หฤทัยสัมพันธ์ ฉบับประจำเดือน พฤศภาคม - ตุลาคม 2014

Page 1


สารบัญ บอกอ...บอกกล่าว สารมหาธิการิณี รู้จักส�ำนึกผิดท�ำให้เป็นอิสระ กิจกรรมความเคลื่อนไหวของคณะพระหฤทัยฯ กิจกรรมฝ่ายประกาศอภิบาลและประกาศข่าวดี ความเป็นมาของพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์ เคล็ดลับที่แม่บ้านขอแบ่งปัน กิจกรรมฝ่ายการศึกษา การศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนในเครือ คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ (บทคัดย่อ) กิจกรรมฝ่ายสังคม 25 ปี ไบเบิ้ลไดอารี ่ กิจกรรมฝ่ายอบรม ใช้ชีวิตอย่างรู้ตัว กิจกรรมของผู้ฝึกหัด คณะพระหฤทัยฯ กิจกรรมของธรรมทูตกัมพูชา

วารสาร หฤทัยสัมพันธ์ 2014/2557

3 4 6 13 45 69 78 82 101 1 03 110 113 128 147 169

ปีที่ 59 ฉบับเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2014/2557 เจ้าของ : คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : ซิสเตอร์เชลียง เวชยันต์ วัตถุประสงค์ : เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าว บรรณาธิการ : ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ และกิจกรรมของคณะภคินีพระหฤทัย กองบรรณาธิการ : - คณะที่ปรึกษาของคณะฯ - ประธานฝ่ายต่างๆ - ฝ่ายส�ำนักเลขา : นฤมล สุขชัย, ธวัชชัย กิจเจริญ ของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ และเผย กฤษติยา จางพานิชย์, เกียรติสกุล กิ่งสังวาล, แพร่บทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สรารัตน์ จันทร์ยุตธิ รรม พันธกิจของคณะ พิมพ์ที่ : บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จ�ำกัด

2

หฤทัยสัมพันธ์


บอกอ...บอกกล่าว สวัสดีท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครัง้ ในวารสารหฤทัยสัมพันธ์ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2014/2557 ซึ่งเป็นการน�ำเสนอข่าวสารและความเคลื่อนไหวของสมาชิกคณะพระ หฤทัยฯ เป็นต้นการที่สมาชิกได้ออกไปเป็นผู้ประกาศข่าวดีด้วยจิตตารมณ์ของพระ หฤทัยฯ ที่ให้ความหวังต่อทุกคน วารสารฉบับนีย้ งั คงบรรจุบทความดีๆ ทีเ่ ป็นข้อคิดเตือนใจ ทัง้ จากจิตตาธิการ ของคณะ ในเรื่อง “รู้จักส�ำนึกผิดก็ท�ำให้เราได้เป็นอิสระ” รวมถึงบทความที่คุณแม่ พรรณี ภู่เรือนหงษ์(อดีตมหาธิการิณี) ได้น�ำมาแบ่งปันให้พวกเราได้ทราบถึง “ความ เป็นมาของพระคัมภีร์คาทอลิกฉบับสมบูรณ์” ซึ่งถือได้ว่าท่านเองเป็นผู้ท่มี ีบทบาท ส�ำคัญยิ่งต่อการจัดพระคัมภีร์เล่มนี้ อีกทั้งท่านยังได้บอกกล่าวให้พวกเราได้ทราบอีก ว่าเป็นเวลาถึง 25 ปีแล้วที่ไบเบิ้ลไดอารีได้ก่อก�ำเนิดขึ้น และปัจจุบันนี้ ไบเบิ้ลไดอารี เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางด้านฝ่ายจิตและได้รับความนิยมอย่างมากทั้งหมู่พระสงฆ์ นักบวชและคริสตชน พวกเราคณะพระหฤทัยฯจึงขอร่วมโมทนาคุณพระเจ้าพร้อมกัน มา ณ โอกาสนี้ นอกจากนั้นยังมีบทความด้านชีวิตจิตและผลงานวิจัยทางด้านการศึกษา และเมนูอาหารที่น�ำมาฝากกันอีกด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารหฤทัยสัมพันธ์ยัง คงเป็นสื่อกลางของคณะพระหฤทัยฯเพื่อเป็นการแบ่งปันสิ่งดีๆ ที่สมาชิกของคณะได้ กระท�ำและรวมถึงข้อคิดดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านตลอดไป ขอพระหฤทัยฯอวยพรทุกท่านค่ะ

หฤทัยสัมพันธ์

3


สารจากมหาธิการิณี พี่น้องที่รักในพระคริสตเจ้า เริ่มปีการศึกษา 2014/2557 คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่ง กรุงเทพฯ ได้ก�ำหนดนโยบายของคณะว่า “สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ หยั่ง รากลึกในความรักของพระหฤทัยที่ให้ความหวังแก่ทุกคน” โดยคณะ ได้ก�ำหนดแนวทางพัฒนาชีวิต และการกระท�ำพันธ กิจของสมาชิก เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของ สมัชชาใหญ่ของคณะ ครั้งที่ 11 ค.ศ. 2010 โดย ในภาคเรียนที่ 1/2014 นี้ ทางคณะได้จัดให้สมาชิก ของคณะทุกคนได้รับการฟื้นฟูชวี ติ นักบวช โดย จัดแบ่งสมาชิกออกเป็น 5 กลุ่ม โดยมีจุด ประสงค์ให้สมาชิกได้พักจากภารกิจของตน และมีเวลาในการไตร่ตรองและทบทวนชีวิต นักบวชของตนเอง เพื่อเตรียมตัวฉลอง ปีศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรไทย และ ปีนักบวชในค.ศ.2015 อีกทั้งยังเป็น โอกาสให้สมาชิกมีเวลาอยู่ร่วมกัน อั น เป็ น การเสริ ม สร้างชีวิตหมู่คณะที่ ส� ำ คั ญ อี ก ทางหนึ่ ง ด้วย ในภาคเรียนแรก นี้ พ วกเรายั ง ได้ มี โอกาสต้ อ นรั บ


พระธาตุของนักบุญผู้ย่งิ ใหญ่ทั้งสองพระองค์ คือนักบุญยอห์น ที่ 23 และ นักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ณ อารามพระหฤทัยฯ และที่ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ในวันศุกร์ท่ี 1 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งก่อน หน้านี้พวกเราได้มีโอกาสต้อนรับพระธาตุนักบุญทั้งสองที่บ้านหาดหฤทัยฯ ชะอ�ำ แล้ว ในวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 โอกาสที่พระคาร์ดนิ ัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู น�ำคณะพระสังฆราชเข้าเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมพิ ลอดุลยเดชฯ ที่พระต�ำหนักเปี่ยมสุข วัง ไกลกังวล หัวหิน เพื่ออัญเชิญพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญพระสันตะปาปา ทั้งสองพระองค์ ได้วอนขอพระพรจากพระเจ้าแด่พระองค์ท่านให้มพี ระ พลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนัน้ เราได้มโี อกาสศึกษา พระสมณสาส์นของสมเด็จพระ สันตะปาปาฟรังซิส “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวารสาร” (Evangelii Gaudium) ซึ่งเป็นเอกสารที่ปลุกเร้าจิตวิญญาณของพวกเราในฐานะทูต ของพระหฤทัยฯ จะต้องพร้อมที่จะก้าวออกจากตนเองไปสู่ผู้อ่นื เป็นต้น “การเลือกอยู่ข้างคนจนเป็นอันดับแรก” และการเป็น “ประกาศก” ซึ่งเราจะกระท�ำสิ่งเหล่านี้ได้ เราต้องเปิดใจต่อการท�ำงานของพระจิต เจ้า ต้องเป็นบุคคลแห่งการภาวนาและท�ำงาน มีประสบการณ์ส่วนตัวกับ พระองค์ เพื่อที่เราจะได้เป็นประจักษ์พยานในสารที่เราประกาศนัน้ ขอพระแม่มารี พระมารดาแห่งการประกาศพระวรสาร โปรดเสนอ วิงวอนเพื่อเราและขอให้พวกเราได้เลียบแบบอย่างจากพระนางด้วยเทอญ ซิสเตอร์เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี


ถอดความและเรียบเรียงโดยคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ จิตตาธิการอารามพระหฤทัยฯ

นักบุญเกรโกรี องค์ใหญ่ พระสันตะปาปาได้กล่าวไว้ว่า...เมื่อจิตใจของ เรามนุษย์หยุดพักจากสิ่งต่างๆภายนอก ก็พร้อมที่จะรับฟังทุกสิ่งทุกอย่างจากเบื้องบน และจะท�ำการวินจิ ฉัยทีละสิ่ง จะรู้สึกเป็นทุกข์เสียใจในสิ่งผิดสิ่งไม่ควรที่ได้กระท�ำลง ไป จึงเป็นสิ่งถูกต้องที่จะบอกว่าพระเจ้าทรงสอนเรามนุษย์ด้วยกฎระเบียบต่างๆของ พระองค์ เพราะว่าส�ำหรับจิตวิญญาณที่ท�ำการร�ำพึงไตร่ตรอง ก็ท�ำให้ตัวเองเจ็บปวด มีบาดแผลด้วยการเป็นทุกข์เสียใจ และเสียงร้องคร�่ำครวญของการรู้จักส�ำนึกผิด * นักบุญเกรกอรี องค์ใหญ่ พระสันตะปาปาและนักปราชญ์(540-604)เป็นหนึ่งในสี่ นักปราชญ์ผู้ย่งิ ใหญ่ของพระศาสนจักรตะวันตกหรือพระศาสนจักรลาติน พระองค์ ได้รับเลือกให้เป็นข้าหลวงของกรุงโรม ต่อมาได้สมัครมาใช้ชวี ิตแบบฤาษี (เบเนดิก ติน) ด้วยเหตุผลที่พระองค์รักชีวิตการเพ่งฌานอย่างที่สุดโดยชอบร�ำพึงถึงธรรมล�้ำลึก ต่างๆของพระเจ้าจากการอ่านพระคัมภีร์ พระองค์ได้อยู่ท่กี รุงคอนสแตนติโนเปิ้ล เป็น ผู้แทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปานานถึง 6 ปีแล้วได้กลับมาที่กรุงโรมและได้รับ เลือกให้เป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 590 พระองค์ได้พยายามเอาใจใส่สนองความต้องการของทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องทางสังคมก็ดีหรือทางการเมืองก็ดี พลางให้ความช่วยเหลือและความคุ้มครอง เป็นต้น เกี่ยวกับปัญหาภายในต่างๆของพระศาสนจักรสากลเป็นพระองค์ท่ไี ด้ส่ง “คณะธรรมทูต” ไปประเทศอังกฤษและได้จัดวางระเบียบใหม่เกี่ยวกับพิธีกรรม โรมันได้พยายามรวบรวมหนังสือพิธีกรรมเก่าๆและได้จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ได้จัดการ แต่งบทเพลงทางพิธีกรรมขึ้นใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นที่เราเรียกว่า“บทเพลงเกรโก เรียน”...พระองค์ได้มีอิทธิพลอย่างมากทีเดียวต่อชีวิตภายในของคนในสมัยกลาง พระองค์ได้พูดและได้เขียนหนังสือไว้มากมายเกี่ยวกับธรรมล�้ำลึกแห่งพระวาจาของ พระเจ้า...พระศาสนจักรระลึกถึงพระองค์ท่านในวันที่ 3 กันยายน

6

หฤทัยสัมพันธ์


ก็จะเป็นเสมือนรอยแผลของการถูกเฆี่ยนตี และด้วยประการฉะนี้ ที่กษัตริย์ซาโลมอน ด้วยการผนวกเอาการท�ำโทษทัง้ สองชนิดนี้เข้าไว้ด้วยกัน พลางกล่าวว่า “การเฆี่ยน ตีที่ให้เป็นบาดแผล ก็ช�ำระความชั่วเสีย ส่วนการโบยตีกระท�ำให้ส่วนลึกที่สุด สะอาดสะอ้าน” (สภษ 20: 30)การถูกท�ำโทษทางภายนอกจะช่วยช�ำระล้าง ความผิดของเรามนุษย์ ส่วนการรู้จักส�ำนึกผิดจะซึมลึกเข้าไปในจิตวิญญาณที่ รู้ส�ำนึกแห่งการใช้โทษบาปแต่ทงั้ สองอย่างก็ไม่เหมือนกัน เพราะรอยแผลของการ ถูกเฆี่ยนตี ได้สร้างความเจ็บปวดให้ ส่วนความเจ็บปวดของการรู้จักส�ำนึกผิด กลับจะน�ำความปีตยิ ินดีแห่งจิตใจมาให้คนๆ นั้น มีบางสถานการณ์ทจี่ ติ วิญญาณของผูช้ อบธรรมได้รบั ผลกระทบอย่างรุนแรง จากการรูจ้ กั ส�ำนึกผิด คือเมือ่ คนๆ นัน้ ร�ำลึกถึงบาปผิดของตน เขาก็จะพิจารณาดูวา่ ตัว เองก�ำลังยืนอยูต่ รงไหน และเมือ่ คนๆ นัน้ รูส้ กึ กลัวการพิพากษาของพระเจ้า พลางท�ำการ ทบทวนดูตวั ตนของตัวเองว่าเขาควรจะต้องยืนอยูต่ รงไหนดี...เมือ่ คิดค�ำนึงถึงความชัว่ ร้าย ต่างๆ ของชีวติ ปัจจุบนั ก็จะท�ำให้คดิ อย่างปวดใจว่าตนเองก�ำลังยืนอยูต่ รงไหน แต่เมือ่ เวลาพิศเพ่งถึงความปีตยิ นิ ดีแห่งบ้าน ณ เมืองสวรรค์ซงึ่ ตัวเองยังไปไม่ถงึ ก็จะใคร่ครวญ ว่าตนเองยังไม่ได้ไปอยูท่ นี่ นั่ ...นักบุญเปาโล เมือ่ ท�ำการร�ำลึกถึงบาปของตนเอง ก็รสู้ กึ เป็น ทุกข์ใจถึงบาปนัน้ พลางกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่สมควรจะได้ชอื่ ว่าเป็นอัครสาวก เพราะ ข้ า พเจ้ า ได้ เ คยเบี ย ดเบี ย นพระ ศาสนจักรของพระเจ้า” (1คร 15: 9) และอีกครั้งหนึ่งเมื่อก�ำลังคิดถึงการ พิพากษาของพระเจ้า ท่านนักบุญ กลัวความชัว่ ร้ายทีจ่ ะมาถึงตัวท่าน จึง ได้อทุ านออกมาว่า “แต่ขา้ พเจ้าได้ เคร่งครัดต่อร่างกายเพื่อบังคับให้ ร่างกายอยู่ใต้อ�ำนาจของข้าพเจ้า เพราะเกรงว่าหลังจากทีไ่ ด้เทศน์สอนคนอืน่ แล้ว ข้าพเจ้าอาจถูกตัดสิทธิเ์ พราะผิด กติกา” (1คร 9: 27) และอีกครัง้ หนึง่ เมือ่ ท่านนักบุญก�ำลังคิดทบทวนถึงความชัว่ ร้ายแห่ง ชีวติ ปัจจุบนั พลางกล่าวว่า “เมือ่ เรามีชวี ติ อยูใ่ นร่างกาย เราก็ถกู เนรเทศห่างจากองค์ พระผูเ้ ป็นเจ้า”(2คร 5: 6) และ “แต่ขา้ พเจ้าเห็นว่า มีกฎอีกข้อหนึง่ ในร่างกายของ ข้าพเจ้าซึง่ สูร้ บกับกฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า และล่ามข้าพเจ้าไว้กบั กฎของบาปซึง่ อยูใ่ นร่างกายของข้าพเจ้า”(รม 7: 23) หฤทัยสัมพันธ์

7


เมื่อท่านนักบุญคิดถึงความปีติยินดีแห่งบ้านเกิดเมืองสวรรค์ ก็อุทานว่า “ในเวลานี้ เราเห็นพระเจ้าเพียงรางๆ เหมือนเห็นในกระจกเงา แต่เมื่อถึงเวลา นั้น เราจะเห็นพระองค์เหมือนพระองค์ทรงอยู่ต่อหน้าเรา เวลานี้ ข้าพเจ้ารู้ อย่างไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อถึงเวลา นั้น ข้าพเจ้าจะรู้แจ้งเหมือนที่ พระองค์ทรงรู้จักข้าพเจ้า” (1คร 13: 12) และเช่นเดียวกัน “เรารู้ว่า เมื่อกระโจมที่เราอาศัยอยู่ในโลก นี้ ถูกเก็บไปแล้ว เรายังมีบ้านซึ่ง พระเจ้ า ทรงสร้ า งไว้ ส� ำ หรั บ เรา บ้านที่ไม่ได้สร้างด้วยมือมนุษย์ แต่ เป็นบ้านถาวรนิรันดรอยู่ในสวรรค์” (2คร 5: 1) และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพิศเพ่งดูสิ่ง ดีต่างๆของบ้านที่ว่านี้ ท่านนักบุญพูดกับกลุ่มคริสตชนเอเฟซัสว่า“ขอพระเจ้าโปรด ให้ตาแห่งใจของท่านสว่างขึ้น เพื่อจะรู้ว่าพระองค์ทรงเรียกท่านให้มคี วามหวัง ประการใด และความรุ่งเรืองที่บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จะได้รับเป็นมรดกนั้น บริบูรณ์ เพียงใดอีกทั้งรู้ด้วยว่าพระอานุภาพยิ่งใหญ่ของพระองค์ต่อเราผู้มีความเชื่อนั้น ล�้ำเลิศเพียงใด พระอานุภาพและพละก�ำลังนี้” (อฟ 1: 18-19) ท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์โยบ เมี่อใคร่ครวญถึงความชั่วร้ายแห่งชีวิตปัจจุบันนี้ ได้บอกว่า “ชีวิตบนแผ่นดินเป็นการถูกเกณฑ์ทหาร”(โยบ 7: 1) เช่นเดียวกับที่ กษัตริย์ดาวิดเมื่อคิดถึงบ้านเกิดนิรันดรและความชั่วร้ายต่างๆที่ได้เกิดขึ้น รวมทั้ง ความปีติยนิ ดีที่ยังอยู่ห่างไกล ได้กล่าวไว้ว่า “วิบัติแก่ข้าพเจ้าที่มีชีวิตอยู่นานเกิน ไปแล้ว”(สดด 119: 5) และ “ข้าพระองค์ตกใจกล่าวว่าข้าพระองค์ถูกตัดขาดไป พ้นจากสายพระเนตรของพระองค์แล้ว”(สดด 31: 22) ส�ำหรับบางคน การลิ้มรสแห่งการพิศเพ่งเปรียบเสมือนการสัมผัสที่ค่อน ข้างรวดเร็วที่มีต่อจิตวิญญาณอันก่อให้เกิดความสุขใจอย่างบอกไม่ถูกที่ไม่เคยมี ประสบการณ์มาก่อนและเป็นสิ่งใหม่ส�ำหรับจิตวิญญาณด้วย ประสบการณ์ท่วี ่านี้ยิ่ง เกิดขึ้นนานเท่าใด ก็ยิ่งจะท�ำให้จติ วิญญาณอยากจะมีไว้ครอบครองตลอดไปเพราะ ติดใจอยู่กับมัน นี่ก็จะเป็นสาเหตุท่ที �ำให้จิตวิญญาณของตนอ่อนแอลงเพราะไม่ สามารถที่จะปักสายตาไปยังพระผู้ที่เขาได้ครอบครองไว้ก่อนหน้านี้และท�ำให้พลังขับ เคลื่อนภายในอ่อนแอถดถอยลงไปด้วย 8

หฤทัยสัมพันธ์


เมือ่ จิตวิญญาณได้รบั การสัมผัสเช่นทีว่ า่ นี้ ก็จะเกิดการดิน้ รนแสวงหาครัง้ ใหม่ทหี่ นักหนาสาหัสกว่าเดิมและก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่กย็ งั ผสมผสานด้วยความ ปีตยิ นิ ดี เพราะหูของเราได้ยอมเปิดเพือ่ รับฟังพระวาจาของพระเจ้า การเห็นแจ้งภายใน ก็ได้เกิดขึน้ ผ่านทางพระหรรษทานของพระองค์ เมือ่ เรามองลึกเข้าไปในตัวตนของเรา เราก็จะแลเห็นว่าเราได้ถกู สร้างขึน้ มาอย่างน่าประหลาดมหัศจรรรย์ แต่ทเี่ ราได้ถกู ผจญ ล่อลวงจากการยินยอมของเราเองต่อการชักชวนของจิตชัว่ ร้าย จึงท�ำให้เราได้ตระหนัก ว่าการทีเ่ ราได้ถกู สร้างขึน้ มา ก็เป็นเรือ่ งหนึง่ แต่สงิ่ ทีเ่ ราได้ทำ� กับตัวเราเอง ก็เป็นอีก เรือ่ งหนึง่ ไม่เหมือนกันในการสร้างเรามนุษย์ขนึ้ มาของพระเจ้า มนุษย์เราแต่แรก ก็ยงั ไม่มตี ำ� หนิขอ้ บกพร่องแต่อย่างใด แต่เพราะด้วยบาปทีไ่ ด้เข้ามาในโลกมนุษย์ จึงท�ำให้เราแปดเปือ้ นด้วยสิง่ ไม่ดตี า่ งๆ ดังนัน้ เมือ่ เราโดนการรูจ้ กั ส�ำนึกผิดตอกย�ำ้ เข้าไป เราก็อยากจะหนีให้พน้ จากสิง่ ทีเ่ ราได้กระท�ำให้กบั ตัวเราเอง กลับ ไปสู ่ ส ภาพที่ เ ราได้ เ คยเป็ น เมื่ อ ถู ก สร้างขึ้นมาดังที่เอลีฮูได้ต่อว่าโยบว่า “เพือ่ ว่าพระเจ้าจะได้หนั ให้มนุษย์ กลับจากกิจการของเขา และ ตั ด ความเย่ อ หยิ่ ง ออกเสี ย จาก มนุษย์” (โยบ 33: 17) ด้วยการรู้จักส�ำนึกผิด ท�ำให้เราได้หันออกจากความบาปที่เราได้เคย ท�ำไว้และได้ช่วยขจัดความเยิ่อหยิ่งออกไปเสียจากตัวเราด้วย...มนุษย์ได้ท�ำอะไร ให้กับตัวเองบ้าง ถ้ามิใช่บาป?...ได้มีเขียนไว้ว่า “ความเยิ่อหยิ่งเป็นจุดเริ่มของบาป ทั้งหลาย”(บสร 10: 13)เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งถูกต้องอย่างยิ่งที่จะบอกว่าเมื่อเรา มนุษย์ได้หันออกจากสิ่งที่ตัวเองได้เคยกระท�ำไว้ ก็เท่ากับว่าเขาก็ได้ช่วยตัวเองให้ออก จากความเย่อหยิ่งด้วย การละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้าด้วยการท�ำบาป ก็คือ การหยิบยกเอาความเย่อหยิ่งของตนขึ้นมาต่อสู้กับพระเจ้านั่นเองเพราะว่าเมื่อ คนเราขัดขืนที่จะไม่นบนอบต่อพระเจ้า ก็เท่ากับไม่สนใจในฤทธิ์อ�ำนาจของพระองค์ ตรงกันข้าม คนที่อยากหันออกจากสิ่งเขาได้เคยท�ำ ก็จะยอมรับว่าสิ่งที่พระเจ้าได้ทรง กระท�ำอันจะช่วยเขาให้กลับไปสู่สภาพที่พระเจ้าได้ทรงสร้างเขามา พลางเลือกสิ่งที่ พระเจ้าทรงต้องการให้เขาเป็น และเพราะการเห็นแจ้งดังนี้ เราก็จะได้รับเกียรติมงคล และรอดพ้นจากการโดนลงโทษตลอดชั่วนิรันดร หฤทัยสัมพันธ์

9


ในชีวิตปัจจุบัน ทุกสันติสุขที่เราจัดเตรียมไว้ส�ำหรับตัวเราเอง ก็มัก จะต้องถูกทดลองไม่ว่าจะเป็นสถานที่สันโดษสักเพียงใด ก็หนีไม่พ้นจากการถูก ทดลอง...ในพระคัมภีร์ เตียงนอนหรือโซฟาซึ่งใช้เป็นที่รองรับความสะดวกสบาย ของร่างกาย หรือเพื่อดึงเอาพละก�ำลังกลับมาจากการที่ต้องตรากตร�ำท�ำงาน มาเหน็ดเหนื่อย มีความหมายเช่นใดในพระวรสาร เมื่อพระเยซูเจ้าได้ทรงกล่าว กับชายคนหนึ่งซึ่งพระองค์ได้ทรงรักษาให้หายว่า “เราสั่งท่าน จงลุกขึ้น แบกแคร่ กลับบ้านไปเถิด” (ลก 2: 11) แคร่ในที่นี้ย่อมหมายถึงสิ่งที่ให้ความสะดวกสบายแก่ ร่างกายมิใช่หรือ? ชายคนนัน้ ได้รับค�ำสั่งให้แบกไป เพราะเขามีสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว ก่อนหน้านี้เขาต้องนอนอยู่บนแคร่เพราะไม่สบาย เนื่องจากว่าทุกคนที่ยังหลงปลื้ม อยู่ในบาป ก็จะเป็นคนป่วยที่นอนอยู่บนความสะดวกสบายของเนื้อหนังแต่ หลังจากที่ได้รับการรักษาให้หาย แล้ว เขาก็จะแบกมันไปซึ่งก่อน หน้ า นี้เ ขายั ง จะต้ อ งนอนบนแคร่ นี้ เพราะว่าหลังจากที่ได้รับการ ยกบาปแล้ ว ด้ ว ยพระเมตตาของ พระเจ้า จากนี้เป็นต้นไป เขาจะ ต้องยืนหยัดให้ได้กับการโจมตีของ เนื้อหนังที่พยายามจะปลุกกระตุ้น ให้ความอยากที่เลวร้ายเดิมๆ ประ ทุขึ้นมาอีกเพื่อตัวเองจะได้พบกับ ความสงบสันติอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพูดถึงเรื่องเตียงนอนอันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเติมพลังให้กับการงานดีๆ ที่ท�ำ ท่านอัครสาวกเปโตรได้กล่าวในหนังสือกิจการของอัครสาวกว่า “ไอเนอัสเอ๋ย พระเยซูคริสตเจ้าทรงรักษาท่านให้หาย จงลุกขึ้นและเก็บที่นอนเถิด”(กจ 9: 34) พระวาจาที่ว่า “จงลุกขึ้น”ให้ความหมายอะไร ถ้าหากไม่ใช่ “ให้ละทิ้งความชั่วร้าย ที่ท่านได้กระท�ำ มิใช่หรือ?”และพระวาจาที่ว่า “จงเก็บที่นอนเถิด”ถ้าหากไม่ใช่ “จงท�ำงานหนัก งานแห่งพระพรซึ่งจะท�ำให้ท่านได้พักผ่อน มิใช่หรือ?”เพื่อว่า เมื่อสามารถลุกขึ้นได้แล้ว เขาก็สามารถละทิ้งสิ่งต่างๆ(ที่ไม่ดี)ซึ่งครั้งหนึ่งเขาได้เคยท�ำ ไว้ และจากการเก็บที่นอนขึ้น เขาก็จะเรียนรู้สิ่งที่เขาควรจะได้ท�ำในภายภาคหน้า จากทั้งสองสิ่งที่ผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระธรรมเก่าได้สรุปเอาไว้ “จงพรากเสีย 10

หฤทัยสัมพันธ์


จากความชั่ว และกระท�ำความดี”(สดด 37: 27) ส�ำหรับเรามนุษย์ “การละทิ้ง จากความชั่วร้าย ก็คือการลุกขึ้นจากสิ่งที่ตัวเองก�ำลังทอดกายอยู่” ส่วน “การ ท�ำดี”คือการท�ำงานต่างๆซึ่งจะได้รับการพักผ่อนเป็นรางวัลส�ำหรับคนที่แม้นได้ ละทิ้งจากความชั่วร้าย แต่ยังมิได้กระท�ำดี เหมือนกับคนที่ได้ลุกขึ้นจากเตียงนอนก็ จริงอยู่ แต่ยังไม่ได้เก็บที่นอนซึ่งเป็นที่พักผ่อนส�ำหรับตนเอง เตียงนอนหรืออุปกรณ์ใช้พักผ่อนยังหมายถึงการพักผ่อนบนโลกนี้ดังที่มี เขียนไว้ว่า “มีสิ่งร้ายเข้าไปอยู่ในตัวเขาแล้ว เขาจะไม่ลุกไปจากที่ที่เขานอนนั้น อีก”(สดด 41: 8) เพราะเมื่อคนเรารู้สกึ เหนื่อยหน่ายกับความสลวนต่างๆของโลกนี้ พระหรรษทานของพระเจ้าก็จะเร่งรัดเราให้ท�ำการละทิ้งสิ่งของและวิถีทางของโลกนี้ พระองค์จะทรงดลใจให้เขามีวิธีการที่จะหนีเอาตัวรอดจากความอยากต่างๆของชีวิต ปัจจุบันนี้เพื่อจะได้มโี อกาสพักผ่อนจากงาน จากนัน้ เขาก็จะแสวงหาหนทางแห่งชีวิตที่ จะท�ำให้เขาได้พบกับสันติภาพตามที่ปรารถนาและจะได้พบสถานที่หรือที่พักผ่อนจาก งานล�ำบากทั้งสิ้น แต่ว่าตราบเท่าที่เรามนุษย์ยังใช้ชวี ิตอยู่บนโลกใบนี้ ท�ำอย่างไร ก็ยังคงจะหนีไม่พ้นจากการถูกผจญล่อลวง และบางทีอาจจะพบกับการผจญ ล่อลวงที่ใหญ่กว่านั้นอีก การที่ เ ราต้ อ งตรากตร� ำ ล�ำบากในชีวิตนี้ตามพระประสงค์ของ พระเจ้า ก็เพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องติด อกติ ด ใจกั บ ข้ า วของของโลกนี้ ม าก ไปกว่าการที่จะต้องไปให้ถึงจุดหมาย ปลายทางแห่งการเดินทางชีวิตมุ่งสู่ นิรันดรภาพ...เพราะชีวิตปัจจุบันของ เรามนุษย์เป็นเพียงแต่การเดินทางมุ่ง หน้าสู่บ้านเกิดแห่งเมืองสวรรค์ของ เรา และการที่เราโดนผจญล่อลวง จากสิ่ ง เย้ า ยวนต่ า งๆแห่ ง โลกนี้ อ ยู ่ บ่อยๆ ก็จะท�ำให้เราไม่รักโลกมาก ไปกว่าบ้านเกิดเมืองสวรรค์ของเรา เพราะมีนักเดินทางบางคน ขณะที่ก�ำลัง เดินทางอยู่ เมื่อแลเห็นทุ่งนาเหลืองอร่าม หฤทัยสัมพันธ์

11


ทุ่งหญ้าหลากหลายสีสัน ก็จะหลงปลื้มกับความสวยสดงดงามของมัน อันจะท�ำให้เขา ลดความเร่งรีบในการเดินทางลงและอาจท�ำให้หันออกนอกเส้นทางที่เขาได้เริ่มออก เดินทาง เพราะฉะนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างหนทางแห่งโลกใบนี้ ให้รู้สึกยาก ล�ำบากส�ำหรับผู้ที่ได้รับเลือกสรรของพระองค์ในระหว่างการเดินทางมุ่งหน้าไป หาพระองค์ เพื่อว่าจะไม่มีผู้เลือกสรรคนใดที่จะเลือกการพักผ่อนระหว่างการ เดินทางชีวิตบนโลกใบนี้ พลางเสพติดกับความสวยสดงดงามระหว่างทาง แต่ จะรีบเร่งฝีเท้าไปหาพระองค์ให้เร็วขึ้น มากกว่าที่จะไปติดอกติดใจกับอะไรบาง อย่างระหว่างทาง และเพราะว่าบางครัง้ ในชีวิตของเรานี้ สันติสุขทั้งหลายที่เราได้จัดเตรียมไว้ ส�ำหรับตัวเอง อาจจะโดนรบกวนจากอะไรต่างๆของโลกนี้ แต่เราต้องไม่ย่อท้อ กลับ จะต้องเดินหน้าไปเรื่อยๆในหนทางแห่งคุณธรรม และเมื่อรู้สกึ ว่าได้ก้าวหน้าในหนทาง แห่งคุณธรรมแล้ว ก็จะท�ำให้เรามีความสุขใจ ด้วยการถูกผจญล่อลวง ก็จะท�ำให้เราได้เรียนรู้ว่าเราสามารถท�ำ อะไรได้บ้างด้วยพละก�ำลังของตนเองและพระหรรษทานของพระเจ้าท�ำอะไรให้ กับเราเมื่อเราถูกผจญเมื่อเราก�ำลังก้าวหน้าในหนทางแห่งคุณธรรม เราจะต้องไม่ ลืมความอ่อนแอของตัวเราเอง...ความก้าวหน้าจะต้องท�ำให้เราคิดถึงพระหรรษ ทานของพระเจ้า ส่วนในความอ่อนแอเราก็จะคิดถึงการถูกผจญล่อลวงอันจะ ท�ำให้เราหลงผิดได้ ถ้าหากเราคริสตชนและนักบวชต้องการจะพิศเพ่งดูสงิ่ ดีๆภายในจิตใจ เรา ก็ตอ้ งหยุดพักจากสิง่ ต่างๆภายนอก เพราะเมือ่ หลุดออกจากความวุน่ วายต่างๆของ โลกใบนี้ เราก็จะได้ยนิ เสียงของพระเจ้า แล้วนัน้ จิตวิญญาณของเราจะพักพิงอยู่ ในสันติและพระเจ้าก็จะเข้ามายึดพืน้ ทีใ่ นส่วนลึกของจิตวิญญาณของเรา

12

หฤทัยสัมพันธ์


คณะพระหฤทัยฯร่วมยินดีกับผู้ฉลองในคณะนักบวชต่างๆ

yy ฉลอง ฉลอง 25 ปีและ 50 ปี ซิสเตอร์คณะรักกางเขนแห่งท่าแร่ พฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2014

วัน

yy ฉลอง 50 ปีและ 25 ปีพระสงฆ์ คณะพระมหาไถ่ วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 yy ร่วมฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตนักบวชของแมร์ไอรีน ช�ำนาญธรรม เจ้าคณะเซนต์ ปอล เดอ ชาร์ตร แขวงประเทศไทย และผู้ฉลอง 25, 50 และ 60 ปี วัน จันทร์ที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 (ภาพจากคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร)

หฤทัยสัมพันธ์

13


yy ร่วมฉลอง 50 ปีคุณพ่อโจเซฟ เตรบาออล ครบ 50 ปี เจ้าคณะสงฆ์มสิ ซัง ต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (MEP) ฉลองคุณพ่อโรเบิรต์ กอสเต และ คุณพ่อ บุปผา สลับเชือ้ ครบ 60 ปี แห่งชีวติ สงฆ์ และร่วมพิธบี วชพระสงฆ์ใหม่ 3 องค์ของ สังฆมณฑลอุบลราชธานี และสังฆานุกร 1 องค์ เมือ่ วันเสาร์ที่ 14 มิถนุ ายน ค.ศ. 2014

พระคาร์ดินัลมาร์ตโิ น เยี่ยมอารามพระหฤทัยฯ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 เวลา 15.00 น. พระคาร์ดนิ ลั เรนาโต ราฟาแอล มาร์ตโิ น อดีตพระสมณฑูตวาติกนั ประจ�ำประเทศไทย ได้เดินทางมาอารามพระหฤทัยฯ

14

หฤทัยสัมพันธ์


เพือ่ ตัดเสือ้ ผ้าทีห่ อ้ งอาภรณ์ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ โดยมีคณ ุ แม่เชลียง เวชยันต์ และคณะทีป่ รึกษา ให้การต้อนรับ

ร่วมฟังบรรยาย “สองบิดา พระสันตะปาปาผู้ศักดิ์สิทธิ์

วันศุกร์ท่ี 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 คณะพระหฤทัยฯ เข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ : สองบิดา พระสันตะปาปาผู้ศักดิ์สิทธิ์ โดยวิทยากร ณ โรงเรียนยอแซฟอุปภัมภ์ สามพราน ซึ่งจัดขึ้นโดยอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย

หฤทัยสัมพันธ์

15


ร่วมพิธีบวชสงฆ์ใหม่และค�ำนับพระธาตุนักบุญ วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 เวลา 10.00 น. สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธีบวชพระสงฆ์และค�ำนับพระธาตุ นักบุญยอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปา และ นักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา และงานบวชพระสงฆ์ ณ โรงเรียนยอแซฟ อุปถัมภ์ สามพราน ต้อนรับพระธาตุนักบุญที่หาดหฤทัย ชะอ�ำ คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และสมาชิก ต้อนรับพระธาตุนักบุญทั้งสองและต้อนรับ บรรดาพระสังฆราช ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ ในวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 โอกาสที่พระคาร์ดนิ ัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู น�ำคณะพระสังฆราชเข้าเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมพิ ลอดุลยเดช ที่พระต�ำหนักเปี่ยมสุข วังไกล กังวล หัวหิน เพือ่ อัญเชิญพระธาตุศกั ดิส์ ทิ ธิข์ องนักบุญพระสันตะปาปาทัง้ สองพระองค์ วอนขอพระพรจากพระเจ้าแด่พระองค์ทา่ นให้มพี ระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง

16

หฤทัยสัมพันธ์


นักเรียนใหม่...ศึกษาประวัตคิ ณะ วันพฤหัสบดีท่ี 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 นักเรียนใหม่ของโรงเรียนพระหฤทัย คอนแวนต์ มาศึกษาประวัตขิ องคณะพระหฤทัยฯ ณ ห้องประวัติศาสตร์คณะ และที่ สุสานอารามพระหฤทัยฯ

ต้อนรับคุณพ่ออนุรัตน์ ณ สงขลา วันเสาร์ท่ี 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ต้อนรับคุณพ่ออนุรัตน์ ณ สงขลา เจ้าอาวาสวัดแม่พระปฏิสนธินิรมลแห่งเหรียญอัศจรรย์ โรงหมู ซึ่งมาพัก ประจ�ำที่บ้านพักพระสงฆ์ของอารามพระหฤทัยฯ

หฤทัยสัมพันธ์

17


ฉลอง 25 ปี ที่วัดพระวิสุทธิวงส์ ล�ำไทร วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 คุณพ่อสุขมุ กิจสงวน เจ้าอาวาส ซิสเตอร์ และ สภาอภิบาลวัดพระวิสทุ ธิวงส์ ล�ำไทร จัดพิธบี ชู าขอบพระคุณและร่วมยินดีแด่ ซิสเตอร์ สุจติ รา สุขถาวร และซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ (ลูกวัด) โอกาสฉลอง 25 ปีแห่ง ชีวติ นักบวช

อ�ำลาคุณพ่อถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 คณะพระหฤทัยฯ จัดพิธอี ำ� ลา คุณพ่อถิรลักษณ์ วิจติ รวงศ์ อดีตผูช้ ว่ ยจิตตาธิการอารามพระหฤทัยฯ ณ วัดน้อยบ้านพระแม่ฯ

18

หฤทัยสัมพันธ์


สวดสายประค�ำร่วมกัน วันเสาร์ท่ี 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์และพนักงานอารามพระหฤทัยฯสวดสาย ประค�ำร่วมกันหน้าถ�ำ้ แม่พระ เนื่องในโอกาสปิดเดือนแม่พระ

ซิสเตอร์บ้านพระแม่ฯ แสวงบุญวัดกาลหว่าร์ วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บ้านพระแม่ผู้ปฏิสนธินริ มลเดินทางไป แสวงบุญที่วัดกาลหว่าร์

มิสซาแรกพระสงฆ์ใหม่ พ ร ะ ส ง ฆ ์ ใ ห ม ่ ข อ ง อั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้แก่ คุณพ่อ ยอแซฟ ดิษยพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา คุณพ่อยอแซฟ ยุทธนา วิทยานุลักษณ์ และ คุณพ่อสเตเฟน วีรยุทธ เกียรติ สกุลชัย ถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ หฤทัยสัมพันธ์

19


เมื่อวันเสาร์ท่ี 21 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ณ อารามพระหฤทัยฯ

สมโภชพระคริสตกายา พิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสวันสมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสต เจ้า วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2014 เวลา 09.00 น. ณ วัดน้อยชัน้ 3 ของอาราม พระหฤทัยฯ โดยมีคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นประธานในพิธี จากนั้น ได้มพี ิธีแห่และ เคารพศีลมหาสนิทรอบอารามและโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ โดยมีคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ และคุณพ่อถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์ ร่วมประกอบพิธี พร้อมด้วยซิสเตอร์ ผู้ฝึกหัด นักศึกษาและนักเรียน จากนัน้ มีการเฝ้าศีลมหาสนิทตามค�ำเชื้อเชิญของ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ณ ห้องประชุมของอารามพระหฤทัยฯ

20 หฤทัยสัมพันธ์


ฉลองศาสนนามคุณพ่อถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์ คณะพระหฤทัยฯ จัดฉลองศาสนนามแด่ คุณพ่อโทมัส โมร์ ถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์ ใน วันอาทิตย์ท่ี 22 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ณ ห้องอาหารของซิสเตอร์

คณะผู้บริหาร คณะครูและนักเรียน สมโภชพระหฤทัยฯ วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2014 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์จัดให้มพี ิธีบูชา ขอบพระคุณ โอกาสวันสมโภชพระหฤทัยฯ (ภาพจาก www.shc.ac.th )

เวลา 19.00 น. พนักงานร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสวันสมโภชพระหฤทัยฯ พร้อมกัน ณ ห้องประชุม อารามพระหฤทัยฯ สมโภชพระหฤทัยฯ และฉลองอารามพระหฤทัยฯ คณะพระหฤทัยฯ จัดสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า และฉลองอารามพระหฤทัยฯ ในวันศุกร์ท่ี 27 มิถุนายน ค.ศ. 2014 โดยมีพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี พระสังฆราชยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ พระสังฆราช ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต ร่วมในพิธี หฤทัยสัมพันธ์

21


พร้อมกับบรรดาพระสงฆ์ นักบวช และบรรดาสัตบุรุษ ผู้มีความศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ มาร่วมในพิธีเป็นจ�ำนวนมาก

ร่วมยินดีกับแมร์ไอรีน ช�ำนาญธรรม โอกาสฉลองศาสนนาม ซิสเตอร์กาญจนา สิงห์สา และซิสเตอร์นงนภัส สุวรรณใจ เป็นตัวแทนคณะไป ร่วมค�ำนับและแสดงความยินดีแด่ แมร์ไอรีน ช�ำนาญธรรม โอกาสฉลองศาสนนาม นักบุญไอรีน วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ณ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

22 หฤทัยสัมพันธ์


ฉลองศาสนนามคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ สมาชิกส�ำนักกลางจัดพิธีค�ำนับคุณพ่อชวลิต กิจเจริญโอกาสฉลองศาสนามนักบุญ เปโตร ในวันจันทร์ท่ี 30 มิถุนายน ค.ศ. 2014

ร่วมประชุมสหพันธ์อธิการเจ้าคณะ คุณแม่เชลียง เวชยันต์และ ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เข้าร่วมสัมมนาและประชุม สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย วันที่ 1-3 กรกฎาคม 2014 ณ ส�ำนักงานอธิการเจ้าคณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย มีนบุรี

หฤทัยสัมพันธ์ 23


พิธีต้อนรับพระธาตุนักบุญ วันศุกร์ท่ี 1 สิงหาคม ค.ศ. 2014 คณะพระหฤทัยฯจัดพิธีต้อนรับพระธาตุ นัก บุญยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา นักบุญยอห์นปอลที่ 2 พระสันตะปาปา โดยคุณพ่อ วีรศักดิ์ วนาโรจนสุวชิ จิตตาธิการ ซิสเตอร์ และตัวแทนสัตบุรุษไปรับพระธาตุท่ี โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

เวลา 09.00 น. พิธีต้อนรับพระธาตุ ณ ลานหทัยนิรมล ณ โรงเรียนพระหฤทัย คอนแวนต์

24 หฤทัยสัมพันธ์


เวลา 10.00 น. พิธีบูชาขอบพระคุณ ณ หอประชุม โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

เวลา 11.00 น. พิธตี อ้ นรับพระธาตุนกั บุญ ณ วัดน้อยบ้านพระแม่ผปู้ ฏิสนธินริ มล

หฤทัยสัมพันธ์ 25


เวลา 12.00 น. ซิสเตอร์อาวุโสพร้อมด้วยสัตบุรุษวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล แห่งเหรียญอัศจรรย์ และนักเรียนโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ร่วมพิธบี ชู า ขอบพระคุณ ณ วัดน้อยบ้านพระแม่ โดยมีคณ ุ พ่ออนุรตั น์ ณ สงขลา เป็นประธานใน พิธี หลังพิธี ซิสเตอร์ นักเรียน และสัตบุรษุ ค�ำนับพระธาตุ จากนัน้ มีพธิ ตี งั้ ศีลมหาสนิท

26 หฤทัยสัมพันธ์


เวลา 17. 45 น. พิธอี ญ ั เชิญพระธาตุประดิษฐาน ณ วัดน้อยชัน้ 3 อารามพระหฤทัยฯ

เวลา 19.00 น. พิธีบูชาขอบพระคุณ ณ วัดน้อยชั้น 3 อารามพระหฤทัยฯ

หฤทัยสัมพันธ์ 27


พิธีส่งพระธาตุนักบุญ ณ วัดน้อยอารามพระหฤทัยฯ

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 10.00 น. คณะพระหฤทัยฯ จัดพิธวี จนพิธกี รรม เพือ่ ส่งมอบพระธาตุนกั บุญแด่ตวั แทนสัตบุรษุ ของวัดราชินแี ห่งสันติสขุ (วัดซอย 101) โดยมีคณ ุ พ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สวุ ชิ เป็นประธานพิธสี ง่ มอบ ในพิธดี งั กล่าวมีบรรดาซิสเตอร์ ผูฝ้ กึ หัด นักเรียนและสัตบุรษุ มาร่วมส่งเสด็จพระธาตุโดยพร้อมเพรียงกัน

ร�ำลึกถึงคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี วันอังคารที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2014 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธบี ูชาขอบพระคุณ โอกาสครบรอบมรณกรรม 62 ปีของคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ณ วัดน้อยบ้าน

28 หฤทัยสัมพันธ์


พระแม่ฯ หลังพิธไี ด้ประกอบพิธีสดุดคี ุณแม่และร่วมภาวนา ณ หลุมศพของคุณแม่ เซราฟิน เดอ มารี ณ สุสานของอารามพระหฤทัยฯ

ประชุมคณะกรรมการเตรียมสมัชชาฯ คุณแม่เชลียง เวชยันต์เป็นตัวแทนของสหพันธ์อธิการเจ้าคณะฯเข้าร่วมประชุม Lineamenta กับคณะกรรมการเตรียมสมัชชาฯ ที่บ้านผู้หว่าน ระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ร่วมงานวันแม่แห่งชาติ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์จัดงานวันแม่แห่งชาติ โดยเชิญซิสเตอร์สุวรรณ รัตน์ ทรงศักดิ์ศรี เป็นประธานในพิธี ณ ลานหทัยนิรมล และซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา เป็นประธานในพิธี ณ หอประชุม Sacred Heart อาคารหนึ่งศตวรรษ ในวันศุกร์ท่ี 8 สิงหาคม ค.ศ. 2014

หฤทัยสัมพันธ์ 29


ถวายพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2014 คณะพระหฤทัยฯจัดพิธีถวายพรแด่สมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา

กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ วันอังคารที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2014 พิธคี �ำนับคุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี และซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา อธิการิณีส�ำนักศูนย์กลาง

พนักงานของอารามฯ ค�ำนับค�ำนับคุณแม่เชลียง เวชยันต์ จากนัน้ ลูกๆ ได้มาค�ำนับแม่ ของตนเอง

30 หฤทัยสัมพันธ์


ฉลองวัดดวงหทัยนิรมลของแม่พระ ปากลัด ซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองวัดแม่พระดวงหทัย นิรมลของแม่พระ ปากลัด วันอังคารที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 10.30 น. โดยมี อุปสังฆราช วุฒเิ ลิศ แห่ล้อม เป็นประธานในพิธี

ฉลองอาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก วันศุกร์ท่ี 15 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 17.00 น. สมาชิกเขต 1-2 และตัวแทน ส�ำนักกลางไปร่วมฉลองอาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก โอกาสวันสมโภชพระนางมารีย์ รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ

ฉลองวัดมารีสวรรค์ ดอนเมือง วันเสาร์ท่ี 16 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัยฯร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณ โอกาสฉลองวัดมารีสวรรค์ ดอนเมือง

หฤทัยสัมพันธ์

31


ฉลอง 50 ปีชวี ิตนักบวชซิสเตอร์ท่วี ัดนักบุญเทเรซา หนองจอก วันอาทิตย์ท่ี 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 คุณพ่ออภิเดช สุภาจักร์ เจ้าอาวาส ซิสเตอร์ สภาอภิบาลและสัตบุรุษ จัดพิธบี ูชาขอบพระคุณ และร่วมยินดีกับซิสเตอร์พระหฤทัยฯ โอกาสฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตนักบวช ณ วัดนักบุญเทเรซาหนองจอก

ครบรอบ 57 ปี วันสถาปนาคณะพระหฤทัยฯ วันจันทร์ท่ี 25 สิงหาคม ค.ศ. 2014 คณะพระหฤทัยฯ มีพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาส ครบรอบวันสถาปนาคณะพระหฤทัยฯ อย่างเป็นทางการ ณ วัดน้อยบ้านพระแม่ฯ

ร่วมงานชุมนุมผู้สูงอายุอัครสังฆมณฑลฯ ซิสเตอร์พระหฤทัยฯเขต 1-2 และซิสเตอร์บ้านพระแม่ฯ ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ณ วัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�้ำ โอกาสวันผู้สูงอายุของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

32 หฤทัยสัมพันธ์


วันเสาร์ท่ี 30 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 10.00 น. โดยมีพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจ บุญชู เป็นประธานในพิธี หลังพิธีรับประทานอาหารร่วมกัน

ค�ำนับพระคาร์ดินัล โอกาสฉลองศาสนนาม วันจันทร์ท่ี 29 กันยายน ค.ศ. 2014 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี พร้อมด้วย สมาชิกและผู้ฝึกหัด คณะพระหฤทัยฯ ได้เข้าค�ำนับพระคาร์ดนิ ัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เนื่องในโอกาสวันฉลองศาสนนาม “อัครเทวดามีคาแอล” ที่บ้านอับราฮัม สามพราน

หฤทัยสัมพันธ์ 33


สวดสายประค�ำเดือนแม่พระ คณะพระหฤทัยฯ จัดพิธีสวดสายประค�ำเดือนแม่พระพร้อมกันที่ห้องประชุม วันศุกร์ท่ี 1 ตุลาคม ค.ศ. 2014 เป็นวันแรกของการสวดภาวนา

ชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ ความศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ ทุกวันพฤหัสแรกก่อนวันศุกร์ต้นเดือน สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ พร้อมกับกับท�ำชั่วโมง ศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงความรักความศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ

ร่วมโครงการ “ทั่วโลกพร้อมเพรียง ไม่สิ้นเสียงสายประค�ำ” วันเสาร์ ที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. เวลา 12.15-13.00 น. ซิสเตอร์ ผู้ฝึกหัดและตัวแทน พนักงานของอารามไปร่วมสวดสายประค�ำร่วมกับสัตบุรุษเขต 1 ที่วัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์ ตามโครงการ “ทั่วโลกพร้อมเพรียง ไม่สิ้นเสียงสายประค�ำ”

34 หฤทัยสัมพันธ์


ฉลองวัดแม่พระลูกประค�ำ กาลหว่าร์ วันอาทิตย์ท่ี 5 ตุลาคม ค.ศ. 2014 สมาชิกเขต 1-2 และสมาชิกบ้านพระแม่ไปร่วม ฉลองวัดแม่พระลูกประค�ำ กาลหว่าร์

คุณพ่อ Ludger แวะเยี่ยมที่อารามพระหฤทัยฯ วันพุธ ที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2014 คุณพ่อ Ludger เดินทางไปสอนพระคัมภีร์ที่ประเทศ พม่า และได้แวะเยี่ยมคุณแม่เชลียง เวชยันต์และสมาชิกที่อารามพระหฤทัยฯ

คุณแม่เชลียง เวชยันต์ เยี่ยมศูนย์ NCC วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2014 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และสมาชิกได้ไปเยีย่ มเยียน ศูนย์ NCC ซึง่ ซิสเตอร์สงั วาลย์ วาปีทะ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูอ้ ำ� นวยการศูนย์ฯ คนปัจจุบนั

หฤทัยสัมพันธ์ 35


ฉลองวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�้ำ สมาชิกเขต 1-2 ซิสเตอร์บา้ นพระแม่ผปู้ ฏิสนธินริ มล แอสปีรนั ต์ และเยาวนารี ร่วมพิธบี ชู า ขอบพระคุณ โอกาสฉลองวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�ำ้ ในวันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยมีพระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี

ร่วมงานบวชพระสงฆ์ใหม่สังฆมณฑลนครสวรรค์ วันเสาร์ ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2014 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ เดินทางไปร่วมงานบวช พระสงฆ์ใหม่ 2 องค์ของสังฆมณฑลนครสวรรค์ ที่วัดนักบุญลูกา บางขาม ซึ่งเป็นวัน ฉลองวัด และมีการต้อนรับพระธาตุนักบุญพระสันตะปาปาทัง้ สอง

36 หฤทัยสัมพันธ์


เสกและเปิดบ้านคณะที่จังหวัดพิษณุโลก วันอาทิตย์ท่ี 26 ตุลาคม ค.ศ. 2014 เวลา 14.30 น. คณะพระหฤทัยฯจัดพิธีบูชา ขอบพระคุณเพื่อเสกและเปิดบ้านพระหฤทัยพิษณุโลกอย่างเป็นทางการ โดย พระสังฆราชยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็นประธานในพิธี ร่วมกับพระสงฆ์ สมาชิก คณะพระหฤทัยฯ และสัตบุรุษวัดเซนต์นโิ คลาส พิษณุโลกมาร่วมในพิธี

หฤทัยสัมพันธ์ 37


มิสซาปิดเดือนแม่พระ วันศุกร์ท่ี 31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 เวลา 19.00 น. คณะพระหฤทั ย ฯ จัดพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสปิดเดือนแม่พระ “ตุลาคม” ณ วัดน้อยอารามพระ หฤทัยฯ โดยมีคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจนสุวชิ เป็นประธานในพิธี

ร่วมภาวนาและร่วมพิธีปลงศพผู้ล่วงลับ • คุณครูดวงพร กาญจนคม คุณครูเกษียณโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ วันอังคาร ที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ตัวแทนซิสเตอร์พระหฤทัยฯ ร่วมเคารพ ศพคุณครูดวงพร กาญจนคม คุณครูเกษียณโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

• มารีอา เที่ยงน้อย เปี่ยมพุทธากุล สวดภาวนาอุทศิ แด่คุณแม่มารีอา เที่ยงน้อย เปี่ยมพุทธากุล มารดาของคุณ นิภา เปี่ยมพุทธากุล เพื่อนพระหฤทัยฯ วันพุธที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2014 และร่วม ในพิธีปลงศพ วันเสาร์ท่ี 21 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ณ วัดเซนต์หลุยส์ สาทร

38 หฤทัยสัมพันธ์


• เทเรซา ถุงเงิน สุขชัย ยายของ ซิสเตอร์มารีย์รักษ์ ไกรทองสุข วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ตัวแทนสมาชิกร่วมสวดศพ คุณยายเทเรซา ถุงเงิน สุขชัย คุณยายของ ซิสเตอร์มารียร์ กั ษ์ ไกรทองสุข ทีแ่ ถวหมูบ่ า้ นดอนเมือง และมีพธิ ปี ลงศพในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ณ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา

• ฟิลปิ วิชยั ผังรักษ์ น้องชาย ซิสเตอร์ ราฟาแอล ผังรักษ์ วันเสาร์ท่ี 12 กรกฏาคม ค.ศ. 2014 ตัวแทนซิสเตอร์พระหฤทัยฯ เดิน ทางไปสวดภาวนาอุทศิ แด่ ฟิลปิ วิชยั ผังรักษ์ น้องชายของ ซิสเตอร์ ราฟาแอล ผังรักษ์ ณ ศาลาวัด เซนต์ร็อค ท่าไข่ • มารีอา สุพรรณ สิริพงศ์ ป้าของ ซิสเตอร์ศริ ิลักษณ์ ศรุตกิ ารช่าง วันพุธที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 10.00 น. ตัวแทนสมาชิกคณะพระ หฤทัยฯ ร่วมงานปลงศพของมารีอา สุพรรณ สิรพ ิ งศ์ ป้าของซิสเตอร์ ศิรลิ กั ษณ์ ศรุตกิ ารช่าง ณ วัดพระ วิสทุ ธิวงส์ ล�ำไทร โดยมีคณ ุ พ่อบัณฑิต ประจงกิจ เป็นประธานในพิธี

หฤทัยสัมพันธ์ 39


• เทเรซา จวง อุดมสิทธิพัฒนา มารดาซิสเตอร์วารีรัตน์ อุดมสิทธิพัฒนา สมาชิกคณะพระหฤทัยฯร่วมสวดภาวนาแด่คุณแม่เทเรซา จวง อุดมสิทธิ พัฒนา มารดาของซิสเตอร์วารีรัตน์ อุดมสิทธิพัฒนา ณ วัดนักบุญเปาโลกลับ ใจ บ้านนา ตัง้ แต่วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2014 และร่วมในพิธีปลงศพใน วันเสาร์ท่ี 16 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 14.00 น. โดยมีคุณพ่อสุชาติ อุดมสิทธิ พัฒนา (บุตรชาย) เป็นประธานในพิธี และมีพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษมาร่วม พิธีเป็นจ�ำนวนมาก

40 หฤทัยสัมพันธ์


• คุณพ่อเรอเน บริสซอง, MEP สมาชิกคณะพระหฤทัยฯร่วมสวดภาวนาแด่ คุณพ่อเรอเน บริสซอง สงฆ์คณะ มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (MEP) ถึงแก่กรรมวันอังคารที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2014 และร่วมในพิธีปลงศพในวันเสาร์ท่ี 16 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 09.00 น. ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน โดยมีพระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์เป็น ประธานในพิธี

• คุณแม่ปริสซิลลา อ่อน กัญญาพงษ์ คณะรักกางเขน แห่งอุบลราชธานี วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2014 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ ไปร่วมพิธีปลงศพของ คุณแม่ปริสซิลลา อ่อน กัญญาพงษ์ อดีต มหาธิการิณคี ณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี (ภาพจาก คณะรักกางเขนแห่ง อุบลราชธานี)

หฤทัยสัมพันธ์

41


• ซิสเตอร์แคลร์ เจียรนัยอังกูร คณะพระกุมารเยซู สมาชิกพระหฤทัยฯร่วมสวดภาวนาอุทศิ แด่ซิสเตอร์แคลร์ เจียรนัยอังกูร คณะ พระกุมารเยซู ในวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2014 และร่วมพิธีปลงศพใน วันเสาร์ท่ี 23 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ วัดราชินีแห่งสันติสุข สุขุมวิท 101

• มารีอา แม้นศรี มั่นศิลป์ ญาติซิสเตอร์อารี มั่นศิลป์ วันพฤหัสบดีท่ี 4 กันยายน ค.ศ. 2014 คุณแม่เชลียง เวชยันต์และตัวแทน สมาชิกร่วมสวดภาวนาอุทศิ แด่มารีอา แม้นศรี มั่นศิลป์ ณ ศาลาสวดศพวัดแม่ พระกุหลาบทิพย์ และมีพิธีปลงศพที่วัดนักบุญลูกา บางขาม

• โรซา อรุณี การาตี้ น้องสะใภ้ ซิสเตอร์บุญเลื่อม วันเสาร์ท่ี 6 กันยายน ค.ศ. 2014 คุณแม่เชลียง เวชยันต์และซิสเตอร์บุญเลื่อม ซิสเตอร์ทองคูณ เดินทางไปร่วมงานปลงศพ คุณโรซา อรุณี การาตี้ น้องสะใภ้ ของซิสเตอร์บุญเลื่อม สาระสุข • ยอแซฟ พิมล วิธีธรรม บิดาซิสเตอร์พรพิมล วิธีธรรม สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมสวดภาวนาอุทศิ แด่ คุณพ่อยอแซฟ พิมล วิธธี รรม บิดาของซิสเตอร์พรพิมล วิธีธรรม ณ ศาลาวัดเซนต์หลุยส์ ซึ่งถึงแก่กรรม 42 หฤทัยสัมพันธ์


วันจันทร์ท่ี 15 กันยายน ค.ศ. 2014 และร่วมในพิธีปลงศพ ในวันเสาร์ท่ี 20 กันยายน ค.ศ. 2014 เวลา 10.00 น. ณ วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน อยุธยา โดยมี คุณพ่อสุพจน์ ฤกษ์สุจริต เป็นประธานในพิธี

• ภราดาราฟาแอล ภักดี ทุมมกานน วันอังคารที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2014 ตัวแทนสมาชิกคณะพระหฤทัย ไปร่วมสวด ภาวนาอุทศิ แด่ ภราดา ราฟาแอล ภักดี ทุมมกานน คณะเซนต์คาเบียล ณ โรงเรียน อัสสัมชัญ ธนบุรี

หฤทัยสัมพันธ์ 43


• เซอร์โกลติลด์ เดอ มารี คณะเซนต์ปอลฯ วันอังคารที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ตัวแทนสมาชิกร่วมสวดภาวนาอุทศิ แด่ เซอร์โกลติลด์ เดอ มารี คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่ศาลาวัดเซนต์หลุยส์ สาทร ซึ่งเป็นคุณย่าของซิสเตอร์อรุณี สอนจันทน์ และในวันพุธที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ได้ไปร่วมพิธีปลงศพ ที่วัดเซนต์หลุยส์ สาทร เวลา 08.30 น.

44

หฤทัยสัมพันธ์


I. แผนงานอภิบาล

1.1 งานด้านค�ำสอน สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ได้ท�ำหน้าที่สอนค�ำสอนในโรงเรียนและตามวัดที่ สมาชิกได้ท�ำงานอยู่ และในอารามพระหฤทัยฯ ซิสเตอร์บ้านพระแม่ฯ ได้ท�ำการสอน ค�ำสอนเป็นรายบุคคลให้กับผู้ท่สี นใจในการมาเรียนศาสนา

1.2 งานชุมนุมผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ - วันที่ 21-22 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี คณะ พระหฤทัยฯ จัดชุมนุมผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ ณ บ้านสวนด�ำเนินสะดวก จ. ราชบุรี หัวข้อ “พระหฤทัยเปี่ยมด้วยความหวัง” น�ำโดยซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์

หฤทัยสัมพันธ์ 45


มารศรี จันทร์ชลอ และทีมงาน มีผู้เข้าร่วมประมาณ 160 คน โอกาสนี้ได้มโี อกาสแสวง บุญวันนักบุญอันตน และวัดนักบุญมาร์การีตา บางตาล ควบคู่ไปด้วย

- ซิสเตอร์สมศรี กิจพิทักษ์ ได้จัดการตัง้ กลุ่มผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ ณ วัดเซนต์ ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน โดยได้มีการเฝ้าศีลในวันพฤหัสก่อนวันศุกร์ต้นเดือนและมี การแบ่งปันพระวาจาสัปดาห์ละ 1 ครัง้ 1.3 งานเพื่อนพระหฤทัยฯ วันที่ 28 -29 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีฯ จัด ฟื้นฟูจิตใจให้กับเพื่อนพระหฤทัยฯโดยใช้รูปแบบ Bibliodrama โดยมีซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณและคุณครูประภา วีรศิลป์ เป็นวิทยากรแบ่งปัน มีซิสเตอร์และเพื่อน พระหฤทัยเข้าร่วม จ�ำนวน 18 ท่าน

46 หฤทัยสัมพันธ์


1.4 งานติดตามและอภิบาลครอบครัวคริสตชนที่เสี่ยงต่อการทิ้งความเชื่อ 1) ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ และซิสเตอร์สุพรรณี แย้มกรรณ์ ได้ติดตามผู้ที่ ทิ้งวัด/อภิบาลผู้ที่ห่างไกลวัด ในชุมชนคริสตชนลานกระบือ ชุมชนคริสตชนศรีสัชชนา ลัย ชุมชนคริสตชนแม่จัน และคริสตชนกลุ่มชาติพันธุ์ อ.เชียงคาน 2) ซิสเตอร์ประทุม สิงห์มัจฉาได้ติดตามคริสตชนในชุมชนคริสตชนสวนป่า แม่เมาะ และชุมชนคริสตชนนิคม 16 ในเมืองล�ำปาง 1.5 เสริมสร้างวิถีชุมชนวัด 1) วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 เวลา 13.30 น. พนักงานพระหฤทัยฯ เข้าร่วมร่วมพิธีแสดงเจตจ�ำนงและรื้อฟื้น การแสดงเจตจ�ำนง เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทีม งานวิถีชุมชนวัด ณ หอประชุมโรงเรียนยอแซฟ อุปถัมภ์ สามพราน 2) วันที่ 20-23 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ร่วมกับ ทีมงาน BEC อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช คุณพ่อปิยะชาติ มะ กรครรภ์ เข้าเยี่ยมกลุ่ม BEC ที่บ้านโนนค�ำ จ.อุบลราชธานี โดยมีคุณพ่อค�ำดี ทองมาก ให้การต้อนรับ ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ในโอกาสนี้มีการนัดพบกับผู้ร่วมงาน BEC ทาง 4 สังฆมณฑลภาคอีสานด้วย

หฤทัยสัมพันธ์ 47


3) วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 คุณปัญจมากรณ์ คัมภีร์จรัส พร เจ้าหน้าที่ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีฯ ร่วมกับคณะกรรมการ Thalitha Kum Thailand จัดสัมมนาเชิงปฏิบัตกิ ารเรื่องการค้ามนุษย์ ให้กับซิสเตอร์คณะรักกางเขน แห่งอุบลราชธานี คณะครู และผู้สนใจ ร่วมกับ ในหัวข้อ “ BEC และการป้องกันการ ค้ามนุษย์”

4) วันศุกร์ท่ี 6 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ให้ความรู้ BEC แก่ครูคาทอลิกโรงเรียน พระหฤทัยดอนเมือง โดยใช้คู่มือวิถีชุมชนวัด B1/ข1 ครัง้ ละ 1 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งเป็นการให้ ความรู้ติดต่อกัน 6 ครัง้ จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2014 5) วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา เข้าร่วม ประชุมกรรมการ ศึกษาเอกสารเตรียมร่างเอกสารประชุมสมัชชาประเทศไทย หมวด การเป็นประจักษ์พยาน ร่วมกับพระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์ ทีมงาน BEC อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ และฆราวาสที่ได้รับเชิญโดย ใช้การประชุมแบบ VDO conference

48 หฤทัยสัมพันธ์


6) วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2014 กรรมการฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี พร้อมเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยฯ ได้เข้าเป็นวิทยากรร่วมและช่วยงานชุมนุมทีมงานอภิบาลวัด BEC ทีบ่ า้ นผูห้ ว่าน โดยมีผเู้ ข้าร่วมอบรม 120 ท่าน โดยมีจดุ ประสงค์เพือ่ การอบรมต่อเนือ่ ง

7) วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์ บังอร มธุรสสุวรรณ เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมงาน BILA II ในฐานะ Local Team ที่ ส�ำนักมิสซังกรุงเทพฯ ร่วมกับทีมงาน BEC ระดับชาติ

8) วันอังคารที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และคุณ ปัญจมากรณ์ คัมภีร์จรัสพร ได้ไปแบ่งปันการใช้พระคัมภีร์ และแบ่งปันวิถีชุมชนวัด หัวข้อ “หนทางใหม่ในการเป็นวัด” กับผู้น�ำองค์กรฆราวาส

หฤทัยสัมพันธ์ 49


9) วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา และ ซิสเตอร์ สุชาดา ศรีสุระ น�ำพนักงานเข้าร่วมการอบรมวิถีชุมชนวัดต่อเนื่องครั้งที่ 1 ณ อาคาร จิตเพียรธรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สาทร

10) วันจันทร์ท่ี 8 กันยายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และ ซิสเตอร์ บังอร มธุรสสุวรรณ เข้าร่วมประชุมสรุปการจัดเตรียมงาน BILA II ร่วมกับทีมงาน BEC ระดับชาติ ณ อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 11) วันที่ 25 – 30 กันยายน ค.ศ. 2014 คุณแม่พรรณี ภู่เรือนหงษ์ ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และ ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เข้าร่วมประชุม BILA II on SCCs (Bishops Institute on Lay Apostolate II on Small Christian Communities) ใน หัวข้อ “SCCs Leading to New Evangelization” ซึ่งจัดโดย FABC office of Laity & Family, AsIPA (BEC) desk ที่ศูนย์อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง ร่วมกับพระคาร์ดนิ ัล พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง และฆราวาส รวมทัง้ สิ้น 107 คน จาก 11 ประเทศในเอเชีย

50 หฤทัยสัมพันธ์


12) วันที่ 27 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์ มารศรี จันทร์ชลอ คุณวันวิสา อย่างวิชัยกุล และคุณปัญจมากรณ์ ค�ำภีร์จรัสพร เจ้าหน้าที่หน่วยงานอภิบาลและประกาศข่าวดีฯ ได้จัดสัมมนาฝึกผู้น�ำชุมชนและครู ค�ำสอน ในเรื่องวิถีชุมชนวัด (BEC) ในเขตปกครองที่ 3 จังหวัดตาก สังฆมณฑล นครสวรรค์ โดยมีครูคำ� สอนและเยาวชนเข้าร่วมอบรมจ�ำนวน 60 คน ซึง่ ในการสัมมนา ครัง้ นีค้ ณ ุ พ่อประจวบโชค ตรีโสภา พระสงฆ์หวั หน้าเขต 3 คุณพ่อนิโคลาส เลอเฟบิวร์ (MEP) และคุณพ่อพงษ์ศกั ดิ์ เสงีย่ มแก้ว ให้การต้อนรับและอยูร่ ว่ มสัมมนา ในครัง้ นีด้ ว้ ย

1.6 งานอภิบาลอื่นๆ 1) อภิบาลพนักงานที่อาราม/โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ - ส่งพนักงานของโรงเรียนและพนักงานของอาราม เข้าร่วมงานชุมนุมทีม งานอภิบาลวัด BEC ที่บ้านผู้หว่าน วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2014 และเพื่อเป็นการ

หฤทัยสัมพันธ์

51


ส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมอบรมอย่างต่อเนื่อง อีก 4 ครั้ง โดยก�ำหนดให้มกี ารอบรม เดือนละครัง้ ที่อาคารจิตเพียรธรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ปัจจุบันกลุ่มวิถีชุมชนวัด วัดน้อยอารามพระหฤทัย มีด้วยกัน 2 กลุ่ม - วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014 จัดสัมมนาเรื่อง “ชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นนักบุญ” ให้กับพนักงานของ อารามพระหฤทัย เพื่อให้เกิดจิตตารมณ์ การท�ำงานด้วยความรักและความเสียสละ โดยมีคณ ุ ปัญจมากรณ์ ค�ำภีรจ์ รัสพร เป็น วิทยากรร่วม - วันที่ 16 – 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ จัด อบรมผู้อ่านพระคัมภีร์ให้กับพนักงาน ครู และผู้ฝึกหัด จ�ำนวน 30 คน ณ ห้องประชุม อารามพระหฤทัย โดยมีทีมงานจากศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คือคุณสมบัติ งามวงศ์ คุณทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ คุณอมรรัตน์ พันธ์พานิช มาให้การ อบรม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านพระคัมภีร์ได้เข้าใจบทบาทและความส�ำคัญของการเป็นผู้ ประกาศพระวาจาในพิธีกรรม ในการอบรมครัง้ นี้ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีได้ส่ง คุณวันวิสา อย่างวิชัยกุล เข้าร่วมอบรมด้วย

52 หฤทัยสัมพันธ์


- วันอาทิตย์ท่ี 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 พนักงานกลุ่มชาติพันธุ์ จ�ำนวน 7 คนไปร่วมงาน “วันชุมนุมกลุ่มชาติพันธุ์” ที่วทิ ยาลัยแสงธรรม - วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เวลา 09.00 น. ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ จัดพิธีแต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ จ�ำนวน 9 คน ที่ผ่านการอบรมฯ ณ วัด น้อยอารามพระหฤทัยฯ โดยคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ เป็นประธานในพิธี

- วันพุธที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์สุภาสินี กิจทวี ซิสเตอร์ร�ำเพียร วิจิตรวงษ์ และซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ได้ร่วมพิธีสวดศพให้กับเปโตร ประเสริฐ บุญคง สัตบุรุษวัดพระกุมารเยซู บ้านแป้ง จ.สิงห์บุรี

หฤทัยสัมพันธ์ 53


2) อภิบาลชีวิตจิตฆราวาส ครู นักเรียน - วันที่ 24-27 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ ไปร่วม อบรมครูคำ� สอนอาสาสมัครกับคุณครูทศั นีย์ มธุรสสุวรรณ ทีศ่ นู ย์อภิบาลของสังฆมณฑล เชียงตุง พร้อมอยูร่ ว่ มงานฉลอง 25 ปีชวี ติ สงฆ์ของคุณพ่อ Stephen Ano

- วันพุธที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ ร่วมกับ ทีมงานศูนย์ค�ำสอนกรุงเทพฯ อบรม Bibliodrama ให้กับคุณครูค�ำสอนของเขต 5 ใน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ณ โรงเรียนวัดนักบุญเปโตร สามพราน

54 หฤทัยสัมพันธ์


- วันที่ 14 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ได้ให้การ อบรมนวกเณรี เกี่ยวกับชีวิตจิตและรูปแบบการภาวนาแบบต่างๆ ที่ศูนย์นักบวชหญิง สามพราน

- วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ได้สอนการ ท�ำสมาธิเบื้องต้นในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้น�ำครูที่จะน�ำสมาธิในตอนเช้าให้กับนักเรียน ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา

หฤทัยสัมพันธ์ 55


- วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เป็น วิทยากรอบรมครูท่โี รงเรียนแม่พระฟาติมา ดินแดง เวลา 16.30-15.30 น. หัวข้อ “พบพระและลักษณะการสอนของพระเยซูเจ้า”

- วันจันทร์ท่ี 13 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง ได้เป็นวิทยากร แบ่งปันประสบการณ์การแพร่ธรรมท่ามกลาง เด็กๆ ให้กับคุณครูมาลาสวรรค์ ณ วัดเหรียญ อัศจรรย์ ฉะเชิงเทรา - วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง ได้เป็นวิทยากรแบ่งปันประสบการณ์การท�ำงานท่าม กลางเด็กๆ ให้กับบุคลากรของโรงเรียนเซนต์ราฟาแอล ปากน�้ำ

56 หฤทัยสัมพันธ์


II. แผนงานธรรมทูต

2.1 งานสอนค�ำสอน 1) ซิสเตอร์สอนพระคัมภีร์ควบคู่ไปกับการแบ่งปันพระวาจา พนักงานของอารามพระหฤทัยฯ

ให้กับ

2) ซิสเตอร์สมศรี กิจพิทักษ์สอนค�ำสอนให้กับสตรีในเรือนจ�ำ 3) ส่งเสริมพนักงานและสัตบุรุษเข้าร่วมโครงการอ่านพระคัมภีร์ “หนังสือ บุตรสิรา” ร่วมกับหน่วยงานองค์กรฆราวาสของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ 2.2 งานยุวธรรมทูต 1) ส่งเสริมยุวธรรมทูตในโรงเรียนในเครือของคณะ และโรงเรียนที่ สมาชิกท�ำงาน 2) วันพุธที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์ กัลยา ตรีโสภา และคุณ วันวิสา บุญสุข เข้าร่วมประชุมกับฝ่ายงานธรรมทูตที่อาคารแพร่ธรรม เพื่อสรุปงานธรรมทูตในปีท่ผี ่านมา และวางแผนงานส�ำหรับปีน้ี

หฤทัยสัมพันธ์ 57


2.3 งานประกาศข่าวดีเคลื่อนที่ 1) วันที่ 20 – 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ซิสเตอร์ สุภาสินี กิจทวี ซิสเตอร์กัญญาพัชร เทพสมพร ซิสเตอร์หนึ่งฤทัย อิน มียืน และคุณปัญจมากรณ์ คัมภีร์จรัสพร เจ้าหน้าที่หน่วยงานอภิบาล และประกาศข่าวดีฯ ได้จัดค่าย “พระวาจาน�ำชีวิต” ที่ศูนย์คาทอลิก เวียงแก่น จ.เชียงราย โดยมีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมจ�ำนวน 70 คน วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆ และเยาวชนได้เรียนรู้พระ วาจา และสามารถน�ำไปใช้ได้ในชีวิตประจ�ำวัน และเมื่อเกิดปัญหาเด็กๆ สามารถระลึกถึงค�ำพูดในพระวรสารได้ ส่วนซิสเตอร์อาเมลี ธิราศักดิ์ และซิสเตอร์สุพรรณี แย้มกรรณ์ ออกเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุและน�ำสวด สายประค�ำเนื่องในโอกาสเดือนแม่พระ

58 หฤทัยสัมพันธ์


III. แผนงานศาสนสัมพันธ์และคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ 3.1 แบ่งปันประสบการณ์การท�ำงานกับเด็ก เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง แบ่งปัน ประสบการณ์การท�ำงานกับเด็กให้กับแม่ชไี ทยที่บ้านธรรมานุรักษ์

3.2 ประชุมขับเคลื่อนโครงการซื่อตรงโปร่งใสกับเครือข่ายศาสนา วันพุธที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง ร่วมประ ชุบขับเคลื่อนโครงการซื่อตรงโปร่งใสกับเครือข่ายศาสนา ที่ศูนย์คุณธรรม

หฤทัยสัมพันธ์ 59


3.3 จัดค่ายแกนน�ำเด็กและครูคาทอลิก เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง ได้ร่วมจัดค่าย แกนน�ำเด็กและครูคาทอลิก เพื่อส่งเสริมความซื่อตรงตามคุณค่าศาสนาคริสต์ ณ บ้านสวนยอแซฟ สามพราน

3.4 ร่วมเป็นกรรมการ “ซุปเปอร์จวิ๋ เจาะโลกพระคัมภีร”์ ประจ�ำปี 2014 ภาคกลาง วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ ไปร่วม เป็นกรรมการแข่งขัน ซุปเปอร์จ๋วิ เจาะโลกพระคัมภีร์ ประจ�ำปี 2014 ภาคกลาง ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม โดยใช้ “พระธรรม 1 ซามูแอล” ในการแข่งขัน ซึ่งจัด ขึ้นโดยสมาคมพระคริสตธรรมไทย (ภาพจาก Facebook ของสมาคมฯ)

60 หฤทัยสัมพันธ์


3.5 ร่วมวจนพิธีกรรมในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันศุกร์ท่ี 8 สิงหาคม ค.ศ. 2014 คุณวันวิสา อย่างวิชัยกุล เจ้าหน้าที่หน่วย งานอภิบาลและประกาศข่าวดีคณะพระหฤทัยฯ เป็นตัวแทนไปร่วมวจนพิธีกรรม ศาสนาคริสต์ อธิษฐานถวายแด่พระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา 12 สิงหาคม 2014 โดยสภาประมุขบาทหลวง โรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่โรงละครแห่งชาติ

3.6 อบรมผู้น�ำเสวนาเพื่องานศาสนสัมพันธ์ รุ่นที่ 8 วันที่ 16 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 คุณปัญจมากรณ์ ค�ำภีร์จรัสพร ได้เข้า ร่วมอบรมผู้น�ำเสวนาเพื่องานศาสนสัมพันธ์ รุ่นที่ 8 ฝ่ายงานธรรมทูต แผนกศาสน สัมพันธ์และคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ที่บ้านผู้หว่าน สามพราน

หฤทัยสัมพันธ์

61


3.7 ร่วมประเมินโครงการกับกลุ่มศาสนสัมพันธ์ วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง ได้เข้าร่วม ประเมินโครงการกับกลุ่มศาสนสัมพันธ์ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

IV. แผนงานส่งเสริมร่วมมือกับงานอภิบาล/ประกาศข่าวดี ในสถานศึกษาและองค์กรประกาศข่าวดีอื่นๆ 4.1 วันพุธที่ 25 มิถนุ ายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์นชุ นารถ เอกตระกูล ได้เชิญกรรมการ และเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยงานอภิบาลและประกาศข่าวดีคณะพระหฤทัยฯ จัดนิทรรศการให้ กับนักเรียนโรงเรียนกุหลาบวัฒนา ในหัวข้อ “ความศรัทธาต่อพระหฤทัย” เพือ่ เป็นการเตรียมจิตใจส�ำหรับร่วมงานฉลองวันพระหฤทัยในวันที่ 27 มิถนุ ายน 2014

62 หฤทัยสัมพันธ์


4.2 วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และคุณปัญจมา กรณ์ ค�ำภีร์จรัสพร ได้ไปบรรยายให้ผู้น�ำสตรีอัครสังฆมณฑลกรุงเทพในหัวข้อ เรือ่ ง “การค้ามนุษย์” ในนามของ Talitha Kum Thailand มีสตรีเข้าร่วมฟัง 30 คน

4.3 วันที่ 22-23 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ และซิสเตอร์ สังวาลย์ วาปีทะเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการของคริสตศาสนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2014 ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผู้หว่าน สามพราน

4.4 วันที่ 28 – 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และคุณ ปัญจมากรณ์ ค�ำภีร์จรัสพร ได้สอนและฝึกการท�ำสมาธิในรูปแบบต่างๆ ให้ กับเด็กนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้น มัธยมศึกษาปีท่ี 6 โดยใช้การภาวนาแบบ Bibliodrama

หฤทัยสัมพันธ์ 63


4.5 วันพฤหัสบดี ที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เป็นตัวแทนคณะพระหฤทัยฯเข้าร่วมประชุมสภาภิบาลของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ณ ห้องประชุมส�ำนักพระสังฆราชฯ 4.6 วันพุธที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เข้าร่วมประชุมกับคณะกรมการ Talitha Kum Thailand ที่โรงเรียนวาสุเทวี

4.7 วันที่ 28-30 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เจ้าหน้าที่หน่วยงานอภิบาลและประกาศ ข่าวดีฯ ได้ไปช่วยงานอภิบาลที่ศูนย์ ศูนย์พัฒนาเด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ (บ้านพระหฤทัย สิงห์บุรี) ณ วัดพระนามกรเยซู สิงห์บุรี 4.8 วันศุกร์ที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ เป็นวิทยากร ให้ ก ารอบรมฟื ้ น ฟู จิ ต ใจเจ้ า หน้ า ที่ ฝ ่ า ยอภิ บ าลและธรรมทู ต ของอั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ด้วยรูปแบบ Bibliodrama ณ อารามพระหฤทัยฯ และ คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ

4.9 วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2014 กรรมการฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าว ดีคณะฯ ได้เข้าร่วมประชุม เพื่อเตรียมงาน “จัดสัมมนายุตคิ วามรุนแรงต่อเด็ก และสตรี” ร่วมกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพัฒนาสังคม แผนกสตรี และ 64 หฤทัยสัมพันธ์


คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุตธิ รรมและสันติ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2014 ที่บ้านเซเวียร์ อนุสาวรียช์ ยั สมรภูมิ ในงาน ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา รับผิด ชอบท�ำสติกเกอร์และสมุดฉีก 4.10 วันอังคารที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ร่วมกันเป็นวิทยากร “เรื่องทูตพระหฤทัย” ซึ่งเป็นเรื่องจิตตารมณ์ พระหฤทัย รัก สุภาพ อ่อนน้อมที่ยอมพลี ที่แสดงออกในธรรมทูตพระหฤทัย เป็นธรรมทูตที่แสดงออกในพันธกิจของคณะ

4.11 วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอีย่ มไธสงแบ่งปันการท�ำงาน ส่งเสริมความเป็นหนึง่ เดียวกันกับชมรมฆราวาสเขต 2 ณ หาดหฤทัย หัวหิน

หฤทัยสัมพันธ์ 65


4.12 วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เป็นวิทยากร ร่วมอบรมกลุ่มสตรีของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กับคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ หัวข้อ “บทบาทสตรีในการส่งเสริมพระวาจาแห่งชีวิต” ณ ห้องเรียนค�ำสอน อาสนวิหารอัสสัมชัญศึกษา บางรัก

4.13 วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา เป็นวิทยากรอบรม การภาวนาให้แก่กลุ่มฆราวาสศาสนสัมพันธ์ เขต 1 จ�ำนวน 20 คน ที่อาคาร แพร่ธรรม

V. งานส่งเสริมจัดหาสือ่ /อุปกรณ์ พัฒนาเว็บไซต์ สือ่ อิเล็กทรอนิกส์ 5.1 หน่วยงานอภิบาลและประกาศข่าวดีคณะพระหฤทัยฯ ได้สร้างกลุ่มไลน์ “อัคร ทูตพระหฤทัย” เพื่อเผยแพร่ความศรัทธาต่อพระหฤทัย โดยทุกวันจันทร์ทาง หน่วยงานอภิบาลและประกาศข่าวดีฯ จะส่งข้อความเกี่ยวกับพระหฤทัยให้กับ สมาชิกทางไลน์ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัย 5.2 โครงการรณรงค์ “บทสวดพระหฤทัย” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความศรัทธาต่อ พระหฤทัยฯ 66 หฤทัยสัมพันธ์


5.3 จัดหาสื่อค�ำสอนเพิ่มเติม ทั้ง VDO CD และหนังสือเสริมความรู้

VI. พัฒนาบุคลากรด้านประกาศข่าวดี 6.1 ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ซิสเตอร์อจั ฉราพรรณ อุน่ หล้า คุณปัญจมากรณ์ ค�ำภีรจ์ รัสพร เจ้าหน้าทีห่ น่วยงานอภิบาลและประกาศข่าวดี คุณทองพูล คุณนันทาและคุณนภา กลุม่ เพือ่ นพระหฤทัย เข้าร่วมสัมมนา Bibliodrama Exchange ทีศ่ นู ย์ฝกึ อบรมงานอภิบาล บ้านผูห้ ว่าน ระหว่างวันที่ 7 – 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 โดยมีคณ ุ พ่อออสก้า และคุณมาเรีย ชาวฟิลปิ ปินส์เป็น วิทยากร พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รตั น์เป็นผูแ้ ปล ซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ หฤทัยสัมพันธ์ 67


คุณครูทศั นีย์ มธุรสสุวรรณ คุณครูประภา วีรศิลป์และอาจารย์มนต์สงิ ห์ ไกรสมสุข เป็นวิทยากรร่วม

6.2 วันที่ 21 – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 คุณปัญจมากรณ์ คัมภีรจ์ รัสพร ได้รบั การอบรมในหัวข้อ “การแสวงหาน�ำ้ พระทัยพระเจ้าและกระแสเรียก” ทีศ่ นู ย์ นักบวชหญิงสามพราน โดยมีคณ ุ พ่อมิเกล กาไรซาบาล เป็นผูใ้ ห้การอบรม

68 หฤทัยสัมพันธ์


ตัง้ แต่แรกเริม่ ทีศ่ ริสตศาสนาเข้ามาในประเทศไทย จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2014 พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ยังไม่ เคยมีพระคัมภีรฉ์ บับสมบูรณ์ภาษาไทย (ซึง่ มีทงั้ ภาคพันธ สัญญาเดิมและภาคพันธสัญญาใหม่ในเล่มเดียวกัน) เป็น ของตนเอง มีแต่พระคัมภีรภ์ าคพันธสัญญาใหม่ ถ้าอยาก ใช้พระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ก็ต้องใช้พระคัมภีร์ที่พี่น้อง คริสเตียนจัดพิมพ์ ซึง่ ใช้คำ� ศัพท์หลายๆ ค�ำแตกต่างจาก ของคาทอลิก จึงท�ำให้หลายๆ ท่านอยากให้มพี ระคัมภีร์ คาทอลิกฉบับสมบูรณ์เป็นของเราเอง ประกอบกับในสมัย นั้นหนังสือพระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ของพี่น้องคริสเตียน ไม่คอ่ ยจะมีวางจ�ำหน่ายในวัดของคาทอลิก เป็นต้น วัด คาทอลิกในต่างจังหวัด จึงดูเหมือนว่าในสมัยนัน้ เรา คาทอลิก เป็นต้น ฆราวาสไม่คอ่ ยจะมีพระคัมภีรฉ์ บับสมบูรณ์ใช้ เราขาดแคลน พระ คัมภีร์ ทัง้ ๆ ทีพ่ ระคัมภีรม์ คี วามส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิง่ ต่อชีวติ คริสตชน สภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ก็ได้เตือนอย่างหนักแน่นเป็นพิเศษ ให้ผู้มี ความเชื่อทั้งหลายอ่านพระคัมภีร์บ่อยๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ “ประโยชน์ล�้ำค่า คือ การ รู้จักพระคริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า” (ฟป.3:8) “เพราะการไม่รู้จักพระคัมภีร์ คือ การไม่รู้จักพระคริสตเจ้า” (นักบุญเยโรม) ในสมั ย นั้ น ข้ า พเจ้ า เป็ น คนหนึ่ ง ในคณะกรรมการพระคั ม ภี ร ์ ร ะดั บ ชาติ ข้าพเจ้าส�ำนึกอยู่เสมอว่าเป็นบทบาท เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพระคัมภีร์ที่จะ ต้องส่งเสริมสนับสนุนคริสตชนให้มพี ระคัมภีร์ รู้จักใช้พระคัมภีร์ และอ่านพระคัมภีร์ เพื่อจะได้ช่วยเสริมสร้างชีวิตภายในของคริสตชนให้เข้มแข็งมั่นคง แต่เราก็ยังไม่ค่อย ได้ท�ำอะไรมากนัก วันหนึ่งพระเจ้าก็ได้เปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าและกลุ่มไบเบิลไดอารี่ ได้เริ่มก้าวแรกของงานพระคัมภีร์ โดยการจัดท�ำไบเบิลไดอารี่ปี 1991 เป็นเล่มแรก หฤทัยสัมพันธ์ 69


และได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง จากพระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส โดยจ�ำหน่าย ได้หมดภายในระยะเวลาไม่ถงึ 2 เดือน ความส�ำเร็จในครัง้ นั้นก่อให้เกิดความหวัง ก�ำลังใจ และความกล้า ที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ๆ อีกเพื่อพระเจ้าและพี่น้องคริสตชน จาก ประสบการณ์น้เี องท�ำให้คุณสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกลุ่มไบเบิลไดอารี่ มา พบข้าพเจ้ายื่นหนังสือ New Jerusalem Bible ให้ดู พร้อมกับกล่าวว่าคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ให้ และถามว่าเราจะแปลหนังสือพระ คัมภีร์เล่มนี้เป็นภาษาไทยได้ไหม ข้าพเจ้าก็ตอบ ว่า “ได้’’ แต่เป็นงานที่ ยาก หนัก ต้องใช้งบ ประมาณสูงและมีกระบวนการมากมาย อีกทั้ง ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพระคัมภีร์ ระดับชาติด้วย แต่ก็น่าจะท�ำโครงการนี้ เพราะ พระศาสนจั ก รไทยยั ง ไม่ เ คยมี พ ระคั ม ภี ร ์ ฉ บั บ สมบูรณ์ภาษาไทยเป็นของเราคาทอลิกเอง เพื่อ เราคาทอลิ ก จะได้ มี พ ระคั ม ภี ร ์ ข องคาทอลิ ก ใช้ คุณสมศักดิ์ ก็ตอบว่า “ใช่” เราน่าจะแปล New Jerusalem Bible ถ้าท�ำโครงการนี้ผมจะ ให้งบในการจัดพิมพ์ก้อนหนึ่ง ค�ำถามและค�ำตอบของคุณสมศักดิ์ ช่วยจุดประกายแห่งความหวัง และ พลังในจิตใจของข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าตระหนักถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็น อย่างยิ่งของพระคัมภีร์ต่อชีวิตคริสตชน เพราะการไม่มพี ระคัมภีร์ คือ การขาดท่อ ธารหล่อเลี้ยงชีวิต ดังที่มีกล่าวไว้ใน Dei Vrebum 21 ว่า “ในพระคัมภีร์ พระบิดาใน สวรรค์ทรงพบกับบรรดาบุตรของพระองค์ด้วยความรักอย่างสุดซึ้งและทรงสนทนา กับเขา ในพระวาจาของพระเจ้ามีพละก�ำลังและประสิทธิภาพมากมาย จนว่าพระ วาจานั้นค�ำ้ จุนและเป็นพลังของพระศาสนาจักร และเป็นพละก�ำลังแห่งความเชื่อ เป็น อาหารเลี้ยงวิญญาณและเป็นธารบริสุทธิ์ไม่มีวันเหือดแห้งของชีวิตฝ่ายวิญญาณ” ในขณะเดียวกันข้าพเจ้าก็มองเห็นความเป็นไปได้และทราบว่าจะต้องด�ำเนิน การอย่างไร ควรไปหาใครมาร่วมงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ข้าพเจ้าไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ เลย ข้าพเจ้าจึงตอบคุณสมศักดิ์ว่า “ดีมาก” ที่คุณคิดถึงเรื่องนี้พระศาสนจักรก�ำลัง ต้องการ แต่เราควรจะต้องสวดภาวนามากๆ ก่อน เพื่อทราบพระประสงค์ของ พระเจ้า ปรึกษาหารือกับเพื่อนๆ ผู้ใกล้ชิด เพื่อหาผู้ร่วมงานและผู้สนับสนุน ปรึกษา 70 หฤทัยสัมพันธ์


หารือกับพระสังฆราช และพระสงฆ์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และขออนุมัตจิ ัดท�ำ โครงการนี้จากพระสังฆราชผู้รับผิดชอบฝ่ายพระคัมภีร์ ซึ่งคุณสมศักดิ์ก็เห็นด้วยกับ ข้าพเจ้า

หลังจากนั้นไม่นานเราก็เริ่มด�ำเนินการตามที่ปรึกษากันไว้ โดยข้าพเจ้า กับสมาชิกกลุ่มไบเบิลไดอารี่บางคนร่วมเป็นแกนน�ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณพ่อ ไพเราะ มนิราช คุณสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล และคุณเสถียร เจนศักดิ์ศรีสกุล ได้น�ำ เรื่องนี้ไปปรึกษากับคุณปิ่นทอง ศาลยาชีวิน คุณสุรชัย กิจบ�ำรุง และอาจารย์ววิ ัฒน์ เลาหบุตร ทั้ง 3 ท่านก็เห็นดีด้วย และพร้อมที่จะร่วมมือกับเรา โดยอาจารย์ววิ ัฒน์ เลาหบุตร รับจะเป็นผู้แปลพระคัมภีร์ New Jerusalem Bible เป็นภาษาไทย และ รับจะท�ำงานแปลเป็นเวลาประมาณ 3 ปี (ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ทางพระคัมภีร์และเคย แปลหนังสือมามาก) ส่วนคุณปิ่นทอง ศาลยาชีวิน เสนอจะให้งบการจัดท�ำในส่วนที่ ยังขาด พร้อมทัง้ ให้ใช้ส�ำนักงานของท่านเองที่บางนา เป็นส�ำนักงานในการแปล ทั้ง 3 ท่านจึงได้ร่วมเป็นแกนน�ำในโครงการแปลพระคัมภีร์กับพวกเราด้วย ความช่วยเหลือ หฤทัยสัมพันธ์

71


สนับสนุนการร่วมแรงร่วมใจด้วยใจกว้างของทุกคนในกลุ่มแกนน�ำ โดยมีเป้าหมายที่ จะท�ำให้พระประสงค์ของพระเจ้าส�ำเร็จไป ให้พระศาสนจักรไทยมีพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์ใช้ ท�ำให้ทุกคนพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า พร้อมที่จะฟันฝ่าปัญหาและ อุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อ

หลังจากนั้นคุณพ่อไพเราะและข้าพเจ้าก็ออกพบปะผู้น�ำฝ่ายต่างๆ สอบถาม ความคิดเห็นของพระสังฆราชและพระสงฆ์หลายองค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ใน เรื่องนี้ เป็นต้น ผู้น�ำฝ่ายพระคัมภีร์ แทบทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าคงเป็นไปไม่ ได้ ยากมาก บางประเทศที่เขาแปลกัน เขาใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี แม้ได้ยินดังนัน้ คุณพ่อ ไพเราะและข้าพเจ้าก็ไม่ได้หมดหวัง ยังคงมีความปรารถนาแรงกล้าที่จะผลักดัน ในเรื่องนี้ต่อไป ทั้งยังได้สวดภาวนามากขึ้นขอให้พระประสงค์ของพระเจ้าส�ำเร็จ ไป พร้อมทั้งพยายามแสวงหาผู้ร่วมอุดมการณ์ ผู้ที่เห็นด้วย ผู้ที่อยากจะร่วมผลัก ดัน และผู้ที่จะให้ความร่วมมือกับพวกเราในเรื่องนี้ และเราก็ได้พบกับคุณพ่อคมทวน มุ่งสมหมาย ที่เห็นด้วยว่าถ้าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า โครงการนี้จะต้องส�ำเร็จ พระเจ้าทรงใช้คนเล็กน้อยต�่ำต้อยให้ท�ำงานของพระองค์ พร้อมทั้งยังได้เสนอแนะแนว 72 หฤทัยสัมพันธ์


ทางในการแปลพระคัมภีร์ และรับจะเป็นผู้หาอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาช่วยขัดเกลาภาษาให้สละสลวยและถูกต้อง จากนั้นเราได้ไปพบกับพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ทีละองค์ เป็นจ�ำนวน หลายองค์ เป็นต้น พระสงฆ์ท่บี ้านเณรแสงธรรม บางองค์ก็เห็นด้วยกับโครงการ ของพวกเรา บางองค์ยังสงวนท่าที อีกหลายองค์ยังไม่แน่ใจแต่ไม่ปฏิเสธ อาจจะ เป็นเพราะพวกท่านเชื่อว่า ถ้าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าไม่มสี ิ่งใดจะขัดขวางได้ ทุกอย่างเป็นไปได้ส�ำหรับผู้ท่เี ชื่อในพระองค์ และบุคคลที่เราทั้งสองเห็นว่า มีความ ส�ำคัญเป็นอันดับหนึ่งซึ่งจะขาดเสียมิได้ในโครงการของเรา คือ คุณพ่อทัศไนย คมกฤส ผู้เชี่ยวชาญด้านพระคัมภีร์ และคุณพ่อฟรังซิส ไก้ส์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน พระสัจธรรม ซึ่งเราได้เสนอโครงการของเรากับท่านทัง้ สองด้วย

จากการพบปะกับพระสังฆราชและพระสงฆ์ท่วี ทิ ยาลัยแสงธรรม และพระ สงฆ์ผู้อาวุโสหลายท่านในช่วงหลังๆ นี้ ท�ำให้ได้ข้อสรุปว่าพระสงฆ์มคี วามคิดหลาก หลายต่อโครงการของเรา ไม่สามารถสรุปได้ เราควรจะเชิญพระสังฆราชและพระ สงฆ์ผู้รับผิดชอบฝ่ายพระคัมภีร์ระดับชาติ และพระสงฆ์ทงั้ หมดที่พวกเราเคยไปเสนอ หฤทัยสัมพันธ์ 73


โครงการกับท่านมาร่วมประชุม เพื่อทุกท่านจะได้มโี อกาสฟังความคิดเห็นของกัน และกันและสรุปออกมาเป็นมติของที่ประชุม ด้วยความคิดนี้กลุ่มแกนน�ำจึงได้เชิญ บุคคลต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วมาประชุมพร้อมกันที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ ซึ่งได้เชิญ ฯพณฯ พระคาร์ดนิ ัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เข้าร่วมประชุมด้วย หลังจาก ที่ที่ประชุมฟังการเสนอโครงการของเรา เห็นความกระตือรือร้น และความพร้อม ของกลุม่ แกนน�ำทีพ่ ร้อมจะร่วมมือและรับผิดชอบโครงการแปล New Jerusalem Bible แล้วที่ประชุมต่างได้แสดงทัศนของตนเอง ในที่สุดคุณพ่อบุญเลิศ ธาราฉัตร ก็ แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมว่า เมื่อฆราวาสเขามีความพร้อม กระตือรือร้นอยาก จะท�ำโครงการนี้ ก็สมควรที่จะให้เขาท�ำ เพราะถ้าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า โครงการนี้ก็จะส�ำเร็จ เมื่อได้ยนิ ดังนั้นที่ประชุมต่างแสดงท่าทีเห็นด้วย และ ฯพณฯ พระคาร์ดินัล ไมเคิลมีชัย กิจบุญ ก็กล่าวสรุปว่า “ดีแล้วให้เขาท�ำไป” มติของที่ประชุมในวันนัน้ ซึ่งอนุมัติให้จัดท�ำโครงการแปลพระคัมภีร์ New Jerusalem Bible ได้ท�ำให้กลุ่มแกนน�ำมีความกระตือรือร้นและร่วมรับผิดชอบใน โครงการนี้อย่างเต็มที่ เป็นต้นในขั้นตอนการแปล ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก โดยมี อาจารย์ วิวัฒน์ เลาหบุตร เป็นผู้แปล ท่านเป็นอาจารย์สอนอยู่ท่มี หาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) แม้อาจารย์จะมีจิตใจกระตือรือร้นที่จะท�ำงานในโครงการนี้ แต่ท่านก็เป็น อาจารย์ซ่งึ ต้องท�ำการสอน จึงต้องขอยืมตัวอาจารย์ววิ ัฒน์ จากอธิการบดี บราเดอร์ มาติน โกมลมาศ ให้อาจารย์ววิ ัฒน์หยุดการสอนมาช่วยงานแปลพระคัมภีร์เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งบราเดอร์ก็ได้ให้ความอนุเคราะห์ และอนุญาตให้ตามค�ำขอ อาจารย์ววิ ัฒน์จึง เริ่มโครงการแปล เมื่อปี 1992 โดยเริ่มการแปลพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ก่อน เสร็จแล้วจึงแปลพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม โดยใช้ส�ำนักงานของคุณปิ่นทอง ศาลยาชีวิน มีคุณพ่อไพเราะ มนิราช เป็นผู้พิมพ์และขัดเกลาส�ำนวนภาษา ซิสเตอร์ พรรณี ภู่เรือนหงษ์ เป็นผู้ประสานงาน ส่วนแกนน�ำคนอื่นๆ สนับสนุนด้านการเงิน สถานที่ และอ�ำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อาจารย์ววิ ัฒน์ท�ำการแปลอยู่ 3 ปีก็ แล้วเสร็จ ขอเสริมในที่นี้ว่า โครงการแปลพระคัมภีร์นี้อยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการพระคัมภีร์ระดับชาติ ซึ่งครัง้ หนึ่งมีการประชุมกันและได้เปลี่ยนชื่อ “โครงการแปลพระคัมภีร์” เป็น “โครงการจัดท�ำพระคัมภีร์ภาษาไทยฉบับใหม่” และเมื่อสิ้นสุดโครงการ ได้ให้ช่อื หนังสือพระคัมภีร์ที่เพิ่งจัดท�ำเสร็จนี้ว่า “พระคัมภีร์ คาทอลิกฉบับสมบูรณ์” 74 หฤทัยสัมพันธ์


หลังจากอาจารย์ววิ ัฒน์แปลเสร็จก็เข้าสู่ขนั้ ตอนที่สองของโครงการ ซึ่งต้อง จัดท�ำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพระคัมภีร์ มีคุณพ่อทัศไนย คมกฤส เป็นผู้รับผิดชอบ ผู้เชี่ยวชาญทางเทวศาสตร์ มีคุณพ่อฟรังซิส ไก้ส์ เป็นผู้รับผิดชอบ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาไทยมีอาจารย์ 3 ท่าน จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.จารุณี กองพลพรหม รศ.วารุณี จันทรานุวัฒน์ และผศ.พรรณี มนัสไพบูลย์ ช่วย ขัดเกลาภาษาไทยให้ไพเราะสละสลวยและถูกต้อง การจัดท�ำโครงการระยะที่สองนี้ เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานมาก เพราะต้อง ท�ำการแปลใหม่อกี ครั้งโดยต้องเปรียบเทียบกันระหว่างภาษาอังกฤษ ภาษากรีก ภาษาฮีบรู และภาษาลาติน บางครัง้ ภาษาอิตาเลียนด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าการแปลแต่ ประโยค แต่ละข้อความถูกต้องจริงๆ และต้องแปลถึงสองพันสี่ร้อยกว่าหน้า ผู้ร่วมงาน ในโครงการนี้ทุกท่านต่างเห็นชัดเจนว่า คุณพ่อผู้แปลทั้งสองท่านมีความอดทน ความ พากเพียรพยายาม และมีสมาธิเป็นเลิศ และมีความสามรถมาก อีกทัง้ ต้องอาศัย ความเชื่อ ความรัก ความศรัทธาในพระเจ้า หากปราศจากคุณธรรมดังกล่าว คุณพ่อ ทั้งสองและอาจารย์ผู้ขัดเกลาภาษาคงไม่มีพลังและความพากเพียรอดทนยาวนานจน ท�ำโครงการนี้ได้ส�ำเร็จ เพราะจากวันแรกจนถึงวันสิ้นสุดโครงการ นับเป็นเวลานาน ถึง 22 ปี หฤทัยสัมพันธ์ 75


ข้าพเจ้าแม้จะเป็นผู้ประสานงาน แต่ก็ช่วยแบ่งเบาภาระของคุณพ่อได้น้อย มาก ได้แต่รับไปพิมพ์ทีละเล่มๆ เมื่อพวกท่านขัดเกลาภาษาเสร็จ และมีพระคุณเจ้า วีระ อาภรณ์รัตน์ น�ำไปช่วยจ�ำหน่าย ข้าพเจ้าได้แต่เฝ้ามองดูการท�ำงานของพวกท่าน ด้วยความชื่นชม เห็นใจ เอาใจช่วย และภาวนาขอให้พวกท่านมีสุขภาพที่ดี มีพละ ก�ำลังในการท�ำโครงการนี้ให้ส�ำเร็จตามเป้าหมาย เพราะทุกท่านที่ท�ำงานในขัน้ ตอนที่ สองนี้ ล้วนแต่เป็นผู้สูงอายุทงั้ สิ้น การจัดท�ำโครงการระยะที่สอง ช่วงต้นๆ มีคุณพ่อไพเราะ มนิราช ร่วมงาน อยู่ด้วยโดยท�ำหน้าที่เป็นทั้งเลขานุการและผู้ประสานงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและ ความรับผิดชอบ เป็นที่รักของผู้ร่วมงานทุกคน แต่ท่านได้ประสบอุบัตเิ หตุ ถูกรถชน เป็นอัมพาตไม่รู้สกึ ตัวหลายปีและถึงแก่กรรม พวกเราเสียใจในการจากไปของท่าน เราเชื่อว่าท่านคงได้ภาวนาเพื่อความส�ำเร็จของโครงการนี้ด้วย เพื่อช่วยให้พระคัมภีร์เล่มนี้ ส�ำเร็จทัน เวลา เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแด่คริสตชนชาว ไทยในโอกาสเฉลิมฉลองปีศักดิ์สทิ ธิ์ ข้าพเจ้า จึ ง ได้ ส ่ ง เลขานุ ก ารของคณะกรรมการไบเบิ ล ไดอารี่ คุณวีรวรรณ บูญสู ไปช่วยงานพิมพ์ จัด รูปเล่ม และประสานงานการพิมพ์กับสมาคมพระ คริสตธรรมไทย ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระของคณะ กรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์ได้มาก และด้ ว ยความช่ ว ยเหลื อ ของพระเจ้ า พระองค์ก็ทรงโปรดให้โครงการนี้ส�ำเร็จเป็นจริง ขณะนี้เรามีพระคัมภีร์คาทอลิกฉบับสมบูรณ์เป็น ของเราแล้ว ดังที่คุณพ่อบุญเลิศ ธาราฉัตร และ คุณพ่อคมทวน มุ่งสมหมาย (ซึ่งจากเราไปแล้ว)ได้กล่าวก่อนเริ่มโครงการว่า “ถ้าเป็น พระประสงค์ของพระเจ้าโครงการนี้ก็จะส�ำเร็จ” เราแกนน�ำผู้ริเริ่มจัดท�ำโครงการ นี้ขอขอบพระคุณคุณพ่อทัง้ สองเป็นอย่างยิ่ง ค�ำพูดของท่านเป็นก�ำลังใจและให้ความ หวังแก่พวกเรา ขอขอบพระคุณพระเป็นเจ้าที่ทรงใช้พวกเราและผู้ร่วมงานในโครงการ นี้ทุกท่าน เป็นเครื่องมือน�ำพระวาจาของพระองค์ไปสู่พ่นี ้องคริสตชนชาวไทยได้ส�ำเร็จ ตามเป้าหมาย คณะผู้จัดท�ำจึงอยากเรียนให้พี่น้องคริสตชนทราบว่า ขณะนี้เราก็มีพระ 76 หฤทัยสัมพันธ์


คัมภีร์คาทอลิกฉบับสมบรูณ์เป็นของเราแล้ว หลังจากที่เรารอคอยมานานแสนนาน และเราก็ทราบดีว่าพระคัมภีร์เป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุพระวาจาของพระเจ้า และ มีประโยชน์อย่างยิ่ง จึงขอเชิญชวนให้คริสตชนทุกครอบครัวมีพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์ไว้ประจ�ำบ้าน เพื่ออ่าน ศึกษา และภาวนา น�ำพระวาจาของพระเจ้ามา เป็นอาหารหล่อเลี้ยงวิญาณ เพื่อความเชื่อของเราจะได้เข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้น

หฤทัยสัมพันธ์ 77


ไก่ห่มใบชะพลู ส่วนผสม เนื้อไก่บด กระเทียมสับละเอียด รากผักชีสับละเอียด ตะไคร้สับละเอียด พริกขี้หนูสับละเอียด ไข่ไก่ ผงปรุงรสไก่ คนอร์ พริกไทยด�ำบดหยาบ ลูกผักชีคั่ว น�้ำปลา ใบชะพลูส�ำหรับม้วน

500 15 5 30 5 1 12 1 1 2

ส่วนผสมน�้ำจิ้ม น�้ำจิ้มไก่ แครอทซอย หัวไชเท้าซอย น�้ำอุ่น น�้ำตาลทราย น�้ำส้มสายชู 4 ซอสพริก พริกชี้ฟ้าแดงซอย

78 หฤทัยสัมพันธ์

กรัม กรัม กรัม กรัม กรัม ฟอง กรัม ช้อนชา ช้อนชา ช้อนชา

120 30 40 150 1 ช้อนโต๊ะ 20 1

กรัม กรัม กรัม มิลลิลิตร ช้อนโต๊ะ กรัม เม็ด


วิธีท�ำ

1. น�ำเนื้อไก่บดผสมกับกระเทียมสับละเอียด รากผักชีสับละเอียด ตะไคร้สับละเอียด พริกขี้หนูสับละเอียด ไข่ไก่ ปรุงรสด้วยผงปรุง รสไก่ คนอร์ น�้ำปลา พริกไทยด�ำบดหยาบ ลูกผักชีคั่วบด คลุกส่วน ผสมให้เข้ากัน 2. น�ำส่วนผสมที่เสร็จแล้วมาม้วนด้วยใบชะพลู พักไว้ ตั้งกระทะ ใส่ น�้ำมัน น�ำไก่ลงทอดจนสุก 3. ผสมน�้ำอุ่นกับน�ำ้ ส้มสายชู น�้ำตาลทราย ตัง้ ไฟ เคี่ยวพอร้อน เติม แครอทซอย หัวไชเท้าซอย พริกชี้ฟ้าแดงซอยต้มพอนิ่ม จากนั้นเติม ซอสพริก และน�ำ้ จิ้มไก่ คนให้เข้ากัน ตั้งไฟทิ้งไว้สักครู่ ปิดไฟ รอจน ซอสเย็น น�ำใส่ภาชนะ เก็บเข้าตู้เย็น 4. จัดเสิร์ฟไก่ห่มใบชะพลู กับเส้นหมี่ลวก และน�้ำจิ้ม

หฤทัยสัมพันธ์ 79


ลาบมัจฉาเคล้าขมิ้น ส่วนผสม เนื้อปลาอินทรีย์ หั่นเป็นชิ้นพอดีค�ำ กระเทียมสับละเอียด ขมิ้นสด ผงหมักสูตรส�ำเร็จ คนอร์ หอมแดงซอย ข้าวคั่ว ผักชีฝรั่งซอย ซอสมะขามเปียกเข้มข้น คนอร์ น�้ำปลา พริกขี้หนูแห้งป่น น�้ำมะนาว น�้ำตาลปี๊บ พริกขี้หนูซอย แป้งสาลี ใบสะระแหน่ และต้นหอมซอย น�้ำมันพืช

80 หฤทัยสัมพันธ์

800 40 60 20 60 4 20 2 5 4 3 30 20 4

กรัม กรัม กรัม กรัม กรัม ช้อนชา กรัม ช้อนโต๊ะ ช้อนโต๊ะ ช้อนชา ช้อนโต๊ะ กรัม เม็ด ช้อนโต๊ะ


วิธีท�ำ

1. โขลกกระเทียมสับและขมิ้นสด ผสมกับแป้งสาลี และผงหมักสูตรส�ำเร็จ คนอร์ เติมน�ำ้ มันพืชเล็กน้อยเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันน�ำมาหมักกับเนื้อปลา อินทรีย์ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที 2. ตั้งกระทะใส่นำ�้ มัน รอจนร้อนปานกลาง น�ำปลาลงทอดจนสุกเป็นสี เหลืองทอง พักไว้ 3. ผสมน�้ำมะนาว น�้ำตาลปี๊บ น�้ำปลา ซอสมะขามเปียกเข้มข้น พริกขี้หนูแห้ง ป่น ข้าวคั่ว พริกขี้หนูซอย คนให้เข้ากัน ชิมและปรับรสชาติตามชอบ 4. น�้ำเนื้อปลาที่ทอดไว้ลงไปคลุก ตามด้วยหอมแดงซอย ผักชีฝรั่งซอย เคล้า ให้เข้ากัน 5. จัดใส่จาน ตกแต่งด้วยต้นหอมซอยและใบสะระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ

หฤทัยสัมพันธ์

81


อบรมบุคลากรด้านวิชาการ ฝ่ายการศึกษาของคณะหฤทัยฯ จัดอบรมให้แก่คณะครูในเครือโรงเรียน พระหฤทัย เรื่อง “คุณภาพครูสู่คุณภาพนักเรียน” โดยอาจารย์พิบูลย์ ยงค์กมล เรื่อง “มาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนระดับชาติและระดับสากล” โดยดร.อาทิตย์ สอนสุจิตรา เรื่อง “คุณภาพของผู้เรียนในมิติทางธรรมของพุทธศาสนา” โดย พระ อาจารย์วชิ ิต เปานิล และ เรื่อง “คุณภาพของผู้เรียนในมิติทางคริสตศาสนา” โดย คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ ในวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ณ หอประชุม ชั้น 2 อาคารหนึ่งศตวรรษฯ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

82 หฤทัยสัมพันธ์


ฟื้นฟูจิตใจนักเรียนคาทอลิก วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ฝ่ายจิตตาภิบาลของโรงเรียนใน เครือคณะพระหฤทัยฯฯ จัดฟื้นฟูจติ ใจนักเรียนคาทอลิกของโรงเรียนในเครือคณะฯ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และนักเรียน English Program G 7-12 จ�ำนวนทัง้ สิ้น 280 คน ในหัวข้อ “อัตลักษณ์ 8 H ศูนย์รวมเพื่อความเป็นหนึ่งในพระหฤทัย” โดยมี คุณพ่อชวลิต กิจเจริญเป็นผู้ให้การอบรม ร่วมกับซิสเตอร์พัชรา นันทจินดา ผู้อ�ำนวย การ ซิสเตอร์สาวิตรี จินประยูร และคณะซิสเตอร์ ณ หอประชุม ชั้น 2 อาคารหนึ่ง ศตวรรษฯ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

วันศุกร์ท่ี 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 จัดฟื้นฟูจติ ใจนักเรียนคาทอลิกโรงเรียน ในเครือคณะฯ ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และนักเรียน English Program G 1-6 จ�ำนวนทั้งสิ้น 245 คน ในหัวข้อ “อัตลักษณ์ 8 H ศูนย์รวมเพื่อความเป็นหนึ่งใน พระหฤทัย” โดยมีคุณพ่อชวลิต กิจเจริญเป็นผู้ให้การอบรม ร่วมกับซิสเตอร์พัชรา นันทจินดา ผู้อ�ำนวยการ ซิสเตอร์สาวิตรี จินประยูร และคณะซิสเตอร์ ณ หอประชุม 3 อาคารสิรินเทพ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

หฤทัยสัมพันธ์ 83


อบรมสัมมนาครูผชู้ ว่ ยและเจ้าหน้าที่ โรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัยฯ วันเสาร์ท่ี 7 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระหฤทัย คอนแวนต์ จัดการอบรมสัมมนาครูผู้ช่วยและเจ้าหน้าที่ โรงเรียนในเครือคณะฯ ณ ห้องประชุม 3 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ซึ่งมีสาระของการน�ำ อัตลักษณ์ 8H มาพัฒนาและสร้างสรรค์ตนเอง นักเรียน และโรงเรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับ บุคลากรทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ให้มีความพึงพอใจในโรงเรียนของตนเอง โดยคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นวิทยากร

84 หฤทัยสัมพันธ์


อบรมบุคลากรครู พี่เลี้ยงระดับปฐมวัย วันที่ 21 และวันที่ 28 มิถนุ ายน ค.ศ. 2014 ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือ คณะฯ จัดอบรมบุคลากรครู พีเ่ ลีย้ งระดับปฐมวัย เรือ่ ง “มารูจ้ กั บีเวอร์กนั เถิด” ณ โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี

หฤทัยสัมพันธ์ 85


สมาชิกศึกษาด้านภาษาที่ต่างประเทศ ซิสเตอร์เยาวลักษณ์ รอดงาม ได้เดินทางไปศึกษาภาษาอังกฤษที่เมือง Birmingham ประเทศอังกฤษ ในวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2014 โดยใช้ระยะ เวลาในการเรียน 6 เดือน

ซิสเตอร์สุนันทา สถาพรวลัยรัตน์ ซิสเตอร์ศศิวิมล เมืองรัตน์ ซิสเตอร์นภา ภรณ์ กุ๊นุ๊ และซิสเตอร์ลาวัลย์ แสนยากุล เดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษ ณ ประเทศ อินเดีย ในวันจันทร์ท่ี 30 มิถุนายน ค. ศ. 2014 ใช้ระยะเวลา 3 เดือน และ ซิสเตอร์ สุนันทาจะเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมต่อไป

86 หฤทัยสัมพันธ์


ประชุมเครือข่ายสถานศึกษาเอกชนกลุ่มที่ 11

วันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือคณะฯจัด ประชุม “เครือข่ายสถานศึกษาเอกชนกลุ่มที่ 11” ณ ห้องประชุมบ้านธารพระพร โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

วันจันทร์ท่ี 21 กรกฎาคม 2014 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และซิสเตอร์ชวาลา เวชยันต์ ได้ไปเข้าร่วมประชุมกรรมการอ�ำนวยการของสภาการศึกษาคาทอลิก ที่ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

ร่วมประชุมสัมมนาประจ�ำปีการศึกษา 2557

ผู้บริหารโรงเรียนของคณะพระหฤทัยฯ เข้าร่วมประชุมสัมมนาของสภาการ ศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44 ณ โรงแรมเอเซีย พัทยา ชลบุรี ระหว่าง วันที่ 17-20 สิงหาคม ค.ศ. 2014 หัวข้อ “การศึกษาคาทอลิกในการฝ่าวิกฤตการ ศึกษาของชาติ”

หฤทัยสัมพันธ์ 87


คณะผู้บริหารของโรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัยฯ ศึกษาดูงาน วันที่ 13 - 14 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ เขต 3 ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนแสงทองวิทยา และโรงเรียนธิดานุเคราะห์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีคุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนแสงทองวิทยาให้การ ต้อนรับ และแบ่งปันเทคนิคการบริหารโรงเรียน คือ ดี 4 อย่าง ห้องเรียนดี ห้องน�้ำดี โรงอาหารดี และสนามเล่นดี

จุดเด่นของทัง้ 2 โรงเรียน คือ โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศ ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ส่งผลให้นักเรียนได้ผ่านการทดสอบ เป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิก และได้รับเหรียญรางวัล ทอง เงิน ทองแดง ในทุกปี นอกจากนี้ ผลการสอบเข้าศึกษาต่อ นักเรียนชัน้ มัธยมปีที่ 3 สามารถศึกษา ต่อที่มหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ปีละ 20 กว่าคน นักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีท่ี 6 เช่นเดียวกัน ไปศึกษาต่อในมหาลัยระดับต้นๆ ของประเทศ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งผลให้ผู้ปกครองรับรองมาตรฐาน ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างภาคภูมใิ จ

88 หฤทัยสัมพันธ์


อบรมผู้ประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน วันที่ 23-24 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือคณะฯ จัดอบรม “ผู้ประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน” ให้กับบุคลากร ของโรงเรียน ณ โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

การฝึกอบรมวิชาผู้ก�ำกับลูกเสือส�ำรอง สามัญและสามัญรุ่นใหญ่

วันที่ 11-13 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือคณะฯ จัดอบรม “วิชาผู้ก�ำกับลูกเสือส�ำรอง สามัญและสามัญรุ่นใหญ่” ขั้นความรู้เบื้องตน (BTC) ให้กับบุคลากร ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราวโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

หฤทัยสัมพันธ์ 89


วันที่ 1-7 ตุลาคม ค.ศ. 2014 สมาคมสโมสรลูกเสือรัตนโกสินทร์ ร่วมกับ ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือคณะ จัดการ “ฝึกอบรมผู้ก�ำกับลูกเสือ-เนตรนารี ส�ำรอง สามัญและสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C) ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราว โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

วันที่ 7-13 ตุลาคม ค.ศ. 2014 สมาคมสโมสรลูกเสือรัตนโกสินทร์ ร่วมกับ ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือคณะ จัดการ “ฝึกอบรมผู้ก�ำกับลูกเสือ-เนตรนารี ส�ำรอง สามัญและสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้ชั้นสูง (A.L.T.C) ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราว โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

90 หฤทัยสัมพันธ์


อบรมการใช้ iPad ในการจัดการเรียนรู้

วันที่ 15-16 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือคณะฯจัด อบรม “การใช้ iPad ในการจัดการเรียนรู”้ ให้กบั บุคลากร ณ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

อบรม “ผู้ประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน”

วันที่ 19-24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ฝ่ายการศึกษาของโรงเรียนในเครือคณะฯ จัดอบรม “ผู้ประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน” ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ จ. เพชรบุรี

หฤทัยสัมพันธ์

91


อบรม Leadership 101 Training

ซิสเตอร์พชั รา นันทจินดา ซิสเตอร์แสงอรุณ ธารีจติ ร และซิสเตอร์ลกั ษณา วดี วงศ์วไิ ลวารินทร์ เข้ารับการอบรมเรือ่ ง “Leadership 101Training” วันที่ 27-31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ณ ศูนย์ธารชีวติ คณะศรีชมุ พาบาล พัทยา โดยวิทยากรทีเ่ ชีย่ วชาญ 2 ท่าน คือ M. Peter Scontrino, Ph. D. (Scontrino-Powell) And Bill Taylor, CMC (SE Asia Children’s Foundation) เป็นผูใ้ ห้การอบรม

92

หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 93


94

หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 95


96 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 97


98 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 99


100 หฤทัยสัมพันธ์


การศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร โรงเรียนในเครือคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งกรุงเทพฯ

A STUDY OF CONFLICT MANAGEMENT OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE CONGREGATION OF THE SISTERS OF THE SACRED HEART OF JESUS OF BANGKOK

ซิสเตอร์ ลักษณาวดี วงษ์วไิ ลวารินทร์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2557

การวิจัยครัง้ นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ และรวบรวมข้อเสนอ แนะเกี่ยวกับวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร โรงเรียนในเครือคณะภคินี พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในแบบพฤติกรรม 5 แบบคือ 1) แบบการถอนตัว 2) แบบการใช้อ�ำนาจ 3) แบบสัมพันธภาพ 4) แบบประนีประนอม และ 5) แบบการเผชิญหน้า จ�ำแนกตาม ต�ำแหน่งงาน วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในเครือคณะภคินพี ระหฤทัยของ พระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ จ�ำนวน 238 คน และผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มผู้บริหาร จ�ำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent)

ผลการวิจัยพบว่า

1. วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร โรงเรียนในเครือคณะภคินี พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในแบบพฤติกรรม 5 แบบ โดยรวมมีการ ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แบบสัมพันธภาพ แบบ การประนีประนอม และแบบการเผชิญหน้า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนแบบ การถอนตัว และแบบการใช้อ�ำนาจมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง หฤทัยสัมพันธ์ 101


2. การเปรียบเทียบวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร โรงเรียนในเครือ คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ตามความคิดเห็นของครู จ�ำแนก ตามต�ำแหน่งงาน โดยรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน และเมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า แบบ การใช้อำ� นาจ แตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 ส่วนประสบการณ์ โดย รวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน และเมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า แบบการถอนตัว และแบบการ ใช้อำ� นาจ แตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 ส่วนการจ�ำแนกตามวุฒกิ าร ศึกษา และขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3. การรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้ บริหาร โรงเรียนในเครือคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ตามความ คิดเห็นของครู เสนอแนะว่า ผู้บริหารควรมีความมุ่งมั่นให้คนในองค์กร มีความรัก ความสามัคคี ความปรองดอง ผูบ้ ริหารควรมีความยุตธิ รรม ไม่เลือกปฏิบตั ิ ผูบ้ ริหารควร ปรึกษาหารือกับผูร้ ว่ มงาน ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ส่วนความคิด เห็นของผู้บริหาร เสนอแนะว่าควรสร้างจิตส�ำนึกให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ค�ำนึง ถึงผลประโยชน์ เป้าหมายส่วนรวมเป็นหลัก และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ชี้แจงเกี่ยวกับ ปัญหาที่เกิดขึ้น มีการนัดประชุม ปรึกษาหารือกับผู้ร่วมงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และหา ทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน และศึกษาปัญหา วิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น

102 หฤทัยสัมพันธ์


งานสวัสดิรักษ์พนักงาน

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ฝ่ายสังคมพัฒนา คณะพระหฤทัยฯ จัดพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสวันสวัสดิรักษ์พนักงานพระหฤทัยฯ ครั้งที่ 14 ประจ�ำปี การศึกษา 2013/2556 ณ วัดน้อยอารามพระหฤทัย โดยคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็น ประธานในพิธี จากนั้นซิสเตอร์กาญจนา สิงห์สา รองมหาธิการิณี เป็นประธานใน พิธีมอบรางวัลแด่พนักงานท�ำงานนานปีของอารามและโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ส�ำหรับสถานที่อื่น อธิการิณีเป็นผู้มอบให้พนักงานของตน

หฤทัยสัมพันธ์ 103


ร่วมประชุม CARITAS THAILAND

วันที่ 17 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 2014 คณะกรรมการฝ่ายสังคมได้เข้าร่วม ประชุม CARITAS THAILAND ครัง้ ที่ 1/2557 ที่ศูนย์อภิบาลคามิเลียน ในหัวข้อเรื่อง “บรรดาคนยากจนมีที่พิเศษ ในดวงพระทัยพระเยซูเจ้า” ในการประชุมครัง้ นี้มีการแบ่งปัน ประชุมกลุ่มย่อย รับฟังการบรรยายประชุมเชิงปฏิบัตกิ ารและศึกษา สาระส�ำคัญของ 1. พระสมณสาส์นเตือนใจ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” ของ พระสัน ตะปาปาฟรังซิส โดย คุณพ่อออกัสติน สุกโิ ย ปิโตโย SJ. 2. แบ่งปันประสบการณ์การท�ำงานในด้านคุณค่าพระวรสาร โดย พระสงฆ์ นักบวช ที่ท�ำงานสังคม (อยู่ระหว่างการประสานงาน) เวทีเปิดให้ร่วมแบ่งปัน ได้แก่ • คุณพ่อดอมินีโก โรดีกิเอโร, OMI วัดอัครเทวดามีคาแอล สะพานใหม่ งานที่ท�ำกับแรงงานต่างด้าว มีศูนย์การเรียนเพื่อแรงงานต่างด้าวและ ให้การดูแล เป็นต้น ปากีสถาน เวียดนาม เขมร พม่า • คุณพ่อรังสิพล เปลี่ยนพันธุ์ งานที่วัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง กับเด็กชา ติพันธ์จ�ำนวน 6 เผ่า • ซิสเตอร์ภัทยาภรณ์ คณะผู้รับใช้ผู้ป่วยนักบุญคามิลเลียน การท�ำงาน กับผู้ป่วยที่ยากไร้ คนต่างด้าวที่โรงพยาบาลแม่สอด และค่ายผู้อพยพ • คุณอรวรรณ ผลสมบูรณ์, PMG อาสาสมัครประกาศข่าวดี ที่วัดแม่พระ ประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก เยี่ยมเยียนคนทุกข์ยาก 3. แบ่งปันผลการสัมมนากลุม่ SAT “การประกาศพระวรสารในบริบทสังคมใหม่” คุณรุ่งโรจน์ ตั้งสุรกิจ การอ่านสัญญาณแห่งกาลเวลาในบริบทสังคมใหม่ การไตร่ตรองความ เชื่อและพันธกิจ แนวทางในการปฏิบัตใิ นระดับส่วนตัวและส่วน รวม กระบวนการไตร่ตรองมิติ ต่างๆ โดยอาจารย์ยศ สันติสมบัติ FABC 2012 และSYNOT OF BISHOPS 2012 มีข้อมูลมากมายที่ พระศาสนจักรต้องคิดใหม่ใน สถานะในสังคมใหม่ มีแนวโน้มด้านต่างๆ 13 ด้าน พระสังฆราชสิริพงษ์ จรัสศรี เงื่อนไขส�ำคัญผู้ประกาศต้องกลับใจเริ่มที่ ตนเองก่อน คุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร การประกาศพระวรสารอย่างแท้จริง อย่าง สุภาพ ความรัก ฯลฯ วาติกันที่ 2 ก่อให้เกิด FABC พระศาสนจักร ต้องท�ำหน้าที่เป็น 104 หฤทัยสัมพันธ์


ประกาศกประกาศถึงสถานการณ์ใหม่ พระศาสนจักรต้องตอบค�ำถามต่อสถานการณ์ ใหม่ มีข้อเสนอ ข้อท้าทาย จัดกระบวนการเรียนรู้ส�ำหรับเยาวชนเพื่อสืบทอดงาน จัด Asian Religio Cultural School of Wisdom 4. สังเคราะห์พระสมณสาส์นเตือนใจ “ความชืน่ ชมยินดีแห่งพระวรสาร” บทที่ 4 “มิตดิ า้ นสังคมของการประกาศพระวรสาร” โดย คุณพ่อยอดชาย เล็กประเสริฐ เอกสารส�ำคัญของพระศาสนาจักรในยุคของเรา ความชื่นชมยินดีแห่งพระว รสาร เปี่ยมล้นใจเราผู้ได้พบพระคริสตเจ้า (Encunter Jesus)หัวใจส�ำคัญของ EG การ ประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน พื้นฐานที่พระสันตะปาปา ความเลื่อมล�้ำในชนชัน้ สมัยนักบุญอิกญาซีโอ พระสันตะปาปาใช้พ้นื ฐานนี้ในการเขียนสมณสาส์น โดยท่าน เริ่มด้วยการไตร่ตรองตนเอง ไม่มีใครสามารถบังคับให้ศาสนาต้องยอมลดทอนตนเอง ลงไปเพียงเพื่อท�ำตามความพอใจแก่ชวี ติ มนุษย์โดยท�ำลายสิทธิที่ศาสนาจะน�ำเสนอ ความคิดหรือกิจการที่จะกระทบต่อสังคม การเลือกอยู่ข้างคนจนเป็นอันดับแรก เรื่องนี้ต้องเป็นเทววิทยาชีวิตของพระศาสนจักรมากกว่าเป็นเพียงความคิดด้านสังคม พระสันตะปาปาต้องการพระศาสนจักรที่ยากจนและเพื่อคนยากจน เพราะคนยากจน และความยากจนมีบทสอนที่มากเหลือเกิน เหยื่อของการค้ามนุษย์ท่กี ่อให้เกิดทาสใน รูปแบบใหม่ เครือข่ายฆาตกรรมเหล่านี้ก่อตัว พระสันตะปาปาย�้ำว่า เราทุกคนคือ ประกาศก เสียงของประกาศกต้องดังขึ้น ต่อสู้อย่างหนักแน่นที่ท�ำให้เสียงของคน ยากจนต้องเงียบงันและจ�ำนน และต่อสู้กับกลุ่มคนที่ไม่ให้โอกาสหรือไม่ให้เกียรติแก่ คนยากจน 5. Cross Learning Workshops บทที่ 4 มิตดิ า้ นสังคมของการประกาศพระวรสาร โดย คุณพ่ออนุชา ชาวแพรกน้อย 6. พบปะเครือข่ายองค์กรทุนของภาครัฐ 7. ความเคลื่อนไหวในการท�ำงานของคาริตัสไทยแลนด์ตาม Update Cool Issues ของ Caritas Thailand (1) Recover การค้ามนุษย์ (2) Asylums seekers (3) การอภิบาลผู้ถูกคุมขัง (4) การศึกษาดูงานของ AOS Thailand (5) ประเด็นเกษตรยั่งยืน หฤทัยสัมพันธ์ 105


8. Foresight บริบทสังคมใหม่ โดย คุณวิเชียร พงศธร ประธาน TDRI จากการที่คณะกรรมการฝ่ายได้เข้าร่วมสัมมนา Caritas Thailand ท�ำให้ได้ รับความรู้ ความเข้าใจ และมีพลังในการที่ท�ำงานไปในทิศทางเดียวกันกับการท�ำงาน ด้านสังคมในระดับชาติ และเพื่อจะน�ำกลับมาใช้ในภารกิจด้านสังคมของคณะได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ร่วมเสวนากับแผนกยุตธิ รรมและสันติ

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.2014 คณะกรรมการฝ่ายสังคม ครูดูแลเด็ก มูลนิธิ ครูฝ่ายจิตตาภิบาล และครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เข้าร่วมเสวนากับ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกยุตธิ รรมและสันติ (ยส.) แผนก กลุ่มชาติพันธุ์ หัวข้อเรื่อง “สิทธิมนุษยชนที่หายไป แล้วจะมีบิลลี่อีกกี่คน” ในการ เสวนานี้ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ทราบประเด็นที่ชาวบ้านปกาเกอะญอ ซึ่งเป็นผู้น�ำชาว บ้านโป่งลึก เขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน หายตัวไปตัง้ แต่เดือนเมษายน ค.ศ.2014 อย่างไร้ร่องรอยจนถึงปัจจุบัน เหตุเพราะได้คัดค้านเจ้าหน้าที่ที่แสวงหาผลประโยชน์ จากป่าไม้ และไล่ที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่นานเป็นร้อยปี ผู้เล่าเหตุการณ์และศึกษากรณี นี้คือภรรยาของคุณบิลลี่และศูนย์สังคมพัฒนาราชบุรี มีการบรรยายเกี่ยวกับสิทธิ ที่ชาวบ้านมี กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ กับการจัดการกับ ทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม ท�ำให้ผู้เข้าร่วมเสวนาทราบสาเหตุท่แี ท้จริงของ การหายตัวไป และทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับป่าไม้และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเอา รัดเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ รวมทั้งได้ทราบวิถีชีวิตของชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็น ผู้อนุรักษ์ป่าไม้ให้สมบูรณ์

106 หฤทัยสัมพันธ์


ทางฝ่ายสังคมพัฒนาร่วมกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกพัฒนาสังคม(คพน.) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จัดท�ำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนน�ำยุวศาสนิกสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความซื่อตรง โครงการนี้มีระยะเวลา 3 ปี ทางฝ่ายสังคมของคณะได้ประสานงานไปยังโรงเรียน ในเครือคณะ และโรงเรียนของสังฆมณฑลที่สมาชิกของคณะท�ำงานอยู่ จัดกิจกรรม สัมมนาให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างความซื่อตรงให้กับบุคลากรและ นักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น แก่เด็กและเยาวชน และเพื่อสร้างเครือข่ายในการท�ำงาน ด้านนี้ให้กว้างขวางมากขึ้นส�ำหรับแกนน�ำครู จัดอบรมเมื่อวันที่ 11-13 กรกฎาคม ค.ศ.2014 ที่บ้านผู้หว่าน ส่วนแกนน�ำนักเรียนจัดอบรมเมื่อวันที่ 22 -23 สิงหาคม ค.ศ.2014 ที่บ้านสวนยอแซฟ สามพราน

ร่วมสัมมนาที่ศูนย์คุณธรรม

วันที่ 20-22 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง พร้อม ด้วยซิสเตอร์ไพรศรี มะลิวัลย์ และซิสเตอร์สุภาพร จันทร์ปาน เข้าร่วมเวทีสมัชชา กลาง และการสัมมนาทางวิชาการ “รวมพลังเครือข่ายฟื้นฟูคุณธรรมไทยสู่สังคม อาเซียน” จัดโดยศูนย์คุณธรรม(องค์การมหาชน) ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ หลักสี่ สัมมนา “ดวงใจแม่ วอนยุตคิ วามรุนแรง”

หฤทัยสัมพันธ์ 107


วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้า ซิสเตอร์ศิริรัตน์ เหล่าวัฒนพงศ์ และซิสเตอร์ศริ วิ รรณ ชินวงศ์ พร้อมน้องๆ แอสปิรนั ต์ เข้าร่วมโครงการเสวนา “ดวงใจแม่ วอนยุตคิ วามรุนแรง” ห้องประชุม ชั้น 1 วัดบ้าน เซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ประชุมกรรมการบ้านหทัยการุณย์

เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์จัดประชุมกรรมการบ้าน หทัยการุณย์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสังคมของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และชาวบ้านใน ชุมชนเข้าร่วม

108 หฤทัยสัมพันธ์


ร่วมงานกับกลุม่ รักษ์สงิ่ แวดล้อมของโคเออร์ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธสง ร่วมงานกับกลุ่มรักษ์ส่งิ แวดล้อมของโคเออร์ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ณ โรงเรียน อัสสัมชัญ บางรัก

หฤทัยสัมพันธ์ 109


ความศรัทธาต่อบุญราศีแห่งสองคอน ได้นำ� เรานักบวชและฆราวาสหลาย คนให้มาพบกัน และเนือ่ งจากข้าพเจ้าตระหนักในความส�ำคัญและความจ�ำเป็นอย่าง ยิง่ ยวดของพระคัมภีรต์ อ่ ชีวติ คริสตชน ข้าพเจ้าจึงได้มอบไบเบิลไดอารีภ่ าษาอังกฤษเล่ม หนึง่ ให้เป็นของขวัญแก่เพือ่ นคนหนึง่ ในกลุม่ นี้ ชือ่ เนลลี ลีลานุวฒ ั น์ คิดว่าคงจะเป็น ประโยชน์กบั เขา หลังจากใช้ไบเบิลไดอารีไ่ ปได้ระยะหนึง่ คุณเนลลีกไ็ ด้มาหาข้าพเจ้า ถามว่า เราจะท�ำไบเบิลไดอารีอ่ ย่างนีเ้ ป็นภาษาไทยได้ไหม เพราะเห็นว่าแต่ละวันมีขอ้ คิด จากพระวาจาประจ�ำวัน ช่วยให้เข้าใจพระวาจาประจ�ำวันได้เป็นอย่างดี และคงจะเป็น ประโยชน์แก่บรรดาคริสตชนด้วย ข้าพเจ้าจึงตอบว่าได้ แต่ตอ้ งมีทนุ ทรัพย์ในการจัด พิมพ์ หลังจากนัน้ ประมาณเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1990 คุณเนลลีกไ็ ด้นำ� สมคุณสม ศักดิ์ ลีสวัสดิต์ ระกูล และเพือ่ นหลายคนมาพบข้าพเจ้า ขอร่วมบริจาคสมทบทุนในการ จัดท�ำไบเบิลไดอารีฉ่ บับภาษาไทย ความตัง้ ใจจริงอยากจะให้มไี บเบิลไดอารีข่ องเพือ่ นๆ ท�ำให้ขา้ พเจ้ามีความปิตยิ นิ ดี เพราะไบเบิลไดอารีจะได้เป็นหนังสือช่วยในการประกาศ พระวรสาร เป็นกิจกรรมทีต่ อบสนองต่อการประกาศ ของสภาสังฆราชทีจ่ ดั ให้ปี ค.ศ. 1991-2001 เป็น ศตวรรษแห่งการประกาศพระวรสารท�ำให้ข้าพเจ้า มัน่ ใจว่า คงเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า จึง รับปากจะรีบด�ำเนินการจัดท�ำไบเบิลไดอารี่ใน ทันที เพือ่ ให้ออกทันจ�ำหน่ายใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1991 เพราะมีเวลาเหลืออีกเพียง 5 เดือน กว่าๆ เท่านัน้ จึงเริม่ ประชุมปรึกษาหารือเรือ่ ง 110 หฤทัยสัมพันธ์


แนวทางการด�ำเนินงานและจุดมุง่ หมายในการจัดท�ำ ซึง่ มีจดุ มุง่ หมายหลักดังนี้ 1.) เพื่อเผยแผ่พระวาจาของพระเจ้า 2.) เพื่อปลูกฝังค่านิยมรักการอ่านพระคัมภีร์ แก่บรรดาคริสตชนและมิใช้ คริสตชน 3.) เพื่อคริสตชนจะได้รับแรงบันดาลใจและสัมผัสพระวาจาของพระเจ้า พบพระเจ้าและพบข้อคิดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินในแต่ละวัน

สิ่งส�ำคัญในการจัดท�ำไบเบิลไดอารี่ คือ การเขียนข้อคิด

ซึ่งต้องเขียนถึง 365 วัน ถ้าให้พระสงฆ์เขียนคนเดียวจะต้องใช้เวลามาก และคงจะจัดพิมพ์เสร็จไม่ทันเดือนมกราคม จึงได้สรรหาพระสงฆ์ 12 องค์ ช่วยเขียน ข้อคิดเดือนละองค์ และได้เชิญคุณพ่อไพเราะ มนิราช ซึ่งขณะนั้นข้าพเจ้าได้ร่วมงาน หลายอย่างกับท่าน จึงได้เชิญท่านมาร่วมจัดท�ำไบเบิลไดอารี่ด้วย ซึ่งท่านก็ยินดีมา ร่วมงานตามค�ำเชิญ โดยเป็นบรรณาธิการของหนังสือไบเบิลไดอารี่ มีคุณสมศักดิ์ ลี สวัสดิ์ตระกูล เป็นประธาน และข้าพเจ้าเป็นผู้ประสานงาน ส่วนสมาชิกคนอื่นๆก็แบ่ง กันรับผิดชอบอย่างอื่นๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองบรรณาธิการ และผู้ช่วยบรรณาธิการ แม้จะมีเวลาจัดท�ำเพียงระยะเวลาสัน้ ๆ พระเจ้าก็ทรงช่วยให้ เราสามารถจัดท�ำได้ส�ำเร็จทันเวลา และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีมากจากนักบวช พระสงฆ์ และ สัตบุรุษ ซึ่งช่วยกันซือ้ ไปใช้จนหนังสือที่จัดพิมพ์จ�ำหน่ายหมด ซึ่ง หฤทัยสัมพันธ์ 111


แสดงให้เห็นว่าสัตบุรุษเห็นความส�ำคัญและกระหายพระวาจาของพระเจ้า จึงให้การ ต้อนรับไบเบิลไดอารี่ปี ค.ศ. 1991 อย่างอบอุ่น ถือเป็นก้าวแรกของความส�ำเร็จในการ จัดพิมพ์ไบเบิลไดอารี่เล่มแรก และเป็นก�ำลังใจให้จัดท�ำเล่มที่ 2 เล่มที่ 3 และเล่มต่อๆ ไปจนถึงเล่มที่ 25 ในปี ค.ศ. 2015 นี้ ซึ่งมียอดพิมพ์ 18,000 เล่ม และยังคงได้รับการ ต้อนรับอย่างอบอุ่น ขอขอบพระคุณพระเจ้าที่ทรงใช้เราให้เป็นเครื่องมือของพระเจ้า และขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีมาตลอด

112 หฤทัยสัมพันธ์


ร่วมน�ำการเข้าเงียบให้สามเณราลัย วันที่ 21 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และซิสเตอร์ ศิริรัตน์ เหล่าวัฒนพงศ์ ได้ร่วมทีมกับคุณพ่อชีวิน สุวดินทร์กูร และคุณพ่อสมชัย พิธยาพงศ์พร น�ำการเข้าเงียบแบบส�ำรวมจิตภาวนาให้แก่สามเณรใหญ่แสงธรรม ปี3 ปี4 และปี6 จ�ำนวน 36 คน ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี

หฤทัยสัมพันธ์ 113


ประชุมที่ปรึกษาเขต ประธานเขต และประธานฝ่ายฯ วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 เวลา 09.00 น. คุณแม่เชลียง เวชยันต์ได้เป็นประธานในการประชุมที่ปรึกษาเขต ประธานเขต และประธานฝ่าย ณ อาคารมาร์การิตา อารามพระหฤทัยฯ สัมมนาอธิการิณี ที่หาดหฤทัย ชะอ�ำ วันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ฝ่ายอบรมฯ ได้จัดสัมมนาอธิ การิณีจ�ำนวน 47 คน ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี โดยคุณแม่เชลียง เวชยันต์ ได้น�ำบรรดาอธิการิณีให้ทบทวนเกี่ยวกับสมัชชาของคณะ บทบาทของอธิการิณี ตามธรรมวินัย และการใช้อ�ำนาจหน้าที่ และการนบนอบในชีวติ ของคณะตาม ค�ำแนะน�ำของสมณกระทรวงเพื่อสถาบันผู้ถวายตัว จากนั้นได้แบ่งปันข้อคิดจาก หนังสือ “ความมืดในครัวของมาร์ธา” เขียนโดยคุณพ่อโทมัส กรีน, SJ แปลโดย ซิสเตอร์สมปอง ทับปิง และแมร์มีเรียม กิจเจริญได้เป็นวิทยากรอบรม ในหัวข้อ เรื่อง “ผู้น�ำแบบผู้รับใช้” เอกสารจากการประชุมสมาพันธ์อธิการิณเี จ้าคณะนักบวช ครั้งที่ 19 ( 3-7พฤษภาคม ค.ศ.2013 ) และ “ความรักร้อนรนต่อพระคริสตเจ้า และมนุษยชาติ” เอกสารจากการประชุมสหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชนานาชาติ ประจ�ำปี 2004

114 หฤทัยสัมพันธ์


สัมมนาพระวรสารนักบุญลูกา วันที่ 2- 3 มิถุนายน ค.ศ. 2014 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ จ�ำนวน 8 ท่านไปเข้าร่วมสัมมนาพระวรสารนักบุญลูกา ที่บ้านฟื้นฟูจติ ใจซาเลเซียน หัวหิน

ฟื้นฟูชีวิตนักบวชคณะพระหฤทัย ปี ค.ศ. 2014 คณะพระหฤทัยฯ จัดโครงการอบรมฟื้นฟูชวี ิตนักบวชให้กับสมาชิกของคณะ ที่หาดหฤทัย ชะอ�ำ จ.เพชรบุรี เพื่อเตรียมจิตใจสมาชิกสู่การฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ ปี นักบวช และสมัชชาใหญ่ของคณะ สมาชิกมีเวลาภาวนา พักจากภารกิจ ได้ใช้ชีวิต ร่วมกัน และทบทวนชีวิตแห่งการเป็นผู้ถวายตัวแด่พระเจ้า โดยแบ่งสมาชิกเป็นกลุ่มๆ จ�ำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้

หฤทัยสัมพันธ์ 115


กลุ่มที่ 1 “บ้านเปี่ยมรัก” ระหว่างวันที่ 5-12 มิถุนายน ค.ศ. 2014

กลุ่มที่ 2 “บ้านกลุ่ม2” ระหว่างวันที่ 10-17 กรกฎาคม ค.ศ. 2014

116 หฤทัยสัมพันธ์


กลุ่มที่ 3 “บ้านTrinity” ระหว่างวันที่ 24-31 กรกฎาคม ค.ศ. 2014

กลุม่ ที่ 4 “บ้านธารทะเลแห่งสันติ” ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม- 4 กันยายน ค.ศ. 2014

หฤทัยสัมพันธ์ 117


กลุ่มที่ 5 “บ้านร้อยใจรัก” ระหว่างวันที่ 11-18 กันยายน ค.ศ. 2014

สัมมนาเยาวชนกับพิธีกรรม วันที่ 28-30 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ น�ำผู้ฝึกหัด เตรียมโปสตุลันต์ จ�ำนวน 5 คน ไปร่วมสัมมนาเยาวชนกับพิธกี รรม ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน

118 หฤทัยสัมพันธ์


เข้าเงียบประจ�ำเดือนของซิสเตอร์พระหฤทัยฯ ในภาคเรียนนี้ คณะพระหฤทัยฯได้จัดให้มกี ารสัมมนาและเข้าเงียบร่วมกัน เป็นกลุ่มเขตในแต่ละเดือน โดยสมาชิกแต่ละเขตได้ศกึ ษาเอกสาร “ร�ำพึงและเข้าใจ พระวรสารนักบุญมัทธิว” ศึกษาเอกสารวิถีชุมชนวัด ได้แบ่งปันพระวาจา มีเวลา เข้าเงียบและปฏิบัตกิ ิจศรัทธาร่วมกัน โดยแต่ละเขตได้ก�ำหนดสถานที่ วันและเวลาที่ เหมาะสม เดือนมิถุนายน 2014 วันที่ 15-16 มิถุนายน ค.ศ. 2014 สมาชิกเข้าร่วมสัมมนาและเข้าเงียบตามเขต

เดือนกรกฎาคม 2014 วันที่ 5-6 กรกฎาคม 2014 สมาชิกแต่ละเขต ได้มีการสัมมนา- เข้า เงียบประจ�ำเดือน ซึ่งในเดือนกรกฎาคม นี้มีสมาชิกเขต 3 และเขต 6 มาสัมมนา และเข้ า เงี ย บที่ อ ารามพระหฤทั ย ฯ หฤทัยสัมพันธ์ 119


สมาชิกเขต 1-2 เข้าเงียบพร้อมกันที่วัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�้ำ

เดือนสิงหาคม 2014 วันที่ 9-10 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์อาวุโส สัมมนา และเข้าเงียบที่บ้านพระแม่

120 หฤทัยสัมพันธ์


เขต 1-2 สัมมนาและเข้าเงียบ ณ วัดแม่พระลูกประค�ำ กาลหว่าร์

สมาชิกเขต 6 ส�ำนักกลาง เข้าเงียบร่วมกันทีส่ ำ� นักกลางและ ซิสเตอร์บา้ นพระแม่ฯ

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2014 สมาชิกเขต 3 ซึ่งได้แก่ โรงเรียนพระหฤทัย คอนแวนต์ โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง โรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์ ได้มีการเข้า เงียบร่วมกัน ที่อารามพระหฤทัยฯ

หฤทัยสัมพันธ์ 121


เดือนกันยายน 2014 วันที่ 6-7 กันยายน ค.ศ. 2014 • วันสัมมนาเขต เขตที่ 1-2 เขต 3 และเขต 6 มาประชุมสัมมนาที่อารามฯ

• เวลา 12.00 น. สมาชิกเขต 1-2 ได้ไปเยี่ยมเยียน ซิสเตอร์ที่บ้านพระแม่และร่วม รับประทานอาหารกลางวันด้วย

• วันเข้าเงียบเขต สมาชิกเขต 1-2 ไปร่วมเข้าเงียบทีว่ ดั นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน

122 หฤทัยสัมพันธ์


สมาชิกเขตอื่นเข้าเงียบดังนี้ เขต 3 เขต 6 และส�ำนักกลาง เข้าเงียบที่อาราม เขต 4 เข้าเงียบที่ลาดกระบัง เขต 5 เข้าเงียบที่หาดหฤทัย ชะอ�ำ และเขต 7 เข้าเงียบที่ บ้านสวนล�ำปาง ฟื้นฟูจิตใจที่ Sumedha Sadhana วันที่ 4 กรกฎาคม- 4 กันยายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์นิภา เรืองวุฒิชนะพืช เข้าคอร์สฟื้นฟูจติ ใจ “A Psycho spiritual Wholeness Journey” ที่ Sumedha Sadhana ประเทศอินเดีย วันที่ 29 กันยายน -30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์จันทนา สิริ จันทนากุล เข้าคอร์สฟื้นฟูจติ ใจ “A Psychospiritual Wholeness Journey” ที่ Sumedha Sadhana ประเทศอินเดีย สัมมนากลางปีของคณะฯ วันที่ 11-12 ตุลาคม ค.ศ. 2014 คณะพระหฤทัยฯได้จัดสัมมนากลางปีให้ กับสมาชิก ณ ห้องประชุมอารามพระหฤทัยฯ วันแรก ภาคเช้า คุณวิเชียร พงศธร ประธานบริษัทพรีเมียร์ จ�ำกัด ได้รับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายหัวข้อ “Foresight มองไปข้างหน้าบริบทสังคมใหม่”

หฤทัยสัมพันธ์ 123


ภาคบ่าย คุณพ่อออกัสติน สุกิโย ปิโตโย SJ. ได้มาแบ่งปันสาระส�ำคัญของ “พระ สมณสาส์น เตือนใจ ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” Evangelii Gaudium ของ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

วันที่สอง ภาคเช้า คุณพ่อยอดชาย เล็กประเสริฐ ได้มาสังเคราะห์บทที่ 4 “มิติด้านสังคมของ การประกาศพระวรสาร” ในพระสมณสาส์น เตือนใจ ความชื่นชมยินดีแห่งพระว รสาร Evangelii Gaudium ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เพื่อลงสู่ภาคปฏิบัติ

124 หฤทัยสัมพันธ์


ภาคบ่าย สมาชิกแต่ละคนได้มโี อกาสทบทวนนโยบายของคณะ ปี ค.ศ. 2014 ซึ่ง สมาชิกหยั่งรากลึกในความรักของพระหฤทัยที่ให้ความหวังแก่ทุกคน

สมาชิกเข้าเงียบกลางปี วันที่ 13-14 ตุลาคม ค.ศ. 2014 คุณพ่อวรวุธ สังขรัตน์ สงฆ์คณะภราดา น้อยกาปูชิน ได้เทศน์เข้าเงียบให้แก่สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ โดยใช้ พระสมณสาส์น “แสงสว่างแห่งความเชื่อ” (LUMEN FIDEI) ซึ่งเป็นสมณสาส์นฉบับแรกของสมเด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิสที่เขียนร่วมกับสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

หฤทัยสัมพันธ์ 125


พิธีรับเข้าโปสตุลันต์ วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2014 เวลา 09.30 น. คณะพระหฤทัยฯ จัดพิธีรับผู้สมัครเข้าเป็นโปสตุลันต์ของคณะ จ�ำนวน 5 คน ณ นวกสถานพระหฤทัยฯ สามพราน โดยมีคุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี เป็นประธานในพิธี ซิสเตอร์อรัญ ญา กิจบุญชู นวกจารย์เป็นผู้รับโปสตุลันต์ใหม่ และสมาชิกของคณะได้ไปร่วมสวด ภาวนา อีกทั้งให้ก�ำลังใจแก่โปสตุลันต์ทงั้ 5 คนในโอกาสนี้ด้วย

โปสตุลันต์ใหม่ของคณะพระหฤทัยฯ มีจ�ำนวน 5 คน คือ 1. โปสตุลันต์คลารา วาสนา พะโกล 2. โปสตุลันต์มารีอา นันทิชา โยพา 3. โปสตุลันต์มารีอา มักดาเลนา เอลีญา ดวงใจไพรวัลย์ 4. โปสตุลันต์มารีอา มักดาเลนา คริษฐา ไชยเผือก 5. โปสตุลันต์มารีอา พาคีนันท์ ธวัชวงค์

126 หฤทัยสัมพันธ์


ร่วมประชุม 18th Asian Liturgy Forum ซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ และ ซิสเตอร์อจั ฉราพรรณ อุน่ หล้า เข้าร่วมประชุม 18 th Asian Liturgy Forum ทีบ่ า้ นผูห้ ว่าน ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม ค.ศ. 2014

หฤทัยสัมพันธ์ 127


ค�ำที่ดีที่สุด (ในภาษาอังกฤษ) ที่บรรยายสิ่งที่เราท�ำได้ เพื่อยกระดับความ นับถือตัวเอง สร้างความเชื่อมั่นในตัวเองและเคารพตัวเองมากขึ้น ค�ำสองค�ำนี้ Live consciously หรือ ใช้ชวี ิตอย่างรู้ตัว/รู้เท่าทัน ปัญหาของค�ำนี้คือมันอาจฟังดูเป็น นามธรรมเกินไปส�ำหรับบางคน กล่าวคือมันไม่ได้อธิบายถึงการกระท�ำทางจิตใจหรือ ทางกายภาพที่มีความชัดเจนในตัวเอง และถ้าเราต้องการเติบโต เราต้องรู้ว่าจะต้อง ท�ำอะไรบ้าง เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องถามว่า ถ้าเราใช้ ชีวิตอย่างรู้ตัวมากขึ้นแล้ว เราจะปฏิบัติตนแตกต่างไปอย่างไรบ้าง? เหตุใดการใช้ชวี ิตอย่างรู้ตัว จึงเป็นรากฐานของความเชื่อมั่นในตัวเองและ การเคารพตัวเอง

จิตใจของเราเป็นเครื่องมือพื้นฐานแห่งการอยู่รอดของเรา การบรรลุผล ส�ำเร็จอันโดดเด่นของมนุษย์ทุกอย่างคือภาพสะท้อนความสามารถที่จะคิดของเรา ชีวิตที่ประสบความส�ำเร็จขึ้นอยู่กับการใช้สติปัญญา ในการท�ำภารกิจและบรรลุเป้า หมายที่เราก�ำหนดไว้เพื่อตัวเราเอง และจัดการกับความท้าทายที่เราเผชิญได้อย่าง

128 หฤทัยสัมพันธ์


เหมาะสม นี่คือข้อเท็จจริงทางชีวภาพที่ส�ำคัญของการด�ำรงชีวติ อยู่ของเรา แต่การใช้สติสัมปชัญญะอย่างเหมาะสมไม่ใช่ส่งิ ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ หาก แต่เป็นเรื่องของการเลือก เรามีอิสระที่จะพยายามขยายหรือหดสติสัมปชัญญะของ เรา เราอาจแสวงหาการมองเห็นมากขึ้นหรือน้อยลง เราอาจต้องการที่จะรู้หรือไม่รู้ เราอาจยืนหยัดเพื่อความชัดเจนหรือคลุมเครือ เราอาจใช้ชวี ิตอย่างรู้ตัวหรือครึ่งหลับ ครึ่งตื่น หรือ (เพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่) อย่างหลับใหล/ไม่รู้ตัวเลย นี่คือ ความหมายชั้นสูงสุดของเจตจ�ำนงเสรี ถ้ า ชี วิ ต และความเป็ น อยู ่ ที่ ดี ข องเรานั้ น ขึ้ น อยู ่ กั บ การใช้ ส ติ สั ม ปชั ญ ญะ อย่างเหมาะสม เช่นนั้นแล้ว การให้ค่าต่อการมองเห็นเหนือความมืดบอดจึงเป็น ปัจจัยส�ำคัญที่สุดของความเชื่อมั่นในตัวเองและการเคารพตัวเองของเรา เราแทบไม่ สามารถรู้สกึ มีสมรรถภาพในชีวติ ได้เลยถ้ายังคงล่องลอย (ในการท�ำงาน หรือในชีวิต แต่งงาน หรือในการจัดการกับลูกๆของเรา) ท่ามกลางหมอกควันทางใจที่เกิดจากตัว เราเอง ถ้าเราทรยศต่อเครื่องมือพื้นฐานแห่งการอยู่รอดของเราด้วยการมีชีวิตแบบไม่ ใช้ความคิด ความรู้สกึ ถึงคุณค่าในตัวเองก็จะถดถอยตามไปด้วย โดยไม่เกี่ยวกับว่าคน อื่นจะยอมรับหรือไม่ยอมรับเรา เรา รู้ข้อบกพร่องของเราแม้ว่าคนอื่นจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตาม ความนับถือตนเองคือ ชื่อเสียงที่สั่งสมไว้กับตัวเรา วันๆ หนึ่งเราต้องเลือก ระดับความรู้ตัวในการกระท�ำสิ่งต่างๆ หลายครั้ง ต้องเลือกระหว่างการคิด กับการไม่คิด เมื่อเวลาผ่านไปเราจึง ได้ส�ำนึกเกี่ยวกับบุคคลแบบที่เราเป็นขึ้นมาทีละน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับการเลือกของเรา ความมีเหตุผลและความซื่อตรงที่เราแสดงออก และนั่นคือชื่อเสียงที่ผมพูดถึง ยิ่งเรามีสติปัญญามากเท่าไร ศักยภาพในการรับรู้ของเราก็มากขึ้นด้วย แต่ หลักการใช้ชวี ิตอย่างรู้ตัว/เท่าทันยังคงเหมือนเดิม ไม่เกี่ยวกับว่าเราจะฉลาดมาก หรือน้อย การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัวหมายถึงการพยายามรับรู้ส่งิ ที่มีผลต่อการกระท�ำ จุด ประสงค์ ค่านิยมและเป้าหมายของเราทุกอย่าง และประพฤติตนไปตามสิ่งที่เราเห็น และรู้ การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัวหมายถึงการสร้างสภาวะจิตที่เหมาะสมต่อภารกิจ หฤทัยสัมพันธ์ 129


ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม เช่น การเขียนรายการของใช้ จิปาถะ การพิจารณางบดุล การท�ำสมาธิ ล้วนต้องอาศัยสภาวะทางจิตที่ค่อนข้าง แตกต่าง ต้องอาศัยกระบวนการทางจิตในแบบแตกต่างกัน ถ้าเป็นเรื่องการท�ำงาน ของจิตใจ บริบทแวดล้อมจะเป็นตัวก�ำหนดความเหมาะสมเสมอ การใช้ชวี ิตอย่าง รู้ตัวหมายถึงการรับผิดชอบต่อการรับรู้ที่เหมาะสมต่อการกระท�ำที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และที่ส�ำคัญเหนืออื่นใด นี่คือรากฐานของการมีความเชื่อมั่นในตัวเองและการเคารพ ตัวเอง ดังนั้น ความนับถือตัวเองจึง ไม่ใช่เรื่องของสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เกี่ยวกับว่าเราใช้สติสัมปชัญญะของ เราอย่างไร ซึ่งหมายถึงการเลือกของ เราเกี่ยวกับการรับรู้ ความซื่อสัตย์ต่อ ความเป็นจริง และระดับความซื่อตรงใน ชีวิตของเรา คนที่มีสติปัญญาสูงและมี ความนับถือตัวเองสูงไม่ได้รู้สึกว่าตัวเอง มี ค วามเหมาะสมกั บ ชี วิ ต มากกว่ า หรื อ คู่ควรกับความสุขมากกว่าคนที่มีความนับถือตัวเองสูงและสติปัญญาปานกลางแต่ อย่างใด การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัวนั้นสื่อโดยนัยว่าเราเคารพข้อเท็จจริงของความเป็นจริง ซึ่งหมายถึงข้อเท็จจริงของโลกภายในตัวเราและของโลกภายนอก ซึ่งตรงกันข้ามกับ เจตคติที่บอกว่า “ถ้าคุณเลือกที่จะมองไม่เห็นหรือรับรู้มัน มันก็ไม่มอี ยู่” การใช้ชีวิต อย่างรับผิดชอบจึงเป็นการใช้ชีวิตอย่างรับผิดชอบต่อความเป็นจริง นี่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องชอบสิ่งที่เราเห็น แต่หมายความว่าเรารับรู้ว่า อันไหนใช่อันไหนไม่ใช่ไปตามความเป็นจริง ทั้งหมายความว่าอยาก ความกลัว หรือ การปฏิเสธ ไม่อาจเปลี่ยนข้อเท็จจริงได้ เพื่อให้เข้าใจความหมายของการใช้ชวี ิตอย่างรู้ตัว/รู้เท่าทัน ผมขอยก ตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อจอห์นได้รับการว่าจ้างท�ำงานใหม่ เขาท�ำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองมีความ เชี่ยวชาญที่จ�ำเป็นต่อการท�ำงาน และมองหาวิธีปฏิบัตงิ านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เขา ยังพยายามท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทในการท�ำงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้ตัวเองมี 130 หฤทัยสัมพันธ์


คุณสมบัติเพียงพอต่อการเลื่อนขั้น ไม่ต้องติดอยู่ในระดับที่เราเริ่มต้นตลอดไป ความ ปรารถนาพื้นฐานของเขาคือการเรียนรู้ เพื่อจะได้เติบโตอย่างมั่นใจ มีผลิตภาพ และมี ความสามารถ การใช้ชีวติ อย่างไม่รู้ตัว เมื่อจิมได้รับการว่าจ้างให้ท�ำงานกับบริษัทเดิม เขาจินตนาการว่าถ้าเขาจดจ�ำกิจวัตรของภารกิจที่ได้รับมอบหมายจนขึ้นใจ และไม่ พยายามดึงดูดความสนใจในเชิงลบ เขาก็น่าจะมีความมั่นคงในการท�ำงาน ความ ท้าทายส�ำหรับเขาไม่น่าสนใจเลย เพราะท�ำให้เสี่ยงและต้องใช้ความคิด เขาจึงปฏิบัติ งานไปตามระดับการรับรู้ท่จี �ำเป็นต่อการท�ำงานซ�้ำๆ ตามอย่างที่ถูกสั่งสอนมาในขัน้ ต�่ำสุด โดยไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรใหม่ๆ เลย สายตาแทบไม่เคยเหลือบแลออกนอก สถานปฏิบัตกิ าร ยกเว้นเพื่อจะสมาคมหรือฝันกลางวันเท่านัน้ ไม่ใคร่รู้เกี่ยวกับงานให้ มากขึ้น ท�ำไมเขาต้องกระตือรือร้นด้วย? เขารู้สกึ ว่ามีงานท�ำแล้ว เขาวางนาฬิกาเล็กๆ ไว้ตรงหน้า เพื่อจะได้รู้ทันทีที่ถึงเวลาห้าโมงเย็น ซึ่งเป็นเวลากลับบ้าน เมื่อต้องเผชิญ กับหัวหน้างานเพราะความผิดพลาดที่เขาท�ำ เขามักแก้ตัวและรู้สกึ โกรธอยู่ข้างใน ครั้นเมื่อจอห์นได้รับการเลื่อนขัน้ ในขณะที่จิมไม่ได้ จิมรู้สึกงงและไม่พอใจ รูปแบบพฤติกรรมทั้งสอง อันไหนคล้ายกับชีวิตคุณมากกว่ากัน? และอะไร คือผลกระทบของพฤติกรรมดังกล่าวต่อความนับถือของคุณ? การใช้ชวี ติ อย่างรูต้ วั เซเรน่า หญิ ง ผู ้ แ ต่ ง งานแล้ ว อย่ า งมี ค วามสุ ข เคยพูดกับผมว่า “แค่หนึ่งชั่วโมงหลัง จากที่ฉันได้พบผู้ชายที่ฉันแต่งงานด้วย ฉันบรรยายให้คุณฟังได้เลยว่าเขาจะ ต้องเป็นคนที่อยู่ด้วยยากยังไงบ้าง ฉัน คิดว่าเขาเป็นคนที่น่าตื่นเต้นที่สุดเท่าที่ เคยรู้จักมา แต่ฉันไม่เคยหลอกตัวเอง เรื่องว่าเขาเป็นคนหมกมุ่นกับตัวเองมากที่สุดเช่นกัน เขาท�ำตัวเหมือนศาสตราจารย์ ผู้เลื่อนลอย ใช้เวลาอยู่กับโลกส่วนตัวค่อนข้างมาก ฉันต้องยอมรับเรื่องนั้น ไม่งั้นก็ คงต้องเสียใจมากภายหลัง เขาไม่เคยเสแสร้งเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเป็น ฉันไม่เข้าใจคนที่ สารภาพว่ารู้สึกเจ็บปวดหรือตกใจกับสิ่งที่คู่ครองของตนแสดงออกมาในภายหลัง ใครจะเป็นอย่างไรมันเห็นได้ชัดถ้าคุณจะใส่ใจสักหน่อย ตลอดชีวิตการแต่งงาน ฉันไม่ เคยมีความสุขไปมากกว่าที่ฉันเป็นอยู่ตอนนี้เลย แต่ไม่ใช่เพราะฉันบอกตัวเองว่าสามี หฤทัยสัมพันธ์ 131


ของฉัน ‘สมบูรณ์แบบ’ หรือ ‘ไร้ข้อบกพร่อง’ ฉันคิดว่านั่นคือเหตุผลที่ฉันซาบซึ้งกับ ความเข้มแข็งและความดีของเขาอย่างมาก ฉันพร้อมที่จะเห็นทุกอย่าง ” การใช้ชีวิตอย่างไม่รู้ตัว หญิงสาวนามแครอลซึ่งมาพบเพื่อรับการบ�ำบัด จิตบอกในการพบกันครัง้ แรกว่า “ฉันโชคร้ายเรื่องผู้ชายสุดๆ มีผู้หญิงกี่คนกันที่คนรัก สามคนรวดทุบตีเธอเหมือนกันหมด? ฉันไม่รู้ว่าท�ำไมมันเกิดขึ้นกับฉัน ท�ำไมต้องเป็น ฉัน พระเจ้า ท�ำไมต้องเป็นฉันตลอด? แต่ฉันก็พูดไม่ได้ว่าฉันพยายามท�ำความรู้จัก ผู ้ ช ายคนหนึ่ ง ก่ อ นจะ...รู ้ ไ หม ฉันหมายถึงความตื่นเต้นส่วน หนึ่งอยู่ตรงความประหลาดใจ ไม่ใช่หรือ? มันเป็นสิ่งที่ท�ำให้ ตกใจมากเสมอ ไม่อยากเชื่อ เลยว่ามันก�ำลังเกิดขึ้น! ฉัน หมายถึงเมื่อพวกเขาเริ่มเหวี่ยง โอ คิดว่าลึกๆ ฉันก็พอรู้...ใน ระดับหนึ่ง...ว่าพวกเขาก�ำลังจะเป็นปัญหา มันมีสัญญาณ แต่ฉันอยากให้ส่งิ ต่างๆ ออกมาดี ฉันอยากให้แต่ละคนเป็นคนที่ใช่ เพราะฉะนั้น ต่อให้ได้ยินมาว่าเขาท�ำตัว กับผู้หญิงอื่นยังไง ฉันก็บอกตัวเองว่า ‘เขาจะต้องแสดงออกกับฉันไม่เหมือนอย่าง นั้น’ ฉันคิดว่าผู้หญิงคนอื่นก็คงบอกตัวเองแบบนัน้ เหมือนกัน...แม่เคยบอกว่า ‘ดูให้ดี ก่อนตัดสินใจ’ แต่แบบนั้นมันจะสนุกได้ไง? ฉันชอบแบบแค่หลับตา...แล้วก็กระโดลง ไป อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด! นั่นแหละปรัชญาของฉัน ถ้าเพียงแต่ฉันได้เจอผู้ชายแบบที่ ดีกว่านะ” แน่นอน ผู้หญิงสองคนนี้มีเจตคติตรงข้ามกันสุดขัว้ แต่ในความ สัมพันธ์ส่วนตัวของคุณ เจตคติแบบไหนใกล้เคียงของคุณมากกว่ากัน การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัว เมื่อโรเจอร์เติบโตขึ้น เขาได้เห็นและได้ยนิ สิ่งที่ตนไม่ เข้าใจหลายอย่าง เขาได้ยินแม่พร�่ำสอนเขาเรื่องความดีของการซื่อสัตย์ แต่กลับได้ยนิ แม่โกหกเพื่อนบ้านหลายครัง้ เห็นพ่อมองแม่ด้วยความเกลียดชังแวบหนึ่งหลังจากพูด กับแม่ว่า “ใช่จ้ะที่รัก คุณพูดถูก ผมขอโทษนะ” เขาเห็นว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่แทบไม่เคย พูดความจริงเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเองเลย เห็นว่าพวกเขามักดูไม่มคี วามสุขและ พ่ายแพ้ แต่นั่นไม่ได้ท�ำให้พวกเขาหยุดเทศนาเรื่องการใช้ชีวิตให้ประสบความส�ำเร็จ พวกเขาดูจะสนใจว่าคนอื่นคิดยังไงมากกว่าในใจว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง เขารู้สึกผิด 132 หฤทัยสัมพันธ์


หวังและบางครัง้ ตกใจกับสิ่งที่ได้เห็น แต่ยังคงเฝ้าดู พยายามท�ำความเข้าใจต่อไป เขา รู้ว่าตัวเองไม่อยากเป็นเหมือนผู้ใหญ่รอบตัว เขารู้สึกว่าไม่มีคนที่สามารถชื่นชมได้ อย่างแท้จริง แต่เขาก็ไม่ปฏิเสธว่าเขาชื่นชมคนที่เขารู้จัก เขาแทบจะทนรอให้เติบโต เป็นผู้ใหญ่ไม่ไหว จะได้ออกไปอยู่ข้างนอกและค้นหาทางที่มันดีกว่าที่พวกผู้ใหญ่ท่เี ขา พบเจอเสนอให้ ระหว่างนั้นเขาบอกตัวเองว่า ไม่มีอะไรส�ำคัญเท่าการปกป้องมุมมอง ที่ชัดเจนของเขาไว้...และไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความสิ้นหวัง แม้จะชอกช�ำ้ สะบักสะบอม และแปลกแยกจากคนรอบข้าง แต่เขายังสู้ทน เขาพยายาม และเติบโตเพื่อค้นพบ เพื่อนที่เขาสามารถชอบและชื่นชมได้ เพื่อค้นพบความเป็นไปได้ของการมีชีวิตอย่างที่ เขาฝันถึงตอนเป็นเด็ก ตอนที่ยังไม่รู้ด้วยซ�ำ้ ว่าจะใช้ค�ำอะไรเรียกชื่อมัน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ เขาจึงค้นพบค�ำนัน้ และค้นพบความเป็นจริงด้วย การใช้ชีวิตอย่างไม่รู้ตัว มิลตันอยู่ในโลกที่คล้ายกับโรเจอร์อย่างมาก แต่ เขาได้ข้อสรุปที่แตกต่างในช่วงแรกๆ ของชีวิต เขาแอบได้ข้อสรุปด้วยความสิ้นหวังว่า เห็นมากไปก็เป็นอันตราย เขา อยากได้รับการยอมรับ อยาก เป็ น ที่ รั ก และรู ้ สึ ก กั บ เรื่ อ งนี้ มากกว่าอย่างอื่นทั้งหมด เขาจึง แสร้งท�ำเป็นไม่เห็นเวลาผู้ใหญ่ โกหกหรื อ ท� ำ ตั ว หน้ า ไหว้ ห ลั ง หลอกหรือโหดร้าย และเรียนรู้ที่ จะเลียนแบบพฤติกรรมของคน พวกนั้น สุดท้ายก็รู้สกึ ว่ามันเป็น เรื่องปกติเหมือนการหายใจ ตอนเป็นวัยรุ่น เขาสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับความตื่นเต้น ที่เขาเคยรู้สึกครัง้ ยังเป็นเด็กชายตัวน้อย แต่เขารับผลักความคิดนั้นออกไป พออายุได้ ยี่สิบ วันหนึ่งพ่อพูดกับเขาว่า “ลูกคิดว่าชีวิตเป็นเรื่องของการมีความสุขไหม?” มิลตัน ถึงกับงงไปเลย เขารู้ว่าพ่อไม่ต้องการค�ำตอบ พ่อเพียงแต่พูดถึงสิ่งที่มันชัดแจ้งอยู่แล้ว ขณะที่นั่งดื่มกับเพื่อนๆ ตอนอายุสามสิบ มิลตันพูดว่า “ฉันจะบอกความลับของชีวิต ให้ฟัง แค่ท�ำๆมันไป ไม่ต้องคิดมาก แล้วนายจะไม่รู้สกึ เจ็บปวด” ทุกคนรู้สกึ ว่ามิลตัน เป็นเหมือนคนทั่วๆไป ยกเว้นลูกๆที่สับสนของเขา ที่มองเห็นสายตาว่างเปล่าของผู้เป็น พ่อ แต่ส�ำหรับผู้ใหญ่ด้วยกันเขาดูเป็นปกติทุกอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่มิลตันต้องการเสมอ และยินดีขายวิญญาณเพ่อแลกกับมัน แล้วเขาก็ท�ำจริงๆด้วย หฤทัยสัมพันธ์ 133


คุณสามารถเชื่อมโยงจิตวิทยาของผู้ชายคนใดคนหนึ่งกับของตัวเองได้ไหม? ถ้าได้ มันช่วยชี้ทางสว่างในเรื่องอะไร? การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัว คาเรลเป็นนักวิทยาศาสตร์การวิจัยสาขาชีวเคมี เธอ เขียนบทความหลายชิ้นว่าด้วยทฤษฎีที่เธอคิดขึ้นซึ่งได้รับการยกย่องอย่างสูง และมี ผู้คนในวงการเดียวกันติดตามมากมาย ต่อมาเธอได้อ่านบทความเกี่ยวกับการค้นพบ ที่ ไ ด้ จ ากการทดลองบางอย่ า งใน วารสารที่ตีพิมพ์ในออสเตรเลียแต่ ไม่มีชื่อเสียงเด่นดังอะไร การค้นพบ นี้ถ้าได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริงแล้ว จะหักล้างทฤษฎีของเธอโดยสิ้นเชิง เธอจึงจ�ำลองการทดลองดังกล่าว และพบว่าทฤษฎีของเธอไม่มีหลัก ฐานยืนยันจริงๆ และเขียนบทความ เพื่อชี้แจงเรื่องดังกล่าว เมื่อเพื่อนร่วมวงการที่ปากจัดถามเธอว่าเหตุใดเธอจึงเลือก ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตนเอง ด้วยรายงานที่ปรากฏใน วารสารที่ไม่มีใครเคยได้ยินชื่อเลย เธอมองเขาด้วยความไม่เข้าใจ ซึ่งยิ่งท�ำให้เพื่อน ร่วมวงการของเธอโมโห “ฉันสนใจแต่เรื่องจริงเท่านั้น” เธอบอก “แล้วความจริงคือ อะไรล่ะ?” เพื่อนร่วมวงการของเธอยักไหล่ท�ำเป็นไม่สนใจ การใช้ชีวิตอย่างไม่รู้ตัว ในกรณีนี้ก็คือความคิดจิตใจของเพื่อนร่วมวงการ ที่กล่าวถึงในเรื่องข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพใดก็ตาม เจตคติต่อความเป็นจริงที่ขัดแย้งของคนทั้งสองนี้แบบไหนตรงกับของคุณ? และคุณมีความเสมอต้นเสมอปลายแค่ไหน? ส�ำนึกเกีย่ วกับตัวตนของคุณได้รบั ผลกระ ทบอย่างไร? การใช้ชวี ติ อย่างรูต้ วั ทุกครัง้ ทีเ่ คย์ตดั สินใจตัง้ เป้าหมายใหม่ เธอจะถามตัวเอง ทันทีวา่ สิง่ ทีจ่ ำ� เป็นต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวมีอะไรบ้าง เมือ่ เธอต้องการเปิดธุรกิจ ของตัวเอง เธอจัดเตรียมแผนปฏิบตั ิ ซึง่ รวมถึงกลยุทธ์ปลีกย่อยเพือ่ ช่วยให้เธอขยับสูจ่ ดุ หมายทีต่ อ้ งการเอาไว้อย่างละเอียด จากนัน้ จึงลงมือปฏิบตั ิ เธอไม่ได้เฝ้ารอให้ใครมาช่วย ท�ำความฝันให้เป็นจริง ถ้ามีสงิ่ ใดผิดพลาดไป ปฏิกริ ยิ าตอบสนองปกติของเธอคือ “ฉันมอง ข้ามอะไรไปนะ?” เมือ่ เจออุปสรรคก็ไม่ได้คดิ จะโทษใครแต่คดิ หาทางแก้ไข เธอรับผิดชอบ ต่อการท�ำตัวเป็นเหตุทที่ ำ� ให้เกิดผลทีเ่ ธอต้องการ เมือ่ ส�ำเร็จ เธอจึงไม่แปลกใจแต่อย่างใด 134 หฤทัยสัมพันธ์


การใช้ ชี วิ ต อย่ า งไม่ รู ้ ตั ว แมรี่ ไ ม่ มี ค วามสุ ข กั บ การท� ำ งานใน ร้านเสื้อผ้า และฝันถึงการมีร้านของ ตัวเอง แต่เมื่อเพื่อนๆ ถามเธอว่า ท�ำไมถึงคิดว่าตัวเองจะท�ำส�ำเร็จ และ จะท�ำได้อย่างไร เธอตอบว่า “แล้วมัน ไม่ใช่เรื่องดีตรงไหน?” เมื่อถูกเจ้านาย ต�ำหนิที่เอาแต่ฝันกลางวันในเวลางาน ไม่สนใจดูแลลูกค้า เธอบอกตัวเองว่า “มันยากที่จะมาสนใจเรื่องไม่ส�ำคัญ โดยเฉพาะ เวลาที่ฉันก�ำลังนึกถึงสิ่งที่ฝันอยู่เนี่ย” เมื่อเพื่อนคนหนึ่งแนะน�ำว่าคงเป็นการดีถ้าเธอ แสดงความคิดริเริ่มในเรื่องงานมากขึ้น เธอตอบว่า “ฉันจะยอมสละตัวเองเพื่อท�ำงาน ให้คนอื่นไปท�ำไม?” และเมื่อได้ยินว่านายจ้างไม่ต้องการเธออีกแล้ว เธอรู้สกึ ตกใจและ เหมือนถูกหักหลัง เธอได้แต่สงสัยว่าท�ำไมถึงสามารถท�ำฝันให้เป็นจริงในขณะที่เธอท�ำ ไม่ได้ และเธอเริ่มคิดว่า “บางทีฉันอาจเป็นคนซื่อสัตย์เกินกว่าจะท�ำธุรกิจส�ำเร็จ” เธอ เริ่มรู้สึกถึงความเกลียดที่ก่อตัวขึ้นในใจ แต่เธอเรียกมันว่า “เป็นความโกรธแค้นต่อ ความอยุตธิ รรม ‘ของระบบ’ ” ถ้าคุณรู้จักผู้หญิงสองคนนี้ คุณเหมือนคนไหนมากกว่ากัน? คนไหนท�ำให้ คุณนึกถึงตัวเองมากกว่า? และคุณมองเห็นนัยส�ำคัญที่มีต่อความเชื่อมั่นในตัวเองและ การเคารพตัวเองของคุณไหม? เมื่อพิจารณาตัวอย่างก่อนหน้านี้ ลองสังเกตประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ ชีวิตอย่างรู้ตัว เปรียบเทียบกับ การใช้ชวี ิตอย่างรู้ไม่ตัว • การคิด (แม้ในยามที่การคิดท�ำได้ยาก) vs การไม่คดิ • การตระหนักรู้ (แม้ในยามทีก่ ารตระหนักรูเ้ ป็นความท้าทาย) vs การไม่รบั รู้ • ความชัดเจน (ไม่วา่ จะเกิดขึน้ ยากหรือง่าย) vs ความไม่ชดั เจน ความ คลุมเครือ • การเคารพต่อความเป็นจริง (ไม่วา่ จะน่าพอใจหรือเจ็บปวด) vs การหลีก เลีย่ งความเป็นจริง • การเป็นอิสระ vs การพึ่งพิง • ความโน้มเอียงที่จะผลักดันตนเอง vs ความโน้มเอียงที่จะเฉื่อยชา ตั้งรับ • ความเต็มใจที่จะเสี่ยงตามสมควร (แม้ในยามที่ต้องเผชิญความกลัว) vs หฤทัยสัมพันธ์ 135


ความไม่เต็มใจ • ความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง vs ไม่ซ่อื สัตย์ต่อตัวเอง • การใช้ชีวติ อยู่กับปัจจุบัน รับผิดชอบต่อปัจจุบัน vs การถอยกลับไปใน ความฝันเฟื่อง • การเผชิญหน้ากับตัวเอง vs การหลีกหนีตัวเอง • ความเต็มใจจะมองเห็น และการแก้ไขความผิดพลาด vs การดึงดันท�ำสิ่ง ที่ผิดพลาดต่อไป • เหตุผล vs การปฏิเสธเหตุผล ในเรือ่ งราวทีก่ ล่าวถึงก่อนหน้า คุณจะพบแง่มมุ ทัง้ หมดนีป้ รากฏอย่างชัดเจน ประเด็ น ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด อย่ า งหนึ่ ง เกี่ ย วกั บ การใช้ ชี วิ ต อย่างรู้ตัวคือความเป็นอิสระทางปัญญา คนคนหนึ่งไม่ สามารถคิดผ่านจิตใจของผู้อื่น เราสามารถเรียนรู้จากคนอื่น แต่ความรู้แท้จริงส่อนัยถึงความเข้าใจ ไม่ใช่แค่การท�ำซ�ำ้ หรือลอกเลียน เราสามารถใช้จิตใจของเราเอง หรือ โยนความรับผิดชอบเรื่องความรู้และการประเมิน ไปให้คนอื่น และยอมรับค�ำตัดสินของพวกเขา โดยไม่ไตร่ตรองแยกแยะ แน่นอน บางครั้งเราก็ได้รับอิทธิพล จากผู้อื่นมาแบบไม่รู้ตัว แต่มันก็ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่ามีความแตกต่าง ระหว่างจิตใจของผู้ท่ีพยายามท�ำความเข้าใจสิ่ง ต่างๆ เพื่อตัวเองกับคนที่ไม่พยายาม สิ่งส�ำคัญในที่นี้คือเจตนาของเรา เป้าหมายของ เรา ถ้าเป็นเรื่องทั่วไปแล้ว คุณตั้งเป้าที่จะคิดด้วยตัวเองไหม? นี่คือความโน้มเอียงโดย พื้นฐานของคุณไหม? การพูดถึง “การคิดอย่างเป็นอิสระ” มีประโยชน์เพราะการพูดซ�ำ้ ก็มีคุณค่า ในแง่ของการเน้นย�ำ้ ความส�ำคัญ หลายครั้งสิ่งที่คนเรียกว่า “การคิด” แท้จริงแล้วเป็น แค่การน�ำความคิดเห็นของผู้อื่นกลับมาใช้ใหม่ ไม่ใช่การคิดจริงๆ แต่อย่างใด การคิด อย่างเป็นอิสระ ทั้งเรื่องงาน ความสัมพันธ์ ค่านิยมที่จะชี้น�ำทางชีวิตของเรา เป็นส่วน หนึ่งในความหมายของการใช้ชวี ิตอย่างมีสติรู้ตัว 136 หฤทัยสัมพันธ์


ความเป็นอิสระคือความดีงามจากการมีความนับถือตัวเอง เมื่อพิจารณาภาพตัวอย่างก่อนหน้านี้ คุณอาจอยากถามว่า คนที่ใช้ชีวิต อย่างรู้ตัวไม่ได้มคี วามนับถือตัวเองดีอยู่แล้วหรือ และคนที่ใช้ชีวิตอย่างไม่รู้ตัวก็ไม่ได้ ขาดความนับถือตัวเองดีอยู่แล้วหรอกหรือ? แล้วการใช้ชวี ิตอย่างรู้ตัว/รู้เท่าทัน จะเป็น รากฐานของความนับถือตัวเองได้อย่างไร? ประเด็นของเราตรงนี้คือสิ่งที่ผมเรียกว่า หลักแห่งการเป็นเหตุและเป็นผล ซึ่งกันและกัน ซึ่งหมายความว่าพฤติกรรมที่สร้างความนับถือตัวเอง ก็แสดงถึงการ มีความนับถือตัวเองเช่นกัน และพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความนับถือตัวเอง ก็ เป็นต้นตอของความนับถือตัวเองเช่นกัน การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัว/รู้เท่าทัน จึงเป็นทั้งเหตุ และผลของความเชื่อมั่นในตัวเองและการเคารพตัวเอง ยิ่งผมใช้ชีวิตอย่างรู้ตัวมากขึ้น ผมก็ยิ่งเชื่อมั่นจิตใจและเคารพคุณค่าของตัว เองมากขึ้น เมื่อผมมั่นในจิตใจและเคารพคุณค่าของตัวเองมากขึ้น การใช้ชวี ิตอย่าง รู้ตัวก็ให้ความรู้สกึ เป็นธรรมชาติมากขึ้น ความสัมพันธ์เดียวกันนี้มีอยู่ในพฤติกรรมที่ สร้างเสริมความนับถือตัวเองทั้งหมด เมื่อ คิด ถึง เรื่อ งราวเหล่ า นี้ แล้ว คุณรู้ไหมว่าชีวิตด้านไหนของ คุณที่คุณใช้ชีวิตอย่างรู้ตัวมากที่สุด? แล้วด้านไหนที่คุณใช้ชีวิตอย่างไม่รู้ ตัวมากที่สุด? ใช้ข้อมูลในบทนี้เป็น แนวทางเขียนการใช้ชีวิตทั้งสองแบบ ลงในสมุดบันทึก นี่คือวิธีท่ดี ีเยี่ยม ที่ท�ำให้คุณเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่าการใช้ ชีวิตอย่างรู้ตัวนัน้ มีความหมายอย่างไรส�ำหรับคุณ สมมติว่าคุณระบุออกมาได้ว่า มีอยู่สามด้านที่คุณใช้ชีวิตแบบไม่มสี ติรู้ตัว เท่าที่ควร ใคร่ครวญว่าท�ำไมการคงความรู้ตัวในแต่ละด้านจึงเป็นเรื่องยาก จากนั้นให้ เขียนประโยคหัวเชื้อส�ำหรับแต่ละด้านว่า ความยากของการคงความรู้ตัวเต็มที่คือ – แล้วเขียนข้อความปิดท้ายสักหกถึงสิบข้อความให้เร็วที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ โดยไม่ต้องตรวจสอบตัวเองหรือใช้“การคิด” แต่อย่างใด และให้ท�ำแบบเดียวกันนี้กับ แต่ละด้าน ด้วยการเขียนประโยคหัวเชื้อว่า หฤทัยสัมพันธ์ 137


ข้อดีของการไม่ต้องรู้ตัว/รู้เท่าทันในที่นี้คือ – และประโยค ถ้าฉันมีสติรู้ตัวเต็มที่ เขี ย นข้ อ ความปิ ด ท้ า ยสั ก หกถึ ง สิ บ ข้อความให้เร็วที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ โดยไม่ต้อง ตรวจสอบตัวเองหรือใช้ “การคิด” แล้วคุณจะ ได้ค้นพบสิ่งที่ช่วยชี้ทางสว่างในจิตใจคุณ แค่ท�ำ แบบฝึกหัดนี้ คุณก็ใช้ชีวิตอย่างมีสติรู้ตัวและรู้ เท่าทันแล้ว สุดท้ายนี้ ลองใช้ความคิดเกี่ยวกับชีวิต ของคุณในวันพรุ่งนี้ และในอีกเจ็ดวันข้างหน้า พิจารณาค�ำถามว่าคุณจะประยุกต์ความคิดเหล่า นี้กับเรื่องราวในชีวิตประจ�ำวันของคุณอย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเลือก ทีจ่ ะรูต้ วั ในการท�ำงานมากขึน้ คุณน่าจะ มีพฤติกรรมแตกต่างไปอย่างไร? ถ้าคุณเลือกทีจ่ ะรูต้ วั ในความสัมพันธ์ตา่ งๆ มันจะเกิด การเปลีย่ นแปลงอย่างไรในพฤติกรรมของคุณ? ถ้าคุณต้องการเติบโตอย่างเชือ่ มัน่ ในตัว เองและเคารพตัวเองแล้ว ขอให้เริม่ ต้นตอนนีเ้ ลย จงระบุพฤติกรรมใหม่สามพฤติกรรม ทีเ่ กีย่ วข้องกับการท�ำงานและความสัมพันธ์ทคี่ ณ ุ สามารถปฏิบตั ไิ ด้ในสัปดาห์นี้ และ ทดลองมันด้วยตัวเอง จากนั้นค่อยขยายการท�ำแบบฝึกหัดนี้ไปอีกเจ็ดวัน และอีกเจ็ดวัน เพื่อขยาย สติรับรู้ของคุณมากขึ้น ทีละหนึ่งก้าวเล็กๆ เรื่องการเพิ่มความนับถือตนเองนี้ เราจะ ท�ำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ด้วยการฝันถึงก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยการเอาตัวเอง เข้าสู่การปฏิบัตภิ ารกิจตามวิสัยทัศน์ท่ขี ยายใหญ่ขึ้นทีละนิดด้วยความอดทน ใช่ว่าการก้าวกระโดดและการเปลี่ยนผ่านที่ไม่ธรรมดาจะเกิดขึ้นไม่ได้ มัน เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่กับผู้ท่รี อคอยด้วยความเฉื่อยชาว่างเปล่า เราต้องลงมือท�ำ และ เราต้องเริ่มต้นจากจุดที่เราอยู่ การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยสู่ความรู้ตัวที่มากขึ้น เป็นการเปิดสู่ประตูอกี บานหนึ่ง และอีกบานหนึ่ง เริ่มต้นตรงไหนไม่ส�ำคัญหรอก สิ่ง ส�ำคัญอยู่ที่เรารับผิดชอบเรื่องการเริ่มต้นต่างหาก

138 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 139


140 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 141


142 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 143


144 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 145


146 หฤทัยสัมพันธ์


เยาวนารี ผู้อบรม : ซิสเตอร์เทเรซา นุจรา เที่ยงงามดี รายชื่อเยาวนารี ปีการศึกษา 2014/2557 1. มารีอา นิธินันท์ ริทู ม.3 2. มารีอา มาการีตา ชญานี ปิยชนน์สริ ิ ม.3 3. มารีอา พัชรา กิจบ�ำรุง ม.3 4. อักแนส วัชราภรณ์ ผลลาภ ม.3 5. อันนา สิรินรัตน์ สุขใหญ่ ม.2 6. คลารา บุษรา บุญพิทกั ษ์สกุล ม.2

วัดพระวิสุทธิวงศ์ ห้วยบง เชียงใหม่ วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร กม. 48 วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูรด์ หัวตะเข้ วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หัวตะเข้ วัดแม่พระเมืองลูร์ด โคราช โรงเรียนแม่พระสกลสงเคราะห์ บางบัวทอง หฤทัยสัมพันธ์ 147


7. อากาทา ฐิติรัตน์ ประทุมตรี ม.2 8. อันนา รวินทร์ เงินปาน ม.2 9. อันนา ธีรลักษณ์ สิทธิ ม.2 10. มารีอา รัตนาวดี เทวีพันธ์ ม.2 11. ยูลิอานา เปรมวดี มหายุวานนท์ ม.2 12. มารีอา ศุภกานต์ ไตรสุวรรณ ม.1 13. เทเรซา ทานตะวัน บัวขันธ์ ม.1 14. เทเรซา ภัททสร ศรีสมโภชน์ ม.1 15. มารีอา นาตาชา ก่อเกิด ม.1 16. โรซา ธฐิชา ผิวยะเมือง ม.1 17. มารีอา กชพร ชูแก้ว ม.1 18. มารีอา พนิดา พาดี ม.1 19. เทเรซา ณัฐริกา ห่อทอง ม.1 20. อักแนส บัณฑิตา วาปีทะ ม.1 21. มารีอา นีรา เอียงผาสุข ม.1 22. เทเรซา ประวิชา ตันเจริญ ม.1

วัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�ำ้ วัดนักบุญยวง บัปติสตา เจ้าเจ็ด วัดพระชนนีของพระเป็นเจ้า รังสิต วัดพระวิสุทธวงศ์ นิรมัย วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา วัดนักบุญเทเรซา หนองจอก วัดพระนามเยซู โพนสวาง สกลนคร วัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา วัดพระนามเยซู โพนสวาง สกลนคร วัดนักบุญเทเรซา หนองจอก วัดอัครเทวดามีคาแอล วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หัวตะเข้ วัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ว วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ วัดอัครเทวดามีคาแอล

กิจกรรมต่างๆของเยาวนารี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2014/2557 1. วันจันทร์ท่ี 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์นุจรา เที่ยงงามดี น�ำเยาวนารีไป พักผ่อนร่วมกัน ที่หาดหฤทัย หัวหิน

148 หฤทัยสัมพันธ์


2. วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสวันสมโภช พระคริสตวรกาย ณ วัดน้อยอารามพระหฤทัยฯ

3. วันศุกร์ท่ี 27 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ร่วมเป็นนักขับร้อง โอกาสวันสมโภชพระหฤทัย พระเยซูเจ้า และฉลองอารามพระหฤทัยฯ

4. วันที่ 11-13 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ร่วมโครงการฝึกสมาธิ โดยอาจารย์นริศ มณีขาว ณ บ้านสวนด�ำเนิน จ. ราชบุรี

หฤทัยสัมพันธ์ 149


5. วันที่ 18-20 สิงหาคม 2557 เข้าร่วมโครงการสร้างคนดีสู่สังคม “ค่ายคุณธรรม ส�ำหรับเยาวชน: ค่ายเยาวชนสมานฉันท์” จังหวัดนนทบุรี ประจ�ำปี 2557

6. วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันแต่งตัง้ ผู้อ่าน พระคัมภีร์ ประจ�ำวัดอารามพระหฤทัย

7. วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เยาวนารีเยี่ยมซิสเตอร์อาวุโสที่บ้านพระแม่ ผู้ปฏิสนธินริ มล

150 หฤทัยสัมพันธ์


8. โครงการพัฒนาศักยภาพทางด้านดนตรี และในโอกาสพิเศษได้เดินทางไปร่วมพิธี บูชา ขอบพระคุณ ณ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา และได้เรียนรู้ทักษะด้านดนตรีกับ ซิสเตอร์สายพิณ สุขสุศิลป์

9. วันที่ 6-9 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ร่วมจัดกิจกรรมค่ายธิดาพระหฤทัยฯ ณ อาราม พระหฤทัยฯ

หฤทัยสัมพันธ์ 151


10. วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ไปร่วมฉลองวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�ำ้

11. ซิสเตอร์นุจรา เที่ยงงามดี ออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครองของเยาวนารีตามบ้าน

152 หฤทัยสัมพันธ์


แอสปีรันต์รุ่นเล็ก ผู้อบรม: ซิสเตอร์อันนา อัจฉราพรรณ อุ่นหล้า รายชื่อแอสปีรันต์ ปีการศึกษา 2014/2557 1. มารีอา อิสริยาภรณ์ ศรีสวัสดิ ์ ม.6 2. เอลิซาเบธ รัชนีกร ศรีประมงค์ ม.6 3. มารีอา มาริษา สุเวียรพันธ์ ม.5 4. มารีอา นุสรา แสงจรัสวงศ์ ม.5 5. ลูซีอา พรชิตา ยงบรรทม ม.5 6. มารีอา พิริยาภรณ์ สุวรรณเกื้อ ม.5 7. เซซีลอี า วันเมษา กาญจนวิวิญ ม.5 8. เทเรซา กาญจนา แย้มเกตุ ม.5 9. เทเรา กัญญารัตน์ ข่าขันธ์มาลี ม.5 10. เทเรซา ลัดดามาศ แซ่โซ้ง ม.4 11. มารีอา พงษ์นภา ตรีมรรคา ม.4 12. อักแนส ธนพร บุญอ่อน ม.4 13. มารีอา ณิชากร ชูศรี ม.4 14. เซซีลีอา กัลญาณี ศรีสวัสดิ์ชัชวาล ม.4

วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ วัดแม่พระประจักษ์ สองพี่น้อง วัดแม่พระประจักษ์ สองพี่น้อง วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ วัดอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ วัดเซนต์ร็อค ท่าไข่ วัดอัครเทวดาราฟาแอล วัดนักบุญยวง บัปติสตา เจ้าเจ็ด วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา วัดพระหฤทัยสวรรคโลก วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน วัดนักบุญมาร์โก วัดแม่พระประจักษ์ บางสะแก วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา หฤทัยสัมพันธ์ 153


กิจกรรมต่างๆ ของแอสปีรันต์รุ่นเล็ก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2014/2557 1. แอสปีรันต์รุ่นเล็ก พบคุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี โอกาสเปิดปีการศึกษา 2014/2557

2. วันที่ 6-8 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้า จัดกิจกรรม ต้อนรับน้องใหม่ พร้อมทั้งจัดสัมมนาเรื่องการสื่อสารให้กับแอสปีรันต์ โดยเชิญ คุณพ่อบุญส่ง หงษ์ทอง เป็นวิทยากร ณ วัดพระเมตตา จ.ราชบุรี

154 หฤทัยสัมพันธ์


3. วันอังคารที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2014 แอสปีรนั ต์รว่ มกิจกรรมกับทางโรงเรียนพระหฤทัย คอนแวนต์โอกาสระลึกถึงคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี มหาธิการิณคี นแรก และผูร้ ว่ มก่อตัง้ คณะภคินพี ระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯและโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

4. วันที่ 15-16 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เข้ารับการอบรมผู้อ่านพระคัมภีร์ ณ ห้อง ประชุมอารามพระหฤทัยฯ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของการเป็นผู้อ่าน พระคัมภีร์ท่ดี ี

หฤทัยสัมพันธ์ 155


5. วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้า จัด กิจกรรมเสริมสร้างชีวิตฉันท์พ่นี ้อง โดยให้แอสปีรันต์ได้ไปทัศนศึกษา เยี่ยมชม เกาะเกร็ดบ้านขนมหวาน

6. วันที่ 6-9 ตุลาคม ค.ศ. 2014 แอสปีรันต์ได้ช่วยฝ่ายอบรมฯ ในการจัดค่ายธิดา พระหฤทัย “ยุวทูต ประกาศรักพระหฤทัยฯ” โดยท�ำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและช่วย งานของแต่ละฝ่ายในค่าย เช่นฝ่ายพิธีกรรม สันทนาการและฝ่ายอาคารสถานที่ ท�ำให้ค่ายส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

156 หฤทัยสัมพันธ์


7. วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2014 แอสปีรันต์ได้ไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสฉลองวัดราฟาแอล ปากน�้ำ และเยี่ยมชมสวนสัตว์สมุทรปราการ

8. ทุกวันเสาร์ แอสปีรันต์ได้เรียนดนตรีเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของตนเอง กับ อาจารย์ศิรอิ ร บุญเต็ม

หฤทัยสัมพันธ์ 157


แอสปีรันต์รุ่นใหญ่ ผู้อบรม: ซิสเตอร์มารีอา ดรุณี ศรีประมงค์ รายชื่อแอสปีรันต์รุ่นใหญ่ ปีการศึกษา 2014/2557 1. มาร์การิตา อัญชิสา ตัง้ ตระกูลชัยยะ วัดนักบุญเปโตร สามพราน 2. อักแนส จารีย์ สุขด�ำรงวนา วัดนักบุญปาตริก เชียงใหม่ 3. อากาทา ปรีญาพร พึ่งยนต์ วัดมารีสวรรค์ ดอนเมือง 4. ลูซีอา จุฑามาศ เมืองรัตน์ วัดพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล 5.เทเรซา เกศรินทร์ ฤทธิเนติกุล วัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ เข็กน้อย 6. เทเรซา ภาณุมาศ ตรีมุข วัดเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน 7. อักแนส สราลี ปลัดศรี วัดพระวิสุทธิวงศ์ อ�ำนาจเจริญ

158 หฤทัยสัมพันธ์


กิจกรรมต่างๆ ของแอสปีรันต์รุ่นใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2014/2557 1. ในแต่ละสัปดาห์ แอสปีรนั ต์จะไปเข้าร่วมกลุม่ วิถชี มุ ชนวัดกับสัตบุรษุ วัดนักบุญเปโตร เพือ่ แบ่งปันพระวาจาร่วมกัน และในทุกวันอาทิตย์ เป็นผูน้ ำ� การภาวนาและพิธกี รรม ในพิธบี ชู าขอบพระคุณ ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน 2. ช่วยจัดดอกไม้ท่วี ัดนักบุญเปโตร สามพราน ในโอกาสต่างๆ เช่น ฉลองวัด เสกสุสาน

3. ทุกๆ วัน แอสปีรันต์จะช่วยกันท�ำขนมปังส่งโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์เพื่อเป็นการ ฝึกฝนงานด้านแม่บ้าน และความรับผิดชอบร่วมกัน

หฤทัยสัมพันธ์ 159


4. พัฒนาทักษะทางด้านภาษาเพิ่มมากขึ้น โดยการเรียนกับอาจารย์ต่างชาติ

5. วันจันทร์ท่ี 29 กันยายน ค.ศ. 2014 แอสปีรันต์ได้ไปร่วมค�ำนับพระคาร์ดนิ ัล ไมเกิล้ มีชยั กิจบุญชู โอกาสวันฉลองศาสนนามอัครเทวดามีคาแอล ณ บ้านอับราฮัม สามพราน

160 หฤทัยสัมพันธ์


เตรียมโปสตุลันต์ ผู้อบรม: ซิสเตอร์ลูซอี า ศิริรัตน์ เหล่าวัฒนพงศ์ รายชื่อเตรียมโปสตุลันต์ ปีการศึกษา 2014/2557 1. คลารา วาสนา พะโกล วัดนักบุญหลุยส์กษัตริย์ เชียงใหม่ 2. มารีอา นันทิชา โยพา วัดนักบุญยอห์น บัปติสต์ แม่โถ 3. มารีอา มักดาเลนา เอลีญา ดวงใจไพรวัลย์ วัดแม่พระรับเกียรติยกขึน้ สวรรค์ แม่ปอน 4. มารีอา มักดาเลนา คริษฐา ไชยเผือก วัดธรรมาสน์นกั บุญเปโตร ท่าแฉลบ 5. มารีอา พาคีนนั ท์ ธวัชวงค์ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา

หฤทัยสัมพันธ์ 161


กิจกรรมต่างๆ ของเตรียมโปสตุลันต์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2014/2557 1. เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมผู้ศรัทธาพระหฤทัยฯ หัวข้อ”พระหฤทัยเปี่ยมด้วยความ หวัง” ณ บ้านสวนด�ำเนินสะดวก จ. ราชบุรี และร่วมแสวงบุญวันนักบุญอันตน และวัดนักบุญมาร์การีตา บางตาล

2. ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องกระแสเรียก กับคุณพ่อมนาสันต์ วงษ์วาร คณะเยสุอติ

162 หฤทัยสัมพันธ์


3. วันที่ 6-9 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ร่วมเป็นพี่เลี้ยงและช่วยงานฝ่ายพิธกี รรมและฝ่าย สันทนาการ ในค่ายธิดาพระหฤทัย “ยุวทูต ประกาศรักพระหฤทัยฯ ณ อารามพระ หฤทัยฯ

4. ออกฝึกงานและเรียนรู้งานด้านต่างๆ ของคณะพระหฤทัยฯ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการ ศึกษา 2014/2557

หฤทัยสัมพันธ์ 163


5. ไปช่วยจัดดอกไม้ตามวัดในโอกาสต่างๆ เช่น งานฉลองวัด งานปลงศพ ฯลฯ 6. วันที่ 21-23 กันยายน ค.ศ. 2014 เข้าเงียบเพื่อเตรียมตัวและตัดสินใจเลือกทาง เดินชีวิต โดยมีคุณพ่อมนาสันต์ วงษ์วาร, SJ เป็นผู้ให้การเข้าเงียบ พร้อมกันนี้เตรี ยมโปสตุลันต์ได้พักผ่อนร่วมกัน ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ

7. วันที่ 17 สิงหาคม – 5 ตุลาคม ค.ศ. 2014 อบรมดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ณ ส�ำนักมิสซัง กรุงเทพฯ ทุกวันอาทิตย์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์

164 หฤทัยสัมพันธ์


นวกเณรี ผู้อบรม: ซิสเตอร์อันนา อรัญญา กิจบุญชู รายชื่อเตรียมโปสตุลันต์ ปีการศึกษา 2014/2557 1. นวกเณรีโรซา แห่งลีมา รัตนา เชอมือ อาสนวิหารพระหฤทัย เชียงใหม่ 2. นวกเณรีอันนา สุมาลิน แจ่มใส วัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง 3. นวกเณรีมาร์ตีนัส ธิคณา แซะพะ วัดพระหฤทัยสวรรคโลก 4. นวกเณรีเทเรซา กิตติมา โสภานุสนธิ์ วัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน�ำ้

หฤทัยสัมพันธ์ 165


กิจกรรมต่างๆของนวกเณรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2014/2557 1. วันที่ 26 พฤษภาคม - 13 มิถุนายน ค.ศ. 2014 นวกเณรีเข้าร่วมโครงการเรียน รู้และเสวนาวัฒนธรรมในครอบครัว เริ่มต้นด้วยการปฐมนิเทศและไตร่ตรอง น�ำโดยคุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร 2. ซิสเตอร์อรัญญา กิจบุญชู นวกจารย์และสมาชิกบ้านนวกสถาน ได้ไปเยี่ยม ครอบครัวของนวกเณรี รัตนา เชอมือ ที่หมู่บ้านแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และ ครอบครัว นวกเณรีธิคณา แซะพะ ที่ อ.งาว จ. ล�ำปาง

3. วันที่ 8-12 กันยายน ค.ศ. 2014 นวกเณรี สัมมนาปฏิบัติการจิตตารมณ์ธรรม ทูต น�ำโดยคุณพ่ออาเดรียโน เปโลซิน ที่บ้านพระหฤทัย นนทบุรี นอกจากรับการ แบ่งปัน อบรมจากคุณพ่อแล้ว นวกเณรีได้ลงเยี่ยมเยียนและท�ำกิจกรรมในสถาน ที่ต่างๆ เช่น เยี่ยมคนชรา ยากจน ที่ชุมชนวัดโคก ปทุมธานี น�ำกิจกรรมให้แก่ผู้ สูงอายุไร้ท่พี ึ่ง ณ สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุไร้ท่พี ึ่ง อ.ธัญบุรี จ. ปทุมธานี และน�ำ กิจกรรมให้แก่เยาวชนในสถานพินิจ จ. ปทุมธานี เป็นต้น

166 หฤทัยสัมพันธ์


4. วันที่ 15-19 กันยายน ค.ศ. 2014 ฝึกสมาธิ ฝึกจิตภาวนา กับ บราเดอร์ชุมพล ดี สุดจิต คณะเซนต์คาเบรียล ที่บ้านนวกสถาน สามพราน

5. วันที่ 23-29 กันยายน ค.ศ. 2014 เข้าเงียบ Directed Retreat ที่สวนเจ็ดริน จ.เชียงใหม่ โดยคุณพ่อ สายชล คันยุไลย คณะเยสุอติ 6. วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2014 นวกเณรีจัดพิธีกรรมและต้อนรับ โปสตุลันต์ใหม่ ณ นวกสถานพระหฤทัยฯ

หฤทัยสัมพันธ์ 167


7. วันศุกร์ท่ี 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 นวกเณรีต้อนรับเยาวชนจากเบอร์มิงแฮม สห ราชอาณาจักรอังกฤษ

168 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 169


170 หฤทัยสัมพันธ์



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.