเป้าหมาย ในการอนุรกั ษ์ดว้ ย ทัง้ นี้ กระทรวงวัฒนธรรมของจีนได้จดั ทำ�บัญชีวฒ ั นธรรมทีส่ มควรพิจารณาให้เป็น

ปัจจุบันจีนมีแหล่งมรดกโลกรวมทั้งสิ้น 48 แห่ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 34 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 10 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 4 แห่ง – ผู้แปล (http://whc.unesco.org/en/statesparties/cn, สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2016) 6 ปัจจุบันจีนมีแหล่งมรดกที่รอการพิจารณาประกาศเป็นแหล่งมรดกโลก 55 แห่ง – ผู้แปล (อ้างแล้ว) 5

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 201


มรดกที่ไม่เป็นกายภาพของจีน และกำ�หนดให้มรดกเหล่านั้นมีความสำ�คัญที่ลดหลั่น เป็นระดับชาติ (national) ระดับมณฑล (provincial) ระดับเมือง (municipal) และระดับตำ�บล (district) มาใน ค.ศ. 2006 รายชื่อมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพแห่งชาติจีน 518 รายการได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรก ซึง่ ในจำ�นวนรายการดังกล่าวนัน้ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ซึง่ เป็น “วัฒนธรรมพืน้ บ้าน” (folk culture) 31 รายการ “เพลงพื้นบ้าน” (folk music) 72 รายการ “การฟ้อนรำ�” (dance) 41 รายการ “การแสดงพื้นบ้าน” (traditional theatre) 92 รายการ “งานประพันธ์” (poetry) 46 รายการ “การแสดงกายกรรมและการละเล่น” (acrobatics and athletics) 17 รายการ “วิจติ รศิลป์” (fine arts) 51 รายการ “หัตถกรรมพื้นบ้าน” (traditional handicrafts) 89 รายการ “การแพทย์แผนโบราณ” (traditional medicine)เก้ารายการ และ “ประเพณีท้องถิ่น” (local customs) 70 รายการ (ได้แก่ เทศกาลและกิจกรรมการเฉลิมฉลอง) รวมเป็น 146 รายการที่ขึ้นบัญชี ซึ่งเมื่อสิ้น ค.ศ. 2008 ข้อมูลที่แท้จริงของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพน่าจะสมบูรณ์ขึ้น เมื่อมีบัญชีมรดกแห่งชาติด้านวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพเกิดขึ้นมา พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน (National Museum of China) ทีก่ รุงปักกิง่ ก็มกี ารจัดแสดงครัง้ ใหญ่วา่ ด้วย “นิทรรศการมรดกแห่งชาติ ด้านวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” (Intangible Cultural Heritage Exhibition) เพื่อเป็นการ ให้ความรูแ้ ละเป็นการสร้างกระแสการตระหนักรูใ้ นเรือ่ งนี้ นิทรรศการนีก้ ไ็ ด้ท�ำ ให้เกิดข้อถกเถียงทีร่ นุ แรง ในตอนนัน้ บัญชีรายชือ่ มรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพทีว่ า่ นี้ จัดทำ�โดยหน่วยงานท้องถิน่ แล้วเสนอต่อหน่วยงาน ระดับจังหวัด ปัญหาที่พบก็คือ บัญชีรายชื่อมรดกของแต่ละจังหวัดนั้นไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วบางหน่วยงานก็แจ้งว่า มรดกของตนถูก “แย่งชิง” ไป ข้อมูลล่าสุดในบัญชีมรดกแห่งชาติดา้ นวัฒนธรรมทีไ่ ม่เป็นกายภาพ บางรายการเป็นรายการร่วม ตัวอย่างเช่น มรดกประเภทดนตรีพนื้ บ้าน ของกลุม่ เหลียงฮวาซาน (Lianghuashan) กลุม่ เอ้อล่างซาน (Erlangshan) และเหล่าเหยียซาน (Laodieshan) ; เพลงถู่ (Tu) ของชนกลุม่ น้อยตานหมา (Danma), ชีหลี่ซื่อ (Qilisi) และฉีว์ถานซื่อ (Qutansi) ; หรือของกลุ่มหุย (hui) มุสลิมแห่งหนิงเซี่ย (Ningxia) ซึ่งหากแต่ละกลุ่มเสนอขึ้นบัญชีมรดกดังกล่าวเป็นของตนเอง ก็จะทำ�ให้มีรายการในบัญชีไม่ได้มีแค่ 518 รายการ แต่จะมีถึง 640 รายการ จากการวิเคราะห์เนือ้ หาสาระของมรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพทีไ่ ด้รบั การขึน้ บัญชีในแต่ละรายการ พบว่า หากพิจารณารายการตามความหมาย ตามรูปแบบและตามขอบเขตการแพร่กระจายแล้ว ก็จะมีถงึ 9,000 รายการย่อย เพราะมรดกบางรายการนัน้ ครอบคลุมพืน้ ทีก่ ว้างไกลมาก เช่น ตำ�นานของ Gesar ที่ครอบคลุมถึงเจ็ดภูมิภาคหรือจังหวัด คือ ทิเบต ชิงไห่ กานซู เสฉวน ยูนนาน มองโกเลียใน และซินเจียง ซึง่ ทัง้ หมดนีค้ ดิ เป็นพืน้ ทีถ่ งึ หนึง่ ส่วนสิบของประเทศจีน เทศกาลบางเทศกาล เช่น เทศกาล ฤดูใบไม้ผลิ เกี่ยวข้องกับยี่สิบสี่ช่วงในทางสุริยคติ หรือจะเป็นเทศกาลสิ้นปี และเทศกาลอื่นๆ ที่มี การเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศจีน ซึ่งส่งอิทธิพลไปยังพื้นที่อื่นๆ ไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกอีกด้วย ซึง่ การเฉลิมฉลองของแต่ละพืน้ ทีก่ ม็ ลี กั ษณะเป็นของตัวเอง จึงทำ�ให้ยากต่อการกำ�หนดวิธกี ารอนุรกั ษ์ ที่ตายตัวให้กับเทศกาลเหล่านั้น

202

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


การสิ้นสูญของมรดกที่ไม่เป็นกายภาพ เมื่อรัฐบาลจีนดำ�เนินนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปประเทศใน ค.ศ. 1984 หนึ่งในนโยบาย ใหม่นั้นคือ การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเมืองเสิ่นเจิ้น (Shenzhen) ให้เป็น “พื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษ” ที่ทำ�หน้าที่เป็น “ประตูประเทศ” อีกนโยบายก็คือ การขับเคลื่อนประเทศ สู่เวทีโลก (ในตอนนั้น มีสำ�นักพิมพ์แห่งหนึ่งตีพิมพ์หนังสือชุดชื่อว่า Moving Towards the World ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรม) มีแนวคิดใหม่เกิดขึ้นมากมายและไหลเวียน ในสังคมจีน พร้อมกันนัน้ วิถที างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ก็เกิดขึน้ ทัว่ ทัง้ ประเทศจีน กิจกรรมการท่องเทีย่ วและ การบริการก็เกิดขึ้น อย่างเช่นที่เสิ่นเจิ้น มีการสร้างสถานที่สำ�หรับสาธารณะขึ้นใหม่สองแห่งด้วยกัน ซึ่งเห็นได้ทันทีว่าเป็นหน้าต่างสู่โลกที่สอดรับกับหมู่บ้านวัฒนธรรม ที่แสดงภาพแทนของประเพณี พื้นบ้านจีน และจากนั้นการสร้างจำ�ลองหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ก็มีให้เห็นทั่วประเทศจีน แห่งแรกคือ ทีห่ มูบ่ า้ นชนกลุม่ น้อยยูนนานในกรุงปักกิง่ หมูบ่ า้ นหัวเฉียว (Huaqiao) ทีซ่ งิ หลง (Xinglong) บนเกาะไหหลำ� หรือเมืองสุริยันจันทรา (Sun and Moon City) ในเฉิงตู (Chengdu) และพระราชวังฤดูร้อน ที่เสิ่นหยาง (Shenyang) แหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่หลายแห่ง ที่เป็นหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยได้รับความนิยมอย่างมากและ ประสบความสำ�เร็จทางเศรษฐกิจอย่างล้นหลาม ไม่นานนักการหาผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจาก ประเพณีพื้นบ้านของชนกลุ่มน้อยก็เข้มข้นขึ้น ในแต่ละแหล่งเกิดสารพัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมแปลก ๆ หรือร้านขายของเก่า ทีผ่ คู้ า้ รายเล็กกว้านซือ้ ของเก่าจากบ้านเรือนทุกตรอกซอกซอย มาขาย จนมีคำ�กล่าวว่า “ถ้าอยากรวย ก็ไปรื้อหลุมศพ” มาในทศวรรษ 1990 กิจกรรมดังกล่าวลดลง พิพิธภัณฑ์จำ�นวนมากเกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด ภายในระยะเวลาเพียงสิบกว่าปี มรดกที่ไม่เป็น กายภาพของจีนก็สูญหายไปจำ�นวนมาก เช่น เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ที่กลายเป็นสินค้าหายากและราคาสูง จากเดิมที่พิพิธภัณฑ์คือแหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับมรดกที่เป็นกายภาพ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทกับ มรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพมากนัก และจากช่องโหว่ของกฎหมาย ทีเ่ ป็นช่องว่างทำ�ให้ภาคธุรกิจกอบโกยผล ประโยชน์อย่างมโหฬารจากมรดกวัฒนธรรมและทีด่ นิ ของชนกลุม่ น้อย โดยการนำ�เอามรดกวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปนอกพื้นที่เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มิหนำ�ซํ้ายังบิดเบือนไปจากประเพณี ดั้งเดิม เช่น งานเทศกาลที่ยังมีประเพณีการเฉลิมฉลองอยู่ ได้ถูกนำ�ออกไปจัดในหมู่บ้านวัฒนธรรม พื้นบ้านและในหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย ที่ได้รับการเสนอให้ได้รับการปกป้องคุ้มครอง โดยมีโปรแกรม สีถ่ งึ เก้าเดือน ทีม่ กี ารจัดแสดงประเพณี “เทศกาลสาดนํา้ ” (Water Sprinkling Festival or Chengding Ceremony) วันละสี่ครั้ง แล้วเรียกการแสดงนี้ว่าเป็น Xi Drama (เทศกาลสาดนํ้า เปลี่ยนชื่อเป็น ฟาดสามีด้วยนํ้า) ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเป็นการขโมยวัฒนธรรม หนำ�ซํ้ายังไปทำ�ให้ผิดเพี้ยนและสร้าง ความไม่พอใจให้กับเจ้าของวัฒนธรรมอย่างมาก

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 203


พิพิธภัณฑ์จะช่วยปกป้องคุ้มครองมรดกที่ไม่เป็นกายภาพได้อย่างไร ปัจจุบนั นีป้ ระเทศจีนมีพพิ ธิ ภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ อยูม่ ากกว่า 2,300 แห่ง ร้อยละ 70 ในจำ�นวน นั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่ตั้งอยู่ตามเมืองต่าง ๆ คนที่ทำ�งานในพิพิธภัณฑ์เหล่านั้น ส่วนใหญ่ทำ�งานในหน่วยงานที่ทำ�หน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกที่ไม่เป็นกายภาพด้วย วันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 มีวนั พิพธิ ภัณฑ์สากล (International Museum Day) เป็นครัง้ แรก (ซึง่ หัวข้อการจัดงานคือ พิพธิ ภัณฑ์และมรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพของเรา - Museums and our Intangible Heritage) ในงานนี้ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑ์อิมพีเรียลพาเลซ (Imperial Palace Museum) ที่กรุงปักกิ่ง นายหลี่เหวินซวี่ (Li Wenxu) ได้ให้สัมภาษณ์ เทคโนโลยีเดลี (Technology Daily) ถึงเรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องมรดกที่ไม่เป็นกายภาพ ว่ามรดกประเภทนี้ได้หยั่งรากลงในจีน โดยมี พื้นที่และได้รับการนำ�เสนอในพิพิธภัณฑ์จีนด้วย แต่ประเด็นต่อมาก็คือ แล้วจะอธิบายถึงความสำ�คัญ ของการปกป้องคุ้มครองมรดกเหล่านั้นว่าอย่างไร ในที่นี้อาจกล่าวได้ว่า การปกป้องคุมครองดังกล่าว จะทำ�ให้เราสามารถเก็บรักษาบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสังคมของเรา ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์จึงควรมีบทบาทที่สำ�คัญยิ่งในการปกป้องคุ้มครองและสงวนรักษา เป็นแหล่งสำ�หรับ การศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเป็นพื้นที่นำ�เสนอมรดกวัฒนธรรมของเรา และหน้าที่ดังกล่าวนี้ก็ควร ครอบคลุมไปถึงมรดกที่ไม่เป็นกายภาพด้วย รูปแบบและวิธกี ารต่าง ๆ ในการรักษามรดกทีไ่ ม่เป็นกายภาพของจีนให้มชี วี ติ ในพิพธิ ภัณฑ์นนั้ เป็นเรื่องที่ยังต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันจากหลาย ๆ ฝ่าย รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของ พิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ในการสำ�รวจแหล่งข้อมูลมรดกที่ไม่เป็นกายภาพในพื้นที่ ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ภาพถ่ายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งที่สัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ ทีเ่ กีย่ วกับเทศกาลท้องถิน่ ในพืน้ ทีข่ องกลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ (เช่น เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เป็นต้น) ทีท่ �ำ ให้ชดั เจน ในนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ (รวมทั้งการนำ�ชมนิทรรศการด้วย) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ ความเข้าใจเกี่ยวกับมรดกที่ไม่เป็นกายภาพ และเรื่องที่จะต้องคำ�นึงถึงอีกก็คือการสร้างพิพิธภัณฑ์ เสมือนจริง (virtual museums) ในรูปของการบันทึกมรดกที่ไม่เป็นกายภาพทุกรูปแบบให้เป็น ข้อมูลดิจิทัล เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่สาธารณะสามารถเข้าถึงได้ และแผนเบื้องต้น ของพิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อยแห่งชาติต่าง ๆ คือการจัดสรรพื้นที่ลานกิจกรรม สำ�หรับศิลปินพื้นบ้าน อันเป็นส่วนหนึง่ ของพิพธิ ภัณฑ์มชี วี ติ และการจัดตัง้ อีโคมิวเซียม (ecomuseum) 22 แห่ง ทีม่ งุ่ หมายให้มี การอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างสมบูรณ์แบบ สำ�หรับมรดกทั้งที่เป็นกายภาพกับมรดกที่ไม่เป็นกายภาพ

204

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


มรดกที่ไม่เป็นกายภาพกับอีโคมิวเซียม ประเทศจีนเริ่มมีแนวคิดอีโคมิวเซียมตั้งแต่ ค.ศ. 1985 จากนั้นอีกหนึ่งทศวรรษ ที่อีโคมิวเซียม แห่งแรกถูกจัดตั้งขึ้น ที่มณฑลกุ้ยโจว ปัจจุบันนี้ประเทศจีนมีอีโคมิวเซียม 22 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับ การตอบรับทีด่ จี ากสาธารณะ และอีโคมิวเซียมก็มบี ทบาทสำ�คัญทีท่ �ำ ให้การปกป้องคุม้ ครองวัฒนธรรม ของชนกลุม่ น้อยเป็นไปในทิศทางทีด่ ี แนวทางการจัดตัง้ อีโคมิวเซียมก็คอื ชุมชนผูเ้ ป็นเจ้าของวัฒนธรรม เป็นผู้ที่มีสิทธิในการตีความทางวัฒนธรรม และเป็นผู้กำ�หนดคุณค่าและความหมายของวัฒนธรรม ของตนเอง และที่สำ�คัญคือการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ถือเป็นหัวใจของอีโคมิวเซียม ที่ต้องดำ�เนินตาม ความต้องการของคนส่วนใหญ่ หากมีความขัดแย้งระหว่างการอนุรักษ์กับการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ ก็จะมีความสำ�คัญมากกว่า และจะไม่มีการซื้อขายวัตถุทางวัฒนธรรมอีกต่อไป แต่จะเป็นการผลิต ของที่ระลึกที่มาจากแรงบันดาลใจทางวัฒนธรรมแทน โดยจะคำ�นึงถึงผลประโยชน์ในระยะยาว มากกว่าระยะสัน้ ทัง้ นี้ หลักการในการอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมก็คอื การใช้เทคนิคและวัสดุแบบดัง้ เดิม สำ�หรับมรดกวัฒนธรรมที่เป็นกายภาพ และในขณะเดียวกัน สาธารณชนทั่วไปก็ต้องทำ�ความเข้าใจ มีจิตสำ�นึกและการอนุรักษ์ต้องถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยที่การจัดอีโคมิวเซียมจะไม่มี การกำ�หนดรูปแบบที่ตายตัว เนื่องมาจากความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม และอีโคมิวเซียม ก็ควรที่จะมีบทบาทในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคม และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน หลักสำ�คัญต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้นนี้ คือวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมและ ผืนดินของชนกลุ่มน้อย รวมทั้งเคารพในสถานภาพและคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของพวกเขา แนวคิดนี้จะเป็น หัวใจสำ�คัญในการสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ในเรื่องมรดกโลก ที่มาจากมรดกวัฒนธรรม ที่หมายรวมถึงมรดกที่ไม่เป็นกายภาพด้วย

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 205


อ้างอิง UNESCO. 2000. “Principles and Guidelines for the Protection and Promotion of the Heritage of Indigenous Peoples.”

206

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


แนะนำ�ผู้แปล ดร.อิสระ ชูศรี

อาจารย์ประจำ�หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ. ดร.พจนก กาญจนจันทร

อาจารย์ประจำ�คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

อาจารย์ประจำ�คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ. ดร.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

อาจารย์ประจำ�คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries 207



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.