ทรัพย์สินทางปัญญากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ intellectual property and the use of information technol

Page 1


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

ชื่อเรื่อง

ทรัพย์สินทางปัญญากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

Intellectual Property and the Use of Information Technology จัดทำ�โดย

ศูนย์กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำ�นักกฎหมาย

1

สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ISBN

978-616-7956-16-9

พิมพ์ครั้งที่ 1

กันยายน 2559

พิมพ์จำ�นวน

1,000 เล่ม

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2559 @2016 Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) All rights reserved. ไม่อนุญาตให้คัดลอก ทำ�ซ�้ำ และดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือนี้

นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น


2

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สารบัญ

บทนำ�........................................................................................................... 6 ส่วนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ................. 8 1. แนวคิดของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา.................................... 9 2. ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา.................................................. 9 3. ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา.................................................... 10 4. ลักษณะของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา................................ 10 5. ตัวอย่างของงานในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ..................................... 12 ส่วนที่ 2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานที่ได้รับการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญา................................................................................. 16 1. ลักษณะของงานที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา................ 18 2. กิจกรรมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับ งานที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา.................................. 43 ส่วนที่ 3 การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ.์ ................................ 76 1. งานอันมีลิขสิทธิ์และเหตุผลในการคุ้มครอง...................................... 77 2. สิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ.์ .................................................. 78


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

3

3. ประเภทการใช้งานอันมีลิขสิทธิ.์........................................................ 79 4. การขออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ.์............................................................ 80 5. ปัญหาของการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ.์............................................... 82 6. การใช้งานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม.................................................... 85 7. ตัวอย่างของการใช้งานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม................................. 87 8. การใช้งานที่เป็น public domain................................................. 92 9. สิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ.์ ................................................................... 93 10. งานที่เจ้าของลิขสิทธิ์สละลิขสิทธิ.์ .................................................. 94 11. งานที่สิ้นอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว........................................... 95 ส่วนที่ 4 โครงการครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons).......................... 98 1. แนวคิดของ Creative Commons............................................. 99 2. ครีเอทีฟคอมมอนส์คืออะไร.......................................................... 102 3. ใช้ครีเอทีฟคอมมอนส์ทำ�อะไรได้บ้าง.............................................. 103 4. ทำ�ไมต้องครีเอทีฟคอมมอนส์....................................................... 104 5. ครีเอทีฟคอมมอนส์กับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของ ครีเอทีฟคอมมอนส์...................................................................... 105 6. สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ “3 ชั้น” ของครีเอทีฟคอมมอนส์........... 106


4

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

7. สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์มีอะไรบ้าง........... 108 8. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ควรใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ของครีเอทีฟคอมมอนส์หรือไม่..................................................... 112 9. การกำ�หนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ในองค์กรธุรกิจ............................................................................ 114 ส่วนที่ 5 แนวทางป้องกันและโทษที่เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ......................................................... 118 1. แนวทางป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา............................ 119 2. การออกแบบเว็บไซต์กับประเด็นละเมิดลิขสิทธิ.์ .............................. 126 3. การบังคับสิทธิเมื่อมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา...................... 130 4. โทษที่เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา............................... 132 5. กรณีศึกษาของการละเมิดลิขสิทธิ.์ ................................................ 135 6. กรณีศึกษาของการละเมิดเครื่องหมายการค้า................................ 141 7. กรณีศึกษาของการละเมิดสิทธิบัตร.............................................. 146 8. กรณีศึกษาของการละเมิดความลับทางการค้า............................... 148 ส่วนที่ 6 บทสรุป................................................................................................... 152 บรรณานุกรม......................................................................................... 156


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

5


6

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

บทนำ� ปัจจุบันถือเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในสังคมมนุษย์ ทัง้ ในส่วนของการน�ำมาใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น การติดต่อสือ่ สาร การแลกเปลีย่ นข้อมูล การท�ำ ธุรกรรมการเงินส่วนบุคคล ฯลฯ หรือในส่วนของการด�ำเนินธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรับ สมัครงานการประชาสัมพันธ์การตลาด การพาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากเทคโนโลยี สารสนเทศมีคุณสมบัติที่ช่วยให้เกิดความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว และสามารถด�ำเนินการได้ อย่างไร้พรมแดน นั่นเอง อย่างไรก็ตามการน�ำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ มีประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่ส�ำคัญอยู่ในหลายมิติเช่น การประชาสัมพันธ์ ที่อ าจมีก ารเผยแพร่ข ้อ มูล สารสนเทศ การพัฒ นาต่อ ยอดซอฟต์แ วร์ การแลกเปลี่ย น ไฟล์งานผ่านระบบ peer-to-peer (P2P) การจ�ำหน่าย สินค้าทีล่ ะเมิด ตราสินค้าผ่านพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งปัญ หาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญ ญา นั้น มีค วามรุน แรงมากขึ้น เนื่องจากมักจะเป็นการละเมิดผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นเหตุให้หลายประเทศพยายามที่จะออกกฎหมายเพื่อปราบปรามและป้องกันการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น Anti-Counterfeiting Trade Agreement (ACTA) ซึ่งเป็น สนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือ Stop Online Piracy Act (SOPA) ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น หนังสือเล่มนีจ้ ะอธิบายเนือ้ หาทรัพย์สนิ ทางปัญญาและการคุม้ ครองทรัพย์สนิ ทางปัญญา ที่เกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อปูพื้นฐานให้ ผู้อ่านได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ของ การคุม้ ครองทรัพย์สนิ ทางปัญญา และกิจกรรม ต่าง ๆ ทีอ่ าจถือเป็นการละเมิดทรัพย์สนิ ทางปัญญา รวมทัง้ แนวทางการใช้สอื่ เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกวิธี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญาในสือ่ เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความหมายของทรัพย์สนิ ทางปัญญาและประเภท ของงาน รวมถึงลักษณะของงานในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญา


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

7

ส่วนที่ 2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา ซึ่งจะกล่าวถึงในแง่ของกิจกรรมของผู้ใช้ (User) ผู้ประกอบธุรกิจ (Merchant) นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Developer) และผูด้ แู ลเว็บไซต์ (Webmaster) เช่น กิจกรรมการอัพโหลดไฟล์ การโฆษณาสินค้าผ่านเว็บไซต์เครือ่ งมือค้นหา โปรแกรมของนักพัฒนา แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ร้านค้าสมาชิกจ�ำหน่ายสินค้าที่อาจมีการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญา ส่วนที่ 3 การใช้งานอันมีลขิ สิทธิข์ องผูอ้ นื่ โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขออนุญาต ให้ใช้สิทธิ การใช้สิทธิอย่างเป็นธรรม (fair use) หรือการใช้งานที่เป็นสมบัติสาธารณะ (public domain) ส่วนที่ 4 โครงการครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) ซึง่ เป็นแนวทางใหม่ ที่ส่งเสริมการใช้งานอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้เงื่อนไขของการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ส่วนที่ 5 แนวทางป้องกันและโทษที่เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจาก การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

ส่วนที่ 6 บทสรุป ของทรัพย์สินทางปัญญากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ศูนย์กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Law Center) ภายใต้ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เห็นถึงความส�ำคัญของการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สารสนเทศและการสือ่ สาร อันสอดคล้องกับภารกิจของส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ในการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของประเทศ จึงได้จดั ท�ำหนังสือเล่มนีข้ นึ้ เพือ่ สร้างความรูค้ วามเข้าใจและความตระหนักเบือ้ งต้นแก่ผใู้ ช้งาน ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ผู้ให้บริการ และประชาชนทั่วไป ได้คุ้นเคย กับข้อมูลเบือ้ งต้นก่อนเพิม่ พูนความรูค้ วามเข้าใจกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญาในมิตทิ เี่ กีย่ วข้อง กับเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงลึกต่อไป โดยศูนย์กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้จากหนังสือเล่มนี้จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศสูงสุด ศูนย์กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Law Center) ภายใต้ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กันยายน 2559


8

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สวนที่ 1 ความรูเบื้องตน

เกี่ยวกับทรัพยสินทางปญญา

และการคุมครองทรัพยสินทางปญญา

ในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

9

1. แนวคิดของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สนิ ทางปัญญามีแนวคิดพืน้ ฐานมาจากหลักการของ “ทรัพย์สนิ ” กล่าวคือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินสามารถน�ำทรัพย์สินของตนไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าวไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งนี ้ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินยังสามารถห้ามมิให้ผู้อื่นใช้ทรัพย์สินซึ่งตนเป็นเจ้าของได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้ (Knowledge) ทีส่ ามารถน�ำไปรวมกับสิง่ ทีเ่ ป็นวัตถุซงึ่ จับต้องได้โดยไม่มขี อ้ จ�ำกัด กล่าวคือ ทรัพย์สนิ ทางปัญญา เป็นสิ่งที่เป็นความรู้ที่ท�ำให้เกิดชิ้นงานหรือวัตถุนั้น แต่จะไม่ใช่เป็นตัวชิ้นงาน หรือวัตถุ ตัวอย่างเช่น แท็บเล็ต (Tablet) ซึง่ ประกอบไปด้วยชิน้ อุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทีป่ ระกอบ เป็นตัวเครื่องและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ท�ำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น แอปพลิเคชัน ต่าง ๆ ทีน่ ยิ ม ได้แก่ ไลน์ (Line) อินสตาแกรม (Instragram) คาเมรา 360 (camera 360) เป็นต้น ซึง่ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาของแท็บเล็ต ได้แก่ ความรูท้ นี่ ำ� มาใช้ประดิษฐ์คดิ ค้นเพือ่ ให้ เกิดเป็นแท็บเล็ตและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถท�ำให้ผใู้ ช้สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ ได้นั่นเอง

2. ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นมาจากการทุ่มเทสร้างสรรค์งาน ด้วยการใช้สติปญ ั ญาของมนุษย์ เช่น โทรศัพท์มอื ถือ แผนที่ ภาพยนตร์สามมิติ เพลง กล้อง ถ่ายรูป แบบของผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมได้รับการคุ้มครอง ภายใต้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะ ผู้สร้างสรรค์ ย่อมได้รับค่าตอบแทนในรูปของค่าสิทธิซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าหรือ บริการ เพื่อเป็นการตอบแทนให้กับความคิด การลงทุน เวลา และความวิริยะอุตสาหะ อันจะน�ำไปสู่การกระตุ้นให้เจ้าของผลงาน รวมทั้งบุคคลอื่น ๆ ที่มีความสามารถเกิด ความกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง


10

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

3. ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

4. ลักษณะของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

โดยทัว่ ไปแล้ว ทรัพย์สนิ ทางปัญญาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 3.1 ทรัพย์สนิ ทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) เป็นงานสร้างสรรค์ที่ใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ สิทธิบัตรซึ่ง คุม้ ครองการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ความลับทางการค้า เครือ่ งหมายการค้า เครือ่ งหมายบริการ แผนภูมวิ งจรรวม สิง่ บ่งชีท้ างภูมศิ าสตร์ รวมทัง้ ความคุม้ ครองมิให้เกิด การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม 3.2 ลิขสิทธิ์ (Copyright) เป็นรูปแบบของงานสร้างสรรค์ดา้ นทีร่ เิ ริม่ ด้วยตัวเองโดยใช้ความวิรยิ ะอุตสาหะ ซึง่ ไม่จำ� เป็นต้องเป็นงานใหม่ทไี่ ม่เคยมีมาก่อน ประเภทวรรณกรรม ศิลปกรรมและวิทยาศาสตร์ เช่น หนังสือ ดนตรี ภาพยนตร์ งานศิลปะต่างๆ รวมทัง้ งานทีเ่ กิดจากการใช้เทคโนโลยี เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 4.1 ลิขสิทธิ์ (Copyright) การคุ้มครองงานประเภทวรรณกรรม (เช่น หนังสือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) งานนาฏกรรม (เช่น ท่าร�ำ ท่าเต้นทีเ่ ป็นเรือ่ งราว ฯลฯ) งานศิลปกรรม (เช่น งานปัน้ ภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ฯลฯ) งานดนตรีกรรม (เช่น ท�ำนอง ท�ำนองและเนือ้ ร้อง ฯลฯ) งานสิง่ บันทึกเสียง (เทป ซีด)ี งานโสตทัศนวัสดุ (วีซดี ี ดีวดี ที มี่ ภี าพหรือมีทงั้ ภาพและเสียง) งานภาพยนตร์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (การถ่ายทอดเสียงหรือภาพผ่านสื่อวิทยุ กระจายเสียง โทรทัศน์ เคเบิล้ ทีว)ี และงานอืน่ ใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ 4.2 สิทธิข้างเคียง (Related Rights) การคุ้มครองสิทธิของผู้ที่มีส่วนท�ำให้ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการแสดงที่ได้รับ การเผยแพร่ออกสู่สาธารณะภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ เช่น สิทธินักแสดง 4.3 สิทธิบัตร (Patent) การคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (ที่สามารถใช้ใน อุตสาหกรรมและหัตถกรรมได้) เช่น อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (Drone) การออกแบบ


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

11

โทรศัพท์มือถือ เครื่องพิมพ์สามมิติ เป็นต้น 4.4 เครื่องหมายการค้า (Trademark) การคุ้มครองตรา ยี่ห้อสินค้า หรือตราสัญลักษณ์ (logos) ที่ใช้ก�ำกับสินค้า หรือบริการเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถแยกความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตสินค้านั้น ๆ 4.5 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) การคุ้มครองชื่อ สัญลักษณ์ ที่สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่ง ภูมศิ าสตร์นนั้ ซึง่ มีความเชือ่ มโยงกับคุณภาพ ชือ่ เสียง หรือคุณลักษณะพิเศษของสินค้านัน้ เช่น ศิลาดลเชียงใหม่ ส้มโอนครชัยศรี ผ้าไหมยกดอกล�ำพูน เป็นต้น 4.6 ความลับทางการค้า (Trade Secret) การคุ้มครองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้กลุม่ คน และเป็นข้อมูลทีม่ มี าตรการทีเ่ หมาะสมเพือ่ เก็บรักษาความลับ นัน้ ไว้ เช่น เทคนิค วิธี สูตร และข้อมูลรายชื่อลูกค้า 4.7 แผนภูมิวงจรรวม (Layout - Designs of Integrated Circuit) การคุ้มครองแบบ แผนผัง หรือภาพที่แสดงถึงการจัดวางให้เป็นวงจรรวม 4.8 คุ้มครองพันธุ์พืช (Plant Variety) การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่าที่มีความแตกต่างจากพันธุ์อ่ืนอย่างเด่นชัด พร้อมกับมีความสม�่ำเสมอและ มีความคงตัวในลักษณะประจ�ำพันธุ์


12

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

5. ตัวอย่างของงานในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

5.1 งานลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปกรรม เช่น ภาพการ์ตูนสติ๊กเกอร์ที่ใช้ใน การสนทนาผ่านทาง Social Network หรือลวดลายสติก๊ เกอร์ทใี่ ช้ตกแต่งเครือ่ งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ภาพจาก https://store.line.me/stickershop/showcase/top/en

5.2 งานลิขสิทธิป์ ระเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยออกแบบภาพสามมิติหรือโปรแกรมแอปพลิเคชันส�ำหรับโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ภาพจาก http://roundoverlinux.blogspot.com/2013/09/graphicsimage-editing-open-source.html


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

13

5.3 สิทธิบัตรอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ที่ใช้เพื่อถ่ายภาพจากมุมสูง หรือใช้ในการขนส่งสินค้า


14

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

5.4 เครื่องหมายการค้าสินค้าและบริการ เช่น โลโก้ของบริษัทที่มีชื่อเสียง ด้านเทคโนโลยี

5.5 ความลับทางการค้า เช่น ข้อมูลเกีย่ วกับเทคโนโลยีหน้าจอโทรทัศน์แบบ OLED (Organic Light-Emitting Diode) นวัตกรรมจอภาพที่บางเบาและสามารถ โค้งงอได้ เป็นต้น


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

15


16

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สวนที่ 2

การใชเทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่เกี่ยวกับงานที่ไดรับการคุมครอง

ทรัพยสินทางปญญา


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

17

เมือ่ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกพัฒนาเพือ่ ใช้ประโยชน์หลายมิติ โดยเฉพาะเมือ่ น�ำมา เชือ่ มโยงเข้ากับอินเทอร์เน็ต ท�ำให้เกิดประโยชน์จากการหลอมรวมของสือ่ ต่างๆ อาทิ โทรศัพท์ มือถือแบบสมาร์ตโฟน (Smart phone) ไม่เพียงแต่ใช้เป็นเครือ่ งมือในการสือ่ สาร หากแต่นำ� มา ใช้เพือ่ บันทึกข้อมูล (ทัง้ ภาพและเสียง) แลเผยแพร่ผา่ นเครือข่ายสังคม (Social network) หรือใช้เป็นแผนทีช่ ว่ ยในการเดินทาง รวมทัง้ เป็นช่องทางในการประกอบธุรกรรมเชิงพาณิชย์ อีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือเหล่านี้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นมาจากความคิด สร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์อันเป็นงานที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น ในส่วนนี้ จะขอกล่าวถึงรายละเอียดลักษณะของงานและกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจ�ำวันที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งหลักเกณฑ์ส�ำคัญของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า โดยจะกล่าวถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในแง่มุมของผู้ใช้ ผู้ประกอบธุรกิจ นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ และผู้ให้บริการ เพื่อให้ตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกวิธโี ดยไม่เป็นการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญา


18

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

1. ลักษณะของงานทีไ่ ด้รบ ั การคุม ้ ครองทรัพย์สน ิ ทางปัญญา ในหนังสือนีข้ อกล่าวเฉพาะงาน 4 ประเภทหลักทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และความลับทางการค้า 1.1 ลิขสิทธิ ์ เป็นสิทธิแต่เพียงผูเ้ ดียว (exclusive right) ทีจ่ ะกระท�ำการใดๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างขึ้น โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครอง ทันทีทสี่ ร้างสรรค์โดยไม่ตอ้ งจดทะเบียน แต่สามารถไปจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ณ ส�ำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ แอปพลิเคชันของแผนที่

ภาพจาก https://www.google.co.th/maps/place/


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

19

(1) ประเภทของงานลิขสิทธิ์ กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ ทีเ่ กิดจากการริเริม่ ของผูส้ ร้างสรรค์เอง ซึง่ เมือ่ เปรียบเทียบกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แล้วมีงานหลายประเภท อาทิเช่น - งานวรรณกรรม ได้แก่ หนังสือ จุลสาร สิง่ เขียน สิง่ พิมพ์ ปาฐกถา เทศนา ค�ำปราศรัย ทีป่ รากฏอยูใ่ นรูปของสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ค�ำสอนธรรมะของท่าน ว. วชิรเมธีผ่านทางเว็บไซต์หรือบล็อก (Blog) แอปพลิเคชัน (Application) ส�ำหรับใช้กับโทรศัพท์ และซอฟต์แวร์ช่วยออกแบบด้วย คอมพิวเตอร์ (Computer Aided Design หรือ CAD) เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ภาพจาก http://men.kapook.com/view38746.html


20

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

- งานนาฏกรรม ได้แก่ งานเกีย่ วกับการฟ้อนร�ำ การเต้น การท�ำท่า หรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และการแสดงโดยวิธีใบ้ ซึ่งอาจมีการน�ำไปเผยแพร่ ผ่านเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโออย่าง YouTube การแสดงโขน

ภาพจาก https://www.youtube.com/watch?v=vXti4FrhIQ8


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

21

-งานศิลปกรรม ได้แก่ งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรือ งานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ และ งานศิลปะประยุกต์ (เป็นการน�ำเอางานศิลปกรรมไปใช้ประโยชน์อย่างอืน่ เช่น น�ำไปใช้สอย น�ำไปตกแต่งวัสดุหรือสิง่ ของอันเป็นเครือ่ งใช้หรือน�ำไปใช้เพือ่ ประโยชน์ทางการค้า) ทีป่ รากฏ อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้หลายรูปแบบ เช่น สติกเกอร์ของแอปพลิเคชัน Line ส�ำหรับ ใช้ในการสนทนา ภาพวอลเปเปอร์ พื้นหลังส�ำหรับจอ PC หรือโทรศัพท์มือถือ แผนที่ของ google เพื่อใช้ในการเดินทาง ภาพถ่ายดิจิทัล ภาพยนตร์สามมิติต่าง ๆ หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จาก คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Thumb drive) ที่เป็น ลวดลายตัวการ์ตูน Disney เป็นต้น ภาพ Wallpaper ส�ำหรับ iPhone

ภาพจาก http://iphonewalls.net/


22

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

Thumb drive ลวดลายตัวการ์ตูน

ภาพจาก http://www.overstock.com/Electronics/ADATA-RB182G-2-GB-Disney-Mickey-FlashDrive/3229941/product.html


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

23

- งานดนตรีกรรม ได้แก่ งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลง หรือขับร้องไม่ว่าจะมีท�ำนองและค�ำร้องหรือมีท�ำนองอย่างเดียว รวมถึงโน้ตเพลง หรือ แผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว ซึ่งปัจจุบันงานดนตรีจะอยู่ในรูป ของไฟล์ดิจิทัลและมักเผยแพร่และแลกเปลี่ยนกันเป็นจ�ำนวนมากผ่านระบบ file sharing

ภาพจาก http://www.becteromusic.com/home.html


24

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

- งานโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ งานที่ประกอบด้วยล�ำดับของภาพซึ่งมี การบันทึกลงในวัสดุและสามารถที่จะน�ำมาเล่นซ�้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จ�ำเป็นส�ำหรับ การใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย เช่น วีซีดี และดีวีดี ที่ ประกอบไปด้วยเนื้อหาความรู้ ความบันเทิง เช่น การฝึกภาษา วิชาการ สารคดี ดีวีดีรายการสารคดี

ภาพจาก http://shop.nationalgeographic.com/ngs/category/dvds/best-ofnational-geographic?categoryLevelId=A054


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

25

- งานภาพยนตร์ ได้แก่ งานโสตทัศนวัสดุที่มีล�ำดับของภาพที่ฉาย ต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่นเพื่อน�ำออกฉายต่อเนื่องได้ อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ซึ่งปัจจุบัน งานภาพยนตร์จะอยู่ในรูปของไฟล์ดิจิทัลและมักจะมีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนกันเป็น จ�ำนวนมากผ่านระบบ file sharing หรือผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอ ระหว่างผู้ใช้ ภาพยนตร์

ภาพจาก https://www.facebook.com/NadaoBangkok/

ภาพจาก https://www.facebook.com/fandaythemovie/


26

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

- สิ่งบันทึกเสียง ได้แก่ งานเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่วา่ จะมีลกั ษณะใด ๆ อันสามารถทีจ่ ะน�ำมาเล่นซ�ำ้ ได้อกี โดยใช้เครือ่ งมือ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการใช้วสั ดุนนั้ เช่น แผ่นซีดี (Audio-CD) มินดิ สิ ก์ ดีวดี ี ไฟล์เสียงคอมพิวเตอร์ (MP3) แต่ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น ซึ่งปัจจุบันมีการท�ำซ�้ำแผ่นซีดีที่มีงานลิขสิทธิ์เพื่อการค้าค่อนข้างมาก แผ่นซีดีฝึกภาษา


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

27

- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ได้แก่ งานที่น�ำออกสู่สาธารณชนโดย การแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดย วิธอี ย่างอืน่ อันคล้ายคลึงกัน ซึง่ ปัจจุบนั งานประเภทนีจ้ ะมีการเผยแพร่ผา่ นทางอินเทอร์เน็ต เช่น รายการวิทยุ หรือมิวสิควิดีโอที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอ ระหว่างผู้ใช้ เป็นต้น รายการวิทยุออนไลน์

ภาพจาก http://radio.kapook.com/

มิวสิควิดีโอ

ภาพจาก https://www.youtube.com/watch?v=uyFaAfLUxMQ


28

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(2) สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ การทีเ่ จ้าของลิขสิทธิม์ สี ทิ ธิแต่ผเู้ ดียวใน การทีจ่ ะน�ำเอางาน อันมีลิขสิทธิ์ของตนไปด�ำเนินการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ - ท�ำซ�้ำ หมายถึง คัดลอกด้วยการเลียนแบบ ท�ำส�ำเนา บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระส�ำคัญไม่วา่ ทัง้ หมดหรือบางส่วน เช่น การท�ำซ�้ำไฟล์ข้อมูลงานภาพถ่าย การสแกนข้อมูลจากหนังสือ การคัดลอกข้อมูลของผู้อื่น - ดัดแปลง หมายถึง ท�ำซ�ำ้ โดยเปลีย่ นรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิม่ เติม หรือ จ�ำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระส�ำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดท�ำงานขึ้นใหม่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น การแปลงานเขียนของตนเองเป็นภาษาอื่น หรือการน�ำเอา ภาพยนตร์สองมิตมิ าท�ำใหม่เป็นสามมิติ หรือการเรียบเรียงเสียงประสานท�ำนองดนตรีใหม่ - เผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายถึง ท�ำให้ปรากฏต่อสาธารณชนด้วย การแสดง การบรรยาย การบรรเลง การท�ำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การอัพโหลด ภาพหรือคลิปวีดีโอผ่าน Youtube Facebook การจ�ำหน่าย เป็นต้น


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

29

- ให้เช่าต้นฉบับหรือส�ำเนางานส�ำหรับงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง หมายถึง เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิในการให้เช่า ต้นฉบับหรือส�ำเนางานเฉพาะงาน 4 ประเภทนี้เท่านั้น เช่น การให้เช่าดีวีดีภาพยนตร์ หากเป็นงานประเภทอื่นเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิเช่นนี้ - ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น - อนุญาตให้ผอู้ ื่นใช้สทิ ธิ ในการท�ำซ�้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ตอ่ สาธารณชน ให้เช่างานตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไปในส่วนที่ 3 (3) ระยะเวลาการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ - งานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม และศิลปกรรม มีอายุคมุ้ ครอง 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางาน การท�ำส�ำเนาและจ�ำหน่าย ต่อสาธารณชนในปริมาณพอสมควรตามลักษณะงาน เช่น พิมพ์หนังสือออกจ�ำหน่าย ครั้งละ 5,000 เล่มนั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ถือว่าลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้มี การโฆษณาเป็นครั้งแรก - งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรือ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ศิลปกรรม มีอายุคุ้มครอง 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ ถ้าได้มกี ารโฆษณางานนัน้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ถือว่าลิขสิทธิม์ อี ายุ 50 ปีนบั แต่ได้ มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก - งานศิลปะประยุกต์ มีอายุคมุ้ ครอง 25 ปีนบั แต่ได้สร้างสรรค์งานนัน้ ขึน้ แต่ถา้ ได้มกี ารโฆษณางานนัน้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ถือว่าลิขสิทธิม์ อี ายุ 25 ปีนบั แต่ ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ทัง้ นี้ หากอายุแห่งการคุม้ ครองลิขสิทธิค์ รบก�ำหนดในปีใด ถือว่าลิขสิทธิ ์ ยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีนั้น คือ วันที่ 31 ธันวาคม นั่นเอง (4) การละเมิดลิขสิทธิ ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การละเมิดทางตรง เป็นการกระท�ำตามสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของ ลิขสิทธิโ์ ดยไม่ได้รบั ความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ การน�ำงานอันมีลขิ สิทธิม์ าท�ำซ�ำ ้ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ตอ่ สาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือส�ำเนางานโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์


30

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

หรือสิง่ บันทึกเสียง จัดท�ำโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิง่ บันทึกเสียง หรือจัดท�ำงานแพร่เสียง แพร่ภาพ แพร่เสียงแพร่ภาพซ�้ำ จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ โดย เรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอืน่ ในทางการค้า ทัง้ นี้ ไม่วา่ ทัง้ หมดหรือบางส่วน ดังนัน้ การกระท�ำการคัดลอก ดัดแปลงงาน และการเผยแพร่งานที่กล่าวมาข้างต้นจึงถือเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ทางตรง การละเมิดทางอ้อม เป็นการกระท�ำโดยเจตนาที่ส่งเสริมให้มีการละเมิด ลิขสิทธิ์ ได้แก่ การกระท�ำดังต่อไปนี้ ก. ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอ ให้เช่าซื้อ ข. เผยแพร่ต่อสาธารณชน ค. แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ง. น�ำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร จ. ลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิ (Rights Management Information)1 เช่น ลบลายน�ำ ้ (watermark) ทีเ่ จ้าของภาพได้บนั ทึก ไว้บนภาพถ่ายเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ฉ. ห ลบเลี่ ย งมาตรการทางเทคโนโลยี ห รื อ ให้ บ ริ ก ารเพื่ อ ก่ อ ให้ เ กิ ด การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี (Technological Protection Measures)2 เช่น การใช้โปรแกรมเพือ่ ปลดล็อกการป้องกันการคัดลอก แผ่น DVD ภาพยนตร์

1 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 2

เพิ่งอ้าง


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

31

(5) ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ในกรณีที่มีการการกระท�ำต่องานลิขสิทธิ์ ของผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หากเป็นกรณีที่การกระท�ำนั้นไม่ขัดต่อ การแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบ กระเทือนถึงสิทธิอนั ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิเ์ กินสมควร ไม่ถอื ว่าเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ ซึง่ จะกล่าวต่อไปในส่วนที่ 3 ในส่วนของการใช้งานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม 1.2 สิทธิบตั ร เป็นการคุม้ ครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายสิทธิบัตรที่ให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าของสิทธิบัตรมีแต่เพียงผู้เดียว (exclusive right) ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ การจะได้รับ การคุ้มครองสิทธิบัตรนั้นจะต้องมีการยื่นขอจดทะเบียนเพื่อรับการคุ้มครองด้วย (1) ประเภทงานทีไ่ ด้รบั การคุม้ ครองสิทธิบตั ร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประดิษฐ์ (Inventions) เป็นการคุ้มครองสาระส�ำคัญภายใน ของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือการท�ำให้ผลิตภัณฑ์ดีขึ้น เช่น แว่นตา อัจฉริยะ Google โทรศัพท์มือถือแบบกระจกใส กระบวนการท�ำงานของการพิมพ์ แบบสามมิติ เป็นต้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designs) เป็นการคุ้มครอง ความสวยงามภายนอกของผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ เป็นการออกแบบเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ หรือลวดลายทีป่ รากฏอยูบ่ นตัวผลิตภัณฑ์ทแี่ ตกต่างไปจากเดิม เช่น การออกแบบโทรศัพท์ สมาร์ตโฟน การออกแบบอุปกรณ์ช่วยในการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น (2) เงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิทธิบตั รการประดิษฐ์ การประดิษฐ์ท่ีขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องมี คุณสมบัติทั้ง 3 ประการดังต่อไปนี้ ก. เป็นการประดิษฐ์ใหม่ คือ ยังไม่เคยมี จ�ำหน่าย ใช้แพร่หลาย อยู่แล้วในประเทศไทย หรือเปิดเผยรายละเอียดของการประดิษฐ์มาก่อน ข. มีขนั้ การประดิษฐ์ทสี่ งู ขึน้ คือ ไม่เป็นสิง่ การประดิษฐ์ทสี่ ามารถ ท�ำได้ง่ายโดยผู้มีความรู้ในระดับธรรมดา


32

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ค. สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรมและพาณิชยกรรมได้ ตัวอย่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องพิมพ์สามมิติ

ภาพจาก http://www.geeky-gadgets.com/office-depot-starts-selling-cube-and-cubex3d-printers-online-14-08-2013/


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

33

แว่นตาอัจฉริยะ Google Glass

ภาพจาก https://www.wired.com/2015/02/sorry-google-glass-isnt-anywhere-close-dead/ http://www.dmc.tv/page_print.php?p=ความรู้รอบตัว/Google-Glass.html


34

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ระบบการใช้เงินสดโดยไม่ต้องใช้บัตรผ่านโทรศัพท์มือถือ

ภาพจาก http://www.mobilepaymentstoday.com/news/paydiant-winspatent-for-smarthone-atm-transaction-solution/

เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือแบบกระจกใส

ภาพจาก http://www.emirates247.com/business/transparent-iphone-6-newimages-videos-prove-it-s-real-coming-2013-2013-04-04-1.501284


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

35

อย่างไรก็ตาม การประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร ได้แก่ ก. จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู ่ ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช ข. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ค. ระบบข้อมูลส�ำหรับการท�ำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ง. วิธีการวินิจฉัย บ�ำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ จ. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน เช่น เครื่องมือแฮกเพื่อเข้าระบบเครือข่ายสัญญาณ โทรศัพท์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับ สิทธิบัตรได้จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ก. เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ทยี่ งั ไม่เคยมี หรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยในเอกสารสิ่งพิมพ์ใดๆ ในทีวี หรือในวิทยุมาก่อน ข. สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมได้


36

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ตัวอย่างสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบโทรศัพท์สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

ภาพจาก http://www.patentlyapple.com/patently-apple/2010/11/ apple-wins-big-time-with-iphone-4-and-ipad-design-patents.html


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

37

(3) สิทธิของเจ้าของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เจ้าของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการกระท�ำการ ดังต่อไปนี้ ก. ผลิต ใช้ ขาย หรือมีไว้ขายหรือน�ำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง ผลิตภัณฑ์ทปี่ ระดิษฐ์หรือออกแบบตามสิทธิบตั รนัน้ เว้นแต่เพือ่ การศึกษาวิจยั หรือขายหรือ มีไว้ขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาโดยสุจริต ข. ใช้คำ� ว่า “สิทธิบตั รไทย” หรือ อักษร “สบท.” ให้ปรากฏทีผ่ ลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุ ซึ่งจะต้องระบุหมายเลขสิทธิบัตรไว้ ค. มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นใช้หรือโอนสิทธิให้ผู้อื่น เจ้าของสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิแต่ผู้เดียวในใช้ แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย หรือมีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือ น�ำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ เว้นแต่การใช้แบบผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหรือวิจัย (4) ระยะเวลาการคุ้มครองงานสิทธิบัตร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุคุ้มครอง 20 ปี นับจากวันยื่นค�ำขอรับ สิทธิบัตร ในราชอาณาจักร สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุคุ้มครอง 10 ปี นับจากวัน ยื่นค�ำขอรับสิทธิบัตร ในราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังมีความคุม้ ครองอนุสทิ ธิบตั ร (Petty Patent) ส�ำหรับ การประดิษฐ์ทมี่ รี ะดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สงู มากหรือเป็นการประดิษฐ์คดิ ค้นเพียงเล็ก น้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นโดยก�ำหนดเงื่อนไขการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ขอรับ อนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ ก.เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ข. เป็นประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม


38

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

การออกแบบอุปกรณ์ช่วยในการชาร์จแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ ภาพจาก http://www.all-mate.com/

ระยะเวลาในการคุม้ ครองอนุสทิ ธิบตั ร การประดิษฐ์ มีอายุการคุ้มครอง 6 ปี นับจากวันยื่น ค�ำขอรับอนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมอายุการคุ้มครอง 10 ปี

(5) การละเมิดสิทธิบัตร เป็นการกระท�ำที่ละเมิดสิทธิของเจ้าของสิทธิ บัตรการประดิษฐ์หรือเจ้าของสิทธิบตั รการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทัง้ เจ้าของอนุสทิ ธิบตั ร ตามทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว เว้นแต่เป็นการกระท�ำทีก่ อ่ นวันออกสิทธิบตั รหรือทราบว่าการประดิษฐ์ นั้นได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วหรือได้รับค�ำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรว่า การประดิษฐ์นั้นได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว 1.3 เครือ่ งหมายการค้า เป็นเครือ่ งหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราทีใ่ ช้กบั สินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่น โดยการขอรับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้านั้นจะต้องยื่นขอ จดทะเบียนด้วย (1) หลักเกณฑ์ที่สามารถขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ก. มีลกั ษณะเป็นเครือ่ งหมาย ซึง่ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชือ่ ค�ำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชือ่ กลุม่ ของสี รูปร่าง หรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิง่ เหล่านีอ้ ย่างใดอย่างหนึง่ หรือหลายอย่างรวมกัน เหล่านีใ้ ช้เป็นเครือ่ งหมายการค้าได้


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

39

ข. มีลกั ษณะบ่งเฉพาะ กล่าวคือ ท�ำให้บคุ คลทัว่ ไปหรือผูใ้ ช้สนิ ค้านัน้ ทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เช่น Microsoft Adobe เป็นตราสินค้าของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส�ำเร็จรูป เป็นต้น ค. ต้องไม่ใช่เครื่องหมายที่กฎหมายห้ามไม่ให้จดทะเบียน เช่น ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจ�ำต�ำแหน่ง พระปรมาภิไธย ธงชาติ ชือ่ ค�ำ ข้อความเกีย่ วกับพระมหากษัตริย์ เครือ่ งหมายราชการ เครือ่ งหมายกาชาด สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สัญลักษณ์ประจ�ำชาติไทย เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมาย ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป หรือเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน เป็นต้น ง. ต้องไม่คล้ายหรือเหมือนกับเครือ่ งหมายการค้าทีผ่ อู้ นื่ ได้จดทะเบียน ไว้แล้ว หมายความว่า ต้องไม่ท�ำให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกสับสนหรือหลงผิด ซึ่งจะพิจารณา จากความคล้ายกันในด้านสายตา เสียงเรียกขาน และความหมายของค�ำด้วย ตัวอย่างเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนที่เกี่ยวกับธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนแต่ไม่ได้จดทะเบียน หากปรากฏว่ามีผู้ที่น�ำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นไปจดทะเบียนเป็นรายแรก ผู้ที่ใช้ เครื่องหมายการค้ามาก่อนก็มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้


40

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(2) สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียน เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการกระท�ำดังต่อไปนี้ ก. ใช้เครื่องหมายการค้านั้นส�ำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ และ ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้มิได้ก�ำหนดสีเอาไว้ ถือว่าได้จดทะเบียน ไว้ทกุ สี ข. อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยต้องท�ำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ค. โอนสิทธิ ได้แก่ โอนสิทธิในค�ำขอจดทะเบียนหรือโอนสิทธิ ในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว ง. สิทธิในการฟ้องคดีผู้กระท�ำละเมิดเครื่องหมายการค้าและ เรียกร้องค่าเสียหาย จ. ขอให้ศาลห้ามผู้อ่ืนขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น หรือ ขอให้ศาลเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว ฉ. เรียกร้องให้ผลู้ ะเมิดเครือ่ งหมายการค้าเก็บสินค้าทีใ่ ช้เครือ่ งหมาย การค้าของตนออกจากตลาด ลบ หรือแก้ไขเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน มีสิทธิดังต่อไปนี้ ก. สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของตน แต่ไม่มีสิทธิใช้แต่เพียง ผู้เดียว จึงไม่อาจห้ามมิให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันได้ ข. ในกรณีมกี ารละเมิดเครือ่ งหมายการค้าจะไม่มสี ทิ ธิเรียกค่าเสียหาย หรือขอรับการป้องกันความเสียหายที่มีอยู่และจะมีอยู่ต่อไปได้ ค. สิทธิในการฟ้องคดีและเรียกค่าเสียหายจากผูท้ ำ� ละเมิดเครือ่ งหมาย การค้าโดยการลวงขาย (เป็นการที่บุคคลใดน�ำสินค้าของตนไปเสนอขายผู้อื่นว่าเป็นสินค้า ของเครื่องหมายการค้านั้นท�ำให้ผู้ซื้อสับสน เข้าใจว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของเจ้าของ เครื่องหมายการค้าที่แท้จริง เช่น ผลิตภัณฑ์ซีดีโดยใช้เครื่องหมายการค้าของ Apple และ อ้างว่าเป็นสินค้าใหม่ของบริษัท Apple เป็นต้น)


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

41

(3) ระยะเวลาการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า มีอายุคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันรับจดทะเบียนและสามารถต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี (4) การละเมิดเครือ่ งหมายการค้า เป็นกรณีทมี่ กี ารใช้เครือ่ งหมายการค้าที่ เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะกระท�ำโดย จงใจ หรือประมาทเลินเล่อ และเกิดผลเสียหายหรือไม่กต็ าม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การปลอมเครือ่ งหมายการค้า คือ การท�ำเครือ่ งหมายการค้าให้เหมือน ของจริงตามลักษณะเดิม

หมายเหตุ : สินค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนของแท้มากจนไม่สามารถแยกแยะได้ อาจแตกต่างจากสินค้าแท้จริงในส่วนคุณภาพของสินค้า เช่น การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีผลต่อ สุขภาพของประชาชนโดยตรง เช่น การระเบิดของวัสดุอุปกรณ์ภายใน เป็นต้น


42

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

การเลียนเครื่องหมายการค้า คือ การท�ำเครื่องหมายการค้าให้ คล้ายคลึงกับของที่แท้จริงโดยไม่ถึงกับท�ำให้เหมือนซึ่งอาจท�ำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็น ของแท้ เช่น ตราสินค้ายี่ห้อ SONY กับ SQMY ดังภาพด้านล่าง

VS การน�ำเข้าหรือจ�ำหน่ายสินค้าปลอมหรือเลียนแบบเครือ่ งหมายการค้า คือ การน�ำเข้าสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า (ทั้งปลอมและเลียนแบบ) ที่ได้รับ การคุ้มครองนั่นเอง การน�ำชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในการประกอบการค้า ของผู้อ่ืนมาใช้ คือ การน�ำเอาเครื่องหมายที่เหมือนกับของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่แค่เลียนแบบเท่านั้น เช่น น�ำเอาบรรจุภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้อ่ืนมาบรรจุ ผลิตภัณฑ์ของตนเอง 1.4 ความลับทางการค้า เป็นข้อมูลการค้า (อาจเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ตัวสินค้า หรือเป็นข้อมูลทีเ่ กีย่ วกับการผลิตสินค้า เช่น ซึง่ ยังไม่รจู้ กั กันโดยทัว่ ไปหรือยังเข้า ถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลแต่ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นข้อมูลใหม่ที่ไมเคยมีใครรูจักมากอน ซึ่งโดยปกติ แล้วมักจะเป็นข้อมูลที่น�ำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าและเจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุม ความลับทางการค้าได้ใช้วธิ กี ารทีเ่ หมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ ทัง้ นี้ ความลับทางการค้า จะได้รบั ความคุม้ ครองอยูต่ ราบเท่าทีย่ งั เป็นความลับอยูโ่ ดยไม่ตอ้ งมีการจดทะเบียน ท�ำให้ สิทธิของเจ้าของความลับทางการค้ามีอยู่ตลอดไปหากความลับทางการค้านั้นยังไม่มีการ เปิดเผย


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

43

2. กิจกรรมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับงาน ที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศท�ำให้เกิดการหลอมรวม สื่อต่าง ๆ ซึ่งท�ำให้ทั้งผู้ให้บริการสามารถเสนอสินค้าและบริการให้กับผู้ใช้บริการได้ หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งอุปกรณ์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็มีความก้าวหน้าและสะดวก ในการพกพามากขึ้น เช่น โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน แท็บเล็ตที่สามารถน�ำมาใช้ เพือ่ ความบันเทิง รับทราบข้อมูลข่าวสาร ติดต่อสือ่ สาร และแชร์ขอ้ มูลได้ทงั้ ภาพ ข้อความ และเสียงได้แบบทันเหตุการณ์ (Real time) ฯลฯ ซึง่ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านีล้ ว้ นเกีย่ วข้อง กับผลงานสร้างสรรค์ซึ่งได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแทบทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ใช้ ผูป้ ระกอบธุรกิจ นักพัฒนาโปรแกรม รวมทัง้ ผูใ้ ห้บริการ (เว็บไซต์) ต้องมีความเข้าใจใน หลักการคุ้มครองและหลีกเลี่ยงการกระท�ำที่อาจเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วย ดังจะกล่าวต่อไปนี้ 2.1 ผู้ใช้ (User) กิจกรรมที่ผู้ที่ใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ที่นิยม คือ การใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักเป็นกิจกรรมส�ำคัญดังต่อไปนี้ (1) เพื่อความบันเทิง (Entertainment) เนื้อหาของกิจกรรมเพื่อ ความบันเทิงมีหลากหลายเช่น รายการวิทยุ เพลง ภาพยนตร์ เกม เหล่านี้ ล้วนเป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ ทั้งสิ้น ซึ่งข้อควรระวังของผู้ใช้ส�ำหรับกิจกรรม เพื่อความบันเทิง ได้แก่ การดาว์นโหลดเพลง เพื่อใช้ฟังผ่านโทรศัพท์มือถือ การชมภาพยนตร์ หรือ วิดีโอจากเว็บไซต์ YouTube ซึ่งมักจะ มีการอัพโหลดดาว์นโหลด การแชร์ลิงก์ ข้อมูล ระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ ผ่านระบบการแลกเปลี่ยนไฟล์แบบ peer-to-peer (P2P)


44

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการงานลิขสิทธิ์ถูกต้องเพื่อความบันเทิง ดูหนังออนไลน์

ภาพจาก https://play.google.com/store/movies?hl=en


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

ฟังเพลงออนไลน์

ภาพจาก http://music.gmember.com

45


46

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ตัวอย่างของการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ กรณีผู้ใช้ซึ่งเป็นสมาชิกของเว็บไซต์อัพโหลดภาพยนตร์ขึ้นมาให้สาธารณชน สามารถเข้าชมได้ถือว่าเป็นผู้ท�ำละเมิดงานลิขสิทธิ์ทางตรงไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่มีการเก็บ ค่าสมาชิกหรือไม่ก็ตาม เพราะท�ำการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

47


48

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ในกรณีของยูทูป (YouTube) สมาชิกที่ต้องการอัพโหลดคลิปวิดีโอเพื่อเผยแพร่ ผ่านเว็บไซต์จะต้องศึกษาเรือ่ งลิขสิทธิข์ องงานทีต่ อ้ งการเผยแพร่ดว้ ยเนือ่ งจากยูทปู มีนโยบาย เกีย่ วกับลิขสิทธิไ์ ว้ดว้ ย โดยเว็บไซต์จะมีขนั้ ตอนการตรวจสอบเบือ้ งต้นเกีย่ วกับวิดโี อทีส่ มาชิก ต้องการจะอัพโหลดไว้ด้วยว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ดังภาพด้านล่าง

ภาพจาก https://www.youtube.com/yt/copyright/th/


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

49

ส�ำหรับกรณีศกึ ษาเกีย่ วกับการด�ำเนินคดีเกีย่ วกับผูใ้ ช้ซงึ่ ท�ำการละเมิดลิขสิทธิ์ ในการแชร์ไฟล์เพลงที่มีลิขสิทธิ์ที่เป็นที่กล่าวถึงมาก ได้แก่ คดี Capitol Records, Inc. v. Thomas-Rasset ของสหรัฐอเมริกา เมือ่ ปี ค.ศ. 2006 ซึง่ ต่อมาในปี ค.ศ. 2013 ศาลฎีกา ได้พพิ ากษาให้ Jammie Thomas-Rasset จ�ำเลยมีความผิดฐานแชร์ไฟล์เพลงลิขสิทธิท์ าง อินเทอร์เน็ตจ�ำนวน 24 เพลงผ่านเว็บไซต์ Kazza โดยตัดสินให้ตอ้ งช�ำระค่าปรับเป็นมูลค่า 200,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งนับเป็นคดีแรกที่สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงแห่งอเมริกามี การด�ำเนินคดีอย่างจริงจัง นอกจากนั้นเว็บไซต์ Kazza ซึ่งเป็นแหล่งในการแชร์ไฟล์เพลง เองก็ถูกปิดตัวลงในปี ค.ศ. 2012 หลังจากแพ้คดีเกี่ยวกับละเมิดลิขสิทธิ์หลายคดีทั้งใน สหรัฐฯและคดีในต่างประเทศ


50

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(2) เพื่อการศึกษา (Education) เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ สมัยใหม่ชว่ ยให้ผใู้ ช้สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรูไ้ ด้อย่างไม่จำ� กัด ทัง้ ในรูปแบบของมัลติมเี ดีย และการเรียนแบบออนไลน์ นอกจากนัน้ หนังสือ ต�ำราทีใ่ ช้ประกอบการเรียนรูก้ ไ็ ด้เปลีย่ น รูปแบบเป็นรูปแบบของสือ่ ดิจทิ ลั ท�ำให้ผใู้ ช้สามารถพกพาได้สะดวกและเข้าถึงสือ่ ได้งา่ ยมาก ขึ้นไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใด ซึ่งวิถีของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้ท�ำให้ส�ำนักพิมพ์ต่าง ๆ เพิ่มรูปแบบการจ�ำหน่ายหนังสือจากแบบสิ่งพิมพ์เป็นรูปแบบสื่อดิจิทัลด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่า หนังสือจะเป็นรูปแบบสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์เช่นกัน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่จ�ำหน่ายและให้เช่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ภาพจาก http://www.amazon.com/Rent-Textbooks/b?ie= UTF8&node=5657188011


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

ภาพจาก http://www.ookbee.com/

51


52

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจากหนังสือและสือ่ มัลติมเี ดียเหล่านีถ้ อื เป็นงานทีม่ ลี ขิ สิทธิ์ ดังนัน้ การใช้งานแหล่งเรียนรูเ้ หล่านีโ้ ดยการดาวน์โหลดฟรีจากเว็บไซต์ตา่ งๆ จึงต้องพิจารณา ด้วยว่า การอนุญาตให้ดาว์นโหลดหนังสือนั้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การดาวน์โหลดฟรีหรือการเรียนผ่านระบบออนไลน์ฟรี ไม่จ�ำเป็นว่าจะเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์เสมอไป เนื่องจากมีบางกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถ เข้าถึงงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการดาว์นโหลดหนังสือฟรี

ภาพจาก http://bookboon.com/


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

53

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เปิดสอนผ่านระบบออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ภาพจาก https://www.coursera.org/

ส�ำหรับตัวอย่างคดีละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับประเด็นของหนังสือ ได้แก่ คดี The Author’s Guild, et al. v. Google Inc. ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 2005 ในข้อโต้แย้งเรือ่ งละเมิดลิขสิทธิจ์ ากโครงการ Google Book Search นีถ้ กู วิพากษ์วจิ ารณ์ อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นของการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากโครงการนี้ได้รับ ความร่วมมือจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยชัน้ น�ำหลายแห่งในการอนุญาตให้สแกนหนังสือ ที่มีอยู่ในห้องสมุดซึ่งมีทั้งหนังสือที่มีลิขสิทธิ์และหนังสือที่หมดการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ โดย Google จะท�ำการสแกนหนังสือทั้งเล่มแต่จะแสดงผลการค้นหาเพียงบางส่วน และมอบส�ำเนาดิจิทัลของหนังสือที่สแกนแล้วให้แก่ห้องสมุดที่อนุญาตให้น�ำหนังสือมา สแกนด้วย ทัง้ นี้ ผูค้ น้ หาหนังสือทีท่ ำ� การค้นหาจากฐานข้อมูลของ Google Book Search แล้ว หากสนใจหนังสือดังกล่าว ก็สามารถค้นหาหนังสือเล่มดังกล่าวเพิ่มเติมได้โดยดูท ี่


54

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

อ้างอิง (Link) ของ Google ซึ่งมีทั้งการอ้างอิงร้านค้าที่จ�ำหน่ายหนังสือและห้องสมุดที่มี หนังสือดังกล่าวให้บริการด้วย ซึง่ Google โต้แย้งว่าโครงการ Google Book Search นัน้ เป็นการกระท�ำอย่างเป็นธรรม (Fair Use) ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 2013 ศาลชั้นต้นในมลรัฐ นิวยอร์กพิพากษาว่าการสแกนหนังสือทั้งเล่มแต่แสดงผลการค้นหาเพียงบางส่วนถือเป็น การกระท�ำอย่างเป็นธรรม (Fair Use) คดีนี้มีการด�ำเนินคดีต่อสู้กันมาอย่างยาวนานเป็น เวลา 11 ปี จนในทีส่ ดุ ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้ตดั สินเมือ่ เดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2016 ว่าการกระท�ำของ Google เป็นการกระท�ำอย่างเป็นธรรม (Fair Use) สร้างความผิดหวัง ให้กับสมาคมนักเขียนซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้อย่างมาก3 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้ค้นหาหนังสือของ Google Book Search

ภาพจาก http://books.google.co.th/

3

Google Wins copyright battle over books, http://www.bbc.com/news/technology-36072243 (last visited 30 June, 2016)


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

55

นอกจากนี้ การละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นบ่อย ได้แก่ การอัพโหลดไฟล์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทผี่ ดิ กฎหมายผ่านระบบการแลกเปลีย่ นไฟล์ เช่นเดียวกับไฟล์เพลง ซึ่งปัจจุบันส�ำนักพิมพ์หลายแห่งในต่างประเทศ เช่น John Wiley and Sons, Elsevier and McGraw-Hill ได้เริ่มด�ำเนินคดีกับผู้ละเมิดเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการอัพโหลดไฟล์หรือแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เสียก่อนถึงแม้จะเป็นการอัพโหลดเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปก็ตาม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่อัพโหลดไฟล์หนังสือที่ละเมิดลิขสิทธิ์


56

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(3) การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคม (Social Network) ในกิจกรรมของเครือข่ายสังคมซึง่ ถือเป็นพืน้ ทีส่ าธารณะเนือ่ งจากมีสมาชิกเครือข่ายจ�ำนวนมาก มักท�ำการสนทนาและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น การเผยแพร่ (post) หรือการแบ่งปันข้อมูล (share) เหล่านี้มักจะเกี่ยวกับข้อความ ภาพ วิดโี อ ไฟล์ ซึง่ อาจเป็นงานอันมีลขิ สิทธิ์ ดังนัน้ ผูท้ โี่ พสต์และแชร์ขอ้ มูลเหล่านีค้ วรต้อง พิจารณาว่าการขออนุญาต หรือมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล นอกจากนั้น ในเงื่อนไข ของการใช้เครือข่ายสังคม เช่น Facebook มีการระบุว่าข้อความที่สมาชิกโพสต์และ เป็นข้อความที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ ให้ถือว่า สมาชิกได้อนุญาตให้ Facebook ใช้สิทธิในงานดังกล่าวด้วย


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

57

2.2 ผู้ประกอบธุรกิจ (Merchant) ทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทถือเป็น สิ่งส�ำคัญส�ำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรในสินค้าหรือบริการ หรือตราสินค้าที่เป็นสิ่งส�ำคัญที่ท�ำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภค เชือ่ มัน่ ถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ นอกจากนัน้ ยังมีประเด็นของการประกอบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ด้วย ซึ่งขอกล่าวในประเด็นส�ำคัญ ดังนี้ (1) การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบหน้าเว็บไซต์ ประกอบด้วย template (แบบ) และเนือ้ หา ของเว็บไซต์ซงึ่ ประกอบด้วยงานอันมีลขิ สิทธิห์ ลายประเภท โดยปัจจุบนั การออกแบบเว็บไซต์ ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับเครือ่ งมือ (device) การใช้งานต่าง ๆ เช่น การออกแบบเว็บไซต์ ส�ำหรับเปิดด้วยเครื่องพิวเตอร์ซึ่งเป็นเว็บไซต์ปกติ และการออกแบบเว็บไซต์ส�ำหรับเปิด ด้วยโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ดังตัวอย่างด้านล่าง

ภาพจาก http://bluehatmarketing.com/e-commerce-web-design/


58

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

โดยทั่วไปแล้ว ภาพและเนื้อหาที่ประกอบในเว็บไซต์จะได้รับ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย

ตัวอย่างเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

ภาพจาก http://www.thaiairways.co.th/


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

59

ส�ำหรับ Theme ของเว็บไซต์นั้นในต่างประเทศให้ความคุ้มครองในลักษณะ เครื่องหมายในภาพรวม (Trade Dress) ซึ่งปัจจุบันมีการละเมิดลักษณะนี้ค่อนข้างมาก ดังตัวอย่างด้านล่าง

ภาพจาก http://www.orbitmedia.com/blog/web-content-plagiarism/


60

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

การใช้ชอื่ โดเมน (Domain name) ระบบชือ่ โดเมนเป็นระบบทีพ่ ฒ ั นา มาเพือ่ ความสะดวกในการจดจ�ำ IP Address ซึง่ เป็นหมายเลขประจ�ำเครือ่ งคอมพิวเตอร์ เช่น ชือ่ โดเมน thai.tourism thailand.org ใช้แทน IP Address 122.155.17.68 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชื่อโดเมน เช่น chai.com ไม่เข้าลักษณะเป็นเครื่องหมายการค้าเนื่องจาก ไม่มลี กั ษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมายเครือ่ งหมายการค้า ดังนัน้ นายทะเบียนเครือ่ งหมายการค้า จึงไม่รับจดทะเบียน ท�ำให้เกิดปัญหาการแย่งสิทธิใช้ชื่อโดเมนได้ซึ่งขั้นตอนการยื่นขอ จดทะเบียนชื่อโดเมนนั้นไม่ซับซ้อนและจะใช้หลักเกณฑ์ว่า “จดก่อน ได้ก่อน” ซึ่งปัญหา ในทางปฏิบัติ คือ ผู้ที่ขอจดทะเบียนต่างก็ต้องการใช้ชื่อโดเมนที่จดจ�ำง่าย สะดุดหู เพื่อให้ ผู้บริโภคสามารถจดจ�ำและเข้าถึงเว็บไซต์ได้ ซึ่งวิธีที่มักท�ำกันมาก คือ ผู้ท่ีย่ืนจดทะเบียน ก่อนมักจะจดชื่อโดเมนที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของ ผู้อื่น ซึ่งท�ำให้เกิดข้อโต้แย้งกับเจ้าของสิทธิมาโดยตลอด ซึ่งต่อมาทาง ICANN (Internet Cooperation for Assigned Names and Numbers) หรือองค์กรความร่วมมือด้าน การจัดสรรชื่อและหมายเลขทางอินเทอร์เน็ต4 ได้แก้ปัญหาโดยการออกนโยบายระงับ ข้อพิพาทสากล (UDRP: Uniform Domain-Name Dispute Resolution Policy) ซึ่งผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมนที่ ICANN รับรองน�ำไปปรับใช้ในข้อตกลงทางนโยบาย การจดทะเบียนระหว่างผู้รับจดทะเบียนและผู้จดทะเบียนในชื่อโดเมนระดับบนสุดแบบ ทั่วไป 4

ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), ศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการอภิบาลอินเทอร์เน็ต


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

61

คือ gTLD (General Top Level Domain)5 เช่น asia, .biz, .cat, .com, .net, .org เป็นต้น ซึ่งการจัดการข้อพิพาทนี้มุ่งให้เกิดความรวดเร็วประหยัดค่าใช้จ่าย โดยกรณีท ี่ ผู้ร้องเรียนซึ่งอาจเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพบว่าชื่อโดเมนที่จดโดยบุคคลอื่นภายใต้ gTLD มีลกั ษณะเข้าเงือ่ นไขทัง้ 3 ประการ สามารถยืน่ ค�ำร้องไปยังศูนย์ไกล่เกลีย่ ข้อพิพาท ที่ ICANN ก�ำหนด ได้แก่ 1) ชื่อโดเมนเหมือนหรือมีลักษณะสับสนได้ว่าเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที ่ ผู้ร้องเรียนอ้างว่ามีสิทธิ์ และ 2) เจ้าของชือ่ โดเมนในปัจจุบนั ไม่มสี ว่ นได้สว่ นเสียตามกฎหมายในชือ่ โดเมนนัน้ และ 3) ชื่อโดเมนที่ลงทะเบียนถูกน�ำไปใช้ด้วยเจตนามิชอบ นอกจากนี้ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) ได้ออก นโยบายการให้บริการชื่อโดเมน .th และ .ไทย ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2556 เกี่ยวกับ การจดทะเบียนชื่อโดเมนของนิติบุคคลส�ำหรับนิติบุคคลทางธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือ ผู้ถือ ครองเครื่องหมายการค้าหรือบริการ ต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมทุกตัวอักษร เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ http://thnic.or.th/general-policy-revised-edition/

5

เพิ่งอ้าง


62

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(2) การจ�ำหน่ายสินค้า Grey Market และการจ�ำหน่ายสินค้าที่ ลอกเลียนแบบ ตลาดสินค้า Grey Market เป็นการท�ำธุรกิจจากการนําเขาซ้อนใน สินค้าที่เป็น “ของแท้” จากต่างประเทศโดยน�ำสินค้านั้นออกจ�ำหน่ายในราคาที่ต�่ำกว่า ราคาของตัวแทนจ�ำหน่ายอย่างเป็นทางการ (authorized dealer) ในประเทศ ซึง่ ปัจจุบนั เราจะพบการประกอบธุรกิจในรูปแบบนีค้ อ่ นข้างมาก เช่น เว็บไซต์ทรี่ บั สัง่ สินค้า ล่วงหน้า (Pre-order) จากต่างประเทศผ่านเว็บไซต์และเครือข่ายสังคม (social network) ตัวอย่างเว็บไซต์รับสั่งสินค้าล่วงหน้า (Pre-Order)


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

63

ซึ่งกรณีของการท�ำตลาดประเภทนี้ หากพิจารณาในส่วนของทรัพย์สิน ทางปัญญาแล้ว ศาลไทยเคยตัดสินไว้ในค�ำพิพากษาฎีกาที่ 1817/2543 ว่าการที่จ�ำเลย น�ำเอาสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่โจทก์เป็นตัวแทนจ�ำหน่ายในประเทศไทยเข้ามาจาก สิงคโปร์เพือ่ จ�ำหน่ายในประเทศไทยถือเป็นการน�ำเข้าซ้อนกับโจทก์ แต่การกระท�ำดังกล่าว ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ตามหลักการระงับสิ้นไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Principle of Exhaustion of Intellectual Property Rights) ซึง่ ท�ำให้สนิ ค้าปลอดสิทธิ ผูกขาดใด ๆ ผูซ้ อื้ จึงมีสทิ ธิทจี่ ะจัดการอย่างใดๆ กับสินค้านัน้ ได้ รวมทัง้ การวางขายแข่งขัน กับสินค้าของเจ้าของเครือ่ งหมายการค้านัน้ ด้วย เนือ่ งจากเจ้าของเครือ่ งหมายการค้าได้รบั สิทธิประโยชน์จากการจ�ำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติ ว่าการน�ำเข้าซ้อนเป็นการละเมิด หรือต้องได้รบั อนุญาตจากเจ้าของเครือ่ งหมายการค้าก่อน แต่อาจมีกรณีประเด็นของกฏหมายอืน่ ๆ ขึน้ อยูก่ บั ประเภทของสินค้า เช่น ภาษีนำ� เข้า ฯลฯ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น�ำเข้าสินค้ามาจ�ำหน่ายซ้อนกับผู้แทนจ�ำหน่ายอย่างเป็นทางการ


64

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

65

- การจ�ำหน่ายสินค้าปลอมหรือเลียนแบบ ซึ่งผู้จ�ำหน่ายมีความผิด ละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าแล้วแต่กรณี ตัวอย่างการละเมิดงานลิขสิทธิ์


66

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ตัวอย่างการละเมิดเครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร

กรณีการปลอมสินค้าลักษณะนี้ เช่น หูฟัง แบตเตอรี่ส�ำรองโทรศัพท์ (ปลอม) อาจจะได้รับโทษสูงสุดเนื่องจากถือว่าปลอมสินค้าที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

67

2.3 นักพัฒนาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน (Application developer) ด้วยความก้าวหน้าของโทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีอื่นๆ ท�ำให้เกิดนักพัฒนาโปรแกรม ประยุกต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ มากมายเพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้เทคโนโลยีที่ หลากหลาย เช่น iphone / Android Application ดังนั้น นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ต้องตรวจสอบถึงสิทธิบัตรของเทคโนโลยีหรือลิขสิทธิ์ในโปรแกรมประยุกต์ก่อนด้วยว่า มีการละเมิดกับสิทธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญาเหล่านัน้ หรือไม่ ซึง่ ในต่างประเทศมีการฟ้องคดี เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์กับนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์หลายคดี ตัวอย่าง iphone Application

ภาพจาก http://www.appman.in.th/index.php?route=information/information &information_id=13


68

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

2.4 ผู้ให้บริการ (Service Provider) ในกรณีนี้หมายถึง ผู้ให้บริการข้อมูล คอมพิวเตอร์ผา่ นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ผูใ้ ห้บริการเก็บรักษาและแชร์ไฟล์ขอ้ มูล รวมทั้งเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอ ซึ่งปัจจุบันจะมีอยู่ หลากหลาย เช่น 4Shared, YouTube, App Store, Google Play รวมทั้งเว็บไซต์ที่เป็น ตลาดกลางของอีคอมเมริซ์ด้วย เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ดังนี้ (1) เว็บไซต์ทา่ (Web Portal) เป็นเว็บไซต์ทรี่ วมข่าวสารต่าง ๆ ที่ หลากหลายมาไว้อยู่ในเว็บไซต์เดียวกัน เช่น sanook.com kapook.com th.msn.com เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นั้นเป็นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น ดังตัวอย่างต่อ ไปนี้


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

ตัวอย่างของการน�ำข้อมูล/ภาพข่าวมาจากแหล่งอื่น

ภาพจาก http://sport.sanook.com/87273

69


70

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ภาพจาก http://travel.kapook.com/view95929.html

ทัง้ นี้ ตามหลักของกฎหมายลิขสิทธิน์ นั้ การน�ำภาพข่าวหรือเนือ้ หามาจากข้อมูล แหล่งอืน่ มาเผยแพร่ตอ่ ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนเนือ่ งจากงานเหล่านีถ้ อื เป็นงานที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น หรือถ้าหากเป็นการเผยแพร่เนื้อหาบางส่วนก็ ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย ยกเว้นเป็นกรณีที่เว็บไซต์เจ้าของข้อมูลมี การอนุญาตให้ใช้สทิ ธิไว้ในเงือ่ นไขของเว็บไซต์หรือตามสัญญาของโครงการครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในส่วนที่ 4 (2) ผู้ให้บริการแหล่งรวมแอปพลิเคชัน เช่น App Store หรือ Google Play ซึ่งต้องตรวจสอบแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่อยู่ในแหล่งรวมด้วยว่ามีการละเมิด งานทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

71

ส�ำหรับเรื่องของความรับผิดของผู้ให้บริการนั้น ในปี พ.ศ. 2556 มีคดี พิพาทระหว่างบริษัท Apple กับสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ ASTV ผู้จัดการ เนชั่น คมชัดลึก กรุงเทพธุรกิจ โพสต์ทูเดย์ และสยามกีฬา) ฟ้อ งคดีเกี่ย วกับ การที่แ อปพลิเคชัน ที่มีเผยแพร่ใน App Store ของ Apple ได้แ ก่ “THAINEWs+” “Tiny-Thai News Reader”“Thai News Reader” “EveryNews” และ “Thai Newspaper” ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานข่าวโดยมีการดึงเอาข้อมูลลิขสิทธิ์ และละเมิดเครื่องหมายการค้าโดยขอให้ทางบริษัท Apple หยุดเผยแพร่ข่าวลิขสิทธิ์บน แอปพลิเคชันส�ำหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งต่อมาได้มีการถอนฟ้องคดีนี้ไปแล้ว ตัวอย่างแอปพลิเคชัน EveryNews ใน App Store

ภาพจาก http://www.darkzphone.com/application/reviews/reviews/id/178/application/EveryNews___Free


72

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(3) เว็บไซต์ตลาดกลาง (e-Marketplace) หมายถึง ตลาดกลางที่ รวบรวมสินค้าและร้านค้าเป็นจ�ำนวนมากเพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นคือร้านค้าที่อยู่ภายใต้เว็บไซต์มีการจ�ำหน่ายสินค้าที่ละเมิด ทรัพย์สนิ ทางปัญญา ซึง่ ปัจจุบนั ในประเทศไทย การด�ำเนินคดีละเมิดนัน้ มักเป็นการด�ำเนิน คดีกับผู้จ�ำหน่ายโดยตรงไม่ใช่ต่อเจ้าของเว็บไซต์ตลาดกลาง อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศ มีการฟ้องร้องคดีหลายคดีต่อเจ้าของเว็บไซต์ เช่น อีเบย์ที่มีสมาชิกขายสินค้าที่ละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา ส�ำหรับกรณีนี้ เจ้าของเว็บไซต์ตลาดกลาง ควรต้องมีการก�ำหนดนโยบาย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความร่วมรับผิดจากการละเมิดดังกล่าวเหล่านี้ไว้ชัดเจนเช่นเดียวกับ เว็บไซต์ในต่างประเทศ ซึง่ ในอนาคตอาจมีการด�ำเนินคดีฐานความร่วมรับผิดฐานละเมิดแก่ เจ้าของเว็บไซต์เพิ่มขึ้น ตัวอย่างผู้ประกอบการเว็บไซต์ที่จ�ำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าผ่านทาง e-Marketplace

E-Shopping


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

ตัวอย่างเว็บไซต์ e-Marketplace

73


74

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(4) เว็บไซต์ที่ให้บริการเก็บรักษาและแบ่งปันไฟล์หรือแลกเปลี่ยน คลิปวิดโี อ เช่น เว็บไซต์ 4Shared หรือ YouTube ทีอ่ นุญาตให้ผใู้ ช้สามารถอัพโหลด หรือ แบ่งปันไฟล์ซึ่งอาจมีปัญหาการละเมิดงานที่มีลิขสิทธิ์ ดังนั้น เว็บไซต์ประเภทนี้ จึงมี การก�ำหนดเงื่อนไขหรือการใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบเนื้อหาไว้ด้วย ซึ่งในต่างประเทศ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาจะมีกฎหมาย The Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ที่ก�ำหนดเคร่งครัดในเรื่องความรับผิดและข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการ เหล่านี้ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการเก็บและแบ่งปันไฟล์และเงื่อนไขการใช้บริการ

อนึง่ ปัจจุบนั พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึง่ แก้ไขเพิม่ เติมโดย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ได้ก�ำหนดข้อจ�ำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการข้างต้นทั้ง 4 ประเภทไว้ เพือ่ ไม่ตอ้ งถูกด�ำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยก�ำหนดให้เจ้าของลิขสิทธิส์ ามารถ ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการสามารถลบไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ และผู้ให้ บริการได้ด�ำเนินการตามค�ำสั่งของศาลแล้ว ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดดังกล่าวอีกต่อไป


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

75


76

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สวนที่ 3 การใชงาน

อันมีลิขสิทธิ์ของผูอื่น

โดยไมละเมิดลิขสิทธิ์


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

77

1. งานอันมีลิขสิทธิ์และเหตุผลในการคุ้มครอง จากทีก่ ล่าวมาในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ว่า “ลิขสิทธิ”์ เป็นส่วนย่อยหนึง่ ของ “ทรัพย์สนิ ทางปัญญา” หรือกล่าวอีกนัยหนึง่ ทรัพย์สนิ ทางปัญญามีขอบเขตกว้างกว่าลิขสิทธิ์ โดยหมายความรวมถึง สิทธิบตั ร เครือ่ งหมายการค้า ความลับทางการค้า และทรัพย์สนิ ทาง ปัญญาประเภทอื่น ๆ ด้วย และงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายมีความหมาย กว้างและ ครอบคลุมงานถึง 9 ประเภทใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น งานแต่ละประเภทที่กล่าวมารวมงานย่อยหลายอย่าง ซึ่งส่งผลให้งานอันมี ลิขสิทธิ์ครอบคลุมสิทธิในงานมากมาย ยกตัวอย่างเช่น งานวรรณกรรมรวมถึงงานที ่ เขียนขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และงานวรรณกรรม ยังรวมไปถึง ปาฐกถา เทศนา ค�ำปราศรัย สุนทรพจน์ นอกจากนี้ กฎหมายยังให้ งานวรรณกรรมรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดอีกด้วย เป็นต้น ความจริงแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างเดียวก็กว้างจนครอบคลุมทุกอย่าง ในการใช้ชีวิตประจ�ำวันของคนยุคปัจจุบันแล้ว เมื่องานวรรณกรรมรวมเอางานสร้างสรรค์ ทั้งที่เป็นตัวหนังสือรูปแบบต่าง ๆ และเป็นค�ำพูดค�ำปราศรัยในรูปแบบต่าง ๆ เข้าไปด้วย จึงเป็นประเภทงานที่กว้างมาก ยิ่งถ้ารวมงานอีก 8 ประเภทที่เหลือเข้ามาแล้ว งานอันมี ลิขสิทธิ์จึงถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่กว้างที่สุดและครอบคลุมงานมากที่สุด จากขอบเขตทีก่ ว้างขวางดังกล่าว ลิขสิทธิจ์ งึ เป็นทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีเ่ กีย่ วข้อง กับการท�ำงานและในการใช้ชีวิตประจ�ำวันของคนปัจจุบันมาก ดังนั้น การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จึงเกี่ยวข้องกับส่วนได้เสียของคนทั่วไปหรือประโยชน์สาธารณะด้วย เหตุผลส�ำคัญในการคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงมี 2 ด้าน คือ ในด้านของเจ้าของลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์มีขึ้นเพื่อให้ผู้สร้างสรรค์งานมีสิทธิผูกขาดในการแสวงหาผลประโยชน์ เพือ่ เป็นการกระตุน้ หรือสร้างแรงจูงใจให้มกี ารสร้างสรรค์งานต่าง ๆ เกิดขึน้ ในสังคมให้ มากขึ้น ในอีกด้านหนึ่งคือประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้ทุกคนหรือสาธารณะสามารถ เข้าถึงและเข้าใช้งานลิขสิทธิ์ได้ภายในขอบเขตที่เหมาะสม


78

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

2. สิทธิ์แต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ กฎหมายให้สทิ ธิผกู ขาดแก่ผสู้ ร้างสรรค์งานหรือเจ้าของลิขสิทธิเ์ พือ่ หาประโยชน์ จากงานลิขสิทธิ์นั้น โดยก�ำหนดให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้งาน เช่น การท� ำ ซ�้ ำ การดัดแปลง การเผยแพร่ต่อสาธารณชน การให้เช่าต้นฉบับหรือส�ำเนา งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง เป็นต้น โดยทัว่ ไป เจ้าของลิขสิทธิซ์ งึ่ โดยทัว่ ไปคือผูส้ ร้างสรรค์งานนัน้ มีสทิ ธิแต่ผเู้ ดียว ที่จะใช้งานนั้นเองหรือจะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานนั้นในเงื่อนไขที่ก�ำหนด ผู้ที่ต้องการใช้ งานอันมีลิขสิทธิ์แต่ละชิ้นจึงควรต้องติดต่อเพื่อขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน การใช้งาน เช่น นายประยงค์อยากรวมงานเพลงเกี่ยวกับพระคุณของแม่ของศิลปิน หลายคนมาผลิตเป็นอัลบัม้ ใหม่จำ� หน่ายหาก�ำไร ก่อนลงมือท�ำซ�ำ้ งานเพลงแต่ละเพลง ควรต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงแต่ละเพลงก่อน เป็นต้น


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

79

3. ประเภทการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ กฎหมายก�ำหนดเป็นหลักทัว่ ไปว่า การใช้งานอันมีลขิ สิทธิอ์ ย่างใดอย่างหนึง่ ต้อง ได้รบั อนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิก์ อ่ น แต่กม็ ขี อ้ ยกเว้นของการใช้งานลิขสิทธิห์ ลายรูปแบบ ที่สามารถใช้งานลิขสิทธิ์ได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และในบางกรณีสามารถใช้งานได้โดย ไม่ต้องขออนุญาต ประเภทแรกคือการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เสียก่อน ประเภทถัดไปคือการใช้งาน ลิขสิทธิอ์ ย่างเป็นธรรม หรือทีเ่ รียกว่า “fair use” ซึง่ ผูใ้ ช้สามารถเข้าใช้งานนัน้ ได้ทนั ทีโดย ไม่ตอ้ งขออนุญาต และใช้งานไปได้ตราบเท่าทีย่ งั เป็นการใช้อย่างเป็นธรรมอยู่ นอกจากนัน้ เมือ่ งานลิขสิทธิไ์ ด้รบั ความคุม้ ครองจนครบระยะเวลาแล้ว ทุกคนก็สามารถเข้าใช้งานได้โดย ไม่ต้องขออนุญาตและใช้ได้อย่างไม่มีข้อจ�ำกัด ปัจจุบัน ครีเอทีฟคอมมอนส์สร้างทางเลือกใหม่ให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ได้ โดย เจ้ า ของลิ ข สิ ท ธิ์ อ นุ ญ าตให้ ใ ช้ ไ ว้ ล ่ ว งหน้ า ตามแบบของสั ญ ญาอนุ ญ าตให้ ใ ช้ สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons licenses) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้ งานได้ทันทีตามเงื่อนไขหรือข้อจ�ำกัดที่ระบุเอาไว้ รายละเอียดของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะได้กล่าวในส่วนที่ 4


80

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

4. การขออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ ตามทีก่ ล่าวมาแล้วว่า โดยทัว่ ไปเจ้าของลิขสิทธิเ์ ป็นผูท้ มี่ สี ทิ ธิแต่ผเู้ ดียวทีจ่ ะใช้งาน นั้นเองหรือจะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานนั้น ดังนั้น ผู้ประสงค์จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จึงควรต้อง ติดต่อเพื่อขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ในการใช้งานลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เพื่อหาก�ำไรหรือ ในเชิงพาณิชย์ เช่น การน�ำหนังสือของคนอืน่ มาพิมพ์ใหม่เพือ่ จัดจ�ำหน่าย การรวบรวมเพลง ของศิลปินมาบันทึกเสียงใหม่ลงแผ่นดีวีดีเพื่อจัดจ�ำหน่ายหาก�ำไร เป็นต้น การใช้งาน ในลักษณะนี้ควรต้องจัดการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ให้ถูกต้อง การขออนุญาตจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์สามารถลดความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับความรับผิดต่อ ค่าเสียหายในทางแพ่งและความรับผิดในทางอาญา การจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ก่อน เป็นเรื่องจ�ำเป็นและเป็นผลดีต่อทั้งผู้ใช้งานเองและเจ้าของลิขสิทธิ์


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

81

ส�ำหรับวิธกี ารขออนุญาต โดยทัว่ ไปควรติดต่อเจ้าของลิขสิทธิเ์ พือ่ ขออนุญาต ใช้ลิขสิทธิ์ และร่วมกันหาข้อยุติในรายละเอียดของการใช้งานและการอนุญาต รวมทั้ง ประเด็นส�ำคัญคือการอนุญาตนั้นต้องเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และเท่าใด ซึ่งต้องขึ้นอยู่ กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ในมุมมองของการบริหารองค์กร การจัดการกับการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องของ การบริหารความเสีย่ งทางกฎหมาย (ซึง่ ในทีน่ คี้ อื กฎหมายลิขสิทธิ)์ หลักทัว่ ไปของการบริหาร ความเสีย่ งทางกฎหมายขององค์กรคือ ต้องท�ำในกรอบทีจ่ ำ� เป็นและเหมาะสม เหตุผลทีต่ อ้ ง ท�ำในกรอบที่จ�ำเป็นคือ การจัดการความเสี่ยงประเภทนี้ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายและเป็นภาระ ต่อองค์กรและคนในองค์กร ดังนัน้ เมือ่ ผูบ้ ริหารองค์กรตัดสินใจใช้ทรัพยากรทีจ่ ำ� กัดของ องค์กร จึงต้องเลือกใช้จา่ ยในกรอบทีจ่ ำ� เป็นและอย่างเหมาะสม เช่น หากต้องขออนุญาต ใช้ลขิ สิทธิ์ ก็ตอ้ งแน่ใจว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิเ์ กิดขึน้ และต้องขออนุญาตเท่าทีจ่ ำ� เป็น เป็นต้น วิธีการบริหารความเสี่ยงข้างต้นใช้ได้กับผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ทั้งที่เป็นบุคคลทั่วไปและ องค์กร กล่าวคือต่างต้องค�ำนึงและระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ต้องระวังในกรอบที่จ�ำเป็น และเหมาะสม การระวังการละเมิดลิขสิทธิเ์ ป็นเรือ่ งดี แต่การระวังมากเกินไปน่าจะเป็นเรือ่ ง ไม่ดี เพราะเป็นการก่อภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จ�ำเป็น การขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ควรใช้ในกรณีที่แน่ใจว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ ์ ยกตัวอย่างเช่น การน�ำหนังสือของอื่นมาพิมพ์ซ�้ำเพื่อจัดจ�ำหน่าย การรวบรวมเพลงของ ศิลปินมาบันทึกเสียงใหม่ลงแผ่นดีวีดีเพื่อจัดจ�ำหน่ายหาก�ำไร ควรขออนุญาตจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ให้ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ไม่น่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเช่น การวิจัยหรือศึกษา งานนัน้ ทีไ่ ม่ใช่การหาก�ำไรโดยตรง ไม่วา่ จะท�ำโดยอาจารย์ นักวิชาการ หรือนักศึกษาก็ตาม ทีท่ ำ� ตามวิธกี ารและมาตรฐานทีเ่ หมาะสม เช่น ใช้เทคนิค “การถอดความ” (paraphrase) หรือการเรียบเรียงใหม่ร่วมกับงานชิ้นอื่นตามมาตรฐานที่เหมาะสม แสดงการรับรู้งานนั้น โดยระบุในเชิงอรรถและบรรณานุกรม เป็นต้น ในกรณีนเี้ ป็นการใช้อย่างเป็นธรรมและท�ำได้ ตามกฎหมาย ไม่ต้องขออนุญาตการใช้งานลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น


82

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

5. ปัญหาของการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์

โดยทัว่ ไป การขออนุญาตใช้งานลิขสิทธิอ์ าจจะเป็นเรือ่ งไม่ยากนัก โดยเฉพาะ หากเป็นการใช้งานที่ไม่ได้มุ่งโดยตรงเพื่อค้าก�ำไร เจ้าของลิขสิทธิ์อาจอนุญาตให้ใช้ได้โดย ไม่เรียกร้องค่าตอบแทนก็ได้ แต่อย่าลืมว่าลิขสิทธิเ์ ป็นสิทธิผกู ขาดทีก่ ฎหมายก�ำหนดให้ ดังนัน้ เจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิผูกขาดจึงได้เป็นผู้ที่มีอ�ำนาจตัดสินใจฝ่ายเดียว การขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ ในหลายกรณีจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ส่วนที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่งในการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์คือ จ�ำนวนค่าตอบแทน ซึง่ ทัว่ ไป ฝ่ายเจ้าของลิขสิทธิต์ อ้ งการค่าตอบแทนจ�ำนวนมาก ในขณะทีฝ่ า่ ยขออนุญาต มักเห็นว่าเป็นจ�ำนวนที่สูงเกินไป ความยากของประเด็นนี้เป็นเพราะว่าค่าใช้ลิขสิทธิ์เป็นเรื่องของสิทธิผูกขาดที ่ ผูกยึดไว้กับสิทธิในสิ่งที่ไม่มีรูปร่างอีกที จึงกลายเป็นสิทธิที่กว้าง ไม่ชัดเจน และไม่อาจ ก�ำหนดตัวเลขที่ทุกฝ่ายจะยอมรับกันง่าย ๆ ซึ่งแตกต่างจากการก�ำหนดราคาทรัพย์ที่มีรูป ร่างทัว่ ไป อย่างเช่น ทีด่ นิ ห้องอาคารชุด รถยนต์ เหล่านีเ้ ป็นทรัพย์ทมี่ รี ปู ร่าง เห็นได้ชดั เจน และมีราคาประมาณเป็นราคาตลาดที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ใกล้เคียงกัน นอกจากจ�ำนวนค่าตอบแทนแล้ว การหาข้อยุตวิ า่ ใครบ้างทีม่ สี ทิ ธิเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ก็เป็นเรื่องยากไม่แพ้กันในบางสถานการณ์ เพราะอาจมีคนอ้างว่าเป็นเจ้าของ หลายคน เจ้าของอาจมีสทิ ธิมากน้อยต่างกัน เจ้าของบางคนอาจเสียชีวติ และหาตัวทายาท ไม่ได้แล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ขออนุญาตไม่สามารถขออนุญาตได้ ตัวอย่างปัญหาการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เกิดกับศิลปินชื่อแคนดิช บรีสต์ (Candice Breitz) ในหนังสือ Remix ของ Lawrence Lessig เป็นมุมมองของปัญหาทาง ปฏิบตั ทิ นี่ า่ สนใจ จุดเริม่ ของปัญหาเริม่ จากบรีสต์ ซึง่ เป็นศิลปินชาวแอฟริกาใต้เสนอผลงาน ที่เด่นและแปลกออกมาอย่างต่อเนื่อง ผลงานที่สร้างชื่อให้เธอมากที่สุดชุดหนึ่งคือการถ่าย วิดีโอเกี่ยวกับศิลปินเพลงระดับต�ำนาน โดยเธอต้องการสื่อให้เห็นว่าศิลปินเพลงระดับโลก มีอิทธิพลที่จะปรับเปลี่ยนบุคลิกของผู้คน แฟนเพลง และสังคมได้เพียงใด


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

83

ในผลงานชุดนี้ บรีสต์วางแผนทีจ่ ะถ่ายวิดโี อแฟนเพลงในประเทศต่างๆ ทีช่ นื่ ชอบ ศิลปินที่เธอตั้งใจไว้ โดยให้แฟนเพลงร้องเพลงของศิลปินในอัลบั้มที่ก�ำหนดอย่างที่ แต่ละคนอยากร้อง แล้วถ่ายท�ำวิดีโอไว้ อย่างเช่นในจาไมกา เธอถ่ายวิดีโอแฟนเพลง 30 คนของ บ็อบ มาร์เลย์ ส่วนในกรุงเบอร์ลิน เธอถ่ายวิดีโอแฟนเพลง 16 คนของ ไมเคิล แจ็กสัน ในอิตาลี เธอถ่ายวิดีโอแฟนเพลง 30 คนของมาดอนน่า และในลอนดอน เธอถ่ายวิดีโอแฟนเพลง 25 คนของจอห์น เลนนอน ส่วนวิธีการแสดงผลงาน บรีสต์น�ำเทปวิดีโอของแฟนเพลงแต่ละคนไปเปิดบน จอทีวคี นละเครือ่ ง โดยจัดตัง้ จอทีวเี รียงกันไปบนฉากสีดำ� ขนาดใหญ่และเปิดวิดโี อพร้อมกัน ต่อเนือ่ งไปเรือ่ ยๆ ตลอดระยะเวลาทีแ่ สดงผลงาน ท�ำให้เห็นภาพของคนทัว่ ไปทีเ่ ราพบเจอ ตามถนนหนทางร้องเพลงของศิลปินที่ชอบตามแบบที่แต่ละคนอยากจะร้องผลงานไม่ได้ ตัง้ ใจจะสือ่ ตรงถึงเพลงหรือศิลปินเพลงแต่เป็นการสือ่ ให้เห็นว่าผูค้ นทีเ่ ราพบเจอทัว่ ไปได้รบั อิทธิพลของศิลปินเพลงเพียงใดมากกว่า การแสดงผลงานที่จาไมก้าซึ่งเสร็จไปก่อนประสบความส�ำเร็จดี ส่วนการแสดง ผลงานชุดของจอห์น เลนนอนในกรุงลอนดอนนัน้ บรีสต์ตดิ ต่อขอแสดงผลงานในพิพธิ ภัณฑ์ ที่ไม่แสวงหาก�ำไรแห่งหนึ่งก่อนวันแสดงผลงานประมาณ 1 ปี ทางพิพิธภัณฑ์ตกลงและแจ้งขอให้บรีสต์จัดการขอ อนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงให้เรียบร้อยก่อนการแสดงผลงาน

CANDICE

BREITZ


84

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

บรีสต์รบี ท�ำหนังสือขออนุญาตใช้ลขิ สิทธิจ์ าก “โยโกะ โอโนะ” ซึง่ เป็นผูด้ แู ล ผลประโยชน์ของจอห์น เลนนอน หลังจากรอค�ำตอบอยู่ 3 เดือน บรีสต์ได้รบั หนังสือปฏิเสธ จากทนายความของโยโกะ โอโนะ โดยแจ้งว่าไม่อนุญาตให้บรีสต์ใช้ภาพหรือเพลงของจอห์น เลนนอนในการแสดงผลงาน บรีสต์แจ้งยืนยันกลับไปอีกครั้งว่าในการแสดงผลงานไม่ได้ใช้ ภาพหรือวิดโี อของจอห์น เลนนอน แต่เป็นวิดโี อของแฟนเพลงรวม 25 คนทีร่ อ้ งเพลงจอห์น เลนนอนเท่านั้น ทนายความของโยโกะ โอโนะยืนยันไม่อนุญาต ผู้ดูแลการจัดแสดงผลงานในระดับระหว่างประเทศคนหนึ่งที่รู้จักกับโยโกะ โอโนะเป็นการส่วนตัวตัดสินใจเข้ามาช่วยบรีสต์เจรจา โดยช่วยยืนยันว่าการแสดงงาน ดังกล่าว ไม่ได้แสดงงานของจอห์น เลนนอนโดยตรง คราวนี้ สถานการณ์ดีขึ้นเล็กน้อย โยโกะ โอโนะแจ้งกลับมาว่างานน่าสนใจและขอรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ก็ยังยืนยันว่าเป็น สิทธิตามกฎหมายของตนที่จะให้อนุญาต บรีสต์จดั ส่งรายละเอียดเพิม่ เติม รวมทัง้ การแสดงผลงานทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศ อืน่ ๆ ในทีส่ ดุ โยโกะ โอโนะแจ้งกลับมาว่าอนุญาตให้ใช้งานได้ แต่ผแู้ สดงผลงานต้องจัดการ ขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงจากค่ายเพลงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อน บรีสต์สง่ เรือ่ งการขออนุญาตใช้ลขิ สิทธิไ์ ปที่ “โซนี่ มิวสิค” และรอค�ำตอบอีก 3 เดือนเศษ ทนายความของโซนี่ มิวสิคตอบกลับมาว่าค่าใช้สทิ ธิทวั่ ไปของการจัดนิทรรศการ เป็นระยะเวลา 1 เดือนเป็นเงิน 45,000 เหรียญสหรัฐ บรีสต์และทางพิพิธภัณฑ์ร่วมกัน ชีแ้ จงว่าการแสดงงานครัง้ นีไ้ ม่ได้หาก�ำไร ซึง่ เป็นไปไม่ได้ทจี่ ะหาเงินจ�ำนวนดังกล่าวไปช�ำระ ให้ในทีส่ ดุ โซนี่ มิวสิค แสดงความเห็นใจและขอให้บรีสต์แสดงรายละเอียดของตัวเลขทีจ่ ะ เกิดขึ้นในโครงการนี้ทั้งหมดเพื่อที่จะร่วมกันก�ำหนดจ�ำนวนเงินที่บรีสต์จะสามารถช�ำระได้ ระยะเวลาที่เตรียมไว้ล่วงหน้าเกือบ 1 ปีหมดไปอย่างรวดเร็วกับการติดต่อ เพือ่ ขออนุญาตใช้ลขิ สิทธิด์ งั กล่าว ก่อนวันแสดงผลงานไม่กสี่ ปั ดาห์ โซนี่ มิวสิค ยอมให้บรีสต์ แสดงผลงานตามก�ำหนดที่ประชาสัมพันธ์ไว้ล่วงหน้าไปก่อน โดยยังไม่สามารถหาข้อยุติ เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ได้ ข้อมูลเท่าที่ปรากฏคือหลังจากแสดงงานไปแล้วกว่า 2 ปี ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปและไม่มีการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ในทางปฏิบัติ การขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์จึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดเสมอไป


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

85

6. การใช้งานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม

การใช้งานลิขสิทธิอ์ ย่างเป็นธรรมหรือทีบ่ างประเทศ เรียกว่า “Fair Use” เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานนั้น ได้ทันที โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ตราบเท่าที่การใช้งานนั้นยังเป็นการใช้ อย่างเป็นธรรมอยู่ เหตุผลในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้ความส�ำคัญกับทั้งผู้สร้างสรรค์งานและ ประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ ก�ำหนดสิทธิผูกขาดของลิขสิทธิ์ขึ้นมาให้ผู้สร้างสรรค์งาน หาประโยชน์ เพือ่ เป็นการกระตุน้ หรือสร้างแรงจูงใจให้มกี ารสร้างสรรค์งานใหม่ ซึง่ เป็นผลให้ เจ้าของลิขสิทธิส์ ามารถควบคุมการใช้งานอันมีลขิ สิทธิไ์ ด้อย่างเต็มที่ แต่หากเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ละคนต่างใช้สิทธิห้ามคนในสังคมเข้าถึงงานหรือใช้งานของตนเลย หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ละคนต่างก�ำหนดค่าใช้สิทธิไว้สูงตามชอบใจจากการได้สิทธิผูกขาดตามกฎหมาย คนใน สังคมหรือสาธารณะย่อมไม่สามารถเข้าถึงงานหรือใช้ประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ได้ ซึ่ง กลายเป็นการลดทอนประโยชน์สาธารณะลง ดังนั้น เพื่อสร้างความสมดุลในการรักษาประโยชน์สาธารณะที่เป็นหัวใจ และเป็นเหตุผลหลักในการมีกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงเปิดโอกาสให้ทุกคน หรือสาธารณะสามารถเข้าใช้งานนั้นได้ภายในขอบเขตที่เหมาะสม การใช้งานลิขสิทธิ์ อย่างเป็นธรรมเป็นข้อยกเว้นเรื่องหนึ่งที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถ เข้าใช้งานนั้นได้ ตราบเท่าที่การใช้งานนั้นยังเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมอยู่ ทั้งนี้ การใช้ งานลิขสิทธิข์ องคนทัว่ ไปในสังคม หากไม่ใช่การใช้ในเชิงพาณิชย์ ก็นา่ จะอยูใ่ นขอบเขต ของการใช้อย่างเป็นธรรม กฎหมายลิขสิทธิข์ องไทยก�ำหนดเกณฑ์ทวั่ ไปว่า การใช้งานอย่างเป็นธรรมต้องไม่ ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องไม่ กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร


86

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

มีขอ้ สังเกตว่า การใช้งานทีไ่ ม่ขดั ต่อการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิน์ นั้ กฎหมายก�ำหนดไว้ว่าต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์มากในระดับที่เกินปกติ ส่วนการ ไม่กระทบถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายก็ต้องไม่กระทบมากในระดับที่เกินสมควร ดังนั้น หากขัดต่อการแสวงหาประโยชน์อยูบ่ า้ ง แต่เจ้าของลิขสิทธิย์ งั แสวงหาประโยชน์ได้ตาม ปกติ หรือกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่บ้าง แต่ไม่กระทบจนเกินสมควร การใช้งานอย่างนี้ยังถือเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมได้ ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาถ่ายเอกสารบทความวิชาการบางส่วนมาใช้ในการวิจยั หรือศึกษา งานนั้น นักเขียนน�ำเนื้อหางานของนักเขียนอื่นมาวิจารณ์หรือเขียนบทความติชม นักข่าว น�ำค�ำพูดของนักการเมืองมารายงานข่าวหรือน�ำมาเขียนอ้างอิงแล้ววิจารณ์ เป็นต้น กรณี เหล่านี้ท�ำได้เพราะเป็นการใช้อย่างเป็นธรรม แต่ถ้าถึงขนาดเอาหนังสือของผู้อื่นมา พิมพ์ใหม่เพือ่ จ�ำหน่ายหรือถ่ายเอกสารทัง้ เล่มเอาไปขายเลย การใช้แบบนีน้ า่ จะเกินขอบเขต ของการใช้อย่างเป็นธรรม


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

87

7. ตัวอย่างของการใช้งานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม ส�ำหรับคดีที่มีการฟ้องร้องว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ข้อต่อสู้ส�ำคัญของฝ่ายที่ ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องก็คือการโต้แย้งว่า การใช้งานของตนเป็นการใช้งานอย่างเป็นธรรม ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ข้อต่อสูเ้ รือ่ งการใช้อย่างเป็นธรรมหรือ “fair use” นีใ้ ช้กนั มากในหลาย ประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในประเทศไทยมีการอ้างใช้กันอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก อย่างใดก็ตาม แนวโน้มการน�ำเรื่องการใช้อย่างเป็นธรรมนี้มาใช้น่าจะ เพิ่มมากขึ้นต่อไป ตัวอย่างค�ำพิพากษาศาลฎีกาของไทยทีม่ ปี ระเด็นวินจิ ฉัยถึงการใช้อย่างเป็นธรรม (1) คดีถ่ายเอกสารหนังสือรวมเล่มขาย ข้อเท็จจริงในคดีนี้ จ�ำเลยเปิดร้านรับจ้างถ่ายเอกสาร เย็บเล่มและ เข้าปกหนังสืออยู่ข้างมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ต่อมา นักศึกษาน�ำ หนังสือรวม 5 เล่มที่ต้องใช้ในการเรียนหลักสูตรวิชาหนึ่งมาให้จ�ำเลยถ่ายเอกสาร โดยให้ ถ่ายเอกสารเฉพาะบางบทของหนังสือแต่ละเล่ม ถ่ายเอกสารแล้วให้จ�ำเลยเย็บเล่ม ให้ดว้ ย ร้านจ�ำเลย ก็จดั การให้ตามค�ำสัง่ หลังจากนัน้ นักศึกษาอืน่ มาขอให้รา้ นจ�ำเลยถ่าย เอกสารหนังสือทั้ง 5 เล่มดังกล่าวในลักษณะเดียวกันอีก จ�ำเลยจึงถ่ายเอกสาร หนังสือทั้ง 5 เล่มตามบทที่เคยถ่ายเอกสารและเย็บเล่มเตรียมไว้ล่วงหน้าเลยรวม 43 ชุด เพื่อว่าถ้ามีนักศึกษามาขอถ่ายเอกสารอีก ก็หยิบขายให้ได้เลย คดีนี้ พนักงานอัยการฟ้องจ�ำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาละเมิดลิขสิทธิข์ องเจ้าของ ลิขสิทธิห์ นังสือทัง้ 5 เล่มดังกล่าว ศาลทรัพย์สนิ ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เห็นว่าการถ่ายเอกสารหนังสือวิชาการดังกล่าวเป็นการถ่ายเอกสารบางบทในแต่ละเล่ม การท�ำซ�ำ้ งานดังกล่าวเป็นไปเพือ่ ประโยชน์ในการศึกษาของนักศึกษา ซึง่ การใช้งานเพือ่ วิจยั และศึกษางานเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมที่มีไว้เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ ของคนแต่ละรุ่นในสังคม ซึ่งเป็นประโยชน์สาธารณะที่จ�ำเป็น จึงยังพอถือเป็นการใช้อย่าง เป็นธรรมและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ พิพากษายกฟ้อง

ปรากฏว่า ศาลฎีกาเห็นตรงข้ามและพิพากษาว่าจ�ำเลย ละเมิดลิขสิทธิ์


88

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต�ำรวจจับจ�ำเลยได้พร้อมกับส�ำเนา หนังสือทัง้ 43 เล่ม ของกล่าวขณะจับ จ�ำเลยรับสารภาพว่ามีเอกสารดังกล่าวไว้เพือ่ ขายแก่ นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ในระหว่างการสอบสวน ต�ำรวจแจ้งข้อหาแก่จ�ำเลยว่าละเมิด ลิขสิทธิข์ องผูอ้ นื่ โดยการท�ำซ�ำ้ งานอันมีลขิ สิทธิเ์ พือ่ ขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพือ่ ขาย จ�ำเลย ให้การรับสารภาพอีก ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงรับฟังได้ว่าจ�ำเลยท�ำซ�้ำโดยถ่ายเอกสารงานอัน มีลขิ สิทธิห์ นังสือของกลางแล้วเก็บไว้ทรี่ า้ นค้าของจ�ำเลยซึง่ อยูใ่ กล้มหาวิทยาลัย เพือ่ ทีจ่ ำ� เลย จะขายเอกสารที่ท�ำซ�้ำแก่นักศึกษาได้สะดวก อันเป็นการที่จ�ำเลยท�ำซ�้ำขึ้นเองเพื่อการค้า และแสวงหาประโยชน์ จากการขายส�ำเนางานที่จ�ำเลยท�ำซ�้ำขึ้นมา มิใช่การรับจ้างถ่าย เอกสารจากนักศึกษาที่ต้องการได้ส�ำเนางานที่เกิดจากการท�ำซ�้ำไปใช้ในการศึกษาวิจัย อันเป็นเหตุยกเว้นความรับผิดในเรื่องการใช้อย่างเป็นธรรม จึงเป็นการกระท�ำที่ละเมิด ลิขสิทธิ์ของเจ้าของหนังสือ มีขอ้ น่าสังเกตว่าคดีถา่ ยเอกสารหนังสือรวมเล่มขายนี้ ฝ่ายจ�ำเลย รับสารภาพว่ากระท�ำละเมิดลิขสิทธิต์ ามค�ำฟ้องของโจทก์มาโดยตลอด จ�ำเลย ไม่โต้แย้งและไม่เคยต่อสูถ้ งึ ประเด็นการใช้อย่างเป็นธรรมเลย ซึง่ น่า จะเป็นเหตุผลส�ำคัญที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงและ ประเด็นเท่าที่ปรากฏในส�ำนวน และพิพากษาว่าจ�ำเลยละเมิด ลิขสิทธิ์ (2) คดีคดั ลอกหนังสือไปพิมพ์จำ� หน่าย ข้อเท็จจริงในคดีนี้ จ�ำเลยซึ่งเป็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานครเขียนหนังสือ “กลยุทธ์ในการ ฝึกอบรม” ขึน้ แล้วน�ำไปใช้เป็นเอกสารประกอบ การสอนและเป็นผลงานทางวิชาการทีข่ อรับ การแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลังจาก นัน้ จ�ำเลยจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวเพือ่ จ�ำหน่าย แก่บคุ คลทั่วไป โดยจ�ำเลยได้รับค่าตอบแทน


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

89

ต่อมา โจทก์ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “คู่มือการประเมินและติดตามผลการ ฝึกอบรมส�ำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา” ซึ่งพิมพ์จ�ำหน่ายมาก่อนหลายปี พบว่า หนังสือของจ�ำเลยมีข้อความที่ลอกมาจากหนังสือของโจทก์จ�ำนวนมาก และ เป็นการลอกโดยไม่ได้ขออนุญาต จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจ�ำเลยจากการละเมิดลิขสิทธิ์ หนั ง สื อ ดั ง กล่ า วของโจทก์ จ�ำ เลยยกข้อ ต่อ สู้ห ลายประเด็น และมีป ระเด็น หนึ่ง อ้า งว่า การคัด ลอก ดัง กล่า วเป็น การใช้อ ย่า งเป็น ธรรมแล้ว จึง ไม่ล ะเมิด ลิข สิท ธิ์ เฉพาะในประเด็นเกีย่ วกับการใช้อย่างเป็นธรรม ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า เมือ่ พิจารณา หนังสือทั้งสองเล่มเปรียบเทียบกันแล้ว ปรากฏว่าจ�ำเลยคัดลอกหนังสือของโจทก์จ�ำนวน ประมาณ 30 หน้า จากจ�ำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า ข้อความบางตอนมีลักษณะ เกือบเหมือนกันค�ำต่อค�ำ บางตอนมีลกั ษณะดัดแปลงให้ตา่ งกันเล็กน้อย และบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น แม้จ�ำเลยอ้างว่าเป็นแค่งานบางตอนเท่านั้นก็ตาม แต่ปรากฏ ว่าการน�ำงานอันมีลขิ สิทธิข์ องโจทก์มาบางตอนดังกล่าวล้วนเป็น ส่วนของเนื้อหาสาระทีส่ ำ� คัญ และมีปริมาณงานเป็นจ�ำนวนมาก จึงถือได้วา่ เป็นการคัดลอกงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร

นอกจากนัน้ ยังปรากฏว่าจ�ำเลยคัดลอกโดยไม่ ได้แสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ระบุ การใช้ในรูปของเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิใ์ นรูปแบบ อื่น มีเพียงแต่อ้างอิงถึงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียน รวม 26 รายการ ไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงที่ท้ายเล่ม ซึ่งผู้อ่าน ย่อมไม่สามารถทราบได้วา่ ข้อความส่วนใด ของงานเป็นงานเขียนของ โจทก์ที่จ�ำเลยคัดลอกมา จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่า เป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ การกระท�ำของ จ�ำเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์การใช้งานอย่างเป็นธรรม และเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์งานหนังสือของโจทก์


90

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

มีขอ้ น่าสังเกตว่าคดีคดั ลอกหนังสือไปพิมพ์จำ� หน่ายนีฟ้ อ้ งเป็นคดีแพ่ง คูค่ วาม ทั้งสองฝ่ายจึงมีโอกาสยกประเด็นเรื่องการใช้อย่างเป็นธรรมขึ้นต่อสู้กันโดยตรงและแสดง พยานหลักฐานอย่างเต็มที่ ส�ำหรับผลค�ำวินจิ ฉัย ศาลฎีกาวางเกณฑ์เรือ่ งการคัดลอกหนังสือไว้ในคดีนวี้ า่ ถ้าเป็นการคัดลอกเนือ้ หาส่วนทีเ่ ป็นสาระทีส่ ำ� คัญ 30 หน้า จากทัง้ หมดประมาณ 150 หน้า (เท่ากับร้อยละ 20) และคัดลอกแบบเหมือนกันค�ำต่อค�ำ อย่างนีถ้ อื ว่าเป็นการคัดลอกงาน อันมีลขิ สิทธิข์ องผูอ้ นื่ เกินสมควร และไม่ใช่การใช้อย่างเป็นธรรม ซึง่ เป็นเกณฑ์ทมี่ คี วามชัดเจน และสามารถน�ำไปปรับใช้กบั ข้อเท็จจริงของการคัดลอกหนังสืออืน่ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ต่อไปได้ (3) คดีใช้ภาพถ่ายไปท�ำปฏิทิน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ บริษทั จ�ำเลยท�ำปฏิทนิ ตัง้ โต๊ะเพือ่ ใช้แจกให้ลกู ค้าและบุคคล ทัว่ ไปรวม 7,000 ชุด โดยใช้ภาพของผลไม้หลายชนิด เช่น มะขามหวาน ลองกอง น้อยหน่า ลิ้นจี่ ละมุด มังคุด เป็นต้น แต่ไปน�ำภาพจ�ำนวน 10 ภาพมาจากหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 ของ โจทก์ทพี่ มิ พ์จำ� หน่ายอยูก่ อ่ นมาใช้ โดยไม่เคยแจ้งหรือขออนุญาตจากโจทก์ เมือ่ โจทก์ทราบ เรื่องเข้าจึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ว่าจ�ำเลยละเมิดลิขสิทธิ์และเรียกค่าเสียหาย โจทก์น�ำสืบพยานว่าขั้นตอนถ่ายรูปผลไม้นั้น โจทก์ต้องคัดสรรผลไม้ที่มี ผิวผลสมบูรณ์จากจังหวัดระยองและจันทบุรีมาท�ำความสะอาด แล้วจัดวางต�ำแหน่งผลไม้ จากนัน้ ทีมงานช่างภาพถ่ายรูปลงในฟิลม์ ใหญ่แล้วน�ำภาพไปสแกนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วจึงน�ำมาพิมพ์เป็นหนังสือ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะในการจัดท�ำหนังสือผลไม้แล้ว ภาพถ่ายรูปผลไม้จงึ เป็นงานศิลปกรรมประเภทงาน ภาพถ่าย เมื่อพิจารณารูปภาพผลไม้ทั้งสิบภาพเทียบกัน ศาลฎีกาสรุปว่าภาพผลไม้ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคมในปฏิทินของจ�ำเลยท�ำซ�้ำและดัดแปลงมาจากหนังสือผลไม้ ของโจทก์ แม้จ�ำเลยจะอ้างว่าน�ำปฏิทินไปแจกจ่ายให้ลูกค้าโดยไม่ได้ขาย ก็ถือได้ว่าก่อให้ เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์แล้ว และมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคล ในครอบครัว ทั้งยังขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของ ลิขสิทธิ์ ไม่ใช่การใช้อย่างเป็นธรรมและเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

91

มีขอ้ น่าสังเกตว่าการน�ำภาพถ่ายของผูอ้ นื่ ไปท�ำปฏิทนิ ในคดีนเี้ ป็นการใช้ภาพ ของโจทก์ทั้งภาพ จึงเท่ากับท�ำซ�้ำงานภาพถ่ายทั้งชิ้น เมื่อน�ำไปพิมพ์เป็นปฏิทินมากถึง 7,000 ชุด ไม่ว่าจะแจกหรือขายก็ตาม คงต้องถือว่าขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอนั ชอบด้วยกฎหมายเกินสมควร แล้ว (4) คดีน�ำท�ำนองเพลงไปใช้ในภาพยนตร์ ข้อเท็จจริงในคดีนี้ จ�ำเลยเป็นผูส้ ร้างงานภาพยนตร์เรือ่ ง “จี”้ ในตอนหนึง่ ของ ภาพยนตร์มกี ารน�ำท�ำนองเพลง “สายชล” บางส่วนไปใช้ โดยไม่ได้แจ้งหรือขออนุญาตจาก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง โจทก์ทราบในภายหลัง จึงมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก การละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าในประเด็นละเมิดลิขสิทธิ์นั้น แม้ส่วนของท�ำนองเพลง “สายชล” ตามที่ปรากฏในภาพยนตร์เป็นเพียง 2 ประโยคแรกของเพลงโดยไม่มีดนตรี ประกอบก็ตาม แต่ทำ� นองเพลง 2 ประโยคดังกล่าวเป็นส่วนทีส่ าธารณชนสามารถจดจ�ำได้ ทั้งเพลงนี้มีชื่อเพลงปรากฏอยู่ในท่อนที่สองของเพลงด้วย ถือว่าเป็นการน�ำส่วนที่เป็น สาระส�ำคัญ (substantial part) ของเพลง เมื่อน�ำไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ใน ทางการค้า ย่อมจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย การน�ำท�ำนองเพลง “สายชล” ไปใช้ในภาพยนตร์เพือ่ เผยแพร่ตอ่ สาธารณชน โดยมีจุดประสงค์ในการหาก�ำไรและมีการจัดท�ำโสตทัศนวัสดุในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีเพื่อ จ�ำหน่าย นับเป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการค้าของจ�ำเลยแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จะเป็น การใช้อย่างเป็นธรรมได้ จ�ำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของโจทก์ มีข้อน่าสังเกตว่าประเด็นการใช้อย่างเป็นธรรมในคดีน�ำท�ำนองเพลงไปใช้ใน ภาพยนตร์นี้ ศาลฎีกามองว่าเมือ่ จ�ำเลยน�ำงานไปใช้เพือ่ แสวงหาประโยชน์ทางการค้าโดยตรง แล้ว ก็แทบไม่มีโอกาสเข้าข่ายเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมเลย


92

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

8. การใช้งานที่เป็น public domain เรากล่าวถึงประเภทของการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ท�ำได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ มาแล้วหลายประเภท กล่าวคือ การใช้งานโดยขออนุญาตให้ใช้ลขิ สิทธิเ์ สียก่อน การใช้งาน ลิขสิทธิอ์ ย่างเป็นธรรมหรือ “fair use” ในส่วนนีจ้ ะกล่าวถึงงานทีเ่ ป็น “public domain” ซึ่งเป็นงานอีกประเภทหนึ่งที่ทุกคนมีสิทธิใช้งานได้โดยเสรี ค�ำว่า “public domain” หมายถึงสิ่งหรือของที่อยู่ในขอบเขตที่เป็น สาธารณะ นักวิชาการบางท่านใช้ค�ำว่า “สมบัติสาธารณะ” ดังนั้น การใช้งานที่เป็น “public domain” จึงท�ำได้โดยไม่ถูกจ�ำกัดการใช้ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ไม่ต้อง ขออนุญาตจากผูใ้ ด และไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ยในการใช้ ผูใ้ ช้งานทุกคนสามารถใช้ได้โดยเสรี สิง่ ทีไ่ ม่ได้รบั ความคุม้ ครองลิขสิทธิห์ รือสิง่ ทีเ่ ป็น “public domain” อาจแบ่ง ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ (1) สิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์ (2) งานที่เจ้าของลิขสิทธิ์สละลิขสิทธิ์ (3) งานที่สิ้นอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

93

9. สิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิเ์ ป็นสิทธิผกู ขาดทีก่ ฎหมายก�ำหนดขึน้ มาให้เจ้าของลิขสิทธิม์ สี ทิ ธิเพียง ผู้เดียวในการหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์นั้น ในทางกลับกัน สิทธิผูกขาดนั้นเป็นสิ่งที่กั้น หรือป้องกันไม่ให้คนทั่วไปหรือสาธารณะสามารถใช้ประโยชน์ในงานลิขสิทธิ์นั้นได้ ในการ สร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิก์ บั สาธารณะ กฎหมายจึงก�ำหนดสิง่ ที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์ขึ้นเพราะให้เกิดความชัดเจนแก่ทุกฝ่ายว่าสิ่งใดบ้างที่ไม่อาจอ้างเป็น งานลิขสิทธิ์ และเมื่อไม่เป็นงานลิขสิทธิ์ ทุกคนสามารถใช้งานนั้นได้โดยเสรี สิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์อาจแบ่งได้เป็น สิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์โดยสภาพ กับสิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์โดยกฎหมาย สิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์โดยสภาพ หมายถึงโดยสภาพแล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่งาน อันมีลขิ สิทธิ์ ยกตัวอย่างเช่น ความคิดทีย่ งั ไม่มกี ารแสดงออก สิง่ ทีไ่ ม่มรี ะดับการสร้างสรรค์ เพียงพอ เป็นต้น ในส่วนนี้ กฎหมายลิขสิทธิก์ ำ� หนดไว้ชดั เจนว่าการคุม้ ครองลิขสิทธิไ์ ม่รวมถึง “ความคิด หรือขัน้ ตอน กรรมวิธหี รือระบบ หรือวิธใี ช้หรือท�ำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์” ดังนัน้ สิง่ ต่างๆ ทีก่ ล่าวมาล้วน ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์และไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างลิขสิทธิ์ ยกตัวอย่างเช่น นักเขียนเรื่องสั้นคนหนึ่งนั่งคิดโครงเรื่องสั้นเรื่องใหม่เอาไว้ ตัง้ แต่ตน้ จนจบ โครงเรือ่ งสัน้ ดังกล่าวยังไม่มลี ขิ สิทธิ์ และตราบใดทีย่ งั คงเป็นแค่ความคิดอยู่ โครงเรื่องสั้นนั้นก็จะไม่มีลิขสิทธิ์ จนกว่านักเขียนคนนี้แสดงออกซึ่งความคิดนั้น ไม่ว่าจะ โดยการเขียนหรือพิมพ์ออกมา หรือแสดงออกมาให้คนอื่นรู้เห็น ความคิดที่แสดงออกนั้น จึงจะกลายเป็นงานลิขสิทธิ์ได้ เป็นต้น อีกกลุม่ หนึง่ สิง่ ทีไ่ ม่เป็นงานลิขสิทธิโ์ ดยกฎหมาย กฎหมายก�ำหนดสิง่ ทีท่ กุ คน หรือสังคมควรได้ใช้ประโยชน์ หรือสิ่งที่เป็นข้อมูลที่ทุกคนควรรับรู้ ควรมีโอกาสเข้าถึงได้ โดยไม่จ�ำกัด โดยให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์โดยกฎหมาย ในปัจจุบัน กฎหมาย ลิขสิทธิ์แยกสิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์โดยกฎหมายไว้ 5 ประเภท คือ


94

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(1) ข่าวประจ�ำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่ งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ (2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย (3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ค�ำสั่ง ค�ำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือของท้องถิ่น (4) ค�ำพิพากษา ค�ำสั่ง ค�ำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ (5) ค�ำแปลและการรวบรวมสิง่ ต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ทีก่ ระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดท�ำขึ้น 10. งานที่เจ้าของลิขสิทธิ์สละลิขสิทธิ์ ผูส้ ร้างสรรค์หรือเจ้าของงานลิขสิทธิบ์ างชิน้ อาจประสงค์ให้มกี ารเผยแพร่หรือ แบ่งปันข้อมูลของงานชิ้นนั้นมากๆ มากกว่าความต้องการหาก�ำไรหรือผลประโยชน์จาก ผูท้ นี่ ำ� งานไปเผยแพร่ เช่น งานทีเ่ จ้าของลิขสิทธิเ์ ห็นว่าเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม งานเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับศาสนาหรือความเชื่อ เป็นต้น วิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มีการเผยแพร่หรือ แบ่งปันเป็นไปโดยง่ายคือการแสดงเจตนาสละลิขสิทธิ์ของงานนั้น เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์สละ ลิ ข สิ ท ธิ์ ใ นงานทั้ ง หมดให้ แ ก่ ส าธารณะแล้ ว งานนั้ น ก็ จ ะกลายเป็ น งานที่ เ ป็ น “public domain” ซึ่งเป็นผลให้เป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองในฐานะงานลิขสิทธิ์อีก ต่อไป การสละลิขสิทธิ์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายก�ำหนดรูปแบบเอาไว้ ดังนั้น เจ้าของ ลิขสิทธิ์จึงสามารถสละลิขสิทธิ์ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่ท�ำให้เห็นเจตนาสละลิขสิทธิ์โดยแจ้งชัด เช่น ถ้าเป็นหนังสือก็อาจระบุไว้ที่หน้าปกหรือค�ำน�ำของหนังสือ เป็นต้น ปัจจุบัน เรามี “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ซึ่งเป็นองค์กรที่เสนอทางเลือกในการแบ่งปันและแบ่งใช้ข้อมูล อย่างยืดหยุ่น โดยเสนอแบบของสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์หลายรูปแบบ และเจ้าของ ลิขสิทธิ์มีสิทธิเลือกว่าจะสละลิขสิทธิ์ของตนเพียงบางส่วนหรือหลายส่วนได้ รายละเอียด ของ “ครีเอทีฟคอมมอนส์” จะได้กล่าวในส่วนที่ 4


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

95

11. งานที่สิ้นอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิเพียงผู้เดียวในการหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ของตน ตามระยะเวลาทีก่ ำ� หนดไว้ในอายุแห่งการคุม้ ครองลิขสิทธิ์ ซึง่ โดยทัว่ ไป อายุแห่งการคุม้ ครอง ลิขสิทธิม์ อี ยูต่ ลอดอายุของผูส้ ร้างสรรค์ และให้มอี ยูต่ อ่ ไปอีกเป็นเวลา 50 ปีนบั แต่ผสู้ ร้างสรรค์ ถึงแก่ความตาย หรือเรียกกันทัว่ ไปว่า “ตลอดชีวติ บวก 50 ปี” อย่างใดก็ตาม งานลิขสิทธิ์ หลายประเภทมีรายละเอียดของระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปจากเกณฑ์ทั่วไปดังกล่าว ตามที่กฎหมายก�ำหนดไว้ เมือ่ เจ้าของลิขสิทธิแ์ ละทายาทได้ใช้สทิ ธิผกู ขาดทีก่ ฎหมายก�ำหนดหาประโยชน์ จากงานจนครบอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว งานนั้นก็ตกเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หรือส่วนรวมบ้าง โดยถือเป็นงานที่เป็น “public domain” ที่ทุกคนมีสิทธิใช้ประโยชน์ จากงานนัน้ ได้โดยไม่มขี อ้ จ�ำกัด และไม่มผี ใู้ ดอ้างสิทธิผกู ขาดไว้แต่เพียงคนเดียวได้อกี ต่อไป


96

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

97


98

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สวนที่ 4

โครงการ ครีเอทีฟคอมมอนส (Creative Commons)


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

99

1. แนวคิดของ Creative Commons ก่อนอื่น ค�ำว่า “Creative Commons” (C ทั้งสองตัวเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และ ค�ำว่า Commons ต้องมี s ด้วย) ชอบเรียกกันเป็นอักษรย่อแบบเท่ห์ ๆ ว่า “CC” (เป็นตัว พิมพ์ใหญ่ทั้งสองตัว) และเรียกกันในไทยตรงกับค�ำอ่านว่า “ครีเอทีฟคอมมอนส์” แนวคิดของครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นเรือ่ งเกี่ยวกับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ ใน เบื้องต้น กฎหมายลิขสิทธิ์ก�ำหนดงานอันมีลิขสิทธิ์ไว้มากมายและหลากหลาย ครอบคลุม งานวรรณกรรมต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทกุ ประเภท ไปจนถึงงานนาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ แผ่นดีวีดี และงานแพร่เสียงแพร่ภาพทุกอย่าง รวมทั้งงานอีกมากมาย หลายอย่างตามที่กฎหมายก�ำหนด งานอันมีลขิ สิทธิท์ งั้ หมด กฎหมายก�ำหนดแบบการคุม้ ครองไว้อย่างเดียวเหมือน กันหมด โดยเอาไปใช้กับงานทุกอย่างของผู้สร้างสรรค์งานทุกคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะตรง กับความต้องการของผู้สร้างสรรค์งานแต่ละคน แนวคิดของครีเอทีฟคอมมอนส์ มองว่ารูป แบบการคุม้ ครองลิขสิทธิแ์ บบเดียวทีก่ ล่าวมาขาดความยืดหยุน่ และก่อให้เกิดปัญหาในทาง ปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานลิขสิทธิ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ว่าไปแล้ว ในความเป็นจริง ผู้สร้างสรรค์งานแต่ละคนอาจมีแรงจูงใจในการ สร้างสรรค์งานแตกต่างกัน บางคนต้องการสิทธิผูกขาดมากเพราะเป็นนายทุนหรือองค์กร ธุรกิจที่หารายได้จากงานลิขสิทธิ์ ในขณะที่ผู้สร้างสรรค์บางคนอาจไม่ต้องการบังคับสิทธิ ผูกขาดบางอย่างในงานบางชิ้น เพราะเห็นว่าไม่มีความจ�ำเป็นหรืออาจจะประสงค์ให้งาน บางชิ้นได้รับการเผยแพร่มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น นักออกแบบตัวอักษรทีอ่ อกแบบพยัญชนะออกมา อาจมีความ ประสงค์ให้คนในสังคมและสาธารณะได้ใช้แบบตัวอักษรนั้นให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่าจะ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือนักวิชาการท�ำงานวิจัยเกี่ยวกับสังคมออกมาชิ้นหนึ่ง นักวิชาการท่านนี้อาจไม่ขัดข้องถ้าใครจะถ่ายส�ำเนาหรือท�ำซ�้ำงานวิจัยชิ้นนั้นไปอ่านหรือ ส่งต่อไปแบ่งกันอ่าน ในกรณีเหล่านี้ กฎหมายลิขสิทธิ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกลับบอกว่า “ไม่ได้” ใครจะท�ำซ�ำ้ งานตัวอักษรหรือถ่ายส�ำเนางานวิจยั ไปใช้ไม่ได้ เว้นแต่ตอ้ งด�ำเนินการ ขอรับอนุญาตให้เรียบร้อยเสียก่อน ถ้าไม่เช่นนั้น ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์


100

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

คนใช้เฟซบุ๊กหรือเล่นไลน์บางคนชอบโคลงกลอน อาจแต่งโคลงกลอนเกี่ยว กับเรื่องทั่วไปหรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ผู้สร้างสรรค์เหล่านี้อาจอยากให้มีคนอ่าน หรืออยากให้มีการแบ่งปันข้อมูลของงานมากๆ อาจไม่ขัดข้องที่คนอ่านจะเอาไปอัพโหลด ไว้ในเฟซบุ๊กหรือไลน์ให้คนอื่นต่อ เช่นเดียวกัน ในกรณีนี้ กฎหมายปัจจุบันบอกว่า การท�ำซ�ำ้ หรือ “ไลน์” ต้องขออนุญาตให้ถกู ต้องเสียก่อน แม้วา่ ในทางปฏิบตั คิ งไม่มใี ครท�ำ ครีเอทีฟคอมมอนส์เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้สร้างสรรค์งานที่คิด หรือมีความประสงค์แตกต่างไปจาก “สูตรส�ำเร็จ” ที่กฎหมายบังคับไว้ว่า “ทุกอย่าง ท�ำไม่ได้” เว้นแต่ขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน โดยครีเอทีฟคอมมอนส์เสนอ กรอบใหม่ให้ผู้สร้างสรรค์มีสิทธิเลือกให้อนุญาตการใช้งานของตนหลากหลายรูปแบบ และเปิดให้เป็นทางเลือกทีจ่ ะก�ำหนดขอบเขตการให้อนุญาตงานแต่ละชิน้ ได้ตามทีต่ อ้ งการ ผู้สร้างสรรค์อาจยอมให้ท�ำได้เกือบทุกอย่างโดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออาจยอมให้ท�ำได้ บางอย่างเท่านั้นก็ได้ โดยการให้อนุญาตดังกล่าวเป็นไปตามกรอบที่กฎหมายลิขสิทธิ์ ยอมให้ท�ำได้


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

101

ยกตัวอย่างเช่น นักวิชาการต้องการแบ่งปันงานวิจัยที่ท�ำให้คนอื่นได้รับรู้งาน สามารถก�ำหนดหรือระบุใช้สัญลักษณ์ของครีเอทีฟคอมมอนส์ไว้ในงาน สัญลักษณ์ที่เลือก ไว้กจ็ ะบอกคนอ่านทุกคนให้รวู้ า่ เจ้าของงานวิจยั มีความประสงค์อย่างใดกับงานชิน้ นัน้ หรือ กรณีคนทั่วไปถ่ายเซลฟีหรือแม้กระทั่งถ่ายภาพแชร์กันเล่นทางอินเตอร์เน็ตอาจไม่ขัดข้อง ที่เพื่อนหรือคนรอบตัวจะน�ำภาพไปแชร์กันต่อ แต่ไม่ถึงขนาดจะยอมให้ใครน�ำภาพไป ท�ำซ�้ำเพื่อขาย กรณีนี้ก็สามารถเลือกแบบการอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ที่ตรงกับ ความประสงค์ได้เช่นกัน ในภาพรวม กล่าวได้ว่าครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นทางเลือกหรือกรอบใหม่ใน การคุ้มครองลิขสิทธิ์ เป็นทางเลือกเพื่อเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันข้อมูลกันได้สะดวกมาก ขึน้ เป็นทางเลือกทีไ่ ม่ตดิ ยึดกับกรอบของกฎหมายลิขสิทธิท์ กี่ ำ� หนดให้ “ทุกอย่างท�ำไม่ได้” จนกว่าจะได้รับอนุญาตก่อน ขณะเดียวกัน ครีเอทีฟคอมมอนส์ก็ไม่ได้เหวี่ยงไปสุดปลาย ทางอีกด้านหนึง่ ให้ใช้งานลิขสิทธิท์ กุ อย่างได้โดยไม่ตอ้ งขออนุญาต แต่ได้เสนอทางออก ที่ค�ำนึงถึงความสมดุล โดยเปิดทางเลือกให้ผู้สร้างสรรค์แต่ละคนเลือกเองว่าจะยอม อนุญาตแค่ไหนและในงานชิ้นใด


102

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

2. ครีเอทีฟคอมมอนส์คืออะไร ครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นองค์กรไม่แสวงหาก�ำไรที่เปิดทางเลือกใหม่ให้มี การแบ่งปันและแบ่งใช้งานสร้างสรรค์และข้อมูลความรู้ผ่านช่องทางของกฎหมายโดยไม่ เสียค่าใช้จ่าย ครีเอทีฟคอมมอนส์ก�ำหนดแบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นโดยประสงค์ให้ เป็นแบบสัญญาที่ใช้ง่ายและเป็นมาตรฐานสากลในการอนุญาตให้แบ่งปันและแบ่งใช้งาน สร้างสรรค์ โดยมีขอบเขตการอนุญาตตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์ประสงค์ ผู้ใช้ “สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์” หรือ “Creative Commons licenses” สามารถใช้สญ ั ญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ควบคู่ ไปกับการบังคับสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น อาจอนุญาตให้ผู้อื่นน�ำ งานเพลงไปใช้ได้ พร้อมกันนัน้ ก็เรียกค่าใช้สทิ ธิในเชิงพาณิชย์จากค่ายเพลงทีป่ ระสงค์จะน�ำ เพลงเดียวกันไปจัดจ�ำหน่าย โดยไม่มีการตัดสิทธิว่าต้องใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแล้วบังคับตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้ ทั้งนี้ ครีเอทีฟคอมมอนส์ก็ ประสงค์ให้ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิเลือกใช้กฎเกณฑ์ของลิขสิทธิ์ที่สมประโยชน์ที่สุด


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

103

3. ใช้ครีเอทีฟคอมมอนส์ท�ำอะไรได้บ้าง ในส่วนของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ ถ้าต้องการแบ่งปันข้อมูลให้ผู้อื่น แบ่งให้ผู้อ่ืน ใช้ขอ้ มูล หรือให้ผอู้ นื่ เข้ามาสร้างสรรค์งานต่อจากงานชิน้ ใดชิน้ หนึง่ ของตน ก็สามารถเผยแพร่ งานชิน้ นัน้ ภายใต้สญ ั ญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบต่างๆ ได้โดยก�ำหนด ขอบเขตที่จะอนุญาตให้แบ่งปัน ยกตัวอย่างเช่น อนุญาตให้ผู้อ่ืนใช้งานของตนได้ ตราบเท่าที่ไม่เป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ในส่วนของผู้ใช้งาน สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบต่างๆ ทีร่ ะบุไว้ในงานแต่ละชิน้ จะท�ำให้ผใู้ ช้งานไม่ตอ้ งกังวลว่าการใช้งานนัน้ จะละเมิด ลิขสิทธิ์ของเจ้าของงานตราบเท่าที่ใช้งานอยู่ภายใต้ขอบเขตการอนุญาตที่ระบุเอาไว้ ในส่วนของการสืบค้นข้อมูล ถ้าต้องการข้อมูลที่ใช้งานได้ภายใต้สัญญาอนุญาตให้ ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ ก็สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลของครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งปัจจุบันมีงานอยู่หลายร้อยล้านชิ้น ไม่ว่าจะเป็นงานเพลง วีดีโอ ไปจนถึงข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์และวิชาการต่างๆ งานแต่ละชิ้นระบุขอบเขตการอนุญาตไว้ชัดเจน


104

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

4. ท�ำไมต้องครีเอทีฟคอมมอนส์ เทคโนโลยีของการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างในปัจจุบันสามารถท�ำให้ แนวคิดในการเข้าถึงงานวิจัย การศึกษา และวัฒนธรรมเกิดขึ้นจริงได้ แต่ระบบกฎหมาย และสังคมที่แทบจะไม่ได้ปรับตัวกลายเป็นอุปสรรคส�ำคัญที่ท�ำให้การเข้าถึงงานไม่ง่าย อย่างทีค่ วรจะเป็น ลิขสิทธิเ์ ป็นกฎหมายทีเ่ กิดขึน้ มาก่อนยุคของการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หลายศตวรรษและมีการปรับเปลี่ยนน้อยมาก ในปัจจุบนั การใช้งานบนอินเตอร์เน็ตท�ำได้โดยการท�ำซ�ำ ้ (copy, paste, post to the Web) และการดัดแปลง (edit source) ซึ่งล้วนเป็นการกระท�ำที่ขัดต่อกฎหมาย ลิขสิทธิ์เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์บังคับไว้ว่าการท�ำซ�้ำหรือดัดแปลงไม่ว่า จะโดยรูปแบบใดท�ำไม่ได้ เว้นแต่ได้ด�ำเนินการขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน กล่าวอีกอย่าง หนึ่งคือกฎหมายก�ำหนดว่าก่อนการท�ำซ�้ำหรือการดัดแปลงทุกครั้ง ต้องขออนุญาตจาก เจ้าของงานลิขสิทธิ์ท่ีเกี่ยวข้องก่อน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ขั้นตอนดังกล่าวของกฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ดังนัน้ ในการพาสังคมไปสูจ่ ดุ ทีเ่ จ้าของลิขสิทธิส์ ามารถยอมให้มกี ารเข้าถึงงาน ได้นั้น ต้องมีเครื่องมือที่จะสามารถสร้างความสมดุลระหว่างโลกของอินเตอร์เน็ตกับโลก ของกฎหมายลิขสิทธิ์ได้อย่างเหมาะสม เครื่องมือดังกล่าวต้องเปิดให้คนในสังคมทุกคน ใช้ได้ฟรีและใช้ได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ครีเอทีฟคอมมอนส์จึงเป็นองค์กรหนึ่งที่เปิด ทางเลือกและเสนอเครื่องมือดังกล่าวให้กับทุกคน


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

105

5. ครีเอทีฟคอมมอนส์กบ ั สัญญาอนุญาตให้ใช้สท ิ ธิข ์ องครีเอทีฟ คอมมอนส์

โครงสร้างพืน้ ฐานทีค่ รีเอทีฟคอมมอนส์กำ� หนดขึน้ คือ แบบของสัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ต่างๆ ที่มีขึ้นเพื่อเพิ่มความสมดุลให้กับกฎหมายลิขสิทธิ์ ที่เป็นอยู่ซึ่งห้ามท�ำทุกอย่าง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต สัญญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ถกู ออกแบบให้เป็นเครือ่ งมือ ที่ทุกคนเข้ามาเลือกใช้ได้อย่างง่ายที่สุด โดยให้ทุกคนยังมีลิขสิทธิ์ในงานของตนอยู ่ เหมือนเดิม เพียงแต่ยอมอนุญาตแบ่งปันการใช้งานบางส่วนให้ผอู้ นื่ ซึง่ จะท�ำให้งานสร้างสรรค์ ของแต่ละคน งานการศึกษา และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม มากขึ้น สอดคล้องกับประสิทธิภาพของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในโลกปัจจุบัน การผสมผสานระหว่างสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ กับผู้ใช้งานต่างๆ ท�ำให้เกิดสังคมดิจิทัลขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็น แหล่งรวมของข้อมูลที่สามารถท�ำซ�้ำ แจกจ่าย แก้ไข ผสม และสร้างสรรค์ต่อได้ โดยการอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวอยู่ในกรอบที่ท�ำได้ตามกฎหมายลิขสิทธิ์


106

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

6. สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ “3 ชั้น” ของครีเอทีฟคอมมอนส์

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ์ ของครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ใช่ สัญญาทีม่ ไี ว้เพือ่ ผลทางกฎหมาย อย่างเดียวเหมือนสัญญาทั่วไป แต่เป็นแบบสัญญาทีถ่ กู ออกแบบ ให้สื่อความหมายได้ทั้งในด้าน ของกฎหมาย ในด้านของผูใ้ ช้งาน และในด้านของเครือ่ ง ซึง่ อาจเรียก ได้อกี อย่างว่าเป็นสัญญา “3 ชัน้ ”

“ชัน ้ ทีห ่ นึง ่ ”

เป็นชัน้ ทีแ่ สดงสิทธิหน้าทีใ่ นกรอบของกฎหมาย ซึ่งอธิบายเป็นภาษากฎหมายอย่างที่นักกฎหมายใช้กันทั่วไป โดยอาจเรียกชั้นที่หนึ่งนี้ว่า เป็นชั้นของความหมายทางกฎหมาย

“ชั้นที่สอง”

เป็นชั้นที่เขียนไว้ให้ผู้ใช้งานที่ไม่ต้องเป็น นักกฎหมายอ่าน ไม่วา่ จะเป็นผูส้ ร้างสรรค์เอง ผูเ้ กีย่ วข้องกับการศึกษา หรือนักวิทยาศาสตร์ เรียกว่าเป็นสัญญาของคนทัว่ ไป ซึง่ มีไว้ให้ทงั้ ผูอ้ นุญาตให้ใช้งานและผูใ้ ช้งานสามารถเข้าใจ ตรงกัน ทั้งส่วนของสาระส�ำคัญและเงื่อนไขต่าง ๆ ของแบบสัญญา พูดอีกอย่างหนึ่ง ชั้นที่สองนี้ท�ำให้สิทธิหน้าที่ตามกฎหมายอยู่ในรูปที่อ่านและเข้าใจง่าย แม้ว่าโดยรูปแบบ ของชัน้ ทีส่ องไม่สามารถท�ำให้เกิดการอนุญาตให้ใช้สทิ ธิและเกิดผลทางกฎหมายโดยตัวเอง


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

“ชัน ้ ทีส ่ าม”

107

เป็นชัน้ ทีท่ ำ� ให้เครือ่ งเข้าใจ ปัจจุบนั ซอฟต์แวร์ มีบทบาทส�ำคัญในการใช้งานรูปแบบต่างๆ นับแต่การสืบค้น การใช้งานทัว่ ไป ไปจนถึงการใช้ เพือ่ ความบันเทิง และซอฟต์แวร์ยงั มีความจ�ำเป็นต่อการสร้างสรรค์งาน การท�ำซ�ำ ้ การค้นหา และการแจกจ่ายงาน จึงมีการออกแบบให้ชนั้ ทีส่ ามเป็นชัน้ ทีเ่ ครือ่ งคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ต่างๆ อ่านและเข้าใจแบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ ซึ่งประกอบด้วยสาระส�ำคัญของ การอนุญาตและสิทธิหน้าที่ต่างๆ ในสัญญา วิธีการอธิบายให้เครื่องเข้าใจตามที่กล่าวมา ถูกพัฒนาออกเป็นภาษาที่เรียกว่า CC Rights Expression Language หรือ CC REL เมื่อรวมกันแล้ว สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ “3 ชั้น” ของครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยประกันได้ว่าสิทธิหน้าที่ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์มี ความหลากหลายที่ไม่จ�ำกัดไว้เพียงในกรอบความเข้าใจของกฎหมาย แต่ต้องเป็น เรื่องที่ผู้สร้างสรรค์งานเข้าใจได้ ผู้ใช้งานเข้าใจได้ และแม้แต่เว็บไซต์ต่างๆ ก็ต้องเข้าใจได้ ตรงกันด้วย


108

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

7. สัญญาอนุญาตให้ใช้สท ิ ธิของครีเอทีฟคอมมอนส์มอ ี ะไรบ้าง


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

109

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นแบบสัญญาที่ช่วยให้ มีการแบ่งปันและแบ่งใช้ข้อมูลภายใต้แบบสัญญาที่ยืดหยุ่นและบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย แบบสัญญาปัจจุบันเรียกว่า “เวอร์ชั่น 4.0” ครีเอทีฟคอมมอนส์ก�ำหนดสัญลักษณ์ สากล 4 สัญลักษณ์ก�ำกับด้วยตัวอักษร “BY” “ND” “SA” และ “NC” (ดูภาพ ข้างต้นประกอบ) และสามารถจัดแบ่งแบบของสัญญาอนุญาตให้ใช้ลขิ สิทธิไ์ ด้รวม 6 แบบ สัญญาหลัก การเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่เหมาะสมและการใช้งานที่อยู่ภายใต้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกต้องควรต้องเข้าใจความแตกต่างของสัญญาทั้ง 6 แบบก่อน ทัง้ นี้ สามารถหาอ่านรายละเอียดของแบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิทงั้ หกแบบได้ในเว็บไซต์ ของครีเอทีฟคอมมอนส์ ในเบือ้ งต้น สัญญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ทงั้ 6 แบบก�ำหนด ให้ผู้ใช้งานและน�ำงานไปแบ่งปันต่อต้องระบุแสดงตัวผูส้ ร้างสรรค์งาน ซึง่ เห็นได้จากการใช้ สัญลักษณ์และตัวอักษร “BY” ประกอบในทุกแบบสัญญา ส�ำหรับงานที่ผู้อนุญาตเลือก แบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ใช้สัญลักษณ์ “BY” อย่างเดียว แสดงว่าผู้อื่นสามารถ น�ำงานนั้นไปใช้ได้โดยเพียงต้องระบุแสดงตัวผู้สร้างสรรค์งานด้วยเท่านั้น ซึ่งเป็นแบบ การอนุญาตให้ใช้สิทธิที่กว้างมาก แบบของสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิอื่นที่เหลืออีก 5 แบบสัญญาต่างใช้สัญลักษณ์ “BY” รวมไว้กับสัญลักษณ์อื่น ยกตัวอย่างเช่น “NC” มาจากค�ำว่า “NonCommercial” ซึ่งห้ามน�ำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์ “ND” มาจาก ค�ำว่า “NoDerivatives” ซึง่ ห้ามน�ำงานเดิมไปดัดแปลงแล้วส่งต่อ “SA” มาจากค�ำว่า “ShareAlike” ซึง่ ให้งานทีเ่ กิดจากการดัดแปลงงานเดิมต้องใช้แบบสัญญาอนุญาตให้ ใช้สิทธิเดียวกับงานเดิม เป็นต้น


110

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

Attribution CC - BY ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุตัว ผู้สร้างสรรค์งาน Attribution CC - BY - SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุ ตัวผู้สร้างสรรค์งานและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิเดียวกันกับงานเดิม Attribution CC - BY - ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุตัว ผู้สร้างสรรค์งาน แต่ห้ามน�ำงานเดิมไปดัดแปลงแล้วส่งต่อ Attribution CC- BY -NC ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุ ตัวผู้สร้างสรรค์งานแต่ ห้ามใช้เพื่อการค้า Attribution CC- BY - NC - SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้อง ระบุตัวผู้สร้างสรรค์งานแต่ห้ามน�ำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และ ต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สญ ั ญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิเดียวกัน กับงานเดิม Attribution CC- BY - NC - ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุตัว ผู้สร้างสรรค์งานแต่ห้ามน�ำงานเดิมไปดัดแปลงแล้วส่งต่อและ ห้ามน�ำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์สามารถใช้ได้กับงานทุกชนิด ทีย่ งั ได้รบั ความคุม้ ครองตามกฎหมายลิขสิทธิอ์ ยู่ เช่น ข้อมูลการศึกษา ดนตรี ภาพถ่าย ฐานข้อมูล เป็นต้น อย่างใดก็ตาม งานประเภทเดียวทีค่ รีเอทีฟคอมมอนส์ไม่แนะน�ำให้ใช้แบบของสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิที่กล่าวมาคือ “คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์”


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

111


112

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

8. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ควรใช้สญ ั ญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์หรือไม่

เว็บไซต์ของครีเอทีฟคอมมอนส์แนะน�ำว่างานลิขสิทธิ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ไม่ควรใช้แบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ โดยแนะน�ำต่อว่าควรใช้แบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิทอี่ อกแบบเฉพาะส�ำหรับซอฟต์แวร์ แทน ยกตัวอย่างเช่น แบบสัญญาของ Free Software Foundation หรืออาจระบุให้ งานซอฟต์แวร์นั้นเป็นโอเพนซอร์ซ (open source) ในกรอบของ Open Source Initiative ไปเลยก็ได้ เหตุผลส่วนหนึ่งคือ แบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ได้ระบุถึง “source” และ “object code” และไม่ได้ออกแบบให้ใช้กับงานซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะ นอกจากนั้น สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ในปัจจุบันยัง ไม่เชื่อมต่อกับ GNU General Public License (GPL) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลส�ำคัญของ ฟรีซอฟต์แวร์หรือซอฟต์แวร์เสรี ที่ให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์มีเสรีภาพในการใช้งาน ศึกษา จ�ำหน่ายจ่ายแจก รวมทั้งปรับปรุงและเปิดให้คนทั่วไปใช้งานและพัฒนาต่อไป อย่างใดก็ตาม การน�ำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ไปใช้ กับซอฟต์แวร์ที่ถูกท�ำให้อยู่ในลักษณะของงานเอกสาร รวมทั้งงานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์ แยกออกมา ยกตัวอย่างเช่น เกมหรือดนตรี เป็นต้น เหล่านี้สามารถใช้แบบสัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ได้เหมือนงานลิขสิทธิ์อื่น ส�ำหรับงานที่เป็นฐานข้อมูลก็สามารถใช้แบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของ ครีเอทีฟคอมมอนส์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เวอร์ชัน 4.0 ล่าสุด มีแบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ออกแบบเพื่อใช้กับสิทธิในฐานข้อมูลโดยเฉพาะ ปัจจุบัน หน่วยราชการและผู้ให้อนุญาตจ�ำนวนมากใช้แบบสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของ ครีเอทีฟคอมมอนส์กับข้อมูลและฐานข้อมูลด้วย


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

ภาพจาก http://www.fsf.org/

113


114

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

9. การก�ำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ในองค์กรธุรกิจ

จากการที่ลิขสิทธิ์รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิผูกขาดในสิ่งที่ไม่มี รูปร่าง จึงมีการอ้างสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาได้กว้างขวางและมีความไม่แน่นอนสูง เมื่อรวมกับแนวโน้มของการเรียกร้องค่าเสียหายของทรัพย์สินทางปัญญาที่สูงขึ้น อย่างรวดเร็วทั่วโลก เป็นผลให้องค์กรธุรกิจรวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพหันมาให้ความส�ำคัญ ในการก�ำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาให้ชัดเจนขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง ทางกฎหมายลง แนวปฏิบตั ดิ งั กล่าวอาจอยูใ่ นรูปของ “code of conduct”, “code of practice” หรือ “guidelines” ก็ได้ นอกจากความจ�ำเป็นในการก�ำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา แล้ว การปรับปรุงหรือแก้ไขกฎเกณฑ์ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับองค์กรก็เป็นเรื่องส�ำคัญ ไม่แพ้กัน ในบางครั้ง ความเสี่ยงทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกปรับเปลี่ยนโดย เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับ บริษทั ซัมซุง ซึง่ มีการฟ้องร้องกันที่ U.S. District Court’s for the Northern District of California เกีย่ วกับการละเมิดสิทธิบตั รการออกแบบผลิตภัณฑ์และสิทธิอนื่ อีกหลายประเภท เมือ่ วันที่ 24 สิงหาคม ปี ค.ศ. 2012 คณะลูกขุนมีคำ� ตัดสินให้บริษทั แอปเปิลชนะพร้อมกับ ก�ำหนดค่าเสียหายรวมถึง 1,049,343,540 เหรียญสหรัฐ ซึง่ นับเป็นจ�ำนวนค่าเสียหายจาก การละเมิดสิทธิบตั รการออกแบบผลิตภัณฑ์ทสี่ งู ทีส่ ดุ เท่าทีเ่ คยมีมา ผลของคดีดงั กล่าวท�ำให้ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงประเภทโทรศัพท์มือถือและ แท็บเล็ต (tablet) ในสหรัฐอเมริกาต่างประกาศปรับเพิ่มล�ำดับความส�ำคัญของสิทธิบัตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ขององค์กรกันเป็นจ�ำนวนมาก เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารความเสี่ยงได้เหมาะสม กับสถานการณ์ใหม่มากขึ้น


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

115

โดยทัว่ ไป การก�ำหนดแนวปฏิบตั เิ กีย่ วกับทรัพย์สนิ ทางปัญญามีวตั ถุประสงค์ เพื่อน�ำมาใช้กับการจัดการและการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร โดยเนือ้ หาและรายละเอียดของแนวปฏิบตั ขิ องแต่ละองค์กรจะเป็นอย่างใด ย่อมต้องขึน้ อยู่ กับความต้องการขององค์กรนั้น อย่างใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด ประเด็นที่ควรก�ำหนด แนวปฏิบัติให้ชัดเจนน่าจะรวมถึง การก�ำหนดนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร นั้น การก�ำหนดขอบเขตของการใช้แนวปฏิบัติ การก�ำหนดความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทางปัญญา การใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาโดยคนในองค์กรและโดยบุคคลที่สาม การรักษาความลับ การแบ่งปันผลประโยชน์ และรวมไปถึงการระงับข้อพิพาท


116

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่มีการน�ำเอาการน�ำสัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์มาใช้

ภาพจาก http://www.greennet.or.th/


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

ภาพจาก https://www.thaicert.or.th/

117


118

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สวนที่ 5

แนวทางปองกันและโทษ

ที่เกี่ยวกับการละเมิด ทรัพยสินทางปญญาจากการใช

สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

119

1. แนวทางป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

ปัจจุบนั กล่าวได้วา่ เราอยูใ่ นยุคทีข่ าดการใช้สอื่ เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้ เห็นได้ชดั จากทีก่ ารใช้ชวี ติ ประจ�ำวันของคนส่วนใหญ่ขนึ้ อยูก่ บั การใช้สอื่ เทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบต่างๆ มากมาย ส�ำหรับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญานั้นสิ่งที่เปลี่ยนไปมากคือ โลกแอนะล็อก (analog) กับโลกดิจิทัล ในโลกแอนะล็อกสมัยก่อน การใช้งานทีเ่ กีย่ วกับทรัพย์สนิ ทางปัญญามีโอกาส ละเมิดไม่มากนัก ในขณะทีโ่ ลกดิจทิ ลั ของยุคสือ่ เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ท�ำได้โดยการท�ำซ�ำ ้ (copy, paste, post to the Web) การดัดแปลง (edit source) ซึง่ ล้วน เป็นการกระท�ำทีข่ ดั ต่อกฎหมายลิขสิทธิร์ วมทัง้ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาประเภทอืน่ เกือบทัง้ สิน้ ทัง้ นีเ้ พราะกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิง่ ลิขสิทธิ์ ต่างก�ำหนดไว้คล้ายกัน ว่าการท�ำซ�้ำหรือดัดแปลงไม่ว่าจะโดยรูปแบบใดท�ำไม่ได้ เว้นแต่ได้ขออนุญาตก่อน เป็นผล ให้รปู แบบของการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตทีก่ ล่าวมาล้วนมีความเสีย่ งต่อการละเมิดทรัพย์สนิ ทางปัญญาทั้งสิ้น ประเด็นส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความไม่ชัดเจนของทรัพย์สินทางปัญญา คุณสมบัติประการหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาคือเป็น “สิ่งไม่มีรูปร่าง (intangible)” คุณสมบัตนิ ชี้ ว่ ยให้การอ้างสิทธิผกู ขาดของทรัพย์สนิ ทางปัญญาท�ำได้กว้างขวางและครอบคลุม ไปทุกพืน้ ที่ แต่การทีไ่ ม่มรี ปู ร่างนีก้ เ็ ป็นผลให้การอ้างสิทธิตา่ งๆ ขาดความชัดเจน นอกจากนัน้ ในขณะทีค่ นส่วนใหญ่มคี วามรูค้ วามเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์ทมี่ รี ปู ร่างทัว่ ไปดีพอสมควร คนที่ ใช้งานทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีส่ นใจกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญากลับมีไม่มาก ซึง่ เท่ากับว่า คนส่วนใหญ่ก�ำลังท�ำงานไปพร้อมกับแบกความเสี่ยงทางกฎหมายเอาไว้ แนวทางป้องกันการละเมิดทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีจ่ ะกล่าวต่อไปเป็นแนวปฏิบตั ิ เบื้องต้นที่สามารถน�ำไปปรับใช้เพื่อป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในกรณีทั่วไป นอกจากนี้ การติดตามท�ำความเข้าใจและหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้งานแต่ละกรณีเป็น สิ่งส�ำคัญและจ�ำเป็น ส่วนกรณีปัญหากฎหมายที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจ�ำเป็นต้องได้รับ ค�ำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ


120

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(1) ท�ำความเข้าใจทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ละอย่างอาจเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทาง ปัญญามากกว่าหนึง่ อย่าง เช่น ในการออกแบบเว็บไซต์ ถ้ามีการใช้ภาพหรือใช้ขอ้ มูลก็อาจ เกีย่ วข้องกับลิขสิทธิ์ ถ้าอ้างหรือระบุถงึ สินค้าก็อาจเกีย่ วข้องกับเครือ่ งหมายการค้า เป็นต้น ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงต้องท�ำความเข้าใจทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถทราบถึง ความเสี่ยงของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญานั้น ในกรณีท่ีเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ผู้เขียนเรื่องสั้นลงในเว็บไซต์ ผู้ถ่ายภาพที่น�ำไปโพสต์ในเว็บไซต์ เป็นต้น กรณีเหล่านี้ก็จ�ำเป็นต้องเข้าใจขอบเขตของ ลิขสิทธิ์ว่างานดังกล่าวสามารถเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ และกฎหมายลิขสิทธิ์ม ี ข้อก�ำหนดให้สิทธิและข้อจ�ำกัดสิทธิอย่างใดบ้าง ในกรณีเป็นผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องแยกแยะและรู้ประเภทของ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีเ่ กีย่ วข้องกับงานของตนได้ เพราะว่าทรัพย์สนิ ทางปัญญาแต่ละประเภท มีขอบเขตของการคุม้ ครองและการละเมิดแตกต่างกัน การแยกแยะประเภทของทรัพย์สนิ ทางปัญญาจะช่วยให้ทราบถึงขอบเขตการคุม้ ครองทรัพย์สนิ ทางปัญญานัน้ เช่น กฎหมาย เครือ่ งหมายการค้าห้ามใช้เครือ่ งหมายทีเ่ หมือนหรือคล้ายกับเครือ่ งหมายการค้าทีจ่ ดทะเบียน ไว้แล้ว ในขณะที่ลิขสิทธิ์มีไว้คุ้มครองงาน 9 ประเภท กล่าวคือ (1) วรรณกรรม ซึง่ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทกุ ชนิดด้วย (2) นาฏกรรม (3) ศิลปกรรม (4) ดนตรีกรรม (5) โสตทัศนวัสดุ (6) ภาพยนตร์ (7) สิ่ ง บั น ทึ ก เสี ย ง (8) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (9) งานอื่นใด ในแผนกวรรณคดี วิ ท ยาศาสตร์ และศิลปะ เป็นต้น


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

121

(2) อย่าคิดว่าทุกอย่างฟรี โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต งานลิขสิทธิม์ อี ายุการคุม้ ครองยาวมาก โดยทัว่ ไปคือตลอดชีวติ ของผูส้ ร้างสรรค์ แล้วบวกอีก 50 ปีหลังจากถึงแก่ความตาย ดังนั้น งานลิขสิทธิ์ที่พบเห็นทั่วไปหรืองานที่ ค้นหาเจอในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แสนสะดวกรวดเร็วนั้น อย่าไปคิดว่าเป็นงานที่ไม่มี ลิขสิทธิ์ ข้ออ้างท�ำนองว่า “ผมเอามาจากอินเทอร์เน็ต” หรือ “ไม่เห็นมีบอกไว้ตรงไหน ว่างานนี้มีลิขสิทธิ์” ล้วนเป็นข้ออ้างที่ไม่ได้ผล ตัวอย่างเช่น คดีน�ำภาพถ่ายของผู้อื่นไป ท�ำปฏิทิน คดีน�ำท�ำนองเพลงไปใช้ในภาพยนตร์ ดังที่กล่าวมาแล้วในส่วนที่ 3 เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว งานทีส่ ามารถใช้ได้เต็มทีค่ อื งานทีเ่ ป็น “public domain” แล้ว หรืองานทีเ่ จ้าของลิขสิทธิอ์ นุญาตไว้ภายใต้สญ ั ญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึง่ สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลเฉพาะ เช่น Project Gutenberg http://www.gutenberg.org/, Free Software Foundation (FSF) http://www.fsf.org/, Creative Commons http://creativecommons.org/ เป็นต้น


122

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

123

(3) การใช้อย่างเป็นธรรม (fair use) มีความเสี่ยง การใช้อย่างเป็นธรรมเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่กฎหมายยอมให้ผู้ใช้ สามารถเข้าใช้งานนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ตราบเท่าที่การใช้งาน นัน้ ยังเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมอยู่ ดังนัน้ ถ้าเรามัน่ ใจว่าการใช้งานเป็นการใช้อย่างเป็นธรรม ก็สามารถใช้งานได้ ในกรณีที่ไม่มั่นใจ การอ้างว่าเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมนั้นถือเป็นข้อต่อสู้ที่ อ้างได้ แต่ควรต้องเข้าใจขอบเขตของการใช้อย่างเป็นธรรมเสียก่อน เหตุผลเพราะว่า การใช้อย่างเป็นธรรมเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและขึ้นอยู่กับการตีความว่าในแต่ละกรณีจะมี ขอบเขตแค่ไหน ดังนัน้ ถ้าไม่ใช่กรณีทเี่ ป็นการใช้อย่างเป็นธรรมอย่างชัดเจนแล้ว ก็ตอ้ งถือ เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงทางกฎหมายพอสมควร (4) ใช้ “public domain” สิง่ ทีไ่ ม่ได้รบั ความคุม้ ครองลิขสิทธิห์ รือสิง่ ทีเ่ ป็น “public domain” แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ (1) สิ่งที่ไม่เป็นงานลิขสิทธิ์ (2) งานที่เจ้าของลิขสิทธิ์สละลิขสิทธิ์ และ (3) งาน ที่สิ้นอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว รายละเอียดกล่าวมาแล้วในส่วนที่ 3 ข้อดีที่สุดของงานที่เป็น “public domain” คือ ทุกคนสามารถใช้งาน ทีเ่ ป็น “public domain” ได้โดยไม่ถกู จ�ำกัดการใช้ ไม่ตอ้ งขออนุญาตจากผูใ้ ด และไม่ตอ้ ง เสียค่าใช้จา่ ยในการใช้ ดังนัน้ การท�ำความเข้าใจขอบเขตของงานทีเ่ ป็น “public domain” และใช้งานเหล่านี้ ถือว่าเป็นเรือ่ งที่ช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมายได้ดี ข้อเสียที่ยงั มีอยู่คอื ปริมาณของงานเหล่านี้ยังจ�ำกัดอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานลิขสิทธิ์ใหม่


124

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(5) สร้างสรรค์งานเองดีกว่า แม้วา่ งานลิขสิทธิจ์ ำ� นวนมากใช้ระดับการสร้างสรรค์สงู แต่ระดับการสร้างสรรค์ ทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้เพือ่ ทีจ่ ะได้ลขิ สิทธิน์ นั้ เป็นเพียงระดับการสร้างสรรค์โดยทัว่ ไป ซึง่ ไม่ใช่ เรื่องยากและเป็นระดับที่ทุกคนสามารถสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น นายประยงค์ต้องการเขียนเรื่องสั้นใหม่ ถ้านายประยงค์ ไปลอกเนือ้ หาหรือไปลอกรายละเอียดในเรือ่ งสัน้ หรืองานวรรณกรรมของผูอ้ นื่ มาเขียนเป็น เรื่องสั้นใหม่ แม้ว่านายประยงค์ได้แต่งเรื่องราวเพิ่มเข้าไปด้วยหลายส่วนก็ตาม ก็ยังอาจ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่นได้ เป็นต้น แต่ถ้านายประยงค์เพิ่มความสร้างสรรค์มากขึ้น โดยยืมหรือเอาความคิดหรือ เอาโครงเรื่องกว้าง ๆ ของเรื่องสั้นหรืองานวรรณกรรมของผู้อื่นเท่านั้น แล้วมาสร้างสรรค์ รายละเอียดของเรื่องราวและตัวละครใหม่ กรณีนี้ท�ำได้ เพราะความคิดไม่ใช่สิ่งที่มีลิขสิทธิ์ และกฎหมายลิขสิทธิ์ก�ำหนดไว้ว่าไม่คุ้มครองความคิด การเพิ่มความสร้างสรรค์เข้าไป เช่นนี้ นอกจากท�ำให้ไม่ละเมิดลิขสิทธิผ์ อู้ นื่ แล้ว นายประยงค์ยงั จะกลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ งานเรื่องสั้นเรื่องใหม่ด้วย


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

125


126

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

2. การออกแบบเว็บไซต์กับประเด็นละเมิดลิขสิทธิ์

เรากล่าวถึงแนวทางป้องกันการละเมิดทรัพย์สนิ ทางปัญญาโดยทัว่ ไป ซึง่ แยก เป็นทางปฏิบัติ 5 ข้อกว้างๆ ส�ำหรับการออกแบบเว็บไซต์หรือท�ำเว็บไซต์ก็สามารถปรับใช้ แนวปฏิบตั ทิ งั้ 5 ข้อดังกล่าวได้เช่นกัน แต่ทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบ เว็บไซต์โดยตรงคือ “ลิขสิทธิ์” ซึ่งครอบคลุมหลายเรื่องและยังมีความชัดเจนไม่มากนัก หลายประเด็นหลายเรื่องยังไม่สามารถหาข้อยุติที่ตรงกัน และเป็นความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้ออกแบบเว็บไซต์ต้องทราบถึงความเสี่ยงทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนนี้จึงแยกมากล่าว ถึงแนวปฏิบัติเพิ่มเติมส�ำหรับผู้ออกแบบเว็บไซต์


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

127

(1) อย่าตกใจ ถ้ามีใครมาโต้แย้งหรือหาว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ (รวมทั้งทรัพย์สินทาง ปัญญาอืน่ ) ให้ทอ่ งไว้วา่ “อย่าตกใจ” ถ้ามีการข่มขูห่ รือการกระท�ำทีร่ นุ แรง ควรรีบขอให้ คนรอบข้างมาช่วยเป็นพยาน และควรรีบโทรศัพท์แจ้งคนทีส่ ามารถมาช่วยรับรูเ้ หตุการณ์ ให้มาทีเ่ กิดเหตุ สิง่ ส�ำคัญทีข่ าดไม่ได้คอื ถ่ายภาพและวิดโี อทุกอย่างให้มากทีส่ ดุ ไม่วา่ จะเป็น หน้าตาท่าทางของคนข่มขู่ ป้ายชื่อหรือต�ำแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่กล่าว อ้างว่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์พนื้ ฐานคือโทรศัพท์มอื ถือของท่าน อย่าลืมใช้ให้เป็น ประโยชน์มากที่สุด การโต้แย้งและพิสูจน์การละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์เป็น เรื่องที่ต้องใช้เวลาและมีข้อโต้แย้งมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การตรวจพิสูจน์ HTML หรือ CSS ว่าคัดลอกมาจริงหรือไม่ มีการแก้ไขมากน้อยแค่ไหนและในระดับใด ความคล้ายใน ส่วนอื่นเป็นการคัดลอกมาเหมือนทั้งหมดเลยหรือเพียงแค่คล้าย คล้ายเพียงใดและอยู่ใน ระดับของการใช้อย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นต้น ทุกประเด็นที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ ระยะเวลาตรวจสอบและไม่สามารถชี้ขาดว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ในทันที ดังนั้น การข่มขู่ว่าละเมิดลิขสิทธิ์จึงเป็นการรีบร้อนสรุปเกินไป ฉะนั้น “อย่าตกใจ” และ “อย่าตกใจ”


128

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

(2) ภาพ ปัญหายอดฮิตของการออกแบบเว็บไซต์รวมทัง้ การใช้งานจากอินเทอร์เน็ตคือ การใช้ภาพจากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด การ์ตูน หรือกราฟฟิก ทางปฏิบัติที่เหมือนกันของผู้ออกแบบเว็บไซต์จ�ำนวนมากคือ ต้องการภาพอะไรก็หาจาก กูเกิลหรือเว็บไซต์ภาพอื่น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือโดยทั่วไป ภาพที่หามาได้นั้นมี ลิขสิทธิ์ ดังนั้น พอเอาไปใช้งานเพื่อการพาณิชย์หรือหาก�ำไร ก็มีความเสี่ยงต่อการละเมิด ลิขสิทธิ์ มีขอ้ น่าสังเกตว่าเจ้าของลิขสิทธิภ์ าพในสมัยเดิมอาจใจดีและไม่คอ่ ยมาติดตาม ทวงถามมากนัก แต่ปจั จุบนั ซอฟต์แวร์ประเภททีใ่ ช้ตดิ ตามการใช้งานภาพมีราคาถูกลงและ ประสิทธิภาพมากขึน้ ตามล�ำดับ แถมบางเจ้าก็ปล่อยภาพเหมือนหลอกให้ใช้แล้วตามไปเรียก ร้องเงินจ�ำนวนมากก็มีให้เห็นให้ฟังอยู่บ่อยๆ ปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพจึงมี แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ผู้ใช้ภาพโดยคิดว่าฟรีจึงควรใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ทางเลือกทีน่ า่ สนใจอีกทางหนึง่ คือ ควรเริม่ จากการหาภาพทีเ่ จ้าของอนุญาต ให้ใช้กอ่ น เช่น หาจาก Creative Commons licensed บน Flickr หรือ StockXchng (sxc.hu) เป็นต้น

ภาพจาก http://www.freeimages.com/


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

129

(3) Platform Licensing, Open Source Software, Templates ปัจจุบนั ผูอ้ อกแบบเว็บไซต์สามารถดาวน์โหลด Platform Licensing, Open Source Software รวมทั้ง Templates ฟรีตามเว็บไซต์ต่างๆ มากพอสมควร ซึ่งหากใคร ต้องการทางเลือกแบบสบายใจ เว็บไซต์เหล่านี้น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีและสามารถน�ำ มาใช้งานได้ในระดับหนึ่ง อย่างใดก็ตาม การใช้งาน Platform Licensing และ Templates ส่วนใหญ่ ต้องยอมท�ำข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ต้อง “คลิก” ไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะมีข้อตกลงที่ พยายามผูกมัดบางอย่างรวมอยู่ จึงควรต้องอ่านท�ำความเข้าใจด้วย ส�ำหรับใครที่ไม่สนใจ อ่านเลย “คลิก” อย่างเดียวแล้วเอามาใช้ แสดงว่าก�ำลังอยู่ในกลุ่มที่ละเลยความเสี่ยงทาง กฎหมาย ข้อแนะน�ำเบื้องต้นคือควรใช้เวลาท�ำความเข้าใจข้อตกลงเหล่านี้บ้าง รวมทั้ง พยายามติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องด้วย ค�ำแนะน�ำกว้าง ๆ ส�ำหรับผู้ออกแบบเว็บไซต์ก็คือ ควรค�ำนึงถึงประเด็น ของลิขสิทธิแ์ ละระมัดระวังไม่ให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิใ์ นการท�ำงาน เพราะการออกแบบ เว็บไซต์มักต้องเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หลายอย่าง การค�ำนึงถึงประเด็น ของลิขสิทธิ์ จะช่วยให้ตดั สินใจได้ถกู ต้องและเหมาะสมมากขึน้ ยกตัวอย่าง หากมีทางเลือกทีต่ อ้ งเสียค่า ใช้จา่ ยบ้าง แต่สามารถยุตหิ รือลดความเสีย่ งในการละเมิดลิขสิทธิเ์ รือ่ งนัน้ ๆ ได้ อาจจะเป็น ทางเลือกที่ดีกว่าการประหยัดแต่ต้องแบกรับความเสีย่ งเอาไว้ เพราะว่าหากต้องกลายเป็น เรื่องโต้แย้งกันในภายหลัง น่าจะก่อให้เกิดภาระและค่าใช้จ่ายแก่ทุกฝ่ายมากกว่า


130

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

3. การบังคับสิทธิเมื่อมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

เราได้พดู ถึงประเภทของการใช้ทรัพย์สนิ ทางปัญญาในสือ่ เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปแล้วหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการใช้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา การใช้อย่างเป็นธรรม และการใช้งานที่เป็น public domain การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่กล่าวมาต่างเป็นประเภทการใช้ที่ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ในทางตรงข้าม หากมีการละเมิดทรัพย์สนิ ทางปัญญาเกิดขึน้ สิง่ ทีต่ ามมาคือ เจ้าของทรัพย์สนิ ทางปัญญาอาจตัดสินใจบังคับสิทธิทมี่ อี ยูต่ ามกฎหมาย และหากตกลงกัน ไม่ได้จริง ๆ อาจต้องมีการฟ้องคดีเพือ่ บังคับสิทธิ ส�ำหรับกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญาของ ไทยไม่ว่า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ต่างก�ำหนดวิธีการ ฟ้องคดีเพื่อบังคับสิทธิไว้ในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีสิทธิ เลือกการฟ้องคดีได้ 3 แนวทาง ซึง่ จะเลือกฟ้องทางใดทางหนึง่ ก็ได้ หรืออาจฟ้องหลายทาง ไปพร้อมกันก็ได้ ดังนี้ แนวทางแรก เจ้าของลิขสิทธิร์ วมทัง้ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาอืน่ อาจใช้ วิธฟี อ้ งคดีแพ่งเพือ่ เรียกร้องค่าเสียหาย โดยอาจขอให้ศาลมีคำ� สัง่ คุม้ ครองชัว่ คราวด้วยเพือ่ ยุติการละเมิดทันที หรือมีค�ำสั่งยึดเอกสารและวัตถุพยานจากผู้ละเมิดโดยเร็วที่สุด การยื่น ค�ำขอคุ้มครองดังกล่าวจะท�ำก่อนวันฟ้องก็ได้ หรือยื่นในวันที่ฟ้องคดี หรือหลังจากนั้นก็ได้ แนวทางทีส ่ อง เจ้าของลิขสิทธิร์ วมทัง้ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาอืน่ อาจ ไปแจ้งความต่อต�ำรวจ ต�ำรวจมีอ�ำนาจสอบสวนตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งควรต้องด�ำเนินการในลักษณะเดียวกับคดีอาญาประเภทอื่น หากต�ำรวจรับคดีไปสอบสวนจนแล้วเสร็จ ต�ำรวจจะเสนอส�ำนวนให้อัยการพิจารณาฟ้อง เป็นคดีอาญาต่อศาลต่อไป

แนวทางทีส ่ าม เจ้าของลิขสิทธิร์ วมทัง้ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาอืน่ อาจ เลือกฟ้องคดีอาญาเอง ซึ่งหมายถึงจ้างทนายความมาฟ้องคดีอาญาเอง เหตุผลที่ต้อง ฟ้องคดีอาญาเองมีหลายอย่างซึง่ แตกต่างกันออกไปในแต่ละข้อเท็จจริง เช่น เจ้าของทรัพย์สนิ ทางปัญญาต้องการควบคุมการด�ำเนินคดีเอง หรืออาจไปแจ้งความแล้วพบว่าต�ำรวจ ท�ำการสอบสวนล่าช้า ไม่ทันใจ เป็นต้น


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

131

ในทางปฏิบัติ เมื่อมีการโต้แย้งเรื่องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้น ขัน้ ตอนแรกหรือสิง่ แรกทีต่ อ้ งท�ำคือ การเจรจา โดยให้มกี ารท�ำความเข้าใจระหว่างเจ้าของ ทรัพย์สินทางปัญญากับผู้ที่อาจจะกระท�ำละเมิด เพื่อสอบถามให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ตรงกันทุกฝ่าย ซึ่งรวมทั้งประเด็นของจ�ำนวนค่าเสียหายที่เหมาะสม หากการเจรจาตกลง ไม่สามารถท�ำได้จริง ๆ จึงค่อยไปเลือกใช้ทางเลือกอื่น รวมทั้งการฟ้องคดีตามที่กล่าวมา


132

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

4. โทษที่เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

กฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญาในประเทศไทยทุกฉบับก�ำหนดโทษอาญาไว้ดว้ ย โดยมีฐานความผิดและอัตราโทษแตกต่างกันไปตามรายละเอียดในกฎหมายแต่ละฉบับ ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายลิขสิทธิแ์ ยกโทษอาญาส�ำหรับการท�ำละเมิดต่องานลิขสิทธิโ์ ดยตรง ไว้มาตราหนึ่ง (มาตรา 69 และ มาตรา 69/1) การท�ำละเมิดต่องานที่ท�ำขึ้นโดยละเมิด ลิขสิทธิ์อีกมาตราหนึ่ง (มาตรา 70) และการท�ำละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิหรือละเมิด มาตรการทางเทคโนโลยีอกี มาตราหนึง่ (มาตรา 70/1) แต่ละมาตราดังกล่าวแยกโทษอาญา ออกเป็น 2 กลุม่ คือ กลุม่ การละเมิดทัว่ ไปกับกลุม่ การละเมิดทีก่ ระท�ำเพือ่ การค้า ซึง่ มีอตั รา โทษแตกต่างกัน6 ทั้งนี้ โทษอาญาของกฎหมายลิขสิทธิ์ยังมีความผิดฐานอื่นๆ อีกอยู่ใน หมวด 8 (บทก�ำหนดโทษ) กฎหมายเครื่องหมายการค้าแยกโทษอาญาส�ำหรับการปลอมเครื่องหมาย การค้ากับการแปลงเครือ่ งหมายการค้า โทษจ�ำคุกและปรับของเครือ่ งหมายการค้าไม่มโี ทษ ขัน้ ต�ำ ่ ซึง่ เป็นผลดีให้การปรับโทษมีความยืดหยุน่ ดีกว่าโทษของกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กรณีของการละเมิดเครื่องหมายการค้ารายเล็กรายย่อยที่ผู้ต้องหาหรือจ�ำเลย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า มาตรา 69 ผูใ้ ดกระท�ำการละเมิดลิขสิทธิห์ รือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือ มาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระท�ำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระท�ำเพื่อการค้า ผู้กระท�ำต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่หกเดือนถึง สี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ มาตรา 69/1 ผูใ้ ดกระท�ำการละเมิดลิขสิทธิต์ ามมาตรา 28/1 ต้องระวางโทษจ�ำคุกตัง้ แต่หกเดือนถึงสีป่ ี หรือปรับ ตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจ�ำทั้งปรับ มาตรา 70 ผู้ใดกระท�ำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระท�ำความผิดตามวรรคหนึง่ เป็นการกระท�ำเพือ่ การค้า ผูก้ ระท�ำต้องระวางโทษจ�ำคุกตัง้ แต่สามเดือนถึง สองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ มาตรา 70/1 ผูใ้ ดกระท�ำการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตามมาตรา 53/1 หรือมาตรา 53/2 หรือละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี ตามมาตรา 53/4 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระท�ำความผิดตามวรรคหนึง่ เป็นการกระท�ำเพือ่ การค้า ผูก้ ระท�ำต้องระวางโทษจ�ำคุกตัง้ แต่สามเดือนถึง สองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ 6


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

133

อาจเป็นเพียงคนรับจ้างขายสินค้าไม่กชี่ นิ้ 7 ทัง้ นี้ โทษอาญาของกฎหมายเครือ่ งหมายการค้า ยังมีความผิดฐานอื่นๆ อีก อยู่ในหมวด 6 (บทก�ำหนดโทษ) กฎหมายสิทธิบตั รก�ำหนดโทษอาญาส�ำหรับการละเมิดสิทธิบตั รกับการละเมิด อนุสทิ ธิบตั รไว้แตกต่างกัน โทษจ�ำคุกและปรับของสิทธิบตั รไม่มโี ทษขัน้ ต�ำ ่ ซึง่ เป็นผลดีและ 8 ท�ำให้โทษมีความยืดหยุ่นดี ทั้งนี้ โทษอาญาของกฎหมายสิทธิบัตรยังมีความผิดฐานอื่นๆ อีก อยู่ในหมวด 6 (ความผิดและก�ำหนดโทษ) กฎหมายความลับทางการค้าก�ำหนดโทษอาญาส�ำหรับผู้เปิดเผยความลับ ทีเ่ ป็นบุคคลทัว่ ไปกับบุคคลทีม่ ตี ำ� แหน่งหน้าทีใ่ นการดูแลรักษาความลับ โทษจ�ำคุกและปรับ ของความลับทางการค้าไม่มโี ทษขัน้ ต�ำ่ 9 ทัง้ นี้ โทษอาญาของกฎหมายความลับทางการค้า ยังมีความผิดฐานอื่นๆ อีกอยู่ในหมวด 6 (บทก�ำหนดโทษ) พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติว่า มาตรา 108 บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ของบุคคลอืน่ ทีไ่ ด้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกินสีป่ ี หรือปรับไม่เกินสีแ่ สนบาทหรือ ทัง้ จ�ำทัง้ ปรับ มาตรา 109 บุคคลใดเลียนเครือ่ งหมายการค้า เครือ่ งหมายบริการ เครือ่ งหมายรับรอง หรือเครือ่ งหมายร่วมของ บุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครือ่ งหมายรับรอง หรือเครือ่ งหมายร่วมของบุคคลอืน่ นัน้ ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือ ทั้งจ�ำทั้งปรับ 8 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า มาตรา 85 บุคคลใดกระท�ำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 36 หรือมาตรา 63 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรง สิทธิบัตร ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ มาตรา 86 บุคคลใดกระท�ำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 36 โดยไม่ได้รับอนุญาต จากผู้ทรงอนุสิทธิบัตร ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ 9 พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติความลับทางการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า มาตรา 33 ผู้ใดเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำ� ให้ความลับทางการ ค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้า โดยเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการ ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะกระท�ำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ มาตรา 34 ผูใ้ ดโดยเหตุทตี่ นมีตำ� แหน่งหน้าทีใ่ นการดูแลรักษาความลับทางการค้า ตามระเบียบทีอ่ อกตามความ ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง เปิดเผยหรือใช้ความลับนั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ 7


134

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

มีขอ้ น่าสังเกตว่า ประเทศส่วนใหญ่ให้เจ้าของทรัพย์สนิ ทางปัญญาบังคับสิทธิ ของตนเองผ่านกระบวนการทางแพ่งเช่นเดียวกับการบังคับสิทธิทางแพ่งในเรื่องอื่น การด�ำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญามีน้อยและในบางเรื่องก็ไม่มี เช่น กฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ไม่มีบทบัญญัติโทษอาญา เป็นต้น


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

135

5. กรณีศึกษาของการละเมิดลิขสิทธิ์

(1) คดีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ข้อเท็จจริงในคดีนี้ จ�ำเลยเปิดให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในจังหวัดขอนแก่น โดยเอาแผ่นโปรแกรมอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มาสเตอร์คอนโทรลที่มีคนท�ำซ�้ำมาหรือที่เรียกกัน ว่า “แผ่นก็อป” มาใช้ภายในร้าน ปรากฏว่าบริษัทผู้เสียหายซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวทราบ จึงให้ต�ำรวจมาจับและพนักงานอัยการฟ้องเป็น คดีนี้โดยบรรยายฟ้องว่า จ�ำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ โดยน�ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งจ�ำเลยรู้อยู่ แล้วว่ามีผทู้ ำ� ขึน้ โดยละเมิดลิขสิทธิข์ องผูเ้ สียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและ บุคคลทั่วไปเพื่อค้าหาก�ำไร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า ค�ำฟ้องของโจทก์กล่าวเพียงว่าจ�ำเลยน�ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทีม่ ผี ทู้ ำ� ขึน้ โดยละเมิดลิขสิทธิม์ าใช้กบั เครือ่ งคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคล ทัว่ ไปเท่านัน้ มิใช่การกระท�ำให้ปรากฏซึง่ สิง่ ทีเ่ ป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค�ำสัง่ หรือ ชุดค�ำสัง่ ทีน่ ำ� ไปใช้กบั เครือ่ งคอมพิวเตอร์ตอ่ สาธารณชน ตามความหมายของค�ำว่า “เผยแพร่ ต่อสาธารณชน” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ดังนั้น การน�ำโปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่มีผู้ท�ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ บริการตามฟ้อง จึงมิใช่การเผยแพร่ตอ่ สาธารณชนซึง่ งานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามความหมายนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมาน�ำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้อง ของโจทก์ดังกล่าว ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจ�ำเลยตามฟ้องได้ (เทียบค�ำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 3285/2548)


136

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

มีข้อน่าสังเกตว่าคดีนี้ ประเด็นส�ำคัญในคดีนี้เป็นเรื่องความไม่ครบถ้วนใน การบรรยายฟ้องของพนักงานอัยการ ซึง่ เป็นผลให้ศาลฎีกายกฟ้อง แต่กส็ รุปจากค�ำวินจิ ฉัย ของศาลฎีกาได้ด้วยว่า การน�ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และ น�ำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไป ไม่ใช่การ “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” ตามความหมายของกฎหมายลิขสิทธิ์ เพราะไม่ถอื เป็นการกระท�ำให้ปรากฏซึง่ สิง่ ทีเ่ ป็นงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค�ำสัง่ หรือชุดค�ำสัง่ ทีน่ ำ� ไปใช้กบั เครือ่ งคอมพิวเตอร์ตอ่ สาธารณชน อย่างใดก็ตาม ปัจจุบัน มีหลายเว็บไซต์ที่เสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ใช้โดยไม่คดิ ค่าใช้จา่ ย หรือทีเ่ รียกว่า Open Source Software ซึง่ เป็นอีกทางเลือก หนึ่งที่ผู้ประกอบการรวมทั้งผู้ใช้งานทั่วไปควรพิจารณา และเป็นทางเลือกที่ช่วยลด ความเสี่ยงทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้นกับทั้งกิจการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่และผู้ประกอบ การเองด้วย (2) คดีร่มมิสทีน คดีนี้เกี่ยวข้องกับร่มมิสทีนซึ่งเป็นสินค้าส่งเสริมการขายของผลิตภัณฑ์มิสทีน ปัจจุบันมีผู้นิยมเก็บสะสมบรรดาสินค้าส่งเสริมการขายของแบรนด์ต่างๆ อยู่พอสมควร ผู้เก็บสะสมสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สะสมตามร้านขายของสะสมหลายแห่ง รวมไปถึงในเว็บไซต์ที่โพสต์ขายสินค้าส่งเสริมการขายเหล่านี้ ข้อเท็จจริงในคดีนี้ จ�ำเลยขายร่มมิสทีน 19 คัน ร่มมิสทีนดังกล่าวเป็นสินค้า ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ยี่ห้อมิสทีนที่มีเงื่อนไขว่า ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์มิสทีน ราคา 300 บาท มีสิทธิแลกซื้อร่มดังกล่าวได้ในราคา 59 บาท และมีระยะเวลาการขายใน ช่วงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ลักษณะของร่มมิสทีน ทีว่ า่ นีเ้ หมือนกับร่มทัว่ ไป เพียงแต่พนื้ ร่มมีภาพการ์ตนู โดราเอมอนอยูบ่ นพืน้ ร่ม ซึง่ เป็นภาพ ที่ได้ขออนุญาตใช้ภาพอย่างถูกต้องก่อนแล้ว โดยทั่วไป ถ้ามีคนนิยมสะสมและซื้อสินค้าส่งเสริมการขายชิ้นใด ก็ยิ่งจะเป็น ผลดีในด้านการประชาสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์นั้น และบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์น่าจะพอใจ


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

137

แต่ปรากฏว่าในกรณีนี้ ผลิตภัณฑ์มสิ ทีนไปเลือกตกลงพิมพ์การ์ตนู โดราเอมอน บริษทั ทีอ่ า้ ง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูนโดราเอมอนซึ่งได้รับค่าอนุญาตให้ใช้ภาพจากผลิตภัณฑ์ มีสทินไปแล้ว ต้องการมาตามเรียกร้องเงินจากคนที่ซื้อร่มมิสทีนไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ในคดีนี้ ผู้อ้างเป็นเจ้าของการ์ตูนโดราเอมอนให้ต�ำรวจ จับจ�ำเลยและให้พนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยชัดเจนว่า พนักงานอัยการบรรยายฟ้องคดีนี้ว่าจ�ำเลยละเมิด ลิขสิทธิ์ของบริษัทที่อ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูนโดราเอมอน ด้วยการน�ำร่มที่มี ภาพการ์ตูนโดราเอมอนที่มีผู้ท�ำซ�้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขาย แก่บุคคลทั่วไปเพื่อแสวงหาก�ำไรทางการค้า อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ภาพการ์ตนู โดราเอมอนทีอ่ ยูบ่ นร่มของกลางเป็นภาพทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้ใช้ได้เพือ่ ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์มสิ ทีนโดยถูกต้องแล้ว ร่มของกลางจึงไม่ใช่สนิ ค้าทีม่ ภี าพการ์ตนู ที่มีผู้กระท�ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น ไม่ว่าจ�ำเลยจะน�ำร่มไปขาย เสนอขาย หรือมีไว้ เพื่อขายแก่ใครก็ตาม ย่อมไม่เป็นความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ (เทียบค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18294/2555) มีขอ้ สังเกตว่า ถ้ามองจากด้านของบริษทั ทีอ่ า้ งเป็นเจ้าของลิขสิทธิภ์ าพการ์ตนู โดราเอมอนจะเห็นว่า บริษัทได้รับค่าตอบแทนจากผลิตภัณฑ์มิสทีนไปแล้วรอบหนึ่งเป็น ค่าอนุญาตให้ใช้ภาพบนร่ม แต่บริษัทต้องการค่าตอบแทนอีกเมื่อมีการซื้อขายร่มมิสทีนใน แต่ละครัง้ โดยอ้างท�ำนองว่าเจ้าของลิขสิทธิต์ อ้ งติดตามควบคุมหาประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ ที่มีภาพการ์ตูนดังกล่าวไปเรื่อย ๆ ซึ่งคดีนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าท�ำไม่ได้ เมื่อเป็น ภาพการ์ตูนโดราเอมอนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้โดยถูกต้องแล้ว ไม่ว่าจ�ำเลยหรือใครจะน�ำร่ม ไปขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายแก่ใครก็ตาม ย่อมไม่เป็นความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ ค�ำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้ตรงกับหลักกฎหมายในเกือบทุกประเทศ ที่เรียกว่า “หลักการสิ้นสิทธิ” หรือที่หลายประเทศเรียกว่า “exhaustion of rights” ผลคดีนี้แสดงให้เห็นว่าศาลฎีกาน�ำหลักการสิ้นสิทธิมาใช้ในกฎหมายลิขสิทธิ์


138

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

3) คดีสุภาพ เกิดแสง (Kirtsaeng v. John Wiley & Sons Inc.) ของ ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Supreme Court) (2013) ข้อเท็จจริงในคดีนี้ ดร.สุภาพ เกิดแสง เป็นคนไทยทีไ่ ปศึกษาทีม่ หาวิทยาลัย คอร์เนลในสหรัฐอเมริกา และจบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ในระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น ดร.สุภาพขอให้เพื่อนและญาติในเมืองไทยซื้อหนังสือต�ำราเรียน ของส�ำนักพิมพ์ John Wiley & Sons Inc. ที่พิมพ์เพื่อจ�ำหน่ายนอกสหรัฐอเมริกา (ซึ่งตั้ง ราคาขายไว้ถูกกว่าฉบับที่ขายอยู่ในสหรัฐอเมริกา) แล้วส่งมาให้ ดร.สุภาพที่สหรัฐอเมริกา เพื่อขายในสหรัฐอเมริกาผ่านอีเบย์ และรับก�ำไรจากส่วนต่างของราคา ข้อเท็จจริงในคดี ระบุว่า ดร.สุภาพขายหนังสือได้กำ� ไรเป็นเงินรวม 37,000 เหรียญสหรัฐ ต่อมา ส�ำนักพิมพ์ John Wiley & Sons Inc. ฟ้อง ดร.สุภาพในศาลอเมริกันว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ฝ่าย ดร.สุภาพมองว่าหนังสือก็เหมือนสินค้าอืน่ เหมือนเราซือ้ เสือ้ ผ้า รองเท้า หรือรถยนต์มาแล้ว ซือ้ มาแล้วเราไม่ชอบ ก็เอาไปขายต่อได้หรืออาจซือ้ มาเพือ่ ขายเอาก�ำไร ก็ได้เช่นกัน เมื่อซื้อหนังสือในคดีนี้มาโดยถูกต้อง ก็ต้องเอาไปขายต่อได้เหมือนกัน หลักกฎหมายลิขสิทธิท์ ใี่ ช้อา้ งก็คอื หลักการซือ้ ครัง้ แรก (first-sale doctrine) ซึง่ คือ หลักเดียว กับที่หลายประเทศเรียกว่า “exhaustion of rights” ฝ่ายส�ำนักพิมพ์อ้างว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาให้อ�ำนาจเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในการควบคุมการน�ำเข้า (importation) ไว้ในมาตรา 602(a)(1) ได้ด้วย เพราะฉะนัน้ เจ้าของลิขสิทธิต์ อ้ งผูกขาดควบคุมการน�ำเข้าได้ การที่ ดร.สุภาพน�ำเข้าสินค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากส�ำนักพิมพ์จึงละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลชั้นต้นและศาลในชั้นอุทธรณ์ตัดสินให้ ดร.สุภาพแพ้


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

139

ในที่สุด ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกามีค�ำพิพากษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ปี ค.ศ. 2013 ด้วยเสียงข้างมาก (6 ต่อ 3) ให้ ดร.สุภาพเป็นฝ่ายชนะ โดยวินจิ ฉัยประเด็น ส�ำคัญว่า “หลักการขายครัง้ แรก” (first sale doctrine) ตามกฎหมายลิขสิทธิอ์ เมริกนั (มาตรา 109(a)) ใช้กบั สินค้าทีผ่ ลิตขึน้ และมีการซือ้ ขายครัง้ แรกโดยชอบ เมือ่ เป็นสินค้า ที่ชอบและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว คนที่ซื้อสินค้าไปมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากสินค้านั้น อย่างใดก็ได้ อย่างเช่น อาจจะน�ำไปเก็บไว้ใช้เอง เอาไปขายต่อ เอาไปแจก เอาไปเก็บ ก็ตอ้ งท�ำได้หมด เจ้าของลิขสิทธิไ์ ด้รบั เงินหรือผลตอบแทนไปแล้ว จะมาติดตามวุน่ วาย กับสินค้าชิ้นที่ขายแล้วไม่ได้ เหมือนกันสินค้าอื่นทั่วไปทุกประการ แม้ตอ่ มาสินค้าดังกล่าวถูกน�ำเข้าจากต่างประเทศกลับมาขายในสหรัฐอเมริกา ผู้ซื้อและผู้ขายต่างยังสามารถอ้างสิทธิในหลักการขายครั้งแรกได้เช่นกัน ในคดีนี้ เมื่อ ดร.สุภาพซื้อหนังสือทั้ง 8 ปกดังกล่าวไปโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แม้เป็นการซื้อขายนอกสหรัฐอเมริกาและต่อมาส่งหนังสือดังกล่าวเข้าไปในสหรัฐเพื่อขาย อีกครัง้ หนึง่ ดร.สุภาพก็สามารถอ้างสิทธิใน “หลักการขายครัง้ แรก” ได้ เจ้าของลิขสิทธิจ์ ะ ตามมาขอควบคุมการจ�ำหน่ายสินค้าหนังสือดังกล่าวอีกไม่ได้ มีข้อสังเกตว่า ประเด็นในคดีสุภาพ เกิดแสง กับคดีร่มมีสทินที่เพิ่งกล่าวมา เป็นประเด็นเดียวกันคือ “หลักการสิ้นสิทธิ” (exhaustion of rights) ในกฎหมาย ลิขสิทธิ์ หรือที่สหรัฐอเมริกาเรียกว่า “หลักการขายครั้งแรก” (first sale doctrine) ในส่วนถัดไปจึงขอน�ำค�ำวินิจฉัยบางส่วนของศาลทั้งสองประเทศมาเปรียบเทียบ ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาให้เหตุผลไว้ตอนหนึง่ ว่ามีความจ�ำเป็นต้องตัด หรือยุติสิทธิผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้ ณ จุดที่มีการขายครั้งแรก ไม่เช่นนั้น สังคม คงวุ่นวายไปหมด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีวิดีโอเกมที่ซื้อมาจากญี่ปุ่น มีแผ่นหนังที่ซื้อมาจาก เยอรมนี หรือมีชุดแฟชั่นดีไซน์ที่ซ้ือมาจากจีน แล้วเจ้าของลิขสิทธิ์มาห้ามไม่ให้เราขายต่อ หรือห้ามน�ำไปให้คนอื่นได้ ทุกคนที่มีสินค้าที่ซื้อมาจากต่างประเทศคงเสียหายและวุ่นวาย ทีเดียว ท�ำนองเดียวกัน คนอเมริกันและพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาที่ซื้องานศิลปะ


140

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

ภาพวาด หรือแม้กระทัง่ โปสเตอร์ภาพจากต่างประเทศ ถ้าจะน�ำงานออกแสดงต่อสาธารณะ ต้องไปขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนหรือไม่ แล้วบรรดาครูบาอาจารย์รวมทั้งห้องสมุดที่ ซือ้ อุปกรณ์ชว่ ยสอนหรือหนังสือจากต่างประเทศ ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิก์ อ่ นน�ำไป ใช้หรือเปล่า ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาเห็นว่ากรณีเหล่านี้ ถ้ายอมให้เจ้าของลิขสิทธิ์มา อ้างสิทธิผูกขาดเพื่อเรียกร้องเงินอีก คงท�ำให้หลายภาคส่วนในสังคมโกลาหลเกินไป ค�ำพิพากษายังกล่าวถึงประเด็นท้วงติงส�ำคัญจากภาคอุตสาหกรรมว่า อุตสาหกรรมรถยนต์และชิน้ ส่วน เครือ่ งใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์เคลือ่ นที่ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ทีเ่ ป็นของบริษทั อเมริกนั ล้วนประกอบด้วยชิน้ ส่วนต่างๆ ซึง่ เป็นลิขสิทธิข์ องบริษทั อเมริกนั แต่จ้างผลิตในประเทศอื่น แล้วน�ำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ถ้าศาลปล่อยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ อ้างสิทธิผูกขาดหลังการขายได้ ก็จะท�ำให้ผู้ซื้อสินค้าเหล่านี้ต้องไปขออนุญาตจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ก่อนที่น�ำสินค้าไปขายต่อ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ สินค้าบางอย่างประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อรถยนต์ มาแล้วจะขายต่อ ก็ตอ้ งตามไปขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิใ์ นชิน้ ส่วนแต่ละชิน้ จนครบทัง้ คัน ก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจซื้อขายน�ำเข้าซึ่งรวมถึงสินค้าพวกหนังสือ ประเภทต่างๆ เพลง ภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมบันเทิงจากต่างประเทศทีใ่ นปี ค.ศ. 2011 มีมลู ค่า กว่า 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในสหรัฐอเมริกาต้องมีผลกระทบอย่างรุนแรงในทางลบ ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาสรุปว่าปัญหาทัง้ หมดดังกล่าวน�ำไปสูผ่ ลค�ำวินจิ ฉัย ให้ตัดหรือยุติสิทธิผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้ ณ จุดที่มีการขายครั้งแรก ส่วนคดีร่มมิสทินนั้นคงกล่าวได้ว่า ศาลฎีกาเลือกที่จะก�ำหนดขอบเขตสิทธิ ผูกขาดในลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูนโดราเอมอนให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม และศาลฎีกาเลือกที่ จะให้ความส�ำคัญกับการรักษาประโยชน์สาธารณะเพือ่ น�ำมาเพิม่ สมดุลให้เหมาะสมขึน้ เป็น แนวทางที่สอดคล้องกันกับแนวทางของศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

6. กรณีศึกษาของการละเมิดเครื่องหมายการค้า

(1) คดีป้ายกาแฟสตาร์บัง (STARBUNG)

141

STARBUCKS v. “STARBUNG” logo ข้อเท็จจริงในคดีนี้ จ�ำเลยเป็นหนุ่มมุสลิมใช้รถเข็นขายกาแฟและชาอยู่บริเวณ ริมถนนพระอาทิตย์ กาแฟที่ขายเป็นกาแฟบดที่ตักใส่ถุงผ้ากรอง แล้วใช้น�้ำร้อนชงผ่าน แบบทีใ่ ช้กนั มาแต่เดิม กาแฟเย็นราคาถ้วยละ 30 บาท ต่อมามีลกู ค้าประจ�ำหวังดีออกแบบ เป็นโลโก้ให้ เพือ่ ไว้แขวนทีร่ ถเข็น โดยตัง้ ชือ่ หรูให้วา่ “สตาร์บงั ” หรือ STARBUNG พร้อม ภาพหนุ่มมุสลิมถือกระบวยกาแฟแถมชูสองนิ้ว ซึ่งน่าจะเป็นการออกแบบล้อเลียนภาพ นางเงือกสองหางของสตาร์บัคส์ ปรากฏว่าได้ผล เพราะมีแฟนกาแฟหลายคนข�ำไปด้วย หลายคนขอถ่ายภาพรถเข็น กาแฟแล้วเอาไปโพสต์ในอินเทอร์เน็ตสนุกสนาน แต่ปรากฏว่า พอสตาร์บคั ส์ (STARBUCKS) ทราบเรือ่ งไม่สนุกด้วย ต่อมา สตาร์บคั ส์ให้ทนายความส่งหนังสือโต้แย้งสิทธิทเี่ รียกกันทัว่ ไป ว่าโนติส (Notice) แจ้งให้ระงับและยุติการละเมิดเครื่องหมายทางการค้า จ�ำเลยแย้งว่า ไม่ได้ละเมิดเครื่องหมายการค้าและไม่เคยคิดน�ำโลโก้ดังกล่าวไปจดเครื่องหมายการค้าเลย อย่างใดก็ตาม จ�ำเลยยอมปรับเปลีย่ นโลโก้ดงั กล่าวบางส่วนให้ แต่หลังจากสตาร์บคั ส์ดโู ลโก้ ที่เปลี่ยนแล้วยังเห็นว่าละเมิดเครื่องหมายการค้าอยู่


142

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สุดท้าย สตาร์บคั ส์ยนื่ ฟ้องต่อศาลทรัพย์สนิ ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กลางเป็นคดีเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งและฟ้องให้ลงโทษอาญาแก่จำ� เลยด้วยในคดีเดียวกัน ขอศาลให้สงั่ ห้ามไม่ให้จำ� เลยละเมิดสิทธิในเครือ่ งหมายการค้าและเครือ่ งหมายบริการของโจทก์ ให้ยุติการเลียนและยุติจ�ำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียน ให้ริบสินค้าที่เลียน และให้ท�ำลายสินค้าดังกล่าว โดยให้จ�ำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายและให้ช�ำระค่าเสียหาย 300,000 บาท พร้อมดอกเบีย้ กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 30,000 บาท พร้อมค่าทนายความ พร้อมกับการฟ้องคดีนี้ สตาร์บคั ส์ยนื่ ค�ำร้องขอคุม้ ครองชัว่ คราว ขอให้ศาลมีคำ� สัง่ ห้ามมิให้จ�ำเลยใช้เครื่องหมายรูปประดิษฐ์ และค�ำ “STARBUNG COFFEE” กับสินค้า ของจ�ำเลย ศาลเห็นด้วยกับสตาร์บคั ส์และออกค�ำสัง่ คุม้ ครองชัว่ คราวตามทีส่ ตาร์บคั ส์ขอมา ต่อมา สตาร์บคั ส์ยนื่ ค�ำร้องขอให้ศาลจับจ�ำเลยมากักขัง เพราะจ�ำเลยได้รบั หมายห้ามชัว่ คราว ของศาลแล้ว แต่ยังคงใช้เครื่องหมายอยู่ คราวนี้ ศาลไต่สวนแล้วมีค�ำสั่งยกค�ำร้องของ สตาร์บัคส์ คดีนี้ โชคดีว่าในที่สุดทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้นอกศาล โดยจ�ำเลยยอม เปลีย่ นโลโก้อกี ครัง้ ตามรายละเอียดทีต่ กลงกัน และฝ่ายสตาร์บคั ส์ยอมถอนฟ้องคดีนี้ (เทียบ จากส�ำนวนคดีหมายเลขแดงที่ อ.4639/2556 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศกลาง) มีข้อสังเกตว่า การน�ำเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงของผู้อื่นมาแปลงเพื่อล้อเลียนใน ลักษณะนี้ หลายประเทศถือว่าเป็นเรือ่ งของ “การล้อเลียนเครือ่ งหมาย” หรือ “trademark parody” ซึ่งแตกต่างจากการละเมิดเครื่องหมายการค้าทั่วไป วัตถุประสงค์หลักของเครื่องหมายการค้าคือ ลดภาระและเวลาของผู้บริโภค ในการเลือกสรรสินค้าที่ประสงค์จะซื้อหรือจะใช้ ดังนั้น กฎหมายเครื่องหมายการค้า จึงห้ามการปลอมเครือ่ งหมายการค้าไปใช้ทงั้ ชิน้ และห้ามการเลียนแบบเครือ่ งหมายการค้า ที่คล้ายมากจนถึงขนาดที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคอาจจะสับสน (confusion) หรือหลงผิด ไปว่าเป็นสินค้าของเจ้าทีต่ นเองตัง้ ใจจะมาซือ้ ส่วนเรือ่ งของการล้อเลียนเครือ่ งหมายนัน้ ถ้าสามารถออกแบบ จนเป็นเครื่องหมายที่ล้อเลียนจริง (true trademark parody) ก็แสดงว่าลูกค้าหรือ ผู้บริโภคไม่ได้สับสนและกลายเป็นเรื่องล้อเล่นตลกกันในสังคม ซึ่งหลายประเทศยอมให้ท�ำได้


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

143

กรณีของการใช้โลโก้ “STARBUNG” กับรถเข็นกาแฟที่จอดขายอยู่ริมถนน โดย เป็นกาแฟบดที่ใช้น�้ำร้อนชงผ่านถุงผ้ากรองแบบที่ใช้กันมาแต่เดิม ราคาถ้วยละ 30 บาท อย่างในกรณีนี้ น่าคิดเหมือนกันว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคทั่วไปเห็นรถเข็นคันนี้แล้ว นึกสับสน หรือเข้าใจผิดไปว่ารถเข็นกาแฟแบบนีเ้ ป็นสาขาใหม่ของกาแฟสตาร์บคั ส์ หรือน่าจะเป็นรถ เข็นกาแฟที่สตาร์บัคส์เป็นเจ้าของหรือมีส่วนเป็นเจ้าของหรือไม่ (2) คดี Charbucks (Starbucks Corp. v. Wolfe’s Borough Coffee, Inc.) ของ U.S. Court of Appeals for the Second Circuit (2013) ข้อเท็จจริงในคดีนี้ จ�ำเลยเป็นร้านขายกาแฟเล็กๆ ในมลรัฐนิวแฮมเชีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา ขายทั้งกาแฟเป็นแก้วและเมล็ดกาแฟคั่วที่ลูกค้าซื้อกลับไปชงเองหลายชนิด ต่อมา ในปี ค.ศ. 1997 จ�ำเลยปรับระดับความเข้มของการคัว่ เมล็ดกาแฟชนิดหนึง่ ให้เข้มขึน้ แล้ ว ใช้ ชื่ อ กาแฟคั่ ว เข้ ม นี้ ว ่ า “Charbucks Blend” “Mister Charbucks” และ “Mr. Charbucks” ซึง่ ในขณะทีใ่ ช้ชอื่ ดังกล่าว จ�ำเลยรูจ้ กั ผลิตภัณฑ์ของ Starbucks แล้ว

CHARBUCKS v. STARBUCKS logo ภาพจาก http://ddifo.org/charbucks-beats-starbucks-appeals-court-decision/


144

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

หลังจากทราบเรื่อง Starbucks ไม่พอใจกับการใช้ชื่อดังกล่าวและต่อมาฟ้องคดี จ�ำเลยเป็นคดีแพ่งใน ปี ค.ศ. 2001 ว่าละเมิดเครื่องหมายการค้าเพราะท�ำให้เครื่องหมาย Starbucks เสียหาย (dilution) และขอให้ศาลสั่งห้ามจ�ำเลยใช้เครื่องหมาย Charbucks ทั้งหมด ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในเดือนธันวาคม 2005 โดยวินิจฉัยว่า Starbucks ไม่สามารถแสดงให้วา่ เกิดความเสียหายในเครือ่ งหมายการค้าของตนจริง รวมทัง้ ไม่ปรากฏ ว่าอาจจะเกิดความเสียหายดังกล่าวที่จะเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าได้ ฝ่าย Starbucks อุทธรณ์ แต่ในระหว่างอุทธรณ์ รัฐสภาแก้ไขกฎหมายเครื่องหมาย การค้า ซึ่งมีส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จะพิสูจน์การเกิด ความเสียหายได้ง่ายขึ้น ศาลอุทธรณ์จึงมีค�ำสั่งยกอุทธรณ์และคืนส�ำนวนไปให้ศาลชั้นต้น พิจารณาใหม่ตามองค์ประกอบของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ในรอบที่สอง ศาลชั้นต้นน�ำบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขมาปรับใช้แล้ววินิจฉัยว่า ยังไม่ปรากฏว่าเครื่องหมาย Charbucks จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อลักษณะบ่งเฉพาะ ของ Starbucks และพิพากษายกฟ้องอีก Starbucks อุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็น และพยานหลักฐานไม่ถกู ต้องหลายส่วน จึงยกอุทธรณ์และมีคำ� สัง่ ให้ศาลชัน้ ต้นวินจิ ฉัยใหม่ อีกครั้งตามประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ก�ำหนด ในรอบที่สาม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประเด็นที่ศาลอุทธรณ์มีค�ำสั่งและพิพากษา ยกฟ้องอีกครั้งหนึ่ง โดยเห็นว่า Starbucks ไม่สามารถน�ำสืบพยานหลักฐานให้เห็นได้ว่า เครื่องหมาย Charbucks จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ Starbucks Starbucks อุทธรณ์เป็นรอบที่สาม คราวนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้ยกฟ้อง ของ Starbucks โดยวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่ามีการใช้หรือแสดงความเกี่ยว พันกันระหว่างเครื่องหมายของ Starbucks กับ Charbucks แต่ประการใด ยิ่งเมื่อมองว่า Starbucks เป็นเครือ่ งหมายทีม่ ชี อื่ เสียงแพร่หลายอยูแ่ ล้ว ยิง่ น่าเชือ่ ได้วา่ คนทัว่ ไปไม่ได้คดิ ว่า Starbucks มีความเกี่ยวพันกับเครื่องหมาย Charbucks ดังนั้น เมื่อ Starbucks ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่ามีโอกาสที่เครื่องหมายของ Starbucks จะเสียหาย (dilution)


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

145

อีกทัง้ แบบสอบถามที่ Starbucks ใช้อา้ งเป็นแบบสอบถามทีไ่ ม่ได้มาตรฐาน และเครือ่ งหมาย ทัง้ สองมีความคล้ายกันไม่มาก ค�ำวินจิ ฉัยของศาลชัน้ ต้นทีไ่ ม่ออกค�ำสัง่ คุม้ ครองชัว่ คราวและ ยกฟ้องมาจึงถูกต้องแล้ว มีข้อสังเกตว่า ประเด็นพิพาทของคดีระหว่าง Starbucks กับ Charbucks ใน ศาลอเมริกัน และคดีระหว่าง Starbucks กับ Starbung ในศาลไทยเป็นประเด็นที่คล้าย กัน ส่วนถ้าจะเปรียบเทียบลักษณะของสินค้าและร้านค้าจะเห็นว่า สินค้าของ Charbucks ดูจะมีโอกาสคล้ายสินค้าของ Starbucks มากกว่า Starbung หลายประเด็น Charbucks เป็นร้านกาแฟทีม่ สี ถานทีแ่ น่นอน มีโต๊ะเก้าอี้ มีพนักงาน ผลิตภัณฑ์ ที่ขายมีทั้งกาแฟที่ชงเป็นแก้ว แถมเป็นกาแฟที่ท�ำจากเครื่องเอสเพรสโซ นอกจากนั้น ยัง ขายกาแฟเมล็ดคั่ว ในลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ของ Starbucks คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ของ สหรัฐอเมริกาไม่ออกค�ำสั่งคุ้มครองให้ Starbucks และยกฟ้องไป แต่กรณีของ Starbung นั้น เป็นกาแฟรถเข็นที่ตั้งอยู่ริมถนน และเป็นกาแฟชงด้วยน�ำ้ ร้อนผ่านถุงผ้ากรอง ซึง่ ไม่ว่า จะดูจากผลิตภัณฑ์กาแฟหรือดูจากภาพรวมก็แตกต่างจากกาแฟสตาร์บัคส์มาก อย่างน้อย แตกต่างกว่าของ Charbucks มาก คดีนี้ ศาลไทยมีค�ำสั่งคุ้มครองให้ Starbucks โชคดีที่ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้เองและ Starbucks ยอมถอนฟ้อง


146

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

7. กรณีศึกษาของการละเมิดสิทธิบัตร

คดีสิทธิบัตรการออกแบบของแบบพิมพ์อะลูมิเนียม ข้อเท็จจริงคดีนี้ กรมทรัพย์สนิ ทางปัญญาให้สทิ ธิบตั รการออกแบบผลิตภัณฑ์ เกีย่ วกับแบบพิมพ์อะลูมเิ นียมทีใ่ ช้ในการตัดดอกไม้ทที่ ำ� จากดินหรือตัวตัดดินไปรวม 3 ฉบับ ต่อมา โจทก์ซงึ่ เป็นผูส้ อนหลักสูตรการประดิษฐ์ดอกไม้ในวิทยาลัยการอาชีพได้รบั ผลกระทบ และเห็นว่าการออกสิทธิบตั รการออกแบบผลิตภัณฑ์ดงั กล่าวไม่ถกู ต้อง จึงมาฟ้องขอให้ศาล เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ความจริง กฎหมายสิทธิบัตรก�ำหนดไว้อยู่แล้วว่า สิทธิบัตรการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ต้องเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหมายความว่าต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือ ใช้แพร่หลายอยูแ่ ล้วในราชอาณาจักร หรือได้มกี ารเปิดเผยภาพ สาระส�ำคัญหรือรายละเอียด ในเอกสารหรือสิง่ พิมพ์ทไี่ ด้เผยแพร่อยูแ่ ล้วไม่วา่ ในหรือนอกราชอาณาจักร ซึง่ กรมทรัพย์สนิ ทางปัญญามีหน้าที่ต้องตรวจสอบก่อนที่จะให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไป ในคดีนี้ ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานได้วา่ จ�ำเลยซึง่ ผูท้ ไี่ ปขอ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไปเรียนรู้วิชาท�ำแบบพิมพ์ดอกไม้จากโจทก์ ต่อมา โจทก์ จ้างจ�ำเลยให้ท�ำแบบพิมพ์เพื่อใช้สอนนักเรียนในหลักสูตรการประดิษฐ์ดอกไม้ แล้วจ�ำเลย น�ำแบบไปขอจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์น�ำรูปแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาจากเอกสาร ทางวิชาการและนิตยสารที่ได้มีการพิมพ์เผยแพร่ทั่วไป แบบพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นแบบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระส�ำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้ เผยแพร่อยูแ่ ล้วในราชอาณาจักรก่อนวันทีข่ อรับสิทธิบตั ร ไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ใหม่ตามกฎหมายสิทธิบัตร และเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ จึงต้องเพิกถอน (เทียบค�ำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 13909/2555)


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

147

มีข้อสังเกตว่า เมื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รับสิทธิบัตรไป ผูน้ นั้ ย่อมมีสทิ ธิผกู ขาดในการใช้แบบผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้รบั สิทธิบตั รแต่เพียงผูเ้ ดียว และสามารถ ห้ามไม่ให้ผู้อื่นใช้แบบผลิตภัณฑ์นั้นด้วย ดังนั้น กฎหมายจึงต้องก�ำหนดเงื่อนไขส�ำคัญไว้ ว่า แบบผลิตภัณฑ์นั้นต้องใหม่ ในคดีนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ชัดว่าผู้ขอสิทธิบัตรเอาแบบ มาจากเอกสารวิชาการและนิตยสารที่พิมพ์เผยแพร่อยู่ทั่วไป จึงไม่สามารถขอรับสิทธิบัตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ แม้กรมทรัพย์สทิ างปัญญาออกให้ไปโดยไม่ตรวจสอบให้ดี ก็ตอ้ ง ถือว่าสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบและต้องเพิกถอน


148

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

8. กรณีศึกษาของการละเมิดความลับทางการค้า คดีข้อมูลรายชื่อและที่อยู่ของลูกค้า ข้อเท็จจริงคดีนี้ จ�ำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ ต่อมา โจทก์พบว่าจ�ำเลย น�ำรายชื่อและที่อยู่ของลูกค้า พร้อมกับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งก�ำเนิดสินค้า ประเภทสินค้า ชื่อสินค้าและราคาไปเปิดเผยต่อผู้อื่น โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีนี้ว่าจ�ำเลยท�ำให้โจทก์เสียหาย จากการเปิดเผยความลับทางการค้า ขอเรียกค่าเสียหาย 5,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย และให้ใช้เงินอีกปีละ 5,000,000 บาทนับแต่วันฟ้อง ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า กฎหมายก�ำหนดความหมายของความลับทางการค้าไว้วา่ “ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้ว ต้องเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากเป็น ความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสม เพือ่ รักษาไว้เป็นความลับ” แต่ทางน�ำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีระบบการควบคุมเอกสาร ทีห่ า้ มมิให้บคุ คลทีไ่ ม่มหี น้าทีเ่ กีย่ วข้องเข้าถึงเอกสารทีอ่ า้ งว่าเป็นความลับ จึงไม่มมี าตรการ ป้องกันมิให้ขอ้ มูลรัว่ ไหลไปถึงบุคคลทีไ่ ม่เกีย่ วข้องโดยตรง กรณีฟงั ได้วา่ โจทก์ไม่มมี าตรการ ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับตามความหมายของบทบัญญัติ ดังกล่าว ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อและสถานที่อยู่ของลูกค้าของโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นความลับ ทางการค้า (เทียบค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10217/2553) มีข้อสังเกตว่า สิ่งที่จะเป็นความลับทางการค้าได้ต้องมีองค์ประกอบ ครบถ้วนตามกฎหมาย ซึง่ ต้องเป็นข้อมูลการค้าซึง่ ไม่รจู้ กั กันโดยทัว่ ไป หรือยังเข้าถึงไม่ ได้ในหมูบ่ คุ คล ยกตัวอย่างเช่น สูตรลับหรือเทคนิคเฉพาะเรือ่ งทีซ่ บั ซ้อนและไม่รจู้ กั กันโดย ทั่วไป เป็นต้น การอ้างข้อมูลทั่วไปหรือข้อมูลอะไรก็ได้อย่างที่เกิดขึ้นในคดีนี้ ไม่สามารถ เป็นความลับทางการค้าตามกฎหมาย เพราะไม่มอี งค์ประกอบของความลับทางการค้าเลย ส่วนทีศ่ าลฎีกามองต่อไปถึงมาตรการเพือ่ รักษาความลับนัน้ น่าจะเป็นประเด็นทีต่ อ้ งพิจารณา ต่อไปหากข้อมูลที่อ้างสามารถเป็นความลับทางการค้าได้ อย่างใดก็ตาม คดีนี้เป็นตัวอย่าง ของการอ้างและการใช้กฎหมายความลับทางการค้าที่น่าจะพอน�ำไปปรับใช้ต่อได้


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

149


150

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

151


152

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

สวนที่ 6

บทสรุป


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

153

ด้วยปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนไปสู่ยุคของข้อมูลข่าวสารที่สามารถสร้างข้อมูล เผยแพร่ แบ่งปัน และพัฒนา ท�ำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ได้มากขึ้น ประกอบกับ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สามารถจะหลอมรวมสื่อให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้ท�ำให้ เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นและหลากหลายขึ้น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี สารสนเทศมีบทบาทอย่างมากในการท�ำให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์ และเนือ้ หา สาระของข้อมูลนั้นถือเป็นหัวใจส�ำคัญของการเผยแพร่ แบ่งปัน และพัฒนา เพราะถือว่า เป็นองค์ความรู้ที่สามารถน�ำไปสร้างกิจกรรมได้มากมาย เช่น เพลงเป็นงานสร้างสรรค์ ทีส่ ร้างความบันเทิง ในขณะเดียวกัน หนังสือเป็นงานสร้างสรรค์ทกี่ อ่ ให้เกิดความรูแ้ ก่ผอู้ า่ น โดยในโลกยุคใหม่หนังสืออาจถูกดัดแปลงไปเป็นภาพยนตร์ การ์ตูน หรือเผยแพร่ใน รูปแบบอืน่ ๆ สิง่ เหล่านีล้ ว้ นเชือ่ มโยงกับทรัพย์สนิ ทางปัญญาทัง้ สิน้ ซึง่ ผูท้ เี่ ป็นผูใ้ ช้เทคโนโลยี สารสนเทศไม่ว่าเพื่อกิจกรรมใดและในบทบาทใด ควรจะต้องมีความเข้าใจและปฏิบัติ ให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการถูกด�ำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในส่วนนี้จะขอสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้และกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับทรัพย์สิน ทางปัญญา ดังนี้


ผูป้ ระกอบธุรกิจ (Merchant)

ผู้ใช้ (User)

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวข้อง

- การจ�ำหน่ายสินค้า

- พัฒนาเว็บไซต์

- ท�ำซ�ำ ้ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ต่อสาธารณชน (ยกเว้น เป็น กรณีที่ใช้ลิขสิทธิ์อย่างเป็น ธรรม)

การละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา - การตรวจสอบเนื้อหาที่น�ำมาใช้ว่าเป็น งานมีลิขสิทธิ์หรือไม่ - การขออนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ - การใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ผ่านโครงการ ครีเอทีฟคอมมอนส์

ข้อควรปฎิบัติ

- จ�ำหน่าย น�ำเข้าสินค้ามาเพือ่ - ตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่ จ�ำหน่าย จ�ำหน่าย หรือการขออนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของ - ผลิต จ�ำหน่ายสินค้าที่มีการ สิทธิบตั ร คุ้ม ครองสิทธิบัตร - ผลิต จ�ำหน่ายสินค้าทีม่ เี ครือ่ ง - ตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่จ�ำหน่าย หมายการค้าปลอม หรือเลียน ว่าเป็นของแท้หรือไม่ แบบ

- ลิขสิทธิ์ เช่น งานภาพยนตร์ งานเพลง งานศิลปประยุกต์ - สิทธิบัตร เช่น สินค้าที่มี ลักษณะเป็นงานออกแบบ - เครื่องหมายการค้า

- ลิ ข สิ ท ธิ์ ได้ แ ก่ งาน - ท�ำซ�ำ ้ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ - การตรวจสอบงานทีน่ ำ� มาใช้วา่ เป็นงาน ศิลปกรรม ต่อสาธารณชน มีลิขสิทธิ์หรือไม่ - การขออนุญาตใช้สทิ ธิจากเจ้าของลิขสิทธิ์

- ดาวน์ โ หลด อั พ โหลด - ลิ ข สิ ท ธิ์ ได้ แ ก่ งาน แบ่งปันข้อมูลระหว่างกันผ่าน วรรณกรรม งานดนตรีกรรม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เทคโนโลยี แบบ peer-to-peer และการน�ำงานลิขสิทธิ์ไปใช้

กิจกรรมเสี่ยง

154 ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology


กิจกรรมเสี่ยง

ผู้ให้บริการ (Service Provider)

- ลิขสิทธิ์ ได้แก่ งานวรรณกรรม - สิทธิบตั ร เช่น งานประดิษฐ์ ที่มีลักษณะเป็นคิดค้น เทคโนโลยีใหม่

ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรปฎิบัติ

- ก�ำหนดนโยบายเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความร่วมรับผิดจากการละเมิดทรัพย์สนิ ทางปัญญาไว้ให้ชัดเจน

- ท�ำซ�้ำ ดัดแปลง หรือเผย - การตรวจสอบงานทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มานัน้ เป็น แพร่ต่อสาธารณชน งานมีลิขสิทธิ์หรือไม่ - การประดิษฐ์ทลี่ ะเมิดสิทธิ - ตรวจสอบฐานข้อมูลสิทธิบัตร บัตรหรืออนุสิทธิบัตร

การละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา

- ให้ บ ริ ก ารข้ อ มู ล - ผู ้ ใ ช้ น� ำ เอางานอั น มี -เผยแพร่ต่อสาธารณชน คอมพิวเตอร์ผา่ นเว็บไซต์ ลิขสิทธิ์มาเผยแพร่ผ่าน หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ เว็บไซต์ - ให้บริการเก็บรักษาและ แบ่งปันไฟล์ข้อมูล รวม ทั้งเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งาน สามารถอัพโหลดและ แลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอ

นักพัฒนา - การพัฒนาโปรแกรม โปรแกรมประยุกต์ หรือแอปพลิเคชัน (Application Developer)

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

155


156

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology

บรรณานุกรม ภาษาไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญา (2556). ลิขสิทธิ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.ipthailand.go.th/index.php?option=com_content& view=article&id=28&Itemid=308 กรมทรัพย์สินทางปัญญา (2556). สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.ipthailand.go.th/index.php?option=com_content& view=article&id=27&Itemid=307 ธัชชัย ศุภผลศิริ. (2544). กฎหมายลิขสิทธิ์, ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม. พระราชบัญญัติการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัตคิ วามลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ซึง่ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติ ความลับทางการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัตสิ ทิ ธิบตั ร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ส�ำนักข่าวไทย (2556). แอปเปิล้ ยอมจ่ายค่าเสียหายละเมิดลิขสิทธิ8์ สือ่ ไทย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.mcot.net/site/content?id=52a993cc150 ba0300200026f#.U_FTc_mSzX8


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

157

ภาษาต่างประเทศ Barrett, A. William, et al. (2008). iProperty, Profiting idea in an Age of Global Innovation. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc. Lessig, Lawrence (2008). Remix. New York: The Penguin Press. Lessig, Lawrence (2004). Free Culture. New York: The Penguin Press.


158

ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Intellectual Property and the Use of Information Technology


สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

159


ทรัพย์สินทางปัญญา กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

¤³Ð·Ó§Ò¹¨Ñ ·Ó˹ѧÊ×ÍProperty and the Use of Information Technology 160 ´Intellectual

·ÃѾ ÊÔ¹·Ò§»˜ÞÞÒ ¡Ñº¡ÒÃ㪌෤â¹âÅÂÕÊÒÃʹà·È

Intellectual Property and the Use of Information Technology

สุรางคณา วายุภาพ ผอ.สพธอ.

วรรณวิทย อาขุบุตร รอง ผอ.สพธอ.

ผศ.ดร.อรรยา สิงหสงบ รองอธิการบดีฝายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ที่ปรึกษา สุรางคณา วายุภาพ วรรณวิทย อาขุบุตร ผศ.ดร.อรรยา สิงหสงบ รองอธิการบดีฝายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดร.จุมพล ภิญโญสินวัฒน ผูพิพากษาศาลอุทรณคดีชำนัญพิเศษ (แผนกทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ)

ศูนยกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สำนักกฎหมาย พลอย เจริญสม ศุภจิตรา เลาหวัฒนภิญโญ อุษณิษา คุณเอกอนันต เพ็ญนภา หอยระยา ชุตินทร อังคเมธากร

ดร.จุมพล ภิญโญสินวัฒน์ ผูพิพากษาศาลอุทรณคดีชำนัญพิเศษ (แผนกทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ)



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.