แนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรจังหวัดเชียงราย

Page 1

แนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรจังหวัดเชียงราย1 นิตยา บัตรวิเศษ อภิสรา บวรสุทธิมนตรี นันทนัช วันไชยธนวงศ์ อุตสาหกรรมการเกษตรนั้นถือเป็นรากฐานสาคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับ พื้นฐานชีวิตของประชากรในประเทศ ซึ่งรัฐบาลมุ่งหวังให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศใน ระยะต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมดังกล่ าวมีมูล ค่าคิดเป็ น ร้ อยละ 6.2 ของผลิ ตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปี พ.ศ. 2560 (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) และเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนแรงงานสูงถึง ร้อยละ 40 ของแรงงานทั้งหมด (จานวน 17,993,000 คน ในปีพ.ศ. 2558) (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร กรมสงเสริมการเกษตร, 2559) เมื่อพิจารณาในด้านความพร้อมและความสมบูรณ์ในเชิงกายภาพ พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกจานวนมากและมีเกษตรกรที่ มีทักษะและความเชี่ยวชาญทางการเกษตรมาเป็นระยะ เวลานาน จากศักยภาพที่กล่าวมานี้ ทาให้เกษตรกรมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่กับ วิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาของตนเอง และนาไปสู่การเพิ่มศักยภาพของภาคการเกษตรของ ไทยได้ ทางด้านรูปแบบการทาเกษตรของเกษตรกรไทยพบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ แรงงานเกษตรของไทยส่วนใหญ่ เริ่มเข้าสู่ช่วงสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ โดยอายุเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรคือ 56.25 ปี ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า จานวนครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรมีจานวนทั้งหมด 7,010,191 ครัวเรือน (สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) รายได้ เงิน สดสุ ทธิ ท างการเกษตรอยู่ ที่ 58,975 บาท/ครัว เรือน และหนี้สิ น ต้นปี อยู่ ที่ 122,695 บาท/ ครัวเรือน คาดว่าในปีพ.ศ. 2561 รายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรจะสูงขึ้นเป็น 74,483 บาท/ครัวเรือน (สานักงาน เศรษฐกิจการเกษตร, 2561) นอกจากนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ทาการเกษตรในที่ดินแปลงเล็ก โดยมีจานวนประมาณ 146 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ย 14 ไร่ต่อครัวเรือน มีเพียง 3.1 ล้านไร่เท่านั้นที่เป็นเกษตรแปลงใหญ่ (มี ขนาดพื้นที่มากกว่า 50 ไร่) ซึ่งในปีพ.ศ. 2560 พบว่าเกษตรกรมีขนาดเนื้อที่ถือครองเฉลี่ยอยู่ที่ 25.22 ไร่/ครัวเรือน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2561 จะมี ขนาดเนื้ อที่ถือครองเพิ่ม ขึ้น เป็น 23.15 ไร่ / ครัว เรือน (ส านักงานเศรษฐกิ จ การเกษตร, 2561) เมื่อวิเคราะห์รายจังหวัดพบว่า จังหวัดเชียงรายมีการพัฒนาทางด้านเกษตรและค้าขายอย่างต่อเนื่ อง เนื่องจากภูมิประเทศที่เหมาะแก่การเพาะปลูก รวมถึงมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 2 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พืชเศรษฐกิจที่สาคัญประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ลาไย ลิ้นจี่ ยางพารา และพืชผัก นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจใหม่ที่จังหวัดมุ่ง พัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเฉพาะถิ่น ได้แก่ ชา กาแฟ และสับปะรด โดยสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและมีศักยภาพ (Champion product) ในจังหวัดเชียงราย ตัวอย่างเช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ชา กาแฟ สับปะรด และสมุนไพรบาง 1

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “วิธีการลดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรในประเทศไทย” โดย นิตยา บัตรวิเศษ, อภิสรา บวรสุทธิมนตรี และ นันทนัช วันไชยธนวงศ์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2561.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.