คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

Page 1

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 1


คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ กฤตตฤณ, สุทธิโชค จรรยาอังกูร ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data กฤตตฤณ. คื อ เค้า โครง แห่ง โพรงมะเดื่ อ .-- กรุ ง เทพฯ : ส� ำนั ก งานกองทุ น สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2559. 104 หน้า. 1. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. I. สุทธิโชค จรรยาอังกูร, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. 338.4791 ISBN 978-616-393-027-9 เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ 978-616-393-027-9 พิมพ์ครั้งที่ 1     มกราคม 2559 บรรณาธิการอ�ำนวยการ     ดวงพร เฮงบุณยพันธ์     พิทักษ์พล ตันกิตติวัฒน์     น�ำพณ ลิ้มธนเลิศ บรรณาธิการ     กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ กองบรรณาธิการ     จิรายุทธ ยิ้มละมัย             พรทิวา ไวยครุฑธา ช่างภาพ     กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ ศิลปกรรม     พรทิวา ไวยครุฑธา ออกแบบปก     อรกุล แก้วหิรัญ พิสูจน์อักษร     ปรียนันท์ ตั้งพุทธิพงศ์ ประสานงานการผลิต     ชัชฎาพร ณ บางช้าง จัดพิมพ์โดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) อาคารเรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343-1500 www.thaihealth.or.th www.punsook.org, www.facebook.com/punsook ด�ำเนินการผลิตโดย หจก. จู๊ซ อัพ มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น เลขที่ 7 ซอยรามค�ำแหง 44 แยก 2 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240


รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ กล่าวเอาไว้ว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้อ งมี ค วามมั่ น ใจว่า ตั ว เองเป็น คนสร้า ง กระบวนการเรียนรู้ได้ โดยไม่จำ� เป็นต้องพึง่ พา ความรู ้จ ากหน่ว ยราชการ หรื อ ความรู ้จ าก องค์กรการศึกษาอื่น ต้องบอกตัวเองว่าเราคือ สถาบั น ที่ ส ร้า งความรู ้ใ ห้กั บ คนอื่ น ได้ ชี้ น� ำ สังคมได้ นี่เป็นเหมือนการปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปให้เห็นโอกาสที่จะท�ำให้ชุมชนท้องถิ่น ไม่ต ้อ งเป็น ผู ้ต ามอี ก ต่อ ไป เป็น การเปลี่ ย น วาทกรรมของการเรียนรู้โดยสิ้นเชิง” สิ่ ง ที่ ร ศ.ดร.ขนิ ษ ฐากล่า วนั้ น เรี ย กให้ กระชับสัน ้ คือการสร้าง สะสม และใช้องค์ความรู้ ภายในพืน ้ ที่ โดยคนในพืน ้ ที่ เพือ ่ สร้างผลกระทบ ที่ดีในหลากหลายมิติภายในชุมชน โดยเฉพาะ ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานรากที่ส�ำคัญของการ พัฒนาประเทศ เป็นที่มาให้ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) ได้ เข้ามาสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทัว่ ประเทศในการส�ำรวจทุนและศักยภาพ ถอด บทเรียน ตลอดจนสร้างบุคลากรทีม ่ ค ี วามสามารถ ในการน�ำใช้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ท่ีได้รับ การสั ง เคราะห์ม าแล้ว อย่า งดี เพื่ อ กระจาย

ค�ำน�ำ

องค์ค วามรู ้เ หล่า นั้ น ให้กั บ เพื่ อ นเครื อ ข่า ย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศต่อไป ทีส ่ ด ุ แล้วเมือ ่ ท้องถิน ่ สร้างองค์ความรู้ของ ตัวเอง และต่อยอดสู่กระบวนการเรียนรู้จน สามารถถ่ายทอดได้ ก็ยิ่งทวีความเข้มแข็งให้ มากขึ้นไป และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถ สร้างคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีให้เกิดขึ้น ในชุมชนท้องถิน ่ ซึง่ เวลานีก ้ ระบวนการทุกอย่าง ได้ด� ำ เนิ น มาระยะหนึ่ ง แล้ว พั ฒ นาการของ พื้นที่แต่ละแห่งได้รับการยืนยันเป็นที่ประจักษ์ ว่าสามารถสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ให้กับชุมชนท้องถิ่น เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ ดูแลรับผิดชอบ ส่วนหนึ่งของต�ำบลโพรงมะเดื่อ และบางส่วน ของต�ำบลหนองดินแดง ซึ่งมีพื้นที่เป็นชุมชน กึ่ ง เมื อ งกึ่ ง ชนบท มี ผู ้อ าศั ย ทั้ ง หน้า เก่า และ หน้าใหม่เข้ามาอยู่ร่วมกัน เกิดเป็นความท้าทาย ของผู้บริหาร ตลอดจนแกนน�ำในชุมชนทีจ่ ะต้อง ช่วยกันสร้างสมดุลในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะ ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสุขภาพ ซึ่งจากระยะเวลาที่ผ่านมา การ ท�ำงานอย่างมีส่วนร่วมของทีน ่ ไี่ ด้ก่อเกิดเป็นชุด ประสบการณ์ ทีต ่ ่อมาได้กลายเป็นองค์ความรู้ และต่อจากนีค ้ อ ื เรือ ่ งราวทีม ่ า ระหว่างทาง และ แนวทางต่อไปขององค์ความรู้ของชุมชนแห่งนี้


6 | บทน�ำ ‘คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ’ 10 | สัมภาษณ์

พิทักษ์พล ตันกิตติวัฒน์ นายกเทศมนตรี ต�ำบลโพรงมะเดื่อ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม : ‘เชื่อมเมือง-ชนบทไว้ด้วยกัน คือหัวใจของงานพัฒนา‘

16 | บริหารดี ต้องมีส่วนร่วม 18 | กองทุนหลักประกันสุขภาพ   เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ 20 | บึงตกปลารางข้าวลอย

22 | สุขภาพ 24 28 30 32 34 36

| | | | | |

นิ้วเหล็กพิชิตเส้น ชมรมอาสาสาธารณสุข ชมรมเปตอง คนเล่นลูกเหล็ก มรดกนายขนมต้ม ค่ายมวยศิษย์โสภณ ยาทัย สมุนไพรท�ำเอง กลุ่มสันทนาการชุมชนหมู่ใหญ่

38 | สวัสดิการดีๆ ที่เรามีให้กัน 40 | บ้านมั่นคงชุมชนกาเลี้ยงลูก 44 | กองทุนสวัสดิการชุมชนบ้านมั่นคง 46 | ร้านค้าชุมชนกาเลี้ยงลูก

48 | การศึกษา ‘วิชาชีวิต’

50 | โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) 54 | ศูนย์การศึกษาเด็กพิเศษ และ    ศูนย์ผลิตภัณฑ์เด็กพิเศษ (บึงลาดโพธิ์)


58 | เศรษฐกิจชุมชน 60 64 66 70 72 76

| | | | | |

สารพัดเห็ดเพื่อสุขภาพ ตี๋พันธุ์ปลา ฟาร์มปลาตาหนุ่ย สาครกับสาคร ขนมจีนนวัตกรรมใหม่ ช่างของหวาน

78 | วัฒนธรรม

80 | วัฒนธรรมลาวครั่ง 84 | อู่ต่อเรือลุงเล็ก

86 | พักผ่อนหย่อนกาย 88 | โฮมสเตย์พี่ยุพา 89 | โฮมสเตย์พี่ยุ

90 | อาหารการกิน

92 | ร้านอาหาร เป็ดสมทรง 93 | ร้านอาหาร บ้านริมบึง 94 | ร้านเจ๊จี ไก่ย่างบุรีรัมย์ 95 | พิมพ์รส 96 | ร้านก๋วยเตี๋ยวรถนครปฐม 97 | แซ่บนัว ครัวบ้านนา

98 | ท่องเที่ยวชุมชน

100 | วัดโพรงมะเดื่อ 102 | วัดหว้าเอน 104 | วัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน


บทน�ำ

‘คือเค้าโครง

แห่งโพรงมะเดื่อ’ Introduction

6 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


จุ ด หมายปลายทางในครั้ ง นี้ อ ยู ่ใ กล้ กรุงเทพฯ เราเดินทางผ่านไปมาอยู่หลายครั้ง แต่ไ ม่เ คยได้แ วะเวี ย น ด้ว ยไม่เ คยได้ยิ น ชื่ อ อาจเพราะไม่มีแหล่งท่องเที่ยวน่าดึงดูดเท่าไร ทั้งที่อยู่ในอ�ำเภอเมืองจังหวัดนครปฐมนี่เอง

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 7


เรารู้จักจังหวัดนครปฐมเพราะพระปฐมเจดีย์ เพราะมหาวิทยาลัยศิลปากร สถานที่ สองแห่งนีค ้ อ ื หมุดหมายใหญ่ทป ี่ ักลงบนแผนที่ เราจั บ รถเที่ ย วเช้า จากอนุ ส าวรี ย ์ชั ย มาลงที่ พระปฐมเจดีย์ ไม่น่าเชือ ่ ว่าเพียงแค่สองชัว่ โมง เราก็มายืนอยู่หน้าองค์เจดีย์แล้ว เพียงครู่หนึ่ง จิรายุทธ ยิ้มละมัย หรือพี่จิ ก็ ว นรถเข้า มารั บ พี่ จิ เ ป็น ชายร่า งสู ง ใหญ่ เสียงทุ้มหนา พูดจาฉะฉานฟังชัดดี “เคยมานครปฐมกันไหม” เราตอบรับ อ้างอิงถึงหมุดใหญ่ที่คล้าย เป็นสัญลักษณ์ประจ�ำจังหวัด พี่จิตอบกลับมา ว่า ต�ำบลโพรงมะเดื่ออยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก สามารถใช้ถนนเส้นหลักเพชรเกษมเลยจาก มหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ไกล ตัวต�ำบลมีพื้นที่ อยู่ทั้งสองฝั่งของถนน เราสั ง เกตว่า จากในตั ว เมื อ งนครปฐม ย่า นตลาดเก่า เลี ย บเลาะมาเรื่ อ ยผ่า นรั้ ว มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็มาที่เทศบาลต�ำบล

โพรงมะเดื่ อ ได้ นั บ ว่า เกื อ บอยู ่ใ จกลาง ความเจริญ จึงไม่แปลกใจที่ระหว่างทางเห็น หอพักตัง้ เรียงรายมากมาย ยิง่ กับถนนเส้นหลัก ที่เคยผ่านนั้น ยิ่งคึกคักไปด้วยร้านค้า พอเข้า มาถึ ง ตั ว ชุ ม ชน บรรยากาศกลั บ เปลี่ยนไปเป็นอีกแบบ เราพบว่าค่อนข้างสงบ สมถะ ไม่วุ ่น วายเหมื อ นทางที่ ผ ่า นเข้า มา ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาทีก็ถึงส�ำนักงานเทศบาล ต�ำบลโพรงมะเดื่อ เรารู้สึกว่า ตัวอาคารคล้าย อาคารเรียนในโรงเรียน สร้างลึกเข้าไป ด้วยมี พื้นที่จ�ำกัด และเป็นที่ดินทรงลึก ระหว่างทาง เราได้ทราบว่า เทศบาลมี พื้ น ที่ ป กครองอยู ่ใ นเขตของสองต� ำ บล คื อ ต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ และต� ำ บลหนองดิ น แดง รวมทั้งหมด 20 ชุมชนด้วยกัน ลักษณะชุมชน กึ่ ง เมื อ งกึ่ ง ชนบท มี ป ระชากรจริ ง เกื อ บ 20,000 คน มากกว่าทีป ่ รากฏทะเบียนราษฎร์ ครึง่ ต่อครึง่ ด้วยส่วนหนึง่ เข้ามาเช่าหอพักเพือ ่ ท�ำงาน หรือเพื่อศึกษา


“นอกจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ยังมี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมอีก” พี่จิว่า เราเข้า ใจว่า ความเป็น อยู ่ข องผู ้ค นที่ น่ี น่า จะดี ด้ว ยความพร้อ มของระบบบริ ก าร สาธารณะด้านต่างๆ กับปัจจัยเรื่องความเป็น เมือง แต่พี่จิว่า ยังไม่ถึงขนาดนั้น คนจ�ำนวน หนึ่ ง ยั ง คงต้อ งได้รั บ ความช่ว ยเหลื อ ดู แ ล เทศบาลและเจ้าหน้าที่ยังมีภารกิจอีกมากมาย เพือ ่ สร้างคุณชีวต ิ ทีด ่ ใี ห้กบ ั ผู้คนทีป ่ ักหลักอาศัย อยู่ในเขตเทศบาล จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่พี่จิเล่าให้ฟัง คือที่นี่ มีชม ุ ชนลาวครัง่ ซึง่ เป็นคนลาวทีอ ่ พยพมาจาก ทางเวียงจันทร์เนิ่นนานมาแล้ว ตั้งรกรากอยู่ อย่า งเรี ย บง่า ย ฉะนั้ น ที่ นี่ จึ ง มี ทั้ ง ชนพื้ น ถิ่ น ภาคกลาง ลาวครัง่ และคนต่างถิน ่ ทีเ่ พิง่ เข้ามา ทั้งหมดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน

“ให้ดูเฉยๆ คงแยกล�ำบากแล้ววันนี้ ด้วย ความทันสมัยที่เข้ามา คนดูคล้ายกันไปหมด” เราก็ ว ่า เช่น นั้ น พี่ จิ น� ำ เราเข้า มานั่ ง พั ก ในห้องประชุม จัดการธุระ ก่อนพาเราลงไปใน ชุมชน การเดินทางครัง้ ใหม่ของเราก�ำลังจะเริม ่ มีอะไรให้ต้องคิดไปพลางมากมาย เราหวังว่า จะถ่า ยทอดเรื่ อ งราวของที่ นี่ อ อกมาอย่า ง ซื่อตรง แม้เราจะประเมินเอาไว้แล้วว่า ชุมชน กึ่งเมืองที่มีคนเก่าคนใหม่อาจท�ำให้เรื่องราว กระจั ด กระจาย แต่นั่ น ก็ เ ป็น เรื่ อ งที่ เ ราต้อ ง พยายามมากขึ้ น เพื่ อ ให้ค นอื่ น ๆ ได้รู ้จั ก โพรงมะเดื่ออย่างที่โพรงมะเดื่อเป็น เราพบว่า ท่า มกลางความหลากหลาย ที่นี่ก็มีเสน่ห์เฉพาะตัว มีเรื่องราวที่ชวนให้ยิ้ม หัวเราะ มีทั้งสุขและเศร้า ทั้งหมดเกิดก่อเป็น ความประทับใจ นี่แหละโพรงมะเดื่อ


สัมภาษณ์ Interview

ประชาชนในเขตเทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อรู้จักครอบครัว ตันกิตติวฒ ั น์เป็นอย่างดี เพราะเป็นผู้บริหารมาเนิน ่ นาน ไล่ตงั้ แต่ ผู้เป็นพ่อ แม่ และจนมาถึงรุ่นลูกอย่าง พิทก ั ษ์พล ตันกิตติวฒ ั น์ ก็ยังคงได้รับความไว้วางใจให้เข้ามาท�ำหน้าที่นายกเทศมนตรี โดยก่อนที่จะเดินทางลัดเลาะไปในชุมชน เรามานั่งพูดคุยกับ นายกเทศมนตรี เพือ ่ รับรู้เรือ ่ งราวของชุมชนแห่งนี้ ซึง่ น่าจะเป็น ประโยชน์ส�ำหรับการเรียนรู้ของเรา

10 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ



แม้จะอยู่ในเขตอ�ำเภอเมือง ทว่าเทศบาล ต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ ก็ ถื อ เป็น พื้ น ที่ ซึ่ ง มี ค วาม หลากหลายในเรื่ อ งประชากรอยู ่พ อสมควร จากการพูดคุยกับนายกเทศมนตรีคนหนุ่ม ซึ่ง สืบสานปณิธานการท�ำงานต่อจากบิดามารดา ซึ่งเป็นอดีตนายกเทศมนตรีต�ำบลโพรงมะเดื่อ เช่นกัน ท�ำให้ทราบถึงเรื่องราวและลักษณะ ทางกายภาพของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน พื้ น ที่ ก ารปกครองของเทศบาลต� ำ บล โพรงมะเดื่อประกอบด้วย 2 ต�ำบล 8 หมู่บ้าน 20 ชุมชน เนื้อที่เกือบ 15 ตารางกิโลเมตร โดย 2 ต� ำ บลที่ ว ่า นี้ คื อ ต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ กินพื้นที่ 6 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านนา และชุ ม ชนบ้า นดอน, หมู ่ที่ 5 ชุ ม ชนบ้า น โพรงมะเดื่ อ และชุ ม ชนหนองฉิ ม , หมู ่ที่ 8 ชุมชนบ้านไร่เก่า, หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านไร่ และ ชุมชนหว้าเอน, หมู่ที่ 12 ชุมชนบ้านกาเลีย ้ งลูก และหมู ่ที่ 13 ชุ ม ชนหนองหิ น ส่ว นต� ำ บล หนองดินแดง ประกอบไปด้วยหมู่ที่ 1 ชุมชน คลองขุด ชุมชนหนองจอก และชุมชนเกาะส้มเสี้ยว กับหมูท ่ ี่ 2 ชุมชนหมู่ใหญ่ ชุมชน ต้นสมอ ชุมชนหมู่นอก ชุมชนลาดโพธิ์ ชุมชน หมู่สระเกตุ ชุมชนตลาดหนองดินแดง ชุมชน ลานทอง และชุมชนล�ำสระเกศ ประชาชนส่ว นใหญ่ที่ นี่ ป ระกอบอาชี พ เกษตรกรรม โดยนิ ย มท� ำ ไร่น าสวนผสม ภาพรวมชุ ม ชนเป็น ชุ ม ชนชนบทกึ่ ง เมื อ ง มี ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ มีโรงเรียนเอกชน โรงเรี ย นรั ฐ ประชาชนร้อ ยละ 80 นั บ ถื อ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 19 นับถือศาสนาคริสต์ 12 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


เชื่อมเมือง-ชนบทไว้ด้วยกัน คือหัวใจของงานพัฒนา พิทักษ์พล ตันกิตติวัฒน์ นายกเทศมนตรีตำ� บลโพรงมะเดื่อ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

และที่เหลืออีกร้อยละ 1 นับถือศาสนาอื่นๆ “สภาพพื้ น ที่ นี้ ดู เ หมื อ นเมื อ งก็ เ หมื อ น เพราะว่าติดเมือง แต่ถ้าจะบอกว่าเป็นชนบท ก็ใช่ เพราะยังมีวิถีชีวิตดั้งเดิมอยู่ คือที่นี่จะมี วัฒนธรรมเก่า ซึ่งเห็นได้ชัดเจนคือการแห่ธง สงกรานต์ ซึง่ ท�ำมาแล้ว 138 ปี เป็นวัฒนธรรม ที่ยิ่งใหญ่ เพราะไม่ใช่คนโพรงมะเดื่อมาร่วม งานเท่านั้น คนในพื้นที่ใกล้เคียงก็มาร่วมด้วย นอกจากนีย ้ งั มีอาชีพทีข่ น ึ้ ชือ ่ คือการบีบขนมจีน การเลี้ยงปลาสวยงาม และปลารับประทาน” นายกฯ พิทักษ์พล เล่า หากถามว่าอะไรคือสิง่ ทีเ่ ป็นนโยบายหลัก ซึ่งเทศบาลขับเคลื่อนมา นายกฯ พิทักษ์พล ตอบว่า การส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้คนมีความรู้ เพียงพอในการต่อยอดอาชีพเดิม พิจารณาจาก ข้อมูล TCNAP พบว่าประชากรกว่าร้อยละ 40 ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ไม่แน่นอน ทางเทศบาลจึ ง หาช่อ งทางที่ จ ะท� ำ ให้ค นมี รายได้เ สริ ม ตั้ ง แต่ก ารหาวิ ท ยากรมาสอน อาชีพต่างๆ ตามทีป ่ ระชาชนต้องการ เช่น สอน การท� ำ อาหาร ท� ำ ขนม เย็ บ ปัก ถั ก ร้อ ย ซึ่ ง ประชากรตรงนีน ้ บ ั รวมไปถึงกลุ่มผู้สงู อายุด้วย เพื่อให้ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ อีกนโยบายที่ส่งเสริมมากเป็นพิเศษ คือ สุ ข ภาพ ด้ว ยความที่ มี ป ระชากรมากถึ ง 10,000 คน ตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และ มี ป ระชากรแฝงอี ก ประมาณเท่า ตั ว กลุ ่ม นี้ เข้ามาใช้แรงงาน ท�ำให้เทศบาลต้องจัดระเบียบ ให้ชั ด เจน ด้ว ยการร่ว มกั บ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต�ำบล และชมรมอาสาสมัคร

สาธารณสุ ข ท� ำ การตรวจสุ ข ภาพประจ� ำ ปี พร้อมกับให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วเข้ามาดูแล เรื่ อ งสุ ข ภาพ ทั้ ง เจาะเลื อ ด เอ็ ก ซเรย์ป อด เพื่อให้ชาวบ้านมีแนวทางในการดูแลสุขภาพ ตนเองอย่างถูกต้อง “ที่ นี่ มี ค วามเสี่ ย งมาก เพราะมี โ รงงาน อุ ต สาหกรรม ทั้ ง โรงงานเหล็ ก กระดาษ ไฟเบอร์ แล้วก็มีฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ฟาร์มเป็ด และจากการส� ำ รวจหลายคนเป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เราก็ต้องหาวิธีจัดการอย่าง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยเน้น ไปที่ ผู ้สู ง อายุ ผู ้ที่ ท�ำงานสุ่มเสี่ยง” ส� ำ หรั บ เรื่ อ งสาธารณู ป โภคขั้ น พื้ น ฐาน นายกฯ เล่าว่า ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไรนัก เพราะ เวลานีท ้ ำ� ไปแล้วมากกว่าร้อยละ 80 แต่สงิ่ หนึง่ ที่อดเป็นห่วงไม่ได้คือ ความแออัด เพราะเริ่ม มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นในพื้นที่มากขึ้น ท�ำให้ ภาคท้องถิ่นต้องวางแผนให้ดี เพื่อจะได้ดูแล คนทั้ง 2 กลุ่มได้อย่างสมดุล เพราะแต่ก่อน คนที่นี่เป็นคนพื้นเพอยู่กันแบบญาติพี่น้อง แต่ เมื่อมีคนนอกเข้ามาเพิ่ม อาจไม่มีความเข้าใจ จึงเป็นหน้าที่ของเทศบาลที่จะต้องให้ความรู้ เรื่ อ งวั ฒ นธรรมในพื้ น ที่ รวมไปถึ ง ส� ำ รวจ บริการขัน ้ พืน ้ ฐาน เพือ ่ จะได้ทำ� แผนรับมือ โดย เวลานี้ มี ก ารขยายสาธารณู ป โภคต่า งๆ ทั้ ง ไฟฟ้า ถนนหนทาง ทางระบายน�้ำ ส่วนด้าน สุขภาพเองก็ให้กลุ่ม อสม.หาข้อมูลแต่ละบ้าน ไว้ แล้วก็ยงั มีเครือข่ายก�ำนันผู้ใหญ่บ้าน เข้ามา ดู แ ลรั ก ษาความสงบ และความปลอดภั ย ในชุมชน คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 13


14 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


“แม้จะมีเรื่องความแออัด แต่ปัญหาขยะ เราก็สามารถรับมือได้ เรามีบ่อขยะ ก�ำจัดขยะ ด้วยตัวเอง คือใช้วธิ ฝ ี ังกลบ แต่สงิ่ ทีน ่ ่าเป็นห่วง มากกว่า คือช่องว่างระหว่างคนเมืองกับคน ชนบท เพราะต้องยอมรับตามตรงว่า ความ หลากหลายเป็น เหมื อ นช่อ งว่า งที่ ท� ำ ให้ ไม่เข้าใจ คนกลุ่มใหม่ที่เข้ามาอาจไม่มีความ รู้สก ึ ร่วมถึงความเป็นชุมชน น�ำ้ ใจทีใ่ ห้กน ั ก็อาจ ไม่มี ดังนั้นเราจึงต้องท�ำทุกอย่างตามกรอบ ร ะ เ บี ย บ ข อ ง ก ฎ ห ม า ย แ ล ะ อ า ศั ย ก า ร ประชาสัมพันธ์มากขึน ้ เพราะบางเรือ ่ งคนเมือง ก็ ไ ม่เ ข้า ใจจริ ง ๆ ตั ว อย่า งเช่น เรื่ อ งน�้ ำ ท่ว ม จากเดิมทีม ่ เี ครือ ่ งสูบน�ำ้ ไปช่วย โดยมีชาวบ้าน เข้ามาดูแลเพื่อให้หมู่บ้านหนึ่งพ้นจากสภาวะ ภัยพิบัติ แต่พอมีหมู่บ้านจัดสรร เขากลับไม่ เข้าใจ ร้องเรียนเข้ามาว่าเสียงดัง มีควัน เราก็ ต้องไปอธิบายเพิ่มเติม” อีกความเสีย ่ งหนึง่ คือปัญหาอาชญากรรม นายกฯ ว่า วันนี้มีการลักสายไฟ ขโมยมิเตอร์ น�้ ำ วิ่ ง ราวทรั พ ย์ ซึ่ ง ในชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม ไม่น ่า เป็น ห่ว งเท่า ไร เพราะแม้ส ภาพแวดล้อ มจะ เปลีย ่ นแปลงเพียงใด ทว่าคนในหมู่บ้านยังดูแล กั น แต่ล ะคนช่ว ยกั น เป็น หู เ ป็น ตาสอดส่อ ง มีอะไรไม่ชอบมาพากลก็จะแจ้งผู้น�ำหมู่บ้าน ให้ช่วยตรวจสอบก่อนที่จะสายเกินไป ส่วนการประสานกับพื้นที่รอบนอก ไม่ว่า จะเป็น องค์การบริหารส่วนต�ำบลโพรงมะเดื่อ ก็ดี องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองดินแดงก็ดี รวมไปถึงพื้นที่อื่นๆ ก็ถือว่าน่าพอใจ เพราะ

ทุกคนต่างรู้จักกันและร่วมมือกันอย่างดี เวลา ขอความช่ว ยเหลื อ ใดๆ ก็ไ ด้รับ การตอบรับ ทุกครั้ง ขณะที่ ด ้า นการศึ ก ษา จากข้อ มู ล พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ทด ี่ ี ในพืน ้ ทีม ่ ส ี ถานศึกษา ตั้ ง แต่ชั้ น เตรี ย มอนุ บ าลถึ ง มั ธ ยมศึ ก ษาปีที่ 6 แต่ที่ อ ยู ่ภ ายใต้ก ารดู แ ลของเทศบาลคื อ ศูนย์เด็กเล็ก 2 ศูนย์ ซึ่งมีการพัฒนาด้วยการ ส่งครูไปอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ตลอดจน ไ ด ้ส ่ง เ ส ริ ม สื่ อ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ใ ห ้มี ประสิทธิภาพมากขึน ้ สัมผัสได้จากจ�ำนวนของ เด็กที่เพิ่มจ�ำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 30 คน เป็น 70 คน เป็นการยืนยันถึงความเชือ ่ มัน ่ ของ ประชาชนที่ มี ต ่อ การท� ำ งานของเทศบาล ขณะที่ในส่วนของอุดมศึกษานั้น ทางจังหวัด นครปฐมเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ นครปฐม ซึ่ ง นั บ ว่า เพียบพร้อมอยู่แล้ว ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการด�ำรงต�ำแหน่ง นายกฯ บอกว่าสิ่งที่อยากท�ำเพิ่มเติม คือการ ปลูกฝังจริยธรรมให้แก่เด็กๆ เพราะเมื่อเด็ก ไม่ส นใจเรื่ อ งศาสนา ท� ำ ให้จิ ต ใจไม่ไ ด้ถู ก ขัดเกลา ปัญหาต่างๆ จึงเกิดขึ้นเต็มไปหมด “ผมอยากเห็ น ผู ้น� ำ ครอบครั ว มี เ วลาให้ บุตรหลาน พาเข้าวัดเข้าวา เข้าโบสถ์เข้ามัสยิด เพราะผมเชือ ่ ว่าศาสนากับความอบอุ่นจะสร้าง ความแข็ ง แกร่ง ให้เ ยาวชน เพื่ อ ที่ เ ขาจะได้ เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม” นายกฯ พิทักษ์พล ทิ้งท้าย

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 15


บริหารดี

ต้องมีส่วนร่วม Management

หลั ง จากพู ด คุ ย กั บ นายกเทศมนตรี ไ ป ผู ้น� ำ ทางของเราก็ ไ ด้พ าเรามาพบกั บ ผู ้ใ หญ่ อีกท่านหนึง่ คือปลัดเทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ ที่รับอาสามาเล่าเรื่องราวการท�ำงานกองทุน หลักประกันสุขภาพเทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ ทีอ ่ าศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย หลังจากนัน ้ เดินทางลัดเลาะสู่ชม ุ ชนเกาะส้มเสีย ้ วเพือ ่ ไปชม วิวทิวทัศน์ของบึงขนาดใหญ่ ซึ่งที่นั่นนอกจาก จะเป็นบึงเพือ ่ การชลประทานแล้ว ชุมชนยังได้ ใช้บึงแห่งนี้ทำ� ประโยชน์อย่างอื่นอีก

16 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 17


กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ กลไกหลั ก ในการขั บ เคลื่ อ นประเด็ น การสร้า งเสริ ม ดู แ ลสุ ข ภาพที่ ส� ำ คั ญ ของคน 20 ชุมชนในเทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งด�ำเนินการมา ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2555 น�ำพณ ลิ้มธนเลิศ ปลัดเทศบาลต�ำบล โพรงมะเดื่อ ในฐานะเลขานุการกองทุนฯ เล่า ให้ฟังว่า การเข้าสู่กระบวนการนี้เป็นไปตาม นโยบายของภาครัฐ ทีใ่ ห้สำ� นักงานหลักประกัน สุ ข ภาพแห่ง ชาติ อุ ด หนุ น งบประมาณตาม รายหัวประชากรลงมาทีท ่ ้องถิน ่ โดยตรง โดยที่ ท้องถิ่นมีหน้าสมทบเพิ่มเติม ร้อยละ 50 ตาม เงื่อนไขเมื่อเข้าร่วม โดยปัจจุบันกองทุนมีเงิน หมุ น เวี ย นประมาณ 800,000 บาทต่อ ปีงบประมาณ “พอรับกองทุนนีเ้ ข้ามาด�ำเนินการ ก็มก ี าร ตั้งคณะกรรมการ ซึ่งเป็นโครงสร้างตามท้าย ประกาศ โดยมีกรรมการมาจากผู้บริหาร ซึ่ง นายกฯ เป็นประธาน ส่วนปลัดฯ เป็นกรรมการ

18 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

และเลขานุ ก ารโดยต� ำ แหน่ง มี สั ด ส่ว นของ สมาชิกสภาเทศบาล 2 คน มีผู้แทนของ อสม. มีผู้แทนจาก รพ.สต.โพรงมะเดื่อ และ รพ.สต. หนองดิ น แดง แล้ว ก็ มี ผู ้ท รงคุ ณ วุ ฒิ จ าก ชาวบ้าน รวมทั้งหมดมีกรรมการ 17 คน และ มีคณะอนุกรรมการอีกชุดหนึ่งคอยขับเคลื่อน งาน” ปลัดเทศบาลเล่า เมื่ อ แต่ง ตั้ ง คณะกรรมการครบ ก็ เ ป็น หน้า ที่ ข องเทศบาลและคณะท� ำ งาน ที่ ต ้อ ง ประชาสัมพันธ์ให้ชม ุ ชนรับทราบ เพือ ่ ให้เข้ามา มี ส ่ว นร่ว มในการเสนอกิ จ กรรมต่า งๆ โดย ที่ผ่านมา ก็มีทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต� ำ บล กลุ ่ม อสม. ซึ่ ง ถื อ เป็น ตั ว แทนของ ประชาชน ขอทุ น เพื่ อ ไปท� ำ การรณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก แล้วก็เสนอ เครื่อง ออกก�ำลังกายทีช ่ าวบ้านผลิตได้เอง เช่น กะลา ที่ยืดเส้น ยืดขา ล่าสุดก็มีโรงเรียนต่างๆ และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก น�ำเสนอโครงการเข้ามา รับการพิจารณาทุน


น�ำพณ ลิ้มธนเลิศ

“ทางเทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ ได้ทำ� การ ประชาสั ม พั น ธ์ใ ห้รั บ ทราบกั น ถ้ว นหน้า ว่า การดู แ ลสุ ข ภาพสามารถเริ่ ม ต้น ด้ว ยตนเอง โดยเราได้เผยแพร่ข้อมูล TCNAP ซึ่งท�ำร่วม กับทาง สสส. เพื่อให้ชุมชนได้ทราบว่า ขณะนี้ เขาก�ำลังเผชิญความเสี่ยงอะไรบ้าง อย่างที่นี่ ประชากรร้อยละ 10 เป็นความดันโลหิตสูง รองมาก็เป็นเบาหวาน” ปลัดน�ำพณว่า ในส่วนของการแบ่งสัดส่วนงบประมาณ นั้น ด้านบริหารก�ำหนดให้ใช้เงินไม่เกินร้อยละ 15 ส่วนอีกร้อยละ 60 จะเชื่อมต่อไป รพ.สต. ทัง้ สองแห่ง ขณะทีภ ่ าคประชาชนได้รบ ั ไปอยู่ท่ี ร้อยละ 20 และร้อยละ 5 สุดท้ายเป็นเงิน คงค้างในบัญชี การมี ก องทุ น นี้ เ ข้า มาได้ส ร้า งความ เปลี่ยนแปลงให้เกิดในพื้นที่หลายอย่าง เช่น ลดความยุ่งยากในการของบประมาณ เพราะ ก่อนทีจ่ ะมีกองทุน โรงพยาบาลต้องท�ำเรือ ่ งขอ เงินไปทีส ่ ่วนกลาง ส่งเรือ ่ งวุ่นวายหลายขัน ้ ตอน แต่ทุกวันนี้ ผ่านเพียงที่ประชุมคณะกรรมการ

กองทุนเท่านัน ้ ขณะเดียวกันภาคประชาชนก็ได้ รับทราบด้วยว่า หน่วยงานต่างๆ ในพืน ้ ทีน ่ ำ� เงิน ไปท�ำอะไรบ้าง และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร บ้า ง ที่ ส� ำ คั ญ ประชาชนยั ง ได้เ ข้า มามี ส ่ว น ในการจัดดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง “ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าภาคประชาชน เข้ามาขอใช้เงินในส่วนนี้ค่อนข้างน้อย เหตุผล หนึง่ เป็นเพราะยังไม่ร้ข ู ่าว หรือบางครัง้ ก็เสนอ มาไม่ตรงวัตถุประสงค์ เช่น เสนอเพือ ่ การรักษา เลย อย่างนี้ก็อนุมัติไม่ได้ เนื่องจากโครงการ เน้น เรื่ อ งการฟื้น ฟู ป้อ งกั น ส่ว นในอนาคต ประชาชนจะเข้าถึงได้เพียงใด ก็เป็นหน้าทีข ่ อง เทศบาล ต่อไปเราอาจจะต้องใช้เสียงตามสาย หรือประชุมผ่านภาคี ผ่านหัวหน้าชุมชน ซึง่ เรา ก็ท�ำเรื่อยๆ โดยใน 20 ชุมชน มีที่เห็นผลชัดๆ ด้วยกัน 2 ชุมชนคือ ชุมชนหนองฉิม กับชุมชน โพรงมะเดื่อ จากหมู่ที่ 5 ซึ่งเสนอนวัตกรรม ต่างๆ มาบ้างแล้ว ส่วนชุมชนอื่นๆ เราก็จะ พยายามผลักดันต่อไป” ปลัดกล่าวสรุป

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 19


บึงตกปลารางข้าวลอย

เห็นผู้นำ� ทางของเราว่า ภายในพืน ้ ทีเ่ ทศบาล ต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ มี แ ม่น�้ ำ ล� ำ คลองพาดผ่า น หลายช่วงหลายพื้นที่ แต่กระนั้นมีอยู่ที่หนึ่ง ซึ่ง เป็นการสร้างขึ้นใหม่ “วิวดีเชียวล่ะ” ผู้น�ำทางของเราบอกเช่นนั้น 20 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


(ขวา) ส�ำอางค์ นิโกรธา

เราเดินทางมาถึงชุมชนเกาะส้มเสีย้ ว หมู่ที่ 1 ต� ำบลหนองดิ น แดง ซึ่ ง ครั้ ง หนึ่ ง เคยประสบ ปัญ หาแหล่ง น�้ ำ ที่ ใ ช้ใ นการเกษตรมาก่อ น แต่เ พราะความช่ว ยเหลื อ ประสานงานของ เทศบาลต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ ที่ น� ำ ไปสู ่ก ารจั ด สร้างบึงขนาดใหญ่ เป็นระยะทางยาวกว่าห้า กิโลเมตร ซึ่งสามารถบรรเทาความเดือดร้อน ของชาวบ้านได้ในทีส ่ ด ุ และเมือ ่ มีแหล่งน�ำ้ แล้ว ชาวบ้านก็ตอบแทนด้วยการช่วยรักษาแหล่ง ทรัพยากรนี้ให้คงความสมบูรณ์มากที่สุด วีระ สุขผล ประธานชุมชนเกาะส้มเสี้ยว เล่าว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อน พื้นที่ในชุมชนเป็น ท้องนาเกือบทั้งหมด มีเพียงล�ำรางตื้นๆ เป็น แหล่งชลประทาน พอน�ำ้ แห้ง ชาวนาท�ำนาไม่ได้ ในช่วงนั้น (ปี 2545) โสพนธิ์ ตันกิตติวัฒน์ ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีตำ� บลโพรงมะเดื่อ จึงมี แนวคิดขุดลอกพื้นที่ล�ำรางเป็นรูปวงรี ระยะ ทางยาวประมาณ 5.5 กิโลเมตร เพื่อกักเก็บ น�้ ำ ให้ช าวบ้า นท� ำ เกษตรได้ พอขุ ด เสร็ จ ก็ มี การน�ำปลาน�้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลานวลจั น ทร์ ซึ่ ง ได้รั บ การสนั บ สนุ น จาก ประมงจังหวัด มาลงไว้ โดยมีชาวบ้าน 2 ชุมชน คือชุมชนเกาะส้มเสี้ยว กับชุมชนโพรงมะเดื่อ หมู่ที่ 5 ต�ำบลโพรงมะเดื่อ ดูแลร่วมกัน “มาตอนหลังชุมชนโพรงมะเดือ ่ ยกพืน ้ ทีใ่ ห้ ชุมชนเกาะส้มเสี้ยวดูแล ผมเลยรับหน้าที่โดย ปริยาย แล้วช่วงนั้นปลาที่เลี้ยงไว้ก็เริ่มโตขึ้น มีคนนอกแอบเข้ามาเอาไปกินอยู่ตลอด จนหมด

วีระ สุขผล

ไปเยอะ พอปี 2554-2555 เราก็เลยประชุม คณะกรรมการชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมตกปลา เอาเงินเข้าชุมชน โดยให้ตกเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ คิดค่าเบ็ด เบ็ดละ 100 บาท เวลา ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น สามารถน�ำปลา ที่ตกออกได้ทั้งหมด แต่ห้ามเอาอวนมาลาก เพือ ่ ป้องกันการลักลอบ เราเลยมีการปักไม้กน ั ไว้” ประธานชุมชนเกาะส้มเสี้ยวกล่าวอย่าง อารมณ์ดี ส� ำ อางค์ นิ โ กรธา กรรมการชุ ม ชน เกาะส้มเสีย ้ ว เสริมว่า กิจกรรมนีส ้ ามารถสร้าง รายได้ให้ชม ุ ชน จากการท�ำอาหาร และน�ำขนม เครื่องดื่มมาขาย โดยรายได้ที่เกิดขึ้น หลักๆ ใช้เพื่อพัฒนาชุมชน เช่น สร้างศาลา ท�ำบุญ ที่วัด หรือตามมติที่ประชุม อย่างไรก็ดี กิจกรรมนีจ้ ะหยุดพักในช่วงฤดู ที่ปลาวางไข่ คือเดือนมิถุนายนจนถึงธันวาคม และเปิดให้ตกกันใหม่ ช่วงเดือนมกราคมถึง พฤษภาคม ทว่าเวลานีต ้ ้องยอมรับว่าคนมาตก น้อยลง เพราะปลาเริม ่ ไม่ค่อยกินเบ็ดเท่าใดนัก “ตอนนี้ ป ลาตั ว ใหญ่ม าก แต่ไ ม่รู ้ท� ำ ไม ไม่กินเบ็ดกัน ล่าสุดช้อนไปงานบุญ ตัวหนึ่ง 7-8 กิโลกรัม ช่วงนี้เราเลยมีแผนจะขอปลา รุ ่น ใหม่ๆ มาลงเพิ่ ม เติ ม หวั ง ให้มั น กิ น ราก ผักตบชวา แต่ถ้าฝนตกมากไป เราต้องถอน ผักตบชวาออก ไม่อย่างนั้นอากาศไม่ถ่ายเท น�ำ้ เสีย ปลาตายหมด” ประธานฉายภาพอนาคต เป็นการทิ้งท้าย คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 21


สุขภาพ Health

เราพบว่า ผู ้ค นที่ นี่ มี กิ จ กรรมเพื่ อ สุ ข ภาพที่ หลากหลาย โดยอาศัยความร่วมมือร่วมแรงกันของ คนในชุมชน ซึ่งกลไกหลักเห็นจะหนีไม่พ้น อสม. ที่มี ความตืน ่ ตัวมาก เป็นแกนน�ำในการท�ำกิจกรรมแทบจะ ทุกอย่าง เรามีโอกาสได้พูดคุยกับพวกเขา นอกเหนือจากกลุ่ม อสม. แล้ว เรายังเดินทางไป ยังชุมชนหมู่ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไป ในเขตต�ำบล หนองดิ น แดง ที่ นั่ น มี ล านกิ จ กรรมสั น ทนาการที่ มี จุดเริ่มต้นจากคนท�ำขนมจีน ที่ต้องการคืนประโยชน์ ให้กับผู้คนในชุมชน โดยเฉพาะเด็กๆ 22 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 23


นิ้วเหล็กพิชิตเส้น ณ อาคารอเนกประสงค์ข ้า งที่ ท� ำ การ เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ เป็นที่ตั้งของศูนย์ นวดแผนไทย หากใครผ่านมาทางนี้ ลองเข้ามา ใช้บริการ มีทงั้ นวดลดการปวดเมือ ่ ยกล้ามเนือ ้ นวดคลายเส้น โดยทีมหมอนวดที่ได้รับการ ฝึก อบรม ถู ก ต้อ งตามหลั ก วิ ช าการ 100 เปอร์เซ็นต์ มาลัย ครองระวะ ประธานชมรมนวด แผนไทย เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมตัวเองเป็นสมาชิก ชมรม อสม. และได้มี โ อกาสไปดู ง านเรื่ อ ง สมุนไพรในพื้นที่อื่น พอกลับมาจึงได้ปรึกษา กับผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต� ำ บลและกลุ ่ม เพื่ อ นๆ อสม. ว่า อยากท� ำ ลูกประคบไว้ใช้ในพื้นที่ ต่อมาจึงได้น�ำเรื่องไป ปรึกษา โสพนธิ์ ตันกิตติวฒ ั น์ นายกเทศมนตรี ต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ ในเวลานั้ น ซึ่ ง นายกฯ ก็ เห็นด้วย และสนับสนุนให้มีการฝึกอาชีพนวด แพทย์ไทย มีสมาชิกมาร่วมลงชื่อ 30 กว่าคน แต่ม าเรี ย นจริ ง ๆ ที่ โ รงพยาบาลส่ง เสริ ม สุขภาพต�ำบลแค่ 5-6 คน และมีเรียนส�ำเร็จ แค่มาลัยเพียงคนเดียวเท่านั้น การเรียนเวลานั้นเป็นการเรียนนวดแบบ 24 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ราชส� ำ นั ก ซึ่ ง เดิ ม เป็น การนวดเพื่ อ ถวาย พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง โดยวิธีการ นวด คือนวดตั้งแต่ใต้เข่าลงมาหาข้อเท้า หรือ จากต้นขาลงมาถึงเท้า ที่ส�ำคัญคือ ใช้เฉพาะ มือนิว้ หัวแม่มอ ื และปลายนิว้ ในการนวดเท่านัน ้ และไม่ใช้การนวดคลึง ส่วนผู้รบ ั การนวดให้อยู่ ในท่านั่ง นอนหงาย หรือนอนตะแคงขณะรับ การนวด แต่ไม่ให้นอนคว�ำ่ ไปเลย แล้วแขนของ ผู ้รั บ การนวดจะต้อ งเหยี ย ดตรงเสมอ เพื่ อ น�้ ำ หนั ก จะลงที่ หั ว แม่มื อ การนวดแบบนี้ เป็นการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยการ ท�ำงานของเส้นประสาท โดยผู้เรียนจะต้องผ่าน หลักสูตร 150 ชั่วโมง มาภายหลัง เพื่อต่อยอดความรู้ ครูที่มา สอนจึ ง ชวนมาลั ย ไปเรี ย นการนวดแบบ เชลยศักดิ์ หรือการนวดแบบทั่วไป โดยการ นวดแบบนี้ จะเริ่มนวดที่ฝา่ เท้าขึ้นไปหาล�ำตัว ไม่ไ ด้มี ก ารบั ง คั บ ท่า ทางของแขนว่า จะตรง หรืองอ เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่จะนอนคว�่ำหรือ นอนหงายก็ได้ การนวดแบบนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อกดจุด หรือบรรเทาอาการปวดเมื่อย ทว่า ผู้นวดก็ต้องมีความรู้พอสมควร ไม่เช่นนัน ้ อาจ จะเกิดอันตรายได้


คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 25


มาลัย ครองระวะ

26 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


“นอกจากนวดแบบเชลยศักดิ์ พี่ก็ไปเรียน ฤๅษีดัดตน นวดฝ่าเท่า แล้วก็ไปเรียนต่อที่ร้าน ของอาจารย์ ประมาณ 3-4 เดือน ก็กลายเป็น หมอประจ�ำร้านเลย แต่ท�ำได้อยู่ 2 ปีก็ออกมา แล้ว ก็ ไ ปเรี ย นหลั ก สู ต รนวดของกรมพั ฒ นา ฝีมือแรงงาน 420 ชั่วโมง จากนั้นไปท�ำงาน เป็น คนดู แ ลกลุ ่ม มารดาหลั ง คลอด แล้ว ก็ มี โอกาสไปอบรมการเป็นวิทยากรทีม ่ หาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี จากนัน ้ ในปี 2548 นายกฯ โสพนธิ์ ก็ชวนให้มาอยู่ทน ี่ ี่ เพราะในพืน ้ ทีไ่ ม่มห ี มอนวด เลยสักคน” มาลัยเล่า สาเหตุหนึง่ ทีม ่ าลัยตัดสินใจกลับมา เพราะ รู้สึกว่าคนในพื้นที่เจ็บป่วยกันเยอะมาก และ อยากท� ำ ประโยชน์แ ก่ชุ ม ชน ซึ่ ง พอท� ำ จริ ง ปรากฏว่าได้รับความนิยม “ราคาค่าบริการ เราคิดชัว่ โมงละ 100 บาท เท่านัน ้ หลังจากมีพี่ ก็เริม ่ เสริมทีมจากในชุมชน ได้เพิ่มมา 3 คน แล้วก็ร่วมกับชุมชนเปิดสอน การนวด หลักสูตร 150 ชั่วโมง โดยได้รับงบ สนั บ สนุ น จากส� ำ นั ก งานส่ง เสริ ม การศึ ก ษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยมีคนเข้าร่วม 20 คน” มาลัยเสริม ส�ำหรับผู้ที่มาให้นวดทุกวันนี้ มักมีปัญหา แตกต่างกัน เช่น ไหล่ติด สะโพกเคล็ด ปวด เมื่ อ ย แต่ถ ้า เป็น โรคร้า ยแรง เช่น เกาต์

เบาหวาน หรือมะเร็ง ทางกลุ่มจะไม่นวดให้ เพราะบางครั้ ง การนวดจะไปเร่ง อาการให้ หนักขึ้น โดยเฉพาะมะเร็ง นอกจากนี้ เพื่อให้ ความรู้นี้ยังคงสืบทอดต่อไป ชมรมยังไปช่วย สอนเด็กในโรงเรียนต่างๆ ทั้งในพื้นที่ต�ำบล โพรงมะเดือ ่ เอง หรือนอกพืน ้ ที่ นอกจากนีย ้ งั มี นั ก เรี ย นที่ เ ป็น คนต่า งชาติ มาขอมาเรี ย น ตัวต่อตัว ซึ่งมาลัยเองก็เต็มใจให้ ไม่หวงวิชา ปัจจุบัน ชมรมนวดแผนไทย มีหมอนวด ประจ�ำอยู่ 6 คน เปิดท�ำการทุกวัน ยกเว้น วันพระ ตัง้ แต่ 08.00-16.00 น. คิดค่าบริการ ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนวดตัว นวดฝ่าเท้า หรือ นวดประคบ ชัว่ โมงละ 120 บาทถ้วน ส่วนพวก อุ ป กรณ์น วด เช่น ลู ก ประคบ ยาหม่อ ง พิมเสนน�ำ้ ก็มีจ�ำหน่ายในราคากันเอง “เราค� ำ นึ ง ถึ ง สุ ข ภาพเป็น หลั ก คนไหน อาการหนัก เราส่งไปหาหมออย่างเดียว ด้วย เราไม่ใช่หมอ ส่วนถ้าใครปวด ใครเมื่อยเรา ยินดี บางคนคุ้นเคย มานั่ง เราก็ช่วยยืดเส้นให้ ไม่คิ ด ราคา นอกจากนี้ เ รายั ง ลงไปช่ว ยดู แ ล ผู้ป่วยติดเตียง ไปช่วยท�ำกายภาพ นวดประคบ ด้วยบ้าง ถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของเรา เพราะเราเป็น อสม. ด้วย” มาลัยกล่าวทิ้งท้าย ด้วยรอยยิ้ม คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 27


ชมรมอาสาสาธารณสุข แม้จ ะอยู ่ใ กล้กั บ ตั ว เมื อ งของจั ง หวั ด นครปฐม ซึ่ ง เป็น ที่ ตั้ ง ของโรงพยาบาลรั ฐ เ อ ก ช น แ ต ่ภ า ย ใ น พื้ น ที่ เ ท ศ บ า ล ต� ำ บ ล โพรงมะเดือ ่ ก็ยงั มีความต้องการด้านสาธารณสุข มูลฐาน โดยอาศัยการท�ำงานของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีอยู่ ด้วยกัน 164 คน ที่ยินดีสละเวลา แรงกาย เพื่ อ ช่ว ยเหลื อ ผู ค ้ นในพื้ น ที่ เ ทศบาลต� ำ บล โพรงมะเดือ ่ และเพือ ่ สร้างความเข้มแข็ง จึงได้ มีการจัดตั้งเป็นชมรม อสม. ขึ้น บวรรัตน์ ตันตระกูล ประธานชมรม อสม. เทศบาลต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ ฉายภาพการ ท� ำ งานของคณะให้ฟ ัง ว่า ที่ นี่ มี ก ารประชุ ม ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน โดยมีตัวแทนจาก ทั้ง 20 ชุมชนเข้าร่วม “แต่ละชุมชนจะมีศน ู ย์สาธารณสุขมูลฐาน ชุมชน หรือ ศสมช. แล้วทุกศูนย์มีประธานของ ตัวเอง มีการบริหารจัดการของตัวเอง แล้ว ทุกเดือนก็จะเอาข้อปัญหาต่างๆ มาประชุมใหญ่ ประจ�ำเดือน ถ้าใครขาดเกิน 3 เดือนก็จะส่ง หนังสือเตือน และก็มค ี ณะกรรมการมาจากการ เลือกตั้งทุก 4 ปี โดยมีทางเทศบาลสนับสนุน งบประมาณมาให้แ ต่ล ะชุ ม ชนจ� ำ นวนหนึ่ ง 28 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

จากนั้ น แต่ล ะศู น ย์จ ะกั น เงิ น ส่ว นหนึ่ ง มาไว้ที่ กองกลาง เพื่อใช้บริหารจัดการชมรม ซึ่งเงิน ตรงนี้ เ ราน� ำ มามอบให้ส มาชิ ก ที่ เ จ็ บ ป่ว ย คนหนึ่งปีละไม่เกิน 2 ครั้ง แล้วกรณีบุคคล ในบ้านเสียชีวต ิ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ สามี ภรรยา หรือลูก เราจะเก็บครั้งละ 20 บาท เพื่อน�ำไป ซื้อพวงหรีดให้ในนามชมรม และเป็นเจ้าภาพ งานศพให้หนึ่งคืน แต่ถ้าคนที่เป็นสมาชิกเสีย ก็มก ี จิ กรรมฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยสมาชิกจะ ต้องเสียเงินปีละ 120 บาทให้แก่ชมรม อสม. จังหวัด ซึ่งพอสมาชิกเราเกิดเสียชีวิต ก็จะแจ้ง ไปที่นั่น แล้วทางชมรมจังหวัดก็จะจัดสรรเงิน ช่วยเหลือ 10,000 บาท ขณะที่ของเราเองก็ ยังคงรับหน้าเป็นเจ้าภาพให้” บวรรัตน์เล่า ส่วนกิจกรรมทีโ่ ดดเด่นของชมรม อสม. จะ มีตั้งแต่การช่วยเหลืองานของคลินิกเบาหวาน ความดัน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน โดยหน้าที่ หลักๆ คือวัดความดัน วัดส่วนสูง ท�ำประวัติ เจาะเลื อ ดปลายนิ้ ว อธิ บ ายง่า ยๆ คื อ ช่ว ย คัดกรองเบือ ้ งต้น เพือ ่ ทีผ ่ ้ใู ช้บริการจะได้ไม่ต้อง รอคิวนาน


บวรรัตน์ ตันตระกูล

อี ก ภารกิ จ หนึ่ ง คื อ การออกเยี่ ย มผู ้ป ่ว ย ติดเตียง โดยมี อสม.กลุ่มหนึ่งไปเข้ารับการ อบรมเป็น อสม.เชี่ยวชาญเพื่อดูแลคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 คน ออก ท� ำ งานทุ ก วั น เสาร์ ภารกิ จ หลั ก คื อ ช่ว ยท� ำ กายภาพ ให้ค วามรู ้ที่ ถู ก ต้อ งแก่ญ าติ พี่ น ้อ ง และถ้าผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะ จัดหาอาชีพ ประสานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ส� ำ นั ก งานส่ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย หรือเทศบาลต�ำบล โพรงมะเดื่อ “ชมรม อสม.ของเราเป็น แหล่ง เรี ย นรู ้ แหล่งดูงานของหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทุน สปสช.เขต 4 และเขต 5 ทัง้ ยังมีรายการโทรทัศน์ มาถ่ายท�ำ เพราะเขาอยากรู้ว่าเราดูแลผู้ป่วย อย่างไร เพือ ่ ให้ใช้ชวี ต ิ อย่างปกติสข ุ โดยทีผ ่ ่าน มา เรามีนวัตกรรมต่างๆ เช่น การท�ำรอกขา เพื่ อ ให้ค นป่ว ยสามารถท� ำ กายภาพขาด้ว ย ตัวเอง หรือบางคนที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อ

อ่อนแรง เราน�ำขวดพลาสติกใส่ทรายให้ยก ออกแรง” นอกจากนี้ชมรม อสม. ที่นี่ยังจัดตั้งทีม เฉพาะกิจ SRRT หรือ Surveillance rapid and response team มีสมาชิกประมาณ 20 คน ซึง่ คัดมาจาก อสม.ทีม ่ จี ต ิ อาสา คอยท�ำ ภารกิจเร่งด่วน หรือภารกิจพิเศษ เช่น ช่วงที่มี โรคระบาด อาทิ ไข้เลือดออก มือเท้าปาก หรือ ไข้ห วั ด สายพั น ธุ ์ใ หม่ ก็ จ ะมี ร ะดมเจ้า หน้า ที่ ภายใน 20-30 นาที เพือ ่ ปูพรมแก้ปัญหาทันที “การท�ำงานของ อสม.ที่น่ีเราเน้นหลักว่า ทุกคนต้องอยู่ดีกินดีกันก่อน เพื่อจะได้ท�ำงาน ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าท�ำแล้วต้องทุ่มเท เป็นหนี้เป็นสิ้นแบบนี้เราไม่เอา เพราะฉะนั้น เวลามีคนใหม่ๆ ที่อยากเข้ามาเป็น อสม. ผม จะถามก่อนเลยว่า อยากช่วยอะไร ถ้าคนไหน อยากไปใช้สิทธิ์ อยากไปดูงานที่ต่างๆ แบบนี้ ไม่ต้องเข้ามา” ประธานชมรมสรุป คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 29


ชมรมเปตอง คนเล่นลูกเหล็ก

ในยามที่ พ ระอาทิ ต ย์เ ริ่ ม อ่อ นก� ำ ลั ง ลง กลุ ่ม คนจ� ำ นวนหนึ่ ง มารวมตั ว กั น ที่ ล าน สาธารณะใกล้ทท ี่ ำ� การเทศบาล ซึ่งมีการสร้าง สนามเปตองเอาไว้ สมาชิกประจ�ำลานเปตอง นี้น�ำทีมโดยชมรม อสม. ที่มักจะมาประลอง ฝีมอ ื กันเป็นประจ�ำยามเย็น อย่าว่างัน ้ งีเ้ ลย วัน ที่เราไป พวกเขาใส่เสื้อทีมมาโชว์ด้วย ไม่ได้ เล่นกันธรรมดาแล้วแบบนี้ สุ กิ จ รั ต นผล เลขานุ ก ารชมรมเปตอง ทักทายพร้อมกับเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2549 เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ ต้องการหากิจกรรม เพิม ่ เติม เพือ ่ ส่งเสริมสุขภาพของผู้สงู วัย หลังจาก ทีเ่ คยส่งเสริมด้านกีฬาไปแล้วมากมาย ไม่ว่าจะ เป็นฟุตบอล เซปักตะกร้อ หรือแม้แต่มวยไทย แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงอายุ “กีฬาเปตองเป็นกีฬาที่ไม่มีการปะทะ มี ความเสีย ่ งต่อการบาดเจ็บต�ำ่ เล่นได้ทงั้ ผู้สงู อายุ ผู้ใหญ่ ไล่ลงมาถึงเยาวชน จึงมีการจัดตั้งเป็น ชมรม หาวิ ท ยากรมื อ อาชี พ มาฝึก สอน มี พ.ต.ท. เลิศชัย ตันตระกูล เป็นประธานชมรม พอเล่นได้สก ั พักก็เริม ่ หาความท้าทาย ด้วยการ 30 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ออกไปแข่งตามสนามต่างๆ ปรากฏว่าไปทีไ่ หน ก็แพ้ เพราะยังเล่นแบบไม่มท ี ศ ิ ทาง พอผ่านไป 4 ปี ชมรมมีการเลือกตั้งกันใหม่ ได้ บวรรัตน์ ตันตระกูล มาเป็นประธานแทน จากนัน ้ ก็เสนอ ไปที่เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ เพื่อขอสนาม เพิ่ม รวมทั้งอุปกรณ์อย่างลูกเปตอง เพราะ ลูกเดิมนั้นซื้อราคาถูกจากตลาดโรงเกลือ เล่น ไม่กี่ทีลูกแตกแล้ว” สุกิจว่า การขอสนามนี้ แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไร นัก แต่ด้วยเล็งเห็นถึงประโยชน์ของกิจกรรม เทศบาลจึงไม่รีรอจัดหาพื้นที่เพิ่มเติม โดยใน ช่วงนั้นอาศัยพื้นที่ของวัดโพรงมะเดื่อ จากนั้น ย้ายมาใกล้ที่ท�ำการ ชมรม อสม. จนสุดท้าย มาลงตัวที่สนามสาธารณะใกล้สถานีรถไฟ “ทุกวันนี้ ชมรมเรามีสมาชิก 63 คน โดย เราใช้หลักสอนกันเอง ช่วยฝึกซ้อมกันและกัน และฝึกให้กบ ั เยาวชนในพืน ้ ที่ มีการส่งเยาวชน ไปแข่งขันตามสนามต่างๆ เพือ่ สร้างประสบการณ์ โดยทางชมรมเสียค่าสมัคร และเบีย้ เลีย้ งเล็กน้อย ครัง้ ละ 100 บาทต่อคน เพือ ่ ดึงดูดให้เข้ามาเล่น” บวรรัตน์เล่าบ้าง


นอกจากนี้ชมรมเปตองยังเปิดรับสมาชิก อย่างเป็นกิจจะลักษณะด้วย โดยถ้าอายุไม่เกิน 18 ปี เสียค่าธรรมเนียม 50 บาทต่อปี ส่วนคน ที่อายุเกิน 18 ปี เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อปี เพื่อที่จะน�ำเงินตรงนี้ไปบริหารกิจกรรม ต่างๆ ของชมรม ทั้งนี้ชมรมยังมีนวัตกรรมน�ำมาใช้ต่อยอด ทุนให้ชมรม โดยมีการท�ำทีด ่ ด ู ลูกเปตอง ซึง่ ท�ำ จากแม่เหล็กที่ได้จากชิ้นส่วนของรถยนต์ และ เครือ ่ งจักร น�ำมาร้อยกับเชือก เพือ ่ ช่วยผู้สงู อายุ หรือคนที่มีปัญหาในการก้มตัวเก็บลูกเปตอง โดยท�ำขายในราคาชิน ้ ละ 120 บาท นอกจากนี้ ยังมีเสื้อชมรมจ�ำหน่าย “กิจกรรมของเราถือว่าประสบความส�ำเร็จ มาก ไม่ว่าจะเป็นระดับเด็ก หรือระดับผู้ใหญ่ อย่างกีฬา อสม. เราเป็นแชมป์มาแล้ว 5 สมัย ซ้อ น ที่ ส�ำคัญเปตองยังเป็นกิ จ กรรมที่ ส ร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน เพราะว่า ทุกคนมีโอกาสได้พูดคุยกัน ได้ช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ถือเป็นกิ จกรรมที่น�ำความสุขมาให้ พวกเราด้วย” เลขานุการชมรมกล่าวทิ้งท้าย

สุกิจ รัตนผล คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 31


มรดกนายขนมต้ม ค่ายมวยศิษย์โสภณ เราได้ยินกันตั้งแต่มาถึงที่นี่แล้วว่า ต�ำบล โพรงมะเดื่ อ มี ค ่า ยมวยดั ง ตั้ ง อยู ่ คื อ ค่า ย ศิ ษ ย์โ สภณ ซึ่ ง เป็น ผลงานที่ แ สนภาคภู มิ ใ จ ของอดี ต นายกเทศมนตรี ต� ำบลโพรงมะเดื่ อ ผู้ล่วงลับ โสพนธิ์ ตันกิตติวัฒน์ ศิ ริ ลั ก ษณ์ ม่ว งชั น หรื อ น้อ งใหม่ ศิษย์โสภณ ยืนอยู่บนเวที เพือ ่ เตรียมการสาธิต ให้เราดูเป็นขวัญตา โดยมีพี่ๆ แกนน�ำชมรม อสม. ตามมาด้วย ค่า ยมวยแห่ง นี้ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ ปี 2549 เพราะมีอดีตแชมป์มวยไทยชือ ่ ดังนาม ก้องนภา แฟร์เท็กซ์ หรือชือ ่ จริง กนก กุนละวงศ์ มา ฝากตัวเป็นเขยโพรงมะเดือ ่ แล้วระหว่างนัน ้ เขา ก็สอนเด็กเล็กๆ ให้รู้จักศิลปะมวยไทยไปด้วย “เมือ ่ ก่อนพืน ้ ทีน ่ ไี้ ม่มค ี ่ายมวย แล้วช่วงนัน ้ ผมเป็นประธานชุมชนบ้านดอน หมู่ที่ 1 ต�ำบล โพรงมะเดื่อ พอดีว่า นายกฯ โสพนธิ์ มาเห็น เขาซ้อมให้เด็กฟรี จึงได้มีโอกาสไปพูดคุย จึงรู้ ว่าเขาเป็นแชมป์ที่เวทีลุมพินี และก็เป็นแชมป์ ประเทศไทยด้วย นายกฯ เลยอยากสนับสนุน จึงตัง้ เป็นชมรมฯ ขึน ้ มา โดยให้ก้องนภาเป็นครู สอน และให้ค่าฝึกสอนเดือนละ 2,000 บาท” สมพร จูมที ประธานชมรมมวยไทย เล่าที่มา ที่ไป

32 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

หลั ง จากนั้ น ก็ มี เ ด็ ก ช่ว งวั ย ต่า งๆ ตั้ ง แต่ 6-14 ปีม าฝึก ซ้อ ม บางคนก็ ม าฝึก เพื่ อ ออกก� ำ ลั ง กาย แต่ถ ้า คนไหนที่ ห น่ว ยก้า นดี ครูก้องนภาจะถามความสมัครใจของตัวเด็ก และผู้ปกครอง ว่าสนใจชกจริงจังหรือไม่ ซึ่ง จากตรงนี้ ท�ำให้มน ี ก ั มวยฝีมอ ื ดีขน ึ้ มามากมาย ในพืน ้ ที่ หลายคนเป็นตัวแทนโรงเรียน ตัวแทน จังหวัด ไปแข่งขันในระดับประเทศ “เราจะซ้อมในช่วงเย็น เพราะหลายคน เรียนไกล กว่าจะมาถึงก็ 4-5 โมงเย็นแล้ว คนที่มาก็จะมีทั้งผู้ปกครองฝากมา อยากให้ ลูกหลานมีทก ั ษะเรือ ่ งมวยไว้บ้าง โดยเฉพาะกลุ่ม ผู้หญิง ที่เริ่มมีเยอะขึ้น และจะแน่นเป็นพิเศษ ในช่วงปิดเทอม คนที่อยู่ ม.3 ขึ้น ม.4 จะมา เรียนกันเต็มไปหมด” น้องใหม่ ศิษย์โสภณ เล่า วันนีค ้ ่ายศิษย์โสภณยังคงเปิดฝึกสอนทุกวัน และทางเทศบาลได้น�ำเครื่องออกก� ำลังกาย หลายสิ บ ชนิ ด มาตั้ ง ไว้ที่ นี่ ด ้ว ย เสมื อ นเป็น ศูนย์กลางการออกก�ำลังกายของชุมชน แต่ ส�ำหรับนักมวยจริงๆ นัน ้ มีอยู่ราว 10 คน ทุกคน มีตารางฝึกแน่นอนทุกวัน โดยจะไม่ให้กระทบ กับการเรียนเด็ดขาด ส่วนวันอาทิตย์ถอ ื เป็นวัน พักผ่อนร่างกาย


สมพร จูมที

จากการท� ำ งานอย่า งต่อ เนื่ อ งหลายปี ท� ำ ให้นั ก กี ฬ ามี ศั ก ยภาพเพิ่ ม ขึ้ น จนเป็น ที่ ประจักษ์แก่สายตา จากถ้วยรางวัลหลายสิบ รางวั ล อย่างตั ว น้อ งใหม่เองก็ไ ด้เป็น แชมป์ ภาคตะวันออก เป็นตัวแทนแข่งขันกีฬาเยาวชน แห่งชาติ ไม่ใ ช่เ พี ย งคนที่ มี ก� ำ ลั ง วั ง ชาดี เ ท่า นั้ น ผู้สูงวัยก็ยังมีส่วนร่วมกับกิ จกรรมมวยไทยนี้ เช่นกัน เพราะได้มก ี ารพัฒนาโครงการการเต้น แอโรบิกเพลงแม่ไม้มวยไทย ซึ่งเป็นการน�ำท่า มวยไทยไปผสมผสานกั บ ท่า ออกก� ำ ลั ง กาย โดยได้ส ่ง เข้า แข่ง กี ฬ าผู ้สู ง อายุ ที่ จั ง หวั ด อุบลราชธานี ผลปรากฏว่าได้อันดับ 2 ของ ประเทศ ปัจจุบันค่ายมวยศิษย์โสภณ มีคนช่วยกัน ดูแลอยู่ 5-6 คน และถึงจะโด่งดังระดับประเทศ ทว่างานที่เป็นกิจกรรมของท้องถิ่น พวกเขาก็ ไม่นิ่ ง เฉย ทั้ ง งานประเพณี ส งกรานต์ การ แข่ง ขั น มวยกระชั บ ความสั ม พั น ธ์ ชมรม มวยไทยก็พร้อมให้ความร่วมมือเสมอ เพราะ ถือเป็นการท�ำประโยชน์ให้ชุมชนได้ทางหนึ่ง เรานัง่ ดูน้องใหม่ซ้อมเตะกับโค้ชอยู่ครู่หนึง่ ฟังเสียงเตะทีห ่ นักปานนัน ้ แล้ว เราเลยไม่แปลก ใจที่ เ ธอจะเป็น แชมป์ภ าค ไม่แ น่ว ่า วั น หนึ่ ง ข้างหน้า เราอาจได้ยินเสียงโฆษกประกาศชื่อ ของเธอ ผ่านล�ำโพงของจอทีวีก็เป็นได้ คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 33


ยาทัย สมุ นไพรท�ำเอง ภายในชุมชนบ้า นโพรงมะเดื่ อ หมู ่ที่ 5 ต�ำบลโพรงมะเดือ ่ บริเวณบ้านหลังน้อยทีร่ ่มรืน ่ ด้วยไม้ใหญ่ ด้านหน้ามีคลองไหลผ่าน เป็นบ้าน ของยายอุทย ั ยะนิล หรือยายทัย ผู้ทอ ี่ ายุล่วง ผ่าน 6 รอบปีไปแล้ว แต่ร่างกายยังแข็งแรง ดู อ ่อ นวั ย เหมื อ นเพิ่ ง ผ่า นวั ย เกษี ย ณมาได้ ไม่นานนัก เคล็ดลับส�ำคัญที่ท�ำให้ยายอุทัยยังสดชื่น ก็ เ พราะความสามารถในการใช้ภู มิ ป ัญ ญา ชาวบ้าน ท�ำสมุนไพรอัดแคปซูลรับประทาน “ตอนนั้ น ไปงานพระราชทานเพลิ ง ศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2551 แล้ว ก็ ไ ปพั ก ที่ วั ด สุ ทั ศ นเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ทีน ่ น ั่ ยายได้รบ ั หนังสือเล่มหนึง่ ชือ ่ ‘มะรุม ต้นไม้เพือ ่ ชีวต ิ *’ ของ ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร ตอนนั่งรถอ่านไปก็รู้สึกว่าดีจัง อยากกลับบ้านไปท�ำเองบ้าง เพราะตาประสบ อุบต ั เิ หตุร่างกายไม่แข็งแรง ท�ำให้ระบบขับถ่าย ไม่ดี ที่บ้านยายเองก็มีต้นมะรุมอยู่แล้ว พอถึง บ้านก็ไปซือ ้ แคปซูลทีต ่ ลาดมา แล้วก็เอาเก็บใบ มะรุมมาล้าง น�ำตากแดดจนแห้งสนิท แล้วน�ำ *ชื่อหนังสือ นาฬิกาชีวิต ตอน 2 มะรุม ต้นไม้เพื่อชีวิต 34 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

มาปั่นหรือต�ำให้เป็นผง บรรจุแคปซูลรับประทาน ปรากฏว่าพอได้กินทุกวัน ขับถ่ายดีขึ้น และ ตอนหมอนัด เขาก็ถามเลยว่าไปกิ นอะไรมา ความดันลด เบาหวานลด ตาก็บอกให้ถามแม่ บ้านผมซิ เราก็เล่าให้ฟัง” ยายทัยเล่า หลังจากนัน ้ ข่าวคราวของใบมะรุมก็เป็นที่ เลือ ่ งลือในหมู่ชาวบ้านละแวกนัน ้ ซึง่ ต่างเข้ามา ไถ่ถามขอยาเด็ดที่อุทัยอย่างสม�ำ่ เสมอ ซึ่งเธอ ก็ไม่หวง แบ่งให้ไป แลกกับค่าแคปซูลเล็กน้อย เพราะเป็นสิง่ ทีซ ่ อ ื้ หามา ภายหลังทางเทศบาล ประกาศตามหาของดีของเด่นในพื้นที่ ยายทัย จึงน�ำมาเสนอ ซึ่งชาวบ้านหลายคนเห็นแล้ว สนใจ ทั้ ง ยั ง มี ค รู ม าชั ก ชวนให้ไ ปสอนใน โรงเรียน ซึ่งยายทัยก็ตอบตกลงไป “ต่อมาได้หนังสือเพิม ่ อีก คือฟ้าทะลายโจร กับขมิ้นชัน เพราะตอนนั้นเราไปงานศพ เขาก็ แจกมาเป็นวิทยาทาน แล้วเราก็ชอบอ่านด้วย ก็ลองมาท�ำ ซึง่ ทุกวันนีก ้ ท ็ ำ� อยู่ 3 อย่างนีแ ่ หละ ส่ว นใบอื่ น ๆ เช่น ใบย่า นาง เราก็ ศึ ก ษา เหมือนกัน เพราะช่วยโรคไต โดยคั้นน�ำ้ มันดื่ม แล้วเก็บใส่ตู้เย็นไว้ กินแล้วดีมากเลย”


ยายทัย

ส�ำหรับสรรพคุณของใบไม้แต่ละประเภท ก็จะแตกต่างกันไป อย่างฟ้าทะลายโจร ก็ช่วย ลดไข้ แก้ไอ ส่วนขมิ้นชันนั้นช่วยลดไขมันใน เลื อ ดได้ โดยกรรมาวิ ธี ใ นการผลิ ต ของพื ช 2 ชนิดนีจ้ ะต่างกับมะรุม คือก่อนบด จะต้องไป ตากแดด แล้วก็นึ่ง จากนั้นถึ ง ค่อ ยน�ำ มาใส่ แคปซูลอีกที “ตอนนี้เราใช้วิธีซื้อเอาง่ายดี สะอาดด้วย เพราะเขาอบให้เราเสร็จ ก็มีแต่มะรุมที่เราท�ำ เองทุกกระบวนการ ตั้งแต่ตากแดด ใส่กระด้ง เพื่อให้กรอบ ถ้าฝนตกเอาตากใหม่ จากนั้นก็ ไปบดให้ละเอียดแล้วก็ไปใส่โหล จากนั้นก็อัด ใส่แคปซูลให้แน่นๆ ปัจจุบันยายขายเม็ดละ 1 บาท” ยายทัยว่า ปัจจุบน ั เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ ได้ออก ใบประกาศเกียรติคุณให้ยายทัยเป็นปราชญ์ ชาวบ้าน และมีคนเข้ามาขอความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม และมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้ เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดต่อไป ยายทัยชี้ชวนให้เราดูต้นมะรุมหน้าบ้าน และยั ง เชื้ อ เชิ ญ ให้เ ราลองอั ด ผงมะรุ ม ใส่ใ น แคปซูล เราลองท�ำ และพบว่าไม่ยาก เพลินดี เหมือนกัน คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 35


กลุ่มสันทนาการชุ มชนหมู ่ใหญ่ เราเดินทางมาถึงชุมชนหมู่ใหญ่ ในหมู่ที่ 2 ต�ำบลหนองดินแดงในเวลาเย็น สภาพอากาศ วั น นั้ น แปลกประหลาด ฟ้า ครึ้ ม แต่ก ลั บ มี แสงแดดจ้าส่องลงมาบริเวณนั้น เรามาถึงลาน อเนกประสงค์ ที่ มี เ ด็ ก ๆ ก� ำ ลั ง วิ่ ง เล่น อยู ่ ส่งเสียงหัวเราะไปตามประสา ชวนให้คิดถึง วันวานเมื่อคราวครั้งวันเยาว์ของตัวเอง ไม่นานนักฝนตกลงมา ทั้งที่แดดยังส่อง แสงจั ด จ้า น ทุ ก คนเข้า มาหลบฝนใต้ศ าลา อเนกประสงค์ “วันนีจ้ ะพาเด็กๆ ไปนัง่ รถเล่นรอบต�ำบล” คุ ณ ลุ ง ผู ้ดู แ ลสถานที่ พู ด ขึ้ น พลางใช้ส ายตา น�ำเราไปที่รถสามล้อ กว่า 8 ปีแล้วทีพ ่ น ื้ ทีท ่ เี่ คยว่างเปล่าถูกปรับ โฉมให้กลายเป็นพืน ้ ทีท ่ ำ� กิจกรรมของเด็กๆ ใน ชุมชนหมู่ใหญ่ ตลอดจนชาวบ้านในละแวกนี้ ตามความประสงค์ของเจ้าของทีด ่ น ิ ผู้ทใี่ ครต่อ ใครกล่าวถึงอย่าง บุญเรือน สารพันโชติวท ิ ยา 36 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานท�ำเส้นขนมจีนในชุมชน แห่งนี้ นิตยา เคารพธรรม สมาชิกสภาเทศบาล ต�ำบลโพรงมะเดือ ่ ในฐานะตัวแทนชาวบ้านใน ชุมชน เล่าว่า เดิมพื้นที่นี้เป็นป่ารกร้าง และ เนื่องจากติดกับพื้นที่โรงงานของบุญเรือน เขา จึงซื้อเอาไว้ มีทั้งหมด 5 ไร่ จากนั้นไม่ได้ท�ำ อะไร กระทั่งช่วงหลังเริ่มปรับสภาพพื้นที่ เพื่อ ให้เ ด็ ก ๆ และคนในชุมชนได้มีล านกิ จกรรม สันทนาการ “ตอนนั้นปี 2550 คุณบุญเรือนเริ่มซื้อ เครื่องเล่นมาตั้งไว้บ้างแล้ว แล้วเผอิญช่วงนั้น พีเ่ องท�ำโครงการแอโรบิกอยู่ทห ี่ น้าชุมชนตลาด หนองดิ น แดง ซึ่ ง คนส่ว นใหญ่ที่ ม าเต้น เป็น คนในชุมชนหมู่ใหญ่ แล้วมันอยู่คนละฝั่งถนน กัน ก็เลยขอคุณบุญเรือนว่าจะย้ายแอโรบิกไว้ ทีน ่ ี่ เขาก็อนุญาต กลายเป็นว่า มีทงั้ เด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ รวมตัวท�ำกิ จกรรมตามอัธยาศัยที่นี่” นิตยาเล่า


นิตยา เคารพธรรม

พอคนเริ่ ม มากขึ้ น ทางเจ้า ของที่ จึ ง ซื้ อ เครื่องออกก�ำลังกายมาให้เพิ่มเติม ทั้งพอเห็น ว่า ชาวบ้านที่มาท�ำกิจกรรมส่วนใหญ่ต้องอยู่ กลางแจ้ง ยามฝนตกไม่มท ี ห ี่ ลบ จึงใช้เงินส่วนตัว สร้างศาลาอเนกประสงค์ขึ้นมา พร้อมห้องน�้ำ ห้องเก็บของ และห้องสมุด พอเด็กเริม ่ เยอะขึน ้ ทางบุญเรือนจึงได้จด ั เลีย ้ งอาหารเด็กๆ ทุกวัน เสาร์ เริ่มมีการต่อเติมห้องครัว เนื่องจากเดิม ต้องท�ำอาหารแล้วยกจากบ้านมา โดยชาวบ้าน ชุมชนหมู่ใหญ่ก็เข้ามาช่วยไม่เคยขาด ถือเป็นความปรารถนาดีของบุญเรือน ใน ฐานะผู้ใหญ่ใจดี ที่อยากตอบแทนสังคม “คุณบุญเรือนแกมาจากพืน ้ ทีอ ่ น ื่ เข้ามาท�ำ กิ น ที่ นี่ และด้ว ยธรรมชาติ ข องโรงงานท� ำ ขนมจีน ก็ต้องมีกลิน ่ บ้าง จึงอยากให้สงิ่ ดีๆ คืน แก่ชุมชน” สท.นิตยาว่า นอกจากเป็นลานกิจกรรมแล้ว ในยามมี งานบุญ ชาวบ้านก็ขอใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ รวมตัว อย่างทุกปีช่วงเดือน 6 มีการท�ำบุญ กลางบ้า น หรื อ มี ง านเลี้ ย งก็ ส ามารถมาใช้ สถานที่ได้ โดยข้าวของส่วนกลางของชุมชน

อย่างพวกถ้วย ชาม แก้ว ทางชุมชนได้ขนมา เก็บไว้ที่แห่งนี้ “ชมรมแอโรบิ ก เราจะจั ด กิ จ กรรมเต้น เฉลิมพระเกียรติทุกปี ก็ใช้พื้นที่ตรงนี้ในการ ระดมพล” สท.พูดด้วยรอยยิ้ม ก่อนเล่าต่อไป ว่า “คุณบุญเรือนยังได้ซอ ื้ จักรยานมาเก็บไว้ ซือ ้ เพิ่มเรื่อยๆ เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ จน วันนีม ้ ม ี ากกว่า 20 คันแล้ว ภาพขบวนจักรยาน ที่ขี่เลียบกันไปริมบึง ก็เป็นภาพที่ชินตาของ ทุกคนดี ส่วนรถสามล้อที่ขับอยู่นั้น ก็เป็นรถที่ คุ ณ บุ ญ เรื อ นซื้ อ มาไว้ มี คุ ณ ลุ ง จิ ต อาสาใน ชุมชนคอยขับพาเด็กๆ ไปเที่ยว แถมบางครั้ง ในตอนค�ำ่ ยังมีจด ั ฉายหนังกลางแปลงให้ทก ุ คน ได้ดูกันฟรีด้วย” เรารู้สก ึ ประทับใจในหลักการของชายทีช่ อ ื่ บุญเรือน ในวันนั้นเรายังไม่ได้พบกับเขา แต่ จากดวงตาของผู้คนยามทีพ ่ ด ู ถึงเขา ก็ทำ� ให้เรา เชื่อว่าเขาท�ำด้วยใจ คืนประโยชน์ให้กับชุมชน ทีเ่ ขาอยู่ แค่ลำ� พังรอยยิม ้ ของเด็กทีเ่ กาะแกะอยู่ ตรงรถสามล้อคันนั้น ก็ประจักษ์เพียงพอแล้ว คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 37


38 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


สวัสดิการดีๆ

ที่เรามีให้กัน Welfare

จากประสบการณ์การเดินทางของเรา ไม่ว่าจะ เดินทางไปทีไ่ หน ทุรกันดารเพียงใด ทุกคนทีเ่ ราได้พบ ก็ยังมีพื้นที่ทำ� กิน ที่อยู่อาศัย เราเลยแปลกใจ เมื่อได้ มาพบกับกลุ่มคนหนึง่ ในชุมชนกึง่ เมืองทีน ่ ี่ พวกเขาเพิง่ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองเพียงไม่กี่ปี เป็นเรื่องราวที่ เปิดโลกทัศน์ของเราให้ได้เห็นว่า ยังมีผ้ค ู นจ�ำนวนมาก ทีย ่ งั ล�ำบาก และยังต่อสู้อยู่ทก ุ เมือ ่ เชือ ่ วัน เพียงเพือ ่ จะ ลืมตาอ้าปากอย่างมีศักดิ์ศรี

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 39


บ้านมั่นคงชุ มชนกาเลี้ยงลูก

จิตโสภา สุจริตจิตร

เห็นเป็นชุมชนกึ่งเมืองแบบนี้ แต่ใครจะรู้ ว่า ที่ตำ� บลโพรงมะเดื่อมีคนจ�ำนวนหนึ่งที่ไม่มี ที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยชาวบ้านกลุ่มนี้ บุกรุกทีด ่ น ิ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพือ ่ ท�ำที่อยู่อาศัย ต่อมาเมื่อเจ้าของที่ดินต้องการ ใช้ประโยชน์จึงได้มีการไล่ที่ พวกเขาซึ่งไม่มี สิ ท ธิ์ ใ นกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น จึ ง จ� ำ ต้อ งรั บ สภาพ อย่างเลี่ยงไม่ได้ พอดีในช่วงปี 2545 เป็นจังหวะเดียวกับ ที่ รั ฐ บาลก� ำ ลั ง มี น โยบายขึ้ น ทะเบี ย นคนจน ทั่วประเทศ โดยเปิดโอกาสให้คนที่มีปัญหา หนี้ สิ น ปัญ หาที่ อ ยู ่อ าศั ย และปัญ หาที่ ดิ น ท�ำกิน มาลงทะเบียนทีอ ่ ำ� เภอ ซึง่ กลุ่มชาวบ้าน กลุ ่ม นี้ ไ ด้เ ข้า ไปลงชื่ อ ในบั ญ ชี ค นยากจน ซึ่ ง ต้องการที่อยู่อาศัย หรือ สย.7 เพื่อพัฒนา โครงการบ้า นมั่ น คง บนพื้ น ที่ บ ้า นหมู ่ที่ 12 ชุมชนบ้านกาเลี้ยงลูก “เราบุกรุกกันมานานกว่า 30-40 ปีแล้ว 40 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

มาตอนหลังเรารู้ข่าวว่าเขาจะไล่ที่ ก็เลยรวมตัว กัน พอดีรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความ ยากจน จึงไปลงชื่อไว้ ด้วยความหวังว่าจะมี ทีอ ่ ยู่อาศัยเป็นของตัวเอง” ณัฐดนัย ฮะบางแขม กรรมการสหกรณ์ฯ กล่าว ณัฐดนัยกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ชาวบ้านที่ เดือดร้อนจ�ำเป็นต้องรวมตัว เพื่อให้รัฐเห็นว่า มีความเดือดร้อนจริง และหลังจากลงนามใน สย.7 เรียบร้อย ทางอ�ำเภอได้ชแี้ จงต่อว่า พืน ้ ที่ ไหนมีความพร้อม หรือมีผ้น ู ำ� ทีม ่ ป ี ระสิทธิภาพ จะได้รับการอนุมัติก่อน ซึ่งตอนนั้น ปภาศร ศุภโชคภิญโญ และ บุญมี พลอยงาม เป็น แกนน�ำในการขับเคลื่อนอยู่ “ตอนนัน ้ มีคนไปลงชือ ่ ประมาณ 200 กว่า คน แต่ช่วงระหว่างการรวมกันเป็นกลุ่ม ก็ลด ลงมาเรื่อยจนเหลือ 100 กว่าคน และสุดท้าย ก็เหลืออยู่ 70 กว่าคน ซึ่งสาเหตุที่เหลือน้อย เพราะแต่ละขัน ้ ตอนใช้เวลานานมาก” จิตโสภา สุจริตจิตร เลขาสหกรณ์ฯ กล่าว


พรทิพย์ เกตุรักษา

ณัฐดนัย ฮะบางแขม

เมือ ่ มีกลุ่มก้อนแล้ว มีการประชาคมพูดคุย หาพื้นที่ ได้มาพบกับที่ดินว่างผืนหนึ่ง ขนาด 5 ไร่ 2 งาน ที่เป็นของเทศบาล จึงประสาน ไปยั ง เจ้า ของพื้ น ที่ เพื่ อ ท� ำ โครงการรั บ รอง ผู้มีปัญหาที่อยู่อาศัย ซึ่งทางเทศบาลก็ยินดี จากนั้นมีการตั้งกลุ่มบ้านมั่นคง ชาวบ้าน 70 กว่าคน เริ่มช่วยกันออม ตามแต่รายได้ ของสมาชิก โดยออมขั้นต�่ำเดือนละ 100 บาท ฝากกับแกนน�ำ มีสมุดคู่ฝาก และได้ท�ำ MOU ในปี 2546 กับท้องถิน ่ กรมทีด ่ น ิ อ�ำเภอ พมจ. และพอช. เพื่อจะร่วมมือกันท�ำให้โครงการนี้ เกิดขึ้น แกนน� ำ ต้อ งไปอบรมการพั ฒ นาตนเอง ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การ มหาชน) หรือ พอช. หลายครั้งด้วยกัน “ในเครือข่ายภาคตะวันตกนั้น ทาง พอช. จะมี ผู ้ป ระสานงานอยู ่ เราก็ ไ ปศึ ก ษาเรี ย นรู ้ อบรมหลายเรื่องหลายครั้ง ตามที่เขาแจ้งมา มี การเรี ย นรู้ก ระบวนการก่อนที่ จ ะกู ้ เพราะ

เครือข่าย พอช. มีโครงการลักษณะนี้มาก ซึ่ง กว่าจะได้อยู่จริงก็อีกประมาณ 6-7 ปีเลย” ณัฐดนัยกล่าวต่อ จากระยะเวลาอันยาวนานนี้เอง พรทิพย์ เกตุรักษา เหรัญญิกกลุ่มบอกว่า เป็นเหตุให้ สมาชิ ก ที่ เ คยฝากเงิ น บางส่ว นเกิ ด ความไม่ มั่นใจ ทยอยถอนเงินออกมาไป แม้จะฝากได้ เยอะแล้วก็ตาม ซึ่งถือว่าสร้างปัญหาให้กลุ่ม อย่างมาก เพราะต้องหาคนใหม่มาเพิ่ม และ ต้องท�ำประชาคมใหม่ในกลุ่ม “ตอนเราได้พื้ น ที่ แ ล้ว ก็ ต ้อ งมาดู ว ่า จะ จั ด สรรพื้ น ที่ อ ย่า งไรให้ค รบถ้ว นกั บ สมาชิ ก 70 กว่าคน โดยที่ต้องมีศาลาอเนกประสงค์ มี พื้นที่ส่วนกลางอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราเรียนรู้จาก การไปศึ ก ษาดู จ ากพื้ น ที่ ต ้น แบบของ พอช. จากนั้ นเขี ย นแปลนโครงการขึ้นเสนอ พอช. ขณะเดียวกันก็ยังต้องรักษาสมาชิกในกลุ่มไว้ เพราะต้อ งให้เ ห็ น ว่า เรามี ค วามเข้ม แข็ ง สามารถช�ำระเงินกู้ได้” พรทิพย์เสริม คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 41


เมื่อเสนอโครงการผ่านแล้ว ทาง พอช. มี งบสาธารณูปโภคมาให้ เพื่อปรับที่ดิน ถนน ท่อน�้ำ ซึ่งเป็นงบประมาณให้เปล่า พอเสร็จ เรียบร้อย ทาง พอช. ส่งเจ้าหน้าที่มาท�ำแปลน ให้ คิดมูลค่าโครงการ 8,200,000 ล้านบาท ต่อมาขยายเพิม ่ เติมอีก 2,600,000 ล้านบาท “พอมีแปลนแล้ว ก็มีการประชาคมว่า จะ ผ่อนส่งได้เท่าไร เอาวัสดุอะไร ต้องการบ้านชัน ้ เดียว หรือบ้านสองชั้น ซึ่งในเวลานั้นค�ำนวณ ราคาของบ้าน 2 ชั้น อยู่ที่ 250,000 บาท บ้าน 1 ชัน ้ อยู่ที่ 150,000 บาท โดยมีเงินออม เป็นเครดิตอย่างน้อย สิบเปอร์เซ็นต์ของราคา บ้าน นอกจากนี้กลุ่มยังต้องหาช่างมา เพื่อให้ ราคาถูกทีส ่ ด ุ แล้วต้องร่างสัญญา แจกแจงเป็น งวดงาน ค่า จ้า ง ค่า วั ส ดุ ใ นแต่ล ะงวด โดย ตอนทีเ่ ราสร้างก็ยงั บุกรุกทีข่ องเทศบาล เพราะ โฉนดยังไม่เรียบร้อย ทั้งมาเจอความผันผวน ทางการเมืองด้วย” พรทิพย์เล่า เมื่ อ เริ่ ม สร้า งแล้ว นั้ น ทางกลุ ่ม ได้ตั้ ง สหกรณ์บ้านมั่นคงเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงปี 2549 เพื่ อ ให้ก ลุ ่ม มี ส ภาพเป็น นิ ติ บุ ค คล สามารถรองรั บ เงิ น กู ้ และเป็น การประกั น ความเสี่ ย ง โดยหน้า ที่ ข องสหกรณ์นี้ ห ลั ก ๆ ก็เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเงินส่งคืนให้ พอช. โดยสหกรณ์เปิดท�ำการทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน ลูกบ้านจะต้องส่งเงินไม่เกินวันที่ 15 ไม่เช่นนั้นเสียค่าปรับ บ้านมัน ่ คงแห่งนีส ้ ร้างเสร็จพร้อมอยู่ตงั้ แต่ ปี 2553 แต่กว่าจะได้หนังสืออนุญาตให้ใช้ ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นการชั่วคราว ตาม นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน ก็ล่วงเลยมา

42 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


ถึงปี 2555 แล้ว โดยโฉนดชั่วคราวนี้ต้องต่อ สัญญาทุก 5 ปี ไม่สามารถจ�ำหน่ายให้ผูอ ้ ื่น แต่สามารถใช้เป็นมรดกตกทอดได้ “ที่ผ่านมาสมาชิกที่นี่ไม่เคยส่งเงินช้า แต่ ถ้าถึงช้าก็พอขับเคลื่อนไปได้ เช่น สมมติเดือน หนึ่งเราต้องส่งให้เงินให้ พอช. 80,000 บาท แต่ว่าเงินทีเ่ ราเก็บมาจะเกิน 80,000 บาทอยู่ แล้ว ดังนั้นขาดไป 1-2 รายก็ยังครบอยู่ ถือว่า ทุกคนช่วยกัน แต่ในกรณีที่เงินไม่พอคืน เรามี เงินส�ำรองที่เก็บไว้ ก็จะเบิกเงินส่วนนั้นมาคืน ไปก่อน โดย พอช.คิดดอกเบีย ้ เรา 4 เปอร์เซ็นต์ แต่สหกรณ์เก็บดอกเบี้ยสมาชิก 6 เปอร์เซ็นต์ เพื่ อ น� ำ ส่ว นต่า งมาบริ ห ารจั ด การ” พรทิ พ ย์ อธิบาย ส� ำ หรั บ ระยะเวลากู ้นั้ น ทางกลุ ม ่ ฯ ท� ำ สัญญาไว้ 18 ปี ขณะทีส ่ หกรณ์ฯ ท�ำสัญญากับ สมาชิกไว้ 15 ปี อธิบายง่ายๆ คือส่งเงินเกินข้อ ตกลงที่ ใ ห้ไ ว้ เพื่ อ หนี้ จ ะได้ห มดโดยเร็ ว ซึ่ ง ปัจจุบันหากเป็นบ้านชั้นเดียว ผ่อนช�ำระเดือน ละ 1,130 บาท ส่วนบ้านสองชั้น เดือนละ 1,930 บาท และสมาชิ ก ต้อ งฝากเงิ น กั บ สหกรณ์เดือนละ 100 บาท โดยแต่ละปีจะมี การปันผลให้ร้อยละ 3 เงินฝากนีต ้ ราบทีย ่ งั เป็น สมาชิกของบ้านมัน ่ คงห้ามถอน และถ้าฝากเงิน จนครบ 60,000 บาท สามารถหยุดฝากได้ ส่วนแนวทางในอนาคต หากมีเงินฝากมากพอ คณะกรรมการสหกรณ์ก็ตั้งใจว่าจะน�ำเงินไป ลงทุนในกิ จกรรมที่มีความเสี่ยงต�่ำ เช่น ซื้อ สลากออมสิน และน�ำเงินมาให้สมาชิกในกลุ่ม กู้ในกรณีที่จำ� เป็นจริงๆ

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 43


กองทุนสวัสดิการชุ มชนบ้านมั่นคง

บุญชู ตันศิริ 44 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


หลังเริ่มกระบวนการก่อสร้างบ้านมั่นคง ณ บ้านกาเลี้ยงลูก หมู่ 12 เพื่อตอบโจทย์เรื่อง ความเข้มแข็งของกลุ่มสมาชิก ท�ำให้เกิดการ ต่อยอดในการดูแลสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง สวัสดิการตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต บุญชู ตันศิริ ประธานกองทุนสวัสดิการ ชุ ม ชนบ้า นมั่ ง คง เล่า ว่า กองทุ น นี้ ก ่อ ตั้ ง ขึ้ น ประมาณปี 2550 โดยสืบเนือ ่ งมาจากนโยบาย ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน ่ คง ของมนุษย์ที่เล็งเห็นว่า เมื่อชาวบ้านมีบ้านที่ มัน ่ คงแล้วก็ควรจะมีสวัสดิการชุมชน เพือ ่ สร้าง ความมั่ น คงให้แ ก่ชี วิ ต ด้ว ย จากนั้ น ก็ มี ก าร ประชุมกันในกลุ่มสหกรณ์ว่าจะท�ำอย่างไรดี ซึง่ ทุกคนก็เห็นชอบ โดยมีสมาชิกเริ่มแรกจ�ำนวน 70 หลังคาเรือน โดยออมกันคนละ 30 บาท ต่อเดือน ซึ่งเงินตรงนี้จ่ายพร้อมเงินกู้ค่าบ้าน มั่นคงเลย ส�ำหรับสวัสดิการนี้ครอบคลุมบริการ 3 อย่าง คือเกิด เจ็บ และตาย โดยในช่วงแรก จ่ายเป็นค่าคลอดบุตร 500 บาท ค่ารถไป โรงพยาบาล 100 บาท นอนโรงพยาบาล คืนละ 200 บาท ไม่เกิน 6 คืน และเสียชีวิต 1,500 บาท แต่ปัจจุบน ั มีการปรับ โดยสมาชิก

จะมีสิทธิใช้สวัสดิการได้เมื่ออายุสมาชิกครบ 6 เดือน ค่าใช้จ่ายอย่างค่ารถไม่มีแล้ว ส่วน เรือ ่ งนอนโรงพยาบาลนัน ้ ปรับเหลือ 3 คืน และ อายุสมาชิกมีผลต่อการจ่ายคือ ถ้าเป็นสมาชิก 6 เดือนให้คืนละ 100 บาท แต่เป็นสมาชิก 3 ปีขึ้นไปให้คืนละ 150 บาท และเป็นสมาชิก เกิ น 5 ปี ให้คื น ละ 200 บาท ส่ว นเรื่ อ ง เสียชีวิตก็เป็นระบบขั้นบันไดเหมือนกัน คือ หากเป็นสมาชิก 6 เดือนขึน ้ ไปให้ 1,000 บาท 3 ปีขึ้นไปให้ 1,300 บาท และ 5 ปีขึ้นไปให้ 1,500 บาท ปัจจุบันกองทุนฯ ไม่ได้จ�ำกัดสมาชิกเพียง แค่กลุ่มบ้านมัน ่ คงแล้ว โดยมีสมาชิกรวมทัง้ สิน ้ 180 คน จากหมู่ 1, 5, 8 และ 12 โดยไม่มี การเก็บค่าสมัครแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังได้ รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนือ ่ ง โดย รัฐให้เงินมาแล้ว 2 รอบ มีเงินหมุนเวียนรวม แล้ว 180,000 บาท เวลานีก ้ ำ� ลังอยู่ในช่วงท�ำ แผนขยายฐาน และจั ด สวั ส ดิ ก ารด้า นอื่ น ๆ เพิ่มเติม เช่น ทุนการศึกษา การช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาส รวมไปถึงภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งหาก เป็น กรณี เ ร่ง ด่ว นก็ จ ะมี ก ารเรี ย กประชุ ม คณะกรรมการและขอเป็นวาระๆ ไป คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 45


ร้านค้าชุ มชนกาเลี้ยงลูก

ความทีพ ่ น ื้ ทีช ่ ม ุ ชนกาเลีย ้ งลูกยังเป็นพืน ้ ที่ ชนบทอยู่มาก การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก สบาย กว่าจะเดินทางไปถึงตลาด ต้องผ่าน ระยะทางไกลถึง 14-15 กิโลเมตร นั่นจึงเป็น ที่ ม าที่ ช าวบ้า นหมู ่ที่ 12 รวมตั ว กั น จั ด ตั้ ง ร้านค้าชุมชนขึ้นมา อุ ไ รรั ต น์ ถึ ง สุ ข ผู ้ดู แ ลร้า นค้า ชุ ม ชน กาเลีย ้ งลูก เล่าให้ฟงั ว่า ร้านค้าชุมชนกาเลีย ้ งลูก เกิดขึ้นเมื่อปี 2552 โดยได้งบประมาณจาก โครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพของหมู ่บ ้า นและ ชุมชน หรืองบ SML มา 150,000 บาท หลังจากมีการเรียกประชุมชาวบ้าน ผู้นำ� ชุมชน ทุ ก ฝ่า ยเห็ น ตรงกั น ว่า ควรจะท� ำ ร้า นค้า ของ ตัวเอง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น “ชาวบ้านทีน ่ ก ี่ ย ็ งั ยากจนอยู่ การท�ำร้านค้า ท�ำให้ทุกคนสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกกว่า ซื้อผ่านยี่ปั๊ว หรือถ้าไปซื้อที่ห้างก็ต้องซื้อเหมา ซึ่งคนที่นี่ไม่มีก�ำลังขนาดนั้น” อุไรรัตน์ว่า 46 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


อุไรรัตน์ ถึงสุข

เมื่อได้งบประมาณมา ทางแกนน�ำก็ท�ำ หนังสือไปถึงอ�ำเภอ โดยน�ำเงินที่ได้มาสร้าง ศาลาอเนกประสงค์ 100,000 บาท ที่เหลือ อีก 50,000 บาท น�ำไปซื้อของ ซื้อมาขายไป เรื่อยๆ ก็เริ่มเรียกชาวบ้านมารวมหุ้น คนละ 100 บาท ได้เข้ามา 30 กว่าคน แต่ปัจจุบัน ทางร้านหาสมาชิกเพิ่มเรื่อยๆ จนมีอยู่ 50 คน แล้ว โดยมีงบประมาณอืน ่ ๆ เข้ามาอุดหนุนบ้าง แต่ก็ไม่มากมายอะไร วั น นี้ ร ้า น ค ้า ชุ ม ช น ก า เ ลี้ ย ง ลู ก มี ผ ล ประกอบการอยู ่ใ นแดนบวก แม้จ ะไม่ม าก ก็ ต าม โดยการมี ป ัน ผลยอดซื้ อ ทุ ก เดื อ น กรกฎาคม “ร้านเราเปิดตัง้ แต่ 6 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น มีพี่เป็นคนขายอยู่ 1 คน และหากวันไหนที่ ไม่อยู่กจ็ ้างเด็กมาดูแลเป็นคราวๆ ไป” อุไรรัตน์ เสริม

นอกจากนี้ เพื่ อ ความโปร่ง ใส จึ ง ได้มี กรรมการของร้านเข้ามาตรวจสอบบัญชีอยู่ เสมอ แน่น อนแม้ลู ก ค้า หลายคนจะซื้ อ ของ เงินเชื่อ เอาไว้ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหา เพราะ ต่างคนต่างรู้จักหน้าค่าตากันเป็นอย่างดี การ โกงกันจึงแทบไม่มี แม้วั น นี้ ร ้า นค้า ชุ ม ชนกาเลี้ ย งลู ก จะไม่มี ก� ำ ไรอะไรมากมาย แต่ก็ ถื อ เป็น ร้า นค้า สวัสดิการชุมชน ซึ่งอยากจะเห็นประชาชนใน พื้นที่ด�ำเนินชีวิตได้อย่างปกติและมีความสุข “ทุ ก ปีใ หม่ ทางผู ้ใ หญ่บ ้า นจะมาคุ ย กั บ ลูกบ้านว่า อยากให้มก ี ารปรับปรุงอะไรบ้าง ถ้า ได้งบประมาณจะต่อเติมอีกไหม หรือจะหา งบประมาณเพือ ่ ไปต่อยอดกิจการหรือไม่ ซึง่ ที่ ชาวบ้านคิดๆ อยู่กค ็ อ ื อยากท�ำน�ำ้ ดืม ่ ของตัวเอง และได้เสนอไปยังหน่วยงานทีเ่ กีย ่ วข้องแล้ว แต่ ก็ยังไม่มีงบประมาณให้ท�ำ” อุไรรัตน์ทิ้งท้าย คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 47


การศึกษา ‘วิชาชีวิต’ Education

เราต่างเคยเป็นเด็กมาก่อน และรู้ว่าช่วงวัยนี้มี เรื่องราวมากมาย ที่เป็นรากฐานให้เราได้มองย้อน กลับไป ชื่นชมกับสิ่งที่หล่มหลอมปัจจุบันของตัวเอง เราเดินทางไปที่โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) ในช่วงเช้า เพือ ่ ไปดูกิจกรรมของเด็กๆ ทีน ่ น ั่ และไปยัง บึ ง ลาดโพธิ์ ใ นช่ว งบ่า ย ซึ่ ง เป็น ก� ำ หนดการที่ เ รา ไม่คิดฝันหรือวางแผนไว้ล่วงหน้า 48 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 49


โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร)

ชัยรัตน์ สุริยะฉาย

50 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

สุวภัทร สุพรจิตต์


โรงเรี ย นวั ด โพรงมะเดื่ อ (ศรี วิ ท ยากร) เป็นโรงเรียนเก่าแก่ซึ่งอยู่คู่ต�ำบลโพรงมะเดื่อ แห่งนี้มาเกือบร้อยปี มีบทบาทส�ำคัญในการ ผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพ เป็นรากฐานให้กับ สังคม ซึ่งในส่วนของการเล่าเรียนนั้น ที่นี่เป็น สถาบั น การศึ ก ษาในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขัน ้ พืน ้ ฐาน (สพฐ.) จึงเชือ ่ มัน ่ ได้ใ นคุ ณ ภาพว่า ทั ด เที ย มกั บ โรงเรี ย นอื่ น ๆ หากแต่สงิ่ ทีพ ่ เิ ศษของโรงเรียนแห่งนี้ คือจุดยืน เรื่ อ งการเป็น สถานศึ ก ษาพอเพี ย ง โดยมี เป้าหมายส�ำคัญในการปลูกฝังจิตส�ำนึกให้เด็ก รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล พอประมาณ และมี ภูมิคุ้มกัน ภายใต้หลักการของคุณธรรม และ ปัญญา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิ จพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สุ ว ภั ท ร สุ พ รจิ ต ต์ รองผู ้อ� ำ นวยการ โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) เล่าว่า

กิจกรรมสถานศึกษาพอเพียงนีด ้ ำ� เนินมาตัง้ แต่ ปี 2553 ตามแนวคิดของอดีตผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนคนเดิมที่ตั้งใจจะสร้างอัตลักษณ์เรื่อง ความสะอาดร่มรื่นให้เกิดขึ้น จึงชักชวนให้ครู และนักเรียนร่วมกันก�ำจัดขยะด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาในปี 2555 เมือ ่ ชัยรัตน์ สุรย ิ ะฉาย เข้ารับต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการโรงเรียน และได้ สานต่อนโยบายนี้ ประกอบกับเวลานั้นทาง รั ฐ บาลมี น โยบายเรื่ อ งสถานศึ ก ษาพอเพี ย ง พอดี จึงสมัครเข้ารับการประเมิน และเริ่มมี การน�ำเรือ ่ งเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเข้า กับหลักสูตรการเรียนการสอนทัง้ 8 กลุ่มสาระ แล้วน�ำไปต่อยอดสู่โครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมาย ก่อ นที่ จ ะได้รั บ การประกาศจาก กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารให้เ ป็น สถานศึ ก ษา พอเพียง เมื่อปี 2556 คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 51


52 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

“ โ ร ง เ รี ย น เ ร า มี น โ ย บ า ย ใ ห ้เ ด็ ก รู ้จั ก ประหยัด อดออม รู้จก ั ปลูกพืช หรือแม้แต่เรือ ่ ง การจัดการขยะมาตลอด เพียงแต่ยงั ไม่เห็นชัด นักว่าสัมพันธ์กบ ั เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร พอ ช่วงหลังที่เราเข้ารับการประเมิน เริ่มรู้ทฤษฎี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ก็เริ่มเห็นความเชื่อมโยงใน โครงการต่างๆ จึงมาจัดให้เป็นระบบระเบียบ มากขึ้น” ผู้อ�ำนวยการชัยรัตน์ย�้ำเสริม กิจกรรมที่ได้รับการต่อยอดออกมา เช่น การออมเพื่ อ แม่ โดยให้เด็ก ออมเงินทุก เช้า บางห้องใช้วธิ ห ี ยอดกระปุก บางห้องใช้วธิ ฝ ี าก ไว้ที่ครู ถ้าเป็นเด็กโตจะมีตัวแทนเป็นผู้ถือเงิน พอครบเดื อ น จะน� ำ เงิ น นี้ ไ ปส่ง มอบให้ค รู ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อไปฝากในบัญชีของ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู เมื่อได้ดอกเบี้ยก็จะน�ำ เงินนี้เป็นทุนมอบให้เด็กที่ด้อยโอกาส เพื่อฝึก ให้เด็กรู้จก ั เอือ ้ เฟื้อเผือ ่ แผ่ พอสิน ้ ปีกน ็ ำ� เงินฝาก ส่งคืนเด็ก หรือเด็กคนไหนจะฝากต่อก็ได้ ส่วนกิจกรรมเกี่ยวกับขยะนั้นมีโครงการ ขยะรีไซเคิล นิตยา จิตต์บรรจง ครูกลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในฐานะของผู ้รั บ ผิ ด ชอบโครงการนี้ เ ล่า ว่า แต่เดิมโครงการนีจ้ ะน�ำเด็กนักเรียนมาคัดแยก ขยะของโรงเรี ย น แยกเป็น ขวด กระดาษ พลาสติก จากนั้นเด็กจะน�ำไปใส่ในที่เก็บขยะ และเมื่ อ มี ข ยะมากแล้ว ก็ จ ะเรี ย กคนรั บ ซื้ อ ของเก่า มารั บ ซื้ อ ไป ได้เ งิ น ครั้ ง ละประมาณ


200-300 บาท เงินที่ได้นำ� มาจัดท�ำบัญชีไว้ จากนั้นก็ส่งต่อเป็นทุนการศึกษาส�ำหรับเด็กที่ ขาดโอกาส เช่น เด็กต่างด้าวทีพ ่ ่อแม่มาท�ำงาน ในพื้นที่ “มาช่วงหลัง ขยะบางส่วน ครูจะเก็บเอาไว้ เพื่ อ ประดิ ษ ฐ์ง านตามกลุ ่ม สาระการเรี ย นรู ้ อย่างทุกเช้ามีดื่มนม ครูบางห้องจะขอถุงนม น� ำ ไปล้า ง แล้ว น� ำ มาสอนนั ก เรี ย นประดิ ษ ฐ์ สิ่งของ หรืออย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ให้ เด็กน�ำขวดมาท�ำจรวด บางห้องก็น�ำพลาสติก มาประดิษฐ์เป็นกระถางปลูกต้นไม้” ครูนต ิ ยาเล่า นอกจากนี้ ยั ง สอนให้เ ด็ ก ปลู ก พื ช ผั ก สวนครั ว และผลไม้ ซึ่ ง มี ทั้ ง คะน้า กวางตุ ้ง ฟักทอง แก่นตะวัน กล้วย นี่ยังไม่รวมถึงบ่อ เลี้ยงปลา ซึ่งแต่ละวัน พืชผักเหล่านี้จะเข้าสู่ โรงอาหาร ผลิตเป็นอาหารปลอดภัย เลี้ยงเด็ก ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 589 คน กับครูอีก 31 ชีวิต “การมี ห น่ว ยการเรี ย นรู ้เ รื่ อ งเศรษฐกิ จ พอเพียง ท�ำให้งานของเราชัดเจนมากขึ้น จน มีการก�ำหนดเป็นวิสัยทัศน์เลยว่า เราจะต้อง เน้นการเรียนรู้บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ของชุ ม ชน และเป็น แหล่ง เรี ย นรู ้ศิ ล ปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย และประเพณีท้องถิน ่ โดยมี เ ป้า หมายให้นั ก เรี ย นทุ ก คนมี คุ ณ ภาพ ตามเกณฑ์ม าตรฐานการศึ ก ษา มี คุ ณ ธรรม แ ล ะ น ้อ ม น� ำ ห ลั ก ป รั ช ญ า ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ

พอเพียงมาปรับใช้ เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่การ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยทัง้ หมดนี้ เน้น ความครอบคลุ ม เพื่ อ ให้ต อบโจทย์ข อง พื้นที่มากที่สุด” ผู้อ�ำนวยการอธิบายเพิ่มเติม เช่นเดียวกับการประยุกต์เนือ ้ หาลงในกลุ่ม สาระต่างๆ ก็ทำ� ให้นก ั เรียนซึมซับและเข้าใจถึง แก่นแท้ของเศรษฐกิจพอเพียงว่าสัมพันธ์กับ มิตใิ นชีวต ิ อย่างไร สายพิณ ผูกพานิช หัวหน้า ฝ่า ยวิ ช าการและครู ก ลุ ่ม สาระภาษาไทย ยกตั ว อย่า งให้เ ห็ น ถึ ง การเชื่ อ มร้อ ย ทั้ ง การ อธิบายความหมายของหลักปรัชญาว่าคืออะไร ตลอดจนความส� ำ คั ญ ของทฤษฎี 3 ห่ว ง 2 เงื่ อ นไข หรื อ แม้แ ต่ก ารให้อ ่า นหนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ พระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวฯ แล้วให้เด็กคิดวิเคราะห์ว่าจะ น�ำมาปรับใช้กับชีวิตของตัวเองอย่างไร “เราอยากให้เด็กรู้วา่ แค่พอเพียงก็ท�ำให้ เรามีความสุข รู้จักการช่วยเหลือคนอื่น รู้จัก การแบ่ง ปัน เสี ย สละ ซึ่ ง ไม่ใ ช่เ พี ย งแค่เ ด็ ก เท่า นั้ น ที่ ไ ด้ แต่ยั ง ต่อ ยอดไปถึ ง ผู ้ป กครอง อีกด้วย เพราะเวลาประชุมผู้ปกครอง เราจะ ถามเลยว่าการให้ท�ำกิจกรรมต่างๆ มากมาย แบบนี้ คิดเห็นว่าอย่างไรกันบ้าง ซึ่งทุกคนก็ สนับสนุน เพราะเป็นสิ่งที่ปลูกฝังลักษณะนิสัย ให้ลูกหลาน และอยากให้ดำ� เนินการต่อเนื่อง” รองผู้อ�ำนวยการสุวภัทรกล่าวปิดท้าย คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 53


ศูนย์การศึกษาเด็กพิเศษ

54 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


เมื่ อ เราได้มี โ อกาสมาบึ ง ลาดโพธิ์ ใ น วันแรกที่มาถึงต�ำบลโพรงมะเดื่อ เราได้เห็น อาคารหลั ง หนึ่ ง ตั้ ง อยู ่ท างซ้า ยสุ ด ของพื้ น ที่ ซึ่งเป็นที่ท�ำการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต การศึกษา 1 สาขาอ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ก็ท�ำให้เราอดที่จะสนใจไม่ได้ วันนั้นเลยเวลา ท�ำการของศูนย์ฯ ไปแล้ว แต่อก ี สองวันให้หลัง เรากลับมาใหม่ พร้อมกับค�ำถามที่มีอยู่ในใจ เด็กพิเศษไม่ใช่ปัญหา หากแต่เป็นหน้าที่ ที่ สั ง คมต้อ งช่ว ยกั น รั บ ผิ ด ชอบ ซึ่ ง ในทุ ก ประเทศมีเด็กกลุ่มนี้อยู่ เป็นที่มาให้มีองค์กร รองรับดูแล ทิตยา บินฮายีอาลี ครูผ้ส ู อนประจ�ำศูนย์ฯ เล่าว่า แต่เดิมศูนย์การศึกษาพิเศษมีอยู่เฉพาะ ที่อ�ำเภอไร่ขิงเท่านั้น ท�ำให้ไม่สะดวกเท่าไรนัก เช่นที่ บริเวณชานอ�ำเภอเมือง อ�ำเภอดอนตูม อ�ำเภอบางเลน ทางส�ำนักงานบริหารการศึกษา พิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประสาน เทศบาลต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ เพื่ อ ขอใช้พื้ น ที่ บริเวณบึงลาดโพธิ์ เป็นทีต ่ งั้ ของศูนย์การศึกษา เด็กพิเศษอีกแห่งหนึ่ง “หน้าที่ของเราคือการเตรียมความพร้อม ให้เด็กเข้าโรงเรียนได้ โดยเด็กที่เราส่งไปมีทั้ง โรงเรี ย นทั่ ว ไป และโรงเรี ย นเฉพาะทาง ส่ว นใหญ่ที่ รั บ เข้า มาเป็น เด็ ก ที่ อ ายุ ไ ม่เ กิ น 15 ปี” ทิตยาเล่า

เด็กพิเศษทีม ่ าเรียนทีศ ่ น ู ย์ฯ มีหลากหลาย ลั ก ษณะ เช่น เด็ ก ที่ มี ค วามบกพร่อ งทาง สติปัญญา หรือเด็กดาวน์ มีไอคิวต�ำ่ กว่า 70 กลุ ่ม นี้ เ ป็น กลุ ่ม ที่ ข าดทั ก ษะการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ดังนั้นทางศูนย์ฯ จะสอนตั้งแต่เรื่องพื้นฐานใน ชีวต ิ ประจ�ำวัน อย่างการติดกระดุม การกินข้าว การเข้าห้องน�ำ้ การเรียนขั้นพื้นฐาน อย่างการ เขียน ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก แล้วก็ยังมีเด็กที่เป็น ออทิ ส ติ ก กั บ เด็ ก ที่ มี ค วามบกพร่อ งทาง ร่างกาย “เมื่ อ พ่อ แม่พ าเด็ ก มาสมั ค ร เราจะคั ด กรองว่า จะให้เด็กเข้าไปส่วนไหน โดยเรามี แผนการสอนเฉพาะบุคคล และมีตารางสอน ทั่วไปที่ก�ำหนดเป็นพื้นฐาน เช่น วันจันทร์-พุธ มีกิจกรรมดนตรี กิจกรรมศิลปะ และกิจกรรม บูรณาการ พอท�ำกิจกรรมทั้งสามอย่างเสร็จก็ เรี ย นแยกฝ่า ย ส่ว นวั น พฤหั ส บดี กั บ วั น ศุ ก ร์ จะเป็นการสอนเดี่ยว นัดมาพิเศษ คนละครึ่ง ถึงหนึ่งชั่วโมง” ทิตยาอธิบาย ส่วนเด็กที่ไม่สามารถเข้ามาท�ำกิ จกรรม ที่นี่ได้ ทางเจ้าหน้าที่ได้เตรียมโครงการต่างๆ ไว้ให้ เช่น โครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู โดยมุ่งเน้นไปที่กลุม ่ เด็ก พิการซ�ำ้ ซ้อน มีทั้งความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา ซึ่งมีอยู่ในข่ายนี้ประมาณ 65 คน

คืคืออเค้ เค้าาโครง โครง แห่ แห่งงโพรงมะเดื โพรงมะเดื่อ่อ || 55 55


“ส�ำหรับโครงการปรับบ้านฯ นี้ หลักๆ เรา จะสัมภาษณ์ผู้ปกครอง ท�ำแบบประเมินเด็ก ก่อน จากนั้นเราจะคิดแผนการเรียนการสอน ว่า ในปีหนึง่ ผู้ปกครองควรสอนอะไร อย่างเด็ก พิการทางร่างกาย ทัง้ เด็ก CP ซึง่ ขาดออกซิเจน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ลักษณะความพิการคือแขน ขาลีบ นอนอยู่กบ ั เตียง ไม่สามารถขยับร่างกาย ได้ เวลาเราจั ด การศึ ก ษา ก็ ต ้อ งดู ส ภาพ แวดล้อม ประเมินด้วยการตรวจร่างกาย ดู องศาการเคลื่อนไหว การเกร็งของกล้ามเนื้อ เพื่อดูความเหมาะสมว่าควรจะฝึกเขาอย่างไร โดยเราจะสอนผู้ปกครอง จากนั้นกลับไปท�ำ บั น ทึ ก และจะมี ใ บส� ำ หรั บ ตรวจเช็ ค ว่า ผู้ปกครองได้ทำ� หรือไม่ เพือ ่ เป็นการเก็บข้อมูล ซึ่ ง ในตารางการติ ด ตาม เราจะลงไปที่ บ ้า น เทอมละ 2 ครั้ง และการโทรศัพท์ติดตามอยู่ ตลอด” ทิตยาเล่า นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารจั ด ตั้ ง โครงการ ศูนย์การเรียน เพื่อขยายโอกาสในพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากส�ำนักฯ ไม่มีก�ำลังเพียงพอทีจ่ ะไปท�ำ ศูนย์การเรียนครบทุกอ�ำเภอ ดังนั้นจึงได้ย่อ ศูนย์การเรียนให้เล็กลง และส่งครูพี่เลี้ยงไป ประจ�ำในแต่ละจุด ถ้าเด็กสามารถมาเรียนได้ ก็ให้มาเรียนกับครูพี่เลี้ยง โดยมีเจ้าหน้าที่จาก 56 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ส�ำนักฯ เป็นผู้ติดตาม อี ก โครงการที่ ด� ำ เนิ น การต่อ เนื่ อ ง คื อ ธาราบ�ำบัด ซึง่ เป็นโครงการทีส ่ ำ� นักงานบริหาร การศึ ก ษาพิ เ ศษคิ ด ค้น ขึ้ น เพื่ อ ช่ว ยพั ฒ นา กล้ามเนือ ้ มัดเล็กและมัดใหญ่ โดยใช้กระแสน�ำ้ ในการออกก�ำลังกาย หรือกายภาพบ�ำบัด ปัจจุบันมีครูประจ�ำการ 4 คน แบ่งเป็น ข้าราชการ 1 คน พนักงาน 3 คน ส่วนครู พีเ่ ลีย ้ ง ซึง่ จ้างประจ�ำมีอยูด ่ ้วยกัน 5 คน ขณะที่ มีเด็กลงทะเบียนที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ราว 50 คน ส่วนงบประมาณนั้นทางส�ำนักงานบริหาร การศึกษาพิเศษ จะเป็นผู้จัดสรรมาให้ ปีละ 40,000-50,000 บาท ซึง่ ศูนย์ฯ จะน�ำลงไป ท�ำแผนการท�ำงานในแต่ละปี ส่วนโครงการไหน ที่ ง บประมาณไม่พ อก็ จ ะขอความช่ว ยเหลื อ ไปยังหน่วยงานในพื้นที่ เช่น เทศบาลต�ำบล โพรงมะเดื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้า งๆ ศู น ย์ฯ ยั ง มี ศู น ย์ ผลิตภัณฑ์เด็กพิเศษตัง้ อยู่ด้วย เพราะทีส ่ ด ุ แล้ว เด็กหลายคนอาจไม่สามารถพัฒนาตนเองจน เข้าไปอยู่ในสถาบันการศึกษาทั่วไปได้ ฉะนั้น แล้ว การสอนให้พวกเขาได้เรียนรู้ทักษะด้าน อื่นๆ เช่น งานประดิษฐ์ งานศิลปะ ฯลฯ ดูจะ เป็นหนทางที่สดใสส�ำหรับพวกเขามากกว่า


ศูนย์ผลิตภัณฑ์เด็กพิเศษ (บึงลาดโพธิ์) บริเวณด้านหน้าของบึงลาดโพธิ์ ติดกับ ถนนเพชรเกษมฝั่งขาออก มีอาคารหลังหนึง่ ตัง้ อยู่ ครั้งหนึ่งเป็นศูนย์แสดงสินค้า OTOP ของ จังหวัดนครปฐม แต่วันนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้ เป็น ศู น ย์แ สดงผลงานของเด็ ก พิ เ ศษจาก ทั่วประเทศ ก า ร ป รั บ เ ป ลี่ ย น นี้ เ ริ่ ม ต ้น เ มื่ อ เ ดื อ น กันยายน 2556 และมาอยู่ในความรับผิดชอบ ของโรงเรี ย นโสตศึ ก ษา และส� ำ นั ก บริ ห าร งานการศึกษาพิเศษ เปิดท�ำการทุกวัน ตั้งแต่ 10.00 น. ถึง 17.00 น. ภายในตัวอาคาร

ประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์มากมายที่เป็นงาน ประดิษฐ์ของเด็กพิเศษ ทั้งพวงกุญแจ ถุงผ้า กระเป๋า ฯลฯ ซึ่ ง เป็น การส่ง เสริ ม อาชี พ ให้ เด็ ก พิ ก ารและผู ้ด ้อ ยโอกาสทางสั ง คม ได้มี อาชีพมีรายได้ แสดงศักยภาพให้สังคมได้เห็น ว่าพวกเขาก็มีความสามารถ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายด้าน การส่งเสริมอาชีพอย่างครบวงจรของภาคท้องถิน ่ ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึง่ สามารถเข้ามาเยีย ่ ม ชมและเลือกซื้อสินค้า หรือซื้อหากาแฟสด ซึ่ง ตั้งอยู่ในศูนย์ ก่อนเดินทางต่อได้อีกด้วย คืคืออเค้ เค้าาโครง โครง แห่ แห่งงโพรงมะเดื โพรงมะเดื่อ่อ || 57 57


เศรษฐกิจชุมชน Economy

เศรษฐกิจในพื้นที่เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อนั้น ค่อ นข้า งหลากหลาย ด้ว ยพื้ น ที่ ชุ ม ชนค่อ นข้า ง กระจุกตัว ไม่มพ ี น ื้ ทีก ่ ว้างเท่าไรนัก จึงมีทงั้ อาชีพรับจ้าง ข้า ราชการ พนั ก งานเอกชน คนงานในโรงงาน เกษตรกร พ่อค้าแม่ขาย แตกต่างกันไปตามความพึงใจ และความต้องการของตลาด เอาเป็นว่า เราเดินทาง ต่อกัน ไปดูว่าเศรษฐกิจทีน ่ ่าสนใจในชุมชนแห่งนีม ้ อ ี ะไร กันบ้าง

58 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 59


สารพัดเห็ด เพื่อสุขภาพ

โอกาสเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นเอง ล�ำพังแต่ จะรอบุ ญ พาวาสนาส่ง อย่า งเดี ย วคงไม่ไ หว ยิ่ ง ในยุ ค ที่ ทุ ก คนใส่เ กี ย ร์เ ดิ น หน้า กั น แบบนี้ และกับผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึง่ อย่าง วิไลรัตน์ คิ้ ม แหน ลู ก สะใภ้ข อง ชู เ กี ย รติ คิ้ ม แหน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 เธอก็เป็นคนหนึ่งที่หันเห ชีวิต สร้างโอกาสขึ้นใหม่ในบ้านของตัวเอง บริเวณพื้นที่ของบ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 บ้านหนองหิน มีโรงเพาะเห็ดตัง้ เรียงรายอยูถ ่ งึ 5 โรง โดยวิไลรัตน์เป็นผู้เริ่มต้น ขยับขยายจน กลายเป็นกลุ่ม ซึง่ เธอเองรับหน้าทีเ่ ป็นประธาน กลุ่ม และมี เกรียงไกร คิ้มแหน สามีของเธอ เป็นรองประธาน วิ ไ ลรั ต น์ย ้อ นความให้ฟ ัง ว่า ในราวปี 2548 ตัวเองเป็นพนักงานบริษท ั ทัว่ ไป ไม่เคย มีความรู้เรือ ่ งเห็ดเลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยความ ที่ ร ะยะห่า งระหว่า งบ้า นกั บ ที่ ท� ำ งานไกลกั น มาก รู้สึกเหนื่อยกับการเดินทาง จึงมีความคิด อยากลาออก เพราะไม่มีเวลาให้ค รอบครั ว แต่เวลานั้นยังไม่รู้จะท�ำอะไรดี กระทั่งเริ่มสังเกตสิ่งรอบตัว เพื่อต่อยอด เป็นอาชีพ เธอพบว่าตัวเองชอบกินเห็ด เลยน่า จะเริ่มต้นจากสิ่งที่ชอบ จึงลองซื้อก้อนเห็ดมา 60 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

เพาะดู โดยเธอเลือกเห็ดโคนญี่ปุ่น เพราะเห็น ว่า ยั ง มี น ้อ ยคนที่ เ พาะเห็ ด ตั ว นี้ ไม่ต อ ้ งไป แข่งขันด้านการตลาดเหมือนเห็ดนางฟ้าภูฐาน หรือเห็ดหูหนูที่คนส่วนใหญ่นิยม “ตอนนั้ น ท� ำ ตลาดยากหน่อ ย ทั้ ง แรกๆ ชาวบ้านยังคิดว่าเป็นเห็ดเมา แต่อาศัยปากต่อ ปาก จนคนเริม ่ รู้จก ั แม่ค้าเริม ่ ติดต่อซือ ้ ดอกไป ขาย ช่องทางจัดจ�ำหน่ายเริ่มเพิ่มขึ้น ใช้เวลา อยู่ 2 ปีเรียนรู้ด้วยตัวเอง อ่านจากอินเทอร์เน็ต บ้า ง พอมี ค วามช� ำ นาญแล้ว ก็ คิ ด ว่า พร้อ ม ลาออกจากงานประจ�ำ มาเพาะเห็ดเต็มตัว” วิไลรัตน์เล่า ตอนนั้นในราวปี 2550 วิไรรัตน์เดินหน้า ธุรกิจเต็มตัว โดยเล็งเห็นว่า การซื้อก้อนเชื้อ จากคนอื่ น ไม่คุ ้ม เท่า ไร น่า จะลองหาวิ ธี ท� ำ ก้อ นเอง จึ ง ไปเข้า อบรมที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ รวมถึ ง ไปดู ง านตามจั ง หวั ด ต่างๆ ที่มีฟาร์มเห็ดครบวงจร เช่น ที่อ�ำเภอ วังน�้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา และอ�ำเภอ นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีการเพาะทั้ง เห็ดโคนญี่ปุ่นและเห็ดอื่นๆ พอได้ความรู้กลับ มา เธอก็เริม ่ พัฒนาพืน ้ ที่ สร้างโรงเรือนจ�ำนวน 5 หลัง ใช้เงินลงทุนกว่า 900,000 บาท


วิไลรัตน์ คิ้มแหน

“เรามีความรู้มากขึ้น ช่องทางการตลาด ค่อ นข้า งหลากหลาย ทั้ ง ร้า นค้า ฝากขาย ตลาดนัด แล้วเรายังมีแม่ค้าทีม ่ าซือ ้ ประจ�ำ จาก ปากคลองตลาด ตลาดไท รวมทั้งจังหวัดทาง ภาคใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าคนกลางซื้อไป กระจาย โดยราคาส่งส�ำหรับเห็ดโคนญีป ่ ่น ุ ทีย ่ งั ไม่ตัดราก กิโลกรัมละ 120 บาท แต่ถ้าขาย ปลีกส่งตามร้านอาหาร ต้องตัดแต่ง ราคาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 150-180 บาท” ส�ำหรับการเพาะดอกเห็ดโคนญีป ่ ่น ุ นี้ ปกติ จะต้องทิ้งก้อนไว้ประมาณ 15-20 วัน แล้ว ค่อ ยรดน�้ ำ ครั้ ง หนึ่ ง เพื่ อ ให้เ ส้น ใยมี ค วาม แข็งแรง จากนั้นเห็ดจะเริ่มออกดอกประมาณ 7-10 วัน แล้วก็ต้องพักก้อนเป็นวัฏจักร ฉะนัน ้ เพื่ อ ให้มี สิ น ค้า รองรั บ ตลาดอยู ่ไ ม่ข าด จะ หมุนเวียนเก็บดอกเห็ด โดยสัปดาห์หนึง่ จะเปิด โรงเรือน 1 โรง ซึ่งมีก้อนเห็ด 10,000 ก้อน โรงเรื อ นหนึ่ ง เก็ บ ได้ป ระมาณ 100-120 กิ โลกรัม หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 15-20 กิโลกรัม คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 61


62 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


พอปี 2552 คนในชุมชนเริ่มสนใจอยาก หารายได้เพิ่มขึ้น ทางวิไลรัตน์จึงเริ่มขายก้อน ให้ชาวบ้าน โดยผู้ทซ ี่ อ ื้ ก้อนเห็ดจะต้องมาเรียน เทคนิ ค วิ ธี ก ารต่า งๆ เกี่ ย วกั บ เพาะเห็ ด 1 ชั่ ว โมงครึ่ ง โดยเนื้ อ หาที่ เ รี ย นมี อ าทิ เห็ดโคนญี่ปุ่นชอบหน้าฝนกับหน้าหนาว พอ ช่ว งหน้า ร้อ นจะออกดอกยาก ฉะนั้ น จะมี เทคนิคการให้นำ�้ อย่างไร ต่อมาเมื่อมีคนมาซื้อก้อนเชื้อมากๆ ก็มี ปัญหาเกิดขึ้น คือเพาะแล้วไม่รู้จะไปท�ำตลาด ที่ไหน วิไลรัตน์จึงท�ำการรวมกลุ่มขึ้นมา เพื่อ สร้า งกลไกราคากั บ พ่อ ค้า จนปัจ จุ บั น กลุ ่ม เพาะเห็ดนี้มีสมาชิกประมาณ 9 คน “เมือ ่ ก่อนทีเ่ รามีดอกเห็ดไม่มากพอ พ่อค้า จะให้ราคาแพงบ้าง ถูกบ้าง แต่พอเรามีมาก เขาให้ราคาประกันกับเรา แต่คนที่มาร่วมกับ เรา เราไม่ได้บงั คับนะ ว่าต้องขายให้เราเท่านัน ้ ถ้า เขามี ช ่อ งทาง หรื อ ได้ร าคาที่ แ พงกว่า ก็ สามารถไปได้ แต่สว่ นมากเครือข่ายเราไม่มี ตลาด ก็เลยมาส่งที่เรา เขาก็ไม่เสียเวลาหา ตลาดด้ว ย คื อ เป็น การรวมตั ว แบบไม่เ ป็น

ทางการ โดยเราจะมีการเช็คออเดอร์อยู่เสมอ เพราะเรามีลูกค้าหลักอยู่ 3 รายที่ต้องมีของ ป้อนให้ตลอด ก็ต้องติดต่อกับสมาชิก ดูเรื่อง การรดน�ำ้ สมมติเขาสัง่ 200 กิโลกรัม ฟาร์มนี้ เก็บได้ 100 กิโลกรัม ของเราอีก 100 กิโลกรัม จากนั้ น ก็ เ อาทั้ ง หมดมารวมกั น แล้ว ส่ง ให้ ลูกค้า ซึ่งจะมีรถเย็นมารับไป” วิไรรัตน์เล่า กระบวนการกลุ่ม นอกจากเห็ดโคนญีป ่ ่น ุ แล้ว ทีน ่ ย ี่ งั มีการท�ำ ก้อนเชือ ้ เห็ดอืน ่ ๆ จ�ำหน่ายอีกด้วย โดยเห็ดโคน ญี่ปุ่น ก้อนหนึ่งราคา 9 บาท ส่วนเห็ดนางฟ้า ภูฐาน ราคา 6.5 บาท เห็ดเป๋าฮือ ้ ราคา 7 บาท เห็ดหูหนู ราคา 6.5 บาท เห็ดขอนขาว ราคา 6.5 บาท และเห็ดขอนด�ำ ราคา 6.5 บาท ส่วนดอกเห็ด ฟาร์มของวิไรรัตน์จะท�ำเฉพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น เท่านั้น เพราะถ้าท�ำหลายตัวจะมีเชื้อโรคเพิ่ม ขึ้นมามาก ท�ำให้ควบคุมมาตรฐานยาก ส่วนแผนการในอนาคต วิไลรัตน์บอกว่า ตั้ ง ใจจะแปรรู ป เห็ ด ซึ่ ง มี ที่ ท� ำ ไปแล้ว อาทิ น�้ ำ พริ ก เห็ ด แหนม เห็ ด สวรรค์ เพื่ อ เพิ่ ม รายได้แก่สมาชิกอย่างทั่วถึง คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 63


ตี๋พันธุ ์ปลา

คงเป็นเรื่องที่น้อยคนนักจะรู้ ว่านครปฐม เป็นตลาดส่งออกปลาสวยงามที่ใหญ่แห่งหนึ่ง ซึง่ เรามีโอกาสพบกับ บุญเกียรติ บุญวิธวาเจริญ หรือ เฮียตี๋ แห่งชุมชนคลองขุด หมู่ที่ 1 ต�ำบล หนองดิ น แดง ผู ้เ ป็น เซี ย นปลาคนหนึ่ ง ของ วงการปลาสวยงามในจังหวัดนครปฐม ภายในบ้านของเฮียตี๋นั้นเป็นที่เพาะพันธุ์ ปลา มีบ่อปูนมากมายหลายขนาดเรียงรายกัน อย่างเป็นระเบียบ ควบคู่ไประบบการเลี้ยงที่ เรียกว่าโชกโชนรู้จริง ย้อนกลับไปเมื่อ 50-60 ปีก่อน คุณพ่อ ของเฮียตี๋ เป็นผู้รเิ ริม ่ กิจการเลีย ้ งปลาสวยงาม ทั้งปลาทรงเครื่อง ปลากาแดง ปลาหางไหม้ ปลากาแดงนคร ซึง่ เป็นปลาจากแม่นำ�้ แม่กลอง ปลาน�ำ้ ผึ้งหรือปลาไส้ตัน โดยซื้อพันธุ์ปลาจาก คนหาปลาในแม่น�้ำต่างๆ แถวอ�ำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มาภายหลังทีอ ่ ำ� เภอท่าม่วง น�้ ำ ท่ว ม ไม่มี ป ลาเหลื อ จึ ง หั น ไปซื้ อ ปลาที่ จังหวัดพิษณุโลกแทน โดยช่วงนัน ้ ยังเพาะพันธุ์ ไม่ได้ จนมาถึงรุ่นของเฮียตี๋ ประมาณปี 2520 ค่อยเริ่มเพาะพันธุ์ปลาเอง โดยได้ค�ำแนะน�ำ จากอาจารย์วิ เ ชี ย ร สาคเรศ ผู ้เ ชี่ ย วชาญ 64 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ด้านประมง “ตอนนั้นผมอายุ 10 กว่าขวบ พ่อผมเอา ถังคอนกรีตมาเทพื้นปูน แล้วก็เลี้ยงเลย ช่วง แรกเลี้ยงอยู่ 12 วง ก็ขยับเรื่อยๆ จนมาเลี้ยง บ่อดิน จนประมาณปี 2541-2542 ผมรือ ้ ใหม่ เปลี่ยนไปเลี้ยงปลาทองแทน โดยหาพันธุ์ปลา ในนครปฐมบ้าง กรุงเทพฯ บ้าง แต่ก่อนเลี้ยง ปลาทอง ผมเลี้ยงออสการ์มาก่อน 3-4 ปี แต่ ต้องหยุด เพราะสายพันธุ์มันชิดกันเกินไป คือ ช่ว งแรกที่ ค นไทยเอามาจากแม่น�้ ำ อเมซอน มันอึด เหมือนปลานิล แต่พอเลี้ยงไปเรื่อยๆ ปลาผสมกันเอง พันธุ์ยิ่งแย่ ขายถูกไม่มีราคา แถมยั ง กิ น จุ บวกกั บ ยาย้อ มส� ำ หรั บ เร่ง สี กิโลกรัมหนึง่ ราคาตัง้ 15,000 บาท เลยตัดสินใจ เลิก วันนีย้ งั เลีย้ งอยู่บ้าง แต่เพียงเล็กน้อยเท่านัน ้ ” เฮียตี๋ว่า ปลาทองช่วงที่เริ่มนั้นขายดีมาก สามารถเก็บในบ่อคอนกรีตได้ บ่อดินก็ได้ ส่วน ปลาท้องน�ำ้ เริ่มหยุดท�ำ เพราะเลี้ยงยาก ต้อง คอยถ่ายน�้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อกันไม่ให้ ปลาป่วย ซึ่งปลาทองมีความทนกว่า น�้ำจาก บ่อหนึ่งถ่ายไปอีกบ่อได้ ไม่ต้องทิ้งน�้ำ เพียงแต่ ระวังห้ามดูดติดเลน ให้ดูดผิวน�ำ้ เป็นหลัก


เฮียตี๋

ปัจจุบันกว่า 20 บ่อในฟาร์มแห่งนี้ เลี้ยง ปลาทองเกื อ บทั้ ง หมด แม้จ ะเป็น ธุ ร กิ จ ใน ครอบครัว แต่กม ็ เี ครือข่ายพรรคพวกนอกพืน ้ ที่ 7-8 ราย ทัง้ ในจังหวัดราชบุรี นครปฐม ทีเ่ ฮียตี๋ เป็นตัวแทนในการรับซือ ้ ปลาไปยังบริษท ั ต่างๆ ในกรุ ง เทพฯ รวมถึ ง ส่ง ออกไปยั ง ตลาด ต่างประเทศด้วย ซึ่งเฮียตี๋จะคอยแจ้งข่าวแก่ สมาชิ ก ว่า ต้อ งการปลาอะไร รวมไปถึ ง ให้ ค�ำแนะน�ำในการเลีย ้ งปลาสวยงามอย่างถูกวิธี ส่วนราคาของปลาทองนั้น ส่วนใหญ่จะ ตีราคากันหน้างาน โดยราคาจะผันแปรไปตาม ความสวยงาม จ�ำนวนที่ขาย รวมไปถึงขนาด ของตัวปลา ซึ่งมีทั้งขนาด 1.5 นิ้ว, 1.7 นิ้ว, 2 นิ้ว, 3 นิ้ว 4 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ 9-10 นิ้ว “ปัจจุบันเราเพาะเองร้อยละ 60 รับจาก เครือข่ายร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือคือซื้อปลา อื่นๆ เช่นบอลลูน ซันฟิล เพื่อขายต่ออีกที ซึ่ง กลุ่มหลังนี้ต้องสั่งเฉพาะเลย ถึงจะหาให้ โดย แต่ล ะชนิ ด ใช้เ วลาในการเลี้ ย งไม่เ หมื อ นกั น อย่างปลาทอง 2 เดือนก็ส่งได้แล้ว ส่วนกาแดง ทรงเครื่อง ใช้เวลาประมาณ 4 เดือนขึ้นไป ลูกค้าต้องรอหน่อย” เฮียตี๋ว่า

นอกจากการเพาะเลี้ยงอย่างถูกวิธี ด้วย ความทีส ่ น ิ ค้าของเฮียตีต ๋ ้องส่งออกต่างประเทศ บ่อยครั้ง การบรรจุให้ได้มาตรฐานก็เป็นอีกสิ่ง ที่เขาค�ำนึงมากที่สุด “ปลาทองมีหลายพันธุ์ ทัง้ แบบวุ้น เกร็ดแก้ว สิงห์ ลูกโป่ง กริ้นทอง ตันโจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ แล้วเราจะเลีย ้ งในบ่อดิน เพราะว่ามันโตไวกว่า แต่ถ้าส่งไปอเมริกา เราต้องเอาเพาะกับบ่อปูน อย่างเร็วสุด 10 วัน ไม่อย่างนัน ้ ปลาตาย จากนัน ้ ก็เราต้องบรรจุใส่ถุง อยู่ในถุงอย่างนั้น 3 วัน บรรจุแล้วถ่ายน�ำ้ เรือ ่ ยๆ จนไม่มข ี เี้ หลือในท้อง เพราะปลาต้องอยู่บนเครื่องบิน 30 ชั่วโมง แล้วถุงหนึ่งใส่ 80 ตัว แถมยังต้องตวงน�้ำแค่ 1.5 กิโลกรัม แค่ท่วมไหล่ปลา ซึง่ ถ้ามีขอ ี้ อกมา น�้ำจะเน่า ตายทั้งถุง เพราะฉะนั้น เราต้อง จัดการให้ดีที่สุดตั้งแต่ที่นี่เลย” เฮียตี๋อธิบาย การส่งออกปลา เป็นความรู้ที่แปลกใหม่ดีเหมือนกัน โดย ส่วนตัวไม่มป ี ระสบการณ์เลีย ้ งปลา แต่เฮียตีว๋ ่า ปลาทองเลี้ยงง่าย แค่มีโถแก้วสวยๆ ใบหนึ่ง กับพวกพืชน�้ำที่ให้ออกซิเจน ก็เพียงพอแล้ว นับว่าน่าลอง ดูผ่อนคลายดี คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 65


ฟาร์มปลาตาหนุ่ย

จากบ้า นของเฮี ย ตี๋ ผู ้เ ลี้ ย งปลาสวยงาม เดินหน้าสู่ชุมชนเกาะส้มเสี้ยว หมู่ที่ 1 ต�ำบล หนองดินแดง เพื่อมาพบกับ ธนพล มีตังค์ เกษตรกรหัวก้าวหน้า ผู้ไม่นิยมระบบทุนนิยม ผูกขาด จึงเลือกที่จะก้าวเดินด้วยล�ำแข้งของ ตัวเอง ในการผลิตปลาคุณภาพ “ตอนแรกผมท� ำ ปลาสวยงามในช่ว งปี 2523 แต่พอปี 2528 เกิดความคิดขึ้นมาว่า ปลาสวยงามเป็นของฟุ่มเฟือย เราน่าจะท�ำ ปลาที่กินได้ดีกว่า และเป็นปลาที่กินได้ทุกคน ไม่ว ่า รวยหรื อ จน จึ ง เริ่ ม เลี้ ย งปลาส� ำ หรั บ บริโภคเพิ่มเข้ามา กระทั่งปี 2532 ก็หันมาท�ำ ปลาบริ โ ภคเต็ ม ตั ว เลิ ก เลี้ ย งปลาสวยงาม” ธนพลเกริ่นให้ฟัง เริ่ ม แรกธนพลติ ด ต่อ ไปยั ง ส� ำ นั ก งาน ประมงจังหวัด ได้พน ั ธุ์ปลาตะเพียนมา 2,000 ตัว พอเลี้ยงและขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ก็เริ่ม มีคนเพาะปลาพันธุ์อื่นๆ สนใจอยากจะขอซื้อ พันธุ์ไปเลีย ้ งบ้าง แต่เขาไม่ขาย ใช้วธิ แี ลกเปลีย ่ น พันธุ์ปลาแทน ท�ำให้ได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์เป็น จ�ำนวนมาก จนเริม ่ มีทงั้ ปลายีส ่ ก ปลานวลจันทร์ ปลาจีน ปลาสวาย ปลาดุก และปลาจาระเม็ด 66 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

“ตอนนัน ้ ผมไม่มค ี วามรู้เรือ ่ งการเลีย ้ งปลา เลย แต่โชคดีที่สมัยก่อนเป็นคนหาปลาเก่ง ทั้ง วางเบ็ด หว่านแห หรือกระทั่งจับด้วยมือเปล่า ก็มักได้ปลามาวางตลาดเสมอ พอชอบมากๆ ก็ เ ลยเริ่ ม สั ง เกตด้ว ยตั ว เองว่า ปลาวางไข่ อย่างไร ไปดูทรี่ งั ตรงไหนมีปลา ตรงไหนไม่มป ี ลา ถ้าตรงนี้มีขี้ปลา แสดงว่ามีแน่ วางเบ็ดได้เลย พอตอนหลังมีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึน ้ แล้วก็มก ี าร เปิดอบรมปลานิลแปลงเพศของ รศ.ดร.วราห์ เทพาหุ ดี ที่ ค ณะประมง มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เมือ ่ ปี 2549 ตอนนัน ้ จัดเป็นรุ่น สุดท้าย ก็เลยสมัครเข้าไป อบรมอยู่ 3 วัน พอวันสุดท้ายก็มีผู้จัดการจาก ธ.ก.ส. มาเสนอ เงินกู้ แต่ผมไม่ได้กู้” จุดเด่นของการแปลงเพศปลานิล ก็เพราะ ว่าเพศผู้จะโตไวกว่าเพศเมีย เนื่องจากตัวเมีย จะใช้เวลาไปกับการสร้างไข่ และตามธรรมชาติ มีเพศเมียเยอะกว่าเพศผู้มาก ฉะนั้นเพื่อให้ได้ เพศผู้มากขึ้น ธนพลจะน�ำฮอร์โมนไปผสมกับ อาหารผง ให้กิน 21 วันต่อเนื่องกัน รังไข่จะ หายไป โดยต้องให้ตั้งแต่แรกเกิด พอเลี้ยงจน ได้ขนาดเท่าใบมะขาม ก็จะเริ่มเปิดให้สั่งซื้อ จากนัน ้ เลีย ้ งอีกประมาณ 1 เดือน ได้ปลาขนาด ใบแค จึงส่งขาย


ธนพล มีตังค์

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 67


นอกจากนี้ ธนพลยังเริ่มวิจัย พัฒนา และ ปรับปรุงสายพันธุ์ เพือ ่ ให้ได้พน ั ธุ์ปลาทีต ่ รงกับ ความต้อ งการของตลาด ขณะเดี ย วกั น เพื่ อ ให้การลองผิดลองถูกได้รบ ั การรับรองด้วยงาน วิชาการ จึงปรึกษากับผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัย สั ต ว์น�้ ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ซึ่ ง ต่อ มาได้ไ ปทดสอบในห้อ ง ปฏิ บั ติ ก ารของคณะประมง มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มีการตรวจสอบขั้นตอนอย่าง ละเอียด จนได้มาตรฐาน GAP หรือมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ�้ ที่ดี “สิ่ ง ที่ เ ราคิ ด ไปสอดคล้อ งกั บ เขาพอดี วิธีการของเราก็คือการท�ำสายพันธุ์ เลือกเอา เฉพาะที่โดดเด่น ลูกชุดหนึ่งมี 3,000 ตัว แต่ ที่โดดเด่น คือลักษณะสีสดสวย ไม่คด ไม่งอ ล�ำตัวใหญ่ มีไม่เกิน 100 ตัว จากนั้นก็ผสมกัน ต่างหาก รุ่นหนึ่งท�ำอยู่ 18 เดือน ท�ำอยู่ 3 รุ่น ระหว่างนัน ้ ก็คด ั อยู่เรือ ่ ยๆ จนได้สายพันธุ์ทเี่ รา ต้องการ สันหนา โตไว ทนทานต่อสิ่งแวดล้อม 68 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ผมใช้ตรงนี้เป็นตัวชี้วัด ถ้าเกษตรกรที่ซื้อไป ประสบความส�ำเร็จ ตรงนี้ผมพอใจแล้ว” ปัจจุบน ั ธนพลเลีย ้ งปลานิลเป็นหลัก เพราะ เป็นปลาเศรษฐกิจทีส่ ่งออกทัง้ ในและนอกประเทศ แต่เป็นธรรมดาเมือ ่ ธุรกิจเติบโตก็เริม ่ มีทน ุ ใหญ่ สนใจ แต่ต้องแลกด้วยการเซ็นสัญญา และ ธนาคารยินดีมอบสินเชื่อทันที แต่มีข้อแม้ คือ ไม่มส ี ท ิ ธิจ์ ำ� หน่ายให้เกษตรกรรายย่อย ต้องส่ง บริษัทใหญ่เจ้าเดียว เขาจึงปฏิเสธ “ตอนนี้คล้ายว่าเราสู้กัน แต่ผมได้เปรียบ ตรงที่ผมเป็นองค์กรเล็ก ผมท�ำเอง ผมยอม เล็บด�ำ ไม่มค ี ำ� สัง่ สู้ด้วยคุณภาพ ถ้าเห็นปลาผม ชาวบ้านนึกออกเลย ปลาฟาร์มตาหนุ่ย เอา ตัวเองเป็นจุดขาย ผลคือเราอยู่ได้ การตลาด ของเราไม่ได้พูดเก่งอย่างเดียว แต่ต้องท�ำให้ เก่งด้วย ทุกวันนี้ผมเน้นการขายส่ง 100 ตัว ขนาดใบแค ราคา 30 บาท บริษัทใหญ่ๆ ขาย 40-45 บาท เราขายราคาตามเหมาะสม เพราะอยากช่วยเกษตรกรลดต้นทุน”


ความแตกต่า งอี ก อย่า งคื อ ฟาร์ม ปลา ตาหนุ่ยเป็นฟาร์มชีวภาพ แม้วันนี้อาจจะยัง ไม่สมบูรณ์ เพราะน�้ำที่เอาไปใช้ยังมีคลอรีน หรือสารเคมีบางตัวอยู่ แต่อนาคตจะพัฒนาสู่ การเป็นอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างเวลานี้ ที่ฟาร์มใช้น�้ำหมักเป็นเครื่องมือในการเลี้ยง ท�ำให้มน ั่ ใจได้ทงั้ เรือ ่ งความปลอดภัย และเรือ ่ ง รสชาติของปลา ลู ก ค้า หลั ก เวลานี้ ม าจากภาคกลางทุ ก จังหวัด คนไหนจะสั่งต้องจองล่วงหน้า 1 เดือน เพราะธนพลท�ำตามก�ำลังและทุนทีม ่ อ ี ยู่ 28 ไร่ 18 บ่อ ผลิตได้เดือนหนึง่ ประมาณ 700,000800,000 ตัว แต่อนาคตจะพัฒนาให้สามารถ รับยอดซือ ้ ได้เกิน 1,000,000 ตัว เพราะถือว่า การพัฒนาเป็นสิ่งที่หยุดไม่ได้

“เครือข่ายเรามีอยู่ ผมถือหลักไว้ใจทุกคน โดยเครือข่ายก็จะเป็นคนทีร่ บ ั ปลาไปเลีย ้ งบ้าง ไปขายบ้าง ซึง่ ผมไม่เอาก�ำไรเขามาก บางทีผม เอาปลาไปปล่อยให้เขาฟรีๆ โดยเฉพาะเขื่อน ที่ในหลวงทรงสร้าง เพราะปลานิลเป็นปลาที่ ในหลวงทรงน�ำเข้ามา” แม้รายได้ของฟาร์มปลาที่นี่จะไม่ได้สร้าง ความร�ำ่ รวยแก่เจ้าของ หากเพียงแค่พออยู่พอ กิ น เขาก็ พ อใจแล้ว เพราะสิ่ ง ที่ ต อบแทน กลับมานัน ้ ยิง่ ใหญ่กว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นรอยยิม ้ ของเกษตรกร ผู ้บ ริ โ ภค รวมทั้ ง ความสุ ข ที่ ได้เป็นผู้ส่งมอบสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม ก่อ นจากมา เราแวบไปเห็ น ชั้ น วาง กระบองเพชรจิ๋วมากมายเรียงรายรับแดดอยู่ “งานอดิเรกของผม” เจ้าบ้านว่าเช่นนั้น คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 69


สาครกับสาคร

สาคร ศรีลาจันทร์

สาคร ศรีลาจันทร์

เป็น เรื่ อ งที่ น ่า แปลกดี เ หมื อ นกั น ที่ ค น ชื่อเดียวกันมาแต่งงานกัน โดยเฉพาะเมื่อคน ทั้งสองได้จดทะเบียนสมรส เพราะนั่นได้ทำ� ให้ ทั้งคู่มีชื่อและนามสกุลเดียวกัน เรามีโอกาสได้ พบ สาคร ศรีลาจันทร์ และ สาคร ศรีลาจันทร์ คู่สามีภรรยาแห่งชุมชนหนองฉิม หมู่ที่ 5 ต�ำบล โพรงมะเดื่อ เราดั้นด้นมาถึงบ้านของพวกเขา ซึ่งซ่อน ตัวอยู่ใต้ร่มไม้ เจ้าบ้านทั้งสองเชื้อเชิญให้เรา นัง่ ทีช่ านด้านหน้า พร้อมกับหาน�ำ้ ท่ามาต้อนรับ เราด้วยไมตรีจิต “เศรษฐกิจพอเพียงของที่นี่เป็นอย่างไร” เราเริ่มโยนค�ำถามทันที สาครผู้เป็นสามีจึงเล่าให้เราฟังว่า ย้อน กลับไปเมื่อปี 2551 ชาวบ้านรวมตัวกันท�ำ โครงการท� ำ ปุ ๋ย หมั ก อิ น ทรี ย ์ชุ ม ชนหนองฉิ ม ท� ำ ได้พั ก หนึ่ ง มี โ ครงการสายใยรั ก แห่ง ครอบครัว ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เข้ามา และ เห็นว่ากลุ่มท�ำปุ๋ยนี้เหมาะที่จะส่งเสริมให้เป็น 70 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

กลุ่มแม่บ้านสายใยรักแห่งครอบครัว จึงได้โอน ย้ายสมาชิกทั้ง 30 ครัวเรือน มาอยู่ใต้ชายคา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 “โครงการปุ๋ยนี้มีสมาชิกเยอะ แต่ท�ำจริง ค่อ นข้า งน้อ ย แต่ว ่า โครงการสายใยรั ก มีกิจกรรมให้ทำ� มากกว่า โดยหลักๆ แล้ว เขา เข้ามาฝึกอาชีพให้ ไม่ว่าจะเป็นปลูกผัก ท�ำ น�้ำยาซักผ้า ล้างจาน ท�ำแหนม ท�ำกระถาง กล้วยไม้ ท�ำไข่เค็ม หาวิทยากรมาสอน เรา ลงมือท�ำ หลายอย่างท�ำได้นาน อย่างไข่เค็มนัน ้ ท�ำได้อยู่พก ั หนึง่ ก็หยุด เพราะสู้ต้นทุนไม่ไหว” สาครอธิบาย ชาวบ้า นรวมตั ว กั น ระยะหนึ่ ง กระทั่ ง โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ยุติลงเมื่อ ปลายปี 2557 ส่งผลให้กจิ กรรมบางอย่างชะงัก ลงเช่นกัน แต่ทางเทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ เห็ น ว่า การรวมตั ว นี้ มี ป ระโยชน์ และสร้า ง รายได้แก่ชาวบ้าน จึงพยายามส่งเสริมต่อเนือ ่ ง ไม่ว่าจะเป็น การท�ำน�้ำยาอเนกประสงค์ ของ ตกแต่ง ของประดับ และไข่เค็มบ้างในบาง โอกาส


“ตอนนี้ผมพยายามสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ขึ้นมา เห็นพวกกะลามะพร้าวถูกทิ้งไว้ คิดไป คิดมาจินตนาการไปเรื่อย ก็ออกมาเป็นของ แต่งบ้าน ทั้งโคมไฟ แจกัน กับอีกหลายอย่าง บางทีเทศบาลพาไปดูงาน ก็ไปได้ไอเดียมาท�ำ ต่อบ้าง” ทุกวันนี้กลุ่มของสาครรวมตัวกันในบาง โอกาส โดยเฉพาะในยามทีม ่ ย ี อดสัง่ ผลิตภัณฑ์ เข้ามา แต่ในยามที่ว่างเว้น สาครจะหยิบจับ นั่นนี่ทำ� เรื่อย โดยเฉพาะพวกงานช่างงานฝีมือ ซึ่งเจ้าตัวพอมีทักษะความช�ำนาญ เราเดิ น ตามสาครไปยั ง ด้า นหลั ง ของ ตัวบ้าน เครื่องไม้เครื่องมือช่างยังคงวางอย่าง เป็น ระเบี ย บเรี ย บร้อ ย เห็ น เก็ บ ของแบบนี้ ชิ้นงานของสาครก็เนี๊ยบไม่แพ้กัน คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 71


ขนมจีนนวัตกรรมใหม่

ห ลั ง จ า ก ที่ ไ ด ้ยิ น ชื่ อ ข อ ง บุ ญ เ รื อ น สารพันโชติวิทยา มาแล้ว ครานี้เราจะได้พบ กั บ เขา เพราะเราหมายมั่ น ปั้น มื อ ว่า จะ ไปหาเขาที่โรงงานขนมจีน จากช่างหนุ่มแห่งจังหวัดชลบุรี มาเป็นเขย นครปฐม บุญเรือนได้นำ� ความรู้ ประสบการณ์ ข อ ง ตั ว เ อ ง ม า พั ฒ น า ธุ ร กิ จ ข น ม จี น ข อ ง ครอบครัวภรรยาจนเจริญเติบโต และกลายเป็น ธุรกิจใหญ่ในพื้นที่เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ “ความจริ ง แล้ว ธุ ร กิ จ ขนมจี น เป็น ของ แม่ย าย เขาท� ำ กั น มาหลายรุ ่น แล้ว จนได้ แต่งงานกับลูกสาวเขา มาช่วยงาน และขยาย กิจการ ช่วงแรกเราท�ำกันแบบง่ายๆ ท�ำเอง ขายเอง หาบไปขายกรุงเทพฯ ส่งบ้างเล็กน้อย จนช่วงปี 2531-2532 ที่เราต้องส่งของเยอะ ขึ้น ก็เลยคิดจะผลิตเครื่องมือ เพราะแรงงาน หายากขึ้นเรื่อยๆ” บุญเรือนเล่า เครื่องมือแรกที่บุญเรือนผลิต คือเครื่อง นวดแป้ง ซึ่ ง ความจริ ง แล้ว ก่อ นหน้า นี้ ท าง แม่ยายบุญเรือนเคยซื้อมาใช้ แต่ว่าเป็นขนาด เล็ก ไม่สามารถรองรับการผลิตจ�ำนวนมากได้ เขาจึงดัดแปลงให้ใหญ่ขึ้น ท�ำงานได้มากขึ้น “ตอนนั้ น เราคิ ด ว่า ท� ำ อย่า งไรให้แ ป้ง 72 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

มันเหนียว เมื่อก่อนเขาก็ใช้เครื่องเพลาเดียว พอแป้งติดก็งัดขึ้น ผมเปลี่ยนให้เป็นสองเพลา แทน ไม่ต้องไปงัด เวลาสั้นลง จากเดิมขนมจีน 1,000 กิโลกรัม ท�ำตั้งแต่ 8 โมงเลิกเที่ยงคืน แต่พอมีเครื่องขึ้นมา เสร็จตั้งแต่ 6 โมงเย็น แถมยั ง ได้ป ริ ม าณเยอะขึ้ น และพั ฒ นามา เรื่ อ ยๆ วั น นี้ ห นึ่ ง ชั่ ว โมง เราผลิ ต ได้ 800 กิ โ ลกรั ม แต่ถึ ง อย่า งไรก็ ต ้อ งใช้แ รงงานคน คอยเติมน�ำ้ คอยดูเครื่อง แต่เทียบแล้วก็ใช้คน น้อยลง” บุญเรือนว่า เมื่อนวดแป้งเร็วขึ้น เกิดโจทย์ใหม่ตามมา เพราะต้อ งท� ำ ขั้ น ตอนต่อ ไปให้ร องรั บ ได้ทั น เกิดเป็นเครื่องโรยขนมจีน ซึ่งบุญเรือนยังคง สร้างขึ้นด้วยตัวเอง “พอผลิตได้มาก ขัน ้ ตอนต่อมา ซึง่ ประกอบ ด้วยศาสตร์และศิลป์ทเี่ ครือ ่ งจักรยังไม่ตอบรับ คือการจับเส้นลงเข่ง ที่ยังต้องใช้แรงงานคน เพิ่มขึ้นในขั้นตอนนี้” ในวันหนึ่งโรงงานของบุญเรือนสามารถ ผลิตขนมจีนราว 4,000-5,000 กิโลกรัม ใช้ คนงาน 25 คน ซึ่ ง ถ้า ผลิ ต แบบเต็ ม ก� ำ ลั ง บุ ญ เรื อ นว่า สามารถท� ำ ได้สู ง สุ ด ถึ ง 8,000 กิโลกรัมเลยทีเดียว


บุญเรือน สารพันโชติวิทยา

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 73


74 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


“สิ่ ง ที่ ย ากสุ ด เวลานี้ คื อ การบรรจุ สิ น ค้า เพราะสมัยก่อนไม่มีไซส์หลากหลายเหมือน วันนี้ จับใส่ตะกร้าใหญ่ ซึ่งง่ายกว่า ผิดกับวันนี้ ที่ท้องตลาดต้องการไซส์เล็ก ต้องค่อยๆ วาง ให้พอดี โดยเวลานี้เรามีตะกร้าขนาด ½, 1, 2, 3, 5, 7, 8 และ 10 กิโลกรัม” บุญเรือนเล่า ส่วนประเภทของเส้นขนมจีน ปัจจุบน ั ผลิต อยู่ 2 แบบ คือเส้นหมักกับเส้นสด ซึ่งแตกต่าง กั น ตรงที่ เส้น หมั ก ต้อ งน� ำเมล็ ด ข้า วไปหมั ก จากนั้นก็ไปโม่เอง แล้วค่อยเข้าสู่กระบวนการ นวดและหยอด ส่วนเส้นสดนัน ้ ใช้แป้งส�ำเร็จรูป ทีโ่ ม่มาเรียบร้อยแล้ว โดยต้นทุนของเส้นสดจะ แพงกว่า แต่ที่โรงงานบุญเรือนจะขายในราคา เท่าๆ กัน “สมัยก่อนเราไม่ค่อยท�ำแป้งขาว เราท�ำ แป้งหมั ก เป็นหลัก แต่ส มัย นี้ ค วามนิ ย มของ แป้งขาวมีมากขึ้น เลยต้องผลิตด้วย แต่ถ้าให้ ท�ำเองทุกกระบวนการก็ยุ่งยากเกินไป เพราะ เราต้องมาล้างท�ำความสะอาดแป้งสด ทีส ่ ำ� คัญ การท�ำ แป้งสดนี้ต้องใช้น�้ ำเยอะมาก เลยสั่ ง ส�ำเร็จมา โดยสัดส่วนการผลิตของทัง้ สองแบบ อยู่ที่ครึ่ง-ครึ่ง” บุญเรือนสาธยาย กลุ ่ม ลู ก ค้า ของบุ ญ เรื อ นมาจากตลาด คลองเตย ที่เข้า มารับ เป็น ประจ� ำ ทุ ก วั น ซึ่ ง ลู ก ค้า ก็ จ ะกระจายต่อ ไปยั ง พื้ น ที่ อื่ น ๆ เช่น ดอนเมือง แปดริ้ว บางเลน สุพรรณบุรี ราคา

ส่งไม่เท่ากัน หากเป็นลูกค้าใหม่ ซือ ้ จ�ำนวนมาก 200-300 กิโลกรัม คิดกิโลกรัมละ 18 บาท ส่วนลูกค้าที่สั่งกันมานานขายกิโลกรัมละ 1617 บาท ราคาปลีกอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท นอกจากการบริ ห ารงานในโรงงานแล้ว การบริหารของเสียก็เป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีบ ่ ญ ุ เรือน ให้ความส�ำคัญ โดยที่นี่มีบ่อบ�ำบัดเก็บน�้ำเสีย และทุ ก สั ป ดาห์จ ะจ้า งรถดู ด ส้ว มเข้า มาดู ด ของเสีย ทุกวันนี้โรงงานขนมจีนเปิดท�ำการทุกวัน หยุดเฉพาะช่วงปีใหม่และสงกรานต์ ครั้งละ 3 วันเท่านั้น โดยอาศัยให้ลูกจ้างหมุนเวียน หยุดกัน ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นคนในพืน ้ ที่ มีบ้างทีม ่ า จากภาคอีสาน “เราจ่ายค่าแรงเป็นรายวัน หากท�ำหน้าที่ จับเส้น ใช้วิธีเหมาตามน�้ำหนักที่ท�ำได้ หากจับ เป็นกระจาด ½-3 กิโลกรัม ให้กิโลกรัมละ 40 สตางค์ แต่ถ ้า เป็น แบบเข่ง ขนาด 5-10 กิโลกรัม ให้กิโลกรัมละ 35 สตางค์ เพราะจัด แบบกระจาดใช้ฝีมือมากกว่า” บุญเรือนว่า กว่า 20 ปีที่มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ บุญเรือนได้ พยายามพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่าง ต่อเนือ ่ ง เป็นแหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ให้กบ ั คนที่ต้องการ พร้อมกันนั้นยังไม่ลืมที่จะนึกถึง คนในชุมชน อย่างที่เราเห็นที่ลานสันทนาการ ชุมชนหมู่ใหญ่ คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 75


ช่ างของหวาน พืน ้ ทีภ ่ าคกลางเป็นทีข่ น ึ้ ชือ ่ เรือ ่ งขนมหวาน อยู่แล้ว และที่เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อก็มี สันติ ผิวงาม ทายาทผู้สืบทอดขนมโบราณ คนส�ำคัญ เพือ ่ ไม่ให้ภม ู ป ิ ัญญาทีเ่ ขาภาคภูมใิ จ จางหายไปจากถิ่นฐาน “บ้า นเราท� ำ ขนมกั น มาตั้ ง แต่ส มั ย ปู ่ย ่า ตาทวดแล้ว อย่างคุณแม่ใหญ่ หรือพี่สาวของ แม่ของยาย ท่า นอยู่บ้า นปากกะท่า อ� ำ เภอ นครชัยศรี เป็นช่างของหวานใหญ่ ท�ำขนม บ้าบิ่น ขนมกุฎีจีน มีชื่อเสียงไปถึงสามพราน แต่วน ั นีต ้ ้องคนอายุ 90 ปีขน ึ้ ไปถึงจะรู้จก ั ส่วน ฝั่ง ปู ่ก็ เ ป็น ช่า งท� ำ ของคาวและหวาน เป็น คนไทย-รามัญ ทั้งหมดนี้สืบทอดบอกเล่ากัน มา ซึ่งผมอาจจะถือเป็นรุ่นสุดท้ายก็ได้ เพราะ ลูกหลานแต่ละคนไม่เอากันแล้ว” สันติเล่า สันติยด ึ อาชีพท�ำขนมมาตัง้ แต่ 9 ขวบ จาก เดิมช่วยพ่อแม่ขาย ท�ำวันละ 1-2 อย่าง จน ทุกวันนี้ เขาท�ำมากกว่า 20 อย่าง ผ่านยุค หาบขาย มาจนยุครถเข็น โดยขายประจ�ำอยู่ หน้าตึกแถวบริเวณตลาดหนองดินแดง “ขายรอบหนึง่ ท�ำ 25-26 อย่าง ลุกขึน ้ มา ท�ำตัง้ แต่ตี 1 มาเสร็จตอน 7 โมงเช้า ขนมเด่นๆ มีตั้งแต่ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมหม้อแกง ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ ขายในวันอาทิตย์ วันอังคาร และวันพฤหัสบดี โดยที่ขายดีสุดคือ ขนมหม้อแกง ที่ต้องท�ำไปไม่ต�่ำกว่า 6 ถาด ส่วนขนมขนมโบราณอย่างขนมกง หรือขนม สามเกลอ จะผลิตตามสั่งเท่านั้น” สันติเล่า

76 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

สันติ ผิวงาม


ขนมทีส ่ น ั ติภาคภูมใิ จทีส ่ ด ุ คือขนมหม้อแกง กล้ว ยน�้ ำ ว้า และขนมไข่แ มงดา เนื่ อ งจาก ได้ท�ำถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี โดยเวลานั้ น โรงเรี ย น สิรน ิ ธรราชวิทยาลัย เป็นผู้มอบหมายหน้าทีใ่ ห้ เนื่องจากหาทั้งจังหวัดแล้ว ไม่มีใครที่ท�ำขนม ชนิดนี้ได้เลย นอกจากนี้ ค ณะกรรมการชุ ม ชนยั ง ได้ ว่า จ้า งสั น ติ ใ ห้ท� ำ ขนมเพื่ อ รั บ เสด็ จ พระบรม วงศานุ ว งศ์อี ก หลายพระองค์ อาทิ เ ช่น ทู ล กระหม่อ มหญิ ง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา สิ ริ วั ฒ นาพรรณวดี และพระเจ้า วรวงศ์เ ธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ น�ำความปลาบปลื้มมาสู่ชีวิตของช่างท�ำขนม ตัวเล็กๆ อย่างสันติยิ่งนัก แม้วั น นี้ ในตระกู ล ไม่มี ค นสื บ ทอดวิ ช า ความรู้ แต่ด้วยความที่ตระหนักเป็นอย่างดีว่า สิง่ นีไ้ ม่ใช่เพียงสมบัตขิ องบรรพบุรษ ุ เท่านัน ้ แต่ ยั งเป็น มรดกของชาติด ้วย สั น ติ จึ ง พยายาม อย่างหนักที่จะถ่ายทอดความรู้นี้ไปสู่ผู้ที่สนใจ เช่น นักเรียนนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยี พั ฒ น บ ริ ห า ร ธุ ร กิ จ โ ร ง เ รี ย น ท ว า ร ว ดี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น “ผมไปสอนที่ ศ าลาชุ ม ชน ครั้ ง หนึ่ ง ก็ ประมาณ 20 กว่าคน แล้วเวลาผมสอน ผม สอนละเอี ย ด โดยเคล็ ด ลั บ การท� ำ ขนมไม่มี อะไรมาก คือคนกินหวาน กินมัน กินเค็ม ต้อง เลือกว่าจะเอารสใดน�ำ แต่ก็ต้องอยู่บนความ พอดี” สันติสรุปให้ฟัง คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 77


วัฒนธรรม Culture

78 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


ณ เวลานั้นยังเต็มไปด้วยความสงสัย ความที่เป็นพื้นที่เมือง แบบนี้ จะมีวฒ ั นธรรมอะไรทีโ่ ดดเด่น แต่แล้วก็มอ ี ะไรให้เราแปลกใจ อีกครั้ง เพราะมีคนลาวซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นชาวลาวครั่ง ชื่ อ เรี ย กชาติ พั น ธุ ์แ ปลกหู ชวนให้เ ข้า ไปค้น หาค� ำ ตอบ อย่า ง ต้นตระกูลของนายกเทศมนตรีเอง ก็มาจากชาติพันธุ์กลุ่มนี้ นอกเหนือจากเรื่องชาติพันธุ์แล้ว ที่นี่ยังมีอู่ต่อเรือยาว ซึ่งมี ความน่าสนใจไม่แพ้กน ั เพราะเราเคยเห็นการแข่งเรือ แต่ไม่เคยไป อู่ต่อเรือเลยสักครั้ง

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 79


วัฒนธรรมลาวครั่ง

ย้อ นกลั บ ไปในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้า นภาลั ย ชาวเวี ย งจั น ทร์ จ� ำ นวนมากได้อ พยพเข้า มาตั้ ง ถิ่ น ฐานใน ประเทศไทย และในจ�ำนวนนั้นหลายร้อยคน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตชุมชนบ้านนา หมู่ที่ 1 ต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ แห่ง นี้ โดยในช่ว งนั้ น กลุ ่ม ชนนี้ ยึ ด อาชี พ การท� ำ ครั่ ง และสื บ ทอด กันมาหลายชั่วอายุคน จนคนเรียกกันติดปาก ว่า ‘ลาวครั่ง’ เอกลั ก ษณ์ส� ำ คั ญ ของกลุ ่ม ลาวครั่ ง คื อ การนับถือผีเจ้านาย ซึ่งตามมโนทัศน์เชื่อว่า เป็นบุคคลทีม ่ วี รี กรรม มีบญ ุ บารมี และถือเป็น วิญญาณที่คุ้มครองชาวลาวครั่งให้ด�ำรงชีวิต อย่างเป็นปกติสุข ในวันนี้ไม่มีใครท�ำครั่งแล้ว เช่นเดียวกับ ความเชื่อ ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณี พื้นถิ่นหลายอย่าง ทั้งเครื่องแต่งกาย อาหาร การกิน เครื่องดนตรีอย่างกลองยาว และแคน รวมไปถึงเครือ ่ งจักสาน ทีบ ่ ด ั นีเ้ ริม ่ เลือนหายไป เกือบสิ้นแล้ว กระทั่ ง ในช่ว งหลั ง ทางเทศบาลต� ำ บล โพรงมะเดื่อได้จัดประกวดภูมิปัญญาชาวบ้าน 80 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


ทางชุมชนบ้านนาได้นำ� กลองยาว แคนมาเล่น ประกวดจนได้รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ โดยมี ลุงบิน ทาทราย ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาด้านนี้ เป็นตัวน�ำ จนกระทั่ ง ในปี 2552 เมื่ อ มี ก ารเปิด ศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัวขึ้น ช า ว บ ้า น ก็ เ ล ย ม า ร ว ม ตั ว กั น เ พื่ อ รื้ อ ฟ ื้น วั ฒ นธรรมที่ ดี ง ามให้ก ลั บ มามี ชี วิ ต อี ก ครั้ ง เฉลี ย ว สุ ท โธ รองประธานชมรมลาวครั่ ง เล่า ให้ฟ ัง ว่า กลุ ่ม เริ่ ม น� ำ ทั ก ษะของลุ ง บิ น มาสืบสาน ด้วยการฝึกให้คนในพืน ้ ที่ เช่นเดียว กับเรื่องเสื้อผ้า ซึ่งมีการหยิบเอาชุดพื้นเมือง กลับมาใส่กันอีกครั้ง “สมัยก่อนเวลามีงานท�ำบุญ เราต้องไป จ้างคนลาวครัง่ ในพืน ้ ทีอ ่ น ื่ มาตีกลองยาว ก็เลย กลับมาคิดว่าเมือ ่ มีภม ู ป ิ ัญญาอยู่แล้ว ท�ำไมยัง ต้อ งจ้า งอี ก ก็ เ ลยให้ลุ ง บิ น ช่ว ยฝึก ให้กั บ ผู้สงู อายุ 7-8 คน มาช่วงหลังก็เริม ่ ฝึกเด็กด้วย จนตอนนี้กลุ่มมีคนที่มีความสามารถ ออกงาน ได้ป ระมาณสิ บ กว่า คน” นฤมล อ่อ นพั น ธุ ์ สมาชิกชมรมอีกหนึ่งร่วมถ่ายทอดให้ฟัง นอกจากเรื่ อ งดนตรี แ ล้ว ยั ง มี ก ารฟื้น ฟู

การร่ายร�ำประกอบ โดยเฉพาะการร�ำกลองยาว และฟ้อ นแคน ซึ่ ง ความจริ ง ประเพณี นี้ ไ ด้ สูญหายไปแล้ว แต่ทางกลุ่มก็ได้ไปศึกษาดูงาน จากพื้นที่อื่นๆ ที่มีชาวลาวครั่งอาศัยอยู่ และ ยั ง รั ก ษาประเพณี เ อาไว้ไ ด้ เช่น ที่ จั ง หวั ด ก�ำแพงเพชร อุทัยธานี และชัยนาท ส่วนเครือ ่ งแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ ก็ได้ มี ก ารน� ำ กลั บ มาสวมใส่ โดยเฉพาะในกลุ ่ม สุภาพสตรี ซึ่งชาวลาวครั่งนิยมนุ่งผ้าซิ่น ชาย ข้า งล่า งเป็น ตี น จก สวมเสื้ อ คอกลมแขน กระบอก ในยามที่ออกงานจะมีสไบห่มพาด ล�ำตัวด้วย ทว่าถึงประเพณีของลาวครัง่ จะสูญหายไป มากแล้ว แต่ก็ ยั ง มี ห ลายสิ่ ง ที่ ยั ง ด� ำ รงอยู ่ เรื่อยมา เช่น ภาษา ซึ่งส่วนมากถ่ายทอดกัน ในครอบครั ว จะมี ห ล่น หายไปบ้า งเมื่ อ ชาว ลาวครัง่ แต่งงานกับคนนอกชาติพน ั ธุ์ เช่นเดียว กับเรื่องอาหารที่ยังหลงเหลือ ที่เด่นๆ เลยคือ แกงผ�ำ แกงเปรอะ และแกงหัวปลี โดยเฉพาะ แกงผ�ำ ซึ่งผ�ำเป็นพืชตระกูลแหนแต่เกิดในน�้ำ สะอาด นอกจากนี้ยังมีแห่ธงสงกรานต์ ซึ่งเป็น ประเพณีทส ี่ บ ื ทอดกันมาไม่ตำ�่ กว่า 100 ปี แล้ว คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 81


82 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


สีนันท์ ทองรุณ และ จ�ำเนียน หงส์ทอง สมาชิ ก อี ก สองคนของกลุ ่ม ช่ว ยกั น ถ่า ยทอด ให้ฟังว่า กิจกรรมนีจ้ ด ั ขึน ้ ในช่วงสัปดาห์สด ุ ท้าย ของเดื อ นเมษายน ในระยะหลั ง ที่ ตั้ ง ชมรม ขึ้นมา ได้มีการรวบรวมประเพณีต่างๆ ของ ชาวลาวครั่งมาใส่ไว้ในกิจกรรมนี้ด้วย ทั้งเรื่อง ดนตรี เครื่องแต่งกาย และอาหาร “สมัยก่อนชาวบ้านทอผ้ากันเอง แล้วพอ ถึ ง ช่ว งเทศกาล เขาจะเอาผ้า ที่ ท อไปคลุ ม ตัวซุ้มผ้าป่าเอาไว้ จากนัน ้ แห่ไม้ไผ่เข้าไปถวาย วัด แต่สมัยนี้เราไม่ได้ทอเอง เพราะประเพณี ทอผ้าเราไม่มีแล้ว ก็เลยเปลี่ยนไปใช้วิธีซื้อผ้า ที่ เ ห็ น ว่า สวยงามมาแต่ง แทน พอแห่เ สร็ จ เราก็ น� ำ ไม้ไ ผ่นี้ ไ ปปัก เป็น เสาเอาไว้” สี นั น ท์ ขยายความ ส่ว นอี ก ประเพณี ห นึ่ ง คื อ การท� ำ บุ ญ กลางบ้าน ซึ่งเป็นกิ จกรรมที่สืบเนื่องมาจาก ความเชือ ่ เรือ ่ งผีเจ้านาย โดยผีทชี่ าวบ้านนับถือ คือ เจ้าพ่อสิงหาญฟ้าแลบ โอรสของกกุสันโธ ซึ่ ง เป็น แม่ทั พ ที่ มี ค วามเก่ง กล้า สามารถ ในการรบและมีวิชาดี โดยชาวบ้านเชื่อว่าท่าน มีอ�ำนาจบันดาลให้เกิดสิ่งที่เป็นสิริมงคล และ ช่วยคุ้มครองดูแล พิ ธี ก รรมจั ด ในวั น อั ง คารแรกที่ เ ป็น วั น ข้า งขึ้ น เดื อ น 7 ของทุ ก ปี โดยจะมี ก ารตั้ ง ศาลเพี ย งตาหน้า ศาลเจ้า พ่อ แล้ว จั ด ขบวน แห่ขันประจ�ำปี ซึ่งประกอบไปด้วยไก่ เหล้า อาหาร และผลไม้ต่างๆ ไปรอบหมู่บ้าน จากนัน ้ ก็น�ำไก่มาฆ่าด้วยการใช้ไม้ตีหัว โดยให้เลือด หยดลงไปที่ไม้ธรณี จากนั้นก็น�ำไก่ตัวนี้มาต้ม ถวายเจ้าพ่อ โดยระหว่างต้มไก่ก็จะมีแก้บน ประจ� ำ ปีข องแต่ล ะครอบครั ว รวมไปถึ ง บนคุ้มปีในปีถัดไปด้วย

เมื่อตกเย็นชาวบ้านนาจะนิมนต์พระสงฆ์ มาสวดมนต์ที่ ก ลางหมู ่บ ้า น เพื่ อ ขั บ ไล่สิ่ ง ชั่วร้ายให้พ้นไป พอรุ่งขึ้นชาวบ้านจะนิมนต์ให้ พระภิกษุฉน ั ภัตตาหารเช้า และจัดท�ำกระทงไป วางตรงทางเข้าชุมชนทั้งสี่ทิศ เพื่อเซ่นไหว้ผี ที่ อ ยู ่น อกหมู ่บ ้า นไม่ใ ห้เ ข้า มาท� ำ ร้า ยคนใน ชุมชน เช่นเดียวกันในแต่ละครอบครัว ก็จะ เตรียมอุปกรณ์เพือ ่ ท�ำพิธส ี ะเดาะเคราะห์ และ บอกกล่าวผีที่มีอยู่ทั่วๆ ไปในชุมชน โดยจะท�ำ เป็นกระทงหน้าวัว ซึ่งเป็นกระทงสามเหลี่ยม จากนั้นน�ำดินเหนียวมาปั้นเป็นตัวคนและสัตว์ เลีย ้ งต่างๆ เท่าจ�ำนวนคนในครอบครัว แล้วใส่ ลงไปในกระทง พร้อมกับอาหารคาวหวานและ น�ำ้ ดืม ่ จากนัน ้ ท�ำพิธเี ชิญเจ้าพ่อประทับร่างทรง แล้วพรมน�้ำมนต์ทุกกระทง แต่ภายหลังไม่มี ร่างทรง จึงใช้วิธีนิมนต์พระภิกษุมาท�ำพิธแ ี ทน จากนั้ น ตั ว แทนของแต่ล ะครอบครั ว ก็ จ ะน� ำ กระทงเหล่านี้ไปวางไว้ตามสถานที่ต่างๆ ใน หมู่บ้านที่เป็นทางสามแพร่ง เปรียบเสมือน เป็น การเสี ย กบาลให้แ ก่ผี ที่ ว นเวี ย นอยู ่ใ น พื้นที่ ปัจ จุ บั น นอกจากหมู ่ที่ 1 บ้า นนา แล้ว ชาวลาวครัง่ ในพืน ้ ทีเ่ ทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ นี้ยังกระจายตัวอยู่ในหมู่ที่ 3, 5, 8 และ 10 โดยรวมกลุ่มกันเป็นชมรมชาติพันธุ์ลาวครั่ง มี อนงค์ลั ก ษณ์ ตั น กิ ต ติ วั ฒ น์ อดี ต นายก เทศมนตรี ต� ำ บลโพรงมะเดื่ อ เป็น ประธาน ชมรมฯ มีสมาชิกประมาณ 50 คน ที่สำ� คัญ ยังมีการต่อยอดด้วยการไปถ่ายทอดความรู้แก่ กลุ ่ม นั กศึ กษ าจ า กม หาวิ ท ยาลั ย ร าชภั ฏ นครปฐม รวมไปถึ ง นั ก เรี ย นจากโรงเรี ย น โพรงมะเดื่อเป็นระยะๆ เพื่อให้วัฒนธรรมยัง คงอยู่คู่สังคมบ้านนาสืบไป คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 83


อู ่ต่อเรือลุงเล็ก

เราเคยดูการแข่งเรือยาว แต่ไม่เคยเห็น การต่อ เรื อ ยาวมาก่อ น โดยเรื อ ยาวถื อ เป็น วั ฒ นธรรมประเพณี ที่ เ ชื่ อ มร้อ ยกั บ วิ ถี ชี วิ ต ยิ่งในแถบภาคกลางที่มีแม่น�้ำใหญ่หลายสาย พาดผ่าน “นอกจากต่อ เรื อ แล้ว ลุ ง แกยั ง เป็น นักพากย์ด้วย” ผู้น�ำทางบอกกับเรา เกือบสามทศวรรษที่ เล็ก ฤทธิ์คง หรือ ลุงเล็ก แห่งชุมชนหมู่สระเกตุ บ้านหมู่ที่ 2 ต�ำบลหนองดินแดง คลุกคลีอยู่กบ ั เรือยาว โดย เขาร�ำลึกความหลังให้ฟังว่า เมื่อราวปี 2530 พระครู ส าธุ กิ จวิ ม ล หรื อ หลวงพ่อ เล็ ก เจ้าอาวาสวัดหนองดินแดง มีกศ ุ โลบายทีจ่ ะดึงเด็ก ในพื้นที่ที่เกเรมาท�ำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ประกอบกับเล็งเห็นว่าในพื้นที่หนองดินแดง ไม่มีการแข่งเรือยาว เลยเริ่มกิจกรรมนี้ขึ้นมา “ตอนนั้นมีพวกกรรมการวัดเป็นคนพาย แล้ว หลวงพ่อ ท่า นไปซื้ อ เรื อ มาล� ำ หนึ่ ง จาก อ�ำเภอหลังสวน ชื่อเจ้าแม่ไทรชล แล้วท่านเอง 84 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


ลุงเล็ก

ก็ มี ฝ ีมื อ ด้า นช่า ง เราเป็น ลู ก ศิ ษ ย์ลู ก หาอยู ่ ใกล้ชิด ก็คอยดู คอยศึกษาเรื่อยมา ต่อมา ชุมชนเริม ่ หนาแน่น ต่างคนเริม ่ มีเรือของตัวเอง หลวงพ่อเองก็อายุเยอะแล้ว เริม ่ ไม่ไหว เราเลย แยกตั ว ออกมา แล้ว ก็ ไ ปเอาเรื อ อี ก ล� ำ จาก พิมาน แต่งไป แข่งไป จนเวลาผ่านไปก็เริ่ม จับจุดได้ว่าจะพัฒนาเรืออย่างไร กระทัง่ ท�ำเรือ ขึ้นมาล�ำหนึ่งชื่อ เรือจันทร์เจ้า ปทุมธานี แข่ง ชนะถีม ่ ากในช่วง 2 ปี ชือ ่ เราเริม ่ ติด พรรคพวก เยอะขึ้ น แล้ว ก็ พั ฒ นาต่อ มาเรื่ อ ยๆ จนถึ ง ทุกวันนี้” ลุงเล็กเล่า ชื่อเสียงของช่างเล็กขจรขจายไปไกลถึง ฝั่งลาว ทั้งนครเวียงจันทร์ ทั้งหลวงพระบาง “เรารับซ่อม ส่วนใหญ่จะเป็นวัด ที่เอามา ให้เราซ่อม แล้วก็มต ี ่อขึน ้ ใหม่ ท�ำครบวงจร ถ้า ต่อใหม่ล�ำหนึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนถึง เดือนกว่าๆ คนที่สั่งจะมารับเอง ก่อนรับมีการ ท�ำพิธีเซ่นไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล และ อั ญ เชิ ญ แม่ย ่า นางกลั บ แต่ว ่า เป็น พิ ธี ง ่า ยๆ

ถ้าพิธีใหญ่ ต้องไปท�ำที่วัดกัน” ลุงเล็กว่า ส�ำหรับเคล็ดลับในการท�ำเรือ ลุงเล็กบอก ว่าเรื่องรูปทรงส�ำคัญมาก อย่างเรือจันทร์เจ้า ตอนนัน ้ มีรป ู ทรงทีท ่ น ั สมัย ซึง่ เวลานัน ้ ไม่มใี คร พัฒนาได้ทน ั โดยไม้ทใี่ ช้ต่อเป็นไม้สก ั ซึง่ ทีน ่ จี่ ะ มีแหล่งไม้ประจ�ำอยู่แล้ว โดยเรือที่ต่อนั้นก็มี หลายขนาด ทั้ง 12 วา 30 ที่นั่ง 14 วา 40 ที่นั่ง และ 16 วา 55 ที่นั่ง “เรือทีน ่ ส ี่ ว่ นใหญ่ไม่ได้เน้นความสวย เน้น ที่ เ รื อ วิ่ ง หรื อ ไม่วิ่ ง มากกว่า แต่ข องแบบนี้ ก็ เกีย ่ วกับคนพายด้วย ถ้าคนพายดีกม ็ ช ี ย ั ไปกว่า ครึ่งแล้ว” การผลิตเรือนั้นเป็นงานละเอียดอ่อน ที่ ผ่านมา ลุงเล็กพยายามถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง แต่กย ็ งั ไม่มค ี นรับช่วงต่อจริงจัง ซึง่ เขาก็หวัน ่ ใจ อยู่เหมือนกันว่าวิชาทีส ่ งั่ สมจะหยุดลงทีต ่ วั เอง “ของแบบนีต ้ ้องใจรัก ไม่อย่างนัน ้ ท�ำไม่ได้ หรอก” ลุงเล็กสรุปสัน ้ ๆ ก่อนกลับไปวุ่นกับการ ติดสติ๊กเกอร์ที่หัวเรือ คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 85


พักผ่อน หย่อนกาย Stay

ด้วยสภาพพื้นที่ของอ�ำเภอเมือง จังหวัด นครปฐม คงหาทีพ ่ ก ั ได้ไม่ยากเย็นนัก แต่ระยะ หลังมานี้ เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อมักมีแขก ต่างถิ่นเข้ามาศึกษาดูงานภายในพื้นที่ จึงเป็น ทีม ่ าให้เกิดโฮมสเตย์ภายในต�ำบล เพือ ่ รับแขก ของเทศบาลเป็นการเฉพาะกิจ

86 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 87


โฮมสเตย์พ่ยี ุ พา

บ้านพักทีเ่ ราก�ำลังพาไปเยีย ่ มชมนีโ้ ดดเด่น ด้วยสีชมพู ชนิดที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ ไกลๆ ตัวบ้านตั้งอยู่อย่างสันโดษกลางที่ราบ ตกแต่งด้วยสนามหญ้าเขียว รายล้อมไม้ดอก นานาชนิด สัมผัสได้ถงึ ความรืน ่ รมย์ซงึ่ เจ้าของ บรรจงสร้างขึ้นมา “บ้านนี้อยู่มา 18 ปีแล้ว พี่ออกแบบทุก อย่าง ท�ำเป็นทรงปั้นหยา แล้วเมื่อก่อนแถวนี้ เป็น ทุ ่ง นาหมด บ้า นนี้ เ ป็น หลั ง แรกที่ เ ข้า มา บุกเบิก ช่วงแรกคนเลยนึกว่าเป็นศาลากลาง แล้วด้วยความทีช่ อบธรรมชาติ พีก ่ จ็ ะเอาต้นไม้ ดอกไม้มาลง ซึง่ ทัง้ หมดนีพ ้ เี่ ป็นคนปลูกด้วยมือ ของตัวเอง” ยุพา เผ่าไพ่ เจ้าของบ้านเล่า ด้ว ยเสน่ห ์อั น น่า หลงใหลนี่ เ อง ท� ำ ให้ เทศบาลต�ำบลโพรงมะเดื่อ ตัดสินใจชักชวน พี่ ยุ พ าเข้า ร่ว มโครงการโฮมสเตย์ เพื่ อ เป็น สถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งจะแวะ 88 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ยุพา เผ่าไพ่

เวียนมาเยี่ยมชมพื้นที่ โดยที่นี่มีจุดเด่นส�ำคัญ คื อ ความสะดวกสบาย สามารถรองรั บ คน มาพักได้ถึง 6 คน แบ่งเข้าพักใน 2 ห้องนอน ทุ ก ห้อ งมี เ ครื่ อ งปรั บ อากาศ มี สั ญ ญาณ อินเทอร์เน็ตรองรับ “บ้านนีเ้ น้นความสะอาด เข้ามาจะเห็นเลย ว่าสะอาดตา สะอาดเท้า ห้องนอนทั้งสองห้อง ถึงจะไม่มีคนนอน พี่ก็เปลี่ยนผ้าปูอยู่เสมอ ที่ ส�ำคัญบ้านนี้ลมโกรก เย็นสบาย เพราะว่าเรา สร้างบ้านตามต�ำแหน่งฮวงจุ้ยเลย” เจ้าของ บ้านกล่าวอย่างอารมณ์ดี นอกจากนี้ หากใครได้มาแวะเวียนหรือพัก ที่ นี่ พี่ ยุ พ าจะแสดงฝีมื อ การท� ำ อาหารให้ รับประทาน โดยอาหารเช้ายึดหลัก อาหารเผ็ด 1 อย่า ง อาหารจื ด 1 อย่า ง และมี อ าหาร ประเภทน�้ ำ อี ก 1 อย่า ง เพราะฉะนั้ น งานนี้ แขกเหรื่อเตรียมน�้ำหนักขึ้นกันได้เลย เพราะ พีย ่ พ ุ าบอกว่า น้อยๆ ไม่ทำ� ท�ำแต่เยอะๆ เท่านัน ้


โฮมสเตย์พ่ยี ุ

พี่ยุ

เจ้าของบ้านหลังนี้คือคนเดียวกับเจ้าของ ร ้า น อ า ห า ร พิ ม พ ์ร ส ที่ เ ร า ก� ำ ลั ง จ ะ พ า ไ ป รับประทาน กานต์น ภั ส กรุ ด พิ ศ มั ย หรื อ พี่ ยุ เป็น คนอารมณ์ดี มีความห้าวความเท่อยู่ในตัว โดย บ้านของพี่ยุมีชื่อเก๋ไก๋ว่า ‘เรือนรมย์’ ที่ให้นาม โดยราชบัณฑิตอาวุโส ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ซึ่งเป็นแขกประจ�ำของ ร้านอาหารพิมพ์รส บ้านพี่ยุตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ต�ำบลโพรงมะเดื่อ เป็นบ้านเดีย่ ว 2 ชัน ้ ประกอบไปด้วย 3 ห้องนอน 2 ห้องน�้ำ 1 ห้องพระ สามารถรับแขกได้มาก

ถึง 8 คน ทุกห้องนอนมีเครื่องปรับอากาศ ติดพร้อม ส�ำหรับการดูแล ระดับพี่ยุเรียกว่าเต็มที่ หากอยากรั บ ประทานอาหารอะไรให้บ อก ขาดเหลืออะไรให้ถาม ให้อยู่ประหนึง่ บ้านของ ตัวเอง “ปกติมีเพื่อนจากต่างถิ่นมาพักบ้าง แต่ ส่วนใหญ่บ้านจะว่าง เพราะพี่อยู่คนเดียว เลย เปิด โฮมสเตย์ ธรรมชาติ ข องพี่ ช อบคุ ย ชอบ สังสรรค์ มีเพื่อนเยอะๆ ยิ่งดี ที่ส�ำคัญเรายึด หลั ก ความสะดวกสบาย มี อ ะไรก็ คุ ย กั น ได้ หมด” พี่ยุเจ้าของบ้านกล่าวทิ้งท้าย คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 89


90 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


อาหารการกิน Where to eat

การั น ตี ด ้ว ยความเป็น ชุ ม ชนกึ่ ง เมื อ งที่ มี ถนนสายหลักพาดผ่าน กับไลฟ์สไตล์ของผู้คน ที่ ค ล้า ยคลึ ง คนเมื อ ง ท� ำ ให้มี ร ้า นอาหาร จ�ำนวนมากเกิดขึน ้ แต่ละร้านมีจด ุ เด่นแตกต่าง กันไป เราโชคดีมีโอกาสไปหลายร้าน แต่ละที่ เป็นอย่างไร คงต้องติดตามกัน

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 91


ร้านอาหาร เป็ดสมทรง

อ ย ่า ง ที่ ท ร า บ กั น ไ ป แ ล ้ว ว ่า ต� ำ บ ล โ พ ร ง ม ะ เ ดื่ อ มี พื้ น ที่ อ ยู ่ทั้ ง ส อ ง ฝ ั่ง ถ น น เ พ ช ร เ ก ษ ม ส า ย ห ลั ก ร า้ น ค ้า ต ล อ ด จ น ร้านอาหารจึงมากเป็นพิเศษ ร้านแรกที่จะพา ไปชิมอยู่ริมถนนเพชรเกษมฝั่งขาออก บริเวณ ต�ำบลหนองดินแดง ชื่อร้านเป็ดสมทรง โดย ถึ ง แม้ร ้า นจะเปิด มาได้เ พี ย ง 3 ปี แต่ก็ มี ประวั ติ ก ารท� ำ เป็ด ย่า งมาไม่ต�่ ำ กว่า 40 ปี ส่งเข้าร้านอาหารต่างๆ ทั่วจังหวัดนครปฐม สมทรง เตียนส�ำรวย และ กัลป์ฐวรรษน์ เตี ยนส� ำ รวย สองพ่อลูก เจ้าของร้านเล่าว่า ที่ร้านวันหนึ่งใช้เป็ด 15 ตัว เพื่อท�ำทั้งเป็ดย่าง และเป็ดพะโล้ โดยมีเคล็ดลับส�ำคัญทีท ่ ำ� ให้เนือ ้ หวาน นุ่ม หนังกรอบ แม้จะทิง้ ไว้สก ั พักแต่กย ็ งั สั ม ผั ส ได้ถึ ง ความอร่อ ยไม่เ ปลี่ ย นแปลง นอกจากเป็ด ย่า ง เป็ด พะโล้แ ล้ว หมู ก รอบ หมูแดงของทีน ่ ก ี่ ย ็ งั ขึน ้ ชือ ่ โดยเฉพาะหมูกรอบ ที่หนังกรอบ จิ้มกับน�้ำจิ้มเลิศรสที่ร้านเตรียม ไว้ให้ ส� ำ หรั บ ร้า นเป็ด สมทรงแห่ง นี้ ตั้ ง อยู ่ใ น พืน ้ ทีต ่ ำ� บลหนองดินแดง ถนนเพชรเกษม กม.15 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-17.00 น. 92 92| คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


ร้านอาหาร บ้านริมบึง คงไม่ผิดหากจะบอกว่า ชื่อของร้านริมบึง นัน ้ มาจากทีต ่ งั้ โดยแท้ ด้านหน้าติดบึงลาดโพธิ์ (โสภณพัฒนา) ส่วนด้านหลังก็เป็นบึงที่ทาง ธนกร ดีประทีป เจ้าของร้านขุดขึน ้ มาเอง โดย ในบึงมีทั้งปลา ฝูงเป็ด และห่าน ส่งเสียงร้อง อย่างเริงรืน ่ ท�ำให้ทน ี่ ม ี่ บ ี รรยากาศแสนรืน ่ รมย์ ใครได้แวะเข้ามาย่อมต้องเจริญอาหาร ส�ำหรับร้านบ้านริมบึงแห่งนี้ เปิดท�ำการ มาได้ 15 ปีแล้ว มีการพัฒนาอย่างต่อเนือ ่ งจาก ร้านกระต๊อบขนาดเล็ก กลายเป็นสวนอาหาร ขนาดใหญ่ที่มีทุกอย่างรองรับพร้อมสรรพ “ที่ นี่ มี ทั้ ง โซนริ ม น�้ ำ โซนอาคาร ห้อ ง คาราโอเกะ ห้องจัดเลีย ้ ง ทีส ่ ำ� คัญเรามีกจิ กรรม ค่อนข้างเยอะ อย่างดนตรีสด ก็มีตั้งแต่ 6 โมง ไปจนถึง 5 ทุ่ม และช่วงเทศกาลส�ำคัญ ก็จะมี

กิจกรรมพิเศษบ้าง มีลดแลกแจกแถมอยู่เสมอ อย่า งวั น แม่ที่ ผ ่า นมาก็ ล ด 15 เปอร์เ ซ็ น ต์” ธนกรว่า แต่ถึงบรรยากาศจะโดดเด่นเพียงใด ทว่า สิ่งที่มัดใจให้ผู้คนแวะเวียนมาที่นี่อยู่เสมอ คือ รสชาติของอาหาร เพราะแม่ครัวคนเดิมอยู่มา ตั้งแต่ก่อตั้ง กล้ารับประกันความอร่อย เมนู แ นะน� ำ มี ตั้ ง แต่แ กงส้ม ปู ไ ข่ กุ ้ง เผา ปลากะพงทอดน�ำ้ ปลา โดยเคล็ดลับคือวัตถุดบ ิ ที่สดใหม่ ปรุงกันสดๆ ไม่มีท�ำทิ้งไว้แน่นอน ปัจจุบันร้านบ้านริมบึงเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 11.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืน แต่หาก คนไหนติดลมกับบรรยากาศ ก็สามารถนั่งยาว ได้ถึง ตี 1 ทางร้านยินดี

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 93


ศุภลักษณ์ กระสาราศร

ร้านเจ๊จี ไก่ย่างบุ รีรัมย์ ความที่ เ ป็น พื้ น ที่ เ มื อ ง มี ค นอยู ่อ าศั ย จ�ำนวนมาก ร้านอาหารจึงมีมากตามไปด้วย และอาหารชนิดหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้เลยไม่ว่า จะอยู่ที่ใดของประเทศไทย คืออาหารอีสาน ซึ่งที่นี่มี ร้านเจ๊จี ไก่ย่างบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ที่ชุมชน บ้านนา หมู่ท่ี 1 ต�ำบลโพรงมะเดื่อ เปิดให้ บริการยาวนานถึง 9 ปีเต็มแล้ว ศุภลักษณ์ กระสาราศร ในฐานะตัวแทน คุณแม่ รุจี กระสาราศร เจ้าของร้าน เล่าว่า สมัยก่อนร้านไก่ย่างบุรีรัมย์เป็นของคนอื่น ซึ่ง มาเช่าพื้นที่ของแม่ของรุจีทำ� ร้าน แต่ภายหลัง เจ้า ของเดิ ม เดิ น ทางกลั บ บ้า นที่ ต ่า งจั ง หวั ด แม่ของรุจีจึงรับเซ้งมาท�ำต่อ โดยมีการปรับ เปลี่ ย นเมนู อ าหาร และรสชาติ ข องอาหาร ที่ ป ระยุ ก ต์ใ ห้เ ข้า กั บ คนภาคกลางมากขึ้ น รวมไปถึ ง กรรมาวิ ธี ใ นการท� ำ เน้น ให้ถู ก 94 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

สุขอนามัย และใช้สมุนไพรมากขึ้น “เหตุที่เราไม่ได้เปลี่ยนชื่อ เพราะมีฐาน ลู ก ค้า เดิ ม อยู ่แ ล้ว ซึ่ ง พอเรามาต่อ ก็ ไ ด้รั บ การตอบรับที่ดี มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามา” ลูกสาว เจ้าของร้านฉายภาพให้เห็น เมนูเด็ดมีทั้งส้มต�ำ ไก่ย่าง ปลาเผา ลาบ น�้ำตก คอหมูย่าง ต้มแซบ ลาบปลาดุก และ อื่นๆ อีกมาก ที่สำ� คัญยังมีเมนูของหวาน ทั้ง รวมมิตร ไอศกรีมทรงเครื่อง และผลไม้ ไว้ให้ บริการอีกด้วย ปัจจุบน ั ร้านเจ๊จี ไก่ย่างบุรรี ม ั ย์ เปิดบริการ ทุ ก วั น ยกเว้น ช่ว งวั น ที่ 15 และ 16 ของ ทุกเดือน เปิดตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. นอกจากนี้ ทีร่ ้านยังมีบริการอินเทอร์เน็ตให้ใช้ กันฟรีๆ ถือเป็นของแถมส�ำหรับลูกค้าทุกท่าน อีกด้วย


พิมพ์รส การเดินทางมาทีร่ ้านพิมพ์รสค่อนข้างยาก สั ก หน่อ ย จากถนนเพชรเกษมฝั่ง ขาเข้า กรุงเทพฯ จะมีห้างค้าส่งสีขาวแดง ให้เลีย ้ วเข้า ซอยนั้น ตรงเข้าไปเรื่อยๆ ราว 5-7 กิโลเมตร อยู่ค่อนข้างลึกก็จริง แต่เชื่อเถอะว่า หากใคร ได้ลิ้ ม ลองอาหารของร้า นพิ ม พ์ร สสั ก ครา ต่อให้ล�ำบากเพียงใดก็ต้องดั้นด้นมาอีกอยู่ดี เพราะร้านอาหารแห่งนี้ไม่ได้โดดเด่นเฉพาะ อัธยาศัยของเจ้าของร้าน เรื่องรสชาติอาหาร ก็ไม่เป็นสองรองใครเหมือนกัน กานต์นภัส กรุดพิสมัย หรือพี่ยุ เล่าว่า ร้านนีเ้ ปิดท�ำการมาตัง้ แต่ปี 2534 ตัง้ อยู่หมู่ที่ 8 บ้านไร่เก่า โดยแต่ก่อนท�ำเป็นร้านเล็กๆ ขาย ก๋วยเตี๋ยว ขายลาบ ข้าวขาหมู หลังจากนั้นก็ เริ่มเขยิบมาทีละนิด มาเป็นร้านอาหารจริงจัง ในปี 2537 “พิ ม พ์ร สนี้ เ ป็น ชื่ อ ที่ ท ่า น เสฐี ย รพงษ์ วรรณปก เมตตาตั้ ง ให้ จ� ำ ได้ว ่า ตอนที่ ม า

รั บ ประทานที่ นี่ พอกิ น เสร็ จ คิ ด เงิ น ท่า นก็ ถามหาว่าใครเป็นเจ้าของร้าน แล้วก็ถามต่อ ว่ายังไม่มีชื่อร้านใช่ไหม เราก็บอกว่าใช่ ท่านก็ ตั้งชื่อนี้ให้” ส่วนเมนูที่ใครมาแล้วพลาดไม่ได้เด็ดขาด ก็คอ ื กุ้งพล่า ปลาช่อนย�ำ ไก่รวนเค็ม นอกจากนี้ ยังมีเมนูพเิ ศษทีเ่ จ้าของการันตีว่าถึงจะท�ำยาก เพียงใด แต่ก็คุ้มค่ากับการรอ คือ ขาหมูอบ หนังกรอบเนื้อนุ่ม อบด้วยเครื่องสมุนไพรจีน 8 ชนิด ใช้เวลาท�ำนานนับชั่วโมงเลยทีเดียว นอกจากนี้หลังอาหาร ยังมีมะช่วงแช่อิ่ม สูตรเด็ดของที่ร้าน ที่รับประกันความสะอาด โดยก่อ นเสิ ร ์ฟ ทางร้า นจะน� ำ ไปแช่ช ่อ งเย็ น เพื่อให้มีเกร็ดน�ำ้ แข็งเกาะ กินแล้วสดชื่น ร้านพิมพ์รส เปิดท�ำการทุกวัน ไม่เว้นวัน หยุ ด ราชการ ตั้ ง แต่ 09.00-22.30 น. เช่นเดียวกับเจ้าของร้านที่มักมารับแขกด้วย ตัวเองเสมอ

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 95


ร้านก๋วยเตี๋ยวรถนครปฐม

สมพร ก่อกุลน�ำชัย

96 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

เราแวะเวี ย นมาที่ วั ด โพรงมะเดื่ อ พลั น สายตาก็ ไ ปเห็ น รถกระบะคั น หนึ่ ง จอดอยู ่ หลังรถเปิดเป็นครัวท�ำก๋วยเตี๋ยว ดูแปลกตา และน่าสนใจ ข้างตัวรถมีโต๊ะหลายตัว อาศัยร่ม เงาของไม้ใหญ่ เรารู้สึกอยากลองขึ้นมาทันที สมพร ก่อกุลน�ำชัย เจ้าของรถก๋วยเตี๋ยว บอกว่าเมนูที่นี่มีหลากหลายให้เลือกสั่ง ตั้งแต่ เย็นตาโฟทะเล ซึ่งใส่ทั้งหมึกสด กุ้งสด ลูกชิ้น ป ล า น อ ก จ า ก นี้ ก็ มี ก ๋ว ย เ ตี๋ ย ว ลู ก ชิ้ น ห มู ก๋วยเตีย ๋ วต้มย�ำ บะหมีเ่ กีย ๊ วหมูแดง ครบเครือ ่ ง “พี่ ข ายมาตั้ ง แต่ป ี 2544 โดยแต่ก ่อ น พีช่ ายเป็นคนขาย ตอนหลังพีช่ ายไปท�ำร้านขาย ข้าวกับครอบครัว ก็เลยให้พม ี่ าอยู่ขายทีน ่ แี่ ทน ตอนนัน ้ ไม่เคยขายของมาก่อน แต่ฝึกมาเรือ ่ ยๆ ใช้สูตรที่บ้านมาท�ำ แต่บอกไม่ได้ว่าอร่อยหรือ เปล่า เพราะคนเรามีความชอบไม่เหมือนกัน” ที่ ร า้ นมี ใ ห้บ ริ ก ารน�้ ำ ดื่ ม ฟรี และยั ง มี เก๊กฮวย โอเลี้ ย ง ชาด� ำเย็น ในราคาสบาย กระเป๋า ปัจจุบันร้านเปิดบริการตั้งแต่วันอังคารอาทิตย์ 09.00-15.00 น. แต่ถ้าของหมด ก็เก็บไว ใครอยากมาลิ้มรส รีบๆ มาหน่อย แล้วกัน


แซ่ บนัว ครัวบ้านนา ภาสกร สุจริตบรรณ

แซ่บนัว ครัวบ้านนา โดดเด่นด้วยสไตล์ อันเป็นเอกลักษณ์ ผสมผสานความร่วมสมัยไว้ กับกลิน ่ อายย้อนยุคของวันเก่า โดยร้านนีต ้ งั้ อยู่ หมู่ที่ 1 เปิดท�ำการวันที่ 9 กันยายน 2553 ภาสกร สุจริตบรรณ เล่าว่า จริงๆ แล้ว จบด้านกราฟฟิกดีไซน์ เคยมีประสบการณ์ด้าน การท� ำ รายการอาหารมาบ้า ง จึ ง ค่อ ยๆ เก็บเกีย ่ วความรู้ต่างๆ ทีละน้อย จนสบช่องเปิด เป็นร้านอาหารของตัวเองขึ้นมา “ช่วงแรกเราเน้นการท�ำตลาดก่อน ลองหา ก่อ นว่า อาหารแบบไหนที่ จ ะเหมาะกั บ คน แถวนี้ ในที่ สุ ด ก็ ไ ด้เ ป็น อาหารฟิว ชั่ น ไทย ประยุกต์ ซึ่งแม้ชื่อเราจะเป็นอาหารอีสาน แต่ ความจริงเรามีอาหารนับร้อยรายการ ทั้งปลา กบ อาหารป่า อาหารจีน อาหารอีสาน และ

ด้วยความที่แฟนผมเขาเป็นชนลาวครั่ง เราจึง น� ำ วิ ถี ชี วิ ต และเอาชื่ อ ที่ ส อดคล้อ งกั บ คน สอดคล้องกับอาหารเข้ามา” ส่ว นอาหารเด่น ๆ ก็ จ ะมี อ อเดิ ร ์ฟ อี ส าน ซึ่งมีทั้งส้มต�ำข้าวโพด ลาบหมู ไส้กรอกอีสาน แ ล ะ แ ห น ม ซี่ โ ค ร ง อ ่อ น น อ ก จ า ก นี้ ยั ง มี ค อ ห มู น�้ ำ ต ก ก ร ะ ท ะ ร ้อ น ถื อ เ ป ็น เ ม นู ที่ สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ มีเฉพาะที่นี่เท่านั้น และ ที่ ข ายดี สุ ด คื อ ปีก ไก่ท อด ซึ่ ง หมั ก เครื่ อ ง สมุนไพร ส�ำหรับร้านแซ่บนัว ครัวบ้านนา เปิดให้ บริการทุกวัน ตั้งแต่ 10.00-22.00 น. ใคร ก� ำ ลั ง มองหาร้า นที่ มี บ รรยากาศดี อาหาร แปลกใหม่ เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ มาทีน ่ ี่ รับรองไม่มีพลาด คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 97


ท่องเที่ยวชุมชน Sightseeing

98 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ


ที่ นี่ ไ ม่มี แ หล่ง ท่อ งเที่ ย วธรรมชาติ หรื อ สถานทีน ่ ่าตืน ่ ตาตืน ่ ใจ ด้วยเป็นชุมชนอยู่อาศัย เช่นนั้นแล้วเราจึงพามาเยือนสถานที่ซึ่งผูกพัน กับวิถช ี วี ต ิ ของผู้คน โดยเราไปเยีย ่ มชมวัดพุทธ สองแห่ง และวัดคริสต์อีก 1 แห่ง

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 99


วัดโพรงมะเดื่อ วัดส�ำคัญในพืน ้ ทีเ่ ทศบาลต�ำบลโพรงมะเดือ ่ สร้างขึน ้ ตัง้ แต่ปี 2371 โดยคนรุ่นเก่าเล่าว่า แต่ เดิมวัดโพรงมะเดื่อนี้ตั้งอยู่ตรงหมู่บ้านพลับ หรือบ้านหนองหิน พอต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่ ท้ายบ้านหนองฉิม ทว่าพืน ้ ทีต ่ รงนัน ้ เป็นเนินสูง ไม่สะดวกแก่การเดินทางของศาสนิกชน จึงโยก ย้ายอีกครัง้ มาอยู่ทต ี่ ลาดโรงสีมาจนถึงทุกวันนี้ ป ัจ จุ บั น วั ด โ พ ร ง ม ะ เ ดื่ อ แ ห ่ง นี้ มี พระมหาประสิทธิช ์ ย ั ปณฺฑโิ ต เป็นเจ้าอาวาส ซึ่ ง ที่ ผ ่า นมาท่า นได้พ ยายามสร้า งสรรค์ โครงการที่ มี ป ระโยชน์ โดยเฉพาะการ พั ฒ นาวั ด ให้เ ป็น แหล่ง เรี ย นรู ้ข องประชาชน ผ่านจุดแข็งต่างๆ อาทิ การใช้สื่อธรรมชาติ 100 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

ความสงบ สะอาดร่มรื่น ภูมิทัศน์อันสวยงาม เพื่อชักจูงให้ประชาชนหันมาปฏิบัติธรรมมาก ขึ้น รวมไปถึงการผลิตสื่อธรรมรูปแบบต่างๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึ ง ศู น ย์ศึ ก ษาพระพุ ท ธศาสนาวั น อาทิตย์ เพื่อเผยแพร่หลักธรรมค�ำสอนของ พระพุทธองค์แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ วั ด ยั ง ได้จั ด พื้ น ที่ ข ้า งวั ด เป็น พืน ้ ทีอ ่ ภัยทาน ซึง่ มักจะมีผ้น ู ำ� วัว ควาย ไก่ เป็ด ซึ่ ง ไถ่ถ อนมาจากโรงฆ่า สั ต ว์ม าปล่อ ย ซึ่ ง พระภิกษุสามเณรกว่า 50 รูป เป็นผู้ที่คอย ช่วยกันดูแล


พระมหาประสิทธิ์ชัย ปณฺฑิโต

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 101


วัดหว้าเอน

วัดเก่าแก่ซงึ่ สร้างมาตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ 5 เดิ ม เป็น เพี ย งแค่ส� ำ นั ก สงฆ์เ ล็ ก ๆ ต่อ มาจึ ง พัฒนาเป็นวัดในปี 2445 โดยมีหลวงพ่อก๋ง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก วัดหว้าเอนถือเป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งมีบทบาท ส�ำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะเคยถูกใช้ เป็นสถานที่ฝึกซ้อมและพ�ำนักของกองเสือป่า ในสมัยรัชกาลที่ 6 นอกจากนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่อง ของวั ต ถุ ม งคลต่า งๆ ไม่ว ่า จะเป็น เหรี ย ญ 102 102 | คื|อคืเค้อาเค้ โครง าโครง แห่แห่ งโพรงมะเดื งโพรงมะเดื ่อ ่อ

กงจักร ซึ่งว่ากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่อง ปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาด ปัจจุบน ั วัดหว้าเอน มีพระครูโสภณสิรค ิ ณ ุ หรือพระอาจารย์ทองเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่าน ให้ค วามส� ำ คั ญ กั บ เรื่ อ งการศึ ก ษามากเป็น พิเศษ โดยจัดให้มีการแจกทุนการศึกษาแก่ นักเรียนที่ยากจนและด้อยโอกาสเป็นประจ�ำ ทุ ก ปี รวมทั้ ง ยั ง จั ด พื้ น ที่ วั ด เป็น ศู น ย์ร วมให้ ศาสนิกชนได้ปฏิบต ั ศ ิ าสนพิธด ี ้วยความสะดวก สบายอีกด้วย


พระครูโสภณสิริคุณ

คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ | 103


วัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน

คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย

ที่น่ีเป็นศูนย์รวมของคริสต์ศาสนิกชนใน พืน ้ ที่ ก่อตัง้ ขึน ้ โดย คุณพ่อยอแซฟ ชิน นักบวช เชื้ อ สายจี น ซึ่ ง เวลานั้ น ท่า นเป็น เจ้า อาวาส วั ด ดอนกระเบื้ อ ง และมี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะไป เผยแพร่ศาสนาในหมู่ชาวจีน จนได้เดินทาง มายังบ้านหนองหิน หมู่ที่ 13 ปักหลักและ เผยแพร่หลักธรรมอยู่ทน ี่ ี่ ก่อนจะสร้างวัดเล็กๆ ขึน ้ ในเดือนกันยายน 2432 เรียกว่าวัดหนองหิน เป็นวัดสาขาของวัดดอนกระเบื้อง ต่อมาคุณพ่อตารดิแวล ได้รับแต่งตั้งให้ เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนกระเบื้องและวัดสาขา แทน ท่านได้จด ั ซือ ้ ทีด ่ น ิ หลายแปลงเพือ ่ เตรียม ส�ำหรับสร้างวัดที่สมบูรณ์ขึ้น เพราะเวลานั้น

104 | คือเค้าโครง แห่งโพรงมะเดื่อ

สภาพของวั ด เป็น เพี ย งห้อ งเล็ ก ๆ มุ ง ด้ว ย ใบตาลเท่านั้น และสามารถสร้างวัดแห่งที่ 2 เสร็จเรียบร้อยในปี 2446 พร้อมเปลีย ่ นชือ ่ วัด ใหม่ เป็นวัดพระตรีเอกภาพ ปัจจุบน ั วัดพระตรีเอกภาพ มีคณ ุ พ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งนอกจากจะ เป็นพื้นที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนกิจแล้ว ยัง มีโรงเรียนบอสโกพิทก ั ษ์อยู่ในการดูแลอีกด้วย โดยโรงเรี ย นแห่ง นี้ ก ่อ ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ ปี 2489 ถื อ เป็น โรงเรี ย นที่ มี ค วามโดดเด่น และมี ชือ ่ เสียงทางวิชาการและกีฬา ยืนยันจากการที่ ได้รั บ รางวั ล โรงเรี ย นพระราชทานถึ ง 3 ปี ด้วยกัน


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.