การประเมินคุณภาพข้อมูลทางประชากรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Page 1

การประเมินคุณภาพข้อมูลทางประชากรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สิทธิชาติ สมตา 1. บทนา สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาวหรือสปป.ลาว เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ ใกล้ชิดที่ สุดกับ ประเทศไทย จ านวนประชากรสปป.ลาว มี ค่อนข้างน้อยเพียง 6.9 ล้านคน กระจายกันไปใน 18 แขวงทั่ว ประเทศ โดยพื้นที่ที่มีจานวนประชากรมากที่สุดคือแขวงสะหวันนะเขต รองลงมาคือ นครเวียงจันทน์และแขวง จาปาสัก (Lao Statistics Bureau, 2017) ในจานวนประชากรทั้งหมดของสปป.ลาว ประมาณร้อยละ 60 เป็น คนลาวหรือลาวลุ่ม (Flatlanders) และอีกร้อยละ 40 เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลายสิบกลุ่มซึ่งรวมกันเรียกว่า ลาวสูง (Highlanders) และลาวเทิ ง (Midlanders) ตามระดับ ความสูง ของการตั้ง หมู่ บ้านของกลุ่ม ชาติพันธุ์ โดย ลักษณะทางภูมิศาสตร์สปป.ลาว ไม่มีทางออกทางทะเล ภูมิประเทศอุดมไปด้วยเทือกเขาใหญ่น้อยสลับกันไป ที่ ราบที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมีน้อย ระบบเศรษฐกิจของสปป.ลาว ยังคงต้องพึ่งพาการค้าและการลงทุนจาก ภายนอก โดยเฉพาะจากจีน เวียดนาม และไทย (ยศ สันตสมบัติ, 2556, น.28) อย่างเช่นจีนที่ได้เข้ามาลงทุน โครงสร้างพื้นฐานและการสร้างเขื่อนพลังงานน้าในแม่น้าโขง สปป.ลาว ในปัจ จุบันเป็นประเทศด้อยพัฒนา โดยในปีค.ศ. 2017 มี อัตราเพิ่มธรรมชาติ (Rate of natural increase) ร้อยละ 1.68 และอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life expectancy at birth) ประมาณ 65 ปี ซึ่งถือว่ามีอัตราการเพิ่มธรรมชาติและอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดโดยรวมต่ามากสาหรับประเทศด้อยพัฒนาที่ ต้องการกาลังแรงงานจานวนมากเพื่อ เป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ อัตราตายทารก (Infant mortality rate : IMR) คิดเป็น 55 ต่อ จ านวนการเกิ ดมี ชีพ 1,000 ราย และอัตราตายเด็ก (Child mortality rate) คิดเป็น 71.70 ต่อ ประชากรเด็ก 1,000 ราย ถือได้ว่ามี อัตราค่อนข้างสูงอาจเพราะปั จจัย ทางด้านระบบสาธารณสุขและการขาดแคลนสารอาหารที่จาเป็นต่อเด็ก ทั้งนี้โครงสร้างประชากรสปป.ลาว มี อายุมัธยฐาน (Median age) อยู่ที่ 20.7 ปี ถือว่าเป็น "ประชากรวัยกลาง” (medium-aged population) จากสถิติโครงสร้างประชากรของสปป.ลาวในปัจจุบันได้มีจัดทาประมาณการจากการสารวจสามะโน ประชากรและเคหะปี ค.ศ.2015 และส านัก งานสถิติส ปป.ลาว ได้ท าการใช้ส ถิติดัง กล่าวเป็นตัวเลขคาด ประมาณการโครงสร้างประชากรในปัจจุบัน ทั้งนี้การนาข้อมูลทางประชากรมาใช้ประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง เช่น สร้างตัวชี้วัดทางประชากร ใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และใช้ในการประมาณค่าตัวชี้วัด อื่นๆ นั้นความน่าเชื่อถือกับความแม่นยาถูกต้องของข้อมูลมีความสาคัญอย่างมาก ดังนั้นการประเมินคุณภาพ ข้อมูลเพื่อทราบความคลาดเคลื่อน (errors) ของข้อมูล จึงเป็นเรื่องจาเป็น เพราะไม่ว่าจะเก็บรวมรวมโดยวิธี แจงนับ การจดทะเบียน หรือวิธีอื่นๆ มักจะมีความคลาดเคลื่อน (บุญเลิศ เลียวประไพ, 2539, น.14) และด้วย ความหลากหลายทางชาติพันธุ์กับพื้นที่การอยู่อาศัยที่มีการกระจายอาจทาให้เกิดการตกการแจ้งนับหรือไม่ ถูก นับ และการแจ้งอายุที่เกินกว่าควรจะเป็นของประชากรและการแจ้งแทนคนในครอบครัวที่เคลื่อนย้ายมาเป็น แรงงานข้ามชาติในประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นปัจจัยที่นามาสู่การประเมินคุณภาพข้อมูลทางประชากรของสปป. ลาว ซึ่งการประเมินคุณภาพทางประชากรมีอยู่หลายวิธีแล้วแต่ข้อมูลที่มีอยู่หรือที่หาได้ในประเทศนั้น ๆ และ การศึกษาคุณภาพข้อมูลมีประโยชน์ เป็นมูลฐานของการวิเ คราะห์ป ระชากรที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น การสร้าง ตารางชีพ การคานวณค่าวัดการเจริญพันธุ์ที่ละเอียด และการฉายภาพประชากร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.