นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนและแนวนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน1 ณัฐพรพรรณ อุตมา และคณะ 1. ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนมีความสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศจีนและการเติบโต เศรษฐกิจของโลกอย่างมาก การเกิดขึ้นของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศจีนที่สาคัญคือ นโยบายเปิดประเทศ (Open door policy) ที่เริ่มต้นในปีค.ศ.1978 ในช่วงของเติ้งเสี่ยวผิง เพื่อเปิ ดรับเอาวิทยาการความรู้ด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์มาจากต่างประเทศเพื่อช่วยเสริมสร้างการปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศจีนให้เป็นไปตามกลไกตลาด มากขึ้น ทาให้จีนเป็นฐานการค้า การลงทุน และการผลิตสินค้าจากต่างประเทศ ด้วยข้อกาหนดการลดหย่อนข้อกีดกัน ทางการค้ า ทางภาษี (Tariff barrier) และที่ มิ ใ ช่ ภ าษี (Non-tariff trade barrier) ข้ อ ก าหนดการลงทุน ในพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษต้องมีการลงทุนร่วมระหว่างจีนกับต่างชาติ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและต่างชาติ หรือแม้กระทั่งการลงทุนของต่างชาติอย่างเดียว ทาให้จีนได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากกิจการที่เข้า มา ลงทุนจากนโยบายเปิดประเทศ ส่งผลดีต่อการดาเนินนโยบายก้าวออกไป (Going out policy) นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนท้องถิ่นของจีนออกไปลงทุนนอกประเทศ ด้วยการที่จีนมี ความรู้และเทคโนโลยีจากเข้ามาลงทุนของต่างประเทศส่งผลให้การออกไปลงทุนยังต่างประเทศนั้นประสบความสาเร็จ อย่างมาก โดยช่วงแรก เป็นการลงทุนในประเทศกาลังพัฒนาและด้อยพัฒนาเนื่องจากความสมบูรณ์ของทรัพยากร และค่าแรงที่ค่อนข้างต่า ทั้งนี้จีนถือว่าการลงทุนในกลุ่มประเทศที่กาลังพัฒนาและด้อยพัฒนาเป็นการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีให้แก่กลุ่มประเทศดังกล่าว และในปัจจุบันจีนมักเข้าไปลงทุนด้วยการซื้อกิจการของประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อนาเอาเทคโนโลยีมาต่อยอดและพัฒนาในการสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง รวมถึงเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ ง สองประเทศร่วมกันและก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ จากโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจโลกและปรากฎการณ์โลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่เกิดขึ้น และ การที่ประเทศต่างๆ ไม่มีพรมแดนระหว่างกัน ทาให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งมากขึ้น นาไปสู่การกาหนด ข้อตกลง กติกาการค้าการลงทุนระหว่างประเทศและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งทาให้รูปแบบความตกลงการค้า ระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป เศรษฐกิจโลกถูกขับเคลื่อนด้วยการเคลื่อนไหวทางธุรกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง กฎระเบียบ การค้าไม่ได้ถูกกาหนดเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ขณะเดียวกันในช่วงทศวรรษ 1990 แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) เริ่มเข้ามีบทบาทแทนระเบียบการค้าโลกเดิม เช่น เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement: NAFTA) ความร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ เอเชี ย -แปซิ ฟิ ก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA) และประชาคม เศรษฐกิจยุโรป (European Union: EU) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ได้แก่ อานาจ ทางการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี (Wolfe, 1997) จากแนวโน้มภูมิภาคนิยมที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ กลุ่มประเทศในเอเชียเริ่มมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน และกรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิ จ ในอนุ ภู มิ ภ าคลุ่ ม แม่ น้ าโขง ( Greater Mekong Subregion economic cooperation: GMS) ขณะเดียวกันจากนโยบายต่างประเทศของจีนที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อการ พัฒ นาประเทศของจีนและต้องการเป็นที่ยอมรั บของนานาชาติ ดั ง นั้ นจีนจึงตกลงความร่วมมื อทางเศรษฐกิจกับ 1
งานศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและบริบทใหม่ของประเทศจีนต่อ เศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก” ได้รับการสนับสนุนโดย สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)