ภาษาไทยด้วยใจรัก
นวีร์ มีผู้สนใจถามความหมายของชื่อเฉพาะที่คงได้จากละครโทรทัศน์ ซึ่งผู้เขียนขอตอบในคอลัมน์นี้คือ กช แปลว่า ดอกบัว นารา แปลว่า รัศมี รสา แปลว่า ผู้มีรส (มาจากคำ�ว่า รส) อัญชลินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งการไหว้ หรือ มีการไหว้เป็นใหญ่ มาจากคำ�ว่า อัญชลี (การประนมมือ การไหว้) สนธิกับคำ�ว่า อินทร์ (ผู้เป็นใหญ่) ธีริทธิ์ แปลว่า นักปราชญ์ผู้มีฤทธิ์ มาจากคำ�ว่า ธีร (นักปราชญ์) สนธิกับคำ�ว่า อิทธิ (ฤทธิ์) คำ�ถามเกี่ยวกับการเขียนมีมากมาย เช่น คำ�ว่า อธิษฐาน และ อธิฏฐาน คำ�ใดถูกต้อง คำ�ตอบ คือ เขียนถูกต้องทั้ง ๒ คำ� และคำ�ทั้ง ๒ คำ� ก็มีความหมายเหมือนกัน คือหมายความว่า ความตั้งใจ มุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแต่ว่า อธิษฐาน เป็นคำ�ที่มาจากภาษาสันสกฤต ส่วนคำ�ว่า อธิฏฐาน เป็นคำ�ที่มาจากภาษา บาลี (เรามักคุน้ กับคำ�ว่า อธิษฐาน มากกว่า เมือ่ มีละครโทรทัศน์เรือ่ ง บ่วงอธิฏฐาน จึงแปลกตาและคิดว่าเขียนผิดหรือเปล่า) คำ�ว่า ฯพณฯ พณฯ ฯ พณ คำ�ใดเขียนถูกต้อง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หน้า ๘๐๒ และหนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) พิมพ์ครั้งที่ ๒๒ หน้า ๑๑๗ เขียนว่า ฯพณฯ อ่านว่า พะนะท่าน เป็นคำ�นำ�หน้าชื่อ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น (ย่อมาจากคำ� พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน) สำ�นวน หัวมังกุท้ายมังกร หัวมังกุฎท้ายมังกร สำ�นวนใดเขียนถูกต้อง หัวมังกุท้ายมังกร เป็นสำ�นวนที่เขียนถูกต้อง สำ�นวนนี้หมายความว่า ทำ�สิ่งที่ผิดไปจากเดิม คือผิดจาก แบบแผนหรือธรรมเนียมที่มีมาแต่ก่อนไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว คำ�ว่า มังกุ เป็นชื่อเรือชนิดหนึ่ง เป็น เรือต่อ ที่มีรูปยาว มีกระดูกงูใหญ่รปู เหมือนโขมดยา หัวเป็นสามเส้า กับแปลว่า เป็นรูปสัตว์ในนิยายชนิดหนึง่ ทำ�ให้เข้าใจว่า เรือมังกุ คงจะ มีหัวเป็นรูปสัตว์ ส่วนมังกร ก็เป็นเรือชนิดหนึ่ง เป็นเรือพระที่นั่ง ซึ่งมีหัวเรือหรือโขนเรือเป็นรูปมังกร ทั้งเรือมังกุและ เรือมังกร คงจะเป็นเรือโขนซึ่งเป็นเรือที่มีหัวเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ สมัยโบราณคงจะมีเรือชนิดหนึ่งซึ่งหัวเรือทำ�เป็นรูปสัตว์ ที่เรียก มังกุ แต่ท้ายเรือทำ�เป็นรูปอย่างมังกร รูปร่างจึงดูแปลก เพราะหัวเรือมีลักษณะอย่างหนึ่ง ท้ายเรือมีลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง ดูขัดกันไม่กลมกลืนกัน จึงได้เรียก หัวมังกุท้ายมังกร ต่อมาคำ� หัวมังกุท้ายมังกร จึงเป็นสำ�นวนหมายถึง อะไรที่ในตัวมีลักษณะต่างกัน ไม่เป็นไปตามที่ควรเป็น คือเข้ากันไม่ได้ ขัดกันในตัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น