หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน สิงหาคม 2563

Page 1

ขาวทหารอากาศ ISSN 0125 6173 ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๖๓

ขาวทหารอากาศ

ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๖๓

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th

ISSN 0125 6173


บทอาเศียรวาท สมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปหลวง เนื่องในวันแมแหงชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ สิบสองสิงหาคมสมสมัย ราชสมภพพระบรมราชชนนี พระบรมราชชนนีพันปหลวง พระทรงเปนแมหลวงปวงชาวไทย พระมารดาพระทศมินทรปนกษัตริย ประดุจรมโพธิ์แกวแววนภา คูบารมีพระภูมิพลมหาราช พระทรงเปนมิ่งแกวแววกมล ทรงภาคภูมิในฤดีหนาที่แม สมทรงเปนแมหลวงปวงชาวไทย ทรงสิริงดงามนามสดศรี ทรงเปนแมของแผนดินทั่วถิ่นงาม ตางเทิดทูนมั่นแนแมของชาติ สิบสองสิงหาคมสมบูรณจริง ขอคุณพระรัตนตรัยคุณใหญหลวง รวมพระคุณอินทรพรหมอุดมดล

ปองชาวไทยโสมมนัสจรัสศรี พระบารมีลนแผนดินทั่วถิ่นไทย ชนทั้งปวงเทิดบารมีที่สดใส ตางเทิดไวเหนือเกลาชาวประชา เจิดจรัสทั่วสากลลนวาสนา สมคุณคาแมหลวงของปวงชน ไทยทั้งชาติตางมั่นใจในกุศล เปนมงคลแกชาติพิลาสฤทัย งดงามแทพระกรุณาพาสดใส เลิศวิไลพระเมตตาคุณคางาม พระคุณมีมากลนทนสยาม สมพระนามสิริกิติ์วิจิตรจริง งามพิลาศดวยกุศลผลใหญย่งิ เทิดทูนยิ่งพระแมหลวงของปวงชน เทพทั้งปวงถวายพรอมรผล อํานวยพรคุมครององคทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�าการ และครอบครัวกองทัพอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์


บทบรรณาธิการ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เนือ่ งในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม นี้ คณะผู้จัดท�าหนังสือข่าวทหารอากาศ ขอน้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความจงรัก ภักดี และน้อมส�านึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงเปีย่ ม ด้วยพระเมตตา และทรงงานด้วยพระวิริยอุตสาหะ เคี ย งข้ า ง พระบาทสมเด็ จ พระบรมชนกาธิ เ บศร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชมหาราช บรมนาถบพิ ต ร เพื่ อ ประโยชน์สุขแก่ปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด และในวันที่ ๑๒ สิงหาคมนี้ รัฐบาลยังได้ก�าหนด ให้เป็น “วันแม่แห่งชาติ” เพื่อให้ปวงชนชาวไทย น้ อ มส� า นึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระองค์

รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ระลึกถึงพระคุณ ของแม่ คณะผูจ้ ดั ท�าหนังสือข่าว ทอ.จึงได้จดั กิจกรรม เชิญชวนข้าราชการกองทัพอากาศ ส่งภาพถ่ายร่วมกับ คุณแม่ เพื่อน�าลงปกหลัง ฉบับเดือนสิงหาคมนี้ อนึง่ ในช่วงนีอ้ ยูใ่ นห้วงฤดูฝน ขอฝากความห่วงใย ไปยังข้าราชการทุกท่าน พร้อมทั้งครอบครัว ให้ดูแล สุขภาพ และเพิม่ ความระมัดระวังในการใช้ยานพาหนะ นอกจากนี้ ใ นบางพื้ น ที่ ข องประเทศอาจได้ รั บ ผลกระทบจากสภาวะฝนตกหนัก น�้าป่าไหลหลาก รวมทั้งอาจเกิดอุทกภัย ซึ่งทางกองทัพอากาศได้น�า เทคโนโลยีดาวเทียม มาใช้ในการส�ารวจเส้นทางน�้า แหล่งน�้า ตลอดจนการป้องกันอุทกภัย และพร้อม ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงที ภาพปกฉบับนี้ ขออัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ พระบรม ราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเป็นภาพปกอีกวาระหนึ่ง ส�าหรับเรื่องเด่นในฉบับได้แก่ จุดเริ่มต้นการปรับตัว สู่ยุคข้อมูลของ ทอ.สหรัฐฯ, มองอนาคตคาบสมุทร เกาหลี ผ ่ า น DIME, Aviation Data Platform กับโลกอุตสาหกรรมการบินปัจจุบัน, สายลับดิจิทัล รวมทั้ ง คอลั ม น์ ป ระจ� า ที่ น ่ า สนใจอี ก มากมาย เชิญพลิกอ่านได้ตามอัธยาศัยครับ 


4

สารบัญ

ป ที่ ๘๐ ฉบั บ ที่ ๘ เดื อ นสิ ง หาคม ๒๕๖๓

๒ บทอาเศียรวาท สมเด็จพระนางเจ าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันป หลวง - น.อ.เกษม พงษ พันธ ๖ เป ดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการี กองทัพอากาศ - พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร ๑๑ ๑๐๐ ป ทิวงคต "พระบิดาแห งกองทัพอากาศ" ๑๖ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครัง้ ที่ ๓๖ - ณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดี กรมสารนิเทศน กระทรวงต างประเทศ ั น แสงสุวรรณ ๒๐ มุมกฏหมาย : จดทะเบียนรับรองบุตร สําคัญอย างไร - ร.อ.ชานุวฒ ๒๓ จุดเริม่ ต นการปรับตัวสูย คุ ข อมูลของ ทอ.สหรัฐฯ - น.อ. สรรสิริ สิรสิ นั ตคุปต ๒๗ การจัดการจราจรทางอวกาศ (Space Traffic Management) - Space ISR ๓๒ เวลาการ ตูน - มีสกรีน ๓๔ ครูภาษาพาที : สีนํ้าเงินกับสํานวนภาษาอังกฤษ - ศรีพิงค ๓๘ ทิศทางของกองทัพอากาศ หลังวิกฤตการณ COVID-19 - น.อ.เอกกมล ชวลิกลุ ๔๓ มองอนาคตคาบสมุทรเกาหลีผา น DIME - น.อ.วัชรพงษ กลีบม วง ๔๗ CROSSWORD - อ.วารุณี ๕๐ ธรรมประทีป : ขันติ ความอดทน - กอศ.ยศ.ทอ. ๕๑ มุมท องเที่ยว : New….then….Normal TOURISM - กันตา ๕๗ RED EAGLE อินทรีแดง แผลงฤทธิ์ : SPY…สายลับมหากาฬข ามโลก - น.ต.ภฤศพงศ ช อนแก ว ๖๒ จับจิต จับใจ กับ อ.หนู : ตนแลเป นที่พึ่งแห งตน - อ.หนู ๖๘ เกร็ดเล็กเกร็ดน อย ประชาคมอาเซียน : สัตว ประจําชาติของสาธารณรัฐสิงคโปร - @Zilch ๖๙ Aviation Data Platform กับโลกอุตสาหกรรมการบินป จจุบัน - น.อ.ดร.ปกรณ เนื่องฤทธิ์ ๗๕ การติดตามแนวโน ม เทคโนโลยียานไร คนขับ ตอน Pentagon เล็งจัดตัง้ สํานักงาน ต อต านอากาศยานไร คนขับ - สทป. ๘๐ Digital HUMINT หรือ สายลับดิจทิ ลั - ร.ต.พอภัทร สดสร อย ๘๔ ภาษาไทยด วยใจรัก : มาลีหลากนาม - นวีร ๘๗ ขอบฟ าคุณธรรม : …เป นคนมองเห็นโทษของส วนเกิน… - 1261 ๙๑ ในรั้วสีเทา ๙๗ ศูนย บรรเทาสาธารณภัย : Unmanned Aerial Vehicle (UAV) อากาศยานไร คนขับ กองทัพอากาศ กับงานด านการจราจร - ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล งวิทยา

๒๓

๔๓

๖๙

๘๐


ข าวทหารอากาศ

ข าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�าหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย์ เนียมทันต์ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อ�านวยการ/บรรณาธิการ

พล.อ.ท.ตรีพล อ่องไพฑูรย์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

รองผู้อ�านวยการ

พล.อ.ต.ฐานัตถ์ จันทร์อ�าไพ พล.อ.ต.สมพร แต้พานิช น.อ.นิโรจน์ จ�าปาแดง น.อ.ขจรฤทธิ์ แก้วอ�าไพ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

พล.อ.ต.ธรรมรงค์เดช เจริญสุข

ผู้ช่วยผู้อ�านวยการ

น.อ.นินาท มูลจนะบาตร์ น.อ.สมพร ร่มพยอม

น.อ.นิโรจน์ จ�าปาแดง น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ น.อ.ปิยะ พลนาวี

ประจ�าบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง รัชนก เกิดสุข พ.อ.อ.พันธกานต์ พูลผล พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค์ น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง น.ส.ภัณฑิรา พันธุ์เสี้ยม

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเปนมา

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

5

น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ จ.อ.หญิง ศุภวัลย์ กระจ่างนฤมลกุล นางจันทร์สม ค�ามา น.ส.ณัฐวดี ธ�ารงวงศ์ถาวร

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ (เพื่อพลาง) ส�านักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com

หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ด�าเนินการเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ด�าเนินการโดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอ�านวยการของกรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ตามค�าสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ ก�ากับดูแล โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารวารสารและสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ ก องทั พ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ ก�าหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการก�ากับดูแลของกรมกิจการพลเรือนทหาร อากาศ ตามค�าสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ด�าเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อ�านวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การด�าเนินงาน ๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่น�ามาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดท�าหนังสือข่าว ทหารอากาศ

ก�าหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพ์ที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จ�ากัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู ่ ๑ ถ.เจษฎาวิถ ี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ปกหน้า : ค้นหาจาก www.google.com ภาพประกอบบทความและภาพกราฟิกส์เวกเตอร์บางส่วนน�ามาจาก : www.google.com, www.freepik.com


6

เปดปูม ๑๐๐ ป การบิน ของบุพการี กองทัพอากาศ พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับ การน้ อ มเกล้ า ฯ ถวายพระมหาธาตุ น ภเมทนี ด ล

ทีย่ อดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึง่ กองทัพอากาศ สร้างถวายเนือ่ งในโอกาสทีท่ รงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ๖๐ พรรษา โดยมี พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารอากาศ ถวายการต้อนรับ


ข าวทหารอากาศ

วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทอดพระเนตรการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนาม ฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยมี พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิ ล ผู ้ บั ญ ชาการ ทหารอากาศ ถวายการต้อนรับ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย เครื่ อ งบิ น โจมตี แ บบที่ ๗ (Alpha Jet) จ� า นวน ๒ เครื่อง เพื่อใช้เป็นเครื่องบินสนับสนุน “การปฏิบัติ การฝนหลวงเฉลิ ม พระเกี ย รติ เนื่ อ งในโอกาส มหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ในการนี้ได้ทรงมีพระกระแส รับสั่งว่า “เครื่องบิน Alpha Jet ใช้ให้ดีจะเป็น

7

ประโยชน์อย่างมาก” ซึ่งกองทัพอากาศส�านึกใน พระมหากรุณาธิคุณและได้น้อมน�าพระราชด�ารัส ดังกล่าวมาเป็นหลักในการด�าเนินงานสนองโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�าริฝนหลวงตลอดมา นอกเหนือไปจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมี ต่อกิจการของกองทัพอากาศแล้ว กองบัญชาการ กองทัพอากาศยังเป็นสถานที่ในการรับและส่งเสด็จฯ เพื่ อ ไปประกอบพระราชกรณี ย กิ จ โดยเครื่ อ งบิ น พระที่นั่งยังพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นสถานที่ส�าหรับ รับรองพระราชอาคันตุกะ เนือ่ งในโอกาสส�าคัญต่าง ๆ อยูเ่ ป็นประจ�าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั นับตั้งแต่ที่ทรงเสด็จขึ้นครองสิริราชย์สมบัติจนถึง ปัจจุบัน กองทัพอากาศได้พัฒนาก�าลังทางอากาศ ไปอย่างมากมาย นับเป็นการก้าวสู่กองทัพอากาศ ยุคใหม่ที่มีความทันสมัยในทุก ๆ ด้าน ที่ส�าคัญได้แก่ - การเข้าสู่ยุคเครื่องบินไอพ่น


8

- การจัดหาอากาศยานที่ทันสมัยแบบต่าง ๆ เข้าประจ�าการ - เกียรติประวัติการเข้าร่วมสงครามเกาหลี - เกียรติประวัติการเข้าร่วมสงครามเวียดนาม - การฝึกร่วม/ผสมกับเหล่าทัพและมิตรประเทศ - การใช้กา� ลังทางอากาศเพือ่ การพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือประชาชน - การใช้ก�าลังทางอากาศเพื่อปฏิบัติการด้าน มนุษยธรรม และการช่วยเหลือมิตรประเทศ - การเข้าสู่ยุคกองทัพอากาศดิจิทัล - การเป็นกองทัพอากาศทีใ่ ช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง การฟื้นฟูการบินพาณิชย์ขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยรัฐบาล - การมุ่งสู่ “กองทัพอากาศชั้นน�าในภูมิภาค” มอบหมายให้กองทัพอากาศเป็นหน่วยด�าเนินการ ดังนั้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๙ กองทัพอากาศ กิจการบินในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จึงได้เปิดสายการบินพาณิชย์ภายในประเทศ เพือ่ รับส่ง ภูมิพลอดุลยเดช ผู้โดยสาร พัสดุและไปรษณียภัณฑ์ โดยมีเส้นทาง เนื่องจากการขนส่งทางอากาศของบริษัทขนส่ง การบินจากดอนเมืองไปจังหวัดพิษณุโลก ล�าปาง จ�ากัด ต้องระงับลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงมี เชียงใหม่ และจากดอนเมืองไปจังหวัดภูเก็ต สงขลา


ข าวทหารอากาศ

วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๐ กองทัพอากาศ โอนกิจการด้านการบินพาณิชย์ที่ได้รับมอบหมาย ให้ด�าเนินการเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ ให้กระทรวงคมนาคม ไปด�าเนินการ โดยมีการก่อตัง้ บริษทั ขึน้ มาเพือ่ ด�าเนิน กิจการใช้ชื่อว่า บริษัท เดินอากาศ จ�ากัด (Simese Airways Co.,Ltd.) ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น บริษัท เดินอากาศไทย จ�ากัด (Thai Airways Co.,Ltd.) พ.ศ.๒๔๙๐ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ด้วย เงื่อนไขทางการเมือง กองทัพอากาศจ�าเป็นต้องซื้อ เครื่ อ งบิ น เหลื อ ใช้ ส งครามจากฝ่ า ยสั ม พั น ธมิ ต ร เข้าประจ� าการเป็นจ�านวนมาก เครื่องบินเหล่านี้ ได้แก่ เครื่ อ งบิ น สื่ อ สาร ๒ ที่ นั่ ง แบบ L-4 จาก สหรัฐอเมริกา ซึ่งสร้างโดยสหรัฐอเมริกา จ�านวน ๔๒ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็นเครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๓ (บ.ส.๓) ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๙๐ ซื้อเครื่องบิน สื่ อ สาร แบบ L–5 จากกองทั พ อากาศอั ง กฤษ ที่กรุงย่างกุ้ง จ�านวน ๑๐ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๔ (บ.ส.๔)

เครือ่ งบินสือ่ สาร แบบที่ ๓ (Piper L–4 Grasshopper)

เครือ่ งบินสือ่ สาร แบบที่ ๔ (Stinson L–5 Sentinel)

9


10

นอกจากเครือ่ งบินสือ่ สารแล้ว ยังได้ซอื้ เครือ่ งบิน ล� า เลี ย ง ๒ แบบ คื อ C–45 จ� า นวน ๖ เครื่ อ ง จากสหรัฐอเมริกา ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินล�าเลียง แบบที่ ๑ (บ.ล.๑) เครื่ อ งบิ น ล� า เลี ย งอี ก แบบหนึ่ ง คื อ C–47 ซื้ อต่ อจากกองทัพ อากาศอังกฤษ จึงเรียกชื่อ เล่ น ตามแบบอังกฤษว่า “ดาโกต้า (Dakota)” และ ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินล�าเลียงแบบที่ ๒ (บ.ล.๒) ต่ อ มากองทั พ อากาศได้ รั บ เครื่ อ งบิ น แบบนี้ จ าก สหรัฐอเมริกาอีกจ�านวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้ซื้อเครื่องบินฝึกแบบ Miles Magister จากประเทศอังกฤษ จ�านวน ๑๘ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินฝึกแบบที่ ๗ (บ.ฝ.๗) พ.ศ.๒๔๙๑ จัดซื้อเครื่องบินฝึกแบบ T–6 จาก สหรัฐอเมริกา จ�านวน ๓๐ เครื่อง ก�าหนดชื่อเป็น เครื่องบินฝึกแบบที่ ๘ (บ.ฝ.๘) และต่อมาได้รับเพิ่ม เติมอีกจ�านวนหนึ่ง

เครื่องบินฝกแบบที่ ๗ (Miles Magister)

เครื่องบินล�าเลียงแบบที่ ๑ (Beechcraft C–45 Expediter)

เครือ่ งบินล�าเลียงแบบที่ ๒ (Douglas C-47 Skytrain/Dakota)

เครือ่ งบินฝกแบบที่ ๘ (North American T–6 Texan) (อ่านต่อฉบับหน้า)

อ้างอิง

- หนังสือ ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

11


12

“ก�ำลังในอำกำศเปนโล่ห์อันแท้จริงอย่ำงเดียว ที่จะกันมิให้กำรสงครำมมำถึงท่ำมกลำงประเทศของเรำได้ ทั้งเปนประโยชน์ใหญ่ยิ่งในกำรคมนำคมเวลำปรกติ” พระด�ำรัส จอมพล สมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ เจ้ำฟ้ำจักรพงษ์ภูวนำรถ กรมหลวงพิศณุโลกประชำนำรถ พระบิดำแห่งกองทัพอำกำศ (คัดมำจำกค�ำแถลงกำรณ์จำกกรมเสนำธิกำรณ์ทหำรบก ลงวันที่ ๑๐ มีนำคม ๒๔๖๒)


ข าวทหารอากาศ

13

ค�ำปรำรภ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี การทิวงคต ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ ของ จอมพล สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ซึ่งพระองค์เป็น ผู ้ ท รงคิ ด ริ เริ่ ม และวางรากฐานกิ จ การบิ น ของไทย รวมทั้ ง คั ด เลื อ กและส่ ง คนไทย ๓ คน ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรัง่ เศส เพือ่ น�าความรูม้ าพัฒนาด้านการบิน และถ่ายทอดความรู้ เป็นก�าลังส�าคัญของชาติบ้านเมือง ด้วยพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ ทางปัญญาอันล�้าเลิศ ด้วยพระวิสัยทัศน์ด้านการบินอันกว้างไกล พระองค์จึงทรงมีพระด�าริ ให้จัดตั้งกิจการบินขึ้น ทรงใฝ่พระทัยท�านุบ�ารุงส่งเสริมกิจการบินและยังทรงตระหนักดีว่า อากาศยานไม่เพียงจะมีประโยชน์เฉพาะทางด้านทหารเท่านั้น หากยังสามารถใช้ประโยชน์ทาง ด้านคมนาคมอีกด้วย นับว่าพระองค์ทรงวางรากฐานแนวทางเสริมสร้างก�าลังทางอากาศของ ประเทศไทยอย่างจริงจัง ดังมีพระด�ารัสไว้ว่า “ก�ำลังในอำกำศเปนโล่ห์อันแท้จริงอย่ำงเดียว ที่จะกันมิให้กำรสงครำมมำถึง ท่ำมกลำงประเทศของเรำได้ ทั้งเปนประโยชน์ใหญ่ยิ่งในกำรคมนำคมเวลำปรกติ” จากพระด�ารัสข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงให้ความส�าคัญและตระหนักว่าก�าลัง ทางอากาศจะมีบทบาทส�าคัญในการน�าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ่ ชาติ พระวิสยั ทัศน์ดา้ นการบิน ของพระองค์ จึงก่อให้เกิด “กองทัพอากาศ” ซึ่งมีบทบาทส�าคัญในการปกป้องอธิปไตยของชาติ รวมทัง้ มีสว่ นร่วมสนับสนุนภารกิจของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนในพืน้ ทีต่ า่ ง ๆ ปัจจุบนั กองทัพอากาศได้นอ้ มน�าพระวิสยั ทัศน์ของพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการมุง่ มัน่ พัฒนาเพื่อให้กองทัพอากาศเป็นกองทัพอากาศชั้นน�าในภูมิภาคตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ ทีก่ า� หนดไว้ โดยมุง่ เน้นการพัฒนาขีดความสามารถทัง้ ๓ มิต ิ ได้แก่ มิตทิ างอากาศ (Air Domain) มิติไซเบอร์ (Cyber Domain) และมิติอวกาศ (Space Domain) บนพื้นฐานของความสมดุล และยั่งยืน และสามารถปฏิบัติภารกิจหลักได้อย่างสมบูรณ์ พระกรุณาธิคุณและพระคุณูปการ ที่ทรงมีต่อกองทัพอากาศ พระองค์จึงได้รับการเทิดทูนยกย่อง พร้อมกับเทิดพระเกียรติเป็น “พระบิดำแห่งกองทัพอำกำศ”


14

ในวาระอันส�าคัญนี้ กองทัพอากาศจึงร่วมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ และ จัดท�าหนังสือที่ระลึกครบรอบ ๑๐๐ ปี การทิวงคต ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ ของ จอมพล สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เพื่ อ น้ อ ม ระลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบิดาแห่งกองทัพอากาศ อันน�ามาสู่การเป็นกองทัพอากาศ ที่มีความเข้มแข็งในปัจจุบัน กองทัพอากาศขอสืบสานพระปณิธานของพระองค์ในการที่จะเป็น “โล่” ปกป้องคุ้มครองอธิปไตยของชาติ พัฒนาขีดความสามารถของกองทัพอากาศอย่างยั่งยืน และต่อเนื่อง เพื่อก้าวไปสู่การเป็น “กองทัพอากาศชั้นน�าในภูมิภาค (One of The Best Air Forces in ASEAN)”

พลอากาศเอก (มานัต วงษ์วาทย์) ผู้บัญชาการทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

15

(อ่านต่อฉบับหน้า)

อ้างอิง - หนังสือทีร่ ะลึก เนือ่ งในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี การทิวงคต จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ


16

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๖ ณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศน์ กระทรวงต่างประเทศ

เมื่ อ วั น ที่ ๒๖ มิ ถุ น ายน พ.ศ.๒๕๖๓ พลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี เข้ า ร่ ว มการประชุ ม สุ ด ยอดอาเซี ย น ครั้ ง ที่ ๓๖ และการประชุ ม ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ซึ่ ง เป็ น ครั้ ง แรก ในประวัติศาสตร์ที่อาเซียนจัดการประชุมสุดยอด เต็ มรู ป แบบผ่ านระบบการประชุมทางไกล โดยมี

นายเหวียน ชวน ฟุก นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม เป็นประธาน ภายใต้แนวคิดหลัก “แน่นแฟ้นและตอบสนอง” ในการประชุ ม ครั้ ง นี้ ผู ้ น� า อาเซี ย นได้ ยื น ยั น เจตนารมณ์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการด�าเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคม


ข่าวทหารอากาศ

อาเซียน ค.ศ.2025 เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคม ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อย่างแท้จริง รวมทั้งได้หารือกันเกี่ยวกับแนวทาง ในการเสริ ม สร้ า งความร่ ว มมื อ เพื่ อ รั บ มื อ กั บ COVID-19 โดยย�้ำความส�ำคัญของการให้การดูแล และคุ ้ ม ครองประชาชนในช่ ว งวิ ก ฤต โดยเฉพาะ กลุ ่ ม เปราะบางต่ า ง ๆ รวมถึ ง แรงงานข้ า มชาติ ความร่ ว มมื อ เพื่ อ พั ฒ นายาและวั ค ซี น และการ พิจารณาแนวทางร่วมกันในการผ่อนปรนมาตรการ ที่ เ ป็ น อุ ป สรรคต่ อ การเดิ น ทาง และพิ จ ารณา แนวคิ ด เรื่ อ ง “Travel Bubble” ในอาเซี ย น รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม เทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล เพื่ อ ช่ ว ยในการ ควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 บรรเทา ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น และส่ ง เสริ ม การฟื ้ น ตั ว ทาง เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่ประชุมได้มีข้อตัดสินใจส�ำหรับการรับมือกับ COVID-19 ดังนี้ ๑. ประกาศจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือ COVID -19 อย่างเป็นทางการ โดยไทยได้บริจาคเงิน จ�ำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุน กองทุนฯ ๒. เห็นชอบต่อแนวทางและเงื่อนเวลาส�ำหรับ การจัดท�ำแผนงานฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน ๓. เร่งรัดการจัดตัง้ คลังส�ำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์ และมาตรฐานวิธปี ฏิบตั ขิ องอาเซียนส�ำหรับสถานการณ์ ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

17

๔. มอบหมายให้ทปี่ ระชุมคณะรัฐมนตรีประสาน งานอาเซียน (ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ) ท�ำหน้าที่ ประสานความร่วมมือในทั้ง ๓ เสาประชาคมอาเซียน เพื่อตอบสนองต่อ COVID-19 อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบูรณาการ นอกจากนี้ ที่ ป ระชุ ม ได้ ย�้ ำ ถึ ง บทบาทน� ำ และความเป็นแกนกลางของอาเซียนในการเสริมสร้าง ความร่ ว มมื อ ที่ จ ะช่ ว ยสร้ า งความไว้ เ นื้ อ เชื่ อ ใจ และลดการเผชิญหน้าระหว่างมหาอ�ำนาจในภูมิภาค โดยเฉพาะความร่วมมือภายใต้มุมมองของอาเซียน


18

ต่ออินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ของการเป็น ประธานอาเซียนของไทยเมื่อปีที่แล้ว รวมทั้งเน้นย�้ำ การสนับสนุนระบบพหุภาคี การค้าเสรีที่เปิดกว้าง การบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะ การเร่งรัดการลงนามความตกลงหุน้ ส่วนทางเศรษฐกิจ ระดับภูมภิ าคหรือ RCEP ภายในปีนี้ (RCEP : Regional Comprehensive Economic Partnership คือ ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมภิ าค ทีเ่ ป็น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง ASEAN ๑๐ ประเทศ กับคูภ่ าคีทมี่ อี ยู่ ๖ ประเทศ คือ จีน ญีป่ นุ่ เกาหลี ใ ต้ อิ น เดี ย ออสเตรเลี ย และนิ ว ซี แ ลนด์

ซึ่งถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรี ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สู ง ที่ สุ ด ในโลกครอบคลุ ม ประชากรเกื อ บครึ่ ง หนึ่ ง ของโลกและมีมูลค่า GDP รวมกันในสัดส่วนกว่า ร้อยละ ๓๐ ของโลก) เพื่อช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัว และการเติบโตทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรียังได้มีข้อเสนอเพื่อการฟื้นตัว ของอาเซียนหลัง COVID-19 สามประการ กล่าวคือ “อาเซี ย นที่ เ ชื่ อ มโยงกั น มากขึ้ น ” ทั้ ง ทางบก ทางน�ำ้ และทางอากาศ “อาเซียนทีเ่ ข้มแข็งมากขึน้ ” และ “อาเซียนที่มีภูมิคุ้มกันมากขึ้น” โดยส่งเสริม ความมั่นคงทางสาธารณสุข ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ ป้ อ งกั น แก้ ไ ขปั ญ หาด้ า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ความร่ ว มมื อ ด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน กับการประกอบธุรกิจ การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยคุกคาม จากไซเบอร์ การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ปัญหา ยาเสพติด และการท�ำประมงผิดกฎหมายอย่างจริงจัง เพือ่ ความสงบสุขของภูมภิ าค ตลอดจนไทยได้นอ้ มน�ำ


ข่าวทหารอากาศ

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึง่ สามารถประยุกต์ ใช้ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทาง หนึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาวของอาเซียน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับรองวิสัยทัศน์ผู้น�ำอาเซียน ว่าด้วยอาเซียนที่แน่นแฟ้นและตอบสนอง ก้าวข้าม ความท้าทายและเสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์สำ� หรับโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปของงานเพือ่ ส่งเสริม ประชาคมอาเซี ย นที่ มี ป ระชาชนเป็ น ศู น ย์ ก ลาง

อ้างอิง - https://twitter.com/pmoc10?lang=da

19

และการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วน ผูน้ ำ� อาเซียนยังได้ เข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานอื่น ๆ ได้แก่ การประชุมผู้น�ำ อาเซียน สมัยพิเศษ เรื่องการเสริมสร้างศักยภาพสตรี ในยุคดิจิทัล และการหารือกับผู้แทนจากภาคส่วน ต่าง ๆ ซึง่ ประกอบด้วยสมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชน อาเซียน และสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน เพื่อแลก เปลี่ยนความเห็นและร่วมกันขับเคลื่อนประชาคม อาเซี ย นให้ ส ามารถตอบสนองต่ อ ประเด็ น ที่ เ ป็ น ผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง


20

จดทะเบียนรับรองบุตร สําคัญอย างไร ร.อ.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ รรก.นายทหารพระธรรมนูญ บน.๑

บุตรนอกสมรสที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร กับ บุตรนอกสมรสที่บิดารับรอง คืออะไร บุตรนอกสมรส คือบุตรที่เกิดแก่บิดากับมารดา ทีอ่ ยูก่ นิ กันเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ตามกฎหมาย (แม้ จั ด พิ ธี ม งคลสมรสใหญ่ โ ตหรื อ พาออกสังคมแสดงตนว่าเป็นสามีภริยากันก็ตาม) ซึ่งบุตรที่เกิดมานี้จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ มารดาแต่เพียงผู้เดียว ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิ ช ย์ มาตรา ๑๕๔๖ และความสั ม พั น ธ์ ระหว่างบิดากับบุตรนอกสมรสนั้น กฎหมายไม่น�า บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดาและบุตร ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา ๑๕๖๑ - มาตรา ๑๕๘๔/๑ มาใช้บงั คับ เพราะไม่ใช่บตุ ร ที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา พูดง่าย ๆ คือ บิดา กับบุตรไม่มีสิทธิและหน้าที่อันใดต่อกันนั้นเอง เช่นหน้าที่ของบุตรจ�าต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดา (มาตรา ๑๕๖๓), หน้าทีข่ องบิดาจ�าต้องอุปการะเลีย้ งดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บตุ รในระหว่างทีเ่ ป็น ผูเ้ ยาว์ (มาตรา ๑๕๖๔), สิทธิในการร้องขอค่าอุปการะ เลี้ยงบุตรได้ (มาตรา ๑๕๖๕), บิดาโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายไม่ มี อ� า นาจฟ้ อ งบุ ค คลผู ้ ท� า ละเมิ ด ท�าให้ บุตรนอกกฎหมายที่ตนรับรองแล้วถึงแก่ความตาย ไม่ ส ามารถฟ้ อ งเรี ย กให้ บุ ค คลผู ้ ท� า ละเมิ ด ใน ค่าขาดไร้อุปการะได้ (เพราะเป็นหน้าที่ของบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น) เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตร จะท�าให้บตุ รนอกสมรส กลายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา มี ๓ วิธี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๗) คือ

๑. บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน บุตรจะมี ฐานะเป็ น บุ ต รชอบด้ ว ยกฎหมายตั้ ง แต่ วั น ที่ บิ ด า มารดา จดทะเบียนสมรสกัน ๒. บิ ด าไปส� า นั ก งานเขต/อ� า เภอ ยื่ น ขอ จดทะเบียนรับรองบุตร กรณีนี้มักจะเกิดจากการที่ ชายไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตรได้ เช่น มีคู่สมรสแล้ว หรือชอบไม้ป่าเดียวกัน เป็นต้น ซึ่ ง การจดทะเบี ย นรั บ รองบุ ต ร จะต้ อ งให้ บุ ต ร และมารดาบุตรยินยอม (แต่ไม่จ�าเป็นต้องให้คู่สมรส ของฝ่ายชายต้องยินยอมด้วย) อนึ่ง บุตรที่อายุยังน้อยไม่สามารถเขียนหรือ เซ็ น ยิ น ยอมได้ นั้ น แม้ ม ารดาจะยิ น ยอมแทน ก็ไม่สามารถกระท�าได้ ตัวอย่างเช่นตามค�าพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๑๑๑๗/๒๕๔๐ “แม้มารดาจะเป็นผู้ใช้ อ� า นาจปกครองบุ ต รก็ ไ ม่ ใ ช่ ก รณี ที่ จ ะรองรั บ ให้ มารดาให้ความยินยอมแทนบุตรในกรณีการที่บิดา จะจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้” ดังนั้น การจด ทะเบียนรับรองบุตรจึงมักจะท�าเมื่อบุตรอ่านออก เขียนได้บ้างแล้ว


ข่าวทหารอากาศ

๓. โดยวิ ธี ก ารขอค� ำ พิ พ ากษาจากศาลว่ า เป็นบุตร ซึ่งจะใช้ในกรณีที่บิดาไม่ยอมรับว่าเป็นบุตร หรือไม่รบั รองบุตร หรือฝ่ายบิดาประสงค์จะจดทะเบียน รับรองบุตร แต่มารดาของบุตรไม่อาจยินยอมให้ได้ เพราะตายหรือสูญหายหรือไม่สามารถติดต่อมารดา บุตรได้ เพื่อจะให้บุตรมีสิทธิรับมรดก (อายุความ ๑ ปี นับแต่เด็กบรรลุนติ ภิ าวะ) จึงต้องยืน่ ค�ำร้องขอต่อศาล ให้พิพากษาว่าเป็นบุตร เมือ่ บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว กฎหมาย ก�ำหนดไว้ให้บตุ รนอกกฎหมายทีบ่ ดิ าได้รบั รองแล้วนัน้ ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วย กฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๗) ส่วนกรณีของบุตรทีบ่ ดิ าได้รบั รองว่าเป็นบุตร (โดยพฤติ นั ย มิ ไ ด้ จ ดทะเบี ย นรั บ รองบุ ต ร) เช่ น การแจ้งเกิด การให้ใช้นามสกุล การส่งเสียอุปการะ เลี้ยงดู หรือการแสดงเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็น บุตรของตน เป็นต้น ซึ่งบุตรนอกสมรสที่บิดารับรอง แล้วนี้ จะเกิดสิทธิและหน้าทีก่ นั ตามกฎหมายระหว่าง บุตรและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้ ๑. เนื่องจากบุตรนอกสมรสที่บิดารับรองนั้น ต้องเป็นบุตรที่สืบสายโลหิตของบิดาอย่างแท้จริง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๗ ให้ถอื ว่าเป็นผูส้ บื สันดานเหมือนบุตรทีช่ อบด้วย กฎหมายของบิดานัน้ ด้วย ซึง่ จะมีสทิ ธิรบั มรดกของบิดา ในฐานะทายาทโดยธรรมล�ำดับ ๑ (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๙ (๑)) เช่นเดียวกันกับ บุตรนอกสมรสที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว ๒. บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จะรับรอง บุตรแล้ว แต่กไ็ ม่มกี ฎหมายบัญญัตใิ ห้มสี ทิ ธิและหน้าที่ ต่อบุตรนอกสมรสที่ยังไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่า เป็นบุตร (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๑ - มาตรา ๑๕๘๔/๑) แต่ประการใด เพราะมิใช่บิดาชอบด้วยกฎหมายของบุตร ตัวอย่างเช่น ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๕๒/๒๕๕๓ การทีจ่ ำ� เลยให้ผเู้ ยาว์ใช้ชอื่ สกุลของจ�ำเลย และอุปการะ

21

เลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรไม่ใช่เหตุที่จะท�ำให้ ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจ�ำเลยได้ จ�ำเลยจึงไม่มีอ�ำนาจปกครองผู้เยาว์ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๒๘/๒๕๓๗ บุตรทีจ่ ะ มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูและการให้การศึกษา จากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๔ วรรคแรก จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายมาแต่แรกหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ในภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๗ ค� ำ พิ พ ากษาศาลฎี ก าที่ ๒๑๑๔/๒๕๒๔ ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา ๑๕๕๘ เป็นกรณีให้สิทธิแก่บุตรชอบด้วยกฎหมาย โดยค� ำ พิ พ ากษาภายหลั ง การตายของเจ้ า มรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของ การรับมรดกโดยตรง แต่เงินสงเคราะห์ตกทอดมิใช่ มรดก มาตรา ๑๕๕๘ มิใช่บทใกล้เคียงที่จะน�ำมาใช้ บังคับแก่กรณีของโจทก์ สิทธิรบั เงินสงเคราะห์ตกทอด ของผูต้ ายตามข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตกได้แก่ทายาทเนื่องจากการตาย แต่ไม่ใช่ทรัพย์สิน ของผู้ตายมิใช่มรดก โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมาย ยังมิได้มฐี านะเป็นทายาทในขณะบิดาตาย จึงไม่มสี ทิ ธิ รับเงินดังกล่าวตามข้อบังคับ แม้ภายหลังจะมีคำ� พิพากษา ของศาลถึงทีส่ ดุ ให้โจทก์ทงั้ สองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของผู้ตาย ก็ไม่มีผลย้อนหลัง ๓. บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอ�ำนาจ ฟ้ อ งบุ ค คลผู ้ ท� ำ ละเมิ ด ท� ำ ให้ บุ ต รนอกสมรสที่ ต น รับรองแล้วถึงแก่ความตาย (ต้องให้มารดาฟ้องเท่านัน้ ) ตัวอย่างเช่น ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๘๕/ ๒๕๐๘ โจทก์ ท� ำ การสมรสโดยมิ ไ ด้ จ ดทะเบี ย น การสมรสนัน้ จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย บุตรทีเ่ กิดมา จึงเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์ เมื่อโจทก์ยังมิได้ จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๖ แล้ว โจทก์จึงมิใช่ บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร อ�ำนาจปกครอง


22

จึงตกอยูแ่ ก่มารดาตามมาตรา ๑๕๓๘ (๕) และมารดา เป็นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของบุตร โจทก์จงึ ไม่มอี ำ� นาจ ฟ้องผู้ที่ท�ำให้บุตรตาย บุตรนอกสมรสทีบ่ ดิ ายังมิได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่มีพฤติการณ์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุตรนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๗ บัญญัตใิ ห้ถอื ว่าเป็นผูส้ บื สันดานเสมือนบุตรทีช่ อบด้วย กฎหมาย มีสิทธิเพียงรับมรดกบิดาได้ตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) เท่านั้น ส่วนบิดาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ มีสทิ ธิและหน้าทีต่ อ่ บุตรนอกสมรสทีย่ งั มิได้จดทะเบียน ว่าเป็นบุตรแต่ประการใด ๔. บุตรนอกกฎหมายทีบ่ ดิ ารับรองแล้ว ไม่สามารถ ฟ้องบุคคลผูท้ ำ� ละเมิดทีท่ ำ� ให้บดิ าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาย เช่น ค่าขาดไร้อปุ การะ เป็นต้นได้ ส่วนค่าปลงศพ และค่าสินไหมทดแทนอื่น ๆ นั้นสามารถเรียกร้องได้ ตัวอย่างเช่น ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๐๒/ ๒๕๔๙ สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับ ค่าปลงศพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๓ วรรคแรก เป็นสิทธิของผู้ที่เป็นทายาท จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระท�ำละเมิดท�ำให้เจ้ามรดก ถึงแก่ความตายภายใต้บังคับมาตรา ๑๖๔๙ และเมื่อ โจทก์ที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดก ซึง่ เป็นบิดารับรองแล้ว จึงเป็นผูส้ บื สันดานเหมือนบุตร ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามมาตรา ๑๖๒๗ มีสทิ ธิฟอ้ งเรียกค่าปลงศพของเจ้ามรดก และเมือ่ โจทก์ ทัง้ สีร่ ว่ มกันฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในการปลงศพ ดังกล่าว จึงไม่จ�ำเป็นต้องระบุว่าโจทก์คนใดเป็นผู้ที่ ออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงจะมีอ�ำนาจฟ้องได้ โจทก์ที่ ๒

ถึงที่ ๔ จึงมีอำ� นาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในการ ปลงศพได้ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๐๙/๒๕๔๘ ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๓ วรรคสาม ก�ำหนดให้ผู้กระท�ำละเมิดในกรณีท�ำให้เขาถึงตาย รับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตาย มีหน้าทีอ่ ปุ การะตามกฎหมายเท่านัน้ แต่มาตรา ๑๕๖๓ และมาตรา ๑๕๖๔ ที่บัญญัติให้บุตรและบิดาจ�ำต้อง อุปการะเลีย้ งดูกนั นัน้ หมายถึง บุตรและบิดาโดยชอบ ด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติก�ำหนดสิทธิ และหน้ า ที่ ให้ บิ ด าจ� ำ ต้ อ งอุ ป การะเลี้ ย งดู บุ ต ร นอกกฎหมาย ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดา รับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จากบิดา จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจาก ผู้กระท�ำละเมิด ๕. บุตรนอกสมรสมีสิทธิรับมรดกแทนที่บุตร ของเจ้ามรดกได้ ในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรง จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นถึงความส�ำคัญ ของการจดทะเบียนรับรองบุตร ตลอดจนเห็นความ เหมือนที่แตกต่างกันระหว่างบุตรนอกสมรสที่บิดา จดทะเบี ย นรั บ รองบุ ต รกั บ บุ ต รนอกสมรสที่ บิ ด า รับรอง กล่าวโดยสรุป บุตรนอกสมรสทีบ่ ดิ าจดทะเบียน รับรองแล้วย่อมมีสทิ ธิและหน้าทีเ่ หมือนบุตรชอบด้วย กฎหมายของบิดา (แม้บิดา มารดา ต่างฝ่ายมีคู่สมรส ต่างหากก็ตาม) ส่วนบุตรนอกสมรสที่บิดารับรอง (โดยพฤตินยั ) แล้วก็คงมีสทิ ธิเพียงได้รบั มรดกในฐานะ ผู้สืบสันดานเท่านั้น

อ้างอิง - กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย www.dopa.go.th - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๗ - ๑๕๕๒ และ มาตรา ๑๕๖๓ - ๑๕๘๔/๑


ข่าวทหารอากาศ

23

จุดเริ่มต้นการปรับตัว สู่ยุคข้อมูลของ ทอ.สหรัฐฯ (USAF: The Information Age Airpower in 2015)

น.อ. สรรสิริ สิริสันตคุปต์

อ้างถึงการประชุมแสดงความคิดของนายทหาร ระดับสูง กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (ทอ.สหรัฐฯ) และผู้เกี่ยวข้อง ในหัวข้อ “Information Age Airpower” ทีร่ ฐั แคลิฟอร์เนียเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.2015 ถู ก จั ด ขึ้ น โดยสมาคม ทอ.สหรั ฐ ฯ (Air Force Association) โดยรวมนัน้ เห็นตรงกันว่า “ในอนาคตความขัดแย้งใด ๆ ที่อาจเกิ ด ขึ้ น ในยุคของข้อมูลระหว่างสหรัฐฯ กับฝ่ายตรงกันข้าม สิ่งส�ำคัญที่ ทอ.สหรัฐฯ ควรปรับตัวคือการเพิม่ ความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collect) เผยแพร่ (Disseminate) และการใช้ประโยชน์

(Exploit) จากข้อมูลที่รวดเร็วกว่าฝ่ายตรงกันข้าม ซึง่ จะน�ำมาสูค่ วามส�ำเร็จในการปฏิบตั งิ าน” จึงท�ำให้ กองทัพอากาศสหรัฐฯ นั้นต้องพัฒนายุทโธปกรณ์ และบุคลากรในด้านต่าง ๆ ไว้สำ� หรับอนาคต อย่างเช่น การเชื่อมโยง ข้อมูลทางยุทธวิธี เพื่อสร้างความ ได้เปรียบครองความเหนือชัน้ ในการใช้กำ� ลังทางอากาศ (Air Superiority) สอดรับกับความท้าทายในยุคของ ข้อมูลอันถือเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและควรค่าแก่การ เรียนรู้ โดยบทความในฉบับมีมมุ มองและรายละเอียด ที่น่าสนใจดังนี้


24

การเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ข้ อ มู ล จาก U.S. Air Force Magazine ฉบั บ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ.2016 ในบทความ “Information Age Airpower” เขี ย นโดย คุณ Marc V. Schanz อ้างถึง พล.อ.อ.Herbert J. “Hawk” Carlisle หั ว หน้ า หน่ ว ยบั ญ ชาการ ยุทธทางอากาศ ได้กล่าวในการประชุม “Information Age Airpower” ทีร่ ฐั แคลิฟอร์เนีย ไว้วา่ “ช่วงแรก ในการปฏิบตั กิ ารทางอากาศของกองก�ำลังพันธมิตร ที่มีต่อเซอร์เบีย (Serbia) ในปี ค.ศ.1999 หน่วย ป้ อ งกั น ภั ย ทางอากาศของเซอร์ เ บี ย สามารถยิ ง เครื่ อ งบิ น รบ F-117 (Stealth Fighter) ตก ด้วยขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ SA-3 ที่ถูกผลิตในปี ค.ศ.1960 โดยใช้การสื่อสารขั้นพื้นฐานและมนุษย์ เป็นผู้ระบุเป้าหมายทางอากาศ ที่ส�ำคัญกองก�ำลัง ชาวเซิ ร ์ บ ได้ ศึ ก ษาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ เครื่ อ งบิ น รบ F-117 และน�ำข้อมูลที่ได้นั้นมาสร้างสรรค์ให้เป็น ยุทธวิธีใหม่ (Innovative Tactics) ที่สามารถ น�ำมาใช้จนสร้างความส�ำเร็จในการยิงเครือ่ งบินรบ ชั้นแนวหน้า (Top of the line) ของ ทอ.สหรัฐฯ ในวันเริ่มต้นของการปฏิบัติการทางอากาศ ซึ่งการ สูญเสียในครัง้ นัน้ ถือเป็นบทเรียนทีส่ อนให้ ทอ.สหรัฐฯ ได้เห็นถึงความส�ำคัญของข้อมูลทีเ่ ป็นตัวสร้างความ ได้เปรียบให้ผู้ที่ครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้

ในแบบเก่าหรือแบบใหม่ ความส�ำเร็จจะขึ้นอยู่กับ วิ ธี ก ารที่ จ ะใช้ ป ระโยชน์ จ ากข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู ้ เกี่ยวกับฝ่ายตรงกันข้าม” ณ ปั จ จุ บั น ทอ.สหรั ฐ ฯ ก� ำ ลั ง เผชิ ญ หน้ า กับอนาคตที่ถูกท้าทายในอ�ำนาจที่ครอบครองอยู่ (Air, Space and Cyber) จากฝ่ายตรงกันข้าม จะเห็นได้จากในยุคของข้อมูลความได้เปรียบในการ ปฏิบัติงานนั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ ข้อมูลทีถ่ กู ต้องทันตามความต้องการในทุก ๆ สถานการณ์ ท�ำให้มวี งรอบในการตัดสินใจทีร่ วดเร็วกว่าฝ่ายตรงข้าม เรียกกันว่า “การหยั่งรู้สถานการณ์” (Situational Awareness) เป็นข้อมูลที่ต้องการและรู้ว่าต้องการ ข้อมูลนั้นเมื่อไร เป็นเครื่องมือที่ดีส�ำหรับการใช้ก�ำลัง ทางอากาศ ทัง้ ในการปฏิบตั กิ ารรบและการปฏิบตั กิ าร ที่มิใช่การรบ จึงเป็นเป้าหมายหลักให้ ทอ.สหรัฐฯ สร้างเซ็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพ และคอมพิวเตอร์ที่มี ความสามารถในการประมวลผลบนเครื่องบินขับไล่ F-22 และ F-35 ที่ถูกจัดเป็นเครื่องบินขับไล่สองรุ่น ในยุคทีห่ า้ (5th Generation Fighter) ของ ทอ.สหรัฐฯ ข้อมูลจากบทความ “Comms Through the Aerial Layer” U.S.Air Force Magazine ฉบับเดือนธันวาคม ค.ศ.2015 เขียนอย่างน่าสนใจว่า “ในการครองความ เหนือชัน้ ของการใช้กำ� ลังทางอากาศ (Air Superiority) นั้น การเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ถือว่ามีความ


ข่าวทหารอากาศ

ส�ำคัญเท่า ๆ กับตัวของเครือ่ งบินขับไล่ ถ้าเรามีระบบ เชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีที่สามารถแลกข้อมูลฯ ระหว่างกันได้ดีและทันตามความต้องการในทุก ๆ สถานการณ์ อาทิ ข้อมูลเป้าหมายของเครือ่ งบินขับ ไล่ฝา่ ยตรงกันข้าม เราก็สามารถเอาชนะฝ่ายตรงกัน ข้ามได้ ถึงแม้เราจะมีเครื่องบินขับไล่ที่ท�ำการรบ ในอากาศที่น้อยกว่า” เป้าหมายอันดับรองลงมา ของ ทอ.สหรัฐฯ ที่ได้วางไว้ในยุคของข้อมูลซึ่งได้ ท�ำส�ำเร็จแล้วก็คอื ช่วงแรกต้องท�ำให้ F-22 และ F-35 มี ค วามสามารถแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ทางยุ ท ธวิ ธี กั บ เครื่องบินขับไล่ในยุคที่สี่ (4th Generation Fighter) ซึ่ง ทอ.สหรัฐฯ มีนโยบายจะใช้ต่อเนื่องในอนาคต อย่าง F-15Cs หรือ F-16Cs และต่อมาได้ท�ำให้ F-22 และ F-35 มีความสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล ทางยุทธวิธีระหว่างกันได้ ตอบสนองความต้องการ ของ ทอ.สหรัฐฯ ในยุคของข้อมูล ความท้าทายนั้น อยู่ตรงที่การท�ำเครื่องบินขับไล่ในยุคที่สี่ให้มีความ ทันสมัย รองรับการใช้งานต่อเนือ่ งในอีกสิบปีขา้ งหน้า ส่วนมากยังคงใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี Link-16 ซึ่งเป็นมาตรฐานส�ำหรับเครื่องบินรบของ

25

ทอ.สหรัฐฯ และเครื่องบินรบของ NATO มาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1990 ที่ส�ำคัญตอบสนองความต้องการในการ ปฏิ บั ติ ก ารทางอากาศร่ ว ม (Interoperability) ณ ปัจจุบัน Link-16 ยังใช้เป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูล ทางยุ ท ธวิ ธี ที่ เ ป็ น มาตรฐาน ซึ่ ง ในเรื่ อ งการท� ำ ให้ F-22 หรือ F-35 มีความสามารถในการแลกเปลี่ยน ข้ อ มู ล ทางยุ ท ธวิ ธี กั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ ใ นยุ ค ที่ สี่ ได้นั้น ผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี หลายคน ได้ลงความเห็นวิธีหนึ่งควรอัพเกรดวิทยุ Link-16 ผลนั้ น ท� ำ ให้ เ ครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ ใ นยุ ค ที่ สี่ มีความสามารถในระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี เหมือนกับระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี MADL (Multifunction Advanced Data Link) ของ F-35 และยังคงมีความสามารถเหมือนเดิมในการปฏิบตั กิ าร ทางอากาศร่วม (Interoperability) ในส่วนของ การท�ำให้ F-22 และ F-35 มีความสามารถที่จะ แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ทางยุ ท ธวิ ธี ร ะหว่ า งกั น ได้ นั้ น โดยภาพรวมเครือ่ งบินรบทัง้ สองแบบจัดเป็นเครือ่ งบิน ขับไล่ในยุคที่ห้า (5th Generation Fighter) ในแบบ Stealth ของ ทอ.สหรัฐฯ ที่ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูล


26

ทางยุทธวิธที ตี่ า่ งกัน อย่างเช่น F-35 ใช้ระบบเชือ่ มโยง ข้อมูลทางยุทธวิธีส�ำหรับเครื่องบินขับไล่ในยุคที่ห้า แบบ Multifunction Advanced Data Link หรือ ที่เรียกว่า MADL ส่วน F-22 นั้น ใช้ระบบเชื่อมโยง ข้อมูลทางยุทธวิธี ส�ำหรับเครื่องบินขับไล่ในยุคที่ห้า แบบ Inter/Intra-Flight Data Link (IFDL) ส�ำหรับ การรับ-ส่งข้อมูลบน Link-16 ระหว่างเครือ่ งบินขับไล่ F-22 และ F-35 จุดเริ่มต้นได้ให้บริษัท Lockheed Martin ท�ำการติดตัง้ วิทยุ Rockwell Collins ส�ำหรับ การรับ-ส่งข้อมูลบน Link-16 และได้ติดตั้งอุปกรณ์ เข้ารหัสเพือ่ ความปลอดภัยของ L-3 Communications เข้ากับ F-22 ซึ่งใช้เวลารวมเจ็ดเดือนในการติดตั้ง ทั้ง Hardware และ Software โดยผลการทดลอง ทีไ่ ด้นนั้ Lockheed Martin ได้สรุปว่า “F-22 ท�ำการบิน จากฐานทัพอากาศ Nellis AFB (Air Force Base) และสามารถใช้อุปกรณ์ที่ได้ติดตั้งท�ำการสื่อสาร กับ Software ในระบบ Avionics บน F-35 ทีท่ ำ� การบินอยูไ่ ด้ จนน�ำมาสูค่ วามส�ำเร็จในการท�ำให้

F-22 และ F-35 นั้น มีช่องทาง (New Protocol) ทีส่ อื่ สารและแลกเปลีย่ นข้อมูลทางยุทธวิธี ระหว่างกัน ซึ่งตอบสนองความต้องการของ ทอ.สหรัฐฯ ในยุค ของข้อมูล” ข้อคิดที่ฝากไว้ สิง่ หนึง่ ที่ พล.อ.อ.Herbert J. “Hawk” Carlisle หัวหน้าหน่วยบัญชาการยุทธทางอากาศ กล่าวในปี ค.ศ.2015 เกี่ยวกับวิวัฒนาการของกองทัพอากาศ ในอนาคตจะต้ อ งใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศและ การสื่อสาร (ICT) เข้าไปเพิ่มความสามารถในด้าน ต่าง ๆ โดยมีบคุ ลากรของกองทัพ เป็นผูป้ ฏิบตั ใิ นแต่ละ ภารกิจ ประกอบด้วย การครองความเหนือชัน้ ของการ ใช้ก�ำลังทางอากาศ (Air Superiority) การใช้ก�ำลัง ทางอวกาศ (Space Force) และการครองความ เหนือชัน้ บนโลกไซเบอร์ (Cyberspace Superiority) ซึง่ ทัง้ หมดนีจ้ ะช่วยสร้างความส�ำเร็จในการปฏิบตั งิ าน ให้แก่กองทัพอากาศ

อ้างอิง - http://www.cioworldmagazine.com/topics/columist/sansiri-sirisantakupt/


ข าวทหารอากาศ

27

การจัดการจราจรทางอวกาศ (Space Traffic Management)

Space ISR

“Two things are infinite : the universe and human stupidity and I’m not sure about the universe.”

Albert Einstein

ส�าหรับท่านผูอ้ า่ นทีไ่ ม่คนุ้ เคยกับเรือ่ งของอวกาศ ขยะอวกาศ ก็อาจจะเกิดความสงสัยว่า “อะไรคือ การจราจรทางอวกาศแล้ ว จะจั ด การอย่ า งไร บางท่านอาจจะจินตนาการไปถึงการจัดการจราจร ในอวกาศโดยต�ารวจอวกาศ...” ซึ่งก่อนที่จะเข้าใจ เรือ่ งการจัดการจราจรทางอวกาศ ต้องท�าความเข้าใจ ก่อนว่า สภาพอวกาศปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต จะเป็นอย่างไร ปัญหาทีเ่ กิดจากการกระท�าของมนุษย์เอง การแข่งขันกันแสวงหาผลประโยชน์ในอวกาศ จนลืม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมโลกโดยรวม “ความ ไม่ปลอดภัยในการใช้ห้วงอวกาศร่วมกัน...” ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมในอวกาศเริ่มมีปัญหา อวกาศจะไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่าอีกต่อไป ดาวเทียม และวัตถุอวกาศเริ่มมีจ�านวนมากขึ้นซึ่งเกิดจากการ

ใช้ประโยชน์จากอวกาศจ�านวนมากและมีแนวโน้ม จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตจึงจ�าเป็นต้องมี การบริหารจัดการกับดาวเทียมและวัตถุอวกาศทีโ่ คจร อยู่ในอวกาศ จากข้อมูลของ National Security Space Defence and Protection ปี พ.ศ.๒๕๕๙ มีดาวเทียมที่ปฏิบัติการในห้วงอวกาศปฏิบัติภารกิจ ต่าง ๆ จ�านวนมากกว่า ๑,๐๐๐ ดวง และเพียง ๔ ปี ต่อมา ข้อมูลปี พ.ศ.๒๕๖๒ มีดาวเทียมเพิม่ ขึน้ มากกว่า ๒,๐๐๐ ดวง ในอวกาศ และยังมีอีกหลายพันดวง วางแผนที่ จ ะส่ ง เข้ า สู ่ ว งโคจรส� า หรั บ ให้ บ ริ ก าร ในรู ป แบบใหม่ เช่ น การให้ บ ริ ก ารอิ น เทอร์ เ น็ ต จากอวกาศ (Space-based Internet) โครงการ Starlink ของบริษัท SpaceX โครงการ Kuiper ของบริษทั Amazon และการเชือ่ มต่อแบบ 5G เป็นต้น


28

นอกจากนี้แล้วจากการใช้ประโยชน์จากอวกาศ ท�าให้มีขยะอวกาศเป็นจ�านวนมากซึ่งเป็นอันตราย ต่ อ ดาวเที ย ม จากข้ อ มู ล ที่ เ ผยแพร่ โ ดยเครื อ ข่ า ย เฝ้าตรวจทางอวกาศของสหรัฐอเมริกา (U.S.Space Surveillance Network) พบว่าปัจจุบนั มีขยะอวกาศ จ� า นวนมากกว่ า ๒๓,๐๐๐ ชิ้ น และมี แ นวโน้ ม เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากจรวด น�าส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศส่วนใหญ่จะทิ้ง ชิ้นส่วนจรวดที่ไม่ใช้แล้วและเศษวัตถุขนาดต่าง ๆ กันไว้ในอวกาศ นอกจากนี้แล้วการทดสอบอาวุธ ส�าหรับท�าลายดาวเทียมฝายตรงข้ามโดยการพุ่งชน (Kinetic Energy Interceptors) จะสร้างขยะอวกาศ จ�านวนมากทิง้ ไว้ในอวกาศเช่นกันหรือแม้แต่อบุ ตั เิ หตุ การชนกั น เองของดาวเที ย มก็ ส ร้ า งขยะอวกาศ จ�านวนมากได้ เช่น ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ มีอุบัติเหตุ การชนกั น ระหว่ า งดาวเที ย ม IRIDIUM 33 ของ สหรั ฐ อเมริ ก า และดาวเที ย ม KOSMOS 2251 ของรั ส เซี ย จากอุ บั ติ เ หตุ ดั ง กล่ า วท� า ให้ เ ห็ น ถึ ง ความจ�าเป็นที่ต้องบริหารจัดการดาวเทียมที่โคจร

ในอวกาศและจั ด การจราจรทางอวกาศ (Space Traffic Management) ขึ้น มิเช่นนั้นแล้วในอนาคต ก็ อ าจจะเกิ ด ปั ญ หาการชนกั น ของดาวเที ย ม หรื อ ขยะอวกาศชนดาวเที ย มขึ้ น อี ก ซึ่ ง นอกจาก สร้ า งความเสี ย หายให้ แ ก่ ด าวเที ย มโดยตรงแล้ ว ยังสร้างขยะอวกาศที่เกิดจากเศษดาวเทียมที่ชนกัน เพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้น เรือ่ ย ๆ จนในทีส่ ดุ แล้วอวกาศอาจจะไม่ใช่พนื้ ทีท่ สี่ ามารถ ใช้ประโยชน์ร่วมกันของมนุษยชาติได้อีกต่อไป

ภาพจ�าลองการกระจายตัวของวัตถุอวกาศ ขยะอวกาศรอบโลก ซึ่งพบว่า มีปริมาณหนาแน่นที่บริเวณวงโคจรระดับต�่า (Low Earth Orbit : LEO)


ข่าวทหารอากาศ

อย่างไรก็ตามปัจจุบนั มีระบบการบริหารจัดการ ไม่ ใ ห้ ด าวเที ย มชนกั น เอง หรื อ ขยะอวกาศมาชน ดาวเทียม โดยมีฝูงบินควบคุมอวกาศที่ ๑๘ ของ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (US Air Force 18th Space Control Squadron) เป็นหน่วยงานที่ด�ำเนินการ ติดตามการเคลือ่ นทีข่ องวัตถุอวกาศทุกชิน้ ทีม่ ขี นาดใหญ่ ตั้งแต่ ๑๐ เซนติเมตรขึ้นไปในอวกาศ สามารถที่จะ แจ้งเตือนไปยังผู้ควบคุมดาวเทียมว่ามีโอกาสที่จะ โคจรตัดกัน (Conjunction Data Messages : CDMs) กับดาวเทียมดวงอื่นซึ่งหลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่การ ตัดสินใจของผู้ควบคุมดาวเทียมนั้นว่าจะด�ำเนินการ อย่างไร จะเปิดระบบขับเคลื่อนของดาวเทียมเพื่อ ปรับวงโคจรออกไป หรือจะยอมรับความเสี่ยงโดย ไม่ ด� ำ เนิ น การอะไรเลย ปล่ อ ยให้ ด าวเที ย มโคจร อยู่ในวงโคจรตามปกติเพราะว่าระบบการติดตาม การเคลื่ อ นที่ ข องดาวเที ย มในปั จ จุ บั น นั้ น มี ค วาม คลาดเคลื่อนอยู่ ยังไม่สามารถระบุต�ำแหน่งจริง ๆ ของดาวเทียมได้ การค�ำนวณท�ำในลักษณะของการ ประมาณการณ์ โ ดยสร้ า งเป็ น ปริ ม าตรที่ มี ข นาด ใหญ่กว่าดาวเทียมของจริงโคจรตัดกันดังแสดงในภาพ และจะให้คา่ โอกาสการโคจรตัดกันออกมา ซึง่ บางครัง้ ก็ เ ป็ น การแจ้ ง เตื อ นที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง (False Alarm) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุบัติเหตุการชนกันของ ดาวเทียม IRIDIUM 33 และ ดาวเทียม KOSMOS 2251 ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒ นั้น ได้มีการ แจ้งเตือนการโคจรตัดกัน ค�ำนวณโอกาสที่จะชนกัน มีเพียง ๓ ใน ๑๐๐,๐๐๐ เท่านัน้ แต่กช็ นกันในขณะที่ บางกรณีค�ำนวณโอกาสที่จะชนกันได้สูงกว่า ๒ ใน ๑๐,๐๐๐ กลับไม่ชนกัน เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าระบบ ปั จ จุ บั น นั้ น ยั ง มี ค วามคลาดเคลื่ อ นอยู ่ พ อสมควร ดั ง นั้ น เมื่ อ ได้ รั บ การแจ้ ง เตื อ นผู ้ ค วบคุ ม ดาวเที ย ม จะวิเคราะห์เพิ่มเติม แล้วอาจตัดสินใจไม่ด�ำเนินการ อะไร เพียงแค่เฝ้าระวังเป็นพิเศษเท่านั้น เนื่องจาก การปรับวงโคจรของดาวเทียมนั้นต้องใช้เชื้อเพลิง หรือพลังงานทีม่ อี ยูจ่ ำ� กัดในดาวเทียม ถ้าใช้เชือ้ เพลิงหมด

29

การจ�ำลองโคจรตัดกันของวัตถุอวกาศ ภายในปริมาตรที่ระบุต�ำแหน่งของวัตถุอวกาศ

ก็ไม่สามารถปรับวงโคจรได้อกี ส่งผลให้อายุการใช้งาน ของดาวเทียมสั้นลง จากปัญหาความไม่ปลอดภัยในการใช้หว้ งอวกาศ จึงมีความจ�ำเป็นต้องจัดการจราจรในอวกาศซึง่ หมายถึง การจัดการด�ำเนินการให้มีอิสระจากสภาวะที่อาจจะ เกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายต่อดาวเทียม ยานขนส่ง อวกาศและสถานี อ วกาศได้ ซึ่ ง หลั ก ๆ แล้ ว ก็ คื อ การป้องกันการชนกันของวัตถุอวกาศในวงโคจรนัน้ เอง ซึ่ ง ปั ญ หาดั ง กล่ า วสามารถแก้ ไขได้ โ ดยการจ� ำ กั ด การเพิ่มขึ้นของดาวเทียมและวัตถุอวกาศในอนาคต จ�ำเป็นต้องก�ำหนดระยะเวลาของการปฏิบัติภารกิจ และกระบวนการจั ด การกั บ ดาวเที ย มที่ เ สร็ จ สิ้ น ภารกิจแล้ว การปฏิบัติมาตรฐานการลดจ�ำนวนขยะ อวกาศในวงโคจรของสหรัฐอเมริกา (Orbital Debris Mitigation Standard Practice) ที่ประกาศไว้ ในนโยบายอวกาศแห่งชาติ ปี ค.ศ.2010 ว่าทุกหน่วยงาน ของสหรั ฐ อเมริ ก าที่ จ ะส่ ง ดาวเที ย มเข้ า สู ่ ว งโคจร ระดับต�่ำ (Low Earth Orbit : LEO) นั้น ต้องจ�ำกัด ระยะเวลาในการปฏิบัติภารกิจของดาวเทียมไม่เกิน ๒๕ ปี หรือไม่อย่างนัน้ ก็ตอ้ งมีระบบทีส่ ามารถเคลือ่ นย้าย ดาวเทียมออกจากวงโคจรระดับต�่ำ LEO ไปเก็บไว้ที่ วงโคจรที่ สู ง กว่ า ที่ มี ค วามหนาแน่ น ของดาวเที ย ม และวัตถุอวกาศน้อยกว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามส�ำหรับ


30

ดาวเทียมที่เป็นแบบหมู่ดาวเทียมขนาดใหญ่ (Large LEO Constellations : LLCs) นั้ น เนื่ อ งจาก มีดาวเทียมจ�ำนวนมากอยู่ในหมู่ดังนั้นการก�ำหนดให้ อยูใ่ นวงโคจรไม่เกิน ๒๕ ปี ก็ยงั ไม่เป็นการ ลดจ�ำนวน ของวั ต ถุ อ วกาศในชั้ น วงโคจรระดั บ ต�่ ำ อยู ่ ดี จึ ง มี แนวความคิดว่าดาวเทียมพวกนี้ต้องสามารถปรับ วงโคจรให้ตกกลับมาเสียดสีเผาไหม้กับบรรยากาศ ของโลกได้เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ จะเป็นการลดปริมาณ วัตถุอวกาศได้อย่างแท้จริง นอกจากการจ� ำ กั ด จ� ำ นวนของดาวเที ย ม ในอวกาศแล้วยังสามารถพัฒนากระบวนการ หรือการ ได้ ม าซึ่ ง ข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ที่ จ ะสามารถระบุ ต� ำ แหน่ ง ของดาวเทียมได้ถกู ต้องมากขึน้ ลดขนาดของปริมาตร ที่คาดว่าจะเป็นต�ำแหน่งของดาวเทียมจริง ๆ ลง ซึ่งจะสามารถลดจ�ำนวนการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดได้ อาจจะท�ำได้โดยการเพิม่ จ�ำนวนเครือ่ งมือและคุณภาพ ในระบบติดตามการเคลือ่ นทีข่ องดาวเทียม เพิม่ ความถี่ ในการเฝ้าติดตามดาวเทียม หรือแม้แต่การประสานงาน กันระหว่างผู้ควบคุมดาวเทียมและหน่วยงานที่เฝ้า ติดตามดาวเทียมเมื่อดาวเทียมมีการปรับวงโคจร ซึ่งเป็นข้อมูลส�ำคัญในการค�ำนวณ จ�ำลองวงโคจร ของดาวเทียม หรือแม้แต่การติดตั้ง Transponders และระบบวัดต�ำแหน่งด้วยแสงเลเซอร์ (Retroreflector) ที่สามารถระบุต�ำแหน่งของดาวเทียมได้อย่างถูกต้อง มากขึน้ ให้กบั ดาวเทียมทีจ่ ะส่งขึน้ สูว่ งโคจรในอวกาศใหม่ อย่ า งไรก็ ต ามข้ อ มู ล ที่ ใช้ ส� ำ หรั บ วิ เ คราะห์ ว งโคจร ของดาวเทียมนั้น มาจากหลายแหล่งข้อมูลไม่ว่าจะ มาจากระบบการเฝ้าติดตามดาวเทียมของนานาชาติ ของบริษัทเอกชนที่มีอุปกรณ์และขีดความสามารถ ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นต้องสร้างกระบวนการในการถ่ายทอด และเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพให้ได้ ซึ่งมีความ ท้าทายอยูห่ ลายประเด็นด้วยกัน ไม่วา่ จะเป็นประเด็น กระบวนการบูรณาการข้อมูล รูปแบบทีเ่ ป็นมาตรฐาน นโยบายในการแบ่งปันข้อมูลวงโคจรของดาวเทียม ซึ่งประเทศมหาอ�ำนาจด้านอวกาศมีแนวโน้มที่จะ

Apollo 11 laser retro-reflector, 1969. ไม่แบ่งปันข้อมูลวงโคจรและการปรับวงโคจรของ ดาวเที ย มที่ ส ามารถประยุ ก ต์ ใช้ ด ้ า นความมั่ น คง ของตนเองให้ชาติอน่ื ทราบ หรือแม้แต่ระดับความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ส่งต่อให้กัน ซึ่งกระทรวง กลาโหมของสหรั ฐ อเมริ ก าได้ ด� ำ เนิ น การพั ฒ นา กระบวนในการแบ่งปันข้อมูลเพือ่ ติดตามการเคลือ่ นที่ ในวงโคจรของดาวเทียมอยู่แล้วจะให้ได้มาซึ่งระบบ การจั ด การจราจรทางอวกาศที่ ท� ำ ให้ ด าวเที ย ม ในอวกาศทุกดวงปลอดภัยจากการชนกันระหว่าง ดาวเทียมกับดาวเทียม และดาวเทียมกับขยะอวกาศ ได้อย่างไร ประเด็นแรก คือ ควรจะพัฒนาให้เกิด องค์กรสากลด้านอวกาศที่ท�ำหน้าที่ประสานข้อมูล แจ้งเตือนการโคจรตัดกันของดาวเทียม ก�ำกับ ควบคุม การจราจรในอวกาศ จัดโครงสร้างและหน้าทีข่ ององค์กร คล้ายกับหน่วยงานในระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control) ซึ่ ง สามารถเริ่ ม ต้ น จาก ออกข้อบังคับให้ปฏิบัติแบบสมัครใจก่อน และค่อย ๆ เพิ่มระดับเป็นองค์กรที่สามารถออกข้อบังคับให้มีผล บังคับใช้จริงทีต่ อ้ งปฏิบตั ติ าม เป็นต้น ซึง่ แนวทางการ สร้างองค์กรดังกล่าวไม่ง่ายนัก เนื่องจากมหาอ�ำนาจ ทางอวกาศอาจจะไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรที่จะ


ข าวทหารอากาศ

31

The Combined Space Operations Center at Vandenberg AFB, Calif. ผลักดันให้เกิดขึ้น เนื่องจากการเกิดขึ้นขององค์กร และข้อบังคับต่าง ๆ จะท�าให้ความมีอสิ ระในการแสวงหา ผลประโยชน์ในอวกาศถูกจ�ากัดลง การสร้ า งมาตรฐานของข้ อ มู ล หรื อ ข้ อ ความ ที่ส่งแบ่งปันในระบบเฝ้าติดตามดาวเทียมในวงโคจร ก็เป็นสิ่งส�าคัญ ในปัจจุบัน คณะกรรมการที่ปรึกษา ส� า หรั บ ระบบข้ อ มู ล ทางอวกาศ (Consultative Committee for Space Data Systems : CCSDs) ได้ก�าหนดมาตรฐานข้อมูลการโคจรของอวกาศยาน (Navigational Data Messages : NDMs) ซึ่งเป็น ข้อมูลมาตรฐานที่จะระบุท่าทาง (Attitude Data) ของอวกาศยาน ข้อมูลการโคจร และข้อมูลส�าหรับ การติดตามอวกาศยาน เป็นต้น การสร้างมาตรฐาน ดังกล่าวท�าให้การส่งต่อข้อมูลได้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ สามารถน�าข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ถูกต้อง หน่วยงาน ที่ให้ข้อมูลหรือรับข้อมูลไปใช้นั้นเข้าใจตรงกัน โดยสรุ ป แล้ ว การจั ด การจราจรทางอวกาศ มีความจ�าเป็น เนื่องจากปัญหาความไม่ปลอดภัย การใช้ ห ้ ว งอวกาศ อั น เกิ ด จากความหนาแน่ น ของดาวเทียม วัตถุอวกาศ ในอวกาศนั้นมีแนวโน้ม อ้างอิง

จะทวีความรุนแรงมากขึ้น โอกาสที่ดาวเทียมจะโคจร ตัดกัน ชนกันมีสูงขึ้น โดยระบบปัจจุบันที่ใช้ส�าหรับ ติ ด ตามการโคจรของดาวเที ย มของสหรั ฐ อเมริ ก า ที่ขาดความร่วมมือจากมหาอ�านาจด้านอวกาศอื่น เนื่องจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกันและแข่งขัน ใช้ประโยชน์ด้านอวกาศนั้น ไม่สามารถลดปัญหา ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ดั ง นั้ น ในอนาคตควรจะมี ก ารจั ด ตั้ ง หน่วยงานกลางนานาชาติเพือ่ ท�าหน้าทีใ่ นการควบคุม การจราจรทางอวกาศ โดยมีการด�าเนินการ ทั้งการ ออกข้อบังคับให้ควบคุมจ�ากัดการเพิม่ ขึน้ ของดาวเทียม การท�าให้ดาวเทียมในวงโคจรปลอดภัย การพัฒนา กระบวนการมาตรฐานการแบ่ ง ปั นข้ อ มู ล วงโคจร ของดาวเทียมให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง สามารถส่งผ่าน ข้ อ มู ล ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ หรื อ แม้ แ ต่ ส ร้ า ง ความร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลวงโคจรดาวเทียม ของตนเองให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ สามารถค�านวณ คาดการณ์การโคจรตัดกันของดาวเทียมได้ถูกต้อง แม่นย�าขึ้น ลดจ�านวนการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดได้ ทั้งนี้เพื่ออนาคตของมนุษยชาติที่ต้องใช้ประโยชน์ จากอวกาศร่วมกัน

- Committee on National Security Space Defense and Protection (2016). National Security Space Defense and Protection.The National Academies Press, Washington DC. - Brian Weeden. (2019). Space Security Index. Waterloo Printing, Ontario. Minisota State University. US Space Surveillance Network. Retrieved January 12, 2020, from https://web. nmsu.edu/~tnuslein/ICT460/SPECIAL/Page3.htm


32

มีสกรีน BEETLE BAILEY

ภาพ ๑ - คุณบักซลีย์ไปอยู่โรงพยาบาลหรือนี่ ? - เขาให้เธอค้างคืนเพื่อดูอาการค่ะ ภาพ ๒ - คืนนี้ การเฝ้าดูอาการเพียงพอแล้ว ! overnight (adv.) - พักค้างคืน ในที่นี้ใช้เป็นค�าวิเศษณ์ (adv.) Ex. We stayed overnight in the city after the theater. (เราค้างคืนกันในเมือง หลังจากไปดูการแสดง) overnight ใช้เป็นค�าคุณศัพท์ (adj.) ได้ Ex. She went to Pattaya and took an overnight bag. (เธอไปพัทยาและน�า กระเปาไปค้างคืนด้วย) observation (n.) - การเฝ้าสังเกตอย่างรอบคอบ (the act of watching someone or something carefully) Ex. The suspected criminal was kept under observation by the police. (อาชญากรผู้ต้องสงสัยถูกศัตรูเฝ้าตามดูอยู่) ค�ากริยาคือ to observe (สังเกต) Ex. They observed a young man entering the bank. (เขาสั ง เกตเห็ น ชายหนุ่มคนหนึ่งเข้าไปในธนาคาร) enough (adj.) - เพียงพอ (sufficient, adequate) Ex. I have enough money to buy a new cell phone. (ฉันมีเงินพอที่จะซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่)


ข าวทหารอากาศ

33

THE BORN LOSER

ภาพ ๑ - บรูตัส ! ได้เวลาตื่นนอนแล้ว คุณต้องไปท�างานนะ ! - ตื่นแล้ว ? เฮ้อ ! ภาพ ๒ - ท�าไมตอนเช้ามันไม่เริ่มกันตอนเที่ยงนะ ?

to get up

sheesh !

- ตื่นนอน (wake up, rise) แต่ to wake up ใช้ในความหมาย ปลุกให้ตื่นด้วย Ex. Mother wakes me up every morning (คุณแม่ปลุกฉันทุกเช้า) ส�าหรับ to rise เป็นศัพท์ใช้เป็นทางการ Ex. He is accustomed to rising early. (เขาเคยชินกับการตื่นเช้า) คนที่นอน ตืน่ เช้า คือ an early riser ส่วนคนทีช่ อบนอนตืน่ สาย คือ a late riser และมีภาษิต ทีน่ า่ จ�าไปใช้ได้ “The early bird gets the worms” (นกทีต่ นื่ เช้าจะได้กนิ หนอน หมายความว่า คนทีเ่ ตรียมพร้อมท�าอะไรก่อน จะมีโอกาสประสบความส�าเร็จมากกว่า) - ค�าอุทานค�าหนึ่ง ซึ่งใช้แสดงอารมณ์ไม่พอใจหรือพอใจ Ex. you’re late ! sheesh, we’ve just missed the bus. (เธอมาสาย ! โธ่เอ้ย เราเลยพลาดรถไปเดี๋ยวนี้) และ Sheesh ! And a good job you made of it ! (โอ้โฮ ! เธอท�าผลงานได้เยี่ยมเลยนะ) ออกเสียงว่า “ชีช”


34

ครูภาษาพาที ศรีพิงค์

สีนํ้าเงินกับสํานวนภาษาอังกฤษ

เชื่ อ กั น ว่ า สี นั้ น มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด ของมนุ ษ ย์ สี เ ป็ น องค์ ป ระกอบที่ ส� า คั ญ และมี ประสิทธิภาพในการสื่อสาร ดังจะเห็นได้ว่าสีเหลือง หรือสีสม้ เป็นสีทนี่ ยิ มใช้ทาผนังหรือตกแต่งร้านอาหาร เนื่ อ งจากเป็ น โทนสี ที่ ก ระตุ ้ น ความอยากอาหาร และท�าให้เจริญอาหาร หรือการใช้สีเขียวเพื่อสื่อถึง การเจริญเติบโตและความมัง่ คัง่ ทางธุรกิจ หรือการเงิน การธนาคาร เป็นต้นหากพูดถึงสีนา�้ เงินแล้วท่านอาจจะ นึกถึงธรรมชาติที่เป็นรูปธรรม เช่น ท้องฟ้าหรือทะเล ส่วนในแง่นามธรรมท่านอาจจะนึกถึงความรูส้ กึ ทีส่ งบ เยื อ กเย็ น หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ความรู ้ สึ ก เศร้ า หมอง การรับรู้ถึงความหมายของสีนั้นจะแตกต่างกันไป ในแต่ละวัฒนธรรม ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป สีนา�้ เงิน หมายถึง ความเชื่อถือ ความมั่นคง อ�านาจ และสีนี้ถือว่าเป็นสี แห่งธรรมชาติและความสงบสุข แต่ทว่าสีน�้าเงินก็

แสดงถึงความหดหู่ ความโดดเดี่ยว และความเศร้าได้ ในบางประเทศสีนา�้ เงินหมายถึงการรักษาและการขับ ไล่สิ่งชั่วร้าย ดังจะเห็นได้จากเครื่องรางรูปดวงตา สีน�้าเงินที่เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันมนุษย์จากดวงตา ปีศาจ เครือ่ งรางดังกล่าวสามารถพบเห็นได้ตามสถาน ที่ท่องเที่ยวที่ส�าคัญในประเทศตุรกี กรีซ อิหร่าน อัฟกานิสถาน และแอลเบเนีย ในวัฒนธรรมตะวันออก สีน�้าเงินหมายถึงความ เป็นอมตะในประเทศยูเครนหมายถึงสุขภาพที่ดีใน ศาสนาฮินดู สีน�้าเงินมีความเกี่ยวโยงกับพระกฤษณะ เทพเจ้าแห่งความรักและความสุข นอกจากนี้ ในด้านภาษาก็มีการน�าสีน�้าเงินมา เป็นส�านวนในลักษณะต่าง ๆ ดังนั้นผู้เขียนจึงขอน�า เสนอตัวอย่างส�านวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ สีน�้าเงิน ๕ ส�านวน ดังต่อไปนี้


ข าวทหารอากาศ

35

๑. “Once in a blue moon” (วันซฺ อิน เอ บลูมูน)

ตามปกติแล้วดวงจันทร์นั้นมีสีเหลือง แต่ฝรั่งกลับใช้ส�านวนที่กล่าวถึง ความเชื่อมโยงระหว่างสีน�้าเงิน และพระจันทร์ ส�านวนนี้ จึงหมายถึง สิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ซึ่งแปลส�านวนนี้ได้ตรงตัวว่าเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง เมื่อดวงจันทร์เป็นสีน�้าเงินนั่นเอง ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�านวนดังกล่าว - Since my son has been at the university, I only see him once in a blue moon! ตั้งแต่ลูกชายของฉันเข้ามหาวิทยาลัย ฉันก็แทบจะไม่เจอหน้าเขาเลย - I have only two more months till my wedding, so I allow myself to eat junk food only once in a blue moon. ฉันเหลือเวลาอีกแค่สองเดือนจะถึงวันแต่งงาน ดังนัน้ ฉันจึงแทบจะไม่ยอมรับประทานอาหารขยะเลย ๒. “A bolt from the blue” (เอ โบลทฺ ฟรอม เธอะ บลู)


36

ส�านวนนี้ หมายถึง เกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรืออย่างไม่คาดคิด หากแปลตรงตัวแล้ว blue ในส�านวนนี้ จะหมายถึง ท้องฟ้า ซึง่ จู ่ ๆ เกิด bolt หรือ สายฟ้าผ่าแลบขึน้ มาจากท้องฟ้าทีส่ ดใสโดยไม่มวี แี่ ววหรือสัญญาณ เตือนใด ๆ มาก่อนเลยว่าจะเกิดฟ้าผ่าขึ้น ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�านวนดังกล่าว - The chairman’s resignation was a bolt from the blue. การลาออกของประธานเกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน - The news of his death was a bolt from the blue. ข่าวการเสียชีวิตของเขาเป็นเรื่องที่กะทันหัน ๓. “Black and blue” (แบล็ค แอนดฺบลู)

ส�านวนนี ้ หมายถึง ฟกช�า้ ด�าเขียวตามร่างกาย หรืออาจหมายถึงความบอบช�า้ ทางจิตใจก็ได้ในส�านวนไทย เราจะมองว่าการฟกช�้านั้นเป็นสีด�าและสีเขียว แต่ฝรั่งจะมองว่าเวลาฟกช�้าจะเป็นสีด�าและสีน�้าเงินเห็นได้ว่า การรับรู้เรื่องสีนั้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�านวนดังกล่าว - He was black and blue after losing the boxing match. เขาฟกช�้าด�าเขียวหลังจากแพ้คู่ชกในสังเวียน - I was left black and blue after my girlfriend left me. ผมถูกทิ้งให้ชอกช�้าใจหลังจากถูกแฟนทิ้ง ๔. “Blue in the face” (บลู อิน เธอะ เฟซ)

ส�านวนนี้ หมายถึง ซีดเซียว เหน็ดเหนื่อย หรือรู้สึกเครียด หากแปลเป็นส�านวนไทยที่ใกล้เคียง อาจหมายถึงการท�าบางสิ่งบางอย่างจนหน้าเขียวหน้าเหลืองหมดแรงที่จะท�าต่อไป


ข าวทหารอากาศ

37

ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�านวนดังกล่าว - I have explained it to my boss until I was blue in the face, but he still doesn’t understand the situation! ฉันได้อธิบายให้เจ้านายฟังจนเหนื่อย แต่เขาก็ยังคงไม่เข้าใจสถานการณ์อยู่ดี - You can tell her to clean her room until you are blue in the face, but she won't do it. ต่อให้คุณบอกเธอจนหน้าเขียวหน้าเหลืองว่า ให้ท�าความสะอาดห้อง ยังไงเธอก็ไม่ท�าหรอก

๕. “Blue-eyed boy” (บลู อายดฺ บอย)

ส� า นวนนี้ หมายถึ ง คนโปรดหรื อ การเป็ น ที่ ชื่ น ชอบ ซึ่ ง มี ค วามหมายทั้ ง ในทางบวกและทางลบ โดยในทางบวกจะหมายถึงการเป็นคนโปรดในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึง่ และในทางลบจะใช้ในเชิงเสียดสี หรือประชดประชันว่าการเป็นคนโปรดนั้นท�าให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัว ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�านวนดังกล่าว - After winning the competition, he quickly became the blue-eyed boy of the race circuit. หลังจากที่ชนะการแข่งขัน เขาก็กลายเป็นคนโปรดของวงการอย่างรวดเร็ว - You got another pay rise? You are the boss’ blue-eyed boy. เธอได้ขึ้นเงินเดือนอีกแล้วเหรอก็เธอเป็นคนโปรดของหัวหน้านี่นะ ผู ้ เขี ย นหวั ง ว่ า ผู ้ อ ่ า นจะรู ้ สึ ก เพลิ ด เพลิ น ไปกั บ การใช้ ส� า นวนเกี่ ย วกั บ สี น�้ า เงิ น ที่ น� า เสนอในครั้ ง นี้ ผู้เขียนจะน�าเสนอส�านวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับสีอื่น ๆ ในโอกาสต่อไป อ้างอิง - https://business-english-success.com/blue-idioms - https://www.shutterstock.com/th/blog/color-symbolism-and-meanings-around-the-world - https://www.gingersoftware.com/content/phrases/once-in-a-blue-moon/ - https://sentencedict.com/a%20bolt%20from%20the%20blue.html


38

ทิศทางของกองทัพอากาศ หลังวิกฤตการณ์ COVID-๑๙ น.อ.เอกกมล ชวลิ น.อ.เอกกมล ชวลิ กชวลิ ุลกุลนศ.วทอ.รุ ่นที่น่น่ ที๕๔ น.อ.เอกกมล กุลนศ.วทอ.รุ นศ.วทอ.รุ ที่ ่ ๕๔ ๕๔

"Success is how high you bounce when you hit bottomW General George S. Patton, U.S.Army วิกฤตการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 ทวีความรุนแรง โดยมีจ�านวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบ ด้านลบที่รุนแรงต่อประเทศ ถึงแม้ว่าสถานการณ์การ แพร่ระบาดในกองทัพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ โดยมีผปู้ ว่ ยเข้ารับการรักษาทีโ่ รงพยาบาลทหารอากาศ สี กั น จ� า นวน ๑๘ คน (ข้ อ มู ล ๒๗ พ.ค.๒๕๖๓) แต่ ด ้ ว ยตระหนั ก ถึ ง สุ ข ภาพและความปลอดภั ย กองทั พ อากาศจึ ง ก� า หนดให้ ข ้ า ราชการปฏิ บั ติ ต าม มาตรการป้ อ งกั น การแพร่ ร ะบาดของเชื้ อ ไวรั ส

COVID-19 และให้ปฏิบัติงานภายใน ณ ที่พักอาศัย (Work from Home) ทดแทนการปฏิบัติงานตามปกติ อย่างไรก็ตามเนื่องจากขาดการส่งก�าลังบ�ารุงจากต่าง ประเทศและกองทั พ อากาศยั ง ส่ ง คื น งบประมาณปี ๒๕๖๓ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบเชื้อ ไวรัส COVID-19 ถึง ๒๓ % จึงต้องชะลอโครงการ พัฒนาเสริมสร้างขีดความสามารถออกไปก่อน ส่งผลให้ ความพร้อมในการปฏิบัติการของกองทัพอากาศลดลง กองทัพอากาศจ�าเป็นต้องเปลี่ยนแปลง บทความนี้จะ น�าเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ทางยุทธศาสตร์อันเนื่องจากวิกฤตการณ์ เชื้อไวรัส COVID-19 และการปรับทิศทางของกองทัพอากาศ

สภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลง


ข าวทหารอากาศ

ในการมุ ่ ง ไปสู ่ วิ สั ย ทั ศ น์ “กองทั พ อากาศชั้ น น� า ใน ภูมิภาค” หลังวิกฤตการณ์วิกฤตการณ์โควิดท�าให้เกิด การเปลี่ ย นแปลงสภาวะแวดล้ อ มทางยุ ท ธศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่เหมือนเดิมเนื่องจาก ข้ อ จ� า กั ด ด้ า นการเดิ น ทางระหว่ า งประเทศที่ ต ้ อ งมี มาตรการเข้มงวดขึ้น และการถดถอยทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง (Great Depression) ท�าให้ความเป็น โลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่หลอมรวมความสัมพันธ์ ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ในทุกมุมโลกให้มคี วามเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันจะลดลง ประเทศต่าง ๆ ในโลกจะมีความสัมพันธ์ในลักษณะแยก ออกจากกัน (Decoupling) ประเทศมหาอ�านาจมีความ เป็นชาตินิยมมากขึ้น แสดงออกอย่างชัดเจนที่จะรักษา ผลประโยชน์ของชาติตนโดยลดระดับการค�านึงถึงกฎ และบรรทัดฐานที่ควรปฏิบัติลง ท�าให้ประเทศไทย

39

เร่งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานในประเทศ เพือ่ ให้เกิด การสร้ า งงานขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จต่ อ ไป ท� า ให้ ก าร เปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค 5G เร็วขึ้น การใช้เงินดิจิทัลไม่ว่าจะ เป็นเงินดิจิทัลสกุลดังเดิม เงินหยวนดิจิทัลของจีนหรือ แม้แต่ Libra ของ Google จะเกิดเร็วขึ้น หรือแม้แต่ Cyber Landscape ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัญญา ประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ที่ท�าให้เครื่องจักร เรียนรู้ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด Big Data หรือแม้แต่ Internet of Things (IoT) จะเปลี่ยน มุมมองการใช้งานอินเตอร์เน็ตไปเลย เทคโนโลยีทงั้ หมด สามารถประยุกต์ใช้ทางทหารได้ หลั ง วิ ก ฤตการณ์ COVID-19 กองทั พ อากาศ มีทศิ ทางมุง่ ไปข้างหน้าอย่างไร กองทัพอากาศต้องปรับ ระบบการปฏิ บั ติ ก ารให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า สอดคล้องกับงบประมาณ

เทคโนโลยีที่กองทัพอากาศน�ามาประยุกต์ใช้ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19

และกองทัพอากาศจ�าเป็นต้องพึง่ พาตนเองมากขึน้ และ มีกระบวนการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบ สมดุลให้ได้ อย่างไรก็ตามการเกิดวิกฤตการณ์เชือ้ ไวรัส COVID-19 ก็มีข้อดีบางประการ เช่น แนวโน้มการพัฒนาทาง เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เริม่ ขึน้ ก่อนเกิดเชือ้ ไวรัส COVID-19 จะถู ก เร่ ง ให้ พั ฒ นาเร็ ว ขึ้ น ส่ ง ผลให้ เ ทคโนโลยี ท าง ทหารเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นด้วย เนื่องจากวิถีชีวิตของคน เปลี่ยนไป มีความคุ้นเคยกับโลกดิจิทัลมากขึ้น มีความ ต้องการใช้งานมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลทุกประเทศ

ที่ ค าดว่ า จะได้ รั บ น้ อ ยลง โดยพั ฒ นาให้ เ กิ ด การ ปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางร่วมหลายมิติ (Multi-Domain Operations) ทั้งมิติทางอากาศ ไซเบอร์ และอวกาศ เพื่อให้สร้างผลกระทบที่ทวีก�าลัง ขึน้ มากกว่าการปฏิบตั กิ ารแบบแยกมิติ ต้องสร้างปัญหา แก่ ฝ ่ า ยตรงข้ า มซึ่ ง เกิ ด จากการบู ร ณาการขี ด ความ สามารถของทั้ ง สามมิ ติ เข้ า ด้ ว ยกั น อย่ า งประสาน สอดคล้อง เหมาะสม รวดเร็ว สามารถสร้างความสับสน ยากต่อการระวังป้องกันหรือตอบโต้ได้ ตัวอย่างเช่น ภารกิจการบินข่มการป้องกันทางอากาศของข้าศึก


40

(Suppress Enemy Air Defense : SEAD) นัน้ สามารถ ใช้ขีดความสามารถของมิติอวกาศในการหาต�าแหน่ง ระบบอาวุธต่อต้านอากาศอากาศยาน และใช้การโจมตี ทางไซเบอร์เพือ่ ลดทอนประสิทธิภาพของระบบป้องกัน ทางอากาศ และใช้ ก� า ลั ง ทางอากาศเข้ า โจมตี ต ่ อ เป้าหมายที่ส�าคัญโดยมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หลังจากการโจมตีก็ใช้ดาวเทียมในการประเมินความ เสียหายของเป้าหมายอีกครั้ง เป็นต้น เนื่องจากกองทัพอากาศได้เรียนรู้ว่าการปฏิบัติ ก ่มีเครือข่ายเป็นศูนย์กลางที่มีประสิทธิภาพนั้น การที ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องมีสขุ ภาพกายและสุขภาพจิตทีส่ มบูรณ์ ไม่ปว่ ยเป็นโรคระบาด ดังนัน้ กองทัพอากาศจะมีทศิ ทาง ในการป้องกันก�าลังของตนเอง (Force Protection) อย่างเข้มแข็ง สร้างระเบียบปฏิบัติประจ�าที่สร้างความ มั่นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติการ รวมถึงกวดขันให้ผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีระบบตรวจวัด คัดกรอง ผู้ป่วยออกจากคนปกติได้ นอกจากนี้แล้วต้องซักซ้อม การปฏิ บั ติ เ มื่ อ เกิ ด ภาวะฉุ ก เฉิ น ให้ ส ามารถปฏิ บั ติ ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ กองทัพอากาศคาดว่าจะได้รับเงินงบประมาณ ข าปีลดลงอย่างมีนัยส�าคัญ จากการคาดการณ์ ประจ� ดังกล่าวท�าให้กองทัพอากาศมุ่งเน้นหาเทคโนโลยีที่ ปรั บ ระบบการท� า งานให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น จ�านวนของเครื่องบิน อุปกรณ์ และผู้ปฏิบัติงานลดลง

เทคโนโลยีที่สามารถทดแทนเครื่องบินที่ปฏิบัติภารกิจ บางประเภทได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีการเฝ้าระวัง และลาดตระเวนทางอวกาศ (Space Intelligence, Surveillance and Reconnaissance) ที่สามารถ

แอปพลิเคชันของ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช ที่สร้างขึ้นมา เพิื่อลดจ�านวนผู้ป่วย และญาติที่มาใช้บริการ

"น้องบุญอุ้ม" อุปกรณ์ที่ ทอ.ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในการช่วยยก และเคลื่อนย้ายผู้ป่วย COVID-19


ข่าวทหารอากาศ

41

น้องถาดหลุม หุน่ ยนต์ฝมี อื กองทัพอากาศ ปฏิบตั หิ น้าทีด่ แู ล ส่งยา อาหาร เสือ้ ผ้า เพือ่ ลดการแพร่ระบาดเชือ้ ไวรัส COVID-19

ถ่ายภาพจากอวกาศเพื่อน�ามาวิเคราะห์เป็นข่าวกรอง ทางทหาร ท�าแฟ้มเป้าหมายทางทหาร ใช้ประเมินความ เสียหายของเป้าหมายที่ฝ่ายเราเข้าไปโจมตี (Battle Damage Assessment : BDA) สามารถทดแทน เครื่ อ งบิ น ลาดตระเวนที่ ติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ ต รวจจั บ (Sensors) ได้ ซึง่ ระบบดาวเทียมดังกล่าวใช้งบประมาณ การลงทุนที่ต�่ากว่า ความเสี่ยงในการปฏิบัติภารกิจลดลง ปริมาณบุคลากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานลดลง เป็นต้น กองทัพอากาศต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของตนเอง

มากขึ้น เนื่องจากการลดลงของความเป็นโลกาภิวัฒน์ และต้องรักษาสมดุลด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดหาหรือการขอความช่วยเหลือด้านความมั่นคง ท� า ได้ ย ากขึ้ น กองทั พ อากาศจ� า เป็ น ต้ อ งพั ฒ นา เทคโนโลยีขึ้นใช้เอง หนึ่งในเทคโนโลยีที่ควรพัฒนา ขึ้นเองภายในกองทัพอากาศ คือ การพัฒนาเทคโนโลยี ด้านไซเบอร์เชิงรุก (Offensive Cyber) ที่สามารถ สร้ า งผลกระทบต่ อ การปฏิ บั ติ ก ารทางอากาศของ ฝ่ า ยตรงข้ า มโดยไม่ ต ้ อ งส่ ง เครื่ อ งบิ น เข้ า ไปท� า ลาย


42

ของฝ่ายตรงข้ามทีเ่ ป็นกองก�าลัง ทางทหารในดินแดนของข้าศึก ท� า ให้ ก องทั พ อากาศให้ ค วาม ส�าคัญต่อการป้องกันกองก�าลัง ของตนเอง (Force Protection) ณ ที่ตั้งปกติน้อยและต้องพึ่งพา เทคโนโลยีเครื่องบินสมรรถนะ สูงจากต่างประเทศ ซึ่งสามารถ พัฒนาการปฏิบัติการแบบที่ใช้ อยู่ปัจจุบันไปสู่การปฏิบัติการที่ ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางแบบ Multi-Domain ได้ โดยเพิ่ ม กรอบนอกสุด คือ การป้องกัน ก�าลังของตน ให้มีความทนทาน การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางแบบ Multi-Domain ต่ อ การโจมตี ท างนิ ว เคลี ย ร์ หลังวิกฤตการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 ชีวะ เคมี มีความอ่อนตัว และมี ความสามารถในการลดกระทบ เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม การพัฒนา เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดได้ โดยต้องมีการตอบ นักรบไซเบอร์, เครื่องมือและซอฟต์แวร์ด้านไซเบอร์ สนองอย่างรวดเร็ว (Swift Response) ประกอบกับ เชิ ง รุ ก ที่ ลิ ด รอนขี ด ความสามารถของระบบสั่ ง การ การเร่งพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองหรือการจัดหาแบบ และควบคุ ม ของฝ่ า ยตรงข้ า มนั้ น สามารถพั ฒ นาได้ Purchase & Development ที่ท�าให้การปฏิบัติการมี ภายในกองทัพอากาศเอง ลดการพึ่งพิงต่างประเทศ ประสิทธิภาพมากขึ้น ดังแสดงในภาพ นอกจากนี้ แ ล้ ว ยั ง มี ข ้ อ เสนอแนะเพื่ อ ให้ ก าร และยังสามารถลดจ�านวนเครือ่ งบินโจมตีทางยุทธศาสตร์ ก�าหนดทิศทางการด�าเนินการของกองทัพอากาศใหม่ ที่กองทัพอากาศต้องการได้อีกด้วย สรุปได้วา่ จากการทีโ่ ลกเปลีย่ นแปลงไป เกิดความ หลังวิกฤตการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 นั้น มีทิศทางที่ เป็นปกติใหม่ (New Normal) หลังจากวิกฤตการณ์ ถูกต้อง พิจารณาทุกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องและได้รับ เชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การยอมรั บ จากผู ้ ป ฏิ บั ติ ทุ ก คนในกองทั พ อากาศ ทิศทางของกองทัพอากาศทีท่ กุ คนต้องเข้าใจ ปรับตัวให้ เห็ น ควรให้ มี ก ารปรั บ สมุ ด ปกขาวกองทั พ อากาศ เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ประการแรก คือ การปรับ หลั ก นิ ย มกองทั พ อากาศ และยุ ท ธศาสตร์ ก องทั พ การปฏิบัติโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางแบบที่ใช้อยู่ อากาศ ๒๐ ปีขนึ้ ใหม่ ให้สอดคล้องกับการเปลีย่ นแปลง ปัจจุบัน ซึ่งเป็นแนวความคิดในการใช้ก�าลังกองทัพ สภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ “ความส�าเร็จนั้นเกิด อากาศเข้าโจมตีจดุ ศูนย์ดลุ (Center of Gravity : COG) จากการกระโดดออกจากจุดต�่าสุดได้ดีแค่ไหน …” อ้างอิง : ศูนย์ห้องตรวจ ARI และหอผู้ป่วย COVID-19 โรงพยาบาลทหารอากาศ สีกัน วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓, ๒๐๐๐ ไทยโพสต์. (๑๕ เมษายน ๒๕๖๓). ทอ.ตัดงบฯ ๖๓ ช่วยโควิด ๒๓% เลื่อนโครงการซื้อเครื่องบินไปปี ๖๔. เรียกใช้เมื่อ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ จาก https://www.thaipost.net/main/detail/63257 Mouton, Francois & de Coning, Arno. (2020). COVID-19: Impact on the Cyber Security Threat Landscape. Reily M.J. Multidomain Operations a Subtle but Significant Transition in Military Thought. Air & Space Power Journal. 2026.


ข าวทหารอากาศ

43

มองอนาคตคาบสมุทรเกาหลีผ าน DIME (Diplomatic, Information, Military, Economic)

ปั จ จุ บั น คงไม่ มี ใ ครปฏิ เ สธกระแสความนิ ย ม เกาหลีทมี่ เี พิม่ มากขึน้ ในสังคมไทยทัง้ ดนตรีเพลงปอป แนวเกาหลี ซีรีย์เกาหลี อาหารเกาหลี สินค้าเกาหลี เช่น สมาร์ทโฟน เครื่องส�าอางซึ่งเกิดจากการพัฒนา ประเทศอย่างต่อเนื่องของเกาหลีใต้ ท�าให้หลาย ประเทศทั่วโลกรู้จักและยอมรับสินค้าและวัฒนธรรม เกาหลี ขณะทีเ่ กาหลีเหนือยังคงมีการพัฒนาขีปนาวุธ ที่สามารถบรรจุหัวรบนิวเคลียร์และทดสอบการยิง อยูเ่ ป็นระยะ ๆ และล่าสุดเกาหลีเหนือได้ระเบิดส�านักงาน ประสานงานระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ทิ้ง ซึ่งท�าให้ความพยายามในการรวมประเทศทั้งสอง เข้าด้วยกันร่วม ๒๐ กว่าปีอาจต้องย้อนกลับไปเริ่ม นับหนึ่งกันใหม่ เกาหลี เ หนื อ หรื อ สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนเกาหลี และเกาหลีใต้หรือสาธารณรัฐเกาหลี ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ส�าคัญ

น.อ.วัชรพงษ์ กลีบม่วง

ของหลายประเทศทั้ ง จี น ญี่ ปุ ่ น รั ส เซี ย รวมทั้ ง สหรัฐอเมริกา ตลอดระยะเวลาราว ๕,๐๐๐ ปีทผี่ า่ นมา คาบสมุ ท รเกาหลี ถู ก เข้ า จั บ จองและยึ ด ครองโดย หลายเผ่ า พั น ธุ ์ ก ่ อ นที่ จ ะตั้ ง เป็ น จั ก รวรรดิ เ กาหลี และหลังจากนั้นก็ถูกญี่ปุ่นเข้ารุกรานและผนวกเป็น ส่วนหนึง่ ของประเทศญีป่ นุ่ ในปี พ.ศ.๒๔๕๓ ซึง่ จักรวรรดิ เกาหลีถูกญี่ปุ่นยึดครองนานถึง ๓๓ ปี ก่อนที่จะได้รับ


44

ทหารราบเกาหลีใต้รายหนึ่งกับการเดินทัพในแนวหน้าของสงครามเกาหลี

การปลดปล่อยจากการทีญ ่ ปี่ นุ่ พ่ายแพ้ในสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ แม้จะหลุดพ้นจากการ ยึดครองอันยาวนานของญี่ปุ่นมาได้ แต่จักรวรรดิ เกาหลีก็ไม่อาจกลับมาเป็นหนึ่งเดียวได้อีกจากการที่ สหรัฐฯ และโซเวียตต่างเข้ามาควบคุมประเทศ โดยใช้ เส้นขนานที่ ๓๘ องศา ในการแบ่งพืน้ ทีค่ วบคุม โดยสหรัฐฯ ควบคุมพืน้ ทีท่ างใต้ และโซเวียตควบคุมพืน้ ทีท่ างเหนือ และจะคืนเอกราชให้กบั เกาหลี เมือ่ ๔ ชาติมหาอ�ำนาจ ในขณะนัน้ คือ สหรัฐฯ โซเวียต อังกฤษ และจีน ร่วมกัน จัดการปกครองให้เสร็จแล้ว แต่เอกราชดังกล่าวก็ไม่ได้ กลับคืนสู่เกาหลีเนื่องจากการเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ที่ระหว่าง ๒ ขั้วประเทศมหาอ�ำนาจระหว่างสหรัฐฯ กั บ โซเวี ย ต ท� ำ ให้ ดิ น แดนทางเหนื อ ที่ อ ยู ่ ภ ายใต้ การควบคุมของโซเวียตถูกสถาปนาขึน้ เป็นรัฐเอกราช ภายใต้ผนู้ ำ� ฝ่ายคอมมิวนิสต์ นายคิม อิลซ็อง ส่วนดินแดน ทางใต้ที่ถูกควบคุมโดยสหรัฐฯ ก็ได้รับการสถานปนา ขึน้ เป็นรัฐเอกราชภายในผูน้ ำ� ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ นาย อี ซึง มัน โดยรัฐใหม่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่ารัฐตน เป็นหนึง่ เดียวในคาบสมุทรเกาหลีและไม่ยอมรับเส้นแบ่ง เขตชายแดนเหนือและใต้ และความขัดแย้งนีไ้ ด้นำ� ไปสู่ การท�ำสงครามระหว่าง ๒ ฝ่าย ทีต่ อ้ งการรวมประเทศ ให้เป็นหนึ่งเดียวโดยกองทัพเกาหลีเหนือที่ได้รับการ

หนุนหลังจากโซเวียตได้รกุ เข้าสูเ่ กาหลีใต้ เมือ่ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๓ เพียง ๕ ปี หลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ในขณะที่ฝ่ายเกาหลีเหนือก�ำลังได้เปรียบ และต้ อ นฝ่ า ยเกาหลี ใ ต้ แ ละสหรั ฐ ฯที่ อ ยู ่ ใ นพื้ น ที่ จนถอยร่นมาทางใต้ สหประชาชาติได้มมี ติสง่ กองทัพ สหประชาชาติที่ประกอบได้ด้วย ๒๑ ชาติ โดยมี สหรัฐฯ เป็นแกนน�ำหลัก เข้าต่อต้านเกาหลีเหนือ ซึ่ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด จุ ด เปลี่ ย นของสงครามโดยกองทั พ


ข่าวทหารอากาศ

สหประชาชาติ ไ ด้ ย กพลขึ้ น บกที่ เ มื อ งอิ น ชอน และตัดก�ำลังของกองทัพเกาหลีเหนือ ท�ำให้เกาหลีเหนือ ต้ อ งถอยร่ น กลั บ ขึ้ น ไปทางเหนื อ ในขณะที่ ฝ ่ า ย สหประชาชาติ ก� ำ ลั ง จะมี ชั ย เหนื อ เกาหลี เ หนื อ จีนได้ยื่นมือเข้ามาช่วยโดยส่งกองก�ำลังเข้าร่วมกับ เกาหลีเหนือและขับไล่ฝ่ายสหประชาชาติจนถอยร่น กลับไปทางใต้เช่นเดิม การต่อสู้และโต้ตอบระหว่าง สองฝ่ายที่มีมหาอ�ำนาจหนุนหลังได้มาหยุดลงตรง เส้นขนาดที่ ๓๘ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ เวลา ๓ ปี นับตัง้ แต่เกิดสงคราม โดยทัง้ สองฝ่ายตกลง หยุดยิงแต่ยังไม่มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ซึง่ เท่ากับทัง้ สองประเทศยังคงอยูใ่ นภาวะสงครามอยู่ จนถึงปัจจุบัน และเขตปลอดทหารเกาหลี DMZ (Demilitarised Zone) ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทแี่ บ่ง คาบสมุ ท รเกาหลี อ อกจากกั น เป็ น เกาหลี เ หนื อ และเกาหลีใต้ อนาคตของคาบสมุทรเกาหลีจะเป็น เช่นไรนั้นอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ท�ำให้นโยบาย ของทั้งสองชาติหรือชาติมหาอ�ำนาจเปลี่ยนแปลงไป และจากสถานการณ์ล่าสุดจากการถล่มส�ำนักงาน ประสานงานระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จนราบ เป็นหน้ากองโดยฝีมือของเกาหลี เ หนื อ นั้ น ท� ำ ให้ บรรยากาศที่ทั้งสองฝ่ายจะรวมกันเป็นหนึ่งประเทศ ต้องสะดุดลงการมองความขัดแย้งและสถานการณ์ ในคาบสมุทรเกาหลีเหนือเพียงผิวเผินอาจท�ำให้ไม่เห็น ปั จ จั ย ต่ า ง ๆ ที่ ซ ่ อ นอยู ่ แ ละยากที่ จ ะประเมิ น สถานการณ์ในอนาคตได้ ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นต้องใช้เครือ่ ง มือมาช่วยในการส่องดูเพือ่ ให้เป็นได้อย่างชัดเจน โดย การมองอนาคตของคาบสมุทรเกาหลีในครั้งนี้จะใช้ เครื่องมือก�ำลังอ�ำนาจแห่งชาติ DIME ซึ่งประกอบ ด้วย Diplomatic : ด้านการทูต Information : ข่าวสาร ข้อมูล Military : การทหาร Economic : เศรษฐกิจ

การยกพลขึ้นบกที่เมืองอินซอน

เครื่องบินขับไล่ F-86 ในสงครามเกาหลี

เขตปลอดทหารเกาหลี DMZ

45


46

การพบปะระหว่างผู้น�ำจีนและผู้น�ำเกาหลีเหนือ

ซึ่งเป็น ๔ ด้านส�ำคัญที่จะท�ำให้รัฐหนึ่งสามารถ ที่จะสร้างความได้เปรียบหรือมีอิทธิพลต่อชาติอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติของตนเองได้ เริ่ ม ต้ น จาก ด้ า นการทู ต (Diplomatic) เกาหลี เ หนื อ ภายใต้ ก ารน� ำ ของนายคิ ม จอง อึ น ตั้งแต่เข้ารับต�ำแหน่งแทนบิดาก็แสดงท่าทีแข็งกร้าว ต่ อ ฝ่ า ยตรงข้ า มทั้ ง เกาหลี ใ ต้ สหรั ฐ ฯ และญี่ ปุ ่ น แต่ยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับจีน ซึ่งจีนเป็น ประเทศมหาอ�ำนาจที่สนับสนุนเกาหลีเหนือมาอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง รวมทั้ ง รั ส เซี ย มิ ต รเก่ า ตั้ ง แต่ ค รั้ ง ยั ง เป็ น สหภาพโซเวี ย ตแม้ ว ่ า จี น จะมี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น ดี กับเกาหลีเหนือ แต่นโยบายการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ของเกาหลีเหนือเริม่ ท�ำให้จนี หนักใจ ซึง่ การครอบครอง อาวุธนิวเคลียร์อาจท�ำให้สหรัฐฯ ทุม่ ก�ำลังเข้าปราบปราม เกาหลีเหนือที่เป็นรัฐกันชนให้กับจีน แต่สถานการณ์

การพบกั น ครั้ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ร ะหว่ า ง นายคิ ม จอง อีล ผู้น�ำเกาหลีเหนือ และ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ ประเทศเกาหลีเหนือ

กลับไม่เป็นเช่นนั้น นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ตัดสินใจใช้การพูดคุยเจรจากับเกาหลีเหนือ เพื่อหาข้อตกลงในการหยุดพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ของเกาหลีแทนการใช้ก�ำลังทหารเข้าโจมตี ซึ่งใน ภาพรวม นโยบายด้านการทูตของเกาหลีเหนือคือการ แสดงอ� ำ นาจทางทหารโดยเฉพาะอาวุ ธนิ วเคลี ย ร์ ที่ พ ร้ อ มจะใช้ ง านกั บ ทุ ก ประเทศที่ คิ ด จะคุ ก คาม ประเทศเกาหลีเหนือและอาจจะกล่าวว่าเป็นความส�ำเร็จ เล็ก ๆ ของเกาหลีเหนือทีช่ าติมหาอ�ำนาจฝัง่ ประชาธิปไตย อย่างสหรัฐฯ ยอมจับเข่าพูดคุยผิดกับทีท่ ำ� ต่อประเทศ ในตะวั น ออกกลางและเกาหลี เ หนื อ ยั ง คงด� ำ เนิ น ความสัมพันธ์กับกลุ่มมหาอ�ำนาจเดิมไม่ว่าจะเป็นทั้ง จีนและรัสเซียเพื่อแสดงให้เห็นว่าเกาหลีเหนือไม่ใช่ ประเทศเล็ก ๆ ที่โดดเดี่ยวที่จะมารุกรานได้ง่าย ๆ (อ่านต่อฉบับหน้า)

อ้างอิง - เกาหลีเหนือ, www.bbc.com - A Brief history of the Korean War,www.militarytimes.com - สาธารณรัฐเกาหลี(South Korea),www.mfa.go.th - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(North Korea),www.mfa.go.th - Diplomatic, Information, Military and Economic power (DIME): An effects modeling system, www.researchgate.net - AP


ข่าวทหารอากาศ

ม 2563 ประจ�ำเดือน สิงหำค

1

3

2

5

4

6

8

7

10

9

12

11 14 16

15

18

17

20

19

21

22 23

24

25

26

31

32

34

33

36

35

38

37 44 49 52

27

30

29

28

39

13

40

42

41 45

43 47

46 50

48 51

53

54

47


48

Across

Crossword

1. To ______ means “to put furniture in a room, a house, etc”. 5. My nephew is an ______ mechanic, he does not ask for money. 9. ______ is a carpenter’s tool, used for hitting nails. 11. To ______ means “to require or need something”. 12. Thai government is going to get ______ of garbage that is accumulated so much in many areas. 14. One dog was run over by a truck and died on Saimai ______ (an abbreviation). 15. A ______ is a round object that turns around a long stick (axle) that is attached to its center. 16. Please keep your room ______ and clean. 18. ______ is a pile of wood on which a dead body is placed and burned in an old funeral ceremony. 20. Let go swimming , will ______ ? 21. ______ many cooks spoil the broth or thin soup. 22. An abbreviation for “street”. 24. ______ is a bird that flies at night, it catches and eats small animal. 26. Please don’t ______ him my secret. 28. ______ is a transfer of heat by moving masses of matter. 31. To be able to means “ ______ ”.

32. ______ I were a bird, I would fly around the world. 33. A number comes after nineteen. 35. Don’t smoke in the public ______ you will be fined. 36. I may ______ weight because my pants are a bit small for me. 37. ______ is an abbreviation of “overdose”. 38. Where there is a will, there is a ______. 39. Thai people often ______ for being happy and good luck. 42. The government starts to use ______ to build the roads in order to reduce this substance. 44. Now many mall owners prepare a lot of parking ______ to serve the customers in order to park their cars. 47. ______ is a substance used for making bread rise. 49. Tom gave _______ or stopped smoking because of his kids. 50. ______, congratulations with Tom who won the first lotto. 51. ______ is an abbreviation for doctor. 52. Snakebite ______ is used to cure the one who got bite from the poison snake. 53. When I ______ young, I used to swim across the river. 54. Oh, it is ______ dangerous to do as the above No.


ข่าวทหารอากาศ

Down

Crossword

1. Sulee is friendly so she has many ______. 28. A ______ is a kind of vehicle. 2. ______ is an emission or sending heat. 29. It’s a preposition means going to a 3. Please, being here at 7 o’clock ______ place, by means of. or exactly 7 o’clock here. 30. We often eat out at a ______, not far away 4.

______ means useful, easy to use.

5. Is, ______, are. 6. I don’t do anything wrong, please don’t blame ______. 7. The police try to ______ or catch a thief in a canal.

restaurant. 31. An abbreviation for “ company ”. 34. A : How many ______ that you studied at Chiangmai University? B : Exactly four.

8. Opposite of “ late ”.

36. ______ is the sexually attracted to people of the same sex, homosexual. 10. An abbreviation for “Doctor of Medicine”. 13. To ______ means “ to become or to make 38. ______, wore, worn. 39. Five ______ five is ten. something twice as much as many ”. 15. I, ______, you, they.

40. Tie this snake with ______ firmly, please.

17. ______ play football is interesting game for Thai children now.

41. A : What are you looking ______?

19. ______ is the part of plant that grows under the ground and takes in water and food from the soil.

43. The elderly should not go to ______ late, it is not good if you sleep less than 7 hours.

22. Opposite of “ quick, fast ”. 23. To ______ means “ to make substance pure, to separate ”. 25. Opposite of “ deposite ”. 27. Remember, you are what you ______ or have.

B : The car accident behind me.

45. Give ______ some money, he is very poor. 46. A : How much do I ______ you? B : I must pay you back 200 baht. 48. She has ______ kids, one is a boy and the other is a girl.

49


50

ธรรมประทีป

ขันติ ความอดทน ขั น ติ แปลว่ า ความอดทน เป็ น ยอดคุ ณ ธรรม ของคนโบราณได้สอนเป็นมรดกทางธรรมให้เรานัน้ รูจ้ กั ค�าว่า อดทน เช่น อดเปรี้ยว ไว้กินหวาน นานไปจะมีคุณ แปลว่า ให้คน ๆ นี้รู้จักอด คือ อดออม อดทนต่อความ ล�าบาก อดทนต่อความเหนือ่ ยยาก อดทนต่อค�าบริภาษ อดออม รูจ้ กั กิน รูจ้ กั ใช้ เก็บออมไว้ในความจ�าเป็น ตามที่มักกล่าวกันว่า อดทนต่อความล�าบาก ท�างานบนความทุกข์ยาก ต่างถิ่นต่างสถานที่ ประเพณีแตกต่าง ท�าให้ประกอบ อาชีพและการอยูร่ ว่ มกัน จ�าต้องอดทนหวานอม ขมกลืน อดทนต่อความเหนื่อยยาก หนักเอาเบาสู้ ตากแดด ตากฝน อดทนในการท�างานทุกสถานการณ์ อดทนต่อค�าบริภาษ คือค�ากล่าวติเตียน ค�ากล่าวโทษ ค�าด่า ดุจดังความอดทนของ พระปุณณะทีอ่ ดทนต่อค�า บริภาษของชาวสุนาปรันตะ สิ่งที่เราปรารถนาจะส�าเร็จได้ต้องมีความอดทน ท่านกล่าวว่าอดทนนี้เป็นคุณลักษณะที่ท�าให้คน ๆ นั้น ประสบสุขในด้านต่าง ๆ ความอดทนเป็นตบะของท่านพระโยคี ความอดทนเป็นยอดดีของคุณธรรม ความอดทนเป็นทุนชั้นต�่าท�าให้เป็นเศรษฐี ความอดทนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของชีวิต

ความอดทนเป็นตบะของท่านพระโยคี หมายถึงผู้ ก�าลังพากเพียรปฏิบตั ธิ รรมท่านเหล่านีต้ อ้ งมีขนั ติธรรม คื อ ความอดทนเป็ น พื้ น ฐาน ขนฺ ติ ตโป ตปสฺ สิ โ น ความอดทนเป็นตบะของผู้พากเพียร ความอดทนเป็นยอดดีของคุณธรรม พระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ในโอวาทปาติโมกข์ ว่า ขนฺตี ปรม� ตโป ตีติกฺขา คือความอดทน อดกลั้น เป็นตบะอย่างยอดเยี่ยม ความอดทนเป็นทุนขั้นต�่าท�าให้เป็นเศรษฐี บรรพชน บุคคลส�าคัญของประเทศประสบความส�าเร็จในชีวิต เป็นระดับขัน้ เศรษฐี เพราะคนเหล่านัน้ ก่อร่างสร้างตน สร้างวงศ์ตระกูล ด้วยคุณธรรม ๒ ค�า คือ อดกับทน ความอดทนเป็ น ปุ ๋ ย อิ น ทรี ย ์ ข องชี วิ ต ปกติ เ รา ปลูกพืชไม้ดอกไม้ผล ก็เพื่อหวังกินดอก หวังกินผล เราก็จะต้องหมั่นบ�ารุงใส่ปุ๋ยเคมีหรือว่าปุ๋ยอินทรีย์บ้าง เพือ่ หวังดอก หวังผล อันงดงาม เช่นเดียวกับชีวติ คูข่ องเรา ชีวิตคู่ของคนที่แต่งงานมีครอบครัวแล้ว ก็ต้องหมั่นใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ ยี่ห้ออดทน เหมือนกัน หมั่นรด หมั่นบ�ารุง รักษา ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ของชีวิต ความอดทนนี้แหละ จึงอยู่ด้วยกันได้ตลอด รอดฝั่ง จนถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร ความอดทนจึ ง เป็ น ยอดกุ ศ ล อดทนถึงที่ ได้ดีมีความสุขกันทุกคน.

หมายเหตุ : ธรรมนิเทศ ปกิณณกกถา-มงคลกถา-ธรรมเทสนา ตอนที่ ๗ ปริยัติคือการรักษา

พระพุทธศาสนาพระศรีธรรมภาณี (วัลลพ โกวิโล ป.ธ.๘) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ผู้อ�านวยการส�านักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


มุมท องเที่ยว

ข าวทหารอากาศ

51

New….then….Normal

TOURISM กันตา

ถานการณ์ ก ารระบาดของเชื้ อ ไวรั ส COVID-19 ในประเทศไทยเริ่มดีขึ้นแม้จะยัง ไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็เรียกได้ว่าเริ่มมีการ ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ มากขึ้นทั้งการท่องเที่ยว ภายในประเทศและภายนอกประเทศ ในช่ ว งที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระบาดอย่างหนักนั้น กิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ทั่วโลกต้องหยุดชะงักนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป แทบกลายเป็นศูนย์ คนไทยเองก็ไม่สามารถออกเทีย่ ว ต่างประเทศได้ ดังนั้นเมื่อสถานการณ์โรคระบาด ค่อย ๆ ฟื้นตัว การกระตุ้นการท่องเที่ยวในระยะ เริ่มแรกนี้ต้องอาศัยการเที่ยวในประเทศเป็นหลัก ท� า ให้ โ รงแรมต่ า ง ๆ ออกโปรโมชั่ น หั่ น ราคากั น

อย่างน่าสนใจ โดยส่วนมากสามารถเลือกวันพักได้ ทั้งวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์ รวมถึงจองได้ ยาว ๆ ถึงสิ้นปี พ.ศ.๒๕๖๓ หรือยาวไปถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๔ นับเป็นช่วงเวลาทองของนักท่องเทีย่ วทีย่ งั พอ มี ก� า ลั ง ซื้ อ ที่ จ ะได้ ที่ พั ก สวย ๆ ในราคาย่ อ มเยา และยั ง มี ส ่ ว นช่ ว ยกระตุ ้ น เศรษฐกิ จ การท่ อ งเที่ ย ว ในประเทศด้วย แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า สถานการณ์ การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย เริ่มดีขึ้นแต่ก็ยังคงไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ท�าให้ เราในฐานะนักท่องเที่ยว ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ และยังไม่สามารถวางการ์ดหรือการ์ดตกได้ ดังนั้น เมื่อเราจะกลับออกไปท่องเที่ยวอีกครั้งเราจะต้อง


52

ก้าวเข้าสูก่ ารท่องเทีย่ วแบบ New Normal เพือ่ ความ ปลอดภัยทั้งกับตัวเราเองและส่วนรวม ซึ่งในวันนี้ ผู ้ เ ขี ย นจะได้ ร วบรวมเอาแนวทางการท่ อ งเที่ ย ว รูปแบบใหม่มาน�ำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้เป็นทางเลือก ปฏิ บั ติ ที่ จ ะออกท่ อ งเที่ ย วในช่ ว งสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 วีธีการแรกนั้นเริ่มที่ตัวเราคือ การฝึกตัวเอง ให้กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และเว้นระยะห่าง แม้จะเป็นวิธีที่เราปฏิบัติกันจนคุ้นชินแล้ว แต่หาก จะออกไปเที่ยวที่ไหนก็ขอให้มีความสะอาดปลอดภัย

มากกว่ า หรื อ เท่ า กั บ ที่ บ ้ า น และไม่ ไ ด้ ขึ้ น อยู ่ กั บ ตัวนักท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียว มาตรฐานด้าน ความสะอาดและสุขอนามัยของโรงแรม ร้านอาหาร และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จะต้องมีเพิ่มมากขึ้นด้วย จึ ง จะท� ำ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วมั่ น ใจและรู ้ สึ ก ปลอดภั ย ทีจ่ ะเดินทางออกมานอกบ้าน มากิน เทีย่ ว มาพักผ่อน หย่ อ นใจได้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ไม่ ว ่ า จะเป็ น การเพิ่ ม ระยะห่าง หรือ Social Distancing ในล็อบบี้โรงแรม ในห้องอาหาร ปรับมาตรฐานระบบระบายอากาศ และระบบฆ่ า เชื้ อ หรื อ อาจเลื อ กใช้ วั ส ดุ ที่ ส ะอาด ปลอดเชื้อ พยายามลดการสัมผัส อาทิ การจ่ายเงิน ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น อี ก วิ ธี ก ารหนึ่ ง ที่ ผู ้ เ ขี ย นได้ มี โ อกาสรั บ ทราบ นั่ น คื อ การใช้ “หุ ่ น ยนต์ ” ให้ ม าท� ำ งานแทนคน เพือ่ เป็นการลดการสัมผัสและลดการแพร่เชือ้ จากคน สู่คน ดังนั้นในหลาย ๆ สถานที่ ทั้งแหล่งท่องเที่ยว หรื อ ร้ า นอาหารจึ ง นิ ย มใช้ วิ ธี นี้ อาทิ ร้ า นกาแฟ ร้ า นอาหารในประเทศเกาหลี ใ ต้ ที่ ใ ช้ หุ ่ น ยนต์ ในการท�ำอาหารและเสิร์ฟ หรือในสนามบินประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก าใช้ หุ ่ น ยนต์ ท� ำ ความสะอาดแทนคน รวมถึงในเมืองไทยก็มีการน�ำหุ่นยนต์มาช่วยตรวจ


ข่าวทหารอากาศ

คั ด กรองวั ด อุ ณ หภู มิ ลู ก ค้ า ก่ อ นเข้ า โรงภาพยนตร์ และท�ำหน้าที่ต้อนรับและเปิดหนังตัวอย่างที่ก�ำลัง เข้าฉายให้ลูกค้าชม เป็นต้น การนัง่ ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ ก็เป็นอีกแนวทางหนึง่ เนื่ อ งจากมาตรการ Social Distancing ท� ำ ให้ สายการบิ น รถบั ส รถไฟ ต้ อ งขายตั๋ ว แบบเว้ น ระยะห่าง เว้นเบาะที่นั่ง หรือเว้นแถว แต่ในวิธีการนี้ จะท�ำให้สายการบินจ�ำหน่ายตั๋วได้น้อยลงในจ�ำนวน ทีน่ งั่ เท่าเดิม เพราะฉะนัน้ ราคาตัว๋ อาจแพงขึน้ รวมถึง จองได้ ย ากขึ้ น เพราะต้ อ งแย่ ง กั น มากขึ้ น ดั ง นั้ น หากท่ า นผู ้ อ ่ า นต้ อ งการเดิ น ทางช่ ว งนี้ ก็ อ ย่ า ลื ม วางแผนและจองตั๋วไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วย วิธีการต่อไปนี้เราน่าจะเห็นกันผ่านสื่อต่าง ๆ ค่อนข้างมากในประเทศไทย คือการจ�ำกัดคนเข้า แหล่งท่องเทีย่ ว หรือต้องมีการส�ำรองล�ำดับการเข้าชม สถานที่ท่องเที่ยวล่วงหน้า เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ สถานที่ท่องเที่ยวมีคนมากเกินไปจนเกิดความแออัด ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ และท�ำให้เสี่ยงต่อการ ติดเชื้อโรค บางสถานที่จึงวางแผนที่จะใช้วิธีจ�ำกัด จ� ำ นวนคนเพื่ อ ให้ ง ่ า ยต่ อ การจั ด การ โดยเฉพาะ

53

“อุทยานแห่งชาติ” ในประเทศไทยก็ได้วางแผน ทีจ่ ะให้มกี ารจ�ำกัดนักท่องเทีย่ ว โดยจะต้องมีการจอง ออนไลน์ ห รื อ การซื้ อ ตั๋ วล่ วงหน้ า เพื่ อ ช่ วยในการ จัดการจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่แต่ละพื้นที่รองรับได้อีก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาที่อุทยานแห่งชาติทั่วไทยต้องปิด ให้บริการเนื่องจากเชื้อไวรัส COVID-19 ท�ำให้เรา ได้เห็นภาพของสัตว์ป่าที่ออกมาโชว์ตัวกันมากขึ้น เนื่ อ งจากไม่ มี ม นุ ษ ย์ ร บกวน ทางอุ ท ยานฯ จึ ง ได้ มองถึ ง ความเป็ น ไปได้ ที่ จ ะให้ ป ิ ด พื้ น ที่ อุ ท ยาน แต่ ล ะแห่ ง อย่ า งน้ อ ย ๓ เดื อ น เพื่ อ ให้ ธ รรมชาติ


54

ได้หยุดพักฟื้นจากการเข้าใช้ประโยชน์ ท�ำให้เรา อาจจะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติในเวลาที่สั้นขึ้น แต่สามารถรักษาสภาพธรรมชาติได้มากขึ้นนั่นเอง อีกหนึ่งแนวทางที่เหมือนเปลี่ยนภาพลักษณ์ และรูปแบบการให้บริการการท่องเทีย่ วไปโดยสิน้ เชิง คือ ทัวร์มีคุณภาพขึ้นและกลุ่มเล็กลงหลังจากนี้ไป กรุป๊ ทัวร์คณะใหญ่ ๆ เน้นคนจ�ำนวนมากและราคาถูก จะหมดไป เพราะจะขัดกับหลัก Social Distancing อาจยังเหลือกลุ่มทัวร์คุณภาพ คณะเล็ก ๆ แต่ดูแล ได้ทวั่ ถึง มีความน่าเชือ่ ถือและปลอดภัย ท�ำให้ลกู ทัวร์ มี ค วามเชื่ อ มั่ น ในความปลอดภั ย ด้ า นสุ ข อนามั ย อาจต้องคัดกรองสุขภาพของลูกทัวร์ สร้างความมัน่ ใจ ให้กบั ลูกค้ารายอืน่ ว่าทุกคนมีสขุ ภาพแข็งแรงและไม่มี อาการเจ็บป่วยที่ระบาดติดต่อได้ หรืออาจรับจัดทัวร์ เฉพาะกลุ่มที่มาด้วยกันเท่านั้น ในช่วงทีต่ อ้ งอยูบ่ า้ นเพราะเชือ้ ไวรัส COVID-19 สถานที่ ท ่ อ งเที่ยวหลายแห่งทั้งในไทยและทั่ วโลก ต่างให้บริการท่องเทีย่ วเสมือนจริง หรือ Virtual Tour ให้เราสามารถ Travel From Home กันได้บนปลายนิว้ เพียงมีคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเท่านั้น สามารถ

ท่องไปได้ทั้งไปเดินเที่ยวในเยอรมัน ไปชมพีระมิด ทีอ่ ยี ปิ ต์ เทีย่ วพิพธิ ภัณฑ์ระดับโลกทีอ่ ติ าลี เนเธอร์แลนด์ หรืออเมริกา เดินเล่นอุทยานประวัตศิ าสตร์ทวั่ ประเทศไทย มีทั้งภาพและข้อมูลที่เหมือนเราได้เข้าไปยืนตรงนั้น จริง ๆ จนอาจท�ำให้การเที่ยวเสมือนจริงกลายเป็น การท่องเที่ยวแบบ New Normal อีกรูปแบบหนึ่ง


ข่าวทหารอากาศ

นอกเหนือไปจาก การท่องเที่ยวแบบ New Normal ที่ ไ ด้ ก ล่ า วไปเบื้ อ งต้ น นั้ น เพื่ อ เป็ น การ สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยว และกี ฬ า กระทรวงสาธารณสุ ข หอการค้ า ไทย และผูป้ ระกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วไทย ได้ร่วมมือกันท�ำโครงการแนวทางความปลอดภัย ด้ า นสุ ข อนามั ย Amazing Thailand Safety & Health Administration หรือ SHA โดย ททท. จะมอบตราสัญลัก ษณ์ SHA เพื่อเป็นการรั บรอง คุ ณ ภาพและมาตรฐานการให้ บ ริ ก ารของสถาน ประกอบการหนึ่ง ๆ ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่น ให้ กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วและผู ้ ใ ช้ บ ริ ก ารได้ ใ นอนาคต และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย

55

ด้ า นสุ ข อนามั ย ให้ กั บ อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วไทย ต่อไปด้วย ในท้ายที่สุดนี้แม้ว่าการท่องเที่ยวจะมีรูปแบบ ที่เปลี่ยนไป และใหม่ต่อพวกเรามากเพียงใด แต่ใน ท้ายที่สุดสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาด ของเชือ้ ไวรัส COVID-19 ก็จะกลายเป็นความธรรมดา ที่เราคุ้นชินเช่นชื่อเรื่องที่ผู้เขียนได้ตั้งไว้ New…. then….Normal TOURISM เพราะสิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด นอกเหนื อ ไปจากการพั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจจาก การท่ อ งเที่ ย วแล้ ว ประเด็ น ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของการ ด�ำรงอยู่ คือความปลอดภัยในชีวิตของพวกเราทุกคน ทีจ่ ะต้องมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ แี ละปลอดภัยภายใต้วกิ ฤต เชื้อไวรัส COVID-19

รูปภาพจาก - https://www.greenqueen.com.hk/wp-content/uploads/2020/06/klook-hk.jpg - https://www.histours.co.th/guide/reading/covid-19_stayhomechallange - https://dc.prd.go.th/transcode/image/2563/6/24/735a8d6ccde5114a42a15c0f720f7ab4_ small.jpg


56

เฉลย Crossword ประจ�ำเดือน ส.ค.๖๓


ข่าวทหารอากาศ

SPY

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

...สายลับมหากาฬข้ามโลก

เมื่อพูดถึงภาพยนตร์แนว“สายลับ” หรือ “SPY” ประธานาธิบดีรสั เซียบนดินแดนสหรัฐอเมริกา เพือ่ หวัง หลาย ๆ ท่าน อาจนึกถึงภาพยนตร์ที่ชื่นชอบมากมาย ให้เกิดชนวนสงครามครั้งใหม่ แต่ก็มีเหตุผลส�าคัญที่ ไม่ว่าจะเป็นหนังสายลับสุดคลาสสิกอย่างเรื่อง “เจมส์ ท�าให้เธอต้องเปลี่ยนใจ ซึ่งในเนื้อเรื่องจะแนวแอ็คชั่น REDบหรืEagle บอนด์ 007” ผู้เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลั อ และดราม่าร่วมด้วยจนน่าติดตาม สายลับ สังกัด หน่วยสืบราชการลับอังกฤษ (MI6 : จากภาพยนตร์แนวสายลับทีย่ กตัวอย่างมาจะเห็น Mililary Intellignce) ทีถ่ กู น�ามาฉายแล้วหลายภาคจน ได้วา่ ตัวเอกทุกตัวล้วนมีความสามารถเก่งกาจไม่แพ้กนั ขึน้ หิง้ เป็นระดับต�านานของ Hollywood โดยมีตวั แสดง ต้องมีทั้งฝีไม้ลายมือและอุปกรณ์เครื่องมือไฮเทคสุดล�้า น�าหลักในปัจจุบันคือ Daniel Craig (แดเนียล เคร็ก) ก็เพื่อให้ผู้ชมได้อรรถรสในการรับชมจนเรียกได้ว่าเป็น หรือภาพยนตร์แนวสายลับของสหรัฐอเมริกาก็ถอื ว่าไม่ ยอดมนุษย์ไปเลยก็วา่ ได้ แต่ความเป็นสายลับในชีวติ จริง น้อยหน้าเช่นกัน มีความเป็นระดับต�านานอีกเรื่องหนึ่ง มิได้เป็นอย่างนั้น เพราะในความเป็นจริงพวกเขาก็เป็น ซึ่งไม่ว่าจะมีกี่ภาคต่อกี่ภาคก็ยังใช้แสดงน�าหลักคนเดิม คนธรรมดาเหมือนกับเราแต่ต้องแฝงตัวปะปนและอยู่ คือ Tom Cruise (ทอม ครูซ) รับบทเป็น อีธาน ฮันท์ ร่วมกับพลเมืองทัว่ ๆ ไปในสังคมของประเทศเป้าหมาย เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองกลาง CIA ในภาพยนตร์เรื่อง ให้ได้ พวกเขาไม่ได้มอี ปุ กรณ์ไฮเทค หรือมีความสามารถ “MISSION IMPOSSIBLE” หรือภาพยนตร์แนวสายลับ ในการต่อสู้ถึงขนาดบู้คนเดียวได้ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องมี ฝั่งตรงกันข้ามอย่างอดีตสหภาพโซเวียตหรือรัสเซียใน คื อ ความสามารถในการสื บ ข่ า วและค้ น หาข้ อ มู ล ปัจจุบนั ก็ไม่นอ้ ยหน้าเช่นกัน ตัวอย่าง เรือ่ ง “SALT สวย ชัน้ ความลับอันเป็นประโยชน์ตอ่ ประเทศของตนให้แนบ สังหาร” ซึง่ เนือ้ หาจะว่าเรือ่ งราวในช่วงหลังยุคล่มสลาย เนียนที่สุด ทั้งนี้ความเป็นสายลับก็มิได้จ�าเป็นต้องเป็น ของสหภาพโซเวียตพร้อมกับการสิ้นสุดสงครามเย็น คนของชาติตนเองเท่านั้น สายลับอาจเป็นคนในชาติ เอเวลีน ซอลท์ รับบทโดย Angelina Jolie (แองเจลลีนา่ ของประเทศเป้ า หมายก็ เ ป็ น ได้ ที่ ย อมขายข้ อ มู ล โจลี)่ ผูเ้ ป็นสายลับสองหน้าอดีตหน่วย (KGB : Kamitet ความลับต่าง ๆ หรือช่วยให้ความร่วมมือในปฏิบัติการ Gosudarstvennoy Bezopasnosti (หน่วยงานกลาง หาข่าวให้กับชาติคู่อริก็เป็นได้ ซึ่งส�าหรับทางผู้เขียน ความมั่นคงแห่งรัฐ) ของอดีตสหภาพโซเวียต (ปัจจุบัน Red Eagle อินทรีแดง แผลงฤทธิ์ ครั้งนี้ จึงอยากขอ เปลี่ยนเป็น หน่วย FSB : Federal Security Service) แนะน�าให้กบั ท่านผูอ้ า่ นได้รจู้ กั กับ ๓ หน่วยสืบราชการลับ ของรัสเซียได้เข้าแฝงตัวอยู่ในหน่วย (CIA : Central หรือหน่วยข่าวกรอง ที่ถือว่ามีความสามารถในการ Intelligence Agency) เพื่อปฏิบัติการลอบสังหาร สืบหาข้อมูลข่าวสารชัน้ ความลับชนิดทีว่ า่ ติดอันดับต้น ๆ

57


58

สหรัฐอเมริกาได้มากไม่น้อยหน้าเช่นกัน เช่น แผนการบุ ก ในวั น ดี เ ดย์ แ ละรายละเอี ย ดของ ปฏิบัติการที่เกิดขึ้นทั้งหมดของสหรัฐฯ แผน ปฏิบัติการทิ้งระเบิดกรุงโตเกียวของฝูงบินผู้การ ดูลิเทิ้ล ข้อมูลการรบในสมรภูมิแปซิฟิก ข้อมูล อาวุธบางชนิดในสหรัฐฯ โดยเฉพาะความลับ ของข้ อ มู ล โครงการวิ จั ย และพั ฒ นาระเบิ ด นิวเคลียร์ในโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ที่ได้เริ่มในปี ค.ศ.1942 เมื่อสหภาพ อดีตจารชนของสหภาพโซเวียตที่เคยปฏิบัติการลับในสหรัฐอเมริกา โซเวียตสามารถท�าการระเบิดนิวเคลียร์ลกู แรกที่ ชื่อ “RDS – 1” ได้ในปี ค.ศ.1949 เพราะ ซึ่งทุกคนล้วนประกอบอาชีพสุจริตเพื่อปิดบังความเป็นสายลับ นอกจากความตื่ น ตะลึ ง ของอานุ ภ าพที่ ไ ม่ ยิ่ ง ของโลก และมี ค วามเชื่ อ มโยงกั น ที่ ถื อ ว่ า เป็ น ฝ่ า ย หย่ อ นไปกว่ า ระเบิ ด นิ ว เคลี ย ร์ ที่ ทิ้ ง ลงเมื อ งฮิ โรชิ ม า ตรงข้ า มกั น มาอย่ า งยาวนาน นั่ น คื อ หน่ ว ย CIA และเมืองนางาซากิของจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงปลาย ของสหรัฐอเมริกา หน่วย MI6 : Mililary Intellignce สงครามโลกครั้งที่ ๒ ปี ค.ศ.1945 ซึ่งท�าให้เกิดค�าถาม ของประเทศอั ง กฤษ และหน่ ว ย KGB : Kamitet ว่าสภาพโซเวียตท�าได้อย่างไร? Gosudarstvennoy Bezopasnosti (หน่วยงานกลาง ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1947 – 1989 นับได้ว่าเป็น ความมั่นคงแห่งรัฐ) ของอดีตสหภาพโซเวียต (ปัจจุบัน ห้วงเวลาทีม่ กี ารต่อสูเ้ พือ่ แย่งชิงข่าวสารระหว่างสายลับ เปลี่ยนเป็น หน่วย FSB : Federal Security Service) สหรัฐฯ กับสายลับสหภาพโซเวียตอย่างดุเดือดเต็มก�าลัง ตลอดช่วงสงครามเย็น ทั้งอเมริกาและสหภาพ เป็นอย่างมาก และยังมีสายลับของอังกฤษที่ยังให้การ โซเวียต ต่างส่งสายลับของตนเองออกไปปฏิบัติการ สนั บ สนุ น การข่ า วต่ อ ประเทศสหรั ฐ ฯ และตอบโต้ สืบหาข้อมูลส�าคัญในดินแดนของกันและกัน จนเหมือน ด้วยการปฏิบตั กิ ารข่าวสาร (Information Operations ราวกับว่าสงครามโลกครั้งที่ ๓ พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุก : IO) เป็นอย่างมาก ต่างฝ่ายต่างมีหน่วยงานข่าวกรอง เมื่อหลาย ๆ วิกฤติการณ์เกิดขึ้นมาและท�าให้โลกยิ่งเข้า ของตนเองที่ล้วนแต่มีประสิทธิภาพและศักยภาพมาก ใกล้สู่ยุคสงครามนิวเคลียร์ แต่หากสงครามเป็นสิ่งที่ไม่ ตัวอย่าง เหตุการณ์ส�าคัญของชายที่ชื่อ รูดอล์ฟ เอเบิล อาจคาดเดาได้วา่ มันจะเกิดขึน้ หรือไม่ สิง่ หนึง่ ทีพ่ วกเขา ผู้เป็นสายลับของโซเวียตอันโด่งดังจนนักท�าหนังใน ต้องแน่ใจก็คือ ข่าวกรองหรือข้อมูลส�าคัญต่าง ๆ ของ อเมริกาต้องเอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในครั้งนั้นมา อีกฝ่ายซึ่งเป็นสิ่งส�าคัญที่จะต้องล่วงรู้ให้ได้ มันจึงเป็น ท�าเป็นภาพยนตร์ Hollywood ออกฉายในชื่อเรื่อง หน้าที่ของสายลับหรือเหล่าจารชน พวกเขาต้องท�า Bridge of Spies โดยมีผู้ก�ากับฉายาพ่อมดฮอลลีวู้ด หน้าทีข่ องตนเองอย่างสุดความสามารถในการปลอมตัว สตีเว่น สปีลเบิร์ก ก�ากับ น�าแสดงโดยดารารางวัล เองให้เป็นคนธรรมดาไม่วา่ จะเป็นอาชีพใดก็ตามเพือ่ หา ออสการ์อย่าง ทอม แฮงค์ ผู้รับบทเป็นทนายโดโนแวน ข่าวในประเทศของฝ่ายตรงข้าม เช่น บรรณารักษ์ และดาราอังกฤษเจ้าของบทบาทอย่าง มาร์ค ไรแลนซ์ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ช่างถ่ายภาพ จิตรกร ช่างตัด มารับบทเป็น รูดอล์ฟ เอเบิล ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า รูดอล์ฟ เย็บเสือ้ หรือแม้กระทัง้ คนในองค์กรลับของฝ่ายตรงข้าม เอเบิล เป็นสายลับโซเวียตที่ถูกจับกุมได้ในอเมริกา เอง จนกลายเป็นที่มาของกลุ่มผู้ทรยศต่อประเทศชาติ เขาเกิดที่อังกฤษในปี ค.ศ.1903 โดยมีชื่อว่า “วิลเลี่ยม ยอมขายความลับของประเทศชาติเพื่อแลกกับเงินหรือ ฟิชเชอร์” ตอนช่วงที่รัสเซียเกิดการปฏิวัติ ครอบครัว อิสรภาพในการด�ารงชีวติ ซึง่ จะเห็นได้จากในอดีตแม้วา่ ของเขาให้การสนับสนุนพวกบอลเชวิค (Bolshevik : สหรั ฐ อเมริ ก าจะมี ยุ ท โธปกรณ์ ใ นการตรวจจั บ หา สมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคม สัญญาณหรือข่าวลับได้ดีเพียงใด แต่สายลับรัสเซียก็ ประชาธิปไตยรัสเซีย (Russian Social Democratic สามารถขโมยความลั บ อั น ถื อ ว่ า เป็ น สุ ด ยอดของ Labour Party : RSDLP) เสมอมา และเฝ้ารอการก�าเนิด


ข่าวทหารอากาศ

ของประเทศคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบบนโลกใบนี้ กระทัง่ ในปี ค.ศ.1921 ความฝันของตระกูลเอเบิลก็เป็นจริงเมือ่ การถื อ ก� า เนิ ด ของสหภาพโซเวี ย ตได้ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว ครอบครัวของ เอเบิลจึงย้ายไปอยู่โซเวียต ซึ่งท�าให้ เอเบิล ถูกหล่อหลอมความเป็นคอมมิวนิสต์ตา่ ง ๆ เขาใช้ เวลา ๒ ปีในการท�างานอยูใ่ นแผนกวิทยุของกองทัพแดง และเข้าร่วมคณะกรรมการอ�านวยการด้านการเมืองของ รัฐ (OPGU) หรือหน่วยต�ารวจลับโซเวียต กระทัง่ ปี ค.ศ. 1948 ด้วยวัย ๔๕ ปี เอเบิลลักลอบเข้าสหรัฐฯ โดยผ่าน ทางแคนาดา เขามีภารกิจในการรวบรวมข้อมูลข่าว กรองด้านนิวเคลียร์ในสหรัฐฯ ด้วยการท�าอาชีพเป็น จิตรกรและช่างถ่ายภาพบังหน้า ฝีมือในงานด้านศิลปะ ของเอเบิลนั้นเข้าขั้นระดับมืออาชีพ จึงท�าให้เขามีชื่อ เสียง ในวงการศิลปะของนิวยอร์กซิตี้ แต่เอเบิลก็ยังคง ติดต่อประสานงานกับสายลับโซเวียตกลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ ในนิวยอร์กซิตแี้ ละในส่วนอืน่ ๆ ของสหรัฐฯ ตลอดเวลา ชีวิตการเป็นสายลับในอเมริกาของเอเบิลกลับถูกแฉ จากเพื่อนสายลับด้วยกันที่ยอมแปรพักตร์ไปเข้าข้าง อเมริกา โดยเพือ่ นของเขานัน้ ทีช่ อื่ เรโน ไฮเฮเนิน ได้นา� ข้อมูลสายลับโซเวียตที่เขาเคยปฏิบัติงานร่วมด้วยใน ประเทศสหรัฐฯ ไปแจ้งแก่ฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งหนึ่งในนั้นมี เอเบิล และเป็นมูลเหตุทที่ า� ให้เอเบิลถูกจับกุมตัวในทีส่ ดุ ต่อมาเจ้าหน้าที่ FBI ได้บุกเข้าไปในสตูดิโอของเขาและ พบพยานหลักฐานต่าง ๆ มากมาย ทั้งบัตรประชาชน ปลอม อุปกรณ์วทิ ยุ หนังสือรหัส และปากกาทีส่ ามารถ จัดเก็บบันทึกย่อที่ซ่อนอยู่ภายในได้ เขาสารภาพผิดใน ข้อหากระท�าจารกรรม แต่ไม่ยอมบอกความลับใด ๆ ทีเ่ ขารูท้ งั้ ในแผ่นดินสหรัฐฯ หรือในโซเวียต ผูค้ นในสหรัฐฯ ตอนนั้นโกรธแค้นสายลับโซเวียตที่ถูกจักุมได้อย่างมาก หลายคนเรียกร้องให้ประหารชีวิตเขา แต่ทนายความ ของเอเบิลชื่อ เจมส์ โดโนแวน ได้รวบรวมหลักฐานและ ต่อสู้คดีให้เขาจนศาสตัดสินจ�าคุกแทนการถูกนั่งเก้าอี้ ไฟฟ้า ซึ่งนั่นเป็นการตัดสินใจที่จะช่วยชีวิตคนสหรัฐฯ อีกคนหนึ่งที่ก�าลังท�าจารกรรมเหนือแผ่นดินโซเวียต เครื่องบินจารกรรมแบบยู ๒ มีฟรานซิส แกรี่เพาเวอร์ ถู ก ยิ ง ตกเหนื อ แผ่ น ดิ น โซเวี ย ต ในเดื อ น พฤษาคม ค.ศ.1960 เพาเวอร์ถูกศาลของสหภาพโซเวียตตัดสิน จ� า คุ ก เป็ น เวลา ๑๐ ปี แต่ พ อถึ ง ปี ค.ศ.1962 ด้วยความพยายามของทั้งสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ ในการเจรจาขอแลกตั ว สายลั บ ที่ ถู ก จั บ กุ ม โดยมี

นายเจมส์ โดโนแวน ของสหรัฐฯ เป็นตัวแทนในการ เจรจากับฝ่ายโซเวียตที่สถานฑูตเวียตในกรุงเบอร์ลิน จึงน�าไปสู่การแลกตัว ฟรานซิส แกรี่ เพาเวอร์ กับ รูดอล์ฟ เอเบิล ในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ.1962 ทีส่ ะพาน กรินนิคเกอร์ อันเป็นพรมแดนระหว่างเบอร์ลนิ ฝัง่ ตะวัน ออกและตะวันตก เมือ่ เอเบิลกลับมาทีโ่ ซเวียต เขาได้รบั การยกย่องให้เป็นวีรบุรษุ แห่งสหภาพโซเวียต และได้รบั เหรียญสดุดีเลนิน Order of Lenin เรื่องราวของเขาจึง น�าไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในเวลาต่อมา

รูดอล์ฟ เอเบิล บนแสตมป์ที่ระลึกของโซเวียต

สะพานกรินนิคเกอร์ สถานที่แลกตัวสายลับในยุคสงครามเย็น

จากประวั ติ ศ าสตร์ ดั ง กล่ า วจะเห็ น ได้ ว ่ า การปฏิบัติงานของสายลับ KGB ของสหภาพโซเวียต แทบจะเป็ น ไม้ เ บื่ อ ไม้ เ มากั บ CIA เป็ น อย่ า งมาก แต่ถึงกระนั้นฝ่ายรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยังมีพันธมิตรอย่าง

59


60

MI6 ที่ถือเป็นหน่วยสืบราชการลับระดับสุดยอดของ ในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น CIA ยังมีหน้าที่ รัฐบาลอังกฤษที่คอยให้การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในการเป็ น ผู ้ จั ด การระดั บ ชาติ ใ นการประสานงาน ด้านข่าวกรองอย่างต่อเนือ่ งเรือ่ ยมา และหลังจากนีเ้ รา กับหน่วยงานต่าง ๆ ทีท่ า� กิจกรรมเกีย่ วกับการข่าวกรอง ลองมาดูกันนะครับว่า ประวัติความเป็นมาของหน่วย ทางมนุ ษ ย์ ทั้ ง หมด ในชุ ม ชนข่ า วกรองสหรั ฐ ฯ งานพิเศษทั้ง 3 หน่วยนี้ มีที่มาเป็นอย่างไรกันบ้าง ยิ่งไปกว่านั้น CIA ยังเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาต เริ่มตั้งแต่หน่วยงานแรก ส�านักข่าวกรองกลาง โดยกฎหมาย ในการด�าเนินการและดูแลการปฏิบัติการ หรือ CIA ย่อมาจาก Central Intelligence Agency ซ่อนเร้น (Convert Action/Operation) โดยค�าสั่ง เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือน ประธานาธิบดี ส�านักข่าวกรองกลางสามารถควบคุม ของ รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีหน้าทีร่ วบรวม ประมวลผล อิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทาง และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ แผนกยุ ท ธวิ ธี ข องตน เช่ น แผนกปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษ จากทัว่ โลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (Human (Special Activisity Division : SAD) Intelligence : HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่ ปัจจุบันหน้าที่ของ CIA คือการรวบรวม วิเคราะห์ เป็นหนึง่ ในสมาชิกหลักของประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯ ประเมิน และเผยแพร่ข่าวกรองต่างประเทศ และการ (Intelligence Community :IC) ซึ่ง CIA จะรายงาน ด�าเนินการปฏิบตั กิ ารซ่อนเร้น ซึง่ ตามปีงบประมาณ พ.ศ. ต่อ ผู้อ�านวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of ๒๕๕๖ ส�านักข่าวกรองกลาง (CIA : Central IntelliNational Intelligence : DNI) และจะเน้นไปที่ gence Agency) มีหน้าที่ส�าคัญ ได้แก่ การหาข่าวกรองให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และคณะ - การต่อต้านการก่อการร้าย รัฐมนตรีสหรัฐฯ เป็นหลัก ไม่เหมือนกับส�านักRED งาน Eagle - การป้องกันการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ สอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation : และอาวุธอานุภาพท�าลายล้างสูง (WMD : Weapon of FBI) ที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานราชการความมั่ น คงภายใน Mass Destruction) - แจ้งเตือน/รายงาน เหตุการณ์ที่ส�าคัญในต่าง CIA ไม่มหี น้าทีบ่ งั คับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวม ข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจ�ากัดเฉพาะในการ ประเทศให้แก่ผู้น�าของอเมริกา - ต่อต้านการข่าวกรองของต่างประเทศ ที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตาม CIA - การข่าวกรองทางไซเบอร์ ไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เชี่ยวชาญ - ไม่สนับสนุนการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ตราประจ�าส�านักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency : CIA) ตามประวัติความเป็นมา หน่วยงาน CIA ก่อตั้ง เมื่ อ เดื อ น กั น ยายน ค.ศ.1947 มี ส� า นั ก งานใหญ่ อยู ่ ที่ ศู น ย์ ก ลางข่ า วกรองจอร์ จ บุ ช รั ฐ เวอร์ จิ เ นี ย สหรัฐอเมริกา นั่นหมายความว่าสหรัฐฯ ได้ด�าเนินการ เกี่ยวกับกิจกรรมข่าวกรองต่างประเทศมาตั้งแต่เริ่ม ก่อตั้งประเทศในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ผู้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐฯ ต่อมาจึงเริ่มมี การประสานงานบนพืน้ ฐานระดับรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ตัง้ แต่สมัยสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ โดยมีการพัฒนาโครงการ ที่โดดเด่นสามโครงการเพื่อการประสานงานข่าวกรอง พื้ น ฐาน คื อ การศึ ก ษาข่ า วกรองร่ ว มกองทั พ บก ตราประจ�าส�านักข่าวกรองกลาง และกองทัพเรือ การส�ารวจข่าวกรองแห่งชาติ และ (Central Intelligence Agency : CIA) เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก


ข่าวทหารอากาศ

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ข่าวกรองพื้นฐาน จากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีความ ซ�้าซ้อนและมีความขัดแย้งของข่าวสาร การโจมตีของ ญี่ปุ่นต่อเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี ค.ศ.1841 ท�าให้ผู้น�าใน รัฐสภาและผู้บริหารสาขาต่าง ๆ ต้องการที่จะสรุปการ รายงานต่าง ๆ ให้แก่ผู้ก�าหนดนโยบายของชาติ ราย ละเอียดและการประสานงานข่าวสารมีความต้องการ ไม่ได้เพียงแต่ประเทศทีม่ มี หาอ�านาจ เช่น เยอรมัน หรือ ญี่ปุ่น เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงดินแดนต่าง ๆ ที่มีผล ประโยชน์เพียงเล็กน้อย เช่น ในสงครามมหาสมุทร แปซิฟกิ กองทัพเรือและนาวิกโยธินได้ปฏิบตั กิ ารยกพล ขึ้นบกบนเกาะต่าง ๆ เป็นจ�านวนมาก ซึ่งบางครั้ง ข่าวสารที่ได้รับมากลับไม่ได้รับการยืนยันหรือไม่มีมา ก่อน การประสานงานด้านข่าวสารและข่าวกรองต่าง ๆ จากหน่วยงานภายในของสหรัฐจึงมีความส�าคัญเป็น อย่ า งมากเพื่ อเป็ น ข้ อ มู ล ในการวางแผนเตรี ยมการ ปฏิบัติการทางทหารจนสามารถปฏิบัติการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ปี ค.ศ.1943 นายพล จอร์ จ สตรอง และ นายพลเรือ เทรน (ส�านักงานข่าวกรองกองทัพเรือ) และ นายพล วิลเลี่ยม เจ. โดโนแวน (ผู้อ�านวยการส�านักงาน บริการยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Service : OSS) มี ข ้ อ ตกลงใจร่ ว มกั น ที่ จ ะสถาปนาหน่ ว ยงานความ พยายามร่วม คณะกรรมาธิการได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ เมือ่ เดือน เมษายน ค.ศ.1943 โดยได้เสนอแนะการจัดตั้งคณะ กรรมการศึกษาและเผยแพร่ข่าวกรองร่วมเพื่อปฏิบัติ การร่วม แก้ไข ประสานงาน และตีพิมพ์ การศึกษาข่าว กรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ (Joint Army – Navy Intelligence Study : JANIS อ่านว่า เจนิส) อันเป็นโครงการข่าวกรองพื้นฐานระหว่างกระทรวง หน่วยแรกที่ตอบสนองความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ

ส�าหรับการประเมิน การประสานงาน และการแบ่งมอบ อ�านาจของข่าวกรองยุทธศาสตร์พื้นฐาน ในระหว่าง เดือนเมษายน ค.ศ.1943 – กรกฎาคม ค.ศ.1947 คณะกรรมการได้ตีพิมพ์การศึกษาของ เจนิส จ�านวน ๓๔ ฉบับ และ เจนิส ยังได้ปฏิบตั งิ านได้ดใี นช่วงระหว่าง เกิดสงคราม และตอบสนองความต้องการข่าวกรอง พื้นฐานที่มีความละเอียดซับซ้อนได้เพิ่มมากขึ้นในช่วง หลังสงครามโลก CIA ได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ เมือ่ เดือน กรกฎาคม ค.ศ.1947 และเริม่ ปฏิบตั กิ ารอย่างเป็นทางการเมือ่ เดือน กันยายน ค.ศ.1947 หลังจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้ง กระทรวงกลาโหมขึ้นในปีเดียวกัน และได้สถาปนา องค์การสืบราชการลับ CIA ขึน้ ด้วย โดยเอาอาสาสมัคร จากหน่วยบริการยุทธศาสตร์ เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ ในองค์ ก ารนี้ เ ป็ น จ� า นวนมาก ซึ่ ง ในสายตาของคน ภายนอกส� า หรั บ องค์ ก ารนี้ คื อ การหวนกลั บ มาของ หน่วยบริการยุทธศาสตร์ หลังจากหน่วยบริการยุทธศาสตร์ ได้ถูกยุบเลิกในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1945 ผู้อ�านวยการ หน่วยข่าวกรองกลาง (CIA) เริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อเดือน ตุลาคม ค.ศ.1947 โดยรับมอบความรับผิดชอบงานต่อ จากเจนิส เมื่อเดือน ตุลาคม ค.ศ.1948 สภาความมั่นคง แห่งชาติได้ออกค�าสั่ง ก�าหนดการปฏิบัติการข่าวกรอง โดยมอบอ�านาจให้ โครงการส�ารวจข่าวกรองแห่งชาติ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ร ะหว่ า งช่ ว งสั น ติ แ ทนช่ ว งสงครามของ โครงการเจนิส โดยก่อนแผนกประเทศของโครงการ ส�ารวจข่าวกรองแห่งชาติจะผลิตข่าวกรองได้อย่าง เพียงพอ หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องพัฒนาอักขรา นุ ก รมภู มิ ศ าสตร์ แ ละแผนที่ ใ ห้ ดี ขึ้ น คณะกรรมการ สหรัฐฯเรื่องชื่อภูมิศาสตร์รวบรวมรายชื่อ กระทรวง มหาดไทยผลิตอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และหน่วยข่าว กรองกลางผลิตแผนที่ (ติดตามอ่านต่อฉบับหน้า)

อ้างอิง : http://www.gypzyworld.com/article/view/1184

https://open-int.blog/2018/01/05/janis-publications-1943-1947/ https://victor-mochere.com/th/differences-between-mi6-and-cia https://guru.sanook.com/5968/ https://mgronline.com/daily/detail/9530000002043 http://tortaharn.net/contents/index.php?option=com_content&task=view&id=143&Itemid =76 https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=prysang&month=05-2014&date=04&group=29&gblog=52 https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E

61


62

จับจิต จับใจ ¡Ñº Í.˹Ù

µ¹áÅ໚¹·Õè¾Öè§áË‹§µ¹ ช ว งชี วิ ต ของมนุ ษ ย ชี วิ ต การทํ า งานเป น ชวงเวลาที่มีความสําคัญและคอนขางยาวนาน ดังนั้น ปจจัยที่เกี่ยวของกับชีวิตการทํางาน ไมวาจะเปน เรื่ อ งความพึ ง พอใจในชี วิ ต ความพึ ง พอใจในงาน ความเครียด การพักผอน อัตราการวางงานหรือ ตกงานนั้ น ถื อ ได ว  า เป น ตั ว สะท อ นถึ ง สุ ข ภาวะได ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในวัยผูใหญซึ่งเปนวัยที่เปน กําลังสําคัญของครอบครัวและสังคม เปนวัยทีส่ ามารถ ใชศกั ยภาพของตัวเองไดเต็มที่ มีความทะเยอทะยาน มีความมุง มัน่ ในการสรางเปาหมายในชีวติ กระตือรือรน ในการสรางความสําเร็จในงาน แตขณะเดียวกันก็เปน วัยที่เริ่มตองรับภาระความรับผิดชอบ และเผชิญกับ ความเครียด รวมทัง้ องคการอนามัยโลก พบวา ปญหา สุขภาพอันเนื่องจากการทํางาน (occupational health) และความสามารถในการทํางานที่ลดลง ของบุคคลทําใหเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจไดถึง ๑๐-๒๐% ของผลิตภัณฑมวลรวมแหงชาติ รวมทั้ง การเสี ย ชี วิ ต จากการประกอบอาชี พ ทั่ ว โลกและ การเจ็บปวยประมาณการณวาทําใหเกิดการสูญเสีย ๔% ของผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศ (WHO, 2007) ทํ า ให มี เ กิ ด ความสนใจที่ จ ะประยุ ก ต แ นวคิ ด ทาง จิตวิทยาเชิงบวกมาใชกบั บุคคลทัว่ ไป โดยมีจดุ มุง หมาย

เพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย สงเสริมและปองกัน ปญหาทางจิตใจ และนําไปสูการพัฒนาชุมชมและ สังคมใหมคี ณ ุ ภาพ ซึง่ สอดคลองกับขอมูลทีไ่ ดรวบรวม และอางจาก ทฤษฎีพฒ ั นาการของ Erikson เกีย่ วกับ หนาที่พื้นฐานของวัยผูใหญนั้น การมีความมั่นคง ในอาชีพ (career consolidation) ก็เปนหนึ่งใน หนาที่พื้นฐานที่สําคัญ ที่นําไปสูการประสบความ สําเร็จในชีวิต โดยการศึกษาในเรื่องของพัฒนาการ ของผูใหญนั้นพบวาขึ้นอยูกับการประเมินการทํา หนาที่ ๓ อยางดวยกันคือ ดานรางกายโดยมีสุขภาพ กายที่แข็งแรง ดานจิตใจที่แจมใสมีพลัง และการ ประกอบอาชีพทีส่ ามารถดูแลตนเองและครอบครัวได ซึง่ การประยุกตใชจติ วิทยาเชิงบวกนัน้ ไมเนนแตเพียง ภารกิ จ ในเรื่ อ งของการบํ า บั ด รั ก ษา แต เ ป น การ ประยุกตใชศาสตรทางจิตวิทยาเพือ่ ภารกิจในดานบวก เกี่ยวกับการทําใหบุคคลมีความสุขในการดําเนินชีวิต และการส ง เสริ ม ให ส ามารถใช ศั ก ยภาพของเขา ไดอยางเต็มที่ และนําไปสูการพัฒนาคน เพื่อพัฒนา ชุมชนและสังคมตอไป ซึ่งในวัยผูใหญหรือวัยทํางาน นัน้ ทักษะหรือคุณลักษณะทีส่ าํ คัญของจิตวิทยาเชิงบวก ก็คือ ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง หรือการ พึ่งพาตนเอง ถือเปนทักษะที่สําคัญทางจิตวิทยา


ข่าวทหารอากาศ

ความเชือ่ มัน่ ในศักยภาพของตนเอง (Selfefficacy) ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ถือเป็น คุ ณ ลั ก ษณะที่ ส� า คั ญ ของจิ ต วิ ท ยาเชิ ง บวกที่ ท� า ให้ บุ ค คลมี พ ลัง และพึงพอใจในชีวิตของตนเอง โดย ค�านิยามของ self-efficacy คือ ความเชื่อที่บุคคล เชือ่ ว่าตนเองสามารถท�าสิง่ หนึง่ สิง่ ใดได้ โดยความเชือ่ ในเรื่องนี้เป็นเรื่องของการรับรู้ที่มีต่อตัวเอง แม้ว่า จะเป็นเพียงการรับรู้ แต่ความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของตนเองกลั บ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การท� า งานและผล ของงานเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ที่เป็นช่วงเวลาที่บุคคลต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับ ความต้องการใหม่ ๆ และสถานะที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การสัมพันธภาพสมรส การเปลี่ยนสถานะเป็น บิดามารดา และการประกอบอาชีพ โดยบุคคลวัยนี้ มักมีความต้องการความมัน่ คงและความร่วมมือ หรือ สัมพันธภาพที่ยั่งยืน ดังนั้น ความสามารถของตนเอง (self-efficacy) จึ ง เป็ น สิ่ ง ส� า คั ญ ที่ จ ะสนั บ สนุ น ให้บคุ คลประสบความส�าเร็จ เนือ่ งจากความสามารถ ของบุคคลนั้นเป็นสิ่งไม่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยน และพั ฒ นาได้ ต ามสถานการณ์ ดั ง นั้ น แบนดู ร ่ า นั ก จิ ต วิ ท ยาสั ง คมจึ ง เชื่ อ ว่ า สิ่ ง ส� า คั ญ ที่ จ ะก� า หนด

63

ประสิทธิภาพของการแสดงออกจะขึน้ อยูก่ บั การรับรู้ ความสามารถของตนเองในขณะนั้นด้วย โดยเมื่อ บุคคลเชื่อว่าตนเองมีความสามารถเพียงพอที่จะท�า สิง่ หนึง่ สิง่ ใดแล้ว ก็จะเกิดความพยายามทีจ่ ะท�าเพราะ มีความเชือ่ มัน่ ในความสามารถว่าตนเองท�าได้ จัดการ อุปสรรคหรือสิง่ ต่าง ๆ ได้ ในทางตรงข้ามบุคคลทีร่ บั รู้ หรือประเมินตนเองต�่ากว่าความเป็นจริงย่อมท�าให้ ไม่พยายามท�าในสิ่งนั้น ๆ หรือไม่ยอมท�างานอื่นที่ ท้าทายมากกว่า เพราะเชื่อไปแล้วว่าตนเองท�าไม่ได้ หรือไม่มั่นใจว่าตนเองจะท�าสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยท�า มาก่อนได้ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับความเชื่อมั่น ในศักยภาพของตนเอง นั้นขึ้นอยู่กับ ๓ องค์ประกอบ ด้วยกัน ดังนี้ ๑. Magnitude หมายถึงระดับความยาก ล� า บากในงานที่ บุ ค คลเชื่ อ ว่ า เขาท� า สิ่ ง นั้ น ๆ ได้ ยิ่งบุคคลได้ผ่านความยากล�าบากมากก็ยิ่งท�าให้เกิด ความมั่นใจในความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นตาม ดังค�าทีว่ า่ “เคยแล้วจะสบาย” ในการฝึกความอดทน ของหลักสูตรทางทหารที่มักเน้นให้ผู้เรียนผ่านความ ยากล�าบากให้มากทีส่ ดุ เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจในความ สามารถของตนเอง เมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคตที่ยากต่อการควบคุม


64

๒. Strength หมายถึ ง ความเชื่ อ มั่ น ใน ความสามารถของตนเองในระดับที่มากหรือน้อย โดยเป็นการสะสมประสบการณ์ในการรับรู้ความ สามารถของตนเองในการแก้ปญ ั หา หรือปฏิบตั ภิ ารกิจ ซึง่ บุคคลทีไ่ ด้ฝกึ ปฏิบตั หิ รือเผชิญกับเหตุการณ์ตา่ ง ๆ บ่อยครัง้ หรือหลากหลายรูปแบบย่อมท�าให้เกิดความ เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองมากตามไปด้วย ดังเช่น ผู้ที่มีชั่วโมงการบินมาก ย่อมมีความเชื่อมั่น ในความสามารถของตนเองในระดับที่มากกว่าผู้ที่ มี ชั่ ว โมงการบิ นน้อยกว่า หรือ นัก กีฬาที่มีชั่วโมง การซ้ อ มและเวที แ ข่ ง ขั น มากย่ อ มมี ค วามเชื่ อ มั่ น ในความสามารถของตนเองมากตามศักยภาพของตน ๓. Generality หมายถึ ง ความคาดหวั ง ที่บุคคลพยายามเชื่อมโยงความสามารถของตนเอง ในการท�าสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ไปยังความสามารถในด้านอืน่ ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ผู้ที่เคยผ่านสถานการณ์ วิกฤตทางเศรษฐกิจในช่วงต้มย�ากุ้งในปี ๒๕๓๙๒๕๔๐ ย่อมมีความเชื่อมั่นว่าตนเองจะสามารถผ่าน สถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจในช่วงการะระบาด ของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ คุ ณ ลั ก ษณะของการเชื่ อ มั่ น ในศักยภาพของตนเองยังมีพื้นฐานมาจาก ทฤษฎี การเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) ที่ชัดเจน ท�าให้การเชื่อมั่นในศักยภาพ ของตนเองมีลักษณะเข้าได้กับเกณฑ์ของ ต้นทุน ทางจิตวิทยาในเรื่องที่เป็นลักษณะทางบวกที่ส�าคัญ ที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงออกของพฤติกรรม ที่มีทฤษฎีและงานวิจัยรองรับมากมายว่า การเชื่อมั่น ในศักยภาพของตนเองนั้นมีความสัมพันธ์กับอาการ

ซึมเศร้าและผู้ที่มีเหตุการณ์ตึงเครียดในชีวิต รวมทั้ง พบว่า การเชือ่ มัน่ ในศักยภาพของตนเองนัน้ มีอทิ ธิพล ต่ อ การท� า งานที่ ผู ้ ท� า งานจะเลื อ กที่ จ ะเรี ย นรู ้ แ ละ มีอิทธิพลต่อการก�าหนดเป้าหมายของตน นอกจากนี้ การเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองยังสามารถพัฒนา และเปลี่ยนแปลงได้ โดย Paker (1998) ได้ท�าการ ศึกษาในระยะยาว (longitudinal) แล้วพบว่าการ เพิ่มขึ้นของปริมาณงาน (ß=0.25, p<0.001) และ การเพิ่มขึ้นของการติดต่อสื่อสาร (ß=0.13, p<0.05) สามารถท�านายถึงการพัฒนาในเรื่องของการเชื่อมั่น ในศักยภาพของตนเองได้ ดังนั้นการที่บุคคลจะเกิด การรับรูห้ รือพัฒนาในเรือ่ งของการรับรูค้ วามสามารถ ของตนเองนั้น สามารถพัฒนาได้ ดังนี้ ๑. ประสบการณ์ ที่ ป ระสบความส� า เร็ จ (mastery experiences) วิ ธี ก ารนี้ แบนดู ร ่ า นักจิตวิทยาสังคม เชื่อว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ มากที่สุดในการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของ ตนเอง เนื่องจากเป็นประสบการณ์ตรงของความ ส�าเร็จของบุคคล ซึ่งจะท�าให้เพิ่มการรับรู้ถึงความ สามารถของตนเองได้ดี เพราะบุคคลจะเชื่อว่าเขา สามารถทีจ่ ะท�าได้ มีจดุ แข็งหรือมีศกั ยภาพในเรือ่ งใด ดังนั้น ในการที่จะพัฒนาการรับรู้ความสามารถของ ตนเองนั้น จ�าเป็นที่จะต้องฝึกให้เขามีทักษะเพียงพอ ที่จะประสบความส�าเร็จได้ ไปพร้อม ๆ กับการท�าให้ เขารับรูว้ า่ เขามีความสามารถทีจ่ ะท�าสิง่ นัน้ ๆ จะท�าให้ เขาได้ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากทีส่ ดุ รวมทัง้ บุคคลทีร่ บั รูว้ า่ ตนเองมีความสามารถ นั้น จะไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ แต่จะพยายามท�างาน ต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ


ข่าวทหารอากาศ

๒. การเรียนรู้จากตัวแบบ (Modeling or vicarious learning) การที่ได้สังเกตตัวแบบแสดง พฤติกรรมที่มีความซับซ้อน และได้รับผลที่พึงพอใจ ก็จะท�าให้ผทู้ สี่ งั เกตรูส้ กึ ว่าเขาก็จะสามารถทีจ่ ะประสบ ความส� า เร็ จ ได้ ถ ้ า เขาพยายามจริ ง และไม่ ย ่ อ ท้ อ ลักษณะของการใช้ตัวแบบที่ส่งผลต่อความรู้สึกว่า เขามีความสามารถที่จะท�าได้นั้น โดยการเรียนรู้จาก ตั ว แบบนั้ น มั ก จะขึ้ น อยู ่ กั บ การดึ ง ดู ด หรื อ ความ ประทับใจที่มีต่อตัวแบบของแต่ละบุคคล รวมทั้ง พื้นฐานความสามารถที่ใกล้เคียงกันระหว่างตนเอง กับตัวแบบที่ตนสนใจ เช่น การแก้ปัญหาของบุคคล ที่ มี ค วามกลั ว ต่ อ สิ่ ง ต่ า ง ๆ โดยที่ ใ ห้ ดู ตั ว แบบที่ มี ลักษณะคล้ายกับตนเอง ก็สามารถท�าให้ลดความกลัว ต่าง ๆ เหล่านั้นได้ เพราะบุคคลจะรับรู้พฤติกรรม จากตัวแบบว่าสามารถปฏิบัติแล้วได้ผลที่พึงพอใจ จดจ�าจนสามารถเลียนแบบตามได้ ๓. การจูงใจทางสังคม (Social persuasion and Positive feedback or Verbal persuasion) การบอกว่าบุคคลนั้นมีความสามารถที่จะประสบ ความส�าเร็จได้ วิธีการดังกล่าวค่อนข้างใช้ง่ายและ ใช้กันทั่วไป แต่การใช้ค�าพูดชักจูงเพียงอย่างเดียวนั้น มักไม่คอ่ ยจะได้ผลนัก ในการทีจ่ ะท�าให้คนเราสามารถ ที่พัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเอง ดังนั้น ควรจะใช้ร่วมกับการท�าให้บุคคลนั้นมีประสบการณ์ ของความส�าเร็จร่วมด้วย ซึ่งจะถือเป็นการให้ข้อมูล ป้อนกลับบุคคลที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อความเชื่อมั่น

65

ในความสามารถของตนเองซึง่ อาจจะต้องค่อย ๆ สร้าง ความสามารถให้กับบุคคลทีละขั้น เรียงล�าดับการฝึก จากเรื่องที่ง่าย ไปหาเรื่องที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และให้เกิดความส�าเร็จตามล�าดับขั้นตอน พร้อมทั้ง ใช้ค�าพูดชักจูงร่วมกัน จะท�าให้ได้ผลมากขึ้นในการ พัฒนาการรับรู้ความสามารถของตน ๔. การกระตุ้นทางอารมณ์ (Emotional arousal Physiological and/or Psychological arousal) การกระตุ้นทางอารมณ์มีผลต่อการรับรู้ ความสามารถของตนเอง เช่น ในสภาวะที่ถูกข่มขู่ วิตกกังวล หรือมีความเครียด บุคคลจะรู้สึกถึงการ กระตุ้นทางสรีระทางร่างกายและจิตใจจะน�าไปสู่ การรับรูค้ วามสามารถของตนเองต�า่ ลงกว่าสถานการณ์ ปกติ โดยเฉพาะการกระตุ้นในขั้นที่รุนแรงนั้นอาจจะ มีผลต่อการแสดงออกในบุคคลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งอาจจะน�าไปสู่ความล้มเหลวซึ่งจะท�าให้การรับรู้ ความสามารถของตนเองยิง่ ลดลงไปอีก ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก บุคคลจะคาดหวังความส�าเร็จเมือ่ เขาไม่ได้อยูใ่ นสภาพ การณ์ทกี่ ระตุน้ ด้วยสิง่ ทีไ่ ม่พงึ พอใจ ซึง่ ในความเป็นจริง เราไม่ ส ามารถควบคุ ม ปั จ จั ย ภายนอกได้ ดั ง นั้ น ถ้ า สามารถควบคุ ม หรื อ ระงั บ การถู ก กระตุ ้ น ทาง อารมณ์ซึ่งเป็นปัจจัยภายในตนเองได้ หมายถึงว่า บุคคลต้องผ่านการฝึกและเรียนรูท้ จี่ ะจัดการกับความ รู้สึกกังวลหรือกลัวความล้มเหลวของตนเองให้ได้ จึง จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ความเชือ่ มัน่ ในศักยภาพ ของตนเองให้เพิ่มขึ้น


66

ในวัยผู้ใหญ่ความเชื่อมั่นในศักยภาพของ ตนเองนั้น ถือเป็นคุณลักษณะส�าคัญที่ท�าให้บุคคล รับรู้หรือเชื่อว่าตนเองมีความสามารถ โดยเฉพาะ ในด้านการท�างาน การได้รับมอบหมายในต�าแหน่ง ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น รวมทั้งความสามารถ ในเรือ่ งการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผูอ้ นื่ ซึง่ เป็น พัฒนาการทีส่ า� คัญตามทฤษฎีพฒ ั นาการของวัยผูใ้ หญ่ ดังการหากบุคคลมีโอกาสได้รับมอบหมายในภารกิจ ทีม่ ที า้ ทายและหลากหลาย ตามศักยภาพทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ตามความช�านาญของตน ย่อมท�าให้เกิดการเชื่อมั่น ในศักยภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะ ในสภาพสังคมปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ในหลายเรื่อง เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ อย่าง ไม่มีขีดจ�ากัด (Big data) การติดต่อสื่อสารที่มีความ รวดเร็ว ความแตกต่างระหว่างช่วงวัย (Generation) ความซับซ้อนทางด้านเศรษฐกิจ การระบาดของโรค ติดต่อ ที่ส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม

อ้างอิง

อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการ ท้าทายศักยภาพของบุคคลในการเผชิญกับสถานการณ์ ที่ไม่คาดฝันมาก่อน ท้าทายความสามารถในการ ปรับตัวให้สามารถเอาตัวรอดและสามารถด�าเนินชีวติ ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้ คุณลักษณะของความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง เป็ น ส� า คั ญ เพราะยามที่ เ กิ ด ปั ญ หาหรื อ อุ ป สรรค ในชีวิตเกิดขึ้น การตั้งรับรอความช่วยเหลือจากผู้อื่น อาจเป็นการรออย่างไม่รู้จุดหมาย แต่หากเรารู้จัก ที่พึ่งพาตนเอง โดยมีความเชื่อมั่นในความสามารถ ของตนเองว่าจะสามารถคิดหรือหาหนทางในการ แก้ปญ ั หาทีเ่ ข้ามาในชีวติ ได้ ย่อมท�าให้เรามีความหวัง มีพลังในการท�าสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ย่อท้อ ซึ่งความรู้สึก เหล่านีก้ น็ า� ไปสูก่ ารเสริมสร้างความเชือ่ มัน่ ในศักยภาพ ของตนเองทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ดังนัน้ ไม่วา่ จะเป็น ปัญหา หรืออุปสรรคทีย่ ากล�าบากเราก็จะพร้อมฝ่าฟัน ดังค�าสอนที่ได้ยินจนคุ้นชินว่า “เคยแล้วจะสบาย” นั่นเอง

- Bandura, A. (2006). Guide for Constructing Self-efficacy Scales. Self-Efficacy Beliefs of Adolescents, Information Age Publishing, 307-337. - Carr, A. (2004). Positive psychology: the Science of Happiness and Human Strengths, New York: Routledge. - Lunenburg, C. F. (2011). Self-Efficacy in the Workplace: Implications for Motivation and Performance. International Journal of Management, Business and Administration, 14(1), 1-6. - Maciejewski, K. P., Prigerson, G. H.,& Mazure, M. C. (2000). Self-efficacy as a mediator between stressful life events and depressive symptom: Differences based on history of prior depression. The British Journal of Psychiatry, 176, 373-378. - Paker, K. S. (1998). Enhancing Role Breadth Self-efficacy: The Role of Job Enrichment and Other Organizational Interventions. Journal of Applied Psychology, 83(6), 835-852. - Snyder C.R. & Shane J. L. (2007). Positive Psychology: Classifications and measures of Human Strengths and Positive Outcomes, California: Sage Publications, Inc. - World Health Organization. (2007). Raising Awareness of Stress at work in developing countries. Protecting workers health series, No.6, 7-22. - Snyder, 2007; 115-122 - Bandura, 2006 - Maciejewski, Prigerson & Mazure, 2000 - Lunenburg, 2011 - Carr, 2004; 211


ข่าวทหารอากาศ

67


68

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน @Zilch

National Animal of Singapore สัตว์ประจ�าชาติของสาธารณรัฐสิงคโปร์

Lion

Lion is the national animal of Singapore. The English language name “Singapore” comes from its Malay name “Singapura”, which is believed to have been derived from Sanskrit meaning, "Lion City”. “Singa” comes from the Sanskrit word “simha”, which means "lion", and “pura” means “city” and is a common suffix in many names of Indian places. The lion is considered a symbol of courage, strength and excellence. For this reason, it is chosen as the national animal of Singapore. Nowadays, the coat of arms of Singapore has a lion appeared alongside a tiger. The lion on the left side represents Singapore. While the tiger on the right side represents Singapore’s historical ties with Malaysia. Moreover, Singapore has an imaginary animal called “Merlion” which its head appears in the form of a lion’s head and its tail appears in the form of a mermaid’s tail. The Merlion was designed by a British man named Alec Frederick Frazer-Brunner in 1964 and it was used as a logo of the Singapore Tourist Promotion Board (STPB).

สิงโต

สิ ง โตถื อ เป็ น สั ต ว์ ป ระจ� ำ ชำติ ข องสำธำรณรั ฐ สิงคโปร์ ชือ่ ของประเทศสิงคโปร์ในภำษำอังกฤษ มีทม่ี ำ จำกชื่อ “สิงกะปุระ”ในภำษำมลำยู เชื่อกันว่ำ เป็นชื่อ ที่มำจำกภำษำสันสกฤต มีควำมหมำยว่ำ “เมืองแห่ง สิงโต” ค�ำว่ำ “สิงกะ” มำจำกค�ำว่ำ “สิงหะ” ในภำษำ สันสกฤต ซึ่งมีควำมหมำยว่ำ “สิงโต” ส่วนค�ำว่ำ “ปุระ” หมำยถึง “เมือง” โดยค�ำว่ำ “ปุระ”เป็นค�ำอุปสรรคต่อ ท้ ำ ยทั่ ว ไป มั ก ปรำกฏในชื่ อ ของสถำนที่ ห ลำยแห่ ง ในประเทศอินเดีย สิงโตถือเป็นสัญลักษณ์ของควำมกล้ำหำญ พละก�ำลัง และควำมเป็นเลิศ ด้วยเหตุผลดังกล่ำว สิงโตจึงได้รับ เลือกให้เป็นสัตว์ประจ�ำชำติของสำธำรณรัฐสิงคโปร์ ปัจจุบัน ตรำแผ่นดินของสำธำรณรัฐสิงคโปร์จะมี รูปสิงโตปรำกฏอยู่เคียงคู่กับเสือโคร่ง โดยสิงโตด้ำน ซ้ำยนั้นจะใช้แทนประเทศสิงคโปร์ ส่วนเสือโคร่งด้ำน ขวำนั้ น เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ สดงถึ ง ควำมผู ก พั น ทำง ประวัติศำสตร์กับประเทศมำเลเซีย นอกจำกนี้ แ ล้ ว สำธำรณรั ฐ สิ ง คโปร์ ยั ง มี สั ต ว์ น�ำโชคซึ่งเป็นสัตว์ในจินตนำกำรชื่อ “เมอร์ไลออน” ซึง่ มีทอ่ นบนเป็นหัวสิงโต แต่ทอ่ นล่ำงเป็นหำง นำงเงือก ออกแบบโดยนำยอเล็ค เฟรเดอริก เฟรเซอร์-บรุนเนอร์ ชำวอังกฤษในปี ค.ศ.1964 (พ.ศ.๒๕๐๗) เพื่อให้เป็น ตรำสัญลักษณ์สำ� หรับส�ำนักงำนคณะกรรมกำรส่งเสริม กำรท่องเที่ยวสิงคโปร์


ข่าวทหารอากาศ

69

Aviation Data Platform ¡ÑºâÅ¡ÍصÊÒË¡ÃÃÁ¡ÒúԹ»˜¨¨ØºÑ¹

การวิเคราะหขอ มูลกิจการทีเ่ กีย่ วของทางดาน การบินในปจจุบนั เปนความทาทายครัง้ ใหมทจี่ ะเกิดขึน้ อันนํา ไปสูการพัฒนาและการแขงขันที่รุนแรงขึ้น ของภาคอุตสาหกรรมการบิน ในชวงไมก่ีปที่ผานมา การวิเคราะหขอ มูลและเชิงพยากรณในภาคอุตสาหกรรม การบินไดเติบโตขึน้ อยางมีนยั สําคัญ ซึง่ เกิดจากสัญญา จํานวนมากระหวางบริษัทอุตสาหกรรมการบิน และ Maintenance Repair and Overhaul (MRO) ขนาดใหญ กับบริษัทที่จัดทํา Platform and Solution ในการวิเ คราะหขอมูลแบบ Big Data ที่ เ หมาะสมและตอบสนองทั้ ง ในการแข ง ขั น ด า น การตลาด ประสิ ท ธิ ภ าพในการบริ ห ารจั ด การ ตลอดจนทางดานเทคนิคอากาศยาน Mr.Bjarke Mads Sejersen ของ Satair ไดกลาวถึงขอมูล Big Data ของ Supplier ทัง้ ในระดับ Original Equipment Manufactured (OEM) and MROs ไดเริ่มมีการลงทุนและพัฒนาอยางกวางขวาง ในเครื่องมือและระบบที่ใชขอมูลเพื่อสนับสนุนการ บริหารจัดการในภาคอุตสาหกรรมการบิน ดวยการ ใชประโยชนจากขอมูลในการพัฒนาระบบแมจะยัง อยูในชวงเริ่มตนก็ตาม ดังนี้ “ปจจุบันการเก็บและการ Share ขอมูล ในภาคอุตสาหกรรมการบินยังคงอยูในชวงของการ พัฒนาและยังไมสมบูรณ แตทงั้ นีใ้ นระดับสายการบิน

น.อ.ดร.ปกรณ เนื่องฤทธิ์ วศ.กรง.ชอ.

OEM and MROs ขนาดใหญนั้น ไดเริ่มพัฒนา Platform and Solution ที่คอนขางเปนไปดวยดี ซึ่งหากเรามองไปในทศวรรษหนา Supplier OEM and MROs อื่ น ๆ จะเริ่ ม มองเห็ น ประสิ ท ธิ ภ าพ ที่เพิ่มขึ้นอยางมหาศาลจากการใชขอมูลที่ถูกตอง โดยเฉพาะขอมูลการวิเคราะหเชิงพยากรณในรูปแบบ การบํารุงรักษาที่สมบูรณแบบนั้น จะเปนประโยชน อยางยิ่งทั้งตัว Supplier เอง ตลอดจนลูกคาและ ผูใ ชบริการ เกีย่ วกับการบริหารจัดการ Stock อะไหล รวมไปถึ ง ความเคลื่ อ นไหว Lead Time และ กําหนดการไดรบั พัสดุ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพภายใตหว งโซ อุปทาน (Supply Chain)” ในบทความนี้จะนําเสนอตัวอยาง Aviation Data Platform ของขอมูลทางดานอุตสาหกรรม การบิ น จํ า นวน 5 Platforms ที่ กํ า ลั ง เป น กลุ  ม Solution หลัก ในการผลักดันและเปนเครื่องมือ สําคัญของบริษัทอุตสาหกรรมการบิน และ MRO ขนาดใหญ ที่ จะก า วเข า สู  ความเป นเลิ ศทางด าน ดิจิตอลอยางเต็มรูปแบบ เพื่อแสดงใหเห็นวาขอมูล แบบ Big Data นั้น จะมีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลง และมี ผ ลกระทบอย า งไรทั้ ง OEM and MROs ขนาดใหญและเล็กในอนาคตทางดานอุตสาหกรรม การบิน ซึ่งรวมไปถึงลูกคาและผูใชบริการ


70

Platform Skywise ที่อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกใชในปจจุบัน

Skywise Skywise เปน Platform and Solution ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากความร ว มมื อ ระหว า ง Palantir Technologies และ บริษัท Airbus ซึง่ ทําการเปดตัว ในการใชงานในป พ.ศ.๒๕๖๐ โดยเกิ ด จากแนวคิ ด เริ่ ม ต น ในการพั ฒ นา Platform ขอมูลการบินดวยจุดมุงหมายเพื่อนําไปสู การเปน Platform เดียวกันของขอมูล Supplier ภายใต Supply Chain เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การดําเนินงาน ผลลัพธทางธุรกิจ และเพื่อสนับสนุน การแปลงสูการเปน Digital เต็มรูปแบบ นับตั้งแต ก อ ตั้ ง ขึ้ น Skywise ได ก ลายเป น ที่ ย อมรั บ อย า ง กวางขวางทั่วทั้งอุตสาหกรรมการบิน ดวยแนวคิด ที่ใหผูใชทุกคนมีจุดเชื่อมตอเดียวกันในการไดรับ ขอมูล พรอมทั้งการ Share ขอมูลรวมกันจากทุก Suppliers ภายใตระบบคลาวดที่ปลอดภัย Platform ดังกลาวสรางขึ้นเพื่อรวบรวม และแบงปนขอมูลสายการบินของ Supplier จาก คําสั่งการใชขอมูลอะไหล ผลบันทึกของอุปกรณผาน Sensors ที่ติดตั้ง ตารางและชั่วโมงการบินที่เปน ปจจุบันของ Fleet รวมทั้งแหลงขอมูลที่ใชรวมกัน แบบดั้งเดิมของ บริษัท Airbus เชน รายงานการ ตรวจสอบสภาพอากาศยาน การเปลีย่ นชิน้ สวนขอมูล

อากาศยาน และเอกสารทางเทคนิค ซึ่งการรวมและ บูรณาการขอมูลภายใต Platform and Solution เดี ย วกั น นี้ ทํ า ให ก ารวิ เ คราะห แ ละการตั ด สิ น ใจ มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สงผลใหปจจุบัน Platform ดังกลาวมีสายการบินมากกวา ๑๐๐ สายการบิน ทั่วโลก ไดเขารวมและ Share ขอมูลในรูปแบบ Big Data กั น อย า งกว า งขวาง ซึ่ ง สายการบิ น และ ผูประกอบการสามารถใชในการดําเนินงานไดเปน อยางดี โดยมีรายละเอียด Platform หลัก ๆ ดังนี้ Skywise Core for Airlines เปน Platform ขอมูลองคกรทีโ่ ดดเดนสําหรับ อุ ต สาหกรรมการบิ น สายการบิ น ทั่ ว โลกกํ า ลั ง ใช Platform ดังกลาว เพื่อรวมขอมูลจํานวนมหาศาลไว ในแผนกบริการ โดยมีจุดเดนในการแจงเตือนทาง วิศวกรรมและความนาเชื่อถือ (Engineering and Reliability Alerting) สนับสนุนความปลอดภัย (Safety) ลดตนทุน ดวยการตัดสินใจที่ขับเคลื่อน ดวยการเก็บขอมูลผาน Sensors ที่ติดตั้งกับอุปกรณ มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจสนับสนุนพัสดุอะไหล ได อ ย า งรวดเร็ ว ป อ งกั น ความล า ช า และลดพั ส ดุ Aircraft On Ground Service (AOGs) ดวยการ แสดงผลแบบ Dash Boarding and Visualization และมีการโตตอบขอมูลแบบ Real Time


ข่าวทหารอากาศ

Skywise Digital Solutions พัฒนาแนวคิดมาจากความต้องการในการ แก้ปัญหาแบบ Real Time และการซ่อมบ�ารุงเชิง พยากรณ์ ด้วยการประยุกต์และบูรณาการข้อมูลจาก Sensors ทีต่ ดิ ตัง้ กับอากาศยาน เพือ่ ท�าการวิเคราะห์ สาเหตุ การแก้ไขข้อขัดข้อง เพื่อให้สามารถตัดสินใจ บ�ารุงรักษาได้ทันเวลา ภายใต้ความน่าเชื่อถือของ ข้อมูลทางด้านเทคนิคและมีความเป็น Airworthiness อย่างต่อเนื่อง Skywise Core for Suppliers เป็น Platform ส�าหรับอุตสาหกรรมการบิน และ Supplier เพื่อ Share และวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ร่วมกันภายใต้ Supply Chain เพือ่ ให้เกิดการตัดสินใจ ที่เหมาะสม ทั้งในส่วน Root Cause Analysis จาก สถิติการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่อากาศที่ช�ารุด การตรวจสอบข้อขัดข้องเพื่อก�าหนดแนวทางการ บ�ารุงรักษา การปรับปรุงการผลิต การวางแผนการ จัดส่งพัสดุอะไหล่ เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งมอบล่าช้า ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการผลิต การบริหารการจัดเก็บ พัสดุคงคลัง รวมไปถึงการให้บริการการแลกเปลี่ยน อะไหล่

71

Honeywell Forge Platform การวิเคราะห์ขอ้ มูล Honeywell Forge ได้ ท ดลองใช้ ค รอบคลุ ม ในหลายภาค อุตสาหกรรมมาก่อนโดยส�าหรับที่ใช้ในอุตสาหกรรม การบินนัน้ ได้รบั การเปิดตัวในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ใจความ หลักของ Platforms ดังกล่าว มุ่งเน้นความสามารถ ในการ Health and Monitoring แบบพยากรณ์ ล่วงหน้าผ่านการรวบรวมการใช้งานและวิเคราะห์ของ ชิน้ ข้อมูลอะไหล่ตามแหล่งการใช้งาน โดยจุดเด่นของ Platforms ดังกล่าว มีจุดแข็งในการให้ข้อมูลเชิงลึก แบบ Real Time ซึ่งตอบสนองทั้งทางด้านเทคนิค และการบริหารจัดการด้านงบประมาณของลูกค้าและ สายการบิน ในปัจจุบัน Honeywell Forge ได้มีแผน เชิงกลยุทธ์ลา่ สุดเพือ่ ตอบสนองความต้องการทีเ่ พิม่ ขึน้ ส�าหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและ Solution การสร้าง แบบจ� า ลองการพยากรณ์ ร่ ว มกั บ Platform อุ ต สาหกรรมการบิ น ของ Lufthansa Technik ซึ่งคือ AVIATAR เพื่อปรับปรุงความพร้อมใช้งาน ของเครื่องบินของลูกค้า ผ่านทางการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การบูรณาการข้อมูลเพื่อน�ามาวิเคราะห์ให้สามารถบ�ารุงรักษาภายใต้ Supply Chain ที่เหมาะสม


72

AVIATAR Lufthansa Technik ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านนวัตกรรมดิจิตอลมาหลายปีแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งใน MROs ชั้นน�าของโลกที่อยู่ในแนวหน้าของนวัตกรรม ในฐานะ MRO 4.0 Lufthansa Technik ได้ ท� า การเปิ ด ตั ว Platform ทางด้านการบินแบบ Digital บนระบบ คลาวด์ ภ ายใต้ ชื่ อ AVIATAR ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ และมีความก้าวหน้าของในการพัฒนา Platform ดังกล่าวมาอย่างต่อเนือ่ ง ด้วยการสร้าง Application ที่ครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ระบบ การตรวจสอบสภาพและตัวชี้วัดประสิทธิภาพ การใช้งานอากาศยานอย่างสมบูรณ์ โดยจุดเด่นคือ การออกแบบให้อสิ ระในการใช้งานและ Share ข้อมูล ระหว่างกัน รวมไปถึงพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการใช้ ข้อมูลระบบบ�ารุงรักษาจากสายการบินและแหล่ง ข้อมูลทางเทคนิคภายนอกอื่น ๆ จากนั้นจะเปลี่ยน ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ตาม โมดูลต่าง ๆ ดังนี้

Monitor and Explore จัดล�าดับความส�าคัญและแจ้งเตือนข้อมูล แบบ Real Time ของอากาศยานทัง้ ในส่วน สถานภาพ อากาศยานเละรายงานข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น เพื่อสร้าง ความเป็น Reliability ของ Aircraft Fleet Predict and Avoid วิเคราะห์เชิงพยากรณ์ เพื่อป้องกันความ ล่าช้าอันมีสาเหตุมาจากพัสดุ AOG จนท�าให้สง่ ผลต่อ เทีย่ วบิน ก�าหนดแนวทาง Predictive Maintenance ด้ ว ยการวิ เ คราะห์ เ ชิ ง พยากรณ์ แ ละระบุ แ นวโน้ ม ข้อขัดข้องของ Aircraft Fleet Optimize เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการ วางแผน ด้วยการก�าหนดแนวทางการปฏิบตั แิ ละการ บ�ารุงรักษาภายใต้ทรัพยากร งบประมาณ ก�าลังคน และเวลาที่เหมาะสม Automate ผสานรวม Solution ของข้อมูล Suppliers ที่หลากหลายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chains) แบบอัตโนมัตทิ งั้ ในส่วนแผนการบ�ารุงรักษา ค�าสัง่ ด้าน โลจิสติกส์ ตลอดจนการควบคุมการผลิตแบบครบวงจร

การจัดล�าดับความส�าคัญ และการแจ้งเตือนแบบ Real Time ของอากาศยาน


ข่าวทหารอากาศ

การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ เพื่อป้องกันความล่าช้าของการส่งพัสดุ

การเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนโดยการก�าหนดแนวทางการปฏิบัติ และการบ�ารุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ

การผสาน และเชื่อมโยงข้อมูลใน Supply Chain

73


74

Flight Deck Platform Flight Deck ของ Beep Analytics ได้ รั บ การออกแบบและพัฒนา เพื่อสู่จุดมุ่งหมาย ในการแก้ไขการก�ากับดูแลและแก้ปัญหาอันเกิดจาก ข้อมูลจ�านวนมากของ Supplier and MROs ด้วย การรวบรวมและจัดเรียงข้อมูลผ่านการผสมผสาน ข้ อ มู ล ทั้ ง หมดเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างข้อมูลเชิ ง ลึ ก เกี่ยวกับลักษณะของตลาดส�าหรับ Supplier and MROs เพื่อแสดงให้เห็น Customer Segment ตลอดจนการวิเคราะห์ SWOT Analysis ทีค่ รอบคลุม การบริการหลังการขาย ให้กับลูกค้า เพื่อช่วยให้ การวางแผน Supply Chain ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น Jens Peder Pedersen ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ของ Beep Analytics ได้กล่าวว่า “หาก Suppliers ยังไม่สามารถเข้าใจได้วา่ รายการความต้องการชิน้ ส่วน อะไหล่อากาศยาน รายการใดที่เป็นความต้องการ พืน้ ฐานทัง้ ในส่วนการซ่อมบ�ารุงตามวงรอบปกติ และ กลุ่มรายการใดที่เป็นรายการความต้องการที่ต้องมี เพียงพอในการรองรับอันเนือ่ งมาจากการใช้งานแบบ

อ้างอิง

Unscheduled จะส่งผลกระทบต่อการวางแผน Stock อะไหล่ที่เพียงพอแลมีประสิทธิภาพในการ แข่งขันที่ต�่า ซึ่งจุดแข็งของ Beep Analytics คือการ ทีท่ า� ให้รวู้ า่ จะท�าอย่างไรเพือ่ ให้ได้มายังการวิเคราะห์ ข้อมูลและน�าไปสู่ภาคการปฏิบัติเหล่านี้นั่นเอง” Enspan การพัฒนาระบบนิเวศของ Supply Chain นี้เริ่มต้น โดยบริษัท Deloitte ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ด้วยการแปลงข้อมูลส่วนอากาศยานให้เป็น Digital โดยใช้ Block Chain เป็น Platform หลัก ตัง้ แต่นนั้ มา Enspan ได้ ข ยายรู ป แบบในการรวมข้ อ มู ล ของ อุตสาหกรรมการบินภายใต้ Supply Chain มากขึ้น โดย Focus การพัฒนา Solution แบบ Application บนมือถือ ที่ให้ข้อมูลประวัติการติดตามการใช้งาน และประสิทธิภาพของชิ้นข้อมูลอะไหล่อากาศยาน ด้วยการตั้งค่าการแบ่งปันข้อมูลนั้นอย่างปลอดภัย กับฝ่ายต่าง ๆ ภายในและระบบนิเวศข้อมูลทั้งลูกค้า และบริษัท Suppliers ภายใต้จุดแข็งโครงสร้างฐาน ข้อมูลและเอกสารประกอบขนาดใหญ่ ทีม่ กี ารแบ่งปัน ภายใต้เงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง

- https://blog.satair.com/ 5-aviation-data-platforms-to-keep-your-eye-on


ข่าวทหารอากาศ

75

ʶҺѹ෤â¹âÅÂÕ»‡Í§¡Ñ¹»ÃÐà·È (ͧ¤ ¡ÒÃÁËÒª¹) ¡ÃзÃǧ¡ÅÒâËÁ

Defence Technology Institute (Public Organisation) Ministry of Defence, The Kingdom of Thailand

รอบรูเทคโนโลยีปองกันประเทศ

¡ÒõԴµÒÁá¹Ç⹌Á à·¤â¹âÅÂÕÂÒ¹äÃŒ¤¹¢Ñº Pentagon àÅ秨ѴµÑ§é Êíҹѡ§Ò¹µ‹ÍµŒÒ¹ÍÒ¡ÒÈÂÒ¹äÃŒ¤¹¢Ñº กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกากําลังอยู ในระหวางการจัดตั้งสํานักงานตอตานอากาศยาน ไร ค นขั บ ภายหลั ง จากที่ มี ก ารประชุ ม หารื อ กั บ หนวยงานดานความมั่นคงเพื่อติดตามสถานการณ ดานภัยคุกคามโดยทีผ่ แู ทนหนวยมีมติตรงกันถึงความ จําเปนในการตอตานอากาศยานไรคนขับ โดยเฉพาะ จากสถานการณที่ผานมาที่มีการใชโดรนขนาดเล็ก ในพื้นที่ที่มีความขัดแยงในภูมิภาคตะวันออกกลาง ดังนัน้ กองทัพจําเปนตองมีการเตรียมการและปรับตัว รับมือกับภัยคุกคามดังกลาวอยางเรงดวนสําหรับ สํานักงานตอตานอากาศยานไรคนขับ จะมีอัตรา เจาหนาที่ประมาณ ๖๐ คน เพื่อมาทําหนาที่ในการ ศึกษาการพัฒนาเทคโนโลยีการตอตานอากาศยาน ไรคนขับของหนวยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม แบบรวมศูนย รวมทั้งทําการคัดเลือกระบบตอตาน อากาศยานไรคนขับที่เหมาะสม การจัดตั้งสํานักงานนี้ จะดําเนินการแบบ บูรณาการ ซึ่งขณะนี้กําลังอยูในระหวางการประเมิน ระบบต อ ต า นอากาศยานไร ค นขั บ ที่ มี ก ารจั ด ซื้ อ และประจํ า การในกองทั พ ในขณะนี้ ซึ่ ง คาดว า การประเมินจะเสร็จสมบูรณในไตรมาสทีส่ องของปนี้ ทั้ ง นี้ ท าง Pentagon ยอมรั บ ว า ระบบต อ ต า น

อากาศยานไรคนขับจะตองประกอบดวยอุปกรณ ตรวจจั บ ที่ ห ลากหลาย ทั้ ง ในด า นของการค น หา และสกัดกั้น ควบคูไปกับโครงขาย (Command, Control, Communications, Computers, Intelligence, Surveillance และ Reconnaissance: C4ISR) ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง ที่ ผ  า นมากระทรวง กลาโหมสหรัฐอเมริกามีความพยายามในการพัฒนา ขีดความสามารถดานการตอตานอากาศยานไรคนขับ มาอยางตอเนื่อง แตเหตุการณในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่คลังนํ้ามัน Aramaco ถูกโจมตีนั้นกระตุนใหเห็นถึงภัยคุกคาม จากโดรนกอการรายและทําใหเทคโนโลยีที่ใชในการ ตอตานไดรับความสนใจมากยิ่งขึ้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ยอมรับวา ป จจุ บันกํ า ลั ง เผชิ ญ หน า กั บความท า ทายอย า งยิ่ ง ในการต อ ต า นอากาศยานไร ค นขั บ เนื่ อ งจากภั ย คุ ก คามมี ก ารพั ฒ นาอย า งต อ เนื่ อ งอย า งรวดเร็ ว ทั้ ง ในด า นของเทคโนโลยี แ ละยุ ท ธวิ ธี ซึ่ ง เรื่ อ งนี้ ทางต น สั ง กั ด ให ค วามสํ า คั ญ และการสนั บ สนุ น ทั้งในดานของนโยบายและงบประมาณอยางเต็มที่ ซึง่ การตอตานอากาศยานไรคนขับเปนหนึง่ ในเปาหมาย ๔ ดาน หลักของการพัฒนาขีดความสามารถกองทัพ


76

ส� ำ หรั บ งบประมำณนั้ น ในปี ที่ ผ ่ ำ นมำ กระทรวงกลำโหมสหรัฐอเมริกำทุ่มงบประมำณรำว ๙๐๐ ล้ ำ นดอลลำร์ ไ ปกั บ เทคโนโลยี ก ำรต่ อ ต้ ำ น อำกำศยำนไร้คนขับโดยกองทัพบกสหรัฐอเมริกำ ได้จดั ซือ้ ระบบต่อต้ำนอำกำศยำนไร้คนขับจำกบริษทั SRC แบบ Vehicle-integrated Silent Archer Counter-drone System ซึ่งประกอบไปด้วยเรดำร์ กล้องและอุปกรณ์รบกวนคลื่นวิทยุ เพื่อใช้ในกำร ค้ น หำ ติ ด ตำม และสกัดกั้นอำกำศยำนไร้ค นขั บ ขนำดเล็ก โครงกำรนี้มีมูลค่ำ ๑๐๘ ล้ำนดอลลำร์ นอกจำกนี้กองทัพบกอยู่ในระหว่ำงกำรศึกษำและ พัฒนำเทคโนโลยี Directed Energy ส�ำหรับกำร ต่ อ ต้ ำ นอำกำศยำนไร้ ค นขั บ อี ก ด้ ว ย ในขณะที่ กองทัพอำกำศสหรัฐอเมริกำ ได้จัดซื้อระบบต่อต้ำน อำกำศยำนไร้ ค นขั บ จำกบริ ษั ท Ascent Vision Technologies ภำยใต้โครงกำร eXpeditionary Mobile Air Defense Integrated System program ซึ่งระบบนี้ประกอบไปด้วย เรดำร์ กล้อง อุ ป กรณ์ ต รวจจั บ คลื่ น วิ ท ยุ และอุ ป กรณ์ ร บกวน คลื่นวิทยุ เป็นมูลค่ำ ๒๓ ล้ำนดอลลำร์

ส�ำหรับในปี ๖๓ กระทรวงกลำโหมสหรัฐ อเมริกำมีแผนที่จัดสรรงบประมำณเพิ่มเติมอีก ๕๐๐ ล้ ำ นดอลลำร์ โดยมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะจั ด ท� ำ แนวทำง กำรจัดหำอุปกรณ์ต่อต้ำนอำกำศยำนไร้คนขับแบบ บูรณำกำรเป็นองค์รวมส�ำหรับหน่วยงำนในสังกัด กระทรวงกลำโหมซึง่ ทีผ่ ำ่ นมำอุปกรณ์ตอ่ ต้ำนอำกำศยำน ไร้คนขับท�ำงำนแบบเอกเทศน์หรือแยกกัน ท�ำให้ ไม่เกิดกำรบูรณำกำรทำงด้ำนทรัพยำกร ซึ่งภำยใต้ กำรด� ำ เนิ น งำนของส� ำ นั ก งำนต่ อ ต้ ำ นอำกำศยำน ไร้คนขับนี้ กระทรวงกลำโหมสหรัฐฯ วำงแผนที่จะ ให้อุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทต่ำง ๆ ท�ำงำนร่วมกัน ได้อย่ำงเป็นระบบที่มีกำรเชื่อมต่อกันแบบโครงข่ำย กำรด�ำเนินงำนด้ำนกำรต่อต้ำนอำกำศยำน ไร้คนขับของกระทรวงกลำโหมสหรัฐอเมริกำในระดับ นโยบำยและงบประมำณ แสดงให้เห็นถึงควำมตืน่ ตัว และควำมชัดเจนของภัยคุกคำมจำกอำวุธในรูปแบบ ของอำกำศยำนไร้ ค นขั บ ขนำดเล็ ก ที่ จ ะยั บ ยั้ ง ได้ ด้วยกำรบูรณำกำรเทคโนโลยีและพัฒนำหลักนิยม ร่วมกำรต่อต้ำนอำกำศยำนไร้คนขับแบบองค์รวม จึงจะมีประสิทธิภำพ

ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับจากบริษัท Ascent Vision Technologies


ข่าวทหารอากาศ

77

อากาศยานไร้คนขับชนิดเครื่องร่อน แบบ GD-2000

บริ ษั ท Yates Electrospace Corp., พั ฒ นาอากาศยานไร้ ค นขั บ แบบล� า เลี ย งด้ ว ยวั ส ดุ กระดาษ ถื อ ได้ ว ่ า เป็ น นวั ต กรรมทางความคิ ด แห่งวงการอากาศยานไร้คนขับ เมื่อบริษัท Yates Electrospace Corp., สหรัฐอเมริกา สร้างต้นแบบ อากาศยานไร้ ค นขั บ ส� า หรั บ การล� า เลี ย งด้ ว ยวั ส ดุ ประเภทกระดาษ ที่ ต อบโจทย์ กั บ ความต้ อ งการ อากาศยานไร้คนขับล�าเลียงของหน่วยนาวิกโยธิน ที่ต้องการอากาศยานไร้คนขับที่ใช้ในภารกิจส่งก�าลัง บ�ารุง โดยมีคุณลักษณะส�าคัญได้แก่ ความแม่นย�า ในการล�าเลียงที่ดีกว่าร่มแบบติดตั้งด้วย GPS และมี ต้ น ทุ น ต�่ า ทางบริ ษั ท ฯ จึ ง มี ค วามคิ ด ที่ จ ะพั ฒ นา อากาศยานร่อนไร้คนขับส�าหรับการส่งก�าลังบ�ารุง ที่ มี โ ครงสร้ า งขึ้ น รู ป มาจากวั ส ดุ ป ระเภทกระดาษ โดยตั้งชื่อเรียกว่า GD-2000 มีขนาด ๒x๒x๘ ฟุต ซึ่งล่าสุดได้มีการทดสอบต้นแบบ โดยท�าการปล่อย ออกจากเครื่องบิน C-130 ที่ระดับความสูง ๒๕,๐๐๐ ฟุต เพือ่ ให้รอ่ นไปในแนวระนาบทีร่ ะยะ ๔๐ กิโลเมตร ปัจจุบันทางหน่วยผู้ใช้เสนอความต้องการ ทางเทคนิคเพิม่ เติมในประเด็นของระบบน�าร่องทีเ่ ป็น อั ต โนมั ติ แบบปราศจากการส่ ง สั ญ ญาณควบคุ ม ผ่าน Data Link เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมทาง

อิเล็กทรอนิกส์หรือการถูกรบกวนสัญญาณ ซึ่งทาง บริษทั ก�าลังอยูใ่ นระหว่างการศึกษาและระบบควมคุม การบินที่มีใช้งานทั่วไปในแบบที่เป็น Open Source ที่ พ ร้ อ มน� า มาดั ด แปลงและพั ฒ นาต่ อ ยอดไปได้ อย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้ Open Source จะช่วยก้าวข้าม ข้อจ�ากัดในเรือ่ งของ International Traffic in Arms Regulations และจะช่วยให้โดรนมีราคาต่อหน่วย ๑๕,๐๐๐ ดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคาต�่ากว่าการล�าเลียง ด้วยร่ม ที่ ผ ่ า นมา ทางบริ ษัท ฯ ได้ จ�าหน่ า ยให้ กับ มิ ต รประเทศไปแล้ ว ๒,๐๐๐ หน่ ว ย โดยล่ า สุ ด บริ ษั ท ฯ ก� า ลั ง ด� า เนิ น โครงการ “Silent Arrow Airdrop Development” ร่วมกับ US Special Operations Command หรือ USSOCOM ซึ่งมี คณะท�างานร่วมกับ Air Force Special Operations Command (AFSOC) และ U.S. Army 160 th Special Operations Aviation Regiment (SOAR) และอยู ่ ใ นระหว่ า งทดสอบและทดลองต้ น แบบ ที่ ส ามารถร่ อ นจากจุ ด ปล่ อ ยไปยั ง พื้ น ที่ เ ป้ า หมาย ได้ที่ระยะไกลกว่า ๕๐ กิโลเมตรและสามารถล�าเลียง สัมภาระที่มีน�้าหนักรวมได้มากถึง ๗๕๐ กิโลกรัม


78

ต้นแบบยานผิวน�้าไร้คนขับของโครงการ Ghost Fleet Overlord

การใช้เครือ่ งร่อนในการล�าเลียงและส่งก�าลัง บ�ารุงเป็นแนวคิดที่ได้รับการน�าไปใช้ในทางปฏิบัติ ช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ อย่างมีประสิทธิภาพ การน�า แนวคิ ด ดั ง กล่ า วมาหลอมรวมกั บ ความต้ อ งการ ของหน่ ว ยผู ้ ใ ช้ ที่ ต ้ อ งการอากาศยานล� า เลี ย งที่ มี ต้นทุนต�่าไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างแม่นย�า ด้ ว ยเทคโนโลยีด้านระบบควบคุมการบินที่พ ร้ อ ม ใช้งานในปัจจุบัน ก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่สอด ประสานกั บ ความต้ อ งการทางด้ า นยุ ท ธวิ ธี แ ละ ยุ ท ธการที่ น อกจากจะประหยั ด และแม่ น ย� า แล้ ว การเป็นเครื่องร่อนช่วยให้ GD-2000 มีข้อได้เปรียบ ที่ยากต่อการถูกตรวจจับยังเนื่องจากเป็นเครื่องร่อน บินไปยังเป้าหมายโดยไม่ตอ้ งใช้เครือ่ งยนต์ เหมาะกับ การส่งก�าลังบ�ารุงไปยังพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล พื้นที่ที่มี การใช้ก�าลังทางทหาร หรือการใช้ในภารกิจบรรเทา สาธารณภัยได้เป็นอย่างดี ยานผิวน�้าไร้คนขับ ประเทศจีนก�าลังย่างก้าวไปสูก่ ารเป็นประเทศ มหาอ�านาจทางทะเล หากท�าการวัดจากปริมาณ เรือรบทีป่ ระเทศจีนมีประจ�าการในขณะนีก้ ว่า ๓๐๐ ล�า เที ย บกั บ กองทั พ เรื อ สหรั ฐ อเมริ ก าที่ มี เ รื อ จ� า นวน ๒๘๗ ล�า รัสเซีย ๘๓ ล�า สหราชอาณาจักร ๗๕ ล�า และออสเตรเลีย ๔๘ ล�า เป็นเหตุให้กองทัพเรือ สหรัฐอเมริกาต้องกลับมาทบทวนแนวทางการพัฒนา ขีดความสามารถอย่างเร่งด่วน เนื่องจากที่ผ่านมานั้น สหรัฐอเมริกามุง่ ต่อเรือทีม่ สี มรรถนะสูง เต็มเปีย่ มด้วย เทคโนโลยีระบบอาวุธและระบบสนับสนุนอันทันสมัย ซึง่ มีราคาสูงและใช้เวลานานกว่าจะเข้าประจ�าการได้ หากยังคงยึดกับหลักการเดิม อาจจะส่งผลกระทบ ต่อการครอบครองอิทธิพลทางทะเลได้ จึงเกิดการ

ผลักดันให้เร่งพัฒนาเรือผิวน�้าไร้คนขับ พร้อมกับ ศึกษา Concept of Operation (CONOP) เพือ่ ด�ารง ศักดิ์สงครามทางทะเล โดยจะเริ่มต้นจากการพัฒนา ต้นแบบเรือผิวน�้าไร้คนขับขนาดกลางและขนาดใหญ่ หนึ่งในโครงการยานผิวน�้าไร้คนขับที่อยู่ใน ระหว่างการด�าเนินการคือโครงการ Ghost Fleet Overlord ซึง่ เป็นการสร้างต้นแบบเรือผิวน�า้ ไร้คนขับ ที่ติดตั้งด้วยระบบน�าร่องแบบอัตโนมัติ แล้วท�าการ ทดสอบให้ เ ป็ น ไปตาม Convention on the International Regulations for Preventing Collisions at Sea (COLREGS) เพือ่ ให้สอดคล้องกับ หลักการด้านความปลอดภัยและการท�างานแบบ อัตโนมัติ โดยโครงการในระยะที่ ๑ ได้สิ้นสุดลง ภายหลังจากที่ได้ท�าการทดสอบไปกว่า ๖๐๐ ชั่วโมง พร้อมกับต้นแบบเป็นจ�านวน ๒ ล�า ไปเมื่อเดือน กันยายน ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ส�าหรับโครงการในระยะที่ ๒ นัน้ ก�าลังอยูใ่ น ระหว่างการด�าเนินการ โดยจะพัฒนาต่อยอดจาก ต้นแบบในระยะที่ ๑ ซึ่งจะเพิ่มการเชื่อมต่อกับระบบ ควบคุ ม และบั ง คั บ บั ญ ชา เพื่ อ จะทดสอบภายใต้ สภาพแวดล้ อ มที่ จ� า ลองการปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ที่ มี ความเสมื อ นจริ ง ก่ อ นที่ จะส่ ง มอบให้ ก องทั พ เรื อ ได้ น� า ไปทดลองใช้ ง านในปี ค.ศ.2021 ผลจาก โครงการนีถ้ อื เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค การพิสูจน์แนวคิดทางวิศวกรรมและการคัดเลือก เทคโนโลยีเพื่อจะน�าไปขยายผลเพื่อใช้ส�าหรับพัฒนา เรื อ ผิ ว น�้ า ไร้ ค นขั บ ที่ มี ข นาดใหญ่ ขึ้ น ในโครงการ Large and Medium USV Programs ที่กองทัพเรือ สหรั ฐ อเมริ ก าตั้ ง เป้ า ไว้ ว ่ า จะเป็ น เรื อ ที่ มี ข นาด เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับเรือ Offshore Patrol


ข่าวทหารอากาศ

Vessel (OPV) ที่ล่าสุดสภาสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติ งบประมาณกว่า ๒๐๐ ล้านดอลลาร์ ส�าหรับสร้างเรือ ต้นแบบสองล�า นอกจากโครงการข้างต้นแล้ว กองทัพเรือ สหรัฐอเมริกายังมีโครงการเรือผิวน�้าไร้คนขับแบบ Sea Hunter ที่เป็นผลงานวิจัยขององค์กร DARPA ภายใต้ชื่อโครงการ Anti-Submarine Warfare Continuous Trail Unmanned Vessel (ACTUV) มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาและพัฒนาต้นแบบเรือผิวน�า้ ไร้ ค นขั บ ส� า หรั บ ภารกิ จ ต่ อ ต้ า นเรื อ ด� า น�้ า โดยได้ เริ่มต้นในปี ค.ศ. 2016 และได้ส่งมอบให้กองทัพเรือ น�าไปใช้ทดสอบและทดลองไปแล้ว เรื อ ผิ ว น�้ า ไร้ ค นขั บ แบบ Sea Hunter มี ความยาว ๔๐ เมตร น�้าหนัก ๑๓๕ ตัน มีโครงสร้าง แบบ Trimaran ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล สองเครื่อง ท�าความเร็วสูงได้ ๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีระยะปฏิบัติการ ๑๙,๐๐๐ กิโลเมตรปฏิบัติการ ต่อเนือ่ งได้ เป็นเวลา ๗๐ วัน โดยไม่ตอ้ งมีการส่งก�าลัง บ� า รุ ง และถู ก ออกแบบมาให้ ป ฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ได้ ในสภาพทะเลที่มีคลื่นลมแรงถึง Sea State 7 หรือ เทียบเท่ากับความสูงของคลื่น ๖ ถึง ๙ เมตร) Sea Hunter เป็นเรือผิวน�้าไร้คนขับที่ไม่ได้ ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการบนเรือ จะมีเพียงพื้นที่และเครื่องมือในการปรนนิบัติบ�ารุง และอุ ป กรณ์ ค วบคุ ม เรื อ ส�า หรั บ ใช้ ใ นกรณี ฉุ ก เฉิ น

79

เท่านั้น ซึ่งหากทดสอบเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ ก�าหนดไว้ Sea Hunter จะสามารถติดอาวุธและ ใช้ในการต่อต้านเรือด�าน�้าหรือต่อต้านทุ่นระเบิด โดยมี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยโดยเฉลี่ ย ต่ อ วั น เพี ย ง ๑๕,๐๐๐๒๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ซึ่งประหยัดกว่ามาก หากเทียบ กับเรือที่มีเจ้าหน้าที่ประจ�าบนเรือที่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง ๗๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน อย่างไรก็ตามก่อนที่ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา จะน�ายานผิวน�้าไร้คนขับเข้าประจ�าการได้จะต้องมี การพัฒนา CONOP ยานผิวน�้าไร้คนขับในภารกิจ การต่ อ ต้ า นเรื อ ด� า น�้ า การต่ อ ต้ า นทุ ่ น ระเบิ ด การลาดตระเวนและตรวจการณ์ การส่งก�าลังบ�ารุง และการโจมตี ร วมทั้ ง ศึ ก ษาปั จ จั ย ด้ า นเทคโนโลยี ที่อาจจะมีการติดตั้งด้วย Aegis Combat System ในอนาคต แต่ทั้งนี้ เรือผิวน�้าไร้คนขับจะยังไม่เข้ามา ทดแทนเรือรบในห้วงเวลา ๑๐ ปี นี้ เพียงแต่จะเริ่ม เข้ามาเพิม่ ขีดความสามารถให้กบั กองเรืออย่างแน่นอน ทั้งในด้านของการต่อระยะตรวจการณ์ การสร้าง ความตระหนักรูใ้ นสถานการณ์ หรือใช้เป็นฐานในการ โจมตีจากระยะไกล โดยทีไ่ ม่ตอ้ งส่งเรือ Capital Ship เข้ า ไปในรั ศ มี ท� า การของจรวดน� า วิ ถี ต ่ อ ต้ า นเรื อ ฝ่ายข้าศึก ช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่บนเรือที่อย่างน้อยมีเจ้าหน้าที่บนเรือ ออกไปอีกด้วย

เรือผิวน�้ำไร้คนขับ Sea Hunter


80

Digital HUMINT ËÃ×Í ÊÒÂÅѺ´Ô¨Ô·ÑÅ ร.ต.พอภัทร สดสรอย

อริ ส โตเติ้ ล นั ก ปราชญ ผู  ยิ่ ง ใหญ ข องกรี ก ไดกลาวไววา “มนุษยเปนสัตวสงั คม (Human being is social animal)” เพราะมนุษยมีการอาศัยอยู รวมกันอยางเปนหมวดหมู มิไดใชชวี ติ อยูเ พียงคนเดียว ตามลําพังแตอยางใด เนือ่ งจากมนุษยตอ งทํากิจกรรม รวมกันอยูตลอดเวลา ตองพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแตละชีวิตตางก็ตองการที่จะเสริมสรางความสุข ความมั่นใจ และความปลอดภัยใหกับตนเองอยูเสมอ สังคมจึงเปนแหลงรวมศูนยทางความคิดที่มนุษย ไดสรางขึ้นมา เพื่อแสวงหาคําตอบทุก ๆ อยางใหกับ ตนเอง

จากขอสรุปทีก่ ลาววา “มนุษยเปนสัตวสงั คม” จึงเปนเครื่องชี้วา มนุษยจะแสวงหาหนทางเพื่อจะ ติ ด ต อ ปฏิ สั ม พั น ธ กั น ขณะเดี ย วกั น แม ว  า นิ ย าม เกี่ยวกับสังคมเสมือน จะยังเปนเรื่องที่มีการถกเถียง ในเรื่ อ งการจํ า แนกกลุ  ม ประเภท การระบุ ตั ว ตน แตภายใตเปาประสงคของชุมชนเสมือนทีเ่ รากลาวถึง มีองคประกอบตาง ๆ จะประกอบไปดวย บทบัญญัติ ทางสังคม ขอระเบียบ ของสมาชิกชุมชนที่จะตอง ถื อ ปฏิ บั ติ รวมถึ ง การยึ ด ถื อ หลั ก ปฏิ บั ติ เ ดี ย วกั น มีปฏิสัมพันธตอกันอยางสมํ่าเสมอ


ข่าวทหารอากาศ

ในอดีต การพัฒนาเกี่ยวกับการข่าวกรอง ทางบุคคลเสมือน ดังที่ได้ถูกก�าหนดไว้ในวงรอบการ ข่ า วกรอง ก� า เนิ ด ขึ้ น ในช่ ว งกลางของทศวรรษ ทีผ่ า่ นมา จุดเริม่ ต้นเกิดจากการวิเคราะห์กลุม่ สนทนา ออนไลน์ (Online Forum) ผ่านการปลอมตัวเข้าไป ร่ ว มแสดงความคิ ด เห็ น ด้ ว ยการตั้ ง ชื่ อ ปลอมหรื อ นามแฝงขึน้ มาโดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ รวบรวมข่าวสาร ที่ ต ้ อ งการรวมถึ ง ติ ด ตามความเคลื่ อ นไหวและ พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมาย หลักการพื้นฐานที่ส�าคัญของการข่าวกรอง ทางบุคคลคือการสร้างบรรยากาศของความไว้วางใจ กั บ บุ ค คลที่ ถู ก เลื อ กว่ า มี ค วามส� า คั ญ และจะเป็ น แหล่งข่าวที่ส�าคัญในเรื่องที่ฝ่ายเราให้ความสนใจ จัดการพบปะแบบซึ่งหน้าเพื่อต่อยอดไปสู่สร้างความ สัมพันธ์ในระยะยาวการเฝ้าติดตามการก�าหนดสภาพ แวดล้อมและอื่น ๆ ที่จะเอื้อต่อการรวบรวมข่าวสาร ตามความมุ ่ ง หมายของแผนการรวบรวมข่ า วสาร ตามความต้ อ งการที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย ที่ ก ล่ า วมา ทั้งหมดนี้จะด�าเนินการในทางลับเป็นหลัก นั บ ตั้ ง แต่ สื่ อ แห่ ง มหาปฏิ สั ม พั น ธ์ (Mass interaction) บังเกิดขึ้นมาในช่วงต้นสหัสวรรษที่ 2000 สือ่ สังคมออนไลน์กลายเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร ที่ทรงคุณค่าส�าหรับการวิเคราะห์วิจัยในหลากหลาย สาขา ประชาชนใช้เวลาในแต่ละวันไปกับการใช้งาน สื่อสังคมออนไลน์อย่างเช่น Facebook, Twitter, Instargram และอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง จากการใช้งาน สือ่ สังคมออนไลน์ทกี่ ล่าวมา Web site กลายเป็นพืน้ ที่

81

สื่อกลางที่ผู้ใช้งานสามารถใช้เป็นพื้นที่แสดงตัวตน ใช้ปฏิสัมพันธ์ ต่อกันในหนทางที่สะดวกง่ายดาย การข่าวกรองเสมือน (Virtual Intelligence) หรือ การข่าวกรองทางบุคคลเสมือน (Virtual Humint) จะให้ ค วามส� า คั ญ ต่ อ การระบุ ตั ว ตน การสรรหา บุคคล การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผ่านเทคนิคและ วิ ธี ก ารที่ ส ามารถก� า หนดคุ ณ ลั ก ษณะที่ จ ะถูกน�า มาใช้ในโลกเสมือน ตามความเข้าใจในอดีต เราจะ เชื่อว่า การข่าวกรองทางบุคคลตามรูปแบบเดิมจะไม่ สามารถน� า เอาเทคโนโลยี เ ครื อ ข่ า ยดิ จิ ทั ล มาใช้ ทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากมนุษย์จะยังด�ารง ความส�าคัญในการเข้าถึงข่าวสารโดยตรง และน�ามา ซึ่งข่าวสารที่จะใช้ส�าหรับการผลิตข่าวกรอง อย่างไร ก็ดี การข่าวกรองทางบุคคลก็มีข้อจ�ากัดอันส�าคัญ โดยเฉพาะการปรากฏตัวทางกายภาพในสภาพพื้นที่ เสี่ ย งภั ย ในอี ก แง่ มุ ม หนึ่ ง ผู ้ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ร วบรวม ข่าวสารเพื่อใช้ผลิตข่าวกรองทางบุคคลอาจจ�าเป็น จะต้องมีประสบการณ์และความรู้ด้านสังคมศาสตร์ ของพื้ น ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ ให้ ส ามารถปฏิ บั ติ ต น ให้สอดคล้องกับประชากรในท้องถิน่ ได้อย่างกลมกลืน นอกจากนี้ในโลกเสมือนมีกลไก มีเครื่องมือที่เป็น ประโยชน์หลายประการ ตัวอย่างเช่น ต�ารวจสามารถ สืบสวนความเคลื่อนไหวของเป้าหมายเพื่อน�าข้อมูล มาใช้ ใ นการตรวจสอบความน่ า เชื่ อ ถื อ ของบุ ค คล ที่จะชักชวนให้มาเป็นฝ่ายเดียวกับเรา รวมถึงใช้เป็น ข้อมูลยืนยันความถูกต้องของค�าให้การที่ได้จากการ สอบปากค�าบุคคลต้องสงสัยหรือคนร้าย


82

อิ ส ราเอลใช้ ก ารข่ า วกรองทางบุ ค คลเสมื อ น สื บ ความลั บ จากกลุ ่ ม ตั ว การก่ อ ความวุ ่ น วาย ชาวปาเลสไตน์ เจ้ า หน้ า ที่ ข ่ า วกรองทางบุ ค คลอิ ส ราเอล เข้าไปในเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์โดยใช้ช่ือปลอม แฝงตัวเข้าไปอยูใ่ นกลุม่ สังคมออนไลน์ของปาเลสไตน์ ที่เป็นตัวการในการก่อเหตุลอบท�าร้ายชาวอิสราเอล เช่นเดียวกับสายลับที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ข่าวกรองบุคคลเสมือนเป็นกลุ่ม เจ้าหน้าที่ข่าวกรองรุ่นใหม่ของอิสราเอล มีหน้าที่ ติ ด ตามรวบรวมข่ า วสารเกี่ ย วกั บ ภั ย คุ ก คามและ แนวโน้ ม ภั ย คุ ก คามจากกลุ ่ ม เยาวชนชาวอาหรั บ ที่ เ คลื่ อ นไหวอยู ่ ใ นชุ ม ชนโลกดิ จิ ทั ล โดยตั ว บุ ค คล แท้จริงของเยาวชนกลุ่มนี้พ�านักอยู่ในค่ายผู้อพยพ ปาเลสไตน์ ข้อมูลจากเว็บไซต์หน่วยข่าวกรองอิสราเอล Debkafile ระบุว่า สายลับเสมือนแฝงตัวเข้าไปใน กลุม่ ก่อการร้ายโดยอาศัยความคล่องแคล่วทางภาษา อารบิคใช้สอื่ สังคมออนไลน์อย่างเช่น Facebook หรือ Twitter ประกาศขอรับค�าแนะน�า ขอความร่วมมือ ตลอดจนข่ า วสารและค�า สั่งให้ลงมือก่อเหตุโ จมตี เป้าหมาย

ตัวอย่างปฏิบัติการของสายลับดิจิทัล ฝ่ายบริหารและบุคคลระดับสูงด้านความ มั่นคงของอิสราเอลมีข้อสรุปว่า Facebook และ Twitter เป็ น “กลไก/เครื่ อ งมื อ ” ที่ ถู ก น� า มาใช้ ส่ ง ข่ า วสารชั ก ชวนให้ เ กิ ด การก่ อ เหตุ ป ระทุ ษ ร้ า ย ท�าร้ายร่างการชาวอิสราเอลด้วยอาวุธมีด การขว้างปา ด้วยก้อนหิน การใช้ปืนยิง ในแบบ “ตีหัวเข้าบ้าน/ hit and run” นอกจากนี้แอปพลิเคชันด้านการ สื่อสารอย่างเช่น Skype และ Whatsapp ถูกใช้เป็น เครื่องมือส�าหรับการส่งต่อค�าสั่งจากผู้สั่งการไปยัง ผู้ปฏิบัติ นอกจากนี้ รายงานของ Debkafile ยังระบุ อีกว่า อาวุธอย่างเช่นระเบิดแสวงเครื่องที่สั่งการ จุดระเบิดโดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นเรื่องล้าสมัย ไปแล้ว นั่นรวมถึงเทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์ด้าน การข่าวกรองทางสัญญาณ (SIGINT) ที่เคยใช้ดักฟัง การสื่อสารของกลุ่มผู้ก่อการร้ายก็ล้าสมัยไม่สามารถ ใช้ รั บ มื อ กั บ ลั ก ษณะภั ย คุ ก คามที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป อย่างได้ผลอีกต่อไปกระบวนวิธีที่ใช้ในการรวบรวบ ข่าวสารร่วมสมัย อย่างเช่น การรวบรวมข่าวสารจาก แหล่งข่าวเปิด OSINT (Open Source Intelligence) ที่คอยเฝ้าติดตามรายงานข่าวทางสื่อต่าง ๆ เช่น


ข่าวทหารอากาศ

โทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซต์ และหนังสือพิมพ์ ต้องปรับ เปลี่ยนกลวิธีเพื่อก้าวตามให้ทันความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับสังคม ไปสู่การเก็บเกี่ยวข้อมูลข่าวสาร จากเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ที่มีความแพร่หลาย มากขึ้น ทหารอิ ส ราเอลชายหญิ ง จ� า นวนมาก ทีส่ ามารถสือ่ สารด้วยภาษาอารบิคได้อย่างคล่องแคล่ว ใช้ ชื่ อปลอมในการพูดคุยสร้างความสนิทสนมกั บ นั ก ท่ อ งเว็ บ ชาวอาหรั บ ในช่ ว งต้ น มี เ ป้ า ประสงค์ เพื่ อ ก่ อ ความเคลื่ อ นไหว Arab Spring ที่ ต ่ อ มา กลายเป็นกระแสคลื่นลูกใหญ่ที่เคลื่อนกระจายไปใน หมู่ชาวมุสลิม ข้อมูลมหาศาลที่รวบรวมจากสื่อสังคม ออนไลน์ นับเป็นขุมทรัพย์ที่ส�าคัญต่อการวิเคราะห์

อ้างอิง

83

ข่ า วกรองที่ น�าไปสู ่ ก ารพยากรณ์ รวมถึ ง สามารถ เข้าใจถึงโครงสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้ก่อการร้าย แหล่ ง พั ก พิ ง เส้ น ทางการส่ ง สื่ อ สารเพื่ อ ส่ ง ค� า สั่ ง ให้กลุ่มติดอาวุธการเหตุโจมตี เพือ่ เป็นการป้องปราม ด้วยขีดความสามารถ ด้านการข่าวทีม่ อี ยูผ่ นวกกับขีดความสามารถทางด้าน ภาษา ฝ่ายความมัน่ คงของอิสราเอลสามารถโทรศัพท์ ไปหาพ่อแม่หรือญาติพนี่ อ้ งของผูก้ อ่ การร้ายเป็นรายตัว เพื่ อ บอกกล่ า วถึ ง ผลเสี ย ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ตามมา หาก ลูกหลานของพวกเขายอมเข้าไปมีส่วนร่วมก่อเหตุ รุนแรงเพือ่ ให้ผใู้ หญ่ในครอบครัวโน้มน้าวให้ลกู หลาน เลิ ก ล้ ม ความคิ ด ที่ จ ะเข้ า ไปมี ส ่ ว นร่ ว มในการ ก่อการร้าย

- https://www.cyberdefensemagazine.com/from-humint-to-virtual-humint/ - https://www.researchgate.net/publication/296502233_From_SOCMINT_to_Digital_Humint_ Re-frame_the_use_of_social_media_within_the_Intelligent_Cycle - https://www.afio.com/publications/SANO%20John%20on%20The%20Changing%20Shape%20 of%20HUMINT%20Pages%20from%20INTEL_FALLWINTER2015_Vol21_No3_FINAL.pdf - https://www.defenseworld.net/news/14373/Israel_Using____Digital_HUMINT____To_Spy_ On_Palestinian_Troublemakers#.Xv07jigzaUk


84

ภาษาไทย ด้วยใจรัก

นวีร

“ภาษาไทยเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของชาติ

ภาษาทั้งหลายเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของมนุษยชนิดหนึ่ง คือเปนทางสาหรับแสดงความคิดเห็นอยางหนึ่ง เปนสงสวยงามอยางหนึ่ง เชนในทางวรรณคดี เปนตน” พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

มาลีหลากนาม เพื่อนคนหนึ่งบนวา ทําไมภาษาไทยตองมีคําใชมากมายหลายคําเมื่อหมายถึงสิ่ง ๆ เดียวในขณะที่ ภาษาอังกฤษใชคาํ คําเดียว เชน ภาษาอังกฤษใชคาํ วา I แตภาษาไทยมีใชทงั้ ฉัน ผม กระผม ดิฉนั อะฮัน้ เดีย๊ น ขา ขาพเจา กู เรา อาตมา อาตมภาพ เคา บาว ลูกชาง อัญขยม หมอมฉัน เกลากระหมอม ขาพระพุทธเจา และอาจจะมีคําอื่น ๆ อีก แตเมื่อฟงคําอธิบายวา การมีหลากหลายคําเชนนี้นับวาเปนประโยชน เพราะเปน การบงถึงกาลเทศะและบุคคล รวมทั้งทําใหขอความนั้นมีนํ้าหนักขึ้น การใชคําสื่อความคิดนี้มีใชเรียกสิ่งของตาง ๆ มากมาย แมกระทั่งชื่อดอกไมก็ยังเรียกชื่อตางกันไป โดยเฉพาะตามภาคตาง ๆ ทั้ง ๆ ที่เปนดอกไมประเภทเดียวกัน ดังชื่อ ดอกทองกวาว ที่ นภาลัย ฤกษชนะ เขียนไวเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ วา จาน ทองกวาว กาน จอมทอง ทองธรรมชาติ อยูริมทางชางสงาทาใครใคร

พราวพิลาสหลากนามงามสดใส ทั้งเหนือใตอีสานกลางไมหางตา

ชื่อดอกไมทั้ง ๕ ชื่อในวรรคแรกเปนชื่อดอกไมของดอกที่มีชื่อวา ทองกวาว ซึ่งเปนชื่อพรรณไมตน ดอกสีแสด ดอกทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ หรือ ดอกทองตน ก็เรียก ทางพายัพเรียก ทองกวาว กวาว หรือกาว ภาคใตเรียก จอมทอง และ ทางอีสานเรียก จาน ถือเปน มาลีหลากนาม ดอกไมหลายชนิดชวนให คนหาวา แตละชนิดมีชื่อเรียกตางกันไปอยางไรบาง จึงขอนําเสนอพอสังเขปดังนี้


ข่าวทหารอากาศ

กณิการ์ - กรรณิกา - กรณิการ์

การะเกด

จามจุรี

ชงโค

85

• กณิการ์ - กรรณิกา - กรณิการ์ ชือ่ นีเ้ พีย้ นกันเพียงเล็กน้อย เป็นดอกไม้กลีบดอกสีขาว มีกลิน่ หอม และหลอดดอกสีแดง • กระดังงา ดอกไม้กลีบบาง ๖ กลีบ มีกลิน่ หอมใช้ทา� ยาได้ เรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า สะบันงา นอกจากนี้ ยังมีแยกชือ่ เฉพาะเป็น กระดังงาสงขลา ซึง่ เป็นไม้พมุ่ ดอกมักมีกลีบมากกว่า ๖ กลีบ กระดังงาจีน เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ดอกหอมมีกลีบหนา ๖ กลีบ หอมจัดตอนเย็น ๆ • กันเกรา ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม • ต�าเสา หรือ มันปลา ก็เรียก • กล้วยไม้ พายัพเรียก เอื้อง • กาสะลอง เป็นชือ่ เรียกทางพายัพ ภาคกลางเรียก ปีป แต่ถา้ มีดอกสีเหลืองทองเรียก กาสะลองค�า หรือ ปีปทอง ทั้งปีปและกาสะลองมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า อ้อยช้าง • การะเกด ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ล�าเจียกหนู • การะบุหนิง ภาษาชวา (Kemuning) ดอกแก้ว • ข้าวใหม่ คือ ดอกชมนาด เขียนเป็น ช�ามะนาด ก็ได้ ดอกไม้ขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่ • จามจุรี มักเรียกว่า ก้ามปู พฤกษ์ ซึก หรือซิก • จ�าปา ดอกสีเหลืองอมส้ม แต่ทางปักษ์ใต้เรียก ลั่นทม • จ�าปี ดอกสีขาวคล้ายดอกจ�าปาแต่กลีบเล็กและหนากว่า บางพันธุ์สีนวลหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเย็น เรียก จ�าปีสีนวล นอกจากนี้ ยังมี จ�าปีแขก ซึ่งมีกลีบดอกแข็งสีนวล จ�าปาแขกก็เรียก และมี จ�าปีสิรินธร ซึ่งกลีบดอกใหญ่ยาวสีขาวนวล ต้นขึ้นในป่าพรุน�้าจืด • ชงโค พรรณไม้ทใี่ บปลายเว้าลึกเป็น ๒ แฉก ดอกสีชมพูอมแดงหรือม่วงแดง แต่ถา้ มีดอกสีเหลือง ห้อยลง เรียก ชงโคดอกเหลือง หรือ โยทะกา (โยทะกามี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งดอกสีเหลืองห้อยลงดังกล่าวแล้ว อีกชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวนวลมีลายสีชมพูออกเป็นช่อสั้น ๆ)


86

ซ่อนกลิ่น

บุษบามินตรา

รวงผึ้ง

เอื้อง

• ซ่อนกลิ่น ต้นเป็นกอ ดอกสีขาวเป็นช่อตั้งขึ้นกลิ่นหอมโบราณเรียก ดอกซ่อนชู้ • ดอกดิน ล�าต้นเป็นปุ่มปม เกาะคล้ายเป็นรากหญ้า ดอกสีม่วงด�าใช้ท�าขนม ดอกดินแดง ก็เรียก • ดอกฟอน เป็นไม้พมุ่ ราชาวดีปา่ หรือดอกด้ายก็เรียก ทองอุไร ดอกสีเหลืองสดรูปแตร พวงอุไร ก็เรียกค • บานบุรี มีหลายสี ไม้พุ่มรอเลื้อย สีเหลืองสดและสีม่วง แต่ถ้าดอกสีม่วงชมพูเรียกว่า ดาว ประดับ ส่วนที่เป็นไม้เถา ดอกสีม่วงชมพูภายในหลอดดอกสีเหลืองเรียกว่า ม่วงมณีรัตน์ • บุษบามินตรา เป็นชื่อภาษาชวาของดอกพุทธรักษา • พิกลุ ดอกมีกลีบแหลม กลิน่ หอมและหอมอยูจ่ นแห้งใช้ทา� ยาได้ ทางพายัพเรียก แก้ว ทางปักษ์ใต้ เรียก กุล • รวงผึ้ง ไม้ประดับดอกสีเหลือง ดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ น�้าผึ้ง ก็เรียก • ลั่นทม ดอกสีขาวหรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม ลีลาวดี พิกุล หรือจ�าปาหอม ก็เรียก พายัพเรียก จ�าปาลาว อีสานเรียก จ�าปา ปักษ์ใต้เรียก จ�าปาขอม ดอกไม้นี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาว • เสลา ไม้ต้น ดอกสีชมพูเจือม่วง ออกเป็นช่อตามกิ่ง อินทรชิต ก็เรียก • เอื้อง คือ ต้นกล้วยไม้ มีหลายชนิด เช่น เอื้องหนวดพราหมณ์ ดอกสีม่วงแดง เอื้องครั่งหรือเอื้อง น�้าครั่ง ดอกสีม่วงแดง เอื้องฟ้ามุ่ยดอกสีฟ้าอมม่วง เอื้องมอนไข่ หรือเอื้องมอนค�า ใบมนดอกขาวปากเหลือง เอื้องนางรุ้งหรือลิ้นกระบือ ดอกโตสีเหลืองแซมม่วงแดง หรือสีม่วงแดง เอื้องศรีเที่ยงหรือกระเจี้ยบ ดอกใหญ่ สีเหลืองแซมแดง ไม้ดอกเหล่านี้เรียกชื่อต่างกันไปตามถิ่นต่าง ๆ ถือเป็น มาลีหลากนาม ท�าให้ภาษามีค�าใช้ เพิ่มขึ้นและเป็นการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วย


ขอบฟ้าคุณธรรม

ข าวทหารอากาศ

รู้จักพอ ซื่ อตรง รับผิดชอบ คิดบวก .. มองไปข้างหน้า .. แก้ไขที่ตัวเรา

โดย 1261

... เป็นคนมองเห็นโทษของส่วนเกิน ...

ผู้เขียนได้ไปพักผ่อนที่พัทยาเกือบทุกปี โดยวิธีซื้อ ที่พักของโรงแรมต่าง ๆ ไว้ในช่วงงานท่องเที่ยวไทย ส่วนมาก ก็จะมีอายุหนึ่งปี แล้วช่วงไหนว่าง ๆ ก็จะขับรถไป ที่จริงที่พักที่พัทยานั้นมีมากมาย ทั้งโรงแรมและที่พัก ของเพือ่ นฝูง แต่ทผี่ เู้ ขียนใช้วธิ นี เี้ พราะเชือ่ ว่า โรงแรมที่ เขามาออกบูธในงานท่องเทีย่ วไทยนัน้ มักจะได้มาตรฐาน และราคาไม่ แ พง ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ ก็ เ ป็ น เช่ น นั้ น ท� า ให้ สบายใจไม่ตอ้ งไปลุน้ เอาข้างหน้า และเลือกเอาได้วา่ จะ เอาด้านไหนของพัทยา เวลาจะเดินทางไปก็วางแผน ดูโน่นชมนี่ไปตามทาง คราวนี้ผู้เขียนตั้งใจไปชม สถานที่สองแห่งคือ ปราสาทสัจจธรรมและบ้าน สุขาวดี ทีต่ ง้ั ใจไปชมเพราะผ่านไปผ่านมาหลายรอบแล้ว เห็นว่าค่าเข้าชมแพงเหลือเกินเลยไม่ได้เข้าไปสักที คราวนี้ ตั ด ใจอยากรู ้ ว ่ า มั น จะงดงามขนาดไหน เมื่ อ ไปชม มาแล้วก็ยอมรับว่าทั้งสองแห่งนั้นเป็นงานศิลปะสร้าง ในเมืองท่องเทีย่ ว เป็นสิง่ ทีส่ วยงามมาก ท่านผูอ้ า่ นทีย่ งั ไม่เคยไปชมก็นา่ จะหาโอกาสไปชมสักครัง้ หนึง่ ผูเ้ ขียนถาม ตัวเองว่าค่าเข้าชมแพงขนาดนีค้ มุ้ ไหม ถ้าส�าหรับคนเข้าชม

87

ผู้เขียนคิดว่าคุ้ม เพราะเราเสียเงินครั้งเดียว และได้ดู ชิ้นงานที่สวยงามอย่างนี้ แต่ส�าหรับเจ้าของไม่น่าคุ้มค่า ก่อสร้างและค่าซ่อมบ�ารุง เพราะเป็นงานศิลปะที่ใช้ไม้ ส่วนหนึง่ และเป็นภาพเป็นพระพุทธรูปอีกส่วนหนึง่ ต้อง ซ่อมบ�ารุงตลอดเวลา ค�าถามต่อมาคือ ถ้าไม่คุ้มแล้วท�า ท�าไม แค่เอาทีด่ นิ ให้คนอืน่ เช่าก็ได้เงินมากแล้ว หรือท�า เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งก็ท�าได้อย่างงดงามท�าเลก็ดี พื้นที่ก็ มากมาย ท�าไมเจ้าของถึงไม่ท�า ผู้เขียนสอบถามผู้ดูแล เหมือนกันว่าท�าไม ค�าตอบจะคล้าย ๆ กันทั้งสองแห่ง คือ เจ้าของเขามีเงินมากมายแล้ว ไม่ต้องการท�าธุรกิจ ตรงนี้ และจริง ๆ แล้ว ทั้งสองแห่งคืออะไร ผู้เขียนสรุป ให้ตวั เองได้วา่ ทีห่ นึง่ คือ ศาสนสถานในฝัน อีกทีห่ นึง่ คือ ห้องพระในจินตนาการ ของคนมีเงินมากเกิน คือมี มากเกินจนไม่รู้จะท�าอะไร จึงท�าในสิ่งที่อยากท�าที่อยู่ ใต้จติ ส�านึก เขาไม่ได้สนใจก�าไรขาดทุนอะไร เก็บค่าเข้า ชมเพื่อเป็นค่าดูแลรักษาเท่านั้น ลักษณะอย่างนี้ใน เมืองไทยยังมีสถานทีอ่ กี มากมายโดยเฉพาะ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ต่าง ๆ ที่ใช้ส่วนเกินมาสร้างเพื่อความสบายใจ


88

ไม่ได้สนใจว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป จึงมีสิ่งก่อสร้างที่ รกร้างอยูท่ วั่ ไป มีนอ้ ยแห่งทีด่ แู ลรักษาในเวลาต่อ ๆ มา ได้ดี จะมองอย่างไรก็ได้ทั้งบวกและลบ มองว่าสวยงาม ก็สวยงาม มองว่าการที่ต้องมาท�าอย่างนี้ เพราะโชค ไม่ดีที่รวยเกินไป เมื่อเข้าสู่วัยชราจึงเกิดอาการเสียดาย ทรัพย์สนิ เงินทองทีม่ กี ไ็ ด้ กลายเป็นภาระไปอีกด้านหนึง่ ท�าให้ผู้เขียนคิดเลยไปว่า จนเกินไปหรือรวยเกินไป นี่ไม่ดี ทั้ ง สองด้ า นเลย หรื อ พู ด อี ก ที ว ่ า อะไรที่ เ กิ น ไปนั้ น ไม่ดีเลย จึงเป็นเรื่องที่คุยกันในวันนี้ ท�าไมถึงเกินไป ก่อนที่จะมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะต้องผ่านจุดจุดหนึ่ง คือจุด พอดี ถ้าเบรคไม่อยู่ตรง จุดพอดี ก็ต้องเจอข้างใดข้างหนึ่งแน่ ๆ ผู้เขียนไม่ได้ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้างใดข้างหนึ่ง แต่มองเห็น ว่าส่วนเกินไม่วา่ ข้างไหนมันมีโทษทีเ่ ราควรจะต้องรูแ้ ละ ต้องระมัดระวังอยู่ด้วย ปกติแล้วชีวติ คนเราก็มี ร่างกาย จิตใจ และทรัพย์ สมบัติ เป็นสิ่งที่เราจะต้องดูแลเอาใจใส่ ส�าหรับร่างกายแล้ว เราก็เน้นอยู่สองเรื่อง คือ ทานอาหารให้ครบหมูแ่ ละออกก�าลังกายสม�า่ เสมอ ทีนี้ มาดูโทษของสิ่งที่เกินไปส�าหรับร่างกาย

- ถ้าทานอาหารดีเกินไป ดีหมายถึงอาหารชัน้ เลิศ ราคาแพง ซึ่งก็มักจะเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย ในหลาย ๆ โรค เช่น โรคเก๊าส์ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและ หลอดเลือด โรคเหล่านี้คนที่อด ๆ อยาก ๆ ไม่มีโอกาส ได้เป็นกันนัก - ถ้าทานอาหารมากเกินไป สิ่งที่ตามมาคือ อ้วน น�้าหนักเกิน เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯ เป็นเรื่องเบื้องต้น ที่เรารู้กัน - ถ้าทานอาหารน้อยเกินไป สิ่งที่ตามมา คือ ผอม เป็นสาเหตุของโรค โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง - ถ้าออกก�าลังกายน้อยเกินไป จะเป็นสาเหตุของ โรคความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ ซึมเศร้า - ถ้าออกก�าลังกายมากเกินไป ผู้เขียนได้อ่านงาน วิจยั ของเวชศาสตร์การกีฬา เรือ่ ง วิทยาศาสตร์การกีฬา กั บ การวิ่ ง มี ค� า แนะน� า ที่ น ่ า สนใจถึ ง ผลของการ ออกก�าลังกายมากเกินพอดีว่า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ ผลทางกล้ามเนือ้ มีอาการ ปวด เมือ่ ย ตึงกล้ามเนือ้ ข้อต่อ เส้นเอ็น อยู่ไม่รู้หาย ผลทางจิตใจและอารมณ์ มีอาการ เบื่อหน่าย เซื่ อ งซึ ม หงุ ด หงิ ด โมโหง่ า ย ไม่กระตือรือร้นทีจ่ ะท�ากิจกรรมใด ๆ ผลทางร่างกาย เบือ่ อาหาร ซึ ม เศร้ า อ่ อ นเพลี ย น�้ า หนั ก ลด ต่อมน�้าเหลืองโต ส่วนเรือ่ งของจิตใจนัน้ เป็นเรือ่ ง ส�าคัญกว่าเรื่องทางกาย เพราะเป็น สิ่งที่มองไม่เห็น วัดไม่ได้ ตัดสินยาก มาก และมักเป็นต้นเหตุของเรื่อง ราวต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ ที่สะสม ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ถ้าจะถาม คนแต่ละคนว่าเท่าไรคือความพอดี คงไม่มีใครตอบได้ เพราะทุกคนรู้ เหมือนกันว่า ถ้ามีโอกาสที่จะได้ก็ จะเอาอีก ถ้าจะเสียไปก็ไม่อยากเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ มนุษย์จึงสะสมไป


ข่าวทหารอากาศ

เรื่อย ๆ แบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยไม่ได้สนใจว่าจริง ๆ แล้ว มีความจ�าเป็นอยู่เท่าไร ยิ่งได้มากก็กลัวมาก กลัวจะเสียไป กลัวคนอื่นจะมีมากกว่า กลัวจะรักษาไว้ไม่ได้ กลัวการ จากไปของชีวติ กลัวไปทุกเรือ่ ง จึงมีความพยายามทีจ่ ะ ควบคุมจิตใจควบคุมตัณหา ให้รจู้ กั พอเสียบ้าง มีศาสนา มีหลักการ มีขบวนการมากมาย ซึ่งผู้เขียนจะไม่กล่าว ถึงในที่นี้ แต่มีค�าเตือนที่น่าจดจ�าของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ไว้ดังนี้

แม้แต่การปฏิบัติด้านศีลธรรม จริยธรรม และ ศาสนา ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน ส่วนที่สามคือเรื่องของทรัพย์สมบัติ ซึ่งมีความ หมายถึง สิ่งที่เราครอบครองไว้ใช้สอยหรือแจกจ่ายได้ แสดงว่าเรามีอ�านาจท�าได้สองอย่างคือ ใช้สอย และ แจกจ่าย ปัญหาของส่วนเกินตรงนีก้ ค็ อื เมือ่ น้อยเกินไป ก็ไม่พอใช้พอแจก มากเกินไปเมื่อเราใช้ไม่หมดก็เกิด ความเสียดายที่จะแจกจ่าย ปั ญ หาของการมี ท รั พ ย์ ศรัทธา...มีมากเกินไป...ขาดปัญญา...กลายเป็น งมงาย สมบัติน้อยเกินไป - ไม่ พ อจั บ จ่ า ยใช้ ส อย ปัญญา...มีมากเกินไป...ขาดศรัทธา...กลายเป็น ทิฏฐิมานะ ต้องอด ๆ อยาก ๆ เป็นหนีเ้ ป็นสิน สมาธิ...มีมากเกินไป...ขาดปัญญา...กลายเป็น โมหะ - เพื่ อ นฝู ง ญาติ มิ ต ร ห่างเหิน ปัญญา...มีมากเกินไป...ขาดสมาธิ...กลายเป็น ฟุ้งซ่าน - เมื่อแก่ชรา เจ็บไข้ได้ป่วย วิริยะ...มีมากเกินไป...ขาดสมาธิ...กลายเป็น เหน็ดเหนื่อย ขาดคนดูแลเอาใจใส่ ปั ญ หาของการมี ท รั พ ย์ สมาธิ...มีมากเกินไป...ขาดวิริยะ...กลายเป็น เกียจคร้าน มากเกินไป - ผู้คนรุมเร้าเอาอกเอาใจ สติ...มีมากเท่าไรยิ่งดีมีแต่คุณ...ไม่มีโทษ จนไม่รู้ว่าใครจริงใจหรือหลอกลวง

89


90

- เป็ น ภาระที่ ต ้ อ งดู แ ลเอาใจใส่ ระแวดระวั ง ทรัพย์สมบัติเหล่านั้น - หากไม่มีบุตรหลานอาจมีปัญหาในการแจกจ่าย ทรัพย์สมบัติ ให้บคุ คลอืน่ ๆ เพราะไม่มกี ฎหมายก�าหนด ไว้ ชั ด เจน ผู ้ รั บ มั ก ไม่ พ อใจเพราะคิ ด ว่ า ตนได้ น ้ อ ย กว่าคนอื่น - หากมีบตุ รหลานหลายคน ก็อาจมีปญ ั หาแย่งชิง ทรัพย์สมบัติอย่างที่เคยได้ยินอยู่บ่อย ๆ - การท�าบุญท�าทานก็ไม่แน่ใจในวัฏฏะปฏิบตั ขิ อง ผู้รับ หรืออาจจะตกเป็นเหยื่อของขบวนการหลอกลวง ที่เข้าใจปัญหาการมีทรัพย์ส่วนเกินนี้ได้ดี - ตายนอนตาไม่หลับเพราะห่วงทรัพย์สินเป็น ปู่โสมเฝ้าทรัพย์

ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือโทษของส่วนเกิน ที่เกี่ยวกับ ร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สมบัติ ยังมีส่วน เกิ น อี ก ประเภทหนึ่ ง ที่ มี ม ากในสั ง คมของเราคื อ เกินจ�าเป็น บางคนครอบครัวเล็ก ๆ แต่รถคันใหญ่ ๆ บ้ า นหลั ง โต ๆ บางคนเงิ น เดื อ นไม่ ม ากแต่ ใ ช้ ข อง แบรนด์เนมทุกชิ้น ทานอาหารตามร้านดัง ๆ จับจ่าย ใช้ ส อยเกิ นตั ว มี ห นี้ สิ นรุ งรั ง สิ่ งเหล่ า นี้ คือ โทษของ ความเกินจ�าเป็นของชีวิต การด�ารงชีวิตให้สงบสุขต้อง มีสติ ระมัดระวัง อย่าให้สิ่งต่าง ๆ ที่ต้องเกี่ยวข้อง เกินพอดี เพราะส่วนเกินนั้นมักมีโทษมากกว่ามีคุณ

อ้างอิง http://www.gypzyworld.com/article/view/1184 https://open-int.blog/2018/01/05/janis-publications-1943-1947/ https://victor-mochere.com/th/differences-between-mi6-and-cia


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๑ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.พรอมดวย พญ.วิไลภรณ วงษวาทย นายกสมาคมแมบาน ทอ. รวมพิธีทําบุญตักบาตรขาวสารอาหารแหง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกลาเจาอยูหัว ณ มณฑลพิธีทองสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๘ ก.ค.๖๓

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.พรอมดวย พญ.วิไลภรณ วงษวาทย นายกสมาคมแมบาน ทอ. เปนประธานในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกลาเจาอยูหัว ณ อาคารรณนภากาศ รร.นนก. เมื่อวันที่ ๒๔ ก.ค.๖๓

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.เยี่ยมชมเครื่อง ATM จายขาวสารอัตโนมัติ “นอง skyrice” ซึ่งเปน เครื่องแจกจายขาวสารใหประชาชน โดยติดตั้งบริเวณชั้น ๒ อาคารคุมเกลา รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ณ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๒

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.เปนประธานกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน “เราทําความดีเพื่อชาติ ศาสน กษัตริย” เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกลาเจาอยูหัว ณ พื้นที่ คลองบานใหม เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๑ ก.ค.๖๓

พล.อ.อ.เสนาะ พรรณพิ กุ ล ปธ.คปษ.ทอ./ประธานอนุ ก รรมการพั ฒ นางานด า นสวั ส ดิ ก าร ทอ. พรอมคณะ ตรวจเยี่ยมและตรวจพื้นที่สนามบินระนองที่ ทอ.รับผิดชอบ โดยมี น.อ.แมนสรวง สุวรรณ ผบ.บน.๗ ใหการตอนรับ ณ สนามบินระนอง จว.ระนอง เมื่อวันที่ ๙ ก.ค.๖๓

พล.อ.อ.สิทธิชยั แกวบัวดี ผช.ผบ.ทอ.(สายงานกิจการพิเศษ)/ประธาน คณก.บริหารกิจการแหลงทองเทีย่ ว ในเขตทหารของ ทอ.ตรวจเยี่ยมและติดตามความกาวหนาการดําเนินงานพัฒนาของ หนวยที่ดําเนินการ เปนแหลงทองเทีย่ วในเขตทหารของ ทอ.ป ๒๕๖๓ ณ บน.๗ จว.สุราษฎรธานี ระหวางวันที่ ๒๐ - ๒๑ ก.ค.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๓ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ท.ตรีพล อองไพฑูรย จก.กร.ทอ.และคณะ พสบ.ทอ.รุน ที่ ๑๕ ปฎิบตั กิ จิ กรรมชวยเหลือประชาชน และกิจกรรมปลูกตนไมรอยลานตน เฉลิมพระเกียรติ รวมกับหนวยมิตรประชา บน.๔๑ และ สร.ดน. ณ รร.หวยมวง ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จว.เชียงใหม เมื่อวันที่ ๒๙ ก.ค.๖๓

พล.อ.ท.ภาณุวัชร เปยมศรี จก.ชอ.เปนประธานพิธีมอบประกาศนียบัตรใหแก จนท.ชอ.บน.๔๖ ผูผาน การอบรมและทดสอบความรู Reliability Engineering และ Reliability Centerd Maintenance (RCM) ณ หองประชุม ฝูง.๔๖๑ บน.๔๖ จว.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๐ ก.ค.๖๓

พล.อ.ท.สุรสีห สิมะเศรษฐ ผบ.อย.เปนประธานในพิธีมอบเครื่องหมายแสดงความสามารถนักเหินเวหา ทอ.เปนกิตติมศักดิ์ ใหแกคณะบุคคลผูทําคุณประโยชนใหกับ ทอ. ณ หองประชุมหนวยบัญชาการ อากาศโยธิน (๒) เมื่อวันที่ ๑๗ ก.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.ต.ภูวเดช สวางแสง จก.จร.ทอ.พรอมคณะ ตรวจติดตามความคืบหนาผลการแกไขตามขอเสนอแนะ ของ จร.ทอ.ประจําป ๖๓ ของ ฝูง.๑๐๖ (อูตะเภา) โดยมี น.ท.ศิริพงษ สิทธิพร ผบ.ฝูง.๑๐๖ (อูตะเภา) ใหการตอนรับ ณ ฝูง.๑๐๖ (อูตะเภา) จว.ระยอง เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ค.๖๓

พล.อ.ต.เรืองวิทย ศรีนวลนัด จก.ชย.ทอ.พรอมดวย หน.นขต.ชย.ทอ.ประชุมสายวิทยาการ ชย.ผานระบบ Video Tele Conference กับ หน.หนวยกองบิน และ รร.การบิน เพือ่ รับฟงชีแ้ จงแนวทางการปฏิบตั งิ าน สายวิทยาการ ชย. ณ หองประชุม ชย.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ค.๖๓

พล.อ.ต.อาณัติ เดชพร จก.สก.ทอ.นําขาราชการ ลูกจาง และพนักงานราชการ สก.ทอ.รวมโครงการ ปลูกตนไม และปลูกปาเฉลิมพระเกียรติ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลพระราชพิธบี รมราชาภิเษก “รวมใจไทย ปลูกตนไม เพื่อแผนดิน” สืบสานสู ๑๐๐ ลานตน ณ บริเวณอาคาร บก.สก.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๕ ก.ค.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ต.ไวพจน เกิงฝาก ผบ.รร.การบิน เปนประธานในพิธีตักบาตรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสนิ ทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกลา เจาอยูห วั โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และสมาชิกชมรมแมบา น ทอ.รร.การบิน เขารวมพิธี ณ บก.รร.การบิน เมื่อวันที่ ๒๔ ก.ค.๖๓

น.อ.เจริญ วัฒนศรีมงคล ผบ.บน.๑ ใหการตอนรับ น.อ.จุมพล จันทขัมมา ผบ.บน.๒ พรอมคณะ ตรวจเยี่ยมหนวยบิน ๒๐๓๑ เพื่อเปนขวัญและกําลังใจใหแกขาราชการในสังกัดหนวยบิน ๒๐๓๑ ณ หนวยบิน ๒๐๓๑ บน.๑ จว.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ก.ค.๖๓

น.อ.ชยศว สวรรคส รรค ผบ.บน.๕ ร วมกั บ สสส.และสถาบั นบั ณ ฑิ ตพั ฒ นบริ ห ารศาสตร (นิ ด า ) รวมจัดโครงการกิจกรรมสรางสรรค รณรงคสรางจิตสํานึกเพื่อการลดปจจัยเสี่ยง เหลา บุหรี่ ในพื้นที่ การทองเทีย่ วในเขตทหารตนแบบของ ทอ. ณ บน.๕ อาวมะนาว จว.ประจวบคีรขี นั ธ เมือ่ วันที่ ๒๕ ก.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖

น.อ.นรุธ กําเนิดนักตะ ผบ.บน.๔๑ รวมพิธเี ปดโครงการโปรยเมล็ดพันธุพ ชื ทางอากาศสรางความชืน้ สัมพัทธ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการปฏิบตั กิ ารฝนหลวง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั เนือ่ งในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ ก.ค.๖๓ ณ หองประชุมเดชะตุงคะ บน.๔๑ จว.เชียงใหม เมือ่ วันที่ ๑๗ ก.ค.๖๓

น.อ.ภาณุวัตร เรืองประยูร ผบ.บน.๔๖ ใหการตอนรับ น.อ.แมนสรวง สุวรรณ ผบ.บน.๗ พรอมคณะ เขาศึกษาดูงานเยี่ยมชมกิจการ และฟงบรรยายสรุป “การจัดการขยะ และการจัดการระบบนํ้าของ บน.๔๖” ณ หองประชุม ๔๐๖ บน.๔๖ จว.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๗ ก.ค.๖๓

น.อ.สุทธิพงษ วงษสวัสดิ์ ผบ.บน.๕๖ เปนประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา ประจําป ๒๕๖๓ ใหแก บุตรขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ บน.๕๖ และ รร.ตาง ๆ รอบพื้นที่ บน.๕๖ ณ หอประชุม บน.๕๖ จว.สงขลา เมื่อวันที่ ๑๔ ก.ค.๖๓


ข่าวทหารอากาศ

97

Unmanned Aerial Vehicle (UAV) อากาศยานไรคนขับ กองทัพอากาศ กับงานดานการจราจร ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปลงวิทยา

“เราจะคอยเปนหูเปนตาใหกับประชาชน” ไมวาเทศกาลไหน ๆ กองทัพอากาศจะอยูไมไกลคุณ ในชวงเทศกาลตาง ๆ ทีม่ วี นั หยุดยาวติดตอกัน แนนอนวาเปนชวงเวลาของการเดินทางออกตางจังหวัด ของหลายครอบครัว ฉะนั้นการจราจรบนทองถนน ก็จะมีความหนาแนนขึน้ อยางเห็นไดชดั ในชวงวันแรก และวันสุดทายของเทศกาลอยูเสมอ และจากสถิติ ปญหาการจราจรเหลานี้ ทําใหวันนี้กองทัพอากาศ มีภารกิจใหมใหกับฝูงบิน UAV ของกองทัพอากาศ อย า งเป น ทางการ นั่ น คื อ การผนึ ก กํ า ลั ง ร ว มกั บ หนวยงานตาง ๆ ของรัฐเพื่อบรรเทาปญหาทางดาน การจราจรในชวงเวลาดังกลาว ซึ่งถายอนกลับไป หากใครจํ า ได ตั้ ง แต ห  ว งป ใ หม ๒๕๖๓ ที่ ผ  า นมา เราไดมีภารกิจสั่งการเรงดวนใหกับนองใหมอยาง UAV จากรัว้ ทัพฟาของพวกเราในการเขาไปมีสว นชวย ในเรื่องของการเฝาสังเกตการณเสนทางการจราจร ในทางหลวงสายหลัก มาแลวครั้งหนึ่ง และล า สุ ด

ในห ว งวั น หยุ ด ต อ เนื่ อ งวั น อาสาฬหบู ช าและวั น เขาพรรษา วันที่ ๔ – ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ กองทัพ อากาศ ร ว มกั บ กระทรวงคมนาคม และตํ า รวจ ทางหลวง ปฏิบัติภารกิจอํานวยความสะดวกและ เพิ่มความปลอดภัยใหแกประชาชนในการเดินทาง ซึ่งภารกิจในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่กองทัพอากาศ โดย พลอากาศเอกมานัต วงษวาทย ผูบ ญ ั ชาการทหาร อากาศ ได มี ก ารลงนามตามบั น ทึ ก ความร ว มมื อ ระหว า งกองทั พ อากาศและกระทรวงคมนาคม ว า ด ว ยการช ว ยเหลื อ ประชาชนและการพั ฒ นา ประเทศอยางเปนทางการ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่ ผ  า นมา ซึ่ ง มี ผ ลบั ง คั บ ใช ตั้ ง แต วั น ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ โดยมีระยะเวลาดําเนินการ ๓ ป จนถึงป ๒๕๖๕


98

โดยในครั้ ง นี้ ก องทั พ อากาศ ได ส นั บสนุ น อากาศยานไรคนขับ UAV แบบ AEROSTAR และ MINI UAV ทั้ ง แบบ VTOL และ QUAD Rotor บิ น สํ า รวจสภาพการจราจรบนเส น ทางคมนาคม สายหลั ก ที่ มี ส ถิ ติ ก ารใช ร ถใช ถ นนหนาแน น โดย ผูเขียนไดมีโอกาสเขาไปรวมฟงการวางแผนปฏิบัติ การบิ น สํ า รวจระหว า งกองทั พ อากาศ กระทรวง คมนาคมและตํารวจทางหลวงดวย โดยครัง้ นีว้ างแผน กันที่เสนทางขาออก ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ บริเวณถนนเอเชีย ถนนมิตรภาพ และทางตางระดับ บางปะอิ น ส ว นการบิ น สํ า รวจในเส น ทางขาเข า จะทําการบินวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ บริเวณ ถนนเอเชีย ถนนมิตรภาพ และทางตางระดับสระบุรี ดวยขีดความสามารถในการบินถายภาพ พรอมถายทอดสัญญาณภาพมายังภาคพื้นไดแบบ Real Time ภารกิ จ ในครั้ ง นี้ จึ ง มี ก ารเชื่ อ มโยง ขอมูลภาพเหลานี้กับกองอํานวยการรวม ซึ่งตั้งอยูที่ ศูนยบริหารจราจรและอุบัติเหตุ กรมทางหลวงดวย อีกทั้งยังมีนักบินที่คอยเปนหูเปนตาใหกับประชาชน ระหว า งภารกิ จ การบิ น ถ า ยภาพ ซึ่ ง มี ห ลายครั้ ง ที่สามารถระบุพิกัดอุบัติเหตุบนถนนไวได เพื่อเปน ขอมูลสงตอใหเจาหนาที่ผูรับผิดชอบสามารถเขาไป แก ป  ญ หาได อ ย า งทั น ท ว งที ถื อ เป น การฝ ก งาน ภาคปฏิบัติอยางดีอีกทางหนึ่ง โดยภารกิ จ ในครั้ ง นี้ กองทั พ อากาศได ปฏิบัติการโดยใชแนวทางการปฏิบัติที่ใชเครือขาย เปนศูนยกลาง (Network Centric Operation) เพื่อ สนับสนุนและบูรณาการรวมกันระหวางหนวยงาน ใหสามารถปฏิบัติภารกิจในการชวยเหลือประชาชน และการพัฒนาประเทศโดยใชทรัพยากรทีม่ อี ยูใ หเกิด ประโยชนสูงสุด อันไดแกทรัพยากรดานเทคโนโลยี และนวั ต กรรม รวมถึ ง ทรั พ ยากรบุ คคล แต มี สิ่ ง ที่ ผูเ ขียนอยากจะเลาเพิม่ เติมนัน่ ก็คอื แผนการในอนาคต ของความรวมมือครั้งนี้ เพราะหนวยงานที่เกี่ยวของ นั้นไดมีการเตรียมที่จะมีการขยายการใชประโยชน จากยุทโธปกรณของกองทัพอากาศไปในกิจกรรมอืน่ ๆ เพิ่มเติมดวย เชน การสนับสนุนอากาศยาน ภาพถาย ทางอากาศ หรือภาพถายดาวเทียมในการดานการ ติดตามงานกอสรางโครงการสําคัญ เชน งานจัด กรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น โครงการรถไฟความเร็ ว สู ง เชื่ อ ม


ข่าวทหารอากาศ

๓ สนามบินและโครงการทางหลวงพิเศษระหวาง เมื อ ง (Motorway) บางใหญ - กาญจนบุ รี หรื อ แมกระทัง่ การติดตามโครงการกอสรางโครงการระบบ รถไฟทางคูเพื่อการขนสงและการจัดการโลจิสติกส ในระยะเรงดวน ก็เปนอีกหนึ่งแผนงานที่ไดพูดคุย กันไว นอกจากนีแ้ ลวการใชประโยชนจากอากาศยาน แบบตาง ๆ นีย้ งั สามารถชวยในการวางแผนการพัฒนา ระบบโลจิสติกสในระยะตอไปดวย เชน ลักษณะ การพัฒนาเชิงพื้นที่ขนาดใหญ (Area Base) และ การพัฒนาตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ (Corridor Base) โดยเฉพาะการวิ เ คราะห เ ส น ทางเพื่ อ ลด ต น ทุ น การขนส ง รวมถึ ง การประเมิ น ผลกระทบ ดานสิ่งแวดลอมเชิงยุทธศาสตร ที่จะครอบคลุมมิติ ทั้งดานเศรษฐกิจ สิ่งแวดลอม สังคม ดังเชนตัวอยาง ในเสนทางการพัฒนาสะพานเชื่อมเศรษฐกิจหรือ แลนดบริดจ ทีจ่ ะเชือ่ มโยงทะเลอันดามันและอาวไทย การวางแผนพัฒนาโครงสรางพืน้ ฐานคมนาคมรองรับ การพั ฒ นาระเบี ย งเขตเศรษฐกิ จ ภาคตะวั น ออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เขตเศรษฐกิจ พิเศษชายแดน (Special Economic Zone : SEZ) และพื้ น ที่ ร ะเบี ย งเศรษฐกิ จ ภาคใต อ ย า งยั่ ง ยื น (Southern Economic Corridor : SEC) นี่เปนเพียง สวนหนึ่งของแผนการดําเนินงานในอนาคตดานการ พัฒนาประเทศทีก่ องทัพอากาศจะไดเขาไปมีสว นรวม ผู  เ ขี ย นคิ ด ว า ทุ ก คนสามารถเชื่ อ มั่ น ได ว  า การดําเนินงานรวมกันตามกรอบบันทึกความรวมมือ ว า ด ว ยการช ว ยเหลื อ ประชาชนและการพั ฒ นา ประเทศนี้ จะเป น จุ ด เริ่ ม ต น ที่ ดี ข องกองทั พ และ หนวยงานอื่นๆ ที่จะสามารถสนับสนุนการขับเคลื่อน ประเทศด ว ยเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมของหน ว ย เพื่อเปนการอํานวยความสะดวกใหกับประชาชน ในหลากหลายมิตมิ ากขึน้ รวมถึงการสรางความเจริญ กาวหนาแกประเทศชาติอยางมั่นคงตอไป ผูเขียน ขอแสดงความชื่นชมกับเจาหนาที่ทุกคนในภารกิจ ดังกลาวนี้ที่ไดเดินเขาสูการเปนตัวอยางการดําเนิน งานของเหลาทัพเพื่อตอบสนองภารกิจของประเทศ ไมวาจะกาวเล็ก ๆ อยางเชนในวันนี้ หรือกาวที่ใหญ กวาในวันหนา เชือ่ วาทุกทานจะสรางการเปลีย่ นแปลง ที่ยิ่งใหญไปดวยกันไดอยางแนนอนคะ

ภาพถายแสดงเสนทางและปริมาณรถยนตที่ไดจาก UAV

UAV ทอ.ขณะบินสํารวจเสนทางการจราจร

UAV ทอ.แบบตาง ๆ ที่ใชในการบินสํารวจเสนทางการจราจร

99



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.