ออกแบบและติดตั้งเครือข่าย

Page 1

บทที่ 3 การออกแบบและติดตั้ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เนื้อหา 3.1 การออกแบบระบบเครือข่าย 3.2 การติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. ออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามที่โจทย์กาหนดได้

3.1 การออกแบบระบบเครือข่าย การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จาเป็นต้องทางานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ระบบ เครือข่ายที่ต้องการและมีประสิทธิรูปที่คุ้มค่ากับการลงทุน โดยมีขั้นตอนการทางานดังนี้ 1) สารวจความต้องการของผู้ใช้ ความสาคัญของการออกแบบระบบเครือข่ายสิ่งที่สาคัญเป็นอันดับแรกๆ คือ การ สารวจความต้องการของผู้ใช้ และบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้นๆ เพราะจะทาให้เราได้ข้อมูล เพื่อเป็น แนวทางการออกแบบพัฒ นาระบบเครือข่ายที่รองรับและตรงต่อ ความต้ องการใช้งาน โดยเรา สามารถสารวจความต้องการได้จากการวิเคราะห์แผนกลยุ ทธ์ขององค์กร แผนงานด้านสารสนเทศ และออกแบบสอบถาม 2) ประมวลผลความต้องการของผู้ใช้งาน นาข้อมูลความต้องการของผู้ใช้มาประมวลผลให้เป็นข้อมูลทางเทคนิค โดยสามารถ วิเคราะห์ความต้องการดังกล่าวเทรียบกับ OSI Model 7 Layers เช่น Physical Layer ก็จะเป็น ส่ว นที่กาหนดความต้องการด้านประเภทและชนิดของสายสั ญญาณตามมาตรฐานต่างๆ และใน Network Layer ก็จะเป็นส่วนที่กาหนดรูปแบบการเชื่อมต่อ และวิธีการส่งผ่านข้อมูลในระบบ เครือข่าย เป็นต้น


2/15

เลเยอร์ 1 Host-to-Network

เลเยอร์ 2 Internet

เลเยอร์ 3 เลเยอร์ 4 Transport Application

ความต้องการของระบบ (Internet Model TCP/IP) พิ จ ารณาข้ อ มู ล ที่ สื่อสาร Users

Firewall

Mali Server

Cache Proxy

พิ จ า ร ณ า ก า ร เ ชื่ อ ม ต่ อ ร ะ ดั บ Socket

Switch Layer4

Router

Brdge

ATM Router

พิ จ า ร ณ า ก า ร เ ชื่ อ ม ต่ อ ร ะ ดั บ อินเตอร์เฟส

Switch Layer3

พิ จ า ร ณ า ก า ร เ ชื่ อ ม ต่ อ ร ะ ดั บ พ อ ร์ ต แ ล ะ ก า ร เชื่อมต่อสัญญาณ

Switch

Ring

Ethenet Leased line

Hub

Repeater

3) ออกแบบระบบเครือข่ายเบื้องต้น ส่ ว นนี้ มั กจะออกแบบเป็น เครือข่ ายคร่ าวๆ สามารถใช้ เ ครื่อ งมื อส าหรั บเขีย น โครงสร้างทางเครือข่าย เช่น Smart Draw หรือ MS Visio ดังนี้ ส่วนที่ 1 ออกแบบส่วนหลักของระบบ (Core Network Access) เช่น Backbone อุปกรณ์หาเส้นทางระดับแกนหลัก ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางและเป็นหัวใจของเครือข่าย ทาหน้าที่เชื่อมต่อ อุปกรณ์กระจายสัญญาณเลเยอร์ 2, 3 หลายๆ จุดเข้าไว้ด้วยกัน และเป็นส่วนที่ต้องรองรับการรับส่ง ข้อมูลได้ครั้งละจานวนมากๆ และรวดเร็วที่สุดใน 3 ส่วน ส่วนที่ 2 ออกแบบเครือข่ายในส่วนที่สาคัญรองลงมา เช่น อุปกรณ์สวิทซ์เลเยอร์ 2, 3 และสายสัญญาณต่างๆ อาทิ สายใยแก้วนาแสง สายคู่ตีเกลียว ซึ่งเป็นส่วนที่รองรับการเชื่อมต่อจากส่วน ที่ 3 หลายๆ จุดเข้าด้วยกันและต่อไปยัง ส่วนที่ 1 อีกทอดหนึ่ง อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่ในส่วนที่ 2 นี้มักจะ เป็นสวิทช์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้า งสูง คือ ส่งข้อมูลได้รวดเร็วและมีจานวนของพอร์ตมากเพียงพอที่จะ รองรับการเชื่อมต่อจากส่วนที่ 3 ส่วนที่ 3 ออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ เช่น ฮับ สวิทช์ และสายนาสัญญาณประเภทสาย คู่ตีเกลียว เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุด เป็นจุดที่ นาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อเข้าสู่ ระบบเครือข่าย อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่ในส่วนนี้มักเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีพอร์ตพอประมาณ เช่น 4,8,16 หรือ 24 พอร์ต ถ้าเป็นฮับจะต้องมีอัพลิงค์ด้วย มีราคาไม่แพง สามารถติดตั้งได้ง่าย และ เคลื่อนย้ายได้สะดวก


3/15

Access Layer Distribution Layer Core Layer

ส่วนที่ 3

ส่วนที่ 2

ส่วนที่ 1

ตัวอย่างอุปกรณ์การออกแบบระบบเครือข่ายเบื้องต้น ความเร็ ว ในการส่ ง ข้อมูลสูงมาก ใช้ติดต่อ กับผู้ใช้โดยตรง

WAN Link Router

Switch Layer3

ความเร็ ว ในการส่ ง ข้อมูลสูงปานกลางและ เป็ น จุ ด รวมระหว่ า ง ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 3

Ethenet

Switch Layer 2,3

พิจ ารณาการเชื่ อมต่ อ ระดับอินเตอร์เฟส Brdge

Switch Layer 2

Hub

Access Point

4) ประเมินค่าใช้จ่ายจากแบบเครือข่ายเบื้องต้น การเปรี ย บเที ย บค่ า ใช้ จ่ า ยท าเพื่ อ ให้ เ ห็ น ถึ ง จุ ด เด่ น จุ ด ด้ อ ยของระบบในแต่ ล ะ รูปแบบ และยังสามารถนาผลวิเคราะห์ที่ได้นาเสนอให้ผู้บริ หารเพื่อใช้เป็นสารสนเทศประกอบการ ตัดสินใจ 5) ออกแบบระบบเครือข่ายจริง รวบรวมข้อมูลที่ได้จากข้อ 1 – 4 เพื่อวิเคราะห์และสรุปผล ออกแบบระบบ เครือข่ายจริง ซึ่งจะเรียกว่าแบบระบบเครือข่ายนี้ว่า “แบบขั้นสุดท้าย” (Final Design) ถึงแม้จะได้ แบบขั้นสุดท้ายแล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติเป็นไปได้มากที่จะต้องกลับไปเริ่มวิเคราะห์ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ถึง 5 เรื่อยๆ ไป เพราะระบบสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่ อง ดังนั้นถ้าไม่มี การปรับปรุงระบบ ในที่สุดระบบจะไม่สามารถทางานได้ หรือทาได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ


4/15

รูปที่ 1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

3.2 การติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่ อให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ข้อมูล หรื อทรั พยากรร่ ว มกัน ได้ตลอดจนประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งระบบเครือข่ายส่ ว นใหญ่จะเป็นระบบ เครือข่ายอีเทอร์เน็ตแบบสตาร์ ทางานในลักษณะเวิร์กกรุ๊ป โดยใช้โพรโตรคอล TCP/IP เป็นหลัก การทางานบนโพรโตรคอล TCP/IP จะต้องกาหนด IP Address เป็นหมายเลขประจาให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ บนเครือข่าย โดยหมายเลขที่กาหนดจะต้องไม่ซ้ากัน รายละเอียด ดังนี้ 3.2.1 ไอพีแอดเดรส (IP Address) ไอพีแอดเดรสเป็นหมายเลขประจาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อ อยู่ ใ นเครื อข่ าย เพื่ อใช้ร ะบุ ที่ อยู่ ห รื อต าแหน่ง ของคอมพิ ว เตอร์แ ละอุ ปกรณ์ โ ดยไม่ ซ้ากัน ท าให้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สามารถติดต่อสื่ อสารหรือรับส่ งข้อมูลได้ ไอพีแอดเดรสมีลั กษณะเป็น ตัวเลข 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มจะคั่นด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น 192.160.1.22 ไอพีแอดเดรส เปรียบได้กับเลขที่บ้าน ซึ่งบ้านแต่ ละหลังจะต้องมีเลขที่บ้านไม่ซ้ากัน สาหรับมาตรฐานการกาหนด ไอพีแอดเดรสจะมีหน่วยงานกลางคือ InterNIC (Inter Network Information Center) ทาหน้าที่ จัดสรรไอพีแอดเดรสให้กับผู้ใช้ทั่วโลก ไอพีแอดเดรสในปัจจุบันยังคงใช้เวอร์ชั่น 4 แต่ในอนาคตจะนา เวอร์ชั่น 6 มาใช้เรียกว่า Ipv6 ตามปกติสาหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตามบ้านทั่วไปจะได้ไอพีแอดเดรสก็ต่อเมื่อใช้โมเด็ม เชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP ซึ่งจะได้ไอพีแอดเดรสมาใช้ชั่วคราว 1 หมายเลข ที่


5/15 ใช้ได้จริงบนอินเทอร์เน็ต (Public IP Address) หากจะว่าไปแล้วไอพีแอดเดรสนี้ไม่ได้นามากาหนด ที่คอมพิวเตอร์โดยตรง แต่จะถูกกาหนดไว้ที่อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ เช่น โมเด็มหรือเร้าเตอร์ และ เมื่อตัดการเชื่อมต่อจากผู้ใ ห้ บริการอินเทอร์เน็ตแล้ ว หมายเลขไอพีแอดเดรสที่ได้รับมานี้ก็จะถูก ยกเลิก ถ้าเชื่อมต่อครั้งใหม่ก็จะได้ไอพีแอดเดรสชุดใหม่เป็นแบบนี้เรื่อยไป โดยสามารถตรวจดูไอพี แอดเดรสที่ได้รั บมาจากผู้ ใ ห้ บริ การอินเทอร์เน็ตได้จากการใช้ คาสั่ง ipconfig บน command prompt ยังมีการใช้ไอพีแอดเดรสอีกแบบหนึ่ง คือการกาหนดไอพีแอดเดรสประจาแบบคงที่ โดยไม่ต้อ งเปลี่ ย นแปลงหมายเลขเหมื อนผู้ ใช้ต ามบ้า น ซึ่ งจะได้มาจากผู้ ให้ บริการอิน เทอร์เน็ ต เช่นเดียวกัน เช่นได้ไอพีแอดเดรสคลาส C จานวน 1 คลาส มีจานวนไอพีแอดเดรสที่สามารถนาไป กาหนดบนคอมพิวเตอร์ได้ 254 เลขหมาย ส่วนใหญ่แล้วการได้รับไอพีแอดเดรสแบบคงที่นี้มักจะเป็น องค์กรขนาดกลางทีม่ ีการเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยใช้ Leased Line หรือ ADSL แต่ สาหรับเครือข่ายอินทราเน็ตนั้นจะกาหนดไอพีแอดเดรสได้เองตามต้องการโดยใช้ไอพีแอดเดรสแบบ ภายใน (Private IP Address) และการกาหนดจากผู้ดูแลระบบเครือข่ายในองค์กร ไอพีแอดเดรสเขียนอยู่ในรูปแบบเลขฐานสิบที่มีเครื่องหมายมหัพภาค (.) คั่น เช่น 192.168.0.1 แต่เวลาเก็บค่าในคอมพิวเตอร์จะเป็นเลขฐานสอง มีทั้งหมด 32 บิต แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 บิต ตัวเลขแต่ละกลุ่มจะเก็บค่าที่เป็นตัวเลขฐานสองได้ถึง 256 ค่า คือตั่งแต่ 0 ถึง 255 110000000 192

เลขฐานสอง เลขฐานสิบ

10101000 168

00000000 0

00000001 1

ไอพีแอดเดรสประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ Network ID กับ Host ID สาหรับ Network ID เป็นตัวบอกขอบเขตของเครือข่าย โดยไอพีแอดเดรสที่มี Network ID เหมือนกัน หมายความว่าอยู่ ในเครือข่ายเดียวกัน ส่ว น Host ID เป็นตัวกาหนดที่อยู่หรือตาแหน่งของ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นั้นๆ เช่น คอมพิวเตอร์สองเครื่องถูกกาหนดไอพีแอดเดรสในคลาส C ซึ่ง เครื่องที่หนึ่งมีไอพีแอดเดรส 192.168.10.1 ส่วนเครื่องที่สองมีไอพีแอดเดรส 192.168.10.2 เห็นได้ ว่าคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องนี้อยู่ในเครือข่ายเดียวกั น เพราะมี Network ID เหมือนกัน คือ 192.169.10.x แต่ Host ID ต่างกันคือ 1 และ 2 ที่ระบุว่าเป็นเครื่องที่ 1 และ 2 ตามลาดับ ส่วนที่ เป็น Network ID จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้คือ Host ID ซึ่งนาไปกาหนดให้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไอพีแอดเดรสมีการแบ่งขอบข่ายออกหลายระดับหรือที่เรียกว่า คลาส (Class) โดย ถูกแบ่งไว้ 5 คลาส คือ คลาส A, B, C, D และ E แต่ที่ใช้กันในระบบเครือข่ายทั่วไปจะใช้กัน 3 คลาส คือ A, B, C ส่วนคลาส D นาไปใช้ในเครือข่าย Multicast เช่น Tele-Conference และคลาส E ถูก สงวนไว้ไม่มีการใช้งาน รายละเอียดตามตารางดังนี้ คลาส A B C D E

ช่วงไอพีเดรส 1.0.0.0 ถึง 126.255.255.255 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 240.0.0.0 ถึง 247.255.255.255

จานวนเครือข่าย 126 16,384 2,097,152 -

จานวนโฮสต์ 16,777,214 65,534 254 -


6/15  คลาส A มีไอพีแอดเดรสทั้งหมด 126 คลาส ในแต่ละคลาสจะกาหนดไอ พีแอดเดรสได้ 16 ล้านเครื่อง ส่วนที่เป็น Network ID คือตัวเลข 1 ชุดทางซ้าย ( 8 บิต) ส่วนตัวเลข 3 ชุดหลังทางขวาคือ Host ID (24 บิต) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายจะ กาหนดส่วนที่เป็น Host ID เพื่อแจกจ่ายให้กับคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไอพีแอดเดรสคลาส A จะ ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ คลาส A

Network ID 10

75

Host ID 110

135

 คลาส B มีไอพีแอดเดรสทั้งหมด 16,384 คลาส ในแต่ละคลาสจะ กาหนดไอพีแอดเดรสได้ 65,534 เครื่อง ส่วนที่เป็น Network ID คือตัวเลข 2 ชุดทางซ้าย (16 บิต) ส่วนตัวเลข 2 ชุดทางขวาคือ Host ID (16 บิต) ไอพีแอดเดรสคลาส B เหมาะสาหรับองค์กรขนาด กลาง คลาส B

Network ID 128

Host ID 44

129

60

 คลาส C มีไอพีแอดเดรสทั้งหมด 2,097,152 คลาส ในแต่ละคลาสจะ กาหนดไอพีแอดเดรสได้ 254 เครื่อง ส่วนที่เป็น Network ID คือตัวเลข 3 ชุดแรกทางซ้าย (24 บิต) ส่วนตัวเลข 1 ชุดที่เหลือทางขวาคือ Host ID (8 บิต) ไอพีแอดเดรสคลาส C เหมาะสาหรับองค์กร ขนาดเล็ก คลาส C

192

Network ID 205

81

Host ID 5

1) หมายเลขเครือข่ายและบรอดคาสต์แอดเดรส ในช่วงหมายเลขไอพีแอดเดรสที่ใช้จะมีหมายเลขพิเศษอยู่ 2 ค่า คือ หมายเลขเครือข่ายกับบรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) ซึ่งไอพีแอดเดรสทั้งสองค่านี้ ห้ามนาไปกาหนดให้กับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในเครือข่าย - หมายเลขเครื อ ข่ า ย เป็ น ไอพี แ อดเดรสที่ ใ ช้ อ้ า งอิ ง เครื อ ข่ า ย ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ไอพีแอดเดรสหมายเลข 192.168.1.0 ซึ่งอยู่ในคลาส C ก็ หมายความว่าสามารถกาหนดไอพีแอดเดรสให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ตั้ งแต่หมายเลข 192.168.1.1 จนถึงหมายเลข 192.168.1.254 ดังนั้นหมายเลขของไอพีแอดเดรสคลาสนี้ก็คือ 192.168.1.0 - บรอดคาสต์ แ อดเดรส ใช้ ส าหรั บ ส่ ง ข้ อ มู ล กระจายไปยั ง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่าย โดยจะเป็นไอพีแอดเดรสหมายเลขสุดท้ายของคลาส เช่น 192.168.1.255


7/15 สรุปได้ว่าไอพีแอดเดรสที่ลงท้า ยด้วย 0 และ 255 ห้ามกาหนดให้กับ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่าย ตัวอย่างการแจกไอพีแอดเดรสคลาส C ซึ่งมีหมายเลข เครือข่าย 192.169.0.0 ให้คอมพิวเตอร์ ดังนี้ 192.168.0.0 192.168.0.1 192.168.0.2 192.168.0.x 192.168.0.253 192.168.0.254 192.168.0.255

เป็นหมายเลขเครือข่าย ห้ามนาไปกาหนดใช้งาน กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 1 กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 2 กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่… กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 253 กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 254 เป็นบรอดคาสต์แอดเดรส ห้ามนาไปกาหนดใช้งาน

เมื่อใช้เครือข่าย 192.168.0.0 หมดแล้วตัองใช้เครือข่ายถัดไปคือ 192.168.1.0 เป็นหมายเลขเครือข่าย ห้ามนาไปกาหนดใช้งาน 192.168.1.1 กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 1 192.168.1.x กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่… 192.168.1.254 กาหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 254 192.168.1.255 เป็นบรอดคาสต์แอดเดรส ห้ามนาไปกาหนดใช้งาน

2) ซับเน็ตมาสก์ (Subnet Mask) เป็ น ค่ า ที่ ร ะบุ ว่ า คอมพิ ว เตอร์ เ ครื่ อ งนี้ อ ยู่ ใ นเครื อ ข่ า ยใด หรื อ เป็ น ค่ า ที่ แบ่งกลุ่มเครือข่ายโดยตรงสอดคล้องกับคลาสของไอพีแอดเดรส ซับเน็ตมาสก์จะเป็นตัวเลข 4 ชุด เช่นเดียวกับไอพีแอดเดรสแต่มีค่าเป็น 0 กับ 255 เท่านั้น (แต่บางกรณีก็เป็นค่าอื่นได้ เมื่อถูกแบ่ง ซับเน็ต) ซับเน็ตมาสก์มีการแบ่งไว้สาหรับไอพีแอดเดรสทั้ง 3 คลาส ดังตาราง คลาส

ซับเน็ตมาสก์

A B C

255.0.0.0 255.255.0.0 255.255.255.0

- ซับเน็ตมาสก์สาหรับคลาส A มีเลข 255 จานวน 1 ชุดคือ 255.0.0.0 หมายความว่าในเครือข่ายนี้จะมีไอพีแอดเดรส 1 ชุดแรกที่เหมือนกัน เช่น 10.0.0.1, 10.1.50.6, 10.2.33.4 จึงถือว่าไอพีแอดเดรสทั้งหมดนี้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน - ซับเน็ตมาสก์สาหรั บคลาส B มีเลข 255 จานวน 2 ชุดคือ 255.255.0.0 หมายความว่าในเครือข่ ายนี้จ ะมีไ อพีแ อดเดรส 2 ชุด แรกที่เ หมือ นกัน เช่ น 172.20.91.18, 172.30.92.77, 172.30.93.2 จึงถือว่าไอพีแอดเดรสทั้งหมดนี้อยู่ในเครือข่าย เดียวกัน - ซับเน็ตมาสก์สาหรับคลาส C มีเลข 255 จานวน 3 ชุดคือ 255.255.255.0 หมายความว่าในเครือข่ายนี้จะมีไอพีแอดเดรส 3 ชุดแรกที่เหมือนกัน เช่น 192.168.1.11, 192.168.1.12, 192.168.1.13 จึงถือว่าไอพีแอดเดรสทั้งหมดนี้อยู่ในเครือข่าย เดียวกัน


8/15

. . . . . .

. . . . . .

. .

.

. . .

. .

.

. . .

Class A . . . . . .

. .

. .

.

. . .

.

.

. .

. . .

.

.

. . .

Class B

. . .

.

Class C

รูปที่ 2 กลุ่มไอพีแอดเดรสที่อยู่ในคลาสเดียวกัน

สรุปได้ว่าวิธีการดูค่าไอพีแอดเดรสอยู่ในคลาสใด สามารถทาได้ 2 วิธี 1. ดูจากตัวเลขชุดแรกของไอพีแอดเดรส คือ - คลาส A ใช้หมายเลขชุดแรกตั้งแต่ 1 ถึง 126 - คลาส B ใช้หมายเลขชุดแรกตั้งแต่ 128 ถึง 191 - คลาส C ใช้หมายเลขชุดแรกตั้งแต่ 192 ถึง 223 2. ดูจากค่าซับเน็ตมาสก์ 3.2.2 การแบ่งซับเน็ต ในการใช้งานจริงบนระบบเครือข่าย บางครั้งอาจต้องแบ่งเครือข่ายออกให้ เป็น เครือข่ายย่อย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย และป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูก ส่งไปยังหน่วยงานอื่น หรือลดการกระจายข้อมูลในเครือข่ายให้น้อยลง (Broadcast) เช่น ถ้าได้รับไอ พีแอดเดรสคลาส C ชุด 192.168.1.0 มาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และกาหนดให้กับ คอมพิวเตอร์ในองค์กร ประกอบด้ วยแผนกบัญชีที่มีคอมพิวเตอร์จานวน 20 เครื่อง แผนกบุคคลมี คอมพิวเตอร์จานวน 10 เครื่อง โดยเราจะแจกจ่ายไอพีแอดเดรสให้กับแต่ละแผนกในลักษณะที่จะ แยกเครือข่ายออกจากกันซึ่งแน่นอนว่าไอพีแอดเดรสคลาส C ที่ได้นั้นไม่เพียงพอที่จะแจกให้กับ คอมพิวเตอร์ในองค์กร (คือใช้ได้ตั้งแต่หมายเลข 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.254) แต่จุดประสงค์ คือต้องการจะแยกเครือข่ายออกอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งเครือข่ายโดยใช้การแบ่งไอพี แอดเดรสในคลาสเดียวกันออก เรียกว่าการแบ่งซับเน็ต โดยมีวิธียืมค่าบิตของ Host ID มาทาเป็น ซับเน็ต ส่วนสิ่งที่ตามมาภายหลังแบ่งซับเน็ตคื อตัวเลขซับเน็ตมาสก์จะเปลี่ยนไปเพราะขนาดของ เครือข่ายถูกแบ่งออกตัวอย่างการแบ่งซับเน็ตของไอพีแอดเดรสหมายเลขเครือข่าย 192.168.1.0 ได้ ในตาราง


9/15 เครือข่ายที่

หมายเลขเครือข่าย (ห้ามกาหนด)

ช่วงไอพีแอดเดรสที่ใช้ได้

บรอดคาสต์แอดเดรส (ห้ามกาหนด)

1 2 3 4

192.168.1.0 192.168.1.64 192.168.1.128 192.168.1.192

192.168.1.1 ถึง 192.168.1.62 192.168.1.65 ถึง 192.168.1.126 192.168.1.129 ถึง 192.168.1.190 192.168.1.193 ถึง 192.168.1.254

192.168.1.63 192.168.1.127 192.168.1.191 192.169.1.255

ตัวอย่างที่ 1 การแบ่งซับเน็ตตามตารางใช้ไอพีแอดเดรสคลาส C ชุด 192.168.1.0 หมายความว่า แต่เดิมสามารถกาหนดไอพีแอดเดรสให้ กับ คอมพิว เตอร์ได้ 254 เครื่อ ง คือ ตั้งแต่ห มายเลข 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.254 ซึ่งเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้ง 254 เครื่อง แต่เมื่อนามาแบ่งซับเน็ต โดยกาหนดให้แต่ละเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์จานวน 62 เครื่อง ทาให้สามารถแบ่งซับเน็ตออกมาได้ ทั้งหมด 4 เครือข่าย โดยทุกเครือข่ายต้องใช้ซับเน็ตมาสก์หมายเลข 255.255.255.192 1) วิธีการแบ่งซับเน็ต ซับเน็ตมาสก์ของคลาสต่างๆ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบเลขฐานสอง คือ Class A B C

เลขฐานสิบ 255.0.0.0 255.255.0.0 255.255.255.0

เลขฐานสอง 11111111.00000000.00000000.00000000 11111111.11111111.00000000.00000000 11111111.11111111.11111111.00000000

โจทย์ที่ 1 องค์กรหนึ่งได้รับไอพีแอดเดรสคลาส C จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จานวน 1 คลาส คือ 202.5.93.0 ซับเน็ตมาสก์ 255.255.255.0 จากตัวอย่างโจทย์ข้างต้นสามารถแบ่งซับเน็ตโดยวิธีต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 ใช้วิธีแบ่งบางส่วนของ Host ID ซึ่งมีอยู่ 8 บิต มาเป็น Subnet ID เพื่อให้เกิด เครือข่ายย่อยหรือซับเน็ต เช่นใช้ 2 บิตแรกของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID (อาจใช้มากกว่า 2 บิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการแบ่งซับเน็ต) ส่วน 6 บิตที่เหลือยังคงเป็น Host ID เช่นเดิม 202. nnnnnnnn.

Network ID 5. 93. nnnnnnnn. nnnnnnnn. 24 บิต

Host ID 0 sshhhhhh 8 บิต

โดยที่ n = Network ID มี 24 บิต , s = Subnet ID ยืมมา 2 บิต, h = Host ID เหลือ 6 บิต ขั้นที่ 2 กาหนดว่าต้องการจานวนซับเน็ตหรือเครือข่ายย่อยเท่าใด พร้อมกับต้องการจานวน โฮสต์ในแต่ละซับเน็ตเท่าใด เช่น ต้องการซับเน็ตจานวน 2 ซับเน็ต และต้องการจานวนโฮสต์ในแต่ละ ซับเน็ตระหว่าง 50 ถึง 100 เครื่อง จากนั้นให้คานวณหาจานวนซับเน็ตและโฮสต์จากตัวอย่างต่อไปนี้ สามารถแสดงไว้ 2 กรณี คือ


10/15 กรณีที่ 1 ทดลองยืมบิตของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID จานวน 2 บิต (nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn.sshhhhhh) ทาให้จานวนบิตที่เป็น Host ID จริงๆ เหลือ 6 บิต จากนั้นนามาคานวณจากสูตร 2x – 2 โดยที่ x คือจานวนบิตที่ยืมมา แล้วหาจานวนโฮสต์ใน ซับเน็ตจากสูตร (2n – 2) โดยที่ n คือจานวนบิตของ Host ID ได้ดังนี้  จานวนซับเน็ตได้จาก 22 – 2 = 2 ซับเน็ต  จานวนโฮสต์ในซับเน็ตได้จาก 26 – 2 = 62 เครื่อง จะเห็นได้ว่าถ้ายืมบิตของ Host ID มาเพียง 1 บิต จะไม่สามารถแบ่งซับเน็ตได้ เพราะ 2 -2 = 0 ซับเน็ต ซึ่งสรุปได้ว่าจานวนซับเน็ตที่คานวณได้จะต้องเท่ากับหรือมากกว่าจานวน ซับเน็ตที่ต้องการ 1

กรณีที่ 2 ทดลองยืมบิตของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID จานวน 3 บิต (nnnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnnnnnnn.ssshhhhh) ทาให้จานวนบิตที่เป็น Host ID จริงๆ เหลือ 5 บิต จากนั้นนามาคานวณจากสูตร 2x – 2 โดยที่ x คือจานวนบิตที่ยืมมา แล้วหาจานวน โฮสต์ในซับเน็ตจากสูตร 2n – 2 โดยที่ n คือจานวนบิตของ Host ID ได้ดังนี้  จานวนซับเน็ตได้จาก 23 – 2 = 6 ซับเน็ต  จานวนโฮสต์ในซับเน็ตได้จาก 25–2 = 30 เครื่อง ผลจากการคานวณทั้ง 2 กรณี ทาให้ทราบว่ากรณีที่ 1 เป็นคาตอบที่เหมาะที่สุด เนื่องจากแบ่งซับเน็ตได้ 2 ซับเน็ต ซึ่งตรงกับความต้องการ ส่วนโฮสต์ในแต่ละซับเน็ตมีจานวน 62 เครื่องก็ใกล้เคียงกับโจทย์ที่ตั้งไว้เช่นกัน คือระหว่าง 50 ถึง 100 เครื่อง ดังนั้นเราจึงตัดกรณีที่ 2 ออกไป สรุป ได้ว่าการแบ่งไอพีแอดเดรสคลาส C หมายเลขเครือข่าย 202.5.93.0 เป็น 2 ซับเน็ต ซึ่งในแต่ละซับเน็ตมีโฮสต์จานวน 62 เครื่อง โดยใช้บิตที่เป็น Host ID ซึ่งอยู่ในอ็อกเต็ตที่ 4 มาทาเป็น Subnet ID จานวน 32 บิต ทาให้เหลือบิตที่เป็น Host ID จานวน 6 บิต (nnnnnnnnn.nnnnnn.nnnnnnnn.sshhhhhh) ขั้นที่ 3 หาค่าซับเน็ตมาสก์ใหม่ ซึ่งแต่เดิมหากไม่มีการแบ่งซับเน็ต ซับเน็ตมาสก์จะมีค่า 255.255.255.0 แต่เมื่อเกิดการแบ่งซับเน็ตขึ้นค่าของซับเน็ตมาสก์จะเปลี่ยนไปโดยมีวิธีคานวณดังนี้ 1) เขียนดีฟอลต์ซับเน็ตมาสก์ใหม่ให้เป็นเลขฐานสอง แต่เปลี่ยนค่า 2 บิตแรกในอ็ อกเต็ตสุดท้ายให้เป็นเลข 1 เพราะได้ยืมบิตของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID จานวน 2 บิต (อ็อก เต็ตสุดท้ายของซับเน็ตมาสก์สาหรับไอพีแอดเดรสคลาส C ก็คือ Host ID นั่นเอง) ส่วนตัวเลขต่อจาก เลข 1 ให้เป็นเลข 0 ทั้งหด โดยเขียนได้ดังนี้ ซับเน็ตมาสก์เดิม ซับเน็ตมาสก์ใหม่

11111111.11111111.11111111.00000000 11111111.11111111.11111111.11000000


11/15 2) นา 2 บิตดังกล่าวมาคานวณให้เป็นเลขฐานสิบตามตาแหน่งของบิตใน 1 อ็อก เต็ตดังตารางต่อไปนี้ 7 6 5 4 3 2 1 0 ตาแหน่งบิต 7 6 5 4 3 2 1 0 2 =128 2 =64 2 =32 2 =16 2 =8 2 =4 2 =2 2 =1 ค่าฐานสิบ หมายเหตุ: เลขฐานสองจะเริ่มนับจากบิตแรกคือบิต 0 ที่อยู่ทางขวาสุด แล้วถึงจะขยับมา ทางซ้ายทีละหลัก ส่วนตัวคูณในแต่ละหลักคือ 2n (n คือตาแหน่งบิต)

ซึ่งสองบิตดังกล่าวที่มีค่าเป็น 1 กับ 1 โดยค่าบิต 1 ตัวแรกมีค่าฐานสิบเป็น 27 = 128 ส่วนค่าบิต 1 ตัวที่สองมีค่าฐานสิบเป็น 26=64 (หรือตรงกับบิตที่ 7 กับ 6 ที่แสดงอยู่ในตาราง) จึงได้ค่าฐานสิบเป็น 128 กับ 64 ตามลาดับ จากนั้นให้นามาบวกกันจะได้ 192 จึงเขียนซับเน็ตมาสก์ ใหม่ได้เป็น 255.255.255.192 11111111

11111111

255

255

11111111 255

1

1000000

128 + 64 = 192

นอกจากนีส้ ามารถเขียนซับเน็ตมาสก์แบบสั้นได้อีก เช่น 202.5.93.0/24 หมายถึงมี จานวนบิตที่เป็นเลข 1 จานวน 24 ตัว คือ 11111111.11111111. 11111111.00000000 แสดงถึงบิตของ Network ID ที่ไม่มีการแบ่งซับเน็ต เ มื่ อ แ บ่ ง ซั บ เ น็ ต แ ล้ ว จ ะ มี เ ล ข 1 เ พิ่ ม ม า อี ก 2 ตั ว คื อ 11111111.11111111.11111111.11000000 แสดงถึงบิตของ Network ID กับบิตของ Subnet ID ที่รวมกัน ดังนั้นจานวนบิตที่เป็นเลข 1 จึงมีทั้งหมด 26 ตัว ทาให้เขียนซับเน็ตมาสก์ใหม่เป็น 202.5.93.0/26 หรือก็คือ 202.5.93.0/255.255.255.192 หรือในกรณีที่ยืมบิตของ Host ID มา 3 บิต (กรณีที่ 2) ซับเน็ตมาสก์จะเปลี่ยนเป็น 255.255.255.224 ซึ่งหมายความว่ามีเลข 1 เพิ่มมาอีก 3 ตัวคือ 11111111.11111111.11111111.11100000 ขั้นที่ 4 หาหมายเลขซับเน็ตแรก (Subnet Address) ภายหลังที่แบ่งซับเน็ต โดยให้ ความสาคัญไปที่ตาแหน่งของ Subnet ID แล้วนาตาแหน่งของบิตสุดท้ายที่เป็น Subnet ID ไปเทียบ กับตารางค่าฐานสิบ ดังนั้นเมื่อจานวน Subnet ID มีจานวน 2 บิต และตาแหน่งของบิตสุดท้ายไป ตรงกับตาแหน่งบิตที่ 6 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 64 จึงได้หมายเลขซับเน็ตแรกคือ 202.5.93.64 ส่วน หมายเลขซับเน็ตถัดไปเกิดจากการนาหมายเลขซับเน็ตแรกที่ได้ มาเพิ่มทีละ 64 ทาให้หมายเลข ซับเน็ตถัดไปคือ 202.5.93.128 แสดงดังตารางต่อไปนี้ Subnet 1 2

(ห้ามกาหนด)

ช่วงไอพีแอดเดรส (ใช้ได้ 62 หมาย / 1 ซับเน็ต)

Broadcast Address

202.5.93.64 202.5.93.128

202.5.93.65 – 202.5.93.126 202.5.93.129-202.5.93.190

202.5.93.127 202.5.93.191

Subnet Address


12/15 ข้อสรุป แบ่งซับเน็ตของไอพีแอดเดรสเครือข่าย 202.5.93.0 ออกเป็น 2 ซับเน็ต ไอพีแอดเดรสที่เป็นหมายเลขซับเน็ตแรกคือ 202.5.93.64 ไอพีแอดเดรสที่เป็นหมายเลขซับเน็ตที่สองคือ 202.5.93.128 ในแต่ละซับเน็ตมีไอพีแอดเดรสที่ใช้ได้อยู่ 62 หมายเลข (ตัดหมายเลขซับเน็ต กับบรอดคาสต์แอดเดรสออกไป 2 หมายเลข) - ห้ามนาไอพีแอดเดรสที่เป็นหมายเลขซับเน็ตไปกาหนดให้กับคอมพิวเตอร์หรือ อุปกรณ์ใดๆ เนื่องจากมันทาหน้าที่เป็นหมายเลขเครือข่าย - ห้ามนาไอพีแอดเดรสหมายเลขสุดท้ายในซับเน็ตนั้นๆ ไปกาหนดให้กับ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ เพราะมันคือบรอดคาสต์แอดเดรส - ทุกๆซับเน็ตต้องใช้ซับเน็ตมาสก์ 255.255.255.192 -

ตัวอย่างที่ 2 การแบ่งซับเน็ตไอพีแอดเดรสคลาส B ไอพีแอดเดรสคลาส B จะมีไอพีแอดเดรสที่ใช้สาหรับทาโฮสต์ ได้ถึง 65,534 เครื่องต่อ เครือข่ายหรือ 1 ซับเน็ตหลัก แต่ในด้านการใช้งานจริงไม่สามารถมีจานวนโฮสต์เชื่อมต่ออยู่ใน เครือข่ายเดียวกันได้มากขนาดนั้น จึงต้องมีการแบ่งให้เหมาะสมกับการนาไปใช้งาน โดยวิธีแบ่ง บางส่วนของ Host ID มาเป็น Subnet ID เช่นเดียวกับการแบ่งซับเน็ของไอพีแอดเดรสคลาส C ตัวอย่างเช่น ไอพีแอดเดรสหมายเลข้ครือข่าย 179.55.0.0 ซับเน็ตมาสก์ 255.255.0.0 จะใช้ 8 บิต แรกของ Host ID มาเป็น Subnet ID (อาจมากหรือน้อยกว่า 8 บิตก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการใน การแบ่งซับเน็ต) ส่วน 8 บิตที่เหลือยังคงเป็น Host ID เช่นเดิม Network ID 172.55. nnnnnnnn.nnnnnnnn. 16 บิต

Host ID 0.0 ssssssss.hhhhhhhh 16 บิต

โดยที่ n = Network ID มี 16 บิต , s = Subnet ID ยืมมา 8 บิต, h = Host ID เหลือ 8 บิต โจทย์ตัวอย่าง ต้องการจานวน 150 ซับเน็ต (หรือใกล้เคียง 150 ซับเน็ต) และต้องการโฮสต์ ในแต่ละซับเน็ตจานวนประมาณ 500 เครื่อง ซึ่งจาคานวณหาจานวนซับเน็ตและโฮสต์จากตัวอย่าง ต่อไปนี้ โดยแสดงไว้ 3 กรณี กรณีที่ 1 ทดลองยืมบิตของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID จานวน 6 บิต (nnnnnnnn.nnnnnnnn.sssssshh.hhhhhhhh) ทาให้จานวนบิตที่เป็น Host ID จริงๆ เหลือ 10 บิตจากนั้นนามาคานวณจากสูตร 2n-2 ( n คือจานวนบิตของ Host ID ) ได้ดังนี้  จานวนซับเน็ตได้มาจาก 26-2 = 62 ซับเน็ต  จานวนโฮสต์ในซับเน็ตได้มาจาก 210-2 = 1,022 เครื่อง กรณีที่ 2 ทดลองยืมบิตของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID จานวน 7 บิต (nnnnnnnn.nnnnnnnn.sssssssh.hhhhhhhh) ทาให้จานวนบิตที่เป็น Host ID จริงๆเหลือ 9 บิต จากนั้นนามาคานวณจากสูตร 2x โดยที่ x คือจานวนบิตที่ยืมมา แล้วหาจานวนโฮสต์ในซับเน็ตจาก สูตร 2n-2 โดยที่ n คือจานวนบิตของ Host ID ได้ดังนี้


13/15  จานวนซับเน็ตได้มาจาก 27-2 = 126 ซับเน็ต  จานวนโฮสต์ในซับเน็ตได้มาจาก 29-2 = 510 เครื่อง กรณีที่ 3 ทดลองยืมบิตของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID จานวน 8 บิต (nnnnnnnn.nnnnnnnn.sssssssss.hhhhhhhh) ทาให้จานวนบิตที่เป็น Host ID จริงๆเหลือ 8 บิต จากนั้นนามาคานวณจากสูตร2x โดยที่ x คือจานวนบิตที่ยืมมา แล้วหาจานวนโฮสต์ในซับเน็ตจาก สูตร 2n-2 โดยที่ n คือจานวนบิตของ Host ID ได้ดังนี้  จานวนซับเน็ตได้มาจาก 28-2 =254 ซับเน็ต  จานวนโฮสต์ในซับเน็ตได้มาจาก 28-2 = 254 เครื่อง ผลการคานวณทั้ง 3 กรณีทาให้ทราบว่ากรณีที่ 2 เป็นคาตอบที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากแบ่งซับเน็ตได้ 126 ซับเน็ต ซึ่งใกล้เคียงกับจานวนซับเน็ต 150 ซับเน็ตตามที่ต้องการ ส่วน โฮสต์ในแต่ลซับเน็ตมีจานวน 510 เครื่อง ก็ใกล้เคียงกับโจทย์ที่ตั้งไว้เช่นกัน คือ 500 เครื่อง ดังนั้นจึง ตัดกรณีที่ 1 และ 3 ออกไป สรุปได้ว่าสามารถแบ่งไอพีแอดเดรสคลาส B หมายเลขเครือข่าย 179.55.9.9 ออกเป็น 126 ซับเน็ตซื่งในแต่ละซับเน็ตมีโฮสต์จานวน 510 เครื่อง โดยใช้บิตที่เป็น Host ID จานวน 9 บิต (nnnnnnnn.nnnnnnnnn.sssssssh.hhhhhhhh) วิธีที่ 1 หาค่าซับเน็ตมาสก์ใหม่ ซึ่งแต่เดิมหากไม่มีการแบ่งซับเน็ตซับเน็ต มาสก์จะมีค่า 255.255.0.0 แต่เมื่อเกิดการแบ่งซับเน็ตขึ้น ค่าของซับเน็ตมาสก์จะเปลี่ยนไปโดยมีวิธี คานวณดังนี้ 1) เขียนดีฟอลต์ซับเน็ตาสก์ใหม่ให้เป็นเลขฐานสอง แต่เปลี่ยน ค่า 7 บิตแรกในอ็อกเต็ตที่ 3 ให้เป็นเลข 1 เพราะได้ยืมบิตของ Host ID มาทาเป็น Subnet ID จานวน 7 บิต ส่วนตัวเลขต่อจากเลข 1 ให้เป็น 0 ทั้งหมด โดยเขียนได้ดังนี้ 11111111.11111111.00000000.00000000 11111111.11111111.11111110.00000000

ซับเน็ตมาสก์เดิม ซับเน็ตมาสก์ใหม่

2) นา 7 บิตดังกล่าวมาคานวณให้เป็นเลขฐานสิบตามตาแหน่ง ของบิตใน 1 อ็อกเต็ตโดยดูจากตารางค่าเลขฐานสอง จึงได้หมายเลขซับเน็ตมาสก์ 255.255.254.0 ซึ่งมาจาก 11111111 255

11111111 255

1

1 1 1 1 1 1

128+64+32+16+8+4+2=254

00000000 0

นอกจากนี้ สามารถเขี ย นซั บ เน็ ต มาสก์ ไ ด้ อี ก แบบคื อ 179.55.0.0/23 หมายถึงมีจานวนบิตที่เป็นเลข 1 จานวน 23 ตัว คือ 111111.11111111.11111110.00000000 แสดงถึงบิตของ Network ID กับบิตของ Subnet ID ที่รวมกัน ทาให้เขียนซับเน็ตมาสก์ใหม่เป็น 179.55.0.0/23 หรือก็คือ 179.55.0.0/ 255.255.254.0 วิธีที่ 2 หาหมายเลขซับเน็ตแรก (Subnet Address) ภายหลังที่แบ่ง ซับเน็ต โดยให้ความสาคัญไปที่ตาแหน่งของ Subnet ID แล้วนาตาแหน่งของบิตสุดท้ายที่เป็น Subnet ID เทียบกับตารางค่าฐานสิบ ดังนั้นเมื่อจานวน Subnet ID มีจานวน 7 บิต และตาแหน่ง


14/15 ของบิตสุดท้ายไปตรงกับตาแหน่งบิตที่ 1 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2 เราจึงได้หมายเลขซับเน็ตแรกคือ 179.55.2.0 ส่วนหมายเลขซับเน็ตถัดไปเกิดจากการนาหมายเลขซับเน็ตแรกที่ได้มาเพิ่มทีละ 2 ตัว ทาให้ได้หมายเลขซับเน็ตถัดไปคือ 179.55.4.0 และเพิ่มไปทีละ 2 ตามลาดับ ดังที่แสดงอยู่ในตาราง ต่อไปนี้ Subnet

Subnet Address

(ห้ามกาหนด) 1 2 3

179.55.2.0 179.55.4.0 179.55.6.0

126

179.55.252.0

ช่วงไอพีแอดเดรส (ใช้ได้ 510 หมายเลข / 1 ซับเน็ต) 179.55.2.1 – 179.55.3.254 179.55.4.1 – 179.55.5.254 179.55.6.1 – 179.55.7.254 จนถึง… 179.55.252.1 – 179.55.253.254

Broadcast Address

(ห้ามกาหนด) 179.55.3.255 179.55.5.255 179.55.7.255 179.55.253.255

ส่วนจานวนบิตอื่นๆ ที่ยืมมาจาก Host ID มาทาเป็น Subnet ID ได้สรุปเป็นหมายเลขซับเน็ต มาสก์ จานวนซับเน็ต และจานวนโฮสต์ ลงไว้ในตารางต่อไปนี้ Subnet ID 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14

ซับเน็ตมาสก์ 255.255.192.0 255.255.224.0 255.255.240.0 255.255.248.0 255.255.252.0 255.255.254.0 255.255.255.0 255.255.255.128 255.255.255.192 255.255.255.224 255.255.255.240 255.255.255.248 255.255.255.252

จานวนซับเน็ต 2 6 14 30 62 126 254 510 1,022 2,046 4,094 8,190 16,382

จานวนโฮสต์ 16,382 8,190 4,094 2,046 1,022 510 254 126 62 30 14 6 2

 ไอพีแอดเดรสภายใน (Private IP Address) ไอพี แ อดเดรสนั้ น แบ่ ง ออกเป็ น สองประเภท ได้ แ ก่ ไอพี แ อดเดรสที่ ใ ช้ ไ ด้ บ น อินเทอร์เน็ต (Public IP Address) และไอพีแอดเดรสที่ใช้เฉพาะเครือข่ายภายในองค์กร (Private IP Address) ที่สามารถกาหนดใช้ได้เองอย่างอิสระ แต่ไม่สามารถใช้ได้บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งไอพีแอดเดรส ภายในจะนามากาหนดให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายขององค์กรที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP เช่น เครือข่าย แลนหรืออินทราเน็ต หรือร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เป็น 3 คลาส ดังนี้ คลาส A B C

ช่วงไอพีแอดเดรส 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 172.16.0.0ถึง 172.31.255.255 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255


15/15 การใช้ ไ อพี แ อดเดสแบบภายในจะช่ ว ยให้ มี ไ อพี แ อดเดรสใช้ อ ย่ า งเพี ย งพอใน เครือข่าย ส่วนคลาสของไอพีแอดเดรสแบบภายในที่นิยมกาหนดกัน มักจะเป็นคลาส C เช่น มี คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย 20 เครื่อง ก็เริ่มใช้ไอพีแอดเดรสจาก 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.20 เป็น ต้น

 ลูปแบ็กแอดเดรส (Loop back address) ไอพีแอดเดรสชนิดพิเศษอีกแบบคือ ลูปเบ็กแอดเดรส เป็นไอพีแอดเดรสพิเศษที่ ก าหนดขึ้ น เพื่ อ ใช้ ท ดสอบระบบภายในเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ ติ ด ต่ อ ไปยั ง เครื อ ข่ า ยหรื อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ไอพีแอดเดรสชนิดนี้ใช้หมายเลข 127.0.0.1 ลูปแบ็กแอดเดรสสามารถใช้ ตรวจสอบการทางานของการ์ดแลนได้ เช่นใช้คาสั่ง ping 127.0.0.1 หรือทดสอบการทางานของ Web Server ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ โดยเมื่อติดตั้ง Web Server และสร้างโฮมเพจเสร็จ แล้วสามารถเรียกดูโฮมเพจได้จาก http://127.0.0.1 _____________________


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.