หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน มิถุนายน 2555

Page 1

ป  ท ี ่ ๗ ๒ฉ บ ั บ ท ี ่ ๖เ ด ื อ นม ิ ถ ุ น า ย น๒ ๕ ๕ ๕

ป  ท ี ่ ๗ ๒ฉ บ ั บ ท ี ่ ๖เ ด ื อ นม ิ ถ ุ น า ย น๒ ๕ ๕ ๕


พระราชดำ�รัส

“...ทุกวันนีป้ ระเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทัง้ ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากร บุคคล ซึง่ สามารถนำ�มาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอันถาวรของบ้าน เมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำ�คัญจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด โดยมุ่งถึงประโยชน์ แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ...”

พระราชดำ�รัสในการเสด็จออกมหาสมาคม พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙


วันวิสาขบูชา

๔ มิถุนายน ๒๕๕๕

วันสำ�คัญสากลบนพื้นหล้า วันประสูติตรัสรู้สู่นิพพาน วิสาขะประสิทธิ์ลิขิตชาติ ทั้งอามิสสารพัดจัดพิธี ทั้งที่วัดที่บ้านการประสิทธิ์ ทหารอากาศเชิดชูสุดบูชา คนมีชาติศาสนาพร้อมผาสุก ให้รู้ผิดรู้ชอบประกอบดี ดำ�เนินทางสัมมาพาวิถ ี อธิษฐานจิตตนจนถูกทาง มีความรับผิดชอบประกอบกิจ หมั่นใส่บาตรทำ�บุญเป็นทุนตน วิสาขบูชามาเตือนจิต ทางสายกลางปฏิบัติจรัสจินต์ วิสาขบารมีปีละหน ที่ผิดพ้องหมองใจให้คืนดี ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสศรี ช่วยพ้นทุกข์พ้นโศกพ้นโรคภัย

วันบูชาพุทธคุณบุญไพศาล วันเบิกบานวิสาขบารมี มิเคลื่อนคลาดมาครบจบวิถี อีกมากมีปฏิบัติจัดบูชา ผลสัมฤทธิ์ทั่วกันสุดหรรษา พระศาสนาส่งผลดลชีวี ช่วยปลอบปลุกชาวประชาเพิ่มราศี ผิดวิธีไม่ชิดทุกทิศทาง กายวจีแจ่มแจ้งแสงสว่าง คิดปล่อยวางละลดสู้อดทน ผลสัมฤทธิ์เกิดได้ใจกุศล เร่งสวดมนต์ภาวนาเป็นอาจิณ ควรพินิจคบธรรมน้อมนำ�ศีล ทิ้งห่างสิ้นอบายมุขไม่คลุกคลี ประชาชนมีสุขไปทุกที่ ทั้งเมตตาไมตรีมีทั่วไป เทพทั่วฟ้าธาตรีศรีสมัย ประชาไทยเป็นสุขทุกเมื่อเทอญ

พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ (น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์)


เป็นทีป่ ระจักษ์กนั โดยทัว่ กันแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีสายพระเนตรและพระอัจฉริยภาพ ในด้านการพัฒนาต่างๆ ปรากฏแก่สายตาประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ภาพพระราชกรณียกิจที่ พระองค์ทรงปฏิบัติ นับตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติในปี ๒๔๘๙ แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและ พระมหากรุณาธิคุณ ในการบำ�บัดทุกข์ บำ�รุงสุข ให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงทุม่ เทพระวรกายตรากตรำ�และมุง่ มัน่ เพือ่ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ให้แก่พสกนิกรไม่วา่ จะเชือ้ ชาติใด ศาสนาใด หรืออยูห่ า่ งไกลสักเพียงใด ก็มทิ รงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทัง้ ด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐาน การเกษตร การฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม ทั้งดิน น้ำ� ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่ง การจราจร ทรงคิดค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบยล การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงยึดการดำ�เนินงานในลักษณะทางสายกลางทีส่ อดคล้อง กับสิง่ ทีอ่ ยูร่ อบตัว และสามารถปฏิบตั ไิ ด้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบและทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนา เพือ่ มุ่งสู่ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด มีคุณค่าและควรยึดเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท นำ�มา ปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติตลอดไป หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สามารถรวบรวมได้มีดังต่อไปนี้ ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การทีจ่ ะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึง่ จะทรง ศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทัง้ จากข้อมูลเบือ้ งต้น จากเอกสาร แผนทีส่ อบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการและราษฎร ในพืน้ ทีใ่ ห้ได้รายละเอียด ทีถ่ กู ต้อง เพือ ทีจ่ ะพระราชทานความ ช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและ รวดเร็วตรงตามความต้องการของ ประชาชน


ทำ�ตามลำ�ดับขั้น ในการทรงงานพระองค์จะทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำ�เป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำ�ประโยชน์ดา้ นอืน่ ๆ ต่อไปได้ จากนัน้ จะเป็นเรือ่ งสาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐาน และสิ่งจำ�เป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ� เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อ ประชาชนโดยไม่ท�ำ ลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรูท้ างวิชาการและเทคโนโลยีทเี่ รียบง่าย เน้นการ ปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำ�ไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุดดังพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ความตอนหนึ่งว่า “...การพัฒนาประเทศจำ�เป็นต้องทำ�ตามลำ�ดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกิน พอใช้ ของ ประชาชน ส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐาน ที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้น โดย ลำ�ดับต่อไป หากมุง่ แต่จะทุม่ เทสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบตั กิ าร สัมพันธ์กบั สภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรือ่ งต่างๆ ขึน้ ซึง่ อาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศกำ�ลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่าง รุนแรงในเวลานี้ การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชน ในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกิน พอใช้ก่อนอื่น เป็น พืน้ ฐานนัน้ เป็นสิง่ สำ�คัญอย่างยิง่ ยวด เพราะผูท้ มี่ อี าชีพและฐานะเพียงพอทีจ่ ะพึง่ ตนเอง ย่อมสามารถ สร้างความ เจริญก้าวหน้าระดับทีส่ งู ได้ตอ่ ไปโดยแน่นอน ส่วนการถือหลักทีจ่ ะส่งเสริมความเจริญให้คอ่ ยเป็นค่อยไป ตามลำ�ดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนัน้ ก็เพือ่ ป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพือ่ ให้ บรรลุผลสำ �เร็จ ได้แน่นอนบริบูรณ์...” ภูมิสังคม การพัฒนาใดๆ ต้องคำ�นึงถึงสภาพภูมิประเทศของ บริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะ นิสยั ใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิน่ ที่มีความแตกต่างกัน ดังพระราชดำ�รัสความตอนหนึ่งว่า “...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศ ทาง ภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ใน สังคมวิทยา คือ นิสยั ใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนอืน่ คิดอย่างอืน่ ไม่ได้เราต้อง แนะนำ� เราเข้าไปช่วยโดยที่จะคิด ให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเรา เข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขา ต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้ เขาเข้าใจหลักการของ การพัฒนานีก้ จ็ ะเกิดประโยชน์อย่างยิง่ ...”


ข่าวทหารอากาศ คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ

กองทัพอากาศ

ที่ปรึกษา

พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร พล.อ.ต.หญิง มาลี ดิษฐบรรจง

พล.อ.ท.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.ต.เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว พล.อ.ต.เชิดพงศ์ เอี่ยมสมุทร น.อ.วสันต์ อยู่ประเสริฐ น.อ.ประสิทธิ์ ยิ้มเจริญ

พล.อ.ต.ยงยุทธ หาบุบผา พล.อ.ต.สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ น.อ.เดชอุดม คงศรี น.อ.หญิง สุคนธ์ทิพย์ วัฒนามระ

ผู้อำ�นวยการ

พล.อ.ท.ชนัท รัตนอุบล เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

รองผู้อำ�นวยการ

พล.อ.ต.ฌเณศ ชลิตภิรัติ เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ น.อ.ทวี กระออมแก้ว รองเสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ

น.อ.สหัสชัย มาระเนตร น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี

บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ พล.อ.ท.ชนัท รัตนอุบล น.อ.หญิง พัชรา ภัทรสุวรรณ น.อ.หญิง นภิศพร สังข์ทอง

ประจำ�กองบรรณาธิการ น.ท.หญิง กาญจณา แตงฉ่ำ� น.ท.นิพนธ์ ก่อสินค้า น.ท.หญิง วรรณิภา ยี่ประชา น.ท.หญิง อนงค์นาถ บุญจฑิตย์ น.ต.สินธพ ประดับญาติ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา

หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพ อากาศ เริ่มดำ�เนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึ้นกับกรมข่าวทหารอากาศ มีนาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ดำ�เนินการ โดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการ มาอยู่ในความอำ�นวยการของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามคำ�สั่ง ทอ. (เฉพาะ)ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กำ�กับดูแลโดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพ อากาศ ตามระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒

ภารกิจ

ดำ�เนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของ คณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ มีผอู้ �ำ นวยการ หนังสือข่าวทหารอากาศ(จก.ยศ.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วๆ ไป ๒. เพือ่ แลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อันจะ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการกองทัพอากาศ

การดำ�เนินงาน

๑.เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น ที่เป็น ประโยชน์ในการพัฒนากองทัพและส่วนรวม ๒. เรื่องที่นำ�ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์/นโยบาย กองทัพอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องของสำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ

กองจัดการ กำ�หนดการเผยแพร่ น.ท.พินิจ นุชน้อมบุญ น.ท.สมพร สิงห์โห นิตยสารรายเดือน ร.อ.หญิง สุมาลี สายะนันท์ พ.อ.อ.ประจวบ วีระชนม์ จ.อ.หญิง เศาวณี พ่านเผือก นาง พรทิพย์ ศรีวรพงษ์ สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ พิมพ์ที่ บริษัท ปรีชาธร อินเตอร์พริ้น จำ�กัด กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ๔/๕ ซอย รามอินทรา ๔๒ แยก ๘ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. ๑๐๒๓๐ โทร. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑, ๐-๒๕๓๔-๔๒๔๑ Fax. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑ โทร. ๐๒-๙๓๐-๗๐๕๓-๔ แฟกซ์ ๐๒-๙๓๐๗๐๕๐ ค่าสมาชิกภายนอกปีละ ๓๕๐ บาท (รวมค่าส่ง) สั่งจ่าย ปณ.คลองถนน ๑๐๒๒๐ ความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ออกแบบปก : น.ต.สินธพ ประดับญาติ

http://www.rtaf.mi.th หรือ E-mail : rtafmag@gmail.com


ปีที่ ๗๒ ฉบับที่ ๖ เดือน มิถุนายน ๒๕๕๕

สารบัญ

๘ ๑๐ ๑๓ ๑๙ ๒๓ ๒๕ ๓๑ ๓๗ ๔๑ ๔๔ ๔๙

บทบรรณาธิการ บทบาทกองทัพอากาศกับพลังงานทดแทน ...น.อ.ศิริพล ศิริทรัพย์ กิจการอวกาศของกองทัพอากาศ เพื่อความมั่นคง ...ปชส.ศวอ.ทอ. ย้อนรอยบุพการี ๑๐๐ ปี การบินไทย ...Jetta Berlin 2010 สิบโท โทน บินดี ...พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร AERO Update ...วิศวกร ชอ. อากาศยานไร้นักบินทางยุทธศาสตร์ ...เฟื่องลดา แนวโน้ม ICT ครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ ...น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ เครื่องบินขับไล่ เอฟ-5 เอ็ม ...พ.อ.อ.จำ�นงค์ ศรีโพธิ์ ๓๔ ปี สำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ ...ปชส.สปช.ทอ. ภาพเก่าเล่าเรื่อง ...ฒ.ผู้เฒ่า สำ�นักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ ...ปชส.สธน.ทอ.

๕๑ วิกฤตการณ์น้ำ�...โอกาส...และแผนการรบ ...น.ท.พงษ์ชาติ พันธุ์ศรี ๕๖ ปริศนาอักษรไขว้ ...มีน ๕๘ ครูภาษาพาที : 7 Innocent Gestures That Can Get You Killed Overseas ...Runy ๖๓ เวลา...การ์ตูน ...มิสกรีน ๖๕ การลุกขึ้นสู้ ...สายรุ้ง ๖๘ เข็มขัดสั้นของนักรบนิรนาม ...อ.แม้น ๗๒ ศึกเกาหลี ๖๐ ปี ยังไม่มีสันติ ...น.อ.จิโรตม์ มณีรัตน์ ๗๕ ภาษาไทยด้วยใจรัก : วาน วาร วาล วาฬ ...นวีร์ ๗๗ ปัญหาภัยพิบัติจากดินถล่ม ...พล.อ.ต.ปรีชา ประดับมุข ๘๒ มุมกฎหมาย : เหตุฟ้องหย่าเพราะภรรยาฟ้องนาย ...ร.ต. ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ ๘๔ มุมสุขภาพ : คันหู ...นายห่วงใย ๘๕ ขอบฟ้าคุณธรรม ...1261 ๘๙ ในรั้วสีเทา


สวัสดีครับ สมาชิกข่าวทหารอากาศทุกท่าน “สหายเอ๋ย ‘ตัวเรา’ มิได้มี พอหายเผลอ ‘ตัวเรา’ ก็หายไป สหายเอ๋ย! จงถอนซึ่ง ‘ตัวเรา’ ให้มีแต่ ปัญญา และ ปรานี

แต่พอเผลอ ‘ตัวเรา’ มีขึ้นมาได้ หมด ‘ตัวเรา’ เสียได้เป็นเรื่องดี และถอนทั้ง ‘ตัวเขา’ อย่างเต็มที่ อย่าให้มี ‘เรา - เขา’ เบาเหลือเอย”

ท่านพุทธทาส อินทปัญโญภิกขุ

วันที่ ๔ มิถุนายน เป็น “วันวิสาขบูชา” เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ�) เดือน ๖ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรง ตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ (ความเจริญอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) องค์การสหประชาชาติ กำ�หนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำ�คัญของโลก (เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒) เพื่อน้อมรำ�ลึกถึงองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงพระกรุณาแก่มวลมนุษยชาติ ในโอกาสวันสำ�คัญนี้ ชาวฟ้าผู้เป็นพุทธศาสนิกชน ได้คำ�นึงถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และร่วมกันบำ�เพ็ญกุศล ทำ�บุญตักบาตร เป็นการช่วยขจัด ปัดเป่า ลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน วันที่ ๕ มิถุนายน “วันสิ่งแวดล้อมโลก” สภาพภูมิอากาศกำ�ลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างน่าวิตก เรื่องของภัยธรรมชาติ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง สืบเนื่องมาจากสาเหตุโลกร้อน (Global Warming) เมื่อ เม.ย.๕๕ ได้เกิดแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย โดยแผ่นดินไหวดังกล่าว สั่นสะเทือนรับรู้ไปถึงประชาชนแถบจังหวัด ภาคใต้ รวมถึงตึกสูงในกรุงเทพมหานคร นอกจากนีย้ งั เกิดพายุฤดูรอ้ นขึน้ ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ทำ�ให้ ประชาชนเกิดความตระหนกทั่วกัน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากพวกเรา ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าจะไม่พบกับเหตุการณ์ร้ายๆ ดังที่ผ่านมาอย่างแน่นอน วันที่ ๕ มิถุนายน เป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก ผมจึงขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมมือกันลดภาวะโลกร้อน และร่วมกัน “รักษ์โลก” ภาพจากปกฉบับนี.้ ..เรือ่ ง อากาศยานไร้นกั บินทางยุทธศาสตร์ (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs) ท่านจะได้ทราบความอัจฉริยะของอากาศยานฯ อย่างน่าทึ่ง...เรื่อง เบื้องหลังการศึกษาข้อมูลย้อนรอยบุพการี ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของไทย ท่านจะได้ทราบกระบวนการในการศึกษาข้อมูล ย้อนรอยบุพการี อย่างน่าประทับใจ อีกหลายเรื่องในฉบับล้วนน่าสนใจ เชิญพลิกอ่านตามอัธยาศัย บรรณาธิการ 


๘ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

บทบาทกองทัพอากาศ กับพลังงานทดแทน ระหว่างปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

น.อ.ศิริพล ศิริทรัพย์ กองทัพอากาศได้กำ�หนดทิศทางการดำ�เนินการพลังงานทดแทน ตามแนวทางโครงการพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั นโยบาย รัฐบาล นโยบายกระทรวงกลาโหม ซึง่ ได้ก�ำ หนดกรอบทิศทางการดำ�เนินการ ดังกล่าวในยุทธศาสตร์ กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๑ ถึง ๒๕๖๒ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๒) โดยมีวิสัยทัศน์ เป็นกองทัพอากาศชั้นนำ�ในภูมิภาค ในหัวข้อ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ เสริมสร้างสมรรถนะและความพร้อมในการป้องกันประเทศ กลยุทธที่ ๒.๔ พัฒนาขีดความสามารถการส่งกำ�ลังบำ�รุง โดยระบุแผนงาน โครงการในแผนแม่บทด้านการส่งกำ�ลังบำ�รุง พ.ศ.๒๕๕๓ – ๒๕๕๖ ซึ่งเป็น แผนการพัฒนาด้านส่งกำ�ลังบำ�รุงตามยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ และเพือ่ ให้ เกิดเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น จึงได้กำ�หนดในนโยบาย ผบ.ทอ.พ.ศ.๒๕๕๒ จนถึง ปัจจุบัน ด้านส่งกำ�ลังบำ�รุง ตามข้อ ๔.๖ ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานสำ�รองทั้งในยามปกติและ ในยามขาดแคลนพลังงาน รวมทั้งมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงานทุกรูปแบบ จะเห็นได้ว่ากองทัพอากาศได้กำ�หนดให้มีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเป็นไปตามแนวทางโครงการพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมี สายพระเนตรที่ยาวไกล และได้พัฒนาพลังงานทดแทนต่างๆ อย่างต่อเนื่องนานยาวกว่า ๒๐ ปี ในปี ๒๕๕๑ กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ศึกษาข้อมูลการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสำ�รอง ตามคำ�สั่ง กองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ ๔๒๔ ลง ๒๐ มิ.ย.๕๑ โดยมี พล.อ.ท.อนาวิล ภิรมย์รัตน์ ผช.เสธ.ทอ.ฝยบ. (ตำ�แหน่งขณะนั้น) ซึ่งท่านได้เกษียณอายุราชการในตำ�แหน่ง รอง ผบ.ทอ.เป็นหัวหน้า จนท.ทำ�งาน น.อ.ศิริพล ศิริทรัพย์ รอง ผอ.กนผ.กบ.ทอ.(ตำ�แหน่งขณะนั้น) เป็น จนท.และเลขานุการ สำ�หรับ จนท.ทำ�งานประกอบด้วย หน.นขต.ทอ. และผูเ้ กีย่ วข้องเป็น จนท.ทำ�งาน ซึง่ ได้จดั ทำ�โครงการนำ�ร่องพลังงานแสงอาทิตย์ ณ สถานีถา่ ยทอด โทรคมนาคมบ้านลาดช้าง ทอ.อำ�เภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีขนาดกำ�ลังไฟฟ้าเฉลี่ย ๑๐ กิโลวัตต์ ซึ่ง


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๙

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ท่านผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศท่านปัจจุบนั ขณะนัน้ เป็นเสนาธิการทหารอากาศ ได้ให้การ สนับสนุนมาโดยตลอดนัน้ นับว่าเป็นจุดเริม่ ต้นทีก่ องทัพอากาศมีบทบาทกับพลังงานทดแทนตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา ซึ่งการจัดทำ�โครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ เมื่อ ๑๒ พ.ย.๕๑ โดยเชื่อมต่อระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เข้ากับระบบไฟฟ้า ปกติ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อ ๑๕ ต.ค.๕๑ และพล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ท่านผู้บัญชาการทหารอากาศ ท่านปัจจุบนั ได้กระทำ�พิธเี ปิดโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ดงั กล่าวเมือ่ ๙ ธ.ค.๕๑ โดยผลการดำ�เนินการสามารถ ประหยัดพลังงานได้ถึง ๕๕ หน่วยต่อวัน สำ�หรับประโยชน์และผลตอบแทนที่ได้รับจากโครงการ สามารถผลิต ไฟฟ้าได้ประมาณ ๒๐,๐๐๐ หน่วยต่อปี คิดเป็นเงินสามารถลดค่าใช้จ่ายในขณะนั้นได้ ๖๐,๐๐๐.-บาทต่อปี อีกทัง้ ได้รบั ความรูแ้ ละข้อมูล ทีส่ ามารถใช้เป็นต้นแบบในการนำ�ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไปทดแทนและสำ�รอง ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าของหน่วยต่างๆ ของกองทัพอากาศที่ใช้เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน ตลอดจน เป็นการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ใี ห้กบั กองทัพอากาศในการนำ�พลังงานสะอาดมาใช้ ส่งผลช่วยลดแก้ปญ ั หาโลกร้อน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน และสร้างจิตสำ�นึกให้กับข้าราชการและชุมชน ในการแก้ปัญหาวิกฤตด้าน พลังงานอีกด้วย

(อ่านต่อฉบับหน้า)


ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

นวัตกรรมจากกองกิจการอวกาศ ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบิน และอวกาศกองทัพอากาศ

๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ กองทัพอากาศตองการพัฒนาใหกองทัพมีบทบาทที่ทันสมัย มีการพัฒนาใน เชิงยุทธศาสตรแ ละเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของอวกาศกับสิง่ ทีจ่ ะไดม าจากอวกาศจึงปรับเปลีย่ นโครงสรา งภายใน แลวกอตั้ง “กองกิจการอวกาศ (กกอ./Space Affairs Division)” ใหมีหนาที่ดำ�เนินการเกี่ยวกับการศึกษา คนควา ประสานการปฏิบตั ิ ติดตาม รวบรวมพัฒนา บริการขอมูลและสงเสริมการใชประโยชนดา นกิจการอวกาศ ระบบภูมสิ ารสนเทศ ระบบขอ มูลระยะไกลและระบบกำ�หนดพิกดั ดว ยดาวเทียม (Global Positioning System :GPS) เปนหนวยขึ้นตรงของ “ศูนยวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตรเทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ” (ศวอ.ทอ./ Research and Development Centre for Space and Aeronautical Science and Technology, RTAF) โดยมอบหมายงานใหเปนหนวยงานหลักที่ทำ�หนาที่เก็บและบริการขอมูล GIS บริเวณ พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตใหกับกองอำ�นวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และหนวยงานเพื่อ ความมั่นคงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตตลอด ๒๔ ชั่วโมง บุคลากรภายใน กกอ.ศวอ.ทอ. ยังใชความรูความสามารถดานวิจัยและพัฒนากิจการอวกาศสราง นวัตกรรมสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจหลัก (Core Function) ดานระบบตรวจจับ (Sensors) โดยสรางชุดรับสงสัญญาณ Video Down Link : VDL สงขอมูล ภาพถายที่บอกพิกัด GPS ทั้งกลางวันและกลางคืนจากกลอง Forward Looking Infrared Radar : FLIR ที่ติดตั้งกับเครื่องบิน บ.จธ.๒ ( AU-23) มายังศูนยปฏิบัติการภาคพื้น หรือรถรับสัญญาณบนพื้นดินใหสามารถสนับสนุนกองกำ�ลังทางบกในการปดลอมกวาดลางผูกอความไมสงบ


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๑๑

๓ จังหวัดชายแดนภาคใตในลักษณะเครือขายเชื่อมโยงแบบ Real Time ในอีกมิติหนึ่งของการปฏิบัติการดวย เครื่องบิน บ.จธ.๒ ( AU-23) ใชในการบรรเทาสาธารณภัย ทอ.ดวยการนำ�ระบบ VDL นี้ มาใชสงสัญญาณภาพ เคลื่อนไหวภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ที่ระยะสูงตางๆ แบบ Real Time ไปที่ศูนยบรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ (ศบภ.ทอ.) ใหผบู งั คับบัญชาทีม่ อี ำ�นาจตัดสินใจสัง่ การชวยเหลือประชาชนทีป่ ระสบภัยพิบตั เิ หลานัน้ ไดทนั เวลา

อีกนวัตกรรมหนึง่ ทีเ่ ปน ผลมาจากกิจการอวกาศของทหารอากาศคือการประดิษฐและคิดคนสงเสริมดำ�รง ความพรอ มปฏิบตั ภิ ารกิจของกำ�ลังทางอากาศดวยการนำ�ภาพถา ยดาวเทียมเปา หมายทีค่ าดวา จะเปน ภัยคุกคามจาก นอกประเทศทีม่ คี วามละเอียดสูงมาทำ�ใหเปนภาพสามมิติ (3D) ใสไ วใ นเครือ่ งฝกบินจำ�ลอง (Flight Simulator) บ.ข.๑๙ (F-16A) ใหนักบินขับไลสมรรถนะสูงฝกบินโจมตีทิ้งระเบิดเปาหมายที่คัดเลือกไวนั้นใหไดใกลเคียงกับ เหตุการณที่คาดวาจะเกิดขึ้นจริง อีกทั้ง Software สามารถปรับแกขอมูลดานการขาวไดถามีการเปลี่ยนแปลง สภาวะภัยคุกคาม (Threats) ตามสถานการณจริงหรือตามทีผ่ คู วบคุมการฝกบินตอ งการใหเ ปน เพือ่ ใหเ สมือนจริง ขณะทีเ่ ทคโนโลยีการบินสมัยใหมท จี่ ะตอ งใชก บั เครือ่ ง Gripen JAS-39 ทีจ่ ะเขา ประจำ�การใน ทอ.ตอ งใช GIS ทำ� Mission Planning โดยในขณะนี้ กกอ.ศวอ.ทอ.ไดท �ำ การรวบรวมขอ มูลของสนามบินตา งๆ รวมทัง้ ตำ�แหนง GPS ที่ถูกตองจากบรรณสารการบินทุกสนามบินในประเทศไทย ไปจนถึงการเตรียมการฝกบินใหเสมือนจริง


๑๒ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

ดว ยขอ มูลภาพถา ยจากดาวเทียมทีม่ อี ยูว างเทียบกับ Digital Map ทุกระวางทัว่ ทัง้ ประเทศไทย แลว ใสไ วใ นเครือ่ ง ฝกบินจำ�ลอง (Flight Simulator) Gripen JAS-39 ดวย

นวัตกรรมและผลงานที่ไดจากกิจการอวกาศของกองทัพอากาศเพื่อใชตอความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะความไมสงบในจังหวัดชายแดนภาคใต บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติไปจนถึงเสริมสรางสมรรถนะ ความพรอมในการปองกันประเทศนั้นเปนสิ่งที่มีราคาแพงและเกือบจะทั้งหมดเกี่ยวของกับการตัดสินใจทาง การเมืองเปนพื้นฐานวาจะรับความสามารถทางอวกาศไดหรือไม อยางไรก็ตามวิสัยทัศนงานดานกิจการอวกาศ กองทัพอากาศที่วา “มีเทคโนโลยีอวกาศที่ทันสมัย สามารถสนับสนุนภารกิจของกองทัพอากาศทั้งยามปกติ และสามารถใชงานไดในยามวิกฤตอยางมีประสิทธิภาพ” ไดแสดงใหเห็นวาผูบังคับบัญชาของกองทัพอากาศ ยอมรับและไดพิจารณาเลือกใชงานดานกิจการอวกาศเพื่อความมั่นคงของประเทศแลว 


ผู้แทนกองทัพอากาศจากคณะกรรมการ ๓ คณะ ได้แก่ คณะกรรมการย้อนรอยบุพการีฯ คณะกรรมการ จัดทำ�หนังสือฯ คณะกรรมการประชาสัมพันธ์การจัดงานวันครบรอบ ๑๐๐ ปีการบินของบุพการีทหารอากาศ รวมจำ�นวน ๘ คน มีพลอากาศโท ธงชัย แฉล้มเขตร ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายกิจการพลเรือน ได้เดินทาง ไปยังประเทศฝรัง่ เศสเพือ่ ศึกษา/รวบรวม (ยืนยัน) ข้อมูลเกีย่ วกับปูมประวัตขิ องบุพการีของกองทัพอากาศทัง้ ๓ ท่าน ทีไ่ ด้มาทำ�การบิน ณ ประเทศฝรัง่ เศสเมือ่ ปี ๑๙๑๒ ซึง่ กำ�ลังจะครบรอบ ๑๐๐ ปี ใน ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ค.ศ.๒๐๑๒) ในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย/ปารีส ได้รับเกียรติให้ร่วมเดินทางไป กับคณะด้วย โดยได้เดินทางออกจากกรุงเบอร์ลินไปยังกรุงปารีสเมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ ทำ�หน้าที่ประสาน กับกองทัพฝรั่งเศส/กองทัพอากาศฝรั่งเศส พร้อมกับอำ�นวยความสะดวกในการพาเข้าไปพบกับผู้บังคับบัญชา หน่วยทหารที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ตามกลไกทางการทูตทหาร การขออนุมัติเข้าไปในหน่วยทหารของกองทัพฝรั่งเศส/กองทัพอากาศฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการได้ กระทำ�มาก่อนประมาณ ๑ เดือนล่วงหน้า ผ่านสายงานสำ�นักผู้ช่วยทูตทหารไทย/ปารีส โดยสำ�นักงานผู้ช่วยทูต ทหารบกไทย/ปารีส พันเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ผู้ช่วยทูตทหารบกไทย/ปารีสรักษาการผู้ช่วยทูตทหารไทย/ ปารีส ได้กรุณาอำ�นวยความสะดวกและเป็นแกนกลางในการประสานงาน มีคุณผึ้งฯ ล่ามประจำ�สำ�นักงาน ผู้ช่วยทูตทหารบกไทย/ปารีส เป็นกลไกสำ�คัญของการประสานงานครั้งนี้ด้วย ก่อนหน้านี้ีเมื่อ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ นั้น ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย/ปารีส ได้มีโอกาสพูดคุยกับนายทหารระดับสูงของฝรั่งเศสในงาน เลี้ยงปีใหม่ประจำ�ปี ๒๐๑๑ ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศฝรั่งเศส โดยได้เกริ่นเรื่องนี้ไว้กับผู้บัญชาการ ทหารอากาศฝรั่งเศสและฝ่ายเสนาธิการของท่านว่ากองทัพอากาศจะจัดงานครบรอบ ๑๐๐ ปีการบินของ


๑๔ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

บุพการีทหารอากาศ โดยผู้บัญชาการทหารอากาศในนามกองทัพอากาศใคร่ขอเชิญกองทัพอากาศฝรั่งเศส เข้าร่วมกิจกรรมโดยขอเชิญกองทัพอากาศฝรัง่ เศสให้พจิ ารณาส่งหน่วยบินเข้าร่วมกิจกรรม (หน่วยบินผาดแผลง) เฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีการบินของประเทศไทยตามหนังสือเชิญที่ผู้บัญชาการทหารอากาศได้กรุณาส่งถึง กองทัพอากาศฝรั่งเศสแล้วเมื่อปีก่อน การพูดคุยกันนั้นได้เน้นย้ำ�ถึงเรื่องการขอรับการสนับสนุนข้อมูลพร้อม กับขอรับการอำ�นวยความสะดวกจากฝ่ายฝรั่งเศสในการเข้าไปในหน่วยทหารอากาศฝรั่งเศส เพื่อรวบรวมข้อมูล ปูมประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการบินของบุพการีของกองทัพอากาศไทย แม้ว่าฝ่ายฝรั่งเศสจะไม่ยืนยันเกี่ยวกับการ ส่งหน่วยบิน (ผาดแผลง) ไปร่วมเฉลิมฉลอง แต่กองทัพอากาศฝรั่งเศสก็ยินดีให้การสนับสนุนการสืบค้นข้อมูล ครั้นเวลาล่วงเลยมาถึงปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนการเดินทาง ๑ เดือน ฝ่ายไทยนั้นถือว่าได้รับการติดต่อ ประสานงานจากกองทัพฝรัง่ เศส/กองทัพอากาศฝรัง่ เศส/กองทัพบกฝรัง่ เศส ด้วยดี หากว่าเป็นการขออนุมตั เิ ดินทางมา เยีย่ มชมกิจการตามปกติแล้วก็จะเป็นการยากยิง่ ทีว่ า่ จะได้รบั การอนุมตั ดิ งั เช่นครัง้ นี้ เพราะเหตุวา่ การร้องขอรับการ สนับสนุนในช่วงเวลาก่อนการเดินทาง ๑ เดือนเศษนัน้ ถือว่าเป็นระยะเวลาทีส่ นั้ มาก ปกติแล้วกระทรวงกลาโหม ฝรั่งเศสได้เน้นย้ำ�อยู่เสมอว่า “กองทัพและกองทัพอากาศของประเทศใดๆ หากต้องการเดินทางมาศึกษาดูงาน ในกองทัพฝรั่งเศสแล้วจะต้องยื่นเรื่องขออนุมัติล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน” อย่างไรก็ตามการประสานงานกับ กองทัพฝรั่งเศส/กองทัพอากาศฝรั่งเศส ภายใต้กรอบเวลาที่จำ�กัดก็ผ่านไปด้วยดี ในทางตรงข้ามที่หวั่นเกรงกัน ว่าจะเกิดปัญหาในการประสานงานนั้นทางฝ่ายฝรั่งเศสกลับให้ความสำ�คัญและตอบรับในเรื่องนี้ดีกว่าที่คาดคิด ไม่ใช่ว่ากองทัพฝรั่งเศส/กองทัพอากาศฝรั่งเศสจะไม่ยินดีที่จะรับรองผู้แทนกองทัพอากาศไทย แต่เป็นเพราะว่า ภายใต้ระบบราชการทหารฝรัง่ เศสนัน้ กองทัพฝรัง่ เศส/กองทัพอากาศฝรัง่ เศส ก็เป็นกังวลเกีย่ วกับการเตรียมการ ของฝ่ายตนเช่นกัน ในประเทศฝรั่งเศสในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนนั้น เป็นห้วงหน้าร้อนที่ชาวฝรั่งเศส มักเดินทางไปพักร้อนต่างประเทศหรือต่างจังหวัดกันอย่างมากมายแทบไม่มีใครเหลืออยู่ทำ�งานในสำ�นักงาน ท้ายที่สุดฝ่ายไทยก็ได้เห็นความตั้งใจจริงของฝ่ายฝรั่งเศสว่าข้าราชการของเขาทั้งทหารและพลเรือนที่มีหน้าที่ รับผิดชอบปูมประวัตศิ าสตร์เกี่ยวกับ ๑๐๐ ปีการบิน ต่างก็ได้อทุ ิศกายอุทศิ ใจทำ�การศึกษา, สืบค้น, ค้นคว้าข้อมูล ให้กบั คณะของไทยอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ ถือว่าฝ่ายไทยโดยผูแ้ ทนทัง้ ๓ คณะประสบความสำ�เร็จสามารถ บรรลุเป้าหมายในการเดินทางครั้งนี้ได้ทั้ง ๓ ประการกล่าวคือ (ก) ได้รับข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ (ข) มีการ เชื่อมโยงปูมประวัติศาสตร์ของฝ่ายไทยและฝรั่งเศสที่ต่างก็มีบางส่วนหลุดหายบ้างเนื่องจากฝ่ายฝรั่งเศสเองนั้น ก็ถกู ยึดครองโดยหลายชาติ (เยอรมัน สหรัฐอเมริกา) ใช้พนื้ ทีส่ นามบินเมือ่ ครัง้ หลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ และหลัง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำ�ให้ทุกคนในคณะต่างก็ยินดีเพราะว่าการศึกษา/รวบรวม (ยืนยัน) ข้อมูลย้อนรอยบุพการี ของกองทัพอากาศไทยครั้งนี้ ทำ�ให้ปมู ประวัตศิ าสตร์กลับมาเป็นเนือ้ เดียวสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิมอีกครัง้ อย่างที่ มิได้คาดคิดมาก่อน (ค) มีการรือ้ ฟืน้ เชือ่ มความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างทัง้ สองกองทัพของทัง้ สองประเทศหรือกล่าว อีกนัยหนึ่งได้ว่ารื้อฟื้นความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้กลับมาดีเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่งหลังที่ไทยเราเคยร่วม รบเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมกับฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ จากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ/ กองทัพ (อากาศ) ก็ได้จางหายมานานหลายสิบปีนับจากที่ฝ่ายไทยได้หันทิศทางการทหารออกจากยุโรปไปจับมือ กับสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มตัว


กองทัพฝรั่งเศสและกองทัพอากาศฝรั่งเศสโดยหน่วยงานด้านประวัติศาสตร์ทหารนั้น ให้ความสำ�คัญ กับความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็น (ก) การฝึกบินของ นายทหารไทยทั้ง ๓ ท่าน (ข) การซื้อเครื่องบินจากฝรั่งเศสไปประจำ�การในประเทศไทย (ค) การส่งทหารไทย เข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศฝรั่งเศสเพื่อต่อสู้กับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั้งสามประเด็น กล่าวได้ว่ามีความต่อเนื่องจนถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แม้ว่าการเดินทางของคณะครั้งนี้จะมุ่งเน้นเฉพาะ ด้านการฝึกบินของบุพการีทงั้ ๓ ท่าน แต่ทว่าในความสำ�คัญแล้ว ฝ่ายไทยสมควรที่จะมีการศึกษาประวัตศิ าสตร์ อย่างจริงจังในประเด็นสำ�คัญอีก ๒ เรื่องคือ เรื่องการซื้อเครื่องบินจากฝรั่งเศสไปประจำ�การในประเทศไทยและ เรื่องการส่งทหารไทยเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศฝรั่งเศสเพื่อต่อสู้กับเยอรมันในสงครามโลก ครัง้ ที่ ๑ อันถือเป็นเรือ่ งราวปูมประวัตศิ าสตร์พนื้ ฐานนำ�มาสูก่ ารเริม่ ต้นของ (ก) การพัฒนากำ�ลังทางอากาศและ กองทัพอากาศไทย (ข) การนำ�กำ�ลังทางอากาศไปปฏิบัติภารกิจระหว่างประเทศ เรื่องราวดังกล่าวที่มิใช่เฉพาะ ว่าจะน่าสนใจเชิงประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวแต่เป็นความสำ�คัญในการวิจัยเรื่องราวเกี่ยวกับภารกิจระหว่าง ประเทศที่สมควรถูกนำ�มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำ�หรับการพัฒนากำ�ลังทางอากาศและกองทัพอากาศไทยในยุคต่อๆ มา จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ยังมีนัยสำ�คัญซ่อนปมอยู่ที่ว่าเหตุไรกำ�ลังทางอากาศและกองทัพอากาศไทยซึ่งครั้งหนึ่งเคย อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก (หนึ่งในสิบของโลก) ถึงได้กลายเป็นกองทัพอากาศในอันดับล่างๆ ในทุกวันนี้ จาก เดิมที่ (ก) เคยมีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในมหาสงครามนอกประเทศกล่าวคือสงครามโลกครั้งที่ ๑ (ข) มีความสามารถในการผลิตสร้างเครื่องบิน/ยุทโธปกรณ์ทางทหารได้เอง จนต้องมาสูญองค์ความรู้ภูมิปัญญา การสร้างเครื่องบินจนหมดสิ้นจนทำ�ให้พลังอำ�นาจด้านการทหารของไทยสิ้นศักยภาพลงไปด้วย การรวบรวมข้อมูลของคณะครัง้ นีท้ �ำ ให้ทราบอีกด้วยว่ากองทัพฝรัง่ เศสนัน้ ได้ให้ความสำ�คัญกับหน่วยงาน ทางประวัติศาสตร์ทหารเป็นอย่างมาก (เฉกเช่นกับกองทัพและกองทัพของประเทศในยุโรป) จากการบรรยาย สรุปครั้งนี้ได้รับความรู้จากนักการทหาร-นักประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสว่าประวัติศาสตร์ทางทหารของฝรั่งเศส นั้น เป็นเครื่องบ่งชี้/เครื่องมือของชาติเกี่ยวกับ (ก) การสร้างชาติฝรั่งเศส (ข) ความอยู่รอดของชาติฝรั่งเศส (ค) การผนึกพลังของคนในชาติฝรั่งเศสให้เป็นหนึ่งเดียว ให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสเกิดความภาคภูมิใจเห็นความ มั่งคั่งวัฒนาถาวรของชาติตนเป็นเรื่องสำ�คัญ กล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นรากฐานของอนาคต สำ�หรับ เรื่องนี้แล้วฝรั่งเศสและประเทศในยุโรปอื่น ๆ ต้องถือว่าเป็นกฎแห่งความจริง ประเทศที่เจริญแล้วต่างเน้นเรื่อง ประวัติศาสตร์ (ทหาร) กันอย่างจริงจังมีการ (ก) ตั้งหน่วยงานขึ้นมารองรับอย่างเป็นระบบ (ข) มีการศึกษาวิจัย พัฒนาประวัติศาสตร์ (สงคราม) ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบันต่อไปถึงอนาคต เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าตราบใดที่ ยังมีมนุษย์อยู่บนผืนโลก เมื่อนั้นก็จะยังคงมีความขัดแย้ง ทว่าขั้นสุดท้ายของความขัดแย้งจะออกมาในรูปของ สงครามแบบใด ใครที่มีปัญญาต้องหาหนทางป้องกัน-ขจัดความขัดแย้งให้สูญสิ้นไป (ค) ส่งเสริม/ปลูกฝังความ รักชาติสนับสนุนให้มกี ารนำ�เด็กเยาวชนไปรับการถ่ายทอดปูมประวัตศิ าสตร์ (ในทางทีถ่ กู ) อย่างจริงจัง ทัง้ นี้ เพือ่ สร้างทัศนคติทถี่ กู ต้องสำ�หรับอนาคตอันยาวไกลและการดำ�รงความเป็นชาติไว้ให้สามารถ “อยูร่ อด – ปลอดภัย – มีความมั่นคง – มีเสถียรภาพ” ในกาลข้างหน้าต่อไป ปูมประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำ�คัญของ


ชาติทปี่ ระชาชนทุกคนต้องเรียนรูศ้ กึ ษาเพือ่ นำ�มาประยุกต์เป็นองค์ความรูข้ องประเทศชาติของตนสืบต่อกันต่อไป จากความรูท้ ไี่ ด้จากประวัตศิ าสตร์ซงึ่ ถือว่าเป็นพืน้ ฐานของชาติแล้วสมควรต้องมีการพัฒนาต่อยอดในองค์ความรู้ ภูมปิ ญั ญาดีๆ ทีม่ อี ยูเ่ ดิมให้ดยี งิ่ ขึน้ ไป หรือหาหนทางหลีกเลีย่ งความบกพร่องผิดพลาดเมือ่ ครัง้ อดีตมิให้เกิดขึน้ อีกได้ ประเด็นสำ�คัญนั้นมิใช่ว่าประวัติศาสตร์จะต้องถูกรื้อฟืน้ ขึน้ มาเพื่อความผยองในความเก่งฉกาจของใครคนใด คนหนึ่งหรือว่าเพื่อหวังสร้างความภาคภูมิใจจากอดีตที่ผ่านมาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ประวัติศาสตร์คือเครื่องมือ พื้นฐานที่จะนำ�ประเทศชาติสู่อนาคตข้างหน้า


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๑๗

คณะจากกองทัพอากาศได้เริม่ ต้นด้วยการไปศึกษาสถานทีโ่ รงพยาบาลแห่งหนึง่ ทีเ่ มือง Villa Coublay เป็นโรงพยาบาลที่บุพการีของเราเคยมาพักรักษาตัวจากอากาศยานอุบัติเหตุ ปัจจุบันอาคารส่วนหนึ่งก็ยังคงเป็น โรงพยาบาลเดิมแต่ไม่ได้ถูกใช้งานมีสภาพค่อนข้างเก่าแต่ยังดูเคร่งขรึมน่ายำ�เกรง อาคารส่วนหนึ่งกำ�ลังได้รับการ ปรับปรุงให้เป็นอาคารทีพ่ กั อาศัยสำ�หรับคนทัว่ ไป โรงพยาบาลนีอ้ ยูห่ า่ งจากพระราชวังแวร์ซายไม่มากนัก หาก นั่งรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที ส่วนสถานที่อื่นๆ ในละแวกใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับที่พักอาศัยของท่าน บุพการีนั้น ปัจจุบันได้ถูกปรับปรุงจนไม่เหลือสภาพเดิมให้เห็น อาคารเดิมถูกปรับปรุงให้กลายเป็นตึกอาคารใหม่ๆ สิ่งปลูกสร้างที่พอหลงเหลืออยู่ก็เห็นแต่จะมีถนนหนทางซึ่งยังพอมองเป็นเค้าลางของเดิมอยู่บ้างแต่ก็ไม่ได้สื่อ นัยสำ�คัญในความเกี่ยวข้องกับการบินของฝรั่งเศสในสมัยนั้นมากนัก ในช่วงบ่ายของวันนี้คณะก็ได้เดินทางไป ยังฐานบิน Villa Coublay ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังแวร์ซายมากนักเพื่อเข้าศึกษาสถานที่และรับฟังการ บรรยายสรุปเกี่ยวกับปูมประวัติศาสตร์ตามหัวข้อที่ฝ่ายไทยได้แจ้งมา เมื่อไปถึงหน้ากองบัญชาการฐานบินก็มี นายทหารอากาศหญิงฝรั่งเศส ๒ คน หน้าตาสะสวยออกมาให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรี จากนั้นก็พา คณะเข้าไปในตัวอาคารกองบัญชาการฐานบิน นาย Henry-Pierre Marquis อดีตนักบินเฮลิคอปเตอร์ประจำ� ฐานบินนี้ออกมาให้การต้อนรับและตามมาด้วยการต้อนรับอย่างเป็นทางการของ Col. Sansu ผู้บังคับการ ฐานบินทั้งสองฝ่าย ได้พูดคุยไต่ถามเรื่องราวและทานของว่างกันพักใหญ่ก็เข้าสู่วาระการกล่าวต้อนรับและการ บรรยายสรุป ทำ�ให้คณะได้รับทราบและได้เห็นข้อมูลพร้อมภาพเมื่อครั้งสมัยอดีตอีกมากมาย ยกเว้นบางส่วน เช่นประกาศนียบัตรการบินทางทหารที่หลวงศักย์ได้จารึกในบันทึกไว้ว่าได้รับนั้นไม่ปรากฏหลักฐานในที่นี้ ก็เลย เป็นผลดีทำ�ให้ฝ่ายฝรั่งเศสต้องชำ�ระประวัติศาสตร์ของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากการบรรยายสรุปยังทำ�ให้เรา ทราบอีกว่า ที่จริงแล้วนั้นการเริ่มต้นกิจการการบินทางทหารของฝรั่งเศสยุคแรกนั้นเริ่มมาจากกิจการการบิน พลเรือน โดยเมื่อ ๙ สิงหาคม ๑๘๘๔ ณ ที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นฟาร์ม (Villa Farm) ดำ�เนินกิจการด้านการเกษตร ต่อมาเมื่อ ๒๘ ตุลาคม ๑๙๐๘ นาย Alfred de Pischof และนาย Jean Paul Koche ได้ริเริ่มใช้ฟาร์มนี้เป็น สนามทดลองฝึกบิน ครั้นระหว่างปี ๑๙๑๐ - ๑๙๑๔ ก็ใช้เป็นสนามฝึกสำ�หรับเครื่องบินนิเออปอร์ตแบบที่ ๒ ในปี ๑๙๑๒ - ๑๙๑๓ เริ่มมีการบินของเบรเกต์แบบที่ ๓ ทั้งนี้เมื่อปี ๑๙๑๒ ฝรั่งเศสก็ได้เริ่มกิจการการบินส่ง ถุงเมล์ไปรษณีย์เป็นครั้งแรก ในระหว่างปี ๑๙๑๔-๑๙๑๘ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้นได้มีนายทหารไทย เข้ารับการฝึกบิน ณ สนามฝึกแห่งนี้รวมประมาณ ๒๐ คน ต่อมาในระหว่างปี ๑๙๒๐ - ๑๙๔๐ สนามฝึกนี้ ถูกใช้เป็นศูนย์ฝึกบินลองเครื่องของฝรั่งเศส รอบๆ สนามฝึกจึงมีโรงงานสร้างเครื่องบินเกิดขึ้นมากมายหลาย บริษัท โดยต่างก็แข่งกันสร้างและเก็บความลับทางเทคนิคไว้เป็นของตนมิให้แพร่งพราย บริษัทสร้างเครื่องบิน ที่สำ�คัญได้แก่ นิเออปอร์ตและเบรเกต์ พื้นที่ระหว่างสนามฝึกกับโรงงานถูกสร้างเป็นถนนยาวตรง ถนนเส้นนี้มี ไว้สำ�หรับใช้ตรวจสอบเครื่องวัดความเร็วของเครื่องบิน ในระหว่างปี ๑๙๔๐ - ๑๙๔๔ เยอรมันได้เข้ายึดครอง สนามฝึกนี้และปรับปรุงเป็นสนามบินมาตรฐาน มีการสร้างโรงซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่ ตามสถิติแจ้งว่าได้มี การซ่อมเครื่องบินที่นี่มากกว่า ๘๐๐ เครื่อง ณ ปัจจุบันยังคงเก็บรักษาสนามบินของเยอรมันไว้อย่างดี ต่อมา สหรัฐอเมริกาก็ได้ยึดครองใช้ประโยชน์มาจนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังจากการบรรยายสรุปอันเป็นที่พอใจ


๑๘ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

ของฝ่ายไทยแล้ว ทางกองทัพอากาศฝรั่งเศสก็ได้จัดให้คณะไปเยี่ยมชมฐานบิน Villa Coublay พร้อมกับพาชม สถานที่สำ�คัญสมัยอดีตด้วย ฐานบินนี้ปัจจุบันเป็นฐานบิน ฮ. VIP และ ฮ. Alert มี ฮ. อยู่ ๒ ฝูง นอกจากนั้นยัง มีฝูงเครื่องบินโดยสาร VIP ขนาดเล็กไว้สำ�หรับภารกิจทางทหารด้วย พื้นที่ของกองบัญชาการฐานบินนั้น เป็น พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่โดยย้ายออกจากพื้นที่สนามบินทหารเดิมมาอยู่ ณ ที่ตั้งใหม่ ฐานบินทหารเดิม นั้น อยู่ไปไกลอีกฟากหนึ่งอยู่ติดกับถนนเส้นหลักที่กล่าวข้างต้น ฟากหนึ่งของถนนเส้นดังกล่าวเดิมเป็นสนามฝึก และที่ทำ�การฝึกบินของนักบินพลเรือนฝรั่งเศส อีกฟากหนึ่งเป็นโรงงานสร้างเครื่องบินของบริษัทนิเออปอร์ต (Nieuport) และเบรเกต์ (Breguet) สมัยนั้นสองบริษัทนี้คือผู้ผลิตเครื่องบินให้กับฝรั่งเศส การฝึกบินที่สนามฝึก Villa Coublay นี้ หลังจากย้ายมาจาก Mourmelon ก็ใช้เป็นสนามฝึกสำ�หรับการฝึกขั้นสูงด้วยเครื่องบินเบรเกต์ แบบที่ ๑๔ ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ที่มีน้ำ�หนักเบา ในที่สุด Villa Coublay ก็ได้กลายเป็นศูนย์วิจัยทางด้านการบิน ของฝรั่งเศส ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากองทัพฝรั่งเศสในสมัยแรกๆนั้นก็ใช้บริการจากภาคพลเรือนก่อนที่จะมาพัฒนา เป็นกองทัพอากาศฝรั่งเศสในภายหลัง ต่อมาทางการฝรั่งเศสก็ได้เข้าควบคุมและเป็นผู้มอบหมายให้บริษัทสร้าง เครื่องบินต่างๆ ผลิตเครื่องบินให้กองทัพฝรั่งเศส เสมือนเป็นการเข้าควบคุมกิจการการบินของกองทัพฝรั่งเศส ในภาคเอกชน ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าป้องกันความลับรั่วไหลไปยังเยอรมันและประเทศข้าศึกอื่นๆ


พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร

การบินเมล์ไปรษณีย์ครั้งแรก เช้าวันหนึ่ง กัปตันดอน และลูกเรือ อันประกอบด้วยหมวดชาญ นักบินฝึกหัด ที่เตรียมตัวจะเป็นกัปตัน พร้อมกับช่างประจำ�เครือ่ งบิน และเจ้าหน้าทีข่ นส่งทางอากาศ ได้รบั คำ�สัง่ ให้ออกปฏิบตั ภิ ารกิจบินเมล์สายเหนือ ด้วยเครื่องบินลำ�เลียงแบบ ซี -123 โปรไวน์เดอร์ ภารกิจบินเมล์เป็นภารกิจที่ทางกองบินได้ปฏิบัติเป็นประจำ� อยู่แล้วทุกวัน วันละ ๔ สายคือสายเหนือ สายอีสาน สายใต้ และสายตะวันออก (หมายเหตุ: เมล์ที่ทางฝูงบิน ได้จัดบินนี้เป็นเมล์เมื่อ ปี ๒๕๑๐) ซึ่งเครื่องบินที่ใช้บินก็ต่างแบบกัน เช่นเมล์สายอีสานก็จะเป็นเครื่องบิน ซี-47 ดาโกต้า สลับกันไปเป็นต้น หลังจากฟังบรี๊ฟภารกิจเช้าเสร็จสิ้นแล้ว กัปตันดอนกับ หมวดชาญ ก็นั่งรถรับส่งลูกเรือไปที่เครื่องบิน และที่นั้น จ่าสมชายเจ้าหน้าที่ขนส่งทางอากาศกำ�ลังง่วนอยู่กับกองพัสดุนานาชนิด “สวัสดีสมชาย ใกล้จะเสร็จเรียบร้อยหรือยัง” กัปตันดอนกล่าวทักทายพร้อมกับถามความก้าวหน้า ในงานที่ทำ� จ่าสมชายตรึงสายรัดเส้นสุดท้ายเสร็จ หันมามอง กล่าวตอบอย่างสำ�รวม “เรียบร้อยแล้วครับ มีพัสดุ อยู่ ๔ - ๕ พันปอนด์ กับผู้โดยสารอีก ๑๐ คนครับ เดี๋ยวผมบรี๊ฟผู้โดยสารเสร็จแล้วจะเรียนให้กัปตันทราบ” “ดีละ ไม่ตอ้ งรีบร้อน บินเมล์ตามตารางเวลาอยูแ่ ล้ว รีบไปทำ�ไมมี” กัปตันดอนกล่าวจบพร้อมกับหัวเราะ หึหึในลำ�คอ ครั้นได้เวลา ทุกอย่างพร้อมตามรายการ กัปตันดอนก็ติดต่อหอบังคับการบินขอนำ�เครื่องวิ่งขึ้น เมื่อ ได้รับอนุญาตก็ให้หมวดชาญ นำ�เครื่องวิ่งขึ้น มุ่งหน้าไปสนามบินปลายทางจุดแรก เพื่อรับผู้โดยสารและพัสดุ อีกจำ�นวนหนึ่ง


๒๐ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

“กัปตันครับ จากโหลดมาสเตอร์ (จนท.ขนส่งทางอากาศ ) เที่ยวนี้มีเมล์สนามด้วยครับ จดหมาย ๓ ถุงใหญ่ ส่งทหารแนวหน้าครับ เห็นทีจะต้องบินไปลงสนามบินหน้าครับ เดิมทีได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากไม่มีพัสดุจะ มาส่ง แต่เมื่อมีเมล์สนาม ก็ต้องแล้วแต่กัปตันครับ” “โอเค ไม่มีปัญหา กัปตันจัดให้ตามคำ�ขอ บุพการีของเราท่านก็ทำ�มาแล้ว เรารุ่นหลานเหลนก็สานต่อ กันได้” กัปตันดอนพูดอย่างติดตลก กัปตันดอน วิทยุตดิ ต่อศูนย์ควบคุมการลำ�เลียงทางอากาศ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า เมล์เทีย่ วนี้จะขอ Divert ไปลงที่สนามบินหน้าเพื่อส่งเมล์สนาม ซึ่งศูนย์ควบคุมการลำ�เลียงทางอากาศก็อนุญาต เมื่อส่งผู้โดยสารและพัสดุลงที่สนามบินปลายทางแล้ว เครื่องบินเมล์เครื่องนี้ก็วิ่งขึ้นเพื่อไปยังสนามบิน หน้า ก่อนที่จะเดินทางกลับฐานบิน ในระหว่างที่กำ�ลังบินอยู่ หมวดชาญ ได้หันมาถามกัปตันดอนว่า “ครูครับ เมื่อกี้นี้ที่ครูบอกว่าบุพการี ของเราบินมาก่อนแล้ว เรามาสานต่อกันได้คืออย่างไรครับ” “ชาญ รู้ประวัติการบินของชาติเรามากแค่ไหน” “ก็พอทราบบ้างครับแต่ว่าไม่ลึกซึ้งนัก” หมวดชาญตอบ “แล้วเรื่องเกี่ยวกับการบินเมล์ การบินส่งพัสดุภัณฑ์ การบินส่งไปรษณีย์ล่ะ” “ผมไม่ทราบรายละเอียดมากครับครู ถ้าครูจะกรุณา....” “เอาละ” กัปตันดอนพูดตัดบท “ครูจะเล่าให้ฟัง เท่าที่เวลาเรามีอยู่” ตัง้ แต่ประเทศของเราก่อตัง้ เป็นกองบินทหารบก และสัง่ ซือ้ เครือ่ งบินมาใช้ในราชการ ก็ได้มกี ารฝกึ นักบิน ขึ้นมาเอง ศิษย์การบินรุ่นแรกมี ๘ คน เป็นนายทหารสัญญาบัตร ๕ คน เป็นนายสิบ ๓ คน ๑ ในสามคนนั้นคือ สิบโท โทน บินดี ท่านผู้นี้ละคือพระเอกของเรื่อง ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ เป็น ร้อยเอก หลวงสันทัดยนตรกรรม ก่อนที่จะรู้เรื่องการบินของท่าน เรามารู้ประวัติส่วนตัวของท่านสักเล็กน้อยนะ ท่าน เป็นคนที่ชอบเป็น ทหารมาก เมือ่ ได้รบั หมายเกณฑ์ ก็รบี ไปสมัครเป็นทหารเรือ แต่ทางทหารเรือไม่รบั เนือ่ งจากท่านเป็นคนจังหวัด นนทบุรี ทหารเรือรับเฉพาะคนทีอ่ ยูจ่ งั หวัดใกล้ทะเล ต้องรอจนกระทัง่ อำ�เภอเรียกไปคัดเลือก ผลท่านจับได้ใบดำ� แต่ด้วยความที่อยากเป็นทหาร ท่านได้แลกใบดำ�นั้นกับใบแดงของเพื่อนคนหนึ่งที่ไม่อยากเป็นทหาร จากนั้นก็ได้ เข้าประจำ�การ ที่กรมทหารราบที่ ๑๑ กองพันที่ ๒ รักษาพระองค์ กองร้อย ๕ และได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายสิบ เรียนได้ ๖ เดือน ก็ได้ติดบั้งเป็นว่าที่ สิบตรีเป็นพิเศษก่อนเพื่อน พอปีที่ ๒ ก็ได้เป็น ว่าที่สิบโท พอปีที่ ๓ พ.ศ.๒๔๕๖ ก็ได้เป็น สิบโทชั้น ๑ อยูไ่ ปๆ ก็เบือ่ การเป็นทหารบก คิดได้วา่ เมือ่ ออกจากทหารแล้วไม่มวี ชิ าชีพติดตัว ไม่รจู้ ะใช้อะไรเลีย้ งชีพ จึงมองหาทางไป พอดีตอนนั้นทางการได้ตั้งกรมอากาศยานขึ้นมาแล้ว สิบโท โทนฯ จึงอยากไปเป็นช่างเครื่อง กรมอากาศยาน เพราะรู้ว่าเขาฝึกให้เป็นช่างเหล็กด้วย จึงอยากได้วิชาช่างเหล็กไปประกอบอาชีพเมื่อตอนออก จากราชการแล้ว


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๒๑

ด้วยความตั้งใจมั่น สิบโท โทนฯ จึงไปหาพระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยานบอกเล่าความในใจ ให้ท่านฟัง และขอโอนจากกรมทหารราบที่ ๑๑ พัน ๒ ไปอยู่กรมอากาศยาน ไปกับเพื่อนอีก ๓ คน แต่ท่าน เจ้ากรมอากาศยานก็บอกว่า ผิดระเบียบโอนไม่ได้ แต่ถ้าอยากจะมาทำ�งานที่กรมอากาศยานจริงๆ ก็ให้ลาออก จากทหารราบ แล้วมาสมัครทำ�งาน มีแต่เบี้ยเลี้ยงให้ไม่มีเงินเดือน เพื่อนอีก ๓ คนไม่เอาด้วย มีแต่สิบโทโทนฯ เท่านั้นที่ยอมลาออกจากทหารราบ มาเป็นลูกจ้างกรมอากาศยาน ประจวบกับขณะนั้นกรมอากาศยานย้ายไป อยู่ดอนเมือง ต้องขนของกันอย่างหนักหนาสาหัส ทั้งอะไหล่เครื่องยนต์ เครื่องบิน นายโทนฯ ก็ตั้งใจทำ�งาน อย่างเต็มที่ ทำ�งานอยู่ ๖ เดือน ท่านเจ้ากรมอากาศยาน ก็สั่งให้ไปเรียนเป็นช่างเครื่องพร้อมกับนายทหาร โดย มีพันตรีพระยาทะยานพิฆาต และพันโทพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์(ยศสมัยนั้น)เป็นครู เรียนอยู่ ๖ เดือนก็จบ หลักสูตร ทางการตั้งคณะกรรมการสอบไล่ อดีตสิบโทโทนฯ สอบได้ที่ ๒ ท่านเจ้ากรมอากาศยานเห็นความ สามารถจึงได้ขอยศและเงินเดือนให้ เป็นสิบโท โทน บินดี สังกัดกรมอากาศยาน ต่อมากระทรวงกลาโหมออกคำ�สัง่ ให้นายทหารสัญญาบัตรทีเ่ รียนจบทางช่างเครือ่ งบินเข้าฝึกหัดการบิน เมือ่ เจ้ากรมอากาศยานได้รบั คำ�สัง่ ก็เสนอให้นายสิบทีเ่ รียนจบหลักสูตรช่างเครือ่ งบินได้ฝกึ บินบ้างเป็นการทดลอง มีทั้งหมด ๓ คน คือ สิบโท โทน บินดี สิบตรีใช้ นุ่มลอยฟ้า และสิบตรี เปลื้อง คล้ายเนตร ซึ่งต่อมากระทรวง กลาโหมก็อนุมัติให้นายสิบได้ฝึกบินด้วยเป็นเวลา ๔ เดือน สำ�หรับวิธีการสอนศิษย์การบินในสมัยนั้น ครูจะเล่า ให้ฟังวันหลัง “ชาญ อย่ามัวฟังเพลิน ถึงไหนแล้ว ระวังจะตก Track” “ครับครู อีก ๑๕ นาทีก็ถึงแล้วครับ” “เอาละหยุดเล่าเท่านี้ก่อน ทำ�งานให้เสร็จเสียก่อน ลงไปแล้วส่งถุงเมล์โดยไม่ต้องดับเครื่องยนต์นะ โหลดมาสเตอร์ทราบด้วย ขาบินกลับ ค่อยฟังต่อ” ว่าแล้วกัปตันดอนก็ติดต่อหอบังคับการบินขอนำ�เครื่องบิน ลงสนามเพื่อส่งถุงเมล์ โดย Speed off-load จะไม่ดับเครื่อง ส่งแล้วจะวิ่งขึ้นเลย หอบังคับการบินรับทราบ หมวดชาญนำ�เครื่องบินลงเรียบร้อย ขับเครื่องบินไปที่ลานจอดส่งถุงเมล์แล้ว ก็นำ�เครื่องเข้าไปตั้งตัววิ่งขึ้น มุ่งหน้าบินกลับดอนเมือง เมื่อบินตรงบินระดับเรียบร้อยแล้ว หมวดชาญเห็นกัปตันดอนนิ่งเฉยอยู่ จึงพูดขึ้นว่า “ครูครับ เล่าต่อ เรื่องสิบโทโทน บินดี เถอะครับ กำ�ลังน่าสนใจครับ” “งั้นหรือ ก็ได้ครูจะเล่าต่อ” ขอรวบรัดตัดความเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ ในที่สุด สิบโท โทนฯ ก็สำ�เร็จเป็นนักบินรุ่นแรก ซึ่งมีจำ�นวน ๖ คน เป็นนายทหาร ๕ คนนายสิบนั้นได้ สิบโท โทนฯ คนเดียว เป็นคนที่ ๖ ส่วนเพื่อนนายสิบอีก ๒ คนนั้น ถูกสั่งพัก การฝึกก่อน เนื่องจากหักเครื่องบ่อยครั้ง งานการบินในยุคเริม่ แรกของประเทศไทยนัน้ เป็นงานทีจ่ ะต้องโชว์ตวั เป็นอย่างมาก ด้วยคนไทยในสมัย นั้น ยังไม่รู้จักเครื่องบิน ยังไม่รู้ว่า คนเรานั้นสามารถล่องลอยไปได้ในอากาศ ทางการก็เล็งเห็นความสำ�คัญของ


๒๒ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

เครื่องบินและได้สั่งซื้อเข้ามา หลังจากเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่นักบินไทยไปทำ�ชื่อเสียงไว้ที่ฝรั่งเศส ซึ่ง แน่นอนต้องมี สิบโท โทน บินดี ไปบินอยูด่ ว้ ย สนใจละซี วันหลังจะเล่าให้ฟงั เรือ่ งการบินของนักบินไทยทีฝ่ รัง่ เศส ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ วันนี้เอาแค่บินเมล์ในเมืองไทยก่อน ด้วยเหตุที่ว่าทางการได้ซื้อเครื่องบินมาใหม่ๆ จึงได้มีคำ�สั่งให้นักบินและเจ้าหน้าที่ในกองบิน พยายาม ปลูกความนิยมแก่ประชาชนทุกวิถีทาง พวกที่เป็นนักบินก็บินแสดงให้ประชาชนตื่นตาตื่นใจนิยมชมชอบ พวกที่ ไม่ใช่นักบินก็ให้โฆษณาด้วยปาก จะเป็นวิธีการใดก็ได้ให้ประชาชนชอบและพร้อมที่จะสนับสนุน เลิกกลัวการ เป็นนักบินที่ว่าคอหักเก่งเสียที นอกจากการบินโชว์แล้ว ต่อมาทางการได้เปิดการรับ-ส่งไปรษณีย์ทางอากาศขึ้น นักบินที่บินรับ-ส่งเมล์อากาศคนแรกของเมืองไทย ก็คือ สิบโท โทน บินดี คนนี้แหละ ทั้งภาคอีสาน ทั้งภาค ตะวันออก และที่ภาคตะวันออก ก็มีเรื่องที่น่าระทึกใจเกิดขึ้น ทั้งชาวบ้านและนักบิน

นายสิบโท โทน บินดี (อ่านต่อฉบับหน้า)


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๒๓

 ต้นแบบ Diamond DA52 ทำ�การบินครั้งแรก  เครื่องบินเร็วเหนือเสียง X-43A

ต้นแบบ Diamond DA52 ทำ�การบินครั้งแรก บริษัท Diamond Aircraft ได้รายงานการบินทดสอบครั้งแรก ของเครื่องบินรุ่น DA52 ซี่งได้กำ�ลัง จากเครื่องยนต์คู่ดีเซล โดยมีการบินทดสอบที่เมือง Wiener Neustadt ประเทศออสเตรีย เครื่องบิน DA52 ใช้ เครื่องยนต์แบบ Austro Engine AE300E จำ�นวน 2 เครื่องยนต์ โดยมีกำ�ลังขับเคลื่อนที่ 180 แรงม้า และถูก ออกแบบให้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 7 คน โดยเที่ยวบินทดสอบดังกล่าว ไม่มีรายงานการผิดปกติแต่อย่างไร จากการรายงานของบริษัท โดยหัวหน้าทีมทดสอบคือประธานบริษัท Diamond นาย Christian Dries และ หัวหน้าเที่ยวบินทดสอบนาย Ingmar Mayerbuch โดยน้ำ�หนักบรรทุกที่เครื่องบินบินขึ้นคือ 3,924 ปอนด์ และแรงลมต้านที่ 5 นอต โดยทำ�การบินขึ้นโดยใช้ระยะเพียง 300 เมตร และไต่ขึ้นก่อนที่อัตรา 1,700 fpm ก่อนที่จะขึ้นถึงระดับความสูง 12,000 ฟุต ในระยะเวลาต่ำ�กว่า 9 นาที ด้วยความเร็วทรงตัวที่ 120 นอต ก่อนที่ ความเร็วทรงตัวจะเพิ่มเป็น 190 นอต ซึ่งเป็นความเร็วทรงตัวสูงสุดที่สามารถทำ�การบินได้ของเครื่องบินแบบ ดังกล่าว “นี่เป็นเครื่องบินต้นแบบที่ดีที่สุด ที่เราเคยทำ�การบินทดสอบเที่ยวแรกมา โดยประสิทธิภาพในทุกด้าน ได้อยู่เหนือความคาดหมายของนักบินผู้บังคับอากาศยาน,” นาย Dries กล่าว “ผมมีความภูมิใจเป็นอย่างมาก สำ�หรับทีมงาน ที่หัวหน้าทีมคือนาย Manfred Zipper ผู้ซึ่งสามารถทำ�ให้โครงการนี้เป็นจริงได้ในเวลาไม่ถึง 6 เดือน”


๒๔ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

เครื่องบินเร็วเหนือเสียง X-43A

อากาศยานรุ่น X-43 ซึ่งเป็นงานวิจัยขององค์กรด้านการบินและอวกาศนาซ่าได้สร้างประวัติศาสตร์ ในเดือนพฤศจิกายนทีผ่ า่ นมา โดยได้แสดงเทคโนโลยีเครือ่ งยนต์แบบหายใจด้วยอากาศ (Air-Breathing Engine) และสามารถบินด้วยความเร็วเกือบ 10 มัค ข้อมูลที่ได้รับจากอากาศยานวิจัยดังกล่าวได้แสดงถึงความล้ำ�สมัย ของเครื่องยนต์ที่สามารถทำ�งานได้ดีในความเร็วที่เกือบ 10 มัคหรือประมาณ 700 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่ระดับความสูง ประมาณ 110,000 ฟุต เทีย่ วบินทดสอบข้างต้นได้กระทำ�ในพืน้ ทีก่ ารบินหวงห้ามเหนือมหาสมุทรแปซิฟกิ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของเมืองลอสแองเจลิส ทั้งนี้เที่ยวบินทดสอบนี้เป็นเที่ยวบินทดสอบล่าสุดและเป็นเที่ยวบินที่ความเร็วสูงสุด ของอากาศยานไร้นักบินภายใต้โครงการ Heper-X Program วัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ การแสวงหา ทางเลือกใหม่เพื่อทดแทนเครื่องยนต์จรวดที่ถูกใช้ในยานอวกาศขณะทำ�การบินทยานขึ้นสู่ชั้นอวกาศ “นับได้ว่าเที่ยวบินทดสอบนี้จะเป็นก้าวสำ�คัญไปสู่ความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะประยุกต์ใช้เป็นแรงขับดัน เครื่องยนต์ในการส่งสัมภาระสำ�คัญขึ้นสู่ชั้นอวกาศด้วยความปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายวิธีหนึ่ง”… นี้คือ คำ�บอกเล่าของ นายชอน โอ คีฟี้ ผู้บริหารของนาซ่า… นอกจากนี้ นาย โอ คีฟี้ ยังกล่าวอีกว่า “การพัฒนาวิจัย ในครั้งนี้จะช่วยให้เราเพิ่มวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการสำ�รวจอวกาศได้มากขึ้น อีกทั้งสามารถช่วยพัฒนาและยกระดับ เทคโนโลยีด้านการบินอีกด้วย” เครื่องยนต์แบบ Supersonic Combustion Ramjet (หรือ scramjets) ให้การทำ�งานที่ใกล้เคียงกับ อากาศยานทัว่ ไปด้วยความอ่อนตัวและปลอดภัยในขณะทำ�การบินทีค่ วามเร็วสูงเหนือเสียงมากๆ จนกระทัง่ เข้าสูช่ นั้ บรรยากาศเริม่ ต้นของวงโคจรรอบโลก คุณสมบัตเิ ด่นของเครือ่ งยนต์ scramjets นีค้ อื เมือ่ มันถูกขับดันด้วย เครื่องยนต์เจ็ตทั่วไปหรือเครื่อง booster ไปที่ความเร็วเกิน 4 มัคแล้ว มันจะสามารถขับเคลื่อนไปด้วยความเร็ว ถึง 15 มัค โดยไม่จำ�เป็นต้องแบกถังบรรจุก๊าซออกซิเจนขนาดหนักเหมือนกับเครื่องยนต์จรวดทั่วไป ต้นแบบของเครื่องยนต์นั้น (ซึ่งไม่มีส่วนเคลื่อนไหวภายในใดๆ เลย) จะบีบอัดอากาศที่ไหลผ่านและ จุดระเบิดน้�ำ มันเชือ้ เพลิงได้ทนั ที ประโยชน์อกี ข้อหนึง่ คือ เครือ่ ง scramjets นีส้ ามารถปรับปริมาณแรงขับด้านท้าย ให้มากน้อยได้เหมือนกับเครือ่ งบิน ซึง่ ต่างจากจรวดทีจ่ ะปล่อยแรงขับออกมาเต็มทีต่ ลอดระยะเวลาการทำ�งาน 


สถานการณ์สงครามในปัจจุบัน หลายสมรภูมิรบมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียชีวิตของนักบิน อาทิ การปฏิบัติภารกิจสงครามนิวเคลียร์ชีวภาพ การปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ หรือการลาดตระเวนทางอากาศ ลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึกที่มีการป้องกันทางอากาศอย่างหนาแน่น อีกทั้งปัจจุบันหลายประเทศได้มีการ พัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศ ติดตั้งอาวุธนำ�วิถีที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นการพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicles: UAVs) สำ�หรับภารกิจทางทหาร นับเป็นโครงการที่มีความสำ�คัญและจำ�เป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถใช้ UAV เข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนอากาศยานที่มีนักบินบังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ด้านการข่าว การค้นหา การลาดตระเวน รวมถึงการติดตัง้ ระบบอาวุธนำ�วิถี เพือ่ ปฏิบตั ภิ ารกิจโจมตีกดดัน/ ทำ�ลายระบบป้องกันทางอากาศ (SEAD) ได้


๒๖ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

Global Hawk สหรัฐฯ นับเป็นประเทศทีเ่ ป็นผูน้ ำ�ในการพัฒนา UAV ที่ทันสมัยหลายแบบ ได้แก่ Predator, Global Hawk, Reaper, Sentinel, Streaker, Firebee, Phantom II เป็นต้น สำ�หรับ UAV รุ่นที่มบี ทบาทสำ�คัญ ในปัจจุบัน รวมทั้งได้รับการกล่าวขานถึงมากรุ่นหนึ่ง ได้แก่ Global Hawk (RQ-4) ซึง่ เป็นอากาศยานไร้นกั บิน ทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ที่มีเพดานบินสูงและบิน ได้นาน (High Altitude Long Endurance UAV) Global Hawk พัฒนาโดยบริษทั Northrop Grumman ได้รบั การออกแบบเพือ่ นำ�เข้าประจำ�การทดแทน บ.ลาดตระเวนแบบ U-2 Dragon Lady ซึ่งมีอายุใช้งานมานานและมีกำ�หนดปลดประจำ�การในปี 2559 Global Hawk เป็น UAV ทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงในการลาดตระเวนครอบคลุมพืน้ ทีก่ ว้าง และได้มาซึง่ ข้อมูลทีม่ คี วามละเอียด เที่ยงตรงสูง ทั้งยังให้ข้อมูลแบบ real time เพื่อประกอบการตัดสินใจทางการทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็น UAV ที่มีความพิเศษ ได้แก่การบินขึ้น-ลง เฝ้าตรวจ ถ่ายภาพได้อัตโนมัติ ตอบสนองการ ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่การรบได้เป็นอย่างดี รวมถึงภารกิจการรักษาความมั่นคงภายใน การตรวจการณ์ทางทะเล และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม Global Hawk ทำ�การบินครั้งแรกเมื่อ ก.พ.41 และเริ่มนำ�มาใช้ปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ปี 2544 ในการ สนับสนุนข้อมูลด้านการข่าว การถ่ายภาพทางอากาศ การระบุตำ�แหน่งเป้าหมาย จนถึงปัจจุบัน Global Hawk ถูกนำ�มาใช้สนับสนุนภารกิจการรบกว่า 60 ครั้ง ที่สำ�คัญได้แก่การทำ�สงครามกับอิรัก อัฟกานิสถาน และลิเบีย ปัจจุบันทำ�การบินมาแล้วกว่า 35,000 ชม. ประเมินความสำ�เร็จภารกิจ 95% สหรัฐฯ ได้นำ� Global Hawk บินทดสอบในต่างประเทศ ได้แก่เมื่อ เม.ย.44 บินเดินทางไปออสเตรเลีย ด้วยระยะทาง 7,500 ไมล์ ใช้เวลา 22 ชม. โดยไม่หยุดพักระหว่างทำ�การบิน และทำ�การบินในออสเตรเลียกว่า 6 สัปดาห์ และเมือ่ ต.ค.46 บินเดินทางไปเยอรมนี 6 สัปดาห์ นอกจากนีเ้ มือ่ เม.ย.53 สหรัฐฯ ได้ใช้ Global Hawk บินเดินทางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในระหว่างการเจรจากับต่างประเทศในการสนับสนุนเป็น RQ-4B

RQ-4A


จุดเติมเชือ้ เพลิงเพือ่ เพิม่ รัศมีปฏิบตั กิ ารให้ไกลขึน้ นอกจากนีย้ งั ริเริม่ โครงการความร่วมมือการลาดตระเวนทาง อากาศร่วมกับประเทศในเอเชีย 11 ประเทศ โดยจัดให้มีการประชุมผู้แทนประเทศร่วมกัน 2 ครั้ง แต่โครงการ ยังไม่มีความก้าวหน้า เนื่องจากบางประเทศไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการถ่ายภาพเหนือน่านฟ้าประเทศตน ล่าสุด เมื่อ มิ.ย.53 ทอ. และ ทร.สหรัฐฯ ได้ทำ�ข้อตกลงเบื้องต้นในการรวมหน่วย Global Hawk เข้าด้วยกันเพื่อลด ความซ้ำ�ซ้อนในการปฏิบัติภารกิจ อนึง่ สหรัฐฯได้พฒ ั นา Global Hawk Block 10 (RQ-4A) จำ�นวน 9 เครื่อง แบ่งเป็นส่วนของ ทร.สหรัฐฯ (RQ-4N) 2 เครื่อง ส่วนอีก 2 เครื่องส่งไปปฏิบัติภารกิจ ในอิรัก การส่งมอบ Block 10 เครื่องสุดท้ายเมื่อ มิ.ย.49 ต่อมาพัฒนาเป็น Global Hawk Block 20 (RQ-4B) มีขนาดใหญ่ขึ้น โครงสร้างทำ�ด้วยวัสดุที่มี นน.เบา แต่มี ความแข็งแรง นน.บรรทุกเพิ่มเป็น 30,000 ปอนด์ ติดตั้ง ระบบ sensors และ communications รุน่ ใหม่ โดยเมือ่ Global Hawk Ground Station มี.ค.50 Global Hawk Block 20 ประสบความสำ�เร็จ ในการบินทดสอบครั้งแรก ต่อมาในระหว่างปี 2551 ถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้พัฒนา Global Hawk Block 30 และ Block 40 ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้สั่งซื้อ Global Hawk Block 30 แล้วจำ�นวน 14 เครื่อง และได้โอน Global Hawk Block 10 จำ�นวน 7 เครื่องให้หน่วยงานรัฐบาลและพิพิธภัณฑ์ ของสหรัฐฯ Global Hawk Block 30 ติดตัง้ อุปกรณ์รนุ่ ใหม่ ได้แก่ Raytheon Enhanced Integrated Sensor Suite (EISS) เพื่อสนับสนุนการถ่ายภาพทางอากาศ โดยเมื่อ มี.ค.54 สหรัฐฯ ได้นำ�ไปปฏิบัติภารกิจเหนือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima ครัง้ เมือ่ เกิดแผ่นดินไหว ครัง้ ใหญ่ในประเทศญีป่ นุ่ รวมทัง้ นำ�ไปใช้ปฏิบตั ภิ ารกิจ สนับสนุนการรบในลิเบีย ล่าสุดเมื่อ ก.ค.54 Global Hawk Block 40 ทำ�การบินทดสอบครั้งแรก โดย ติดตัง้ เรดาร์แบบ AN/ZPY-2 Multi-Platform Radar Technology Insertion Program (MP-RTIP) และ Wide-Area Surveillance (WAS) Sensors ช่วยเพิม่ ขีดความสามารถในการลาดตระเวน ตรวจการณ์ และการข่าวกรองทีม่ คี วามละเอียดสูงทุกกาลอากาศ ทัง้ กลางวัน และกลางคืน


ปัจจุบนั ฐานทัพอากาศทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั ภิ ารกิจของ Global Hawk ได้แก่ ฐานทัพอากาศ Beale มลรัฐ California ฐานทัพอากาศ Anderson เกาะ Guam ฐานทัพอากาศ Grand Forks มลรัฐ North Dakota และฐานทัพเรือ Jacksonville มลรัฐ Florida สำ�หรับประเทศที่ให้ความสนใจจัดหา Global Hawk เข้าประจำ�การ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โดยเมื่อ ม.ค.55 บริษัท Northrop Grumman ได้ทำ�ข้อตกลงกับ บริษัทเกาหลีใต้ 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท DACC Aerospace, Foosung, KJF และ Aerospace Division of Flag Carrier Korean Air ให้มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนา Global Hawk รวมทั้งเมื่อ ก.พ.55 องค์การสนธิสัญญา ป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ นาโต (NATO) มีโครงการจะจัดหา Global Hawk จำ�นวน 5 เครื่อง เพื่อใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจในลิเบีย ด้วย จากการจัดอันดับ UAV ขนาดใหญ่พบว่า Global Hawk เป็นอากาศยานไร้นักบินทางยุทธศาสตร์ ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก Helios ของ บริษัท AeroVironment

Condor บริษัท Boeing ปัจจุบันปลดประจำ�การแล้ว

การจัดอันดับ UAV ที่ใหญ่ที่สุดในโลก UAV

1. Helios 2. Condor 3.Pathfinder Plus Aircraft 4. Global Hawk 5. Orion 6. Eitan (Heron TP)

บริษัท

AeroVironment Boeing AeroVironment Northrop Grumman Aurora Flight Sciences IAI

ประเทศ สหรัฐฯ สหรัฐฯ สหรัฐฯ สหรัฐฯ สหรัฐฯ อิสราเอล

ปีกกว้าง 246 ฟุต 200 ฟุต 121 ฟุต 115 ฟุต 110 ฟุต 110 ฟุต


ข่าวทหารอากาศ ๒๙

มิถุนายน ๒๕๕๕

อันดับหนึ่งได้แก่ Helios ของบริษัท AeroVironment ปีกกว้าง 246.12 ฟุต (75.01 เมตร) อันดับ สองได้แก่ Condor ของบริษัท Boeing ปีกกว้าง 200 ฟุต (60.9 เมตร) ปัจจุบันปลดประจำ�การแล้ว อันดับ 3 ได้แก่ Pathfinder Plus Aircraft ของบริษัท AeroVironment ปีกกว้าง 121.06 ฟุต (36.9 เมตร) ปัจจุบัน ปลดประจำ�การแล้ว อันดับ 4 ได้แก่ Global Hawk ปีกกว้าง 115.8 ฟุต (35.3 เมตร) อันดับที่ 5 ได้แก่ Orion ปีกกว้าง 110.9 ฟุต (33.8 เมตร) อยู่ระหว่างการพัฒนา และอันดับที่ 6 ได้แก่ Eitan (Heron TP) บริษัท Israel Aircraft Industries (IAI) ประเทศอิสราเอล คาดว่ามีการสร้าง HeronTP รุ่นต้นแบบจำ�นวน 2 เครื่อง สำ�หรับ ทอ.อิสราเอล ล่าสุดประสบเหตุตกขณะบินทดสอบเมื่อ ม.ค.55

สมรรถนะ Global Hawk (RQ - 4)

เครื่องยนต์ กางปีก นน.บรรทุกสูงสุด พิสัยบิน บินนาน avionics

Allison Rolls-Royce AE3007H turbofan (แรงขับ 7,050 ปอนด์) ความยาว 44 ฟุต 115 ฟุต เพดานบิน 65,000 ฟุต 30,000 ปอนด์ ความเร็วเดินทาง 350 นอต 12,000 ไมล์ทะเล 35 ชม. - Sensors: synthetic aperture radar, electro-optical,infrared - Communication: Ku SATCOM Datalink, CDL LOS, UHF SATCOM/LOS, INMARSAT, ATC Voice, Secure Voice - Mission control ground station

Eitan หรือ Heron TP: ของอิสราเอล


๓๐ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

Euro Hawk เมือ่ ปี 2550 เยอรมนีได้อนุมตั งิ บประมาณ 559 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำ�หรับโครงการพัฒนา Euro Hawk Unmanned Signals Intelligence (SIGINT) surveillance and reconnaissance system ซึ่งเป็นโครงการ พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัท Northrop Grumman และบริษัท EADS Deutschland GmbH Euro Hawk GmbH (RQ4E) พัฒนามาจาก Global Hawk Block 20 เพื่อนำ�มาแทน บ.Breguet Atlantic ทีป่ ลดประจำ�การในปี 2553 Euro Hawk ติดตัง้ อุปกรณ์ SIGINT รุน่ ใหม่ของบริษทั EADS บินทดสอบ ครั้งแรกเมื่อ มิ.ย.53 ทั้งนี้ Euro Hawk เครื่องแรกเดินทางมาถึงเยอรมนี เมื่อ ก.ค.54 ปัจจุบัน ประจำ�การ ณ ฐานทัพอากาศ Schleswig-jage จำ�นวน 1 เครื่อง และอยู่ระหว่างการฝึกบิน โดยเยอรมนี มีโครงการจัดหา Euro Hawk เพิ่มอีกจำ�นวน 4 เครื่อง คาดว่าจะส่งมอบระหว่างปี 2558-2560 การพัฒนา UAV นับเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการ ทางอากาศ ทัง้ ช่วยลดความสูญเสียชีวติ ของนักบินในภารกิจทีม่ คี วามเสีย่ งสูง และเหตุผลสำ�คัญอีกประการหนึง่ คือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธในอนาคต และอาจมีการพัฒนาให้ สามารถปฏิบัติการใน ภารกิจอื่นๆ ที่สำ�คัญ อาทิ การเติมเชื้อเพลิงในอากาศ การลำ�เลียงและการต่อต้านทางอากาศ รวมทั้งการ สนธิกำ�ลังในภารกิจโจมตีทางอากาศ

Euro Hawk เดินทางถึงเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี เมื่อ ก.ค.54 เอกสารอ้างอิง : - http://www.defensenews.com - http://www.af.mil - http://www.northropgrumman.com - Unmanned Vehicles Magazine Mar-Apr 2004 - http://en.wikipedia.org/wiki/RQ-4_Global_Hawk - http://www.israeli-weapons.com/weapons/aircraft/uav/heron/Heron.html ... - http://www.aurora.aero/company/history.html - http://www.flightglobal.com - http://www.defencetalk.com/euro-hawk-uas-completes-successful-first-flight-27320/ - http://www.eurohawk.de/ - http://www.directionsmag.com/articles/a-look-at-the-leading-edge-in-geospatial-information-gathering/123586 - Jane’s World Air Force Online, 2012 - Global Hawk 30’s Whirlwind to IOC, Air force Magazine, October 2011 - Germany rolls out Euro Hawk, Defense Technology International, November 2011 - Block 10 Global Hawks make way for block 30s, Jane’s Defence Weekly, October 5,2011 - First Euro Hawk Unmanned Aircraft System Touches Down in Germany, Military Technology, August 2011


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๓๑

แนวโน้ม ICT ครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ (ICT trend for second-half year 2012) sansiri_2@yahoo.com www.facebook.com/sansiri.s

น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์

ในเวลาที่ผ่านมา ได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยของบริษัทวิเคราะห์วิจัยด้านการตลาด (IDC) เกี่ยวกับ การคาดการณ์แนวโน้ม ๑๐ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรม ICT ของ ประเทศไทยในช่วงครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ จากเว็บไซต์ข่าวไอที (digitalthai.net) อย่างที่ทราบเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกประกอบกับมหาอุทกภัยที่เกิดในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่ออำ�นาจการ ลงทุนด้าน ICT ในประเทศ ทำ�ให้ผู้ขายสินค้าและบริการด้าน ICT ต้องเผชิญกับความยากลำ�บาก ในการรักษา ระดับของรายได้ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ICT ในปี ๒๕๕๕ อย่างไรก็ตาม IDC ได้อ้างข้อมูล ที่ได้จากการวิจัยของนักวิเคราะห์ทั้งที่ประจำ�ประเทศไทย และประจำ�ภูมิภาค ได้คาดการณ์ว่า ระดับการลงทุนขององค์กรใหญ่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำ�ให้ตลาด ICT พลิกโฉมกลับมาสดใสอีกครั้งในช่วง ครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ โดยได้รับแรงหนุนจากเทคโนโลยี ICT ที่เกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ไฮเทคพกพา (Smart Devices) และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) ซึ่ง IDC คาดว่าตลาด ICT ของไทยจะสามารถเติบโตได้ถึง ๑๐.๔ % มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ ๑.๖๘ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในบทความขอนำ�เสนอเพียง ๕ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร ทีท่ รงอิทธิพลต่อทิศทางอุตสาหกรรม ICT ของไทยในช่วงครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ (ตั้งแต่ ก.ค.๒๕๕๕) โดยบทความมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้  ความต้องการ Smart Devices แซงหน้า PC ข้อมูลจาก www.onlinemarketing-trends.com และ eLEADER ฉบับเดือน ธ.ค.๒๕๕๔ ได้แสดงให้ เห็นในช่วงก่อนปี ๒๕๔๖ หากกล่าวถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในอันดับแรกคือ โน๊ตบุ๊ค (Notebook) และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) หลังจากนั้นตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน กระแส อุปกรณ์ไฮเทคพกพา (Smart Devices) อาทิ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ได้ก้าวแซงกระแสเดิมของโน๊ตบุ๊คและ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งส่งผลถึงความต้องการของผู้ใช้ในประเทศไทย ที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล โดย IDC เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ยังคงมีความต้องการใช้โน๊ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ


๓๒ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

แต่สงิ่ ทีจ่ ะได้เห็นในช่วงครึง่ หลังปี ๒๕๕๕ และเป็นครัง้ แรกทีย่ อด การจัดส่งของอุปกรณ์ไฮเทคพกพา (ทั้งหมด ๖.๗ ล้านเครื่อง) ซึง่ มีจ�ำ นวนทีส่ งู กว่ายอดการจัดส่งของโน๊ตบุค๊ และคอมพิวเตอร์ ตั้งโต๊ะ (ทั้งหมด ๔.๑ ล้านเครื่อง) ที่สำ�คัญ IDC ได้คาดการณ์ ไว้ในปี ๒๕๕๘ ว่า การท่องอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนและ แท็บเล็ตนัน้ จะแซงหน้าการท่องอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล ในมุมมองของผูเ้ ขียน สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็น อุปกรณ์ทมี่ ขี นาดเล็กและพกพาได้งา่ ยกว่า ประกอบกับมีความ สามารถทัดเทียมกันกับโน๊ตบุค๊ และคอมพิวเตอร์ตงั้ โต๊ะ ทีส่ �ำ คัญ ผูใ้ ช้สามารถนำ�ไปใช้งานได้ทกุ ทีท่ ตี่ อ้ งการ และนีค่ งเป็นเหตุผล หลักที่ทำ�ให้มีผู้นิยมใช้มากขึ้นเรื่อยๆ BC/ DR จะกลายเป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับ ICT ขององค์กร จากวิกฤตมหาอุทกภัยทีเ่ กิดในประเทศไทยเมือ่ ปลายปี ทีผ่ า่ นมา ทำ�ให้ ICT ขององค์กร ทัง้ ทางธุรกิจและทางราชการ หลายองค์กรทีไ่ ม่ได้วางแผนหรือเตรียมการในเรือ่ ง Business Continuity และ Disaster Recovery (BC/ DR) ทำ�ให้เกิด ความเสียหายแก่ขอ้ มูล เนือ่ งจากน้�ำ ท่วมอุปกรณ์จดั เก็บข้อมูล หรือแม้ขอ้ มูลไม่ถกู น้�ำ ท่วม แต่กไ็ ม่สามารถนำ�ข้อมูลมาทำ�งาน ได้ในทันที เนื่องจากไม่มีการเตรียมการในเรื่องขั้นตอนการ ทำ�งานไว้ อาทิ เช่น เมือ่ รูว้ า่ จะเกิดน้�ำ ท่วมสิง่ ทีต่ อ้ ง เตรียมการ คือ จะต้องทำ�การย้ายเซิร์ฟเวอร์ไว้ในที่ปลอดภัย, จัดเตรียม สถานที่พักไว้ทำ�ให้พนักงานสามารถทำ�งานได้อย่างต่อเนื่อง และทำ�ให้พนักงานสามารถทำ�งานได้จากทุกที่ผ่านอุปกรณ์ ไฮเทคพกพาไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน ซึ่งข้อมูล จาก SAP ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนใหญ่แล้วประมาณ ๘๐% ของ องค์กรในประเทศไทย ไม่ได้เตรียมการหรือวางแผนในเรื่องดังกล่าวไว้ โดย IDC ได้คาดการณ์ว่าแนวโน้มความ ต้องการ BC/ DR จะเพิ่มสูงขึ้นช่วงครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ เติบโตไม่ต่ำ�กว่า ๒๓% มีมูลค่ารวมที่ ๔๖.๙ ล้านเหรียญ สหรัฐ เนื่องจากความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลแบบ 24x7 ของผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความจำ�เป็น ที่จะต้องรับมือกับความเสี่ยง และความไม่แน่นอนนับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นของ ภาคธุรกิจและภาคราชการ ในมุมมองของผู้เขียน BC/ DR ถือเป็นบริการด้าน ICT ซึ่งองค์กรต่างๆ ที่มีความต้องการในการใช้บริการ ควร


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๓๓

เลือกใช้บริการ BC/ DR จากผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์และมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ อาทิ เช่น SAP โดยความต้องการใช้บริการ BC/ DR นั้นส่วนมากจะมาจากภาคการเงิน, การสื่อสาร และภาคการผลิต ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีความสำ�คัญในยุคปัจจุบัน Wi-Fi จะได้รับความนิยมมากขึ้นในขณะที่รอ 3G IDC ได้คาดการณ์ว่า การให้บริการด้านข้อมูลไร้สาย (Mobile Data Services) อาทิ ท่องอินเทอร์เน็ต, เข้าเว็บไซต์, ดูวิดีโอและส่งอีเมลผ่านอุปกรณ์ไฮเทคพกพา จะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทรงอิทธิพล ทำ�ให้ตลาด ด้านบริการโทรคมนาคมในประเทศไทยเติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว ๑๕.๕% ไปอยู่ที่ระดับ ๙๖๔ ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผู้ให้บริการรายใหญ่ของไทย (Operator) อาทิ AIS, DTAC และ TrueMove นัน้ ได้เริม่ ให้การบริการผ่านเครือข่าย 3G มาตัง้ แต่ปีทแี่ ล้ว แต่ด้วยสภาพการแข่งขันด้านบริการข้อมูลไร้สายที่สูงขึ้น และบริการ ผ่านเครือข่าย 3G บนความถีเ่ ดิมนัน้ ยังไม่ครอบคลุมทัว่ ประเทศ ทำ�ให้ ผูใ้ ห้บริการรายใหญ่ของไทย ต้องนำ�การให้บริการผ่านเครือข่าย Wi-Fi เข้ามาไว้ในการให้บริการ (Data Package) ทำ�ให้ผใู้ ห้บริการแต่ละราย ต้องขยายเครือข่าย Wi-Fi ให้ครอบคลุมพืน้ ทีม่ ากขึน้ เพือ่ รองรับความ ต้องการของผู้ใช้บริการด้านข้อมูลไร้สายที่เพิ่มขึ้น (ปัจจุบัน AIS มี Wi-Fi ให้บริการประมาณ ๑๕,๐๐๐ จุดทั่วประเทศ, ส่วน DTAC มี Wi-Fi ให้บริการส่วนมากในศูนย์การค้าประมาณ ๑๐๐ แห่งทั่วประเทศและ TrueMove มี Wi-Fi ให้บริการประมาณ ๑๘,๐๐๐ จุดทั่วประเทศ) ซึ่ง IDC เชื่อว่าในครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ นั้น Wi-Fi จะได้รับความนิยม เพิม่ มากขึน้ และมีให้บริการไม่ต�่ำ กว่า ๖๐,๐๐๐ จุดทัว่ ประเทศ เนือ่ งจากต้นทุนของการวางระบบบรอดแบนด์ไร้สาย นัน้ ยังอยูใ่ นระดับทีส่ งู และไม่ทราบว่าการประมูล 3G เชิงพาณิชย์บนความถี่ ๒.๑ GHz จะเสร็จเมือ่ ไร ทำ�ให้เรา จะได้เห็นความร่วมมือที่แนบแน่นมากขึ้นระหว่างผู้ให้บริการด้านข้อมูลไร้สาย อาทิ ในปีที่ผ่านมา ๔ ค่ายใหญ่ ด้านบริการข้อมูลไร้สายประกอบด้วย AIS, DTAC, TOT และ TrueMove ได้ร่วมเปิดบริการด้านข้อมูลไร้สาย ผ่านเครือข่าย Wi-Fi ครอบคลุมพื้นที่ ๖๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร ทั่วอาคารสยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์ และ สยามดิสคัฟเวอรี่ ทำ�ให้ผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็นค่ายใดสามารถใช้ อุปกรณ์ไฮเทคพกพาที่สามารถรับสัญญาณ Wi-Fi เชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในมุมมอง ของผูเ้ ขียน สิง่ นีจ้ ะช่วยแบ่งเบาภาระการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่าย 3G ประกอบกับช่วยลดภาระเรื่องต้นทุนในการปฏิบัติการ ให้แก่ ผู้ให้บริการด้านข้อมูลไร้สาย ขณะเดียวกันทำ�ให้ผู้ให้บริการฯ สามารถเพิม่ รายได้จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายได้อกี ด้วย


๓๔ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

Cloud Computing ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี Cloud Computing หรือเรียกว่าการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ หมายถึงการเข้าใช้ ทรัพยากรด้าน ICT อาทิ คอมพิวเตอร์แม่ข่ายผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำ�เป็นต้องรู้ว่ามีทรัพยากร ICT มากน้อยขนาดไหน ซึ่ง IDC ได้เห็นการพัฒนาเทคโนโลยีและการให้บริการของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Services) ตั้งแต่การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆเข้ามาสู่ประเทศไทยในปี ๒๕๕๓ ซึ่งในปี ๒๕๕๔ เหล่าผู้ให้บริการด้าน ICT ได้เริ่มนำ�การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในรูปการให้บริการ อาทิ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์พร้อมกับพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูล (IaaS), การให้บริการซอฟต์แวร์ (SaaS) และการบริการอื่นๆ ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน โดย ไม่จำ�เป็นต้องใช้งบประมาณจำ�นวนมากในการติดตั้งระบบ ICT ภายในองค์กร ข้อดีคือมีค่าใช้จ่ายตามการใช้งาน จริง องค์กรต่างๆ ได้น�ำ มาประยุกต์ใช้ในการดำ�เนินงานมากขึน้ ซึง่ ถือเป็นการพัฒนาครัง้ สำ�คัญทีช่ ว่ ยสร้างพืน้ ฐาน ทีด่ ขี องการประมวลผลแบบกลุม่ เมฆให้เกิดขึน้ ในประเทศไทย โดย IDC เชือ่ ว่า แนวโน้มของการประมวลผลแบบ


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๓๕

กลุ่มเมฆในครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ นั้นองค์กรต่างๆ จะให้ ความสนใจและต้อนรับการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆมากขึ้น ทั้งองค์กรในภาคการเงิน, การสื่อสาร, การผลิตและการบริการ โดยบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็น IaaS รองลงมาเป็น SaaS นัน่ เป็นเพราะรองรับกับความต้องการจากตลาดทีม่ ากขึน้ ในมุมมองของผูเ้ ขียน ปัจจัย สำ�คัญที่ทำ�ให้การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในไทยเติบโตได้นั้น เกิดมาจากการใช้บริการที่มีค่าใช้จ่ายตามการ ใช้งานจริง ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล อาทิ ระบบคลาวด์ภาครัฐ (GCS) ประกอบกับสามารถช่วยสำ�รองข้อมูลขององค์กรได้ เมื่อเกิดภัยพิบัติที่ไม่คาดฝัน อาทิ มหาอุทกภัย

Mobile Employees ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการทำ�งานมากขึ้น จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ทำ�ให้บุคลากรหลายคนต้องทำ�งานนอกสถานที่มากขึ้น (Mobile Employees) มีการใช้อปุ กรณ์ในการทำ�งานทีห่ ลากหลายไม่เพียงแต่โน๊ตบุค๊ ยังมีการใช้อปุ กรณ์ไฮเทค พกพา อาทิ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการทำ�งาน ทำ�ให้เกิดการกระตุน้ การใช้อปุ กรณ์ในการทำ�งานทีห่ ลากหลาย รูปแบบมากขึน้ โดย IDC ได้คาดการณ์ว่าครึ่งหลังปี ๒๕๕๕ องค์กรต่างๆ เริ่มสนองรับการใช้อปุ กรณ์ไฮเทคพกพา มาเป็นส่วนหนึง่ ของการทำ�งานในองค์กร นอกเหนือจากโน๊ตบุค๊ และคอมพิวเตอร์ตงั้ โต๊ะ โดยสนใจทีจ่ ะลงทุนจัดหา อุปกรณ์ไฮเทคพกพามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำ�งาน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับให้รองรับพฤติกรรม


๓๖ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

การใช้อุปกรณ์ไฮเทคพกพาของบุคลากร ที่ต้องทำ�งานนอกสถานที่ให้มากขึ้น ซึ่งในเวลาที่ผ่านมาองค์กรต่างๆ ยังมีความกังวลในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย ในมุมมองของผู้เขียน เทคโนโลยี VDI (Virtual Desktop Infrastructure) ทีร่ องรับการใช้งานอุปกรณ์ทกุ รูปแบบ จะเข้ามามีบทบาททีส่ �ำ คัญในการทำ�งานขององค์กรมากขึน้ ช่วยให้บุคลากรสามารถทำ�งานได้จากทุกที่ เมื่อมีความจำ�เป็นต้องทำ�งานนอกสถานที่ ซึ่งเราคงจะได้เห็นกันมากขึ้น ในปีนี้ 


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๓๗

(ต่อจากตอนที่แล้ว) เครือ่ งบินขับไล่ เอฟ–5 เอ็ม มีขดี ความสามารถในการใช้อาวุธต่อตีเป้าหมายในอากาศระยะไกล (Beyond Visual Range ; BVR) ด้วยจรวดนำ�วิถีอากาศ–สู่–อากาศ พิสัยปานกลาง นำ�วิถีด้วยระบบเรดาร์ แบบดาร์บี้ การรบอากาศ–สู่–อากาศ ระยะใกล้ (Within Visual Range ; WVR) มีขีดความสามารถในการใช้จรวดนำ�วิถี อากาศ–สู่–อากาศ ที่มีใช้งานอยู่ในกองทัพบราซิลได้ทุกแบบ ได้แก่ จรวดนำ�วิถี เอ็มเอเอ–1 ปิรันย่า (MAA-1 Piranha), ไพธอน 3 และ ไพธอน 4 มีขอ้ มูลบางแหล่งกล่าวว่ากองทัพอากาศบราซิล มีจรวดนำ�วิถี ไพธอน 5 ระยะ ยิงไกล 20 กิโลเมตร นักบินสามารถใช้จรวดนำ�วิถี อากาศ–สู่–อากาศ พิสัยใกล้ร่วมกับหมวกบิน DASH ระบบเรดาร์และอาวุธทีต่ ดิ ตัง้ ทำ�ให้ เอฟ–5 เอ็ม เป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีขีดความสามารถ ในการใช้อาวุธต่อตีเป้าหมายที่อยู่ระดับต่ำ�กว่า (look–down shoot–down) จรวดนำ�วิถี ดาร์บี้


๓๘ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

สำ�หรับการปฏิบัติภารกิจในบทบาทอากาศ–สู่–พื้น เอฟ–5 เอ็ม สามารถติดตั้งระเบิดและจรวดได้ หลายแบบหลายประเภท รวมทั้งสามารถระเบิดนำ�วิถีด้วยเลเซอร์สำ�หรับใช้โจมตีเป้าหมายด้วยความแม่นยำ� เอฟ–5 เอ็ม สามารถบรรทุกอาวุธภายนอกลำ�ตัวได้เป็นน้ำ�หนักรวม 3,175 กิโลกรัม โดยมีตำ�บลติดตั้งอาวุธ ภายนอกลำ�ตัวรวม 7 แห่ง มีข้อมูลรายงานว่าเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2546 กองทัพอากาศบราซิลได้สั่งซื้อ กระเปาะชี้เป้า ไลท์นิ่ง III (Rafael Litening III) จำ�นวน 4 กระเปาะ มูลค่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท ผู้ผลิตในอิสราเอล เพื่อนำ�มาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ เอฟ–5 เอ็ม สำ�หรับใช้ในการชี้เป้าหมายให้กับระเบิดนำ�วิถี ด้วยเลเซอร์

ระเบิดนำ�วิถีด้วยเลเซอร์ และ จรวดนำ�วิถีอากาศ-สู่-อากาศ ใต้ปีก บ.เอฟ-5 อีเอ็ม

จรวดนำ�วิถี MAR-1

• ภารกิจลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ติดตั้งกระเปาะ Reccelite • ภารกิจบินกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก (Suppression Enemy Air Defense : SEAD) มีจรวดนำ�วิถี MAR–1 สำ�หรับยิงทำ�ลายระบบเรดาร์ภาคพื้นดิน หรือฐานติดตั้งในทะเล อาวุธมีระยะยิงไกล 25 กิโลเมตร เมื่อนักบินทำ�การใช้อาวุธที่ระดับเพดานบิน 33,000 ฟุต หรือที่ความสูง 10 กิโลเมตรเหนือพื้น จรวดนำ�วิถี MAR-1 นำ�วิถีเข้าสู่เป้าหมายด้วยเรดาร์ (passive radar) จากการวิเคราะห์สถานการณ์สมมติพบว่า ระบบติดตามเป้าหมาย (seeker) ของจรวดสามารถตรวจจับระบบเรดาร์แม้ว่าจะมีสัญญาณอ่อน (low power) ได้ที่ระยะไกลเกินกว่า 500 กิโลเมตร • ภารกิจดำ�เนินมาตรการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อก่อกวนสัญญาณอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2549 กองทัพอากาศบราซิลได้จัดซื้อกระเปาะ สกาย ชิลด์ (Sky Shield jamming pod) จำ�นวน 3 กระเปาะ มูลค่า 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท Rafael ประเทศอิสราเอล สำ�หรับนำ�มาติดตั้ง กับ เอฟ–5 เอ็ม เพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจดังกล่าว บริษัท Embraer เป็นผู้ดำ�เนินการปรับปรุงเครื่องบิน เอฟ–5 อี เป็น เอฟ–5 เอ็ม โดยเครื่องบินเครื่องแรก ดำ�เนินการเสร็จสิ้นและส่งมอบคืนให้กับกองทัพอากาศนำ�กลับเข้าประจำ�การในปี พ.ศ.2548 และดำ�เนินการ แล้วเสร็จตามโครงการ โดยทำ�การส่งมอบเครื่องบินชุดสุดท้ายจำ�นวน 5 เครื่อง เมื่อปี พ.ศ.2554 สัญญาจ้าง ปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ เอฟ–5 อี/เอฟ จำ�นวน 46 เครื่อง ของกองทัพอากาศบราซิลใช้งบประมาณ 5.7 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเครื่อง


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๓๙

เมื่อปี พ.ศ.2552 กองทัพอากาศบราซิลได้จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ เอฟ–5 อี จำ�นวน 8 เครื่อง และ เอฟ–5 เอฟ จำ�นวน 3 เครื่อง จากกองทัพอากาศจอร์แดน ซึ่งเป็นเครื่องบินที่สร้างในช่วงปี พ.ศ.2518 – 2523 และเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ.2554 ได้สัญญาว่าจ้างบริษัท Embraer และ Elbit ให้ทำ�การปรับปรุงเครื่องบิน เอฟ–5 อี/เอฟ ที่จัดหามาประจำ�การเพิ่มเติม พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องฝึกจำ�ลองสภาวะการบิน (flight simulator) อีก 1 ระบบ ภายใต้สัญญาจ้างมูลค่า 153 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นสัญญาจ้างต่อเนื่องจากฉบับแรกที่ลงนาม ไปเมื่อ พ.ศ.2543 เครื่องบิน เอฟ–5 อี/เอฟ จำ�นวน 11 เครื่อง จะได้รับการปรับปรุงตามแผนงานเป็น เอฟ–5 อีเอ็ม/เอฟเอ็ม เหมือนกับเครื่องบินที่ดำ�เนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว 46 เครื่อง โดยบริษัทที่รับสัญญาจ้างกำ�หนด จะดำ�เนินการปรับปรุงและส่งมอบเครื่องบินชุดแรกคืนให้กองทัพอากาศในปี พ.ศ.2556 และเมื่อดำ�เนินการ เสร็จสิ้นตามโครงการจะทำ�ให้กองทัพอากาศบราซิลประจำ�การด้วยเครื่องบินขับไล่ เอฟ–5 เอ็ม รวม 57 เครื่อง ประกอบด้วย เอฟ–5 อีเอ็ม 51 เครื่อง และ เอฟ–5 เอฟเอ็ม 6 เครื่อง ทีผ่ า่ นมากองทัพอากาศบราซิลได้น�ำ เครือ่ งบินขับไล่ เอฟ–5 เอ็ม สนับสนุนการปฏิบตั ภิ ารกิจการต่อต้าน การก่อการร้าย การปราบปรามการค้ายาเสพติด และการกระทำ�ผิดกฎหมายภายในประเทศ โดยร่วมปฏิบัติ ภารกิจกับอากาศยานแบบอื่นๆ ของกองทัพอากาศ และกำ�ลังจากเหล่าทัพอื่น สำ�หรับขีดความสามารถใน การรบอากาศ–สู–่ อากาศ เครือ่ งบินขับไล่ เอฟ–5 เอ็ม ได้พสิ จู น์ศกั ยภาพในการฝึกร่วมพหุภาคีกบั กองทัพอากาศ นานาชาติหลายครั้ง อาทิเช่น ในการฝึก Cruzex 2006 เอฟ–5 เอ็ม สามารถสังหาร (สมมติ) เครื่องบินขับไล่ มิราจ 2000 ซี จำ�นวน 2 เครื่อง และเครื่องบินโจมตี มิราจ 2000 เอ็น จำ�นวน 1 เครื่อง ของกองทัพอากาศ ฝรั่งเศส ด้วยจรวดนำ�วิถีอากาศ–สู่–อากาศ พิสัยปานกลาง แบบ ดาร์บี้ โดยนักบินได้รับการถ่ายทอดข้อมูล เป้าหมายมาจากเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ แบบ อาร์–99 ของกองทัพอากาศบราซิล บ.เอฟ-5 อี ซื้อจาก ทอ.จอร์แดนรอรับการปรับปรุง

การฝึก Red Flag 2008 ที่สหรัฐฯ กองทัพอากาศบราซิลส่ง เอฟ–5 เอ็ม เข้าร่วมทำ�การฝึกด้วย สรุปผล การฝึก เอฟ–5 เอ็ม มีอัตราส่วนสังหาร 14 : 10 ในการจำ�ลองการรบอากาศ–สู่–อากาศ หมายถึง เอฟ–5 เอ็ม ยิงเครื่องบินข้าศึกสมมติตก 14 ครั้ง และถูกฝ่ายข้าศึกสมมติยิงตก 10 ครั้ง การฝึก Cruzex 2010 เครื่องบินขับไล่ เอฟ–5 เอ็ม 2 เครื่อง สามารถสังหารเครื่องบินขับไล่ ราฟาล ของกองทัพอากาศฝรัง่ เศสตก 2 เครือ่ ง นักบินเครือ่ งบินขับไล่ เอฟ–5 เอ็ม ใช้ยทุ ธวิธบี นิ เข้าหาเครือ่ งบินเป้าหมาย โดยปิดระบบเรดาร์ และใช้ระบบติดตามเป้าหมาย (seeker) ด้วยอินฟราเรดของจรวดนำ�วิถี ไพธอน 4 ในการ ตรวจจับและติดตามเป้าหมายแทน


๔๐ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

กองทัพอากาศบราซิลจะประจำ�การด้วยเครื่องบิน เอฟ–5 เอ็ม ไปถึงปี พ.ศ.2573 (ค.ศ.2030) จากนั้นจะนำ� เครื่องบินขับไล่ที่ได้รับเลือกตามโครงการ FX–2 มาทดแทน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยมีเครื่องบินขับไล่ ที่เสนอเข้าแข่งขันในโครงการ FX-2 คือ กริพเพน เอ็นจี เอฟ/เอฟ–18 อี/เอฟ และ ราฟาล แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถึง กำ�หนดเวลาที่ เอฟ–5 เอ็ม ปลดประจำ�การออกจากกองทัพในอีก 18 ปี กองทัพอากาศบราซิลจัดทำ�แผนงานเพิม่ ขีดความ สามารถทางด้านระบบอาวุธ เพือ่ ให้สามารถต่อสูก้ บั ภัยคุกคามทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต โดยบริษทั อุตสาหกรรมผลิตอาวุธของ บราซิลได้ร่วมมือกับบริษัทในแอฟริกาใต้พัฒนาจรวดอาวุธนำ�วิถีอากาศ–สู่–อากาศ พิสัยใกล้ แบบ เอ–ดาร์เตอร์ (A–Darter) เพื่อนำ�ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ กริพเพน ซี/ดี และเครื่องบินฝึกไอพ่น ฮอว์ค 120 ของกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ ในขณะ ที่กองทัพอากาศบราซิลจะนำ�มาติดตั้งกับ เอฟ–5 เอ็ม และเครื่องบินขับไล่ที่ได้รับเลือกตามโครงการ FX-2 เอ–ดาร์เตอร์ เป็นจรวดนำ�วิถีอากาศ–สู่–อากาศยุคที่ 5 คุณลักษณะ ยาว 2.980 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 166 มิลลิเมตร กางปีก 488 มิลลิเมตร น้ำ�หนักอาวุธ 89 กิโลกรัม ได้รับการออกแบบให้สามารถติดตั้งเข้ากับฐานติดตั้ง จรวดนำ�วิถี เอไอเอ็ม–9 ได้เลย เป็นจรวดนำ�วิถที มี่ คี วามคล่องแคล่วปราดเปรียว (agile) ในการบินติดตามไล่ลา่ อากาศยาน เป้าหมาย ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์จรวด ท่อท้ายจรวดสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางแรงขับ (Trust Vector Control ; TVC) แทนการควบคุมด้วยปีก จึงทำ�ให้จรวดสามารถหักเลี้ยวเพื่อไล่ติดตามเป้าหมายด้วยแรงจีที่สูงมาก โดยสามารถ หักเลี้ยว 180 องศาภายในเวลา 2 วินาที หลังจากปล่อยอาวุธออกไป แผนแบบจรวดมีน้ำ�หนักเบาและไม่มีปีกสำ�หรับ ใช้ควบคุมทิศทางขณะเดินทางเข้าต่อตีเป้าหมาย มีแรงต้านน้อยขณะเคลื่อนที่ไปในอากาศ จึงทำ�ให้มีระยะทำ�การไกล กว่าจรวดนำ�วิถีอากาศ-สู่-อากาศ พิสัยใกล้รุ่นเก่า จรวดนำ�วิถี เอ–ดาร์เตอร์ มีระยะยิงไกลสุด 15 กิโลเมตร ใช้ระบบ ติดตามเป้าหมายด้วยอินฟราเรด ซึ่งถูกออกแบบให้มีความไวสูงในการตรวจจับสัญญาณ (high sensitivity) และมีมุม องศาทีก่ ว้างมาก (very high angles of view) ในการมองเห็นเป้าหมาย เนื่องจากอุปกรณ์อินฟราเรดสามารถหมุนรอบ ด้านหน้าของจรวด จึงสามารถตรวจจับและไล่ติดตามเครื่องบินขับไล่ขณะทำ�การบินดำ�เนินกลยุทธ์เพื่อหลบหลีกการ ถูกไล่ล่าติดตามและการล็อคเป้าหมายไว้ให้จรวดนำ�วิถีพุ่งชน เอ–ดาร์เตอร์ จึงเป็นจรวดนำ�วิถีที่มีขีดความสามารถใน การใช้อาวุธต่อเป้าหมายที่เรียกว่า ‘high off-boresight’ รวมทั้งมีระบบป้องกันการถูกดำ�เนินมาตรการต่อต้านสงคราม อิเล็กทรอนิกส์หลายโหมดการทำ�งาน (multi- mode ECCM suite) จึงสามารถใช้อาวุธต่อเป้าหมายแม้จะอยู่ในสภาวะ ถูกดำ�เนินสงครามอิเล็กทรอนิกส์จากฝ่ายข้าศึก นักบินสามารถทำ�การเล็งเป้าหมายให้กบั จรวดนำ�วิถโี ดยใช้เรดาร์เครือ่ งบิน หรือเล็งผ่านหมวกบินประเภท Helmet Mounted Sight เช่น หมวกบิน DASH แล้วทำ�การปล่อยจรวดนำ�วิถีเข้าต่อตี เป้าหมาย หรือใช้ระบบติดตามเป้าหมายของจรวดล็อคเป้าหมายไว้ก่อนทำ�การยิง โดยนักบินไม่ต้องเปิดระบบเรดาร์ เครื่องบิน ซึ่งจะทำ�ให้อากาศยานฝ่ายข้าศึกไม่สามารถตรวจพบการมาของเครื่องบินที่ใช้อาวุธจากการแจ้งเตือนด้วย ระบบ Radar Warning Receiver จรวดนำ�วิถี เอ–ดาร์เตอร์ มีขีดความสามารถในการจดจำ� (memory) ซึ่งทำ�ให้นักบินสามารถใช้อาวุธโจมตี เป้าหมายขณะบินอยู่ในระยะไกลกว่ารัศมีการทำ�งานของระบบติดตามเป้าหมาย โดยนักบินจะปล่อยจรวดนำ�วิถีไปยัง เป้าหมายอาศัยเส้นแนวยิงที่ได้จากเรดาร์เครื่องบิน จนกระทั่งจรวดเดินทางมาถึงระยะที่ระบบติดตามเป้าหมายทำ�งาน เพื่อทำ�การตรวจจับเป้าหมาย จากนั้นระบบจะทำ�การล็อคเป้าหมายและนำ�วิถีให้จรวดเดินทางเข้าพุ่งชนอากาศยาน เป้าหมาย ซึ่งเรียกโหมดการทำ�งานเช่นนี้ว่า lock-on after launch จรวดนำ�วิถี เอ–ดาร์เตอร์ อยูร่ ะหว่างทำ�การทดสอบกับเครือ่ งบินขับไล่ กริพเพน และกำ�หนดเสร็จสิน้ การทดสอบ ตามแผนงานในปีนี้ หลังจากนัน้ จะเริม่ เข้าสูก่ ารผลิตในปี พ.ศ.2556 กองทัพอากาศแอฟริกาใต้และกองทัพอากาศบราซิล กำ�หนดจะได้รับมอบจรวดที่ผลิตขึ้นใช้งานในปี พ.ศ.2557 


ข่าวทหารอากาศ ๔๑

มิถุนายน ๒๕๕๕

๓๔ ปี

สำ�นักงานปลัดบัญชี ทหารอากาศ

ปชส.สปช.ทอ.

“สำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศเป็นหน่วยงานทีม่ รี ะบบงานทีว่ างระบบงบประมาณของกองทัพอากาศให้เป็นมาตรฐาน มีความทันสมัย เป็นเครื่องมือการบริหารงานให้บรรลุยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล”

พล.อ.ท.วีรนันท์ หาญสวธา ปลัดบัญชีทหารอากาศ

พล.อ.ต.วิจิตร์ จิตรภักดี รองปลัดบัญชีทหารอากาศ

พล.อ.ต.พงศธร ไชยเสน พล.อ.ต.หญิง ประอรณี ถนัดพจนามาตย์ ผู้ช่วยปลัดบัญชีทหารอากาศ (๑) ผู้ช่วยปลัดบัญชีทหารอากาศ (๒)

นับตั้งแต่ก่อตั้งสำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๑ ตลอดระยะเวลา ๓๔ ปี ทีผ่ า่ นมา สำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศได้มกี ารพัฒนาการปฏิบตั งิ านด้านงบประมาณมาเป็นลำ�ดับ มีการปรับ ระบบงบประมาณให้สอดคล้องกับระบบงบประมาณของประเทศ ซึ่งปัจจุบันใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้น ผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategy Performance Based Budgeting System: SPBBS) มีการปฏิบัติงานด้าน งบประมาณเป็นระบบเครือข่าย มีการเชือ่ มต่อระบบสารสนเทศด้านงบประมาณและการเงินของกองทัพอากาศ กับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information


๔๒ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

System : GFMIS) มีการให้ความรู้กับบุคลากรกองทัพอากาศในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อให้ สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนการบริหารราชการของประเทศที่เน้นการทำ�งานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management) จัดทำ�คู่มือการประเมินผลการดำ�เนินงานของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นบทความที่ได้ รับรางวัลชมเชยผลงานบทความทางวิชาการ ประจำ�ปี ๒๕๕๔ ภารกิจด้านงบประมาณ เริ่มตั้งแต่การจัดทำ�งบประมาณ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการงบประมาณ ซึ่งจะต้องดำ�เนินการให้มี ความครอบคลุมในทุกๆ กิจกรรม ต้องสอดคล้องตามห้วงระยะเวลา และวิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์ ๑๒ ปี ของกองทัพอากาศ ต้องรวบรวมข้อมูลเป็นจำ�นวนมาก ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ความทุ่มเทในการทำ�งาน และที่สำ�คัญอย่างยิ่งคือความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาระงานด้านงบประมาณของสำ�นักงาน ปลัดบัญชีทหารอากาศมีมากขึ้นตามวงเงินงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับเพิ่มขึ้นในแต่ละปี

การบริหารงบประมาณ สำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ ได้พจิ ารณาจัดสรรงบประมาณให้หน่วยต่างๆ โดยมุง่ เน้นให้ทุกหน่วยงานสามารถขับเคลื่อนไปตามยุทธศาสตร์ทกี่ ำ�หนดไว้ดว้ ยความประหยัด และโปร่งใส มีการ ควบคุมและติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่าย งบประมาณอย่างเคร่งครัด รวมทัง้ ให้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายทีร่ ฐั บาลกำ �หนด นอกจาก การควบคุมด้านงบประมาณแล้ว ตัง้ แต่ปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมา สำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบ การวางระบบควบคุมภายในของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นภารกิจใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและ การปฏิบัติของหน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงกลาโหม โดยมีสำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ เป็นหน่วย ติดตามตรวจสอบการดำ�เนินการของหน่วยต่างๆ ให้เป็นไปตามระบบควบคุมที่วางไว้ การประเมินผลการดำ�เนินงานของกองทัพอากาศสำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศเป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่ได้รับมอบหมายภารกิจด้านการตรวจสอบและประเมินผลหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ทั้งในเชิงประสิทธิภาพ


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ

ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณ โดยที่ผ่านมาได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้ง ภายในและภายนอกกองทัพอากาศ เพื่อทีจ่ ะทำ�ให้การประเมินผลการดำ�เนินงานในส่วนที่ตอ้ งรับผิดชอบมีความ เป็นรูปธรรม สามารถดำ�เนินการได้จริง และนำ�ไปสู่จุดหมายตามปรัชญาของการประเมินผลที่ต้องการคือให้ หน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศนำ�ผลจากการประเมินไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา หรือตัดสินใจทางเลือกที่ เหมาะสมในการปรับปรุงกระบวนการทำ�งานของหน่วยงานได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป การจัดการความรู้ในสายวิทยาการด้านปลัดบัญชีได้เปิดหลักสูตรนายทหารงบประมาณ และหลักสูตร เสมียนงบประมาณ โดยได้นำ�การเรียนการสอนด้วยระบบ e-learning มาเสริมเพื่อลดเวลาการเรียนในชั้นเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้ รวมทั้งได้เผยแพร่เอกสารประกอบ การบรรยาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านงบประมาณในระบบ Intranet ของกองทัพอากาศ เพื่อ ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ เมื่อครั้งกองทัพอากาศประสบอุทกภัยช่วงปลายปี ๒๕๕๔ สำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศได้จัด ข้าราชการเพือ่ ดูแลอาคาร สถานที่ ตลอดจนทรัพย์สนิ ของทางราชการ และเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสาน ซึง่ สามารถปฏิบตั หิ น้าทีไ่ ด้เป็นอย่างดีชว่ ยให้ทรัพย์สนิ ของทางราชการและเพือ่ นข้าราชการจำ�นวนมาก ได้รอดพ้น จากความเสียหายจึงได้รับรางวัล “นิรภัยภาคพื้นดีเด่นบุคคลที่มีพฤติกรรมดีเด่น” ประจำ�ปี ๒๕๕๔ ก้าวต่อไปของสำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ จากการที่ระบบ GFMIS มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้การปฏิบัติงานบนระบบสารสนเทศด้าน งบประมาณในการเชือ่ มต่อข้อมูลไปยังระบบ GFMIS เกิดปัญหาข้อขัดข้องบ่อยครัง้ ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศจึง ได้อนุมตั ใิ ห้สว่ นราชการภายในกองทัพอากาศปฏิบตั งิ านด้านงบประมาณ การเงิน และการจัดซือ้ จัดจ้างโดยตรง กับระบบ GFMIS โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงข้างต้น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจำ�เป็นต้องมีการวางแผนรองรับการดำ�เนินงานไว้ ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอบรมให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับ ระบบ GFMIS โดยจำ�เป็นต้องปรับขั้นตอนการทำ�งานของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวางระบบให้นายทหาร งบประมาณของหน่วยงานในกองทัพอากาศ เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง และการ เบิกจ่ายเงิน ตามภารกิจการควบคุมภายในทีส่ �ำ นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศได้รบั มอบหมาย เพือ่ ให้การบริหาร งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ในโอกาสทีส่ �ำ นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศจะก้าวขึน้ สูป่ ที ี่ ๓๕ สำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศมีความ เชื่อมั่นว่า บุคลากรของสำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศทุกคนมีศักยภาพและมุ่งมั่นที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจ พัฒนาการดำ�เนินงานด้านงบประมาณของกองทัพอากาศ ให้เป็นมาตรฐาน ทันสมัย เป็นเครือ่ งมือในการบริหาร ภารกิจของกองทัพอากาศเพื่อก้าวไปสู่กองทัพอากาศชั้นนำ�ในภูมิภาคต่อไป 


จากภาพ...ช่างอากาศกำ�ลังปฏิบัติงานในโรงงาน ซึ่งมีขีดความสามารถสูง ทั้งในการซ่อมและสร้าง บ.ได้เอง

ภาพเก่า..เล่าเรื่อง “ช่างอากาศสร้าง บ.เอง” - พ.ศ.๒๔๖๕ สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ ข.๒ (นิเออปอร์ต ๑๕ ตร.ม.) ขึ้นไว้ใช้ราชการเองหลายสิบเครื่อง - พ.ศ.๒๔๖๖ สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ ข.๓ (สบั่ด แบบ ๒) ขึ้นไว้ใช้ราชการเองไม่น้อยกว่า ๓๐ เครื่อง - พ.ศ.๒๔๖๒ สร้างเครื่องบินขับไล่ แบบ ข.๔ (นิเออปอร์ต เดอลาจ) ขึ้นไว้ใช้ราชการเองเป็นจำ�นวนมาก

แหล่งข้อมูล : หนังสือ ๗๒ ปี ทอ.

ฒ.ผู้เฒ่า


Photo by Wing 1

F-16 A/B (บ.ข.๑๙/ก)


บ.ข.๑๙/ก แบบ เอดีเอฟ (F-16 A/B ADF = Air Defense Fighter)

ผู้สร้าง บริษัทล็อคฮีท มาร์ติน สหรัฐฯ ประเภท เครื่องบินไอพ่นขับไล่สกัดกั้น ๑ ที่นั่ง (รุ่น เอ) และ ๒ ที่นั่ง (รุ่น บี) เครื่องยนต์ เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน Pratt & Whitney F-100 PW220 E/24,000 ปอนด์/เครื่อง กางปีก ๓๒ ฟุต ยาว ๔๙ ฟุต ๖ นิ้ว อัตราเร็วสูงสุด ๒,๑๒๕ กม./ชม. (๒ มัค) เพดานบิน ๖๐,๐๐๐ ฟุต พิสัยบินไกลสุด ๒.๑๐๐ ไมล์ รัศมีทำ�การรบ ๕๐๐ ไมล์ เมื่อติดถังน้ำ�มันภายนอก อาวุธ ปญอ. เอ็ม-๖๑ หลายลำ�กล้อง ขนาด ๒๐ มม. ๑ กระบอก ลูกระเบิดรวม ๑๕,๒๐๐ ปอนด์ จรวดนำ�วิถี AIM 9 จำ�นวน ๖ ลูก จรวดนำ�วิถี ARAAM จำ�นวน ๒ - ๔ ลูก จรวดนำ�วิถี AGM-65 จำ�นวน ๖ ลูก

Photo by Wing 1


มิถุนายน ๒๕๕๕

ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในส่วนกำ�ลังรบ

พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ ผบ.คปอ.

พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผบ.รร.การบิน

น.อ.พงษ์สวัสดิ์ จันทสาร ผบ.บน.๔

ข่าวทหารอากาศ

พล.อ.ท.อานนท์ จารยะพันธ์ุ ผบ.อย.

น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑

น.อ.นฤพล จักรกลม ผบ.บน.๒

น.อ.ตากเพชร พินพันธุ์ ผบ.บน.๕


ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในส่วนกำ�ลังรบ

น.อ.อดิศร อุณหเลขกะ ผบ.บน.๖

น.อ.อร่าม สกุลแก้ว ผบ.บน.๒๑

น.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผบ.บน.๗

น.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผบ.บน.๒๓

น.อ.ทศวรรณ รัตนแก้วกาญจน์ ผบ.บน.๔๖

น.อ.ประยูร ธรรมาธิวัฒน์ ผบ.บน.๔๑

น.อ.สุจินดา สุมามาลย์ ผบ.บน.๕๖


ข่าวทหารอากาศ ๔๙

มิถุนายน ๒๕๕๕

สำ�นักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ ปชส.สธน.ทอ.

พล.อ.ต.คเชนท์ โสมะนันทน์ ผอ.สธน.ทอ. น.อ.ทนงศักดิ์ สุทธิสารากร รอง ผอ.สธน.ทอ.(๑)

น.อ.นวรัตน์ มังคลา รอง ผอ.สธน.ทอ.(๒)

สำ�นักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ (สธน.ทอ.) ยังถือว่าเป็นหน่วยงานใหม่ ที่เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ และกำ�หนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ และคำ�สั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ลับ ที่ ๔๐/๕๒ ลง ๑ เมษายน ๒๕๕๒ เรื่อง แก้อัตรากองทัพอากาศ ซึ่งมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ดังนั้น จึง ถือเอาวันที่ ๑ เมษายน ของทุกๆ ปีถัดมา เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสำ�นักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ หาก พิจารณาด้านองค์กร อาจเปรียบได้กับผู้ที่ยังเยาว์วัย มีอายุเพียง ๔ ปี แต่หากพิจารณาด้านบุคลากรแล้ว ย่อม เปรียบได้กบั ผูท้ มี่ อี ายุลว่ งมาแล้ว ๘๐ ปี นับแต่กองทัพอากาศมีนายทหารพระธรรมนูญคนแรก ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ หลังจากกระทรวงกลาโหมออกข้อบังคับทหารที่ ๘/๙๕๔๙ ว่าด้วยการจัดระเบียบการและกำ�หนดหน้าทีก่ ระทรวง กลาโหม โดยให้ กรมอากาศยาน มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการกฎหมาย ดังได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาไว้แล้ว เมื่อครบรอบปีแห่งวันสถาปนา สำ�นักงานพระธรรมนูญ ทหารอากาศ เมื่อ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ (หนังสือข่าวทหารอากาศ ปีที่ ๗๑ ฉบับที่ ๖ ประจำ�เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔) และ ณ โอกาสคล้ายวันสถาปนา ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ นี้ จึงขอนำ�กิจการด้านต่างๆ ที่สำ�คัญ ควรทราบ ดังนี้


๕๐ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

สำ�นักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ ให้ความสำ�คัญต่อบุคลากร ว่าเป็นปัจจัยสำ�คัญสูงสุดของการพัฒนา องค์กร จึงมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ได้บุคลากรที่พึงประสงค์ ด้วยคุณลักษณะหลักที่สำ�คัญ ๓ ประการ คือ ประพฤติดี มีความรู้ ขยันหมั่นเพียร หรือ ดี เก่ง และขยัน ซึ่งจากปัญหาในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา สธน.ทอ. ประสบปัญหาขาดแคลนกำ�ลังพลที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงจำ�เป็นต้องจัดบุคลากรเป็นผู้ปฏิบัติงานในด้านนั้นๆ ทำ�ให้กำ�ลังพลบางส่วนต้องรับ ภารกิจเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้ว ดังนั้น จึงเป็นปัญหาที่ต้องปรับรูปแบบการ บริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร ให้สามารถปฏิบัติงานด้านกฎหมายให้บังเกิดผลดี ทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านกฎหมายอาญา วินัย กฎหมายแพ่ง กฎหมายปกครอง กฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้ง งานสอบสวน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จึงมีแนวทางดำ�เนินการ ดังนี้ ๑. การคัดเลือกบุคลากร ต้องกระทำ�โดยทดสอบความรู้ทางกฎหมายที่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง และ เท่าที่สามารถจะทำ�ได้ ต้องคัดเลือกผู้ที่มีความประพฤติดี และผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร ๒. การฝึกงาน บุคลากรผู้บรรจุใหม่ ต้องถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้กฎหมายมาแล้วเป็นอย่างดี และพร้อม ที่จะปฏิบัติงานกฎหมายในระดับกรมของส่วนราชการได้ ก่อนปฏิบัติงานตามตำ�แหน่งหน้าที่ของหน่วย จะต้อง ผ่านการฝึกการปฏิบัติงานกับหน่วยหัวหน้าสายวิทยาการช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อน เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจการ ปฏิบัติงานกฎหมายทุกด้าน ๓. เพิม่ เติมกำ�ลังพล ปัจจุบนั บุคลากรด้านกฎหมายของ สธน.ทอ. ยังมีจ�ำ นวนทีไ่ ม่สอดคล้องกับปริมาณงาน ทางคดีที่เพิ่มสูงขึ้นตามสภาพของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ทำ�ให้เกิดสภาพงานคั่งค้างที่ อาจส่งผลเสียหายต่อราชการได้ จึงจำ�เป็นจะต้องเพิ่มเติมกำ�ลังพลในระดับปฏิบัติงาน ให้ได้อย่างน้อยแผนกละ ๓ หรือ ๔ คน เพื่อทดแทนกำ�ลังพลที่ต้องจัดส่งไปปฏิบัติราชการใน นขต.ทอ.อื่น เพื่อทดแทน นธน.หน่วยที่ เข้าศึกษาอบรม และกรณีทดแทนกำ�ลังพลของหน่วยที่เข้ารับการศึกษาอบรมด้วย ๔. ให้ความรู้แก่บุคลากร ผู้ปฏิบัติงานกฎหมาย จะปฏิบัติงานกฎหมายให้ถูกต้องตามเหตุผลที่แท้จริง ของกฎหมายไม่ได้เลย หากขาดความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ด้านต่างๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ เพราะความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เป็นบ่อเกิดหรือเหตุที่มาของบทบัญญัติกฎหมาย การอาศัยท่องตัวบทกฎหมาย คำ�พิพากษาศาลฎีกาเฉพาะกรณี ไม่สามารถทำ�ให้เป็นนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญได้ นักนิติศาสตร์จึงจำ�เป็นต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ ด้วย แต่กรณีนี้สายวิทยาการ ไม่สามารถจะจัดอบรมให้ ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่บุคลากรจะต้องเข้าใจเองและแสวงหาความรู้อย่างรอบด้านด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี เกณฑ์ข้อนี้ได้รวมอยู่ในเกณฑ์การทดสอบที่ได้มาตรฐานตามข้อ ๑ ด้วยแล้ว ๕. การเสริมสร้างศรัทธาและแรงจูงใจ จากแนวคิดที่ว่า จะให้คน ๓ หรือ ๔ คน ทำ�งาน เป็นไปไม่ได้ แต่ต้องให้ทุกๆ คนร่วมกันทำ�งาน ฉะนั้น สธน.ทอ. จึงจำ�เป็นต้องนำ�วิธีการบริหารบุคคลมาใช้ และทุกวิถีทางที่จะ ทำ�ให้บุคลากรทุกคนอยากทำ�งานให้กับองค์กร อย่างเต็มอกเต็มใจ ด้วยศรัทธา ด้วยความจงรักภักดี แม้ไม่ได้สั่ง หรือมอบหมายงานให้ปฏิบัติก็ตาม.../


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๕๑

น.ท.พงษ์ชาติ พันธุ์ศรี (ต่อจากฉบับที่แล้ว) ลองมองภาพในการตั้งรับ ณ จุดนี้ ผู้เขียนมองเป็น ๒ ประเด็น หลักๆ คือ การระดมสรรพกำ�ลัง และ แผนการรบ ในประเด็นแรก หรือการระดมสรรพกำ�ลังนั้น หากมองในภาพรวมแล้ว เราอาจจะรู้สึกได้ว่า เมื่อ ถึงสภาวะคับขัน วิกฤติ อย่างเช่นสภาวการณ์ในครั้งนี้ เราเห็นภาพการใช้เครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ทั้งหนักเบา ยุทโธปกรณ์นานาสารพัดแบบที่พึงมี กำ�ลังคน เทคโนโลยี ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน เห็นความร่วมมือร่วมใจ ทีท่ ุกๆ ฝ่าย ระดมกันมาช่วยกู้วิกฤติการณ์ในครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง แต่หากมองลงไปให้ลึกกว่านั้นแล้ว เราจะ เห็นว่าในการระดมสรรพกำ�ลังทุกแขนงนั้น ยังขาดซึ่งการบริหารจัดการที่เป็นระบบ หน่วยงานต่างๆ ที่ออกมา ช่วยเหลือต่างกำ�หนดจุด เลือกพื้นที่ช่วยเหลือกันเอง โดยไม่มีการบริหารจัดการ หรือบูรณาการในภาพใหญ่ ทัง้ หมด การจัดสรรปันส่วนทีเ่ หมาะสมว่าพืน้ ทีใ่ ด ควรจะเป็นส่วนของความรับผิดชอบของหน่วยงานใด ใครเป็น ผู้สั่งการ และมีอำ�นาจหน้าที่ในการใช้เครื่องมือเครื่องไม้อะไร อย่างใด สามารถใช้เครื่องมือที่เป็นของหน่วยงานอื่น ได้หรือไม่ ถึงแม้ว่า ภาพต่างๆ เหล่านี้จะค่อยๆ สมบูรณ์ขึ้นตามลำ�ดับ แต่นั่นก็หมายถึงว่า การรุกล้ำ�ของกองทัพน้ำ� ก็ได้เข้าล่วงลึกเข้าไปในเมืองหลวงชั้นในทุกขณะเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ในสิ่งต่างๆ ที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น หัวใจประการสำ�คัญที่สุดที่ผู้เขียนประสงค์ จะเชื่อมโยงไปถึงในครั้งนี้ ก็คือ แผนในการต่อกรกับกองทัพน้ำ� ซึ่งเราอาจจะเคยเห็น หรือได้ยินจากสื่อต่างๆ ตั้งแต่ แผนการสร้างแนวกั้นน้ำ� ณ จุดใด สถานที่ใด, แผนการอพยพเคลื่อนย้าย, หรือ การส่งของบริจาคไป


๕๒ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

ถึงผู้ประสบภัยต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากเราลองมองอย่างวิเคราะห์เจาะลึก มองด้วยใจที่เป็นธรรมและ เป็นกลาง มองด้วยใจที่ยอมรับความจริง เพื่อที่นำ�บทเรียนครั้งนี้ไปสู่การดำ�เนินการใดๆ ก็ตาม ที่จะปกป้อง และมิต้องทำ�ให้ผืนแผ่นดินอันเป็นที่รัก พี่น้องร่วมชาติร่วมประเทศ ตลอดจนทุกผู้ทุกคนทุกชีวิตที่อาศัยบน ผืนแผ่นดินไทย ใต้ร่มบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องประสบกับชะตากรรมอันเลวร้าย เช่นเดียวกับมหาอุทกภัยครั้งนี้อีกต่อไป ผู้เขียนเชื่อว่าเราคงตอบตัวเองในใจได้ดังๆ ว่า แผนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ล้วน แต่เป็นแผนที่ถูกสร้างขึ้นในระยะเวลากระชั้นชิดแล้วเกือบทั้งหมด หรืออาจจะแปลความให้ชัดเจน ตรงประเด็น ลงไปอีก ก็คงจะแปลความได้วา่ ประเทศไทยของเรายังไม่มแี ผนใดๆ ทีช่ ดั เจน สำ�หรับการรองรับกับภัยธรรมชาติ หรือ มหันตภัยในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ลองยกตัวอย่างดูง่ายๆ เช่นว่า สมมติว่าในปีหน้า เกิดแผ่นดินไหว อย่างรุนแรง เพียงพอที่จะทำ�ให้เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ต้องพังทลายลงพร้อมกัน รวมทั้งยังสั่นสะเทือน เพียงพอที่จะทำ�ให้ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างกรุงเทพมหานครถล่มลงพร้อมๆ กัน ผู้เขียนอยาก จะเชื่อว่า ณ เวลานี้ เราคงยังไม่มีแผนการใดๆ จะรองรับแน่นอน ดังนั้น โดยสรุปแล้ว ผู้เขียนเพียงต้องการที่จะ สื่อว่า แผนในการรับมือกับมหาอุทกภัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นแผนที่วางขึ้นในระยะเวลาจำ�กัด ในขณะที่ข้าศึกหรือ มวลน้ำ�มหาศาลพร้อมที่จะเข้าโจมตีอย่างเต็มกำ�ลัง ซึ่งหมายถึงว่า การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ แผนการปฏิบัติ ในระดับรองๆ ลงไป ความชัดเจนของหน่วยที่จะนำ�ไปสู่การปฏิบัติ การติดต่อสื่อสารประสานงาน แผนในการ แจ้งภัย, อพยพ, ส่งกำ�ลังบำ�รุง, ช่วยเหลือผู้ประสบภัย, การแจกจ่ายสิ่งของบริจาค ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกนำ� ไปปฏิบัติภายใต้แผนที่วางขึ้นในเวลาสั้นๆ ยังไม่มคี วามสมบูรณ์ ขาดการวางแผนร่วมกัน และขาดการบูรณาการ ในการปฏิบัติ ซึ่งในทางทหารแล้ว แผนการรบ หรือแผนทางทหาร จะเรียกแผนที่ถูกจัดทำ�ขึ้นในระยะเวลาจำ�กัด หรือในสถานการณ์วิกฤตินี้ว่า แผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ หรือ Crisis Action Plan ซึ่งผู้เขียนจะนำ�เสนอต่อไป

น้ำ�ใจคนไทยไม่เคยเหือดแห้งเสมอ


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๕๓

หากจะกล่าวถึงแผนการรบทางทหาร หรือแผนทางทหารแล้ว ผูเ้ ขียนขอนำ�เสนอเป็น ๒ ประเภทหลักๆ ก็คอื แผนเผชิญสถานการณ์วกิ ฤติ (Crisis Action Plan) ดังทีเ่ กริน่ นำ�แล้วข้างต้น และแผนประณีต (Deliberate Plan) ซึ่งในส่วนของผู้อ่านที่จบการศึกษาในระบบทหารอาชีพ (Professional Military Education) ในระดับ กลางมาแล้ว หรือผู้อ่านที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนด้านต่างๆ คงมีความเข้าใจถึงคุณลักษณะ กระบวนการ ความเหมือนและความแตกต่างของแผนทั้งสองอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้เขียนยังเชื่อมั่นว่า สำ�หรับผู้อ่าน ที่มิได้คุ้นเคย หรือทำ�งานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทหารแล้ว ในองค์กร หรือหน่วยงานในสาขาอาชีพต่างๆ น่าจะ มีการวางแผนล่วงหน้า รวมทั้งแผนการปฏิบัติทั้งในสภาวะปกติ และสภาวะฉุกเฉินคล้ายๆ กัน ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่ กับภารกิจ สภาวะแวดล้อม ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ว่าในแต่ละองค์กร หรือหน่วยงานนั้นๆ จะให้ความสนใจ ในเนื้อหารายละเอียดของแต่ละแผนเพียงใด แผนประณีต หรือ Deliberate สมาคมแม่บ้าน ทอ.ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย Plan หมายถึง แผนทางทหารที่ถูกคิด วิเคราะห์ และเตรียมการสำ�หรับสภาวะปัจจัย สิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และกระทบต่อความมัน่ คงในอนาคต ซึง่ โดย ปกติแล้ว แผนประณีตนีจ้ ะถูกเตรียมการเพือ่ รองรับสิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในห้วงเวลา ๒ – ๓ ปี ข้างหน้า ภายใต้กระบวนการคิด วิเคราะห์ทางการข่าวอย่างเป็นระบบ และ การประเมินสถานการณ์โดยอาศัยสภาวะ แวดล้อมในปัจจุบันเป็นตัวตั้ง ดังนั้น แผน ประณีต จึงมีชว่ งเวลาทีใ่ ห้คณะผูบ้ งั คับบัญชา และนายทหาร ฝ่ายเสนาธิการกลั่นกรอง และปรับเปลีย่ นให้ทนั สมัยได้อยูต่ ลอดเวลา หรืออาจกล่าวได้ว่า แผนประณีตที่ดี จะมีความสมบูรณ์แบบ ถูกวางไว้อย่างละเอียด รัดกุม และครอบคลุมกับ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีช่วงเวลาสำ�หรับการเตรียมแผนที่มากพอนั่นเอง นอกจากนี้ เมื่อถึงเวลาที่ ต้องนำ�แผนนี้ไปปฏิบัติ หรือประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใดๆ แผนประณีตที่สมบูรณ์จะทำ�ให้เกิดความง่าย กำ�จัด ข้อขัดข้อง ข้อสงสัย และความสับสนต่างๆ อันพึงจะเกิดจากการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี อนึ่ง หากมองย้อนกลับมาพิจารณาถึงวิกฤตการณ์อันเกิดจากมหาอุทกภัยที่ผ่านมา อาจกล่าวเป็น เชิงสรุปได้ว่า ไม่มีหน่วยงาน หรือองค์กรใด ได้เตรียมการ หรือวางแผนที่เรียกว่า แผนประณีต ดังที่กล่าวมาแล้ว หรืออาจกล่าวอีกทางหนึ่งได้ว่า เมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมา ไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใด องค์กร หรือหน่วยงานใด ประเมิน ว่าในช่วงปลายปี ๒๕๕๔ จะเกิดอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ขึ้น และเมื่อไม่มีแผน การปฏิบัติใดๆ ก็ย่อมไม่ชัดเจน


๕๔ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

และไร้ทิศทาง ดังภาพที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวนำ�ในข้างต้นที่ว่า ในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส เพียงแต่ว่าเราจะมองเห็นโอกาสนั้นเจอหรือไม่ ดังนั้น ด้วยบทเรียนที่ประเทศชาติได้รับในครั้งนี้ ผู้เขียนมีความ เชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า นับจากนี้ไป องค์กร หรือ หน่วยงานใดๆ ไม่ว่าในภาครัฐหรือเอกชน ระดับเล็กหรือ ใหญ่ หรือแม้กระทั่งกองทัพอากาศอันเป็นที่รักยิ่งของชาวทัพฟ้าทุกคน จะเล็งเห็นความสำ�คัญของคำ�ว่า “แผน ประณีต” และเราคงจะเห็นภาพการประเมินสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน ๒ ปีข้างหน้าที่แม่นยำ�มากยิ่งขึ้น มีการเตรียมการทีพ่ ร้อมสรรพมากขึน้ แม้วา่ สถานการณ์ หรือภัยคุกคามทีจ่ ะเกิดนัน้ มิใช่ขา้ ศึกศัตรู หรือกำ�ลังรบ ทางทหารจากชาติหนึ่งชาติใดก็ตาม นอกจากแผนประณีตทีผ่ เู้ ขียนได้สรุปให้ผอู้ า่ นทีร่ กั ทุกท่านได้รบั ทราบแล้วนัน้ แผนทางทหารอีกแผนหนึง่ ซึ่งมีความสำ�คัญไม่น้อยกว่าแผนประณีต และยังถูกคิด ตลอดจนนำ�มาปรับใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรมในสถานการณ์ น้ำ�ท่วมที่ผ่านมา ได้แก่ แผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ หรือ Crisis Action Plan หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า แผน CAP นั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการและขั้นตอนในการวางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ กับ แผนประณีตนั้น ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ว่า แผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติจะมีข้อจำ�กัดที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อจำ�กัดทางด้านเวลาในการวางแผน ทั้งนี้ เนื่องจากว่า ในการวางแผนเผชิญสถานการณ์ วิกฤตินั้น จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยต่อสิ่งที่กำ�ลังเกิดขึ้น หรือเป็นอยู่ หรือข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดเพื่อนำ� ไปวิเคราะห์หาหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง และดีที่สุดนั่นเอง ประเด็นทีม่ คี วามสำ�คัญของแผนเผชิญสถานการณ์วกิ ฤติอกี ประเด็นหนึง่ ก็คอื แผนเผชิญสถานการณ์ วิกฤติใดๆ จะมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน และสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการรองรับสถานการณ์ได้จริงเพียงไร ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ในการวางแผนประณีต หรืออาจอธิบายได้ว่า หากมีแผนประณีตที่ถูกต้อง ที่สามารถ คาดการณ์ต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอย่างแม่นยำ� หรือใกล้เคียงที่สุด และมีการเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ นัน้ ๆ อย่างดีทสี่ ดุ เมือ่ เหตุการณ์ หรือสิง่ ทีไ่ ม่คาดฝันนัน้ เกิดขึน้ การวางแผนเผชิญสถานการณ์วกิ ฤติ ก็จะสามารถ นำ�เอาแผนประณีตทีถ่ กู วางไว้เป็นอย่างดีแล้ว มาปรับแก้เพียงบางส่วนทีเ่ ล็กน้อยเท่านัน้ และสามารถนำ�ไปปฏิบตั ิ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แน่นอน และสมบูรณ์แบบที่สุดเช่นกัน


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๕๕

ทั้งนี้ ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวแล้วในเบื้องต้นว่า หากเรามองย้อนกลับไปถึงสถานการณ์นำ้�ท่วมที่ผ่านมา และหากเราต้องการจะยืนยันว่าเราเตรียมแผนในการรองรับสภาวะน้ำ�ท่วมไว้เรียบร้อยแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่า แผนต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในระดับใด ล้วนแล้วแต่เป็นแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติทั้งสิ้น ซึ่งต่างเกิดขึ้นก่อน ช่วงเวลาวิกฤติไม่นานมากนัก ส่งผลให้การเตรียมการ หรือความพรักพร้อมในการบริหารจัดการองคาพยพต่างๆ ยังไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จและถูกต้อง ภาพแห่งความชุลมุนวุน่ วาย ความโกลาหล ยังมีให้เห็น และสัมผัสได้ในหลายๆ จุด ทั้งนี้ ประเด็นที่ผู้เขียนอยากจะเรียกว่าเป็นความตั้งใจ และหัวใจของบทความนี้ อยู่ในประเด็นที่ว่า ในการเตรียมการรับมือกับภัยคุกคาม หรือสภาวการณ์ใดๆ ที่อาจนำ�มาซึ่งความเสียหาย ความหายนะ ความเดือดร้อน ของประชาชนในแผ่นดิน หากเรามีแผนประณีตที่เตรียมไว้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะ สามารถนำ�ไปสู่แผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติที่ถูกต้อง ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งหมายถึงว่า ความเดือดร้อน และความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็จะสามารถถูกลดระดับลงได้อย่างเห็นได้ชัด กล่าวโดยสรุป จากที่ผู้เขียนได้บอกเล่า และเชื่อมโยงในสิ่งที่เรียกว่าเป็นทฤษฎี เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติ ในโอกาสต่อไป โดยการไล่เรียงมาจากวิกฤตการณ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมหาอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งนอกจากจะสร้างความเสียหาย และความบอบช้ำ�อย่างเหลือคณานับให้กับประเทศอันเป็นที่รักแล้ว ยังส่งผล ต่อความมั่นคงของชาติ และพลังอำ�นาจในทุกๆด้านทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร รวมทั้ง เทคโนโลยีต่างๆ อย่างไรก็ตาม ในวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น หากมองด้วยการคิดวิเคราะห์ในเชิงบวก ด้วยจิตใจ ที่มุ่งดี มุ่งประโยชน์ต่อประเทศชาติ อาจกล่าวได้ว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้ ได้สร้างโอกาสสำ�คัญในการที่จะพัฒนา ประเทศในด้านต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์ พรักพร้อมยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของการ มองเห็น “โอกาสในวิกฤติ” ขององค์กร หรือหน่วยงานใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีบทบาท หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติโดยตรง และในส่วนท้ายของเนื้อหาที่ผู้เขียนได้นำ�เสนอในบทความนี้ ได้แก่ การที่ผู้เขียนได้พยายามเชื่อมให้ผู้อ่านที่เคารพได้เห็นความสำ�คัญของแผนการรบทางทหาร ซึ่งสามารถนำ�ไป ประยุกต์ใช้ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอย่างไร โดยที่ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความ แตกต่างของแผนประณีต หรือ Deliberate Plan ที่เราควรทำ�ความเข้าใจและนำ�ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น กับอีกแผนหนึ่งที่เรียกว่า แผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ ซึ่งจะมีข้อจำ�กัด และมีระยะเวลาเพียงเล็กน้อยในการ เตรียมการ ทั้งนี้ ผู้เขียนยังนำ�เสนอให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่าง แผนประณีต และ แผนเผชิญสถานการณ์ วิกฤติ ว่าหากมีการเตรียมการที่เยี่ยมยอด มีแผนประณีตที่สมบูรณ์ การนำ�แผนประณีตมาประยุกต์ และปรับ ใช้เป็นแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติที่ยอดเยี่ยม ก็จะนำ�มาซึ่งการขจัดอุปสรรคต่างๆ การลดข้อจำ�กัดใน หลายๆด้าน และนำ�ไปสู่ผลสำ�เร็จในการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ที่สุด ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอกราบเรียนผู้อ่านทุกท่านด้วยความเคารพว่า บทความที่ผู้เขียนได้เรียบเรียง และ นำ�เสนอในครั้งนี้ ผู้เขียนมุ่งเขียนด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ และมุ่งสร้างประโยชน์ต่อหน่วยงาน องค์กร และประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพอากาศอันเป็นที่รัก และเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของผู้เขียนเอง หากผู้เขียนได้ กล่าวถึง หรือสร้างความไม่สบายใจใดๆ แก่ท่านผู้อ่านท่านใด ผู้เขียนกราบขออภัยด้วยใจจริง 


๕๖ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

มีน ๑. ให้หาคำ�มาเติมในช่องว่างทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยดูจากความหมายที่ให้มา ๒. แต่ละช่องเติมได้ ๑ ตัวอักษร สระบน สระล่าง และวรรณยุกต์ ให้เติมไว้ในช่องเดียวกัน ส่วนสระหน้า และสระหลัง ให้แยกช่องต่างหาก


ข่าวทหารอากาศ ๕๗

มิถุนายน ๒๕๕๕

 แนวตั้ง 

 แนวนอน 

๑. สมบัติที่ได้มาด้วยการเสี่ยงโชค มักไม่แน่นอน ๒. บอบช้ำ� โดยปริยายหมายถึงอย่างหนัก ๓. เผลอสติ เคลิบเคลิ้ม ๔. ผ้าขาวที่ขึงไว้สำ�หรับเชิดหนัง ๕. หยอกเย้า ๖. ถึงจุดหมายปลายทาง พ้นอันตราย ๗. คำ�เติมท้ายคำ�อื่นที่เป็นคำ�นาม หมายความว่า มี (ดารา.... คือมีดาว) ๘. คำ�สั่งหลวง ๑๑. งานเล่นรื่นเริง มีโขน ละคร เป็นต้น ๑๓. ที่สูง ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามที่ลุ่ม ๑๕. เล็ก อ่อน ๑๘. โผเข้าไปอย่างรวดเร็ว ๒๒. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงาน ๒๓. ศาลาที่สร้างเป็นหลังๆ เรียงเป็นแถวรอบโบสถ์หรือวิหาร ๒๕. ค่าธรรมเนียม ๒๗. กลั้น ๒๙. นางงาม ๓๔. ลักษณนามที่ใช้นับอายุ ๓๖. ปลากุแล (ปลาทะเล) ๓๗. มอบให้ ๓๘. โลเล เหลวไหล ๔๐. ลำ�น้ำ�ที่ไหลมารวมกับลำ�น้ำ�อีกสายหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอกัน ๔๑. มาตราเงินสมัยโบราณ ๒ อัฐ = ๑....... ๔๒. กล้าหาญ เก่งกล้า ๔๔. การจบหรือสิ้นสุดลงระยะหนึ่งๆ ของพิธีบางอย่าง

๑. มีจิตใจไม่แน่นอนในเรื่องชู้สาว มักใช้แก่หญิง ๕. วันทำ�บุญครบ ๗ วันของผู้ตาย ๙. พระจันทร์ ๑๐. ยศทหารชั้นสูงสุด ๑๒. ทำ�ให้เกิดขึ้น ๑๔. หวาดเสียว ๑๕. เถลไถลไม่ตรงไปตรงมา ๑๖. รวมกันเป็นกลุ่ม ๑๗. ชื่อพระเครื่องชนิดหนึ่งของลำ�พูน ๑๘. เอาแขนอ้อมไว้ ๑๙. เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอง มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำ�สมาส ๒๐. เรียกคำ�ที่เพิ่มเข้ามาหลังคำ�เดิม เมื่อเพิ่มแล้วมีความหมายคง เดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น อากร ในคำ�ว่า นรากร อาการ ในคำ�ว่า ทัศนาการ ๒๑. แนบไว้กับอก ๒๓. ซากผี ๒๔. ตายแล้ว ๒๖. เร่อร่า อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี ๒๘. ของเหลือที่ไม่ต้องการแล้ว ๓๐. ลวดลาย น้ำ� ๓๑. ผ่านเข้าไปในช่อง ๓๒. เบา ๓๓. ปึกแผ่น ๓๕. คลำ�หาของในน้ำ� ๓๖. น้องของพ่อ ๓๗. ปัสสาวะ อุจจาระ (ราชาศัพท์) ๓๙. ถูไปถูมาด้วยตะไบ ๔๐. มองดู ๔๑. ช้าง ๔๓. เดินไปเดินมา ๔๖. เวลาเช้า ๔๗. แตก ทำ�ลาย ๔๘. บ๊ะ ! คำ�ที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาด หรือผิดหวัง

(เฉลยอยู่หน้า ๖๒)


๕๘ ข่าวทหารอากาศ

7

มิถุนายน ๒๕๕๕

ครูภาษาพาที

Innocent Gestures That Can Get You Killed Overseas

Runy

การสือ่ สาร คือ การติดต่อระหว่างมนุษย์ดว้ ยวิธกี ารต่างๆ ทีจ่ ะให้ฝา่ ยหนึง่ รับรูค้ วามหมายของอีกฝ่ายหนึง่ และเกิดการตอบสนองโดยสือ่ สารผ่านวัจนภาษา คือภาษาพูดซึง่ เป็นหัวใจของกิจกรรมการสือ่ สาร ซึง่ ผูส้ ง่ สารจะ ใช้เป็นสือ่ พาไปสูผ่ รู้ บั สาร นอกจากวัจนภาษา เรายังสามารถสือ่ สารผ่านอวัจนภาษา (gestures หรือ nonverbal language: a movement or position of the hand, arm, body, head, or face that is expressive of an idea, opinion, emotion, etc.) คือภาษาที่สื่อสารโดยการเคลื่อนไหวของมือ แขน ร่างกาย ศีรษะ หน้าตา เพื่อแสดงความคิด ความเห็น และอารมณ์ เป็นต้น ก็เป็นสิ่งที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ส่งสารใช้เป็นสื่อพาสาร ไปสู่ผู้รับสาร อวัจนภาษามีบทบาทสำ�คัญในรูปแบบต่างๆ ของการสื่อสาร การใช้อวัจนภาษาในการสื่อสารข้าม วัฒนธรรม (Cross-cultural Communication) อาจส่งผลให้ทั้งผู้ส่งสารหรือผู้รับสารหรือทั้งสองฝ่ายที่มี พืน้ ฐานทางสังคมและวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างกันเกิดความเข้าใจผิดกันได้ ทุกคนจึงควรให้ความสนใจกับอวัจนภาษา ที่มาควบคู่กับสารทางวาจา อันได้แก่ การรักษาระยะห่างที่ผู้พูดพึงระวัง การใช้ท่าทาง และการเคลื่อนไหวส่วน ต่างๆ ของร่างกาย การประสานสายตา การแสดงออกทางสีหน้า การสัมผัสกาย และการใช้ทำ�นองเสียงและ น้ำ�เสียงประกอบวาจา การสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล คือ การสื่อสารที่ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจความหมายได้ตรงกัน และผู้รับสารตอบสนองได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ บทความเรือ่ ง 7 Innocent Gestures That Can Get You Killed Overseas เขียนโดย Tim Cameron เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จาก www.cracked.com ได้เขียนถึงอวัจนภาษาเจ็ดแบบในประเทศต่าง ๆ ที่ควร ทราบแต่ไม่ควรทำ� เพราะจะทำ�ให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างกัน และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้เขียนเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน เชิญติดตามได้เลยค่ะ  Don’t give the “OK” sign in Brazil. ห้ามทำ�สัญญลักษณ์โอเคหรือตกลงที่ประเทศบราซิล ตามธรรมดาแล้วการทำ�ท่าทางแบบนี้ ผู้ที่เห็นก็จะเข้าใจความหมายได้ทันที ว่า “ตกลง” แต่ถ้าคุณทำ�มือโอเคให้ชาวบราซิลถือว่าเป็นการด่า จากมิตรก็จะกลาย เป็นศัตรูทันที ในประเทศบราซิลการทำ�มือ “ตกลง” ไม่ควรนำ�มาใช้ เพราะเป็นการ แสดงอากัปกิริยาเทียบเท่าได้กับการโชว์นิ้วกลางในประเทศสหรัฐอเมริกา


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๕๙

 Don’t give a gift with your left hand, pretty much everywhere. ห้ามให้ของขวัญด้วยมือซ้าย การให้ของขวัญด้วยมือซ้ายถือว่าเป็นการดูถูกผู้รับ และต้องการแสดง ความเกลียดชังที่ผู้ให้มีต่อผู้รับ ในบางประเทศถือว่ามือซ้ายเป็นมือที่สกปรก เพราะเรามักใช้มือซ้ายจับสิ่งที่ไม่ดี ใช้ชำ�ระล้างสิ่งปฏิกูลเวลาเข้าส้วม (สำ�หรับ คนถนัดขวา) นอกจากนั้นในบางวัฒนธรรมในบางประเทศ เชื่อว่าคนที่ถนัดซ้าย คือสมุนของซาตาน ส่วนคนถนัดขวาคือมนุษย์ ซึ่งในหลายๆ ประเทศที่ห้ามส่ง ของขวัญด้วยมือซ้าย ได้แก่ อินเดีย แอฟริกา ศรีลังกา และหลายประเทศแถบ ตะวันออกกลาง  Don’t give an even number of flowers in Russia ห้ามให้ดอกไม้เป็นจำ�นวนเลขคู่ในประเทศรัสเซีย ในประเทศรัสเซียดอกไม้จำ�นวนเลขคู่ใช้ในงานศพเท่านั้น การให้ดอกไม้จำ�นวนเลขคู่เป็นของขวัญแก่ คนรัสเซีย เป็นเหมือนการแช่งให้เขาตายเร็วๆ ดังนั้นควรให้ดอกไม้เป็นจำ�นวนเลขคี่ดีกว่า และคนรัสเซียไม่ได้ให้ ความสำ�คัญเรือ่ งสีของดอกไม้มากนัก ประเทศรัสเซียมีประวัตวิ ฒ ั นธรรมประพณีทยี่ าวนานและเก่าแก่ มีขอ้ ห้าม ทำ�ของคนรัสเซียอยู่มาก เช่น ไม่ควรจับมือหรือหอมแก้มทักทายที่ประตูทางเข้าบ้าน ห้ามปฏิเสธการดื่มอวยพร เวลาไปเยี่ยมต้องนำ�ของที่ระลึกมอบให้เจ้าภาพด้วย เรือ่ งการมอบของขวัญแก่ชาวต่างประเทศนี้ ยังมีขอ้ ความระวังอีกมาก เช่น อย่าให้นาฬิกาเป็นของขวัญ กับคนจีน เพราะคำ�ว่านาฬิกาออกเสียงเหมือนคำ�ว่า “ตาย” อย่าใช้กระดาษขาวห่อของขวัญให้คนจีน เพราะสีขาว เป็นสีที่ใช้ในงานศพ อย่าให้ดอกไม้สีขาวแก่ชาวบังคลาเทศ เพราะเป็นการแช่งให้ตายเร็วๆ  Don’t say “Hi” to a member of the opposite sex in Saudi Arabia. ห้ามทักทายหรือสนทนากับเพศตรงข้ามในประเทศซาอุดีอาระเบีย ประเทศซาอุดอี าระเบียมีกฎหมายทีเ่ คร่งศาสนาเพิอ่ ป้องกันการกระทำ� ผิดศีลธรรมต่างๆ การทักทายกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายทีไม่ใช่สามีภรรยากัน ในที่สาธารณะถือเป็นการกระทำ�ที่ผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง กฏหมายนี้รวมถึง ผู้หญิงต่างชาติด้วย ในดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ.๒๐๐๘ ผู้หญิงชาวอเมริกันได้พูด คุยกับผู้ชายที่ร้านกาแฟสตาร์บั๊คส์ถูกจับกุมและบังคับให้ลงลายมือชื่อสารภาพ ยอมรับผิดด้วย ผู้หญิงในประเทศนี้ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ขับรถ ไปซื้อของ ตามลำ�พัง ให้การในศาล ขี่จักรยาน แต่น่าแปลกที่ยอมให้ผู้หญิงขับเครื่องบิน ไอพ่นได้


๖๐ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

 Don’t finish your meal in Thailand, the Philippines and China. ห้ามกินอาหารในจานจนหมดในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และจีน

จากบทความทีท่ มิ คามเรอน เขียนไว้ ได้อธิบายว่าการรับประทานอาหารในจานจนหมดเป็นการกระทำ� ทีไ่ ม่สภุ าพเมือ่ ได้รบั เชิญไปรับประทานอาหารในประเทศไทย ฟิลปิ ปินส์ และจีนแล้ว ควรเหลือคำ�สุดท้ายไว้ในจาน ในประเทศจีนถ้ารับประทานอาหารในจานจนหมดแสดงว่ายังไม่อิ่ม ดังนั้นถึงแม้อาหารจานนั้นจะอร่อยมาก แต่ ถือว่าเป็นการแสดงความมีมารยาทที่ดีก็ต้องเหลืออาหารไว้ในจานหนึ่งคำ�เสมอ นอกจากนี้การพูดในขณะที่มี อาหารอยู่ในปาก และการเรอหลังจากรับประทานอาหารอิ่มแล้วถือว่าเป็นมารยาทที่ดี แต่ข้อนี้ผู้เขียนซึ่งเป็นคนไทย ไม่เห็นด้วยที่จะรวมประเทศไทยเข้าไว้ด้วย เนื่องจากได้รับการอบรมเรื่องมารยาทในการรับประทานอาหารมา ตั้งแต่เด็กว่าให้รับประทานอาหารในจานให้หมด ห้ามพูดขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก และการเรอต้องไม่ทำ�อย่าง เปิดเผยในที่สาธารณะ

 Don’t give the thumb-up in the Middle East. ห้ามยกนิ้วหัวแม่มือที่ประเทศแถบตะวันออกกลาง


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๖๑

ตามความหมายสากลการยกนิ้วหัวแม่มือถือเป็นคำ�ชมเชย แต่ในประเทศแถบตะวันออกกลางถือเป็น คำ�ด่า การยกนิ้วหัวแม่มือเป็นสัญญาณที่มีมากว่าพันปีแล้ว ในสมัยโรมันมีที่มาจากการต่อสู้ในเวทีการประลอง พวกนักโทษซึ่งเป็นทาสที่แพ้จะถูกตัดสินให้มีชีวิตอยู่หรือตาย ถ้าเอานิ้วหัวแม่มือลงแปลว่า ให้เอาไปฆ่า ถ้าเอา นิ้วหัวแม่มือขึ้น แปลว่า รอดชีวิต การยกนิ้วหัวแม่มือขึ้นหรือลงแบบนี้ได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางใน อาณานิคมของชาวโรมัน ความหมายดั้งเดิมคือ อย่าฆ่านักโทษ (Don’t kill the prisoner!)

 Don’t extend your hand and palm outward in Greece! ห้ามยื่นมือและหันฝ่ามือออกไปในประเทศกรีซ ในประเทศกรีซการแบมือและยื่นฝ่ามือออกไปข้างหน้าถือเป็นการดูถูก เรื่องนี้มีที่มาจากสมัยโบราณ เมื่ออาชญากรทำ�ความผิดและถูกจับได้ จะถูกนำ�ไปขังในกรงและแห่ประจานตามท้องถนน ผู้คุมจะละเลงหน้า ของนักโทษด้วยสีดำ�เพือ่ เป็นการประจาน ถือว่าเป็นเรือ่ งทีน่ า่ อับอายมาก ดังนัน้ การทำ�มือแบบนี้จะทำ�ให้ชาวกรีซ นึกถึงนักโทษที่ถูกแห่ประจาน ความเข้าใจเรือ่ งของภาษาเพียงอย่างเดียวไม่ทำ�ให้การสือ่ สารบรรลุวตั ถุประสงค์ได้อย่างสมบูรณ์ ยังมีเรือ่ ง ของความแตกต่างทางด้านความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ อีกมากมาย ดังนั้นผู้ที่เรียนภาษาต่างประเทศ ควรให้ความสำ�คัญเรือ่ งการสือ่ สารข้ามวัฒนธรรมด้วย รูปแบบและวิธกี ารสือ่ สารของคนแต่ละคนล้วนอยูภ่ ายใต้ อิทธิพลของวัฒนธรรม ยิง่ มีความเข้าใจเรือ่ งภาษาและวัฒนธรรมมากเท่าไร ก็จะทำ�ให้การสือ่ สารข้ามวัฒนธรรม ได้ผลดีมากยิง่ ขึน้ เท่านัน้ และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดทีอ่ าจนำ�ไปสูก่ ารบาดเจ็บหรือเป็นอันตราย ถึงแก่ชีวิตได้ สวัสดีค่ะ 


๖๒ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

เฉลย

ปริศนาอักษรไขว้ ประจำ�เดือน มิ.ย.๕๕

ไขมันปลา.. อาหารสมอง

มีน

แอนฟิลด์

มีงานวิจัยน่าสนใจจากสวีเดนกล่าวว่า วัยรุ่นชายที่บริโภคปลาไม่ต่ำ�กว่าสัปดาห์ละครั้งจะมีความฉลาด ทั้งทางสมองและอารมณ์มากขึ้น งานวิจยั ชิน้ นีศ้ กึ ษากับผูช้ ายวัย ๑๕ – ๑๘ ปี จำ�นวน ๕,๐๐๐ คน พบว่าผูท้ กี่ นิ ปลาเป็นประจำ�โดยเฉพาะ ปลาที่มีโอเมก้า – ๓ ในปริมาณสูง อย่างเช่น ปลาแซลมอนแมคเคอเรล หรือทูน่า จะมีพัฒนาการทางสมองดีกว่า คนที่ไม่ค่อยกินปลา โดยวัดจากคะแนนการทำ�ข้อสอบ ผู้วิจัยกล่าวว่า ช่วงวัยรุ่นตอนปลายเป็นวัยที่สมองส่วนความจำ� อารมณ์ และการเข้าสังคมมีการพัฒนา อย่างเต็มที่ สารอาหารที่จำ�เป็นต่อสมองอย่างโอเมก้า – ๓ ในปลาจึงช่วยให้สมองเติบโตสมบูรณ์ และจะได้ผลดี ยิ่งขึ้นหากมารดาบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า – ๓ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์... ขอขอบคุณ : www.krabork.com


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๖๓

เวลา..การ์ตูน BLONDIE

มิสกรีน

ภาพ 1 - คุณจะมากวนใจผมเรื่องหลังคาบ้านอีกเหรอ ? ภาพ 2 - คุณหมายถึงหลังคาบ้านที่คุณสัญญาจะซ่อมให้และยังไม่ได้ทำ�ใช่มั้ย ? ภาพ 3 - คุณหมายถึงหลังคาอันเดิมที่มีรูรั่วรูใหญ่นั่นใช่มั้ย ? ภาพ 4 - เปล่าหรอก ฉันไม่ได้จะกวนใจคุณเรื่องนั้นหรอกค่ะ ! gonna - เป็นคำ�ที่ใช้ในภาษาพูด ลดรูปมาจาก going to ซึ่งใช้กับ V. to be (be going to) ใช้บอก เหตุการณ์ในอนาคตเช่นเดียวกับ will Ex. Joe is going to see his parents this Sunday. (Joe will see his parents this Sunday. - โจจะไปเยี่ยมพ่อแม่ในวันอาทิตย์นี้) to bug someone about something - รบกวน, กวนใจ (to annoy or irritate someone) เป็นศัพท์ ที่ใช้อย่างไม่เป็นทางการ Ex. The car’s noise is really bugging me. (เสียงของรถคันนั้น รบกวนฉันจริงๆ) อีกความหมายหนึ่งของ to bug คือ แอบฟัง หรือดักฟัง บทสนทนาทาง โทรศัพท์หรือในห้องประชุม Ex. I’m sure this room is bugged. (ฉันแน่ใจว่าห้องนี้ ถูกติดเครื่องดักฟัง) to fix - ซ่อม, ซ่อมแซม (to repair, to mend) very (adj.) - ในที่นี้ very ไม่ใช่คำ� adv. ที่แปลว่า มาก อย่างที่เราคุ้นเคย แต่เป็นคำ�คุณศัพท์ที่ใช้เฉพาะ นำ�หน้าคำ�นามเพื่อเน้นย้ำ�ว่าพูดถึงสิ่งนั้นหรือคนนั้นโดยเฉพาะเจาะจง (to emphasize that you are talking exactly about one particular thing or person) Ex. He died in this very room. (เขาเสียชีวิตในห้องนี้แน่นอน) และ This is the very call phone I want. (นี่ละโทรศัพท์มือถือแบบที่ฉันต้องการ)


๖๔ ข่าวทหารอากาศ THE MUPPETS

มิถุนายน ๒๕๕๕

by Guy & Brad Gilchrist

ภาพ 1 - โบ ! นายทำ�อะไรกับน้ำ�ที่ท่วมห้องใต้ดินหรือยัง ? ภาพ 2 - ทำ�แล้ว ฉันเอาปลามาใส่แล้วไง Have you done (V3) .........? - ประโยคคำ�ถามในรูป present perfect tense ซึ่งใช้มากในชีวิตประจำ�วัน เมื่อถามถึงเหตุการณ์ในอดีต ที่ไม่ได้เจาะจงเวลาแน่นอน Ex. Have you bought the air ticket? (คุณซื้อตั๋วเครื่องหรือยัง) และ Has the movie started? (หนังเริ่มฉายหรือยัง) เป็นต้น flood (n.) - น้ำ�ท่วม (a very large amount of water that covers an area that is usually dry) Ex. The heavy rain has caused floods in many provinces. (ฝนตกหนักเป็นสาเหตุของน้ำ�ท่วมในหลายจังหวัด) flood ใช้เป็นคำ�กริยาได้ Ex. Bangkok floods whenever it rains heavily. (กรุงเทพฯ จะน้ำ�ท่วม เมื่อไรก็ตามที่ฝนตกหนัก) flood ออกเสียงว่า “เฟลิ่ด” basement (n.) - ห้องใต้ดิน (a room or area in a building that is under the ground level) ซึ่งใช้ได้อเนกประสงค์ ถ้าเป็นบ้านก็อาจดัดแปลงเป็นห้องเก็บของ, ห้องซักและ ตากผ้า, ห้องนอน ฯลฯ ศัพท์อีกคำ�ที่ใช้คือ cellar ส่วนห้องใต้หลังคา เรียกว่า attic ซึ่งมักใช้เก็บของ yep - ภาษาพูดอย่างไม่เป็นทางการของ “yes” อีกคำ�ที่ใช้ คือ “yeah” I had it stocked with fish. - เป็นโครงสร้างประโยค to have something + V3 (past participle) ในที่นี้ให้ความหมายว่า ทำ�ให้สิ่งนั้นพร้อมสำ�หรับใช้งานได้ ประโยคนี้ จึงแปลได้ว่า ทำ�ให้บริเวณน้ำ�ท่วมนั้น เต็มไปด้วยฝูงปลา เพื่อใช้เป็นบ่อตกปลา (to stock = to fill sth with the supply of sth)


ujicic ผู้มีหัวใจนักสู้ การลุกขึ้นสู้ มันไม่สำ�คัญว่าเราล้มลงกี่ครั้ง แต่สำ�คัญว่า เราจะลุกขึ้นสู้ต่อไปได้หรือเปล่า สายรุ้ง ถ้าหากคุณเกิดมา....โดยที่ ไม่มีทั้งแขน และขาเหมือนคนอื่นๆ มีเพียงขาสั้นๆ ข้างเดียว ที่มีนิ้วโป้ง สองนิว้ เท่านัน้ คุณจะทำ�อย่างไร คุณจะท้อแท้กบั ชีวติ หรือไม่ คุณจะตัดพ้อโชคชะตาทีใ่ ห้คณ ุ มาไม่เท่าคนอืน่ และ คุณจะใช้ชีวิตอยู่ในมุมเงียบๆ ของคุณ แต่เพียงลำ�พังเพื่อปิดซ่อนความแตกต่าง ความผิดปกติเหล่านั้นหรือไม่ แต่ คงไม่ใช่กับเขา ผู้ชายที่เกิดมาพร้อมกำ�ลังใจอันยิ่งใหญ่ ชายพิการผู้มีหัวใจนักสู้อยู่เต็มเปี่ยม Nick เป็นชาวออสเตรเลีย วัย ๒๖ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๑๙๘๒ จากพ่อแม่ชาวเซอร์เบีย ซึ่งอุทิศตัวเองให้ศาสนา คริสต์ Nick พิการตั้งแต่กำ�เนิด ไม่มีแขนทั้งสองข้าง มีเพียงขาสั้นๆ ข้างเดียว ที่มีนิ้วโป้งสองนิ้วเท่านั้น และแม้เขาจะเกิดมาในสภาพ ที่ไม่สมประกอบแบบนี้ แต่เขากลับไม่ได้นึกเสียใจหรือตำ�หนิความ ไม่ยุติธรรมนี้ต่อใคร เขาเป็นคนมองโลกในแง่ดี และมีกำ�ลังใจที่ดีอยู่ เสมอ เขาต้องการที่จะใช้ชีวิตเหมือนกับคนอื่นๆ ทั่วไป เขาไม่ต้องการ ทีจ่ ะใช้ชวี ติ อยูใ่ นมุมมืดเหมือนคนพิการหลายๆ คน ทีต่ อ้ งการปิดซ่อน ความผิดปกติของตัวเองไว้ แต่ Nick เลือกทีจ่ ะสู้ เลือกทีจ่ ะใช้ชวี ติ ปกติ แม้ว่าเขาต้องต่อสู้กับสายตาที่มองเขาอย่างแปลกประหลาด สิ่งที่ Nick เป็น จึงไม่ใช่เพียงการเป็นชายพิการหัวใจแกร่ง ที่ลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง แต่เป็นการทำ�เพื่อคนอื่น


แต่ในที่สุด เขาก็เอาชนะสายตาและคำ�สบประมาทเหล่านั้น ด้วยการเรียนหนังสือในโรงเรียนระดับ แถวหน้า จนกระทัง่ จบปริญญาตรีดา้ นการค้า เอกการวางแผนด้านการเงินและบัญชีได้ส�ำ เร็จ และนัน่ จึงเป็น สิ่งที่ทำ�ให้เขาเชื่อมั่นว่าความสำ�เร็จของเขาเกิดขึ้นได้ จากกำ�ลังใจที่ดี และความไม่ย่อท้อ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้น ส่งต่อกำ�ลังใจของเขาให้กับคนอื่นๆ ทั่วโลกที่กำ�ลังท้อแท้สิ้นหวัง ปัจจุบนั เขาได้กลายเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจทีเ่ ดินทางไปบรรยายทัว่ โลก เพือ่ ส่งต่อกำ�ลังใจอันเข้มแข็ง ของเขาให้กบั คนอืน่ เขาได้สง่ ต่อแนวคิดของการมองโลกในแง่ดี การมีหวัง และการลุกขึน้ สู้ มันไม่ส�ำ คัญว่าเราล้ม ลงกี่ครั้ง แต่สำ�คัญว่า เราจะลุกขึ้นสู้ต่อไปได้หรือเปล่า อย่างตัวเขาเอง เขาพยายามเป็นร้อยครั้งเพื่อลุกขึ้นด้วย ตัวเขาเอง ในยามที่เขาล้มลง ด้วยร่างกายของเขาเอง ที่ไม่มีแขน หรือขา จะยันตัวเองขึ้นยืน แทบไม่มีใครคิดว่า เขาจะลุกขึ้นได้ด้วยตัวของเขา แต่เขาก็ทำ�มันได้เพราะเขาเชื่อว่า เขาจะต้องทำ�ได้ ด้วยความหวัง และจิตใจที่เข้มแข็ง ของเขาในที่สุด อาจกล่าวได้ว่า Nick เป็นตัวแทนของแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ ของคนอีกหลายคนในการใช้ชีวิตไปแล้ว สิ่งที่เขาส่งต่อให้กับคนอื่น คือ การลุกขึ้นสู้ด้วยกำ�ลังใจของตัวเอง เขาเชื่อมั่นในสิ่งเหล่านี้ การมองโลกในแง่ดี มองโลกอย่างมีความหวัง มันจะทำ�ให้เรามีกำ�ลังใจที่จะสู้ต่อ และที่สำ�คัญเราต้องเข้มแข็ง ซึ่ง Nick เองนั้น ต้อง ฟันฝ่าอะไรมากมายกว่าจะมายืนในจุดนี้ได้ สิ่งที่เขาน่าชื่นชมจึงไม่ใช่เพียงการเป็นชายพิการ หัวใจแกร่งที่ลุกขึ้นสู้ เพื่อตัวเอง แต่เป็นการทำ�เพื่อคนอืน่ ด้วย ความบกพร่องทางร่างกายของเขาแทบไม่ได้เป็นปมด้อยหรืออุปสรรค


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ

ในการใช้ชีวิตของเขาอย่างที่มันควรจะเป็น เขาไม่ได้ใช้ความน่าสงสารของร่างกายที่ผิดปกติ ให้คนอื่นเห็นใจ แต่ เขากลับเลือกทีจ่ ะใช้มนั เป็นแรงผลักดัน ให้เขาสูม้ ากกว่าใครอีกหลายๆ คนทีม่ รี า่ งกายปกติ สมประกอบทุกอย่าง แต่ท้อแท้สิ้นหวัง ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่า เมื่อใครได้รู้เรื่องราว กระทั่งได้ดูการบรรยายของเขา จะต้องมีกำ�ลังใจ มีความหวังจะสู้ต่อไปอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น คำ�กล่าวที่ว่า ชีวิตของเราจะดำ�เนินไปอย่างไรนั้น ก็มาจากการมองโลก และการใช้ชีวิต ของเรา จึงเป็นคำ�กล่าวทีจ่ ริงโดยแท้ ถ้าเรามองโลกแต่แง่ลบ มองชีวติ เราให้มนั ลบ ท้อแท้เหนือ่ ยหน่าย มันก็เหมือน กับเรากำ�ลังดูดสิง่ แย่ๆ ที่เราคิดเข้ามาหาตัวเราเอง แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามองโลกในแง่บวก และใช้ชวี ิตของเรา ให้ดี ตามที่เราคิด ตามที่เราตั้งใจ มองอุปสรรคที่มันเข้ามาหาเรา ให้เป็นประโยชน์ มองความยากลำ�บากในวันนี้ คือ ทางที่สำ�เร็จในวันหน้า กระทั่งมองสิ่งที่อยู่รอบตัวเราให้เป็นเรื่องดีๆ เราเองก็คงมีความสุข และมีกำ�ลังใจใน การก้าวต่อไปของชีวิตได้ หากเราคิดบวก ชีวิตเราก็บวก(เรื่องดีๆ) ปรับใจ ปรับมุมมองแนวคิดของเราให้ดี เชื่อว่า ชีวิตเราต้องดีอย่างแน่นอน....

หากเราคิดบวก ชีวิตเราก็บวก ปรับใจ ปรับมุมมองแนวคิด

ขอขอบคุณ : หนังสือ rest by rester


เข็มขัดสั้นของนักรบนิรนาม

อ.แม้น

ฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้เล่าเรื่องเข็มขัดสั้นหรือคาดไม่ถึง ตอนที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุของตัวเองไปแล้ว ฉบับนี้ เป็นเรื่องราวเข็มขัดสั้นเช่นกันแต่เป็นของนักรบนิรนามที่ต้องประสบอุทกภัยน้ำ�ท่วมใหญ่ในปี ๒๕๕๔ เมื่อต้อง อพยพหนีน้ำ�ออกจากหมู่บ้านแล้วกลับเข้ามาเอาของสำ�คัญที่ลืมไว้ในบ้าน ขณะน้ำ�ท่วมสูง น้ำ�เน่าเหม็น แล้วเกิด อุบัติเหตุพลัดตกในบ้าน ได้รับบาดเจ็บจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ผู้เขียนมีบ้านพักอยู่ที่ชุมชนเปรมประชา ดอนเมือง และทำ�หน้าที่ประธานชุมชนด้วย ซึ่งเกือบใกล้จะ หมดวาระที่ ๒ (กรรมการชุมชนของ กทม. ถูกแต่งตั้งวาระละ ๒ ปี) แค่นี้ยังไม่พอเฉพาะเขตดอนเมือง แบ่งเขต ออกเป็น ๒ โซน โดยชุมชนที่อยู่ฝั่งใต้ของถนนสรงประภา เป็นโซน ๑ มี ๔๘ ชุมชน ส่วนชุมชนที่อยู่ฝั่งเหนือ ของถนนสรงประภา เป็นโซน ๒ มี ๓๗ ชุมชน ผู้เขียนก็ถูกคัดเลือกให้เป็นประธานโซน ๒ การที่ถูกชาวดอนเมือง และทางการยกยอปอปั้นขนาดนี้ ทำ�ให้คนที่เป็นโรคจิต (จิตอาสา) อย่างผู้เขียน ก็ต้องขยันขันแข็งเป็นพิเศษใน ฐานะที่เป็นผู้นำ�ชุมชนโซน ๒ (กทม.แบ่งการปกครองเป็นเขต แขวงละชุมชน ไม่มีโซน เว้นแต่บางเขตจะไปแบ่ง เองโดยเฉพาะดอนเมืองแบ่งเป็น ๒ โซน มาเกือบ ๑๐ ปีแล้ว) ผู้เขียนจึงต้องนำ�สมาชิกทำ�ชุมชนเปรมประชาให้ เป็นชุมชนน่าอยู่ เพือ่ เป็นตัวอย่างของชุมชนอืน่ ๆ โดยกทม.กำ�หนดกฎเกณฑ์ของชุมชนน่าอยูไ่ ว้วา่ ต้องเป็นชุมชน ทีป่ ลอดภัยจากโจรผูร้ า้ ย ปลอดภัยจากยาเสพติด ปลอดขยะและสวยงามแบบหน้าบ้านน่ามอง โดยแต่ละบ้านร่วมกัน ตกแต่งต้นไม้ จัดสวนสวยงาม มีความสามัคคีกันดี โดยผู้เขียนมักจะพูดกับสมาชิกอยู่เสมอว่า “ร่วมกันทำ�ร่วมกันใช้ ไม่ขัดแย้ง ร่วมออกแรง ร่วมสมทบ ไม่หลบหนี ทุกอย่างร่วม เรียกว่า สามัคคี ก็เป็นศรี ส่งเสริม เปรมประชา” ชุมชนเปรมประชา ดอนเมือง เป็นชุมชนขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ มีบ้านทั้งหมด ๒๔๑ หลัง เป็นบ้านหลังเดี่ยวทั้งหมด แบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นครึ่งและชั้นเดียว ไม่มี อาคารพาณิชย์ ใช้อยู่อาศัยอย่างเดียวเท่านั้น มีโรงเรียนระดับประถมในสังกัด กทม. ๑ โรงเรียน ชุมชนมี


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๖๙

๒๕๒ ครอบครัว ประชากรจำ�นวน ๑,๑๐๐ คน ทางทิศตะวันออกของชุมชน ติดกับโลคัลโรด (กำ�แพงเพชร) โดย ขนานกับทางรถไฟสายเหนือยาวประมาณ ๙๐๐ เมตร ทิศตะวันตกของชุมชนติดกับคลองเปรมประชากร ทิศเหนือ ของชุมชนติดกับลำ�รางสาธารณะหลังโรงเรียนเปรมประชา และทิศใต้ เป็นทางเข้า-ออก ของชุมชน โดยมีทางไป เชื่อมกับซอยวิภาวดี ๓๓ ข้ามทางรถไฟสายเหนือ และโลคัลโรดไปออกสู่ถนนวิภาวดีรังสิต ฝั่งตรงข้ามกับทางเข้า กองทัพอากาศ ระยะทาง ๑.๔ กม. ผู้เขียนได้เกษียณอายุราชการแล้ว จึงมีเวลาที่จะติดต่อประสานกับเขตและ กทม. เพื่อให้ได้ในสิง่ ทีช่ ุมชนยังขาดแคลนอยู่ และเป็นชุมชนน่าอยู่ตามทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว จึงยอมรับเป็นประธาน ตลอดมา และใน ๒ วาระที่ผู้เขียนเป็นประธานชุมชนอยู่นี้ ได้ดำ�เนินการสร้างสิ่งต่างๆ ไว้ในชุมชนหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น หอพระชุมชนเปรมประชา จัดตั้งกองทุนแม่ฯ หอกระจายข่าวของชุมชน เครื่องออกกำ�ลังกายกลางแจ้ง สร้างตัวหนังสือ “เปรมประชา” ไว้หน้าชุมชน ขุดคลองคั่นระหว่างโลคัลโรดกับซอย ๔ ลาดยางแอสฟัลท์และ ติดตัง้ ไฟฟ้าสาธารณะได้ ๒ ถนนในชุมชน ทำ�ให้ทนุ่ รายจ่ายค่าไฟฟ้าของชุมชน ไปหลายพันบาท เมือ่ ต้นปี ๒๕๕๔ ชุมชนได้รับการก่อตั้งห้องสมุดทาง กทม.เรียกว่า “บ้านหนังสือของชุมชน” นับว่าเป็นโชคดีของชุมชนเพราะ ได้ยากมาก รายละเอียดของบ้านหนังสือนี้ เป็นลักษณะเหมือนตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่ ๒ ตู้ชนกัน พร้อมติดแอร์ มี อินเตอร์เน็ท พร้อมเจ้าหน้าที่ ๑ คน และให้เงินจ้างคนในชุมชุนอีก ๑ คน เป็นเจ้าหน้าที่ จะทำ�การโอนให้พร้อม หนังสือภายในปี ๒๕๕๕ ผู้เขียนสาธยายเรื่องเกี่ยวกับชุมชนมากไปหน่อย แต่ก็เป็นความรู้เกี่ยวกับชุมชน ผู้เขียนขอวกกลับมา เข้าเรือ่ งของเข็มขัดสัน้ ของนักรบนิรนามเสียที ตามทีม่ ขี า่ วว่าน้�ำ ได้ทว่ มภาคเหนือมาตัง้ แต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ และน้�ำ ได้ไหลท่วมลงมาทุกจังหวัดตัง้ แต่นครสวรรค์ สิงห์บรุ ี ลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง อยุธยาและกำ�ลังจะเอ่อท่วม ปทุมธานีและนนทบุรี ผู้เขียนได้เชิญคณะกรรมการชุมชนและที่ปรึกษาของชุมชน เข้าร่วมประชุมกันในวันเสาร์ ที่ ๘ ต.ค.๕๔ ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเตรียมการป้องกันน้ำ�ท่วมครั้งนี้ว่า ควรช่วยกันป้องกันเขื่อนและประตูน้ำ� หลักหก เพราะปิดกั้นน้ำ�ที่จะไหลลงคลองเปรมประชาโดยตรง ฉะนั้นชุมชนจึงไม่ขอรับกระสอบทรายจาก ทุนและร่วมแรงกันทำ�ข้าวห่อส่งให้เทศบาลหลักหกประมาณวันละ ๖๐๐ ห่อ รวม ๙ วัน ตั้งแต่ ๑๐ - ๑๘ ต.ค.๕๔ ผู้เขียนได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมที่เขตดอนเมืองใน ๑๑ ต.ค.๕๔ ได้รับการยืนยันจาก ส.ส.เขตดอนเมือง โดย กล่าวสรุปว่า “ผมเป็นคณะ ศปภ. (ศุนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย) ผมเป็นคนดอนเมืองและผมยัง เป็น ส.ส.ของดอนเมือง ผมคงไม่ยอมให้น้ำ�ท่วมดอนเมืองหรอกครับ ” เมื่อกลับไปที่ชุมชน ผู้เขียนก็ประกาศให้ สมาชิกทราบตามที่ ส.ส.พูด เพื่อให้ทกุ คนสบายใจ แต่เพือ่ ความไม่ประมาทก็ให้เก็บของไว้ทสี่ งู และนำ�รถออกไป หาที่จอดตามที่คิดว่าปลอดภัยซึ่งบางคนก็ทำ�ตามบางคนก็ปล่อยตามสบายเพราะเชื่อว่าไม่น่าจะท่วมดอนเมืองได้ เช้ามืดวันที่ ๒๑ ต.ค.๕๔ ทราบว่าทำ�นบกั้นริมคลองรังสิตพังลง (มีคนแอบปล่อยให้พังแต่จับไม่ได้) น้ำ� ไหลทะลักเข้าขนานกับทางรถไฟพุ่งลงลำ�รางผ่านหลังโรงเรียนเปรมประชาลงคลองเปรมและคลองที่ขุดขนาน กับชุมชนเข้าท่วมชุมชนเปรมประชาทันที ผู้เขียนก็ยังไม่กลัวคิดว่าท่วมอย่างมากก็แค่ไม่เกินเข่า (เมื่ออยู่กลาง ถนน) แต่ที่ไหนได้เกือบ ๒ เมตร แถมยังดำ�และเน่าเหม็นมากและเริ่มเข้าท่วมพื้นที่ดอนเมืองทั้งหมดไม่เว้น แม้แต่สนามบินก็ท่วมทั้งๆ ที่เป็นที่ตั้งของ ศปภ.จึงทำ�ให้ต้องขนอุปกรณ์หนีน้ำ�กันจ้าละหวั่น อนิจจานี่แหละคือ


๗๐ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

เข็มขัดสั้นของคนดอนเมือง ผู้เขียนได้ลี้ภัยจากน้ำ�ท่วมดอนเมือง ไปอยู่กับเพื่อนนายพลทหารบกที่ปราจีนบุรีตั้งแต่ ๒๒ ต.ค.๕๔ ประมาณ ๒ สัปดาห์ ก็เปลี่ยนไปพักที่หัวหินซึ่งเป็นบ้านญาติของภรรยา ซึ่งเขาทิ้งไว้ไปอยู่ต่างประเทศ ผู้เขียนกับ ภรรยาได้พักอาศัยอยู่นานเป็นเดือนรอจนกว่าน้ำ�ที่ดอนเมืองจะลดลงและในขณะที่พักอยู่ที่หัวหินได้ ๒ วัน ก็ได้ รับโทรศัพท์จากท่านนักรบนิรนามวัย ๘๐ ปี เชิญไปร่วมงานรับประทานอาหารกลางวันที่ห้องอาหาร “ลาแม” บนเขาตะเกียบ เพื่อเป็นการขอบคุณที่ผู้เขียนและภรรยาได้ช่วยเหลือท่านในยามคับขันเริ่มตั้งแต่ออกไปจาก ชุมชนโดยเปิดแอร์ทิ้งไว้ หลังจากนั้นอีก ๓ วัน กลับเข้ามาเอาของสำ�คัญที่ลืมไว้ แล้วเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มในบ้าน ไหล่หลุด ภรรยาของผูเ้ ขียนก็ได้ตดิ ต่ออดีตนักการเมืองท้องถิน่ ช่วยรับไปส่ง รพ.พระมงกุฎ ได้ดามไหล่, ทำ �แผลที่ เท้า และฉีดยากันบาดทะยักให้ ท่านนักรบนิรนามผูน้ เี้ ป็นสมาชิกคนหนึง่ ของชุมชน จบแรงเยอร์-แอร์บอนด์ จาก อเมริการับราชการ เป็นทหารอากาศเหล่าอากาศโยธิน ในอดีตเป็นผู้บังคับกองพันไปช่วยรบที่ลาว เมื่อปี ๒๕๑๕ จนได้รับชื่อเสียงมาก จนทำ�ให้ลูกน้องในสนามรบได้รับเลื่อนชั้น เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร โดยไม่ต้องสอบถึง ๓ คน ท่านเกษียณจากกองทัพอากาศมา ๒๐ ปี ยศพระราชทานครั้งสุดท้ายคือ นาวาอากาศเอก มีสุขภาพแข็งแรงดี ออกวิ่งทุกเช้า บางวันก็ขี่จักรยาน ๔ - ๕ กม.ส่วนภรรยาของท่านเป็นครูและได้ลาจากโลกนี้ไป ๑๕ ปี ด้วยโรค มะเร็ง มีบุตรสาวและบุตรชาย แยกไปประกอบอาชีพครูและทนายความที่หัวหิน ทั้งคู่มีหลานชายและหลานสาว ไว้ครบครัน เรียกว่า ชาตินนี้ อนตายตาหลับได้แล้ว เมือ่ เกิดเหตุการณ์น�้ำ ท่วมใหญ่ในครัง้ นีจ้ งึ ได้ลภี้ ยั ไปอยูท่ หี่ วั หิน กับลูกหลาน แล้วได้เจอกับผูเ้ ขียนและภรรยาที่ห้องอาหาร “ลาแม” บนเขาตะเกียบ จึงมีโอกาสได้พูดคุยกันนาน และเพื่อที่จะไม่ให้ผู้อ่านเบื่อหน่าย ผู้เขียนขอถ่ายทอดเป็นภาษาร้อยกรองง่ายๆ


มิถุนายน ๒๕๕๕

ปีสองห้าห้าสี่น้ำ�ท่วมมาก ท่วมทุกเมืองจากภาคเหนือไล่ลงมา เดือนกันยาน้ำ�ไหลมานครสวรรค์ หลายวันมา พนังพังถูกทำ�ลาย ท่วมเมืองสิงห์ ลพบุรีและชัยนาท ปลายกันยาอยุธยาท่วมไม่เบา ต้นตุลาน้ำ�เข้าท่วมนนทบุร ี และแล้วน้ำ�ท่วมปทุมเต็มทั่วไป แสนลำ�บากระบายน้ำ�มหาศาล ทั้งดอนเมืองสายไหมช้ำ�ฤดี เคยคุยเขื่องเรื่องน้ำ�ท่วมไม่มีแน่ ในปีนี้ คาดไม่ถึงจึงเป็นไป

ข่าวทหารอากาศ ๗๑

มีน้ำ�หลากท่วมภาคเหนือเดือนสิงหา เจ้าพระยาล้นตลิ่งแถมปลิงควาย ร่วมช่วยกันกั้นพนังน่าใจหาย น้ำ�มากมายไหลเข้าท่วมเมืองของเรา น่าอนาถท่วมอยู่นานจนน้ำ�เน่า เมืองกรุงเก่าของไทยเรา พังวอดวาย สุดเหลือที่จะสู้ต้านทานไหว กั้นไม่ได้ สุดพลัง สามัคคี เมื่อคนพาลแอบทำ�ลายหลายหลายที่ ทุกถิ่นที่มีแต่น้ำ� จำ�ขึ้นใจ อยู่จนแก่ไม่เคยเห็นเป็นไฉน เลยทำ�ให้เข็มขัดสั้นไปอีกนาน


(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ตารางเปรียบเทียบกำ�ลังรบของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ กำ�ลังพลประจำ�การ ๑.๑๗ ล้านคน ๖.๕๕ แสนคน กำ�ลังทางบก ๙.๙๖ แสนคน ๕.๒๒ แสนคน กำ�ลังทางเรือ ๔.๘ หมื่นคน ๖.๘ หมื่นคน กำ�ลังทางอากาศ ๑.๑ แสนคน ๖.๔ หมื่นคน กำ�ลังสำ�รอง ๔.๗ ล้านคน ๓ ล้านคน งบประมาณทางทหาร (ปี พ.ศ.๒๕๔๘) ๑.๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ๒๓.๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อาวุธยุทโธปกรณ์ รถถัง ๓,๕๐๐ คัน ๒,๓๑๐ คัน ๒๖ ลำ� ๑๔ ลำ� เรือดำ�น้ำ� บ.รบ ๕๒๕ เครื่อง ๔๓๐ เครื่อง อาวุธนำ�วิถี ประมาณ ๕๐ ลูก ๓๑๐ ลูก ประชากร จำ�นวนประชากร ๒๒.๘ ล้านคน ๔๘.๖ ล้านคน ขีปนาวุธที่สำ�คัญๆ ของเกาหลีเหนือ - Scud ระยะยิง ๕๐๐ ไมล์ (๘๐๐ กม.) - Rodong ระยะยิง ๖๐-๙๓๐ ไมล์ (๑,๕๐๐ กม.) - New Missile ระยะยิง ๑,๘๐๐ ไมล์ (๓,๐๐๐ กม.) - Taepodong -1 ระยะยิง ๑,๕๐๐ ไมล์ (๒,๕๐๐ กม.) - Taepodong -2 ระยะยิง ๔,๑๐๐ ไมล์ (๖,๗๐๐ กม.)


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๗๓

บทสรุปสงครามเกาหลี เบือ้ งหลังสงครามเกาหลี ได้บนั ทึกไว้วา่ ฝ่ายผูบ้ กุ รุกครัง้ แรกคือ เกาหลีเหนือ มีความกล้าหาญอย่างองอาจและ บ้าคลั่งเข้าทำ�การสู้รบด้วยกำ�ลังทหารและอาวุธที่มีจำ�นวนมากกว่า โดยกองกำ�ลังทหารดังกล่าวได้มีประสบการณ์ทำ� สงครามจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยมีกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ของ ท่านเหมา เจอ ตุง ให้การสนับสนุนหรืออยู่เบื้องหลัง เนื่องจากจีนต้องการแสดงบทบาทให้ชาวโลกได้เห็นว่า พลังอำ�นาจของจีนนั้นสามารถที่จะเข้ายึดเอเชียเมื่อไรก็ได้ ใน ขณะเดียวกันฝ่ายรัสเซียทีใ่ ห้การสนับสนุนเกาหลีเหนืออีกประเทศหนึง่ ได้คาดการณ์วา่ สหรัฐฯ คงจะไม่เข้ามาช่วยเหลือ เกาหลีใต้ แต่ปรากฏว่าทั้งสหรัฐฯและสหประชาชาติที่เพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง ๕ ปี ต่างร่วมมือกันเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้ อย่างแข็งขันในนามของประเทศโลกเสรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ภายหลังเสร็จสิ้น สงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังนั้นสงครามเกาหลีเมื่อ ๖๐ ปีก่อนนี้จึงถือได้ว่าเป็นสงครามที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคสงคราม เย็นและเป็นสงครามตัวแทนระหว่างค่ายโลกเสรี โดยมีสหรัฐฯ เป็นหัวเรือใหญ่ และค่ายคอมมิวนิสต์โดยมีอดีตสหภาพ โซเวียตเป็นฝ่ายนำ� ( ปัจจุบันคือสหพันธรัฐรัสเซีย ) สำ�หรับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังเกาหลีเหนือ คือจีนกับอดีตสหภาพโซเวียตที่กล่าวแล้ว ด้านฝ่ายโลกเสรีประกอบด้วย สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฯลฯ รวมถึงประเทศไทยด้วย การยุทธ์ในเกาหลีนนั้ ถือได้วา่ เป็นการยุทธ์ทดี่ เุ ดือดเลือดพล่านทีส่ ดุ ครัง้ หนึง่ ของสงคราม ทัง้ สองฝ่ายเข้าทำ�การ สู้รบด้วยทหารราบ เครื่องบินรบในอากาศ และเรือรบในทะเล โดยใช้ระบบอาวุธสมัยใหม่ซึ่งได้ทำ�การพัฒนาขึ้นใน สงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยทางฝ่ายโซเวียตใช้ บ.รบในสกุล MiG เข้าทำ�การสู้รบทางอากาศถือว่าเป็น บ. รบไอพ่นที่ ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น อย่างไรก็ตามเครื่องบินรบของสหรัฐฯ และอังกฤษ ก็ไม่น้อยหน้ากว่าเครื่องบินรบของฝ่ายตรงกันข้าม เพราะ มีประสิทธิภาพในการทำ�ลายล้างได้มากกว่าจนกล่าวได้วา่ สามารถเข้าโจมตีฝา่ ยตรงกันข้ามแบบปูพรมได้วนั ละหนึง่ พัน เที่ยวบิน ปรากฏว่าในสงครามเกาหลีครั้งนี้ในตอนเริ่มต้นของสงครามที่ถูกเกาหลีเหนือโจมตีแบบสายฟ้าแลบนั้น ทาง ฝ่ายเกาหลีใต้ตอ้ งถอยร่นเกือบตกทะเล แต่ตอ่ มาเมือ่ ตัง้ ตัวได้ จึงเข้าทำ�การตีโต้รกุ คืบหน้าขึน้ ไปในดินแดนเกาหลีเหนือ ใกล้กรุงเปียงยางเมืองหลวงเกาหลีเหนือ แต่ในที่สุด ๓ ประเทศยักษ์ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของสงคราม จึงได้เจรจา เพื่อหยุดยิงกันพร้อมได้ถอยมาตั้งหลักในที่เดิม หลังจากทำ�การสู้รบอยู่ ๓ ปีเต็ม ต้องสูญเสียกำ�ลังพลและอาวุธอย่าง มหาศาล คือฝ่ายโลกเสรีสูญเสียทหารมากกว่า ๔ แสนคนรวมถึงการสูญเสียชีวิตจากการสู้รบ และสูญเสียจากโรคภัย ไข้เจ็บ นอกจากนี้มีผู้บาดเจ็บและพิการอีกนับแสนคน ในจำ�นวนนี้เป็นทหารสหรัฐฯ ถึง ๑.๓ แสนคน ทางด้านฝ่าย คอมมิวนิสต์ถึงแม้ไม่มีตัวเลขเปิดเผยที่แน่นอน แต่คาดว่ามีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและพิการมากกว่าฝ่ายโลกเสรีถึง ๔ เท่าตัว หรือไม่ต่ำ�กว่า ๑.๕ ล้านคน จึงกล่าวได้วา่ สงครามเกาหลีครัง้ นีเ้ ป็นสงครามทีน่ า่ สยดสยองและนองเลือดมากทีส่ ดุ อีกครัง้ หนึง่ หลังจากเสร็จสิน้ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังนั้นในยุคปัจจุบันจึงไม่น่าจะเกิดสงครามเกาหลีครั้งที่ ๓ ขึ้นอีก เนื่องจากประเทศมหาอำ�นาจ ในยุคแรก เช่นรัสเซียก็ได้ประสบปัญหาด้านการเมืองภายในประเทศจนทำ�ให้รัฐต่างๆ ต้องแยกตัวออกไปเป็นประเทศ อิสระ ถึง ๑๕ ประเทศ ปัจจุบันมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นประเทศประชาธิปไตยมากขึ้น ส่วนจีนนั้นแม้ยังปกครองใน ระบอบคอมมิวนิสต์ก็จริงอยู่แต่มีนโยบายเปิดประเทศมากขึ้น โดยมุ่งเน้นพัฒนาทางเศรษฐกิจจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็น


๗๔ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ ๒ รองจากสหรัฐฯ และหลักฐานบางอย่างบ่งบอกว่าปัจจุบันจีนมีอิทธิพลทางด้าน การเมืองต่อเกาหลีเหนือลดน้อยลง และจากการสัมภาษณ์จากผู้สันทัดกรณีของเกาหลีใต้ที่ชื่อว่า นายชุน ยุง วู (เมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓) ว่าปัจจุบันจีนไม่ค่อยมีความพึงพอใจต่อเกาหลีเหนือมากนัก ดังนั้นถ้าเกิดจะมีการรวมชาติกัน ขึน้ ระหว่างเกาหลีเหนือ – เกาหลีใต้ จีนจะไม่ท�ำ การขัดขวางพร้อมกล่าวว่าปัจจุบนั ประเทศเกาหลีเหนืออำ�นาจสูงสุด ก็ไม่ได้อยู่กับนายคิมจอง-อิลแต่เพียงผู้เดียว แต่มีกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ อยู่เบื้องหลังด้วยและได้มีรายงานวิเคราะห์จาก หน่วยข่าวกรองเกาหลีใต้อ้างว่า ถ้านายคิมจอง-อิล ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือสิ้นชีวิตลงจะทำ�ให้ระบบการปกครอง ของเกาหลีเหนือต้องสิ้นสลายไปด้วย จากบทวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นผลให้สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นได้ทำ�การประชุม ไตรภาคีขึ้นเมื่อ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งวงการทูตต่างประเทศระบุว่าการพบกันของ ๓ ประเทศครั้งนี้เพื่อจะ ดำ�เนินการกำ�หนดยุทธศาสตร์ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วม และเพื่อให้ประชาคมนานาชาติได้หยุดยั้งการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ ของเกาหลีเหนือ ดังนัน้ การประชุมครัง้ นีไ้ ด้บง่ บอกว่านโยบายสหรัฐฯในเกาหลี ได้เปลีย่ นแปลงใหม่เนือ่ งจากการประชุม ๖ ฝ่ายเดิม ไม่มีความคืบหน้าและไม่เคยประสบผลสำ�เร็จแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ของเกาหลีเหนือ ได้เกิดการพลิกผันขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน เนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค.๒๕๕๔ นายคิมจอง-อิล ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ ได้ถึงอสัญกรรมลงด้วยวัย ๖๙ ปี ซึ่งนายคิมจอง-อิล เป็น ผู้นำ�สูงสุดของสาธารณรัฐเกาหลี และเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคกรรมกรแห่งเกาหลี เป็นประธานคณะกรรมการ ป้องกันประเทศเกาหลีเหนือ และเป็น ผบ.สูงสุด กองทัพประชาชนเกาหลีเหนือ (เป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ เป็นอันดับที่ ๔ ของโลก) หลังจากการอสัญกรรมของนาย คิมจอง - อิล และหลายฝ่ายได้คาดการณ์ว่า ความก้าวร้าวและสถานการณ์ ด้านอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ คงจะเปลี่ยนแปลงไปในทางสันติ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แต่เหตุการณ์ ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง เนื่องจากนาย คิมจอง - อึน บุตรชายคนสุดท้องจากทั้งหมด ๔ คน (ผู้หญิง ๑ คน ผู้ชาย ๓ คน) ได้รับการยอมรับให้ขึ้นดำ�รงตำ�แหน่งแทนบิดาด้วยวัยเพียง ๒๘ ปี ได้ประกาศนโยบายที่สำ�คัญตามรอยของบิดา โดยไม่ปรากฏท่าทีว่าจะแสวงหาสันติ และนายคิมจอง - อึน บุตรชาย นอกจากจะเป็นผู้นำ�สูงสุดของเกาหลีเหนือ เขายัง เข้าดำ�รงตำ�แหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาโหมแห่งชาติอีกตำ�แหน่งหนึ่ง จึงถือได้ว่าเป็นผู้น�ำ ที่มีอำ�นาจสูงสุดของ เกาหลีเหนือในขณะนี้ เหตุการณ์ส�ำ คัญในห้วงทีป่ ระเทศไทยกำ�ลังฉลองประเพณีสงกรานต์ในปีนี้ เกาหลีเหนือได้ประกาศว่า จะทำ�การ ส่งดาวเทียมขึน้ สูห่ ว้ งอวกาศโดยจรวดนำ�ส่งทีส่ ร้างโดยเกาหลีเหนือ ทำ�ให้ประเทศต่างๆ ทีส่ �ำ คัญคือ ญีป่ นุ่ และเกาหลีใต้ เตรียมติดตั้งจรวดนำ�วิถี เพื่อทำ�การยิงต่อต้านจรวดส่งดาวเทียมของเกาหลีเหนือที่คาดว่าจะเดินทางผ่านน่านฟ้าของ ประเทศที่สอง แต่ปรากฏว่าแผนการส่งดาวเทียมของเกาหลีเหนือครั้งนี้ไม่ประสบผลสำ�เร็จ และเมื่อ ๑๕ เม.ย.๒๕๕๕ ที่ผ่านมา กองทัพประชาชนเกาหลีเหนือได้ทำ�การเดินสวนสนามครั้งใหญ่ในเมืองหลวงกรุงเปียงยาง เนื่องในโอกาส ครบรอบ ๑๐๐ ปี วันคล้ายวันเกิดของอดีตประธานาธิบดี คิมอิน - ซุง ผู้ก่อตั้งประเทศ จากภาพถ่าย การถ่ายทอดสด ของดาวเทียม จะเห็นทหารหลายหมืี่นนายถือธงแดงเดินสวนสนามอย่างเข้มแข็ง และพร้อมเพรียงกันที่ลานจัตุรัส คิมอิน - ซุง ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้นำ�ทางทหาร ตำ�รวจ และประชาชน ได้เข้าร่วมชมการสวนสนามในครั้งนี้อย่างเนื่องแน่น และนาย คิมจอง - อึน ผู้นำ�สูงสุดเกาหลีเหนือคนใหม่ ได้กล่าวปราศรัยต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก สรุปความ “ขอให้ เราเดินหน้าต่อไปเพื่อชัยชนะขั้นสุดท้าย” 


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๗๕

“ วาน วาร วาล วาฬ ”

นวีร์

วาน วาร วาล วาฬ คำ�ทั้ง ๔ คำ�นี้ ออกเสียงเหมือนกันว่า วาน แต่ความหมายต่างกัน วาน มีถึง ๓ ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง กงเรือหรือช่องที่บากกงเรือเพื่อให้น้ำ�เดิน เรียกว่า ช่องวาน ความหมายที่สอง หมายถึง วันก่อนนี้วันหนึ่ง มักใช้ว่า เมื่อวานหรือเมื่อวานนี้ วานซืน คือ วันก่อน เมือ่ วานนีว้ นั หนึง่ หรือวันก่อนวันนีไ้ ป ๒ วัน มักใช้วา่ เมือ่ วานซืน ส่วนความหมายทีส่ าม เป็นคำ�กริยา หมายความ ว่า ขอให้ช่วยทำ�แทนตัว เช่น วานซื้อตั๋วรถไฟให้หน่อย เป็นต้น ฉะนั้น ถ้าจะใช้คำ�ว่า วาน ในความหมายของอดีตกาลจะใช้ว่า วันวาน เช่น รายการเพลงหวานเมื่อวันวาน รายการโทรทัศน์วันวานยังหวานอยู่ ที่หัวหินมีร้านชื่อร้านเพลินวาน เป็นต้น(ไม่ใช่วันวาร) อนึ่ง มีบทประพันธ์ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ บทหนึ่ง ว่า อย่าอาวรณ์กับวันวานที่ผ่านพ้น จงตั้งต้นกับวันนี้ที่มีอยู่ อย่าเสียดายอดีตกาลอันตราตรู จงต่อสู้ตั้งมั่นกับวันนี้ วาร มี ๒ ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง วันหนึ่งๆ ในสัปดาห์ เช่น อาทิตยวาร (อา – ทิด – ตะ – ยะ – วาน) คือ วันอาทิตย์ สัตมวาร (สัด – ตะ – มะ – วาน) วันที่ครบ ๗ วันทำ�บุญครบ ๗ วันของผู้ตาย สัตวาร (สัด – ตะ – วาน) สัปดาห์หนึ่งเจ็ดวัน ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ใช้ในความหมายว่า ครั้ง คราว หรือ เวลาที่กำ�หนดโดยอาจใช้ในรูปคำ�ต้นของคำ�สมาส เช่น วารสาร คือ หนังสือที่ออกตามกำ�หนดเวลาหรือเวลาที่ กำ�หนด หรืออาจใช้ในรูปคำ�ไทยคือมีรูปสระกำ�กับ คือ วาระ เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ ในวาระอันเป็น มงคล การประชุมครัง้ นีม้ วี าระจร(เรือ่ งทีม่ ไิ ด้บรรจุในระเบียบวาระการประชุม แต่ได้นำ�เข้ามาพิจารณาเป็นพิเศษ ในการประชุมครั้งนี้) มีนวนิยายอยู่เรื่องหนึ่งชื่อ ในวารวัน (อ่านว่า ใน – วาน – วัน) คำ�ว่า วาร ในที่นี้ หมายถึง ช่วงเวลาที่ กำ�หนดหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ คุณปิยะพร ศักดิ์เกษม ผู้แต่ง มุ่งเล่าถึงช่วงเวลาในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่อว่าวัน โดยเทียบกับเวลาของวันหนึง่ เป็นการเล่าคล้ายเรื่องสีแ่ ผ่นดิน – ชีวติ แม่พลอย ชีวติ ของแม่วันนัน้ เริม่ ต้นด้วยวัยเด็ก วัยสาว วัยที่เป็นมารดา และวัยชราที่ได้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ มาแล้ว โดยเทียบกับเวลารุ่งอรุณ เวลากลางตะวัน


๗๖ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

เวลาสนธยา และเวลาราตรี ครบ ๑ วันพอดี อนึ่ง คำ�ว่า วารดิถี แม้จะอ่านว่า วา – ระ – ดิ – ถี แต่ไม่มรี ูปสระอะ หลังตัว ร (ราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ในหนังสืออ่านอย่างไรเขียนอย่างไร) คงเป็นเพราะเป็นคำ�สมาส ฉะนั้น เมื่อจะใช้ในโอกาสอวยพรวัน ขึ้นปีใหม่ ก็ต้องเขียนว่า ในวารดิถีขึ้นปีใหม่ แต่อ่านว่า ใน วา – ระ – ดิ – ถี ..... วาล หมายความว่า หาง ขนสัตว์ ขนหางสัตว์ คำ�นี้แผลงเป็น พาล ได้ (คำ�ว่า พาล จึงมีมากกว่า ๑ ความหมาย) คือหมายถึง ขนสัตว์ก็ได้ หมายถึงอ่อน เด็ก รุ่น ก็ได้ หมายถึงชั่วร้าย เกะกะเกเร เช่น คนพาล ก็ได้ หมายถึงหาเรื่องทำ�ให้วุ่นวาย หาเรื่องทำ�ให้เดือดร้อนก็ได้ หรือหมายถึงคนชั่ว คนเกเร เช่น คบคนพาล พาลพา ไปหาผิด ก็ได้ วาฬ มี ๒ ความหมาย ความหมายแรก หมายความตามภาษาบาลีว่า สัตว์ร้าย เช่น ช้าง สิงโต เสือ งู (ภาษาสันสกฤตว่า วยาล) อ่านว่า วาน หรือ วาละ – ก็ได้ ส่วนความหมายที่สอง วาฬ – อ่านว่า วาน ได้อย่างเดียว หมายถึง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหลายชนิดหลายวงศ์ ตัวใหญ่ หัวมนใหญ่ หางแบน สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำ� ออกทางจมูกได้ บางทีก็เรียกว่า ปลาวาฬ โดยที่นักวิทยาศาสตร์เห็นว่า ไม่ใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คำ�ว่า วาฬ ในปลาวาฬ นี้ ไม่น่าจะมาจากภาษาบาลี เพราะแปลคนละอย่าง แต่บางคนอาจโยงเข้าด้วยกัน เพราะวาฬ เป็นปลาตัวใหญ่ ชวนให้คิดว่าน่ากลัว คำ�ภาษาบาลีสันสกฤตที่น่าจะมีความหมายตรงกับวาฬใน ปลาวาฬนี้ คือคำ�ว่า ติมิ (ติ – มิ) ซึ่งหมายถึง ชื่อปลาในคัมภีร์ไตรภูมิ ภาษาอังกฤษเรียกปลาวาฬว่า whale (เวล) หรือคำ�ว่า วาฬ ใน ปลาวาฬ จะมาจาก whale เช่นเดียวกับ กรณีที่ถอดคำ�ว่า gas ซึ่งอ่านออกเสียงว่า แก๊ส ในภาษาอังกฤษ มาออกเสียงในภาษาไทยว่า ก๊าซ และเนื่องจาก ต้องการบ่งบอกว่าคำ�ว่า วาฬ ในปลาวาฬ ไม่ใช่คำ�ภาษาไทยแท้ๆ จึงใช้รูป – ฬ เป็นตัวสะกด เทียบกับรูป – le ใน whale เรือ่ งของภาษาเป็นเรือ่ งน่าสนุก และยิง่ สนุกเมือ่ วาฬมีครีบมีหางดูเป็นปลา แต่ไม่จดั ว่าเป็นปลา อย่างไร ก็ตาม คนไทยก็ยังเรียกว่าปลาวาฬ ทีฝรั่งยังเรียกแมงกะพรุนว่า jelly fish ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ปลาได้เลย ชื่อนั้นสำ�คัญ ไฉน ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่อง ภาษาไทยด้วยใจรัก ได้เหมือนกัน...


เนือ่ งจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชืน้ ทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากลมมรสุม และพายุหมุนเขตร้อน จึง มีปัญหาของภัยพิบัติจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะ อุทกภัย และดินถล่มอยู่เสมอ เช่น ในฤดูฝนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ และเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ในเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ปริมาณน้ำ�ฝนที่ตกลงมาเป็นจำ�นวนมาก นอกจากจะ ทำ�ให้น�้ำ ท่วมเป็นบริเวณกว้างแล้ว ยังทำ�ให้มเี หตุการณ์ดนิ ถล่มในพืน้ ทีห่ ลายแห่งตามมา ซึง่ ดินถล่มเป็นสาธารณภัย ประเภทหนึง่ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชวี ติ ร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สนิ ของประชาชนหรือ ของรัฐ กล่าวคือ เป็นภัยที่เกิดแก่คนหมู่มาก เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ อาจเกิดอย่างฉับพลันหรืออาจจะ ค่อยๆ เกิดขึ้น  ภัยพิบัติจากดินถล่ม

เหตุการณ์ดนิ ถล่มในประเทศไทยดูเหมือน ว่าเกิดขึน้ ถีแ่ ละทวีความรุนแรงขึน้ เรือ่ ยๆ กินพืน้ ที่ กว้างและเกิดความเสียหายรุนแรง ซึง่ เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ และจาก น้ำ�มือของมนุษย์ที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ จนเกิดความไม่สมดุลของธรรมชาติ ดินถล่ม (Landslides) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลดินหรือหินตามแรงดึงดูดของโลกลงมาตามลาดดิน หรือลาดเขา มักเกิดขึ้นบนไหล่เขา พื้นที่ลาดชัน คันดิน บ่อขุด ริมตลิ่ง เป็นต้น


ดินไหลหรือโคลนถล่ม (Debris flow) คือดินถล่มชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในบริเวณเทือกเขาที่เป็นพื้นที่ ต้นน้�ำ เมือ่ มีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำ�ให้ดนิ และหินชุม่ น้�ำ จนไม่สามารถทรงตัวอยูไ่ ด้เกิดการพังทลาย ในลักษณะไหลปะปนกับน้ำ�ในลักษณะของโคลนลงสู่ที่ตำ่�ด้วยความเร็วสูงและมีพลังในการพัดพาต้นไม้และ หินกรวดทรายตามลงมาด้วย โดยปกติสาเหตุของการเกิดภัยพิบตั จิ ากน้�ำ หลากและดินถล่มแถบภูเขาและทีร่ าบเชิงเขาในประเทศไทย จะมาจาก ๒ สาเหตุหลัก คือ ๑. สาเหตุทางธรรมชาติ : ไม่สามารถควบคุมหรือควบคุมได้ยาก แต่สามารถตรวจสอบและเตือนภัยได้ คือ ลักษณะของชั้นดินและชั้นหิน ความลาดชันของภูมิประเทศ และปริมาณบริเวณรับน้ำ�ฝน ๒. สาเหตุจากมนุษย์ : ซึ่งสามารถหยุดยั้ง ควบคุม และปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่ดีขึ้นได้ คือ การบุกรุก และตัดไม้ทำ�ลายป่า การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่มีการควบคุม และการก่อสร้างบ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานที่ กีดขวางทางน้ำ� ถึงแม้วา่ ดินถล่มจะเป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ ได้ทวั่ ไปในบริเวณภูเขาทีม่ คี วามลาดชันสูง แต่อย่างไรก็ตาม ในบริเวณทีม่ คี วามลาดชันต่�ำ ก็สามารถเกิดดินถล่มได้ ถ้ามีปจั จัยทีก่ อ่ ให้เกิดดินถล่มทีเ่ หมาะสม โดยทัว่ ไปบริเวณ ที่มีดินถล่มเกิดได้เสมอๆ คือ บริเวณที่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลัง และการยกตัวของแผ่นดินขึ้นเป็นภูเขาสูง บริเวณที่ทางน้ำ�กัดเซาะเป็นโตรกลึกและชัน บริเวณที่มีแนวรอยแตกและรอยแยกหนาแน่นบนลาดเขาบริเวณ ที่มีการผุพังของหินและทำ�ให้เกิดชั้นดินหนาบนลาดเขา ในบริเวณที่มีความลาดชันต่ำ� และมีดินที่เกิดจากการผุพัง ของชั้นหินที่บนลาดเขาหนา ดินถล่มมักเกิดจากการที่น้ำ�ซึมลงในชั้นดินบนลาดเขาและเกิดแรงดันของน้ำ�เพิ่มขึ้น ในชั้นดินโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนัก การเกิดดินถล่มในโลกได้มีมาตั้งแต่ในยุคธรณีกาล โดยวิเคราะห์ได้จากหลักฐานทางด้านธรณีวิทยา ดังจะเห็นได้จากตะกอนรูปพัดทีเ่ กิดจากการสะสมของดินและหินทีถ่ ล่มอยูบ่ นสองฝัง่ ของลำ�น้�ำ จากพืน้ ทีร่ บั น้�ำ ทีเ่ ป็น เขาสูงลงสู่พื้นที่ราบ สำ�หรับประเทศไทย การพิบัติของลาดดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้นมีมานานหลายร้อย หลายพันปีมาแล้ว ซึง่ มีหลักฐานจากร่องรอยตะกอนน้�ำ พัดพารูปพัด (Alluvium fan) พบได้บริเวณปลายลำ�น้�ำ ที่ มีความลาดชันสูง เช่น ลุ่มน้ำ�ปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ ลุ่มน้ำ�ตาปีในภาคใต้ ลุ่มน้ำ�ป่าสักในภาคกลางตอนบน ลุม่ น้�ำ ปราจีนบุรใี นภาคตะวันออก และทางตะวันตกของประเทศไทยบริเวณ อ.ท่าม่วง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ต่อเชื่อมกับ อ.กำ�แพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งเกิดจากลำ�น้ำ�แควน้อย – แควใหญ่ และเป็นแหล่งทรายพื้นใหญ่ที่เราใช้ ในการก่อสร้างในกรุงเทพฯ อยู่ในปัจจุบัน การพิบตั ขิ องลาดดินในบริเวณภูมปิ ระเทศทีเ่ ป็นพืน้ ทีส่ งู ชันมีสาเหตุเนือ่ งมาจากฝนตกหนักและ เกิดขึน้ ร่วมกับน้ำ�หลากเป็นส่วนใหญ่ โดยเกิดขึ้นเมื่อเศษหิน/ดิน (Colluvial/ Residual soil) บนลาดเขาถึงจุด Field capacity เช่น ในกรณีที่น้ำ�หรือความชื้นในชั้นดินบนลาดเขา ซึ่งจะเคลื่อนที่ลงมาด้วยแรงดึงดูดของโลก ไหลออก จากชัน้ ดินด้วยความเร็วทีไ่ หลเข้าและต่อเนือ่ งด้วยปริมาณน้�ำ ฝนทีต่ กหนักมากเกินกว่าความสามารถในการซึมซับ ได้ของชั้นหินที่รองรับชั้นดินนี้อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่มีปริมาณน้ำ�ฝนตกหนักมากเกินกว่าความสามารถในการ


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๗๙

ซึมซับได้ของชั้นหินที่รองรับเช่นนี้ ระดับน้ำ�ใต้ดินบนลาดเขาก็จะเริ่มเกิดขึ้นภายในชั้นดินบนลาดเขา มีลักษณะ ขนานไปกับลาดเขา เมือ่ ฝนตกหนักเป็นเวลานาน ความดันของน้�ำ ในดิน (Piezometric head) ก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็น การเพิม่ ความดันในช่องว่างของดิน (Pore pressure) ในชัน้ ทีใ่ กล้กบั ชัน้ หินทีร่ องรับชัน้ ดินนัน้ ๆ ไปด้วย การ พังทลายหรือการเลื่อนไหลลงลาดเขา จะเกิดขึ้นเมื่อ ความดันของช่องว่างภายในดินสูงถึงระดับหนึง่ (Critical point) ในขณะเดียวกัน แรงยึดเหนีย่ วระหว่างอนุภาคดิน ซึ่งเป็นผลจากแรงดึงระหว่างอากาศและน้ำ�ในช่องว่างก็จะลดลง เนื่องจากน้ำ�จะเข้าไปแทนที่อากาศในช่องว่าง เหล่านั้น ในจุดที่อยู่ในสภาพสมดุล ก่อนที่ชั้นดินจะเริ่มต้นเลื่อนไหลเมื่ออยู่ในสภาวะที่ในชั้นดินมี Shearing stress เท่ากับ Shearing resistance ดังนั้นการเกิดน้ำ�หลากและแผ่นดินถล่มในเขต ภูเขาและต่อเนื่องถึงที่ราบเชิงเขาจึงเป็นปรากฏการณ์ที่ มักเกิดขึ้นควบคู่กัน ซึ่งในอดีตมักจะเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรตาม ธรรมชาติอยูแ่ ล้ว เนือ่ งจาก ภูมปิ ระเทศเป็นทีส่ งู ชันหากมี ปริมาณน้�ำ ฝนตกมากและสภาพป่าเกิดการเปลีย่ นแปลงไป เช่น เกิดไฟป่า ความแห้งแล้งผิดปกติ ในปีก่อนๆ เป็นต้น ก็จะเกิดดินถล่มและมีตะกอนพัดพามากับลำ�น้ำ� ดังมี หลักฐานทางธรณีวทิ ยาปรากฏเป็นตะกอนดินตามทีร่ าบ เชิงเขาให้เห็นอยู่มากมายที่เรียกว่า “ตะกอนรูปพัด” (Alluvium fan) ในที่เหล่านี้ในอดีตไม่มีผู้คนเข้าไปตั้ง รกรากอยู่อาศัยและยังมิได้มีการบันทึกเป็นหลักฐานไว้ ในอดีต จึงไม่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ถูกเล่าสืบทอดกันมา เมือ่ ประชากรเพิม่ ขึน้ มีการรุกเข้าไปตัง้ ถิน่ ฐานในเขตพืน้ ที่ ดังกล่าว และหากมีการตัดไม้ท�ำ ลายป่าหรือเปลีย่ นสภาพ การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่รับน้ำ�เป็นปัจจัยกระตุ้นด้วยแล้ว ย่อมเร่งทำ�ให้น้ำ�หลากและแผ่นดินถล่มให้เกิดเร็ว ขึ้นกว่าที่เคยเกิดในสภาพปกติ การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าเป็นไร่หรือทุ่งหญ้า ทำ�ให้สภาพการอุ้มน้ำ�น้อยลง จึงมี น้�ำ ทีไ่ หลอยูบ่ ริเวณพืน้ ผิวดินมากขึน้ รวมตัวกันในลำ�น้�ำ สาขาเร็วขึน้ มีปริมาณมากในระยะเวลาสัน้ ลง ประกอบกับ ดินซึง่ ขาดรากไม้ใหญ่ยดึ เกาะเสริมความแข็งแรงก็จะพังถล่มเคลือ่ นตัวลงปนกับน้�ำ ทำ�ให้เป็นน้�ำ โคลนซึง่ มีความ หนาแน่นสูงมีกำ�ลังพัดพาต้นไม้กิ่งไม้มากขึ้นและพลังงานในการทำ�ลายตามลำ�น้ำ�ที่ไหลผ่านสูงขึ้น


๘๐ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

• ภูมิอากาศเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดดินถล่ม ประเทศไทยอยู่เขตร้อนชื้นของโลก มีลักษณะ ภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อน (Tropical climate) พื้นที่ ทั้งหมดของประเทศอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม ๒ ด้าน คือ ลมมรสุมจากตะวันตกเฉียงใต้แถบมหาสมุทร อินเดีย และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากทะเลจีนใต้ ทำ�ให้ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบสะวันนาและแบบ ป่าฝนเมืองร้อนที่มีสภาพอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก ติดต่อกันโดยเฉลี่ยประมาณ ๖ เดือน โดยเริ่มจากภาค เหนือของประเทศไทย ฝนตกชุกในช่วงเดือน มิ.ย.- ส.ค. และจะค่อยๆ เคลือ่ นตัวลงทางใต้ของประเทศ ในภาคใต้ ตอนล่างจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือน พ.ย.- ม.ค. ของทุกปี ความเข้มของน้�ำ ฝนเฉลีย่ รายปี โดยภาคใต้ตงั้ แต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปและภาคตะวันออกแถบ จังหวัดจันทบุรี และตราด จะมีฝนมากกว่า ๒,๐๐๐ ม.ม. ซึง่ เป็นปัจจัยทีท่ �ำ ให้ประเทศไทยมีโอกาสทีเ่ ผชิญกับภัยจากแผ่นดินถล่มในฤดูฝนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณ พื้นที่ไหล่เขาและที่ราบเชิงเขาที่มีลำ�น้ำ�ไหลผ่านจากเขาผ่านสู่ที่ราบ • องค์กรด้านการจัดการภัยดินถล่มภายในประเทศ การจัดการภัยดินถล่มของไทยนับว่าเพิ่งเริ่มต้นและเห็นความสำ�คัญภายหลังเหตุการณ์น้ำ�ท่วมและ ดินถล่มครั้งใหญ่ทางภาคใต้ เมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และ สุราษฏร์ธานี ซึ่ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๕๐๐ ราย ดังนั้นเมื่อเทียบกับภัยพิบัติอื่นๆ และเปรียบเทียบกับการพัฒนาของการจัดการ ภัยในประเทศเพื่อนบ้านแถบ ASEAN ด้วยกัน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แล้วยังนับว่ายังด้อยกว่า การบริหารจัดการภัยในอดีต มักจะดำ�เนินการในเชิงรับ โดยเน้นการช่วยเหลือฟื้นฟู มากกว่าการป้องกันและ บรรเทาผลกระทบก่อนการปฏิรปู ระบบราชการ เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ การบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศเป็น ไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งรวมทั้งสาธารณภัย ภัยทางอากาศ หรือ ก่อวินาศกรรม โดยให้ดำ�เนินการในรูปของคณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ มีรัฐมนตรีกระทรวง มหาดไทยเป็นประธาน และคณะกรรมการประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอธิบดีกรมการปกครองเป็น กรรมการและเลขานุการ ภายหลังจากการปฏิรปู ระบบราชการในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ โดยรัฐบาลมองภารกิจเป็นหลัก มีการ จัดส่วนราชการให้สอดคล้องกับการดำ�เนินการภารกิจต่างๆ ให้ลุล่วง ในส่วนของการบริหารจัดการ สาธารณภัย ได้มกี ารจัดตัง้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึน้ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยโดยรวมเอาหน่วยงานต่างๆ ทีม่ ี


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๘๑

ประสบการณ์ในด้านสาธารณภัย เช่น สำ�นักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน สำ�นักงานคณะกรรมการป้องกันอุบตั ภิ ยั แห่งชาติ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต ๑ - ๙ กรมประชาสงเคราะห์ และกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เข้าไว้ด้วยกัน โดยได้กำ�หนดอำ�นาจหน้าที่ไว้ ดังนี้ ๑. จัดทำ�แผนแม่บทและร่างมาตรการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟู สาธารณภัย ๓. ดำ�เนินการบรรเทาและฟื้นฟูบูรณะในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยขนาดใหญ่ ๔. เป็นศูนย์ประสานการวางแผนการป้องกัน การบรรเทา และการฟื้นฟูสาธารณภัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • โดยพระราชบัญญัตปิ อ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐ กำ�หนดให้มกี ารจัดตัง้ คณะกรรมการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีทไี่ ด้รบั มอบหมายให้เป็นประธาน และมีเลขานุการ คือ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ด�ำ เนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรน้ำ�) ในการปรับปรุงแผน แม่บทอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม (แผนแม่บทระยะเวลา ๕ ปี) พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๕๕ เพื่อป้องกันและให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเกิดการบูรณาการและไม่ซ้ำ�ซ้อนกับแผนการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง โดยวัตถุประสงค์ ของแผนแม่บทฯ ที่ปรับปรุงแล้ว เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติอย่างมี ประสิทธิผล ลดความเสีย่ งและความเสียหายของผูป้ ระสบภัย เสริมสร้างสมรรถนะของชุมชนทุกระดับในการป้องกันและ ช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นเมื่อประสบภัย และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและจิตใจของผู้ประสบภัย ให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว • บทสรุป การเปลีย่ นแปลงสภาพแวดล้อมโลก รวมทัง้ การพัฒนาประเทศ โดยปราศจากการศึกษาผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อม อย่างรอบคอบในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลทำ�ให้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ อาทิ ป่าไม้ ดิน น้ำ� ฯลฯ ถูกทำ�ลาย มีสภาพ เสื่อมโทรม ระบบนิเวศทางธรรมชาติสูญเสียสภาวะสมดุล ส่งผลให้ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นปัจจุบัน อาทิ น้ำ�ป่าไหลหลาก น้ำ�ท่วมฉับพลันและเกิดดินโคลนถล่ม มีแนวโน้มเพิ่มความถี่ และทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ภัยพิบัติ เหล่านี้ได้สร้างความสูญเสียอย่างยิ่งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ซึ่งเป็นภัยที่มีสาเหตุของการเกิดเกี่ยวโยงและต่อเนื่องกัน โดยอุทกภัยและโคลนถล่ม จะมีสาเหตุแรกเริม่ จากพายุและเกิดฝนตกหนัก ประกอบกับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติตา่ งๆ โดยเฉพาะป่าไม้ ดิน น้ำ� อากาศ ถูกทำ�ลายจนเสื่อมโทรม ส่งผลให้เกิดน้ำ�ป่าไหลหลาก น้ำ�ท่วมฉับพลัน ดินและโคลนถล่ม สร้างความ สูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมากและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ขณะที่การบริหารจัดการปัญหาภัย พิบัติทางธรรมชาติของประเทศ ซึ่งดำ�เนินการโดยหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ไม่มีทิศทาง ดำ�เนินการป้องกันและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างบูรณาการ จึงไม่สามารถบรรเทาและแก้ไขปัญหาในภาวะ เร่งด่วนเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิผลเท่าที่ควร ดังนั้นการจัดการภัยพิบัติแผ่นดินถล่มที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ จึงจะต้องมีการประสานงานกันระหว่างหลายสาขาวิชา หลายหน่วยงานทัง้ ภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนต้องมีการศึกษา วิจัยอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างฐานความรู้เพื่อนำ�ไปสู่การเตือนภัยและลดภัยพิบัติในระยะยาวต่อไป อ้างอิง - ทรัพยากรธรณี กรม, กระทรวงอุตสาหกรรม. ธรณีวิทยาประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ ๒๕๔๒. - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรม, กระทรวงมหาดไทย. “แผนแม่บทการป้องกันและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม (ระยะ ๕ ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๕)”. กรุงเทพฯ ๒๕๕๐. - ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก. “การพัฒนาแผนหลักการจัดการภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินถล่ม”. สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) : กรุงเทพฯ ๒๕๔๖.


๘๒ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

มุมกฎหมาย

เหตุฟ้องหย่า เพราะภรรยาฟ้องนาย ร.ต.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

คดีที่สอง เป็นคดีที่ข้าราชการพลเรือนฟ้องภรรยาว่า ภรรยาได้ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวข้าราชการผูน้ นั้ ว่า มีความสัมพันธ์ฉนั ชูส้ าวกับหญิงอืน่ ทางจังหวัดจึงตัง้ กรรมการสอบสวนทางวินยั ปรากฏ ผลการสอบสวนไม่มีมูลความจริง การกระทำ�ของภรรยาทำ�ให้ตนเสียหาย ฯลฯ จึงฟ้องหย่าภรรยา ฝ่ายภรรยา สู้คดีทุกประเด็น ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ข้าราชการผู้นั้นในฐานะ โจทก์จึงฎีกา ผลของคำ�พิพากษาฎีกาเป็นประการใด ปรากฏจากข้อความตอนหนึ่ง ดังนี้ คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๗๖๖/๒๕๒๖ “พิเคราะห์แล้ว ปัญหาวินจิ ฉัยในชัน้ ฎีกามีวา่ จำ�เลยทำ�การเป็นปฏิปกั ษ์ ต่อการทีเ่ ป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าหรือไม่ ได้ความว่า จำ�เลยทำ�หนังสือร้องเรียนต่อ ผูว้ ่าราชการจังหวัดชุมพรกล่าวหาว่าโจทก์มคี วามสัมพันธ์ฉันชูส้ าวกับหญิงอืน่ ตามเอกสารหมาย จ.๒ สรุปความ ได้ว่า จำ�เลยกำ�ลังประสบความเดือดร้อน เนื่องจากสามีของจำ�เลยติดพันหญิงอื่นอยู่และขอหย่าขาดกับจำ�เลย ระหว่างที่ขอหย่านี้ สามีของจำ�เลยได้ข่มขู่กล่าวคำ�อาฆาตตลอดจนทำ�ร้ายร่างกายนี้ถึงขั้นทุบตี เลือดสาด จำ�เลย พยายามอดทนและพยายามจะออมชอมกัน แต่ก็ไม่สามารถทำ�ได้ จึงขอให้ความเป็นธรรมแก่จำ�เลยด้วย ปรากฏว่า จำ�เลยเป็นภริยาโจทก์ มีบตุ รหญิงด้วยกัน ๑ คน เมือ่ จำ�เลยทราบข่าวว่า โจทก์ผเู้ ป็นสามีไปติดพันหญิงอืน่ ฉันชูส้ าว ประกอบกับโจทก์เองก็รับว่า เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๒๒ โจทก์กับจำ�เลยทะเลาะกันเรื่องโจทก์ถอนเงินออมสินซื้อรถ จักรยานสองล้อให้บิดา โจทก์จึงออกจากบ้านจำ�เลยมาอยู่ที่โรงเรียนอนุบาลชุมพร ประมาณ ๖ เดือน โดยไม่เคย กลับไปอยูก่ บั จำ�เลย อีกจนกระทัง่ โจทก์ยา้ ยไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนด่านสวีวทิ ยา พฤติการณ์เช่นนีย้ อ่ มก่อให้จ�ำ เลย เกิดความหึงหวง และจำ�เป็นต้องป้องกันมิให้โจทก์ไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ ทอดทิ้งตนและบุตรได้ เหตุนี้ทำ�ให้จำ�เลยทำ�หนังสือร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ตามเอกสาร จ.๒ เพื่อขอ ความเป็นธรรมให้แก่จำ�เลย ซึ่งเท่ากับเป็นเชิงขอให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนให้โจทก์สำ�นึกในการ กระทำ� ของตน อันอาจจะก่อความเดือดร้อนใหม่แก่ครอบครัว ในหนังสือร้องเรียนดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าจำ�เลยขอให้ ผู้บังคับบัญชาดำ�เนินการทางวินัยแก่โจทก์แต่อย่างใด ซึ่งข้อนี้จำ�เลยเลิกความยืนยันว่า จำ�เลยไม่ต้องการที่จะให้ โจทก์ออกจากราชการ จำ�เลยจึงไม่ได้แสวงหาหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องราวว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๘๓

ที่จำ�เลยร้องเรียนโจทก์ก็เนื่องด้วยอารมณ์หึงหวง ดังนี้ศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำ�ของจำ�เลยดังกล่าวมา ยังถือ ไม่ได้ว่าจำ�เลยทำ�การเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์อย่างร้ายแรง และเมื่อได้พิจารณาถึงสภาพฐานะและความเป็นอยู่ ร่วมกันฉันสามีภริยาระหว่างโจทก์กบั จำ�เลยมาคำ�นึงประกอบแล้ว การกระทำ�นัน้ ยังไม่ถงึ ขนาดทีก่ อ่ ความเดือดร้อน เกินควรต่อโจทก์แต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์จำ�เลยหย่าขาดจากกัน ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น” จากคำ�พิพากษาทั้ง ๒ คดีดังกล่าวข้างต้น อาจได้ข้อสรุปเป็นแนวบรรทัดฐานเกี่ยวกับการฟ้องหย่า เพราะเหตุภรรยามีหนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาของสามีได้ ๒ ประการ คือ ประการแรก การทีภ่ รรยาทหารมีหนังสือถึงผูบ้ งั คับบัญชาของสามีขอค่าเลีย้ งดูจากสามีตามคำ�แนะนำ� ของนายทหารพระธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชาของสามีแนะนำ�ให้ไปหารือด้วยนั้น เป็นการดำ�เนินการไปตาม ข้อบังคับทหารว่าด้วยการปกครองครอบครัว ถ้าผลของหนังสือร้องเรียนไม่ปรากฏชัดเจนว่า สามีเดือดร้อนเกินควร จากการกระทำ�นั้นอย่างไร เช่น ถูกงดบำ�เหน็จประจำ�ปี ถูกย้ายไปอยู่ตำ�แหน่งอื่นที่สำ�คัญน้อยกว่าเดิม ฯลฯ แต่ กลับได้ความว่า สามีได้รับเลื่อนยศตามลำ�ดับ เช่นนี้ การร้องเรียนของภรรยา จึงไม่ถึงขนาดทำ�การเป็นปฏิปักษ์ ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ประการที่สอง ถ้าสามีทะเลาะกับภรรยาแล้ว ออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ต่อมาภรรยาทราบว่าสามีไป ติดพันหญิงอืน่ ฉันชูส้ าว การทีภ่ รรยามีหนังสือร้องเรียนผูบ้ งั คับบัญชา กล่าวหาสามีในเรือ่ งดังกล่าว ถ้าไม่ปรากฏ ว่าได้ขอให้ผู้บังคับบัญชาดำ�เนินการทางวินัยแก่สามี จึงเท่ากับเป็นเชิงขอให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนให้ สามีสำ�นึกในการกระทำ�อันอาจจะก่อความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัว การกระทำ�ของภรรยาดังกล่าวถือไม่ได้ว่า ภรรยาทำ�การเป็นปฏิปักษ์ต่อสามีอย่างร้ายแรงและยังไม่ถึงขนาดที่ก่อความเดือดร้อนเกินควรต่อสามี จึงฟ้องหย่า ไม่ได้ ท้ายสุด ผู้เขียนใคร่ขอฝากข้อคิดกับ ท่านผูอ้ า่ นทีเ่ ป็นครอบครัวทหารว่า การร้องเรียน ถึงผูบ้ งั คับบัญชาของสามีกด็ ี การฟ้องหย่าภรรยา ก็ดี ก่อนที่ท่านจะกระทำ�สิ่งเหล่านี้ลงไป ขอได้ กรุณาไตร่ตรองให้รอบคอบ และขอให้เป็นวิธี การสุดท้ายในการแก้ปัญหาครอบครัวเท่านั้น


๘๔ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

อาการคันหูเป็นอาการทีพ่ บได้บอ่ ย ในคนทั่วไป ทุกคนต้องเคยมีประสบการณ์ “คันหู” แทบทั้งสิ้น และเกิดขึ้นได้กับคน ทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เกิดเฉพาะแต่ผหู้ ญิงเท่านัน้ ยิ่งในระยะนี้มีเพลง “คันหู” ที่กำ�ลังเป็นที่ สนใจ เราจึงควรมาดูซิว่า สาเหตุของอาการ คันหูเกิดขึน้ ได้จากอะไรและการปฏิบตั ริ กั ษา ้น มุมสุขภาพ ตั วเมื่อเกิก่ดออาการขึ นายห่วงใย นอืน่ ขอทำ�ความเข้าใจกันเล็กน้อย เรื่องที่เราคันหูนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการคันในรูหูชั้นนอก ซึ่งเป็นส่วนที่มีต่อมสร้างไขมัน เหงื่อ และขี้หู ในผู้ใหญ่ ปกติรูหูจะมีความยาวประมาณ ๓ – ๔ ซม. คดเป็นรูปตัว “S” เล็กน้อย มิได้เป็นท่อตรงๆ แบบทรงกระบอก ถ้าเราแบ่งความยาวรูหูออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนด้านนอก ๒ ใน ๓ จะเป็นส่วนที่เกิดการคัน ส่วนด้านในลึก ๑ ใน ๓ จะเป็นส่วนที่มีผิวหนังบางมากติดกระดูก และไวต่อความเจ็บปวดมากกว่าการคัน ดังนั้นจะพบว่าเมื่อเราเอา ไม้พันสำ�ลีหรือไม้แคะหูแยงเข้าไปลึกถึงด้านในจะรู้สึกเจ็บแปลบขึ้นทันที อันนี้เป็นกลไกทางธรรมชาติสำ�คัญที่ เตือนให้ระวัง เพราะถ้าลึกเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะเป็นส่วนของแก้วหู มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่บางมาก ความหนา เท่ากระดาษใส โอกาสเกิดแก้วหูแตกหรือทะลุได้ง่ายมาก สาเหตุที่เกิดอาการคันหู ส่วนใหญ่จะเป็นการระคายเคือง การอักเสบแบบอ่อนๆ หรือเกิดจากความชื้น แฉะ เช่น น้ำ�เข้าหูหลังสระผม ขี้หูที่มีสภาพเปียกแฉะในคนบางคน การระคายเคืองจากยาสระผม ความมันจาก ไขมันในผิวหนังของผู้สูงอายุที่มากกว่าปกติ รวมทั้งนิสัยที่ชอบใช้ไม้พันสำ�ลีปั่นหูเข้าไปในรูหูเป็นประจำ�ทั้งๆ ที่ ไม่ได้คนั แต่เป็นเพราะรูส้ กึ จัก๊ จี้ และมันเวลาปัน่ หู เป็นความสุขอย่างหนึง่ ทีห่ าทีเ่ ปรียบมิได้ การกระทำ�เช่นนีเ้ ป็น เวลานานๆ จะเกิดการติดเป็นนิสัย พอเห็นไม้พันสำ�ลี หรือไม้ปั่นหูเป็นไม่ได้ จะเกิดความรู้สึกคันยิบๆ ขึ้นมาใน หูทันที ต้องจับเข้าปั่นหูตลอด ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะพบได้แต่น้อยมาก เช่น การติดเชื้อราในช่องหู การเป็น หูน้ำ�หนวก มีน้ำ�หนองในหู การเป็นโรคภูมิแพ้ มีผิวหนังอักเสบในหู เป็นต้น การดูแลรักษาเป็นการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการคันหู คือ ถ้าเป็นการคันแบบนานๆ ครั้ง แนะนำ�ว่าควร จะใช้วิธีการกดขยี้บริเวณติ่งกระดูกอ่อนหน้าหู จะดีกว่าการใช้ไม้พันสำ�ลีหรือไม้แคะหูเข้าไปปั่นในรูหู เพราะการ ปัน่ หูนอกจากจะก่อให้เกิดการติดเป็นนิสยั แล้ว วันดีคนื ดีถา้ เผลอปัน่ แรงเกินไปจะก่อให้เกิดแผลถลอก และมีการ อักเสบติดเชื้อขึ้นได้ เมื่อถึงเวลานั้น ผู้ป่วยก็จะเกิดอาการปวดหูแทน ซึ่งทรมานจนต้องมาพบแพทย์ นอกจากนั้น พยายามหลีกเลี่ยงการระคายเคืองในรูหู เช่น ระวังมิให้นำ้�เข้าหูเวลาสระผม โดยเอาสำ�ลีหรือฟองน้ำ�อุดหูกัน น้ำ�เข้า แต่ถ้าการคันหูเป็นเรื้อรังเป็นทุกวัน ขั้นตอนแรกก็ต้องพิจารณาก่อนว่า เราติดเป็นนิสัยหรือไม่ พยายาม หยุดการปั่นหูทันที เหมือนการอดบุหรี่ ต้องหักดิบไปเลย แต่ถ้ายังคันมากจนทนไม่ไหว ก็สมควรมาพบแพทย์ หูคอจมูกเพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำ�การรักษาตามสาเหตุที่เป็น แล้วท่านทั้งหลายก็จะได้ไม่ต้องเกาหรือปั่นหู อีกต่อไป 

“คันหู”

ไม่รู้เป็นอะไร?

ขอขอบคุณ น.พ.ชัยยศ เด่นอริยะกูล นิตยสาร Hospital & Healthcare


มิถุนายน ๒๕๕๕

...การให้อภัย (๑)...

ข่าวทหารอากาศ ๘๕

จริง ๆ แล้ววันนี้ผู้เขียนตั้งใจจะเขียนขอบฟ้าคุณธรรมในหัวข้อเรื่อง การทำ�จิตใจให้ผ่องใส เพราะเป็น หลักศาสนาที่สำ�คัญมากข้อหนึ่ง หากยังพอจำ�กันได้ว่า วันมาฆบูชา คือวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง ประกาศหลักธรรมที่สำ�คัญในการฝึกตนเองให้พบกับความสงบเย็น ซึ่งประกอบด้วย ให้ละความชั่วทั้งปวง ทำ�ความดี ให้ถึงพร้อมและทำ�ใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งข้อสรุปนี้หลายฝ่ายก็ถือว่าเป็น หัวใจของพุทธศาสนาทีเดียว ผูเ้ ขียนคงไม่ท�ำ หน้าทีบ่ รรยายพุทธศาสนาเพราะไม่มคี วามสามารถมากพอ แต่ผเู้ ขียนติดใจวลีทวี่ า่ ทำ�ใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี่แหละ ติดใจมานานมากแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งเห็นประโยชน์ข้อนี้มากตามอายุ แต่ก็ ไม่อยากจะโทษใครนอกจากตัวเอง เพราะผู้เขียนไม่สามารถหาคำ�อธิบาย หาวิธีปฏิบัติ ที่จะทำ�ให้ใจผ่องใสอย่างที่ ต้องการได้เลย ตัง้ เป็นหัวข้อจะค้นคว้ามาเขียนเป็นเรือ่ งราวก็ท�ำ ไม่ส�ำ เร็จ เพราะเจอแต่ค�ำ แนะนำ�การปฏิบตั ธิ รรม ทั้งนั้น ซึ่งไม่ตรงใจผู้เขียนเลย แต่กลับโชคดีได้พบกับคุณธรรมเรื่อง การให้อภัย ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นที่มีเหตุมีผล น่าสนใจและอาจเกี่ยวข้องกับการทำ�ใจให้ผ่องใสด้วยก็ได้ การให้อภัย เป็นคำ�พูดที่เราได้ยินกัน จนเบือ่ ตัง้ แต่เล็กจนโต แต่เราก็คงได้เจอแต่คนพูด คนเขียน คนแนะนำ� แต่คงหาคนที่ทำ�ได้อย่างนั้น น้อยมาก นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า การให้อภัยไม่ใช่ ของง่ายทำ�ยากกว่าการให้สงิ่ ของ ให้เงิน ให้กำ�ลังใจ แก่คนอื่น ๆ หากใครทำ�ได้ ฝึกใจของตนเองได้ จง ถือว่านั่นคือ งานชิ้นโบว์แดงของชีวิตเลยทีเดียว เรื่องมันยากขนาดนี้เลยหรือ ... สิง่ แรกทีน่ า่ สนใจก็คอื การให้อภัยนัน้ มันเป็นเสมือนยารักษาโรค คือใช้ทหี ลัง แสดงว่า ต้องมีเหตุมาก่อน แล้ว และเหตุที่เกิดขึ้นทำ�ให้เกิดผล คือ ความโกรธแค้นที่ฝังลึกอยู่ในใจ แล้วอะไรคือปัญหาที่ทำ�ให้คนสามารถมีความโกรธ มีความแค้น ไม่พอใจคนอื่นๆ ฝังลึกอยู่ในใจได้ เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี หลายๆ ปี หรือทั้งชีวิต นึกถึงทีไรเหมือนมีบาดแผลในใจ เจ็บปวด เคียดแค้นได้ตลอดเวลา


๘๖ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

เราต้องยอมรับว่า มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ธรรมชาติพัฒนาขึ้นมา เขามีสัญชาตญาณของเขา เขาต้องแสวงหาอาหาร ต้องดำ�รงชีวติ และต้องขยายเผ่าพันธุข์ องเขาตามกฎของธรรมชาติ และด้วยสัญชาตญาณ เหล่านี้ คนทุกคนจึงสนใจตัวเองและรักตัวเองเป็นพื้นฐาน ด้วยความรักตัวเองมนุษย์จึงเอาเปรียบกันเหมือนสัตว์ อืน่ ๆ และในการอยูร่ ว่ มกันหากมีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึน้ การโทษคนอืน่ หรือโยนความผิดหรือปัญหาให้คนอืน่ จึงเป็นธรรมดาของมนุษย์ เมือ่ มนุษย์จดั ลำ�ดับของสังคมมนุษย์ในเรือ่ งต่างๆ ขึน้ มา คนแต่ละคนก็จะตัง้ มาตรฐาน ของตัวเองขึ้นมาในเรื่องนั้นๆ แล้วคอยดู คอยตัดสินคนอื่นๆ ที่ทำ�อะไรไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ตนตั้งไว้ หาว่า เป็นคนผิด คนไม่ดี คือไม่ได้ผลดังใจ หากมีสิทธิ มีอำ�นาจก็จะพยายามแก้ไขคนเหล่านั้นให้ได้ดังใจ หากทำ�ไม่ได้ ความคับข้องใจก็จะเกิดขึ้น มีจินตนาการต่อไปอีกมากมาย เป็นความอึดอัดโกรธความแค้น ตรงนี้แหละ คือ โรคร้าย ที่เกิดอยู่ในใจของมนุษย์ มาตั้งแต่เด็กจนโต จนแก่ และตายไป โดยที่หลายคนไม่ได้แก้ไขอะไรเลย สังคมใด ที่ผู้คนในสังคมป่วยเป็นโรคเหล่านี้จะมีแต่คนด่าทอ ว่ากล่าว ตำ�หนิซึ่งกันและกันตลอดเวลา ไม่มีใครกล่าวถึง คุณงามความดีของคนอื่นๆ ดูอึดอัดคับข้องใจเครียดกันไปทั้งสังคม ประเด็นที่ยากเย็นและหาคำ�อธิบายไม่ได้ในเรื่องนี้ คือ เมื่อไรถึงควรมีการให้อภัย ถ้าคิดกันตามหลักวิทยาศาสตร์ การ ให้อภัยจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ที่สร้างปัญหาหรือผู้ที่กระทำ�ผิด สำ�นึกผิด และต้องการกลับตัวกลับใจ ก็น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสม ดังที่ ท่าน ว.วชิรเมธีได้กล่าวไว้ว่า “การให้อภัย จะมีผลแท้จริงไม่ใช่ การบอกว่า “ฉันยกโทษให้เธอ” แต่ต้องมาจากการที่คนทำ�ผิด เกิดจิตสำ�นึกขึ้นมาอย่างท่องแท้ว่าสิ่งที่เขาทำ�นั้นผิด และอยาก เริ่มต้นใหม่ อยากแก้ไขตัวเอง การให้อภัยจึงดำ�เนินไปในลักษณะนี้ จึงเป็นการให้อภัยในความหมายนี้แท้” ปัญหาตรงนี้ก็คือ แล้วถ้าคนทำ�ผิดเขาบอกว่าเขาไม่ผิด และไม่แก้ไข จะให้อภัยกันยังไงดี เพราะคนที่ เจ็บแค้นเก็บกดก็เป็นทุกข์ตลอดไป ตรงนี้น่าสนใจมาก ท่านมหาตมะคานธี กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่อ่อนแอ ไม่สามารถ ให้อภัยใครได้ เพราะการให้อภัยนั้นมันเป็นความเข้มแข็งที่แท้จริงของจิตใจมนุษย์” พัฒนาการให้อภัยผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางจิตใจด้วย นักจิตวิทยาพบว่า คนเราสามารถ ให้อภัย ได้มากขึ้นตามอายุ คือคนในวัยสูงอายุจะให้อภัยผู้อื่นได้ง่ายกว่าคนในวัยผู้ใหญ่และมากกว่าคนในวัยรุ่น ซึง่ น่าจะสะท้อนถึงโลกทัศน์ทเี่ ปลีย่ นแปลงไปในคนที่ผา่ นชีวติ มานานกว่า มีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจผูอ้ ื่นมากขึน้ นอกจากนีพ้ ฒ ั นาการของการให้อภัยยังมีลกั ษณะทีเ่ ป็นลำ�ดับขัน้ เหมือนทีม่ นุษย์เรามีพฒ ั นาการทางร่างกาย จาก คลานเป็นนั่ง จนถึงการยืนและเดินตามลำ�ดับ คือในขั้นต้น การให้อภัยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ที่กระทำ�ผิดได้รับการ ล้างแค้นหรือการลงโทษอย่างสาสมเสียก่อน ขั้นกลางคือ การให้อภัย เป็นสิ่งควรทำ�เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังคมและ คำ�สั่งสอนของพ่อแม่หรือศาสนาสอนไว้ ในขั้นสูงคือ การให้อภัยควรทำ�เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมและ ในขั้นสูงสุดคือเป็นการแสดงออกของความรักที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Love)


มิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวทหารอากาศ ๘๗

ความจริงแล้วการให้อภัยกลับกลาย เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ให้อภัยเอง เพราะการให้อภัยคือการปลดปล่อยตนเองจาก ซากอดีตที่เจ็บปวดเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ ดังที่ คอร์รี่ เทน บูม (Corrie Ten Boom) ผูช้ ว่ ยเหลือ ชาวยิวจากค่ายกักกันของนาซีได้กล่าวว่า “การ ให้อภัยคือ การปลดปล่อยนักโทษ และนักโทษ ผู้นั้นก็คือคุณนั่นเอง” และจากประสบการณ์ ตรงของเธอเองที่ได้บันทึกไว้ว่า “ในท่ามกลางเหยื่อที่ถูกนาซีทำ�ทารุณกรรมนั้น ผู้ที่สามารถสร้างชีวิตใหม่ได้ดี และสามารถดำ�รงชีวิตที่เป็นสุขได้คือ ผู้ที่สามารถให้อภัยต่อความเลวร้ายเหล่านั้น” ผลดีอีกประการคือผู้ที่มักให้อภัยผู้อื่นได้ง่ายจะมีความเป็นปฏิปักษ์น้อย ไม่หลงตัวเอง ไม่ชอบครุ่นคิด วนเวียน เป็นคนที่มีนิสัยพูดง่าย ไม่เรื่องมาก ทำ�ให้กังวลและซึมเศร้าน้อยกว่า ป่วยเป็นโรคประสาทน้อยกว่า มีลักษณะที่เข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากกว่า การให้อภัยจึงเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันโรคทางจิต เพิ่มสุขภาพจิตที่ดีสำ�หรับ ตัวผู้ให้อภัยนั้นเอง ผู้เขียนจึงอยากชวนท่านผู้อ่านได้ทบทวนไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งและตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพื่อที่ จะช่วยกันปลดปล่อยความเคืองแค้นที่ยังฝังใจ เพื่อให้จิตใจได้รับอิสรภาพและเกิดความสุขสงบทางใจ ถึงตรงนีเ้ ราอาจกล่าวได้วา่ การให้อภัยจริงๆ แล้วไม่เกีย่ วกับผูอ้ นื่ เลย แม้แต่ผทู้ ที่ �ำ ให้เราโกรธหรือเจ็บใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องของตัวเราอย่างแท้จริง ถ้าเราเอาชนะจิตใจของเราได้ เราก็ให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่างได้ อย่างไม่มี เงื่อนไขใดๆ เอเวอแรต เวอร์ทติ นั ศาสตราจารย์ดา้ น จิตวิทยา ผู้แต่งหนังสือ “ห้าวิธีให้อภัย” แนะนำ� ขั้นตอนของการให้อภัยดังนี้ ๑. นึกถึงเรือ่ งทีท่ �ำ ให้เราเสียใจ หลายคน พยายามปฏิเสธเรื่องที่คนชนอื่นกระทำ�กับเรา เพราะเชือ่ ว่าถ้าไม่คดิ ก็จะไม่โกรธ แต่ถา้ ต้องเจอ หน้าคนทีท่ �ำ ให้คณ ุ เจ็บปวดใจทุกวันคุณอาจรูส้ กึ หงุดหงิดรำ�คาญจนทนไม่ได้ ดังนั้น เมื่อถึงเรื่องนี้ พยายามอย่าโกรธ ความรู้สึกสงสารตัวเองหรือ ความเชื่อที่ว่าผู้อื่นจะมาขอโทษเอง มาบิดเบือนความคิดของคุณ ๒. มองสายตาผู้อื่นลองนึกดูว่าผู้ที่ทำ�ให้คุณเจ็บใจอาจมีความกดดันบางอย่างลองเขียนจดหมายโดย สมมติว่าคุณเป็นคนนั้น เขาหรือเธอจะอธิบายการกระทำ�นั้นๆ อย่างไร การมองในมุมอื่นอาจทำ�ให้เราพิจารณา และเข้าใจการกระทำ�นั้นได้ง่ายและยอมรับได้มากขึ้น


๘๘ ข่าวทหารอากาศ

มิถุนายน ๒๕๕๕

๓. พิจารณาตัวเอง คุณเคยทำ�ร้ายหรือทำ�ให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวโกรธบ้างไหม ลองนึกย้อนดูว่า คุณเองรู้สึกอย่างไรเมื่อพวกเขายกโทษให้ การทบทวนความรู้สึกสำ�นึกผิดและความรู้สึกของคุณที่เขาไม่โกรธ อาจช่วยให้คุณอยากปฏิบัติเช่นเดียวกันต่อคนที่เคยทำ�ให้คุณเสียใจ ๔. บอกคนที่คุณให้อภัยบอกเขาว่าไม่โกรธแล้วหรืออาจเขียนไว้ในกระดาษหรือในสมุดบันทึก บางครั้ง คุณอาจนึกถึงเรื่องที่เคยทำ�ให้ชำ้�ใจและความเป็นจริงของคุณก็ยังไม่อยากจะยกโทษให้ แต่คุณหลีกเลี่ยงความ รู้สึกเช่นนี้ได้ หากมีเครื่องเตือนใจในการให้อภัย ๕. ยึดมั่นในการให้อภัย ความทรงจำ�อันเจ็บปวดไม่อาจลบเลือน เช่นเดียวกับไม่มีใครทำ�อะไรได้ถูกใจ เราไปซะทุกอย่าง คุณค่าของความพยายามที่จะให้อภัยใครสักคน ความรู้สึกขมขื่นอาจจะหวนคืนมาบ้าง ซึ่งก็ เป็นเรื่องปกติ หากเป็นเช่นนั้นคุณควรทบทวนดูข้อความที่ใช้เตือนใจและนึกถึงการให้และได้รับจากผู้อื่น

กองทัพอากาศของเรามีกำ�ลังพลมากกว่าสี่หมื่นคนและแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน มีความชอบต่างกัน ผ่านประสบการณ์มาต่างกัน การทำ�งานในกองทัพจะสนุกและมีความสุขกับการทำ�งานได้มากขึ้น หากทุกฝ่าย ให้อภัยกันและกัน ในเรื่องราวต่างๆ ที่ติดอยู่ในใจ ทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้น การงานก็จะมี ประสิทธิภาพมากขึ้น สุขภาพจิตของสังคมของเราก็จะมีคุณภาพสูงขึ้น ตัวเราเองก็จะมีจิตใจผ่องใสมากขึ้นหากเรา ทุกคนสามารถให้อภัยกันได้อย่างไม่มีเงื่อนไข

“การให้อภัย เป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของผู้ใช้ปัญญา”


พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ ผบ.ทอ. และ นายประเสริฐ อังสุรัตน ผูแทน สฝษ.กษ. เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัย

เกี่ยวกับพลุซิลเวอรไอโอไดด และพลุสารดูดความชื้นของ ศวอ.ทอ. ในพิธีสงหนวยบินปฏิบัติการฝนหลวง ทอ. ประจำป ๕๕ โดยมี พล.อ.ต.เอกรัฐ ษรานุรักษ รอง ผอ.ศวอ.ทอ. ใหการตอนรับ ณ ฝูง.๖๐๑ บน.๖ เมื่อ ๒๓ เม.ย.๕๕

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ ผบ.ทอ. เปนประธานมอบ

รางวัลสลากกาชาดกองทัพอากาศ ประจำป ๒๕๕๕ รางวัลที่ ๑ น.ท.ครุศักดิ์ วงษปน (สพ.ทอ.) รับรถยนต TOYOTA FORTUNER รางวัลที่ ๒ น.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย (บน.๒๓) รับรถยนต TOYOTA HILUX VIGO CHAMP

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ ผบ.ทอ. เปนประธานในการ

เปดสนามกอลฟกานตรัตน ภายหลังประสบอุทกภัย และใหบริการสมาชิกเปนตนไป เมื่อ ๒ พ.ค.๕๕

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ ผบ.ทอ. เปนประธานในพิธี

ประดับเครื่องหมายความสามารถในการบินช้นกิตติมศักดิ์ กองทัพอากาศใหแก Mr.Katsuhiko Tokunaga ชางภาพชาว ญี่ปุนซึ่งทำหนาที่บันทึกภาพอากาศยาน เพื่อจัดทำหนังสือ ที่ระลึกครบรอบ ๑๐๐ ปการบินของบุพการีทหารอากาศ และการประชาสัมพันธ ทอ. ณ หองรับรองพิเศษ ๑ เมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๕


พล.อ.อ.ศรีเชาวน จันทรเรือง รอง ผบ.ทอ. ในฐานะ

ประธานกรรมการจัดงานวันครบรอบ ๑๐๐ ป การบินของ บุพการีทหารอากาศ และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผวจ.เชียงใหม ถายภาพรวมกับนักบินที่แสดงการบิน เพื่อประชาสัมพันธการ จัดงานวันครบรอบ ๑๐๐ ป ณ บน.๔๑ เมื่อ ๑๙ เม.ย.๕๕

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผช.ผบ.ทอ. พรอมคณะ

เยี่ยมชมแหลงทองเที่ยว รร.การบิน โดยกราบสักการะ พระพุทธศรีนภาภิธรรม ณ วิหารพระพุทธศรีนภาภิธรรม และจัดกิจกรรมกอลฟ ณ สนามกอลฟทองใหญ โดยมี พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผบ.รร.การบินใหการตอนรับ เมื่อ ๙ พ.ค.๕๕

พล.อ.อ.วุฒิชัย คชาชีวะ หัวหนาคณะ ฝสธ.

ประจำ ผบช. ผูแทน ผบ.ทอ. เปนประธานในพิธีวางพวงมาลา สักการะอนุสาวรียบุพการีทหารอากาศ และพิธีทำบุญเนื่องใน วันคลายวันสถาปนา รร.นอ. ครบรอบ ๕๙ ป เมื่อ ๗ พ.ค.๕๕

พล.อ.อ.เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย เสธ.ทอ. ผูแทน ผบ.ทอ. รับเยี่ยมคำนับ น.อ.Vince P. Logsdon หัวหนา

กองประจำกองกำลังสหรัฐฯ ภาคแปซิฟก สำนักรองปลัด ทบวงทหารอากาศสหรัฐฯ ดานกิจการระหวางประเทศ ณ หองรับรองพิเศษ ๑ เมื่อ ๒๓ เม.ย.๕๕


พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ ผทค.พิเศษ ทอ.

ในฐานะ ประธานอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ ทอ. ประชุม คณอก.บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ ทอ. ครงที่ ๔/๕๕ ณ หองประชุม กร.ทอ. เมื่อ ๒๙ เม.ย.๕๕

พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ ผบ.คปอ. เปนประธานในการประกอบพิธีเนื่องใน “วันคลายวันถึงแก อนิจกรรม จอมพลอากาศเฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร (๑๔ เม.ย.)” เมื่อ ๑๑ เม.ย.๕๕

พล.อ.ท.ธงชัย แฉลมเขตร รอง เสธ.ทอ. และ

พล.อ.ท.ชุมพร จันทวานิช ผทค.พิเศษ ทอ. ในฐานะ ประธานกรรมการแลกเปลี่ยนโดยวิ​ิธีพิเศษใหการตอนรับ

Mr.Katsuhiko Tokunaga ชางภาพชาวญี่ปุน กำหนดทำการ บันทึกภาพอากาศยานหมูบินผาดแผลงแรกของกองทัพอากาศ Blue Phoenix ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ป การบินของบุพการี ทหารอากาศ โดยมี พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผบ.รร.การบิน ใหการตอนรับ ณ รร.การบิน ระหวาง ๘ - ๑๐ พ.ค.๕๕

Captain Daniel Fox, Captain Willa Leach และ Captain Willi Ebner นักบินนำสงเครื่องบินลำเลียงแบบ Saab 340B จากสนามบิน Manassas รัฐเวอรจิเนียถึง บน.๗ เมื่อ ๒ พ.ค.๕๕

พล.อ.ท.อานนท จารยะพันธุ ผบ.อย. เปนประธาน ในพิธีมอบทุนการศึกษา ทุนสหกรณออมทรัพย อย. และ ทุน ผบ.อย.ใหแกบุตรขาราชการ ลูกจาง และพนักงานราชการ ณ หองประชุม อย.(๒) เมื่อ ๑๐ พ.ค.๕๕


พล.อ.ท.ชนัท รัตนอุบล จก.ยศ.ทอ. เปนประธาน

ในพิธีอานสาร ผบ.ทอ. เนื่องในวันกองทัพอากาศ ประจำป ๕๕ ณ โรงอาหาร รร.จอ.ยศ.ทอ. เมื่อ ๑๗ เม.ย.๕๕

พล.อ.ท.ชนัท รัตนอุบล จก.ยศ.ทอ รับการตรวจเยี่ยม สายวิทยาการสารบรรณจาก พล.อ.ต.ปญญา ศรีสำราญ จก.สบ.ทอ. และคณะฯ ณ หองประชุม ยศ.ทอ. ระหวาง ๒๔ - ๒๖ เม.ย.๕๕

พล.อ.ท.สฤษดิ์พงษ โกมุทานนท ผบ.รร.นอ.

เปนประธานในการประกอบพิธีกตัญูบูชาคุณครู อาจารย รร.นอ. ๒๕๕๕ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อแสดงความกตัญู กตเวทีตออดีตครูอาจารย รร.นอ.ที่เกษียณอายุแลวและเปน แบบอยางใหแกบุคลากร รร.นอ. ณ อาคารรณนภากาศ รร.นอ. เมื่อ ๑๘ เม.ย.๕๕

“มหาสงกรานต...เบิกบานหทัย” ชุมนุมสัญญาบัตร พอ. จัดพิธีรดน้ำขอพร พล.อ.ท.วราวุธ คันธา จก.พอ. และ ผูบังคับบัญชา โดยมี พล.อ.ต.ชูพันธ ชาญสมร ผอ.รพ. ภูมิพลอดุลยเดช พอ. นำขาราชการ พอ.เขารวมงาน สงกรานต ณ ชุมนุมสัญญาบัตร พอ. เมื่อ ๑๒ เม.ย.๕๕

พล.อ.ท.อานนท วิรัชกุล จก.ชอ. เปนประธาน

ในพิธีสักการะพระพุทธศาสดานภานาวามงคล ณ หอพระประจำ ชอ. และพิธีสักการะศาลเทพารักษ พอปูทาวสิทธิราชธรรมราชา ณ บริเวณศาลเทพารักษ ประจำ ชอ. และมีการแขงขันกีฬารวมกันระหวาง นขต.ชอ. เพื่อเชื่อมความรัก ความสามัคคี เมื่อ ๑๙ เม.ย.๕๕


พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผบ.รร.การบิน

เปนผูแทน ผบ.ทอ. รวมพิธีวางพวงมาลาเพื่อรำลึกถึงทหาร ที่เสียชีวิตในวันANZAC DAY ซึ่งเปนวันที่ทหารกองกำลัง ผสมของออสเตรเลียและนิวซีแลนดยกพลขึ้นบก ณ สมรภูมิ Gallipoli รวมถึงสมรภูมิอื่นดวย ณ สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี เมื่อ ๒๕ เม.ย.๕๕

พล.อ.ต.อนุพงศ ใจเอื้อ จก.พธ.ทอ. เปนประธาน

ในพิธีอานสาร ผบ.ทอ. เนื่องในวันกองทัพอากาศ ประจำป ๕๕ ณ บริเวณหนาอาคาร บก.พธ.ทอ. เมื่อ ๑๗ เม.ย.๕๕

พล.อ.ต.ประโยชน ดีชัง จก.ชย.ทอ. ใหการตอนรับ พล.อ.ต.ยรรยง คันธสร จก.กพ.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม

สายวิทยาการจำพวกทหารกำลังพล ชย.ทอ. เมื่อ ๑๙ เม.ย.๕๕

พล.อ.ต.ชนนนาถ เทพลิบ ผอ.ศกอ. นำขาราชการ และพนักงานราชการ ศกอ. ไปเยี่ยมชม ฝูงบิน F - 15 ของ ทอ. สิงคโปร ณ ลานจอดเครื่องบิน บน.๑ โดยมี LTC THAM

YEOW MIN DY COMMMANDING OFFICER 149 SQN ใหการตอนรับ เมื่อ ๓ เม.ย.๕๕

พล.อ.ต.ศิริชัย ภัทรสุวรรณ จก.ขส.ทอ. เปนประธาน

ในพิธีเปดการศึกษาหลักสูตรพลขับรถรุนที่ ๘๐ ณ กวก.ขส.ทอ. เมื่อ ๒๔ เม.ย.๕๕

พล.อ.ต.อนิรุท กิตติรัต จก.กร.ทอ. ใหการตอนรับ

คณะองคการบริหารสวนตำบลมวกเหล็ก และเยาวชนจาก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เยี่ยมชมกิจการกองทัพอากาศ อาทิ พิพิธภัณฑ ทอ. กรม ปพ.อย. และ บน.๖ เมื่อ ๒๕ เม.ย.๕๕


พล.อ.ต.ฤกษฤทธิ์ พวงทอง จก.สก.ทอ. อานสาร ผบ.ทอ.

เนื่องในวันกองทัพอากาศ ประจำป ๕๕ ณ หอประชุมกานตรัตน เมื่อ ๑๗ เม.ย.๕๕

พล.อ.ต.ทนงศักดิ์ พวงพวงรอด รอง ผบ.อย. (๑)

เปนประธานในพิธีเปดการศึกษาและปฐมนิเทศนักเรียนดุริยางค ทหารอากาศ ประจำป ๕๕ ณ ดย.อย. เมื่อ ๑ พ.ค.๕๕

น.อ.อรณพ เมนะรุจิ รอง จก.กร.ทอ. และคณะฯ

ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ บน.๑ โดยมี น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑ ใหการตอนรับ เมื่อ ๓ พ.ค.๕๕

น.อ.จักรกริช วุฒิกาญจน รอง จก.ยก.ทอ.

ในฐานะ ผอ.กอฝ.ผสม Balance / Teak Torch 12-2 และ LT.Col.Andrew Lewin ผอ.กอฝ. ฝายสหรัฐอเมริกา พรอมดวยกำลังพลที่เขารวมการฝกฯ นำอุปกรณการศึกษา อุปกรณกีฬา และสิ่งของเครื่องใชที่จำเปนมอบใหแกสถาน สงเคราะหเด็กหญิงอุดรธานี พรอมจัดชุดแพทยใหบริการ ตรวจสุขภาพอนามัยเบื้องตน และเลี้ยงอาหารกลางวัน เมื่อ ๔ พ.ค.๕๕

น.อ.กัลชาญ หอมไกรลาศ รอง ผอ.สบศ.บก.ยศ.ทอ.และคณะฯ

ติดตามและประเมินผลการปองกันและแกไขปญหาเอดสของ ทอ. ติดตามและประเมินผลฯ การดำเนินงานของ บน.๑ โดยมี น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑ ใหการตอนรับ เมื่อ ๑ พ.ค.๕๕


น.อ.รณฤทธิ์ สัชฌุกร รอง ผอ.สตน.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม บน.๖ โดยมี น.อ.อดิศร อุณหเลขกะ ผบ.บน.๖ ใหการตอนรับ

น.อ.ชวดล สันตยานนท รอง ผอ.สพร.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม บน.๔๖ โดยมี น.อ.ทศวรรณ รัตนแกวกาญจน ผบ.บน.๔๖

น.อ.ไกรสิงห แกนการ เสธ.สน.ผบ.ดม. เปนประธานในพิธเปด

น.อ.ทนงศักดิ์ สุทธิสารากร รอง ผอ.สธน.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม บน.๔๖ โดยมี น.อ.ทศวรรณ รัตนแกวกาญจน ผบ.บน.๔๖ ใหการ

เมื่อ ๒๓ เม.ย.๕๕

โครงการคายธรรมะเอาชนะยาเสพติด ณ หองประชุม พัน. สห.ทอ. กรม สห.ทอ.สน.ผบ.ดม. เมื่อ ๒ พ.ค.๕๕

น.อ.ธานินทร กิจสาลี รอง จก.จร.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม บน.๑ โดยมี น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑ ใหการ ตอนรับ เมื่อ ๒๓ - ๒๖ เม.ย.๕๕

ใหการตอนรับ เมื่อ ๒๕ เม.ย.๕๕

ตอนรับ เมื่อ ๒๔ เม.ย.๕๕

น.อ.พันธภักดี พัฒนกุล ผบ.บน.๗ เปนประธานในพิธีปดโครงการ เยาวชนกับกิจกรรมชวงปดเทอม ตานภัยยาเสพติด ประจำป ๕๕ และ มอบรางวัลใหกับนักกีฬา เมื่อ ๘ พ.ค.๕๕


คณะผูจัดทำหนังสือขาว ทอ. เขาเยี่ยมชมกิจการผลิตสื่อ

สิ่งพิมพ ทร.(หนังสือนาวิกศาสตร และกองโรงพิมพ สบ.ทร.) โดยมี น.อ.สุวัจ ดอนสกุล ผอ.สน.รนภ.ยศ.ทร. และ น.อ.กองเกียรติ สัจวุฒิ ผอ.กองโรงพิมพ สบ.ทร. ใหการตอนรับ

น.อ.ตากเพชร พินพันธุ ผบ.บน.๕ เปนประธานมอบ

ใบประกาศนียบัตรพรอมเครื่องหมายความสามารถเหินเวหา กองทัพอากาศเปนกิตติมศักดิ์ ณ อาคารดุสิตา บน.๕ เมื่อ ๒๖ เม.ย.๕๕

น.อ.สุจินดา สุมามาลย ผบ.บน.๕๖ เปนประธาน

ในพิธีอำลาการปฏิบัติหนาที่ราชการของทหารกองประจำการ รุน ๒๕๕๓ ผลัดที่ ๑ ณ สนามฝก พัน.อย.บน.๕๖ เมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๕

น.อ.พิเชฐ เกิดศิริ รอง ผบ.บน.๒ เปนประธาน

เปดโครงการอบรมเยาวชนภาคฤดูรอน ประจำป ๒๕๕๕ ณ อาคารอเนกประสงคมณีศิลป บน.๒ ระหวางวันที่ ๒๖ มี.ค.๕๕ - ๑๐ เม.ย.๕๕

น.อ.จิโรจ บำรุงลาภ ฝสธ.ประจำ ทสส.ทอ.

และคณะฯ ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร บน.๒๑ โดยมี น.อ.อราม สกุลแกว ผบ.บน.๒๑ ใหการตอนรับ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.