วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

Page 1

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 1


วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู กฤตตฤณ, พรทิวา ไวยครุฑธา เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ 978-616-393-025-5 พิมพ์ครั้งที่ 1    ธันวาคม 2558 บรรณาธิการอ�ำนวยการ   ดวงพร เฮงบุณยพันธ์   นัฐพงษ์ ศรีวงศ์   ชญานิษฐ์ เพชรอุดม บรรณาธิการ   กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ กองบรรณาธิการ   ณัฐชา วิวัฒน์ศิริกุล ช่างภาพ   กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ ศิลปกรรม   พรทิวา ไวยครุฑธา ออกแบบปก   อรกุล แก้วหิรัญ พิสูจน์อักษร   ปรียนันท์ ตั้งพุทธิพงศ์ ประสานงานการผลิต    ชัชฎาพร ณ บางช้าง จัดพิมพ์โดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) อาคารเรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343-1500 www.thaihealth.or.th www.punsook.org, www.facebook.com/punsook ด�ำเนินการผลิตโดย หจก. จู๊ซ อัพ มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น เลขที่ 7 ซอยรามค�ำแหง 44 แยก 2 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240 ติดต่อ - Contact ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลวังชมภู ถนนสระบุรี-หล่มสัก เลขที่ 999 หมู่ 3 ต�ำบลวังชมภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67210 เบอร์โทร 056-771399-400 โทรสาร 056-771399-400 ต่อ 107 E-mail : wangchomphu.tedsaban@gmail.com


ค�ำน�ำ

รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อ� ำนวยการ ศู น ย์วิ จั ย และพั ฒ นาระบบสุ ข ภาพชุ ม ชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวเอาไว้ว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิน ่ ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดย ไม่ต้องพึ่งพาความรู้จากหน่วยราชการ หรือ ความรู ้จ ากองค์ก รการศึ ก ษาอื่ น ต้อ งบอก ตัวเองว่า เราคือสถาบันที่สร้างความรู้ให้กับ คนอืน ่ ได้ ชีน ้ ำ� สังคมได้ นีเ่ ป็นเหมือนการปฏิรป ู การเรียนรู้ ปฏิรป ู ให้เห็นโอกาสทีจ่ ะท�ำให้ชม ุ ชน ท้อ งถิ่ น ไม่ต ้อ งเป็น ผู ้ต ามอี ก ต่อ ไป เป็น การ เปลี่ยนวาทกรรมของการเรียนรู้โดยสิ้นเชิง” สิ่งที่ รศ.ดร.ขนิษฐา กล่าวนั้น เรียกให้ กระชับสั้น คือการใช้องค์ความรู้ที่ได้รับการ เก็บสะสมภายในพืน ้ ทีม ่ าสร้างประโยชน์ให้กบ ั ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นฐานรากที่ส�ำคัญของการ พัฒนาประเทศ เป็นที่มาให้ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) ได้ เข้ามาสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั่ ว ประเทศในการส� ำ รวจทุ น และศั ก ยภาพ ถอดบทเรี ย น ตลอดจนสร้า งบุ ค ลากรที่ มี

ความสามารถในการน� ำ ใช้ และถ่า ยทอด องค์ค วามรู ้ที่ ไ ด้รั บ การสั ง เคราะห์ม าแล้ว อย่างดี เพือ ่ กระจายองค์ความรู้เหล่านัน ้ ให้กบ ั เพื่ อ นเครื อ ข่า ยองค์ก รปกครองส่ว นท้อ งถิ่ น ทั่วประเทศต่อไป ที่สุดแล้วเมื่อท้องถิ่นสามารถท�ำได้ดังว่า ก็ ยิ่ ง ทวี ค วามเข้ม แข็ ง ให้กั บ ชุ ม ชนท้อ งถิ่ น อันเป็นการสร้างคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้ เกิดขึ้นได้ ซึ่งเวลานี้กระบวนการทุกอย่างได้ ด�ำเนินมาระยะหนึ่งแล้ว พัฒนาการของพื้นที่ แต่ล ะแห่ง ได้รั บ การยื น ยั น เป็น ที่ ป ระจั ก ษ์ว ่า สร้างสุขภาวะทีด ่ ค ี รบทุกมิตใิ ห้กบ ั ชุมชนท้องถิน ่ อย่า งพื้ น ที่ ต� ำ บลวั ง ชมภู เ อง เป็น ภาพ สะท้อนของชุมชนกึง่ เมืองทีม ่ ก ี ารจัดการตนเอง ที่หลากหลาย จากทุนและศักยภาพที่ตัวเองมี ผ่านบุคคลทีย ่ กระดับตัวเอง จากประชาชนเป็น พลเมืองเต็มขั้น ซึ่งนับเป็นอีกต้นแบบหนึ่งที่ ชวนให้เข้าไปศึกษา หนังสือ ‘วิถส ี ช ี มพู ของคน วั ง ชมภู ’ เล่ม นี้ คื อ สื่ อ กลาง ด้ว ยเครื อ ข่า ย ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่มีพื้นที่ศึกษาอยู่ ทั่ ว ประเทศ หนั ง สื อ เล่ม นี้ จึ ง เปรี ย บเสมื อ น ทางลัดให้เครือข่ายฯ ได้เรียนรู้ร่วมกันได้


6 | บทน�ำ ‘วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู’ 10 | สัมภาษณ์

นัฐพงษ์ ศรีวงศ์ ปลัดเทศบาลต�ำบลวังชมภู : ‘ร่วมแรง ร่วมทุน ร่วมใจ’ พัฒนา ‘วังชมภู‘

14 | บริหารจัดการแบบคนวังชมภู 16 | สายตรวจร่วมใจ อุ่นใจชาวประชา 20 | ธนาคารขยะชุมชนวังชมภู 22 | คลินิกกองทุนหมู่บ้าน

24 | จิตอาสา

26 | รวมใจให้บ้านหลังสุดท้าย 28 | กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม

32 | เศรษฐกิจชุมชน 34 38 42 44

| | | |

ดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มแม่บ้านทรัพย์ชมภู ชีวิตดี๊ดี มีพืชผักปลอดสาร เพ(ร)าะใจรัก กลุ่มอนุรักษ์พระเครื่องท้องถิ่นวังชมภู


46 | วิชาชีวิต

48 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 52 | สหกรณ์โรงเรียน 53 | โรงเรียนธนาคาร 54 | ห้องสมุดมีชีวิต 58 | ศูนย์ไอซีทีชุมชน 60 | เยาวชนยามว่างสร้างอาชีพ

62 | สุขภาพชุมชน 64 68 70 73

| | | |

กองทุนหลักประกันสุขภาพต�ำบลวังชมภู อาสาสมัครฉุกเฉิน วู้ดบอล ชมรมผู้สูงอายุ

74 | วัฒนธรรม

76 | ผู้สูงอายุปฏิบัติธรรมบ้านงามประทีป 79 | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต วัดวังชมภู 82 | มัสยิดสามแยกวังชมภู

84 | กินอิ่ม อยู่สบาย เที่ยวเพลิน 86 | ร้านนิตอาหารป่า 88 | ร้านผัดไทยแคบหมูวังชมภู   และกาแฟสดวังชมภู 90 | ร้านลาบป้าหลั่น 92 | โฮมสเตย์บ้านพี่จันทร์ 94 | วัดช้างเผือก (หลวงพ่อทบ)


บทน�ำ

‘วิ ถี สี ช มพู

ของคนวัง ชมภู’ Introduction

6 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


การเดินทางสู่เพชรบูรณ์ครั้งนี้ไม่เหมือน ครั้ ง ก่อ น ด้ว ยว่า จุ ด หมายปลายทางไม่ใ ช่ แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม หากแต่เป็นต�ำบล เล็ ก ๆ ในเขตอ� ำ เภอเมื อ ง ซึ่ ง ถึ ง ก่อ นโซน เมืองเก่าของอ�ำเภอเมืองราว 21 กิโลเมตร ต�ำบลที่มีชื่อแสนหวานว่า ‘วังชมภู’

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 7


เราลงรถบริเวณสามแยกวังชมภู ซึ่งเป็น บริเวณทีร่ ถโดยสารประจ�ำทางจอดเป็นประจ�ำ บรรยากาศในวันนั้น ฝนเพิ่งตกไปไม่นาน และ เรามาถึงในช่วงเที่ยง ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ เล็กน้อย หลังจากนั่งรอบริเวณท่ารถ น้องนุ่ง ที่รู้จักมักคุ้นกันดีก็ขับรถมารับ เราเริ่มท�ำความรู้จักกับต�ำบลแห่งนี้ทีละ น้อ ย โดยต� ำ บลวั ง ชมภู มี อ งค์ก รปกครอง ส่วนท้องถิน ่ สองแห่ง คือเทศบาลต�ำบลวังชมภู และองค์การริหารส่วนต�ำบลวังชมภู ซึ่งแม้จะ เกิ ด ขึ้ น จากกฎหมายคนละฉบั บ แต่ทั้ ง สอง หน่วยงานท�ำงานประสานกันได้ด้วยดี

“ทีน ่ อ ี่ ะไรก็ทาสีชมพู ทัง้ ส�ำนักงานเทศบาล อาคาร มัสยิด เหมือนเป็นจุดขายของต�ำบล เรา” ผู้น�ำทางของเราว่าเช่นนั้น เทศบาลต�ำบลวังชมภูมพ ี น ื้ ทีใ่ นความดูแล 4.3 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่อยู่ในหมู่ที่ 3, 5, 8, 9, 11 และ 12 โดยชุมชนในเขตเทศบาล เป็นชุมชนด้านการค้า ส�ำนักงาน หน่วยราชการ ที่คอยให้บริการแก่ประชาชน ชุมชนมีความ หนาแน่น แต่ไม่ถึงกับแออัด ค ว า ม โ ด ด เ ด ่น ข อ ง ต� ำ บ ล วั ง ช ม ภู คื อ ความเพียบพร้อมด้านบริการสาธารณะต่างๆ ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา อาชีพ ตลอดจน คุณภาพชีวต ิ ผู้คนมีความปลอดภัยในชีวต ิ และ ทรัพย์สิน ซึ่งถือเป็นสิ่งส�ำคัญในการใช้ชีวิต


ความที่ ต� ำ บลนี้ เ ป็น ต� ำ บลผ่า นเข้า สู ่ ตัวเมือง จึงอาจไม่คึกคักเท่าไรนัก ผู้คนอยู่ อย่า งเรี ย บง่า ย วุ ่น วายบ้า งเล็ ก น้อ ยตาม ลักษณะความเป็นเมือง อยู่ร่วมกันด้วยความ เคารพซึ่งกันและกัน “เมืองมีปัญหาค่อนข้างจุกจิก หลายครัง้ ที่ คนไม่ยอมลดราวาศอก แต่สภาพโดยรวมของ ทีน ่ ก ี่ ย ็ งั ดี ทุกครัง้ ทีม ่ ป ี ัญหาก็คลีค ่ ลายไป ไม่ได้ เป็นความขัดแย้งระยะยาว” ผู้นำ� ทางว่าเช่นนัน ้ ด้วยพื้นฐานของความเป็นคนพุทธกระมัง ทีช่ ่วยให้สงั คมของวังชมภูยงั คงสงบ มีความสุข แต่เมื่อได้ฟังจากค�ำบอกเล่าว่าที่นี่มีมัสยิดอยู่ แห่ง หนึ่ ง ด้ว ย ก็ ท� ำ ให้ต อ ้ งเปลี่ ย นความคิ ด

ยกเลิกสมมติฐานนั้นทิ้งไป ด้วยการที่สังคมจะ สงบ เป็นระเบียบ มีความสุขได้นั้น เป็นเพราะ ทุกคนเคารพในสิทธิความเป็นพลเมืองของกัน และกัน น่าจะถูกต้องตรงประเด็นมากกว่า เห็ น ว่า ที่ นี่ เ ป็น มุ ส ลิ ม มาจากปากี ส ถาน ตัง้ รกรากอยู่จนปัจจุบน ั มีไม่กค ี่ รอบครัวเท่าไร แต่ก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว แล้วก็อย่างที่ผู้น�ำทางของเราว่า หลังจาก ผ่านชั่วโมงแรกของการมาเยือน เราสังเกตได้ ถึ ง สี ช มพู ข องอะไรต่อ มิ อ ะไรที่ อ ยู ่ที่ นี่ และ ไม่แน่ว่า ในความคิดจิตใจของผู้คนที่นี่ ก็อาจ จะเป็น สี ช มพู ด ้ว ยเช่น กั น แต่จ ะใช่ห รื อ ไม่ การเดินทางสู่หน้าต่อๆ ไป คงจะแทนค�ำตอบ ได้เป็นอย่างดี


สัมภาษณ์ Interview

10 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


เทศบาลต� ำ บลวั ง ชมภู มี ป ลั ด เทศบาลท� ำ หน้า ที่ รั ก ษาการและ ท� ำ งานแทนนายกเทศมนตรี ด้ว ยประสบกั บ ปัญ หาทางการเมื อ ง บางประการ แต่นั่นมิใช่ปัญหา เพราะองค์กรหนึ่งจะอยู่ได้ ต้องอาศัย การท�ำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ท�ำงานด้วยทัศนคติที่มุง่ พัฒนาพื้นที่ มอบประโยชน์แก่ชุมชน มากกว่าประโยชน์ส่วนตน ซึ่งปลัดเทศบาล ต� ำ บลวั ง ชมภู จ ะมาเกริ่ น น� ำ ถึ ง กิ จ การงานต่า งๆ ของชุ ม ชนแห่ง นี้ เป็นการเรียกน�้ำย่อยก่อน


‘ร่วมแรง ร่วมทุน ร่วมใจ’ พัฒนา ‘วังชมภู’ นัฐพงษ์ ศรีวงศ์ ปลัดเทศบาลต�ำบลวังชมภู

นั ฐ พงษ์ ศรี ว งศ์ ปลั ด เทศบาลต� ำ บล วังชมภู เล่าให้ฟังว่า ต�ำบลวังชมภูมีท้องถิ่น ท�ำงานขับเคลื่อนต�ำบลด้วยกันถึง 2 แห่ง คือ เทศบาลต� ำ บลวั ง ชมภู ซึ่ ง จั ด เป็น เทศบาล ขนาดกลาง และองค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บล วังชมภู โดยเทศบาลต�ำบลวังชมภู มีพื้นที่ใน ความรับผิดชอบ 4.3 ตารางกิโลเมตร มีอยู่ ด้วยกัน 6 ชุมชน คือชุมชนที่ 1 ชุมชนชาววัง ชุมชนที่ 2 ชุมชนทรัพย์ชมภู ชุมชนที่ 3 ชุมชน งามประทีป ชุมชนที่ 4 ชุมชนคลองห้วยนา ชุมชนที่ 5 ชุมชนร่วมใจวังเจริญ ชุมชนที่ 6 ชุมชนวังชมภูเฉลิมราษฎร์ ซึง่ พืน ้ ทีข่ องเทศบาล ต� ำ บลวั ง ชมภู จ ะเป็น ที่ ร วมของศู น ย์ร าชการ รวมไปถึ ง องค์ก รต่า งๆ ชมรม การก� ำ หนด ยุทธศาสตร์ต่างๆ จึงต้องค�ำนึงถึงการท�ำงาน ของแต่ละหน่วยงาน ให้มีการสอดประสานกัน ได้ด้วยดี “ทุกวันนี้ เวลาที่เทศบาลต�ำบลวังชมภูท�ำ อะไร จะมีการเชิญประชุมความคิดเห็นร่วมกัน ทั้งในเรื่องงบประมาณ การจัดกิจกรรม ด้วย เราเน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และ ความที่พื้นที่ต�ำบลวังชมภูมีองค์กรปกครอง ส่ว นท้อ งถิ่ น ถึ ง 2 แห่ง ยิ่ ง ท� ำ ให้เ ราต้อ ง ประสานความร่วมมือ เพือ ่ ไม่ให้เกิดการท�ำงาน ที่ทับซ้อนกัน จนเป็นเหตุให้เสียงบประมาณ โดยใช่เหตุ หรือขอความร่วมมือในหลายวาระ หลายโอกาสในการด� ำ เนิ น กิ จ กรรมเพื่ อ ประโยชน์ของคนทั้งต�ำบล” ปลัดนัฐพงษ์กล่าว 12 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ภาวะความร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ จึ ง มี ใ ห้เ ห็ น กั น ตลอดทั้ ง ปี เพราะมี กิ จ กรรม ในแต่ล ะช่ว งเวลา ฉะนั้ น จึ ง เป็น หน้า ที่ ข อง เทศบาล และหน่วยงานทีเ่ กีย ่ วข้องกับกิจกรรม นั้นๆ ที่ต้องเข้ามาร่วมหารือ ขณะที่งานส�ำคัญอีกอย่างคือการเข้าถึง ประชาชน จึงเป็นหน้าที่ของเทศบาลที่ต้องท�ำ ประชาคมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อรับทราบ ปัญหา ตลอดจนความต้องการของประชาชน “ทั้งนี้เป็นระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย อยู่แล้ว ก่อนท�ำแผนพัฒนาของเทศบาล โดย ในช่วงเดือนพฤษภาคมนั้น เจ้าหน้าที่เทศบาล ต้อ งลงพื้ น ที่ เ พื่ อ ท� ำ ประชาคมให้แ ล้ว เสร็ จ ก่อ นท� ำ แผนพั ฒ นาเทศบาลต่อ ในช่ว งเดื อ น มิถุนายน เป็นหน้าที่หลักขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน ่ ทีต ่ ้องตอบสนองความต้องการของ ประชาชน และต่อข้อระเบียบกฎหมายของ กระทรวงมหาดไทย” ปลัดนัฐพงษ์อธิบาย บนเวทีประชาคมแต่ละปี เมื่อมีการเสนอ เป็นประเด็นขึ้นมา จะมีการใช้มติที่ประชุม ณ เวลานั้น จัดล�ำดับความส�ำคัญเร่งด่วน ตั้งแต่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า และต่อไปจนครบ สิ่งใด ส� ำ คั ญ จั ด เป็น วาระเร่ง ด่ว น จากนั้ น ท� ำ แผน พัฒนา ก่อนเอาเข้าบรรจุในแผนพัฒนาสามปี โดยในทุกปีจะมีคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล ต� ำ บลวั ง ชมภู ท� ำ หน้า ที่ พิ จ ารณาแผนว่า สอดคล้อ งกั บ ความต้อ งการหรื อ ไม่ และมี คณะกรรมการสนั บ สนุ น การจั ด ท� ำ แผน พั ฒ นาเทศบาลต� ำบลวั ง ชมภู ท� ำหน้า ที่ เ ป็น คณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเทศบาล น�ำ เสนอต่อ ผู ้บ ริ ห ารเพื่ อ ให้มี ก ารลงนามต่อ ไป นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการติดตามผลและ ประเมิ น ผลการจั ด ท� ำ แผนพั ฒ นาเทศบาล

ต� ำ บลวั ง ชมภู คอยท� ำ หน้า ที่ ติ ด ตามและ ประเมินผล เพื่อให้การด�ำเนินงานเป็นไปตาม วัตุประสงค์ ซึ่งทั้งคณะกรรมการทั้ง 3 ชุดนี้ ต้อ งออกไปร่ว มประชาคมกั บ เจ้า หน้า ที่ รั บ ทราบความคิ ด เห็ น ความต้อ งการของ ประชาชน ความทีเ่ ป็นเขตเทศบาล แน่นอนอยู่แล้วว่า โครงสร้างพื้นฐานสมบูรณ์พร้อม ไม่มีสิ่งใด ใหม่ มีเพียงการซ่อมแซมปรับปรุงของที่มีอยู่ แล้ว เช่น นั้ น การพั ฒ นาจึ ง มุ ่ง เน้น ไปที่ ก าร พัฒนาคุณภาพชีวิต เรื่องของสุขภาพ “ที่จริงแล้วโครงสร้างพื้นฐานก็สอดคล้อง กับคุณภาพชีวิต โดยส่วนตัวจึงมองว่า การ ซ่อมแซมถนนหนทาง รางระบายน�ำ้ ก็เป็นการ พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยทางอ้อม ขณะที่ทาง ตรงคือการส่งเสริมด้านกีฬา โดยเฉพาะในกลุ่ม ประชากรผู้สงู อายุ ซึง่ ทีน ่ เี่ ราพัฒนาจนสามารถ เข้า แข่ง ขั น ในกี ฬ าระดั บ ชาติ ได้รั บ รางวั ล เหรียญทองการแข่งขันวู้ดบอลในกีฬาแห่งชาติ รุ่นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ขณะที่เยาวชนและ กลุม ่ คนทั่วไป ทางเทศบาลก็มีวัสดุอุปกรณ์ เกี่ยวกับการกีฬา เกี่ยวกับการแข่งขัน ทั้งหมด มีไว้ให้พร้อม ตอบความต้องการของประชากร ในทุกระดับ” ปลัดเทศบาลอธิบายเพิ่มเติม ทิศทางในอนาคต ทางเทศบาลต�ำบลวังชมภู ยั ง คงมองหานวั ต กรรมใหม่ๆ ที่ ต อบความ ต้องการของประชาชนในพืน ้ ที่ ซึง่ ณ วันนี้ ปลัด นัฐพงษ์ยอมรับ ประชาชนในเขตเมืองมีความ ตืน ่ ตัวกับเรือ ่ งต่างๆ ค่อนข้างมาก ยามมีปัญหา จะกล้าพูดกล้าแสดงออก ในฐานะทีเ่ ป็นข้าราชการ จึงต้องมีความตืน ่ ตัว เปิดหูเปิดตา เรียนรู้สงิ่ ใหม่ๆ เพื่ อ น� ำ มาใช้พั ฒ นาชุ ม ชนให้มี สุ ข ภาวะครบ ถ้วน ทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา... วิถวิีสถีชสมพู ีชมพูของคนวั ของคนวังงชมภู ชมภู || 13 13


บริหารจัดการ แบบคนวังชมภู Management

กว่าจะเป็นชุมชนที่น่าอยู่ ต้องผ่านปัญหา อะไรมากมายสารพั ด แล้ว จึ ง มาสู ่แ นวทาง การจั ด การ ซึ่ ง ในความเป็น ชุ ม ชนกึ่ ง เมื อ ง ปัญหาที่เห็นได้ชัดคืออาชญากรรม ขยะ และ เศรษฐกิ จ ซึ่งที่นี่ก็มีเครื่องมือในการท�ำงาน เพื่ อ ตอบสนองปัญ หา หลายเรื่ อ งอาจต้อ ง ใช้เ วลา ด้ว ยต้อ งวางพื้ น ฐาน หลายเรื่ อ งก็ จัดการได้ไว แตกต่างกันไปตามสถานการณ์

14 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 15


สายตรวจร่วมใจ อุ ่นใจชาวประชา

ตลาดวั ง ชมภู เ ป็น ตลาดโต้รุ ่ง ในเขตเทศบาล ในอดีตพ่อค้าแม่ขายในตลาดได้รับความเดือดร้อน ทัง้ จากปัญหากลุ่มมอเตอร์ไซค์ซงิ่ ปัญหาการก่อเหตุ ทะเลาะวิ ว าทยามวิ ก าล ปัญ หาของหาย รวมถึ ง ปัญหายาเสพติด ล�ำพังต�ำรวจไม่เพียงพอจะต่อกรได้ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าจึงส่งหนังสือร้องทุกข์ถึงฝ่าย บริหารของชุมชน ฝ่ายบริหารจึงหารือกันแล้วจัดตั้ง ชุ ด ตรวจขึ้ น มา ครั้ ง แรกออกตรวจเฉพาะพื้ น ที่ ในความดูแลของเทศบาลต�ำบลวังชมภู อาณาเขต 4.3 ตารางกิโลเมตร แต่มีอุปสรรคเยอะมาก 16 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


“แรกเริ่มเราไม่มีเงินทุน อย่างพอมีเหตุ ชาวบ้านยิงขู่เด็กแว้นซ์ เราท�ำอะไรไม่ได้ เลยตัง้ กองทุนสายตรวจร่วมใจ มีกลุ่มผู้บริหารท้องถิน ่ ร่วมบริจาค มีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ประชาชนได้รบ ั รู้ว่าเราท�ำอะไร” ธนู สุกานันท์ หั ว หน้า ชุ ด กู ้ภั ย ผู ้ก ่อ ตั้ ง สายตรวจร่ว มใจ ย้อนความให้ฟัง “ตอนนั้นได้รับกาแฟซอง อาหารกระป๋อง มาม่า เงิ น หมื่ น กว่า บาท ท� ำ ให้เ จ้า หน้า ที่ มี แรงใจ ออกตรวจอาทิ ต ย์ล ะสี่ วั น เที่ ย งคื น

ตีหนึ่งตีสองก็ออก” ปัญหาอีกอย่างคือการไม่สามารถติดตาม ผู้ก่อเหตุทห ี่ นีออกไปนอกพืน ้ ทีไ่ ด้ ด้วยขอบเขต ของอ� ำ นาจหน้า ที่ ที่ มี จ� ำ กั ด พอดี ป ี 2552 ท้องที่เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 คนใหม่ พอ ผู้ใหญ่บ้านรู้ปัญหา จึงชวนให้ผ้ใู หญ่บ้านทุกหมู่ ออกตรวจร่ว มกั น เพราะกฎหมายระบุ ว ่า ผู ้ใ หญ่บ ้า นสามารถเข้า ตรวจค้น ลู ก บ้า นได้ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรอหมายศาล

ถีสีชของคนวั มพู ของคนวั วิถีสีชวิมพู งชมภูงชมภู | 17| 17


18 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ธนู สุกานันท์

ดังนั้น ผู้ใหญ่บ้าน ก�ำนัน และต�ำรวจ จึง จั บ มื อ กั น เขี ย นโครงการผ่า นอ� ำ เภอไปยั ง ผู้ก�ำกับฯ เพื่อแต่งตั้งผู้ร่วมออกตรวจจ�ำนวน 153 คนเป็น ผู ้ช ่ว ยเจ้า พนั ก งาน เพื่ อ จะได้ ปฏิ บั ติ ห น้า ที่ โ ดยมี ก ฎหมายรองรั บ กระทั่ ง ในราวปี 2553 ‘สายตรวจร่ว มใจ อุ ่น ใจ ชาวประชา’ ก็ได้ถือก�ำเนิดอย่างเป็นทางการ ถือเป็นความร่วมมือระหว่าง ท้องถิน ่ (เทศบาล และ อบต.) ท้องที่ (อ�ำเภอ ชมรมก�ำนัน ผู้ใหญ่ บ้าน) อาสาสมัคร (อปพร.) ผู้น�ำชุมชนทั้งหก ชุมชนในเขตเทศบาล หน่วยราชการ (ต�ำรวจ) และประชาชนทั่วไปที่มีจิตอาสา ลั ก ษณะการท� ำ งานคื อ จั ด เวรออกตรวจ ช่วงกลางคืนโดยไม่ก�ำหนดวันเวลาที่แน่นอน เพือ ่ ไม่ให้ผ้ก ู ่อเหตุร้ต ู วั หรือจับทางได้ โดยออก ตรวจในต�ำบลวังชมภู 14 หมู่บ้าน พืน ้ ที่ 71.31 ตารางกิโลเมตร แบ่งตรวจเป็นสามสาย สายละ 10 กว่าคน ใช้รถสายตรวจสามคัน คือรถต�ำรวจ รถสายตรวจของเทศบาล และรถสายตรวจของ อบต.และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งเข้าเวรประจ�ำอยู่ที่ ศูนย์ หากได้รับแจ้งมาว่ามีเหตุตรงจุดไหน ทีม สายตรวจฯ จะรุกเข้าไป นอกจากนีย ้ งั ช่วยเหลือ

บรรเทาทุกข์ยามที่มีเหตุยางแตก รถตกถนน อุบัติเหตุต่างๆ ก็เข้าช่วยเหลือด้วย “ห้าปีที่ออกตรวจ ปัญหาคนไร้บ้านลดลง การทะเลาะวิวาทลดลง งานรื่นเริงอย่างงาน ลอยกระทงไม่มี ก ารทะเลาะวิ ว าทอี ก เลย ปัญ หายาเสพติ ด ลดลง เพราะเราตรวจ ปัสสาวะ ถ้าพบสีม่วง ต�ำรวจจับเลย” ธนูสรุป หลั ง ปัญ หาเบาบาง มี ก ารตั้ ง ด่า นตรวจ สกัดบ้าง ออกตรวจบ้างเดือนละสองสามครั้ง โดยจะมีการจัดเวรหมุนเวียนกันมาท�ำงาน แม้ทีมสายตรวจได้รับการฝึกอบรมการ ต่อสู้ด้วยมือเปล่า รวมทั้งมีการเตรียมพร้อม รับมือกับอาวุธทุกครั้งที่ออกตรวจ แต่เหตุร้าย ไม่อาจคาดเดาได้ ธนูบอกว่าสิ่งที่จะต่อยอด ในอนาคตคือจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือและ เป็นสวัสดิการไว้รองรับ กรณีเกิดเหตุอันตราย ต่อตัวสมาชิก การออกตรวจอย่า งบู ร ณาการท� ำ ให้ สามารถลุยได้จริงๆ นับเป็นท�ำงานร่วมกันแบบ วิน-วิน ได้ประโยชน์ร่วมกัน คือชุมชนปลอดภัย มีความอุ่นใจกันถ้วนทั่ว...

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 19


ธนาคารขยะชุ มชนวังชมภู ชุมชนที่ 6 ชุมชนวังชมภูเฉลิมราษฎร์ เป็น ชุมชนที่มีขยะมาก และไม่มีการจัดการอย่าง เป็นระบบ จนกระทั่งปี 2550 หลังจากผู้น�ำ ชุมชนและสมาชิกได้ไปมีโอกาสดูงานทีจ่ งั หวัด พิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก เป็นที่มาของการ ริ เ ริ่ ม โครงการธนาคารขยะขึ้นในพื้นที่ ด้วย มุ่งหมายที่จะให้ครัวเรือนรู้จักการคัดแยกขยะ แต่ล ะชนิ ด และเปลี่ ย นให้เ ป็น รายได้ สร้า ง ประโยชน์ในชุมชนต่อไปอีก บุญจันทร์ แก้วเถาว์ วิทยากรแหล่งเรียนรู้ ธนาคารขยะ ย้อนความให้ฟังว่า แรกเริม ่ มีการ ตั้งเวทีประชาคม โดยให้คณะกรรมการชุมชน ทุกคนซื้อหุ้น บวกกับคนในชุมชนรวม 100 กว่าคน ราคาหุ้นละ 100 บาท ไม่จำ� กัดจ�ำนวน ในครั้งนั้นระดมทุนได้ประมาณ 1 แสนบาท เอามาลงทุนรับซื้อขยะในพื้นที่โดยเทียบราคา ตลาดของบริษัท วงษ์พาณิชย์ จ�ำกัด “เราเช่า พื้ น ที่ ข องเอกชนเป็น สถานที่ รวบรวมและคัดแยก ตั้งอยู่ข้างๆ บ่อขยะใน หมู่ท่ี 11 บ้านงามประทีป ซึง่ เป็นพืน ้ ทีข่ อง อบต. วั ง ชมภู ขณะที่ ทุ น ที่ ไ ด้อี ก ส่ว นหนึ่ ง น� ำ ไปซื้ อ

20 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


บุญจันทร์ แก้วเถาว์

รถยนต์มือสอง ออกวิ่งรับซื้อขยะสามวันครั้ง ในเขตเทศบาลทั้ง 6 ชุมชน มีคนขับและคนนั่ง ท้ายรถรวม 2 คน และมีคนคัดแยก 2-3 คน เป็นคณะกรรมการชุมชนและคนทีถ ่ อ ื หุ้นเวียน กันมาท�ำงาน ได้รบ ั ค่าแรงคนละ 200 บาทต่อวัน โดยธนาคารขยะจะน�ำขยะไปขายอาทิตย์ละ ครั้งบ้าง สองอาทิตย์ครั้งบ้าง” บุญจันทร์เล่า กระนั้ น ปัญ หาหนึ่ ง ที่ พ บคื อ หลายบ้า น ไม่คด ั แยกขยะก่อนน�ำมาขาย ซึง่ ท�ำให้ได้ราคา ไม่ดี ส่งผลกระทบให้คนไม่สนใจ จึงมีการออก ไปให้ความรู้แก่ชาวบ้าน แต่กระนัน ้ การด�ำเนินการ ของธนาคารก็ประสบผลขาดทุนทุกปี “ใจเราอยากให้กจิ การรุ่งเรือง กระจายเงิน ไปยังชุมชน ท�ำให้เราให้ค่าจ้างสูง แล้วก็มต ี ้นทุน อื่นๆ อย่างค่าน�้ำมัน ค่าเช่าพื้นที่อีก ก็ถือเป็น การเรียนรู้” บุญจันทร์สรุป ที่สุดแล้วในปี 2554 ซึ่งเป็นช่วงเลือกตั้ง นายกเทศมนตรี ธนาคารขยะก็ ไ ด้ห ยุ ด ด�ำเนินการไปนับแต่นั้น ป ัจ จุ บั น ก า ร จั ด ข ย ะ ใ น ชุ ม ช น ใ ช ้วิ ธี มอบหมายให้เจ้าพนักงานประจ�ำของเทศบาล แบ่งกันรับผิดชอบ โดยมีเจ้าหน้าทีป ่ ระมาณหก คน หมุนเวียนกันเดือนละสองคน ออกเก็บขยะ

ทุ ก วั น ท� ำ ให้มี ร ายได้จ ากการขายขยะเป็น รายได้เสริม ส่วนขยะในบ่อขยะรวมทีเ่ หลือจาก การคัดแยก บริษัท เทอร์มัล เทค จากจังหวัด สระบุรี มารับซื้อ บุญจันทร์ทิ้งท้ายว่า หากจะฟื้นธนาคาร ขยะคงต้องอาศัยบทเรียนจากชุมชนที่ตนไป ศึกษาดูงานมา อย่างที่ต�ำบลพุเตย (อ�ำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) ซึง่ เทศบาลต�ำบล พุเตยตั้งรางวัลประกวดหมู่บ้านสะอาด “หมู่ที่ได้รางวัลชนะเลิศคือหมู่ที่ 4 ซึ่งใช้ วิธีการรับซื้อขยะในหมู่บ้านโดยให้ครัวเรือน คั ด แยก แล้ว น� ำ มาส่ง ที่ ก รรมการ จากนั้ น ลงบัญชีไว้ ก่อนน�ำขยะเหล่านี้ไปขาย พอหัก ค่าแรงคนท�ำงานแล้ว เงินที่เหลือเก็บไว้เป็น กองทุน ท�ำเช่นนีอ ้ ยู่เจ็ดเดือน ได้กำ� ไรสองหมืน ่ กว่าบาท บวกกับเงินรางวัลอีกสี่หมื่น ต่อไป คงจะมีปันผลคืนให้ชาวบ้าน” บุญจันทร์ว่าเป็น วิธีที่ดี ไม่เสี่ยงต่อภาวะขาดทุน กระนั้นไม่นานมานี้ บุญจันทร์มีโอกาสได้ ไปประชุ ม กั บ ทางจั ง หวั ด ซึ่ ง มี ทิ ศ ทางว่า จะ มีการออกกฎหมายให้คด ั แยกขยะในครัวเรือน ทั่ ว ประเทศ นั บ เป็น สั ญ ญาณที่ ดี ข องการ เริม ่ ต้นใหม่ของธนาคารขยะในชุมชนที่ 6 แห่งนี.้ .. วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 21


คลินิกกองทุนหมู ่บ้านวังชมภู หมู ่ท่ี 3

เช่น เดีย วกับกองทุนหมู่บ ้านทั่ ว ประเทศ ไทย คลินิกกองทุนหมู่บ้านวังชมภู หมู่ที่ 3 จัดตัง้ ขึน ้ ตามระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติ พ.ศ.2544 ซึ่งกองทุนหมู่บ้านของ ที่นี่มีเส้นทางการด�ำเนินงานที่ไม่ธรรมดา ธนู สุกานันท์ ในฐานะประธานกองทุน หมู่บ้านวังชมภู หมูที่ 3 เล่าให้ฟังว่า กองทุน หมู่บ้านแห่งนี้มีปัญหามาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ด้วยเพราะการบริหารทีไ่ ม่โปร่งใส จนชาวบ้าน ได้รับความเดือดร้อน “ช่ว งปี 2554-2556 กองทุ น ฯ หยุ ด ด�ำเนินการไป ไม่มีการเก็บหนี้เป็นเวลาร่วม สามปี กลายเป็นหนี้เสียจ�ำนวนมาก จนในช่วง ปี 2556 มีการแต่งตั้งประธานและกรรมการ ชุ ด ใหม่ร วมเก้า คน เพื่ อ มาสะสางปัญ หาที่ ค้างคาอยู่” 22 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ทางประธานกองทุ น ฯ ส� ำ ทั บ ว่า ที่ ต ้อ ง เข้ามาเพราะต้องฟื้นฟูกองทุน ด้วยเงินทีไ่ ด้มา ตั้ ง แต่ป ี 2544 นั้ น เป็น เงิ น ของรั ฐ ถ้า ล้ม ก็ต้องหาไปคืน “อีกอย่างยังมีช่องทางที่ยังไปต่อได้ ทาง คณะกรรมการจึงรีบตามเก็บหนี้จากลูกหนี้ที่ ค้างช�ำระอยู่ โดยน�ำทุกคนมาท�ำสัญญากู้ยืม ใหม่ แล้วเริ่มผ่อนช�ำระคืนอีกครั้ง เงินส่วนที่ หายไป คณะกรรมการชุดใหม่เป็นคนหามา รับผิดชอบ เพือ ่ น�ำส่งให้กบ ั ธนาคารออมสินใน ตอนสิ้นปี” ธัญญา แก้วอยู่ กรรมการคลินิก ของทุนหมู่บ้านวังชมภู ช่วยเสริมให้ เมือ ่ น�ำเงินส่งคืนธนาคารออมสินได้ ท�ำให้ ในปีถัดมา กองทุนฯ ได้รับเงินหนึ่งล้านบาท ส�ำหรับต่อยอด จึงน�ำมาด�ำเนินการปล่อยกู้ยม ื ใหม่ พร้อ มทั้ ง เปิด รั บ สมาชิ ก ใหม่ด ้ว ยการ ขายหุ้น หุ้นละ 100 บาท ไม่จ�ำกัดจ�ำนวนหุ้น


ธนู สุกานันท์

ที่ถือ พร้อมๆ กับเริ่มเก็บเงินออมสัจจะ หุ้นละ 100 บาท และมีกติกาว่าคนที่จะกู้ต้องซื้อหุ้น เพิ่มหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งหมื่นบาทที่กู้ไป โดยเงิน ออมสัจจะนี้ทางกองทุนฯ จะเก็บไว้ในบัญชี 2 ไม่เกี่ยวกับเงินที่ทางรัฐบาลให้ยืมมา “ตอนนี้คลินิกเราต้องรักษาตัวเองก่อน” ธัญญาว่า เวลานี้ กองทุ น ฯ ปล่อ ยกู ้ป ีล ะหนึ่ ง ครั้ ง ทุกวันที่ 7 มกราคม ของทุกปี สมาชิกทีเ่ ข้าร่วม ครั้งแรกกู้ได้ไม่เกิน 15,000 บาท แล้วค่อย ขยับขึน ้ ตามเครดิตของแต่ละคน หรือให้เป็นไป ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการ แต่เพดานกู้ สู ง สุ ด ไม่เ กิ น 30,000 บาท คิ ด ดอกเบี้ ย ร้อยละหนึ่งต่อเดือน มีการผ่อนช�ำระ และมี ระยะเวลาก�ำหนดช�ำระคืนหนึ่งปี “คลินิกกองทุนหมู่บ้านตั้งขึ้นมาเพื่อช่วย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ แต่ในความเป็นจริง

ธัญญา แก้วอยู่

คนไทยไม่มีวินัยการใช้เงิน บางคนเอาไปซื้อ มอเตอร์ไซค์ ซื้อโทรศัพท์ ไม่ได้เอาไปลงทุน หรือท�ำอาชีพอะไรที่ให้ก�ำไรงอกเงย” ธัญญา ส�ำทับ ตอนนี้กองทุนหมู่บ้านวังชมภู หมู่ที่ 3 ยัง ไม่มีการปันผล นับตั้งแต่เริ่มด�ำเนินการใหม่ ด้วยกองทุนฯ อยู่ในช่วงปรับโครงสร้างหนี้ และ ก�ำลังค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามล�ำดับ เรียกได้ว่า เป็น ‘ยุครื้อสร้าง’ ของกองทุนหมู่บ้านวังชมภู ที่ยังต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชน เพื่อประคับประคองกองทุนฯ นี้ให้ยังอยู่ได้ “จริ ง ๆ แล้ว กองทุ น นี้ มี ป ระโยชน์ม าก แต่พ อบริ ห ารจั ด การไม่ดี ก็ ก ลายเป็น โทษ แต่ทุกปัญหา มีทางออก วันนี้เรามีแล้ว และ ก� ำ ลั ง ท� ำ เต็ ม ที่ เพื่ อ ให้ก องทุ น ฯ นี้ กลั บ มา มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพดั ง เดิ ม ” ประธานกองทุ น ฯ ทิ้งท้าย... วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 23


จิตอาสา Voluntary

24 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


เราเดินทางไปที่โรงเรียนบ้าน กม.2 ซึ่งตั้งอยู่ ติดกับวัดโนนประชาสรรค์ ซึ่งทัง้ ทีว่ ัดและโรงเรียน นั้นมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันของคนสองวัย เป็น กิจกรรมจิตอาสาที่น่ารัก ชวนให้อิ่มเอมใจอยู่ในที

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 25


รวมใจให้บ้านหลังสุดท้าย ทุกครั้งไม่ว่าจะดึกดื่นแค่ไหน หากมีคน โทรศัพท์มาขอรับโลงศพ ขาล ลาค�ำ ประธาน กลุม ่ รวมใจให้บ้านหลังสุดท้าย จะขับรถกระบะ มายังศาลาธรรมสังเวช ในวัดโนนประชาสรรค์ แล้ว ขนส่ง โลงที่ เ ตรี ย มไว้ไ ปให้ผู ้ร ้อ งขอด้ว ย ตัวเอง โดยไม่คิดค่าบริการแม้เพียงบาทเดียว “เราบริการตลอด 24 ชั่วโมง บางครั้ง ไปส่ง บางครั้งมารับเอง ไม่มีค่าใช้จา่ ยใดๆ ทั้ ง สิ้ น ถ้า มี ใ จศรั ท ธาก็ น� ำ เงิ น ใส่ตู ้ใ ห้ เรา ช่วยเหลือทุกคนทีม ่ ค ี วามต้องการ ทัง้ คนทัว่ ไป ทั้งโรงพยาบาลบางทีตีสองโทรมา ก็ไปส่งให้” ลุงขาลเล่า ‘ให้ใจเขา ให้ความสะดวก’ คือปรัชญาการ ท�ำงานที่ลุงขาลยึดมั่นมานานกว่า 10 ปี โดย ดั้งเดิมนั้นลุงขาลเป็นผู้ประสานขอรับโลงศพ จากมู ล นิ ธิ ร ่ม โพธิ์ เ พชรบู ร ณ์ใ นตั ว จั ง หวั ด เพราะเป็นสมาชิกของมูลนิธิฯ แต่มีขั้นตอนที่ ต้องใช้เวลามาก จึงเลือกออกมาท�ำเองที่บ้าน

26 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ชุน ค�ำเกตุ

ขาล ลาค�ำ

ด้วยความอยากช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือ ผู ้ย ากไร้ด ้อ ยโอกาส ลุ ง ขาลจึ ง เริ่ ม รวมกลุ ่ม เล็กๆ ที่ศาลาธรรมสังเวชวัดโนนประชาสรรค์ ช่ว ยกั น ต่อ โลงศพ ทาด้ว ยสี ท าไม้ โดยใช้ เครื่ อ งไม้เ ครื่ อ งมื อ ของตั ว เอง ด้ว ยลุ ง ขาล มีอาชีพรับเหมาเล็กๆ น้อยๆ การท�ำงานต้องท�ำเป็นกลุม ่ เป็นทีม ไม่มี ใครท�ำคนเดียวได้ ลุงขาลบอกว่า สมาชิก 20 กว่าคนมาร่วมกันท�ำ ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นราว คราวเดียวกัน ทุกคนล้วนมาท�ำด้วยจิตอาสา ไม่มี ค ่า แรง โดยทุ ก วั น นี้ ก ลุ ่ม ของลุ ง ขาลจะ ด�ำเนินการต่อโลงศพปีละ 2 ครั้ง ท�ำครั้งหนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 2 วัน ครั้งละ 25 ใบ “ต้นทุนค่าวัสดุในการท�ำโลงศพครั้งหนึ่ง ประมาณสองหมื่นกว่าบาท เฉลี่ยโลงละหนึ่ง พันบาท โดยเราได้เงินจากการตั้งตู้รับบริจาค ‘เชิญร่วมบริจาคให้บ้านหลังสุดท้าย’ ที่วางอยู่ ตามร้านค้า โรงเรียนเทศบาล ภายในพื้นที่ เทศบาลต� ำ บลวั ง ชมภู และชุ ม ชนข้า งเคี ย ง อีก 4 ชุมชน คือห้วยสะแก ระวิง นายม และ

บ้านโตก โดยทางเจ้าหน้าที่เทศบาลจะคอย เปิดตู้และรวบรวมเงินมามอบให้กลุ่มฯ ในทุก วันที่ 4 ของเดือน นอกจากนี้ เมื่อมีการท�ำบุญ สะเดาะเคราะห์ก็มีผู้สูงอายุและร้านค้าต่างๆ บริจาคให้ ที่ส�ำคัญผู้สูงอายุที่พอมีก�ำลังทรัพย์ เมื่ อ วั น รั บ เบี้ ย ก็ จ ะช่ว ยบริ จ าคให้บ ้า นหลั ง สุดท้ายด้วย” ลุงขาลเล่า ชุน ค�ำเกตุ กรรมการกลุ่มรวมใจให้บ้าน หลังสุดท้าย เสริมว่า บ้านวังชมภูเราอยู่กน ั แบบ พี่ แ บบน้อ ง คนในหมู ่บ ้า น 400 กว่า คน เดินไปไหนไม่ต้องซื้อข้าวกิน เพราะเรียกกัน กิ น ข้า วตลอด งานบุ ญ งานแต่ง ช่ว ยกั น หมด มีอะไรก็ช่วยกัน และเมื่อยามที่กลุ่มรวมใจให้ บ้านหลังสุดท้ายมารวมตัวกัน ทางโรงเรียน บ้าน กม.2 จะส่งนักเรียนมาร่วมท�ำด้วยทุกครัง้ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส แล้ว งานที่ลุงขาลและผองเพื่อนได้ท�ำอยู่นี้ ยัง เป็น การประสานความร่ว มแรงร่ว มใจของ คนในชุมชนด้วยอีกทาง...

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 27


กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม

“ตอนไปร่ว มงานศพในต�ำบล คนชมว่า ลู ก ใครหลานใครมาช่ว ยกั น เสิ ร ์ฟ น�้ ำ ช่ว ย เก็บกวาดขยะ เราก็ภาคภูมิใจ เด็กที่เราสอน มาท� ำ ได้” นี่ คื อ ค� ำ บอกเล่า ที่ เ ปี่ย มด้ว ยความ ภูมิใจของ ภัครดา คงศรีไพร ครูช�ำนาญการ โรงเรียนบ้าน กม.2 จากครู ผู ้มี จิ ต อาสาคอยช่ว ยเหลื อ วั ด ด้วยการเป็นสัปเหร่อจ�ำเป็น คอยดูแลพิธีการ งานศพให้เป็นไปด้วยดี รวมถึงช่วยอ่านประวัติ ผู ้ต ายในงานวั น ฌาปนกิ จ เรี ย กว่า หยิ บ ยื่ น เรี่ยวแรงตามก�ำลังความสามารถ และวันนี้ ภัครดาก�ำลังสร้างเด็กในความดูแลของตนให้ มี จิ ต อาสา คอยช่ว ยเหลื อ ชุ ม ชนทุ ก ครั้ ง ที่ มี โอกาส ย้อนกลับเมือ ่ ราวสิบปีก่อน ภัครดาเริม ่ พา เด็กๆ ในชั้นเรียนออกท�ำกิจกรรมเพื่อชุมชน ทั้ ง เก็ บ ขยะตามวั ด และแหล่ง ท่อ งเที่ ย วใน 28 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ภัครดา คงศรีไพร

ชุมชน รวมถึงช่วยกิจกรรมงานบุญประเพณี ส� ำ คั ญ มี ส ่ว นร่ว มกั บ องค์ก รปกครองส่ว น ท้องถิ่น จนก่อเกิดเป็นกลุ่มก้อนของเยาวชน นั ก กิ จ กรรมเพื่ อ ชุ ม ชน เริ่ ม ต้น มี ส มาชิ ก ประมาณ 25 คนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กาลเวลาผ่า นไป เด็ ก ๆ สั บ เปลี่ ย น หมุ น เวี ย นเข้า มาท� ำ กิ จ กรรมกั บ ครู ภั ค รดา รุ่นแล้วรุ่นเล่า จนวันนีม ้ ส ี มาชิกร้อยกว่าคน ท�ำ กิจกรรมต่อยอดออกมาหลากหลาย เชื่อมโยง กับวัฒนธรรมพื้นถิ่น ที่ล้วนแล้วแต่ส่งเสริมให้ พวกเขาได้เรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิม ไปจนถึง การประยุ ก ต์ดั ด แปลงสิ่ ง ใหม่ๆ ให้เ ข้า กั บ บริบทของชุมชน “เด็กๆ มีความโดดเด่นหลายเรื่อง อย่าง งานหัตถกรรม มีการท�ำเหรียญโปรยทาน ต่อยอด เป็นอาชีพเสริมได้ อย่างเรื่องวัฒนธรรม เมื่อ

แสงสุรี สินธุเดช

เทศบาลต�ำบลวังชมภูมีงานส�ำคัญ เด็กๆ ของ เราจะไปร่วมร�ำเซิ้งบ้าง จินตลีลาบ้าง ร�ำไทย ประยุกต์บ้าง ขึน ้ อยู่กบ ั ว่าเจ้าภาพต้องการอะไร และที่ โ ดดเด่น เป็น เอกลั ก ษณ์ข องโรงเรี ย น บ้าน กม.2 คือวงกลองยาวกับการเดินโถกเถก เป็นที่ชอบอกชอบใจของคนที่มาเยี่ยมเยือน นอกจากทีบ ่ อกมาแล้ว เด็กๆ กลุ่มนีย ้ งั ออกมา ท�ำกิจกรรมกับกลุ่มแม่ขาว (ผู้เฒ่าผู้แก่ทน ี่ ่งุ ขาว ห่มขาวมาปฏิบัติธรรมที่วัด) ปฏิบัติธรรมทั้ง สวดมนต์ และนั่งสมาธิ”ภัครดาเล่า ขณะที่ แสงสุรี สินธุเดช ครูช�ำนาญการ โรงเรียนบ้าน กม.2 ผู้สอนงานฝีมือนักเรียน เสริมว่า ในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพมีการ สอนการท�ำเหรียญโปรยทานให้กับเด็กๆ จน พอมีฝีมือ ประกอบกับครูภัครดาเป็นคนที่มี ความใกล้ชิดกับวัด จึงมองเห็นลู่ทางในการ สร้างรายได้ให้กับเด็กๆ วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 29


30 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


“ในปีหนึ่งๆ ครูจะชักชวนเด็กให้มาลงหุ้น กัน คนละ 100 บาท เป็นเหรียญบาท อย่างปี ล่าสุดก็ 10 คน เป็นเด็กโต ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5-6 เป็น หลั ก ซึ่ ง กลุ ่ม นี้ จ ะรั บ ท� ำ ตาม ออเดอร์ที่มีคนสั่งเข้ามา ครูภัครดาจะเป็นคน หางานมาให้ สมาชิ ก จะช่ว ยกั น บั น ทึ ก การ ท�ำงาน ครูช่วยเก็บเงิน แล้วค่อยน�ำแบ่งคนละ เท่าๆ กันตอนสิ้นปี อย่างปีที่ผ่านมาได้คนละ ประมาณ 300 บาท ส่วนเด็กคนอื่นๆ ก็จะได้ เรียนรู้ในชุมนุม” แสงสุรีเล่า เหรียญโปรยทานของครู และเด็กๆ กลุ่มนี้ ได้รับการสร้างสรรค์ออกมาเป็นรูปร่างต่างๆ ตั้งแต่ลูกตะกร้อ ห่อกระดาษสา ไปจนถึงท�ำ เป็นนกยูง นอกจากนั้นยังมีดอกไม้จากริบบิ้น ทั้งดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกพิกุล ซึ่งงานฝีมือ เหล่า นี้ แสงสุ รี เ ป็น ผู ้แ กะแบบด้ว ยตั ว เอง บางส่วนเด็กๆ ก็ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต “รู้ไหมว่า เหรียญโปรยทาน ชาวบ้านเรียก กั ล ปพฤกษ์ คนสมั ย ก่อ นน� ำ เหรี ย ญยั ด ใส่ มะนาว แต่สมัยนี้ เราท�ำให้สวยงาม ใช้งาน จริง มีท�ำเป็นสีขาว-ด�ำ ส่วนงานฝีมือที่เน้น

ความสวยงาม นิยมใช้เป็นของที่ระลึกในงาน เกษียณอายุ งานแต่ง งานบวช” ภัครดาเสริม ฝีไ ม้ล ายมื อ ของเยาวชนกลุ ่ม นี้ การั น ตี คุณภาพด้วยรางวัลเหรียญทองสองสมัยติดต่อ กันจากงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขต พื้นที่ศึกษาของส�ำนักงานกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และยังมีรางวัลผลิตภัณฑ์ ยอดเยี่ ย มในงานตลาดนั ด วิ ช าการประจ� ำ ปี 2557 ที่ สพฐ. จัดขึ้น “พอได้ร างวั ล ผลิ ต ภั ณ ฑ์ย อดเยี่ ย ม ก็ มี การต่อยอด โดยให้เราไปโชว์ในเวทีภาค แต่เรา ไม่เ คยไป เพราะมี ค ่า ใช้จ ่า ย อาทิ ค่า รถ ค่าอาหาร ซึ่งโรงเรียนเราไม่พร้อม” แสงสุรีว่า นอกจากนี้ ท างครู ภั ค รดาก� ำ ลั ง ฝึก เด็ ก นักเรียนในความดูแลให้เป็นมัคทายกน้อยและ มัคคุเทศก์น้อย ฝึกฝนการอ่านออกเสียงให้ ถู ก ต้อ งตามอั ก ขระภาษาไทย เรี ย กได้ว ่า ที่ โรงเรียนบ้าน กม.2 มีกจิ กรรมสร้างเสริมทักษะ ให้แก่นก ั เรียนมากมาย ปลูกฝังความมีจต ิ อาสา ท�ำเพื่อชุมชนและสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่...

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 31


เศรษฐกิจชุมชน Community’s Economy

ผู้คนในเขตเทศบาลต�ำบลวังชมภูนน ั้ ส่วนใหญ่ ท�ำการค้า โดยมีร้านค้ากระจุกตัวอยู่ในโซนตลาด ผู ้ค นอี ก ส่ว นท� ำ งานประจ� ำ รั บ ราชการบ้า ง พนั ก งานเอกชนบ้า ง แต่เ ราได้ไ ปรู ้จั ก กั บ คน กลุ่มหนึ่งที่มีความน่าสนใจ การงานของพวกเขา เรียบง่าย แต่มีความสุขบนความพอดี

32 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 33


ดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มแม่บ้านทรัพย์ชมภู “เมื่อก่อนก็อยู่ว่าง ท�ำไร่ท�ำนา นั่งเล่นกัน ไป พอปี 2545 ส�ำนักงานจัดหางานจังหวัดเข้า มาชวนให้รวมตัว ก็รวมได้ 20 คน ไปอบรม 8 วันที่วัดซับข่อย” จ�ำปี ไพภิบาล ประธาน กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ เล่าถึงจุดเริม ่ ต้นของกลุ่ม หัวข้ออบรมครั้งนั้นมีมากมายหลายเรื่อง ทั้งการท�ำดอกไม้จันทน์จากกาบข้าวโพด การ ท�ำดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษย่น ดอกไม้ ประดั บ หลั ง หี บ ศพ พวงหรี ด และการจั ด ตกแต่ง ดอกไม้ส ดซึ่ ง ทางส� ำ นั ก จั ด หางาน เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาไว้ให้พร้อม หลังอบรมเสร็จ ปรากฏว่ามีคนในชุมชน เสี ย ชี วิ ต ก็ มี ค นมาซื้ อ ดอกไม้จั น ทน์กั บ กลุ ่ม นับแต่นั้นดอกไม้จันทน์ หรือ ‘สุดสวยไร้กลิ่น’ ซึ่งเป็นชื่อที่กลุ่มตั้งกันขึ้น ก็กลายเป็นสินค้า หลักเรื่อยมา ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ นั้น ก็มีทั้ง ดอกไม้ส ด ดอกไม้แ ห้ง ดอกไม้ป ระดิ ษ ฐ์ ติดบอร์ด ดอกไม้ผ้าใยบัว นอกจากนี้กลุ่มยังมี บริการพิเศษ คือรับจัดเมรุ รับจัดซุ้มดอกไม้ ในงานแต่งงาน จัดดอกไม้ขันหมากด้วย รายได้ก้อนแรกทีไ่ ด้มานัน ้ ทางกลุ่มฯ น�ำมา เป็นเงินทุนซื้อวัสดุส�ำหรับท�ำดอกไม้ รายได้ สามเดือนแรกจึงเก็บเป็นทุนทั้งหมดโดยที่ยัง ไม่มก ี ารปันผล เพราะระบบทุกอย่างยังไม่ลงตัว ตอนแรกทั้ง 20 คน ยังแข็งขัน แต่ต่อมา บางส่วนเริ่มถอย บ้างก็มาร่วมเป็นบางครั้ง กระทัง่ ผ่านไปสามเดือนก็เริม ่ จ่ายปันผล ต่อมา ก็จ่ายทุกเดือน 34 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ต่อมาช่วงปี 2546 ส�ำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่ น คงของมนุ ษ ย์จั ง หวั ด (พมจ.) สนับสนุนเงินจ�ำนวน 20,000 บาท กลุ่มฯ จึง แบ่งไว้เป็นทุนครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งกันไว้เป็น เงินกู้ฉุกเฉิน ให้สมาชิกกู้คนละไม่เกิน 2,000 บาท เสี ย ดอกเบี้ ย ร้อ ยละสองบาทต่อ เดื อ น ก� ำ หนดคื น ภายในห้า เดื อ น ถ้า ไม่พ ร้อ มให้ ท�ำเรื่องกู้ใหม่ “ทยอยคื น ไม่ล ดต้น ลดดอก เพราะ ประธานคิดเปอร์เซ็นต์ไม่เป็น” จ�ำปีพูดพร้อม หัวเราะ หลั ง จากเก็ บ หอมรอมริ บ มาได้พั ก หนึ่ ง กลุ ่ม ฯ จึ ง น� ำ เงิ น ที่ ไ ด้จ ากดอกเบี้ ย มาสร้า ง โรงเรือน พร้อมต่อไฟฟ้าและน�ำ้ ประปา เพือ ่ ไว้ เป็นสถานที่รวมตัวกันท�ำงานทุกวันตอนเย็น “ท�ำกันตัง้ แต่สโี่ มงเย็นเป็นต้นไป ถ้าวันไหน งานเยอะอยู่ถึงสองสามทุ่ม คนที่มาท�ำประจ�ำ มี 6-7 คน บางคนมาบ้างไม่มาบ้าง จะได้รับ เงินเป็นรายชิ้นงานไป” ประธานว่า กลุ ่ม ฯ ด� ำ เนิ น กิ จ การเช่น นี้ เ รื่ อ ยมาจน ก ร ะ ทั่ ง จ ด ท ะ เ บี ย น เ ป น ็ วิ ส า ห กิ จ ชุ ม ช น ทรัพย์ชมภูชุมชนที่ 2 ต�ำบลวังชมภู ซึ่งพอเป็น วิสาหกิจชุมชนแล้ว ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอ เมื อ งเพชรบู ร ณ์ก็ มี เ งิ น ทุ น สนั บ สนุ น ให้ แต่ ทางกลุ่มฯ ไม่รบ ั เพราะเกรงว่าดอกเบีย ้ จะเป็น ภาระ และเชื่อมั่นว่ายืนหยัดบนขาของตัวเอง ได้ จะมีก็เพียงความช่วยเหลือจากส�ำนักงาน ตรวจบั ญ ชี ส หกรณ์เ พชรบู ร ณ์ที่ เ ข้า มาสอน ท�ำบัญชีอย่างใกล้ชิด


จ�ำปี ไพภิบาล

ทองใบ กองดี

วิถ วิถีสีสชีชมพู มพูของคนวั ของคนวังงชมภู | 35


“ชาวบ้านอย่างเราท�ำบัญชีกันไม่ค่อยเป็น หรอก แต่พอเราเป็นวิสาหกิจชุมชน มันจ�ำเป็น ต้องท�ำ” จ�ำปีว่า “แต่กลุ่มเราเอามาปรับใช้ใน แบบของตัวเอง ตัดเรื่องการคิดเปอร์เซ็นต์ที่ ยุ่งยากออก เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สงู อายุ จะมาท�ำบัญชีอย่างน้องๆ สาวๆ ก็ไม่ไหว” ด้วยเหตุนี้ กลุ่มฯ จึงท�ำบัญชีแบบเข้าใจ ง่าย ไปซื้ออะไรมาก็จดไว้ หักลบกลบหนี้แล้ว เหลือเท่าไรหารหมด เช่น มีสมาชิก 20 คน ก็จะหารด้วย 21 เพราะต้องเหลือไว้หนึ่งหุ้น เพื่อเป็นกองกลาง พอครบ 12 เดือน ถ้าเงิน กองกลางเหลื อ จะหารเฉลี่ ย คื น ให้ส มาชิ ก ถ้าเดือนไหนค่าใช้จ่ายเยอะ ประธานจะน�ำเงิน ส่ว นตั ว ให้ก ลุ ่ม ยื ม ก่อ น เมื่ อ ขายของได้ มีกองกลางค่อยจ่ายคืน 36 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

“มี เ งิ น ซื้ อ ของทุ ก เดื อ น มี เ งิ น ปัน ผล ทุกเดือน อยู่ได้ จบ...” จ�ำปีว่า ล่าสุดเมื่อปี 2557 กลุ่มฯ ได้ขึ้นทะเบียน OTOP แต่ไม่เข้ารับการคัดสรร เพราะแต่ละคน มีภารกิจมาก ไม่มีเวลาว่างเดินสายไปตามที่ ต่างๆ ในประเทศ แนวคิดหลักของกลุ่มฯ จึงเป็นเรื่องของ การอยู่ได้อย่างเพียงพอ มีรายได้เสริมเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงกับต้องร�่ำรวย หรือไปแข่งขันกับ ใคร เป็นความพอใจบนความเพียงพอที่กลุ่ม แม่บ้านทรัพย์ชมภูกลุ่มนี้ตั้งมั่นไว้ “เราเคยได้สู ง สุ ด 5,000 บาทต่อ คน ต่อเดือน แต่โดยเฉลี่ยก็ไม่ถึง พอแล้ว อยู่ได้ แล้ว” จ�ำปีว่า...


วิถ วิถีสีสชีชมพู มพูของคนวั ของคนวังงชมภู | 37


ชี วิตดี๊ดี มีพืชผักปลอดสาร

เนตรนภา เนตรแสงสี

38 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

อัมพร เนตรแสงสี


ชุ ม ชนที่ 2 ชุ ม ชนทรั พ ย์ช มภู ยั ง คงเป็น ชุมชนเกษตรกรรม คนทีน ่ ย ี่ ด ึ อาชีพท�ำไร่ ท�ำนา ปลูกข้าวโพด พืชผักสวนครัว แต่ถ้าหากใครได้ ผ่านไปมา จะเห็นว่าชุมชนแห่งนี้ปลูกสวนครัว อย่างเป็นล�่ำเป็นสัน โดยเฉพาะชะอม ซึ่งเป็น พืชทีป ่ ลูกง่าย สามารถปลูกแทรกในป่ามะขาม มะม่วง ไร่นาสวนผสมได้ เก็บยอดได้ตลอดปี แต่ต้องคอยแต่งกิง่ ใบ ตัดกิง่ ยาวออก ก็จะแตก กิ่ ง ออกมาใหม่ ที่ ส� ำ คั ญ เพราะที่ นี่ มี ต ลาด รองรับผลผลิต “ฝนตกเก็บชะอมไปขาย สมัยสิบปีก่อน ขายก�ำละบาท เจ็ดก�ำห้าบาท มีแม่ค้ามารับไป ขายที่ตลาดบ้านวังชมภู ทั้งขายปลีก ขายส่ง ได้เงินให้ลูกไปโรงเรียนก็ดีใจแล้ว” เนตรนภา เนตรแสงสี สมาชิกกลุ่มพืชผักปลอดสารพิษ ย้อนความให้ฟัง

วิวิถถีสีสีชีชมพู มพู ของคนวั ของคนวังงชมภู ชมภู || 39 39


กระทั่ ง ส� ำ นั ก งานเกษตรอ� ำ เภอเข้า มา ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มแม่บา้ น เกษตรกรทรัพย์ชมภู ชุมชนที่ 2 มี พิชญาพัฒน์ เป็งแก้ว เป็นประธานกลุ่ม ได้รบ ั การสนับสนุน ให้ทำ� เกษตรแบบปลอดสารพิษ โดยทางเกษตร อ�ำเภอมาให้ความรู้เรื่องการท�ำปุ๋ยหมัก และ สนั บ สนุ น ให้ส ่ง พื ช ผั ก เข้า ประกวดตามเวที ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเกษตรกรเกิ ดการ พัฒนาตนเอง นับแต่นน ั้ มา ภายในกลุ่มก็ทำ� ปุ๋ยหมักและ ฮอร์โมนไข่ไว้แบ่งกันใช้ในกลุ่มด้วย เพราะฉีด พืชผักแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่าง ฮอร์โมนไข่ที่ใช้บ�ำรุงล�ำต้นและรากให้แข็งแรง บ� ำ รุ ง ดิ น แก้ร ากเน่า และแก้พื ช เหี่ ย วนั้ น

40 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ท�ำจากลูกแป้งข้าวหมากบดละเอียด ไข่ไก่ทั้ง เปลือก นมเปรี้ยว น�้ำซาวข้าว กากน�้ำตาล หมักรวมกันไว้ ใช้ฉีดพืชอาทิตย์ละสองครั้ง ในสัดส่วน 5 ช้อนต่อน�้ำ 20 ลิตร ส่วนปุ๋ยหมัก หรือฮอร์โมนน�้ำหมักจากพืช ช่วยเร่งยอด ท�ำให้ผก ั เขียว ท�ำจากซากอินทรีย์ ทั้งหลาย น�ำมาใส่กากน�้ำตาล เพิ่มแคลเซียม จากกระดูกสัตว์ หมักจนขึน ้ หนอน ใช้ในสัดส่วน 5 ช้อนต่อน�้ำ 20 ลิตรเช่นเดียวกัน ถ้ามีแมลง ก็เอาสารไล่แมลงไปใส่ด้วย สารนี้จะไล่แมลง ออกไป ไม่เป็นพิษภัยต่อธรรมชาติ กระทั่งประมาณปี 2550 อบต.วังชมภู มาติดต่อว่าห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งอยากได้ พืชผักปลอดสารแม่บ้านในชุมชนที่ 2 ที่รวม


กลุ่มกันอยู่แล้วประมาณ 20 ครัวเรือน จึงสบ โอกาส และเลือกส่งชะอมตามโควตา โดยเก็บ จากแปลงของแต่ละครัวเรือนมารวมกันไว้ แบ่ง กันส่ง โดยมีทางกลุ่มคอยประสานตรวจสอบ ยอดชะอมของแต่ละบ้านให้ครบตามจ�ำนวนที่ ห้างสรรพสินค้านั้นต้องการในแต่ละวัน จากเมื่ อ ก่อ นชะอมเป็น รายได้เ สริ ม จึ ง กลายเป็นรายได้หลักไปโดยปริยาย “การมี ก ลุ ม ่ ท� ำ ให้เ ราสามารถเก็ บ ส่ง ได้ รอบละ 500 กิโลกรัมตามออเดอร์ทข ี่ อมา วัน เว้นวัน ส่วนพืชผักสวนครัวอื่นๆ เช่น มะเขือ กะเพรา ก็ยังส่งขายที่ตลาดชุมชนอยู่” อัมพร เนตรแสงสี สมาชิกกลุ่มฯ อธิบาย กระนั้ น ในแต่ล ะฤดู ก าลจะเก็ บ ชะอมได้ ไม่เท่ากัน อย่างปีนี้แล้งก็เก็บได้ไม่ค่อยครบ

ตามออเดอร์ แต่จะได้ราคาดีเพราะขาดตลาด และเนื่ อ งจากต้อ งเก็ บ ชะอมปริ ม าณมาก เจ้าของสวนจึงมีการจ้างงานคนในชุมชนเก็บ เป็น การกระจายรายได้ภ ายในชุ ม ชนอี ก ทางหนึ่ง นอกจากนี้ กลุ ่มแม่บ ้านเกษตรฯ ยังได้ ส่งต่อองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ อย่างอ�ำเภอ น�ำ้ หนาว หล่มสัก และบึงสามพัน ด้วยการเป็น วิทยากรนอกสถานที่ตามเรือนจ�ำ ค่ายทหาร และวิทยาลัยเทคนิค หรือบางครัง้ ก็มค ี รูพาเด็ก นักเรียนมาเรียนถึงที่ วิ ถี เ กษตรของกลุ ่ม พื ช ผั ก ปลอดสารพิ ษ สร้างรายได้ที่พอเพียงในครัวเรือนไปพร้อมๆ กับความสุขสบายใจ สมาชิกคนหนึง่ สะท้อนว่า “ท�ำเกษตรมันมีความสุข อิสรเสรี...”

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 41


เพ(ร)าะใจรัก ‘น�้ำดี ดินอุดม’ คือเสน่ห์ของต�ำบลวังชมภู ทีแรก ‘ครูตี๋’ หรือ สมทรง จารย์ค�ำมา อดีต ครูโรงรียนบ้านยางหัวลม ต�ำบลวังชมภู ก็รับ ราชการตามปกติ กระทั่งมีความสนใจท�ำสวน ท�ำไร่ จึงได้พบกับความจริงนี้ด้วยตัวเอง ย้อนกลับไปเกือบ 40 ปีที่แล้วตอนบรรจุ เข้ารับราชการใหม่ๆ ครูตี๋ได้เงินเดือน 1,500 บาท จึงคิดท�ำธุรกิจเสริม เพื่อหารายได้เพิ่ม เติม ลองมาหลายอย่างแต่ไม่ประสบผลส�ำเร็จ บั ง เอิ ญ คุ ณ แม่ข องครู ตี๋ มี ท่ี ดิ น อยู ่ ในปี 2522 ครูตี๋จึงลองปลูกต้นมะม่วงและมะขาม หวาน โดยกู้เงินจากสหกรณ์ครูมาขยายงาน ทีส ่ วนและซือ ้ ทีท ่ างเพิม ่ เติม พอเข้าปีทส ี่ ามก็ได้ ผลมะม่วงมากขนาดรถหกล้อขนไม่หมด ครูตี๋ ขนมะม่ว งลู ก ใหญ่ไ ปขายที่ ต ลาดมหานาค กรุงเทพฯ ได้ราคาดี จึงด�ำเนินธุรกิจเช่นนั้น เรื่อยมา กระทั่งปี 2528 กลุ่มคนญี่ปุ่นได้ผ่านเข้า มาในพื้นที่ ได้เห็นต้นมะม่วงมีลูกใหญ่ รวมทั้ง ต้นมะขามหวาน ซึง่ เป็นของดีจงั หวัดเพชรบูรณ์ จึงสั่งกิ่งช�ำมะม่วง 500 ต้น มะขาม 600 ต้น ครูตี๋จัดส่งออเดอร์นั้น ต่อมาส�ำนักงานเกษตร จังหวัดเพชรบูรณ์ ท�ำโครงการของศูนย์พฒ ั นา และสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้สงั่ ซื้ อ กิ่ ง พั น ธุ ์จ ากที่ นี่ ไ ปแจกชาวบ้า นในพื้ น ที่ เขาค้อและภูทับเบิก

42 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

“เป็นเหมือนการจุดประกายให้เรา จาก การปลูกมะม่วงแล้วได้ผลดี ได้เงินดี ขายผลได้ ขายกิ่งพันธุ์ได้ จากนั้นเลยลองปลูกฝรั่งแป้น สีทองแซมระหว่างต้นมะม่วง ปรากฏว่าได้ผล ใหญ่สวย มีรายการโทรทัศน์มาถ่ายท�ำที่สวน ท�ำให้ลก ู ค้าเริม ่ มาจากทัว่ สารทิศ สัง่ กิง่ พันธุ์ไป ปลูก บ้างก็เอาไปขายต่ออีกทีหนึ่ง” ด้วยความทีส ่ มัยนัน ้ ไม่ค่อยมีคนท�ำกิง่ พันธุ์ พอคนในละแวกบ้านเห็นว่าครูตี๋ท�ำ จึงเอากิ่ง สายพันธุ์ดีมาให้ทาบ แต่เนื่องจากไม่มีเวลา ครูตจี๋ งึ จ้างชาวบ้านมาท�ำ ขยับขยายไปเรือ ่ ยๆ และมีคนมาขอซือ ้ ตลอดไม่ขาดสาย จนเมือ ่ หก ปีที่แล้ว ครูตี๋เลิกขายผล เพราะไม่มีคนงาน เปลี่ยนมาขายแต่กิ่งพันธุ์ ส่วนผลที่ออกดกใน สวน ส่วนใหญ่แจกให้ชาวบ้านกิน ทุกวันนี้ แหล่งเพาะช�ำกิ่งพันธุ์ไม้ผลของ ครู ตี๋ มี กิ่งพั นธุ ์หลายชนิดหลากสายพันธุ์ ทั้ง พริก มะนาว มะขาม มะม่วง ฝรั่ง มะขามป้อม มะยงชิด ฯลฯ อยู่บนหลักการ ‘ครองตัวเอง ครองคน ครองงาน’ ไม่อยู่เฉย ไม่ทิ้งหน้าที่ การงาน และคอยเอาใจใส่ดแู ลต้นไม้ซอ ื่ ตรงต่อ ลูกค้า คัดเฉพาะกิง่ พันธุ์ทแี่ ข็งแรงไม่หลอกลวง สายพั น ธุ ์ ท� ำ ให้ลู ก ค้า ที่ ม าซื้ อ ไปปลู ก แล้ว ได้ผลดี บอกต่อๆ กันไปเอง ช่วงหนึง่ ครูตเี๋ คยผันตัวไปเปิดร้านค้าเล็กๆ ในชุมชน เพราะคิดจะเลิกท�ำพันธุ์ไม้ แต่ที่สุด แล้วก็ต้องปิดกิจการร้านค้าไป แล้วหันกลับมา ท�ำพันธุ์ไม้อีก “...เพราะใจมันรัก” ครูตี๋ยิ้ม...


ครูตี๋

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 43


กลุ่มอนุรักษ์พระเครื่องท้องถิ่นวังชมภู

ประเสริฐ ยอดยิ่ง

“ทีแรกก็ส่องพระตามปกติ แล้วเด็กๆ ก็มา เรียนรู้กับเรา ถามว่าพระแต่ละองค์เป็นยังไง เราก็ให้ความรู้กับเขา เพราะพวกผมชอบพระ ตั้งแต่เด็กๆ” ประเสริฐ ยอดยิ่ง แห่งชมรม พระเครื่ อ งวั ง ชมภู กล่า วถึ ง ที่ ม าของชมรม “เดี๋ยวนี้เด็กๆ สนใจดูพระกันเยอะ ก็ดี จะได้ ไม่ต้องไปกินเหล้าเมายา” ด้าน ทองย้อย สิงห์คา ที่ปรึกษาชมรมฯ กล่าวสมทบว่า “คนสะสมพระเครื่องโดยมาก ไม่ขี้เมา จะมีสมาธิมั่น เขาจะมีความสุขทางใจ ไปอีกแบบหนึ่ง” สุ ข ทางใจที่ ว ่า คื อ ความภาคภู มิ ใ จที่ ไ ด้ พระดีมาเก็บไว้กับตัว เพราะเป็นของหายาก “ก่อ นหน้า นี้ ผ มตระเวนประกวดพระ หกสนาม ติดหมดเลยนะ ไม่ที่หนึ่งก็ที่สอง” ประเสริฐเล่าด้วยความภาคภูมิใจ พระทีป ่ ระเสริฐส่งเข้าประกวดมีหลวงปู่ทวด เจ้าคุณนรรัตน์ พระก�ำแพงเพชร พระก�ำแพง44 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ทองย้อย สิงห์คา

หน้าโหนก หลวงพ่อทบ พิมพ์ฐานสูงของวัด ชนแดน และก�ำแพงเนื้อชิน (นางก�ำแพงเพชร) ซึ่ งหกสนามประกวดที่เอ่ยถึง ได้แ ก่ พุกแค (สระบุรี) สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ จะมีคณะกรรมการผู้ช�ำนาญ คัดกรองว่าแท้หรือไม่ ถ้าแท้ก็มาเทียบกันว่า องค์ไหนสวยที่สุด ที่ส�ำคัญ ไม่น่าเชื่อว่า ครั้งหนึ่งพระเครื่อง เคยได้ช่วยประเสริฐให้ข้ามผ่านวิกฤตมาด้วย ดั้ ง เดิ ม ประเสริ ฐ เป็น คนพิ จิ ต ร ชื่ น ชอบ พระเครื่ อ งมาตั้ ง แต่อ ายุ สิ บ กว่า ขวบ ช่ว งปี 2539-2540 เกิดฟองสบู่แตก งานตัดเย็บ เสื้อผ้าซบเซามาก ประเสริฐจึงน�ำพระที่สะสม ไว้ออกปล่อยเช่าบางส่วน ท�ำให้มีรายได้เสริม ขึ้นมา หลังจากไปอยู่กรุงเทพฯ หลายปี ประเสริฐ ก็กลับมาอยู่ที่เพชรบูรณ์ จนกระทั่งรู้จักกับคน คอเดียวกัน เกิดเป็นกลุ่มก้อน พูดคุย แบ่งปัน


ความรู้กัน โดยเฉพาะข้าราชการที่เกษียณมัก จะชอบพระเครื่อง ทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทนาย ปลัดอ�ำเภอ ต่างก็รวมตัวกันอยู่ในแวดวงของ ประเสริฐ ด้วยวัยทีห ่ ลากหลาย ตัง้ แต่วย ั รุ่นอายุ 20 ปี จนถึงระดับอาวุโสวัย 70-80 ปี ท�ำให้ที่นี่ เป็นแหล่งรวมสรรพวิชาความรู้เรือ ่ งพระเครือ ่ ง ทั้งยังเป็นการพบปะเพื่อนต่างวัย โดยทุกวันนี้ มีสมาชิกขาประจ�ำราว 10 คน ยังไม่นับรวมที่ แวะเวียนเข้ามาแลกเปลี่ยนพระเป็นครั้งคราว “ส่วนใหญ่เรารู้จก ั กันหมด แต่ถ้ามาขลุกที่ ร้านบ่อยๆ ก็มีเท่านี้ 10 คน” ประเสริฐว่า นอกจากแลกเปลีย ่ นความรู้แล้ว ประเสริฐ ยังประดิษฐ์กรอบพระ ขายสร้อย แลกเปลี่ยน พระ เช่าพระ เป็นการเสริมรายได้ไปในตัว ส่วนใครสนใจการประดิษฐ์กรอบพระ ประเสริฐ ยิ น ดี ส อนให้โ ดยไม่คิ ด เงิ น ที่ ส� ำ คั ญ เขายั ง ไม่เคยทิง้ อาชีพเย็บผ้า ซึง่ เป็นอาชีพดัง้ เดิมของ ตัวเอง วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 45


วิชาชีวิต

Education

การศึกษาในเขตเทศบาลต�ำบลนัน ้ ครอบคลุม ทัว่ ถึง ตัง้ แต่เด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต จะมีกแ ็ ต่ระดับ อุดมศึกษาที่ต้องเข้าไปในเมือง สถาบันการศึกษา ส่วนใหญ่ได้รบ ั การควบคุมมาตรฐานโดยหน่วยงาน รั ฐ หากในส่ว นของกิ จ กรรมเสริ ม ทั ก ษะอื่ น ๆ ทีโ่ รงเรียน ชุมชนได้ช่วยกันสรรค์สร้างขึน ้ มาจึงเป็น เสน่ห์เฉพาะตัวที่น่าค้นหามากกว่า และเราก�ำลัง พาไปดูเรื่องราวเหล่านั้น 46 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 47


ศูนย์เรียนรู ้เศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษา

48 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ทองสุก ศุขะพันธุ์

สมหมาย บัวบาง

โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภูตั้งขึ้นเมื่อ 73 ปีทแี่ ล้ว นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกของต�ำบล วั ง ชมภู แต่เ มื่ อ ปี 2518 ย้า ยจากบริ เ วณ สามแยกวังชมภูมาตัง้ อยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 12 บ้าน วั ง เจริ ญ ซึ่ ง มี พื้ น ที่ ก ว้า งขวางกว่า เดิ ม เปิด โอกาสให้ท างโรงเรี ย นได้พั ฒ นากิ จ กรรม ส่ง เสริ ม ทั ก ษะให้กั บ นั ก เรี ย น โดยปัจ จุ บั น โรงเรียนมีครู 30 คน เป็นข้าราชการ 23 คน และครูอัตราจ้าง 7 คน นักเรียน 330 คน โดย มีเด็กก่อนวัยเรียน 15 คน สมหมาย บัวบาง ครูอาวุโสของโรงเรียน บ้า นสามแยกวั ง ชมภู ย้อ นความให้ฟ ัง ว่า เริม ่ แรกในชัว่ โมงการงานฯ ภายในชุมชนมีการ เพาะกล้าสักขาย ครูจึงสอนให้นักเรียนเพาะ กล้าสักขายไปด้วย “จากนั้นก็เริ่มขยับไปท�ำกล้าชะอม เพาะ เห็ ด นางฟ้า และสอนให้รู จ้ ั ก การท� ำ หน่อ ไม้

อั ด ถุ ง ขาย เพราะในชุ ม ชนมี ต ้น ไผ่เ ยอะ จึ ง ขอให้นั ก เรี ย นเอาหน่อ ไม้ม าจากบ้า น โดย แต่ล ะปีจ ะได้รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการศึกษาขัน ้ พืน ้ ฐาน (สพฐ.) มา ท�ำกิจกรรมตรงนี้” ครูสมหมายเล่า ต่อมาราวปี 2553 สพฐ. มีนโยบายปลูกฝัง ให้นักเรียนรู้จักความพอเพียง ทางโรงเรียนจึง ตัง้ ชุมนุมเศรฐกิจพอเพียง โดยจัดให้เป็นชุมนุม บังคับที่เด็กทุกคนต้องเข้าร่วม ควบคู่ไปกับ ชุมนุมอื่นๆ ที่ตัวนักเรียนสนใจ โดยเริ่มจาก แปลงผักเล็กๆ ต่อด้วยเลีย ้ งปลาดุก ปลูกกล้วย และท�ำโรงเรือนเพาะเห็ด “ปลาดุกหายหมดแล้ว ปล่อยเยอะแต่เก็บ ได้นอ ้ ย เพราะเด็กเล็กมาเล่นกัน เอาเบ็ดมาตก ไป” ทองสุก ศุขะพันธุ์ ครูผู้ดูแลศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงฯ เสริม “ส่วนเห็ดท�ำเทอม ที่แล้ว แต่ขาดทุนเพราะอากาศหนาว มันหด วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 49


ลงทุนไปสี่พันบาท ได้กลับมาสองพันบาท เลย ไม่ได้ลงอีก” เมือ ่ เทอมทีแ่ ล้ว ให้เด็กๆ ปลูกต้นมะละกอ และต้นชะอมรอบโรงเรียน โดยมี ผอ.โกมล อุฤทธิ์ น�ำปลูก กระทัง่ ปลายปี 2557 โรงเรียน ได้ง บสนั บ สนุ น โครงการเงิ น ทุ น หมุ น เวี ย น ส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จ�ำนวน 250,000 บาท จึงน�ำมาสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ ซื้อไก่พันธุ์ 120 ตัวจากเกษตรกรใน หมู่บ้าน และซือ ้ อาหารไก่ โดยเริม ่ เลีย ้ งไก่ตงั้ แต่ เดือนมกราคม 2558 “ที่จริงก่อนหน้านี้มีการเลี้ยงไก่บ้าน แต่ เลี้ยงไปเลี้ยงมาเป็นไก่ตี ไม่ได้ไข่ เลยเปลี่ยน เพราะเราต้องการไข่ส่งเข้าโรงครัว” ครูทองสุก บอก กิจกรรมหลักของเทอมล่าสุดจึงเป็นการ เลี้ ย งไก่ โดยเด็ ก ๆ จะหมุ น เวี ย นกั น มาท� ำ กิจกรรมตามหน้าทีร่ บ ั ผิดชอบ วันศุกร์บ่ายเป็น คาบชุมนุม แต่นักเรียนชั้น ม.1 ถึง ม.3 จะแบ่ง 50 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

เวลามาดูแลไก่ทุกวัน “เด็กมาเก็บไข่ตอนพักเที่ยงเวลา 12.30 น. ครั้งละ 5-6 คน โดยมีสภานักเรียนคอย ก�ำกับดูแล มีครูเวร 4 คน รับผิดชอบสัปดาห์ ละคน และบางครั้งนักเรียนชั้น ป.5 และ ป.6 จะมาสังเกตการณ์ ส่วนในช่วงปิดเทอม เด็กๆ ก็ยังต้องมาดูแลไก่อยู่” ครูทองสุกสาธยาย จากหลักคิดของ ผอ.โกมล ‘กล้วยหนึ่งใบ ไข่หนึ่งฟอง นมหนึ่งกล่อง นักเรียนจะเก่ง’ ไข่ ที่เก็บได้ จึงน�ำไปต้มให้นักเรียนชั้นอนุบาลถึง ป.6 รับประทาน ส่วนผู้ปกครองที่ประสงค์ อุดหนุนไข่ไก่ต้องสั่งจองล่วงหน้า ส่วนขี้ไก่ จะ รวบรวมไปท�ำปุ๋ยให้ต้นไม้ โดยเอาไปตากแห้ง แล้วเอาใบไม้มากลบ รองข้างล่างด้วยแกลบ พอเปื่อยยุ่ยก็น�ำไปใช้ นอกจากเลี้ ย งไก่แ ล้ว ที่ โ รงเรี ย นบ้า น สามแยกวังชมภูแห่งนี้ยังสนับสนุนให้เด็กปลูก มะนาวด้วย เพราะเปิดเทอมมานี้ ผอ. เห็นว่า มะนาวแพง จึ ง เอางบประมาณในการท� ำ


กิจกรรมไปซื้อมะนาว 30 ต้น ต้นละ 40 บาท ให้ปราชญ์ชาวบ้านมาสอนนักเรียน แล้วให้ นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาแบ่ง กั น รั บ ผิ ด ชอบ ตลอดทั้งเทอม โดยให้สองคนดูแลหนึ่งต้น อีกกิจกรรมสดๆ ร้อนๆ คือการเลี้ยงปลา ยี่สก ซึ่งเมื่อสองเดือนที่แล้วทางโรงเรียนขอ ปลายี่สกจากประมงจังหวัดมาลงไว้ 3,000 ตัว โดยมอบหมายให้เด็กชั้นมัธยมศึกษาคอย ดูแลและเป็นพีเ่ ลีย ้ งให้กบ ั น้องชัน ้ ประถมศึกษา เมื่อปิดเทอม ทางโรงเรียนจะล้างบ่อ และจัด จ�ำหน่ายปลาในราคาถูกกว่าตลาด ส่วนใหญ่ คนทีม ่ าซือ ้ เป็นครู เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และ ชาวบ้านที่อยู่บริเวณรอบๆ โรงเรียน ส�ำหรับรายได้จากสินค้าเกษตรทั้งหลาย เหล่านี้ น�ำไปต่อยอดเป็นทุนส�ำหรับกิจกรรม ใหม่ๆ หากก�ำไรที่ได้ส่วนหนึ่ง ทางครูจะคืนให้ แก่เด็กนักเรียน แต่ทงั้ นีไ้ ม่ได้คน ื เป็นรายบุคคล แต่จะใช้วิธีน�ำเข้าสหกรณ์ของโรงเรียน ซึ่งเด็ก ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก

นอกจากนีโ้ รงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ยัง มีนำ�้ ดืม ่ เป็นของตัวเอง ด้วยกรมทรัพยากรธรณี ได้เข้ามาส�ำรวจและสร้างโรงกรองน�ำ้ ให้มล ู ค่า มากกว่าล้านบาท ท�ำให้เด็กๆ ได้บริโภคน�้ำที่ สะอาด ทั้งยังเปิดให้ชาวบ้านได้เข้ามาซื้อน�้ำ ราคาถูกไว้บริโภค เงินก�ำไรที่ได้ ทางโรงเรียน จะเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายส�ำหรับเปลี่ยนไส้กรอง ซึ่ ง จะมี นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาผลั ด เวรมา เข็นน�้ำไปเติมให้นักเรียนอนุบาล ห้องละถัง วันนี้ เด็กทุกคนล้วนได้เห็น ได้สัมผัส จาก การลงมื อ ปฏิ บั ติ เรี ย นรู ้วิ ถี แ บบพอเพี ย ง กิ จ กรรมที่ เ ปลี่ ย นไปเรื่ อ ยๆ ในแต่ล ะเทอม ท�ำให้นักเรียนมีความรู้ที่หลากหลาย สมดังที่ เคยประกวดระดับอ�ำเภอ ได้รางวัลชนะเลิศ การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้โครงการพระราชด�ำริใน สถานศึกษาปี 2555 ประเภทโรงเรียนขยาย โอกาสและได้รับรางวัลชมเชยในระดับจังหวัด มาด้วย...

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 51


สหกรณ์โรงเรียน

สหกรณ์โ รงเรี ย นบ้า นสามแยกวั ง ชมภู เริม ่ ต้นตัง้ แต่ปี 2545 ผ่านการระดมหุ้นจากครู และนักเรียน หุ้นละ 10 บาท ซือ ้ ได้ไม่จำ� กัดหุ้น รวมกั บ เงิ น รายได้จ ากการท� ำ สวนเกษตร ภายในโรงเรียน ทัง้ การเพาะกล้าพันธุ์ขาย และ จากสินค้าเกษตรอื่นๆ ก่อนน�ำเงินไปซื้อสินค้า อุ ป โภคบริ โ ภคมาขายในร้า นสหกรณ์ ซึ่ ง มี อุปกรณ์การเรียนอย่างสมุด ดินสอ ปากกา รวมถึงน�้ำดื่ม “เคยขายไอศกรีมด้วย (หัวเราะ) ไอศกรีม แพนด้า ส่ว นขนมกรุ บ กรอบ กั บ น�้ ำ อั ด ลม ทางโรงเรียนไม่ขาย” สมพิศ เคารพ ครูผู้ดูแล โรงเรียนธนาคาร บอก ทางโรงเรียนให้เด็กและครูเป็นคณะท�ำงาน ร่ว มกั น ช่ว ยกั น บริ ห ารและด� ำ เนิ น งาน ซึ่ ง เป็น การฝึก ให้เ ด็ ก รู ้จั ก การค้า ขายและฝึก การออม โดยมีการจัดแบ่งเวรเด็ก เริ่มตั้งแต่

52 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ชั้น ป.4 เข้ามาขายของที่ร้าน รวมถึงจัดท�ำ บัญชีของร้านค้า โดยมีครูเป็นผู้สอนและดูแล อย่างใกล้ชิด “ก� ำ ไรสุ ท ธิ ร ้อ ยละ 30 จั ด คื น ให้กั บ โรงเรียน เพื่อเป็นทุนในการด�ำเนินงานต่อไป ส่ว นอี ก ร้อ ยละ 70 คื น ให้ต ามหุ ้น ซึ่ ง เด็ ก ทุ ก คนในโรงเรี ย นต้องมีหุ้นของสหกรณ์ ซึ่ง ปีที่แล้วครูได้ราว 300 บาท” ครูสมพิศว่า


โรงเรียนธนาคาร

สมพิศ เคารพ

ส่วนจุดเริ่มต้นของโรงเรียนธนาคาร ต้อง ย้อนกลับไปในปี 2545 ที่โรงเรียนมีกิจกรรม ให้เด็กๆ มีกระบอกไม้ไผ่ออมสินประจ�ำตัวไว้ ทีช ่ น ั้ เรียน ส�ำหรับฝากออมทรัพย์ไว้ทโี่ รงเรียน โดยมีครูประจ�ำชั้นเป็นผู้ดูแล และชวนให้เด็ก เก็บออมเป็นประจ�ำทุกวัน พอสิ้นปีการศึกษา จึงแกะคืนให้กับนักเรียน “เราสอนให้นก ั เรียนรู้จก ั การประหยัด และ การออม ผ่านกิจกรรมง่ายๆ ที่ได้ผล” สมพิศ เคารพ ครูผู้ดูแลโรงเรียนธนาคารว่า กระทั่งปี 2556 ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เชิญคณะครู โรงเรียนสามแยกวังชมภูไปอบรม พร้อมทัง้ ให้ เงิ น ทุ น ตั้ ง ต้น 10,000 บาท พร้อ มมอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมการบัญชี และ โต๊ะ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนธนาคารขึ้น โดยมีทาง ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนสามแยกวังชมภูสมทบ ทุนด้วยเงินรางวัลจากกิจกรรมอืน ่ ๆ ทีโ่ รงเรียน ส่งนักเรียนไปเข้าร่วม “ครูมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเท่านั้น ให้เด็กๆ

เป็นคนจัดการเองทุกอย่าง โดยมีการจัดตั้ง คณะกรรมการตามต�ำแหน่ง ซึ่งมีทั้งผู้จัดการ ธนาคาร เจ้าหน้าทีก ่ ารเงิน เจ้าหน้าทีค ่ ีย์ข้อมูล เสมียน ซึ่งช่วงแรกเปิดรับฝากถอนทุกวัน แต่ คล้ายว่าท�ำให้นักเรียนมีภารกิจมากเกินไป จึง ปรับให้เปิดท�ำการทุกวันพุธ” ครูสมพิศอธิบาย นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 จะมีสมุดเป็นของ ตัวเอง ส่วนเด็กเล็กอาศัยฝากกับครูประจ�ำชั้น พอจบการศึกษาถึงขอถอนเงินออก หรือถอน ออกตอนสิน ้ ปีการศึกษาตามความสมัครใจ ซึง่ ทางโรงเรียนธนาคารไม่มีดอกเบี้ยให้ แต่จะมี ของรางวัลให้ทุกปี เช่น ตุ๊กตา กระเป๋า ที่ใส่ ดินสอ แล้วก็รางวัลพิเศษส�ำหรับคนทีฝ ่ ากเยอะ ที่สุด อย่างเช่น จักรยาน โดย ธ.ก.ส. อุดหนุน งบประมาณตรงนี้ให้ปีละ 10,000 บาท นอกเหนือจากของรางวัลทีจ่ บ ั ต้องได้ สิง่ ที่ เด็กๆ ทุกคนจะได้รับอย่างแน่นอนคือ ได้รู้จัก การออม ซึ่ ง เป็น แนวทางหนึ่ ง ของปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรม หลักที่โรงเรียนสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 53


ห้องสมุ ดมีชีวิต

จามีน ประทุมมาศ

54 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ภายในโรงเรียนเก่าแก่แห่งต�ำบลวังชมภูนี้ ยังความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือห้องสมุด จามีน ประทุมมาศ เป็นครูผ้ด ู แู ลห้องสมุด ก�ำลังดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน ห้องสมุดแห่งนี้ ซึง่ ในยามพักกลางวัน ห้องสมุด เป็น แหล่ง หย่อ นใจหนึ่ ง ที่ เ ด็ ก ๆ ชอบเข้า มา ผ่อนคลาย โดยภายในห้องสมุดแห่งได้รับการ ตกแต่งด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร สังเกตได้ จากเด็ ก ๆ ที่ เ ข้า มานั่ ง เล่น ในมุ ม ต่า งๆ ใน อิรย ิ าบถทีด ่ ส ู บาย ซึง่ ห้องสมุดแห่งนี้ ยังเป็นถึง ห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบอีกด้วย แน่นอนว่าทุกโรงเรียนต้องมีห้องสมุด เพือ ่ ให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ เป็นกิจกรรม ส่งเสริมการศึกษาอย่างหนึง่ ซึง่ แต่เดิมโรงเรียน บ้า นสามแยกวั ง ชมภู มี ห ้อ งสมุ ด ธรรมดา นักเรียนเข้าใช้บ้าง แต่ไม่ถงึ กับมาก เป็นห้องสมุด เฉลิ ม พระเกี ย รติ สมเด็ จ พระนางเจ้า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินน ี าถ เนือ ่ งในวโรกาสพระราชพิธี

มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ โดย เริ่มต้นสร้างขึ้นในปี 2544 ต่อมาราวปี 2552 โรงเรียนและชาวบ้าน ในพื้ น ที่ ไ ด้ช ่ว ยกั น สร้า งห้อ งสมุ ด ใหม่ เป็น อาคารหลั ง เดี่ ย ว ไม่ร วมอยู ่ใ นอาคารเรี ย น เหมือนก่อน พร้อมทั้งตกแต่ง จัดซื้ออุปกรณ์ ใหม่ เพื่อให้ดูน่าใช้ และดึงดูดเด็กๆ จนวันนี้ กล้า พู ด ได้ว า่ ห้อ งสมุ ด แห่ง นี้ ล�้ ำ หน้า กว่า โรงเรียนอื่นๆ ในพื้นที่ ต่อ มาทางโรงเรี ย นได้เ ห็ น โครงการ ห้อ งสมุ ด มี ชี วิ ต ต้น แบบ ของส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทางโรงเรียนคิดว่าน่าสนใจ จึงจัดท�ำคลิปวิดโี อ น�ำเสนอส่งเข้าร่วมประกวดกับ สพฐ. และได้ รับคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 60 ห้องสมุดมีชีวิต ต้นแบบทั่วประเทศ รุ่นที่ 6 ในปี 2555 และ เป็น 1 ใน 30 ที่ได้รับเงินสนับสนุนในการ ปรับปรุงห้องสมุด วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 55


“ทาง สพฐ. เชิ ญ คณะครู จ ากโรงเรี ย น 60 แห่งไปอบรมร่วมกัน มี โกมล อุฤทธิ์ ผู้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย น ครู บ รรณารั ก ษ์ ครู เทคโนโลยี ศึกษานิเทศ อบรมที่โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ” ครูจามีนยังจ�ำได้ดี สพฐ. โอนเงินสนับสนุนให้ในวันทีไ่ ปอบรม เป็นจ�ำนวน 240,000 บาท พอกลับมาถึง โรงเรี ย น ทาง ผอ. จึ ง ด� ำ เนิ น การปรั บ ปรุ ง ห้อ งสมุ ด ตามข้อ ก� ำ หนดคื อ เงิ น จ� ำ นวน 100,000 บาทแรก ให้น�ำมาปรับปรุงด้าน กายภาพ เช่น จากเดิมทีเ่ ป็นฝ้าแขวน ก็เปลีย ่ น เป็นฝ้าหลุม แต่งบประมาณกลับไม่เพียงพอ ทางคณะครูจงึ ช่วยกันจ่ายค่าหลอดไฟและป้าย ห้องสมุด ผอ. บริจาคเครื่องปรับอากาศ ส่วน อีก 100,000 บาทต่อมา น�ำมาซื้อหนังสือ และเงิน 40,000 บาทสุดท้าย เป็นค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปอบรมที่พัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่ ง เป็น การพานั ก เรี ย นไป แล้ว กลั บ ไปจั ด นิทรรศการทีโ่ รงแรมปริน ๊ ซ์ พาเลซ จากนัน ้ กลับ มาเป็นตัวแทนในการเผยแพร่ความรู้ให้กับครู 56 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

กลุ่มภาคเหนือ ที่จังหวัดพิษณุโลก “จากทีไ่ ปอบรม บริษท ั หนังสือก็มาโฆษณา หนังสือ พอกลับมาก็มาประชุม ช่วยกันเลือก หนังสือจากแค็ตตาล็อกแล้วสัง่ ซือ ้ ทางโรงเรียน ไม่ได้จบ ั เงิน แต่ทำ� โครงการเสนอความต้องการ ไป” ครูจามีนอธิบาย ต่อมาในปี 2556 และ 2557 สพฐ. ให้ งบประมาณส� ำ หรั บ ต่อ ยอดห้อ งสมุ ด โดย ผอ.โกมล ไปดู ง านแล้ว น� ำ ค� ำ แนะน� ำ จาก ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนผังห้องสมุดมาจัดการ ซื้อหนังสือ เก้าอี้ โซฟา ต่อรังผึ้งโดยมีต้นแบบ จากทีเค ปาร์ค ท�ำสีสันให้น่าดึงดูด เพราะ อยากให้เด็กๆ ชอบ นอกเหนือจาก สพฐ. แล้ว ในปี 2557 องค์ก ารบริ ห ารส่ว นจั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ยั ง ได้ มอบหนั ง สื อ มู ล ค่า 100,000 บาท และ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา เพชรบูรณ์เขต 1 มอบหนังสือเพิ่มเติมมูลค่า 80,000 บาท ด้วยเห็นว่าที่นี่เป็นห้องสมุด ต้นแบบ


“ทั้งครู นักเรียน ช่วยกันเลือก จนเวลานี้ ห้องสมุดมีหนังสือมากมายให้เลือกอ่านเพิ่ม ความรู้” ครูจามีนว่า นอกจากจะมีพื้นที่ให้บริการที่น่านั่งแล้ว ห้องสมุดยังมีโซนเพื่อความบันเทิง เป็นห้อง ปรับอากาศ มีเครื่องเสียง ซึ่งครูจามีนบอกว่า ในอนาคตจะขยายพื้ น ที่ ห ้อ งสมุ ด และติ ด เครื่องปรับอากาศเพิ่ม “เราให้เด็ก รวมไปถึงผู้ปกครองเด็กสมัคร สมาชิกฟรี เพื่อยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน โดยไม่มีค่าบริการ นอกจากนี้วันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ก็ยังเปิดท�ำการ เพราะ โรงเรียนเคยโดนไฟไหม้ เลยมีการก�ำหนดให้มี ครูเวรประจ�ำวัน และเพื่อไม่ให้ครูมานั่งเฉยๆ จึงเปิดห้องสมุด เด็กนักเรียนที่บ้านอยู่ใกล้ก็ ชอบมาวิ่งเล่น มาเล่น Wi-fi” ครูจามีนเสริม ที่ ว ่า ห้อ งสมุ ด มี ชี วิ ต ก็ ค งเป็น เพราะที่ นี่ ไม่ได้มีแค่หนังสือ หากแต่มีเด็กๆ ที่หมุนเวียน เข้ามาใช้บริการอย่างไม่ขาดสาย ทั้งยังไม่เคย หยุ ด การพั ฒ นา จนท� ำ ให้ห ้อ งสมุ ด แห่ง นี้ เป็นที่รวมของความรู้ และเสียงหัวเราะจาก ความสุขของเด็กๆ วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 57


ศูนย์การเรียนรู ไ้ อซี ทชี ุมชน

ด้า นข้า งของอาคารส� ำ นั ก งานเทศบาล ต�ำบลวังชมภู มีอาคารหลังเล็ก ซึง่ เป็นทีท ่ ำ� การ ของกองการศึกษา ซึ่งบริเวณชั้นล่างได้มีการ จัดห้องไว้เป็นศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน ซึ่งมี คอมพิ ว เตอร์เ พื่ อ การเรี ย นรู ้ค อยให้บ ริ ก าร ประชาชนทุกเพศทุกวัยมากกว่า 10 เครื่อง “ดัง้ เดิมเลย อดีตนายกฯ เอนก นาควิจต ิ ร ท� ำ ห้อ งคอมพิ ว เตอร์ข องชุ ม ชนอยู ่แ ล้ว มี คอมพิ ว เตอร์ 4 เครื่ อ ง เปิด ให้ป ระชาชน เข้า มาใช้” อรวารี เอี่ ย มราคิ น เจ้า หน้า ที่ กองการศึกษา ผู้ดแู ลศูนย์ไอซีที เท้าความให้ฟัง ต่อมาในปี 2552 กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) มีนโยบายกระจายความรู้ด้านไอซีทส ี ่ช ู ม ุ ชนทัว่ ประเทศ โดยประชาสัมพันธ์มายังหน่วยงาน ท้อ งถิ่ น ในเวลานั้ น ทางเทศบาลได้ส� ำ รวจ ความคิดเห็นของชาวบ้านในเขตเทศบาลต�ำบล วั ง ชมภู ซึ่ ง เห็ น ชอบอย่า งเป็น เอกฉั น ท์ใ ห้ ด�ำเนินกิจกรรมในพื้นที่ เมื่ อ ได้รั บ ไฟเขี ย วจากประชาชน ทาง 58 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

เทศบาลจึ ง ท� ำ เรื่ อ งกลั บ ไปที่ ส� ำ นั ก งานสถิ ติ จังหวัด ซึง่ เป็นผู้แทนของกระทรวงไอซีที ได้ส่ง คนเข้ามาส�ำรวจความพร้อมของพื้นที่ จากนั้น ท�ำการประเมิน แล้วส่งเรือ ่ งกลับไปทีก ่ ระทรวง ไอซีที จนได้รบ ั อนุมต ั เิ ครือ ่ งคอมพิวเตอร์ให้ 16 เครื่อง (รวมเครื่องแม่) พร้อมโปรเจคเตอร์ อิ น เทอร์เ น็ ต กล้อ งถ่า ยรู ป วี ดี โ อ และ เครื่องพิมพ์ ทางเทศบาลต�ำบลได้แต่งตัง้ คณะกรรมการ บริหารศูนย์ฯ มีนายกเทศมนตรีเป็นประธาน มี ชุมชนและสถานศึกษามาเป็นคณะกรรมการ ร่วม และมีตัวขับเคลื่อนคือเจ้าหน้าที่กองการ ศึ ก ษา คอยเป็น เจ้า หน้า ที่ ใ ห้บ ริ ก ารแก่ ประชาชน ศูนย์ไอซีทีแห่งนี้เปิดบริการทุกวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ตามเวลาราชการ หากต้องการใช้ บริการในวันเสาร์และอาทิตย์ สามารถแจ้งได้ที่ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลที่อยู่เวรประจ�ำวัน “จะมี ช ่ว งปิด ภาคเรี ย นที่ มี ผู ้ใ ช้บ ริ ก าร ค่อนข้างเยอะทุกวัน โดยศูนย์ฯ ไม่ว่าๆ จะต้อง


อนุชิต ดาทอง

ใช้เพื่ออะไร สามารถเล่นเกม หรือหาความ บันเทิงได้ โดยทางผู้วางระบบจะคอยกลัน ่ กรอง และป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ทั้งการโหลดบิท เว็บไซต์ลามกอนาจาร โดย แต่ละคนจะใช้ได้คราวละสองชั่วโมง ทุกคน ต้องสมัครเข้าใช้งาน ทางศูนย์ฯ จะมีรหัสผ่าน ให้” อนุชต ิ ดาทอง ผู้อำ� นวยการกองการศึกษา อธิบาย ในรอบปีที่ ผ ่า นมา หรื อ ปีง บประมาณ 2557 อรวารีเปิดเผยข้อมูลทางสถิตขิ องศูนย์ฯ ว่ามีประชาชนมาใช้บริการ 977 คน มีทั้งใช้ เพือ ่ ท�ำงานและเพือ ่ ความบันเทิง ส่วนใหญ่เป็น เด็ ก ผู ้ช าย ใช้ม ากในช่ว งปิด เทอม แล้ว ก็ ประชาชนทั่วไป รวมถึงศูนย์เพาะช�ำกล้าไม้ เพชรบูรณ์ (อยู่ในพื้นที่ต�ำบลวังชมภู) ที่มักมา ขอความอนุเคราะห์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ศูนย์ฯ แห่งนี้ท�ำงาน เหตุทไี่ ด้ชอ ื่ ว่า ‘ศูนย์การเรียนรู้’ เพราะทีน ่ ี่ ไม่ไ ด้ใ ห้บ ริ ก ารแต่เ ครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์แ ละ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังให้บริการด้านความรู้แก่

อรวารี เอี่ยมราคิน

ประชาชน หลายครัง้ ๆ โรงเรียนทัง้ ในและนอก เขตเทศบาล มาติดต่อให้เป็นวิทยากร จัดการ เรียนการสอนร่วมกับโรงเรียน นอกจากนี้ ทางศู น ย์ไ อซี ที ยั ง จั ด ท� ำ โครงการให้ความรู้แก่กลุม ่ เป้าหมายในพื้นที่ โดยของบประมาณสนั บ สนุ น จากกระทรวง ไอซีที ท�ำกิจกรรมเสริมพิเศษกับเด็กนักเรียน ในพื้นที่ ชมรมผู้สูงอายุ หรือหน่วยงานอย่าง ก ศ น . วั ง ช ม ภู ซึ่ ง จั ด ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น คอมพิวเตอร์พน ื้ ฐาน อินเทอร์เน็ตพืน ้ ฐาน และ แท็บเล็ตพื้นฐาน “สอนผู้สงู อายุจะยากหน่อย แต่เขาจะชอบ ให้สอน มีสอนการใช้อินเทอร์เน็ต พิมพ์งาน เล็กๆ น้อยๆ ท�ำปกรายงาน” อรวารีอธิบาย นับได้ว่าศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีของชุมชน วั ง ชมภู ไม่เ พี ย งสร้า งโอกาสให้ป ระชาชน เข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม แต่ยงั ถ่ายทอด ความรู้ด้านเทคโนโลยีตามความต้องการของ ประชาชนแต่ละกลุม ่ ในยุคสมัยที่เทคโนโลยี ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 59


เยาวชนยามว่างสร้างอาชี พ

ดนตรีและกีฬา คือความชอบส่วนตัวของ จักรพงษ์ เจริญสุข โดยแรกเริม ่ เดิมที จักรพงษ์ เปิด กิ จ การห้อ งซ้อ มดนตรี จนประมาณปี 2553 ก็เริ่มรวบรวมเยาวชนเข้ามาเล่นดนตรี จริงจังที่ห้องซ้อม ซึ่งมีทั้งกีตาร์ เบส กลอง รวมถึงเล่นกีฬาควบคู่ไป เยาวชนจะมารวมกลุ่มกันทีห ่ ้องซ้อมดนตรี ช่วงหลังเลิกเรียนและวันเสาร์อาทิตย์ คนทีเ่ ล่น ไม่เ ป็น ก็ จ ะมี รุ ่น พี่ ค อยสอน แต่ช ่ว งที่ ม า กันเยอะ จักรพงษ์จะพาครูที่เป็นนักดนตรีมา สอนเป็นคอร์ส จากเดิมทีเ่ คยท�ำห้องซ้อมดนตรีเป็นธุรกิจ

60 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

กลับกลายเป็นพืน ้ ทีแ่ ห่งโอกาส โดยเริม ่ ผลักดัน เยาวชนสู่เวทีประกวด พาไปออกงานต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพ เริ่มจากงานวัด งานเทศบาล จนถึงไปเล่นดนตรีเปิดหมวกเพือ ่ หารายได้ใ ห้วั ด และโรงเรี ย น ซึ่ ง ส่ว นใหญ่ เยาวชนกลุ ่ม นี้ ก็ อ ยู ่ใ นวงดนตรี ข องโรงเรี ย น ด้วย “เด็ ก มาซ้อ มกั น อยู ่ทุ ก อาทิ ต ย์ ชุ ด นี้ มี ประมาณ 7-8 คน ถือว่าน้อยลงถ้าเทียบกับ เมือ ่ ก่อน เพราะตัง้ แต่ทโี่ รงเรียนมีห้องซ้อม เด็ก ก็ ไ ปที่ โ รงเรี ย น แต่ต รงนี้ ก็ ยั ง สนั บ สนุ น ” จักรพงษ์บอก


จักรพงษ์ เจริญสุข

นอกจากนี้ เยาวชนบางคนที่ไม่ถนัดเรื่อง ดนตรี ทางจักรพงษ์กส ็ นับสนุนเรือ ่ งอาชีพ โดย สอนให้ขับรถแบ็คโฮ รถแทรกเตอร์ รถดั๊มพ์ รวมถึ ง งานเกี่ ย วกั บ เครื่ อ งจั ก รหนั ก ด้ว ย จักรพงษ์มีธุรกิจรับเหมาด้วย โดยในส่ว นของกลุ ่ม เครื่ อ งยนต์ก ลไก ตอนนี้มีเยาวชนอยู่ 10 กว่าคน เข้ามาเรียนรู้ ตามความสนใจ อาศัยเรียนรู้จากช่างในโรงงาน จากที่ไม่เป็นอะไรเลย ที่นี่ก็ติดอาวุธเป็นวิชา ความรู ้ส ายอาชี พ สามารถหารายได้เ ลี้ ย ง ตัวเองได้ นอกจากนี้ ใ นช่ว งเวลาเย็ น กลุ ่ม ของ จักรพงษ์จะมารวมตัวกันเล่นกีฬา ซึ่งตอนนี้มี เด็กๆ ในพื้นที่ต�ำบลประมาณ 20 กว่าคน มา รวมตั ว เล่นฟุต บอลช่วงหกโมงเย็ นทุ ก วั น ที่ สนามใกล้โรงเรียนบ้านคลองห้วยนา ซึ่งได้รับ งบประมาณจากเทศบาลมาท�ำสนามพืน ้ ยางให้ โดยมี ก ารตั้ ง เป็น ที ม เพื่ อ ส่ง แข่ง ขั น ในพื้ น ที่ ใกล้เ คี ย ง แต่นั่ น เป็น ผลพลอยได้ ที่ อ ยู ่ นอกเหนือจากการได้ออกก�ำลังกาย “ที่ บ ้า นยั ง มี ก ระสอบทราย นวมเอาไว้ ใครอยากชกมวยก็ ช ก แล้ว ยั ง มี จั ก รยาน

ตอนนี้มีอยู่ 7 คัน ไว้ให้เด็กไปรวมกับกลุ่ม ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนรักจักรยานวังชมภู ทุกวันนี้กลุ่มเยาวชนยามว่างสร้างอาชีพ ยังคงปลุกปั้น และติดอาวุธทางปัญญาให้เด็ก รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง มีต้ังแต่เด็กน้อยอายุ 5 ขวบที่สนใจตีกลอง ไปจนถึงเยาวชนวัย 25 ปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชาย งานนี้เรียกได้ว่าเด็กๆ ได้ท�ำสิ่งที่ชอบ ส่วนจักรพงษ์ก็ชอบสิ่งที่ท�ำ “ที่ท�ำคือได้ใจ ได้ความรู้สึก ครั้งหนึ่งผม เคยเป็นเด็กอายุ 15-16 ทีอ ่ ยากเล่นดนตรีมาก แต่ไม่มค ี นสนับสนุน ก็ดน ิ้ รนเอง” จักรพงษ์บอก “จากวันนั้นผมก็ตั้งปณิธาน ถ้ามีโอกาส จะ สร้า งโอกาสให้กั บ คนอื่ น ถ้า เขาท� ำ ส� ำ เร็ จ ผมก็ดีใจ” ทุกวันนี้เด็กรุ่นแรกๆ ที่มาซ้อมดนตรีได้ เป็นนักดนตรีอาชีพ หลายคนไปเล่นตามร้าน อาหาร บางคนไปเล่นกับวงใหญ่ๆ ส่วนกลุ่ม เครื่องยนต์ ตอนนี้มีอยู่ 4-5 คนที่กลายเป็น ช่างเต็มตัว “ถ้าคิดดี อยากท�ำ รักในสิ่งที่ชอบ...จะจัด ให้” จักรพงษ์ทิ้งท้าย

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 61


สุขภาพชุมชน

Health

62 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ระบบการดูแลสุขภาพของที่นี่เพียบพร้อมอยู่แล้ว แต่จด ุ เด่นทีส ่ ำ� คัญอีกอย่าง คือการส่งเสริมให้ประชาชน ลุ ก ขึ้ น มาจั ด การสุ ข ภาพด้ว ยตั ว เองก่อ น เพื่ อ สร้า ง สุขภาพให้แข็งแรง โดยมีศน ู ย์กลางสนับสนุนคือกองทุน หลักประสุขภาพเทศบาลต�ำบลวังชมภู

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 63


กองทุนหลักประกันสุขภาพต�ำบลวังชมภู

64 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู 64 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ชญานิษฐ์ เพชรอุดม

เทศบาลต�ำบลวังชมภูเป็นเทศบาลขนาด

ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีกองสาธารณสุขเป็นคณะ

กลาง มีประชากรในเขตการปกครอง 4,042

อนุกรรมการ คอยช่วยดูแลเรือ ่ งจัดการประชุม

คน มีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพราว

ดู แ ลเอกสารการเบิ ก จ่า ย เปิด บั ญ ชี ก องทุ น

500 คน โดยทางเทศบาลได้เข้าร่วมโครงการ

หลั ก ประกั น สุ ข ภาพระดั บ ท้อ งถิ่ น มี ก ารนั ด

หลักประกันสุขภาพกับส�ำนักงานหลักประกัน

คณะกรรมการบริหารทัง้ 15 คน ตลอดจนกลัน ่

สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปี 2553 โดย

กรองโครงการต่า งๆ ที่ มี เ สนอเข้า มา ก่อ น

นายกเทศมนตรีในเวลานั้นได้ม อบหมายให้

ส่ง ต่อ คณะกรรมการหลั ก พิ จ ารณาอนุ มั ติ

กองสาธารณสุ ข และสิ่ ง แวดล้อ มเป็น ก� ำ ลั ง

โครงการต่อไป

ส�ำคัญในการดูแล

ชญานิษฐ์ เพชรอุดม รักษาการผู้อำ� นวยการ

ทาง สปสช. ก�ำหนดให้แต่งตัง้ คณะกรรมการ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ย้อนความ

ไม่น้อยกว่า 15 คน โดยมีนายกเทศมนตรีเป็น

ให้ฟังว่า ในปีแรก (2553) ได้งบประมาณจาก

ประธานโดยต� ำ แหน่ง ปลั ด เป็น เลขานุ ก าร

สปสช. 85,000 บาท เทศบาลอุดหนุนร้อยละ

ตัวแทนจากสมาชิกสภาเทศบาล ตัวแทนจาก

50 แต่ตั้งแต่ปี 2556 เทศบาลให้งบประมาณ

อสม. ตัวแทนจากโรงพยาบาลในพื้นที่ และ

ทบเท่าตัว วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 65


ชาวบ้านแต่ละกลุ่มจะเสนอโครงการเข้ามา

เด็กและเยาวชนไปสู่บุคคลทั่วไป โดยให้ทาง

เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ อยากท�ำเรื่องใดก็น�ำเสนอ

ผู้ปกครองรวมทัง้ แกนน�ำช่วยกันดูอก ี ส่วนหนึง่

เข้ามา ทางคณะอนุกรรมการจะคอยกลัน ่ กรอง

เพื่อให้พื้นที่ปลอดยาเสพติด ปีล่าสุด (2558)

ถึงความสอดคล้องกับเงือ ่ นไข ถ้าเห็นว่าเป็นไป

ไม่ได้ขอโครงการเข้ามา เพราะกลุ่มเป้าหมาย

ตามเกณฑ์ ก็ จ ะท� ำ รายงานเตรี ย มให้กั บ

ครอบคลุมแล้ว

คณะกรรมการ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

ทีเ่ ด่นๆ คือโครงการออกก�ำลังกายทุกเย็น

“ปีแ รกเราอนุ มั ติ โ ครงการกองทุ น แม่

เพือ ่ ซ่อมและสร้างสุขภาพ บริเวณลานกิจกรรม

ของแผ่นดินที่ประชาชนเสนอมา ขออบรมเด็ก

ใกล้กบ ั ทีท ่ ำ� การกองสาธารณสุข จากทีเ่ คยเป็น

และเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด เนื่องจาก

โรคประจ�ำตัว ความดัน เบาหวาน บางคนลด

พืน ้ ทีข่ องเทศบาลเป็นเขตเมือง เรือ ่ งยาเสพติด

ยาลงได้

เป็นประเด็นที่ค่อนข้างล่อแหลม” ชญานิษฐ์

อี ก โครงการเป็น ของชมรมผู ้สู ง อายุ ที่

ชีใ้ ห้เห็น “ครัง้ นัน ้ มีเด็กจากพืน ้ ทีเ่ ทศบาลเข้าร่วม

ผู้สูงอายุตั้งกันเอง มีการเชิญวิทยากร ซึ่งเป็น

จ�ำนวน 150 คน หลังอบรมครัง้ นี้ บวกกับทีเ่ รา

คุณหมอจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เข้ามาให้

มีสายตรวจร่วมใจฯ ท�ำให้ยาเสพติดในพื้นที่

ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การ

ลดลงจนแทบไม่เหลือ”

ปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ที่บ้าน และยังให้ความรู้คน

พอปีทสี่ องก็อบรมต่อยอด ให้ความรู้เพิม ่ เติม เรื่องยาเสพติด มีเป้าหมายก็คือการขยายจาก 66 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ใกล้ชิดเพื่อให้ดูแลสมาชิกที่ป่วย รวมถึงเป็น ภูมิคุ้นกันในการดูแลตัวเอง


ส่วน อสม. ก็เขียนโครงการคัดกรองโรค ให้กับผู้สูงอายุในวันรับเบี้ยยังชีพ จะเห็นว่า แต่ล ะกลุ ่ม มี ค วามเชื่ อ มโยงกั น และกระตุ ้น การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้ ชมรมแอโรบิก ก็ของบไปอบรมผู ้น� ำ เต้น ในชุมชนย่อยของตัวเอง จะได้ไม่ต้องมาทีล ่ าน กิจกรรม อย่างชุมชนที่อยู่คอ ่ นข้างไกล ก็ได้ อบรมผู้นำ� เต้นแล้วไปต่อยอด เกิดเป็นกิจกรรม แอโรบิกในโรงเรียน ทั้งโรงเรียนบ้านสามแยก วังชมภู โรงเรียนวังชมภูวิทยาคม (โรงเรียน อบจ.) จนวันนีม ้ เี ด็กชัน ้ ประถมศึกษาปีทห ี่ ้าและ หก สามารถน�ำเต้นหน้าเสาธงได้ นอกจากนี้ ยังมีโครงการด้านการส่งเสริม ดู แ ลสุ ข ภาพอี ก กว่า สิ บ โครงการที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน ต�ำบลวังชมภู ซึ่งตามข้อมูลเชิงสถิติชี้ว่า ใน ขวบปีแรก (2553) มีถึง 13 โครงการ และ ล่าสุดปี 2558 มีถึง 17 โครงการ ซึ่งล้วนเป็น โครงการที่เกิดจากความตั้งใจของคนเทศบาล ต�ำบลวังชมภู

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 67


อาสาสมัครฉุกเฉิน

กรกิต ค�ำหงษา

ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าอุบัติเหตุจะเกิ ดขึ้น เมื่อไร ที่ไหน และแน่นอนว่าเมื่อเหตุเกิดขึ้น แล้ว ความช่วยเหลือต้องไปถึงอย่างเร็วที่สุด ยิ่งในเขตเทศบาลต�ำบล ซึ่งมักมีเหตุด่วนมาก เป็นพิเศษ ด้วยเป็นพืน ้ ทีท ่ ม ี่ ป ี ระชากรหนาแน่น จึ ง ท� ำ ให้ต ้อ งมี ก ารเตรี ย มความพร้อ มเพื่ อ รับมือกับสถานการณ์ฉก ุ เฉินทีอ ่ าจจะเกิดขึน ้ ได้ ทุกเมื่อ สราวุธ จารย์คำ� มา และ กรกิต ค�ำหงษา ตัวแทนทีมกู้ชีพประจ�ำเทศบาลต�ำบลวังชมภู ประจ�ำอยู่ทส ี่ ำ� นักงานเทศบาลในวันนัน ้ มาเล่า ประสบการณ์การท�ำงานให้ฟัง ก่อนหน้าที่จะมาเป็นทีมกู้ชีพ สราวุธเป็น พนักงานขับรถของเทศบาลมาตั้งแต่ปี 2550 พอปี 2552 ได้เข้าอบรมผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เบื้ อ งต้น (First Responder : FR) ที่ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ในปีต่อมาได้อบรม 68 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

สราวุธ จารย์ค�ำมา

กู้ภย ั ทีว่ ท ิ ยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย วิทยาเขตพิษณุโลก เขต 9 เรื่องการดับเพลิง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ ก รกิ ต เป็น พนั ก งานเทศบาลมา ตั้งแต่ปี 2547 ขณะนั้นท�ำหน้าที่เป็นช่างไฟ ต่อมาปี 2549 รับหน้าทีข ่ บ ั รถตรวจการทัว่ ไป ขับรถตรวจการณ์แบบมีไฟฉุกเฉินรับส่งผู้ป่วย พอปีต ่อ มาได้เ ข้า อบรมผู ้ป ฏิ บั ติ ก ารฉุ ก เฉิ น เบื้องต้น (FR) ตามโครงการ “หนึ่งต�ำบล หนึ่ง ที ม กู ้ชี พ กู ้ภั ย ” กั บ กรมป้อ งกั น และบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อนจะได้มา เป็น หั ว หน้า ชุ ด กู ้ชี พ กู ้ภั ย ของเทศบาลต� ำ บล วังชมภู ในปี 2551 กระทัง่ ในปี 2556 สราวุธและกรกิตได้เข้า อบรมเวชกรฉุ ก เฉิ น ระดั บ ต้น (EMT-B) ที่ วิ ท ยาลั ย พยาบาลนครสวรรค์ ทั้ ง เรื่ อ งการ ช่วยเหลือคนเจ็บ วัดความดัน เจาะเลือด ตรวจ


เบาหวาน การให้อ อกซิ เ จน การช่ว ยเหลื อ ท�ำคลอด วัดไข้ทั่วไป การท�ำแผล ห้ามเลือด รวมทั้งการใช้วิทยุสื่อสาร ระเบียบมาตราของ การแพทย์ฉุกเฉิน โดยใช้เวลาอบรม 18 วัน ในยามทีไ่ ม่ได้อออกปฏิบต ั ห ิ น้าที่ ทีมกู้ชพ ี ที่ เ ข้า เวรต้อ งคอยตรวจเช็ ค สภาพรถฉุ ก เฉิ น ที่ใช้ออกวิ่ง รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือในการ กู้ชีพกู้ภัย และคอยท�ำความสะอาด เพื่อให้ อุ ป กรณ์ต ่า งๆ มี ค วามพร้อ มใช้ง านได้ทั น ที ตลอด 24 ชั่วโมง นอกเหนือจากอุบต ั เิ หตุฉก ุ เฉินแล้ว ทีมกู้ชพ ี ยังคอยท�ำหน้าทีร่ บ ั ส่งผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล หรื อ จากบ้า นไปยั ง โรงพยาบาล โดยการ

ประสานความร่วมมือจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และประชาชนในเขตเทศบาล โดยชาวบ้าน สามารถติดต่อแจ้งเหตุทก ี่ รกิตได้โดยตรง หรือ ติ ด ต่อ ผ่า นเลขหมายของส� ำ นั ก งานเทศบาล ต�ำบลวังชมภู และศูนย์นเรนทร 1669 ช่วงที่งานชุกที่สุดก็เห็นจะไม่พ้นเทศกาล ปีใ หม่ สงกรานต์ รวมถึ ง ช่ว งฤดู ฝ น ซึ่ ง มี อุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง “อันดับแรกต้องตั้งสติ บอกสถานที่ บอก อาการผู้ป่วย และแจ้งเบอร์ติดต่อกลับ” คือ สิ่งส�ำคัญจากใจทีมกู้ชีพ ที่อยากฝากถึงทุกคน “และอย่าโทรมาแกล้ง” ...นี่ก็ส�ำคัญ

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 69


วู ด้ บอล

70 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


เพี้ยน พุ่มฟัก

ความพิ เ ศษข้อ หนึ่ ง ของกี ฬ าวู ด ้ บอลคื อ เล่นได้ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยท�ำงาน หรื อ วั ย สู ง อายุ แต่จ ะเป็น ที่ นิ ย มมากในหมู ่ ผู้สงู วัย เพราะเป็นกีฬาทีไ่ ม่เน้นพละก�ำลัง เล่น ไปตามจังหวะ ไม่เร่งร้อน ทั้งยังเป็นการมา รวมกลุ่มพบปะพูดคุยกับเพือ ่ นวัยเดียวกันด้วย วันนี้กีฬาวู้ดบอลแพร่หลายในทุกภูมิภาค ทั่ ว ประเทศ จนได้รั บ การบรรจุ เ ข้า เป็น กี ฬ า แห่งชาติ มีจัดแข่งขันทุกปี โดยที่ต�ำบลวังชมภู นั้น ทางเทศบาลได้จัดตั้งชมรมวู้ดบอลขึ้นเมื่อ ปี 2551 ในสมัยที่ เอนก นาควิจต ิ ร เป็นนายก เทศมนตรี ซึ่งได้สนับสนุนอุปกรณ์การเล่นให้ 6 ชุด แก่ทั้ง 6 ชุมชนในเขตเทศบาลต�ำบล วังชมภู พร้อมทัง้ จัดแข่งขันในงานกีฬาสัมพันธ์ ของเทศบาล โดยมี ส มาชิ ก รุ ่น แรกเป็น กลุ ่ม กรรมการชุมชนทั้ง 6 ชุมชน ในเวลานั้น เพี้ยน พุ่มฟัก ประธานชมรม กี ฬ าวู ้ด บอลเทศบาลต� ำ บลวั ง ชมภู เป็น กรรมการชุมชนอยู่ จึงได้เข้าร่วมแข่งขันตั้งแต่ ยุ ค บุ ก เบิ ก กระทั่ ง ปี 2552 ก็ ไ ปอบรมที่

วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ แล้วมา ถ่ายทอดความรู้ภายในชุมชน ในช่วงแรก แม้จะเล่นเป็นบ้างไม่เป็นกัน บ้าง แต่ทุกคนก็มาฝึกเพื่อออกก�ำลังกาย ตอน หลั ง เริ่ ม ออกไปแข่ง ตามจั ง หวั ด ต่า งๆ ที่ ส ่ง หนั ง สื อ มาเชิ ญ ทั้ ง นครสวรรค์ พิ ษ ณุ โ ลก แพร่ สุโขทัย ขอนแก่น อุดรธานี อุตรดิตถ์ มหาสารคาม ไปทุกแห่งทุกทีเ่ พือ่ หาประสบการณ์ โดยได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาลต�ำบลวังชมภู ต่อเนื่อง 2 ปี ก่อนจะบรรจุเข้าเป็นเทศบัญญัติ “เดินทางไปด้วยรถส่วนตัว ได้ค่าเบีย ้ เลีย ้ ง 150 บาท ที่พัก 300 บาท ส่วนค่าน�้ำมันจ่าย กันเอง” เพีย ้ นว่า “ตอนหลังเขาไม่ค่อยเชิญแล้ว เพราะไปกวาดรางวัลเขามาหมด” กีฬาวู้ดบอลต้องใช้ประสบการณ์ รวมทั้ง สมาธิสงู ในการเล่น กองเชียร์จงึ ต้องงดใช้เสียง ส่วนใหญ่จะเล่นในสนามหญ้าเป็นหลัก มีสนาม ดิ น บ้า ง และเล่น ได้ดี ช ่ว งปลายฝนต้น หนาว เพราะอากาศดี ไม่มีฝน หญ้าไม่ค่อยยาว วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 71


ชมรมฯ มีนักกีฬาประมาณ 80 กว่าคน ทัว่ ต�ำบล ฝึกซ้อมและเข้าแข่งขันรายการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาก็ เข้า ร่ว มการแข่ง ขั น กี ฬ าและนั น ทนาการ ผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ส่วนรายการใหญ่ๆ คือ การเป็นตัวแทนไปแข่งกีฬาแห่งชาติเดือน ธันวาคม 2558 โดยครั้งนี้ส่งทีมหญิง ทีมชาย ทีมละ 6 คน และมีเดี่ยว (แฟร์เวย์) อีก 2 คู่ ปัจจุบันต�ำบลวังชมภูมีสนามวู้ดบอล 2 แห่ง คือที่ อบต.วังชมภู และที่เทศบาลต�ำบล วังชมภู โดยช่วงทีม ่ ก ี ารแข่งขันจะนัดซ้อมเวลา บ่า ยสองโมงทุ ก วั น มี ส มาชิ ก มาร่ว มซ้อ ม ประมาณ 12-20 คน ถ้าเป็นฤดูทำ� นาจะมากัน น้อ ยหน่อย และหากเป็นฤดูฝ นจะหยุ ด ซ้อ ม เพราะสนามเปียก ไม่สามารถเล่นได้ กว่าจะมาถึงจุดนี้ ชมรมต้องฟันฝ่ามาเยอะ ถ้วยรางวัลหลากสีสน ั หลายขนาดทีเ่ รียงรายอยู่ คือก�ำลังใจให้ฝึกซ้อม ส่วนเงินรางวัลที่ได้ น�ำ มาต่อ ยอดซื้ อ อุ ป กรณ์ก ารเล่น ซึ่ ง เป็น ของ ส่วนตัว โดยอุปกรณ์การเล่นแต่ละชิ้นมีราคา 72 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ค่อนข้างสูง เพราะหากเป็นรายการแข่งระดับ นานาชาติ จะมีการก�ำหนดให้ใช้อุปกรณ์ที่ได้ มาตรฐานสากล “ที่ ไ ด้รั บ การยอมรั บ ต้อ งของประเทศ ไต้ห วั น รายการใหญ่ก็ ใ ช้ข องดี ส่ว นสนาม ย่อยๆ ตามภูมิภาค หลักเกณฑ์ไม่ได้เข้มงวด เรื่องอุปกรณ์เท่าไร” เพี้ยนว่า ทุกวันนี้ชมรมยังเดินสายแข่งขันในหลาย รายการ เป็น การหาประสบการณ์ ความ ท้าทายใหม่ ซึ่งในวัยที่ล่วงเลยมาจนถึงวันนี้ การแข่ง ขั น จึ ง เป็น การแข่ง ขั น กั บ ตั ว เองเสี ย มากกว่า เสริมก�ำลังกาย ก�ำลังใจ ทั้งยังได้ พบปะเพื่อนวัยเดียวกันจากท้องถิ่นอื่น ส่วน รางวัลถือเป็นเกียรติยศ เป็นความภาคภูมิใจ อย่างรางวัลกีฬาแห่งชาติขอนแก่น ครั้งที่ 40 เหรียญทอง ประเภทหญิงแฟร์เวย์ ปี 2555 ซึ่งชมรมมักได้ในรายการนี้เป็นประจ�ำทุกปี “ส่วนเหรียญทองประเภททีมยังไม่เคยได้ ได้แ ต่เ หรี ย ญเงิ น ก็ ไ ด้แ ต่ห วั ง ว่า อี ก ไม่น าน” เพี้ยนทิ้งท้าย


ชมรมผู ส้ งู อายุ

สมพร กลิ่นสุคนธขจร

หากเดินผ่านบริเวณท่ารถช่วงหกโมงเย็น ของทุ ก วั น จะเห็ น ผู ้สู ง อายุ ใ นเขตเทศบาล วังชมภู 20 กว่าคน มารวมตัวกันร�ำไม้พลอง และร�ำไทเก๊ก กระทั่งหนึ่งทุ่มจึงแยกย้ายกัน กลับบ้าน นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจ�ำของ ชมรมผู้สูงอายุต�ำบลวังชมภู สมพร กลิ่นสุคนธขจร ประธานชมรม ผู้สูงอายุ ย้อนความให้ฟังว่า ตนเองรวมกลุ่ม กับเพื่อนประมาณ 50 กว่าคน ร�ำไม้พลอง ร�ำไทเก๊กกันตั้งแต่ปี 2549 หากแต่ไม่ได้เป็น ชมรมอย่างเป็นทางการ โดยมารวมกันเพื่อ ออกก�ำลังกายในแบบที่ตนเองชื่นชอบ “แรกๆ จ้างครูมาสอนร�ำไม้พลอง โดยได้ รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลต�ำบลวังชมภู จนเมื่อเป็นแล้ว ก็ไม่ได้ จ้าง ร�ำกันเอง” สมพรว่า ต่อมาในราวปี 2554 อดีตนายกเทศมนตรี เอนก นาควิจิตร เรียกผู้สูงอายุไปประชุมกัน เพื่อจะก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการ

ขณะนั้น สมพรในฐานะผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านก็เข้า ร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกัน จึง เลื อ กผู ้น� ำ ขึ้ น มา มี ป ระธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม ปัจ จุ บั น ชมรมผู ้สู ง อายุ ต� ำ บลวั ง ชมภู มี สมาชิกทั้งหมด 76 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ใน เขตเทศบาล เวลาเทศบาลมีกิจกรรมอะไรก็จะ รวมตัวกันตั้งแต่ 50 -70 กว่าคน เพื่อมาช่วย งานที่ เ ทศบาล ทั้ ง วั น พ่อ วั น แม่ ประเพณี สงกรานต์ วั น เข้า พรรษา ขณะที่ กิ จ กรรม ออกก�ำลังกายก็ยังมีเหมือนเดิม การรวมกลุ ่ม ท� ำ ให้ผู ้สู ง อายุ ไ ด้พ บปะ สั ง สรรค์กั บ เพื่ อ นๆ รุ ่น ราวคราวเดี ย วกั น นอกจากนั้ น การได้อ อกก� ำลั ง กายทุ ก วั น ยั ง ท�ำให้ผ้ส ู งู อายุมส ี ขุ ภาพกายทีด ่ ี ไปพร้อมๆ กับ สุขภาพใจด้วย “ได้ออกแรงแล้วไม่ค่อยเครียด แข็งแรง ไม่ปวดแข้งปวดขา” สมพรบอก

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 73


วัฒนธรรม Culture

74 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


ผู้คนส่วนใหญ่ในต�ำบลวังชมภูเป็นคนพุทธ ซึ่งที่นี่ก็มีวัดส�ำคัญ ที่เป็นแหล่งส�ำหรับศึกษา ปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ยังมีมัสยิดอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นมัสยิดแห่งเดียวในประเทศนี้กระมังที่ ทาสีชมพู

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 75


ผู ้สูงอายุ ปฏิบัติธรรมบ้านงามประทีป ในช่วงเข้าพรรษา วันพระและวันส�ำคัญ ทางศาสนา ผู้สูงอายุ 23 คนที่มีความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา จะเข้ามารวมตัวกันที่วัด โนนประชาสรรค์ เพื่อปฏิบัติธรรมด�ำเนินวิถี ของชาวพุทธผู้ยึดมั่น “เริ่มตั้งแต่ปี...” อุดมและเพื่อนๆ ช่วยกัน ย้อนความจ�ำกันอยู่ครูใ่ หญ่ “2548 ใช่แล้ว ตอนนั้นมีเพื่อนไปผ่าตัดเต้านม กลับมาก็เลย ชวนกันปฏิบัติธรรม ทีแรกรวมตัวกันได้เก้าคน มาปฏิบัติธรรมช่วงวันเข้าพรรษา มานอนค้าง คืนที่วัดในวันพระเล็ก วันพระใหญ่ รวมไปถึง วันส�ำคัญต่างๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา” อุดม วงค์พฒ ุ , สิน อุดแก้ว และ แสวง แก้ว กองทรั พ ย์ ชาวบ้า นหมู ่ที่ 11 สมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มผู้สูงอายุปฏิบัติธรรม บ้านงามประทีปช่วยกันย้อนความหลังให้ฟัง

76 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


สามเณรอธิวัฒน์ อินทะ

การปฏิบต ั ธิ รรมประกอบด้วยการนัง่ สมาธิ และสวดมนต์สค ี่ รัง้ คือหกโมงเช้าก่อนตักบาตร สามโมงเช้าก่อนพระฉันเพล ห้าโมงเย็น และ สามทุ่มก่อนเข้านอน ผู้สูงอายุที่มาปฏิบัติธรรมจะมาที่วัดตั้งแต่ หกโมงเช้า เพื่ อ ท� ำ วั ต รเช้า จากนั้ น ท� ำ บุ ญ ตักบาตรพร้อมกับชาวบ้าน ประมาณสามโมง เช้าเริ่มท�ำวัตรสวดมนต์อีกรอบ ก่อนจะพักฉัน เพลตอน 11 โมง พอถึงเวลาบ่ายโมงจะมีการ สวดธรรมจักร ช่วงบ่ายสามถึงบ่ายสี่โมงเป็น

เวลาพั ก จากนั้ น ห้า โมงเย็ น ถึ ง หนึ่ ง ทุ ่ม จะ ท�ำวัตรเย็น แล้วพักผ่อนช�ำระล้างร่างกายตาม อัธยาศัย ก่อนรวมตัวกันประมาณสามทุ่มเพื่อ สวดมนต์ สี่ทุ่มครึ่งนั่งสมาธิเดินจงกลม แล้ว เข้านอน จากนัน ้ ตืน ่ ตีสามท�ำวัตรเช้า สวดมนต์ นั่ ง สมาธิ เดิ น จงกลม ตี ห ้า รั บ ศี ล ห้า แล้ว แยกย้ายกันกลับบ้านในตอนเช้า น อ ก จ า ก ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม แ ล ้ว วั ด โนนประชาสรรค์ยังเป็นสถานที่รวมใจของคน ต่า งวั ย อี ก ด้ว ย สามเณรอธิ วั ฒ น์ อิ น ทะ วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 77


เล่าให้ฟังว่า ที่วัดจัดงานบุญปีละสี่ถึงห้าครั้ง คือในวันขึ้นปีใหม่ ท�ำบุญผเวสในเดือนสาม ตักบาตรเทโวในวันออกพรรษา และผ้าป่าใน วันสงกรานต์ ซึง่ เวลาวัดจัดงาน จะมีทงั้ แม่ขาว และเด็กนักเรียนจากโรงเรียนบ้าน กม.2 มา ช่วยกันเตรียมงาน ท�ำความสะอาดวัด รวมถึง ปฏิบัติธรรม สามเณรอธิวัฒน์ยังให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ยังมีงานบุญประเพณีท้องถิ่นอีกสองชนิดที่ท�ำ ผลัดกันทุกสามปี อย่างแรกคือบุญเบิกบ้าน หรื อ บุ ญ ซ� ำ ฮะ ซึ่ ง ท� ำ ที่ บ ้า นหรื อ ที่ ศ าลา อเนกประสงค์ บางครั้งท�ำที่ทางสามแพร่ง ถ้า ท�ำคนเดียวจะท�ำกระทงเก้าห้อง ถ้าท�ำรวมกัน จะเป็นกระทงเก้าชัน ้ และมีพระไปสวดสามคืน

78 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

เมื่ อ ท� ำ บุ ญ เบิ ก บ้า นครบสามปีแ ล้ว จะ ท�ำบุญอีกชนิดหนึง่ เรียกว่าการสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา หรือเสียเคราะห์หลวง ซึ่งท�ำที่วัด โดยที่ วั ด โนนประชาสรรค์จ ะแต่ง เครื่ อ ง ไม่เหมือนกับทีอ ่ น ื่ คือมีข้าวด�ำ ข้าวแดง แกงส้ม แกงหวาน และมีเครื่องพัน (คือพันบุหรี่ให้ถึง พันมวน) “สุ ข ภาพดี จิ ต ใจสบาย ใจเย็ น ที่ เ คย หงุดหงิด ด่าลูกหลาน ก็ไม่ฉุนเฉียวอย่างนั้น แล้ว” อุดมพูดขึ้น นับเป็นคุณค่าทางจิตใจที่ไม่อาจประเมิน ค่า และไม่สามารถซื้อหาได้จากที่ไหน แต่มีให้ เก็บเกี่ยวไปฟรีๆ...


พระครูจ�ำรัส อภิวัฑฒโน

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชี วิต วัดวังชมภู วัดคือสถานที่รวมจิตรวมใจของชาวพุทธ และมี ค วามผู ก พั น ใกล้ชิ ด กั บ วิ ถี ชี วิ ต ของ ชาวไทยมาแต่ค รั้ ง อดี ต ส� ำ หรั บ วั ด วั ง ชมภู นอกจากจะท�ำหน้าทีข ่ องศาสนสถานแล้ว ยังมี ความส�ำคัญอีกด้านคือ เป็นแหล่งพัฒนาด้าน คุณธรรมจริยธรรมที่เปิดกว้างส�ำหรับทุกคน “ในความเป็นจริงนัน ้ เมือ ่ ปี 2530 ทีน ่ เี่ ริม ่ มีการบรรพชาสามเณรฤดูร้อน โดยเจ้าอาวาส รูปที่ 2 แล้วก็หยุดไปพักหนึ่ง กระทั่ง 2539

ก็ ก ลั บ มาท� ำ ใหม่ โดยพระครู กิ ต ติ คุ ณ สาร ซึ่ ง เป็น เจ้า อาวาสรู ป ที่ 3” พระครู จ� ำ รั ส อภิวัฑฒโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดวังชมภู ย้อน ความให้ฟัง ปี 2540 ทางวัดจัดอบรมโครงการพุทธบุตร เพื่ อ ชี วิ ต ใหม่ ให้แ ก่นั ก เรี ย นระดั บ มั ธ ยมใน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีหลายโรงเรียนมาอบรม นอกจากนีย ้ งั มีการสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระครู จ� ำ รั ส ซึ่ ง ในขณะนั้ น ยั ง เป็น ฆราวาส วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 79


รับราชการครูอยู่ทโี่ รงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ในต�ำแหน่งรองผู้อ�ำนวยการ ก็ได้ช่วยเหลือวัด วังชมภูทุกปี ทั้งด้านประชาสัมพันธ์ หารายได้ และดูแลสามเณรภาคฤดูร้อนตลอดโครงการ นอกจากนั้ น แล้ว ที่ นี่ ยั ง จั ด อบรมด้า น คุณธรรมจริยธรรมแก่ข้าราชการ ทหาร ต�ำรวจ รวมทั้งประชาชนทุกกลุ่มวัย จากข้างนอกและ ในชุมชน จนได้เป็น ‘ส�ำนักงานพัฒนาคุณภาพ ชีวิตจังหวัดเพชรบูรณ์’ มีพระครูกิตติคุณสาร เจ้าอาวาสขณะนั้น เป็นผู้อ�ำนวยการ ในปี 2556 เจ้าอาวาสกิตติคุณสารออก จากวั ด พอดี กั บ ที่ พ ระครู จ� ำ รั ส เกษี ย ณอายุ ราชการและออกบวช จึงได้สานต่องานของวัด ที่ท�ำร่วมกับชุมชนเรื่อยมา “ อ า ต ม า รั บ ผิ ด ช อ บ โ ร ง เ รี ย น อ บ จ . (โรงเรียนวังชมภูวท ิ ยาคม) โรงเรียนบ้านสามแยก วั ง ชมภู แล้ว ก็ โ รงเรี ย นบ้า นนายม ไปเป็น วิ ท ยากรอบรมค่า นิ ย มโดยใช้ห ลั ก การของ 80 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

พระพุทธศาสนาเข้าไปจับ” พระครูจ�ำรัสบอก ปัจจุบน ั งานทีว่ ด ั ด�ำเนินการต่อเนือ ่ งอยู่ คือ การจั ด โครงการลานธรรมลานวิ ถี ไ ทยของ ส� ำ นั ก งานวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ กระทรวงวัฒนธรรม ซึง่ ในโครงการนีป ้ ระกอบ ด้วยโครงการย่อยๆ ถึง 4 โครงการ หนึ่งคือ โครงการวันมาฆบูชาส่งเสริมคุณธรรมน�ำสุขมา ให้ ที่ ท างวั ด ร่ว มกั บ โรงเรี ย นบ้า นสามแยก วังชมภู จัดกิจกรรมเวียนเทียน ฟังธรรม และ พัฒนาวัดวังชมภู สองคื อ โครงการบรรพชาสามเณรภาค ฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราช กุ ศ ล แ ด ่พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ ้า อ ยู ่หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช สมเด็ จ พระนางเจ้า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินน ี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนือ ่ งในวโรกาส ส�ำคัญๆ ต่อเนื่องตลอดทั้งปี


สามคือโครงการชวนน้องเข้าวัดท�ำความดี ถวายแผ่นดินด้วยจิตอาสา ที่ทางวัดร่วมกับ ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเพชรบูรณ์ จัด กิ จ กรรมให้ผู ้ต ้อ งโทษที่ อ ยู ่ร ะหว่า งการคุ ม ประพฤติ มาบ�ำเพ็ญประโยชน์ อบรมธรรมะ พัฒนาวัด และสร้างโลงศพ และสี่ โครงการวัน วิสาขบูชา ปวงประชาน้อมถวายพระราชกุศล แด่ใ นหลวงและราชิ นี ที่ ท างวั ด ร่ว มกั บ ชาว วังชมภู จัดกิจกรรมท�ำบุญตักบาตร ถวายผ้าป่า และสังฆทาน พร้อมเวียนเทียนทักษิณาวัตร ด้วยเป็นสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของ คนทุกวัย และมีก�ำลังหลักที่ท�ำงานใกล้ชิดกับ ชุมชน วัดวังชมภูจึงเป็นสถาบันที่คอยพัฒนา คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมและคุ ณ ภาพชี วิ ต อย่า ง ต่อ เนื่ อ งเรื่ อ ยมา ขณะที่ พิ ธี ก รรมตามหลั ก ศาสนา วั ด วั ง ชมภู ก็ เ ป็น ศู น ย์ก ลางในการ ด�ำเนินกิจกรรมมิได้ขาด เป็นนาบุญที่เปิดรับ คนทุกผู้ที่มีจิตศรัทธา วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 81


มัสยิดสามแยกวังชมภู

82 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


มัสยิดสีชมพูสดใส แลเห็นเด่นชัดสะดุดตา ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 บ้านโนนโรงเลื่อย ต�ำบลวังชมภู เ ป ็น ศู น ย ์ร ว ม ข อ ง ช า ว มุ ส ลิ ม ใ น จั ง ห วั ด เพชรบูรณ์และจังหวัดพิจต ิ ร ก่อนทีพ ่ น ื้ ทีต ่ ่างๆ จะมีมัสยิดของตัวเอง ย้อนกลับไปราว 70 ปีทแ่ี ล้ว อูมรั คลีต๊าป ชาวมุ ส ลิ ม จากปากี ส ถาน ออกเดิ น ทางไกล แสวงหาโชคลาภด้วยตัวคนเดียว กระทั่งมาถึง จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย อูมรั ตัดสินใจลงหลักปักฐานทีต ่ ำ� บลวังชมภู ในปีพุทธศักราช 2495 ยึดอาชีพยามที่โรง เลื่อย พอเห็นช่องทางก็เริ่มรับเนื้อมาขาย โดย สมัยนั้นใช้วิธีเทียมเกวียน ต่อมาอูมัรชวนให้ เพือ ่ นฝูงจากปากีสถานมาตัง้ รกรากด้วยกันทีน ่ ี่ นับเป็นยุคทีช่ าวมุสลิมจากปากีสถานรุ่นแรกมา ตั้งถิ่นฐานที่ต�ำบลวังชมภู ด�ำรงชีวิตเรื่อยมา ขยับขยาย จนปัจจุบน ั มีชาวมุสลิมปากีสถานใน วังชมภู 9 ครอบครัว หรือประมาณ 30 คน มาลินี ภมรคล หนึง่ ในบุตรธิดา 9 คนของ อูมรั เล่าว่า ชาวมุสลิมในวังชมภูมห ี ลากหลาย ชาติพน ั ธุ์ ทัง้ ทีม ่ าจากปากีสถาน พม่า และทาง ตอนใต้ของประเทศไทย สมัยก่อนไม่มีมัสยิด ชาวมุสลิมรวมตัวกันประกอบศาสนพิธบ ี นบ้าน

หลังใหญ่ หรือ มุซอลลา ในภาษาอาหรับ ท�ำ ละหมาดในวันศุกร์ และวันอีด (วันส�ำคัญของ ประชาชาติอส ิ ลาม) จนในปี 2520 อูมรั คุณพ่อ ของมาลินี ก็เลยคิดขึ้นมาว่าควรจะมีมัสยิด “ตอนนั้นคุณพ่อออกเดินสายทั่วประเทศ ไทย ขอรับบริจาคเงินตามบ้าน เพื่อมาสร้าง มัสยิด” มาลินี เล่า อูมัรบริจาคที่ดิน 4 ไร่ส�ำหรับเป็นกุโบร์ และได้มอบที่ดินให้มัสยิด จนมัสยิดสามแยก วังชมภูเริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2522 สร้างเสร็จ ในปี 2525 และตกแต่งพัฒนาเรื่อยมา ส่วนที่มาที่ไปของสีชมพู ก�ำพล ภมรคล บุตรเขยของอูมัร เล่าว่า เพราะอิหม่ามชอบ สีชมพู จึงเริ่มทาสีชมพูให้มัสยิดเป็นครั้งแรก ราวปี 2547-2548 และทาสีชมพูเรื่อยมา อาจมีเฉดสีแตกต่างไปบ้าง แต่อย่างไรก็เป็น สีชมพู “น่าจะเป็นศาสนสถานแห่งแรกของโลก เลยที่เป็นสีชมพู” ก�ำพล ยิ้ม นอกจากเป็นศาสนสถานแล้ว มัสยิดแห่งนี้ เคยเป็นที่อบรมเยาวชนมุสลิมภาคฤดูร้อน ทั้ง ลู ก หลานรุ ่น นี้ ข องอู มั ร ยั ง มี แ ผนว่า จะตั้ ง โรงเรียนสอนเยาวชนมุสลิมด้วย วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 83


กินอิ่ม

อยู่สบาย

เที่ยวเพลิน Eat-Stay-Travel

84 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


เราได้ลม ิ้ ลองอาหารขึน ้ ชือ ่ ในเขตเทศบาล กันไปหลายร้าน เลยมาแนะน�ำให้ไปลองชิมดู กัน นอกจากนี้ยังขอพาไปเยือนโฮมสเตย์ที่เรา พัก ดูว่าจะสบายขนาดไหน จากนัน ้ ปิดท้ายด้วย การไปสักการะหลวงพ่อทบทีว่ ด ั ช้างเผือก เพือ ่ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตต่อไป

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 85


ร้านนิตอาหารป่ า

นิตยา ฉวีทอง

86 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

ร้านนี้ตั้งอยู่บริเวณสามแยกวังชมภู เปิด มานานกว่า 20 ปี เป็น ร้า นเล็ ก ๆ ที่ มี เ มนู อาหารเป็น เอกลั ก ษณ์ บริ ก ารเป็น กั น เอง ส่ว นมากคนที่ ม าอุ ด หนุ น เป็น คนในพื้ น ที่ นักท่องเที่ยวมีประปราย อาหารที่ นี่ มี ห ลากหลาย ทั้ ง ต้ม ย� ำ ปลา ผัดเผ็ดแย้ ปลาสามรส แกงต่างๆ แล้วแต่จะ เลือกสรร แต่ไม่ว่าจะเลือกเมนูไหน ก็อร่อยเด็ด ทุกเมนู ซึ่ง นิตยา ฉวีทอง เจ้าของร้านบอกว่า จะมีคนน�ำวัตถุดบ ิ มาส่ง ซึง่ หลายอย่างมีเฉพาะ ฤดู ก าล เช่น ปลาหนั ง อ่อ น เห็ ด เผาะ เมนู อาหารและราคาจึงเปลีย ่ นแปลงไปตามฤดูกาล ด้วย โดยเมื่อก่อนเศรษฐกิจดี จะมีอาหารป่า มากกว่านี้ ร้านนิตอาหารป่า เปิดทุกวัน ตัง้ แต่ 10.00 ถึ ง 18.00 น. ซึ่ ง เจ้า ของร้า นให้เ หตุ ผ ลว่า ที่ไม่เปิดดึก เพราะเจ้าของร้านอายุมากแล้ว


วิวิถถีสีสีชีชมพู มพู ของคนวั ของคนวังงชมภู ชมภู || 87 87


ร้านผัดไทยแคปหมู วังชมภู และกาแฟสดวังชมภู

88 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


วิไลลักษณ์ คงวุธ

ณัฐวุฒิ จึงวาณิช

ที่สามแยกวังชมภู ยังมีร้านที่เหล่านักชิม ไม่ควรพลาด คือร้านผัดไทยแคปหมูวังชมภู ที่ ได้น� ำ แคปหมู ม าจั บ คู ่กั บ ผั ด ไทยอย่า งลงตั ว วิไลลักษณ์ คงวุธ ผู้ดแ ู ลร้านรับรองว่า ผัดไทย ที่ นี่ ไ ม่ต ้อ งปรุ ง เพิ่ ม เพราะอร่อ ยกลมกล่อ ม อยู่แล้ว อีกเมนูที่จัดว่าเด็ดคือหมูสะเต๊ะ ที่ไม่มัน ไม่ด� ำ ทั้ ง น�้ ำ จิ้ ม และอาจาดก็ ไ ม่เ หมื อ นที่ อื่ น ส่ว นเมนู อื่ น ๆ ก็ มี ก ๋ว ยเตี๋ ย วคั่ ว ไก่ สุ กี้ แ ห้ง ข้าวหมูทอด และอาหารตามสั่งอีกมากมาย หากอิ่มแล้วมีกล้วยกรอบไส้แยมมะขามไว้ให้ ขบเคี้ยว สามารถซื้อรับประทานที่นั่น หรือน�ำ

กลับไปเป็นของฝากก็รับรองว่าถูกใจผู้รับ ร้านนีเ้ ปิดมา 11 ปี โดยพีส ่ าวของวิไลลักษณ์ เป็น ผู ้ริ เ ริ่ ม และคิ ด ค้น สู ต รอาหาร ท� ำ กั น ใน ครอบครัว เปิดทุกวัน เวลา 7.00-15.00 น. หยุดเฉพาะวันทีม ่ ธี รุ ะ สามารถแอบดูความฮอต ของร้านได้ที่เฟซบุ๊ก “ผัดไทยแค๊ปหมู วังชมภู น้าแดง” ส่วนการเดินทาง สามารถใช้ GPS น�ำทางได้ หลังทานอาหารแล้วก็แนะน�ำให้ต่อด้วย เครื่ อ งดื่ ม ร้า นข้า งๆ กั น คื อ ร้า นกาแฟสด วังชมภู ขนาดกะทัดรัด ของ ณัฐวุฒิ จึงวาณิช ทีท ่ ำ� ด้วยใจรัก เปิดทุกวัน เวลา 9.00-15.30 น.

วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 89


วิเชนทร์ และ สมศรี เทศศรี

ร้านลาบป้าหลั่น ใครได้ลองแวะร้านลาบป้าหลั่นเป็นต้อง ติดใจ เพราะลาบและอาหารพืน ้ เมืองอีสานของ ทีน ่ ี่ ถึงเครือ ่ งถึงรสจริงๆ มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ไปจนถึงลาบกึ่งสุก ลาบดิบ ต้มแซบเนื้อ อาหารประเภทปลา ไก่ กบ ทะเล รวมถึ ง อาหารตามสั่ง ซึ่งจัดว่าเด็ดทุกเมนู วิเชนทร์ เทศศรี และ สมศรี เทศศรี สามี ภรรยานับเป็นรุ่นทีส ่ องของร้าน ทัง้ สองบอกว่า ร้านเปิดมายาวนานกว่า 40 ปี และป้าหลั่น เป็นชื่อของคุณแม่ของสมศรี หากใครไม่อยากพลาดชิมอาหารรสเยีย ่ ม บริการถูกใจในราคาสบายกระเป๋า ก็ขอเชิญ ที่ ร ้า นลาบป้า หลั่ น หน้า ปากซอยเทศบาล ชุมชน 6 เปิดตั้งแต่ 10.00-19.00 ทุกวัน 90 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 91


โฮมสเตย์บ้านพี่จันทร์

พี่จันทร์

ล�ำไพร หยองใหญ่ หรือพี่จันทร์ น�ำบ้าน พักของตัวเองมาเปิดเป็นโฮมสเตย์ได้ราวปีกว่า ตัวบ้านกว้างขวาง บรรยากาศปลอดโปร่ง โดย พีจ่ น ั ทร์เน้นความเป็นกันเอง ตามลักษณะของ เจ้าตัวทีเ่ ป็นคนง่ายๆ สบายๆ คุยสนุก พีจ่ น ั ทร์ บอกว่า ตั ว เองเป็น คนหล่ม สั ก แต่ม าอยู ่ที่ วั ง ชมภู เ พราะแฟนมาท� ำ งาน และติ ด ใจที่ นี่ เพราะค่าครองชีพไม่สูง รุ ่ง เช้า ของวั น แรกที่ เ ข้า พั ก ได้รั บ การ ต้อ นรั บ อย่า งอบอุ ่น ด้ว ยอาหารเหนื อ ฝีมื อ แม่ค รั ว คนเมื อ งเหนื อ แท้ๆ ทั้ ง แกงฮั ง เล ผักกาดจอ แกงเปรอะ (แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง) และแม่ครัวยังเตรียมน�ำ้ เงีย ้ วประจ�ำการไว้ด้วย ด้วยพี่จันทร์เปิดโซนด้านหน้าที่อยู่ติดกับถนน ใหญ่เป็นร้านขนมจีนน�ำ้ เงีย ้ ว 92 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

“อาหารเช้า เราจะถามแขกว่าอยากกิ น อะไร แต่เ ช้า วั น แรกจะเน้น ของเหนื อ เช่น น�้ ำ พริ ก อ่อ ง แกงฮั ง เล ผั ก กาดจอ ไส้อั่ ว ” พี่จันทร์บอก ที่นี่รองรับคนได้ประมาณ 30 คน เพราะ มีบ้าน 2 หลัง หลังเล็กรับได้ 6 คน หลังใหญ่ รั บ ได้ม ากกว่า 20 คน เพราะมี ห ้อ งโถง กว้างขวาง โฮมสเตย์พี่ จั น ทร์ตั้ ง อยู ่ห มู ่ที่ 9 ต� ำ บล วั ง ชมภู บนทางหลวงหมายเลข 21 ถนน สระบุร-ี หล่มสัก กิโลเมตรที่ 203 หรือก่อนถึง ไร่ก�ำนันจุลประมาณ 2 กิโลเมตร ผู้ใดสนใจ สามารถติดต่อผ่านเทศบาลต�ำบลวังชมภูได้ ด้วยส่วนใหญ่แขกที่มาพัก หากเป็นคนนอก ต้องติดต่อผ่านเทศบาลทั้งสิ้น


วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 93


วัดช้างเผือก (หลวงพ่อทบ) เป็นวัดทีม ่ ต ี ้นไม้ใหญ่รายล้อม บรรยากาศ สงบร่มเย็น มีประวัตเิ ก่าแก่ยาวนาน เพราะเมือ ่ ปี 2547 มี ก ารขุ ด พบโบสถ์เ ก่า ของวั ด ช้างเผือก ซึง่ สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 300 ปี ตั้งแต่สมัยอยุธยา ใจกลางของวัดมีอนุสรณ์ของ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ (พ.ศ.2424-2519) ที่สร้างขึ้น พ ร ้อ ม กั บ ก า ร บู ร ณ ะ วั ด แ ล ะ ม ณ ฑ ป ข อ ง หลวงพ่อทบ มีประวัตจิ ารึกว่า หลวงพ่อทบเป็น ชาวเพชรบูรณ์ เกิ ดที่บ้านยางหัวลม ต�ำบล วังชมภู จังหวัดเพชรบูรณ์ เริ่มบรรพชาเป็น 94 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู

สามเณรเมือ ่ อายุ 16 ปี และหลังจากอุปสมบท ได้ไม่นาน ท่านก็เริม ่ ออกธุดงค์แสวงหาความรู้ และความสงบนิ่ ง ทางใจ โดยธุ ด งค์ไ ปทาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ตลอดจน ประเทศลาวและกัมพูชา ต้องฟันฝ่าอุปสรรค นานัปการ แล้วก็กลับมาพัฒนาวัดต่างๆ ใน จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมสัง่ สอนสาธุชน จนเป็น ที่เคารพเลื่อมใสของชาวเพชรบูรณ์ ที่ นี่ จึ ง เป็น สถานที่ ที่ ผู ้ที่ ผ ่า นมาต� ำ บล วังชมภูต ้อ งเข้ามาสั กการะ มิเช่นนั้นจะโดน ค่อนขอดว่ามาไม่ถึง


วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู | 95 95


96 | วิถีสีชมพู ของคนวังชมภู


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.