หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน กรกฎาคม 2554

Page 1



“...ผู้คิดดีปฏิบัติชอบ คือคิดในสิ่งที่ดีที่เจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ ถูกต้องและชอบธรรม ย่อมได้รับผลดีที่เป็นความสุขความเจริญ ที่แท้และยั่งยืน...” พระราโชวาท ของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฎ วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๓


องค์สยามมกุฎราชชาติสยาม ทรงเพียบพร้อมพระบุญญาบารมี เป็นความหวังตั้งใจไทยทั้งชาติ ทั้งศิลป์ศาสตร์ปราดเปรื่องเรืองดํารง สนองงานในองค์พระทรงเดช แม้งานในพระองค์ทรงเชี่ยวชาญ ยามทั่วถิ่นแดนไทยเกิดภัยแล้ง ทุกวิธีที่ควรล้วนศรัทธา แม้ภัยหนาวเข้ามาทุกคราสมัย ทุกขภัยหลายหลากมากทวี ทรงศรัทธาในพระธรรมคุณล้ําค่า ผู้แสวงทางบุญต่างอุ่นใจ ระลึกพระพุทธคุณบุญหนักหนา ทรงนําสวดธรรมจักรหลักมุนี อีกหลายหลากมากมีจริยาวัตร ทรงเป็นศรีสง่ามาช้านาน ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสโลก ทั้งทวยเทพเทวารักษาองค์

สมพระนามพระบรมสมศักดิ์ศรี สมมณีแห่งชาติราชวงศ์ พระปรีชาสามารถราษฎร์ประสงค์ สมเป็นองค์สยามมกุฎสุดประมาณ ต่างพระเนตรพระกรรณยิ่งสิ่งสืบสาน หลักทหารปฏิบัติตามอัตรา ทั้งน้ําแห้งน้ําท่วมร่วมสรรหา เกิดหรรษาสดใสใต้บารมี ทรงโปรดให้แจกผ้าห่มสมราศี พระบารมีแผ่ถึงจึงเบาใจ พระศาสนาอุปถัมภ์นําผ่องใส พระนําไปพุทธภูมิชุมมณี ณ พุทธคยาพาสุขศรี แผ่บารมีเลิศล้นผลตระการ ปฏิบัติเพื่อไทยยิ่งไพศาล คุณตระการเสริมให้ไทยดํารง อํานวยโชคสยามมกุฎุจุดประสงค์ สิริคงมิ่งขวัญนิรันดร์เทอญ.

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดทําหนังสือข่าวทหารอากาศ (นาวาอากาศเอก เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์)


ปวงชาวไทยมีขวัญใจอีกองค์หนึ่ง เสด็จมาจากฟ้าวิลาวัณย์ พระปรีชาสามารถชาติสดใส พระกรุณาล้ําเลิศเทิดธํารง ดํารงศาสตราจารย์งานพิพิธ ปริญญาเอกเสริมให้ได้แต่พร มีโรคภัยหลายหลากยากแก้ไข เช่นมะเร็งเกิดมากยากทัดทาน การจุดธูปบูชาเป็นสาเหตุ อาจเปลี่ยนแปลงคิดใหม่หลายแนวทาง เรื่องดนตรีสีสรรสุดบรรเจิด ทรงแนะให้ผู้สนใจใส่กมล งานหน่วยแพทย์สําคัญขันอาสา ทั่วถิ่นไทยในแคว้นแดนมงคล แม้ขณะพระองค์ทรงพักฟื้น งานทุกอย่างสําเร็จสมเจตนา ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสศรี คุ้มครององค์เจ้าฟ้าทุกคราไป

พระนามซึ้งจุฬาภรณอมรสรรค์ ทรงผูกพันชาติไทยวิไลพงษ์ น้ําพระทัยเปี่ยมบุญคุณประสงค์ สมนามองค์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์อวยชัยมิถ่ายถอน ทุกขั้นตอนวิจัยหลายประการ ทรงวิจัยพบทางแก้แก่สังขาร ทรงพบการแก้ไขหลายแนวทาง ทั้งไทยเทศควรพินิจมิคิดขวาง ควันธูปจางพร้อมโรคภัยเข้าในคน ทรงเป็นเลิศกู่เจิงเชิงมรรคผล ถึงเหตุผลดนตรีมีมงคล สมเด็จย่าสมเด็จป้าพากุศล สืบทอดผลงานสวัสดิ์วัฒนา ยังแช่มชื่นวิจัยไร้ปญ ั หา สมคุณค่าศาสตราจารย์งานวิไล เทพทั่วฟ้าธาตรีอดิศัย น้อมพรชัยขอพระองค์ทรงพระเจริญ.

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดทําหนังสือข่าวทหารอากาศ (นาวาอากาศเอก เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์)


1

ข่าวทหารอากาศ คณะผู้จัดทำหนังสือข่าวทหารอากาศ

หนังสือข่าวทหารอากาศ

เจ้าของ กองทัพอากาศ

ทีป่ รึกษา พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร พล.อ.ท.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ พล.อ.ต.หญิง มาลี ดิษฐบรรจง พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบตุ ร

ผูอ้ ำนวยการ พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของ กองทัพอากาศ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึ้นกับกรม ข่ า วทหารอากาศ มี น าวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็ น บรรณาธิ ก ารคนแรก ดำเนิ น การโดยทุ น ของข้ า ราชการ ทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยู่ในความ อำนวยการของกรมยุ ท ธศึ ก ษาทหารอากาศ ตามคำสั ่ ง ทอ. (เฉพาะ)ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ มีเจ้ากรมยุทธศึกษา ทหารอากาศ เป็นผูอ้ ำนวยการ ตามคำสัง่ ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕/๙๙ ลงวันที่ ๗ ม.ค.๒๔๙๙ ภารกิจ

รองผู้อำนวยการ

ดำเนิ น กิ จ การหนั ง สื อ ข่ า วทหารอากาศ ให้ เ ป็ น ไป ตามนโยบายของกองทั พ อากาศ มี ผ ู ้ อ ำนวยการหนั ง สื อ ข่ า ว ทหารอากาศ (จก.ยศ.ทอ.) เป็นผูบ้ งั คับบัญชารับผิดชอบ

พล.อ.ต.ยงยุทธ หาบุบผา เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ น.อ.ประเสริฐ ช่างประเสริฐ รองเสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผูจ้ ดั การ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ

วัตถุประสงค์/นโยบายกองทัพ ๑. เพือ่ เพิม่ พูนความรูใ้ นกิจการทัว่ ๆ ไป ๒. เพือ่ แลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี อันจะเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม ๓. เพือ่ เผยแพร่กจิ การกองทัพอากาศ

น.อ.สหัสชัย มาระเนตร น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี

กองบรรณาธิการ

น.ท.พินจิ นุชน้อมบุญ

นโยบายการดำเนินงานในปัจจุบัน ๑. เป็นสือ่ กลางในการแลกเปลีย่ น แสดงความคิดเห็น ทีเ่ ป็นประโยชน์ในการพัฒนากองทัพและส่วนรวม ๒. เรือ่ งทีน่ ำลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ * ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบาย กองทัพอากาศ ทีก่ ำหนด * ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อความมัน่ คงของชาติ บุคคล หรือส่วนรวม * ความยาวของเรือ่ งไม่ควรเกิน ๕ ตอน แต่ละตอน ไม่ควรเกิน ๕ หน้า * ต้องได้รบั การพิจารณาและเห็นชอบจากคณะ กรรมการพิจารณาเรือ่ งของสำนักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ

นาง พรทิพย์ ศรีวรพงษ์

กำหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

บรรณาธิการ พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร ผู้ช่วยบรรณาธิการ น.อ.หญิง พัชรา ภัทรสุวรรณ น.อ.หญิง นภิศพร สังข์ทอง

ประจำกองบรรณาธิการ น.ท.หญิง กาญจณา แตงฉ่ำ น.ท.หญิง วรรณิภา ยีป่ ระชา น.ต.สินธพ ประดับญาติ

น.ท.นิพนธ์ ก่อสินค้า น.ท.หญิง อนงค์นาถ บุญจฑิตย์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์

กองจัดการ น.ท.สมพร สิงห์โห ร.ท.หญิง สุมาลี สายะนันท์ พ.อ.อ.ประจวบ วีระชนม์ พ.อ.อ.สมศักดิ์ เพียรประเสริฐ จ.อ.หญิง เศาวณี พ่านเผือก สำนักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม.๑๐๒๑๐ โทร. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑, ๐-๒๕๓๔-๔๒๔๑ Fax. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑

พิมพ์ท่ี โรงพิมพ์กองทัพอากาศ ดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร.๐-๒๕๓๔-๒๙๔๓ , ๐-๒๕๓๔-๕๑๔๘

ค่าสมาชิกภายนอก ปีละ ๓๕๐ บาท (รวมค่าส่ง) สัง่ จ่าย ปณ. คลองถนน ๑๐๒๒๒ ความคิดเห็นของผูเ้ ขียนในหนังสือฉบับนีไ้ ม่มส ี ว่ นผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด

ออกแบบปก : น.ต.สินธพ ประดับญาติ

http://www.rtaf.mi.th หรือ E-mail : rtafmag@gmail.com


1

ปีท่ี ๗๑ ฉบับที่ ๗ เดือน กรกฎาคม ๒๕๕๔

สารบัญ บทบรรณาธิการ

๗ ธ สถิตในใจประชา : ศาสนาฮินดูในประเทศไทย ๙ ๑๕ ๑๙ ๒๓ ๒๗ ๒๘ ๓๔ ๓๙ ๔๕ ๕๑ ๕๖

...ตามรอย ปฏิบตั กิ ารของทหารไทยในงานพระราชสงคราม ณ ประเทศฝรัง่ เศส พ.ศ.๒๔๖๑ ...พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร ครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ ...น.อ.ศักดิพ์ นิ ติ พร้อมเทพ คล้ายวันสถาปนา ๖๕ ปี โรงเรียนนายทหารชัน้ ผูบ้ งั คับฝูง ...ปชส.รร.นฝ.ยศ.ทอ. ๕๓ ปี วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ ...น.อ.หญิง สุพศิ ประสพศิลป์ ผบ.กองกำลังทางอากาศหญิงคนแรก ของ ทอ.สหรัฐฯ ...พล.อ.ท.ยุทธพร ภูไ่ พบูลย์ F-16 Out of Control Recovery ...น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ รถยนต์ Humvee บินได้ ...พ.อ.อ.จำนงค์ ศรีโพธิ์ การสื่อสารแบบไร้สาย : เทคโนโลยีแห่งอนาคต ...น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ๑๑ มีนาคม “มหาภัยสึนามิ” ประเทศญีป่ นุ่ ...เฟื่องลดา Attache Reise ...Jetta, Berlin 2010 ภาษาไทยด้วยใจรัก “เล่นกับคำพ้องรูปพ้องเสียง” ...นวีร์

๑๐๐

๖๐ พูดจาประสาหมอพัตร “ทำไมจึงดื้อยา” ๖๓ ๖๖ ๗๑ ๗๓ ๗๙ ๘๓ ๘๙ ๙๑ ๙๕ ๙๖ ๙๘ ๑๐๒ ๑๐๕

...หมอพัตร Crossword ...อ.วารุณี ครูภาษาพาที : คำเตือนและคำแนะนำ ...ครูภาษา เวลาการ์ตนู ...มิสกรีน การบริหารวิกฤตการณ์กบั ปัญหาความมัน่ คง แบบใหม่ ...Pharaoh วปอ.อินเดีย เขาเรียนกันอย่างไร ...หลวงชาญ สามแผ่นดิน ตอนที่ ๒ ...พล.อ.อ.เดชา หันหาบุญ มุมกฎหมาย “ข้าราชการผู้กระทำความผิดอาญา คดีถึงที่สุดให้จำคุก” ...น.ท.พงศธร สัตย์เจริญ Test Tip Part 12 ...Runy นานาน่ารู้ : ถนอมผ้า อย่างถูกวิธี ...บางแค มุมสุขภาพ “ระวังยุง ภัยตัวอันตรายหน้าฝน” ...นายห่วงใย วัตถุมงคล ของชาว ทอ. “กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ” ...น.อ.อภิชัย ศักดิ์สุภา (นนอ.๒๒) วันอาสาฬหบูชา ...น.อ.เกษม พงษ์พนั ธ์ ในรัว้ สีเทา


สวัสดี สมาชิกข่าวทหารอากาศทุกท่าน เดือนกรกฎาคม เป็นเดือนแห่งการครบรอบวันประสูติพระบรมราชวงศ์หลายพระองค์ คือ วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ ๔ กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทุกพระองค์ทรงประกอบพระกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมมากมาย ทรงสนพระทัยในปัญหาต่างๆ และทรงมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพสกนิกร ทรงบําเพ็ญพระกรณียกิจเป็นการแบ่งเบา พระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อย่างเต็มพระสติกําลัง เนื่องใน ศุ ภ มงคลวาร คล้ า ยวั น พระราชสมภพ และคล้ า ยวั น ประสู ติ เวี ย นมาบรรจบครบรอบอี ก วาระหนึ่ ง ข้ า ราชการ กองทัพอากาศ ขอถวายพระพรชัยมงคล ให้ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน วันที่ ๑๕ กรกฎาคม เป็นวันอาสาฬหบูชา(ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๘) นับเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า วันที่ ๑๖ กรกฎาคม เป็นวันเข้าพรรษา(แรม ๑ ค่ํา เดือน ๘) พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจํา ณ วัดใดวัดหนึ่ง ระหว่างฤดูฝน ในโอกาสแห่ง วันสําคัญทางพุทธศาสนาทั้ง ๒ นี้ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ร่วมกันรําลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ด้วยใจสักการะเป็นที่สูงสุดพร้อมกัน คณะผู้จัดทําได้รับ “เสียงสะท้อนกลับ” จากผู้อ่านถึงความพึงพอใจหนังสือฉบับเดือน มี.ค., เม.ย. ในเรื่องการ เปลี่ยนกระดาษภายในฉบับเป็นกระดาษถนอมสายตา(Green read) ขนาด ๖๕ แกรม ซึ่งเป็นกระดาษชนิดไม่เคลือบผิว สีของกระดาษจะออกสีครีม มีคุณสมบัติที่อ่านถนอมสายตา และได้ปรับปรุงกระดาษปก โดยใช้ขนาด ๑๖๐ แกรม (เดิม ๑๒๐ แกรม) ดังนั้นตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามดังกล่าว ทั้งนี้เป็นการ “พัฒนาปรับปรุง-เปลี่ยนแปลง” (ภายใต้งบประมาณที่จํากัด) เพื่อสมาชิกข่าวทหารอากาศทุกท่าน ภาพจากปกในฉบับนี้ อ่านรายละเอียดได้จาก....เรื่อง F-16 Out of Control Recovery สะท้อนประสบการณ์ตรง อย่างน่าสนใจ ถึงวิธีการแก้อุบัติเหตุจากการที่นักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้....เรื่อง รถยนต์ Humvee จะได้ ทราบแนวคิดในการพัฒนารถยนต์ที่สามารถแล่นบนถนนและบินในอากาศได้ .....เรื่อง การสื่อสารแบบไร้สาย จะได้ ทราบถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตในหลายแง่มุม และนอกจากนี้ ยังมีเรื่องประจําฉบับอีกมากมาย เชิญพลิกอ่านได้ตาม อัธยาศัย บรรณาธิการ


ตามรอย ศาสนาเปนสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เปนหลักในการคิดการปฏิบัติ เปนแนวทางในการอยูรวมกันของ มนุษยในสังคม พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ไดพระราชทานพระราชดํารัสแกผูแทนองคกรศาสนาและ ผูแทนสถาบันการศึกษาตางๆ ที่เขาเฝาถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลา ผกาภิรมย เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๒ ตอนหนึ่งวา “...ในเมืองไทยนี้ ใครจะถือปฏิบัติตามศาสนาใดก็ไดทั้งนั้น เคยชี้แจงอยูเสมอวา เมืองไทยนี้ ที่อยูไดก็เพราะไมมีกีดกันระหวางคนโนนศาสนาโนน คนนี้ศาสนานี้ แตวาเปนที่ทราบกันดีวา ทุกคน ปฏิบัติศาสนกิจของตนๆ ดวยความมุงดีหวังดี ตั้งใจที่จะใหเกิดประโยชนตนและประโยชนสวนรวม ศาสนาทุกศาสนาจึงใชไดทั้งนั้น ขอแตเพียงอยาใหเบียดเบียนซึ่งกันและกัน” ศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณมีอยู ในเมืองไทยมาแตบรรพกาล ในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่ อ บรรยายความรุ งเรืองของพระพุ ทธศาสนา ก็ ได กล าวถึ งพราหมณ ผู นั บถื อศาสนาฮิ นดู ว า “เพื่ อให สมเด็ จพระเจ าแผ นดิ นทรงพระเจริ ญ ในราชสมบั ติ ปราศจากภยั น ตราย อั น ว า พระมหากษั ต ริ ย ขั ต ติ ย ราชตระกู ล ก็ ดี และ นรชาติ ประชาชนชายหญิ งตระกู ลทั้ งหลายก็ ดี ยอมเชื้อเชิญพราหมณหมูนี้ไปในการมงคลตางๆ มีการทําอาวาหะมงคล เปนตน พราหมณก็บรรลือเสียงสังข รดน้ํา อานอิศวรเวทวิษณุมนตร อวยชัยใหพรโดยคัมภีรไสยศาสตร”


สมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยามี ตํ า แหน ง จุ ฬ าราชมนตรี สํ า หรั บ ศาสนาอิ ส ลาม มี บ าทหลวงผู เ ผยแพร ศ าสนาคริ ส ต และ มี ตํ า แหน ง พระมหาราชครู ใ นราชสํ า นั ก ผูประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ ในสมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร ศาสนา ฮิ น ดู ห รื อ พราหมณ มี ตํ า แหน ง สํ า คั ญ ใน ราชสํานัก มีหนาที่ประกอบการพระราชพิธี กั บ พิ ธี ม ง ค ล ข อ ง ป ร ะ ช า ช น ค ว บ คู ผสมผสานกั บ พิ ธี ท างพุ ท ธศาสนา เช น หอยสังขที่พราหมณใชบรรจุน้ําเทพมนต คนไทยก็นํามาใชบรรจุน้ําพระพุทธมนตที่พระสงฆปลุกเสกดวย คาถาพระพุทธคุณ เพื่อรดที่ศีรษะหรือมือในการประสาทพร การสมโภช และทําขวัญตางๆ พระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว ก็ ไ ด ท รงใช พ ระมหาสั ง ข ใ นพระราชพิ ธี ต า งๆ เช น พระราชพิ ธี พระราชทานน้ําพระพุทธมนต ดวยพระมหาสังขทักษิณาวัฏ ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน น้ําพระพุทธมนตและเทพมนต แกพระเจาหลานเธอในพระราชพิธีสมโภช ๓ วัน พระราชพิธีสมโภชเดือน และ ขึ้นพระอู ในงานพระราชพิ ธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ใน พ.ศ.๒๕๓๐ พระบาทสมเด็ จ พระเจา อยูหั วไดทรงสถาปนาสมณศั กดิ์พระสงฆซึ่ง ดํารงในสมณคุณ ก็ไดพระราชทานสัญญาบัตรตั้ง ฐานั น ดรศั ก ดิ์ แ ก พ ราหมณ ป ระจํ า พระราชสํ า นั ก มี พ ระครู ส ตานั น ทมุ นี ( ละเอี ย ด รั ต นพราหมณ ) เป น พระราชครูอัษฎาจารย พราหมณชวิน รัง สิพราหมณกุล เปนพระครูวามเทพมุนีรามเวทีศรีไสยศาสตร อนุษฏภวาทโกศล พราหมณถาวร ภวังคนันท เปนพระครูศิวาจารย พราหมณอรุณ สยมภพ เปนพระครู สตานันทมุนี สถานที่ อั น เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ ศาสนาฮิ น ดู ไ ด รั บ การดู แ ลบํ า รุ ง รั ก ษาเป น อย า งดี เช น เสาชิ ง ช า โบสถพราหมณ และเมื่อสมาคมฮินดูสมาธแหงประเทศไทยกอสราง “เทพมณเฑียร” ขึ้นในบริเวณโรงเรียน ภารตวิทยาลัย เพื่อใหเปนศูนยรวมของศาสนาฮินดูในประเทศไทย ประดิษฐานพระเปนเจาองคสําคัญที่ ชาวฮินดูนับถือ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ เสด็จพระราชดําเนินไปทรงเปน ประธานในพิธีเปด เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๒ มิ ไ ด เ พี ย งมิ ไ ด กี ด กั น ในการนั บ ถื อ ศาสนาเท า นั้ น พระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว ทรงอุ ป ถั ม ภ ทุกศาสนาที่ประชาชนเคารพนับถือ เทพมณเฑียร

(ขอมูล : สํานักงานเสริมสรางเอกลักษณของชาติ สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)


ที่มา :- ดุสิตสมิตเลม ๖ ฉบับพิเศษ-ฉบับที่ ๖๖ (มกราคม – กุมภาพันธ – มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๒) “เพื่อเปนการเคารพตอผูเขียนรายงาน จึงขอคงไวซึ่งอักขระวิธีตามตนฉบับ”

พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร รวบรวม

(ตอจากฉบับที่แลว) เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน, นายพลตรี พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ไดนําเครื่องราชอิศริยาภรณ ซึ่งไดทรง พระกรุณาโปรดเกลาฯพระราชทานแกนายทหารฝรั่งเศส ที่รับราชการอยูกับกองใหญรถยนตรสยาม, มามอบ ใหแกนายทหารผูที่จะไดรับพระราชทาน คือ :1. เครื่องราชอิศริยาภรณ ภูษณาภรณ ชางเผือกชั้นที่ 4, แกนายรอยเอก ปโรต ผูกํากับการกองใหญ รถยนตรฝรั่งเศส. 2. เครื่ อ งราชอิ ศ ริ ย าภรณ ทิ พ ยาภรณ ช า งเผื อ กชั้ น ที่ 5. แก น ายร อ ยตรี โอเดแบรต (SousLieutenant odebert ) นายทหารลามประจํากองใหญรถยนตร. ในวันนี้ไดมีเหตุระเบิดขึ้น ณ ที่จอดรถยนตรหมวด 3 กองยอยที่ 2, พลทหารพรม แดงเตงวรรณ, ถูกฤทธิ์ของระเบิดถึงแกกรรม. วันที่ 15 พฤศจิกายน, นายพันตรี สเตนบอก ผูบังคับการกองรถยนตรที่ 1, ไดมาแจกตราครัวเดอะแกร (Croix de Guerre ) แกนายทหารชั้นสัญญาบัตรซึ่งมีความชอบในการไปตรวจทางในยานกระสุนปนใหญเล็ก ของขาศึก คือ :1. นายรอยเอก แมน เหมะจุฑา ผูบังคับกองยอยที่ 3 (ไดเลื่อนยศจากนายรอยโทแลว) 2. นายรอยตรี เภา เพียรเลิด ผูชวยผูบังคับกองยอยที่ 3. นายพลตรี พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ ไดอยู ณ ที่นั้นดวย.


เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน, นายพันตรี แฮน (Major Han) ผูบังคับการทหารชางอเมริกันที่ 53 ไดขอให นายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค มีการฝกหัดทหารใหทหารอเมริกันดู, เพราะทหารอเมริกันในบังคับบัญชา ของเขา เมื่อมาจากอเมริกาถึงดินแดนฝรั่งเศส ก็ไดฝกหัดแตราชการสนามสําหรับทหารชางเทานั้น. ทหารที่เหลือในกองรถยนตรซึ่งมิไดไปในราชการไดรวมกันฝกหัดดัดตนทามือเปลา, ทาดัดตนดวย ปน, ทาอาวุธเวลาอยูกับที่, วิธีหัน, การแปรแถว, ขยายแถว, ทายิงในแถวชิดและแถวขยาย, การเคลื่อนที่. ทหารอเมริกันทั้งกรมไดแสดงความพอใจมาก, แสดงความขอบใจแกนายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค, เมื่อเสร็จการฝกหัดแลว. เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน, นายพล กวากูกส( General Goigoux) แมทัพกองทัพนอย, ไดรับคําสั่ง จากนายพล ฟอช ( Marechal Foch) จอมทัพบกสัมพันธมิตรใหมาตรวจดูราชการในกองใหญรถยนตร, ถามถึงความทุกขสุขและกิจการที่ไดกระทําไปแลว; เมื่อสมควรแกเวลาจึ่งไดลากลับ. ในเดือนนี้มีพลทหาร 3 นาย ซึ่งตองบาดเจ็บโดยถูกระเบิดในเวลาราชการ, ไดรับใบประกาศนิยบัตร ความชอบจากนายพันตรี ดูมังซ (Commandant Doumence) ผูบัญชาการรถยนตรของกองทัพฝรั่งเศส. พลทหารทั้ง 3 นี้ คือ, 11186 พลทหารโตะ ซุกซอนภัย, 11185 พลทหารสิน สนสกุล, 11226 พลทหารหอม ยอดยลสุข, ปฏิบัติการของทหารในเดือนพฤศจิกายนนี้, นับวาเปนการลําบากมาก เพราะรถยนตรเวลาไป บรรทุกเดินไปเปนกระบวน, แตครั้นถึงตําบลบรรทุกไดบรรทุกของขึ้นรถยนตรแลว จากตําบลนั้นไปรถตอง แยกไปทําการสงของเปนสวนยอยตามตําบลตางๆ แหงละคันเดียวบาง 2 คันบาง; บางครั้งนําเนื้อสดไปให เจาพนักงานผูจําหนายแกพลเมือง, เมื่อจําหนายไมหมดนํากลับไปโรงฆาสัตว, เจาพนักงานที่โรงฆาสัตว เพิ่มเนื้อใหและใหไปสงที่ตําบลอื่นอีก; บางครั้งเสบียงประจํากายและน้ํามันประจํารถหมด, ผูบังคับบัญชา ตองจัดไปเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนกลับ; บางคราวฝนตกตลอดทั้งสับดาหกระทําใหถนนซุดโซมแฉะลื่นมาก ลําบากแกการขับรถ, อากาศก็หนาวจัด, ปรอทลงต่ํากวา 0 เซนติเกรต. ในเวลาที่ทหารกลับจากทําการโดยมาก เปยกฝนตองสรวมรองเทาและถุงเทาที่เปยกชุมอยูเสมอตั้ง 10 ชั่วโมง, ตั้งแตศีรษะตลอดเทาเปรอะเปอนไปดวย โคลนเลนทั้งนั้น; แมดังนั้นก็ดีทหารก็มิไดมีความยอทอ,อุสาหะปฏิบัติการไปจนสําเร็จตามนาที่ของตนเสมอ. วันที่ 11 ธันวาคม, นายรอยเอก เลอ รอลลัง (Capitaine Le Rollin) ไดยายมาเปนผูกํากับการกอง ทหารบกรถยนตร สยามแทนนายรอยเอก ป โรต; กับในเดื อนนี้ นายพัน ตรี สเตนบอก ผูบังคั บการกรม รถยนตรที่ 1 ไดขอใหเรียบเรียงประวัติยอตั้งแตเริ่มตั้งกองทหารบกรถยนตร ขึ้นจนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน, ซึ่งเปนวันสงบศึก. ในระหวางวันที่ 15 กับ 21 ธันวาคมนี้, กองทหารบกรถยนตรไดเดินทางจากฝรั่งเศสไปประเทศ เยอรมนี, ไดรับคําสั่งใหไปขึ้นอยูในกองทัพยึดดินแดนของราชศัตรู.


ที่พักกองทหารทุกเหลานี้, เปนโฮเตลบาง, โรงทําเหลาองุนบาง, โรงสีแปงบาง; มีนาตางปดและ อบอุน, ทหารไดรับความสุขแตพอควรในฤดูหนาวที่จะหาได. สวนที่พักนายทหารนั้นพักอยูตามบานราษฎร, ใชเตียงผาใบสนามเปนเตียงนอน. การลําเลียงในเดือนธันวาคมนี้. โดยมากทหารมักตองทําการแรมวันแรมคืน, ตองจอดรถยนตรตาม สนามบาง, รถเสียก็ตองจอดนอนตามถนนหนทางบาง, อากาศก็หนาวจัดจะหาไฟอบอุนก็ยาก, ผาหมก็กันหนาว ไมพอ, เพราะไมสามารถนําไปไดมากดวยติดขัดแกการลําเลียง; จึ่งนับวาทหารไดรับความลําบากในเรื่องที่ ตองทนหนาวเชนนี้อยูบาง. การลําเลียงของกองรถยนตรสยาม ประจําเดือนมกราคม,พ.ศ.2461 สิ่งของทีบ่ รรทุกขึ้น คนและสัมภาระ

เสบียงคนและสัตว เสบียงตางๆ

เขาเปลือก สัมภาระตางๆ กระสุนดินปน

ตําบลลําเลียงขึ้น เมืองเวรังช(Verange)ใกลนงั ซี (Nancy),ลันเดา (Landau), ดอมบาสล (Dombasle), บัดดูรคไฮม(Bad Durkheim); ทีพ่ ักแพนกบัญชาการ รถยนตรตําบลกรันชตัดต (Granstadt), ไบรตฟูรต(Breitfurth). สถานีคลังเสบียงซีรมซังส (Cirmasens), ไคเซอรเลาแตรน, ซีรมซังส

ตําบลลําเลียงลง คีรชไฮม(Kirchheim), สถานีลันเดา, ลุดวิกสฮาเฟน(Ludwigshafen)} ไคเซอรเลาแตรน(Kaiserlautern).

ชไตนอัลเบน(Steinalben), ฮอรบัค(Horbach) ฟรังเกชไตน(Frankestein), เองเกนบัค(Enkenbach), ชอปป (Schopp). สถานีคนั เดล(Kandel) สไปเยร(Spire) สถานีนอยชตัดต เมืองนอยชตัดต เมืองลันเดา สถานีลนั เดา,วัคเคนไฮม คลังกระสุนเมืองลันดา, สถานีลันดา, (Wachenhein) ลอยเมอรสไฮม (Luemersheim), ฟรีเดลสไฮม (Friedelsheim)


สิ่งของทีบ่ รรทุกขึ้น กระสุนดินปน

ไมกระดาน เสื้อผา ของตางๆ แปง

ตําบลลําเลียงขึ้น ตําบลลําเลียงลง เมืองลันเดา สถานีลนั เดา,วัคเคนไฮม คลังกระสุนเมืองลันดา, สถานีลันดา, (Wachenhein) ลอยเมอรสไฮม (Luemersheim), ฟรีเดลสไฮม (Friedelsheim) ลุกวิกสฮาเฟน,ไคเซอรวอลเต ฟรีเดอสไฮม, ลันดา. (Kaiservolte), ลันดา. สถานีลนั เดา, เกลาฟเฟกัฟฟ คลังเสื้อผาเมืองลันดา, (Glauffegaffe) นอยชตัดต. ไคเซอรสเลาแตรน เมืองลันเดา สถานีลนั เดา เมืองลันเดา พระเฉลิมอากาศ

ทหารไทยไดรบั ตราครัวเดอะแกร

เมื่อวันที่ 1 มกราคม, ซึ่งเปนวันเฉลิมพระชนมพรรษาและวันขึ้นปใหมของฝรั่งเศส, นายทหารนายสิบ พลทหารทั้งไทยและฝรั่งเศสไดมีการเลี้ยงเปนการรื่นเริง; มีทหารไทยบรรเลงดนตรีซึ่งเปนเครื่องจัดหาและ ทําขึ้นในสนามบาง, ทหารบางคนนําไปจากประเทศสยามบาง, เปนที่สนุกครึกครื้นพอใจแกทหารฝรั่งเศส เปนอันมาก. ต อ มาวั น ที่ 13 มกราคม มหาอํ า มาตย โ ท พระยาพิ พั ฒ นโกษา อรรคราชทู ต สยามประจํ า พระราชสํานักกรุงโรม, นายอุเตร (Monsieur Outrey) ผูแทนราษฎรจังหวัดคอชินไชนา (Cochinchina) และ ภรรยา, กับนายทหารฝรั่งเศสอีก 9 นาย, ไดนําของพระราชทานสําหรับวันเฉลิมพระชนมพรรษามาใหแก


นายทหารสัญญาบัตรทั้งไทยและฝรั่งเศส, และไดไปเยี่ยมทหารตามที่พักตางๆ ที่เมืองนอยชตัดต, มูสสบัค, ไกนสไฮม. บายวันนี้, นายพันตรี ดูมังซ ผูบัญชาการรถยนตของกองทัพฝรั่งเศสไดนําตราครัวเดอะแกรมาให แกนายรอยเอก เลอ รอลลัง ผูกํากับการกองใหญรถยนตรกับพลทหารฝรั่งเศสอีกคนหนึ่ง; และไดให ใบประกาศนิยบัตรแกนายรอยตรี ชุม จิตเมตตา ผูบังคับหมวดพยาบาลของกองใหญรถยนตร, นายสิบตรีใส อิทธิวัฒน ผูบังคับหมูพยาบาลในกองยอยที่ 2, สําหรับความชอบในการรักษาพยาบาลทหารไทยและ ฝรั่งเศสและพลเมืองชาวฝรั่งเศส; กับยังมีพลทหารที่ไดรับใบประกาศนิยบัตรสําหรับความชอบอีก 6 คน. ในค่ําวันนี้เอง, ไดเชิญมหาอํามาตยโท พระยาพิพัฒนโกษา, นายพันตรีดูมังซ. นายอูเตร, และ นายทหารเสนาธิการฝรั่งเศสซึ่งไปดวย, มารับประทานอาหารเย็นพรอมดวยนายทหารไทยและฝรั่งเศส, มี ทหารไทยบรรเลงเพลงดนตรีดวย, เมื่อเสร็จการรับประทานอาหารแลว, มหาอํามาตยโท พระยาพิพัฒนโกษา ไดกลาวมีใจความวา:“ขาพเจามีความยินดีที่ไดมารวมโตะเดียวกับทานทั้งหลาย. ในการที่ประเทศสยามไดเขากระทํา สงครามกับประเทศฝรั่งเศสครั้งนี้ นับวาเปนเกียรติยศอันสูง; และหวังใจวาประเทศทั้ง 2 นี้ จะเปนเพื่อนรักกัน ตลอดไป. ขาพเจามีความยินดีขอชักชวนทานทั้งหลายดื่มใหพรแกกองทัพฝรั่งเศสซึ่งไดรบอยางกลาหาญจน ไดชัยชนะแลว, และขอดื่มใหแกประเทศฝรั่งเศสดวย.” ครั้นแลวนายอูเตรไดยืนขึ้นพูดมีใจความวา:“ขาพเจามีความยินดีที่ไดพบกันในดินแดนขาศึก. ในระหวางที่รัฐบาลสยามสงทหารอาสาและ กําลังฝกหัด, ขาพเจายังอยูที่กรุงเทพฯไดแลเห็นความพยายามของทหารไทยตลอดจนความสามารถ. เนื่องจากเหตุที่อัตคัดเรือลําเลียง, มิฉนั้นรัฐบาลสยามคงจะไดสงทหารอาสาออกมาชวยประเทศฝรั่งเศสตั้ง 50,000 คน, “ขาพเจาไดเคยไปประเทศญี่ปุนมาแลว และไดมีโอกาศรูจักกับนายทหารญี่ปุนบางนาย ซึ่งไดเคย รับการศึกษาจากโรงเรียนนายทหารซังเซียรทุกๆ คน. ไดรําฦกและพูดถึงเพื่อนนักเรียนฝรั่งเศส. ขาพเจาเชื่อวา ทหารไทยเมื่อกลับไปประเทศสยามแลว, คงจะรําฦกถึงเพื่อนนายทหารฝรั่งเศสซึ่งไดเคยกระทําการรวมศึก ในยุทธบริเวณดวยกัน. “ชนชาติฝรั่งเศสมีความยินดีมากที่ไดเห็นประเทศสยามสงทหารมาชวยสงคราม, และหวังวาจะเปน มิตรกันตลอดไปในภายภาคนา. ขาพเจาขอดื่มถวายพระพรแดพระเจากรุงสยาม, กองทัพบกสยาม, และ นายทหารไทยในกองใหญรถยนตรสยาม.” ปฏิบัติการในเดือนนี้เปนไปโดยเรียบรอย. แตรถยนตรมีชํารุดมากเนื่องจากอากาศหนาวจัด ทําให น้ําในหมอน้ําแขงหมุนเครื่องติดยาก, บางคราวเมื่อเดินแลวหมอน้ํารั่ว; การเจ็บปวยของทหารมีมากขึ้น แต แพทยไดจัดการระวังรักษาเปนอยางดี จึ่งมิไดมีโรคภัยรายแรงอยางใด.


การลําเลียงของกองรถยนตรสยาม ประจําเดือนกุมภาพันธ,พ.ศ.2461 สิ่งของทีบ่ รรทุกขึ้น สัมภาระสําหรับสรางสพาน เขาเปลือก กระสุนดินปน ฟนและถานหิน แปง เสื้อผา เสบียง สรรพาวุธ ไม สัมภาระตางๆ

ตําบลลําเลียงขึ้น ตําบลลําเลียงลง เมืองเวรังช คลังเมืองลันเดา สถานีลนั เดา,คลังสินคาเมือง- เมืองลันเดา,คลังเก็บหญาเมือง นอยชตัดต นอยชตัดต สถานีลนั เดา,คักเคนสไฮม เมืองลันเดา, ฟรีเดลสไฮม, (Kachenshiem) ลอยเมอรสไฮม. สถานีลนั เดา,ไคเซอรวอรธ เมืองลันเดา, ฟรีเดลสไฮม. (Kiserworth),นอยชตัดต สถานีลนั เดา เมืองลันเดา สถานีลนั เดา เมืองลันเดา สถานีลนั เดา อันนไวลเลอร (Annweiller) สถานีลนั เดา เมืองลันเดา นอยชตัดต, สถานีลนั เดา, ฟรีเดลสไฮม, เมืองลันเดา, ลุดวิกสฮาเฟน, ไคเซอรวอรธ. คลังเมืองลันเดา เอเดนคอนเบน, (Edenkonben), โ มักซิมิลิอาน(Maximilian) ซีน (Usine), ชไนเดอร(Schnei- ใกลวอรธ(Worth), นอยชตัดต, der), นอยชตัดต. ลักเคน (Lacken)

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ, นายพันเอก ติสสิเอร (Colonel Tissier) ไดนําตราครัวเดอะแกรมาใหแก นายทหารไทยผูมีนามตอไปนี้ :1. นายพันตรีหลวงรามฤทธิรงค ผูบังคับกองใหญรถยนตร 2. นายรอยเอก ศรี สุขะวาที ผูบังคับกองยอยที่ 1 3. นายรอยเอก เพิ่ม อุณหะสุต ผูบังคับกองยอยที่ 2 4. นายรอยตรี กมล โชติกเสถียร ผูชวยผูบังคับกองยอยที่1 5. นายรอยตรี ภักดิ์ เกษสําลี ผูชวยผูบังคับกองยอยที่ 2 ปฏิบัติการในเดือนนี้รถยิ่งเสียมากขึ้น ตองจัดการแกไขมาก, อากาศก็ยิ่งหนาวจัดขึ้น ในเวลา กลางคืนปรอทลดต่ํากวา 0 ถึง 15 ํ เซนติเกรด, นอกจากนั้นคงปรกติ.

พระเฉลิมอากาศ

(อานตอฉบับหนา)


น.อ.ศักดิ์พินิต พรอมเทพ พวกเราทหารอากาศคงพอจะทราบกันบาง แลววาในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕ กองทัพอากาศ จะจัดงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ป การบินของบุพการี ทหารอากาศ แตหลายๆ คนอาจจะมีขอสงสัยวา วัน นี้ มีค วามสํ า คั ญต อ ประวั ติ ศ าสตรก ารบิน ของ ประเทศไทยอย า งไร และงานฉลองดั ง กล า วจะ ประกอบดวยกิจกรรมอะไรบาง ลองมองย อ นกลั บ ไปเมื่ อ เกื อ บ ๑๐๐ ป ที่ แ ล ว ซึ่ ง ตรงกั บ รั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล า เจ า อยู หั ว พระองค ท า นทรงมี พระบรมราโชบายในการทํ า นุ บํ า รุ ง กิ จ การทหาร อยางจริงจัง และดวยความริเริ่มของ พล.อ.สมเด็จ พระเจ า บรมวงศ เ ธอ เจ า ฟ า จั ก รพงษ ภู ว นารถ กรมหลวงพิ ศ ณุ โ ลกประชานารถ เสนาธิ ก าร ทหารบก (พระบิดากองทัพอากาศ) และ จอมพล สมเด็ จ พระเจ า บรมวงศ เ ธอ เจ า ฟ า กรมหลวง นครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ซึ่งได เสด็ จ ดู กิ จ การทหารในยุ โ รปในช ว งต น ป ๒๔๕๔ และไดเห็นความกาวหนาดานการบินในประเทศ ฝรั่งเศส ดังนั้นทั้ง ๓ พระองค จึงทรงตระหนักถึง

ความจํา เป น ที่ป ระเทศสยามต อ งมี เครื่อ งบิ น เพื่ อ ปองกันประเทศ นอกจากนี้รัชกาลที่ ๖ ยังทรงเล็งเห็น วาการบินสามารถชวยปลูกฝงความรักชาติไดอีก ประการหนึ่งดวย จากนั้นกระทรวงกลาโหม จึงไดพิจารณา คั ด เลื อ กบุ ค คลผู มี ค วามเหมาะสม ไปศึ ก ษาวิ ช า การบิ น และในวั น ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๔ (ค.ศ.๑๙๑๒) ไดออกคําสั่งที่ ๒๑๑/๒๑๗๑๕ ใหสง นายทหาร ๓ คน คือ พ.ต.หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป), ร.อ.หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สิน-ศุข), และ ร.ท.ทิ พ ย เกตุ ทั ต ไปศึ ก ษาวิ ช าการบิ น ณ ประเทศฝรั่ ง เศส ซึ่ ง ถื อ ว า เป น ประเทศที่ มี ค วาม กาวหนาดานการบินมากที่สุดประเทศหนึ่ง นายทหารทั้ ง ๓ ท า นนี้ ทหารอากาศจะ รู จั ก ท า นในนาม พล.อ.ท.พระยาเฉลิ ม อากาศ, น.อ.พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์, และ น.อ.พระยา ทะยานพิ ฆ าต นั บ เป น นัก บิ น ชุ ดแรกของประเทศ ไทย เปนผูบุกเบิก สรางและพัฒนากิจการบินใหกับ ประเทศไทย จนไดรับการยกยองวาเปน “บุพการี ทหารอากาศ”


พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ

น.อ.พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์

เมื่อไดรับคําสั่งแลว บุพการีทหารอากาศ เริ่ ม ออกเดิ น ทางจากประเทศไทย เมื่ อ วั น ที่ ๒๘ กุ ม ภาพั น ธ ๒๔๕๔ (๑๙๑๒) และไปถึ ง ประเทศ ฝรั่ ง เศสในวั น ที่ ๒๑ มี น าคม ๒๔๕๔ (๑๙๑๒) หลั ง จากนั้ น ก็ เ ริ่ ม ศึ ก ษาภาษาฝรั่ ง เศสทั น ที เพื่ อ เตรียมตัวเขารับการฝกบิน ในยุคนั้น ประเทศไทยนับวันที่ ๑ เมษายน เ ป น วั น ขึ้ น ป ใ ห ม เครื่องบินเบรเกตปก ๒ ชั้น ดั ง นั้ น ห ลั ง จ า ก ที่ บุพการี ทหารอากาศ เดินทางมาถึงฝรั่งเศส ได ไ ม กี่ วั น ประเทศ ไทยก็ เ ปลี่ ย น พ.ศ. เปน ๒๔๕๕ ในขณะ ที่ ป ค.ศ.ยั ง คงเดิ ม คือ ๑๙๑๒ เนื่องจาก ป ค.ศ.เปลี่ยนตามหลักสากล ตั้งแต ๑ มกราคม

น.อ.พระยาทะยานพิฆาต

วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๕๕ (๑๙๑๒) บุพการี ทหารอากาศ ผ า นการตรวจร า งกาย พร อ มเป น นักบิน จากนั้นจึงเริ่มศึกษาและทําความคุนเคยกับ เครื่องบิน ที่จะใชฝกบิน ตั้ง แตวัน ที่ ๒๒ มิถุน ายน พ.ศ.๒๔๕๕ (๑๙๑๒) และแลววันสําคัญก็มาถึง วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๕ (๑๙๑๒) พระยาเฉลิมอากาศ เริ่มฝกบิน

กับเครื่องบินเบรเกตปก ๒ ชั้น ที่ตําบลวิลลาคูเบลย และพระยาเวหาสยานศิ ล ปสิ ท ธิ์ เริ่ ม ฝ ก บิ น กั บ


เครื่องบินนิเออปอรตปกชั้นเดียว ที่ตําบลมูรเมอลอง เลอกรังด สําหรับพระยาทะยานพิฆาตนั้น เริ่มฝกบิน ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๕๕ (๑๙๑๒) ดวยเครื่องบิน นิเออปอรตปกชั้นเดียว เชนเดียวกับพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ การฝ ก บิ น ในยุ ค นั้ น คงไม ส ะดวกสบาย เชนในปจจุบัน การบินยังเปนเทคโนโลยีใหมลาสุด ของโลก บุพการีทหารอากาศทั้ง ๓ ทาน ตองฝาฟน อุปสรรคนานั บ ประการ ทั้ ง จากสภาพแวดลอ มที่ ไมคุนเคย สภาพอากาศ เครื่องยนตกลไกที่ยังมี เครื่องบินนิเออปอรตปกชั้นเดียว

ความเชื่อถือไดไมมากนัก รวมทั้งจากอุบัติเหตุใน ระหวางการฝก บิน แต ในที่ สุดทั้ง ๓ ท านก็สําเร็จ การศึ ก ษา เช น เดี ย วกั บ ศิ ษ ย ก ารบิ น จากนานา อารยประเทศ พระยาเฉลิมอากาศ สําเร็จวิชาการบินตาม หลักสูตรของสโมสรการบินฝรั่งเศส (Aero Club of France Certificate) เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๕ (๑๙๑๒) และเข า ศึ ก ษาต อ ในโรงเรี ย นการบิ น ของ ทบ.ฝรั่ ง เศส โดยสํ า เร็ จ การศึ ก ษาได รั บ

ประกาศนียบัตรการบินทหาร (Brevet d’ Aviation Militaire Francaise) ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๕๖ (๑๙๑๓) พระยาทะยานพิ ฆ าต และพระยาเวหาสยานศิ ล ปสิ ท ธิ์ สํ า เร็ จ การบิ น ตามหลั ก สู ต รของ สโมสรการบินฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๕๖ (๑๙๑๓) และ ๕ มิ ถุ น ายน ๒๔๕๖ (๑๙๑๓) ตามลําดับ หลั ง จากสํ า เร็ จ การศึ ก ษาแล ว บุ พ การี ทหารอากาศยังคงอยูปฏิบัติราชการ ในการตรวจรับ เครื่ อ งบิ น และเครื่ อ งยนต ที่ ก ระทรวงกลาโหม สั่ ง ซื้ อ จากฝรั่ ง เศส นอกจากนั้นยังแวะดู กิ จ การด า นการบิ น ใ น ป ร ะ เ ท ศ ต า ง ๆ ระหวางการเดินทาง กลับ บุ พ ก า รี ทหารอากาศมาถึ ง ประเทศไทยในวัน ที่ ๒ พฤศจิ ก ายน ๒๔๕๖ (๑๙๑๓) และเริ่ ม ก อ ร า ง สรางกิจการบินใหกับประเทศไทย จนเจริญกาวหนา มาเปนกองทัพอากาศในทุกวันนี้ จะเห็ น ได ว า วั น ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๕๕ (๑๙๑๒) เป น วัน ที่คนไทยไดสัม ผัส ประสบการณ ด า นการบิ น ด ว ยฝ มื อ ของตนเองเป น ครั้ ง แรก เปนการนําประเทศไทยเขาสูเทคโนโลยีใหมลาสุด ของโลกในยุ ค นั้ น จึ ง นั บ ว า วั น นี้ เ ป น วั น สํ า คั ญ ใน ประวัติศาสตรการบินของไทย ที่ควรระลึกถึง


ในโอกาสที่จะครบรอบ ๑๐๐ ป การบินของ บุพการีทหารอากาศ ในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๒๐๑๒) นั้น กองทัพอากาศไดจัดเตรียมกิจกรรม ตางๆ เพื่อเฉลิมฉลองวาระอันสําคัญยิ่งนี้ ซึ่งบางสวน ไดเริ่มดําเนินการแลว เชนการประกวดตราสัญลักษณ ของงาน การปรับปรุงอาคารสถานที่ การจัดแสดง อากาศยานในอดี ต และจั ด นิ ท รรศการแสดง วิวัฒนาการดานการบินของไทย รวมทั้งการจัดสราง เครื่องบินจําลองขนาดเทาของจริง ของเครื่องบิน เบรเกต ป ก ๒ ชั้ น และเครื่ อ งบิ น นิ เ ออปอรต ป ก ชั้นเดียว ที่บุพการีทหารอากาศใชฝกบินเมื่อ ๑๐๐ ป ที่แลว เพื่อแสดงที่พิพิธภัณฑกองทัพอากาศ ในดานการบิน มีการตั้งแสดงอากาศยาน แบบตางๆ ที่ประจําการอยูในปจจุบัน และการแสดง ธรรม

การบิ น ของกองทั พ อากาศ ที่ ส นามบิ น ดอนเมื อ ง อี ก ทั้ ง ยั ง เป น ที่ น า ยิ น ดี ว า มี ก องทั พ อากาศของ มิ ต รประเทศหลายประเทศ แสดงความสนใจที่ จะส ง ฝู ง บิ น ผาดแผลงของตน มาร ว มบิ น แสดง ในโอกาสนี้ดวย นอกจากนั้ น ยั ง มี ก ารจั ด ทํ า ภาพยนตร หนั ง สื อ และของที่ ร ะลึ ก โดยเฉพาะการจั ด ทํ า ตราไปรษณียากร จํานวน ๔ ชุดๆ ละ ๔ ดวง ที่จะ เริ่ ม ทยอยออกจํ า หน า ยที ล ะชุ ด ตั้ ง แต ต น ป ห น า สํ า หรั บ ผู ที่ ชื่ น ชอบการสะสมตราไปรษณี ย ากร คงจะไม ป ล อ ยให โ อกาสนี้ ผ า นไป ส ว นพวกเรา ทหารอากาศก็คงไมพลาดโอกาสสําคัญนี้เชนกัน งานใหญเช น นี้ ไมมีบอยๆ ถาพลาดครั้ง นี้ ตองรออีก ๑๐๐ ป !!!

...แอนฟิลด์

สวัสดีพี่นองชาวทหารอากาศทุกทานครับ วันนี้กระผมขอนําพี่ๆ นองๆ ไปเยี่ยมชมเว็บไซตเบาๆ ที่เกี่ยวกับกีฬากันบางนะครับ เว็บไซตนี้นําเสนอความเคลื่อนไหวของกีฬาเกือบทุกประเภทที่อยูในความ สนใจ รวมทั้งยังมีการจัดหมวดหมูกีฬาในแตละประเภท ดูแลวเขาใจงาย สามารถคนหาขอมูลไดสะดวก อีก ทั้งเว็บไซตนี้ยังนําเสนอขาวกีฬาและความเคลื่อนไหวของนักกีฬาไทยดวย ซึ่งกระผมเห็นวาเปนเว็บไซต ที่ น า สนใจมาก เอาไว ใ ห ส มาชิ ก ได ผ อ นคลายจากการทํ า งานหนั ก นะครั บ ซึ่ ง เว็ บ ไซต นี้ คื อ www.siamsport.co.th lno


ปชส.รร.นฝ.ยศ.ทอ. หนวยขึ้นตรงดวย โดยเริ่มดําเนินการฝกศึกษาแก นายทหารนักเรียน ตั้งแต รุนที่ ๔๓ และนับเปน

โรงเรี ย นนายทหารชั้ น ผู บั ง คั บ ฝู ง เป น สถาบัน การศึกษาในระบบการศึกษาของทหารอาชีพ (Professional Military Education : PME) ของ กองทัพอากาศ เริ่มกอตั้งเมื่อ ๑๗ ก.ค.๒๔๘๙ โดย ใชชื่อวา “โรงเรียนนายทหารนักบิน” เพื่อทําหนาที่ อบรมนายทหารเหลาทหารนักบิน ซึ่งผูที่ไมไดผาน การศึกษาอบรมจากโรงเรียนแหงนี้ จะไมไดรับการ พิ จ ารณาให เ ป น ผู บั ง คั บ ฝู ง บิ น และไม ไ ด รั บ การ พิจารณาเลื่อนชั้นยศ “นาวาอากาศตรี” ตอมาในป พ.ศ.๒๕๐๓ ไดเปลี่ยนชื่อเปน “โรงเรียนนายทหาร ชั้นผูบังคับฝูง” ดังนั้นจึงถือเอา วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ของทุกป เปนวันคลายวันสถาปนาโรงเรียนนายทหาร ชั้นผูบังคับฝูง กองทัพอากาศไดมีคําสั่งใหจัดตั้ง สถาบัน วิ ช าการทหารอากาศชั้ น สู ง ขึ้ น ในป พ.ศ.๒๕๒๓ และไดรวมโรงเรียนนายทหารชั้น ผูบังคั บฝูง เปน

หนวยขึ้นตรงดวย โดยเริ่มดําเนินการฝกศึกษาแก นายทหารนั ก เรี ย น ตั้ ง แต รุ น ที่ ๔๓ และนั บ เป น พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อย า งล น พ น หาที่ สุ ด มิ ไ ด ในวโรกาสที่ นาวาอากาศตรี ห ญิ ง สมเด็ จ พระเจ า ลู ก เธอเจ า ฟ า จุ ฬ าภรณวลั ย ลั ก ษณ อัครราชกุมารี ไดทรงเขารับการศึกษา ในรุนที่ ๕๐ ดวย ปจจุบัน โรงเรียนนายทหารชั้นผูบังคับฝูง เปนหนวยขึ้นตรงตอ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และกําลังดําเนินการฝกศึกษา ใหแกนายทหารนักเรียน หลั ก สู ต รนายทหารชั้ น ผู บั ง คั บ ฝู ง รุ น ที่ ๑๑๘ มี นายทหารนั ก เรี ย นทั้ ง หมด ๑๔๔ คน ใช เ วลาใน การศึกษา ๑๗ สัปดาห โดยมีชั้นยศเรืออากาศเอก หรือเทียบเทาสําหรับตางเหลาทัพ โดยมีคุณสมบัติ ของผูเขารับการศึกษา (รายละเอียดเพิ่มเติมดูไดที่ www.sos.rtaf.mi.th/)


น.อ.ประสิทธิ์ ยิ้มเจริญ ผอ.รร.นฝ.ยศ.ทอ.

น.อ.วันชัย พึ่งเจียม หก.กปค.รร.นฝ.ยศ.ทอ.

น.อ.ธรรมนาย สุขแสง รอง ผอ.รร.นฝ.ยศ.ทอ.

น.อ.วรชาติ ทองศิริ หก.กกศ.รร.นฝ.ยศ.ทอ.

รร.นฝ.ยศ.ทอ. เปนโรงเรียนหลักขั้นปลาย ในการดําเนินการใหการศึกษา เพื่อพัฒนานายทหาร สัญญาบัตรของกองทัพอากาศใหมีความเปนผูนํา และผู บ ริ ห ารในระดั บ ยุ ท ธวิ ธี ซึ่ ง เป น สิ่ ง จํ า เป น สํ า หรั บ การปฏิ บั ติ ง านในระดั บ ฝู ง บิ น หรื อ แผนก จึงไดกําหนดวิสัยทัศนของโรงเรียนวา “เปนสถาบัน ที่ มีความเป น เลิ ศ ในการพั ฒนาบุค ลากรของ กองทัพ ใหเปนผูนําที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี มีความรู คูคุ ณ ธรรม สามารถประยุ ก ต ใ ช ป รัช ญาและ ศาสตรทางทหาร และกาวทันการใชเทคโนโลยี อยางมีประสิทธิภาพ และมุงมั่นสูองคกรแหง การเรียนรูที่ยั่งยืน” ปรัชญาการศึกษา สรางเสริมและพัฒนาทักษะความเปนผูนํา การแกปญหา และการประสานงาน เพื่อใหปฏิบัติ

น.อ.หญิง วิมลรัตน หาญเจริญ หก.กวผ.รร.นฝ.ยศ.ทอ.

หน า ที่ ผู บั ง คั บ บั ญ ชาและฝ า ยอํ า นวยการระดั บ ฝูงบิน ที่มีคุณธรรมและจรรยาบรรณของทหารอาชีพ

การจัดการเรียนการสอน รร.นฝ.ยศ.ทอ. ต อ งการสร า งเสริ ม และ พัฒนาทักษะความเปนผูนําใหแกนายทหารนักเรียน จึ ง ได จัด การเรี ย นการสอนที่มุ ง ให ผูเ รี ย นเกิ ด การ เรี ย นรู อ ย า งแท จ ริ ง โดยมี วิ ธี ก ารเรี ย นการสอนที่ หลากหลาย ดังนี้


๑. กิจกรรมในหองเรียน - หองสัมมนา ประกอบดวย - การรับฟงบรรยาย จากผูทรงคุณวุฒิ ของสายวิทยาการตางๆ ผูบังคับบัญชาชั้นสูง และ ผูทรงคุณวุฒิภายนอกกองทัพอากาศ เพื่อใหเกิด จิตสํา นึก ในการเป น ทหารอาชี พ ที่ มี คุณภาพและ คุณธรรม - การสัม มนา โดยมี ก ารแลกเปลี่ ย น ความคิดเห็นซึ่งกันและกันจากสถานการณที่ทาง โรงเรียนกําหนดขึ้น - การนํ า เสนอผลงานทางวิ ช าการ ไดแก การนําเสนอสถานการณของประเทศตางๆ ตลอดจนวิ เ คราะห ส ถานการณ ที่ มี ผ ลกระทบต อ ประเทศไทย - การพู ด ได แ ก การพู ด บอกเล า พู ด ชักชวน การพูดในโอกาสตางๆ รวมทั้งการบรรยาย สรุปทางทหาร - การเขียน ไดแก การเขียนเรียงความ การเขี ย นบทความ การเขี ย นหนั ง สื อ ราชการ เขียนรายงานการพิจารณาของฝายอํานวยการ และ การเขียนโครงการ

๒ กิจกรรมพัฒนาความเปนผูนํา ไดจัด การเรียนการสอนแบบเนนประสบการณ ใหทุกคนมี ส ว นร ว ม โดยปฏิ บั ติ ทั้ ง ในและนอกห อ งเรี ย น ประกอบดวย การปฏิบัติกิจกรรมกลุมสัมพันธ กิจกรรม ในสนามเพื่อฝกความเปนผูนํา ไดแก การวิ่งระบบ เกียรติศักดิ์ เกมวอลเลยบอลและฟลิกเกอรบอล

- การทดสอบสมรรถภาพทางกาย การฝก Project X การฝกเดินทางไกล การศึกษาดูงาน ระยะใกล แ ละไกล และการฝ ก แก ป ญ หาตาม สถานการณจําลอง ปจจุบัน รร.นฝ.ยศ.ทอ. ไดนําเทคโนโลยีมาใช ในการจั ด การเรี ย นการสอน โดยเริ่ ม ตั้ ง แต ก าร ลงทะเบียนเขาทําประวัติของผูที่จะเขารับการศึกษา และจัดหาคอมพิวเตอร Note Book ไวสนับสนุนแก นายทหารนั ก เรี ย นตลอดหลั ก สู ต ร เพื่ อ ให นทน. สามารถใช Internet ในการสืบคนความรูวิทยาการ ต า งๆ ได อ ย า งสะดวกรวดเร็ ว ตลอดจนสามารถ เขาถึงขอมูล และแบบประเมินตางๆ ของโรงเรียน เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ง านและทั ก ษะ ในการใชคอมพิวเตอรใหมากขึ้น นอกจากนี้ รร.นฝ.ยศ.ทอ. ยัง ตอบสนอง นโยบายของผูบังคับบัญชา ในการสรางความสัมพันธ


อันดีระหวางมิตรประเทศ โดยสนับสนุนโครงการ ความรวมมือทางการศึ ก ษากับ ทอ.มิตรประเทศ ตั้งแต ป ๒๕๒๓ ถึง ป ๒๕๕๓ มี นทน.ฯ ที่สําเร็จ การศึกษา รร.นฝ.ฯ จาก ทอ.มิตรประเทศ จํานวน ๙ คน ได แ ก ทอ.กั ม พู ช า จํ า นวน ๑ คน และ ทอ.มาเลเซีย จํานวน ๗ คน การพัฒนาหลักสูตร ปจจุบัน รร.นฝ.ฯ ไดจัดใหมีการเรียนการ สอนตามหลักสูตร รร.นฝ.ยศ.ทอ.ป พ.ศ.๒๕๕๒ ที่ มุงเนนการปฏิบัติมากกวาการฟงบรรยาย ทั้งนี้ให ผูเรียนไดเกิดทักษะและประสบการณอยางแทจริง เพื่อใหสามารถจะนําความรูที่ไดรับจากการศึกษา ไปประยุ ก ต ใ ช ใ นการปฏิ บั ติ ง านจริ ง และเป น ผู บั ง คั บ บั ญ ชาที่ ดี มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มี ภ าวะผู นํ า รวมทั้งสงเสริมใหทํางานเปนทีมอยางมีระบบ นอกจากนั้ น ยั ง จั ด ให มี ก ารประเมิ น การ จั ด การเรี ย นการสอนรายวิ ช าระหว า งการศึ ก ษา โดยนายทหารนักเรียน อาจารย และบุคลากรทาง การศึกษา รวมทั้งไดดําเนินการจัดการ ประเมินการ จั ด การเรี ย นการสอนจากผู สํ า เร็จ การศึ ก ษาจาก หนวยตนสังกัด เพื่อนําขอมูลไปประกอบการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรตอไป การพัฒนาบุคลากร รร.นฝ.ยศ.ทอ. ตระหนั ก ถึ ง ความสํ า คั ญ ของบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะอาจารย ซึ่ง ปฏิบั ติห น า ที่ เ ปน ทั้ ง ผู บ รรยาย ให คํ า แนะนํ า และ ธรรมชาติ

เปนที่ปรึกษาใหแกนายทหารนักเรียน รวมทั้งเปน ตนแบบของ นทน.ฯ ในดานตางๆ ดังนั้น อาจารย และบุคลากร รร.นฝ.ฯ จําเปนตองเปนผูที่มีความรู และพั ฒ นาตนเองอยู ต ลอดเวลา จึ ง มี น โยบาย สงเสริมใหอาจารย และบุคลากรทางการศึกษามี โอกาสไดรับการศึกษา อบรมเพิ่มเติม ทั้งระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้ง จัดสัมมนาทางวิชาการ และ การศึกษาตอระดับสูงกวาปริญญาตรี รวมทั้ง การไป ศึกษาเพิ่มเติม ณ ตางประเทศ

ถึงแมวา โรงเรียนนายทหารชั้นผูบังคับฝูง จะมีอายุครบ ๖๕ ป แตยังมีความมุงมั่นที่จะพัฒนา กําลังพลของกองทัพอากาศ และพัฒนาการจัดการ เรียนการสอนอยางตอเนื่อง ซึ่งในอนาคตโรงเรียน นายทหารชั้นผูบังคับฝูง ตองการใหนายทหารนักเรียน ได มี ป ระสบการณ ด า นยุ ท ธวิ ธี ใ ห ม ากขึ้ น จึ ง ได คิดคนการฝกเกมสงครามในระดับฝูงบิน ขั้นพื้นฐาน ซึ่งการฝกเกมนี้เปนสิ่งจําเปนสําหรับการปฏิบัติงาน ฝ า ยอํ า นวยการระดั บ ฝู ง บิ น เพื่ อ เป น การพั ฒ นา กําลังพล ที่จะจบออกไปรับราชการใน ทอ. และเปน กําลังสําคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศนกองทัพอากาศ ไปสู “One of the Best Air Forces in ASEAN”


น.อ.หญิง สุพศิ ประสพศิลป ในโอกาสที่วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย ท หารอากาศ ผลิ ต พยาบาลให กั บ กองทัพอากาศและสังคม ครบรอบ ๕๓ ปในวันที่ ๑๖ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๔ โดยผลิ ต พยาบาลวิ ช าชี พ มาแลว ๕๐ รุน จํานวน ๒,๗๔๐ คนและพยาบาล เทคนิค ๑๐ รุน จํานวน ๑๙๘ คน จึงขอถือโอกาส บอกเลาถึงความกาวหนาและการพัฒนาสถาบันให มีคุณภาพตามมาตรฐานอุดมศึกษาและมาตรฐาน วิชาชีพการพยาบาล เนื่องจากปญหาความขาดแคลนพยาบาล ทําใหมีสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพิ่ ม ขึ้ น เกื อ บเท า ตั ว ในรอบ ๑๐ ป ป จ จุ บั น มี ๗๙ สถาบันที่มีผูสําเร็จการศึกษาแลว ผูเขาเรียน จึ ง มี โ อกาสเลื อ กเข า ศึ ก ษาในสถาบั น ที่ ผ า นการ รับรองจากสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสภาการพยาบาล ประกอบกับประกาศ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารเรื่ อ งนโยบายที่ ส ถาบั น อุดมศึกษาพึงปฏิบัติตอนิสิตนักศึกษา มีผลบังคับ ใช ตั้ ง แต ๔ มี น าคม ๒๕๕๔ วิ ท ยาลั ย พยาบาล

ทหารอากาศ จึงตองพัฒนาใหทันการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา วิ ท ยาลั ย พยาบาลทหารอากาศ มี ค วาม เชื่ อว า “การผลิ ต พยาบาลทหารที่ มีคุ ณ ภาพตาม มาตรฐานวิชาชีพการพยาบาล และมีคุณลักษณะ ทางทหารที่ดี ตองจัดการศึกษาและพัฒนาผูเรียน ให มี ค วามรู แ ละทั ก ษะด า นวิ ช าการ วิ ช าชี พ การพยาบาลทหาร การพยาบาลเวชศาสตรการบิน และการวิ จั ย สามารถประยุ ก ต ใ ช ค วามรู แ ละ ประสบการณ ใ ห บ ริ ก ารสุ ข ภาพประชาชน สั ง คม และการแพทยทหารทั้งยามปกติและฉุกเฉิน ดวย ความเอื้ออาทร เปยมดวยคุณธรรม จริยธรรม ดํารง ไวซึ่งศิลปะวัฒนธรรมไทย พรอมที่จะเปนพยาบาล ทหารอาชีพและพลเมืองที่ดีของประเทศ” บุคลากร ของวิ ท ยาลั ย พยาบาลทหารอากาศทุ ก คนจึ ง ร ว มกํ า หนดวิ สั ย ทั ศ น ใ นแผนปฏิ บั ติ ร าชการ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ว า “สถาบั น การศึ ก ษา พยาบาลทหารชั้ น นํ า ที่ มี คุ ณ ภาพระดั บ ประเทศ ภายใน พ.ศ.๒๕๕๘”


ภายใตปณิธานที่ตั้งไวตั้งแต พ.ศ.๒๕๕๐ วา “วิช าการดี จริ ยธรรมเด น เน น วิ นัย ใฝพัฒ นา สูสากล” ทําใหอาจารย ขาราชการ พนักงานราชการ และลู ก จ า ง ตลอดจนผู เ รี ย นมุ ง มั่ น ในการปฏิ บั ติ หนาที่และพัฒนาตนเอง พัฒนาวิทยาลัยฯ เพื่อให บรรลุดังปณิธานที่ตั้งไว ประกอบดวย ๑. ดานการพัฒนาองคกรและบุคลากร ๑.๑ จัดทําแผนปฏิบัติราชการที่เชื่อมโยง กับวิสัยทัศน คานิยม นโยบายกรมแพทยทหารอากาศ กองทัพอากาศ และนโยบายการศึกษาของประเทศ ๑.๒ สรรหา พัฒนาและธํารงรักษาอาจารย และบุคลากรสายสนับสนุนใหมีจํานวนและคุณภาพ เพื่อรองรับภาระงานที่ครอบคลุมภารกิจ ทั้ง ๔ ดาน ของสถาบันอุดมศึกษา ไดแก ดานการเรียนการสอน การบริ ก ารวิ ช าการแก สั ง คม การผลิ ต เผยแพร งานวิจัย และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

๑.๓ จัดหาปจจัยเกื้อหนุนการจัดการศึกษา ให มี ค วามเพี ย งพอ พร อ มใช ได แ ก ห อ งสมุ ด ห อ งปฏิ บั ติ ก ารพยาบาล ห อ งคอมพิ ว เตอร โสตทัศนูปกรณ ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร

อาคารสถานที่ และแหลงฝกภาคปฏิบัติ ตลอดจน หอพัก สาธารณูปโภคและสิ่งอํานวยความสะดวก ตางๆ ๑.๔ วิเคราะหการเงิน จัดสรรงบประมาณ ให เ ป น ไปตามภารกิ จ จั ด หารายได เ พิ่ ม เพื่ อ สนับสนุนการจัดการศึกษา และจัดหาทุนการศึกษา แกผูเรียนที่มีความขาดแคลน ๒. ดานพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ๒.๑ พั ฒ นาหลั ก สู ต รที่ เ ป ด สอนทุ ก ๕ ป ไดแก - หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ใหเปน ไปตามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษา แหงชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) สาขาพยาบาลศาสตร และผา นการรับ รองจากสภามหาวิท ยาลัย มหิ ด ล สํ า นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) สภาการพยาบาล และกองทัพอากาศ - หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร ระดับตน ตองผานการรับรองคุณภาพจากสภาการ พยาบาล และกองทัพอากาศ ซึ่งปจจุบันเปดสอน หลักสูตรนี้เพียงแหงเดียวในประเทศไทย และสภา การพยาบาลอนุ ญ าตให ผ ลิ ต ได ถึ ง ป ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๗ เทานั้น ๒.๒ พัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดย เน น ผู เ รี ย นเป น สํ า คั ญ โดยพั ฒ นาผู เ รี ย นให มี คุณลั ก ษณะพิ เศษ คื อ มี ค วามสามารถในการใช ภาษาอังกฤษ ใชเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจิตอาสา เกิ ด ผลการเรี ย นรู ๖ ด า น ได แ ก ด า นคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม ความรู ทั ก ษะทางป ญ ญา ทั ก ษะ


ความสัมพันธระหวางบุคคลและความรับผิดชอบ ทั ก ษะการวิ เ คราะห แ ละการสื่ อ สาร ทั ก ษะการ ปฏิบัติทางวิชาชีพ วิทยาลัยฯ จึงตองจัดการศึกษาทั้งในและ นอกชั้นเรียน โดยอาศัยความรวมมืออยางเขมแข็ง ของอาจารยกองการศึกษา อาจารยแผนกปกครอง และบุคลากรสายสนับสนุน ที่มีคุณภาพและเพียงพอ ๓. ดานบริการวิชาการแกสังคม อาจารยพยาบาลรอยละ ๑๐๐ ใหบริการ วิชาการแกสังคมดวยการเปนวิทยากร ผูทรงคุณวุฒิ กรรมการองค ก รวิ ช าชี พ และองค ก รที่ เ กี่ ย วข อ ง รวมทั้งบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน การวิจัยและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

๕. ดานการประกันคุณภาพการศึกษา วิ ท ยาลั ย พยาบาลทหารอากาศ ผ า นการ ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจาก สกอ.ทุกป การศึ ก ษา และสถาบั น วิ ช าการป อ งกั น ประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย (สปท.) ทุก ๕ ป ผานการ ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจากสํานักงาน รับรองมาตรฐานและประเมิ น คุณภาพการศึก ษา (สมศ.) ทุก ๕ ป ซึ่ ง ผลการประเมิ น อยู ในระดับ ดี ตลอดมา ป จ จุ บั น ผ า นการรั บ รองสถาบั น จาก สภาการพยาบาลเป น ระยะเวลา ๔ ป ก ารศึ ก ษา (๒๕๕๔-๒๕๕๗) โดยมีเงื่อนไขที่ตองเรงปรับปรุง คือ เพิ่มจํานวนและสัดสวนคุณวุฒิอาจารยพยาบาล พั ฒ นาระบบสารสนเทศเพื่ อ การตั ด สิ น ใจของ ผูบริหาร เพิ่มการผลิตเผยแพรงานวิจัย และผลงาน วิชาการ

๔ ดานผลิตและเผยแพรงานวิจัย สนั บ สนุ น ให อ าจารย ผ ลิ ต งานวิ จั ย และ ผลงานวิ ช าการให ไ ด รั บ การตี พิ ม พ เ ผยแพร ใ น วารสารทางวิชาการที่ไดมาตรฐานสากล และเสนอ ผลงานทั้งในและตางประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อใหเปนไป ตามมาตรฐานสภาการพยาบาล

ผู เ ขี ย นในฐานะผู อํ า นวยการวิ ท ยาลั ย พยาบาลทหารอากาศ ขอขอบพระคุณผูบังคับบัญชา ทุก ระดั บ ผูบ ริ ห ารและผู ปฏิ บั ติทุ ก กรม/กอง ของ กองทั พ อากาศทั้ ง ในอดี ต และป จ จุ บั น ที่ ใ ห ก าร สนับสนุน ผลักดันใหสถาบันมีคุณภาพ ทั้งดานการ อนุมัติสรางอาคารเรียน ๓ ชั้น และอาคารสํานักงาน


๔ ชั้น การลดจํานวนผูเรียนในชวงกอสรางอาคาร การใหทุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก เพื่อเพิ่ม จํ า นวนและคุ ณ วุ ฒิ อ าจารย การเสนอกระทรวง กลาโหมใหหัวหนาแผนกวิชามีเงินประจําตําแหนง และอาจารยมีตําแหนงทางวิชาการ ขอขอบพระคุณ อธิก ารบดีม หาวิท ยาลัยมหิดลที่ให ก ารสนับสนุน ดานวิชาการในฐานะสถาบันสมทบ รวมทั้งคุณศุภชัย วั ฒ นางกู ร ทายาทจอมพลอากาศ เฉลิ ม เกี ย รติ วัฒ นางกู ร ผู ก อตั้ง วิ ทยาลั ย ฯ ที่ริเ ริ่ ม จั ดตั้ง มูลนิธิ จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร และการหา รายไดเขามูลนิธิฯ เพื่อใชในการพัฒนาการศึกษา อยางตอเนื่อง การพั ฒ นาดั ง ที่ ก ล า วมา ทํ า ให บั ณ ฑิ ต พยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศเปน ที่ ต อ งการของโรงพยาบาลรั ฐ และเอกชนอย า ง ต อ เนื่ อ ง บั ณ ฑิ ต ทุ ก คนมี ง านทํ า และได รั บ การ ประเมินความพึงพอใจจากผูใชบัณฑิตอยูในระดับ ดี-ดีมาก และสิ่งที่สรางความภาคภูมิใจใหสถาบัน ธรรม

และกองทัพอากาศคือ รอยละ ๘๐.๘๘ ของบัณฑิต ป ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๓ สามารถสอบขึ้ น ทะเบี ย น ใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ ชั้น หนึ่ ง ซึ่ ง เป น อั น ดั บ ๑ ของประเทศ และการที่ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ วิทยาลัยพยาบาล กองทัพบก วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือไดรับเชิญ เปนเจาภาพจัด Asia Pacific Military Nurse Symposium :APMNS ครั้งที่ ๕ ในหัวขอเรื่อง “Asia-Pacific Military Nursing Preparedness in Global Change Era” ซึ่งจะจัด ณ โรงแรม Pullman กรุ ง เทพฯ ระหว า งวั น ที่ ๑-๕ ส.ค.๒๕๕๔ โดยมี ฝายการศึกษาและบริการพยาบาลกองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกาเปนเจาภาพรวม บุ ค ลากรทุ ก ระดั บ และนั ก เรี ย นทุ ก คน ขอใหคํามั่นสัญญาวา จะรวมแรง รวมใจและมุงมั่น พัฒ นาวิท ยาลัย ฯ ให บรรลุ วิ สั ย ทั ศน แ ละปณิธ าน ที่ ตั้ ง ไว เพื่ อ ชื่ อ เสี ย งของกรมแพทย ท หารอากาศ และกองทัพอากาศ K


พล.อ.ท.ยุทธพร ภูไพบูลย

เมื่ อ เดื อ น มี น าคม ๒๕๕๔ ที่ ผ า นมา กองทั พ อากาศสหรั ฐ ฯ ได แ ต ง ตั้ ง พลอากาศตรี ห ญิ ง MARGARET WOODWARD (MAGGIE) เปนผูบัญชาการกองกําลังทางอากาศสหรัฐฯ ประจําภาคพื้น อาฟริกา (U.S. AFRICA COMMAND) ซึ่งนับไดวา เธอเปนผูบัญชาการกองกําลังทางอากาศหญิงคนแรก ในประวัติศาสตรของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เลยทีเดียว MAGGIE อายุ ๕๑ ป เปนชาว MARRYLAND โดย กําเนิด สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัย อาริโซนา (ARIZONA STATE UNIVERSITY) เมื่อป พ.ศ.๒๕๒๕ และไดสมัครเขารับราชการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ โดยได ผานการฝกเปนนักบินหญิง และทําการบินกับเครื่องบินรบ และสนับสนุนการรบ มีชั่วโมงบินรวมประมาณ ๔,๐๐๐ ชั่วโมง ตลอดระยะเวลารับราชการ เกือบ ๓๐ ป โดยเฉพาะการทํา การบินกับเครื่องบินบรรทุกน้ํามันเชื้อเพลิง สําหรับภารกิจ การเติมน้ํามันกลางอากาศ เธอไดเคยทํ า การบิน ในหลายสมรภูมิ หลายพื้น ที่ การรบ จนเปนที่ยอมรับของผูบังคับบัญชา และผูใตบังคับบัญชา เปนสวนมาก จากการที่ เ ธอได รั บ การแต ง ตั้ ง ให เ ป น ผู บั ญ ชาการกองกํ า ลั ง ทางอากาศหญิ ง คนแรกของ กองทัพอากาศสหรัฐฯ ในครั้งนี้ เธอไดยกความดีความชอบใหกับผูรวมงานและผูใตบังคับบัญชา ที่ไดให ความรวมมือในการปฏิบัติงานรวมกันมาเปนอยางดียิ่ง นับเปนตัวอยางที่ดีของขาราชการทหารหญิง ที่มีความมุงมั่น ตั้งใจ และทุมเท ใหกับการปฏิบัติ ราชการ จนไดรับการตอบแทน แตงตั้งใหดํารงตําแหนงที่สําคัญ มีเกียรติ สมศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ ตลอดไป


น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ

“S.Korean F-16 crashed after spinning out of control, SEOUL, April 1 -- The South Korean F-16 fighter jet that crashed off the country's west coast this week malfunctioned before tumbling into the waters, an Air Force commander said on Wednesday, quoting its pilots. The dual-pilot aircraft "entered a phase where it could not be operated," Maj. General Yoon Yoo told lawmakers at a National Assembly hearing, referring to Tuesday's crash that led to the grounding of some 130 F-16s operated by South Korea. "Recovery attempts were made multiple times, but normalcy could not be restored," Yoon said, quoting the pilots who ejected and were rescued about 40 kilometers west of Taean County”


จากเหตุการณดังกลาว อุบัติเหตุมาจากการที่นักบินไมสามารถควบคุมเครื่องบินได แลวอะไรที่ทํา ใหเครื่องบิน F-16 เกิดการ Out of Control ทั้งที่มี Computer ควบคุมระบบพื้นบังคับ สิ่งนั้นเรียกวา Spin ซึ่งแบงไดเปน Flat Spin และ Invert Spin สําหรับ Flat Spin จะเปนการหมุนทางระนาบ คงที่ โดย CG จะเคลื่อนที่ไปอยูดานหลัง ในขณะที่เกิด Spin ถามีแนวโนมการหมุนเร็วขึ้นและเปนแนวระดับมากขึ้น จะเปนสิ่งบอกเหตุวาการแกจาก Spin จะยากมากขึ้น เพราะวาไมสามารถที่จะลดมุมปะทะ(AOA) เพื่อไมให เครื่องบินอยูในภาวะ Stall ถึงแมวาจะใชแพนหางระดับ (Elevator) อยางเต็มที่แลวก็ตาม สิ่งบอกเหตุการเกิด Spin คือมุมปะทะ(AOA) มากกวาการบินปกติอยูที่ 60 องศา ความเร็ว อยูใ นชว ง 0–100 นอต บ.จะมี มุมไต และรอน สลับกันราว +_ 30 องศา มีอัตราการหมุนทางระดับ(Yaw Rate) ประมาณ 40 องศาตอวินาที เปนอัตราที่ไมเร็วนัก โดยปกติจะหมุนไปทางซาย และมีอัตรารวงหลน (Sink Rate) 10,000–15,000 ฟุตตอนาที แรง G อยูที่ 1 G สวน Invert Spin เกิดในขณะที่เครื่องบินหงายทอง จะมีความ แตกตางจาก Flat Spin โดยนักบินจะรูสึกตัวลอยนั่งไมติดเบาะที่นั่ง เนื่องจากเกิด Negative G และมุมปะทะอยูที่ – 5 องศา


ขั้นตอนในการแกไข (Recovery Procedure)(memorize it) 1) Controls: RELEASE 2) Trottle: IDLE 3) (only if inverted) Rudder: OPPOSITE YAW DIRECTION (turn needle) 4) MPO (manual pitch override) Switch: OVERRIDE 5) Stick: CYCLE IN PHASE

นักบินลองเครื่องสหรัฐ ฯ ที่เปน คบ.ผูเขียนในการฝก High AOA Training ไดใหแนวทางการแก Spin ไวดังนี้ “Basically, you override the FLCS in order to take control of the elevator and accomplish step 5, which is the critical one. As the nose rises, pull the stick (push when inverted). When it starts to descent, push the stick forward (pull when inverted). Do not just pull and push, do it in phase with the jet, if you want to fly it out of trouble before having to eject. You will know you're out of it, when the nose will stay down. Keep it down until you get to 200 knots, then gently pull out. If you're inverted, don't roll upright before reaching 200 knots. It usually takes 2-3 stick cycles, if you do it correctly (in phase). You loose 1,000-1,500 feet in every cycle. The recovery starts at a big dive angle, usually greater than 60 degrees. When you reach 200 knots, remember to release the MPO. If the altitude is critical, you can release it at 150 knots and start to level off.”


สํา หรั บ ประสบการณ ต รงในการแก Out of Control ของ เครื่องบิน F-16 เมื่อ ป 2538 ในขณะนั้นผูเขียน ไดทําการฝกบิน เปลี่ยนแบบกับเครื่องบิน F-16 มีนักบินรุนพี่ ยศนาวาอากาศตรี ไ ด ทํ า การฝ ก บิ น สู กั น ใน อากาศกับเครื่องบิน F-16 ดวยกันในพื้นที่การ ฝก เนื่องจากเครื่องบินมีความเร็วต่ํามุมปะทะ มากทําใหเครื่องบินเกิด Out of Control ที่ ความสูง 18,000 ฟุต นบ.แจงภายในหมูบิน ว า ไม ส ามารถควบคุ ม เครื่ อ งบิ น ได นบ.ได ทํ าการแก ไ ขตามขั้ น ตอนปฏิ บั ติ โดยการใช MPO Switch ในตําแหนง OVRD และก็ Hold ดวยมือซายในตําแหนงนั้น แตในหมูบินพยายามถามความสูง สถานการณในเครื่องบิน นบ.จึงปลอยมือมากด Radio Switch เพื่อสงวิทยุแจงขอมูล ซึ่งการกระทําดังกลาวเปนการลดโอกาสในการแกไข Out of Control บ.ก็ยังคงอยูในสภาวะ Flat Spin นบ.จึงตัดสินใจไมใชวิทยุในการติดตอ แตมุงมั่นในการแกไข Out of Control อยางเดียวในที่สุดก็สามารถแกไขไดสําเร็จที่ความสูง ต่ํากวา 10,000 ฟุต บทเรียนทีไดรับการแก Out Of Control ในครั้งนี้ การปลอย MPO Switch เพื่อติดตอสื่อสาร ทําใหการแกจาก Spin ตองเริ่มตนใหม ถาความสูงจํากัดอาจจะมีเวลาไมเพียงพอตอการแกไข สวน นบ.ในหมูบิน หรือ นบ.อาวุโสเมื่อทราบวา เครื่องบินเกิด Out of Control ควรใหคําแนะนําขั้นตอนในการปฏิบัติตามคูมือ ไมควรถามเพื่อตองการ คําตอบ จากเหตุการณดังกลาวผูเขียนไดศึกษา Tape VTR ที่บันทึกทาทางการบิน พบวาอาการ Out of Control เปนแบบ Flat Spin เครื่องบินหมุนในแนวระดับไปทางดานขวา เนื่องจากติดตั้งถังน้ํามันเชื้อเพลิง ภายนอกบริเวณ Center Line หัว บ.จะไตขึ้น และรอนลงสลับกันไปมา ความสูงลดลง แตอัตราการรอน ไมมากนักก็พอใหมีเวลาที่จะแกไขอาการได ฟงเสียงหายใจของนักบิน ดูแลวจิตใจปกติไมตื่นเตน ดังนั้นการ มีสติก็จะสามารถควบคุมและแกไขสถานการณตาง ๆ ไดดี หลังจากไดศึกษา VTR แลว คิดอยูในใจเปน 2 ประเด็น ประเด็นแรกถาเหตุการณนี้เกิดขึ้นกับตัวผูเขียนจะแกไขไดหรือไม ประเด็นที่ 2 จะมีวิธีปองกัน ไมใหเกิดไดอยางไร เนื่องจากชวงนั้นยังเปนนักบินใหม ก็ยังหาคําตอบใหตัวเองไมได ตอมาในปลายป 2538 กองทัพอากาศไดจัดหาเครื่องบิน F-16 เขาประจําการอีก 1 ฝูงบิน ผูเ ขียนได รับคําสั่งใหไปประจําการที่ฝูงใหม และในโอกาสนั้น กองทัพอากาศไดมีโครงการใหนักบินลองเครื่องสหรัฐ ฯ


ผูที่มีความเชี่ยวชาญในการแก Spin ของ บ.F-16 โดยเฉพาะมาทําการฝก High AOA Training ในป 2542 ซึ่ง ตั ว ผู เ ขี ย นมี ชั่ ว โมงบิ น ตามกํ า หนด จึงไดเขารวมการฝกดวย การฝกบินใช เครื่องบิน F-16B 2 ที่นั่ง นบ.ที่ทํา การฝ ก จะนั่ ง หน า นบ.ลองเครื่ อ ง สหรัฐ ฯ นั่งหลัง การฝกบินไมติดตั้ง ถัง น้ํา มั นเชื้อเพลิง สํา รอง การจะทํา ใหเกิด Out of Control กับ F-16 นั้น ยากมาก เนื่ อ งจากเครื่ อ งบิ น จะมี ระบบ Flight Control Computer แกไข เอง นั ก บิ น ลองเครื่ อ งสหรั ฐ ฯ ต อ ง Balance น้ํามันให CG เคลื่อนที่ไปอยูขางหลังเพียงพอที่จะทําใหเกิด Spin กอนที่จะบังคับใหเครื่องบินเกิด Spin บ.มีมุมปะทะ(AOA) มากกวา 29 องศา ความเร็วลดต่ํากวา 150 นอต เสียง Horn เตือนตลอดเวลา เครื่องบินเขาสูการ Out of Control ลักษณะเปนแบบ Flat Spin บ.หมุนทางระดับไปดานขวาดวยอัตราไม เร็วนัก หัว บ.มีการไตและรอนสลับกัน ผูเขียนไดปฏิบัติตามขั้นตอนการแกไข Out of Control ดวยการไม ควบคุม Control Stick และ Rudder pedal รวมทั้งผอน Throttle แตเครื่องบินก็ยัง Out of Control จึงใช MPO switch ในตําแหนง OVRD และ ก็ Hold อยูในตําแหนงนั้น หลังจากนั้นก็ไดก็เห็นวา บ.ไตขึ้นหาขอบ ฟาจึงดึง Control Stick เพื่อเสริมให บ.ไตก็ Hold อยูในทาไตจน บ.เริ่มหัวตกใหฝน Hold ไว 3 วินาที เมือ่ หัว บ.ตกลงก็เสริมแรง ผลปรากฏวาแรงที่เสริมเขาไปมากเกิน บ.เลยไปอีกฝงกลายเปนหงายทอง ตองแก Invert Spin ตอ หลังจากแกไขสําเร็จ ก็ทําการฝกครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ทําไดสมบูรณขึ้น ทําการแกไข 2 ครั้ง ก็แกไขได สําเร็จ หลังจากเสร็จสิ้นการฝกก็มีความมั่นใจในการแก Out of Control แตทางที่ดีไมควรทําใหเกิด Out of Control จะดีกวา ดังนั้นผูเขียนจะเนนย้ําตนเองและนักบินในหมูบิน เสมอวาใหปองกันดีกวาแกไข ดวยการ ไมทําการบินไปในยานที่เปนขอจํากัดที่จะทําใหเครื่องบินเขาสู Out of Control ดวยการปฏิบัติเมื่อความเร็ว ต่ํา มุมปะทะมากขึ้นเมื่อเสียง Horn ดัง จะตองรีบแกไขใหเสียงเตือนหายไปภายใน 3 วินาที เคยมีนักบิน ตางชาติเพื่อตองการเอาชนะเครื่องบินที่ทําการฝกบินดวยกันในการตอสูในระยะประชิดที่ความเร็วต่ํา ดวยการใช MPO Switch เพื่อตัดการทํางานของ Computer ในการใช Horizon tail ไดมากขึ้นผลปรากฏวา เครื่องบินเกิด Out of Control


ดั ง นั้ น นั ก บิ น ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะที่ ก องทั พ อากาศ กํ า หนดจะต อ งยึ ด มั่ น ในคู มื อ การบิ น ปฏิ บั ติ ต ามกฎเกณฑ ข อ จํ า กั ด ต า งๆ และที่ สํ า คั ญ ต อ งรู ส มรรถนะของตนเอง ของนั ก บิ น ที่ ร ว มปฏิ บั ติ ง าน ส ม ร ร ถ น ะ ข อ ง เ ค รื่ อ ง บิ น ตลอดจนจะตองยึดมั่นในวินัย (Discipline) การปฏิบัติงาน โดยเครงครัด ดังคํากลาวที่วาเครื่องบินสามารถทําการบินไดโดยปราศจากเครื่องยนตโดยที่นักบินตองมี ความรูและความชํานาญดานการบิน แตถาจะใหทําการบินไดอยางปลอดภัยตองมีทัศนคติตอการบินที่ ปลอดภัยควบคูกันไปดวย….


พ.อ.อ.จํานงค ศรีโพธิ์ แนวความคิ ด ในการพั ฒ นารถยนต ที่ มี คุณสมบัติสามารถแลนไปไดบนทองถนนและบินไป ในอากาศเพื่อนํามาใชงานในอนาคตไมไดรับความ สนใจอยูเฉพาะเพื่อการพาณิชยเทานั้น ในแวดวง กองทัพ เองก็ ให ค วามสนใจยานยนต ลูก ผสมเพื่อ นํามาใชปฏิบัติภารกิจทางการทหารเชนเดียวกัน โดยล าสุดสํ านั กงานวิ จัยโครงการความกา วหน า ดานการปองกันประเทศ หรือ Defense Advanced Research Projects Agency ชื่อยอวา DARPA ของ กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา จัดทําแผนงานเพื่อ ทําการพัฒนา “flying Humvee” หรื อ พั ฒ นาให ร ถยนต Humvee ให มี คุ ณ สมบั ติ พิ เ ศษสามารถ ทํ า การบิ น ได เ หมื อ นเครื่ อ งบิ น นอกเหนือจากแลนไปตามทองถนน ใ น เ มื อ ง ห รื อ ภู มิ ป ร ะ เ ท ศ ที่ ยากลําบาก เหตุผลที่กระทรวงกลาโหม สหรั ฐ อเมริ ก ามี ค วามต อ งการให

รถยนต Humvee บินไดเหมือนกับเครื่องบินสาเหตุ มาจากภั ย คุ ก คามจากวั ต ถุ ร ะเบิ ด ข า งถนน (Improvised Explosive Devices ; IED) ในอิรักและ อัฟกานิสถาน ซึ่งสรางความสูญเสียใหกับกําลังพล และยุ ท โธปกรณ ไ ด เ ป น อย า งมาก แม ว า กองทั พ สหรัฐฯ จะมีการปรับเปลี่ยนยุ ทธวิธีและนําระบบ ตรวจจับและคนหาวัตถุระเบิดที่มีความไฮเทคเพื่อ ทําการคนหาและตรวจจับวัตถุระเบิดที่ซุกซอนไว ใต พื้ น ดิ น หรื อ ตามแหล ง ที่ ซุ ก ซ อ นอื่ น ๆ แต ก็ ยั ง ไมสามารถหยุดยั้งภัยคุกคามจากกับระเบิดได 100%


ดั ง นั้ น ถ า หากสามารถทํ า ให ร ถยนต Humvee ขับเคลื่อนสี่ลอ ซึ่งกําลังวิ่งไปตามทองถนนในเมือง หรือไปตามภูมิประเทศในพื้นที่ตางๆ สามารถบินขึ้น และบินเดินทางขามพื้นที่ที่อันตรายหรือมีสิ่งกีดขวาง ตามธรรมชาติ จะทําใหการเดินทางสามารถไปถึง จุด หมายปลายทางได อยางปลอดภัย แม วา จะมี อุปสรรคขวางกั้น กระทรวงกลาโหมเรียกโครงการนี้ วา Transformers หรือ TX เหมือนกับการแปลงราง ของหุนยนตในโลกภาพยนตร DAPRA แบงโครงการ Transformers ออกเปน 2 งานเฉพาะกิจ (Task) โดย Task A จะเปนการพัฒนา และประกอบเฉพาะรถยนต และ Task B จะเปน ก า ร พั ฒ น า เ ท ค โ น โ ล ยี สวนประกอบและอุปกรณที่ สํ า คั ญ ๆ แต ล ะระบบเพื่ อ นํามาติดตั้งเขากับรถยนตที่ สมบูรณแบบ ดังนั้นจึงจะมี การว า จ า งให บ ริ ษั ท ต างๆ ทํ าการออกแบบและพั ฒนา ระบบและชิ้ นส วนมากมาย หลายครั้ง จนกระทั่งจบสิ้น โครงการระยะที่สองจึงจะได ร ถ ย น ต ที่ มี คุ ณ ส ม บั ติ สมบูรณแบบตามความตองการทางยุทธการ เพื่อ นํามาใชปฏิบัติภารกิจทางดานลําเลียงทหาร และ การสงกําลังบํารุงสนับสนุน โดยรถยนต TX ที่ไดรับ เลือกตามโครงการและสรางขึ้น มาใชง านจะมีใช ประจําอยูในหนวยทหารขนาดเล็ก รถยนต Humvee รุนอนาคตสําหรับหนวยทหารราบ สามารถเคลือ่ นที่

ไปตามท อ งถนนทั่ ว ไปและพื้ น ที่ ภู มิ ป ระเทศที่ ยากลําบาก แตถาหากพบกับสิ่งกีดขวางจะแปลงราง เปนอากาศยานทําการบินขามไป เชน คลอง หรือ ภูเขา หรือพื้นที่อันตราย เชน มีการวางวัตถุระเบิด หรื อ หลี ก เลี่ ย งพื้ น ที่ ที่ มี ก ารปะทะ เพื่ อ ให ท หารมี ความปลอดภั ย ในการเดิ น ทาง และการลดการ สูญเสีย ยุ ทโธปกรณ ทางทหารจากภัยคุกคามทาง ภาคพื้นดิน รถยนต TX จะเปนพาหนะที่ออกแบบสําหรับ นําไปใชปฏิบัติภารกิจทางทหารในหลายบทบาท อาทิเชน สอดแนม การสงทหารลงสูพื้นที่ปฏิบัติการ การนําผูบาดเจ็บออกจากพื้นที่การสูรบหรือพื้นที่ที่

เขาถึงไดยากทางภาคพื้นดิน ตลอดจนการสงกําลัง บํ า รุ ง นํ า อาวุ ธ กระสุ น และอาหาร ไปส ง ให กั บ หนวยทหาร จากขีดความสามารถดังกลาวรถยนต TX จึงสามารถนําไปใชปฏิบัติการภารกิจทดแทนได ทั้งรถยนต Humvee และเฮลิคอปเตอรที่มีใชงานอยู ในปจจุบัน


กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จะใชงบประมาณ 54 ลานดอลลารสหรัฐฯ ในโครงการ TX เพื่อวาจาง ใหบริษัทที่สามารถทําใหรถยนต Humvee พรอม น้ําหนักบรรทุก 1,000 ปอนด เหาะและบินไดตาม แนวความคิด และสามารถนําไปใชงานไดจริง โดย มี คุ ณ สมบั ติ แ ละสมรรถนะตามที่ กํ า หนดไว ซึ่ ง งบประมาณที่ตั้งไวจะจัดสรรไปใชตามโครงการใน ระยะตางๆ ตามแผนงาน โดยงบประมาณ 9 ลาน ดอลลารสหรัฐฯ จะใชในโครงการระยะที่ 1 สําหรับ โครงการระยะที่ 2 ใชงบประมาณ 10 ลานดอลลาร สหรั ฐ ฯ และโครงการระยะที่ 3 ขั้ น สุ ด ท า ยใช งบประมาณ 35 ลานดอลลารสหรัฐฯ Broad Agency Announcement (BAA) ของ DARPA ไดกําหนด คุณสมบัติของรถยนตทหารบินได ไวดังนี้ ใชระบบขับเคลื่อนบนทองถนนดวยเกียร ธรรมดาเหมือนกับรถยนต SUV ทั่วไป สามารถ “แปลงราง” จากรถยนตขับเคลื่อน ไปตามถนนเปนอากาศยานเหาะขึ้นไปบนทองฟา ไดอยางรวดเร็ว สามารถทํ า การบิ น และลงจอดทางดิ่ ง (Vertical Takeoff and Landing ; VTOL) มีความเร็วในการบินเดินทางไดเทากับ เครื่องบินขนาดเบา (ประมาณ 150 ไมลตอชั่วโมง) เพดานบินสูงสุด 10,000 ฟุต สามารถบรรทุกทหารพรอมรบ 4 คน เดิ น ทางไปได เ ป น ระยะทางไกล 250 ไมล ท ะเล (465 กิโลเมตร) ทั้งการบินและขับเคลื่อนไปตามถนน โดยสามารถทําความเร็วในการวิ่งบนถนนสูงสุด 65 ไมล ตอชั่วโมง

มีระบบควบคุมการบินขึ้นและลงจอด โดยอัตโนมัติ รถยนต ในอนาคตซึ่งสามารถแลน ไดและ เหาะไดแบบนี้มีเทคโนโลยีใหมๆ ซึ่ง BAA ใหความ สนใจเป น พิ เ ศษว า สามารถทํ า การพั ฒ นาขึ้ น มา ใชงานไดจริง ไดแก ระบบขับเคลื่อนไฟฟา hybrid electric ducted fan propulsion system, ring motor วิธีการเก็บพลังงานไฟฟา อาทิเชน ใชแบตเตอรี่ หรื อ วิ ธี อื่ น การเปลี่ ย นแปลงรู ป ร า งตั ว ถั ง รถยนต และระบบควบคุมและจัดการระบบการบินที่ทันสมัย มิติของรถยนต TX จะมีขนาดใหญไมเกิน 30 ฟุต X 8.5 ฟุตX 9 ฟุต หรือมีความยาวเทากับ รถยนต HUMMER 2 คัน ไดรับการติดตั้งเกราะน้ําหนัก เพื่อปอ งกัน สะเก็ดระเบิด กระจกกัน กระสุน และ สามารถติดตั้ง ปนกลหรือปนกลหนัก เพื่อปองกัน ตนเอง พลั งขับเคลื่อนไดจากเครื่องยนต Turboshaft ใชน้ํามันเชื้อเพลิงอากาศยานชนิด JP-8 เพื่อใหบิน เดินทางไดเหมือนกับเครื่องบิน บนหลังคารถจะเปน รูปโคงนูนเพื่อยึดปกที่ยาว 27 ฟุต DAPRA ไดสัญญาวาจางทําการพัฒนาตาม โครงการในระยะที่ 1 มี 2 บริษัท คือ แผนแบบของ บริษัท เอเอไอ (AAI Corp) และบริษัท ลอคฮีด มารติน (Lockheed Martin) แผนแบบรถยนต Humvee เหาะได ของทั้งสองบริษัท มีการเปดเผยขอมูลและภาพวาด แผนแบบ แตยังไมมีการลงมือสราง บริษัท เอเอไอ โดยมี เท็ ก ทรอน มารี น แอนด แลนด ซิ ส เต็ ม (Textron Marine & Land Systems) ซึ่งเปนบริษัท ผูผลิตรถเกราะขนาดเบาเปนคูสัญญารอง นอกจากนี้ ยังไดรวมมือกับบริษัทผูผลิตและออกแบบอากาศยาน


ป ก หมุ น และรถยนต บิ น ได ชั้ น นํ า หลายบริ ษั ท อาทิเชน เบลล เฮลิคอปเตอร (Bell Helicopter) เทอรราฟูเกีย (Terrafugia) และคารเตอร อวิเอชั่น (Carter Aviation) เพื่อสรางรถยนตเหาะไดจริงตาม แนวความคิดที่ไดออกแบบไว แผนแบบรถยนตเหาะไดของ เท็กทรอน มารีน แอนด แลนด ซิสเต็ม ใชรถยนต Humvee ขับเคลื่อน สี่ลอ ติดตั้งปก และสามารถทําการเก็บพับไดเมื่อ แล น ไปตามถนน ใบพั ด ประธานความเร็ ว ต่ํ า ใช เทคโนโลยี ข องบริ ษั ท คาร เ ตอร อวิ เ อชั่ น ซึ่ ง เคย สร า งเฮลิ ค อปเตอร ต น แบบติ ด ตั้ ง ใบพั ด ประธาน ความเร็วรอบต่ํา สามารถทําความเร็วไดสูงถึง 500 ไมล ตอชั่วโมง ดานทายรถยนตติดตั้งชุดใบพัด ducted fan ติดตั้งอยูในวงแหวน ใชเมื่อรถยนตทําการบิน เดินทาง เครื่องยนต Turboshaft ติดตั้งอยูดานหนา เชื้อ เพลิ ง ส ว นหนึ่งจะบรรจุอยู ในถัง ติดตั้ ง บริ เ วณ ตําแหนงเกือบสุดปลายปก ถังเชื้อเพลิงสามารถอุด รูรั่วไดเองเมื่อถูกยิง

ใบพั ด ประธานของรถยนต เ หาะได ตาม แผนแบบของ เท็กทรอน มารีน แอนด แลนด ซิสเต็ม จะใชสําหรับการบินขึ้นและลงจอดทางดิ่งเทานั้น แม ว า เครื่ อ งยนต จ ะเสี ย แต ร ะบบใบพั ด ประธาน ยังทําใหรถยนตสามารถลงจอดไดอยางปลอดภัย การบินเดินทางไปขางหนาจะเปนหนาที่ของปกที่จะ ชวยเสริมแรงยกและทําหนาที่เกาะอากาศโดยใช พลั ง ขั บ เคลื่ อ นให ร ถยนต เ คลื่ อ นที่ ไ ปข า งหน า จาก ducted fan ซึ่งบริเวณวงแหวนใบพัดจะติดตั้ง แผนบังคับทิศทางและการกมเงยของรถยนต ขณะทํา การบิน ใบพัดจะหมุนโดยอิสระและทําใหเกิดแรง ตานนอยที่สุด การวิ่งไปตามถนนของรถยนตบินได ใบพัด ประธานจะพับไปข า งหลั ง เพื่ อลดแรงตา น โดยเสาใบพัด (rotor mast) จะยกขึ้นกอนที่จะพับใบพัด สําหรับแผนแบบรถยนต TX บินไดของ บริษัท ลอคฮีด มารติน ยังไมมีรายละเอียดมากนัก แตจากภาพตามจินตนาการจะใชเทคโนโลยี ducted fans จํานวน 4 ชุด ไปติดตั้ง เขากับตัวรถ โดยใช การหมุน (rotated) ของ ducted แบบแผนรถยนตบินได fan สําหรับการบินขึ้น–ลง และ ของ AAI การบินขางหนา ทีมของ ลอคฮีด มารติน ประกอบไปดวย บริษัท เพียเซคกิ แอรคารฟ (Piasecki Aircraft) ซึ่งเปนบริษัทที่มี ประสบการณในการออกแบบ และสราง ducted fan ติดตั้ง อากาศยานปกหมุน และบริษัท อ อ ก แ บ บ ร ถ ย น ต ริ ค า ร โ ด (Ricardo)


แผนแบบ ฮัมวี่ เหาะไดของ ลอคฮีด มารติน

ธรรมชาติ ภาพวาดรถ TX ขณะปฏิบัติ ภารกิจทางการรบ

TX เคลื่อนที่บนถนน จะพับใบพัดไปขางหลัง

รถยนต Humvee เหาะได ยังเปนเพียง แนวความคิดที่อาจจะเปนไปไดในทางปฏิบัติ โดย DAPRA คาดหวังไววา รถยนต TX เหาะไดจะทํา การบินไดจริงในป 2558 ซึ่งแผนแบบของรถยนต เหาะไดของจริงจะมีความเหมือนหรือแตกตางจาก ภาพวาดที่ ป รากฏในป จจุบัน คงได เ ห็น โฉมในอี ก ไมกี่ปขางหนา

ภัยคุกคามจาก IED ในอัฟกานิสถานเปน อั น ตรายต อ การเดิ น ทางทางถนนทั้ ง ทหารและ ยานพาหนะ นอกจากกองทัพบกแลว นาวิกโยธิน สหรัฐฯ เปนอีกเหลาทัพหนึ่งที่ตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียที่เกิดขึ้น จึงมีแนวความคิดที่ทํา การส ง กํ า ลั ง บํ า รุ ง ให กั บ หน ว ยทหารขนาดเล็ ก ที่ สงไปปฏิบัติการตามพื้นที่ตางๆ ที่อยูหางไกลจาก ที่ ตั้ ง โดยทางอากาศแทนการขนส ง ทางถนนโดย รถยนต ซึ่ ง อากาศยานที่ จ ะนํ า มาใช ง านตาม แนวความคิดของนาวิกโยธินสหรัฐจะเปนประเภทใด ติดตามไดในฉบับหนาครับ...


น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต

Sansiri_2@yahoo.com www.facebook.com/sansiri.s

เมื่อพูดถึงเครือขายไรสาย (Wireless) หลายคนคงทราบแลววา เครือขายไรสายเปนระบบการสื่อสาร ขอมูล ที่ใชคลื่นในยานความถี่ของวิทยุสําหรับการรับ–สงขอมูลระหวางเครื่องคอมพิวเตอร โดยไมตองใช สายนําสัญญาณ ทําใหบุคลากรที่ทํางานนอกสถานที่สามารถใชอีเมล ทองอินเทอรเน็ต และใชทรัพยากร บนเครื อ ข า ยขององค ก รที่ มี อยู ไ ด อ ย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ถื อ ว า เป น การปฏิ วั ติ ก าร ทํางานแบบใหมที่ทําใหทุกที่ ก ล า ย เ ป น ที่ ทํ า ง า น ไ ด เครื อข ายไร สายนอกจากจะ เพิ่ มประสิ ทธิ ภาพในการ ทํางาน (Productivity) ใหกับ บุ ค ลากรแล ว ยั ง เพิ่ ม ความ คล องตั วในการทํ าธุ รกิ จ (Business Agility) ตอบสนองการทําธุรกิจที่เปลี่ยนไป ในปจจุบันอุปกรณไฮเทคพกพาถูกสรางขึ้นมาใหรองรับ การสื่อสารแบบไรสาย (Wi-Fi) อาทิ เน็ตบุค, แท็บเล็ต และโนตบุคคอมพิวเตอร ประกอบกับการเกิดขึ้นของ การประมวลผลในกอนเมฆ (Cloud Computing) ทําใหบุคลากรเขาถึงขอมูลบนเครือขายไดทุกที่ทุกเวลา ขอดีอันหนึ่งที่ไดรับจากการนําเครือขายไรสายมาใชคือ สรางความพึงพอใจใหกับผูใชในทุกระดับ ถึงแมวา จะมีปญหาบางในเรื่องของความปลอดภัย (Wireless Security)


เครือขายไรสายแบบ Wi-Fi

กอนที่เราจะมาพูดถึงวา Wi-Fi คืออะไร เราลองมาทําความเขาใจกันเล็กนอยเกี่ยวกับเรื่องระบบ เครือขายกันกอน การที่คอมพิวเตอรหลายๆ เครื่องจะมาเชื่อมตอกัน เพื่อประโยชนในการแชรขอมูลซึ่งกัน และกันหรือเอามาแชรอินเทอรเน็ตเพื่อใชงาน เพียงตอแคเครื่องเดียวเครื่องอื่นๆ ที่อยูในเครือขายก็สามารถ ใชงานไดดวย แตเดิมนั้นเราจะใชสาย LAN ตอเขากับ LAN Card ของเครื่องคอมพิวเตอรแตละเครื่องเพื่อ จะเชื่อมเขาหากัน ปจจุบันดวยเทคโนโลยี LAN แบบไรสาย 802.11 พัฒนาโดยสถาบันวิศวกรไฟฟาและ อิเล็กทรอนิกส (IEEE) ที่ใชคลื่นในยานความถี่ของวิทยุสําหรับการรับ–สงขอมูลระหวางเครื่องคอมพิวเตอร โดยไมตองใชสายนําสัญญาณอีกตอไป กลายเปนศัพทใหมที่เห็นกันบอยๆ IEEE 802.11

Wi-Fi คือระบบเครือขายไรสายภายใตเทคโนโลยีการสื่อสารมาตรฐาน IEEE 802.11 เกิดขึ้นในป พ.ศ. ๒๕๔๐ จะเห็นว า เน็ตบุค, แท็บเล็ตและโนตบุค ที่มีใชอยูในปจจุบันนั้นมีอุปกรณที่สามารถ ติดตอสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบเครือขายไรสาย ภายใตมาตรฐานเทคโนโลยี 802.11 ซึ่งไดมีการ พัฒนากันมาเรื่อยๆ จาก 802.11 มาเปน 802.11b, 802.11a, 802.11g และ 802.11n ตางกันเรื่อง ความเร็วในการรับ-สงขอมูลเปนหลัก ปจจุบัน Wi-Fi ที่ใชทางธุรกิจมีอยู ๔ รุน 802.11b, 802.11a, 802.11g และ 802.11n ซึ่งไดรับการรับรองตามมาตรฐาน IEEE อยางเปนทางการ - มาตรฐาน IEEE 802.11b เสร็จสมบูรณเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ ความสามารถในการรับ-สงขอมูลดวย ความเร็วสูงสุด 11 Mbps ผานคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ระยะการรับ-สงขอมูลไดไกล ๑๐๐ เมตร ปจจุบัน ผลิตภัณฑเครือขายไรสายภายใตมาตรฐานนี้ ถูกผลิตออกมาเปนจํานวนมาก และที่สําคัญแตละผลิตภัณฑ มีความสามารถทํางานรวมกันได อุปกรณของผูผลิตทุกยี่หอตองผานการตรวจสอบจากสถาบันผูรวมพัฒนา Wi-Fi (Wi-Fi Alliance) เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของอุปกรณ และความเขากันไดของแตละผูผลิต ปจจุบันนี้ นิยมนําอุปกรณเครือขายไรสายมาตรฐาน 802.11b ไปใชในองคกรธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานที่ สาธารณะและกําลังแพรเขาสูสถานที่พักอาศัยมากขึ้น มาตรฐานนี้มีระบบเขารหัสขอมูลแบบ WEP ที่ ๑๒๘ บิต (Bit)


- มาตรฐาน IEEE 802.11a เสร็จสมบูรณเมื่อป พ.ศ.๒๕๔๒ ออกเผยแพรชากวามาตรฐาน IEEE 802.11b ความเร็วในการรับ-สงขอมูลสูงสุด 54 Mbps บนความถี่ 5Ghz ซึ่งจะมีคลื่นรบกวนนอยกวา ความถี่ 2.4 Ghz แตขอเสียก็คือความถี่ 5 Ghz หลายๆ ประเทศไมอนุญาตใหใช เชน ประเทศไทย เพราะได จัดสรรใหอุปกรณประเภทอื่นใชไปแลว และยิ่งไปกวานั้นระยะการรับ-สงขอมูล IEEE 802.11a ยังสั้นเพียง ๓๐ เมตรเทานั้น อีกทั้งอุปกรณของ IEEE 802.11a ยังมีราคาสูงกวา IEEE 802.11b ดังนั้นอุปกรณ IEEE 802.11a จึงไดรับความนิยมนอยกวา IEEE 802.11b มาก ทําใหไมคอยเปนที่ไดรับความนิยมเทาที่ควร - มาตรฐาน IEEE 802.11g เสร็จสมบูรณในป พ.ศ.๒๕๔๖ คณะทํางาน IEEE 802.11g ไดนําเอา เทคโนโลยี 802.11a มาพัฒนาบนความถี่ 2.4 Ghz ทําใหรับ-สงขอมูลดวยความเร็ว 54 Mbps ซึ่งเปน ความเร็วที่สูงกวามาตรฐาน 802.11b และเขามาแทนมาตรฐาน 802.11b ในอนาคตมากขึ้น สวนระยะการ รับ-สงขอมูลไดไกล ๑๐๐ เมตร นอกจากที่กลาวมาแลว มีบางผลิตภัณฑใชเทคโนโลยี เฉพาะตัวเขามาเสริม ทําใหความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เปน 100 Mbps แตตองทํางานรวมกันเฉพาะอุปกรณที่ผลิตจากบริษทั เดียวกันเทานั้น

Model Throughput Range Frequency

Hot-spot Interference access risk

Cost

802.11b 11Mbps

100 M 2.4GHz Excellent

High

Low

802.11g 54Mbps

100 M 2.4GHz Excellent

High

Moderate

802.11a 54Mbps

30 M

Low

High

Low

High

5GHz

Poor

802.11n 300Mbps 160 M 2.4GHz Excellent

- มาตรฐาน IEEE 802.11n เปนมาตรฐานใหมสุดที่ทาง Wi-Fi Alliance ไดนําออกเผยแพร โดยคาดวาจะมีความเร็วในการรับ-สงขอมูลสูงสุด 300 Mbps ซึ่งหมายถึงวามีความเร็วกวารุนกอนถึง ประมาณ ๕ เทา นอกจากนี้ก็ยังมีรัศมีในการรับ-สงขอมูลไดไกล ๑๖๐ เมตร เพิ่มความสามารถในการกัน สัญญาณกวนจากอุปกรณอื่นๆ ที่ใชความถี่ 2.4GHz เหมือนกัน และยังสามารถใชรวมกับอุปกรณมาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ได โดยมาตรฐาน IEEE 802.11n ไดเสร็จสมบูรณในป พ.ศ.๒๕๕๒


เทคนิครักษาความปลอดภัยแบบไรสาย

โดยทั่วไปการใชงานบนเครือขายแบบมีสาย จะเปนการใชงานที่มีการกําหนด IP Address ผูใช แตละคนไว แตละคนก็ไมสามารถใช IP Address ซ้ํากันได ดังนั้นเมื่อมีผูใชงานที่ไมไดรับอนุญาต (Unauthorized User) ผูดูแลสามารถตรวจสอบและรูไดทันทีวาผูใชงานที่ไมไดรับอนุญาตมาจากที่ไหน แต เครือขายไรสายไมเปนอยางนั้น การใชเครือขายไรสายจะไมมีการระบุ IP Address และผูใชสามารถเชื่อมตอ สัญญาณไดจากที่ไหนก็ได ภายในบริเวณที่ครอบคลุม (Hotspot ) ทําใหยากตอการระบุผูใชงานที่ไมไดรับ อนุญาต วามาจากที่ไหน

ดวยเหตุที่เครือขายไรสายมีผูนิยมแพรหลายมากขึ้นในองคกรขนาดตางๆ ดังนั้นความใสใจในเรื่อง การรักษาความปลอดภัยในเครือขายชนิดนี้ก็ยอมมีมากขึ้นตามไปดวย สําหรับระบบเครือขายไรสายใน องคกรจําเปนตองมีนโยบายการรักษาความปลอดภัยอันแข็งแกรง สามารถปกปองตัวเองใหรอดพนจาก ผูใชงานที่ไมไดรับอนุญาต และการแอบดูขอมูลที่สงโดยไมไดขออนุญาต (Sniff Data) เปนตน ซึ่งในปจจุบัน มีเทคนิคในการรักษาความปลอดภัยอยูหลายวิธีดวยกัน ที่สําคัญก็ไดแก - การพิสูจนยืนยันตัวตนผูใชงาน (Authentication) ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 นั่นคือเมื่อผูใช ตองการเขาใชเครือขายไรสาย จะตองมีการแสดงหลักฐานสําหรับประกอบการตรวจสอบ (Credential) ตอระบบเครือขาย ซึ่งหลักฐานดังกลาวนี้จะถูกสงตอไปยัง RADIUS Server (Remote Authentication Dial


In User Service) ซึ่งเปนระบบสําหรับตรวจสอบผูใชโดยเฉพาะที่ใชกันแพรหลายในปจจุบัน โดยการ แลกเปลี่ยนขอมูลระหวาง RADIUS Server และอุปกรณในระบบเครือขายไรสาย จะเปนไปตามโปรโตคอล EAP (Extensible Authentication Protocol) ซึ่งมีองคประกอบ ๓ อยางดวยกันคือ ๑. Authenticator ไดแก Access Point ที่รองรับ IEEE 802.11 เพื่อทําการสงผานขอมูลไปยัง Authentication Server ๒. Authentication Server ซึ่งในที่นี้คือ RADIUS Server ๓. Supplicant ก็คือเครื่องลูกขาย (Client) ที่ตองการเขาใชงานระบบเครือขายไรสาย ซึ่งขบวนการ ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 นี้จะเช็คความถูกตองของทั้ง Client และรับรองการมีอยูจริงของ Access Point ที่ถูกตองในระบบเครือขาย - การเข า รหั ส ข อ มู ล (Encryption) เพื่อปองกันการดักจับขอมูลของผูใชงาน และ จํ า กั ด สิ ท ธิ ใ ห กั บ ผู ที่ มี สิ ท ธิ ใ ช เ ครื อ ข า ย การ เขารหัสที่มีการใชงานอยางแพรหลายไดแก ๑. WEP (Wired Equivalent Privacy) วิธีนี้รหัสที่ใชในการเขารหัส และถอดรหัสเปน อันเดียวกัน โดยการใช key ขนาด ๖๔ บิต หรือ ๑๒๘ บิต อยางไรก็ตามการเขารหัสแบบ WEP นี้ มี ช องโหว อยู มาก เพราะรหั สที่ ใช สามารถถู ก ถอดรหัสไดจากผูใชงานโดยตรง นอกจากนี้ key ที่ใชในการเขารหัสก็ไมมีการเปลี่ยนแปลงตลอด การใชงาน ๒. WPA (Wi-Fi Protected Access) คือรูปแบบการเขารหัสที่มีความปลอดภัยสูงกวาแบบ WEP เพราะใชกลไกการเขารหัสและถอดรหัสแบบ TKIP (Temporal Key Integrity) ซึ่งเปน key ชั่วคราวที่จะ เปลี่ยนอยูเรื่อยๆ ทําใหยากแกการคาดเดาที่ถูกตองรวมกับ MIC (Message Integrity Code) เพื่อทําให แนใจวาขอมูลที่อยูระหวางการสื่อสารจะไมถูกปลอมแปลงจากผูบุกรุก ๓. WPA2 คื อการรักษาความปลอดภัยระดับสูงสุด ในปจจุบัน ที่ถูก พัฒนาขึ้นโดยใชกลไกการ เขารหัสและถอดรหัสแบบ AES (Advanced Encryption Standard) นอกจากเทคนิ ค ที่ ก ล า วมาข า งต น นี้ แ ล ว ป จ จุ บั น ยั ง มี วิ ธี ก ารรั ก ษาความปลอดภั ย ของระบบ เครือขาย ไรสายอีกหลายวิธีดวยกัน อาทิ เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยบน


เครือขายไรสายใหแข็งแกรงขึ้น โดยการใชเครือขายสวนตัวเสมือน (VPN) คือการสรางเสนทางสวนตัวบน เครือขายสาธารณะสําหรับการแลกเปลี่ยนขอมูลกับองคกร ซึ่งในโลกของความเปนจริงเราจะตองเลือกวิธใี ห เหมาะกับลักษณะและงบประมาณขององคกร เพื่อใหเกิดความคุมคาและประโยชนสูงสุดตอองคกร

ขอคิดที่ฝากไว ในอดีตเครือขายไรสายเปนสวนหนึ่ง ที่เสริมการทํางานบนระบบเครือขายแบบมีสาย ปจจุบัน เครือขายไรสายไดรับความนิยมและมีจํานวนผูใชมากขึ้น เนื่องจากการเกิดขึ้นของอุปกรณ ไฮเทคพกพา และการประมวลผลในกอนเมฆ ทําใหบุคลากรสามารถเขาถึงขอมูลไดทุกที่ทุกเวลา ผลเพิ่มประสิทธิภาพใน การทํางานใหแกบุคลากร ขอมูลจาก Mr.Dominic Orr ประธานกรรมการผูจัดการใหญของบริษัทเครือขาย อารูบา (Aruba Networks) ไดกลาววา “ในอนาคตอันใกล เราจะไดเห็นการพัฒนาความเร็วบนเครือขาย ไรสายแบบ 802.11n ใหมีความเร็วในการรับ-สงขอมูลที่สูงขึ้นจาก 300 Mbps เปน 450 Mbps, 600 Mbps และ 1 Gbps เมื่อเวลานั้นมาถึงจํานวนผูใชอุปกรณไฮเทคพกพาบนเครือขายไรสาย เพื่อเชื่อมตอขอมูล มัลติมีเดียที่มีความคมชัดของภาพและเสียงที่สูง อาทิ HDTV (High Definition TV) บนอินเทอรเน็ตคงมี จํานวนมากขึ้นตามไปดวย ซึ่งผลที่ตามมาจะทําใหการสื่อสารแบบไรสายกลายเปนเทคโนโลยีการสื่อสาร แหงอนาคต” ……


เฟองลดา (ตอจากฉบับที่แลว) ประเทศชิ ลี เกิ ดการประท ว งเพื่อตอต า น ความรว มมื อด า นพลั ง งานนิ ว เคลี ย ร ที่รั ฐ บาลชิ ลี เพิ่งลงนามรวมกับสหรัฐฯ โดยปจจุบันประเทศชิลีมี โรงงานไฟฟานิวเคลียรเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร ๒ แหง สวนการประทวงลาสุด เกิดขึ้นที่เมืองตางๆ ในประเทศบราซิล เรียกรองใหรัฐบาลปดโรงไฟฟา พลังงานนิวเคลียรทั้ง ๒ แหง และลมเลิกแผนกอสราง โรงไฟฟานิวเคลียรแหงที่ ๓ สวนประเทศที่มีโครงการ จะสรางโรงไฟฟานิวเคลียรอยางเวเนซุเอลา ไดสั่ง ยุติแผนการพัฒนาพลังงานนิวเคลียรแลว เนื่องจาก เกรงว า ความเป น ไปได เ กี่ ย วกั บ การรั่ ว ไหลของ กัมมันตรังสี ในขณะที่ไทยก็มีการประทวงเรื่องการ จะสรางโรงไฟฟานิวเคลียรเชนกัน

การกําหนดมาตรฐานสําหรับใชรายงาน อุบัติเหตุโรงไฟฟาพลังงานนิวเคลียร

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหวางประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) รวมกับองคกร Nuclear Energy Agency Organization for Economic Cooperation and Development (NEA/OECD) ไดกําหนดมาตรฐาน


สํ า หรั บ ใช ร ายงานอุ บั ติ เ หตุ โ รงไฟฟ า พลั ง งาน นิวเคลียรขึ้นในป ๒๕๓๓ โดยเรียกวา มาตรการ ระหว า งประเทศว า ด ว ยเหตุ ก ารณ ท างนิ ว เคลี ย ร โดยกําหนดเปนมาตราสากล ตั้งแตระดับ ๐ ถึง ๗ ดังนี้ ระดับ ๐ การเบี่ยงเบน Deviation เหตุการณ ที่ ค ลาดเคลื่ อ นเล็ ก น อ ยจากการเดิ น เครื่ อ งของ โรงไฟฟา นิว เคลีย ร ต ามปกติ ไมสง ผลกระทบต อ ความปลอดภัย ระดับ ๑ เหตุผิดปกติ Anomaly เหตุการณ ที่แตกตางจากเงื่อนไขตามที่อนุญาตใหเดินเครื่อง โรงไฟฟ า นิ ว เคลีย ร แต ไ ม มี ผ ลกระทบดา นความ ปลอดภั ย ไม มี ก ารเปรอะเป อ นสารกั ม มั น ตรั ง สี

หรื อ ผู ป ฏิ บั ติ ง านไม ไ ด รั บ ปริ ม าณรั ง สี เ กิ น เกณฑ กําหนด ระดับ ๒ เหตุขัดของ Incident เหตุการณ ซึ่งสงผลกระทบดานความปลอดภัย แตระบบปองกัน ยังสามารถควบคุมสภาวะผิดปกติได หรือเหตุการณที่ ทํ า ให ผู ป ฏิ บั ติ ง านได รั บ ปริ ม าณรั ง สี เ กิ น เกณฑ กําหนด หรือเกิดการแพรกระจายของสารกัมมันตรังสี บริเวณโรงงาน ระดับ ๓ เหตุขัดของรุนแรง Serious Incident เหตุการณที่ใกลตอการเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ ที่ ทํ า ให เ กิด การแพรก ระจายของสารกัม มัน ตรั ง สี ภายในโรงไฟฟาอยางรุนแรง หรือผูปฏิบัติงานไดรับ รังสีในระดับที่เปนอันตรายตอสุขภาพ


ระดับ ๔ อุบัติเหตุที่กอใหเกิดความเสียหาย ตอสถานปฏิบัติการนิวเคลียรในระดับสําคัญ เชน แกนปฏิกรณนิวเคลียรหลอม ละลายบางสวน หรือ มี ก ารแพร ก ระจายของสารกั ม มั น ตรั ง สี อ อกสู ภายนอก ยังผลใหกลุมบุคคลที่ลอแหลมตอเหตุการณ ไดรับปริมาณรังสีในชวง ๒-๓ มิลลิซีเวิรต ระดับ ๕ อุบัติเหตุที่มีผลกระทบถึงภายนอก โรงงาน ก อ ให เ กิ ด ความเสี ย หายรุน แรงต อ สถาน ปฏิบัติการนิวเคลียร หรือมีการแพรกระจายของสาร กั ม มั น ตรั ง สี อ อกสู ภ ายนอก ในระดั บ เที ย บเท า กับกัมมันตภาพของไอโอดีน-๑๓๑ ในชวง ๑๐๐๑,๐๐๐ เทระเบ็กเคอเรล ทําใหตองมีการใชแผน ฉุกเฉินบางสวน ระดับ ๖ อุบัติเหตุรุนแรง Serious Accident อุ บั ติ เ หตุ ที่ ก อ ให เ กิ ด การแพร ก ระจายของสาร กัมมันตรังสีออกสูภายนอกโรงไฟฟาปริมาณมากใน ระดั บ เที ย บเท า กั บ กั ม มั น ตภาพไอโอดี น -๑๓๑ ในชวง ๑,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ เทระเบ็กเคอเรล และตอง ดําเนินการตามแผนฉุกเฉินอยางเต็มรูปแบบ ระดั บ ๗ อุ บั ติ เ หตุ รุ น แรงที่ สุ ด อุ บั ติ เ หตุ ใหญ ห ลวง ก อ ให เ กิ ด การแพร ก ระจายของสาร กั ม มั น ตรั ง สี อ อกสู ภ ายนอกในปริ ม าณมหาศาล ในระดั บ เที ย บกั บ กั ม มั น ตภาพไอโอดี น -๑๓๑ ในชวง ๑๐,๐๐๐ เทระเบ็กเคอเรล มีผลกระทบตอ สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดลอมอยางกวางขวาง ปจจุบันทบวงการพลังงานปรมาณู ไดประมาณ สถานการณอุบัติเหตุโรงไฟฟ านิวเคลียรฟุกุชิมะ เปนภัยพิบัติรุนแรงระดับ ๗ โดยเหตุรุนแรงลาสุด เมื่อ ๔ เม.ย.๒๕๕๔ ตรวจพบรอยแตกที่บอซีเมนต

เก็บน้ําหลอเย็นที่เตาปฏิกรณหมายเลข ๒ ตนเหตุ ทํ า ให มี ส ารกั ม มั น ตรั ง สี ไ อโอดี น -๑๓๑ รั่ ว ไหลลง ทะเลแปซิ ฟ กในปริ มาณสู งกว ากฎหมายกํ าหนด ๔,๐๐๐ เทา และเมื่อ ๑๑ เม.ย.๒๕๕๔ ทางการ ญี่ปุนมีคําสั่งเตรียมขยายเขตอพยพประชาชน รอบโรงไฟฟานิวเคลียรจาก ๒๐ กม. เปน ๓๐ กม. สําหรับประเทศ ที่อาจไดรับผลกระทบจากการรั่วไหล ของกัมมันตรังสีจากญี่ปุนไดแก สหรัฐฯ แคนาดา

ผลกระทบจากการไดรับสารกัมมันตรังสี ผลของรั ง สีตอรา งกายขึ้น อยูกั บชนิดของ รัง สีปริมาณที่ไดรับ ระยะหา ง ระยะเวลาที่สัมผัส บุ ค คลที่ ไ ด รั บ สารกั ม มั น ตรั ง สี ใ นปริ ม าณน อ ยจะ ไมสามารถทราบได ตองใชเครื่องตรวจวัด แตผูที่ ไดรับเปนปริมาณมาก อาจมีผิวหนังอักเสบ มีอาการ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจเสียชีวิตได ทั้งนี้การ กระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุงไปในอากาศ น้ํา มนุษยอาจไดรับรังสีเขาสูรางกาย ทางการหายใจ ฝุนละอองของรังสี, รับประทานของที่เปรอะเปอน, การฝงสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสี ที่อยูใ นร า งกายจะแผรัง สีอ อกมา ทํ า อั น ตรายต อ รางกายเปนระยะเวลานาน จนกวาจะถูกกําจัดออกไป


จากรางกายจนหมดและยังสามารถแผรังสีไปทํา อันตรายคนที่อยูใกลเคียงได 11 รางกายจะมีผลกระทบมากหรือนอย ขึ้นกับปริมาณของรังสี ดังนี้ 20 Sv มีผลตอประสาทรับรู และเกิดอาการ สั่นอยางรุนแรง จากนั้นจะเสียชีวิตภายในไมกี่ชั่วโมง หลังรับรังสี 10 Sv ทําลายอวัยวะภายใน เลือดออก ภายใน ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในเวลาเปนวันหรือ ประมาณ ๒ สัปดาห 6 Sv เจาหนาที่ที่โรงไฟฟาพลังนิวเคลียร เชอรโนบิลไดรับ และเสียชีวิตภายใน ๑ เดือน 5 Sv ถาไดรับรังสีอยางเฉียบพลันเพียง ครั้งเดียว สงผลใหพิการไปครึ่งราง 1 Sv เกิดการเจ็บปวยอันเนื่องมาจากรังสี และมีความเสี่ยงที่จะเปนมะเร็งในภายหลัง แตไมถึง ขั้นเสียชีวิต 750 mSv ผมรวงภายใน ๒ สัปดาหหลังจาก ไดรับรังสี 700 mSv อาเจียนภายในไมกี่ชั่วโมง หลังจากไดรับรังสี 400 mSv เปนอัตรารังสีตอชั่วโมงที่ มากที่สุดที่ตรวจวัดได ที่โรงไฟฟาฟุกุชิมะ เมื่อ วันที่ ๑๔ มี.ค.๕๔ 350 mSv อัตราที่ชาวเมืองเชอรโนบิลไดรับ กอนอพยพออกจากเมือง 100 mSv อัตราจํากัดสําหรับคนทํางาน ดานรังสีที่ใหสะสมไมเกิน ๕ ป โดยถาไดรับเฉียบพลัน มีความเสี่ยงที่จะเปนมะเร็งในภายหลัง

10 mSv รังสีที่ไดรับจากการทําซีทีสแกน ๑ ครั้ง 9 mSv รังสีที่ลูกเรือสายการบินที่บินผาน ขั้ ว โลกเหนื อ เส น ทางระหว า งนิ ว ยอร ก ซิ ตี้ แ ละ โตเกียวไดรับในแตละป 2 mSv รังสีธรรมชาติที่เราไดรับเฉลี่ยตอป 1.02 mSv อัตรารังสีตอชั่วโมงที่ตรวจพบ บริเวณโรงไฟฟาฟุกุชิมะ เมื่อวันที่ ๑๒ มี.ค.๕๔ 0.4 mSv รังสีที่ไดรับจากเอกซเรยเตานม แบบแมมโมแกรม 0.01 mSv รังสีที่ไดรับจากการเอกซเรยฟน หมายเหตุ : 1 Sv= 1,000 mSv 1 mSv = 1,000 μSv 1 μSv = 1,000 nSv Sv - ซีเวิรต (Sievert), mSv - มิลลิซีเวิรต (millisievert), μSv - ไมโครซีเวิรต (microsievert), nSv - นาโนซีเวิรต (nanosievert)

อยางไรก็ตามการปองกันสารกัมมันตรังสี จึงเปนวิธีที่ดีที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัส หาก สงสัยวาจะสัมผัสสารกัมมันตรังสีควรถอดเสื้อผา ทั้ ง หมดใส ถุ ง ที่ ป ลอดภั ย ป ด ให ส นิ ท เพื่ อ นํ า ไป ตรวจสอบ ชําระลางรางกายดวยน้ําเย็นและสบูออน หากมีบาดแผลตองลางใหสะอาดและปดแผล


ผลกระทบตอบริษัทสําคัญในญี่ปุน บริษัทผลิตรถยนตโตโยตา แถลงการณวา โรงงานผลิตรถยนตทั้ง ๑๒ แหงทั่วประเทศ ไดหยุด การผลิตรถยนต เนื่องจากเหตุการณสึนามิสงผลให โรงงานผลิตรถยนตทั้ง ๓ แหง ของโตโยตา ที่ตั้งอยู ในจั ง หวั ด มิ ย างิ แ ละฟุ กุ ชิ ม ะเสี ย หายอย า งหนั ก ขณะที่ บ ริ ษั ท ผลิ ต รถยนต ร ายอื่ น ๆ เช น นิ ส สั น ฮอนด า และมิ ต ซู บิ ชิ ก็ ไ ด ป ระกาศระงั บ การผลิ ต รถยนตแลวเชนกัน บริ ษั ท ผู ผ ลิ ต ฮาร ด แวร ห ลายบริ ษั ท ของ ญี่ปุน ไดประกาศปดโรงงานเนื่องจากความไมปลอดภัย โดยจากขอมูลที่ทาง Electronicsweekly รายงาน ว า บริ ษั ท ที่ ไ ด รั บ ผลกระทบมากที่ สุ ด ได แ ก "โซนี่ (Sony)" จําเปนตองปดโรงงาน ๖ แหงชั่วคราว นอกจากนี้โรงงานผลิตแผง LED ของ "ชารป (Sharp)" หรือโรงงานของ "ซันโย (Sanyo)” ที่เมือง ซาไก รวมถึง "พานาโซนิค" ที่เมืองเซนได ก็ไดรับ

ผลกระทบ ทําใหโรงงานถูกทําลายทั้งหมด ในสวน ของบริ ษั ท ผู ผ ลิ ต กล อ งถ า ยภาพรายใหญ อ ย า ง

"นิคอน (Nikon)" ที่มีโรงงานอยูที่เมืองเซนไดและ โรงงานผลิตเลนสตระกูล Nikkor ที่โทชิกิ จาก รายงานลาสุดพบวา ขณะนี้ยังไมไดรับการติดตอ จากโรงงานทั้งสอง ทาทีนานาชาติตอเหตุการณโรงไฟฟา พลังงานนิวเคลียรในญี่ปุน เมื่ อวั นที่ ๒๘ มี .ค.๒๕๕๔ สถานเอกอั ครราชทูต (สอท.) ของประเทศตางๆ ในกรุงโตเกี ย ว รวมทั้งสิ้น ๑๘ ประเทศ ไดประกาศปดทําการชั่วคราว ไดแก โคโซโว บาหเรน โอมาน กานา เคนยา ไอโวรีโคสต เซเนกัล แทนซาเนีย โตโก นามิเบีย บูรกินาฟาโซ บอตสวานา มาลาวี มาลี มอริเตเนีย ลิเบีย ไลบีเรีย เลโซโทและ สอท. ของอีก ๑๑ ประเทศ ยายที่ทําการ ไปยั ง ภาคตะวั น ตกของญี่ ปุ น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ เมืองฮิโรชิมา และเมืองฟุคุโอกะ ไดแก แองโกลา เนปาล โครเอเชี ย สวิ ต เซอร แ ลนด เยอรมนี ฟ น แลนด นอร เ วย เ อ ก ว า ด อ ร กั ว เ ต ม า ล า สาธารณรัฐโดมินิกัน ปานามา คําแนะนําการเดินทาง ไปญี่ปุน ที่ประกาศโดยรัฐบาล ป ร ะ เ ท ศ ต า ง ๆ ร ว ม ไ ป ถึ ง มาตรการในการอพยพพลเมือง ของประเทศเหล า นั้ น อาทิ สหรัฐฯ ไดประกาศใหพลเมือง ของสหรั ฐฯ ที่ อ าศัย อยูใ นรัศ มี ๘๐ กม. จากโรงไฟฟานิวเคลียรฟุกุชิมะ อพยพออก จากบริเวณ นอกจากนี้ยังเตือนใหระงับการเดินทาง


ไปญี่ ปุ น ในขณะนี้ และพลเมื อ งที่ อาศั ย ในญี่ ปุ น ให พิ จ ารณาเดิ น ทาง ออกนอกประเทศ รวมทั้งไดอนุญาต ให ค รอบครั ว ของนั ก การทู ต สหรั ฐ ฯ จํานวน ๖๐๐ คน ที่อาศัยอยูในโตเกียว นาโกยา และโยโกฮามาเดินทางออก นอกญี่ปุนได ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ออสเตรี ย นอร เ วย ไต ห วั น สิ ง คโปร มาเลเซี ย อิ นโดนีเซีย ต างแนะนํ าให หลีกเลี่ยงการเดินทางไปญี่ปุน เปนตน หลายประเทศ อาทิ รัสเซีย ฮองกง สหรัฐฯ สิ ง คโปร ไต ห วั น ออสเตรเลี ย สหภาพยุ โ รป ได ประกาศมาตรการตรวจสอบ/ห า มนํ า เข า สิ น ค า บริโภคประเภทตางๆ จากญี่ปุน อาทิ ออสเตรเลีย ประกาศกั กสิ น คาประเภทนม ผลิ ตภั ณฑจากนม ผักผลไมสด สาหรายทะเล อาหารทะเลทั้งสดและ แชแข็ง ที่มีแหลงผลิตในจังหวัดฟุคุชิมะ อิบารากิ

ธรรมชาติ

โทจิกิ และกุนมะ สิงคโปรประกาศ จากการสุมตรวจ ๑๖๑ ตั ว อย า ง ได ต รวจพบการปนเป อ นรั ง สี ใ น ๔ ตัวอยางสินคาอาหารนําเขาจากญี่ปุน ความชวยเหลือจากตางประเทศ รัฐบาลญี่ปุนไดสรุปยอดประเทศที่เสนอให ความชวยเหลือมีจํานวน ๑๓๓ ประเทศ และองคกร ระหว า งประเทศ ๓๙ แห ง ซึ่ ง มี ทั้ ง ในรู ป แบบเงิ น บริ จ าค ของบริ จ าค และผู เ ชี่ ย วชาญ หากท า นมี ค วามประสงค จ ะบริ จ าคเงิ น ชวยเหลื อ แตเกรงว าเงิ นบริ จาคจะไมถึง ผู ป ระสบภั ย สามารถบริ จ าคได โ ดยตรง ผ า น www.google.com/crisisresponse/ japanquake 2011 โดยใชบัตรเครดิต เอกสารอ้างอิง : http://www.iaea.org http://th.wikipedia.org http://www.thaipost.net http://www.reuters.com http://www.cnn.com http://www.manager.co.th http://news.voicetv.co.th/global


Jetta, Berlin 2010 (ตอจากฉบับที่แลว) เช า วั น ที่ ๔ พ.ย.๕๓ เป น วั น สุ ด ท า ยของ การเดินทางไปเยี่ยมชมกิจการ/ทัศนศึกษาฐานทัพ เยอรมัน ณ เมือง Bremen วันนี้เดินทางไปดูงานที่ โรงเรียนฝกสงกําลังบํารุง (Logistikschule) ซึ่งมี Brd.Gen.Tarnoski ทานนายพลผูนี้ขณะนี้อายุ ๖๑ ป จะเกษียณอายุในอีก ๒ ปขางหนา อยูไมถึง ๖๕ ป (หรือ ๖๗ ป ตามกฎเกณฑใหม) ณ ที่โรงเรียนแหงนี้ ให ก ารศึ ก ษาอบรมแบบรวมการทั้ ง ๓ เหล า ทั พ รวมทั้ ง หน ว ยแพทย ส นาม มี วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ ก) ฝ ก หน ว ยกํ า ลั ง ให พ ร อ มไปประจํ า การใน ตางประเทศ ข) การศึกษาวิจัยงานดานสงกําลังบํารุง และ ค) การจัดดํ า เนิน งานหนว ยทหาร มี อํา นาจ หนาที่ในการตรวจสอบ ๑) คุณลักษณะทางเทคนิค ของยานพาหนะ ๒) สิ่ ง อุ ป กรณ / สารอั น ตราย รับผิดชอบในการดูแลและการพักคางแรมของผูเขารับ การฝกมาแลวไมนอยกวา ๓๐,๐๐๐ คน ภารกิจหลักที่ ไดรับมอบหมายในการฝกคือ ก) การฝก ข) การ พัฒนา และ ค) การสนับสนุนหนวยกําลังในสวนหนา

ที่โรงเรียนแหงนี้มีกําลังพล/เจาหนาที่รวมประมาณ ๗๐๐ คนเศษ เปนพลเรือน ๑๐๐ คนเศษ เปดหลักสูตร ในแตละป ๔ หลักสูตรหลัก หลักสูตรแรกคือ ก) ฝก ผูนําในหนวยสนามใหกับทหารทุกชั้นยศตั้งแตชั้น ประทวนถึงฝายเสนาธิการ (J4/S4) ของระดับกองพันที่ ตองออกไปปฏิบัติหนาที่ในตางประเทศ ข) อบรม ศึกษาวิชาความรูเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ – การขนสง – การระดมกําลังจากหลังไปหนา ซึ่งตองมีกลไกกฎหมาย และแนวทางปฏิบั ติที่ ชัด เจน โดยการดํา เนิ น งาน ทั้ ง หมดจะต อ งดํ า เนิ น การอย า งบู ร ณาการ/แบบ คู ข นานกั น อย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการสนั บ สนุ น หน ว ยกํ า ลั ง ในส ว นหน า ค) งานยกกระบั ต รและ พลาธิ ก ารในส ว นหน า ได แ ก การตั้ ง สํ า นั ก งานที่ ทํ า การส ว นหน า ซึ่ ง ต อ งสร า งโดยเต็ น ท แ ละวางตู คอนเทนเนอร ในการนี้ ตองการเจาหนาที่เฉพาะทางที่ เชี่ยวชาญชํานาญเฉพาะสาขาจํานวนมาก ง) การ เรี ย นขั บ รถในพื้ น ที่ พิ เ ศษ/รวมทั้ ง การตรวจสอบ ออกใบอนุ ญ าตให พ ลขั บ ทุ ก คนสามารถใช ง าน ยานพาหนะ/ยานยนตป ระเภทหุ ม เกราะได อ ยา ง ถู ก ต อ งซึ่ ง ต อ งทํ า งานเกี่ ย วกั บ การบรรทุ ก และ


ยก-ขนถ า ยพั ส ดุ ข นาดหนั ก ป จ จุ บั น มี ผู ผ า นการ อบรมแล ว ๒๓๐ รุ น และหมุ น เวี ย นมาฟ น ฟู อี ก ๘๕๐ รุน สรุปรวมวา มีการอบรมกําลังพลไปแลว ๘,๙๒๐ คน อยูระหวางการฝก ๑,๓๑๖ คน สามารถ รองรับการฝกไดอีก ๓,๔๙๐ คน รวมขีดความสามารถ ในการฝ ก ๑๓,๗๓๕ คน การเรี ย นการสอนเป น ลัก ษณะรวมการของทั้ ง ๓ เหลา ทั พ เปน ปริม าณ ประมาณรอยละ ๙๐ ที่เ หลืออี ก ร อยละ ๑๐ เป น การฝกอบรมพิเศษใหกับเหลาทัพใดเหลาทัพหนึ่ง การฝกจะกระทําในลักษณะเสมือนจริงเชนเดียวกับ อยูในสนาม ขอมูลทั้งหมดเปนขอมูลจริง ณ เวลา จริ ง (จากอั ฟ กานิ ส ถาน) แต ถู ก สํ า เนามาใช เ พื่ อ การฝก (ในเยอรมั น) นอกจากนั้ นผูเข ารั บการฝ กยั ง สามารถติดตอสอบถามปญหากับกําลังพลในสวน หนา (ในอัฟกานิสถาน) ผาน Teleconference ได โดยตรง ทําใหกําลังพลมีประสบการณและความ มั่ น ใจสู ง สุ ด เนื่ อ งจากการสั บ เปลี่ ย นหน า ที่ ใ น ตางประเทศมักมีเวลานอยเพียง ๓-๔ วัน ไมอาจทํา ความเขาใจกันไดทั้งหมดในหวงเวลาสั้นๆ แตตอง เริ่มงานทันที การบรรยายสรุปเกี่ยวกับศูนยฝกสงกําลัง บํารุง ทราบวาศูนยฯ นี้ตั้งขึ้นเมื่อป ค.ศ.๒๐๐๖ และ ไดมีการปรับปรุง Software ลาสุดเมื่อป ๒๐๐๙ การฝกขั้นตนนี้เริ่มตนสถานการณดวยการแบงฝาย เปน ๒ ฝาย (Wettina-Seeland) ใชขอมูลสมมุติ เพื่อปองกันขอมูลจริงหลุดรั่ว ในการฝกนี้จะตองให ผูรั บ การฝ ก ทุ ก คนไม ว า จะชั้ น ยศใดต อ งสามารถ หาขอสรุปในการเลือกหนทางปฏิบัติในการขนสงได ทั้งทางบก (ถนน/ราง) ทางเรือ ทางอากาศ การฝก

ขั้นตนนี้ใชเวลา ๖ เดือน โดยในแตละวันจะเริ่มให ความรูตั้งแต ๐๗๐๐ และเลิกการเรียนใน ๑๕๐๐ หลังจากนั้นจะเปนการประเมินผลถกแถลงจนอาจ ถึง ๒๔๐๐ การอบรมจะแบงเปนกลุมๆ ละ ๕-๘ คน อนึ่ ง ศู น ยฯ นี้กํ า ลั ง อยูร ะหวา งเตรีย มการเปลี่ย น Software ใหม ขณะนี้อยูระหวางการทดลอง จะเขา ประจําการและใชงานไดใน ม.ค.๕๔ สิ้ น สุ ด การบรรยายสรุ ป นี้ แ ล ว ก็ เ ป น การ สาธิตใหดูตัวอยางการฝกอบรมที่นี่ การสาธิตแรก คือการสอนขับรถยนต (ธรรมดา) บนถนนในสภาพ ตางๆ อยางถูกวิธี เนนเรื่องความปลอดภัย หลักสูตร การฝกอบรมใชเวลาประมาณ ๔ เดือนครึ่ง เริ่มดวย - การขับรถมอเตอรไซคที่มีระบบ ABS และ ไมมี ABS ใหเห็นความแตกตางจากการเบรก การ ควบคุ ม รถในพื้ น ที่ จํ า กั ด (ในพื้ น ที่ สี่ เ หลี่ ย มจั ตุ รั ส กวางดานละ ๕ เมตร) และการใชคันเรง ในขณะ ขับขี่ดวยความเร็วตา ง ๆ (นอยกวา ๒๕ กม./ชม. และมากกวา ๕๐ กม./ชม.) - การควบคุ ม รถบรรทุ ก หนั ก ในความเร็ ว ตางๆ กัน (๓๐ กม./ชม.) ที่เกิดอาการลอล็อคตาย - การควบคุมรถเกงที่ลอขางหนึ่งอยูบนถนน ทางลื่น แตลออีกขางหนึ่ งอยูบนถนนแหง ใหเห็น อาการปด/สะบัดหากรถนั้นไมมี ABS - การควบคุมรถบรรทุกขาดน้ําหนัก (LKW) บนถนนลื่นที่ไมมีระบบ ABS จากนั้นเปนการสาธิตจริงในการเบรกของ รถโดยสารที่ ค ณะของเรานั่ ง อยู โดยขั บ มาด ว ย ความเร็ว ๕๐ กม./ชม. แลวเบรกปรากฏวามีแรงตาน พอสมควร แตพอลองใหมใหรถเริ่มออกตัวความเร็ว


ไม ถึ ง ๒๐ กม./ชม. แล ว เบรกให ร ถหยุ ด ทั น ที ปรากฏวามีแรงตานมากกวาเดิมหลายเทาตัวนัก ที่เปนเชนนี้เพราะเปนการเอาชนะความเรงขณะรถ ออกตัว ตอมาเปนการสาธิตการฝกขับรถหุมเกราะ ที่มีขนาดใหญ น้ําหนัก มาก ในพื้นที่จริง ไดลอง นั่งรถ Dingo I ซึ่งเปน ร ถ เ ก ร า ะ ล อ ย า ง ที่ พัฒนามาจาก Unimog ทั นสมั ย ข างในเป น ร ะ บ บ Pressurize เนื่ อ งจากต อ งป อ งกั น ก าซพิ ษ (ขณะนี้ กํ า ลั ง พัฒนาเปน Dingo II ที่ การขับเคลื่อนเปนระบบ อั ต โนมั ติ โดยต อ งการให กํ า ลั ง พลได ใ ช เ วลากั บ สายตาในการเฝาสังเกตความเคลื่อนไหวภายนอก มากกวาการเฝาดูภายในรถ) รถหุมเกราะนี้มีกําลัง ๒๔๐ แรงมา ความเร็ว ๘๐-๑๐๐ กม./ชม. ๘ เกียร ลอยางซึ่งสามารถทน นน.ระเบิด TNT ได ๖ กก. การฝ ก มี ห ลายรู ป แบบได แ ก ก) การขั บ ขึ้ น เนิ น ข) การขับขามทางรถไฟ ค) การขับบนทางลูกคลื่น ง) การขับ บนถนนเอีย งขา ง จ) การขับเขา ที่แ คบ ฉ) การขั บ เข า ที่ แ คบและซิ ก แซ็ ก ต อ มาเป น การ สาธิตในการตั้งหนวยสนาม (Feldanlage) ซึ่งหนวย สนามยุคแรกนั้นเริ่มเมื่อป ค.ศ. ๑๙๙๓ ในโซมาเลีย ที่เปนเชนนี้เพราะเดิมสมัยสงครามเย็นนั้นเยอรมัน ใชกําลังทหารเพื่อปองกันประเทศเทานั้น แตหลัง สงครามเย็ น สิ้ น สุ ด ลงจึ ง ได ป รั บ บทบาทใช กํ า ลั ง

นอกประเทศ (เปาหมายสวนหนึ่งก็คือการปกปอง แหลงผลประโยชน/แหลงทรัพยากรนอกประเทศ) หนวยสนามนี้ประกอบดวยองคประกอบหลัก ๘ จุด ดัง นี้ จุด แพทย ส นาม จุ ดพั ก อาศั ย จุ ด ดูแ ลหน ว ย

Dingo I

จุ ด เก็ บ สิ่ ง อุ ป กรณ จุ ด สํ า นั ก งาน จุ ด ผลิ ต ไฟฟ า จุ ด ครั ว สนาม จุ ด ซั ก ล า ง เมื่ อ ป ๒๐๐๘ ได มี ก าร นํ า ไปใช ใ นอัฟ กานิส ถาน และได มี ก ารพั ฒ นามา อย างตอเนื่ องจนถึง ป ๒๐๐๙ จึงย ายฐานการฝก มาที่ Galstedt การฝกมุงเนนการประกอบเพื่อ ใช ง านและการดู แ ลด า นเทคนิ ค ให กั บ นายทหาร ประทวนและทหารกองประจํ า การที่ ไ ด บ รรจุ ประจําการในสวนหนาใหมีความรู เกี่ ยวกับระบบ ไฟฟา เครื่องปรับอากาศ และการหาขอขัดของหาก ระบบเสีย ใชการไมได ระบบนี้ใชทั้งความดันไฟฟา ๔๐๐ โวลต และ ๓๕,๐๐๐ โวลต ระบบไฟฟาแรงสูง ที่สงมาจากภายนอกก็เพื่อใหมีแรงสงไปไดไกลถึง ๓.๕ กม. การตั้งหนวยสนามใหพรอมใชงานใชเวลา ประมาณ ๓๐ วัน สําหรับการติดตั้งจุดแพทยสนาม


ตูโรงพยาบาลสนาม

จํา เป น ต อ งการคอมพิ ว เตอร ช ว ยในการวางแผน หาจุดที่ตั้งที่ดีเหมาะสมที่สุด ซึ่งการใชคอมพิวเตอร ช ว ยวางแผนนี้ ต อ งใช เ วลาถึ ง ๔ ชั่ ว โมง พื้ น ที่ ตั้ ง จุ ด แพทย ส นามต อ งราบเรี ย บไม มี ล าดเอี ย ง ตูคอนเทนเนอรที่สรางขึ้นมี Function ตางๆ ดังนี้ ตูโรงพยาบาลสนามมี ๒ ตู เปนตูเก็บเครื่องมือ อุ ป กรณ ๑ ตู และห อ งผ า ตั ด ๑ ตู การตั้ ง ตู เ ป น หนาที่ของหนวยสนาม แตการบริการทางการแพทย เปนหนาที่ของชุดแพทยสนาม การออกแบบดีมาก เนื่องจากตองรักษาความสะอาดสูงสุด ไมมีรอยรั่ว มีกาซตางๆ สําหรับการผาตัด ที่ทําไมไดอยางเดียว ก็คือการปลูกถายอวัยวะ นอกนั้นแลวที่นี่ทํากิจกรรม ทางการแพทยสนามไดทั้งหมด ตู จ า ย ไ ฟ ฟ า ข น า ด ใ ห ญ ค ว บ คุ ม ก า ร จายไฟฟาทั้งหมด ตู ค รั ว สนามซึ่ ง ติ ด ตั้ ง เครื่ อ งปรั บ อากาศ/ ดูดอากาศอยางดี ตูลางจานสนาม ตู ซั ก ผ า เป น ผ า ที่ ส กปรกและเสี่ ย งการ ติดเชื้อมาก ออกแบบทันสมัย ซักไดตอเนื่องเพียง ใส เ สื้ อผาสกปรกเข า ไปทางหนึ่ง เสื้อผา ที่ซักแล ว จะออกมาอีกทางหนึ่ง ไมมีการสัมผัสกัน ระหวาง

เสื้อผาสกปรกและเสื้อผาสะอาด นอกจากนั้นยังมี เครื่ อ งซั ก ผ า ธรรมดาที่ เ ราใช กั น ทั่ ว ไปไว บ ริ ก าร สําหรับการซักเล็กๆ นอยๆ ตูหองน้ําสําหรับอาบน้ําและสุขา ตูผลิตน้ํา ประปาเพื่อใชอุปโภคหมุน เวีย น หลายๆ ครั้ง เนื่องจากบางพื้นที่ขาดแคลนน้ํา คุณภาพ น้ํา ที่ผลิตสามารถดื่มไดแตก็ไมมีใครอยากหรือกลา ที่จะดื่ม ตู น้ํ า ดื่ ม เป น น้ํ า ประปาที่ ต อ งนํ า มาเข า กระบวนการทําความสะอาดอีกครั้ง สําหรับดื่มโดยเฉพาะ ตูผลิตอากาศเย็น (แอร) สําหรับหลอเลี้ยง ที่ทํางานและที่พัก อากาศจะไดรับการฟอกทําความ สะอาดและลดอุณหภูมิจากอุณหภูมิภายนอกอีก ๑๐ องศา มีขีดความสามารถในการจายแอรสาํ หรับ คน ๓๐๐ คน ตูอเนกประสงคซึ่งดัดแปลงไดอยางรวดเร็ว ใหเปนโรงพยาบาลขนาดเล็ก ๒ เตียงก็ไดหรือเปน ตูเครื่องมือก็ไดหนักเชนกัน เชนสามารถติดตั้งเครน สําหรับยกของหนัก ตูอเนกประสงคนี้ออกแบบสําหรับ การนําสงไปปฏิบัติในสวนหนา (จํานวน ๕-๑๐ คน) กอนที่หนวยหลัก (ยอดกําลังพล ๓๐๐ คน) จะตาม ไปทีหลัง


ตูแชแข็ง ที่อุณหภูมิ คงที่ -๑๘ องศาเสมอ มิใหแบคทีเรียหรือเชื้อโรคฟกตัวได ทําใหสามารถ เก็บอาหารสดไดนาน ยุทโธปกรณของหนวยสนามนี้ผลิตมาจาก หลายๆ บริ ษั ท บรรจุ อยู ใ นตู ค อนเทนเนอร ข นาด ๒๐ ฟุต เพื่องายตอการลําเลียงขนสงทางรถทางเรือ ทางอากาศ อุปกรณภายในทั้งหมดถูกออกแบบไว ให เ ก็ บ พั บ ได ใ ห อ ยู ใ นตู ค อนเทนเนอร ทั้ ง หมด สามารถเก็บพับและเคลื่อนยายไดอยางรวดเร็วทันที ที่ตองการ ปจจุบันชุดตูคอนเทนเนอรหนวยสนามนี้ ธรรม

มีชุดเดียวในเยอรมันสําหรับใชฝก ที่เหลือถูกสงไป ประจําการที่ตางประเทศทั้งหมดรวมทั้งในอัฟกานิสถาน ดวย สิ้นสุดการเดินทาง Attache Reise แลว ขากลับไปกรุงเบอรลิน กองทัพเยอรมันจัดเครื่องบิน Airbus 310 จากกองทัพอากาศใหบริการ ใชเวลาบิน เพียง ๔๐ นาที ถือวาเปนการบริการอยางยอดเยี่ยม และใหเกียรติที่ยิ่งใหญสําหรับคณะผูชวยทูตทหาร ของเรา """

Airbus 310


นวีร

ผู ที่ ไ ด ช มรายการคุ ณ พระช ว ย ทาง สถานี โทรทัศนโ มเดิ รน ไนนที วี คงจะชื่ น ชอบและ ชอบชม โดยเฉพาะอยางยิ่ง ตอนทายของรายการ ซึ่งเปนจําอวดหนามาน ของโยง พวง นง ซึ่งมักจะ ใช ป ฏิ ภ าณไหวพริ บ ด า นภาษาและเหตุ ก ารณ ปจจุบันโตตอบกันผานเพลงฉอย เพลงฉอยหรือฉอย เปนคํานาม คือชื่อเพลง สําหรับวาแกกันระหวางชายกับหญิง (แตในจําอวด หนามาน โตกันในหมูผูชาย และบางครั้งใชคําวา ฉอย เปนคํากริยา เชน วันนี้จะฉอยกันเรื่องอะไร ทําใหคําวาฉอย นาสนใจยิ่งขึ้น) เปนเพลงที่นิยมวา ปากเปล า โดยอาศั ย ปฏิ ภ าณเป น สํ า คั ญ เมื่ อ ว า จบแลว ลูกคูจะรับพรอมกันวา ชา ฉา ชา ฉาด ชา นอยแม (หรือ หนอยแม) ครั้งหนึ่ง ผูแสดงรายการนี้ใชคําวา ชา ซึ่ง เปนคําพองรูปพองเสียง สื่อความหมายใหคิดขําๆ ดังนี้ พวง : ขาซายฉันนะชา นง : แลวขาขวาละเปนอยางไร พวง : ขาขวาก็กาแฟไง..เอย..ขาขวากาแฟ โยง : ตัวแกก็โอวันติน

จะเห็นไดวา เปนเนื้อเพลงฉอยที่คลองจอง มีเนื้อหา แฝงไวดวยอารมณขัน เปนเรื่องเปนราวได ทําใหผูชมสนุกสนาน คํ าพ องรู ปพ องเสี ยงนี้ ผู แสดงจํ าอวดมั กนํ า มาใชดวยปฏิภาณไหวพริบ ผูรับสารจะเขาใจหรือ คิดทันก็เมื่อรูความหมายตางๆ ของคํานั้น เนื่องดวย คํ า คํ า นั้ น มี ห ลายความหมาย และทํ า หน า ที่ ไ ด หลายอยาง อันเปนลักษณะเดนลักษณะหนึ่งของ ภาษาไทยที่เปนภาษาคําโดด เชน ดี ในประโยควา ฉันดีใจ ดีเป นสวนหนึ่งของคํากริยา เขาเปนคนดี ดีเปนคําวิเศษณ เขากินดีงู ดีเปนคํานาม ตนสักตนนี้ ใหญ มาก คนสิ บ คนโอบไม ร อบ สั ก เป น คํ า นาม เดวิด เบคแฮม นักฟุตบอลระดับโลก มีรอยสักทั่วทัง้ ตั ว สั ก เป น คํ า กริ ย า ผู ที่ เ ข า ใจและรู ค วามหมาย ทั้ ง หลายของคํ า พ อ งรู ป พ อ งเสี ย งเหล า นี้ ก็ จ ะ นํามาใชสื่อสาร ใหสนุกสนานและเพลิดเพลินดวย ศิลปะการใชคําอยูเสมอ ศิลปะการใชคําพองเชนนี้ ถือเปนอลงกรณ ในคําประพันธของไทย ในลักษณะของการเลนคํา ทําใหคําประพันธไพเราะ มีความหมายและนาสนใจ เชน โคลงนิราศนรินทร มีความตอนหนึ่งวา


บรรลุอาวาสแจง เจ็บถาม แจงจากจงอาราม พระรู เวรานุเวรตาม ตัดสวาท แลแม วานวัดแจงใจชู จากชาสงวนโฉม โคลงบทนี้เลนคําวา แจง ถึง ๓ บาท อาวาส แจ ง คื อ วั ด แจ ง (วั ด อรุ ณ ราชวราราม) แจ ง ใน บาทที่ ส องหมายถึ ง รุ ง แจ ง แจ ง ในบาทที่ สี่ หมายถึง บอกใหรู ในโคลงนิราศนรินทรเชนกัน มีอีกตอนหนึ่งวา นางนวลจับแมกไม นางนวล นวลนุชแนบเรียมควร คูแคลว คํ า ว า นวล มี ค วามหมายถึ ง ๓ นั ย คื อ นกนางนวล ตนนางนวล และนวลที่หมายถึงผูหญิง ความหมายหลังนี้ มาจากความหมายโดยตรงตาม พจนานุกรมวา สีขาวปนเหลืองเล็กนอย ผุดผองเปน ยองใย งามผุ ดผ อง เช นผิ วนวล และยั งแตกลู กคํ า เป น นวลระหง คื อ รู ป ทรงงาม นวลลออ คื อ ผุดผอง งามดี นวลละออง คือผุดผองเปนยองใย และนวลหง (นวน-ละ-หง) มีสีเนื้อนวลงาม ในนิราศเจาฟาของสุนทรภู มีความตอนหนึ่ง วา ตลาดขวัญขวัญนี้ขวัญหาย ใครจะขายขวัญฤาจะซื้อขวัญ แมนขวัญฟาหนาออนเหมือนทอนจันทน จะรับขวัญเชาเย็นไมเวนวาง คําวา ขวัญ คําแรก เปนชื่อตลาด สวนขวัญ คํ า ที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕ หมายถึ ง สิ่ ง ที่ ไ ม มี ตั ว ตน เชื่ อ กั น ว า มี อ ยู ป ระจํ า ชี วิ ต ของคนตั้ ง แต เ กิ ด มา ถาขวัญอยูกับตัวก็เปนสิริมงคล เปนสุขสบาย จิตใจ

มั่นคง ถาคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากรางไป ซึ่งเรียกวา ขวัญบิน ขวัญหาย ขวัญหนี เปนตน ทําให คนนั้ น ได รับ ผลร า ยต า งๆ ถ า เชิ ญ ขวั ญกลั บ มาได เรียกวา รับขวัญ ดังคําวา ขวัญ คําที่ ๗ สวน ขวัญฟา นั้น หมายถึง นางอันเปนที่รัก ในกาพย ห อ โคลงประพาสธารทองแดง ใชคําวาลิง เลนคํา ดังนี้ หัวลิงหมากลางลิง ตนลางลิงแลหูลิง ลิงไตกระไดลิง ลิงโลดควาประสาลิง หัวลิงหมากเรียกไม ลางลิง หลอกชู ลางลิงหูลิงลิง ลิงไตกระไดลิง ลิงหม ลิงโลดฉวยชมผู ฉีกควาประสาลิง คําวา หัวลิง ลางลิง หูลิง กระไดลิง เปนชื่อ ต น ไม ส ว นคํ า ว า ลิ ง โลด อาจใช เ ป น คํ า กริ ย าที่ แปลวา ตื่นเตน ดีใจ หรืออาจจะแปลวา ลิงที่เปน สัตวกระโดด(ควาชมพูมากิน ประสาลิง)ก็ได คําวา ลิงในบาทสุดทาย จึงอาจหมายถึงลิงที่เปนสัตวได ทั้ง ๒ คํา ในเรื่องขุนชางขุนแผนก็มีคําพองรูปพองเสียง บรรยายวา ฝูงลิงไตลางลิงไขว ลางลิงไลกันวุนวิ่ง ลางลิงชิงคางขึ้นลางลิง กาหลงลงกิ่งกาหลงลง คําวาลิงที่เลนคํานั้น ผูอานคงเขาใจไดแลว สวนวรรคสุดทาย กา เปนคํานาม คือนกกา หลง เปน


คํากริยา หมายถึงเขาใจผิด กิ่งกาหลง เปนคํานาม คือไมพุมชนิดหนึ่ง คํา ประพั น ธ ที่ยกตั ว อย า งมาขา งตน เป น การใช คํ า พ อ งรู ป พ อ งเสี ย งบรรยายให เ ห็ น ภาพ มี ก ลอนสมั ย ใหม บ ทหนึ่ ง สื่ อ ให ผู อ า นเข า ใจว า ตองการอะไร ใหตีความใหได ดังนี้ สวนแกวกรุนหอมกลิ่นแกว แกวปลิดกลีบแลวเกลื่อนกลน กลิ่นแกวเหมือนกลิ่นแกวกลางกมล แกมปนกลิ่นเนื้อนาฏแวว จะกลอมแกวกลางกมลคนดี อนุญาตใหพี่สามสี่แกว แกวพี่พลีตามคําขอแลว สามสี่แกว ชงหนาหนาพี่วาพอ กลอนบทนี้มี ทั้ ง ต น แก ว นางแก ว แก ว ที่ เปนภาชนะใสน้ํากิน แลวที่ อนุญาต จะแกวอะไร ที่จริงคือขออนุญาตดื่มเหลา ผูอานกลอนบทนี้ตอง มีพื้นความรู ตองเขาใจ รูวาชงหนาๆ นั้น แสดงวา ไมใชน้ําธรรมดา และคงไมใชกาแฟดวย นี่ เ ป น การใช คํ า พ อ งรู ป พ อ งเสี ย งในคํ า ประพันธ ผูเขาใจความหมายตางๆ ของคํา จะรูสึก เพลิดเพลินและตีความจนเขาใจสิ่งที่ผูเขียนตองการ สื่ อ ได ถื อ เป น การเล น คํ า ที่ ผู ส ง สารและผู รั บ สาร ตองใชปฏิภาณจึงเขาใจ ในชีวิตประจําวัน บางครั้ง ในตอนแรกผูรับสาร ก็อาจไมเขาใจสิ่งที่ผูสงสารตองการสื่อ ดังเรื่องนี้ เมื่อรถเสีย ผูเขียนจึงขอยืมรถคนอื่นมาใช ทั้ ง ๆ ที่ ไ ม ค อ ยอยากใช ร ถเพราะน้ํ า มั น แพง แต ต อ งการซื้ อ ของใช ที่ จํ า เป น โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง

น้ําดื่มขวดใหญขนาด ๖ ลิตร ซึ่งจะซื้อทีละ ๖ ขวด ขึ้ น ไป ห า งสรรพสิ น ค า บางแห ง ก็ ไ ม มี น้ํ า อย า งที่ ตองการ ไปซื้อของมาหลายครั้งก็ยังไมไดน้ํายี่หอ ที่ตองการ จนน้ําจะไมมีดื่มแลว จูๆ คนที่อยูดวยกัน และไปไหนมาไหนดวยกันก็บอกวา ซื้อน้ําสํารองมา ให ๒ ขวด ผูเขียนแสนจะดีใจ เพราะเขารูใจวาเรา จะใชน้ําแบบไหน และวันรุงขึ้นน้ําดื่มเกาก็จะหมดแลว และอยากคืนรถที่ยืมมาใชดวย คือจะไมมีรถซื้อของ จนกวารถที่เสียจะซอมเสร็จ ยังเปรยๆ บอกวา นาจะ ซื้อมามากกวา ๒ ขวด มีน้ําสํารองไวแยะๆ ก็ดี แต ครั้นกลับถึงบาน น้ํา ๒ ขวดที่คิดวาเปนน้ําดื่มนั้น กลายเปนน้ําสํารองจริงๆ คือน้ําสํารองที่เปนเครื่องดื่ม ขวดเล็กๆ ขนาด ๒๕๐ มล.(น้ําสีน้ําตาลทําจากผล ของตน สํ า รอง ซึ่ ง เป น ต น ไมขนาดใหญ ผลแชน้ํ า แล ว พองเป น วุ น ใชกิ น กั บน้ํ า ตาลและใช ทํ า ยาได เรียกพุงทะลาย) ที่รานคาสวัสดิการทหารอากาศก็มี ขาย ยังดีที่เปนเรื่องเล็กๆ เลยกลายเปนเรื่องขําๆ ไป เช น เดี ย วกั บ เรื่ อ งขํ า ๆ เก า ๆ หลายเรื่ อ ง เช น คนหนึ่งบอกวา “ขอถายรูปหนอย” อีกคนหนึ่งบอกวา “ถายแตคนชื่อหนอยหรือ คนชื่อนิดถายดวยไดไหม” หรืออีกเรื่องหนึ่งที่คนหนึ่งบอกวา “ไปถายรูปหมู” อีก คนหนึ่งก็ ถามวา “แลว จา ละ ถายด วยไดไหม” เชนนี้ แสดงนัยความหมายของคําวาหนอย และ หมู ว า เป น คํ า พ อ งรู ป พ อ งเสี ย ง ใช เ ล น คํ า ให สนุกสนานได นี่ ก็ เ ป น อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น กั บ ผู เ ขี ย น เมื่อไดยินเสียงเพื่อนรองบอกวา “ฟนไมเขา” จึงมอง เขา แลวถามวา “ฟนอะไรไมเขา” เพราะไมเห็นเขา


ถื อ มี ด หรื อ ดาบหรื อ ขวานที่ เ ป น อาวุ ธ สํ า หรั บ ฟ น (กริยา)เลย เพื่อนรองกลับมาวา “ก็ฉันใสฟนปลอม ไมเขา” อาว! ก็ไมพูดใหชัดเจนวา “ฟนปลอม” หรือ “ใสฟนไมเขา” เรื่ อ งที่ เ ล า มาข า งต น นี้ เป น ตั ว อย า งของ การใชคํา ซึ่งอาจทําใหเขาใจผิดหรือแกลงทําเปน ไมเขาใจ หรืออาจเปนการเลนคํา ซึ่งผูรับสารจะเขาใจ ความได ก็ตอ งอาศัย บริบ ทหรื อเข าใจนั ย รว มกับ ผู ส ง สาร คื อ เข า ใจว า สภาพแวดล อ มของคํ า นั้ น ควรจะมีความหมายเชนไร ตีความไดอยางไร อนึ่ง บทความเรื่องนี้เปนเรื่องของคําพองรูป พ อ งเสี ย ง ซึ่ ง เป น เสน ห อ ย า งหนึ่ ง ของการใช คํ า ในภาษาไทย ความจริงแลว เรื่องของคําพองยังมีอีก ๓ ประเภท คือ คําพองความ คําพองรูป คําพองเสี ย ง และมี คํ า ศั พ ท ที่ ส ะดุ ด หู อี ก คํ า หนึ่ ง คื อ คําไวพจน คอลั ม น ภาษาไทยวั น นี้ ของกาญจนา นาคสกุล ในหนังสือสกุลไทย ปที่ ๕๗ ฉบับที่ ๒๙๔๒ กลาวไววา “...พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ใหความหมายของไวพจนวา คือคําที่ เขียนตางกันแตมีความหมายเหมือนกันหรือใกลเคียง กันมาก เชน มนุษยกับคน บานกับเรือน รอกับคอย ธรรม

ป า กั บ ดง ส ว นหนั ง สื อ แบบเรี ย นภาษาไทยของ พระยาศรีสุนทรโวหาร(นอย อาจารยางกูร) อธิบาย วา ไวพจน หมายถึง คํา ที่เ ขียนเหมือนกัน แต เขี ย นต า งกั น และมี ค วามหมายต า งกั น เช น ใสกับไส โจทกกับโจทย พานกับพาล ปจจุบัน จึงไมใชคําวาไวพจน เพราะอาจ ทํ า ให เ ข า ใจผิ ด จึ ง เรี ย กคํ า ที่ เ ขี ย นต า งกั น แต มี ความหมายเหมือนกันหรือใกลเคียงกันมาก ตาม แบบราชบัณฑิตยสถานดวยชื่อใหมวา คําพองความ สวนคําที่ออกเสียงเหมือนกันแตเขียนตางกันและมี ความหมายตางกันตามแบบของพระยาศรีสุนทร โวหาร เรียกชื่อใหมวา คําพองเสียง นอกจากนี้ ยังมี คําอีกพวกหนึ่งที่เขียนอยางเดียวกัน ออกเสียงตางกัน และมีความหมายตางกัน เชนคําวา วน(หมุน) กับ วน(ป า ) กรี ( สิ่ ง แหลมๆ บนหั ว กุ ง ) กั บ กรี ( ช า ง) จัด เป น คนละคํ า จึ ง เรี ย กว า คํ า พ อ งรู ป กั บ คํ า ที่ เขียนอยางเดียวกัน ออกเสียงอยางเดียวกัน แตมี ความหมายต า งกั น เช น สั ก (ต น ไม ) กั บ สั ก (ใช เหล็ ก แหลมจุ ม หมึ ก )แทงผิ ว หนั ง ซึ่ ง อาจจั ด เป น คําพองรูปพองเสียง...” บทความเรื่ อ งนี้ จึ ง เขี ย นโดยนั ย ของ คําพองรูปพองเสียง ซึ่งเปนเสนหของ ภาษาไทย ดวยใจรัก เรื่องหนึ่ง UU


หมอพัตร “ดื้อยา” คืออะไร เกิดไดอยางไร ดื้อยาหมายถึง การใชยารักษาโรคติดเชื้อ แลวไมหาย ทั้งๆ ที่เคยใชไดผลมาแลว ตนกําเนิดการดื้อยามาจากผูใชยานั่นเอง ใช ย าแล ว เผด็ จ ศึ ก ไม ห มดจด เชื้ อที่ เ หลื อ อยู จึ ง มี โอกาสฟนตัวแลวกลายพันธุกลับมาทําอันตรายใหม เรียกวาเชื้อกลายพันธุดื้อตอยาตัวเดิม ทํานองเดียวกับ ที่บรมครูสุนทรภูเขียนไวในเรื่องพระอภัยมณีวา... ประเพณีตีงูใหหลังหัก มันก็มักทํารายเอาภายหลัง จระเขใหญไปถึงน้ํามีกําลัง ถึงเสือขังเขาถึงดงก็คง ราย...

โรคที่เกิดจากแบคทีเรียหรือจุลินทรีย แพทย ร วมมื อกั บนั กวิ ทยาศาสตร หาวิ ธี รั กษา การค นคว า กระทําอยางตอเนื่อง แตเริ่มไดผลเปนชิ้นเปนอันเมือ่ นักวิทยาศาสตรชาวดัทชชื่อลีโอเวนฮุก ประดิษฐ กลองจุลทรรศนขึ้นเปนผลสําเร็จ ชวยใหสามารถ มองเห็นเชื้อโรคได การวินิจฉัยและการรักษาโรคจึง มีวิวัฒนาการ อยางมาก และนับแต อเลกซานเดอร เฟลมมิง คนพบเพนนิซิลลินในป ๑๙๔๕, ปฏิชีวนะ ซึ่งมีพลังทําลายเชื้อโรคไดมากนี้ เปนผลใหสามารถ ควบคุมโรคติดเชื้อไดอยางมีประสิทธิภาพ แตอยาเพิ่งดีใจเขาใจวาเราชนะและควบคุม โรคติดเชื้อได แล ว มั น ไม ง า ยอยา งที่ คิด จุลิน ทรีย มีการตอสู ขณะที่เราคิดวาปราบมันได แตจุลินทรีย ก็มีการกลายพันธุและดื้อยา ที่กําลังวิตกกันอยูก็เพราะ เชื้อโรคกําลังจะมีชัยเสียดวย เพื่ออธิบายเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตรกลาววา การดื้อยามาจากการใชยาไมถูกวิธี ใชยาพร่ําเพรื่อ นอยไปบาง มากไปบาง หรือบางครั้งแมทําตามวิธีที่ คิดวา ถู ก ตอ งก็ยังมี ชอ งโหว ที่สงเสริ มให จุลิน ทรี ย มี วิ วั ฒ นาการในการต อ ต า นจนสามารถเอาชนะ ปฏิชีวนะที่เคยปราบมันมากอนได


กลไกที่จุลินทรียใชเพื่อใหเกิดการดื้อยาเปน วิธีงายๆ กลาวคือในการใชยาปฏิชีวนะ จะมีจุลินทรีย จํานวนหนึ่งที่ยังไมสัมผัสกับปฏิชีวนะเต็มที่ หลุด รอดไปและมีการฉวยโอกาสแปรสภาพกลายพันธุ ใหตอตานพลังของปฏิชีวนะนั้นได จุลินทรียสวนนอย นี้ จะเจริญ และทวี คู ณ จนเพี ย งพอแกก ารอยูร อด บางส ว นแพร ไ ปสู เ หยื่ อ รายใหม โ ดยวิ ธี สั ม ผั ส ทางตรงหรือทางออม เชน การหายใจรดกัน การไอ และจาม เปนตน เมื่ อ เกิ ด การดื้ อ ยา ก็ มี ค วามจํ า เป น ต อ ง คนควาหายาตัวใหมตอไป เปรียบเสมือนการตั้งตน นับหนึ่งใหม ไมผิดอะไรกับการถอยหลังเขาคลอง นั่นเอง กลไกการสรา งเชื้อดื้ อ ยา จุ ลิน ทรี ย ใชยี น ชนิด mec A สงสัญญาณในการสรางโปรตีนหุม ผนังเซลล คุณสมบัติของมันคือไมยอมรับการเกาะ ของปฏิชีวนะ เหมือนกับมีเกราะไวปองกันตัว ปฏิชีวนะ จึงเขาไมถึงเชื้อจุลินทรีย เปนเรื่องที่นาวิตกเพราะ หากยังดําเนินไปเชนนั้น จะกอใหเกิดวินาศภัยอยาง รายแรงถึงขนาดเปนตนเหตุทําใหมนุษยชาติสูญไป จากดาวเคราะหดวงนี้ในที่สุด แต อยา เพิ่ ง ด ว นสรุ ป วา เหตุก ารณจ ะเป น ไปอยางที่อนุมานมาทั้งหมด เพราะแมจุลินทรียจะ มีการกลายพันธุและดื้อยา แตก็ไมไดทําใหมันเปนตอ เสมอไป ยิ่งกวานั้นการกลายพันธุดวยวิธีการบางอยาง อาจลงทายดวยการทําลายตัวมันเองได แบคทีเรีย อาจกลายพันธุได แตสายพันธุใหมที่เกิดขึ้นก็หวัง ไมไดวาจะดื้อยาหลายชนิดที่ใชกันอยู นอกจากนั้น บางสายพั น ธุ แ ม จ ะสั ม ผั ส กั บ ปฏิ ชี ว นะเดิ ม ที่ ใ ช

มานานนับดวยสิบป ก็ยังไมมีการดื้อตอปฏิชีวนะ นั้น กรณีเชนนี้ผูวิจัยกลาววา มันเปนจุลินทรียที่ไมสู ฉลาด แถมยังเรียกอยางดูหมิ่นวา “เชื้อซื่อบื้อ” เพื่ อ ให ง า ยขึ้ น ขอยกตั ว อย า งปฏิ ชี ว นะ ชนิดหนึ่ง เปนปฏิชีวนะตัวแรกๆ ที่เรารูจักและยังใช ไดผลดีตราบเทาทุกวันนี้ มีเชื้อหลายชนิดที่ยังไมดื้อ ตอมัน ปฏิชีวนะที่วานี้คือ เพนนิซิลลิน เพนนิซิลลินถูกนํามาใชรักษาโรคนานกวา ครึ่งศตวรรษแลว สามารถพิฆาตเชื้อสไปโรขีตที่เปน ตน เหตุ ข องซิ ฟ ลิ ส เชื้ อ กามโรคที่ ค ร า ชี วิ ต ผู ค นไป มากตอมาก แมกระทั่งบัดนี้ก็ยังใชไดผลดีและเปน ปฏิชีวนะอันดับหนึ่งสําหรับโรคซิฟลิส นอกจากนั้น ยั ง ใช ไ ด ดี ใ นการรั ก ษาและทํ า ลาย “แบคที เ รี ย กินเนื้อ” (Group A Necrotising Fasciltis Microbes) ดวย วงการแพทยทั่วโลกตองใชความระมัดระวัง เกี่ยวกับปญหาการดื้อยา การจายยาตองเปนไปตาม หลักการ ทุกวันนี้มีปฏิชีวนะใหมๆ ออกมาไมขาดสาย ยาเหลานี้หลายชนิดสามารถทําลายเชื้อโรคไดอยาง รวดเร็วกอนที่มันจะมีโอกาสกลายพันธุและเกิดการ ดื้อ ยาได แต บ างชนิ ด เพี ย งเวลาไม น านก็ เ กิด เชื้ อ ที่ดื้อยาขึ้นแลว สุดทายนักวิทยาศาสตรไดคนพบวิธีการใหม ซึ่งสามารถทําลายเชื้อโรคไดโดยไมไดใชปฏิชีวนะ แตใชวิธีหาเชื้ออื่นมาเขมือบ เรียกวา Bacteriophages เชื้อที่วานี้เปนไวรัสที่เกิดตามธรรมชาติ มันจะไปกิน เชื้ อ แบคที เ รี ย โดยที่ มั น ไม ทํ า อั น ตรายแก ม นุ ษ ย ในรายงานอางถึงผูปวยสตรีที่มีอาการปวยดวยเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งดื้อยาปฏิชีวนะที่มีอยู


เธอมีอาการหนักใกลเสียชีวิต ตองอยูในหองอภิบาล ผูปวยหนัก ตองใชอุปกรณชวยชีวิตทุกอยาง แพทย ผูรั ก ษาตั ดสิ น ใจใหแ บคที ริ โ อฟาจเป น ไม สุด ท า ย ปรากฏวาอาการของเธอทุเลาขึ้นและชวยชีวิตเธอ ไว ได แพทยผูรัก ษากล าวว าแบคที ริโ อฟาจใหผล ดีกวาความคาดหมาย เปนการใชที่คุมคา ขณะนี้มีโรงงานผลิตเภสัชภัณฑไมนอยกวา ๓ แหง กําลังดําเนินการวิจัยอยางตอเนื่องและใช ทดลองรักษาในโรคติดเชื้ออีกหลายอยาง ถาเปน ผลสําเร็จเราก็คงหมดปญหาเรื่องเชื้อดื้อยาไปอีก เปลาะหนึ่ง การดื้อยาที่เปนอยูในบานเรา อาจสรุป สาเหตุได ๓ ประการ คือ ๑. รีบดวนใชปฏิชีวนะกอนที่จะทราบชนิด ของเชื้อโรคแนนอน นั่นเปนการเดาสุมทําใหเชื้อโรค ชินตอปฏิชีวนะ และกอใหเกิดการดื้อยาในภายหลัง ๒. ใช ย าในปริ ม าณที่ ไ ม เ พี ย งพอแก ก าร ทําลายเชื้อโรคไดหมดจด อาจใหยาในปริมาณต่ํา หรือนานไมเพียงพอ เชนยาที่ตองใช ๕ วัน ก็ใชยา เพียงวันเดียวหรือ ๒ วัน พออาการโรคดีขึ้นก็หยุด โดยเชื่อผิดๆ วา กินยาหลายๆ วันหรือปริมาณมาก จะทนพลังยาไมไหว เมื่อไดยาไมครบ เชื้อโรคก็ถูก ทําลายไมหมดจด กลายเปนเชื้อดื้อยาไป

๓. ไม ร ว มมื อ ในการใช ย า ไม ป ฏิ บั ติ ต าม แพทยสั่ง การรั ก ษาจึง ไมไดผลดี เชื้อที่มีอยูก็เ กิด การดื้อยา ในบรรดาสาเหตุที่กลาว ที่พบบอยมากคือ เวลารูสึกไมสบาย แทนที่จะไปหาแพทยตรวจรักษา กลับไปหายามากินเอง โดยถามจากเพื่อนบาง จาก คนขายยาที่ไมใชเภสัชกรตามรานขายยาบาง เปนการ รัก ษาโดยการเดาสุม มีโอกาสที่จ ะเกิดการดื้อยา ไดมาก ซึ่งจะเปนอันตรายตอตัวเองในภายหลัง เจ็ บ ไข ไ ด ป ว ย ไปพบและปรึ ก ษาแพทย เสียแตเนิ่นๆ จะปลอดภัยแกตัวเอง ถามัวแตลังเล เสียดายทรัพย เกิดอะไรรายแรงแลวจะเสียใจ ดัง คํากลาวที่วา “อายหมอโรคบหาย อายครูบรูวิชา”


อ.วารุณี

ขอเชิญสมาชิกลั บสมอง แล้วส่งคําตอบโดยเขียน ยศ–ชื่อ–สกุล และหมายเลขโทรศั พท์ ไปที่ สํานักงานหนังสือข่าวทหารอากาศภายใน ๒๐ ส.ค.๕๔ ถ้ามีผู้ตอบถูกจํานวนมาก จะมีการจับฉลากรายชื่อ ๓ รางวัล และแจ้งผลการจับฉลากพร้อมเฉลย ในฉบับเดือน ต.ค.๕๔


& Across

* Down

1. Convenient 3. Children sometimes call ………. to refer to a rabbit. 9. Now the price of ............ is increasing and increasing, so we should ride the buses, The streetcars etc. to work. 10. .............. the end of a week, I feel tired because of the loading homework. 11. Please put the ........ of the cigarette into that tray. 12. An abbreviation for “yard” 14. Our mom usually goes to shop at the ten-cent ......................... because everything is cheap there. 15. Don’t ask ........ to sing because I can not. 16. A part participle of “do” 17. A ........ of my skirt is fraying, so I have to sew the edge folded over again. 18. An abbreviation for “Senior” 19. The policeman keeps .......... eye on that thief. 20. A ......... is a traditional ceremony that is carried out in a particular group or society. 22. I rarely use a pair of .........-sticks to have food with. 24. A ......... is a number of the Christian who does religious work in a hospital, school, prison and in the army. 26. If you ........ someone, you start a legal case against them usually in order to claim money. 28. We have one small house but ................ house is modern style.

1. The time of greatest success, power, in fluence etc for somebody. 2. To have earned something by good or bad actions. 3. A piece of equipment on which you can cook food such as sausages and burgers. 4. “........ your head”, means think intelligently. 5. A : what is your ..........? 5. B : Prapat. 6. Thing, article 7. See, ........., seen 8. Smith is very ................... or clever, he can understand every thing quickly. 9. ......... , went, gone 13. If you .......... clothes, you put them on or wear them. 18. Mary loves to have a daughter but her husband loves a ............. . 21. My skirt is too small after I first washed, it must ......... . 22. The foods served on Thai Airway are very nice because of the best quality of ............. service. 23. Hello 25. To ......... off means “to postpone”. 26. Therefore 27. Oxygen is very .............. to humanbeings and plants, it helps them to be still alive. 28. Turn ................ T.V. before going to bed, please. 29. ....... me go out refers to allow me to go out. 30. A ............ is a fairly large fish that lives in rivers and streams.


& Across

* Down

30. If you …….. something somewhere, you throw it there lightly, often in a rather careless way. 31. .......... is used to refer to paper that has pale or unclear lines across it for writing on. 32. Do you have anything ……… to ask me? 33. …………… course, I am afraid of that strict teacher. 34. I always ……… or give her some help. 35. My brother is often …….. me or he often says something that is not really true. 40. Tom doesn’t like ……… because he hates painting, sculpture etc. eventhough joining the picture displayed. 42. I think Ladda can be a star …….., not long time. 43. Most ladies love to get even only one …….., a large flower normally white colour as well as its good smell. 46. A ………….….. is a large area of sea which extends a long way into a surrounding land. 48. “Make yourself at ……..” means you are making your guests feel welcome. 50. Shoot, ………. , shot 52. Opposite of “woman” 53. The members of to be Number …………. project are increasing and increasing. 55. She got lost in the …….. or woods. 56. Ride, ……….. , ridden

33. ………. medicines are taken by mouth. 36. ………… , am, are 37. My niece has to stay in a …….. of Khonkan University because her family is in Bangkok. 38. To …….. the dishes means to wash them. 39. To swallow 41. ……… is a cereal grown in cold countries, its grains can be used to make flour, bread or other foods. 44. Last night a thief broke ……… a famous bank, and took some money away. 45. ……… is your favourite game? 47. ……… , I love climbing the mountain. 49. Why don’t you like skating ………. ice? 50. Yesterday my friend got lost on Silom ……….. . (abbreviation) 51. By this case it makes him buy a map ……. Bangkok. 52. An abbreviation used before a woman’s name. 53. You must review the lessons before the exam ………. you will fail. 54. Oh, thanks for your suggestion but I have ……….. time to do so.


ครูภาษา คําเตือนหรือที่ภาษาอังกฤษใชวา Warnings เปนคํานามนับได ทําเปนพหูพจนไดโดยการเติม s แต คําแนะนํา หรือ Advice เปนคํานามนับไมได จะไมมีรูปพหูพจน ปจจุบันปายคําเตือน (Warning Signs) ในประเทศตางๆ มักมีสองภาษาคือ ภาษาของประเทศนั้นและภาษาอังกฤษ บางแหงมีเพียงรูปภาพใหทํา ความเขาใจเอง ซึ่งคําเตือนเปนการบอกใหระวังถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได คําวา “ระวัง” ในภาษาอังกฤษมีใชหลายคํา ไดแก คําวา - Look out - Watch out - Beware - Be careful ตัวอยางประโยคที่ใชคําเหลานี้ เชน Look out! You’ll fall. ระวัง คุณจะลม Look out! You’re spilling it. ระวัง คุณกําลังจะทําน้ําหก Look out for children and pedestrians! ระวังเด็กๆ และคนเดินถนน Watch out! The water is very deep. ระวัง น้ําลึกมาก Watch out for that car! ระวังรถ Beware of the dog! ระวังสุนัข (กัด) หรือ ระวังสุนัข(ดุ) Be careful of the fire! ระวังไฟจะไหม ถึงแมวาคําเหลานี้จะมีความหมายวา “ระวัง” เหมือนกันแตการใชคําบุพบทตามหลังคําจะแตกตางกัน เชน - Look out for - Watch out for - Beware of - Be careful of


นอกจากนี้ยังมีรูปประโยคที่ใชในการเตือนหรือการใหคําแนะนําดังตอไปนี้ - You should.. คุณควร... / You shouldn’t …. คุณไมควร... - You ought to... คุณควร.../ You have to …. คุณตอง - You had better ... คุณควร / You had better not …. คุณไมควร .... - It’s dangerous to …. มันอันตรายที่จะ .... - Be sure to ... ตองแนใจวา ..../ Be sure not to …. ตองแนใจวาจะไม .... - Don’t …. อยา... ตัวอยางประโยคภาษาอังกฤษที่ใชในการเตือนหรือการใหคําแนะนําในสถานการณตางๆ มีดังนี้ เชน ๑. การวายน้ํา (Swimming) - Never swim alone. It’s dangerous. อยาวายน้ําตามลําพัง มันอันตราย - Never swim immediately after eating อยาวายน้ําทันทีหลังรับประทานอาหาร - Be careful! It’s not safe to swim just after you eat. ระวัง มันไมปลอดภัยที่จะวายน้ําทันที หลังจากรับประทานอาหาร ๒. การโดยสารเรือ (Boating) - Never stand up in a boat. อยายืนในเรือ - Don’t put too many people in the boat. อยาบรรทุกคนมากเกินไปบนเรือ - Always wear a life jacket. ใสเสื้อชูชีพตลอดเวลาทีโ่ ดยสารเรือ - Look out! We’re about to hit that boat. ระวัง เรากําลังจะชนเรือลํานัน้ ๓. การทําอาหารแบบบารบีคิว (Barbecuing) - Never barbecue in a garage or closed area. อยาทําบารบคี ิวในโรงรถหรือสถานที่ ที่ไมมีอากาศถายเท - Never use gasoline to barbecue. อยาใชนา้ํ มันเชื้อเพลิงในการทําบารบีคิว - Don’t throw the match away until it’s completely out. อยาทิง้ ไมขีดทีย่ ังติดไฟอยู จนกวาจะ ดับสนิท ๔. การขับรถ (Driving) - Buckle up! It’s the law. คาดเข็มขัดนิรภัย มันเปนกฎหมาย - You should always wear your seat belts. คุณควรใสเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่อยู ในรถ - Think when you’re behind the (steering) wheel! จงมีสติเสมอเมื่อขับรถ


- Be careful! Keep your mind on your driving. - Look out for children playing in the street. - Watch out! The other driver may not see you. - Keep your hand on your wheel. - Slow down or you will get a ticket for speeding! - Watch out! Another car is coming. ๕. สภาพอากาศ (Weather Condition) - Stay away from trees. Lightning often strikes them. - Drive carefully! It’s very foggy today. - Be careful! The roads are slippery. - Watch out for rising waters. - You had better not go outside. It’s starting to hail.

ระวัง จงมีสติในการขับรถ ระวังเด็ก ๆ ทีก่ ําลังเลนอยูบ นถนน ระวัง รถอีกคันอาจไมเห็นรถคุณ จับพวงมาลัยตลอดเวลา ขับใหชาลง มิฉะนัน้ คุณจะไดรับใบสั่ง ระวัง รถอีกคันกําลังตรงมา จงอยูห า งจากตนไม ฟามักผาที่ตนไม ขับรถอยางระมัดระวัง วันนีห้ มอกลงจัด ระวังถนนลื่น ระวังน้ําขึน้ คุณไมควรออกไปขางนอก ลูกเห็บเริ่ม ตกแลว

๖. การขีจ่ ักรยาน (Bicycle Riding) - When you ride at night, be sure your bike has lights. ขณะขี่จักรยานยามค่ําคืน ตองแนใจวา จักรยานมีไฟสองสวาง ๗. ยาประจําบาน (Medicines at home) - You should put all your medicines where children can’t get them. คุณควรเก็บยาไวในที่ที่ เด็กไมสามารถหยิบได ๘. การยกของหนัก (Moving or lifting things) - Be careful when you lift heavy things. You can hurt your back. ระวังขณะยกของหนัก อาจทํา ใหคุณเจ็บหลังได มาดูคําที่ใชเตือนให “ระวัง” อีกคําหนึ่งนะคะ คํานี้คือ mind เปนภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ หรือ British English มีความหมายเหมือน be careful ใชเพื่อเตือนใหระวัง ในกรณีที่กําลังจะเกิดอันตราย หรือ เมื่อเราเขาใกลสิ่งที่อันตราย เชน เวลาที่เราเดินไปในที่จอดรถ ซึ่งมักเปนชั้นที่มีเพดานต่ําๆ มักมีปายบอกวา Mind your head! ระวังศีรษะ! ถาใครขึ้นรถไฟฟาใตดิน กอนที่จะออกจากรถไฟฟา จะไดยินเสียง ประชาสัมพันธเสียงหวานบอกวา Mind the gap! ระวังชองวางระหวางประตูรถไฟฟาและชานชาลา ถาเปน รถไฟฟาบนดินหรือ Skytrain บานเรา จะไดยินเสียงประกาศวา Watch your step! ซึ่งเปนภาษาอังกฤษ แบบอเมริกัน หรือ American English มีความหมายเหมือนกัน


กอนจบบทความนี้ ลองจับคูรูปภาพและสํานวนการเตือนใหถูกตอง

a. Don’t run! The floor is wet.

b. Be careful! You may spill the water.

c. Be careful! You might fall.

d. Don’t go in there! It’s dangerous.

e. Don’t eat all that candy! You’ll get sick.


f. Don’t stay under that tree. The lightning is dangerous.

g. Watch out! There’s a barricade ahead.

h. You can’t smoke here! That’s gasoline.

i. Don’t touch the pan.

j. Watch out for the bicycle.

Answers 1-i 2-j 3-h 4-g 5-e 6-f 7-d 8-b 9-c 10-a


มิสกรีน BEETLE BAILEY

ภาพ 1 - อยากเลนเทนนิสมั้ย ? - ไมฮะ จาแกโมโหและขวางปาของ ภาพ 2 - เออ แกนะพูดเกินจริง ฉันเพียงแตหัวเสียนิดหนอยเอง - เอา งั้นผมเลนก็ได ภาพ 3 - รูมั้ยวา ฉันจะไปขอยืมแร็คเก็ตไดที่ไหน ? - เปนภาษาพูดอยางไมเปนทางการของ want to ประโยคเต็มของคําถามนี้ คือ Do you want to play tennis? too (adj, adv.) - มากเกินไป (more than is acceptable or possible) Ex. The music is too loud. (ดนตรีนั้นดังเกินไป) mad (adj.) - โกรธ, โมโห (angry) ภาษาอเมริกันชอบใช to get แทน to be ซึ่งมีความหมายเดียวกัน (He is mad. หรือ He gets mad) to exaggerate - พูดหรือทําสิง่ ใดที่ดีหรือเลวกวาความเปนจริง ออกเสียงวา “อิกแซจเจอะเรท” to get / to be upset - หัวเสีย, หงุดหงิด (angry, annoyed) just (adv.) - ในทีน่ ี้แปลวา เพียงแต, เทานัน้ (only) wanna


then (adv.)

racket (n.)

- เปนภาษาพูด ในทีน่ ี้ใชตอนทายประโยค แสดงความตกลงเห็นชอบกับสิ่งทีพ่ ูดกัน (used at the end of a conversation, especially to show that something has been agreed) Ex. I’ll see you on Wednesday, then. (ฉันจะพบเธอในวันพุธนะ) - ไมตีลูกบอลในกีฬาเทนนิส, แบดมินตัน ถาเปนกีฬาเบสบอล, คริกเก็ต, ปงปอง จะเรียก bat สวนไมตกี อลฟ เรียกวา club และ ไมตีสนุกเกอร คือ cue (คิว)

BEETLE BAILEY

ภาพ 1 - ตลอดเชามานี่ ฉันคอยโทรศัพทสําคัญจากกองบัญชาการอยู ภาพ 2 - ลองลุกไปเขาหองน้าํ สิคะทาน มันจะเปนเวลาทีโ่ ทรศัพทของหนูมักจะดังคะ - เปนประโยค present perfect continuous tense ใชแสดงเหตุการณ ทีเ่ กิดขึ้นในอดีตอยางตอเนือ่ งจนถึง ณ ปจจุบัน โครงสรางของประโยค คือ ประธาน + กริยา has / have + been + Ving สําหรับกริยา wait (คอย) ตองใชกับบุพบท for เสมอ to try - พยายาม หรือ ทดลองทําสิง่ ใดสิ่งหนึง่ ถามีความหมายวาพยายาม จะตามดวย infinitive with to Ex. I tried to call you many times last night. (เมื่อคืนนี้ ฉันพยายามโทรศัพทหาเธอหลายครั้ง) แตถาใชในความหมายวาทดลอง หรือ ลอง จะตามดวย Ving Ex. You should try living in the country for a while. It’s very peaceful. (คุณควรจะลองไปอยูในชนบทสักพักหนึง่ มันเงียบสงบมาก) bathroom (n.) - หองน้ํา ซึง่ มักจะรวมทั้งใชอาบน้าํ และใชหองสวม (toilet) ดวย คนอเมริกันนิยมใชศัพทนี้ เพราะเปนความหมายรวมๆ ซึ่งถาเปนหองน้าํ ในที่สาธารณะ ภาษาอเมริกันจะเลี่ยงคําให ฟงดูดีวา restroom แตจะใช toilet ตรงตัวเลยก็ได ศัพทที่เกีย่ วของอืน่ ๆ ไดแก take a bath (อาบน้ําในอาง), take a shower (อาบน้าํ ฝกบัว), bath tub (อางอาบน้ํา), bath towel (ผาเช็ดตัว) และ bath robe (เสื้อคลุมอาบน้ํา) เปนตน

I’ve been waiting for …….


Pharaoh ปจจุบันประเทศไทยตองเผชิญกับภัยคุกคาม จากป ญ หาความมั่ น คงแบบใหม ซึ่ ง มี ลั ก ษณะ ตางจากภัยดานความมั่นคงแบบเดิม คือเปน Non Traditional Threats ซึ่งมีที่มาจากความเปลี่ยนแปลง ในระดับโลก ระดับภูมิภาค ประเทศเพื่อนบาน และ ภายในประเทศ ความมั่นคงในมิติใหมมีลักษณะ สําคัญคือ เปนความมั่นคงแบบเบ็ดเสร็จรอบดาน (Comprehensive Security) ซึ่งมีมิติที่หลากหลาย มีขอบเขตกวางขวาง ซับซอน มีลักษณะขามชาติ (Transnational) มีการเคลื่อนตัวของปญหารวดเร็ว มีผลกระทบรุนแรงสูง และมีความเชื่อมโยงสัมพันธ กัน ระหวางปญหาความมั่ นคงด านตางๆ กันเปน ลูกโซ และครอบคลุมในทุกระดับพื้นที่ การวิเคราะห ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจึงตองพิจารณา เชื่อมโยงปจจัยและสภาพแวดลอมทั้งในระดับโลก ในระดั บ ภูมิ ภ าค ประเทศเพื่ อ นบ า น และป ญ หา ความมั่นคงในประเทศใหเชื่อมโยงสัมพันธกันใน ทุกมิติ ทุกประเทศในโลกตองเผชิญกับภัยคุกคาม ใหม ๆ โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง ภั ย พิ บั ติ จ ากป ญ หา

สิ่ ง แวดล อ ม ป ญ หาความเปลี่ ย นแปลงของ สภาพอากาศ (Climate Change) ที่สําคัญคือสภาวะ โลกรอน (Global Warming) ทําใหเกิดภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ ที่ มี ค วามถี่ แ ละมี ค วามรุ น แรงผิ ด ปกติ มากขึ้น รวมทั้งภัยพิบัติจากการกระทําของมนุษย เช น อั ค คี ภั ย และภั ย สารเคมี รั่ ว ไหล ป ญ หาการ ทํา ลายทรัพ ยากรธรรมชาติ จนทํ า ให เ กิ ด ภัย พิ บั ติ เชน การตัดไมทําลายปา จนทําใหเกิดปญหาภัยแลง ปญหาอุทกภัย ปญหาดินโคลนถลม ฯลฯ ซึ่งมีแนวโนม ที่จะเพิ่มความรุนแรง มากขึ้นตามลําดับ วิกฤตในปจจุบันถูกซ้ําเติมดวยปญหาการ แยงชิงทรัพยากรในหลายภูมิภาค ปญหาวิกฤตดาน พลังงาน ซึ่งเปนปญหาที่มีความซับซอน ประกอบดวย ตั ว แปรที่ ห ลากหลาย มี ผ ลกระทบสู ง มี ข อบเขต กว า งขวางข า มชาติ และยากต อ การแก ไ ขโดย ประเทศหนึ่งประเทศใด ตองมีการรวมมือระหวาง ประเทศเป น เครื อ ข า ยในการแก ไ ขป ญ หาให เ กิ ด ความมั่นคงรวมกัน (Collective Security) ซึ่งเปน แนวโน ม สํ า คั ญ ประการหนึ่ ง ของความสั ม พั น ธ ระหวางประเทศในยุคปจจุบัน


ปญหาความมั่นคงใหมดังกลาว โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดลอมและสภาพอากาศ และความขัดแยงแยงชิงทรัพยากร ทําใหทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทยตองเพิ่มความเสี่ยงสูง ที่จะตอง เผชิญกับภัยพิบัติจากธรรมชาติและจากการกระทํา ของมนุษย ภัยจากสงครามและภัยจากการกอการ ร า ยที่ ข ยายตั ว ภายหลั ง เหตุ ก ารณ ๙/๑๑ และ จากสงครามต อ ต า นการก อ การร า ย ที่ ป ระเทศ มหาอํานาจดําเนินการตอประเทศที่มีพลังอํานาจ ด อ ยกว า ซึ่ ง ต อ งใช ก ารก อ การร า ยและสงคราม นอกแบบมาตอสูกับประเทศมหาอํานาจ ตามหลัก สงครามอสมมาตร (Asymmetric Warfare) ทีม่ แี นวโนม ขยายขอบเขตไปทั่วโลก ทําใหทุกประเทศไมสามารถ หลีกเลี่ยงผลกระทบดังกลาวได

โดยหลักการแลว รัฐบาลตองมีหนาที่โดยตรง ในการรั ก ษาความมั่ น คงของชาติ ได แ ก อํ า นาจ อธิ ป ไตยเหนื อ ดิ น แดน ความอยู ร อดปลอดภั ย ของสถาบั น หลั ก ต า งๆ ของชาติ แ ละประชาชน

ความมีเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การตางประเทศ และศักยภาพในการปองกันประเทศ ซึ่งเปนหนาที่พื้นฐานของทุกรัฐบาล จึงตองมีนโยบาย และยุทธศาสตรการเสริมสรางพลังอํานาจของชาติ (National Power) และปจจัยดานตางๆ รวมทั้งการ บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ใหมีความพรอมไว ตั้งแตในภาวะปกติ เพื่อใหสามารถใชพลังอํานาจ และป จ จั ย ต า งๆ ของชาติ ไ ด อ ย า งเหมาะสมและ ได ผ ลเมื่ อ เกิ ด ภั ย คุ ก คามต อ ความมั่ น คงของชาติ นอกจากนั้ น ในยุ ค ทุ น นิ ย มครอบโลก ซึ่ ง ทุ น และ ระบบการเงินเคลื่อนยายอยางรวดเร็วไรพรมแดน ประเทศมหาอํานาจพยายามขยายพลังอํานาจทั้ง ดานการเมืองระหวางประเทศ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการทหาร เพื่ อ แสวงหากํ า ไรและสะสมทุ น ไมสิ้นสุด ประเทศที่เล็กกวาจึง ไมมีทางเลือกอื่น นอกจากตาง มุงรวมกลุมกันเพื่อความอยูรอด และสามารถแขงขันไดทั้งในกลุม และกั บ กลุ ม อื่ น ๆ การแข ง ขั น เ พื่ อ เ พิ่ ม พ ลั ง อํ า น า จ ข อ ง แตละชาติเชนนี้ ไดทําใหปจจัย เรื่ อ งผลประโยชน แ ห ง ชาติ (National Interests) ไดรับความ สนใจและมีความสําคัญมากขึ้น จากเดิ ม ที่ มั ก ได รั บ การศึ ก ษา พิจารณาวาเปนสวนหนึ่งของ National Security ปจจุบันในทางวิชาการมีการศึกษาปจจัยดานการ รักษาผลประโยชนแหงชาติเปนการเฉพาะ โดยเนน ที่ ก ารแข ง ขั น เพื่ อ เพิ่ม พลั ง อํ า นาจดา นตา งๆ และ


ช ว งชิ ง หรื อ คงความได เ ปรี ย บเชิ ง เปรี ย บเที ย บ (Comparative Advantage) กับประเทศอื่นหรือ กลุมประเทศอื่น ประเทศไทยจึ ง จํ า เป น ต อ งมี ก ารเตรี ย ม ความพร อ มในการเผชิ ญ และจั ด การกั บ ป ญ หา ความมั่ น คงและภั ย คุ ก คามแบบใหม อ ย า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ โดยจั ด ระบบมี ก ารเตรี ย มพร อ ม แหงชาติ (National Preparedness) และการบริหาร วิกฤตการณ (Crisis Management) จําเปนตอง ได รั บ การพั ฒ นาให ส ามารถดํ า เนิ น การตั้ ง แต ในภาวะปกติ อ ย า งเป น ระบบและต อ เนื่ อ ง โดย การศึกษาเพิ่มเติมขอมูลขาวสาร เทคโนโลยี และ องคความรูใหมๆ ใหสามารถนํามาประยุกตใชให สามารถปองกันและแกไขปญหาไดอยางมีความ แมนยํา (Accuracy) รวดเร็ว (Speed) และใชปฏิบัติ ไดจริง (Practically) การเตรี ย มพร อ มแห ง ชาติ (National Preparedness) คือ หนาที่ของรัฐประการหนึ่งที่มุง เพิ่ ม ศั ก ยภาพและขี ด ความสามารถของรั ฐ และ ประชาชน ในการเตรียมทรัพยากรตั้งแตในภาวะ ปกติ ใหมีความพรอมไวตลอดเวลา เพื่อรับมือกับ ภัยคุกคามดานความมั่นคงแบบใหมทุกรูปแบบที่ อาจเกิดขึ้นไดทุกเวลา และมี ผลกระทบตอ ความ มั่นคงแหงชาติและประชาชนอยางรายแรง รวมถึง ปญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติและสาธารณภัย ซึ่งมี ผลกระทบโดยตรงตอประชาชนจํานวนมาก และ มีแนวโนมวา ปจจุบันปญหาดังกลาวจะเพิ่มระดับ ความรุนแรงมากขึ้นโดยลําดับ ทุกประเทศรวมทั้ง ประเทศไทย จึ ง จํ า เป น ต อ งระดมพลั ง จากทุ ก

ภาคส ว นในการเตรี ย มความพร อ ม การบริ ห าร วิกฤตการณ การจัดระบบปองกัน ระบบแจงเตือนภัย การแกไขปญหาเมื่อเกิดภัย และการฟนฟูภายหลัง เกิดเหตุการณ ปญหาความมั่นคงแบบใหม (กรณี ภัยธรรมชาติ) ในหวงเวลาที่ผานมา ประเทศไทยไดเผชิญกับภัย ธรรมชาติขนาดใหญ ไดแก วาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช วาตภัยจากพายุเกย จังหวัด ชุมพร และภัยจากคลื่นสึนามิที่ทําลายพื้นที่ชายฝง ทะเลด า นอั น ดามั น ๖ จั ง หวั ด เมื่ อ เช า ของวั น ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ และมีภัยธรรมชาติขนาดยอม อีกหลายครั้ง รวมทั้งน้ําทวมใหญเกือบทั่วทั้งประเทศ เมื่อป ๒๕๕๓ และน้ําทวมใหญที่ภาคใตเมื่อเดือน มีนาคมป ๒๕๕๔ และมีแนวโนมที่ภัยธรรมชาติจะ เพิ่มความถี่และความรุนแรงมากขึ้น ประเด็นสําคัญ คือ บทเรียนที่ไดรับจากการบริหารจัดการเมื่อเกิด เหตุ ดั ง กล า ว ทํ า ให เ ห็ น จุ ด อ อ นของการขาดการ เตรียมพรอมที่ดีและการบริหารจัดการของภาครัฐ ที่ขาดเอกภาพและประสิ ทธิภาพในการปฏิบัติใน หลายดาน โดยเฉพาะอยางยิ่งด านการติ ดตอสื่ อสาร ที่ลมเหลวเกือบสิ้นเชิงเมื่อเกิดภัยพิบัติ จําเปนตอง ปรับปรุงแนวทางการเตรียมพรอมและการบริหาร วิกฤตการณใหมีการประสานงานอยางมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเตรียมพรอมแหงชาติ (National Preparedness) และการบริหารวิกฤตการณ (Crisis Management) จึงมีความสําคัญยิ่งตอการ รักษาความมั่นคงของชาติ การอยูดีมีสุขของประชาชน


ให ร อดพ น จากภั ย คุ ก คาม ป ญ หาที่ จ ะทํ า ให เ กิ ด ภาวะไมปกติขึ้นไดในทุกเวลาและไมอาจคาดการณ ไดลวงหนา รัฐบาลไดใหความสําคัญ และไดกําหนด นโยบายและแผนเตรี ย มพร อ มแห ง ชาติ ม าโดย ตอเนื่อง โดยมีวัตถุประสงคเพื่อเสริมสรางศักยภาพ ของระบบการเตรียมพรอมตั้งแตในภาวะปกติ เมื่อ เกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติหรือภัยจากการกระทํา ของมนุษ ย ได แกภัย สงครามและการกอการรา ย ก็ จ ะสามารถนํ า ทรั พ ยากรจากทุ กภาคส ว นมาใช ในการบริหารจั ดการกับวิกฤตไดอยางมีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ โดยมีการบริหารวิกฤตการณ (Crisis Management) ที่เหมาะสมและไดผลใน การปองกัน แกไข และฟนฟู ทั้งในชวงกอน ระหวาง และหลังการเกิดวิกฤตการณ โดยมีวัตถุประสงค หลัก คือ เพื่อปกปองคุมครอง ปองกันภัย ชวยเหลือ ประชาชนในยามวิกฤติ และฟนฟูสภาพความเปนอยู ของประชาชนใหกลับคืนสูสภาพที่ดีกวาเดิม หรือ อยางนอยก็เทาเทียมหรือใกลเคียงสภาพเดิม ซึ่งมี ความสําคัญยิ่งตอความมั่นคงของประชาชน และ ความมั่นคงของชาติโดยสวนรวม

ผู เ ขี ย นเห็ น ว า แนวทางการปฏิ บั ติ ใ นการ พั ฒ นาบริ ห ารวิ ก ฤตการณ หน ว ยงานภาครั ฐ ควรตองดําเนินการ ดังนี้ ๑. มี ร ะบบการประเมิ น สถานการณ ที่ ต อ เนื่ อ งและมี ค วามแม น ยํ า สู ง โดยเฉพาะการ ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ที่มีแนวโนมที่จะเกิดภัย และนําขอมูลขาวสารที่ไดรับมาพิจารณาวิเคราะห ตามหลั ก วิ ช า รวมทั้ ง ประสบการณ ข องคนและ ชุมชนในหมูบาน เพื่อนํามาวางแผนเตรียมความ พรอมและการบริหารวิกฤตการณอยางเปนระบบ ตอไป ๒. มี ก ารพั ฒ นาระบบฐานข อ มู ล การ เตรี ย มพร อ มด า นทรั พ ยากร ให มี ค วามทั น สมั ย มากขึ้ น โดยเฉพาะหน ว ยงานที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ การ ปองกัน บรรเทา และฟนฟูภายหลังเหตุการณ และ ที่สําคัญระบบฐานขอมูลจะตองสามารถเชื่อมโยง ระหว า งหน ว ยงานและองค ก รที่ เ กี่ ย วข อ งให เ ป น มาตรฐานข อ มู ล ชุ ด เดี ย วกั น เพื่ อ ประกอบการ ตกลงใจในการจั ด การกั บ สถานการณ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ดังนั้นหนวยงานระดับ กระทรวง กรม จะตองมีการ สํารวจขอมูลที่ใชในการจัดการกับสถานการณดาน สาธารณภั ย เพื่ อ ประสานและแลกเปลี่ ย นข อ มู ล รว มกับกรมปอ งกันและบรรเทาสาธารณภั ย โดย การทํางานในระยะตอไป กองอํานวยการปองกันภัย ฝายพลเรือนแหงราชอาณาจักร ซึ่งถือวาเปนองคกร รับผิดชอบหลักในการปฏิบัติงานดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย จะตองมีระบบฐานขอมูลที่ รอบดาน ในลักษณะเปน National Operation Center ที่ เ ป น ศู น ย ก ลางเชื่ อ มประสานระบบข อ มู ล จาก


ห น ว ย ง า น ห รื อ ศู น ย ที่ เกี่ยวของเกี่ยวกับการจัดการ กั บ สถานการณ ภั ย พิ บั ติ ที่ เกิดขึ้นเพื่อใหมีขอมูลสําหรับ ใช ใ นการตกลงใจในการ จั ดการกั บสถานการณ ที่ เกิดขึ้น ๓. การมี ส ว นร ว ม ของทุ ก ภาคส ว น ถื อ เป น หั ว ใจของการเตรี ย มความ พรอมในการผนึกกําลังความ สามั ค คี ข องคนในชาติ ให เ ข า มามี ส ว นร ว มและ พร อ มที่ จ ะทํ า งานร ว มกั น โดยเฉพาะองค ก ร ปกครองส ว นท อ งถิ่ น ภาคเอกชน องค ก รเอกชน สมาคม มูลนิธิ และที่สําคัญคือการที่ประชาชนได เขามามีสวนรวมและสนับสนุนหนวยงานรัฐในการ เตรียมความพรอมเพื่อการปองกันและระงับภัย ๔. การเสริมสรางกระบวนการเรียนรู โดย สรางการตระหนักรู การมีจิตสํานึกของประชาชนใน ชาติ ใ นการระวั ง ป อ งกั น ภั ย พิ บั ติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ให แ ก ประชาชนตั้งแตในวัยเด็ก ทั้งผานการเรียนการสอน ในสถานศึกษา โดยบรรจุในบทเรียนและหลักสูตร ตางๆ และการอบรมนอกสถานศึกษา เพื่อใหประชาชน ไดมีความรู ความเขาใจ และทราบเกี่ยวกับการแจง เตือนภัย วิธีปฏิบัติในการปองกันตนเองใหปลอดภัย ซึ่งการดําเนินงานเรื่องนี้ เปนการทํางานในเชิงปองกัน ภัยพิบัติ โดยเปรียบเสมือนการสรางภูมิคุมกันใหแก ประชาชนตั้ ง แต ใ นระดับหมู บา น อํ า เภอ จั ง หวั ด จนถึงระดับชาติ

๕ . ก า ร จั ด ร ะ บ บ ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ โทรคมนาคม ทั้ ง ระบบหลั ก และระบบสํ า รองให สามารถใชการไดในทุกสถานการณ เพราะเมื่อเกิด สถานการณวิกฤตเกิดขึ้นสวนใหญจะสงผลใหระบบ การติดตอสื่อสารในพื้นที่ถูกตัดขาด หรือมิเชนนั้น ก็มีผูใชสายโทรศัพทเพื่อติดตอในยามฉุกเฉินเปน จํ า นวนมาก ทํ า ให เ กิ ด ป ญ หาที่ ผู ที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ งานโดยตรงไม ส ามารถติ ด ต อ กั น เพื่ อ จั ด การกั บ วิกฤตการณที่เกิดขึ้นได จึงตองมีการวางแผนและ ระบบการติ ด ต อ สื่ อ สารให ส ามารถใช ก ารได ใ น ทุกกรณีทั้งระบบหลักและระบบสํารอง โดยจะตอง สํารวจวา ทรัพยากรการสื่อสารของประเทศทั้งของ ภาครั ฐ และภาคเอกชนขณะนี้ มี อ ยู ที่ ใ ด เพื่ อ ให สามารถนํามาวางแผนการใชงานรวมกันไดในยาม ฉุกเฉิน ๖. การฝกซอมการบริหารวิกฤตเมื่อเกิดภัย เปนเรื่องที่มีความสําคัญมาก เพราะจะไดทราบวา นโยบายหรือแผน แนวทางต างๆ ของหนวย ที่ได


จัดทําขึ้นจะสามารถนํามาใชงานไดจริงเพียงใดเมื่อ เกิดสถานการณขึ้น จะเห็นวาหลายประเทศไดให ความสํ า คั ญ กั บ การฝ ก ซ อ มเพื่ อ รั บ สถานการณ อันเกิดจากสาธารณภัยอยูเปนประจํา ดังนั้นการ ฝ ก ซ อ มทั้ ง ภายในหน ว ยงานตนเองและระหว า ง หนวยงานเปนสิ่งที่มีประโยชนตอการวางแผนและ เตรียมการจัดการกับวิกฤตการณตางๆ ในชาติ โดย การฝ ก ซอมจะทํา ใหเ กิดการประสานการทํา งาน และความชํานาญในการปฏิบัติงานทั้งของเจาหนาที่ และประชาชนในการเผชิญกับภัยที่คาดวาจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ การฝกซอมจะเปนปจจัยบงชี้ถึงปญหา และข อ จํ า กั ด ที่ เ กิ ด ขึ้ น เพื่ อ นํ า มาปรั บ ปรุ ง และ พัฒนาการบริหารจัดการกับภัยใหมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นในระยะตอไปดวย บทสรุป ภัยคุกคามดานความมั่นคงแบบใหมที่เกิด จากความเปลี่ ย นแปลงในทุ ก มิติ ทั้ ง ในระดั บ โลก ธรรมชาติ

ระดับภูมิภาค และภายในประเทศ ทําใหประเทศไทย ไมมีทางเลือกมากนัก นอกจากเรงเตรียมความพรอม ของทรัพยากรทุกดาน ทั้งในทางวัตถุ คน และการ บริ ห ารจั ด การตั้ ง แต ใ นภาวะปกติ เพื่ อ ให พ ร อ ม ใช ง านอย า งเพี ย งพอและรวดเร็ ว ในภาวะวิ ก ฤต รวมทั้งการแสวงหาแนวทางการบริหารวิกฤตการณ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งในขั้นการปองกัน การแกไข และการพื้นฟูสภาพภายหลังเกิดเหตุการณ แล ว เพื่ อ ให บั ง เกิ ด ผลดี ที่ สุ ด เท า ที่ พ ลั ง อํ า นาจ และทรัพยากรของชาติที่มีอยูอยางจํากัดใหบังเกิด ผลที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากที่ สุ ด เท า ที่ จ ะทํ า ได โดย จํ า เป น ต อ งมี ก ารศึ ก ษาวิ เ คราะห ห าแนวทางที่ เหมาะสมกั บ ประเทศไทย ซึ่ ง รวมถึ ง การใช เทคโนโลยี แ ละสหวิ ท ยาการ (Interdisciplinary) มาชวยในการศึกษา และกําหนดแนวทางดังกลาวให ไดแนวทางและวิธีการที่ดี (Best Practices) ปฏิบัติ ได จริ ง (Practically) และยั่ งยื น (Sustainable) ในระยะยาวดวย

อ้างอิง : - “นโยบายรัฐบาลปัจจุบัน”. สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ๒๕๕๒. - “นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔)”. สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. ๒๕๕๐. - “การประเมินสถานภาพของประเทศ”. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ๒๕๔๘,๒๕๕๑,๒๕๕๒. - “นโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ”. สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. ๒๕๔๘. - “หลักการบริหารจัดการสาธารณภัยของไทย”. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. ๒๕๕๐.


หลวงชาญ “...ทําไมถึงไมมีใครอยากมาเรียน วปอ. อินเดีย..” นี่เปนคําพูดของ น.อ.สุรพล มาลีวรรณ ผูชวยทูต ทอ.ประจํากรุงนิวเดลีในขณะนั้น กลาวขึ้น ในระหวางที่ไปรับผูเขียนที่สนามบินและเขาเยี่ยม ชมสถานที่ พั ก ซึ่ ง ทางวิ ท ยาลั ย จั ด เตรี ย มให ไ ว เปนอยางดีมีเครื่องอํานวยความสะดวกครบครัน พูดงายๆ ก็คือ หิ้วกระเปาเขามาใบเดียวก็อยูไดเลย แมวาทางรัฐบาลอินเดียจะจัดระบบใหการตอนรับ นักศึกษา เรียน วปอ.ไวเปนอยางดีแลวก็ตาม แต เทาที่ผานมาเมื่อมีการประกาศรับสมัครปรากฏวา หาผูเขาเรียนยาก ผูเขียนก็เปนอีกคนหนึ่งที่ไมได ตั้ ง ใจว า จะเรี ย น วปอ.อิ น เดี ย เพราะได เ คยเรี ย น หลักสูตรเสนาธิการทหารอินเดียเมื่อสิบกวาปที่แลว ก็ คิ ด ว า คงจะเพี ย งพอ แต ก็ ไ ด ตั ด สิ น ใจสมั ค ร เขาเรียน แลวก็ไดพบวา เรียน วปอ.อินเดีย คราวนี้ แตกตางจากการเรียนที่วิทยาลัยเสนาธิการทหาร อยางมาก จนอดที่จะนํามาเลาสูกันฟงไมได ความเปนมา วปอ.อิ น เดี ย มี ชื่ อ เป น ภาษาอั ง กฤษว า National Defence College หรือที่เรียกยอๆ วา

NDC ตั้งอยูที่กรุงนิวเดลี กอตั้งขึ้นเมื่อป พ.ศ.๒๕๐๓ ฉลองครบรอบ ๕๐ ปแหงการกอตั้งไปแลวเมื่อเดือน ตุลาคม มีการเชิญศิษยเกาพรอมคูสมรสทุกรุนมา พบปะสังสรรคกัน ซึ่งเขาทําทุกปอยูแลว แตป ๒๕๕๓ ทํายิ่งใหญมากขึ้นกวาเดิม แมวาผูเขียนเปนศิษย เกาของอินเดียมากอน แตในวันแรกที่เขาเรียนกลับ มีความรูสึกวาตนเองเหมือนเด็กอนุบาลที่กําลังจาก พ อ แม ไ ปสู ค รู เพราะเห็ น เพื่ อ นร ว มชั้ น ที่ แ ต ง กาย ชุดเต็มยศ หนาตาดูเครงเครียด เปนนายพลก็หลายคน ผู เ ขี ย นเองอายุ เ ลยเลข ๕ ไปแล ว พอไปเที ย บกั บ เพื่อนรวมชั้นกลับดูออนเยาวลงไปทันที

(ศิษย์เก่าทุกรุ่นพร้อมคู่สมรสในวันฉลองครบรอบ ๕๐ ปี)


หลักสูตร จากแนวคิ ด ที่ ว า การรั ก ษาความมั่ น คง ปลอดภัยของชาติมิอาจทําไดโดยลําพังประกอบกับ คําขวัญของสถาบันที่วา Knowledge is Power ดัง นั้น โครงสรา งของหลั ก สู ตรจึ ง เนน ที่การศึก ษา วิ เ คราะห จ ากแหล ง ความรู ชั้ น เลิ ศ จากบุ ค ลากร ผู ท รงคุ ณ วุ ฒิ แ ละมี ป ระสบการณ สู ง และจาก นักศึกษาผูมีภูมิหลังที่แตกตางกันทั้ง ๓ เหลาทัพ รวมทั้งจากหนวยงานพลเรือน และจากมิตรประเทศ รุ น ละประมาณ ๒๐ กว า ประเทศด ว ยโครงสร า ง หลักสูตรแบงเปน ๗ หมวดวิชา ไดแก ๑.Socio-Political Study. ๒.Economy, Science and Technology Study. ๓.International Security Environment. ๔. Study on Global Issuies. ๕. India’s Strategic Neighbourhood. ๖.India’s Immediate Neighbourhood. ๗. Strategies and Structures for National Security.

การเรียนการสอน วิธีการศึกษาเนนการบรรยายเปนสําคัญ มีการ แบงเปนกลุมยอยกลุมละ ๑๕ คน เรียนแบบคนควา วิ เ คราะห ถ กแถลงแล ว ทํ า เอกสารประกอบการ นํ า เสนอในชั้ น เรี ย น หรื อ ที่ เ รี ย กย อ ๆ ว า IAG (Integrate Analysis Groups) เปนงานกลุม สวน งานรายบุคคลเปนการคนควาตามเรื่องที่กําหนด แล ว เขี ย นรายงานด ว ยลายมื อ ของตนเองส ง ภาคเรียนละ ๑ ชิ้น รวม ๗ ภาคเรียน และมีการทํา เอกสารวิจัยอีกคนละ ๑ เรื่อง

(อดีตประธานาธิปดีอินเดียมาบรรยายพิเศษ คู่สมรสได้รับเชิญร่วมฟังด้วย)

(คณะผู้แทนจาก วปอ.ไทย เยือน วปอ.อินเดีย)


วิทยากร เรื่องที่บรรยาย ดังนั้นวิทยากรที่เปนผูบรรยายของ ผูบ รรยายเกื อบทั้ ง หมดเป น อาจารย จาก NDC จึงจําเปนตองมีประสบการณสูงมากเพียงพอ ภายนอก ทั้งในและนอกประเทศอินเดียซึ่งลวนแต ที่ จ ะตอบคํ า ถามของนั ก ศึ ก ษาที่ ย ากและมี ก าร ไดรับการคัดสรรมาเปนอยางดี เริ่มเรียนกันตั้งแต เตรียมการคนความากอนที่จะถามแลว ผูบรรยาย ๐๘.๓๐ น. บรรยายเปนเวลา ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที พัก บางคนบินมาจากตางประเทศ และเปนตัวแทนของ ดื่มชากาแฟและของวางเปนเวลา ๓๐ นาที จากนั้น ประเทศที่ เ คยเป น คู อ ริ กั บ อิ น เดี ย ก็ มี ซึ่ ง ก็ ล ว น เปนการซักถาม ๑ ชั่วโมง แลวจบการสอนดวยการ สามารถฝ า ด า นคํ า ถามของนั ก ศึ ก ษาไปได โ ดยที่ กลาวสรุปโดยผูบัญชาการวิทยาลัย ที่นั่งฟงอยูดวย หลายคําถามมีลักษณะจี้จุดสําคัญยากตอการตอบ ตั้งแตตนจนจบพรอมกับอาจารยอื่นๆ เปนการสรุป ในจํานวนผูบรรยายที่เปนคนตางชาติทั้งหลายนั้น และเนนจุดที่สําคัญ พรอมกับกลาวขอบคุณวิทยากร ผูเขียนรูสึกทึ่งการบรรยายและการตอบคําถามของ ไปดวย ตางจากบานเราที่สวนใหญใหนักศึกษาเปน เอกอั ค รราชทู ต จี น มากที่ สุ ด เพราะมี ท า ที สุ ขุ ม ผู ก ล า วขอบคุ ณ อาจารย ที่ น า ทึ่ ง อย า งหนึ่ ง ก็ คื อ เยื อ กเย็ น แต แ ฝงไว ด ว ยความเอาจริ ง เอาจั ง ตลอดการบรรยายของ วิทยากร ที่หนาชั้นเรียนจะ มีโตะพิเศษสําหรับอาจารย อ า วุ โ ส ผู รั บ ผิ ด ช อ บ หมวดวิ ช า ยศพลตรี ถึ ง พลโท นั่ ง ฟ ง การบรรยาย พรอมกับเปนผูควบคุมการ (มีนักศึกษาต่างชาติจากมิตรประเทศทั่วโลกเข้าศึกษา รวม ๒๓ คน) ซั ก ถาม ซึ่ ง ผู เ ขี ย นคิ ด ว า จุดนี้สําคัญมาก เพราะคําถามที่มาจากนักศึกษา หนั ก แน น อ อ นโยนแต ไ ม อ อ นข อ การใช ภ าษา ๑๐๐ คนนี้ เปนคําถามสดๆ ที่ไมไดมีการกลั่นกรอง อั ง กฤษก็ ดี ม าก สั ง เกตจากการตอบสนองของ มากอน ยิ่งไปกวานั้นหลายคําถามมาจากนักศึกษา นักศึกษาแลวสรุปไดวา จีนยังคงรักษาภาพลักษณ ตางชาติ ที่มีประมาณ ๒๐ กวาคน บางคําถามหมิ่นเหม แหงการเปนยักษใหญแหงเอเชียอันเปนที่เกรงขาม ตอการกระทบกระทั่งถึงความรูสึกของคนในชาติ ของอินเดีย ซึ่งเปนคูแขงที่ตามมาไมหางกันมากนัก ซึ่ ง อาจารย อ าวุ โ สจะมี บ ทบาทในการควบคุ ม สถานการณ โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอรเปน แหลงสนับสนุนการศึกษา ผูจัดคิวคําถาม ในการบรรยายแตละครั้งจะมีคําถาม หากจะเที ย บกั น ระหว า ง วปอ.ไทย กั บ ราวๆ ๑๐ – ๓๐ คําถาม มากนอยขึ้นอยูกับหัวขอ วปอ.อิน เดีย แล ว ในด า นขนาดของพื้น ที่ อาคาร


สถานที่ และจํานวนนักศึกษา วปอ.อินเดียคอนขาง เล็กกวาของไทยเรา แตเมื่อดูกันที่แหลงสนับสนุน การศึกษาแลวจะเห็นไดวาอินเดียใหความสําคัญ ในสวนนี้มาก แขกเปนนักอานหนังสือ และมักจะ ชอบแสดงความคิดเห็น เนื่องจากอินเดียใชภาษา อังกฤษในการติดตองาน ดังนั้นจึงเปนขอไดเปรียบ ที่จะสามารถคนควาหาขอมูลความรูจากแหลงตางๆ ได ก ว า งขวางมาก ได แ ก เอกสารสิ่ ง พิ ม พ และ Internet ในแตละปทางสถาบันเปดโอกาสให หางรานผูผลิตหนังสือเขามาเปดแผงแสดงหนังสือ เพื่อใหนักศึกษาไดเลือกเพื่อจัดซื้อเขาหอสมุดซึ่งมี

นักศึกษา ทั้งที่หอสมุดของวิทยาลัย และที่หองพัก ของนักศึกษาอีกดวย กอนจะจบในตอนนี้ทานผูอานคงจะทราบ แล ววา ทํา ไมจึง ไมคอยมีใครอยากไปเรี ยน วปอ. ที่อิ น เดี ย เพราะดู จ ากโครงสร า งหลั ก สูต รที่บ รรจุ เนื้อหาสาระที่คอนขางหนัก มีงานเดี่ยวที่ตองลงมือ ทํ า ด ว ยตนเองจริ ง ๆ และมี ก ารทํ า เอกสารวิ จั ย ที่ ใครๆ ตางก็วาเปนยาขมอีกดวย แตถึงอยางไรก็ตาม ผูเขียนก็ยังไมไดนําเสนอสิ่งดีๆ อีกมากมายที่ทําให ประทับใจเมื่อไดไปเรียน แมวาจะไมไดรับคาใชจาย จากทาง ทอ.ไทย ก็ตาม เนื่องจากหลักสูตรนี้ไมได อยู ใ นโครงการศึ ก ษาของ ทอ. ทําใหตองใชเงินเดือนตนเอง แตก็ ยั ง ดี ที่ ไ ด รั บ การสนั บ สนุ น จาก รั ฐ บาลอิ น เดี ย ออกค า ใช จ า ยให นั ก ศึ ก ษาจากประเทศที่ อิ น เดี ย กํ า หนดไว ร ายละ ๑๐,๐๐๐ รู ป (ราวๆ ๘ พันบาท) มีที่พักใหเปน (เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดซื้อหนังสือเข้า อยางดี และมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ชวย หอสมด) หนังสือตางๆ รวมจํานวนไมต่ํากวา ๑๘,๐๐๐ เลม ผอ นคลายความตึงเครีย ด ไดแก การจัดให มีการ หนั งสื อมี หลายชุ ดสามารถให ยื มได เป นระยะเวลา ดูงานและศึกษาภูมิประเทศหลายครั้ง นับจํานวนวัน นานๆ หนั ง สื อ บางเล ม ยื ม ได เ ป น ป เ ลยที เ ดี ย ว รวมได ๕๐ กวาวัน นับวาเปนสีสัน และเปนหัวใจ นอกจากนี้ยังมีคอมพิวเตอรติดตั้ง Internet ไวให สําคัญของการศึกษาหลักสูตร วปอ. ซึ่งจะไดนํามา บริการสืบคนเปนจํานวนมากเกือบเทาจํานวนของ เลาสูกันฟงในตอนตอไป... ธรรม


พล.อ.อ.เดชา หันหาบุญ

ขบวนรถไฟเคลื่ อ นตั ว ออกจากสถานี ตรงตามตารางเดิ น รถ ๐๘๔๐ มุ ง หน า สู เ มื อ ง Luzerne ที่กําหนดเวลาถึงเอาไว ๐๙๕๗ ใชเวลา เดินทาง ๑ ชั่วโมง ๑๗ นาที ความยาวของขบวนรถ ประมาณ ๑๐ โบกี้ ในชั้นเฟรสคลาสที่อยูตอนหัวขบวน เพียงหนึ่งโบกี้เพราะสวนใหญผูโดยสารทั่วไปที่นั่ง รถไฟไปทํางานตามปกติหรืออยูในพื้นที่ขบวนรถไฟ ผาน จะนั่งในชั้นธรรมดาและใชตั๋วเดือน คงมีแต นักทองเที่ยวแบบผูเขียนเทานั้นที่นั่งชั้นหนึ่งซึ่งคา โดยสารจะแพงกวา ภายในตูโดยสารที่นั่งสะดวก สบายมาก มีใหเลือกทั้งแบบสองเกาอี้สี่ที่นั่งหันหนา เขาหากันโดยมีโตะกลางที่ใชวางคอมพิวเตอรแบบ แลปทอปหรือวางของบนโตะไดสะดวกเหมาะสําหรับ คณะ ๓-๔ คน ที่นั่งแบบเกา อี้คูสําหรั บผู เดิ น ทาง สองคน มีโตะวางของขางหนาและสําหรับเกาอี้เดี่ยว สําหรับผูโดยสารคนเดียวไมยุงเกี่ยวกับใคร บนโตะ ทุกตัวมีแผนที่เสนทางเดินรถประกอบภูมิประเทศ ให ดู ป ระกอบว า ขบวนรถผ า นหรื อ ถึ ง จุ ด ใดแล ว หน า ต า งทุ ก บานเป น กระจกหนาใสสะอาดและ กว า งใหญ จ ากระดั บ โต ะ จนเกื อ บถึ ง หลั ง คาโบกี้

ทําใหมองเห็นวิวภายนอกไดกวางไกลชนิดที่เรียกวา พาโนราม า ประตู หั ว ท า ยโบกี้ ป ด สนิ ท ด ว ยประตู กระจกเลื่ อ นมี เ ฉพาะเจา หนา ที่พ นัก งานตรวจตั๋ว ที่จะผานได ดานขางประตูมีที่เก็บกระเปาเดินทาง เปนสัดสวนแยกตางหาก แตละที่นั่งมีชั้นวางของ เหนือระดับศีรษะอีกตางหาก ภายในสะอาดสะอาน เรียบรอยมากเครื่องปรับอากาศชวยทําใหอุณหภูมิ ภายในกําลังพอเหมาะ ไมมีการเดินขายอาหารหรือ มีผูโดยสารอื่นๆ เดินผานพลุกพลานรบกวนความ เปนสวนตัว มองออกไปภายนอกในเสนทางที่ขบวน รถผานไปเห็นทุงหญาเขียวขจีที่มีลําธารน้ําที่ดูเหมือน จะเป น ธรรมชาติ แ ละขุ ด ต อ แนวแบบคลองส ง น้ํ า ชลประทานไหลผานไปสูอางเก็บน้ําขนาดใหญเปน ชวงๆ จากลําธารน้ําไลเรียงดวยปาละเมาะไปตาม ไหลเขาสูงขึ้นไปจนถึงแนวเทือกเขาที่สวนยอดบน ปกคลุ ม ด ว ยหิ ม ะขาวโพลนไปหมด ฝู ง วั ว แกะ ยืนแทะเล็มหญาอยางมีความสุขทามกลางอากาศ หนาว หญ า แห ง ถู ก เก็ บ เกี่ ย วมั ด รวมเป น ฟ อ นๆ เอาไว ใชเ ลี้ย งสัตวใ นฤดูห นาวจั ด รวมทั้ง กองฟ น ของชาวบานที่ตัดแยกมัดรวมเอาไวขางๆ บานพัก


ที่ปลูกรวมกันอยูเปนหยอมๆ ทั้งตามขางทางและ ไหลเขาที่ทําเกษตรกรรมและปศุสัตว ขบวนรถไฟ จอด บางสถานีที่เปนแหลงชุมชนซึ่งดูเหมือนจะมี กลุมละไมกี่ ห ลัง คาเรื อ นบางสถานีใ หญจ ะเห็น มี โรงแรมขนาดเล็กสําหรั บนักทองเที่ยวที่พักอาศัย ชั่วขามคืนประเภทค่ําไหนนอนที่นั่นและรอขึ้นรถไฟ ขบวนตอไปเที่ยวตอไปเรื่อยๆ พอใจธรรมชาติเมือง ไหน ก็ แ วะลงหาที่ พั ก ค า งคื น แล ว เดิ น ทางต อ ไป เมื่อตองการชีวิตชนบทเรียบงายมีความสุขอยา ง พอเพียงตางกับในเมืองใหญทั่วไป เวลา ๐๙๕๗ น. ขบวน รถไฟเขาเทียบชานชาลาที่ เมือง ลู เ ซิ ร น ตรงตามเวลามาก ผูโดยสารในตูชั้นธรรมดาทยอย ลงจากรถและแยกย า ยกั น ไป ในเวลาไม กี่ น าที แสดงวา เป น ชาวเมืองในพื้นที่ คงมีแตผูเขียน และคณะอีกสามคนที่ยืนหันรี หันขวางหาทางไปโรงแรมที่จอง เอาไว จะเป ดแผนที่ ก็ เสี ยเวลา ทํ า ท า ให เ ขารู ว า เป น คนรวย ตางถิ่นก็เลยเดินไปถามพนักงานรถไฟที่อยูประจํา สถานี ชาวสวิตเซอรแลนดในเมืองตางๆ พูดภาษาที่ แตกตางกันในแตละเมืองไมฝรั่งเศสก็เยอรมันหรือ ภาษาทองถิ่ น แต ก็พ อพู ดภาษาอั งกฤษกัน รูเ รื่อง อาจจะเนื่ อ งจากเป น เมื อ งท อ งเที่ ย วที่ ต อ งตอบ คําถามนักทองเที่ยวจากประเทศตางๆ เปนประจํา หรื อ เมื อ งลู เ ซิ ร น ไม ใ ช เ มื อ งใหญ อ ะไรมากนั ก ถนนหนทางจั ด วางผั ง เมื อ งอย า งดี มี เ พี ย งไม กี่

เสนทางหลักๆ การถามถึงแหลงที่พักหรือทองเที่ยว จึงไมยาก จับความไดวาออกจากสถานีแลวเดินตรง ไปถึงสี่แยกไฟแดง เลี้ยวซายเลี้ยวขวาสองสามครั้ง ก็จะเห็นถนนที่โรงแรมตั้งอยู วาแลวก็ตัวใครตัวมัน ลากกระเปาเดินทางไปตามถนนดูปายชื่อถนนไป เรื่ อ ยๆ พอถึ ง สี่ แ ยกก็ ดู ป า ยชื่ อ ถนนเดิ น กั น ต อ ไป รถบัสประจําทางหรือแท็กซี่มีวิ่งใหเห็นเพราะดูวา นอกจากจะเสี ย เงิ น แล ว อาจจะต อ งเสี ย เวลา พากันออกนอกตัวเมืองอีกตางหาก ปายชื่อถนนตัด อยู ต ามสี่ แ ยกบนเสาสั ญ ญาณไฟจราจร มี ข นาด

แผนปายและตัวหนังสือเล็กมากแตตรงกลางสี่แยก ถนนจะมี ป า ยชื่ อ โรงแรมและลู ก ศร ชี้ ทิ ศ ทางว า โรงแรมไหนตรงไปตามถนนเส น ไหน แม จ ะเป น ภาษาอังกฤษแตก็เขียนแบบเยอรมันคือมีจุดกลมๆ สองจุดบนตัวสระบางตัว มีเงิน อานออก เขียนได เดิ น ไหว ใจสู จึ ง ไม ใ ช เ รื่ อ งยากที่ ใ นอี ก ไม ถึ ง สิ บ ห า นาที ต อ มาก็ พ าคณะทุ ก คนมายื น อยู ห น า โรงแรมที่จองเอาไวลวงหนาทางอินเตอรเน็ต


โรงแรมอยู ริ ม ถนนสายเล็ ก ๆ ใกล สี่ แ ยก เขาสูตัวเมือง ริมถนนดานขวาทั้งสองฝงตีเสนกรอบ แบงใหรถจอดไดเหลือเพียงชองกลางถนนที่รถวิ่ง สวนกันไปมาไดโดยไมมีเสนแบงกลางถนน สภาพ อาคารสองฝงถนนเปนตึกสามถึงสี่ชั้น สําหรับตัว โรงแรมมี พื้ น ที่ ด า นหน า กว า งขนาดตึ ก สามคู ห า ผา นประตูก ระจกจากขอบฟุต บาทเขา ไปสูป ระตู อีกชั้นหนึ่งกอนที่จะถึงหองล็อบบิขนาดเล็กๆ และ เคานเตอรลงทะเบียนที่มีพนักงานหมุนเวียนเขาเวร ประจําเพียงคนเดียว ดานขวาเปนหองอาหารของ โรงแรมที่ จั ด โต ะ ไว ร องรั บ แขกที่ พั ก อาศั ย ได ประมาณ ๖๐ คน เปนอยางมากรวมทั้งเปดใหลูกคา ขาจรเขามาใชบริการดื่มกินอีกดวย เปดประตูออก ไปดานขางเปนสวนรับประทานอาหารนอกอาคาร ที่มีโตะอาหารตั้งไวประมาณ ๖-๗ ตัว มีกระถางไม ประดับตั้งเปนแนวอาณาเขตของรานและเพื่อความ สวยงามสําหรับลูกคาที่ตองการบรรยากาศกลางแจง รับแสงแดดหรือสูบบุหรี่ ผูเขียนรับกุญแจแลวลาก กระเปาขึ้นลิฟทขางเคานเตอรไปสูหองพักชั้นที่ ๓ ภายในหองพักมีขนาดประมาณไมเกิน ๒๐ ตารางเมตร รวมห อ งน้ํ า ในตั ว ที่ ต กแต ง ประดั บ ประดาแบบ เรียบงายดวยเครื่องใชเทาที่จําเปน สะดวกสบาย สมราคาค า เช า พั ก แต ล ะคื น เก็ บ กระเป า เข า ที่ เข า ทางพรอมนํ า สิ่ งของใช จํ า เป น ออกมาสํ า หรั บ การพั ก เพี ย งสองคื น จากนั้ น ก็ อ าบน้ํ า ให ส ดชื่ น หลั ง จากเดิ น ทางติ ด ต อ กั น มาเกื อ บยี่ สิ บ ชั่ ว โมง หลังออกจากกรุงเทพฯ เปลี่ยนชุดใหเหมาะสมกับ สภาพอากาศภายนอกที่ กํ า ลั ง สบายๆ ก อ นที่ จ ะ ออกไปเดินเลนหาอาหารกลางวันรับประทานเพราะ

กว า จะเข า โรงแรมเรี ย บร อ ยก็ เ ป น เวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกาแลว จุดสนใจของเมื อ งลู เ ซิรน อยู ที่ส ะพานไม เกาแกนับรอยๆป ที่ทอดขามแมน้ําและรูปแกะสลัก สิ ง โตนอนร อ งไห ริ ม เนิ น เขาที่ อ ยู ห า งออกไปจาก กลางตัวเมืองไมมากนัก ขอเลาประวัติความเปนมา ของเมืองลูเซิรน(Lucerne )ใหผูอานไดทราบกัน พอเปนน้ําจิ้มก็แลวกันครับ เมืองนี้เปนเมืองเกาแก ของสวิตเซอรแลนด ที่อยากจะเรียกวาเปนหัวเมือง ชั้ น ใน เพราะอยู เ กื อ บตรงกลางประเทศเมื อ งนี้ เคยปกครองตนเองก อ นที่ จ ะรวมเป น ประเทศ สวิตเซอรแลนดเมื่อป ค.ศ.๑๓๓๒ ดวยภูมิประเทศ ที่เต็มไปด วยภู เขาสู งทั่ว ไปจึ งไดรับสมญานามว า “หลังคาแหงทวีปยุโรป (The roof of Europe)” เพราะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีเทือกเขาสูงเสียดฟา อยางภูเขาแอลป และยังมีภูเขาใหญนอยสลับกับ ป า ไม ที่ แ ทรกตั ว อยู ต ามเนิ น เขาและไหล เ ขา สลับแซมดวยดงดอกไมปา และทุงหญาอันเขียวชอุม สําหรับเลี้ยงสัตวและทําการเกษตร มีทะเลสาบลูเซิรน อยูทางตะวันออกและมีแมน้ํารอยด (Reuss river) ไหลผา นแบ ง ตั ว เมื อ งออกเปน สองฝ ง โดยฝ ง ดา น ตะวั น ออกเป น เมื อ งเก า มี อายุ ก ว า ๕๐๐ ป แ ล ว ซึ่งทางการจะจัดผังเมืองดวยการอนุรักษเอาไวโดย ไมอนุญาตใหสรางอาคารใหมๆ หรืออาคารสูงขึ้น ในเขตเมืองเกาเหลานี้ การจัดผังเมืองจะแยกสวน เมืองที่สรางใหมออกไปเปนยานธุรกิจ ยานพักอาศัย หรื อ แหล ง ท อ งเที่ ย วตากอากาศ ส ว นเมื อ งที่ อ ยู ทางด า นฝ ง ตะวั น ตกของแม น้ํ า เป น เมื อ งที่ ส ร า ง ภายหลัง จึงเปนอาคารบานเรือนเปนแบบสมัยใหม


แต ก็ ยั ง มี ร อ งรอยของการเป น หั ว เมื อ งโบราณ ปรากฏใหเห็นบางทั่วๆ ไปทุกมุมเมือง ผูเขียนพาคณะเดินเลนไปเรื่อยๆ ทําทาให ดู เ หมื อ นเป น คนที่ อ ยู เ มื อ งนี้ ม านาน ก็ คื อ ไม เ ดิ น แบบหั น รีหั น ขวางไม แนใจหยุ ดอานปา ยหรือกาง แผนที่ ทุ ก สี่ แ ยก เดิ น ข า มถนนที่ มี เ พี ย งสองช อ ง จราจรผานสี่แยกใหญกลางเมืองที่มีปายบอกทิศทาง แขวนหอยเต็มไปหมด ถนนหนทางสะอาดสะอาน มาก รถรามีจํานวนไมมากเทาไรจอดติดไฟแดงครั้งละ ไมเกินสิบคัน ทางเทาหนาอาคารตางๆ กวางชนิดที่ เรี ย กว า เดิ น หน า กระดานเรี ย งห า ได ส บายๆ ร า น ขายของยังไมเปดใหบริการทําใหบรรยากาศไมคึกคัก เท า ที่ ค วร ผ า นสถานี ตํ า รวจลู เ ซิ ร น ที่ เ ป น ตึ ก สู ง ตระหงานมี ประตูใหญทางเขาที่ปดกั้นดวยประตู ลูก กรงเหล็ ก มองเห็ น อาคารสํ า นัก งาน ภายในมี ชองทางประตูเขาเล็กๆ ที่ติดกลองวงจรปดเอาไว คนภายนอกไมสามารถผานเขา ไปไดตองกดกริ่ง เรี ย กให ตํ า รวจมาเป ด ประตู มองผ า นเข า ไปเห็ น เจาหนาที่ตํารวจนั่งทํางานอยูเพียงสองคนเทานั้น ถาไมมีปายโลหะเล็กๆ ติดเอาไวขางกําแพงคงไมรู ว า เป น สถานี ตํ า รวจ เดิ น ไปอี ก ไม ไ กลเท า ไรนั ก ก็ ข า มถนนแล ว เดิ น ไปตามทางเท า ข า งอาคารที่ เรียงรายตลอดแนว เริ่มเห็นผูคนเดินขวักไขวหนาตา ขึ้ น แสดงว า ใกล แ หล ง ท อ งเที่ ย วหรื อ ย า นธุ ร กิ จ เลี้ยวขวาพนมุมตึกก็มองเห็นรานอาหารตั้งเรียงราย ตลอดทั้งอาคาร โตะอาหารและเกาอี้ไมตั้งเรียงเปน กลุมๆ บนทางเทาจนเหลือชองทางสําหรับเดินผาน ไมกวางเทาไรนัก ริมถนนรถยนตของผูมารับประทาน อาหารจอดเรียงเฉียงกับแนวขอบถนนเต็มไปหมด

รมขนาดใหญสีขาวกางบังแดดใหแตละโตะมองดู นารักไปอีกแบบ ผูเขียนเดินเขาไปจับจองหาที่นั่งอยาง มาดมั่นแต ใชชี วิ ตในตางประเทศก็รูสึก ดี ไปอย า ง เพราะแตละคนเคารพสิทธิสวนบุคคลไมมีใครสนใจ มองหัวจรดเทาใหหงุดหงิดในอารมณ พนักงานเสิรฟ นํ า รายการอาหารมาให พ ร อ มเสิ ร ฟ น้ํ า เย็ น เป น อันดับแรก เลือกรายการอาหารอยางรวดเร็วเปน มักกะโรนีไก เพราะดูเครื่องปรุงบนโตะที่มีทั้งขวด น้ํามันมะกอกยาวเปนศอก ซอสมะเขือเทศ พริกปน พริกไท อาหารจะจืดชืดอยางไรเสิรฟมารอนๆ ปรุงๆ ไปก็ อ ร อ ยเองอย า งแน น อน แต ก็ บ อกสมาชิ ก ว า อยาพยายามสั่งอาหารเหมือนกันจะไดลองชิมหรือ แบงกันได ไมเกินยี่สิบนาทีอาหารทุกรายการก็ทยอย นํ า มาเสิ ร ฟ จนครบแล ว ทุ ก คนก็ ล งความเห็ น ว า รายการที่ผูเขียนสั่งอรอยและนากินที่สุด ไมรูวานองๆ พูดเอาใจกลัวผูเขียนไมยอมจายเงินหรือเปลา จําไมได วาคาอาหารหมดไปเทาไรเพราะมีราคาบอกในรายการ แตละอยางอยูแลว รวยเสียอยาง ทําอะไรก็ไมนา เกลียด ใชไหมครับทานผูอาน เสียเวลาคิดเสียสมองในการ คูณเลขฟรังสสวิสเทากับประมาณ ๒๙ บาทเทานั้น เอง อยาไปคิดมากใหเปลืองสมองเปลาๆ ที่ ห มายสํ า หรั บ การท อ งเที่ ย วแห ง แรก คือ สะพานวิหาร (Chapel bridge) ซึ่งสรางขาม แมน้ํารอยด เปนสะพานไมที่เกากี่สุดในโลก มีอายุ กวาสี่รอยป เปนสัญลักษณและประวัติศาสตรของ เมืองลูเซิรนเลยทีเดียว สะพานวิหารนี้เปนสะพาน ที่ แข็ง แรงมากมุ ง หลัง คาแบบโบราณ เชื่อมตอ ไป ยั ง ป อ มแปดเหลี่ ย มกลางน้ํ า ที่ ห น า จั่ ว แต ล ะช อ ง ของสะพานจะมี ภ าพเขี ย นเป น เรื่ อ งราวประวั ติ


สามเมตรตลอดแนวยาว ขามแมน้ําแลวสรางคาน สะพานไม้อายุ ๔๐๐ ปี ข้ามแม่น้ํารอยด์ ทีล่ ูเซิรน์ รับพื้นไมเนื้อแข็งที่ปูเปน ทางเดิ น ด า นข า งราว สะพาน ตี ไ ม ทึ บ ตลอด ใ น แ น ว ตั้ ง เ ป น ไ ม ที่ มี ลวดลายเหมือนไมฉําฉา ที่ สํ า หรั บ ต อ ลั ง ใส ข อง โ ค ร ง จั่ ว ห ลั ง ค า เ ป น สามเหลี่ ย มคลุ ม ตลอด สะพ านมุ งด วยไม ชิ้ น ขนาดฝามือแทนที่จะเปน ความเปนมาของประเทศสวิตเซอรแลนด ซึ่งภาพเขียน กระเบื้ อ งมุ ง หลั ง คาที่ เ ห็ น ตามวั ดวาอารามทั่ ว ไป เหล า นี้ มี อ ายุ ม ากกว า ๔๐๐ ป แต น า เสี ย ดายที่ ดานนอกประดับกระถางดอกไมเปนรางยาวๆเหมือน สะพานไมนี้ถูก ไฟไหมเ สี ย หายไปมากเมื่อยี่สิบ ป ที่คนพักอาศัยตามคอนโดมิเนียมหรืออพารตเมนต ก อ นจนต อ งบู ร ณะสร า งขึ้ น ใหม เ กื อ บหมดให ค ง ชอบทํากัน แตดูเหมือนวัสดุที่ใชสรางสะพานสวนใหญ สภาพใกลเคียงของเดิมมากที่สุด บนสะพานวิหาร เป น ของใหม ที่ ค งทํ า เลี ย นแบบของเดิ ม ที่ ไ ฟไหม มีรานขายของที่ระลึกของชาวเมืองเกือบตลอดแนว ไปแลวเมื่อยี่สิบปกอน บรรยายแคนี้พอครับ กมมอง สะพานนอกจากร า นค า ที่ ป ลู ก สร า งเป น ห อ งๆ ลงไปดูพื้นน้ําเบื้องลางสีน้ําทะเลเขมสวยงามมาก ลดหลั่นกันไปตามลาดสะพาน นักทองเที่ยวจํานวน ถึงจะไมสดใสไหลเย็นเห็นตัวปลาแตก็สะอาดจาก มาก เดินขวักไขวบนสะพานและหยุดหามุมถายรูป การไหลถายเทของแมน้ํารอยด พอมองเห็นปลาตัว และวิดีโอเปนที่ระลึก ทําใหตองหยุดเดินเปนชวงๆ ขนาดฝา มือแหวกวายไปมาอยูบาง แตที่ เห็น ขาว ไม ใ ห ไ ปเข า กล อ งคนอื่ น เขาตามมารยาทที่ ดี แต สะอาดตาลอยอยูมากมายคือ ฝูงหงสที่แหวกวาย ถาหากนานมากเกินไปก็เดินผานไปเลยเพราะคนที่ ไปมาตลอดเวลาเพื่อหาอาหารกินในแมน้ํา นึกไมออก ถายรูปกันอยูไมมีมารยาทกอนใชไหมครับ วาหงสเปนอยางไรเดี๋ยวจะไปนึกวาดภาพเหมือน บรรยายใหนึกภาพสะพานไมออกวามีรูปราง หงสท องขางขวดเหล า หงสตัว ขนาดหานแตส วย ลักษณะเปนอยางไร ดูรูปรางสะพานไมแลวก็คือปก กวามากเทานั้น แตถาทานไมรูจักหานอีกก็จนปญญา เสาไมขนาดหนาตัดกวางประมาณหกนิ้วคูณหกนิ้ว เหมือนกัน มองออกไปปากแมน้ําเห็นเรือขนาดใหญ ลงไปในแม น้ํ า เว น ช ว งห า งแต ล ะเสาประมาณ ที่ ค งเป น เรื อ ท อ งเที่ ย วมากกว า จะเป น เรื อ สิ น ค า


ม อ ง ไ ก ล อ อ ก ไ ป ก็ เ ป น ตึ ก ร า ม บานชองที่ปลูกไลเรียงตามไหลเขา สวยงามมาก อาคารที่ เ ห็ น ใกล ๆ ชายฝ งคงปลู ก สร า งขึ้ น ใหม เ ป น ที่ ทําการรานคา แหลงธุรกิจ หลายอาคาร มีโดมแบบเดียวกับโบสถหรือมัสยิด ของชาวมุสลิม ไมรูจะไปถามใครวา ใช ห รื อเปลา ก็ผา นเลยไปก็แล ว กั น พอขามไปอีกฝงหนึ่งเปนตึกสามถึง สี่ชั้น ซึ่ง สวนใหญจะเป นภัต ตาคาร ร า นขายของและโรงแรมที่ พั ก ที่ ป ก ธงชาติ สวิตเซอรแลนดและธงอื่นๆ สารพัดแบบหลากสีสัน ฉู ด ฉาดโบกสะบั ด โต ส ายลมที่ พั ด มาตลอดเวลา ทางเดินเท าระหว า งอาคารตางๆ กั บริ มฝ ง แมน้ํา กวางมากแตถูกใชเปนพื้นที่ตั้งโตะอาหารสําหรับ นั ก ท อ งเที่ ย วที่ นั่ ง ดื่ ม กิ น กั น อย า งมี ค วามสุ ข โดยเฉพาะริ ม เขื่ อ นติ ด แม น้ํ า ที่ มี เ พี ย งรั้ ว เตี้ ย ๆ กั้นเอาไว บางชวงก็เ ปน สะพานเล็ก ๆ ใหเรือจอด เทียบรับสงผูโดยสารได เดินยอยอาหารไปเรื่อยๆ ผานทางโตะอาหารของนักทองเที่ยวที่สีหนาแตละคน มีความสุขสดชื่ น สายตาของทุกคนเปน มิตรและ ไมสนใจกาวกายสิทธิสวนบุคคลของคนอื่นตราบใด ที่ ไ ม ก า วล ว งซึ่ ง กั น และกั น ซึ่ ง น า จะเป น สิ่ ง ดี ๆ ที่ อยากให มี ใ นสั ง คมไทยให ม ากกว า นี้ เดิ น ชมวิ ว ทิวทัศนคิดอะไรเลนๆ จนวกกลับมาถึงสะพานเหล็ก ธรรม

ข า มแม น้ํ า ที่ อ ยู ไ กลออกมาพอสมควร เสมื อ นจะ เปรียบเทียบอดีตกับปจจุบันที่มีความเจริญกาวหนา ทางวัตถุ เพราะสะพานเหล็กนี้คงสรางไมยากนัก ใน สมัยนี้ เสาคอนกรีตเสริมเหล็กและคานรับน้ําหนักเท พื้นคอนกรีตเรียบเหมือนถนน ความกวางประมาณ ๖ เมตรที่รถยนตวิ่งหลีกสวนกันไมไดแตสรางเอาไวให คนเดินขามอยางเดียว ราวสะพานสองขางทําดวย เหล็ ก สู ง ประมาณเมตรเศษๆ ระดั บ เอว ดั ด เป น ลวดลายสวยงามแตดูไมรูวาเปนรูปอะไร ผูคนเดินขาม ไปมาตามปกติ ไ ม ไ ด ส นใจอะไรเพราะมั น ก็ คื อ สะพานขามที่เห็นกันอยูทั่วไป ผูเขียนเดินขามผาน ไปอีก ฝงหนึ่งเพื่อจะไปเที่ยวชมสิงโตที่ลูเซิรน ..วา ทําไมถึงรองไห คงตองรออานตอไปเลมหนานะ...ครับ ทานที่รัก ""


น.ท.พงศธร สัตยเจริญ หน.ผกฎ.กกฎ.สธน.ทอ.

มี คํ า ถามเกี่ ย วกั บ หลั ก เกณฑ ที่ ป ฏิ บั ติ ตอขา ราชการประจํ าการและขา ราชการบํา นาญ ผูก ระทํา ความผิ ด อาญา เมื่อ คดีถึง ที่ สุ ดใหจํา คุ ก รวมทั้งสถานภาพการเปนขาราชการและสิทธิตางๆ ที่ควรไดรับ ดังนี้ ๑. ขาราชการประจําการกระทําความผิด อาญา คดี ถึ ง ที่ สุด ใหจํ า คุก มี ห ลัก เกณฑอ ย า งไร ในการออกคําสั่งใหสํารองราชการและพักราชการ ๒. ข า ราชการบํ า นาญกระทํ า ความผิ ด อาญา คดีถึงที่สุดใหจําคุก จะตองถูกปลดออกจาก การเปนขาราชการบํานาญหรือไม ๓. เมื่อขาราชการบํานาญกระทําความผิด คดีถึงที่สุดใหจําคุก จะตองถูกถอดออกจากยศทหาร หรือไม ๔. ข า ราชการบํ า นาญกระทํ า ความผิ ด อาญา คดีถึงที่สุดใหจําคุก สิทธิตางๆ ยังคงไดรับ จากทางราชการอยูอีกตอไปหรือไม ผูเขียนเห็นวาควรนําเรื่องนี้มาใหรับทราบกัน เพื่อเปนความรูนอกเหนือจากผูที่ถามมา โดยผูเขียน

ขอรั บ ผิ ด ชอบในคํ า ตอบ(หากจะมี ขึ้ น )เป น การ สวนตัว ดังนี้ ประเด็นตามขอ ๑. ขาราชการประจําการ กระทําความผิดอาญา ตามขอ ๕ และขอ ๗ แหง ข อ บั ง คั บ กระทรวงกลาโหมว า ด ว ยการสั่ ง ให ข า ราชการทหารพั ก ราชการ พ.ศ.๒๕๒๘ ให ผู บั ง คั บบั ญ ชามี อํ า นาจสั่ ง พั ก ราชการข า ราชการ ทหารผูถูกฟองคดีอาญาหรือถูกกลาวหาวากระทํา ความผิดอาญาตลอดเวลาที่คดียังไมถึง ที่สุดหรือ ตลอดเวลาที่ พิ จ ารณาสอบสวน ซึ่ ง หากปรากฏ ภายหลังวาขาราชการทหารผูนั้นไดกระทําความผิด ใหผูบัง คับบัญ ชามีอํา นาจสั่ง ใหอ อกจากราชการ โดยไมมีเบี้ยหวัดบําเหน็จบํานาญ โดยใหสั่งใหออก ตั้ ง แต วั น สั่ ง พั ก ราชการได ส ว นกรณี ที่ ถ ามมา ขา ราชการประจํ า การกระทํ า ความผิด อาญา แต ไมถูกสั่งพักราชการ เมื่อคดีถึงที่สุดใหจําคุก ไมพบวา มีหลักเกณฑการออกคําสั่งใหสํารองราชการและ พักราชการ แตอาจตองถูกปลดจากประจําการหรือ


ถูกถอดจากยศทหาร ตามพระราชบัญญัติวาดวย วินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ มาตรา ๗ ประกอบ กับขอ ๒ แหงระเบียบกระทรวงกลาโหมวาดวยผูซึ่ง ไมสมควรจะดํารงอยูในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ.๒๕๐๗ ประเด็นตามขอ ๒. คณะกรรมการกฤษฎีกา ไดใหความเห็นไวในเรื่องเสร็จที่ ๗๓๕/๒๕๕๑ วา การปลดข า ราชการทหารออกจากประจํ า การ จะตองเปนขาราชการทหารที่ประจําการอยู หาก พนจากราชการแลวก็ไมอาจปลดออกจากประจําการ ไดโดยสภาพ ประเด็นตามขอ ๓. ในเรื่องการถอดยศ คณะกรรมการกฤษฎีกาไดใหความเห็นไวในเรื่อง เสร็จที่ ๕๖๖/๒๕๕๓ วา ยศทหารเปนยศที่ติดตัว ทหาร ไมวาจะอยูในประจําการหรือนอกประจําการ การถอดยศทหารจึ ง สามารถกระทํ า ได แ ม ท หาร ผูนั้นจะออกจากประจําการแลว

ประเด็นตามขอ ๔. ขาราชการบํานาญ ผูรับบํานาญปกติหรือบํานาญตกทอด(รวมถึงทหาร ซึ่งมีสิทธิไดรับเบี้ยหวัดดวย) ที่กระทําความผิดถึง ต อ งโทษจํ า คุ ก โดยคํ า พิ พ ากษาโทษจํ า คุ ก หรื อ ตกเปนบุคคลลมละลายทุจริตตามกฎหมายวาดวย ลมละลายหมดสิทธิรับบํานาญปกติ หรือรับบํานาญ ตกทอดนับแตวันมีคําพิพากษาถึงที่สุด ตามความ ในมาตรา ๕๒ แหงพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญ ข า ราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ต อ มาได มี ก ารยกเลิ ก มาตรา ๕๒ โดยพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญ ข า ราชการ (ฉบั บ ที่ ๒๕) พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ มี ผ ลใช บัง คั บตั้ ง แตวั น ที่ ๑๔ ก.พ.๕๑ ซึ่ ง หมายความว า ขาราชการบํานาญ ผูรับบํานาญปกติหรือบํานาญ ตกทอดฯ ที่กระทําความผิดถึงตองโทษจําคุกโดย คํ า พิ พ ากษาโทษจํ า คุ ก ที่ มี คํ า พิ พ ากษาถึ ง ที่ สุ ด ตั้งแตวันที่ ๑๔ ก.พ.๕๑ เปนตนมาใหมีสิทธิไดรับ ตอไป เจตนารมณของกฎหมายก็เพื่อใหเกิดความ เปนธรรมแกผูรับบําเหน็จ หรือบํานาญโดยเสมอกัน รวมทั้งไมกระทบสิทธิของบุคคลที่สามในเรื่องการ รับบําเหน็จตกทอด


Runy

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านข่าวทหารอากาศทุกท่าน ต่อไปนี้เราจะมาพบกันทุกเดือนนะคะ เพื่อเป็นการ แบ่งปันความรู้ภาษาอังกฤษให้กับข้าราชการกองทัพอากาศ และเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนเป็นแนวทางในการเตรียมตัวเข้ารับการทดสอบภาษาอังกฤษต่อไป เชิญติดตามได้เลยค่ะ 1. ______ all the windows, please. a. Closes b. Closed c. Closing d. Close 2. The pilots ______ their parachutes on the rack. a. lain b. lie c. laid d. lied 3. The car approached at an extremely high speed. a. a legally b. a very c. a normally d. fast 4. You should _______ and use athletic equipment every day. a. check out b. checking c,. checked d. do check 5. The sale of luxury items has dropped off recently. a. decreased b. increased c. stayed the same d. been irregular ☺ เมื่อทําแบบฝึกหัดครบห้าข้อแล้ว เชิญตรวจคําตอบและอ่านคําอธิบายเพิ่มเติมได้เลยค่ะ ☺


1. ______ all the windows, please. b. Closes b. Closed c. Closing d. Close คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ d. Close all the windows, please. (กรุณาปิดหน้าต่างทั้งหมดด้วย) Imperative Sentence หรือ Command Sentence คือประโยคขอร้องหรือประโยคคําสั่ง โดย ประธานที่แท้จริงของประโยคคือ You แต่โดยทั่วไปจะละประธานไว้ มีเฉพาะกริยาแท้ช่องที่หนึ่งขึ้นต้น ประโยค เช่น Open your book. (จงเปิดหนังสือ) Sit down. (นั่งลง) ประโยคห้ามไม่ให้ทําจะใช้ Don’t วางไว้หน้าประโยค เช่น Don’t disturb me when I am reading. (อย่ารบกวนผมตอนอ่านหนังสือ) Don’t open the door. (อย่าเปิดประตู) ประโยคขอร้องหรือประโยคคําสั่งนี้ ถ้าจะทําให้คําขอร้องหรือคําสั่งฟังสุภาพขึ้นได้ โดยเติมคําว่า “please” ไว้หน้าหรือหลังประโยคก็ได้ เช่น Open the door please. หรือ Please open the door. (กรุณาเปิดประตูหน่อยครับ) Sit down please. หรือ Please sit down. (เชิญนั่งครับ) 2. The pilots ______ their parachutes on the rack. (นักบินวางร่มลงบนชั้น) b. lain b. lie c. laid d. lied คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ c. laid มีความหมายว่า “วาง” เป็นกริยาที่มีรูปเหมือนกันทั้งช่องที่สอง และสาม (lay laid laid) และเป็นกริยาที่ต้องการกรรม (Transitive Verb) กรรมคือ their parachutes (ร่ม) คําอธิบายเพิ่มเติม คํากริยา (Verb) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ 1. กริยาที่ต้องการกรรม (Transitive Verb) ถ้าไม่มีกรรมมารับจะทําให้ประโยคไม่สมบูรณ์ เช่น I know Miss Joy very well. (ผมรู้จักคุณจอยดีมากเลย) The horse kicked the man. (ม้าเตะผู้ชายคนนั้น) 2. กริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) ความหมายของประโยคสมบูรณ์ในตัวเอง อาจมี กลุ่มคํามาต่อท้ายประโยค แต่ไม่ใช่กรรมเพราะเป็นเพียงส่วนเติมเต็มประโยคเท่านั้น เช่น The baby sleeps. (เด็กนอนหลับ) He ran a long distance. (เขาวิ่งได้ไกลมาก)


มี คํ า กริ ย าอยู่ ส ามตั ว ที่ มี รู ป คล้ า ยกั น และมั ก ทํ า ให้ เ กิ ด ความสั บ สนเมื่ อ นํ า ไปใช้ เนื่ อ งจากมี ความหมายต่างกันและไม่ใช่กริยาประเภทเดียวกัน ได้แก่ - lay (วาง : to put something down) : กริยาที่ต้องการกรรม lay (V1) laid (V2) laid (V3) laying เช่น He laid a hand on my arm. (เขาวางมือบนแขนของฉัน) - lie : (นอนอยู่ : to be or put yourself in a flat or horizontal position so that you are not standing or sitting) : กริยาที่ไม่ต้องการกรรม lie (V1) lay (V2) lain (V3) lying เช่น The cat is lying by the fire. (แมวกําลังนอนใกล้เตาผิง) - lie : (โกหก : to say or write something that you know is not true) : กริยาที่ไม่ ต้องการกรรม lie (V1) lied (V2) lied (V3) lying เช่น Don’t lie to me. (อย่าโกหกฉันนะ) 3. The car approached at an extremely high speed. (รถวิ่งเข้ามาด้วยความเร็วสูงมาก) a. a legally ถูกกฎหมาย b. a very มาก c. a normally ปกติ d. fast เร็ว คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ b. a very at a high speed เป็นสํานวน หมายถึง ความเร็วสูง very เป็นคํากริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยาย เพื่อบอกว่า “มาก” 4. You should _______ and use athletic equipment every day. (คุณควรขอยืมอุปกรณ์ กีฬาและใช้ทุกวัน) a. check out b. checking c. checked d. do check คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ a. check out check out เป็นคํากริยา มีหลายความหมาย ได้แก่ 1. จ่ายเงินและออกจากโรงแรม : to pay your bill and leave a hotel เช่น Guests should check out their rooms by noon. (แขกควรจ่ายเงินและออกจากโรงแรม ตอนเที่ยง)


2. ตรวจสอบให้ถูกต้องหรือดูสิ่งที่สนใจ : to find out if something is correct, true or acceptable or to look at or examine something that seems interesting or attractive เช่น Check out the prices at our new stores. (ไปดูราคาสินค้าที่ร้านใหม่ของเรากันเถอะ) 3. ขอยืม (to borrow something from an official place, for example : a book from a library) เช่น You should check out some interesting books from the library once a week. (คุณควรขอยืมหนังสือที่น่าสนใจจากห้องสมุดมาอ่านอาทิตย์ละครั้ง) 5. The sale of luxury items has dropped off recently. (ช่วงที่ผ่านมายอดขายของฟุ่มเฟือย ลดลง) a. decreased (ลดลง) b. increased (เพิ่มขึ้น) c. stayed the same (เท่าเดิม) d. been irregular (ผิดปกติ) คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ a. decreased (ลดลง) หลังจากที่ได้ลองทําแบบทดสอบ ตรวจคําตอบและอ่านคําอธิบายเพิ่มเติมแล้ว ท่านผู้อ่านคงจะ ได้รับความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ได้ทบทวนความรู้ความเข้าใจ ภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความในคอลัมน์ Test Tip จะเป็นประโยชน์ต่อข้าราชการกองทัพอากาศ ติดตามคอลัมน์นี้ได้ใน ฉบับหน้านะคะ สวัสดีค่ะ


บางแค

เสื้อผาหรือผาชิ้นโปรด หลังจากนําออกมา ใชงานแลว ตอไปเมื่อจะนําไปซัก-รีด สัญลักษณหรือ ปายที่ติดกํากับมาดวย จึงไมควรปลอยใหผานตา ไปเฉยๆ ฉบับนี้ไดนํารูปสัญลักษณการถนอมผา.... อย า งถู ก วิ ธี มาเพิ่ ม เติ ม ความรู ใ ห ท า นผู อ า น อี ก หลายแบบคะ

ซั ก ได ใ นน้ํ า ที่ มี อุ ณ หภู มิ ๓๐ องศา เซลเซียส (ซักเครื่อง ตามขอบงชี้ อุณหภูมิสูงสุด ๓๐ องศาเซลเซียส เชน สําหรับผาสี ใชความเร็วใน การซักนอย ปนแหงดวยความเร็วปกติ)

ซักดวยมือในน้ําอุนเทานั้น (ตองขยี้ผา เบาๆ บิดพอหมาด แลวสลัดผาใหตึงกอน คลี่ผาให เรียบในขณะที่ตาก และควรตากในที่รม หรือในที่มี ลมโกรกผานเทานั้น)

ให ต ากในแนวราบ (หลังจากซักแลว สลัดผาใหตึง จากนั้นปูผาตากบนตะแกรงตาก ผาแบบตาถี่ๆ) แขวนตากได (หลังจาก ซั ก แล ว สามารถแขวนผ า ตาก บนไมแขวนเสื้อได แตควรตาก ในที่รมและในบริเวณที่มีลมโกรกผาน) รี ด ผ า ด ว ย อุ ณ หภู มิ สู ง รี ด ด ว ย ความร อ นสู ง (Very Hot Iron) อุณหภูมิ ๒๐๐ องศาเซลเซี ย ส เหมาะสํ า หรั บ รี ด ผ า ฝ า ย ผาไหม ผาลินิน เปนตน สั ญ ลั ก ษณ ก ารถนอมผ า ที่ กํ า กั บ มากั บ เสื้อผา หรื อผา จะสามารถชว ยถนอมและช ว ยยืด อายุเสนใยผาใหคงสภาพไวไดนานขึ้น ที่สําคัญกอน จะนําไปซัก สงซัก หรือรีด อยาลืมตรวจสอบตาม กระเป า ต า งๆ ก อ นว า ...ไม มี สิ่ ง ของใดๆ หลงลื ม เอาไวดวยนะคะ .


ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ น่ารื่นรมย์ที่สุดของบรรดาตัวอ่อนของเชื้อโรคต่างๆ เนื่องจาก อากาศอบอ้าวของปลายฤดูร้อนบวกกับความชุ่มชื้นของต้นฤดูฝน และสิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ ยุงที่ชุกชุมมากกว่าปกติ ยุงเป็นพาหะนําโรคมากมาย อาทิ

นายหวงใย โรคไขเลือดออก โรคไข เ ลื อ ดออก เกิ ด จากเชื้ อ ไวรั ส เดงกี่ ผูปวยมีอาการไขสูงลอย ๒–๗ วัน ปวดเมื่อยกลามเนื้อ และขอ อาจมีจุดเลือดออกเล็กๆ ระหวางมีไขหรือ หลังไขลด ยุงลายที่เปนพาหะสําคัญ มี ๒ ชนิด คือ ยุงลายบาน และยุงลายสวน การรักษาหากผูปวยที่ ไมอาเจียน ใหดื่มน้ําหรือน้ําเกลือแรมากๆ วิธีสังเกต ว า ดื่ ม น้ํ า พอหรื อ ไม ให ดู ป ส สาวะ ควรมี สี ใ ส ถ า อาเจี ย นมาก ซึ ม เพลี ย มาก มี อ าการช็ อ คและมี อาการเลือดออก ตองรีบไปพบแพทยเพื่อรักษาได ทั น ท ว งที ให ย าแก ไ ข พ าราเซตามอล แต ห า มใช แอสไพริน เพราะจะทําใหระคายกระเพาะ มีโอกาส มีเลือดออกทางกระเพาะงาย และทําใหการทํางาน หาเกล็ดเลือดผิดปกติ

ยุงลาย โรคมาลาเรีย โรคมาลาเรีย หรือไขปา ไขจับสั่น เกิดจาก เชื้ อ พลาสโมเดี ย ม ซึ่ ง เป น สั ต ว เ ซลล เ ดี ย วพวก สปอรโรซัว อาการที่สําคัญคือ มีไขหนาวสั่น ปวดศีรษะ ในประเทศไทย เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม เชื้อชนิดนี้ มียุงกนปลองซึ่งเปนพาหะอาการของโรค หลังจาก


ไดรับเชื้อมาลาเรียประมาณ ๑–๒ สัปดาห ผูปวยจะ มีอาการนําคลายกับเปนหวัด คือ มีไข ปวดศีรษะ ปวดเมื่ อ ยตามตั ว อาจมี อ าการคลื่ น ไส อาเจี ย น เบื่ อ อาหารได ลั ก ษณะเฉพาะของโรคที่ เ รี ย กว า ไขจับสั่น คือ มีอาการหนาวสั่น ไขสูง และตามดวย เหงื่อออก โรคมาลาเรียเปนโรคที่รักษาใหหายขาดได ถาไดรับการวินิจฉัยที่ถูกตอง รวดเร็ว และไดรับการ รักษาดวยยาควินิน เพื่อยับยั้งการแบงตัวของปรสิต

เชื้อจะเขาอยูในกระแสเลือด แลวเพิ่มจํานวนที่สมอง การดู แ ลผู ป ว ยรั ก ษาตามอาการ เนื่ อ งจากไม มี ยารักษา

ยุงก้นปล่อง ยุงรําคาญ

โรคไขสมองอักเสบ เกิดจากเชื้อไวรัสเจอี หลังจากถูกยุงมีเชื้อ กัด ผูปวยจะมีอาการไขสูง ชัก คอแข็ง สมองอักเสบ คลื่น ไสอาเจียนปวดเมื่อยกลามเนื้อตามรางกาย อาการสั่ น กระตุ ก บางส ว นหรื อ อาจชั ก เกร็ ง พู ด ลํ า บาก พู ด ไม ชั ด ตาพร า กลั ว แสง เป น อั ม พาต ผู ป ว ยมั ก จะเสี ย ชี วิ ต หรื อ พิ ก ารทางร า งกาย สติปญญาเสื่อม ในประเทศไทยมียุงเปนพาหะนํา โรค โดยเฉพาะยุงรําคาญ ถายทอดเชื้อไวรัสจาก ตอมน้ําลายของยุงเขากระแสเลือดของคนหรือสัตว

โรคฟลาเรียหรือโรคเทาชาง เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม มียงุ เปนพาหะ ผูติดพยาธิโรคเทาชางสวนมากจะไมปรากฏอาการ แตมีพยาธิอยูในระบบทางเดินน้ําเหลือง เนื่องจาก ผูปวยสวนมากจะไมแสดงอาการของโรค จึงทําให ไม ไ ด รับ การรัก ษาตั้ ง แต ร ะยะแรก จนกระทั่ ง เกิ ด พยาธิสภาพเรื้อรังและกอใหเกิดความพิการอยาง ถาวร อาการของโรค ในระยะแรกผูปวยอาจมีไข ซึ่ง เกิ ด จากการอั ก เสบของต อ มและท อ น้ํ า เหลื อ ง บริเวณรักแร ขาหนีบ หรืออัณฑะ การปองกันและ ควบคุม เลี่ยงไมใหยุงกัด โดยนอนในมุงหรือหองมุง ลวด ทายากันยุง ควบคุมและกําจัดยุงพาหะ ขอบคุณ นิตยสาร Hospital Health Care


น.อ.อภิชัย ศักดิ์สุภา (นนอ.๒๒)

ตามที่ผูเขียนไดเขียนบทความในเรื่องวัตถุ มงคลของ ยศ.ทอ. ไปแลวครั้งหนึ่งนั้น ในชวงเวลาที่ ผานมา ยศ.ทอ. ไดมีการจัดสรางพระพุทธรูป และ วัตถุมงคลขึ้นมาอีกรุนหนึ่ง ผูเขียนจึงขอเขียนสรุป ใหเห็นในภาพรวมอีกครั้งดังนี้ครับ พระพุทธรูปประจําหนวย คือ “พระพุทธปญโญภาสอากาศมงคล” เปนพระพุทธรูปสมัย รัตนโกสินทร ปางมารวิชัย จีวรลายดอก หนาตัก กวาง ๒๔ นิ้ว ความสูงจากหนาตักถึงยอดพระเกศ ๓๖ นิ้ว คาดวาสรางในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๓ การครองจีวรลายดอกนี้ เปนเอกลักษณของศิลปสมัยรัตนโกสินทรและเปนที่ นิยมในสมัยนั้น แรงบันดาลใจที่ทําใหชางสรางสรรค พระพุทธรูปครองจีวรลายดอกนั้น อาจเปนเพราะ ความนิยมในสินคาที่นําเขาประเทศประเภทสิ่งทอ เช น ผ า ไหม ผ า แพรลายดอก ลายฉลุ ลู ก ไม ทั้ ง ประเทศจี น อิ น เดีย เปอร เ ซีย และฝรั่ งเศส ความ นิ ย มในสิ น ค า ประเภทนี้ อาจเป น บ อ เกิ ด ของ ประเพณีการถวายจีวรชนิดมี ลายประกอบหรือมี ลายดอกเพื่อเปนพุทธบูชา

ที่มาของ พระพุทธรูป “พระพุทธปญโญภาส อากาศมงคล” นั้นมีอยูวา นายดาว โพธิประเสริฐ ไดนําพระพุทธรูปองคนี้มาใหบูชาเพื่อนําปจจัยไป บํารุงเสนาสนะ พลอากาศโท ไพโรจน พุกจินดา เจากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ (ในสมัยนั้น) เห็นวา พระพุ ท ธรู ป องค นี้ เ ปน พระพุ ท ธรู ป เก า แกมี ค วาม สวยงามเปนเลิศ จึงตัดสินใจบูชาไวเอง ขาราชการ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศหลายนายไดมาเห็นเขา จึงอยากไดเอาไวสักการะบูชาเปนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของ ขาราชการ ลูกจางกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ จึงได


บนต อ พระพุ ท ธรู ป องค นี้ ใ ห ช ว ยดลใจ เจ า กรม ยุทธศึกษาทหารอากาศ เปลี่ยนใจยกพระพุทธรูป องคนี้ ใหเปนที่สักการะบูชาของขาราชการ ลูกจาง กรมยุ ทธศึ กษาทหารอากาศ ซึ่ งปรากฏว าวั นรุ งขึ้ น เจากรมยุทธศึกษาทหารอากาศเปลี่ยนใจยกพระพุทธรูป องคนี้ ใหกับกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ซึ่งตอมา สมเด็ จ พระสั ง ฆราชสกลมหาสั ง ฆปริ ณ ายกได พระราชทานนามพระพุทธรูปองคนี้วา “พระพุทธปญโญภาสอากาศมงคล” (พระพุทธเจา ผูประทาน แสงสวางคือปญญาเปนศิริมงคลที่นภากาศ) วัตถุ มงคล กรมยุท ธศึก ษาทหารอากาศ ไดจัดสรางวัตถุมงคลมาแลวรวม ๒ รุน รุ น ที่ ๑ “พระพุ ท ธป ญ โญภาสอากาศ มงคล” สรางในสมัยที่พลอากาศโท ไพโรจน พุกจินดา ดํารงตําแหนงเจากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ (ยศ ในสมั ย นั้ น ) กระทํ า พิ ธี พุ ท ธาภิ เ ษกเมื่ อ วั น ศุ ก ร ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ ณ พระอุโบสถวัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม โดยมีหลวงปูคําพันธเปนประธานในพิธีฯ ตลอดคืน สวนการสรางนั้นไดสรางเปน ๒ แบบคือ

๑. แบบพระพุ ท ธรู ป บู ช า “พระพุ ท ธปญโญภาสอากาศมงคล” ขนาดหนาตัก ๕ นิ้ว โดยจํ าลอง มาจากองค จริ ง สรางเป น ๒ ชนิด ได แ ก ชนิดปดทองและชนิดรมดํามันปู ๒. แบบเหรียญ “พระพุทธปญโญภาส อากาศมงคล” ไดสรางเปน ๔ ชนิดคือ ทองคํา เงิน นวโลหะ และทองแดง แตละชนิดมี ๓ พิมพ คือ - พิมพปรกโพธิ์ ลักษณะของเหรียญ เปนรูปสี่เหลี่ยม ดานหนาจะเห็นองคพระและใบโพธิ์ อยู ภ ายในซุ ม โค ง มี อ งค พ ระอยู ต รงกลาง เหนื อ องค พ ระมี ใ บโพธิ์ จํ า นวน ๙ ใบ ส ว นด า นหลั ง มี ตัวหนังสือ “หลวงปูคําพันธ พ.ศ.๒๕๔๐” ขางลาง เปนชอชัยพฤกษ

- พิ ม พ เ จ า สั ว ลั ก ษณะของเหรี ย ญเป น รูปซุมโคงปลายแหลม ดานหนาจะมีองคพระอยูตรง กลาง สวนดานหลังมีตัวหนังสือ “หลวงปูคําพันธ พ.ศ. ๒๕๔๐” ขางลางเปนชอชัยพฤกษ


- พิ ม พ น างพญา ลั ก ษณะของเหรี ย ญ เปนรูปสามเหลี่ยม ดานหนาจะมีองคพระอยูตรงกลาง ส ว นด า นหลั ง มี ตั ว หนั ง สื อ “หลวงปู คํ า พั น ธ พ.ศ. ๒๕๔๐” ขางลางเปนชอชัยพฤกษ

รุนที่ ๒ “พระพุทธสรณังกร” สรางในสมัย ที่พลอากาศโท ดิเรก พรหมประยูร ดํารงตําแหนง เจากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยมีพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันจันทรที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ พุทธสถาน กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ การสรางในครั้งนี้ได จัดสรางเปน ๔ แบบดวยกันคือ ๑. แบบพระพุทธรูปบูชาประธาน ปดทอง “พระพุทธสรณังกร” ขนาดหนาตัก ๓๒ นิ้ว จํานวน ๑ องค ประดิษฐาน ณ พุทธสถานกรมยุทธศึกษา ทหารอากาศ เพื่ อ เป น ที่ สั ก การะบู ช า และเป น พระประธานในการประกอบศาสนกิ จ ศาสนพิ ธี ตางๆ ของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตลอดจน การปฏิบัติธรรมบําเพ็ญบุญกุศลของพุทธศาสนิกชน ทั่วไป

๒. แบบพระพุทธรูปบูชาจําลอง ปดทอง “พระพุทธสรณังกร” ขนาดหนาตัก ๓ นิ้ว จํานวน ๙๙ องค โดยที่ฐานดานหลังมียันต ๓ แถว ที่เขียน โดยพระอาจารยออด วัดสายไหม กทม. และขางลาง ของยันตมีตัวหนังสือ “พ.ศ.๒๕๕๒” นอกจากนั้น


ด า นหลั ง ข า งซ า ยยั ง มี โ ค ด ยิ ง ด ว ยเลเซอร ต ราป ก ทอ. และข า งขวามี โ ค ด หมายเลขยิ ง ด ว ยเลเซอร กํากับไวทุกองค

๔. แบบเหรียญพระพุทธสรณังกร เนื้อ ทองแดงรมดํ า ลั ก ษณะของเหรี ย ญเป น รู ป ซุ ม ไข ป ลาจํ า นวน ๒๙ เม็ ด ข า งล า งของด า นหน า มี ตัวหนังสือ “พระพุทธสรณังกร” สวนดานหลังเปน ยันต ๓ แถว

๓. แบบพระกริ่งพระพุทธสรณังกรจําลอง เนื้อทองเหลืองรมดํามันปู จํานวน ๙๙๙ องค ที่กน พระกริ่งอุดดวยแผนตัวนะ ขางซายของตัวนะมีโคด ยิ ง ด ว ยเลเซอร ต ราป ก ทอ. ส ว นข า งขวาก็ มี โ ค ด หมายเลขยิงดวยเลเซอรกํากับไวทุกองค

(อานตอฉบับหนา)


น.อ.เกษม พงษพันธ วันพระพุทธ(วิสาขบูชา) และวันพระธรรม (มาฆบูชา) ไดผานมาตามปกติ โดยวันพระธรรม มากอน วันพระพุทธตามมา บัดนี้ถึงวันพระสงฆ คือ วันอาสาฬหบูชา ปนี้ตรงกับวันศุกรที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ สวนวันถัดไปเปนวันเขาปุริมพรรษา ไดแกพรรษาแรกหรือพรรษาตน สวนพรรษาหลัง เขาในกลางเดือนถัดไป ตรงกับแรม ๑ ค่ํา เดือน ๙ ป นี้ ต รงกั บ วั น จั น ทร ที่ ๑๕ สิ ง หาคม แต พ ระสงฆ สวนมากนิยมเขาพรรษาแรก สวนพรรษาหลัง ผูเขียน เคยเห็นมีพระบางรูปเขาบางเหมือนกัน คือทานจําเปน ตองไปปฏิบัติศาสนกิจในตางประเทศชวงคาบเกี่ยว กั บ การเข า พรรษาแรก กลั บ มาไม ทั น เข า พรรษา จึงจําเปนตองเขาพรรษาหลังแตเพียงรูปเดียว ซึ่ง การปฏิบัติตองแจงใหพระสงฆในวัดเดียวกันทราบ อยางเปนทางการดวย วันอาสาฬหบูชา เปนวันคลายวันที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจาทรงแสดงปฐมเทศนา คือ การเผยแผศาสนาครั้งแรก แตพระปญจวัคคีย คือ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ดวยหัวขอธรรมชื่อวา ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ทรงชี้ ถึงโทษของการทรมานตน การทําตนใหตองลําบาก ตา งๆ นานา ยิ่ ง ไม ใช แ นวทางการบรรลุ ม รรคผล

เรียกวา อัตตะกิลมะถานุโยค (ที่ถูกตองเขียน อัตตกิลมถานุโยค แตเคยไดยินคนอานผิด จึงเขียนอยางนี้) แล ว ทรงตรั ส โทษของการเข า ไปพั ว พั น หมกมุ น วุนวายในเรื่องของกามหรือกามสุข ที่เปนความสุข ไมจีรังยั่งยืน เรียกภาษาพระวา กามะสุขัลลิกานุโยค (กามสุขัลลิกานุโยค)

แตทางที่พระพุทธองคทรงยกยอง เชิญชวน ดําเนินชีวิต คือ ทางสายกลาง เรียกวา มัชฌิมา ปฏิปทา ไดแก อริยมรรค มีองค ๘ ไดแก สัมมาทิฐิ ความเห็ น ชอบ, สั ม มาสั ง กั ป ปะ ดํ า ริ ช อบ,


สัมมาวาจา เจรจาชอบ, สัมมากัมมันตะ ทําการงาน ชอบ, สั มมาอาชี วะ เลี้ ยงชี พชอบ, สั มมาวายามะ พยายามชอบ, สัมมาสติ ระลึกชอบ และ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ เปนทางสงบ เปนทางเกิดอภิญญา เปนทางเกิดความรูพรอม และที่สําคัญคือเปนทาง พระนิพพาน ตอจากนั้น ทรงแสดงอริ ยสั จ ๔ คื อ ทุ ก ข ควรรอบรู , สมุ ทั ย (เหตุ เ กิ ด ทุ ก ข ) ควรละ, นิ โ รธ (ความดับทุกข) ควรรูแจง มรรค(หนทางปฏิบัติให ถึงความดับทุกข) ควรเจริญ คือใชภาวนาในจิตใจ เปนประจํา ในตอนท า ย พระองค ท รงอธิ บ ายเป น อเนกประการ แล ว ทรงสรุ ป ว า “สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง มี ค วามเกิ ด ขึ้ น เป น ธรรมดา สิ่ ง นั้ น ทั้ ง ปวง ยอมมีความดับเปนธรรมดา” ทานผูอานที่เคารพ เหตุการณทั้งหมดนั้น เกิดขึ้น ณ ปาอิสิปตนะมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ประเทศอิ นเดีย ในวัน เพ็ ญ(ขึ้ น ๑๕ ค่ํ า ) เดือน ๘ ภายหลั ง การตรั ส รู ๖๐ วั น ถ า จะพิ จ ารณาด ว ย สติปญญาอันจํากัดนี้ จะเห็นไดวา พระองคทรงวาง แนวทางการเผยแผธรรมอยางเปนระบบ เปนขั้น เปนตอน จึงไดผลทุกครั้งที่ทรงปฏิบัติ ทานผูอานที่เคารพ ในระหวางที่พระพุทธองค ทรงแสดงธรรมอยูนั้น เหลาภุมเทวดา ไดแก เทวดา ประจํ าพื้ นโลกต างแซ ซ องสาธุ การกั น อึ งมี่ พร อม สงขาวสารไปถึงทวยเทพเทวาทั่วสารทิศทุกวิมาน ชั้ น ฟ า เริ่ ม ตั้ ง แต ชั้ น จาตุ ม มหาราชิ ก า ไปสู ชั้ น ดาวดึงส ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิ ต วสวั ต ตี ตลอดไปถึ ง ชั้ น พรหมทุ ก ชั้ น (พรหมมี

หลายชั้น) ตางแซซองสดุดี อนุโมทนาสาธุการกัน สนั่ น หวั่ น ไหว ยิ่ง กวา ตอนที่พ ระองคตรัสรูเ สี ย อี ก เพราะเป น เรื่ อ งสํ า คั ญ มากที่ ท รงได พ ยานในการ ตรัสรู คือพระอัญญาโกณทัญญะ เปนปฐมสาวก พระสงฆองคแรก เปนสังฆรัตนะ เปนผลใหพระองค เปนองคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจาโดยสมบูรณ เพราะหากไมมีพยาน ไมมีผูรับรูรับทราบ ไมมีผูเขาถึง การตรั ส รู ข องพระองค ตลอดถึ ง ความเป น พระ สัพพัญูพุทธเจาก็คงไมมีผูรับรอง แมอีก ๔ องค ซึ่ ง รู ธ รรมได ใ นภายหลั ง จะขอบวชเช น เดี ย วกั บ พระอัญญาโกณทัญญะ และสําเร็จเปนพระอรหันต ทั้ ง หมดก็ ต าม ท า นทั้ ง หมดล ว นเป น สาวกที่ เ ป น เสาหลักมีความสําคัญมาก โดยเฉพาะพระอัสสชิ ทานมีความสําคัญระดับอาจารยของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ผูเลิศทางปญญาของพระพุทธเจา ทีเดียว ที่สําคัญเทวดาทั้งหมดนั้น ยังดูแลพระพุทธศาสนา อยูจนถึงปจจุบันนี้เปนสวนมาก ทานผูอานที่เคารพ ความสําคัญอีกประการ หนึ่งของวันอาสาฬหบูชา คือ เปนวันที่พระรัตนตรัย ครบ ๓ ประการบริบูรณ ซึ่งคุณของพระรัตนตรัยนั้น มีมากมายสุดจะกลาวบรรยายใหครบถวน แตทาน ผูรูทั้งหลายไดสรุปตรงกันไวคือ คุณของพระพุทธ ชวยบําบัดขจัดทุ กข คุณของพระธรรมชวยบํ าบัด ขจั ด ภั ย คุ ณ ของพระสงฆ ช ว ยบํ า บั ด ขจั ด โรค โดยเฉพาะเกี่ ย วกั บ โรคภั ย ไข เ จ็ บ นั้ น มี พ ระพุ ท ธ ดํ า รั ส ตอนหนึ่ ง ว า “ผู ที่ ป ระสงค จ ะบํ า รุ ง หรื อ อุปฏฐาก เราตถาคตขอใหอุปฏฐากบํารุงรักษา ภิกษุผูอาพาธเถิด” สําหรับผูที่ตองการมีสุขภาพ พลานามัยดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน มีตัวอยาง


ในพระธรรมบทที่พระภิกษุสามเณรทานศึกษาเปน มหาเปรียญบอกไวชัดเจนวา ใหสรางหรือรวมบริจาค สรางหองสุขาเปนสาธารณะใหแกวัดหรือโรงเรียน เป น ต น จะมี อ านิ ส งส ม าก รวมไปถึ ง ผู ตั้ ง ใจและ เต็มใจดูแลรักษาทําความสะอาดดวย เมื่อถึงวันสําคัญนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ต า งทํา หนา ที่ ข องชาวพุ ท ธ คือ บริ จาคทํา บุญทํา กุศล รัก ษาศี ล คือ รักษากาย วาจา ใหเ รียบร อย รวมถึงเจริญภาวนาสวดมนตไหวพระสักการะเวียน เทียน ตามกําลังศรัทธา และตามอัธยาศัย ทําใจให สะอาดผองใส ภาวนาพุ ทโธ พุ ท โธ เข าไว เสมอๆ หรือจะปฏิบัติธรรมกรรมฐาน แผเมตตา อโหสิกรรม แก ม นุ ษ ย แ ละสั ต ว เพื่ อ นร ว มชาติ ญาติ ร ว มพระ ศาสนา ถ า เป น ไปได จ ะอโหสิ ก รรมแก ค นทั้ ง โลก สัตวทั่วจักรวาล ก็จะมีแตสันติสุข ไมมีเวรไมมีภัย ที่ สําคัญเปนการทําบุญที่ไมตองใชจตุปจจัยเงินทอง อะไรเลย อยูที่บานของเราไมตองไปไหนก็ไดบุญ เต็มๆ ถารูจักแสวงบุญใสตัวและหัวใจ แนนอนที่สุด พระพุทธเจาตรัสไวชัดมาก

“การสั่งสมบุญนําสุขมาให” สาธุ สาธุ สาธุ เอวังก็มีดวยประการฉะนี้


รมว.กห., ปลัด กห., ผบ.ทหารสูงสุด, ผบ.ทบ., ผบ.ทร., ผบ.ตร. และ ผบ.ทอ. ร‡วมแถลงข‡าวเปิดโครงการจัดทำบทเพลงเฉลิม พระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจˆาอยู‡หัว “ครองแผ‡นดินโดยธรรม” ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา ๗ รอบ

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ‹ ผบ.ทอ. รับมอบเงินทุนการศึกษาสำหรับ บุตรขˆาราชการทหารอากาศ จากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐.- บาท ณ หˆองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ.

พล.อ.อ.สมนึก สวัสดิ์ถึก ประธานกรรมการกิจการพลังงานทดแทน ทอ. พรˆอมคณะฯ ตรวจเยี่ยมและติดตามความกˆาวหนˆาของการติดตั้งและ ใชˆงาน “กังหันลม” ตามโครงการพัฒนาพลังงานทดแทนของ ทอ. ดˆานพลังงานลม พรˆอมใหˆสัมภาษณ‹กับผูˆสื่อข‡าว สทท.๑๑ จ.ภูเก็ต

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ‹ ผบ.ทอ. เดินทางเยือนกองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกาอย‡างเป็นทางการ ตามคำเชิญของ General Norton A. Schwartz ผบ.ทอ.อม.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เสธ.ทอ. และ LT.GEN. DATO ROSLAN BIN SAAD รอง ผบ.ทอ.มซ. ร‡วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสม AIR THAMAL 21/2011 ณ หˆอง BLUE SKY อาคารธูปะเตมีย‹ บน.๑

พล.อ.อ.วินัย เปล‡งวิทยา ผบ.คปอ. เป็นประธานในพิธีเปิด การทดสอบการใชˆกำลังของ ทอ. ประจำปี ๒๕๕๔ ณ คปอ.


พล.อ.ท.วุฒิชัย คชาชีวะ รอง เสธ.ทอ. ในฐานะ รอง ผอ.ศบภ.ทอ. และ บน.๑ ออกเยี่ยมเยือน ปลอบขวัญ ใหˆกำลังใจแก‡พี่นˆอง ประชาชนที่ประสบความเดือดรˆอนในพื้นที่ จ.สุรินทร‹

พล.อ.ท.วุฒิชัย คชาชีวะ รอง เสธ.ทอ. และคณะฯ ช‡วยเหลือ ฟื้นฟูเพื่อบรรเทาความเดือดรˆอนใหˆแก‡ประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ จ.สุราษฎร‹ธานี โดยมี น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์ รอง ผบ.บน.๗ ใหˆการตˆอนรับ

พล.อ.ท.ธัชชัย ถนัดใชˆปืน ผช.เสธ.ทอ.ฝกพ. เป็นประธานในพิธี เปิดการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารของ ทอ. ประจำปี ๒๕๕๔ เป็น นายทหารประทวนกองหนุนเหล‡าทหารอากาศโยธิน และเหล‡า ทหารสารวัตรทุกภูมิลำเนา ณ หอประชุมเดชะตุงคะ บน.๔๑

พล.อ.ท.ธงชัย แฉลˆมเขตร ผช.เสธ.ทอ.ฝกร. ในฐานะประธานคณะ เจˆาหนˆาที่ทำงานดˆานกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ‹โครงการปรับวาง ที่ตั้งหน‡วยงาน ทอ. นำหน‡วยมิตรประชา ทอ. มอบสิ่งของและใหˆบริการ ทางการแพทย‹ แก‡พี่นˆองประชาชนใน อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

พล.อ.ท.โอ ชาง ฮวาน ผบ.รร.นอ.กล.ต. รับการเยี่ยมคำนับจาก น.อ.ศิริพงษ‹ สุภาพร ผชท.ทอ.ไทย/โซล และหารือกรณี นนอ. ชั้นปีที่ ๔ จะฝึกเดินอากาศและเยี่ยมชม รร.นอ.กล.ต. สาธารณรัฐเกาหลี

พล.อ.ท.อานนท‹ วิรัชกุล จก.ชอ. เป็นประธานในพิธีเนื่องในวัน คลˆายวันสถาปนา ชอ. และการแข‡งขันกีฬา นขต.ชอ. เพื่อเชื่อม ความสามัคคี


พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร จก.ยศ.ทอ. เป็นประธานในพิธี เปิดการศึกษาหลักสูตรนายทหารชั้นผูˆบังคับหมวด รุ‡นที่ ๖๗ ณ หˆองบรรยาย รร.นม.ยศ.ทอ.

พล.อ.ท.ระพีพัฒน‹ หลาบเลิศบุญ ผบ.อย. เป็นประธานในพิธี มอบทุนการศึกษา (ทุนสหกรณ‹ออมทรัพย‹ อย.) ใหˆแก‡บุตร ขˆาราชการ ลูกจˆาง และพนักงานราชการ อย. ณ หˆองประชุม อย.(๒)

พล.อ.ท.สฤษดิ์พงษ‹ โกมุทานนท‹ ผบ.รร.นอ. เป็นประธานในพิธี ไหวˆครู ของ นนอ. ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ โดยมี นนอ.ชั้นปีที่ ๑-๔ เขˆาร‡วมพิธี ณ อาคารรณนภากาศ รร.นอ.

พล.อ.ท.อมร แสงสุพรรณ จก.พอ. เป็นประธานในพิธีปฐมนิเทศ แพทย‹ประจำบˆาน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ โดยมี พล.อ.ต.ชูพันธ‹ ชาญสมร ผอ.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. คณะผูˆบริหาร รพ.ฯ และอาจารย‹ แพทย‹ เขˆาร‡วมงาน ณ หˆองประชุมบุรพรัตน‹ ชั้น ๓ อาคาร “คุˆมเกลˆาฯ”

พล.อ.ท.เมธา สังขวิจิตร จก.สพ.ทอ. เป็นประธานในพิธีเปิด การศึกษาหลักสูตรนายทหารทำลายวัตถุระเบิด รุ‡นที่ ๘ ณ หอประชุม สพ.ทอ.

พล.อ.ท.สฤษดิ์พงษ‹ โกมุทานนท‹ ผบ.รร.นอ. เป็นประธานในพิธี มอบกระบี่สั้น พรˆอมทั้งใหƒโอวาทแก‡ นนอ.ชั้นปีที่ ๑ รุ‡นที่ ๕๙ จำนวน ๗๑ คน ในโอกาสนี้มี ขˆาราชการ อาจารย‹ ผูˆปกครอง เขˆาร‡วมพิธี ณ ลานอเนกประสงค‹ รร.นอ.


พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผบ.รร.การบิน นำ ศบ.รุ‡น น.๑๒๙ และ ขˆาราชการ รร.การบิน ปฏิบัติธรรม ณ วัดดอนทอง ต.ดอนข‡อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

พล.อ.ต.ชูชีพ แผˆวสมบุญ จก.กร.ทอ. ในฐานะประธานคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ‹กองทัพอากาศ (กปช.) และคณะฯ ตรวจเยี่ยมสำนัก ประชาสัมพันธ‹ เขต ๔ จ.พิษณุโลก โดยมี นายประดิษฐ‹ รากะรินทร‹ ผอ.สวท. จ.พิษณุโลก ใหˆการตˆอนรับ

พล.อ.ต.นิวัต เนื้อนุ‡ม ผอ.สนภ.ทอ. เป็นประธานในพิธีเปิดการ ศึกษาหลักสูตรนายทหารนิรภัยการบิน รุ‡นที่ ๕๔ ประจำปี ๕๔ ณ หˆองประชุมรณนภากาศ (สนภ.ทอ. ชั้น ๔)

พล.อ.ต.บัญชา สัทธาพงศ‹ ผอ.ศวพท.วท.กห. และคณะฯ นำเครื่องมือเฝ้าตรวจพื้นที่ระยะไกล (Remote Area Monitoring : RAM) มาแนะนำและสาธิตการใชˆงาน โดยมี น.อ.พิเชฐ เกิดศิริ รอง ผบ.บน.๒ ใหˆการตˆอนรับ ณ บริเวณ บก.บน.๒

พล.อ.ต.ณรงค‹ เหล‡าธีระเชาวน‹ จก.กง.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการการเงินของ ชอ. โดยมี พล.อ.ต.ธรรมนิตย‹ สิงห‹คะสะ รอง จก.ชอ. ใหˆการตˆอนรับ ณ หˆองประชุม ชอ.๑

พล.อ.ต.ธีระภาพ เสนะวงษ‹ ผอ.สวบ.ทอ. รับพระราชทาน เกียรติบัตรโรงพยาบาลส‡งเสริมสุขภาพ (HEALTH PROMOTING HOSPITAL) ในการประชุ ม เวที โ รงพยาบาลส‡ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ระดับชาติ ครั้งที่ ๘ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด‹ คอนเวนชั่น


พล.อ.ต.สมพล พูนทวีธรรม จก.จร.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม กิ จ การทั ่ ว ไปของ ขส.ทอ. ประจำปี ง บประมาณ ๕๔ โดยมี พล.อ.ต.ศิริชัย ภัทรสุวรรณ จก.ขส.ทอ. ใหˆการตˆอนรับ ณ หˆองประชุม ขส.ทอ.

พล.อ.ต.นุวัฒน‹ เกียรติพันธ‹ ผบ.ดม. เป็นประธานในพิธีเปิด การศึกษาหลักสูตรทหารสารวัตรสำหรับนายทหารประทวน รุ‡นที่ ๒๙ ณ หˆองประชุมรˆอยจราจร พัน สห.ทอ. กรม สห.ทอ.สน.ผบ.ดม.

พล.อ.ต.เจษฎา วิจารณ‹ ผอ.สพร.ทอ. นำคณะขˆาราชการ สพร.ทอ. ร‡วมทำบุญวันคลˆายวันสถาปนา สพร.ทอ. ครบ ๒ ปี ณ วัดลาดสนุ‡น

พล.อ.ต.ชนนนาถ เทพลิบ ผอ.ศกอ. ใหˆการตˆอนรับ COL FELIX GONSAVEZ ผบ.ศกอ.ทอ.มซ. (RMAF Command AWC) และคณะฯ ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมชม ศกอ. ณ หˆองรับรอง ศกอ.

พล.อ.ต.นุวัฒน‹ เกียรติพันธ‹ ผบ.ดม. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการเหล‡า สห. สายตะวันออก

Mrs.Marybeth Bash ภริยารอง ผบ.ทอ.สหรัฐฯ ภาคแปซิฟิก เยี่ยมชม สถานรับเลี้ยงเด็ก และ ร.ร.อ.ฤ.ว. โดยมี พล.อ.ต.เผด็จ วงษ‹ปิ่นแกˆว รอง จก.ยศ.ทอ. และผูˆบริหาร ร.ร. ใหˆการตˆอนรับ


พล.อ.ต.อานนท‹ จารยะพันธุ‹ รอง ผบ.อย. เป็นประธานในพิธี ประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถนักเหินเวหา ทอ. เป็น กิตติมศักดิ์ ใหˆแก‡ คณะนายทหารและขˆาราชการชั้นผูˆใหญ‡หลักสูตร วปอ.รุ‡นที่ ๕๑ ในโอกาสเยี่ยมชมกิจการหน‡วย ณ หˆองประชุมเจริญจรัมพร

พล.อ.ต.อานนท‹ จารยะพันธุ‹ รอง ผบ.อย. เป็นประธานคณะ กรรมการตรวจสอบความพรˆอมรบและทดสอบแผนปƒองกันที่ตั้ง หน‡วย ทอ. (ในสนาม) โดยมี น.ท.กบี่ธุช ภักดีวิจิตร ผบ.สร. เขาเขียว ใหˆการตˆอนรับ ณ สร.เขาเขียว จ.นครราชสีมา

พล.อ.ต.วราวุธ คันธา รอง จก.พอ./ประธาน คณอก.ดˆานการ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ศตส.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม ศูนย‹ฟื้นฟูสมรรถภาพผูˆติดยาเสพติด บน.๒๓ โดยมี น.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย‹ ผบ.บน.๒๓ ใหˆการตˆอนรับ

พล.อ.ต.ชนัท รัตนอุบล ผบ.วทอ.ยศ.ทอ. พรˆอมคณะอาจารย‹ และนักศึกษา วทอ. ร‡วมรับฟังบรรยายสรุปภารกิจ กกล.บูรพา รวมทั้งไดˆเยี่ยมชม ฝูงบิน ๒๐๖ โดยมี น.อ.ชิตชัย ไกรคง ผบ. ฝูงบิน ๒๐๖ ใหˆการตˆอนรับ

พล.อ.ต.วีระศักดิ์ สิตานนท‹ รอง ผอ.ศวอ.ทอ.(๑) และคณะฯ ตรวจเยี่ยม การฝึกมาตรฐาน ความชำนาญทางดˆาน นชค. ของ นทน.หลักสูตร การปƒองกันนิวเคลียร‹ ชีวะ เคมี และการเผชิญเหตุจากอาวุธทำลายลˆางสูง รุ‡นที่ ๓ ณ บน.๒ จ.ลพบุรี

พล.อ.ต.ชูพันธ‹ ชาญสมร ผอ.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. เป็นประธาน เปิดโครงการ “ค‡ายปิดเทอม ๕๔” สำหรับบุตรบุคลากร รพ.ฯ อายุ ๗-๑๒ ปี จำนวน ๔๐ คน ณ ชั้น ๕ อาคารทองใหญ‡


น.อ.พลินทร‹ ทิมบรรเจิด รอง จก.พธ.ทอ. พรˆอม คณก.กิจกรรม ๕ ส พธ.ทอ. เยี่ยมชมกิจกรรมการดำเนินงานกิจกรรม ๕ ส ของ บ.ซีพี และ บ.อูซูอิ ประเทศไทย จ.ชลบุรี

น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ องค‹ที่ ๕ มาที่หˆอง เอ็มซีซี ฮอลล‹ เดอะมอลล‹ นครราชสีมา ในงาน “วิสาขบูชา พุทธบารมี” ประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศล

น.อ.ทศวรรณ รั ต นแกˆ ว กาญจน‹ เป็ น ประธานในพิ ธ ี ม อบ ประกาศนียบัตรนักบินพรˆอบรบ บ.ล.๒ ก รุ‡นที่ ๒๔, ประกาศ เกียรติคุณ ๒,๐๐๐ ชม. และพิธีเปิดการศึกษาอบรมการฝึกบิน เปลี่ยนแบบพรˆอบรบกับ บ.ล.๒ ก ณ ฝูง.๔๖๑ บน.๔๖

น.อ.บรรจง คลายนสูตร‹ รอง จก.ชย.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการช‡างโยธา บน.๕๖ โดยมี น.อ.สุจินดา สุมามาลย‹ ผบ.บน.๕๖ ใหˆการตˆอนรับ ณ หˆองบรรยายสรุป ฝูง.๕๖๑ บน.๕๖

น.อ.สุจินดา สุมามาลย‹ ผบ.บน.๕๖ เป็นประธานในพิธีแนะนำ ผูˆบังคับบัญชา ระดับกองบิน ใหˆแก‡ทหารกองประจำการรุ‡นปี ๒๕๕๔ ผลัดที่ ๑ ณ หอประชุม บน.๕๖

น.อ.อาจณรงค‹ ตันสุวรรณรัตน‹ ผบ.บน.๕ พรˆอมดˆวย ผบช. นำขˆาราชการ ลูกจˆาง และพนักงานราชการ ร‡วมกิจกรรมในโครงการขี่จักรยานประหยัด พลังงานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจˆาอยู‡หัว ทรงเจริญพระชนม พรรษา ๘๔ พรรษา ๘๔ กม. ณ บน.๕ จ.ประจวบคีรีขันธ‹


น.อ.เฉลิมวงษ‹ กีรานนท‹ ผบ.บน.๒ เป็นประธานในพิธีเปิดการ อบรมโครงการพัฒนาขˆาราชการ บน.๒ อย‡างยั่งยืน สำหรับ ขˆาราชการ ลูกจˆาง พนักงานราชการ ที่บรรจุใหม‡ ณ อาคาร อเนกประสงค‹มณีศิลป†

น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์ รอง ผบ.บน.๗ เป็นประธานในพิธีเปิดการบรรยาย สรุปโครงการจัดซื้อเครื่องบินและสมรรถนะของเครื่องบิน Gripen 39 C/D และ Saab 340 AEW/B โดยมี น.ท.จักรกฤษณ‹ ธรรมวิชัย ผบ.ฝูง.๗๐๑ บน.๗ เป็นผูˆบรรยายฯ ณ หอประชุมธูปะเตมีย‹ บน.๗

น.อ.เสกสรร คันธา รอง ผบ.บน.๔(๑) นำขˆาราชการร‡วมพิธี วันฉัตรมงคล ณ ศาลาประชาคม จ.นครสวรรค‹

น.อ.ทศวรรณ รัตนแกˆวกาญจน‹ ผบ.บน.๔๖ รับถˆวยพระราชทาน รางวัลชนะเลิศพระบาทสมเด็จพระเจˆาอยู‡หัว ในการแข‡งขันเรือยาว สงกรานต‹ สรงน้ำพระมหาธาตุ พระพุทธชินราชพิษณุโลก ประจำปี ๕๔ ประเภท เรือยาวเล็ก ๓๐ ฝีพาย

น.อ.สุทธิชาติ จิตแกลˆว รอง ผบ.บน.๒๓ เป็นประธานในพิธี อำลาการปฏิบัติหนˆาที่ราชการ ทหารกองประจำการ รุ‡นปี ๕๒ ผลัดที่ ๑ ณ พัน.อย.บน.๒๓

น.อ.จักร สุวรรณทัต เสธ.บน.๖ เป็นประธานในพิธีตˆอนรับคณะ นทน.หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชศาสตร‹ การบิน รุ‡นที่ ๑๔ ณ หˆองประชุม บก.บน.๖




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.