หฤทัยสัมพันธ์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2556

Page 1




สารบัญ บอกอ...บอกกล่าว สารมหาธิการิณี ความโกรธ กิจกรรมความเคลื่อนไหวของคณะพระหฤทัยฯ กิจกรรมฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี กิจกรรมฝ่ายแม่บ้าน เคล็ดลับที่แม่บ้านขอแบ่งปัน กิจกรรมฝ่ายการศึกษา กิจกรรมฝ่ายสังคมพัฒนา สันติสุขในสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน กิจกรรมฝ่ายอบรม พระวรสารโดยนักบุญลูกา จาริกแสวงบุญ ณ แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ประเทศอิสราเอล กิจกรรมของคณะผู้ฝึกหัดคณะพระหฤทัยฯ ภาพเก่าเล่าอดีต วิธีการแบ่งปันพระวาจาแบบ Vigan คณะพระหฤทัยกับงานธรรมทูตที่ประเทศกัมพูชา อาลัยรักสมาชิกผู้ล่วงลับ ซิสเตอร์เทเรซา อ่อนจันทร์ ชินณะโคตร์

วารสาร หฤทัยสัมพันธ์

3 4 6 10 28 52 53 54 69 74 84 94 96 114 129 130 142 144

ปีที่ 58 ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2013/2556 เจ้าของ : คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : ซิสเตอร์เชลียง เวชยันต์ วัตถุประสงค์ : เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าว บรรณาธิการ : ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ และกิจกรรมของคณะภคินีพระหฤทัย กองบรรณาธิการ : - คณะที่ปรึกษาของคณะฯ - ประธานฝ่ายต่างๆ - ฝ่ายส�ำนักเลขา : นฤมล สุขชัย, ธวัชชัย กิจเจริญ ของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ และเผย กฤติยา จางพานิชย์, เกียรติสกุล กิ่งสังวาล, แพร่บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สรารัตน์ จันทร์ยุตธิ รรม พันธกิจของคณะ พิมพ์ที่ : บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จ�ำกัด

4

หฤทัยสัมพันธ์


บอกอ...บอกกล่าว สวัสดีท่านผู้อ่านที่เคารพรัก พบกันอีกเช่นเคยในหฤทัยสัมพันธ์ ฉบับที่ 1 ประจ�าปี 2013/2556 ซึ่งใน ปีนพี้ วกเราคริสตชนยังคงอยูใ่ นบรรยากาศของปีแห่งความเชือ่ (11 ตุลาคม ค.ศ. 2012- 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) ปีแห่งพระพรที่คริสตชนได้มโี อกาสพิเศษหันกลับมาฟื้นฟูความ เชื่อของตน มีประสบการณ์ส่วนตัวในการพบปะกันพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืน พระชนมชีพมากขึ้น จนท�าให้ชีวิตของเราเป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงพระองค์ ในปีน้สี มเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงออกพระสมณสาส์น “แสงสว่าง แห่งความเชื่อ” (Lumen Fidei) (เมื่อ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2013) ซึ่งกล่าวถึงของ ประทานอันยิ่งใหญ่ที่พระเยซูเจ้าทรงน�ามาให้ คือแสงสว่างแห่งความเชื่อ ซึ่งส่องสว่าง ทุกแง่มุมในการด�ารงอยู่ของมนุษย์ อันมีแห่งก�าเนิดมาจากพระเจ้านั่นเอง และแน่นอน ความเชื่อต้องได้รับการหล่อเลี้ยงและเกิดผล สมาชิกคณะพระหฤทัยฯได้มีโอกาสฟื้นฟูชีวิตจิตของตนไปพร้อมกับคริสต ชนทั่วโลกและด�าเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระคริสตเจ้าในงานประกาศ ข่าวดีตามพันธกิจของคณะฯ วารสารฉบับนี้จงึ ได้น�าเสนอข้อคิดและสิ่งที่สมาชิกได้รับ จากการฟื้นฟูชวี ิตจิต เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อ่าน อันจะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อย ตลอดจนน�าเสนอกิจกรรมต่างๆที่สมาชิกของคณะ ได้กระท�าในช่วงเทอมแรกของปีการศึกษานี้ให้ท่านได้ทราบข่าว ความเคลื่อนไหวของคณะและร่วมกันประกาศพระนามของพระ เยซูคริสตเจ้ากันต่อๆ ไป ขอพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าโปรดประทานพระพรแด่ทกุ ท่านเสมอ

หฤทัยสัมพันธ์

5


ÊÒèҡÁËÒ¸Ô¡ÒÃÔ³Õ สวัสดีพี่น้องที่รักในพระคริสตเจ้า พระสมณสาส์น“แสงสว่างแห่งความเชื่อ” ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรัง ซิส ทรงมอบให้กับพวกเราคริสตชนในปีแห่งความเชื่อนี้ ทรงเน้นย�้าว่า พระเยซูเจ้า ทรงเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อของเราคริสตชน ขณะเดียวกันความเชื่อนี้จะต้องได้ รับการหล่อเลี้ยงและท�าให้เข้มแข็ง โดยอาศัยการมีประสบการณ์ภายในหรือการมี ความสนิทสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างลึกซึ้ง ในปี ค.ศ. 2013 นี้ คณะมีนโยบายส่งเสริมให้ สมาชิกยึดเอาดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็นแหล่ง พลัง และแบบอย่างแห่งการด�าเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งด้วยการรักอย่างสุภาพ อ่อนโยนและเมตตา “ด้วย ความตระหนักว่า ชีวิตและกระแสเรียกของสมาชิกและ ของคณะมีแหล่งก�าเนิดจากดวงพระหฤทัยของพระ เยซูเจ้า และยังคงได้รับการหล่อเลี้ยงให้มีชีวิตชีวา ด้วยพระคุณที่ไม่มีวันเหือดแห้ง จากความรักแห่ง ดวงพระหฤทัยฯอยู่เสมอไม่ส้นิ สุด ภคินีจึงยึด พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลางของ ชีวิต เข้าพักพิงและพึ่งพาพระหฤทัยฯอยู่ เสมอ...” (สมัชชา 2005 ข้อ 7) ความเชื่อเกิดจาก การพบปะกั บ พระเจ้ า “ คื อ ก า ร ไ ด ้ ยิ น แ ล ะ ได้เห็น” (พระสมณ สาส์ น “แสงสว่ า งแห่ ง ความเชื่อ”ของสมเด็จ พระสันตะปาปาฟรัง ซิส ข้อ 37) นักบุญ


สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า “ การพบพระองค์และ พิศเพ่งพระองค์ในศีลมหาสนิท และร่วมในพิธบี ูชาขอบพระคุณทุกๆวัน ท�ำให้มีความ สัมพันธ์ใกล้ชดิ และเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง และจะหล่อหลอม ชีวิตแห่งความเชื่อในพระองค์ให้เป็นเหมือนพระองค์มากยิ่งๆขึ้น” (เทียบเริ่มต้นใหม่ จากพระคริสตเจ้า ข้อ 26) ในขณะเดียวกัน โดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ท�ำให้เราเป็น หนึ่งเดียวกับพี่น้อง กับพระศาสนจักรและสิ่งสร้างทั้งมวล “ความเชื่อเกิดจากความรักและสะท้อนความรักของพระเจ้า” (พระสมณ สาส์น“แสงสว่างแห่งความเชื่อ”ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ข้อ 50) ดังนั้น ชีวิตของเราคริสตชนจึงเป็นแสงสว่างแห่งความเชื่อที่จะน�ำความรักของพระเจ้า และ ถ่ายทอดไปสู่ทุกๆคน เพื่อช่วยกันสรรค์สร้างสังคมของเรา และสร้างเมืองแห่งความ รักของพระเจ้า ขอองค์พระเยซูคริสตเจ้าโปรดส่องสว่างลงในจิตใจของสมาชิกทุกคน เพื่อ ว่าพวกเราทุกคนจะได้มั่นคงในความเชื่อและพร้อมเสมอที่จะยืนยันถึงความรักของ พระองค์ด้วยชีวิตและอุทิศตนที่จะประกาศพระนามของพระองค์อย่างไม่หยุดหย่อน ซิสเตอร์เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี


¤ÇÒÁâ¡Ã¸ (นักบุญออกัสติน)*

คุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ เรียบเรียง จิตตาธิการคณะพระหฤทัยฯ

...พระเยซูเจ้าเสด็จลงเรือ บรรดาศิษย์ตดิ ตามพระองค์ไปด้วย ทันใด นั้น เกิดพายุแรงกล้าในทะเลสาบ คลื่นสูงจนไม่เห็นเรือ แต่พระองค์บรรทมหลับ บรรดาศิษย์จงึ เข้ามาปลุกพระองค์ ทูลว่า “พระอาจารย์เจ้าข้า ช่วยด้วยเถิด เรา ก�าลังจะพินาศอยู่แล้ว” พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “ท�าไมจึงตกใจกลัวเล่า ท่าน ช่างมีความเชือ่ น้อยเหลือเกิน” แล้วทรงลุกขึ้น บังคับลมและทะเล ท้องทะเลก็ สงบราบเรียบ คนทั้งหลายต่างประหลาดใจ พูดว่า “ท่านผู้นี้เป็นใครหนอ ลม และทะเลจึงยอมเชื่อฟังเช่นนั้น” (มธ 8: 23-27)

_____________________________________________

* นักบุญออกัสติน (354-430)...ใช้ชวี ติ ในฐานะทีเ่ ป็นพระสังฆราชและนักปราชญ์ของพระศาสนจักรใน พืน้ ทีต่ อนเหนือของทวีปอาฟริกาซึง่ เป็นประเทศอัลจิเรียในปัจจุบนั ท่านได้กลับใจและปรับเปลีย่ นชีวติ ของ ท่านอย่างน่าอัศจรรย์ และได้รบั ศีลล้างบาปเมือ่ มีอายุได้ 32 ปี เพราะด้วยค�าภาวนาและน�า้ ตาของคุณแม่ นักบุญมอนิกา (331-387) และด้วยการไปฟังค�าเทศน์สอนของนักบุญอัมโบรส (339-397) พระสังฆราช และนักปราชญ์ของพระศาสนจักรทีเ่ มืองมิลาน ท่านได้รบั ใช้พระศาสนจักรเป็นพระสังฆราชประมาณ 40 ปีดว้ ยกัน...ท่านเป็นอัจฉริยะของโลก กอปรด้วยสติปญ ั ญาทีล่ กึ ซึง้ อย่างหาตัวจับยาก มีจนิ ตนาการทีก่ ว้าง ไกลและมีหวั ใจทีไ่ ม่รจู้ กั อิม่ ในการแสดงความรักต่อองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าซึง่ ได้ทรงสร้างท่านมา ท่านเป็นปิตา จารย์ชนั้ เลิศและเป็นนักปราชญ์ทยี่ งิ่ ใหญ่ทา่ นแรกในจ�านวนสีท่ า่ นของพระศาสนจักรลาติน...

8

หฤทัยสัมพันธ์


ก. การแล่นเรืออยู่บนโลกใบนี้

จากพระวรสารที่ได้หยิบยกมาให้อ่านนั้น นักบุญออกัสติน ได้กล่าวไว้ว่า โดยอาศัยความช่วยเหลือของพระเจ้า ท่านนักบุญอยากจะเตือนเราว่าอย่าให้เรา นอนหลับในหัวใจของเราท่ามกลางลมพายุแห่งความวิตกกังวลต่างๆของโลกนี.้ .. บางทีเราอาจจะคิดไปว่าองค์พระเยซูเจ้าอาจจะไม่มอี �ำนาจเหนือธรรมชาติ หรือว่า บางทีพระองค์อาจจะก�ำลังนอนหลับไม่ยอมท�ำอัศจรรย์ในขณะที่เรือแห่งชีวิตก�ำลัง แล่นอยู่บนท้องน�ำ้ ของโลกที่ก�ำลังวุ่นวายปั่นป่วนอยู่? ถ้าหากว่าท่านเชื่อเช่นนัน้ ดังนั้น พระองค์ก็จะก�ำลังหลับอยู่ในตัวท่าน แต่ถ้าหากพระคริสต์ต่นื เฝ้าอยู่ในตัวท่าน ความ เชื่อศรัทธาของท่านก็ก�ำลังตื่นเฝ้าพร้อมกับพระองค์ด้วย ท่านอัครสาวกเปาโลกล่าว่า “ขอให้พระคริสตเจ้าทรงพ�ำนักในจิตใจ ของท่านอาศัยความเชื่อ” (อฟ 3: 17) เพราะฉะนั้น การนอนหลับของพระคริสตเจ้า ก็เป็นเครื่องหมายแห่งธรรมล�้ำลึกด้วย พวกสาวกซึ่งก�ำลังอยู่ในเรือ ก็คือผู้คนซึ่งก�ำลัง แล่นเรือข้ามโลกบนหนทางแห่งไม้กางเขน เรือล�ำนี้เป็นรูปแบบของพระศาสนจักร และดวงวิญญาณแต่ละดวงเป็นโลกใบเล็กๆใบหนึ่งของพระเจ้า แต่ละคนก�ำลังเดิน ทางอยู่ในจิตวิญญาณของตน เรือของเขาจะไม่มวี ันอับปาง ถ้าเขาจะได้แล่นเรือ อยู่บนสิ่งต่างๆของโลกนี้อย่างเหมาะสมตามน�้ำพระทัยพระเจ้า

ข. ต้องปลุกพระเยซูเจ้าให้ตนื่ ขึน้

ท่ า นถู ก คนเขาดู ห มิ่ น สบ ประมาทหรือ? นัน่ แหละคือลม พายุ . ..ท่ า นถู ก ยั่ ว ยุ ใ ห้ โ กรธเคื อ ง หรือ? นัน่ แหละท่านก�ำลังถูกคลืน่ ลมโยนไปโยนมา...ขณะที่ ล มพายุ ก�ำลังก่อตัวและคลื่นลมก�ำลังถาโถม เข้ามา เรือของท่านก็ก�ำลังอยู่ใน อันตราย หัวใจของท่านก�ำลังถูก คลืน่ โยนไปโยนมา จิตวิญญาณของ ท่านก�ำลังอยู่ในอันตราย ท่านก�ำลังอยากที่จะสะสางการถูกสบประมาททีท่ ่านได้ รับอย่างทันทีทันควัน แต่อนิจจา กลับเป็นตัวท่านเองที่ก�ำลังโดนแก้แค้น เพราะท่าน ยอมให้ความหายนะอันใหม่เข้ามาครอบง�ำจิตใจของท่านครั้งแล้วครัง้ เล่า เรือของ หฤทัยสัมพันธ์

9


ท่านก�ำลังจะอับปางจมลง...ท�ำไม?...เพราะว่าพระคริสต์ก�ำลังนอนหลับอยู่ในตัวท่าน นี่หมายความว่าอย่างไรที่บอกว่าพระคริสต์ก�ำลังนอนหลับอยู่ในตัวท่าน? นี่ หมายความว่าท่านได้ลืมพระคริสต์เสียแล้ว ดังนั้น ขอให้ท่านได้ปลุกพระคริสต์ ให้ตื่นขึ้น น�ำพระองค์กลับมาสู่จติ วิญญาณของท่าน ให้พระคริสต์ได้ตนื่ เฝ้าใน ตัวท่าน พลางให้มองดูพระองค์ อะไรก�ำลังเป็นสิ่งที่ท่านก�ำลังต้องการจะท�ำในขณะนั้น?...การแก้แค้น หรือ...ขอให้มันได้ไปไกลๆจากความทรงจ�ำของท่าน สิง่ ที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ใน ขณะทีพ่ วกเขาได้ตรึงพระองค์ไว้ที่ไม้กางเขน “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิด แก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่าก�ำลังท�ำอะไร” (ลก 23: 34) พระผู้ที่ก�ำลังนอนหลับ อยู่ในหัวใจของท่าน มิได้แสวงหาการแก้แค้น จงปลุกให้พระองค์ต่นื ขึ้น จงระลึก ถึงพระองค์ การที่ได้ระลึกถึงพระองค์ ก็เป็นการระลึกถึงพระวาจาของพระองค์ และ การร�ำลึกถึงพระองค์ ก็เป็นการนบนอบต่อพระองค์ และขอให้พระคริสตเจ้าได้ต่นื ขึ้น ในตัวท่าน และท่านจะพูดกับตัวท่านว่า “เราเป็นคนประเภทไหนนะที่ควรจะต้อง แสวงหาการแก้แค้น? และเราเป็นใครที่ควรจะต้องขู่กรรโชกคนอื่นด้วยหรือ?” อาจเป็นไปได้ว่าฉันจะตายก่อนที่จะได้แก้แค้น...และเมื่อเราก�ำลังหายใจ ครั้งสุดท้าย ขณะที่เรายังมีไฟแห่งความโกรธเคืองและยังกระหายที่จะแก้แค้น เรา ก�ำลังจะออกจากร่างกายของเรา และแน่นอนพระองค์จะไม่ทรงต้อนรับเรา พระผู้ซึ่ง ไม่ต้องการที่จะแก้แค้น พระองค์จะไม่ต้อนรับเรา ทรงตรัสว่า “จงให้อภัยเขา แล้ว พระเจ้าจะทรงให้อภัยท่าน จงให้ แล้วพระเจ้าจะประทานแก่ท่าน” (ลก 6: 37, 38) เพราะฉะนัน้ เรายังจะรัง้ ความโกรธเคืองของเราให้อยู่กับเราอีกหรือ? แต่ว่าเมื่อพระคริสตเจ้าจะได้ทรงบังคับทะเล และดังนี้ท้องทะเลก็จะ สงบลง แล้วเราก็จะสามารถกลับไปหาสันติสุขแห่งหัวใจของเรา 3. เพราะพระบัญชาของพระคริสตเจ้า ความสงบแห่งจิตใจจึงเกิดขึน้ ในเรื่องของความโกรธเคือง ท่านนักบุญบอกให้เราได้เฝ้าสังเกต ในทุกๆการผจญ เมื่อการผจญอันหนึ่งเกิดขึ้น นั่นก็คอื เป็นลม พายุ เมื่อท่านวุ่นวายใจ นั่นก็คือเป็นคลื่นลม จงปลุกพระ คริสตเจ้าให้ตื่นขึ้น ให้พระองค์ได้ทรงตรัสกับท่าน...ท่าน ผู้นี้เป็นใครหนอ แม้ลมพายุและทะเลก็ยังนบนอบต่อ ท่าน...ท่านผู้นี้เป็นใครหนอ ท้องทะเลเป็นของพระองค์ 10

หฤทัยสัมพันธ์


และพระองค์ได้ทรงสร้างมันขึ้นมา (สดด 9: 5)...สารพัดสิง่ ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดย พระองค์ (ยน 1: 3)... ดังนัน้ ลมพายุและท้องทะเลจึงต้องนบนอบต่อพระผู้สร้าง... เมื่อพระคริสตเจ้าทรงตรัส ท้องทะเลก็เงีย่ หูฟัง ส่วนตัวท่านยังจะท�ำเป็นคนหู หนวกอีกหรือ? ทะเลฟังเสียงของพระองค์ และลมพายุก็สงบนิ่ง ส่วนตัวท่านยัง จะพัดไปมาอีกหรือ?...ท่านหมายความว่าอย่างไร? เราก็ยังพูดต่อไป ท�ำต่อไป และ ใช้ความพยายามต่อไป นี่เป็นอะไรกัน ถ้าไม่ใช่ยังจะพัดหรือกรรโชกต่อไปอีก และยัง จะไม่ยอมสงบนิง่ เมื่อพระคริสตเจ้าทรงบัญชากระนั้นหรือ? ขออย่ าให้ท้องทะเลเป็ นเจ้านายท่ านเมื่อเกิดลมพายุในจิตวิญญาณของ ท่าน ถึงกระนั้น เนือ่ งจากว่าเราเป็นมนุษย์ ลมพายุก็ยังคงโหมกระหนน่ำตัวเราอยู่ไป เรือ่ ยๆ และเราควรจะให้ตัณหาตื่นขึ้นมาในจิตวิญญาณของเราอีกหรือ ขอให้เราอย่า ได้หมดหวัง ขอให้เราได้ปลุกพระคริสตเจ้าให้ตื่นขึ้น เพื่อว่าเราจะได้แล่นเรือต่อ ไปในสันติสุข และกลับไปถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ ดังนัน้ ให้เราได้หันกลับไปหาองค์ พระเจ้าของเรา พระบิดาเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ ด้วยหัวใจที่ซื่อใสบริสุทธิ์ ให้เราได้โมทนาพระคุณพระองค์ด้วยสุดหัวใจของเรา พลางวิงวอน พระองค์ให้ทรงพระกรุณาสดับฟังค�ำอธิษฐานภาวนาของเรา และด้วยพระ ฤทธานุภาพของพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดขับไล่ปีศาจมารร้ายให้ไปพ้น จากความนึกคิดและพฤติกรรมต่างๆของเรา โปรดช่วยทวีความเชือ่ ของเรา โปรดน�ำจิตวิญญาณของเรา โปรดประทานแรงบันดาลใจอันศักดิ์สทิ ธิ์ของ พระองค์ให้แก่เรา และโปรดน�ำเราไปยังความชื่นชมยินดีอันไม่รู้จักสิ้นสุด ทั้งนี้ โดยอาศัยพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ทรงเป็นพระเจ้าของ เราและทรงเป็นพระผู้ไถ่ อาเมน

หฤทัยสัมพันธ์

11


กิจกรรม ความเคลื่อนไหวในคณะ ร่วมยินดีกับสมาชิกคณะนักบวชต่างๆ

วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี และตัวแทน สมาชิกไปร่วมงานฉลองของสมาชิกคณะพระกุมารเยซู โอกาสฉลอง 25 และ 50 ปี แห่งชีวิตนักบวช ณ วัดราชินีแห่งสันติสุข ซอยสุขุมวิท 101 (ภาพจาก https://www.facebook.com/Queenofpeace101)

12

หฤทัยสัมพันธ์


วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี และตัวแทนสมาชิกไป ร่วมพิธปี ฏิญาณตนตลอดชีพ ฉลองพัชรสมโภช สุวรรณสมโภช และหิรญ ั สมโภช ของสมาชิก คณะภคินเี ซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ณ หอประชุมทรีนติ ี้ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

ร่วมยินดีสมาชิกรับปริญญา

วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ และซิสเตอร์สุกัญญา สุขชัย เป็นตัวแทนไปร่วมยินดี กับซิสเตอร์รัชนี ตระกูลเง็ก และซิสเตอร์วชิ ชุดา วิจิตร วงศ์ มหาบัณฑิต โอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ�าเภอองครักษ์ จังหวัด นครนายก

หฤทัยสัมพันธ์

13


ร่วมพิธีบวชพระสงฆ์ใหม่

วันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธีบวชพระสงฆ์ใหม่ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จ�ำนวน 2 องค์ ได้แก่ คุณพ่ออันตน วิทยา เลิศทนงศักดิ์ และคุณพ่อยออากิม ธนายุทธ ผลาผล ณ สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน โดย พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี

(ภาพจาก http://www.catholic.or.th/service/gallery/gallery_2013/sonkmai_bangkok)

คณะครูและนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เยีย่ มซิสเตอร์อาวุโสบ้านพระแม่ฯ วันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 คณะครูและนักเรียนจ�ำนวน 40 คน จากโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เยี่ยมเยียนและค�ำนับขอพรซิสเตอร์ อาวุโส ณ บ้านพระแม่ผปู้ ฏิสนธินริ มล และขอพรจากพระหฤทัยของพระเยซู เจ้าทีว่ ดั น้อยของบ้านพระแม่ฯ 14

หฤทัยสัมพันธ์


พิธีแห่ศีลมหาสนิท

วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2013 สมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า คุณ พ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณและพิธีแห่ศีลมหาสนิท อย่างสง่า ณ วัดน้อยอารามพระหฤทัยฯ ร่วมกับคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ และ คุณพ่อ ถิรลักษณ์ วิจติ รวงศ์ โดยมีซิสเตอร์ ผู้ฝึกหัด นักเรียนประจ�า นักเรียนมูลนิธิพระหฤทัย พัฒนเวศม์ นักศึกษาพม่าโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ภาค กศน. และสัตบุรุษมา ร่วมในพิธีและในโอกาสนี้ทุกท่านได้ร่วมพิธเี ฝ้าศีลมหาสนิทพร้อมเพรียงกัน ณ ห้อง ประชุมอารามพระหฤทัยฯ

พิธีบูชาขอบพระคุณของพระสงฆ์ใหม่ วันที่ 15 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 เวลา 17.15 น. พระสงฆ์ใหม่ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2 องค์ ได้แก่ คุณพ่อยออากิม ธนายุทธ ผลาผล และคุณพ่ออันตน วิทยา เลิศทนง ศักดิ์ และพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ 1 องค์ ได้แก่ คุณพ่ออัลฟอนโซ ชัยนรินทร์ เหลาพรม ประกอบพิธบี ชู าขอบพระคุณ ณ วัดน้อย ชัน้ 3 ของอารามพระหฤทัยฯ คลองเตย และ สมาชิกของคณะร่วมแสดงความยินดีและขอพรจากพระสงฆ์ใหม่

หฤทัยสัมพันธ์

15


ประชุมกรรมการชมรมนักบวชชาย และประชุมกรรมการสหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย

วันที่ 19 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 เวลา 08.30-10.30 น. บรรดาเจ้าคณะนักบวชชาย มี ประชุมและเลือกตัง้ คณะกรรมการของชมรมนักบวชชายชุดใหม่ และเวลา 10.30-12.00 น. ประชุมคณะกรรมการสหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชฯ พร้อมเลือกตัง้ คณะกรรมการ ชุดใหม่ ณ ห้องประชุมชัน้ 2 อาคารมาร์การีตา มารีอา อารามพระหฤทัยฯ

ฉลองศาสนนามผูช้ ว่ ยจิตตาธิการและอดีตจิตตาธิการอารามพระหฤทัยฯ

วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2013 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธบี ูชาขอบพระคุณ โอกาสฉลองนักบุญโทมัส โมร์ มรณสักขี ศาสนนามของคุณพ่อถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์ ผู้ช่วยจิตตาธิการฯ ณ วัดน้อยบ้านพระแม่ฯ หลังพิธีบูชาขอบพระคุณ มีพิธีค�ำนับคุณ พ่อและรับประทานอาหารร่วมกันในโอกาสพิเศษนี้

16

หฤทัยสัมพันธ์


วันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2013 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสฉลองสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล อัครสาวก ศาสนนามของคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ ผู้ช่วยจิตตาธิการฯ ณ วัดน้อยบ้านพระแม่ฯ หลังพิธีบูชาขอบพระคุณ มีพิธี ค�ำนับคุณพ่อและรับประทานอาหารร่วมกันในโอกาสพิเศษนี้

วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2013 บรรดาอธิการิณีค�ำนับ คุณพ่อศวง ศุระศรางค์ อดีต จิตตาธิการอารามพระหฤทัยฯ โอกาสสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล ณ ห้องอาหาร ศูนย์อภิบาลบ้านผู้หว่าน สามพราน

ร่วมฉลองวัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ตัวแทนสมาชิกไปร่วมฉลองวัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง ที่มีการบูรณะซ่อมแซมวัดใหม่และเสกประตูวัดที่ก่อสร้างใหม่ (ภาพจาก www.ratchaburidio.or.th/main/news/89-news-2013/858-23-june-2013)

หฤทัยสัมพันธ์

17


พิธรี า� ลึกถึงคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี วันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2013 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมพิธี ร�าลึกถึงคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี โอกาสครบรอบวันมรณะ ณ ห้องประชุมของอารามพระหฤทัยฯ

กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ

วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2013 คณะพระหฤทัยฯ จัดพิธบี ชู าขอบพระคุณโอกาสเฉลิม พระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ และวันแม่แห่งชาติ โดยคุณ พ่อถิรลักษณ์ วิจติ รวงศ์ เป็นประธานในพิธี หลังพิธี พนักงานและเจ้าหน้าทีอ่ าราม พระหฤทัย ค�านับคุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี และค�านับซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา อธิการิณสี า� นักกลาง จากนัน้ บุตรของพนักงานได้แสดงกตัญุตาต่อแม่ดว้ ยการมอบ พวงมาลัยดอกมะลิ พร้อมทัง้ ขับเพลงเพือ่ เป็นการเทิดทูนมารดาของตน

18

หฤทัยสัมพันธ์


สมาชิกส�ำนักกลางพักผ่อนร่วมกัน

วันที่ 10-12 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา อธิการิณีส�ำนักกลาง น�ำ สมาชิกส�ำนักกลางไปพักผ่อนร่วมกัน ณ ธารารีสอร์ท ชลบุรี

ร่วมภาวนาวอนขอสันติภาพของโลก

วันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2013 เวลา 18.30-19.30 น. ตัวแทนสมาชิก ร่วมภาวนาเพื่อวอนขอสันติภาพของโลก เป็นต้นในซีเรียและในตะวันออกกลาง ณ วัด เซนต์หลุยส์ สาทร

ฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตสงฆ์คุณพ่อ Ludger Feldkamper, SVD

คณะพระหฤทัยฯ จัดฉลอง 50 ปีแห่งชีวติ พระสงฆ์ของคุณพ่อ Ludger Feldkamper, SVD ผู้มาให้การสัมมนากับสมาชิกของคณะฯ ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2013 เวลา 11.15 น. โดยมีคณ ุ พ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวชิ และสมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ได้ร่วมในพิธีดังกล่าว หลังพิธีมีการค�ำนับร่วมยินดีและรับประทานอาหารร่วมกัน

หฤทัยสัมพันธ์

19


ค�ำนับพระคาร์ดินัลโอกาสฉลองศาสนนาม

วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2013 เวลา 15.00 น. คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี ตัวแทนสมาชิกและผู้ฝึกหัดของคณะพระหฤทัยฯ เข้าค�ำนับพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู โอกาสฉลองศาสนนามอัครเทวดามีคาแอล (29 กันยายน) ณ บ้านอับราฮัม สามพราน

เยี่ยมโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์และศูนย์เมอร์ซี

วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2013 คุณพ่อ Ludger Feldkamper, SVD เดินทางไปเยี่ยม โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์และศูนย์เมอร์ซี

20 หฤทัยสัมพันธ์


ร่วมโครงการคาทอลิกไทยพร้อมเพรียง ไม่สิ้นเสียงสายประค�ำ

วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ.2013 เวลา 13.00 -14.00 น. ตัวแทนสมาชิก ผู้ฝึกหัดและ พนักงาน ไปร่วมสวดสายประค�ำ ณ วัดแม่พระลูกประค�ำ กาลหว่าร์

สัมมนาส�ำหรับพนักงานของอาราม

วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์ กัลยา ตรีโสภา อธิการิส�ำนักกลางฯ จัด สัมมนาให้กับพนักงานของอาราม ในหัวข้อ เรื่องชีวิตครอบครัว โดยหน่วยงาน สชค ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และชีวิตโสด โดยอาจารย์นริศ มณีขาว ณ หอประชุม โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ และห้อง ประชุมอารามพระหฤทัย

หฤทัยสัมพันธ์

21


พนักงานพักผ่อนประจ�ำปี

วันที่ 15-17 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา จัดให้พนักงานของอาราม ไปพักผ่อนร่วมกัน ณ บ้านพักเย็นเนซาเร็ท เพชรบุรี และไปเที่ยวสถานท่องเที่ยวต่างๆ อาทิ เขาวัง และตลาดน�้ำหัวหินสามพันนาม

ร่วมสวดสายประค�ำในเดือนแม่พระ

วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เวลา 19.00 น. สมาชิกในบ้านส�ำนักศูนย์กลาง ร่วมกับ ผู้ฝึกหัดและพนักงานร่วมใจกันมาร่วมสวดสายประค�ำเปิดเดือนแม่พระ ณ ห้องประชุม อารามพระหฤทัยฯ และได้พร้อมใจกันมาภาวนาสายประค�ำร่วมกันทุกวัน และในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เวลา 19.00 น. คุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สวุ ชิ และคุณพ่อผูช้ ว่ ย จิตตาธิการ ประกอบพิธบี ชู าขอบพระคุณ ปิดเดือนแม่พระ ณ วัดน้อยชัน้ 3 เพือ่ เป็นการขอพระพรจากพระเจ้าโดยผ่านทางพระแม่และเพือ่ เป็นการถวายเกียรติแด่พระแม่ เป็นพิเศษโดยพร้อมเพรียงกัน

22 หฤทัยสัมพันธ์


สมาชิกร่วมสวดภาวนาและไว้อาลัยต่อบรรดาผู้ล่วงลับ

1. คุณพ่อยอห์นบอสโก ศักดิพ ์ ฒ ั น์ กิจสกุล คณะสติกมาติน

สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ ร่วมสวดภาวนา ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 และร่วมพิธีปลงศพในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน

(ภาพจาก http://www.ratchaburidio.or.th/main/news/89-news-2013/852-frbos25may2013)

2. มารีอา หมุยเฮียง แซ่ลมิ้ มารดาซิสเตอร์ศริ ลิ กั ษณ์ ศรุตกิ ารช่าง

ถึงแก่กรรมวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯร่วม สวดภาวนาระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 และร่วมพิธปี ลงศพในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 เวลา 15.00 น. ณ วัดพระวิสทุ ธิวงส์ ล�ำไทร จังหวัดปทุมธานี

หฤทัยสัมพันธ์ 23


3. เทเรซา ประไพ จ�ำปาเถือ่ น น้าซิสเตอร์สนุ รี ตั น์ ฤกษ์สจุ ริต

วันที่ 3 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 ตัวแทนสมาชิกร่วมสวดภาวนา ณ วัด แม่พระฟาติมา และไปร่วมพิธปี ลงศพ ในวันที่ 8 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 เวลา 15.00 น. ณ วัด นักบุญยวง บัปติส เจ้าเจ็ด

4.มารีอา มักดาเลนา จ�ำปี จิตต์เจริญ เพือ่ นพระหฤทัยฯ

สมาชิกไปสวดภาวนา ระหว่างวันที่ 10-11 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 และร่วมพิธี ปลงศพ ในวันที่ 13 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 เวลา 14.00 น. ณ วัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง

24 หฤทัยสัมพันธ์


5. ยวง ยอแซฟ นามวงษ์ พีช่ ายซิสเตอร์กหุ ลาบ นามวงศ์

สมาชิกไปร่วมพิธีสวดภาวนาและร่วมพิธีปลงศพ ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 เวลา 14.00 น. ณ วัดพระหฤทัย ขลุง จันทบุรี

6. คุณแม่ธรี โ์ อดอร์ ฮาเนนเฟลด์, OSU คณะอุรส์ ลุ นิ ประจ�ำประเทศไทย

ซิสเตอร์ถงึ แก่กรรมเมือ่ วันที่ 29 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 สมาชิกไปร่วมพิธสี วดภาวนา ระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 และในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 เวลา 09.00 น. ไปร่วมพิธปี ลงศพ ณ วัดพระมหาไถ่

หฤทัยสัมพันธ์ 25


7. ยอแซฟ วิลยั กิจเจริญ พีช่ ายซิสเตอร์จำ� รัส กิจเจริญ

สมาชิกไปสวดภาวนาระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน ค.ศ. 2013 และไปร่วมพิธีปลงศพ ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2013 ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน

8. อันนา บุญยิง่ ไตรภพ น้องสาวซิสเตอร์ปลุ เกรีอา

ตัวแทนสมาชิกไปร่วมสวดภาวนาในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2013 และไปร่วมพิธี ปลงศพ ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2013 ณ วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว

26 หฤทัยสัมพันธ์


9. ฟรังซิสโก เต๊กเฮ้ง กิจประเสริฐ บิดาของซิสเตอร์สชุ าตรี กิจประเสริฐ

ถึงแก่กรรมวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2013 สมาชิกไปร่วมสวดภาวนาระหว่างวันที่ 1417 กันยายน ค.ศ. 2013 และร่วมพิธีปลงศพในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2013 ณ วัดนัก บุญเปโตร สามพราน

10.ยอแซฟ บุญมี แก้วแหวน บิดาคุณพ่อวิทยา แก้วแหวน และคุณพ่อพรชัย แก้วแหวน

สมาชิกไปร่วมสวดภาวนาในระหว่างวันที่ 5-10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ณ ศาลา วัดเซนต์หลุยส์ และตัวแทนร่วมในพิธปี ลงศพในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ณ วัดมารีย์ สมภพ บ้านแพน

หฤทัยสัมพันธ์ 27


11. ยอแซฟ ยอแซฟ ผิวเกลีย้ ง บิดาของคุณพ่อศรีปราชญ์ ผิวเกลีย้ ง

สมาชิกร่วมสวดภาวนาระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม ค.ศ. 2013 และร่วมพิธีปลงศพใน วันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เวลา 10.00 น. ณ วัดพระวิสุทธิวงส์ ล�ำไทร

12. มารีอา มลิดา วงศ์รกั ศักดิ์ พีส่ าว ซิสเตอร์สพ ุ รรณี แย้มกรรณ์

ถึงแก่กรรมวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2013 สมาชิกไปร่วมสวดภาวนาระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม ค.ศ. 2013 และร่วมพิธปี ลงศพในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เวลา 10.00 น. ณ วัดนักบุญเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน

28 หฤทัยสัมพันธ์


13 มารีอา พิณรัตน์ เซ็งหลี เพือ่ นพระหฤทัยฯ

ถึงแก่กรรมวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2013 สมาชิกไปร่วมสวดภาวนาระหว่าง วันที่ 22-23 ตุลาคม ค.ศ. 2013 และร่วมในพิธีปลงศพในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เวลา 15.00 น. ณ วัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง สิงห์บุรี

หฤทัยสัมพันธ์ 29


กิจกรรมฝายอภิบาลและประกาศขาวดี I.

แผนงานอภิบาล งานสอนค�าสอน 1. ติดตามงานสอนค�าสอนในโรงเรียนของคณะ และสังฆมณฑล

• เริม่ เผยแพร่บทเรียนค�าสอนใหม่เพือ่ ฟืน้ ฟูวถิ ชี มุ ชนวัดให้นกั เรียน ป.1-ม.3 • เผยแพร่ข้อคิดจากหนังสือพระคัมภีร์ของศูนย์ค�าสอนที่ใช้อบรมนักเรียน หน้าเสาธงแก่สมาชิก

2. สอนพระคัมภีรใ์ ห้กบั พนักงานพร้อมการแบ่งปันพระวาจา

บรรดาซิสเตอร์หัวหน้าแผนกให้การอบรมและสอนพระคัมภีร์ให้กับพนักงานใน แต่ละแผนกเป็นประจ�าสม�่าเสมอ พร้อมทั้งให้มกี ารสร้างกลุ่มวิถีชุมชนวัดเพื่อแบ่งปัน

30 หฤทัยสัมพันธ์


พระวาจา และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 คณะกรรมการวิถีชุมชนวัดได้มาศึกษาแล ดูงาน เพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบของวิถีชุมชนวัดในโรงเรียน

งานผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ

1. ชุมนุมผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ ครั้งที่ 14 วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ณ อารามพระหฤทัยฯ หัวข้อ “ซึมซับ เป็นหนึ่งในพระองค์ ด�ำรงตนเป็นหนึ่งกับน้องพี่ ด้วยรักที่สุภาพ อ่อนโยน เมตตา” โดยมีสมาชิกกลุ่มผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัย มาร่วมงาน นี้จ�ำนวน 101 คน

หฤทัยสัมพันธ์

31


2. เผยแพร่ความศรัทธาต่อพระหฤทัยฯ • ผู้ศรัทธาต่อพระหฤทัยวัดเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ ได้น�ำนพวารไปเผย แพร่ให้สัตบุรษทั่วไป จ�ำนวนประมาณ 200 ฉบับ • มีพิธีสวดและจัดตัง้ พระรูปพระหฤทัยที่บ้านสัตบุรุษ

• ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ได้สอนเรื่องการภาวนา “ด้วยใจสู่พระทัยพระ เยซู” เป็นประจ�ำทุกเดือนๆ ละ 1 ครัง้ ที่สักการสถานบุญราศรีบุญเกิด กฤษบ�ำรุง สามพราน ในปีนี้ได้น�ำสัตบุรุษจากกรุงเทพฯไปร่วมภาวนา ประมาณ 10 คน ทุกเดือน

32 หฤทัยสัมพันธ์


งานเพื่อนพระหฤทัยฯ 1. เข้าเงียบเพื่อนพระหฤทัย วันที่ 24-26 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ณ “บ้านโอบรัก” อ�าเภอวังน�้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีสมาชิกเพื่อนพระหฤทัยฯ เข้าร่วม จ�านวน 15 คน

2. เยี่ยมเยียนเพื่อนพระหฤทัยฯ ที่ชราและเจ็บป่วย

สมาชิกฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดี ได้ไปเยี่ยมเยียนเพื่อนพระหฤทัยฯ เพื่อเป็นการให้ก�าลังใจ และเพิ่มพูนความเชื่อ เดือนละ 2 คน เป็นพิเศษได้เยี่ยมสมาชิก ที่ป่วย เช่น คุณพิณรัตน์ คุณสุภาภรณ์ และสมาชิกของคณะหลายคนได้ไปร่วมงาน ศพของคุณพิณรัตน์ด้วย

หฤทัยสัมพันธ์ 33


ติดตามและอภิบาลครอบครัวคริสตชนทีเ่ สีย่ งต่อการทิง้ ความเชือ่

1. เยี่ยมเยียนคริสตชนทิ้งวัด สมาชิกฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีของคณะออกเยี่ยมเยียนคริสตชนที่ทิ้ง วัด อาทิ เช่น คริสตชนบริเวณวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล โรงหมู คริสตชนที่อาศัยบริเวณ รอบๆอาราม และวัดนักบุญเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน

2. อภิบาลและเยี่ยมเยียนคริสตชน และคนชราตามวัด สมาชิกฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีของคณะออกเยี่ยมเยียนคริสตชนและ คนชราตามวัดและศูนย์ตา่ งๆ ด้วยการสวดภาวนาและให้กำ� ลังใจ เช่น วัดนักบุญยวง บัปติสตา วัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง วัดแม่พระประจักษ์สองพีน่ อ้ ง วัดแม่พระเมืองลูรด์ หัวตะเข้ วัดนักบุญร็อค ท่าไข่ ศูนย์ บ้านพักคนชราล�ำไทร ศูนย์บา้ นพัก คนชราปราจีนบุรี ศูนย์บา้ นเบธานี และศูนย์คนชราหนองรี นอกจาก นั้ น ได้ เ ยี่ ย มเยี ย นสั ต บุ รุ ษ รอบๆ บริเวณอาราม จ�ำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเชือ้ เพลิง, ชุมชนริม ทางรถไฟ , ชุมชนซอยแสนสุข 34 หฤทัยสัมพันธ์


3. อภิบาลชีวติ ครอบครัวพนักงาน –พนักงานโสด ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักถึงคุณค่าของชีวติ แห่งความรักและการแต่งงาน ยอมรับ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจการด�ำเนินชีวิตครอบครัว การเลี้ยงดูบุตร และให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัว สังคม และพระ ศาสนจักร

อภิบาลตามรูปแบบวิถีชุมชนวัด

1. อบรมทักษะความเป็นผู้น�ำ “วิถีชุมชนวัด” ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีของคณะฯ จัดอบรมให้แก่ผู้น�ำของสมาชิก คณะพระหฤทัย ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2013 เรื่องทักษะความเป็นผู้น�ำ “วิถีชุมชนวัด” และการน�ำการแบ่งปันพระวาจา “LOOK LISTEN LOVE” โดย บราเดอร์ทินรัตน์ คมกฤช และทีมงาน เป็นวิทยากร

หฤทัยสัมพันธ์ 35


2. โครงการศึกษาดูงานวิถชี มุ ชนวัดทีอ่ คั รสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีฯ น�ำโดยคุณแม่พรรณี ภู่เรือนหงษ์ ซิสเตอร์ กัลยา ตรีโสภา และซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ จัดการศึกษาดูงานวิถีชุมชนวัด ณ อัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง ให้กับสมาชิกคณะพระหฤทัย จ�ำนวน 20 ท่าน วันที่ 20-22 กันยายน ค.ศ. 2013

3. อบรมและให้ความรู้เรื่องวิถีชุมชนวัดกับสมาชิกตลอดปี ฝ่ายอภิบาลและประกาศข่าวดีฯ จัดอบรมสมาชิกตลอดทั้งปี และเผยแพร่ การแบ่งปันพระวาจาแบบ Look Listen Love โดยใช้พระวรสารนักบุญลูกา เพื่อการ ประชุมเขต (ตามนโยบายของคณะพระหฤทัยฯ) 4. แบ่งปันประสบการณ์คริสตชนกลุม่ ย่อย ให้กบั สมาชิกทีเ่ ข้าอบรม AsIPA III วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 พนักงานของอารามพระหฤทัยฯ ให้การต้อนรับ ผู้ที่มาเข้าอบรม AsIPA III ที่มาสัมผัสชีวิตคริสตชนกลุ่มย่อย ณ อารามพระหฤทัยฯ โดยได้เข้าร่วมกลุ่มแบ่งปันพระวาจา 2 กลุ่มย่อย ซึ่งการต้อนรับได้สร้างความประทับ ใจให้กับทุกฝ่าย

36 หฤทัยสัมพันธ์


5. ส่งผู้น�ำกลุ่มเข้ารับการอบรมวิถีชุมชนวัด ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ส่งบรรดาผู้น�ำกลุ่มของพนักงานอารามพระหฤทัยฯ เข้ารับการอบรมตามโครงการอบรมผู้น�ำของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในปีการ ศึกษา 2013 ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผู้หว่าน สามพราน

6. ออกเยีย่ มเยียนเพือ่ ให้ความช่วยเหลือในการจัดตัง้ “วิถชี มุ ชนวัด” ตามวัดต่างๆ ทีมประกาศข่าวดีของคณะพระหฤทัยฯได้ออกเยี่ยมเยียนเพื่อให้ความช่วย เหลือในการจัดตัง้ “วิถีชุมชนวัด” วัดต่างๆ ตามแผนงานของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เช่น วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล โรงหมู วัดนักบุญอันนา ท่าจีน

หฤทัยสัมพันธ์ 37


7. เข้าเป็นคณะกรรมการอ�ำนวยการวิถีชุมชนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ คุณแม่พรรณี ภู่เรือนหงษ์ ตัวแทนของคณะ และซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ใน ฐานะกรรมการปฏิบัติงานของวิถีชุมชนวัด ได้ร่วมมือกับอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยเข้าเป็นคณะกรรมการอ�ำนวยการของอัครสังฆมณฑลฯ 8. เป็นกรรมการระดับชาติและระดับสังฆมณฑล ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ประธานฝ่ายประกาศข่าวดีของคณะฯ เข้าเป็นคณะ กรรมการกลางวิถีชุมชนวัดทั้งในระดับชาติและระดับอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดย เข้าร่วมประชุม วางแผนงานและโครงการอย่างสม�่ำเสมอ 9. เป็นวิทยากรอบรมผู้น�ำวิถีชุมชนวัด ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ร่วมเป็นทีมวิทยากรของ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯในการให้การอบรมผู้น�ำวิถีชุมชนวัด ในปีการศึกษา 2013 ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผู้หว่าน สามพราน

วันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา เป็นวิทยากรอบรมเรื่อง วิสัยทัศน์ของการเป็นพระศาสนจักรแบบใหม่ให้สภาวัดและสัตบุรุษวัดเซนต์แอนโทนี ฉะเชิงเทรา 10. ร่วมเป็นคณะกรรมการระดับชาติจัดสัมมนา AsIPA Workshop 3 คุณแม่พรรณี ภูเ่ รือนหงษ์ ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ ซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ เข้าเป็นกรรมการจัดสัมมนาฝึกปฏิบตั กิ ารใช้หลักสูตร AsIPA 38 หฤทัยสัมพันธ์


ร่วมกันกับทีมงานระดับชาติเจ้าภาพ และผูร้ บั ผิดชอบ AsIPA ของสภาพระสังฆราชแห่ง เอเชีย (FABC) ได้จดั เตรียมงาน ด้านการต้อนรับ พิธกี รรม การประสานสัมพันธ์เรือ่ ง กิจกรรมต่างๆ และการบริการทัว่ ไป สมาชิกทัง้ 4 ท่านยังเข้ารับการฝึกปฏิบตั หิ ลักสูตรนี้ ด้วย ในวันที่ 7-12 ตุลาคม ค.ศ. 2013 การสัมมนาครัง้ นีผ้ า่ นไปอย่างดี เป็นทีป่ ระทับใจของ ทุกชาติ

II.

แผนงานธรรมทูต งานสอนค�ำสอน

• เตรียมจัดค่ายค�ำสอน ค่ายจริยธรรมภาคฤดูร้อน • จัดเตรียมงานค่ายคุณธรรมที่ เวียงแก่น จ.เชียงราย สัปดาห์สดุ ท้ายของเดือนตุลาคม • 27 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ลอ และทีมงาน ฆราวาสแพร่ธรรม ได้ไปจัดค่ายให้เด็กที่ศูนย์ คาทอลิกเวียงแก่น จ.เชียงราย

หฤทัยสัมพันธ์ 39


งานยุวธรรมทูต

1. ส่งเสริมยุวธรรมทูตในโรงเรียนในเครือของคณะ และโรงเรียนที่ สมาชิกท�ำงาน ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ น�ำทีมประกาศข่าวดีไปอบรมยุวธรรมทูตให้ครู และนักเรียน • โรงเรียนอรุโณทัย ล�ำปาง วันที่ 11-12 กรกฏาคม ค.ศ. 2013 และ โรงเรียนเทพพิทักษ์ จ. แพร่ ในวันที่ 13-14 กรกฏาคม ค.ศ. 2013 • วันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2013 จัดอบรมพืน้ ฐานยุวธรรมทูตทีว่ ดั พระกุมารเยซู บ้านแป้ง 2. จัดค่ายค�ำสอนเชิงคุณธรรมที่โรงเรียนเรืองวิทย์ วัดเพลง ราชบุรี ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ น�ำทีมประกาศข่าวดีของคณะฯ ไปจัดค่ายค�ำสอนเชิง คุณธรรมให้กบั นักเรียนของโรงเรียนเรืองวิทย์ วัดเพลง ราชบุรี ในวันที่ 3-5 ตุลาคม ค.ศ. 2013

งานประกาศข่าวดีเคลื่อนที่

• จัดตั้งกลุ่มประกาศข่าวดีเคลื่อนที่ เพื่อช่วยค่ายค�ำสอนรวมทัง้ ให้ความ รู้และส่งเสริมยุวธรรมทูต

40 หฤทัยสัมพันธ์


III.

แผนงานศาสนสัมพันธ์และคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ 1. เข้าร่วมสัมมนาโครงการเสวนาเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของสังคม ไทยที่เมืองทองธานี จัดโดยศูนย์คุณธรรม ประกอบด้วย 27 องค์กร

2. เข้าอบรมศาสนสัมพันธ์ร่วมกับโครงการธรรมทูต ที่บ้านคริสติน่า IV.

แผนงานส่งเสริมร่วมมือกับงานอภิบาล/ประกาศข่าวดีในสถานศึกษา และองค์กรประกาศข่าวดีอื่นๆ

1. งานอภิบาลสตรีและเด็ก ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการนักบวชไทยป้องกันการ ค้ามนุษย์ Talitha Kum จัดประชุมสัมมนาทัง้ ระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมทั้งเป็นวิทยากรด้วย

หฤทัยสัมพันธ์

41


อนึ่ง ในวันที่ 10-14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 นี้ กรรมการ Talitha Kum Thailand ร่วมเป็นเจ้าภาพจัด การประชุมวางแผนการท�ำงานป้องกันการค้ามนุษย์กับนักบวช ในภูมิภาคเอเซียและโอเชเนียด้วย การประชุมครัง้ นี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก Talitha Kum International Network of Consecreted Life Against Trafficking in Persons, Rome 2. ร่วมโครงการอภิบาลครอบครัว - ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา ได้แบ่งปันการภาวนาและการใช้พระคัมภีรใ์ นการสร้างชีวติ ครอบครัวทีบ่ า้ นผูห้ ว่านให้กบั สมาชิกส่งเสริมครอบครัวคาทอลิกเมือ่ เดือนมิถนุ ายน

3. ร่วมมือกับองค์กรฆราวาสในเรื่องการอ่านพระคัมภีร์ วันที่ 21 กรกฏาคม ค.ศ. 2013 ได้ส่งพนักงานจ�ำนวน 13 คนเข้ารับของ ที่ระลึกจาก ฯพณฯ พระสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เนื่องจากได้อ่านพระคัมภีร์ ครบ 4 เล่ม ในโอกาสวันชุมนุมองค์กรฆราวาส ในโอกาสวันฉลองวัดพระบิดา

42 หฤทัยสัมพันธ์


4. เข้าร่วมโครงการฝึกชีวติ จิตให้นกั เรียน นักศึกษา ครูคาทอลิก และเจ้า หน้าทีฝ่ า่ ยฯ • วันที่ 19 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 เข้าเงียบให้เจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยการศึกษาอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ • ตัง้ แต่วนั ที่ 20 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 และต่อไปเดือนละ 1 ครัง้ ฝ่ายอภิบาลฯ ร่วมมือกับร่วมกับคณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม และคุณพ่อสมชัย พิทยาพงศ์พร จัดเข้าเงียบประจ�ำเดือนให้ นักศึกษา รวมทัง้ ผูฝ้ กึ หัดของทุก คณะทีเ่ ป็นนักศึกษาสาขาศาสนศาสตร์ ทีส่ กั การสถาน สามพราน • ตัง้ แต่วนั ที่ 25 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 และเดือนละ ครัง้ ตลอดปี โดยเฉลีย่ จัด เข้าเงียบให้นกั เรียนคาทอลิกตัง้ แต่ ป.1 – ม.6 จากโรงเรียนของสังฆมณฑลใน เขต 5 รวมทัง้ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ และโรงเรียนแม่พระฟาติมา ที่ สักการสถาน สามพราน

• วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2013 จัดเข้าเงียบแบบสมาธิให้ครูคาทอลิก โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ จ�ำนวน 33 คน ที่ หาดหฤทัย ชะอ�ำ

หฤทัยสัมพันธ์ 43


5. แบ่งปันประสบการณ์สภาพสังคมของเด็กไทยในปัจจุบัน วันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ น�ำทีมงานฝ่าย อภิบาลและประกาศข่าวดี คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ เข้าร่วม สังเกตการณ์และแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมของเด็กไทยและปัญหา การใช้ ยาท�ำแท้งเสรีในปัจจุบัน ให้แก่กลุ่มผู้อาวุโสและกลุ่มสตรีอาสา ที่ห้องประชุมโรงเรียน พระหฤทัยคอนแวนต์ คลองเตย กรุงเทพมหานคร

V.

แผนงานส่งเสริมจัดหาสือ่ / อุปกรณ์ พัฒนาเวปไซต์ สือ่ อีเลคโทรนิค

ในปีการศึกษา 2013 ฝ่ายอภิบาลประกาศข่าวดีได้จัดท�ำสื่อการสอนและสิ่ง พิมพ์เพื่อเป็นการเผยแพร่และใช้ในงานประกาศข่าวดีของคณะ อาทิเช่น - โปสเตอร์ ส�ำหรับสอนยุวธรรมทูตในโรงเรียน - แต่งเพลงอิงพระคัมภีร์ให้ยุวธรรมทูต - นพวารเผยแพร่พระสัญญาพระหฤทัยฯ และจัดบอร์ดเผยแพร่ค�ำ สอนต่างๆ - ไวนิลเพื่อสอนข้อความเชื่อ 12 ประการ - จัดแยกหมวดหมู่ของสื่อให้เป็นระเบียบ - ประสานงานกับฝ่ายสือ่ ของอารามเขียนบทความเพือ่ ใช้ในการประชุมกลุม่ 44

หฤทัยสัมพันธ์


- จัดท�ำสื่อการสอนและพิมพ์แผ่นรณรงค์เรื่องการป้องกันการค้า มนุษย์ ฯลฯ

VI.

แผนงานพัฒนาบุคลากรด้านประกาศข่าวดี

1. อบรมจิตตารมณ์ธรรมทูต ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ เข้ารับการอบรมจิตตารมณ์ธรรมทูตของคณะ ธรรมทูตไทยตามหลักสูตร ปี 2013 ที่ศูนย์คริสตินน่า ปากเกร็ด

2. เข้าร่วมโครงการ WORKSHOP FOR DEEPENING SCC ANIMATION SKILLS FOR THAILAND วันที่ 18-24 สิงหาคม ค.ศ. 2013 สมาชิกคณะพระหฤทัยเข้า ร่วม 3 ท่าน ได้แก่ ซิสเตอร์พรรณี ภูเ่ รือนหงษ์ ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา และ หฤทัยสัมพันธ์ 45


ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชะลอ ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผูห้ ว่าน สามพราน โดยมี วิทยากรมาจากประเทศอินเดียมาช่วยฟืน้ ฟูความรูแ้ ละจิตตารมณ์ พร้อมทัง้ ช่วยชีแ้ นะแนวทางในการพัฒนาวิถชี มุ ชนวัดในประเทศไทยด้วย

3. เข้าร่วมอบรม AsIPA III International Training Workshop on SCC/BECs ในวันที่ 7-12 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ณ ศูนย์อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง สมาชิกทีเ่ ข้าร่วม ซิสเตอร์พรรณี ภูเ่ รือนหงษ์ ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา ซิสเตอร์ มารศรี จันทร์ชลอ ซิสเตอร์บงั อร มธุรสสุวรรณ

4. ส่งเสริมเจ้าหน้าทีใ่ ห้เรียนรูภ้ าษาเพือ่ ต้อนรับอาเซียนและเพือ่ การประกาศ ข่าวดี ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ และเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยอภิบาลและประกาศข่าวดีของคณะ ได้เรียน รูภ้ าษาเพือ่ นบ้านเพือ่ รองรับประชาคมอาเซียนและเพือ่ การเตรียมความพร้อมเพือ่ การ ประกาศข่าวดี 46 หฤทัยสัมพันธ์



48 หฤทัยสัมพันธ์








เคล็ดลับ... ที่แม่บ้านขอแบ่งปัน ส่วนผสมแปง 1. แป้งสาลีเอนกประสงค์ 1 กก. 2. ไข่ไก่ 20 ฟอง 3. ผงฟู 2 ช้อนชา 4. คนอร์ไก่ 2 ช้อนชา 5. น�้าเปล่า 1,400 กรัม วิธีท�า ผสมทุกอย่างให้เข้ากัน ส่วนผสมหลัก 1. กะหล�่าปลีสับละเอียด 2 หัว 2. หนวดปลาหมึกยักษ์หั่น 200 กรัม 50 กรัม 3. ปลาแห้งของญี่ปุ่น 4. สาหร่ายฝอย 20 กรัม 5. มายองเนส 6. ซอสทาโกะยากิ ส่วนผสมซอสทาโคะยากิ 1. ซอสเทอริยากิคนอร์ 1 กก. 2. ซอสมะเขือเทศโรซา 1 กก. 3. น�้าส้มสายชู 1 กก. ผสมทุกอย่างรวมกัน วิธีการท�า 1. น�าแป้งใส่ลงในเตาหลุม รอให้แป้งสุก 2. ค่อยๆใช้ไม้กลิ้งแป้งที่สุกแล้วขึ้นมา และหยอดแป้งลงไปเพิ่มเติม 3. หยอดกะหล�่าปลีสับละเอียดลงไป และใส่หนวดปลาหมึกตาม 4. จากนัน้ ค่อยๆใช้ไม้กลิ้งแป้งให้ได้เป็นลูกกลมๆ 5. น�าลูกทาโกะยากิออกจากเตาหลุม หยอดซอสทาโกะยากิ ตามด้วยมายองเนส และโรยหมึกแห้ง

หฤทัยสัมพันธ์ 55


¡Ô¨¡ÃÃÁ½†Ò¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ ผูบ้ ริหารคณะพระหฤทัยฯ ร่วมสัมมนากับสภาการศึกษาคาทอลิกฯ

วันที่ 18-21 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ผูบ้ ริหารของคณะพระหฤทัยฯได้เข้าร่วม การประชุมสัมมนาประจ�าปีการศึกษา 2556 ของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 43 หัวข้อ “โรงเรียนคาทอลิกในมาตรฐานสากล” ณ โรงแรมเอเชีย พัทยา จังหวัดชลบุรี

พัฒนาบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์สังวาลย์ วาปีทะ เดินทางไป ศึกษาภาษาอังกฤษ ที่ Brasshouse Language Centre, Birmingham สหราชอาณาจักร โดยใช้เวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 8 เดือน

56 หฤทัยสัมพันธ์


วันที่ 14-30 ตุลาคม ค.ศ. 2013 คณะพระหฤทัยฯจัดคอร์สอบรมภาษา อังกฤษให้กับสมาชิก จ�ำนวน 10 ท่าน ณ โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษานานาชาติ มีนบุรี สมาชิกที่เข้าอบรม ได้แก่ ซิสเตอร์นิภาพันธ์ แสงประดับ ซิสเตอร์สุณีย์ บุญช่วย ซิสเตอร์วชิ ชุดา วิจติ รวงศ์ ซิสเตอร์แสงอรุณ ธารีจติ ร ซิสเตอร์กฤษณา พูลสวัสดิ์ ซิสเตอร์สุนันทา สถาพรวลัยรัตน์ ซิสเตอร์ศิริวรรณ ชินวงศ์ ซิสเตอร์ทพ ิ ย์อาภา นีลวัชระ ซิสเตอร์ศศิวิมล เมืองรัตน์ และ ซิสเตอร์นภาภรณ์ กุ๊นุ

วันจันทร์ท่ี 21 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์วีรวรรณ กิจเจริญ เดินทางไป ศึกษาภาษาอังกฤษ ที่ Brasshouse Language Centre, Birmingham สหราชอาณาจักร โดยใช้เวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 4 เดือน จากนั้นจะไปเข้าอบรมฟื้นฟูจิตใจที่ Sumedha Centre for Psychology & Spirituality ประเทศอินเดีย

หฤทัยสัมพันธ์ 57


สมาชิกศึกษาดูงานด้านการศึกษา

วันที่ 25-27 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์ท่ที �ำหน้าที่ผู้บริหาร โรงเรียนในเขต 6 เดินทางไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วทิ ยาลัย และโรง เรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 20-24 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์เบญญาภา ไทยแก้วรอด ซิสเตอร์สมลักษณ์ มธุรสสุวรรณ ซิสเตอร์ทัศนะ ทิพย์สนิท ผู้บริหารโรงเรียนใน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งจัดโดยบริษัทสยาม คอมพิวเตอร์และภาษา ซึ่งทางโรงเรียนได้ใช้บริการด้านการศึกษา

วันที่ 23-27 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์ผู้บริหารโรงเรียนในอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจัดโดยบริษัทผลิตปัญญา จ�ำกัด สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้แก่ ซิสเตอร์วีรวรรณ กิจเจริญ ซิสเตอร์นงนภัส สุวรรณใจ ซิสเตอร์สุรีย์พร ระดมกิจ ซิสเตอร์เยาวลักษณ์ รอดงาม ซิสเตอร์อาภาวดี นีลวัชระ และ ซิสเตอร์พรพิมล วิธีธรรม ร่วมกับผู้บริหารของโรงเรียนต่างๆ

58 หฤทัยสัมพันธ์


วันที่ 14-21 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์วรรณวิมล สุขสวัสดิ์ ซิสเตอร์รชั นี ตระกูลเง็ก ซิสเตอร์นำ�้ ทิพย์ งามสุทธา ซิสเตอร์อาภาวดี นีลวัชระ และซิสเตอร์วราภรณ์ ชีวะเรืองโรจน์ ได้เข้าร่วมโครงการกับฝ่ายการศึกษาของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ไป ศึกษาดูงานทีส่ าธิตมหาวิทยาลัยกวางสี ประเทศจีน

วันที่ 8-22 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ผู้บริหารของโรงเรียนในเครือคณะพระ หฤทัยฯ จ�ำนวน 4 ท่าน ได้แก่ ซิสเตอร์พัชรา นันทจินดา ซิสเตอร์นงนภัส สุวรรณใจ ซิสเตอร์กฤษดา สาตร์พันธ์ ซิสเตอร์ไพรศรี มะลิวัลย์ พร้อมคณะครูของโรงเรียนใน เครือคณะพระหฤทัยฯ จ�ำนวน 16 คน เดินทางไปเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งจัด โดย Yuxi normal University ประเทศจีน

หฤทัยสัมพันธ์ 59


ผูบ้ ริหารโรงเรียนรับมอบเกียรติบตั รยกย่องเชิดชูเกียรติ

ซิสเตอร์เบญญาภา ไทยแก้วรอด ผูบ้ ริหารโรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก ซิสเตอร์รัชนี ตระกูลเง็ก ผู้บริหารโรงเรียนเซนต์เทเรซา แสงทอง และซิสเตอร์ สุรีย์พร ระดมกิจ ผู้บริหารโรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่ เข้ารับมอบเกียรติบัตร ยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้บริหารโรงเรียนที่มรี ะบบการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษา จากส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่ได้ด�ำเนินโครงการ ตรวจติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน ประจ�ำปีงบประมาณ 2556 โดยมี ดร.บัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นประธานในพิธี ในวันที่ 26 กันยายน 2556 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

อบรมวิชาผูก้ ำ� กับลูกเสือสามัญ ขัน้ ความรูช้ นั้ สูง( A.T.C.)

วันที่ 12 - 18 ตุลาคม 2556 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง จัดอบรม วิชาผู้ก�ำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.) ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราว โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จ�ำนวน 80 คน ได้รับ ความร่วมมือจาก สมาคมสโมสรลูกเสือสยาม โดยน�ำวิทยากรมาให้การอบรมทัง้ ภาค 60 หฤทัยสัมพันธ์


ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยได้รับความอนุเคราะห์เรื่องอาหารและที่พักจากผู้บริหาร โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง และเต็นท์จากโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ และความ ร่วมมือจากวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง

อบรมครู หลักสูตร “กลยุทธ์...การพัฒนากระบวนการคิด”

วันที่ 26 ตุลาคม 2556 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมืองจัดอบรมครู หลักสูตร “กลยุทธ์...การพัฒนากระบวนการคิด” มีโรงเรียนเข้าร่วมอบรมจ�ำนวน 8 โรงเรียน จากโรงเรียนเอกชนกลุ่มที่ 1 และโรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัย มีผู้เข้ารับการ อบรม จ�ำนวน 216 คน โดย ดร.สุวทิ ย์ มูลค�ำ เป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้ ผู้เข้ารับการ อบรมได้รับความรู้ในเรื่องกระบวนการคิด สามารถน�ำมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

หฤทัยสัมพันธ์

61


สมาชิกเข้ารับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท

ปีการศึกษา 2556 นี้ สมาชิกคณะพระหฤทัยฯเข้ารับการศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท ดังนี้ 1. ซิสเตอร์แสงอรุณ ธารีจิตร ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาบริหารการ ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 2. ซิสเตอร์กฤษณา พูลสวัสดิ์ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาบริหารการ ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3. ซิสเตอร์รัชนก อุปพงศ์ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ เอก บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. ซิสเตอร์อารียา รัตนเวียงผา ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ แผนกชาติพันธ์สัมพันธ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5. ซิสเตอร์อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการ วิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ แขนงจิตวิทยาพัฒนามนุษย์และการให้ค�ำ ปรึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 6. ซิสเตอร์สาวิตรี จินประยูร ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการ ศึกษาและแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

62 หฤทัยสัมพันธ์










¡Ô¨¡ÃÃÁ½†ÒÂÊѧ¤Á¾Ñ²¹Ò

ร่วมกิจกรรมกับศูนย์คุณธรรม

วันที่ 24-26 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 กรรมการฝ่ายสังคมพัฒนาของคณะพระ หฤทัยฯ ร่วมกับศูนย์คณ ุ ธรรม สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศกึ ษา มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายศาสนา จัดกิจกรรมในโครงการค่ายยุวศาสนิกสัมพันธ์ เสริมสร้างความ ซือ่ ตรง ณ บ้านหทัยการุณย์ จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีสมาชิกทีเ่ ป็นกรรมการฝ่ายสังคม ยุว ภคินี ผูฝ้ กึ หัดรุน่ แอสปีรนั ต์ และนักเรียนโรงเรียนในเครือคณะ เยาวชนมูลนิธพิ ระหฤทัย อุปถัมภ์ นักเรียนในโรงเรียนทีส่ มาชิกท�างาน เข้าร่วมสัมมนาด้วย


ร่วมสัมมนา Caritas Thailand ครั้งที่ 1/2013

วันที่ 26-28 มิถุนายน ค.ศ. 2013 กรรมการฝ่ายสังคมพัฒนาของคณะพระ หฤทัยฯ จ�ำนวน 4 ท่าน ได้แก่ ซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอี่ยมไธ สง ซิสเตอร์สุภาสินี กิจทวี ซิสเตอร์วนิดา เดโชชัยไกวัล และซิสเตอร์ศิริวรรณ ชินวงศ์ เข้าร่วมสัมมนา Caritas Thailand ครั้งที่ 1/2013 ในหัวข้อเรื่อง “สันติสุข ในสังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน” ณ ศูนย์อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง กรุงเทพฯ

ร่วมงานสมัชชาคุณธรรม

วันที่ 25-26 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 กรรมการฝ่ายสังคมพัฒนาของคณะพระ หฤทัยฯ คุณครูและนักเรียนโรงเรียนในเครือฯ ร่วมกับศูนย์คณ ุ ธรรม จัดเสวนาในหัวข้อ เรื่องนักบวชหญิงคาทอลิกมีส่วนผลักดันและสร้างเครือข่ายในการสอนบุคลากรใน โรงเรียนให้เป็นคนซือ่ ตรง เมตตา และน�ำเสนอกิจกรรมเกีย่ วกับคุณธรรมความซือ่ ตรง และความเมตตา ทางฝ่ายได้จดั นิทรรศการของคณะ เข้าร่วมในงานสมัชชาคุณธรรม ระดับชาติในครัง้ นีด้ ว้ ย งานจัดขึน้ ทีศ่ นู ย์ประชุมอิมแพค อารีนา เมืองทองธานี

72 หฤทัยสัมพันธ์


เฉลิมฉลอง 50 ปี สมณสาส์น “สันติบนแผ่นดิน”

วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2013 สมาชิกคณะพระหฤทัยฯ น�ำโดย ซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ ร่วมกับ ซิสเตอร์สภุ าสินี กิจทวี ซิสเตอร์กรรณิการ์ เอีย่ มไธสง ซิสเตอร์วนิดา เดโชชัยไกวัล ซิสเตอร์ศริ ริ ตั น์ เหล่าวัฒนพงศ์ ซิสเตอร์กลั ยา ตรีโสภา ซิสเตอร์อจั ฉรา พรรณ อุน่ หล้า คุณวันวิสา บุญสุข และคุณปัญจมากรณ์ ค�ำภีรจ์ รัสพร เจ้าหน้าที่ ฝ่ายประกาศข่าวดีของคณะฯ ไปร่วมงานเฉลิมฉลอง 50 ปี สมณสาส์น “สันติบน แผ่นดิน” (Pacem in Terris) และเสวนา ในหัวข้อ “ประเทศไทยทีไ่ ม่เหมือนเดิม แล้วเราจะเดินไปสูห่ นทางใด” อีกทัง้ ร่วมปฏิบตั ภิ าวนาในหัวข้อ “สันติกบั ตัวเรา ไมตรีตอ่ คนข้างๆ” จัดโดยคณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ ความยุตธิ รรมและสันติ (ยส.) ที่ ห้องประชุมอาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ฝ่ายสังคมคณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานีดูงาน

วันที่ 14-16 สิงหาคม ค.ศ.2013 ซิสเตอร์นงลักษณ์ สิทธิโชค และซิสเตอร์วราภรณ์ พันวิลยั ฝ่ายสังคมคณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี ศึกษาดูงานของฝ่ายสังคมพัฒนา ของคณะพระหฤทัยฯ โดยรับฟังการแบ่งปันจากซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ และพาไป เยี่ยมชมกิจการที่ชุมชนกองขยะหนองแขม

หฤทัยสัมพันธ์ 73


แอสปีรันต์ชั้นม.6 ศึกษาดูงานและเยี่ยมชุมชนกองขยะหนองแขม

วันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์อจั ฉราพรรณ อุน่ หล้า ได้ จัดให้แอสปีรนั ต์ชนั้ ม.6 จ�ำนวน 5 คน ได้เข้าร่วมสัมผัสชีวติ ในชุมชนกองขยะหนองแขม โดยมีซสิ เตอร์โนรา ระดมกิจ ซิสเตอร์อาเมลี ธิราศักดิ์ ซิสเตอร์ศริ วิ รรณ ชินวงศ์ และ คุณบรรจง แซ่องึ้ ประธานชุมชน เป็นผูแ้ บ่งปันและน�ำเยีย่ มชุมชนเพือ่ เรียนรูภ้ ารกิจของ คณะในด้านสังคม

กิจกรรมที่ชุมชนกองขยะหนองแขม

ตลอดภาคเรียนที่ 1 ทีช่ มุ ชนกองขยะหนองแขม มีผเู้ ข้ามาศึกษาดูงานจ�ำนวนมาก ในด้านทีอ่ ยูอ่ าศัย โครงการบ้านมัน่ คง โครงการสหกรณ์ออมทรัพย์ โครงการป้องกันยา เสพติด โครงการขยะรีไซเคิล มหาวิทยาลัยธนบุรมี าสอน และฝึกอาชีพซ่อมเครือ่ งไฟฟ้า ซ่อมแซมสิง่ ของ เสือ้ ผ้าจากกองขยะ เพือ่ เพิม่ มูลค่า โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ออกหน่วย แพทย์เคลือ่ นทีร่ กั ษาพยาบาลประชาชนในชุมชน รวมทัง้ บันทึกเทปโทรทัศน์หลายครัง้ เพือ่ เผยแพร่กจิ กรรมต่างๆทีส่ ามารถเป็นต้นแบบแก่ชมุ ชนอืน่ ๆ ในการนีท้ างฝ่ายสังคมได้เข้าไป ให้บริการต้อนรับและได้มอบจักรเย็บผ้า 1 คันส�ำหรับใช้ซอ่ มแซมกระเป๋า เสือ้ ผ้า รองเท้า จากกองขยะ ซึง่ จะช่วยเพิม่ รายได้แก่สมาชิกในชุมชนด้วย

74 หฤทัยสัมพันธ์


เยาวชนที่รับทุนส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

ฝ่ายสังคมได้พจิ ารณาขอทุนการศึกษาให้เยาวชนทีเ่ หมาะสม เพือ่ เตรียมบุคลากร ทีจ่ ะมาช่วยงานด้านสังคมของคณะ ในปีนมี้ เี ยาวชนทีจ่ บการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา ศึกษาศาสตร์ 2 คน สาขาสังคมสงเคราะห์ 2 สาขาบัญชี 1 คน สาขาเทคนิคการเกษตร 1 คน และกลับเข้ามาท�ำงานร่วมกับฝ่ายสังคมพัฒนา ทีบ่ า้ นสงเคราะห์ของคณะและแผนกบัญชี ของคณะ ยังมีเยาวชนอีกจ�ำนวนหนึง่ ทีร่ บั ทุนและก�ำลังศึกษาอยูใ่ นขณะนี้

สมาชิกของคณะสัมมนาและศึกษาสมณสาส์น PACAM IN TERRIS

วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2013 คณะได้จัดสัมมนากลางปีข้นึ ส�ำหรับสมาชิกทุก คน ฝ่ายสังคมได้จัดเตรียม การศึกษาสมณสาสน์ Pacem in Terris โอกาสครบรอบ 50 ปีของสมณสาสน์ฉบับนี้ โดยเชิญวิทยากรคือ คุณอัจฉรา สมแสงสรวง มาให้ค�ำ อธิบายความส�ำคัญของสมณสาส์น และได้เชิญ อาจาร์ย ดร.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียร ฉายมาบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง สันติสุข ในสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง สู่ประชาคมอาเซียน สมาชิกมีโอกาสไตร่ตรอง แบ่งปันข้อคิดที่ได้รับ เพื่อน�ำมา ประยุกต์ใช้ในชีวิตและในการท�ำภารกิจของตนต่อไป

หฤทัยสัมพันธ์ 75


ÊѹµÔÊØ¢ã¹Êѧ¤ÁáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ ที่เปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน

โดย ดร. ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย

ผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างสูงที่ได้รับเชิญอีกครั้งหนึ่งให้มาแบ่งปันข้อคิด และมุมมองส่วนตัวที่เกี่ยวกับเรื่องสันติสุขในสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงสู่ ประชาคมอาเซียน ที่ต้องพูดว่าส่วนตัวก็เพราะว่าถ้าเชิญวิทยากรท่านอื่นในหัวข้อ นี้อีก10 คน ก็อาจมี 10 มุมมองก็ได้ ส�าหรับผม ผมจะพยายามเลือกมุมมองที่เป็น ประโยชน์ต่อคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าฯ ในการแสดงความคิดเห็นของผมในวันนี้ในหัวข้อ สันติสุขในสังคมและ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน จะมีสี่หัวข้อย่อยโดยจะเริ่มกันที่สมณ สาสน์ Pacem in Terris ซึ่งภาษาอังกฤษใช้ว่า “Peace on Earth” และภาษาไทยแปลว่า “สันติหรือสันติสุขบนแผ่นดิน” ผมขอกล่าว แค่ นิด เดีย วเพียงเพื่อ ที่จ ะน�า ไปสู่ ความเข้ า ใจ และเป็นกรอบความเข้าใจเมื่อประเทศของเรา จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เรื่องของประชาคม อาเซียน เชื่อว่าหลายท่านคงได้ยนิ ได้ฟังมาแล้ว ดังนั้นก็ไม่ลงละเอียดมากในเรื่องนี้ แต่จะเลือก เฉพาะบางมุมมองที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคมของเรา และเราจะท�าอย่างไรในฐานะนักบวชของคณะพระหฤทัยฯ โดยผมจะมีข้อสังเกตและ ข้อคิดบางประการ ทัง้ หมดนี้จะอยู่ในเวลาประมาณ 90 นาทีของการบรรยายวันนี้ เรามาเริ่มหัวข้อย่อยแรกคือ Pacem in Terris/สันติสุขบนแผ่นดิน ปีนี้เป็น โอกาสที่สมณสาสน์ฉบับนี้มีอายุครบ 50 ปี ถึงแม้ Pacem in Terris จะมีอายุถงึ 50 ปี แล้ว แต่ยังสามารถใช้อ้างอิงได้อยู่ในปัจจุบัน และยังคงจะใช้ได้ตลอดไป ในช่วงที่สมณ

76 หฤทัยสัมพันธ์


สาสน์ฉบับนี้ออกมา มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในโลกของเราบ้าง ในช่วงระยะเวลานัน้ เหตุการณ์ที่หนักที่สุดก็คือ ประเทศสหภาพโซเวียต ขนขีปนาวุธขนาดใหญ่ไปประเทศ คิวบาซึ่งเป็นเกาะอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐ เป็นขีปนาวุธที่มีสมรรถภาพความสามารถ ในการยิงจากเกาะคิวบาไปยังเมืองใหญ่ทุกเมืองของสหรัฐเพื่อถล่มสหรัฐให้ล่มได้ นี่ คือวิกฤตที่ใหญ่มากในขณะนัน้ ท�ำให้ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ ประกาศอย่าง แข็งกร้าวว่า สหภาพโซเวียตต้องท�ำการถอนขีปนาวุธออกจากเกาะคิวบา มิฉะนั้นจะ เกิดสงครามนิวเคลียร์แน่นอน ไม่มีการต่อรองใดๆ โชคดีที่สหภาพโซเวียตตัดสินใจ ถอนขีปนาวุธกลับไป มิฉะนั้นคงจะเกิดสงครามโลกครัง้ ที่3 เป็นสงครามปรมาณูแบบ เดียวกับที่ทิ้งที่ญี่ปุ่นในตอนสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ไม่นาน หลังจากนั้นประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ ถูกลอบ ยิงเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ประธานาธิบดีของสหรัฐ ถูกลอบสังหาร ในช่วงนัน้ ภาพรวมของโลกไม่มสี ันติสุข เลย ดังนั้น Pacem in Terris จึงเป็นเอกสารที่ส�ำคัญ และมีคุณค่ามากส�ำหรับช่วงเวลาตอนนัน้ หันมามอง ในวงการของพระศาสนจั ก รกั น บ้ า งในช่ ว งเวลานั้น มี การประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ซึ่งใช้เวลาในการ ประชุมสี่ปี เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 สิ้นสุดในปี 1965 ประชุมประมาณ 2 เดือนต่อปี คือ ประมาณกลางเดือนตุลาคม ไปจบในวันที่ 8 ธันวาคมซึ่งเป็นวันฉลองแม่พระปฏิสนธิ นิรมลของทุกปี เพื่อให้บรรดาพระสังฆราชจากทั่วโลกกลับไปปกครองท้องถิ่น โดย กลับมาประชุมกันใหม่ในปีต่อไป ในการประชุมปีละประมาณ 2 เดือนนั้น พระสังฆราช จากทุกสภาพระสังฆราชมาร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง ไม่มีการประชุมอื่นใดใน โลกที่ยิ่งใหญ่เท่ากับการประชุมในครัง้ นี้ แม้แต่การประชุมของสหประชาชาติยังไม่มีผู้ เข้าประชุมจ�ำนวนมากเท่านี้ เพราะในการ ประชุมครั้งนัน้ พระสังฆราชกว่า 2,600 องค์ จากทุกประเทศทั่วโลกมาประชุมร่วม กัน ถือเป็นการประชุมที่ส�ำคัญที่สุดของ มนุษยชาติ ในการประชุมสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 พระศาสนจักรได้หยิบยกทุก ปัญหาทุกสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นมาพิจารณา ปรึกษาหารือและลงมติ โดยให้มีการออก หฤทัยสัมพันธ์ 77


เอกสารทันทีเมื่อจบการประชุมในแต่ละปี เอกสารของสังคายนาวาติกันครัง้ ที่ 2 มี จ�ำนวนทั้งสิ้น 16 ฉบับ โดยได้ทยอยออกมาเรื่อยๆ ตามที่การประชุมได้หารือและลง มติกัน หลังการประชุมในปีแรกคือปี ค.ศ. 1962 ได้มเี อกสารออกมา 2 ฉบับ เอกสารฉบับที่ 1 คือ SacrosanctumConcilium เป็นเอกสารฉบับแรก และเกี่ยวกับเรื่องพิธีกรรม ถือว่าเป็นเรื่องที่ส�ำคัญและเร่งด่วนมากที่สุด เอกสารฉบับ นี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการในพิธีกรรม เช่น พระสงฆ์แต่เดิมประกอบ พิธีมิสซาด้วยการหันหลังให้สัตบุรุษตลอดมิสซา จะหันหน้ามาเฉพาะตอนอวยพร เท่านั้น ในเอกสารได้ก�ำหนดใหม่ให้พระสงฆ์หันหน้ามาหาสัตบุรุษ บทมิสซาแต่ก่อนใช้ ภาษาลาติน ที่ประชุมสังคายนาวาติกันครัง้ ที่2 ได้อนุญาตให้ใช้ภาษาท้องถิ่น รวมถึง บทเพลงซึ่งสมัยก่อนที่เป็นลาตินทั้งหมดก็ให้เป็นภาษาท้องถิ่นได้ เป็นต้น เอกสารฉบับที่ 2 ทีอ่ อกมาคือ Inter Mirifica เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับสือ่ ซึง่ แสดงว่าสือ่ เป็น เรือ่ งทีส่ ำ� คัญเร่งด่วนมากเช่นกัน พระศาสนจักรคง มองแล้วว่า เรือ่ งสือ่ นีร้ อช้าในการออกเอกสารไม่ได้ ใน Inter Mirificaได้ก�ำหนดให้ท�ำในสิ่งเร่งด่วน บางประการ เช่นให้มีสมณกระทรวงว่าด้วย สื่อมวลชนให้มีวันสื่อสารสากลที่เราฉลองกัน ทุกปี นี่เป็นมติของสังคายนาวาติกันครัง้ ที่ 2 ที่ ส�ำคัญก็คือ เป็นครั้งแรกที่มีค�ำศัพท์ใหม่ ได้แก่ ศัพท์ค�ำว่า สื่อสารสังคม พระศาสนจักรไม่ สนใจเรื่อง Hardware หรือ software จะใช้สื่อเทคโนโลยีทันสมัยหรือไม่ทันสมัยแค่ไหน สิ่งนั้นไม่ส�ำคัญ เพราะขึ้นกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น พระศาสนจักรสนใจเรื่องคน คน ที่รับสื่อและถูกกระทบจากสื่อ คนที่ใช้สื่อและคนที่ผลิตสื่อ จึงไม่ใช้ค�ำว่าสื่อมวลชน แต่บัญญัตศิ ัพท์ใหม่ว่า Social Communication หรือสื่อสารสังคม เพราะค�ำนี้ไม่ได้ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้การสื่อสาร แต่หมายถึงคนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร เมื่อเอกสารจากการประชุมสังคายนาออกมาเพียง 2 ฉบับในปี 1963 ดัง นั้นจึงกล่าวได้ว่า Pacem in Terris ซึ่งออกในปี 1963 เช่นกันจึงไม่ใช่เอกสารวาติกัน 2 แต่เป็นสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23 มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ พระองค์ลงพระนามในการออกสมณสาสน์ฉบับนี้ 4 เดือนก่อนที่พระองค์จะ สิ้นพระชนม์ พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง เราทราบกันดีว่า โรคมะเร็งไม่ใช่โรค 78 หฤทัยสัมพันธ์


ที่เสียชีวิตโดยทันที แต่ผู้ป่วยจะรู้ตัวล่วงหน้า ดังนั้นพระองค์รู้ตัวล่วงหน้าว่าพระองค์ ก�ำลังจะสิ้นพระชนม์ สมณสาสน์ฉบับนี้จงึ เหมือนกับเป็นการสั่งเสียที่พระองค์อยาก บอกกับโลก สมณสาสน์และเอกสารต่างๆของสังคายนาวาติกันจะมีความชัดเจน เสมอว่าเป็นเอกสารส�ำหรับผู้ใด เอกสารบางฉบับส�ำหรับบรรดาพระสังฆราช บาง ฉบับส�ำหรับบรรดาพระสงฆ์ บางฉบับส�ำหรับผู้ถวายตัว บางฉบับส�ำหรับฆราวาส ฯลฯ Pacem in Terris เป็นสมณสาสน์ฉบับเดียวที่ส�ำหรับมวลมนุษยชาติทั้งโลก เป็น สมณสาสน์ฉบับเดียวที่หนังสือพิมพ์ New York Time หนังสือพิมพ์ท่มี ีอิทธิพลที่สุด ของสหรัฐอเมริกาน�ำเอาไปลงตีพมิ พ์ทั้งฉบับ โดยไม่ตัดทอนแม้แต่ค�ำเดียว หมายถึง อย่างไร หมายถึง New York Time เห็นว่าทุกค�ำที่พระองค์เขียนในสมณสาสน์ฉบับนี้ มีคุณค่าเหลือเกิน ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เป็นคาทอลิกหรือคริสตชนเท่านัน้ แต่ส�ำหรับมนุษย์ ทุกคนทั่วโลก เอกสารฉบับนี้จึงถูกตีพิมพ์พิมพ์อย่างครบสมบูรณ์ทงั้ ฉบับ ส�ำหรับมุมมองของ Pacem in Terris ที่ผมจะน�ำมาเพียงนิดหน่อย พวกเรา จะคุ้นกับประโยคนี้มากคือ“God is love” พระเจ้าเป็นความรัก เป็นสมณสาสน์ ฉบับแรกของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่16 ออกภายในหนึ่งปีของสมณสมัย ของพระองค์ อย่างไรก็ตามสมณสาสน์ Pacem in Terris ช่วยให้เรารู้ด้วยว่า พระเจ้า คือ สันติสุข God is peace เราอาจไม่ค่อยได้ยนิ เท่าไรนัก แต่ถ้าเราศึกษา Pacem in Terris ดีๆเราจะพบว่าพระเจ้าคือ สันติสุขด้วย ตัวเลขในวงเล็บเป็นการอ้างอิงถึงข้อใน สมณสาสน์ Pacem in Terris เช่น ข้อ 117 พูดชัดว่า God is peace และในข้อ167 เรียก พระเจ้าว่าเป็น องค์สันติราชา Prince of peace ในสังฆมณฑลอุดรธานี มี บ้านเณรชื่อ บ้านเณร “สันติราชา” น�ำ มาจากเอกสารตรงนี้เอง นอกนั้นยังมี อีกหลายข้อ เช่น ข้อ 165 พูดถึงในแง่ท่ี ว่า เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม พระเจ้า มารับสภาพมนุษย์ สิ่งแรกที่พระเจ้า น�ำมาให้กับมนุษย์คอื สันติสุข และ เมื่ อ พระเยซู เ จ้ า ทรงสิ้ น พระชนม์ ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพและเสด็จสู่ สวรรค์ สิ่งสุดท้ายที่พระองค์มอบให้ มนุษย์คอื สันติสุข ในพระวรสารของ หฤทัยสัมพันธ์ 79


นักบุญลูกา (ลก. 2:14) เมื่อพระองค์ทรงกลับคืนชีพ และเสด็จมาหาบรรดาอัครสาวก พระองค์จะตรัสว่า “สันติสุข จงด�ำรงอยู่กับท่าน”เมื่อเป็นเช่นนี้ หมายถึง ในสาย พระเนตรของพระเจ้า สันติสุขเป็นเรื่องส�ำคัญส�ำหรับโลกและส�ำหรับมนุษย์ ทุกคนที่พระองค์ทรงสร้าง ในเวลาเดียวกัน สันติสุขไม่ใช่เกิดขึ้นเองได้ เราต้องช่วย กันท�ำให้เกิดขึ้น สันติสุขไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ปัญหาเรื่องสันติสุขนัน้ มีทุกยุคทุก สมัย ก่อนสมัยพระเยซูเจ้าและหลังสมัยของพระเยซูเจ้า ตลอด2000 ปีที่ผ่านมามี ปัญหาเรื่องสันติสุขมาโดยตลอด สันติสุขที่จริงแท้และยั่งยืนนั้น เราจ�ำต้องมองจากมุม มองของพระเจ้า การบรรยายวันนีเ้ ริม่ ด้วย Pacem in Terris และจะจบด้วย Pacem in Terris โดยเราจะมามองดูในตอนท้ายว่า มุมมองของพระเจ้าในเรื่องสันติสุขเป็นอย่างไร ใน Pacem in Terris ข้อที่ 9 กล่าวถึงสังคมแห่งสันติสุขนั้นต้องอยู่บนพื้น ฐานของการเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ข้อนี้เกี่ยวกับงานสังคมของเราเป็น อย่างมากอาจไม่เกี่ยวกับสันติภาพหรือการรบราฆ่าฟันในโลก แต่หมายถึงมนุษย์ทุก คนในประชาคมโลกจักต้องยอมรับว่าทุกคนมีสิทธิและศักดิ์ศรีในการด�ำเนินชีวิต ต้อง ได้รับการปกป้องศักดิ์ศรี และได้รับการส่งเสริมสิทธิของการเป็นมนุษย์ นี่คือ หัวใจ และข้อใหญ่ใจความของ Pacem in Terris ที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมของเรา สันติสุขจะ เกิดไม่ได้หากปราศจาก ความจริง ความรัก และความอิสระเสรี

ประชาคมอาเซียนเชื่อว่าพวกเราได้ยนิ มาหลายครั้งแล้วว่า ASEAN มา จากค�ำเต็มว่า Association of Southeast Asian Nations (สมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) หมายถึง 10 ประเทศที่อยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้รวมตัวกันเป็นสมาคม สมาคมก็คอื การมารวมตัวกันหลวมๆ ไม่ได้มีพันธะผูกพัน กัน บัดนี้สมาคมนี้ที่เรารู้จักได้ตกลงกันที่จะเป็น ASEAN COMMUNITY ภาษาไทยใช้ ค�ำว่า ประชาคมอาเซียน เลียนแบบประชาคมยุโรป ก่อนที่ยุโรปจะเป็นสหภาพยุโรป 80 หฤทัยสัมพันธ์


เขาก็เริ่มต้นเป็นประชาคมยุโรปก่อน หมายความว่าวันหนึ่งเราอาจจะเห็นประชาคม อาเซียนเป็นสหภาพอาเซียนก็ได้ ผู้น�ำของทั้ง 10 ประเทศได้ลงนามใน ASEAN CHARTER หรือกฏบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด หรือรัฐธรรมนูญของอาเซียน เมื่อมี การลงนามแล้วก็ต้องปฏิบัติตาม ขณะนี้ได้เลื่อนการเริ่มเป็นประชาคมอาเซียนจาก ต้นปีไปเป็นปลายปีคอื ธันวาคม ค.ศ. 2015 เสมือนว่าเป็นประเทศเดียวกันโดยมีวิสัย ทัศน์เดียวกัน มีเอกลักษณ์เดียวกันและเป็นประชาคมเดียวกัน ธงชาติของอาเซียน เป็นการน�ำสีมาจากธงชาติของทั้ง 10 ชาติ สัญลักษณ์ใช้รวงข้าวสิบรวงมัดรวมกันเป็น หนึ่ง แล้วก็ใช้รูปแบบของยุโรปเป็นหลักการ นั่นคือ เป็นหนึ่งเดียวกันในความหลาก หลาย เราไม่สามารถเปลี่ยนความหลากหลายนัน้ ให้เหมือนกันได้ แต่เราสามารถมี วิสัยทัศน์เดียวกันและเอกลักษณ์เดียวกันได้ จากตัวอย่างในหลายๆเรื่อง เช่น ในเรื่อง การปกครอง การนับถือศาสนา และภาษา นี่คือความหลากหลายที่เปลี่ยนไม่ได้ ซึ่ง ทั้งหมดนี้คือความพยายามที่จะเป็นหนึ่งเดียวโดยให้คงความหลากหลายอยู่เช่นเดิม

ในประชาคมอาเซียนมี 3 เรื่องที่ส�ำคัญ คือ 1) ความมั่นคงASC 2) เศรษฐกิจ AEC และ 3) เรื่องของสังคมและวัฒนธรรม ASCC หัวใจหลักนัน้ อยู่ที่เรื่องของเศ รษฐกิจ (AEC) และเป็นเรื่องที่จะน�ำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมค่อนข้างมาก ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 2015 จะเริ่มมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีเพื่อให้มีการผลิตสินค้าใน ราคาที่ถูกลง จึงต้องให้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของปัจจัยทางเศรษฐกิจ 4 อย่าง ได้แก่ แรงงาน เงินทุน สินค้า และบริการในทางปฏิบัติหมายถึง ต่อไปในอนาคต 10 ประเทศนี้จะไม่มีพรมแดนระหว่างกัน ไม่มีการเก็บภาษีระหว่างกัน ให้มีการลงทุน หฤทัยสัมพันธ์

81


ได้อย่างอิสระในทุกประเทศสมาชิก สามารถซื้อขายหุ้นข้ามชาติได้อย่างเสรี สามารถ โยกย้ายแรงงานอย่างเสรีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนให้เกิดการผลิตอย่าง ราคาถูกได้ ให้เปิดน่านฟ้าเพื่อสายการบินมีบริการได้อย่างเสรี บัตรประชาชนที่มี 2 ภาษา จะท�ำให้การเดินทางคล่องตัวมากขึ้น จะท�ำให้มีคนเดินทางมากขึ้น สิ่งที่จะ เปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งของประเทศไทยคือการคมนาคม ประเทศไทยลงทุนเรื่อง ถนนหนทางมากกว่าทุกประเทศเนื่องจากไทยเป็นประตูสู่ประเทศต่างๆในภูมภิ าคนี้ มี การเชื่อมถนนเส้นต่างๆ กับหลายประเทศ นอกนัน้ ยังจะมีรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อม ประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อในที่สุดท�ำให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น และ กลายเป็นภูมิภาคที่เป็นมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจขึ้นมา

แต่...เราพร้อมจะเป็นมหาอ�ำนาจแล้วหรือยัง ฟังแล้วดูดีจัง แต่จะดีแน่ หรือเปล่า สังคมและวัฒนธรรมจะถูกกระทบอย่างไรบ้าง เรามาเริ่มกันที่การเคลื่อน ย้ายแรงงานอย่างเสรี จริงๆแล้วก็ไม่เสรีเท่าไรนัก คนที่จะมีเสรีในการไปท�ำงานใน ประเทศต่างๆ ได้ก็เฉพาะผู้ที่เป็นแรงงานฝีมอื เท่านั้น ส่วนแรงงานขัน้ ต�่ำนัน้ สุดแล้ว แต่ละประเทศจะจัดนโยบายของตนเองขึ้นมา เมื่อมีการสร้างงานมากขึ้นก็จะดึงดูด ให้คนทิ้งงานเก่าและหันมาท�ำงานที่มีรายได้เพิ่มขึ้นและแน่นอนเกิดมีการย้ายถิ่นทั้ง ภายในประเทศและข้ามประเทศ ท�ำให้วิถชี ีวติ ทางสังคมเปลี่ยนไปอย่างมากมายเป็น ปัญหาทางสังคมอย่างมากพระศาสนจักรของประเทศเกาหลีมีความชัดเจนมาก คือ ไม่ว่าคริสตชนเกาหลีจะไปอยู่ที่ไหนของโลก จะมีการส่งพระสงฆ์ไปอภิบาล และช่วย งานของพระศาสนจักรท้องถิ่นนัน้ ๆ ไปด้วย โดยอาศัยขบวนการวิถีชุมชนวัดเป็นเป็น รูปแบบการอภิบาลของเขา ปัญหาในปัจจุบันที่มีการย้ายถิ่นหางานท�ำเป็นการท�ำเพื่อเงิน เงินที่จะเอา ไปซื้อสิ่งของต่างๆ ที่สังคมบริโภคนิยมหลอกล่อให้จับจ่ายใช้สอยจนท�ำให้ทุกอณูใน ตัวของเราเต็มไปด้วยความอยากได้ อยากมี อยากซื้อสิ่งต่างๆ เมื่อหาเงินมาไม่พอใช้ ก็เริ่มทุจริตคดโกง ผู้ย้ายถิ่นมาท�ำงานในถิ่นอื่นมักไม่มที ี่อยู่อาศัยที่เหมาะสม สภาพ 82 หฤทัยสัมพันธ์


ความเป็นอยู่ค่อนข้างแออัด อัตคัดขาดแคลนในทุกเรื่อง ไม่ไกลจากตึกสูงระฟ้ามัก มีชุมชนแออัดอยู่มากมาย ทุกที่ๆเป็นชุมชนแออัดนั้นมักมีปัญหาสารพัด ตั้งแต่ความ รุนแรง ฉกชิงวิ่งราว ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ปัญหาด้านสุขอนามัย ฯลฯ การเจริญ ชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีจะมีได้อย่างไร สันติสุขในชีวิตจะมีได้ที่ไหน แล้วเราคณะพระหฤทัยจะท�าอย่างไรดี ขอให้เรากลับไปดู Pacem in Terris ซึ่งกล่าวว่า สันติสุขไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ เป็นปัญหาเรื่อยมาทุกยุคทุกสมัย เป็นเรา เองที่ต้องช่วยท�าให้เกิดขึ้นดังนั้น เราควรต้องท�าอย่างไรเพื่อให้มีสันติสุข มุมมองของ ผมคือ เราควรเริ่มต้นให้มีสันติสุขที่ตัวเอง/กับตัวเราเองก่อน ให้เรามีสันติกับตัว เรา สามารถที่จะสงบทั้งร่างกายและจิตใจของเราให้น่งิ ได้ เป็นความสงบในสันติสุข กับพระเจ้าและเพื่อนพี่น้องก่อนที่จะคิดถึงเรื่องงานอื่นๆหรือคิดช่วยเหลือผู้อื่น เริ่ม ที่ตัวเรา และขยายสู่คนใกล้ตัวเราที่อยู่ด้วยกันกับเรา ในบ้าน ในหมู่คณะ ในโรงเรียน ในชุมชน แล้วจึงค่อยขยายออกสู่สังคมในโลกกว้าง แล้วเราจะใช้วธิ ีการอย่างไร ผม คิดว่า เราควรต้องใช้มุมมองของพระเจ้า มุมมองนั้นนัน้ คืออะไรเล่าขอให้เราโปรด สังเกตว่า เมื่อพระเจ้ามารับสภาพมนุษย์ พระองค์เลือกประสูติอย่างยากไร้ เจริญ เติบโตในครอบครัวที่ยากไร้ ประทับอยู่ท่ามกลางผู้ยากไร้ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ และใน ที่สุดสิ้นพระชนม์อย่างผู้ยากไร้ มุมมองของพระเจ้าก็คอื พระเจ้าให้ความส�าคัญ กับความยากไร้ของมนุษย์สูงมากๆ ตัวอย่างในพระวรสารมีมากมาย ล้วนแล้วแต่ เป็นเรื่องของพระเยซูเจ้าให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ทั้งสิ้น พระเยซูเจ้าทรงมีความ รู้สึกที่ไวต่อความทุกข์ร้อน ต่อความทุกข์ยากของคนอื่น ดังนั้นเมื่อเราเริ่มขยาย สันติในตัวเราไปสู่คนอื่น เราจะต้องมีความรู้สึกที่ไวต่อความทุกข์ร้อน ความ เดือดร้อน ไวในการรับรู้ปัญหา ความวิตกกังวล ของผู้ใกล้ชิดและผู้อื่นที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของ เรา นี่คือมุมมองของพระเจ้า พระศาสนจักรมีความชัดเจนในเรื่องนี้มาก เห็นได้จากการที่สภาพระสังฆราชฯ ออกแผนอภิบาล 5 ปี (2010-2015) โดยที่แต่ละสังฆมณฑลก็น�าไป ท�าแผนส�าหรับสังฆมณฑลของตนเองในกรอบของ สภาพระสังฆราชฯแผนดังกล่าวมี 2 ส่วนที่ส�าคัญ คืออภิบาลและพันธกิจ พันธกิจที่สูงสุดและจะคง อยู่ตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลง คือพันธกิจการประกาศ หฤทัยสัมพันธ์ 83


ข่าวดี ซึ่งเป็นพันธกิจที่พระเยซูเจ้าทรงก�ำหนดให้เราทุกคนประกาศอย่างไรนัน้ แต่ละ ประเทศต้องดูบริบทของตนเอง ประเทศไทยอยู่ในบริบทของงาน 3 ด้าน คือ การ ศึกษาอบรม ศาสนสัมพันธ์ และ งานสังคม ต้องไม่ลมื ว่าวัตถุประสงค์ของงาน ทั้ง 3 นี้คือเพื่อการประกาศข่าวดี เป็นการประกาศความรัก ความเมตตาของ พระเจ้าผ่านทางงานของเรา ค�ำว่าพันธกิจหมายถึงกิจที่ทุกคนต้องท�ำไม่เว้นใครเลย งานสังคมจึงเป็นงานของทุกคนไม่มากก็น้อย ตัวอย่างงานสังคมที่วัดนักบุญอันนา ท่า จีน ที่ทุกคนมีบทบาทช่วยกันท�ำคือ ช่วยเหลือผู้อพยพย้ายถิ่นจากพม่า เป็นต้น

ขอลงท้ายด้วยตัวอย่างของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ชีวิตและงานของ พระองค์เกี่ยวข้องกับงานสังคมเป็นอย่างมาก ชีวติ ของพระองค์หายใจเข้าออกแทบจะ เป็นพันธกิจด้านสังคม ท�ำไมพระองค์ถงึ ให้ความส�ำคัญตรงนี้ คงเป็นเพราะพระองค์ มองจากมุมมองของพระเจ้าผู้ประสูตอิ ย่างยากไร้ เจริญเติบโตในครอบครัวที่ยากไร้ ประทับอยู่ท่ามกลางผู้ยากไร้ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ สิ้นพระชนม์อย่างผู้ยากไร้ สมเด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิสมีความรู้สึกที่ไวมากในเรื่องเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เรื่องของ ทหารสวิสที่พระสันตะปาปาทรงยกเก้าอี้มาให้นั่งและน�ำอาหารมาให้รับประทาน การ ไปเยี่ยมผู้อพยพที่เกาะ Lampedusa การไปเยี่ยมประชาชนในสลัมเมื่อพระองค์เสด็จ ไปงานเยาวชนโลกที่บราซิล การพบปะกับผู้พกิ ารทางสมองและพบกับเยาวชนที่เพิ่ง เริ่มชีวิตครอบครัวที่วัดนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี พระองค์ทรงเน้นในบทเทศน์ให้การ 84 หฤทัยสัมพันธ์


เจริญชีวิตเป็นการประกาศพระวรสารว่า“Always preach the gospel and if it’s necessary use words. Can you preach the gospel without words? Yes leading by example.” ให้เราประกาศพระวรสารด้วยการเจริญชีวิต ให้คนอื่นเห็นพระเจ้าในตัวเรา ให้ได้ ให้เห็นความรักความเมตตาของพระองค์ผ่านทางเราให้ได้ เราอาจจะท�ำไม่ได้ใน ชั่วข้ามวันข้ามคืน ดังนั้น เราจึงต้องพยายามและฝึกฝนต่อไป นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างของมหาตมะ คานธี ที่ได้เขียนข้อความว่า “My life is my message”รวมทั้งตัวอย่างของครูฆราวาสสอง คนที่สอนเด็กเร่ร่อนใต้สะพาน กล่าวโดยสรุป ได้ว่างานสังคมเป็นงานที่พวกเราจะต้องท�ำด้วย ใจ ไม่ใช่ท�ำเพราะเป็นค�ำสั่งหรือท�ำตามหน้าที่ เป็นจิตใจที่ตระหนักว่างานนี้เป็นส่วนส�ำคัญยิ่ง ส�ำหรับการไถ่กู้ของพระเจ้าต่อมนุษยชาติที่ได้ เริ่มแล้วและยังคงมีต่อเนื่องเรื่อยไปจนสิ้นพิภพ หมายเหตุ: บทความนีเ้ ป็นการถอดความจากค�ำบรรยายของ ดร.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย ในหัวข้อเรือ่ ง “สันติสขุ ในสังคมและวัฒนธรรม ทีเ่ ปลีย่ นแปลงสูป่ ระชาคมอาเซียน”โอกาสสัมมนากลางปีของคณะ ภคินพี ระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ณ ห้องประชุมอารามพระหฤทัยฯ คลองเตย

หฤทัยสัมพันธ์ 85


¡Ô¨¡ÃÃÁ½†ÒÂͺÃÁ ประชุมประธานเขตและที่ปรึกษาเขตฯ

วันที่ 14 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 คณะพระหฤทัยฯจัดประชุมทีป่ รึกษาเขตและ ประธานเขต ณ ห้องประชุมอารามพระหฤทัยฯ เพือ่ วางแนวทางในการประชุมและเข้าเงียบ เขตของปีการศึกษา 2013 ร่วมกัน

เข้าเงียบประจ�าปีของสมาชิก

คณะพระหฤทัยฯจัดเข้าเงียบประจ�าปีส�าหรับสมาชิกกลุ่มพิเศษ ระหว่าง วันที่ 20-27 มิถนุ ายน ค.ศ. 2013 ณ หาดหฤทัย ชะอ�า โดยมีคณ ุ พ่อไพบูลย์ อุดมเดช เป็นผูเ้ ทศน์

86 หฤทัยสัมพันธ์


สัมมนาอธิการิณีประจ�ำวัด

คณะพระหฤทัยฯ จัดสัมมนาแก่อธิการิณีประจ�ำวัดและคณะที่ปรึกษาฯ ใน หัวข้อ “การฟื้นฟูผู้ประกาศข่าวดีเพื่อการประกาศข่าวดีขึ้นใหม่” วันที่ 28-30 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผู้หว่าน โดยมี บราเดอร์ทนิ รัตน์ คมกฤส คุณพ่อสมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ และทีมงาน คุณเมธา เหลืองรุ่งนภา และซิสเตอร์สุภา ทองอ�ำไพ เป็นวิทยากรในการสัมมนา

สัมมนา “การเป็นคนกลางด้วยหัวใจ: เป็นคนกลางเพื่อสร้างสันติ”

คณะพระหฤทัย จัดสัมมนาแด่สมาชิก ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ ในหัวข้อเรือ่ ง “การ เป็นคนกลางด้วยหัวใจ: เป็นคนกลางเพือ่ สร้างสันติ” โดยอาจารย์นริศ มณีขาว เป็น วิทยากร โดยแบ่งเป็น 3 กลุม่ คือ วันที่ 12-14 กรกฎาคม ค.ศ.2013 กลุม่ ยุวภคินแี ละ ถวายตัวตลอดชีพแล้ว 1-5 ปี จ�ำนวน 19 คน วันที่ 2-28 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 กลุม่ ซิสเตอร์ตลอดชีพแล้ว 6 ปี-24 ปี จ�ำนวน 17 คน วันที่ 2 – 4 สิงหาคม ค.ศ.2013 กลุม่ สมาชิกฉลอง 25 ปี – อายุ 64 ปี จ�ำนวน 18 คน

หฤทัยสัมพันธ์ 87


ซิสเตอร์ตลอดชีพ 1-5 ปีสัมผัสชีวิตที่พนมเปญ

คณะพระหฤทั ย ฯจั ด โครงการสั ม ผั ส ชี วิ ต ธรรมทู ต ให้ กั บ ซิ ส เตอร์ ต ลอด ชีพแล้ว 1-5 ปี ที่พนมเปญ โดยมี ซิสเตอร์ชวาลา เวชยันต์ เป็นผู้ประสานงาน และ ซิสเตอร์จันทนา สิริจันทนากุล เป็นผู้แบ่งปันประสบการณ์ ระหว่างวันที่ 12-16 สิงหาคม และวันที่ 26-30 สิงหาคม ค.ศ. 2013

แบ่งปันประสบการณ์การเข้าเงียบ

วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2013 คุณพ่อชีวิน สุวดินทร์กูร เชิญผู้ที่ผ่านการ เข้าเงียบ 40 วัน แบบ Jesumaum Prayer ที่ประเทศเกาหลีมาพบปะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์กัน โดยมีพระคุณเจ้าประธาน ศรีดรุณศีล และซิสเตอร์บังอร มธุรส สุวรรณ ได้แบ่งปันประสบการณ์การไปเข้าเงียบระหว่าง 10 กรกฎาคม -18 สิงหาคม ค.ศ. 2013 พร้อมทัง้ ร่วมเสนอแนวทางการน�ำเข้าเงียบให้กบั นักบวชและฆราวาสต่อไป

สมาชิกเข้ารับการอบรม-สัมมนาและฟื้นฟูจติ ใจ

วันที่ 10-13 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์มารีเดอลูร์ด ด�ำริ ซิสเตอร์ พลอย ประทุมปี ซิสเตอร์ส�ำเนียง วาปีทะ ซิสเตอร์เสถียร ไชยศรีมา ซิสเตอร์บุญช่วย

88 หฤทัยสัมพันธ์


ศิลประเสริฐ และซิสเตอร์นิภา เรืองวุฒิชนะพืช เข้าร่วมสัมมนาผู้สูงอายุ จัดโดย ศูนย์นักบวชหญิง ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน โดยมี ซิสเตอร์ริต้า อนุตตรานนท์ และซิสเตอร์ภาวิณี พิชัยศรีสวัสดิ์ เป็นวิทยากร

วันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์มารีย์รักษ์ ไกรทองสุข เดินทางไป เข้าอบรมคอร์ส Pastoral Renewal Program 2013ที่ สถาบัน EAPI ประเทศฟิลปิ ปินส์ ระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม –13 กันยายน ค.ศ. 2013 และวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เดินทางไปศึกษา Master of Arts in Theology major in Spirituality ที่ Institute for Consecrated Life in Asia เริ่มภาคเรียนที่ 2/2013

หฤทัยสัมพันธ์ 89


วันที่ 1-3 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์ชวาลา เวชยันต์ และซิสเตอร์ อัจฉราพรรณ อุน่ หล้า เข้ารับการอบรม Bibliodrama ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผูห้ ว่าน สามพรานโดยมี Fr. Oscar Alunday, และ Miss Mary Almonte , Notre Dame de Vie institute จากประเทศฟิลปิ ปินส์ มาเป็นวิทยากร และมีวทิ ยากรผูช้ ว่ ย ได้แก่ พระ สังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รตั น์ (ผูแ้ ปลภาษาอังกฤษ) ซิสเตอร์บงั อร มธุรส สุวรรณ คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าฯ และคุณครูประภา วีระศิลป์ คณะกรรมการฯ แผนกคริสตศาสนธรรม

วันที่ 4-8 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เข้ารับการ อบรม Basic Bibliodrama Facilitators’ Workshop ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผู้หว่าน สามพราน โดยมี Fr. Oscar Alunday, และ Miss Mary Almonte , Notre Dame de Vie institute จากประเทศฟิลปิ ปินส์ มาเป็นวิทยากร

90 หฤทัยสัมพันธ์


วันที่ 7- 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และซิสเตอร์ กาญจนา สิงห์สา เข้าร่วมสัมมนาและประชุมสามัญประจ�ำปี ครั้งที่ 1/2013 ของ สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย ณ วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ จ.ฉะเชิงเทรา หัวข้อเรื่อง “ปีแห่งความเชื่อ: พันธกิจของนักบวชเพื่อการประกาศ ข่าวดีครั้งใหม่” มีนักบวชชาย-หญิง เข้าร่วมประชุมประมาณ 60 คน

(ภาพข่าว จากเวปไซด์ http://www.sistersinthai.org)

วันที่ 10 กรกฏาคม-18 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ เข้าเงียบ 40 วันแบบ Jesumaum Prayer ณ ประเทศเกาหลีใต้ โอกาสเตรียมฉลองครบ 25 ปีแห่งชีวิตนักบวช โดยมีซิสเตอร์ Kwan Min Ja เป็นผู้น�ำการเข้าเงียบ

หฤทัยสัมพันธ์

91


วันที่ 22-26 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ ซิสเตอร์สม จิตร์ ทรัพย์อัประไมย ซิสเตอร์นำ�้ ทิพย์ งามสุทธา เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง “Faith and moral” ณ เรย์ รีสอร์ท พัทยา จัดโดย คณะพระมหาไถ่

วันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2013 คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และตัวแทนสมาชิก เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง “The Five Pillars of Marian Spirituality” จัดโดยคณะ เซนต์คาเบรียล ณ อาคารมูลนิธิฯ ซอยทองหล่อ วันที่ 16-20 กันยายน ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงค์ ซิสเตอร์ศริ ริ ตั น์ เหล่า วัฒนพงศ์ ซิสเตอร์อรัญญา กิจบุญชู และซิสเตอร์นจุ รา เทีย่ งงามดี เข้าร่วมสัมมนาเรือ่ ง “พิธกี รรม” จัดโดยคณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พิธกี รรม ณ ศูนย์อภิบาลบ้านผูห้ ว่าน

92

หฤทัยสัมพันธ์


วันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์กาญจนา สิงห์สา เข้าอบรมฟื้นฟู จิตใจที่ Sumedha Centre for Psychology & Spirituality ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 25 กันยายน -25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 วันที่ 21-24 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์ศริ ิรัตน์ เหล่าวัฒนพงศ์ ได้น�ำ ยุวภคินี จ�ำนวน 7 คนไปเข้าเงียบแบบ Jesumaum ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ โดยมีคุณ พ่อชีวิน สุวดินทรกูร เป็นผู้น�ำการเข้าเงียบ นอกจากนี้มีนวกเณรีของคณะ 5 คน ร่วม การเข้าเงียบครัง้ นี้อีกด้วย

สัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือนของสมาชิก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556/2013 เดือนมิถุนายน 2013 คณะพระหฤทัยฯ จัดสัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือนมิถุนายนส�ำหรับสมาชิก ในวันที่ 15-16 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ณ ห้องประชุม อารามพระหฤทัย คลองเตย โดยการศึกษาวิธีการแบ่งปันพระวาจาแบบ Look Listen Love โดยมีซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ เป็นผู้แบ่งปันให้กับสมาชิก จากนัน้ คุณพ่อ สมเกียรติ ตรีนิกร ได้แบ่งปันความรู้เรื่อง “บทน�ำของพระวรสารนักบุญลูกา”

หฤทัยสัมพันธ์ 93


เดือนกรกฎาคม 2013 คณะพระหฤทัยฯ จัดให้สมาชิกมีการสัมมนาและเข้าเงียบตามเขต โดยคณะ ก�ำหนดในวันที่ 6-7 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 โดยมีประธานเขตและที่ปรึกษาเขตเป็น ผู้รับผิดชอบ และกรรมการฝ่ายประกาศข่าวดีได้ไปแบ่งปันความดูเรื่องวิถชี ุมชนวัดให้ กับสมาชิกตามเขต

เดือนสิงหาคม 2013 สมาชิกมีการสัมมนาและเข้าเงียบตามเขต โดยคณะก�ำหนดให้เป็นวันที่ 10-11 สิงหาคม ค.ศ. 2013 โดยมีประธานเขตและที่ปรึกษาเขตเป็นผู้รับผิดชอบและ กรรมการฝ่ายประกาศข่าวดีได้แบ่งปันความรู้เรื่องวิถชี ุมชนวัดต่อเนื่อง

94

หฤทัยสัมพันธ์


เดือนกันยายน 2013 คณะพระหฤทัยฯจัดสัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือนกันยายน 2013 ให้กับ สมาชิก ในวันที่ 26-29 กันยายน ค.ศ. 2013 ณ ห้องประชุมอารามพระหฤทัยฯ โดย คุณพ่อ Ludger Feldkamper, SVD ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านพระคัมภีรจ์ าก Dei Verbum Biblical Pastoral Institute, Nemi, Rome เป็นวิทยากรในหัวข้อเรือ่ ง “พระวรสารนักบุญลูกา” โอกาสนี้ ทางคณะได้จัดฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตพระสงฆ์ของคุณพ่อ ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2013 เวลา 11.15 น. ด้วย เดือนตุลาคม 2013 วันที่ 11-12 ตุลาคม ค.ศ. 2013 คณะพระหฤทัยฯจัดสัมมนากลางปีแก่สมาชิก ใน หัวข้อเรื่อง “สันติสุขบนแผ่นดิน” โดยเชิญคุณอัจฉรา สมแสงสรวง มาบรรยาย “พระสมณสาส์น Pacem In Terris” และ เชิญ ดร. ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย มาบรรยายเรื่อง “สันติสุข ในสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงสู่ประชาคม อาเซียน” และในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2013 คุณพ่อบรรจง สันติสุขนิรันดร์, SDB ได้ ให้เกียรติบรรยายเรื่อง “การอนุรักษ์ส่งิ แวดล้อมตามค�ำสอนของพระศาสนจักร” จากนั้นสมาชิกรับฟังการแบ่งปันประสบการณ์ดูงาน BEC ที่ท่าแร่ของสมาชิก รวมทั้ง การรายงานของสมาชิกต่อการมีส่วนร่วมBEC ของแต่ละวัด/เขต โอกาสนี้คณะได้จัดเข้าเงียบกลางปีของสมาชิกทั้งคณะในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2013 โดยคุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี ได้แบ่งปันหัวข้อในการร�ำพึง ภาวนาและไตร่ตรอง “พระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า”

หฤทัยสัมพันธ์ 95


¾ÃÐÇÃÊÒÃâ´Â¹Ñ¡ºØÞÅÙ¡Ò แบ่งปันโดย คุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร โอกาสสัมมนา-เข้าเงียบประจ�าเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 ณ ห้องประชุมอารามคณะพระหฤทัยฯ

พระเยซูเจ้าเป็นใครในพระวรสารนักบุญลูกา หากเราอ่านตลอดพระวรสาร ด้วยสายตานักบุญลูกา คุณสมบัตเิ ด่นของพระวรสารฉบับทีส่ ามเป็นผลมาจาก บุคลิกภาพทีน่ า่ รักของผูแ้ ต่ง ซึง่ สะท้อนให้เห็นในงานเขียนของเขาทุกตอน ทีม่ องพระ เยซูเจ้าไม่เหมือนมัทธิว หรือมาร์โก ลูกาเป็นคนทีม่ คี วามสามารถ ในบรรดาผูน้ พิ นธ์พระ วรสาร ลูกาเป็นนักประวัตศิ าสตร์ และเรายังได้ยนิ ว่าท่านเป็นหมอ นัน่ ก็คอื เป็นคนฉลาด แต่เวลาเดียวกันลักษณะของลูกาคือเป็นคนที่มีจิตใจละเอียดอ่อนและไวต่อความรู้สึก เขาเขียนพระวรสารตามแนวความคิดของตน พระเป็นเจ้าโดยองค์พระจิตเจ้าใช้ลกู าเป็น เครือ่ งมือแบบทีล่ กู าเป็น ท่านพยายามรวบรวมข้อมูลทีแ่ น่นอนอย่างละเอียดถีถ่ ว้ นและ เล่าอย่างเป็นระเบียบ (ลก. 1:3) ลักษณะทีป่ ระทับใจมากทีส่ ดุ ของลูกาประการหนึง่ คือ การบรรยายถึงความ อ่อนโยนของพระคริสตเจ้า พระสงฆ์ นักบวช ก็เช่นกัน หากปราศจากความอ่อนโยน แล้วก็ไม่อาจจินตนาการได้เลยว่าความเป็นพระสงฆ์ความเป็นนักบวชนัน้ อยูท่ ใ่ี ด เพราะ ความเป็นสงฆ์หรือนักบวชนัน้ ความอ่อนโยนสวยงามทีส่ ดุ เพราะเราปฏิญาณจะถือ ความสุภาพถ่อมตน เช่นเดียวกับในบทสดุดที วี่ า่ “คนอ่อนโยนจะได้รบั แผ่นดินเป็น มรดก” และ “อย่าเดือดเนือ้ ร้อนใจเรือ่ งคนเลวร้าย สุดท้ายเขาจะพินาศไปเอง” (สดด. 37:1-11) นอกจากนีใ้ นพระรวสารนักบุญเปาโลถึงชาวโครินทร์ฉบับที่ 2 ยังกล่าว ว่า “เราเป็นเหมือนภาชนดินเผา แต่เราแบกความตายของพระคริสตเจ้าในชีวติ เรา” ค�าว่า “แบกความตาย”มิได้หมายถึงการแบกพระศพของพระเยซูเจ้า แต่เราแบก ความรักของพระองค์ไว้ นักบุญเปาโลจึงบอกว่าเราถูกท�าร้ายแต่เราไม่เคยพินาศ เรา อดทนทุกอย่าง และลูกาก็ได้บรรยายลักษณะของพระเยซูเจ้าเป็นผูอ้ อ่ นโยน นอกจากนีล้ กู ายังพยายามเน้นความรักของพระอาจารย์ตอ่ คนบาป (ลก. 15:1, 7, 10) โดยบันทึกการทีท่ รงให้อภัย (7:36-50; 15:11-32; 19:1-10; 23:34,39-43) 96 หฤทัยสัมพันธ์


ลูกาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างความอ่อนหวานของพระองค์ต่อผู้ ต�่ำต้อยและคนยากจน กับความเข้มงวดที่ทรงแสดงต่อคนหยิ่งยโสและต่อผู้ท่ใี ช้ทรัพย์ สมบัติของตนอย่างผิด ๆ (1:51-53; 6:20-26; 12:13-21; 14:7-11; 16:15,19-31; 18:9-14) แม้จะทรงมีความเข้มงวด คนชั่วร้ายก็ไม่ถูกลงโทษจนกว่าเวลาแห่งความ เมตตาจะผ่านพ้นไป สิ่งจ�ำเป็นเพียงประการเดียวคือการเป็นทุกข์กลับใจ การปฏิเสธตนเอง และ ในเรื่องนี้ลูกาซึ่งเป็นคนอ่อนโยนและผ่อนปรน จะไม่ยอมประนีประนอม แต่ยนื ยันให้ สละตนอย่างเด็ดขาด (14:25-34) โดยเฉพาะต่อการสละทรัพย์สมบัติ (6:34ฯ; 12:33; 14:12-14; 16:9-13) ดังเช่นดาวิดท�ำผิดอย่างร้ายแรงถึงฆาตกรรม และส�ำนึกผิดเมื่อ จะถูกลงโทษ พระเจ้าก็ทรงประทานอภัยให้ ตรงกันข้ามกับซาอูล แม้จะวิงวอนขอ ประทานอภัยแต่พระเจ้าก็ไม่โปรดเพราะความผิดของซาอูลนั้นเป็นเรื่องของทรัพย์ สมบัติและการฉ้อโกง การละโมบ น�ำทรัพย์สมบัตทิ ี่ได้จากการรบมาไว้ในคลังของตน ข้อความอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งพบเฉพาะในพระวรสารของลูกาคือ • ข้อความเรื่องความจ�ำเป็นที่จะต้องอธิษฐานภาวนา (11:1-8; 18; 1-8) ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบฉบับในเรื่องนี้ (3:21; 5:16; 6:12; 9:28) ลูกาได้ น�ำเสนอว่าพระเยซูเจ้าเป็นนักภาวนา • ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารสหทรรศน์เพียงผู้เดียวที่ให้ความส�ำคัญ กับเรื่องพระจิตเจ้า แบบที่เราพบได้ในข้อเขียนของเปาโลและในกิจการ อัครสาวก (ลก 1:15,35,41,67; 2:25-27; 4:1,14,18; 10:21; 11:13; 24:49) หนังสือกิจการอัครสาวกถือว่าเป็นหนังสือของพระจิตเจ้า และลูกาเองเป็น ผู้บันทึกกิจการอัครสาวก ซึ่งเป็นเรื่องที่ส�ำคัญมาก เพราะเป็นพระจิตเจ้าที่ ท�ำให้พระเยซูเจ้ารับเอากายมนุษย์ เป็นพระจิตเจ้าที่ดลใจผู้นพิ นธ์พระคัมภีร์ เป็นพระจิตเจ้าที่เป็นพลังของชีวิต • คุณสมบัติเหล่านี้รวมกับลักษณะของความชื่นชมยินดีในพระเจ้าและการ ส�ำนึกในบุญคุณต่อพระองค์ส�ำหรับพระพรต่าง ๆ ที่ได้รับ ปรากฏอยู่ทั่วไป ในพระวรสารของลูกา (2:14; 5:26; 10:17; 13:17; 18:43; 19:37; 24:51ฯ) และเป็นลักษณะที่ท�ำให้ผลงานของลูกาประสบความส�ำเร็จสะท้อนความ ใจดีและความอ่อนโยนของผู้เขียน

หฤทัยสัมพันธ์ 97


¨ÒÃÔ¡áÊǧºØÞ...

³ Ἃ¹´Ô¹ÈÑ¡´ÔìÊÔ·¸Ôì »ÃÐà·ÈÍÔÊÃÒàÍÅ

มนุษย์ทุกวันนี้ต่างยังคงจาริกแสวงบุญอยู่บนโลกใบนี้ เพราะชีวิตของเรา ยังคงเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง และส�าหรับเราผู้ท่เี ชื่อในพระเจ้า การจาริก ของเราคือการเดินทางไปสู่พระองค์นั่นเอง หลายครั้งเราได้มปี ระสบการณ์พบกับ พระองค์เป็นการส่วนตัว โดยที่เราไม่จ�าเป็นต้องเดินทางไปไหนๆ แต่เราได้พบได้สัมผัส กับพระองค์ในประสบการณ์ท่ธี รรมดาๆ เรียบง่ายหรือในเหตุการณ์ท่เี กิดขึ้นซ�้าแล้ว ซ�้าเล่าในชีวิตประจ�าวัน เพียงแต่ว่าเราจะมีเวลาที่จะได้หยุด ทบทวนและไตร่ตรองถึง ประสบการณ์นนั้ ๆหรือไม่ วันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 เป็นวันแรกทีน่ กั แสวงบุญหน้าใหม่บวกกับหน้า เก่าของกรุป เราเริม่ ออกเดินทาง โดยสายการบินรอยัลจอร์แดน พวกเรามีกนั ทัง้ สิน้ 23 คน

การเดินทางครั้งนี้เรามีไกด์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งหลายๆท่านที่เคยไปแสวงบุญมา แล้วก็การันตีมาว่าหากได้คุณพ่อสมเกียรติ ตรีนกิ ร เป็นผู้น�าทัวร์ก็สุดยอด เพราะ นอกจากจะท�าให้เราได้รับความรู้อย่างแม่นย�าเหมือนเอาพระคัมภีร์มากางกันแล้ว พวกเรายังจะได้รับการหล่อเลี้ยงด้านจิตวิญญาณอย่างเต็มอิ่มอีกด้วย ซึ่งก็เป็นจริงๆ และไม่ผิดหวัง ที่ส�าคัญพวกเรามีคุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี เดินทางไปกับ พวกเราท�าให้พวกเราอุ่นใจมาก เรายังมีไกด์ท้องถิ่นชื่อชาลีที่พาเราไปในทุกที่และมี 98 หฤทัยสัมพันธ์


คุณเทวี เป็นผู้ประสานงานในนามของบริษัท Abroad Tour ในครัง้ นี้ พอเท้าของพวกเราแตะผืนดินศักดิ์สิทธิ์เท่านั้นเอง เรื่องตื่นเต้นก็เริ่มขึ้นทันที ก็แน่นอนผู้แสวงบุญมีจ�ำนวนมากมายตามที่คาดเอาไว้ จะว่าเราแต่งตัวไม่เหมือน ใครแล้วก็ตาม เอาเข้าจริงๆ ก็ตาลายกันได้ เพราะต่างคนต่างสาละวนกับสัมภาระที่ ต้องล�ำเลียงขึ้นรถโค้ช พวกเราจึงพลาดที่จะนับหรือสังเกตกันว่าพวกเรามาถึงรถกัน ครบหรือยัง โชคดีที่คุณแม่เชลียงขอให้รุ่นน้องได้ดูแลรุ่นพี่ จึงท�ำให้พวกเราทราบว่ามี ซิสเตอร์อาวุโสของเราหนึ่งท่านยังมาไม่ถึงรถ หลงชัวร์! คุณพ่อสมเกียรติสมองไว ขาไว รีบจ�้ำอ้าวออกเสาะหาลูกแกะที่พลัดหลง สุดท้ายก็สามารถพากลับมาจนได้ ขอบคุณพระเจ้าที่คณะของเราก็สามารถเดินทางต่อไปได้ตรงเวลาอย่างที่ตั้งใจไว้ สถานที่แรกเราก็มโี อกาสแวะไปเยี่ยมชมคือเมืองโบราณเซซาเรีย ซึ่งเป็น เมืองยุคครูเสด สร้างโดยกษัตริย์เฮโรดมหาราช พวกเราก็ได้แต่ชมซากปรักหักพัง และโชคดีได้ชมวีดีทัศน์ของเมืองนี้อีกด้วยจึงท�ำให้พวกเราพอจะจิตนาการได้ว่าความ โอ่อ่าของกษัตริย์สมัยนั้นมีมากเพียงใด

หฤทัยสัมพันธ์ 99


จากนั้นก็นั่งรถเลียบฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าสู่เมืองไฮฟา ซึ่งเป็นเมือง ใหญ่อันดับสามของอิสราเอล เป็นเมืองเก่าแก่ที่ส�าคัญของประเทศและเป็นเมือง อุตสาหกรรมและเป็นท่าเรือที่ทันสมัยและมีรถไฟผ่าน พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางที่ ส�าคัญที่สุดของลัทธิบาไฮ พวกเราได้แวะรับประทานอาหารที่ภัตตาคารอาหารจีน ที่ชื่อว่า Yan Yan จากนัน้ ก็มุ่งตรงไปหมู่บ้านคานาสถานที่พระเยซูเจ้าทรงกระท�า อัศจรรย์ครัง้ แรก เมื่อเข้าไปในวัดคุณพ่อสมเกียรติได้อ่านพระวาจาของพระเจ้า ยน. 2:1-11 พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนน�้าให้เป็นเหล้าองุ่น เพื่อให้เราได้มเี วลาร�าพึงและ ภาวนาชั่วครู่ จากนั้นก็เยี่ยมชมสถานที่โดยรอบ พวกเราหลายคนก็อุดหนุนไวน์รสชาติ ดีจากร้านใกล้ๆ จากนั้นพวกเราก็เดินทางต่อไปเพื่อไปเยี่ยมชมวิหารของแม่พระ ถือว่า โชคดีมากๆเพราะพวกเราได้ร่วมพิธบี ูชาขอบพระคุณแห่งแรกเป็นภาษาไทยที่ วิหาร แม่พระรับสารจากเทวทูตสวรรค์ (Basilica of the Annunciation) ในวันสมโภชพระ จิตเจ้าพอดี ที่บริเวณรอบนอกของวิหารมีรูปแม่พระในแต่ละสไตล์ซ่งึ ก็มีแม่พระทรง อาภรณ์แบบไทยอยู่ด้วยเช่นกัน พวกเราเยี่ยมชมและถ่ายภาพภายในของวิหารหลัง มิสซาและไปเยี่ยมชมบ้านของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเราก็ผ่านขบวนของคู่แต่งงานที่ ก�าลังจะมาประกอบพิธีที่วิหารแห่งนี้ด้วย พวกเราจบโปรแกรมวันแรกด้วยการถ่าย ภาพหมู่เป็นที่ระลึกร่วมกัน และขึ้นรถเดินทางไปสู่ท่พี ักที่เมืองไฮฟา ซึ่งเป้าหมายคือ บ้านพัก Carmelite Pilgrim Center ซึ่งมีซิสเตอร์คาเมไลท์เป็นผู้รับผิดชอบ

100 หฤทัยสัมพันธ์


พวกเราถือโอกาสพักในขณะที่รถของเรามุ่งหน้าสู่ไฮฟาและสุดท้ายพวกเรา ก็ถูกรบกวนให้ต่นื ขึ้นด้วยเสียงอื้ออึงของไกด์และคนขับรถ เพราะรถของเราจะต้อง ติดขบวนอยู่เป็นเวลานาน เพราะว่าวันนี้เขามีพธิ ีแห่แม่พระ ทั้งคนที่เป็นคาทอลิกและ ไม่ใช่คาทอลิกต่างก็หลั่งไหลกันมาร่วมพิธีกัน ดังนั้นจึงท�าให้ต้องมีการปิดกั้นถนนกัน ขึ้น กว่าจะฝ่าเข้าไปที่พักได้ก็ต้องรอให้ผู้ท่มี าร่วมฉลองกลับกันไปซะก่อน เมื่อเข้าถึงที่ พักได้เท่านั้น ทุกคนต่างก็รบี รับประทานอาหารเย็นทันทีเพราะเวลาก็ล่วงไปมากแล้ว จากนั้นก็แยกย้ายกันเข้าสู่ท่พี ักตามที่ได้จัดเตรียมไว้ พวกเรามีเวลาเข้าเงียบอยู่ที่นี่เป็นเวลา 3 วันเต็ม เป็นครั้งเดียวในชีวิตที่พวก เราได้ร�าพึงไตร่ตรองถึงประกาศกเอลียาห์ในที่ๆท่านได้ท้าทายกับประกาศกของพระ บาอัลที่ภูเขาคาร์แมลแห่งนี้ เราไม่รู้แน่ว่าอยู่บริเวณใดของภูเขาแต่ท่เี ราทราบแน่นอน คือท่านเอลียาห์ได้ประกาศความเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ที่ภูเขาแห่งนี้ พวกเราดื่มด�่ากับ พระวาจาและบรรยากาศที่ฉ�่าเย็นของที่แห่งนี้เป็นอย่างมาก สถานที่นี้เดิมเป็นที่พัก ของนักบวชในแต่ก่อนจึงมีวัดน้อยหลายแห่งที่พวกเราได้มีโอกาสไปเฝ้าศีลมหาสนิท และหมุนเวียนไปประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ นอกจากนัน้ ยังมีถ�้าที่เชื่อกันว่าเอลียาห์ ได้มาหลบซ่อนและปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวได้มาแสวงบุญกันอย่างไม่ขาดสาย เมื่อมอง จากที่พักลงไปก็จะได้เห็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่สวยงามแต่ไกล ดังนั้นหลังจากออก เงียบพวกเราจึงได้มีโอกาสนั่งกระเช้าไฟฟ้าลงไปเพื่อสัมผัสกับน�้าทะเลที่สวยใสและ หาดทรายที่สวยงาม อีกทั้งยังได้นั่งรถชมเมืองโดยรอบแถบนัน้ อีกด้วย


หลั ง จากได้ รั บ พลั ง จากการเข้ า เงียบอย่างเต็มเปี่ยม การจาริกแสวงบุญ ของพวกเราก็เริ่มต้นอีกครั้ง พวกเราไปไหน กันบ้าง ก็ขอแบ่งปันเป็นสถานที่ๆแล้วกัน เพราะตารางเวลาของพวกเรามีการปรับ เปลี่ ย นกั น ไปเรื่ อ ยๆเพื่ อ ความเหมาะสม แต่ พ วกเราก็ ไ ด้ไ ปแสวงบุญครบเกือบทุก โปรแกรมที่ก�าหนดไว้ โดยออกเดินทางไป ยัง Discalced Carmelite Order ซึ่งเชื่อกันว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่ๆประกาศกเอลียาห์ได้ สร้างแท่นบูชาพระเจ้าและได้ท้ากับประกา ศกของพระบาอัล พวกเราไปพื่อเป็นการย�า้ เตือนความเชื่อของเราให้มากขึ้นและชมวิว ทิวทัศน์ของเมืองไฮฟาอีกครั้งหนึ่งก่อนจาก

102 หฤทัยสัมพันธ์


รถของเรามุ่งหน้าต่อไปที่ภูเขาทาบอร์ ตามที่เราทราบจาก มธ.17:1-8 “พระ เยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์อย่างรุ่งเรือง” ณ ภูเขาแห่งนี้ เราจ�ำเป็นต้องลงจากรถ โค้ชของเราเพื่อไปนั่งรถโดยสารที่จะขึ้นสู่ยอดภูเขานี้โดยเฉพาะ จากประวัตทิ ี่ทราบ ภูเขาแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1919-1924 คุณพ่อฟรังซิสกันได้สร้างอาสนวิหารระลึกถึงพระ เยซูเจ้าแสดงความรุ่งเรืองของพระองค์ ซึ่งตรงทางเข้าประตูสองข้างจะมีวัดน้อยที่ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ตามที่เปโตรได้พูดไว้ว่า สร้างพลับพลาให้กับโมเสสและเอลียาห์ นอกจากนั้นยังได้เห็นส่วนที่เหลือของวัดของพวกครูเสดซึ่งเป็นซากก�ำแพงของป้อม และอารามอยู่ด้วย เมื่อพวกเราได้เข้าไปชมบริเวณพระแท่น เราได้ยอดเขาที่บัดนี้อยู่ ต�่ำกว่าวิหารหลังนี้โดยมีการครอบไว้ด้วยกระจกเพื่อบ่งบอกว่าวิหารนี้สร้างคร่อมอยู่ บนยอดเขาลูกนี้ และเมื่อมองลงมาจากยอดเขาเราก็สามารถชมทัศนียภาพของที่ราบ อันกว้างใหญ่ของด้านล่างได้อย่างชัดเจน หลังจากลงจากภูเขาแล้วพวกเราก็ไปรับ ประทานอาหารเที่ยงร่วมกันที่ร้านอาหารพื้นเมือง ที่ชื่อว่า Sahara

จากนั้นเดินทางต่อไปยังวัดตับกา (Tabgha) ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ไม่ไกลจาก ทะเลสาบกาลิลี เป็นสถานที่ๆเชื่อว่าพระเยซูเจ้าได้ทรงทวีขนมปัง 5 ก้อนกับปลาสอง หฤทัยสัมพันธ์ 103


ตัวเพื่อเลี้ยงฝูงชนที่ติดตามและมาฟังค�ำเทศนาของพระองค์ และเดินทางต่อไปยังวัด มหาอ�ำนาจสูงสุดการแต่งตัง้ นักบุญเปโตร (St.Peter Primacy Church) ซึ่งอยู่ไม่ไกล กันนักและวัดนี้ตั้งอยู่ใกล้รมิ ทะเลสาบ พวกเราได้ลงไปสัมผัสกับน�้ำในทะเลสาบสัก พักและเมื่อได้เวลาพอสมควรพวกเราเดินทางต่อเพื่อไปเยี่ยมชมวัดมหาบุญลาภแปด ประการ(Mount of Beatitudes) ซึ่งพวกเราได้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณที่ใต้ร่มไม้ใน สวน พร้อมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกและชมทัศนียภาพโดยรอบและเดินทางเข้าสู่ที่พักที่ โรงแรมเอ็มมิลี่ (Emily’s Tiberias Hotel) พร้อมทัง้ รับประทานอาหารค�่ำในภัตตาคาร ของโรงแรม ซึ่งเป็นอาหารบุฟเฟต์และอุดมไปด้วยผักนานาชนิด

104 หฤทัยสัมพันธ์


วันรุง่ ขึน้ (24 พ.ค.) ออกเดินทางจากโรงแรมมุง่ สูเ่ มืองโคราซิน ทีๆ่ ใน ลก.10:1316 พระเยซูเจ้าได้ตรัสว่า “วิบตั จิ งเกิดแก่เจ้า เมืองโคราซิน วิบตั จิ งเกิดแก่เจ้าเมือง เบธไซดา ถ้าอัศจรรย์ทไี่ ด้เกิดขึน้ ในเจ้าได้เกิดขึน้ ทีเ่ มืองไทระและเมืองไซดอนแล้ว เขาเหล่านัน้ คงได้นงุ่ กระสอบนัง่ บนกองขีเ้ ถ้ากลับใจเสียนานแล้ว...” พวกเราได้ เห็นเพียงซากปรักหักพังอีกเช่นเดิม และอากาศค่อนข้างร้อนพอสมควร สถานทีแ่ ห่งนี้ ส่วนหนึง่ เป็นศาลาธรรมของพวกชาวยิวแต่กอ่ น ซึง่ ยังพอจะมองเห็นว่าด้านใดเป็นด้าน หน้าของศาลาธรรม จากนัน้ เดินทางไปเยีย่ มชมเซซาเรียฟิลปิ ปี สถานทีน่ เี้ คยเป็นสถาน ทีป่ ระกอบพิธกี รรมทางศาสนาของพวกกรีกมาก่อน เมือ่ โรมันเข้ามามีอา� นาจก็ใช้เป็น สถานทีท่ างศาสนาเช่นกัน และชาวคานาอันยังใช้เป็นทีส่ กั การบูชาเทพธิดาแห่งความ อุดมสมบูรณ์ ซึง่ ถ�า้ แห่งนีเ้ ป็นแหล่งก�าเนิดของแม่นา�้ จอร์แดน

จากนั้นได้เดินทางไปชมที่ราบสูงโกลัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการรบกันระหว่าง อิสราเอลกับซีเรียในสงคราม 6 วัน และยังคงเป็นพื้นที่ที่มีปัญหากันอยู่จนถึงทุกวัน นี้ จากนั้นพวกเราได้ไปรับประทานอาหารเที่ยงกันที่ภัตตาคารโดยรับประทานปลา นักบุญเปโตร และเดินทางไปล่องเรือในทะเลสาบกาลิลี เราได้สัมผัสกับบรรยากาศ

หฤทัยสัมพันธ์ 105


ของคลื่นลมในทะเลสาบและฟังพระวาจาของพระเจ้าเรื่องพระเยซูเจ้าทรงห้ามลม พายุ (มก. 4: 35-41) พร้อมกับขับร้องเพลงพักพิงในพระเจ้าเป็นการร�ำพึงขณะเดิน ทางอยู่ในเรือ หลังจากได้ข้นึ ฝังพวกเราเดินทางต่อไปเยี่ยมชมบ้านของนักบุญเปโตร ซึ่งปัจจุบันได้มกี ารสร้างวัดคร่อมไว้แล้ว โดยพวกเราได้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณใน หมู่พวกเราในวัดนี้และใช้เวลาในการเยี่ยมชมสถานที่โดยรอบและเดินทางกลับเข้า โรงแรมเพื่อพักผ่อนและรับประทานอาหารเย็น

เช้าวันรุ่งขึ้นพวกเรามุ่งสู่หมู่บ้านเชเคม เพื่อเยี่ยมชมบ่อน�้ำยาคอบ พวกเรา หลายคนบรรจุน�้ำใส่ภาชนะเพื่อน�ำกลับมาเมืองไทยเป็นที่ระลึก บ่อน�้ำนี้พระเยซูเจ้า ทรงนั่งและสนทนากับหญิงชาวสะมา เรียที่มาตักน�้ำ ปัจจุบันอยู่ในวัดของนิ กายออร์โธดอกซ์ พวกเราใช้เวลาเก็บ ภาพบรรยากาศของวัดซึ่งเต็มไปด้วย ภาพวาดที่งดงามภายในวัดแห่งนี้ จาก นั้นเดินทางจากแคว้นกาลิลีสู่แคว้นสะ มะเรียหรือลงมาทางใต้ โดยผ่านถิ่น ทุรกันดารสองข้างทางและเข้าสู่แคว้น ยูเดีย พวกเราเดินทางไปสู่เป้าหมาย เดียวกันกับพระเยซูคอื มุ่งสู่กรุงเยรูซาเล็ม พวกเราได้มโี อกาสแวะไปที่แม่น�้ำจอร์แดน ในสถานที่ๆพระเยซูเจ้าทรงรับพิธลี ้างจากท่านยวงบัปติส มีนักท่องเที่ยวและกลุ่มชาว ยิวก็มาที่บริเวณนี้หลายกลุ่มเช่นกัน และมีผู้ที่จะมาท�ำพิธลี ้างที่แม่น�้ำนี้ด้วย พวกเรา 106 หฤทัยสัมพันธ์


ได้ลงไปสัมผัสกับน�้าที่แม่น�้าแห่งนี้ซึ่งมีขนาดเล็กสามารถมองเห็นนักท่องเที่ยวที่อยู่อีก ฝากได้สบาย จากนั้นนั่งพักอยู่สักครู่และใช้เวลาร้องเพลงรื้อฟื้นถึงศีลล้างบาป และ ขณะที่ขับร้องเหมือนอัศจรรย์ได้เกิดขึ้นคือ มีเหมือนลมที่พัดมาอย่างแรงสักพักหนึ่ง และไม่นานลมก็สงบไปท�าให้พวกเราสัมผัสได้ถงึ การประทับอยู่ขององค์พระจิตเจ้า

รถของเรามุง่ ไปยังเมืองเยริโก เมืองทีช่ ายตาบอดบาร์ทเิ มอัสได้รอ้ งขอให้พระ เยซูรกั ษาและเป็นเมืองทีซ่ กั เคียสได้พบกับพระเยซูเมือ่ เขาถูกเรียกให้ลงจากต้นมะเดือ่ และ พระองค์เสด็จไปรับประทานอาหารทีบ่ า้ นของเขา พวกเราได้รว่ มพิธบี ชู าขอบพระคุณที่ วัด Good Shepherd’s และทักทายกับคุณพ่อทีว่ ดั แห่งนีห้ ลังมิสซา จากนั้นเดินทางไปรับ ประทานอาหารพื้นเมืองที่ Abu Raed Jericho buffet พร้อมกับซื้อของฝากควบคู่กันไป ด้วย

หฤทัยสัมพันธ์ 107


ผ่านภูเขาแห่งการประจญล่อลวง แวะซื้ออินทผลัมและเดินทางเข้าสู่ที่พัก ในโรงแรมดาเนียลซึ่งเป็นโรงแรมของชาวยิวและอยู่ตดิ กับทะเลตาย พวกเราจึงมี ประสบการณ์ของการใช้ลฟิ ต์วันสะบาโตโดยที่ไม่ต้องกดกันเลย และได้ไปรอยตัวใน ทะเลตายกันอีกด้วย

วั น อาทิต ย์พ วกเราเดินทางไปที่ หมู่บ้านกุมราน เยี่ยมชมถ�้ำที่ได้พบพระ คัมภีร์และพระธรรมเก่าบางส่วน จากนั้น เยี่ยมชมโบราณสถานแห่งกุมรานโดยรอบ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของชาวเอสเซนี นักบวช นิกายหนึ่งทีมาอยู่ร่วมกันเพื่อบ�ำเพ็ญพรต ภาวนาและศึกษาพระคัมภีร์ เจริญชีวิต อย่างเคร่งครัด พวกเราใช้เวลาเยี่ยมชมจุดต่างๆและได้รับประทานอาหารกลางวัน และซื้อของฝากตามอัธยาศัยในร้านค้าที่ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ และเดินทางต่อไปที่หมู่ บ้านเบธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่พระเยซูเจ้าได้เคยมาพ�ำนักอยู่กับลาซารัส มารีย์และ มาร์ธา พวกเราได้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณกันที่วัดแห่งนี้ และมุ่งสู่กรุงเยรูซาแล็มใน เวลาต่อมา โดยแวะไปที่ก�ำแพงร้องไห้ของชาวยิว และชมทัศนียภาพในยามเย็น จาก นั้นเข้าที่พักที่โรงแรมโอลีฟทรี และวันรุ่งขึ้นไปมุ่งไปยังเมืองเฮบรอน เพื่อไปเยี่ยมชม ที่ฝังศพประจ�ำครอบครัวของอับราฮัม ซึ่งเชื่อกันว่าศพได้น�ำกลับมาจากอียิปต์มาฝัง 108 หฤทัยสัมพันธ์


ที่นี่ การไปสถานที่นี้ได้เห็นความแตกต่างของ ประชาชนในประเทศปาเลสไตน์ที่จะต้องต่อสู้ และดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและต้องเผชิญกับ ความไม่สงบของสงครามท�ำให้เห็นชีวิตความ เป็ น อยู ่ ข องเด็ ก ที่เ ต็ ม ไปด้ ว ยความยากแค้ น จากนั้นเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮมเพื่อชน ผลิตภัณฑ์ที่ท�ำจากไม้มะกอกและศาสนภัณฑ์ ต่างๆมากมาย และเดินทางไปประกอบพิธี บูชาขอบพระคุณที่ทุ่งของชุมพาบาลและเยี่ยม ชมพระวิหารพระทรงบังเกิดและ Milk Grotto Church of the Virgin Mary และกลับสู่ท่พี ัก ระหว่างวันที่ 28-31 พ.ค. เป็นช่วงเวลาที่พวกเราจาริกอยู่ในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเยรูซาเล็ม พวกเราได้มโี อกาสเข้าชมโดมทอง ภายนอกตัง้ อยู่บนภูเขาโมรีอา ซึ่งเป็นสักการะสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม ก�ำแพงร้องไห้ซ่งึ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ของชาวยิวอยู่ในบริเวณดังกล่าวและมีวัดบนภูเขาที่เป็นสักการะสถานศักดิ์สิทธิ์ของ

ทั้งสามศาสนาที่นับถือพระเจ้าเพียงผู้เดียว จากนั้นเยี่ยมชมวัดนักบุญอันนา ซึ่งเชื่อ ว่าเป็นบ้านของบิดามารดาของแม่พระ และชมสระเบธไซดาซึ่งเป็นสถานที่ๆพระเยซู เจ้าทรงรักษาคนป่วย และแวะเยี่ยมชมวัดการตัดสินประหารชีวิตพระเยซูเจ้าและวัด แห่งการโบยตี หลายคนนึกถึงภาพที่พระองค์ทรงถูกคุมขัง รู้สึกสงสาร”“สะเทือนใจ มากที่สุดคือที่ในคุก รู้สึกสะเทือนใจนึกถึงพระเยซูเจ้าที่ถูกทรมานในคุก ท�ำให้รักพระ หฤทัยสัมพันธ์ 109


เยซูมากขึ้น “ที่บ้านของคายาฟัส ข้าพเจ้าพยายามมองภาพที่มีพระองค์อยู่ตรงนัน้ มีเลือดพระองค์ท่อี ยู่ตรงนั้น พระเยซูทรงมอบทุกอย่าง มอบชีวิตของพระองค์ให้เรา ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถงึ ความรักของพระองค์ ที่ได้ยอมตายเพื่อตัวข้าพเจ้าจริงๆ”

110 หฤทัยสัมพันธ์


ได้ เ ยี่ ย มชมวั ด เอกเชโฮโม และเดินรูป 14 ภาค ซึ่งมีพวกเราบาง คนแบ่ ง ปั น ว่ า ประทั บ ใจช่ ว งการเดิ น รูป 14 ภาค แม้จะวุ่นวาย แต่ก็ได้ร�ำพึง ถึงพระเยซูเจ้า และติดตามพระองค์ ไป ไม่ว่าจะถูกสบประมาท จนถึงถูก ตรึงกางเขน แม้ว่าพระองค์เป็นพระ เป็นเจ้า แต่คุณค่าของพระองค์มไิ ด้ลด ลงไปเลย ชีวิตของพระองค์ท�ำให้เป็นแบบอย่างแก่ตนเองให้มกี �ำลังใจในการด�ำเนิน ชีวิตมากขึ้น” ประทับใจในสถานที่ที่เกี่ยวกับพระมหาทรมานของพระเยซู พระองค์ ทรงทรมานและรักเราถึงเพียงนี้หรือ การเดินไปตามมรรคาศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ที่รู้สึก สะเทือนใจมากคือที่ Ecce Homo มีความรู้สึกถึงการทรมานที่พระองค์ได้รับ การเดิน ที่ยากล�ำบากของพระองค์ในวันที่พระองค์ต้องเดินทางนั้นจะเป็นอย่างไร “บนยอดเขา กัลวารีโอ ข้าพเจ้าเกิดค�ำถามขึ้นในใจว่า “พระเยซูรักข้าพเจ้าขนาดนี้เชียวหรือ” พระ บอกข้าพเจ้าว่า “เรารักเจ้า ตลอดนิรันดรและตลอดไป” พวกเราได้เยี่ยมชมพระวิหารพระคูหาศักดิ์สิทธิ์ เยี่ยมชมวัด Bethphage Church สถานที่พระเยซูเจ้าประทับบนหลังลาเพื่อเข้าสู่กรุงเยรูซาแล็มและเยี่ยมชม เนินเขามะกอก

หฤทัยสัมพันธ์ 111


เยี่ยมชมวัดข้าแต่พระบิดา พวกเราได้มโี อกาสสวด บทข้าแต่พระบิดาพร้อมกันอย่างตั้งใจเป็นพิเศษเพราะพวกเรา คิดถึงความหมายของทุกถ้อยค�ำที่เราภาวนา จากนั้นได้เดินไปวัดพระเยซูเจ้ากรรแสง เยี่ยมชมสวน เกทเสมนี และวัดนานาชาติและได้ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ ในสวนเกทเสมนี ท�ำให้ได้มีโอกาสร�ำถึงถึงความรักของพระองค์ มากขึ้น

เยี่ยมชมเมืองจ�ำลองเยรูซาเลมและพิพิธภัณฑ์เมืองจ�ำลองเหตุการณ์สถาน ที่ส�ำคัญเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ วัฒนาการ โบราณคดีของอิสราเอลไว้ด้วยกัน ได้มี โอกาสเยี่ยมชมวัดแม่พระนิทรา เยี่ยมบ้านเกิดของนักบุญยวง บัปติสตา ที่วัดแม่พระ เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบ็ธ

ห้องอาหารมื้อสุดท้าย พวกเราได้นั่งร้องเพลงพระจิตเจ้าพร้อมกันที่นี่ เป็นการระลึกถึงวันเปนเตกอสเตที่บรรดาอัครสาวกพร้อมกับพระแม่มารีได้ภาวนา พร้อมกันอยู่ท่หี ้องชั้นบน เข้าชมหลุมฝังศพของกษัตริย์ดาวิด วัดนักบุญเปโตรกับไก่ ขัน และพวกเราบางส่วนไปมีประสบการณ์เดินบนก�ำแพงในช่วงเย็น จึงได้เห็นขบวน 112 หฤทัยสัมพันธ์


แห่เด็กชายอายุ 13 ปีบริบูรณ์ เพื่อมาท�ำพิธบี าร์ มิตซวาห์ (Bar mitsvah) ซึ่งถือว่า เด็กหนุ่มได้กลายเป็นผู้ใหญ่ในสายตาของศาสนาและปฏิบัตศิ าสนกิจอย่างผู้ใหญ่ได้

ภาคบ่ายของวันสุดท้าย พวกเราได้ มี โ อกาสเยี่ ย มชม ตลาดสดและเดิ น ทางสู ่ ก รุ ง เท อาวีฟและเข้าสู่เมืองจัฟฟาเมือง ท่าของอิสราเอล ชมวัดนักบุญ เปโตรเมื่อเริ่มเทศนาสั่งสอนและ ชมเมืองเทลอาวีฟ พร้อมประกอบ พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ที่ บ ้ า นนั ก บวชคณะฟรังซิสกัน จากนั้น หฤทัยสัมพันธ์ 113


รับประทานอาหารไทยที่ร้าน Red Chinese และเดินทางสู่สนามบิน เพื่อเดินทางกลับ โดยแวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินอัมมัน และเดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมดิ ้วยความ ปลอดภัยในวันที่ 1 มิถุนายน เวลาประมาณบ่ายสามโมง

สมาชิกผู้จาริกได้แบ่งปันประสบการณ์และข้อคิดที่ได้รับจากการเดินทางไป ฟื้นฟูชีวิตและแสวงบุญครั้งนี้ว่า “การได้เห็นสถานที่จริงที่พระเยซูเจ้าทรงด�าเนินชีวิต ท�าให้ได้ร�าพึงถึงชีวิต นักบวช ที่พระองค์ช่วยชุบชูชวี ิตเป็นดาวที่น�าชีวิตที่นาซาแร็ธ (ยน.พระวจนาตถ์ทรง รับเอากายและมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา) ได้สัมผัสและเห็นถึงชีวิตของพระองค์เป็น แบบอย่างในการอ่อนน้อมถ่อมตนในการท�าภารกิจ แบบอย่างครอบครัวศักดิ์สิทธ์ที่ เรียบง่าย การท�าตามน�า้ พระทัยของพระเจ้า พระองค์ไปที่ไหนก็ท�าแต่ส่งิ ที่ดีแม้ไม่มี ใครเห็น พระองค์ท�างานและสวดภาวนา เราเองก็ต้องภาวนาอยู่เสมอในชีวิตประจ�า วัน เป็นพระพรที่พระให้กับเราทุกๆ วัน พระองค์ยอมอยู่ในประเทศที่ล�าบากต้องอดทน อย่างมาก เราเองต้องสู้อดทนต่อความยากล�าบากเช่นเดียวกับพระเยซูด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันรู้สกึ ประทับใจไกด์ชาลี ที่อ่านพระคัมภีร์เป็นร้อยกว่าครั้ง จึง เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเราได้หันกลับมารักการอ่านพระคัมภีร์มากขึ้น และท�าให้ พระวาจาเป็นชีวิตของตัวเองมากขึ้น นอกจากนั้นการได้ไปแสวงบุญแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ครั้งนี้ พวกเราถือว่าเป็นพระพรที่พระเจ้ามอบให้เป็นพิเศษ ได้สัมผัสถึงการประทับ อยู่ของพระในพี่น้องที่ร่วมเดินทาง ได้มีโอกาสใกล้ชิดกันแบบพี่น้องมากขึ้น เป็นชีวิตที่ 114 หฤทัยสัมพันธ์


เปีย มด้วยความเชือ่ ท�าให้รสู้ กึ รักคณะ รักสมาชิก รักคนรอบตัว และการไปครัง้ นีไ้ ด้เห็น เพือ่ นทางความเชือ่ มากมาย เพราะได้เจอคนทีม่ คี วามเชือ่ เหมือนเราทีไ่ ปแสวงบุญ

ขอขอบคุณพระเจ้า ขอขอบคุณผู้ใหญ่ของคณะที่ให้โอกาสพวกเราได้ไป แสวงบุญครั้งนี้ ขอบคุณคุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกรผู้น�าทางที่ดี รวมถึงไกด์ชาลีและ เจวีด้วย การจาริกครั้งนี้เป็นการเดินทางไปพบกับพระเจ้าของพวกเราจริงๆ เป็นการ ไปพบกับพระองค์ในสถานที่ๆครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงมาใช้ชีวิตอยู่เหมือนกับพวก เรา ท�าให้เป็นแรงผลักดันให้พวกเราได้พร้อมเสมอที่จะด�าเนินชีวิตติดตามพระองค์ไป และกระท�าเหมือนอย่างที่พระองค์ทรงกระท�า ขอขอบคุณพี่ๆและน้องๆในคณะที่ได้ กระท�าหน้าที่แทนพวกเราและสวดภาวนาให้กับพวกเราในครัง้ นี้ด้วย ขอพระหฤทัย ทรงอ�านวยพรพี่น้องทุกท่านเสมอเทอญ แหล่งข้อมูล

ระยะเวลา

หนังสือคู่มือการเดินทางของบริษัท Abroad Tour บทเทศน์ของคุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร ไกด์ชาลีและการแบ่งปันประสบการณ์ของ สมาชิกผู้จาริกแสวงบุญ http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-east/tips_detail.php?ID=2153 วันที่ 18 พฤษภาคม-01 มิถนุ ายน 2013 (12คืน/14 วัน) โดยสายการบินรอยัลจอร์แดน

หฤทัยสัมพันธ์ 115


¡Ô¨¡ÃÃÁ¢Í§¼ÙŒ½ƒ¡ËÑ´ เยาวนารี

จ�านวน 13 คน โดยมีซิสเตอร์นุจรา เที่ยงงามดี เป็นผู้อบรม

1.

โครงการเยี่ยมซิสเตอร์อาวุโสบ้านพระแม่ฯ

เดือนละครัง้ เยาวนารีจะมาร่วมฟังมิสซาทีอ่ ารามและเยีย่ มซิสเตอร์อาวุโส ทีบ่ า้ นพระแม่ เพือ่ พูดคุยท�าความรูจ้ กั กับซิสเตอร์และรับฟังการแบ่งปันประสบการณ์ ชีวติ และเรือ่ งราวต่าง ๆ ทัง้ เรือ่ งการท�างานภารกิจของคณะ ความเชือ่ ความศรัทธาและ ความรักต่อพระเป็นเจ้า รวมทัง้ การด�าเนินตามกระแสเรียกและการตอบรับเสียงเรียก ของพระ ท�าให้เยาวนารีได้ใกล้ชดิ และรูจ้ กั ซิสเตอร์รนุ่ พีๆ่ เรียนรูจ้ กั คณะ รักกระแสเรียก และพระเป็นเจ้ามากขึน้

116 หฤทัยสัมพันธ์


2.

ค�ำนับขอพระคุณแม่เชลียงโอกาสวันแม่

วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2013 เยาวนารีได้มาค�ำนับคุณแม่เชลียงและขอพรใน โอกาสวันแม่แห่งชาติ และรับฟังโอวาทการอบรมจากคุณแม่เป็นพิเศษ

3.

พักผ่อนร่วมกัน

โอกาสปิดภาคเรียนการศึกษา เยาวนารีได้ไปพักผ่อนและสนุกร่วมกันที่ Dream World ได้รับประสบการณ์ความรักความสามัคคีกันในกลุ่มมากยิ่งขึ้น

4.

เข้าเงียบประจ�ำเดือน

ทุกเดือน เยาวนารีจะท�ำการเข้าเงียบประจ�ำเดือนร่วมกัน เพื่อทบทวนชีวิต การเป็นผู้ฝึกหัดและการใช้ชวี ิตในเดือนที่ผ่านมา คิดถึงความรักของพระเป็นเจ้าที่ผ่าน มาทางผู้ใหญ่ ทางการเรียน การท�ำงาน ทางเพื่อน ๆ และเฉพาะอย่างยิ่งในความสนิท สัมพันธ์กับพระเป็นเจ้าที่มากขึ้นทุกวัน

หฤทัยสัมพันธ์ 117


แอสปีรันต์ รุ่นเล็ก มัธยม 4-6

จ�านวน 23 คน โดยมีซิสเตอร์อัจฉราพรรณ อุ่นหล้า เป็นผู้อบรม

เข้าค่ายยุวศาสนิกสัมพันธ์เสริมสร้างความซื่อตรง

วันที่ 24-26 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์ไปเข้าค่ายยุวศาสนิกสัมพันธ์ เสริมสร้างความซื่อตรง ณ บ้านหทัยการุณย์ ฉะเชิงเทรา ซึ่งจัดโดยศูนย์คุณธรรม ร่วม กับสถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่ายศาสนา

118 หฤทัยสัมพันธ์


ร่วมกิจกรรมจิตอาสา

วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมธนาคารจิต อาสา ศิลปะบ�ำบัด ที่บ้านเซเวียร์ กรุงเทพฯ

ร่วมฉลองวัดนักบุญยวง บัปติสตา เจ้าเจ็ด

วันอาทิตย์ท่ี 23 มิถุนายน ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์ลูกวัดและชัน้ มัธยมศึกษา ปีที่ 4 ร่วมฉลองนักบุญยวง บัปติสตา เจ้าเจ็ด

เข้าร่วมโครงการครูอาสาสร้างสุขภาวะเด็กในแคมป์ก่อสร้าง

แอสปิรันต์รุ่นเล็กเข้าร่วมเป็นครูอาสาในโครงการครูอาสาสร้างสุขภาวะเด็ก ในแคมป์ก่อสร้าง โดยจัดการสอนหนังสือ และนันทนาการที่แคมป์คนงานก่อสร้าง ถนนเชื้อเพลิง และรับเด็กไปท�ำกิจกรรมนอกสถานที่ ทุกวันอาทิตย์ ตัง้ แต่เดือน กรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013

หฤทัยสัมพันธ์ 119


ขับร้องเพลงโอกาสฉลองวัดสองพี่น้อง

วันเที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์ร่วมร้องเพลงโอกาสฉลองวัด แม่พระประจักษ์แห่งภูเขาคาร์แมล สองพี่น้อง

ย้อนรอย การท�ำทอฟฟี่ถั่ว

วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ศึกษางาน ย้อนรอย การท�ำทอฟฟี่ถั่วกับ ซิสเตอร์ร�ำพึง วิจิตรวงศ์ ที่หาดหฤทัย หัวหิน

แอสปีรันต์มัธยม 6 เข้าเงียบฟื้นฟูจติ ใจ

วันที่ 21-23 กันยายน ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์ชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้า เงียบฟื้นฟูจติ ใจ เพื่อไตร่ตรองกระแสเรียก ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ โดยมีคุณพ่อสายชล คันยุไล คณะเยซูอติ เป็นผู้น�ำการเข้าเงียบ

120 หฤทัยสัมพันธ์


ขับร้องเพลงโอกาสฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตนักบวช ซ.โจน แคลเวอร์

วันเที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์รุ่นเล็กได้ไปเป็นนักขับร้องโอกาส ฉลอง 50 ปีแห่งชีวติ นักบวชของซิสเตอร์โจน แคลเวอร์ คณะพระมหาไถ่หญิง ณ วัด นักบุญโทมัส อไควนัส มีนบุรี

แอสปีรันต์เข้าเงียบกลางปี

วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์อจั ฉราพรรณ อุน่ หล้า จัดให้แอสปีรนั ต์ ได้เข้าเงียบกลางปี ณ อารามพระหฤทัยฯ โดยมีซิสเตอร์มารีย์รักษ์ ไกรทองสุข เป็น ผู้น�ำการเข้าเงียบ

หฤทัยสัมพันธ์ 121


แอสปีรันต์รุ่นใหญ่ สามพราน

มีจ�านวน 9 คน โดยมีซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงค์ เป็นผู้อบรม

ร่วมจัดกิจกรรมปีแห่งความเชื่อ วันที่ 19-20 กรกฏาคม ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์สามพรานได้ร่วมจัดกิจกรรมฐาน ของคณะพระหฤทัยฯในงานเฉลิมฉลองปีแห่งความเชื่อระดับชาติ ณ โรงเรียนยอแซฟ อุปถัมภ์ สามพราน พร้อมทัง้ ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ

122 หฤทัยสัมพันธ์


กิจกรรมวันแม่ วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2013 แอสปีรันต์สามพรานร่วมกับ นวกเณรี ค�ำนับผู้ อบรมโอกาสวันแม่แห่งชาติและรับประทานอาหารร่วมกัน

ค�ำนับพระคาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2013 ตัวแทนแอสปีรันต์สามพราน เข้าร่วมค�ำนับพระ คาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู พร้อมกับคุณแม่เชลียง เวชยันต์ และตัวแทนสมาชิก ของคณะฯ โอกาสฉลองศาสนนาม อัครเทวดา มีคาแอล ที่บ้านอับราฮัม

ร่วมจัดกิจกรรมค่ายกระแสเรียก วันที่ 7-10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 แอสปีรนั ต์ จิรฐั ติ ิ โสควาทู และ แอสปีรนั ต์ นันทิชา โยพา เข้าร่วมจัดกิจกรรมค่ายกระแสเรียก ทีอ่ ารามพระหฤทัย

หฤทัยสัมพันธ์ 123


ร่วมค่ายเยาวชนคาทอลิกไทย วันที่ 16-22 ตุลาคม 2013 แอสปีรนั ต์ ชัน้ ปีที่ 2 เข้าร่วมงาน ผูน้ ำ� ค่ายเยาวชน ที่ สังฆมณฑล สุราษฏร์ธานี จ. สุราษฏร์ธานี ได้แก่ แอสปีรนั ต์ นันทิชา โยพา แอสปีรนั ต์ คริษฐา ไชยเผือก แอสปีรนั ต์ พาคีนนั ท์ ธวัชวงศ์ และ แอสปีรนั ต์ จิรฐั ติ ิ โสควาทู

124 หฤทัยสัมพันธ์


นวกเณรี

จ�านวน 5 คน โดยมีซิสเตอร์อรัญญา กิจบุญชู เป็นนวกจารย์

พิธอี �าลาและต้อนรับนวกจารย์

วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 บ้านนวกสถานพระหฤทัยฯ มีพิธีบูชา ขอบพระคุณโดยคุณพ่อฟรังซิส ไก้ส์ จากนั้นมีโปสตุลันต์ได้มพี ิธีอ�าลาและขอบคุณ ซิสเตอร์อัมพร วิจิตรวงศ์ นวกจารย์ที่ครบวาระหน้าที่ และพิธตี ้อนรับ ซิสเตอร์ อรัญญา กิจบุญชู นวกจารย์คนใหม่ ผู้มารับหน้าที่ ณ นวกสถานพระหฤทัยฯ สามพราน โอกาสนี้คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี ได้มอบรูปพระหฤทัยเป็นทีร่ ะลึกแด่ ซิสเตอร์ทงั้ สองท่าน

หฤทัยสัมพันธ์ 125


นวกเณรีเยี่ยมเยียนซิสเตอร์อาวุโสบ้านพระแม่ นวกเณรีมาเยี่ยมเยียนซิสเตอร์อาวุโสที่บ้านพระแม่เป็นประจ�ำทุกเดือน เพื่อ พูดคุยให้ก�ำลังใจ และรับฟังการแบ่งปันประสบการณ์การด�ำเนินชีวิตนักบวชและ ชีวิตแห่งการภาวนาอันเป็นแรงบันดาลที่ดีในการฝึกฝนตนเองเพื่อการอุทิศตนรับใช้ พระเจ้าตามจิตตารมณ์พระหฤทัยฯ

ร่วมจัดกิจกรรมปีแห่งความเชื่อ วันที่ 19-20 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 นวกเณรีได้ร่วมจัดกิจกรรมฐานของคณะ พระหฤทัยฯในงานเฉลิมฉลองปีแห่งความเชื่อระดับชาติ ณ โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน พร้อมทัง้ ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ

126 หฤทัยสัมพันธ์


สัมมนาพิธีกรรม นวกเณรีทั้ง 5 คน ได้เข้าร่วมสัมมนาพิธีกรรม ซึ่งศูนย์นักบวชหญิง สามพราน จัดขึ้น ส�ำหรับผู้ฝึกหัดคณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2013 การสัมมนาครั้งนี้ คุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร อาจารย์พิธีกรรมจากวิทยาลัย แสงธรรมเป็นวิทยากร

กิจกรรมวันแม่ วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2013 นวกเณรี ร่วมกับแอสปีรันต์สามพราน ค�ำนับ ผู้อบรมโอกาสวันแม่แห่งชาติและรับประทานอาหารร่วมกัน

ร่วมสัมมนาพระวรสารนักบุญลูกา วันที่ 26-29 กันยายน ค.ศ. 2013 นวกเณรีเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยว กับพระวรสารนักบุญลูกา โดยคุณพ่อ Ludger Feldkamper, SVD พร้อมกับ บรรดาซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ ณ ห้อง ประชุมอารามพระหฤทัยฯ คลองเตย

หฤทัยสัมพันธ์ 127


ค�ำนับพระคาร์ดินัล โอกาสฉลองศาสนนาม วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2013 นวกเณรี เข้าร่วมค�ำนับพระคาร์ดนิ ัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู พร้อมกับคุณแม่เชลียง เวชยันต์ และตัวแทนสมาชิกของคณะฯ โอกาส ฉลองศาสนนาม อัครเทวดา มีคาแอล ที่บ้านอับราฮัม

โครงการรักษ์ส่งิ แวดล้อม (เรียนประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้) นวกเณรีบ้านนวกสถาน มีโครงการปลูกฝังจิตตารมณ์พระหฤทัย: รักที่ สุภาพ อ่อนโยน และเมตตา โดยเน้นการเริ่มจากสิ่งสร้างที่อยู่รอบตัวในชีวติ ประจ�ำวัน รวมทั้งการใส่ใจและการแสดงออกกับพี่น้องสมาชิกและทุกๆ ที่พบเห็น การประดิษฐ์ สิ่งเครื่องใช้ต่างๆ จากวัสดุเหลือใช้ เป็นหนทางหนึ่งที่แสดงออกในเชิงรูปธรรมของ การใส่ใจ รักษาสิ่งแวดล้อม อันเป็นมิติหนึ่งของการแสดงความรัก ความเมตตาต่อ ธรรมชาติและโลก นวกเณรีไปเรียนรู้จักประดิษฐ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น หมวก กล่อง ใส่ทิชชู่ กล่องใส่ของ โดยน�ำวัสดุเหลือใช้ได้แก่ กล่องนม กล่องน�ำ้ ผลไม้ ฯลฯ มาเป็น อุปกรณ์การประดิษฐ์ อนึ่ง นางสุดา กิจสกุล อดีตครูโรงเรียนเซนต์จอห์น ซึ่งเป็นครู เกษียณและอาศัยในชุมชนใกล้เคียงเป็นผู้สอนให้

128 หฤทัยสัมพันธ์


โครงการ BEC และเยี่ยมเยียนชาวบ้านในชุมชน เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นวกเณรีมีความตระหนักในพันธกิจการอภิบาลและแพร่ ธรรม ตามกระบวนการวิถีชุมชนวัด รวมทัง้ ให้เริ่มมีประสบการณ์ของการแบ่งปัน พระวาจา และการเยี่ยมเยียนชาวบ้านในบริเวณชุมชนใกล้เคียง โดยเน้น ผู้สูงอายุ และคนเจ็บป่วย ในช่วงที่ผ่านมา ได้ไปร่วมแบ่งปันพระวาจา อาทิตย์ละ 2 คน และไป เยี่ยมเยียน เดือนละครั้ง

นวกเณรีช่วยค่ายกระแสเรียก วันที่ 7-10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 นวกเณรีทั้ง 5 คน มาช่วยงานด้านพิธีกรรมใน การจัดค่ายกระแสเรียกที่อารามพระหฤทัย คลองเตย

หฤทัยสัมพันธ์ 129


ร่วมสัมมนาและเข้าเงียบกลางปีของคณะ วันที่ 11-13 ตุลาคม ค.ศ. 2013 นวกเณรีเข้าร่วมสัมมนาและเข้าเงียบกลางปี พร้อมกับบรรดาซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ ณ ห้องประชุมอารามพระหฤทัย คลองเตย

เข้าเงียบกลางปี วันที่ 21-24 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ซิส เตอร์อรัญญา กิจบุญชู น�ำนวกเณรีทั้ง 5 คนไปเข้าเงียบแบบ Jesumaum ร่วมกับ ซิสเตอร์ยุวภคินี 7 คน ณ หาดหฤทัย ชะอ�ำ โดยมีคุณพ่อชีวิน สุวดินทร์กูร เป็นผู้ให้การ เข้าเงียบ อนึ่ง การเข้าเงียบครั้งนี้ เป็นการ เข้าเงียบแบบจิตภาวนา ที่เริ่มจากการฝึก สมาธิในวันแรกก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่ขนั้ สมาธิ สติ และจิตภาวนา

130 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 131


ÇÔ¸Õ¡ÒÃẋ§»˜¹¾ÃÐÇÒ¨Ò áºº Vigan วิธีการง่ายๆ ของ Lectio Divina / การแบ่งปัน พระวาจา การกล่าวว่า “การแบ่งปัน พระวาจา” อาจจะไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ หมายถึง การที่กลุ่มคนมารวมกันรับฟังพระวาจา และภาวนา ต่อพระเจ้า และพยายามปฏิบัติตามพระวาจา นั้น วิธีการแบ่งปันที่มีประสิทธิภาพ และ สมัยใหม่ อาจน�าไปสู่การปรับเปลี่ยน และพัฒนาเปลี่ยนแปลง ตามความเหมาะ สมและความต้องการของบุคคล หรือกลุ่ม อย่างไรก็ตามในการประชุมแต่ละครัง้ จะ ไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงมากมายจนผิดรูปแบบไปจากของเดิม วิธกี ารทีน่ า� เสนอด้านล่างต่อ ไปนี้ ได้รบั การพัฒนามาจาก ศูนย์พระคัมภีร์ John Paul ที1่ (John Paul I Biblical Center JPBIC) ที่ เมือง วีกนั ประเทศ ฟิลปิ ปินส์ ทีไ่ ด้สง่ เสริมสนับสนุน การสัมมนาพระคัมภีร์ พืน้ ฐาน และได้รบั การยอมรับอย่างกว้างขวางใน ฟิลปิ ปินส์ และในหลายประเทศทัว่ โลก แม้วา่ จะเป็นการน�าเสนอเพียง แนวทางสัน้ ๆทีน่ ี่ แต่ประสบการณ์ และ การแบ่งปัน ได้ รับการ รับรอง และตอบรับ และเกิดผลในการแบ่งปันอย่างกว้างขวาง ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ท่ี John Paul I Biblical Center, 2700 Vigan, Ilocos Sur, Philippines Tel: +63-(0)77-722 20 56; +63 (0) 77-722 18 21; Email: jp1bc@yahoo.com

132 หฤทัยสัมพันธ์


วีธีการแบบ Vigan I. บทน�า 1. กลุ่มแบ่งปัน

สมาชิกจ�านวน 4-6 คน ที่ไว้วางใจ ใจปิดกว้างและเป็นหนึ่งเดียวในการรับ ฟังพระวาจาด้วยความเคารพและแสวงหาค�าตอบจากพระวาจานัน้ สมาชิกที่พร้อมที่ จะแบ่งปัน สื่อสารกัน ในการหาหนทางที่จะเป็นกลุ่มคริสตชนที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

2. บรรยากาศ

ในการแบ่งปัน พระวาจา บรรยากาศแห่งความเงียบเป็นสิ่งจ�าเป็นอย่างยิ่ง • เป็นอิสระจากเสียงรบกวน ดังนั้น สถานที่ประชุม จะไม่ถูกรบกวนด้วย เสียงต่างๆ • อิสระจาก การถูกจ�ากัดด้วยเวลา เพื่อให้มีเวลาเพียงพอ จาก ประสบการณ์ของกลุ่มที่มีสมาชิก 5 คน และใช้วธิ ีนี้ แบ่งปันกัน จะใช้ เวลา ประมาณ 45-60 นาที • สมาชิก นั่งวงกลมที่เปิด มิใช่นั่งรอบโตะ เพื่อสมาชิกจะสามารถได้ยนิ และเห็นกันได้อย่างทั่วถึง • จุดเทียน ตรงกลาง เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงพระคริสตเจ้าองค์ความ สว่างของโลก • (ยน.1,1:9,8:12,12:46) และพระองค์ประทับท่ามกลางผู้ท่ปี ระชุมกันใน พระนามของพระองค์ (มธ.8,20) ปัจจัยทั้งหมดนี้ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศแห่งการภาวนา

หฤทัยสัมพันธ์ 133


3. กลุ่มผู้ประสานงาน

คนเหล่านี้ไม่จ�ำเป็นต้องเก่งหรือช�ำนาญ เพราะการแบ่งปันเหล่านี้ไม่ต้องใช้ ความรู้มากมาย ผู้น�ำกลุ่มช่วยให้สมาชิกได้แบ่งปัน โดยการประกาศทีละขั้นตอน ผู้น�ำ จะน�ำภาวนา เปิดและปิดประชุม หรืออาจขออาสาสมัครให้ช่วยภาวนา และเชิญชวน ให้ บางคนในกลุ่ม อ่านพระวาจา แต่ไม่ต้องแบ่งปัน

4. ข้อความจากพระวาจา

ข้อความเหล่านี้ ผู้น�ำอาจแนะน�ำได้ แต่ไม่ได้จ�ำเป็นมาก แต่ขอให้ สมาชิก มี ข้อความจากพระคัมภีร์ ที่มีการแปลเหมือนกัน แนะน�ำให้เลือก จาก หนึ่งในสาม ของ บทอ่านวันอาทิตย์ ส�ำหรับการแบ่งปัน

5. วิธีการ

สมาชิกในกลุ่ม เลือกวิธีการที่จะใช้ร่วมกัน (การภาวนา- ตอบรับ, การกระ ท�ำ -ตอบรับ หรือ ผสมผสานกัน) ก่อนเริ่มประชุม วิธีการหนึ่งที่จะขอแนะน�ำให้ใช้คอื “การภาวนา- ตอบรับ” ส�ำหรับช่วง แรก 2-3 ครั้ง จากนัน้ กลุ่มอาจจะเลือกวิธีการ “การกระท�ำ –ตอบรับ” หลังจาก นั้น อาจจะใช้ทงั้ สองแบบสลับกัน

134 หฤทัยสัมพันธ์


II. วิธีการ 3 รูปแบบ 1. รูปแบบ ก : การภาวนา – การตอบสนอง (Prayer - Response) ภาวนาเปิดหรือขับบทเพลง

• การตระหนักถึงการประทับอยู่ของพระเจ้า ที่ใดมีสองหรือสามคน ชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” (มธ. ๑๘,๒๐) “ตรัสเถิดพระเจ้าข้า ผู้รับใช้ของพระองค์คอยฟังอยู่” (๑ ซมอ.๓, ๑๐) “พระองค์มีพระวาจาแห่งชีวิตนิรันดร” (ยน. ๖,๖๘) • การภาวนาวอนขอต่อพระจิตเจ้า พระผู้ทรงเปิดจิตใจของเราและปลด ปล่อยเราจากทุกสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการฟังพระวาจาของพระเจ้า

ขั้นตอนแรก : การอ่านข้อความพระคัมภีร์(TEXT)เป็นครั้งแรก อ่าน “ตัวหนังสือที่ตาย”

• อ่านข้อความจากพระคัมภีร์ (text): สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มอ่านข้อความ จากพระคัมภีร์โดยอ่านออกเสียง ส่วนคนอื่นมีส่วนร่วมโดยการฟังหรืออ่าน ตามไปอย่างเงียบ ๆ • ความเงียบ: หลังจากอ่านแล้ว ให้ทุกคนเงียบราว ๓ นาที ระหว่างนั้น แต่ละ หฤทัยสัมพันธ์ 135


คนอาจย้อนไปอ่านข้อความนัน้ กันเงียบ ๆ อีกครั้ง แต่ละคนเลือกค�ำหรือวลี หรือข้อความที่ประทับใจ • การแบ่งปัน : หลังจากเงียบเป็นเวลาราว ๓ นาทีแล้ว ผู้น�ำกลุ่มเชิญ สมาชิกแต่ละคนแบ่งปันค�ำ วลี หรือข้อความที่ประทับใจนั้น โดยไม่ต้อง อธิบายใด ๆ เพียงแต่บอกค�ำ วลี หรือข้อความ รวมทั้งบอกข้อของค�ำ วลี หรือข้อความนัน้ เช่น “ฉันประทับใจค�ำว่า ‘แสงสว่าง’ ในข้อ ๕ (ใน ๑ ยน.๑ ข้อ ๕) แต่ละคนไม่ต้องอธิบายหรือให้เหตุผลว่าท�ำไมจึงประทับใจในค�ำ วลี หรือข้อความนัน้

ขั้นตอนที่สอง : “ตัวหนังสือที่ตาย” จากพระคัมภีร์ กลายเป็น “พระวาจาที่มีชีวิต” ส�ำหรบแต่ละคน (และบางที ผ่านทางแต่ละคน

“ตัวหนังสือที่ตาย” นั้นได้กลายเป็น “พระวาจาที่มีชีวิต” ส�ำหรับคนอื่น ๆ ด้วย) • อ่านข้อความจากพระคัมภีร์ตอนเดิม : หลังจากที่แต่ละคนแบ่งปันตาม ค�ำเชื้อเชิญของผู้น�ำกลุ่มแล้ว สมาชิกอีกคนหนึ่งอ่านข้อความตอนเดิมโดย อ่านออกเสียงอีกครั้ง คนอื่นมีส่วนร่วมอย่างเงียบ ๆ เช่นเดิม • ความเงียบ : จากนัน้ ทุกคนอยูใ่ นความเงียบอีกประมาณ ๕ นาที ซึง่ แต่ละคน พยายามฟังอย่างตัง้ ใจในสิง่ ทีพ่ ระเจ้าตรัสกับตนภายใน โดยทางข้อความจาก พระคัมภีร์ หรือทางการแบ่งปันของสมาชิกในกลุม่ บางสิง่ ทีม่ คี วามหมาย อาจอุบตั ขิ นึ้ กับสมาชิกของกลุม่ แต่ละคน ซึง่ เป็นสิง่ ทีต่ รงกับประสบการณ์ หรือประยุกต์เข้ากับชีวติ ของพวกเขาเอง ขณะทีฟ่ งั สมาชิกแต่ละคนถาม ตนเองว่า “พระเจ้าทรงประสงค์จะบอกอะไรกับเราเป็นส่วนตัว”

136 หฤทัยสัมพันธ์


• การแบ่งปันพระวาจาที่มีความหมายกับเราให้แก่ผู้อ่นื : หลังจาก ๕ นาทีแห่งความเงียบ ผู้น�ำกลุ่มเชิญให้สมาชิกแต่ละคนแบ่งปันสิ่งที่ตนได้ยิน ในส่วนลึกของจิตใจ และเพื่อให้การแบ่งปันเป็นแบบความคิดเห็นส่วนตัว และไม่ใช่การเทศน์ ผู้แบ่งปันพยายามใช้ค�ำสรรพนามบุรุษที่ ๑ (ฉัน แก่ ฉัน ของฉัน) เป็นการแบ่งปันแบบเรียบง่าย ไม่ใช่การอภิปรายหรือหรือการ เทศนา พระด�ำรัสของพระสันตะปาปาปอลที่ ๖ อาจน�ำมาอ้างตรงนี้คือ “จะมีวิธีการส่งผ่านข่าวดีอะไรที่ดีไปกว่าการส่งผ่านประสบการณ์ส่วนตัว ในด้านความเชื่อไปยังบุคคลอื่น” (EN)

ขั้นตอนที่สาม : พระวาจาเรียกร้องการตอบสนอง

• อ่านข้อความจากพระคัมภีร์ตอนเดิม : หลังจากที่ทุกคนแบ่งปันเสร็จ แล้ว สมาชิกอีกคนหนึ่งอ่านออกเสียงข้อความตอนเดิมเป็นครั้งที่สาม ขณะ ที่คนอื่น ๆ ฟัง หรืออ่านตามไปเงียบ ๆ • ความเงียบและการตอบสนองต่อพระวาจา : หลังจากอ่านแล้ว ทุกคน เงียบอีกครัง้ โดยในความเงียบนี้ แต่ละคนพยายามหาค�ำตอบต่อสิ่งที่ตน รับรู้ว่าเป็นพระวาจาพระเจ้าส�ำหรับตน การตอบสนองนี้ต้องสอดคล้อง กับพระวาจา เป็นต้นว่า การแสดงออกซึ่งความวางใจหากพระวาจานัน้ เป็นค�ำสัญญา; หรือการตอบสนองนัน้ อาจเป็นความเชื่อฟัง หากพระวาจา นั้นเป็นการเรียกร้องหรือค�ำสั่ง การภาวนาซึ่งเป็นการตอบสนองนี้อาจ เป็นการสรรเสริญ การขอโทษ การวอนขอ หรือการอ้อนวอน ขึ้นอยู่กับ ข่าวสารที่ได้รับจากพระวาจานั้น • การแบ่งปันการตอบสนองซึ่งเป็นการภาวนาส่วนตัว : แต่ละคนภาวนา ออกเสียงด้วยค�ำภาวนาที่ออกจากใจต่อพระวาจาที่ได้รับ สมาชิกคนอื่น อาจตอบสนองด้วยการขานรับ “อาแมน” ซึ่งอาจขานรับออกเสียง หรือ อย่างเงียบๆ ก็ได้

ปิดด้วยการภาวนาหรือการร้องเพลง

การภาวนาสรรเสริญหรือขอบคุณ การขับร้องบทเพลง หรือการสวดบทข้า แต่พระบิดา ล้วนเป็นการจบการแบ่งปันได้เป็นอย่างดี

2. รูปแบบ ข: การกระท�ำ – ตอบสนอง (Action - Response) ภาวนาเปิดหรือขับบทเพลง

หฤทัยสัมพันธ์ 137


ขั้นตอนแรก ปฏิบัติเหมือน แบบ ก: การภาวนา ตอบสนอง ขั้นตอนที่สอง ปฏิบัติเหมือน แบบ ก: การภาวนา ตอบสนอง ขั้นตอนที่สาม พระวาจา เรียกร้อง ค�ำตอบ • อ่านข้อความจาก พระคัมภีร์ เหมือนใน ภาวนา -ตอบสนอง • เงียบ และ แต่ละคน ตอบรับ พระวาจา (ประมาณ5 นาที) ในขัน้ นี้ แต่ละ คน ถามตัวเอง หรือ พระเจ้า “ ฉันจะน�ำพระวาจาที่ได้ยิน ได้รับในวันนี้ ไป ปฏิบัติจริง ได้อย่างไร “ • แบ่งปัน ภาคปฏิบัติที่ตอบสนองพระวาจานั้น สมาชิกแต่ละคนแบ่งปัน ว่า จะด�ำเนินชีวิตตามพระวาจา นั้นอย่างไร และสมาชิกที่มาจากกลุ่มต่างๆ ( บ้าน ต่างๆ เช่น สมาชิกของ ครอบครัว ของ กลุ่มบ้านนักบวช เพื่อนในชั้นเรียน หรือ เพื่อน ร่วมงาน ) จะแบ่งปัน ว่าจะมีข้อตั้งใจอย่างไร ที่จะด�ำเนินชีวิตตอบรับ จาก พระวาจา นี้

ภาวนาปิด เหมือน รูปแบบ ก: การภาวนา ตอบสนอง 3. รูปแบบ ค: การผสมผสานการภาวนาและการปฏิบัติ – ตอบสนอง (Combination of the Prayer and Action-Response)

การภาวนาแบบนี้ สามารถปฏิบัติร่วมกัน และ แน่นอน จะต้องใช้เวลามาก ขึ้นด้วย เพราะในการภาวนาแบบนี้ ประกอบด้วย 4 ขัน้ ตอน ทว่า ไม่ต้องอ่านข้อความ จาก พระคัมภีร์ ทั้ง 4 ครั้ง จากนั้น ตามด้วย ช่วงของการเงียบ วิธีการนี้ ในการแบ่ง ปัน ภาคปฏิบัติ – ตอบสนอง สามารถรวมกันได้ เช่นกัน

138 หฤทัยสัมพันธ์


III รายละเอียด การอธิบาย และ วิธีการของ แบบต่างๆ 1. ใน 3 ขั้นตอน ข้อความจากพระคัมภีร์ –พระวาจา- ตอบรับ

ข้อความจาก พระคัมภีร์ เป็นเป้าหมายของพระวาจาของพระเจ้า เป็นอิสระ จากบุคคล และ ประทานให้ “ฉัน” พระองค์ตรัสก่อน พระองค์เป็นผูร้ เิ ริม่ พระวาจาของพระเจ้าเป็น พระวาจา ประทานให้เป็นส่วนบุคคล มอบให้เฉพาะ แต่ละคน จาก บุคคลหนึง่ สูบ่ คุ ลคลหนึง่ เป็นพระวาจาทีเ่ ฉพาะเจาะจง ทีม่ คี วามหมาย ส�ำหรับ ผูน้ นั้ พระวาจา สัมผัส กระทบตัว “ฉัน” และกล่าวกับ ฉัน เป็นการส่วนตัว เมือ่ พระองค์ตรัสกับ “ฉัน” ตัวฉัน ต้อง ตอบรับ พระวาจา นัน้ เรียกร้อง การ ตอบรับของฉัน แต่การสนทนานัน้ สามารถกล่าวออกมาเป็นค�ำภาวนา และในชีวติ

2. การอ่าน พระวาจาด้วยข้อความ เดียวกัน สามครั้ง

ข้อดีและประโยชน์ของการอ่านพระวาจาที่เหมือนกันด้วยเสียงดังนั้น เพื่อ ให้ พระวาจานัน้ ก้องกังวานใน หู ของแต่ละคน และเราไม่ควรประเมินคุณค่าของ การอ่านพระวาจาให้ต�่ำลง และด้วยเหตุนี้เราจะไม่ลดการอ่านลง เหลือเพียง สองครั้ง หรือ ครัง้ เดียว เพียงเพื่อต้องการรักษาเวลา หฤทัยสัมพันธ์ 139


• ด้วยวิธนี ี้ จะท�ำให้ พระวาจา ประทับ อยู่ในใจของเรา นานขึ้น • สมาชิกที่ไม่สามารถอ่าน พระวาจา หรือ มีความยากล�ำบากในการ อ่าน (เช่น เด็กๆ, คนที่อ่านหนังสือไม่ได้, คนตาบอด หรืออื่นๆ คนทุพล ภาพ) จะสามารถ มีส่วนร่วม เข้าใจ พระวาจา ได้ • แม้ว่า ข้อความจาก พระคัมภีร์ จะเหมือนเดิม แต่ ความเข้าใจจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทีละน้อย ด้วยการอ่านแต่ละครัง้ พระวาจา ที่ได้ยนิ แล้วจะ ได้ยินอีกครั้งหนึ่ง • จากการอ่าน ข้อความจาก พระคัมภีร์ สามครั้ง จะท�ำให้ย้อนไปถึงช่วง เวลาและทบทวนพระวาจาอีกครั้ง ดังนัน้ ในระหว่าและหลังจากการ แบ่งปันแต่ละครัง้ สมาชิก จะได้ยิน พระวาจานัน้ ซ�ำ้ ๆ ท�ำให้ พระวาจา ติดแน่นในความคิด และความจ�ำแน่นขึ้น และแต่ละคน ตอบสนอง พระ วาจา นัน้ ด้วยชีวิตของตน • ที่สุด จากการอ่าน พระวาจาทัง้ สามครั้ง สมาชิก ตั้งใจที่จะตอบสนอง พระวาจา ด้วยความเชื่อ ที่มาจากการฟัง และได้รับการดลใจนัน้ ที่มี ผลต่อชีวิตตน มากกว่าเป็นเพียงกล่าวด้วยวาจาในการแบ่งปันเท่านัน้

3. การเงียบ สามครั้ง

ช่วงเวลาความเงียบเป็นเวลาที่ส�ำคัญมาก เป็นสะพานเชื่อมโยง จากการ อ่าน สู่การแบ่งปัน ช่วงเวลาแห่งความเงียบนั้น มิใช่เงียบโดยเปล่าประโยชน์ หรือรอ เวลาเพื่อการแบ่งปัน แต่เป็นช่วงเวลาแห่งการไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งของบุคคล นอก เสียจากว่า การแบ่งปันพระวาจา เริ่มต้นด้วยความเงียบ และแต่ละคนพบกับ พระ วาจา แต่จะเป็นสาเหตุท�ำให้วอกแวกและล่องลอยไปกับการคุยกันมากกว่า • เป็นความเงียบที่ เราสามารถ ฟังพระวาจา จาก ข้อความในพระคัมภีร์ ฟังว่า มีส่งิ ใด ปรากฏขึ้นในดวงใจของเรา และ ฟังว่าผู้อื่น แบ่งปันสิ่งใด กับกลุ่ม ด้วยเหตุน้จี ึงแนะน�ำให้ อยู่ในความเงียบหลังจากจบการแบ่ง ปันของแต่ละคน เพื่อให้ พระวาจาที่สมาชิกแบ่งปัน นั้น ก้องกังวาน และ จุ่มจมลง ในดวงใจของแต่ละคน • เวลาแห่งความเงียบนั้น ไม่ก�ำหนดตามนาฬิกา แต่ให้ดูตามความเหมาะ สม ในกลุ่มที่คุ้นเคยกับวิธีการนี้ เวลาแห่งความเงียบมักจะใช้ยาวนาน กว่า มากกว่า ใช้ สัน้ กว่า • มีอะไรเกิดขึ้นระหว่างความเงียบในขัน้ ที่สอง (ให้พระเจ้าตรัสกับเรา 140 หฤทัยสัมพันธ์


เป็นส่วนตัว และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา เราจะอธิบายภายหลัง ) • เมื่อแต่ละคน ตั้งใจฟัง ว่าเกิด อะไรขึ้นในแต่ละคน ให้แต่ละคน สังเกต ว่า มีสัญญาณอะไร เกิดขึ้นภายใน การได้รับการดลใจ จากการอ่าน ข้อความจากพระคัมภีร์ สองครั้ง และโดยการแบ่งปันครัง้ แรกจากกลุ่ม ข้อความบางตนจะมีความหมาย และความส�ำคัญขึ้นมา บางครัง้ เกี่ยว โยงยัง ประสบการณ์ของ บุคคล หรือ สถานการณ์ในชีวิตจริงที่ชัดเจน ในปัจจุบันหรืออนาคต เมื่อเสียงภายใน (จิตส�ำนึกของบุคคล ) ตอบรับ “ yes” กับสิ่งที่เกิดขึ้น (เคลื่อนไหว) ในจิตใจ สิ่งใดๆที่เกิดขึ้นส�ำนึก รู้ในจิตใจเป็นสัญญาณของบ่งบอกจาก พระวาจา นั้น เมื่อบุคคลนั้น จะรับว่า นั้นเป็น พระวาจา ที่ พระเจ้าตรัสกับตนเป็นส่วนตัว (อาจไม่ จ�ำเป็นส�ำหรับคนอื่นๆ) • ส�ำหรับความเงียบในขัน้ ที่สาม – เป็นการสนทนากับพระเจ้าเป็นการ ส่วนตัว แต่ละคน พยายามที่จะแสวงหาความสัมพันธ์ท่แี ท้จริง ระหว่าง พระวาจา และการตอบรับ ตัวอย่างเช่น การเชื้อเชิญ, การเรียก หรือ ค�ำสั่ง สามารถตอบรับด้วยการนอบน้อมเชื่อฟัง หรือ การใช้โทษบาป แต่ละคน อาจไม่ได้ตอบรับ พระวาจา เหล่านี้ หรือ การวิงวอนขอความ ช่วยเหลือ ในการติดตามการเชื้อเชิญที่ประทานให้

4. การแบ่งปันสามครั้ง

นี่เป็นจุดประสงค์ ของการอ่านและความเงียบ โดยผ่านการแบ่งปัน แต่ละคน ฟัง และตอบรับ ต่อ พระวาจา ซึ่งไม่เป็นแต่เพียงส่วนบุคคล แต่เป็น การตอบรับ และ น�ำสู่การปฏิบัติของกลุ่มด้วย ขั้นแรก การแบ่งปันนี้ มีการเตรียมการ ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับ การเตรียมดิน (ไถ คราด ) ก่อนการหว่านหรือปลูกพืช มีจุดมุ่งหมายในการตัง้ ใจอย่าง มาก มีความคาดหวัง การกระหายใคร่รู้ ต่อพระวาจานัน้ • ด้วยความหลากหลายของ เนื้อหาพระวาจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก บทอ่านในพิธีกรรม เราคุ้นเคยกับ พระวาจา เป็นอย่างยิ่ง เราเชื่อว่าเรา รู้จัก พระวาจานัน้ อย่างดีแล้ว จึงไม่สนใจที่จะหาความเข้าใจใหม่ๆจาก พระวาจาอีก • เมื่อสมาชิก กล่าวว่า “พระวาจา นี้/ นั้น ประทับใจฉัน” (แม้ว่าไม่ได้ ให้เหตุผลในความจริง)บางครั้งสมาชิก อาจถามตนเอง “พระวาจานี้ หฤทัยสัมพันธ์ 141


กระทบฉันใจอย่างไร” ถ้าสิ่งนี้ หรือ สิ่งที่คล้ายคลึงนี้สนับสนุนชีวิตของ ฉัน ดังนัน้ พระวาจา จะก่อให้เกิด หนทางใหม่ในการพบกับพระเจ้า อย่างยิ่งใหญ่ด้วย ขั้นที่สอง พระวาจาของพระเจ้า มั่งคั่งและลึกล�้ำ ไม่มีผู้ใดที่จะสามารถรู้พระ วาจาทั้งหมดหรือ สามารถหยั่งถึงได้ ทุกคน แบ่งปันในส่วนของตน พร้อมกันนัน้ เรา เป็นผู้ฟังและร่วมสนับสนุนส่งเสริมจากความเข้าใจของแต่และคน ประสบการณ์บอกเราว่า คนส่วนมาก ชอบฟังประสบการณ์จริง ที่เกิดขึ้นกับบุคคล โดยตรง มากกว่า การเทศน์สอน ที่เป็นนามธรรมมากเรื่องทั่วไป การแบ่งปัน ที่เป็น ประสบการณ์จริงของแต่ละบุคคล หรือประสบการณ์ภายใน การ แบ่งปันนี้เรียกร้อง ความเชื่อและไว้วางใจของกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง โดย ผ่านการแบ่งปันแบบนี้ ท�ำให้เกิดความไว้วางใจมากขึ้นและมีความลึกซึ้ง หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า การแบ่งปันตัวตน และการแบ่งปันของสมาชิกในกลุ่มเสริมสร้างให้ กลุ่มเข้มแข็ง และสนิทกันมากขึ้น จากพระสมณสารของพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 EVANGELII NUNTIANDI (การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน) ตรัสว่า จะมีหนทาง ใดที่มีประสิทธิภาพ ในการประกาศข่าวดี มากกว่า การแบ่งปันความเชื่อส่วนตัวไป มากกว่านี้อกี ไหม ? (EN 46 )

ขั้นที่สาม

แต่ละคน ถวายค�ำภาวนาแด่พระเจ้า อย่างไรก็ตาม เป็นการดี ที่จะ ภาวนาส่วนตัวด้วยเสียงดัง เพื่อให้ผู้ท่ไี ด้ยิน ได้ยืนยัน ด้วยค�ำว่า ” อาแมน” ไม่ว่า จะตอบรับ ด้วยเสียงดัง หรือ ตอบรับในใจ (1คร. 14,16; / 2 คร 1,20 ) ตามที่พระ อาจารย์ทรงสัญญา การภาวนาธรรมดา ที่เปล่งเสียงออกมาให้ได้ยนิ (มธ.18;19) จะ ได้รับการตอบรับ เช่นเดียวกับการแบ่งปัน ของแต่ละคน หมายเหตุ: เอกสารนี้ได้รับการแบ่งปันในระหว่างการสัมมนา-เข้าเงียบประจ�ำเดือน ของคณะพระหฤทัยฯ ระหว่างวันที่ 26-29 กันยายน ค.ศ. 2013 โดยคุณพ่อ Ludger Feldkamper, SVD ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนารูปแบบการแบ่งปันพระวาจาแบบ Vigan ร่วมกับ Sr. Henrietta Sebastian, OSB, Ms. Felicidad Gines, Ms. Lettie Taberdo ณ ศูนย์พระคัมภีร์ John Paul ที่1 (John Paul I Biblical Center JPBIC) ที่ เมือง วีกัน

142 หฤทัยสัมพันธ์


ประเทศ ฟิลปิ ปินส์ และแปลเป็นภาษาไทยโดยซิสเตอร์ดรุณี ศรีประมงค์ สมาชิกคณะ พระหฤทัยฯ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.c-b-f.org (Catholic Biblical Federation--> Biblical-Pastoral Ministry--> Methods & Approaches--> Vigan Bible Sharing Method)

หฤทัยสัมพันธ์ 143


144 หฤทัยสัมพันธ์


หฤทัยสัมพันธ์ 145


146 หฤทัยสัมพันธ์


ซิสเตอร์เทเรซา อ่อนจันทร์ ชินณะโคตร์ เกิดเมื่อ สัตบุรุษวัด เข้าอาราม เข้านวกภาพ ปฎิญาณตนครัง้ แรก ปฏิญาณตนตลอดชีวิต ฉลองครบ 25 ปี ฉลองครบ 50 ปี ถึงแก่กรรม

วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 นักบุญเทเรซา โนนแก้ว นครราชสีมา วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1956 วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1958 วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1960 วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1966 วันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1985 วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2010 วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2013

ซิสเตอร์เทเรซา อ่อนจันทร์ ชิน ณะโคตร์ ได้เข้าอารามเมือ่ มีอายุ 19 ปี เป็น ล�าดับที่ 264 ของสมาชิกทีส่ มัครเข้าในคณะ ตลอดระยะเวลาแห่งชีวติ นักบวช ซิสเตอร์ อ่อนจันทร์ได้อุทิศตนทั้งครบเพื่อรับใช้พระ เป็นเจ้าและรับใช้พระศาสนจักรท้องถิ่นใน งานด้านต่างๆ ของคณะ ท่านได้ใช้ชวี ติ ส่วน ใหญ่ในการรับใช้พระเจ้าด้วยการร่วมมือกัน พระสงฆ์ในงานอภิบาลตามวัด ทัง้ วัดเล็ก วัด ใหญ่ ซึง่ ได้แก่ โรงเรียนพระหฤทัยสวรรคโลก โรงเรียนอรุโณทัย ล�าปาง ส�านักศูนย์กลาง วัดคอนเซ็ปชัญ วัดเซนต์นโิ กลาส พิษณุโลก วัดแม่พระลูกประค�า กาลหว่าร์ อาสนวิหา รอัสสัมชัญ วัดธรรมาสน์นกั บุญเปโตร บาง เชือกหนัง วัดนักบุญเปโตร สามพราน วัด นักบุญลูกา บางขาม วัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์ วัดนักบุญเทเรซา หน้าโคก วัด นักบุญยอแซฟ หนองรี โรงเรียนพระหฤทัย ดอนเมือง( มารีสวรรค์) บ้านสวนพระหฤทัย ด�าเนินสะดวก 1 สามเณราลัย แสงธรรม และบ้านพระแม่ผปู้ ฏิสนธินริ มล ท่านสอน หฤทัยสัมพันธ์ 147


เรียน-สอนค�ำสอน ดูแลร้านค้า ท�ำอาหารส�ำหรับพระสงฆ์ ท�ำเทียน จัดดอกไม้ เลีย้ งหมู เลีย้ งเป็ด เลีย้ งไก่ ดูแลอาภรณ์ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ จัดดอกไม้และท�ำความสะอาดวัด บางวัดท่าน ก็บกุ เบิกงานเลีย้ งเด็กเล็กขึน้ ฯลฯ อันเป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึง “การพลีตนทัง้ ครบเพือ่ พระอาณาจักรของพระเจ้า”

ท่านอุทิศตนในการท�ำงานทุกอย่างแม้จะดูเหมือนว่าเป็นงานที่ต�่ำต้อยใน สายตาของมนุษย์ แต่ทา่ นท�ำด้วยใจรัก ขยัน อดทน เสียสละและไม่เห็นแก่เหน็ดเหนือ่ ย อันเป็นแบบอย่างทีด่ กี บั รุน่ น้องทีไ่ ด้รว่ มงานด้วย ท่านเรียนรูจ้ ากการลงมือปฏิบตั จิ ริง จนท�ำให้ทา่ นมีความเชีย่ วชาญในงานทุกอย่าง และพร้อมเสมอทีจ่ ะรับใช้ผอู้ นื่ ด้วยใจ ยินดี ท่านได้อบรมสัง่ สอนบรรดาเด็กๆด้วยความรักและด้วยความเอาใจใส่ จึงท�ำให้ เด็กๆหลายคนตัดสินใจเข้าอารามและบ้านเณร ท่านจึงเป็นผูเ้ พาะบ่มเมล็ดพันธ์แห่งชีวติ นักบวชให้กบั บรรดาเด็กๆตามวัดทีท่ า่ นไปอยู่ ท่านทีม่ คี วามสามารถในการเย็บปักถักร้อยเป็นอย่างดี จากการทีท่ า่ นมีใจรัก

และได้มโี อกาสเรียนรูง้ านฝีมอื จากรุน่ พีต่ งั้ แต่เมือ่ ท่านเข้าอาราม จึงท�ำให้ทา่ นมีความ เชีย่ วชาญในงานด้านนีม้ าก และท่านได้ใช้ความสามารถในด้านการเย็บนีบ้ ริการรับใช้ ทุกๆคน ไม่วา่ จะเป็นพระสงฆ์ สามเณร รวมไปถึงการท�ำอาภรณ์ศกั ดิส์ ทิ ธิต์ า่ งๆด้วยมือ 148 หฤทัยสัมพันธ์


ของท่านเองและหลายครัง้ ท่านจัดท�ำเป็นของ ขวัญ เพือ่ มอบให้กบั บรรดาสามเณรทีไ่ ด้บวช เป็นพระสงฆ์และแก่สมาชิกอีกด้วย ท่านเป็นคนใจดี มีเมตตา มีความ สุภาพและอ่อนโยน ท่านเป็นคนพูดจาไพเราะ รืน่ หู ไม่พดู จาหักหามน�ำ้ ใจคน และมักพูดจา ให้กำ� ลังใจผูค้ น จึงจัดว่าท่านเป็นผูห้ นึง่ ทีม่ ี วาทศิลป์ในการพูด ท่านยังได้เป็นผูท้ รี่ กั สนใจ และเอาใจใส่ต่อทุกๆคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ ชีวติ ไม่วา่ จะเป็นเด็ก สมาชิกทีอ่ ยูร่ ว่ มด้วย และบรรดาพนักงานในความดูแลของท่าน ท่านจะสังเกตความต้องการของแต่ละบุคคล และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ และท่านยังเป็นที่พึ่งทางใจให้กับผู้ที่ประสบ ปัญหาหรือประสบความยากล�ำบากในการด�ำเนินชีวติ อีกด้วย ท่านยังเป็นแบบอย่างทีด่ ใี นด้านความเชือ่ และความศรัทธา ไม่วา่ จะในเวลาที่ ท่านปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามทีไ่ ด้รบั มอบหมายหรือในยามทีท่ ่านเจ็บป่วยและต้องพักรักษาตัว อยูท่ บี่ า้ นพระแม่ฯ ท่านยังคงซือ่ สัตย์ตอ่ การสวดภาวนาและการปฏิบตั กิ จิ ศรัทธาต่างๆ ประจ�ำวัน ท่านตรงต่อเวลา ซือ่ สัตย์และมาสวดภาวนาอย่างสม�ำ่ เสมอ ซึง่ ผลแห่งการ ภาวนานีเ้ องท�ำให้ทา่ นสามารถยอมรับน�ำ้ พระทัยของพระเจ้าทีผ่ า่ นมายังชีวติ ของท่านใน ทุกกรณี ซิสเตอร์อ่อนจันทร์เป็นสมาชิกของคณะที่โดดเด่นในการปฏิบัติตามจิตตา รมณ์ของพระหฤทัยฯเป็นต้นในด้าน ความสุภาพ ใจอ่อนน้อมและน้อมรับทุกสิง่ เป็นพลี บูชา จากใบบันทึกประวัตขิ องท่าน ท่านได้เขียนประโยคประโยคหนึง่ ไว้ทดี่ า้ นข้างของ กระดาษว่า“วันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ตรวจโรค พระส่งมาให้ พบว่าเป็นมะเร็ง ทีม่ ดลูก ขอบคุณพระองค์” ซึง่ บ่งบอก ชัดเจนว่า ซิสเตอร์ออ่ นจันทร์ได้นอ้ มรับ ความเจ็บป่วยทีเ่ กิดขึน้ ได้ดว้ ยใจสงบ โดย ถือว่าเป็นน�ำ้ พระทัยของพระองค์ และท่าน หฤทัยสัมพันธ์ 149


ได้ใช้วธิ รี กั ษาแบบธรรมชาติ โดยไม่ไปแสวงหาการรักษาทางเคมีบำ� บัดแต่อย่างใด แต่ที่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ท่านได้หนั ชีวติ ของตนเข้าสูช่ วี ติ แห่งการภาวนา ซึง่ ไม่ใช่เพือ่ ตนเองเท่านัน้ แต่ ได้ถวายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันแด่พระเจ้าเพื่อร่วมส่วนกับพระมหาทรมาน ของพระองค์ เพือ่ คณะ เพือ่ สมาชิกและเพือ่ ช่วยวิญญาณให้รอด ในช่วงเวลา 3 ปีทซี่ สิ เตอร์พกั รักษาตัวทีบ่ า้ นพระแม่ฯ ซิสเตอร์ตอ้ งทนต่อ ความเจ็บปวดอย่างมากจากโรงมะเร็งทีร่ กุ ลามมากขึน้ ท�ำให้ระยะหลังซิสเตอร์ตอ้ งเข้า ออกโรงพยาบาลบ่อยครัง้ แต่ทกุ ครัง้ ทีบ่ รรดาสมาชิกไปเยีย่ มเยีย่ นท่าน จะพบแต่รอย ยิม้ และค�ำพูดทีเ่ ตือนใจและให้กำ� ลังใจแก่พวกเราเสมอ และเมือ่ เจ็บปวดทวีขนึ้ ท่านถึง กับร้องออกมาเป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้าไปพร้อมกับความเจ็บปวดนัน้ ทีส่ ดุ ในวัน พฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2013 พระเป็นเจ้าทรงเห็นว่าซิสเตอร์ออ่ นจันทร์เหมาะสม และพร้อมทีจ่ ะไปอยูก่ บั พระองค์ จึงมารับดวงวิญญาณของท่านไปร่วมส่วนกับพระองค์ ในสวรรค์ ในเวลา 23.35 น. ณ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ รวมอายุของซิสเตอร์ 76 ปี 3 เดือน และอายุแห่งการปฏิญาณถวายตัว 53 ปี

150 หฤทัยสัมพันธ์




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.