หฤทัยสัมพันธ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม - ตุลาคม 2555/2012

Page 1


สารบัญ

บอกอ...บอกกล่าว สารมหาธิการิณี ท�ำงานและการภาวนา กิจกรรมความเคลื่อนไหวของคณะพระหฤทัยฯ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ค.ศ. 2012 อารามพระหฤทัยฯ จากสามเสน...สู่...คลองเตย บ้านนี้มีรัก กิจกรรมในฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี เคล็ดลับที่แม่บ้านขอแบ่งปัน กิจกรรมในฝ่ายแม่บ้าน การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บูรณาการแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัย เพื่อ เสริมสร้างจิตสาธารณะนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (บทคัดย่อ) ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการท�ำงานร่วมกันของนักเรียนระดับมัธยม ศึกษาตอนต้นโรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์ (บทคัดย่อ) กิจกรรมในฝ่ายการศึกษา ข้อท้าทายของพระศาสนจักรในงานพัฒนามนุษย์...สู่การเป็นประชาคมอาเซียน กิจกรรมในฝ่ายสังคมพัฒนา มาเรียนรู้...พระวรสารนักบุญมาระโก กิจกรรมในฝ่ายอบรม กิจกรรมของผู้ฝึกหัด บ้านพระหฤทัยพัฒนเวศม์...บ้านสานฝันด้วยรัก คณะพระหฤทัยฯ กับงานธรรมฑูตที่ประเทศกัมพูชา ประวัติย่อและคุณธรรมของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี, SPC คุณแม่เซราฟิน...ครัง้ หนึ่งในความทรงจ�ำ อาลัยรัก...สมาชิกผู้ล่วงลับ ซิสเตอร์มารีอา สุนีรัตน์ ฤกษ์สุจริต ภาพเก่า...เล่าอดีต บันทึกไว้ในความทรงจ�ำ วารสาร หฤทัยสัมพันธ์

3 4 6 15 35

40 43 54 65 66

68 69 74 80 83 95 106 115 122 126 130 133 139 140

ปีที่ 57 ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2555/2012 เจ้าของ : คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ วัตถุประสงค์ : เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าว ที่ปรึกษา : ซิสเตอร์เชลียง เวชยันต์ และกิจกรรมของคณะภคินีพระหฤทัย บรรณาธิการ : ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ ของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ และเผย กองบรรณาธิการ : - คณะที่ปรึกษาของคณะฯ - ประธานฝ่ายต่างๆ - ฝ่ายส�ำนักเลขา : นฤมล สุขชัย, ธวัชชัย กิจเจริญ แพร่บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กฤติยา จางพานิชย์, ดวงพร คงพิกุล, พันธกิจของคณะ เกียรติสกุล กิ่งสังวาล, สรารัตน์ จันทร์ยุติธรรม พิมพ์ที่ : บริษัท จตุโชคการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-8614127


บอกอ...บอกกล่าว สวัสดีท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่าน รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับท่านอีกครั้ง มีอะไรบ้างใน หฤทัยสัมพันธ์ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2012/2555 นี้ ข่าวสารและความเคลื่อนไหว ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นพันธกิจของสมาชิกในคณะที่ได้กระท�ำ ปีนี้มีความพิเศษ ที่คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ นี้ได้ฉลอง 8 ทศวรรษของ อาคารพระหฤทัยฯ คลองเตยและเป็นปีครบรอบมรณกรรมของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี 60 ปี คุณแม่เป็นเซอร์จากคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่คุณพ่อ อาลอยส์ อัลฟองส์ ดอนต์ได้เชิญท่านมาเป็นผู้ช่วยอบรมและวางรากฐานให้กับคณะ ของเรา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1902 ดังนี้ในวารสารฉบับนี้จึงได้น�ำประวัติย่อการย้ายอาราม จากสามเสนมาสู่คลองเตยและประวัติของคุณแม่อันเป็นที่รักของพวกเรา รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางคณะได้จัดฉลองขึ้นมาน�ำเสนอด้วย เช่นเดิม มีข้อคิดดี ๆ จากคุณพ่อจิตตาธิการ บรรดาวิทยากรและจาก สมาชิกของคณะเอง ที่น�ำมาแบ่งปันกับท่านในวารสารฉบับนี้่ ที่สุดในโอกาสที่ปีแห่งความเชื่อได้เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2012 นี้ ขอ น�ำค�ำกล่าวของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ท่ี 16 ในสมณลิขิต (Porta Fidei) ที่ว่า “ปีแห่งความเชื่อนี้เป็นการเรียกร้องคาทอลิกทุกคนให้ฟื้นฟูการกลับใจไปยัง พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นพระผู้ไถ่กู้แต่พระองค์เดียวของโลก” มาย�ำ้ เตือน พวกเราทุกคนอีกครั้ง และขอให้เสียงเรียกร้องนี้ดังก้องในใจและเป็นแรงพลักดัน พวกเราทุกคนให้หันกลับมายังพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง และที่สุดกิจการแห่ง ความรักและแบ่งปันจะเกิดขึ้นอันเป็นผลแห่งกิจการดีที่เกิดขึ้น อันแสดงถึงการ เป็นดั่งเกลือที่มีรสเค็มและเป็นดั่งแสงสว่างที่ส่องอยู่เสมอ ขอพระหฤทัยอวยพรผู้อ่านทุก ๆ ท่านค่ะ หฤทัยสัมพันธ์

3


สารมหาธิการิณี

พี่น้องที่รักในพระคริสตเจ้า ปี แ ห่ ง ความเชื่ อ ได้ เ ริ่ ม ต้ น อย่ า งศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ สง่างามและมีความหมายในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2012 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรง เชื้อเชิญคริสตชนทุกคนให้เปิดหัวใจและก้าว เข้าสู่ปีแห่งความเชื่อไปพร้อม ๆ กัน พระองค์ ทรงย�้ำว่าประตูแห่งความเชื่อนี้เปิดอยู่ส�ำหรับ เราทุกคนเสมอ และพร้อมที่จะน�ำเราไปสู่ ชีวิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้า และกับพระศาสนจักร โดยอาศัยพระวาจาที่เราได้ประกาศออกมาและหัวใจ ที่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง การรื้อฟื้นความเชื่อให้ร้อนรนขึ้นใหม่ และการเป็น ประจักษ์พยาน ฉายแสงแห่งความจริงไปสู่โลก (อ้างถึงในสมณลิขิตฯ) ดัง พระวาจาของพระเจ้าที่ว่า “ท่านทั้งหลายเป็นเกลือดองแผ่นดิน...ท่านทั้ง หลายเป็นแสงสว่างส่องโลก” (มธ. 5: 13,14) สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ด้วยหัวใจที่เป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระคริสต เจ้า จึงพร้อมตอบสนองต่อความรักของพระองค์ด้วยการเป็นพยานยืนยันถึง ความรักของดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าที่มีต่อมนุษยชาติอย่างเหลือล้น โดยในปีการศึกษา 2012 นี้ สมาชิกทุกคนเลียนแบบความรักของพระหฤทัยฯ ด้วยการรักที่น้อมรับทุกสิ่งเป็นพลีบูชาและรักจนถึงที่สุดด้วยใจชื่นชมยินดี อันเป็นแนวทางปฏิบัติในการด�ำเนินชีวิตนักบวชในคณะพระหฤทัยฯ นอกจาก นั้นในปีน้ี สมาชิกยังได้มีโอกาสฉลอง 8 ทศวรรษอาคารพระหฤทัยฯ และ ครบรอบมรณกรรมของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี 60 ปี พวกเราจึงขอโมทนา คุณพระเจ้า และขอน้อมร�ำลึกถึงคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แม่ที่รักยิ่งของพวกเรา ที่ได้อุทศิ ทั้งชีวิตแด่พระเจ้าในคณะพระ 4

หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยฯ ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นแม่ท่เี ปี่ยมด้วยรักและเมตตา และ ท่านยังเป็นผู้ก่อสร้างอารามหลังปัจจุบันนี้ที่คลองเตยร่วมกับเซอร์คณะเซนต์ ปอล เดอ ชาร์ตร ผู้มาร่วมงานกับท่านและพร้อมกับบรรดาบรรพชนของ คณะรุ่นแรก ๆ อีกด้วย ขอสันติสุขจงด�ำรงอยู่กับทุกท่านเสมอและขอพระหฤทัยของพระเยซู เจ้า จงได้รับการเกียรติและได้รับการสรรเสริญด้วยกิจการที่สมาชิกคณะ พระหฤทัยฯ ได้กระท�ำตลอดไป ซิสเตอร์เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี

หฤทัยสัมพันธ์

5


ท�ำงาน และ การภาวนา (โดยนักบุญบาซิล องค์ใหญ่/330-379)

โดยคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ จิตตาธิการคณะพระหฤทัยฯ

เนื่องจากองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระเยซูคริสตเจ้า ได้ทรงกล่าวไว้ว่า “คนงานย่อมมีสิทธิ์ได้รับอาหารอยู่แล้ว” (มธ. 10: 10) และเนื่องจากอัคร สาวกเปาโลสั่งให้พวกเราท�ำงาน “ใช้มือท�ำงานอย่างสุจริตจะดีกว่า เพื่อ จะได้มีบางสิ่งมาแบ่งปันแก่ผู้ขัดสน” (อฟ. 4: 28) จึงเป็นเรื่องที่แจ้งชัดว่า เราทุกคนควรจะต้องท�ำงานอย่างสุจริตและอย่างดี และเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะ สมที่จะไปสรุปว่าความต้องการของเราที่จะรับใช้พระเจ้า ท�ำให้เราสามารถ แก้ตัวว่าเราเกียจคร้านได้หรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมท�ำงาน แต่ว่าน่าจะเป็นเรื่อง ที่มีเหตุผลมากกว่าที่จะต้องท�ำให้เรามีความมุ่งมั่นพยายามที่จะท�ำงานให้ มากขึ้นและมีความเพียรทนต่อความทุกข์ยากล�ำบากมากขึ้น เพื่อว่าเรา จะสามารถพูดได้ว่า “ข้าพเจ้าต้องท�ำงาน เหน็ดเหนื่อยล�ำบากตรากตร�ำ อดนอนบ่อย ๆ ต้องหิวกระหาย ต้องอดอาหารหลายครั้ง ต้องทนหนาว ไม่มเี สื้อผ้าสวมใส่” เมื่ อ เราสามารถใช้ ชี วิ ต ตามการเสนอ แนะนี้ของนักบุญบาซิล ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ แก่เรา มิใช่เพียงแต่เพื่อการท�ำพลีกรรมใช้ โทษบาปส�ำหรับร่างกายของเราเท่านัน้ แต่ เป็นเพราะความรักเมตตาต่อเพื่อนพี่น้องของ เรา และโดยผ่านทางเราพระเจ้าก็จะจัดหาสิ่งที่ จ�ำเป็นส�ำหรับเพื่อนพี่น้องที่อ่อนแอ สอดคล้อง กับแบบอย่างที่ได้ถ่ายทอดมาถึงเราในหนังสือ กิจการของอัครสาวก ตามที่นักบุญเปาโลได้ 6

หฤทัยสัมพันธ์


กล่าวว่า “ท่านก็รู้แล้วว่าข้าพเจ้าท�ำงานด้วยมือ ทั้งสองนี้ เพื่อสนองความต้องการของข้าพเจ้า และของผู้ท่อี ยู่ด้วย ข้าพเจ้าแสดงให้ท่านเห็น เสมอมาว่าเราต้องท�ำงานเช่นนี้เพื่อช่วยเหลือ ผู้อ่อนแอ โดยระลึกถึงพระวาจาของพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ว่า ‘การให้ย่อมเป็นสุข มากกว่าการรับ’ “(กจ. 20: 35) เพื่อว่าเราจะได้ มีอะไรบ้างเพื่อให้กับคนที่มีความต้องการ เพราะ ณ เวลาพิพากษาประมวลพร้อม พระเยซูเจ้าจะทรงกล่าวต้อนรับเราด้วย ถ้อยค�ำเหล่านี้ว่า “เชิญมาเถิด ท่านทั้งหลายที่ได้รับพระพรจากพระบิดา ของเรา เชิญมารับอาณาจักรเป็นมรดกที่เตรียมไว้ให้ท่านแล้วตั้งแต่ สร้างโลก เพราะว่าเมื่อเราหิว ท่านให้เรากิน เรากระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้า ท่านก็ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้า ท่านก็ให้เสื้อผ้า แก่เรา เราเจ็บป่วย ท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็มาหา” (มธ. 25: 34-36) เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะท�ำตัวเป็นคนเกียจคร้านได้อย่างไร เพราะท่าน อัครสาวกเปาโลได้บอกกับเราอย่างตรงไปตรงมาว่า “ถ้าผู้ใดไม่อยาก ท�ำงาน ก็อย่ากิน” (2ธส. 3: 10) ดังเช่นอาหารซึ่งเป็นสิ่งต้องการส�ำหรับ การเลี้ยงดูร่างกาย ดังนั้นร่างกายก็ต้องท�ำงานตามความสามารถที่มีอยู่ มิใช่ไม่มีเหตุผลที่กษัตริย์ซาโลมอนได้ชมภรรยาที่ดีว่า “เธอดูแลการงาน ในครัวเรือนของเธอ และไม่ชุบมือเปิบ” (สภษ. 31: 27) และอัครสาวก ก็ได้กล่าวถึงตัวท่านเองว่า “เรามิได้รับอาหารจากมือผู้ใดเป็นของก�ำนัล แต่เราได้ท�ำงานหนักด้วยความพากเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน” (2ธส. 3: 8) แม้ว่าในฐานะที่เป็นผู้ประกาศข่าวดี ก็มีสิทธิที่จะเลี้ยงชีพด้วย พระวรสารหรือการประกาศข่าวดีนั้น และพระเยซูเจ้าเองได้ท�ำการเชื่อม โยงความเกียจคร้านกับความชั่ว/ความไม่ดี พลางกล่าวว่า “อ้ายข้าชั่วช้า และเกียจคร้าน...ให้เอาไปทิ้งเสียที่มืดข้างนอก ซึ่งที่นั่นจะมีการร้องไห้ หฤทัยสัมพันธ์

7


ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน” (มธ. 25: 26-30) เช่นเดียวกัน กษัตริย์ซาโลมอนหลังจาก ที่ได้ชมคนที่ท�ำงานแล้ว พระองค์ก็ทรงหันมาต�ำหนิติเตียนพวกที่เกียจคร้าน โดยน�ำไปเปรียบเทียบกับสัตว์ตัวเล็ก ๆ ว่า “คนเกียจคร้านเอ๋ย ไปหามดไป๊ พิเคราะห์ดูทางของมัน และจงฉลาด” (สภษ. 6: 6) ดังนั้น เราจึงมีเหตุผลที่จะต้องหวาดกลัว เพื่อมิให้ในวันพิพากษา พระผู้ได้ทรงประทานให้เรามีพละก�ำลังความสามารถในการท�ำงาน จะทรง เรียกร้องให้เราแสดงผลงานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับพละก�ำลังความสามารถ นั้น ๆ เพราะพระองค์ได้ทรงกล่าวว่า “ผู้ใดได้รับมาก จะต้องเรียกเอาจาก ผู้นั้นมาก และผู้ใดได้รับฝากไว้มาก ก็จะต้องทวงเอาจากผู้นั้นมาก” (ลก. 12: 48) และเนื่องจากว่ามี (พระสงฆ์นักบวช) บางคนที่ใช้เป็นข้อแก้ตัว เรื่องการสวดภาวนาและการท�ำวัตรมาอ้าง เพื่อจะหลบหลีกไม่ยอมท�ำงาน เราต้องรู้ไว้ว่าในบางเรื่อง งานแต่ละอย่างย่อมมีเวลาของมัน ดังที่หนังสือ ปัญญาจารย์ได้บอกกับเราว่า “มีฤดูกาลส�ำหรับทุกสิ่ง และมีวาระส�ำหรับ เรื่องราวทุกอย่างภายใต้ฟ้าสวรรค์” (ปญจ. 3: 1) แต่ว่าส�ำหรับการสวด ภาวนาและการสวดท�ำวัตรนัน้ เช่นเดียวกับสิ่งอื่น ๆ อีกหลาย ๆ สิ่ง เรื่องของ เวลานั้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคที่จะไม่ให้เราปฏิบัติ เพื่อว่าในขณะที่มือของ เรายุ่งอยู่กับการงานต่าง ๆ ปากของเราก็สามารถสรรเสริญพระเจ้าได้ ให้เรา สรรเสริญพระเจ้าตามที่อัครสาวกเปาโล กล่าวกับพวกเราว่า “จงร้องเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงสรรเสริญ ด้วยใจโมทนาขอบพระคุณพระเจ้า” (คส. 3: 16) ดังนั้นให้เราได้ท�ำให้การ งานของเราส�ำเร็จครบถ้วนบริบูรณ์ด้วย การอธิษฐานภาวนาไปพร้อม ๆ กัน และ ด้วยการขอบพระคุณพระผู้ได้ทรงประทานมือให้กับเราเพื่อให้มีพลังที่จะ ท�ำงาน พระองค์ยังได้ทรงประทานจิตวิญญาณให้กับเรา เพื่อให้มีพลังที่จะ เก็บรวบรวมความรู้ต่าง ๆ และได้ทรงประทานวัตถุดบิ ต่าง ๆ ให้เป็นอุปกรณ์ 8

หฤทัยสัมพันธ์


เครื่องมือให้เราได้ใช้สอยด้วยการใช้ทักษะของเรา พลางอธิษฐานภาวนา ให้การงานที่ใช้มือของเราท�ำ มุ่งไปยังความส�ำเร็จให้เป็นที่พอพระทัย พระเจ้าเพื่อรับใช้พระองค์และเพื่อนพี่น้อง ด้วยประการฉะนี้ เราก็ได้สร้างความพร้อมที่เหมาะสมภายในจิต วิญญาณของเรา เพราะว่าในทุก ๆ พฤติกรรมของเรา เราได้ทั้งวอนขอพระเจ้า ได้โปรดอวยพรการงานของเรา และขอบพระคุณพระองค์ซ่งึ ได้ประทาน พละก�ำลังให้เราได้ท�ำงานต่าง ๆ ได้ พลางรักษาเป้าหมายสูงสุดเอาไว้ คือที่ จะท�ำให้เป็นที่พอพระทัยพระองค์ในทุก ๆ กรณี ถ้าหากว่าเรื่องที่กล่าวมานี้ เป็นจริงไม่ได้...ใครเล่าจะสามารถท�ำการประณีประนอมสองสิ่งที่แตก ต่างกันตามที่อัครสาวกเปาโลได้กล่าวไว้ว่า “ให้อธิษฐานภาวนาอย่าง ไม่หยุดหย่อน” และ “เราได้ท�ำงานหนักด้วยความพากเพียรทั้งกลางวัน และกลางคืน”?...และเนื่องจากว่าเราต้องรู้จักขอบคุณทุก ๆ เวลาอันเป็น สิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับชีวิตของเราทั้งด้วยเหตุผลและธรรมชาติดังที่ได้แสดงให้เห็น แล้ว เพราะฉะนัน้ เราไม่ควรที่จะละเลยเวลาแห่งการอธิษฐานภาวนาซึ่งได้ถูก ก�ำหนดเอาไว้ในพระวินัย พลางต้องหาทางบริหารจัดการให้ตัวเราได้มเี วลาที่ จะคิดถึงพระพรต่าง ๆ ที่เราได้รับจากพระเจ้า การท�ำวัตร ณ การท�ำวัตรเช้า (หลัง จากตื่นนอน) ให้เราได้ถวายการ เคลื่อนไหวแรก ๆ แห่งจิตวิญญาณ ของเราแด่ พ ระเจ้ า และอย่ า ไป สลวนเรื่ อ งอื่ น ใดจนกว่ า เราจะได้ มี ค วามชื่ น ชมยิ น ดี ด ้ ว ยการคิ ด ถึ ง พระเจ้าตามที่ได้มเี ขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าคิดถึงพระเจ้าและมีความสุขใจ ข้าพเจ้าตรึกตรองและจิตใจข้าพเจ้าก็อ่อนระอาไป” (สดด. 77: 3) และไม่ให้ร่างกายของเราเริ่มท�ำงานจนกว่าเราจะได้ท�ำสิ่งที่ได้มีเขียนไว้ใน บทเพลงสดุดี “ข้าแต่พระเจ้า ในเวลาเช้าพระองค์ทรงสดับฟังเสียงของ หฤทัยสัมพันธ์

9


ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์เตรียมถวายเครื่องสักการบูชาแด่พระองค์ และคอยเฝ้าดูอยู่” (สดด. 5: 3) และ ณ สามโมงเช้า ให้เราลุกขึ้นอธิษฐานภาวนาพร้อม ๆ กับเพื่อน พี่น้อง แม้ว่าจะก�ำลังแยกกันท�ำงานในสถานที่ต่าง ๆ อยู่ ขอให้พวกเขาได้ยก จิตวิญญาณของตนในการอธิษฐานภาวนา พลางคิดถึงว่าเป็นโมงที่สามที่ พระพรของพระจิตเจ้าได้ทรงประทานให้กับบรรดาอัครสาวก และให้ ทุกคนที่มีจิตวิญญาณเดียวกันได้กราบนมัสการพระองค์ เพื่อว่าพวกเขาจะ ได้กลายเป็นผู้เหมาะสมที่พระพรแห่งความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งพวกเขาจะได้รับ ใน เวลาเดียวกันพลางอธิษฐานภาวนาขอพระองค์ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น พระผู้น�ำทาง จะได้ทรงสอนสิ่งที่เหมาะกับพวกเรา เหมือนกับที่พระองค์ได้ ทรงอธิษฐานภาวนาว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงใส่ใจสะอาดภายในข้า พระองค์ แลฟื้นน�้ำใจที่หนักแน่นขึ้นใหม่ภายในข้าพระองค์ ขออย่าทรง เหวี่ยงข้าพระองค์ไปเสียจากเบื้อง พระพักตร์พระองค์ และขออย่า ทรงน�ำพระจิตของพระองค์ ไป จากข้าพระองค์ ขอทรงคืนความ ชื่ น บานในความรอดพ้ น แก่ ข ้ า พระองค์ และชูข้าพระองค์ไว้ด้วย เต็มพระทัย” (สดด. 51: 10-12) และในอีกตอนหนึ่งว่า “ขอพระจิตประเสริฐของพระองค์ ทรงน�ำข้า พระองค์ไปตามวิถีราบ” (สดด. 143: 10) และดังนี้เราก็สามารถเริ่มงานของ เราได้ จะมีใครบ้างแต่ในพวกเราเพราะสถานที่ท�ำงานหรือกรณีแวดล้อม พบตัวเองว่าอยู่ห่างไกลกันคนละที่ โดยไม่ต้องลังเลใจ ขอให้พวกเขาได้รักษา สิ่งที่ได้วางเป็นระเบียบ/หลักการส�ำหรับทุกๆคนว่า “ถ้าในพวกท่านที่อยู่ใน โลกสองคน จะร่วมใจกันขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตใน สวรรค์ ก็จะทรงกระท�ำให้” (มธ. 18: 19) เช่นเดียวกัน การอธิษฐานภาวนา 10

หฤทัยสัมพันธ์


ในเวลาเที่ยงวัน/โมงที่หก ก็มีความจ�ำเป็น โดยตามแบบอย่างของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ ว่า “ทั้งเวลาเช้า เวลาเย็น และเวลาเที่ยง ข้าพเจ้าร้องทุกข์และคร�่ำครวญ และ พระองค์จะทรงฟังเสียงของข้าพเจ้า” (สดด. 55: 17) และเพื่อว่าเราจะได้รับ การช่วยเหลือให้รอดพ้นจากการโดนโจมตีและจากจิตชั่วร้ายแห่งเที่ยงวัน “ท่านจะไม่กลัวความสยดสยองในกลางคืน หรือกลัวลูกธนูท่ปี ลิวใน กลางวัน หรือโรคภัยที่ไล่มาในความมืด หรือโรคซึ่งท�ำลายในเที่ยงวัน” (สดด. 91: 5-6) ในชั่วโมงนี้ ให้เราขับร้องเพลงสดุดที ี่ 91 ซึ่งบรรดาอัครสาวก ได้ท�ำการขับร้องอันท�ำให้เราได้ทราบถึงความต้องการที่จะต้องอธิษฐาน ภาวนาในโมงที่เก้า/บ่ายสามโมง ซึ่งได้มีพูดถึงในหนังสือกิจการอัครสาวก ว่า เปโตรและยอห์นได้ไปที่พระวิหาร “ในเวลาอธิษฐานเป็นเวลาบ่ายสาม โมง” (กจ. 3: 1) เมื่อจบวันลง ให้เราท�ำการขอบพระคุณส�ำหรับสิ่งที่เราได้รับตลอด ทั้งวัน และส�ำหรับสิ่งที่เราได้กระท�ำอย่างถูกต้อง และขอให้เราได้ท�ำการ สารภาพถึงสิ่งที่เราไม่ได้ท�ำหรือได้ละเลย และบาปทุกประการที่เต็มใจท�ำ หรือไม่เต็มใจท�ำ หรือแม้แต่ที่ถูกปิดบังไว้จากเรา ในค�ำพูด หรือในการกระท�ำ และแม้กระทั่งบาปที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา เพื่อเราจะได้รับพระเมตตาจาก พระเจ้าส�ำหรับบาปทุกข้อทุกประการและเพื่อว่าเราจะได้ท�ำการพิจารณาดู ตัวเองถึงสิ่งที่เราได้กระท�ำนั้น ต้องนับว่าเป็นการช่วยเหลืออย่างใหญ่หลวง ที่จะไม่ยอมให้เราต้องตกอยู่ในบาปเดียวกันอีก เพราะเหตุฉะนี้ พระคัมภีร์จึง กล่าวว่า “จงค�ำนึงในใจ เวลาอยู่บนที่นอนและสงบอยู่” (สดด. 4: 4) เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มเวลากลางคืน ให้เราอธิษฐานภาวนาเพื่อ ให้การพักผ่อนของเราปลอดพ้นจากบาปและจากภาพหลอนที่ชั่วร้ายต่างๆ และ ณ โมงนี้ เราควรจะต้องร้องเพลงสดุดีที่เก้าสิบเอ็ด นักบุญเปาโลและ สิ ล าสได้ ถ ่ า ยทอดบอกกล่ า วให้ เ ราทราบว่ า เวลาเที่ ย งคื น เป็ น เวลาที่ เ รา หฤทัยสัมพันธ์

11


ต้องการอธิษฐานภาวนาด้วย ดังที่เราได้อ่านในหนังสือกิจการอัครสาวกว่า “ประมาณเที่ยงคืน เปาโลกับสิลาสก็อธิษฐานและร้องเพลงสรรเสริญ พระเจ้า” (กจ. 16: 25) และผู้แต่งเพลงสดุดกี ็ได้กล่าวเช่นเดียวกันว่า “พอ เที่ยงคืน ข้าพระองค์ลุกขึ้นโมทนาพระคุณพระองค์ เนื่องด้วยกฎหมาย อันชอบธรรมของพระองค์” (สดด. 119: 62) และอีกครั้งหนึ่งก่อนจะรุ่งสาง เราต้องตื่นขึ้นมาอธิษฐานภาวนา เพื่อว่าเวลากลางวันจะไม่พบเราก�ำลังหลับ นอนอยู่บนเตียงอันสอดคล้องกับพระวาจาที่กล่าวว่า “ข้าพระองค์ต่นื ขึ้น ก่อนอรุณ ทูลขอความช่วยเหลือ ข้าพระองค์หวังอยู่ในพระวจนะของ พระองค์” (สดด. 119: 147) ชั่วโมงต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องไม่ถูก ละเลยจากผู้ที่ได้อุทิศตัวเองใช้ชีวติ เพื่อ สรรเสริญและถวายเกียรติแด่พระเจ้า และแด่องค์พระคริสตเจ้าของพระองค์ แต่ ว ่ า น่ า จะเป็ น สิ่ ง ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ที่ จ ะ มี ค วามหลากหลายในบทภาวนาและใน บทเพลงสดุดี ณ ชั่วโมงที่ก�ำหนดไว้เมื่อเราสวดท�ำวัตร เพราะการสวด ท�ำวัตรแบบเดียวกันทุก ๆ วัน จะท�ำให้จิตวิญญาณของเราวักแวกและ จะไม่จดจ่ออยู่ท่กี ารสวดท�ำวัตร แต่ว่าเมื่อการขับร้องเพลงสดุดแี ละ บทเพลงสรรเสริญเป็นแบบหลากหลาย ณ แต่ละชั่วโมง ความรักใน การสวดท�ำวัตรจะได้รับความกระชุ่มกระชวยขึ้นและความตั้งใจจดจ่อ จะมีมากขึ้นอีกด้วย จุดประสงค์ของการท�ำงาน เป็นสิ่งที่เราต้องร�ำลึกอยู่ในใจไว้เสมอ...เพื่อว่าใครก็ตามที่ท�ำงาน ก็ควรจะต้องท�ำเช่นนัน้ มิใช่เพื่อเป็นการสนองความต้องการของตัวเอง แต่เพื่อให้เขาคนนั้นสามารถที่จะท�ำส�ำเร็จสิ่งซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าได้ 12

หฤทัยสัมพันธ์


ทรงบัญชาไว้ “เมื่อเราหิว ท่านทั้งหลาย ก็ได้จัดหาให้เรากิน” การเอาใจใส่สลวน แต่ เ รื่ อ งของตั ว เองเป็ น สิ่ ง ที่ ต ้ อ งห้ า มจาก องค์พระเยซูเจ้าเมื่อพระองค์ทรงกล่าวว่า “อย่าเป็นห่วงชีวิตของท่านว่าจะกินอะไร และอย่าเป็นห่วงร่างกายของท่านว่าจะ เอาอะไรมานุ่งห่ม” และพระองค์ยังได้เสริมต่อไปอีกว่า “ความสลวนต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องคนต่างศาสนาที่จะต้องใส่ใจต่างหาก” เพราะฉะนัน้ เราแต่ละคนเวลาที่ท�ำงานต่าง ๆ ควรจะต้องมีเป้าหมายอันนี้ไว้ในใจ อยู่เสมอว่าจะต้องรับใช้ความต้องการของเพื่อนพี่น้อง มิใช่เพื่อรับใช้ ความต้องการของตัวเราเอง ด้วยประการฉะนี้ เขาคนนั้นก็จะรอดพ้นจาก การถูกกล่าวโทษว่าเอาแต่สนองตอบความต้องการส่วนตัว แต่เขาจะได้รับ พระพรส�ำหรับความรักฉันท์พี่น้องของตนจากองค์พระเยซูเจ้าซึ่งได้ทรงบอก ว่า “เราขอบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่าท่านท�ำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ ต�่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ท�ำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ. 25: 40) อย่าให้ใครคิดว่าค�ำพูดของนักบุญบาซิลขัดกับถ้อยค�ำของท่านอัคร สาวกเปาโลซึ่งกล่าวว่า “เราก�ำชับและเตือนคนเช่นนี้ในพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า ให้ท�ำงานอย่างสงบและหาเลี้ยงชีพด้วยน�้ำพักน�้ำแรง ของตนเอง” (2ธส. 3: 12) ถ้อยค�ำเหล่านี้ต้องการหมายถึงคนเกียจคร้าน และคนที่ไม่มรี ะเบียบวินัยในชีวิตของตนเอง พลางบอกพวกเขาว่าเป็นการ ดีกว่าส�ำหรับแต่ละคนที่จะหาอาหารเลี้ยงชีพของตน มิใช่ท�ำตนให้เป็นภาระ ยากล�ำบากส�ำหรับเพื่อนพี่น้องโดยการใช้ชวี ิตที่เกียจคร้าน “เราได้ยนิ ว่า บางท่านด�ำเนินชีวิตอย่างเกียจคร้านไม่ท�ำงานเลย แต่กลับไปยุ่งเกี่ยว กับธุระของผู้อ่นื เราขอก�ำชับและเตือนคนเช่นนี้ในพระเยซูคริสต์องค์ พระผู้เป็นเจ้า ให้ท�ำงานอย่างสงบและหาเลี้ยงชีพด้วยนน้ำพักน�้ำแรงของ ตนเอง...เราตรากตร�ำท�ำงานทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อเราจะได้ไม่ เป็นภาระแก่ผู้ใด” (2ธส. 3: 11, 12, 8) โดยสัมพันธ์กับเจตนารมณ์เดียวกัน หฤทัยสัมพันธ์

13


เนื่องจากท่านอัครสาวกเปาโล เพราะความรักต่อเพื่อนพี่น้อง ยอมท�ำงานที่ นอกเหนือจากสิ่งที่ตัวเองถูกเรียกร้อง ก็ได้ต�ำหนิตเิ ตียนคนที่ใช้ชีวิตอย่างไม่มี ระเบียบวินัยตนเอง แต่ว่าคนที่ก�ำลังมีความพยายามที่จะบรรลุถึงความ ครบครันบริบูรณ์ ก็ให้เขาได้ท�ำงานทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อว่าเขา คนนั้นจะได้มีอะไรบ้างที่จะให้กับคนที่มีความต้องการ...ขอให้พวกเราใน กิจการทุกชิ้นทุกอันที่เราท�ำ ก็ขอให้ท�ำเพื่อให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เพื่อ ประโยชน์ของวิญญาณของเราและของเพื่อนพี่น้อง ทั้งนี้เพื่อที่จะท�ำให้ค�ำ สั่งสอนของท่านอัครสาวกนักบุญเปาโลได้ส�ำเร็จไปตามที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าเราจะกินหรือดื่ม หรืออะไรก็ตามที่เราท�ำ ก็จงท�ำเพื่อพระเกียรติ มงคลของพระเจ้า...อาแมน

14

หฤทัยสัมพันธ์


กิจกรรมความเคลื่อนไหวคณะพระหฤทัยฯ ระหว่างเดือนพฤษภาคม–ตุลาคม ค.ศ. 2012

ร่วมยินดีกับสมาชิกคณะนักบวชที่ถวายตัว

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกฯ ร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณโอกาสฉลองการปฏิญาณครบรอบ 25 ปี ซิสเตอร์บังอร ไชยเผือก และฉลอง 50 ปี ได้แก่ ซิสเตอร์เซลิน ทรงสัตย์ และซิสเตอร์ เจโรม บุณยะวณิช ภคินคี ณะพระ กุมารเยซู ณ วัดราชินีแห่งสันติสุข สุขุมวิทซอย 101 วันเสาร์ท่ี 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกฯ ไปร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณ โอกาสปฏิญาณตนตลอดชีพ ฉลองหิรัญสมโภช สุวรรณ สมโภชและพัชรสมโภชของสมาชิกคณะภคินี เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ณ ห้องประชุม Trinity โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

พิธีบูชาขอบพระคุณเปิดปีการศึกษา 2012

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เวลา 15.00 น. คณะพระหฤทัยฯ จัดพิธีบูชาขอบพระคุณส�ำหรับพนักงานเนื่องในโอกาสเปิดปีการศึกษา หฤทัยสัมพันธ์

15


2012 เพื่อเสริมสร้างขวัญและก�ำลังใจแก่พนักงานแต่ละฝ่ายได้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างดี ณ วัดน้อยอารามพระหฤทัย โดยคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช เป็น ประธานในพิธี หลังพิธีมีการเสกอุปกรณ์การท�ำงานของพนักงานจากฝ่าย ต่าง ๆ

สมาชิกร่วมพิธีบวชสงฆ์ใหม่

วันเสาร์ท่ี 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และ ตัวแทนสมาชิกไปร่วมพิธีบวชพระสงฆ์ใหม่ของ คุณพ่อเปโตร พนมกร สง่า วงศ์ คณะภราดาน้อยกาปูชนิ ที่วัดพระนามเยซู ชลบุรี คุณพ่อเป็นหลาน ของซิสเตอร์ กลอเลตา อังเยลา เจิม สง่าวงศ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว) และ ซิสเตอร์ กฤษณา หอมสุคนธ์ วันเสาร์ท่ี 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกร่วมพิธีบวชพระสงฆ์ ใหม่ของคุณพ่อโทมัส อาไควนัส สมชาย หมอกครบุรี สังฆมณฑลนครราชสีมา ณ อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด นครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ บรรดา ซิ ส เตอร์ แ ละผู ้ ฝ ึ ก หั ด ไปร่ ว มพิ ธี บ วชพระสงฆ์ ใ หม่ ข องอั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ 3 องค์ ได้แก่ คุณพ่อยอแซฟทัศมะ กิจประยูร คุณพ่อยอห์น บัปติสต์สักรินทร์ ศิรบันเทิง คุณพ่อเปโตรสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช (หลาน ซิสเตอร์นภิ า เรืองวุฒชิ นะพืช) ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน 16

หฤทัยสัมพันธ์


วันอาทิตย์ท่ี 17 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกไปร่วมพิธีบวช พระสงฆ์ใหม่ของสังฆมณฑลราชบุรี ได้แก่ คุณพ่อโดมินีโก ซาวีโอ ศราวิน พัดศรีเรือง (หลานของซิสเตอร์วันเพ็ญ พิมเสน) ณ อาสนวิหารแม่พระ บังเกิด บางนกแขวก จ.สมุทรสงคราม

ร่วมฉลอง 75 ปี คณะกลาริส กาปูชนิ บ้านโป่ง

วันเสาร์ท่ี 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ ซิสเตอร์สุพรรณี แย้มกรรณ์ และ ซิสเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืน เดินทางไปร่วมพิธี บูชาขอบพระคุณโอกาสที่คณะซิสเตอร์กลาริส กาปูชิน บ้านโป่ง ได้เข้ามา ท�ำงานในประเทศไทยเป็นเวลา 75 ปี ณ วัดภายในของอารามกลาลิส กาปูชิน บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

พระสงฆ์ใหม่ถวายมิสซาแรกที่อารามพระหฤทัยฯ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เวลา 17.00 น. คุณพ่อ เปโตร พนมกร สง่าวงศ์ พระสงฆ์คณะภราดาน้อยกาปูชิน มาถวายพิธี บูชาขอบพระคุณ (มิสซาแรก) ที่วัดน้อยบ้านพระแม่ผู้ปฏิสนธินิรมล อาราม พระหฤทัย คลองเตย

วันเสาร์ท่ี 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เวลา 17.15 น. พระสงฆ์ใหม่ 5 ท่าน ได้แก่ คุณพ่อยอแซฟ ทัศมะ กิจประยูร คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ หฤทัยสัมพันธ์

17


ศักรินทร์ ศิรบันเทิง และคุณพ่อเปโตร สมภพ เรืองวุฒิชนะพืช จากอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ คุณพ่อโดมินีโก ซาวีโอ ศราวิน พัดศรีเรือง จาก สังฆมณฑลราชบุรี และคุณพ่อโทมัส อไควนัส สมชาย หมอกครบุรี จาก สังฆมณฑลนครราชสีมา มาถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซาแรก) ที่วัดน้อย ชั้น 3 อารามพระหฤทัย คลองเตย

สมาชิกฯ ร่วมภาวนาและไว้อาลัยแด่ญาติพี่น้องของสมาชิก และ พระสงฆ์ท่ลี ่วงลับ

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกคณะพระ หฤทัยฯ ไปร่วมสวดศพให้กับวิญญาณของ ร็อค สวัสดิ์ ยิ่งยืน พี่ชายของ ซิสเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืน ที่ศาลาพักศพ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี

วันจันทร์ท่ี 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกไปร่วมสวดศพ ให้กับวิญญาณของอันเดร จุ๊ยเท้ง แซ่อั้ง บิดาของคุณพ่อสมชาย อัญชลี 18

หฤทัยสัมพันธ์


พรสันต์ ที่ศาลาพักศพวัดเซนต์หลุยส์และร่วมในพิธีปลงศพ ในวันพฤหัสบดี ที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เวลา 09.00 น. ณ วัดเซนต์หลุยส์ วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เวลา 15.00 น. ตัวแทนสมาชิก ร่วมพิธปี ลงศพแด่ ซีเมออน เฉลิม ปรีชาวุฒิ บิดาของบราเดอร์อนันต์ ปรีชาวุฒิ ณ วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า วันที่ 27 และ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกร่วมพิธีสวด ภาวนาอุทิศแด่ดวงวิญญาณของคุณประสงค์ แซ่เฮง น้องชายของคุณแม่ พรรณี ภู่เรือนหงษ์ ที่จังหวัดชลบุรี

วันศุกร์ท่ี 10 สิงหาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์และสมาชิก คณะพระหฤทัยฯ ร่วมสวดภาวนาอุทศิ แด่ดวงวิญญาณของ โรซา บุญช่วย ระดมกิจ มารดาของซิสเตอร์สุรีย์พร ระดมกิจ และในวันเสาร์ท่ี 11 สิงหาคม ค.ศ. 2012 เวลา 10.00 น. ร่วมในพิธีปลงศพ ณ วัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง จ.ราชบุรี โดยคุณพ่อวิเชียร ระดมกิจ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย คณะพระสงฆ์ นักบวชและสัตบุรุษมาร่วมไว้อาลัยร่วมกับครอบครัวระดมกิจ

หฤทัยสัมพันธ์

19


วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 เวลา 15.00 น. คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธีปลงศพ เทเรซา สมร สินประเสริฐ พี่สาวของซิสเตอร์สุรีย์พร สินประเสริฐ ที่วัดแม่พระประจักษ์แห่งภูเขา คาร์แมล สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี โดยคุณพ่อถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ เป็น ประธานในพิธี

วันอาทิตย์ท่ี 2 กันยายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ เดินทางไปค�ำนับศพและสวดภาวนาให้กับพระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค อดีตประมุขของสังฆมณฑลนครสวรรค์ และในวันศุกร์ที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกได้เดินทางไปร่วมพิธีปลงศพพระคุณเจ้า ที่อาสนวิหารนักบุญอันนา จ. นครสวรรค์

20

หฤทัยสัมพันธ์


วันจันทร์ท่ี 3 กันยายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ เดินทางไปสวดศพให้กับวิญญาณของ เอลีซาเบ็ธ กิมเจีย ประจงการ น้องสาวของซิสเตอร์กิมหยุน แซ่โล้ว ที่ศาลาสวดศพ วัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง และไปร่วมพิธีปลงศพในวันพฤหัสที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2012

วันที่ 5-6 กันยายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ได้ ไปร่วมสวดภาวนาให้กับดวงวิญญาณของ จูเลีย อรทัย ชินวงศ์ มารดา ของซิสเตอร์ศริ ิวรรณ ชินวงศ์ ที่วัดเซนต์นโิ คลาส พัทยา และในวันเสาร์ ที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ เดินทางไปร่วม พิธีปลงศพที่วัดนักบุญยอแซฟ ดอนดู่ จังหวัดสกลนคร โดย คุณพ่อวีระเดช ใจเสรี อุปสังฆราชอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นประธานในพิธี ร่วม กับบรรดาพระสงฆ์ และซิสเตอร์คณะรักกางเขนแห่งท่าแร่ ญาติและสัตบุรุษ ให้เกียรติมาร่วมพิธีและไว้อาลัย

หฤทัยสัมพันธ์

21


วันเสาร์ท่ี 20 และวันจันทร์ท่ี 22 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เวลา 19.30 น. ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมสวดภาวนาอุทศิ แด่ดวงวิญญาณ ของ มารีอา ซาแลน ชินะผา มารดาของซิสเตอร์รวงกาญจนา ชินะผา คณะ อุร์สุลิน ณ อาคารแมนชั่น ลาดพร้าว และในวันพุธที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ไปร่วมพิธีปลงศพมารดาของซิสเตอร์รวง กาญจนา ที่วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า จ.นครนายก

วันอาทิตย์ที่ 21 และวันอังคารที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เวลา 19.30 น. ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมสวดภาวนาอุทิศแด่ คุณพ่อยีน แบร์รี สงฆ์คณะเยซูอติ และไปร่วมพิธีปลงศพในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ที่หอ ประชุมเซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยฯ ก่อนจะน�ำร่างไปฝังที่สุสานวัดนักบุญฟรังซิส เซเวียร์ สามเสน

22

หฤทัยสัมพันธ์


เจ้าหน้าที่ส�ำนักงานเลขาฯ พักผ่อนร่วมกัน

วันที่ 28-30 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ และซิสเตอร์ชวาลา เวชยันต์ น�ำเจ้าหน้าที่ส�ำนักเลขาฯ ไปพักผ่อนประจ�ำปีท่ี ใบลานฮัท เกาะช้าง จ.ตราด

พิธีบูชาขอบพระคุณปิดเดือนแม่พระ

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 บรรดาซิสเตอร์และ พนักงานร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสปิดเดือนแม่พระ ณ วัดน้อยอาราม พระหฤทัยฯ โดย คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นประธานในพิธี

พิธีแห่ศีลมหาสนิท

วันอาทิตย์ท่ี 10 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เวลา 09.00 น. คณะพระ หฤทัยฯ จัดพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสวันสมโภชพระวรกายและพระ หฤทัยสัมพันธ์

23


โลหิตพระคริสตเจ้า ณ วัดน้อยอารามพระหฤทัยฯ คลองเตย โดยคุณพ่อ วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ เป็นประธานในพิธี ร่วมกับคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ และ คุณพ่อถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์ โดยมีซิสเตอร์ในส�ำนักกลาง ผู้ฝึกหัด เด็กประจ�ำ เด็กนักเรียนพัฒนเวศม์และสัตบุรุษ ร่วมในพิธดี ังกล่าว

คณะครูและนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเยี่ยมซิสเตอร์ อาวุโสที่บ้านพระแม่ผู้ปฏิสนธินิรมล

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2012 คณะครู 3 ท่านและนักเรียน 30 คน จากโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษามาเยี่ยมและค�ำนับขอพรซิสเตอร์อาวุโส เนื่องในโอกาสวันไหว้ครูปีการศึกษา 2012 ที่บ้านพระแม่ผู้ปฏิสนธินิรมล โอกาสนี้ ซิสเตอร์ธีรนุช จันวัฒนาวงศ์ อธิการบ้านพระแม่ฯ น�ำคณะครูและ นักเรียนเข้าพบปะให้ก�ำลังใจสมาชิกที่เจ็บป่วยและขอพรจากพระหฤทัยของ พระเยซูเจ้าที่วัดน้อยของบ้าน

24

หฤทัยสัมพันธ์


มหาธิการิณีเข้าร่วมประชุมต่างๆ วันที่ 23-26 มิถุนายน ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิ การิณี เป็นผู้แทนคณะนักบวชต่าง ๆ ในการเข้าร่วมประชุม FABC–OCL SYMPOSIUM III หัวข้อ “Consecrated Life Towards Collaborative Role in the Mission of the Church” ณ บ้านฟื้นฟูจติ ใจซาเลเซียนชาย หัวหิน โดยมีซสิ เตอร์ชวาลา เวชยันต์และซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เข้า ร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุมครัง้ นี้

วันที่ 9-11 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ เข้าร่วม ประชุมสัมมนาของสหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย ที่ บ้านเข้าเงียบของคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ฉะเชิงเทรา โดยมีคุณพ่อมิเกล กาไรซาบาล S.J. มาแบ่งปันหัวข้อเรื่อง “ความเชื่อของแม่พระในชีวิตและ พันธกิจของผู้น�ำคณะ”

หฤทัยสัมพันธ์

25


วันที่ 29-31 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ เข้าร่วม ประชุมคณะกรรมการของชมรมอธิการิณีเจ้าคณะแห่งประเทศไทยที่จังหวัด เชียงราย วันที่ 3-7 สิงหาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์และซิสเตอร์ กาญจนา สิงห์สา เดินทางไปร่วมประชุมกับสหพันธ์คณะรักกางเขนที่เมืองโฮ จิมินห์ ประเทศเวียดนาม

วันที่ 19-22 สิงหาคม คุณแม่เชลียง เวชยันต์ ซิสเตอร์บังอร มธุรส สุวรรณ ซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงค์ และซิสเตอร์ศิริรัตน์ เหล่าวัฒนพงศ์ เข้า ร่วมสัมมนา-เข้าเงียบกับชมรมอธิการิณีเจ้าคณะแห่งประเทศไทยและลาว ประจ�ำปี 2012 โดยมีซิสเตอร์ SR. INIGO (KURAPATTI JOACHIM ALPHONSE) จาก New Delhi มาเป็นผู้ให้การน�ำการสัมมนากึ่งเข้าเงียบ ในหัวข้อเรื่อง ReImaging Religious Life in Asia Challenges and Responses” ณ บ้าน พระหฤทัย ชะอ�ำ การสัมมนา-เข้าเงียบครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจ�ำนวน 28 คน

26

หฤทัยสัมพันธ์


ฉลองศาสนนามคุณพ่อผู้ช่วยจิตตาธิการ

วันศุกร์ท่ี 22 มิถุนายน ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมใน พิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองศาสนนามนักบุญโทมัส โมร์ ของคุณพ่อ ถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์ ผู้ช่วยจิตตาธิการอารามพระหฤทัย หลังพิธีสมาชิก ค�ำนับ-อวยพรและร่วมรับประทานอาหารเช้าพร้อมกัน

วันศุกร์ท่ี 29 มิถุนายน ค.ศ. 2012 สมาชิกพระหฤทัยฯ ร่วมฉลอง ศาสนนามแด่คุณพ่อเปโตร ชวลิต กิจเจริญ ผู้ช่วยจิตตาธิการอาราม พระหฤทัย โดยมีพิธีบูชาขอบพระคุณและค�ำนับและอวยพรคุณพ่อหลังพิธี นอกจากนี้ พนักงานและเจ้าหน้าที่ของอารามได้ค�ำนับและอวยพรคุณพ่อ ชวลิตในวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เช่นกัน

หฤทัยสัมพันธ์

27


คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง เยี่ยมซิสเตอร์อาวุโส

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 คณะครูและนักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 3 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมืองมาเยี่ยมและค�ำนับขอพรซิสเตอร์อาวุโสที่ บ้านพระแม่ผู้ปฏิสนธินิรมล พร้อมร�ำอวยพรชุดระบ�ำดอกบัว จากนัน้ คณะครู และนักเรียนเข้าเยี่ยมให้ก�ำลังใจซิสเตอร์อาวุโสที่นอนเจ็บป่วย รับประทาน อาหารว่าง และขอพรจากพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าที่วัดน้อยฯ บ้านพระ แม่ฯ ก่อนเดินทางกลับโรงเรียน

ร่วมฉลอง 40 ปีคณะสงฆ์ปีเมท�ำงานในประเทศไทย

วันเสาร์ท่ี 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์กฤษดา สาตร์พันธ์ุและ บรรดาซิสเตอร์ท่ที �ำงานภาคเหนือร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลอง 40 ปี คณะปีเมที่เข้ามาท�ำงานในประเทศไทย ณ อาสนวิหารพระหฤทัย จ.เชียงใหม่ โดย พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นประธานในพิธี

28

หฤทัยสัมพันธ์


ถวายพระพรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลง กรณ สยามมกุฎราชกุมาร

ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมในพิธีถวายพระพรสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ โอกาสนี้ผู้ไปร่วมงานทุกคนร่วมวจนพิธีกรรมทางคริสตศาสนาเพื่อถวาย เป็นพระราชกุศลฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลศกนี้

งานวันแม่ ณ อารามพระหฤทัย

วันศุกร์ท่ี 10 สิงหาคม ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ค�ำนับ คุณแม่เชลียง เวชยันต์ พร้อมกันโอกาสวันแม่แห่งชาติ

วันเสาร์ท่ี 11 สิงหาคม ค.ศ. 2012 คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซู เจ้าแห่งกรุงเทพฯ จัดพิธีบูชาขอบพระคุณเนื่องในโอกาสวันแม่ให้แก่พนักงาน หฤทัยสัมพันธ์

29


โดย คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นประธานในพิธี หลังพิธีมีกิจกรรมระลึกถึง พระคุณแม่ บรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความรักความอบอุ่น

ซิสเตอร์อาวุโสแสวงบุญ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2012 คุณแม่เชลียง เวชยันต์และซิสเตอร์ ศิริรัตน์ เหล่าวัฒนพงศ์ น�ำซิสเตอร์อาวุโส จ�ำนวน 7 คน ไปแสวงบุญที่วัดใน เขตอยุธยา

ประชุมกรรมการฝ่ายวิชาการของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย วันอังคารที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์ชวาลา เวชยันต์ได้จัด ประชุมคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของสภาการศึกษาคาทอลิกฯ ณ ห้อง ประชุมอารามพระหฤทัยฯ 30

หฤทัยสัมพันธ์


ฉลองอารามคาร์แมลนครสวรรค์

วันเสาร์ท่ี 22 กันยายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ เดินทางไปร่วมฉลอง 25 ปีแห่งชีวิตนักบวชของเซอร์โปลีน แห่งพระหฤทัย O.C.D (โรซา อรษา ผิวเกลี้ยง) หลานของซิสเตอร์จ�ำรัส กิจเจริญ และฉลอง อารามคาร์แมล จ.นครสวรรค์ พร้อมกันด้วย

ร่วมฉลองกับคณะพระมหาไถ่

วันเสาร์ท่ี 22 กันยายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนสมาชิกไปร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณ เวลา 10.00 น. โอกาสฉลองคณะพระมหาไถ่ข้นึ เป็นแขวง ประเทศไทย และพิธเี ปิดและเสกตึกรีดรีมเมอร์ ฮอล์ ที่วัดพระมหาไถ่ ซอย ร่วมฤดี โดยพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็น ประธานในพิธี

ค�ำนับพระคาร์ดินัลโอกาสฉลองศาสนนาม

วันพุธที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2012 คุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ จิตตาธิการอารามพระหฤทัย และตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ อีกทั้ง ผู้ฝึกหัด เข้าค�ำนับพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เนื่องในโอกาส หฤทัยสัมพันธ์

31


วันฉลองศาสนนาม “อัครเทวดามีคาแอล” ที่บ้านอับราฮัม สามพราน

ร่วมพิธีเปิดและถวายอาสนวิหารสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี

วันเสาร์ท่ี 29 กันยายน ค.ศ. 2012 เวลา 10.00 น. ตัวแทนสมาชิก คณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธีเปิดและถวายอาสนวิหารอัครเทวดาราฟาแอล ของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี โดยมีพระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประมุขของสังฆมณฑลเป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ

สมาชิกฟื้นฟูจติ ใจ พักผ่อนร่วมกัน

วันที่ 29 กันยายน ถึงวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ที่เตรียมฉลอง 50 ปีและสมาชิกที่เตรียมปฏิญาณตนตลอดชีพ เดิน ทางไปพักผ่อนร่วมกันที่จังหวัดกระบี่ พร้อมทัง้ แวะเยี่ยมชมอาสนวิหารอัครเทวดาราฟาแอลและ 32

หฤทัยสัมพันธ์


เข้าเยี่ยมพระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประมุขของสังฆมณฑล สุราษฎร์ธานี

สมาชิกแสวงบุญที่ประเทศอิตาลี-สวิตเซอร์แลนด์-ฝรั่งเศส วันที่ 8-16 ตุลาคม ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ 5 ท่าน ได้แก่ คุณแม่ สมพิศ กตัญญู ซ.ร�ำพึง วิจิตรวงศ์ ซ.ระเบียบ ยิ่งยืน ซ.ประเทือง ตรีมรรคา และซ.อนงค์ สุขสุถ้อย เดินทางไปแสวงบุญประเทศอิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และลูร์ด

หฤทัยสัมพันธ์

33


พนักงานโรงเรียนและอารามพระหฤทัยพักผ่อนประจ�ำปี

วันที่ 22-23 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซ.กัลยา ตรีโสภา อธิการบ้าน ส�ำนักกลาง ซ.มารศรี จันทร์ชลอ ผู้ช่วยอธิการ และ ซ.สาวิตรี จินประยูร น�ำพนักงานโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์และอารามพระหฤทัย คลองเตย จ�ำนวน 150 คน เดินทางไปพักผ่อนประจ�ำปี ณ บ้านบุไทรโฮมสเตย์ อ.วังน�้ำ เขียว จ.นครราชสีมา และในวันพุธที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2012 พนักงานบางส่วนได้เดินทาง ไปพักผ่อนที่หาดบางแสน จ.ชลบุรี

สมาชิกส�ำนักกลาง ผู้ฝึกหัดและพนักงานร่วมพิธีปิดเดือนแม่พระ

วันอังคารที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เวลา 18.30 น. คุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ สมาชิกส�ำนักกลาง ผู้ฝึกหัดและพนักงานในอารามพระหฤทัย ร่วมสวดสายประค�ำ และถวายช่อดอกไม้แด่แม่พระพร้อมกัน โอกาสปิด เดือนแม่พระที่ห้องประชุมอาราม

34

หฤทัยสัมพันธ์


อารามพระหฤทัยฯ

จากสามเสน...สู่...คลองเตย เรียบเรียงโดย ซิสเตอร์ชอ้อน เวชยันต์

ในปี ค.ศ. 1924/พ.ศ. 2467 พระ สังฆราชเรอเน แปร์รอส ประมุขเทียบ มิสซังกรุงเทพฯ ประกาศยุบนวกสถาน เซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน และแต่งตัง้ นวกสถานพระหฤทัยขึ้นแทน แต่ยังตั้งอยู่ สามเสนชั่วคราวจนกว่าจะหาสถานที่ใหม่ ฯพณฯ พระสังฆราชชี้แจงว่าต่อไปนี้อารามเป็นของสังฆมณฑล ไม่ใช่อาราม ของวัดสามเสน ท่านแต่งตัง้ คุณพ่อเปรูดองเป็นจิตตาธิการองค์แรกแทนคุณ พ่อโยเซฟ บรัวซาต์ อธิการ และคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี เป็นอธิการของ คณะขึ้นตรงต่อพระสังฆราช ต่อมาต้นปี ค.ศ. 1930/พ.ศ. 2473 พระคุณเจ้าโคลอมบัน มารีย์ เดร์เย (Colomban Marie Dreyer, O.F.M) ผู้แทนสันตะส�ำนักประจ�ำอินโดจีน ได้มาเยี่ยมเยียนและตรวจการมิสซังสยามและได้มาตรวจการ ณ อารามพระ หฤทัยฯ สามเสน หลังจากนัน้ ฯพณฯ ได้ท�ำบันทึกเอกสารเกี่ยวกับการด�ำเนิน งานของอารามพระหฤทัยที่สามเสนนี้ยื่นต่อพระคุณเจ้าแปร์รอสฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1930 มีใจความเกี่ยวกับการย้ายที่ตั้งของคณะว่า ขอให้พระสังฆราชได้จัดการอย่างรีบด่วนเพื่อให้คณะรักกางเขนที่สามเสนได้ ขึ้นต่อมิสซังฯ โดยตรง และสมณทูตยังขอร้องให้พระสังฆราชมอบที่ดินให้แก่ คณะโดยไม่คดิ เงินเลยเพราะคณะเป็นของมิสซังฯ การด�ำเนินงานต่อไปก็จะ เป็นประโยชน์ของมิสซังฯ หฤทัยสัมพันธ์

35


อย่ า งไรก็ ต ามคณะที่ ป รึ ก ษาของ มิสซังฯ ได้ปฏิเสธที่จะให้ท่ีดินของมิสซังฯ แก่ คณะฯ ดังนั้นคณะจึงได้ขายที่ดินเดิมพร้อม ทั้งบ้านพักให้แก่คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ซึ่ ง ได้ ใ ช้ พื้ น ที่ ดั ง กล่ า วเพื่ อ ด� ำ เนิ น กิ จ การ โรงเรี ย นเซนต์ ฟ รั ง ซิ ส เซเวี ย ร์ แ ละจั ด ซื้ อ ที่ ดิ น ของบริ ษั ท อี ส เอเชี ย ติ ก ที่ ตั้งอยู่ ต. คลองเตย แทน ตามค�ำเสนอแนะของพระสังฆราชแปร์รอส ซึ่งมี พื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ด้วยราคาที่สูงถึง 77,472 ตีโก โดยพระคุณเจ้าได้ไถ่ โฉนดที่ดินที่จ�ำนองไว้น้ัน ในนามของมิสซังฯ เพื่อขายให้แก่อารามอีกต่อหนึ่ง ขณะนั้นเงินของอารามมีไม่มาก คุณแม่เซราฟินจึงมีความยุ่งยากล�ำบากใจ เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า จะหาเงิ น ที่ ไ หนมาใช้ ห นี้ มิ ส ซั ง ฯ ประกอบกั บ ต้ อ งท�ำ การ ก่อสร้างอารามควบคู่กันไป พระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้า คุณแม่เซราฟิน เดอ มารี มีความเชื่อใน พระเป็นเจ้าอย่างแน่นแฟ้น จึงเริ่มให้ทุกคน สวดภาวนาอย่างจริงจังขอพระเป็นเจ้าประทาน ที่อยู่อาศัยใหม่ให้แก่ลูก ๆ ของท่าน อาศัยค�ำ เสนอวิงวอนของท่านนักบุญยอแซฟ ทุกเช้าเวลา 08.00 น. คุณแม่จะตีระฆัง ให้ทุกคนเข้าวัดรวมทัง้ เด็กก�ำพร้าที่อารามให้มาสวดภาวนาร่วมกัน เริ่มด้วย บทเร้าวิงวอนนักบุญยอแซฟและเพิ่มในตอนท้ายว่า “ข้าแต่พระเป็นเจ้า ขอ โปรดให้พวกลูกได้มบี ้านอยู่ด้วยเถิด” ต่อจากนัน้ จึงออกไปท�ำงานตามหน้าที่ พระสงฆ์บางองค์พูดว่า “พวกเราเป็นผู้หญิง จะสามารถไปหาที่อยู่อ่นื ได้ อย่างไร?” และพระเป็นเจ้าก็ได้ประทานที่ดินที่เหมาะสมให้กับเรา แม้ว่าใน ขณะนั้นเรายังมองไม่เห็นก็ตาม

36

หฤทัยสัมพันธ์


การก่อสร้างอาราม อย่างไรก็ตามเมื่อได้ที่ดินแล้ว คุณแม่ได้ให้สถาปนิกชาวอิตาเลียนชื่อ นายสเปรอตตี (E.SPEROTTI) ที่คุณ แม่ ไ ว้ ใ จออกแบบและเขี ย นแปลน มาให้คุณแม่เลือกแบบ คุณแม่ก็ได้ เลือกแบบที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็น ตึกสูงสามชั้น สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้น้ไี ด้เคยมาเยี่ยมอารามสามเสนพร้อม กับภรรยา ทั้งสองแต่งงานกันนานหลายปีแล้วไม่มบี ุตร จึงมาขอให้ภคินีที่ สามเสนช่วยสวดให้ คุณแม่จึงให้ภคินีสวดให้ ต่อมาทั้งสองก็ได้บุตรสาวคน หนึ่ง หลังจากนัน้ ทั้งสองมีทุกข์หนักอีกครั้ง เพราะเขาทั้งสองและหญิงรับใช้ ถูกคนร้ายแทงบาดเจ็บสาหัส ได้มาขอค�ำภาวนาจากคุณแม่ คุณแม่ก็จัดให้ ภคินีท�ำนพวารนักบุญยอแซฟ เพื่อขอชีวิตคนทั้งสาม ต่อมาไม่นานทัง้ สาม คนก็หายเป็นปกติ นี่คือแรงจูงใจที่เขารับเป็นสถาปนิกสร้างอารามพระหฤทัย เพื่อขอบคุณภคินีที่ได้สวดภาวนาให้ นายสเปรอตตีได้พยายามสร้างอย่างดีที่สุด ท่านพูดกับคุณแม่ เซราฟินว่า “จะพยายามสร้างตึกของอารามพระหฤทัยนี้ให้ซิสเตอร์อยู่อย่าง สบาย ทั้งแข็งแรงและสวยงามด้วย” ในตอนแรกตกลงกันว่าจะสร้างตึกสาม ชั้น แต่เขาเห็นว่าชัน้ ที่สามที่ใช้เป็นวัดนัน้ มีหลังคาสูงมาก เขาจึงได้สร้างขึ้น อีกชั้นหนึ่งเป็นชั้นที่สี่ ซึ่งอาจจะใช้เป็นห้องเก็บของหรือห้องนอนได้ จะเห็นได้ ว่าอารามพระหฤทัยหลังแรกเป็นอาคารที่ถาวรมั่นคงแน่นหนาแข็งแรงและ สวยงามได้สัดส่วน ตั้งอยู่ในทิศทางลมที่ถูกต้อง เพดานห้องสูงโปร่ง อากาศ ถ่ายเทได้ดี ระเบียงกว้าง แสงแดดส่องเข้าไม่ถึง ท�ำให้ผู้อยู่อาศัยเย็นสบาย นอกนั้นท่านผู้นี้ยังได้ต่อเติมห้องครัวให้และสร้างตึกอีกหลังหนึ่งเป็นสองชั้น เพื่อเลี้ยงเด็กก�ำพร้า โดยไม่คิดเงินเพิ่มเติมเลย รวมทัง้ ถวายกางเขนใหญ่ใน วัดให้ด้วย ฝรั่งอีกนายหนึ่งได้บริจาคหอนาฬิกาให้ ท่านเจ้าคณะภาคแห่งคณะ หฤทัยสัมพันธ์

37


เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้บริจาคนาฬิกาเรือนใหญ่ส�ำหรับติดตั้งบนหอนัน้ และฝรั่งอีกนายหนึ่งได้บริจาคเงินค่าไม้เสากระดานสามสีที่ติดรอบฝาผนังวัด ด้านในอีกด้วย ค่าก่อสร้างทั้งหมดของอารามจากจดหมายของคุณแม่เซราฟินต่อ พระสังฆราชคณะ M.E.P ที่ปารีสว่าเป็นเงิน 200,000 ตีโก ความยากล�ำบากในการย้ายอาราม นอกจากเรื่องเงินแล้วคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ยังต้องประสบความยากล�ำบาก ร่วมกับบรรดาภคินีของท่านที่จ�ำต้องย้าย ออกจากอารามเดิมที่สามเสน เพราะ ทางคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ต้องการ สถานที่เพื่อใช้เป็นโรงเรียนให้ทันเปิดเรียน ปีการศึกษาใหม่ในปี ค.ศ. 1932 ในขณะที่เราย้ายมานัน้ บ้านใหม่ยังสร้างไม่ เสร็จ มีพื้นบ้านและหลังคาแล้วแต่ส่วนอื่น ๆ ของบ้านก�ำลังสร้างอยู่ เป็นเหตุ ให้การด�ำเนินชีวิตของภคินแี ละผู้ฝึกหัดล�ำบากมาก กลางวันแดดร้อนไม่มี ที่พักบางครั้งต้องเข้าไปหลบแดดในตู้ท่เี อามาจากสามเสน กลางคืนก็นอนใน ที่โล่งตามระเบียงด้วยความหวาดกลัว อาหารการกินก็อด ๆ อยาก ๆ การกิน การอยู่ไม่ต่างกับคนงานก่อสร้างและที่ส�ำคัญเราเป็นผู้หญิงทั้งหมด ในท่ า มกลางความยากล� ำ บาก เหล่านี้คุณแม่เซราฟิน เดอ มารี และ บรรดาเซอร์ ที่ อ ยู ่ กั บ เราก็ ไ ด้ ร ่ ว มทุ ก ข์ ร่วมสุขกับสมาชิกรุ่นแรก ๆ ของเราด้วย กระนั้น ก็ ดีพ ระเป็ น เจ้ า ทรงดู แ ลเรามิใ ห้ ใครในกลุ่มของเราเป็นอันตรายแต่อย่าง ใดจนการสร้างอารามเสร็จเรียบร้อย และเราได้ช่วยกันท�ำความสะอาดสถาน ที่และบริเวณอารามจนสามารถเข้าอยู่อาศัยได้อย่างดี 38

หฤทัยสัมพันธ์


ในที่สุดวันแห่งความชื่นชมยินดีก็มาถึง คือวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1932 ได้มีพิธเี สกอารามใหม่ โดยพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส “อาราม พระหฤทัย” ที่สง่าและสวยงาม เป็นบ้านของเรา ที่เราภาคภูมิใจ เป็นผลมา จากน�้ำพักน�ำ้ แรงของรุ่นพี่ ๆ ของเรา ภายใต้ผู้น�ำที่เข้มแข็งอดทน ศรัทธา กล้าหาญเด็ดเดี่ยว คือคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี และเซอร์มารี เต๊ก ถ้าไม่มี พวกท่าน เราคงไม่มอี ารามที่สวยงามใหญ่โตเช่นนี้เป็นแน่

หมายเหตุ: ทีด่ นิ ของอารามบางส่วนต่อมาได้ถกู เวนคืนไปเพือ่ ท�ำทางรถไฟ เดิมมีประมาณ 25 ไร่ เหลือในปัจจุบัน 21 ไร่ 3 งาน 41 ตร.ว.

หฤทัยสัมพันธ์

39


บ้านนี้มีรัก

ท่านผู้อ่านหลายท่านคงทราบกันแล้วนะคะว่า อาคาร “อาราม พระหฤทัย” ที่หลายท่านได้เห็นหรือเคยมาเยี่ยมเยียนนั้น ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดิน ในย่านคลองเตย กรุงเทพมหานครมาเป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว อาคารหลังนี้ ท�ำหน้าที่เป็นบ้าน ศูนย์รวมความรัก ความอบอุ่น มิตรภาพ ให้แก่สมาชิกภคินี คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ และบุคคลอื่นที่เคยเข้ามาใช้ ชีวิต ณ ที่แห่งนี้ไม่ว่าในสถานภาพใดอย่างดีเสมอมา โอกาสนี้เราได้รวบรวม ความในใจจากซิสเตอร์ยายมาน�ำเสนอแก่ผู้อ่าน ณ พื้นที่ตรงนี้ ลองค่อย ๆ อ่านกันดู เชื่อว่าถ้าหลายท่านอ่านจบ คงได้สัมผัสถึงไอ อุ่นแห่งรักของบ้านหลังนี้ บ้านที่มีรัก “อารามพระหฤทัย” ลอยมากระทบใจ บ้างกันไม่มากก็น้อยค่ะ รักอารามมาก ๆ อย่าท�ำผิดต่อพระวินัย อารามให้แต่ส่งิ ที่ดีแก่เรา อารามไม่เคยท�ำร้ายเรา เราก็อย่าท�ำร้ายอาราม อารามเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสวรรค์บนดิน ต้องมีความกตัญญูต่ออาราม (ซ.อาแดล สุรยี ์ มั่นใจ) ดีใจและขอบคุณพระที่ให้อารามของเรามีความก้าวหน้า ฝึกหัดเข้ามาเยอะ (ซ.อาร์แมล มารีอัน ฉายาเจริญ)

มีผู้

อารามเป็นเหมือนบ้านเกิดของชีวิตของการเป็นนักบวช รู้สกึ รัก และมีความผูกพันกับอารามมาก มีความยินดีที่มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ มีผู้ เข้ามาสมัครเรื่อยๆ เมื่อไรก็ตามที่มีสมาชิกคนใดออกไปก็รู้สึกเสียใจมาก แต่ เราก็ท�ำอะไรไม่ได้...มีความเสียใจและก็ดใี จด้วยที่เคยอยู่ร่วมกันมา อีกทั้ง ความสัมพันธ์ของเราก็ยังดีอยู่มีโอกาสได้ติดต่อกันอยู่บ้างตามความเหมาะ สม (ซ.อันตัวแนต อัญเชิญ เวชยันต์) 40

หฤทัยสัมพันธ์


มีความรักคณะมาก เพราะชีวิตทัง้ ชีวิตก็อยู่ที่อาราม มีความผูกพัน และห่วงอาราม...ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร...อยากให้ทุกคนหันมาคิดถึงบุญ คุณของคุณแม่เซราฟิน และพี่น้องที่จากเราไปแล้ว ที่ได้สร้างอารามไว้ให้ กับเรา อยากให้สมาชิกในคณะมีคุณภาพและขอให้ทุกคนรัก ศรัทธา ใน พระหฤทัยผู้เป็นองค์อุปถัมภ์ของคณะ ฝากคณะไว้ในความปกป้องคุ้มครอง ของพระองค์ตลอดไป ขอให้ทุกคนช่วยกันสร้างชื่อเสียงให้กับคณะและน�ำ ความเจริญก้าวหน้ามาให้กับคณะของเราต่อไป (ซ.ปาตรีส สุวรรณรัตน์ ทรงศักดิ์ศรี) ถ้าไม่รักอารามฉันไม่ทนอยู่จนถึงทุกวันนี้หรอก นั่นก็เพราะรัก คณะ (พี่น้องทุกคน) ไม่ใช่รักในตัวตึกของอาราม... (ซ.เนลลี ขวัญชนก แซ่จัน) อารามให้ส่งิ ที่ดีมาก มีธรรมวินัยที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติ เพียงแต่ ถือและปฏิบัตติ ามพระวินัยอย่างดีทุกคนก็จะมีความสุข และมีคุณค่าแล้วต่อ การด�ำเนินชีวิต... (ซ.ราฟาแอล ยุพา ผังรักษ์) รู้สึกรักอารามและผูกพันด้วยมาก เพราะอยู่มาตั้งแต่ยังไม่มี อารามด้วยซ�้ำไป คืออยู่ที่สามเสนมาก่อน สมัยก่อนมีการเป็นอยู่ที่ยาก ล�ำบากอย่างมาก แต่ทุกคนก็มคี วามสุข เพราะถ้าไม่มีความสุขซิสเตอร์คง ไม่อยู่จนถึงทุกวันนี้อย่างแน่นอน และที่เข้าอารามเพราะชอบชุดของบรรดา ซิสเตอร์นั่นเอง... (ซ.แบร์ฆมันส์ วาริน นามวงศ์) เป็นพระพรของพระที่ให้อารามของเรามีความก้าวหน้าจนถึงทุกวัน นี้ ด้วยสิ่งเหล่านี้คือ 1. พระเจ้าคุ้มครองมาตัง้ แต่สงครามโลก... 2. ถึงแม้ว่า ทหารญี่ปุ่นจะมาขอพักที่อารามก็อยู่เพียงชั่วคราวเท่านัน้ ท�ำความเสียหาย ให้กับอารามบ้างแต่ก็เพียงแต่ภายนอกไม่ใช่ท่โี ครงสร้างของอาราม บรรดา ทหารยังมีใจเอื้อเฟื้อแบ่งอาหารให้กับซิสเตอร์และเด็กก�ำพร้าด้วย... 3. เป็น เพราะพวกซิสเตอร์มีความศรัทธา ท�ำงานเพื่อพระศาสนจักร ถือความ ยากจนอย่างดี...ดังนั้นอารามของเราจึงอยู่ได้และมีความเจริญก้าวหน้าจน หฤทัยสัมพันธ์

41


กระทั่งถึงทุกวันนี้ มีความมั่นคงเพราะพระตอบแทนร้อยเท่าพันทวีนั่นเอง... (ซ.ชอ้อน เวชยันต์) มีความคิดถึงของเก่า ๆ ที่เคยใช้ เคยอยู่ร่วมด้วยซึ่งมีคุณแม่ เซราฟินเป็นผู้น�ำการบุกเบิกจนอารามอยู่ได้ในทุกวันนี้...ขอให้น้อง ๆ ทุกคน ได้รู้จักและเห็นถึงคุณค่าที่พี่ ๆ ได้ฝากไว้ให้กับเรา ช่วยกันดูแลให้ดีข้นึ ต่อ ๆ ไปด้วย... (ซ.กิมหยุน แซ่โล้ว)

42

หฤทัยสัมพันธ์


กิจกรรมในฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี 1. แผนงานอภิบาล

1.1 งานสอนค�ำสอน

งานค�ำสอนในโรงเรียน ซิสเตอร์สังวาลย์ วาปีทะ ผู้รับผิดชอบฝ่ายจิตตาภิบาลของโรงเรียน พระหฤทัยคอนแวนต์ ได้ประสานงานกับโรงเรียนในเครือคณะฯ เพื่อติดตาม ความเป็นไปของการสอนค�ำสอนในแต่ละโรงเรียนอย่างเป็นปัจจุบันเสมอ และเจ้าหน้าที่ของส�ำนักงานประกาศข่าวดีมีการจัดรวบรวมข้อมูลซิสเตอร์ที่ สอนค�ำสอน ปี 2012 ให้เป็นปัจจุบัน สอนค�ำสอนนอกโรงเรียน สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ได้แก่ ซิสเตอร์มารี เดอ ลูร์ด สาลี่ ด�ำริ ซิสเตอร์สมศรี กิจพิทักษ์ และซิสเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืน ได้สอนค�ำสอนให้กับ คริสตชนและผู้ทสี่ นใจในศาสนาคาทอลิก รวมทั้งบุคลากรสนับสนุนของ อารามอย่างต่อเนื่อง

1.2 งานผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัย

ชุมนุมผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ ครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ฝ่ายประกาศข่าวดี คณะพระ หฤทัยฯ จัดงานชุมนุมผู้ศรัทธาต่อพระ หฤทัยฯ ครั้งที่ 12 ในหัวข้อ “หยั่ง รากลึ ก ในพระหฤทั ย ของพระเยซู เจ้า” ที่ห้องประชุมอารามพระหฤทัย คลองเตย โดยมีจุดประสงค์เพือ่ เปิ ด โอกาสให้ ฆ ราวาสผู ้ ศ รั ท ธาต่ อ หฤทัยสัมพันธ์

43


พระหฤทัยได้เรียนรู้ถึงความหมายของความรักของพระหฤทัย 7 แบบและ วิธีการภาวนาด้วยจิตภาวนาด้วยพระหฤทัยพระเยซูเจ้า มีสมาชิกมาร่วมงาน จ�ำนวน 99 คน ผู้ศรัทธาพระหฤทัยแสวงบุญ วันเสาร์ที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2012 ฝ่ายประกาศข่าวดี คณะพระ หฤทัยฯ น�ำโดยซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภาและสมาชิกในส�ำนักกลางน�ำฆราวาส ผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัย จ�ำนวน 80 คน ไปแสวงบุญทีว่ ัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าของ ชุมชนคริสตชน การก�ำเนิดวัด และสถาปัตยกรรมของวัด เป็นโอกาสให้ได้ รับศีลอภัยบาป ร่วมพิธีมิสซาขอบพระคุณ และขอพรจากพระหฤทัยร่วมกัน อนึ่งในการไปแสวงบุญครัง้ นี้ผู้ศรัทธาพระหฤทัยฯ ยังได้ไปเยี่ยมชมอาสนวิหาร แม่พระบังเกิด บางนกแขวก เป็นการเพิ่มพูนความศรัทธาต่อแม่พระอีกด้วย

ส่งเสริมฆราวาสพระพระหฤทัยให้ฟื้นฟูจิตใจ โอกาสปีความเชือ่ ฝ่ายประกาศข่าวดี คณะพระหฤทัยฯ จัดส่งเอกสารไตร่ตรองและ ฟื้นฟูปีความเชือ่ ที่พระศาสนจักรเตรียมให้ เดือนละ 1 หัวข้อทุกเดือน มี ทั้งหมด 36 หัวข้อ ให้กับฆราวาสพระหฤทัยและเพื่อนพระหฤทัยฯ

1.3 งานเพื่อนพระหฤทัยฯ

44

งานชุมนุมเพื่อนพระหฤทัยฯ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2012 ในภาคเช้า คณะภคินีพระหฤทัยฯ

หฤทัยสัมพันธ์


จัดงานฉลอง 80 ปี อาคารพระหฤทัย คลองเตย และ ครบรอบมรณกรรม ของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี 60 ปี โดยเชิญบรรดาเพือ่ นพระหฤทัยฯ มาร่วม งานด้วย พร้อมกันนี้ในภาคบ่ายเวลา 13.00 น. ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี ได้จัดงานชุมนุมเพื่อนพระหฤทัยฯ เพือ่ ให้สมาชิกพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึง่ กันและกัน มีผู้มาร่วมงานชุมนุมครั้งนี้จ�ำนวน 33 คน

เยี่ยมเยียนเพื่อนพระหฤทัยฯ ซิสเตอร์สุพรรณี แย้มกรรณ์ ออก เยี่ ย มเยี ย นสั ต บุ รุ ษ อาวุ โ สและเพื่ อ นพระ หฤทัยฯ เป็นระยะ ๆ ต่อเนือ่ งและสมม่ำเสมอ

1.4 งานติดตามและอภิบาลครอบครัวที่เสี่ยงต่อการทิ้งความเชื่อ

ซิสเตอร์ระเบียบ ยิ่งยืน ร่วมมือกับคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ ออก เยี่ยมเยียนครอบครัวและผู้ที่ละทิ้งความเชือ่ และส่งศีลให้แก่ผู้ป่วยทั้งที่โรง พยาบาลและทีบ่ ้านสมม่ำเสมอ

1.5 งานเสริมสร้างวิถีชุมชนวัด

พนักงานศึกษาอบรมจิตตารมณ์วิถีชุมชนวัด วันที่ 13-14 ตุลาคม ค.ศ. 2012 พนักงานของอารามพระหฤทัย จ�ำนวน 10 คนเข้ารับการอบรมจิตตารมณ์วิถีชุมชนวัด ที่คณะกรรมการ หฤทัยสัมพันธ์

45


วิถีชุมชนวัดของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นผู้จัดขึ้น ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน จ.นครปฐม โดยผู้เข้ารับการอบรมครั้งนี้ได้เรียนรู้ความหมายของ วิถีชุมชนวัด การใช้พระวาจา โดยเฉพาะวิธีการแบ่งปันพระวาจา 7 ขั้นตอน อย่างละเอียด อบรมวิถีชุมชนวัดแก่บุคลากรสนับสนุนฯ วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา อธิการ บ้ า นส� ำ นั ก กลางจั ด สั ม มนาบุ ค ลากรสนั บ สนุ น ของอารามและโรงเรี ย น พระหฤทัยคอนแวนต์ จ�ำนวน 130 คน เรื่อง ความเข้าใจรูปแบบการอภิบาล และการพัฒนาตนเอง โดยอาศัยพระวาจาและการช่วยกันด้วยความรักและ ความเป็นนนำ้ หนึง่ ใจเดียวกันในกลุ่มย่อย โดยซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ ซิสเตอร์แสงอรุณ ธารีจิตร ซิสเตอร์วิชชุดา วิจิตรวงศ์ และซิสเตอร์สาวิตรี จินประยูร เป็นวิทยากรให้การอบรม วิถีชุมชนวัดและโครงการอ่านพระวาจา ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีฯ โดยซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ได้ ริเริ่มน�ำบุคลากรสนับสนุนทัง้ เด็กและผู้ใหญ่ ให้มาอ่านพระคัมภีร์เป็นเวลา ประมาณ 3 เดือนต่อเนือ่ งหลังจากเสร็จภารกิจ ตั้งแต่ 19.00 -20.30 น. ทุกวัน ผลคือมีผู้อ่านพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญมาระโก จนจบเล่มแล้ว 7 คน และมีการมอบรางวัล ณ วัดน้อยอารามพระหฤทัยฯ หลังมิสซาเช้าในวันอาทิตย์ไปแล้ว นอกจากนี้ทางฝ่ายฯ ประสานงานกับผู้ ดูแลบุคลากรแผนกต่าง ๆ ให้สอนการอ่านพระวาจาเดือนละ 2 ครั้ง และจัด ประชุมกลุ่มย่อยให้แก้เจ้าหน้าที่แผนกเดือนละครั้ง

46

หฤทัยสัมพันธ์


2. แผนงานธรรมทูต 2.1 งานสอนค�ำสอน

ซิสเตอร์ปาตรีส สุวรรณรัตน์ ทรงศักดิศ์ รี และซิสเตอร์มารี เดอ ลูร์ด สาลี่ ด�ำริ ได้สอนค�ำสอนให้นักเรียนต่างศาสนา ซิสเตอร์ สาวิตรี จินประยูร ซิสเตอร์นภาภรณ์ กุ๊นุ สอนพระคัมภีร์ให้กับแรงงานพม่าที่โรงเรียน พระหฤทัยคอนแวนต์ทุกวันอาทิตย์ โดยมีคุณครูวิลาวรรณ สุขชัย แผนก หัวหน้าแผนกจิตตาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ

2.2 งานยุวธรรมทูต

คณะพระหฤทัยฯ ส่งเสริมงานยุวธรรมทูตในโรงเรียนที่สมาชิกได้ไป ปฏิบัติหน้าที่

2.3 งานประกาศข่าวดีเคลื่อนที่

งานอภิบาลชีวิตจิตคริสตชนและสอนการภาวนาต่อเนื่อง ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี คณะพระหฤทัยฯ ได้ร่วมมือกับ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ผู้รับผิดชอบสัก การะสถานคุณพ่อนิโคลัส บุญเกิด กฤษ บ�ำรุง พร้อมกับคุณพ่อผู้รับผิดชอบ ชีวิ ต จิ ต ของสามเณราลั ย แสงธรรม จัดการสอนและแบ่งปันการภาวนา แบบจิ ต ภาวนาด้ ว ยใจสู ่ พ ระหฤทั ย พระเยซู ให้กับบรรดาสัตบุรุษทีส่ นใจ การภาวนาพัฒนาจิตแบบเงียบ เดือนละ 1 ครั้ง เริม่ ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2012 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2013 การจัดการสอนภาวนาแต่ละครั้งได้รับความ หฤทัยสัมพันธ์

47


ร่วมมืออย่างดีจากฆราวาสผู้แสวงหา ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของ การประกาศข่าวดีแบบใหม่ (New Evangelization)

การน�ำการเข้าเงียบส�ำหรับนักเรียนและฆราวาสทั่วไป • ร่วมมือกับโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ จัดการเข้าเงียบแบบ จิตภาวนาและการภาวนาจากพระวาจา ให้กับเด็กนักเรียน คาทอลิกทุกตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -6 เพือ่ ช่วยนักเรียน เพิ่มพูนความเชื่อในพระเจ้าผู้สถิตในใจของตน ช่วยให้รู้วิธีภาวนา ช่วยให้เกิดการไตร่ตรองและมีประสบการณ์การภาวนาในความ เงียบกับพระวาจา • ร่วมมือกับฝ่ายอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดเข้าเงียบให้ เจ้าหน้าทีจ่ ากหน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายอภิบาลฯ ที่สักการสถาน บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบ�ำรุง อ. สามพราน จ. นครปฐม โดยมีเจ้าหน้าทีร่ ่วมเข้าเงียบจ�ำนวน 9 คน เพื่อช่วยฆราวาสให้ รู้จักสวดภาวนารูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาจิต ของตน อีกทัง้ ใช้พระวาจาในการพบกับพระเจ้าในชีวิตประจ�ำวัน หรือเมือ่ ต้องไปปฏิบัติหน้าทีร่ ่วมกับผู้อื่น • ให้การเข้าเงียบส่วนตัวกับฆราวาสทีม่ าขอเวลาภาวนา ที่อาราม ครั้งละ 1 คน เป็นจ�ำนวน 2 ครัง้ 48

หฤทัยสัมพันธ์


• ประสานงานกับฝ่ายอบรมจัดการเข้าเงียบเป็นเวลา 3 วัน ให้กับฆราวาสที่สนใจการภาวนาด้วยจิตภาวนาด้วยพระหฤทัย พระเยซูเจ้า ในวันที่ 21-23 ตุลาคม ค.ศ. 2012

3.งานส่งเสริมและร่วมมือกับงานอภิบาลและประกาศข่าวดีใน สถานศึกษาและองค์กรประกาศข่าวดีอื่นๆ

3.1 ร่วมเป็นคณะกรรมการกลางส่งเสริมวิถีชุมชนวัด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ประธานฝ่ายอภิบาลและ ประกาศข่าวดีของคณะพระหฤทัยฯ ร่วมเป็นคณะกรรมการกลางกับฝ่าย อภิบาลฯ แผนกวิถีชุมชนวัดของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เข้าประชุม วางแผนงาน ร่วมเป็นวิทยากรอบรม และส่งเสริมวิถีชุมชนวัดของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในทุกรูปแบบ 3.2 ร่วมงานกับฝ่ายองค์กรฆราวาสอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ประธานฝ่ายฯ เข้าประชุมเสนอข้อคิดเห็น ให้กับกลุ่มผู้น�ำในเรือ่ งการรณรงค์อ่านพระวาจาตามวัด และการฝึกชีวิตจิต ฆราวาส โดยน�ำภาวนาในการประชุมองค์กรฆราวาส รวมทัง้ ช่วยเตรียมผู้น�ำ ฆราวาสให้เป็นผู้ด�ำเนินการกลุ่มวิถีชุมชนวัด 3.3 ร่วมเป็นคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรมฯ วันที่ 24-25 กรกฎาคม ค.ศ. 2102 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ ร่วมประชุมกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม ระดับชาติ หฤทัยสัมพันธ์

49


ที่บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม การประชุมครัง้ นี้ มีการวางแผนเพื่อ เตรียมงานวันชุมนุมคุณครูค�ำสอนไทย ครัง้ ที่ 4 ควบคู่ไปด้วย

3.4 สอนภาษาอังกฤษให้กับผู้ถูกคุมขัง ซิสเตอร์สมศรี กิจพิทักษ์ ได้รับอนุญาตให้เข้าไปสอนภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งอบรมจริยธรรมที่ทัณฑสถานธัญญบุรแี ละมีนบุรีอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี ค.ศ. 2011 3.5 ยุวภคินีเยี่ยมเยียนเด็กในมูลนิธิฯ วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์ยุวภคินีที่เตรียมตัว ตลอดชีพ เดินทางไปเยี่ยมเด็กพร้อมกับครูและนักเรียนในระดับอนุบาลของ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ณ มูลนิธิของพระพี่นางฯ

50

หฤทัยสัมพันธ์


3.6 การส่งเสริมปีความเชื่อพระศาสนจักรไทย ในปีความเชื่อ ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ร่วมเป็นคณะกรรมการจัด เตรียมเอกสารฟื้นฟูความเชื่อโอกาสฉลอง 50 ปี พระสังคายนาวาติกัน ที่ 2 และ 20 ปี การประกาศหนังสือค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก เพื่อ ให้สอดคล้องกับรูปแบบของวิถชี ุมชนวัด ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางให้พระสงฆ์ นักบวชใช้ในการเทศน์หรือสัมมนา และใช้ในการประชุมกลุ่มคริสตชนย่อย เนื้อหาการฟื้นฟูความเชื่อนี้มี 36 หัวข้อใช้เดือนละ1 หัวข้อเพือ่ การต่อเนื่องของ การทบทวนเอกสารของพระสังคยนาวาติกันที่ 2 และค�ำสอนคาทอลิก และ ช่วยเตรียมจิตใจต้อนรับปีศักดิส์ ิทธิข์ องพระศาสนจักรไทย ปี ค.ศ. 2015 ด้วย 3.7 ช่วยเป็นทีมวิทยากรอบรม • ร่วมอบรม ส่งเสริมการอ่านพระคัมภีร์และการใช้หลักสูตร AsIPA วันที่ 9-12 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ร่วมกับศูนย์ คริสตศาสนธรรมและคณะกรรมการวิถีชุมชนวัดเป็นวิทยากรในการสัมมนา สามเณรแสงธรรมปี 1 ให้รู้จักกับรูปแบบการอภิบาลวิถีชุมชนวัดและการใช้ พระวาจา 7 ขัน้ ตอนในการสร้างพระศาสนจักรคริสตชนกลุ่มย่อย • ร่วมอบรมการศึกษาพระคัมภีร์ด้วยรูปแบบ Bibliodrama วันที่ 8-10 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ ร่วมเป็นทีม วิทยากรกับคุณครูประภา วีระศิลป์ และทีมงานศูนย์ค�ำสอนอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ อบรมภาคปฏิบัตกิ ารใช้พระวาจาในรูปแบบ “Bibliodrama” ให้กับ นักศึกษาสาขาคริสตศาสตร์ ปีที่ 1 ของวิทยาลัยแสงธรรม

หฤทัยสัมพันธ์

51


3.8 ร่วมงานชุมนุมครูค�ำสอนระดับชาติ ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เป็นตัวแทนคณะและคณะกรรมการจัดงานฯ เข้าร่วมงานวันชุมนุมครูค�ำ สอนระดับชาติ ครั้งที่ 4 ณ วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน ซึ่งจัดระหว่างวัน ที่ 17-19 ตุลาคม ค.ศ. 2012 โอกาสนี้ ซิสเตอร์บังอรได้ร่วมเป็นวิทยากรกลุ่ม ย่อย เรื่อง “Bibliodrama” ให้กับครูค�ำสอนทีส่ นใจด้วย

3.9 ร่วมงานอภิบาลสตรีและเด็กและผู้ใช้แรงงาน ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา เข้า ร่วมเป็นคณะกรรมการและผู้ประสาน งานเครือข่ายนักบวชไทยป้องกันการ ค้ามนุษย์ (Talitha Kum Thailand) โดยท�ำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร จัดอบรมสัมมนา และผลักดัน บรรดาผู้น�ำพระศาสนจักร คณะ นักบวชชายหญิงและคริสตชนไทย โดยเฉพาะนักเรียนตามโรงเรียนคาทอลิก ให้ตระหนักถึงปัญหาเร่งด่วนของ การค้าทาสสมัยใหม่ และช่วยกันหาทางเข้าไปมีส่วนในการป้องกันตนเองและ สังคมไม่ให้เข้าไปมีส่วนในการค้ามนุษย์ และหาทางช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระท�ำ ตามความสามารถ นอกจากนี้ซสิ เตอร์กัลยายังได้จัดอบรมการป้องกันการ 52

หฤทัยสัมพันธ์


ค้ามนุษย์ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและนักเรียนประจ�ำของโรงเรียน พระหฤทัยคอนแวนต์ด้วย 4. งานส่งเสริม จัดหาสื่อ/อุปกรณ์ พัฒนาเวปไซด์ ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี คณะพระหฤทัยฯ ได้จัดปรับปรุงและ พิมพ์นพวารพระหฤทัยแบบใหม่จ�ำนวน 10,000 ฉบับส�ำหรับฆราวาสและ นักเรียนใช้ภาวนาอย่างง่าย โอกาสเดือนพระหฤทัยฯ นอกจากนั้นยังได้พมิ พ์ ภาพพระสัญญาของพระหฤทัยฯ 12 ข้อขนาดใหญ่เพื่อสมาชิกสามารถน�ำไป เผยแพร่ในโรงเรียนได้ และจัดจ�ำหน่ายกระเป๋าใส่พระคัมภีร์ ซึ่งมีพระวาจา และรูปพระหฤทัยอยู่ด้านข้างด้วย

5. งานพัฒนาบุคลากรด้านการประกาศข่าวดี

5.1 อบรมผู้น�ำวิถชี ุมชนวัด วันที่ 6-8 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ และ ซิสเตอร์สุพรรณี แย้มกรรณ์ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายประกาศข่าวดีฯ 1 คน เข้ารับการอบรมผู้น�ำวิถีชุมชนวัดที่จัดโดยสังฆมณฑลนครสวรรค์ 5.2 อบรม Bibliodrama วันที่ 20-22 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์ยุวภคินี 5 คนเข้ารับการ อบรมคอร์ส Bibliodrama ที่ศูนย์อภิบาลบ้านผู้หว่าน สามพราน โดยคุณพ่อ Osca และคุณ Mary วิทยากรจากประเทศฟิลิปินส์ เป็นวิทยากรในการอบรม และมีพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์วรี ะ อาภรณ์รัตน์ ซิสเตอร์บังอร มธุรส สุวรรณ คุณครูประภา วีระศิลป์ และคุณครูทัศนีย์ มธุรสสุวรรณเป็นวิทย กรผู้ช่วยในการอบรมในครัง้ นี้ด้วย

หฤทัยสัมพันธ์

53


เคล็ดลับ ที่แม่บ้านขอแบ่งปัน

โดย ซิสเตอร์สุวารี เทวีพันธ์

วัสดีค่ะ มาพบกันอีกครัง้ กับการแบ่งปันสูตรอาหารดีมี ประโยชน์ เด็กทานได้ผู้ใหญ่ทานดี ที่ฝ่ายแม่บ้าน คณะ พระหฤทัยฯ จะมาน�ำเสนอแก่ผู้อ่านวารสารหฤทัยสัมพันธ์ ฉบับนี้ ส�ำหรับในครัง้ นี้เราจะมาแนะน�ำอาหารที่ไม่ว่าใครก็สามารถท�ำ รับประทานเองได้ ใช้เวลาไม่นาน มีคุณค่าสารอาหารครบห้าหมู่ถูกหลัก โภชนาการกัน อาหารจานแรกที่เ ราสรรหาน�ำมาแบ่ ง ปั น แก่ ผู ้ อ ่ า นในฉบั บ นี้เ ป็ น อาหารจานเดียวสามารถรับประทานในมื้อใดของวันก็ได้ แถมไม่ท�ำให้อ้วน ด้วย นั่นคือ “สุกี้หม้อไฟ” ส่วนอาหารจานที่สองเหมาะกับเป็นอาหารว่างท�ำ ทานกันเองในหมู่คณะที่ท่านอยู่หรือไว้รับรองแขกในวาระต่าง ๆ ได้ นั่นคือ “ผักโขมอบชีส” อยากทราบกันแล้วใช่ไหม ว่าอาหารจานเด็ดทัง้ สองจานที่เราน�ำมา ฝากท่านผู้อ่านมีส่วนผสมและขั้นตอนการท�ำอย่างไร งั้นก็ไม่ต้องสาธยาย อะไรกันมากแล้ว เชิญติดตามอ่านกันได้เลย ทว่าอ่านอย่างเดียวไม่พอ อย่า ลืมลองไปท�ำรับประทานกันเองด้วย ขอเสริมอีกนิดหนึ่ง การท�ำอาหารถ้า หากช่วยกันเตรียมส่วนผสม ช่วยกันปรุง และช่วยกันรับประทานหลายคน จะ ยิ่งท�ำให้รสชาติอาหารยิ่งอร่อย แถมยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้ชวี ิตร่วม ในหมู่คณะของพี่น้องเพิ่มมากขึ้นด้วย ไม่เชื่อลองดูนะคะ.... 54

หฤทัยสัมพันธ์


สุกี้หม้อไฟ

ส่วนผสม 1. ผักกาดขาว ผักบุ้ง แครอท ตัง้ โอ๋ ตามชอบ 2. กุ้ง ปลาหมึก เนื้อปลา ลูกชิ้น ปูอัด ตามชอบ 3. เห็ดเข็มทอง เห็ดฟาง เห็ดหอม ตามชอบ 4. น�้ำซุปไก่ วิธีการท�ำ เรียงผักลงไปในหม้อสุก้ใี ห้สวยงาม ตามด้วยเห็ดและเนื้อสัตว์ เติม น�้ำซุป ตัง้ ไฟ จนเดือด น�้ำจิ้มสุก้ี ส่วนผสม 1. เต้าหู้ย้สี ีแดงและน�้ำ 2 ก้อน 2. รากผักชีสับ 2 ราก 3. กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ 4. พริกขี้หนูสับ 3 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทียมดองสับและน�้ำ 2 หัว 6. น�้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ 7. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ 8. งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ 9. น�้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ 10. น�ำ้ ซุปไก่ ½ ถ้วย วิธีท�ำน�้ำจิ้มสุกี้ 1. ใส่เครื่องปรุงทุกอย่างลงในเครื่องปั่น ปั่นจนละเอียด 2. เทใส่หม้อ เคี่ยวพอเดือด ยกลง หมายเหตุ 1) อาจจะเพิ่มวุ้นเส้น และไข่ไก่ ตามใจชอบ 2) เพิ่มกระเทียมสับ พริกสับ และน�้ำมะนาวได้อกี หฤทัยสัมพันธ์

55


ผักโขมอบชีส ส่วนผสม 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

น�้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ เนยสดจืด 2 ช้อนโต๊ะ หอมใหญ่สับ 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ 1 ช้อนชา ผักโขมเด็ดใบต้มสุก 200 กรัม เกลือป่น ¼ ช้อนชา พริกไทยป่น 18 ช้อนชา นมข้นจืด 4 ช้อนโต๊ะ ชีสแผ่น 3 แผ่น พาร์มีซานชีสผง ส�ำหรับโรยหน้า

วิธีการท�ำ 1. ตั้งกระทะบนไฟร้อนระดับปานกลาง ใส่นำ�้ มันและเนยพอ ละลาย ใส่หอมใหญ่ กระเทียม ผัดจนสุก ใส่ผักโขม ผัดให้เข้า กัน ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย ใส่นมข้นจืด ผัดพอแห้ง ตัก ส่วนผสมใส่ถาดหรือภาชนะที่จะอบ 2. วางชีสแผ่นใส่ให้ทั่ว น�ำเข้าอบ พอชีสเริ่มละลายจึงโรยพาร์มี ซานซีส อบต่อพอชีสเป็นสีเหลืองสวย เห็นไหมค่ะ อาหาร 2 ชนิดที่ฝ่ายแม่บ้านน�ำมาฝากผู้อ่าน ท�ำง่าย ไม่มี ขั้นตอนซับซ้อน อยากเชิญชวนให้ทุกท่านลองท�ำตามสูตรที่น�ำมาแบ่งปันนี้ และแบ่งปันความอร่อยไปยังเพื่อนพี่น้องรอบข้างด้วย ฉบับนี้ขอลาไปก่อน ครั้งหน้าเราจะน�ำเคล็ดลับการท�ำอาหารอะไรมาฝาก อย่าลืมติดตามกัน ขอ ให้มีความสุขกับการรับประทานกันถ้วนหน้านะค่ะ 56

หฤทัยสัมพันธ์





60

หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์

61





กิจกรรมในฝ่ายแม่บ้าน อบรมการท�ำอาหารร่วมกับบริษัทคนอร์

วันเสาร์ท่ี 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์สุวารี เทวีพันธ์และ ซิสเตอร์พรทิพย์ ตระกูลเกษมศิริ น�ำแอสปิรันต์และโปสตุลันต์ รวมถึง พนักงานเข้ารับการอบรมเรื่อง การจัดรายการอาหาร การจัดโต๊ะอาหารแบบ ไทยและจีน รวมถึงรับชมการสาธิตวิธีการท�ำอาหารไทย ที่ส�ำนักงานใหญ่ บริษัทยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์

หฤทัยสัมพันธ์

65


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บูรณาการแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัย เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

The Development of An Integrated Contemporary Psychological Approach Learning Model for Enchancing the Lower Secondary School Students’ Public Mind

นางสาวน�้ำทิพย์ งามสุทธา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชาจิตวิทยาการเรียนรู้และการสอน มหาวิทยาลัยเกษมบัณทิต ปีการศึกษา 2555

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการ เรียนรู้บูรณาการแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัยในการเสริมสร้างจิตสาธารณะของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการ ศึกษา 2554 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี ซึ่งสุ่มมาโดยวิธี แบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้คะแนนจิตสาธารณะระดับสูง กลาง ต�่ำเป็นชั้น (Strata) สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่ม มีนักเรียนกลุ่มละ 30 คน โดยใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 12 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบวัดจิตสาธารณะ แบบ สังเกตพฤติกรรมจิตสาธารณะ แบบบันทึกการเรียนรู้ และรูปแบบการเรียนรู้ บูรณาการแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ F-test และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัยได้แก่ กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ปัญญานิยม (Cognitivism) มนุษยนิยม (Humanism) และสรรคนิยม (Constructivism) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ (1) ขัน้ สร้างแรงจูงใจ (2) ขั้น ส�ำรวจสังคม (3) ขั้นตระหนักรู้ (4) ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม 66

หฤทัยสัมพันธ์


(5) ขั้นน�ำเสนอผลงาน (6) ขั้นประยุกต์ใช้ 2. กลุ่มทดลองมีจิตสาธารณะระยะหลังการทดลองและระยะติดตาม ผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. กลุ่มทดลองมีจิตสาธารณะระยะหลังการทดลองและระยะ ติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ทั้งสองระยะ 4. การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล จากการสั ง เกตพบว่ า พฤติ ก รรมจิ ต สาธารณะของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างเด่นชัด โดยระยะติดตามผลมีความแตกต่างมากที่สุด 5. ผลการวิเคราะห์สาระส�ำคัญของการบันทึกในกรอบขององค์ ประกอบจิตสาธารณะพบว่า 5.1 จิตสาธารณะต่อบุคคลพบว่าบุคคลที่ผู้เรียนคิดได้นั้นมี จากบุคคลที่ใกล้ตัว ไปสู่บุคคลที่ไกลตัวออกไป ได้แก่ เพื่อนใกล้ชิด เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน คนพิการ และ บุคคลทั่วไป 5.2 จิตสาธารณะต่อสาธารณสมบัติ ครอบคลุมด้านความ สะอาดและด้านสภาพแวดล้อม 5.3 จิตสาธารณะต่อการเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เป็นกิจกรรมที่ยังประโยชน์ต่อผู้อื่น นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์สาระส�ำคัญของแบบบันทึกการเรียน รู้แสดงข้อค้นพบที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เรียนยังได้มีประสบการณ์การ เรียนรู้ที่ส�ำคัญเกี่ยวกับ (1) กระบวนการท�ำงานร่วมกัน ซึ่งต้องประกอบไป ด้วยการรับฟังความคิดเห็นของกัน การไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง การรู้จกั ให้อภัยกัน ความสามัคคี ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน (2) ได้เรียนรู้ ลักษณะนิสัยของกันและกัน รู้จักกันมากขึ้น (3) เรียนรู้ถึงผลกระทบของการ มี/ไม่มีจิตสาธารณะ และ (4) เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง เปลี่ยนแปลง และ ปรับปรุงตนเองในทางที่ดีขึ้น หฤทัยสัมพันธ์

67


ผลของกิจกรรมกลุม่ เพือ่ พัฒนาการท�ำงานร่วมกันของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์ กรุงเทพมหานคร

The Effect of Group Activities to Develop Group Worked of The Secondary School Students of Phraharuthai Patthanaves School in Bangkok. นางสาววิชชุดา วิจติ รวงศ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2555

การวิจยั ครัง้ นี้ มีความมุง่ หมายเพือ่ เปรียบเทียบผลของกิจกรรมกลุม่ เพือ่ พัฒนาการท�ำงานร่วมกันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน พระหฤทัยพัฒนเวศม์ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั เลือกนักเรียนทีม่ คี ะแนน การท�ำงานร่วมกันต�ำ่ กว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ท่ี 25 และสอบถามความสมัครใจ เข้าร่วมกิจกรรมกลุม่ ทดลอง จ�ำนวน 12 คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั คือ แบบสอบถามการท�ำงานร่วมกันและกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการท�ำงานร่วม กัน สถิตทิ ใ่ี ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล คือ การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม มีพัฒนา การท�ำงานร่วมกันเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

68

หฤทัยสัมพันธ์


กิจกรรมในฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการศึกษาคณะฯ จัดสัมมนา

วันจันทร์ท่ี 4 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ฝ่ายการศึกษาคณะฯ จัดสัมมนา เรื่อง “ความพร้อมเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา (สมศ.)” ณ หอประชุม 3 อาคารสิรนิ เทพ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ โดยอาจารย์ดรุณี ขันโท นักวิชาการศึกษา ฝ่ายการศึกษา มูลนิธิ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากร การอบรมครัง้ นี้เพื่อให้ผู้บริหาร ได้เรียนรู้และเข้าใจในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินฯ

ศึกษาดูงานต่างประเทศ

วันที่ 9-13 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 สมาชิก ที่ ท� ำ งานด้ า นการศึ ก ษาในสั ง ฆมณฑลเชี ย งใหม่ จ�ำนวน 4 คน ได้แก่ ซิสเตอร์กฤษฏี ชื่นชมน้อย ซิสเตอร์สุรีย์พร ระดมกิจ ซิสเตอร์สุปาณี สุขถาวร ซิสเตอร์มาลินี กริซไพฑูรย์ เดินทางไปดูงานด้านการ ศึกษา และท�ำสัญญาโครงการความร่วมมือระหว่าง สถาบั น การศึ ก ษาในการเตรี ย มเข้ า สู ่ ป ระชาคม อาเซียน ที่มหาวิทยาลัยซีอาน ประเทศจีน หฤทัยสัมพันธ์

69


ร่วมยินดีสมาชิกส�ำเร็จการศึกษา

ในปีการศึกษา 2011-2012 คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่ง กรุงเทพฯ มีสมาชิกส�ำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต 2 ท่าน และมหา บัณฑิต 1 ท่านและปริญญาตรี 1 ท่าน ได้แก่ 1. ซิสเตอร์น�้ำทิพย์ งามสุทธา ส�ำเร็จ การศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยา กลุ่มวิชาจิตวิทยาการ เรียนรู้และการสอน จากมหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต ประจ�ำปีการศึกษา 2012 2. ซิสเตอร์กาญจนา สิงห์สา ส�ำเร็จ การศึ ก ษาปริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาการศึกษา ณ Katholieke Universiteit, Leuven, Belgium ประจ�ำ ปีการศึกษา 2012 3. ซิสเตอร์วิชชุดา วิจิตรวงศ์ ส�ำเร็จ การศึกษา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจ�ำปีการศึกษา 2012

70

หฤทัยสัมพันธ์


4. ซิสเตอร์อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ จบการศึกษาปริญญาตรี สาขา วิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ประจ�ำปีการ ศึกษา 2012

ซิสเตอร์พระหฤทัยฯ ร่วมสัมมนากับสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ที่ท�ำงานด้านการศึกษาร่วมงานประชุม สัมมนาสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยประจ�ำปี ค.ศ. 2012 ครั้งที่ 42 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 19- 22 สิงหาคม ค.ศ. 2012 หัวข้อ “โรงเรียนคาทอลิก ไ ท ย ใ น บ ริ บ ท ข อ ง ป ร ะ ช า ค ม อาเซียน” ณ โรงแรมเอเชียพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยพระสังฆราชหลุยส์ จ�ำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นประธาน เปิดงาน การประชุมสัมมนาครัง้ นี้ มีพระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง คณะครู และบุคลากรที่ท�ำงานด้านการศึกษา ในโรงเรียนคาทอลิกไทยมาร่วมงานทัง้ สิ้น 465 คน มีสมาชิกคณะพระ หฤทัยฯ เข้าร่วมงานครัง้ นี้ 23 คน การประชุมสัมมนา 4 วัน ผู้เข้า สัมมนาได้ร่วมกันไตร่ตรองแนวทางการ ด� ำ เนิ น กิ จ การด้ า นการศึ ก ษาในสถาบั น คาทอลิ ก เพื่ อ ตอบสนองการเตรี ย ม ความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและ ต้อนรับปีแห่งความเชื่อตามอัตลักษณ์ของ หฤทัยสัมพันธ์

71


การศึกษาคาทอลิก และรับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรหลายท่าน รวมถึงเป็นสักขีพยานในการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อ พัฒนาครูด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างสภาการ ศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.)

จัดสัมมนาครูโรงเรียนในเครือคณะฯ

ฝ่ายการศึกษาโรงเรียนเครือคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งกรุงเทพฯ จัดอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัตกิ ารบุคลากรครู เจ้าหน้าที่ พี่เลี้ยง เพื่อเตรียมพร้อมยกระดับมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาและการก้าว สู่ประชาคมอาเซียน จ�ำนวน 10 โครงการ ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากร โรงเรียนเครือคณะฯ และโรงเรียนในชุมชน รวมจ�ำนวน 8 โรงเรียน เมื่อวัน ที่ 16 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ณ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ โรงเรียน พระหฤทัยดอนเมือง และพระหฤทัยนนทบุรี ทั้งนี้มีผู้เข้ารับการอบรม ณ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ในวันที่ 16 – 17 ตุลาคม ค.ศ. 2012 จ�ำนวน 263 คน และวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2012 จ�ำนวน 562 คน (ภาพ/ข่าว: www.shc.ac.th)

72

หฤทัยสัมพันธ์


โครงการ 1 ช่วย 9 เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2012 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ให้การต้อนรับท่านผู้บริหารและคณะครูจากโรงเรียนต่าง ๆ จ�ำนวน 7 โรงเรียนที่เดินทางมาศึกษาดูงานการบริหารจัดการและการด�ำเนินงานการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เพื่อเตรียม พร้อมรับการประเมินภายนอกรอบ 3 ส�ำหรับโรงเรียนเครือข่ายฯ ภายใต้ โครงการ 1 ช่วย 9 ของส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) โดยโรงเรียนได้ลงนามการให้ความร่วมมือ ในการช่วยเหลือกับโรงเรียนเครือข่ายฯ เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2012 ณ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ตามนโยบาย สมศ. ซึ่งให้โรงเรียนที่มีผล การประเมินรอบ 3 ในระดับดีมาก เป็นผู้สร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพ (ภาพ/ข่าว: www.shc.ac.th)

หฤทัยสัมพันธ์

73


ข้อท้าทายของพระศาสนจักรใน

งานพัฒนามนุษย์... สู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดย ซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ ที่ปรึกษาฝ่ายสังคมของคณะ คณะอนุกรรมการศึกษาแผนกพัฒนาสังคม Caritas Thailand

คณะกรรมมาธิการฝ่ายสังคมของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย (Caritas Thailand) ในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมงานด้านสังคมและ การพัฒนามนุษย์ในทุกมิติตระหนักถึงการท�ำความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียน แก่บุคลากรของพระศาสนจักรคาทอลิกไทยที่ท�ำงานด้านสังคม ในประเด็นเกี่ยว กับความเป็นมา เป้าหมายและการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคม อาเซียนอย่างมีสติ รู้เท่าทัน และให้บุคลากรของพระศาสนจักรเข้าใจชัดเจน ถึงจุดยืนของข้อค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร และมีโอกาสมาร่วมกัน วางแผนยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล เพื่อ เป็ น แนวทางในการด� ำ เนิน งานของฝ่ า ยสั ง คมของพระศาสนจั ก รไทยร่ ว มกั น อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดสัมมนาโอกาสประชุมสมัชชาคาริตัสไทยแลนด์ครั้ง ที่ 1/2012 ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ในหัวข้อ “ข้อท้าทายของ พระศาสนจักรในงานพัฒนามนุษย์...สู่การเป็นประชาคมอาเซียน” ณ ศูนย์ อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

74

หฤทัยสัมพันธ์


การสัมมนาที่คณะกรรมมาธิการฝ่ายสังคมของสภาฯ จัดขึ้นครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากบุคลากรของพระศาสนจักร ซึ่งตอบรับเข้าร่วมสัมมนา จ�ำนวนมาก โดยพระสังฆราช 1 องค์ พระสงฆ์ 13 ท่าน นักบวชชาย-หญิง 46 ท่าน ฆราวาสชาย-หญิงที่เป็นผู้แทนจากศูนย์สังคมพัฒนา 10 สังฆมณฑล ผู้อ�ำนวยการแผนกและพนักงาน 8 แผนกงานและเครือข่าย ผู้แทนจากชมรม และกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ รวม 72 ท่าน รวมผู้เข้าร่วมสัมมนาทัง้ สิ้น 132 ท่าน ส�ำหรับคณะพระหฤทัยฯ มีเข้าร่วมประชุมครัง้ นี้ทั้งสิ้น 17 ท่าน ได้แก่ คุณแม่เชลียง เวชยันต์และคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการฝ่ายสังคมพัฒนา คณะกรรมการฝ่ายอบรมและยุวภคินี ซึ่งผู้เขียนก็ได้มสี ่วนร่วมในการสัมมนา ครั้งนี้ด้วย จึงอยากจะน�ำสิ่งที่ได้จากการประชุมครัง้ นี้มาเล่าสู่พี่น้องให้ได้ อ่านกัน

ตลอด 3 วันของการสัมมนา ผู้สัมมนาทุกคนร่วมกันศึกษาในประเด็น ที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและร่วมกันไตร่ตรองแนวทางการท�ำงานเพื่อน�ำ ไปสู่การปฏิบัตงิ านในฝ่ายสังคมให้ไปทิศทางเดียวกัน โดยผ่านกระบวนการ สัมมนาดังนี้ 1) ศึกษาเรียนรู้และสร้างความตระหนักในประเด็น อาเซียนกับ ผลกระทบต่อสังคมไทยและมุมมองค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร คาทอลิก 2) ไตร่ตรอง (Reflection) สถานการณ์ปัญหาร่วมกันทัง้ กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ ในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จากผลกระทบของ การเป็นประชาคมอาเซียน หฤทัยสัมพันธ์

75


3) แนวทางของพระศาสนจักรคาทอลิก จากมุ มมองของค� ำ สอน ด้านสังคม 4) ร่วมกันแสวงหา ค้นพบข้อท้าทายและกรอบการท�ำงานร่วมกัน ในพระศาสนจักรไทย 5) หลังเสร็จสิ้นการสัมมนา ผู้เข้าประชุมได้มฉี ันทามติเพื่อเป็นแนว ปฏิบัติร่วมกัน ผู้เข้าสัมมนาไตร่ตรองค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิก และได้ยืนยันหลักการค�ำสอนพื้นฐานที่ส�ำคัญในการท�ำงานพัฒนามนุษย์ ได้แก่ คุณค่าชีวิตและศักดิ์ศรีของบุคคลมนุษย์ ความเป็นครอบครัว ชุมชน และการมีส่วนร่วม สิทธิและความรับผิดชอบ การเป็นพระศาสนจักร ท่ามกลางผู้ยากไร้และผู้รอคอยโอกาส ศักดิ์ศรีของแรงงาน ความเป็นปึก แผ่นหนึ่งเดียวกัน และการเคารพสิ่งสร้างของพระเจ้า

การสัมมนาครัง้ นี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสะท้อนความห่วงใยต่อประเด็นปัญหาด้านสังคมที่ส่งผลกระทบต่อ ภาคประชาชนดังนี้ 1) ความแตกต่างเหลื่อมล�้ำกันด้านเศรษฐกิจของประเทศอาเซียน ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างมากมายและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานข้ามชาติ และบุคคลไร้รัฐหรือไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ ตลอดจน บุคคลชายขอบ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เอื้อต่อการค้ามนุษย์ อาชญากรรม ยาเสพติด การละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และละเมิดสิทธิมนุษยชน 76

หฤทัยสัมพันธ์


ในรูปแบบต่าง ๆ 2) ภาคเกษตรกรรมไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเหมาะสม แต่กลับถูกแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินท�ำกินด้วยกลไกทางการ ตลาดของทุนขนาดใหญ่ รวมไปถึงการละเลยต่อคุณค่าของภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ก่อให้เกิดการล่มสลายของ ภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหาร 3) สภาพเศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบัน ที่ไม่เป็นอิสระจากทุนนิยม วัตถุนิยม และบริโภคนิยม ซึ่งท�ำให้ครอบครัวให้ความส�ำคัญกับ ‘เงินตรา’ มากกว่าคุณธรรม จริยธรรม ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ต่อปัญหาสังคม ที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน อาทิ ยาเสพติด อาชญากรเด็ก การค้ามนุษย์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การท�ำแท้ง และอื่น ๆ 4) ภาคประชาชนโดยทั่วไปยังไม่สามารถเข้าถึงความรู้ความเข้าใจ เรื่องประชาคมอาเซียนอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นประชาคมการเมืองและ ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาคมสังคม และวัฒนธรรม ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในด้านต่าง ๆ ท�ำให้ประชาชนไม่รู้ เท่าทัน และไม่ได้รับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

หฤทัยสัมพันธ์

77


หลังเสร็จสิ้นการศึกษาไตร่ตรอง ผู้เข้าสัมมนาได้มฉี ันทามติ เพื่อ เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน คือ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้น�ำของพระศาสนจักรทุกระดับ และทุกเครือข่าย ได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนให้ เกิดความตระหนักรู้ และปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ โดยอุทิศตนใน การท�ำงานเชิงรุกบนพื้นฐานของค�ำสอนของพระศาสนจักรเพื่อเตรียม ความพร้อมของชุมชนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างรู้ทัน 2) ท�ำงานร่วมกับฝ่ายการศึกษาทั้งระดับสภาพระสังฆราชฯ และระดับสังฆมณฑล เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านประชาคมอาเซียน ให้กับผู้บริหาร ครูและนักเรียนในสถาบันการศึกษาคาทอลิก โดยมุ่ง เน้นถึงการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน และความรับ ผิดชอบต่อสังคม 3) ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน โดยผ่านกระบวนการวิถีชุมชนวัด 4) ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ น� ำ แนวคิ ด และหลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการด�ำเนินชีวิต 5) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ เพื่อสร้างแนวร่วมเครือข่ายผลักดัน เชิงนโยบาย 6) ส่ ง เสริ ม การท� ำ งานเป็ น เครื อ ข่ า ยด้ า นสั ง คมของพระ ศาสนจักรระดับวัด สังฆมณฑล ระดับชาติ และอาเซียน 7) ร่วมมือกับสื่อมวลชน โดยเฉพาะในเครือคาทอลิก เผยแพร่ ข้อมูลประชาคมอาเซียนในทุกมิติ ฉันทามติ ผลที่ได้จากการสัมมนาครั้งนี้ พระสังฆราชฟิลิป บรรจง ไชยรา ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานกรรมาธิการฝ่ายสังคม (Caritas Thailand) สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้น�ำ “ข้อท้าทายของพระ ศาสนจักรในงานพัฒนามนุษย์...สู่การเป็นประชาคมอาเซียน “ ไปเป็น 78

หฤทัยสัมพันธ์


ข้อประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วกัน เพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันต่อไป การสัมมนาครัง้ นี้นับว่ามีประโยชน์ต่อคณะภคินีพระหฤทัยฯ ใน การที่จะน�ำผลของการประชุมมาปรับใช้ร่วมกับการด�ำเนินงานของคณะฯ ในฝ่ายสังคมพัฒนา ท�ำให้สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และพยามยามที่จะแบ่งปันความรู้ไปยังบุคลากร ส่วนต่าง ๆ ของคณะฯ เช่น การจัดอบรมให้แก่บุคลากรครู เจ้าหน้าที่ พนักงาน และนักเรียนของโรงเรียนในเครือคณะฯ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาเซียนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ประคมอาเซียน และการเตรียม ความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีสติ รู้เท่าทัน ให้บุคลากร ได้เข้าใจชัดเจนถึงจุดยืนของข้อค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร อีก ทั้งร่วมมือกับหน่วยงานคาทอลิกอื่น ๆ ที่ท�ำงานด้านการพัฒนาสังคมและ ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงานของฝ่ายสังคมฯ ในระดับสภาพระสังฆราชคาทอลิก ซึ่งเน้นการเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์ สิทธิ มนุษยชน ความรับผิดชอบต่อสังคม อาศัยกระบวนการวิถีชุมชนวัด บนพื้น ฐานแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป แหล่งที่มาของข้อมูล: 1. เอกสารประกอบการสัมมนา โอกาสประชุมสมัชชาคาริตัสไทยแลนด์ ครั้งที่ 1/2012 วันที่ 19-21 มิถุนายน ค.ศ. 2012 หัวข้อ ‘ข้อท้าทายของ พระศาสนจักรในงานพัฒนามนุษย์...สู่การเป็นประชาคมอาเซียน’ ณ ศูนย์อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดย คุณจีรวัฒน์ เจนผาสุก 2. ค�ำประกาศ “ข้อท้าทายของพระศาสนจักรในงานพัฒนามนุษย์...สู่ การเป็นประชาคมอาเซียน” ณ วันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2012 โดยพระ สังฆราชฟิลปิ บรรจง ไชยรา (อุดมสาร ปีที่ 36 ฉบับที่ 32 ประจ�ำวันที่ 5-11 สิงหาคม 2012 หน้า 3) 3. ภาพประกอบบทความ จาก คุณจีรวัฒน์ เจนผาสุก และ Facebook “Caritas Thailand (กรรมาธิการฝ่ายสังคม)” หฤทัยสัมพันธ์

79


กิจกรรมในฝ่ายสังคมพัฒนา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2012 หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้า เยี่ยมชมและศึกษาดูงานที่ชุมชนกองขยะหนองแขม ดังนี้

1) นักศึกษาจากสิงคโปร์ศึกษาดูงานชุมชนกองขยะหนองแขม วันศุกร์ท่ี 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ Department of Social Work, National University of Singapore ซึ่งเป็นผู้ร่วมมือจัดการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ภู มิ ภ าคอาเซี ย นได้ ใ ห้ ค ณาจารย์ แ ละ คณะนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี จ าก National University of Singapore จ�ำนวน 21 คน มาดูงานที่ชุมชนกองขยะ หนองแขม เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความ รู้ในภาคสนาม และแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นในด้านการพัฒนาชุมชน โดยมีอาจารย์ปาริชาติ วลัยเสถียร จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ประสานงาน ซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ และ ซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงค์ ให้การต้อนรับ คุณบรรจง แซ่อึ้ง และ ซิสเตอร์อาเมลี วราภรณ์ ธิราศักดิ์ เป็นวิทยากรให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน กองขยะหนองแขมในหลายด้าน ตั้งแต่ความเป็นมาของชุมชน กระบวนการ การจัดการที่อยู่อาศัยของชุมชนบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ในการออมเงิน การช่วยเหลือกันในชุมชน และการได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายชุมชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรศาสนา คณะนักบวช โดย 80

หฤทัยสัมพันธ์


เฉพาะคณะพระหฤทัยฯ ที่ท�ำงานอยู่กับชุมชนมานาน จนสามารถผลักดันให้ ชุมชนนี้สามารถเข้าสู่โครงการบ้านมั่นคงได้

คณาจารย์และคณะนักศึกษาที่มาศึกษาดูงานให้ความสนใจและ ประทับใจชุมชนกองขยะหนองแขม ทั้งนี้เมื่อจบการทัศนศึกษา คณะผู้ศึกษา ได้น�ำแนวคิดและสิ่งที่พบเห็นอันเป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาชุมชนไป เสนอต่อองค์การภาครัฐระดับชาติต่อไป 2) ม. ธนบุรีศกึ ษาดูงานและช่วยพัฒนาชุมชนกองขยะหนองแขม วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2012 คณะผู้บริหารและ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี จ�ำนวน 30 คน มาดูงานที่ชุมชนกอง ขยะหนองแขม เพื่อประสานความร่วมมือการท�ำงานระหว่างกัน ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยจะน�ำนักศึกษามาช่วยพัฒนาชุมชนเป็นเวลา 1 ปี โดยจัดการ อบรมและสอนอาชีพหลักสูตรระยะสัน้ เช่น การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า การ ซ่อมเครื่องยนต์ จักรยาน การผลิตวัสดุท�ำความสะอาด ฯลฯ

หฤทัยสัมพันธ์

81


3) ผู้น�ำชุมชนและอบต. บ้านแพ้วดูงานที่ชุมชนกองขยะหนองแขม

วันศุกร์ท่ี 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ผู้น�ำชุมชนและอบต. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร จ�ำนวน 50 คน มาดูงานการแยกขยะ การน�ำขยะมารีไซเคิล ตลอดจนการพัฒนาชุมชน การจัดการที่อยู่อาศัยและโครงการบ้านมั่นคง

กิจกรรมในโครงการชุมชนคุ้มครองเด็ก

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สทิ ธิเด็ก ร่วมกับมูลนิธิสร้างสรรค์สถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ จัดกิจกรรมในโครงการชุมชนคุ้มครองเด็ก โดยให้คณะฯ ท�ำงานตามโครงการ อันได้แก่ แกนน�ำชุมชน ผู้บริหารโรงเรียน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานวิชาชีพระดับจังหวัดทั่วประเทศ จ�ำนวน 70 คน เข้าเยี่ยมชมการด�ำเนินงานในพืน้ ที่ชุมชนกองขยะหนองแขม เพื่อ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้การท�ำงานเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและการคุ้มครอง เด็กในชุมชน

82

หฤทัยสัมพันธ์


มาเรียนรู้...

พระวรสารนักบุญมาระโก

แบ่งปันโดย...คุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ ในโอกาสสัมมนาประจ�ำเดือนของซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ วันเสาร์ท่ี 2 มิถุนายน ค.ศ. 2012

มาระโกเขียนพระวรสารที่ใดยังเป็นที่ถกเถียง กันในหมู่นักวิชาการ บ้างก็ว่าที่โรม บ้างก็ว่าที่อเล็ก ซานเดรีย และบ้างก็ว่าที่ซีเรียแต่ท่เี ห็นพ้องต้องกัน ก็คือ แม้จะปรากฏรายชื่อเป็นล�ำดับที่สองในบรรดา หนังสือพระวรสาร แต่พระวรสารของมาระโกกลับ เป็นเล่มแรกที่ถูกเขียนขึ้นในราวปี ค.ศ. 70 ภายหลัง พระวิ ห ารที่ ก รุ ง เยรู ซ าเล็ ม ถู ก ท� ำ ลายโดยกองทั พ โรมัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่อาศัยอยู่นอกปาเลสไตน์ ใช้ภาษากรีก มากกว่าอาราไมอิก และไม่คุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวยิว เหตุผลที่ท�ำให้นักวิชาการเชื่อว่ามาระโกเขียนพระวรสารเป็นเล่มแรก คือโดยเนือ้ หาและล�ำดับเหตุการณ์แล้ว พระวรสารของมัทธิว มาระโก และ ลูกามีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันมาก เช่นเรื่องการทวีขนมปังเลี้ยงคนห้า พันคน (มก. 6: 30-44; มธ. 14: 13-21; ลก. 9: 10-17) การรักษาคนอัมพาต ที่มีผู้หย่อนลงมาจากหลังคา (มก. 2: 1-12; มธ. 9: 1-8; ลก. 5: 17-26) ฯลฯ จนเหลือข้อสรุปเพียง 2 ประเด็นคือ ถ้าทั้งสามเล่มไม่ใช้แหล่งข้อมูลร่วมกัน ก็ ต้องมีเล่มใดเล่มหนึ่งเป็นแหล่งข้อมูลให้อกี สองเล่มที่เหลือ เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาในพระวรสารของมาระโกจะเห็นว่าแบ่งออกเป็น 105 ตอน ใน 105 ตอนนี้มี 93 ตอนปรากฏอยู่ในพระวรสารของมัทธิว และ หฤทัยสัมพันธ์

83


81 ตอนในพระวรสารของลูกา มีเพียง 4 ตอนเท่านัน้ ที่ไม่ปรากฏทั้งในมัทธิว และลูกา และเมื่อเจาะลึกลงไปอีกจะพบว่าพระวรสารของมาระโกประกอบ ด้วยเนือ้ หา 661 ข้อ มัทธิว 1,068 ข้อ และลูกา 1,149 ข้อ ในบรรดาเนื้อหา 661 ข้อของมาระโก มัทธิวน�ำมาคัดลอกดัดแปลงไม่น้อยกว่า 606 ข้อ และ ลูกา 320 ข้อ ใน 55 ข้อของมาระโกที่มัทธิวไม่ได้คัดลอกมา ลูกากลับน�ำ มาคัดลอกถึง 31 ข้อ เหลือเพียง 24 ข้อเท่านั้นที่ไม่ปรากฏทั้งในมัทธิวและลูกา นอกจากนี้ ทั้งมัทธิวและลูกายังเรียงล�ำดับเหตุการณ์ส่วนใหญ่ตามมาระโก มีบ้างที่มัทธิวและลูกาเปลี่ยนล�ำดับเหตุการณ์ของมาระโก แต่ไม่มคี รั้งใด เลยที่ล�ำดับเหตุการณ์ของมัทธิวและลูกาที่สอดคล้องกันจะขัดแย้งกับล�ำดับ เหตุการณ์ของมาระโก ทั้งหมดนี้น�ำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าพระวรสารของ มาระโกเป็นพระวรสารเล่มแรกและมีความส�ำคัญ ที่สุด เพราะเป็นบันทึกแรกเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู เจ้า และกลายเป็นบรรทัดฐานให้ผู้นพิ นธ์พระวรสาร ท่านอื่นเดินตาม มาระโกรวบรวมอัศจรรย์ต่าง ๆ ที่ผู้คนเล่าสืบ ต่อกันมา น�ำมารวมกับค�ำสอน การเดินทาง ฯลฯ แล้วเขียนตามความเข้าใจ ของท่านเองเพื่อแสดงว่าตลอดชีวิตของพระเยซูเจ้าพระองค์ทรงท�ำอะไรและ ทรงมีเป้าหมายอย่างไร อันที่จริง หากวิเคราะห์กันจริง ๆ แล้วพระวรสารของมาระโก เกี่ยวข้องกับความตายของพระองค์มากกว่า ดูเหมือนมาระโกจงใจเขียนพระ วรสารโดยค�ำนึงถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นหลัก แล้วเล่าเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อน�ำไปสู่การสิ้นพระชนม์นี้ มาระโกพยายามบอกผู้อ่านว่าพระเยซูเจ้าไม่ใช่นักท�ำอัศจรรย์ เพราะ อัศจรรย์มคี ุณค่าเพียงน้อยนิดในสมัยโบราณ มีผู้คนมากมายที่สามารถ ท�ำอัศจรรย์ได้ ในพระวรสารของมาระโกเราจึงพบว่าบางครัง้ พระองค์ท�ำ 84

หฤทัยสัมพันธ์


อัศจรรย์ไม่ได้หรือไม่อยากท�ำ (มก. 6: 5) บางครัง้ ต้องท�ำอัศจรรย์ถงึ สองครั้ง (มก. 8: 22-26)และครั้งหนึ่งถึงกับท�ำให้เด็กตายจนต้องช่วยให้กลับมามีชีวิต ใหม่อีกครัง้ หนึ่ง (มก. 9: 14-27) หากจะนับพระองค์เป็นนักท�ำอัศจรรย์ก็เป็น นักท�ำอัศจรรย์ท่แี ปลกมาก และนี่คือสิ่งที่มาระโกให้ความสนใจ ส า เ ห ตุ เ ป ็ น เ พ ร า ะ ม า ร ะ โ ก ต้ อ งการน� ำ เสนอความหมายที่ ถู ก ต้ อ ง ของค�ำว่า “พระเมสสิยาห์” เมื่อพระองค์ ถามบรรดาอัครสาวกว่า “ท่านล่ะ ว่าเราเป็นใคร” เปโตรรู้ดวี ่าคนที่สามารถ ท�ำอัศจรรย์เช่นนี้ได้คือใคร จึงตอบว่า “พระองค์คือพระคริสต์ (พระเมสสิยาห์)” แล้วนั้น จุดเปลี่ยนชนิดหักปากกา เซียนก็เกิดขึ้นเพื่อจะบอกผู้อ่านว่า การเชื่อว่าพระองค์เป็นพระเมสสิยาห์ เพราะทรงท�ำอัศจรรย์ได้นนั้ ไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะทันทีที่เปโตร ตอบเสร็จพระองค์ก็ตรัสว่า “บุตรแห่งมนุษย์จะต้องรับการทรมานอย่างมาก และจะถูกประหารชีวิต” และเมื่อเปโตรทูลทัดทาน พระองค์ก็ทรงดูท่านว่า เป็นซาตานที่ไม่คิดอย่างพระเจ้า แต่คดิ อย่างมนุษย์ (มก. 8: 27-33) มาระโกเล่นบทหักมุมเช่นนี้เพื่อบังคับผู้อ่านให้คิดและเข้าใจสิ่งที่ถูก ต้อง ในเมื่อบรรดาอัครสาวกพลาดโอกาสที่จะเข้าใจพระเยซูเจ้าเพราะเห็น พระองค์เป็นเพียงนักท�ำอัศจรรย์จึงเป็นพวกเขาเองที่ต้องเข้าใจและรู้ว่า พระเมสสิยาห์ตามความคิดของพระองค์คอื ผู้ที่จ�ำต้องตาย ลักษณะส�ำคัญอีกประการหนึ่งในการเล่าเรื่องของมาระโกคือการ ท�ำให้พระเยซูเจ้าเป็นเสมือนบุคคลลึกลับ บางครั้งพระองค์ตั้งใจปิดบังไม่ให้ ประชาชนรู้ว่าพระองค์เป็นใคร บางครั้งทรงสั่งปีศาจซึ่งรู้ว่าพระองค์เป็นใคร ให้เงียบ (มก. 1: 25; 3: 12) หลังท�ำอัศจรรย์พระองค์ก็มักสั่งมิให้บอกผู้ใดถึง สิ่งที่เกิดขึ้น (มก. 1: 44; 5: 43; 7: 36) และบางครั้งถึงกับพาอัครสาวกหลบไป จากฝูงชนเพื่อมิให้พวกเขาได้ยินและเข้าใจ (มก. 4: 35-36; 10: 32) ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น มาระโกยั ง พยายามน� ำ เสนอพระเยซู เ จ้ า ราวกั บ ว่ า หฤทัยสัมพันธ์

85


พระองค์ต้องการปิดบังผู้ฟังมิให้เข้าใจความหมายของสิ่งที่ทรงสอนจริงอยู่ พระองค์ตรัสเป็นค�ำอุปมา (มก. 4: 34) แต่เป็นพระวรสารของมาระโกที่ระบุ ชัดเจนว่า“เพื่อเขาจะมองแล้วมองเล่า แต่ไม่เห็น ฟังแล้วฟังเล่า แต่ไม่เข้าใจ” (มก. 4: 12) และดังนัน้ จึงเป็นผู้อ่านนั่นเองที่ต้อง เข้าใจ ! มาระโกยังเพิ่มสีสันให้กับพระวรสารของ ท่านโดยการท�ำให้คนวงนอกซึ่งไม่สลักส�ำคัญนัก กลับเป็นผู้ที่เข้าใจพระองค์ เช่น เมื่อหญิงผู้หนึ่ง น� ำ น�้ ำ มั น หอมราคาแพงมาชโลมพระเศี ย รของ พระองค์ ร ะหว่ า งอาหารค�่ ำ ครั้ง สุ ด ท้ า ยแทนที่จ ะ เป็นบรรดาอัครสาวกกลับเป็นหญิงผู้นี้เองที่เข้าใจ ว่า พระเมสสิยาห์คอื ผู้ที่จ�ำต้องตายเพราะพระองค์ตรัสว่า “นางชโลมกาย ของเราล่วงหน้าก่อนจะถึงเวลาฝังศพ... และทุกคนจะกล่าวถึงสิ่งที่นางได้ ท�ำ” (มก. 14: 3-9) อีกตัวอย่างหนึ่งคือหญิงตกโลหิตซึ่งแทบไม่มคี วามส�ำคัญ เลยเมื่อเทียบกับไยรัสผู้เป็นถึงหัวหน้าศาลาธรรม แต่กลับเป็นนางที่รู้ว่า พระองค์เป็นใครและสามารถท�ำอะไรได้ จึงแอบไปสัมผัสฉลองพระองค์ ใน ขณะที่ฝ่ายของไยรัสซึ่งไม่รู้ซึ้งถึงฤทธิ์อ�ำนาจของพระองค์กลับพูดว่า “บุตร หญิงของท่านตายแล้ว ไปรบกวนพระอาจารย์อกี ท�ำไมเล่า” (มก. 5: 21-43) มาระโกเชื่อมโยงการช�ำระพระวิหารเข้ากับเรื่องมะเดื่อเทศไม่เกิด ผลและเหี่ยวเฉา เพื่อแสดงว่าพระองค์ทรงช�ำระ พระวิหารก็เพราะพระวิหารไม่เกิดผลอย่างที่ควร จะเป็น และนั่นคือเหตุผลที่มันต้องถูกท�ำลาย และ พระองค์จ�ำต้องตายเพื่อให้มันบังเกิดผล (มก.11: 12-21) มาระโกให้รายละเอียดมหาทรมานของพระ เยซูเจ้ามาก พระองค์ต้องโดดเดี่ยว ถูกศิษย์และ 86

หฤทัยสัมพันธ์


ผู้ติดตามทอดทิ้ง แม้พระเจ้าเองก็ดูเหมือนจะทรงทอดทิ้งพระองค์ “ข้าแต่ พระเจ้า ข้าแต่พระเจ้า ท�ำไมพระองค์จงึ ทรงทอดทิ้งข้าพเจ้าเล่า” (มก. 15:34) เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้อ่านจะทอดทิ้งพระองค์ได้อย่างไร? กล่าวโดยสรุป คริสตชนเริ่มแรกมองพระเยซูเจ้าเป็นเพียงนักท�ำ อัศจรรย์ มาระโกจึงพยายามสร้างความคิดใหม่เกี่ยวกับพระองค์โดยท�ำให้ พระองค์ดูลกึ ลับ ยากแก่การเข้าใจ ซึ่งนักวิชาการเรียกปรากฏการณ์น้วี ่า “ความลับแห่งพระเมสสิยาห์” ดูเหมือน “ความลับแห่งพระเมสสิยาห์” จะอยู่ที่ว่า ความเป็นพระ เมสสิยาห์ของพระเยซูเจ้ามิได้อยู่ที่อัศจรรย์ เพราะบรรดาศิษย์เห็นอัศจรรย์ มากมายที่พระองค์ทรงกระท�ำ กระนั้นพวกเขาก็ไม่รู้และไม่เข้าใจว่าพระองค์ เป็นใคร แต่ความหมายแท้จริงของพระเมสสิยาห์นนั้ อยู่ที่ว่าพระองค์ทรงเป็น บุตรแห่งมนุษย์ผู้เสด็จลงมาเพื่อรับการทรมานและสิ้นพระชนม์ อาศัยแสงสว่างแห่งการสิ้นพระชนม์น้เี อง มาระโกพยายามอธิบาย ค�ำถามมากมายซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามและการท�ำลายพระวิหาร ท�ำไมสิ่ง เหล่านี้จึงเกิดขึ้น? มีอะไรผิดพลาดหรือ? ท�ำไมกรุงเยรูซาเล็มจึงถูกท�ำลาย? เป็นความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์นี้เองที่เปิดเผยความลับ ของพระเยซูเจ้าว่าจริง ๆ แล้วพระองค์ทรงเป็นผู้ใด! พระเยซูเจ้าและยอห์น บัปติสตา มาระโก บทที่ 1:1-13 การเริ่มต้นข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของ พระเจ้า มีเขียนไว้ในหนังสือประกาศกอิสยาห์ว่า ดูซิ เราส่งผู้น�ำสารของ เราไปข้างหน้าท่าน เพื่อเตรียมทางส�ำหรับท่าน คนคนหนึ่งร้องตะโกนใน ถิ่นทุรกันดารว่า จงเตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า จงท�ำทางเดินของ พระองค์ให้ตรงเถิด เพื่อให้ข้อความนี้เป็นจริง ยอห์นจึงท�ำพิธีล้างในถิ่น ทุรกันดาร เทศน์สอนเรื่องพิธีล้าง ซึ่งแสดงการกลับใจเพื่อจะได้รับการ อภัยบาป ประชาชนจากทั่วแคว้นยูเดีย และชาวกรุงเยรูซาเล็มทัง้ หลายไป หฤทัยสัมพันธ์

87


พบเขา รับพิธีล้างจากเขาในแม่นำ�้ จอร์แดนโดยสารภาพบาปของตน ยอห์น แต่งกายด้วยผ้าขนอูฐ ใช้หนังสัตว์คาดสะเอว กินตั๊กแตนและน�ำ้ ผึ้งป่า และ ประกาศว่า “มีอีกผู้หนึ่งก�ำลังมาภายหลังข้าพเจ้า ทรงอ�ำนาจยิ่งกว่าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สมควรแม้แต่จะก้มลงแก้สายรัดรองเท้าของเขา ข้าพเจ้าใช้น�้ำท�ำ พิธีล้างให้ท่านทัง้ หลาย แต่เขาจะท�ำพิธีล้างให้ท่าน เดชะพระจิตเจ้า” ครั้งนั้น พระเยซูเจ้าเสด็จจากเมืองนาซาเร็ธ แคว้นกาลิลี และทรง รับพิธีล้างจากยอห์นในแม่น�้ำจอร์แดน ทันทีที่พระองค์ เสด็จขึ้นจากน�ำ้ ก็ทรงเห็นท้องฟ้าถูกแหวกออก พระ จิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระองค์ดุจนกพิราบ และมี เสียงมาจากฟากฟ้าว่า “ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เป็น ที่โปรดปรานของเรา” ทันใดนั้น พระจิตเจ้าทรงดลให้ พระองค์เสด็จเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ประทับ อยู่ที่นั่นสี่สิบวัน ทรงถูกซาตานประจญ พระองค์ทรง อยู่กับสัตว์ป่า บรรดาทูตสวรรค์ปรนนิบัติรับใช้พระองค์ มาระโกไม่ได้เริ่มต้นพระวรสารด้วยการล�ำดับพระวงศ์หรือเล่าเรื่อง การประสูติของพระเยซูเจ้าเหมือนมัทธิวและลูกา แต่ท่านเริ่มโดยเข้าสู่เรื่อง ส�ำคัญทันทีนั่นคือ “ข่าวดี” และข่าวดีที่ว่าก็คือ 1. พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระคริสต์ (ภาษากรีก) หรือพระเมสสิยาห์ (ภาษาฮีบรู) 2. พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า ที่ส�ำคัญ ข่าวดีนี้อยู่ในแผนการของพระเจ้าตัง้ แต่เริ่มแรก และ มาระโกพิสูจน์ความจริงข้อนี้ด้วยการอ้างค�ำพูดของบรรดาประกาศก ประกาศกท่ า นแรกที่ ม าระโกอ้ า งถึ ง คื อ มาลาคี ซึ่ ง กล่ า วไว้ ว ่ า “พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า ดูเถิด เราจะส่งผู้ถอื สารของเราเพื่อเตรียมทาง ไว้ต่อหน้าเรา และพระเจ้าผู้ซ่งึ เจ้าแสวงหานัน้ จะเสด็จมายังพระวิหารของ พระองค์” (มลค. 3: 1) 88

หฤทัยสัมพันธ์


ประกาศกอีกท่านหนึ่งคืออิสยาห์ซ่งึ ท�ำนายไว้ว่า “เสียงหนึ่งร้องว่า จงเตรียมทางของพระยาห์เวห์ในถิ่นทุรกันดาร จงเปิดทางตรงในทุ่งเวิ้งว้าง ส�ำหรับพระเจ้าของเราเถิด” (อสย. 40: 3) ประกาศกทั้งสองท่านล้วนท�ำนายถึง “ผู้น�ำสาร” ที่จะมาเตรียมทาง ก่อนการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ ผู้เป็นพระบุตรของพระเจ้า แต่เพราะ มาระโกต้องการเน้นเรื่อง “เสียงในถิ่นทุรกันดาร” ท่านจึงเอ่ยชื่อประกาศก อิสยาห์เพียงท่านเดียว ส�ำหรับมาระโก “ผู้น�ำสาร” และ “เสียงในถิ่นทุรกันดาร” ที่บรรดา ประกาศกได้ท�ำนายไว้ก็คอื ยอห์น ผู้ท�ำพิธีล้าง ส่วนผู้ที่จะเสด็จมาก็คอื พระเยซูเจ้า เมื่อมีเสียงร้องในถิ่นทุรกันดารว่า “จงเตรียมทางขององค์พระผู้เป็น เจ้าให้ตรง” (มก. 1: 3) จึงเท่ากับว่ามาระโกก�ำลังพิสูจน์ตั้งแต่เริ่มต้นพระ วรสารเลยว่า “พระเยซูเจ้าคือองค์พระผู้เป็นเจ้า” ที่บรรดาประกาศกเฝ้ารอ มาเป็นเวลานานแล้ว ! ยอห์ น เทศน์ ส อนและท� ำ พิ ธี ล ้ า งซึ่ ง ชาวยิ ว ทุ ก คนต่ า งคุ ้ น เคยกั น ดี เพราะธรรมบัญญัติก�ำหนดให้พวกเขาต้องท�ำพิธีล้างทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งมี มลทิน หลังคลอดบุตร เมื่อหายจากโรคผิวหนัง หลังจากหลั่งน�้ำอสุจิ มีประจ�ำ เดือน ฯลฯ (ลนต. 11-15) ส่วนพิธีล้างซึ่งแสดงถึงการกลับใจเพื่อจะได้รับการ อภัยบาปนัน้ เป็นสิ่งที่พวกเขาไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลย เพราะอย่างไรเสีย พวกเขาก็ได้รับพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์ในฐานะที่เป็นลูก หลานของอับราฮัมแน่นอนอยู่แล้ว มีแต่คนต่างศาสนาที่ต้องการกลับใจมา นับถือศาสนายิวเท่านั้นที่ต้องการพิธีล้างเช่นนี้ พวกเขาไม่บริสุทธิ์เพราะไม่ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายยิว จึงต้องรับพิธีล้าง เข้าสุหนัต และถวายเครื่องบูชา เพื่อชดเชยบาปของพวกเขา เมื่อยอห์น ในฐานะประกาศกคนสุดท้ายของพระธรรมเก่า (ลก. 7: 26) เทศน์สอนและท�ำพิธีล้างให้แก่ชาวยิว ท่านก�ำลังประกาศว่า เชื้อชาติซึ่งเป็น ลูกหลานของอับราฮัมไม่ใช่หลักประกันและไม่ใช่เงื่อนไขส�ำคัญในการเป็น หฤทัยสัมพันธ์

89


ประชากรของพระเจ้าอีกต่อไปแล้ว นับจากนี้ไป ไม่ว่าชนชาติยิวหรือชนชาติ ใดก็ตาม สามารถเป็นประชากรของพระเจ้าได้ทัดเทียมกันหมด หากพวกเขา “กลับใจ” และรับการอภัยจากพระเจ้า ในการ “กลับใจ” มาหาพระเจ้า เราจ�ำเป็นต้องสารภาพบาปต่อ 3 บุคคลด้วยกัน คือ 1. ตนเอง การสารภาพบาปต่อตนเองคือย่างก้าวแรกสู่พระหรรษทาน แห่งการคืนดีกับพระเจ้า แต่น่าเสียดายที่ธรรมชาติประการหนึ่งของเรา มนุษย์คือ “ชอบปิดตาเพื่อจะไม่เห็นสิ่งที่ตัวเองไม่อยากเห็น” และสิ่งที่ ไม่มีใครในโลกนี้อยากเห็นก็คอื บาปและความผิดพลาดของตนเอง ในโลกนี้จึงไม่มีอะไรจะยากเท่ากับการ “เผชิญหน้ากับตัวเอง” ! แต่ในเมื่อ “การกลับใจ” (metanoia) หมายถึง “การหันกลับหรือการ เปลี่ยนจิตใจ อันส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีความคิดและพฤติกรรม” ถ้า เราไม่เผชิญหน้ากับตัวเองเพื่อจะได้รู้ว่าเราอยู่ ณ จุดใดแล้ว เราจะหันกลับ ไปสู่ทิศทางใดกัน? เราจะเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมจากอะไร และไปสู่ อะไรกัน? ในนิ ท านเปรี ย บเที ย บเรื่ อ งลู ก ล้ า งผลาญ จุดเปลี่ยนของเรื่องอยู่ตรงที่บุตรคนเล็กรู้ส�ำนึกและ คิดว่า “ฉันจะกลับไปหาพ่อ พูดกับพ่อว่า ‘พ่อครับ ลูกท�ำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก โปรดนับว่าลูกเป็นผู้รับใช้ คนหนึ่งของพ่อเถิด’” (ลก.15:18-19) และผลลัพธ์ ที่ตามมาจากการ “กลับไปหาพ่อ” นั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าที่บุตรคนเล็กคาดคิด ไว้มากมายนัก ! 2. คู่กรณี คงไม่มีประโยชน์มากนักหากเราจะบอกพระเจ้าว่า “ลูก เสียใจ” จนกว่าเราจะ “ขอโทษ” บุคคลที่เราได้ล่วงเกิน ได้ท�ำร้าย หรือได้ ท�ำให้เสียใจเสียก่อน จ�ำเป็นที่เราจะต้องก�ำจัดสิ่งกีดขวางระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองออก 90

หฤทัยสัมพันธ์


ไปให้หมด ก่อนที่พระเจ้าจะยกสิ่งกีดขวางระหว่างเรากับพระองค์ออกไป แต่ น่าเศร้าใจที่หลายครัง้ การสารภาพบาปต่อพระเจ้าดูเหมือนจะง่ายกว่าการ สารภาพผิดต่อคู่กรณีเสียอีก ! 3. พระเจ้า การสารภาพบาปต่อพระเจ้าคือการจบสิ้นของ ความ “หยิ่งจองหอง” และเป็นการเริ่มต้นของการ “ให้อภัย” เมื่อใด ก็ตามที่เรากล่าวว่า “ลูกได้ท�ำบาป” เมื่อนั้นเราเปิดโอกาสให้พระเจ้าตรัสว่า “เราให้อภัย” แล้วท�ำไมเราไม่เปิดโอกาสให้พระเจ้าบ้างล่ะ? น่าสังเกตว่าชาวยูเดียและชาวกรุงเยรูซาเล็มพากันมาหายอห์นและ รับพิธีล้างจากท่าน มีปัจจัยอะไรหรือที่ท�ำให้ค�ำเทศน์สอนของท่านบังเกิดผล ต่อเพื่อนร่วมชาติมากมายเช่นนี้? 1. ยอห์นด�ำเนินชีวิตตามที่ท่านเทศน์สอน ท่านไม่เพียงเทศน์ สอนด้วยค�ำพูดเท่านั้น แต่แบบอย่างการด�ำเนินชีวิตของท่านก็เป็นการ เทศน์สอนด้วย 1.1 ท่านด�ำเนินชีวิตในถิ่นทุรกันดาร ท่านไม่ใช่คนที่อาศัยอยู่ ท่ามกลางความสะดวกสบายในเมือง แต่อยู่ในทะเลทรายที่ เปล่าเปลี่ยว อ้างว้าง และสันโดษ ท่านอุทิศตนทั้งชีวิตให้แก่ โอกาสที่จะได้ยนิ เสียงของพระเจ้า 1.2 ยอห์ น แต่ ง กายด้ ว ยผ้ า ขนอู ฐ และใช้ ห นั ง สั ต ว์ ค าดสะเอว ท่านไม่ใช่นักเทศน์ที่แต่งกายตามสมัยนิยม แต่แต่งกายซื่อ ๆ เหมือนประกาศกในสมัยโบราณ (2พกษ. 1: 8) ท่านหลีก เลี่ยงความหรูหราฟุ่มเฟือยซึ่งรังแต่จะท�ำลายจิตวิญญาณ ของมนุษย์เรา 1.3 ยอห์นกินตั๊กแตนและน�้ำผึ้งป่า ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติ ที่เรียบง่ายที่สุด หลายคนมาพร้อมกับค�ำเทศน์สอนที่ตนเองไม่เคยแม้แต่จะคิดปฏิบัติ บางคนเทศน์สอนมิให้ยึดติดกับทรัพย์สมบัติของโลกนี้ในขณะที่ตนเองมีเงิน หฤทัยสัมพันธ์

91


ฝากธนาคารมากมาย แต่ในกรณีของยอห์น ชีวิตของท่านเองคือค�ำเทศน์ สอนที่ท�ำให้ผู้คนต้องฟัง 2. ยอห์นเทศน์สอนในสิ่งที่จิตใจของผู้คนรู้และเฝ้าคอย 2.1 ชาวยิวมีค�ำพูดว่า “ถ้าชาวอิสราเอลปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ ของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์เพียงวันเดียว พระอาณาจักร ของพระเจ้าก็มาถึงแล้ว” เมื่อยอห์นออกมาเรียกร้องให้ ประชาชนกลับใจ ท่านท�ำให้พวกเขาตัดสินใจท�ำในสิ่งที่พวก เขารู้อยู่แก่ใจแล้วว่าควรท�ำ ค�ำเทศน์สอนของท่านเข้าถึง มโนธรรมของพวกเขาจนพวกเขาไม่ฟังไม่ได้ 2.2 เป็ น เวลากว่ า สามร้ อ ยปี แ ล้ ว ที่ ช าวยิ ว ไม่ ไ ด้ ยิ น เสี ย งของ ประกาศกเลย พวกเขารอคอยที่จะฟังผู้ที่สามารถถ่ายทอด เสียงของพระเจ้าได้จริง ๆ ในเมื่อยอห์นอยู่ในทะเลทรายกับ พระเจ้าและมาจากพระเจ้า พวกเขาจึงรับรู้ได้ทันทีว่าการฟัง ยอห์นก็คือฟังพระเจ้า 3. ยอห์นสุภาพถ่อมตน ท่านตัดสินตัวท่านเองว่าไม่สมควร แม้แต่จะแก้สายรัดรองเท้า นั่นคือท่านไม่สมควรแม้แต่จะท�ำหน้าที่ เยี่ยงทาส ค�ำเทศน์สอนของท่านมีแต่จะท�ำให้ตัวท่านเองลดบทบาท ลงและท�ำให้พระเยซูเจ้าที่ท่านประกาศเด่นชัดขึ้น ท่านลืมตนเองและ ไม่เรียกร้องสิ่งใดเพื่อตนเองเลย ค�ำเทศน์สอนที่ท�ำให้ตัวท่านเองเลือน หายไปเช่นนี้แหละที่บังคับให้คนต้องฟัง 4. ยอห์ น เทศน์ ส อนและน� ำ ผู ้ ฟ ั ง ไปยั ง สิ่ ง อื่ น ที่ อ ยู ่ เ หนื อ ท่ า น ท่านประกาศว่าพิธีล้างของท่านใช้น�้ำซึ่งช�ำระล้างได้เพียงร่างกาย แต่ จะมีผู้มาภายหลังท่าน ทรงอ�ำนาจยิ่งกว่าท่าน และจะท�ำพิธีล้างด้วย พระจิตเจ้าซึ่งสามารถช�ำระล้างได้ทั้งชีวิตและจิตใจ ท่านต้องการยึด ศูนย์กลางของเวทีไว้ ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเอง แต่เพื่อผู้อื่นซึ่งยิ่งใหญ่กว่า ท่าน ประชาชนฟังท่านเพราะท่านไม่ได้พาคนมาหาตัวท่าน แต่พาไป หาผู้ที่ทุกคนต่างต้องการและเฝ้าคอย 92

หฤทัยสัมพันธ์


มาระโกเล่าว่า “ครั้งนั้น พระเยซูเจ้าเสด็จจากเมืองนาซาเร็ธ แคว้น กาลิลี และทรงรับพิธีล้างจากยอห์นในแม่น�้ำจอร์แดน” (มก. 1: 9) ปัญหา ที่เกิดขึ้นก็คือ ยอห์นท�ำพิธีล้างเพื่อให้ผู้คนกลับใจและได้รับการอภัยบาป แต่พระเยซูเจ้ามีบาปอะไรหรือจึงต้องเสด็จมารับพิธีล้างจากยอห์น ? พระองค์รับพิธีล้างจากยอห์นเพราะพิธลี ้างมีความหมายส�ำคัญ 4 ประการส�ำหรับพระองค์ คือ 1. เป็นช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจ ตลอด 30 ปีที่ทรงท�ำงาน เป็นช่างไม้ท่เี มืองนาซาเร็ธ พระองค์ส�ำนึกอยู่ตลอดเวลาถึงภารกิจที่รอ พระองค์อยู่เบื้องหน้า แต่สิ่งเดียวที่ท�ำให้พระองค์จ�ำต้องรอคอยก็คอื “เวลา” ด้วยทรงตระหนักดีว่าความส�ำเร็จหรือล้มเหลวของภารกิจอัน ยิ่งใหญ่เช่นนี้ย่อมต้องขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาเป็นส�ำคัญ ! เมื่ อ ยอห์ น ปรากฏตั ว เทศน์ ส อนและท� ำ พิ ธี ล ้ า งที่ แ ม่ น�้ ำ จอร์ แ ดน พระองค์ทรงมั่นพระทัยทันทีว่า “เวลา” เริ่มต้นภารกิจมาถึงแล้ว ! 2. เป็นช่วยเวลาแห่งการร่วมขบวนการ แต่ไหนแต่ไรมาชาว ยิวไม่เคยคิดเลยว่าพวกเขาจ�ำเป็นต้องรับพิธีล้าง นี่เป็นครั้งแรกที่พวก เขาส�ำนึกตนว่าเป็นคนบาปและต้องการกลับใจ พวกเขาจึงมารับพิธี ล้างจากยอห์น นับเป็นความเคลื่อนไหวแห่งการส�ำนึกผิดและแสวงหา พระเจ้าอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน พระองค์จึงเสด็จมารับพิธีล้างจากยอห์น เพื่อร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับ ประชากรในการแสวงหาพระเจ้าและมุ่งหน้าไปสู่พระองค์ 3. เป็นช่วงเวลาแห่งการเห็นชอบ ทันทีที่พระองค์รับพิธีล้าง และเสด็จขึ้นจากน�้ำ ก็มเี สียงจากฟากฟ้าพูดกับพระองค์โดยตรงว่า “ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เป็นที่โปรดปรานของเรา” (มก. 1: 11) เสียงนี้ เป็นการยืนยันว่าการตัดสินพระทัยเริ่มภารกิจของพระองค์ได้รับความ เห็นชอบและได้รับการอนุมัตจิ ากพระเจ้าแล้ว 4. เป็นช่วงเวลาของการเตรียมพร้อม นอกจากเสียงจาก หฤทัยสัมพันธ์

93


ฟากฟ้าแล้ว ท้องฟ้ายังถูกแหวกออกและพระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือ พระองค์ดุจนกพิราบ พระองค์พร้อมแล้วส�ำหรับภารกิจอันยิ่งใหญ่

94

หฤทัยสัมพันธ์


กิจกรรมในฝ่ายอบรม พิธีขึ้นโปสตุลันต์ คณะพระหฤทัยฯ

วันเสาร์ท่ี 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เวลา 16.00 น. คณะพระ หฤทัยฯ จัดพิธีรับผู้สมัครขึ้นเป็นโปสตุลันต์ของคณะ จ�ำนวน 3 คน ณ นวก สถานพระหฤทัย สามพราน โดยมีคุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี เป็น ประธาน พิธเี ริ่มด้วยวจนพิธีกรรม และผู้สมัครทั้ง 3 คนได้กล่าวขอสมัคร เข้ารับการฝึกหัดตัวในขัน้ โปสตุลันต์ในคณะพระหฤทัยฯ ต่อหน้าคุณแม่ มหาธิการิณี จากนั้นคุณแม่ได้กล่าวรับค�ำขอ ผู้มาร่วมงานสวดภาวนาขอพร และเป็นก�ำลังใจแก่ผู้สมัครทัง้ 3 คน อนึ่ง โปสตุลันต์ใหม่ของคณะพระหฤทัยฯ ทั้ง 3 คน ในปีการศึกษา 2012 มีรายนามดังต่อไปนี้ 1) โปสตุลันต์มาร์ตนี ัส ธิคณา แซะพะ สัตบุรุษ วัดแม่พระดาวประจ�ำรุ่ง งาว จังหวัดล�ำปาง 2) โปสตุลันต์มารีอา ธยาน์มล ยิ่งยืน สัตบุรุษวัดอัครเทวดามีคาแอล จังหวัดปราจีนบุรี และ 3) โปสตุลันต์ เทเรซา กิตติมา โสภานุสนธิ์ สัตบุรุษวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�ำ้ จังหวัด สมุทรปราการ

หฤทัยสัมพันธ์

95


ประชุมที่ปรึกษาเขตและประธานเขต ครั้งที่ 1/2012

วันอาทิตย์ท่ี 3 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เวลา 13.00 น. คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี จัดประชุมปรึกษาเขตและประธานเขตพร้อมกัน เพื่อชี้แจงนโยบายของคณะประจ�ำปีการศึกษา 2012 ตามผลของสมัชชาของ คณะฯ และศึกษารูปแบบของการประชุมเขตฯ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน

ยุวภคินีเตรียมตลอดชีพ ไตร่ตรองชีวิต

วันที่ 28-29 มิถุนายน ค.ศ 2012 ยุวภคินีที่เตรียมตัวตลอดชีพ 3 คน ได้แก่ ซิสเตอร์วนิดา เดโชชัยไกวัล ซิสเตอร์สุภาพร จันทร์ปาน ซิสเตอร์เกศินี มังกร ไปไตร่ตรองชีวิตที่จังหวัดพะเยา โดยมีคุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหารเป็นผู้ แนะน�ำ หลังจากที่กลับไปสัมผัสชีวิตที่บ้านเกิดของตนเอง 1 เดือน

96

หฤทัยสัมพันธ์


ยุวภคินีเป็นผู้ช่วยน�ำการเข้าเงียบครูคาทอลิก

วันเสาร์ท่ี 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ยุวภคินีเตรียมตลอดชีพเป็นผู้ ช่วย ซ.กัลยา ตรีโสภา น�ำเข้าเงียบครูคาทอลิกโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ที่สักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบ�ำรุง อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

การรับฟังการบรรยายหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงและการ กลายเป็นประชาคมอาเซียน”

วันจันทร์ท่ี 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ นวกเณรีและโปสตุลันต์เข้าร่วมรับฟังการบรรยายการเตรียมความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงและการกลายเป็น ประชาคมอาเซียน” โดย พันเอก แพทย์หญิง สุมน นาคเฉลิม ผู้ทรง คุณวุฒิกองทัพบก จังหวัดชลบุรี เป็นวิทยากร ที่หอประชุมชั้น 2 อาคารหนึ่ง ศตวรรษฯ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ซึ่งวิทยากรได้พูดเรื่องปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดกับเด็กและเยาวชน ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว อีกทั้งผลกระทบที่ ประเทศไทยจะได้รับซึ่งมาพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ท�ำให้แต่ละ คนต้องตระหนักมากขึ้นถึงสิ่งที่เราจะต้องเผชิญในอนาคต รวมถึงแสวงหา วิธีการแก้ปัญหาและวิธีการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น (ภาพ: www.shc.ac.th)

หฤทัยสัมพันธ์

97


ยุวภคินีปี 2 และเตรียมตลอดชีพ จัดกิจกรรมส่งเสริม กระแสเรียก

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ยุวภคินีปี 2 และเตรียม ตลอดชีพ จัดกิจกรรมฐานกระแสเรียก ที่สักการสถานบุญราศีนิโคลาสบุญเกิด กฤษบ�ำรุง อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่เวลา 13.00 – 15.00 น. เด็กที่เข้าร่วมในครั้งนี้เป็นเด็กระดับประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนยอแซฟ อุปถัมภ์จ�ำนวนประมาณ 40 คน

การอบรมหัวข้อ “Bibliodrama”

วันที่ 20-22 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ยุวภคินี เข้ารับการอบรมเรื่อง “Bibliodrama” ที่บ้านผู้หว่าน โดยคุณพ่อออสการ์ ชาวฟิลิปปินส์ คอร์สนี้ เป็นการศึกษาพระคัมภีร์ (อาศัยการแสดงออก) โดยใช้ท่าทางประกอบเพื่อผู้ ศึกษาเข้าใจบริบทของเนื้อหาในพระคัมภีร์สมัยนั้นมากขึ้น ผ่านทางการค้นพบ ตัวเองและเข้าใจสังคมอาศัยตัวบทพระคัมภีร์

การอบรมหัวข้อ “มโนธรรมกับชีวิตนักบวช”

วันที่ 23-26 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ยุวภคินีเตรียมตลอดชีพ เข้า รับการอบรมหัวข้อ “มโนธรรมกับชีวิตนักบวช” ที่ศูนย์นักบวชหญิง อ�ำเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม โดยคุณพ่อไพบูลย์ อุดมเดช คณะพระมหาไถ่ เป็น วิทยากรให้การอบรม นอกจากสมาชิกจากคณะพระหฤทัยฯ มีนักบวชจากคณะ ต่าง ๆ มาเข้าร่วมอบรมด้วย รวมผู้เข้ารับการอบรมคอร์สนี้ประมาณ 20 คน 98

หฤทัยสัมพันธ์


กิจกรรมกระแสเรียกที่สักการสถาน

วันพฤหัสที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ยุวภคินขี องคณะร่วมจัดกิจกรรม กระแสเรียกเพื่อแนะน�ำคณะพระหฤทัยฯ ให้กับนักเรียนในเขต 5 ที่ สักการ สถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบ�ำรุง อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

งานสานสัมพันธ์ผู้ปกครองผู้ฝึกหัดคณะพระหฤทัยฯ

วันอาทิตย์ท่ี 26 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ฝ่ายอบรมของคณะพระหฤทัยฯ จัดงานสานสัมพันธ์ผู้ปกครองผู้ฝึกหัดคณะพระหฤทัยฯ ที่อารามพระหฤทัย คลองเตย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ดูแลผู้ฝึกหัด ของคณะฯ และผู้ปกครอง รวมไปถึงให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรม ผู้ฝึกหัดแต่ละรุ่นแก่ผู้ปกครองของผู้ฝึกหัดตั้งแต่ระดับขั้นเยาวนารีถึงโปสตุลันต์ มีผู้มาร่วมงานจ�ำนวนทั้งสิ้น 50 คน

หฤทัยสัมพันธ์

99


สัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือนภาคเรียนที่ 1/2012

วันที่ 2-3 มิถุนายน ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมสัมมนา-เข้าเงียบ ที่อารามพระหฤทัย โดยคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ เป็นวิทยากรในหัวข้อ “ยอห์น บัปติสต์และพระเยซูเจ้า” (มก. 1: 1-13) จากนั้ น สมาชิ ก ได้ มี โ อกาสศึ ก ษาเอกสารข้ อ ตกลงสองฝ่ า ยระหว่ า งอั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ และคณะพระหฤทัยฯ และเข้าเงียบพร้อมกันในวันรุ่งขึ้น

วันที่ 7-8 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 สมาชิก คณะพระหฤทัยฯ สัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือนที่ อารามพระหฤทัย โดยคุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ พระ สงฆ์คณะซาเลเซียน มาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “กระแสเรียก” โดยใช้พระวรสาร มก. 1: 16-20 จากนั้นสมาชิกเข้ากลุ่มแบ่งปันสิ่งที่ได้รับและประสบการณ์กระแสเรียกของ ตนเอง และการเตรียมงานฉลอง 80 ปีอาคารพระหฤทัย และฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งมรณกรรมคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี และสมาชิกเข้าเงียบพร้อมกันใน วันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2012

100

หฤทัยสัมพันธ์


วันที่ 18- 19 สิงหาคม ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วม สัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือน โดยสมาชิกทุกคนที่มาสัมมนา-เข้าเงียบได้ ศึกษาประวัตคิ ณะและประวัติคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ร่วมกัน 3 กิจกรรม หลัก ซึ่งมีทั้งเข้ากลุ่มท�ำกิจกรรมย่อยและกลุ่มใหญ่ ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 “คุณแม่เซราฟิน เดอ มารี: แม่แห่งชีวิตคณะพระหฤทัย” กิจกรรมที่ 2 “คุณแม่เซราฟินที่ฉันรัก...ครั้งหนึ่งในความทรงจ�ำ” กิจกรรมที่ 3 “คุณธรรมของคุณแม่เซราฟิน-ข้อตั้งใจของเขต/สัญลักษณ์” และหลังพิธบี ูชาขอบพระคุณ มีพิธีสดุดีคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี พร้อมเพรียงกันที่วัดน้อยอารามพระหฤทัย และในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2012 สมาชิกของคณะฯ เข้า เงียบประจ�ำเดือน

หฤทัยสัมพันธ์

101


วันเสาร์ที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2012 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วม สัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือน ที่อารามพระหฤทัยฯ ภาคเช้าสมาชิกเข้าเงียบ และ คุณแม่เชลียง เวชยันต์ ได้ให้ข้อคิดกับสมาชิกเรื่อง “กางเขนและการเป็น หนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าในไม้กางเขน” จากนั้นมีพิธีบูชาขอบพระคุณโดย พระสังฆราชยอแซฟพิบูลย์ วิสิฐนนทชัย ให้เกียรติมาเป็นประธานและสมาชิกได้ ถวายตัวและครอบครัวแด่พระหฤทัยฯ พร้อมกัน

ภาคบ่าย เซอร์มารีอา โปลิน ชูวิรัช คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ให้ เกียรติมาแบ่งปันเรื่อง “ความทรงจ�ำอันทรงคุณค่า” ให้กับสมาชิกของคณะ โดยมีแมร์ไอรีน ช�ำนาญธรรม อธิการิณีเจ้าคณะแขวงแห่งประเทศไทย พร้อม ด้วย เซอร์ดอมินิก เซอร์ยุสติน และเซอร์มารีฟรังซิส มาร่วมรับฟังด้วย โอกาส นี้สมาชิกทั้งคณะถ่ายภาพหมู่พร้อมกัน ในการนี้แมร์ไอรีน ช�ำนาญธรรม ร่วม ถ่ายภาพพร้อมกับสมาชิกด้วย

102

หฤทัยสัมพันธ์


สมาชิกศึกษาต่อต่างประเทศ-อบรม ฟื้นฟูจติ ใจ 1. วันพฤหัสที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์อุไรวรรณ คูหามงคลไพศาล เดิน ทางไปเรียนศึกษาต่อระดับปริญญาโท Master in Religious Studies เป็นปีที่ 2 ที่ Don Bosco Institute ประเทศฟิลปิ ปินส์ 2. วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์อรวรรณ จันทร์ชลอ เดินทางไป ศึกษาภาษาอังกฤษ ที่ Brasshouse Language Centre เมือง Birmingham สหราชอาณาจักร โดยจะใช้เวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 8 เดือน 3. วันพฤหัสที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์สมลักษณ์ มธุรสสุวรรณ เดินทางไป ศึกษาภาษาอังกฤษ ที่ Brasshouse Language Centre เมือง Birmingham สหราชอาณาจักร โดยจะใช้เวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 เดือน 4. วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์วิมลรัตน์ ศรีธรักษา เดินทาง ไปศึกษาในระดับปริญญาโท หลักสูตร Pastoral Theology ที่ Ateneo De Davao University ประเทศฟิลิปปินส์

หฤทัยสัมพันธ์

103


5. วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฏาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์ชวาลา เวชยันต์ และซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงค์ เดินทางไปเข้าคอร์สอบรมที่ Emmaus Centre ประเทศฟิลิปปินส์ ในหัวข้อเรื่อง “BASIC HUMAN AND CHRISTIAN FORMATION” ระหว่างวันที่ 16-25 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 6. วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์สมจิตร์ ทรัพย์อัประไมย เดินทางไปเข้าคอร์ส Subbatical ที่ Jesuit School of Theology in Berkeley A Graduate School of Santa Clara University รัฐ California สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 10 เดือน 7. วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงค์และ ซิสเตอร์น�้ำทิพย์ งามสุทธา เดินทางไป ศึกษาพระคัมภีร์ท่ี Dei Verbum Biblical Pastoral Institute ที่ Nemi (Rome) ประเทศ อิตาลี โดยจะใช้เวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 8. วันอาทิตย์ท่ี 23 กันยายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์อรัญญา กิจบุญชู เดิน ทางไปศึกษาคอร์ส Psycho-Spirituality Development & Community Building ที่ Institute of St. Anselm เมือง Kent ประเทศ อังกฤษ ตัง้ แต่วันที่ 25 กันยายน ถึง 20 ธันวาคม ค.ศ. 2012 และจากนัน้ จะเข้ารับการอบรมคอร์ส Three months Spirituality Programme ที่ St. Beuno’s Spirituality Centre เมือง Welse ประเทศอังกฤษ ตัง้ แต่เดือนมกราคม ถึง 22 มีนาคม ค.ศ. 2013 104

หฤทัยสัมพันธ์


9. วันจันทร์ท่ี 24 กันยายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์ชวาลา เวชยันต์ และซิสเตอร์วราภรณ์ ชีวเรืองโรจน์ เดินทางไปเข้ารับการฟื้นฟูจติ ใจที่ Sumedha Centre for Psychology & Spirituality ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 70 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน – 3 ธันวาคม ค.ศ. 2012

หฤทัยสัมพันธ์

105


กิจกรรมของผู้ฝึกหัดคณะพระหฤทัยฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2012/2555

1. กิจกรรมของแอสปิรันต์รุ่นใหญ่ โปสตุลันต์ และโนวิส บ้านสามพราน ภาวนาปิดเดือนพระหฤทัย วันเสาร์ท่ี 30 มิถุนายน ค.ศ. 2012 สมาชิกโนวิสและโปสตุลันต์จัดวจน พิธีกรรมปิดเดือนพระหฤทัยที่บ้านนวก สถานพระหฤทัย สามพราน จ.นครปฐม ร่วมงานฉลอง 75 ปี โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ วันจันทร์ท่ี 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 โปสตุลันต์และนวกเณรีร่วม งานฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์และเป็นวิทยากร ให้ ค วามรู ้ เ กี่ย วกั บ ประวั ติค วามเป็ น มาของคณะภคินีพ ระหฤทั ย ของพระ เยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ที่ห้องประวัตศิ าสตร์ อารามพระหฤทัย คลองเตย กรุงเทพมหานคร

106

หฤทัยสัมพันธ์


จัดกิจกรรมสันทนาการให้กับนักเรียน วันอาทิตย์ท่ี 22 กรกฏาคม ค.ศ. 2012 โปสตุลันต์ได้รับเชิญจาก ซิสเตอร์สุนันทา สถาพรวลัยรัตน์ ให้ไปช่วยจัดกิจกรรมสันทนาการ ร้องเพลง เล่นเกมส์ แก่นักเรียนตัง้ แต่ระดับชั้นอนุบาลปีท่ี 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จ�ำนวน 50 คน ที่วัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง ช่วงหลังมิสซาสาย นักเรียน ที่เข้าร่วมกิจกรรมครัง้ นี้ได้รับความสนุกสนาน นับเป็นโอกาสดีที่ผู้ฝึกหัดของ คณะฯ ในขัน้ โปสตุลันต์ได้ฝึกทักษะการเป็นผู้น�ำกิจกรรมสันทนาการ

พิธีอ�ำลาและขอบคุณ วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 นวกเณรีและโปสตุลันต์ จัดงานขอบคุณและอ�ำลาซิสเตอร์อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ ที่ได้ไปช่วยงาน ที่บ้านนวกสถานพระหฤทัย สามพรานเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน ก่อนจะย้ายไป ท�ำงานที่วัดคอนเซ็ปชัญ

หฤทัยสัมพันธ์

107


ฝึกงานตามวัด ในระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม – 30 กันยายน ค.ศ. 2012 นวกเณรี ออกฝึกงานตามวัดต่าง ๆ ได้แก่ วัดนักบุญยอแซฟ จังหวัดอยุธยา วัดพระกุมาร เยซู จังหวัดสิงห์บุรี บ้านแม่พระผู้ปฏิสนธินิรมล (บ้านยาย) วัดนักบุญเซนต์ร็อค จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดนักบุญลูกา จังหวัดลพบุรี และวัดดวงหทัยนิรมลของ แม่พระ จังหวัดสมุทรปราการ

พักผ่อนและทัศนศึกษา วันเสาร์ท่ี 4 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ซิส เตอร์อัมพร วิจิตรวงศ์ และซิสเตอร์พรทิพย์ ตระกูลเกษมศิริ น�ำนวกเณรี โปสตุลันต์และ แอสปิรันต์รุ่นใหญ่ เดินทางไปพักผ่อนและ ทัศนศึกษาร่วมกันที่จังหวัดนครราชสีมา การ เดินทางครั้งนี้ซิสเตอร์และผู้ฝึกหัดของคณะฯ ได้แวะชมสถานที่ท่องเที่ยว และศึกษาวิถชี ีวติ ด้านการเกษตรตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ ตลาดศิลป์กลางดง ปาลิโอ เขาใหญ่ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก จังหวัดสระบุรี และโรงเรียน อาชีวะเกษตรสงเคราะห์สระบุรี 108

หฤทัยสัมพันธ์


ฝึกสมาธิที่สามพราน วันที่ 13-15 สิงหาคม ค.ศ. 2012 โปสตุลันต์และแอสปิ รันต์รุ่นใหญ่ฝึกสมาธิกับคุณพ่อชีวิน สุวดินทร์กูร ร่วมกับผู้ฝึกหัดคณะ ผู ้ รั บ ใช้ แ ละเณรคณะซาเลเซี ย นที่ บ้านเณรซาเลเซียน สามพราน เข้าคอร์ส SPE วันที่ 24 กันยายน-5 ตุลาคม ค.ศ. 2012 โปสตุลันต์ 6 คน เข้า คอร์ส SPE ที่บ้านหลุยส์โชเวต์ร่วมกับโปสตุลันต์คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร จ�ำนวน 3 คน ในระหว่างเข้าคอร์สอบรมได้ไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่ศูนย์คามิลเลียน สามพราน ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ และท�ำงานด้านอภิบาลชุมชนใน ซอยหมอศรี

ร่วมงานเปิดปีแห่งความเชื่อ วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2012 โปสตุลันต์และนวกเณรีเดินทาง ไปร่วมพิธเี ปิดปีแห่งความเชื่อ ณ สักการ สถานบุญราศี นิโคลัส บุญเกิด กฤษบ�ำรุง อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หฤทัยสัมพันธ์

109


2. กิจกรรมของแอสปิรันต์ อารามพระหฤทัย คลองเตย ร่วมขับร้องเพลงโอกาสฉลองวัด วันอาทิตย์ท่ี 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้าน�ำ แอสปิ รั น ต์ รุ ่ น เล็ ก ไปร่ ว มร้ อ งเพลงโอกาส ฉลองวัดนักบุญยวง บัปติสตา เจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ภาพ www.catholic.or.th) วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์พรทิพย์ ตระกูลเกษมศิริและซิสเตอร์ สายพิน สุขสุศิลป์ น�ำผู้ฝึกหัดขั้นโปสตุลันต์และ แอสปิรันต์รุ่นใหญ่เดินทางไปร่วมขับร้องในงาน ฉลอง 137 ปี ชุมชนแห่งความเชื่อคริสตชน และ 25 ปี วัดเซนต์ร็อค จังหวัดฉะเชิงเทรา วันอาทิตย์ท่ี 27 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้าน�ำแอสปิรันต์ รุ ่ น เล็ ก ร่ ว มร้ อ งเพลงโอกาสฉลองวั ด อั ค ร เทวดาราฟาแอล ปากน�ำ้ จังหวัดสมุทรปราการ และร่วมขับร้องเพลงในพิธีบูชาขอบพระคุณ กับคณะนักขับร้องประจ�ำวัด

110

หฤทัยสัมพันธ์


แอสปีรันต์ชั้นม. 6 เข้าเงียบที่หัวหิน วันที่ 25-27 กันยายน ค.ศ. 2012 แอสปิรันต์ชนั้ ม. 6 จ�ำนวน 4 คน ไปเข้าเงียบที่หาดหฤทัย หัวหิน โดย คุณพ่อสายชล คันยุไล คณะเยซูอติ เป็น ผู้น�ำการเข้าเงียบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ไตร่ตรองความรักและความเชื่อ ต่อพระเจ้า การตอบรับเสียงเรียกของพระในการเป็นผู้ฝึกหัดคณะพระ หฤทัยฯ

วันที่ 24-26 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้า น�ำ แอสปีรันต์รุ่นเล็กจ�ำนวน 19 คน ไปเข้าเงียบกลางปีพร้อมกันที่บ้านพักพระสงฆ์ วัดพระมหาไถ่ โดยมีคุณพ่อจิตตพล ปลั่งกลาง C.Ss.R. เป็นผู้น�ำการเข้าเงียบ หัวข้อ “การเจริญเติบโตสู่ชีวิตที่เต็มเปี่ยม และ ความเชื่อ” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยว กับ ความเชื่อ เนื่องจากเป็นปีแห่งความเชื่อ และ หัวข้อ “พระเยซูคริสต์และ แนวทางการปฏิบัติในชีวิต” โดยในแต่ละหัวข้อ จะมีเวลาให้แอสฯ ไตร่ตรอง และแบ่งปันร่วมกัน

หฤทัยสัมพันธ์

111


ด�ำเนินชีวติ ด้วยจิตอาสาในความรักและรับใช้ วันที่ 2-3 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้า น�ำแอสปิรันต์รุ่นเล็กชั้น ม. 6 ออกไปด�ำเนินชีวิตด้วยจิตสาธารณะ ที่ มูลนิธิ เด็กอ่อนในสลัม ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิ วัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชุมชนคลองเตยล็อค 6 ซึ่งแอสฯ ที่ ไปท�ำกิจกรรมได้ฝึกการเดินทางด้วยรถสองแถว ทั้งไปและกลับ น�ำอาหารไป ทานเอง และท�ำทุกอย่างที่อาสาสมัครทุกคนท�ำ

3. กิจกรรมของเยาวนารี บ้านพระหฤทัย นนทบุรี จิตอาสาภายในบ้านพระหฤทัย นนทบุรี เยาวนารีจัดกิจกรรมให้กับลูกของพนักงาน ประมาณ 30 คน โดย สอนภาวนาด้วยการใช้บทสวดง่าย ๆ สอนท�ำการบ้าน น�ำออกก�ำลังกาย ในภาคบ่ายของวันอาทิตย์

112

หฤทัยสัมพันธ์


เยาวนารีร่วมใจกัน กวาดใบไม้ รดน�ำ้ ต้นไม้บริเวนรอบ ๆ บ้าน สวน เด็กเล่น ในวันหยุดและเวลาว่าง

จิตอาสานอกสถานที่ - เยาวนารีเยี่ยมเด็กพิการที่สถานสงเคราะห์ บ้านเทวา วัดพระแม่ มหาการุณย์ ในกิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียน ไปช่วยป้อนข้าว เล่นเกมส์ ร้องเพลงและพูดคุยกับเด็ก ๆ - เยาวนารีเยี่ยมคนชราที่อยู่บริเวณใกล้ ๆ โรงเรียน ในกิจกรรม จิตอาสาของโรงเรียน โดยไปพูดคุยให้ก�ำลังใจคนชราและผู้สูงอายุ พร้อมทั้ง น�ำของใช้ไปบริจาคให้กับคนที่ยากจน

หฤทัยสัมพันธ์

113


เรียนรู้นอกสถานที่ วันอาทิตย์ท่ี 2 กันยายน ค.ศ. 2012 เยาวนารีเดินทางไปชม นิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคนไทย และวิวัฒนาการต่าง ๆ ของสยามประเทศ ที่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) บริเวณพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

114

หฤทัยสัมพันธ์


บ้านพระหฤทัยพัฒนเวศม์ บ้านสานฝันด้วยรัก โดย ซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ

ความเป็นมา บ้านพระหฤทัยพัฒนเวศม์ เป็นบ้าน ที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่ก�ำพร้า ยากจน และด้อยโอกาสทางการศึกษาตามมติของ สมัชชาปี 2005 ในความรับผิดชอบของ ฝ่ายสังคมพัฒนา คณะภคินพี ระหฤทัยของ พระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ เดิมทางคณะได้ ก่อตั้งมูลนิธิพระหฤทัยอุปถัมภ์ข้นึ ตั้งอยู่ท่โี รงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง เพื่อ ช่วยเหลือและให้การอุปการะเด็กที่ยากจนและด้อยโอกาสได้รับการศึกษา อบรม โดยรับเด็กเยาวชนตัง้ แต่ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้เรียนที่โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เด็ก เยาวชนมูลนิธิพระหฤทัยอุปถัมภ์มีจ�ำนวน มากขึ้น ทางคณะจึงได้ย้ายเด็ก ในความอุปการะของมูลนิธิพระหฤทัยอุปถัมภ์ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาอยู่โรงเรียนพระหฤทัย พัฒน์เวศม์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ 79 ซอยปรีดีพนมยงค์ 26 ถนนสุขุมวิท 71 แขวง คลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อ บ้านพระหฤทัยพัฒนเวศม์

หฤทัยสัมพันธ์

115


วัตถุประสงค์ 1. เพื่ อ เป็ น อนุ ส รณ์ แ ห่ ง การสื บ สาน ภารกิจด้านความรักและเมตตาต่อเด็ก ก�ำพร้า ยากจน และด้อยโอกาส 2. เพื่อเป็นการโมทนาคุณพระเป็นเจ้าที่ ทรงรั ก และคุ ้ ม ครองรั ก ษาคณะภคินี พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ตัง้ แต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน 3. เพื่อเป็นการร่วมภารกิจแห่งการไถ่กู้และคืนศักดิ์ศรีแห่งการเป็นบุตร พระเจ้า ให้แก่ เด็กก�ำพร้า ยากจน และด้อยโอกาส กลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กหญิง ที่ก�ำพร้า ครอบครัวยากจน ที่ขาดผู้อุปการะในด้านการศึกษา 2. เด็กหญิงกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่จ�ำกัดศาสนา 3. เด็กที่มีภูมิล�ำเนาในเขตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และปริมณฑล เด็กที่ สมาชิกที่ท�ำงานตามวัดต่าง ๆ รับรองมา ลูกหลานของสมาชิกที่ล�ำบากใน การด�ำเนินชีวิต 4. นักเรียนที่เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

116

หฤทัยสัมพันธ์


คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย 1. เป็นเด็กหญิง ที่ก�ำพร้า ครอบครัวยากจน ที่ขาดผู้อุปการะใน ด้านการศึกษา ที่มีความประพฤติดี เรียบร้อย พร้อมที่จะรับการ ศึกษาอบรมจากผู้ใหญ่และครู 2. เป็นเด็กหญิงกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ผ่านการพิจารณาและรับรองจาก คุณพ่อหรือซิสเตอร์ที่รับผิดชอบ 3. เป็นเด็กที่มีภูมลิ �ำเนาในเขตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือลูกหลานสมาชิกที่ต้องการความช่วยเหลือ 4. เป็นเด็กที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี 5. เป็นเด็กที่ยากจนหรือครอบครัวแตกแยก หรือยู่ในสภาพแวดล้อม ที่จะเป็นภัยและเสี่ยงต่อการเสียวิญญาณ 6. ได้รับการรับรองคุณพ่อเจ้าวัดหรือซิสเตอร์ที่เกี่ยวข้อง

นโยบายในการด�ำเนินงาน 1. เพื่อช่วยให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของการเป็น มนุษย์และบุตรของพระเจ้า 2. เพื่อช่วยให้เด็กได้รับความรัก ความอบอุ่นแบบครอบครัว และได้ รับการศึกษาที่เหมาะสม 3. เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเจริญเติบโตและพัฒนาตามวัย ในด้าน ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม หฤทัยสัมพันธ์

117


4. เพื่อช่วยให้เด็กมีความประพฤติที่ดงี ามถูกต้อง มีอุปนิสัยที่ดี ซื่อสัตย์ และมีใจเมตตา 5. เพื่อช่วยให้เด็กมีความรู้ในเรื่องพระธรรมค�ำสอน พิธีกรรม และ ยึดหลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนในชีวิต เพื่อเป็นศาสนิกชนที่ดี 6. เพื่อช่วยให้เด็กได้ฝึกทักษะชีวิต มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบ ชีวิตตนเองและสังคมได้เมื่อถึงเวลาอันควร

ด้านปัจจัย 1. คณะฯ โดยทางมูลนิธพิ ระหฤทัยอุปถัมภ์ มูลนิธิประสานใจและ บ้านของคณะฯ จะเอาใจใส่ดูแลเด็กให้ได้รับสิ่งที่จ�ำเป็นแก่การ ด�ำเนินชีวติ มนุษย์ในทุก ๆ ด้าน 2. ผู้ปกครองช่วยแบ่งเบาภาระของคณะฯ ในเรื่องค่าใช้จ่ายของเด็ก และช่วยคณะฯ เดือนละ 500 บาท หากไม่สามารถช่วยได้จะ พิจารณาเป็นรายกรณี 3. รับเงินบริจาคที่ช่วยเหลือมูลนิธิ จากผู้มีจิตศรัทธา และองค์กร เอกชน

118

หฤทัยสัมพันธ์


การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 1. ช�ำระค่าบ�ำรุงเดือนละ 500 บาท เทอมละ 2,500 บาท 2. ผู้ปกครองจะฝากเงินกับซิสเตอร์ผู้ดูแลเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของ เด็กเท่าที่สามารถ 3. ผู้ปกครองที่ต้องการส่งเงินให้เด็ก ให้ส่งผ่านซิสเตอร์ผู้ดูแล 4. ทุกครั้งที่มาเยี่ยมเด็กต้องแจ้งให้ซสิ เตอร์ผู้ดูแลทราบ 5. พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับซิสเตอร์ผู้ดูแลในการอบรมและ ทุกเรื่อง เพื่อความเจริญก้าวหน้าของเด็ก

แนวทางในการอบรม

ด้านศาสนา เด็กจะได้รับการอบรมแบบคริสตชน ให้ได้รับการบ�ำรุงเลี้ยงชีวิตแห่ง ความเชื่อ ด้านพระธรรมค�ำสอน และการบ�ำเพ็ญคุณธรรมตามค�ำสอนของ พระเยซูเจ้า หฤทัยสัมพันธ์

119


ด้านการศึกษา คณะฯ จะช่วยให้เด็กทุกคนมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนตามความสามารถ ของสติปัญญาของแต่ละคนในโรงเรียนของคณะฯ หรือในโรงเรียนที่ผู้รับผิด ชอบเห็นว่าเหมาะสม เด็กจะได้รับการฝึกอบรมทักษะการด�ำเนินชีวิต และการ พัฒนาทั้งด้านสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม สู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามวัย จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หากจะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นต้อง ผ่านการพิจารณาและรับรองความประพฤติจากผู้รับผิดชอบ ในกรณีที่เด็กไม่ สามารถเรียนสายสามัญได้ ก็ให้ส่งเสริมฝึกอาชีพตามความถนัด เช่น เย็บผ้า โภชนาการ งานประดิษฐ์ ฯลฯ ด้านบุคลิกภาพ เด็กจะได้รับการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง มีความสมดุลในการด�ำเนิน ชีวิต มีความส�ำนึกและซึมซับชีวิตแห่งการเป็นผู้มวี ัฒนธรรมอันดีงาม ใน บรรยากาศของความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทรต่อกันและช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน ด้านกิจกรรม เด็กจะได้รับประสบการณ์ชีวิต ด้านต่าง ๆ อาศัยกิจกรรมตามโอกาส เช่น สันทนาการ ทัศนศึกษา กิจกรรม คาทอลิก กิจกรรมสร้างคุณธรรมและ จริยธรรม กิจกรรมจิตอาสาร่วมกับ ฝ่ายสังคมของคณะฯ การช่วยเหลืองานของโรงเรียนและบ้านคณะฯ มีโอกาสฝึก ท�ำงานมือและพื้นฐานอาชีพ มีโอกาสรับการฟื้นฟูจิตใจ ร่วมกิจกรรมเพื่อช่วย เหลือเด็ก ๆ ตามชุมชนแออัด กิจกรรมฝึกความเป็นผู้น�ำ และการท�ำงานเป็นทีม สานสัมพันธ์กับสมาชิกบ้านพระหฤทัยอื่น ๆ ในเครือคณะฯ ผู้รับผิดชอบดูแลจะ เยี่ยมเยียนครอบครัวเพื่อท�ำความรู้จักและช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม 120

หฤทัยสัมพันธ์


การรับสมัคร 1. สมัครโดยตรงได้ที่ผู้รับผิดชอบและคณะกรรมการฝ่ายสังคม หรือคุณแม่มหาธิการิณี 2. ต้องมีผู้รับรอง ได้แก่พระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์ หรือญาติผู้ใหญ่ ของเด็ก 3. สัมภาษณ์และตรวจสภาพจริงโดยผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการ ฝ่ายสังคม 4. ผู้ปกครองของเด็กจะยื่นใบสมัครและท�ำสัญญากับทางคณะฯ เป็น ลายลักษณ์อักษร

หฤทัยสัมพันธ์

121


คณะพระหฤทัยฯ กับงานธรรมทูตที่ประเทศกัมพูชา

โดย ซิสเตอร์สุพัตรา โสภณ

ลายครั้งที่มีคนถามว่า อยู่เขมร เป็นไงบ้าง? ตัวฉันก็มักจะตอบ ว่าก็ดีค่ะ แล้วก็ดีมันคืออะไร (จบ.... ไม่รู้ว่าจะ ต่ออย่างไร) การเป็นธรรมฑูตดูเป็นหน้าที่ที่ยิ่ง ใหญ่ เมื่อคิดเช่นนี้ก็ท�ำให้คิดว่าตัวฉันเองเหมาะ ที่จะท�ำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่น้ไี หม? พอได้ยนิ คนพูด ว่า “เก่งจังไปท�ำงานที่เขมร” อย่างงู้นอย่างงี้ “กล้าจริงไปเป็นธรรมฑูตที่เขมร” หรือ “เสีย สละจังเลย” แล้วทุกครัง้ ฉันก็รู้สึกเขิน บางทีก็อาย เพราะในความเป็นจริงก็ ไม่ได้คิดว่าตัวเองได้ท�ำงานมากกว่าพี่น้องที่ท�ำงานตามวัด (น่าจะท�ำงานน้อย กว่าด้วยซ�้ำ) หรือตัวเองกล้าหาญเพราะแม้จะเป็นปีท่สี ามแล้วก็ยังรู้สกึ กลัว เข้าใจตัวเองว่าเป็นคนปอด....(แค่ไหน) จึงขอยกประกาศกเยเรมีย์ท่มี ีความไม่ มั่นใจ (ยรม. 1: 6-7)

122

หฤทัยสัมพันธ์


ส่วนงานที่ท�ำอยู่ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับงานตามวัด มี 4 งานหลักคือ ดูแลความเรียบร้อยของพิธีกรรม, ซ้อมเพลง, ร่วมงานเยาวชนและสอนค�ำ สอน แต่สิ่งที่ยากคือเวลาอยากท�ำอะไร ก็ต้องเริ่มที่ตัวเอง คิดเองท�ำเองก็แค่ นั้น ตั้งแต่การท�ำความสะอาดวัด จนถึงการจัดค่ายต่าง ๆ ส่วนเรื่องภาษาก็ไม่ น่าจะใช่อุปสรรคส�ำหรับคนไทย พูดง่าย ๆ คือเมื่อมีใจจะไปแพร่ธรรมที่เขมร ก็ไม่มีอะไรมาขัดขวางได้เลย

ส�ำหรับซิสเตอร์พระหฤทัยฯ แล้ว การท�ำงานเหล่านี้ไม่ยากแค่เป็น ส่วนหนึ่งของการท�ำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แล้วงานแพร่ธรรมในประเทศ กัมพูชาจะแตกต่างจากประเทศไทยอย่างไร ค�ำตอบส่วนนี้ ก็คงต้องบอก ว่า “การอยู่และการเป็น” น่าจะยากกว่าการท�ำงานอย่างอื่น การเรียนรู้ แล้วเข้าใจคนเขมรนัน้ ต้องใช้เวลาและใจกว้าง ถ้าเราเอาประสบการณ์ เอา วัฒนธรรมและอคติส่วนตัวเข้าไปด้วยแล้วนัน้ เราจะไม่สามารถเข้าใจและรัก พวกเขาได้เลย หฤทัยสัมพันธ์

123


ฉะนั้นในข้อเรียกร้องส�ำหรับธรรมฑูตที่จะเข้าไปท�ำงานในเขมรคือ มิใช่ธรรมฑูตไทยที่ท�ำงานในเขมรเท่านัน้ แต่เป็น “การเกิดใหม่เป็นธรรมฑูต เขมร” แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธความจริงที่ว่าเรามักน�ำสิ่งที่เป็นตัวเราติดตัว ไปด้วยเสมอ ฉะนั้นเราจึงต้องมีสติ และสตางค์ เอ้ย...ไม่ใช่ค่ะ ต้องมีความ เชื่อและความวางใจในพระเจ้าที่จะช่วยเราเสมอที่จะน�ำความรักของพระองค์ ไปสู่คนเขมรที่ยังไม่รู้จักพระองค์

ภาพกิจกรรม คณะพระหฤทัยฯ กับงานธรรมทูตที่กัมพูชา สัมมนาพระคัมภีร์ วันที่ 29-31 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์จันทนา สิริ จันทนากูลและทีมงานจัดสัมมนา พระคัมภีร์ให้กับคริสตชนที่บัตต�ำ บอง สอนเด็กร�ำถวายพระพร ฝึ ก หั ด เด็ ก เพื่ อ ร� ำ ถวาย พระพร

124

หฤทัยสัมพันธ์


เตรียมเด็กรับศีลมหาสนิท จัดสอนค�ำสอนเพื่อเตรียม รับศีลมหาสนิท

ช่วยสอนภาษาไทย ปี ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์จันทนา สิรจิ ันทนากูล สอนสอนภาษา ไทยที่สถานทูตไทยในพนมเปญเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2012

หฤทัยสัมพันธ์

125


ประวัติย่อและคุณธรรมของ

คุณแม่เซราฟิน เดอ มารี, S.P.C คุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ลูเต็นบาเคอร์ เกิดวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1873 ที่เฟลอริง มณฑลอัลซาส ประเทศฝรั่งเศส บิดาชื่อเซราฟิน มารดา ชื่อ มารี มูนส์ช ท่านมีจติ ใจศรัทธาอยากถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าและเป็น มิสชันนารีในดินแดนตะวันออกไกล ดังนั้น ในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1894 ขณะอายุได้ 21 ปี ท่านจึงสมัคร เข้าอารามในคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่ชาร์ตร ประเทศฝรั่งเศส ท่านเข้านวกภาพวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1895 และถวายตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.1897 ปีเดียวกันนัน้ เองท่านได้ถูกส่งออกไปแพร่ ธรรมที่โคชินไชน่าในวันที่ 26 ธันวาคม แต่จากนัน้ ไม่ นาน ท่านและสมาชิกรุ่นแรกของคณะ 7 คนเดินทางออกจากไซ่ง่อน มาถึง ประเทศไทยในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1898 ท่านรับหน้าที่อยู่ในโรงพยาบาล เซนต์หลุยส์ และเริ่มเรียนรู้ภาษาสยาม หลังจากท�ำงานอยู่ท่โี รงพยาบาล 2 ปี ประมาณเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1902 ท่านได้รับหน้าที่ให้ไปช่วยเซอร์ฮังเรียตที่อารามสามเสน แทนเซอร์ยุสติน ท่านท�ำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเซอร์ฮังเรียตอยู่ 15 เดือน และเมื่อเซอร์ฮังเรียตต้อง ย้ายกลับไปไซง่อน ในปี ค.ศ. 1903 ท่านจึงได้รับแต่งตัง้ ให้เป็นอธิการแทน นับตั้งแต่นนั้ ตราบจนถึงวันสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านท�ำหน้าที่อธิการปกครอง ดูแล เลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ เสียสละ และอดทน 126

หฤทัยสัมพันธ์


ให้สมาชิกคณะภคินีพื้นเมืองรักไม้กางเขนแห่งสามเสน ได้เจริญเติบโตขึ้น ในด้านชีวิตความเชื่อ มีรากฐานที่ดีงามในด้านชีวิตนักบวช ท่านเป็นผู้ท่มี ี บทบาทส�ำคัญยิ่งต่อการก่อสร้างอาคารที่สง่างามหลังแรกที่คลองเตย ซึ่งได้ รับการเสกอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1932 จนกระทั่งต่อ มาคณะฯ มีความมั่นคง ก้าวหน้า สามารถออกไปรับใช้พระศาสนจักรท้องถิ่น ได้มากมายจนถึงปัจจุบัน คุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ได้ถวายชีวิตคืนแด่พระเจ้า ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1952 ขณะอายุ 79 ปี นับเป็นเวลา 50 ปีพอดีที่ท่านด�ำเนิน ชีวิตอยู่ในคณะพระหฤทัยฯ

โอกาสครบรอบมรณกรรม 60 ปีของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ในปีนี้ ขอน�ำค�ำไว้อาลัยที่พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้เขียนถึงท่าน ลงวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1952 ซึ่งสรุปชีวติ ของท่านตามความจริงได้อย่าง ดีที่สุดว่าดังนี้... “เซอร์เซราฟินเป็นผู้ที่มีความตรงไปตรงมาและมีความศรัทธา มาก ตั้งแต่เป็นสมัครเณรี เธอปรารถนาแสวงหาพระเป็นเจ้าและวิญญาณ ทั้งหลาย ด้วยพลังความรักทั้งหมดที่เธอมี เธอเป็นคนมุ่งมั่นขั้นวีรกรรม ได้ ฟันฝ่าอุปสรรคตามประสามนุษย์ทุกชนิด แม้บางครั้งจะมีความกลัดกลุ้ม ทุกข์ใจ เพื่อให้งานชิ้นเดียวในชีวิตของเธอซึ่งพระเจ้ามอบหมายให้ คือการ หฤทัยสัมพันธ์

127


ก่อตั้งอารามรักกางเขนนัน้ เกิดผล ถ้าเลือกได้ เธอคงชอบที่จะบรรลุความ ครบครันส�ำหรับตัวเธอเองมากกว่า แต่เธอก็ได้อุทศิ ตนเพื่องานที่ยิ่งใหญ่และ มีเมตตาธรรมมากกว่า นั่นคือ เปิดขอบฟ้าแห่งชีวิตนักพรตแก่บรรดาหญิง สาวชาวสยาม ชาวเวียดนาม ชาวจีน ที่มาเคาะประตูอารามที่สามเสน และ คลองเตยในเวลาต่อมา เซอร์เซราฟิน เป็นอธิการของอารามนานถึง 50 ปี เธอเป็น “แม่แห่ง ความรักเมตตา” อย่างแท้จริง บางครั้งเธอถูกเข้าใจผิด แต่เธอก็ยังติดตาม หนทางของเธอต่อไปสู่จุดหมายสูงสุด เธอเป็นนักพรตด้วยชีวิตจิตใจ เรายัง จ�ำภาพของเธอได้ดี เธอเป็นผู้หญิงร่างเล็ก ไม่สูงนัก เธอมีสีหน้าสงบ ดวงตา เป็นประกายด้วยความมั่นใจ แม้บางครั้งจะมีริ้วรอยแห่งความเศร้าอยู่บ้าง

เซอร์เซราฟินมีปฏิภาณไหวพริบในการลงมือปฏิบัติ และมีความ เชื่อที่กล้าหาญตามแบบชาวอัลซัส เธอเป็นนักพรต เป็นอธิการที่ดึงดูด บรรดาเด็กสาวผู้ปรารถนาจะถวายตนแด่พระเจ้า เธอได้ออกเดินทางไปตาม วัดต่าง ๆ สม�่ำเสมอ ท�ำให้มีเด็กสาวเข้าคณะเป็นร้อย และหากความดีภาย หลังการจากไปของแม่ผู้น้ี คือ การผลิบาน งอกงามเหนือธรรมชาติของผู้สืบทอดต่อ จากเธอ เซอร์เซราฟินก็คงจะได้รับความ สุขในสวรรค์เป็นสิ่งตอบแทน

128

หฤทัยสัมพันธ์


เธอได้ท�ำงานและให้คนอื่นท�ำงานในความสุภาพถ่อมตน เพื่อพระสิริ มงคลของพระเจ้า เธอได้แบกภาระและความรับผิดชอบอันหนักอึ้งไว้บนบ่า อันบอบบางของเธอ เรากล้าที่จะเชื่อว่าความซื่อสัตย์อันยาวนานต่อพระเจ้า เช่นนี้จะได้รับการสวมมงกุฎเป็นการตอบแทน... เธอได้ใช้ชวี ิตนักพรตของ เธอทั้งหมดในงานธรรมทูตอย่างแท้จริง”

หฤทัยสัมพันธ์

129


คุณแม่เซราฟิน... ครั้งหนึ่งในความทรงจ�ำ โอกาสครบรอบ 60 ปี มรณกรรมของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี เราได้ รวบรวมข้อความจากซิสเตอร์บางท่านที่เคยใช้ชีวิตร่วมกับคุณแม่เซราฟินและ อยู่ในสมัยแรกเริ่มก่อตั้งคณะฯ ซึ่งเขียนถึงความประทับใจและความในใจที่มีต่อ คุณแม่เซราฟินมาแบ่งปันแก่ผู้อ่านทุกท่านกัน...เชิญติดตามอ่านได้เลยค่ะ “แม่เป็นคนที่ตรงต่อเวลา ถือเคร่งครัดในเรื่องการเข้าเงียบ มี ความเฉลียวฉลาดในทุก ๆ เรื่อง มีระเบียบวินัย รักความสะอาด รักลูกทุกคนอย่างมาก เป็นคนที่ขยัน ประหยัด นบนอบ สละ น�้ำใจของตน และมีความเชื่อมาก” (ซิสเตอร์ปาตรีส สุวรรณรัตน์ ทรงศักดิ์ศรี) “แม่เป็นคนที่รักแม่พระมาก ๆ มีความศรัทธา ถือ ระเบียบวินัยอย่างดี นึกถึงพระเจ้าเสมอในการด�ำเนินชีวิต และสอนสิ่งเหล่านี้ให้กับซิสเตอร์ด้วย” (ซิสเตอร์อาแดล สุรยี ์ มั่นใจ) “รักและเคารพคุณแม่มาก ๆ ในฐานะที่ 1. คุณแม่เป็นมหาธิการิณี เป็นผู้ก่อตั้งคณะ ผู้ทุ่มเท เอาใจใส่ต่อคณะทั้งสิ้น ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับ เรามาตั้งแต่ก่อตั้งคณะ 2. คุณแม่เป็นผู้ให้การต้อนรับและส่งต่อให้กับ ผู้ดูแล และพี่เลี้ยง 3. คุณแม่มีความเป็นแม่ในทุก ๆ ด้าน ดูแลเอาใจใส่ ในทุกเรื่องอย่างดี รู้สึกมีความกตัญญูต่อคุณแม่มาก” (ซิสเตอร์อันตัวแนต อัญเชิญ เวชยันต์) 130

หฤทัยสัมพันธ์


“แม่เป็นคนที่ดุมาก แต่ก็ใจดีมากด้วยเช่นกัน เป็น คนที่ตรงไปตรงมา ไม่หูเบาเชื่อคนง่าย เป็นแม่ท่ดี ีมาก ๆ” (ซิสเตอร์อาร์แมล มารีอัน ฉายาเจริญ)

“แม่เป็นผู้ท่มี ีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความเชื่อศรัทธา มีความรัก มีความวางใจในพระเป็นเจ้าอย่างมาก เชื่อในพระญาณสอด ส่องของพระองค์ รักสมาชิกทุกคนไม่เว้นใคร คุณแม่เป็นผู้ท่เี สีย สละ เคร่งครัดต่อระเบียบวินัย และให้อภัยง่าย เป็นนักปกครอง ที่มีความรอบคอบ มีพรสวรรค์ในการใช้ภาษา” “รู้สึกปลื้มปิติยินดีอย่างมาก ที่คณะได้บรรลุถึงความยิ่ง ใหญ่ก็เพราะคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ผู้บุกเบิกและก่อตั้งคณะเรา ขึ้นมา คิดว่าแม่ที่อยู่ในสวรรค์จะภาวนาเพื่อเรา ลูก ๆ ทุกคนบน แผ่นดินนี้ด้วย...ขอบคุณพระเป็นเจ้าอย่างมากและขอให้สมาชิก ทุกคนมีความเสียสละต่อพระเป็นเจ้าในการติดตามพระองค์” (ซิสเตอร์มารีเดอลูร์ด สาลี่ ด�ำริ) “แม่เป็นผู้หาเลี้ยงชีพให้กับพวกเรา อีกทั้งเลี้ยงทุกคน ที่ มี ค วามต้ อ งการและมาขอความช่ ว ยเหลื อ จากอารามของ เรา......ขอบคุณพระเป็นเจ้าที่ประทานแม่เซราฟิน มาให้กับเรา และให้ได้มกี ินมีใช้จนถึงทุกวันนี้ มีอารามที่สวยงาม.....ขอให้ วิญญาณของแม่มคี วามสุขในสวรรค์มาก ๆ ” (ซิสเตอร์กมิ หยุน แซ่โล้ว) หฤทัยสัมพันธ์

131


“แม่เป็นคนที่ใจดีมาก ๆ แต่ถ้าท�ำผิดแม่ก็ดุก็สอนให้ท�ำ ในสิ่งที่ดี แม่อบรมให้ถอื ตามพระวินัยอย่างดี.....เมื่อแม่เป็นคนดี ลูกก็ต้องเป็นคนดีด้วย” (ซิสเตอร์ราฟาแอล ยุพา ผังรักษ์) “แม่เป็นฝรั่งแต่ก็ยังอุตส่าห์เสียสละตนเองและมาอยู่กับ เราที่เป็นคนไทย.....แม่เป็นคนที่ท�ำมากกว่าที่จะพูด แม่สอนใน เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จนกลายเป็นนิสัยที่ดีให้แก่บรรดาซิสเตอร์ เป็นต้นในเรื่องของกิริยามารยาทต่าง ๆ การเดิน การนั่ง การ วางตัวให้ถูกกาลเทศะนั่นเอง...” (ซิสเตอร์แบร์ฆมันส์ วาริน นามวงศ์) “ท่านเป็นคนที่มีความเข้มแข็งมาก มีความเชื่อความวางใจใน พระ การที่ท่านสามารถผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้นั้นก็เพราะการสวด ภาวนาของท่านนั่นเอง รวมไปถึงการรายงานต่อผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องได้ ทราบ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแต่เพียงการระบายความในใจของท่านก็ตาม ท่านเป็นคนที่มีความอ่อนน้อมมากต่อผู้ใหญ่ ต่อพระคุณเจ้า ท่านพูด ด้ ว ยความสุ ภ าพในสิ่ ง ที่ ท ่ า นไม่ เ ห็ น ด้ ว ย...จากค� ำ พู ด ของซิ ส เตอร์ ผู ้ อาวุโสนั้นคุณแม่รักลูก ๆ ทุกคนของแม่มาก ในจดหมายก็บ่งบอกถึง ความรักที่ท่านมีต่อผู้ฝึกหัดและซิสเตอร์ในสมัยแรก ๆ เป็นอย่างดี ท่าน รู้จักลูกทุกคน อดทนและยอมรับในลูกทุกคนที่มีความแตกต่างกันอย่าง มาก ท่านเป็นคนที่ฉลาดในการพูดและในการท�ำงานทุกอย่างที่ท่านท�ำ เช่น การไม่ยอมให้ซิสเตอร์ที่ท่านเห็นว่าเป็นคนดีมีความศรัทธาต่อพระ ออกจากอาราม ดังเช่นแม่กัลลิสต์ “เอามีดมาแทงอกแม่ก่อนแล้วค่อย ออก”...แสดงว่าท่านเป็นผู้เห็นการณ์ไกล มีพระพรในการหยั่งรู้ ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะคุณแม่กัลลิสต์เป็นมหาธิการิณีถึง 17 ปี ในคณะนั่นเอง...” (ซิสเตอร์ชอ้อน เวชยันต์) 132

หฤทัยสัมพันธ์


อาลัยรัก...สมาชิกผู้ล่วงลับ ซิสเตอร์มารีอา สุนีรัตน์ ฤกษ์สุจริต

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เวลา 16.15 น. คณะภคินีพระหฤทัยของ พระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ จัดพิธีปลงศพแด่ ซิสเตอร์มารีอา สุนีรัตน์ ฤกษ์สุจริต ณ อารามพระหฤทัย คลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยมีพระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ร่วมกับพระสงฆ์จ�ำนวน 57 องค์ บรรดาสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ นักบวชชาย-หญิง สมาชิกในครอบครัว ฤกษ์สุจริต บรรดาเพื่อน ผู้ร่วมงานและสัตบุรุษให้เกียรติมาร่วมพิธีจ�ำนวนมาก ท่ามกลางบรรยากาศของความอาลัยรักต่อซิสเตอร์ ผู้จากไป ซิสเตอร์มารีอา สุนีรัตน์ ฤกษ์สุจริต เกิดเมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1967 เป็นสัตบุรุษวัดนักบุญ ยวงบัปติสตา เจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซิสเตอร์เป็นบุตรสาวของ เปโตร เป และมารีอา ประสาน ฤกษ์สุจริต มีพี่น้อง 5 คน เป็นบุตรคนที่ 3 หฤทัยสัมพันธ์

133


ของครอบครัว ซิสเตอร์มีพี่ชายเป็นพระสงฆ์หนึ่งท่าน ได้แก่ คุณพ่อเปโตร สุพจน์ ฤกษ์สุจริต ซิสเตอร์สุนีรัตน์ใช้ชีวิตช่วงวัยเยาว์อยู่กับครอบครัวและมีความสนิท ใกล้ชิดกับซิสเตอร์ที่ประจ�ำอยู่ที่วัด จึงสนใจอยากเป็นซิสเตอร์ หลังจากที่เรียน จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนประสาทศิลป์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ตัดสินใจสมัครเป็นผู้ฝึกหัดของคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่ง กรุงเทพในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1982 โดยซิสเตอร์มารีอา แอสแทร์ ส้มจีน สุขชัย เป็นผู้ส่งเข้าอาราม และคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นพระสงฆ์ ผู้รับรอง ซิสเตอร์ได้ปฏิญาณตนครั้งแรกในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1988 และปฏิญาณตนตลอดชีวิตในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1994

ตลอดระยะเวลาเกือบ 25 ปี ของการเป็นผู้ถวายตัวแด่พระเจ้าใน คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ซิสเตอร์สุนรี ัตน์ได้อุทศิ ตนอย่างสิ้นเชิงในการรับใช้พระเป็นเจ้าและรับใช้พระศาสนจักรท้องถิ่นใน งานด้านต่าง ๆ ของคณะ โดยยึดเอาดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็นแหล่ง พลังและแบบอย่างแห่งการด�ำเนินชีวติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความรัก ความสุภาพและใจอ่อนน้อม พร้อมที่จะน้อมรับทุกสิ่งเป็นพลีบูชาเพื่อความ รอดของมนุษย์ ซิสเตอร์ได้แสดงออกซึ่งความรักความศรัทธาและความเชื่อ อย่างลึกซึ้งต่อพระเจ้า ด้วยการเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระคริสตเจ้าด้วย ชีวิตของซิสเตอร์อย่างเด่นชัด 134

หฤทัยสัมพันธ์


ซิสเตอร์สุนีรัตน์เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถร่วมงานกับผู้อื่น ได้เป็นอย่างดี มีความสุภาพ อ่อนโยน มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มอยู่เสมอ มีอัธยาศัย ไมตรีที่ดงี ามและพร้อมต้อนรับทุกคนที่เข้ามาหา จึงท�ำให้ซิสเตอร์เป็นที่รัก ของทุกคนและท�ำให้ผู้ท่อี ยู่และร่วมงานกับซิสเตอร์มีความสุข ความสบายใจ

ซิสเตอร์สุนยี ์รัตน์ถูกส่งให้ไปท�ำหน้าที่ตามวัดต่าง ๆ หลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียนพระหฤทัยสวรรคโลก วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ วัดพระ คริสตหฤทัย วัดเพลง วัดคอนเซ็ปชัญ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง วัดนักบุญ เปาโล บ้านนา และวัดนักบุญอันนา ท่าจีน ในแต่ละแห่งที่ซิสเตอร์ได้กระท�ำ หน้าที่ ซิสเตอร์ได้กระท�ำด้วยความซื่อสัตย์ และด้วยความรับผิดชอบ มีความ ขยันขันแข็ง อดทน กระตือรือร้นในการท�ำหน้าที่ ๆ ด้วยความรักและด้วยความ เสียสละ เอาใจใส่และเอาจริงเอาจังต่องานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี

หฤทัยสัมพันธ์

135


พันธกิจส่วนใหญ่ท่ไี ด้รับมอบหมายคือการบริหารโรงเรียน ซึ่ง ซิสเตอร์ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจต่อพันธกิจนี้ ด้วยการหมั่นศึกษาหาความรู้ สนใจและเอาใจใส่ต่อการบริหารงานทุกด้าน อุทิศตนในการอบรมทัง้ ครูและ นักเรียนอยู่เสมอ เป็นต้นในด้านคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งเป็นผู้ท่คี อยให้ ก�ำลังใจและสนันสนุนบุคคลากรทุกฝ่ายให้ท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี ค.ศ. 2007 แพทย์ตรวจพบว่าซิสเตอร์เป็นโรคมะเร็งจึงท�ำให้ ต้องพักจากการงานชั่วคราวเพื่อท�ำการรักษาตัวตามค�ำแนะน�ำของแพทย์ และหลังจากที่สุขภาพแข็งแรงขึ้นแล้วจึงขอผู้ใหญ่กลับมาท�ำงานอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งซิสเตอร์ก็สามารถท�ำงานได้อกี เพียง 3 ปีเท่านั้น เชื้อของโรคมะเร็งได้ ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ภายในร่างกาย ท�ำให้ต้องกลับมารักษาตัวด้วย เคมีบ�ำบัดอีกครัง้

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่อและความศรัทธาที่ซิสเตอร์มีต่อพระเจ้า อย่างเต็มเปี่ยม ซิสเตอร์ได้น้อมรับความเจ็บป่วยนี้ด้วยใจยินดี โดยถือว่า 136

หฤทัยสัมพันธ์


นี่เป็นน�ำ้ พระทัยของพระเจ้า ดังคติพจน์ของซิสเตอร์ท่วี ่า “ข้าพเจ้าคือผู้รับ ใช้ของพระเจ้า” และได้มอบถวายความเจ็บปวดและความทุกข์ยากล�ำบาก ที่เกิดขึ้นเป็นดั่งเครื่องบูชาล�้ำค่าพร้อมกับพระองค์ผู้ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขน จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในวันพุธที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2012 หลังจากที่ซสิ เตอร์สุนีรัตน์ร่วม ฉลองวันคล้ายวันเกิดปีที่ 45 พร้อมกับครอบครัวและสมาชิกของคณะฯ ที่ไปร่วมอวยพรและส่งความสุขความชื่นชมยินดีแล้ว ในภาคค�่ำเวลาประมาณ 18.20 น. ซิสเตอร์ได้สิ้นใจอย่างสงบท่ามกลางพระสงฆ์ ครอบครัวและสมาชิก ของคณะฯ ที่ได้ร่วมสวดภาวนาที่โรงพยาบาลพระราม 9 รวมอายุได้ 45 ปี และอายุการปฏิญาณถวายตัว 24 ปี 6 เดือน

โอกาสนี้ สมาชิกทุกคนในคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ขอโมทนาคุณพระเจ้าที่ประทานซิสเตอร์มารีอา สุนีรัตน์ ฤกษ์สุจริต มาเป็น สมาชิกที่ดีของคณะฯ และได้ร่วมสานพันธกิจแห่งรักรับใช้ตามจิตตารมณ์ของ พระหฤทัย พร้อมกันนี้ขอขอบคุณบิดา มารดาและสมาชิกทุกคนในครอบครัว หฤทัยสัมพันธ์

137


ฤกษ์สุจริตที่ได้มีส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุนกระแสเรียกของซิสเตอร์ สุนีรัตน์ให้ด�ำเนินชีวิตนักบวชในคณะพระหฤทัยฯ อย่างดีเสมอมา บัดนี้ภารกิจ ที่พระเจ้าทรงมอบให้ซสิ เตอร์สุนีรัตน์ได้ส�ำเร็จบริบูรณ์แล้ว ขอพระเจ้าทรง รับดวงวิญญาณของซิสเตอร์สุนีรัตน์เข้าไปรับความบรมสุขกับพระองค์ใน สวรรค์ และขอฝากดวงวิญญาณของซิสเตอร์สุนีรัตน์ไว้ในค�ำภาวนาของ พี่น้องทุกท่านด้วย

138

หฤทัยสัมพันธ์


ภาพเก่า เล่าอดีต

ภาพอาคาร “อารามพระหฤทัย” สมัยแรก อาคาร “อารามพระหฤทัย” ออกแบบและก่อสร้างโดย Mr. Eduardo Sparrotti สถาปนิกชาวอิตาเลี่ยนเป็นอาคารทรง สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลสไตล์ จ�ำนวนสี่ชั้น มีหอสูงด้านข้าง มี ชั้นใต้ดิน ห้องใต้หลังคา ชั้นที่สามมีวัดน้อยของอารามตั้งอยู่ เริ่มลงมือ ก่อสร้างในปี ค.ศ. 1931 และท�ำพิธีเสก วันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1932 โดยพระสังฆราชเรอเน แปรอส ปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) อารามหลังนี้ มีอายุ 80 ปีพอดี

หฤทัยสัมพันธ์

139


บันทึก ไว้ในความทรงจ�ำ

ณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ขอขอบ พระคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมแสดงความยินดีกับการ ก่อสร้างอาคารพระหฤทัย คลองเตย ครบรอบ 80 ปี และ ร่วมระลึกถึงการมรณภาพของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ครบรอบ 60 ปี และขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมงาน อีก ทั้งร่วมแรงร่วมใจด�ำเนินงานครัง้ นี้ให้ส�ำเร็จไปด้วยดี ขอพระหฤทัยอ�ำนวย พระพรแด่ทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ ส่วนหนึ่งของข้อความแสดงความยินดีที่ผู้มาร่วมงาน “ฉลอง ๘ ทศวรรษ อาคารพระหฤทัย คลองเตย และ ครบรอบมรณกรรมของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ๖๐ ปี” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2012 ซึ่งผู้มาร่วมงานบันทึก ในสมุดร่วมแสดงความยินดี มีดังนี้

140

หฤทัยสัมพันธ์


ขอร่วมแสดงความยินดีกับคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่ง กรุงเทพฯ โอกาสระลึกถึง 80 ปี อาคารพระหฤทัย และในโอกาส 60 ปี มรณภาพของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ขอพระเจ้าประทานพระพรแก่ คณะและสมาชิกทุกคนเสมอไป

พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช พระอัครสังฆราชกรุงเทพฯ

บ้านที่ก่อเกิดความเชื่อ จิตตารมณ์พระวรสารและงาน ธรรมทูต ขอขอบพระคุณพระเจ้าที่ทรงโปรดเลือกสรรบ้านหลัง นี้เป็นที่พ�ำนักและเป็นศูนย์กลางแห่งการแพร่ธรรม ขอพระองค์ โปรดประทับอยู่ท่นี ี่กับพวกซิสเตอร์ทั้งหลายตลอดไป พระสังฆราชยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย

หฤทัยสัมพันธ์

141


ขอแสดงความยินดีโอกาสฉลองครบ 80 ปี อารามพระหฤทัย คลองเตย ขอพระเจ้าประทานพรให้คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งกรุงเทพฯ จงเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยในทุก ๆ ด้าน พระคุณเจ้าสังวาลย์ ศุระศรางค์

142

หฤทัยสัมพันธ์


อารามพระหฤทัยหลังนี้สร้างมาได้ 80 ปี คุณพ่อร็อค วิศิษฎ์ หริพงศ์ ก�ำลังจะเกิดมา ดีใจที่ได้มาร่วมฉลองในครั้งนี้ ขอให้ คณะภคินีพระหฤทัยเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ทั้งจ�ำนวนสมาชิกและ กิจการงานต่าง ๆ ของอาราม ขอพระเป็นเจ้าสถิตกับอารามนี้ตลอด ไปเทอญ คุณพ่อร็อค วิศิษฐ์ หริพงศ์

คุณแม่เชลียง มหาธิการิณีและสมาชิกคณะพระหฤทัยของพระ เยซูเจ้าที่รักทุกท่าน ก่อนอื่นของแสดงความยินดีโอกาสฉลอง ๘ ทศวรรษอาคาร พระหฤทัยและครบรอบมรณกรรมคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ครบ 60 ปี วันนี้ได้จัดงานอย่างดงามและสมเกียรติ ในการร�ำลึกถึงคุณแม่ ของเรา ขอให้การใดที่คุณแม่ได้ปลูกไว้ได้รับการรดน�้ำและเติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นในสมาชิกต่อไป ขอดวงวิญญาณของคุณแม่ในสวรรค์อวยพรแด่สมาชิกทุกท่าน เสมอ เซอร์ ไอรีน ช�ำนาญธรรม

หฤทัยสัมพันธ์

143


ขอร่วมความรักและความเป็นหนึ่งเดียวกันของเราพี่น้องสอง คณะที่ยั่งยืนมานานนับปี ขอพระพรพระเป็นเจ้าผ่านบรรพชนของเรา เพื่อ คณะของเราจะได้ยืนหยัดในจิตตารมณ์ของเราในการรับใช้พระเป็นเจ้า และเพื่อนมนุษย์อย่างเข้มแข็งมั่นคงตลอดไป ซ.ฟรังซัวร์ ชีรานนท์ ซ.โซเฟีย รัศมีมารีย์ ซ.อาเมียน วงศ์วณิชย์เจริญ

ขอร่วมแสดงความยินดีร่วมกับซิสเตอร์พระหฤทัยฯ ในโอกาส ฉลอง 8 ทศวรรษ อาคารพระหฤทัย คลองเตย และครบรอบ 60 ปี แห่ง มรณกรรมของมาเซอร์เซราฟิน เดอ มารี ขอให้เมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อ ความไว้ใจ ความรัก ความศรัทธา และการเป็นผู้รับใช้พระเยซูเจ้า ใน ฐานะชีวิตผู้รับเจิม ได้เติบโตในความศักดิ์สิทธิ์และทวีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้น นวกสถาน S.P.C ซ.มารี แรน เล็กประเสริฐ ซ.มักดาเลนา ภาวดี ซ.เปาลา ซ.ไอดา ซ.นอร่า 144

หฤทัยสัมพันธ์


ขอแสดงความยินดีกับคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่ง กรุงเทพฯ ที่ได้ฉลองครบรอบ 80 ปี ของอารามพระหฤทัยคอนแวนต์ ด้วยความรักและเคารพ นายอาวุธ อารีธรรมศิริกุล “ตัวแทนครอบครัว อารีธรรมศิริกุล” จิราภรณ์ อารีธรรมศิรกิ ุล (เนติโรจนกุล) วราภรณ์ แสนทวีสุข (อารีธรรมศิริกุล) สมศักดิ์ – รวีวรรณ อารีธรรมศิริกุล/ นามวงศ์

ขอแสดงความยินดีกับคณะภคินีพระหฤทัยคอนแวนต์ ในโอกาส ครบรอบ 80 ปี ของอารามพระหฤทัย ด้วยความเคารพรักอย่างสูง ครอบครัวเคียมฮั้วไถ่ ชลลต เอี่ยมวิศิษฐ์ อุทัย เอี่ยมวิศิษฐ์ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๕

หฤทัยสัมพันธ์

145


เห็นเครื่องแบบ บอกจะจะ คณะต่าง สองแขนกาง ประคอง ดั่งน้องพี่ เซนต์ปอล พระหฤทัย ภคินี แม่เซราฟิน 60 ปี 16 กันยายน

ร่วมทายทัก พรักพร้อม ล้อมด้วยรัก สมานสมัคร ยินดี ชีขาวสะพรั่ง หนึ่งยื่นไป หนึ่งยื่นมา น่าดูจัง แก้มสองฝั่ง ฝังรอยยิ้ม อิ่มอกอิ่มใจ

146

หฤทัยสัมพันธ์









ฝ่ายอบรมของคณะฯ จัดสัมมนาให้แก่ผู้ฝึกหัดในขัน้ เยาวนารีถึงโปสตุลันต์ จ�ำนวน 48 คน ในหัวข้อ "เพศศาสตร์ศกึ ษา" ที่ห้องประชุมอารามพระหฤทัย คลองเตย โดยอาจารย์ล�ำดวน ชินมโนพันธ์ และคุณชัชชัย สังฆทิพย์ เป็นวิทยากร แบ่งปันเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างของชายและหญิง ความส�ำคัญของ ชีวิตมนุษย์โดยใช้กระบวนการไตร่ตรองแบบ See-Judge-Act





Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.