ความพร้อมต่อการเข้ามารถไฟรางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ พรพินันท์ ยี่รงค์ โครงการรถไฟรางคู่เด่นชัย -เชียงของถือว่าความฝันของผู้คนทางจังหวัดทางภาคเหนือ ตั้งแต่ที่มีการ เริ่มต้นของแนวคิดมาเมื่อปีพ.ศ.2503 จนถึงปีพ.ศ. 2562 ถือเป็นปีที่ 59 โดยมีความหวังว่าการเข้ามาของระบบ รางจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางการชะลอตัว และถดถอยของ ภาวะเศรษฐกิจของไทย และโลกในปัจจุบัน ทาให้การประกาศการอนุมัติการก่อสร้างโครงการรถไฟสายนี้ใน วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างให้กับภาคส่วนต่างๆมีความตื่นตัวในการดาเนินกิจกรรมทาง เศรษฐกิจขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งโครงการจะเริ่มต้นก่อสร้างในปีพ.ศ.2563 แต่กระนั้นกระบวนการของโครงการต้อง อาศัยระยะเวลาในการดาเนินการ โดยเฉพาะในขั้นตอนของการเวนคืนที่ดิน ที่ต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกา รวมถึงขั้นตอนในการเปิดประมูล1 ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไป ยิ่งส่งผลให้ต้นทุนในการเวนคืนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความยากของภาครัฐในการดาเนินการต่อไปข้างหน้า มากกว่านี้ การเตรียมความพร้อมก็เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการที่มีความสาคัญอย่างมาก เนื่องจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครั ฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ควรร่วมกันวางแผนกลยุทธ์ และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นอาศัยจากโอกาสการเข้าของ รถไฟเป็นสาคัญ ทั้งในด้านของอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว การค้าชายแดน และการลงทุน การเชื่อมโยงของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากประเทศจีนตอนใต้มายังสปป.ลาว ซึ่งเข้ามาจ่ออยู่ที่ ชายแดนของไทยที่อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่ในตอนนี้ได้ดาเนินการก่อสร้างมากกว่าร้อยละ 60 2 โดย หลายภาคส่วนมีความคาดหวังว่าการเกิดขึ้นของรถไฟเด่นชัย -เชียงของจะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้า ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และจีนตอนใต้ ตลอดจนมีจานวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เชียงรายยัง เป็นพื้นที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ได้รับ การส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภาครัฐ โดยให้สิทธิประโยชน์ทั้งทาง ภาษี และมิใช่ภาษี รวมถึงมีการวางโครงสร้างพื้นฐานไว้เอื้ออานวยความสะดวกด้านการค้า ศูนย์บริการจุด เดียวแบบเบ็ดเสร็จ และอื่นๆ ทาให้เชียงรายค่อนข้างมีความพร้อมอย่างมากต่อการรองรับการเชื่อมต่อระหว่าง ทั้งรถไฟจีน-ลาว และรถไฟเด่นชัย-เชียงของ รายงานชิ้นนี้จึ งมีจุดประสงค์เพื่อส ารวจมุมมองของภาคส่วนต่างๆในแต่ล ะจังหวัด ประกอบด้ว ย จังหวัดแพร่ ลาปาง และพะเยา ในด้านของโอกาสทางเศรษฐกิจ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนโครงสร้าง เศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ และระบบขนส่งภายในพื้นที่ โดยการวางแผนพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งควรควบคู่ไป กับการวางยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด เพื่อไม่ให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ตลอดจนการป้องกันให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบอย่าง น้อยที่สุด ทางสานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์จึงได้ทาการลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของ ภาครัฐ และภาคเอกชนในจังหวัดแพร่ และลาปาง ซึ่งเป็น 2 ใน 4 พื้นที่ที่มีเส้นทางรถไฟตัดผ่าน
1 2
ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ลงพื้นที่เวนคืน 4 จังหวัดเหนือ สร้างรถไฟทางคู่สายมาราธอน เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ. ประชาชาติธุรกิจ. (2562). สารพัดปัญหา “รถไฟลาว-จีน” อาจทลายฝันแผน OBOR.