หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน ตุลาคม 2563

Page 1

ขาวทหารอากาศ ISSN 0125 6173

พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ

ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๖๓

ผู้บัญชาการทหารอากาศ ล�ำดับที่ ๒๗

ข่าวทหารอากาศ

ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๖๓

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th

ISSN 0125 6173


บทบรรณาธิการ

สวั ส ดี ค รั บ ท่ า นผู้ อ่ า นหนั ง สื อ ข่ า วทหารอากาศ ที่รักทุกท่าน ในเดือนตุลาคมนี้ นับเป็นการขึน้ ปีงบประมาณใหม่ ของทางราชการและในเดือนนี้จะมีการปรับเปลี่ยน โยกย้ายต�าแหน่งส�าคัญ ๆ ทดแทนท่านที่เกษียณ อายุราชการไป รวมทั้งผู้น�าเหล่าทัพต่าง ๆ ฉบับนี้ คณะผู้ จั ด ท� า หนั ง สื อ ข่ า วทหารอากาศ เรี ย นเชิ ญ ท่ า นผู้ อ่ า น รั บ ทราบประวั ติ พ อสั ง เขปของท่ า น พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการ ทหารอากาศ ล�าดับที่ ๒๗ และขอแสดงความยินดี แก่ผู้ที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศสูงขึ้น พร้อมกับเป็นก�าลังใจให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มก�าลัง ความรู้ ความสามารถเพื่ อ พั ฒ นากองทั พ อากาศ ให้เป็น One of the Best Air Forces in ASEAN ต่อไป

ในเดื อ นนี้ ยั ง มี วั น ส� า คั ญ ต่ อ ปวงชนชาวไทย หลายประการ อาทิ ในวันที่ ๑๓ ตุลาคมเป็นวันทีร่ ะลึก วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถ บพิตร และในวันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวัน “ปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ผู้ทรงเป็น ที่รักของปวงชน” ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รั ช กาลที่ ๕ แห่ ง พระบรมราชจั ก รี ว งศ์ พระองค์ ได้ ท รงบ� า เพ็ ญ พระราชกรณี ย กิ จ และพระราช จริยาวัตรอันประเสริฐยิ่ง ท�าให้ประเทศชาติเจริญ รุดหน้าอย่างรวดเร็ว จึงทรงได้รับการถวายพระราช สมัญญานามว่า“สมเด็จพระปิยมหาราช” หน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน รวมถึงประชาชนชาวไทยทุกคน ต่างน้อมใจบ�าเพ็ญกุศลอุทิศถวาย และถวายราชสัก การะทีพ่ ระบรมราชานุสาวรียพ์ ระบรมรูปทรงม้าทุกปี ปกฉบับนี้ เป็นภาพการรับส่งหน้าทีผ่ บู้ ญ ั ชาการ ทหารอากาศ เรือ่ งเด่นในฉบับได้แก่ ๒๐๒๐ การโจมตี ทางไซเบอร์จากการแฮกของรัฐที่เชี่ยวชาญ โครงการ วิจัยและพัฒนาระบบดาวเทียมต้นแบบ GAME OF DRONE : AGE OF AI เมือ่ ปัญญาประดิษฐ์บงั คับโดรน รวมทัง้ คอลัมน์ประจ�าทีน่ า่ สนใจอีกมากมาย เชิญท่าน พลิกอ่านได้ตามอัธยาศัยครับ 


สารบัญ

ป ที่ ๘๐ ฉบั บ ที่ ๑๐ เดื อ นตุ ล าคม ๒๕๖๓

๕ ๑๐๐ ป ทิวงคต "พระบิดาแห งกองทัพอากาศ" ๑๐ ผูบ งั คับบัญชาระดับสูง กองทัพอากาศ ป ๒๕๖๓ ๑๕ สรุปสถานการณ ตามแนวเส น LAC (Line of Actual Control) ลาดักห รัฐจามู แคชเมียร - สน.ผชท.ทอ.ไทย/นิวเดลี ๑๙ เป ดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการี กองทัพอากาศ - พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร ๒๓ ๒๐๒๐ การโจมตีทางไซเบอร จากการแฮกของรัฐที่เชี่ยวชาญ - น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต ๒๖ เกร็ดเล็กเกร็ดน อย ประชาคมอาเซียน : สัตว ประจําชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม - @Zilch ๒๗ ศูนย ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบ ดาวเทียมต นแบบ - น.อ.เพชรเดช เพชรช วย ๓๒ เวลาการ ตูน - มีสกรีน ๓๔ RED EAGLE อินทรีแดง แผลงฤทธิ์ : ARMORED CAR เเสนยานุภาพกําลัง ภาคพื้นแห งกองทัพอากาศไทย - น.ต.ภฤศพงศ ช อนแก ว ๓๙ ครูภาษาพาที : คําศัพท และสํานวนภาษาอังกฤษทีค่ นไทยใช กนั อย างผิด ๆ - Mr. Know It All ๔๓ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๓ วันคล ายวันสถาปนา สํานักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ครบ ๓๔ ป - ปชส.สตน.ทอ. ๔๖ นายเรืออากาศฯ สร างป ญญาไทยในหลักสูตรระดับปริญญาเอกเป นครั้งแรก - พล.อ.ต.ศ.ดร.นพพล หาญกล า ๔๙ เลี้ยงลูกให ดีงาม…เดินตามคําพ อสอน… - พุทธรักษา ๕๑ มุมท องเทีย่ ว : เส นทางลอยฟ า ไล ลา สายหมอก "เดินทางผจญภัยแล วผ อนคลาย ที่ปลายทาง" - ผาแต ม ๕๖ GAME OF DRONE : AGE OF AI เมื่อป ญญาประดิษฐ บังคับโดรน - น.อ.วัชรพงษ กลีบม วง ๖๑ ธรรมประทีป : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล าเจ าอยู หัวกับพระพุทธศาสนา - กอศ.ยศ.ทอ. ๖๒ จับจิต จับใจ กับ อ.หนู : เพราะความผูกพันต อองค กรนั้น…สําคัญ - อ.หนู ๖๗ การฝ กซ อมโรงพยาบาลเคลื่อนที่กองทัพอากาศ - น.ต.ชัชวาลย จันทะเพชร ๗๑ บทบาทของอากาศยานไร คนขับ - น.ท.รัตนสุทธิ สุทธิแย ม ๗๔ ความร วมมือพัฒนาระบบต อต านอากาศยานไร คนขับ - สทป. ๗๗ การลงนามบันทึกความเข าใจระหว างกองบัญชาการกองทัพไทยกับ กองทัพอากาศว าด วยความร วมมือด านการแพทย - ปชส.รพ.ทอ.(สีกัน) พอ. ๘๐ มุมกฏหมาย : ความรู เกี่ยวกับอํานาจศาลทหาร - ร.อ.ชานุวัฒน แสงสุวรรณ ๘๔ ภาษาไทยด วยใจรัก : ตรึงใจไกลบ าน - นวีร ๘๗ ขอบฟ าคุณธรรม : …เป นผูร จ ู กั กําหนดจุดหมายปลายทางของชีวติ ตน… - 1261 ๙๑ พิธีรับส งหน าที่ผู บัญชาการทหารอากาศและมอบการบังคับบัญชา ๙๓ ในรั้วสีเทา ๙๗ ศูนย บรรเทาสาธารณภัย : น านฟ าโมเดล หน วยงานด านความมัน่ คงกับการรักษา ผืนป าต นนํ้าของประเทศอย างยั่งยืน - ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล งวิทยา

๑๐

๒๓

๒๗

๕๖


4

ข าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�าหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย เนียมทันต พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน พล.อ.อ.แอรบูล สุทธิวรรณ

พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อํานวยการ/บรรณาธิการ

พล.อ.ท.ฐานัตถ จันทรอําไพ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

รองผู้อํานวยการ

พล.อ.ต.ธรรมรงคเดช เจริญสุข พล.อ.ต.วิสุทธิ์ สมภักดี น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.สมบัติ วงศาโรจน ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

พล.อ.ต.สมพร แต้พานิช

ผู้ช่วยผู้อํานวยการ

น.อ.นินาท มูลจนะบาตร น.อ.ธนินรัฐ ภูพงศพยัคฆ

น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.อภิรัตน รังสิมาการ น.อ.ปยะ พลนาวี

ประจําบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง รัชนก เกิดสุข พ.อ.อ.พันธกานต พูลผล พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค น.ส.รสสุคนธ บุญประเทือง น.ส.ภัณฑิรา พันธุเสี้ยม

น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ พ.อ.อ.ธรรมวัฒน รัตนวิจารณ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห จ.อ.หญิง ศุภวัลย กระจ่างนฤมลกุล นางจันทรสม คํามา น.ส.ณัฐวดี ธํารงวงศถาวร

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ (เพื่อพลาง) สํานักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเปนมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เปนนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ดําเนินการเมือ่ ป พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท เปนบรรณาธิการคนแรก ดําเนินการโดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอํานวยการของกรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ตามคําสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กํากับดูแล โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารวารสารและสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ ก องทั พ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ กําหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการกํากับดูแลของกรมกิจการพลเรือน ทหารอากาศ ตามคําสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ดําเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เปนไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อํานวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เปนผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเปนประโยชนตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การด�าเนินงาน ๑. เปนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เปนประโยชน ในการพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่นํามาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดทําหนังสือข่าว ทหารอากาศ

ก�าหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกสได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ออกแบบปก : น.อ.ปยะ พลนาวี, พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห ภาพประกอบบทความและภาพกราฟกสเวกเตอรบางส่วนนํามาจาก : www.google.com, www.freepik.com


(ต่อจากฉบับทีแ่ ล้ว)

เมื่อเสด็จไปถึง พระเจาซาร์ นิโคลาสที่ ๒ ทรงจัดใหทั้งสองเข้าประจ�าโรงเรียนนายรอยมหาดเล็ก โรงเรียนนี้ไดสถาปนาขึ้นโดยพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอรที่ ๑ (พระราชนัดดาของคัทรินมหาราชินี และ พระเจาแผ่นดินองคที่เสด็จไปคองเกรสแห่งเวียนนา) สรางใน ค.ศ.๑๘๐๒ แต่ปลายคริสศตวรรษที่ ๑๘ นั้น เป็นสมัยนิยมวัฒนธรรมฝรั่งเศส ฉะนั้นโรงเรียนจึงไดรับนามฝรั่งเศสว่า Corps des Pages (คอรป-เดส-เพจ) ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นกรุงเซนตป เี ตอรส เบิรก ไม่หา่ งจากพระราชวังฤดูหนาวอันเป็นพระราชวังทีป่ ระทับของทูลกระหม่อมเล็ก โรงเรียนแห่งนีก้ อ่ ตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ.๒๓๐๒ เป็นสถาบันชัน้ น�าในการฝึกอบรมมหาดเล็กใหแก่ราชส�านักโรมานอฟ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๓๔๕ ไดปรับเปลี่ยนเป็นโรงเรียนนายรอยเพื่อผลิตนายทหารรักษาพระองตใหแก่ กองทัพและราชวงศ์

จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทรงฉายพระรูปร่วมกับนายพุ่ม สาคร และอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหาร

โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กเปิดการศึกษาเป็น ๙ ชั้นเรียน ประกอบด้วย ๗ ชั้นเรียนปกติ และ ๒ ชั้น เรียนพิเศษ จัดใหม้ กี ารสอนในวิชาวิทยาศาสตร์การทหารและนิตศิ าสตร์ โดย จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นเรียนที่ ๖ ตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก ทั้งสองไม่ได้เป็น นักเรียนกินนอน คงพักอยู่ ณ พระราชวังฤดูหนาว การเล่าเรียนหนักมากและทั้งสองต้องเรียนวิชาต่าง ๆ โดย ใช้ภาษารัสเซียอันเป็นภาษาที่นับว่ายากยิ่ง ซึ่งทั้งสองเพิ่งได้เริ่มเรียนมาเพียงหนึ่งปี ดังลายพระหัตถ์ที่มีถึง พระราชบิดา ทรงกล่าวถึงภาษารัสเซียไว้ว่า ๑๒


6

จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ฉลองพระองค์นกั เรียนนายร้อยมหาดเล็ก

จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ และนายพุ่ม สาคร

“...เรื่องภาษารัสเซียนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็หนักใจอยู่ เกรงจะทำาให้เวลามากไป ตาครูแกบอกว่า ต้องสองปีจึงจะรู้ให้พูดได้ ภาษานี้เป็นภาษาแปลกด้วย พูดยากเต็มที มีคนว่าโดยมากว่าเป็นภาษาที่จะหัดพูด ยากที่หนึ่งในโลก แต่ถึงอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีใจย่อท้อ และยังคงตั้งใจที่จะเรียนเอาให้จงได้...” ถึงกระนั้นนักเรียนไทยทั้งสองก็เรียนได้ผลดีไม่น้อย ดังจะเห็นจากผลการสอบไล่ประจ�าปีในเดือน พฤษภาคม ๒๔๔๓ จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ สอบไล่ได้เป็นทีส่ อง นายพุม่ ฯ สอบได้เป็นทีส่ ่ี ผลการ สอบนี้ต้องนับว่าเก่งเป็นอันมาก ครั้นถึงเดือนเมษายน ๒๔๔๕ มีการสอบไล่ขั้นสุดท้าย พระองค์สอบไล่ได้ที่หนึ่ง ได้แต้ม ๑๑.๗๕ คะแนน นายพุ่ม ฯ เป็นที่สอง ได้แต้ม ๑๑.๕๐ คะแนน แสดงให้เห็นว่านอกจากมีความสามารถอย่างมากแล้ว ทั้งสองคนจะต้องมีความขยันหมั่นเพียร และความพยายามอย่างมาก การที่ได้คะแนนถึง ๑๑.๗๕ คะแนนนั้น เป็นสถิติของโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก พระนามของพระองค์จึงได้รับการสลักลงบนแผ่นศิลาติดอยู่ข้างฝา ห้องประชุมของโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้ ๑๓


ข่าวทหารอากาศ

จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ เมื่อคราวกลับมาเยี่ยมกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๔๖

7

จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ฉลองพระองค์นกั เรียน นายร้อย มหาดเล็กรัสเซียกับสมเด็จเจ้าฟ้าบริพตั รสุขมุ พันธ์ุ ฉลองพระองค์นกั เรียนนายร้อยเยอรมัน

เมื่อส�าเร็จการศึกษาจากโรงเรียน นักเรียนทั้งสองก็ได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารในกองทัพบก รัสเซียเข้าประจ�ากรมทหารม้าทีน่ บั ว่าหรูหราและโก้ทส่ี ดุ ในเวลานัน้ คือกรมทหารม้าฮุสซาร์ของพระจักรพรรดิ เป็นกรมซึ่งองค์จักรพรรดิเคยเป็นนายทหารประจ�าในสมัยที่ยังทรงเป็นพระยุพราช ทั้งสองได้ท�าหน้าที่ตาม ธรรมดาของนายทหารชั้นผู้น้อยประจ�ากรมโดยเรียบร้อย และได้ไปเข้าร่วมการพระราชพิธีและการสมาคม ต่าง ๆ ในพระราชวังเป็นครั้งคราว ส่วนวันอาทิตย์พระจักรพรรดิและจักรพรรดินีได้เชิญพระองค์ไปร่วมโต๊ะ เสวยกลางวันด้วยอย่างสนิทสนม พระจักรพรรดิหรือที่บางทีเราเรียกทับศัพท์อย่างง่าย ๆ ว่า “เอมเปอเรอ” และพระราชวงศ์ได้ให้ความสนิทสนมแสดงความเป็นกันเองอย่างยิ่ง และเรียกตามพระนามซึ่งใช้กันทั่วไป ระหว่างพวกที่ใกล้ชิด คือ “เล็ก” ในระหว่างที่เป็นนายทหารประจ�ากรม พระจักรพรรดิได้ทรงจัดให้มีห้องอยู่ ในพระราชวัง ซาร์กอย เซโล (TSarkoe Selo) หน้าที่ของพระองค์เมื่อเข้าประจ�ากรมตอนแรก คือ การฝึกหัด และควบคุมทหารใหม่ ๑๔


8

เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๔๕ โรงเรียนนาย ร้อยมหาดเล็กได้มีงานรื่นเริงสมโภชโรงเรียนซึ่งได้ ตั้งมาครบร้อยปีเต็ม มีงานเลี้ยงอย่างสนุกสนานใน ระหว่างพวกนัก เรีย นเก่า ในโอกาสนี้พระองค์ไ ด้ ว่ า จ้ า งช่ า งปั ้ น ผู ้ ม ี ช ื ่ อ เสี ย งคนหนึ ่ ง ให้ ป ั ้ น พระรู ป เอมเปอเรอ (พระจักรพรรดิ) ซึ่งภายหลังได้หล่อเป็น ทองแดง และได้ทรงมอบพระรูปนั้นไว้เป็นของขวัญ แก่โรงเรียน

พระรูปเอมเปอเรอ (พระจักรพรรดิ)

๑๕


ข่าวทหารอากาศ

9

พระองค์ทรงโปรดชีวิตนายทหารประจ�ากรม เป็นอันมาก ถึงฤดูร้อนในปี พ.ศ.๒๔๔๖ เมื่อกรมทหาร ม้าฮุสซาร์ ย้ายไปอยูท่ คี่ ราสนอย เซโล (Krasnoie Selo) เพื่ อ การฝึ ก หั ด และซ้ อ มรบของกรมและกองพล พระองค์ให้ช่างสร้างเรือนขึ้นหลังหนึ่งเป็นเรือนสอง ชั้น ชั้นบนเป็นห้องที่อยู่ ชั้นล่างเป็นโรงม้าส�าหรับม้า ๘ ตัว ต่อมาทรงมอบให้แก่กรมทหารม้า ในช่วงกลางปี พ.ศ.๒๔๔๖ คือราวระหว่างเดือนตุลาคมกับกุมภาพันธ์ พระองค์เสด็จกลับมาเยี่ยมกรุงเทพฯ โดยมีนายพุ่ม ฯ ตามเสด็จมาด้วย ในครั้งนั้น พระองค์ได้รับสัญญาบัตร เป็นนายทหารเข้าประจ�ากรมทหาราบที่ ๑ มหาดเล็ก รักษาพระองค์ ส่วนนายพุ่ม ฯ ได้รับสัญญาบัตร เข้า ประจ�ากรมทหารม้า และได้เดินทางกลับไปรัสเซียเพื่อ เข้าประจ�าโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการ เป็นเวลา ๒ ปี เมื่อศึกษาจบแล้ว พระจักรพรรดิได้ทรงตั้งเป็น นายพันเอกพิเศษในกองทัพบกรัสเซีย และเป็นนาย ทหารพิเศษในกรมทหารม้าฮุสซาร์ของเอมเปอเรอ และพระราชทานสายสะพายตรา เซนต์ อันเดรย์ เป็น ตราสูงสุดของรัสเซียในสมัยนั้น อันมีสายสะพายเป็น สีน�้าเงินอ่อน รวมทั้ง ตราเซนต์ วลาดิเมียร์ อันเป็น เหรียญกางเขนสีแดงกับด�า และมีแถบเหรียญสีเดียวกัน (สมัยการปฏิวัติใหญ่ในรุสเซียได้ยุบเลิกเหรียญตรา ของสมั ย เอมเปอเรอทั้ ง หมด) และเมื่ อ ทรงส� า เร็ จ จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ฉลองพระองค์ทหารม้า การศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยในเวลาต่อมา ฮุสซาร์ประดับเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ เซ็นต์ วลาดิเมียร์

(อ่านต่อฉบับหน้า)

๑๖

อ้างอิง - หนังสือทีร่ ะลึก เนือ่ งในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี การทิวงคต จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ


10

พลอากาศเอก แอรบูล สุทธิวรรณ ผูบัญชาการทหารอากาศ ประวัติรับราชการ

การศึกษา - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๑ - โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๘ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗ ต�าแหน่งที่ส�าคัญ - ผู้บังคับการกองบิน ๖ - ผู้ช่วยทูตฝายทหารอากาศ ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ และท�าหน้าที่รองผู้ช่วยทูตฝายทหารประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ - นายทหารฝายเสนาธิการ ประจ�าส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ - ผู้อ�านวยการส�านักบริหารงบประมาณ ส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ - รองปลัดบัญชีทหารอากาศ - รองหัวหน้าคณะฝายเสนาธิการประจ�าผู้บังคับบัญชา - ปลัดบัญชีทหารอากาศ - ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ


ข าวทหารอากาศ

พลอากาศเอก สุรพล พุทธมนต รองผูบัญชาการทหารอากาศ ประวัติรับราชการ

การศึกษา - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐ - โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๗ - โรงเรียนนายเรืออากาศเยอรมนี รุ่นที่ ๔๘ - วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทหารมิวนิค เยอรมนี - วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต Asian Institue of Technology - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗ ต�าแหน่งที่ส�าคัญ - ผู้อ�านวยการกองวิทยาการ กรมช่างโยธาทหารอากาศ - เสนาธิการกรมช่างโยธาทหารอากาศ - รองเจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ - เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ - ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ

11


12

พลอากาศเอก ปราโมทย ศิรธิ รรมกุล ผูชวยผูบัญชาการทหารอากาศ ประวัติรับราชการ

การศึกษา - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๑ - โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๘ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๙ ต�าแหน่งที่ส�าคัญ - ผู้อ�านวยการกองส่งก�าลัง กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ - ผู้อ�านวยการกองนโยบายและแผน กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ - รองเจ้ากรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ - รองผู้อ�านวยการส�านักส่งก�าลังบ�ารุง กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ - ผู้อ�านวยการส�านักบริหารงบประมาณ ส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ - รองเจ้ากรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ - เจ้ากรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ - รองเสนาธิการทหารอากาศ


ข าวทหารอากาศ

13

พลอากาศเอก เดชอุดม คงศรี ผูชวยผูบัญชาการทหารอากาศ ประวัติรับราชการ

การศึกษา - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐ - โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๗ ต�าแหน่งที่ส�าคัญ - ผู้อ�านวยการกองอ�านวยการศึกษา ส�านักบริหารการศึกษา กองบังคับการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - ผู้อ�านวยการกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - ผู้อ�านวยการโรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - รองเสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - รองผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช


14

พลอากาศเอก ชานนท มุงธัญญา เสนาธิการทหารอากาศ ประวัติรับราชการ

การศึกษา - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๓ - โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๓๐ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๐ ต�าแหน่งที่ส�าคัญ - ผู้บังคับการกองบิน ๔ - ผู้ช่วยทูตฝายทหารอากาศ ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงสตอกโฮล์ม, รักษาราชการผู้ช่วยทูตฝายทหาร ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงสตอกโฮล์ม, รักษาราชการผู้ช่วยทูตฝายทหารอากาศ ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน และรักษาราชการผู้ช่วยทูตฝายทหารอากาศ ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล - รองผู้อ�านวยการส�านักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ - ผู้อ�านวยการส�านักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ - รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ - เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ - รองเสนาธิการทหารอากาศ


ข าวทหารอากาศ

15

สรุปสถานการณ์ตามแนวเส้น LAC (Line of Actual Control) ลาดักห์ รัฐจามูแคชเมียร์ สน.ผชท.ทอ.ไทย/นิวเดลี

สมาคมผูช้ ว่ ยทูตทหารต่างประเทศทีป่ ฏิบตั หิ น้าที่ ณ กรุงนิวเดลี ได้มหี นังสือสอบถามสถานการณ์ ตามแนว เส้นควบคุมตามจริง เมืองลาดักห์ รัฐจามูแคชเมียร์ ซึง่ กระทรวงกลาโหมอินเดียได้สรุปสถานการณ์ “Brief on situation along LAC in Eastern, Ladakh” เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สรุปได้ดังนี้ การบริหารจัดการตามแนวเส้นควบคุมตามจริง (Line of Actual Control : LAC) แนวชายแดนอินเดียกับเขตปกครองตนเองทิเบต ของจีนมีความยาว ๓,๔๘๘ กิโลเมตร ซึง่ อินเดียยอมรับ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม และประเพณี รวมทั้งหลักการภูมิศาสตร์สันปันน�้า ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสนธิสัญญาและกฎหมายสากล กองก�าลังความมั่นคงอินเดีย (Indian Security Forces : ISF) ปฏิบัติหน้าที่บริเวณแนวเส้นควบคุม ตามจริงตามข้อตกลงและพิธีสาร ได้แก่ ๑. ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอินเดียและจีน ว่าด้วย การรักษาสันติภาพและความสงบตามแนวเส้นควบคุม ตามจริงลงนามเมื่อ ๗ กันยายน ๒๕๓๖ ๒. มาตรการสร้างความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ (Confidence Building Measures : CBMs) ลงนามเมื่ อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ๓. พิธสี าร การน�ามาตรการสร้างความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ มาปฏิบัติลงนามเมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๘ ๔. ข้อตกลงความร่วมมือชายแดน ลงนามเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ เนื่องจากเส้นเขตแดนมิได้ปักปันอย่างชัดเจน

ทัง้ สองฝ่ายรับรูแ้ ละมีมมุ มองแนวเขตแดนแตกต่างกัน การอ้างสิทธิบ์ างพืน้ ทีต่ า่ งกันทัง้ นีต้ ามข้อตกลงฯ ว่าด้วย การรักษาสันติภาพและความสงบ รวมทั้งมาตรการ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกองก�าลังความมั่นคงของ อินเดียจะลาดตระเวนไม่เกินเส้นควบคุมตามจริง อย่างไรก็ตามด้วยความละเอียดอ่อนของบางพื้นที่ และขอบเขตการลาดตระเวน ท�าให้เกิดข้อจ�ากัด ในการลาดตระเวนระหว่างจุดตรวจ (Patrolling Points : PP) ตามแนวเส้นควบคุมตามจริง การกระท�าของจีนตามเส้นควบคุมตามจริง ระหว่าง เมษายน - กรกฎาคม ๒๕๖๓ ตั้งแต่อินเดียเริ่มล็อคดาวน์ จากสถานการณ์ COVID-19 กองทัพจีนแสดงออกด้วยความก้าวร้าว และตั้งใจเข้าปฏิบัติการ/ท�ากิจกรรมต่าง ๆ ตามเส้น ควบคุมตามจริงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่เมษายน ๒๕๖๓ โดยเปิดจุดผ่านต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ลาดักห์ และสิ ก ขิ ม รวมทั้ ง ละเมิ ด พื้ น ที่ ด ้ า นทิ ศ เหนื อ ของ ทะเลสาบ Pangong Tso อย่างมีนัยส�าคัญ ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓ กองทัพจีน ได้ ล ะเมิ ด เส้ น ควบคุ ม ตามจริ ง บริ เ วณจุ ด ตรวจที่ ๑๔, ๑๕, ๑๗ และทะเลสาบ Pangong Tso รวมทั้ง เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ และอากาศยานไร้คนขับได้ ละเมิ ด ห้ ว งอากาศ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ต้ อ งการ เปลี่ ย นแปลงสถานะ/สภาพเส้ น ควบคุ ม ตามจริ ง และขัดขวางการลาดตระเวนของอินเดีย ทัง้ นีก้ องก�าลัง ความมัน่ คงอินเดียได้ตอบโต้ดว้ ยการวางก�าลังตามแนว เส้นควบคุมตามจริงหลายจุด


16

ในเวลาเดียวกันกองทัพจีนได้กอ่ สร้างสิง่ อ�ำนวย ความสะดวกเพือ่ สนับสนุนการเคลือ่ นย้ายและวางก�ำลัง ตามเส้นควบคุมตามจริงให้สามารถเข้าถึงพื้นที่รุกล�้ำ ทัง้ ยังขัดขวางไม่ให้กองก�ำลังความมัน่ คงอินเดียเข้าถึง พื้นที่ จีนวางก�ำลังเพิ่มขึ้นในพื้นที่รุกล�้ำ พื้นที่ด้านใน รวมทั้งสนามบิน บ่งชี้ถึงความต้องการ รุกคืบเพื่อ เปลีย่ นแปลงสถานะ/สภาพตามแนวเส้นควบคุมตามจริง ความส�ำคัญของ ดอรัต เบก โอลดี (Daulat Beg Oldi : DBO) / Sub Sector North (SSN) ดอรัต เบก โอลดี (Daulat Beg Oldi : DBO) เป็นพื้นที่ทางทหารที่มีความส�ำคัญมากในลาดักห์ กองทัพบกอินเดียเรียกว่า Sub Sector North (SSN) ด้วยการพัฒนาพื้นที่ SSN นี้ ท�ำให้เป็นจุดศูนย์กลาง ความตึงเครียดระหว่างจีนและอินเดีย เมื่อปี ๒๕๕๖ กองทัพจีนได้เข้ามายึดหุบเขา Depsang ห่างจาก ชายแดน ๑๙ กม.ระหว่าง เมษายน - พฤษภาคม ๒๕๕๖ เป็นเวลา ๓ สัปดาห์ จนความขัดแย้งสิ้นสุด กองทัพจีนถอนก�ำลังออกไป พื้นที่ SSN อยู่ระหว่างเขต Aksai Chin ซึ่งจีน ยึดครองทางตะวันออก และธารน�้ำแข็ง Siachen ทางตะวันตกแนวติดต่อกับปากีสถาน พื้นที่ดังกล่าว อยู่ใกล้ถนนไฮเวย์ตะวันตกของจีน G 219 เชื่อมต่อ เขตปกครองตนเองทิเบตกับซินเจียงหากกองทัพจีน ยึดครองพื้นที่ ดอรัต เบก โอลดี จะคุกคามกองก�ำลัง ความมั่นคงอินเดียบริเวณธารน�้ำแข็ง Siachen และ กองทัพจีนจะสามารถปฏิบตั กิ ารในทางลึกจนถึงถนน ไฮเวย์ G 219 ทั้งนี้กองทัพจีนเคลื่อนไหวบริเวณพื้นที่ ด้านในประเทศตามถนนไฮเวย์ G 219 อย่างชัดเจน หากพิจารณาสถานการณ์จนี ยึดหุบเขา Shaksgam Valley เมือ่ ปี ๒๕๐๖ และการพัฒนาเส้นทางโครงการ ระเบียงเศรษฐกิจ จีน - ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor : CPEC) แล้วการยึดครองพืน้ ที่ DBO จะเชื่อมต่อ Gilgit-Baltistan ของปากีสถาน กับ Aksai Chin ของจีน ส�ำหรับอินเดียการพัฒนา ถนน Darbuk-Shyok-DBO มีความจ�ำเป็นมิฉะนั้น

จะต้องขนส่งทางอากาศหรือเดินเท้าเท่านัน้ จึงถือเป็น เส้นทางขนส่งที่ส�ำคัญมากในการล�ำเลียงทหารและ ยุทโธปกรณ์ การพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานตามแนวเส้ น ควบคุมตามจริง (LAC) จีนพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานในเขตปกครองตนเอง ทิเบตอย่างมั่นคงและรวดเร็วมาก ส่วนใหญ่เป็นด้าน การทหาร แต่อำ� พรางเป็นพลเรือน ในทางตรงกันข้าม อินเดียพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อวัตถุประสงค์ ๒ ประการ ได้แก่ ๑. การบริหารจัดการชายแดนของกองทัพอินเดีย ๒. การพัฒนาพืน้ ทีช่ ายแดนส�ำหรับชุมชนท้องถิน่ โดยไม่เคยพัฒนาข้ามเส้น LAC อย่างไรก็ตามจีนมองโครงการเชื่อมเส้นทาง Darbuk-Shyok-DBO ของอินเดียในทางร้าย ทั้งนี้

แผนที่การเชื่อมเส้นทาง DBO/SSN

เส้นทางโครงการระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน CPEC


ข าวทหารอากาศ

17

แผนที่แสดงเส้นทางแบ่งเขตแดน LAC

แสดงที่ตั้งกองก�าลังทางทหารของอินเดีย

ตามยุทธศาสตร์การหัน่ ซาลามี่ (Salami Slicing) จีนจึง สร้างสถานการณ์และความได้เปรียบ เพือ่ ครอบครอง และมี อ� า นาจเหนื อ ถนนเส้ น นี้ จนเป็ น เหตุ ใ ห้ เ กิ ด เหตุการณ์ที่ กัลวาน จุดตรวจที่ ๑๔ เหตุการณ์ที่กัลวาน กองทัพจีนตัง้ ค่ายในหุบเขากัลวาน และปฏิบตั กิ าร ในพื้นที่จุดตรวจที่ ๑๔ เหตุการณ์นี้กองทัพอินเดีย คัดค้าน และผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ของทั้งสองฝ่าย หารือเพือ่ แก้ไขปัญหา และตกลงว่าจะถอนก�าลังออก จากพื้นที่แต่กองทัพจีนยังคงปฏิบัติการ ณ จุดนั้น ในขณะที่ พันโท B Santosh Babu ผู้บังคับหน่วย 16 Bihar ก�าลังตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว ได้ถูกซุ่ม โจมตีโดยก�าลังกองทัพจีนจ�านวนมากด้วยอาวุธไม้ และของมีคม แม้จะต่อสูอ้ ย่างกล้าหาญ แต่เสียเปรียบ ก�าลังคนอย่างมาก นายทหารทั้งสามบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวติ การกระท�านีล้ ะเมิดมาตรการสร้างความ ไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures : CBMs) ต่อมาจึงเกิดการต่อสู้อย่างชุลมุนระหว่าง ทหารอินเดียและทหารจีน โดยทหารจีนมีจ�านวน มากกว่า ทหารอินเดียเสียชีวิต ๒๐ คน ทางการจีน มิได้รายงานการเสียชีวติ ของทหารจีน แต่จากแหล่งข่าว แจ้งว่าเสียชีวิต ๓๕ คน ส�านักข่าวทั่วโลกหลายแห่ง รายงานตัวเลขทหารจีนบาดเจ็บเสียชีวติ กว่า ๑๐๐ คน ในการนี้กองทัพอินเดียได้เสริมก�าลัง ๓ กองทหาร ขนาดกลาง จากกรมทหารราบ ๓ ปัญจาบ และกรมต่อสู้ อากาศยาน ๘๑ การเผชิญหน้าครัง้ นีส้ ง่ ผลให้ทหารจีน เสียขวัญและความมัน่ ใจ แต่สร้างชือ่ เสียงและศักดิศ์ รี

ให้กบั ทหารอินเดีย หลังจากเหตุการณ์ ๑๕-๑๖ มิถนุ ายน ๒๕๖๓ ผูน้ า� ระดับสูงของกองทัพของทัง้ สองฝ่ายได้หารือ และตกลงทีจ่ ะถอนก�าลังกลับสูส่ ภาพเดิมก่อน เมษายน ๒๕๖๓ สถานการณ์ดา้ นเหนือของทะเลสาบ Pangong Tso พื้ น ที่ ด ้ า นเหนื อ ทะเลสาบ Pangong Tso ทั้งสองชาติอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ต่างกัน อินเดียอ้างสิทธิ์ จนถึง Finger 8 ในขณะที่จีนอ้างสิทธิ์จนถึง Finger 4 ซึ่งปัจจุบันกองทัพอินเดียขัดขวางการรุกเกินพื้นที่ Finger 8 กล่าวคือจีนก่อสร้างถนนเข้ามาในพื้นที่ พิพาทจนถึง Finger 4 ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ในระหว่างที่ อิ น เดี ย เกิ ด ความขั ด แย้ ง กั บ ปากี ส ถานในสงคราม Kargil ซึ่ ง บ่ ง ชี้ ถึ ง การสมรู ้ ร ่ ว มคิ ด ระหว่ า งจี น กั บ ปากีสถาน การปฏิ บั ติ ห ลั ง จากเหตุ ก ารณ์ ที่ กั ล วาน และสถานการณ์ปจจุบัน อินเดียได้ตอบสนองด้วยท่าทีทแี่ น่วแน่ เหมาะสม และเป็ นผู ้ ใหญ่ ต ่ อ การเผชิ ญ ความยั่ วยุ กั บฝ่ า ยจี น โดยตลอด ตั้งแต่ก่อนและหลังเหตุการณ์ที่กัลวาน อินเดียวางก�าลังตามแนวตามเส้นควบคุมตามจริง อย่างระมัดระวัง อินเดียแสดงท่าทีตอ่ การปฏิบตั อิ ย่าง เคารพเป็นทีป่ ระจักษ์มาโดยตลอด ไม่มกี ารปฏิบตั ฝิ า่ ย เดียวเพือ่ เปลีย่ นแปลงสถานะ/สภาพบริเวณชายแดน ที่มีผลกระทบกับความสงบและสันติภาพ หลังจาก เหตุการณ์นายทหารระดับสูงทั้งสองฝ่ายได้หารือ แนวทางการยุติปัญหา ได้แก่


18

๑. ยึดมั่นความตกลงที่มีอยู่ ๒. เสริมสร้างการสื่อสารและการประสานงาน ๓. ด�ำเนินการถอนก�ำลังแนวตามเส้นควบคุม ตามจริงให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ๔. ก�ำหนดขัน้ ตอนและระยะเวลาการด�ำเนินการ ลดความขัดแย้งพื้นที่ชายแดนให้แน่นอน ๕. เคารพและปฏิบัติตามเส้นควบคุมตามจริง อย่างเคร่งครัด กระบวนการถอนก�ำลังด�ำเนินการไปอย่างเรียบร้อย ในพื้ น ที่ ส ่ ว นใหญ่ ที่ สั ง เกตภู มิ ป ระเทศได้ ชั ด เจน อย่างไรก็ตามประเด็นส�ำคัญคือ การลดการเสริมก�ำลัง ในพืน้ ทีด่ า้ นใน (Depth Area) ทัง้ นีก้ องทัพจีนเคลือ่ นย้าย ก�ำลังมาฝึกในพืน้ ทีด่ า้ นใน จึงสามารถผลัดเปลีย่ นก�ำลัง ปฏิบัติตามเส้นควบคุมตามจริงได้อย่างรวดเร็ว ระดับยุทธศาสตร์ อินเดียต้องการลดการพึง่ พาจีน ในหลาย ๆ ด้าน รวมทัง้ สร้างทางเลือกใหม่ดา้ นเศรษฐกิจ ด้านการทูต ด้านความร่วมมือด้านความมั่นคงและ ความร่วมมืออื่น ๆ รัฐบาลอินเดียจะไม่ยอมให้จนี กดดัน แต่จะสร้าง ความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นจากกรณีพิพาทชายแดนนี้ นอกจากนี้กระแสการบอยคอตจีนในอินเดียเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับทีเ่ กิดขึน้ ทัว่ โลก โดยเฉพาะสินค้า เทคโนโลยี และทุนของจีน ทั้งนี้กลุ่มประชาคมยุทธศาสตร์จีน (China’s Strategic Community) ต้องตระหนักถึง การแยก (Decoupling) ความสัมพันธ์อินเดียกับจีน ซึง่ จะสร้างความเข้มแข็งให้กบั กลุม่ ทีต่ อ่ ต้านจีน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และหลายประเทศ โดยมีวตั ถุประสงค์หลัก คือ ปรับห่วงโซ่อปุ ทานอุตสาหกรรมโลก และยกระดับ ยุทธศาสตร์อนิ โดแปซิฟกิ เพือ่ คานอ�ำนาจก�ำลังทหาร และพลังเศรษฐกิจของจีน บทวิเคราะห์ นายกรัฐมนตรี โมดิ และพรรค Bhasatiya Janata Party : BJP ด�ำเนินนโยบายชาตินิยมฮินดู

สร้างกระแสชาตินิยม รักชาติ ประกอบกับผลงาน รัฐบาลท�ำให้เศรษฐกิจเจริญมากขึ้น รวมทั้งนโยบาย การต่างประเทศมุ่งเน้นยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก จึงหล่อหลอมให้ประชาชนอินเดียมีความเป็นชาตินยิ ม มากยิง่ ขึน้ ทัง้ นี้ นายกรัฐมนตรีโมดิได้รบั คะแนนเลือกตัง้ อย่างถล่มทลายเป็น นายกรัฐมนตรีสมัยที่ ๒ เมื่อปีที่ ผ่านมา เพราะอินเดียใช้ก�ำลังทางอากาศสกัดกั้น และโจมตีปากีสถาน ในสถานการณ์ความขัดแย้งกับ ปากีสถาน อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท ที่เกิดขึ้นกับจีนนั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาในลักษณะ เดียวกันกับปากีสถานได้ อินเดียต้องการสันติภาพ มากกว่าความขัดแย้งเหนือพืน้ ทีด่ งั กล่าว อีกทัง้ รัฐบาล อินเดียจ�ำเป็นต้องรักษาความเป็นชาตินิยม จึงเลือก ตอบโต้จีนด้วยซอฟท์พาวเวอร์ เช่น บอยคอทสินค้า และเทคโนโลยีของจีน ซึง่ เกิดเป็นกระแสสังคมออนไลน์ ของคนอินเดีย ส่วนด้านการเมืองระหว่างประเทศนัน้ ได้ด�ำเนินนโยบายกับยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกอย่าง ใกล้ชิด จีนถือเป็นความท้าทายและภัยคุกคามทางด้าน ยุทธศาสตร์การทหาร อินเดียจึงพัฒนาและสะสม ก�ำลังทางทหารให้ทัดเทียม ทั้งในมิติพื้น น�้ำ อากาศ อวกาศ และไซเบอร์ แต่ในปัจจุบันอินเดียยังไม่พร้อม ในการท�ำสงคราม จึงแสวงหาความร่วมมือกับกลุ่ม Quadrilateral Security Dialogue และยุทธศาสตร์ อินโดแปซิฟิก ส่วนในพื้นที่พิพาทนั้น อินเดียต้องเร่ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคมขนส่ง ให้กองทัพอินเดียสามารถล�ำเลียงยุทโธปกรณ์เข้ามา ในพื้ น ที่ พิ พ าทได้ ง ่ า ยขึ้ น เพื่ อ ลดความได้ เ ปรี ย บ ศักยภาพทางการทหารในพื้นที่ของจีน ทิศทางความ ขัดแย้งในครั้งนี้จะจบลงด้วยการเจรจาทั้งในระดับ ผู้น�ำประเทศ และผู้น�ำทหารในพื้นที่ทั้งสองประเทศ ไม่ตอ้ งการให้ความขัดแย้งบานปลาย กระทบกับการค้า การลงทุนของทั้งสองประเทศ


ข าวทหารอากาศ

เปดปูม ๑๐๐ ป การบิน ของบุพการี กองทัพอากาศ พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ กองทั พ อากาศได้ รั บ โอน อากาศยานจากกองทัพเรืออีกหลายแบบ เครื่ อ งบิ น สื่ อ สารแบบ Widgeon จ� า นวน ๕ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๖ (บ.ส.๖) รับโอนเครื่องบินโจมตีแบบ Firefly จ�านวน ๑๒ เครื่อง เป็นรุ่น F1 จ�านวน ๑๐ เครื่อง และรุ่น T2 จ�านวน ๒ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินโจมตี แบบที่ ๔ (บ.จ.๔) ได้ รั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แ บบ Bearcat จาก สหรัฐอเมริกา จ�านวน ๒๐๔ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๕ (บ.ข.๑๕)

เครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๖ (Grumman G-44A Widgeon)

เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๔ (Fairey Firefly)

เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๕ (Grumman F8F-1 Bearcat)

19


20

วั น ที่ ๒๗ มี น าคม ๒๔๙๕ งานก่ อ สร้ า ง ท่าอากาศยานกรุงเทพและสร้างทางวิ่งเส้นตะวันตก ของสนามบินดอนเมืองเป็นคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย และมี พิธี เปิด ใช้งานอย่างเป็นทางการ โดยมี การ จัดแสดงการบินครั้งที่ ๒ ที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งใน ครั้งนี้มีการแสดงการบินของหมู่บินผาดแผลงเป็น ครั้งแรก โดยใช้เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๕ (Bearcat) จ�านวน ๔ เครื่อง พ.ศ.๒๔๙๖ เริ่มก่อตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศ และท�าพิธเี ปิดการศึกษารุน่ แรก เมือ่ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๖

หมู่บินผาดแผลงหมู่แรกของกองทัพอากาศ

พลอากาศเอก หลวงเชิดวุฒากาศ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เปนประธานในพิธีเปดโรงเรียนนายเรืออากาศ

อาคารที่ตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศชั่วคราว ใช้ตึกเหลืองที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย สงครามมหาเอเชียบูรพาและรับนักเรียนนายเรืออากาศเปนรุ่นแรก จ�านวน ๓๐ คน


ข าวทหารอากาศ

21

จั ด ซื้ อ เฮลิ ค อปเตอร์ แ บบ UH-12 จาก สหรัฐอเมริกา จ�านวน ๔ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๒ก (ฮ.๒ก) พ.ศ.๒๔๙๖ เครื่ อ งบิ น ถ่ า ยภาพทางอากาศ แบบ Prince เข้าประจ�าการในกองทัพบก และในปี พ.ศ.๒๔๙๘ กองทั พ อากาศรั บ โอนเครื่ อ งบิ น เข้ า ประจ� า การ โดยก� า หนดชื่ อ เป็ น เครื่ อ งบิ น ตรวจการณ์แบบที่ ๑ (บ.ต.๑) วั น ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๙๗ มี พ ระบรม ราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ พลอากาศเอก ฟื  น รณนภากาศ ฤทธาคนี ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น “จอมพลอากาศ” นับเป็นจอมพลอากาศคนแรก ของประเทศไทย พ.ศ.๒๔๙๗ จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น สื่ อ สารแบบ Cessna 170B จากสหรัฐอเมริกา จ�านวน ๙ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๗ (บ.ส.๗) จอมพลอากาศ ฟน รณนภากาศ ฤทธาคนี

เครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๗ (Cessna 170B)

เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๒ก (Hiller UH-23B Raven)

เครื่องบินตรวจการณ์แบบที่ ๑ (Percival Prince IIIA)


22

จั ด ซื้ อ เฮลิ ค อปเตอร์ แ บบ H-19A จาก สหรัฐอเมริกา จ�านวน ๖ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๓ (ฮ.๓) นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ กองทัพอากาศได้เริ่ม ก้ า วเข้ า สู ่ ยุ ค เครื่ อ งบิ น ไอพ่ น เมื่ อ สหรั ฐ อเมริ ก า มอบเครื่ อ งบิ น ฝึ ก แบบ T-33 รุ ่ น แรกให้ จ� า นวน ๖ เครื่อง ซึ่งถือเป็นเครื่องบินไอพ่นแบบแรกของ กองทัพอากาศ ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๑ (บ.ฝ.๑๑) เครื่องบินไอพ่นอีกแบบหนึ่งที่กองทัพอากาศ ได้รับในเวลาใกล้เคียงกับเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๑ คื อ เครื่ อ งบิ น ลาดตระเวนถ่ า ยภาพทางอากาศ แบบ RT-33 จ�านวน ๘ เครื่อง ได้รับการก�าหนดชื่อ เป็ น เครื่ อ งบิ น ตรวจการณ์ แ ละฝึ ก แบบที่ ๑๑ (บ.ตฝ.๑๑) วันที่ ๑๕ - ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ จัดให้มี การฝึกร่วม สปอ.(องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEATO) ครั้งที่ ๑ ชื่อรหัสการฝึกว่า Firmlink ซึ่งเป็นการฝึกป้องกันภัย ทางอากาศและการฝึกร่วมทางอากาศ มีประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึก ๖ ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และไทย

เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๓ (Sikosky H-19A Chickasaw)

เครื่องบินฝกแบบที่ ๑๑ (Lockheed T-33A)

เครื่องบินตรวจการณ์และฝกแบบที่ ๑๑ (Lockheed RT-33A)

(อ่านต่อฉบับหน้า) อ้างอิง

- หนังสือ ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

23

òðòð

¡ÒÃâ¨ÁµÕ·Ò§ä«àºÍà ¨Ò¡¡ÒÃáΡ¢Í§ÃÑ°·ÕèàªÕèÂǪÒÞ 2020 Cyberattack: US and UK warn of ‘sophisticated’ state hack

สหรั ฐ อเมริ ก าและอั ง กฤษได ร  ว มกั น ออก คําเตือนวา “เหลาสายลับไซเบอร (Cyber Spies) ไดกําหนดเปาหมายไปที่ความมั่นคงดานสุขภาพ” แฮกเกอร (Hacker) ของรัฐตางประเทศที่มีความ เชี่ยวชาญ กําลังหาขอมูลความคืบหนาในการวิจัย วัคซีน COVID-19 แหลงขอมูลจากประเทศอังกฤษ นั้นไดเห็นกิจกรรมที่กวางขวาง แตยังไม เชื่อวามีการ ขโมยขอมูลใด ๆ คุณ Scott Morrison นายกรัฐมนตรี ออสเตรเลียกลาววา “รัฐบาลและสถาบันของออสเตรเลียกําลัง ถูกโจมตีทางไซเบอรจากการแฮกของรัฐตางประเทศ ตรวจสอบจากขนาด ลักษณะการกําหนดเปาหมาย และการใชแฮกเกอรทมี่ ฝี ม อื ” ประกอบกับความวิตก กังวลของบุคลากรที่ทํางานจากที่บานเกี่ยวกับการ ตกเป น เหยื่ อ ช ว งการระบาด COVID-19 ซึ่ ง จะ หลอกให พ วกเขาคลิ ก และแชร ลิ ง ก ที่ ข โมยข อ มู ล ผู  ที่ อ ยู  เ บื้ อ งหลั ง กิ จ กรรมดั ง กล า วไม ไ ด ถู ก อ า งชื่ อ ในการแจงเตือน แตไดคาดไวจะรวมถึงประเทศจีน

น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต

Scott Morrison นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย

รัสเซีย และอิหรานดวย ทั้ง ๓ ประเทศไดเจอกับ การระบาดของไวรัส COVID-19 ครั้งใหญ แตได ปฏิเสธในการถูกอางกอนหนาวามีสว นรวมในกิจกรรม ดั ง ที่ ไ ด ก ล า ว โดยบทความในฉบั บ มี มุ ม มองและ รายละเอียดที่นาสนใจดังนี้


24

สร้างความตระหนักรูแ้ ละปรับปรุงการป้องกัน ช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้สบื สวนเหตุการณ์ตา่ ง ๆ ทีร่ ฐั ต่างประเทศได้กา� หนด เป้าหมายไปที่ บริษัทยา องค์กรด้านการวิจัยทางการ แพทย์ และมหาวิ ท ยาลั ย ต่ า ง ๆ ซึ่ ง ก� า ลั ง มองหา ข่าวกรองและข้อมูลที่ละเอียดอ่อน รวมถึงการวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับไวรัส COVID-19 อนึ่งการได้เข้าใจว่า ประเทศอื่นก�าลังเผชิญกับวิกฤติ COVID-19 และ ได้ เ ข้ า ใจในความก้ า วหน้ า ของการวิ จั ย วั ค ซี น COVID-19 นั้นกลายเป็นสิ่งส�าคัญอันดับแรกของ หน่วยงานด้านข่าวกรองทัว่ โลก ในภาวะวิกฤตทุก ๆ รัฐ ต้ อ งการที่ จ ะใช้ ค วามสามารถทางด้ า นข่ า วกรอง เพื่อแจ้งเตือนให้ทราบ และในโลกที่ถูกล็อคดาวน์ หน่วยสืบราชการลับทางไซเบอร์นนั้ มีประโยชน์ มากกว่าหน่วยสืบราชการลับทีใ่ ช้มนุษย์ในแบบดัง้ เดิม ด้วยแนวโน้มปัจจุบันได้มุ่งเน้นการท�างานจากที่บ้าน แบบออนไลน์ ท�าให้การสืบราชการลับทางไซเบอร์ เป็นอีกหนทางทีจ่ ะท�าให้ได้ผลลัพธ์ทเี่ ร็วกว่า นักวิเคราะห์ หลายคนกล่าว “พวกเขาได้เห็นการด�าเนินงานเชิงรุก

ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น จากรั ฐ ต่ า ง ๆ ไปสู ่ อ งค์ ก รที่ ไ ม่ ค าดว่ า ตัวเองนั้นได้ตกเป็นเป้าหมายของเหล่าแฮกเกอร์ จากต่างประเทศ ซึง่ ก�าลังจ้องมองอยู”่ อย่างประเทศ ออสเตรเลีย การถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้แพร่กระจาย ไปทั่วในรัฐบาลทุกระดับ รวมถึงการแพทย์และธุรกิจ ที่จ�าเป็น นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียปฏิเสธ ที่จะระบุ ตัวตนของรัฐต่างประเทศที่โจมตีทางไซเบอร์ และได้ บอกว่าไม่มกี ารรัว่ ไหลของข้อมูลส่วนบุคคล ทีส่ า� คัญ การโจมตี นั้ น เกิ ด ขึ้ น หลายเดื อ นและเพิ่ ม มากขึ้ น Scott Morrison นายกรั ฐ มนตรี อ อสเตรเลี ย กล่าวว่า “การออกมาประกาศในช่วงเวลาที่ผ่านมา มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ สร้ า งความตระหนั ก รู ้ ใ ห้ แ ก่ สาธารณชน และสร้างแรงกระตุ้นให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับปรุงการป้องกัน” Joshua Kennedy-White ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ได้ท�าการเชื่อมโยงการแฮก ต่าง ๆ ในออสเตรเลียมาเป็นเวลานาน ได้กล่าวไว้ว่า “จี น เป็ น หนึ่ ง ในรั ฐ ต่ า งประเทศที่ มี ค วามสามารถ ในการโจมตีดังกล่าว รวมทั้งรัสเซียและอิหร่าน” ณ ปัจจุบันศูนย์ความปลอดภัยแห่งชาติทางไซเบอร์


ข่าวทหารอากาศ

ของอังกฤษ (National Cyber Security Committee: NCSC) นัน้ ได้ทำ� งำนร่วมกับองค์กรต่ำง ๆ ของสหรัฐฯ โดยมีเป้ำหมำยเพือ่ เพิม่ ควำมตระหนักรูถ้ งึ ภัยคุกคำม ที่อำจจะเกิดขึ้น Bill Evanina เจ้ำหน้ำที่อำวุโส หน่วยข่ำวกรองสหรัฐฯ กล่ำวกับ BBC News ว่ำ “โลกในปัจจุบัน ไม่มีอะไรที่จะมีคุณค่ำหรือคุ้มค่ำใน กำรขโมยมำกไปกว่ำข้อมูลทีไ่ ด้จำกกำรวิจยั ซึง่ จะช่วย ในกำรผลิตวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19” และเตือน ไว้ ว ่ ำ เหล่ ำ สำยลั บ ไซเบอร์ ไ ด้ พุ ่ ง เป้ ำ ไปที่ กำรใช้ ประโยชน์จำกบุคลำกรที่ท�ำงำนจำกที่บ้ำน โดยใช้ เทคนิ ค ที่ เ รี ย กว่ ำ กำรพ่ น รหั ส ผ่ ำ น (Password spraying) ซึ่งพวกเขำพยำยำมใช้ร หัสผ่ ำ นที่ ผู ้ ใช้ ได้ใช้กนั โดยทัว่ ไป เพือ่ ช่วยให้สำยลับไซเบอร์สำมำรถ เข้ำถึงบัญชีผใู้ ช้ รวมทัง้ แฮกเกอร์ของรัฐต่ำง ๆ ในหลำย ประเทศ สำมำรถก�ำหนดเป้ำหมำยไปที่ผู้ให้บริกำร ด้ ำ นกำรดู แ ลสุ ข ภำพ โดยรู ้ ว ่ ำ พวกเขำจะเต็ ม ใจ มำกกว่ำปกติในกำรจ่ำยเงินค่ำไถ่ส�ำหรับกำรส่งคืน ข้ อ มู ล (Ransomware) Paul Chichester ผู ้ อ� ำ นวยกำรฝ่ ำ ยปฏิ บั ติ ก ำรศู น ย์ ค วำมปลอดภั ย แห่งชำติทำงไซเบอร์ของอังกฤษ (NCSC) กล่ำวว่ำ “กำรปกป้ อ งภำคกำรดู แ ลสุ ข ภำพเป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ

25

อันดับแรกของ NCSC” ซึ่งเจ้ำหน้ำที่ที่เกี่ยวข้อง ของเรำนั้ น มี ค วำมเข้ ำ ใจที่ จ ะให้ ค� ำ แนะน� ำ แก่ มหำวิทยำลัยอ๊อกฟอร์ด (Oxford University) และ วิทยำลัยอิมพีเรียล (Imperial College) ซึ่งถือเป็น สองผู้น�ำของอังกฤษในกำรวิจัยวัคซีน COVID-19 รวมทั้งได้ท�ำงำนอย่ำงใกล้ชิดกับหน่วยบริกำรด้ำน สุขภำพของอังกฤษ (National Health Service: NHS) ทั้งนี้เพื่อช่วยรักษำระบบของพวกเขำเหล่ำนั้น ให้มีควำมปลอดภัย ข้อคิดที่ฝากไว้ ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศต่ำง ๆ ตึงเครียด ขึน้ ในช่วงไม่กปี่ ที ผี่ ำ่ นมำ และแย่ลงอย่ำงมำกหลังจำก ออสเตรเลีย สะท้อนให้เห็นถึงกำรที่สหรัฐอเมริกำ ได้ เ รี ย กร้ อ งให้ มี ก ำรสอบสวนเกี่ ย วกั บ ต้ น ก� ำ เนิ ด ของไวรัส COVID-19 สิ่งส�ำคัญคือ เหล่ำสำยลับ ทำงตะวั น ตก และองค์ ก ำรอนำมั ย โลก (World Health Organization: WHO) ได้มองไปทีป่ ระเทศจีน “เพรำะพวกเขำพยำยำมท� ำ ควำมเข้ ำ ใจกั บ สิ่ ง ที่ ปักกิ่งอำจรู้เกี่ยวกับต้นก�ำเนิดของไวรัส COVID-19” ซึ่งรวมถึงกำรหำข้อมูลอื่น ๆ ในขอบเขตที่แท้จริง ของกำรระบำด COVID-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน


26

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน @Zilch

National Animal of Vietnam

สัตว์ประจ�าชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Buffalo

กระบือ

Buffalo is very familiar with Vietnamese farmers and the buffalo has appeared in the wet rice cultivation. So, it is the traditional symbol of Vietnam. It represents bravery, happiness and prosperity. Buffaloes played a very important role in Vietnamese agriculture. They were a farmer’s most valued possession and were often treated as a part of the farmer’s family. Buffaloes are strong and hardworking, but also good natured and tame. Right from their skins to milk, Vietnamese buffaloes are useful to human beings. Sadly, they fall under the endangered species list. Poaching and its application in several medical and beauty industries have led to the downfall of this species.

กระบือเป็นสัตว์ทชี่ าวนาเวียดนามคุน้ เคยกันดี อีกทัง้ ยังเป็นสัตว์ทปี่ รากฏในสังคมการเพาะปลูกข้าว ด้วยเหตุนี้ กระบือจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม กระบือเป็นตัวแทนของความกล้าหาญ ความสุข และ ความเจริญรุ่งเรือง กระบือมีบทบาทส�าคัญในการเกษตร กรรมของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พวกมันเป็นสิง่ มีค่าที่สุดของชาวนาและได้รับการดูแลเสมือนเป็นส่วน หนึ่งของครอบครัวชาวนา กระบือเป็นสัตว์ที่แข็งแรงและ ท�างานหนัก แต่กระนั้นมันก็เป็นสัตว์นิสัยดีและเชื่อง มนุษย์ใช้ประโยชน์จากกระบือตัง้ แต่สว่ นหนังไปจนถึง น�้ า นมของมั น มั น จึ ง เป็ น สั ต ว์ ที่ มี ป ระโยชน์ ต ่ อ มนุ ษ ย์ น่าเศร้าที่พวกมันกลายเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว การลักลอบล่ากระบือเวียดนามและการน�าชิ้นส่วน อวัยวะต่าง ๆ ของมันไปใช้ในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ และความงามต่าง ๆ นั้นน�าไปสู่การลดจ�านวนลงของ สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดนี้

ข้อมูลจาก https://traveltriangle.com/blog/hanoi-wildlife/ https://www.vietnamtourism.org.vn/vietnam-in-photos/animals/buffalo-in-vietnamese-culture.html รูปจาก https://www.vietnamtourism.org.vn/vietnam-in-photos/animals/buffalo-in-vietnamese-culture.html


ข าวทหารอากาศ

27

ศูนย ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ

โครงการวิจัยและพัฒนาระบบดาวเทียมต นแบบ (Spectral Ocean Color (SpOC) Satellite Engineering Model) น.อ.เพชรเดช เพชรช่วย

ปัจจุบันกองทัพอากาศได้ริเริ่มการพัฒนาความ สามารถการปฏิบตั กิ ารในมิตอิ วกาศ โดยยุทธศาสตร์ ทอ. ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ได้มกี ารวางยุทธศาสตร์ ในการเสริมสร้างสมรรถนะ และความพร้อมในการ ป้องกันประเทศในการพัฒนาขีดความสามารถด้าน กิจการอวกาศ เพือ่ ริเริม่ และวางรากฐานการปฏิบตั กิ าร ด้านการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจทางอวกาศ ตามนโยบาย ผบ.ทอ.ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี บนพืน้ ฐานการพึง่ พาตนเองโดยใช้หลักการ Purchase and Development (P&D) จึงได้มโี ครงการจัดหาระบบ Nano Satellite NAPA-1 จากบริษทั ISIS โดยมุง่ เน้น การถ่ายทอดองค์ความรูใ้ ห้กบั บุคลากร ทอ.แต่เนือ่ งด้วย ดาวเทียม Engineering Model (EM) ที่ ทอ.ได้รับ จากบริษัท ISIS มีราคาสูง จึงไม่สามารถท�าการศึกษา อุปกรณ์แต่ละชิ้นได้อย่างเต็มที่ กองลาดตระเวน และเฝ้าตรวจทางอวกาศ ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศ กองทัพอากาศ จึงได้จัดสร้างดาวเทียม CubeSat ต้นแบบ ขนาด 3U (Spectral Ocean Color (SpOC) Satellite Engineering Model) พร้อมสถานีรับส่ง สั ญ ญาณภาคพื้ น (Ground Station) ภายใต้ งบประมาณที่จ�ากัด และอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย เพื่อให้ สามารถท�าการศึกษาทดลองได้อย่างเต็มที่ รวมทั้ง เป็นพื้นฐานในการสร้างดาวเทียมด้วยตนเองต่อไปได้ ในอนาคต

SpOC Satellite Engineering Model


28

แผนผังแสดงส่วนประกอบหลักของระบบ SpOC Satellite Engineering Model

SpOC Satellite Engineering Model SpOC Satellite Engineering Model หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า “SpOC Sat EM” เป็นระบบดาวเทียม ต้นแบบเชิงวิศวกรรม ขนาด 3U น�้าหนักประมาณ ๑.๙ กิโลกรัม สร้างจากวัสดุที่หาง่ายตามท้องตลาด โดยจ� า ลองระบบให้ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ระบบดาวเที ย ม NAPA-1 มีส่วนประกอบและหลักการท�างานดังนี้ ๑. Structure Structure ที่เลือกใช้เป็น Structure มาตรฐาน ของ CubeSat ขนาด 3Unit หรือ 3U (10x10x30 cm) ท�าจากวัสดุอะลูมิเนียม มีชั้นอะลูมิเนียมคั่นในแต่ละ Unit เพื่อใช้วางอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งมีช่องส�าหรับ ใส่กล้องถ่ายรูปและเสาอากาศ ๒. Electronic Power System (EPS) EPS ประกอบด้วย - Solar Cell ซึ่ ง ท� า หน้ า ที่ จ ่ า ยพลั ง งาน เพื่อไปเก็บไว้ยังแบตเตอรี่ โดยท�าการค�านวณแรงดัน

ไฟฟ้า (Voltage) และปริมาณกระแสไฟฟ้า (Current) ในระบบที่ต้องการทั้งหมด เพื่อใช้ในการเลือกขนาด ของ Solar Cell ทีเ่ หมาะสมโดย Solar Cell ทีเ่ ลือกใช้ สามารถจ่ายไฟได้ดา้ นละ 12V จ�านวน ๒ ด้าน (ด้านซ้าย และขวาของดาวเทียม) ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้มขี ดี ความสามารถ ในการเลือกใช้งานด้านที่หันเข้าหาแสงอาทิตย์ได้ - แบตเตอรี่ (Battery) ท�าหน้าที่เป็นตัวเก็บ ประจุไฟฟ้าที่ได้จาก Solar Cells และจ่ายพลังงาน ไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ โดยได้เลือกใช้ แบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออน (Lithium-ion Battery) ก้อนละ 3.7V จ�านวน ๖ ก้อน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน - Solar Charge Controller Board เป็น บอร์ดในการจัดการและควบคุมการรับพลังงานไฟฟ้า จากแผ่น Solar Cells เพื่อท�าการชาร์จไฟไปยัง Battery และการจ่ายไฟจาก Battery ไปยังอุปกรณ์ ต่าง ๆ ของดาวเทียมที่แรงดันไฟฟ้าต่าง ๆ กัน เช่น 3.3V และ 5V


ข าวทหารอากาศ

๓. Attitude Determination and Control System (ADCS) ADCS จะประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่ ว นของ Sensors และส่ ว นของ Actuators โดย Sensors จะท�าหน้าที่บอกต�าแหน่งและลักษณะ ท่ า ทางของ CubeSat ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย GPS (บอก Latitude Longitude และ Altitude) และ Gyroscope & Accelerometer (บอกค่าความเร่ง และความเร็วเชิงมุม) Actuator จะท�าหน้าที่ในการ ปรับเปลีย่ นท่าทางของดาวเทียม โดยได้เลือกประดิษฐ์ Magnetic Torquer ต้นแบบในแนวแกน X และแกน Y โดยแรงที่สามารถท�าให้ดาวเทียมขยับได้นั้นมาจาก Torque ที่เกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวน�า ที่กระท�าต่อสนามแม่เหล็กโลก แต่เนื่องด้วยข้อจ�ากัด ในการจ�าลองสนามแม่เหล็กโลก จึงได้ท�าทดลอง เพียงวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวน�าที่ออกจาก Magnetic Torquer ทีป่ ระดิษฐ์ขนึ้ ด้วยเครือ่ งตรวจจับ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วน�าไปค�านวณหา Torque ทั้งนี้ทฤษฎีในการหา Torque ที่ต้องการสามารถ ค�านวณได้จากสูตร Tm = D•B, D = NIS + Vc M โดยที่ Tm = Magnetic Torque (N.m) D = Residual Magnetic Dipole (A.m2) B = Earth’s Magnetic Field (Tesla) N = Number of Turns I = Current (Amp) S = Area of Solenoid (m2) Vc = Volume of the Core (m3) M = Magnetization Magnetic Torque ที่ประดิษฐ์ขึ้นท�าจากแท่ง อะลูมิเนียมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖ มิลลิเมตร ยาว ๗๖ มิลลิเมตร และใช้ลวดทองแดงขนาดเส้นผ่าน

29

ศูนย์กลาง ๐.๑ มิลลิเมตร พันรอบแท่งอะลูมิเนียม จ�านวน ๘๐๐ รอบ ซึ่งจากการค�านวณตามทฤษฎี หากปล่อยกระแสไฟฟ้าขนาด 3.3V จะท�าให้ได้ค่า Residual Magnetic Dipole (D) ประมาณ 0.157 A•m2 และ Magnetic Torque (Tm )= D•B ซึง่ ค่า B จะมีคา่ แตกต่างกันตามระยะทางและทิศทางจากโลก ๔. Command and Data Handling System (CDHS) CDHS ท�าหน้าทีใ่ นการควบคุมและสัง่ การระบบ ย่อยต่าง ๆ หรือท�าหน้าที่เสมือนเป็นหน่วยประมวล ผลกลาง (Computer) โดยได้เลือกใช้ Microcontroller Board : Raspberry Pi 4 Model B และได้เขียน Code ในการควบคุมการท�างานของอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ของ Board ด้วยภาษา Python ๕. Payload Data Handling System (PDHS) Payload ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปฏิบตั ภิ ารกิจ โครงการนี้ได้จ�าลองภารกิจ Earth Observation และเลือกใช้ Camera Module : Raspberry Pi Camera (B) Module with Adjustable Focus เพื่อให้สามารถท�างานร่วมกับ Microcontroller Board ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกล้องจะมีความ ละเอียดภาพอยู่ที่ ๕ ล้านพิกเซล ๖. Lighting for SSA Tracking ดาวเทียมโดยทัว่ ไปหากอยูใ่ นกรณีทถ่ี กู เงาโลกบัง กล้องโทรทรรศน์จะไม่สามารถตรวจจับได้เนื่องจาก ไม่ มี ก ารสะท้ อ นแสงของพระอาทิ ต ย์ อ อกมาจาก ดาวเทียม แสงสว่างจาก LED จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วย ในการติดตามดาวเทียมของกิจการ Space Situational Awareness (SSA) โดยระบบดาวเทียม EM นี้ เลือกใช้ LED จ�านวน ๑๘ หลอด ติดไว้สองด้านของดาวเทียม (สีเขียว ๙ ดวง ด้านขวา และสีแดง ๙ ดวง ด้านซ้าย) โดยมี Relay Board ท�าหน้าที่เป็นสวิตซ์ ปิด-เปิด


30

ให้กับหลอด LED นอกจากนี้ LED ที่มีสีแตกต่างกัน ยั ง ช่ ว ยในการบอกลั ก ษณะท่ า ทางของดาวเที ย ม ได้อีกด้วย ๗. Sensors Sensors ที่ใช้ประกอบด้วย Sensor ในการวัด อุณหภูมิและความชื้นของดาวเทียมเพื่อใช้ดูสุขภาพ ของดาวเทียมว่ามีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม หรือไม่ ๘. Telemetry and Tele-commanding System Telemetry and Tele-commanding System เป็นระบบทีใ่ ช้ในการส่งข้อมูลระยะไกล (Telemetry) และรับค�าสั่ง (Command) จากสถานีรับส่งสัญญาณ ดาวเทียมภาคพื้น การส่งข้อมูลและรับค�าสั่งจะต้อง ด�าเนินการผ่านอุปกรณ์รบั ส่งสัญญาณ (Transceiver) และเสาอากาศ (Antenna) โดยได้เลือกใช้คือวิทยุ รับส่งสัญญาณระยะไกล (Long Range Radio)

RFD900x พร้อมเสาอากาศแบบ Dipole ซึง่ มีรปู แบบ (Pattern) ในการส่งสัญญาณแบบรอบทิศทาง (Omni Directional) ท�างานที่ความถี่ประมาณ 915 MHz โปรโตคอล (Protocol) UART ระยะไม่เกิน ๔๐ กิโลเมตร Ground Station (GS) GS จะเป็นส่วนควบคุมการรับส่งสัญญาณภาคพืน้ ท�าหน้าทีส่ ง่ ค�าสัง่ ไปยังดาวเทียม เช่น ค�าสัง่ ในการถ่ายรูป และค�าสัง่ ในการเปิด/ปิด LED รวมทัง้ ท�าหน้าทีใ่ นการรับ Telemetry จากดาวเทียมเพื่อให้ผู้ใช้งานตรวจสอบ สถานะสุขภาพของดาวเทียมได้และ Download ภาพถ่ายดาวเทียมหลังจากดาวเทียมได้ไปปฏิบัติ ภารกิ จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ซึ่ ง GS จะประกอบไปด้ ว ย กล่องควบคุมการรับส่งสัญญาณวิทยุพร้อมเสาอากาศ ซึ่งใช้แบบเดียวกับระบบ Telemetry and Telecommanding และคอมพิวเตอร์พร้อมจอแสดงผล ในส่ ว นของ Software,Interface ระหว่ า ง ดาวเทียมและ GS จะเป็นลักษณะ Graphic User

หน้าจอแสดงผล Telemetry

หน้าจอส่งค�าสั่งไปยังดาวเทียม

กล่องควบคุมการรับส่ง สัญญาณวิทยุพร้อมเสาอากาศ สถานีรับส่งสัญญาณภาคพื้น


ข าวทหารอากาศ

31

ซ้าย : หน้าต่างแสดงเมนูการส่งค�าสั่งต่าง ๆ / ขวา : หน้าต่างแสดงผลTelemetryด้วยโปรแกรม Grafana

ซ้าย : หน้าต่างแสดงการรับข้อมูล GPS / ขวา : หน้าต่างแสดงตัวอย่างภาพที่ Download ได้จากดาวเทียม

Interface (GUI) เพือ่ ให้งา่ ยต่อการใช้งาน โดยได้ทา� การ พัฒ นา Software เพื่อใช้ในการส่งค�าสั่ งและรั บ Telemetry ด้วยภาษา Java และน�ามาแสดงผล ด้วยโปรแกรม Grafna ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ใน GS ของระบบ NAPA ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรได้คุ้นเคย กับการใช้งานโปรแกรมดังกล่าว สรุป การประดิษฐ์ SpOC Satellite Engineering Model สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เบื้องต้นที่ตั้งไว้ ได้เป็นอย่างดีคอื สามารถน�าหลักการการท�างานต่าง ๆ ของดาวเทียมไปลองประยุกต์ใช้จริง ซึง่ สามารถท�าการ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับความรู้และประสบการณ์ในการออกแบบ ระบบ การท� า งานของระบบ และการประกอบ ดาวเทียม เพื่อให้แต่ละระบบย่อยสามารถท�างาน ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีความคุ้นชิน กับข้อจ�ากัดของอุปกรณ์ รวมถึงปัญหาและข้อขัดข้อง ต่าง ๆ ทั้งนี้ องค์ความรู้และประสบการณ์ทั้งหมด ที่ ไ ด้ รั บ จะเป็ น การเตรี ย มความพร้ อ มส� า หรั บ การปฏิบัติการทางอวกาศและการพัฒนาดาวเทียม บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองได้ต่อไปในอนาคต


32

มีสกรีน BEETLE BAILEY

ภาพที่ ๑ ภาพที่ ๒ ภาพที่ ๓ -

คุณแอ็บบี้ที่นับถือ ผมรู้สึกกังวล อายุกว่า ๔๐ แล้วยังไม่ได้แต่งงานเลยครับ ปญหาคือผมเพียงแต่กลัวผู้หญิงครับ ผมจะท�าอย่างไรดีครับ ไม่ต้องล�าบากตอบผมก็ได้ ผมก�าลังฉีกจดหมายนี้ ทันทีที่เขียนเสร็จครับ!

Dear to be worried over (prep.) still (adv.) trouble (n.) to bother to tear

- ในทีน่ เ้ี ป็นค�าขึน้ ต้นจดหมาย ซึง่ อาจจะแปลว่า ทีร่ กั หรือทีน่ บั ถือ แล้วแต่ความสนิทสนม ของผู้เขียนและผู้อ่าน - รู้สึกกังวล (to be concerned) - เป็นค�าบุพบท ในทีน่ แี้ ปลว่า มากกว่า จ�านวน/เวลาทีก่ ล่าวถึง (more than a particular amount/time) - ยังคงสภาวะนั้น (continuing, not finishing) Ex. I had three bow’s of noodle but I’m still hungry. (ฉันทานก๋วยเตี๋ยวไป ๓ ชามแล้วแต่ยังหิวอยู่) - ปัญหา (problem) - ออกเสียงว่า ‘บ๊อเธ่อร์’ ในที่นี้แปลว่า ใช้เวลาท�าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (to spend time doing sth.) - ฉีก, ดึงให้ขาด (to rip, to pull sth. a part) ออกเสียงว่า ‘แทร์’


ข าวทหารอากาศ

33

THE BORN LOSER

ภาพที่ ๑ ภาพที่ ๒ ภาพที่ ๓ -

เมื่อวานนี้เป็นวันที่ยาวนานที่สุดของฤดูร้อนจ้ะลูก อะไรหรือครับ ? วันที่ยาวนานที่สุดของปไงจ๊ะ พ่อบอกว่าวันที่ยาวนานที่สุดของป คือวันที่คุณยายมาหาพวกเราครับ

summer solstice

longest (adj.) pop (n.) grandma

- วันที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดสุดทางเหนือในช่วงฤดูร้อน ท�าให้วันนั้นกลางวัน ยาวนานที่สุด ราววันที่ ๒๒ มิถุนายนของปี ส่วน winter solstice คือวันที่ ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดสุดทางใต้ ในช่วงฤดูหนาว ท�าให้วันนั้น กลางคืนยาว นานที่สุด ราววันที่ ๒๒ ธันวาคมของปี solstice ออกเสียงว่า ‘โซ้ลสเทิ่ส’ - ยาวที่สุด, นานที่สุด เป็นค�าคุณศัพท์ที่เปรียบเทียบขั้นที่สุดของ long (ขั้นกว่า คือ longer) - ค�าเรียกที่ลูกเรียก พ่อ (Father) ซึ่งค�าอื่นที่ใช้ ได้แก่ pa หรือ dad ใช้อย่าง ไม่เป็นทางการ - ค�าเรียกที่หลานเรียกย่า หรือ ยาย (grandmother) ส่วน ปู่ หรือ ตา (grandfather) จะเรียก grandpa หรือ granddad ใช้อย่างไม่เป็นทางการ


34

RED

EAGLE

อินทรีแดง แผลงฤทธิ์

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

ARMORED CAR

เเสนยานุภาพกําลังภาคพื้น แห งกองทัพอากาศไทย

ยุคเครื่องจักรไอน�้าถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1833 ก็มแี นวคิดเกีย่ วกับรถเกราะเกิดขึน้ เรียกว่า “รถรบเครื่องจักรไอน�้าหุ้มเกราะ” แต่ยุคแรกเริ่ม ยังไม่สามารถท�าความเร็วมากได้ ก�าลังขับเคลื่อนต�่า ทางการทหารจึ ง ไม่ ค ่ อ ยให้ ค วามสนใจ แต่ เ มื่ อ เครื่องจักรไอน�้าถูกพัฒนาให้แล่นได้เร็วและสามารถ น� า เข้ า สู ่ ส นามรบได้ จึ ง เริ่ ม ปรากฏความคิ ด ที่ จ ะ ปกป้องเครื่องยนต์โดยใช้เกราะในเวลาต่อมา ในปี ค.ศ.1911 กึนเธอร์ บูร์สตีน ทหารช่าง ชาวออสเตรียน และลานเซอะล็อต เดอ โมล วิศวกร เพือ่ นร่วมชาติ ร่างแบบยานรบทีพ่ อจะกล่าวได้วา่ เป็น วิวัฒนาการการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อใช้เป็น “รถถั ง ” ขึ้ น มา แต่ รั ฐ บาลออสเตรี ย ได้ ป ฏิ เ สธ พาหนะในการรบนั้นมีมาช้านาน นับตั้งแต่ยุคโบราณ เนื่องจากมีน�้าหนักมาก มีความยากล�าบากในการ เราเริ่มต้นจากการขี่สัตว์ จนพัฒนามาเป็นรถลาก โดยใช้ สั ต ว์ ล าก ยุ ค ต่ อ มาเริ่ ม มี ก ารสร้ า งยานรบ เครื่ อ งจั ก ร เครื่ อ งยนต์ จนท� า ให้ ย านพาหนะ มี ค วามเร็ ว แข็ ง แกร่ ง พร้ อ มรั บ แรงปะทะและมี ศั ก ยภาพในการท� า ลายล้ า งสู ง จนกระทั่ ง เกิ ด เป็ น รถเกราะ ยานเกราะ หรือรถถัง เหมือนดัง่ ในปัจจุบนั นี้ ย้อนกลับไปในอดีตพัฒนาการด้านรถถังหุ้มเกราะ เริ่มมีปรากฏเด่นชัดในพิมพ์เขียวของ “ลีโอนาร์โด ภาพร่างรถหุม้ เกราะทีย่ งิ ได้รอบทิศของ ลีโอนาร์ ดาวินชี” เมื่อหลายร้อยปีก่อน หลักฐานคือภาพร่าง ลั ก ษณะเสมื อ นชามคว�่ า สองใบหงายประกบกั น โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ที่วาดขึ้นใน ศตวรรษที่ ๑๕ มีลกู ล้อด้านล่าง ติดปืนใหญ่ทลี่ า� ตัวส่วนบน เมือ่ มาถึง


ข่าวทหารอากาศ

35

รถถังมาร์ก ๑ ของกองทัพเครือจักรภพอังกฤษใน ยุทธการที่แม่น�้ำซอมม์ ในสงครามโลกครั้งที่ ๑

เคลือ่ นย้าย อีกทัง้ เครือ่ งยนต์ไอน�ำ้ ยังท�ำความเร็วได้ตำ�่ ซึ่ ง ในสมั ย ก่ อ นยั ง ไม่ มี ใ ครรู ้ วิ ธี ก ระจายน�้ ำ หนั ก ด้วยสายพาน หากต้องน�ำมาแล่นในเส้นทางวิบาก ในเวลาต่อมาบูร์สตีนน�ำแบบยานยนต์ที่ใช้ชื่อ “เรือ ทอร์ปิโดบก (Land Torpedo Boat)” เสนอคณะ กรรมการวิศวกรรมทหารแห่งกรุงเวียนนาแต่ถกู ปฏิเสธ ถึงกระนั้นเขายังได้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของตน ไว้ก่อนเพื่อกันผู้อื่นสร้างเลียนแบบ ในเวลาเดียวกัน เดอ โมล ได้ออกแบบ “รถหุม้ เกราะสายพาน” ส�ำเร็จ และสามารถแก้ปญ ั หาเรือ่ งการเคลือ่ นทีใ่ นทางวิบากได้ จนกระทั่งส่งให้ทบวงสงครามของอังกฤษพิจารณา แต่ผลออกมาไม่ตา่ งจากบูรส์ ตีน ต่อมากองทัพเรืออังกฤษ ได้ท�ำการพัฒนายานเกราะให้สามารถแล่นได้และได้ เริ่มใช้ชื่อว่า “เรือบก (Landship Committee)” แล้วเรียกล�ำตัวว่า “ล�ำเรือ (Hull)” เจ้าของโครงการ คือ “วินสตัน เชอร์ชิล” ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการทบวงทัพเรือเป็นคนแรก (First Lord of Admiralty) ทั้งนี้รถถังต้นแบบกลุ่มแรกถูกตั้งชื่อว่า “วิลลีน่ อ้ ย (Little Willie)” ตามแบบทีส่ ร้างขึน้ โดย วิลเลียม แอชบี ทริตตัน และ วอลเทอร์ กอร์ดอน วิลสัน

เป็นรถถังใช้สายพานคันแรกของโลกและเป็นต้นแบบ รถถังทีอ่ งั กฤษเริม่ ใช้รบในสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ เพือ่ ใช้ สนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ รถถั ง เหล่ า นี้ ถู ก ใช้ ใ นยุ ท ธการซอมม์ (Battle of Somme) ในจ�ำนวนน้อยมาก ในช่วงทีร่ ถถังถูกสร้างขึน้ มันถูกเรียกว่า “ยานล�ำเลียงน�ำ้ ” เพือ่ ปกปิดวัตถุประสงค์ การใช้งานจริงของมัน ค�ำว่า “แท็งค์ (Tank)” นัน้ มาจาก ค�ำว่า “Water tank” ทีแ่ ปลว่าถังน�ำ้ มีวตั ถุประสงค์ หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบแต่มันท�ำความเร็วสูงสุด ได้เพียง ๕-๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV Tank ของกองทัพอังกฤษ ท�ำให้ฝ่ายเยอรมันต้อง พั ฒ นารถถั ง ของตนเองให้ มี ส มรรถนะที่ ม ากขึ้ น ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ เ มื่ อ หั น ก ลั บ ม า ม อ ง ใ น ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ์ กองทัพอากาศไทย ถึงแม้ว่ากองทัพอากาศจะไม่มี รถเกราะสายพานไว้ในงานในการรบ แต่ก็ได้มีการ บรรจุรถเกราะ (Armored Car) เพื่อไว้ปฏิบัติภารกิจ ในการป้ อ งกั น ฐานบิ น และที่ ตั้ ง ทางทหารของ กองทัพอากาศมาอย่างยาวนาน หน่วยรถเกราะ ทอ. ได้เริ่มก่อตั้งขึ้น โดยกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งได้


36

รับรถเกราะคอมมานโด V – 150 ที่ผลิตจากบริษัท แคดิลแลค เกจ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๒ และได้ น� ำ ไปเก็ บ ไว้ ที่ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี โดยมีแผนที่จะมอบ รถเกราะให้กบั หน่วยขึน้ ตรง กองบัญาการทหารสูงสุด และกรมต�ำรวจ (ชือ่ หน่วยขณะนัน้ ) ไว้ใช้ในการปฏิบตั ิ ภารกิจของแต่ละหน่วย ในห้วงระยะเวลารอรับมอบ รถเกราะจากกองบัญชาการทหารสูงสุดนัน้ กรมอากาศโยธิน (ชือ่ หน่วยในขณะนัน้ ) ได้จดั เตรียมสถานทีเ่ ก็บรถเกราะ และจัดส่งก�ำลังพลไปศึกษาความรู้เกี่ยวกับรถเกราะ ที่ศูนย์การทหารม้า จว.สระบุรี จนกระทั่งวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ส่ง มอบรถเกราะคอมมานโด V – 150 ให้กบั กองทัพอากาศ งวดแรก จ�ำนวน ๘ คัน และงวดที่สอง ในวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ อีก ๔ คัน รวมเป็น ๑๒ คัน ซึง่ ได้นำ� รถเกราะไปเก็บไว้ที่ ขส.ทอ. และในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ กองทัพอากาศ ได้มอบรถเกราะคอมมานโด V – 150 จ�ำนวน ๑๒ คัน ให้กับกรมอากาศโยธิน

เพื่อไว้ใช้ปฏิบัติภารกิจ โดยน�ำรถเกราะไปเก็บไว้ ที่โรงเก็บรถเกราะ (ปัจจุบันคือโรงจอด บ. ของ บน.๖ ใกล้กบั ท่าอากาศยานทหาร บน.๖) นับได้วา่ โรงเก็บ บ. ของ บน.๖ แห่งนี้ คือ ส�ำนักงานแห่งแรกของกองร้อย รถเกราะ โดยมี ร.ท.นิยม เกษกาญจน์ (ยศในขณะนัน้ ) เป็นผูบ้ งั คับบัญชาคนแรก จากนัน้ กองทัพอากาศได้มี การปรับโครงสร้างใหม่หลายครั้ง กองร้อยรถเกราะ จึ ง ได้ ป รั บ โครงสร้ า งตามไปด้ ว ยและได้ ย ้ า ยที่ ตั้ ง ส�ำนักงานเปลี่ยนไปอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๓๖ กองทัพอากาศได้มี การพิ จ ารณาขยายอั ต ราการจั ด หน่ ว ยใหม่ จ าก กองปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษ เป็ น กรมปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธการ ทางอากาศ และได้รับการบรรจุรถเกราะ CONDOR ที่ผลิตจากประเทศสาธารณรัฐเยอรมัน เพิ่มขึ้นอีก จ�ำนวน ๒๘ คัน เข้ามาประจ�ำการเมือ่ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖ และส่งมอบให้กบั หน่วยรถเกราะเมือ่ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๙

การด�ำเนินกลยุทธ์ของชุดปฏิบตั ปิ ระจ�ำรถเกราะ CONDOR


ข่าวทหารอากาศ

37

รถเกราะ V – 150 และเจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำรถท�ำการลาดตระเวนรอบกองก�ำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙

กองทัพอากาศ ได้จดั อัตราก�ำลังใหม่ ตามการจัดอัตรา ก�ำลัง ทอ.๓๙ โดยแบ่งกองร้อยรถเกราะออกเป็น ๒ กองร้อย มีชื่อใหม่ว่า “กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ๒ และ ๓ กองพันปฏิบัติการพิเศษ ๒ กรมปฏิบัติการ พิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการ ยุทธการทางอากาศ” จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ (เม.ย.๕๒) กองทัพอากาศได้มีการปรับโครงสร้างใหม่อีกครั้ง หน่ ว ยรถเกราะยั ง คงประกอบด้ ว ย ๒ กองร้ อ ย เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนชื่อหน่วยเป็น “กองร้อย ๒ และ กองร้ อ ย ๓ กองพั น ปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษ ๒ กรมปฏิบตั กิ ารพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน” จนถึงในปัจจุบันโดยมีหน้าที่หลักในการด�ำเนินการ จั ด เตรี ย มและใช้ ก� ำ ลั ง รถเกราะ เพื่ อ สนั บ สนุ น การป้องกันและรักษาความปลอดภัย ที่ตั้งทางทหาร ของกองทัพอากาศและปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้เนื่องจากกองทัพอากาศไม่สามารถบรรจุ รถเกราะให้กับกองบินต่าง ๆ ได้ครบตามจ�ำนวน ทุกกองบิน จึงได้มกี ารพิจารณาใช้รถเกราะแบบรวมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานบินใดก็ตามที่ถูกภัยคุกคาม จากฝ่ายตรงข้าม หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตราย ก�ำลังหน่วยรถเกราะจากส่วนกลาง (ที่ตั้งดอนเมือง) จะให้การสนับสนุนเสริมก�ำลังทันที โดยจะท�ำการ เคลื่อนย้ายก�ำลังทางอากาศด้วยเครื่องบินล�ำเลียง แบบที่ ๘ (C-130) หรือใช้การเคลือ่ นย้ายก�ำลังทางถนน หากฐานบินนั้นอยู่ใกล้ จากผลการปฏิบัติที่ผ่านมา หลายครั้งนับได้ว่าเกิดผลส�ำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะ สามารถสนับสนุนได้ทันเหตุการณ์ตามที่ได้รับการ ร้องขอ ได้ผลในการป้องปรามเป็นอย่างมาก ถือว่า เป็นการสร้างขวัญและก�ำลังใจให้กับหน่วยทหาร กองบินนั้น ๆ โดยที่ผ่านมามีการสนับสนุนรถเกราะ ไปประจ�ำฐานบินต่างจังหวัดมาแล้วหลายหน่วย ได้แก่


38

ฝูงบิน ๒๐๖ วัฒนานคร ฝูงบิน ๒๐๗ จว.ตราด หน่วยบิน ๒๐๓๑ จว.สุรนิ ทร์ กองบิน ๕๖ หาดใหญ่ กองบิน ๕๓ ส่วนล่วงหน้า จว.สุราษฎร์ธานี กองบิน ๒๓ จว.อุดรธานี กองบิน ๔๖ จว.พิษณุโลก กองบิน ๑ จว.นครราชสีมา ปัจจุบันยังคงปฏิบัติหน้าที่ราชการในการสนับสนุน กกล.ทอ.ฉก.๙ เพียงแห่งเดียว ด้านก�ำลังพลผูป้ ฏิบตั งิ านประจ�ำหน่วยรถเกราะ มีการจัดก�ำลังพลประจ�ำรถเกราะ ประกอบไปด้วย ผูบ้ งั คับหมู่ จ�ำนวน ๑ นาย ผูบ้ งั คับรถ จ�ำนวน ๑ นาย พลขับ จ�ำนวน ๑ นาย พลยิง จ�ำนวน ๑ นาย และ พลปืนเล็ก จ�ำนวน ๘ นาย รวมเป็นจ�ำนวน ๑๒ นาย ต่อรถเกราะ ๑ คัน และเนื่องจากรถเกราะทั้งชนิด แบบ V – 150 และ CONDOR มีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยอยู่ภายในรถเกราะ หลายชนิด ดังนั้นผู้ที่จะมาเป็นเจ้าหน้าที่รถเกราะ จะต้องมาจากสายวิทยาการโดยตรงที่เกี่ยวข้อง เช่น จนท.สรรพาวุธ จนท.สื่อสาร จนท.ช่างเครื่องยนต์ เป็นต้น ที่สามารถปฏิบัติงานในหน่วยรถเกราะได้ เป็นอย่างดี ส�ำหรับชุดปฏิบัติการรถเกราะ คัดเลือก มาจากก�ำลังพลเหล่าอากาศโยธิน และก�ำลังพลทุกคน ต้องผ่านการศึกษาหลักสูตรเจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำรถเกราะ

ตลอดจนหลั ก สู ต รรบพิ เ ศษ เช่ น หลั ก สู ต รจู ่ โ จม หรือ หลักสูตรส่งทางอากาศ เป็นต้น โดยก�ำลังพล ทั้งหมดจะต้องผ่านการศึกษาหลักสูตร จนท.ประจ�ำ รถเกราะ เพิ่ ม เติ ม อี ก จึ ง จะสามารถปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ในหน่วยนี้ได้ ด้านระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ และคุณลักษณะ ประจ�ำรถเกราะทั้งสองแบบที่มีอยู่ในกองทัพอากาศ ถือว่ามีสมรรถนะทีส่ งู มาก แม้กองทัพอากาศจะได้รบั บรรจุมาแล้วหลายปีก็ตาม แต่ยานเกราะทั้งสองแบบ ก็ยังปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยรถเกราะ คอมมานโด V – 150 บรรจุใน ทอ. เมือ่ ๒๖ ม.ค.๒๒ ผลิตโดยบริษทั แคดิแลค เกจ ณ เมือง วอเรน รัฐมิชแิ กน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเร็วสูงสุดบนถนน ๘๙.๖ กม./ชม. สามารถไต่ลาดตรงได้สูงสุด ร้อยละ ๖๐ ไต่ลาดข้างได้รอ้ ยละ ๓๐ ข้ามเครือ่ งกีดขวางทางดิง่ ได้ ๙๑ ซม.รัศมีเลี้ยว ๑๕ ม.ระยะปฏิบัติการบนถนน ๘๐๐ กม.ระยะปฏิบัติการในภูมิประเทศ ๖๔๐ กม. ความเร็วในน�้ำ ๔.๘ กม./ชม.รัศมี เลี้ยวในน�้ำ ๘ เมตร มีระบบอาวุธ ได้แก่ ปืนกล ๕๐ นิว้ จ�ำนวน ๑ กระบอก ปืนกล ๗.๖๒ มม. จ�ำนวน ๑ กระบอก ท่อยิงลูกระเบิด ขนาด ๗๖ มม. จ�ำนวน ๑๒ ท่อยิง อ่านต่อฉบับหน้า

รถเกราะ V – 150


ข าวทหารอากาศ

39

ครูภาษาพาที Mr. Know It All

คําศัพท และสํานวนภาษาอังกฤษที่คนไทยใช กันอย างผิด ๆ ๑. “fat” และ “plump” เรื่องอ้วน ๆ ที่ชวนปวดหัว หากดูความหมายในพจนานุกรมแล้วจะพบว่าทัง้ “fat” (/แฟท/) และ “plump” (/พลัมพฺ/) ต่างก็หมายถึง “เจ้าเนือ้ ” หรือ “อ้วน” ด้วยกันทัง้ คูจ่ นท�าให้คนไทยจ�านวนไม่นอ้ ย หรือแม้กระทั่งฝรั่งเจ้าของภาษาเองต่างก็เข้าใจว่า ทั้งสองค�านี้สามารถใช้แทนกันได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าเมื่อเราได้ยินประโยคตัวอย่างข้างล่างนี้ อาจรู้สึกแปลกใจ เช่น ตัวอย่างประโยค - Naengnoi’s youngest brother is so cute. He is fat with a lovely round face. - น้องชายคนสุดท้องของแน่งน้อยน่ารักเหลือเกิน เขาอ้วนและมีใบหน้ากลมน่ารัก หากจะกล่าวให้ถกู ต้องแล้วแม้วา่ ทัง้ “fat” และ “plump” มีความหมายคล้ายคลึงกันแต่ “fat” จะหมายถึง “อ้วนในแบบที่น่าเกลียดไม่น่ามอง” เป็นค�าที่ให้ความหมายในเชิงลบ ตัวอย่างประโยค - You will get fat if you eat too much. - คุณจะอ้วนหากกินมากจนเกินไป ในขณะที่ “plump” จะหมายถึง “อ้วนแบบท้วม ๆ จ�้าม�่า” ถึงจะอ้วนแต่ก็อ้วนแบบได้สัดส่วน เป็นค�าที่ให้ความหมายในเชิงบวก ตัวอย่างประโยค - Suda’s son has plump cheeks. - ลูกชายของสุดามีแก้มจ�้าม�่าน่ารักน่าชัง เพื่อให้ถูกต้องตามความหมายที่ผู้พูดต้องการประโยคตัวอย่างข้างต้นควรแก้ไขเป็น - Naengnoi’s youngest brother is so cute. He is plump with a lovely round face. - น้องชายคนสุดท้องของแน่งน้อยน่ารักเหลือเกินเขามีรูปร่างจ�้าม�่าและมีใบหน้ากลมน่ารัก ๒. ไม่พูดว่า “Today the air is fine.” หากต้องการสื่อว่า “วันนี้อากาศดี” เราจะไม่ใช้ค�าว่า “air” วันนี้เป็นวันแรกที่แน่งน้อยได้มีโอกาสพบกับปีเตอร์เพื่อนชาย ที่เธอติดต่อทางจดหมายมาเป็นเวลานานเนื่องจากแน่งน้อยไม่ค่อยเก่ง ภาษาอังกฤษ เธอจึงต้องการทีจ่ ะเพิม่ ความมัน่ ใจให้กบั ตัวเองเพือ่ ให้พร้อม ส�าหรับการพบกับปีเตอร์ครัง้ แรก แน่งน้อยเสียเงินไปจ�านวนหนึง่ เพือ่ เข้าเรียน หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยเน้นด้านการสนทนาเป็นหลัก


40

เมือ่ วันนัดมาถึงแน่งน้อยและปีเตอร์ได้พบกัน หลังจากทีท่ กั ทายถามสารทุกข์สกุ ดิบกันเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว แน่งน้อยก็รวบรวมความกล้าชวนเพื่อนของเธอคุยเรื่องทั่วไป เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ เธอกล่าวว่า “Today the air is fine, isn’t it?” (มี question tag ตามที่ครูไทยสอน) แต่น่าเสียดายแทนที่เพื่อนชายจะตอบกลับ เขากลับเงียบไปพักใหญ่ด้วยความงุนงง คนไทยจ�ำนวนไม่น้อยมักสับสนระหว่าง “air” (/แอรฺ/) และ “weather” (/เวทเธอะ/) เมื่อพวกเขา ต้องการที่จะพูดถึงอากาศหรือสภาพอากาศ เนื่องจากเข้าใจว่าค�ำทั้งสองมีความหมายที่เหมือนกันสามารถ ใช้แทนกันได้ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง “air” หมายถึง “อากาศที่เราหายใจเข้าไป หรืออากาศที่ห่อหุ้มโลก” ตัวอย่างประโยค - The air in this room is quite fresh. - อากาศในห้องนี้สดชื่นทีเดียว - Air is necessary for life. - อากาศส�ำคัญต่อชีวิต ในขณะที่ค�ำว่า “weather”หมายถึง“สภาพดินฟ้าอากาศในขณะใดขณะหนึ่ง” ตัวอย่างประโยค - How is the weather today? - วันนี้อากาศเป็นอย่างไรบ้าง - The weather in Bangkok nowadays is very hot. - สภาพอากาศในกรุงเทพฯ ปัจจุบันร้อนมาก ดังนัน้ ประโยคทีแ่ น่งน้อยต้องการทีจ่ ะพูดกับเพือ่ นชายของเธอจึงควรเป็น “Today the weather is fine, isn’t it?” ๓. ว่าด้วยเรื่องของ “อาหาร” เมื่อพูดถึงค�ำว่า “อาหาร” ในภาษาอังกฤษแล้วผู้เขียนเชื่อว่า คนจ�ำนวนไม่นอ้ ยจะนึกถึงค�ำว่า “food” ขึน้ มาเป็นค�ำแรกและอาจ เป็นค�ำสุดท้าย แท้จริงแล้วค�ำว่าอาหารในภาษาอังกฤษมิได้มีแค่ ค�ำว่า “food” เพียงอย่างเดียวแต่มีค�ำเรียกที่หลากหลายอีกทั้ง มีความหมายที่แตกต่างกันด้วย ค�ำว่า “food” (/ฟู้ด/) แปลว่า “อาหาร” เป็นค�ำกลาง ๆ ที่ใช้ได้ทั่วไป ตัวอย่างประโยค - The food in that restaurant is quite expensive. - อาหารในภัตตาคารนั้นแพงเอาการทีเดียว ส่วนค�ำว่า “foodstuffs” (/ฟู้ดสตัฟสฺ/) ก็แปลว่า “อาหาร” เช่นเดียวกัน แต่เป็นอาหารที่อยู่ในรูปของ วัตถุดิบโดยศัพท์ค�ำนี้จะปรากฏในรูปพหูพจน์เสมอ ตัวอย่างประโยค - Foodstuffs are getting more expensive. - วัตถุดิบมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ


ข าวทหารอากาศ

41

ส�าหรับค�าว่า “meal” (/มีล/) จะหมายถึง “อาหารหรือปริมาณของอาหารทีเ่ รากินเข้าไปในแต่ละครัง้ ” หรือ “อาหารแต่ละมื้อ” ถือเป็นค�านามนับได้ ตัวอย่างประโยค - I always have the evening meal after 6 p.m. - ฉันกินอาหารเย็นหลังหกโมงเย็นเสมอ - Fat Charlie has at least four meals a day. - เจ้าอ้วนชาร์ลีกินอาหารอย่างน้อยสี่มื้อต่อวัน ๔. “Have lunch” หรือ “eat lunch” ถึงจะถูก เมือ่ พูดถึงค�าศัพท์ทกี่ ล่าวถึงการกินหรือการรับประทานแล้ว ผูเ้ ขียน ก็นกึ ถึงค�าทีม่ กั ได้ยนิ อยูบ่ อ่ ย ๆ ซึง่ ก็คอื ค�าว่า “eat” และ “have” คนจ�านวนไม่น้อยใช้สองค�านี้แทนกัน โดยเข้าใจว่าหากแปลว่า กิน หรือรับประทานแล้ว จะสามารถใช้แทนกันได้ ท�าให้เกิดความสับสนว่า แท้จริงแล้วควรใช้คา� ไหนกับอะไรจึงจะถูกต้องทีส่ ดุ ค�าว่า “eat” (/อีท/) หมายถึง กินหรือรับประทาน โดยทั่วไปเป็นการกล่าวถึงกริยาการ น�าอาหารใส่เข้าปากเคี้ยวแล้วกลืน ตัวอย่างประโยค - Charlie is fat because he eats a lot. - ชาร์ลีอ้วนเพราะเขากินจุ - The doctor advised his patient to eat more fresh vegetables and fruit. - หมอแนะน�าให้คนไข้ของเขากินผักและผลไม้สดให้มากขึ้น ในขณะที่ “have” นอกจากจะแปลว่า “มี” แล้วยังแปลว่า “กิน” หรือ “รับประทาน” ได้อีกด้วย และยังมีความสุภาพมากกว่าค�าว่า “eat” เมื่อน�ามาใช้กับความหมายว่า “กิน” หรือ “รับประทาน” นิยมใช้ น�าหน้าชื่อมื้ออาหารต่าง ๆ เช่น breakfast (/เบรคฟาสทฺ/) (อาหารเช้า) lunch (/ลันชฺ/) (อาหารกลางวัน) dinner (/ดินเนอรฺ/) (อาหารเย็น) supper (/ซัพเพอรฺ/) (อาหารมื้อสุดท้ายของวัน) ตัวอย่างประโยค - What time do you usually have dinner? - ปกติคุณกินอาหารเย็นตอนกี่โมง - Sunee had her breakfast at seven sharp. - สุนีกินอาหารเช้าตอนเจ็ดโมงตรง - It’s time to knock off, let’s have lunch. - ได้เวลาเลิกงานแล้วไปกินข้าวกลางวันกันเถอะ ดังนั้นในคราวต่อไปเมื่อคุณต้องการชวนใครสักคนไปกินอาหารกลางวันให้เปลี่ยนจาก “eat lunch” มาเป็น “have lunch” จะเหมาะสมกว่า


42

๕. กินยาควรจะใช้ “takemedicine” หรือ “eat medicine”? เมือ่ พูดถึงการกินหรือการรับประทานแล้วคนจ�ำนวนไม่นอ้ ยถามผูเ้ ขียนว่าเมือ่ เราใช้ “eat” กับกริยาการน�ำอาหารเข้าปากเคี้ยวแล้วกลืนหากเราต้องการที่จะพูดว่ากินยาจะ พูดว่า “eat medicine” ได้หรือไม่ค�ำตอบก็คือไม่ได้อย่างเด็ดขาด แม้ว่า “eat” จะเป็นการกล่าวถึงกริยาน�ำอาหารเข้าปากเคี้ยวแล้วกลืนก็ตามแต่เมื่อต้องการพูดถึงกิน ยารักษาโรคเพือ่ ให้หายป่วยแล้วให้ใช้ “take” เท่านัน้ “take” ในความหมายทัว่ ไปจะหมายถึง “หยิบ หรือ น�ำ” แต่เมื่อพูดถึงการกินยาแล้วให้ใช้ “take medicine” จะใช้อย่างอื่นไม่ได้ ตัวอย่างประโยค - Peter takes some medicine when he has a fever. - ปีเตอร์กินยาเมื่อเขาเป็นไข้ - Scotch took medicine as directed in the medical instruction. - สกอตช์กินยาตามที่สั่งไว้ในค�ำแนะน�ำในการใช้ยา ๖. “Eat” ไม่ได้แปลว่า “กิน” เท่านั้น ความหมายดั้งเดิมของ “eat” เมื่อเป็นค�ำกริยาจะหมายถึง “กินหรือรับประทาน” แต่ในบางกรณีกลับแปลว่า “โกรธ” ตัวอย่างประโยค - Being betrayed by her beloved, the poor lady ate him for breakfast. - เมื่อถูกคนรักหักหลัง สุภาพสตรีที่น่าสงสารโกรธคนรักของเธอมาก หากแปลความหมายตามตัวอักษรจะได้ความว่า เมื่อถูกคนรักหักหลังสุภาพสตรีที่น่าสงสารจึงกินเขา เป็นอาหารเช้าคนฟังคงไม่เข้าใจและอาจตีความหมายของประโยคดังกล่าวไปคนละทิศคนละทางกับ ความหมายที่แท้จริง อันที่จริงแล้ว “To eat somebody for breakfast” เป็นส�ำนวนที่แปลว่า “โกรธใคร บางคนมากจนลมออกหู” โกรธขนาดที่ว่าสามารถกินเลือดกินเนื้อกันได้เลยดังนั้นประโยคดังกล่าวจึงแปลว่า “เมื่อถูกคนรักหักหลัง สุภาพสตรีที่น่าสงสารจึงโกรธคนรักของเธอมาก” นั่นเอง ส่วนส�ำนวน “To eat one's heart for the defeat.” จะหมายถึง “ทุกข์ทรมานใจกับความพ่ายแพ้” ตัวอย่างประโยค - Realizing that Snow White is still alive, the merciless queen eats her heart out for the defeat. - เมื่อรู้ว่า สโนไวท์ยังมีชีวิตอยู่ ราชินีใจร้ายทุกข์ทรมานใจด้วยความพ่ายแพ้ เป็นอย่างไรกันบ้างกับค�ำศัพท์และส�ำนวนภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันอย่างผิด ๆ ผู้เขียนหวังว่า ผู้อ่าน จะรูส้ กึ เพลิดเพลินไปกับสิง่ ทีผ่ เู้ ขียนได้นำ� เสนอในครัง้ นี้ ในโอกาสหน้า ผูเ้ ขียนจะน�ำเสนอค�ำศัพท์และส�ำนวน ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันอย่างผิด ๆ ที่น่าสนใจต่อไป

อ้างอิง - https://www.scholarship.in.th/100-idiom-english/ - https://www.wallstreetenglish.in.th - http://www.natui.com.au/


ข าวทหารอากาศ

43

๓ ตุลาคม ๒๕๖๓ วันคล้ายวันสถาปนา ส�านักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ครบ ๓๔ ป ปชส.สตน.ทอ.

ด้วยวิสัยทัศน์อันแน่วแน่ของกองทัพอากาศ ในการพัฒนาสู่ “กองทัพอากาศชั้นน�าในภูมิภาค (One of The Best Air Forces in ASEAN)” สอดคล้องตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ โดยเสริมสร้าง ขี ด ความสามารถให้ ส อดคล้ อ งกั บ สภาวการณ์ ทีเ่ ปลีย่ นแปลง และเน้นวางรากฐานการพัฒนาทุกด้าน อย่างสมดุล เพื่อเป็นกองทัพอากาศที่ปฏิบัติภารกิจ ได้อย่างชาญฉลาดและมีความยัง่ ยืน กอปรกับให้ความ ส�าคัญกับการพัฒนาหน่วยงานภายในกองทัพอากาศ ให้เกิดการขับเคลื่อนโดยใช้ความรู้ และมีมาตรฐาน ก�ากับทีเ่ หมาะสม “การตรวจสอบภายใน” ได้เข้ามา เป็นกระบวนการส�าคัญ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้การ ปฏิ บั ติ ง านในทุ ก ระดั บ ของกองทั พ อากาศ บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ สู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุม้ ค่าผ่านการบริหารความเสีย่ ง การควบคุมภายใน และการก�ากับดูแลที่ดี รวมทั้ง

การช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานให้สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการวิเคราะห์ ประเมิน ให้ค�าปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะและข้อมูล เพื่อพัฒนา ศักยภาพในการปฏิบัติงานและสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ หน่วยงาน ส� า นั ก งานตรวจสอบภายในทหารอากาศ (สตน.ทอ.) มี ส ายการบั ง คั บ บั ญ ชาขึ้ น ตรงต่ อ ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ โดยมีผอู้ า� นวยการส�านักงาน ตรวจสอบภายในทหารอากาศเป็ นผู ้ บัง คั บบั ญ ชา รั บ ผิ ด ชอบ ซึ่ ง แต่ เ ดิ ม มี ฐ านะเป็ น กองขึ้ น อยู ่ กั บ กรมการเงินทหารอากาศ และส�านักงานปลัดบัญชี ทหารอากาศตามล�าดับ และเมือ่ วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๙ ได้สถาปนาส�านักงานตรวจบัญชีทหารอากาศ เป็นหน่วย ขึน้ ตรงกองทัพอากาศ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๒ เปลีย่ น ชื่อเป็น ส�านักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ จนถึงปัจจุบัน


44

ปัจจุบนั ส�ำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ได้ ด� ำ เนิ น การตรวจสอบภายในตามหลั ก เกณฑ์ กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ ปฏิบัติการตรวจสอบภายในส�ำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ โดยการปฏิบตั งิ านครอบคลุม ๒ งานหลัก ๑. งานบริ ก ารให้ ค วามเชื่ อ มั่ น เป็ น งานที่ ครอบคลุมการตรวจสอบ ๖ ประเภท ได้แก่ การตรวจสอบ ทางการเงิน การตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามกฎ ระเบียบ การตรวจสอบผลการด�ำเนินงาน การตรวจสอบการ ปฏิบตั งิ าน การตรวจสอบการบริหาร และการตรวจสอบ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒. งานบริการให้คำ� ปรึกษา เป็นการให้คำ� ปรึกษา เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งในลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ งานบริ ก าร ให้ความเชื่อมั่น แต่จะมุ่งเน้นการให้ข้อเสนอแนะ การปรับปรุงประสิทธิภาพการท�ำงานและการบริหาร ทรัพยากรให้คุ้มค่า รวมถึงการให้ทางเลือกที่เป็น ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

ในด้านการพัฒนาหน่วยงาน ส�ำนักงานตรวจสอบ ภายในทหารอากาศ ได้ น� ำ นโยบายผู ้ บั ญ ชาการ ทหารอากาศ เรื่อง Digital Air force การด�ำเนินการ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างเสริมสมรรถนะและ ความพร้อมในการป้องกันประเทศ กลยุทธ์ที่ ๒.๑๔ เสริ ม สร้ า งกองทั พ อากาศให้ เ ป็ น องค์ ก รแห่ ง การ เรียนรูเ้ ข้าสูก่ ารปฏิบตั ใิ น ๓ ประการ ประการแรก คือ ระบบงาน ต้ อ งด� ำ เนิ น การตามมาตรฐานตามที่ กรมบัญชีกลางก�ำหนด ผ่านการประเมินพร้อมจัดท�ำ แผนพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง ประการทีส่ อง คือ บุคลากร ต้องมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และได้รับการ พัฒนาผ่านหลักสูตรและกระบวนการจัดการความรู้ และประการสุดท้าย คือ เครื่องมือและเทคโนโลยี ในการตรวจสอบ ที่ช่วยพัฒนาการตรวจสอบภายใน ของกองทัพอากาศให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถช่ ว ยคั ด กรอง วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เพื่ อ สร้ า ง ความเชื่อมั่นให้กับผู้บังคับบัญชาและหน่วยรับตรวจ


ข่าวทหารอากาศ

ในรอบปีที่ผ่านมา ส�ำนักงานตรวจสอบภายใน ทหารอากาศ ได้ท�ำการตรวจสอบและประเมินผล การปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจต่าง ๆ ตามแผน การตรวจสอบภายในประจ� ำ ปี มี ข ้ อ สั ง เกตและ ข้อเสนอแนะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และมีการใช้ เทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ย เข้ า มาช่ ว ยในการตรวจสอบ เพือ่ ให้หน่วยรับตรวจพัฒนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส�ำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ได้ผา่ น การประเมินการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน ภาครั ฐ และได้ รั บ รางวั ล ประกาศเกี ย รติ คุ ณ การประกั น คุ ณ ภาพงานตรวจสอบภายในภาครั ฐ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นหน่วยงาน ตรวจสอบภายในภาครั ฐ ชั้ น แนวหน้ า และมี ส ่ ว น ราชการ องค์กรต่าง ๆ ขอเข้าศึกษาดูงานอย่างต่อเนือ่ ง ในวาระวันคล้ายวันสถาปนาส�ำนักงานตรวจสอบ ภายในทหารอากาศครบรอบ ๓๔ ปี วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๓ นี้ ส�ำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ยังคงมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต และด� ำ รงไว้ ซึ่ ง มาตรฐานการ ตรวจสอบภายในทีม่ ปี ระสิทธิภาพ พร้อมใช้เทคโนโลยี ด้ า นการตรวจสอบมาสู ่ ก องทั พ อากาศในยุ ค ที่ ใ ช้ เครื อ ข่ า ยเป็ น ศู น ย์ ก ลางพร้ อ มมุ ่ ง มั่ น สู ่ วิ สั ย ทั ศ น์ ของหน่วยที่ว่า “เป็นหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ มุ่งเน้นคุณธรรม คุณภาพ คุณค่าเพิ่ม”

45


46

นายเรืออากาศฯ สร างป ญญาไทยในหลักสูตร ระดับปริญญาเอกเป นครั้งแรก พล.อ.ต.ศ.ดร.นพพล หาญกล้า น.อ.ศ.ดร.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง

ในปจจุบนั การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมคี วาม เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีได้ถูกนํามา ประยุ ก ต ใช้ ใ นการวางแผน การบริ ห ารจั ด การ การติ ด ต่ อ สื่ อ สาร และการใช้ ง านต่ า ง ๆ ทั้ ง ใน กองทัพและภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป น ไปได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จะเห็ น ได้ ว ่ า สภาพแวดล้ อ มทางยุ ท ธศาสตร ที่ เ ปลี่ ย นแปลง ประกอบกับการมุ่งเน้นการแข่งขันกันทางเทคโนโลยี ของกองกําลังทางทหารอันเปนเทคโนโลยีปองกัน ประเทศ ได้ ส ่ ง ผลโดยตรงต่ อ ความได้ เ ปรี ย บเชิ ง ยุ ท ธศาสตร แ ละการดํ า เนิ น งานของกองทั พ เปนอย่างมาก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา กองทัพอากาศ เร่ ง การพั ฒ นาและยกระดั บ วิ ท ยาศาสตร แ ละ เทคโนโลยี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง กองทั พ ให้ทันสมัยในมิติต่าง ๆ รวมทั้งในมิติใหม่ นอกจาก มิ ติ กํ า ลั ง ทางอากาศ ได้ แ ก่ มิ ติ ท างอวกาศและ มิติไซเบอร เปนต้น

การวิจัยและพัฒนาถือเปนกระบวนการต้นนํ้า ที่จะนําไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร และเทคโนโลยี อั น จะช่ ว ยเพิ่ ม ขี ด ความสามารถ ด้านการแข่งขันกับนานาชาติและพึ่งพาตนเองได้ หากแต่การพัฒนาทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยี ป  อ งกั น ประเทศของ กองทั พ อากาศส่ ว นใหญ่ มั ก เกิ ด ขึ้ น จากภายนอก กองทัพ ทําให้ไม่สามารถตอบโจทยความต้องการ ของกองทั พ อากาศได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เท่าทีค่ วร โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เปนสถาบันการศึกษาหลักของกองทัพอากาศ ถือว่า เปนแหล่งเริ่มต้นของการศึกษาและวิจัย การพัฒนา การศึกษาภายในกองทัพจึงพยายามมุง่ ขยายขอบเขต ของหลักสูตรจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีไปสู่ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งนี้ เพื่อสร้าง กําลังพลในกองทัพให้มีศักยภาพในการทําวิจัยและ สร้ า งนวั ต กรรมที่ เ ป น ป ญ ญาไทยให้ ส ามารถต่ อ สู ้


ข าวทหารอากาศ

กับภัยคุกคามรูปแบบใหม่และพึ่งพาตนเองได้อย่าง ยั่งยืน จากพั น ธกิ จ ของโรงเรี ย นนายเรื อ อากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช ที่มีหน้าที่หลักคือการผลิต นายทหารสัญญาบัตรให้กับกองทัพอากาศ รวมไปถึง การวิ จั ย และพั ฒ นาเทคโนโลยี ต ามยุ ท ธศาสตร กองทัพอากาศ ๒๐ ป ใน ๓ มิติ ได้แก่ มิติกําลัง ทางอากาศ มิตไิ ซเบอร และมิตอิ วกาศ ซึง่ ทางโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช มีความพร้อม ทางด้านบุคลากร โครงสร้างพื้นฐานและมีศักยภาพ ในการพัฒนาและยกระดับกําลังพลให้ได้เต็มศักยภาพ ในการพั ฒ นากองทั พ และประเทศชาติ ด้ ว ยการ เป ด หลั ก สู ต รเทคโนโลยี ป  อ งกั น ประเทศในระดั บ ปริญญาเอกขึ้นให้สอดรับกับการปฏิรูปการศึกษา

47

ของชาติและการศึกษาของกองทัพ ทั้งนี้ เปนการ ตอบสนองต่ อ ยุ ท ธศาสตร แ ละนโยบายของ กองทั พ อากาศ และสนั บ สนุ น การแก้ ป  ญ หาและ สร้างองคความรู้ใหม่ที่เปนปญญาไทยสําหรับการ ขับเคลื่อน New S-Curve ลําดับที่ ๑๑ ที่อันเปน อุตสาหกรรมปองกันประเทศ และ New S-Curve ลํ า ดั บ ที่ ๑๒ คื อ อุ ต สาหกรรมพั ฒ นาคนและ การศึกษา หลั ก สู ต รปรั ช ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช า เทคโนโลยีปอ งกันประเทศ เปนหลักสูตรพหุวทิ ยาการ ที่จัดทําขึ้นเพื่อสร้างนักวิจัย วิศวกรและนักวิชาการ ที่ มี ค วามรู ้ ค วามสามารถในระดั บ สู ง ได้ ม าตรฐาน คุณภาพเทียบเท่าสากล เพือ่ ตอบสนองความต้องการ การพัฒนาบุคลากรของกองทัพอากาศและประเทศ

ติดตามรายละเอียดในเว็บไซต์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช


48

ส�านักบัณฑิตศึกษา น�านายทหารนักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมการต่าง ๆ

และเพื่ อ สร้ า งผลงานวิ จั ย ที่ เ ป น องค ค วามรู ้ ใ หม่ ด้ า นเทคโนโลยี ป  อ งกั น ประเทศที่ มี คุ ณ ประโยชน ต่อกองทัพ สังคมชาติ สังคมภูมิภาค หรือสังคมโลก โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง องค ค วามรู ้ ที่ เ ป น ฐานป ญ ญา ให้ แ ก่ ป ระเทศที่ ส ามารถพึ่ ง ตนเองได้ ใ นเรื่ อ ง เทคโนโลยีปองกันประเทศ สําหรับการสร้างเสริม กองทัพและอุตสาหกรรมปองกันประเทศให้มีความ เข้มแข็ง ในขณะที่ยังธํารงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและ ความภู มิ ใจในความเป น ชาติ โดยวั ต ถุ ป ระสงค ของหลักสูตรฯ มี ๔ ประการ ดังนี้ ๑. ผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ ในการค้นคว้าวิจัยในระดับสูงและก้าวหน้า สามารถ ติดตามวิชาการด้านเทคโนโลยีปอ งกันประเทศเพือ่ ให้ กองทัพอากาศและประเทศสามารถพึง่ ตนเองได้อย่าง ยั่งยืน อีกทั้งเพื่อให้กองทัพอากาศเปนแหล่งรวม ของนักวิชาการและองคความรูช้ นั้ นําระดับนานาชาติ ทางด้านเทคโนโลยีปองกันประเทศ ๒. พัฒนาองคความรู้ใหม่และนวัตกรรมทาง เทคโนโลยี ป  อ งกั น ประเทศที่ ส ามารถตอบสนอง การแก้ ปญหาและการพัฒนายกระดับกองทัพอากาศ และประเทศตามยุทธศาสตรกองทัพอากาศ ๒๐ ป และยุทธศาสตรชาติ ๒๐ ป ๓. ผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความสามารถในการคิด

ภาพการน�าเสนอวิทยานิพนธ์ ต่อคณะกรรมการการศึกษา

การวิเคราะห การวางแผนและแก้ปญหาในสาขา วิชาชีพได้อย่างเปนระบบและทันสมัย ๔. ผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในสาขาวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม สํานักบัณฑิตศึกษา โรงเรียน นายเรื อ อากาศนวมิ น ทกษั ต ริ ย าธิ ร าช คาดว่ า จะ ทําการเปดรับสมัครนักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีปองกันประเทศรุ่นแรกในช่วง ราวเดือน เมษายน ๒๕๖๔ นี้ สําหรับท่านที่สนใจ ขอให้ตดิ ต่อขอข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ สํานักบัณฑิตศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ที่อยู่ ๑๗๑/๑ ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ โทรศัพท ๐๒-๕๓๔-๘๕๔๑, ๐๒-๕๓๔-๘๕๔๒ และ ๐๒-๕๓๔-๑๙๘๔


ข าวทหารอากาศ

49

เลี้ยงลูกให ดีงาม… เดินตามคําพ อสอน… พุทธรักษา

ในฐานะประชาชนของแผ่นดิน คงไม่มกี ารตอบแทน คุณใดดีไปกว่า การน้อมนําคําสอนของพ่อมาประยุกตใช้ ในชีวติ เพือ่ เปนคนดีให้พอ่ ได้ภมู ใิ จ ผูเ้ ขียนจึงขอน้อมนํา พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพิตร บางส่วนมาสอดแทรกข้อคิดทีเ่ กีย่ วข้องกับการ เลี้ยงดูลูกน้อยให้พ่อ-แม่ได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ • สร้างความเข็มแข็งทางใจให้ลูกน้อย “...เด็ ก ๆ ต้ อ งฝ ก หั ด อบรมทั้ ง กายทั้ ง ใจ ให้เข้มแข็งเปนระเบียบ และสุจริตเพื่อประโยชน์ ของตนในภายภาคหน้า เพราะคนที่ไม่ เข้ มแข็ ง ไม่ ส ามารถควบคุ ม กายใจให้ อ ยู ่ ใ นระเบี ย บและ ความดี ยากนั ก ที่ จ ะได้ ป ระสบความส� า เร็ จ และ ความเจริญอย่างแท้จริงในชีวิต...” ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาทพระราชทานเนื่ อ งในวั น เด็ ก แห่งชาติป ๒๕๒๖ การสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ทางใจให้ ลู ก คื อ ความสามารถในการจั ด การกั บ ป ญ หาและวิ ก ฤติ ของชีวติ ให้สามารถฟน ตัวกลับสูส่ ภาพปกติได้ในเวลา อันรวดเร็ว อีกทั้งเกิดการเรียนรู้และเติบโตจากการ เผชิญหน้ากับปญหาและวิกฤติ พ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถส่งเสริมให้ลูกพัฒนาไปสู่การมีความเข้มแข็ง ทางใจได้ ด ้ ว ยวิ ธี ต ่ า ง ๆ เช่ น ให้ เ ด็ ก ส่ ว นร่ ว มใน ประสบการณต่าง ๆ ที่ทําให้เขาเปนตัวของตัวเอง สอนให้ยอมรับสิ่งที่เขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ พ่อแม่ควรเปนตัวอย่างการพูดคุยด้วยเหตุผลและ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน แม้จะมีความคิดไม่เหมือนกัน ก็ตาม

• เลี้ยงลูกให้มีเสรีภาพ อย่างพอดี “...การมีเสรีภาพนัน้ เปนของทีด่ อี ย่างยิง่ แต่เมือ่ จะใช้ จ�าเปนต้องใช้ดว้ ยความระมัดระวัง ตามความ รับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขา มีอยูเ่ ท่าเทียมกัน ทัง้ มิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพ และความเปนปกติสขุ ของส่วนร่วมด้วย...” พระบรม ราโชวาทในพิธีพระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พ.ศ.๒๕๑๔ ยุ ค นี้ เ ป น ยุ ค ที่ ข ้ อ มู ล ข่ า วสารต่ า ง ๆ ทั่ ว โลก เชื่อมโยงถึงกันอย่างไม่มีขีดจํากัด มีอิสรเสรีในการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น หรือแสดงออกได้ตามเสรี แต่เสรีภาพนั้นเปนการ แสดงออกซึ่งความคิดและการกระทําอยู่ในขอบเขต ทีไ่ ม่ไปล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผูอ้ นื่ คนส่วนใหญ่ เข้าใจว่า เสรีภาพ คือการทําอะไรก็ได้ตามความต้องการ ของตนเองโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เพราะการ “ท�าอะไรก็ได้” แม้จะไม่กระทบต่อส่วนรวมโดยตรง แต่หากส่งผลเสียต่อตัวผู้กระทําเอง ก็ย่อมเกิดผลเสีย


50

ต่อสังคมโดยรวมในทางอ้อมด้วย ควรสอนลูกให้รู้จัก ใช้เสรีภาพอย่างมีขอบเขต และต้องทําควบคู่ไปกับ การฝกระเบียบวินัย เช่น ภายในห้องส่วนตัวของลูก ลูกจะตกแต่งอย่างไรก็ได้ แต่ลกู ก็มหี น้าทีท่ จี่ ะต้องดูแล รักษาให้สะอาดเรียบร้อยด้วย • สอนลูกรักรู้จักใช้เงิน “...การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเปนหลัก ประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและ ครอบครัวช่วยปองกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดั ง กล่ า วนี้ จ ะมี ผ ลดี ไ ม่ เ ฉพาะแก่ ผู ้ ที่ ประหยัดเท่านั้น ยังเปนประโยชน์แก่ประเทศชาติ ด้ ว ย...” พระบรมราโชวาทเนื่องในวั น ขึ้ น ป ใ หม่ พ.ศ.๒๕๐๓ สอนให้ลกู รูค้ ณ ุ ค่าของเงิน และการรูจ้ กั ใช้เงินนัน้ อาจฟงดูเหมือนเปนเรือ่ งยาก แต่จะว่าไปแล้วการใช้เงิน เปนสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นชีวติ ประจําวันของเรา หากเราหาโอกาส ที่ เ หมาะสมในการแสดงให้ เ ห็ น เป น ตั ว อย่ า งและ ค่อยสอน สอดแทรกแนวคิดเรื่องการใช้เงินไปในชีวิต ประจําวัน เด็กก็จะซึมซับได้เองโดยอัตโนมัติ ควรจะ อ้างอิง

สอนตามตามวัย เช่น เรื่องคุณค่าของเงินและมูลค่า ของเหรียญและธนบัตรแต่ละชนิด สอนให้เห็นถึง ความคุ ้ ม ค่ า และการรู ้ จั ก ใช้ เ งิ น และปลู ก ฝ ง นิ สั ย รักการออม รวมทั้งฝกให้ลูกรู้จักวางแผนการใช้เงิน • สอนลูกยอมรับความแตกต่าง อยูอ่ ย่างเข้าใจ “...การท�างานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะให้เปนไป โดยราบรืน่ ปราศจากปญหาข้อขัดแย้ง ย่อมเปนไป ได้ ย ากเพราะคนจ� า นวนมากย่ อ มมี ค วามคิ ด ความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ท่ า นจะต้ อ งรู ้ จั ก อดทนและอดกลั้ น ใช้ ป  ญ ญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกัน ด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุทจี่ ะท�าให้เปนข้อขัดแย้ง โต้เถียง เพือ่ เอาแพ้ เอาชนะกัน แต่เปนเหตุส�าคัญที่จะช่วยให้เกิดความ กระจ่างแจ้ง ทั้งในวิถีทางและวิธีการปฏิบัติงาน...” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.๒๕๔๑ ในสังคมยุคใหม่ มีความหลากหลายทางเชือ้ ชาติ วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ และทัศนคติต่าง ๆ การเรี ย นรู ้ ที่ จ ะยอมรั บ และเข้ า ใจความแตกต่ า ง เหล่านัน้ คือหัวใจสําคัญทีจ่ ะทําให้เรามีชวี ติ อยูใ่ นสังคม ได้อย่างมีความสุข ควรเตรียมลูกให้พร้อมทีจ่ ะเปดกว้าง และมีความอดทนอดกลั้น ยอมรับความแตกต่าง ของป จเจกบุ คคล สอนลู ก ให้ เข้ า ใจและรั บมื อ กั บ ความแตกต่างนั้น คือการเข้าใจว่าคนทุกคนมีสิทธิ ได้รบั การยอมรับ ปฏิบตั แิ ละให้เกียรติอย่างเท่าเทียมกัน

- http://www.palaces.thhttp:/ - http://women.sanook.comai.net/ - manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000106768 - สถาบันสุขภาพเด็กฯ


ข าวทหารอากาศ

51

มุมท องเที่ยว

เส นทางลอยฟ า ไล ล าสายหมอก

“เดินทางผจญภัย แล วผ อนคลายที่ปลายทาง”

ผาแต้ม

ต่อจากฉบับที่แล้ว

สะปน สะปนหมูบ่ า้ นเล็ก ๆ กลางหุบเขาห่างจากบ่อเกลือ ราว ๗ กิโลเมตร มีแม่น�้าสะปนสายเล็กไหลผ่าน ตามริมธารโขดหิน สันเขาจนถึงปลายดอยมีที่พัก และร้านอาหารไว้บริการมากมายแต่สา� หรับผูไ้ ม่ได้จอง ที่พักไว้อย่างผู้เขียนก็ท�าได้แค่ชายตามองเพราะ ที่พักเต็มหมดทุกแห่ง ซึ่งไม่ใช่สิ่งเกินคาดเดานัก ส�าหรับสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อแห่งนี้ การได้ทานข้าวปลาอาหารริมธาร ดูชาวนา ก�าลังหว่านไถ ช่วยให้อาหารมือ้ นีพ้ เิ ศษและมีคณ ุ ค่า แก่การได้มาสัมผัสอย่างแท้จริงทิวเขายังคงขาวไปด้วย สายหมอก เกสรดอกไม้ปาปลิวไสวไปตามแรงลม บ่งบอกว่าคืนนี้ฝนอาจจะตก อากาศที่นี่บริสุทธิ์ จนได้ รั บ การยกย่ อ งว่ า เป็ น แหล่ ง โอโซนชั้ น ดี ของไทย บนยอดเนินสูงมีวัดสะปนตั้งอยู่ มีลาน กางเต็ น ท์ แ ละจุ ด ชมวิ ว ที่ ม องเห็ น ทิ ว ทั ศ น์ ไ ด้ รอบหมู่บ้าน ในที่สุดผู้เขียนก็หาที่พักได้ที่ภูพญา รีสอร์ทซึง่ ตัง้ อยูป่ ลายสายน�า้ ตกสะปน ซึง่ ได้ยนิ เสียง น�้าใสไหลซ่าซ่าทั้งคืนค�่าคืนนั้นฝนเทกระหน�่าลงมา

อย่างหนักจนต้องถามตัวเองว่าจะเป็นอย่างไรหาก เจอฝนเช่ น นี้ ร ะหว่ า งเดิ น ทาง ผู ้ เ ขี ย นนอนคิ ด ใคร่ครวญจนหลับไปแต่ค�าตอบมาในรูปสายหมอก ยามเช้าก่อนสลายหายไปในสายแดดการเดินทาง ก็เช่นนั้น หากต้องเปยกฝนก็แห้งได้ อันที่จริงแล้ว ต้องขอบคุณฟ้าฝนด้วยซ�้าที่ตกลงมาไม่อย่างนั้น คงไม่ มี โ อกาสได้ เ ห็ น ทะเลหมอกและมวลน�้ า ตก สะปนในเช้านี้ น�้าตกสะปน แม่นา�้ สะปนคลุม้ คลัง่ ไปด้วยน�า้ ปาแดงฉาดฉาน ไหลเชีย่ วกราก ผ่านทุง่ น่าเขียวขจีทเี่ กีย่ วรวงรับน�า้


52

อย่างเงียบสงบ ไม่ไกลจากหมู่บ้านสะปันนักมีทางขึ้น ไปชมน�้ำตกสะปันที่อยู่บนเนินเขาสูง ระหว่างทาง ผู้เขียนพบหญิงชราสองท่านก�ำลังเก็บเห็ดป่าตามวิถี พึง่ พาธรรมชาติ การแต่งกายบ่งบอกถึงความนอบน้อม ต่อพงไพรของชาวล้านนารุ่นเก่า ที่ยังคงรักษาขนบ ธรรมเนียมการแต่งกายนีไ้ ว้ หลังจากเดินตามคุณยาย ทั้ ง สองขึ้ น เนิ น ไปเรื่ อ ย ๆ สั ก พั ก ก็ ม าถึ ง ทางแยก ท่านได้ชี้มือบอกให้ไปอีกทางเพื่อขึ้นไปชมน�้ำตก จุดชมวิวสายน�้ำตกที่คลาสสิคที่สุดคงต้องยกให้ สะพานเหล็ก ที่แวดล้อมไปด้วยหมู่แมกไม้เขียวขจี บรรยากาศเงียบสงัดจนรูส้ กึ สงบเสียงธารน�ำ้ ไหลกระทบ โขดหินดังซ่า ๆ สายน�ำ้ ป่าไหลแรงเร็วจนดูนา่ กลัวแต่ก็ ดึงดูดให้นกั ท่องเทีย่ วเข้ามาชมราวกับต้องมนต์สะกด น�ำ้ ตกสะปันมีสามชัน้ อยูห่ า่ งกันลดหลัน่ ลงไปความสูง แต่ละชัน้ ราว ๑๕ เมตร มวลน�ำ้ ป่าสีแดงไหลลงกระแทก โขดหินเสียงดัง ซัดสาดก้อนหินสีเขียวด้วยตะไคร่น�้ำ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นดัง่ สายพิณธารส่งเสียงกังสดาลยามมวลน�ำ้ กระทบโขดหิน น่านในฤดูฝนจึงเป็นช่วงเวลาที่น�้ำตก ได้ บ รรเลงเพลงธรรมชาติ ใ ห้ เ ราได้ ส ดั บ ขั บ ขาน เมื่อปล่อยอารมณ์เพลิดเพลินไปกับน�้ำตกจนเต็มอิ่ม แล้ ว ก็ ถึ ง เวลาที่ ต ้ อ งออกเดิ น ทางสู ่ ถ นนลอยฟ้ า สายบ่อเกลือ – ปัว ถนนลอยฟ้า ๑๗๑๕ ก่อนออกเดินทางไปอ�ำเภอปัวผู้เขียนเติมความ เชือ่ มัน่ ลงจนเต็มถังน�ำ้ มันรถ เพราะแม้ Yamaha XSR 155 จะเป็นรถมอเตอร์ไซด์ที่มีคุณสมบัติท�ำให้อุ่นใจ ได้ทกุ สภาวการณ์ แต่ประสบการณ์สอนให้รวู้ า่ อย่าไว้ใจ ภูเขา เมือ่ ขับทะยานโฉบเฉีย่ วฝ่าละอองฝน ฝ่าหมอกขาว ไปตลอดทางวิสัยทัศน์การมองเห็นค่อนข้างเป็นศูนย์ ท�ำให้ตอ้ งขับอย่างระมัดระวัง แต่ความงามของทะเลหมอก ข้างทางก็ช่วยให้การขับรถมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น นาน ๆ ที จะมีแสงไฟรถสลัว ๆ ตัดสายหมอกผ่านมาสักคัน หมู่บ้านเล็ก ๆ ในสายหมอกจาง ๆ แห่งหนึ่งเงียบสงัด จนชวนให้คิดถึงภาพยนตร์เรื่อง Silent Hill หมู่บ้าน ทีป่ กคลุมไปด้วยหมอกควันไฟและฝูงภูตผี อันเกิดจาก อ�ำนาจมนต์ด�ำของแม่มด แต่นั่นเป็นเพียงภวังค์ของ

ผูเ้ ขียนบนถนนกลางป่าเขาเพียงล�ำพัง ละอองน�ำ้ เกาะ หน้ากากหมวกกันน็อกเริ่มหนาขึ้นเรื่อย ๆ ท�ำให้ต้อง ปัดออกอยู่บ่อยครั้ง จนต้องภาวนาอย่าให้มีฝนตกลง มาเลย มวลละอองน�ำ้ ซัดสาดหนาขึน้ เรือ่ ย ๆ ตามระดับ ความสูงของภูเขา แต่กช็ ว่ ยให้ตนื่ ตัวตลอดเวลา ในทีส่ ดุ ก็มาถึงจุดชมวิว ๑๗๑๕ ได้พกั หายใจหายคอ หลังจาก ใจหายใจคว�่ำกับถนนที่คดเคี้ยวเลี้ยวลด จนท�ำเอา แขนเกร็งไปหมด จุดชมวิวริมหน้าผาแห่งนีท้ ำ� เอาผูเ้ ขียน แทบหยุดหายใจเมื่อเห็นภาพที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า นั่นคือ ขุนเขาไร้แผ่นดิน เหมือนกับล่องลอยอยู่เหนือ ทะเลหมอก ราวกับฉากภาพยนตร์เรื่องอวตาร ณ จุดสิ้นสุดทางลงภูเขามีส�ำนักพญาภูคาตั้งอยู่ ข้างทาง รูปสลักของพญาภูคามีขนาดเท่าคนจริง นั่ ง ถื อ ดาบปิ ด แผ่ น เปลวทองเหลื อ งอร่ า มทั้ ง ตั ว มี ป ระวั ติ เ ล่ า ขานกั น มาตั้ ง แต่ ค รั้ ง สุ โ ขทั ย ยั ง เป็ น ราชธานีว่า พญาภูคาเป็นเจ้าเมืองปัวคนแรกที่ก่อร่าง สร้างเมือง ขยายอาณาเขต ท�ำนุบ�ำรุงพุทธศาสนา และปกครองบ้านเมืองได้อย่างมั่นคง ทุกปีชาวบ้าน


ข่าวทหารอากาศ

จะท�ำพิธบี ชู าท่านจนเป็นประเพณีสบื มา เมือ่ ขับรถมา เจอเจ้าบ้านเจ้าเมืองเข้าโดยบังเอิญ ผู้เขียนจึงแวะ กราบสักการะดวงวิญญาณของท่านอย่างที่คนไทย นิยมกระท�ำกันคือ “ไปลา มาไหว้” วัดภูเก็ต ก�ำแพงดินวัดสูงชันท�ำให้นกั ท่องเทีย่ วชายตาขึน้ ไปมองด้วยความสงสัยว่า เหตุใดจึงสร้างก�ำแพงวัด ราวกับป้อมปราการธรรมชาติเช่นนี้ เมื่อปีนบันไดขึ้น ไปดูจงึ ทราบค�ำตอบจากหญิงชราในท้องถิน่ ท่านหนึง่ ว่า เมือ่ ร้อยกว่าปีกอ่ นเคยเกิดมหาอุทกภัยใหญ่ทว่ มเมือง น่านท�ำให้ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดบนเนินสูง จนกลายเป็นที่มาของชื่อวัดกล่าวคือ ชาวบ้านเก็ต สร้างวัดบนเนินเขา ชาวเหนือเรียกเนินว่า ดอย หรือ ภู จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดภูเก็ต” นับแต่นั้นมา จากกระท่อมน้อยกลางทุ่งนาเขียวขจีก็พัฒนา เป็นร้านกาแฟฮักนาไทลื้อ ถัดไปคือทิวเขารายล้อม หมูบ่ า้ นก่อเกิดเป็นทัศนียภาพงามตายามเย็น ยามเช้า มีหมอกขาวปกคลุมนักท่องเที่ยวจึงได้รอชมรุ่งอรุณ แห่งปราการศาสนาสถานภายใต้สายหมอก วัดศรีมงคล (วัดก๋ง) ตลาดนัดทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ในวัด เหมาะเป็นค�ำเปรียบเปรยถึงวัดศรีมงคล หรือวัดก๋ง แห่งนีเ้ พราะมีการขุดพบโบราณวัตถุจำ� นวนมากท้ายวัด และมีผู้น�ำศิลปวัตถุโบราณอีกหลายชิ้นมาถวายเป็น มรดกส่วนรวม วัดนีจ้ งึ ละลานตาไปด้วยผูค้ นมาเทีย่ วชม ราวกับเป็นงานวัดที่ไม่มีวันเลิกรา

53

แสงสาตราคมยังคงวาววับในตูโ้ ชว์ภายในอาคาร พิพิธภัณฑ์มงคลธรรมรังสี บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ การรบพุง่ ของชาวล้านนา เสือ้ ยันต์ เกราะ หอก โล่ ดาบ และข้าวของเครือ่ งใช้โบราณอีกมาก แทนค�ำบรรยาย ได้นับหมื่นอักษรนอกต�ำราเรียน ชั้นสองของอาคาร เป็นพืน้ ทีเ่ ก็บมรดกธรรมของหลวงปูค่ รูบาก๋ง หรือพระครู มงคลรังสี พระสงฆ์ทชี่ าวบ้านในแถบนีต้ า่ งให้ความเคารพ นับถือในพระวิทยาณุคณ ุ ของท่าน โดยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ความศรัทธาของชาวบ้านก๋งได้นมิ นต์หลวงปูม่ าอยูป่ ระจ�ำ ทีว่ ดั ซึง่ ขณะนัน้ เป็นวัดร้าง ไม่กคี่ นื หลังจากท่านเข้ามาอยู่ ก็ได้พบกับเหล่าดวงวิญญาณมาชีจ้ ดุ ฝังสมบัตทิ ปี่ กปัก รักษาไว้ และมอบถวายให้ทา่ นเก็บรักษาต่อไป การขุดพบ ตามค�ำผีบอกสร้างแรงศรัทธาแก่สาธุชน ช่วยกันท�ำนุบำ� รุง ศาสนสถานจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญของ อ�ำเภอท่าวังผาในที่สุด ความงดงามของอารามวัดในสถาปัตยกรรม ล้านนาประดับประดาด้วยธงตุง ร่มหลากสี ทิวทัศน์ ทุง่ นาเขียวขจี และระลอกคลืน่ สันเขาทอดตัวยาวไกล เป็ น ความศิ วิ ไ ลซ์ ท างธรรมชาติ ที่ ช ่ ว ยเชิ ด ชู ม รดก ทางวัฒนธรรมให้ดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ท�ำให้ ประทับใจมากคือนางร�ำ (ช่างฟ้อน) วัยละอ่อน หน้าตา สะสวย แขนเรียวงาม ส่งยิ้มหวาน ก�ำลังฟ้อนหาทุน การศึกษาอยู่ในบริเวณวัด ท�ำเอาฝากหัวใจไว้ที่น่าน ไปอีกนานทีเดียว ร้านกาแฟบ้านไทลื้อ ไม่มีการเดินทางใดไม่มีการหยุดพัก ร้านกาแฟ


54

เป็นอีกหนึง่ จุดหมายของการเดินทางไกลทีไ่ ม่แน่นอน ของนักเดินทาง แต่ส�ำหรับร้านกาแฟบ้านไทลื้อแล้ว ถือเป็นกรณียกเว้น เพราะร้านนีม้ ขี องดีเมืองปัวทีค่ วรค่า แก่การแวะชมนั่นคือ ร้านผ้าทอไทลื้ออาหารพื้นเมือง และชมเครือ่ งประดับเงินของชาวไทลือ้ เรียกว่ามีสนิ ค้า พืน้ บ้านอาหารพืน้ เมืองให้นกั ท่องเทีย่ วได้ทศั นา ซือ้ หา และอิ่มอร่อยได้ในที่เดียว ร้านกาแฟบ้านไทลื้อเป็นโรงนาตั้งอยู่ในทุ่งนา มีกระท่อมน้อยเชื่อมต่อกันด้วยสะพานไม้ให้คู่รัก หนุม่ สาวได้ดมื่ ด�ำ่ กาแฟท่ามกลางภาพวิถชี าวนาก�ำลัง ด�ำนา หว่านไถ ขณะที่ผู้เขียนเดินตรงไปยังเคาท์เตอร์ กาแฟได้แหวกผ้าสไบไทลือ้ หลากสีทปี่ ระดับสะพานออก ก็ได้สบตากับหญิงงามนางหนึง่ เข้าโดยบังเอิญ ปกติแล้ว เวลาดื่มกาแฟหัวใจจะไม่สั่น แต่นาทีนั้นหัวใจเต้น ตูมตามยังกับมีอาการกาแฟดีด จึงแสร้งเข้าไปขอเธอ ช่วยถ่ายรูปให้ และไม่พ้นขอถ่ายรูปคู่กับเธอด้วย ซึ่งเธอเองก็ยินดีอย่างขวยเขิน บางทีมิตรภาพดี ๆ ก็มกั เกิดขึน้ ได้เสมอระหว่างการเดินทางแต่จะสานต่อ ได้หรือไม่กข็ นึ้ กับศิลปะการชงน�ำ้ ค�ำและลิขติ ฟ้าชะตาฝน จะอ�ำนวย วังศิลาแลง มีธารน�ำ้ แห่งหนึง่ ฉายาแกรนด์แคนย่อนเมืองปัว นั่นคือ วังศิลาแลง ด้วยภูมิศาสตร์เป็นร่องน�้ำลักษณะ คล้ายปลาเผยอปากให้เห็นซอกหินกว้างราว ๓ เมตร

มีโตรกหินผาเป็นก�ำแพงสูงชันของซอกหิน และมี สายน�้ำกูนไหลกัดเซาะผ่านไปตามร่องน�้ำยาวกว่า ๔๐๐ เมตร สายน�ำ้ เวลานีแ้ ดงขุน่ คลักหมุนวนในวังน�ำ้ ผ่านซอกหินทีแ่ หลมคมราวฟันปลาสลับไปมา หากผูอ้ า่ น นึกภาพไม่ออกให้นกึ ภาพปลาตะเพียนเผยอปากออก ให้เห็นร่องฟันปลา แหละนั่นคือลักษณะของวังศิลา ที่มีสายน�้ำไหลผ่านร่องฟันปลา สายน�้ำ โตรกหิน และผืนป่าแห่งนี้อยู่ไม่ไกลนัก จากร้านฟาร์มเห็ดบ้านหัวน�้ำ จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ทีน่ กั ท่องเทีย่ วควรมาแวะชมสักครัง้ หลังรับประทาน อาหารขณะเดินป่าเข้าไปชมวังศิลาแลงท่านจะได้ยิน เสียงน�ำ้ ไหลรินดังมาแต่ไกล หากเป็นฤดูรอ้ นทีส่ ายน�ำ้ ใส ไหลเย็นท่านสามารถลงไปเล่นน�ำ้ ได้ แต่ในฤดูฝนเช่นนี้ สายน�ำ้ จะคลุม้ คลัง่ ไปด้วยมวลน�ำ้ ป่าแดงก�ำ่ อย่างน่ากลัว แหละความน่ากลัวนี่เองที่มีเสน่ห์ดึงดูดน่าภิรมย์ ดอยสกาด ตะวั น บ่ า ยคล้ อ ยผู ้ เ ขี ย นมุ ่ ง หน้ า สู ่ ด อยสกาด สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วยอดนิยมของคนรักภูเขา บนยอดดอย มีรา้ นสกาดคอฟฟีข่ นึ้ ชือ่ ร้านนีม้ นี อกชานเยือ้ งออกไป เหนือชะง่อนผาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสใหม่ของการ ดื่มกาแฟขณะขับรถตะเวนหาที่พัก ผู้เขียนมองเห็น บ้านเรือนของชาวดอยสกาด (ไทลัว๊ ) แลดูคล้ายมหาวิหาร ทีป่ ลูกลดหลัน่ กันลงมาตามสันเขาอย่างชิดใกล้อากาศ เย็นสบาย มองไปทางใดก็เห็นแต่วิวทิวเขา


ข่าวทหารอากาศ

ดอยแห่ ง นี้ เ ป็ น พื้ น ที่ ที่ ท างการจั ด สรรไว้ ใ ห้ ชาวไทลัว๊ อยูก่ นั โดยเฉพาะ เพราะอาศัยอยูก่ นั มานาน แต่มีกฎว่าห้ามว่าท�ำการซื้อขายที่ดินให้แก่บุคคล ภายนอกพื้นที่นี้อย่างเด็ดขาด อาชีพหลักของชาว ไทลัว๊ คือเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกเมีย่ ง หรือที่ เรารูจ้ กั กันว่าชาใบเมีย่ ง เพราะสภาพอากาศเอือ้ อ�ำนวย ทรัพย์บนดินที่ผลิใบได้นี้เองได้สร้างเม็ดเงินให้หลาย ครั ว เรื อ นบ้ า นหลายหลั ง ได้ เ ปิ ด เป็ น โฮมสเตย์ ใ ห้ นักท่องเที่ยวได้พัก จุดชมวิวธรรมชาติหลายแห่ง สวยงามขึน้ ชือ่ มักเป็นรีสอร์ททีแ่ ทรกตัวอยูต่ ามป่าเขา แต่แม้จะเป็นชาวป่าชาวดอยที่พักเหล่านี้ก็อ�ำนวย ความสะดวกนักท่องเที่ยวด้วยการให้จ่ายค่าที่พัก ด้วยกระแสเงินและการท่องเทีย่ วแบบ New normal หลังขับรถมอเตอร์ไซด์ซกิ แซกสลับไปมาบนถนน อันคับแคบ ผู้เขียนก็มานั่งทานก๊วยเตี๋ยวชมทะเล ภูเขาอย่างทอดถอนใจเพราะที่พักเต็มหมดทุกแห่ง ชายชราทีน่ งั่ ข้าง ๆ รูเ้ รือ่ งเข้าก็เอ่ยปากขึน้ ด้วยอาการ เมาหย�ำเปว่า “มาเที่ยวดอยสกาดแต่ไม่จองที่พักไว้ ก็ไม่มที พี่ กั สิคร๊าบ!” แต่กระนัน้ โชคชะตาก็ยงั ไม่ทอดทิง้ ผู้เขียนซะทีเดียว เมื่อแม่ค้าวางหูโทรศัพท์แล้วเดินมา บอกว่ามีห้องพักของเพื่อนเขาว่างอยู่ เป็นโฮมสเตย์ ทีเ่ พิง่ เปิดกิจการได้ไม่นานชือ่ หลงวิวโฮมสเตย์ ค�ำ่ คืนนัน้ ผู ้ เ ขี ย นจึ ง ได้ ท านย� ำ ใบเมี่ ย งเป็ น มื้ อ เย็ น พร้ อ มกั บ คุณสันติผเู้ ป็นเจ้าของหลงวิวโฮมสเตย์ ผ่านไปไม่นานนัก ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก ชาวล้านนาเรียกฝนแบบนีว้ า่ คึดป่าเสียงหวีดหวิวของลมฝนท�ำให้พลั่งปากถาม คุณสันติไปว่า “ชาวบ้านที่นี่นับถือผี หรือนับถือ พระ” คุณสันติตอบอย่างขบขันว่า “นับ ถื อ ทั้ งผี และพระ คุณระวังก็แต่รังต่อที่อยู่ข้างห้องก็พอ” ผู้เขียนชะโงกหน้าออกไปดูข้างห้องก็เห็นว่ามีรังต่อ ขนาดใหญ่จริง ๆ จึงเกิดอาการนอบน้อมต่อเจ้าที่ ขึ้นมาทันที เมื่อดึกมากแล้วต่างคนก็ขอตัวกันไปนอน ไม่ น านก็ ห ลั บ ไปด้ ว ยเสี ย งพิ รุ ณ ขั บ กล่ อ มทั้ ง คื น ตืน่ เช้ามาก็ได้จบิ กาแฟด�ำชมทะเลหมอกขาวทีป่ กคลุม ทิวเขาและหมู่บ้านชาวดอยอีกครั้ง

55

ศูนย์ศิลป์ริมน่าน บทสนทนากับคุณสันติเมื่อคืนท�ำให้รู้ว่ายังมี เส้นทางอีกสายใช้เดินทางกลับเมืองน่านได้ เป็นถนน วิบากทีเ่ หมาะกับรถมอเตอร์ไซด์สายป่าได้ลยุ อย่างมาก ผูเ้ ขียนจึงตัดสินใจขับรถไปตามถนนสายนัน้ ลัดเลาะไป ตามสันเขา ชมไม้ชมป่า และฝ่าสายธาร จนมาโผล่ที่ ถนนหลวงสายหนึ่งในที่สุด จากนั้นก็ขับตะบึงกลับ เมืองน่าน กระทั่งมาพบศูนย์ศิลป์ริมน่านชานเมือง แม้จะ ไม่ มี ร สนิ ย มด้ า นศิ ล ปะนั ก แต่ ก ารขั บ ผ่ า นเลยไป ก็เท่ากับไม่ได้ชมศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ของล้านนา ทีภ่ ายในมีอาคารพิพธิ ภัณฑ์จดั แสดงภาพวาดเครือ่ งใช้ โบราณที่โออ่า แต่ที่ดูคมขลังราวกับห้องจัดแสดง ภาพสลักโบราณใต้ปิรามิดของอียิปต์ก็คือห้องจ�ำลอง ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ที่มีความ คมชัดมากกว่าภาพจริง เนื้อหาข้างภาพอธิบายถึง ความเป็นมาของเมืองน่านทีผ่ า่ นกาลเวลามาแสนนาน ผ่านการปกครองมาหลายจ้าวอย่างกล�้ำกลืนผ่าน มหาอุทกภัยมาด้วยความขมขื่น ผ่านเสียงกระซิบ กระซาบของปู่ม่านย่าม่านตามกาลเวลาผ่านขุนเขา ลูกแล้วลูกเล่า และเล่าขานกันสืบมา เมืองน่านมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วอีกมาก รอให้เราไปชม เส้นทางทะยานฟ้าทีค่ ดเคีย้ วเลีย้ วลด น่าแวะชมทีเ่ ล่า มานีเ้ ป็นเพียงส่วนหนึง่ เท่านัน้ จากถนนลอยฟ้าสูค่ นั นา ริมคลอง ฉลองวัดวาในเวลาจ�ำกัดอันเป็นบททดสอบ การเดินทางไกลด้วยรถมอเตอร์ไซด์ได้จบลงแล้ว ร่างทีส่ นั่ สะท้านไปด้วยความอ่อนล้า แต่กอ็ มิ่ เอิบไปกับ ความสุขที่ท�ำได้ส�ำเร็จ ผู้เขียนนึกขอบคุณตาชั่งแห่ง โชคชะตาที่เอนเอียงเข้าข้างผู้เขียนอย่างเหลือเชื่อ Road Trip แรกผ่านไปได้ด้วยดีโดยที่ไม่ตากฝน และยังได้ชมสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วอย่างทีห่ วัง แต่กอ่ นถึงบ้าน เพียง ๓๐ กิโลเมตร ฝนก็เทกระหน�ำ่ ลงมาอย่างมืดฟ้า มัวดินจนเดินทางต่อไปไม่ได้ความหนาวสัน่ เป็นใบสัง่ ลา จากฟากฟ้าฝากไว้เป็นบทเรียนการเดินทางไกลไป - กลับ อุบลราชธานี - น่าน ระยะทางเกือบ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร


56

GAME OF DRONE : AGE OF AI àÁ×Íè »˜ÞÞÒ»ÃдÔÉ° ºÑ§¤Ñºâ´Ã¹

AI

HK Drone (Terminator 3)

Face Recognition เทคโนโลยีตรวจจับและจดจําใบหนา

น.อ.วัชรพงษ กลีบมวง

เมือ่ เอยถึง AI (Artificial Intelligence) หรือ ปญญาประดิษฐทําใหผูเขียนยอนนึกถึงภาพยนตร ที่เคยดูสมัยเด็ก ๆ คือ เรื่อง Terminator ที่มีอาโนลด ชวารสเนกเกอร รับบทเปนหุนยนตลาสังหารที่ยอน อดีตมาเพื่อกําจัดแมของผูนํากลุมตอตานจักรกล ในอนาคต โดยเนื้อเรื่องเริ่มจากระบบ Skynet ที่เปน AI อั จ ฉริ ย ะที่ ถู ก พั ฒ นาเพื่ อ ใช ใ นการป อ งกั น ภั ย คุกคามตาง ๆ ใหกบั สหรัฐฯ แตสงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ คือ Skynet ที่สามารถคิดไดเอง เริ่มคิดวามนุษยเปนภัยคุกคาม จึงไดเกิดการเขาควบคุมระบบตาง ๆ รวมทั้งอาวุธ นิ ว เคลี ย ร แ ละสั่ ง ยิ ง ทํ า ลายเมื อ งต า ง ๆ ทั่ ว โลก จนมนุษยแทบสูญสลายไปจากโลก และยังไดสราง หุนจักรกลโดรนแบบตาง ๆ เพื่อตามลามนุษยที่ยัง เหลืออยู แม ว  า เรื่ อ งราวในภาพยนตร จ ะทํ า ให AI ดูนากลัวและเปนภัยคุกคามตอมนุษย แตในปจจุบัน AI ได ถูก พั ฒ นาเพื่ อ ใช ง านในวงการต า ง ๆ อย า ง กว า งขวาง เช น ผู  ช  ว ยในมื อ ถื อ ของค า ยต า ง ๆ การโต ต อบแชทหรื อ บทสนทนาแบบอั ต โนมั ติ การปรั บ รู ป หรื อ ตั ว หนั ง สื อ ที่ เ ขี ย นด ว ยมื อ ให ต รง และสวยงามขึ้น การจดจําใบหนาบุคคลเพื่อคนหา ผูกระทําความผิด หรือใชในการผานเขาออกพื้นที่ เฉพาะผูท ไี่ ดรบั อนุญาต การจดจําเลขทะเบียนรถยนต การวิเคราะหภาพถายทีส่ ามารถบอกรายละเอียดตาง ๆ ที่อยูในภาพได สวนในทางทหารมีการนํา AI มาใช ในการภารกิ จต า ง ๆ เช น การวิ เ คราะห แ นวโน ม


ข่าวทหารอากาศ

57

การแข่งขันการรบทางอากาศระหว่าง AI กับนักบินจริง

การซ่อมบ�ารุงยุทโธปกรณ์ การวิเคราะห์ภาพถ่าย ทางอากาศ ภาพถ่ า ยจากดาวเที ย ม และล่ า สุ ด คือการใช้ AI ในการควบคุมโดรนแทนนักบิน แม้ว่า จะมีการใช้ AI อย่างแพร่หลายในปัจจุบันแต่ก็ยัง เป็ น เพี ย ง AI ในระดั บ ที่ เ รี ย นรู ้ ไ ด้ เ ฉพาะเรื่ อ งใด เรื่องหนึ่งที่มนุษย์ก�าหนดเพียงเท่านั้น ยังไม่สามารถ เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ได้ทั้งหมด หรือฉลาด กว่ามนุษย์ หากเปรียบกับคน AI ในยุคนีค้ อื ผูเ้ ชีย่ วชาญ เฉพาะด้านที่คิด วิเคราะห์ และตอบสนองได้ไว้กว่า มนุษย์ปกติหลายเท่า ส�าหรับในแวดวงการทหารนั้น AI เริ่มแสดง ให้ เ ห็ น ว่ า เก่ ง กว่ า มนุ ษ ย์ โ ดยเฉพาะเรื่ อ งการรบ ในอากาศ ซึ่งมีการรายงานข่าวเมื่อ ๒๐ ส.ค.๖๓ ในการแข่งขัน AI ในการต่อสู้แบบ Dogfight ผ่าน Simulator ใช้ชื่อว่า Alpha Dogfight Trials จัดโดย DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) ส�านักงานโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม ของสหรัฐฯ ซึง่ ในรอบสุดท้าย AI ทีจ่ ะชนะการแข่งขัน กับ AI ด้วยกันเองจะได้แข่งกับนักบินจริง ปรากฏว่า AI ของบริษัท Heron Systems สามารถเอาชนะ AI

จาก ๘ บริษทั ได้เข้ารอบสุดท้ายมาแข่งกับนักบินจริง ซึ่ ง เป็ น นั ก บิ น บ.F-16 ของ ทอ.สหรั ฐ ฯ ที่ มี ประสบการณ์การบินสูง แต่ AI ของ Heron ก็สามารถ เอาชนะนักบินจริงในการแข่งขัน ๕ ครั้งได้อย่าง ราบคาบ จากการแข่ ง ขั น ครั้ ง นี้ ท� า ให้ ก ระทรวง กลาโหมสหรัฐฯ มีแผนที่จะจัดการแข่งขันระหว่าง AI กับนักบินจริง โดยใช้เครื่องบินรบจริงในอีก ๔ ปี ข้างหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจว่า AI นั้น สามารถ เข้ามาร่วมรบหรือปฏิบัติภารกิจร่วมกับนักบินจริงได้ AI เริ่ ม เข้ า มามี บ ทบาทมากขึ้ น ทางด้ า น การบิ น ของทหารไม่ เ พี ย งแต่ ก ารรบทางอากาศ ตามที่มีการรายงานข่าว แต่ยังมีการพัฒนา AI เพื่อ ควบคุ ม โดรนแทนมนุ ษ ย์ ซึ่ ง โดรนเป็ นเทคโนโลยี ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของนักบินในการ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เช่น ภารกิจบินลาดตระเวน หรื อ เฝ้ า ตรวจที่ ต ้ อ งใช้ เ วลาในการบิ น ที่ ย าวนาน การบินในบริเวณที่มีการต่อต้านสูง และในปัจจุบัน มี ก ารพั ฒ นาโดรนในหลายขนาดเพื่ อ ตอบสนอง ต่อความต้องการในการใช้งานในทีแ่ ตกต่างกัน ตัง้ แต่ โดรนขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่เท่ากับเครือ่ งบินรบ

อากาศยานไร้คนขับ RQ-4A Global Hawk


58

โดรนทีบ่ ริษทั Boeing Australia น�ำมำบินทดสอบโดยใช้ AI บังคับ

Loyal Wingman โดรนแบบ Stealth ที่ใช้ AI ในกำรควบคุม

บินหมู่ร่วมกับเครื่องบินรบ

บินคุ้มกัน

ที่ใช้นักบินขับ โดรนโดยส่วนใหญ่จะถูกบังคับโดย นั ก บิ น หรื อ ผู ้ ค วบคุ ม ซึ่ ง ดู แ บบผิ ว เผิ น จะคล้ า ยกั บ เครื่องบินบังคับวิทยุ แต่โดรนสามารถที่จะติดตั้ง อุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ จนถึงอาวุธ ตั้งแต่เบาไปจนถึงหนัก ท�าให้สามารถน�ามาประยุกต์ ใช้งานได้มากกว่าเครื่องบินบังคับวิทยุ ในส่วนของ โดรนทีใ่ ช้ในภารกิจทางทหารจะมีการเขียนโปรแกรม ให้สามารถบินขึ้นและลงจอดบนสนามบินที่ก�าหนด ให้ได้แบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้นักบินบังคับ และ สามารถบิ น ตามเส้ น ทางที่ ก� า หนดไว้ ใ ห้ ไ ด้ ซึ่ ง เห็ น ได้ ว ่ า โดรนโดยส่ ว นใหญ่ จ ะท� า งานตาม ค�าสั่งหรือข้อมูลที่ก�าหนดไว้ให้แล้ว โดยจะมีนักบิน เป็นผู้ท�าการเปลี่ยนแปลงค�าสั่งหรือเส้นทางการบิน หากมีการเปลี่ยนแผนการปฏิบัติ รูปแบบการใช้งาน โดรนแบบดังกล่าวอาจสามารถท�าได้โดยไม่มอี ปุ สรรค ในการปฏิบัติ แต่หากอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่าง และมี ความซั บซ้ อ น เช่ น การบิ นเป็ นหมู ่ ร ่ วมกั บ เครื่ อ งบิ น รบแบบอื่ น ๆ การบิ น ในพื้ น ที่ มี ก าร ต่อต้านสูง และมีเป้าหมายที่ต้องโจมตีจ�านวนมาก จะเป็นการสร้างภาระให้กับนักบินที่ควบคุมโดรน เป็ น อย่ า งมากและอาจไม่ ส ามารถด� า เนิ น ภารกิ จ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากแนวคิดในการพัฒนาให้โดรนสามารถคิด และตัดสินใจได้เองอย่างรวดเร็ว เช่น การค้นหา และเลือกเป้าหมาย รวมทัง้ การบินร่วมกับเครือ่ งบินรบ ทีม่ นี กั บินขับในการปฏิบตั ภิ ารกิจ การโจมตีเป้าหมาย ที่ อ ยู ่ ใ นพื้ น ที่ เ สี่ ย งแทนเครื่ อ งบิ น รบ แน่ น อนว่ า โปรแกรมแบบพื้นฐานที่ใช้ควบคุมและสั่งการโดรน รวมทัง้ การมีนกั บินบังคับอยูภ่ ายนอกอาจไม่ตอบโจทย์ ความต้องการดังกล่าว และสิง่ ทีส่ ามารถท�าและคิดได้ แบบทีน่ กั บินจริงท�าได้ รวมทัง้ ปฏิบตั ภิ ารกิจได้ยาวนาน โดยไม่ เ กิ ด ความอ่ อ นล้ า ทนแรง G ที่ สู ง มากได้ โดยไม่หมดสติ คงหนีไม่พ้น AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมและรูปแบบการตัดสินใจ ของมนุษย์ และน�าพฤติกรรมและรูปแบบดังกล่าว มาท�างานเพื่อช่วยเหลือหรือท�าแทนมนุษย์ได้ ปัจจุบันหลายบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาโดรน ชั้ น น� า ของโลกได้ เ ริ่ ม ใช้ AI ในการควบคุ ม โดรน เริ่ ม จาก Boeing Australia ได้ มี ก ารพั ฒ นา AI ส� า หรั บ โดรน ๔ รุ ่ น รวมทั้ ง โดรนแบบ Stealth


ข่าวทหารอากาศ

โดยพัฒนา AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคนหา เปาหมายและตัดสินใจกระทําตอเปาหมาย ซึง่ บริษทั ใช Simulator สําหรับภารกิจการบินแบบต า ง ๆ ในการสอน AI ใหเรียนรูพฤติกรรม การตอบสนอง ตอสถานการณ และไดทําการทดสอบให AI ควบคุม โดรนในการปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ในสภาพแวดล อ มจริ ง ซึ่งผลการทดสอบ AI สามารถคนหาเปาหมายและ ตอบสนองเปาหมายในพื้นที่จริงได การพัฒนา AI ของบริษัท Boeing Australia ในครั้งนี้เพื่อนํามา ใชในภารกิจ ISR (การขาวกรอง การเฝาตรวจ และ การลาดตระเวน) ใหสามารถระบุคนหาตําแหนงของ เปาหมายไดอยางรวดเร็วทามกลางสภาพแวดลอม ที่ยากตอการคนหาเปาหมายสําหรับมนุษย ในสวน ของโดรนแบบ Stealth บริษทั ฯ ใช Loyal Wingman เปนรุน ตนแบบสําหรับการพัฒนา AI ทีส่ ามารถบังคับ ให โ ดรนบิ น เป น หมู  ร วมกั บ เครื่ อ งบิ น รบหรื อ บิ น เป น หมู  กั บ โดรนด ว ยกั น เอง รวมทั้ ง ยั ง สามารถ บินคุมกันใหกับเครื่องบินอื่น ๆ ใชอาวุธไดทั้งแบบ อากาศสูอากาศ และอากาศสูพื้นได ทางฝง ของสหรัฐฯ บริษทั Kratos Defense & Security Solution ไดเตรียมพัฒนา AI สําหรับ โดรน Skyborg โดยการสอนให AI เรียนรูรูปแบบ ในการโจมตีเปาหมายภาคพื้น เชน ระบบปองกันภัย ทางอากาศของฝายขาศึก การแลกเปลี่ยนขอมูลกับ เครื่องบินรบฝายเดียวกัน การบินแบบตาง ๆ ซึ่งจะ ทําให AI ที่ควบคุม Skyborg สามารถรับและสง ขอมูลระหวางโดรนดวยกันหรือกับเครื่องบินรบได สามารถโจมตีเปาหมายภาคพืน้ และเลือกเสนทางบิน ได เ อง และสามารถใช ใ นภารกิ จ แบบเดี ย วกั บ เครื่องบินรบปกติ รวมทั้งสามารถรับการถูกโจมตี แทนเครื่องบินรบได

Skyborg โดรนแบบ Stealth ที่ใช AI ในการควบคุม

รับสงขอมูลระหวางโดรนดวยกัน

โจมตีเปาหมายไดเอง

59


60

ด้ ว ยขี ด ความสามารถของ AI ที่ ส ามารถ น�าข้อมูลจ�านวนมากมาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ท� า งานได้ ต ่ อ เนื่ อ งโดยไม่ ต ้ อ งหยุ ด พั ก และไม่ มี อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง การน�า AI มาควบคุมโดรน จึงท�าให้โดรนสามารถบินและปฏิบัติภารกิจได้อย่าง มีประสิทธิภาพซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่ผู้พัฒนาได้ป้อนให้ AI เพื่อเรียนรู้ ในอนาคตอันใกล้ เราอาจได้เห็นฝูงโดรนที่คิดเองได้เหมือนกับมนุษย์ เมื่ อ รั บ ภารกิ จ แล้ ว สามารถหาเส้ น ทางการบิ น เพื่อเข้าหาเป้าหมายได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว ระบุเป้าหมายได้ถกู ต้องแม่นย�า และโจมตีหรือยกเลิก การโจมตีเป้าหมายได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถคิดและเลือกยุทธวิธีในการรบทางอากาศ ที่สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว แม้ ว ่ า AI จะมี ข ้ อ ดี อ ยู ่ ม ากในหลายด้ า น แต่หลายคนยังคงมีความกังวลว่า AI จะกลายเป็นภัย คุกคามต่อมนุษย์หรือไม่ และยิ่งมีการใช้ AI ควบคุม โดรนซึ่งติดอาวุธด้วยแล้วมีโอกาสที่ AI จะหันกลับมา อ้างอิง

โจมตีฝา่ ยเดียวกันหรือพลเรือนในพืน้ ทีห่ รือไม่ การที่ AI จะคิดวิเคราะห์หรือเลือกวิธใี นการปฏิบตั ภิ ารกิจนัน้ ขึ้นอยู่กับขั้นตอนแรกของการสร้าง AI ที่จะต้องมี ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจ�านวนมาก รูปแบบการปฏิบัติ เช่น ยุทธวิธีในการโจมตี การบิน การเลือกหนทางหรือ วิธีปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ และที่ส�าคัญข้อมูล เหล่านี้ต้องมีความถูกต้อง ซึ่งจะท�าให้ AI สามารถ เรียนรู้และตอบสนองต่อสถานการณ์ได้เหมาะสม และจะไม่เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์และฝ่ายเดียวกัน จากแนวโน้มการพัฒนาในปัจจุบัน คาดว่า AI จะยั ง คงได้ รั บ การพั ฒ นาต่ อ ไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จนอาจถึ ง ขั้ น ที่ มี ค วามฉลาดกว่ า มนุ ษ ย์ และอาจ ถูกน�าไปใช้กับอาวุธยุทโธปกรณ์แบบอื่น ๆ นอกจาก โดรน เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสีย่ งของก�าลังทหาร และอาจกลายเป็ น ก� า ลั ง รบหลั ก ในพื้ น ที่ ก ารรบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราคงต้องติดตามกันต่อไป

- AI algorithm defeats human fighter pilot in simulated dogfight, www.c4isrnet.com - Boeing Australia makes progress in using AI to ‘teach’ UAVs to detect, decide, and act during mission, www.janes.com - Boeing rolls out first Loyal Wingman unmanned aircraft, www.Boeing.com - Loyal Wingman Unmanned Aircraft, www.airforce-technology.com - US Air Force awards Skyborg prototyping contracts, www.janes.com


ข าวทหารอากาศ

ธรรมประทีป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระพุทธศาสนา พระมหากษั ตริย์ใ นราชวงศ์จักรีในอดีต ที่ทรง สนพระทัยและใกล้ ชิดกับพระพุทธศาสนา หากไม่นับ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุถึง ๒๗ พรรษา อีกทัง้ ยังทรงสอบได้เปรียญ ๕ ประโยคแล้ว ก็เห็นจะเป็น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงสน พระทัยและใกล้ ชิ ดกับพระพุทธศาสนามากที่สุด ในด้ านการผนวช ทรงผนวชเป็นสามเณร ๑ พรรษา จนสามารถเทศน์มหาชาติ ท�า นองหลวงกั ณฑ์สักบรรพ์ได้ และเมื่อทรงขึ้น ครองราชย์ แ ล้ ว ก็ ท รงผนวชเป็ น พระภิ ก ษุ อี ก ใน พ.ศ.๒๔๑๖ ในด้ า นการสร้ า งวั ด ทรงสร้ า งวั ด ที่ ใ หญ่ โ ต สง่ า งดงาม หลายวั ด เช่ น วั ด เทพศิ ริ น ทราวาส วัดราชบพิธ เป็นต้น ในด้า นการสร้างพระ พระองค์ทรงสร้างพระพุทธ ชิ น รา ชจ� า ลองที่ พิ ษ ณุ โ ลกเสร็ จ แล้ ว อั ญ เชิ ญ มา ประดิ ษฐานเป็นพระประธานประจ�าพระอุโบสถวัด เบญจมบพิตร และสร้างพระพุทธรูปอืน่ ๆ อีกหลายองค์ ในด้า นพระบรมสารีริกธาตุ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ ทองสัมฤทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานไว้ใน คูหาพระสถูปบนยอดบรมบรรพต วัดสระเกศ เนือ่ งจาก เมือ่ พ.ศ.๒๔๔๑ มีผพู้ บทีบ่ รรจุอฐั ธิ าตุของพระพุทธเจ้า

ที่ เมืองกบิลพัสดุ์ มาควิสเอร์ซัน อุปราชของประเทศ อิน เดีย ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็น พุท ธศาสนิกชนและพุทธศาสนูปถัมภกจึงส่งพระบรม สารีริกธาตุที่พบนั้นมาถวาย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวว่า พระบรมสารีรกิ ธาตุทภี่ เู ขาทองวัดสระเกศ นี่ แหละของแท้ (แห่งหนึ่งในประเทศไทย) ในด้าน พระไตรปิฎก ได้มพี ระราชศรัทธาอาราธนาพระราชาคณะ (เจ้า คุณ ถึง สมเด็จ) ให้ช่วยช�าระพระไตรปิฎก คือ เปลี่ ยนจากภาษาขอมเป็นภาษาบาลีทั้งหมด และเดิม พระไตรปิฎกจารึกเป็นภาษาขอมลงในใบลาน เมื่อทรง ให้เปลีย่ นเป็นภาษาบาลีเสร็จแล้วก็ทรงให้พมิ พ์เป็นเล่ม หนังสือ (ขนาด ๘ หน้ายก) เป็นครัง้ แรกในประเทศไทย จ�านวน ๓๙ เล่ม ให้พิมพ์ทั้งหมด ๑,๐๐๐ ชุด แล้วแจกไปตามวัดต่าง ๆ รวมทัง้ ต่างประเทศ มีประเทศ อังกฤษ เป็นต้น (ทีป่ ระเทศอังกฤษ มีสมาคมบาลีปกรณ์ ศึกษาภาษาบาลีกนั จนแตกฉาน และจัดท�าพระไตรปิฎก ฉบับรัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้เป็นอักษรโรมันทัง้ หมด) พระเกี ยรติคุณของพระองค์ ที่ทรงมีต่อพระพุทธ ศาสนามีมากมายสุดจะคณานับได้ ชาวไทยต่างตระหนัก ถึงพระคุณและพระปรีชาสามารถที่ลึกล�้าของพระองค์ จึงต่า งเรียกขานพระองค์ด้วยความเคารพรักนับถือ ยิ่งว่า “พระพุทธเจ้าหลวง” มาจนถึงปัจจุบัน.

อ้างอิง : หนังสือช่อคูน วารสารรายเดือน ฉบับเดือน ตุลาคม ๒๕๒๗.

61


62

จับจิต จับใจ ¡Ñº Í.˹Ù

à¾ÃÒФÇÒÁ¼Ù¡¾Ñ¹ µ‹Íͧ¤ ¡Ã¹Ñé¹...ÊíÒ¤ÑÞ ความผูกพันตอองคการ ถือเปนปจจัยสําคัญ ที่ทําใหองคการมีประสิทธิผล โดยเฉพาะองคการ ราชการ ที่นอกจากการใหความสําคัญกับการสรรหา บุคลากรที่มีคุณภาพเขามาเปนสมาชิกขององคการ การฝกอบรมและพัฒนาสมรรถนะใหกบั บุคลากรแลว การรั ก ษาให บุ ค ลากรเหล า นั้ น คงอยู  กั บ องค ก าร เพื่อขับเคลื่อนองคการไปสูการพัฒนาอยางมีคุณคา จึงเปนสิ่งสําคัญ ความผูกพันตอองคกรคืออะไร ความผูกพันองคการเปนคุณลักษณะทีส่ าํ คัญ ในการดําเนินกิจการขององคการ เนือ่ งจากหากบุคคล ในองคการมีความผูกพันตอองคการสูง ยอมนํามา ซึ่งความรูสึกภาคภูมิใจ มุงมั่นตั้งใจและพรอมที่จะ ทุม เทความสามารถของตนในการปฏิบตั ภิ ารกิจตาง ๆ ขององค ก ารให บ รรลุ วั ต ถุ ป ระสงค ไ ด อ ย า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล ย อ มส ง เสริ ม ให องคการนั้นมีความกาวหนาตามไปดวย ดังนั้นจึงมี ผูใ หนยิ ามและคําจํากัดความของความผูกพันองคการ ไวหลากหลายดังนี้ James M. Buchanan อธิบายถึง ความหมาย ของความผูกพันตอองคการวาเปนความรูสึกเปน อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ระหว า งบุ ค คลกั บ องค ก าร (Identification) ที่ ย อมรั บ ในค า นิ ย มตลอดจน เปาหมายขององคการ นอกจากนี้ยังมีความรูสึกวา

ตนเองเกี่ยวพันกับองคการ (Involvement) มีความ เต็มใจทีจ่ ะทํางาน ปฏิบตั ติ นตามบทบาทโดยมุง ไปยัง เปาหมาย เพื่อความกาวหนาและรักษาผลประโยชน ขององคการ รวมทั้ง มีความจงรักภักดีตอองคการ (Loyalty) โดยยึดมั่นตอองคการ และตองการที่จะ เปนสมาชิกขององคการตอไป Richard M. Steers ให ค วามหมายของ ความผูกพันตอองคการไววา เปนลักษณะทีแ่ สดงออก ถึงความสัมพันธอันเหนียวแนนของบุคคลที่แสดงถึง ความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในองคการ และเขารวมกิจกรรมหรือปฏิบัติงานขององคการ อยางเต็มความสามารถดวยความเต็มใจ Bruce E. Mowday กลาวถึง ความผูกพัน ตอองคการวา หมายถึง ความรูสึกมีสวนรวมและ เปนสวนหนึ่งขององคการ โดยอธิบายวาความผูกพัน ตอองคการมีอยู ๒ ลักษณะ คือ ความผูกพันตอ องคการดานพฤติกรรม (Behavioral commitment) ที่ แ สดงออกในรู ป แบบของพฤติ ก รรมที่ ต  อ เนื่ อ ง สมํ่าเสมอ และความผูกพันตอองคการดานทัศนคติ (Attitudinal commitment) ทีแ่ สดงออกในรูปแบบ ของความรูสึกเปนสวนหนึ่งกับองคการ William Kahn ไดศึกษาและแบงมิติของ ความยึดมัน่ ผูกพันของพนักงานออกเปนมิตคิ วามยึดมัน่ ผูกพันในงาน (Job engagement) และมิตคิ วามยึดมัน่


ข่าวทหารอากาศ

63

รูปแบบความผูกพันต่อองค์การของ Kahn

ผูกพันในองค์การ (Organization engagement) และได้ อ ธิ บ ายถึ ง ความยึ ด มั่ น ผู ก พั น ในงาน คื อ พนักงานที่มีความยึดมั่นผูกพันในงานจะปฏิบัติงาน ตามบทบาทที่ ต นได้ รั บ มอบหมายอย่ า งเต็ ม ที่ ทั้งร่างกาย (Physical) การรับรู้ (Cognitive) และ อารมณ์ความรู้สึก (Emotional) ซึ่งเป็นพลังที่มุ่งตรง ไปยังเป้าหมายขององค์การ โดยคาห์นอธิบายว่า รูปแบบของความผูกพันต่อองค์การมีเงื่อนไขทาง จิตวิทยา ๓ ประการทีเ่ กีย่ วข้อง คือ การมีความหมาย (Meaningfulness) ความพร้ อ มทางด้ า นจิ ต ใจ (Availability) และความปลอดภัยทางด้านจิตใจ (Safety) Allen and Meyer ให้ ค วามหมายของ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารว่ า เป็ น ความรู ้ สึ ก ที่ มี ต ่ อ องค์การของบุคคล โดยความรู้สึกดังกล่าวนี้จะเป็น สิ่ ง ยึ ด เหนี่ ย วให้ บุ ค คลคงอยู ่ กั บ องค์ ก ารต่ อ ไป โดยสามารถแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. การเน้นความผูกพันทางอารมณ์ (affective attachment) เป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจและ มีความนิยมมากที่สุด ในการศึกษาวิจัย หรือใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ของ

องค์ ก าร ซึ่ ง เป็ น การแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความยึ ด ติ ด ทางด้านจิตใจของบุคคลต่อองค์การ โดยการระบุ ตนเองเข้าไปมีส่วนร่วมและเต็มใจที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของสมาชิกขององค์การ เนื่องจากบุคคลนั้นต้องการ ที่จะอยู่ท�างานภายในองค์การนั้น โดยได้รับความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการท�างานที่ตน พอใจจากองค์การตามที่ตนเองได้คาดหวังไว้ ซึ่งจะ ท�าให้บุคคลนั้นมีความผูกพันทางอารมณ์ต่อองค์การ ได้เป็นอย่างดี ๒. การเน้ น ความผู ก พั น จากการลงทุ น (Perceived costs) เป็ น แนวคิ ด ที่ แ สดงถึ ง การ ให้ บุ ค คลในองค์ ก ารร่ ว มกั น ลงทุ น กั บ องค์ ก าร โดยการที่องค์การขายหุ้นให้กับพนักงานในองค์การ เพื่ อ สร้ า งความรู ้ สึ ก ผู ก พั น ระหว่ า งพนั ก งานกั บ องค์การไว้ด้วยกัน เสมือนพนักงานทุกคนคือเจ้าของ กิจการ ท�าให้เกิดความสัมพันธ์อันดีและผูกพันกับ องค์การไว้ด้วยผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน ร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้บุคคลที่ลงทุนไว้กับองค์การนั้น มีความจ�าเป็นทีจ่ ะต้องอยูเ่ พราะกลัวทีจ่ ะลาออกไปแล้ว จะเสียผลประโยชน์ที่ได้รับกับองค์การ


64

๓. การเน้นความผูกพันจากหน้าที่ (Obligation) เป็นแนวทางทีอ่ งค์การแสดงให้พนักงานรับรูถ้ งึ พันธะ ผูกพันของตนทีม่ ตี อ่ องค์การ เช่น การหล่อหลอมด้วย วัฒนธรรมภายในองค์การที่สร้างความผูกพันและ ความจงรักภักดีต่อองค์การ การส่งพนักงานไปฝึก อบรมวิชาการนอกสถานทีท่ า� งาน การให้ทนุ การศึกษา เพื่อให้พนักงานมีความรู้สึกว่าควรจะอยู่กับองค์การ เพื่ อ เป็ น การตอบแทนพระคุ ณ ขององค์ ก ารที่ ไ ด้ ให้โอกาสและความช่วยเหลือต่อตนเอง Wayne Strelioff ได้ให้ความหมายของค�าว่า Engagement ว่ามีความหมายเช่นเดียวกับค�าว่า Commitment ซึง่ หมายถึง ความผูกพันทีเ่ ป็นสภาวะ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ทั้ ง อารมณ์ แ ละเหตุ ผ ลของบุ ค คล ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ งานและองค์ ก าร ซึ่ ง แสดงออกมา ในรูปของพฤติกรรม ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. การพูด (Say) คือ การกล่าวถึงองค์การ ในทางที่ดีให้บุคคลอื่นได้รับรู้และได้ฟัง ไม่ว่าจะเป็น เพือ่ นร่วมงาน ครอบครัว ลูกค้า และผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง อื่น ๆ ๒. การอยู่กับองค์การ (Stay) คือ ความ ต้องการที่จะอยู่กับองค์การต่อไป แม้หน่วยงานอื่น

จะให้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่ดีกว่า ๓. การรับใช้ (Serve) คือ ความภูมใิ จในงาน ที่ปฏิบัติ ซึ่งได้มีส่วนสนับสนุนให้องค์การประสบ ความส�าเร็จ และถ้าหากจ�าเป็นก็เต็มใจที่จะท�างาน หนักเพื่อองค์การ Schaufeli and Bakker (2010) ได้เสนอ แนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันในงานโดยแบ่งออกเป็น ๓ องค์ประกอบ ดังนี้ ๑. ความขยัน (Vigor) หมายถึง การทีบ่ คุ คล รูส้ กึ มีพลังงาน มีความพยายามใช้ความสามารถทัง้ หมด ในการท�างาน มีความยืดหยุ่นและอดทนไม่ท้อถอย เมือ่ เผชิญกับอุปสรรคหรือความล�าบากในการท�างาน ๒. ความทุ ่ ม เท (Dedication) หมายถึ ง การที่ บุคคลรู ้ สึ ก ว่ า งานของตนมี ค วามส� า คั ญ และ ท้าทาย รู้สึกกระตือรือร้นในการท�างาน ภาคภูมิใจ และมีแรงบันดาลใจในการท�างาน ๓. ความจดจ่อใส่ใจ (Absorption) หมายถึง การที่บุคคลมีสมาธิในการท�างาน มุ่งมั่นจดจ่ออยู่กับ การท�างาน รู้สึกว่างานเป็นสิ่งส�าคัญของชีวิตจนไม่ สามารถแยกออกจากกันได้


ข่าวทหารอากาศ

ความส�าคัญของความผูกพันต่อองค์กร จากการศึ ก ษางานวิ จั ย ที่ ผ ่ า นมา พบว่ า ความส� า คั ญ ของความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารมี ผ ล ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยสรุปได้ดังนี้ ๑. ความผูกพันต่อองค์การสามารถใช้ทา� นาย อัตราการเข้า-ออก จากงานของสมาชิกองค์การ ได้ดี กว่ า ความพึ ง พอใจในงาน (Job satisfaction) เนื่องจากความความผูกพันต่อองค์การเป็นทัศนคติที่ ค่อนข้างมีความมั่นคงมากกว่าความพึงพอใจในงาน โดยผูท้ มี่ คี วามผูกพันต่อองค์การสูงจะมีความคิดทีจ่ ะ ลาออกต�า่ หรือมีแนวโน้มทีจ่ ะอยูก่ บั องค์การนานกว่า ผู้ที่มีความผูกพันในระดับที่ต�่ากว่า ๒. ความผูกพันต่อองค์การมีผลท�าให้สมาชิก ในองค์ ก ารขาดงานต�่ า โดยผู ้ ที่ มี ค วามผู ก พั น ต่ อ องค์การสูงจะมีแรงจูงใจในการท�างาน มีขวัญก�าลังใจ ซึ่ ง จะเป็ น พลั ง ในการช่ ว ยขั บ เคลื่ อ นภารกิ จ ของ องค์การให้บรรลุเป้าหมาย และมีอัตราการขาดงาน ต�่าหรือไม่ค่อยขาดงานหากไม่จ�าเป็น ต่างจากผู้ที่มี ความผูกพันต่อองค์การในระดับต�่า จะแสดงความ เฉื่อยชา หรือขาดงานอย่างไม่มีเหตุผลเป็นประจ�า ๓. ความผูกพันต่อองค์การเป็นแรงผลักดัน ในการท�างาน เนือ่ งจากสมาชิกมีความรูส้ กึ มีสว่ นร่วม ในการเป็นเจ้าขององค์การ ดังนัน้ เมือ่ ได้รบั มอบหมาย ให้ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ ดแล้วก็จะพยายามปฏิบตั อิ ย่างเต็มที่ เพื่อให้ภารกิจบรรลุผลส�าเร็จ เพราะถือว่าภารกิจ ทุกอย่างมีผลกระทบกับตนเองในฐานะทีเ่ ป็นส่วนหนึง่ ขององค์การ ซึ่งหากสมาชิกในองค์การมีความรู้สึก ผูกพันต่อองค์การในระดับสูงแล้ว จะมีแนวโน้มที่จะ

65

มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การสูงตามไปด้วย ๔. ความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวเชือ่ มโยง ระหว่างสมาชิกกับเป้าหมายขององค์การ เนื่องจาก บุคคลมีเป้าหมายของชีวิตที่คาดหวังในการท�างาน แตกต่ า งกั น การท� างานในองค์ ก ารเป็ นส่ วนหนึ่ ง ในการท�าให้ตนเองบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งความ ผูกพันต่อองค์การเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมาย ของสมาชิ ก กั บ เป้ า หมายขององค์ ก ารให้ เ ป็ น ไป ในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ หากองค์การสามารถ บรรลุเป้าหมายแล้ว จะท�าให้เป้าหมายของสมาชิก ในองค์การเกิดผลส�าเร็จตามไปด้วย เพราะบุคคล เชือ่ ว่างานคือหนทางทีจ่ ะสามารถท�าประโยชน์ให้กบั องค์การได้ ดังนั้น หากองค์การต้องการขับเคลื่อน พันธกิจให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ จะต้องน�า ความผูกพันต่อองค์การมาเป็นปัจจัยในการเชื่อมโยง ระหว่างความต้องการของสมาชิกในองค์การให้มี ความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์การ เพื่อเป็นพลังผลักดันให้สมาชิกในองค์การท�างาน ในหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เต็มความรู้ความสามารถและ ศั ก ยภาพ เนื่ อ งจากบุ ค คลเกิ ด ความเชื่ อ มโยงว่ า ผลส�าเร็จขององค์การย่อมท�าให้ตนเองบรรลุเป้าหมาย ตามที่ตั้งไว้ด้วย ๕. ความผูกพันต่อองค์การเป็นสิ่งกระตุ้น ให้ผลการปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์การอยู่ใน ระดั บ ที่ ดี โดยผู ้ ที่ มี ค วามผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารสู ง จะเต็ ม ใจที่ จ ะพยายามท� า งานอย่ า งเต็ ม ที่ ใ ห้ กั บ องค์การ ซึ่งส่วนใหญ่ท�าให้ผลของการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับดีกว่าผู้ที่มีความผูกพันในระดับต�่า


66

๖. ความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวบ่งชี้ที่ดี ถึ ง ความมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลของ องค์การ พบว่า หากสมาชิกในองค์การมีความผูกพัน ต่ อ องค์ ก ารสู ง องค์ ก ารจะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิ ท ธิ ผ ลในการท� า งานสู ง เนื่ อ งจากสมาชิ ก ในองค์การมีความตั้งใจและทุ่มเทในการปฏิบัติงาน อย่างเต็มทีจ่ นเกิดผลส�าเร็จตามเป้าหมายขององค์การ ๗. ความผูกพันต่อองค์การช่วยขจัดการ ควบคุมจากภายนอก โดยการท�างานขององค์การ จะมีทั้งการควบคุมจากภายนอกและภายในองค์การ ซึ่งการควบคุมจากภายนอกองค์การ ได้แก่ กฎหมาย ระเบียบ หน่วยงานเจ้าสังกัด หรือ จากองค์การวิชาชีพ ต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ที่มีความผูกพันต่อองค์การจะดูแล ควบคุ ม การท� า งานของตนเองเพื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตาม มาตรฐานวิชาชีพ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับองค์การ อ้างอิง

สรุปได้วา่ ความผูกพันต่อองค์กรนัน้ มีความ สัมพันธ์กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร ดังนัน้ แต่ละองค์กรจึงควรให้ความส�าคัญในการสร้าง และส่ ง เสริ ม ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก รให้ กั บ สมาชิ ก ในองค์กร โดยเริม่ จากการมุง่ เน้นการสือ่ สารในองค์กร ที่เหมาะสม ให้สมาชิกในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน ยอมรั บ ในความคิ ด เห็ น ให้ อิ ส ระในการท� า งาน ความยุติธรรมและเป็นมาตรฐาน รวมทั้งได้รับการ สนับสนุนต่อองค์กรในการปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะน�าไปสู่ความผูกพันต่อองค์กรในเบื้องต้นที่ส�าคัญ นอกจากจะป้องกันปัญหาเรื่องของสมองไหลแล้ว ความผูกพันต่อองค์กรยังส่งผลให้สมาชิกในองค์กร ทุ่มเทและรักษาผลประโยชน์ขององค์กรเพราะรู้สึก เป็นส่วนหนึ่งกับองค์กรนั่นเอง

- Allen N. J. & Meyer P. J. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology. 63: pp. 1-18. - Bhagyasree Padhi & Kumar Panda. (2015). A Study on Employee Engagement Models for Sustainability of Organisation. International Journal of Research and Development – A Management Review. Vol. 4, Issue 4. 79-85. - Buchanan II, B. (1974). Building organization commitment: The socialization of manager in Work Organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), pp.533-546. - Christian, M. S, Garza, A. S. & Slaughter, J. E. (2011). Work engagement: A quantitative review and test of its relations with task and contextual performance. Personnel Psychology, 64(1), 89–136. - Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers R. M. (1982). Employee-Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Absenteeism, and Turnover. New York: Academic Press. - Steer, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), pp. 46-56. - Schaufeli, W.B., & Bakker, A.B. (2010). Defining and measuring work engagement: bringing clarity to the concept, in Work Engagement: A Handbook of Essential Theory and Research (eds A.B. Bakker and M.P. Leiter), Psychology Press, New York, pp. 10–24. - วรรณภา ลือกิตินันท์. (2560). ตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการท�างานและความผูกพันต่อองค์กร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3. หน้า 55-66. - อรพินทร์ ชูชม. (2557). การวิเคราะห์โครงสร้างความยึดมั่นผูกพันในงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการ จัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2. หน้า 75-79. - Khan, 1990; Graber, 2014 อ้างใน Bhagyasree Padhi & Kumar Panda, 2015 p.80 - Christian, Garza, & Slaughter, 2011


ข่าวทหารอากาศ

67

¡Òýƒ¡«ŒÍÁ

âç¾ÂÒºÒÅà¤Å×่͹·Õ่

¡Í§·Ñ¾ÍÒ¡ÒÈ น.ต.ชัชวาลย จันทะเพชร ศปพ.พอ. ในวัฏจักรของการเกิดภัยพิบัติ มีคํายอที่ให จดจําไดงา ยอยู ๔ คําคือ 2P2R โดย 2P คือ Prevention คือการปองกัน Preparation คือการเตรียมความพรอม และ 2R คือ Response คือการตอบสนอง Recovery คือการฟนฟู จะเห็นไดวาในทางการแพทยเมื่อเกิด ภัยพิบตั ขิ น้ึ ก็ตอ งใหการชวยเหลือบรรเทาสาธารณภัย แกประชาชนผูไดรับผลกระทบทางสุขภาพรางกาย และจิตใจดวย การเตรียมความพรอมทางการแพทย ในภาวะฉุกเฉินหรือในยามเกิดภัยพิบตั เิ ปนอีกบทบาทหนึง่ ทีม่ คี วามสําคัญของการแพทย เนือ่ งจากเมือ่ อยูใ นภาวะ ภัยพิบัติยอมเกิดความเสียหายแกชีวิตและทรัพยสิน ของประชาชนจํานวนมาก การตอบสนองความตองการ ทางการแพทยอาจไมเพียงพอกับความตองการของ ประชาชนผูประสบภัยเนื่องจากทรัพ ยากรที่ มี อ ยู  อาจเสียหายหรือมีขอจํากัดจากสภาพแวดลอมอื่น ๆ จึงเปนสิ่งจําเปนอยางยิ่งที่ตองมีการเตรียมพรอม และฝกรับมือกับสภาพปญหาดังกลาว ในโลกปจจุบนั หลาย ๆ ประเทศได มี ก ารจั ด เตรี ย มโรงพยาบาล เคลื่อนที่ขึ้นเพื่อรองรับสถานการณภัยพิบัติ โรงพยาบาลเคลือ่ นทีเ่ ปนโรงพยาบาลชัว่ คราว หรือหนวยแพทยเคลื่อนที่ ที่ดูแลผูประสบภัยโดย จัดตั้งขึ้นในสถานที่ท่ีอยูบริเวณใกลที่เกิดเหตุแตเปน ที่ปลอดภัย โดยสามารถทําการรักษาผูบาดเจ็บหรือ เจ็บปวยกอนทีจ่ ะสามารถเคลือ่ นยายไปรักษาตอในที่ ปลอดภัยและมีสิ่งอํานวยความสะดวกถาวรมากขึ้น คําทีถ่ กู ใชเบือ้ งตนในการแพทยทหาร เชน โรงพยาบาล

ศั ล ยกรรมกองทั พ เคลื่ อ นที่ คื อ MASH: Mobile Army Surgical Hospital แตปจจุบันก็มีที่ใชใน สถานการณพลเรือน เชน ภัยพิบัติและเหตุการณ ที่ มี ค วามรุ นแรงต า ง ๆ โรงพยาบาลเคลื่ อ นที่ เ ป น โรงพยาบาลทีม่ เี จาหนาทีท่ างการแพทยเปนชุดแพทย เคลื่อนที่และมักจะจัดตั้งในสถานที่ใกลเคียงกับจุดที่ เกิดเหตุการณ การจัดตั้งเปนการชั่วคราวมักจัดตั้ง โดยการนําเต็นทขนาดใหญซึ่งจัดตั้งไดอยางรวดเร็ว ปจจุบันมีการใชเทคโนโลยีเปนเต็นทแกนอัดอากาศ โดยอัดลมเขาภายในแกนที่เปนโครงสรางของเต็นท เพื่อใหสามารถจัดตั้งไดรวดเร็วและขนยายไปใกล จุดที่เกิดเหตุที่มีผูบาดเจ็บลมตาย หากเหตุการณ ภัยพิบัติเกิดในสภาพแวดลอมในเมือง โรงพยาบาล เคลื่อนที่มักจะจัดตั้งขึ้นในอาคารที่สามารถเขาถึง ไดงายและมองเห็นไดอยางชัดเจน เชน บานเรือน รานอาหาร โรงเรียนและอื่น ๆ


68

การจั ด ตั้ ง โรงพยาบาลสนามมั ก ด� า เนิ น กิจกรรมการให้การช่วยเหลือผูบ้ าดเจ็บโดยยึดหลัก Triage คือ การคัดกรองแบ่งระดับผูบ้ าดเจ็บ ตามความรุนแรง เพื่อให้ผู้บาดเจ็บรุนแรงที่สุดได้รับ การรักษาพยาบาลช่วยชีวติ ก่อน โดยแบ่งเป็น ๔ ระดับ ดังนี้ ๑. แดง คื อ วิ ก ฤติ ฉุ ก เฉิ น ต้ อ งได้ รั บ การ ช่วยเหลือภายใน ๑-๔ นาที ไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิต เช่น ผู้ป่วยหมดสติ ไม่มีชีพจร ไม่หายใจ ๒. เหลือง คือ เร่งด่วน คือผู้ป่วยที่รอรับ การรั ก ษาได้ ภ ายในเวลา ๑-๒ ชั่ ว โมง เช่ น กรณี บาดแผลมีเลือดออก กระดูกหัก ๓. เขียว คือ ไม่เร่งด่วน เป็นผูป้ ว่ ยทีร่ อรักษา ได้ นานกว่ า ๔ ชั่ วโมง โดยไม่ เ ป็ นอั นตราย เช่ น บาดแผลถลอก ปวดกล้ามเนื้อ ๔. ด�า คือ ผู้ที่เสียชีวิตแล้ว Treatment การรักษาที่ช่วยเหลือให้พ้น ขีดอันตราย และเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมก่อนล�าเลียง ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลปลายทาง บางกรณีมีความ จ� า เป็ น ต้ อ งท� า การรั ก ษาโดยการผ่ า ตั ด ช่ ว ยเหลื อ ผูบ้ าดเจ็บเร่งด่วน เช่น การผ่าตัดห้ามเลือด จึงจ�าเป็น ต้องมีหอ้ งผ่าตัดโรงพยาบาลสนามอยูด่ ว้ ย นอกจากนี้ ยังมีการจัดห้องสังเกตอาการส�าหรับผู้ป่วยที่อาการ ไม่รุนแรงแต่ต้องนอนสังเกตอาการ Transfer คื อ การส่ ง ต่ อ ผู ้ บ าดเจ็ บ ไป โรงพยาบาลปลายทาง เพื่ อ ให้ ไ ด้ รั บ การรั ก ษา ที่ เ ฉพาะเจาะจง การส่ ง ต่ อ สามารถท� า ได้ ทั้ ง โดย ทางบก ทางอากาศยาน หรือทางน�า้ ต้องมีการเตรียม ผู ้ ป ่ ว ยให้ เ หมาะสมก่ อ นน� า ส่ ง รั ก ษาภาวะฉุ ก เฉิ น ต่อชีวิตให้คงที่ก่อนน�าส่ง

การน�าผู้บาดเจ็บมาที่จุดคัดกรองก่อนน�าส่งเข้าโรงพยาบาลเคลื่อนที่


ข่าวทหารอากาศ

กรมแพทย์ทหารอากาศได้เล็งเห็นความส�าคัญ ในการเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือบรรเทา สาธารณภัย จึงได้จดั การฝึกซ้อมโรงพยาบาลเคลือ่ นที่ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ ลานอเนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ โดย พลอากาศโท เกรียงไกร โสธรชัย เจ้ากรมแพทย์ ทหารอากาศ (ต�าแหน่งขณะนัน้ ) เป็นประธานพิธเี ปิด โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร โรงพยาบาลเคลือ่ นที่ กองทัพอากาศ และเยีย่ มชมการสาธิตการปฏิบตั กิ าร โรงพยาบาลเคลือ่ นที ่ กองทัพอากาศ ตามสถานการณ์ จ�าลอง โดยมี พลอากาศตรี เกรียงศักดิ์ อนุโรจน์ รองเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ พร้อมด้วย พลอากาศตรี เพชร เกษตรสุวรรณ ผูอ้ า� นวยการศูนย์ปฏิบตั กิ ารแพทย์ ทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ นายทหาร ชัน้ ผูใ้ หญ่ หัวหน้าหน่วยขึน้ ตรง กรมแพทย์ทหารอากาศ ร่วมให้การต้อนรับ

69


70

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารโรงพยาบาล เคลื่อนที่ กองทัพอากาศ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ ถึง ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ เป็ น บุ ค ลากรทางการแพทย์ ข องศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก าร แพทย์ทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ และ โรงพยาบาลภูมพิ ลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ แพทย์ประจ�าบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉกุ เฉิน รวม ๓๕ คน และเจ้ า หน้ า ที่ จ ากกรมช่ า งโยธาทหารอากาศ จ�านวน ๒ คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้ า ใจ ทั ก ษะและความเชี่ ย วชาญ ในการ ปฏิ บั ติ ก ารโรงพยาบาลเคลื่ อ นที่ กองทั พ อากาศ รวมทั้งทดสอบระบบการท�างานชุดห้องผ่าตัดสนาม แบบเต็นท์อัดอากาศ ประกอบโรงพยาบาลเคลื่อนที่ กองทัพอากาศ ก่อให้เกิดความพร้อมสามารถปฏิบัติ ภารกิจ ตอบสนองกองทัพอากาศ ทั้งในด้านการ เผชิ ญ ต่ อ ภั ย คุ ก คามทางยุ ท ธการ การปฏิ บั ติ ก าร ช่ ว ยเหลื อ ด้ า นมนุ ษ ยธรรม และบรรเทาภั ย พิ บั ติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

การฝึก CBRN หรือ Chemical Biological Radiation and Nuclear Team ปัจจุบันคือ การปฏิบัติการเคมี ชีว รังสี (คชร.)

นจอ.เหล่าแพทย์ ชั้นปีที่ ๒ ร่วมการฝึก คชร.


ข่าวทหารอากาศ

71

º·ºÒ·¢Í§ ÍÒ¡ÒÈÂÒ¹ äÃŒ¤¹¢Ñº

น.ท.รัตนสุทธิ สุทธิแยม อจ.กทสธ.รร.สธ.ทอ.ยศ.ทอ. อากาศยานไรคนขับ (Unmanned Aerial Vehicles, UAVs) เปนอากาศยานที่ไมมีนักบิน ประจําการอยูบนเครื่อง แตก็ยังสามารถควบคุมได จากระยะไกล (Remotely piloted aircraft : RPA) โดยทั่ ว ไประบบควบคุ ม ของอากาศยานไร ค นขั บ จะมีอยู ๒ ลักษณะดวยกัน คือ การควบคุมการบิน อั ต โนมั ติ จ ากระยะไกล โดยนั ก บิ น ที่ อ ยู  ใ นสถานี ควบคุมภาคพื้น (Remote pilot station: RPS) และ อีกลักษณะหนึง่ คือ การควบคุมการบินแบบอัตโนมัติ โดยใชระบบการบินดวยตนเองที่ตองอาศัยโปรแกรม คอมพิวเตอรที่มีความซับซอน อากาศยานไรคนขับ ถือเปนหนึ่งในยุทโธปกรณสําคัญของกองทัพอากาศ ซึ่งมีความไดเปรียบเหนือกวาอากาศยานที่ใชนักบิน (Manned Aircraft) ในหลาย ๆ ดาน ทําใหบทบาท หนาที่ของอากาศยานไรคนขับสวนใหญในปจจุบัน คือ การปฏิบัติภารกิจที่อากาศยานทั่วไปปฏิบัติไมได มีความเสี่ยงสูง หรือไมคุมคา ดังตอไปนี้ งานที่ทําซํ้า ๆ กอใหเกิดความลาและเกิด ความเบือ่ หนาย (Dull Roles) เชน การบินลาดตระเวน และเฝาตรวจ ซึ่งเปนภารกิจที่ตองใชเวลาบินนาน หลายชั่วโมง ตองใชสมาธิและความตั้งใจมากในการ เฝาตรวจ หากใชอากาศยานที่ใชนักบินก็จะทําให นั ก บิ น เกิ ด ความเหนื่ อ ย อ อ นล า และอาจจะมี ผลกระทบต อ ความปลอดภั ย ได ในทางตรงข า ม หากใชอากาศยานไรคนขับทีต่ ดิ ตัง้ กลองก็จะสามารถ ทําภารกิจในลักษณะเดียวกันได โดยมีบุคคลากร ทําหนาที่ในการเฝาตรวจและควบคุมอยูบนพื้นดิน

นักบินภายใน (Internal Pilot, IP) ของอากาศยานไรคนขับแบบ MQ-1B Predator

ซึ่ ง สามารถแบ ง ผลั ด ในการปฏิ บั ติ ห น า ที่ เ พื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพ และลดความเหนื่อยลาของบุคคลากร อากาศยานไรคนขับแบบ MQ-1B Predator และ MQ-9 Reaper ตั้งแตเริ่มประจําการไดถูกใช ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ในการข า วกรองการเฝ า ตรวจและ ลาดตระเวน รวมถึ ง การโจมตี เ ป า หมาย มาแล ว มากกวา ๔ ลาน ชั่วโมงบิน โดยเปนการปฏิบัติ ภารกิ จ ตลอด ๒๔ ชั่ ว โมง ซึ่ ง การปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ แบบตอเนือ่ งยาวนานลักษณะนีถ้ อื เปนความไดเปรียบ ของอากาศยานไร ค นขั บ เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ อากาศยานทั่วไปที่ตองใชนักบิน งานทีอ่ ยูใ นสภาวะแวดลอมทีไ่ มนา อภิรมย (Dirty Roles) และมีความเสีย่ งสูงหากตองใชมนุษย เขาไปปฏิบัติงาน เชน การบินตรวจการณในพื้นที่ ทีม่ กี ารปนเปอ นสารกัมตภาพรังสีหรือสารเคมี เปนตน


72

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กต้นแบบที่มหาวิทยาลัยเนวาดา สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหา กากนิวเคลียร์ (Nuclear waste) ภายในอุโมงค์

ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศแบบ SA-12 ซึ่งมีความสามารถในการ ตรวจจับอากาศยานที่ระดับความสูง ก�าลังติดตามเครื่องบิน F-16 Falcons

หน่วยทหารของสหรัฐอเมริกาก�าลังเตรียมอากาศยานไร้คนขับ ขนาดเล็กแบบ RQ-11 Raven ส�าหรับภารกิจลาดตระเวนค้นหา คลังอาวุธ ในจังหวัด Kunar ประเทศอัฟกานิสถาน เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๕๒

อากาศยานไร้คนขับของทีม Targeted Observation by Radars and UAS of Supercells (TORUS) ก�าลังบินตรงเข้าไปส�ารวจ การก่อตัวของกลุ่มเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง

ส�ำหรับกำรก�ำจัดกำกนิวเคลียร์ในบำงพื้นที่ เช่ น โรงไฟฟ้ ำพลั ง งำนนิ วเคลี ย ร์ ที่ Fukushima ประเทศญี่ ปุ ่ น ที่ ป ระสบปั ญ หำจำกเหตุ ก ำรณ์ แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ ๑๑ มีนำคม พ.ศ.๒๕๕๔ นั้น สิ่งแรกที่ทีมงำนก�ำจัดสำรปนเปื้อนจะต้องท�ำ ก็คือ กำรค้ น หำว่ ำ ต� ำ แหน่ ง ใดที่ เ ป็ น แหล่ ง สะสมของ สำรกั ม มั นตภำพรั ง สี ในปั จจุ บันมี นัก วิ จัย ที่ ก� ำ ลั ง พัฒนำหุ่นยนต์ที่สำมำรถบิน ด�ำน�้ำ หรือคลำนเข้ำไป ในที่แคบ ๆ เพื่อสร้ำงแผนที่และระบุต�ำแหน่งของ กำกนิวเคลียร์ทหี่ ลงเหลือหรือถูกซ่อนอยูไ่ ด้อย่ำงแม่นย�ำ งานด้านการทหารทีอ่ นั ตราย (Dangerous Roles) หรืออีกนัยหนึง่ คือภำรกิจทีม่ กี ำรต่อต้ำนจำก ข้ำศึกอย่ำงหนำแน่น ถ้ำหำกต้องเข้ำบินเข้ำไปปฏิบัติ ภำรกิ จ ในสถำนกำรณ์ ลั ก ษณะนี้ จะท� ำ ให้ นั ก บิ น ต้ อ งมุ ่ ง ควำมสนใจไปที่ ก ำรเฝ้ ำ ระวั ง กำรต่ อ ต้ ำ น ของข้ ำ ศึ ก มำกกว่ ำ ภำรกิ จ ที่ ต ้ อ งปฏิ บั ติ ซึ่ ง อำจ ส่ ง ผลให้ ข ำดประสิ ท ธิ ภ ำพในกำรปฏิ บั ติ อี ก ทั้ ง กำรใช้อำกำศยำนแบบทั่วไปในกำรปฏิบัติภำรกิจ ในพื้นที่เช่นนี้ ยังมีควำมเสี่ยงอันตรำยต่อชีวิตนักบิน มำกกว่ำกำรใช้อำกำศยำนไร้คนขับ นอกจำกนีอ้ ำกำศยำนทีใ่ ช้นกั บินโดยส่วนใหญ่ จะมีขนำดใหญ่พนื้ ทีห่ น้ำตัดใหญ่กว่ำเมือ่ เปรียบเทียบ กับอำกำศไร้คนขับ ท�ำให้สำมำรถมองเห็นหรือถูก ตรวจจับ และเกิดกำรต่อต้ำนจำกข้ำศึกได้โดยง่ำย งานทีต่ อ้ งการปกปิดเป็นความลับ (Covert Roles) เช่น กำรลำดตระเวนหำข่ำวภำยใน หรือ บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ของข้ำศึก ซึ่งไม่ต้องกำรให้เป็น ที่สังเกตหรือถูกตรวจจับได้จำกฝ่ำยข้ำศึก หน่วยทหำรของสหรัฐอเมริกำใช้อำกำศยำน ไร้คนขับขนำดเล็กแบบ RQ-11 Raven ในภำรกิจ ข่ ำ วกรองกำรเฝ้ ำ ตรวจและลำดตระเวนในพื้ น ที่ อันตรำยได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องส่งทหำรเข้ำไปเสี่ยง ซึ่งอำกำศยำนไร้คนขับนี้ช่วยให้หน่วยทหำรสำมำรถ เฝ้ำตรวจพืน้ ทีด่ งั กล่ำวผ่ำนสัญญำณภำพตำมเวลำจริง ทั้ ง ในเวลำกลำงวั น และกลำงคื น โดยที่ ข ้ ำ ศึ ก ไม่สำมำรถตรวจจับได้ งานภายใต้สภาวะฉุกเฉิน (Environmentally Critical Roles) เช่ น ภำรกิ จ ที่ ต ้ อ งท� ำ กำรบิ น ในสภำพอำกำศไม่ดี ต้องกำรเครื่องบินที่ใช้พลังงำน น้อย หรืออำกำศยำนที่สร้ำงเสียงรบกวนต�่ำ เป็นต้น


ข่าวทหารอากาศ

หากต้องการจะเข้าใจถึงวิธีการก่อตัวของ พายุทอร์นาโด เราจ�าเป็นต้องศึกษาพายุทเี่ ป็นต้นก�าเนิด ของทอร์นาโด ที่เรียกว่า Supercells ให้ดีเสียก่อน ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษากว่า ๕๐ คน ในสหรัฐอเมริกา ก�าลังท�าการศึกษาค้นคว้าที่ถือว่า เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก โดยการใช้อากาศยาน ไร้ ค นขั บ ที่ ติ ด ตั้ ง ระบบตรวจจั บ ต่ า ง ๆ ที่ จ� า เป็ น ในการเก็บข้อมูลสภาพอากาศในบริเวณที่มีกลุ่มเมฆ พายุฝนฟ้าคะนอง เริ่มก่อตัวขึ้น ซึ่งสภาพอากาศ ลั ก ษณะนี้ มี ค วามอั น ตรายและมี ค วามเสี่ ย งมาก เกิ น กว่ า จะใช้ อ ากาศยานที่ มี นั ก บิ น ขึ้ น ไปปฏิ บั ติ ภารกิจ จากบทบาทอั น ส� า คั ญ ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น แสดงให้เห็นถึงข้อได้เปรียบบางประการทีอ่ ากาศยาน ไร้ ค นขั บ มี เ หนื อ อากาศยานทั่ ว ไปที่ ต ้ อ งใช้ นั ก บิ น

73

กองทั พ อากาศจึ ง ได้ มี แ นวความคิ ด ในการปฏิ บั ติ ภารกิจ โดยการน�าอากาศยานไร้คนขับมาใช้งาน เพื่ อ เสริ ม ขี ด ความสามารถระบบการตรวจจั บ (Sensor) ที่ พ ร้ อ มสนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ก ารที่ ใ ช้ เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะในการปฏิบัติ ภารกิ จ ISTAR (Intelligence, Surveillance, Target Acquisition, and Reconnaissance) ซึ่งภารกิจ ISTAR นี้เอง จะเป็นการแสดงให้เห็นถึง ขีดความสามารถหลักของกองทัพอากาศ ในการ จั ด การข้ อ มู ล ข่ า วสารและการข่ า วกรอง ตั้ ง แต่ การได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร ไปจนถึงการวิเคราะห์ และการแจกจ่ า ยเพื่ อ ให้ ห น่ ว ยเกี่ ย วข้ อ งใช้ ง าน อั น จะน� า ไปสู ่ ก ารตั ด สิ น ตกลงใจในทุ ก ระดั บ ของ การบัญชาการและควบคุม ที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์

อ้างอิง - Suraj G. Gupta, Mangesh M. Ghonge, Dr. P. M. ). Jawandhiya. (2013). Review of Unmanned Aircraft System (UAS). International Journal of Advanced Research in Computer Engineering & Technology (IJARCET) Volume 2, Issue 4. p.1646. - Tech. Sgt. Daryl Knee. (2019). MQ-1B, MQ-9 flight hours hit 4 million. Retrieved Sep 21, 2019, from https://www.af.mil/ News/Article-Display/Article/1781271/mq-1b-mq-9-flight-hours-hit-4-million/ - Charles Choi. (2018). Charting Cleanup - Detecting Nuclear Waste. Retrieved Sep 23, 2019, from https://insideunmanned systems.com/ charting-cleanup-detecting-nuclear-waste/ - AeroVironment. (2019). RQ-11 Raven Unmanned Aerial Vehicle. Retrieved Sep 23, 2019, from https://www.army- technology. com/projects/ rq11-raven/ - Leslie Reed. (2019). Drones to soar in search of tornado triggers. Retrieved Sep 23, 2019, from https://news.unl.edu/ newsrooms/today/article/drones-to-soar-in-search-of-tornado-triggers/ - https://www.military.com/equipment/mq-1b-predator - https://insideunmannedsystems.com/charting-cleanup-detecting-nuclear-waste/ - https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Jet_over_mount.jpg - https://www.britannica.com/technology/military-aircraft/Unmanned-aerial-vehicles-UAVs - https://news.unl.edu/sites/default/files/styles/large_aspect/public/media/TTwistor3_03.53.jpg? itok=u5jwWLNf


74

ʶҺѹ෤â¹âÅÂÕ»‡Í§¡Ñ¹»ÃÐà·È Defence Technology Institute

รอบรูเทคโนโลยีปองกันประเทศ

สทป.

ความรวมมือพัฒนาระบบตอตานอากาศยานไรคนขับ (Counter Unmanned Aircraft Systems) การวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีปอ งกันประเทศ และการสงเสริมสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมปองกัน ประเทศใหเขมแข็ง เพื่อการพึ่งพาตนเองดานความ มัน่ คงของชาติอยางยัง่ ยืน ถือเปนภารกิจทีส่ าํ คัญของ สถาบันเทคโนโลยีปอ งกันประเทศ หรือ สทป. ภายใต พระราชบัญญัตเิ ทคโนโลยีปอ งกันประเทศ พ.ศ.๒๕๖๒ โดย สทป.ไดกาํ หนดใหเทคโนโลยีอากาศยานไรคนขับ เปน ๑ ใน ๕ เทคโนโลยีเปาหมายในการวิจยั และพัฒนา เพื่อความมั่นคง ภายใตแผนที่นําทางโครงการวิจัย และพัฒนาระบบอากาศยานไรคนขับของ สทป. ที่มี ความพรอมในการผลิตเชิงพาณิชย โดยพัฒนาตอยอด เพือ่ การใชงานในภาคพลเรือน ทัง้ นี้ สทป.ไดประสาน ความรวมมือดานเทคโนโลยีปองกันประเทศและ อุตสาหกรรมปองกันประเทศรวมกับหนวยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ทั้งในประเทศ และตางประเทศ เพือ่ สรางเครือขายพันธมิตรทีเ่ ขมแข็ง ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกลาว

สทป.จึงไดลงนามบันทึกขอตกลงวาดวย การรวมพัฒนาระบบตอตานอากาศยานไรคนขับ สําหรับศูนยการอุตสาหกรรมปองกันประเทศและ พลังงานทหาร รวมกับ ศูนยการอุตสาหกรรมปองกัน ประเทศและพลังงานทหาร หรือ ศอพท. ตามที่ปลัด กระทรวงกลาโหมไดกรุณาอนุมตั ิ เมือ่ วันที่ ๙ มิถนุ ายน ๒๕๖๓ ณ สถาบันเทคโนโลยีปองกันประเทศ โดย พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผูอํานวยการ สถาบันเทคโนโลยีปองกันประเทศ และ พลเอก ธนิส พิพิธวณิชการ ผูอํานวยการศูนยการอุตสาหกรรม ปองกันประเทศและพลังงานทหาร รวมลงนามบันทึก ขอตกลงวาดวยการรวมพัฒนาระบบตอตานอากาศยาน ไรคนขับ (Counter Unmanned Aircraft Systems) นั บ เป น จุ ด เริ่ ม ต น สํ า คั ญ ของความร ว มมื อ ในการ พัฒนาเทคโนโลยีระบบตอตานอากาศยานไรคนขับ หรือ Counter Unmanned Aircraft Systems ในการสรางเครือขายพันธมิตรที่มีความเขมแข็ง


ข่าวทหารอากาศ

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ พลังงานทหาร เป็นหนึง่ ในส่วนราชการของส�านักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม มี ภ ารกิ จ หลั ก ด้ า นการ อุ ต สาหกรรมและพลั ง งานทหารสู ่ อุ ต สาหกรรม ต้นแบบ ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม ด้วยความทันสมัย มีประสิทธิภาพ และมุง่ สูก่ ารพึง่ พา ตนเองอย่างยั่งยืน ได้สนับสนุน ส่งเสริม และผลักดัน การด�าเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศ ด้วยการร่วมมือกับภาคเอกชนทีม่ อี งค์ความรูเ้ ฉพาะทาง ตามแนวคิด Open Innovation สูต่ น้ แบบอุตสาหกรรม ป้ อ งกั น ประเทศตามความต้ อ งการของกองทั พ ที่ได้รับการยกระดับมาตรฐานทางการทหาร โดยมี กรมวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ก ลาโหม เป็ น ผูร้ บั ผิดชอบหลักในการพัฒนาให้ตน้ แบบอุตสาหกรรม เป็นทีย่ อมรับในระดับสากล และต่อยอดสูเ่ ชิงพาณิชย์ อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มุง่ ให้เกิดความยัง่ ยืนกับภาคเอกชนซึง่ เป็นฐานการผลิต หลักในประเทศ อากาศยานไร้คนขับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ ที่ถูกน�าไปใช้งาน ทั้งทางด้านการทหาร และพลเรือน เช่นเดียวกันกับ ประสิ ท ธิ ภ าพของเทคโนโลยี นี้ ถู ก พั ฒ นาแบบ ก้าวกระโดด และในบางครั้งก็ถูกน�าไปใช้งานด้าน ก่อการร้ายซึ่งส่งผลกระทบทั้งเศรษฐกิจและสังคม เช่ น การโจมตี ค ลั ง น�้ า มั น ๒ แห่ ง ของบริ ษั ท ซาอุ ดี อารามโค เมื่ อ เดื อ นกั น ยายนปี ที่ ผ ่ า นมา ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ จึงเป็นหนึ่งใน เทคโนโลยีที่ก�าลังจะเกิดขึ้นนับจากการร่วมพัฒนา ระหว่างศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ พลังงานทหาร กับ สถาบันเทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศ และเครื อ ข่ า ยพั น ธมิ ต รด้ า นนวั ต กรรมทางทหาร ทีไ่ ด้รบั การยอมรับในระดับสากล ด้วยการด�าเนินการ ๓ รูปแบบ ดังนี้ ๑. รูปแบบการท�างานแบบติดตั้งประจ�าที่ หรือ Fixed Station สามารถประยุกต์ใช้กับการ ป้ อ งกั น การก่ อ วิ น าศกรรมในพื้ น ที่ ข องศู น ย์ ก าร อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและพลั ง งานทหาร และกระทรวงกลาโหม รวมถึงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เช่น ท่ า อากาศยาน แหล่งปิโตรเลียม จากภั ย คุ ก คาม

75


76

รูปแบบใหม่ การก่อการร้าย และการสอดแนมจาก ผู้ไม่พึงประสงค์ ๒. รูปแบบการท�างานแบบเคลือ่ นทีไ่ ด้ หรือ Mobile Station สามารถย้ายจุดติดตั้งได้ โดยไม่ต้อง ใช้ เ ครื่ อ งทุ ่ น แรง และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพการท� า งาน เทียบเท่ารูปแบบติดตัง้ ประจ�าที่ หรือ Fixed Station ๓. รูปแบบการท�างานแบบปฏิบัติงานขณะ เคลื่ อนที่ ไ ด้ หรือ On the Move สามารถติ ดตั้ ง ทั้ ง ระบบบนรถบรรทุ ก ขนาดไม่ เ กิ น ๑.๒๕ ตั น ซึ่ ง สามารถประยุ ก ต์ ใ ช้ ง านในภารกิ จ ติ ด ตาม เพื่ อ ป้ อ งกั น ขบวนยานยนต์ บุ ค คลส� า คั ญ รวมถึ ง อาคันตุกะจากต่างประเทศที่มาเยือนประเทศไทย เพื่ อ ยกระดั บ มาตรฐานความมั่ น คงของประเทศ สู่ระดับสากล นอกจากนี้ สามารถควบคุมการท�างานแบบ แพลตฟอร์ ม เดี ย ว ตั้ ง แต่ ก ารตรวจจั บ การระบุ ประเภท และการต่ อ ต้ า นสกั ด กั้ น โดยมี ร ะบบ ประมวลผลส�าหรับผูใ้ ช้งานแบบกราฟฟิก ซึง่ สามารถ ควบคุมการใช้งานบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพียงหนึ่ง function และสามารถแสดงผลบนมอนิเตอร์เพียง

๑ จอ ทั้งระบบสามารถใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ๒ คน โดยสถาบันเทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศจะเป็นผูบ้ รู ณาการ การฝึ ก อบรมการใช้ เ ทคโนโลยี ดั ง กล่ า วภายใต้ การด� า เนิ น งานของศู น ย์ เ ทคโนโลยี ก ารต่ อ ต้ า น อากาศยานไร้คนขับ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบ อากาศยานไร้ ค นขั บ ให้ กั บ ข้ า ราชการกระทรวง กลาโหม และหน่วยงานความมั่นคงอื่น เพื่อพัฒนา หลั ก นิ ย มต่ อ ต้ า นอากาศยานไร้ ค นขั บ ในอนาคต ให้สอดคล้องกับทิศทางและแนวนโยบายความมัน่ คง ของโลกในอนาคต เนื่ อ งจากการวิ จั ย และพั ฒ นา มีส่วนส�าคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติ และ การวิจัยพัฒนาจะน�าไปสู่การพึ่งพาเทคโนโลยีของ ตนเอง ซึ่ ง จะส่ ง ผลดี ต ่ อ ความมั่ น คงของประเทศ อย่ า งยั่ ง ยื น และน� า ผลงานวิ จั ย ไปใช้ ป ระโยชน์ เชิงพาณิชย์ได้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และแผนยุทธศาสตร์ ในการตอบสนองอุตสาหกรรม เป้าหมายที่ ๑๑ (S-Curve 11) ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี และเป็นประโยชน์ กับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศโดยตรงต่อไป


ข่าวทหารอากาศ

77

¡ÒÃŧ¹ÒÁºÑ¹·Ö¡¤ÇÒÁࢌÒ㨠ÃÐËÇ‹Ò§¡Í§ºÑÞªÒ¡Òáͧ·Ñ¾ä·Â¡Ñº¡Í§·Ñ¾ÍÒ¡ÒÈ Ç‹Ò´ŒÇ¤ÇÒÁËÇÁÁ×Í´ŒÒ¹¡ÒÃá¾·Â ปชส.รพ.ทอ.(สีกัน) พอ. นับตั้งแต กรมแพทยทหารอากาศไดสราง รพ.ทหารอากาศ (สีกัน) ในพื้นที่เขตดอนเมืองขึ้น เพื่อรองรับผูใชบริการดานการแพทยที่นับวันจะเพิ่ม มากขึ้ น เรื่ อ ย ๆ และเพื่ออํานวยความสะดวกแก ขาราชการ ทอ.และครอบครัว ตลอดจนประชาชน ในบริเวณโดยรอบ จนปจจุบันไดพัฒนาและขยาย กรอบการใหบริการไปถึงหนวยงานทหาร และหนวย ราชการในพืน้ ทีใ่ กลเคียง ลาสุดไดมกี ารลงนามบันทึก ความเข า ใจระหว า งกองบั ญ ชาการกองทั พ ไทย กับกองทัพอากาศวาดวยความรวมมือดานการแพทย โดยมีวัตถุประสงคคือ เพื่อ สงเสริม สนับสนุน และ ประสานความรวมมือดานการแพทย การวิจัย และ พัฒนาดานการศึกษา และฝกอบรมดานการแพทย และการสาธารณสุข ดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ดานสิ่งแวดลอม และดานการชวยเหลือผูประสบภัย พิบตั หิ รือเจ็บปวยฉุกเฉิน ตามขอบเขตภายในภารกิจ และขีดความสามารถของกองบัญชาการกองทัพไทย และกองทัพอากาศ

ขอบเขตความรวมมือ ๑. ความรับผิดชอบรวมกันกองบัญชาการ กองทัพไทยและกองทัพอากาศจะรับผิดชอบรวมกัน ในการดํารงไวซึ่งปฏิสัมพันธอยางใกลชิดและความ ร ว มมื อ กั น เพื่ อ ยื น ยั น ถึ ง เจตนารมณ ข องบั น ทึ ก ความเขาใจ กับจะยึดมั่นในขอตกลงและเงื่อนไข ๒. ขอตกลงทั่วไป ๒.๑ การปฏิบตั ติ ามบันทึกความเขาใจนี้ จะตองไมขัดตอกฎหมาย ระเบียบคําสั่ง ขอบังคับ หรื อ แบบธรรมเนี ย มในการปฏิ บั ติ ที่ ดี ข องทั้ ง สอง หนวยงาน ๒.๒ บันทึกความเขาใจนี้ เปนไปเพื่อ บรรลุวัตถุประสงคประโยชนรวมกันของทั้งสองฝาย ซึง่ จะตองปฏิบตั ติ ามบันทึกความเขาใจอยางเอือ้ ประโยชน ในความรวมมือซึ่งกันและกัน ๒.๓ กองบัญชาการกองทัพไทย โดย สํานักงานแพทยทหาร กรมยุทธบริการทหารและ กองทัพอากาศ โดยโรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน)


78

กรมแพทย์ทหารอากาศ ทั้งสองหน่วยงานจะเป็น หน่ ว ยติ ด ต่ อ ประสานการปฏิ บั ติ ต ามบั น ทึ ก ความ เข้าใจนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ กรณี ที่ ส� ำ นั ก งำนแพทย์ ท หำร กรมยุ ท ธ บริกำรทหำร ให้กำรสนับสนุน ๑. ประสานความร่วมมือกับ โรงพยาบาล ทหารอากาศ (สีกัน) กรมแพทย์ทหารอากาศ ในด้าน การรั ก ษาพยาบาลและการส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยก� า ลั ง พล กองบัญชาการกองทัพไทย และครอบครัว โดยใช้สทิ ธิ เบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง ๒. ประสานความร่วมมือกับ โรงพยาบาล ทหารอากาศ (สีกัน) กรมแพทย์ทหารอากาศ ในด้าน การรักษาพยาบาลและการส่งต่อผู้ป่วยทหารกอง ประจ�าการสังกัด กองบัญชาการกองทัพไทย ในหน่วย กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ส� า นั ก กองบั ญ ชาการ กองบั ญ ชาการกองทั พ ไทย และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการ กองทัพไทย โดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มาใช้สิทธิการรักษาโดยตรงกับโรงพยาบาลทหาร อากาศ (สีกัน) กรมแพทย์ทหารอากาศ ๓. ให้การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ในสาขาทีโ่ รงพยาบาลทหารอากาศ (สีกนั ) กรมแพทย์ ทหารอากาศ ขอรับการสนับสนุน

๔. ร่ ว มมื อ กั บ โรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) กรมแพทย์ทหารอากาศ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ๔.๑ ด้ า นการวิ จั ย และพั ฒ นา เช่ น โครงการวิจัยต่าง ๆ และความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยทางการแพทย์ ๔.๒ ด้ า นการศึ ก ษาและฝึ ก อบรม ทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น การฝึกร่วม ทางการแพทย์เพือ่ ปฏิบตั ภิ ารกิจช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย ๔.๓ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่ น พั ฒ นางานด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ในทางการแพทย์ ด้วยการแต่งตั้งคณะท�างานร่วม ระหว่างหน่วยงาน ๔.๔ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ รณรงค์และปฏิบัติเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ๔.๕ ด้ า นการช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบภั ย พิบัติหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น ช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนการช่วยเหลือและส่งต่อ ผู้ป่วย กรณีฉุกเฉิน จากกองบัญชาการกองทัพไทย ๕. การด� า เนิ น การตามข้ อ ๓ และข้ อ ๔ ส�านักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร สามารถ ประสานงานกับส่วนราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย ในการสนับสนุนภารกิจที่ได้รับการร้องขอ


ข่าวทหารอากาศ

กรณีที่ โรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) กรมแพทย์ทหารอากาศ ให้การสนับสนุน ๑. ให้ ก ารสนั บ สนุ น ในด้ า นการรั ก ษา พยาบาลและการรับผูป้ ว่ ยของก�าลังพล กองบัญชาการ กองทัพไทย และครอบครัว โดยใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง กรมบัญชีกลาง ๒. ให้ ก ารสนั บ สนุ น ในด้ า นการรั ก ษา พยาบาลและการรับผูป้ ว่ ยทหารกองประจ�าการสังกัด กองบัญชาการกองทัพไทย ในหน่วยกรมการสื่อสาร ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ส�านักกองบัญชาการ กองทั พ ไทย และหน่ ว ยบั ญ ชาการทหารพั ฒ นา กองบัญชาการกองทัพไทย โดยใช้สิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ให้มาใช้สิทธิการรักษาโดยตรงกับ โรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) กรมแพทย์ทหาร อากาศ ๓. ขอรับการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ในสาขาที่ขาดแคลนจากกองบัญชาการกองทัพไทย ๔. ร่วมมือกับส�านักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธ บริการทหาร ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ๔.๑ ด้ า นการวิ จั ย และพั ฒ นา เช่ น โครงการวิจัยต่าง ๆ และความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยทางการแพทย์ ๔.๒ ด้ า นการศึ ก ษาและฝึ ก อบรม ทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น การฝึกร่วม

79

ทางการแพทย์เพือ่ ปฏิบตั ภิ ารกิจช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย ๔.๓ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่ น พั ฒ นางานด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ในทางการแพทย์ ด้วยการแต่งตั้งคณะท�างานร่วม ระหว่างหน่วยงาน ๔.๔ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ รณรงค์และปฏิบัติเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ๔.๕ ด้ า นการช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบภั ย พิบัติหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น ช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนการช่วยเหลือและส่งต่อ ผู ้ ป ่ ว ย กรณี ฉุ ก เฉิ น ไปยั ง สถานพยาบาลอื่ น ของ กรมแพทย์ทหารอากาศ ๕. การด�าเนินการตามข้อ ๔ โรงพยาบาล ทหารอากาศ (สีกนั ) กรมแพทย์ทหารอากาศสามารถ ประสานงานกั บ กรมแพทย์ ท หารอากาศ ในการ สนับสนุนภารกิจที่ได้รับการร้องขอ ทั้งนี้ทาง รพ.ทหารอากาศ (สีกัน) พร้อม มุ ่ ง มั่ น ทุ ่ ม เท ท� า งานเพื่ อ ให้ บ ริ ก ารด้ า นการดู แ ล สุขภาพของก�าลังพล ทอ.และครอบครัว ตลอดจน พีน่ อ้ งข้าราการ ในกองบัญชาการกองทัพไทย รวมทัง้ พีน่ อ้ งประชาชนในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงอย่างเต็มความสามารถ และจะพัฒนาขยายขีดความสามารถด้านการแพทย์ และบริการให้เจริญก้าวหน้าต่อไป


80

ความรู้เกี่ยวกับ อ�านาจศาลทหาร ร.อ.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ รรก.นายทหารพระธรรมนูญ บน.๑

ศาลทหารคืออะไร ศาลทหาร คือ ศาลที่ต้ังขึ้นตามกฎหมายว่าด้วย ธรรมนู ญ ศาลทหาร เพื่ อ พิ จ ารณาพิ พ ากษาวางบท ลงโทษทหารที่กระท�าความผิดต่อกฎหมายทหาร หรือ กฎหมายอื่น ๆ ในทางอาญา เหตุที่ต้องมีศาลทหาร ทหาร คือ ประชาชนส่วนหนึ่งซึ่งเป็นก�าลังส�าคัญ ของชาติ ได้รบั มอบหมายให้เป็นบุคคลทีม่ หี น้าทีใ่ ช้อาวุธ เพือ่ ปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงจ�าเป็น ต้องควบคุมทางวินัยอย่างเข้มงวดทั้งในเวลาสงบและมี

ศึกสงคราม กองก�าลังทหารจึงมีสมรรถภาพพร้อมรบ หรือปฏิบตั กิ ารรบได้อย่างดีเยีย่ มในสนามรบย่อมขึน้ อยู่ กับวินัยและขวัญของทหารเป็นส�าคัญ ทหารจะต้องอยู่ ในวินัย มีขวัญที่ดี เชื่อฟังค�าสั่งของผู้บังคับบัญชาต้อง ยึดถืออยู่เสมอว่าค�าสั่งของผู้บังคับบัญชามีค่ายิ่งกว่า ตั ว ทหาร ถ้ า ทหารเสื่ อ มเสี ย วิ นั ย แล้ ว สมรรถภาพ ของกองก�าลังทหารก็จะเสือ่ มโทรมจนถึงขัน้ เป็นภัยร้ายแรง ต่อประเทศชาติได้ ด้วยเหตุนผี้ บู้ งั คับบัญชาทหารจึงต้อง ควบคุมดูแล ตลอดจนต้องท�าการกวดขันวินยั ของทหาร โดยใกล้ชิดอยู่เสมอ ไม่ว่ากองก�าลังทหารจะไปปฏิบัติ


ข่าวทหารอากาศ

81

๑. ศาลทหารชั้นต้น เทียบได้กับศาลชั้นต้นของ หน้าที่ในหรือนอกราชอาณาจักร เมื่อทหารกระท�าผิด ในเรื่ อ งของวิ นั ย โดยเฉพาะ หรื อ กระท� า ผิ ด อาญา ศาลยุติธรรมพลเรือน มีอยู่ ๓ ประเภท คือ ประเภทที่ ๑ ศาลมณฑลทหาร ซึ่งมีลักษณะ ประเภทที่ ก ฎหมายทหารยอมให้ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชา ลงทัณฑ์ได้ ผู้บังคับบัญชาทหารจึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องมี คล้ายศาลจังหวัดของพลเรือน มีอ�านาจในการพิจารณา ส่ ว นในการพิ จ ารณาสั่ ง ลงทั ณ ฑ์ ท หารที่ ก ระท� า ผิ ด พิพากษาคดีมากกว่าศาลจังหวัดทหาร ประเภทที่ ๒ ศาลทหารกรุงเทพ ซึง่ มีลกั ษณะ ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กัก ขัง หรือ จ�าขัง เป็นต้น แต่ถา้ การกระท�าผิดนัน้ เป็นความผิดทางอาญาทีไ่ ม่อาจ คล้ายศาลอาญาของพลเรือน มีอ�านาจในการพิจารณา ใช้วิธีลงทัณฑ์ได้ หรือเป็นความผิดที่กระทบกระเทือน พิพากษาคดีมากกว่าศาลทหารชั้นต้นประเภทอื่น ๆ ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร สมควรจะได้รับโทษ ประเภทที่ ๓ ศาลประจ�าหน่วยทหาร ศาลทหาร แตกต่างจากพลเรือนก็จ�าเป็นจะต้องใช้วิธีการทาง ชัน้ ต้นประเภทสุดท้ายนีม้ ลี กั ษณะพิเศษไม่อาจเทียบกับ ศาลทหาร เพื่ อ พิ จ ารณาพิ พ ากษาลงโทษทหาร ศาลพลเรือนใดได้ ทีก่ ระท�าผิดตามควรแก่โทษานุโทษต่อไป เช่น ประหาร (เดิมศาลทหารชั้นต้น มี ๔ ประเภท รวมศาล ชีวิต จ�าคุก กักขัง ปรับ หรือ ริบทรัพย์สิน เป็นต้น จังหวัดทหาร แต่ปจั จุบนั ศาลจังหวัดทหารถูกยกเลิกโดย กฎหมายทหาร พระราชกฤษฎีกาก�าหนดอ�านาจศาลมณฑลทหาร พ.ศ. กฎหมายที่เป็นหลักเกี่ยวกับกระบวนยุติธรรม ๒๕๕๘ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ทหารมี ๔ ฉบับ คือ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก วันที่ ๘ RED Eagle ๑. ประมวลกฎหมายอาญาทหาร กันยายน ๒๕๕๘) ) ๒. พระราชบั ญ ญั ติ ก ฎอั ย การศึ ก พระพุ ท ธ ๒. ศาลทหารกลาง เทียบได้กับศาลอุทธรณ์ของ ศักราช ๒๔๕๗ พลเรือน ๓. พระราชบัญญัตวิ า่ ด้วยวินยั ทหาร พุทธศักราช ๓. ศาลทหารสูงสุด เทียบได้กับศาลฎีกาของ พลเรือน ๒๔๕๗ นอกจากศาลทหาร ๓ ชั้น ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ๔. พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ยังมีศาลทหารอีกประเภทหนึ่ง คือ ศาลอาญาศึก ๒๔๙๘ อ�านาจศาลทหาร ระบบศาลทหาร ศาลทหารมี อ� า นาจพิ จ ารณาพิ พ ากษาวางบท ศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ สังกัดอยู่ในกระทรวงกลาโหม มีรัฐมนตรี ลงโทษผู้กระท�าผิดต่อกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอื่น ว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผูร้ บั ผิดชอบในงานธุรการ ในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระท�าผิดเป็นบุคคลที่อยู่ใน ของศาล ส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ อ� า นาจศาลทหารในขณะกระท� า ผิ ด และมี อ� า นาจ ศาลทหาร คือ กรมพระธรรมนูญ ซึ่งเป็นหน่วยงาน สัง่ ลงโทษบุคคลใด ๆ ทีก่ ระท�าผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล ขึ้นตรงส�านักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีเจ้ากรม ตามที่ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ นประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณา พระธรรมนู ญ (อั ต รา พล.อ. พล.ร.อ. พล.อ.อ.) ความแพ่ง บุคคลที่อยู่ในอ�านาจศาลทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ส�าหรับการพิจารณาคดี ตามพระราชบั ญ ญั ติ ธ รรมนู ญ ศาลทหาร พ.ศ. ตลอดถึงการทีจ่ ะมีคา� สัง่ หรือค�าพิพากษาบังคับคดีเป็น ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ บุคคลที่อยู่ในอ�านาจศาลทหาร อ�านาจดุลพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะ ศาลทหาร แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น ท�านองเดียวกัน มีดังนี้ ๑. นายทหารชั้ น สั ญ ญาบั ต รประจ� า การ คือ กับศาลยุติธรรมของพลเรือน


82

ผูซ้ งึ่ ได้รบั ยศทหารตัง้ แต่รอ้ ยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ขึ้นไป รวมตลอดถึงผู้ซึ่งได้ว่าที่ยศในชั้นนั้น ๆ ๒. นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจ�าการ เฉพาะเมื่ อ กระท� า ผิ ด ต่ อ ค� า สั่ ง หรื อ ข้ อ บั ง คั บ ตาม ประมวลกฎหมายอาญาทหาร โดยนายทหารชั้ น สัญญาบัตรนอกประจ�าการที่ยังอยู่ในข่ายที่กระท�าผิด ต่อค�าสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา ทหารได้นั้น ได้แก่ นายทหารกองหนุน นายทหารนอก ราชการ และนายทหารพ้นราชการ ๓. นายทหารประทวนและพลทหารกอง ประจ�าการหรือประจ�าการ หรือบุคคลที่รับราชการ ทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร นายทหารประทวน ส�าหรับทหารบก ได้แก่ จ่าสิบเอก จ่าสิบโท จ่าสิบตรี ลงไปจนถึง สิบตรี ทหารเรือ ได้แก่ พันจ่าเอก พันจ่าโท พันจ่าตรี ลงไปจนถึง จ่าตรี และทหารอากาศ ได้แก่ พันจ่าอากาศเอก พันจ่าอากาศโท พันจ่าอากาศตรี ลงไปจนถึง จ่าอากาศตรี ทหารกองประจ�าการ หมายความถึง ผูซ้ งึ่ ขึน้ ทะเบียนกองประจ�าการและได้เข้ารับราชการทหารใน กองประจ�าการจนกว่าจะได้ปลด ซึ่งตามปกติมีก�าหนด ๒ ปี ส่วนใหญ่ได้แก่ผู้ที่เรียกกันว่าทหารเกณฑ์ ทหารประจ�าการ หมายความถึง ทหารซึง่ รับ ราชการตามที่กระทรวงกลาโหมก�าหนด ซึ่งไม่ใช่ทหาร กองประจ�าการ ได้แก่ ข้าราชการทหารทั่วไป อาจเป็น พลทหารประจ�าการ นายทหารประทวนประจ�าการ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจ�าการก็ได้ บุคคลทีร่ บั ราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วย การรับราชการทหาร หมายความถึง ทหารกองเกิน หรือ ทหารกองหนุนซึ่งถูกเรียกเข้ารับราชการทหาร เมื่อมี การระดมพลเข้าฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลอง ความพรั่งพร้อม ๔. นั ก เรี ย นทหารตามที่ ก ระทรวงกลาโหม ก�าหนด ได้แก่ นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ นักเรียนนายสิบ นักเรียนจ่า เป็นต้น ในกรณีทนี่ กั เรียนเหล่านีก้ ระท�าผิดต้องค�านึงถึง

อายุด้วย เพราะอาจอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องส่งไปด�าเนินคดี ในศาลเยาวชนและครอบครัวก็ได้ ๕. ทหารกองเกิ น ที่ ถู ก เข้ า กองประจ� า การ ซึ่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ฝ ่ า ยทหารได้ รั บ ตั ว ไว้ เ พื่ อ ให้ เข้ า รั บ ราชการประจ�าอยู่ในหน่วยทหาร หมายความถึง ทหารกองเกินซึ่งได้รับการ ตรวจเลือกและถูกเข้าเป็นทหารกองประจ�าการ เมื่อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้ เพื่อให้เข้ารับราชการ ประจ�าอยูใ่ นหน่วยทหารแล้ว แม้ยงั ไม่ทนั ได้ขนึ้ ทะเบียน กองประจ�าการก็ต้องถือว่าได้เป็นบุคคลที่อยู่ในอ�านาจ ศาลทหารตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป หากไปกระท�าผิด ทางอาญาในขณะนั้น ก็ต้องด�าเนินคดีในศาลทหาร ๖. พลเรื อ นที่ สั ง กั ด อยู ่ ใ นราชการทหาร เมือ่ กระท�าผิดในหน้าทีร่ าชการ หรือกระท�าผิดอย่างอืน่ เฉพาะในหรือบริเวณอาคาร ทีต่ งั้ หน่วยทหาร ทีพ่ กั ร้อน พั ก แรม เรื อ อากาศยาน หรื อ ยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร พลเรือนในสังกัดอยู่ในราชการทหาร ได้แก่ ข้าราชการกลาโหมพลเรือน พนักงานราชการ และ ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง เมื่อได้กระท�าผิดใน หน้าที่ราชการแล้ว ไม่ว่าจะกระท�าผิด ณ ที่ใด ตกเป็น บุคคลที่อยู่ในอ�านาจศาลทหารทันที แต่ถ้ากระท�าผิด อย่างอื่นที่มิใช่กระท�าผิดในหน้าที่ราชการแล้ว จะตก เป็นบุคคลทีอ่ ยูใ่ นอ�านาจศาลทหารก็ตอ่ เมือ่ การกระท�า ผิดอย่างอื่นนั้น ได้กระท�าเฉพาะในหรือบริเวณอาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหาร ๗. บุคคลซึ่งต้องขัง หรืออยู่ในความควบคุม ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายความถึง ผูต้ อ้ งขังในเรือนจ�าทหาร หรือ ผู้ต้องหาซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารควบคุมตัวระหว่าง สอบสวน หรือถูกควบคุมตัวในระหว่างการจับกุมของ สารวัตรทหารหรือผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลอื่นซึ่งเข้า มาอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามที่ กฎหมายก�าหนด


ข่าวทหารอากาศ

๘. เชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความ ควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เชลยศึก หมายความถึง ศัตรูซึ่งได้ตกอยู่ใน อ�านาจของฝ่ายเรา ตามทีร่ ะบุไว้ในข้อ ๔ แห่งอนุสญ ั ญา เจนี ว าเกี่ ย วกั บ การปฏิ บั ติต่ อ เชลยศึ ก ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๒ ซึง่ มีพระราชบัญญัตบิ งั คับการให้ เป็ น ไปตามอนุ สั ญ ญาเจนี ว าเกี่ ย วกั บ การปฏิ บั ติ ต ่ อ เชลยศึก ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๒ ชนชาติศตั รู หมายความถึง ผูซ้ งึ่ ในกรณีพพิ าท หรือยึดครอง ได้ตกอยู่ในอ�านาจของภาคีคู่พิพาทฝ่าย หนึ่ง หรือของประเทศที่ยึดครองอันบุคคลเหล่านั้นมิใช่ เป็นคนชาติตามทีบ่ ญั ญัตไิ ว้ในข้อ ๔ แห่งอนุสญั ญาเจนีวา เกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม ลงวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๒ กล่าวโดยสรุปคือ คนต่างชาติที่เป็นศัตรูกับประเทศไทย เชลยศึ ก หรื อ ชนชาติ ศั ต รู ดั ง ที่ ก ล่ า วมานี้ เมือ่ อยูใ่ นความควบคุมของเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยทหารก็ตกเป็น บุคคลที่อยู่ในอ�านาจศาลทหาร คดีที่อยู่ในอ�านาจศาลทหาร คือ คดีที่ผู้กระท�าผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอ�านาจ ศาลทหารในขณะกระท�าผิด ไม่ว่าจะกระท�าผิดต่อ กฎหมายทหาร หรือกฎหมายอืน่ ในทางอาญา นอกจากนัน้ ศาลทหารยังมีอ�านาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระท�าผิด ฐานละเมิดอ�านาจศาลตามทีบ่ ญ ั ญัตใิ นประมวลกฎหมาย วิธพี จิ ารณาความแพ่งได้ดว้ ย โดยไม่คา� นึงว่าผูน้ นั้ จะเป็น บุคคลทีอ่ ยูใ่ นอ�านาจศาลทหารในขณะกระท�าผิดหรือไม่ บุคคลดังกล่าวอาจเป็นทนาย พยาน หรือประชาชนทีม่ า ศาลก็ได้ และคดีที่มีกฎหมาย ประกาศ หรือค�าสั่งที่เป็น กฎหมายหรือมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย บัญญัตใิ ห้เป็น คดีที่อยู่ในอ�านาจศาลทหาร เช่น ตามประกาศหรือ ค�าสัง่ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับต่าง ๆ เป็นต้น อ้างอิง

83

คดีที่ไม่อยู่ในอ�านาจศาลทหาร คดีทไี่ ม่อยูใ่ นอ�านาจศาลทหาร มี ๔ ประเภท คือ ๑. คดี ที่ บุ ค คลที่ อ ยู ่ ใ นอ� า นาจศาลทหารกั บ บุคคลที่มิได้อยู่ในอ�านาจศาลทหารกระท�าผิดด้วยกัน เช่น ทหารกับพลเรือนร่วมกันลักทรัพย์ หรือทหารกับ พลเรือนต่างขับรถสวนทางกันด้วยความประมาท เป็น เหตุให้รถเฉีย่ วชนกัน ผูโ้ ดยสารทีน่ งั่ มาในรถถึงแก่ความ ตาย ดังนีถ้ อื ว่าเป็นการกระท�าผิดด้วยกัน ซึง่ ต้องด�าเนิน คดีในศาลพลเรือน ๒. คดี ที่ เ กี่ ย วพั น กั บ คดี ที่ อ ยู ่ ใ นอ� า นาจศาล พลเรือน เช่น พลทหาร ก. มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับ อนุญาต ซึง่ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตอิ าวุธปืน ฯ แล้ว พลทหาร ก. ได้ใช้อาวุธปืนนัน้ ไปร่วมกับพวกซึง่ เป็น พลเรือนอีก ๒ คน กระท�าการปล้นทรัพย์ ดังนี้ คดีที่ พลทหาร ก. มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รบั อนุญาต เป็นคดีทอี่ ยูใ่ น อ�านาจศาลทหาร เพราะไม่ได้รว่ มกระท�าผิดกับพลเรือน ส่วนคดีที่ พลทหาร ก. ไปร่วมกับพวกกระท�าการปล้น ทรัพย์นนั้ เป็นคดีทอี่ ยูใ่ นอ�านาจศาลพลเรือน กรณีจงึ เป็น คดีเกีย่ วพันกันไม่อยูใ่ นอ�านาจศาลทหาร ซึง่ คดีนจี้ ะต้อง ด�าเนินคดีในศาลพลเรือน ๓. คดี ที่ ต ้ อ งด� า เนิ น ในศาลเยาวชนและ ครอบครัว เช่น กรณีที่นักเรียนทหารกระท�าความผิด ดังได้กล่าวมาแล้วในเรือ่ งบุคคลทีอ่ ยูใ่ นอ�านาจศาลทหาร เกณฑ์อายุของบุคคลที่ต้องถูกด�าเนินคดีในศาลเยาวชน และครอบครัว ถือในวันทีก่ ารกระท�าความผิดได้เกิดขึน้ มีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ ๔. คดีทศี่ าลทหารเห็นว่าไม่อยูใ่ นอ�านาจศาลทหาร หมายความว่า คดีนั้นศาลทหารได้พิจารณาแล้วและได้ มีคา� สัง่ หรือค�าพิพากษาว่าคดีไม่อยูใ่ นอ�านาจศาลทหาร จะเนือ่ งจากกรณีใดก็ตาม กรณีดงั กล่าวนีต้ อ้ งด�าเนินคดี ในศาลพลเรือน

- พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ - พระราชกฤษฎีกาก�าหนดเขตอ�านาจศาลมณฑลทหาร พ.ศ.๒๕๕๘ - เอกสาร เรื่อง ระบบศาลทหารและวิธีพิจารณาความอาญาทหาร รวบรวมโดย ส�านักตุลาการทหาร กรมพระธรรมนูญ


84

ภาษาไทย ด้วยใจรัก

นวีร

“ภาษาไทยเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของชาติ

ภาษาทั้งหลายเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของมนุษยชนิดหนึ่ง คือเปนทางสาหรับแสดงความคิดเห็นอยางหนึ่ง เปนสงสวยงามอยางหนึ่ง เชนในทางวรรณคดี เปนตน” พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ตรึงใจไกลบาน “...ฉันไมไดแตงใหปบ ลิกอาน...เปนหนังสือฉันมีไปถึงลูก ฉันยอมใหเธอเปนผูร วบรวมขอความเอาไป ลงพิมพ...สวนคอปไรตฉันใหลูกหญิงนอย ขอใหลงทะเบียนไวดวย...หนังสือฉบับนี้ฉันใหชื่อวา ไกลบาน... หนังสือฉบับนี้จะปรากฏวาเปนหนังสือฉันแตง จําเปนตองใหเปนภาษาไทยอยางดี...” ขอความขางตนนี้ คือ พระราชหัตถเลขาตอนหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงมีถึงสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เกี่ยวกับพระราชหัตถเลขาสวนพระองค ที่ทรงมีถึง สมเด็จพระเจาลูกเธอเจาฟานิภานพดล (หญิงนอย) เมื่อครั้งเสด็จพระราชดําเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๔๕๐ จํานวน ๔๓ ฉบับ รวมหนาหนังสือ ๑,๘๕๐ หนา เมื่อกลับคืนมาถึงพระนครเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๐ มีรบั สัง่ วา พระราชหัตถเลขาสวนพระองคนที้ รงอนุญาตใหผอู นื่ อานบาง เมือ่ ผูท ไี่ ดอา น รูสึกสนุกเพลิดเพลินและเห็นคุณคาของพระราชหัตถเลขานี้ก็อยากใหเปนที่แพรหลาย และขอพระราชทาน พิมพเผยแพร จึงรับสั่งใหสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เปนผูจัดพิมพเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๐ พระราชนิพนธเรื่องไกลบานนี้ เปนรอยแกวจดหมายเหตุรายวันในลักษณะพอเลาถึงสิ่งที่ไดพบเห็น ใหลูกไดเห็นภาพตามที่ไดพบเห็นมา นับตั้งแตลงเรือพระที่นั่งจักรีออกจากกรุงเทพมหานคร โดยทางเรือและ รถไฟผานประเทศตาง ๆ ไดแก สิงคโปร อิตาลี สวิสเซอรแลนด เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม เดนมารก และนอร เวย ทั้งนี้จ ะทรงแทรกแนวพระราชดํ า ริ แ ละพระวิ นิจฉั ย ส วนพระองค ต  อ สิ่ ง ที่ ไ ด ท รงพบเห็ น


ข่าวทหารอากาศ

85

และเหตุการณ์ตา่ ง ๆ ซึง่ ล้วนสะท้อนให้เห็นทัศนคติ สภาพบ้านเมือง สังคม และชีวติ ความเป็นอยูข่ องประชาชน แต่ละประเทศ เพื่อมุ่งหวังให้รับเอาแนวคิดและสิ่งที่ได้พบเห็นเป็นแนวทางท�าให้ประเทศชาติมีเอกราช และท�าให้พสกนิกรอยู่ดีมีสุขตลอดไป สิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทรงพบเห็น จะทรงเล่าอย่างละเอียดด้วยการบรรยายและพรรณนาอย่างมีภาพพจน์ เช่น ในพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๗ ตอนเสด็จประพาสแอคแควเรียม เมืองเนเปิล (อักขรวิธีคงแบบเดิม) “...แอคแควเรียมนี้ตั้งอยู่สุดของสวน ซึ่งต่อกับโฮเต็ลรอยัลใกล้ทะเล ต้องผ่านโฮเต็ลไป คราวก่อน ได้เดินไปดูถึง ๒ ครั้ง คราวนี้ไม่มีอะไรแปลกขึ้นสักอย่างเดียว เหมือนกับอย่างเดิม เว้นแต่ดูไม่จืด ตั้งต้น เข้าทางหุ้มกลองตึกนี้เขาก่อเป็นผนังกันรอบ แล้วกั้นเป็นห้อง ๆ เอากระจกบังด้านข้างในไว้ที่ขังน�้า แสงสว่าง ลงทางข้างบนรอบผนังนอกชั้นหนึ่ง รอบผนังในประธานชั้นหนึ่ง จึงแลเห็นเป็นน�้าไปทั้งสองข้าง เราเดิน ไปในหว่างกลางอยู่ในที่มืด ปลาอยู่ในที่สว่างจึงไม่แลเห็นเรา ห้องที่ปัน ๆ ไว้นั้น ๒๖ ห้อง ด้วยกัน เขาเลือก เอาปลาที่อาหารเหมือนกัน ที่อยู่อย่างเดียวกัน ไว้ตามพวกที่จะปนกันได้ อาหารนั้นปลาซาดินสด ๆ เป็นพื้น นอกนั้นก็มีอาหารละเอียดบ้าง เช่น พวกปะการังที่ไหวไปมาไม่ได้ ชั่วแต่กระดิกเมื่อเวลากินอาหาร ฤาตัว ยุ่มย่าม จะเป็นปลาก็ไม่ใช่ หอยก็ไม่ใช่ ซึ่งพวกเราเรียกว่า นกเค้าแมว เพราะเวลานั่งงอมืองอตีนอยู่ในน�้า เหมือนนกเค้าแมว...ปลาบางตัวชอบซุก ๆ นอนซ้อน ๆ กันอยู่ ฤานอนอยู่บนต้นปะการังในน�้า ซึ่งอ่อนเยิ่น กระดิกตัวก็ไหว ดูมันจะเบาเต็มที ซ้อนกันลงไปสองสามตัวก็ไม่เห็นว่าไรกัน มีกุ้งทะเลใหญ่ตัวหนึ่งน่าดูเต็มที สีก็เป็นสีน�้าเงินอ่อนงาม เจ้าพวกกุ้งทั้งปวงที่เดินถอยหลังกรูด ๆ ตะกรามมากกว่าเพื่อน ปลาซาดินทั้งตัว ทิ้งลงไปกอดไว้ ตามไล่แย่งกันโดดโหย่ง ๆ ตะพาบน�้าเพิ่งได้แลเห็นว่ามันว่ายน�้าอย่างไร มันไม่ได้ว่ายแบน ๆ เช่น คะเนว่าจะเป็นเช่นนั้น ว่ายทั้งตัว เอาหัวขึ้น สองมือตะกาย เวลาจะหยุดพัก ไม่ใช่ลงไปแบน ๆ อยู่กับพื้น เอาหลังแหมะเข้ากับฝาเฝืองอะไรก็ได้ แล้วทิ้งเค้เก้ลอยอยู่เช่นนั้น ไม่เห็นลงถึงดิน...มีปลาหลายพวกที่ขี้เกียจ ต้องเอาไม้แหย่จึงจะกระดิก แต่ถึงกระดิกก็ยังท�าท่าขี้เกียจอยู่เช่นนั้น ในพวกขี้เกียจนี้มีปลาหมึกซึ่งมีเพิ่มเติม โทษะเข้าอยู่นั้น พอถูกตัวเข้าก็พ่นน�้าด�าออกมาเป็นหมึกจริง ๆ เต็มไปทั้งอ่าง…”


86

คณะของพระองค์เป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ ทั้งสิ่งประดิษฐ์และสิ่งธรรมชาติ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงใช้โวหารแบบอุปมาอุปไมยเล่าถึงสิ่งเหล่านั้นอย่างละเอียด เพื่อให้คนอื่นเห็นภาพตาม เช่น เรื่องโทรศัพท์ ทรงเล่าว่า “...ท�านายกันได้วา่ นานไปจะมีเครือ่ งเตเลโฟนสักเท่านาฬิกาพก พกไปไหน ๆ ได้ เมือ่ จะพูดกับใคร ก็พดู ไปทีน่ าฬิกาพก และเอาหูฟงั ทีน่ าฬิกาพกจะรูก้ นั ได้...(สมัยนัน้ โทรศัพท์มไี ม่ถงึ ๕๐๐ เครือ่ ง แต่ละเครือ่ ง ใหญ่ โ ตมโหฬาร และต้องใช้กับหม้อแบตเตอรี่ เ ครื่ อ งละ ๔ หม้ อ คนที่ ยั ง ไม่ ท ราบเรื่ อ งความก้ า วหน้ า ของโทรศัพท์ก็คงจะนึกภาพไม่ออก จนพระองค์เปรียบว่า เหมือนกับนาฬิกาพก)” เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นตลาดใหญ่ แต่ผู้คนจ�านวนมากมุงชมพระบารมีของพระองค์ ท�าให้ ทรงเข้าชมตลาดไม่ได้ ก็ทรงเปรียบว่าตลาดนั้น “...ยาวเท่ากับตลาดสงขลา ...แต่เข้าไปไม่ได้เพราะผู้คนจะมุงยิ่งกว่ามีโนรา ๕ วง...” เมื่อทรงเห็นคลองใหญ่ก็จะทรงเปรียบว่า เหมือนคลองบางกอกใหญ่ เมือ่ ทรงทอดพระเนตรเห็นหิมะในสวิสเซอร์แลนด์ ก็ทรงอดไม่ได้ทจี่ ะทรงเปรียบเปรยให้เห็นภาพว่า “...ฝนตกวันนีม้ ลี กู เห็บตกลงมา ดุก๊ ไปก�ามาให้ดกู ว่าจะขึน้ มาถึงก็เล็กเสียแล้ว เขาว่าตกลูกโต ๆ เท่าหมากดิบ... วันนี้เป็นอย่างพ่อบอก เป็นฟอง ไม่ใช่อย่างใสเป็นแก้วอย่างที่เป็นน�้าแข็งเมื่อเวลาพ่ออยู่เมืองมิลัน...” อีกตอนหนึ่ง เมื่อพระองค์และคณะเสด็จไปถึงนอร์เวย์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระอาทิตย์เที่ยงคืน ที่ North Cape ก็ทรงบรรยายให้ผู้ที่ไม่ได้ตามเสด็จได้เห็นภาพพจน์ด้วย การใช้ภาพพจน์ที่น่ากล่าวถึงอีกตอนหนึ่ง คือ ตอนที่กล่าวถึงทะเลแดง ความว่า “...ช่องบ๊าบเอล เมนเด็บ แปลว่า ทะเลน�้าตา เพราะในทะเลแดงนี้มีศิลาใต้น�้ามาก แต่ก่อนถ้าเรือมาญาติพี่น้องรู้แล้วก็ร้องไห้ กลัวจะมาเป็นอันตราย บ้านช่องนั้นเป็นทะเลแดง ที่มาอยู่ไม่ใคร่เห็นฝั่ง มีลมเย็นกว่าวานนี้ นกบูบียังคง บินว่อนอยู่ริมเรือ มันเหนื่อยขึ้นมามันก็หยุดนอนลอยเสียบนน�้า หายเหนื่อยก็บินไปใหม่ ไม่เห็นจับบนเรือ อย่างหม่อมราโชทัยว่า” พระราชนิพ นธ์เ รื่องไกลบ้านนี้ จึงเป็ นจดหมายเหตุ ร ายวั นท� า นองสารคดี ท ่ อ งเที่ ย วที่ น่ า อ่ า น ประกอบด้วยพระราชด�าริและพระราชวิจารณ์อันสุขุมคัมภีรภาพเกี่ยวกับถิ่นฐานบ้านเมือง แทรกไปกับ พระราชกิจรายวันทุกวัน ซึง่ มีทงั้ การรักษาพระองค์ การเยือนประมุขประเทศต่าง ๆ รวมทัง้ วิถชี วี ติ ความเป็นอยู่ ของคนชั้นสูงและชั้นสามัญ และเรื่องสนุกสนานน่าขบขันต่าง ๆ นอกจากนั้นยังทรงถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้ร่วม รู้เห็นเกี่ยวกับสิ่งแปลกใหม่ต่าง ๆ ด้วยส�านวนวรรณศิลป์ ซึ่งล้วนสะท้อนความเป็นนักปราชญ์และนักวิจารณ์ ของพระองค์ ท�าให้ผู้อ่านตรึงใจพระราชนิพนธ์ไกลบ้านตลอดมา ภาพประกอบบทความ - MGR Online. (๒๕๕๔). “นอร์เวย์” ขอถ่ายปก “ไกลบ้าน” พระราชนิพนธ์ ร.5 ฉบับพิมพ์แรก, สืบค้นเมื่อ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๓. จาก. https://mgronline.com/qol/detail/9540000124703


ขอบฟ้าคุณธรรม

ข่าวทหารอากาศ

รู้จักพอ ซื่ อตรง รับผิดชอบ คิดบวก .. มองไปข้างหน้า .. แก้ไขที่ตัวเรา

โดย 1261

... อยา่ ท�าคนดีให้หมองมัว อยา่ ปลอ่ ยคนชัว่ ให้ลอยนวล ...

... เป็นผู้รู้จักก�ำหนดจุดหมำยปลำยทำงของชีวิตตน ... ผู้เขียนจะไปเดินดูบูธต่าง ๆ ในงานท่องเที่ยวไทย เสมอ ถ้าไม่ติดธุระอะไรจนไปไม่ได้ ชอบไปเดินดูเพราะ ในงานนี้จะมีอะไรแปลก ๆ น่าสนใจทุกครั้ง เหตุที่เป็น เช่นนีเ้ พราะเป็นงานชวนคนไปเทีย่ ว จะโฆษณาอย่างไรก็ได้ ให้ลูกค้าสนใจ บางทีก็มีภาพสวย ๆ ให้ชม บางทีก็มี โปรโมชั่นแปลก ๆ ให้เลือก ทั้ง ๆ ที่สถานที่เที่ยวก็ซ�้า ๆ กันอยู่ ไปทีไรก็เก็บเอกสารโฆษณาต่าง ๆ มามากมาย และ ก็มักจะซื้อโปรโมชั่นต่าง ๆ ในงานนี้ได้หลายรายการ ทุกปี ก็สนุกดีส�าหรับผู้ว่างงานอย่างผู้เขียน เอกสารต่าง ๆ ก็เก็บไว้ดูเวลาอยากไปเที่ยวไหน ๆ ก็หาดูได้ คราวนี้ มีเอกสารอยู่แผ่นหนึ่งเขาเขียนว่า “เก็บกระเป๋าแล้ว ออกลุย ๑๕ จุดหมายปลายทางยอดนิยม” เห็นแล้วก็ เตะลูกกะตา เอามาอ่านจึงรูว้ า่ ข้างในเป็นการประกาศการ จัดอันดับเมืองที่นักท่องเที่ยวทั่วโลก เขาลงมติกันว่า เขาอยากจะไปเที่ยว รวมคะแนนแล้วก็จัดอันดับกัน สรุปก็ คือเมืองที่ผู้คนอยากไปเที่ยว ๑๕ อันดับนั่นเอง เขาเรียง จากอันดับท้ายมาคือ อันดับที่ ๑๕ คือ กรุงโรม ประเทศ อิตาลี ต่อมาอันดับ ๑๔ ก็เป็นฮอนโนลูลู รัฐฮาวาย แล้วก็

87

เมืองออร์ลันโด ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กรุงมะนิลา ประเทศ ฟิลปิ ปินส์ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมือง เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส เกาะฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน กรุงโซล สาธารณรั ฐ เกาหลี เมื อ งลอสแองเจอลิ ส ประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก า กรุ ง ลอนดอน ประเทศอั ง กฤษ นคร นิ ว ยอร์ ค ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า มหานครโตเกี ย ว ประเทศญี่ ปุ ่ น และอั น ดั บ ๑ หลายปี ต ่ อ เนื่ อ ง คื อ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยของเรานี่เอง หลอกให้เรา อ่านจนจบจึงถึงกรุงเทพมหานคร ก็น่าดีใจที่ผู้คนในโลกนี้ อยากมาเที่ยวเมืองไทย เราคนไทยทุกคนก็ต้องท�าตัว เป็นเจ้าของบ้านที่ดี ต้อนรับแขกให้เขาประทับใจและ กลับมาเที่ยวบ้านเราอีก ดูเอกสารไปก็นับเมืองที่ผู้เขียน เคยไปมาแล้วเหลือไม่กี่เมืองที่ยังไม่ได้ไป และคงจะไม่ ไปแล้ว แต่ผู้เขียนไปติดใจตรงค�าว่า จุดหมายปลายทาง ยอดนิยม นีแ่ หละ คิดไปคิดมาก็กลับมาถามตัวเองว่าทีด่ อู ยูค่ อื จุดหมายปลายทางที่จะไปเที่ยว แล้วจุดหมายปลายทาง ของชี วิ ต ตั ว เองอยู ่ ท่ี ไ หนล่ ะ นี่ รวมทัง้ ของท่านผูอ้ า่ นด้วย ทราบไหม ครับว่าอยู่ที่ไหน ถ้าคนเราไม่รู้ว่า จุ ด หมายปลายทางของตั ว อยู ่ ที่ไหนคงจะยุ่งทีเดียว เรื่องนี้น่า จะเป็ น เรื่ อ งส� า คั ญ เรื่ อ งหนึ่ ง ใน จิตใจของผู้คน ค� า ว่ า จุ ด หมายปลายทาง ยอดนิยม กับ จุดหมายปลายทาง ของชีวิต ดูคล้าย ๆ กัน แต่เมื่อ แยกพิจารณาแล้ว อาจจะคล้ายกัน


88

เหมือนกัน หรือไม่ใกล้เคียงกันเลยก็ได้ ในสองวลีนี้มีค�ำ อยู่สองค�ำซ้อนกันอยู่ คือ จุดหมำยยอดนิยม ปลำยทำง ยอดนิยม และ จุดหมำยของชีวิต ปลำยทำงของชีวิต หำกดูที่กำรท่องเที่ยว สมมติว่ำจุดหมำยที่เรำจะไปคือ นครซิดนีย์ ปลำยทำงที่เรำต้องเข้ำเมือง คือ ประเทศ ออสเตรเลี ย หมำยควำมว่ ำ เรำต้ อ งนั่ ง เครื่ อ งบิ น ไป ออสเตรเลี ย ก่ อ น ตรวจพำสปอร์ ต วี ซ ่ ำ ให้ เ รี ย บร้ อ ย แล้วเดินทำงไปที่นครซิดนีย์ ถ้ำเรำนั่งเครื่องบินไปลงที่ นครซิดนีย์เลย ก็ง่ำยคือเมื่อตรวจเอกสำรเสร็จก็เข้ำเมือง ไปเลย เพรำะจุดหมำยกับปลำยทำงเป็นทีเ่ ดียวกัน แต่ถำ้ เรำไปลงเครื่ อ งบิ น ที่ น ครเมลเบิ ร ์ น เมื อ งหลวงของ ออสเตรเลีย เมือ่ ตรวจเอกสำรเสร็จต้องนัง่ รถหรือเครือ่ งบิน ไปนครซิดนีย์อีกหลำยร้อยกิโลเมตร เพรำะจุดหมำยกับ ปลำยทำงเป็นคนละทีก่ นั ในกรณีนปี้ ลำยทำงคือประเทศ ออสเตรเลียเป็นปลำยทำงที่ใหญ่ แต่จุดหมำยคือนคร ซิดนี่ย์นั้นเป็นจุดเล็ก ๆ เป็นกำรเดินทำงภำยในประเทศ ไม่ตอ้ งตรวจพำสปอร์ต วีซำ่ อีก รวมทัง้ เรำอำจจะมีจดุ หมำย ได้ อี ก หลำยแห่ ง ในประเทศนี้ เมือ่ เข้ำใจอย่ำงนีก้ จ็ ะเห็นควำมยุง่ ยำก ในกำรเดินทำงบ้ำงถ้ำไม่วำงแผน ให้ดี ถ้ำไม่บนิ ตรงไปลงทีน่ ครซิดนีย่ ์ ก็ต้องมีกำรเดินทำงอีกยำวกว่ำจะ ถึงจุดหมำย ทั้ง ๆ ที่ถึงปลำยทำง ตั้งนำนแล้ว แต่ก็ยังดีที่ยังมีโอกำส เดินทำงหำจุดหมำยที่ต้องกำรไป ต่ ำ งกั บ เรื่ อ งของชี วิ ต เพรำะจุ ด หมำยของชีวิต กับ ปลำยทำงของ ชีวติ เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งท�ำควำมเข้ำใจ ให้ดี ๆ ปลำยทำงของชีวิตทุกชีวิต ไม่ว่ำคนหรือสัตว์คือ ควำมตำย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดทุกตัว ต้ อ งตำย เมื่ อ ตำยลงก็ ไ ม่ มี โ อกำสที่ จ ะเดิ น ทำงไปหำ จุ ด หมำยได้ อี ก ไม่ เ หมื อ นกั บ จุ ด หมำยปลำยทำงกำร ท่องเที่ยว จึงเป็นประเด็นที่น่ำพิจำรณำเรื่องจุดหมำย ปลำยทำงของชีวิต กำรเตรียมกำรสูป่ ลำยทำง ถ้ำเป็นกำรท่องเทีย่ ว ก็แค่ พำสปอร์ต วีซ่ำที่แต่ละประเทศก�ำหนด และสัมภำระที่ จ�ำเป็นต่อกำรท่องเที่ยว แล้วกำรเตรียมตัวสู่ปลำยทำง ของชีวิตล่ะต้องเตรียมอะไร เป็นเรื่องที่ยำกกว่ำหำกไม่ เข้ำใจให้ท่องแท้ คนส่วนใหญ่จึงมักไม่ได้เตรียมอะไรเลย เมือ่ ไม่เตรียมอะไรเลย ท่ำนอยำกจะไป สวรรค์ชนั้ ไหนสัก

ชัน้ หนึง่ ก็คงจะมีปญ ั หำกำรเข้ำเมืองสวรรค์อย่ำงแน่นอน เพรำะไม่ได้เตรียมพำสปอร์ตและวีซ่ำมำด้วย เหตุเพรำะ คนเรำไม่รู้ว่ำจะตำยเมื่อไร จะตำยที่ไหน และจะตำย อย่ำงไร จึงเตรียมตัวไม่ถกู แต่ถงึ อย่ำงไรทุกคนก็ตอ้ งตำย ถ้ำจะให้ดีก็ควรจะมีกำรเตรียมตัวกันไว้บ้ำง กำรเตรียมตัวสู่ปลำยทำงของชีวิต ๑. ท�ำควำมเข้ำใจเรื่องควำมตำยให้ดีจนไม่กลัวตำย กำรตำยนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของชีวิต คือ เกิด แก่ เจ็บ ตำย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีองค์ประกอบนี้เหมือนกัน ถ้ำเลือกเกิดมำก็ต้องนับตำยไว้ด้วยเมื่อถึงเวลำ มันเป็น ธรรมดำของมัน และทุกชีวติ ก็ปฏิบตั อิ ย่ำงนี้ รวมทัง้ ตัวเรำ ทุกคนด้วยเรำจึงไม่มคี วำมจ�ำเป็นต้องกลัวตำย แต่ควรจะ เตรียมตัวให้พร้อมตำย ๒. ท�ำวันนี้ให้ดีที่สุด สบำยใจที่สุด และวำงแผนจะ ท�ำพรุ่งนี้ให้ดีเหมือนวันนี้ ถ้ำไม่มีพรุ่งนี้ก็พอกันเท่ำนี้ เพรำะควำมจริงมีอยู่เท่ำนี้ ทุก ๆ วันของเรำจะเป็นวันที่ ดีเสมอ และอดีตของเรำคือวันคืนที่ผ่ำนไป ก็จะเป็นอดีด

ที่ดีอย่ำงแน่นอน เมื่อเป็นคนที่อดีต ปัจจุบันและอนำคตดี ทุกอย่ำงก็จะดีไปหมด ๓. สะสมพลั ง จิ ต ให้ เ ข็ ม แข็ ง เพี ย งพอที่ จ ะรองรั บ ควำมตำยได้อย่ำงสงบ เวลำจะตำยนัน้ ท่ำนต้องตำยคนเดียว ญำติพนี่ อ้ งเพือ่ นฝูงมำมุงดูได้แต่ชว่ ยไม่ได้ และตำยไปด้วย ไม่ ไ ด้ จิ ต ใจที่ แ ข็ ง แกร็ ง เท่ ำ นั้ น ที่ จ ะอยู ่ กั บ ท่ ำ นจน นำทีสดุ ท้ำย ถ้ำไม่ฝกึ ไม่เตรียมตัง้ แต่บดั นี้ ก็คงล�ำบำกมำก เมื่อถึงเวลำต้องใช้ กำรฝึกท�ำสมำธิ กำรฝึกทดลองคิดว่ำ ตำยอยู่เสมอ ๆ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นประจ�ำ ๔. มีคณ ุ ธรรม ท�ำควำมดี ท�ำบุญกุศลให้เพียงพอเพือ่ จะระลึกถึงสิง่ ดี ๆ เหล่ำนีข้ ณะก�ำลังจะตำย มีกำรทดลอง


ข่าวทหารอากาศ

ทางวิทยาศาสตร์พบว่า ก่อนจะสิ้นลมหายใจนั้น สมอง ของคนเราจะท�าการนึกทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิต เป็นครั้งสุดท้ายด้วยพลังจิตทั้งหมดที่มี และส่งเป็นคลื่น พลังจิตออกไป ถ้าไม่ได้เตรียมตัวมาเลยแล้วจะเอาอะไร มานึกถึง ทีส่ า� คัญถ้ามีแต่เรือ่ งไม่เป็นมงคลทัง้ นัน้ ให้นกึ ถึง ก่อนตาย พระก็คงช่วยไม่ได้ จะเป็นเรื่องที่น่าเวทนานัก การเตรียมตัวพบกับปลายทางของชีวิต ควรเตรียม ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกครั้งที่นึกได้ พระพุทธเจ้าตรัสบอก พระอานนท์ไว้ว่า หากไม่นึกถึงความตายทุกลมหายใจ เข้าออกถือว่าเป็นคนประมาท เพราะเมื่อเข้าใจแล้ว เตรียมการสู่ปลายทางได้แล้ว เราจะได้ก�าหนดจุดหมาย ของชีวิตได้เหมาะสมกับตัวเรา จุดหมายของชีวิต คือจุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะไปให้ ถึง หรือจุดหรือสภาวะทีพ่ ยายามไปให้ถงึ เป็นความอยาก มี อยากเป็น อยากท�า ที่คนเราตั้งใจไว้เพื่อจะไปให้ถึงใน แต่ละช่วงของชีวติ ซึง่ แต่ละคนย่อมมีจดุ หมายของชีวติ ไม่ เหมือนกัน และจุดหมายของชีวติ สามารถเปลีย่ นแปลงได้ ตามกาลเวลาและเหตุปัจจัย เมื่อเราไปถามเด็ก ๆ ว่า โตขึ้นเขาอยากเป็นอะไร จะได้ค�าตอบที่หลากหลาย เพราะเด็ก ๆ พูดไปตามที่อยากจะเป็น ไม่ได้คิดถึงองค์ ประกอบอื่น ๆ ด้วย แต่ส�าหรับผู้ใหญ่คงไม่ใช่แบบเด็ก ๆ ก่อนอืน่ ต้องยอมรับว่า ไม่มใี ครสามารถเดินทางสูจ่ ดุ หมาย ของชีวิตได้ทั้งหมด เพราะอาจจะหมดเวลาไปเสียก่อน เช่น หลายคนมารับราชการในกองทัพอากาศ ก็มจี ดุ หมาย อยากจะเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ แต่เมื่ออายุถึงหก สิบปีหากยังไม่ได้เป็นก็หมดเวลาเป็นไม่ได้แล้ว บางคน อาจจะถึงปลายทางของชีวิตเสียก่อน คือเสียชีวิตตั้งแต่ อายุยังไม่ถึงหกสิบ ก็ไม่ถึงจุดหมายเช่นกัน การก�าหนด จุ ด หมายของชี วิ ต เป็ น เรื่ อ งที่ ส� า คั ญ จึ ง ต้ อ งมี ค วาม รอบคอบ พิถีพิถันในการพิจารณา

วิธีการก�าหนดจุดหมายของชีวิต ๑. ต้องรู้และเข้าใจปลายทางของชีวิต ตามที่กล่าว มาแล้ว ๒. ต้องรู้และเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ว่าชีวิตคนเรา ประกอบด้วยร่างกายที่มีธาตุ ๔ คือ ดิน (ส่วนที่เป็น ของแข็ง น�้า ลม ไฟ (ส่วนที่มีความร้อน) และจิตใจที่แยก ได้เป็น เวทนา สัญญา สังขาร (ความนึกคิด) และวิญญาณ (การรับรูก้ ารสัมผัสของกาย) รวมกันเป็นรูปกับนาม หรือ ที่เรียกว่า ขันธ์ห้า เป็นปกติของชีวิต หากกายท�างานผิด ปกติไปก็เรียกว่าเจ็บป่วย ต้องดูแลรักษาเช่นเดียวกับใจ ถ้าใจท�างานผิดปกติไปคือมีตัณหา อุปาทาน ฯ เกิดขึ้น ก็เรียกว่าใจป่วย ต้องรักษาเช่นกัน เป็นธรรมดาเช่นนี้เอง ๓. ต้ อ งรู ้ แ ละเข้ า ใจความต้ อ งการของชี วิ ต ความต้องการของชีวิตคือสิ่งที่ชีวิตควรจะได้รับเพื่อให้ ชีวิตด�ารงอยู่ได้อย่างปลอดภัย เช่น เรื่องอาหาร เราต้อง รู้ว่าต้องทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ทานอาหารที่สะอาด และทีส่ า� คัญมากทีส่ ดุ ทีเ่ ราต้องรูค้ อื เราทานอาหารได้มอื้ ละสามสิบถึงสี่สิบค�าเท่านั้นเอง จะเต็มกระเพาะพอดี เรากินมากกว่านี้ไม่ได้ เราจะมีเงินร้อยบาท ห้าร้อยบาท ล้านบาท ห้าล้านบาท หรือร้อยล้านบาท ก็กินได้มื้อละ เท่ า นี้ แ หละ เราต้ อ งมี ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ที่ ส ะอาด ปลอดภั ย สะดวกในการเดินทาง และเราต้องรู้ขึ้นใจว่า เราจะนั่ง หรือนอนก็แล้วแต่ ใช้พนื้ ทีป่ ระมาณไม่เกินโลงศพ เพราะ ขนาดของตัวเราเท่านี้ เราจะมีบ้านใหญ่โตหรือเล็กขนาด ไหนก็แล้วแต่เราใช้ได้ครั้งละแค่นี้เอง เราต้องการมีสังคม ทีผ่ คู้ นจริงใจกับเรามากกว่ามีคนรูจ้ กั แต่การทีใ่ ครเขาจะ จริงใจกับเรานัน้ มีเงือ่ นไขอยูข่ อ้ เดียวคือ เราต้องจริงใจกับเขา เราต้องการมีเพือ่ นทีด่ ี ซึง่ จะมีได้เมือ่ เรามีความเป็นเพือ่ น อยู่ในใจของเราก่อน เมื่อเจ็บป่วยเราต้องการการรักษา ในสถานที่ที่ดีที่สุด ซึ่งโรงพยาบาลที่ดีที่สุดและมีหมอที่ดี ที่สุด แต่หมอที่ดีที่สุดก็คือ ร่ า งกายของแต่ ล ะคน นั่นเอง คนอื่นที่อื่นเป็นได้ แค่ ที่ พั ก หรื อ ที่ ป รึ ก ษา เท่านั้นเอง สิ่งที่ผู้เขียนเอา ม า ยื น ยั น เ รื่ อ ง ที่ เ ขี ย น คือ ปู่ทวด ยายทวด ที่อายุ เกินเก้าสิบแล้วจ�านวนมาก ที่อยู่ตามท้องไร่ท้องนาใน ชนบท คนเหล่ า นี้ ไ ม่ รู ้ จั ก

89


90

ศูนย์การค้า ไม่รู้จักเคเอฟซี ไม่รู้จักร้านเซเว่น ไม่เคยใช้ โทรศัพท์ ไม่เคยไปโรงพยาบาล ไม่รู้จักเครื่องสแกน คอมพิวเตอร์ ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต ไม่มีไลน์ ฯลฯ ท่านมี ชีวติ อยูต่ ามความต้องการของชีวติ จริง ๆ ผูเ้ ขียนไม่ได้บอก หรือชวนให้ท่านผู้อ่านไปอยู่อย่างนั้น เพียงแต่จะบอกว่า แค่นั่นแหละคือความต้องการของชีวิต นอกเหนือจากนี้ เป็นความต้องการของกิเลส ถ้าท่านจะท�ามาหาเลีย้ งกิเลส กันต่อไปด้วยความเต็มใจก็แล้วแต่ท่าน เพราะจุดหมาย ที่แต่ละท่านจะก�าหนดให้ตัวเอง ย่อมขึ้นอยู่กับตัวแปล เหล่านี้ ๔. ต้องก�าหนดจุดหมายที่เหมาะกับก�าลังของตน เมื่อเราเข้าใจปลายทางของชีวิต ธรรมชาติของชีวิต และ ความต้องการของชีวิตแล้ว เราจึงก�าหนดจุดหมายของ ชีวิต ทุกท่านคงมีจุดหมายของชีวิตอยู่แล้ว อาจจะคนละ หลาย ๆ เรื่องด้วย บางท่านก�าลังจะแต่งงาน บางท่าน ก�าลังจะซื้อบ้าน ซื้อรถ จะเรียนต่อ ลุ้นต�าแหน่งในที่ ท�างาน อยากมีลูก ฯลฯ จุดหมายเหล่านี้ยังปรับขนาดได้ เปลีย่ นแปลงได้เสมอ โดยให้ความส�าคัญกับความเหมาะสม กับก�าลังกาย ก�าลังทรัพย์ของตัวเอง ค�านึงถึงความเป็น ไปได้อย่าฝันกลางวันไปเรื่อย ๆ และจะให้ดีก�าหนดจุด หมายของชีวิตให้ถึงได้ง่าย ๆ หน่อย จะได้ไม่เหนื่อยจน เกินไป ๕. ต้องรูจ้ กั พอ สิง่ ทีเ่ ป็นตัวแปรส�าคัญในการก�าหนด จุดหมายของชีวติ คือ โอกาส คนมีเงินมากโอกาสจะมีมาก คนทีม่ ยี ศสูงโอกาสทีจ่ ะได้ทา� โน่นท�านีเ่ ป็นโน่นเป็นนีย่ อ่ ม มีมาก สิ่งที่จะน�ามาใช้ในการตัดสินใจคือ ความรู้จักพอ แล้วความรู้จักพอจะมาได้อย่างไร ถ้าคิดอะไรไม่ออก นึกถึงปู่ทวดยายทวดที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงข้างบนก็ได้

ถ้าท่านยังมีอะไรน้อยกว่าปู่ทวด ยายทวด ก็ท�าไป แต่ถ้ามีเกินจะพอเสียบ้างก็ได้ไม่มีใครว่า ๖. ต้องเข้าใจจุดหมายที่ไปได้ไม่ถึงด้วย สมัย โบราณนักเดินเรือไม่มีเข็มทิศ ไม่มีจีพีเอสใช้ใน การน�าทาง เมื่อเขาอยู่กลางทะเลมองไม่เห็นฝั่ง เขาใช้ วิ ธี ม องไปที่ ด าวเหนื อ แล้ ว ก� า หนดมุ ม ที่ ท่าเรือของเขาตั้งอยู่ แล้วหันหัวเรือไปทางนั้นโดย มองดาวเหนือเป็นจุดหมายไว้ตลอดเวลา ไม่เคยมี ใครไปถึงดาวเหนือสักคน แต่ทุกคนกลับบ้านได้ หมด ดาวเหนื อ เป็ น จุ ด หมายที่ ทุ ก คนไปไม่ ถึ ง แต่พาทุกคนกลับบ้านได้ การตัง้ ใจเป็นคนดี การตัง้ ใจ ท�าความดี การตั้งใจเสียสละเพื่อส่วนรวม ฯลฯ บางทีมันก็ไปไม่ถึงหรอก แต่การท�าในสิ่งเหล่านี้ อาจจะพบปลายทางของทีช่ วี ติ ทีส่ งบเย็นและเป็น ประโยชน์ได้ ทั้งหมดนี้คือความส�าคัญและการเตรียมการในการ ก�าหนดจุดหมายปลายทางของชีวิต และหากเป็นไปได้ พยายามก�าหนดให้จดุ หมายของชีวติ ให้อยูใ่ นเส้นทางของ ปลายทางชีวิตได้จะเป็นการดี ทุกอย่างก็ง่ายขึ้น เมื่อเรา ต้ อ งตายแน่ น อน ก็ ค วรมี ชี วิ ต ที่ พ อเพี ย ง สงบเย็ น เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น เป็นคนมีประโยชน์ต่อ สังคมส่วนรวม ใช้จ่ายและสะสมเท่าที่จ�าเป็น ปล่อยวาง จากตัวตนในสิ่งต่าง ๆ หากเชื่อเรื่องภพหน้าชาติหน้า ก็ทา� บุญท�าทานตามอัตภาพของตน เมือ่ ยามถึงปลายทาง ของชีวิต จะได้ภูมิใจกับเรื่องราวที่ผ่านมาของชีวิตตน “ ถ้าคุณต้องการชีวติ ทีม่ คี วามสุข จงพันธนาการชีวติ ของคุณด้วย .จุดหมาย. ไม่ใช่ผู้คนหรือสิ่งอื่นใด ” ... อัลเบิร์ต ไอนสไตน์


ข่าวทหารอากาศ

91

¾Ô¸ÕÃѺʋ§Ë¹ŒÒ·Õè¼ÙŒºÑÞªÒ¡Ò÷ËÒÃÍÒ¡ÒÈ áÅÐÁͺ¡Òúѧ¤ÑººÑÞªÒ

ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา ฯ ใหนายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณให พลอากาศเอก แอรบูล สุทธิวรรณ ผูทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ เปน ผูบัญชาการทหารอากาศ ตั้งแต วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ เปนตนไป กองทัพอากาศ จัดพิธีรับสงหนาที่ผูบัญชาการทหารอากาศ ระหวาง พลอากาศเอก มานัต วงษวาทย ซึ่งเกษียณอายุราชการ กับ พลอากาศเอก แอรบูล สุทธิวรรณ ผูบัญชาการ ทหารอากาศทานใหม เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ โดยประกอบพิธี ดังนี้ พิธีวางพานพุมถวายสักการะพระอนุสาวรีย จอมพล สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาจักรพงษ ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ณ โถงหนาหองรับรองกองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ พิ ธี ล งนามในเอกสารรั บ ส ง หน า ที่ ผู  บั ญ ชาการทหารอากาศ ณ ห อ งรั บ รองกองทั พ อากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ พิธีรับ-สงหนาที่ผูบัญชาการทหารอากาศ และมอบการบังคับบัญชา ณ บริเวณลานอเนกประสงค โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช


92

¾Ô¸ÕÃѺʋ§Ë¹ŒÒ·Õè¼ÙŒºÑÞªÒ¡Ò÷ËÒÃÍÒ¡ÒÈ áÅÐÁͺ¡Òúѧ¤ÑººÑÞªÒ


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๓ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.อ.แอรบูล สุทธิวรรณ ผบ.ทอ.เปนประธานในพิธีแสดงความยินดีแกนายทหารสัญญาบัตรที่ไดรับ การโปรดเกลาฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพลอากาศ สังกัด ทอ.จํานวน ๙๑ คน ณ หองรับรอง ทอ. บก.ทอ. เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓

พล.อ.อ.แอรบลู สุทธิวรรณ ผบ.ทอ.วางพานพุม สักการะดวงวิญญาณบุพการีทหารอากาศ เนือ่ งในโอกาส เขารับตําแหนง ผบ.ทอ. ณ รร.นนก. เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓

พล.อ.อ.แอรบลู สุทธิวรรณ ผบ.ทอ.เปนประธานในพิธสี ง กําลังพลทีจ่ ะไปปฏิบตั หิ นาทีใ่ น กกล.ทอ.ฉก.๙ จว.ปตตานี เพือ่ เปนขวัญและกําลังใจใหแกกาํ ลังพลของ ทอ.ทีจ่ ะไปปฏิบตั หิ นาที่ โดยมีนายทหารชัน้ ผูใ หญ ของ ทอ.เขารวมพิธี ณ ลานจอดทาอากาศยานทหาร ๒ บน.๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.อ.สฤษฎพงศ วัฒนวรางกูร ผบ.คปอ.เปนประธานในพิธีวันคลายวันสถาปนา คปอ. พิธีวาง พวงมาลาอนุสาวรีย จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร และประกอบพิธสี งฆ ณ อาคารอเนกประสงค คปอ. เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓

พล.อ.ท.ตรีพล อองไพฑูรย สงมอบหนาที่การปฏิบัติราชการและการบังคับบัญชา ใหแก พล.อ.ต.ฐานัตถ จันทรอําไพ เปน จก.กร.ทอ.โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจําการ กร.ทอ. เขารวมในพิธี ณ กร.ทอ. เมื่อวันที่ ๓๐ ก.ย.๖๓

พล.อ.ท.ณรงค อินทชาติ ผบ.รร.นนก.มอบหุนยนตเพื่อการพยาบาลผูปวย COVID-19 “นองถาดหลุม” ภูมปิ ญ  ญา “ทัพฟา” ใหแก รพ.ลําปลายมาศ เพือ่ ใหบคุ ลากรทางการแพทยมคี วามปลอดภัยลดความเสีย่ ง ตอการติดเชื้อจากการสัมผัสผูปวย ณ หองรับรอง บก.รร.นนก. เมื่อวันที่ ๒ ต.ค.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ต.ครรชิต นิภารัตน สงมอบหนาที่การปฏิบัติราชการและการบังคับบัญชา ใหแก พล.อ.ต.สรวิชญ สุรกุล เปน จก.กง.ทอ.โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจําการ กง.ทอ. เขารวมในพิธี ณ รร.เหลาทหารการเงิน และหองบรรยาย บก.ทอ. เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓

พล.อ.ต.ภูวดล สอนดวงใจ สงมอบหนาที่การปฏิบัติราชการและการบังคับบัญชา ใหแก พล.อ.ต.ธีรพล สนแจง เปน จก.ขส.ทอ.โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจําการ ขส.ทอ. เขารวมในพิธี ณ ขส.ทอ. เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓

พล.อ.ต.ธรรมนาย สุขแสง สงมอบหนาที่การปฏิบัติราชการและการบังคับบัญชา ใหแก พล.อ.ต.วรกฤต มุขศรี เปน ผบ.สน.ผบ.ดม.โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจําการ สน.ผบ.ดม. เขารวมในพิธี ณ บริเวณดานหนาอาคาร บก.สน.ผบ.ดม. เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖

พล.อ.ต.ไวพจน เกิงฝาก สงมอบหนาทีก่ ารปฏิบตั ริ าชการและการบังคับบัญชา ใหแก น.อ.เสกสรร คันธา เปน ผบ.รร.การบิน โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจําการ รร.การบิน เขารวมในพิธี ณ ลานจอดอากาศยาน รร.การบิน จว.นครปฐม เมื่อวันที่ ๒๙ ก.ย.๖๓

น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ เปนประธานพิธีวันคลายวันสถาปนา บน.๒๑ และรับฟงโอวาท เนือ่ งในวันคลายวันสถาปนา บน.๒๑ โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจําการ บน.๒๑ เขารวมพิธีฯ ณ บก.บน.๒๑ จว.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑ ต.ค.๖๓

น.อ.พานิช โพธิ์นอก ผบ.กกล.ทอ.ฉก.๙ พรอมคณะ มอบอุปกรณกีฬาใหแกเยาวชนตาดีกา ผาหมใหแก ผูสูงวัยในพื้นที่ และตูยาเวชภัณฑใหแกองคการบริหารสวนตําบลเกาะเปาะ ณ ที่ทําการองคการบริหาร สวนตําบลเกาะเปาะ ต.เกาะเปาะ อ.หนองจิก จว.ปตตานี เมื่อวันที่ ๒ ต.ค.๖๓


ข่าวทหารอากาศ

97

¹‹Ò¹¿‡ÒâÁà´Å

˹‹Ç§ҹ´ŒÒ¹¤ÇÒÁÁÑ่¹¤§¡Ñº¡ÒÃÃÑ¡ÉÒ ¼×¹»†ÒµŒ¹¹ํ้Ңͧ»ÃÐà·ÈÍ‹ҧÂÑ่§Â×¹ ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปลงวิทยา

เรียกไดวาตลอดชวงปงบประมาณ ๖๓ นั้น กองทัพอากาศไดกาวเขาสูการเปนองคกรตัวอยาง ในหลากหลายดาน โดยเฉพาะดานการนําเทคโนโลยี ทางการทหารมาปรับใชในการชวยเหลือหนวยงาน ภาครัฐและประชาชน โดยเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๓ ทีผ่ า นมา กองทัพอากาศโดยทานผูบ ญ ั ชาการ ทหารอากาศ พลอากาศเอกมานัต วงวาทย พรอมดวย แพทยหญิง วิไลภรณ วงษวาทย นายกสมาคมแมบา น ทหารอากาศ ไดเดินทางเปนประธานในการเปดตัว โครงการ “นานฟาโมเดล ๒๐๒๐” ณ ตําบลศรีษะเกษ อําเภอนานอย จังหวัดนาน อยางเปนทางการ โครงการนานฟาโมเดล ถือวาเปนโครงการ ที่ ก องทั พ อากาศได ใ ช กํ า ลั ง ทหาร ยุ ท โธปกรณ

ตลอดจนความรูดาน GIS หรือระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร (Geographic Information System) ของกองทัพอากาศ เขาไปชวยแกปญหา ปา นํ้า คน อย า งยั่ ง ยื น โดยมี น โยบายให เ ริ่ ม ต น โครงการ ที่ จั ง หวั ด น า น ซึ่ ง ถื อ เป น จั ง หวั ด ต น นํ้ า ที่ สํ า คั ญ ของประเทศ กองทัพอากาศมุงหวังสรางตนแบบ ชุ ม ชนที่ มี ค วามมั่ น คงในชี วิ ต มี ส ภาพแวดล อ ม ทางธรรมชาติ ส มบู ร ณ แ ละชุ ม ชนสามารถพึ่ ง พา ตนเองได โดยมีกิจกรรมที่ดําเนินการแบงเปน ๓ ดาน ไดแก การฟนฟูปาและเพิ่มพื้นที่ปาไม การบริหาร จัดการและสรางแหลงนํา้ และการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชนในชุมชน


98

ส�ำหรับกำรฟืน้ ฟูและเพิม่ พืน้ ทีป่ ำ่ นัน้ กองทัพ อำกำศได้ ส ่ ง ผู ้ แ ทนเข้ ำ หำรื อ กั บ ทำงจั ง หวั ด น่ ำ น เพื่อร่วมกันก�ำหนดพื้นที่เป้ำหมำยส�ำหรับกำรฟื้นฟู พืน้ ทีป่ ำ่ ซึง่ กองทัพอำกำศได้มแี ผนทีจ่ ะน�ำอำกำศยำน แบบ BT-67 เข้ ำ ร่ ว มสนั บ สนุ น ภำรกิ จ กำรโปรย เมล็ดพันธุพ์ ชื ในพืน้ ทีป่ ำ่ ชุมชนทีท่ ำงจังหวัดได้กำ� หนดไว้ รวมถึงกำรน�ำอำกำศยำนไร้คนขับขนำดเล็ก (Drone) มำร่วมโปรยเมล็ดพันธุพ์ ชื ลงบนพืน้ ทีแ่ ปลงทดลองด้วย เพือ่ ให้สำมำรถติดตำมและประเมินผลกำรเจริญเติบโต ของต้ นไม้ ในแปลงทดลองได้ ซึ่ ง ในครั้ ง นี้ ก องทั พ อำกำศได้ร่วมมือกับ มหำวิทยำลัยเกษตรศำสตร์ ในกำรวิ จั ย และคั ด เลื อ กชนิ ด พั น ธุ ์ พื ช ที่ เ หมำะสม ต่ อ กำรปลู ก โดยคั ด เลื อ กเป็ น ไม้ ยื น ต้ น มี อั ต รำ กำรเติ บ โตและกำรอยู ่ ร อดสู ง และน� ำ เมล็ ด พั น ธุ ์ ดั ง กล่ ำ วมำจั ด ท� ำ เป็ น “แคปซู ล เมล็ ด พั น ธุ ์ พื ช ” ซึ่งจะเพิ่มอัตรำกำรอยู่รอดและเติบโตเป็นกล้ำไม้ ได้ ป ระสิ ท ธิ ภ ำพสู ง กว่ ำ เดิ ม หลำยสิ บ เท่ ำ ซึ่ ง น้ อ ง เยำวชนในพื้นที่ที่เข้ำร่วมโครงกำรค่ำยเยำวชนกับ กองทัพอำกำศได้มสี ว่ นในกำรปัน้ แคปซูลดังกล่ำวนีด้ ว้ ย นอกจำกนี้ได้ประสำนควำมร่วมมือกับมหำวิทยำลัย เทคโนโลยีรำชมงคลล้ำนนำ จังหวัดน่ำน เพื่อร่วมมือ กั น ใช้ อ ำกำศยำนไร้ ค นขั บ ขนำดเล็ ก ท� ำ กำรบิ น โปรยเมล็ดพันธุ์พืชและกำรติดตำมผลภำยหลังจำก กำรโปรยด้วย ด้ ำ นกำรบริ ห ำรจั ดกำรแหล่ ง น�้ ำ กองทั พ อำกำศได้ใช้ขีดควำมสำมำรถและยุทโธปกรณ์ของ กองทัพอำกำศ ในกำรบินถ่ำยภำพทำงอำกำศ รวมถึง กำรใช้ประโยชน์จำกภำพถ่ำยดำวเทียม ด้วยกำรน�ำ เทคโนโลยี ด ้ ำ นกำรจั ด ท� ำ แผนที่ ภู มิ ส ำรสนเทศ ภูมิศำสตร์ (GIS) ซึ่งสำมำรถท�ำแบบจ�ำลอง ๓ มิติ แสดงควำมสูงต�ำ่ ของภูมปิ ระเทศและทิศทำงกำรไหล ของกระแสน�้ำในพื้นที่ต�ำบลศรีษะเกษฯ อันจะท�ำให้ กำรวำงแผนและก�ำหนดพิกดั ในกำรจัดสร้ำงอ่ำงเก็บน�ำ้ ฝำย หลุมขนมครก หรือธนำคำรน�้ำใต้ดินเป็นไปได้ อย่ำงเหมำะสม และเกิดกำรบริหำรจัดกำรน�ำ้ ในพืน้ ที่ ได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ รวมทัง้ ได้กำ� หนดจุดสร้ำงฝำย ชะลอน�้ำชุมชน จ�ำนวน ๗ - ๑๐ แห่ง ภำยในพื้นที่ โครงกำรฯ เพือ่ เป็นกำรแก้ไขปัญหำอุทกภัยในเบือ้ งต้น สร้ำงควำมชุ่มชื้นอันจะท�ำให้พันธุ์พืชที่อยู่ใกล้ฝำย ชะลอน�้ำเจริญเติบโตได้ดี และเพื่อเก็บกักน�้ำไว้ให้


ข่าวทหารอากาศ

เกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้ยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งกองทัพ อากาศได้รบั ความร่วมมืออย่างดียงิ่ จากปราชญ์ชมุ ชน ด้านการบริหารจัดการน�้าของจังหวัดน่าน นั่นก็คือ ชมรมคนรักษ์ ดิน น�้า ป่า น่าน นั่นเอง ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวติ กองทัพอากาศ น้อมน�าแนวพระราชด�าริ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่า ได้อย่างยั่งยืน และให้พ่ีน้องประชาชนมีความรัก หวงแหน ภาคภูมิใจในบ้านเกิด และดูแลรักษาป่า ต้ น น�้ าของตน โดยส่งเสริมการปลูก พืชเศรษฐกิ จ ภายในชุมชนเพื่อเสริมสร้างรายได้ พร้อมทั้งจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้รักษาป่าต้นน�้า” ณ ศาลาประชาคม บ้านหนองเตา หมู่ ๕ ต�าบลศรีษะเกษ เพื่อเป็นแหล่ง เรียนรู้ของชุมชนจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการจ�าหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของ ชุมชนผ่านตลาดการค้าออนไลน์ นอกจากนีใ้ นส่วนของ สุขภาพและสาธารณสุข กองทัพอากาศ โดย กรมแพทย์

99

ทหารอากาศ ได้จัดส่งบุคลากรทางการแพทย์เข้าไป ให้ค�าแนะน�าแก่โรงพยาบาลนาน้อย เพื่อให้เข้าสู่ การเป็นสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (Hospital Accreditation : HA) พร้อมมอบอุปกรณ์ ทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ เพื่อส่งต่อการดูแลพี่น้อง ประชาชนชาวอ�าเภอนาน้อยต่อไป ท้ า ยที่ สุ ด กองทั พ อากาศได้ น ้ อ มน� า แนว พระราชด�าริ “ปลูกป่าในใจคน” โดยได้จัดกิจกรรม ค่ายน่านฟ้า Youth Camp 2020 โดยน�านักเรียน ระดับชัน้ ประถมศึกษาของอ�าเภอนาน้อย ไปทัศนศึกษา เสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์ และปลูกจิตส�านึก ในด้านการอนุรกั ษ์ปา่ ต้นน�า้ ณ กองบัญชาการกองทัพ อากาศ และสถานีรายงานเขาเขียว กรมควบคุม การปฏิ บั ติ ท างอากาศ เพื่ อ สร้ า งกลุ ่ ม เยาวชน อาสาสมัครทีม่ จี ติ ส�านึกการอนุรกั ษ์ปา่ ทีจ่ ะดูแลรักษา ป่าต้นน�้าจังหวัดน่านอย่างยั่งยืนสืบต่อไป



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.