PIE magazine issue 15

Page 1

| CREATIVE WORKING & LIVING LIFE STYLE in bangkok| FREE & ONLINE ONLY | PIEEVERYDAY.com | facebook.com/piemagazine2013 |

ISSUE 15 definition of thinking

MAR 21 05

afterword Sarin Tgamol textile design yeungs’tudio Manita Songserm Oat Montien Atelier 2+


WEl com e to PI E

2 0 1 5

02


en jo y y our re a d i ng

ti me

03


EDITOR’S TALK สวัสดีครับ และขอบคุณที่ติดตามอ่านนิตยสารออนไลน์ ของเรา ในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้ มีน้องๆ มาขอฝึกงานกับ PIE กันหลายคน น่าเสียดายที่ต้องปฏิเสธไป เนื่องจาก ทีมงานเรามีกันน้อยมาก (สองคนนี่เรียกทีมได้ไหม) และยัง ไม่มีออฟฟิศที่แน่นอน ส่วนมากจะทำ�กันที่บ้าน เลยคิดว่า น้องๆ น่าจะไปฝึกงานกับบริษทั หรือสำ�นักพิมพ์ทมี่ อื อาชีพ ทำ�งานเป็นระบบกว่าเราจะดีกว่า เอาล่ะครับ ว่ากันอีกเรื่อง ในปีนี้มีโครงการในหัวเยอะมาก เริ่มจากจะปรับให้นิตยสาร PIE เป็นรายเดือน (ดีไหมครับทุกท่าน) อีกอย่างก็อยาก พิมพ์ PIE ออกมาเป็นเล่มสักเล่มหนึ่ง อาจจะรวมผลงาน และบทสัมภาษณ์จากทีผ่ า่ นๆ มา หรือไม่กค็ ดิ จะจัดกิจกรรม Workshop Meeting แลกเปลี่ ย นมุ ม มองความคิ ด สร้างสรรค์กัน ใครสนใจหรือมีความคิดเห็นอะไรน่าสนใจก็ บอกต่อมาทางเพจเฟซบุก๊ ของ PIE ได้นะครับ ปีนเี้ รายังไม่ได้ ออกไปหาผู้สนับสนุนใจดี ถ้าท่านใดสนใจเป็นผู้สนับสนุนก็ ติดต่อได้อีกเช่นกันนะครับ (หัวเราะแห้งๆ) สุดท้ายนี้ ขอให้ สนุกสนานกับการอ่าน และหวังว่าทุกคนจะได้รบั แรงบันดาลใจ ดีๆ เอาไปปรับใช้ในชีวิตกันนะครับ ขอบคุณครับ

สุรเชษฐ์ ศิลปบรรเลง PIE MAKER

04


issue # 15 www.pieeveryday.com pie online magazine

contents afterword sarin tgamol

manita songserm yeungs’studio oat Montien atelier2+

PIE ONLINE MAGAZINE

100/99 ChaiyaPruk Village’ soi 55 Sukapibal 5 road, O-ngoen, saimai, bangkok, thailand , 10220

tel : 08 0233 5492 E-MAIL : pieonlinemag@gmail.com www.pieeveryday.com www.facebook.com/piemagazine2013 IG : PIEONLINEMAGZINE

05


Inspiration And Idea Need You Support Contact Us At pieonlinemag@gmail.com

THANK YOU

06


Being A Light To The World #2 BY Newlights Production

สำ�หรับผู้ชื่นชอบบทเพลงล่องลอยแนว Post-rock, Instrumental และ Ambient ทางค่ายเพลง Newlights Production (นำ�ทัพโดย ฮอน-ณรงค์ฤทธิ์ อิทธิพลนาวากุล แห่งวง Hope the f owers) มีอัลบั้มเด็ดในนาม Being A Light To The World #2 มาให้ฟัง อัลบั้มชุดนี้ป็นการรวบรวมวงดนตรี สายดนตรีบรรเลงจาก ทั่วโลก หลังจากครั้งแรกได้รวบรวมวงจากฝั่งเอเชีย แนวคิดที่ทำ�อัลบั้มนี้ขึ้นมา เป็น เพราะทางค่ายมีความเชือ่ ว่า วงดนตรีในประเทศและต่างประเทศเอง ก็อยากจะเผยแพร่ ผลงานให้คนทั่วโลกได้รู้จักในผลงานของตนเอง และนี่ก็คืออีกหนึ่งช่องทางที่อาจจะ ช่วย อาจจะไม่มากทีจ่ ะทำ�ให้วงดนตรีเหล่านัน้ เป็นทีร่ จู้ กั มากขึน้ ในโลกใบนี้ โดยในครัง้ นี้ มีวงดนตรีที่สนใจและเข้าร่วมมากมาย มีดังนี้ Anoice from Tokyo, Japan Pray for Sound from Boston, United State This Patch of Sky from Eugene, OR, United State Mental Architects from Sofia, Bulgaria Then They Flew from Lisbon, Portugal Under The Big Bright Yellow Sun from Banduang, Indonesia Monoceros from Tepic Nayarit, Mexico Waves from Munich, Germany Hope the flowers from Samut Prakan, Thailand sugar analog from Lopburi, Thailand Sound Awakener from Hanoi, Vietnam

เข้าไปฟังกันได้ที่ https://newlightsproduction.bandcamp.com/album/being-a-light-to-the-world-2 www.facebook.com/NewlightsProductions

07


LOLO : The Capsule Kitchen

ห้องครัวน้อยสุดกระทัดรัดน่ารัก LOLO The Capsular Microkitchen ออกแบบโดย Aotta Studio จากมอสโคว ตู้ใส่ของในห้องครัวขนาดเล็ก อเนกประสงค์ทำ�ด้วยไม้ ที่น่ารักด้วยการเพ้นท์ใบหน้าลงบนตู้สีสันสดใส ซึ่ง เขาจัดสรรพื้นที่ในการวางสิ่งของและลิ้นชักเครื่องครัวได้แบบ all-in-one ไม่ว่าจะวางจานชาม ถ้วยกาแฟสุดเก๋ ไมโครเวฟ ฯลฯ สะดวก ประหยัดพื้นที่ และน่ารักขนาดนี้ติดตามได้ที่ www.aotta.com

08


KISS: Face Pack

เป็นที่รู้กันอยู่ว่าสาวๆ นั้นรักสวยรักงามขนาดไหน บางคนต้อง มาส์กหน้าทุกวัน โดยเฉพาะสาวญี่ปุ่น Isshin Do Honpo Inc. เขาเลยได้ไอเดียสนุกๆ ทำ�มาส์กหน้าเป็นลายเพ้นท์แบบต่างๆ ซะเลย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีมาส์กแปลกๆ ให้เห็นกันแล้วเช่น มาส์กรูปสัตว์ หรือ มาส์กหน้าละครคาบูกิ ที่ได้รางวัล Good Design Award 2014 ตอนนี้ก็เป็นคิวของวงอเมริกันร็อกระดับตำ�นานอย่าง วง KISS ที่โด่งดังมากๆ ในญี่ปุ่น มี 4 ลายด้วยกัน เก๋ เท่สุดๆ สาวๆ คนไหนอยากเปลี่ยนสไตล์เป็นชาวร็อกก็ลองกันดูได้ แต่อย่า เผลอหัวเราะเชียวเดี๋ยวหน้าจะเหี่ยวไม่รู้ตัวนะ ติดตามได้ที่ www. isshin-do.co.jp/facepack

09


010


Colorful Market in China by Richard John Seymour

ภาพถ่ายแผงลอยร้านค้าในตลาดของเมือง Yiwu ประเทศ จีน ที่เต็มไปด้วยสินค้าสีสันคัลเลอร์ฟูลเรียงรายอัดแน่นอยู่ เต็มร้าน ไม่วา่ จะเป็น ร้านดอกไม้ ร้านขายของเล่น ตุก๊ ตา ฯลฯ ผ่านเลนส์ของช่างภาพเมืองผูด้ ี Richard John Seymour และนี่เป็นเพียง 10% ของร้านค้าทั้งหมดที่มีอยู่ เห็นแค่ภาพ ยังขนาดนี้ถ้าได้เข้าไปเดินจริงๆ คงมึนน่าดู ก็แต่ละร้านของ เขาเยอะละลานตาสุดๆ ต้องงงกันบ้างล่ะ สนใจก็เข้าไปดูต่อ ได้ที่ www.richardjohnseymour.com

011


Typographic Hiragana in Gachapon

ตู้หยอดเหรียญกาชาปองเป็นที่นิยมมาก ในญี่ปุ่น มีทั้งฟิกเกอร์และตัวการ์ตูน น่ารักมากมายหลายแบบ เป็นความสนุก อย่างหนึ่งของญี่ปุ่นเลยทีเดียว และนี่ เป็นโปรเจ็กต์จบของ 4 นักศึกษาของ Musashino Art University ทีพ่ วกเขา ได้น�ำ ตัวอักษรญีป่ นุ่ มาใส่ไว้ในตูก้ าชาปอง ซึ่งใช้ตัวอักษรฮิรางานะตัวแรกในภาษา ญี่ปุ่น ตัว あ (อะ) โดยใช้ฟอนต์ตระกูล Mincho และ Gothic โดยมีทั้งแบบตัว ความหนาและบางให้เลือกลุ้น (จะลุ้นไป ทำ�ไม) อันนี้ชาวโอตาคุคงจะเฉยๆ แต่ ดีไซเนอร์น่าจะกรี๊ด

012


ONE Paper Wall Lamp

อีกครั้งกับโคมไฟสุดเก๋ที่ทำ�จากกระดาษเพียงแผ่นเดียว ไม่ใช่ใครอื่น YOY สตูดิโอออกแบบสุดเท่จากโตเกียว โดย ตัวโคมไฟนั้นทำ�จากกระดาษขนาดโปสเตอร์ไซต์ A2 เพียง แค่กรีดกระดาษตามแบบ แล้วใช้เทปติดไว้กับผนัง แถมยัง สามารถออกแบบลวดลายลงบนตัวโคมไฟกระดาษได้เอง อีกด้วย ไอเดียเก๋เท่แบบนี้ต้องลองเอาไปทำ�เองดูบ้างแล้วล่ะ หากสนใจก็เข้าไปดูได้ที่ http://yoy-idea.jp

013


FLASH : Lenny Kravitz

ให้รู้กันไปเลยว่าชีวิตที่วันๆ โดนระดมแสงแฟลตของร็อกสตาร์ เขาเป็นอย่างไรกัน จากโฟโต้บุ๊กเล่มใหม่ของ Lenny Kravitz นักดนตรี, นักแสดงสุดเท่ชาวอเมริกนั ทีเ่ กีย่ วกับเส้นทางร็อกสตาร์ ของเขาในชื่อ FLASH ภาพถ่ายแนวสารคดีในมุมมองของ Lenny ที่เขาบันทึกไว้ในโฟโต้บุ๊กเล่มนี้มีทั้งภาพการใช้ชีวิต ทัวร์ คอนเสิร์ต ภาพการบันทึกเสียงที่หาดูได้ยาก ภาพถ่ายแฟนเพลง และที่เด็ดคือภาพของเหล่าช่างภาพ แฟนเพลง และปาปารัซซี่ ที่ กำ�ลังกดชัตเตอร์ถ่ายรูปเขาอยู่ในขณะนั้นอีกด้วย จะสวยงาม น่าสนใจขนาดไหน ติดตามได้ที่ www.lennykravitz.com

014


015


Yui : animal hospital

ดูเผินๆ เหมือนเป็นหมูบ่ า้ นหลังเล็กดูสดใสน่ารัก แต่นค่ี อื Yui Animal Hospital โรงพยาบาลสัตว์ขนาดเล็กในเมืองคิโนกาวา ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบโดยบริษัทสถาปัตยกรรม Architects roote ที่ภายในมีทั้ง รีเซปชั่น ห้องตรวจ ห้องพักฟื้น ฯลฯ เรียกว่าอัดแน่นด้วยฟังก์ชั่น การใช้งานกว่า 20 ห้อง ในพื้นที่เพียง 150 ตารางเมตร แถมยัง ออกแบบให้สูงกว่าระดับพื้นดินเพื่อป้องกันน้ำ�ท่วมจากแม่น้ำ�ใกล้ๆ อีกด้วย ทั้งเก๋ไก๋ ดูดี แถมจัดสรรพื้นที่ได้คุ้มค่าน่าชื่นชมอีกต่างหาก ติดตามได้ที่ www.roote.jp

016


izabelin house : Mirror House

izabelin house บ้านพิศวงกลางป่าเขียว ที่ดู เหมือนตัวบ้านลอยอยู่บนอากาศกลางป่านี้ออกแบบ โดย บริษัท REFORM สถาปนิกจากประเทศ โปแลนด์ บ้านสองชั้นสุดเท่ที่รอบตัวบ้านชั้นล่างติด กระจกบานใหญ่สะท้อนให้เห็นป่าสีเขียวที่รายล้อมอยู่ ชั้นสองเป็นทรงสี่เหลี่ยมสีขาวเจาะหน้าต่างบานใหญ่ มองเห็นด้านในทีต่ กแต่งโดยใช้ไม้สนี �ำ้ ตาลเข้ม ตัง้ อยู่ รอบนอกของกรุงวอร์ซอ ไอเดียเก๋เหมาะกับคนรัก ธรรมชาติปา่ เขาสุดๆ เข้าไปดูตอ่ ได้ท่ี www.reform architekt.pl

017


raul lemesoff’s: ‘weapons of mass instruction’

แคมเปญ ‘Feels Good to be you’ ของ 7 UP ร่วมกับศิลปิน Raul Lemesoff สร้างสรรค์รถห้องสมุด เคลื่อนที่ ‘weapons of mass instruction’ ประดิษฐ์ รถถังจำ�ลองขึ้น แต่อาวุธของเขาไม่ใช่ปืนกลับเป็นหนังสือ ที่รายล้อมอยู่ด้านนอกตัวรถ ซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือจำ�นวน กว่า 900 เล่มสอดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นนวนิยาย บทกวี วิทยาศาสตร์ การเมือง ฯลฯ Lemesoff ขับรถตระเวน ไปทั่วอาร์เจนตินา แจกให้กับผู้คนที่ผ่านไปมาได้เปิดใจอ่าน และเอ็นจอยไปกับมัน เห็นแบบนี้แล้วก็รู้สึกฟิลกู๊ดเหมือนชื่อ แคมเปญเขาเลยจริงๆ

018


World Clock by Elevenplus

“ที่ลอนดอนตอนนี้กี่โมงแล้วนะ” หันไปมองนาฬิกา ที่ฝาบ้านก็คงไม่ช่วยอะไร และไม่ต้องนั่งนับชั่วโมง กันให้เสียเวลา เพราะดีไซน์สตูดิโอ 11+ แดนกิมจิ เขาได้ออกแบบ World Clock นาฬิกาฟังก์ชั่นเท่ ที่สามารถปรับเปลี่ยนเวลาได้ถึง 24 เมือง 12 โซน เพียงหมุนนาฬิกาไปยังชื่อสถานที่ซึ่งเขียนไว้ด้าน ข้าง จากนั้นก็กลิ้งไปมา กลไกของมันจะปรับเข็ม บอกเวลาไปตามโซนสถานที่นั้นๆ ฟังก์ชั่นเก๋ ดีไซน์ เรียบง่าย เกาหลีเขาไม่ได้มีดีแค่ซีรีส์จริงๆ คลิ๊ก เข้าไปดูได้ที่ www.elevenpl.us

019


definition of thinK

020


021


22


After word Befo re a bo

pie talk After word

คนไทยอ่านหนังสือปีละกีบ่ รรทัด?... อันนีเ้ ราก็ไม่รู้ แต่ทรี่ ู้ แน่นอนคือถ้าหนังสือในบ้านเราเมืองเรามีความหลากหลาย มากขึน้ และมีหนังสือทีแ่ ตกต่างจากในตลาดเพิม่ ขึน้ อันนี้ ต้องดีแน่ วันนี้เราเลยมาคุยกับสองผู้ก่อตั้งกลุ่มระดม ทุนสร้างสรรค์งานหนังสือในชื่อ after word โดยมี คุณหวัง-กิตติศักดิ์ ปัญญาจิรกุล และ คุณแพรวพราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ สองคนทำ�งานที่กำ�ลัง ค่อยๆ ช่วยขยับวิสัยทัศน์ทางการอ่านของคนไทยให้ ก้าวไปข้างหน้าไปอีกขั้น

23

okS


24


ชื่อ after word

รู้จักกันได้อย่างไรครับ

เรารู้จักกันตอนเรียนที่มหาลัยวิทยาลัย Stamford ที่อเมริกา เจอกันในคลาสเรียน Transformation Design เป็นวิชาทีเ่ กีย่ วกับการปรับเปลีย่ นพฤติกรรม ของคนในสังคม บังเอิญเป็นคนไทยสองคนที่ลง เรียนวิชานี้ เลยได้รจู้ กั กัน หลังจากนัน้ ก็แยกย้ายกัน แพรวก็กลับมาที่ไทย แล้วหวังทำ�งานอยู่ที่โน่น ประมาณ 3-4 ปี ก็กลับมาเมืองไทย แล้ว after word เริ่มขึ้นได้อย่างไรครับ

ช่วงที่แพรวกลับมา แพรวมาเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นช่วงที่เราต้องเริ่ม คิดแล้วว่าจะเป็นนักวิชาการเต็มตัวหรือจะไปทาง ไหนแน่ แพรวสนุกกับการสอน การอ่านหนังสือ หรือการทำ�วิจัยนะ แต่ตอนนั้นมันเริ่มมีเรื่อง ตำ�แหน่ง เรื่องความรับผิดชอบบางอย่างที่เราไม่ แน่ใจว่าอยากจะอยู่ตรงนั้น ก็คิดอยู่นาน ในที่สุด ก็ตัดสินใจลาออก มาเจอหวังที่เพิ่งกลับมาไทย พอดี เราก็มาคุยกันว่าอยากจะทำ�กิจการอะไร สักอย่าง ที่เกี่ยวกับการทำ�เพื่อสังคม จริงๆ ประเด็นปัญหาในประเทศเราก็มีเจอทั้งเรื่องการ ศึกษา เรื่องคนพิการ เรื่องสภาพแวดล้อม แต่เรา สองคนก็ติดใจเรื่องประเด็นหนังสือ ซึ่งเราสองคน ก็ชอบอ่านหนังสือกันอยู่แล้วด้วย

25

ตอนนั้นก็คิดกันอยู่หลายชื่อ แต่คนเคยบอกว่าถ้า นึกอะไรไม่ออกให้ลองเปิดหนังสือ เราก็เลยลองเปิด หนังสือดูจนเจอบทส่งท้าย หรือ “after word” เรา ก็ชอบชื่อนี้ เหมือนเราอยู่เบื้องหลังตัวหนังสือ และ คำ�นี้ออกเสียงคล้าย “afterward” ที่แปลว่า “ใน ภายหลัง” หรือ “ต่อมา” เพราะนอกจากที่เราอยาก ทำ�หนังสือแล้ว เราอยากรู้ว่าหลังจากหนังสือเล่มนั้น จะส่งผลอะไรต่อไปในสังคมด้วย จึงเลือกชื่อนี้ จุดประสงค์ของ after word

อยากให้นักเขียนและนักอ่านมีโอกาสมากขึ้น นักอ่านก็มีโอกาสในการอ่านที่มากขึ้น นักเขียนก็ มีโอกาสในการปล่อยของมากขึ้นด้วย เป็นโอกาส ใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากกำ�แพงของการพิมพ์และ การจัดหน่ายหนังสือในปัจจุบัน ทำ�ไมเลือกใช้วิธีระดมทุน ทำ�ไมไม่เปิดสำ�นักพิมพ์ไป เลยล่ะครับ

ส่วนหนึ่งเราก็ไม่มีนายทุนหรือร่ำ�รวยอะไร แล้ววิธี การทำ�สำ�นักพิมพ์เราก็ต้องมุ่งไปสู่ระบบหนังสือ แบบเดิมที่ไม่ได้ให้อะไรใหม่มากนักในเรื่องเนื้อหา แล้ววิธีการระดมทุนนี้มันสามารถทดสอบสมมติฐาน บางอย่างของเราเกี่ยวกับวงการหนังสือด้วย ได้เห็น


ฟีดแบ็กที่รวดเร็วกว่าการทำ�สำ�นักพิมพ์ ซึ่งวิธีนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกเขาก็ได้ลองใช้มาบ้างแล้ว ทั้งอเมริกา อังกฤษหรือแม้แต่สิงคโปร์ แต่ก็ต้อง ปรับใช้ไปตามบริบทของประเทศนั้นๆ ด้วย ซึ่ง จากที่เขาทำ�กัน มันก็มีทั้งหนังสือที่ระดมทุนได้ บ้างไม่ได้บ้างตามธรรมดา แต่แน่นอนว่าสิ่งที่เขา ได้คือเนื้อหาใหม่ๆ หนังสือที่แตกต่าง นักเขียน นักอ่านที่แตกต่างไปจากท้องตลาด

คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือเครียดๆ

นักอ่านหลายคนจะอ่านหนังสือค่อนข้างกว้างแต่ น้อยคนที่จะอ่านในเชิงลึก อาจด้วยเวลาที่มีจำ�กัด และมีสื่ออื่นๆ มาดึงความสนใจ การอ่านหนังสือ มันเลยถูกมองข้ามไปบ้าง แต่ถ้ามองว่าชีวิตคือการ เรียนรู้ และเชื่อในเรื่องการพัฒนาตัวเองและความ คิดมีส่วนสำ�คัญ หนังสือในเชิงลึกหรือหนังสือที่ อ่านยากๆ ก็มีส่วนจำ�เป็น เอาจริงๆ การอ่าน มัน ควรปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ นะ ในเรื่องความผูกพัน หรือประสบการณ์ร่วมที่มีกับการอ่านหนังสือ มัน มีภาพในหัวก่อนไหมว่า เราจะเลือกระดุมทุน ต้องมีการคลุกคลีระดับหนึ่ง มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ได้คุย หนังสือประเภทไหน ในตอนแรก เราก็มองกว้างๆ ไว้ก่อนนะ อยาก กับน้องๆ นักศึกษาเรื่องการอ่านหนังสือ (หนังสือ ได้ต้นฉบับใครสักคนมาลองระดมทุนดู แต่หลัง ในวิชาที่เรียนอยู่) เขาก็บอกว่าไม่อยากอ่าน มัน จากเราไปพูดคุยกับคนในวงการหนังสือเยอะมาก ยาก อยากให้หนังสือเขียนง่ายๆ อ่านง่ายๆ ซึ่ง ก็ได้เห็นช่องว่างของหนังสือบางประเภทที่น่าจะ บางอย่างมันเป็นไปไม่ได้ ทำ�ไมเขาไม่ขยับตัวเอง ขึ้นไป แต่กลับจะให้สื่อขยับลงมาหาเขา เหมาะกับช่องทางในแบบของเรา คือหนังสือ สำ�หรับเด็ก ซึ่งเป็นหนังสือที่ค่อนข้างมีน้อยใน ตลาด อาจจะด้วยเหตุผลเรื่องของกำ�ลังซื้อของ เรื่องความอยู่รอดเป็นอย่างไรบ้างครับ สำ�หรับ after word ผู้ปกครอง หรือเหตุผลทางการตลาดที่ทำ�ให้ หนังสือสำ�หรับเด็กไม่ค่อยมีในบ้านเรา เราเลย เราก็กำ�ลังอยู่ในช่วงทดลองกันอยู่ ทั้งเรื่องวิธี การนำ�เสนอ เรื่องเนื้อหา เรื่องการตลาด ในช่วงนี้ พยายามให้หนังสือประเภทนี้มีมากขึ้น จริงๆ ไม่ได้จำ�กัดแนวของหนังสือนะ เราดูจากตลาด เราก็รู้ว่าเราต้องมีโปรเจ็กต์เพิ่มขึ้นระดับหนึ่งถึงจะ อยู่ได้ เราก็พยายามกันอยู่ ที่จะคัดเลือกหรือพิมพ์ และความต้องการของผู้อ่านด้วย

26


27


28


หนังสือออกมา มีการวางแผนอยู่ตลอด และด้วยจำ�นวนหนังสือที่ เราพิมพ์ไม่มาก มันก็พอจะมีทางในการขายอยู่บ้าง ซึ่งในตลาดบ้าน เราเขาก็บอกกันว่าปราบเซียนมาเยอะ หนังสือที่น่าจะขายได้กลับ ขายไม่ได้ก็มี after word เริ่มมานานหรือยัง พิมพ์หนังสือออกมากี่เล่มแล้วครับ

เริ่มมาประมาณ 9 เดือนแล้ว ตอนนี้ก็มีหนังสือที่พิมพ์ออกมา 4 เล่ม แล้ว การจัดจำ�หน่ายเราฝากขายที่ร้านคิโนะคูนิยะ, ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ, ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์, มีจำ�หน่ายบนเว็บไซต์ after word และเราก็อยากไปจำ�หน่ายตามร้านหนังสืออิสระต่างๆ ด้วย ถ้าไม่มีเงินแต่อยากสนับสนุน after word ทำ�อย่างไรได้บ้างครับ

ช่วยประชาสัมพันธ์ ช่วยกันติชมเข้ามาก็ได้ครับ ช่วยส่งต้นฉบับกัน เข้ามา ซึ่งบางคนอาจจะไม่ใช่นักเขียนก็ได้ แต่มีเรื่องราว เนื้อหาที่ น่าสนใจ มีประเด็นในการเล่าเรื่องที่จุดประสงค์ชัดเจนในเรื่องสังคม ซึ่งในบางกรณีมีนักเขียนเข้ามาพูดคุย เราก็ติดต่อบรรณาธิการที่ น่าจะเหมาะกับงานให้ประสานงานในส่วนต่างๆ ในการผลิตหนังสือ เราอยากให้เครือข่ายของคนที่อยากเสนองานด้านหนังสือเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้เราก็จัดกิจกรรมอยู่เสมอ ที่เชิญคนในวงการหนังสือทั้งหน้า ใหม่และระดับอาจารย์มาพูดคุยให้ความรู้ ก็มาร่วมกิจกรรมกันได้

29


30


การทำ�งานแบบ after word เป็นงานเพื่อสังคมหรือเปล่า

การทำ�งานเพื่อสังคมมันก็มีนิยามของมันอยู่ แต่เราอยากจะ มองตัวเองว่า เราใช้เครื่องมือทางธุรกิจในการแก้ไขสังคม แปลว่ามันต้องให้ประโยชน์ทั้งในส่วนรวม และตัวเราก็ต้อง อยู่ได้ด้วย และเราก็อยากพิสูจน์ว่ามันทำ�ได้

31

www.facebook.com/afterword.co http://afterword.co


Swe et Thing about Change wit h Sarin Tgamol tex tile de sign 32


pie talk Sarin Tgamol

ภาพงานออกแบบสิง่ ทอหรือ Textile Design ใน ความคิดของหลายๆ คน ก็คงหนีไม่พน้ การออกแบบ ลายผ้า ปักเลื่อม ทอไหม อะไรแบบนั้น แต่ในระดับ สากลมีงาน Textile Design ที่น่าสนใจมากมาย ทั้งเรื่องเทคนิคที่ซับซ้อน วัตถุดิบที่น่าสนใจ รวมถึง คอนเซ็ ป ต์ ที่ ล้ำ � ลึ ก วั นนี้ เราเลยมาคุ ย กั บ ศิ ล ปิ น นั ก ออกแบบสิ่ ง ทอ ที่ ผ ลงานของเธอใช้ ด อกไม้ มาตกแต่งบนผืนผ้า และเทคนิคหลากหลายแบบ เล่าเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ลูกหนู-สาริน ทัศนเทพกมล ณ สตูดิโอที่เพิ่งเปิดมา ได้ปีเศษในชื่อ Sarin Tgamol textile design

33


34


PIE : ลูกหนูเรียนจบที่ไหนมาครับ แล้วทำ�งานอะไร มาก่อนครับ

เรียนจบภูมิสถาปัตฯ ที่จุฬาฯ แล้วไปทำ�งานที่ บริษัทของพี่ด้วง-ดวงฤทธิ์ บุนนาค ก็ได้ทำ�งาน Landscape Architect ส่วนมากตอนนั้นจะได้ ทำ�งานพวกรีสอร์ท เป็นงานที่สเกลใหญ่หน่อย เพราะลูกหนูไม่เก่งเรื่องลงรายละเอียดเท่าไหร่ พี่ด้วงเลยให้ลูกหนูทำ�งานสเกลใหญ่หน่อย พี่เขา ก็ให้โอกาสเราเยอะ แต่ช่วงทำ� Landscape งาน เยอะมาก รู้สึกไม่มีเวลาให้ตัวเอง ไม่มีเวลาหา ไอเดียใหม่ๆ ความรู้สึกเราก็เริ่มเปลี่ยน เริ่มเป็น การทำ�งานเพื่อรอวันหยุด แรงบันดาลใจมันเริ่ม หมด ลูกหนูเลยอยากหางานอดิเรกอะไรสักอย่าง เราสนใจเรื่อง Textile อยู่แล้ว บังเอิญมีพี่ที่รู้จัก เขาแนะนำ�ให้ไปที่สวีเดน PIE : ฟังดูตอนที่ทำ�งาน Landscape ก็ดูจะ ไปได้ดีนะ ไม่เสียดายเหรอ

มันมีวนั หนึง่ ตอนทีท่ �ำ งาน Landscape Architect อยู่ เรามองเพื่อนร่วมงานที่เขานั่งข้างๆ เรา เขา ดูไม่เหนื่อยเลยนะ เขาทำ�ได้เรื่อยๆ ทั้งที่งานเขาก็ หนักเท่าเรา ดูเขามีไอเดียใหม่ๆ ตลอด ทั้งที่เรา เหนื่อยมาก และไม่มีไอเดียหรือพลังในการทำ�งาน แบบนั้น มันก็เกิดคำ�ถามว่าสิ่งนี้มันเหมาะกับเรา จริงหรือเปล่า เหมือนยังสงสัยในความชอบของ

35

ตัวเอง เลยลองไปเรียนทอผ้าดู จริงๆ สนใจมานาน แล้ว แต่ยงั ไม่มโี อกาสได้ลองจริงๆ จังๆ ทีล่ กู หนูไป เรียนเป็นคอร์สสัน้ ๆ ทีส่ วีเดน ได้ไปทอผ้าแล้วชอบมาก ชอบบรรยากาศที่ไปเรียนด้วย เป็นช่วงหน้าร้อน ของสวีเดน บรรยากาศดีมาก เลยตัดสินใจลาออก จากงานและไปเรียนต่อที่ Konstfack University College of Arts, Crafts and Design PIE : การไปเรียนที่ Konstfack University College of Arts, Crafts and Design

ช่วงปีหนึ่งเขาจะให้เราได้ลองเรียนทุกอย่างเลย เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการทำ�งาน ตื่นเต้นมาก บางคนที่เรียนสิ่งทอมาแล้ว เขาก็จะทำ�โปรเจ็กต์ ของตัวเองไปเลย แต่เราไม่เคยเรียน ลงเรียนหมด ทุกอย่างเลย ตั้งแต่ถักนิตติ้ง ทอผ้า ปริ๊นสกรีน ย้อมผ้า เพื่อนๆ จะรู้เลยว่าไปเรียนวิชาไหนก็เจอ เรา (หัวเราะ) ชอบมาก ตื่นเต้นไปหมด PIE : ตอนทำ�สถาปัตฯ จะมีโจทย์จากลูกค้า พอ ต้องมาทำ�โปรเจ็กต์ที่ตัวเองสนใจมันต่างกันไหม

ช่วงแรกๆ ยากมาก ยังไม่แน่ใจว่าเราชอบอะไร กันแน่ แต่พอไปอยู่ที่สวีเดนสักพัก ลูกหนูเริ่มสนใจ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวมากขึ้น เพราะอยู่ที่ โน่นเรื่องสภาพอากาศมันเกี่ยวโยงกับชีวิตมาก จะออกจากบ้านแต่ละทีต้องเช็คสภาพอากาศก่อน


36


37


เพราะอากาศหนาวก็หนาวมาก ต้องเตรียมเสื้อกัน หนาว ต้องมีการเตรียมตัวตลอด ฤดูกาลแต่ละ ฤดูกาลของที่นั่นสภาพแวดล้อมก็ต่างกันมาก ทั้ง หิมะ ทั้งสีของใบไม้ ไม่เหมือนตอนอยู่ที่เมืองไทย เพราะที่เมืองไทยทุกฤดูจะคล้ายๆ กัน ไม่ต่างกัน มาก เราก็เลยไม่ได้สนใจ แต่ไปที่โน่น ลูกหนูชอบ หิมะมาก แล้วเราไปเรียนในประเทศทีห่ นาวหกเดือน ต่อปี ลูกหนูชอบสังเกตเกร็ดหิมะ สังเกตเวลาที่มัน ละลาย ดูการเปลี่ยนแปลงของมัน เลยเอาเรื่อง พวกนี้มาทำ�งาน PIE : เห็นมีงานที่เอาใบไม้มาเป็นส่วนประกอบด้วย

ช่วงนัน้ เป็นช่วง Winter Blue เป็นช่วงทีเ่ ครียด หดหู่ ไม่รู้จะทำ�อะไร เลยเอาใบไม้มาปัก เพื่อเป็นการ บำ�บัดจิตใจเรา ซึ่งมันก็ช่วยได้ มันจะมีงานที่ลูกหนู เอาใบไม้ที่เก็บไว้ก่อนจะเข้าหน้าหนาวมาปัก ซึ่งเรา ใช้ด้ายสีเดียวกับใบไม้ แล้วใบไม้มันก็แห้งไปตาม กาลเวลา สีของใบไม้กับสีของด้ายก็จะค่อยๆ ต่างกัน มันเป็นเรือ่ งการเปลีย่ นแปลง เหมือนเราต้อง ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่ง งานนี้มันก็ ขยายมาเป็นงาน Nothing Ever Stays The Same PIE : เรียนสองปีมองธรรมชาติต่างจากเดิมไหม

สังเกตมากขึ้น พยายามเข้าใจมากขึ้น เมื่อก่อน ลูกหนูจะมองธรรมชาติแบบรวมๆ มากกว่า

38

ที่ทำ�งาน Landscape Architect ก็จะมองเรื่อง โครงสร้าง เรือ่ งการจัดวางว่าปลูกต้นไม้ไว้ตรงนี้ มันจะโตแค่ไหน ห่างจากกำ�แพงแค่ไหน รากมันจะ ชนกับอาคารไหม มองเรือ่ งการใช้งาน การให้รม่ เงา เหมือนเราไปเข้าไปจัดการให้เขาสวย แต่พอเริม่ มา สนใจรายละเอียดของธรรมชาติมากขึน้ เราก็เริม่ มองความสวยงามแบบทีเ่ ขาเป็นมากขึน้ บางทีเราก็ ไม่ตอ้ งไปปรุงแต่งอะไรมาก ธรรมชาติเขาก็มคี วาม สวยงาม อย่างเวลาทีธ่ รรมชาติคอ่ ยๆ เปลีย่ นแปลง มันมีความสวยอยู่ งานดอกไม้ทล่ี กู หนูเอามาใช้ ทำ�งาน ก็เป็นดอกไม้ทห่ี าจากธรรมชาติ ทีอ่ อกดอก ตามฤดูกาลนัน้ ๆ ดอกไม้ตอนแรกทีเ่ อามาติดก็เป็น สีสดใสตามธรรมชาติของเขาเลย พอเวลาผ่านไป สีของดอกไม้กเ็ ริม่ เปลีย่ นไป PIE : ทำ�ไมกลับมาเปิดสตูดิโอในบ้านเรา

ตอนแรกก็อยากทำ�งานอยู่ที่โน่นสักพักเหมือนกัน แต่ลูกหนูได้ไปฝึกงานกับอาจารย์ท่านหนึ่ง อาจารย์ คนนี้เขาทำ�พรมที่เอาของเหลือใช้ต่างๆ มาทำ� โดย ใช้เทคนิค Textile หลากหลายเทคนิคมาก อาจารย์ เขาเก่งมาก เขาบอกกับลูกหนูว่า ถ้าเขาเป็นลูกหนู เขาจะกลับไปทำ�งานที่บ้าน (เมืองไทย) เพราะใน บ้านเราเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีมาก ใกล้กับอินเดีย และอีกหลายๆ ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตผ้าที่ใหญ่ มาก ลูกหนูเลยกลับมาเปิดสตูดิโอที่นี่


39


40


41


42


PIE : หมายความว่าในประเทศเรามีผ้าที่มี คุณภาพพอสมควร

PIE : ปัญหาที่เจอในการทำ�งาน

ใช่คะ มีคนถามเยอะเหมือนกันว่า ทำ�ไมลูกหนู ไม่ไปซื้อผ้าจากต่างประเทศมาทำ� เพราะเห็น ลูกหนูเดินทางบ่อย แต่เรากลับคิดว่า ในประเทศ เรามีผ้าที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรือบางอย่างอาจจะ ดีกว่าในต่างประเทศด้วยซ้�ำ ในราคาทีถ่ กู กว่ามาก มันมีเรือ่ งค่านิยมด้วยว่า นีเ่ ป็นผ้าไหมอิตาลี นีเ่ ป็น ผ้าจากญี่ปุ่น ซึ่งจริงๆ คุณภาพอาจจะสู้ผ้าที่ทอ มือจากชาวบ้านต่างจังหวัดของเราไม่ได้ก็มี รวมถึงเทคนิคงานทอท้องถิน่ ในบ้านเราทีบ่ างอย่าง หาคนทำ�แทบจะไม่ได้แล้ว และพวกของตกแต่ง เล็กๆ น้อยๆ อย่างเลื่อมหรือลูกปัดโน่นนี่นั่น เรา ก็มีเยอะมาก อย่างที่สำ�เพ็ง ลูกหนูไปเดินแล้วซื้อ ไปฝากเพื่อนที่สวีเดน เขาชอบมาก บอกว่าถ้ามา ไทยให้พาไปซื้อด้วย ซึ่งเราก็อาจจะซื้อมาจากจีน แหละ แต่มันก็ราคาถูกว่าทางยุโรปมาก PIE : เปิดสตูดิโอ ทำ�งานอะไรบ้าง

ก็เป็นงานของลูกหนูเองซะส่วนใหญ่ค่ะ แต่ก็จะ มีงานอื่นๆ เขามาบ้าง เป็นพวกงานนิทรรศการ ต่างๆ อย่างที่ TCDC จริงๆ งานจัดนิทรรศการ หรือหลายๆ งานทีไ่ ด้ท�ำ ก็ถอื ว่าเป็นประสบการณ์ ใหม่ของเราด้วย บางงานก็ไม่มั่นใจแต่ก็รับทำ� ก็ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วก็มีงานออกแบบ ลายผ้าที่กำ�ลังทำ�อยู่ แล้วก็เตรียมงานนิทรรศการ ของตัวเองด้วยคะ

43

เรื่องเวลา อันนี้ปัญหาหลักเลย เพราะไม่ว่าลูกหนู จะหาข้อมูลในการทำ�งานจากอินเตอร์เน็ตหรือ หนังสือก็ตาม ลูกหนูจะต้องเอามาทดลองทำ�ก่อน ทุกครัง้ เลยจะมีเรือ่ งเวลามาเกีย่ วข้อง ซึง่ ถ้าขัน้ ตอน ใดผิดพลาดก็ต้องกลับมาเริ่มใหม่ ซื้อผ้าใหม่ เตรียมขั้นตอนต่างๆ ใหม่ทั้งหมด แต่ก็โชคดี ที่ค่อนข้างจะมีลูกค้าที่เข้าใจ ว่างานของเรา มันต้องทดลอง ต้องใช้เวลาในการทำ� ลูกหนูก็ ทำ�งานทุกวันนะ เพื่อนๆ ก็ถามว่า แบบนี้มันต่าง กับเมื่อก่อนตรงไหน ทำ�งานหนัก ทำ�งานทุกวัน เหมือนเดิม แต่สำ�หรับลูกหนูมันต่างนะ ตอนนี้ เหมือนเราทำ�งานอดิเรก ถึงมันจะเป็นงานหลักที่ ใช้เลีย้ งชีพ แต่ลกู หนูรู้สึกแบบนั้นจริงๆ เวลาเรา ทำ�งานอดิเรกเราก็สนุก อยู่กับมันได้เรื่อยๆ PIE : เรื่องวัตถุดิบล่ะครับ ไปหาดอกไม้มาจากไหน

มีเรื่องการหาดอกไม้มาทำ�งาน ลูกหนูไม่ได้ใช้ ดอกไม้ทซ่ี อ้ื จากร้าน อยากใช้ดอกไม้ทม่ี ใี นธรรมชาติ ของแต่ละฤดูกาลจริงๆ พยายามไปเดินตาม สวนสาธารณะ แต่ก็ไม่เจอเท่าไหร่ เพิ่งรู้ว่าใน สวนสาธารณะบ้านเราไม่ค่อยมีดอกไม้เท่าไหร่ เจอที่สวนรถไฟจะเยอะหน่อย (มีช่วงหนึ่งไปสวน รถไฟบ่อยมาก จนพี่ยามเดินตามมาดูว่าเราทำ� อะไร เขาคิดว่าลูกหนูจะเอาดอกไม้ไปทำ�งานส่งครู เลยมาช่วยเก็บให้...หัวเราะ) ดอกไม้ที่ใช้ก็เลย มีทั้ง ดอกเข็มจากหน้าบ้านเพื่อน ดอกอัญชัน


44


45


46


จากรั้วบ้านเพื่อนอีกคน ดอกดาวเรืองจากข้างทางที่ขับรถ ผ่าน ญาติๆ ที่เขารู้ว่าเราอยากได้ดอกไม้มาทำ�งาน เขาก็ไป เด็ดจากบ้านเขามาให้ อย่างที่บอกว่าต้องให้เวลาในการทำ� ดอกไม้ด้วย คือการหา การเอามาทับทำ�เป็นดอกไม้แห้ง ในตู้ก็จะมีดอกไม้ที่ทับไว้เยอะแยะเลย PIE : แผนในอนาคต

ปีนี้ก็ตั้งใจทำ�โปรเจ็กต์ของตัวเองให้เสร็จ และอยากจัด Workshop ค่ะ เพราะถ้าเป็นการพูดคุยเฉยๆ ไม่รู้คนเขาจะ อยากฟังเราหรือเปล่า แต่พอเป็นการทำ� Workshop คนที่มา เขาจะเริม่ ถาม พอมีคนเริม่ ถาม ทุกคนก็กล้าทีจ่ ะพูดคุย ซึง่ เป็นบรรยากาศที่ดีมากๆ คนที่มาเขาก็ได้ของที่เขาทำ�เอง กลับไปด้วย ทุกคนเขาดูจะมีความภูมิใจกับสิ่งที่เขาทำ� PIE : คิดว่าตัวเองมีนิสัยอย่างไร

คนชอบบอกว่าหน้าดูเหวีย่ ง แต่ตวั ลูกหนูคดิ ว่าตัวเองใจเย็น ใจเย็นมาก (เน้น) ทำ�อะไรช้ามาก เมื่อก่อนที่ทำ�งานสถา ปัตฯ ทำ�อะไรหลายอย่างพร้อมๆ กันนี่ สบายมาก เดี๋ยวนี้ ไม่ได้เลย ทำ�อะไรก็ต้องทำ�สักอย่างหนึ่ง ถ้าอารมณ์เสียนี่ต้อง หยุดเลย ไปอ่านหนังสือทำ�อะไรอย่างอื่นก่อน เป็นคนที่ทุกๆ อย่างมีผลกับอารมณ์ ว่างๆ ก็ชอบไปเดินซื้อดอกไม้ เวลาไป ซื้อดอกไม้ที่ปากคลองตลาดจะมีความสุขมาก

47


48


www.sarintgamol.com www.facebook.com/SarinTgamol.textile.design

49


COM p os e

I N My

SP AC E 50


ในฉบับนี้ PIE gallery ขอเสนองาน ของกราฟฟิกสาว น้องใหม่-มานิตา ส่งเสริม งานหลายชิ้นของน้องคนนี้ มีเพียงตัวหนังสือและการจัดวางที่ พอเหมาะลงตัว ทางเราเห็นงานน้องใหม่ จากโปสเตอร์ของหอศิลปกรุงเทพฯ BACC หลายชิ้นที่สวยจนอดใจไม่ได้ ที่จะมาหาตัวคนทำ�และขอผลงานของ เธอมาโชว์กันในวันนี้

pie GALLERY Manita Songserm

51


PIE : เรียนจบคณะอะไรและตอนนี้ทำ�งานที่ไหน

เรียนจบคณะศิลปกรรมศาสตร์ นฤมิตศิลป์ เอก กราฟฟิกดีไซน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนนี้ เป็นนักออกแบบอิสระและได้มีโอกาสทำ�งาน ร่วมกับฝ่ายนิทรรศการของหอศิลปกรุงเทพฯค่ะ PIE : เหตุผลที่ชอบงานด้านกราฟฟิกดีไซน์

งานกราฟฟิกสำ�หรับใหม่คือการใช้ภาษาภาพ ภาษาของตัวอักษร ที่ผ่านการคิดรวบยอดเพื่อ สื่อความหมายแทนคำ�พูดของเรา มันเหมือน เป็นงานที่ใช้แสดงความคิดเห็น แสดงตัวตน ของเราอย่างหนึ่ง และยังใช้แสดงเอกลักษณ์ ของสิ่งที่เราจะพูดถึงได้ด้วย PIE : ผลงานของตัวเองที่ชื่นชอบ

CROSS_STITCH เป็นโปรเจ็กต์แรกที่ทำ�หลังจาก เรียนจบ เป็นนิทรรศการที่รวมศิลปินรุ่นใหม่ เราก็ถือว่ารุ่นใหม่ (เด็กใหม่) พอทุกอย่างมา รวมกันเลยเป็นงานที่ชอบมากๆ เป็นการเริ่มต้น ทำ�งานชิ้นแรกที่สนุก ใส่ทุกอย่างที่เราชอบลงไป Media/Art Kitchen Bangkok งานนี้ได้ทำ�งาน ร่วมกับคิวเรเตอร์ทั้งไทยและญี่ปุ่น เป็นงานที่เรา เริ่มรู้จักปรับ รู้จักลด เริ่มมองเห็นแนวทางของ ตัวเองที่ชอบจริงๆ การออกแบบที่มีแค่ตัวอักษร กับพื้นที่ว่างของการจัดวางเท่านั้น Future เป็นนิทรรศการที่ได้แสดงงานของตัวเอง

ร่วมกับนักออกแบบเก่งๆ หลายคน โดยให้ออกแบบ โปสเตอร์ที่สื่อถึงคำ�ว่า Future ในแบบของเรา ใหม่ ชอบงานนี้ที่สุด เป็นโปสเตอร์ชิ้นเดียวแต่ใช้เวลา คิดและรู้สึกกดดันในตอนทำ�มากๆ เราเคยแต่ ออกแบบเพื่องานของคนอื่น แต่ชิ้นนี้คือตัวเรา ก็ เลยพยายามที่จะดึงอะไรก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์ ของงานเราขึ้นมาให้ได้ สุดท้ายก็เลยออกมาเป็น โปสเตอร์สีขาว-ดำ� ที่มีตัวอักษรเล็กๆ คล้ายบทกวี แบบ Dada จัดเรียงเล่นกับพื้นที่ ให้อารมณ์แบบ Sci-Fi หน่อยๆ มีทั้งความสับสน แล้วก็สงบอยู่ใน โปสเตอร์เดียวกัน PIE : ช่วงนี้สนใจงานกราฟฟิกแนวไหน

ถ้าช่วงนี้จะสนใจเกี่ยวกับ Typewriter Art เป็น งานกราฟฟิกผสมกับศิลปะ ลักษณะจะคล้ายกับ การเรียงตัวอักษรด้วยเครื่องพิมพ์ดีด แล้วทดลอง ไปเรื่อยๆ จนอักษรที่เรียงมีการซ้อนทับกันจน เกิดภาพใหม่ แล้วด้วยความที่ชอบเกี่ยวกับงาน Typography อยู่แล้ว ก็เลยทดลองนำ�วิธีนี้มาปรับ ใช้ดูกับงานของเรา แนวที่ออกมาก็จะมีความเป็น Neo+Geometric+Digital บางทีก็ให้ความรู้สึก แบบวิทยาศาสตร์ผสมด้วย PIE : นอกจากกราฟฟิกดีไซน์หรืองานด้าน สิ่งพิมพ์มีความสนใจงานด้านอื่นอีกไหมครับ

ชอบงานเกี่ยวกับภาพถ่ายค่ะ ชอบดูภาพ ดู องค์ประกอบ ดูบรรยากาศ ก็พยายามฝึกตัวเองอยู่ เรือ่ ยๆ คิดว่าถ้ามีโอกาสก็อยากลองคิดงานในแบบ 52


Conceptual Art ที่ใช้แค่ภาพสื่อความหมายผสม กับงานกราฟฟิกในแบบฉบับของเรา PIE : บรรยากาศในการทำ�งานที่ชอบ

ชอบอยู่แบบเงียบๆ เวลาทำ�งานเป็นคนที่จริงจัง มาก จะไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยพูดกับใครเท่าไหร่ แล้วเวลาทำ�ก็จะจมดิ่งอยู่กับงานไปเลย แต่ถ้าเป็น เวลาเร่งด่วน บรรยากาศแบบไหน สถานที่ไหนก็ ทำ�งานได้หมดจริงๆ ค่ะ :D PIE : กราฟฟิกดีไซเนอร์ที่ชื่นชอบ

Wang Zhi-Hong เขาเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ ไต้หวัน งานส่วนใหญ่จะเป็นการออกแบบรูปเล่ม หนังสือ ที่น่าสนใจคือ หน้าปกหนังสือของเขามีแค่ เพียงตัวอักษร และมีองค์ประกอบที่น้อย แต่กลับ ดึงดูดมากๆ สีที่ใช้แทบจะเป็นขาว-ดำ�ไป 80% หลังๆ มานี้จะชอบเข้าไปดูงานในเว็บไซต์ของเขา บ่อยมากที่สุด PIE : มีความคิดเห็นอย่างไรกับความรู้ความเข้าใจ ด้านงานดีไซน์ของคนทั่วไปในสังคมประเทศเรา

เคยมีโอกาสได้คยุ แลกเปลีย่ นเรือ่ งนีก้ บั นักออกแบบ รุ่นพี่หลายๆ คน คิดตรงกันว่า มุมมองของคน ทั่วไปในบ้านเรางานออกแบบยังมีความจำ�เป็นน้อย มาก คือไม่ได้ให้ความสนใจหรือเห็นความสำ�คัญ ในส่วนนี้เท่าไหร่ บางคนเขายังไม่รู้เลยด้วยซ้ำ�ว่า งานแบบนี้ต้องทำ�อะไรบ้าง นึกถึงตอนสมัยเรียน ที่เคยต้องตอบคำ�ถามว่าเราเรียนอะไร 53

มันคืออะไร แต่ก็ไม่ได้น้อยใจนะ เพราะคิดว่า บ้านเราไม่ได้เน้นเรื่องความคิดในเชิงสร้างสรรค์ มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว PIE : ในความคิดของน้องใหม่ ถ้าจะให้งาน ดีไซน์ของเราเป็นที่รู้จัก และเข้าใจมากขึ้นใน วงกว้าง ควรเริ่มจากอะไร

ต้องมีพื้นที่แสดงงานของตัวเราเอง แต่ก่อนใหม่ เคยคิดเหมือนกัน ถ้าเราอยู่แบบเงียบๆ ทำ�งาน แบบเงียบๆ นี่จะเป็นยังไงนะ แต่กับงานแบบเรา งานออกแบบ หรืองานศิลปะทั้งหลาย มันเป็น งานที่ต้องแสดงออก และยิ่งในสังคมบ้านเรา งานประเภทนี้ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมอยู่แล้ว พื้นที่ แสดงงานแสดงความคิด และตัวตนของนัก ออกแบบสำ�คัญจริงๆ เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย สำ�หรับคนทั่วไปที่สุด PIE : มีแผนในอนาคตอย่างไรบ้าง

ถ้าในแง่ของชีวิตตอนนี้มีหลายๆ อย่างที่ยังตีกัน อยู่ในหัว ยังอยู่ในช่วงวิเคราะห์ตัวเองอยู่ค่ะ แต่ถ้าในด้านการทำ�งานก็อยากที่จะเรียนรู้ เยอะๆ ได้ท�ำ ในสิง่ ทีช่ อบแบบนีไ้ ปเรือ่ ยๆ อาจจะ ลองทำ�งานร่วมกับศิลปินนักออกแบบคนอื่นๆ ที่หลากหลายมากขึ้น PIE : งานอดิเรก

อ่านหนังสือ อ่านการ์ตูน ฟังเพลง ดูหนัง ส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากที่สุด


54


55


56


57


58


59


60


61


62


63


64


Manita Songserm http://manita-s.tumblr.com manitasong@gmail.com www.facebook.com/manita.songserm 65


Hon g ko n g

Sce nce

f r om

ZINEs M

AKER

Yeungs’tu di o

66


pie talk Yeungs’tudio

PIE ได้รจู้ กั กับ Yeungs’tudio จาก การทำ�หนังสือทำ�มือและแลกเปลีย่ น ตามประสาสั ง คมหนั ง สื อ เล็ ก ๆ จนถึงการได้พูดคุย นั้นทำ�ให้เราได้ เห็นความน่าสนใจของนักออกแบบ จากเกาะฮ่ อ งกงซึ่ ง กำ � ลั ง อยู่ ใ น สภาวะทางการเมื อ งที่ ไ ม่ สู้ ดี นั ก วันนี้เราเลยอยากมาถามไถ่ถึงงาน ออกแบบ วิสัยทัศน์และมุมมองที่มี ต่อชีวิตในเกาะฮ่องกงกัน

67


68


แนะนำ�ตัวหน่อยครับ

งานสิ่งพิมพ์ ชอบงานที่จับต้องได้ การทำ� หนังสือทำ�มือก็เหมือนกัน เราได้มีส่วนร่วม กับหนังสือตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างการใช้ตัว อักษรเขียนมือจากพู่กันหรือดินสอในงาน ของเรา ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย เราก็ พยายามค้นหาการใช้ตัวอักษรในแบบต่างๆ สตูดิโอคุณมีนิยามว่า “Dream fulfilled is a tree of life” อธิบายให้ฟังหน่อยครับ จนมาพบความเป็นธรรมชาติในการเขียนมือ ประโยคนีเ้ ป็นคำ�ทีเ่ ราชอบจากในคัมภีรไ์ บเบิล เราพยายามใช้ทั้งการทำ�มือและคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกัน ประโยคนี้ทำ�ให้เรารู้ว่าความฝันไม่ใช่เพียง ความนึกคิดที่ล่องลอยจับต้องไม่ได้ แต่เป็น สิ่งที่ทำ�ให้คนเรามีชีวิตชีวา มีพลัง เราคิดว่า ทำ�ไมคุณถึงสนใจเรื่อง Zines เป็นพิเศษ ชีวติ เราสามารถสร้างเรือ่ งมหัศจรรย์ได้มากมาย ทำ�ไมเหรอ?...เราคิดว่า มันมีเสน่ห์มากใน ถ้าผู้คนฝันและพยายามสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาใน ความอิสระในโลกของการทำ� Zines เราได้ โลกแห่งความเป็นจริง ไม่แน่นะ บางทีการ เห็นการทดลองใหม่ๆ ในงานของคนอื่นๆ ไล่ตามฝันที่เราทำ�อยู่ อาจจะเป็นโชคชะตาที่ และได้เห็นความเป็นตัวเขาจาก Zines ที่ เขาทำ� เราทำ�โปรเจ็กต์การแลกเปลีย่ น Zines เราถูกลิขิตมาเลย ใครจะรู้ กับศิลปินทัว่ โลก นัน่ ทำ�ให้เราได้พบเจอเพือ่ น ใหม่มากมาย และในเวลาทีเ่ ราทำ� Zines ของ สตูดิโอของพวกคุณทำ�อะไรกันบ้าง เราเอง เราก็มคี วามสนุกและสดใหม่เวลาได้ท�ำ เราทำ�งานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ซะเป็นส่วนใหญ่ มีงาน Idenlity Design บ้าง เราสนุกกับการ มันเหมือนสิง่ ทีช่ ว่ ยเพิม่ พลังของเราจากงานที่ ทำ�งานสิ่งพิมพ์และหนังสือ ชอบสัมผัสของ น่าเบือ่ และหนักหน่วงในช่วงสุดสัปดาห์ เรา Yeungs’tudio เป็นกราฟฟิกดีไซน์สตูดิโอ ที่ผมกับคู่หมั้นเริ่มทำ�ในปี 2014 ที่ฮ่องกง เราชอบในงานออกแบบ การเขียน และกำ�ลัง สนใจเรื่องการทำ�หนังสือทำ�มือ (Zines)

69


I believe life can be wonderful and fulfilling when people owns a dream and try their best to make their dream comes true.

70


71


72


ในฮ่องกงวงการหนังสือทำ�มือมีจำ�นวนมาก น้อยแค่ไหน

ผมเห็นข่าวการเมืองในฮ่องกง มีความร้อนแรง มากในช่วงปลายปีทผ่ี า่ นมา ในมุมมองของดีไซเนอร์ คุณมีความคิดเห็นยังไงบ้าง

มีคนอยู่จำ�นวนหนึ่งที่สนใจเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้ รวมกลุ่มกันเท่าไหร่ ยังแยกๆ กันอยู่และยัง ไม่ได้ผลิตงานต่อเนื่องอย่างในยุโรป อเมริกา หรือชุมชนหนังสือที่อื่น แต่เมื่อเร็วๆ นี้ใน ฮ่องกงก็มีการทำ�หนังสืออิสระเพิ่มมากขึ้น เรา คาดว่าในอนาคตอันใกล้จะมีคนสนใจและทำ� Zines กันมากขึ้น

เรื่องมันยาวและซับซ้อนมาก แต่ที่เราเห็นชัดเจน คือเราเห็นรอยแตกสองรอยเด่นๆ ในสังคม ฮ่องกง หนึ่งเลยคือรอยแตกของฮ่องกงและจีน อย่างที่สองคือรอยแยกระหว่างคนจนและ คนรวยในสังคม แม้ส่วนตัวผมจะเป็นคนมองโลก ในแง่ร้ายหน่อยๆ แต่ก็ยังคิดว่าดีไซเนอร์น่าจะ

73


In general, I can see there are 2 major "cracks" in our society. The first one is between Hong Kong and the Mainland China and the second one is between the poor and the rich.

เข้าไปมีส่วนช่วยเรื่องนี้ได้บ้าง โดยการสร้างความน่าสนใจและสะท้อนปัญหาหรือประเด็น ต่างๆ ไปสู่ชีวิตประจำ�วันของเราทุกคนได้ ให้ค่านิยมหรือแง่คิดบางอย่างเข้าสู่สายตาของ ผู้คนในสังคม พยายามปลูกฝังค่านิยมที่ดีลงในวัฒนธรรมของเราผ่านรูปแบบต่างๆ ในงาน ออกแบบ คุณมองว่าอะไรเป็นปัญหาสำ�คัญของสังคมในฮ่องกง

ปัญหาใหญ่ๆ หลายอย่างในฮ่องกง เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่ เช่นปัญหาหลักๆ อย่างเรื่องความเป็นอยู่ ที่ส่งผลมาตั้งแต่นโยบายเรื่องการเงินและ อสังหาริมทรัพย์ ที่ส่งผลให้ที่ดินในเกาะฮ่องกงสูง ซึ่งเป็นภาระทั้งทางด้านการอยู่อาศัย การท่องเที่ยว และยังส่งผลกระทบไปถึงชั่วโมงการทำ�งานที่ต้องเพิ่มมากขึ้นของคนใช้ แรงงานด้วย เลยเป็นเรื่องยากมากที่ชาวฮ่องกงจะสร้างความสมดุลในการใช้ชีวิตและมีส่วน ร่วมกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

74


75


76


www.yeungstudio.hk www.facebook.com/yeungstudio

อะไรเป็นข้อดี และข้อด้อยในอุตสาหกรรม ออกแบบในฮ่องกง

ข้อดี : เราเป็นเมืองที่มีความเป็นนานาชาติ, เรา มีระบบการศึกษาที่ดีอันดับต้นๆ, ผู้คนที่นี่สนใจ งานออกแบบ, ดีไซเนอร์รุ่นพี่ที่มีชื่อเสียงระดับ โลกของเรามีการให้โอกาสและผลักดันดีไซเนอร์ หน้าใหม่, มีหนังสือดีๆ จากจีน ญีป่ นุ่ และทัว่ โลก รวมอยู่ที่นี่ ส่วนข้อที่ไม่ค่อยดีคือ เรื่องชั่วโมง การทำ�งานที่มากเกินไป, ระบบและข้อจำ�กัด บางอย่างของรัฐบาลยังทำ�ให้งานสร้างสรรค์ ออกมาไม่เต็มที่ และเรื่องค่าที่อยู่อาศัยที่ราคา แพงทำ�ให้นักออกแบบหน้าใหม่ที่จะทำ�สตูดิโอมี ความลำ�บากอยู่พอสมควร ตอนนี้คุณสนใจงานดีไซน์แบบไหน

ตอนนี้เราไม่ได้สนใจงานออกแบบในเชิงตัวชิ้นงานแบบเดี่ยวๆ มากนัก เราและกลุ่มเพื่อนๆ นักออกแบบให้ความสนใจการออกแบบเพือ่ ความ เคลือ่ นไหวเชิงสังคม เชิงจิตสำ�นึก ซึง่ นักออกแบบ

77

และทุกคนควรมีส่วนในการรับผิดชอบ เรา ต้องแจกจ่ายความสนใจ และอิทธิพลในการ ออกแบบของเราไปสู่สังคมด้วย ไม่ใช่แค่สินค้า หรือบริการ อย่างเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น และ การส่งเสริมงานออกแบบเพื่อส่วนรวม งานอดิเรก

ทำ�หนังสือทำ�มือ อ่านหนังสือทำ�มือของคนอื่น เขียนไดอารี่ วาดภาพ ปกติเราจะชอบทำ�ของเล่น ให้หนูแฮมสเตอร์ของเราเล่น น่าเสียใจมากที่ เธอเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อต้นปี เรากำ�ลังมองหา สัตว์เลี้ยงใหม่อยู่ นึกถึงฮ่องกงในปี 2020 คุณเห็นอะไร

อีกห้าปีเหรอ...คงเห็นระดับความมีเสรีภาพ และความสนุกของเราลดลง แต่อย่างไรก็ตาม น่าจะมีกลุ่มคนที่พร้อมจะลุกขึ้นมาสู้เพื่อ ประชาธิปไตย กลุ่มคนที่มีฝันยังคงทะยานอยู่ เหนือพายุ


78


However, more and more people will be awaken and fight for democracy. A generation of dreamers will still soar above storm.

79


The Lond on

Pict u re

of Oat Montien

pie talk Oat Montien

คุณโอ๊ต-พัฒนพงศ์ มณเฑียร ถ้าดูจากการทำ�งาน เขาเป็น ทัง้ นักวาดภาพประกอบ นักออกแบบ ศิลปิน นักเดินทาง นักเขียน อาจารย์ และคงมีอีกหลายอย่างที่ตัวเขาจะ เป็นได้ แต่วันนี้เขามาในฐานะ นักเล่าเรื่องและเรื่องราว ทีเ่ ขาเล่ากำ�ลังจะออกเป็นหนังสือรวมเล่มจากคอลัมน์ใน นิตยสาร a day ในชือ่ หนังสือ London Scene เราเลย ขอมาถามในจุดเริ่ม และความผูกพันของเขาในเมืองที่ เขาเรียน เมืองที่เขาทำ�งาน เมืองที่เขาตกหลุมรัก

80


81


ทำ�ไมต้องเป็นลอนดอน

ศิลปะเลย เขาสนับสนุนหมดแต่เราต้องมีโจทย์ให้ กับตัวเอง ต้องหาตัวเองให้เจอ อยากสื่อสารหรือ พูดอะไร เต็มที่เลย สนุกมาก ดีใจที่ได้ไปเรียนที่นั่น

ชอบประวัติศาสตร์ความเป็นมาของลอนดอน อย่างนิวยอร์กโอ๊ตก็ชอบนะ มีการเคลื่อนไหว มี เพลงแจ๊ส คนเดินเร็วมากๆ แต่สำ�หรับโอ๊ตรู้สึกว่า ลอนดอนลุ่มลึกกว่า เรื่องเล่ามันเยอะกว่า แล้ว ศิลปินหรือบุคคลที่เราชื่นชอบหลายคนก็มาจาก เมืองนี้ อย่าง Paul Smith, David Bowie, Oscar Wilde, Vivienne Westwood มีทั้งความเท่และ ความเป็นกบฏ ยิ่งพอไปอยู่โอ๊ตก็ยิ่งได้เห็นความ เก่าที่มีความเก๋าอยู่ในนั้น ซึ่งต่างจากเวียนนา หรือโรม

ช่วงนั้นกบฏกับอะไร

คือโอ๊ตคิดว่าการทำ�งานให้หลุด มันต้องมีความ แน่นก่อนถึงจะหลุดได้นะ อย่างเรื่องดนตรีพังก์ เนี่ย ที่มีความกบฏ เขาต้องรู้ก่อนว่าเขากบฏกับ อะไร เขาต่อสู้อยู่กับอะไร สู้กับการเมือง สู้กับการ ตลาดหรืออะไร ส่วนตอนนัน้ เราก็แอนตีห้ ลายอย่าง (หัวเราะ) เรื่องเซ็กซ์และเรื่องความเป็นตัวเอง ซะเป็นส่วนใหญ่ โอ๊ตจะทำ�งานที่ตอบคำ�ถามว่า เราเป็นใคร ยิ่งเราป็นคนที่เดินทางบ่อยตั้งแต่ เด็ก พอเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต บ่อยๆ มันก็เกิดคำ�ถามว่าเราเป็นใคร จุดยืน ของเราคือตรงไหน เลยมีงานที่กลับมาเมืองไทย บ้าง ทำ�เรื่องวัฒนธรรมความเชื่อ เรื่องครอบครัว พยายามหาความเป็นเรา อย่างหนังสือ London Scene นี่ก็เหมือนกัน เป็นการตั้งคำ�ถาม โอ๊ตอยู่ ที่ลอนดอน ที่คนเรียกกันว่าลอนดอนเนอร์เนี่ยมัน คืออะไร อยู่นานสักห้าปี สิบปี เป็นลอนดอนเนอร์ หรือยัง หรือว่าต้องมีเพื่อนฝรั่ง ต้องทำ�งานที่นี่ ต้อง จ่ายภาษี ไอ้สิ่งที่คนเรียกกันเนี่ย มันคืออะไรกันแน่

การเรียนที่ Central Saint Martins

ต้องหลุดมาก ขนาดเราก็คิดว่าเราหลุดจาก กรอบมาระดับหนึ่งแล้วนะ อย่างการวิจารณ์งาน อาจารย์ที่โน่นเขาให้ไปวิจารณ์กันในผับเลย ดูงาน กันก่อนและพาไปดื่มกันในผับ เพื่อให้ทุกคนกล้า ที่จะพูดกล้าวิจารณ์ พอเบียร์เข้าปากนี่วิจารณ์กัน มันเลย เราไปเจอรู้สึกว่าวิธีสอนแบบนี้มันล้ำ�มาก แล้วโอ๊ตทำ�งานเนื้อหาล่อแหลมมาก เรื่องเซ็กซ์ เรื่องเกย์ คนมีอะไรกับช้างเผือก เรื่องผี อาจารย์ เขาไม่ว่าอะไรเลยนะ เขาปล่อยเราเต็มที่ การ เรียนภาพประกอบที่นั่นก็ใช้วิธีคิด วิธีทำ�แบบงาน

82


83


84


85


บ้าง แล้วมีงานทำ�ภาพประกอบให้สำ�นักพิมพ์ที่โน่น ก็มีโอกาสได้ทำ�พวกงานปกหนังสือ แล้วเรามีหนังสือ ที่ชอบ อยากทำ� แต่มันไม่มีใครพิมพ์สักทีเลยทำ�เอง ซะเลย (หัวเราะ) งานนัน้ มันก็มาจากการหา Idenlity ของตัวเองอย่างหนึ่ง เราชอบอ่านหนังสือ ชอบ เพราะอะไร สมัยเด็กๆ โอ๊ตไม่ค่อยเข้าสังคม หนี ไปเก็บตัวในห้องสมุด สมัยประถมเป็นบรรณารักษ์ อาสา ความชอบมันก็โตมาจากตรงนั้น งานชุดแรก ที่ทำ�ก็เหมือนอุทิศให้เพื่อนของเราในสมัยเด็ก ก็คือ หนังสือที่เราเคยอ่านในสมัยเด็ก จริงๆ งานนี้จัดที่ เมืองไทยก่อนแล้วผลตอบรับก็โอเค เลยไปจัดแสดง ที่โน่นต่อ ก็ไปคุยกับทาง The Book Club เขาก็ชอบ เลยได้ไปแสดงที่นั่น

แล้วเรื่อง Life Style ตอนอยู่ที่โน่นเป็นอย่างไรบ้าง

เป็นคนสุดกับทุกอย่าง และด้วยความที่โอ๊ตไปอยู่ ลอนดอนได้สักพักก็เขียนบทความส่งมาให้ทาง นิตยสาร a day และได้คดั เลือกจากพีก่ อ้ ง-ทรงกลด บางยี่ขัน เราก็คิดว่าชีวิตเราต้องพีคเลย ต้องสุด (หัวเราะ) จะได้มีเรื่องมันๆ น่าสนใจไปเขียนใน คอลัมน์ พิพิธภัณฑ์ก็ไป ปาร์ตี้ก็ไป Playboy Club ก็ไป แต่งหญิงก็แต่ง เอาทุกอย่าง ร่วมกิจกรรมทุก สิ่งอย่าง เลยกลายเป็นแนวคิดของเราที่คิดว่า ควร ใช้ชีวิตให้สนุกในทุกๆ วัน แล้วลอนดอนเป็นเมืองที่ มีอะไรให้ตื่นเต้นได้ตลอดด้วย ตอนอยู่ที่โน่นปวดหัวกับเรื่องอะไรมากที่สุด

เรื่องที่อยู่นะ ที่อยู่อาศัยหายากมาก ค่าเช้าบ้านก็ แพงมาก ราคาขึ้นทุกปี ช่วงแรกที่โอ๊ตไปอยู่บ้านเช่า อยู่กับนางแบบที่เคยเดินแบบกับ twiggy (นางแบบ ชื่อดังสุดเก๋ยุคหกศูนย์) ซึ่งตอนนี้ก็อายุมาก หุ่นเสีย เล่นยา จนเราต้องย้าย โห...สารพัดเรื่องเลย ถ้าคุย กันเรื่องบ้านที่โน่น สัมภาษณ์กันได้อีกเล่มหนึ่งเลย

วงการศิลปะที่ลอนดอนมีความต่างกับบ้านเรา อย่างไรบ้าง

มีความเป็น Collective เยอะครับ คือเขาอยู่กัน เป็นกลุ่มก้อน มีการรวมกลุ่มของศิลปินที่มีวิธีคิด ใกล้เคียงกัน มันเป็นรูปแบบนี้มานานมากแล้ว สำ�หรับที่โน่น อย่างสมัย William Morris ที่เขามี กลุ่ม The Arts and Crafts movement เป็นนัก ปฏิวัติสังคม ที่พยายามทำ�ให้งานศิลปะไม่ใช่ของ ชนชั้นสูงแต่เป็นของทุกๆ คน เขาก่อตั​ั้ง Central

“The Ex-Libris” งานแสดงศิลปะครั้งแรกใน ลอนดอนที่ The Book Club

ช่วงนั้นเริ่มทำ�งานภาพประกอบให้กับนิตยสารที่โน่น

86


Saint Martins ด้วย อย่างโอ๊ตก็อยู่ในกลุ่มที่ชื่อ Tail (Thai-Art-Initiative-in-London) กลุ่มนี้ก็จะคุยกับ หน่วยงานต่างๆ เพื่อเสนองานที่มีรูปแบบความเป็นไทย โดยศิลปินไทย และเรื่องการทำ�งานภาพประกอบ ที่โน่น เขามี The Association of Illustrators ตั้งแต่ยุคหกศูนย์ ที่คอยดูแลนักวาดภาพประกอบ ทั้งเรื่องสัญญา เรื่อง การทำ�งานต่างๆ ศิลปินที่นั่นทุกคนพยายามจะรวม กลุ่ม จะพยายามร่วมกันสร้างความเปลีย่ นแปลง ซึง่ ใน บ้านเรา ยังไม่ค่อยมี ถึงมีก็ยังน้อยมากๆ ซึ่งน่าแปลกมาก ทั้งที่ บ้านเรามีระบบอุปถัมภ์นะ แต่การรวมกลุ่มลักษณะ แบบนี้ยังน้อย 87


4

88


Ex Libris Exhibition นิทรรศการผลงานสวนตัว ที่มีแรงแรงบันดาลใจมาจากวรรณกรรมเยาวชนอมตะ จัดแสดงที่กรุงเทพฯ(Mellow ทองหลอ) และ ลอนดอน (The Book Club)

A

B

C

3

89


90


ทำ�ไมชอบวาดรูปคน

เพราะคนมีเรื่องเล่าครับ มีการแสวงหา ตัวตน มีความสุข ความเศร้า เวลาวาด คนคนหนึ่งมาเป็นลายเส้น ขั้นตอนมัน ก็มีความน่าสนใจ เราเก็บเขามาในช่วง เวลาหนึ่งในความทรงจำ�แล้ววาดออกมา อย่างในหนังสือ The Picture of Dorian Gray ของ Oscar Wilde เรารู้สึกว่ารูป ทุกรูปที่วาดมันควรมีจิตวิญญาณหรือ เรือ่ งราวอะไรบางอย่างทีไ่ ม่ใช่แค่ความสวย

91


หนังสือ London Scene

เป็นการรวมคอลัมน์ที่เขียนให้ a day ชื่อหนังสือ London Scene มันมาจาก ชื่อหนังสือของ Virginia Woolf เป็นชื่อนี้เลยเขียนในช่วงปี 1931 อีกสิบปีต่อมา นักเขียนคนนี้ก็ฆ่าตัวตาย เขียนเกี่ยวกับเรื่องลอนดอนนี่แหละครับ แล้วเราชอบ จริงๆ ก็คิดเหมือนกันว่าเรื่องลอนดอนมีคนเขียนเยอะแล้ว แต่เราก็คิดว่าในมุม ของเราก็น่าจะมีความแตกต่างอยู่ คอลัมน์นี้เขียนมา 2 ปี มี 24 ตอน คล้ายเป็น พิพธิ ภัณฑ์เล็กๆ ในความทรงจำ�ของเรา เล่มนีท้ ง้ั เขียนและวาดภาพประกอบด้วย ก็ตื่นเต้นที่ได้ทำ�โปรเจ็กต์นี้ 92


93


94


ลอนดอนเนอร์ ต้องเป็นอย่างไรในความคิดของโอ๊ต

เป็นตัวของตัวเองนี่แหละครับ คนในลอนดอนแม้จะ อยู่ในที่เดียวกัน แต่มีความหลากหลายสูง ถ้าสมมติ นิวยอร์กเป็น Melting Pot เป็นหม้อที่หลอมทุกคน ให้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่ลอนดอนจะเหมือนสลัด ที่ เราใส่แอปเปิ้ลลงไปก็ยังเป็นแอปเปิ้ล ใส่ผักกาดก็ยัง เป็นผักกาด ทุกคนยังมีความเป็นตัวเองอยู่ และทุกคน ก็ร่วมกันนำ�เสนอบางสิ่งที่เป็นตัวเองออกมารวมกัน เป็นเมืองๆ นี้ นอกจากสิ่งที่ชาวเมืองทุกคนให้กับ ลอนดอน ลอนดอนก็ให้บางอย่างกลับคืนมาให้ทุกคน ด้วย ซึ่งโอ๊ตก็ชอบทุกสิ่งที่เมืองนี้มอบให้ ชอบอาหาร ชอบผู้คน อยู่มาหกปีไม่เบื่อเลย กลับมาเขียนไดอารี่ ทุกวันนะ มีเรื่องประทับใจให้เขียนได้ทุกวัน ใช้ชีวิต เต็มที่ทุกวัน พยายามตกหลุมรักให้บ่อยที่สุด ยืนป้าย รถเมล์ก็ไปคุยกับคนให้เขามาเป็นนายแบบวาดรูป ลอนดอนเนอร์มันคือ Inner มันคือทัศนคติ

www.facebook.com/pages/Oat-Montien/176257579144865 http://londoniser.blogspot.co.uk www.oatmontien.com

95


Ar t C raf t

a n d

Desi g n

WITH Atelier 2+

96


pie talk Atelier2+

97

วันนีเ้ รามาคุยกับสองนักออกแบบ คุณฟางอดา จิระกรานนท์ และ คุณต้น-วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ ทั้งสองเปิดสตูดิโอในชื่อ Atelier2+ คำ�ว่า Atelier แปลว่าทีท่ �ำ งาน ของศิลปิน ส่วน 2+ นั้นหมายถึงเขา ทั้งสองคนบวกกับเพื่อนๆ นักออกแบบ รวมไปถึงทุกๆ คนทีม่ าร่วมงานร่วมคิดกับ พวกเขา วันนี้เราจะมาดูส่วนผสมที่ลงตัว ของทั้งสอง ที่ประสานงานออกแบบและ งาน Art ได้อย่างลงตัว จนกลายเป็นผลงาน ที่น่าสนใจกัน


98


ทั้งสองคนเจอกันตอนไหน อย่างไร

2+ : เจอกันตั้งแต่เรียนสถาปัตฯ อุตสาหกรรมที่ ลาดกระบัง พอเรียนจบก็แยกย้ายกันไปทำ�งาน ฟางไปทำ�งานออกแบบภายใน ส่วนต้นก็ไปเรียน ต้นเขาไปเรียนมาหลายที่ ไปอเมริกาก่อน เรียนพวก พืน้ ฐานศิลปะ เรียนถ่ายภาพ เรียนวาดรูป เป็นคอร์สสัน้ แล้วไปเรียนสถาปัตฯ ต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ แล้วค่อยไปเรียนที่สวีเดน ตอนนั้นฟางทำ�งานทีไ่ ทย ประมาณสี่ปี ก็มาเรียนที่ Konstfack University College of Arts, Crafts and Design พร้อมๆ กัน

ไปสวีเดนได้เห็นอะไรที่ประทับใจเรื่องดีไซน์บ้าง

ฟาง : เราไปเห็นว่างานดีไซน์มนั อยูใ่ นชีวติ ประจำ�วัน ของคนที่นั่นจริงๆ อย่างฟางไปบ้านเพื่อนที่โน่น เขาก็ไม่ได้รวยอะไรมากนะ แต่แต่งบ้านสวยมาก เหมือนอยู่ในนิตยสารเลย คนที่โน่นเขาค่อนข้าง ใส่ใจเรื่องการแต่งบ้าน มีโคมไฟสวยๆ พวกโซฟา ที่เราเคยเห็นในหนังสือ แล้วเขารู้ว่าเฟอร์นิเจอร์ ชิ้นนี้ใครออกแบบ รู้ที่มาของสิ่งที่เขาใช้ ถามถึงผลงานตอนเรียนอยู่ที่โน่นหน่อยครับ

ต้น : ตอนนั้นผมมีความสนใจทั้งด้านสถาปัตกรรม ไปเรียนอะไรที่ Konstfack ครับ และเฟอร์นิเจอร์ แล้วสองสิ่งนี้มันมีความต่างกัน ต้น : ที่ผมไปเรียนมันจะเป็นวิชาออกแบบภายใน ในเรื่องขนาด ซึ่งผมสนใจขนาดที่มันก้ำ�กึ่งระหว่าง กับเฟอร์นิเจอร์มารวมกัน ที่ Konstfack เขาจะ ความเป็นสถาปัตกรรมและเฟอร์นิเจอร์ เราเคย เน้นงาน Craft และงาน Art มากหน่อย ช่วงนั้นก็ เห็นคนที่นั่งตามบันไดของตึก หรือใช้งานส่วนใด ชอบดูงาน Art ส่วนหนึ่งของอาคารคล้ายกับการใช้เฟอร์นิเจอร์ ฟาง : ฟางไปเรียน Textile เราชอบวิธีการถักทอ ผมเลยพยายามมองสิ่งที่จำ�เป็นในการใช้งานของ ชอบโครงสร้างของด้าย จริงๆ มันก็มพี น้ื ฐานมาจาก บ้านหรือห้องที่เราใช้กัน มาลดทอนจนเหลือสิ่งที่ การทำ�งานออกแบบภายในด้วย เพราะฟางไม่ได้ มันจำ�เป็นจริงๆ เพื่อลดขนาดของงานสถาปัตยทำ� Textile ที่เป็นเครื่องแต่งกาย แต่ทำ�ออกมา กรรมลงมา อย่างทางเดินเราก็ลองเอาว่าไว้ดา้ นนอก ในแบบโครงสร้าง เป็นการเล่นกับพื้นที่มากกว่า หรือรอบๆ ตัวชิ้นงาน หรือนำ�ฟังก์ชั่นการใช้งาน

99


ต่างๆ มารวมกัน ซึ่งตอนทำ�ก็ยังไม่รู้นะ ว่าสิ่งนี้จะออกมาเป็นอย่างไร ตอนนั้น ผมพยายามจะไม่ดีไซน์แบบสเก็ตช์ขึ้นมา เองเฉยๆ แต่ใช้การรีเสิร์ชวิเคราะห์ความ ต่างระหว่างของสองสิ่งที่ผมชอบ ใช้ ข้อมูลต่างๆ ที่เรามีมาช่วยดีไซน์ให้เรา และทดลองทำ�โมเดลออกมาเรื่อยๆ จน กลายเป็นชิ้นงาน

100


ฟาง : ตอนนัน้ ฟางสนใจเรือ่ ง Structure ของการถักทอในงาน Textile ชนิด ต่างๆ งานของฟางเป็นการสร้าง โครงสร้างขึ้นจากเชือกที่มาถัก แล้ว นำ�มายึดกับพื้นที่นั้นๆ ให้เกิดรูปทรง ต่างๆ จากที่เราทำ�งานออกแบบ ภายในมา ซึ่งจะใช้เสา คาน ผนัง หรือเฟอร์นิเจอร์มาประกอบกันเป็น โครงสร้าง เราก็ใช้เชือกพวกนี้มา สร้างแทน ซึ่งเชือกก็ต้องถักจากเชือก หลายๆ เส้นเข้าด้วยกันก่อน ต้องมี การวางแผน ทำ�โมเดลก่อนไปทำ�ใน พื้นที่จริง ต้องคำ�นวณน้ำ�หนักเชือก ขนาดของพื้นที่ คิดเรื่องการยึดเชือก ในจุดต่างๆ เป็นการเล่นกับพื้นที่และ ฟังก์ชั่นการใช้งาน ผู้คนที่เข้ามาชม เขาก็จะมาลองนั่งเล่น นอนเล่นบน โครงสร้างที่เราสร้างขึ้น

101


Atelier2+ เริ่มจากทำ�งานอะไร

2+ : ตอนแรกกลับมาเมืองไทยก็เริ่มอยากทำ�งานที่เป็น Art มากขึ้นแล้ว เริ่มแสดงงานก่อน ที่ไหน สนใจเราก็ไปจัดแสดง แต่เราก็มีงานที่รับทำ�ออกแบบภายในด้วย เราไม่จำ�กัดตัวเองว่าทำ�แค่งาน ออกแบบหรืองาน Craft จากการแสดงงานไปเรื่อยๆ ในช่วงแรกเราก็ไม่มีรายได้มากนัก แล้วพอ คนเริ่มเห็นงานของเรามากขึ้นเรื่อยๆ เขาก็สนใจให้เราไปร่วมทำ�โปรเจ็กต์ต่างๆ ทั้งงานออกแบบ ภายใน มีการ Workshop งานแสดงศิลปะ ยิ่งพอเราไปเจอกับกลุ่ม Design Plant ก็มีคอนเน็กชั่น เริม่ รูจ้ กั คนมากขึน้ ช่วงแรกๆ มันเหมือนจะแยกระหว่างงานทีอ่ ยากทำ�กับงานทีท่ �ำ เพือ่ รายได้ชดั เจน แต่ช่วงหลังสองสิ่งนี้มันเริ่มจะรวมๆ กันมากขึ้น

102


103


104


ตรงนั้น ตัวงานตัวนี้มันก็ยังคงแนวคิดเดิม แต่ผม ก็ลงรายละเอียดที่ต่างจากเดิม คือเราไปทำ�งาน 2+ : ในงานดนตรี Wonderfruit เขาจะให้เราเลือก ที่ญี่ปุ่น เลยใช้มาตราวัดในแบบของเขาในการ ทำ�งานชิ้นนี้ อีกอย่างคืองานของผมปกติจะเคลื่อน พื้นที่ที่เราชอบได้ ผมก็ไปเลือกแนวต้นไม้ตรงที่ ติดกับบึง อยากลองทำ�ให้เป็นช่องที่มีความเชื่อม ย้ายได้ อันนี้เป็นชิ้นแรกที่จะลองทำ�ให้มันยึดกับ สถานที่แบบเฉพาะเจาะจง ช่วงแรกๆ ไปนี่ชิลล์ โยงของพื้นที่ คล้ายเป็นช่องหน้าต่าง ที่ทะลุไป มาก ยังไม่ค่อยทำ�งาน แต่ไปเห็นศิลปินญี่ปุ่นเขา อีกฝั่งได้ ทำ�งานกันจริงจังมาก นั่งทำ�งานในสตูดิโอตั้งแต่ Wallpaper* Handmade Exhibition 2014 แปดโมงเช้าถึงสี่ทุ่ม มีวินัยจนผมกลัว เราเลยต้อง 2+ : ช่วงนั้นชอบปลูกต้นไม้ แล้วในโจทย์ของการ ขยันบ้าง ทำ�มือ เราคิดว่าการทำ�สวน การทำ�อาหารมันก็ เป็นการทำ�มือ เป็น Handmade เหมือนกัน เรา Trans x form At Aomori (2) 2+ : มันจะมีอีกส่วนหนึ่งของงาน ตอนไปอยู่ที่ เลยนำ�การจัดสวนในขวดมาผสมกับงานไม้ แต่ สวนขวดเป็นการจำ�ลองสวนเล็ก เราอยากลองทำ� ญี่ปุ่น ผมไปสังเกตเห็นของในซูเปอร์มาร์เก็ตที่โน่น เป็น Landscape กว้างๆ เป็นภูเขาที่อยู่ในบ้านได้ เขาชอบมีของไซต์จิ๋ว ที่เราเห็นแล้วมันแปลก เลย นำ�มาทำ�งานอีกชิ้นที่เป็นประตู หน้าต่าง บันได เล็กๆ นำ�ไปแอบติดตั้งตามมุมต่างๆ ทั่วอาร์ต Trans x form At Aomori 2+ : อันนี้มาจากโปรแกรมที่ทางญี่ปุ่นเชิญให้เรา เซ็นเตอร์ งานนี้เด็กๆ จะชอบมาก ถึงจะใช้งาน ไปทำ�งานศิลปะ ไปอยูท่ น่ี น้ั สามเดือนที่ The Aomori จริงไม่ได้ แต่มันช่วยให้เขาได้สนุกกับจินตนาการ Contemporary Art Centre เมืองอาโอโมริ ซึ่งต้น ส่วนอีกอันเป็นงานสองมิติ ที่เกิดจากเราไปนำ� ก็ไปอยู่ที่โน่น (ฟางตามไปช่วยทีหลัง) เขาก็ให้ไปดู เฟอร์นิเจอร์จริงๆ ที่ใช้ที่นั่น มาตัดผิวด้านหน้า พื้นที่ในอาคารว่าจะจัดแสดงงานตรงไหน แต่ผม ออกมาเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำ�มาติดกันเป็นชิน้ งาน ซึ่งเวลาติดตั้งเราก็วางเฟอร์นิเจอร์ตัวเดิมไว้ด้วย ไปชอบพื้นที่ด้านนอกที่เป็นต้นไม้ เลยใช้พื้นที่ ผลงาน Trees void, Wonderfruit Festival 2014

105


106


107


108


คุณต้นเป็นอาจารย์ดว้ ย มองเด็กยุคนีว้ า่ มีขอ้ เสียอย่างไรบ้าง

2+ : ไม่ค่อยรู้จักดีไซเนอร์ อย่างผมเชิญ Thinkk Studio ไปบรรยาย เด็กๆ ก็ไม่รู้จัก ทั้งที่งานของ Thinkk Studio ก็ดังในระดับโลก สื่อเมืองนอกรู้จักและให้ความสนใจ ตอน ผมไปเรียนที่ต่างประเทศ นักเรียนที่โน่นเวลาเขาพูดอะไรเขา จะมีการอ้างอิง ว่ามาจากหนังสืออะไร ศิลปินคนไหนเป็น คนพูด เขารู้จักดีไซเนอร์กันเยอะมาก ในบ้านเราขนาดพูด ชื่อ Naoto Fukasawa เด็กยังไม่รู้จักเลย ต้องบอกว่าคนทำ� Muji ถึงจะรู้ ทัง้ ทีย่ คุ นีม้ สี อ่ื ทีส่ ามารถหาข้อมูลเหล่านีไ้ ด้ไม่ยาก สังเกตอย่างหนึ่งว่าเด็กในเมืองไทยมีวิชาเรียนเยอะมาก จนบางทีเขาอาจจะไม่มีเวลาไปสนใจเรื่องดีไซเนอร์ คือ ทำ�งานแล้วพักผ่อนตาม life style ของเขาก็จะหมดเวลาแล้ว เรื่องงานแฟร์ทางด้านดีไซน์ในบ้านเรา

2+ : ในงานแฟร์ใหญ่ๆ บางงาน (ไม่ขอใส่ชื่องาน) กระแส ไม่ค่อยดีนัก หลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันมาสักพักแล้ว ผู้ประกอบการและคนก็มาน้อยลง ยิ่งช่วงนี้งาน Design Fair จัดพร้อมกันหลายประเทศ ใกล้ๆ เราก็เยอะทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ ทำ�ให้ผปู้ ระกอบการออกไปทีอ่ น่ื เยอะ งานในบ้านเรา เลยดูมีบทบาทน้อยลงไปอีกในเวทีโลก ในส่วนการพีอาร์เราก็ ยังไม่เก่งเท่าบ้านเขาด้วย อย่างในสิงคโปร์เขาก็โปรโมทงาน ดีมาก แต่ตอนนี้ในส่วนของดีไซเนอร์เองก็มีการรวมตัวกัน มากขึน้ มีกลุม่ อย่าง Design Plant ทีพ่ ยายามจะจัดแสดงงาน และให้ความร่วมมือกันในหลายด้าน ซึง่ น่าจะสร้างความคึกคัก ให้วงการออกแบบได้มากขึ้น

109


110


www.ateliertwoplus.com www.facebook.com/pages/Atelier2/421261807966585

คิดว่าการทำ�งาน Art ในบ้านเราจะอยู่รอดไหม หรือไปต่างประเทศดีกว่า

2+ : จริงๆ ไม่วา่ ในต่างประเทศเองหรือในบ้านเรา การเป็น Artist มันก็ยากด้วยกันทั้งนั้นนะ ทั้งเรื่อง มุมมอง ประสบการณ์ อย่างน้องๆ นักศึกษาที่ สนใจอยากทำ�งานทางนี้ก็ถามกันพอสมควร มัน ต้องสู้เหมือนกัน พวกเราเองก็มีช่วงที่ท้อบ้าง เหมือนกัน เคยคิดไปทำ�งานอย่างอื่นเลยก็มี ก็ จริงอยู่ที่ระบบของวงการศิลปะในต่างประเทศจะ พร้อมมากกว่า ทั้งในเรื่องของคนซื้อ ที่แสดงงาน การโปรโมท การตลาดทางด้านศิลปะ แต่ก็ยังมี ความยากอยู่ และในบ้านเราต่อไปก็น่าจะดีขึ้น ถึงการเสพหรือซื้องานศิลปะจะไม่ใช่วัฒนธรรม ในบ้านเรา แต่ตอนนี้ก็เริ่มเห็นกลุ่มศิลปินหรือคน ทำ�งานทางนี้ที่จริงจังมากขึ้น

111

แผนในอนาคต

2+ : คิดว่าอยากจัดสรรเวลา ให้มีเวลา ทำ�งานโปรเจ็กต์ต่างๆ มากขึ้น อย่าง เรื่อง Design Plant ก็อยากทำ�ให้กลุ่ม มีความแข็งแรงขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น อาจจะมี Workshop บรรยาย เราเริ่ม สนใจในการร่วมโปรเจ็กต์กับคนอื่นๆ มากขึน้ ทำ�ให้เกิดกระแสทางการออกแบบ ตอนนี้ก็มีการร่วมงานกับสตูดิโอทำ� เซรามิก เตรียมไปออกบูธในงาน Tiff 2015 และกำ�ลังเตรียมงานไปโชว์ที่ Milan Design Week ในปีนี้


112


113


PIE TEAM : 08 0233 5492, 08 6918 6216 www.pieeveryday.com facebook.com/piemagazine2013 pieonlinemag@gmail.com 100/99 chaiyapruk village, soi 55, Sukapibal 5 O-ngoen, Saimai, Bangkok 10220

SELF PUBLISHING PROJECT BY PIEONLINE MAGAZINE www.facebook.com/PIEZINE

114


115


See You Soon

116


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.