การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติในประเทศไทย1 ศุภกร กันธิมา มิยูกิ ซาโต้ อภิสม อินทรลาวัณย์ สถานการณ์ของกลุ่มคนไร้สัญชาติภายในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขและ หาทางออกได้อย่างลงตัวสืบเนื่องมาจากปัญหาหลายประการ จากการประเมินจานวนของกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ อาศัยอยู่ภายในประเทศไทยโดยกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2560 พบว่ามีประชากรกลุ่มคนไร้สัญชาติอยู่ที่ ประมาณ 488,105 คน ซึ่งใกล้เคียงกับการประเมินของ Institute of scientific information (ISI) พบว่ามีจานวน คนไร้สัญชาติอยู่ที่ประมาณ 486,440 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.007 ของจานวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย (สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2560) จากข้อมูลนี้ทาให้ทราบว่าจานวนของกลุ่มคนไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นั้นมีจานวนมากพอสมควร แต่กลุ่มคนดังกล่าวกลับถูกคนบางส่วนมองว่าเป็นภาระทางสังคมและทาให้สังคมนั้น เกิดความเสียหาย โดยมิได้พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลของความมีอยู่ของกลุ่มคนไร้สัญชาติ เช่น กลุ่มคนเหล่านี้มี ความเป็นมาอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร และอะไรถึงทาให้พวกเขาทาเช่นนั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วกลุ่ มคน ไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นได้มีการทากิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อดารงชีพอยู่เสมอ เพียงแต่กิจกรรมของ พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ (Formal Economy) แต่ถูกจัดอยู่ ในหมวดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Economy)2 ประกอบด้วย เศรษฐกิจนอก ระบบ และ งานบ้านภายในครอบครัว กิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกระบบมีทั้งกิจกรรมที่ มีเอกสารหรือใบแสดงตัว ยืนยันการกระทาของกลุ่มคนไร้สัญชาติ และไม่มีเอกสารอ้างอิงใดๆในกิจกรรม ขณะที่กิจกรรมจากงานภายใน ครอบครัว เป็นภาคส่วนของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อดารงชีพด้วยตนเอง อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มคนไร้สัญชาตินั้น ไม่ได้ เป็นต้นทุนทางสังคมและมีความสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทยได้ จึงเกิด ประเด็นคำถำมว่ำ หำกกลุ่มคนไร้สัญชำติเป็นหน่วยเศรษฐกิจหนึ่งในกำรสร้ำงกิจกรรมทำงเศรษฐกิจของประเทศ ไทย แล้วเหตุใดสิทธิและเสรีภำพที่พวกเขำได้รับนั้นถึงไม่เหมำะสมกับกำรกระทำดังกล่ำวของพวกเขำเลย จากการ สารวจของกรมประมง (2561) พบว่า ประเทศไทยจาเป็นต้องพึ่งพาแรงงานในภาคส่วนของกลุ่มคนไร้สัญชาติและ แรงงานอพยพเป็นจานวนมากซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงขาดแคลนแรงงานในภาคส่วนนี้ กว่า 400,000 คน (จากการ ประมาณการ) และคาดการว่าอนาคตนั้นจะมีจานวนที่สูงมากยิ่งขึ้นอันเนื่องมาจากแรงงานไทยส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ ประกอบอาชีพดังกล่าวแล้ว
1
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “Contribution of stateless people in Informal Economy to Thailand” โดย ศุภกร กันธิมา และ มิ ยูกิ ซาโต้ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2561. 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการมักถูกจัดอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของธุรกิจผิดกฎหมาย, การหลีกเลี่ยงภาษี, การคอรัปชั่นทั้งในภาครั ฐ และเอกชน, เศรษฐกิจนอกระบบ และ งานบ้านภายในครอบครัว (ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์, 2543 อ้างถึงใน วงศ์ พัฒนา ศรีประเสริฐ, 2557)